เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 17, 22:14



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 17, 22:14
ลืมดูภาพยนตร์ซีรี่ส์ "ศรีอโยธยา" ทางช่องทรูไป   นึกได้เลยไปหาดูทางยูทูปได้ทันการ
ดูแล้วก็เกิดความคิดบางอย่าง ตามที่เขียนไว้เป็นหัวข้อกระทู้นี้ค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอยืนยันว่า กระทู้นี้ไม่ได้เป็นการจับผิดหม่อมน้อยผู้สร้างและกำกับเรื่องนี้ ว่าทำยังโง้นผิด ทำยังงี้ไม่ถูก     เพราะสิ่งที่หม่อมน้อยทำคือละคร   ไม่ใช่สารคดี    ไม่ว่าละครหรือนวนิยาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น  ผู้สร้างจึงมีสิทธิ์สมมุติอะไรขึ้นมาได้โดยเสรี แม้ว่าตั้งใจจะวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงตามตำราหรือหลักฐานที่ค้นคว้าเอาไว้ก็ตาม     
สิทธิ์ดังกล่าวนี้  ดิฉันเรียกว่า Dramatic license  คำนี้ยังไม่ได้ถามผู้เชี่ยวชาญทางการละครว่าแปลไทยว่าอะไร  ก็เลยขอใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษไปก่อน
ศิลปะสาขาต่างๆนั้นเป็นงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างงานมีสิทธิพิเศษอย่างหนึ่ง ที่คนในอาชีพอื่นไม่น่าจะมี   คือมีสิทธิ์ที่จะสร้าง เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง เพิ่มเติม ปฏิเสธ บิดผัน ข้อเท็จจริงต่างๆในโลก เอาไว้ในผลงานของตัวเองได้    ถ้าเป็นงานวรรณกรรม สิทธินี้เรียกว่า poetic license   ถ้าเป็นศิลปะโดยรวม เรียกว่า Artistic license   
license  ที่ว่านี้ประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมาก แทบว่าจะยกตัวอย่างได้ครอบจักรวาล    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นครูสอนภาษา ก็ต้องสอนให้นักเรียนเขียนอ่านได้ถูกต้องตามหลักภาษา  เขียนผิดก็หักคะแนนไป     
แต่ข้อนี้ คุณครูเอาไปใช้กับกวีไม่ได้    กวีอาจสร้างภาษาหรือคำขึ้นมาใหม่ได้ตามความคิดของเขา    ด้วยเหตุผลของเขา  เหมือนสุนทรภู่ใช้คำว่า " เจ้ากรมยมราช" เพื่อให้มีสัมผัสใน  ทั้งๆเจ้าพระยายมราช ตำแหน่งท่านคือเสนาบดี  สูงกว่าเจ้ากรมเป็นไหนๆ   แต่สุนทรภู่ก็ได้รับการยกเว้น ไม่ถือว่าผิด ด้วยสิทธิดังกล่าว

การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง     แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง   
ตัวอย่างเช่นในหนังตำรวจหรือนักสืบที่เห็นกันทั้งในจอใหญ่จอเล็ก    เราอาจรู้สึกว่าพระเอกนางเอกที่เป็นตำรวจหรือนักสืบดูจะมีเวลาลุยงานได้ ไม่กินไม่นอน หน้าตาสดใส ไม่เหนื่อยไม่โทรม    เห็นคดีปุ๊บสืบหาหลักฐานได้ปั๊บ  เดี๋ยวเดียวจับผู้ร้ายได้แล้ว     ทั้งที่ในความเป็นจริง ตำรวจอาจทำงานเอกสารโงหัวไม่ขึ้น ปิดคดีไม่ลง  เสี่ยงตายแล้วก็ตายเอาจริงๆ ไม่รอดอย่างพระเอกนางเอก   

ดังนั้น เมื่อดู"ศรีอโยธยา" แล้ว    ดิฉันก็ไม่มีอะไรจะบอกว่าตรงนั้นผิดหรือตรงนี้ถูก      แต่ที่จะตั้งกระทู้บอกก็คือ มันมีความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับโลกของละคร  ที่คนดูน่าจะรู้ไว้   โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยมีโอกาสเรียนประวัติศาสตร์ในหลักสูตรโรงเรียนกันกี่มากน้อย    มีอยู่มากที่ไม่รู้จะยึดอะไรเลยยึดหนังหรือละคร หรือนิยาย เป็นข้อเท็จจริงไปเลย     แล้วก็แยกไม่ออกระหว่างความเชื่อกับหลักฐาน  ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่น่าห่วงมากกว่า

ปูพื้นไว้แค่นี้ก่อน   ขอเช็คชื่อนักเรียนตามระเบียบ
ส่วนภาพข้างล่าง เอามาโปรยเรียกเรตติ้งไว้ก่อนค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 07 ธ.ค. 17, 00:33

ลงชื่อเข้าเรียนภาคค่ำครับ
ได้รับชมตอนแรกแล้วเช่นกันครับ กำกับภาพดีมาก ดนตรีฟังแปลก ๆ อยู่
เนื้อเรื่องเปิดมาก็เป็นอภินิหารบรรพบุรุษภาคพิสดารเลยครับ
ได้รับความบันเทิงกันเต็มที่ ผลงานสร้างสรรภาพกรุงศรีอยุธยานี่ผมให้เต็มร้อยเลย  

ฉากนี้น่าจะมาในตอนหน้า สองพี่น้องปรึกษาราชการกัน


(http://true4u.truelife.com/useruploads/source/4_4.jpg?1509960564900)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 06:25
การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง 

ผู้สร้างละครได้ออกตัวเรื่องนี้ไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของละคร  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ธ.ค. 17, 08:20
มารายงานตัวครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 09:09
การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง  

ผู้สร้างละครได้ออกตัวเรื่องนี้ไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของละคร  ;D

สิ่งที่จะเล่าในกระทู้นี้ ไม่ใช่ประเด็นที่หม่อมน้อยเอ่ยถึง     ขอคุณเพ็ญชมพูโปรดติดตามไปก่อนนะคะ

เรื่องที่หม่อมน้อยแถลงไว้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้  เพราะจดหมายเหตุและพงศาวดารมีเนื้อหาแย้งกันอยู่ก็มีให้เห็นบ่อยๆ  ถ้าจะต้องสร้างเป็นละครก็ต้องเลือกเอาว่าจะใช้ข้อมูลไหนดี
ไม่ต้องอะไรมาก  แค่เรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อครั้งเป็นพระยาตาก พาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนแตก   เดิมบันทึกกันต่อๆมาว่าเป็นการหนี  ต่อมาก็มีหลักฐานว่า ได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าเอกทัศให้ตีฝ่าพม่าไปขอความช่วยเหลือจากหัวเมืองรอบนอก
แล้วถ้าเป็นคนทำละคร ก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไปแย้งกับอีกอย่างหนึ่งอยู่ดี 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 ธ.ค. 17, 09:45
            ของว่างระหว่างรอ, ย้อนไปกว่า ๕ ปี, เคยมีกระทู้ Poetic license สิทธิพิเศษที่เป็นบัตรผ่านของกวีและศิลปิน
ที่นี่ครับ

             http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5075.0


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 10:27
ขอต้อนรับคุณหมอ SILA เข้าสู่วงกระทู้ค่ะ

กระทู้นี้จะไม่ให้ซ้ำกับกระทู้ก่อนที่คุณหมอ SILA ยกขึ้นมา      จุดประสงค์คือจะอธิบายว่า โลกของอดีตที่มีอยู่จริง กับโลกในละคร แตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง
ผู้อ่านขาประจำในเรือนไทยอาจรู้สึกว่า...เรื่องตื้นๆ รู้กันแล้ว  ก็แน่ละ แต่ละท่านระดับจอมยุทธมือกระบี่อันดับหนึ่งทั้งนั้น    รู้เรื่องอดีตละเอียดถี่ถ้วนราวกับเดินผ่านประตูกาลเวลาของโดเรมอนเป็นประจำทุกวัน
แต่กระทู้นี้มีไว้สำหรับขาจรเรือนไทย โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียมที่ไม่รู้ว่าโลกสองโลกนี้มันต่างกันยังไง  บางทีก็เลยเผลอเอาละครเป็นหลักฐานข้อเท็จจริงเสียเลย

มาเริ่มตอนแรกกันดีกว่า

https://www.youtube.com/watch?v=3fFr3J3halk


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 10:38
ในฉากนี้ ศรรามผู้รับตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก  ขี่ม้าเร็วเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อแจ้งข่าวศึกพม่า
มีฉากศรรามแต่งชุดนักรบ ถือดาบเดินเข้ามาเฝ้าเจ้านาย คือเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร  พระราชโอรสในพระเจ้าเอกทัศ

ในความเป็นจริง  หลวงยกกระบัตรจะเดินดุ่มๆ ผ่านทหารเข้ามาเฝ้าเจ้านายอย่างสะดวกง่ายดายอย่างนี้ไม่ได้    แต่จะต้องผ่านขุนนางเป็นลำดับชั้นขึ้นมาก่อน   ขึ้นกับว่าตัวเองสังกัดใครที่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในตอนนั้น   นำความไปรายงานข่าวพม่ายกทัพ แล้วผู้บังคับบัญชาก็พาเข้าเฝ้าเจ้านาย ซึ่งน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือวังหน้า หากว่าทรงได้รับมอบอำนาจ    
อย่างที่สอง คือ  ธรรมเนียมการเข้าเฝ้าเจ้านายที่ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์   ขุนนางต้องถอดเสื้อเข้าเฝ้า  ทั้งนี้เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย คือจะได้ไม่มีโอกาสซุกซ่อนอาวุธเข้ามาทำร้ายเจ้านาย     และยังมีรายละเอียดอีกสองสามอย่าง เช่นการผลัดผ้านุ่งที่จะต้องใช้เฉพาะเมื่อเข้าเฝ้า เช่นผ้าปูม ตามยศลำดับชั้นของขุนนาง
แต่เอาเถอะ เรื่องผลัดผ้าเป็นรายละเอียดปลีกย่อย   ไม่เอามาใส่ก็ได้  แต่สิ่งสำคัญคือการถืออาวุธเข้าไปเฝ้าเจ้านายนี่   ทำไม่ได้เด็ดขาด
ยังไงก็ต้องวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อนเข้าในเขตพระราชฐาน  


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ธ.ค. 17, 14:35
ในฉากนี้ ศรรามผู้รับตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก  ขี่ม้าเร็วเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อแจ้งข่าวศึกพม่า
มีฉากศรรามแต่งชุดนักรบ ถือดาบเดินเข้ามาเฝ้าเจ้านาย คือเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร  พระราชโอรสในพระเจ้าเอกทัศ

ในความเป็นจริง  หลวงยกกระบัตรจะเดินดุ่มๆ ผ่านทหารเข้ามาเฝ้าเจ้านายอย่างสะดวกง่ายดายอย่างนี้ไม่ได้    แต่จะต้องผ่านขุนนางเป็นลำดับชั้นขึ้นมาก่อน   ขึ้นกับว่าตัวเองสังกัดใครที่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในตอนนั้น   นำความไปรายงานข่าวพม่ายกทัพ แล้วผู้บังคับบัญชาก็พาเข้าเฝ้าเจ้านาย ซึ่งน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือวังหน้า หากว่าทรงได้รับมอบอำนาจ    
อย่างที่สอง คือ  ธรรมเนียมการเข้าเฝ้าเจ้านายที่ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์   ขุนนางต้องถอดเสื้อเข้าเฝ้า  ทั้งนี้เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย คือจะได้ไม่มีโอกาสซุกซ่อนอาวุธเข้ามาทำร้ายเจ้านาย     และยังมีรายละเอียดอีกสองสามอย่าง เช่นการผลัดผ้านุ่งที่จะต้องใช้เฉพาะเมื่อเข้าเฝ้า เช่นผ้าปูม ตามยศลำดับชั้นของขุนนาง
แต่เอาเถอะ เรื่องผลัดผ้าเป็นรายละเอียดปลีกย่อย   ไม่เอามาใส่ก็ได้  แต่สิ่งสำคัญคือการถืออาวุธเข้าไปเฝ้าเจ้านายนี่   ทำไม่ได้เด็ดขาด
ยังไงก็ต้องวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อนเข้าในเขตพระราชฐาน  

บางทีก่อนจะเข้าเฝ้าต้องกลับไปที่จวนพัก ต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แต่งตัวสมปักปูม ท่อนบนเปลือยเปล่าแล้วรอเข้าเฝ้า ถ้าไม่โปรดก็ไม่มีสิทธิ์ให้รอไปหลายวัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 15:14
กำลังรอคุณหนุ่มสยามอยู่เชียวค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 15:29
เมื่อหลวงยกกระบัตรตากเข้าเฝ้าเจ้าฟ้าสุทัศเสร็จแล้ว   เจ้าฟ้าถึงเวลาเสด็จไปสรงน้ำเตรียมเข้าเฝ้าพระเจ้าเอกทัศ
ก่อนไปเจ้าฟ้าก็ยกมือไหว้ลา" อาจารย์"  ซึ่งในเรื่องคือพระยาพิชัย รับบทโดยศักราช ฤทธิ์ธำรง

ในสมัยอยุธยา  เจ้านายไม่ไหว้สามัญชน  ไม่ว่าเป็นอาจารย์หรือสนิทกันแค่ไหน    พระเจ้าแผ่นดินและเจ้าฟ้าจะประณมหัตถ์ไหว้ก็แต่ผู้ที่อยู่ในเพศสูงกว่า คือพระสงฆ์


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 15:30
มาถึงฉากใหญ่ คือพระเจ้าเอกทัศเสด็จออกว่าราชการ มีขุนนางเข้าเฝ้ากันเต็ม


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 15:30
หลวงยกกระบัตรตากแต่งกายแบบนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 15:37
พระเจ้าเอกทัศแต่งแบบนี้ สวมพระมหามงกุฎด้วย  แล้วก็มาถอดออกในท้องพระโรงนั่นเอง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 07 ธ.ค. 17, 16:09
ขอเข้ามารายงานตัวเข้าชั้นเรียน วิชาประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 16:27
ฉลองพระองค์ของพระเจ้าเอกทัศที่เห็นในฉากนี้  เป็นฉลองพระองค์อลังการและสวมพระมหามงกุฎ แสดง dramatic license ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของประมุขของอาณาจักร   เปรียบได้กับเครื่องแบบเต็มยศ มีเหรียญตราสายสะพาย   ในความเป็นจริง  พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกว่าราชการเป็นประจำอยู่แล้ว    ไม่จำเป็นต้องแต่งพระองค์อลังการขนาดนี้   อาจไม่มีแม้แต่ท่อนบน  มีแต่พระภูษา

ส่วนขุนนางก็เช่นกัน  การแต่งกายแบบที่ศรรามสวมนั้นมี ไม่ใช่ไม่มี   ตามหลักฐานเช่นตอนราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์  หรือขุนนางไทยไปเจริญพระราชไมตรีก็แต่งแบบนี้  สวมครุย และลอมพอกสูงๆบนศีรษะ  คือแต่งในพระราชพิธีหรือโอกาสสำคัญยิ่งระดับชาติ    แต่การแต่งกายแบบนี้ไม่ได้สวมกันในการเข้าเฝ้า ณ ท้องพระโรงยามปกติ    ถ้าจะเทียบก็เหมือนรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงๆเข้าประชุมค.ร.ม. ก็ไม่มีใครแต่งเต็มยศติดเหรียญตราสวมสายสะพายมาประชุม  

ถ้าถามว่าแต่งยังไง คำตอบคือแต่งอย่างศักราชในภาพนี้ละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 07 ธ.ค. 17, 20:46
ลงชื่อด้วยครับ สงสัยเหมือนกันนะครับว่าลูกเจ้าไกรทำไมได้รับพระราชทานพระเกี้ยวระดับเดียวกับเจ้าฟ้าสุทัศน์
(https://scontent.fbkk2-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24900212_1708727432543058_6673632894154511073_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeGDMADwNDjKsbJJx9HmfmIC8Gz5FOc2xmQKdDgYikZicZ8vK-QM_gEBRCbzARgeYyltbfMvw5q4oDuvIi8X99Rtw01V1Ob8B_xZFeh2oz1rQA&oh=21e2ff535d1537e75a01f2790ed46a6b&oe=5A9434F3)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 21:00
ยินดีต้อนรับค่ะ คุณคทาธร
ขอตัวไปสำรวจสำมะโนครัวเจ้าไกร แป๊บ นะคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 17, 21:23
พบแล้วค่ะ
เจ้าไกร หรือหลวงไกรชาญฤทธิ์ เป็นบุตรของพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ ค่ะ    ตอนหลังก็เป็นกำลังสำคัญของพระเจ้าตากสิน และก็เป็นกำลังสำคัญของเจ้าพระยาจักรีหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในละคร  พระพันวัสสาโปรดที่จะพระราชทานเกี้ยวทองคำให้ลูกชายขุนนางระดับคุณหลวงได้ ไม่เป็นไร    ถือว่าทรงพระเมตตาอยู่มาก

แต่ในความเป็นจริง    ไม่มีเจ้านายองค์ไหนประทานเครื่องประดับที่ใช้สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าไปให้สามัญชนสวมใส่    เจ้าหนูไกรจูเนียร์ไม่มีสิทธิ์จะประดับเกี้ยวทองคำระดับเจ้าฟ้าได้นะคะ   เด็กไว้จุกในสมัยนั้น ไม่มีใครสวมใส่เกี้ยว
ขืนไปแต่งเครื่องประดับอย่างเจ้าฟ้า  ไม่ใช่แค่เหาขึ้นหัว  หัวจะหายกันหมดทั้งตระกูลด้วย

ถ้าจะประทานของมีค่าเพื่อทำขวัญเด็ก   ก็ต้องเป็นอะไรที่สามัญชนใช้ได้ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 07 ธ.ค. 17, 21:50
ขอบคุณครับ  :)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SRISOLIAN ที่ 08 ธ.ค. 17, 07:39
จากชื่อกระทู้เกี่ยวกับ Dramatic license เลยทำให้นึกเปรียบเทียบระหว่าง "บทโทรทัศน์" ที่ดัดแปลงไปจากบทประพันธ์เดิม อย่างนี้เข้าข่ายด้วยหรือไม่ครับ...ส่วนคำว่า Dramatic license ผมขอลองถอดความหมายเป็นคำว่า "ประพันธสิทธิ์" ไม่รู้ว่าจะพอใกล้เคียงหรือไม่ครับ / สำหรับซีรีย์เรื่องนี้เท่าที่ได้ลองดูไปบางตอน ก็ให้ความรู้สึกว่าจะออกไปแนวฟุ้งฝันมากกว่าจะยึดเอาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บ้างก็เรียกอริราชศัตรูของอาณาจักรว่า "พม่า" บ้าง อังวะ "บ้าง" ทั้งนี้ก็ขึ้นกับการเลือกบางมุมมาถ่ายทอดตามสายตาและมโนทัศน์ของผู้กำกับเป็นที่ตั้ง ให้ความรู้สึกว่าดูเอา "อรรถรส" มากกว่าดูเอา "ความรู้ทางประวัติศาสตร์"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 ธ.ค. 17, 07:49
พบแล้วค่ะ
เจ้าไกร หรือหลวงไกรชาญฤทธิ์ เป็นบุตรของพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ ค่ะ    ตอนหลังก็เป็นกำลังสำคัญของพระเจ้าตากสิน และก็เป็นกำลังสำคัญของเจ้าพระยาจักรีหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในละคร  พระพันวัสสาโปรดที่จะพระราชทานเกี้ยวทองคำให้ลูกชายขุนนางระดับคุณหลวงได้ ไม่เป็นไร    ถือว่าทรงพระเมตตาอยู่มาก

แต่ในความเป็นจริง    ไม่มีเจ้านายองค์ไหนประทานเครื่องประดับที่ใช้สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าไปให้สามัญชนสวมใส่    เจ้าหนูไกรจูเนียร์ไม่มีสิทธิ์จะประดับเกี้ยวทองคำระดับเจ้าฟ้าได้นะคะ   เด็กไว้จุกในสมัยนั้น ไม่มีใครสวมใส่เกี้ยว
ขืนไปแต่งเครื่องประดับอย่างเจ้าฟ้า  ไม่ใช่แค่เหาขึ้นหัว  หัวจะหายกันหมดทั้งตระกูลด้วย

ถ้าจะประทานของมีค่าเพื่อทำขวัญเด็ก   ก็ต้องเป็นอะไรที่สามัญชนใช้ได้ค่ะ

อ่านความเห็นของท่านอาจารย์ใหญ่แล้วนึกถึงบันทึกองพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา) ที่ท่านบันทึกไว้ว่า  เมื่อท่านผู้เล่ายังยังเยาว์  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานฉลองพระบาทให้แก่หลวงราชดรุณรักษ์ (ม.ร.ว.สอาด  อิศรเสนา) มา ๑ คู่  บิดาของท่านได้รับพระราชทานมาแล้วไม่กล้าใช้  ก่อนออกจากบ้านไปทำงานท่านบิดาจะเชิญฉลองพระบาทนั้นลงมาทำความสะอาดแล้วเชิญกลับขึ้นประดิษฐานไว้บนพานทอง  เสร็จแล้วลงนั่งคุกเข่าถวายบังคมฉลองพระบาทนั้นเป็นประจำทุกวัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: TreeSira ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:22
สวัสดีครับ สมาชิกใหม่ ฝากตัวด้วยนะครับ...

ได้ดูซีรีย์นี้แล้วเหมือนกัน เห็นมีกระทู้ในโลกออนไลน์ออกมาต้อนรับอย่างอบอุ่น (จนร้อน)
หลายๆ ครั้งเมื่อได้ดูหนังหรือละคร อิงประวัติศาสตร์ ก็มักจะพบสิ่งที่ท่านผู้รู้ (จริง) ขัดใจ
แต่ก็ได้แต่ดูเอาความบันเทิง ไม่ได้เอาสาระไปเป็นเรื่องสำคัญเท่าไหร่
อย่างที่ท่านครูหลายๆ ท่านมักจะกล่าวไว้ว่า
อย่าเอาตำนาน ไปเป็นประวัติศาสตร์ (แต่คนไทยบางคน มักจะชอบทึกทักว่าเป็น)  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: TreeSira ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:33
(https://f.ptcdn.info/029/055/000/p0jbtd5f4S9geEzilOq-o.jpg)

ไปเจอในกระทู้ดังอย่างพันทิพย์ครับ....
"ปลั๊กไฟสมัยอยุธยา"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:41
สวัสดีค่ะคุณ Treesira   ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยค่ะ

ปลั๊กไฟสมัยอยุธยา
มาทำลิ้งค์ให้ค่ะ

https://pantip.com/topic/37160859


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:48
จากชื่อกระทู้เกี่ยวกับ Dramatic license เลยทำให้นึกเปรียบเทียบระหว่าง "บทโทรทัศน์" ที่ดัดแปลงไปจากบทประพันธ์เดิม อย่างนี้เข้าข่ายด้วยหรือไม่ครับ...ส่วนคำว่า Dramatic license ผมขอลองถอดความหมายเป็นคำว่า "ประพันธสิทธิ์" ไม่รู้ว่าจะพอใกล้เคียงหรือไม่ครับ /

บทโทรทัศน์ที่ดัดแปลงไปจากบทประพันธ์เดิม   ก็เข้าข้าย dramatic license ค่ะ   ละครไทยทำกันเห็นได้มากมาย
อย่าง "แต่ปางก่อน" ที่เพิ่งทำไปล่าสุด   เติมบทให้พระเอกฉุดดึงทึ้งนางเอกจนเสื้อผ้าหลุดลุ่ย    แทนที่จะพูดกันดีๆอย่างในบทประพันธ์   ก็เพื่อให้เกิดดราม่า  เพราะกระแสพระเอกเถื่อนๆ ระบบตบจูบกำลังอยู่ความนิยม   

ประพันธสิทธิ์  เป็นคำไพเราะ แต่ตรงกับ poetic licence มากกว่า dramatic license  ค่ะ
คำว่า poetic ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ แต่หมายถึงการแต่ง  เพราะก่อนจะมีนวนิยายถือกำเนิดขึ้น  งานประพันธ์ชั้นสูงแต่แต่งด้วยโคลงกลอนทั้งนั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:50
Dramatic error  (http://www.reurnthai.com/Smileys/modern/grin.gif)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:58

อ่านความเห็นของท่านอาจารย์ใหญ่แล้วนึกถึงบันทึกองพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา) ที่ท่านบันทึกไว้ว่า  เมื่อท่านผู้เล่ายังยังเยาว์  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานฉลองพระบาทให้แก่หลวงราชดรุณรักษ์ (ม.ร.ว.สอาด  อิศรเสนา) มา ๑ คู่  บิดาของท่านได้รับพระราชทานมาแล้วไม่กล้าใช้  ก่อนออกจากบ้านไปทำงานท่านบิดาจะเชิญฉลองพระบาทนั้นลงมาทำความสะอาดแล้วเชิญกลับขึ้นประดิษฐานไว้บนพานทอง  เสร็จแล้วลงนั่งคุกเข่าถวายบังคมฉลองพระบาทนั้นเป็นประจำทุกวัน

ขอบคุณมากค่ะคุณ V_Mee
รอคุณอยู่  เช่นเดียวกับคุณหนุ่มสยาม  ว่าเมื่อไรจะแวะมาให้ความรู้ในกระทู้บ้าง  ในที่สุดก็มาจริงๆ
อ่านเรื่องของพระยาภะรตราชาแล้ว  นึกถึง "ช่างไก่" ช่างซ่อมฉลองพระบาท
อ่านทีไรก็จับใจ
 ขอทำลิ้งค์ให้อ่านกันนะคะ

https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD/216801688384763/


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 09:59
อีกลิ้งค์หนึ่งค่ะ

http://news.sanook.com/1157283/


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 10:39
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่น่าจะต้องถกกันยาว  คือตัวละครตัวนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 10:43
ในละคร อธิบายบทบาทตัวละครตัวนี้ว่า

พระกำนัลนารีสังข์ ขันทีศรีอโยธยา รับบทโดย ปิยะ เศวตพิกุล

พระกำนัลนารี หนึ่งในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของข้าราชสำนักฝ่ายใน เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนต้น ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณ์ภาชน์ และเป็นผู้นำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 11:06
ในละคร  พระกำนัลนารีเป็นขันที ประจำในพระราชสำนักฝ่ายใน  คืออยู่กับเหล่าเจ้านายสตรีและพนักงานนางข้าหลวงทั้งหลาย
แต่มีหน้าที่เชิญพระสุพรรณภาชน์ด้วย  คือหมายความถึงเครื่องราชูปโภคหรือเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของกษัตริย์ตอนเสด็จออกขุนนาง เช่นกาน้ำ กระโถนบ้วนน้ำหมาก
และนำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว
คำหลังนี้ใครเป็นคนเขียนคำบรรยายไม่ทราบ แต่ใช้คำได้น่าเกลียดมาก   เพราะสตรีที่ถูกนำขึ้นถวายนั้นไม่มีใครเรียกว่านางบำเรอ  เขาเรียกว่าเจ้าจอม  เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติและมีการยอมรับนับถือในราชสำนัก   

ในละคร  ระบุว่าพระกำนัลนารีคนนี้เป็นขันที   หมายถึงเป็นบุรุษเพศโดยกำเนิดแต่ถูกตัดอวัยวะเพศออก   เพื่อให้ใช้การไม่ได้ จะได้รับหน้าที่ควบคุมดูแลราชสำนักฝายในได้ โดยไม่มีปัญหาชู้สาวกับสตรีที่มีอยู่มากมายในนั้น
คำถามต่อไปก็คือ ในสมัยอยุธยามีขันทีไหม  และถ้ามี มีแบบนี้ไหม

ขันทีในสมัยอยุธยามีอยู่จริง  มีหลักฐานระบุไว้ เรียกชื่อว่า "นักเทศ" และ "ขันที" มีหน้าที่ตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดินเช่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์   มีกรมอยู่ในพระอัยการนาพลเรือน  มี

ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล          นา ๑๐๐๐
หลวงราชาชานภักดี                          นา ๕๐๐
ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ            รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา         องครักษ ขันที   นา ๑๐๐๐
ดูจากราชทินนาม ก็เหมือนมีหน้าที่แบบมหาดเล็กรักษาพระองค์ประเภทหนึ่ง

ส่วนขันทีมาจากไหน   สันนิษฐานจากการแยกเป็น 2 คำคือ นักเทศ กับ ขันที  ทำให้คิดว่าจะต้องเป็นการแบ่งประเภทกัน  คำว่า "เทศ" ไทยใช้กับอะไรที่มาจากตะวันออกกลาง เช่น พริกเทศ  เครื่องเทศ   เพราะฉะนั้นนักเทศน่าจะมาจากเปอร์เชีย   ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับอยุธยามานานแล้ว    ส่วนขันที น่าจะมาจากจีน   ซึ่งเป็นประเทศที่มีขันทีเป็นต้นแบบการใช้ผู้ชายดูแลราชสำนักฝ่ายในอยู่แล้ว

สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี มีภาพขันทีแต่งกายแบบแขกโพกศีรษะอยู่มุมล่าง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 11:25
หลักฐานข้างบนนี้ ทำให้เห็นว่าขันที หรือที่เรียกว่า Eunuch(อ่านว่ายูนุค) มีอยู่จริงในราชสำนักอยุธยา    แต่งกายแบบเพศชาย   
ส่วนขันทีชายแต่งกายหญิง  หม่อมน้อยน่าจะนำมาจากหลักฐานข้างล่างนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 11:41
เชิญอ่าน facebook นี้ไปพลางๆก่อนค่ะ   แล้วจะกลับมาทีหลัง  ตอนนี้มีธุระขอลงจากเรือนไทย

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1580022742061190

ระหว่างนี้เชิญคุยกันได้ตามอัธยาศัย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 11:55
ราชสำนักไทย(สมัยก่อน)มีขันทีด้วยหรือเปล่า

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4462


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ธ.ค. 17, 13:44
เอ๊ะ ผมมาช้าครับ แต่ก็สนใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อยู่ครับ

วันก่อนยังคุยกับเพื่อนๆ อยู่ว่า น้องพี่ตูน สามารถวิ่ง เบตง-กรุงเทพได้ภายใน 30 วัน เช่นนี้แล้ว ในสมัยโบราณ ทัพอังวะ สามารถเดินจากเมาะตะมะ มาอยุธยาได้ภายในกี่วัน (หากปราศจากการต้านทานขัดขวาง) โดยลองจินตนาการกันดูว่า ทันทีที่ได้ข่าวศึก อย่างที่ปรากฎในละครตอนแรกนี้ ราชสำนักอโยธยาจะมีเวลาเตรียมตัวรับศึกกี่วัน และเหตุการณ์จะเคร่งเครียด วุ่นวาย เพียงใด

(อันนี้คือประเด็นที่ผมยกขึ้นมาคุยกับเพื่อนๆนะครับ ไม่ได้ยกประเด็นใหม่ขึ้นมาตัดประเด็นพระกำนัลนารีแต่อย่างใดครับ)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ธ.ค. 17, 14:08
สำหรับประเด็น Dramatic license ผมยอมรับได้ครับ อันละครโขนหนังนั้น แต่เดิมมาก็มีขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หนังต่างประเทศเองก็ใช่ว่าจะถูกต้องตามประวัติศาสตร์ หรือตามข้อเท็จจริงทั้งหมดเสียเมื่อไหร่ ดังนั้น ขอเพียงแค่ดูสนุก กลมกลืน ลื่นไหล ก็ใช้ได้แล้วหละครับ

นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า จะตรงหรือไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีงานออกฉายออกเผยแพร่ เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา ผู้ที่สนใจอยากทราบข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ก็สามารถไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นได้เองครับ แต่ถ้าไม่มีใครทำขึ้นมาสิครับ ชื่อบางชื่อ นามบางนาม อาจไม่มีใครรู้จักเลย เมื่อไม่รู้จักจะมีการไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างไร

ยกตัวอย่างการ์ตูนมังงะญี่ปุ่น หลายเรื่องเอาชื่อคนในประวัติศาสตร์มาใช้ เช่น โชกุนโนบุนากะ นี่ ได้รับการนำไปเป็นตัวละครในหลายต่อหลายเรื่องครับ แทบจะร้อยละ 99 ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น แต่ผู้คนก็ยังรู้จักโนบุนากะ ซึ่งแน่นนอนครับว่า คนที่รู้แล้วหยุดอยู่แค่นั้นก็คงมี แต่คนที่รู้แล้วอยากรู้เพิ่ม ไปหาอ่านเพิ่มก็คงมีเช่นกัน

เอามาเทียบกับเรื่องศรีอโยธยานี้ แม้ว่าข้อเท็จจริงจะไม่ตรงไปบ้าง แต่ชื่ออย่าง พระกำนัลนารี เจ้าสามกรม หรือแม้แต่ พระเจ้าอุทุทพร ก็จะกลับมามีผู้กล่าวถึงอีกครั้ง (คราวนี้อาจจะไปจุดประกายให้เกิด Social Movement ขึ้นมาก็ได้นะครับว่า สถูปของพระองค์ท่านปัจจุบันอยู่ที่ใด) ซึ่งก็ดีกว่าที่นามเหล่านี้จะเลือนหายไปกับการเวลาแน่นอนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ธ.ค. 17, 14:09
อาจารย์ไม่อยู่,นักเรียนส่งเสียง

          คนดูละครยอมรับกันได้สำหรับทรงผมเด็กๆ ในละครทีวีพีเรียดที่ออกมาเป็นแบบรวบผมเกล้าจุกเพราะ
ตัวละครเด็กๆ ตัวเอกคงไม่ยอมโกนผมไว้จุกเพื่อแสดงละครทีวีกัน ไม่ว่าจะในหนังซีรี่ส์เรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆ
ที่เด่นดัง(เช่น สี่แผ่นดิน) เว้นแต่ในหนังใหญ่อย่างตำนานพระนเรศวรมหาราช  

ซ้าย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซีรี่ส์ จอแก้ว, ขวา ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอเงิน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ธ.ค. 17, 14:10
เพิ่มเติม, เจ้าส้มฉุนในหนังใหญ่, ในทีวี(ที่ต่อมาโตแล้วกลายพันธุ์เป็นทุเรียน) เกรียนได้เท่านี้ กับ
อีกหนึ่งส้มฉุนเวอร์ชั่นถ่ายแบบ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ธ.ค. 17, 14:11
และทิ้งประเด็นจากในฉากนี้ มีคำว่า พระสยามเทวาธิราช


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: TreeSira ที่ 08 ธ.ค. 17, 14:18
พระสยามเทวาธิราช น่าจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช่ไหมครับ?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 08 ธ.ค. 17, 15:04
ลงชื่อจองที่นั่งติดหน้าต่างครับ ยังไม่ได้ดูและไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามี เดี๋ยวไล่ตามจากยูทูปแล้วกัน ผมเนี่ยเจ้าชายสายเสมอตลอกาล  ::)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 08 ธ.ค. 17, 17:35
มาช้าจนที่นั่งเต็มหมดแล้ว ไม่เหลือแม้แต่ที่นั่งข้างหน้าต่าง งั้น ขอนั่งพับเพียบข้างๆโต๊ะอาจารย์ก็แล้วกันนะคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 ธ.ค. 17, 18:19
โดยส่วนตัวผมเชื่อตามที่คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลคำว่า eunuques ว่า จ่าโขลน  มากกว่าจะแปลว่า ขันที
เพราะจ่าโชบนและโขลนซึ่งเป็นข้าราชสำนักฝ่ายในนั้น  โดยปกติมักจะมีบุคลิกลักษณะคล้ายผู้ชาย  แถมถืออาวุธเหมือนพระตำรวจ
ยิ่งในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา  สตรีไทยถูกสั่งให้ตัดผมสั้นเพื่อให้ดูคล้ายผู้ชายในยุคไทยรบพม่า  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยมองว่า
จ่าโขลนและโขลนเหล่านี้เป็นผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 08 ธ.ค. 17, 18:34
เข้ามาลงชื่อเข้าเรียนค่ะ  :)

เพิ่งดูตอนแรกเมื่อกี้นี่เอง มีข้อติดใจตรงชื่อของนางรำสาวน้อยในเรื่อง "บุษบาบรรณ" ชื่อไพเราะเพราะพริ้งและยาวเกินกว่าเป็นชื่อสามัญชน คนสามัญสมัยก่อนไม่น่าจะมีชื่อที่ยาวได้ขนาดนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 19:24
เปิดวิชานี้  ชั้นเรียนคึกคักเชียว
ยกเก้าอี้เสริมมาให้คุณแอนนาแล้วค่ะ  แถวหน้าสุดเลย

เห็นชูมือตั้งคำถามกันหลายคน   เอาคำถามที่ตอบได้สั้นๆก่อน

เพิ่งดูตอนแรกเมื่อกี้นี่เอง มีข้อติดใจตรงชื่อของนางรำสาวน้อยในเรื่อง "บุษบาบรรณ" ชื่อไพเราะเพราะพริ้งและยาวเกินกว่าเป็นชื่อสามัญชน คนสามัญสมัยก่อนไม่น่าจะมีชื่อที่ยาวได้ขนาดนี้
ชื่อนางเอกในละครมักจะไพเราะเพราะพริ้งอยู่แล้วค่ะ
สมัยปลายอยุธยา  ชื่อคนไทยมักจะสั้นๆ ง่ายๆ คำสองคำ  และไม่กำหนดเพศ     แม้แต่เจ้านายก็มีพระนามเมื่อประสูติสั้นๆเช่นกัน  ส่วนใหญ่มีความหมายตรงตัว ไม่ต้องแปล
เช่นเจ้าฟ้ากุ้ง  เจ้าฟ้าอภัย   จะยกเว้นและยาวหน่อยก็เจ้าฟ้าอุุทุมพร
บุษบาบรรณเป็นชื่อทันสมัยมากค่ะ  ฟังปุ๊บรู้ปั๊บว่านางเอก 
ชื่อนี้เป็นชือนิยายรวมเรื่องสั้นของ "ดอกไม้สด"   อีกเล่มหนึ่งคือ "พู่กลิ่น" เป็นเครื่องแขวนชนิดหนึ่งทำด้วยดอกไม้สด


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 19:33
พระสยามเทวาธิราช น่าจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช่ไหมครับ?
ใช่ค่ะ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า สยามมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง ๘ นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน และถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง

ในสมัยอยุธยา การเรียกชื่ออาณาจักรเรียกตามชื่อเมืองหลวง    พม่าเองเมื่อขนเชลยศึกไปจากอยุธยาก็เรียกว่า "โยเดีย" ไม่ได้เรียกว่า "สยาม"  คนที่เรียกอาณาจักรอยุธยาว่าสยามคือพวกฝรั่ง  แต่การรู้จักคำว่าสยาม ก็เป็นคนละเรื่องกับรู้จักพระสยามเทวาธิราช
สรุปว่าชาวอยุธยาไม่รู้จัก พระสยามเทวาธิราช ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 08 ธ.ค. 17, 19:33
ละครเรื่องนี้บอกว่าไม่ใช้สารคดีประวัติศาสตร์ แต่ผมว่าพรอพประกอบฉากที่เก็บงานไม่เรียบร้อยหรือของที่มันโมเดิร์นจ๋ามาโผล่ในซีนเนี่ย มันไม่ควรจะพลาดนะครับ

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24774723_1709710882444713_2558671359784896563_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-6&_nc_eui2=v1%3AAeGyV4rF4eym0wUc1fZtvB5mjhQALPnMhT2HLZ9Vga56bRFW_tg7NkhPbDWzKcncE3NR2zpjnUMen5iMmoga-Zpm3tMKXhgzV_Cwh0BGEZXoRQ&oh=c2766ca8ee91c5f2cbf8d5c79162e957&oe=5ACB8055)
กระสอบข้าวโรงสีมีลายคาดเขียว เสาไฟโมเดริน

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24862321_1709710885778046_8306973864143931485_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-6&_nc_eui2=v1%3AAeEfg19D2NX1nYpzs_CDzfISkxWxxh0jUxDPyPFofPeDDQmr9rOq02Yvca_Zl3WFjOV20V2YeTl6iEiUqEiqeklbR8RBs5KypwN8lctq0u8_og&oh=d6b15d4120ce72412706c16f96fb1bcd&oe=5A95A511)
แท็งค์น้ำสมัยกรุงศรี

(https://scontent.fbkk1-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24774799_1709704949111973_1506709038049819878_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-6&_nc_eui2=v1%3AAeFY7xKpwfd1KGXYLj5lvza7ze6mdKhXIZRRP8yY4knlqCIw8-0UXcv7pn3-ToEVBQquaj5eoLGeIJHhLVB3hCVlxvZBKZY4u7LsmPHJ7jQ8Zw&oh=eb8eaed95a5c0db1dfc625f98600cb2a&oe=5A95A74A)
เครื่องหมาย X บนลอมพอกคุณหลวงนี่คืออะไร หรือลืมทาสีกลบไม่หมด

(https://scontent.fbkk1-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24852156_1709704945778640_8547244962261986076_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-6&_nc_eui2=v1%3AAeFERfrTrGsKk_ZA00v2VJvgoiCnTGspvw34vB41MZuE29As0cTPX8qLuXv17D94WMguXJEHZ3TBGrdmjb9vfwHXKoVPbtgo6iE6yBl4cRj1fw&oh=d33233c4b38a70030d2ff0914bcda3ac&oe=5AD34CA1)
อ้าว คุณบุนนาคก็มีเครื่องหมาย X ก่ะเขาเสียด้วย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 19:38
คุณคทาธรตาไวจริงๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 19:50
เอ๊ะ ผมมาช้าครับ แต่ก็สนใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อยู่ครับ

วันก่อนยังคุยกับเพื่อนๆ อยู่ว่า น้องพี่ตูน สามารถวิ่ง เบตง-กรุงเทพได้ภายใน 30 วัน เช่นนี้แล้ว ในสมัยโบราณ ทัพอังวะ สามารถเดินจากเมาะตะมะ มาอยุธยาได้ภายในกี่วัน (หากปราศจากการต้านทานขัดขวาง) โดยลองจินตนาการกันดูว่า ทันทีที่ได้ข่าวศึก อย่างที่ปรากฎในละครตอนแรกนี้ ราชสำนักอโยธยาจะมีเวลาเตรียมตัวรับศึกกี่วัน และเหตุการณ์จะเคร่งเครียด วุ่นวาย เพียงใด

(อันนี้คือประเด็นที่ผมยกขึ้นมาคุยกับเพื่อนๆนะครับ ไม่ได้ยกประเด็นใหม่ขึ้นมาตัดประเด็นพระกำนัลนารีแต่อย่างใดครับ)
กระทู้นี้คงพอตอบได้ค่ะ
https://pantip.com/topic/30543241
รายละเอียดมากกว่านี้ เดี๋ยวครูเพ็ญชมพูคงมาบอกเอง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 20:03
โดยส่วนตัวผมเชื่อตามที่คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลคำว่า eunuques ว่า จ่าโขลน  มากกว่าจะแปลว่า ขันที
เพราะจ่าโชบนและโขลนซึ่งเป็นข้าราชสำนักฝ่ายในนั้น  โดยปกติมักจะมีบุคลิกลักษณะคล้ายผู้ชาย  แถมถืออาวุธเหมือนพระตำรวจ
ยิ่งในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา  สตรีไทยถูกสั่งให้ตัดผมสั้นเพื่อให้ดูคล้ายผู้ชายในยุคไทยรบพม่า  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยมองว่า
จ่าโขลนและโขลนเหล่านี้เป็นผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง

ดิฉันคิดตรงกับคุณV_Mee ว่าคนที่ถูกเรียกว่าขันทีแต่งหญิง นั้นคือพวกโขลน หรือตำรวจหญิงของพระราชฐานชั้นใน
ถ้าไทยเรามีขันทีแต่งหญิงจริง  น่าจะมีหลักฐานตกทอดมาถึงปัจจุบันบ้าง    ขันทีชายยังมีรูปวาดให้เห็น    ที่สำคัญคือในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีน่าจะบันทึกเอาไว้เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย   แต่ก็ไม่มี
การแพทย์แผนโบราณของไทยก็น่าจะบันทึกเอาไว้ ถึงการผ่าตัด หรือตัวยาที่ใช้รักษา   แต่ก็ไม่เคยเจอ

ขันทีของจีนคือชายที่เกิดมาเป็นชายแท้  แต่ยอมผ่าตัดให้หมดสภาพชายไปเพื่อไปทำงานในวัง  เพื่อจะได้ทั้งเงินและเกียรติ  ไม่ต้องลำบากยากจนอยู่ที่บ้าน    ส่วนธรรมเนียมไทย  ผู้ชายต้องบวชเรียนเมื่ออายุถึงปีบวช  หากร่างกายพิการไปเสียแบบนี้ก็หมดโอกาส พ่อแม่ไม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์  นอกจากนี้ยังมีครอบครัวไม่ได้    ถือเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสทีเดียว    จึงไม่คิดว่าจะมีชายไทยแท้ยอมเป็นขันที ต่อให้ได้ไปทำงานในวังก็เถอะ   
แต่ถ้าสั่งขันทีมาจากต่างชาติ   หลักฐานก็มีอยู่แล้วว่าพวกนี้ยังแต่งกายเป็นชายตามวัฒนธรรมเดิมของพวกเขา   ไม่ได้แต่งเป็นหญิงไทย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 20:14
ย้อนมาที่พระกำนัลนารีสังข์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นน้องชายลักเพศของเจ้าพระยาพลเทพ     หมายความว่าคุณน้องคนนี้เป็นตุ๊ดเป็นแต๋ว เธอก็เลยได้ไปเป็นข้าราชสำนักฝ่ายใน เรียกว่า พระกำนัลนารี
คำนี้น่าจะดัดแปลงมาจากคำว่า นางพระกำนัล  บวกกับ กำนัลนารี  ทั้งสองคำนี้หมายถึงผู้หญิงที่ทำหน้าที่รับใช้เจ้านาย  แต่ไม่ใช่รับใช้อย่างข้าทาสแบกอิฐแบกปูน   เป็นสาวๆลูกผู้ดีแบบแม่พลอย  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่านางข้าหลวง

คำถามคือ คนอย่างพระกำนัลนารีสังข์เข้าไปอยู่ในพระราชฐานชั้นในได้หรือไม่    คำตอบคือในละคร ทำได้  แต่ในความเป็นจริง  สมัยอยุธยาตอนปลาย  ตัวจริงก็ต้องอยู่เป็นตุ๊ดเป็นแต๋วที่นอกวัง  ไม่ต่างจากชายแท้ทั้งหลาย   เพราะตราบใดที่ร่างกายยังครบ ๓๒   ต่อให้ใจเป็นหญิงขนาดไหน   ก็ไม่อาจจะล่วงล้ำเข้าไปในเขตของฝ่ายในได้เด็ดขาด


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 17, 20:38
ถ้าถามว่ากระเทยมีไหมในสังคมอยุธยา คำตอบคือมี  ตามหลักฐานในพระไอยการนาพลเรือน  ซึ่งได้กำหนดตำแหน่งของฝ่ายในพวกหนึ่งว่า "เตี้ย ค่อม เทย เผือก"มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง
ทั้งสี่ประเภทจัดอยู่ในพวกร่างกายไม่สมประกอบ   คำว่า เตี้ย ค่อม เผือก นั้นพอเข้าใจได้ว่าลักษณะอย่างไร  ส่วน "เทย" ในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงกระเทยอย่างในปัจจุบัน  แต่หมายถึงคนที่อวัยวะเพศไม่สมบูรณ์   
บทบาทนางค่อมในวรรณคดีมีอยู่ใน 2 เรื่องคือ อิเหนา กับรามเกียรติ์ ค่ะ  นางค่อมยุบลเป็นนางกำนัลของบุษบา ถูกอิเหนาใช้ให้นำดอกลำเจียกไปถวาย  ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าใดนัก  แต่ในรามเกียรติ์ นางค่อมนี่แหละทำให้พระรามต้องกระเด็นออกจากวังไปเดินป่าเสีย 14 ปี เพราะพระรามคึกคะนองไปแกล้งนางเข้าก่อน เลยโดนแก้แค้นเอาคืน

เคยถามนักวิชาการประวัติศาสตร์ว่าเหตุใดจึงเลือกคนที่ร่างกายไม่สมประกอบมาทำหน้าที่ในวัง    คำตอบก็คงได้แค่สันนิษฐาน  คือการเลือกหญิงที่ดูไม่เจริญตามารับใช้เจ้านายสตรีและเจ้าจอมหม่อมห้ามผู้มีรูปโฉมเจริญตา  ก็เพื่อจุดประสงค์ไม่ให้เกิดการปฏิพัทธ์กันขึ้น   เป็นการป้องกันไว้ชั้นหนึ่ง     แต่ก็คงไม่ได้ผล  เพราะหญิงที่รูปโฉมสวยงามนั้นมีมาก เลยหันมารักกันเอง




กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 08:27
สืบเนื่องจากภาพที่ 47  ที่คุณคทาธรนำมาแสดง  มองเห็นอะไรที่มันหลุดอีกนิดหน่อย
ในความเป็นจริง   อยุธยาไม่มีกระสอบทอด้วยเครื่องจักรแบบที่บรรทุกเกวียนมา   ถ้าจะขนข้าวสารหรือสินค้าพืชไร่มาขาย  ก็ใส่กระบุง ชะลอม ตะกร้า สานด้วยพืชต่างๆขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำด้วยฝีมือชาวบ้าน  
ผ้าใบอย่างที่มุงหลังคาก็ไม่มี   สมัยนั้นมุงด้วยจากหรือแฝก ซึ่งเป็นของหาง่าย ขึ้นเองเหมือนกัน
เสาแป๊บน้ำก็ยังไม่ถือกำเนิดในโลกนะคะ     ถ้าเป็นเสาชั่วคราว ก็เอาไม้ไผ่ละง่ายดี หาที่ไหนก็ได้ในสมัยนั้น

ความกลมกลืนกับธรรมชาติ ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอยุธยา  ในพระราชวังอาจมีการประดับตกแต่งอลังการล้ำค้า  ซึ่งละครเรื่องนี้ตั้งใจเน้นจุดนี้โชว์เต็มที่อยู่แล้ว
แต่ในชีวิตชาวบ้าน  ความสวยงามแบบง่ายๆ ผู้กำกับภาพอาจใช้ CG ช่วยกลบเกลื่อนบางจุดที่เป็นผลผลิตอุตสาหกรรม ให้ออกมาดูเป็นธรรมชาติได้เช่นกัน



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 08:30
กระสอบที่ว่า


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 ธ.ค. 17, 09:55
             คนพิเศษผิดแผก(เตี้ย ค่อม เทย เผือก) ในราชสำนักไทยนั้น นึกถึงชาว Court dwarf ที่มีทั้งในอียิปต์,
กรีซ,โรม,ยุโรปและจีน

https://en.wikipedia.org/wiki/Court_dwarf

             ส่วน เตี้ย ค่อมของไทยในประวัติศาสตร์และไม่ได้อยู่ในสถานะเดียวกับ เตี้ย ค่อม เทย เผือก นั้น, นึกถึง
พระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้มีรูปร่างอาภัพและโชคชะตาพลิกผันอย่างน่าสงสาร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 10:12
ถ้าถามว่ากระเทยมีไหมในสังคมอยุธยา คำตอบคือมี  ตามหลักฐานในพระไอยการนาพลเรือน  ซึ่งได้กำหนดตำแหน่งของฝ่ายในพวกหนึ่งว่า "เตี้ย ค่อม เทย เผือก"มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง
ทั้งสี่ประเภทจัดอยู่ในพวกร่างกายไม่สมประกอบ   คำว่า เตี้ย ค่อม เผือก นั้นพอเข้าใจได้ว่าลักษณะอย่างไร  ส่วน "เทย" ในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงกระเทยอย่างในปัจจุบัน  แต่หมายถึงคนที่อวัยวะเพศไม่สมบูรณ์  

ใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ส่วนที่ว่าด้วยศักดิ์นาเจ้าและฝ่ายใน มีกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่ง คือ “เตี้ย ค่อม เทย เผือก” มีศักดิ์นา ๕๐ เป็นคนรับใช้ในพระราชวังหลวง ทั้ง ๔ พวกนี้เป็นพวกมีความผิดปกติทางร่างกาย หาใช่ทางจิตใจหรือพฤติกรรมไม่ ในที่นี้ใช้คำว่า เทย ไม่ใช่ กระเทย ทำให้เกิดปัญหาสองประการ ประการแรก คือ ร่างกายผิดปกติอย่างไร มีอวัยวะเพศของทั้งสองเพศ หรือ ไม่มีอวัยวะเพศ หรือมีแต่รูปัสสาวะ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ James Caswell ได้ทำพจนานุกรมคำไทยขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๖ หรือ พ.ศ. ๒๓๘๙ โดยที่มีครูสอนภาษาไทยเป็นคนให้ความรู้แก่ท่าน ท่านได้เก็บคำว่า กะเทย ไว้ด้วยว่า “กะเทยนั้น คือ บุทคลที่มีประเทษที่ลับเปนหญิงก็ใช่ เปนชายใช่นั้น เรียกว่า คนกะเทย”  แต่สำหรับหมอบรัดเลได้ให้คำนิยามไว้ในสมัยรัชกาลที่ใน อักขราภิธานศรับท์ ว่า “คนไม่เปนเภษชาย, ไม่เปนเภษหญิง, มีแต่ทางปัศสาวะ” เพราะฉะนั้น กะเทย ในความรู้สึกของคนไทยสมัยก่อนจึงหมายถึงพวกที่เกิดมามีอวัยวะเพศผิดปกติ ไม่ใช่พวกที่มีพฤติกรรมทางเพศเบี่ยงเบน

ปัญหาประการที่สองคือ คำว่า เทย (ไม่ใช่ กะเทย / กระเทย) มีใช้อยู่ในกฎหมายตราสามดวง และ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บอกว่า มาจากคำอาหม คำนี้ก็ไม่น่ามาจากภาษาเขมร กลายเป็นว่า คำเขมรว่า เขฺตีย นั้นเขมรอาจรับไปจากไทย

จากบทความเรื่อง กะเทย / บัณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

https://www.gotoknow.org/posts/151017


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 09 ธ.ค. 17, 11:48
มาลงชื่อเข้าชั้นเรียนค่ะ ยังไม่ได้ดูเรื่องนี้เต็มๆเลยค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 09 ธ.ค. 17, 12:19

ว่าจะนั่งฟังเงียบๆ อยู่หลังห้องแล้วเชียวค่ะ

เห็น คห. 47 เลยต้องเอามาเสริม

(หมายเหตุ เอามาจาก พันทิป)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 12:29
Dramatic error  (http://www.reurnthai.com/Smileys/modern/grin.gif)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 14:56
ดูรูปข้างบนที่คุณ tita นำมาลง   แล้วนึกได้ว่าสะดุดตากับอีกอย่างหนึ่งในเครื่องแต่งกายขุนนาง  คือสร้อยสังวาลสวมสะพายเฉียงบ่า  ที่เห็นขุนนางในละครแต่งกันทั้งหมดตั้งแต่มหาดเล็ก คุณหลวงไปจนพระยา
หลักฐานการแต่งกายขุนนาง สมัยอยุธยา ดูได้จากภาพวาดของโกษาปานและขุนนางอื่นๆสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่ฝรั่งวาดไว้
พระยาพิชัย และคุณหลวง น่าจะแต่งกายแบบนี้ในความเป็นจริง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 14:57
ส่วนสร้อยสังวาล เคยเห็นในพระรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และอีกพระองค์หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 15:08
ภาพราชทูตไทยไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ฝรั่งเศส      เครื่องแต่งกายเต็มยศของขุนนางไทยเป็นแบบนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 15:29
เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เเป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 15:42
ในรูปวาดทั้งหมด  ไม่มีครุยนะคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 16:07
เสื้อครุยของออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) อาจได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย   ;)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5688.0;attach=41195;image)

ชุดที่โกษาปานแต่งเป็นเครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการสมัยอยุธยาค่ะ  ส่วนที่สวมบนศีรษะเรียกว่าลอมพอก
ข้าราชการรัตนโกสินทร์ยังคงรับสืบทอดมา ตรงเสื้อผ้าโปร่งสวมทับ ที่เราเรียกว่าเสื้อครุย  แต่ไม่สวมลอมพอกแล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 16:23
พจนานุกรมราชบัณฑิตให้ความหมายของ ครุย ว่า น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ ชายครุย ก็ว่า
ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.

ไม่ได้อธิบายลักษณะของเสื้อ เลยไม่รู้ว่าเสื้อที่โกษาปานสวมคือครุย อย่างฉลองพระองค์ตัวนอกของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  หรือว่าเป็นเสื้อตัวยาวอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า tunic
เสื้อยาวๆพันตัวแบบนี้  ญี่ปุ่นก็สวมกัน แถมมีผ้าคาดเอวคล้ายกันอีกด้วย คุณเพ็ญชมพูเคยไปเรียน คงเคยสวมยูกาตะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 16:33
เสื้อยาวๆพันตัวแบบนี้  ญี่ปุ่นก็สวมกัน แถมมีผ้าคาดเอวคล้ายกันอีกด้วย คุณเพ็ญชมพูเคยไปเรียน คงเคยสวมยูกาตะ

そうですね。;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 17:37
อีกตอนหนึ่งที่เป็นได้เฉพาะ dramatic licenseเท่านั้น  ดูจากคลิปในค.ห. 6  นาทีที่ 14.34

https://www.youtube.com/watch?v=3fFr3J3halk

เป็นฉากที่พระเจ้าเอกทัศเสด็จออกท้องพระโรง  แต่ไม่ได้ตรงไปประทับนั่งที่พระแท่น   ทรงเดินจงกรมเสียรอบหนึ่งให้ขุนนางดู  ในฉลองพระองค์เต็มยศสวมพระมหาพิชัยมงกุฎหนักอึ้ง  ทำไมจะต้องเดินในท้องพระโรงก็ไม่ทราบ   หากจะปฏิบัติธรรมก็เลือกเวลาอื่นและสถานที่อื่นที่สงัดเหมาะกับการเจริญสติก็น่าจะดีกว่า

แต่ฉากเด็ดกว่านี้ คือเมื่อทรงเดินจงกรมเสร็จแล้ว   ก็ถอดพระมหาพิชัยมงกุฎออก  ทำไมก็ไม่ทราบเหมือนกัน  ในเมื่อทรงสวมมาแต่แรกเหมือนจะออกว่าราชการในชุดนี้ 
มหาดเล็กสองคนทำหน้าที่ช่วยถอด    คนหนึ่งจับคางพระเจ้ากรุงอยุธยาเพื่อถอดสายรัดใต้คาง และอีกมือจับพระมหาพิชัยมงกุฎ (ซึ่งก็ต้องโดนพระเศียรพระเจ้าเอกทัศด้วย) อย่างเต็มไม้เต็มมือ  ไม่มีประหม่า แสดงว่าทำหน้าที่นี้ประจำ

โอ้ว พระเจ้าจอร์จ! ร้องได้แค่นี้เองค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 17, 18:27
คงติดภาพสวมลอมพอก สวมครุยในภาพจิตรกรรมนี้ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 09 ธ.ค. 17, 18:32
คิดว่าจะทรงทำสมาธิก่อนออกว่าราชการกระมังคะอาจารย์ ตีความตามที่ท่านผู้กำกับ(น่าจะ) คิดไว้อย่างนั้น

เรื่อง Dramatic license อะไรนี่ ถ้าเราถือคติว่า "ดูละครเอาสนุกๆ" ไม่ถือเป็นจริงเป็นจังก็พอทนได้อยู่ แต่ว่าก็มีคนบางกลุ่มที่ "อิน" กับละครอิงประวัติศาสตร์ต่างๆ มากเกิน จนพาลคิดไปว่าอะไรต่อมิอะไรที่ละครเสนอให้มานั้น "ถูกต้องสมจริง" ไปเสียหมด เชื่อมากกว่าพงศาวดารหรือตำราด้วยซ้ำ ความคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขโดยด่วน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 18:51
คิดว่าจะทรงทำสมาธิก่อนออกว่าราชการกระมังคะอาจารย์ ตีความตามที่ท่านผู้กำกับ(น่าจะ) คิดไว้อย่างนั้น

เรื่อง Dramatic license อะไรนี่ ถ้าเราถือคติว่า "ดูละครเอาสนุกๆ" ไม่ถือเป็นจริงเป็นจังก็พอทนได้อยู่ แต่ว่าก็มีคนบางกลุ่มที่ "อิน" กับละครอิงประวัติศาสตร์ต่างๆ มากเกิน จนพาลคิดไปว่าอะไรต่อมิอะไรที่ละครเสนอให้มานั้น "ถูกต้องสมจริง" ไปเสียหมด เชื่อมากกว่าพงศาวดารหรือตำราด้วยซ้ำ ความคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขโดยด่วน

คิดทำนองเดียวกันค่ะ  คงเป็นการนำเสนอว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมะ   พระเจ้าเอกทัศทรงธรรมะธัมโม เห็นได้จากการเดินจงกรมเจริญสติก่อนว่าราชการ     แต่วิธีการนำเสนอเพื่อให้คนดูเข้าใจประเด็นนี้ มันไม่เนียน      เพราะจะมาจงกรมอะไรอยู่ในท้องพระโรง ท่ามกลางขุนนางที่หมอบเฝ้ามีเรื่องราชการจะต้องทูลเสนออีกมากมาย
เอ่าเถอะ  มันก็ละคร
คนดูละครจำนวนหนึ่งก็คิดอย่างคุณแพรวพิมว่าค่ะ      ถึงต้องเกิดกระทู้นี้ขึ้นมาไงคะ   อย่างน้อยก็เสนอทางเลือกให้เขาเห็นว่า มีอะไรที่นอกเหนือจากในละครบ้าง    ส่วนจะเชื่อไม่เชื่อ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย แล้วแต่เขาค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 09 ธ.ค. 17, 20:35
มันก็เหมือนเราสร้าง "ความจริงเสมือน (Virtual Reality)" ขึ้นมา เป็น Illusion ทางประวัติศาสตร์

ดังนั้น ถ้าคนดูเกิดอินไปกับเนื้อเรื่อง โดยไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ในห้วงเวลานั้น มาเป็นภูมิคุ้มกัน

มันก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อยนะครับ เพราะมันอาจกลายเป็นความทรงจำอยู่ในหัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 17, 21:16
ก็คิดเช่นนั้นละค่ะ
การเลือกเชื่อเอกสารเล่มหนึ่งและไม่เอาเอกสารอีกเล่มหนึ่ง เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตนิยายหรือละครหรือหนังอิงประวัติศาสตร์ทำได้   เช่นเชื่อว่าพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้ามีนิสัยน่าเคารพ    แต่ไม่เชื่อว่าท่านฝืนคำสั่งพระบิดา แย่งบัลลังก์จากน้องชาย  ข้อนี้อนุโลมได้ว่าเป็นสิทธิพิเศษของผู้ทำละคร
แต่ที่จะต้องชี้แจงกันก็คือ ข้อพลาดในเรื่องข้อเท็จจริง ที่ไม่น่าพลาด  เช่นขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งหลาย      ทำให้คนรุ่นหลังที่ไม่รู้ จำผิดพลาดกันต่อๆไปค่ะ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 10 ธ.ค. 17, 13:30
น่ากลัวจริงๆครับ  :-X
(https://scontent.fbkk2-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/25151951_1711773028905165_1149844940640276164_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeHOFu6liPDObgfx510fCwcxEmaZZZGMiZ38_dF4EzrYdCiKbCNMFUaA_cAgFFeDMyiMz1om_YvojIboGoMJTMNo7DVlss-35GExB-zSVDJq0A&oh=c32df33ea4050bb72f8c297a0273310d&oe=5AD2FE6B)

(https://scontent.fbkk2-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24991163_1711773022238499_330630371533868758_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeE5zrLzFdwLL2kfWU3NWpNHsJT-EEhWnBw6ee6FcD0_0IOwYv7oQR_mT9Os4df-sP_QjSyT7shgfwPFO0I5ukTNIrZuxbwglnkwTNY_CJYwmQ&oh=06741a5097a83602a16bd44c1d44f4ff&oe=5AC58BA8)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 10 ธ.ค. 17, 13:48
น่ากลัวจริงๆครับ  :-X
(https://scontent.fbkk2-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/25151951_1711773028905165_1149844940640276164_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeHOFu6liPDObgfx510fCwcxEmaZZZGMiZ38_dF4EzrYdCiKbCNMFUaA_cAgFFeDMyiMz1om_YvojIboGoMJTMNo7DVlss-35GExB-zSVDJq0A&oh=c32df33ea4050bb72f8c297a0273310d&oe=5AD2FE6B)

(https://scontent.fbkk2-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/24991163_1711773022238499_330630371533868758_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeE5zrLzFdwLL2kfWU3NWpNHsJT-EEhWnBw6ee6FcD0_0IOwYv7oQR_mT9Os4df-sP_QjSyT7shgfwPFO0I5ukTNIrZuxbwglnkwTNY_CJYwmQ&oh=06741a5097a83602a16bd44c1d44f4ff&oe=5AC58BA8)

มีคำนำหน้าว่า หม่อมหลวง ไม่ได้แปลว่าคุณน้อย (ขออนุญาตเรียกคำที่ถูกต้องนะคะ) จะรู้ทุกอย่างดีกว่าตำรา

ไม่งั้น เราจะเขียน จะอ่านตำรากันทำไมคะ ถ้าคิดแบบนี้ ก็ถามหาข้อเท็จจริงต่างๆ จากคนที่มีคำนำหน้าว่า "หม่อม..." อย่างเดียวไม่ดีกว่าหรือ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ธ.ค. 17, 13:55
น่ากลัวฝุดๆ
ไม่ใช่หม่อมน้อยนะคะ   แต่หมายถึงความเห็นแบบนี้
ถ้านี่คือการปกป้อง หม่อมน้อยจะเสียมากกว่าได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ธ.ค. 17, 20:11
บุษบาบรรณ์ นางเอกเรื่องนี้  มีฉากเปิดตัวตั้งแต่เป็นเด็ก      ตามประวัติบอกว่าถูกส่งเข้าวังเป็นนางรำ
คงจะเป็นเพราะต้องการแนะนำกับคนดูว่าเธอเป็นนางรำ   จึงมีการให้เธอแต่งเครื่องละครรำ(?) คลานมาเข้าเฝ้าพระพันวัสสา ซึ่งรับบทโดยสินจัย
ชุดละครรำที่ว่านี้น่าจะทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับละครหรือหนังเรื่องนื้     ลักษณะจึงแตกต่างไปจากเครื่องละครกรมศิลปากร ที่เราเคยเห็นๆกัน  มีเกี้ยวยอดแหลมเปี๊ยบสวมทับจุกอีกทีหนึ่ง

ในความเป็นจริง  นางรำรุ่นจิ๋วมีในราชสำนัก  สืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เวลาฝึกหัดรำก็ไม่จำเป็นต้องแบกเครื่องทรงเกะกะไปทั้งตัวแบบนี้ค่ะ    แค่แต่งกายให้ทะมัดทะแมงเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก   เหมือนนักเรียนนาฏศิลป์เท่านั้น



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ธ.ค. 17, 20:15
แม่หนูคนนี้แต่งกายผิดแบบ   คือถ้าเธอยังไว้จุกอยู่ เธอจะไม่ห่มสไบ  แต่สวมเสื้อ หรือไม่ ถ้ายังเล็กกว่านี้จะไม่สวมอะไรท่อนบนเลยก็ได้
การห่มสไบนั้นเริ่มขึ้นเมื่อผู้หญิงโกนจุก แสดงว่าย่างเข้าสู่วัยสาวแล้ว    ต้องหัดห่มผ้า เดินเหินไปไหนทำอะไรก็ต้องรู้จักวิธีให้ผ้าอยู่กับตัวไม่เลื่อนหลุด   
พูดอีกทีว่าถ้าห่มสไบแล้ว จะต้องไม่มีจุก   ผมในตอนแรกจะสั้น มีแต่ส่วนยาวเหมือนหญ้าแพรกอยู่บนกระหม่อม  ต่อมาก็ปล่อยให้ยาวลงมาอีกจนระบ่า    ซึ่งเป็นทรงผมยอดนิยมของสาวชาววัง  ดังที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงชมหม่อมห้ามของท่านว่า "ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ธ.ค. 17, 10:17
ฉากเดียวกันนี้ ตู้ใส่หนังสือนัั้นจะแยกลายระหว่างบาน กับขอบตู้ ไม่ได้ทำเป็นลายเดียวต่อเนื่องกันทั้งใบ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 11 ธ.ค. 17, 13:38
ได้ดูตอนแรก 2 เบรกแล้วครับ กระสอบเจ้ากรรมโผล่มาพร้อมพี่หนุ่มศรราม พระกำนัลนารีน่ากลัวมาก ภาพสวยจนดูเหมือนวอลเปเปอร์ ฉากประกอบไม่เนียนผมไม่ติดใจ แต่ตัวละครบางส่วนยังเล่นแข็งไปนิด (อาจเป็นเพราะต้องเล่นบทยากตั้งแต่ฉากแรก) ไว้รอดูทัพพม่าก่อนว่าจะยังไง ซักพักจะตามทุกท่านจนทันนะครับ  :D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 17, 16:26
ในตำหนักพระพันวัสสา(สินจัย) ใช้หัวโขนเป็นเครื่องแต่งห้องอีกด้วย
เครื่องโขนพวกนี้อยู่ตามที่ตามทาง คือเมื่อใช้ประกอบการแสดง ก็ต้องเก็บไว้ในที่สำหรับเก็บเครื่องแสดง   ไม่เอามาปะปนในห้องหับที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้  ยังถือกันว่า หัวโขนสำคัญๆที่เป็นหัวโขนตัวเทพในการแสดงใช้สมมติแทนเทพเจ้าองค์นั้นๆ เช่นหัวโขนพระอิศวรก็ใช้แทนองค์พระอิศวรในพิธีไหว้ครู
หัวโขนในฉากนี้เป็นตัวพระ แต่องค์ไหนเห็นไม่ชัด  ต้องรอถามคุณหนุ่มสยาม
อย่างไรก็ตาม ชาวอยุธยาไม่นำหัวโขนมาเป็นพร็อพประดับบ้านแน่ๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 17, 16:30
ขอย้อนกลับไปฉากท้องพระโรง พระเจ้าเอกทัศเสด็จออกว่าราชการ
เห็นฉากนี้แต่แรกแล้ว สะดุดตา แต่มัวไปติดอยู้เรื่องอื่นเลยไม่ทันพูดเรื่องนี้
ขอสะกิดคุณมหาดเล็กบุนนาค ว่าเป็นมหาดเล็กนั่งเสมอพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาแบบนี้ไม่ได้นะเจ้าคะ    ต้องลงไปหมอบอยู่ข้างล่าง
เหมือนสุนทรภู่เคยรำพันว่า "เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ"  จำไม่ได้แล้วหรือ 
ขนาดเป็นอาลักษณ์คนโปรด ก็ยังต้องหมอบบนพื้นล่าง  จะมานั่งซ้อนหลังอยู่ไม่ได้เป็นอันขาด 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 17, 17:43
เสาโคมในภาพข้างล่างนี้มีอยู่ในละคร    คงจะติดมากับฉากที่ไปถ่ายทำ
ในความเป็นจริง   สมัยอยุธยาตอนปลาย  เครื่องให้แสงสว่างมาจากธรรมชาติ เช่น ไต้ และตะเกียง  อีกอย่างคือเทียน
ส่วนโคมแก้วแขวนปลายเสาข้างทางนั้นยังไม่มี  เพราะไฟฟ้า หรือแม้แต่ไฟแก๊ซที่มีมาก่อนไฟฟ้า ยังไม่ถูกประดิษฐ์คิดค้นอีกเช่นกันค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 17, 19:19
คุณนริศถามถึงระยะเวลาเดินทัพของพม่าเข้ามาจนถึงอยุธยาว่ากินเวลาเท่าไหร่      ดิฉันไปเจอกระทู้เก่าของคุณม้า CrazyHOrse บอกวันเดือนปีการยกทัพไว้เสร็จสรรพ
สงสัยคุณม้าลืม ดิฉันก็ลืม  เลยไม่ได้ตอบเสียตั้งแต่แรกที่คุณนริศถาม

กลับมาคิดทบทวนอีกที เรื่องพม่าตีเชียงใหม่ ที่ผมตั้งข้อสังเกตว่าพงศาวดารไทยระบุปีผิด เร็วไปสองปีนั้น เป็นไปได้เหมือนกันว่าอาจเป็นศึกคนละครั้ง พระเจ้ามังลอกอาจจะเคยยกมาปราบเชียงใหม่ครั้งหนึ่งเมื่อปีพ.ศ.๒๓๐๔ แล้วเกิดกบฏให้พระเจ้ามังระมาปราบอีกครั้งในปี ๒๓๐๖ แต่ที่พงศาวดารไทยบอกว่า ๒๓๐๔ ให้มองหม่องราชบุตรพระเจ้ามังลอกเป็นคนนำทัพมานั้น อันนี้ผิดแน่นอน เพราะตอนนั้นมองหม่องยังไม่เกิดเลย ตอนพระเจ้ามังลอกสวรรคตปลายปี ๒๓๐๖ มองหม่องเพิ่งจะอายุได้ ๒ เดือนเท่านั้นเองครับ

อีกเรื่องหนึ่ง ผมเคยพูดถึงก่อนหน้านี้ว่าพระยาเพชรบุรีตายในสงครามคราวเสียกรุงนี้ แต่ถ้าจดหมายของบริโกต์ถูกต้อง ก็มีพระยาเพชรบุรีคนใหม่แล้วครับ จะว่าไปหลักฐานก็รับกันดี เพราะพระยาเพชรบุรีผู้นี้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อการที่สนับสนุนกรมหมื่นเทพพิพิธมาแต่ต้นครับ นอกจากนี้ ฝ่ายคู่กรณี จมื่นศรีสรรักษ์ น้องชายเจ้าจอมเพง ที่คิดว่าหมดบทบาทไปแล้ว พอละเลียดอ่านก็เจอเรื่องที่น่าสนใจและน่าแปลกใจเข้าให้ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามต่อไปครับ



มีนาคม ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์ว่าพม่ายกทัพจากทวายมาตี เพชรบุรีและกาญจนบุรีแตก แล้วพม่ามาตั้งทัพที่ Michong เป็นที่แม่น้ำสองสายมาชนกัน (เข้าใจว่าน่าจะเป็นปากแพรกตรงเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน) แต่พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศว่าพม่ายกมาตีทางนี้ในอีกราว ๒ เดือนต่อมา

๗ เมษายน ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์ว่าตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ทางอยุธยาเตรียมการรับศึก ระหว่างนี้มีคนบ้านนอกอพยพเข้ามาในกรุงจำนวนมาก

๑๙ พฤษภาคม ค.ศ.๑๗๖๕
บาทหลวงฝรั่งเศสแคแฮแว ระบุว่าคิดหนีจากกรุงศรีอยุธยา แต่เรือออกไม่ได้เพราะพม่ายกมา (ไม่ได้บอกว่าไทยไม่ให้ออก ให้่ทัพพม่าคุมเส้นทางไว้ได้แล้ว) ระหว่างนี้มีพระบรมราชโองการผ่านเจ้าพระยาพระคลังให้แคแฮแวช่วยทำป้อมและฝึกทหารยิงปืนใหญ่ แคแฮแวไม่อยากช่วย แต่จำใจต้องทำเพราะเพื่อนบาทหลวงต้องการให้เอาใจทางไทยไว้ เพื่อจะขอรับพระราชทานที่ดินมาทำโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง

พฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ.๑๗๖๕ (เดือน ๗ พ.ศ.๒๓๐๘)
พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศว่า มังมหานรทาให้แจ้วไปทางอังวะว่าตีทวายได้แล้ว เห็นควรจะไปตีอยุธยาต่อไป พม่ายกเข้ามาตีเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี พงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมขยายความว่า "ให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชเร่งยกออกไปปิดทางข้างเมืองมะริดไว้ แล้วให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๕,๐๐๐ ยกออกไป  ตั้งรับที่เมืองราชบุรีทัพ ๑ เพชรบุรีทัพ ๑ แก่งตั้งทัพ ๑ พระยากลาโหมคุมคน ๗,๐๐๐ ยกไปตั้งรับทางท่ากระดาน ๆ นี้พม่าหาได้ยกมาไม่ ให้พระยามหาเสนาคุมพล ๑๒,๐๐๐ ยกไปตั้งรับนครสวรรค์ พระยาอำมาตยคุม์พล ๑๕,๐๐๐ ยกไปตั้งรับไว้ชัยนาท ฝ่ายกองทัพพม่าก็ยกตีดาเข้ามาทุกทาง" (ท่ากระดานเป็นตำบลในเส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ น่าสังเกตว่าทางนครสวรรค์และชัยนาทยังไม่น่าจะมีทัพพม่ามาถึงตอนนี้)
พม่าตีเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ได้แล้วมาบรรจบกันที่ลูกแก ตั้งค่ายที่ตอกระออมและดงรังหนองขาว (หนองขาวอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ระหว่างเส้นทางบกที่สำคัญ ส่วนตอกระออมไม่ทราบว่าอยู่ไหน แต่พบว่ามีคอกระออมอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรี ดูจะไกลไปหน่อย แต่อยู่ในเส้นทางเดินทัพจากตะนาวศรีผ่านช่องสิงขรจะไปเมืองเพชรบุรีได้สะดวก)
ฝ่ายไทยเกณฑ์ทัพหัวเมืองปากใต้ตั้งรับที่บำหรุ ทัพเรืออยู่บางกุ้ง ทัพพิษณุโลกตั้งวัดภูเขาทอง ทัพโคราชตั้งวัดเจดีย์แดง แล้วให้พระยาธารมาคุมทัพโคราชลงมาตั้งรับที่ธนบุรี (พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบอกว่าบำหรุอยู่ราชบุรี ในขณะที่การรับรู้โดยทั่วไปบำหรุคือบางบำหรุตอนเหนือของบางกอกน้อย)
พระยาพิษณุโลกให้พระยาพลเทพกราบทูลพระกรุณา  ลากลับขึ้นไปปลงศพมารดา  ให้หลวงโกษา พระมหาดไทย  หลวงเทพเสนา  คุมกองทัพอยู่ณวัดภูเขาทองแทน

ปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์บอกว่า สังฆราชฝรั่งเศสเห็นว่าไม่พ้นอันตราย ให้แคแฮแวกับอาโต พานักเรียนหนีไปจันทบุรี หลังจากนั้นไม่นานไทยปิดด่าน ห้ามเข้าออก

สิงหาคม-กันยายน ค.ศ.๑๗๖๕ (เดือน ๑๐ พ.ศ.๒๓๐๘)
พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศบอกว่า พม่ายกมาตีค่ายบางบำหรุแตก แล้วยกมาตีกรุงธนบุรีได้ พักพลที่วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฏ์) ๓ วัน แล้วเลิกทัพกลับไปคอกระออม บริโกต์บันทึกไว้ตรงกันว่าพม่าทำลายป้อม เผาสวนและบ้านเรือนที่บางกอก

๒๕ กันยายน ค.ศ.๑๗๖๕
พงศาวดารพม่าว่า เนเมียวสีหบดีคุมพลพม่าล้านนาล้านช้างรวมกัน ๔๐,๐๐๐ ยกลงมาจากเชียงใหม่ ตีหัวเมืองรายทาง สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย พิจิตร

เดือน ๑๒ ตุลา-พฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๖๕
พงศาวดารพม่าว่า มังมหานรธายกทัพพม่ามอญทวายรวมกัน ๓๐,๐๐๐ มาทางด่านเจดีย์สามองค์


สรุปได้ว่าการศึกในช่วงหน้าแล้งของปีนี้ พม่ายกมาทำการจากทางใต้ก่อน โดยยกมาจากทวายผ่านตะนาวศรีเข้ามาทางด่านสิงขร ตีเมืองเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวมถึงเมืองเล็กน้อยทั้งทางใต้และในเส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อเปิดเส้นทางรอรับทัพใหญ่ที่มังมหานรทาจะยกตามมา ทั้งนี้หากพม่าเข้ามาในเดือน ๗ จริง ก็เป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะมาทำการเอาตอนฤดูน้ำหลากใกล้จะมาถึงแล้ว จะมีเวลาน้อย (ปกติฤดูน้ำหลากจะเป็นราวเดือน ๘ จนถึงเดือน ๑๒) เป็นไปได้ว่าพม่าเข้ามาในเดือนมีนาคม (ราวเดือน ๔ - เดือน ๕) อย่างที่บริโกต์ว่า โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายหัวเมืองทางใต้เพื่อเปิดเส้นทางให้ทัพของมังมหานรทายกตามมาได้สะดวก นอกจากนี้ก็คงเพื่อรอเนเมียวสีหบดีให้เสร็จศึกปราบกบฎที่เชียงใหม่ยกทัพลงมาสมทบกันเมื่อพ้นฤดูน้ำหลากด้วย

น่าสังเกตว่าระหว่างฤดูน้ำหลากนี้ พม่าพยายามใช้ทัพเรือโจมตีทางด้านใต้ โดยสามารถตีเมืองธนบุรีได้ แต่คงจะไม่สามารถรักษาไว้ได้นาน พงศาวดารข้างไทยบอกพม่าเลิกทัพมา แต่การศึกหลังจากนี้จะเห็นได้ว่าไทยกลับมาควบคุมเมืองธนบุรีไว้ได้อีกแล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ธ.ค. 17, 22:25

ผมขอเสนอท่านเจ้าเรือนให้พิจารณาปักหมุดกระทู้นี้ เพราะน่าจะมีสมาชิกสนใจแลกเปลี่ยนความรู้กันยาวแน่ครับ

งานนี้หม่อมน้อยได้นำเสนอทฤษฎีแปลกใหม่ เสนอภาพกรุงศรีอยุธยาในอย่างที่ท่านฝันอยากให้เป็น
ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจเฉลยว่าเป็นเพียงความฝันของพระเอกอนันดาตามท้องเรื่องก็ได้

พระเอกของเราไม่กินหมาก
"สิ่งที่ผู้หญิงสยามไม่อาจทนดูพวกเราได้ก็คือตรงที่พวกเรามีฟันขาว
เพราะพวกนางเชื่อกันว่าพวกภูตผีปีศาจเท่านั้นที่มีฟันขาว
และเป็นสิ่งน่าอับอายที่สุดที่มนุษย์เราจะมีฟันสีขาว"

                             นิโกลาส์ แชร์แวส (1688)


(https://gossipstar.mthai.com/data/topic/images/image-65305_5.jpg)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ธ.ค. 17, 22:47
(https://www.instagram.com/p/BWtwZvaBnY8/media/?size=l)

ทฤษฎีใหม่ ขี่ม้าจากเมืองตากมาอยุธยาเร็วกว่าล่องเรือมาตามแม่น้ำ
พระเอกศรรามมีม้าเปอร์เซียพันธ์ุดี วิ่งได้สามวันสามคืนโดยไม่ต้องหยุดพัก

"การเดินทางบกนั้นต้องไปด้วยม้าหรือช้าง แต่โดยที่ม้าพื้นเมืองกินแต่หญ้า มันจึงไม่ค่อยแข็งแรง
และเดินทางระยาวไม่ค่อยได้ เครื่องบังเหียนนั้นไม่เปลกไปกว่าที่ใช้กันอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเลย
มีแต่โกลนเท่านั้นที่ดูสั้นไป เพราะคนสยามชอบนั่งม้าเหมือนท่านั่งเก้าอี้
พวกเขาไม่เป็นนักขี่ม้าที่สามารถเท่าใดนัก และพวกขุนนางไม่ยอมขี่ม้าเลย"

                                นิโกลาส์ แชร์แวส (1688)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 12 ธ.ค. 17, 08:46
Dramatic licence ถ้าใช้ว่า สิทธิของการเป็นละคร จะได้ไหมคะ? คิดคำสวยๆแบบประพันธสิทธิไม่เป็นเสียด้วยสิคะ

หลายๆครั้งที่คนดูเกิดอาการอินเกินไปจนออกอาการโวยวายว่าทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมมันไม่เป็นอย่างนี้ พระเอกทำไมโง่จริง นางเอกแค่ตัดผมสั้นใส่เสื้อหลวมๆก็เชื่อละว่าเป็นผู้ชาย......มักจะได้รับคำตอบกลับมาว่า ก็มันเป็นละคร.....


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: พระนาย ที่ 12 ธ.ค. 17, 09:58
ในมุมมองของหม่อมน้อย อาจจะอ้างว่าคือละคร ผมก็พึงจะเข้าใจก็แต่เฉพาะเรื่องของบทละครที่อาจดัดแปลงให้ต่างจากปะวัติศาสตร์
 แต่ในส่วนของขนบธรรมเนียมในรั้วในวังในละครที่ยังมีหลายๆจุดที่ต้องปรับ อันนี้ไม่ควรละเลยน่ะครับ คนที่เขาดูละครบางคนเขาจะทึกทักเอาว่าที่มีในละครเป็นเรื่องจริง
ยกตัวอย่างที่ท่านเจ้าเรือนได้กล่าวไปข้างต้น เช่น การถือดาบเข้าเฝ้า การหมอบกราบ การแต่งตัวก่อนโกนจุก การเอาหัวโขนมาแต่งตำหนัก การไหว้ของเจ้าฟ้า การเข้าเฝ้าของขุนนาง อันนี้มันคือรายล่ะเอียดที่ปรับกันได้ง่ายกว่าบทละครเสียอีกน่ะครับ
แต่นั้นก็เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวจากผม ไม่อาจถือเป็นสาระครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ธ.ค. 17, 10:24
ขอบพระคุณอาจารย์ครับ จากตารางเวลานั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า ทัพพม่าไม่ใช่กองโจร (ที่เข้าปล้นตีชายพระราชอาณาเขตแล้วค่อยมาค้นพบว่า ระบบการป้องกันของอยุธยาอ่อนแอ จึงได้คิดจะยกล่วงเข้ามาตีเอาพระนครในภายหลัง) แต่ที่เป็นกองทัพที่มีการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์มาเป็นอย่างดี และมีการทำงานที่สอดประสานกันในทุกทาง การเสียเวลาเดินทัพไล่ตีเมืองรายทางนั้น ก็เพื่อริดรอนกำลังให้กรุงศรีอยุธยาโดดเดี่ยว ไม่มีทัพไหนมาช่วยกู้กรุงได้อีก เมื่อการปิดล้อมเริ่มต้นขึ้น และการที่ทัพพม่าต้องวางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ก็สื่อให้เห็นว่า แม้จะเป็นช่วงตอนปลายแต่อยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองที่แข็งแกร่งยากที่จะต่อรบได้เหมืองชื่อเมืองครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: พระนาย ที่ 12 ธ.ค. 17, 10:34
ขอบพระคุณอาจารย์ครับ จากตารางเวลานั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า ทัพพม่าไม่ใช่กองโจร (ที่เข้าปล้นตีชายพระราชอาณาเขตแล้วค่อยมาค้นพบว่า ระบบการป้องกันของอยุธยาอ่อนแอ จึงได้คิดจะยกล่วงเข้ามาตีเอาพระนครในภายหลัง) แต่ที่เป็นกองทัพที่มีการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์มาเป็นอย่างดี และมีการทำงานที่สอดประสานกันในทุกทาง การเสียเวลาเดินทัพไล่ตีเมืองรายทางนั้น ก็เพื่อริดรอนกำลังให้กรุงศรีอยุธยาโดดเดี่ยว ไม่มีทัพไหนมาช่วยกู้กรุงได้อีก เมื่อการปิดล้อมเริ่มต้นขึ้น และการที่ทัพพม่าต้องวางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ก็สื่อให้เห็นว่า แม้จะเป็นช่วงตอนปลายแต่อยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองที่แข็งแกร่งยากที่จะต่อรบได้เหมืองชื่อเมืองครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับและจากการที่มีการศึกษาพงศาวดาร ฉบับหอแก้ว ของฝั่งพม่า ของ อ.สุเนตร ยิ่งสะท้อนให้เห็นความเข้มแข็งของอยุธยาในยุคนั้น
อีกประการนึง ที่พม่าต้องขุดกำแพงก็เพราะเรารบเข้มแข็งต้องขุดเพื่อหลบกระสุนปืน แต่ที่ไม่เหมือนทุกครั้งคือเมื่อน้ำหลากแล้วพม่าไม่ได้ถอยกลับเฉกเช่นทุกครั้ง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ธ.ค. 17, 10:45
ประเด็น อุปกรณ์ประกอบฉาก อันนี้ ผมคิดว่า หม่อมท่านคงต้องการให้ภาพออกมาดู "อโยธยา" ครับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อยุธยาก็เป็น International Port มีชาวต่างชาติอยู่มากมาย มีสินค้าจากทั่วโลกมาวางขายให้เลือกซื้อ เพราะฉะนั้น ถ้าเอาจริงๆ บ้านผู้ดีหรือพระตำหนักต่างๆในอยุธยายุคนั้น อาจจะเต็มไปด้วยสินค้าตะวันตก ตะวันออก แขก จีน มลายู หลายหลากปนเปกันไป แบบว่า กล้องแพนไป เจอชุดเกราะ Full Plate มีดาบซามุไร วางตั้งอยู่บนแท่น มีเชิงเทียนทรงฝรั่ง ขวดไวน์แก้วที่จุกเป็นคริสตัลอยู่บนโต๊ะ ฯลฯ อะไรอย่างนี้หละครับ ซึ่งสมจริงแต่ดูแล้วไม่อโยธยาเลย ผู้สร้างก็ต้องคิดหละครับว่าจะเอายังไงดี ระหว่าง ความจริง จริงๆ กับ ความจริง ที่คนเชื่อว่า จริง

นอกจากนี้ บางเรื่อง ผมก็เดาครับ ว่า ผู้สร้างท่านก็รู้แหละว่า จริงๆเป็นอย่างไร แต่ถ้าขืนทำตามจริง ละครก็จะยืดยาวไป ไม่สนุก เช่น ถ้าให้หลวงยกกระบัตรเมืองตาก เข้าพบขุนนางตามลำดับชั้นก่อนจะได้เข้าเฝ้า ฉากการเข้าถวายรายงานคงกินเวลายาวนานมาก หรือหากไม่กำหนดให้พระกำนัลนารีสังข์ วิ่งเข้าไปในฝ่ายในเพื่อป่าวประกาศว่า เกิดสงครามแล้ว กว่าตัวละครหญิงจะรู้ข่าวศึกคงนานโข ตกกลางคืน(ของวันเดียวกัน)จะมีฉากดราม่าอาวรณ์ห่วงลูกห่วงผัวได้อย่างไร หรือฉากการออกว่าราชการของพระเจ้าเอกทัศน์ ด้วยความที่ผมเคยเห็นการประชุม ครม. ดังนั้น ในความเห็นผม ผมว่า การประชุมในฉากนี้ รวบรัดเกินไป แต่ก็นั้นแหละ จะให้ฉากนี้มีรายละเอียดสมจริง ฉากนี้คงจะน่าเบื่อมากๆ เลยครับ  



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ธ.ค. 17, 10:53
ครับพี่พระนาย (อาจารย์ไม่อยู่ นักเรียนแอบคุยกัน)
ผมสงสัยมาตั้งแต่ก่อนแล้วว่า ถ้าระบบการป้องกันเมืองอยุธยาห่วยซะขนาดนั้น ข้าศึกที่มีกำลังรบเหนือกว่าร่วมๆ สิบเอาหนึ่ง จะเสียเวลาขุดอุโมงเผารากกำแพงทำไม แค่ยกกำลังหักเข้าเอาเมืองพร้อมกันทุกด้าน ก็จบแล้วไม่ได้หรือ

ประเด็นนี้ ผมอยากดูมากครับว่า ในละครจะนำเสนออย่างไร   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 10:54
เห็นด้วยกับความคิดของคุณนริศค่ะ  แต่พอถึงรายละเอียดก็คิดต่างกันออกไปนิดหน่อย
คือถ้ายึดของจริงล้วนๆ เช่นฉากบ้านหรือตำหนักฝ่ายใน   ถ้าทำตามของจริงเป๊ะๆ เพราะไปค้นคว้ามาอย่างดี อาจพบว่า ออกมาดูไม่สวย ไม่เป็นอโยธยา เลยออกแบบซะใหม่ให้ดูเป็นอโยธยา  
แต่การดูเป็นอโยธยา มันก็เลือกได้หลายแบบนะคะว่าจะเนียนไม่เนียน  การเอาหัวโขนมาประดับห้อง ไม่ถือว่าเนียนค่ะ   ตัวเลือกอื่นๆ เช่นตะเกียงน้ำมันหรือนาฬิกาตั้งแบบฝรั่ง หีบใส่ผ้าแบบจีน  ฉากเขียนลายแบบเปอร์เชีย  วางประดับไปกับแท่นและตู้แบบไทย   ยังน่าจะกลมกลืนกว่า ว่าเป็นข้าวของเครื่องใช้ของชนชั้นไฮโซสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีทั้งของไทยของต่างชาติเหมือนเศรษฐียุคนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ธ.ค. 17, 11:18
เข้าใจแล้วครับ

เหมือนกับเวลา ผมเห็นฉากการพิจารณาคดีในศาล ขั้นตอนการสืบพยาน การถามติง ถามค้าน ฯลฯ อาจลดทอนรายละเอียดลงได้บ้าง เพื่อไม่ให้ฉากนี้น่าเบื่อเกินไป อาจมีดราม่า เกินจริงไปได้บ้างเพื่อเพิ่มอรรถรส แต่รายละเอียดบางประการก็ยังควรต้องสมจริง เช่น ครุยผู้พิพากษาควรถูกต้อง (ปัจจุบันตุลาการ กับอัยการและทนายความใช้ครุยต่างกันนะครับ) การนั่งโจทก์ขวา จำเลยซ้าย ก็ควรต้องเป็นไปตามนั้น หรือการใช้ค้อนบนบัลลังก์ นั้น ของจริงไม่มี ละครก็ไม่ควรนำมาใส่ ความเนียนอย่างนี้ ยังจำเป็นต้องมีอยู่ อะไรอย่างนี้ใช่ไหมครับ

(ไม่ได้หมายถึงละครเรื่องหนึ่งเรื่องใดนะครับ คือพยายามโยงมาสู่สิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยหนะครับ)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 11:20

นอกจากนี้ บางเรื่อง ผมก็เดาครับ ว่า ผู้สร้างท่านก็รู้แหละว่า จริงๆเป็นอย่างไร แต่ถ้าขืนทำตามจริง ละครก็จะยืดยาวไป ไม่สนุก เช่น ถ้าให้หลวงยกกระบัตรเมืองตาก เข้าพบขุนนางตามลำดับชั้นก่อนจะได้เข้าเฝ้า ฉากการเข้าถวายรายงานคงกินเวลายาวนานมาก หรือหากไม่กำหนดให้พระกำนัลนารีสังข์ วิ่งเข้าไปในฝ่ายในเพื่อป่าวประกาศว่า เกิดสงครามแล้ว กว่าตัวละครหญิงจะรู้ข่าวศึกคงนานโข ตกกลางคืน(ของวันเดียวกัน)จะมีฉากดราม่าอาวรณ์ห่วงลูกห่วงผัวได้อย่างไร หรือฉากการออกว่าราชการของพระเจ้าเอกทัศน์ ด้วยความที่ผมเคยเห็นการประชุม ครม. ดังนั้น ในความเห็นผม ผมว่า การประชุมในฉากนี้ รวบรัดเกินไป แต่ก็นั้นแหละ จะให้ฉากนี้มีรายละเอียดสมจริง ฉากนี้คงจะน่าเบื่อมากๆ เลยครับ  
ข้อนี้ก็จริง ทำให้การเขียนบทต้องรวบรัดหรืออาจตัดความไปบ้าง     แต่ก็ยังมีเค้าความจริงได้ เช่นพอออกท้องพระโรง พระยาพิชัยฯ(ซึ่งน่าจะเขียนให้เป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีเวียง) ก็ทูลเบิกตัวหลวงยกกระบัตรซึ่งหมอบเฝ้าอยู่หลังสุดเข้ามา  บอกว่ามีรายงานด่่วนเรืองพม่า   จะให้หลวงยกกระบัตรคลานเข้ามาถึงแถวหน้าก็ทำได้
ไม่ใช่ไปนั่งอยู่แถวหน้าตั้งแต่แรก
จะได้ไม่มีฉากควบม้าเข้ามาถึงประตูวัง  ไม่ถือดาบเข้ามา  ไม่เข้าเฝ้าเจ้าฟ้าก่อนเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน   แต่ก็ไม่ยืดยาด กลับรวบรัดด้วยซ้ำ
ส่วนแม่นางกำนัลสังข์นั้น ใส่บทให้เข้ามาถือพระสุพรรณภาชน์ (คือพวกกาน้ำ ถ้วยน้ำ) ทั้งๆไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายใน  ก็เพื่อจะให้นางได้ยินข้อราชการแล้ววิ่งแจ้นไปทูลฝ่ายใน เท่านั้นเอง
หน้าที่เชิญเครื่องพวกนี้ เป็นหน้าที่มหาดเล็ก    เคยอ่านพบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นมหาดเล็ก ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณภาชน์   ในละครกลายเป็นพระกำนัลนารีออกมาวุ่นวายอยู่ฝ่่ายนอก ทั้งๆราชทินนามเธอก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหญิงนางกำนัลรับใช้ฝ่ายใน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 11:25

เหมือนกับเวลา ผมเห็นฉากการพิจารณาคดีในศาล ขั้นตอนการสืบพยาน การถามติง ถามค้าน ฯลฯ อาจลดทอนรายละเอียดลงได้บ้าง เพื่อไม่ให้ฉากนี้น่าเบื่อเกินไป อาจมีดราม่า เกินจริงไปได้บ้างเพื่อเพิ่มอรรถรส แต่รายละเอียดบางประการก็ยังควรต้องสมจริง เช่น ครุยผู้พิพากษาควรถูกต้อง (ปัจจุบันตุลาการ กับอัยการและทนายความใช้ครุยต่างกันนะครับ) การนั่งโจทก์ขวา จำเลยซ้าย ก็ควรต้องเป็นไปตามนั้น หรือการใช้ค้อนบนบัลลังก์ นั้น ของจริงไม่มี ละครก็ไม่ควรนำมาใส่ ความเนียนอย่างนี้ ยังจำเป็นต้องมีอยู่ อะไรอย่างนี้ใช่ไหมครับ
ใช่ค่ะ 
สมมุติว่าละครเรื่องหนึ่งมีฉากพิจารณาคดีในศาล อะไรที่เป็นรายละเอียดตามของจริง อย่างที่คุณนริศว่าข้างบนนี้ ก็ควรรักษาไว้  ไม่ใช่สร้างฉากนี้ในละครไทย    แล้วมีลูกขุนนั่งหน้าสลอน พิจารณาโจทก์จำเลยกันเหมือนในศาลสหรัฐ   โดยอ้างว่านี่มันละคร  ไม่ใช่ของจริง
 
ยังงี้ก็ไม่เนียน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 11:34
แต่ก็พอจะเข้าใจว่า ละครเรื่องนี้เตรียมโกอินเตอร์   ดังนั้นฉาก เสื้อผ้า ฯลฯ จึงเน้นความอลังการแบบไทยๆให้มากที่สุด
อะไรที่เป็นสัญลักษณ์ไทย ก็ต้องนำมาแสดงเอาไว้ เช่นหัวโขน
ซึ่งนอกจากอยู่ในตำหนักพระพันวัสสา หัวโขนอีกส่วนหนึ่งยังอยู่ในห้องพระบ้านพระยาพิชัยอีกด้วย
(ภาพจาก FB คุณรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ค่ะ)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 14:45
ฉากนี้คือเจ้าคุณพิชัยเรียกประชุมไพร่สม เพื่อเตรียมออกศึก
ไม่ทราบประวัติว่าท่านเป็นศิษย์เก่านาฏศิลป์หรืออย่างไร   จึงมีหัวโขนประดับพิธีเรียกประชุมอีกแล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 14:52
ครับพี่พระนาย (อาจารย์ไม่อยู่ นักเรียนแอบคุยกัน)
ผมสงสัยมาตั้งแต่ก่อนแล้วว่า ถ้าระบบการป้องกันเมืองอยุธยาห่วยซะขนาดนั้น ข้าศึกที่มีกำลังรบเหนือกว่าร่วมๆ สิบเอาหนึ่ง จะเสียเวลาขุดอุโมงเผารากกำแพงทำไม แค่ยกกำลังหักเข้าเอาเมืองพร้อมกันทุกด้าน ก็จบแล้วไม่ได้หรือ

ประเด็นนี้ ผมอยากดูมากครับว่า ในละครจะนำเสนออย่างไร    

ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310  เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

ทหารอยุธยารักษากำแพงเมืองไว้ได้เข้มแข็งมาก  พม่าตีไม่แตก  ก็ต้องทำลายกำแพงเมืองที่เปรียบเหมือนบังเกอร์เสียก่อน  เป็นช่องทางให้เข้าในเมืองตีทหารแตกพ่ายไป  พอในเมืองระส่ำระสาย แพ้กันไปเป็นทอดๆ  ด้านอื่นๆพม่าก็บุกเข้ามาได้หมด

สุนทรภู่รำพันไว้ใน "นิราศพระบาท" ว่า

กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก              ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย              โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
หรือธานินสิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค      ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย
...........................


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 17:08
ไปหาคลิปมาให้ดูตอน 2 ค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=MJgqPr9UpSI&t=12s

https://www.youtube.com/watch?v=q1UDtfyGQzY

https://www.youtube.com/watch?v=b_ElaxCQ9u4


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 17, 17:11
https://www.youtube.com/watch?v=jT3MPCcQkME

https://www.youtube.com/watch?v=pZfz8RH4NeQ

https://www.youtube.com/watch?v=7nhIAQTeQso


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 09:27
https://www.youtube.com/watch?v=Wkeoa6Grxi8

https://www.youtube.com/watch?v=T5bn4-mTr88

https://www.youtube.com/watch?v=DFKZIO1oxqA


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 09:30
https://www.youtube.com/watch?v=vEUhXkrVfNI

https://www.youtube.com/watch?v=k1NneBpp-_4

https://www.youtube.com/watch?v=dV1FzsMCTuY


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 13 ธ.ค. 17, 09:49
มีประเด็นครับ
เมื่อคืน มรฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ
(https://f.ptcdn.info/136/055/000/p0uqp4cpngMPrs14AVt-o.jpg)
ภาพจากพันทิปครับ https://pantip.com/topic/37180266

ในฉากนี้ พระเจ้าเอกทัศน์ และพระเจ้าอุทุมพร ทรงจัดทัพรับศึกเป็น 4 ทัพ
ทัพแรกให้ยกไปรับศึกที่ เพชรบุรี ราชบุรี (ในทัพนี้ มีการออกชื่อ ขุนรองปลัดชูด้วยครับ)
ทัพที่สอง ยกไปเชียงใหม่  ???
ทัพที่สามไปทวาย
ทัพที่ 4 ประกอบด้วยทัพเล็กๆ 14 ทัพ กระจายกันออกไปตั้งทัพนอกพระนคร ให้ห่างทางศึก ทัพเหล่านี้เป็นอุบายสำคัญเพราะจะทรงใช้กลยุทธ "ล่อช้างเข้าถ้ำ" หลักการคือ แสร้งทำเป็นว่า ทัพอยุธยาไม่ชำนาญการรบ ทำเป็นพ่ายแพ้ เพื่อดึงให้ทัพอังวะ ตามเข้ามาใกล้พระนคร จากนั้น จะทรงให้กองทัพทั้ง 14 ทัพนี้ (ในละครบอกว่า 14 ทัพ กำลังรลรวมหมื่นสี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ทัพละพันคนเท่านั้นเอง น่าจะเรียกว่า 14 กอง มากกว่า 14 ทัพครับ) รุมโอบล้อมทัพพระเจ้าอังวะไว้แล้วเผด็จศึก

ส่วนไพร่พลของพระยาพิชัย ให้จัดเป็นกองโจร ไปซุ่มอยู่ที่หัวรอ ทำหน้าที่ก่อกวนทัพพระเจ้าอังวะ

ในศึกอลองพญา จริงๆ จัดทัพอย่างนี้ไหมครับ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 10:29
เมื่อคืน มีฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ

(https://f.ptcdn.info/136/055/000/p0uqp63qlgGIIS40EQf-o.jpg)

เป็นแผนที่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๒๙ แต่น่าสงสัยว่ามีความจำเป็นเช่นใดที่ต้องลอกรายละเอียดรวมทั้งชื่อกำกับที่เป็นภาษาฝรั่งเศสมาประกอบการวางแผนศึก  ;D

ภาพจาก https://www.hjbmaps.com/products/aq19272


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 10:33
คงต้องส่งไม้ต่อให้คุณหนุ่มสยามและท่านผู้รู้ท่านอื่นๆมาอธิบายรายละเอียดค่ะ

ส่วนดิฉันทราบเพียงว่า ในตอนปลายอยุธยามี 2 ศึกใหญ่  คือศึกพระเจ้าอลองพญา และศึกครั้งสุดท้ายตอนเสียกรุง   ทั้งหมดกินเวลา 7 ปี นับแต่เริ่มมีศึกแรกไปจนวันสุดท้าย
ในละคร เริ่มที่ศึกอลองพญา  แต่กรุงยังไม่แตกในตอนนั้น   รอมาอีกนานจนนางเอกโตเป็นสาว

ตามประวัติศาสตร์   ทัพพระเจ้าอลองพญาเลือกเส้นทางรุกขึ้นมาจากทางใต้ ด้วยการยึดทวายและมะริด แล้วคืบขึ้นมาเรื่อยๆถึงประจวบคีรีขันธ์ จนข่าวศึกมาถึงอยุธยา
ฌมื่อได้รับทราบข่าวศึก    พระเจ้าเอกทัศรับสั่งให้เกณฑ์กองทัพได้  ๓,๐๐๐   พระยายมราชเป็นแม่ทัพ ไปตั้งรับ   และ อีก  ๒,๐๐๐   ให้พระยารัตนาธิเบศร์ยกตามหนุนไปอีก
เมื่อพระยายมราชไปถึงด่านสิงขร  ก็ได้ข่าวว่า    พม่ายึดเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีได้แล้ว   จึงตั้งอยู่ที่แก่งตุ่ม ปลายแม่น้ำตะนาวศรี      ส่วนพระยารัตนาธิเบศร์ อยู่ที่เมืองกุย  (กุยบุรีในปัจจุบัน)   มังฆ้องนรทาเข้าโจมตีกองทัพพระยายมราช  จนแตกพ่ายไป    กองทัพพม่าจึงไล่ติดตามไปอีกปะทะกองอาทมาตที่อ่าวหว้าขาว    พระยารัตนาธิเบศร์ จึงถอนมาที่เพชรบุรี      พม่าก็ตามเข้ามาถึงเพชรบุรี

กรุงศรีอยุธยาทราบจากเมืองกาญจนบุรีว่ากองทัพพม่าจะยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์  จึงสั่งจัดกองทัพไปตั้งที่ เมืองกาญจนบุรี  ๑๐,๐๐๐   และที่ เมืองราชบุรีอีก  ๑๐,๐๐๐     ต่อมา เมืองกำแพงเพชรแจ้งว่าได้ข่าวว่าพม่าจะยกมาทางด่านแม่ละเมา  ก็จัดทัพให้ยกขึ้นไปเตรียมต่อสู้ทางเหนืออีก    
การเตรียมการรับศึกพม่าของไทยในครั้งนี้       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระยาดำรงราชานุภาพ    ทรงพระนิพนธ์       ไว้ใน "ไทยรบพม่า"  ว่า
ตามคำผู้หลักผู้ใหญ่กล่าวกันมาว่า    ในครั้งนั้นไม่ได้คิดอ่านที่จะรวบรวมกำลังต่อสู้ข้าศึกประการใด    สักแต่ได้ข่าวมาว่า พม่าจะยกมทางไหนก็เกณฑ์กองทัพยกไปดักทางนั้น    เพียงแต่จะสืบสวนให้ได้หลักฐานเสียก่อนก็ไม่มี    จึงเอากำลังรี้พลไปป่วยการเสียเปล่าๆ  มากกว่าที่จะได้ต่อสู้ข้าศึก    ด้วยพม่ามิได้ยกมาทั้งทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านแม่ละเมา   ยกมาแต่ทางด่านสิงขร เมืองตะนาวศรีทางเดียว    ดูเหมือนหนึ่งว่าครั้งนั้น  ถึงรู้ว่าพม่าตีได้เมืองตะนาวศรีแล้ว  ที่ในกรุงฯ ก็ยังไม่ได้คาดว่าพม่าจะตีต่อเข้ามาอีก   จะเพิ่งมาเอะอะ  ตระเตรียมรักษาบ้านเมืองต่อเมื่อพม่าเข้ามาถึงเมืองกุย เมืองปราณ  .


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 10:38
สรุปว่า หลวงยกกระบัตรเมืองตากขี่ม้าเร็วจากตากเข้ามาถึงอยุธยา เข้าเฝ้าเรื่องศึกพม่านั้น  ไม่เป็นความจริง     เพราะพม่ายกมาทางใต้
คุณหลวงไปเจอทัพอะไรที่ไหนเข้าที่ไหนก็ไม่ทราบ ฤๅจะโดนหน่วยลาดตระเวนหลอกมาอีกทีก็ไม่อาจเดาได้
ปรากฏว่าพระเจ้าเอกทัศทรงเชื่อ เลยส่งทัพอยุธยาส่วนหนึ่งขึ้นไปเชียงใหม่?  
ทัพนี้ก็คงจะเก้อกลับมาค่ะ

อย่างไรก็ตาม  จะว่าหม่อมน้อยผิดไม่ได้ เพราะท่่านออกตัวไว้แต่แรกแล้วว่า เนื้อความในละครอาจไม่ตรงกับพงศาวดาร เพราะเป็นเรื่อง "อิง" ประวัติศาสตร์  ไม่ใช่ตัวหลักฐานทางประวัติศาสตร์เอง  


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 10:43

เป็นแผนที่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๒๙ แต่น่าสงสัยว่ามีความจำเป็นเช่นใดที่ต้องลอกรายละเอียดรวมทั้งชื่อกำกับที่เป็นภาษาฝรั่งเศสมาประกอบการวางแผนศึก  ;D

แหม  ก็ยุคนั้น กูเกิ้ลแปลภาษายังมีที่ไหนกันล่ะคะ  ท่านก็เอาของจริงมาลงน่ะซิ

ว่าแต่แผนที่แผ่นใหญ่จัง  พิมพ์บนกระดาษหรือผ้าทอด้วยอะไรหนอ จึงคงทนมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์จนถึงพระเจ้าเอกทัศ
ยังใหม่เอี่ยม แสดงว่ารักษาสภาพได้ดีมาก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 10:55
มีประเด็นครับ
เมื่อคืน มรฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ
ฝรั่งเรียกชื่ออาณาจักรศรีอยุธยาว่า Siam ค่ะ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ระบุว่าคนในประเทศไทยได้เรียกเผ่าพันธุ์ของตนเองว่า ไทย มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยได้บันทึกไว้ว่า

ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน [...] คำว่า สยาม กับ ไทย เป็นสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน

ฌ็อง-บาติสต์ ปาเลอกัวซ์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ระบุไว้ในงานเขียน "Description du Royaume Thai ou Siam" (1854) ว่า "...ประเทศที่ชาวยุโรปขนานนามว่า สยาม นั้น เรียกตนเองว่า เมืองไท (Muang - Thai) (ราชอาณาจักรแห่งอิสรชน) ชื่อเดิมนั้นคือ สยาม (แปลว่าชนชาติผิวสีน้ำตาล) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สยาม (Siam)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 11:11
จากหนังสือ  "ความเป็นมาของคำ สยาม, ขอม, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"  (http://www.openbase.in.th/files/tbpj027.pdf) โดย จิตร ภูมิศักดิ์ หน้า ๓๒๕-๓๒๗

เท่าที่อ่านดู เรื่องนี้อยู่ในบทท้าย ๆ ของภาคหนึ่ง พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์

บทที่ ๑๖ ที่มาและความหมายของสยามตามความเห็นในอดีต

จิตร ภูมิศักดิ์ อ้างข้อความจากหนังสือ "ราชอาณาจักรสยาม" ของ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๙-๒๒๓๑ (de La Loubere, Du Royaume de Siam, Tome I, Amsterdum, 1691, pp. 15-17.  ภาษาไทยดู จดหมายเหตุลาลูแบร์, กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแปล, ฉบับพิมพ์คุรุสภา ๒๕๐๕, เล่ม ๑ หน้า ๒๓-๒๕.)

ชื่อ เซียม (siam) นั้น ไม่เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวเซียม คำนี้เป็นคำหนึ่งในบรรดาคำที่พวกโปรตุเกสในอินเดียใช้กัน, และก็เป็นคำที่ยากจะค้นหารากเหง้าที่มาของมันได้  พวกโปรตุเกสใช้คำนี้เป็นชื่อเรียกชนชาติ มิใช่เป็นชื่อราชอาณาจักร.....อนึ่งใครก็ตามที่เข้าใจภาษาโปรตุเกสย่อมรู้ดีว่า รูปคำที่โปรตุเกสเขียนคำนี้เป็น Siam บ้างและ Siao บ้างนั้น เป็นคำเดียวกัน  และถ้าจะเอาคำโปรตุเกสนี้มาอ่านออกเสียงตามอักขรวิธีของฝรั่งเศสเราแล้วก็ต้องออกเสียงว่า ซียอง (Sions) มิใช่เซียม (Siams); เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเป็นภาษาละติน ก็เรียกชนชาตินี้ว่า ซิโอเน (Siones)

ชื่อจริงของชาวเซียมแปลว่า ฟรองซ์

ชาวเซียมนั้นเรียกตัวเองว่า ไท (Tai), หมายความว่า อิสระ, ตามความหมายของคำในภาษาของเขาซึ่งยังมีความหมายเช่นนั้นมาจนทุกวันนี้  ชาวเซียมมีความภูมิใจที่ใช้คำนี้เช่นเดียวกันกับบรรรพบุรุษของเราซึ่งใช้นามว่า ฟรองซ์ (Franc) เมื่อได้กอบกู้อิสระภาพของชาวกอลให้หลุดพ้นจากอำนาจครอบครองของโรมันมาได้  ผู้ที่รู้ภาษามอญ (Pegu) ยืนยันว่าคำ เซียม ในภาษามอญนั้นแปลว่า อิสระ ถ้าเช่นนั้นบางทีคงจะเป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสยืมคำนี้มาจากภาษามอญ, น่าจะเป็นว่าได้รู้จักชาวเซียมโดยผ่านชาวมอญอีกที   แต่อย่างไรก็ดี นาวารเรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรจีน (Traitez Historique du Royaume de la Chine) บทที่ ๑ ตอนที่ ๕ ว่า ชื่อ เซียม, ซึ่งนายนาวาเรตเขียน เซียน (Sian) นั้น, มาจากคำสองคำคือ เซียนหลอ (Sian-lo), แต่หาได้อธิบายไว้ไม่ว่าคำทั้งสองนี้มีความหมายว่ากระไร, ทั้งก็มิได้บอกไว้ว่าเป็นคำภาษาอะไร, ชวนให้เราเข้าใจว่า นายนาวาเรตถือว่า คำทั้งสองนั้นเป็นภาษาจีน...

ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายที่มาของคำว่า Siam ไว้ในเชิงอรรถ โดยย้ำว่า ฝรั่งชาติแรกที่ใช้คำ ๆ นี้เรียก่คนไทยคือ โปรตุเกส หาใช่ ฮอลันดา ไม่

Siam อันเป็นชื่อที่ฝรั่งเรียกไทยน้อยพวกเราทุกวันนี้ ฝรั่งได้คำนี้ไปโดยผ่านชาวมลายูซึ่งเรียกไทยว่า เซียม. พวกโปรตุเกสมารู้จักคำนี้ก่อน ต่อมาก็เป็นเดนมาร์ค, ฮอลันดา และฝรั่งเศส ซึ่งก็ออกเสียง เซียม ทั้งนั้น. อังกฤษเป็นพวกมาทีหลัง เห็นทีจะไม่รู้ว่า Siam นั้นประสงค์จะให้ออกเสียง เซียม หรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงไม่ถนัดปาก จึงเอาไปอ่านเป็น ไซเอิม หรือ ไซแอม แปลกพวกออกไป.


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 13 ธ.ค. 17, 11:26
ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านครับ เนื่องจากชั้นเรียนนี้ อยู่ในประเด็น Dramatic license เพราะฉะนั้น ผมจะมองแต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่ปรากฎในละครเท่านั้นนะครับ

อย่างเรื่องการรายงานข่าวศึกนี้ ในประวัติศาสตร์จะเป็นเช่นไร มีจริงหรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ในละครนี้ ในฉากนี้ ผมเห็นด้วยครับว่าแปลก กล่าวคือ ในเมื่อทัพอังวะในละคร เข้ามาจากทางด้านใต้ เนื่อเรืองในละครนี้ควรเขียนให้ยกระบัตรเมืองกุย เมืองเพชร หรือยกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นผู้มารายงานนะครับ (หรือต่อให้ทัพอังวะในละคร เข้ามาจากทางอื่น แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็ไม่ใช่ทางด่านเมืองระแหง แขวงเมืองตากอยู่ดีแหละครับ)   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 11:38
ก็ในเมื่อหม่อมน้อยออกตัวแล้วว่า ทำละครโดยไม่ตรงกับจดหมายเหตุหรือพงศาวดารก็ได้   คุณนริศก็คงจะต้องช่วยสมมุติใหม่ว่า พระเจ้าอลองพญาไม่ได้เดินทัพเข้ามาทางใต้อย่างในพงศาวดารหลายๆฉบับระบุไว้น่ะค่ะ  แต่ว่ายกมาทางเหนือ เข้ามาทางเมืองตาก  

หรือไม่ ก็ยกทัพมาทางใต้ แล้วยกอ้อมผ่านกาญจนบุรีขึ้นไปทางเหนือถึงกำแพงเพชรและตาก  แล้วค่อยวกกลับลงมาอยุธยาอีกที
หลวงยกกระบัตรเมืองตากถึงต้องมาแจ้งข่าวต่อกรุงศรีอยุธยา แบบนี้ละค่ะ

ทำไมถึงต้องไปเน้นที่ขุนนางเมืองตาก   ขุนนางหัวเมืองทางใต้อยู่ไหนหมด เช่นหลวงยกกระบัตรเมืองประจวบและเพชรบุรีไม่เห็นส่งข่าวมาแอะสักคำ ทั้งๆอยู่ใกล้กรุงศรีฯมากกว่าตากเป็นไหนๆ

คำตอบคือเพราะตัวละครสำคัญในเรื่องนี้ที่ศรรามรับบท มีตำแหน่งราชการอยู่เมืองตาก   เมื่อเปิดตัวแสดงเอกๆ ขึ้นมาคือท่านทองด้วง ท่านบุนนาคและท่านสิน จึงต้องเอาสาเหตุเมืองตากขึ้นมาเป็นหลัก   จะไปเอาหลวงยกกระบัตรเมืองทางใต้ที่อยู่นอกบทบาทไม่ได้
น่าเสียดายตัวละครอีกตัวที่ดิฉันมองหาอยู่ ยังไม่เห็นออกมาสักที คือมหาดเล็กหุ้มแพรวังหน้า ตำแหน่งนายสุดจินดา   มีแต่พี่ชายกับนายบุนนาคเท่านั้นเองเป็นตัวเอก
ไม่ทราบกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ไปไหน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 13 ธ.ค. 17, 14:18
น่าจะไม่มีบทบาทนายสุดจินดาในซีรีย์นี้ค่ะ ดิฉันลองไปส่องดูรายชื่อตัวละครแบบละเอียดยิบในพันทิพ ไม่มีเลยค่ะ
แล้วคุณบุนนาคนี้ ต่อมาคือท่านผู้ใดหรือคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 13 ธ.ค. 17, 14:33
ผมรู้แล้วครับอาจารย์
ถ้ายึดตามแผนที่นี้ ทัพอังวะ ต้องผ่านเมืองตาก ก่อนเมืองกุย เมืองเพชร จริงๆครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 14:58
แล้วคุณบุนนาคนี้ ต่อมาคือท่านผู้ใดหรือคะ

"บุนนาค" เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ต้นตระกูลเป็นพ่อค้าชาวอาหรับชื่อ เฉกอะหมัด เข้ามาในประเทศสยาม เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในปลายรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดได้รับราชการในกรมพระคลัง โดยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานของกรมท่า เฉกอะหมัดได้ทำความดีความชอบในหน้าที่ราชการเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าแผ่นดิน จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ

ปรากฎว่าผู้สืบตระกูลของเฉกอะหมัดได้รับราชการในกรมพระคลังสืบต่อกันเรื่อยมา วงศ์เฉกอะหมัดบางท่านได้เป็นถึงสมุนายก และในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชยแห่งตระกูลบุนนาคได้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นศาสนาพุทธ

วงศ์เฉกอะหมัดได้สืบตระกูลต่อกันเรื่อยมาถึงชั้นที่ ๖ มีบุคคลสำคัญคือ นายบุนนาค ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดตระกูลบุนนาคในสมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลที่ ๑ นายบุนนาคได้เป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม บุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนากับเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) (น้องสาวของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๑) เป็นผู้สืบตระกูลบุนนาคโดยตรง


คนสำคัญคือ นายดิศ และนายทัต บุนนาค ท่านทั้งสองเข้ารับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการปกครองประเทศสยามมาก ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ท่านทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุด เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ผู้สำเร็จราชการพระนครตามลำดับ

ผู้สืบตระกูลโดยตรงต่อจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์คือ นายช่วง บุนนาค ซึ่งรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ท่านผู้นี้ได้รับพระราชท่านบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ใน พ.ศ. ๒๔๑๖


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 13 ธ.ค. 17, 15:17
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลของคุณบุนนาค
ดิฉันพอจำได้นิดหน่อยว่ามีท่านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ กับองค์เล็กในตระกูลบุนนาค
แต่ต้นตระกูลของท่านตั้งแต่ยุคกรุงศรีฯ จำไม่ได้จริงๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 15:39
ผมรู้แล้วครับอาจารย์
ถ้ายึดตามแผนที่นี้ ทัพอังวะ ต้องผ่านเมืองตาก ก่อนเมืองกุย เมืองเพชร จริงๆครับ
ทวายกับมะริดอยู่ตรงไหนคะ  จุดเริ่มต้นอยู่ที่นั่น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 15:56
น่าจะไม่มีบทบาทนายสุดจินดาในซีรีย์นี้ค่ะ ดิฉันลองไปส่องดูรายชื่อตัวละครแบบละเอียดยิบในพันทิพ ไม่มีเลยค่ะ
ไม่น่าเลย น่าเสียดายมาก  เพราะบทบาทท่านก็เยอะ
นายสุดจินดาเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินกับหลวงยกกระบัตรราชบุรี (หรือรัชกาลที่ ๑)  เมื่อกรุงแตก ท่านหนีพม่าไปได้  ไปพบพี่ชายซึ่งขณะนั้นอพยพจากราชบุรีไปลี้ภัยอยู่ที่อัมพวา สมุทรสงคราม
ท่านเป็นคนนำท่านนกเอี้ยง พระชนนีของพระเจ้าตากสินซึ่งตอนนั้นอพยพไปอยู่บ้านแหลม  พลัดพรากจากลูกชาย  ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าตากสิน เป็นโอกาสให้แม่ลูกได้พบกันอีกครั้ง
ตลอดสมัยธนบุรี  ท่านก็เป็นนายทหารที่กรำศึกมาตลอด 15 ปี   ชีวิตรักของท่านกับเจ้าศิริรจจา น้องสาวเจ้ากาวิละแห่งเชียงใหม่ ก็มีสีสันน่าจะเป็นละครได้ดีทีเดียว
ท่านเป็นต้นราชสกุล อสุนี สังขทัต ปัทมสิงห์ และนีรสิงห์   

ถูกตัดออกไปหมดเลยหรือ  ไม่เข้าใจเลยค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 16:11
ชื่อเดิมของกรมพระราชวังบวรฯคือ นายบุญมา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๖ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กเมื่อใด รัชกาลไหน ไม่ทราบได้ (ข้อมูลจากบางเว็บบอกว่าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าเอกทัศเมื่ออายุ ๑๖ ปี แต่ไม่ทราบว่าได้ข้อมูลมาจากไหน) แต่คงได้เลื่อนขึ้นเป็นนายสุดจินดาหุ้มแพรในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศนี้เป็นแน่

คราวศึกอลองพญา พ.ศ. ๒๓๐๒ - ๒๓๐๓ อายุเพียง ๑๖ - ๑๗ ปี คงจะยังเป็นมหาดเล็กผู้น้อยอยู่ ถึงคราวเสียกรุง ๒๓๑๐ อายุได้ ๒๔ ปี ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอยู่ในกรุงเมื่อคราวกรุงแตกหรือไม่ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวเพียงว่า

"นายสุดจินดามหาดเล็กนั้นหนีออกไปสำนักอยู่ ณ เมืองชลบุรี ครั้นรู้ข่าวว่าเจ้าตากออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบูร จึงพาพวกบ่าวไพร่เดินบกออกไปเข้าพึ่งอยู่ด้วยเจ้าตาก เจ้าตากก็ชุบเลี้ยงตั้งเป็นพระมหามนตรี เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนกรุงยังไม่เสียนั้น"

พงศาวดารฯ ไม่ได้ระบุวันเวลาไว้ แต่พระเจ้าตากตีจันทบูรได้เมื่อราว ๒ เดือนหลังเสียกรุง และเสด็จออกจากจันทบูรราวเดือน ๑๑ พอจะกำหนดได้ตามพงศาวดารฉบับนี้ว่านายบุญมามาถึงจันทบูรระหว่างเดือน ๗ ถึงเดือน ๑๑ พ.ศ.๒๓๑๐


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 17:43
พูดจริงๆบทบาทของท่านบุญมา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีมากกว่าท่านบุนนาคหลายเท่า     พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค"   ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร
 เรื่องของหม่อมบุนนาค  มีแต่พงศาวดารกระซิบว่าเป็นมหาดเล็ก  เคยมีเรื่องแกล้งกันจนเคืองกับพระยาตากสินสมัยยังเป็นมหาดเล็กด้วยกัน ทำให้ไม่เข้าไปรับราชการสมัยธนบุรีตลอด 15 ปี   คงเป็นแค่ทนายของเจ้าพระยาจักรี
ส่วนนายบุญมา ตำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร ชื่อว่านายสุดจินดาทำให้รู้ว่ารับราชการอยู่วังหน้า   ท่านอาจอยู่กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก่อนสิ้นพระชนม์ก็เป็นได้   เมื่อเจ้าฟ้าอุทุมพรได้เป็นว่าที่กรมพระราชวังบวรฯองค์ใหม่ก่อนสิ้นรัชกาล  นายสุดจินดาก็น่าจะได้เป็นมหาดเล็กรับใช้   ทั้งหมดนี้ทำให้ท่านมีบทบาทในละครได้มาก
แต่ก็โดนตัดออก
ผิดกับพระพันวัสสา กรมหลวงพิพิธมนตรีที่สินจัยเล่น  ในพงศาวดารสิ้นพระชนม์ไปตั้งไม่รู้กี่ปีแล้วก่อนถึงเหตุการณ์ศึกอลองพญา  ในละครยังอุตส่าห์ชุบชีพท่านฟื้นคืนมาเล่นบทได้อีกเฉยเลย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 18:22
พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค" ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร

เชื้อสายของท่านเฉกอะหมัด ชื่อนายบุนนาค มีตำแหน่งเป็นนายฉลองไนยนาถ หัวหน้ามหาดเล็กหุ้มแพรของวังหน้า  เมื่อกรุงแตก ท่านได้หนีไปอยู่กับเจ้าพระยาจักรี ที่ธนบุรี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 13 ธ.ค. 17, 18:29
พูดจริงๆบทบาทของท่านบุญมา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีมากกว่าท่านบุนนาคหลายเท่า     พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค"   ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร
 เรื่องของหม่อมบุนนาค  มีแต่พงศาวดารกระซิบว่าเป็นมหาดเล็ก  เคยมีเรื่องแกล้งกันจนเคืองกับพระยาตากสินสมัยยังเป็นมหาดเล็กด้วยกัน ทำให้ไม่เข้าไปรับราชการสมัยธนบุรีตลอด 15 ปี   คงเป็นแค่ทนายของเจ้าพระยาจักรี
ส่วนนายบุญมา ตำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร ชื่อว่านายสุดจินดาทำให้รู้ว่ารับราชการอยู่วังหน้า   ท่านอาจอยู่กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก่อนสิ้นพระชนม์ก็เป็นได้   เมื่อเจ้าฟ้าอุทุมพรได้เป็นว่าที่กรมพระราชวังบวรฯองค์ใหม่ก่อนสิ้นรัชกาล  นายสุดจินดาก็น่าจะได้เป็นมหาดเล็กรับใช้   ทั้งหมดนี้ทำให้ท่านมีบทบาทในละครได้มาก
แต่ก็โดนตัดออก
ผิดกับพระพันวัสสา กรมหลวงพิพิธมนตรีที่สินจัยเล่น  ในพงศาวดารสิ้นพระชนม์ไปตั้งไม่รู้กี่ปีแล้วก่อนถึงเหตุการณ์ศึกอลองพญา  ในละครยังอุตส่าห์ชุบชีพท่านฟื้นคืนมาเล่นบทได้อีกเฉยเลย

ในเรื่องฟ้าใหม่ นายบุนนาคยังเป็นเด็กไว้จุกอยู่เลยตอนที่คุณพี่ท่านสาม คือคุณสิน คุณทองด้วง คุณบุญมาโตเป็นหนุ่มกันหมดแล้ว พอมาในศรีอโยธยา กลับกลายเป็นว่าทั้งสามเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่เด็กเสียอย่างงั้น...

ส่วนบทบาทของกรมหลวงพิพิธมนตรีนั้น ท่านผู้กำกับให้เหตุผลที่ "ชุบชีวิต" ท่านให้มาโลดแล่นมีบทบาทไว้ว่า "การที่ให้ท่านมีพระชนม์ชีพจนถึงเสียกรุง ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงขัตยินารีสมัยกรุงศรีอยุธยาคือสมเด็จพระนางเจ้าท่านทรงคิดอย่างไรเมื่อสงครามมาเผชิญ ท่านทรงมีพระราชกรณียกิจอย่างไร..."

https://www.youtube.com/watch?v=-snubFruEGg


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 18:41
แล้วพระมเหสีของพระเจ้าเอกทัศล่ะคะ ไม่ใช่ขัตติยนารีด้วยหรอกหรือ?
ฝากคุณแพรวพิมหรือคุณรัตนานุชช่วยเช็คให้ดิฉันหน่อยได้ไหมคะ  ว่าพระมเหสีของพระเจ้าเอกทัศมีบทบาทมากน้อยแค่ไหนในเรื่องนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 19:20
 ;D

https://youtu.be/ajkA66xrPWo


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 13 ธ.ค. 17, 19:23
ตามประวัติศาสตร์จริงๆ พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศคือ กรมขุนวิมลภักดี

กรมขุนวิมลภักดี เดิมทรงมีพระนามว่า พระองค์เมาฬีหรือแมลงเม่า โดยแต่เดิมพระนางได้เป็นพระชายาและทรงผนวชเป็นชีตามสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และเมื่อได้ทรงลาผนวชแล้วถวายตนเป็นพระภรรยาเจ้าในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ทรงได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอัครมเหสี สาเหตุที่พระองค์เจ้าแมงเม่าลาผนวชจากชีไปเป็นพระราชินีนั้น เนื่องมาจากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งไปทรงผนวชอยู่ดำรัสสั่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเอาใจพระเชษฐา คือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ก็เป็นได้

ที่ว่าทำไมสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรถึงได้เอาใจสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์นั้น ก็มีเหตุผลอยู่หลายครั้งหลายคราว เช่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศจะเสด็จสวรรคต ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระอนุชา คือ เจ้าฟ้าอุทุมพร ครั้นเจ้าฟ้าอุทุมพรได้ราชสมบัติแล้ว ทอดพระเนตรเห็นพระเชษฐาเสด็จขึ้นไปอยู่บนพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ก็ยอมถวายราชสมบัติ แล้วเสด็จไปทรงผนวช แล้วประทับอยู่ที่วัดประดู่ จนได้สมัญญาว่าขุนหลวงหาวัด...


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 17, 19:52
ขอบคุณค่ะคุณแพรวพิม
กำลังคิดว่าทำไมบทขัตติยนารีสมัยกรุงศรีอยุธยา  ไม่ตกแก่พระอัครมเหสีของพระเจ้าเอกทัศ แต่ต้องไปปลุกเอาพระพันวัสสาให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาแสดงบทนี้แทน
ต้องรอดูบทกรมขุนวิมลภักดีที่รัดเกล้าเล่น ทั้งชาติก่อนชาตินี้ว่าเป็นยังไงแบบไหน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 14 ธ.ค. 17, 00:11
ตอนนี้ในโลกโซเชียลเอามาล้อเลียนกันมากมายครับ ภาพจากเพจ Anti ละครศรีอโยธยา ครับ
(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/25299494_1666016113418862_6535902159496990094_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeGU3VSkZ1IiA43t7LF5a1W57yyNI2lzZ7xM5pCYD5j7F5r0VwiKuXcsd-S0Tnsav8Y4NHh2XUEWkX5Ed1uqajGa1JNLe7upqswwHXSn2m8Q0A&oh=6d01ce54cb3ab1171304bb510066b898&oe=5AD4CF81)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 10:27
กลายเป็นเรื่องโจ๊กไปเลย     ;D

มองในแง่ของการเขียนบท     ศรีอโยธยามีสโคปที่ใหญ่มาก   เรื่องแบบนี้ทำให้เนื้อหา (content) นอกจากกว้างใหญ่แล้วยังยิบย่อย เพราะต้องมีทั้งพล็อตใหญ่และพล็อตรองหนุนเนื่องเข้ามาแบบซับซ้อน   บางทีพล็อตใหญ่ก็มีมากกว่า ๑ พล็อตเสียอีก     ทำให้คนเขียนหรือคนสร้างถ้าเป็นคนเดียวกัน ยากจะคุม theme เอาไว้ให้ผสมผสานแบบลื่นไหลเป็นเรื่องเดียวกัน
แทนที่จะสร้างพล็อตประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย  ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พล็อตเดียวให้เข้มข้นไปเลย  สมกับความตั้งใจที่จะยกย่องสมเด็จพระบูรพกษัตริยา อย่างที่แถลงไว้ตอนต้น    ก็เพิ่มพล็อตของยุคปัจจุบันที่ตัวละครสมัยอยุธยาตอนปลายพร้อมใจกันกลับชาติมาเกิดเกือบทั้งชุด   (ทำไมก็ยังไม่รู้) นอกจากนี้ก็เพิ่มเรื่องผีเรื่องวิญญาณสมัยอยุธยาเข้ามาหลอกหลอนถึงปัจจุบันเข้าไปอีก  ความที่ตัวละครเยอะ เนื้อเรื่องก็เยอะ   การตัดต่อสลับกันไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันจึงยังเชื่อมต่อได้ไม่สนิทเป็นเรื่องเดียวกัน
แล้วก็ยังมีความผิดพลาดด้านวัฒนธรรมและรายละเอียดต่างๆอย่างที่ยกมาในกระทู้นี้อีก    ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นผลจากสโคปใหญ่มากมายของละครทั้งนั้นค่ะ   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 14 ธ.ค. 17, 11:25
อ้างถึง
ทวายกับมะริดอยู่ตรงไหนคะ  จุดเริ่มต้นอยู่ที่นั่น
แหะๆ ขอประทานอภัยครับ ผมสนุกไปหน่อย
จริงๆที่อยากจะสื่อก็คือ แผนที่ฉบับนั้น ไม่ได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์เลย แล้วจะใช้ในการวางแผนการศึกได้อย่างไร ถ้าขืนนำมาใช้จริงๆ ก็คงเป็นต้นเหตุให้ทัพไทยหลงทางไปป้องกันผิดจุด อย่างที่เกิดในประวัติศาสตร์จริงๆนั่นแหละครับ

ส่วนประเด็น ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์
เรื่องนี้ผมแปลกใจจริงๆนะครับ เวลาอ่านผู้ชนะสิบทิศ หรือราชาธิราช ไม่มีใครแอนตี้ในลักษณะนี้กันบ้างหรือครับ หรือในยุคนั้นยังไม่มีแนวคิดเช่นนี้ แต่จะพูดเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเวลาดูละครต่างประเทศ เช่น ละครเกาหลี เนื่อหาก็ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์เลย หรืออิงประวัติศาสตร์เจือจางกว่านี้อีก แต่ก็ไม่เห็นจะมีการแอนตี้แต่อย่างใด

ประเด็น บทละคร
ผมเห็นด้วยครับ เนื่อเรื่องถูกขยายให้ยืดยาวออกไปจะไม่แน่ใจว่า ละครจะสื่อถึงอะไร และการกำหนดให้ตัวละครปัจจุบัน ใช้นักแสดงคนเดียวกันกับตัวละครในอดีต จะนำไปสู่อะไร ในฉากบางฉาก เช่น วิญญาณนักรบโบราณจะปรากฎตัวให้เห็นทำไม และวิญญาณนั้น ไม่ทราบหรือว่านักแสดงหนุ่มคนนี้อดีตชาติเคยเป็นใคร หรือนางบุษบาบรรณ เศร้าใจเรื่องอะไร การที่นางตามไปปรากฎตัวถึงหอประชุมคุรุสภาได้ แสดงว่า นางรับรู้อยู่แล้วว่าชาติไทยมีราชธานีใหม่และเจริญรุ่งเรืองดีอยู่แล้วใช่หรือไม่ ถ้าเช่นนั้นแล้ว นางร้องไห้ทำไม เป็นต้น บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในอดีตกับตัวละครยุคปัจจุบันนี้เป็นเพียงส่วนที่ติดค้างมาจากขั้นตอนการดัดแปลงบทประพันธ์ต้นฉบับหรือเปล่าหนะครับ   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 14 ธ.ค. 17, 11:38
ก่อนหน้านี้หลายปี มีนิยายจีนเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี
(http://fb-e.lnwfile.com/5d49qi.jpg)
นิยายเรื่องนี้ตัวเอกเป็นทหารที่เสนอตนเองเข้าร่วมโครงการ Time Mechine ย้อนเวลากลับไปดูประวัติศาสตร์ช่วงที่จิ๋นซีฮ่องเต้ขึ้นครองราช แต่ด้วยความผิดพลาด ตัวเอกเดินทางย้อนกลับไปก่อนเวลาที่ควรร่วมสิบปี แถมกลับมาไม่ได้ด้วย เขาจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม 7 รัฐ ในยุคนั้นๆ ได้พบกับตัวละครที่มีชื่ออยู่จริงตามประวัติศาสตร์มากมาย ผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหลายๆเรื่อง ซึ่งแน่นอนว่า ผู้เขียนก็เอาจินตนาการของตนแต่งเสริมลงไปหลายส่วน

นิยายเรื่องนี้ ก็ขายดีระดับ Best Saler ในบ้านเราอยู่หลายปี ไม่เห็นมีใครบอกว่า นิยายห่วยเพราะไม่ตรงตามประวัติศาสตร์

นิยายเรื่อง ฮวนนั้ง ของอาจารย์คึกฤทธิ์ ว่าด้วยประวัติของ "เอเต็ล" บุตรชายของ "ข่านรัว" ผู้นำของเหล่าฮวน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น อัตติลา ผู้ทำลายจักรวรรดิ์โรมัน
(http://manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=937303)
ในบทนำของนิยายเรื่องนี้ อาจารย์ท่านได้เขียนไว้เลยว่า การทำให้เอเต็ล ซึ่งแม้จะเป็นบุคคลจริงแต่ก็มีชีวิตอยู่เมื่อหลายพันปีก่อนกลับมาโลดเล่นอยู่ในหนังสือได้ จำเป็นที่จะต้องเล่าแบบ "โกหกบ้างจริงบ้าง"

ซึ่งก็เหมือนกับที่หม่อมน้อยท่านกล่าวไว้ตอนต้นของละครนี้เลยครับ แต่ในตอนนั้น ก็ไม่เห็นมีผู้ใดว่ากระไร        


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 11:42
ส่วนประเด็น ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์
เรื่องนี้ผมแปลกใจจริงๆนะครับ เวลาอ่านผู้ชนะสิบทิศ หรือราชาธิราช ไม่มีใครแอนตี้ในลักษณะนี้กันบ้างหรือครับ หรือในยุคนั้นยังไม่มีแนวคิดเช่นนี้ แต่จะพูดเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเวลาดูละครต่างประเทศ เช่น ละครเกาหลี เนื่อหาก็ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์เลย หรืออิงประวัติศาสตร์เจือจางกว่านี้อีก แต่ก็ไม่เห็นจะมีการแอนตี้แต่อย่างใด

เรื่องที่ยกมาทั้ง 2 เรื่อง   แต่งขึ้นในยุคสมัยที่คนอ่านเองไม่มีความรู้ในประวัติศาสตร์มอญและพม่า พอจะเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงได้
อีกอย่าง ราชาธิราชก็เล่าเหมือนกับตำนาน ไม่ได้ระบุชื่อพระเจ้าแผ่นดินตามประวัติศาสตร์ตรงๆ เช่นมะกะโทไปทำงานเป็นขุนวังของพระร่วงเจ้า
พระร่วงเป็นชื่อที่เราเองก็ไม่รู้แน่ว่าหมายถึงกษัตริย์องค์ไหนของสุโขทัย  
ส่วนผู้ชนะสิบทิศ  เมื่อเขียน ยาขอบไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารพม่า    แต่ตั้งใจจะเขียนแข่งกับเรื่องเกร็ดพงศาวดารจีนที่ยอดนิยมกันอยู่ในสมัยนั้น      ท่านเลือกพงศาวดารพม่ามาเป็นหลัก 8 บรรทัด   จากนั้นก็บรรยายไปตามจินตนาการ
เพราะฉะนั้นจะเด็ด  มังตรา พระเจ้าแปร ฯลฯ ไม่ได้อิงความเป็นจริงในประวัติศาสตร์พม่า      พม่ามาอ่านผู้ชนะสิบทิศก็จะต้องบอกว่าไม่ใช่พงศาวดารของเขา

เมื่อในใจคิดตรงกันระหว่างคนแต่งกับคนอ่านว่านี่เป็นเรื่องสมมุติ ของจริงเป็นอย่างไรไม่เกี่ยว   ก็เลยไม่มีใครว่าสองเรื่องนี้ผิดตรงไหนค่ะ

ส่วนละครเรื่องนี้เอาตัวละครสำคัญๆที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์มาเป็นตัวเดินเรื่อง  ประวัติของท่านเป็นอย่างไร มีคนรู้อยู่มากมาย  ดังนั้นก็เกิดการเปรียบเทียบขึ้นมาได้ว่าอะไรตรงอะไรไม่ตรง

สมมุติว่าหม่อมน้อยสร้างตัวละครจากจินตนาการขึ้นมาให้เป็นเจ้านายสมัยปลายอยุธยา  สมมุติพระนาม สมมุติชีวิต สมมุติการผจญภัย  เจอชะตากรรมอะไรหลังกรุงแตก  ก็คงไม่มีใครมาประท้วงว่า เจ้านายองค์นี้ไม่มีตัวตนจริง
ต่างกันตรงนี้ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 14 ธ.ค. 17, 11:55
ขอบพระคุณครับ ผมขออนุญาตต่อในประเด็นนี้นะครับ
อ้างถึง
สมมุติว่าหม่อมน้อยสร้างตัวละครจากจินตนาการขึ้นมาให้เป็นเจ้านายสมัยปลายอยุธยา  สมมุติพระนาม สมมุติชีวิต สมมุติการผจญภัย  เจอชะตากรรมอะไรหลังกรุงแตก  ก็คงไม่มีใครมาประท้วงว่า เจ้านายองค์นี้ไม่มีตัวตนจริง
ต่างกันตรงนี้ค่ะ

ถ้าเป็นเช่นนี้ กรณี เซี่ยงเส้าหลง พระเอกจากเจาะเวลาหาจิ๋นซี เป็นตัวละครสมมุติ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเซี่ยงเส้าหลง ผมเข้าใจว่า ผู้เขียนจะกำหนดให้เป็นเช่นไรก็ได้

แต่ในเนื้อเรื่องจะมีส่วนที่กล่าวถึง หลี่ปู้เหว่ย หวังเจี่ยน หลี่มู่ หรือแม้แต่ฉิ๋นซี ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริง การที่ผู้เขียนจะสร้างบุคลิก ที่มา ความคิด การตัดสินใจของตัวละครที่เคยมีอยู่จริงจะต่างไปจากที่มีบันทึกไว้ หรือส่วนที่กล่าวถึงเหตุการณ์จริง เช่น แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้อย่างไร หากผู้เขียน เขียนให้ต่างไปจากความเป็นจริง ก็ยังไม่เป็นไรหรือครับ   

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 12:53
บริบทอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงคือวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ   
ดิฉันไม่ทราบว่าคนจีนเขามองฮ่องเต้ในประวัติศาสตร์จีนอย่างไรแบบไหน   ที่จริงคนจีนก็กระจายกันอยู่หลายแห่งในโลก ทั้งแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง ในไชน่าทาวน์ของอเมริกา   พวกนี้ถูกล้อมรอบด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก    และห่างไกลจากประวัติศาสตร์จีนดั้งเดิมมากโขอยู่
เข้าใจว่า พวกเขาน่าจะมองฮ่องเต้ในอดีตเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในอดีต  เกิดและจบไปแล้ว  แม้จะเหลือร่องรอยให้ระลึกถึงและภูมิใจในความยิ่งใหญ่ ก็ไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันมากมายอย่างคนไทยมีต่อกษัตริย์ไทยในอดีต โดยเฉพาะพระองค์ที่เราถือว่าเป็นผู้กู้ชาติบ้านเมือง และสร้างอาณาจักรให้เราได้อยู่กันมาจนทุกวันนี้    บวกกับความรู้สึกอีกอย่างที่ไม่มีในตำราแต่เหนียวแน่นหยั่งรากลึก  คือกษัตริย์พระองค์ใดมีคุณูปการต่อประเทศมากๆ  พระองค์ท่านก็เลื่อนจากพระราชาขึ้นเป็นเทพ ให้กราบไหว้บูชา ยำเกรงในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์    ดังนั้นการจะทำอะไรให้รู้สึกว่ากระทบกระเทือน  จึงเป็นสิ่งที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของคนไทย

อย่างที่สองเราเองก็อ่านภาษาจีนไม่ออก  ไม่รู้ว่าเจาะเวลาหาจิ๋นซีที่เราเห็นว่าสร้างออกมายังไงก็ได้ แสนจะอิสระเสรีในการตีความ    ไม่มีใครว่า  ความจริงอาจจะมีคนวิจารณ์ไม่เห็นด้วยก็ได้ เพียงแต่เราไม่รู้เอง

อย่างที่สาม ดิฉันคิดว่าการทำงานของบริษัทภาพยนตร์เหล่านี้ น่าจะมีการค้นคว้ากันมาพอสมควร  ส่วนการเขียนบท เคยเห็นว่าเขาทำงานกันเป็นทีม  ก็คงจะมีการกลั่นกรองกันมาอีกชั้นหนึ่งก่อนจะถ่ายทำค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 13:18
แต่ในเนื้อเรื่องจะมีส่วนที่กล่าวถึง หลี่ปู้เหว่ย หวังเจี่ยน หลี่มู่ หรือแม้แต่ฉิ๋นซี ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริง การที่ผู้เขียนจะสร้างบุคลิก ที่มา ความคิด การตัดสินใจของตัวละครที่เคยมีอยู่จริงจะต่างไปจากที่มีบันทึกไว้ หรือส่วนที่กล่าวถึงเหตุการณ์จริง เช่น แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้อย่างไร หากผู้เขียน เขียนให้ต่างไปจากความเป็นจริง ก็ยังไม่เป็นไรหรือครับ   

ก่อนที่จะเขียนนิยายหรือละครอิงประวัติศาสตร์ ผู้เขียนต้องทำการบ้านก่อนค่ะ
ต้องสร้างดุลยภาพให้เนียนระหว่างสิ่งที่คิดขึ้นเอง กับหลักฐานที่มีอยู่    ว่าทำยังไงไม่ให้ไปฉีกกรอบความจริงที่ล้อมรอบจินตนาการของคนสร้างงาน
เห็นง่ายๆ  พระประวัติของพระเจ้าตากสินนั้น พงศาวดารทุกฉบับระบุตรงกันว่าท่านมีกำเนิดเป็นสามัญชน และมีเชื้อจีน   ส่วนประวัติการทำงานก็ยังมีหลักฐานแย้งกันอยู่     คนเขียนจะสมมุติยังไงก็ได้แต่ต้องอยู่ในกรอบที่รู้กันดีอยู่แล้ว
อยู่ๆจะมาฉีกกรอบให้ท่านเป็นพระโอรสอีกองค์ของพระเจ้าบรมโกศขึ้นมาเสียเฉยๆ  แบบนี้ไม่ได้ค่ะ

ส่วนที่เราไม่รู้เพราะไม่มีบันทึก คือลักษณะภายนอก นิสัยใจคอ  ความคิด การตัดสินใจ   ส่วนนี้ยังไงก็ต้องอาศัยจินตนาการ   ข้อนี้ไม่แปลก  หนังประวัติศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ให้บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์พูดอะไรคิดอะไรตามใจคนเขียนอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าจะต้องไม่ละเมิดออกมานอกบทบาทชีวิตจริงเท่านั้น
เช่นอับราฺฮัม ลินคอล์นจะไปประกาศยอมแพ้ทหารฝ่ายใต้ ไม่ได้      เคนเนดี้จะรอดตายจากถูกลอบสังหารไม่ได้   แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นยังไงก็ชนะ  แคว้นจ้าวจะพลิกกลับเป็นชนะแทนไม่ได้
ทำนองนี้ละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 14 ธ.ค. 17, 18:37
มีบางจุดที่น่าสงสัยและอยากเรียนถามผู้รู้ในที่นี่ เกี่ยวกับชาติกำเนิดของพิมาน

จากการดู ศรีอโยธยา ตอนที่ 3 ได้ความว่า พิมานเป็นเด็กกำพร้า เป็นลูกพระยาจักรี ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยาพลเทพและพระกำนัลนารี แถมพิมานยังมีแม่เป็นฝรั่งวิลันดา (ฮอลันดา) อีกต่างหาก ทำให้สงสัยว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขุนนางผู้ใหญ่สามารถมีภรรยาเป็นฝรั่งต่างชาติได้ด้วยหรือคะ เพราะเข้าใจว่าคนที่มีคู่เป็นชาวต่างชาติได้น่าจะเป็นแต่พวกพ่อค้าวาณิชเสียอีก

ในตอนที่ 2 ที่พิมานเข้าไปปลอบบุษบาบรรณที่กำลังร้องไห้หน้าเจดีย์เก็บอัฐิของแม่ พิมานชี้ให้บุษบาบรรณดูเจดีย์ใส่อัฐิของแม่ของเขา ทำให้สงสัยอีกว่า หรือว่าแม่ของพิมานนั้นจะเปลี่ยนศาสนาเป็นพุทธตามเจ้าคุณพ่อของพิมานไปแล้ว เวลาเสียชีวิตจึงนำอัฐิบรรจุใส่เจดีย์ แทนที่จะฝังร่างไว้ในโบสถ์เช่นชาวคริสต์ทั่วไป

เจดีย์ของพ่อแม่พิมาน

(https://www.picz.in.th/images/2017/12/15/Untitlede43a49f47a815275.png)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 14 ธ.ค. 17, 18:55
มาอ่านแบบงงๆเพราะไม่ได้ดูครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 19:19
เดาว่าเป็นการปูพื้นฐานเพื่อให้รับกับหน้าตาของอนันดา ที่เล่นเป็นขุนนางอยุธยา ว่าทำไมหน้าตามีเชื้อสายฝรั่งค่ะ
ในเมื่อไม่สามารถหาขุนนางฝรั่งสมัยพระเจ้าเอกทัศมาเป็นบิดาของพระพิมานได้    ก็ต้องให้เป็นมารดาแทน  

ถ้าถามว่าเป็นไปได้ไหมที่ขุนนางระดับสูงของอยุธยาจะมีแหม่มเป็นภรรยา   ดิฉันจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่ามีกฎหมายสมัยนั้นห้ามไว้ แต่ยังไม่ได้ไปค้นรายละเอียด
พูดถึงความสมเหตุสมผล  มันก็ยากอีกน่ะแหละที่ผู้หญิงดัทช์คนไหนจะมาเป็นภรรยาขุนนางไทย  อย่าว่าแต่จะมีสาวดัทช์เดินทางจากยุโรปมาอยู่ในอยุธยาเลย     สมัยนั้นฝรั่งที่เดินเรือมาทางตะวันออกก็มากันแต่เฉพาะผู้ชายทั้งนั้น เพราะไม่รู้จะเอาชีวิตกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนได้หรือไม่
อีกอย่างก็คือ เราคงจำได้ว่าพระเพทราชาท่านเกลียดฝรั่ง  ไม่ใช่แต่ฝรั่ง ญี่ปุ่นท่านก็เกลียด    หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก็มีแต่โปรตุเกสที่อยู่ในอยุธยาได้โดยไม่เดือดร้อนนัก   ส่วนฮอลันดานั้นหมางใจกันตั้งแต่สิ้นสมัยพระนารายณ์ เพราะไม่พอใจระบบการค้าผูกขาดของพระคลังหลวง ความสัมพันธ์กับอยุธยาก็เสื่อมลง

เหตุผลที่ขุนนางไทยไม่มีเมียแหม่ม เห็นได้ชัดๆก็คือ  เป็นภัยทางด้านความมั่นคง     ถ้าได้ภรรยาต่างชาติ ตื้นลึกหนาบางในราชการ เธออาจไปบอกพรรคพวกหมดก็เป็นได้    เสียหายกันหลายชั้น     จึงไม่น่าที่พระยาจักรีจะมีภรรยาชาวฮอลันดาได้อย่างเปิดเผยและยังมีหน้ามีตาในราชการจนถึงแก่อนิจกรรม


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 19:22
มาอ่านแบบงงๆเพราะไม่ได้ดูครับ
ย้อนหลังไปหน้าก่อนๆ มีคลิปให้ดูค่ะ  คุณม้ามีเวลาก็กรุณาดูด้วย  อยากให้คุณม้ามาร่วมวงค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 20:12
คิดถึงคุณศรีสรรเพชญ์ น่าจะเข้ามาร่วมวงอีกคน  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 20:58
คุณเพ็ญชมพูน่ะแหละ  ทำไมไม่มาร่วมวงคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 21:24
เห็นง่ายๆ  พระประวัติของพระเจ้าตากสินนั้น พงศาวดารทุกฉบับระบุตรงกันว่าท่านมีกำเนิดเป็นสามัญชน และมีเชื้อจีน   ส่วนประวัติการทำงานก็ยังมีหลักฐานแย้งกันอยู่     คนเขียนจะสมมุติยังไงก็ได้แต่ต้องอยู่ในกรอบที่รู้กันดีอยู่แล้ว
อยู่ๆจะมาฉีกกรอบให้ท่านเป็นพระโอรสอีกองค์ของพระเจ้าบรมโกศขึ้นมาเสียเฉยๆ  แบบนี้ไม่ได้ค่ะ

นอกจากพงศาวดารก็ยังมีประวัติศาสตร์กระซิบ ถ้านักเขียนจะฉีกกรอบเอามาใช้สร้างนิยายหรือบทละครจะได้ไหมเอ่ย  ;D

กำเนิดพระเจ้าตากสิน เป็นลูกใครกันแน่ ?

https://www.gotoknow.org/posts/543655


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 17, 21:35
ไม่ไหวมั้งคะ :-\

ลองแยกข้อเท็จจริงออกจากหลักฐานเก่าๆที่เชื่อกันมาอย่างอภินิหารบรรพบุรุษหรือปฐมวงศ์
๑   กำเนิดของพระเจ้าตากสินเป็นสามัญชน
๒   รับราชการเป็นเจ้าเมือง อยู่ไกลกรุงศรีอยุธยา
๓   เมื่อเกิดศึกครั้งสุดท้ายของอยุธยา  ท่่านมาประจำอยู่ในเมือง 
๔   ก่อนกรุงแตก  ท่านได้พาทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าออกจากเมือง  มุ่งหน้าไปจันทบุรี
๕   เมื่อกรุงแตกแล้ว  ท่านไม่ได้เข้าไปสวามิภักดิ์กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่คนอื่นๆ รวมทั้งเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวง  แต่ว่ารวบรวมกำลังขึ้นมาเอง ด้วยการตีแต่ละเมือง
๖   ท่านเป็นผู้บัญชาการรบเอง  วางแผนยุทธศาสตร์เอง  ประสานไมตรีกับอาณาจักรจีนเอง  และควบคุมแม่ทัพนายกองทั้งหมดเอง

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง?
๑   กำเนิดท่านไม่ใช่ชาวบ้านทำไร่ไถนา หรือเป็นคนยากจนไร้การศึกษาเป็นแน่
๒   การรับราชการเป็นเจ้าเมืองสมัยนั้น  ยากที่จะเชื่อว่าจู่ๆก็ซื้อตำแหน่งได้เป็น หรือกำจัดคนเก่าแล้วเป็นเอาดื้อๆ   แต่จะต้องเป็นอย่างถูกต้องตามขั้นตอน คือตั้งจากส่วนกลาง หรืออย่างน้อยก็ได้รับความเห็นชอบจากส่วนกลาง
๓   สืบเนื่องจากข้อ ๒   เมื่อเป็นเจ้าเมืองได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน จึงถูกเรียกมาประจำส่วนกลางเมื่อเกิดศึก  แสดงว่าทางกรุงศรีอยุธยารับรู้ตำแหน่งท่านมาแต่แรกแล้ว
๔   มีฝีมือในการรบ  ไม่งั้นคงไม่ตีฝ่าพม่าออกจากเมืองไปได้ โดยทหารติดตามก็รอดไปทั้งหมดหรือเกือบหมด     
     ถ้าไม่แน่จริงคงรอดพม่าไปไม่ได้   คงตายเสียหมดตั้งแต่ออกไปเผชิญกัน
๕   ความคิดที่ตั้งตนเป็นใหญ่   การวางแผนยุทธศาสตร์ปราบก๊กอื่นๆ น่าจะมาจากหัวคิดของคนที่ผ่านความเป็นใหญ่ หรือรู้เห็นอะไรที่ใหญ่ๆมาตลอด   ตลอดจนเชื่อมั่นในกำลังรบของตนเอง   
     คนที่เป็นแค่พ่อค้าเกวียน ไม่น่าจะมีแผนยุทธศาสตร์ได้ขนาดนี้    เพราะการรบกับโจรกระจอกตามรายทางที่คุมกองเกวียนไปค้าขาย กับรบกับบรรดาก๊กต่างๆและบรรดาแม่ทัพนายกองพม่า มันคนละสเต็ป ห่างกันมาก
     เพราะฉะนั้นจึงเชื่อว่า กำเนิดพระเจ้าตากเป็นอย่างไรก็ตาม  ชีวิตในวัยเด็กและวัยหนุ่มของท่านต้องเคยชินกับอะไรที่ใหญ่โต และท่านได้รับการปลูกฝังให้คิดอะไรได้ใหญ่  มากกว่าสามัญชนทั่วไป      แม้แต่ก๊กอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่ระดับบิ๊กทั้งนั้น ยังสู้ท่านไม่ได้สักก๊กเดียว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 ธ.ค. 17, 00:19
ไม่ไหวมั้งคะ :-\

ลองแยกข้อเท็จจริงออกจากหลักฐานเก่าๆที่เชื่อกันมาอย่างอภินิหารบรรพบุรุษหรือปฐมวงศ์
๑   กำเนิดของพระเจ้าตากสินเป็นสามัญชน
๒   รับราชการเป็นเจ้าเมือง อยู่ไกลกรุงศรีอยุธยา
๓   เมื่อเกิดศึกครั้งสุดท้ายของอยุธยา  ท่่านมาประจำอยู่ในเมือง 
๔   ก่อนกรุงแตก  ท่านได้พาทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าออกจากเมือง  มุ่งหน้าไปจันทบุรี
๕   เมื่อกรุงแตกแล้ว  ท่านไม่ได้เข้าไปสวามิภักดิ์กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่คนอื่นๆ รวมทั้งเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวง  แต่ว่ารวบรวมกำลังขึ้นมาเอง ด้วยการตีแต่ละเมือง
๖   ท่านเป็นผู้บัญชาการรบเอง  วางแผนยุทธศาสตร์เอง  ประสานไมตรีกับอาณาจักรจีนเอง  และควบคุมแม่ทัพนายกองทั้งหมดเอง

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง?
๑   กำเนิดท่านไม่ใช่ชาวบ้านทำไร่ไถนา หรือเป็นคนยากจนไร้การศึกษาเป็นแน่
๒   การรับราชการเป็นเจ้าเมืองสมัยนั้น  ยากที่จะเชื่อว่าจู่ๆก็ซื้อตำแหน่งได้เป็น หรือกำจัดคนเก่าแล้วเป็นเอาดื้อๆ   แต่จะต้องเป็นอย่างถูกต้องตามขั้นตอน คือตั้งจากส่วนกลาง หรืออย่างน้อยก็ได้รับความเห็นชอบจากส่วนกลาง
๓   สืบเนื่องจากข้อ ๒   เมื่อเป็นเจ้าเมืองได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน จึงถูกเรียกมาประจำส่วนกลางเมื่อเกิดศึก  แสดงว่าทางกรุงศรีอยุธยารับรู้ตำแหน่งท่านมาแต่แรกแล้ว
๔   มีฝีมือในการรบ  ไม่งั้นคงไม่ตีฝ่าพม่าออกจากเมืองไปได้ โดยทหารติดตามก็รอดไปทั้งหมดหรือเกือบหมด     
     ถ้าไม่แน่จริงคงรอดพม่าไปไม่ได้   คงตายเสียหมดตั้งแต่ออกไปเผชิญกัน
๕   ความคิดที่ตั้งตนเป็นใหญ่   การวางแผนยุทธศาสตร์ปราบก๊กอื่นๆ น่าจะมาจากหัวคิดของคนที่ผ่านความเป็นใหญ่ หรือรู้เห็นอะไรที่ใหญ่ๆมาตลอด   ตลอดจนเชื่อมั่นในกำลังรบของตนเอง   
     คนที่เป็นแค่พ่อค้าเกวียน ไม่น่าจะมีแผนยุทธศาสตร์ได้ขนาดนี้    เพราะการรบกับโจรกระจอกตามรายทางที่คุมกองเกวียนไปค้าขาย กับรบกับบรรดาก๊กต่างๆและบรรดาแม่ทัพนายกองพม่า มันคนละสเต็ป ห่างกันมาก
     เพราะฉะนั้นจึงเชื่อว่า กำเนิดพระเจ้าตากเป็นอย่างไรก็ตาม  ชีวิตในวัยเด็กและวัยหนุ่มของท่านต้องเคยชินกับอะไรที่ใหญ่โต และท่านได้รับการปลูกฝังให้คิดอะไรได้ใหญ่  มากกว่าสามัญชนทั่วไป      แม้แต่ก๊กอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่ระดับบิ๊กทั้งนั้น ยังสู้ท่านไม่ได้สักก๊กเดียว


น่าสนใจครับ เบื้องหลังอะไรที่สร้างผู้นำอย่างพระเจ้าตากขึ้นมาได้ แต่ขอทบทวนเรื่องพื้นฐานการเป็นเจ้าเมืองตากสักหน่อยครับ

เมืองตากในยุคนั้นเป็นเมืองเล็ก คิดง่ายๆคือ นอกจากพระเจ้าตากแล้ว มีชื่อเจ้าเมืองตากคนใดในสมัยอยุธยาที่มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์อีกหรือไม่? ผมไม่แน่ใจนัก แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่แปลกใจเลยครับ ยิ่งพิจารณาว่าในช่วงสงคราม พระเจ้าเอกทัศทรงเลื่อนตำแหน่งให้เป็นพระยากำแพงเพชร (ซึ่งไม่น่าจะเคยได้มีโอกาสไปกินเมืองจริง เพราะหลังจากนั้นใครๆก็ยังเรียกท่านว่าขุนหลวงตาก) ยิ่งตอกย้ำสถานะของเมืองกำแพงเพชร ก็คงเหมือนอย่างเล่าปี่ไปตั้งตัวที่เสฉวน แต่เมื่อยกตัวเองเป็นเจ้า กลับเรียกว่าฮันต๋งอ๋อง ไม่เรียกว่าเซ็งโต๋อ๋อง (ฮันต๋งคือฉงชิ่ง(จุงกิง) ส่วนเซ็งโต๋คือเฉิงตู) ก็เพราะเสฉวนในยุคนั้นมันบ้านนอกใกล้ปืนเที่ยง การจะเป็นเซ็งโต๋อ๋องเห็นจะไม่น่าเกรงขามนะครับ

อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าเมืองตากได้นั้น ต้องไม่ใช่คนยากไร้ เป็นไพร่ชาวบ้านอยู่ๆก็มาเป็นได้แน่ แต่ถึงกระนั้น ถ้าเป็นลูกหลานขุนนางในกรุง ผมเกรงว่าจะไม่มีใครอยากส่งลูกหลานตัวเองไปเป็นเจ้าเมืองตากเป็นแน่ครับ

หากเทียบยุคเดียวกันที่จีนนอกอย่างหมักกื๋วบิดาของหมักเทียนตื๊อพระยาราชาเศรษฐียังตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าที่เมืองพุทไธมาศได้ โดยส่วนตัวผมเห็นว่าพระยาตากก็น่าจะเป็นพ่อค้าที่ลงหลักปักฐานมีกำลังมีทรัพย์ระดับหนึ่งจนได้มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองชายแดนเล็กๆอย่างเมืองตากได้ครับ

แนวทางอย่างนี้เทียบกับปัจจุบันก็เรียกได้ว่าเป็นนักปฏิบัติแนว Street Fighter ถึงลูกถึงคน ช่วงเวลาที่รับศึกพม่าเป็นปี นับจากที่รับศึกพม่าที่เมืองตากมาจนถึงช่วงที่รับศึกที่กรุงศรีอยุธยาน่าจะสร้างเสริมประสบการณ์ในการรบอย่างโชกโชน แต่ถึงกระนั้น ดูจากความในพงศาวดาร ช่วงแรกลาดตระเวณอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาใต้บางกระจะลงมา จนเมื่อพระยาเพชรบุรีตายก็ถอยขึ้นไปลาดตระเวณแถบคูขื่อหน้าทางตะวันออกของเกาะเมือง บทบาทเช่นนี้ ผมว่าพระยาตากหรือพระยากำแพงเพชรถึงไม่ใช่เบี้ย แต่ไม่ใช่ตัวนายคนสำคัญที่จะไม่ออกมาเสี่ยงชีวิตข้างนอกครับ

เรียกได้ว่าเป็นผู้มีสติปัญญาความสามารถในวิกฤตการณ์ แต่ไม่น่าจะเป็นคนสำคัญหรือคนในตระกูลใหญ่โตเก่าแก่ในอยุธยานะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 15 ธ.ค. 17, 06:11
เข้าห้องเรียนช้า แต่นักเรียนคึกคักมาก ยังไม่เคยดูเรื่องนี้เลยค่ะ
ขอแอบอยู่หลังห้องก่อนนะคะ ปูเสื่อนอนดูย้อนหลังก่อน

 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ธ.ค. 17, 10:31
มีอีกตอนหนึ่ง ที่พอจะสะท้อนอะไรระหว่างบรรทัดได้บ้างค่ะ

เมื่อนายสุดจินดา(กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท) หนีออกจากกรุงแตกได้ก็มุ่งหน้าไปหาพี่ชาย  หลวงยกกระบัตรพาครอบครัวอพยพหลบภัยข้าศึกไปประทับอยู่ที่อําเภออัมพวา เมืองสมุทรสงครามซึ่งขณะนั้นขึ้นกับเมืองราชบุรี    นายสุดจินดาชวนพี่ชายพาครอบครัวไปอยู่ที่ชลบุรีด้วย แต่หลวงยกกระบัตรยังไม่พร้อม เพราะตอนนั้นภรรยาท้องแก่จวนจะคลอดบุตร  แต่ได้หาเรือใหญ่ เสบียงอาหาร และบอกน้องชายให้ไปฝากตัวทําราชการกับพระยาตากสิน    พร้อมกันนั้นเพื่อเป็น 'เครดิต' ก็ให้นายสุดจินดาไปรับท่านเอี้ยง พระชนนีของพระยาตากสิน ซึ่งอพยพไปอยู่ที่บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พร้อมทั้งฝากดาบคร่ํา และแหวน 2 วง ไปถวายเป็นของกํานัลกับพระเจ้าตากด้วย

ทั้งหมดนี้ สามารถอ่านคอนเนคชั่นระหว่างพระเจ้าตากสินกับพี่น้องคู่นี้ได้อย่างไรบ้าง
- หลวงยกกระบัตร(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) จะต้องมีความเชื่อถือในฝีมือของพระยาตากมาแต่เดิม    มากกว่าเชื่อขุนนางและเจ้านายอื่นๆที่ไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่หลายก๊ก    ความเชื่อถือนี้มีมากขนาดส่งน้องชายไปรับราชการด้วย และท่านเองก็จะตามไปทีหลัง
- หลวงยกกระบัตรจะต้องคุ้นเคยกับเทือกเถาเหล่ากอของพระยาตากมาก่อน  พอจะรู้ข่าวได้แน่นอนว่าแม่ของท่านอยู่ที่บ้านแหลม    อาจจะได้ติดต่อส่งข่าวคราวกันมาก่อนกรุงแตกก็เป็นได้   เพราะราชบุรีกับเพชรบุรีก็ห่างกันไม่มาก   
ความสัมพันธ์ระหว่างหลวงยกกระบัตรและท่านเอี้ยงน่าจะสนิทชิดเชื้อกัน  จะเห็นได้ว่าท่านบอกน้องชายให้ไปรับท่านเอี้ยง โดยไม่ต้องเผื่อเลยว่าท่านเอี้ยงจะไว้ใจมาด้วยหรือไม่มาด้วย    หรือว่าจะอพยพไปไหนเสียก่อนหน้านี้อีกแล้ว
- บรรณาการของมีค่า(ที่หายากในช่วงบ้านเมืองแตกขนาดนั้น) อย่างดาบคร่ำ(ทอง) และแหวน ๒ วง  แสดงถึงการตั้งใจไปสวามิภักดิ์   ไม่ใช่อย่างเพื่อนกับเพื่อน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ธ.ค. 17, 11:00
ทีนี้มาดู background ของหลวงยกกระบัตรและนายสุดจินดาบ้าง
ถ้าตัดความเชื่อเรื่องท่านสืบเชื้อสายมาจากเจ้าแม่วัดดุสิตและโกษาปานออกไป ว่าเป็นแค่ตำนาน    อย่างน้อยข้อเท็จจริงข้อหนึ่งคือทั้งสองเป็นลูกขุนนางในเมืองหลวง  บิดาท่านเป็นขุนนางชั้นคุณพระ   ลูกชายทั้งสองเป็นมหาดเล็ก    แสดงว่ามีเชื้อสายเป็นที่ยอมรับ  เพราะค่านิยมสมัยอยุธยาตอนปลายที่ต่อเนื่องมาถึงรัตนโกสินทร์คือ "มหาดเล็กสามต่อพ่อลูกหลาน"  หมายความว่าคนจะเป็นมหาดเล็กได้ต้องมีเชื้อสายว่าพ่อเคยเป็น ปู่เคยเป็น  คือเป็นขุนนางกันมาก่อน    ตำแหน่งมหาดเล็กคือการฝึกและทำงานอันดับต้นๆของลูกผู้ดีในเมืองหลวงที่จะต่อยอดไปเป็นขุนนางตำแหน่งต่างๆ
ตระกูลของทั้งสองท่านขนาดสร้างวัดสุวรรณดาราราม  เพื่อมี "ลานวัดให้ลูกหลานวิ่งเล่น" ตามค่านิยมเหมือนคนรวยสมัยนี้ต้องสร้างรีสอร์ตไว้พักร้อน   ก็แสดงว่าตระกูลท่านไม่เบาอยู่เหมือนกัน     

แต่ท่านทั้งสองก็ให้เกียรติยอมรับนับถือขุนนางอีกคน ผู้ซึ่งพงศาวดารบางฉบับกดเอาไว้แค่เป็นนายกองเกวียน พ่อเป็นจีนชาวบ้านอพยพจากเมืองจีนเท่านั้น    แถมยังขึ้นมาสู่ตำแหน่งพระยาโดยไม่มีฐานรองรับเสียอีก
ท่านทั้งสองเต็มใจจะไปสวามิภักดิ์ ทำงานเป็นลูกน้องบุคคลเช่นนี้  แทนที่จะรั้งรออยู่ที่อัมพวาโดยไม่มีใครว่า  แล้วสืบข่าวจนแน่ใจว่าก๊กไหนน่าจะไปหามากที่สุด  ในจำนวนนี้ก็มีก๊กของกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งก็อยู่ในฐานะเจ้านายองค์หนึ่งของท่านมาก่อน     
ถ้าท่านไป ฐานะเดิมของท่านย่อมทำให้กรมหมื่นเทพพิพิธรับท่านเข้ารับราชการด้วยตำแหน่งที่ไม่น้อยไปกว่าพระเจ้าตากรับไว้

ดิฉันก็เลยไม่เข้าใจไงคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 15 ธ.ค. 17, 17:55
เห็นง่ายๆ  พระประวัติของพระเจ้าตากสินนั้น พงศาวดารทุกฉบับระบุตรงกันว่าท่านมีกำเนิดเป็นสามัญชน และมีเชื้อจีน   ส่วนประวัติการทำงานก็ยังมีหลักฐานแย้งกันอยู่     คนเขียนจะสมมุติยังไงก็ได้แต่ต้องอยู่ในกรอบที่รู้กันดีอยู่แล้ว
อยู่ๆจะมาฉีกกรอบให้ท่านเป็นพระโอรสอีกองค์ของพระเจ้าบรมโกศขึ้นมาเสียเฉยๆ  แบบนี้ไม่ได้ค่ะ

นอกจากพงศาวดารก็ยังมีประวัติศาสตร์กระซิบ ถ้านักเขียนจะฉีกกรอบเอามาใช้สร้างนิยายหรือบทละครจะได้ไหมเอ่ย  ;D

กำเนิดพระเจ้าตากสิน เป็นลูกใครกันแน่ ?

https://www.gotoknow.org/posts/543655


ขออภัยครับ 
เรื่องพระเจ้าตากเป็นราชบุตรของพระเจ้าท้ายสระนี่ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่มั่วที่สุดที่เคยได้รับฟังมา
คนเสนอฯ ควรจะต้องคำนวณคร่าวๆดูก่อนว่าคุณเอี้ยงจะมีอายุกี่ปีใน พ.ศ. 2277

ขอคารวะในจินตนาการจับแพะชนแกะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ธ.ค. 17, 18:28
น่าจะเป็น"ขนบ" นอกตำราว่า พอเปลี่ยนราชวงศ์  มีสามัญชนคนใหม่ขึ้นครองราชย์ ก็จะมีพงศาวดารกระซิบตามมาทีหลังว่าท่านเป็นโอรสลับของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน
เหมือนพระเจ้าปราสาททองเป็นโอรสลับของพระเอกาทศรถ     พระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
ทั้งนี้ถ้าจะมองในอีกแง่หนึ่งก็คือ กระซิบเพื่อหาความเหมาะสมให้แก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่   ในการจะได้เป็นสมมุติเทพสืบต่อจากพระเจ้าแผ่นดินองค์เก่า    จึงขจัดความเป็นสามัญชนออกไปจากตัวท่านเสียเลย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 ธ.ค. 17, 19:04
ปัญหาสำคัญน่าจะอยู่ที่ในอภินิหารบรรพบุรุษ (โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตาก) ข้อมูลน่าสงสัยเอามากๆ

ถ้ายึดตามพงศาวดาร นายสุดจินดา(กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท) เข้าสวามิภักดิ์พระเจ้าตากก่อน หลวงยกกระบัตรมาทีหลังนานพอดูนะครับ น่าเชื่อว่านายสุดจินดาจะเป็นฝ่ายแนะนำให้หลวงยกกระบัตรเข้าถวายตัวรับราชการมากกว่า

เพราะถ้าเชื่อว่าหลวงยกกระบัตรแนะนำให้นายสุดจินดามารับราชการกับพระเจ้าตาก ไม่รู้จะอธิบายยังไงว่าหลวงยกกระบัตรรู้ว่าพระเจ้าตากอยู่ที่จันทบุรี

ผมเดาว่านายสุดจินดาหนีพม่ามาทางตะวันออกเหมือนกัน ทราบข่าวว่าพระยาตากมีกำลังแข็งแกร่ง ตีได้เมืองจันทบุรีแล้ว ส่วนตัวน่าจะเคยรู้จักกันในช่วงถูกพม่าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา นับถือความสามารถกันอยู่ จึงเข้าสวามิภักดิ์ครับ

กรมหมื่นเทพพิพิธไปอยู่โคราช นายสุดจินดาไม่ไปสวามิภักดิ์เป็นไปได้ว่าไม่ได้ผ่านไปใกล้ทางนั้น หรือไม่ก็ไม่ได้เชื่อถือกรมหมื่นเทพพิพิธ จะเพราะเหตุการณ์ช่วงโดนพม่าล้อม แล้วสถานะกรมหมื่นเทพพิพิธในเวลานั้นก็เป็นแค่เจว็ดให้เขาเชิดนะครับ

ตอนนี้แม้แต่เรื่องที่ว่าพระบิดาพระเจ้าตากเป็นจีนจากไหฮองผมก็ชักจะสงสัยว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะแถบนั้นจริงๆไม่ค่อยจะเป็นแต้จิ๋วเท่าไหร่ เป็นปลายแดนแต้จิ๋วแล้วครับ

ผมมีข้อสังเกตเรื่องพระนามพระเจ้าตากที่ใช้ในการติดต่อกับราชสำนักจีน แรกๆ เรียกพระยากำแพงเพชร หรือพระยาสิน หลังๆเปลี่ยนเป็นเจิ้งเจ้า แซ่เจิ้ง แต้จิ๋วคือแซ่แต่ ที่คนไทยเรียกว่าแต้ ส่วนเจ้านั้นทับศัพท์ภาษาไทย น่าสงสัยเอามากๆว่าพระนามเดิมของพระองค์คือสิน เป็นชื่อจีนหรือชื่อไทยกันแน่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ธ.ค. 17, 20:38
คุณม้ากับดิฉันน่าจะสงสัยตรงกันเรื่องอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์    คิดว่าข้อมูลน่าจะแต่งขึ้น ไม่หมดก็เกือบหมด
ส่วนการรับราชการกับพระเจ้าตาก  นายสุดจินดาไปก่อน แล้วพี่ชายตามไปทีหลัง  แต่รายละเอียดข้างบนนี้ถ้าจริงก็แสดงว่าพี่น้องพร้อมใจกันไปอยู่กับพระเจ้าตาก ไม่ใช่ในฐานะเพื่อน แต่ในฐานะผู้มอบตัวเป็นนายทหารบริวาร
ส่วนเรื่องที่ว่าหลวงยกกระบัตรรู้ได้ยังไง  ก็ทีท่านนกเอี้ยงอยู่ไหนยังรู้เลย  ไปเชิญตัวมาก็มาโดยดี   ก็แสดงว่าสองท่านกับพระเจ้าตากน่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกันพอสมควร

พูดถึงหลักฐานทางจีนทำให้นึกได้อีกเรื่อง ว่าประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า พระเจ้าตากเป็นสามัญชนและเคยรับราชการอยู่อยุธยา  เมื่อไปขอเป็นไมตรีกับจีน  ยังถูกฮ่องเต้ปฎิเสธในตอนแรกและตำหนิว่า ไม่กตัญญูต่อเจ้านาย(หมายถึงกรมหมื่นเทพพิพิธ)  ในการตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นมาเอง แทนที่จะไปสวามิภักดิ์และเชิดชูเจ้านายขึ้นเป็นใหญ่อีกครั้ง
ข้อนี้ก็ยืนยันชาติกำเนิดได้ว่าท่านเป็นสามัญชน เป็นขุนนางอยุธยามาก่อนแน่นอน   ส่วนบิดาท่านทางจีนก็ระบุว่าเป็นจีนชาวบ้านธรรมดา แซ่แต้(สำเนียงแต่จิ๋ว)เดินทางมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา 

ก็เลยยิ่งทำให้สับสนขึ้นไปอีกค่ะ ว่าภูมิหลังของพระองค์ท่าน อยู่ในระดับใดกันแน่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 ธ.ค. 17, 23:28
เรื่องจีนไม่รับเพราะไม่กตัญญูต่อเจ้านาย จีนไม่ได้เจาะจงถึงแค่กรมหมื่นเทพพิพิธหรอกครับ อันที่จริงทางจีนไม่รู้ใครเป็นใคร แม้แต่ว่ากรุงศรีอยุธยาแตกจริงหรือเปล่ายังไม่แน่ใจ ต้องส่งคนมาสืบข่าว

เหตุผลที่จีนว่าอย่างนั้น ต้องย้อนกลับไปดูว่าคนที่มาสืบข่าวเรื่องอยุธยานั้นมายังไง ต้องไปดูที่นี่ครับ คคห. 42 http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4452.30

จะเห็นว่าตอนนั้นเจ้านายที่ทางจีนรู้จักดีที่สุดเห็นจะเป็นเจ้าจุ้ยนี่แหละครับ (ถ้าเอาชื่อนี้มาถามฝ่ายไทย ต้องถามกลับว่า Who?) เพราะหมักเทียนตื๊อหวังจะเชิดเจ้าจุ้ยแย่งอำนาจในสยามกับก๊กอื่นด้วย เป็นเหตุให้ก๊กพระเจ้าตากต้องรีบยกไปตีเขมรทั้งๆ ที่ก๊กอื่นยังปราบไม่หมด ถ้าไปตีความว่าเป็นการตีเขมรก็เท่ากับรบขยายอาณาจักร (ซึ่งไม่สมเหตุสมผลอย่างแรง) แต่เห็นชัดเลยว่านี่คือการปราบก๊กที่ร่วมชิงอำนาจสยามกันอยู่ และเป็นก๊กคู่แข่งสำคัญเสียด้วย เพราะนอกจากก๊กพุทไธมาศที่ได้เจ้าจุ้ยไว้ ยังมีเจ้าศรีสังข์ที่ไปอาศัยกษัตริย์เขมรอีกพระองค์หนึ่งด้วย ยกทัพไปครั้งเดียวจัดการคู่แข่งได้ถึงสองกลุ่มพร้อมๆกัน

แต่ผมไม่คิดว่านี่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่จีนไม่ยอมรับพระเจ้าตาก สาเหตุหลักคือพระเจ้าตากในเวลานั้นยังไม่สามารถปราบก๊กอื่นได้ราบคาบ ยิ่งไปกว่านั้นความสามารถในการผลิตข้าว อันเป็นสินค้าสำคัญที่จีนต้องการยังไม่กลับสู่สภาพเดิม กรุงธนบุรีนอกจากไม่สามารถขายข้าวให้จีนได้ ยังเป็นฝ่ายนำเข้าข้าวอีกต่างหาก จนเมื่อการเมืองภายในสยามสงบ กำลังการผลิตข้าวกลับสู่สภาพเดิม จีนถึงได้เปลี่ยนท่าทีต่อพระเจ้าตากครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 ธ.ค. 17, 23:48
ส่วนเรื่องชาติกำเนิดพระเจ้าตาก ผมยังยืนยันเรื่องเดิม ตากเป็นเมืองเล็กอยู่ชายแดน ผมไม่คิดว่าพระองค์จะอยู่เกิดในตระกูลขุนนางชั้นสูง ร่องรอยเรื่องที่ทรงตรัสเป็นภาษาจีนได้ ทั้งมีส่วนในวรรณคดียุคกรุงธนบุรี ชี้ว่าควรเป็นลูกครึ่งจีนไทยที่มีความเป็นไทยไม่น้อย เมื่อพิจารณาบรรดาศักดิ์ที่เป็นถึงพระยา (ซึ่งช่วงปลายอยุธยาบรรดาศักดิ์ขุนนาง"ฝืด"เต็มทน เจ้าพระยาหายาก ชั้นพระยาถือว่าใหญ่โตมากแล้ว) มันขัดกันชอบกลนะครับ น่าสงสัยว่าเมื่อเป็นเจ้าเมืองตากพระองค์จะมีบรรดาศักดิ์ในชั้นที่ต่ำกว่านี้ แต่อาจจะได้ปูนบำเหน็จเมื่อพยายามรับศึกพม่า ก่อนที่จะถอยครัวจากตากลงมาที่อยุธยาแบบไม่บอบช้ำมาก

เป็นไปได้มากว่านายสุดจินดาจะมารู้จักพระยาตากในช่วงเวลานั้นเอง ส่วนหลวงยกกระบัตร ผมคิดว่าไม่น่าจะเคยรู้จักกับพระยาตากมาก่อนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ธ.ค. 17, 06:06
ปุจฉา-วิสัชนา จากพันทิป

พระเจ้าตากสินเป็นโอรสของพระเจ้าท้ายสระใช่หรือไม่

https://pantip.com/topic/35371202




กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ธ.ค. 17, 11:49
มีอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาด้วย   คือความสามารถในการแต่งวรรณคดี
ทั้งๆสมัยธนบุรีมีแต่ศึกไม่ว่างเว้น   พระเจ้าตากสินก็ยังทรงแบ่งเวลาไปทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม   ถ้าทรงให้กวีอื่นๆแต่งวรรณคดีขึ้นมาในโอกาสสำคัญต่างๆ ก็ไม่น่าแปลก   ที่น่าสังเกตคือทรงพระราชนิพนธ์ "รามเกียรติ์" ถึง 4 ตอนด้วยพระองค์เอง  ใช้เวลาเพียง 2 เดือน คือ
    เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
    เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
    เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
    เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
    ถ้าใครอ่านรามเกียรติจะรู้วา่ทั้ง 4 ตอนนี้เป็นเหตุการณ์คนละตอนกัน    ตัวละครเอกก็คนละตัว  บางเล่มก็โดดข้ามตอนอื่นๆไปเลยเช่นตอนพระมงกุฎซึ่งเป็นโอรสพระราม  มาเกิดตอนศึกทศกัณฐ์จบไปนานแล้ว
    คนที่แต่ง 4 ตอนนี้ได้ ต้องรู้เรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ     แล้วหยิบขึ้นมาเฉพาะบางตอนที่ตัวเองอาจจะชอบหรือสนใจเป็นพิเศษ   ถ้าไม่รู้เรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมดก็แต่งไม่ได้ เพราะจะไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ที่มาที่ไปของเหตุการณ์และตัวละคร
    นอกจากนี้ยังต้องรู้วิธีการแต่งกลอนบทละครอีกด้วย โดยเฉพาะละครใน ซึ่งมีความประณีตพิถีพิถันกว่าละครนอก  คนแต่งต้องรู้จักละครชั้นสูงของราชสำนักมาก่อนหน้า

    ลูกจีนอาชีพพ่อค้า เดินทางไปค้าขายตามเมืองต่างๆ จนสบช่องทางได้ไปรับราชการอยู่ในหัวเมืองไกลปืนเที่ยง  ย่อมจะมีชีวิตที่ไม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเมืองหลวง    แม้ว่าพูดได้หลายภาษาเช่นจีนแต้จิ๋ว จีบกวางตุ้ง  และภาษาลาว   ก็เป็นได้ว่ามีประสบการณ์ติดต่อค้าขายกับเจ้าของภาษา   แต่พูดภาษาต่างๆกับแต่งวรรณคดีไทย มันคนละเรื่อง ห่างไกลกันมาก
    ลูกผู้ชายไทยมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านในวัด   แต่ถ้าเป็นวัดในหัวเมืองไกลๆ โอกาสที่จะเขียนได้ในระดับสูงเกือบจะเป็น 0%  เพราะหาพระมหาเปรียญมาสอนได้ยาก    การอ่านออกเขียนได้กับการแต่งวรรณคดีได้ ต่างกันเหมือนเรียนประถมกับมหาวิทยาลัย
    คำถามคือพระเจ้าตากท่านไปเรียนมาจากไหน   จึงรู้จักรามเกียรติ์อย่างดีจนเลือกหยิบเฉพาะตอนที่ต้องพระทัยมาแต่งใหม่  เพื่อใช้เล่นละครในวัง  และมีพื้นฐานทางภาษาอย่างดีจนกระทั่งแต่งได้แบบมั่นพระทัย ไม่อายนักปราชญ์ราชบัณฑิตในธนบุรี 
    ระยะเวลาแค่ถูกเรียกตัวมาอยู่ในเมืองหลวง ในช่วงศึกตอนปลายอยุธยา   ไม่พอที่ท่านจะฝึกปรือฝีมือด้านนี้แน่นอน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ธ.ค. 17, 11:09
ทีนี้ ลองพิจารณาจาก " ผล" ย้อนกลับไปหา "เหตุ"
ผลมีอยู่ตามนี้
๑ มีขุนนางสมัยปลายอยุธยาคนหนึ่ง   พ่อเป็นจีน  มีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับเล็ก
๒ เป็นเจ้าเมืองเล็กๆทางเหนือชื่อเมืองตาก    
๒ ตอนเกิดศึกกับพม่า ท่านมาประจำอยู่ในเมืองหลวง  ได้ติดตามแม่ทัพออกไปรบกับพม่าหลายครั้ง
๓ ไม่กี่วันก่อนกรุงแตก  ท่านพาสมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่ง ตีฝ่าพม่าหนีออกไปได้สำเร็จ
๔  ท่านตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ ทั้งๆเป็นก๊กเล็กสุด   และมีภูมิหลังที่ด้อยกว่าก๊กใหญ่ๆอีกหลายก๊ก เช่นก๊กพระยาพิษณุโลกนั่นก็ขุนนางใหญ่ในเมืองใหญ่   เจ้าพระฝางก็เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนนับถือกันมากมาย   ก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธก็พระราชโอรสกษัตริย์
    แต่ทุกก๊กแพ้ฝีมือรบของท่านราบคาบ  ทั้งๆแต่ละก๊กก็น่าจะมีแม่ทัพนายกองชั้นผู้ใหญ่กว่าท่านเป็นกำลังรบ   ส่วนท่านมีแต่ขุนนางระดับกลางๆและข่าราชการหนุ่มๆที่ยังไม่เคยกรำศึก
๕  เป็นคนที่รู้เส้นทางจากอยุธยาไปจันทบุรีดี  ตลอดจนเส้นทางเมืองต่างๆในภาคกลางทางใต้ของอยุธยา   วางแผนยุทธศาสตร์เป็น  ติดต่อขอความร่วมมือกับพ่อค้าชาวจีนเป็น
๖  เป็นคนไม่ยึดติดขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเจ้านายอยุธยา   ติดดิน คลุกคลีกับราษฎรได้   แต่ก็รู้จักวัฒนธรรมระดับสูงของราชสำนัก  ถึงขั้นแต่งวรรณคดีได้อย่างมั่นใจ
เหตุ  =  ขุนนางเช่นนี้ควรจะมีภูมิหลังแบบไหน?
๑  น่าจะเป็นคนที่เคยอยู่เมืองหลวงมาก่อน  
๒  รู้จักความเป็นไปในราชสำนัก เช่นละครในซึ่งนิยมกันมากในสมัยนั้น
๓  เรียนรู้หนังสือสูงกว่าชาวบ้านทั่วไป   ถึงขั้นเรียนวิชาของกุลบุตร คือการแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอน
๔  ชาติกำเนิดไม่ใหญ่โต   มิฉะนั้นคงมีเส้นสายให้ไปประจำในหัวเมืองใกล้ๆ หรือเมืองใหญ่ที่มีความพร้อม  ไม่ใช่เมืองไกลปืนเที่ยงอย่างตาก  แต่จะว่าไม่มีชาติกำเนิดเสียเลยก็ไม่ใช่   ไม่งั้นคงไม่สามารถก้าวขึ้นมาถึงขั้นพระยา
๕  เคยเดินทางไปหลายเมืองทั้งในภาคกลางและภาคเหนือ  พอจะวางแผนเส้นทางการรบได้ไม้ผิดพลาด


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 ธ.ค. 17, 00:11
เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ พื้นฐานพระเจ้าตากต้องเป็นคนเติบโตในอยุธยา มีความเป็นไทยไม่น้อยกว่าเป็นจีน ทั้งเรื่องวรรณคดีและการบวชพระไม่ใช่เรื่องที่ลูกจีนแท้ๆจะทำแน่ๆครับ

แต่มีบางประเด็นที่ผมขอเพิ่มเติมนะครับ

อ้างถึง
ตอนเกิดศึกกับพม่า ท่านมาประจำอยู่ในเมืองหลวง  ได้ติดตามแม่ทัพออกไปรบกับพม่าหลายครั้ง ไม่กี่วันก่อนกรุงแตก  ท่านพาสมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่ง ตีฝ่าพม่าหนีออกไปได้สำเร็จ

ผมคิดว่าพระยาตากน่าจะใช้เวลาอยู่นอกกำแพงพระนครเป็นส่วนใหญ่ด้วยครับ ช่วงที่เริ่มถูกปิดล้อมรับหน้าที่ลาดตระเวณในแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้ของบางกะจะลงไป จนพระยาเพชรบุรีที่ออกรบด้วยการเสียชีวิตในการศึก หลังจากนั้นพระยาตากมาลาดตระเวณป้องกันพม่าในลำน้ำแถบคูขื่อหน้าทางตะวันออกของเกาะเมือง เชื่อว่าเวลานั้นพม่าคุมลำน้ำเจ้าพระยาใต้กรุงศรีอยุธยาลงไปได้แล้ว ปิดล้อมไม่ให้อยุธยาติดต่อกับต่างชาติได้

หลังน้ำลด พม่ายิ่งกระชับวงล้อมเข้ามา เชื่อว่าแม่ทัพที่รับศึกพม่าอยู่นอกกำแพงพระนครหลายคนเริ่มคิดว่างานนี้เอาไม่อยู่แน่ กลางดึกวันที่ 3 มกราคม ก่อนเสียกรุงสี่เดือนเศษ พระยาตากพาไพร่พล 1,000 ตีฝ่าวงล้อมพม่ามุ่งไปทางตะวันออก ซึ่งสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง เพราะอยู่ตรงข้ามกับทิศทางที่กองทัพพม่ายกมา และทัพของพระยาตากเองก็ลาดตระเวณอยู่ทางด้านตะวันออกอยู่แล้ว

น่าสังเกตว่าถึงเดือนเมษา พม่าส่งคนข้ามแม่น้ำมาขุดอุโมงค์ใต้กำแพงที่หัวรอ สุมไฟใต้กำแพงเผาจนกำแพงทรุด เปิดช่องให้พม่ายกเข้าเมืองอยุธยาได้ ตำแหน่งหัวรออยู่ตรงตอนเหนือของคูขื่อหน้าพื้นที่รับผิดชอบของพระยาตากนี่แหละครับ เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าในเวลานั้น เป็นไปได้สูงว่าทัพที่ลาดตระเวณในลำน้ำนอกกำแพงพระนครถ้ายังเหลืออยู่ก็ต้องมีน้อยจนไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง พม่าถึงได้ยกข้ามมาทำการได้สำเร็จครับ

อ้างถึง
ท่านตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ ทั้งๆเป็นก๊กเล็กสุด   และมีภูมิหลังที่ด้อยกว่าก๊กใหญ่ๆอีกหลายก๊ก เช่นก๊กพระยาพิษณุโลกนั่นก็ขุนนางใหญ่ในเมืองใหญ่   เจ้าพระฝางก็เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนนับถือกันมากมาย   ก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธก็พระราชโอรสกษัตริย์
    แต่ทุกก๊กแพ้ฝีมือรบของท่านราบคาบ  ทั้งๆแต่ละก๊กก็น่าจะมีแม่ทัพนายกองชั้นผู้ใหญ่กว่าท่านเป็นกำลังรบ   ส่วนท่านมีแต่ขุนนางระดับกลางๆและข่าราชการหนุ่มๆที่ยังไม่เคยกรำศึก

ก๊กพระเจ้าตากเมื่อแรกตั้งเป็นก๊กเล็ก แต่เชื่อว่าประสบการณ์กรำศึกโชกโชน ก๊กพระยาพิษณุโลกเป็นขุนนางใหญ่ น่าจะมีคนมียุทโธปกรณ์ครบครันกว่าแน่ แต่เรื่องประสบการณ์นั้น ไม่แน่นักว่าจะมีมากสักเท่าไหร่ เพราะระหว่างที่พม่ายกมาล้อมอยุธยา พิษณุโลกเป็นเมืองที่พม่าไม่ยุ่งด้วย ไม่ใช่เป้าหมายหลัก เชื่อว่าที่ก๊กพระเจ้าตากยกไปปราบเป็นก๊กแรกนั้นก็เพราะเหตุผลนี้ แต่เมื่อเกิดเหตุปืนถูกพระชงฆ์ จึงต้องถอยทัพ เรื่องปืนถูกพระชงฆ์นี้ไม่แน่ว่าจะเป็นสาเหตุที่แท้จริง ถ้าตัดเรื่องนี้ไป สรุปง่ายๆคือพระเจ้าตากตีพิษณุโลกไม่สำเร็จ ต้องหันไปปราบก๊กอื่นๆก่อน

ก๊กพระยาพิษณุโลกชนะศึกนี้ พระยาพิษณุโลกตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แต่พงศาวดารว่าเป็นได้ 7 วัน ประชวรถึงแก่พิราลัยเพราะบุญญาธิการไม่ถึง เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสจึงยกมาตีได้เมืองพิษณุโลก ตัดรายละเอียดอื่นๆออกไปให้หมด สรุปง่ายๆว่าวันนั้นก๊กเจ้าพระฝางแข็งแกร่งกว่าก๊กพระยาพิษณุโลก ส่วนก๊กพระยาพิษณุโลกนั้นก็ยังเหนือกว่าก๊กพระเจ้าตาก แต่สงครามในสมัยนั้น ยิ่งรบก็ยิ่งได้คนได้อาวุธมากขึ้น พระเจ้าตากหันไปปราบชุมนุมอื่นๆ (ก๊กพิมาย ก๊กนครศรีธรรมราช แถมทั้งเขมร และพุทไธมาศ) หลังจากนั้นกลับขึ้นไปปราบก๊กเจ้าพระฝางด้วยกองกำลังที่ใหญ่กว่าครั้งยกไปรบพระยาพิษณุโลกหลายเท่า คราวนี้เจ้าพระฝางพ่ายแพ้ขาดลอย

การสะสมกำลังโดยการรบของพระเจ้าตากไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดในภูมิภาคนี้ ราชวงศ์โกนบ่องของพม่าก็มาแบบเดียวกันนี้เหมือนกัน เริ่มต้นจากเจ้าเมืองเล็กในอาณาจักรพม่าที่ถูกทัพมอญจากหงสาวดียกมาตีอังวะแตกจนอาณาจักรพม่าสลายตัวเกิดศูญญากาศทางอำนาจ พระเจ้าอลองพญาไล่ตีไปทั่วจนในที่สุดก็ยกมาถึงอยุธยา สยามในยุคของพระเจ้าตากก็เช่นเดียวกัน ช่วงหลังของรัชกาลพระเจ้าตาก สยามได้ลาวเป็นเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 18 ธ.ค. 17, 14:57
คืนนี้รอชมตอนต่อไปครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 ธ.ค. 17, 11:40
ผ่านไป 4 ตอน ตอนนี้ เน้นเรื่องราวในยุคปัจจุบัน ซึ่งปรากฎว่า มีเรือนในมิติลับแลอยู่ด้วยครับ
สรุปได้ว่า ในเรื่องนี้ มีตัวละครอยู่ 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะได้แก่
1. บุคคลในยุคปัจจุบัน
2. บุคคลในอดีตโดยแท้
3. บุคคลในอดีตที่อยู่มาจนถึงยุคปัจจุบัน
4. ผี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 11:43
ฟังคุณนริศสรุปแล้วนึกถึง "เรือนมยุรา" ของแก้วเก้า  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4444.0;attach=21455;image)

(https://f.ptcdn.info/240/055/000/p15u3x7t36nWfFLZkl5-o.jpg)

เจ้าส้มฉุนกับคุณทองหยิบ ชื่อก็เป็นของหวานเหมือนกัน เกิดสมัยเดียวกัน และก็แสนซนเหมือนกัน  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ธ.ค. 17, 14:04

กรุงศรีอโยธยา ของหม่อมน้อย มุมมองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง
ในสมัยนั้นจะเห็นว่า มีเสาโคมไฟฟ้าประดับถนนใช้กันอย่างทั่วถึงในเขตเมืองแล้ว
ในตอนต่อๆ ไป อลองพญาจะมายืนชมวิวเดียวกันที่จุดนี้ด้วย

ผมยังนึกไม่ออกว่าวัดที่เจดีย์สีทอง ทางซ้ายของภาพคือวัดอะไร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 ธ.ค. 17, 15:08
ถ้าผมกล่าวถึงเนื่อหาจะได้ไหมครับ (คือในบางที่การเปิดเผยเนื้อหา หรือการ Spoil นี่จะถูกต่อว่าอย่างร้ายแรงเลยแหละครับ)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ธ.ค. 17, 16:00
             ซีรี่ส์เรื่องนี้ดูแล้วนึกถึงหนังละครเรื่องอื่นๆ หลายเรื่อง ตั้งแต่ เรื่องราวที่ร่วมสมัยและมีตัวละครเอก
เป็นทหารสหายสนิทสามคนเหมือนใน "ฟ้าใหม่" ส่วนตัวละครพระพันวัสสาที่เป็นสตรีเข้มแข็งเป็นหลักให้ลูก
หลานและมีความรู้โหราศาสตร์ก็ทำให้นึกถึง ย่านิ่ม ใน "สายโลหิต"  ส่วนซีน เพื่อนรักสามคน ท่องไปตาม
ถนนยามราตรีรำพึงถึงวันหลังและวันข้างหน้ายามสงครามนั้นคล้ายๆ กับเพื่อนกลุ่มคนล่ากวางในหนังเรื่อง
The Deer Hunter ก่อนเดินทางไป(สงคราม)เวียตนาม
             และท้ายที่สุด ตั้งแต่ตอนก่อนที่มี ทองหยิบ ผลุบโผล่ออกมาจนถึงตอนล่าสุดนี้ที่มีเรือนลับแลของ
แม่บุษบาบรรณ ผู้รอวันกลับมาของพี่พิมาน ก็ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นว่า ศรีอโยธยา คือ เรือนมยุรา ฉบับดัดแปลงของ
หม่อมน้อย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 ธ.ค. 17, 16:26
นั้นก็ประเด็นหนึ่งครับ
กลุ่มตัวละคร 3 คน คุยกันเรื่องชะตากรรมของบ้านเมือง หน้าเครียดเชียวครับ แต่เอ่อ พี่ยืนกันอยู่หน้าสำนักโคมแดงไม่ใช่หรือครับ
คืนถัดมา กลุ่มตัวละคร 3 คนเดิม ยืนคุยกันเกี่ยวกับความร่าเริงที่หายไป และบ่นว่าเหตุใดจึงต้องมีสงครามด้วย หน้าสำนักโคมแดงสำนักเดิม
นี่ตกลงพี่มากันทุกคืนเลยใช่ไหมครับ (ฮ่า)

ว่าแต่ ผมฟังไม่ทันครับ พื้นที่ตรงนั้นคือส่วนใดของอโยธยาหรือครับ เพราะในตอนที่ 3 ตัวละคร 3 คน เขาท้ากันวิ่ง แล้วก็วิ่งขึ้นไปบนป้อมบนกำแพงเมือง และได้เห็นภาพที่คุณ Koratian นำมาหนะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 16:45
           และท้ายที่สุด ตั้งแต่ตอนก่อนที่มี ทองหยิบ ผลุบโผล่ออกมาจนถึงตอนล่าสุดนี้ที่มีเรือนลับแลของ
แม่บุษบาบรรณ ผู้รอวันกลับมาของพี่พิมาน ก็ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นว่า ศรีอโยธยา คือ เรือนมยุรา ฉบับดัดแปลงของ
หม่อมน้อย

ไขข้อข้องใจของคุณหมอ SILA ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 16:56
  เมื่อเจ้าของเรื่อง "เรือนมยุรา" ตกลงให้ช่องทรูทำเรื่องนี้เป็นละคร ก็ทราบข่าวจากผู้บริหารว่าได้หม่อมน้อยมากำกับ
  หลังจากนั้นสักพัก  ก็ได้ไฟล์ชื่อ ศรีอโยธยา ส่งมาให้  หน้าแรกเป็นอย่างข้างบนนี้
  หน้าต่อๆไปมีชื่อตัวละครและผู้แสดง พร้อมสรุปบทย่อๆมาให้    ซึ่งเกือบทุกตัวไม่มีใน เรือนมยุรา  ยกเว้นพระเอก และนางเอก  (ยังไม่มีส้มฉุน)
  เนื้อเรื่องเป็นการแสดงถึงเหตุการณ์ตอนเสียกรุงอยุธยา   และเรื่องของกษัตริย์และเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ที่มีจริงบ้างแต่งเติมบ้าง  และที่สำคัญคือมีตัวละคร 3 คน  ที่เราคงรู้แล้วว่าใครบ้าง ไม่ต้องเล่าซ้ำ
  เนื้อเรื่อง เรือนมยุรา   ไม่มีเจ้านายนอกจากเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ซึ่งเปิดฉากขึ้นมาก็สิ้นพระชนม์ไปแล้ว    ไม่มีหลวงยกกระบัตร(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ)  ไม่มีพระยาตาก    เพราะนางเอกของเรื่องไม่มีโอกาสพบขุนนางคนใดนอกจากพระเอก
  นางเอกติดอยู่ในบ้านที่ถูกปิดผนึกจากโลกภายนอก ก่อนกรุงแตกไม่กี่วัน  จึงไม่มีโอกาสเห็นพม่าบุกเข้ามา   ไม่รู้จักสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์    เปิดประตูเรือนออกมาอีกทีเวลาก็ล่วงมาสองร้อยกว่าปี  มาอยู่ในรัชกาลที่ 9 
  ดังนั้น เจ้าของเรื่องจึงไม่คิดว่า เรื่องที่ดัดแปลงขึ้นมาใหม่นี้ จะเข้ากันได้กับเนื้อเรื่องเก่า    ยิ่งมีการเชื่อมอดีตกับปัจจุบันด้วยวิธีให้ตัวละครเอกๆหลายตัวพร้อมใจกันกลับชาติมาเกิดเป็นคนในปัจจุบัน  ก็ยิ่งไกลจากเนื้อเรื่องเดิมมากขึ้น
  เจ้าของเรื่องจึงเจรจากับผู้บริหาร  ไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า "ดัดแปลงจากเรือนมยุรา"  คือละครเรื่องศรีอโยธาจะทำ ก็ทำในชื่อใหม่นี้   ไม่เกี่ยวกับเรือนมยุรา ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 17:04
นึกว่าดู "เรือนมยุรา" อยู่จริง ๆ  ;D

https://youtu.be/zCGfqytx2iI


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 17:10
ไปค้นกระทู้เก่าๆมาให้อ่าน
https://pantip.com/topic/35915789

https://pantip.com/topic/35943697


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ธ.ค. 17, 17:38
             น่าจะเรียกว่าเป็น หนึ่งในลายเซ็นของหม่อมน้อยก็ได้ ครับ ที่จะต้องมีการตีความ,ดัดแปลงเพิ่มเติม
ขยายความไปจากเรื่องเดิมไม่มากก็น้อย เช่น ละคร สี่แผ่นดิน ที่เพิ่มบทแม่ของพลอยกับผู้ชายคนใหม่, ชีวิต
ตาอั้นและอ๊อดในอังกฤษ ต่อมาก็ในหนังโรงทั้ง จัน ดารา และ ชั่วฟ้าดินสลาย ส่วนกรณีเรื่อง ศรีอโยธยา นี้
นับว่าเพิ่มเติมขยายความมากกว่าเรื่องก่อนๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ธ.ค. 17, 19:12
กลุ่มตัวละคร 3 คน คุยกันเรื่องชะตากรรมของบ้านเมือง หน้าเครียดเชียวครับ แต่เอ่อ พี่ยืนกันอยู่หน้าสำนักโคมแดงไม่ใช่หรือครับ
คืนถัดมา กลุ่มตัวละคร 3 คนเดิม ยืนคุยกันเกี่ยวกับความร่าเริงที่หายไป และบ่นว่าเหตุใดจึงต้องมีสงครามด้วย หน้าสำนักโคมแดงสำนักเดิม
นี่ตกลงพี่มากันทุกคืนเลยใช่ไหมครับ (ฮ่า)

ว่าแต่ ผมฟังไม่ทันครับ พื้นที่ตรงนั้นคือส่วนใดของอโยธยาหรือครับ เพราะในตอนที่ 3 ตัวละคร 3 คน เขาท้ากันวิ่ง แล้วก็วิ่งขึ้นไปบนป้อมบนกำแพงเมือง และได้เห็นภาพที่คุณ Koratian นำมาหนะครับ

จาก หนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม  เอกสารจากหอหลวง (http://ebookstou.org/view/0000358600000001662600115/index/#p=34) หน้า ๕

มีตลาดบนบกนอกกำแพงพระนคร ตามชานพระนครบ้าง ตามฝั่งฟากกรุงบ้าง ติดแต่ในรอบบริเวณในขนอนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศรอบกรุงเข้ามาจนฟากฝั่งแม่น้ำตรงกรุง และชานกำแพงกรุงนั้นด้วยรวมเปน ๓๐ ตลาด คือตลาดน่าวัดน่าพระธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดชาวลาวเหนือวัดคูหาสวรรค์ ๑ ตลาดริมคลองน้ำยา ๑ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบรอ ๑ ตลาดน่าวัดแคลงแลวัดตะพานเกลือ ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชีน่าบ้านโปรตุเกต ๑ ตลาดบ้านบาตร์วัดพิไชย ๑ ตลาดวัดจันทนารามหลังวัดกล้วย ๑ ตลาดหลังตึกห้างวิลันดาแถววัดหมู ๑ ตลาดวัดสิงหน่าตึกยี่ปุ่น ๑ ตลาดวัดทองถนนลายสอง ๑ ตลาดวัดท่าราบน่าบ้านเจ้าสัวซีมีตึกแถวยาว ๑๖ ห้องสองชั้น ๆ ล่างตั้งร้านฃายของ ชั้นบนคนอยู่ หัวตลาดนี้มีโรงตีเหลกแลโรงเยบรองท้าว ทำยาแดงสูบกล้องฃายตลาด ๑ ตลาดบ้านปูนวัดเขียนลายสอง ๑ ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑ ตลาดบ้านกวนลอดฉ้อง ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดธรมา ๑ ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ๑ ตลาดแหลมคลองมหานาคถนนบัณฑิตย์ ๑ ตลาดวัดขุนญวนศาลาปูน ๑ ตลาดคูไม้ร้องหลังโรงเรือพระที่นั่ง ๑ ตลาดน่าวัดตะไกรลงมาน่าวัดพระเมรุ ๑ ตลาดฃ้างวัดควายวัดวัวถนนบ้านทำม่อ ๑ ตลาดป่าเหลกหลังบ้านเฃมรโยมพระ ๑ ตลาดวัดครุธ ๑ ตลาดคลองผ้าลายริมวัดป่าแดงหลังวังฟักเจ้าลาว ๑ ตลาดริมบ้านโรงกูบน่าวัดกุฎีทอง ๑ ตลาดวัดโรงฆ้อง ๑ ตลาดน่าวัดป่าคนที ๑ ตลาดบ้านป่าเหลกท่าโขลง ๑ ตลาดวัดมะพร้าวริมบ้านญวนทะเล ๑ รวมตลาดบกนอกกำแพงพระนคร ๓๐ ตลาดเปนตลาดใหญ่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 19 ธ.ค. 17, 19:33
มาลงทะเบียนเรียนสายครับ
ขัดใจตรงนี้เหมือนกันครับเลยอ้างความเห็นของคุณ Rattananuch และ อจ เทาชมพู มา
จริงๆประวัติศาสตร์ช่วงนั้นท่านบุญมาก็คือหนึ่งในพระเอก มีบทบาทสำคัญมากมาย แต่หม่อมน้อยท่านตัดบททิ้งไปได้อย่างไร
ประเด็นเนื้อเรื่อง ตัวละครไม่ตรง หรืออุปกรณ์ ภาษา ไม่ค่อยถูกต้องถือว่าเป็นเรื่องเล็กเลยเมื่อเทียบกับการตัดบทของท่านบุญมาออกไป


น่าจะไม่มีบทบาทนายสุดจินดาในซีรีย์นี้ค่ะ ดิฉันลองไปส่องดูรายชื่อตัวละครแบบละเอียดยิบในพันทิพ ไม่มีเลยค่ะ
ไม่น่าเลย น่าเสียดายมาก  เพราะบทบาทท่านก็เยอะ
นายสุดจินดาเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินกับหลวงยกกระบัตรราชบุรี (หรือรัชกาลที่ ๑)  เมื่อกรุงแตก ท่านหนีพม่าไปได้  ไปพบพี่ชายซึ่งขณะนั้นอพยพจากราชบุรีไปลี้ภัยอยู่ที่อัมพวา สมุทรสงคราม
ท่านเป็นคนนำท่านนกเอี้ยง พระชนนีของพระเจ้าตากสินซึ่งตอนนั้นอพยพไปอยู่บ้านแหลม  พลัดพรากจากลูกชาย  ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าตากสิน เป็นโอกาสให้แม่ลูกได้พบกันอีกครั้ง
ตลอดสมัยธนบุรี  ท่านก็เป็นนายทหารที่กรำศึกมาตลอด 15 ปี   ชีวิตรักของท่านกับเจ้าศิริรจจา น้องสาวเจ้ากาวิละแห่งเชียงใหม่ ก็มีสีสันน่าจะเป็นละครได้ดีทีเดียว
ท่านเป็นต้นราชสกุล อสุนี สังขทัต ปัทมสิงห์ และนีรสิงห์   

ถูกตัดออกไปหมดเลยหรือ  ไม่เข้าใจเลยค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 19 ธ.ค. 17, 19:39
แม่พลอยมีผู้ชายคนใหม่ !!! รับไม่ได้อย่างแรง :'( ดีแล้วที่ผมอ่านแต่นิยาย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 19 ธ.ค. 17, 20:30
ถึงว่า ดูแล้วบทหลายๆ ตอนในเรื่องนี้มีความคล้ายกับเรื่อง "เรือนมยุรา" เป็นอย่างมาก อย่างนี้นี่เองค่ะ

พูดก็พูดเถอะ ดูมา 4 ตอนแล้ว สำนวนเดียวที่น่าจะใช้อธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ "น้ําท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง" จากที่คาดหวังว่าละครจะให้ตัวละครที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ดำเนินเรื่องอย่างไร มีบทบาทแบบไหนต่แต่กลายเป็นว่า แต่ละตอนๆ กลับเน้นเนื้อหายุคปัจจุบันที่ดูๆ แล้วก็ไม่ได้ให้อะไรแก่คนดูเลย นอกจากจะ "ขาย" ดาราเฉยๆ ส่วนภาคอดีตก็เอื่อยเฉื่อย ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย

กำลังคิดว่าจะเลิกดูค่ะ เลิกดูไปคนนึง คนไม่สะเทือนนักหรอกค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 19 ธ.ค. 17, 21:18
ไปค้นกระทู้เก่าๆมาให้อ่าน
https://pantip.com/topic/35915789

https://pantip.com/topic/35943697

ได้เคยอ่านกระทู้ทั้งสองอันนี้ ตอนนั้นยังดีใจว่าเรือนมยุราจะไม่ถูกยำเละบนจอทีวี
แล้วตอนที่ดูแรกๆ ก็ลืมไปแล้วว่าซีรีย์นี้อวตารมาจากเรือนมยุรา แต่พอเห็นคุณทองหยิบกินยาอมรสมินต์แบบเจ้าส้มฉุนก็นึกออกทันทีค่ะ ยังขำว่าพ่อดาราทำไมพกยาอมมาทำไมตั้งสามสี่กระปุก คุณพระนายยังมีแค่กระปุกเดียวติดรถไว้
ว่าจะดูต่ออีกสักหน่อยค่ะ อยากรู้ว่าแม่บุษบาบรรณเป็นคนหรือวิญญานกันแน่
ถ้าเป็นคนทำไมทรงเครื่องละครเต็มยศแบบนั้นอยู่บ้าน ไม่หนักบ้างหรือไร (เครื่องที่สวมศีรษะ หม่อมน้อยใช้โลหะหล่อนะคะ ไม่ใช่พลาสติคหรือเรซิน)
หรือเธอจะเป็นวิญญานที่สิ้นชีพตอนแต่งชุดละครเต็มยศแบบคุณอุบลจากพิษสวาท



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ธ.ค. 17, 08:04
โอ้ว...!! ผมได้ภารกิจใหม่แล้ว อ่านเรือนมยุราจนจบแล้วค่อยกลับมาดูศรีอโยธยา

ไม่ได้นั่งหลับกลางห้องเรียนนะครับ ก็ลมมันเย็นนี่นา (วันนี้โทรศัพท์บอก 14 องศา บ้าไปแล้ว)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ธ.ค. 17, 09:43
แม่พลอยมีผู้ชายคนใหม่ !!! รับไม่ได้อย่างแรง :'( ดีแล้วที่ผมอ่านแต่นิยาย

             น่าจะเรียกว่าเป็น หนึ่งในลายเซ็นของหม่อมน้อยก็ได้ ครับ ที่จะต้องมีการตีความ,ดัดแปลงเพิ่มเติม
ขยายความไปจากเรื่องเดิมไม่มากก็น้อย เช่น ละคร สี่แผ่นดิน ที่เพิ่มบทแม่ของพลอยกับผู้ชายคนใหม่, ชีวิต
ตาอั้นและอ๊อดในอังกฤษ ต่อมาก็ในหนังโรงทั้ง จัน ดารา และ ชั่วฟ้าดินสลาย ส่วนกรณีเรื่อง ศรีอโยธยา นี้
นับว่าเพิ่มเติมขยายความมากกว่าเรื่องก่อนๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ธ.ค. 17, 10:11
คุณ Superboy อย่าเพิ่งตกใจ    ในที่นี้ หมายถึงบทของแม่แช่ม แม่ของพลอย กับสามีใหม่ที่ชื่อพ่อฉิม
ในหนังสือเอ่ยไว้สั้นๆไม่กี่คำค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 20 ธ.ค. 17, 11:52
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูครับ ถ้าอย่างนี้ก็พอจะอนุมานได้ว่า เรือนหลวงยกระบัตร (ศรราม) คงอยู่ใกล้ย่านคนจีน เวลามีเพื่อนแวะมาเยี่ยม ก็เลยพากันมาเดินตลาดจีน จึงทำให้ต้องผ่านหอโคมแดงนั้นทุกครั้ง ท่านทั้งสามมิได้มาเที่ยวทุกคืนแต่อย่างใด (เมื่อคืน พระเจ้าอุทุทพร ก็เสด็จไปกับเขาด้วยนะครับ ขากลับทรงแวะเยี่ยมบ้านเจ้าคุณพิชัยฯ ด้วยครับ)

 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ธ.ค. 17, 13:54
ข้อสันนิษฐานของคุณนริศก็อาจเป็นไปได้ แต่ตำแหน่งตลาดบ้านจีนตรงปากคลองขุนละครไชย (ปัจจุบันคือคลองตะเคียน) อยู่นอกกำแพงเมือง และห่างไกลจากกำแพงเมืองมาก ไม่อยู่ในระยะที่สามสหายจะวิ่งแข่งกันไปชมวิวที่ป้อมบนกำแพงเมืองได้

ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยชุมชนชาวจีนแล้ว เหลือแต่ชุมชนมุสลิม (แขกตานี) ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากปัตตานีตั้งแต่สมัยอยุธยา

https://youtu.be/K8cRmERp5jI


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 20 ธ.ค. 17, 14:25
เอ่ ถ้าอย่างนี้มีข้อสังเกตแล้วครับอาจารย์

ในละครตอนที่สาม ตอนที่ทั้งสามท่านวิ่งแข่งกันนั้น ท่านวิ่งจากด้านในกำแพงครับ เหตุผลเพราะตัวละครทั้งสาม สามารถวิ่งขึ้นบันใด ขึ้นไปบนเชิงเทิน และวิ่งต่อขึ้นไปบนตัวป้อมได้ทันทีครับ ฉะนั้น ตลาดที่มีโรงละครโสเภณีในละคร จึงต้องอยู่ภายในกำแพงเมืองครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ธ.ค. 17, 14:59
เอ๋า !!! ผมก็ดันกระต่ายตื่นตูมเกินเหตุ +_+ แม่ของพลอยมีบทสามีใหม่นิดเดียวจริง ๆ ด้วย นี่ผมกำลังหาหนังสือหม่อมศรีพรหมาอยู่ (รู้สึกว่าตนเองชอบสมัย ร.5ถึง ร.7 เป็นพิเศษ) แต่ยังหาอ่านตอนกลับจากรัสเซียไม่ได้

ให้ท่านนริสดูละครไปพลาง ๆ ก่อนแล้วกัน เดี๋ยวค่อยเร่งสปีดตามท้ายขบวน ฮ่า ฮ่า  ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ธ.ค. 17, 15:13
ในละครตอนที่สาม ตอนที่ทั้งสามท่านวิ่งแข่งกันนั้น ท่านวิ่งจากด้านในกำแพงครับ เหตุผลเพราะตัวละครทั้งสาม สามารถวิ่งขึ้นบันใด ขึ้นไปบนเชิงเทิน และวิ่งต่อขึ้นไปบนตัวป้อมได้ทันทีครับ ฉะนั้น ตลาดที่มีโรงละครโสเภณีในละคร จึงต้องอยู่ภายในกำแพงเมืองครับ

ข้อสันนิษฐานของคุณนริศก็อาจเป็นไปได้

ในหนังสือ จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ตอนที่ ๒ บทที่ ๑๕ เขียนถึงที่มาของหญิงโสเภณีสมัยอยุธยาไว้ว่า

ถ้าบุตรีคนใดกระทำชั่ว ขุนนางผู้บิดาก็ขายบุตรีส่งให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้สตรีที่ตนซื้อมานั้น เป็นหญิงแพศยาหาเงินได้ โดยชายผู้มีชื่อนั้นต้องเสียเงินภาษีถวายพระมหากษัตริย์ กล่าวกันว่าชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองของตนถึง ๖๐๐ นาง ล้วนแต่เป็นบุตรีขุนนางที่ขึ้นขึ้นตาทั้งนั้น อนึ่ง บุคคลผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายส่งลงเป็นทาสี ด้วยโทษคบชู้สู่ชายอีกด้วย

และในตอนที่ ๓ บทที่ ๔ กล่าวไว้อีกว่า

บรรดาผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงนั้นหาใช่เจ้าใหญ่นายโตเสมอไปไม่ เช่นเจ้ามนุษย์อัปรีย์ที่ซื้อผู้หญิง และเด็กสาวมาฝึกให้เป็นหญิงนครโสเภณีคนนั้น ก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา เรียกกันว่า ออกญามีน (Oc-ya Meen) เป็นบุคคลที่ได้รับการดูถูกดูแคลนมากที่สุด มีแต่พวกหนุ่มลามกเท่านั้นที่ไปติดต่อด้วย

ออกญามีนน่าจะตั้งโรงรับจ้างทำชำเราแก่บุรุษหลายโรง คงมีตั้งอยู่ในกำแพงเมืองบ้างหรอก   ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ธ.ค. 17, 17:33
https://www.youtube.com/watch?v=EKmgxzldiPw



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ธ.ค. 17, 17:47
คลิปข้างบนนี้เป็นตอนสามสหายไปเที่ยวชมราตรีกรุงศรีอยุธยากันตามประสาชายหนุ่ม     ดิฉันพยายามคิดว่าทำไมถึงเลือกฉากละแวกซ่องโสเภณีมาเป็นตัวอย่างความเจริญของกรุงศรี  ก็ยังหาคำตอบไม่ได้    ได้แต่เดาว่าฉากตลาดก็มีแล้ว  ฉากวังก็มีแล้ว  ฉากบ้านก็มีแล้ว  ก็คงจะต้องมีฉากอื่นที่ไม่ซ้ำกัน  เลยได้ตรอกโคมแดงมาเป็นตัวอย่าง

ที่่จริงแล้ว  ความบันเทิงยามค่ำคืนของชาวเมือง ยังพอจะหาตัวอย่างได้จากสมัยรัตนโกสินทร์ 3 แผ่นดินแรก   การสืบเนื่องวัฒนธรรมยังคงต่อกันมาจากอยุธยาก่อนอิทธิพลตะวันตกจะเข้ามาในรัชกาลที่ 4     กลางค่ำกลางคืนของกรุงรัตนโกสินทร์ครื้นเครงกันยังไงแบบไหน  หาอ่านได้จากนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่

แซ่เสียงเวียงราชก้อง   กังสดาน
เหง่งหงั่งระฆังขาน           แข่งฆ้อง
สังข์แตรแซ่เสียงประสาร   สังคีด ดีดเอย
ยามดึกครึกครื้นก้อง          ปี่แก้วแจ้วเสียง

ความบันเทิงของบ้านเมืองในยามราตรี คือเสียงดนตรี   ตามบ้านช่องขุนนางมีการหัดมโหรี หัดละครซึ่งซบเซาจากในวังหลวงมาอยู่ตามบ้านขุนนางแทน   ในสมัยอยุธยา ละครในวังเฟื่องฟู  ขนาดบรรดานางละครได้ดิบได้ดีเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามกันหลายคน    ส่วนข้างนอกวังนั้นมีได้ก็คือละครนอก  ละครชาตรี และอะไรอีกหลายอย่างที่เป็นความบันเทิงแบบชาวบ้าน   ทั้งหมดนี้เป็นวัฒนธรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าฉากตรอกโคมแดง     
จึงมีความเห็นว่า ถ้าทำละครเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหาบูรพกษัตริย์  แล้วมีฉากที่สองพระองค์กับหนึ่งบรรพบุรุษของตระกูลขุนนางใหญ่สุดของรัตนโกสินทร์มาเดินเที่ยวเตร็ดเตร่ตามสถานที่ อันเรียกได้ว่า "อโคจร"  แม้จะมีการออกตัวให้ตัวละครพูดว่าไม่มีอารมณ์เพราะห่วงบ้านเมือง  มันก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกดิฉันดีขึ้น   แต่นี่ก็เป็นความเห็นส่วนตัว  ท่านอื่นอาจจะไม่รู้สึกอะไรก็ได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ธ.ค. 17, 18:44
      ข้อเท็จจริงอีกอย่าง ที่ตรงข้ามกับในฉากนี้ คือเมื่อตัวละครหลวงยกกระบัตร(สิน) มหาดเล็กทองด้วงและมหาดเล็กบุนนาคพูดกันว่าเป็นสหายรักของกันและกัน    ตรงกันข้ามกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันตรงกันว่า ตลอดสมัยธนบุรี  นายบุนนาคไม่สมัครใจเข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสินตลอด 15 ปี  คงอยู่นอกวังในฐานะทนายหรือคนรับใช้ประจำตัวของเจ้าพระยาจักรี  ซึ่งจะว่าไปก็ไม่สมศักดิ์ศรีของเชื้อสายเจ้าพระยาเฉกอะหมัดเสียเลย
      ต่อให้เราไม่เชื่อเรื่องโครงกระดูกในตู้ และไม่เชื่อประวัติของต้นสกุลบุนนาค    ้เราก็คงต้องเชื่ออย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริง คือเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  นายบุนนาคได้เป็นเจ้าพระยามหาเสนา เสนาบดีกลาโหม     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดผู้รบทัพจับศึกเก่ง  ท่านคงไม่ตั้งใครขึ้นมาว่าการกลาโหมง่ายๆเพียงเพราะเคยรับใช้กันมาในบ้าน     เจ้าพระยามหาเสนาจะต้องแสดงฝีไม้ลายมือให้ท่านเห็นตลอด 15 ปี ว่าเก่งด้านการศึก   ถ้าไม่รบเก่งก็ต้องเก่งด้านยุทธศาสตร์  ไม่งั้นคงนั่งเก้าอี้เสนาบดีปกครองกองทัพไม่ได้
      ถ้าอย่างนั้นทำไมนายบุนนาคถึงต้องปกปิดตัวเองอยู่ตลอด 15 ปี      คำตอบก็คือ ท่านกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน นอกจากห่างไกลจากความเป็นสหายรัก  น่าจะมีเรื่องบาดหมางกันอยู่ไม่น้อยตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา     ท่านจึงไม่สมัครเข้ารับราชการ    สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ต้องทรงทราบดี   แต่ทรงทำไม่รู้ไม่ชี้เสีย    เจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็น"คนกลาง" ระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ไม่อาจสมานรอยร้าวได้   แสดงว่าเรื่องบาดหมางนั้นแม้ไม่ถึงขั้นคอขาดบาดตาย เพราะนายบุนนาคยังอยู่รอดปลอดภัยสบายดีมาตลอดรัชสมัยธนบุรี   แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กชนิดที่เจ้าพระยาจักรีจะทูลขอพระราชทานอภัยโทษได้
     ในละคร ถ้าจะมีสหายรักจริงๆ ที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์     ก็สมควรเป็นหลวงยกกระบัตรสิน  หลวงยกกระบัตรราชบุรี(ทองด้วง) และนายสุดจินดา(บุญมา) น้องชาย     คิดขึ้นมาก็น่าเสียดายอีกแล้วค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ธ.ค. 17, 19:01
ในฉากตอนที่ 4/1 ข้างบนนี้    หลวงยกกระบัตรเมืองตากตอบคำถามนายบุนนาคที่ถามว่า เมื่อไรเราสามคนจะมีโอกาสพบกันอีก   คุณหลวงก็ตอบว่า "พบกันเมื่อชาติต้องการ"
ฟังแล้วนึกถึงคุณหลวงวิจิตรวาทการและจอมพล ป. ขึ้นมาทันที
เพราะทัศนะเรื่องชาติ(นิยม) เป็นนโยบายของท่านจอมพล ที่มีคุณหลวงเป็นแกนนำในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก ในยุค "วัธนธัม" ช่วงก่อนญี่ปุ่นบุกไทยนิดเดียว
สมัยอยุธยา ไม่มีนโยบายชาตินิยม   แม้แต่มาถึงรัตนโกสินทร์  สุนทรภู่ก็ไม่เคยแต่งว่า "ขอรักชาติจนตัวตายวายชีวา"   กวีเอกของเราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคำว่าชาตินั้นมีความหมายอย่างอื่นนอกไปจากแปลว่า "กำเนิด"    ความหมายนี้ยังหลงเหลืออยู่ในคำว่า "ชาติกำเนิด"  หรือชื่อ "สุชาติ" ที่แปลว่ากำเนิดดี  คือเป็นลูกผู้ดีมีสกุล   ถ้าเป็นผู้หญิงก็ชื่อสุชาดา   
และอีกคำที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว คือคำว่า อุภโตสุชาติ  ใช้สำหรับเจ้าฟ้าที่ทรงมีพระชาติกำเนิดประเสริฐทั้งฝ่ายพระชนกชนนี  คือพระมารดาเป็นพระองค์เจ้า   
ถ้าเกิดสงสัยว่า ถ้าไม่มีคำว่าชาติ สมัยอยุธยา  งั้นคนอยุธยาก็ไม่รู้จักรักชาติน่ะซิ   ก็ไม่ใช่อีก    คนอยุธยาหรือคนบ้านเมืองไหนๆเขาก็ย่อมผูกพันกับถิ่นกำเนิดและบ้านช่องที่เขาอยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ    ใครจะมารุกรานก็ต้องต่อสู้กันให้แพ้ชนะ ไม่ใช่ยกให้ง่ายๆ  ดังจะเห็นได้จากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน    แต่เขาไม่พูดคำว่า"ชาติ" เท่านั้น   เพราะสมัยนั้นยังไม่มีชาติ มีแต่อาณาจักร  มีแต่บ้านเมือง  บนผืนแผ่นดินแหลมทองสมัยนั้นก็มีหลายอาณาจักร เช่นล้านนาอยู่ทางเหนือ  ไทรบุรีอยู่ทางใต้ เป็นต้น   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 ธ.ค. 17, 19:06

เมื่อพิจารณาดูมุมมองที่สามสหายยืนบนป้อมแล้วหันกลับไปมองดูตัวเมืองศรีอโยธยาอีกครั้งหนึ่ง
เราอาจเปรียบเทียบทิศทางมองกับแบบจำลองได้ตามแนวเส้นสีส้ม

ปัญหาคือจากมุมมองดังกล่าว ไม่มีป้อมอยู่ในทิศทางนั้นจนกระทั่งข้ามแม่น้ำไปแล้ว
อีกประการถ้ามีป้อมอยู่ ตำแหน่งย่านโคมแดงก็ต้องติดกับกำแพงวังพอดี ซึ่งค่อนข้างประหลาด


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 ธ.ค. 17, 19:13

ดูจากด้านบนทิศทางของมุมมองเหมือนกับว่า มองผ่านกล้องส่องทางไกล
จากจุดสังเกตการณ์ เจดีย์วัดภูเขาทอง

ผมเดาว่า ตอนที่ทัพอลองพญามาล้อมกรุง
จะใช้ฉากเดียวกันนี้มา recycle เป็นภาพกรุงศรีอโยธยาที่กษัตริย์พม่ามองเห็นครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 09:46
กรุงศรีอโยธยา ของหม่อมน้อย มุมมองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง ในสมัยนั้นจะเห็นว่า มีเสาโคมไฟฟ้าประดับถนนใช้กันอย่างทั่วถึงในเขตเมืองแล้ว

https://youtu.be/VpTK11dZkPg

โอ้ ! โคมไฟแลแสงจันทร์คงมิอาจส่องศรีอโยธยาได้สว่างไสวปานนั้น    ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 ธ.ค. 17, 10:40
อ้างถึง
จึงมีความเห็นว่า ถ้าทำละครเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหาบูรพกษัตริย์  แล้วมีฉากที่สองพระองค์กับหนึ่งบรรพบุรุษของตระกูลขุนนางใหญ่สุดของรัตนโกสินทร์มาเดินเที่ยวเตร็ดเตร่ตามสถานที่ อันเรียกได้ว่า "อโคจร"  แม้จะมีการออกตัวให้ตัวละครพูดว่าไม่มีอารมณ์เพราะห่วงบ้านเมือง  มันก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกดิฉันดีขึ้น   แต่นี่ก็เป็นความเห็นส่วนตัว  ท่านอื่นอาจจะไม่รู้สึกอะไรก็ได้

ผมรู้สึกครับ เนื่องจากฉากเที่ยวหอโคมแดงครั้งแรกนั้น อยู่ถัดจากฉากการเข้าเฝ้าพระภิกษุพระเจ้าอุทุมพร เพื่อกราบบังคมทูลว่าพระเจ้าเอกทัศน์ ให้เข้าเฝ้าเวลายามหนึ่งวันนี้

ผมก็มานึกถึงตัวผมเองว่า ถ้าผมอยู่ในเหตุการณ์อย่างนี้ กล่าวคือ มีราชการสำคัญอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องสำคัญนั้น ตัวผมเองเป็นเจ้าของเรื่องด้วย แล้วผมเป็นผู้ไปเรียนให้รัฐมนตรีทราบ ท่านรัฐมนตรีบอก "เออ สำคัญจริงๆด้วย นริศ คุณไปเชิญท่านอธิบดีมาพบผมทีซิ" กรณีอย่างนี้ต่อให้ท่านรัฐมนตรีไม่ได้บอกว่า เวลาท่านจะคุยกับอธิบดีผมจะต้องเข้าไปด้วยหรือไม่ต้องเข้าไปด้วยก็ตาม แต่ผมก็ควรต้องอยู่รอแถวๆ นั้นเผื่อท่านเรียก จะได้นำเสนอข้อมูลหรือตอบคำถามในที่ประชุมได้ทันที และที่แน่นอนก็คือ ผมไม่กล้าชวนเพื่อนไปเที่ยวในเวลาเช่นนั้นแหงๆ

ก็เหมือนเรื่องนี้ ที่หลวงยกระบัตรเมืองตากเป็นปฐมเหตุขี่ม้าคาดดาบเข้าไปกราบบังคมทูลราชการศึก จึงเป็นที่มาที่พระเจ้าเอกทัศน์เรียกหาพระเจ้าอุทุมพรให้มาประชุมข้อราชการกัน แต่เมื่อถึงเวลาประชุม ท่านดันไปเที่ยวหอโคมแดงซะงั้นอ่ะครับนี่ถ้าเกิดประชุมๆกันอยู่แล้วตรัสเรียกหา "เอ้า สิน ไหนเจ้าลองเล่าให้พระเจ้าอุทุมพรฟังซิ พวกอุปนิกขิตมันรายงานมาว่าอย่างไร เอ้า เฮ้ย สินไปไหน" ฉากต่อมาก็ ....บรื๋อ...   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 11:47
โอ้ ! โคมไฟแลแสงจันทร์คงมิอาจส่องศรีอโยธยาได้สว่างไสวปานนั้น   ;)

(ปุจฉา)   โคมฤๅจันทร์แจ่มแจ้ง         กรุงศรี
จึงสว่างทั่วปฐพี                            เช่นนั้น
แสงใดเล่าอาจมี                           ถึงขนาด
(วิสัชนา) แสงสปอตไลต์ไม่อั้น           ส่องจ้าถึงใจ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 12:55
ฟังอาจารย์ใหญ่ชี้             แนวทาง
แสงสปอร์ตไลต์สว่าง         เจิดจ้า
ศรีอโยธยาต่าง               จากก่อน
มีปลั๊กมีไฟฟ้า                 หม่อมน้อยตีความ  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 13:13
   รบทัพจับศึกกันคึกคัก                ไม่หยุดพักเลยสักทีหนึ่งปีกว่า
ล้วนเปิดไฟไสวสว่างทั้งพารา           สปอตไลท์แจ่มจ้าทุกปราการ
จนสายไฟทนไม่ไหวก็ไหม้มอด        เหตุไม่ถอดปลั๊กออกมาน่าสงสาร
เข้าใจผิดกันทุกหน้าพงศาวดาร         โทษพม่าว่าเผาผลาญอยุธยา

อิอิ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 17:40
โอ้ ! ศรีอโยธยาในเอกภพคู่ขนานเป็นแน่แท้  ;)

นึกถึงศรีอโยธยาอีกแห่งหนึ่งใน "แดนดาว" ของ "แก้วเก้า"

อิอิ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ธ.ค. 17, 18:32

ขอสนับสนุนว่า ศรีอโยธยานั้นทันสมัยกว่าที่คิด



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ธ.ค. 17, 18:38

ที่ชายแดนมีรถแทรกเตอร์เพื่อทำการเกษตร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 19:46
โอ้ ! ศรีอโยธยาในเอกภพคู่ขนานเป็นแน่แท้  ;)

นึกถึงศรีอโยธยาอีกแห่งหนึ่งใน "แดนดาว" ของ "แก้วเก้า"

อิอิ
เป็นอโยธยาในอีกมิติหนึ่งเป็นแน่แท้    ไม่ได้อยู่ในเอกภพคู่ขนาน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 20:16
https://www.youtube.com/watch?v=EyyzQwr0bpw

ดูตอนนี้แล้วอยากจะถามว่า ทำไมตัวละครถึงพูดไทย 1 ประโยค สลับอังกฤษ 1 ประโยค    การพูดไทยคำอังกฤษคำก็พอเข้าใจละว่า แสดงความเป็นนักเรียนนอก  แต่พูดประโยคแรกเป็นไทย ประโยคที่สองเป็นภาษาอังกฤษ มันมีเหตุผลอะไร  ในเมื่อตัวละครในฉากนี้ก็คนไทยด้วยกันทั้งนั้น

อีกฉากหนึ่งที่ไม่เข้าใจคือเมื่อพระเจ้าเอกทัศและพระเจ้าอุทุมพรเข้าเฝ้าสมเด็จแม่ที่พระตำหนักฝ่ายใน   เอาละ จะไม่พูดว่าพระเจ้าอุทุมพรเข้าไปถึงฝ่ายในได้ยังไงในเมื่อผู้ชายคนเดียวที่เข้าไปได้คือพระเจ้าแผ่นดินอย่างพระเจ้าเอกทัศ   อนุโลมว่าเป็นกรณีพิเศษ  พี่พาน้องชายไปหาแม่ จะเป็นไรไป
แต่ในเมื่อเป็นการไปหาแบบส่วนตัว  ไม่ได้อยู่ในพระราชพิธีที่จะต้องทำตามโบราณราชประเพณี  ทำไมแม่ต้องก้มลงกราบลูกชายเมื่อเจอกันด้วย ทั้งสองคนเลย     รับไหว้ลูกชายเฉยๆไม่ได้หรือ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 17, 20:37
https://www.youtube.com/watch?v=onIujtqniUE

https://www.youtube.com/watch?v=zCGfqytx2iI&t=14s

https://www.youtube.com/watch?v=XCVR2j2icgM


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 24 ธ.ค. 17, 10:55
คุณ Koratian
ผมเห็นด้วยครับ โดยเฉพาะฉากเดินทัพ ในเมื่อผมเป็นกองทัพรุกรานเสียแล้ว ผมจะกังวลเรื่องพืชผลเสียหายทำไม (หรือต้องการสงวนไว้เป็นเสบียงทัพก็ไม่รู้ครับ) เนี่ย เดินทัพโค้งไปตามถนนในไร่เลยครับ อิอิ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 25 ธ.ค. 17, 22:33
เดินทัพต้องเดินตามหัวขบวนสิครับ เพราะไม่รู้อะไรอยู่ข้างหน้า ศัตรูอยู่ตรงไหนหรือเปล่า ถ้าอย่างนิยายล่องไพรต้องเดินตามรอยเท้ากันเลยทีเดียว ปลอดภัยไว้ก่อนว่างั้นเถอะ

อาจจะอ้อมไปบ้างก็ไม่ได้รีบอะไรนี่นา ถ้าโดนโจมตียังตั้งขบวนรับมือได้ทัน รู้ว่าคนสั่งอยู่ตรงไหน เกวียนอาหารอยู่ตรงไหน ถังน้ำอยู่ตรงไหนอะไรทำนองนี้ (นี่ก็สนใจแต่อาหาร 555)


แต่ถ้าไปป๊ะกับศัตรูหรือเตรียมเข้าตีค่ายทหารก็อีกเรื่อง จะมีการแปรขบวนรูปตััววีหรือตัวยูก็ว่าไป งานนี้ต้องดูธงเป็นหลัก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 09:55
ล่าสุดมีเสียงวิจารณ์ว่า ศรีอโยธยานับวันยิ่งเหมือนเรือนมยุรา  ทำเอาใจไม่ดี
เกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
เพราะเจ้าของเรื่องไม่อนุญาตให้ดัดแปลงอยู่แล้ว  ทางผู้บริหารทรูก็ทราบข้อนี้ดี
หวังว่าหม่อมน้อยจะแก้ไขพล็อตไม่ให้เหมือนเรือนมยุรานะคะ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 10:37
จาก เฟซบุ๊ก (https://b-m.facebook.com/story.php?story_fbid=506828949688778&id=501470936891246)  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 10:52
 :o


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 ธ.ค. 17, 11:41
ตอนเมื่อคืน พิมานหายตัวไป อาจารย์เรียกเพื่อนที่เป็นตำรวจจาก สน. มาช่วยดู
พลาดครับ เพราะที่นั้นคือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นตำรวจภูธรครับ ดังนั้น ตำรวจเพื่อนท่านอาจารย์ จะต้องมาจาก สภ. ครับ

ส่วนของพี่ Superboy
สงสัยว่าจะจริงตามพี่ว่า กองทัพเดินคดเคี้ยวไปมา เก็บอ้อยเก็บสัปปะรดรายทาง จนบัดนี้ยังมาไม่ถึงชานพระนครเลยครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 11:54
ได้แผนที่จากคุณเพ็ญชมพู เลยตามไปที่เฟซของพระกำนัลนารีสังข์
ฮามากค่ะ
https://www.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%8C-501470936891246/


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 12:25
https://www.youtube.com/watch?v=p_CT3Tqmx48

https://www.youtube.com/watch?v=-Xbb6KIYkR4

https://www.youtube.com/watch?v=TxlpsmVM03k


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 12:26
https://www.youtube.com/watch?v=7CMf0yQtHjs

https://www.youtube.com/watch?v=SDxwyNr6f1M

https://www.youtube.com/watch?v=7KnQ4TrXivQ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 12:37
บุษบาบรรณแต่งเครื่องละครเวลาอยู่บ้าน   สวมรัดเกล้ายอดติดหัวอยู่ตลอดเวลา    
เห็นแล้วหนักหัวแทนหนูแพนเค้ก
เห็นพานวางอยู่ หน้าตาเหมือนพานทอง
สมัยอยุธยา  ขุนนางใช้เครื่องทองวางเกลื่อนอยู่ในบ้านอย่างนี้ไม่ได้นะคะ  มันเกินยศศักดิ์ไป   มีแต่เครื่องยศเท่านั้นที่ใช้ได้แต่ก็ต้องระดับพระยาขึ้นไป  และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประกอบเกียรติยศ
นี่ก็ dramatic license อีกข้อค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 13:11
เป็นนกยูงบวกอุบลงามล้นเจ้า
สวมรัดเกล้าทุกเวลามารศรี
บุษบาบรรณแปลงกายได้เข้าที
หม่อมน้อยนี้ปลื้มใจได้ดัดแปลง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 17, 13:24
 ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ธ.ค. 17, 10:07
วันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๐

หลวงพ่อ : ท่านพระครูได้แจ้งกับอาตมาก่อนที่ท่านจะละสังขารแล้ว ว่าเมื่อถึงวันที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีที่เสียกรุงศรี ตอนตีหนึ่ง คุณบุษบาบรรณกับบริวารจะมาทำบุญ

บุษบาบรรณ : เจ้าค่ะ (เรือนมยุรา เอ๊ย) เรือนเจ้าพระยาจะเปิดออกอีกครั้งเมื่อครบ ๑๐๐ ปีของโลกภายนอก อิชั้นจึงจะมีโอกาสออกมาทำบุญเจ้าค่ะ

ป.ล. ๑. ในวงเล็บน่าจะเป็นความที่คุณบุษบาบรรณคิดอยู่ในใจ

ป.ล. ๒. พระวัดนี้ท่านจุดเทียนสว่างไสวในพระอุโบสถอย่างนี้ทุกวันหรือเปล่าหนอ


https://youtu.be/mqODiEtPAhI

นาทีที่ ๗.๐๐ - ๙.๐๐


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 17, 10:42
ดูคลิปในคห.211   เป็นฉากที่วายุ (ฮัท เดอะสตาร์) กับอาจารย์อาคม (อาร์ อาณัติพล) เดินค้นหาร่องรอยของพระเอก พิมานที่หายตัวไป 
เดินกันไปจนพบวัดโบราณสถานแห่งหนึ่ง ก็เข้าไปในโบสถ์พบพระภิกษุที่รู้จักเด็กหัวจุกลึกลับในเรื่องดี
วัดนั้นเป็นโบราณสถาน  บูรณะเรียบร้อย  เป็นวัดร้าง ไม่ใช่วัดทั่วไปที่มีพระสงฆ์อยู่      แต่จุดไฟเสียแพรวพราวตั้งแต่ปากทางเข้า จนเข้าไปในโบสถ์ก็สว่างจ้าด้วยแสงเทียนนับร้อย(ได้มั้ง)  มีพระรูปหนึ่งนั่งหันหลังให้กล้องถ่าย ทำท่าเหมือนกำลังนั่งสมาธิวิปัสสนาอยู่ตามลำพัง แต่ไม่ยักอยู่มืดๆ กลับอยู่สว่างไสว
คำถามคือ เจ้าหน้าที่หรือยามผู้ดูแลโบราณสถานไปไหน ถึงปล่อยให้มีการจุดเทียนจุดไฟราวกับเทศกาลลอยกระทง ในวัดร้าง
ไฟฟืนลุกไหม้ขึ้นมาว่าไง   ในความเป็นจริง เขาห้ามนะเจ้าคะ

ข้อที่สอง  หลวงพ่อในโบราณสถานเล่าถึงความหลังก่อนบวช เป็นลูกศิษย์วัดหนุ่ม  เจอแม่นกยูง(นามเดิมของบุษบาบรรณ) ออกมาทำบุญไหว้พระ   เกิดหลงรักตั้งใจจะเอาเป็นเมียให้ได้
เดาว่าชื่อเดิมของหลวงพ่อก่อนบวช  ต้องชื่อ"ชั้นเชิง" แน่ๆเลย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 27 ธ.ค. 17, 11:02
ดิฉันกลัวว่าสไบของพวกสาวๆจะปลิวไปโดนเทียนซะจริงๆ
แต่อย่างว่าล่ะค่ะ มันเป็นลายเซ็นของหม่อมน้อยไปแล้วที่จะต้องมีไฟเยอะๆในฉาก
ถ้าเป็นเรื่องปัจจุบันก็จะเปิดโคมไฟทุกดวงที่มีในบ้าน ถึงแม้จะเป็นตอนกลางวันก็เถอะ
ถ้าเป็นฉากภายนอกก็จะจุดโคม จุดเทียนแพรวพราวไปหมด
มันก็ดูสวยดีเวลาขึ้นจอ แต่มันไม่สมจริงเอาเสียเลย ดูแล้วอารมณ์สะดุดกึก กลายเป็นขำ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 17, 11:17
บ้านของบุษบาบรรณมีหุ่นกระบอกประดับบ้านด้วย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 27 ธ.ค. 17, 11:17
อีกอย่าง ดิฉันกราบขอบคุณท่านผู้เขียนเรื่องเรือนมยุราที่ไม่ยอมให้ทรูสร้างเรือนมยุราโดยหม่อมน้อย
เพราะดิฉันวาดภาพออกเลยว่า จะเห็นแม่นกยูงนั่งอยู่ท่ามกลางแสงเทียนแพรวพรายตามสไตล์หม่อมน้อย
แล้วก็เห็นแม่บุษบาบรรณในภาพที่คิดไว้จริงๆ แต่แถมด้วยการทรงเครื่องนางรำแบบเต็มยศ
เธอสวยมากนะคะ แต่มองไม่ออกว่ามีเชื้อแขกขาวแบบที่เธอเล่าให้พิมานฟัง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 17, 12:01
https://www.youtube.com/watch?v=ozhWYxw78II&t=277s

https://www.youtube.com/watch?v=ugbdN_HFXqw

https://www.youtube.com/watch?v=RMC-YmFJPHs


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 17, 12:03
https://www.youtube.com/watch?v=HWu3ZX0aFls

https://www.youtube.com/watch?v=PtHOq8mjIWg

https://www.youtube.com/watch?v=mqODiEtPAhI&t=641s


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 28 ธ.ค. 17, 09:59
อ้างถึง
หลวงพ่อ : ท่านพระครูได้แจ้งกับอาตมาก่อนที่ท่านจะละสังขารแล้ว ว่าเมื่อถึงวันที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีที่เสียกรุงศรี ตอนตีหนึ่ง คุณบุษบาบรรณกับบริวารจะมาทำบุญ
บุษบาบรรณ : เจ้าค่ะ (เรือนมยุรา เอ๊ย) เรือนเจ้าพระยาจะเปิดออกอีกครั้งเมื่อครบ ๑๐๐ ปีของโลกภายนอก อิชั้นจึงจะมีโอกาสออกมาทำบุญเจ้าค่ะ

จากบทสนทนาตอนนี้ แสดงให้เห็นว่า บุษบาบรรณ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความต่างของเวลาเป็นอย่างดี เธอรู้ว่ากรุงศรีอยุธยาล่มไปแล้ว และบัดนี้เวลาผ่านไปนานมากแล้ว ตอนที่เธอพาบริวารออกจากเรือนเดินมาวันตอนตีหนึ่ง เธอก็น่าจะเห็นบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว สอดคล้องกับคำพูดตอนหนึ่งที่เธอพูดกับคุณทองหยิบถึง "คนข้างนอก" โดยห้ามไม่ให้ทองหยิบกินอาหารของคนข้างนอกเพราะจะท้องเสียได้ (อันที่จริงมีเรื่องต้องกังวลอีก เพราะถ้าคุณทองหยิบติดโรคจากคนข้างนอก คนข้างในอาจจะเป็นโรคกันหมดเพราะขาดภูมิคุ้มกันได้)

ตรงนี้ผมเข้าใจว่าต่างจากเรือนมยุราไหมครับ ผู้คนในเรือนมยุรา ไม่ทราบว่า เวลาผ่านไปแล้ว

ทีนี้ เมื่อบุษบาบรรณ ยังมิใช่ผีมิใช่วิญญาณ แล้วฉากที่เธอไปปรากฎตั;ให้วายุเห็นที่หอประชุมคุรุสภาในตอนแรก จะอธิบายว่าคืออะไรกันหละครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ธ.ค. 17, 10:08
ตีความว่าที่บุษบาบรรณเข้าใจความต่างของมิติเวลาได้ก็เพื่อบอกให้คนดูเข้าใจได้ว่า เธอกับบริวารยังไม่ตาย  อยู่ในอีกมิติเวลาหนึ่ง  จะได้ไม่งงว่าผีหรือคนกันแน่
แต่การปิดเรือนอยู่เป็นร้อยๆปี  ไม่แก่ไม่ตาย  มันก็พอจะเข้าใจได้ไม่ยาก คุ้นๆอยู่
การไปปรากฏตัวให้วายุเห็นที่หอประชุมคุรุสภาแล้วแวบหายไปนั้น  คงมีอุโมงค์เวลาที่หนึ่งนอกเรือนของแม่บุษบากับโลกภายนอกแน่นอน  ถึงแวบเข้ามาออกไปได้ในพริบตา  ไม่ต้องรอ 100 ปี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ธ.ค. 17, 10:47
แม่บุษบาบรรณคงจะติดตามความเป็นไปของโลกภายนอกมาตลอด 250 ปี จึงทันสมัยมาก  รู้ว่าคนรุ่นหลังเรียนประวัติศาสตร์กันแบบไหน
แม่บุษบาจึงเรียก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" ได้เต็มปากเต็มคำ  ทั้งๆคำนี้ไม่มีในสมัยอยุธยาตอนปลาย    เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันใช้เพื่อความเข้าใจในกำหนดการสืบราชสมบัติตั้งแต่สมัยพระเพทราชามาถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศ
ตลอดจนเรียกกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ว่า " พระเพทราชา"  ทั้งๆพระนามตามพระสุพรรณบัตร คือสมเด็จพระมหาบุรุษ วิสุทธิเดชอุดม บรมจักรพรรดิศร บรมนาถบพิตร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ธ.ค. 17, 12:32
ปริศนาชื่อเรียก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" และพระนาม "พระเพทราชา" อาจไขได้ไม่ยาก เหตุด้วยครั้งที่คุณบุษบาบรรณไปทำบุญกับหลวงพ่อที่วัดนั้นมิใช่ครั้งแรกที่เธอออกจากเรือน เรือนเจ้าพระยาเปิดครั้งแรกเมื่อ ๑๐๐ ปีหลังเสียกรุง ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ครั้งนั้นเธอคงได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์หลังจากเสียกรุงและต้นสมัยรัตนโกสินทร์พอสมควร จึงออกนามกษัตริย์ต้นราชวงศ์ และนามราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยาตามที่ปรากฏ

มีข้อสงสัยประการหนึ่งเกี่ยวกับกำหนดการเปิดเรือนซึ่งน่าจะเป็นทุกร้อยปี แต่เหตุไฉนหลังจากเรือนเปิดเมื่อครบ ๒๐๐ ปี กำหนดการครั้งต่อไปจึงเป็นอีก ๕๐ ปี แทนที่จะเป็นอีก ๑๐๐ ปี หรือเพื่อให้ตรงกับปี พ.ศ. ในปัจจุบันคือ พ.ศ. ๒๕๖๐ เท่านั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ธ.ค. 17, 12:58
จริงของคุณเพ็ญชมพู
ในเมื่อแม่บุษบาบรรณหายตัวจากเรือนมาปรากฏกายที่หอประชุมคุรุสภาให้วายุเห็นได้    เหตุไฉนจึงจะไปหอสมุดแห่งชาติมิได้เล่า  ระยะทางก็ห่างกันเพียงไม่กี่เส้น   
หายตัวได้มิต้องเรียกแท็กซี่ให้ลำบาก     นอกจากนี้หายตัวอีกทีก็ขึ้นไปบันได ไปที่ชั้นหนังสือได้เลย  ไม่ต้องทำบัตรเข้าห้องสมุดซึ่งจะต้องอาศัยบัตรประชาชนให้เป็นอุปสรรค

ส่วนระยะเวลา 100 ปีนั้น   เจ้าเรือนไม่ถนัดวิชาคำนวณ   จึงงงวยอยู่เล็กน้อย
ถ้าบุษบาบรรณเก็บตัวอยู่ในเรือนตั้งแต่พ.ศ. 2310   ผ่านมาถึงปี 2560  เป็นเวลา 250 ปี  พอดี    ถ้าเธอออกจากเรือนได้ทุก 100 ปี   เธอก็ต้องโผล่ออกมาอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2410   และอีกทีเมื่อ พ.ศ. 2510   จากนั้นก็รอไปถึง พ.ศ. 2610  (ชาวเรือนไทนในวันนี้คงไม่เหลือแล้ว)
ฤๅเป็นได้ว่า เรือนของนางเปิดประตูทุก 50 ปี  แต่แม่บุษบาบรรณออกมามั่งไม่ออกมามั่ง  เพราะคุณพระพิมานยังไม่ทันมาเกิดใหม่เเลยข้ามไป 100 ปี  แล้วก็ 200 ปี  พอรู้ว่า 250 ปีคุณพระพิมานเกิดใหม่เรียบร้อยเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์พอจะรับบทพระเอกได้ 
นางก็เลยโผล่ออกมาซะที


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 28 ธ.ค. 17, 15:32
หรือว่า มนตร์กำบังเรือนกำลังเสื่อมถอยลงครับ กล่าวคือ มนตร์นี้มุ่งกำบังสถานที่ในวงจำกัดเท่าที่ตบะของผู้ร่ายมนตร์จะกระทำได้ และตบะของมนุษย์เพียงคนเดียว ต่อให้ฝึกสมาธิมาเท่าใดก็ไม่อาจสร้างอาณาเขตได้ใหญ่โตนัก การกำบังบ้านหนึ่งหลังจึงจัดว่าเกินกำลังไปมากแล้ว ด้วยเหตุนี้ มนตร์จึงทำงานไม่สมบูรณ์ คือมีช่วง "กระพริบ" ที่จะทำให้คนในออก คนนอกเข้าได้ อยู่เป็นบางช่วง และช่วงเวลากระพริบนี้ จะเริ่มถี่ขึ้นเรื่อยๆ ตามความเสื่อมถอยของกำลังมนตร์ การกระพริบครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 200 ปี ครั้งที่สองเกิดขึ้นห่างจากครั้งแรกเพียง 50 ปี ไม่แน่ว่า ครั้งที่สาม อาจกระพริบเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 10 - 15 ปี จนในที่สุดมนตร์ก็ไม่กระพริบอีกเลย คือมนตร์หายไป

อีกประเด็นที่น่าคิดคือ การไหลของเวลาครับ เวลาภายในเรือนและภายนอกเรือนคงไหลด้วยความเร็วไม่เท่ากัน เพราะ 250 ปีผ่านไป บุษาบรรณและบริวารอายุเพิ่มขึ้นไม่มากนั้น ผมไม่แน่ใจว่า ผู้ที่อยู่ในเรือน รู้สึกถึงกระแสเวลาอย่างไร ระหว่างแบบแรก เวลาในเรือนเดินช้ามาก เวลาภายนอกเดินปกติ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้คุณพิมานสามารถเข้าไปอยู่ในเรือนได้เป็นปีๆ เมื่อเดินกลับออกมาคนภายนอกก็รู้สึกว่า คุณพิมานหายไปไหนมาแค่ 5 นาที หรือเวลาในเรือนเดินปกติ แต่เวลาภายนอกเดินไวมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ 5 นาทีในเรือน อาจเท่ากับ 5 ปีภายนอกก็ได้ เมื่อคุณพิมานกลับออกมาก็พบว่า ไม่เหลือใครแล้ว คนที่เขารู้จักล้วนชราถึงแก่ความตายไปหมดแล้ว เขาเลยกลับเข้าเรือนไปอยู่กับแม่บุษบาในเรือนต่อไป (หรือ จะกลับเข้าเรือนก็ไม่ทันเสียแล้ว พิมานจึงต้องอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา รอคอยการกระพริบในอีก 15 ปีต่อไป อย่างเดียวดาย โดยทำงานเป็นจิตอาสาดูแลวัดมเหยงค์และหมู่ศาลในป่าฝั่งตรงข้ามต่อไป  จนได้พบกับแม่บุษบาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่วัยชราแล้ว) 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 28 ธ.ค. 17, 15:38
เอ๊ะ อาจารย์ครับ สมมุติว่า แม่บุษบา ออกมาทำบุญเมื่อ 50 ปีที่แล้ว แล้วหลวงพ่อให้หนังสือไปอ่านหลายเล่ม หรือเธอสามารถวาปไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้จริงๆ

ถ้าไม่นับคำศัพท์แสลง หรือคำเฉพาะเรียกวัตถุสมัยใหม่บางคำแล้ว คนยุคอโยธยา จะสามารถอ่านตัวหนังสือภาษาไทย สมัยปัจจุบันได้ไหมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ธ.ค. 17, 20:17
คุณนริศรัวคำถามยิ่งกว่าเอ็ม 16   ตอบแทบไม่ทัน
1   เรื่องเวลากระพริบ ก็เป็นคำตอบที่น่าใคร่ครวญมากค่ะ    เปรียบได้กับ wifi ขัดข้องขึ้นมาพริบตาหนึ่ง ทำให้สัญญาณขาดหายไปหนึ่งแปบ    ตอนนั้นก็เป็นช่องทางให้อินทรเนตรส่งเข้ามาไม่ได้   ส่วนในละครเป็นช่องทางให้บุษบาบรรณเล็ดลอดออกไปได้
2  ไม่รู้ว่าภายในเรือนบุษบาบรรณ เวลาหยุดนิ่ง หรือว่าช้ากว่าภายนอก      ถ้าหยุดนิ่ง พิมานหลุดเข้าไปนานเท่าใดก็คงไม่มีผลกับตัวเขา  และโลกภายนอก   เพราะเดินกลับออกมา เวลาภายนอกก็ต่อเนื่องจากวินาทีที่เขาหายวับเข้าไปในบ้าน    แต่ถ้าเวลาช้ากว่าภายนอก  ก็อย่างที่คุณนริศว่า กลับมาอีกทีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงคงแก่ตายหมดแล้ว
3  ตัวอักษรสมัยอยุธยาตอนปลาย   คล้ายๆ font chamonman   ถ้าแม่บุษบาไม่ชินกับตัวพิมพ์ปัจจุบันคงอ่านยากหน่อย    แต่เชื่อว่าคนสมองดี สามารถรับน้ำหนักเกี้ยวยอดบนหัวได้ตลอด 12 ชม.ต่อวัน   คงจะปรับสมองเข้ากับตัวพิมพ์ได้เร็วค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 29 ธ.ค. 17, 07:52
ซี่รีย์นี้บอกว่าไม่อิงประวัติศาสตร์ชาติใดๆ เป็นการออกตัวที่ตลก เพราะอ้างชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์
อันที่จริงไม่ควรใช้ชื่อบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำไป
 
ถ้าเป็นเรื่องราวที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ยังพอรับได้ที่จะให้บุคคลนั้นกระทำการหรือมีความคิดอย่างไรก็ได้ตามบทที่เขียน
แต่ต้องไม่ขัดแยังกับข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานรองรับอยู่

ซี่รีย์อิงประวัติศาสตร์นั้น หากเพิ่มบุคคลไม่ปรากฏชื่อเข้ามามักจะไม่รบกวนเหตุการณ์หลัก
หรือทำให้ผลของเหตุการณ์หลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป

มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 ธ.ค. 17, 08:17
ใกล้เคียง บทประพันธ์ประเภท alternate history กระมังครับ เพราะว่าเรื่องราวห่างจากประวัติศาสตร์จริงมาพอสมควร ประเด็นเรื่องจริงหรือไม่จริงคงคงหลุดไปไกลหละครับ ตอนนี้ก็เหลือแค่ว่า จะแต่งอย่างไรให้กลมกลืนกันไปตลอดรอดฝั่งเท่านั้นแหละครับ

เนี่ยผมยังกังวลว่า ตามข่าวบอกว่าละครจะจบเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ถ้าแม่บุษบา เข้าเรือนไปก่อนกรุงจะแตก และเธอได้ออกมาครั้งแรกเมื่อใดก็ไม่รู้ แต่เธอต้องไม่ทันเห็น สิน เป็นพระเจ้าตาก เห็นทองด้วง เป็นรัชกาลที่ 1 แน่ๆ (แม้แต่เรื่องเช่น พระพิมาน ตายยังไง เธอก็น่าจะไม่รู้อ่ะครับ) แล้วเรื่องจะดำเนินไปอย่างไรกัน

ส่วนนายก่าย ครับในละครออกมาเป็นชาวจีน 1 คนเลยครับ หลวงยกกระบัตรเมืองตาก สั่งให้ไปตั้งค่าย ทำทีเป็นทัพป้องกันกรุง เมื่อเข้ารบแล้วให้แสร้งทำแพ้ ถอยมาสมทบกับกองโจรของพระยาพิชัย นายก่ายแสร้งแพ้ได้สมจริง ขนาดตายในที่รบเลยครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 ธ.ค. 17, 09:43
มีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมยังสงสัยครับ นั่นคือ บุษบาบรรณ เธอรักใครกันแน่ เพราะเธอทั้งวาป ไปปรากฎตัวให้นายวายุ อดีตเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ เห็นที่หอประชุมคุรุสภา และอีกหลายๆครั้ง แต่อีกทางหนึ่งเธอก็พยายามให้นายพิมาน อดีต คุณพระพิมานฯ มาพบที่เรือนให้ได้ จุดนี้ทำให้ผมไม่แน่ใจว่าบทละครจะสื่อว่าเธอมีใจให้ทั้งสองคนหรืออย่างไร

นอกจากนี้ ละครยังไม่ได้แสดงให้เห็นว่า เธอรับรู้ได้อย่างไรว่า พระพิมานฯ กลับมาเกิดเป็น นายพิมาน แล้ว และเธอรู้ด้วยหรือไม่ว่าเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ ก็มาเกิดแล้วเช่นกัน (รวมถึงคนอื่นๆ ที่เล่นเป็นตัวละคร 2 ตัว อย่างเช่น คุณป้ารัดเกล้าด้วย)

คุณทองหยิบ พูดกับนายพิมาน ในเรือนว่า "คุณพระจำทองหยิบได้ด้วยหรือเจ้าคะ" นั่นควรจะแสดงว่า ทองหยิบเคยพบ พระพิมานฯ มาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทองหยิบจะไม่เคยพบเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ บ้างหรือ ถึงได้ไป "ไถ" ขนม นายวายุ ซะตั้งสี่-ห้าตลับ (ขนมนั้นผมลองซื้อมากินแล้วครับ อร่อยดี ;D) 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 15:53
ถ้าเป็นเรื่องราวที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ยังพอรับได้ที่จะให้บุคคลนั้นกระทำการหรือมีความคิดอย่างไรก็ได้ตามบทที่เขียน
แต่ต้องไม่ขัดแยังกับข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานรองรับอยู่

ซี่รีย์อิงประวัติศาสตร์นั้น หากเพิ่มบุคคลไม่ปรากฏชื่อเข้ามามักจะไม่รบกวนเหตุการณ์หลัก
หรือทำให้ผลของเหตุการณ์หลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ข้อนี้คือหลักการสำคัญในการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์    ฝรั่งเองก็สมมุติตัวละครที่ไม่มีจริงให้ไปมีชีวิตอยู่จริงๆในประวัติศาสตร์มาเยอะแยะแล้ว    เช่นเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ ก็เคยเนรมิตนายทหารหนุ่มชื่อเอเตียน เชรา  ให้เป็นทหารเอกของจักรพรรดินโปเลียนมาแล้ว 
หรือดังกว่านี้คือสามทหารเสือ The Three Musketeers ของอาเล็กซองดร์ ดูมาส์  ก็ล้วนแล้วแต่ไม่มีตัวจริง
แต่ทั้งเซอร์อาเธอร์และดูมาร์ ระมัดระวังอย่างหนึ่งคือไม่ยอมให้ตัวละครเขาไปขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์    เชราหรือดาตาญังยังไงก็เป็นได้แค่ทหารเอก  จะกลายเป็นองค์ชายสืบบัลลังก์ไม่ได้    จักรพรรดินโปเลียนเองต่อให้แพ้สงคราม ก็จะไม่ถูกปั้นเสียใหม่ให้กลายเป็นคนอ่อนแอขี้แยไม่รู้จักโต
 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 15:57

มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย
เดาว่าคนเขียนบทคงเข้าใจว่า สะพานนายก่าย หมายถึงสะพานที่ชายจีนผู้หนึ่งชื่อก่ายเป็นคนสร้าง  ทำนองเดียวกับยานัตถ์ุหมอมี มั้งคะ   เลยเอานายก่ายมาเป็นนักรบเชื้อจีนใต้บังคับบัญชาของพระยาตาก   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 16:04
ตอบคุณนริศ
เรื่องบุษบาบรรณรักใคร จนปัญญาค่ะ  ดูจะเป็นหนึ่งหญิงสองชาย   คนที่จะให้คำตอบได้คือคนเขียนบทเท่านั้น
แต่เท่าที่เคยอ่านบทบาทตัวละคร    เจ้าฟ้าสุทัศน์(ชาติก่อนของวายุ)หลงรักบุษบาบรรณ   บุษบาบรรณรักคุณพระพิมาน( ชาติก่อนของดร.พิมาน) คุณพระพิมานถูกปองรักจากเจ้าฟ้าหญิงรุจจาเทวี(ชาติก่อนของพลอย)  ไม่รู้ว่าลงเอยยังไง ดูเหมือนกรุงแตกเสียก่อน

ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวละครหลักๆ อย่างเจ้าฟ้าสององค์และหนึ่งคุณพระตายเพราะแก่ตาย หรือตายตอนกรุงแตก  รู้แต่ว่าตายแน่เพราะ 250 ปีต่อมา มาเกืดใหม่กันหมดแล้ว
ส่วนนางเอกยังไม่ได้เกิดใหม่   เป็นวิญญาณ(เพราะหายตัวได้) หรือว่าเป็นสาวสองพันปีก็มิอาจเดาได้เจ้าค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 18:32
มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย

เรื่องนี้มีข้อสันนิษฐานได้ ๒ ทาง

ทางแรกก็คงเป็นอย่างที่คุณกะออมว่า แต่มีข้อสงสัยคำแปลอยู่ หากเป็นไปได้อยากให้คุณกะออมแสดงอักษรจีนของคำว่า "นายก่าย"

อีกทางหนึ่ง อาจารย์บางท่านก็เชื่อว่า นายก่ายเป็นจีนตัวเป็น ๆ ใน เว็บของกรมศิลปากร (http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/phranakhonsriayutthaya/ayutthaya-02/ayutthaya02-002/item/309-ayutthaya02-031) บรรยายว่า คลองในไก่  คำว่า  “ในไก่”  นี้นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก  “นายก่าย”   นามของชาวจีน  ซึ่งอาจจะเคยตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้  เดาต่อไปว่านายก่ายอาจเป็นหัวหน้าชาวจีนควบคุมการขุดคลองนี้ก็เป็นได้

https://youtu.be/eid5mVeljXQ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 18:38
ถ้านายก่าย เป็นชื่อคน  ก่าย ในที่นี้เป็นจีนอะไรคะ  ฮกเกี้ยน? แต้จิ๋ว?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 18:56
ฉากนี้เป็นเสลี่ยงของเจ้าฟ้ารุจจาเทวี   อาจจะอยู่ในตอนที่ยังไม่ถึงคิวฉาย แต่มีภาพนี้ออกมาปชส.ละครก่อน

นี่ก็อีกข้อที่จะต้องบอกว่าผิดข้อเท็จจริง  เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้เสด็จไปไหนเปิดเผยเห็นได้ในระยะไกลแบบนี้  และที่สำคัญคือ ไม่มีผู้ชายทำหน้าที่แบกหามอย่างเด็ดขาด
สตรีสูงศักดิ์ในสมัยปลายอยุธยา ไปไหนมาไหนจะต้องไปตามทางที่มีผ้าขาวกั้นสองข้าง เรียกว่า "ฉนวน"  เพื่อไม่ให้สายตาคนนอกเล็ดลอดมองเข้ามาเห็น  ถ้าไปทางเรือก็ต้องมีม่านกั้น บรรดานางในที่ตามเสด็จก็นั่งกันอยู่หลังม่านเรือนี่แหละค่ะ   ดังที่นายนรินทร์ธิเบศร์รำพันว่า
เรือแผงช่วยพานาง     เมียงม่าน  มานา
ถ้าหากว่านั่งเสลี่ยง คนแบกต้องเป็นหญิงที่รูปร่างใหญ่แข็งแรง  ไม่ใช่ผู้ชาย  เพราะผู้ชายเข้าในเขตพระราชฐานชั้นในไม่ได้อยู่แล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ธ.ค. 17, 19:08
ถ้านายก่าย เป็นชื่อคน  ก่าย ในที่นี้เป็นจีนอะไรคะ  ฮกเกี้ยน? แต้จิ๋ว?

ชุมชนละแวกคลองนายก่ายเป็นจีนฮกเกี้ยน คุณวิกกี้  (https://th.wikipedia.org/wiki/ไทยเชื้อสายจีน)บรรยายไว้ว่า

ชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นชนเผ่าจีนกลุ่มแรก ๆ จีนฮกเกี้ยนเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่นและเป็นชนเผ่าจีนอาสาช่วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชด้วย แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 31 ธ.ค. 17, 19:21
ส่วนนายก่าย ครับในละครออกมาเป็นชาวจีน 1 คนเลยครับ หลวงยกกระบัตรเมืองตาก สั่งให้ไปตั้งค่าย ทำทีเป็นทัพป้องกันกรุง เมื่อเข้ารบแล้วให้แสร้งทำแพ้ ถอยมาสมทบกับกองโจรของพระยาพิชัย นายก่ายแสร้งแพ้ได้สมจริง ขนาดตายในที่รบเลยครับ

 ;D ;D ;D ;D ;D โดนใจมากครับ

อีกอย่างที่สงสัยครับ จุกยังไม่โกนกันทั้งคู่เลย เด็กน้อยพิมานมีสิทธิ์ได้ใส่ลอมพอกแล้วหรือครับ รวมทั้งเจ้าฟ้าสุฮัทวัยเด็กด้วยครับ
(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/26167289_1733561413392993_3515729516405614724_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeEv-g4DgDyQsBsR1cpMbwNKy8YYtuQ1kcohUvtELgZFcpLBlzxcG-OS5H__iyMkstaA-OU99cBb32D51Y-2OBvL1wKa7kjILv4PryAhcBb2PQ&oh=824fb7079ca6fafc88637868536ce293&oe=5AC5B009)
(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/26047501_1733561410059660_4599125425887492091_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeG0YyjrepPuEdfqRrfeyq6HEY6H3NJuNQT6k8--rZfA07UdEO0zJXpl37a-pk5hzVzrd4Vr4cexXyOqg1dD9qVuCFQ6MFmVw1OZaDgKkDpY3Q&oh=fd92290a2b799e5322048fb8400a3098&oe=5AB47E70)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ธ.ค. 17, 21:07
พระมหามงกุฎและลอมพอกน่าจะถูกนำมาใช้เชิงสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของอยุธยาตอนปลาย    ไม่ใช่ใช้ตามข้อเท็จจริงค่ะ
เพื่อสะท้อนความหรูหราอลังการของบ้านเมืองและผู้คน      มหาดเล็กเด็กๆจึงได้สวมลอมพอกกับเขาด้วย  เจ้านายยังไม่ทันจะโสกันต์ก็ได้สวมพระมหามงกุฎกับเขาแล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 04 ม.ค. 18, 17:29

ว่าด้วยเรื่องแหวนทองคำรัดขอบลอมพอก

"อันบรรดาศักดิ์ของขุนนางนั้นมีอยู่ห้าชั้นด้วยกัน ตามความสำคัญลดหลั่นกันไป
    จำพวกแรกได้แก่ออกญา ดำรงตำแหน่งสำคัญๆในราชการแผ่นดิน …วงทองคำอันรัดขอบลอมพอกยอดแหลมนั้นประดับด้วยช่อมาลา
    ผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นรองคือพวกออกพระ  …ขอบลอมพอกนั้นประดับด้วยช่อชัยพฤกษ์
    ออกหลวงเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสาม …ขอบลอมพอกกว้างเพียงสองนิ้วและฝีมือประณีตน้อยกว่าพวกออกพระ
    จำพวกออกขุนและออกหมื่นเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสี่และชั้นห้าตามลำดับ …ขอบลอมพอกนั้นทำด้วยทองคำหรือเงินเนื้อเกลี้ยง"


    นิโกลาส์ แชรแวส (1688)

ลองเปรียบเทียบการสวมลอมพอกของราชทูตคณะโกษาปาน
กับ การสวมลอมพอกในปัจจุบัน แหวนทองรัดลอมพอกจะมีดอกไม้ไหวตามลำดับชั้นยศ เช่นเดียวกับสมัยพระนารายณ์


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 04 ม.ค. 18, 17:37

คราวนี้มาดู การสวมลอมพอกของศรีอโยธยากัน
จะเห็นว่า สั่งทำลอมพอกสำหรับขุนนางมาแบบเดียวกันหมด
แล้วประดับด้วยดอกไม้ไหวสำหรับชั้นผู้ใหญ่ เอาเท่าที่มี
ทำให้เจ้าพระยาพิชัยของเรามีดอกไม้ไหวประดับน้อยกว่าปกติ
ไปอยู่ที่พระยาพลเทพกับคู่หูซะเยอะ

พระพิมาณนั้นใช้แหวนรัดลอมพอกเหมือนกับหลวงยกกระบัตรเมืองตากและเจ้าพระยาวิชเยนทร์
ส่วนข้าราชการชั้นผู้น้อยแถวหลังๆใช้แถบผ้าสีทองพันลอมพอกแทนแหวนทอง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 04 ม.ค. 18, 17:54

ว่าด้วยสายรัดคาง

ขุนนางสมัยพระนารายณ์ มีสายรัดคางทำด้วยทองคำ ร้อยลงมาจากแหวนครอบเพื่อยึดลอมพอกให้เข้าที่
เมื่อสายรัดคางถ่วงด้วยแหวนรัดขอบลอมพอกที่มีน้ำหนักมากกว่าลอมพอก จะได้สมดุลดีเข้าที่ง่าย
ในปัจจุบัน สายรัดคางทำจากผ้าร้อยดึงจากขอบลอมพอกลงมา โดยไม่ผูกกับแหวนรัดขอบลอมพอก
มีโอกาสลอมพอกแกว่งและสายรัดบาดคางได้

จะเห็นว่าคุณหมอ เจ้าพนักงานฯ มีผ้ารองคางกันไม่ให้สายลอมพอกรัดจนเป็นแผล
ในขณะที่พระเอกศรรามของเรามีปัญหากับสายรัดคางมากทีเดียว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ม.ค. 18, 19:00
สายรัดคางของคุณพระพิมานกับเจ้าฟ้าสุทัศน์
ส่วนชุดของแพนเค้ก เดาไม่ออกค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ม.ค. 18, 10:47
อ้างถึง
ฉากนี้เป็นเสลี่ยงของเจ้าฟ้ารุจจาเทวี
เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้เสด็จไปไหนเปิดเผยเห็นได้ในระยะไกลแบบนี้
ถ้าหากว่านั่งเสลี่ยง คนแบกต้องเป็นหญิงที่รูปร่างใหญ่แข็งแรง  ไม่ใช่ผู้ชาย  เพราะผู้ชายเข้าในเขตพระราชฐานชั้นในไม่ได้อยู่แล้ว

        คงนั่งเสลี่ยงไปไหนประมาณแบบนี้,ในหนังเรื่อง สุริโยทัย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ม.ค. 18, 11:37
ขอบคุณคุณหมอ SILA  ข้างบนนี้น่าจะถูกต้องมากกว่าค่ะ
เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาตอนปลายจะไม่เสด็จไปไหนมาไหน แบบกินลมชมวิวได้เต็มที่    ต้องมีอะไรกั้นจากสายตาคนภายนอกเสมอ
ธรรมเนียมเก็บผู้หญิงไว้หลังม่านยังมีมาถึงต้นรัชกาลที่ 5   อย่าว่าแต่เจ้านายสตรี แม้หญิงสามัญที่เป็นลูกผู้ดีมีตระกูลก็จะไม่ออกมาให้ชายที่ไม่ใช่ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงเห็นหน้าได้ง่ายๆ  อ่านตัวอย่างได้จากประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์  เมื่อรุ่นหนุ่ม   ท่านไปฝึกงานที่บ้านพี่ชาย  พี่สะใภ้จะให้ขนมกินก็ทำได้แค่เลื่อนกระทงขนมมาวางให้  ตัวเธอเองต้องนั่งอยู่หลังม่าน  ไม่ออกมาพูดจาปราศรัยใกล้ชิดกับน้องชายสามี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 15:12
มีหลวงนายก่ายมาฝากคุณคทาธรและคุณนริศอีกหน่อยค่ะ

https://pantip.com/topic/37258922
... งง กะ หลวงนายก่าย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ม.ค. 18, 17:10
ขอบพระคุณครับ เรื่องนี้ ผมงงตั้งแต่การจัดทัพแล้วครับ กล่าวคือ
1. ในตอนก่อนหน้านี้ มีฉากหนึ่งที่มีสายเข้ามารายงานตัวละคร คุณสิน ว่า ทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ขณะนั้น คุณสิน กำลังคุยอยู่กับเพื่อนทั้งสอง ก็เลยบอกว่า เรื่องนี้สำคัญมาก ทัพเหนือเพึ่งยกออกไปเชียงใหม่ อย่างนี้ ก็จะไม่พบข้าศึก ต้องเรียกทัพเหนือกลับมา คุณบุนนาค (หรือคุณทองด้วง ไม่แน่ใจครับ) บอกว่า จะต้องรีบไปกราบบังคมทูล แต่คุณสินบอกว่าจะเข้าไปกราบทูลฯ เพื่อขอรับพระบรมราชโองการก็คงไม่ทัน ดังนั้น คุณสิน เลยออกคำสั่งให้ม้าเร็วไปแจ้งข่าวให้ทัพเหนือ ยกกลับลงมากระหนาบทัพพระเจ้าอลองพญาอีกชั้นหนึ่ง

เรื่องแบบนี้จะเป็นไปได้อย่างไรครับ เพราะคนที่นำทัพเหนือออกไป ถ้าผมจำไม่ผิด บรรดาศักดิ์เป็นไม่เจ้าพระยา ก็พระยา หละครับ และท่านรับคำสั่งมาจากเพราะเจ้าอยู่หัวฯ โดยตรงให้ยกไปเชียงใหม่ อยู่ๆจะมาเปลี่ยนทางเพราะคำสั่ง หรือคำร้องขอ หรืออะไรก็ไม่รู้หละครับ จากขุนนางระดับ หลวง ได้อย่างไร

2. ต่อมา คุณสิน คุณทองด้วง คุณบุนนาค ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ทรงตรัสชมว่า สินทำถูกแล้ว (อ้าวไหงงั้น) รวมทั้งได้ตรัสต่อไปว่า ต่อไป ถ้าการใดเห็นควร ให้สินสั่งการไปได้เลย ตรงนี้ก็น่าแปลกใจมากครับ เพราะขุนนางชั้น พระ พระยา เจ้าพระยา ก็ยังมีอยู่มาก เหตุใดจะให้ขุนนางชั้นหลวงมาบัญชาการศึกได้ แต่ก็เพราะละครปูพื้นมาอย่างนี้แหละครับ จึงนำไปสู่ฉากที่ว่า คุณสิน สั่งการให้นายก่าย นำทัพจีนไปทำทีเป็นทัพรักษากรุงได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 17:23
เดาว่าจุดประสงค์คือจะให้ความสำคัญแก่บทบาทหลวงยกกระบัตร(สิน) ว่าเป็นคนสำคัญมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา
สามารถบัญชาการทัพได้  ตั้งแต่หนุ่มๆ  
เพราะฉะนั้นก็เลยบัญชาการทัพได้ในสมัยธนบุรี

ส่วนความเป็นไปได้ หรือสอดคล้องกับสภาพสังคมสมัยนั้น ตัดออกไปได้



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ม.ค. 18, 17:27
3. ทีนี้ ความแปลกก็ตามมาอีกครับ กล่าวคือ ทัพพระเจ้าอลองพญา เป็นทัพระดับมีพระมหากษัตริย์ควบคุมบัญชาการมาเอง ดังนั้น หากฝ่ายอโยธยาจะ "ลวง" ว่า นี่เป็นทัพที่ออกมาป้องกันกรุง อย่างน้อยๆ ก็ควรยกออกมาให้ครบเครื่อง ช้าง ม้า ราบ รถ (คือ หมายความว่า ต้องทำให้ดูเหมือนเป็นทัพใหญ่ที่ตั้งใจมาหวดกันให้รู้ดำรู้แดง) แต่นี่ ทัพกันกรุง กลับเป็นทัพจีนอาสา ตัวนายทัพเป็นเพียงทหารเดินเท้า ถือไต้ด้าว (ดาบจีน) มาเล่มเดียว กำลังพลไม่รู้ว่าจะมีสักเท่าไหร่ ดูอย่างไร ผมว่า พม่าในเรื่องไม่น่าจะหลงกลเชื่อว่า นี่เป็นทัพป้องกันกรุงแน่ๆ ครับ

4. เอ หรือว่า นี่จะเป็นเหตุผลให้นายก่ายตายในที่รบกันแน่ครับ เพราะเหตุว่า ทัพนี้ ได้รับคำสั่งให้ "แสร้งรบแพ้" หมายความว่า ทัพนี้ต้องเข้าปะทะกับทัพใหญ่สักครู่หนึ่ง แล้วจึงทำเป็นแพ้ แตกพ่ายมา ปัญหาคือ ทัพนี้ น้อยทั้งกำลังคน ยุทโธปกรณ์ (มีแต่ไพร่ราบเดินเท้า) อาจจะรวมถึงฝีมือการรบพุ่งด้วย ผลคือ ปะทะกันไม่ทันไร ทัพจีนนายก่ายก็แตกยับ นายก่ายเอง ถึงจะมีฝีมือพอตัว แต่แกเข้ารบเมามันส์ไปหน่อย รู้ตัวอีกที ทัพแกก็ถูกโอบล้อมไปแล้ว (พม่ามีทัพม้า) แม้ว่าแกจะพยายามถอย (ในละครแสดงออกด้วยการให้แกวิ่งหนีข้ามแนวไม้ออกมา) ก็พบว่า มีทหารม้าพม่ามาดักรออยู่ก่อนแล้ว นายก่ายจึงตายในที่รบเพราะเหตุนี้

5. นอกจากคำสั่งให้แสร้งแพ้แล่้ว นายก่ายยังได้รับคำสั่งว่า หลังจากแพ้แล้ว ให้ถอยไปสมทบกับกองโจรของพระยาพิชัย กรณีนี้ ไม่อันตรายไปหน่อยหรือครับ เพราะกองโจรนั้น ตั้งขึ้นเพื่อจะให้ออกไปตัดเสบียงทัพพม่า ไพร่พลในกองโจรให้ปลอมตัวเป็นชาวบ้าน สรุปคือ กองทัพนี้ เป็นหน่วยปฏิบัติการลับ การให้นายก่าย ปะทะ และวถอยร่นเข้าหากองโจร ทัพกองโจรจะช่วยกู้ทัพนายก่ายได้หรือครับ ดีไม่ดี หากทัพพม่าตามติดมา ที่ตั้งหน่วยกองโจรจะถูกเปิดเผยเสียเปล่าๆ ทำไมไม่กำหนดให้นายก่ายถอยร่นเข้าหากำแพงเมือง ลวงทัพพม่าให้เข้าระยะยิงของสีหนาทปืนไฟบนกำแพง อะไรอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือครับ  

6. ฉากเสียชีวิตของนายก่าย ก็ดูแปลกครับ เพราะแกวิ่งมาเห็นศพพี่น้องจีน ตายกลาดเกลื่อน แกก็ปล่อยดาบลง ยืนทอดอาลัย ให้ทหารม้าพม่า 3 นายขี่ม้าเข้ามาล้อม ทหารนายหนึ่งมีธนูขึ้นสายแล้วพาดอยู่บนตักพร้อมยิง จากนั้น กล่องก็ Zoom in ไปที่หน้ามังฆ้องนรธา แล้วเสียงปืนก็ดังขึ้น เอ่อ ท่านครับ กรณีเช่นนี้ เอาทวนเสียบ หรือเอาธนูนั่นยิงเอาก็ได้ครับ จะยิงปืนไฟให้เสียกระสุนทำไมเนี่ย    


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ม.ค. 18, 17:34
7. และประเด็นสุดท้าย ตั้งแต่มีการรบมา ผมยังไม่เห็นทัพอยุธยาอันเกรียงไกร ให้สมกับ Concept "อยุธยาไม่เคยเสื่อม" เลยครับ ฝ่ายพม่ายกทัพกษัตริย์เข้าเหยียบชานพระนครแล้ว ฝ่ายอโยธยา ยังไม่ได้แสดงอะไรให้เห็นเลย (ก็ไหนๆ นี่ก็ไม่ยึดตามเรื่องจริงอยู่แล้วนี่ครับ เขียนบทให้พระเจ้าอุทุทพร โชว์เทพ แสดงพระอัจฉริยภาพด้านการรบ หรือไม่ก็ด้านการบัญชาการรบให้เห็นกันจะๆ ไปเลย จะเป็นไรไป)

เดี๋ยวคืนนี้ รอดูตอนต่อไปครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 19:04
 ???


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 19:16
 ;)

https://youtu.be/lfpsQQMifI0


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 19:19
จนใจจริงๆดูไม่ออกว่าอยุธยาวางแผนการรบยังไง มันถึงออกมาเป็นว่าไม่วางแผนก็ค่าเท่ากัน คือส่งนายก่ายออกไปล่อพม่า  แสร้งทำเป็นแพ้   เอาเข้าจริงนายก่ายเล่นสมบทสมบาทมากไปหน่อย ดันตายเอาจริงๆ    ไอ้ที่แสร้งทำเลยไม่ต้องแสร้ง ทัพนายก่ายแตกจริงๆ

การแสร้งทำเป็นแพ้นั้นมีอุบายหลักคือเอาทัพเล็กไปล่อ ทำให้ข้าศึกชะล่าใจ ไล่ตามมา   แล้วทัพใหญ่ที่ซุ่มอยู่ก็ได้ทีตีวงโอบล้อมไว้  ทัพเล็กที่ทำทีวิ่งหนีแจ้นมาแต่แรกก็หันกลับมาสู้สุดใจขาดดิ้น    ข้าศึกถูกทั้งทัพใหญ่ทัพเล็กรุมสกรัมแบบปิดประตูตีแมว  ก็เลยแพ้

แต่นี่ทัพเล็กแพ้จริงๆเสียแต่แรก ขนาดนายทัพตายจริง   การล่อก็ต้องถือว่าเฟลไป   ส่วนทัพใหญ่นั้นจะใช้ทัพกองโจรไม่ได้   เพราะกองโจรเป็นทัพเล็ก ใช้เพื่อไปรบตัดเสบียงทัพข้าศึกที่แยกมาหลายทัพ   เพื่อไปก่อกวนให้ห่วงหน้าพะวงหลัง เดินทางมาไม่สะดวก    เพื่อซุ่มโจมตีตัดกำลัง บั่นทอนให้ข้าศึกเปลืองคนเปลืองอะไรต่อมิอะไร   ไม่ทันจะรบได้เต็มอัตราศึก     เอากองโจรมาใช้งานแทนทัพใหญ่จึงเหมือนใช้งบประมาณผิดประเภท   เอาเงินจำนวนน้อยไปทำโครงการใหญ่    มันก็เลยไม่สำเร็จเช่นนี้ละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ม.ค. 18, 19:27
ดูคลิปข้างบน  ผู้แสดงเป็นนายก่ายเล่นได้ขึงขังดี   แอ๊คชั่นถึงบทถึงบาทไม่แพ้ดาราหนังจีน
ถ้าดูเอาดราม่า ไม่ดูความสมเหตุสมผล    ฉากนายก่ายตั้งแต่รับคำสั่งคุณหลวงมาจนนายก่ายตาย ก็นับว่ามีสีสันดีทีเดียว



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 09 ม.ค. 18, 10:30
ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ
สำหรับตอนเมื่อคืน ไม่มีฉากการรบเพิ่มเติมครับ มีแต่ฉากทัพพม่าไล่ฆ่าฟันชาวบ้านรอบพระนคร โดยไม่ปรากฎฉากการต่อต้าน หรือฉากทัพฝ่ายอโยธยาออกรับศึกแต่อย่างใดครับ

มีอยู่ฉากหนึ่ง ที่สมเด็จพระพันวสา เรียกประชุมเจ้านายฝ่ายใน และออกประกาศว่า นับแต่นี้ ฝ่ายในทุกพระองค์ ห้ามมิให้ออกไปจากตำหนัก ส่วนนางข้าหลวงอย่าให้ออกไปทำราชการเกินกว่าเขตพระราชฐานชั้นใน เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคาดการณ์ว่า ข้าศึกจะต้องใช้ปืนใหญ่ระดมยิงเข้ามาในพระนครแน่ แต่ปืนใหญ่ของข้าศึกจะมีระยะยิงถึงแค่เขตพระราชฐานชั้นนอก และชั้นกลางเท่านั้น อยู่ในเขตชั้นในจะปลอดภัย

ผมพอทราบอยู่ว่า ในศึกอลองพญานั้น มีการใช้ปืนใหญ่ระดมยิงเข้ามาจากวัดหน้าพระเมรุ จนยอดของพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์หักพังลงมา แล้วพระที่นั่งองค์นี้ ไม่ได้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในหรอกหรือครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ม.ค. 18, 12:52
และประเด็นสุดท้าย ตั้งแต่มีการรบมา ผมยังไม่เห็นทัพอยุธยาอันเกรียงไกร ให้สมกับ Concept "อยุธยาไม่เคยเสื่อม" เลยครับ ฝ่ายพม่ายกทัพกษัตริย์เข้าเหยียบชานพระนครแล้ว ฝ่ายอโยธยา ยังไม่ได้แสดงอะไรให้เห็นเลย (ก็ไหนๆ นี่ก็ไม่ยึดตามเรื่องจริงอยู่แล้วนี่ครับ เขียนบทให้พระเจ้าอุทุทพร โชว์เทพ แสดงพระอัจฉริยภาพด้านการรบ หรือไม่ก็ด้านการบัญชาการรบให้เห็นกันจะๆ ไปเลย จะเป็นไรไป)

เดี๋ยวคืนนี้ รอดูตอนต่อไปครับ


ฤๅหม่อมท่านจะสื่อกับเราว่า "เพียงความเชื่อมั่น ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง"

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ทรงสนทนากับพระยาพิชัยชาญฤทธิ์

"ท่านอาจารย์เชื่อมั้ย ว่าการศึกครั้งนี้ ชั้นไม่หนักใจหรือกังวลอะไรเลย กลับเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถรักษาพระนครให้อยู่รอดปลอดภัย

เพราะเรามีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อแผ่นดิน เพราะเรามีทวยราษฎร์ที่รักแผ่นดิน และก็ยังมีครูผู้เชี่ยวชาญการยุทธดั่งเช่นท่านอาจารย์
"

https://youtu.be/FEEzM-J0Nbg

โชคดีที่การศึกครั้งนี้ พระเจ้าอลองพญาพระมหากษัตริย์ผู้นำทัพฝ่ายอังวะสวรรคตในสนามรบ สงครามจึงสงบลง มิฉะนั้นเพียงความเชื่อมั่นอาจช่วยอะไรไม่ได้  ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 18, 14:16
ยกคลิปมาให้ดูตอนที่  8 ทั้ง 6 คลิป
https://www.youtube.com/watch?v=KQLFsYm8wuc

https://www.youtube.com/watch?v=8d4gsxFFrvk

https://www.youtube.com/watch?v=FEEzM-J0Nbg&t=197s


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 18, 14:38
https://www.youtube.com/watch?v=tkZYuysJxAQ

https://www.youtube.com/watch?v=wrBn_ZNK11o


https://www.youtube.com/watch?v=KZI8zR4-HDc


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 18, 14:54

ฤๅหม่อมท่านจะสื่อกับเราว่า "เพียงความเชื่อมั่น ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง"

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ทรงสนทนากับพระยาพิชัยชาญฤทธิ์

"ท่านอาจารย์เชื่อมั้ย ว่าการศึกครั้งนี้ ชั้นไม่หนักใจหรือกังวลอะไรเลย กลับเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถรักษาพระนครให้อยู่รอดปลอดภัย

โชคดีที่การศึกครั้งนี้ พระเจ้าอลองพญาพระมหากษัตริย์ผู้นำทัพฝ่ายอังวะสวรรคตในสนามรบ สงครามจึงสงบลง มิฉะนั้นเพียงความเชื่อมั่นอาจช่วยอะไรไม่ได้  ;)
ท่านออกญาเพ็ญชมพูมิได้เฉลียวใจเลยฤๅ ว่าพระเจ้าอุทุมพรอาจมีญาณพิเศษ มองเห็นสคริปต์   ว่าศึกอลองพญาครั้งนี้ อยุธยาไม่ต้องจัดทัพอะไรเลยก็ได้ (ยกเว้นทัพนายก่าย)  เพราะยังไงอลองพญาก็จะถูกปืนจากกำแพงเมืองบาดเจ็บไปสวรรคตกลางทางอยู่แล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ม.ค. 18, 16:05
เพราะยังไงอลองพญาก็จะถูกปืนจากกำแพงเมืองบาดเจ็บไปสวรรคตกลางทางอยู่แล้ว

สาเหตุแห่งการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญามีกล่าวกันอยู่ ๒ ทาง  ทางหนึ่งคือทรงถูกสะเก็ดปืนใหญ่ระเบิด (ไม่ใช่ถูกยิงจากปืนบนกำแพงเมือง) อีกทางหนึ่งคือทรงประชวรด้วยโรคบิด

คุณศรีสรรเพชญ์ให้ความเห็นไว้ในพันทิปว่า

ความเป็นไปได้ที่พระเจ้าอลองพญาจะประชวรสวรรคตครับ

ทั้งนี้เพราะพงศาวดารไทยฉบับเก่า ๆ อย่างฉบับพันจันทนุมาศเจิมและฉบับบริติชมิวเซียมที่ชำระสมัยรัชกาลที่ ๑ จะระบุไว้ตรงกันว่าพระเจ้าอลองพญา "ประชวร" จึงเสด็จกลับแล้วสวรรคตกลางทาง สอดคล้องกับพงศาวดารพม่า ไม่มีการกล่าวถึงปืนใหญ่ระเบิดแต่ประการใดครับ

เรื่องพระเจ้าอลองพญาสวรรคตเพราะปืนใหญ่ระเบิด ปรากฏครั้งแรกสังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนซึ่งเขียนในสมัย รัชกาลที่ ๑ ซึ่งในตอนแรกก็ระบุตรงกับพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้าอลองพญาประชวรเป็นโรคบิดจนสิ้นพระชนม์ ดังที่กล่าวว่า

"พระเจ้ามังลองนั้นประชวรเป็นโรคท้องร่วง ไม่นานเท่าไหร่ก็สวรรคต"

แต่ในสังคีติยวงศ์ก็เขียนต่อไปว่า "อีกนัยหนึ่งชนบางเหล่ากล่าวว่า ชาวพระนครทั้งหลายพร้อมด้วยสุรโยธา มาที่สนามรบ ยิงปืนใหญ่ไป พระเจ้ามังลองต้องปืนใหญ่นั้นแล้ว กลับมาสู่ค่ายนั้นก็สวรรคตในเวลาราตรีนั้น"

จึงเป็นไปได้ว่าเรื่องปืนใหญ่ระเบิดนี้อาจจะเป็นข่าวสารเล่ากันมาอีกกลุ่มหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามในเอกสารทางการสมัยรัชกาลที่ ๑ ยังเชื่อว่าพระเจ้าอลองพญาสวรรคตด้วยเหตุประชวรเหมือนอย่างพงศาวดารพม่าครับ


(https://f.ptcdn.info/353/047/000/ogxmh1oft3t6duNFU2a-o.png)

พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ชำระก่อน พ.ศ.๒๓๕๐

จนกระทั่งในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ซึ่งชำระโดยสมเด็จพระพนรัตน์กับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระชรมานุชิตชิโนรสผู้เป็นศิษย์ชำระ (เข้าใจว่าไม่ได้ชำระพร้อมกัน แต่น่าจะชำระต่อกันมา น่าจะชำระเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๓) ได้แก้ไขข้อความในพงศาวดารว่า ได้ข่าวว่าพระเจ้าอลองพญาสวรรคตด้วยปืนใหญ่แทน ตามที่สังคีติยวงศ์ระบุไว้ครับ

"ครั้น ณ วันขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะโรง โทศกนั้น กองทับพม่าเลืกกลับไปทางเหนือตามแนวแม่น้ำใหญ่ แลได้ข่าวว่าพระเจ้าอะลองพะราญีมังลองให้จุดปืนใหญ่ยิงปราสาท ปืนแตกต้องพระกายกลับไปค่ายบางกุ่มประชวนหนัก จึ่งเร่งเลีกทับกลับไปโดยเรว ให้แมงละแมงข่องคุมพล ๑๐๐๐๐ อยู่รั้งหลัง แลทับหลวงนั้นยกรีบไปถึงตำบลตะเมะกะโลกนอกด่านเมืองตาก เปนระหว่างแดนต่อแดน พระเจ้าอะลองพะราญีก็ดับสูญชีวงคต ณะ ที่นั้น แต่ได้เสวยราชสมบัดิ์อยู่แปดปี"

อย่างไรก็ตามพงศาวดารไทยก็ใช้คำว่า "ได้ข่าว" ไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าสวรรคตเพราะปืนใหญ่จริงครับ ซึ่งถ้าดูตามอายุของหลักฐานแล้วน่าเชื่อว่าจริง ๆ สวรรคตเพราะประชวรมากกว่าครับ


https://pantip.com/topic/35829074


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 09 ม.ค. 18, 16:36
อย่างนี้ก็ต้องรอชมสิครับว่า ในละครพระเจ้าอลองพญาจะสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุใด

ซึ่งหากเขียนบทไปในทางโรคบิด นอกจากจะเป็นข้อมูลที่มีผู้รับรู้น้อยแล้ว ยังไม่เท่ห์อีกด้วยครับ
ผมคาดว่า บทละครยังคงออกมาทางปืนใหญ่ระเบิดมากกว่าแหละครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 ม.ค. 18, 18:44

ฟันธงว่า​หลังจากไปยืนชมวิวที่ค่ายภูเขาทอง
อลองพญาจะถูกสะเก็ดระเบิดบาดเจ็บเลือดไหล
เลิกทัพกลับบ้าน​ ตามสคริปท์เป๊ะ​ๆ

ตามที่​ฝรั่งว่าไว้​ มังลอง​ มังลอก​ มังระ​ ต่างก็ตายด้วยวัณโรค​ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 09:59
หม่อมท่านเลือกพล็อตของคุณเทาชมพู  ;D

อลองพญาก็จะถูกปืนจากกำแพงเมืองบาดเจ็บไปสวรรคตกลางทาง

https://youtu.be/XZ_dDoboUAM

นาทีที่ ๗.๐๐ - ๘.๔๕

แต่ให้สงสัย ลูกปืนใหญ่ไฉนจึงมีแสงดั่งลูกไฟสว่างไสวพุ่งไปในอากาศ  ???


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ม.ค. 18, 10:08
แต่ให้สงสัย ลูกปืนใหญ่ไฉนจึงมีแสงดั่งลูกไฟสว่างไสวพุ่งไปในอากาศ ???

       คุณเพ็ญฯ นี่แหละ อภิสิทธิ์ที่ว่า ทำให้ได้ภาพงามสะพรึงจากแสงไฟของลูกธนูและลูกปืนใหญ่ในสงคราม

       ก่อนหน้าที่พระเจ้าอุทุมพรจะทรงจุดชนวนยิงปืนใหญ่ เจ้าพระยาพิชัยบอกคุณทองด้วงว่า

       "คุณทองด้วง ถวายพระเพลิง"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ม.ค. 18, 10:10
ฟังแล้วสะดุด,นึกถึง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ม.ค. 18, 10:27
อภิสิทธิ์ อีกอย่างที่ใช้ในหนังสงครามย้อยยุคทั้งหลายคือ การระเบิดตูมตามของกระสุนปืนใหญ่

         ย้อนไปถึงละครในตำนาน สงครามเก้าทัพ ผกก.วรยุทธ พิชัยศรฑัต ซึ่งได้ค้นคว้าการสงครามกล่าวไว้
ในนิตยสารสารคดีว่า กระสุนปืนใหญ่ในสมัยนั้น ใช้แรงกระแทกทำลาย,ไม่มีการระเบิด แต่เพื่อความตื่นตาตื่นใจ
ของผู้ชมจึงจัดการระเบิดให้

ในกระทู้พันทิป คุณ Zodiac 28 ให้ข้อมูลว่า     


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 10:44
คิดเหมือนคุณศิลา ลูกปืนใหญ่ของเจ้าคุณพิชัยคงไม่มีประสิทธิภาพจะไป "ถวายพระเพลิง" พระเจ้าอลองพญาได้

กระสุนปืนใหญ่สมัยก่อน มันระเบิดได้ด้วยเหรอครับ
https://pantip.com/topic/33315466


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 11:03
หม่อมท่านเลือกพล็อตของคุณเทาชมพู  ;D

เห็นมั้ย  พระเจ้าอุทุมพรนั่งทางในมองเห็นสคริปต์ในอนาคต 250 ปี จริงด้วย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 11:06
วันนี้ไม่ว่าง  ยังไม่ได้ดูคลิปโดยละเอียดค่ะ
ใครช่วยเล่าให้หน่อยได้ไหมคะ  ว่าแม่บุษบากับเจ้าทองหยิบเป็นวิญญาณในอดีตที่ยังไม่ไปผุดไปเกิด
หรือว่าอยู่ข้ามกาลเวลาเพราะเจ้าคุณพ่อปิดบ้าน ผนึกเอาไว้ด้วยอาคม  ไม่ให้ลูกสาวแก่ ไม่ให้ตาย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ม.ค. 18, 11:44
           ยังไม่มีการเฉลยว่าคนในเรือนในมิตินั้นเป็น สัมภเวสี ชนิดไหน

           (สัมภเวสี - สัตว์โลกที่ยังแสวงหาที่เกิด  คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยใหญ่อยู่ เมื่อยัง
ไม่สำเร็จพระอรหันต์ตราบใด ก็ยังเป็นสัมภเวสีอยู่ตราบนั้น

            สัตว์ - ผู้ข้อง

            เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัดความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป
เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์.
            เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา ... ในสัญญา ...
ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้องในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.)

       แต่มีซีนที่คุณทองหยิบสามารถพบสนทนากับภิกษุ(รูปนั้น - ที่ตอนเป็นหนุ่มพยายามหาทางเข้าไปเรือน)
ซึ่งมรณภาพไปแล้วได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 10 ม.ค. 18, 11:59
ผมลอลุ้นมาตั้งนานว่า ในตอนศึกอลองพญาจะต้องมีฉากการรบหลัก ที่สวยงานวิจิตรตามสไตล์หม่อมท่านให้ชมแน่นอน อาจได้เห็นฉากการใช้อาวุธเท่ห์ๆ และกองทัพที่มีเครื่องประกอบงดงามเข้ารบกัน ในฉากการเจรจาพาที ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักรบของพระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่าย (เพราะละครโปรโมทไว้ว่า คราวนี้ จะนำเสนอให้พม่ามิใช่ผู้ร้าย) อะไรทำนองนั้น

ปรากฎว่า การรบจบใน 2 เบรค ถ้านับเวลาตามเนื้อเรื่องก็เป็นเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น เพราะเมื่อคืนวันจันทร์ มีฉากที่พระเจ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และพระพิมาน ขึ้นไปส่องกล้องดูดาวบนหอดูดาว ในตอนกลางคืน พระเจ้าเอกทัศน์เล็งกล้องไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เจ้าฟ้าสุทัศน์ดู เจ้าฟ้าฯ บอกว่า ยังไม่เห็นอะไร พระเจ้าเอกทัศน์จึงบอกว่า แสดงว่ายังมาไม่ถึง เมื่อคืนวันอังคาร ถึงได้มีฉากที่นำเสนอว่า พระเจ้าอลองพญามาถึงชานกรุงแล้ว ตั้งค่ายเสร็จแล้วอีกต่างหาก พระองค์เสด็จขึ้นไปชมความงดงามของเมืองศรีอโยธยา มังฆ้องนรทา กราบบังคมทูลว่า ได้ฤกษ์สงครามแล้ว พระเจ้าอลองพญาก็บอกว่า ขอชมต่ออีกเดี๋ยว ซึ่ง อีกเดี๋ยวของท่านนี้ ชมยาวถึงกลางคืนเลยครับ (ฮ่า) น่าจะทรงถูกพระทัยมากๆเลย

ฝ่ายอโยธยา ไม่มีการจัดทัพออกไปรับศึกนอกกำแพงเลย วางกำลังรักษาป้อมประตูชัยไว้อย่างเหนียวแน่น แต่ยังไม่ทำอะไร รอสัญญาณจากพระเจ้าเอกทัศน์ก่อน (ระหว่างรอ ตัวละครทั้ง 3 ยังคงคุยเรื่องการเที่ยวซ่องคณิกา การสงเคราะห์แม่ผีเสื้อราตรีกันอยู่เลยครับ) ซึ่งสัญญาณนี้ จะมาจากการยิงธนูมาจากบนหอดูดาว เอาหละสิครับ เมื่อเขียนบทว่า สัญญาณคือธนู ก็เกิดปัญหาหละสิครับว่า คนที่กำแพงเมือง จะรู้ได้อย่างไรว่า มีลูกธนูถูกยิงขึ้นมาจากหอดูดาวแล้ว (ทำไมไม่เขียนบทให้ทรงเป่าสังข์ หรือยิงปืนหละครับ) ผลก็คือ ทรงยิงธนูไฟ ออกมาจากหอดูดาว เอิ้ม.... ลูกธนูติดไฟนะขอรับ ยิงออกไปแล้วลูกธนูนี้มันจะไปตกที่ไหนหละพระพุทธเจ้าข้า  เห็นทีไฟไหมกรุง จะมิใช่เพราะกองทัพพม่ารามัญเป็นแน่ (ฮ่า)  


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 10 ม.ค. 18, 12:19
ทีนี้ พอทหารฝ่ายกรุงศรีฯ ได้เห็นสัญญาณ ก็เริ่มโจมตีด้วยการ ยิงธนู ปืนไฟ และปืนใหญ่ ข้ามแม่น้ำลพบุรี หรือไม่ก็คลองขื่อหน้า เข้าใส่กัน ซึ่งทางพม่าเอง ก็ปักหลักยิงส่วนออกมาอย่างดุเดือด แต่เอิ่ม ท่านครับ ถ้าคิดจะทำเช่นนี้ เหตุใดจึงตั้งค่ายหลวงในระยะปืนใหญ่ของอีกฝ่ายหละครับ แถมเอาผู้บัญชาการสูงสุดคือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นจอมทัพ มายืนล่อเป้าเสียด้วย (จริงๆแล้ว ในครั้งนั้น ค่ายหลวงของพระเจ้าอลองพญา อยู่ที่ไหนหรือครับ)

ผมไม่มีความรู้ด้านการสงครามอะไรมากมายนั้น แต่การตั้งฐานในระยะปืนใหญ่ฝ่ายตรงข้ามนี่ ยังไงก็ผิดแน่ๆครับ

สุดท้าย การรบจบลงที่ ปืนใหญ่ของฝ่ายกรุงศรี ยิงแม่นยำกว่า ยิงไปโดน.... เอ่อ โดนตรงไหนก็ไม่แน่ใจครับ ระหว่าง นอกกำแพงค่าย หรือตกลงในค่าย (ในละคร มีการระเบิดขึ้นสองครั้งครับ) จนถึงตรงนี้ ทัพใหญ่ 3 ทัพ และทัพโอบล้อม 14 ทัพก็ไม่ปรากฎตัวออกมา คงมีแต่กองโจรคนโขนของพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ เท่านั้น ที่ออกมารบพุ่งกับทหารพม่า แต่อย่างไรก็ดี แม่ทัพรองคนหนึ่งมารายงานมังฆ้องนรธาว่า ทัพอโยธยาโอบล้อมเราไว้ทุกทิศ เราต้องกับดักแล้ว มังฆ้องนรธา จึงสั่งถอนทัพ โดยมิได้ปรึกษาเจ้าฟ้ามังระ แต่อย่างใด

จบการรบที่รอลุ้นมาหลายสัปดาห์เพียงเท่านี้

สำหรับเรื่องกระสุนปืนใหญ่ระเบิดได้ ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ SILA ว่าอ่ะครับ ลูกปืนใหญ่สมัยนั้น ก็ลูกเปตองนี่แหละครับ มันระเบิดไม่ได้หรอกครับ ตกลงไปตรงไหนมันก็กลิ้งหลุนๆไปด้วยความแรงจากดินปืน ฟาดเข้าที่ใดก็ทำที่นั่นหักพังเสียหายไปด้วยแรงนั้น ถ้าอยากยิงลูกปรายแบบลูกซอง เขาก็เอาลูกเหล็กหลายๆลูกใส่กระป๋องเหล็กแล้วยิงออกไป เรียกว่า Grape Shot
(http://cf.ydcdn.net/latest/images/main/A5grapeshot.jpg)
ถ้าอยากเพิ่มความอันตรายก็เอาลูกเหล็กไปเผาไฟให้ร้อนแดงเสียก่อน ยิงไปตกตรงไหนก็จะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่นั่น แต่ไม่ว่ายังไงก็ไม่ระเบิดแน่นอนครับ    


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 10 ม.ค. 18, 12:26
อ่อ ถ้าผมจำไม่ผิด ตอนรบกับพม่าที่ท่าดินแดง ในสงครามเก้าทัพ มีการใช้ไม้ ทำเป็นกระสุนปืนใหญ่ด้วยครับ
https://pantip.com/topic/33737177
แสดงให้เห็นว่า ลูกปืนใหญ่สมัยนั้น ยังง้าย ยังไง มันก็ไม่ระเบิดแน่นอนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 12:57

ฝ่ายอโยธยา ไม่มีการจัดทัพออกไปรับศึกนอกกำแพงเลย วางกำลังรักษาป้อมประตูชัยไว้อย่างเหนียวแน่น แต่ยังไม่ทำอะไร รอสัญญาณจากพระเจ้าเอกทัศน์ก่อน (ระหว่างรอ ตัวละครทั้ง 3 ยังคงคุยเรื่องการเที่ยวซ่องคณิกา การสงเคราะห์แม่ผีเสื้อราตรีกันอยู่เลยครับ) ซึ่งสัญญาณนี้ จะมาจากการยิงธนูมาจากบนหอดูดาว เอาหละสิครับ เมื่อเขียนบทว่า สัญญาณคือธนู ก็เกิดปัญหาหละสิครับว่า คนที่กำแพงเมือง จะรู้ได้อย่างไรว่า มีลูกธนูถูกยิงขึ้นมาจากหอดูดาวแล้ว (ทำไมไม่เขียนบทให้ทรงเป่าสังข์ หรือยิงปืนหละครับ) ผลก็คือ ทรงยิงธนูไฟ ออกมาจากหอดูดาว เอิ้ม.... ลูกธนูติดไฟนะขอรับ ยิงออกไปแล้วลูกธนูนี้มันจะไปตกที่ไหนหละพระพุทธเจ้าข้า  เห็นทีไฟไหมกรุง จะมิใช่เพราะกองทัพพม่ารามัญเป็นแน่ (ฮ่า)  

อ่านกระทู้เรือนไทยสนุกกว่าดูละครเสียอีก     ;D
บทยิงธนูจากหอดูดาว ที่คุณนริศบรรยาย ทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า เออจริงนะคะ  หอดูดาวอยู่ในกรุงศรีฯ น่าจะอยู่ในบริเวณหมู่พระมหามณเฑียร เพราะถ้าไกลออกไปนัก คงเสด็จไปดูไม่สะดวก   
ดังนั้นเวลายิงธนูไฟก็ต้องยิงวิถีโค้งให้ลูกธนูพุ่งออกไปพ้นกำแพงเมือง   ถ้ายิงตกภายในเขตเมืองบรรดาบ้านช่องร้านรวงและตลาดต่างๆ คงเจอแจ๊กพ็อทเข้าบ้าง   ภายในกรุงศรีฯก็มีผู้คนอยู่แออัด  ยังไม่มีส่วนไหนทำแบบเซนทรัลปาร์คในนิวยอร์คให้พ้นผู้คนได้
ว่าแต่กำลังของคนยิงจะแข็งแกร่งขนาดนั้นเชียวหรือ    ในเรื่องก็ไม่ได้บอกว่าไปยืมตัวแงซายมาจากเพชรพระอุมาให้ช่วยยิงเสียด้วย
เลยนึกไปถึงปีใหม่ที่เพิ่งพ้นไปหมาดๆ     ประเพณียิงปืนขึ้นฟ้าถูกตำรวจปรามมาหลายทีแล้วก็ยังไม่เลิก กระสุนลูกหลงไปโดนชาวบ้านตาย หลังคาบ้านทะลุกันมาหลายคนแล้ว    ธนูไฟก็พอกันละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 14:05
จริงๆแล้ว ในครั้งนั้น ค่ายหลวงของพระเจ้าอลองพญา อยู่ที่ไหนหรือครับ

ผมไม่มีความรู้ด้านการสงครามอะไรมากมายนั้น แต่การตั้งฐานในระยะปืนใหญ่ฝ่ายตรงข้ามนี่ ยังไงก็ผิดแน่ๆครับ

ถึงเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ข้างด้านตะวันตก ยิงเข้าไปในพระนคร พระเจ้าอุทุมพรทรงช้างพระที่นั่งเสด็จไปบัญชาการให้เจ้าหน้าที่ยิงปืนป้อมตอบโต้พม่า ยิงกันอยู่จนเวลาเย็นพม่าก็เลิกทัพกลับไปค่าย

ถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งจังก้าที่วัดหน้าพระเมรุและวัดช้าง (หัสดาวาส) ระดมยิงเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันและกลางคืน ลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์หักทำลายลง


จาก ไทยรบพม่าครั้งที่ ๒๒ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

https://th.wikisource.org/wiki/สงครามครั้งที่_๒๒_คราวพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา_ตอนที่_๒ (https://th.wikisource.org/wiki/สงครามครั้งที่_๒๒_คราวพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา_ตอนที่_๒)

แผนที่ตำแหน่งที่พงศาวดารระบุว่าพม่าตั้งค่ายประชิด ยิงปืนใหญ่เข้ามาในเมืองและพระบรมมหาราชวังในคราวศึกอลองพญา ๒๓๐๒-๒๓๐๓ ครับ

หลายท่านไม่ต้องดูก็คงนึกภาพออกอยู่แล้วว่าอะไรอยู่ตรงไหน พม่าตั้งประชิดเมืองขนาดไหน (จากมะริดมาจนตั้งค่ายประชิดเมือง พม่าใช้เวลาราว ๓ เดือนเท่านั้นเอง)

ท่านที่นึกไม่ออกก็เชิญดูเลยดีกว่าครับ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2663.0;attach=2974;image)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 10 ม.ค. 18, 16:19
จากข้อความส่วนนี้
อ้างถึง
พระเจ้าอลองพญาตีค่ายไทยที่ทุ่งตาลานแตกแล้วก็ยกกองทัพตามเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๐๓ ตั้งค่ายหลวง ณ บ้านกุ่มข้างเหนือกรุงฯ ให้มังระราชบุตรกับมังฆ้องนรธา ซึ่งเป็นกองทัพหน้าลงมาตั้งที่ท่าโพธิ์สามต้น ครั้งนั้นหลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีนพาพวกจีนบ้านนายก่ายประมาณ ๒,๐๐๐ มาขออาสาตีค่ายข้าศึกที่โพธิ์สามต้น จึงโปรดให้จมื่นทิพเสนาปลัดกรมตำรวจคุมกำลัง ๑,๐๐๐ หนุนออกไปด้วย กองทัพจีนยกไปถึงยังมิทันจะได้ตั้งค่าย พม่าก็ข้ามลำน้ำโพธิ์สามต้นมาระดมตีกองทัพจีนแตกพ่าย จมื่นทิพเสนาซึ่งเป็นกองหนุน ยังตั้งอยู่ที่วัดทะเลหญ้า ทุ่งเพนียดหนุนไปไม่ทัน ครั้นเห็นพม่าไล่ฆ่าฟันจีนมา กองทัพจมื่นทิพเสนาก็พลอยแตกด้วย ครั้งนั้นเสียผู้คนไทยจีนถูกพม่าฆ่าฟันเสียเป็นอันมาก มังระเห็นได้ทีก็ยกกองทัพรุดเข้ามาตั้งค่ายที่เพนียด ให้มังฆ้องนรธาเป็นกองหน้าเข้ามาตั้งถึงวัดสามวิหาร แต่นั้นก็มิได้ปรากฏว่าไทยยกกองทัพออกไปรบพุ่งกองทัพพม่าอีก เป็นแต่ให้รักษาพระนครมั่นไว้ ภายนอกพระนครปล่อยให้พม่าทำตามชอบใจ มีจดหมายเหตุการณ์ตอนนี้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า....

แสดงว่า ค่ายของพระเจ้าอลองพญา อยู่บ้านกุ่ม
มังระ มังฆ้องฯ ค่ายอยู่ โพธิสามต้น
หลังปะทะทัพจีนบ้านนายก่าย สองทัพพม่าก็รุกคืบ
มังระ ค่ายอยู่ เพนียด
มังฆ้องฯ ค่ายอยู่ วัดสามวิหาร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 10 ม.ค. 18, 16:29
อ้างถึง
ถึงเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพรี วัดกษัตรา ข้างด้านตะวันตก ยิงเข้าไปในพระนคร พระเจ้าอุทุมพรทรงช้างพระที่นั่งเสด็จไปบัญชาการให้เจ้าหน้าที่ยิงปืนป้อมตอบโต้พม่า ยิงกันอยู่จนเวลาเย็นพม่าก็เลิกทัพกลับไปค่าย

อ้างถึง
ถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งจังก้าที่วัดหน้าพระเมรุและวัดช้าง(หัสดาวาส) ระดมยิงเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันและกลางคืน ลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์หักทำลายลง

ผมสังเกตว่ามีการใช้ถ้อยคำว่า  "เอาปืนใหญ่มาตั้ง" และ "เลิกทัพกลับค่าย" ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่า วัดราชพรี วัดกษัตรา วัดหน้าพระเมรุ และวัดช้าง มิใช้ที่ตั้งค่าย แต่เป็น Fire Base เอาปืนใหญ่มาปักหลักยิงจนพอใจแล้วจึงถอยทัพกลับไปค่าย ก็จะเห็นได้ว่า พม่าตัวจริง ตั้งค่ายนอกระยะยิงของปืนใหญ่อยุธยาครับ เวลาจะเข้ามาถล่มจึงค่ายลากปืนใหญ่มาเข้าจุดยิง แต่ทำไมต้องเลือกใช้วัดเป็นจุดยิง อันนี้ผมก็ไม่ทราบครับ

อ้างถึง
ในวันพม่ามายิงพระราชวังที่กล่าวมานี้ พระเจ้าอลองพญามาทรงบัญชาการและจุดปืนใหญ่เอง เผอิญปืนแตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัสก็ประชวรหนักในวันนั้น


นี่ก็แสดงว่า พระเจ้าอลองพญา มาบัญชาการยิงปืนใหญ่ที่แนวหน้าด้วยพระองค์เอง แต่ข้อความไม่ได้พูดถึงเลยว่า ฝ่ายอยุธยาได้ยิงปืนโต้ตอบหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ เป็นปืนฝ่ายพม่าเองที่ระเบิดขึ้น ทำให้พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บ มิใช่ถูกกระสุนจากปืนใหญ่ฝ่ายอยุธยา ซึ่งจุดนี้ ไม่ตรงกับที่ปรากฎในละครครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ม.ค. 18, 17:13
          บทที่เขียนให้ฝ่ายไทยสามารถชนะศึกได้อย่างง่ายดายไม่ทันไรหลังจากได้สัญญาณธนูไฟเปิดศึกจาก
พระเจ้าเอกทัศน์ที่ทรงยิงไปได้ไกลลิบลิ่ว แล้วลูกกระสุนปืนใหญ่จากพระเจ้าอุทุมพรก็เข้าเป้าราวจับวางนี้ คิดว่า
คงจะเป็นการตั้งใจยกย่องมองเป็น กฤดาภินิหาร ของทั้งสองพระองค์       



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 18:20
 :D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 18:49
ถึงเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ข้างด้านตะวันตก ยิงเข้าไปในพระนคร พระเจ้าอุทุมพรทรงช้างพระที่นั่งเสด็จไปบัญชาการให้เจ้าหน้าที่ยิงปืนป้อมตอบโต้พม่า ยิงกันอยู่จนเวลาเย็นพม่าก็เลิกทัพกลับไปค่าย

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงความตอนนี้ว่า

ครั้น ณ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ยิงเข้าในกรุงพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงช้างต้นพลายแสนพลพ่ายไปทอดพระเนตรกำชับหน้าที่ ณ วัดสวนหลวงสพสวรรค์ และป้อมมหาชัย ครั้นเพลาเย็นพม่าเลิกทัพข้ามฟากไปข้างวัดภูเขาทอง

(https://f.ptcdn.info/719/020/000/1404135664-1316667741-o.gif)

วัดภูเขาทอง (หมายเลข ๓๐ ในแผนที่) น่าจะเป็นที่ตั้งค่ายหนึ่งของทัพอังวะ  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 20:54
ศรีอโยธยา ตอนที่ 9  ค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=MOfBV2v6nLc

https://www.youtube.com/watch?v=_N2PFKJ6VNE

https://www.youtube.com/watch?v=THmUFqzq2TE


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 20:55
https://www.youtube.com/watch?v=r9czBZo7W00

https://www.youtube.com/watch?v=XZ_dDoboUAM

https://www.youtube.com/watch?v=N5KTHNIO-zk


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 21:27
รูปนี้มาจากตอนที่ 8 คลิปที่ 2/8

นางในสมัยอยุธยาตอนปลายไว้ผมยาวประบ่า ด้านบนกันให้เห็นไรผม    ไม่ได้แบกศิราภรณ์กันพร่ำเพรื่อในชีวิตประจำวันอย่างในฉากนี้
แล้วที่สวมหัวก็ผิดทั้งหมดด้วยค่ะ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 18, 21:28
หนุ่มสาวอยุธยาแต่งกายแบบนี้ค่ะ 
สไบของสาวในภาพ  คือสไบห่มสองบ่าที่เราลืมกันไปแล้ว ว่าเคยมีแบบนี้    เหลือร่องรอยอยู่ในการห่มแบบตะแบงมาน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ม.ค. 18, 10:28

ฉากนี้สรุปได้ว่า ศรีอโยธยาของหม่อมน้อยไม่ใช่เมืองเดียวกับกรุงศรีอยุธยาที่เรารู้จัก

ในฉากนี้ป้อมปราการ กำแพงเมือง และแม่น้ำที่แสดงเป็นเรื่องสมมุติทั้งสิ้น ไม่มีตามสภาพภูมิศาสตร์จริง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 10:35
สนใจประตูเมือง
เปิดลงน้ำเลยหรือคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 ม.ค. 18, 10:40
อิอิ ตอนที่ผมดู ผมเห็นกำแพงที่อยู่ชิดแม่น้ำ แล้วมีประตูด้วย แต่ประตูนี้เปิดออกไปปั๊บก็ลงแม่น้ำเลย แล้วอย่างนี้จะใช้งานได้อย่างไร แล้วเนี่ย ทำ CG ให้กำแพงชิดแม่น้ำเช่นนี้แล้ว ตอนฉากเผารากกำแพงเมือง ในตอนเสียกรุง จะทำอย่างไรกันหละครับ  


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 ม.ค. 18, 10:46
นั่นไงครับ ท่านอาจารย์ก็สงสัย (อิอิ)

มีข้อสงสัยครับ ในความคิดเห็นที่ 282 ในภาพการห่มสไบหนะครับ ผมสังเกตว่า มีคำอยู่สองคำ ในย่อหน้าแรก เรียกคนพวกนั้นว่า Yodayas แต่ในย่อหน้าที่สอง ใช้คำว่า Ayutthia

คำเข้าใจว่า Ayutthia ที่ก็คือ อยุธยา ที่อาจจะพูดกร่อนๆเสียงหน่อย ส่วน Yodaya(s) โยดะยา หรือ โยเดีย ก็คือคำที่พม่าเรียก อยุธยา นั่นเอง สองคำนี้ก็คืออยุธยาทั้งคู่

เช่นนั้นแล้วทำไมถึงต้องใช้สองคำด้วยหละครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 16:17
มีข้อสงสัยครับ ในความคิดเห็นที่ 282 ในภาพการห่มสไบหนะครับ ผมสังเกตว่า มีคำอยู่สองคำ ในย่อหน้าแรก เรียกคนพวกนั้นว่า Yodayas แต่ในย่อหน้าที่สอง ใช้คำว่า Ayutthia

คำเข้าใจว่า Ayutthia ที่ก็คือ อยุธยา ที่อาจจะพูดกร่อนๆเสียงหน่อย ส่วน Yodaya(s) โยดะยา หรือ โยเดีย ก็คือคำที่พม่าเรียก อยุธยา นั่นเอง สองคำนี้ก็คืออยุธยาทั้งคู่

เช่นนั้นแล้วทำไมถึงต้องใช้สองคำด้วยหละครับ

เดาว่า Yodaya หมายถึงคนอยุธยา   ส่วน Ayutthia หมายถึงตัวเมืองหรืออาณาจักรอยุธยา
คำที่สอง ถ้าจะแปลก็คือ ชาวกรุงศรีอยุธยา ค่ะ

ภาพ CG ที่ประตูเมืองเปิดลงน้ำโดยไม่มีแม้แต่บันไดท่าน้ำ  คงเป็นความเข้าใจผิดของผู้ออกแบบ ที่นึกภาพไม่ออกว่าคูเมืองเป็นแบบไหน   เลยสร้างภาพกำแพงเมืองแช่น้ำเสียเลย 
ถ้ากรุงศรีออกแบบคูเมืองแบบนี้  น้ำขึ้นน้ำลงคงทะลักเข้าประตูเป็นประจำทุกวัน  อาจต้องสร้างธรณีประตูสูงเป็นพิเศษ ให้เป็นเขื่อนกั้นในตัว  ชาวเมืองต้องปีนเข้าปีนออก  แล้วว่ายน้ำข้ามไปเวลาไปทำธุระนอกเมือง
จริงๆ พม่าไม่ต้องเปลืองเวลาเผารากกำแพง  เพราะน้ำคงเซาะทั้งรากทั้งกำแพงพังทลายมานานแล้วค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 16:38
แผนที่กรุงศรี  มีแม่น้ำเป็นคูเมือง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 16:39
กำแพงและคูเมือง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 19:08
ว่าด้วยเรื่องกำแพงเมือง  ;D

https://youtu.be/nHO0Q-ZVI58


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 19:15
 :D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ม.ค. 18, 19:31

มุมมองตามภาพนี้ ต้องสมมุติแนวแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ และ แนวกำแพงยาวขึ้นไปทางเหนือ
ป้อมปืนของสามสหาย ย้ายที่ตามขึ้นมาด้วย เกาะอยุธยายาวขึ้นมาทางเหนือ
ดังนั้น ศรีอโยธยากลายเป็นเมืองในนิยายโดยแท้ ห่างไกลจากความเป็นจริงไปเรื่อย ๆ ครับ

ตรงตามที่ผู้กำกับท่านบอกไว้แต่ต้นว่าไม่อิงข้อเท็จจริงใดๆ เลย (แต่ขอให้ภาพมีองค์ประกอบสวยงามไว้ก่อน)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 20:45
นอกจากภาพแล้ว องค์ประกอบอื่นที่สวยงามคือการตีความพระเจ้าเอกทัศและพระเจ้าอุทุมพรเสียใหม่  ให้พี่ชายเป็นคนธรระธัมโม   แสดงออกด้วยการเดินจงกรมเป็นประจำ   นอกจากนี้ยังเซนซิทีฟ   พอได้ข่าวศึกก็ชวนน้องไปหาแม่ ขอนอนหนุนตักแม่ เหมือนเด็กน้อย
เพื่อสะท้อนภาพว่า กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าปี 2310 นั้นไม่ใช่ความผิดของพระเจ้าเอกทัศ    เรื่องขัดแย้งกับน้องชายก็ไม่มี   พ่อก็ไม่ได้ว่ากล่าวอะไรในการยกบัลลังก์ให้น้องโดยข้ามพี่ชายไป    แต่ชะตากรุงศรีเป็นยังงั้นเอง
อันที่จริงถ้ามีความเชื่อมั่นว่า กรุงแตกไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องของพระเจ้าเอกทัศ  ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องสร้างภาพใหม่ให้ท่านมากมายขนาดนี้  จะคงไว้ตามพงศาวดารก็ได้ว่า ท่านเป็นลูกที่พ่อไม่รักเลยไม่อยากให้ขึ้นครองบัลลังก์ แต่รักลูกชายคนรองมากกว่า   แต่ท่่านก็ปัดน้องชายออกนอกทาง พาตัวเองขึ้นมาจนได้  หลักฐานบางเรื่องอย่างในหนังสือคำให้การฯ ก็บอกว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ดีต่อราษฎร     เมื่อพม่ายกทัพมา ท่านก็สู้สุดชีวิต รักษาเมืองไว้ได้ถึงปีกว่า   แปลว่าเข้มแข็งไม่ใช่เล่น  เพียงแต่ครั้งนั้น  ทัพพม่าแข็งกว่าเท่านั้น
แบบนี้ พระเจ้าเอกทัศจะเป็นตัวละครที่ "ลึก" มากกว่า คือมีทั้งข้อด้อยและข้อดี    ทำให้คนอ่านได้ใช้สมองคิดใคร่ครวญผิดแผกไปจากความเชื่อเดิมๆ   โดยไม่ต้องบิดเบือนพงศาวดาร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 20:57
ภาพที่เรากำลังถกถึงนี้อยู่ในตอนที่ ๙ ช่วงที่ ๔

https://youtu.be/r9czBZo7W00

คุณคนโคราชตีความว่ามองจากเชิงเทินที่ค่ายวัดภูเขาทอง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=66636;image)

แต่ถ้าดูในคลิป จะเห็นว่าพระเจ้าอลองพญาทรงดื่มด่ำในความงามของกรุงศรีอโยธยาตั้งแต่บ่ายจนมืด ณ จุดที่ตั้งปืนใหญ่ที่วัดหน้าพระเมรุซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวังหลวงพอดี น่าจะเห็นกำแพงเป็นแนวตรงได้

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2663.0;attach=2974;image)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 21:14
ข้อสังเกตอีกอย่างคือ จังหวะ (pace)ของเหตุการณ์มันดูไม่สมดุลย์กัน   เหตุการณ์บางอย่างไม่ควรถ่ายให้ยาวก็ทำให้ยาว  เช่นตอนพวงแก้ว(รัดเกล้า) เดินลงบันไดบ้านมาส่่งแขก  พูดลากัน เธอแสดงให้เห็นถึงอาการหน้าชื่นอกตรม
ภายนอกหัวร่อร่วน (โดยไม่จำเป็น) แต่พอแขกกลับก็หน้าเศร้าสลด 
แล้วเธอก็เดินกลับขึ้นบันได จากนั้นยังไม่พอ ถ่ายให้เห็นเดินไปตามระเบียงอีก   ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต้องยาวหลายนาทีเลย เพราะมันไม่มีผลต่อเนื้อเรื่อง  จะลาคำเดียวหรือนาทีเดียวก็ได้ผลเท่ากัน   หรือจะไม่มีบทลา ตัดไปเลยก็ยังได้
แต่พอถึงเหตุการณ์สำคัญ   ทัพพระเจ้าอลองพญาถอนตัวกลับ  ตะโกนคำเดียว "ถอยทัพ" แปบเดียวหายหมดทั้งทัพราวกับล่องหน   ทำเอาสามทหารเสือบนกำแพงป้อมงง ว่าพม่าปุบปับถอยทำไม
คนดูก็งงว่าทัพใหญ่ยกมาตีกรุงศรี ถอยได้เร็วขนาดดูแทบไม่ทันเชียวหรือ  ไปเร็วกว่าขบวนรถเด็กแว้นซ์เสียอีก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 18, 21:42
ทำเอาสามทหารเสือบนกำแพงป้อมงง ว่าพม่าปุบปับถอยทำไม

เรื่องนี้ตรงตามที่มีบันทึกไว้ จาก ไทยรบพม่าครั้งที่ ๒๒  (https://th.wikisource.org/wiki/สงครามครั้งที่_๒๒_คราวพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา_ตอนที่_๒)พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า

พม่าเลิกทัพกลับไปครั้งนั้นเป็นการรีบจะไปในทันที มิได้มีเวลาตระเตรียม ถึงขนปืนใหญ่ไปไม่ทันต้องเอาลงฝังทิ้งไว้ในค่ายหลวง ต่อมาไทยไปขุดพบหลายสิบกระบอก แต่ในชั้นแรกเมื่อพม่ากลับไปไทยยังไม่รู้ว่าพระเจ้าอลองพญาประชวร สำคัญว่าพม่าจะทำถอยทัพเป็นกลอุบายก็มิได้ยกไปตามตี ครั้นรู้ว่าเลิกทัพกลับไปแน่ พระเจ้าอุทุมพรจึงให้พระยายมราช กับพระยาสีหราชเดโชชัยยกกองทัพไปติดตามพม่า ตามไปจนเมืองตากก็ไม่ทันข้าศึก แต่ถึงจะทันก็เห็นจะไม่เป็นประโยชน์อันใด ด้วยเวลานั้นครั่นคร้ามพม่าเสียมากแล้ว พม่าจึงกลับไปได้โดยสะดวก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ม.ค. 18, 06:22
อ้างถึง


คุณคนโคราชตีความว่ามองจากเชิงเทินที่ค่ายวัดภูเขาทอง

แต่ถ้าดูในคลิป จะเห็นว่าพระเจ้าอลองพญาทรงดื่มด่ำในความงามของกรุงศรีอโยธยาตั้งแต่บ่ายจนมืด ณ จุดที่ตั้งปืนใหญ่ที่วัดหน้าพระเมรุซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวังหลวงพอดี น่าจะเห็นกำแพงเป็นแนวตรงได้

ในฉาก​อโยธยาของหม่อมน้อย​มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่ากลางเมืองครับ​ พระบรมมหาราชวังอยู่ใจกลางเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นใน​ มีแม่น้ำเจ้าพระยาสายสมมุติไหลตรงลงมาจากทางเหนือ
กำแพงเมืองชั้นนอกสมมุติขนานเลียบริมน้ำขึ้นมาด้วย​
วัดหน้าพระเมรุจึงอยู่ใจกลางเมือง​ฝั่งตรงข้ามพระที่นั่งสุริยาศอัมรินทร์​

อลองพญาของหม่อมน้อยมายืนชมวิวตรงข้ามป้อมปืนสามสหายตามแนวเฉียงจากตะวันตกเฉียงเหนือครับ​ จากมุมมองนี้จะเห็นว่าผู้สังเกตยืนอยู่ในที่สูงกว่าหลังคาป้อมปืนสามสหายสักสองสามเท่าตัวนะครั​บ​  อาจจะเป็นภาพในจินตนาการของอลองพญา​
 เพราะจากค่ายพม่าที่อยู่ต่ำริมน้ำเจ้าพระยาสมมุติตามท้องเรื่อง​นี้ อย่างมากจะมองเห็นแค่ปลายยอดพระปราสาท


ถ้าอยู่วัดหน้าพระเมรุจะเห็นพระที่นั่งในระยะใกล้​และมุมมองทิศเหนือพอดีครับ​ ของจริงพม่าเอาปืนใหญ่มาจ่อยิงพระปราสาท​ สามสหายก็จะไม่มีบทยิงปืนใหญ่บนป้อมเพราะไม่มีป้อมสมมุติ
หลังพม่าเลิกทัพไปแล้วก็ต้องมีฉากเก็บกวาดซ่อมพระมหาปราสาทกัน​ซึ่งเจ้าของเมืองโบราณอาจไม่อนุญาตครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ม.ค. 18, 09:59
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=66615;image)
แต่พี่ Koratian ครับ ถ้าดูจากฉากนี้ มันราวกับว่า พื้นที่ตรงกลางระหว่างป้อมปืนสามสหาย กับค่ายพระเจ้าอลองพญา ถูกคั้นด้วยแม่น้ำ (หรือคูน้ำ) ตลอดแนวเลยครับ นอกจากนี้ยังมีฉากหนึ่งที่พระเจ้าเอกทัศน์ ตรัสกับเจ้าฟ้าสุทัศน์บนหอดูดาวว่า "หากจะดูทัพพม่าข้าศึก พ่อจะเล็งกล้องไปที่ริมฝั่งแม่น้ำ เป็นไงเจ้าเห็นอะไรบ้าง" เจ้าฟ้าสุทัศน์ ตอบว่ายังไม่เห็นอะไร พระเจ้าเอกทัศน์จึงบอกว่า งั้นก็แปลว่ายังไม่มา

ประกอบกับ ในการต่อสู้คราวนั้น มีทั้งการยิงธนู การยิงปืนยาว และการยิงปืนใหญ่ แล้วยังปรากฎว่า ยิงถึงซะด้วย มีฉากทหารตัวประกอบโดนปืนบ้างธนูบ้างให้เห็นอยู่ด้วยครับ ผมจึงไม่มั่นใจว่าจุดที่ตั้งทัพของพระเจ้าอลองพญาในละครนั้น จะอยู่ไกลถึงภูเขาทองได้   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ม.ค. 18, 10:09
ผมมองว่า ฉากนั้น อาจจะเป็นเพียงมุมแคบๆเล็กๆ แถวๆ นี้
จะเป็นไปได้หรือไม่ครับ

จุดแดง จุดที่พระเจ้าอลองพญายืนดูเมือง
จุดน้ำเงิน ป้อมปืนสามสหาย
เส้นสีเขียว แนวกำแพง
เส้นสีฟ้า แนวน้ำ

สังเกตว่า ตรงนั้นมีคลองอยู่สายหนึ่งพอดี อาจสมมุติให้มีทางเปิดออกแม่น้ำ แล้วเป็นที่ตั้งของประตูติดแม่น้ำนั่นก็ได้ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ม.ค. 18, 10:18
ตอบคุณนริศ
ถ้างั้นวัดหน้าพระเมรุก็ต้องอยู่นอกกำแพงเมือง อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ   พม่าจึงตั้งค่ายอยู่ที่นั่น
พระเจ้าเอกทัศก็ส่องกล้องข้ามแม่น้ำไปเห็นค่ายพม่าได้ไงคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ม.ค. 18, 10:40

เรียนท่านนริศ ท่านอาจารย์เพ็ญชมพู

ในความจริงนั้นกำแพงเมืองตรงพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ติดแม่น้ำลพบุรี
พม่ามาอยู่ฝั่งวัดหน้าพระเมรุจะมองเห็นหลังคาพระที่นั่งฯ ตรง ๆ ไม่ใช่จากมุมเฉียงครับ
จากวัดหน้าพระเมรุ พระที่นั่งสรรเพชญ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ จะถูกพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์บังครับ
การที่พม่าเอาปืนใหญ่ยิงพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จนได้รับความเสียหายได้ เป็นลางไม่ดีของพระเจ้าเอกทัศน์โดยตรง

หม่อมน้อยเลี่ยงที่จะไม่ให้มีฉากไทยปล่อยให้พม่าเอาปืนมาจ่อยิงพระราชวัง โดยสามสหายแสดงบทบาทอะไรไม่ได้
จึงแต่งภูมิสถานเกาะอยุธยาใหม่ ให้มีแนวกำแพงและแม่น้ำเพิ่มขึ้นไปทางเหนือ  วัดหน้าพระเมรุ กับพระราชวังจึงอยู่ใจกลางเมือง
พม่าเข้ามาจ่อยิงพระราชวังไม่ได้ เพราะติดแนวแม่น้ำ กำแพงชั้นนอก และป้อมสามสหายที่สมมุติขึ้นใหม่ครับ
จะเห็นว่าตามท้องเรื่องสามสหายก็พยายามประจำการอยู่ที่ป้อมเพื่อปกป้องเขตเศรษฐกิจพิเศษหลังป้อมอย่างเต็มที่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ม.ค. 18, 10:49
 ???


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ม.ค. 18, 11:29

อธิบายใหม่ครับ

ถ้าผมไปปักเสาธงไว้ 4 เสา
1= วัดหน้าพระเมรุ  2= พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์  3= พระที่นั่งสรรเพชญ  4= พระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เป็นแนวเกือบตรงตามแผนที่

แล้วให้เพื่อนไปถ่ายรูปวิวเมืองอยุธยา เห็นแนวแม่น้ำและกำแพงเมืองขนานกับแนวเสาธงได้ตามรูป
แม่น้ำกับกำแพงเมืองนี้ควรจะอยู่ตรงใหนของเกาะเมืองอยุธยาครับ

อย่างน้อยก็ต้องวางตัวตามแนวถนนอยุธยา-อู่ทอง ใช่ไหมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ม.ค. 18, 11:49

เมื่อมีแนวแม่น้ำและกำแพงเมือง ป้อมสามสหายที่หม่อมน้อยสร้างขึ้นใหม่

จึงทำให้อลองพญายืนตะลึง เพราะสายลับพม่าไม่ได้รายงานไว้ก่อนว่ามีกำแพงและแม่น้ำขวางไว้ตรงนี้ด้วย
สามสหาย มีป้อมปราการสมมุติขึ้นมาให้แสดงบทบาทป้องกันพระนคร
ทำให้พม่าลากปืนใหญ่มาตั้งยิงที่จุด 1 ไม่ได้ พระราชวังจุดที่ 2 จึงปลอดภัย ไม่เสียหาย
ไม่ต้องถ่ายทำฉากซ่อมหลังคาพระที่นั่งฯ

เรื่องศึกอลองพญาก็เอวังด้วยประการทั้งปวง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ม.ค. 18, 12:43

จึงทำให้อลองพญายืนตะลึง เพราะสายลับพม่าไม่ได้รายงานไว้ก่อนว่ามีกำแพงและแม่น้ำขวางไว้ตรงนี้ด้วย

ยังงี้นี่เอง
สายลับพม่าทำงานแย่มากถึงมากที่สุด     ยังงี้ต้องยืมเครื่องประหารของท่านเปามาให้อลองพญาใช้
โชคดีนะเนี่ย คุณคนโคราชไม่ได้นั่งยานเวลาของโดเรมอนกลับไป   ไม่งั้นอลองพญาสืบข่าวได้ อาจเปลี่ยนจุดยิงทันเวลา ให้ต้องซ่อมฉากหลังคาพระที่นั่งเป็นการใหญ่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ม.ค. 18, 19:08
ดูคลิปตอนที่ 8 และ 9 จบแล้วค่ะ

มีหลายฉากที่อลังการ รวมทั้งเสื้อผ้าตัวละครฝ่ายพม่าด้วย   เป็นจุดแข็งของเรื่อง   
ส่วนจุดอ่อนก็คือบทละคร ที่ยังไงๆก็ไม่เข้ากันระหว่างพล็อตปัจจุบันและอดีต  ยังไม่รวมพล็อตเรือนแม่บุษบาบรรณที่ผลุบๆโผล่ๆ ไม่เฉลยออกมาสักทีว่าบ้านของนางคือดินแดนหลงมิติ หรือว่าศาลชั่วคราวของสัมภเวสีกันแน่
ตัวละครบางตัวสามารถตัดออกไปได้โดยไม่เสียเนื้อเรื่อง   อย่างเช่นคุณพวงแก้วที่ออกมากี่ฉากๆก็ไม่ได้มีผลต่อเนื้อเรื่องสักที    ในเมื่อเธอเป็นเจ้านายสตรีของอยุธยากลับชาติมาเกิด   ทำไมถึงไม่มีบทของเธอในภาคอดีตก็ไม่เข้าใจ
มีแต่บทของสินจัยซึ่งไม่มีภาคปัจจุบัน
ที่น่าเสียดายคือ บทของคุณบุญมา นายสุดจินดาหรือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ถูกตัดออกไปเสียเฉยๆ มีนายบุนนาคมาแทน     ที่จริงสามสหายจะกลายเป็นสี่สหายก็ไม่น่าจะยาก
เสียดาย 2  คือเจ้านายสตรีที่ควรจะมีบทบาทแทนสินจัย คือเจ้าฟ้าพินทวดี  พระราชธิดาพระเจ้าบรมโกศ และเป็นพระพี่นางของพระเจ้าเอกทัศน์     เจ้านายพระองค์นี้ทรงรอดจากกรุงแตกมาได้  มีพระชนม์ยืนยาวมาจนถึงรัชกาลที่ 1  ทรงมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์โบราณราชประเพณีของเจ้านายสมัยอยุธยาให้สืบทอดมาจนถึงรัตนโกสินทร์ เช่นพระราชพิธีโสกันต์
เจ้าฟ้าพินทวดีมีพระชนม์เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์     ถ้าจะเติมบทเข้าไปให้ทรงรอบรู้ในโหราศาสตร์ หรือมีความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เป็นที่เกรงพระทัยของพระเจ้าเอกทัศน์และพระเจ้าอุทุมพร ก็ทำได้ไม่ขัดเนื้อหา   ดีกว่าไปเอาเจ้านายสตรีที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งนมนานก่อนเปิดเรื่อง ให้มีชีวิตขึ้นมาเล่นบททั้งๆไม่มีจริง

   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ม.ค. 18, 10:09
พล็อตเรือนแม่บุษบาบรรณที่ผลุบๆโผล่ๆ ไม่เฉลยออกมาสักทีว่าบ้านของนางคือดินแดนหลงมิติ หรือว่าศาลชั่วคราวของสัมภเวสีกันแน่

สัมพันธ์กันแน่แท้  เรือนของแม่บุษบา
กับเรือนมยุรา     ใต้คาถาบันดาลดล

ผนึกเรือนเอาไว้   โดยใช้ไสยเวทมนตร์
เวลาล่วงผ่านพ้น  เปิดอีกทีมีเรื่องราว


(บุษบาบรรณ) เธอทั้งวาป ไปปรากฎตัวให้นายวายุ อดีตเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ เห็นที่หอประชุมคุรุสภา และอีกหลายๆครั้ง

ถอดจิตออกจากร่าง       เป็นแนวทางอธิบาย
เรื่องราวประหลาดหลาย  อาจคลี่คลายอีกไม่นาน


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A104.png)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ม.ค. 18, 11:24
ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องอธิบายซ้ำอีกทีว่า เจ้าของเรื่องเรือนมยุราไม่อนุญาตให้ทำ   แจ้งผู้บริหารของทรูแล้ว  ตกลงกันแล้วว่าไม่ทำ
แต่ไม่ทราบว่าเนื้อเรื่องบางส่วนของเรือนมยุรายังเข้าไปแทรกอยู่ในศรีอโยธยาได้อย่างไร  โดยไม่มีการแก้สคริปต์

ใครเป็นคนรับผิดชอบ?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 15 ม.ค. 18, 17:25
กรณีนี้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าคะ เจ้าของเรือนมยุราฟ้องได้ไหมคะ ???


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 18, 17:46
ก็น่าคิดเหมือนกันค่ะ 
ในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ ฟ้องกรมทรัพย์สินทางปัญญาค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 ม.ค. 18, 14:10
ผมไม่แม่นเรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเสียด้วยสิครับ จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คงไม่ถนัดครับ



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 18, 18:15
https://www.youtube.com/watch?v=j4Rpw2bD02o

https://www.youtube.com/watch?v=IE31wuC9d74

https://www.youtube.com/watch?v=pwxT3id3qlQ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 18, 18:15
https://www.youtube.com/watch?v=yMgq__CraKo

https://www.youtube.com/watch?v=ZCsGv2ku7PM

https://www.youtube.com/watch?v=PzJIHTMDr30


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 18, 18:33
เพลงไทยเดิมที่แม่ลูกจันทน์ (หรือชื่ออะไรก็ตาม) ขับกล่อมพิมานในตอนนี้ คือเพลง "นกจาก" 
เนื้อร้องมาจากพระอภัยมณี ตอนพระอภัยเป่าปี่สะกดทัพนางละเวง    สุนทรภู่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3

"พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต       ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง           อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอยเอย
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้               ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
เมื่อยามดึกดาวก็เคลื่อนเดือนก็คล้อย    น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร"

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย  กวีเอกของเรายังไม่เกิด   
แต่ในเรือนแม่บุษบา บ่าวรู้จักเพลงนี้ดี  เดาว่าเจ้าของเรือน นอกจากจะล่องหนไปค้นหนังสือประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ที่หอสมุดแห่งชาติแล้ว   คงจะถอดจิตพาบ่าวไปฟังมโหรีเพลงไทยเดิม ในโครงการดนตรีสำหรับประชาชน  ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  อยู่บ้างเป็นแน่
ฤๅมิฉะนั้น  นางก็พ่วงไวไฟจากบ้านใกล้ๆ  เปิดยูทูปฟังเพลงเป็นประจำ   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ม.ค. 18, 19:48
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย  กวีเอกของเรายังไม่เกิด   
แต่ในเรือนแม่บุษบา บ่าวรู้จักเพลงนี้ดี  เดาว่าเจ้าของเรือน นอกจากจะล่องหนไปค้นหนังสือประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ที่หอสมุดแห่งชาติแล้ว   คงจะถอดจิตพาบ่าวไปฟังมโหรีเพลงไทยเดิม ในโครงการดนตรีสำหรับประชาชน  ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  อยู่บ้างเป็นแน่
ฤๅมิฉะนั้น  นางก็พ่วงไวไฟจากบ้านใกล้ๆ  เปิดยูทูปฟังเพลงเป็นประจำ   


อย่าลืมว่า เรือนแม่บุษบาหรือเรือนเจ้าพระยาเปิดมา ๓ ครั้งแล้ว

เรือนเจ้าพระยาเปิดครั้งแรกเมื่อ ๑๐๐ ปีหลังเสียกรุง ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔

ครั้งนั้นแม่บุษบาอาจจะมีโอกาสได้คัดลอกพระอภัยมณีของสุนทรภู่บางตอนมาอ่านแก้เหงาก็เป็นได้ ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 18, 19:57
จริงด้วยเจ้าค่ะ
ถ้าเปิดออกมาเมื่อครบ 100 ปี ก็คงจะไปจ้างอาลักษณ์คัดลอก 
ถ้าเปิดครั้งที่สอง ครบ 200 ปี  น่าจะไปซื้อได้แถวร้านหนังสือหลังวังบูรพา หรือไม่ก็หอสมุดแห่งชาติ

ต่อไป ก็คงไม่มีใครแปลกใจ ถ้าแม่บุษบาจะเอ่ยถึงสามก๊ก   เงาะป่า หรือมัทนพาธา นะเจ้าคะ
อาจจะรวมราโชมอน  สี่แผ่นดิน และเพชรพระอุมาด้วยเจ้าค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 ม.ค. 18, 10:25
เมื่อคืน เวลาร้อยละ 70 ของละคร ใช้ไปกับฉากลาครับ พระเจ้าอุทุมพรลาพระมารดา ลาพระเจ้าเอกทัศน์ กลับไปบวชต่อ สินและทองด้วง ลาพระเจ้าเอกทัศน์ ลาพระภิกษุพระเจ้าอุทุมพร ลาพ่อ ลาอาจารย์ ลาแม่ผีเสื้อราตรี (แวะไปเดินเที่ยวกันสามคนอีกแล้วครับ) และลากันเอง (สินได้เป็นพระยาตาก ทองด้วงเป็นหลวงยกระบัตรเมืองราชบุรี บุนนาค เป็นคุณพระ รับราชการในกรุงต่อไป)

อ่อ ขากลับ พระยาตากกลับเรือครับ ทำไมแต่งเรื่องอย่างนั้นก็ไม่รู้ ขามายังให้ท่านเร่งขี่ม้ามาเลยนี่นา นี่ขากลับทวนน้ำ ไหงกลับเรือซะงั้น หรือไม่รีบแล้ว อยากนั่ง Chill out กลับ หรือมิเช่นนั้นก็เดี๋ยวไปต่อม้าที่อื่น ก็ไม่ทราบ (จริงๆแล้ว จากอยุธยาถึงตาก สามารถไปทางเรือได้ตลอดทางจนเข้าเขตเมืองตากได้เลยไหมครับ)

ก่อนหน้าฉากลา มีฉากหนึ่ง ที่เป็นการแต่งตั้งยศ เช่น พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ เป็นเจ้าพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ มีเครื่องยศ xxxx นั้งเสลี่ยง yyyy อะไรทำนองนั้นครับ
สำเนียงเวลาอ่านพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ฟังดูแปลกๆ ผมไม่ทราบว่า เหตุใดจึงต้องใช้เสียงอย่างนั้น ตอนที่ดู Life มีบางความเห็นบอกว่า เป็นเสียงเหน่ออย่างอยุธยา ซึ่งผมไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่ ถ้าเป็นเหน่ออยุธยาจริงๆ ตัวละครทุกตัวในเรื่องก็ต้องพูดอย่างนี้เหมือนกันหมดสิครับ เหตุใดทุกคนพูดเหน่อกรุงเทพกัน แล้วจู่ๆจะมาเหน่ออยุธยาเอาเฉพาะตอนจะแต่งตั้งยศขุนนาง

สำหรับประเด็นเรื่องเรือน เมื่อคืน ลูกจันทน์คุยกับทองหยิบว่า คุณพระพิมานจำอะไรไม่ได้เลย น่าสงสารคุณเจ้าขาจัง ทองหยิบยังว่า จำไม่ได้ก็ไม่แปลก ก็เวลาข้างนอกผ่านไปร่วมสองร้อยปีแล้วนี่ บทสนทนานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คนข้างในเรื่อนรู้สถานะของตนเองดี และทราบดีถึงยุคสมัยที่แตกต่างกัน ดังนั้น มีแนวโน้มว่า พวกเขาจะมีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ช่วงที่ผ่านมาอยู่พอสมควร อาจจะเคยออกไปหาซื้อหนังสือมาอ่านจริงๆอย่างอาจารย์ว่าก็เป็นได้นะครับ     


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 ม.ค. 18, 10:32
           ประเด็น "ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง" วายแล้ว,เปลี่ยนเป็นเรื่องที่ยังไม่สรุปลงตัวแต่ตั้งไว้
เป็นที่สังเกตพอเป็นสังเขปว่า พระภิกษุอุทุมพรคิ้วคมเข้ม
          
           โดยส่วนตัวเห็นว่า ไม่เป็นปัญหาว่าตัวละครพระจะโกนคิ้วหรือไม่ จะใช้อภิสิทธ์หรือผิดไปจาก
ประวัติศาสตร์ก็ตามที
 
           ประเด็นพระไทยโกนคิ้วหรือไม่ยังไม่สรุปฟันธงเป็นเอกฉันท์ว่าเริ่มสมัยไหนแน่นอน อยุธยา หรือ
รัตนโกสินทร์
           มีหนึ่งคห.ในพันทิพระบุว่า "ได้อ่านจดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ของบาทหลวงตาซาร์ด
ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช...ท่านได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พระสงฆ์โกนคิ้ว"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 ม.ค. 18, 10:39
คุณ Naris   ^   น่าจะลงทุนฉากราตรีศรีอโยธยาไว้มาก ต้องใช้ให้คุ้ม, จึงมีฉากสามสหายท่องราตรีหลายรอบ
เข้าใจว่า น่าจะถ่ายเจาะที่ฉากนั้นรวดเดียว

               ฉากท่าน้ำกำแพงเมืองก็ลงทุนมากเช่นกัน ใช้ให้คุ้ม และการค่อยๆ ลอยแพจากมา,หันหน้าอำลาเมือง
มองไปได้ฟีลดรามาอาลัยล้น

               สำเนียงเหน่อแบบพากย์โขน ที่นักวิชาการว่าเป็นสำเนียงอยุธยานั้น ใส่มาไว้ให้ระลึกนึกถึงกันบ้าง แต่
ถ้าพูดแบบนั้นทั้งเรื่อง เกรงว่าคนดูจะบ่น ละครปลุกใจเรื่องเลือดสุพรรณ นักแสดงก็พูดและร้องสำเนียงกรุงเทพทั้งเรื่อง ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 11:26
จริงๆแล้ว จากอยุธยาถึงตาก สามารถไปทางเรือได้ตลอดทางจนเข้าเขตเมืองตากได้เลยไหมครับ

ดูจากแผนที่แบบกราฟฟิกรูปนี้ ไปถึงเชียงใหม่ เชียงราย ก็ยังได้  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 ม.ค. 18, 11:40
ขอบพระคุณครับ (แง พิจิตรบ้านผมไม่ปรากฎในภาพ)

แสดงว่า ใช้เรือเดินทางตามลำน้ำก็กลับไปเมืองตากได้ ยิ่งถ้าเมืองไหนอยู่ติดแม่น้ำ หรือมีแม่น้ำผ่านกลางอย่างพิษณุโลก จอดเทียบท่ากลางเมืองเลยยังได้ มิน่าหละครับ ในกระทู้แรกๆ พี่ Koratian ถึงได้สงสัยว่า หลวงยกระบัตรเมืองตาก อยากเร่งมารายงานข่าวศึก จะขี่ม้ามาทำไม มาเรือไม่ไวกว่าหรือ

ขามาล่องตามน้ำ ขี่ม้า ขากลับทวนน้ำ นั่งเรือ (ฮ่า)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 ม.ค. 18, 11:41
อ้าวเดี๋ยวก่อนสิครับ จากอยุธยา ไปเมืองตากต้องขึ้นเหนือ ไปราชบุรี ต้องลงใต้หรือเปล่าครับ ไฉน สินกับทองด้วง ไปเรือลำเดียวกันได้หละครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 11:49
คุณหลวงน่าจะแยกกับท่านเจ้าคุณที่เมืองอุทัย แลล่องเรือลงใต้ไปตามแม่น้ำท่าจีน  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 12:04
สะดุดฉากสองสหายที่ท่าน้ำ มีผักตบชวาล่องลอยมาตามลำน้ำ ในสมัยของเจ้าคุณและคุณหลวงไม่มีผักตบชวาดอก  ;D

https://youtu.be/FlToVtXH-vs

นาทีที่ ๓.๔๕ - ๔.๑๕

จากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็วตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี

๒. ไม้น้ำชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นทั่วไปตามร่องน้ำข้างถนนที่ชะวา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงรถเสด็จไปตามถนน ทอดพระเนตรเห็นต้นดอกไม้น้ำชนิดนี้มีดอกเป็นช่อสีม่วงสลับงามอย่างแววมยุรา จึงได้นำเอาต้นมากรุงเทพฯด้วย ทรงเลี้ยงไว้ที่ตำหนักของพระองค์และอยู่ข้างจะหวงแหนมาก ต่อมาไม้น้ำนี้ซึ่งเรียกว่า "ผักตบชวา" งอกงามเจริญเร็วมาก เต็มไปหมดจนถึงกระจายออกไปตามลำแม่น้ำลำคลอง ส่วนพวกชาวจังหวัดต่าง ๆ เห็นดอกสวยงามก็นำไปเลี้ยงบ้าง เลยแพร่พันธุ์กระจายทั่วไป เช่นที่กว๊านพระเยาก็เต็มไปหมด ซึ่งเจ้าคุณพ่อก็ได้ไปเห็นมากับตาท่านเอง

๓. ปาล์มขวด (bottle palm) เป็นต้นไม้สวยงามคล้ายต้นมะพร้าว ลำต้นมีลักษณะคล้ายขวด หลวงสุนทรโกษา (คออยู่เหล ณ ระนอง) เป็นผู้นำมา

๔. กวางดาว ซึ่งมีพันธุ์เลี้ยงอยู่สวนสัตว์เขาดินวนาขณะนี้ ก็ทรงได้มาจากประเทศชะวาในการประพาสคราวนี้เหมือนกัน

ไม่ใช่ Dramatic license แต่เป็น Dramatic error  ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 12:46
คุณหลวงน่าจะแยกกับท่านเจ้าคุณที่เมืองอุทัย แลล่องเรือลงใต้ไปตามแม่น้ำท่าจีน  ;D
ที่จริงก็มีวอเตอร์เวย์ทางน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกน้อย ไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน   จากนั้นก็ไปถึงแม่กลองได้ง่ายๆ  ไม่ต้องขึ้นไปถึงอุทัยธานีแล้ววกกลับมา
แต่ไม่เป็นไร  อ้อมหน่อยก็ได้  ไปทางเหนือยังไงก็ไปได้เร็วอยู่แล้ว   ไม่งั้นหลวงยกกระบัตรจะขี่ม้ารวดเดียวจากตากมากรุงศรีได้หรือคะ



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 ม.ค. 18, 14:24
ตอนที่แต่งตั้งสินเป็นพระยาตากหนะครับ มีการกำหนดเครื่องยศ กำหนดลักษณะของเสลี่ยงที่จะใช้ รวมทั้งเรือประจำตำแหน่งด้วย แต่เข้าใจว่า ของเหล่านี้ ต้องจัดสร้างขึ้นและส่งตามไปในภายหลังใช่ไหมครับ ฉะนั้น ในรอบนี้ พระยาตากจึงต้องไปแพถ่อไปก่อน

ในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 2 ตอน พระชัยบุรี และ พระศรีถมอรัตน์ มาเฝ้าพระองค์ดำที่พิษณุโลก ในฉากนั้น เจ้าเมืองทั้งสองคน ขี่ม้า มีร่ม มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเชิญกระโถน พานหมาก และมีทหารตามมาเป็นขบวนเลยครับ แต่ในเรื่องนี้ ขุนนางระดับ พระยา กลับแพคนเดียวเดี่ยวโดด ไฉนจึงเป็นอย่างนั้นหนอ

ถ้าอยากได้ภาพวิจิตร ก็น่าจะนำเสนอภาพขบวนอย่างนั้น ของสิน ที่จัดให้สวยงาม และใหญ่กว่า ขบวนของทองด้วง เดินออกจากเมืองด้วยกันไปถึงทางแยก แล้วลงม้ามาจับมือกันก่อนแยกย้าย อะไรอย่างนี้ก็ได้ (เข้าใจว่าเป็นประเด็นเรื่องงบประมาณกระมังครับ)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 16:45
https://www.youtube.com/watch?v=ZOHVhw93puk

https://www.youtube.com/watch?v=QzmCf4tm8NM

https://www.youtube.com/watch?v=PNVHTXPQwzI&index=3&list=PL3Bg1xJM8X_DxnQPwR3fy7muZ2b8YQQOR


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 18, 16:47
https://www.youtube.com/watch?v=cm5Oice8pW8&index=4&list=PL3Bg1xJM8X_DxnQPwR3fy7muZ2b8YQQOR

https://www.youtube.com/watch?v=FlToVtXH-vs

https://www.youtube.com/watch?v=57xGEnSczPk&index=6&list=PL3Bg1xJM8X_DxnQPwR3fy7muZ2b8YQQOR


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 18 ม.ค. 18, 09:45
คุณหลวงน่าจะแยกกับท่านเจ้าคุณที่เมืองอุทัย แลล่องเรือลงใต้ไปตามแม่น้ำท่าจีน  ;D
ที่จริงก็มีวอเตอร์เวย์ทางน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกน้อย ไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน   จากนั้นก็ไปถึงแม่กลองได้ง่ายๆ  ไม่ต้องขึ้นไปถึงอุทัยธานีแล้ววกกลับมา
แต่ไม่เป็นไร  อ้อมหน่อยก็ได้  ไปทางเหนือยังไงก็ไปได้เร็วอยู่แล้ว   ไม่งั้นหลวงยกกระบัตรจะขี่ม้ารวดเดียวจากตากมากรุงศรีได้หรือคะ


สองสหายล่องแพออกจากท่าน้ำ ตามน้ำไปทางใต้ แสดงว่าเจ้าคุณไปส่งคุณหลวงก่อนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 10:23
แกะรอยเส้นทางวอเตอร์เวย์   
ถ้าลงใต้   แสดงว่าเจ้าคุณกับคุณหลวงคงออกจากเจ้าพระยา ไปที่อ่าวไทย  จากนั้นก็วกกลับขึ้นมาจากปากแม่น้ำท่าจีนที่ไหลลงอ่าว  ขึ้นไปด้วยกันจนถึงชัยนาท (ตรงที่เป็นเขื่อนเจ้าพระยาในปัจจุบัน)แล้วแยกกันตรงนี้
คุณหลวงวกกลับไปตามแม่น้ำแม่กลองที่ไหลไปราชบุรี    ส่วนเจ้าคุณขึ้นเหนือไปออกแม่น้ำปิง เพื่อจะไปเมืองตาก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 11:27
สองสหายล่องแพออกจากท่าน้ำ ตามน้ำไปทางใต้ แสดงว่าเจ้าคุณไปส่งคุณหลวงก่อนครับ

ลำพังแพลำน้อย ๆ คงไม่สามารถส่งสองสหายถึงจุดหมายได้เป็นแน่ แพอาจจะล่องตามน้ำไปถึงท่าเรือใหญ่ แลทั้งสองแยกกันที่นี่ เจ้าคุณขึ้นไปทางเหนือ ส่วนคุณหลวงล่องไปทางใต้

ฤๅเจ้าคุณอาจจะเปลี่ยนใจขี่ม้าตัวโปรดไปจนถึงเมืองตากก็ไม่อาจทราบได้  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 11:43
เจ้าคุณไม่เอาม้าลงแพไปด้วยฤๅเจ้าคะ  ออกญาเพ็ญชมพู?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 ม.ค. 18, 16:02
ยังไม่มีโอกาสดูอยู่ดีครับ ลงแพ? แพแบบไหน ลงที่ไหนครับ แม่น้ำเจ้าพระยาเลยหรือครับ? แล้วจะถ่อยังไงน้ำลึกขนาดนั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 16:41
ลงแพแบบนี้ไปกันสองคนค่ะ  บ่าวไพร่ก็ไม่มีติดตามไปสักคน 
ต้องยืนไปในแพนานเท่าใดก็ไม่รู้  แดดก็ร้อน ที่นั่งก็ไม่มี
เรือประทุน  เรือแปดแจวสี่แจวก็ไม่มี
มีคนถ่อเรืออยู่คนเดียว
แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นคงตื้นมาก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 ม.ค. 18, 16:54
เอิ่มมมม ไอ้นี่ไม่ใช่แพละครับ ไอ้ผมก็นึกว่าแพแบบที่เขาใช้ถ่อกัน แพแบบท่าเรือแบบนี้ อย่าว่าแต่คนเดียวเลยครับ 10 คนยังไม่รู้ว่าจะถ่อทวนน้ำไปไหวหรือเปล่า ถ้าปล่อยไหลไปตามน้ำตามยถากรรมคงจะพอได้ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 17:17
จะให้เจ้าคุณกับคุณหลวยืนอยู่บนแพแบบนี้  แค่ทรงตัว ก็คงลำบากในการถ่ายทำแล้วมั้งคะ

ป.ล. ถ้าปล่อยแพท่าเรือลอยไปตามน้ำ    เจ้าคุณกับคุณหลวงคงออกปากอ่าวไปแทนที่จะไปเมืองตากและราชบุรี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 17:25
แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นคงตื้นมาก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=66704;image)

(http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/2009/09/W8321626/W8321626-0.jpg)

แม่น้ำที่ไหลผ่านหน้าวังหลวงน่าจะเป็น "แม่น้ำลพบุรี" (ปัจจุบันตื้นเขินและแคบลงเรียกกันว่า "คลองเมือง") คงปล่อยให้แพล่องตามน้ำเพื่อไปขึ้นเรือที่ท่าเรือข้างหน้าอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 17:47
อันที่จริงบริเวณประตูหน้าวังหลวงก็มีท่าเรืออยู่ในแผนที่ P2 คือ "ท่าขุนนางวังหลวง" สองสหายจะขึ้นเรือจากท่านี้ไปเลยก็น่าจะได้

แผนที่แสดงตำแหน่งสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงศรีอยุธยา
https://www.faiththaistory.com/wp-content/uploads/2014/06/แผนที่ภูมิสถานอยุธยา1.pdf (https://www.faiththaistory.com/wp-content/uploads/2014/06/แผนที่ภูมิสถานอยุธยา1.pdf)

คำอธิบาย
https://www.faiththaistory.com/wp-content/uploads/2014/06/เนื้อหาแผนที่อยุธยา.pdf (https://www.faiththaistory.com/wp-content/uploads/2014/06/เนื้อหาแผนที่อยุธยา.pdf)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 ม.ค. 18, 17:57
ก็ยังงงอยู่ดีครับ ไม่เคยได้ยินว่าแถบนั้นมีใครใช้แพในการสัญจร ทำไม่ไม่ใช้เรือ?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 18 ม.ค. 18, 19:47
ไม่แน่ว่า ท่านทั้งสอง อาจลงแพข้ามฟากจากท่าขุนนางวังหลวง แล้วไปขึ้นม้าที่กองม้าเร็วใกล้ๆวัดหน้าพระเมรุ เพื่อควบกลับไปที่หมายปลายทางของแต่ละท่าน ก็เป็นได้กระมังขอรับ  :-\


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 18, 19:58
น่าจะเร็วกว่าล่องแพไปตามลำน้ำนะคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 ม.ค. 18, 23:16
ไม่แน่ว่า ท่านทั้งสอง อาจลงแพข้ามฟากจากท่าขุนนางวังหลวง แล้วไปขึ้นม้าที่กองม้าเร็วใกล้ๆวัดหน้าพระเมรุ เพื่อควบกลับไปที่หมายปลายทางของแต่ละท่าน ก็เป็นได้กระมังขอรับ  :-\

แล้วเวลาท่านจะข้ามแม่น้ำลำคลอง ท่านจะทำไงครับ ทั้งราชบุรีและตาก จะขี่ม้าไปจากอยุธยาต้องข้ามหลายจุดแน่ๆครับ อันนี้ไม่ได้แซวเล่นนะครับ สงสัยจริงๆ เพราะภูมิประเทศแบบนี้ ม้าไม่น่าจะเป็นพาหนะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไกล ถ้าจะใช้เฉพาะเข้าประจัญบานกันก็ว่าไปอย่าง หรือจะต้องมีบ่าวไปเตรียมเรือแพรอรับไว้ล่วงหน้า

พูดถึงเรื่องนี้ทำให้นึกถึงโจ๊กจีนเรื่องหนึ่ง
กวนอูได้ม้าเซ็กเทาจากโจโฉ เจ้าม้าเซ็กเทานี้ได้ชื่อว่าเป็นม้าดีที่วิ่งได้วันละพันลี้ กวนอูก็เลยยกม้าตัวเก่าของตัวเองให้กับ ทส.ที่ชื่อว่าจิวฉอง ม้าตัวเก่านั้นวิ่งได้วันละห้าร้อยลี้ เวลาจิวฉองจะตามกวนอูไปทำศึกที่ไหน หลังจากขี่ม้าไปได้ห้าร้อยลี้แล้ว ที่เหลืออีกห้าร้อยลี้ จิวฉองต้องแบกม้าขึ้นหลังวิ่งตามม้าเซ็กเทาไป


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 18, 09:57
สมัยอยุธยา การติดต่อระหว่างเมืองโดยทางน้ำน่าจะเป็นหนทางง่ายที่สุด  เพราะชุมชนทั้งเล็กระดับหมู่บ้าน และใหญ่ระดับเมือง ตั้งอยู่ริมน้ำกันเป็นส่วนใหญ๋     การเดินทางจากตากมาอยุธยาหรืออยุธยาไปตากก็น่าจะใช้เรือแจวกันไป เป็นขบวน   ขุนนางนั่งเรือประทุน  ไม่งั้นแดดเผาหัวเป็นไข้ตายเพราะนั่งกันเป็นวันๆติดต่อกันหลายวัน

การขี่ม้าก็ดี ลงแพก็ดี   คงจะต้องนับเป็น dramatic license กันอีกขนานใหญ่    เพราะหาคำอธิบายอื่นไม่ได้ว่าทำไมเจ้าคุณและคุณหลวงถึงต้องลงไปยืนในแพไม้กระดานแบบแพท่าน้ำกันทั้งสองคน เพื่อจะเดินทางไกล     ข้าวของและบ่าวไพร่ไปรออยู่ตรงไหนกันหมด ก็ไม่ได้แสดงให้เห็น

ผู้บริหารของทรู เคยบอกดิฉันว่าเรื่องนี้จะจัดจำหน่ายไปต่างประเทศ   เห็นว่าเป็น HBO  แต่จะเปลี่ยนหรือเปล่ายังไม่ทราบ
ก็อาจเป็นคำตอบได้ว่า  ละครจึงตั้งใจให้เห็นวัฒนธรรมไทยให้มากที่สุด   ไม่ว่าจะเป็นฉากหัดโขนโดยอ้างว่าเพื่อเป็นพื้นฐานวิชาการรบ  ก็เพื่อนำการแสดงโขนเข้าไปโชว์ในเรื่อง   หุ่นโขนที่ประดับอยู่ในห้องหับทั้งวังและบ้านขุนนางก็เหตุผลเดียวกัน  กษัตริย์และขุนนางสวมลอมพอกและเสื้อครุยกันหรูหราทุกฉาก ก็เพื่อให้เห็นความอลังการของราชสำนักอยุธยา    การแต่งกายของพม่าและชาวบ้านชาวช่องก็เช่นกัน  เพื่อความตื่นตาตื่นใจเป็นหลักใหญ่ สำหรับชาวต่างชาติที่ยังไม่เคยมาไทย  หรือมาแล้วก็ยังไม่เคยได้เห็นแบบนี้

ในเมื่อจุดขายคืออลังการงานสร้าง  ความสมเหตุผลในหลายด้านจึงไม่เป็นจุดสำคัญ   ทำให้เกิดความสับสนทั้งด้านภูมิศาสตร์ ตัวละคร  ประเพณี วัฒนธรรม  สำหรับคนที่เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ควรจะคำนึงถึงด้วย

เอวังก็มีด้วยประการะฉะนี้แหละโยม


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 19 ม.ค. 18, 11:32
ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ
เพราะรู้สึกว่าละครเรื่องนี้ดูไม่เหมือนกับละครทั้งหลายที่เคยดูมา
มันเหมือนหนังโฆษณาการท่องเที่ยวของททท. หรือโฆษณารีเจนซี่มากกว่า ที่ต้องใส่ของประกอบฉากเยอะเข้าไว้
ให้คนที่ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทยตาค้างเอาไว้ก่อน ความสมจริงไว้ที่หลัง
ดิฉันถอดใจเลิกดูไปแล้วค่ะ ทนความอืดชืดเหมือนมาม่าต้มค้างคืนไม่ไว้
ไปดูเซนเซยูกิ(ไม่แน่ใจชื่อว่าคุณพวงแก้วหรือคุณพวงร้อยแปลงกาย) กับมิสซิสสรไล่ล่าฆ่าคนร้ายมันส์กว่าเยอะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 ม.ค. 18, 09:34
อ้างถึง
แล้วเวลาท่านจะข้ามแม่น้ำลำคลอง ท่านจะทำไงครับ ทั้งราชบุรีและตาก จะขี่ม้าไปจากอยุธยาต้องข้ามหลายจุดแน่ๆครับ อันนี้ไม่ได้แซวเล่นนะครับ สงสัยจริงๆ เพราะภูมิประเทศแบบนี้ ม้าไม่น่าจะเป็นพาหนะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไกล ถ้าจะใช้เฉพาะเข้าประจัญบานกันก็ว่าไปอย่าง หรือจะต้องมีบ่าวไปเตรียมเรือแพรอรับไว้ล่วงหน้า

มีข้อสงสัยครับ อาจารย์ครับ ในสมัยอยุธยานั้น มีสะพานข้ามแม่น้ำหรือไม่ครับ เนื่องจากตัวเมืองอยุธยาเป็นเกาะ การเข้าออกจากเกาะเมืองเขาทำอย่างไรครับ หากใช้เรือ เวลาเคลื่อนกองทหารจำนวนมากๆ จะสะดวกหรือครับ

ขอบพระคุณครับ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 18, 10:20
ต้องฝากถามท่านอื่นๆ ค่ะ   เช่นคุณหนุ่มสยาม ว่าอยุธยามีสะพานข้ามแม่น้ำไปฟากตรงข้ามหรือไม่
คิดว่าสมัยนั้น การใช้เรือสะดวกง่ายดาย ใครๆก็มีเรือ    สะพานคงไม่จำเป็นเพราะไม่มีพาหนะอื่นในการสัญจรข้ามไปมา   ถ้าเดินข้ามจากอีกฝั่ง ลงสะพานก็ต้องไปต่อเรือเข้าคลองต่างๆอยู่ดี

ในกรุงเทพ สะพานพุทธก็เพิ่งจะมีในรัชกาลที่ 7 นี่เอง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 18, 10:47
ตอนที่ 11 (4/6)  มีฉากหนึ่งที่ดิฉันตะขิดตะขวงใจไม่หาย
เมื่อสามสหายได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ๆ  ท่านทองด้วงเป็นหลวงยกกระบัตรราชบุรี   ท่านสินเป็นพระยาตาก (จากหลวงเป็นพระยาเลย ไม่ต้องเป็นพระ) และท่านบุนนาคเป็นพระ
ก็มาฉลองกันด้วยการไปเที่ยวซ่อง     แต่งกายแบบขุนนางสวมสร้อยตัว ก็ยังดีไม่เอาเสื้อครุยกับลอมพอกมาด้วย  เดินกันเข้าไปหาแม่ผีเสื้อราตรี
ก็คงอย่างคุณ SILA ว่าคือลงทุนทำฉากสถานบันเทิง "พัฒน์พงศ์แห่งศรีอยุธยา" แล้วทั้งที  ต้องถ่ายให้คุ้ม  จึงมีฉากนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่ในละคร
ไม่ได้คำนึงว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติสองพระมหากษัตริย์ไทย และหนึ่งต้นสกุลขุนนางที่ใหญ่สุดในรัตนโกสินทร์  หรือไม่ อย่างไร
การเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งถือเป็นเรื่องมงคล    พ่อแม่พี่น้องลูกเมียย่อมพากันตื่นเต้นยินดีไปด้วย   ใครได้ตำแหน่งก็ควรจะทำสิ่งมงคล เช่นไปไหว้พระ ไหว้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ ทำบุญทำทาน
เอาละ  ถ้าเห็นว่าการทำบุญไหว้พระไหว้พ่อแม่ ไม่ดราม่าพอ   อยากให้เห็นสีสันของอยุธยา    สามสหายก็ไปที่อื่นที่ดีกว่านี้ไม่ได้หรือ
อย่าลืมว่าอยุธยาได้เป็นเมืองมรดกโลกในทุกวันนี้ ก็ด้วยสิ่งก่อสร้างงดงามล้ำค่าที่บรรพบุรุษสร้างเอาไว้  ไม่ใช่ด้วยสถานที่อโคจรอย่างในเรื่อง  และที่สำคัญคือออกแบบมาให้เห็นเป็นจีนล้วนๆ ทั้งผู้หญิงทั้งตัวซ่อง   ราวกับอยู่ในหนังฮ่องกง  มันเป็นวัฒนธรรมอยุธยาตรงไหน
แม้จะทำให้ตอนจบเห็นว่า ท่านสินและท่านทองด้วงเดินเข้าไปแล้วกอดคอโซเซกันเดินกลับมา  บอกว่าไม่ต้องตาต้องใจนางคนไหนสักคน กลับบ้านดีกว่า    มันก็ไม่ได้ลบล้างความจริงว่า ท่านเหล่านี้ไปสถานที่อโคจรเพื่อฉลองยศตำแหน่งอันมีเกียรติ  ซึ่งพระราชทานจากพระมหากษัตริย์อยู่ดี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 ม.ค. 18, 10:57
เห็นด้วยครับ ละครเรื่องนี้ได้โฆษณาไว้ว่า เป็นการเทิดพระเกียรติบูรพกษัตริย์ แต่ฉากเที่ยวหอโคมแดงนี้ ได้รับการกล่าวถึงหลายครั้งมาก ออกจะมากเกินไป ตอนสินมาถึงกรุงศรีครั้งแรก พาเพื่อนมาเที่ยวก็ยังพอทำใจได้ แต่หลังจากนั้นก็พูดถึงกันหรือยังมาเที่ยวอีกเสมอๆ จะออกแนวหมกมุ่นเลยครับ ขนาดกำลังจะรบอยู่แล้ว ยังชวนกันพูดถึง ผมเห็นว่ามีการนำเสนอภาพนี้เยอะเกินไป ซึ่งไม่เป็นภาพที่เฉลิมพระเกียรติแต่อย่างใดครับ
 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 18, 11:40

ในหนังสือ จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ตอนที่ ๒ บทที่ ๑๕ เขียนถึงที่มาของหญิงโสเภณีสมัยอยุธยาไว้ว่า

ถ้าบุตรีคนใดกระทำชั่ว ขุนนางผู้บิดาก็ขายบุตรีส่งให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้สตรีที่ตนซื้อมานั้น เป็นหญิงแพศยาหาเงินได้ โดยชายผู้มีชื่อนั้นต้องเสียเงินภาษีถวายพระมหากษัตริย์ กล่าวกันว่าชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองของตนถึง ๖๐๐ นาง ล้วนแต่เป็นบุตรีขุนนางที่ขึ้นขึ้นตาทั้งนั้น อนึ่ง บุคคลผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายส่งลงเป็นทาสี ด้วยโทษคบชู้สู่ชายอีกด้วย

และในตอนที่ ๓ บทที่ ๔ กล่าวไว้อีกว่า

บรรดาผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงนั้นหาใช่เจ้าใหญ่นายโตเสมอไปไม่ เช่นเจ้ามนุษย์อัปรีย์ที่ซื้อผู้หญิง และเด็กสาวมาฝึกให้เป็นหญิงนครโสเภณีคนนั้น ก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา เรียกกันว่า ออกญามีน (Oc-ya Meen) เป็นบุคคลที่ได้รับการดูถูกดูแคลนมากที่สุด มีแต่พวกหนุ่มลามกเท่านั้นที่ไปติดต่อด้วย

จากหลักฐานที่คุณเพ็ญชมพูหามา  แสดงว่า
1  โสเภณีสมัยอยุธยา เป็นสาวไทย 
2  พ่อเล้าแม้ว่าหาเงินได้สูงมาก  เสียภาษีให้รัฐมากมาย จนได้เป็นขุนนางชั้นพระยา  แต่ก็เป็นที่รังเกียจของสังคม ไม่มีใครคบค้าด้วย    พวกที่ไปก็คือลูกค้าหนุ่มๆคึกคะนองเท่านั้น
ก็ไม่น่าที่พระเอกจะเดินหน้าชื่นตาบานไปเที่ยวกันหรือเล่าสู่กันฟังครั้งแล้วครั้งเล่า  ราวกับเป็นสถานที่บันเทิงอันมีเกียรติ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 ม.ค. 18, 14:02
อ้างถึง
แล้วเวลาท่านจะข้ามแม่น้ำลำคลอง ท่านจะทำไงครับ ทั้งราชบุรีและตาก จะขี่ม้าไปจากอยุธยาต้องข้ามหลายจุดแน่ๆครับ อันนี้ไม่ได้แซวเล่นนะครับ สงสัยจริงๆ เพราะภูมิประเทศแบบนี้ ม้าไม่น่าจะเป็นพาหนะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไกล ถ้าจะใช้เฉพาะเข้าประจัญบานกันก็ว่าไปอย่าง หรือจะต้องมีบ่าวไปเตรียมเรือแพรอรับไว้ล่วงหน้า

มีข้อสงสัยครับ อาจารย์ครับ ในสมัยอยุธยานั้น มีสะพานข้ามแม่น้ำหรือไม่ครับ เนื่องจากตัวเมืองอยุธยาเป็นเกาะ การเข้าออกจากเกาะเมืองเขาทำอย่างไรครับ หากใช้เรือ เวลาเคลื่อนกองทหารจำนวนมากๆ จะสะดวกหรือครับ

ขอบพระคุณครับ  

น่าจะมีตรงหัวรอนะครับ แต่สะพานข้ามแม่น้ำในที่อื่นๆยังนึกไม่ออกว่ามีที่ไหน โดยสภาพภูมิประเทศและสภาพสังคม คนเดินทางโดยเรือกันทั้งนั้นครับ สะพานมีความจำเป็นน้อย ถ้าจะมีก็อาจจะเป็นสะพานข้ามคลองในชุมชนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ม.ค. 18, 18:31

สะพานทำนบหัวรอ ข้ามแม่น้ำ ใกล้กับป้อมมหาชัย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองครับ
ตรงนี้เป็นจุดที่พม่ามุ่งเข้าตีเมืองครับ เพราะสามารถถมดินข้ามน้ำมาได้

ภาพแสดงแผนที่อยุธยาของหมอแกมเฟอร์


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ม.ค. 18, 08:56
จาก   หนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม  เอกสารจากหอหลวง (http://ebookstou.org/view/0000358600000001662600115/index/#p=33) หน้า ๒-๓

อนึ่งกรุงศรีอยุทธยานั้นมีแม่น้ำล้อมรอบกำแพงพระมหานคร มีทำนบรอข้ามแม่น้ำมาแต่ฝั่งฟากตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ามาที่ชานกำแพงพระนครตรงพระราชวังจันทน์บวร ริมป้อมมหาไชยใกล้ฉางวังน่า ทำนบรอนั้นกว้างสามวา มีช่องกลางแม่น้ำสำหรับเรือใหญ่น้อยไปมาได้ในระหว่างนั้น บนทำนบรอทั้งสองฝั่งมีกระดานปูเป็นพื้น มีลูกฟูกไม้ห่างศอกหนึ่งเป็นที่ลาดลงมาถึงตลิ่งทั้งสองฟาก ที่กลางนั้นปูกระดานเปนเหมือนตะพานช้าง ทำนบรอนี้สำหรับสมณพราหมณจาริยอณาประชาราษฎร และช้างม้าเกวียนต่างเดินเข้าออกในพระนครแต่ทางเดียว เรียกกันว่าหัวรอ ที่เชิงลาดตะพานทำนบนั้นมีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาลรักษาอยู่ที่ศาลาเชิงทำนบ ห้ามไม้ให้ช้างม้าเกวียนกระบือต่างโคเดินเลยเป็นอันขาด ยกเว้นไว้แต่ราชการหลวงเท่านั้นเดินได้ แต่มีบาดหมายมาบอกก่อน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ม.ค. 18, 09:02
ทำนบรอนี้มีขึ้นเมื่อจุลศักราช ๙๑๘ ปีมะโรงอัฐศกในแผ่นดินสมเดจพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าแผ่นดินที่ ๑๖ ในกรุงศรีอยุธยาเพราะครั้งนั้นพระเจ้ากรุงหงษาวดียกกองทัพมาทำสงครามล้อมกรุง แล้วมอญเอาไม้ตาลโตนดมาปักเปนทำนบรอ ถมดินทำตะพานเรือก ข้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้ ภายหลังต่อมาก็ไม่ได้ทำลายรื้อถอน เอาไว้ใช้เปนตะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้โดยสดวก เมื่อทำนบรอเก่าของพวกมอญนั้นผุหักพังไป ไทยก็ทำซ่อมแปลงผลัดเปลี่ยนต่อมาเนือง ๆ เปนตะพานใหญ่

https://www.facebook.com/HistoryKrungsriAyutthaya/videos/1571564402917491/ (https://www.facebook.com/HistoryKrungsriAyutthaya/videos/1571564402917491/)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 18, 10:09
ตอนที่ 11 (4/6)  มีฉากหนึ่งที่ดิฉันตะขิดตะขวงใจไม่หาย
เมื่อสามสหายได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ๆ..ก็มาฉลองกันด้วยการไปเที่ยวซ่อง..เดินกันเข้าไปหาแม่ผีเสื้อราตรี
ก็คงอย่างคุณ SILA ว่าคือลงทุนทำฉากสถานบันเทิง "พัฒน์พงศ์แห่งศรีอยุธยา" แล้วทั้งที  ต้องถ่ายให้คุ้ม 
จึงมีฉากนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่ในละคร..

            กลับไปท่องราตรีศรีอโยธยาอีกรอบ, เคยผ่านหูเสียงผกก.บอกว่า ตั้งใจเขียนบทแสดงความเป็นมนุษย์
ของตัวละคร(ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์) ดังนั้นจึงจะมองว่า
            ในฉากนี้,สามหนุ่มสามเชื้อสายในยามศึกสงครามครั้งแรกในชีวิตที่มาทีแบบใหญ่ยิ่งน่าเกรงขาม ชีวิตอยู่
ระหว่างความเป็น,ความตาย สัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์จึงได้ปรากฏสำแดงออกมา ทั้ง death instinct ที่ขับ
ให้พวกเขาออกรบอย่างยินดีตายเพื่อบ้านเมือง ในขณะที่ life instinct สัญชาตญาณการดำรงเผ่าพันธุ์ขับให้ไปท่อง
ราตรีและแวะเวียนผ่านย่านผีเสื้อราตรี ซึ่งโดยคห.ส่วนตัวก็รู้สึกว่านาน,มากไปโดยเฉพาะในซีนหลังนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 23 ม.ค. 18, 13:57
มีคำถามอีกแล้วครับ แหะๆ

อ้างถึง
ในขณะที่ life instinct สัญชาตญาณการดำรงเผ่าพันธุ์ขับให้ไปท่องราตรีและแวะเวียนผ่านย่านผีเสื้อราตรี

อันนี้ ผมเข้าใจครับ เรื่องเพศเป็นแรงขับพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว หากจะสื่อว่าสามท่านนั้นก็เป็นมนุษย์ธรรมดา ย่อมมีแรงปรารถนาไปได้ต่างๆ อย่างนี้ก็พอเข้าใจได้ครับ แต่ถึงจะมีอารมณ์เพศ แต่การแสดงออกเราก็สามารถเขียนบทให้ไปแสดงออกกับคนที่เหมาะสมกว่า เช่น ภริยาของท่านเองก็ได้นี่ครับ เขียนบทเป็นว่า เมื่อรบกลับมา ก็กลับมาบ้าน พบภริยา มีฉากแสดงอารมณ์ของฝ่ายที่ต้องอยู่เบื้องหลัง ที่ต้องชะเง้อคอยว่า สามีตนจะกลับมาเป็นตัว หรือเป็นห่อ เมื่อเห็นว่า กลับมาเป็นตัว นางก็ร้ำไห้ด้วยความปิติ น้ำตาเคล้าแสงไต้ อะไรก็ว่าไปครับ ให้ได้ภาพวิจิตรตามสไตล์ท่านผู้กำกับ แบบว่า แต่งเครื่องครบผัดหน้าคอยท่าผัว ปักเทียนเยอะๆ ให้ได้แสงวับแวมงามจับใจอย่างไรก็ว่าไป และในฉากนี้เมื่อเป็นการร่วมห้องหอกับภริยาจะจัดฉากให้หวิววาบสักหน่อย สไตล์จันดารา หรือแม่เบี้ย ก็จะไม่ผิดแต่อย่างใดครับ  

ทีนี้ ผมก็เลยสงสัยขึ้นมาว่า ในช่วงเวลานั้น ท่านสิน ท่านทองด้วง และท่านบุนนาค ตัวจริง (ถ้าในละคร ไม่ได้กล่าวไว้) ท่านสมรสมีภริยากันหรือยังครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ม.ค. 18, 16:01
ดูจากพระราชประวัติพระพุทธยอดฟ้าฯ พระพุทธเลิศหล้าฯทรงประสูติ 2310 ก่อนหน้าพระองค์ยังมีพระเชษฐาพระภคินีอีก 3 พระองค์ ก็ก้ำกึ่งนะครับว่าปี 2303 ท่านทองด้วงจะมีบุตรธิดาหรือยัง

ส่วนท่านสิน เจ้าฟ้าจุ้ยพระราชโอรสองค์แรก ประสูติปีใดไม่ทราบ แต่ 2318 ทรงกรมแล้ว ผมคิดว่าน่าจะประสูติก่อน 2303 นะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 11:15
พ.ศ. 2303  ท่านทองด้วงอายุ 24  น่าจะมีภรรยาแล้วนะคะ  ท่านสินก็เช่นกัน   
ตามกฎหมายอยุธยา   ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคน    life instinct คงจะไม่ต้องผลักดันให้ไปถึงสำนักผีเสื้อราตรี
คนเราถ้ามีข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว ที่เลือกหามาได้ตามใจชอบ     ก็คงไม่ดิ้นรนไปใช้ของสาธารณะ

อ้างถึง
กลับไปท่องราตรีศรีอโยธยาอีกรอบ, เคยผ่านหูเสียงผกก.บอกว่า ตั้งใจเขียนบทแสดงความเป็นมนุษย์
ของตัวละคร(ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์)
อ่านที่คุณหมอ SILA บอกไว้ข้างบนเลยนึกอะไรขึ้นมาได้อีกข้อหนึ่งค่ะ
หลักปฏิบัติของการเขียนเรื่อง   มีอยู่ข้อหนึ่ง  คือ เหตุการณ์หรือฉาก หรือพฤติกรรมอะไรก็ตามของตัวละครเอก จะต้องนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีผลต่อการดำเนินเรื่อง หรือสำคัญต่อชีวิตของพวกเขาเท่านั้น   ไม่ใช่ว่าอยากหยิบเหตุการณ์อะไรมาเสนอ ก็ทำได้ตามใจชอบ  เพราะถ้าทำตามใจชอบแบบนั้น  นักเขียนจะคุมการดำเนินเรื่องให้ต่อเนื่องกันไม่ได้

ทั้งนี้  เป็นความแตกต่างระหว่างมนุษย์จริงกับตัวละคร   

ในชีวิตจริง กิจวัตรของมนุษย์แต่ละคนเป็นสิ่งที่เว้นไม่ได้   ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ ก็ต้องทำ     เช่นกิจวัตรประจำวัน   อาบน้ำ แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ  กินอาหาร ฯลฯ อะไรพวกนี้    มันเป็นสิ่งที่ข้ามไปไม่ได้
แต่ในนิยาย หรือละครก็ตาม   ตัวละครเว้นสิ่งเหล่านี้ได้   เพราะมันไม่สำคัญกับการดำเนินเรื่อง     ไม่จำเป็นที่นักเขียนจะต้องเขียนฉากบรรยายว่าคุณชายกลางตื่นขึ้นมาแล้วไปอาบน้ำแปรงฟัน  ก่อนออกจากบ้านทรายทองไปหาพจมาน     หรือว่ามีฉากรพินทร์ ไพรวัลย์ต้องผลัดผ้านุ่งผ้าขาวม้า ซักเสื้อกางเกงอยู่ริมลำธาร   เพื่อแสดงความสมจริงของการเดินป่า
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดคำถามว่า สามสหายไปเที่ยวสำนักโคมแดง มันมีผลอะไรกับการดำเนินเรื่อง     ในเมื่อตัวละครเอกเหล่านี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อแสดงวีรกรรม     ตามที่ประกาศไว้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายของละคร
ในเมื่ออ้างว่าแสดงความเป็นมนุษย์ปุถุชน   พฤติกรรมด้านนี้สะท้อนความกล้าหาญอดทนของมนุษย์ในการต่อสู้เพื่อกอบกู้บ้านเมืองขึ้นมาบ้างไหม     หรือว่าทำให้เรามองท่านสิน ท่านทองด้วง ท่านบุนนาคด้วยความนับถืออย่างใดขึ้นมาบ้าง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 12:15
ดูจากพระราชประวัติพระพุทธยอดฟ้าฯ พระพุทธเลิศหล้าฯทรงประสูติ 2310 ก่อนหน้าพระองค์ยังมีพระเชษฐาพระภคินีอีก 3 พระองค์ ก็ก้ำกึ่งนะครับว่าปี 2303 ท่านทองด้วงจะมีบุตรธิดาหรือยัง

พ.ศ. 2303  ท่านทองด้วงอายุ 24  น่าจะมีภรรยาแล้วนะคะ

คุณวิกกี้เธอเล่าว่าคุณทองด้วงเข้าพิธีวิวาห์กับคุณนาคเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๔  ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๓๐๓ คุณทองด้วงยังเป็นโสดอยู่

คุณนาคนั้นมีสิริโฉมงดงามเป็นกุลสตรีครองตัวเองอยู่เป็นสาวโสดมาจนอายุได้ ๒๓ ปี เพราะบิดามารดาของท่านยังมองไม่เห็นใครในละแวกนั้นที่เหมาะสมให้เป็นคู่ครองได้ จนกระทั่งมีข่าวว่า มีข้าหลวงเที่ยวไปตามหัวเมืองและตำบลใหญ่ ๆ ในชนบท สืบหาธิดาผู้มีเทือกแถวที่ดีและมีลักษณะงดงามเพื่อจะจดชื่อส่งเข้าไปถวายพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงเลือก บิดามารดาของคุณนาคจึงต้องรีบขวนขวายจัดหาคู่ครองให้โดยเร็ว เพื่อพ้นจากการถูกส่งเข้าไปเป็นนางใน ประจวบกับหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง)  ข้าราชการหนุ่มรูปงามจากราชบุรีนั่งเรือผ่านมา เห็นคุณนาคกำลังปีนต้นไม้ในสวนของบิดาที่ริมคลองเพื่อเก็บผลไม้ แล้วพลัดตกลงมาจุกเสียดอยู่โคนต้น หลวงยกกระบัตรจึงให้หยุดเรือลงไปช่วยแต่อาการไม่ดีขึ้นจึงอุ้มคุณนาคลงเรือนำไปส่งบ้าน อาการของคุณนาคจึงคลายเป็นปกติ

การถูกเนื้อต้องตัวกันในสมัยนั้นถือเป็นการไม่งดงามสำหรับกุลสตรี หลวงยกกระบัตรจึงต้องให้ท่านบิดาคือพระอักษรสุนทร (ทองดี) มาสู่ขอคุณนาคจากพระยาแม่กลอง ผู้เป็นญาติผู้ใหญ่ในสกุลบางช้าง ก็มีการตกลงยินยอมและได้จัดการวิวาหมงคลขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๓๐๔ ซึ่งขณะนั้นหลวงยกกระบัตรมีอายุได้ ๒๕ ปี คุณนาค มีอายุ ๒๔ ปี


https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 12:34
คุณชายคึกฤทธิ์เล่าถึงความขี้หึงของคุณนาคไว้ในหนังสือ "โครงกระดูกในตู้" ว่า

เหตุเกิดเมื่อครั้งกรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีกลับจากราชการสงคราม คุณหญิงนาคก็นั่งคอยรับเจ้าคุณอยู่บนเฉลียงใต้พาไลเรือนหลังใหญ่ หันหน้าไปทางบันไดขึ้นเรือน

คุณนวลน้องสาวคุณหญิงซึ่งกำลังเป็นสาวเต็มตัวอุ้มคุณฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ) ซึ่งยังทรงพระเยาว์ เป็นเด็กเล็ก ไปนั่งคอยรับกลางนอกชาน ให้หลานชายนั่งบนตักหันหน้าออกทางบันไดเรือนและหันหลังให้คุณหญิงพี่สาว

เจ้าพระยาจักรีขึ้นจากเรือแล้วก็เดินตรงขึ้นบันไดบ้าน เดินผ่านนอกชานมา พอถึงที่คุณนวลนั่งอยู่ก็ก้มตัวลงจับอะไรก็ไม่รู้

คุณหญิงท่านว่า เจ้าคุณจับนมน้องสาวฉัน

เจ้าคุณบอกว่า เปล่า ฉันจับแก้มลูกฉันต่างหาก

แก้มคุณฉิมกับนมคุณนวลนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน และคุณนวลนั่งหันหลังให้คุณหญิงนาค เจ้าคุณท่านก็แก้ตัวหลุด

แต่อีกสองวันต่อมา คุณหญิงท่านก็ปรารภขึ้นว่า หม่อมบุนนาคทนายคนสนิทของเจ้าคุณนั้นเป็นพ่อหม้ายอยู่ น่าจะปลูกฝั่งเสียให้เป็นฝั่งเป็นฝา เขาก็เป็นคนมีตระกูล สืบเชื้อสายมาแต่ขุนนางกรุงเก่า ถ้ายกแม่นวลน้องสาวฉันให้เสียก็จะสมน้ำสมเนื้อกันจะได้พึ่งพาอาศัยกันต่อไป เจ้าคุณจะว่าอย่างไรคะ? ท่านเจ้าคุณท่านก็ไม่ว่า

โดยสรุปก็คือหม่อมบุนนาคหรือ “ลูกแขก” ซึ่งเป็นสหายกันมาตั้งแต่กรุงเก่าก็ได้แต่งงานกับคุณนวลซึ่งเป็น “ลูกมอญ”

คุณชายคึกฤทธิ์จบท้ายว่า “เพลงแขกมอญบางช้างก็มีกำเนิดมาจากนี้เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นแขก อีกฝ่ายหนึ่งเป็นมอญ"


https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6684

ฉากเหล่านี้แหละที่น่าจะบรรจุไว้ในละคร เพื่อแสดงความเป็นมนุษย์ของตัวละคร   ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 12:51
เคยอ่านพบที่ไหนจำไม่ได้ว่า ก่อนท่านนาค   ท่านทองด้วงมีหม่อมอยู่แล้วคนหนึ่ง แต่ไม่มีบทบาทอะไรนัก

เห็นด้วยกับคุณเพ็ญชมพูว่าบทบาทที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ปุถุชน มีรักโลภโกรธหลง เช่นมนุษย์ทั่วไป มีให้ขยายความได้อีกมาก   ไม่ว่าจะเป็นบทสมเด็จพระอมรินทรฯ บทของลูกเมียท่านบุนนาค    ทั้งภรรยาเดิมที่ตายไปและบทเจ้าคุณนวล
บทในฐานะสามี และหัวหน้าครอบครัว มีให้แสดงได้มากสำหรับสามสหาย  เป็นบทบาทที่ไม่เสียหาย  และมีหลักฐานบอกเล่าเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จริงๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 14:34
https://www.youtube.com/watch?v=i_TsEu2BGX0

https://www.youtube.com/watch?v=jDk6qm2aHEs

https://www.youtube.com/watch?v=2BG6PRJUuns


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 14:35
https://www.youtube.com/watch?v=YVCAAxyGXSM

https://www.youtube.com/watch?v=wsdVa7PpzHo

https://www.youtube.com/watch?v=nu_jU22PHw8


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 14:36
https://www.youtube.com/watch?v=Bb8QRQ8ka0g&t=21s

https://www.youtube.com/watch?v=nTe9OXHTj0M

https://www.youtube.com/watch?v=P2lmuUgnT64


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 14:40
https://www.youtube.com/watch?v=jldyXI-m6a8

https://www.youtube.com/watch?v=LGo6sUK0P44

https://www.youtube.com/watch?v=Mbkhng9PXmg


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 16:07
ในคลิปตอนที่ 13 (5/6) ข้างบนนี้ นาทีที่ 4.1 เป็นต้นไป  มีฉากเจ้าจอมคนใหม่ถวายตัว  มหาดเล็กประกาศดังๆว่า
"ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย "นางพระบำเรอ" ณ บัดนี้"
 :-\ :-\ :-\
จากนั้นเจ้าจอมคนใหม่ แต่งตัวมีผ้าคลุมหัวยาวเหมือนองค์ลงของเจ้าแม่บางสำนักก็เดินมาพร้อมกับขบวนนาง ถือโคมญี่ปุ่นเป็นแถว
ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย

ดิฉันคงเส้นลึก เลยไม่ขำ   นึกไม่ออกว่าผู้กำกับและผู้เขียนบทเห็นฉากนี้เป็นตลกหรืออะไร ถึงสร้างออกมาในรูปแบบนี้
ส่วนราชาศัพท์ก็ผิดหมด    ค่อยอธิบายทีหลังแล้วกัน



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 17:32
จากนั้นเจ้าจอมคนใหม่ แต่งตัวมีผ้าคลุมหัวยาวเหมือนองค์ลงของเจ้าแม่บางสำนักก็เดินมาพร้อมกับขบวนนาง ถือโคมญี่ปุ่นเป็นแถว
ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย

ดิฉันคงเส้นลึก เลยไม่ขำ   นึกไม่ออกว่าผู้กำกับและผู้เขียนบทเห็นฉากนี้เป็นตลกหรืออะไร ถึงสร้างออกมาในรูปแบบนี้
ส่วนราชาศัพท์ก็ผิดหมด    ค่อยอธิบายทีหลังแล้วกัน

มุขนี้น่าจะขำกว่า แถมราชาศัพท์ก็ผิดเพียบพอ ๆ กัน ;D

https://www.facebook.com/SiamEunuch/posts/522565834781756


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 18:09
มุกนี้ขำไหมคะ
นางรำชุดกินรีทั้งหลายในห้องพระบรรทม   เป็นสาวประเภทสองหมดเลย
เลยชักสงสัยว่าเจ้าจอมแข รายใหม่นี่เป็นเพศไหนกันแน่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ม.ค. 18, 18:45
ต้องฝากถามท่านอื่นๆ ค่ะ   เช่นคุณหนุ่มสยาม ว่าอยุธยามีสะพานข้ามแม่น้ำไปฟากตรงข้ามหรือไม่
คิดว่าสมัยนั้น การใช้เรือสะดวกง่ายดาย ใครๆก็มีเรือ    สะพานคงไม่จำเป็นเพราะไม่มีพาหนะอื่นในการสัญจรข้ามไปมา   ถ้าเดินข้ามจากอีกฝั่ง ลงสะพานก็ต้องไปต่อเรือเข้าคลองต่างๆอยู่ดี

ในกรุงเทพ สะพานพุทธก็เพิ่งจะมีในรัชกาลที่ 7 นี่เอง


มีสะพานตรงหัวรอ แต่ก็สะดวกแก่ชุมชนย่านนั้นอยู่ดี ย่านอื่นๆ คงไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้สะพาน ดังนั้นใช้เรืออย่างเดียวในการสัญจร และข้าศึกมาถึงก็นำเรือมาเรียงกันเอาไม้กระดานพาดก็สามารถข้ามได้แล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 18, 21:28
^
ขอบคุณค่ะคุณหนุ่มสยาม

กลับมาที่เรื่องถวายตัวอีกครั้ง
ถ้าใครจะทำละครอิงประวัติศาสตร์ แล้วอยากรู้ว่าการถวายตัวในสมัยโบราณทำอย่างไร    ก็พอมีหลักฐานเป็นตัวอย่างแนวทางให้ค้นคว้าได้
คนที่เคยอ่านช้างขุนแผน คงจำตอนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าล้านช้างจะถวายพระธิดาชื่อนางสร้อยทองให้พระพันวษา แต่ถูกเจ้าเชียงใหม่ชิงตัวไปเสียก่อน    ต่อมาขุนแผนกับพลายงามลูกชายไปทำศึกกับเชียงใหม่  เอานางกลับมาถวายพระพันวษาได้  รวมทั้งเอาตัวเจ้าเชียงใหม่ และลูกสาวคือนางสร้อยฟ้ามาอยุธยาด้วย

พระพันวษาทรงรับนางสร้อยทองเป็นพระสนม   แต่นางสร้อยฟ้านั้นทรงปรึกษาท้าวนางผู้ใหญ่ข้างในก่อน ก็ได้รับคำทูลตอบว่าจริตกิริยาของนางสร้อยฟ้าท่าทีจะแสนงอนเจ้าคารม ไม่เรียบร้อยนิ่มนวลอย่างนางสร้อยทอง     พระพันวษามีพระชนม์มากแล้ว ก็คงไม่โปรดผู้หญิงสะบัดสะบิ้งเท่าไหร่  จึงยกนางสร้อยฟ้าให้จมื่นไวยแทน

ฉากในเรื่องก็เรียบๆ ไม่มีอะไรเอิกเกริกเป็นดราม่า    นางสร้อยทองถูกนำตัวเข้าเฝ้าพร้อมกับท้าวนางชั้นผู้ใหญ่    พระพันวษาก็ทรงโอภาปราศรัยด้วยอย่างดี ว่า

แล้วหันมาปราศัยนางสร้อยทอง    อย่างหม่นหมองจะเลี้ยงให้งามหน้า
สมเป็นราชบุตรีศรีสัตนา            ซึ่งบิดายกให้ด้วยไมตรี
จึงตรัสสั่งคลังในพนักงาน            ให้จัดของพระราชทานตามที่
หีบหมากทองลงยาราชาวดี    เงินยี่สิบชั่งทั้งขันทอง
แหวนเรือนรังแตนและแหวนงู    ตุ้มหูระย้าเพชรเก็จก่อง
ผ้ายกทองยกไหมสะไบกรอง    ทั้งสิ่งของส่วนพี่เลี้ยงกัลยา
จัดตำหนักให้อยู่ตึกหมู่ใหญ่    ข้าไทยเป็นสุขถ้วนหน้า

เมื่อทรงรับเป็นพระสนม  พระราชทานหีบหมาก เพชรพลอยและเครื่องแต่งกาย ที่ถือกันเหมือน "เครื่องยศ" ของพระสนมแล้ว  คนอื่นๆก็ลงจากพระตำหนัก นางสร้อยทองก็อยู่เฝ้าพระพันวษา กลายเป็น "ฝ่ายใน" ไปโดยไม่ต้องมีใครมารำพัดถวาย หรือจับระบำรำฟ้อนให้ดู


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 25 ม.ค. 18, 09:39
ส่วนตัวผมนะครับ ผมติดไว้แต่แรกแล้วว่า แม้ละครนี้จะมีข้อเท็จจริงไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ แต่ถ้าความไม่ตรงนั้นเกิดจากผู้สร้างตีความใหม่ผมก็ชอบครับ ยิ่งถ้าการตีความใหม่นั้นสอดคล้องกลมกลืน สมเหตุสมผล ก็ยิ่งดีมากๆ ครับ

จุดนี้ทำให้ผมสนุกกับละครนี้ เพราะอยากเห็นความเก๋าของการตีความ ผมอยากเห็นว่า เมื่อละครออกแบบให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นคนดี ไม่เคยมีข้อบาดหมางกับพระเจ้าอุทุมพร ผมก็ลุ้นอยู่ว่า แล้วพอถึงตอนสงครามคราวเสียกรุง จะแต่งเรื่องไปอย่างไร ให้คราวนี้พระเจ้าอุทุมพรไม่สึกออกมาช่วยอีก หรือจะแต่งเรื่องอย่างไร ให้ขุนศึกผู้ภักดีอย่างพระยาตาก ตีฝ่าวงล้อมหนีไปละเสด็จไว้ทั้งๆ ที่กรุงยังไม่แตก และเมื่อพระยาตากเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินขนาดนั้น พอกู้กรุงคืนมาได้ จะแต่งเรื่องไปอย่างไร ใครจะมาไล่ไม่ให้ท่านอยู่ จนต้องตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปธนบุรี ฯลฯ

พอมีมนตร์ดำเข้ามาเท่านั้นหละ ผมงี้เสียวเลยครับ เกรงว่า สุดท้ายจะได้ความว่า นับแต่ที่รับนางแขเป็น "นางพระบำเรอ" พระเจ้าเอกทัศน์วิปลาศไปต่างๆ เพราะมนตร์ดำนั้น กรุงก็เสื่อมทรามลง เพราะนางผู้มีชื่อนั้นเป็นปฐมเหตุดั่งนี้ ..... จบเห่เลยทีนี้  


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ม.ค. 18, 11:29
          ^   (เดาใจ) ผกก.ตั้งใจวาดวางให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์คุณภาพแต่ที่ไม่สามารถรักษา
กรุงไว้ได้จนมีคำครหาตามมานานา  ก็เพราะตัวร้าย - สามพี่น้อง(ที่สืบเชื้อสายญี่ปุ่น? มาแต่กาลก่อน)
ใช้มนต์ดำกระทำให้พระองค์เปลี่ยนไป

ป.ล. ส่วนฉากทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตัว "นางพระบำเรอ" นี้ผกก.ใช้อภิสิทธิ์คิดได้ล้ำหลุดหยุดโลกจริงๆ

ป.ล. ฉากถวายตัวในหนังเรื่อง สุริโยไท


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 18, 13:49
         ^   (เดาใจ) ผกก.ตั้งใจวาดวางให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์คุณภาพแต่ที่ไม่สามารถรักษา
กรุงไว้ได้จนมีคำครหาตามมานานา  
เห็นด้วยกับคุณหมอ SILA ค่ะ 
น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้เขียนบทและกำกับ ที่จะตีความ character ของพระเจ้าเอกทัศน์ในละครเสียใหม่  ไม่ให้ตรงกับประวัติศาสตร์      จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม  เช่นไม่เชื่อบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย หรือเบื่อความซ้ำซากที่ผู้ผลิตคนก่อนๆไม่ว่านิยายหรือหนังละคร ตีความพระเจ้าเอกทัศน์ออกมาในแนวเดียวกัน  ก็เลยอยากจะเสนอภาพใหม่ขึ้นมา
แต่ คนตีความรายใหม่ อาจจะลืมไปว่า เหตุการณ์ต่างๆที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แม้ว่าเขียนกันคนละที หรือว่าเล่ากันมาจากคนละคน  มันสอดคล้องบ่งชี้ไปในทางเดียวกันหมด  คือ
    ๑) เจ้าฟ้าเอกทัศน์เป็นลูกที่พ่อไม่ให้ราคาความฉลาดสามารถเอาไว้เลย     หลักฐานคือการตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรผู้เป็นน้องให้ข้ามหัวพี่ไปเป็นวังหน้ารอคิวขึ้นเป็นกษัตริย์    แบบนี้เรียกได้ว่าพระเจ้าบรมโกศท่านหักหน้าลูกชายคนนี้จนไม่มีชิ้นดี
    ๒) เจ้าฟ้าเอกทัศน์ไม่ใช่คนสุภาพอ่อนโยน  ยึดธรรมะเป็นหลัก    เพราะคนแบบนั้นจะไม่หวนกลับมาขัดคำสั่งพ่อ เอาบัลลังก์มาจากน้องเมื่อพ่อตายไปแล้ว
    ๓) พระเจ้าเอกทัศน์ไม่ใช่นักรบที่แกล้วกล้าเชื่อมั่นในตัวเอง      เพราะถ้าเก่งขนาดนั้นจะไม่ไปขอน้องชายที่ตัวเองผลักตกเก้าอี้ไปหยกๆ ให้ลาผ้าเหลืองมาช่วยรบ
     ๔) พระเจ้าเอกทัศน์ไม่ใช่คนรู้แพ้รู้ชนะ    เพราะเมื่อหมดศึกอลองพญาแล้ว  ก็ไม่น่าจะทวงบัลลังก์คืนจากน้องเอาดื้อๆ   แล้วให้น้องกลับไปบวชตามเดิม     อย่างน้อยถ้าเป็นคนมีน้ำใจรักความยุติธรรมอยู่บ้าง ก็จะต้องเอาน้องชายไว้รักษาบ้านเมืองจะในฐานะกษัตริย์เท่ากับตัวเอง หรือในฐานะวังหน้าก็ตาม  นี่ก็ไม่มี
     ๕)  เมื่อกรุงแตก   หลักฐานเดิมบอกว่าทรงหนีไปอดอาหารตายอยู่หัวเมือง    หลักฐานใหม่บอกว่าถูกปืนตายที่ประตูเมือง   แต่จะตายเพราะอย่างไหนก็ตาม   ไม่ได้แสดงวีรกรรมของนักรบทั้งสองทาง 
     หากว่าข้อสองเป็นจริงคือถูกปืนตายที่ประตูเมือง  เพราะคุมไพร่พลสู้รบกับพม่าเป็นครั้งสุดท้าย   พงศาวดารพม่าน่าจะบันทึกไว้ว่าทรงมีไพร่พลกี่ร้อย มีใครบ้าง สู้รบกันยังไงแบบไหน  แต่ก็ไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่าเป็นเรื่องอย่างนั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 18, 14:21
      ทีนี้  เมื่อจะตีความใหม่ว่าพระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์แสนดีมีคุณภาพ  ก็ต้องยกเลิกหลักฐานเดิมๆ แล้วสร้างหลักฐานใหม่ขึ้นมา   สร้างใหม่อย่างเดียวไม่พอ ต้องลบของเก่าทิ้งไปด้วย
      จึงมีฉากพระเจ้าเอกทัศน์เดินจงกรมในท้องพระโรง แสดงความธรรมะธัมโม     ฉากพระเจ้าเอกทัศน์กับพระเจ้าอุทุมพรปรองดองกันดี   ฉากพระเจ้าเอกทัศน์เป็นลูกที่รักแม่มาก  ขอนอนหนุนตักแม่   ฉากท่านห่วงบ้านห่วงเมือง ฯลฯ
      ทีนี้  เมื่อดีออกยังงี้ พี่น้องก็ปรองดองกัน   แล้วทำไมเสียกรุง 
      ก็ต้องหาใครสักคนมาโยนความผิดให้     คำตอบก็คือเจ้าจอมมนต์ดำนั่นแหละ   หมดปัญหาไป

      ใครก็ตามที่เคยเขียนนิยายหรือบทละครจะรู้ว่าการสร้าง character ตัวละครเป็นส่วนยากที่สุดของเรื่อง   งานประพันธ์จะดังหรือจะพังก็เพราะตัวละครนี่ละเป็นหลักใหญ่สุด      เพราะงานชิ้นใหญ่ๆที่ยั่งยืนมานานหลายศตวรรษ ร้อยทั้งร้อยคนจำตัวละครได้มากกว่าจำเนื้อหารายละเอียดในเรื่อง   คนไทยจำนางวันทองได้เพราะสองใจ   จำขุนช้างได้ว่ารูปชั่วตัวดำแต่รวยและรักเมีย   ขุนแผนรูปหล่อแต่เจ้าชู้     แต่อาจจะจำไม่ได้ว่าขุนช้างมีอาชีพหรือเปล่า หรือขุนแผนเป็นขุนนางระดับไหน   
      ตัวละครที่สร้างยากติดอันดับคือตัวละครที่มีภาพสเกตช์  หรือหลักฐานพยานแวดล้อมกำหนดไว้หนาแน่นแล้ว  ยากที่ผู้ประพันธ์จะทำให้มีชีวิตชีวา แหวกไปจากภาพเดิมๆขึ้นมาได้ 
     ภาพสเกตช์คืออะไร ยกตัวอย่างง่ายๆคือภาพในประวัติศาสตร์   เช่นนางพญาอย่างควีนเอลิซาเบธที่ 1  ที่นำอังกฤษไปสู่มหาอำนาจทางทะเล   ตามประวัติศาสตร์พระนางไม่เคยอภิเษกสมรส  เคยสั่งประหารชายคนรักมาแล้ว   เคยอดทนฝ่าฟันอุปสรรคการเมืองนานาชนิด จนตลอดรัชกาล     ถ้าจะสร้างหนังให้พระนางเป็นสตรีเข้มแข็งก็ไม่แปลกอะไร  เพราะหลักฐานทั้งหมดชี้ไปทางนั้น  แต่ถ้าจะฉีกแนวสร้างพระนางเป็นสตรีอ่อนไหวง้องแง้งไม่รู้จักโต   คนสร้างต้องทำงานหนักมาก     ถ้าไม่เก่งจริง ก็ต้องแต่งชีวิตพระนางใหม่หมด    ซึ่งเท่ากับบิดเบือนประวัติศาสตร์  ผลก็คือพังลูกเดียว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 27 ม.ค. 18, 19:37

ในความอ่อนแอของพระเจ้าเอกทัศน์ ตามบันทึกประวัติศาสตร์
เรายังอาจมองเห็นจุดเด่นของพระองค์อยู่บ้าง

หลังจากที่พระเจ้าอุทุมพรร่วมกับพระเชษฐา ปราบเจ้าสามกรม
แล้วทรงละทิ้งราชสมบัติไปบวชในเวลาอันสั้น

ผู้ที่จัดการพระราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าบรมโกศและพระพันปีหลวงอย่างยิ่งใหญ่คือพระเจ้าเอกทัศน์
ผู้แต่งพงศาวดารคำให้การฯ จดจำความโอ่อ่าในพระราชพิธีต่างๆในราชสำนักของพระเจ้าเอกทัศน์ได้เป็นอย่างดี
เราอาจคาดได้ถึงการจัดพิธีราชาภิเษก และพระราชพิธีอื่นๆอย่างยิ่งใหญ่

ต่อไปในละครคงจะมีฉากการเสด็จฯพระพุทธบาทอย่างอลังการ  
หม่อมน้อยต้องการโชว์ความสามารถในการจัดการและรสนิยมความบันเทิงของพระเจ้าเอกทัศน์แห่งศรีอโยธยาอย่างเต็มที่ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ม.ค. 18, 07:03
กลับไปฉากถวายตัวอีกคราหนึ่ง

ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=66748;image)

ตัวร้าย - สามพี่น้อง(ที่สืบเชื้อสายญี่ปุ่น? มาแต่กาลก่อน)

สามพี่น้องคงไม่มีเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างที่คุณศิลาว่า แต่ที่สืบเชื้อสายมาเห็นจะเป็นกิโมโนของ "คุณหญิงทองคำเปลว” เศรษฐีนีม่ายผู้มั่งคั่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่นาแห่งทุ่งบางกะปิ ใน "แผลเก่า" เวอร์ชั่นของหม่อมน้อย

หม่อมท่านคงรักกิโมโนตัวนี้มากเลยนำออกมา "รีรัน" อีกครั้งหนึ่ง  ;D


ภาพจาก http://news.you2play.com/archives/33568-นก-สินจัย-หวนคืน-หม่อมน้อย-หลัง-17-ปี-รับบท-คุณหญิงฯ-ใน-แผลเก่า (http://news.you2play.com/archives/33568-นก-สินจัย-หวนคืน-หม่อมน้อย-หลัง-17-ปี-รับบท-คุณหญิงฯ-ใน-แผลเก่า)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ม.ค. 18, 14:34
คุณนายทองคำเปลวเลื่อนยศขึ้นไปสูง  จนใส่กิโมโนไม่ได้แล้ว   เลยยกชุดนี้ให้นางพระกำนัลแทนค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ม.ค. 18, 14:45
ถ้าจะมองตัวตนของพระเจ้าเอกทัศ( ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าพระนามท่านมีตัว น์ หรือไม่)ก็ต้องยกพระเจ้าอุทุมพรมาเป็นตัวเทียบด้วย ถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น

พระเจ้าเอกทัศเป็นลูกชังของพระเจ้าบรมโกศ  พอๆกับพระเจ้าอุทุมพรเป็นลูกรัก   แต่ความสัมพันธ์ของพี่น้องสองคนนี้ น่าแปลกตรงที่น้องชาย "หงอ" พี่ชาย เอาจริงๆ     ทั้งๆพ่อก็ให้ท้ายลูกรักมาตลอด 
น้องชายเองก็แข็งขนาดประหารพี่น้องต่างแม่ได้ตั้ง 3 คน  เนรเทศไม่ดูดำดูดีอีก 1 คน
แต่พอมาถึงพี่ชาย   น้องชายกลัวพี่ชายยิ่งกว่ากลัวเสียบ้านเสียเมือง   ยิ่งกว่ากลัวราษฎรล้มตายกันเป็นหมื่นเป็นแสน  ยิ่งกว่ากลัวสิ้นราชวงศ์   
จะเห็นได้จากเมื่อกลับไปบวชอีกครั้ง  ต่อให้ราษฎรอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมสึกออกมาช่วยอย่างครั้งแรก
จะว่าหมดฝีมือหรือไม่มีฝีมือเลยก็ไม่ใช่  เพราะถ้าไม่มีฝีมือพี่ชายคงไม่ขอให้สึกออกมาช่วย
เพียงแต่พระเจ้าอุทุมพรให้ความสำคัญกับพี่ชายยิ่งกว่าอะไรๆทั้งหมด

ก็แสดงว่า ถ้าเทียบด้านกำลังใจกัน   พระเจ้าเอกทัศแข็งกว่าน้องชายมาก   ข้อนี้คงเป็นสาเหตุให้ปกครองอยุธยามาได้ราบรื่น   
หากว่าไม่มีศึกพม่า ท่านก็คงอยู่ครองบัลลังก์ได้ยืนยาวตลอดชีพ

แบบนี้ต่างหากที่อยากเห็น ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ม.ค. 18, 19:30
พระเจ้าเอกทัศ(ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าพระนามท่านมีตัว น์ หรือไม่)

คุณม้าท่านให้ความเห็นไว้ดังนี้

ความโกรธแค้นที่มีต่อผู้รุกรานและความผิดหวังต่อผู้นำบ้านเมืองที่ฝังอยู่ในใจของผู้คนในยุคสมัยนั้น ถูกนำมาขยายในยุคปลุกกระแสชาตินิยมในอีกร้อยกว่าปีต่อมา สร้างภาพพระเจ้าเอกทัศให้เป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ชาติไทย ถึงขนาดที่ว่า พระนามเอกทัศอันเฉลิมพระนามตามพระโพธิสัตว์กลับถูกบิดเบือนเลือนเลอะ กลายเป็น เอกทัศน์ -อ้ายตาเดียว- ให้คนรุ่นหลังหัวเราะเยาะเล่นกัน

ประเด็น พระนามเอกทัศอันเฉลิมพระนามตามพระโพธิสัตว์ น่าจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณม้า  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ม.ค. 18, 20:17
รอคุณม้ามาเฉลยค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ม.ค. 18, 10:35
ประเด็นหนึ่งที่น่าหยิบยกมาให้เห็นชัดๆ คือบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ที่หายไปจากละคร  และบุคคลไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในละคร

จริงอยู่  ในหนังหรือละครอิงประวัติศาสตร์ ย่อมสร้างตัวละครสมมุติขึ้นมา โดยเฉพาะตัวเอก  เช่นแม่พลอยและคุณเปรม ก็ไม่เคยมีตัวตนจริงอยู่ในราชสำนัก   แสนและแม่เรณูนวลใน" ฟ้าใหม่" ก็เช่นกัน    แต่สร้างตัวละครสมมุติก็ไม่จำเป็นต้องลบบุคคลจริงๆที่มีบทบาทสำคัญให้หายไปดื้อๆจากหน้าประวัติศาสตร์    เหมือนอย่าง "ศรีอโยธยา" ทำกับนายสุดจินดา น้องชายท่านทองด้วง      
ท่านผู้นี้เป็นวีรบุรุษมีบทบาทในการกอบกู้อิสรภาพของไทย   มีตัวตนให้เห็นและกล่าวถึงได้ตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา มีบทบาทมากกว่านายบุนนาคซึ่งมาโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 1  เสียอีก
ที่สำคัญคือพระนิพนธ์เพลงยาว ที่ทรงไว้เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จไป ตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖
ข้อความในนี้ถือเป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่ง (primary source) ที่ระบุถึงสาเหตุการเสียกรุงอยุธยา ที่มีผลมาจากความผิดพลาดในการบริหารงานของพระเจ้าเอกทัศ       ความรู้สึกเกลียดชังเคียดแค้นที่พม่ากระทำกับไทย ก็ทรงบันทึกไว้ครบถ้วน
เป็นหลักฐานให้ลูกหลานไทยรุ่นต่อๆมาสืบทอดความรู้สึกนี้ และมีแง่มุมในทางลบต่อพระเจ้าเอกทัศและพม่าที่ทำกับอยุธยามาตลอด
จนมาถึงยุคนี้เองก็เกิดทัศนะใหม่  เห็นพระเจ้าเอกทัศดีขึ้นมา  และพม่าเองก็ไม่ได้เป็นผู้ร้ายกระทำย่ำยีไทยอย่างที่เห็นกันมาแต่เดิม
ก็เลยไม่รู้ว่าเพราะเหตุนี้หรือเปล่า จึงต้องลบเอาบุคคลที่เห็นพระเจ้าเอกทัศไม่เข้าท่า และพม่าในครั้งนั้นก็ทำกับชาวอยุธยาแสนสาหัส  ออกไปจากการรับรู้ของคนดูละคร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ม.ค. 18, 10:39
ขอยกเพจของคุณ Anti ละครศรีอโยธยา มาให้อ่านกันค่ะ  สรุปไว้ครบถ้วนได้ใจความชัดเจน
5 ชม. ·
วังหน้าพระยาเสือ
บุคคลสำคัญที่ ละครศรีอโยธยา ไม่ให้ความสำคัญ
ตัดทิ้งให้ทรงไม่มีบทบาท ทั้งๆที่ท่านก็ทรงมีความทรงจำเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ตั้งเยอะ อย่างเช่น ผลงานเด่นๆ เช่นเพลงยาวพระยาเสือ โดยทางละครตัดพระองค์ท่านทิ้ง แต่กับเรื่องเสริม ต่อ อายุพระพันวษาน้อย เพิ่มอีกำนัลนารีสังข์ อีบุษบา ไอ้พระพิชัย เสริมเพิ่มความสับสนและเลอะเลือนว่าวังหน้าองค์สุดท้ายของอยุธยาคือเจ้าฟ้าสุทัศน์ บุนนาคอะไรนั้น ซึ่งไม่มีตัวตนจริงหรือมีก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรเลยสำหรับนายบุนนาค... ไม่รู้ทางผู้จัดและผู้กำกับข้องใจอะไรกับกรมพระราชวังบวรฯ หรือเปล่า
เพลงยาวพระยาเสือ โดย สมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

เพลงยาวนิราศเสด็จไปตีเมืองพม่า
พระนิพนธ์ในสมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
เมื่อครั้งเสด็จไป ตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖

ข้อความตอนต้นขาดหายไป
ที่เหลืออยู่เริ่มต้นพรรณนาถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
และความเศร้าสลดที่ต้องเสียกรุงฯ ความคิดที่จะตีพม่าเพื่อตอบแทน
โดยทรงพระดำริขุดคลองลัดทางปักษ์ใต้เพื่อไปรบ กับพม่า
ให้สมกับคำทำนายว่าหงส์ลงในหนอง พรานผู้หนึ่งยิงหงส์ตาย
ภายหลังเสือกินเนื้อพรานผู้ฆ่าหงส์ (หงส์คือเมืองหงสาวดี
พรานคือพม่า เสือคือองค์สมเด็จกรมพระราชวังฯ)
ตอนท้ายบรรยายถึงความคับแค้นใจที่ยังไม่มีกำลังพอที่รบชนะพม่า
และขอพรเทพเจ้าให้ดลบันดาลให้สำเร็จความปรารถนา

ประกอบด้วยโภชนากระยาหาร
ทุกถิ่นฐานบริบูรณ์เป็นหนักหนา
อยู่เย็นเป็นสุขทุกทิวา
เช้าค่ำอัตราทั้งราตรี

ประหนึ่งว่าจะไม่มีค่ำคืน
รวยรื่นเป็นสุขเกษมศรี
ไม่เห็นเช่นว่าจะเป็นเหมือนเช่นนี้
มาเยินยับอัปรีย์ศักดิ์ศรีคลาย

ทั้งถนนหนทางอารามราช
มาวินาศสิ้นสุดสูญหาย
สารพัดย่อยยับกลับกลาย
อันตรายไปจนพื้นปัถพี

เมื่อพระกาฬมาผลาญดังทำนาย
แสนเสียดายภูมิพื้นกรุงศรี
บริเวณอื้ออึงด้วยชลธี
ประดุจเกาะอสุรีลงกา

เป็นคันขอบชอบกลถึงเพียงนี้
มาเสียสูญไพรีอนาถา
ผู้ใดใครเห็นไม่นำพา
อยุธยาอาภัพลับไป

เห็นจะสิ้นอายุพระนคร
ให้อาวรณ์ผู้รักษาหามีไม่
เป็นป่าหญ้ารกดังพงไพร
แต่จะสาบสูญไปทุกทิวา

คิดมาก็เป็นน่าอนิจจัง
ด้วยกรุงเป็นที่ตั้งพระศาสนา
ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา
ปฏิมาฉลององค์พระทรงญาณ

ก็ทลายยับยุ่ยเป็นผุยผง
เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร
ยังไม่สิ้นศาสนามาอรธาน
ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป

เสียดายพระนิเวศน์บุรีวัง
พระที่นั่งทั้งสามงามไสว
ดั้งระเบียบชั้นเป็นหลั่นไป
อำไพวิจิตรรจนา

มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน
เป็นเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา
เพดานในไว้ดวงดารา
ผนังฝาดาดแก้วดังวิมาน

ที่ตั้งบัลลังค์แก้วทุกองค์
ทวารลงอัฒน์จันทร์หน้าฉาน
ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน
มีโรงคชาธารตระการตา

ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว
เป็นถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา
เป็นที่แขกเฝ้าเข้าวันทา
ดังเทวานฤมิตประดิษฐ์ไว้

สืบทรงวงศ์กษัตริย์มาช้านาน
แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้
พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน
มีสระชลาลัยชลธี

ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
ที่ประพาสมัจฉาในสระศรี
ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี
เป็นที่กษัตริย์สืบมา

ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมด
จะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า
อันถนนหนทางมรรคา
คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน

ร้านเรียบเป็นระเบียบด้วยรุกขา
ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์
ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน
สารพันจะมีอยู่อัตรา

ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมสุข
แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา
ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา
อยุธยาจะสาบสูญไป

จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว
ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส
นับวันแต่จะยับนับไป
ที่ไหนจะคงคืนมา

ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนครั้งนี้
มีแต่บรมสุขา
ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา
อนิจจาสังเวชทนาใจ

ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ
จะอาเพศกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไท
เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา

ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ
ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาษิตท่านกล่าวเป็นราวมา
จะตั้งแต่งเสนาธิบดี

ไม่ควรจะให้อัครฐาน
จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี
จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา

เสียยศเสียศักดิ์นัคเรศ
เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา
เสียทั้งตระกูลนานา
เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร

สารพัดจะเสียสิ้นสุด
ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน
จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร
เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม

อันจะเป็นเสนาธิบดี
ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์
ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น
ป้องกันปัจจาอย่าให้มี

นี่ทำหาเป็นเช่นนั้นไม่
เหมือนไพร่ชั่วช้ากระทาสี
เหตุภัยใกล้กรายร้ายดี
ไม่มีที่รู้สักประการ

ศึกมาแล้วก็ล่าไปทันที
มิได้มีเหตุจึงแตกฉาน
ตีกวาดผู้คนไม่ทนทาน
เผาบ้านเมืองยับจนกลับไป

ถึงเพียงนี้ไม่มีที่จะกริ่งเลย
ไม่เคยรู้ล่วงลัดจะคิดได้
ศึกมาชิงล่าเลิกกลับไป
มิได้เห็นจะฝืนคืนมา

จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่
ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา
ครั้นทัพเขายกกลับมา
จะองอาจอาสาก็ไม่มี

แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ
จนเมืองคร่ำเป็นผุยยับยี่
ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี
เมืองยับอัปรีย์จนทุกวันฯ

เหตุเสียกรุงศรีอยุธยา
เหมือนคำที่ว่าไม่เสกสรรค์
ชะล่าใจเคยได้แต่ครั้งนั้น
จึงประชิดติดพันแต่นั้นมา

แตกยับกลับไปก็หลายหน
คิดกลจะลวงให้หลงหา
แต่งคนให้ถือหนังสือมา
เจรจาความเมืองเป็นไมตรี

ทำไว้แต่พอให้รอรั้ง
ขยับยกเข้ามาตั้งตะนาวศรี
จะเดินมั่นกันติดทางตี
ทำนองทีจะคิดให้ชิดไว้

เห็นจะผ่อนโยธาอาหาร
มันคิดการมิให้ใครสงสัย
จะนิ่งอยู่ดูเบาเอาใจ
เห็นเหตุเภทภัยจะเกิดการมา

จะเร่งรัดตัดคิดมันเสียก่อน
บั่นรอนอย่าให้ทันแน่นหนา
จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา
เป็นทัพหน้านาวายกไป

ตามทางทะเลไปสงขลา
จะขุดพสุธาเป็นคลองใหญ่
ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร
ปากใต้ฝ่ายทะเลให้พร้อมกัน

จึงจะยกไปตีเอามะริด
จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น
ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน
จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป

รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น
แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้
จะทำการครั้งนี้ให้มีชัย
จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน

ทำเมืองเราก่อนเท่าใด
จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตอาหังการ์ทามิฬ
จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา

การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด
ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปรารถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา
จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้

เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก
จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี
จะตัดที่เสบียงอาหารไว้

ไม่สมคะเนให้เรรวน
ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ
จะทำให้เสียการเหมือนทะวาย

เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป
จึงเสียชัยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย
ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เป็นไร

อันกรุงรัตนะอังวะครั้งนี้ฤา
จะพ้นเนื้อมืออย่าสงสัย
พม่าจะมาเป็นข้าไทย
จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา

แม้นสมดังจิตไม่ผิดหมาย
จะเสี่ยงทายตามบุพเพวาสนา
จะได้ชูกู้ยกนัครา
สมดังปรารถนาทุกสิ่งอัน

ถ้าเสร็จการอังวะลงตราบใด
จะพาใจเป็นสุขเกษมสันต์
อ้ายชาติพม่ามันอาธรรม์
เที่ยวล้างขอบขันฑ์ทุกพารา

แต่ก่อนก็มิให้มีความสุข
รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา
แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา
ยับเยินเป็นป่าทุกตำบล

มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก
แต่พรัดพรากจากกันทุกแห่งหน
มันเหล่าอาสัตย์ทรชน
ครั้งนี้จะป่นเป็นธุลี

เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม
จะพูนเพิ่มให้ระยำยับยี่
ด้วยทำนายว่าไว้แต่ก่อนมี
เหมือนครั้งมอญไปตีเอานัครา

คือหงส์ลงมากินน้ำหนอง
เหตุต้องเมืองมอญหงสา
ตัวนายอองไจยคือพรานป่า
คิดฆ่าหงส์ตายจึงได้ดี

คือพม่ามาตีเอามอญได้
ก็สมในทำนายเป็นถ้วนถี่
ยังแต่พยัคฆ์เรืองฤทธี
จะกินพรานที่ยิงหงส์ตาย

บัดนี้ก็ถึงแก่กำหนด
จะปรากฏโดยเหตุเป็นกฎหมาย
ทัพเราเข้าต้องคำทำนาย
คือเสือร้ายอันแรงฤทธา

จะไปกินพรานป่าที่ฆ่าหงส์
ให้ปลดปลงม้วยชีพสังขาร์
แล้วมีคำทำนายบุราณมา
ว่าพม่าจะสิ้นซึ่งรูปกาย

ถ้าผู้ใดใครเห็นให้เขียนไว้
จึงจะได้ประจักษ์สืบสาย
เห็นเป็นเหตุต้องเหมือนคำทำนาย
อังวะจะฉิบหายในครั้งนี้

ถ้าพร้อมใจพร้อมจิตช่วยคิดการ
จะสำราญทั่วโลกเกษมศรี
นี่จนใจสิ่งไรก็ไม่มี
เห็นทีจะตะกายไปตามจน

จะไปได้ฤามิได้ยังไม่รู้
จะเสือกสู้ไปตามขัดสน
ถ้าสุดคิดผิดหมายที่ผ่อนปรน
ก็จะบนบวงสรวงแก่เทวา

เดชะเทเวศน์ช่วยอวยชัย
ที่คิดไว้ขอให้สมปรารถนา
ตั้งแต่สวรรค์ชั้นกามา
ตลอดจนมหาอัครพรหม

ขอจงมาช่วยอวยพรชัย
ที่มาดไว้ให้ได้ดังประสงค์
จงดลใจไทยกรุงให้นิยม
ช่วยระดมกันให้สิ้นศึกเอย ฯฯ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ม.ค. 18, 17:43
https://pantip.com/topic/37326640

ได้อ่านหลายๆคอมเม้นท์ในยูทูป แล้วก็รู้สึกตลกในตรรกะของคนดูบางคนที่ว่า คุณน้อยเป็นม.ล. เลยรู้ธรรมเนียมดี ตรรกะนั้นคงใช้ได้กับม.ล.บางท่าน ไม่ใช่กับคุณน้อยแน่นอน ก็ยังงงอยู่ว่า เป็น ม.ล. แต่ทำไมเหมือนไม่รู้ธรรมเนียมอะไรในวังเลยจริงๆ ทั้งๆที่อายุคุณน้อยก็ไม่น้อยแล้ว น่าจะทันพวกเจ้านายที่เคยอยู่ในรั้วในวัง น่าจะต้องได้รับฟังอะไรมาบ้าง โดยส่วนตัวเราไม่ได้ติดตามเรื่องนี้บ่อยนัก เพราะเปิดมาทีไรก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจตลอด มันทำให้ไม่สามารถดูละครเรื่องนี้ได้อย่างราบรื่น และคิดว่าคงมีอีกไม่น้อยที่รู้สึกเหมือนเรา เท่าที่เห็นว่ามันผิดจากธรรมเนียม ก็อย่างเช่น

1. ฉากเข้าเฝ้า ทำไมให้ข้าราชการระดับคุณหลวง ถึงสามารถไปนั่งหมอบกระแตอยู่หน้า พระยาได้ตลอดเวลา
2. ทำไมพระเจ้าอุทุมพร พระเจ้าเอกทัศ ถึงเรียกใช้แต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ทั้งๆที่ในการสงครามหรืองานเมืองน่าจะเรียกหา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
3. คุณกำนัลนารีสังข์ ทำกิริยาที่ไม่สมควรอยู่ในวังเลย แม้จะบอกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสีสัน นักเทศ ขันที จริงๆ รูปร่างเป็นชาย เป็นพวกแขก กับพวกจีน ไม่มีที่จะแต่งตัวแบบนี้
4. พระเจ้าเอกทัศ ทำไมต้องสวมพระมหามงกุฎอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ จงกรม ทั้งๆที่ความจริงเราเพิ่งมาถือว่าพระมงกุฎสำคัญก็ล่วงเข้าสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว
5. พระพันวสาน้อย ทำไมต้องห่มสไปเต็มยศตลอดแม้เวลาอยู่ในฝ่ายใน ทั้งๆที่ปกติจะผลัดเป็นผ้าคาดอกทั้งนั้น เพราะสบายและคล่องตัวกว่าเยอะ
6. เจ้าจอมที่คุณญิ๋งแสดง ทำไมถึงมีสิทธิ์ขึ้นเสลี่ยงในเขตวังหลวง ทั้งๆที่ปกติขนาดเจ้านายระดับพระองค์เจ้ายังต้องเดิน แถมพนักงานเสลียงยังเป็นผู้ชายอีก ผิดทั้งทำธรรมเนียม ผิดทั้งจารีต
7. รุจจาเทวี เป็นชื่อพระองค์เจ้า ไม่ใช่เจ้าฟ้า
8. เจ้าฟ้า ไม่ไหว้ไพร่แน่นอนในสมัยก่อน อย่างช้าสุดธรรมเนียมนี้ยังถือกันอยู่จนถึงรัชกาลที่ 5 พวกที่บอกว่าเจ้าไหว้ไพร่ได้นั้นเพราะ ธรรมเนียมมันเคลื่อนมามากแล้ว เอาไปเทียบกันไม่ได้ สมัยที่ศักดินาเข้มข้นมันต่างกับสมัยเราเยอะ
9. พระอิสริยยศ พระอัครมเหสีในสมัยอยุธยาเป็น "กรมขุน หรือกรมหลวง" เพราะฉะนั้นเป็น กรมขุนพิมลภักดี ถ้าจะยอพระเกียรติท่านจริง ก็ไม่ควรไปลดยศพระองค์ท่าน เป็นแต่เพียง "กรมหมื่น"
10. เด็กหญิงที่ยังไม่โกนจุก หรือ โสกันต์ จะไม่ห่มสไบ
11. บุษบาบรรณ นี่คือชื่อ ไพร่สมัยอยุธยาจริงๆหรือ เข้าใจว่าเป็นนางเอก แต่ก็ควรตั้งชื่อให้เหมาะสม เจ้าฟ้าสมัยนั้น ชื่อ นิ่ม สังวาล ประชาวดี พระองค์เจ้าชื่อแมลงเม่า มังคุด รถ นี่เป็นเพียงไพร่ถึงจะบอกว่ามีเชื้อสายพราหมณ์ก็เถอะ ถ้าชื่อหรูกว่าเจ้า รับรองอยู๋ในวังไม่รอด มีแต่คนเกลียดไม่เป็นที่โปรดปรานแบบนี้หรอก เพราะประพฤติเสมอ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ตั้งชื่อสูงเกินศักดิ์
12. ฉากถวายตัว นี่ก็สุดบรรยาย นึกว่ารำแก้บน
13. เกือบลืม คุณพวงแก้ว (ไม่แน่ใจว่าใช้ชื่อนี้ไหม) เชิญรับยาที่ช่องเบอร์ 6 เถอะ ล้นจนไม่รู้จะล้นยังไง ไม่รู้ว่าผู้กำกับเป็นคนบอกให้ถ่ายทอดแบบนี้รึ่เปล่า คือ มัน out of reality มาก
14. พระเจ้าอุทุมพร ห่มลูกบวบ คือ สรุปเป็นมอญนิกาย ไม่ใช่ลังกาวงศ์แล้วหรืออย่างไร

ขอเพิ่มเติมจากเพื่อนๆที่ช่วยกันให้ข้อมูลที่ผิดปกติของเรื่องนี้
15. พกดาบเข้าเฝ้า ไม่มีแน่นอน ผิดกฎมณเฑียรบาลยกเว้นแต่ราชองครักษ์ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้นถึงมีสิทธิ์พกอาวุธในเขตพระราชฐาน
16. สมัยอยุธยาไม่ใส่เสื้อเข้าเฝ้า เพิ่งเริ่มมีสมัยรัชกาลที่ 4 อันที่จริงเรื่องนี้ไม่เป็นไร เพราะคุณน้อยอาจจะคิดว่าอุจาดเลยให้ใส่เสื้อ แต่กระทั่งชมตลาดยังใส่เสื้อเต็มยศนี้เกินไปนิดนึง
17. การพูดไทยคำอังกฤษคำ เช่น รับ tea ไหมจ๊ะ ถามจริงๆคนเรียนเมืองนอกเค้าพูดแบบนี้หรือ พูดรับชาไหมจ๊ะ จะดูระรื่นหูกว่าไหม
18. พระเกี้ยว คงไม่ได้ใส่ตลอดทั้งวี่ทั้งวัน ปกติยังไม่ตัดจุกจะร้อยมาลัยสวมรอบพระเมาฬี(จุก) พระเกี้ยวคงใช้เฉพาะในพระราชพิธีโสกันต์ เกศากันต์ หลังตัดจุกคงไว้ผมยาว ก็ไม่ใส่พระเกี้ยวอยู่ดี ใส่มากๆหนักศีรษะ ไมเกรนพาลจะรับประทานเอา
19. พระพันวสาน้อยพระราชทานเกี้ยวทองกับปิ่นทองรับขวัญหลานพระสนม เราอุทานเบาๆ สมัยก่อนจะให้อะไรแก่ใครต้องคำนึงถึงฐานันดรเสมอ เจ้าฟ้าใช้เครื่องทอง หม่อมเจ้าใช้เครื่องเงิน ไม่มีสิทธ์ใช้เครื่องทองเพราะสูงเกินศักดิ์ หม่อมราชนิกูลใช้เครื่องนาค การที่พระพันวสาน้อยซึ่งย่อมต้องรู้ธรรมเนียมพวกนี้เป็นอย่างดี จะพระราชทานเครื่องทองนั้นคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้
20. พระสยามเทวาธิราช ประเด็นแรกชาวอยุธยา เรียกตัวเองว่า คนไทย เรียกกรุงศรีอยุทธยา (เขียนตามตัวสะกดดั้งเดิม) แบบลำลองว่ากรุงไทย เราไม่เคยเรียกตัวเองว่า สยามจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งนำไปสู่พระเด็นถัดมาคือ พระสยามเทวาธิราชก็เพิ่งมามีในรัชกาลที่ 4 นี่เอง ที่ถูกน่าจะบอกว่า พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง มากกว่า

          ถึงจะบอกว่ามันเป็นเพียงละคร แต่ละครก็ควรจะสอดแทรกเกร็ดความรู้ที่ถูกต้องให้กับผู้ชม โดยเฉพาะเด็กๆที่ไม่มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ จะจำไปผิดๆได้ ไม่ใช่สักแต่จัดฉากสวย เสื้อผ้าหน้าผมอลังการ เครื่องประกอบฉากดูไฮโซ นั่นจริงๆแล้วเป็นแค่ส่วนเสริมให้ละครออกมาน่าดูเท่านั้น สิ่งที่ผู้จัดและผู้กำกับทั้งหลายควรให้ความสำคัญที่สุด ควรจะเป็นเนื้อหาความถูกต้อง เพื่อให้คนไทยรุ่นหลังอย่างพวกเราๆได้เกิดความภาคภูมิใจว่า เราเป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ มี"ราก" มีความเป็นมาที่ช้านาน ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยผ่านจารีต ประเพณีและธรรมเนียม (ที่บางท่านอาจจะคิดว่ายุบยิบหยุมหยิมเหล่านี้) และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษที่ท่านได้สละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้เรามีแผ่นดินอาศัยอยู่มาจนถึงบัดนี้ได้อย่างแท้จริง

          จริงๆแล้วการหาข้อมูลคิดว่าไม่ได้หนักหนาหรือยากลำบากอะไรเลยอะไรเลย ถ้าจะให้วิจารณ์ตรงไปกว่านี้คือ เทียบกับ ฟ้าใหม่ สายโลหิต รัตนโกสินทร์ ไม่ได้เลย ทั้งๆที่ละครเหล่านี้ไม่ได้มีฉากอลังการอะไร แต่กลับสะท้อนสภาพสังคมที่เป็นจริงในสมัยก่อนออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นี่ถึงจะเรียกว่าละครที่มีคุณภาพ และรับผิดชอบต่อสังคม

          จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้นอกจากต้องการเผยแพร่สิ่งที่ถูกต้องแล้ว ยังแอบหวังใจเล็กๆว่ามันจะไปถึงทางทีมผู้จัด โดยเฉพาะคุณน้อย ทุกคนล้วนเคยทำเรื่องผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น แต่สำคัญคือต้องแก้ไข หวังว่าคุณน้อยคงใช้สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้เป็นบทเรียน และปรับปรุงให้ดีขึ้นในละครหรือภาพยนตร์เรื่องหน้าต่อๆไป ถ้าคุณน้อยใส่ใจให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากขึ้น รับรองว่าละครของคุณน้อยจะต้องออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ชื่นชมในทุกด้านอย่างแน่นอน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ม.ค. 18, 20:38
หลายอย่างนั้นผิดเพี้ยน   แม้จะเขียนว่าตั้งใจ
เทิดซึ่งพระเกียรติไว้       ด้วยใจหมายสดุดี

ผิดทั้งประวัติศาสตร์       ผิดทั้งราชประเพณี
ผิดแล้วฤๅควรที่            จะนิ่งไว้ไม่ชี้แจง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=66163;image)

หนังสือ “ความทรงจำ” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่ามีผู้แต่งหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผิดเพี้ยนจากข้อเท็จจริง

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิจารณ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติที่เขียนเรื่องเป็นความเท็จเหล่านี้ไว้ว่า

“ข้อความเหล่านี้เป็นของผู้ไม่รู้ราชประเพณี ประดิษฐ์ขึ้นในหนังสือที่ตนแต่ง หวังจะให้คนชมว่ารู้มาก แต่น่าอนาถใจที่มีบุคคลชั้นสูงอันควรจะรู้ว่าเป็นเท็จยอมเชื่อถึงคัดเอามาลงในหนังสือที่ตนแต่งพิมพ์ในภายหลัง ฉันได้เคยต่อว่าก็แก้แต่ว่า ถึงไม่จริงนักก็เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉันเห็นว่าแต่งหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ควรกล่าวแต่ที่เป็นความจริง ถ้าเอาความเท็จมากล่าวหาเป็นพระเกียรติไม่”


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ม.ค. 18, 21:14
 :D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 11:50
https://www.youtube.com/watch?v=ZrD_nrpUHyA

https://www.youtube.com/watch?v=5p5DGYmiUsQ

https://www.youtube.com/watch?v=5tZ8s1kTnDY


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 12:00
https://youtu.be/8uzE8UOc6iQ
https://www.youtube.com/watch?v=7BzoNfZzs9Q

https://www.youtube.com/watch?v=E0-i-pWi_5w



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 12:25
หาคลิป ตอนที่ 14 [4/6] ไม่เจอค่ะ  คุณเพ็ญชมพูเจอไหมคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 12:52
https://youtu.be/8uzE8UOc6iQ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 13:22
นึกแล้วว่าต้องเจอ ขอบคุณค่ะ
จะยกไปใส่ข้างบนเลยนะคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 14:12
ดูตอนที่ 14 (1/6)  ก็เจอฉากพระพิมานอนันดา เป่าขลุ่ย  ท่วงทำนองเพลงคุ้นๆ  ฟังสักพัก  คิดว่าไม่น่าจะเป็นเพลงอื่นนอกจากลาวคำหอม
ถ้าเป็นเพลงนี้ก็แสดงว่า พระพิมานคงจะโดยสารไปกับแม่บุษบาบรรณ ทะลุมิติออกสู่ยุครัตโกสินทร์ได้ในรัชกาลที่ 6
ก่อนจะกลับมาสมัยอยุธยาตอนปลาย

ตามประวัติเพลงลาวคำหอม ผู้แต่งคือจ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "จ่าโคม" แต่งทั้งบทร้องและทำนองการร้อง ต่อมา พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึงแต่งทำนองดนตรีขึ้นสำหรับบรรเลงรับร้อง โดยถอดจากทำนองร้องของจ่าเผ่นผยองยิ่งอีกชั้นหนึ่ง ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีทุกชนิดจนปัจจุบัน



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 ม.ค. 18, 15:03
          ผกก.ใช้อภิสิทธิ์จับเพลง"ล้ำยุค" หลายเพลงมาใส่ในละครตามความที่เห็นว่าเหมาะสมกับอารมณ์,
เนื้อเรื่อง ทั้งเพลง บังใบ และลาวคำหอม (คงจะ)สื่อเรื่องรักสามเส้าเราสามคนที่กำลังจะตามมา, เพลงจากเรือน
เหมือนนกจากรัง ตอนคุณพิมานจะออกจากเรือนบุษบาคราวก่อน, เพลงบุหลันลอยเลื่อน ในคืนส่งตัวแม่นางแข
นอกจากนี้ยังมีเพลงบรรเลงสั้นๆ ที่เรียบเรียงได้เหมือนกับตอนท้ายเพลงท่อนที่สองของ From the New World
Symphony โดย Dvorak ที่มีคนนำมาใส่คำร้องเป็นเพลง Goin' Home ประกอบซีนที่เกี่ยวกับการกลับคืนมา(บ้าน)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 15:21
จริงค่ะ   อภิสิทธิ์เพลงทั้งนั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 15:22
"ลาวคำหอม" น่าจะเป็นเพลงโปรดของหม่อมท่าน

ศรีอโยธยา

https://youtu.be/qXcexN95FDU

แม่เบี้ย

https://youtu.be/10Yu0iieEz4

สี่แผ่นดิน

https://youtu.be/dzjUB4W-ndA


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 30 ม.ค. 18, 15:47
ขออนุญาติโพสต์รวมกระทู้เนื้อหาใน pantip

ได้อ่านหลายๆคอมเม้นท์ในยูทูป แล้วก็รู้สึกตลกในตรรกะของคนดูบางคนที่ว่า คุณน้อยเป็นม.ล. เลยรู้ธรรมเนียมดี ตรรกะนั้นคงใช้ได้กับม.ล.บางท่าน แต่อาจจะใช้ไม่ได้กับคุณน้อย ก็ยังงงอยู่ว่าเป็น ม.ล. แต่ทำไมคุณน้อยดูเหมือนไม่ค่อยรู้ธรรมเนียมอะไรในวังเลยเสียจริงๆ ทั้งๆที่อายุของคุณน้อยก็จัดว่าไม่น้อยแล้ว น่าจะทันพวกเจ้านายที่เคยอยู่ในรั้วในวัง และคาดว่าน่าจะเคยได้รับฟังเรื่องราวประเภทนี้มาบ้าง โดยส่วนตัวเราไม่ได้ติดตามเรื่องนี้บ่อยนัก เพราะเปิดมาทีไรก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจตลอด มันทำให้ไม่สามารถดูละครเรื่องนี้ได้อย่างราบรื่น และคิดว่าคงมีอีกไม่น้อยที่รู้สึกเหมือนเรา เท่าที่เห็นว่ามันผิดจากธรรมเนียม ก็อย่างเช่น

1. ฉากเข้าเฝ้า ทำไมให้ข้าราชการระดับคุณหลวง ถึงสามารถไปนั่งหมอบกระแตอยู่หน้า พระยาได้ตลอดเวลา
2. ทำไมพระเจ้าอุทุมพร พระเจ้าเอกทัศ ถึงเรียกใช้แต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ทั้งๆที่ในการสงครามหรืองานเมืองน่าจะเรียกหา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
3. คุณกำนัลนารีสังข์ ทำกิริยาที่ไม่สมควรอยู่ในวังเลย แม้จะบอกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสีสัน นักเทศ ขันที จริงๆ รูปร่างเป็นชาย เป็นพวกแขก กับพวกจีน ไม่มีที่จะแต่งตัวแบบนี้
4. พระเจ้าเอกทัศ ทำไมต้องสวมพระมหามงกุฎอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ จงกรม ทั้งๆที่ความจริงเราเพิ่งมาถือว่าพระมงกุฎสำคัญก็ล่วงเข้าสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว
5. พระพันวสาน้อย ทำไมต้องห่มสไปเต็มยศตลอดแม้เวลาอยู่ในฝ่ายใน ทั้งๆที่ปกติจะผลัดเป็นผ้าคาดอกทั้งนั้น เพราะสบายและคล่องตัวกว่าเยอะ
6. เจ้าจอมที่คุณญิ๋งแสดง ทำไมถึงมีสิทธิ์ขึ้นเสลี่ยงในเขตวังหลวง ทั้งๆที่ปกติขนาดเจ้านายระดับพระองค์เจ้ายังต้องเดิน แถมพนักงานเสลียงยังเป็นผู้ชายอีก ผิดทั้งทำธรรมเนียม ผิดทั้งจารีต
7. รุจจาเทวี เป็นชื่อพระองค์เจ้า ไม่ใช่เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าในรัชกาลนี้ที่ปรากฏชื่อมีเพียงพระองค์เดียวคือ "เจ้าฟ้าสิริจันทรเทวี" พระธิดาตัวจริงของ"กรมขุนวิมลภักดี" แต่คุณน้อยกลับไปหยิบเอาพระนามพระองค์เจ้าลูกพระสนม สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าไปซะเฉยๆ ทั้งๆที่ก็มีพระนามเจ้าฟ้าพระองค์จริงปรากฏอยู่ชัดเจนแล้วแท้ๆ
8. เจ้าฟ้า ไม่ไหว้ไพร่แน่นอนในสมัยก่อน อย่างช้าสุดธรรมเนียมนี้ยังถือกันอยู่จนถึงรัชกาลที่ 5 พวกที่บอกว่าเจ้าไหว้ไพร่ได้นั้นเพราะ ธรรมเนียมมันเคลื่อนมามากแล้ว เอาไปเทียบกันไม่ได้ สมัยที่ศักดินาเข้มข้นมันต่างกับสมัยเราเยอะ
9. พระอิสริยยศ พระอัครมเหสีในสมัยอยุธยาเป็น "กรมขุน หรือกรมหลวง" เพราะฉะนั้นเป็น กรมขุนพิมลภักดี ถ้าจะยอพระเกียรติท่านจริง ก็ไม่ควรไปลดยศพระองค์ท่าน เป็นแต่เพียง "กรมหมื่น"
10. เด็กหญิง/เจ้าหญิง ที่ยังไม่โกนจุก/โสกันต์ จะไม่ห่มสไบ
11. บุษบาบรรณ นี่คือชื่อ ไพร่สมัยอยุธยาจริงๆหรือ เข้าใจว่าเป็นนางเอก แต่ก็ควรตั้งชื่อให้เหมาะสม เจ้าฟ้าสมัยนั้น ชื่อ นิ่ม สังวาล ประชาวดี พระองค์เจ้าชื่อแมงเม่า มังคุด รถ นี่เป็นเพียงไพร่ถึงจะบอกว่ามีเชื้อสายพราหมณ์ก็เถอะ ถ้าชื่อหรูกว่าเจ้า รับรองอยู๋ในวังไม่รอด มีแต่คนเกลียดไม่เป็นที่โปรดปรานแบบนี้หรอก เพราะประพฤติเสมอ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ตั้งชื่อสูงเกินศักดิ์
12. ฉากถวายตัว นี่ก็สุดบรรยาย นึกว่ารำแก้บน
13. เกือบลืม คุณพวงแก้ว (ไม่แน่ใจว่าใช้ชื่อนี้ไหม) เชิญรับยาที่ช่องเบอร์ 6 เถอะ ล้นจนไม่รู้จะล้นยังไง ไม่รู้ว่าผู้กำกับเป็นคนบอกให้ถ่ายทอดแบบนี้รึ่เปล่า คือ มัน out of reality มาก
14. พระเจ้าอุทุมพร ห่มลูกบวบ คือ สรุปเป็นรามัญนิกาย ไม่ใช่ลังกาวงศ์แล้วหรืออย่างไร

ขอเพิ่มเติมจากเพื่อนๆที่ช่วยกันให้ข้อมูลที่อาจจะบิดเบี้ยวทีปรากฏในละครเรื่องนี้

15. พกดาบเข้าเฝ้า ไม่มีแน่นอน ผิดกฎมณเฑียรบาลยกเว้นแต่ราชองครักษ์ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้นถึงมีสิทธิ์พกอาวุธในเขตพระราชฐาน
16. สมัยอยุธยาไม่ใส่เสื้อเข้าเฝ้า เพิ่งเริ่มมีสมัยรัชกาลที่ 4 อันที่จริงเรื่องนี้ไม่เป็นไร เพราะคุณน้อยอาจจะคิดว่าอุจาดเลยให้ใส่เสื้อ แต่กระทั่งชมตลาดยังใส่เสื้อเต็มยศนี้เกินไปนิดนึง
17. การพูดไทยคำอังกฤษคำ เช่น รับ tea ไหมจ๊ะ ถามจริงๆคนเรียนเมืองนอกเค้าพูดแบบนี้หรือ พูดรับชาไหมจ๊ะ จะดูระรื่นหูกว่าไหม
18. พระเกี้ยว คงไม่ได้ใส่ตลอดทั้งวี่ทั้งวัน ปกติยังไม่ตัดจุกจะร้อยมาลัยสวมรอบพระเมาฬี(จุก) พระเกี้ยวคงใช้เฉพาะในพระราชพิธีโสกันต์ เกศากันต์ หลังตัดจุกคงไว้ผมยาว ก็ไม่ใส่พระเกี้ยวอยู่ดี ใส่มากๆระวังไมเกรนจะพาลรับประทานเอา
19. พระพันวสาน้อยพระราชทานเกี้ยวทองกับปิ่นทองรับขวัญหลานพระสนม เราอุทานเบาๆ สมัยก่อนจะให้อะไรแก่ใครต้องคำนึงถึงฐานันดรเสมอ เจ้าฟ้าใช้เครื่องทอง หม่อมเจ้าใช้เครื่องเงิน ไม่มีสิทธ์ใช้เครื่องทองเพราะสูงเกินศักดิ์ หม่อมราชนิกูลใช้เครื่องนาค การที่พระพันวสาน้อยซึ่งย่อมต้องรู้ธรรมเนียมพวกนี้เป็นอย่างดี มีรึที่จะพระราชทานเครื่องทองให้
20. พระสยามเทวาธิราช ประเด็นแรกชาวอยุธยา เรียกตัวเองว่า คนไทย เรียกกรุงศรีอยุทธยา (เขียนตามตัวสะกดดั้งเดิม) แบบลำลองว่ากรุงไทย เราไม่เคยเรียกตัวเองว่า สยามจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งนำไปสู่ประเด็นถัดมาคือ พระสยามเทวาธิราชก็เพิ่งมามีในรัชกาลที่ 4 นี่เอง ที่ถูกน่าจะบอกว่า พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง มากกว่า

21. บนพระแท่นราชบัลลังก์ สามารถให้ขุนนางขึ้นไปยืนได้ด้วยหรือ.... ถ้าหากว่าทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตจริง พระยานาหมื่นผู้นั้น แนะนำให้ระวังตัวให้มากๆ เพราะนั่นแสดงว่าทรงเคลือบแคลงพระราชหฤทัยในตัวท่านแล้วทรงลองใจ ถ้ายังกล้าขึ้นไปยืน เสร็จพระราชพิธียังมิทันจะกลับถึงบ้าน อาจต้องพระราชอาญาขบถ ถูกฟันคอริบเรือนในไม่ช้านี้แล
22. เห็นมาหลายตอนแล้ว เจ้าฟ้าสุทัศน์เปลือยท่อนบน แต่พิมานข้ารับใช้ยังสวมเสื้ออยู่ได้หน้าตาเฉย
23. ขุนนางที่อ่านประกาศพระบรมราชโองการ ถามจริงๆ ไม่ต้องบอกว่าเกิดทันหรือไม่ทัน แค่เอาความเป็นมนุษย์ปุถุชนเข้ามาจับ เราพูดกับแบบนั้นจริงๆรึเปล่า อ่านเสร็จก็เชิดแล้วตั้งวงตีลังกาด้วยเลยดีไหม

            พวกที่บอกว่าสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยาคือ สำเนียงแบบพากย์เจรจาโขน หรือสำเนียงสุพรรณ เราจะขอแย้งด้วยหลักฐานที่มีระบุเอาไว้ชัดๆตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พม่ากวาดต้อนผู้คนในกรุงศรีอยุธยาไปเกือบจะหมด เหลือไว้รั้งพระนครแค่ 2 หมื่นได้มั้ง ประชากรส่วนใหญ่กรุงศรีอยุธยาในช่วงหลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา ได้มาจากการกวาดต้อนหัวเมืองเหนือ หัวเมืองมอญ เขมร และจีนเข้ามาทั้งนั้น นั่นคือ หลังจากรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา แทบจะหาคนกรุงศรีฯรุ่นดั้งเดิมไม่ได้แล้ว แล้วเรายังจะสามารถสรุปแบบกำปั้นทุบดินว่า สำเนียงโขนเป็นสำเนียงหลวงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาได้อีกหรือ แน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ใช่สำเนียงที่เกิดการควบรวมระหว่าง ไทย ลาว มอญ เขมร ในขณะนั้น ไม่ทราบว่าท่านเหล่านั้นหรือท่านทั้งหลายที่เห็นด้วยความคิดเรื่องสำเนียงเจรจาโขนนี้ พอจะตอบข้อสงสัยเราได้บ้างไหม

          แล้วที่บอกว่าสำเนียงรัตนโกสินทร์เนี่ย ผสมสำเนียงจีน สำเนียงเจ๊ก เนี่ย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆรึเปล่า เรามีเพื่อนที่พ่อแม่เค้า จี๊นจีน คือ พูดภาษาไทยยังไม่ชัด ใช้อั๊ว ใช้ลื้อ ม่ายล่าย อะไรประมาณนี้ ถามว่าเพื่อนเรามีสำเนียงผสมระหว่างพ่อแม่เค้า กับสำเนียงไทยรึเปล่า คำตอบคือ ไม่ แล้วเอาตรรกะอะไรมาคิดว่า สำเนียงกรุงเทพฯปัจจุบันเป็นสำเนียงผสม 

           ที่เราพยายามจะบอกคืออย่าหลงเชื่อนักวิชาการอย่างหัวปักหัวปำ เช่น กรณีที่บอกว่า สำเนียงสุพรรณหรือสำเนียงแบบเจรจาโขน เป็นสำเนียงหลวงของราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ถามว่าท่านเหล่านั้นได้คิดรอบคอบหรือยัง มีหลักฐานเพียงพอในการมารองรับหรือไม่ เท่าที่เห็นก็เพียงแต่นั่งยันนอนยันว่าถูกเฉยๆ พอพูดบ่อยๆเข้า พูดซ้ำๆ ออกสื่อบ่อยๆ กลายเป็นน่าเชื่อถือ กลายเป็นเรื่องจริงไปซะอย่างนั้น

24. ฉากพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศ กรมพระราชวังหน้า สรุปคือ กรมพระเทพามาตย์ กรมหมื่นวิมลภักดี(ในเรื่อง) กลายเป็นต้องกราบพิมานไปด้วย เพราะถือพระแสงดาบตามหลังอยู่ ตามธรรมเนียมแล้วฝ่ายในจะไม่เข้ามาร่วมในงานของฝ่ายหน้าโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะระหว่างข้างหน้ากับข้างใน และเลี่ยงความอิหลักอิเหลื่อ เรื่องนี้ยึดเป็นธรรมเนียมมาจนกระทั้งสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะปรากฏว่าพระราชชนนีของท่าน ก็ไม่ได้เข้าร่วมสรงน้ำพระองค์ท่านในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมให้ฝ่ายในเข้าร่วมพระราชพิธีนั่นเอง

25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงาน
มิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง
          ถึงจะบอกว่ามันเป็นเพียงละคร แต่ละครก็ควรจะสอดแทรกเกร็ดความรู้ที่ถูกต้องให้กับผู้ชม โดยเฉพาะเด็กๆที่ไม่มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ จะจำไปผิดๆได้ ไม่ใช่สักแต่จัดฉากสวย เสื้อผ้าหน้าผมอลังการ เครื่องประกอบฉากดูไฮโซ นั่นจริงๆแล้วเป็นแค่ส่วนเสริมให้ละครออกมาน่าดูเท่านั้น สิ่งที่ผู้จัดและผู้กำกับทั้งหลายควรให้ความสำคัญที่สุด ควรจะเป็นเนื้อหาความถูกต้อง เพื่อให้คนไทยรุ่นหลังอย่างพวกเราๆได้เกิดความภาคภูมิใจว่า เราเป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ มี"ราก" มีความเป็นมาที่ช้านาน ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยผ่านจารีต ประเพณีและธรรมเนียม (ที่บางท่านอาจจะคิดว่ายุบยิบหยุมหยิมเหล่านี้) และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษที่ท่านได้สละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้เรามีแผ่นดินอาศัยอยู่มาจนถึงบัดนี้ได้อย่างแท้จริง

          จริงๆแล้วการหาข้อมูลคิดว่าไม่ได้หนักหนาหรือยากลำบากอะไรเลยอะไรเลย ถ้าจะให้วิจารณ์ตรงไปกว่านี้คือ เทียบกับ ฟ้าใหม่ สายโลหิต นิราศสองภพ รัตนโกสินทร์ ไม่ได้เลย ทั้งๆที่ละครเหล่านี้ไม่ได้มีฉากอลังการอะไร แต่กลับสะท้อนสภาพสังคมที่เป็นจริงในสมัยก่อนออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นี่ถึงจะเรียกว่าละครที่มีคุณภาพ และรับผิดชอบต่อสังคม

          จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้นอกจากต้องการเผยแพร่สิ่งที่ถูกต้องแล้ว ยังแอบหวังใจเล็กๆว่ามันจะไปถึงทางทีมผู้จัด โดยเฉพาะคุณน้อย ทุกคนล้วนเคยทำเรื่องผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น แต่สำคัญคือต้องแก้ไข หวังว่าคุณน้อยคงใช้สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้เป็นบทเรียน และปรับปรุงให้ดีขึ้นในละครหรือภาพยนตร์เรื่องหน้าต่อๆไป ถ้าคุณน้อยใส่ใจให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากขึ้น รับรองว่าละครของคุณน้อยจะต้องออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ชื่นชมในทุกด้านอย่างแน่นอน

          อนึ่ง เราได้มีโอกาสเข้าไปอ่านในเว็ปเรือนไทย ตามคห.ที่ 63 แล้ว มีเนื้อหาและสาระกว่าเราเยอะมาก โดยเฉพาะข้อมูลในเชิงลึก แต่ที่ตรงกับใจเราของเป็นโพสต์ของคุณเพ็ญชมพูในหน้า 26 ซึ่งมีกลอนอันไพเราะและมีใจความซึ่งตอบจุดประสงค์การโพสต์ของเราได้เป็นอย่างดี ขออนุญาตนำมาลงไว้ใน ท้ายที่สุดนี้

                                                                       หลายอย่างนั้นผิดเพี้ยน           
                                                             แม้จะเขียนว่าตั้งใจ
                                                             เทิดซึ่งพระเกียรติไว้                     
                                                             ด้วยใจหมายสดุดี
                                                                       ผิดทั้งประวัติศาสตร์           
                                                             ผิดทั้งราชประเพณี
                                                             ผิดแล้วฤๅควรที่                               
                                                             จะนิ่งไว้ไม่ชี้แจง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 30 ม.ค. 18, 15:47
ตอบข้อซักถามเพิ่มเติม

6. // แล้วเสลี่ยงใครมีสิทธินั่งได้บ้างคะ -- เจ้านายชั้นสูง  จริงๆเรายังไม่ได้กลับไปเปิดกฎมณเฑียรบาลเพราะหนังสืออยู่อีกบ้านนึง แต่ที่ทราบและมีหลักฐานคือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เคยทรงเสลียงมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ก็เป็นเพียงจากภายนอกเข้ามาถึงทิมดาบซึ่งอยู่ไม่ไกลจากประตูกำแพงพระราชวังเท่านั้น ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีรัชกาลที่ 3 ครั้นยังดำรงพระอิสริยยศที่ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยทรงวอประเวศวังมาเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 2 ทั้งสองพระองค์ล้วนเป็นพระบรมวงศ์องค์สำคัญในรัชกาลนั้นๆทั้งสิ้น
          อีกประการหนึ่งถ้าคุณได้มีโอกาสไปเที่ยวชมพระราชวังโบราณแล้ว จะเห็นได้ว่า เขตที่อยู่ของฝ่ายในที่เรียกว่า "ท้ายสนม" นั้นเนื้อที่ไม่ได้กว้างขวางเท่าใดเลย คงไม่เหมาะที่จะแห่แหนไปด้วยเสลี่ยง และในความเป็นจริงก็คงไม่มีความจำเป็น เนื่องจากพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยามีฉนวนสำหรับพระมหากษัตริย์และฝ่ายในยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ของพระราชวัง จึงไม่มีความจำเป็นที่ฝ่ายในจะต้องนั่งเสลี่ยงแต่ประการใด

7. // รุจจาเทวี เป็นพระนามของพระองค์เจ้าลูกเธอ ในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระองค์หนึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแม้นพระสนมเอก ร่วมพระครรโภทรกับพระองค์เจ้าชายสุทัศน์ ส่วนพระนามเจ้าฟ้าในรัชกาลดังกล่าวที่พบ ตามคำให้การชาวกรุงเก่ามีเพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี ซึ่งประสูติแต่ กรมขุนวิมลภักดี พระอัครมเหสี

9.// พระอิสริยยศ พระอัครมเหสีในสมัยอยุธยาขาดูจากอะไรบ้างว่าตำแหน่งฝ่ายในใครควรเลื่อนยศ เลื่อนยศเป็นอะไรจากยศเดิม -- คงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยทั่วไปก็สุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย แต่โดยทั่วไปมักจะทรงยกย่องพระภรรยาเจ้า โดยเฉพาะพระองค์ที่เป็นพระภรรยาเจ้าตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระอัครมเหสี ส่วนจะได้ทรงกรมระดับกรมขุนหรือกรมหลวง ยังไม่ทราบเหตุผลในการเลือกที่ชัดเจนเหมือนกัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนีทั้งที่เป็นแม่จริงและแม่เลี้ยง ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์มักสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "กรมพระเทพามาตย์"

11. //สมัยนั้นไพร่มีชื่อหรือยังคะ และส่วนใหญ่ชื่ออะไรกันเพราะระดับเจ้านายก็ดูจะชื่อธรรมดามากๆแล้วถ้าจะตั้งแบบไม่ให้หรูเกินจะต้องตั้งอย่างไง มีกฏเกณฑ์การตั้งชื่อไหมคะสมัยนั้น -- คงไม่มีกฏเกณฑ์อะไรตายตัว แต่ในสมัยก่อนเรานิยมตั้งชื่อเป็นคำโดด คือ พยางค์เดียว อย่างมากสุดคือ 2 พยางค์ เท่านั้น เราจะยกตัวอย่างจากละครที่คิดว่าพอจะเข้าเค้าแล้วกัน เรื่องสายโลหิตพระเอกชื่อ ไกร นางเอกชื่อ ดาวเรือง, เรื่องฟ้าใหม่พระเอกชื่อ แสน นางเอกชื่อ เรณูนวล(อันนี้ก็เทียมเจ้าเทียมนายเหมือนกัน) , นิราศสองภพพระเอกชื่อ เทียน ส่วนนางเอกที่หลงภพไปชื่อ บัวบุษยา นามสกุลหิรัญมนตรีกุล และก็มีฉากที่ถูกบ่าวรับใช้ของแม่พระเอกค่อนขอดว่า เป็นแค่บ่าวไพร่ แต่ตั้งชื่อราวกับเจ้ากับนาย, เรื่องรัตนโกสินทร์พระเอกชื่อ ฟัก นางเอกชื่อ เพ็ง

         ส่วนบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริงๆและเป็นสามัญชน สามารถ search ได้จากรายชื่อเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลต่างๆของกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อก็คงไม่ทิ้งจากแบบนี้มาก ท่านเหล่านี้ก็ล้วนเป็นผู้ลากมากดีทั้งนั้น ยังไม่เห็นมีใครชื่อวิลิศมาหราถึง 3 พยางค์และศัพท์บาลีสันสฤตเหมือนบุษบาบรรณ เลยสักท่านเดียว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 30 ม.ค. 18, 15:49
 ตอบข้อซักถามเพิ่มเต็มใน pantip

        เราว่าที่คุณเขียนมาก็ถูก แต่ไม่ถูกซะทีเดียว เกาหลีหรือญี่ปุ่นล้วนอ้างอิงมาจากข้อมูลหลักฐานเสมอ แล้วเอามาเติมแต่งส่วนที่ขาดหายไป ในที่สุดมันจะบรรจบเข้ากับประวัติศาสตร์ได้พอดี จะว่าเป็นความโชคดีของชาติเราก็ได้ ที่ถึงแม้ว่าเราจะมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ขาดวิ่นอยู่หลายช่วง แต่ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยากลับเป็นช่วงที่มีความสดใหม่ ทำให้มีหลักฐานอยู่อย่างกลาดเกลื่อน ทั้งของไทยเอง ของพม่า ของฝรั่ง ถ้าจะกล้าจริง ก็กล้าให้ถูกทางแบบเกาหลี แบบญี่ปุ่นเหมือนที่คุณกล่าวถึง คือ อาศัยข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ ผูกเรื่องขึ้นมาให้น่าสนใจ มีปมที่ชวนติดตาม โดยส่วนตัวคิดว่าแบบนี้ถึงจะเรียกว่า กล้าอย่างแท้จริง

        สมมุติว่ายกเรื่องเนื้อหาของละครเรื่องนี้ออกไปเพราะว่าไม่ใช่ละครอิงประวัติศาสตร์ ถามว่าละครเรื่องนี้สอบผ่านไหม ก็ต้องตอบตามความเห็นเราว่าไม่ผ่านอย่างแรง ถามว่าตรงไหน ก็ต้องเป็นเรื่องขนบจารีตของละครเรื่องนี้เนี่ยแหละ เราต้องแยกแยะนะว่า ถึงแม้เนื้อหาละครจะลงทะเลไปขนาดไหน แต่เราสามารถรักษาขนบธรรมเนียม จารีต ให้เป็นไปตามครรลองในสมัยนั้นไว้ได้ และมันจะทำให้ละครดูน่าติดตาม ดูสมจริงมากขึ้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงเนื้อหาใดๆเลย ซึ่งละครเรื่องนี้ก็ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ดีอย่างที่มันควรจะเป็น

         ถามว่าเราสามารถเรียกร้องความเป็นจริงจากละครได้ไหม ก็คงไม่ขนาดนั้น และมันขึ้นกับจุดประสงค์ของละครเรื่องนั้นๆเองด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ทางทีมงานคุณน้อยเอง ก็อุตส่าห์โปรดหัวซะดิบดีว่า รังสรรค์ขึ้นเพื่อ "เชิดชูพระเกียรติคุณแห่งองค์พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าให้ประจักษ์แก่คนรุ่นหลัง" เขียนซะยิ่งใหญ่รัชดาลัยเธียเตอร์ซะขนาดนี้ แน่นอนคนดูหลายๆคนก็คงหวังให้มันตั้งอยู่บนข้อมูลที่ถูกต้องอยู่พอสมควร ไม่เช่นนั้นมันจะเข้าทีว่า ยกย่องในพื้นฐานที่เลื่อนลอย บุคคลที่สมควรถูกยกย่องไม่มีกล่าวถึง แต่บุคคลที่ยังไม่สมควรถูกยกย่องเวลานั้น กลับมีบทบาทมากเหลือเกิน อย่างที่ละครเรื่องนี้ทำอยู่ แบบนี้หรือคือการยกย่องเชิดชูบรรพบุรษของเรา

        จริงๆโดยส่วนตัวเราคิดว่าน่าจะเติมตรงโปรยหัวในทุกตอน ให้ชัดไปเลยว่า ละครเรื่องนี้ผู้สร้างผูกเรื่องขึ้นเองทั้งหมดหาได้มีส่วนใดส่วนหนึ่งตรงกับพระราชพงศาวดารฉบับใดไม่ ธรรมเนียมและเนื้อหาส่วนใหญ่ อาจไม่ต้องด้วยขนบจารีตที่เกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่เพียงจินตนาการของผู้กำกับและทีมงานล้วนๆ และผู้ใหญ่ควรให้คำชี้แจงแก่เด็กๆอย่างใกล้ชิด ด้วยซ้ำไป คือ ถ้าจะผลิตละครที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมคาดหวัง ก็ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ไม่ใช่โปรยหัวกั๊กๆแบบที่กำลังทำอยู่

         อยากให้เรื่องถัดๆไปคุณน้อยสละงบ 5 เปอร์เซ็นต์จากฝ่ายเสื้อผ้าและสถานที่ อีกสัก 3 เปอร์เซ็นต์จากการโปรโมทหนัง/ละคร มาจ้างนักประวัติศาสตร์ที่เชียวชาญสักท่านมาช่วยชี้แนะ ว่าอะไรถูกอะไรควร หรือถ้ามีอยู่แล้วก็รบกวนรับฟังเค้ามากๆ ไม่อย่างนั้นก็จากออกมาเป็นละครจินตลีลา แฟนตาซีแบบนี้แล

ส่วนเรื่องที่บอกว่าบทอ่อน อันนี้ก็เห็นๆกันอยู่คงไม่ต้องสาธยายเพิ่มเติมอีก


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 16:02
ขอบคุณคุณเขียวนเรศที่นำกระทู้ในพันทิปมาลงให้อ่านกันที่นี่ด้วยค่ะ

มีบางข้อที่อยากเพิ่มเติมนิดหน่อย

11. //สมัยนั้นไพร่มีชื่อหรือยังคะ และส่วนใหญ่ชื่ออะไรกันเพราะระดับเจ้านายก็ดูจะชื่อธรรมดามากๆแล้วถ้าจะตั้งแบบไม่ให้หรูเกินจะต้องตั้งอย่างไง มีกฏเกณฑ์การตั้งชื่อไหมคะสมัยนั้น -- คงไม่มีกฏเกณฑ์อะไรตายตัว แต่ในสมัยก่อนเรานิยมตั้งชื่อเป็นคำโดด คือ พยางค์เดียว อย่างมากสุดคือ 2 พยางค์ เท่านั้น เราจะยกตัวอย่างจากละครที่คิดว่าพอจะเข้าเค้าแล้วกัน เรื่องสายโลหิตพระเอกชื่อ ไกร นางเอกชื่อ ดาวเรือง, เรื่องฟ้าใหม่พระเอกชื่อ แสน นางเอกชื่อ เรณูนวล(อันนี้ก็เทียมเจ้าเทียมนายเหมือนกัน) , นิราศสองภพพระเอกชื่อ เทียน ส่วนนางเอกที่หลงภพไปชื่อ บัวบุษยา นามสกุลหิรัญมนตรีกุล และก็มีฉากที่ถูกบ่าวรับใช้ของแม่พระเอกค่อนขอดว่า เป็นแค่บ่าวไพร่ แต่ตั้งชื่อราวกับเจ้ากับนาย, เรื่องรัตนโกสินทร์พระเอกชื่อ ฟัก นางเอกชื่อ เพ็ง

ถูกต้องค่ะ ชื่อสามัญชนของไทยแต่เดิมตั้งแต่ปลายอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5  นิยมชื่อสั้นๆง่ายๆ อ่านปุ๊บเข้าใจความหมายปั๊บ   ไม่ต้องแปล และส่วนใหญ่ไม่กำหนดเพศ   คือใช้กับชายหรือหญิงก็ได้เหมือนกัน
ก็มีแต่พระนามเจ้าฟ้าบางพระองค์เท่านั้นที่เอามาจากบาลีสันสกฤต เช่นเจ้าฟ้าพินทวดี

ชื่อแม่เรณูนวลนางเอกฟ้าใหม่  ผู้เขียนคือคุณศุภร บุนนาคได้ออกตัวไว้ในเรื่อง โดยให้นางกำนัลอาวุโสบอกแม่พระเอกว่า ไม่มีใครเรียกชื่อเต็ม  เขาเรียกกันว่าแม่นวลเท่านั้น
แสดงว่าท่านผู้เขียนก็รู้ธรรมเนียมการตั้งชื่อในสมัยปลายอยุธยาเป็นอย่างดี    แต่ท่านเป็นคนยุคหลังจากนั้น 200 ปี
 ที่เห็นว่าชื่อของนางเอกนิยายของท่านควรไพเราะเสนาะหูคนอ่านยุคท่าน  ก็เลยตั้งให้ถูกรสนิยมคนอ่าน  ถึงกระนั้นท่านก็ไม่มองข้ามธรรมเนียมเดิมที่จะให้นางเอกมีชื่อสั้นๆง่ายๆ

ชื่อบุษบาบรรณ ถ้ามีจริงสมัยอยุธยาตอนปลาย คงจะถูกเรียกว่า แม่บัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 16:13
   หลักการเขียนนิยายหรือละคร(หรือหนัง)อิงประวัติศาสตร์มีหลักข้อหนึ่งว่า คนเขียนจะสมมุติอะไรก็ได้เข้าไปในเรื่อง  ถือเป็นอภิสิทธิ์ของกวี      แต่จะต้องไม่ไปเบี่ยงเบนหรือขัดกับข้อเท็จจริงใหญ่ๆ ที่มีอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ไม่ว่าจะทางกฎหมาย สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี
    ผู้แต่ง "สี่แผ่นดิน" สามารถสมมุติให้มีนางข้าหลวงชื่อพลอยอยู่ในวังหลวงได้     พระเอกคือคุณเปรมก็เป็นลูกหลานเชื้อสายพระยาโชฎึกราชเศรษฐีได้   ตาอ้นลูกชายเป็นทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชได้    แต่ผู้เขียนไม่สามารถเขียนให้แม่พลอยเป็นเพศชาย แม่เอาไปฝากไว้ให้เสด็จทรงชุบเลี้ยงจนโตเป็นหนุ่มในตำหนักได้    ไม่สามารถเขียนให้คุณเปรมกลับกลายจากขุนนางเป็นเจ้าขึ้นมาได้   ไม่สามารถเขียนให้ตาอ้นไปช่วยพระองค์เจ้าบวรเดชจนชนะการสู้รบกับรัฐบาล
    การปรับให้เรื่องสมมุติกลมกลืนเข้ากับข้อเท็จจริงตามหลักฐาน เป็นฝึมือของกวี ในการแต่งอะไรที่อิงกับประวัติศาสตร์
    เราคงจะเห็นได้วรรณคดีอย่างขุนช้างขุนแผน ไม่ได้ระบุเลยว่าพระพันวษาคือพระเจ้าแผ่นดินองค์ไหนของอยุธยา  ทั้งนี้ทำให้กวีมีอิสระที่จะแต่งเติมเหตุการณ์เข้าไปได้ในเนื้อเรื่อง โดยไม่ต้องผูกมัดกับเหตุการณ์ในรัชสมัยใดๆเป็นพิเศษ
    ถ้าศรีอโยธยาจะสมมุติยุคสมัยขึ้นมาเอง ไม่ไปผูกมัดกับวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตโดยเจาะจงลงไปว่าเป็นการเทิดพระเกียรติ   ก็น่าจะทำให้ลื่นไหลสะดวกใจขึ้นมาก ทั้งคนสร้างและคนดู ได้ใช้จินตนาการได้เต็มที่ 



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 30 ม.ค. 18, 17:19
ขอบพระคุณ คุณเทาชมพูที่กรุณาให้ความรู้เพิ่มเติมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 17:19
ชื่อบุษบาบรรณ ถ้ามีจริงสมัยอยุธยาตอนปลาย คงจะถูกเรียกว่า แม่บัน

มีเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อ "บุศนีย์" รุ่นน้องเรียกว่า "พี่บุด"  เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันก็เรียกว่า "บุด"  

หรืออย่าง "เพ็ญชมพู" เพื่อน ๆ ก็เรียกว่า "เพ็น" ไม่มีใครเรียกว่า "ชมพู" สักคน เห็นมีแต่ในนิยายที่เคยอ่านเรื่องหนึ่งเท่านั้นที่เรียก "เพ็ญชมพู" ว่า "หนูชมพู"  ;D  ;D  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 17:46
แต่ที่ตรงกับใจเราของเป็นโพสต์ของคุณเพ็ญชมพูในหน้า 26 ซึ่งมีกลอนอันไพเราะและมีใจความซึ่งตอบจุดประสงค์การโพสต์ของเราได้เป็นอย่างดี

ยินดีที่คุณเขียวนเรศถูกใจ ที่เขียนมิใช่กลอนดอกแต่เป็น "กาพย์ยานี ๑๑" (https://th.m.wikipedia.org/wiki/กาพย์ยานี)

ผิดแล้วฤๅควรที่   จะนิ่งไว้ไม่ชี้แจง    ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 18:23
ชื่อบุษบาบรรณ ถ้ามีจริงสมัยอยุธยาตอนปลาย คงจะถูกเรียกว่า แม่บัน

มีเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อ "บุศนีย์" รุ่นน้องเรียกว่า "พี่บุด"  เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันก็เรียกว่า "บุด"  

หรืออย่าง "เพ็ญชมพู" เพื่อน ๆ ก็เรียกว่า "เพ็น" ไม่มีใครเรียกว่า "ชมพู" สักคน เห็นมีแต่ในนิยายที่เคยอ่านเรื่องหนึ่งเท่านั้นที่เรียก "เพ็ญชมพู" ว่า "หนูชมพู"  ;D  ;D  ;D
การเรียกชื่อเล่นที่ตัดออกมาจากชื่อจริง ไม่มีการผูกขาดว่าต้องเอามาแต่คำหน้าเท่านั้น คำหลังก็ได้ ตามใจสมัคร
 
มีเพื่อนช่ื่อ ม.ร.ว. กัลยา  เพื่อนๆทั้งรุ่นก็เรียกเธอว่า หญิงยา  ไม่มีใครเรียก หญิงกัล
เพื่อนอีกคนชื่อ หทัยทิพย์  เพื่อนๆเรียกว่า ทิพย์  ไม่มีใครเรียกเธอว่า หะ หรือ ทัย
คนชื่อชนะ  เรียกสั้นๆว่า นะ น่าจะน่าฟังว่า ชะ   นะคะ




กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 19:01
เห็นชุดทรงพระบรรทม(ชุดนอน) ของพระเจ้าเอกทัศ แล้ว ก็น่าจะเป็นอภิสิทธิ์ชุดละครอีกชุดหนึ่ง
ในความเป็นจริง แต่งสองชั้นสามชั้นยังงี้คงร้อนแย่     แล้วตัวนอกที่เป็นเสื้อครุย แต่งเข้านอนด้วยหรือคะ?
ชุดนี้ถ้าจะใส่ให้นอนได้ไม่เหงื่อท่วมตัว   ห้องบรรทมต้องติดแอร์   ปรับอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 20   ถึงจะพอไหว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 30 ม.ค. 18, 19:26
ผ่านมานานมาก เพิ่งเห็นว่าอาจารย์เทาชมพูและอีกหลานท่านได้ถกกันถึงศรีอโยธยาอย่างละเอียดมาหลายตอน ผมเองก็มีเขียนลงเพจของตัวเองไว้บ้าง เลยขอมาร่วมด้วยนะครับ


เอาเรื่องล่าสุดเมื่อคืนคือมีฉากพิธีอุปราชาภิเษกของตัวละครเจ้าฟ้าสุทัศน์ จึงขอนำจดหมายเหตุพิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นพิธีอุปราชาภิเษกครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุทธยามาเทียบเคียงกันนะครับ


รายละเอียดของพระราชพิธีอุปราชาภิเษกครั้งนี้ถูกตีพิมพ์รวมไว้ใน “ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักอยุธยา” ตอน “ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุทธยา” ซึ่งแต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีบานแพนกระบุว่า

“วัน ๕ ๑๐ฯ ๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ เบญจศก (พ.ศ. ๒๓๒๖) เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม พระยาอุทัยมนตรี นั่งพร้อมกันแต่งกฎหมายซึ่งทำการพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งในหลวงวัดประดู่ไว้สำหรับหอหลวงฉะบับ ๑”

ตำรานี้มีเนื้อหากล่าวถึงพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าอุทุมพรซึ่งเป็นพิธีที่จัดขึ้นครบถ้วนตามขั้นตอนมากที่สุด (สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและพระเจ้าเอกทัศจัดไม่ครบ) โดยมีการกล่าวถึงพิธีอุปราชาภิเษกของพระองค์ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้ายในสมัยอยุทธยาไว้ด้วย ซึ่งจะขอนำมาลงไว้เต็มๆ ให้เห็นภาพชัดเจนครับ


“เมื่อครั้ง ปีฉลู นพศก ในหลวงในพระบรมโกศทรงพระกรุณาสั่งกรมเทพพิพิธ ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตนั้นให้ยกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ครั้งนั้นตั้งพิธีสวดพุทธมนต์พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ๓ วัน ตั้งเครื่องทั้งปวงอย่างเฉลิมพระตำหนัก ปลูกโรงริมพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ตั้งเตียงที่สรงมีราชวัตรฉัตรธง ฉัตรเงิน ฉัตรทอง ฉัตรนาก ฉัตรเบญจรงค์ ตามธรรมเนียม ครั้นเข้าที่สรงแล้วพระสงฆ์รดน้ำพระพุทธมนต์แล้ว พราหมณ์ถวายน้ำกรดน้ำสังข์ แล้วทรงพระภูษาลายเขียนทองจีบโจงหางหงส์ ทรงฉลองพระองค์กรองทอง ทรงพระมาลาพระเส้าสูงสีแสด ทรงพระเสลี่ยงแห่เครื่องสูงสามชั้น ลงมาที่พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ เกณฑ์แห่หยุดอยู่ เสด็จลงจากเสลี่ยง เปลื้องเครื่องแต่เครื่องต้นออกเสีย เสด็จขึ้นไปเฝ้าในหลวงบนพระที่นั่ง เมื่อเสด็จกลับลงมานั้นเห็นทรงพระแสงดาบญี่ปุ่นฝักมะขามสำหรับพระราชวังบวร ฯ ทรงอยู่แต่ก่อนนั้นลงมา แล้วขึ้นเสลี่ยงแห่ไปตำหนักสวนกระต่าย แล้วเจ้ากรมเทพพิพิธลงมาสั่งหมื่นเสมอใจราชมหาดเล็กว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอขึ้นไปเฝ้าบนพระที่นั่ง ล้นเกล้าล้นกระหม่อมพระราชทานพระแสงสำหรับพระราชวังบวร ฯ ให้แล้วพระราชทานพรอวยพระชัยให้เป็นเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลให้รับพระบัณฑูร ให้หมายบอกแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารพลเรือนให้ทั่วกัน ได้ทราบเกล้าทราบกระหม่อมแต่เท่านี้”


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 30 ม.ค. 18, 19:27
พระตำราราชาภิเษกนี้ไม่ได้กล่าวรายละเอียดไว้มากนัก แต่พิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ใน พ.ศ. ๒๓๔๙ ยังคงอ้างอิงตามรูปแบบพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต เพราะพบหมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘ ระบุว่าจัดพิธี “ตามอย่างครั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิจเป็นกรมพระราชวังบวรฯ”

เนื่องด้วยช่วงเวลาไม่ห่างกันมากและยังมีข้าราชการกรุงเก่าที่ทันเห็นพิธีอยู่ จึงอนุมานได้ว่ารูปแบบพระราชพิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตและเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และด้วยเหตุที่พระราชพิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรยังมีหลักฐานเกี่ยวกับรายละเอียดพระราชพิธีที่ชัดเจนอยู่มาก จึงขอนำมาลงเพื่อให้เห็นตัวอย่างเทียบกับพระราชพิธีอุปราชาภิเษกในสมัยอยุทธยาดูนะครับ



หมายรับสั่ง เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘ ได้ระบุถึงกำหนดการเกี่ยวกับพระราชพิธีดังนี้

            “ด้วยเจ้าพระยามหาเสนา รับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า จะได้ตั้งการพระราชพิธีพระมหาอุปราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสระสุนทร เป็นพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรฯ ตามอย่างครั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิจเป็นกรมพระราชวังบวรฯ นั้น และหลวงโลกทีปโหรมีชื่อถวายพระฤกษ์จะได้จารึกพระนามลงพระสุพรรณบัฏ ณ พระอุโบสวัดพระศรีสรรเพชญ์ ณ วัน ๔ เดือน ๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาลอัฐศก เพลาเช้า ๔ โมง ๖ บาท ครั้นถึง ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๗, ๘, ๙, ค่ำ จะได้ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์พร้อมกัน และพระสงฆ์ราชาคณะ อธิการพระสงฆ์สมถะ รวม ๕๐ รูป เจริญพระปริตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเสด็จทรงเครื่อง ณ พลับพลาตรงประตูราชสำราญ ทรงพระสนับเพลาเชิงงอน พระภูษาลายจีบโจงหางหงส์ พระรัตกัมพลหนามขนุน ทรงฉลองพระองค์กรองทอง ทรงพระมาลาพระเส้าสูงสีกุหร่า ทรงพระราชยานแห่เครื่องสูง ๓ ชั้น มาถึงพลับพลาหยุดเปลื้องเครื่องทรงพระภูษาลายขาว สมปักครุยกรองทองฟังสวดพระพุทธมนต์ ทรงพระมงคลทั้ง ๓ วัน ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๘, ๙, ๑๐, ค่ำ เพลาเช้าจะเสด็จมาทรงศีลประเคนสำรับพระสงฆ์ และในวัน ๑ เดือน ๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำนั้น พระฤกษ์เสด็จลงไปที่สร้างสหการเพลาเช้า ๔ โมง ๕ บาท ชาวพระภูษามาลาถวายเครื่องพระมุรธาภิเษก แก่พระราชาคณะ อธิการ สมถะ รดน้ำพระเต้าเงิน พระเต้าทอง พระเต้านาก พระเต้าสัมฤทธิ์ พราหมณ์ถวายน้ำกลศ น้ำสังข์ สะเดาะพระเคราะห์ แล้วทรงพระภูษาลายเขียนทองจีบโจงหางหงส์ ฉลองพระองค์กรองทอง”


นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตระเตรียมสิ่งของที่ต้องใช้ประกอบพระราชพิธีด้วย ดังที่ปรากฏในหมายรับสั่งว่า
 
         “ด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ์รับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าฉัตรเงิน ฉัตรทอง ฉัตรเบญจรงค์ ๕ ชั้น กับราชวัติซึ่งเกณฑ์ข้าทูลละอองทำตั้งในการอภิเษกครั้งนี้ ให้พระสัสดีหมายบอกผู้ซึ่งได้ทำให้พิทักษ์รักษาไว้อย่าให้ลายเขียนและตัวฉัตรราชวัติเศร้าหมองชำรุดได้ ห้ามอย่าให้เอาไปตั้งการศพและการสิ่งใดๆ เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าจะเรียกเอาเมื่อใดให้ได้เมื่อนั้น อย่าให้ขัดข้องได้ ตามรับสั่ง

          ด้วยพระยารักษมณเฑียร รับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าจะได้ผูกพระอุโบสถวัด ฤกษ์ ณ วันเดือนยี่ ข้างแรม ท่านข้างในต้องการข้าวสารเป็นตัวข้าวดีสำหรับจะได้ใส่กระจาดเลี้ยงพระสงฆ์ ขุนนาง เป็นอันมากนั้น ให้พระประชาชีพกรมนาเอาข้าวเปลือกแล้วประสกสีซ้อมให้ขาวร่อนคัดเอาที่เป็นตัวดีให้ได้ ๓ เกวียนข้าวเปลือก ให้เตรียมไว้จะได้เรียกเมื่อใดให้ได้เมื่อนั้น อย่าให้ขาดได้ ตามรับสั่ง

           ด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ท่านข้างในจะต้องการมีดแกะรูปสัตว์ประดับเครื่องบายศรี จึงให้ตัวอย่างออกมาให้หมื่นโลห์ช่างแสงเบิกเหล็กเทศที่กล้าดี ตีมีดแกะให้เหมือนตัวอย่าง ๑๒ เล่ม ตอกเหล็กสำหรับเหลาโกลนมะละกอ ฟักทอง รวม ๕ เล่ม ให้ทำตำหนิให้ด้วย แต่มีดตอกนั้นให้ทำรูปตามควร ให้มีปลอกสุดแต่ดี ให้เอาไปส่งให้เสมียนตรากรมวัง ๆ จะได้ส่งให้ผู้รับสั่ง ๆ จะได้ส่งให้ท่านข้างในให้เร่งเอามาส่งแต่ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตามรับสั่ง”




สำหรับรายละเอียดพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้เรียบเรียงไว้ มีความว่า

         “ครั้นมาถึง ณ วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งพลับพลาที่ประทับแรมที่โรงหล่อท้ายพระราชวังในกำแพง ซึ่งเป็นที่สวนกุหลาบในภายหลังตั้งเกยที่ข้างหลัง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พลับพลาเปลื้องเครื่องตั้งนอกกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระมณฑปที่สรงสนาน ตั้งที่ชาลาในกำแพงแก้วด้านตะวันออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โรงพิธีพราหมณ์ตั้งหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ

         ในการพระราชพิธีนั้น พระสงฆ์ พระราชาคณะ คามวาสี ๓๒ อรัญวาสี ๒ พระองค์เจ้า ๑ ฐานานุกรม ๑๒ อาจารย์ในกรุง ๓ อาจารย์นอกกรุง ๓ รวม ๕๓ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ไป ๓ วัน เวลาบ่าย ๒ โมง ๕ บาท ตั้งกระบวนแห่มีข้าราชการ ฝ่ายทหารพลเรือน และมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ และตำรวจซึ่งต้องเกณฑ์ ในกระบวนแห่นั้นนุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยขาว ขัดดาบขัดกระบี่ สะพายแล่งตามกระบวนบรรดาศักดิ์เป็นคู่ ๆ นั่งหน้าหลัง แห่เป็น ๔ สายแล้วถึงข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ นุ่งถมปักลายสวมเสื้อครุยขาวตามเสด็จท้ายกระบวนหลังอีก ๑๓๔ คู่ รวม ๒๖๘ คน แห่ตั้งแต่เกยที่ประทับมาโดยราชวิถี มีราชวัติฉัตรเบญจรงค์รายเป็นระยะตลอดมา เข้าประตูสุวรรณบริบาล หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว วงมาตามแนวกำแพงแก้วเสด็จขึ้นพลับพลา เปลื้องพระวิภูษิตาภรณ์ เครื่องที่ทรงมานั้นแล้ว ทรงพระภูษาลาย พื้นขาวโจงหางหงส์รัดพระองค์ปั้นเหน่งประดับเพชร ทรงพระธำมรงค์เพชรครบนิ้ว พระหัตถ์ขวาพระหัตถ์ซ้าย ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทอง แล้วทรงพระเสลี่ยงน้อยไปถึงที่ เสด็จขึ้นทางมุขหลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็จอยู่ข้างในพระฉาก ทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จนจบทั้ง ๓ วันแล้ว เสด็จลงทางมุขหลังมาประทับที่พลับพลา เปลื้องเครื่องทรงผลัดเครื่องแต่งพระองค์ทรงพระมาลาเสร้าสูง ตั้งกระบวนแห่ เสด็จกลับทางประตูพิมานไชยศรีทั้ง ๓ วัน เวลาเช้าในวันที่ ๑ วันที่ ๒ นั้น ทรงพระเสลี่ยงน้อยเสด็จมาทรงปฏิบัติพระสงฆ์ฉันแล้วเสด็จทางประตูพิมานไชยศรี กับพระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวง ไปประทับอยู่ ณ ทิมสงฆ์ ดำรัสให้ทิ้งทาน ณ ต้นกัลปพฤกษ์ทั้ง ๔ ต้น ซึ่งตั้งอยู่หว่างโรงละครนอกพระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เฟื้องทอง เฟื้องเงิน ไว้ในผลมะกรูดในผลมะนาว รวมทั้ง ๓ วัน เป็นทอง ๑๘ ตำลึง เงิน ๒๔ ชั่ง

         ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล อัฐศก เวลาเข้าทรงเครื่องต้น ทรงพระมหากฐินน้อย เสด็จโดยกระบวนแห่ล้วน สวมพอกขาวมีเกี้ยวมาตามทาง เข้าประตูสุวรรณบริบาล ประทับพลับพลา เปลื้องเครื่องแล้ว ทรงพระภูษาลายพื้นขาวโจงหางหงส์ รัดพระองค์ปั้นเหน่งประดับเพชร ทรงพระธำมรงค์ครบนิ้ว พระหัตถ์ขวาพระหัตถ์ซ้าย ทรงฉลองพระองค์ครุย เสด็จขึ้นบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยมุขหลัง ถวายนมัสการพระศรีรัตนตรัย จึงมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททรงศีลและทรงพระราชอุทิศถวายสังฆภัตตานิสงส์ครบตติยวารแล้ว ทรงประเคนสำรับพระสงฆ์ราชาคณะรับพระราชทานฉัน

         ครั้นได้เวลามหามงคลฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจึงเสด็จลงมาที่สรงสนานริมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านตะวันออก พระราชโกษาถวายพระภูษาขาวเครื่องถอดเสด็จประทับเหนือตั่งตั้งบนถาดทองแดง บ่ายพระพักตร์ต่อบูรพทิศแล้ว หลวงพิพิธภูษาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระเครื่องมุรธาภิเษก สรงสนานเสร็จแล้ว พระราชาคณะคามวาสี ๙ พระราชาคณะอรัญวาสี ๒ พระอาจารย์วัดบางช้าง ๓ รวม ๑๔ รูป ถวายน้ำพระพุทธมนต์จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเต้าเบญจครรภและพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏ พระสังข์ทองคำ พระสังข์เงิน อันเต็มด้วยน้ำปัญจสุทธินทีทรงรดพระราชทานเสร็จ และพระครูพราหมณ์ผู้ใหญ่ถวายน้ำสังข์น้ำกลศต่อพระหัตถ์แล้ว ถวายใบเวฬุ ทรงรับ พราหมณ์ผู้ใหญ่จึงร่ายพระเวทอิศวรมนตร์ พระพิษณุมนตร์ พระพรหมมนตร์ ถวายไชยมงคลเสร็จแล้ว ผลัดพระภูษาขาว ทรงพระภูษาลายเทศ พื้นแดง เขียนทอง ทรงสะพักกรองขาว เสด็จขึ้นพลับพลาเปลื้องพระเครื่องคอยพระฤกษ์

        ครั้นได้ศุภวารมหุรติฤกษ์แล้ว เสด็จทรงพระเสลี่ยงน้อย จมื่นมหาดเล็กจึงเชิญธูปเทียนดอกไม้ตามเสด็จไปพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เสด็จลงจากพระเสลี่ยงเข้าไปประทับอยู่ในท้องพระโรง ขุนมหาสิทธิโวหารอาลักษณ์เชิญพานพระสุพรรณบัฏมาจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไว้ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานข้างใน จึงมีพระราชโองการดำรัสใช้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ให้ออกมาเชิญเสด็จ ๆ เข้าไปในพระที่นั่งข้างใน พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอหลายพระองค์ทรงเชิญพานดอกไม้ธูปเทียนตามเสด็จเข้าไป จึงทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วมีพระราชโองการดำรัสใช้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัยให้ออกมาเชิญพานพระสุพรรณบัฏเข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

         ครั้นเวลาเช้า ๔ โมง ๕ บาท ได้พระสิริราชาฤกษ์ หลวงโลกทีป ขุนโชติพรหมา ขุนเทพากร โหรทั้ง ๓ สั่งให้ประโคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว พระราชทานพระแสงดาบญี่ปุ่นฝักมะขามสีแดง จึงดำรัสฝากพระบวรพุทธศาสนา และพระราชทานพระราโชวาท ให้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรมโดยราชประเพณีแล้ว พระราชทานพระพรไชยให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์วัฒนายุยั่งยืนสืบไป

         เสร็จการพระราชพิธีแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา พลพาย ๓๓ ซึ่งประทับ ณ ฉนวนประจำท่าเหนือตำหนักแพ มีเรือดั้งคู่ชัก ๓ คู่ เรือนำและเรือกลองแขก เรือตำรวจ เรือข้าราชการตามเสด็จ ๒๓ ลำ เสด็จข้ามไปพระราชวังเดิม มิได้โปรดให้เสด็จไปสถิตในพระราชวังบวรฯ”



รูปแบบพระราชพิธีหลักมีความใกล้เคียงกับพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต คือจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน แล้วทรงเข้าพิธีมูรธาภิเษก จากนั้นจึงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวเพื่อรับพระราชทานพระแสงดาบญี่ปุ่นและรับพระราชทานอภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วจึงแห่เสด็จกลับไปยังพระตำหนักที่ประทับ โดยประกอบพิธีที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแทนพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท และที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานแทนพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 30 ม.ค. 18, 19:30
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า พระราชพิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต น่าจะต่างจากพระราชพิธีอุปราชาภิเษกสมัยกรุงศรีอยุทธยาในอดีต เพราะเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตไม่ได้เสด็จไปประทับที่วังหน้าอย่างพระมหาอุปราชในอดีต แต่ประทับที่พระตำหนักสวนกระต่ายในวังหลวงซึ่งเป็นที่ประทับเดิม จึงไม่มีการเฉลิมพระราชมณเฑียรในวังหน้า

เช่นเดียวกับพระราชพิธีอุปราชาภิเษกของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ไม่โปรดจะให้เสด็จไปประทับที่วังหน้า จึงยังทรงประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี) ซึ่งเป็นที่ประทับมาแต่ก่อน จึงมีการปลูกตำหนักขึ้นชั่วคราวที่สวนกุหลาบแทนตำหนักสวนกระต่าย แล้วเชิญเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จเข้ามาประทับแรมอยู่ที่พระตำหนักนั้นตลอดเวลางาน



ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษกสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อยขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ยังมีร่างหมายรับสั่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชแต่งไว้ว่า “ทำพิธีตามแบบอย่างครั้งอุปราชาภิเศกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเปนพระมหาอุปราช เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐครั้งกรุงเก่า” แต่รูปแบบพระราชพิธีผิดไปจากสมัยรัชกาลที่ ๑

เพราะเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เมื่ออุปราชาภิเษกแล้วจะเสด็จไปประทับอยู่พระราชวังบวรสถานมงคล จึงต้องทำพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรด้วย จึงมีการปรับแก้รูปแบบพระราชพิธีให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เข้ามาประทับแรมอยู่ในวังหลวง แล้วแห่เสด็จขึ้นไปทรงสดับพระพุทธมนต์และรับอุปราชาภิเษกที่วังหน้า เมื่ออุปราชาภิเษกแล้วจึงเสด็จลงมารับพระราชทานพระสุพรรณบัฏในพระราชวังหลวง แล้วเสด็จกลับขึ้นไปเฉลิมพระราชมณเฑียรในวังหน้า ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัยว่าน่าจะอ้างอิงจากรูปแบบพิธีอุปราชาภิเษกของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหรือเก่าแก่กว่านั้น


ปรากฎในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า

          “ณวันศุกร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมเสงเอกศก ฤกษ์เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๓ บาท จาฤกพระสุพรรณบัตรที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำนองการพิธีเหมือนจาฤกพระสุพรรณบัตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระสุพรรณบัตรจาฤกว่า :-

            สมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทีฆายุศมศิริสวัสดิ

            เมื่อจาฤกแลเวียนเทียนสมโภชพระสุพรรณบัตรแล้ว ตั้งพระสุพรรณบัตรไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงวันเริ่มงานจึงเชิญขึ้นพระเสลี่ยงแห่ไปตั้งในพระแท่นมณฑลที่พระราชวังบวรฯ


            ที่พระราชวังบวรฯ นั้น จัดที่ทำพระราชพิธี ๒ แห่ง คือ ที่พระที่นั่งพรหม...ในห้องที่พระบรรธมจัดตั้งเตียงสำหรับพระสงฆ์ คือ สมเด็จพระพนรัตนนั่งปรกรูป ๑ พระวัดพลับ ๔ รูป สวดมหาไชย

            ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จัดเปนที่ตั้งพระแท่นมณฑลตั้งเทียนไชย แลเปนที่พระสงฆ์ ๔๕ รูป มีสมเด็จพระสังฆราชเปนประธานเจริญพระพุทธมนต์ พระแท่นมณฑลนั้น ในหมายรับสั่งกล่าวว่า จัดเหมือนพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ สิ่งของตั้งพระแท่นมณฑลตามซึ่งกล่าวไว้ในหมายรับสั่ง มีดังนี้ คือ :-

            พระบรมธาตุ พระไชย พระห้ามสมุท พระอุณาโลมทำแท่ง พระสุพรรณบัตร ดวงพระชัณษา พระมหามงกุฎ พระภูษารัตกัมพล พระมาลาเบี่ยง พระชฎา พระนพ พระมหาสังวาลสร้อยอ่อน พระมหาสังวาลพรามหมณ์ พระธำรงค์ ฉลองพระองค์เกราะ ฉลองพระองค์นวม พระมหามงคลย่น เครื่องพระพิไชยสงคราม เครื่องพระมุรธาภิเศก พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระมหาสังข์ทอง พระมหาสังข์เงิน พระเต้าเบญจครรภ พระเต้าปทุมนิมิตรทอง พระเต้าปทุมนิมิตรนาก พระเต้าปทุมนิมิตรเงิน พระเต้าปทุมนิมิตรสำริด (ใส่น้ำปัญจมหานที ทั้ง ๔ พระเต้า)

              พระแสงที่เข้าพระแท่นมณฑลนั้นคือ :-  พระแสงขรรค์ไชยศรี ๑ พระแสงดาบยี่ปุ่น ๑ พระแสงจักร ๑ พระแสงหอกไชย ๑ พระแสงตรีศูล ๑ พระแสงธนู ๑ พระแสงเขน ๔ พระแสงง้าว ๒ พระแสงทวน ๒ พระแสงหอกคู่ ๑ พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ๑ พระแสงขอตีช้างล้ม ๑ พระแสงชนักต้น ๑ พระกลด ๑ พระเสมาธิปัต ๑ พระฉัตรไชย ๑ พระเกาวพ่าย ๑ ธงไชยกระบี่ธุช ๑ ธงไชยพระครุธพ่าห์ ๑ ตรงมุขท้ายพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ปลูกพลับพลาเปลื้องเครื่องหลัง ๑ ข้างพระที่นั่งตั้งพระแท่นที่สรงมีเสาดาดเพดาน บนพระแท่นตั้งถาดทองแดง ในนั้นตั้งตั่งไม้มะเดื่อที่ประทับสรงมุรธาภิเศก ตั้งราชวัตรฉัตรทอง, ฉัตรนาก, ฉัตรเงิน ๗ ชั้น รายรอบที่สรง

              น่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ปลูกโรงพิธีพราหมณ์ แลตั้งพนมบัดพลีสำหรับโหรบูชาเทวดา ในโรงพิธีพราหมณ์ตั้งเทวรูป พระอิศวร พระนารายน์ เปนต้น เหมือนพิธีบรมราชาภิเศก แลเครื่องพลีกรรมทำพิธีตามไสยสาตร ทั่วทุกสถานการพระราชพิธีวงสายสิญจน์ล่ามตลอดถึงกัน แลตั้งราชวัตรปักฉัตรเบญจรงค์ ๕ ชั้น รายรอบพระราชมณเฑียร แลราย ๒ ข้างถนนแต่พระราชวังบวรฯ ลงมาจนพระบรมมหาราชวัง ในเวลาทำการพระราชพิธีนั้น เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เข้ามาประทับแรมอยู่ที่โรงลครริมพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านตวันตก

              ถึงณวันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ เวลาบ่าย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เสด็จไปทรงเครื่องที่พระนั่งดุสิดาภิรมย์ แต่งพระองค์ทรงสนับเพลาเชิงงอน ทรงพระภูษาจีบโจงหางหงษ์ รัดพระองค์หนามขนุน ทรงฉลองพระองค์กรองทอง ทรงพระมาลาเส้าสูงสีกุหร่า เสด็จขึ้นพระราชยานที่เกยพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ มีกระบวนแห่เสด็จ คือ :-

              ตำรวจเลวหรือหวายนำริ้ว ๑๐ คู่ ตำรวจเดินสายนอก ๒ สาย ๘๔ คน มหาดเล็กวังหลวงเดินสายใน ๒ สาย ๘๔ คน กลองชนะ ๒๐ คู่ แตรฝรั่ง ๖ คู่ แตรงอน ๖ คู่ สังข์ ๒ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ สารวัด ๒ เครื่องสูงน่า สามชั้น ๕ คู่ ห้าชั้นคู่ ๑ บังแทรก ๔ มหาดเล็กเชิญพระแสงหว่างเครื่องน่า พระแสงดาบใจเพ็ชร ๑ พระแสงดาบคาบค่าย ๑ พระแสงเขน ๒ พระแสงหอก ๒ พระแสงหอกคู่ ๒ พระราชยานมีพนักงานถวายอยู่งานพระกลด ๑ บังสูรย์ ๑ พัดโบก ๑ พระทวย ๑

             คู่เคียง ๔ คู่ คือ :- คู่ที่ ๑ พระยากำแพงเพ็ชร พระยาโชฎึก คู่ที่ ๒ พระยาพิศณุโลก พระยาพิพิธโภไคย คู่ที่ ๓ พระยานรินทร จมื่นเสมอใจราช คู่ที่ ๔ พระยานครสวรรค์ พระยาเทพมณเฑียร

             กระบวนหลัง มหาดเล็กเชิญเครื่อง ธารพระกร ๑ พัชนีท้ายพระที่นั่ง ๑ ฉลองพระบาท ๑ เชิญตามเสด็จ พานพระขันหมาก ๑ พระสุพรรณศรี ๑ พระเต้าพระสุธารศ ๑ เครื่องสูง ห้าชั้นคู่ ๑ สามชั้น ๕ คู่ บังแทรก ๔ มหาดเล็กเชิญพระแสงหว่างเครื่อง พระแสงง้าว ๑ พระแสงตรี ๑ พระแสงหอกง่าม ๑ มหาดเล็กวังน่าเดินสายใน ๖๐ คน ตำรวจเดินสายนอก ๔๐ คน ม้าจูง ๔ (หัวพัน) มหาดไทย กลาโหม เปนผู้ตรวจ รวมกระบวนแห่ ๒๖๘ คน

             แห่เสด็จไปจากพระบรมมหาราชวัง จนถึงพระราชวังบวรฯ ประทับเกยพลับพลาเปลื้องเครื่องที่มุขท้ายพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เปลื้องเครื่องผลัดทรงพระภูษาลายพื้นทอง ทรงสพักฉลองพระองค์ครุยกรองทอง เสด็จเข้าในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ทรงนมัสการพระศรีรัตนไตรย สมเด็จพระสังฆราชจุดเทียนไชยแลถวายศีลแล้ว ทรงพระมหามงคลประทับสดับพระปริตจนจบแล้ว จึงแห่เสด็จกลับคืนมายังพระบรมมหาราชวัง

             รุ่งขึ้นณวันพุฒ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ เวลาเช้า สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เสด็จทรงพระเสลี่ยง มีแต่ตำรวจนำไม่มีกระบวนแห่ เสด็จขึ้นไปทรงประเคนเลี้ยงพระสงฆ์ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เวลาบ่ายวันนั้นแลวันรุ่งขึ้น แห่เสด็จขึ้นไปทรงสดับพระปริตเหมือนวันแรก เวลาเช้าในวันคำรบ ๒ ก็เสด็จขึ้นไปทรงประเคนเลี้ยงพระเหมือนวันแรก

            ครั้นณวันศุกร เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้า เสด็จโดยกระบวนแห่ขึ้นไปยังพระราชวังบวรฯ เสด็จเข้าที่สรงสนานเวลาเช้าโมงกับบาทหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพนรัตน พระธรรมราชา พระญาณสังวร ถวายน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้าปทุมนิมิตร พราหมณ์ถวายน้ำกรดน้ำสังข์แลใบมะตูม แล้วทรงเครื่องเสด็จมาทรงประเคนเลี้ยงพระสงฆ์

           ครั้นเลี้ยงพระแล้ว เสด็จยังพลับพลาทรงเครื่องพระภูษาลายเขียนทองจีบโจงหางหงษ์ ทรงฉลองพระองค์กรองทอง ทรงพระมาลาเส้าสูงสีแสด [ทรงเครื่องเหมือนครั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต-ผู้เขียน] ขึ้นทรงพระราชยานแห่ลงมาพระบรมมหาราชวัง เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวณพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน รับพระราชทานพระสุพรรณบัตร และทูลเกล้าฯ ถวายเทียนทองธูปเงินเข้าตอกดอกไม้ (แล้วแห่เสด็จกลับขึ้นไปยังพระราชวังบวรฯ) ครั้นเวลาบ่าย เจ้าพนักงานตั้งบายศรีเวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรฯ เปนเสร็จการพระราชพิธีอุปราชาภิเศกตามโบราณประเพณี”


https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1658511220879008


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 30 ม.ค. 18, 19:43
ถ้าสมมติว่าเราจะเชื่อตามพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าพระราชพิธีอุปราชาภิเษกในสมัยรัชกาลที่ ๒ อ้างอิงตามแบบพิธียุคก่อนเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต พิธีของตัวละครเจ้าฟ้าสุทัศน์ก็น่าจะจัดในรูปแบบเดียวกัน คือจัดพิธีหลักๆ ที่วังหน้า แล้วค่อยมารับพระราชทานสุพรรณบัตรและรับพระราชทานอภิเษกที่พระราชวังหลวง แล้วจึงเสด็จกลับไปเฉลิมพระราชมณเฑียรในวังหน้าครับ


สำหรับภาพยนตร์แล้ว คงคาดหวังไม่ได้ว่าจะทำตามอย่างรายละเอียดพระราชพิธีครบถ้วนทุกขั้นตอน ในที่นี้จึงกล่าวถึงรายละเอียดพระราชพิธีให้ผู้อ่านได้เห็นภาพเท่านั้น นอกจากนี้ก็มีข้อที่ควรกล่าวเสริม เพราะมีสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักฐานและธรรมเนียมปฏิบัติอยู่มากพอสมควร ยกตัวอย่างดังนี้ครับ


- พระแสงของกรมพระราชวังบวรฯ ค้องเป็นดาบญี่ปุ่น ไม่ใช่ดาบไทย


- มีฉากเจิมและรดน้ำพระมหาสังข์ในขณะที่เจ้าฟ้าสุทัศน์ทรงพระชฎาอยู่โดยรดไปบนชฎา ซึ่งโดยปกติแล้วจะรดที่ศีรษะ และตามหลักฐานในพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตและเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เวลาที่ขึ้นเฝ้าเพื่อรับพระราชทานอุปราชาภิเษกต้องเปลื้องเครื่องต้นออกก่อน จึงไม่มีการทรงพระชฎาขึ้นไปด้วย (เช่นเดียวกับฉากขึ้นพระพุทธบาท ความจริงต้องมีพลับพลาเปลื้องเครื่องทรงก่อนเสด็จขึ้นพระพุทธบาท ไม่ใช่เปลื้องในมณฑปพระพุทธบาท)


- มีฉากให้ขุนนางขึ้นไปยืนบนฐานของพระที่นั่งบุษบกมาลาอันเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน และเหยียบอยู่เหนือแท่นรูปครุฑแบก ซึ่งผู้ที่จะอยุ่เหนือครุฑได้มีแต่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งถูกเปรียบเปรยว่าเป็นพระนารายณ์อวตารเท่านั้น เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์


- มีฉากสถาปนาขุนนางในวันเดียวกับที่มีพระราชพิธี


- มีการโปรยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง ปกติจะโปรยในพระราชบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีลงสรง ด้วยความเชื่อที่ว่าเจ้านายผู้เป็นองค์ประธานนั้นอยู่ในสภาวะสมมติเทพที่ได้อุบัติลงมาจากสวรรค์ การโปรยดอกพิกุลจึงเสมือนกับการที่องค์สมมติเทพทรงโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชม

ถ้าเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าแผ่นดินจะทรงโปรยดอกพิกุลสองครั้ง ครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นบนพระที่นั่งภัทรบิฐ เมื่อพราหมณ์ถวายชัยถวายพรจบ พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งแก่พระมหาราชครูผู้ใหญ่แล้ว จะทรงโปรยดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทองแก่พราหมณ์ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเฉพาะหน้าพระที่นั่ง จะทรงโปรยอีกครั้งหนึ่งตามทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระมหามณเฑียร ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ระบุว่าทรงโปรยตามทางเสด็จพระราชดำเนินไปพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อทรงสดัปกรณ์พระบรมศพแล้ว จึงโปรยตามทางเมื่อเสด็จกลับจะขึ้นพระมหามณเฑียร

แต่ไม่เคยมีบันทึกว่ามีการโปรยดอกพิกุลในพระราชพิธีอุปราชาภิเษก ไม่ว่าในรัชกาลใดก็ตาม

สมมติว่าจะมีการโปรยดอกพิกุลในพระราชพิธีอุปราชาภิเษก ก็ควรโปรยระหว่างทางเสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียร ไม่มีเหตุผลที่จะมาโปรยให้เจ้านายฝ่ายในที่พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท เพราะทรงเป็นวังหน้า ไม่ได้จะเฉลิมพระราชมณเฑียรในวังหลวง


- ศิราภรณ์ที่เจ้านายฝ่ายในทรงได้แบบมาจากมงกุฎทองถักที่พบในกรุวัดราชบูรณะซึ่งสร้างสมัยอยุทธยาตอนต้น ไม่พบหลักฐานว่าเจ้านายฝ่ายในสมัยอยุทธยาตอนปลายทรงศิราภรณ์ลักษณะนี้


- ผู้ที่ตามเสด็จพระราชดำเนินเฉลิมพระราชมณเฑียรซึ่งเป็นช่วงที่โปรยดอกพิกุล จะมีนางชำระพระบาท ๒ นางเชิญเครื่องราชูปโภค นางเชื้อพระวงศ์ ๖ นางอุ้มวิฬาร์ (แมว) ๑ อุ้มศิลาบด ๑ อุ้มฟักเขียว ๑ ถือขันข้าวเปลือก ๑ ถือขันงา ๑ ไม่ใช่ข้าราชการฝ่ายหน้าถือพระแสงศัสตราวุธ


- มีฉากให้สมเด็จพระพันปีหลวงและพระราชวงศ์ฝ่ายในก้มกราบข้าราชการฝ่ายหน้าที่เดินตามเสด็จ


- ผู้ที่อัญเชิญดอกพิกุลเป็นข้าราชการฝ่ายใน อย่างในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้คุณปลัดเสงี่ยมพระพี่เลี้ยงเป็นผู้เชิญขันดอกพิกุลทองพิกุลเงิน แต่ศรีอโยธยากลับให้พระเจ้าอยู่หัวมาเป็นผู้เชิญพานดอกพิกุลให้โปรยเสียเอง


- ฉากพระราชวังจันทรเกษม ให้พระมหาอุปราชประทับอยู่ใต้นพปฎลมหาเศวตรฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) ซึ่งเป็นฉัตรของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 19:55
ต้อนรับคุณศรีสรรเพชญ์ด้วยความยินดีค่ะ     อยากไปเชิญมาร่วมวงอยู่พอดี  เกรงใจว่าไปลอกเพจมาแล้วยังไม่ได้เชิญเจ้าของเพจมาเป็นกิจจลักษณะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้มาอย่างละเอียดลออ หายากมาก   จะได้เป็นที่ค้นคว้าอ้างอิงของผู้สนใจประวัติศาสตร์ต่อไปค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคุณทั้งหมด   มีบางข้อที่รู้สึกตะขิดตะขวงใจอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมา   เช่นให้เจ้านายฝ่ายใน อย่างพระพันวัสสา (ซึ่งก็คือแม่ของพระเจ้าแผ่นดิน) มาคอยเฝ้ารับเสด็จ  หมอบกราบหลานย่าที่จะได้เป็นพระมหาอุปราช (ซึ่งก็ยังไม่ทันทำพิธีจะเป็น)  แล้วก็เลยเท่ากับหมอบกราบขุนนางที่ตามเสด็จเจ้าฟ้าสุทัศน์ไปด้วย     ไม่เฉลียวใจเลยหรือว่าเป็นการลดพระเกียรติยศลงไปมาก     
ทีเจ้าจอมราตรี กลับให้นั่งเสลี่ยงเท่ากับเจ้าฟ้าสุทัศน์   เท่ากับยกเจ้าจอมขึ้นมาเสียสูงลิ่ว

นี่ก็ข้อหนึ่งละนะ ในพิธีอันประดักประเดิดนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 20:06
 
อ้างถึง
มีฉากให้ขุนนางขึ้นไปยืนบนฐานของพระที่นั่งบุษบกมาลาอันเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน และเหยียบอยู่เหนือแท่นรูปครุฑแบก ซึ่งผู้ที่จะอยุ่เหนือครุฑได้มีแต่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งถูกเปรียบเปรยว่าเป็นพระนารายณ์อวตารเท่านั้น เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์
นี่ก็ข้อที่สอง

ฉากให้ขุนนางนั่งเสมอพระเจ้าแผ่นดินมีมาตั้งแต่แรกแล้ว      ไม่รู้ว่าทำไมผู้กำกับถึงไม่สังเกตข้อนี้   รวมทั้งมีบทมหาดเล็กเอามือไปช่วยถอดพระมหาพิชัยมงกุฎให้พระเจ้าเอกทัศ   ถูกหัวถูกหูพระเจ้าเอกทัศกันไม่สะทกสะท้านเลย
ฉากที่ขุนนางขึ้นไปยืนบนฐานพระที่นั่งบุษบกนี่ก็อีก     ไม่รู้ว่าคิดอย่างไร หรือจะมองด้านศิลปะว่าต้องใส่ลงไปให้เต็ม ไม่มีช่องว่างในฉาก  
พร็อพที่เข้าฉากอย่างพระที่นั่งบุษบกมาลา ถึงเป็นของทำขึ้นใหม่ แต่ถ้ามีรายละเอียดเหมือนจริงมากๆ  ดิฉันดูแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจนัก  เป็นห่วงนักแสดง
อยากพูดถึงเรื่องที่มีผู้ท้วงมาเรื่องพระมหาเศวตฉัตรที่เป็นของจริง   แม้ว่าผู้สร้างละครจะให้นักแสดงนั่งอยู่ข้างหน้า ไม่ได้นั่งใต้พระมหาเศวตฉัตรก็ตาม     แต่คนที่จะเฉียดเข้าไปได้ใกล้ขนาดนั้น แล้วยังไปนั่งวางท่าตามบทบาทการแสดงอยู่ตรงนั้น  ไม่รู้ว่าทำพิธีขอขมาลาโทษสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ครบถ้วนแล้วหรือยัง    


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 20:07
ภาพจาก FB คุณ Pat Hemasuk ค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 20:10
จาก FB  คุณ Pat Hemasuk


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ม.ค. 18, 20:20
คิดถึงคุณศรีสรรเพชญ์ น่าจะเข้ามาร่วมวงอีกคน

ยินดีต้อนรับคุณศรีสรรเพชญ์ ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 31 ม.ค. 18, 08:45
คิดถึงคุณศรีสรรเพชญ์ น่าจะเข้ามาร่วมวงอีกคน

ยินดีต้อนรับคุณศรีสรรเพชญ์ ;D

ขอบคุณครับ ดีใจที่คุณเพ็ญชมพูคิดถึงนะครับ  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 31 ม.ค. 18, 08:51

รวมทั้งมีบทมหาดเล็กเอามือไปช่วยถอดพระมหาพิชัยมงกุฎให้พระเจ้าเอกทัศ   ถูกหัวถูกหูพระเจ้าเอกทัศกันไม่สะทกสะท้านเลย



ข้อนี้ผมเองก็ติดใจตั้งแต่ตอนแรกที่มีฉากตัวละครคุณทองด้วงไปถอดพระมหาพิชัยมงกุฎให้พระเจ้าเอกทัศแล้วครับ

แต่ว่าเมื่ออาทิตย์ก่อนผมลองไปอ่านในจดหมายเหตุร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ถ้าจำไม่ผิดเป็นหนังสือเรื่อง "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมือง แห่งราชอาณาจักรสยาม" ของ นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) ได้อ้างว่ามีบุคคลกลุ่มเดียวที่สามารถแตะต้องพระวรกายของพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด นั่นคือภูษามาลาที่ทำหน้าที่แต่งฉลองพระองค์ ซึ่งยังระบุด้วยว่ามีสิทธิพิเศษสามารถแตะต้องพระเศียรของพระเจ้าแผ่นดินได้ครับ

ถ้าตัวผู้บันทึกไม่ได้เข้าใจคลาดเคลื่อน อาจเป็นไปได้ว่าธรรมเนียมเมื่อครั้งกรุงเก่าอาจมีข้อปฏิบัติบางอย่างที่แตกต่างจากในปัจจุบันครับ

พอดีตอนนี้หนังสือไม่ได้อยู่ที่ตัว เดี๋ยวพอได้มาแล้วจะคัดลอกเนื้อหาเต็มๆ มาให้อ่านกันนะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 ม.ค. 18, 09:41
          ฉากพระเจ้าเอกทัศสวมเสื้อครุยทับชุดทรงพระบรรทมนั้นคงเพราะจะเรียกให้นางกำนัลนารีมาเข้าเฝ้า
แต่ที่รู้สึกติดขัดคือเมื่อพระองค์ประทับลงบนแท่นหน้าเตียงนั้น แม่นางแขยังคงนั่งหลังตรงอยู่เหนือพระองค์บนเตียง

          เรื่อง การจับต้อง ศีรษะของพระมหากษัตริย์นั้นมีข้อมูลที่นี่โดยอ.คึกฤทธิ์กล่าวว่า

http://www.fwdder.com/topic/15307

          ...ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะและเส้นผมของพระมหากษัตริย์
ศีรษะของพระมหากษัตริย์เรียกว่า "พระเจ้า"  และเส้นผมของพระมหากษัตริย์เรียกว่า “เส้นพระเจ้า”...

             เรื่องที่พระองค์จะทรงเครื่องใหญ่(ตัดผม)นี้ก็จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการเกิดขึ้นเป็นกรมกรมหนึ่ง
เรียกว่า “กรมภูษามาลา”....
         
              เจ้าพนักงานภูษามาลาซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็คงจะได้มาจากผู้ที่มีสกุลสูง คือผู้ที่มีเลือดกษัตริย์ หรือผู้ที่เป็น
พราหมณ์ เมื่อตั้งแล้วก็สืบตระกูลกันเรื่อยมาอาจจะเรียกได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ มีสิทธิจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ได้....


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 10:31
          ฉากพระเจ้าเอกทัศสวมเสื้อครุยทับชุดทรงพระบรรทมนั้นคงเพราะจะเรียกให้นางกำนัลนารีมาเข้าเฝ้า
แต่ที่รู้สึกติดขัดคือเมื่อพระองค์ประทับลงบนแท่นหน้าเตียงนั้น แม่นางแขยังคงนั่งหลังตรงอยู่เหนือพระองค์บนเตียง     .
   
       ถ้างั้นพระเจ้าเอกทัศคงถือธรรมเนียมผู้ดีฝรั่งอังกฤษ ว่าจะต้องสวมเสื้อคลุมทับชุดนอนให้เรียบร้อย เมื่อบัตเลอร์เปิดประตูเข้ามาในห้องนอน เพื่อยกถาดอาหารเช้าหรือเพื่อรับคำสั่งอะไรสักอย่าง  ;) ;) ;)
       ที่น่าฉงนสนเท่ห์อีกอย่างก็คือ  เรื่องภูมิอากาศในศรีอโยธยา    ว่าทำไมแต่ละจุดแม้ห่างกันไม่กี่ก้าว อุณหภูมิถึงแตกต่างกันนัก 
       พิสูจน์ได้จากพระที่นั่งที่พระเจ้าเอกทัศบรรทมอยู่  อากาศหนาวจัด   แม้ว่านอนในพระแท่นแบบจีนที่มีม่านปิดมิดชิด พระองค์ก็ยังต้องสวมเสื้อคอปิดและภูษายาวถึงเท้า  คาดเข็มขัดรัดกุม(มีปั้นเหน่งอีกด้วย) เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น  ทับด้วยเสื้อครุยอีกตัวก็ยังไม่ร้อน   
       แต่ห่างออกมาไม่กี่ร้อยเมตร ในวังของเจ้าฟ้าสุทัศน์  อากาศร้อนอบอ้าวเสียจนเจ้าของวังต้องถอดเสื้อนอน   ร้อนกว่าสวนด้านนอกวังเสียอีก  เห็นได้จากพระพิมานไปนั่งเป่าขลุ่ยยังต้องสวมเสื้อแขนยาว  ถอดเสื้อไม่ได้ เพราะคงจะได้ไอหนาวมาจากพระที่นั่ง
      เลยไม่แน่ใจว่าอโยธยายุคนั้นมีฮีทเตอร์ที่พ่อค้าวาณิชส่งขึ้นมาถวายเจ้าฟ้าสุทัศน์ หรือติดตั้งแอร์ให้พระเจ้าเอกทัศเย็นเป็นพิเศษ   เครื่องไฟฟ้าน่ะมีแน่ เพราะมีปลั๊กมีโคมไฟฟ้าริมถนน  แอร์กับฮีทเตอร์ก็น่าจะมีได้เหมือนกัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 10:38
  เรื่องภูษามาลาจับต้องพระวรกายได้นั้น   น่าจะเป็นได้ตามความจำเป็น  เช่นเมื่อช่วยแต่งพระองค์ก็คงต้องสัมผัสพระกรบ้าง พระชงฆ์บ้าง เวลาสวมฉลองพระองค์  หลีกเลี่ยงไม่ได้      อีกอย่างคือเวลาทรงเครื่องใหญ่หรือตัดพระเกศา ช่างก็ต้องแตะต้องเส้นพระเจ้าตามความจำเป็นอีกเช่นกัน
   นิโกลาส์  แชร์แวส คงหมายถึงในลักษณะนี้    แต่ไม่ใช่ว่าจับพร่ำเพรื่อโดยมหาดเล็กทั่วไป


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 10:42
เรื่องพระมหาเศวตฉัตร   หม่อมน้อยชี้แจงมาแล้วค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 ม.ค. 18, 10:55
        ถ้างั้นพระเจ้าเอกทัศคงถือธรรมเนียมผู้ดีฝรั่งอังกฤษ ว่าจะต้องสวมเสื้อคลุมทับชุดนอนให้เรียบร้อย
เมื่อบัตเลอร์เปิดประตูเข้ามาในห้องนอน เพื่อยกถาดอาหารเช้าหรือเพื่อรับคำสั่งอะไรสักอย่าง       

        ยังดีที่ผกก.ไม่เลือกให้พระเจ้าเอกทัศสวมทับด้วยชุดยูกะตะ(ที่นางกำนัลนารีอาจจะนำมาทูลเกล้าถวายด้วย)
ไม่งั้นมีเฮไปกว่านี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 10:59
จริงสินะ
เผื่อท่านเข้ามาอ่าน อาจนึกได้ขึ้นมา เราจะได้เห็นยูกะตะปลายอยุธยากันบ้างละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 11:00
https://www.youtube.com/watch?v=2NimD90684M&t=10s

https://www.youtube.com/watch?v=U6mz0sGhsOQ

https://www.youtube.com/watch?v=9vxWxH_gnqs


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 11:02
https://www.youtube.com/watch?v=foIsLAnJEMA

https://www.youtube.com/watch?v=NVf22xCwQ4c

https://www.youtube.com/watch?v=w25FfS6kqIg


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 11:29
ฉากเจ้าจอมแขตัวดี เกิดร้อนรุ่มขึ้นมาในพิธีจนต้องวิ่งกระเจิงลงจากพระพุทธบาท ท่ามกลางสายตาขุนนางผู้ชายทั้งหมด
เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในยุคสมัยนั้นค่ะ
เพราะเจ้าจอมเป็น "ฝ่ายใน" จะออกมาปะปน   โชว์ตัวให้ผู้ชายเห็นตามสบายไม่ได้  ต้องมีที่ทางของตัวเองอยู่ในพิธี  ถ้าป่วยกะทันหันขึ้นมาก็มีผู้หญิงด้วยกัน จะเป็นท้าวนาง นางข้าหลวงหรือเจ้าจอมหม่อมห้ามด้วยกันช่วยพยุงเอาตัวไปแก้ไขปฐมพยาบาล
ไม่ใช่เดินออกมาตัวคนเดียวโดดๆ ให้คนเห็นได้ตามสบาย    แล้ววิ่งกระเจิงลงบันไดไปคนเดียว  ข้างล่างยิ่งมีชาวบ้านเห็นกันอีกมากมาย     ทำไม่ได้อยู่แล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 31 ม.ค. 18, 13:03
          ฉากพระเจ้าเอกทัศสวมเสื้อครุยทับชุดทรงพระบรรทมนั้นคงเพราะจะเรียกให้นางกำนัลนารีมาเข้าเฝ้า
แต่ที่รู้สึกติดขัดคือเมื่อพระองค์ประทับลงบนแท่นหน้าเตียงนั้น แม่นางแขยังคงนั่งหลังตรงอยู่เหนือพระองค์บนเตียง     .
   
       ถ้างั้นพระเจ้าเอกทัศคงถือธรรมเนียมผู้ดีฝรั่งอังกฤษ ว่าจะต้องสวมเสื้อคลุมทับชุดนอนให้เรียบร้อย เมื่อบัตเลอร์เปิดประตูเข้ามาในห้องนอน เพื่อยกถาดอาหารเช้าหรือเพื่อรับคำสั่งอะไรสักอย่าง  ;) ;) ;)
       ที่น่าฉงนสนเท่ห์อีกอย่างก็คือ  เรื่องภูมิอากาศในศรีอโยธยา    ว่าทำไมแต่ละจุดแม้ห่างกันไม่กี่ก้าว อุณหภูมิถึงแตกต่างกันนัก 
       พิสูจน์ได้จากพระที่นั่งที่พระเจ้าเอกทัศบรรทมอยู่  อากาศหนาวจัด   แม้ว่านอนในพระแท่นแบบจีนที่มีม่านปิดมิดชิด พระองค์ก็ยังต้องสวมเสื้อคอปิดและภูษายาวถึงเท้า  คาดเข็มขัดรัดกุม(มีปั้นเหน่งอีกด้วย) เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น  ทับด้วยเสื้อครุยอีกตัวก็ยังไม่ร้อน   
       แต่ห่างออกมาไม่กี่ร้อยเมตร ในวังของเจ้าฟ้าสุทัศน์  อากาศร้อนอบอ้าวเสียจนเจ้าของวังต้องถอดเสื้อนอน   ร้อนกว่าสวนด้านนอกวังเสียอีก  เห็นได้จากพระพิมานไปนั่งเป่าขลุ่ยยังต้องสวมเสื้อแขนยาว  ถอดเสื้อไม่ได้ เพราะคงจะได้ไอหนาวมาจากพระที่นั่ง
      เลยไม่แน่ใจว่าอโยธยายุคนั้นมีฮีทเตอร์ที่พ่อค้าวาณิชส่งขึ้นมาถวายเจ้าฟ้าสุทัศน์ หรือติดตั้งแอร์ให้พระเจ้าเอกทัศเย็นเป็นพิเศษ   เครื่องไฟฟ้าน่ะมีแน่ เพราะมีปลั๊กมีโคมไฟฟ้าริมถนน  แอร์กับฮีทเตอร์ก็น่าจะมีได้เหมือนกัน

ชอบความเห็นนี้ นี่แหละที่บอกว่าฝนตกไม่ทั่วฟ้า ขนาดหนาวยังไม่ทั่วถึง หรือเพราะแผ่นดินสมัยนั้นเกิดอาเพศจริงๆเลยเกิดฉากแบบนี้ขึ้นได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 31 ม.ค. 18, 15:16
อันนี้จาก พันทิป

จากคห. 95 "คุณตั้งกระทู้บั่นทอน  เรียกหม่อมน้อยว่า คุณน้อย คุณไม่ให้เกียรติการทำงานของคนอื่น ได้มีโอกาสว่าเขาข้างเดียว อวดความยิ่งใหญ่ หวังดีอยากให้คนอื่นทราบข้อมูลจริงก็ควรติดต่อทีมงานเข้าไปพบเลยสิคะ
เขาก็บอกอยู่ว่านี่มันละคร ค่ะ ละคร ละคร ท่องไว้ค่ะ"

คือ เราไม่รู้จะอธิบายยังไงให้คนพวกนี้เข้าใจ ก็เขียนวัตถุประสงค์ไว้แล้วว่าต้องการจะเผยแพร่สิ่งที่ถูก แล้วเราไปดูถูกหรือไม่ให้เกียรติ ม.ล.พันธุ์เทวนพ ตรงไหน เรียกคุณน้อยเนี่ยแหละ คือ ให้เกียรติแล้ว จริงๆ คุณ ใช้กับ ม.ร.ว. ด้วยซ้ำ สมัยก่อน ม.ล. เค้า เรียก พ่อนั่น พ่อนี้ แม่นั่น แม่นี้ ด้วยซ้ำ

อ่อ เราพยายามติดต่อแล้วทาง official page ของทางทีมงาน แต่ความเห็นเราถูกลบไปในบัดดล (ไม่ถึง 5 นาที) ครั้นจะให้เดินทางไปบอก (ที่ไหน?) ก็คงไม่สะดวก ด้วยตัวเองอยู่ต่างจังหวัด มีหน้าที่การงานดีอยู่คงไม่เวลาว่างเดินทางมากรุงเทพฯ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 15:21
อย่าไปถือสาเลยค่ะ   อาจจะคนทำงานเรื่องนี้มาตอบเองก็ได้
คนนอกเขาคงไม่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟขนาดนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 15:38
ท่านรอยอินว่าไว้ดังนี้

คุณ คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร

ที่เรือนไทยนี่ก็มี "หม่อมหลวง" อยู่ท่านหนึ่ง ใช้คำนำหน้าเรียกท่านว่า "คุณ" ท่านยังไม่ถือสา  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 31 ม.ค. 18, 15:39
คือ พวกเขาจะรู้กันบ้างไหมว่า "หม่อม" นั้นหม่อมนี้ อย่าง "หม่อมน้อย" ที่แฟนานุแฟนของ คุณน้อยได้กรุณายกขึ้น จริงๆมันเป็นยศบรรดาศักดิ์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ไม่ใช่อยู่ดีๆคิดจะยกใครขึ้นมาก็ได้
แล้วส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจว่า 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ ที่ต้องมียศเป็น "หม่อมราชวงศ์" มาก่อน เช่น หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) ก็ดี หม่อมทวีวงศ์ถวัลย์ศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์) คือ เราเกรงว่าคุณน้อยจะรับไม่ไหวกระมัง ผมคุณน้อยก็ยาวระวังจะคันเอาง่ายๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 31 ม.ค. 18, 15:50
่อธิบายข้อซักถามบางข้อ

              19. พระพันวสาน้อยพระราชทานเกี้ยวทองกับปิ่นทองรับขวัญหลานพระสนม เราอุทานเบาๆ สมัยก่อนจะให้อะไรแก่ใครต้องคำนึงถึงฐานันดรเสมอ เจ้าฟ้าใช้เครื่องทอง หม่อมเจ้าใช้เครื่องเงิน ไม่มีสิทธ์ใช้เครื่องทองเพราะสูงเกินศักดิ์ หม่อมราชนิกูลใช้เครื่องนาค การที่พระพันวสาน้อยซึ่งย่อมต้องรู้ธรรมเนียมพวกนี้เป็นอย่างดี มีรึที่จะพระราชทานเครื่องทองให้

              //กฏที่ว่ามีเฉพาะในวังหรือเปล่าคะหรือรวมถึงพวกไพร่ด้วย เช่นว่าพวกไพร่มีทองที่อาจจะได้มาจากชนชั้นสูงนี่ได้ไหมคะ แล้วชนชั้นสูงและไพร่ถ้ามีของเกินฐานะตัวเองจะโดนทำโทษไหม

              ตอบ มันไม่ใช่กฎ แต่ก็เหมือนกฎ คนสมัยโบราณจะทำจะใช้อะไร ต้องเจียมเนื้อเจียมตัว เพราะถ้าทำอะไรที่ดูสูงกว่าศักดิ์ตัวล้วนมีภัยทั้งนั้น สถานเบาคือ โดนค่อนขอด เช่น สร้างบ้านใหญ่โต  สร้างบ้านใหญ่โตราวกับวัง อันนี้คือ อารมณ์ของน้ำเสียงไม่ได้ชม แต่ค่อนขอด สถานหนักคือ ต้องราชภัย ตัวอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เช่น เจ้าสามกรม ตัวเป็นแต่เพียงกรมหมื่น แต่ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมขุน เจ้ากรมถูกกรมพระราชวังหน้าเรียกมาโบย สมัยรัตนโกสินทร์เอง พระยามหาเทพในรัชกาลที่ 3 ก็ประพฤติตัวสูงจนเกินศักดิ์เป็นหลายประการ ในที่สุดมีคนหมั่นไส้ ทิ้งเพลงยาวบัตรสนเท่ไว้ที่ทิมตำรวจหน้า แต่เคราะห์ดีที่เป็นที่โปรดปรานจึงทรงไม่ถือสาหาความใดๆ

              ลักษณะที่ว่ามานี้แบบนี้ใช่ว่าจะมีแต่ในไทยเท่านั้น เคยดูสารคดี ของ BBC ก็มีการกล่าวถึงด้วย และมีพระราชกำหนดชัดเจนกว่าของไทยด้วยซ้ำ เช่น ในรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบ็ธที่ 1 มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า (ขุนนาง)จะสามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่มีทองประกอบได้ ขุนนางผู้นั้นอย่างน้อยต้องเป็นชั้น เอิร์ล, จะสามารถสวมใส่ขนสัตว์ได้แต่เมื่อมีรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ปอนด์, และผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10 ปอนด์ต่อปี แต่กลับสวมหมวกนอนที่มีวัสดุจากผ้าไหมจะได้รับโทษ

              24. ฉากพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศ กรมพระราชวังหน้า สรุปคือ กรมพระเทพามาตย์ กรมหมื่นวิมลภักดี(ในเรื่อง) กลายเป็นต้องกราบพิมานไปด้วย เพราะถือพระแสงดาบตามหลังอยู่ ตามธรรมเนียมแล้วฝ่ายในจะไม่เข้ามาร่วมในงานของฝ่ายหน้าโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะระหว่างข้างหน้ากับข้างใน และเลี่ยงความอิหลักอิเหลื่อ เรื่องนี้ยึดเป็นธรรมเนียมมาจนกระทั้งสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะปรากฏว่าพระราชชนนีของท่าน ก็ไม่ได้เข้าร่วมสรงน้ำพระองค์ท่านในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมให้ฝ่ายในเข้าร่วมพระราชพิธีนั่นเอง

              //แล้วตามธรรมเนียมฝ่ายในเข้าร่วมงานของฝ่ายหน้างานพิธีอะไรได้บ้างคะ ส่วนที่ว่าโดยไม่จำเป็นคือต้องมีกรณีไหน เหตุการณ์บ้างที่จำเป็น จะเข้าร่วมงานได้

ตอบ เท่าที่รู้ สมัยโบราณจริงๆคงแทบจะไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เวลาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ขนาดภริยาของข้าราชการฝ่ายหน้ายังต้องเข้าคนละประตูกับฝ่ายหน้า(สามี)เลย แต่อาจจะมีงานกฐินหลวงที่พอเสด็จหรือไปได้บ้าง แต่ก็ต้องกั้นฉนวน ซึ่งอาจจะเป็นผ้าขาวหรือเป็นฉนวนถาวร เช่นที่วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

             25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

             //พอจะช่วยเรียงลำดับให้หน่อยได้ไหมคะว่าอะไรสำคัญสุด ไปจนถึงน้อยสุด คือดิฉันไปหาที่กูเกิ้ลในนั้นยกมงกุฏสำคัญสุดกันแสดงว่าสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยาก็เรียงลำดับต่างกันใช่ไหมคะ

             ตอบ คงไม่มีการเรียงลำดับถึงขนาดนั้น เพราะของพวกนี้ถือเป็นหมวดๆ คือ หมวดเบญจราชกกุธภัณฑ์ เราเรียกรวมๆ แต่ที่ว่าพระขรรค์สำคัญที่สุด เนื่องจาก
                   ประการแรก ถ้าคิดถึงหลักความจริง แต่ไรมาการรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นย่อมต้องใช้กำลังเข้าต่อสู้ พระขรรค์ถือเป็นอาวุธประจำพระองค์ ใช้ต่อสู้กับข้าศึก อริราชศัตรู ให้ได้มาถึงแผ่นดิน ถ้าพิจารณดูจากความจริงข้อนี้ ที่ว่าพระขรรค์สำคัญที่สุดก็มีเหตุผลอยู่
                   ประการที่สอง ถ้าอ้างอิงจากหลักฐาน จะพบว่าบ้านเมืองแถบนี้มีตำนานผูกพันกับพระขรรค์อยู่เสมอ อ้างจากหนังสือเกร็ดโบราณคดี ประวัติศาสตร์ไทยของอ. ส. พลายน้อย เช่น พระเจ้าอู่ทองทรงเสี่ยงพระบารมีขว้างพระขรรค์ ปรากฏว่าไปปักอยู่ที่หนองโสน ก็ทรงสถาปนาพระนครขึ้น ณ บริเวณดังกล่าว หรือ เรื่องเล่าที่พระเจ้าปราสาททองทรงใช้พระขรรค์อธิษฐานเสี่ยงทาย ปรากฏว่ากลาย พระนารายณ์ที่ทรงเลือกได้พระขรรค์ที่ทรงอธิษฐานเอาไว้แทนที่เจ้าฟ้าไชย เป็นต้น แต่กลับไม่เคยมีตำนานแบบที่ทรงสุบินเห็นพระมหามงกุฎลอยไปที่หนองโสน หรือพระเจ้าปราสาททองให้เสี่ยงทายพระมงกุฎเลย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 31 ม.ค. 18, 16:37
            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 31 ม.ค. 18, 17:27
            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน


ผมเองยังไม่เคยเห็นหลักฐานใดที่ระบุว่าสยามถือเอาพระขรรค์เป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดครับ แม้หลายครั้งจะมีตำนานหรือเรื่องเล่าว่าพระขรรค์เป็นของสำคัญ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นของสำคัญที่สุดครับ และความสำคัญของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ละอย่างอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ เราจึงคงยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้อย่างชัดเจนหากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้ครับ

มีหลักฐานอยู่ว่าเครื่องราชกุกธภัณฑ์ในทุกรัชกาลโดยเฉพาะช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีความแตกต่างจากในปัจจุบัน ในอดีตหลายครั้งนับฉัตรเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย และเท่าที่เคยชศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเครื่องราชภัณฑ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทย มีการระบุว่าในราชสำนักสยามก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ จะนับฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดครับ แม้ว่าบางสมัยจะไม่ได้รวมเป็นหนึ่งในเครื่องเบญราชกกุธภัณฑ์ก็ตาม แต่เรื่องนี้คงต้องไปศึกษารายละเอียดอีกทีครับ

ถ้าอ้างอิงจากพระตำราราชาภิเษกสมัยอยุทธยาตอนปลายจะไม่รวมฉัตรเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ จะมี พระมหามงกุฎ พระขรรค์ไชยศรี พัชนีฝักมะขาม ธารพระกร ฉลองพระบาท แต่เวลาที่พราหมณ์จะถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ จะถวายฉัตรก่อนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เขียวนเรศ ที่ 31 ม.ค. 18, 17:30
            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน

เรียนคุณ Koratian จะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว อย่างที่เราได้กล่าวอธิบายความในกระทู้ข้างบน คห.429 แต่อันที่จริงยังมีข้อมูลอื่นอืีก ที่พอทำให้อนุมานได้ว่า พระขรรค์สำคัญเหนือบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้นว่า
       1. ตำนานพระร่วง ตอนพระร่วงพระราชทานนาม พระเจ้าฟ้ารั่วให้มะกะโท ก็ปรากฎว่า พระขรรค์เป็นรายการของเครื่องราชกกุธภัณ์ที่ทรงพระราชทานให้พระเจ้าฟ้ารั่วเป็นอันดับแรก
       2. ตอนพ่อขุนผาเมือง ทรงอภิเษกสมรส กับพระนางสิขรมหาเทวี พระธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ก็ได้รับพระราชทาน/หรือถูกขโมย พระขรรค์มาประทานให้ คงมีของที่ได้รับพระราชทานอย่างอื่นอีก แต่พระขรรค์ถูกกล่าวถึงเพียงอย่างเดียว นั่นแสดงถึงความสำคัญของพระขรรค์
       3. สมัยอยุธยา พระขรรค์ยิ่งต้องสำคัญเป็นของราชกกุธภัณฑ์เพียงชิ้นเดียวที่ กล่าว/อ้างว่าสืบทอดมาจากพระยาแกรก/พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ แล้วพระยาแกรกได้พระขรรค์มาจากไหน ก็ได้มาจากพระอินทร์ที่เห็นว่าพระยาแกรกนี่มีบุญบารมี นี่แหละคือจุดสำคัญที่ทำให้พระขรรค์ยิ่งมีความสำคัญ เพราะสอดคล้องกับลัทธิเทวราชาและเรื่องผู้มีบุญบารมีในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
       4. ความเชื่อในข้อ 3 ถูกตอกย้ำอีกครั้งในเหตุการแย่งชิงราชสมบัติเมื่อครั้น พระเจ้าท้ายสระสวรรคตที่กลับทรงยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย ทำให้เกิดการรบพุ่งกันกับพระบัณฑูรน้อย พอเจ้าฟ้าอภัยสู้ไม่ได้ก็หอบเอาพระขรรค์พระยาแกรกไปด้วย พอจวนตัวก็โยนพระขรรค์ทิ้งน้ำ
       5. เรื่องพระเจ้าอู่ทองเสี่ยงทาย ในที่นี้ไม่ขอกล่าวซ้ำ
       6. เรืองพระเจ้าปราสาททองเสี่ยงทาย ในที่นี้ไม่ขอกล่าวซ้ำ
       ด้วยเหตุผลเหล่านี้เราว่าน่าพอจะอนุมานได้บ้างว่า ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สมัยก่อน พระแสงขรรค์ สำคัญที่สุด ผิดถูกประการใดรบกวนผู้รู้ท่านอื่นๆช่วยชี้แจง และวิเคราะห์วิจารณ์ จะได้เป็นประโยชน์แก่เราและเพื่อนๆที่ได้เข้ามาอ่าน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 31 ม.ค. 18, 17:47
สำหรับฉากขึ้นพระพุทธบาท เราจะเห็นว่าพระเจ้าเอกทัศทรงพระมหามงกุฎ ทรงฉลองพระองค์กรองทองเต็มยศขึ้นพระบาท

แต่ถ้าได้ศึกษาข้อมูลจาก "พระตำราทรงเครื่องต้น" สมัยอยุทธยาที่เรียบเรียงโดยข้าราชการกรุงเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว จะพบว่ามีการกำหนดฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระพุทธบาทอย่างละเอียด และมีการเปลี่ยนเครื่องต้นตามระยะทางด้วย ดังต่อไปนี้ครับ


         "ถ้าเสด็จพระพุทธบาท แต่กรุงขึ้นไปจนถึงท่าเจ้าสนุก ทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง  ทรงเครื่องต้น ๗ อย่างเท่านั้น คือ  ทรงสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น ๑ ทรงพระภูษาจีบโจง ๑ ทรงฉลองพระองค์สังเวียนยก ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาด ๑ ทรงพระมาลาพระกลีบ ๕ ยอดสะดุ้ง ๑ เหน็บพระแสงกั้นหยั่น ๑ ถวายพระฉายด้วย ๑ สิริเป็น ๗ สิ่ง

        ถ้าตั้งพยุหบาตราแต่ท่าเจ้าสนุกไปจนพระพุทธบาท ทรงเครื่อง ๔ อย่าง คือทรงประพาส ๑ ทรงพระสนับเพลาเชิงงอน ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาด ๑ ทรงพระมาลาฝรั่งเส้าสะเทินขนนกนอน ๑

        ถ้าเสด็จไปถึงปากทุ่งบ้านใหม่ เปลื้องเครื่องทรงประพาสออก จึงถวายเครื่องซึ่งทรงเรือพระที่นั่งกิ่งไปแต่กรุงนั้น ไปจนถึงธารเกษมจึงเปลื้องเครื่อง  ครั้นเพลาบ่ายจะเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธบาท จึงถวายเครื่องเหล่านี้ คือถ้าทรงช้างพระที่นั่งพุดตาลทอง ทรงเครื่อง ๘ สิ่งเท่านั้น คือ ทรงพระสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น ๑ ทรงพระภูษาจีบโจง ๑ ทรงรัดพระองค์หนามขนุน ๑ ทรงฉลองพระองค์กรน้อยพื้นทองผุดดอก ๑ ทรงฉลองพระองค์ย่นขาวนอก ๑ ทรงรัดพระองค์แครง ๑ ทรงพระชฎาขาวริมทองสอดสี ๑ พระแสงกั้นหยั่น ๑ สิริเป็น ๘ สิ่ง

        ถึงพระพุทธบาทแล้วเสด็จไปประพาสป่า ทรงช้างทรงประพาส ทรงม้าทรงอย่างเทศ ม้าทรงประพาสก็ได้"



ดังนั้นถ้าพระเจ้าเอกทัศจะเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทามฉากที่ปรากฏในศรีอโยธยา หากจะทรงแต่งกายให้ถูกต้องตามธรรมเนียม ก็คสรจะทรงเครื่อง

๑. พระสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น

๒. พระภูษาจีบโจง ทรงอย่างโจงกระเบนทับพระสนับเพลา

๓. รัดพระองค์หนามขนุน คือผ้าหนามขนุนสำหรับคาดเอว

๔. ฉลองพระองค์กรน้อยพื้นทองผุดดอก ทรงเป็นฉลองพระองค์ชั้นใน

๕. ฉลองพระองค์ย่นขาวนอก ทรงชั้นนอก

๖. รัดพระองค์แครง คือชายแครง

๗. พระชฎาขาวริมทองสอดสี คือชฎาพอกที่คล้ายกับลอมพอกของขุนนาง แต่น่าจะมีเกี้ยวทองคำลงยาประดับอัญมณีเพิ่มมาเป็นชั้นๆ และมียี่ก่า รวมถึงสอดสีด้วยผ้าไหมสีต่างๆ อย่างพระชฎาพอกที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเวลาเสด็จออกแขกเมืองที่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสครับ (แต่ภาพเขียนหรืออนุสาวรีย์สมัยหลังนิยมวาดเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ)

๘. พระแสงกั้นหยั่น ถ้าเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงคาดกริชแทนครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 31 ม.ค. 18, 17:53

ขอแทรกคุณศรีสรรเพชญ์ เพื่อตอบคุณเขียวเนรศ อย่างเล็กน้อยก่อนนะครับ

ผมอ้าง wikipedia ก่อนก็แล้วกันครับ ยังไม่ได้ตรวจสอบกับรอยอิน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3 (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3)


พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (นพ; เก้า, ปฎล; ชั้น, เศวต; สีขาว) เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร" เป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร 6 ชั้น อันหมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร 9 ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง 8 ทิศ ชั้นล่างสุด หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง 8 ทิศ ปัจจุบันมีพระมหาเศวตฉัตรแห่อยู่จำนวน 6 องค์ ได้แก่
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ท้องพระโรงกลางเหนือพระที่นั่งพุดตานถม)
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ท้องพระโรงเหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก)
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน (เหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ (เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (มี 2 องค์ คือ เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์และเหนือพระแท่นเครื่องพระสำอาง)
พระที่นั่งอนันตสมาคม (ท้องพระโรงกลางเหนือพระแท่นราชบัลลังก์)


เพิ่มเติม เพิ่งเห็นว่าคุณศรีสรรเพชญ์ ช่วยตอบเรื่องฉัตรไปแล้วนะครับ เห็นตามคุณศรีฯ ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 31 ม.ค. 18, 18:06

ศรีอโยธยา ของหม่อมน้อย ทันสมัยจริงๆ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 31 ม.ค. 18, 19:47
หากลองเทียบกับการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทในรัชสมัยพระเจ้าเสือเมื่อจุลศักราช ๑๐๖๙ (พ.ศ. ๒๒๕๐) ซึ่งปรากฏเป็นจดหมายเหตุอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๑ น่าจะเห็นรายละเอียดของประเพณีการนมัสการพระพุทธบาทในสมัยกรุงเก่าได้ชัดเจนซึ่งมีความแตกต่างกับศรีอโยธยาพอสมควร ดังนี้ครับ (ที่ตัวหนาไว้เป็นช่วงที่ตรงกับเหตุการณ์ในศรีอโยธยา)


        "ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ ปีขาลนพศกเพลาตี ๑๑ ทุ่ม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพยุหยาตราข้าละอองทั้งปวงพร้อมตามอย่าง เสด็จประทับพระตำหนักท่าเจ้าสนุก ดารัสสั่งให้ปลูกสะพานเรือกข้ามแม่น้ำสำหรับให้ช้างม้าเดินได้ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จประทับพระตำหนักโคกมะนาว

         ครั้นเพลาตี ๑๑ ทุ่มได้มหาพิชัยดิถีศุภวารฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงราชวิภูษณาลังกาภรณ์ ประกอบแก้วกาญจนมณีศรีอร่ามเรืองวิโรจน์ระยับ พระองค์เสด็จทรงพระที่นั่งกระโจมทองสองแถววิถี มีจามรมาศดาษดาไปด้วยบังสุริยมยุรฉัตร เครื่องสูง เชรงแซรงไสว พลดาบดั้งตั้งตาริ้วประกวดกาย พลพยุหขยายระยะธงชัยฉาน เสียงก้องโกลาหล ทั้งเสียงพลรถาชาติพาชีราชบรพล ก็ขี่ขับกุญชรมโนมัยไปหน้า แล้วอยู่หลัง คับคั่งพนัสเนินแนววิถี ธุลีเคลื่อนคลบตลบอรัญวาส เสด็จพยุหยาตรา

         พอรุ่งสว่างแสง ทินกรโอภาส ถึงพระตำหนักท้ายสระยอ เสด็จประทับเกย จึงทรงพระกุญชรพลายจอมจักรพาฬ ติดน้ำมันหน้าหลัง พระมหานุภาพ ทำท้ายพระคชธาร เสด็จทรงคอ พระหัตถ์ทรงพระแสงขอพลพ่าย พระคชาธารกระหึ่มมันปั่นป่วน เดินส่ายหงายหน้าขวางตัวไปมา ช้างม้าแลพลเดินทั้งนั้นมิอาจเข้าใกล้ได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงขับพระคชาธารมาเถิงตรงหน้าลานพระเจ้า ทรงรำแสง ๓ เที่ยวเป็นพุทธบูชาแล้ว ตรัสเรียกนายช้างเข้ามาผัดพานบูชาพระพุทธบาทลักษณ์เจ้าถ้วน ๓ กลับแล้วยอพระกรประชุมทศนัขสโมธานกับพระเศียร กราบถวายนมัสการลงเหนือตระพองพระคชาธาร ถวายวันทนะประณามแล้วก็ขับพระคชาธารไปสู่พระตำหนักธารเกษม ฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จประทับพระตำหนักสวนมะลิทางประเทียบ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานทำราชวิถีทางเสด็จ แต่พระตำหนักธารเกษมจนถึงลานพระพุทธบาท ให้ปราศจากหลักตอลุ่มดอน แล้วให้เอาน้ำประพรมทุบตีมิให้ผงธุลีละอองฟุ้งขึ้นได้ กรมพระนครบาลกับขุนโขลนก็ทำตามรับสั่ง ครั้นเพลาเช้าให้เครื่องเล่นสรัพทุกสิ่งกรม สมโภชขึ้น พร้อมกันเป็นพุทธชา

        ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมง เสด็จทรงช้างพระที่นั่งจำลองพุดตาลทอง นายทรงบาศควาญท้ายพระที่นั่ง อภิรม กันภิรม ๗ ชั้น หน้า ๕ คู่ หลัง ๕ คู่ บังพระสุริย แลพัชนีทองโบกกันผงลี แต่บรรดาเกณฑ์แห่ในเครื่องสูงกระบวนต้นเชือก ใส่กางเกงสนับเพลา เสื้อสักกระหลาดหักทองขวาง บ้างก็ปักทองประดับกระจก บ้างนุ่งผ้า ปักลายต่างๆ กัน ใส่เสื้อครุย ใส่พอกเกี้ยวปักดอกไม้ไหวทองคำ

        แลพระมหาเทพ พระมหามนตรี สะพายแล่งกระบี่บั้งทอง ยุดช้างพระที่นั่ง แห่ซ้ายแห่ขวา แลหลวงราชรินทร์ หลวงอินทรเดช ขัด แล่งดาบแห่ช้างเท้าหลังช้างพระที่นั่งซ้ายขวา มีจหมื่นมหาดเล็ก หุ้มแพรตัวสีระ ขัดแสงดาบด้ามงาซ่นทองปลอกทอง ฝักดาบนั้น หุ้มแพรกำมะหยี่ฝักงอนกระบี่ เดินเป็นคู่กันทั้งซ้ายขวา แห่หน้าช้าง ในเครื่องสูง ๕ คู่ ตำรวจวังซ้ายขวา ขัดแล่งดาบซ่นทองแห่ใน เครื่องสูง ๕ คู่ แห่หน้าเครื่องสูงออกไปนั้น พระอินทรเทพ พระพิเรนทรเทพ ตำรวจใหญ่ พระวิสูตรโยธามาตย์ พระราชโยธาเทพทหารในหลวง พระนพบริรักษ์ พระสุริยภักดี สนม หมื่นราชธน หมื่นราชมาศ ตำรวจหน้า หมื่นทิพรักษา หมื่นทิพเสนา ตำรวจหลังขนัดแตรคช แตรงอน สังข์ ขนัดบุดาษ ตำรวจใน ตำรวจใหญ่ แขนลายถือทวนขัดแล่งดาบทิพบั้งทอง บั้งนาก บั้งเงิน ขนัดแล่งใน ถือปืนคาบศิลา แห่ซ้ายเป็นคู่ ๑๐ คู่ ขวาเป็นคู่ ๑๐ คู่ มีธงชายประจำหน้าหมวด ๑ ขนัดหอกคอทอง ทหารกองในซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงชายประจำหน้าหมวด ๑ ขนัดอาษามะลายู โพกผ้าครีบครุยทอง นุ่งผ้าลอยชาย ใส่เสื้อศรีบางเพียงบั้นเอว คาดปั้น เหน่งทองเหน็บกฤชแบกหอกคู่ แห่ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงชายประจำหน้าหมวด ๑ ขนัดอาษาจามใส่หมวก รูปกรลาปักทอง นุ่งผ้าลอยชาย ใส่เสื้อคาดปั้นเหน่งเหน็บกฤช แบกหอกซัดคนละคู่ ซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ มีธงชายแห่ประจำหน้าหมวด ซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัด อาษาญี่ปุ่น ห่มเสื้อลายพิมพ์กรอมหัวเข้าง้าว ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงชายประจำหน้าหมวด ซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัดมอญอาษาถือดาบ ๒ มือ ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู มีธงชายประจำหน้าหมวดซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัดปี่กลองชะนะ ๒๐ คู่ แลขนัดใส่เสื้อแดงหมวกลายนำาทอง ถือแล่นซัดกับเขนทอง แหลนซัดกับเขนทอง ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงชายแห่หน้าประจำหมวด ซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัดทวนจามจุรี กับโล่ห์ทอง ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงแห่ประจำหมวดซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัดธนูหางไก่คอนกระบอกลายทองใส่ลูกธนู ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงแห่ประจำหน้าหมวด ซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัด ดาบดั้งทอง ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงชายแห่ประจำหน้าหมวดซ้าย ๑ ขวา ๑ ขนัด ปืนนกโพรก ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ มีธงแห่ประจำหน้าหมวด ซ้าย ๑ ขวา ๑ ถึงปี่กลองไทยใหญ่สำรับ ๑ และขนัดช้างตั้ง ๑๐ ช้างพังอธิคชแทรก ๑๒ เชือก ช้างดั้งตั้งสัประคับจำลองแดง มีกระจังท้าย มีแล้ว ซ้ายชวา ปักหางนกยูงซ้ายขวา กรมช้างนั้นใส่เสื้อสักกระหลาดแดง ขวา ๕ เชือก ใส่เสื้อสักกระหลาดเขียว ซ้าย ๕ เชือก ใส่หมวกเสนากุฎนั่งบนสัประคับ ถือธงชาย แขวนโคมดวงยง แลคอช้างดั้งทั้ง ๑๐ ตัวนั้น ผูกกระดิ่งแขวนคอ ทุกตัว แลช้างพังเป็นช้างกันนั้น เชือกบาศผูกห้อยหลังข้างละขด ทุกตัว หมู่ทนายปืนกลางช้าง ถือปืนนั่งบนหลังช้างกันทุกตัว แห่ ไปหน้าช้างดั้งหลังช้างกัน สลับกันไปจนสุดช้างดั้งทอง ขนัดม้าแซง โรงใน ขัดแล่งดาบขี่ม้าถือทวนทอง ซ้าย ๑๐ คู่ ขวา ๑๐ คู่ ถือ ธงชายบนหลังม้าประจำหน้าหมวด ๑ ขนัดม้าแซงจีนฮ่อ นุ่งกางเกงห่ม เสื้อแพรแดงแพรเขียวต่างกัน แพรราชคดหนังไก่แดง โพกศีร์ษะถือเกาทัณฑ์ขี่ม้า ซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ ถือธงบนหลังม้าประจำหมวด ๑ ปี่กลองมะลายู ขนัดแขกเทศ โพกหัวนุ่งกางเกงใส่เสื้อขาวเหน็บตรี ถือปืนสั้นขี่ม้า ซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ ถือธงบนหลังม้าประจำหมวด ๑๒ สำรับแลแซงนอกขัดแล่งดาบ ถือธงแห่สุดปลายเชือก เลี้ยว เต้าปูนจะมาหน้าพระลานพระ ซ้าย ๕ ขวา ๕ ตัวขุนโขลนไขน้ำ อ่างแก้วบนเชิงเขา ลงมาพุขึ้นในอ่างแก้วน้อย หน้าเกณฑ์แห่รับพระราชทาน อนึ่งทองพระบรมโกศ ทำรูปเงิน ๒ ไพใส่ลูกมะนาวแขวนต้นกัลปพฤกษ์ ๔ ต้น หน้าลานพระ

         ครั้นเสด็จลงมาถึงลานพระแล้ว เสด็จลงจากช้างพระที่นั่งเข้าพลับพลาเปลื้องเครื่องทรง ฝ่ายประเทียบสมเด็จพระมเหษีทรงพระวอทองปิดทองเครื่องสูง ๕ ชั้น แห่หน้าแห่หลัง พระวอซ้ายพระวอขวาคู่ แลเจ้ากรมปลัดกรมนายเวรปลัดเวรขอเฝ้า ใส่กางเกงสนับเพลา นุ่งสมปักลาย ใส่พอก เสื้อครุย ขัดแล่งดาบแห่ซ้ายขวาหน้าพระวอ ๔๐ คู่ บอโทนฝีพาย แบกหอกถือคบเพลิง แห่ปลายเชือกซ้าย ๕๐ คู่ ขวา ๕๐ คู่ พระประเทียบเสด็จมาทางสวนมะลิ ถึงลานพระแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบันไดนากหน้าพระพุทธบาท เถิงชั้นสุดปลายบันไดแล้วโบกพระหัตถ์ แลขุนหมื่นพนักงานซึ่งอยู่ บนต้นกัลปพฤกษ์ต้นละ ๔ คนนั้น กราบถวายบังคมลุกขึ้นทิ้งทาน

         ครั้นเพลาย่ำฆ้องค่ำ จุดพะเยียมาศแจ่มดวงผะกาถวายพระพุทธบาทและธาดอกไม้เพลิง ๘ สธา ๒ จีนแลพลุ ปะทัด ไฟพะเนียงน้อย ไฟพะเนียงใหญ่ ครั้นจุดพะเยียบูชาแล้ว เสด็จทรงพระที่นั่ง สุวรรณปฤษฎางค์กระโจมทอง แลทนายคบจุดคบเพลิง ทนายโคม ดวงบนหลังช้าง แห่เสด็จกลับขึ้นพระตำหนักท่าเกษม และครั้นเพลาบ่ายโมงหนึ่ง พนักงานไขน้ำธารทองแดงไหลเข้ามาตามท้องธาร ระยะทางแต่ธารทองแดงเข้ามาถึงวังธารในระเนียดพระตำหนัก ท่าเกดนั้น ๕๐ เส้น ครั้นสั่งแล้ว บ่าย ๓ โมงเสด็จมานมัสการทำพุทธบูชาพระพุทธทุกบาทวัน

     ครั้นสมโภชครบ ๗ วัน ๗ คืน เสด็จ มานมัสการลาพระพุทธบาทแล้ว เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"



โดยปกติแล้วการเสด็จขึ้นพระพุทธบาทของพระเจ้าแผ่นดิน จะมีการสร้างพลับพลาเปลื้องเครื่องทรงก่อนเสด็จขึ้นมณฑปพระพุทธบาทให้เรียบร้อบก่อนจึงจะเสด็จขึ้น แต่ในศรีอโยธยากลับเปลื้องเครื่องทรงภายในมณฑปพระพุทธบาทเลย ซึ่งน่าจะไม่เป็นการเหมาะสมเท่าไหร่นัก รู้สึกเหมือนกับเป็นการไม่เคารพสถานที่ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 18, 21:24
เดาว่าในเมืองโบราณ มีมณฑปพระพุทธบาท  แต่ไม่มีพลับพลาเปลื้องเครื่องทรง    จะสร้างใหม่ก็ทำไม่ได้ ณ สถานที่นั้น  จะแยกฉากต่างหาก  ก็คงไม่สะดวกที่จะสร้างใหม่
เลยให้เปลื้องกันบนมณฑปเสียเลย

ขอเพิ่มอีกข้อก็คือ  ดูมาถึงตอนนี้   เจ้าฟ้าสุทัศน์กลายเป็นตัวละครเอกไปแล้ว    ถูกเติมเสริมแต่งบทจากพระองค์เจ้าสุทัศน์ที่ไม่มีบทบาทอะไรในอยุธยาตอนปลาย มาเป็นบุคคลสำคัญในราชวงศ์บ้านพลูหลวง กลายเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลองค์สุดท้าย  ไม่ใช่เจ้าฟ้าอุทุมพรตามหลักฐานที่มีมา
ในเมื่อขยายใหญ่ ก็พลอยทำให้ต้องมีฉากหลายฉากตามมาเช่นนั่งใต้พระมหาเศวตฉัตรและฉากพระพุทธบาท  นอกจากมีข้อผิดผลาดให้วิจารณ์ได้อีกหลายข้อ  ยังไม่ได้มีผลต่อแกนหลักของเรื่องที่อ้างคือเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในอดีตที่มีพระองค์จริง
พระยาตากและหลวงยกกระบัตรนั้นหายไปเลย   ไม่รู้จะได้กลับมามีบทบาทอีกในตอนที่เท่าไหร่

เจ้าฟ้าสุทัศน์ในละคร เดาว่าตายไปตั้งแต่เสียกรุง   แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นดารานักร้อง    ชิงรักหักสวาทกับพระเอก เป็นกรณีหนึ่งหญิงสองชายทั้งชาติก่อนชาตินี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 ก.พ. 18, 17:50

ถึงเวลาจะผ่านไป ประตูชัยแห่งศรีอโยธยา ยังเหมือนเดิม

ปล. ในวันเดียวกันถ่ายทำ ตอนที่ 14 ก่อนตอนที่ 4


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 ก.พ. 18, 18:20

ใช้ดาราฝรั่งคุ้มค่า



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 18, 18:21
^
เดจาวูของเจ้าฟ้าสุทัศน์  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 02 ก.พ. 18, 18:33
เห็นภาพพระเจ้าเอกทัศน์ทรงพระมหามงกุฎทรงพระดำเนินดังในภาพข้างบนแล้ว  ยิ่งตอกย้ำความไม่รู้ของซีรีย์นี้จริงๆ  เพราะตามพระราชประเพณี
พระมหากษัตริย์จะทรงพระมหามงกุฎเฉพาะแต่เวลาเสด็จสถิตเหนือพระราชบัลลังก์เท่านั้น  เพราะพระมหาพิชัยมงกุฎนั้นน้ำหนักมาก  เวลาเสด็จ
โดยพระราชยานทั้งทางสถลมารคและชลมารคจะทรงพระมหากฐิน (พระมหามงกุฎมียี่ก่าประดับ) ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า  เมื่อเสด็จลงจากพระราชบัลลังก์
หรือจากพระราชยานก็จะทรงเปลื้องพระมหามงกุฎไม่ทรงพระมหามงกุฎเวลาทรงพระดำเนิน  หากจะทรงค้องพระดำเนินต่อไปก็จะทรงพระมาลาเส้าสูงหรือ
พระมาลาเส้าสะเทิ้น  และเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดๆ นอกจากเขตพระราชฐานชั้นในหรือในพระอาราม  มีพระราชประเพณีเสด็จโดยพระราชยาน
หรือพระราชพาหนะอื่นๆ เช่น ช้าง ม้า หรือเรือพระที่นั่ง  จะทรงพระดำเนินด้วยพระบาทก็แต่เฉพาะในเขตพระราชฐานชั้นในหรือในพระอารามเท่านั้น 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 02 ก.พ. 18, 20:07
อันนี้ของร่วมบ่นนิดหนึ่ง คือไม่อยากจะว่าอะไรคนออกแบบเสื้อผ้าหรอกนะดอกนะ แต่ฉากนี้ ดูดู๋นางสังข์แต่งตัวอะไรมาเข้าเฝ้า เอาเสื้อคลุมพวกญี่ปุ่นมาคลุมข้าพอทำเนา แต่เอาชุดชั้นในแบบคนจีนมาใส่อวดนะเหลือจะรับ

ชุดแบบนี้ภาษาจีนหลวงเขาเรียกตู้โต่ว 肚兜(dù dōu )บ้างก็เรียกโต่วตู้ มีแค่เด็กเล็กกับผู้หญิงสาวจึงจะใส่กัน เด็กเล็กทารกก็ใส่พอปิดที่อาย โตมาก็ใส่เสื้อผ้า ปักลายเสื้อ
เป็นรูปเสือ รูปนิทาน เป็นทำนองลายมงคลให้คุ้มกันเด็ก

ส่วนพวกสาวๆเขาใส่กันเป็นชุดชั้นในก่อนจะห่มเสื้อกันอีกที ปรกติก็มีสีแดงเป็นพื้น ลายปักถ้าไม่ใช่ดอกไม้มงคล ก็เป็นพวกเรื่องงิ้วรักๆใคร่ๆ หรือลายของมงคลแทนความรัก ความหมายก็คือให้คุ้มครองตน มีลูกมีหลานมากๆ และให้สมหวังในรัก สามีรักหลง

แล้วรู้ไหม หญิงจีนเขาเขาปักลายนี้เขาเอาให้ใครดู มีแต่สามีเขานั้นแหละให้ดูได้ ปรกติใส่เสื้อคลุมทับมิดชิดตลอด มีแค่สามีหรือลูกอ่อนเท่านั้นจะเห็นหญิงใส่ชุดชั้นในได้

แล้วนี้พระกำนัลนารีใส่เข้าเฝ้า ลายดอกบัว(莲花)ที่หมายความว่ามีลูกมากๆ (连生贵子)

รึนางสังข์จะคิดสมบัติบ้าอะไร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 02 ก.พ. 18, 20:47

รวมทั้งมีบทมหาดเล็กเอามือไปช่วยถอดพระมหาพิชัยมงกุฎให้พระเจ้าเอกทัศ   ถูกหัวถูกหูพระเจ้าเอกทัศกันไม่สะทกสะท้านเลย



ข้อนี้ผมเองก็ติดใจตั้งแต่ตอนแรกที่มีฉากตัวละครคุณทองด้วงไปถอดพระมหาพิชัยมงกุฎให้พระเจ้าเอกทัศแล้วครับ

แต่ว่าเมื่ออาทิตย์ก่อนผมลองไปอ่านในจดหมายเหตุร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ถ้าจำไม่ผิดเป็นหนังสือเรื่อง "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมือง แห่งราชอาณาจักรสยาม" ของ นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) ได้อ้างว่ามีบุคคลกลุ่มเดียวที่สามารถแตะต้องพระวรกายของพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด นั่นคือภูษามาลาที่ทำหน้าที่แต่งฉลองพระองค์ ซึ่งยังระบุด้วยว่ามีสิทธิพิเศษสามารถแตะต้องพระเศียรของพระเจ้าแผ่นดินได้ครับ

ถ้าตัวผู้บันทึกไม่ได้เข้าใจคลาดเคลื่อน อาจเป็นไปได้ว่าธรรมเนียมเมื่อครั้งกรุงเก่าอาจมีข้อปฏิบัติบางอย่างที่แตกต่างจากในปัจจุบันครับ

พอดีตอนนี้หนังสือไม่ได้อยู่ที่ตัว เดี๋ยวพอได้มาแล้วจะคัดลอกเนื้อหาเต็มๆ มาให้อ่านกันนะครับ


ขอแก้ข้อมูลนิดหน่อยนะครับ พอดีกลับมาเช็คแล้ว พบว่าจำผิด จริงๆ แล้วเรื่องข้อมูลนี้หนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" ไม่ใช่จดหมายของนิโกลาส์ แชรแวส และเนื้อหาระบุว่าสัมผัสได้แต่พระมาลาเท่านั้น ไม่สามารถสวมพระเศียรให้พระเจ้าแผ่นดินได้ ต้องขออภัยในความผิดพลาดด้วยนะครับ

ลา ลูแบร์ ได้บรรยายไว้ดังต่อไปนี้


"๑๑. ว่าด้วยกรมภูษามาลา

       ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า พนักงานผู้หญิงในพระบรมมหาราชวังเป็นผู้แต่งพระองค์ทรงเครื่องให้แก่พระมหากษัตริย์ แต่พวกนางไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องภูษามาลา มีเจ้าพนักงานในการนี้โดยเฉพาะต่างหาก (ที่เป็นผู้ชาย) คนที่มีความสำคัญที่สุดคือผู้ที่จับต้องพระมาลาได้ แม้จะมิได้รับพระบรมราชานุญาติให้เป็นผู้สวมพระเศียรให้แก่พระมหากษัตริย์เจ้านายของตนก็ตาม บุคคลผู้นี้เป็นเจ้าชายเชื้อกษัตริย์กรุงกัมพูชา โดยเหตุที่สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามอ้างพระองค์ว่ามีพระชาติสืบมาจากราชสกุลนั้น ในเมื่อไม่มีทางที่จะสามารถอ้างได้ว่าพระองค์สืบราชสกุลมาจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ นามยศเจ้ากรมภูษามาลานั้นคือ ออกญาอุไทยธรรม์ (Oc-yà Outhayathanne) อันแสดงให้เห็นได้ชัดว่า ยศ พระยา นั้นหาได้แปลว่า เจ้า ไม่และเจ้าองค์นี้ก็มิได้ใช้ฐานันดรศักดิ์ว่าเป็นเจ้า ตำแหน่งรองจากเขามาคือ ออกพระราชวงศา (Oc-Pra Raja Vounsà) เป็นพนักงานพระภูษา."



โดยสรุปก็คือในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ แม้แต่ออกญาอุไทยธรรม์ที่เป็นเจ้ากรมภูษามาลามีหน้าที่ดูแลฉลองพระองค์โดยตรงก็ยังไม่สามารถแตะต้องพระเศียรของพระเจ้าแผ่นดินได้ สามารถสัมผัสได้แต่พระมาลาเท่านั้น โดยคงจะส่งต่อให้พระเจ้าแผ่นดินทรงสวมด้วยพระองค์เอง


ดังนั้นเรื่องที่จะให้มหาดเล็กทั่วไปมาถอดพระมหาพิชัยมงกุฎได้คงไม่ต้องกล่าวถึงครับ



แต่ถ้าเป็นศิราภรณ์ที่อาจจะทรงสวมยากอย่างพระมหาพิชัยมงกุฎหรือพระชฎาที่มีกรรเจียกจอน ภูษามาลาน่าจะพอช่วยทรงได้ เห็นจากคลิปวิดีโอพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่จะเห็นได้จากวิดีโอว่าภูษามาลาที่ช่วยทรงก็ไม่ได้แตะต้องพระเศียรโดยตรงครับ นาทีที่ 26.18

https://www.youtube.com/watch?v=UghveCThNwU


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.พ. 18, 07:56
นามยศเจ้ากรมภูษามาลานั้นคือ ออกญาอุไทยธรรม์ (Oc-yà Outhayathanne)

นามสกุลพระราชทานหมายเลข ๐๐๗๙ วัชโรทัย Vajrodaya
พระราชทาน พระยาอุทัยธรรม (หรุ่น) จางวางกรมภูษามาลา* กับพระยาเทพาภรณ (รื่น) เจ้ากรมภูษามาลา
ปู่คือพระยาอุทัยธรรม (เพชร์) บิดาพระยาอุทัยธรรม (หรุ่น) คือพระยาราชโกษา (จัน)
บิดาพระยาเทพาภรณ์ คือพระยาวงษา (สุ่น) 22/6/13  อธิบดีกรมภูษามาลา

พระยาอุไทยธรรม (หรุ่น)  เป็นบุตรของ พระยาราชโกษา (จัน)

พระยาราชโกษา (จัน) เป็นบุตรของพระยาอุไทยธรรม(เพ็ชร์ )  (รักษาตัวสะกดเดืม)

บิดาของพระยาอุไทยธรรม (เพ็ชร์) คือ พระรัตนวงศา (แจ่ม)

ต้นสกุลของวัชโรทัย  คือ พระยาอุไทยธรรม(ทอง) มีบุตรคนเดียวคือ พระรัตนวงศา (แจ่ม)


ราชทินนาม "อุทัยธรรม" สืบมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แลได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "วัชโรทัย"

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/648.PDF


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.พ. 18, 08:20
จากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) บิดาคุณแก้วขวัญ และ คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย

ท่านผู้หญิงพัว  เล่าไว้ในชีวิตสมรส  หน้า ๓๗   ว่า

ภายหลังที่ได้รับพระราชทานน้ำสังข์แล้ว   ก็ไปไหว้ผู้ใหญ่ผู้เป็นประมุขของฝ่ายสุจริตกุลในขณะนั้น  คือ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ ฯ   ได้รับสั่งเล่าให้ฟังต่อหน้าท่านเจ้าคุณอุไทยธรรมว่า    

"สกุลวัชโรทัยเขาสูงกว่าสุจริตกุลนะ"   เพราะเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกหลบหนีพม่ามา  โดยคว่ำเรือสำปั้นลอยคอกันมาสามคนนั้น มีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า   สมเด็จพระอนุชา  กับตระกูลวัชโรทัยหนึ่งคน   จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ ทรงใช้สอยใกล้ชิด ทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่พนักงานภูษามาลา   ถวายพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม)   สนองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธีน้อยใหญ่      ตลอดจนพระบรมศพ  พระศพ    ได้ทรงมอบหมายให้ตระกูลนี้รับผิดชอบ   และปฎิบัติสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 04 ก.พ. 18, 10:26

ขอแทรกคุณศรีสรรเพชญ์ เพื่อตอบคุณเขียวเนรศ อย่างเล็กน้อยก่อนนะครับ

ผมอ้าง wikipedia ก่อนก็แล้วกันครับ ยังไม่ได้ตรวจสอบกับรอยอิน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3 (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3)


พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (นพ; เก้า, ปฎล; ชั้น, เศวต; สีขาว) เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร" เป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร 6 ชั้น อันหมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร 9 ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง 8 ทิศ ชั้นล่างสุด หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง 8 ทิศ ปัจจุบันมีพระมหาเศวตฉัตรแห่อยู่จำนวน 6 องค์ ได้แก่
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ท้องพระโรงกลางเหนือพระที่นั่งพุดตานถม)
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ท้องพระโรงเหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก)
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน (เหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ (เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (มี 2 องค์ คือ เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์และเหนือพระแท่นเครื่องพระสำอาง)
พระที่นั่งอนันตสมาคม (ท้องพระโรงกลางเหนือพระแท่นราชบัลลังก์)


เพิ่มเติม เพิ่งเห็นว่าคุณศรีสรรเพชญ์ ช่วยตอบเรื่องฉัตรไปแล้วนะครับ เห็นตามคุณศรีฯ ครับ



เรื่องเศวตรฉัตรมีความสำคัญที่สุด ไปค้นพบข้อมูลจากหนังสือ "เรื่องราชูปโภคและพระราชสถาน" แต่งโดย หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล หรือ มหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช อดีตสมุหพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๗-๙ นอกจากนี้ยังเป็นนัดดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งปรากฏว่าทรงเป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่รอบรู้ในพระราชพิธีและธรรมเนียมราชสำนักมาแต่ก่อน ข้อมูลนี้จึงควรมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากพอสมควร


ในตอน ราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ของหนังสือได้ระบุว่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นมี ๒ แบบ แบบแรกอ้างอิงตามคัมภีร์อภิธานปปทีปิกาและธรรมบท แบบที่สองอ้างจากบานหน้าต่างพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร (เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๔)

           "สองแบบนี้ต่างกันด้วยมีฉัตรและธารพระกร ซึ่งที่จริงก็เป็นการถูกด้วยกันทั้งสองแบบ คือ ถ้ามีฉัตรแล้วไม่ควรมีธารพระกร หรือถ้ามีธารพระกรแล้วก็ไม่ควรมีฉัตร เพราะฉัตรคือร่ม คนเราในขณะเดียวกันจะถือทั้งร่มทั้งไม้เท้าด้วยนั้นเป็นการไม่ควร

            ราชกกุธภัณฑ์จึงมี ๒ แบบ แบบ ๑ มี ๕ อย่าง คือ

แบบ ก.  ๑) ฉัตร
           ๒) มงกุฎ
           ๓) พระแสงขรรค์
           ๔) พัดหรือแส้
           ๕) ฉลองพระบาท

แบบ ข.  ๑) มงกุฎ
           ๒) พระแสงขรรค์
           ๓) ธารพระกร
           ๔) พัดหรือแส้
           ๕) ฉลองพระบาท

          งานพระราชพิธีราชาภิเษก เจ้าพนักงานทูลถวายดังนี้

ชุดแรก - ๑) มงกุฎ
           ๒) พระแสงขรรค์
           ๓) ธารพระกร
           ๔) พัดหรือแส้
           ๕) ฉลองพระบาท

ชุดหลัง - พระมหาเศวตรฉัตร"


ที่สำคัญคือได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "โบราณถือเศวตฉัตรเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าราชกกุธภัณฑ์อื่น เศวตฉัตรมีความหมายเท่ากับความเป็นพระราชามหากษัตริย์"

อีกครั้งหนึ่งก็ได้กล่าวเปรียบเปรยไว้กับพระมหาพิชัยมงกุฎว่า "โบราณคือว่ามงกุฎเท่ากับราชกกุธภัณฑ์อันเป็นราชศิราภรณ์เท่านั้น หาได้ถือเป็นยอดแห่งความสำคัญเช่นมหาเศวตฉัตรไม่ แม้ในงานพระราชพิธีราชาภิเษกก็เป็นแต่เจ้าพนักงานทูลถวาย..."

ดังนั้นจึงควรสรุปได้ว่า เศวตฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดครับ

ส่วนพระแสงขรรค์ชัยศรี ปรากฏหลักฐานว่าอยู่ในฐานะ "พระแสงศัสตราวุธ" ที่สำคัญที่สุด และปรากฏว่าเป็นพระแสงของผู้มีบุญบารมีที่สืบมาตั้งแต่บรรพกษัตริย์ครั้งพระยาแกรกบ้าง พระยาปทุมสุริยวงศ์บ้าง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าถูกยกย่องว่ามีความพิเศษเหนือราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ และไม่ปรากฏว่ามีความสำคัญเทียบเท่าเศวตฉัตรซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกสถานะหรือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระมหากษัตริย์โดยตรงครับ



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.พ. 18, 11:50
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระวินิจฉัยเรื่อง "ฉัตร" และ "มงกุฎ" ในสาส์นสมเด็จ กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ความว่า

ธรรมเนียมไทยย่อมถือเอาฉัตรเป็นหลักอันใหญ่ แม้จะพูดถึงพระเจ้าแผ่นดินก็อ้างเอาเศวตฉัตรเป็นที่ตั้ง หาได้อ้างเอามงกุฎไม่ ที่มาอ้างเอามงกุฎนั้นเป็นของใหม่เอาอย่างฝรั่ง เช่นมงกุฎราชกุมารเป็นต้น ข้อนี้ได้กราบทูลด้วยปากแล้ว แต่เพื่อจะไม่ให้หายไปเสีย จึงกราบทูลด้วยหนังสือซ้ำไว้อีกครั้งหนึ่ง

ทรงมีพระวินิจฉัยต่อไปอีกว่า

ตามที่เข้าใจกันว่า พระเจ้าแผ่นดินแล้วพระยศจะต้องกั้นฉัตร ๙ ชั้นนั้นก็เห็นจะเข้าใจกันผิดอีก ความหมายจะมีเป็นว่าทรงกั้นได้ตั้งแต่ชั้นเดียวจนถึง ๙ ชั้นเป็นที่สุด ดังจะเห็นได้จากพระกลดนั่นเป็นชั้นเดียว ชุมสายเป็นฉัตร ๓ ชั้น เครื่องพระอภิรุมเป็นฉัตร ๕ ชั้น ฉัตรพระคชาธารเป็นฉัตร ๗ ชั้น ฉัตรพระแท่นเศวตฉัตรเป็นฉัตร ๙ ชั้น ควรพึงสังเกตว่าฉัตร ๙ ชั้นนั้น ไม่มีใช้ถวายอยู่งานเดินหน มีแต่ปักประจำพระแท่น ด้วยจะเป็นของใหญ่โตเกินที่จะถืออยู่งาน ตามแนวนี้ก็พอจะลงกันได้ เช่นพระมหาอุปราชกำหนดพระยศใช้ฉัตร ๗ ชั้นแปลว่าจะใช้ได้ไม่เกิน ๗ ชั้น เจ้านายใช้ฉัตร ๕ ชั้น แปลว่าจะใช้ไม่เกิน ๕ ชั้น ส่วนเกินขึ้นไปนั้น แม้โปรดเกล้าพระราชทานเป็นพิเศษจึงใช้ได้ มูลเดิมทีจะเป็นดังนี้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.พ. 18, 21:56
ดูละคร  เห็นฉากนี้แล้วก็อดท้วงติงไม่ได้
ผู้สร้างไม่รู้กันจริงๆหรือว่า คนไทยเขาถือเรื่องที่ต่ำที่สูง     ผู้น้อยจะนั่งสูงกว่าผู้ใหญ่ไม่ได้
เด็กชายทองหยิบนี่เป็นลูกของหลวงไกรไม่ใช่หรือ    ทำไมในฉากนี้พ่อแม่และอาของทองหยิบ นั่งบนพื้นเรือน   ลูกดันไปนั่งบนตั่งสูงกว่าพ่อกว่าแม่เฉยเลย  แล้วก็ยังนั่งท่าขุนนางเสียอีก
แม่ก็ไม่เห็นเดือดร้อนที่จะสั่งสอนลูกว่าลงมาเดี๋ยวนี้ ต้องคลานเข้ามานั่งพับเพียบอยู่ข้างหลังแม่   แม้แต่เสนอหน้าเข้ามาร่วมวงกับผู้ใหญ่ก็ทำไม่ได้   เด็กต้องอยู่ส่วนเด็ก

เปลี่ยนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปหลายอย่างแล้ว   ตอนนี้ก็รู้แล้วว่าเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ไม่น้อยไปกว่ากัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 13:28
ตำหนัก ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. (ข. ฎํณาก่).

เจ้าจอมหาใช่เจ้าไม่ เรียกว่า "เรือนเจ้าจอมแข" จะเหมาะสมกว่ากระมัง  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 17:35
https://www.youtube.com/watch?v=MBTypWDaCUg

https://www.youtube.com/watch?v=p4M0CHn2nCs

https://www.youtube.com/watch?v=aywYHWCHQlY


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 17:37
https://www.youtube.com/watch?v=6w7sOumeWvs

https://www.youtube.com/watch?v=lbLfEgpnlJA

https://www.youtube.com/watch?v=wT0R4rqrODY


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 19:00
ยิ่งดูศรีอโยธยานานๆเข้า ก็ยิ่งเข้าใจแนวคิดของการสร้างเรื่องนี้   ว่าเอาประวัติศาสตร์มาแต่ชื่อเจ้านายสำคัญบางพระองค์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย   ส่วนเนื้อหาว่าตรงกับข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหนนั้น ออกไปทางน้อย  ไม่ใช่มาก
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  ทำตามใจชอบ ไม่ยึดถือให้ตรงกับความเป็นจริงตามหลักฐานพงศาวดาร

ด้วยเหตุนี้     ล่าสุดตอนที่ 16[2/6]  จึงมีฉากพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกนอกวังมาเยี่ยมบ้านขุนนางได้ ตามใจชอบ  แม้จะอ้างว่าเป็นญาติกันมาแต่เดิมก็ตาม  นั่นก็ไม่สามารถหักล้างข้อเท็จจริงตามขนบธรรมเนียมได้ว่า เจ้านายสตรีไม่อาจจะเสด็จไปไหนมาไหนได้ตามแต่จะอยากไป       ไม่สามารถจะนั่งอยู่ห้องเดียวกับบุรุษที่ไม่ใช่พระราชโอรส    ไม่สามารถจะดูการแสดงที่ชายฉกรรจ์เป็นผู้แสดงได้   ไม่สามารถให้ผู้ชายสามัญชนมองหน้าได้เต็มตา อย่างที่พระพันวัสสาสินจัยทำได้ตามสบายในละครเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
ดูไปก็คงทำนองเดียวกับหนังจีนทางทีวีอย่างเปาบุ้นจื้น    ไทเฮาหรือฮองเฮาอยากไปไหนก็ไป  จะมาศาลไคฟงหรือไปเที่ยวเตร่ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ 

ดิฉันดูข้ามไปหรือเปล่าไม่ทราบ เลยไม่รู้ว่าผู้เขียนบทให้พระพันวัสสานับญาติกับพระยาพิชัยแบบไหนยังไง    เชื้อสายกรมพระราชวังหลังถึงกลายเป็นสามัญชนกันไปหมด  แต่จะยังไงก็ตาม   เด็กชายทองหยิบบังอาจเรียกพระพันวัสสาว่าสมเด็จทวด   ถ้าเป็นจริง ทั้งพ่อทั้งปู่โดนโทษเบาที่สุดก็เฆี่ยนหลังลาย นี่ถือว่ากรุณาแล้ว
 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 19:18
อีกอย่างคือ ตามธรรมเนียมไทยโบราณ (แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็เถอะ) ผู้ใหญ่ไม่เป็นฝ่ายไปหาผู้น้อย     ถ้ามีธุระอยากพบ ก็จะส่งคนไปบอกผู้น้อยให้เป็นฝ่ายมาหาเอง 
ถ้าทำตามโบราณราชประเพณี  มีทางเดียวที่ส่งข่าวถึงกันได้   คือเจ้าจอมราตรีจะต้องเป็นสื่อกลาง ทำหน้าที่นำความมากราบทูล   พระพันวัสสากับเจ้าพระยาพิชัยจะไม่มีวันได้พบหน้ากัน  เพราะฝ่ายหนึ่งอยู่ในพระราชฐานชั้นใน  อีกฝ่ายอยู่นอกวัง ในบ้านในเรือนของตัวเอง
เทียบง่ายๆกับสี่แผ่นดิน     ในวันโกนจุก หรือวันวิวาห์ของพลอย ผู้เป็นนางข้าหลวงคนโปรดของเสด็จ   เสด็จยังไม่อาจเสด็จออกนอกวังมาเป็นประธาน หรืออวยพรในพิธีให้พลอยได้เลย     



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กงซุนต้าเหนียง ที่ 06 ก.พ. 18, 21:29
สวัสดีค่ะ อ.เทาชมพู และสมาชิกท่านอื่นๆ ทุกท่าน

พอดีเสิร์ชเจอกระทู้นี้ อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ

ส่วนตัวดิฉันสนับสนุน dramatic license และไม่ค่อยซีเรียสเรื่องความถูกต้องของจารีตและขนบธรรมเนียมในบริบทของละคร/นิยาย

สาเหตุเพราะอยากเห็นละคร/นิยายในรูปแบบ simplified บ้าง เพราะในประเทศเรามีละคร/นิยายที่ (พยายาม) ยึดความถูกต้องมากแล้ว
แน่นอนว่ามันดีและทรงคุณค่า แต่มันก็น่าเบื่อมากค่ะ เพราะแทบทุกเรื่องก็วนเวียนอยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ตัวละครขาดอิสระในการแสดงบทบาท

เรื่องเปาบุ้นจิ้น (และซีรีส์จีน ญี่ปุ่น เกาหลีอื่นๆ) ที่อาจารย์ได้ยกมาถือเป็นตัวอย่างในความคิดของดิฉันเลยค่ะ
จะเห็นว่าซีรีส์เหล่านี้ได้ simplify องค์ประกอบเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ จารีตและขนบธรรมเนียม
แล้วหันมาให้ความสำคัญกับ "บท" และ "ไดอะล็อค" ที่คม ซับซ้อน เป็นเหตุเป็นผล และระยะหลังเริ่มมีนวัตกรรมแปลกใหม่ เช่น การหักมุมที่น่าทึ่ง (โดยเฉพาะซีรีส์เกาหลี)
จะเห็นว่าฮ่องเต้ในเรื่องเปาบุ้นจิ้นแกนั่งว่าราชการบนเก้าอี้โง่ๆ ในห้องเล็กเท่ารังหนู โดยมีแค่อ๋องแปด อำมาตย์ ราชครู และท่านเปาเข้าเฝ้า  ;D
ทั้งนี้เพราะตัวซีรีส์ได้ก้าวข้ามเรื่องความสมจริง และหันไปให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่อง คติสอนใจ บลาๆๆ

ดิฉันว่าปัญหาของศรีอโยธยาคือล้มเหลวทั้ง 2 อย่าง
ด้านจารีตขนบธรรมเนียมเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ส่วนด้านเนื้อเรื่องก็เบาหวิวและยืดเยื้อสุดๆ
ผ่านไป 15-16 ตอนแล้ว เส้นเรื่องยังไม่ชัดเจน ตัวละครในปัจจุบันที่ถูกใช้ดำเนินเรื่องไม่มีเป้าหมายที่แน่นอน

เหมือนเอาตัวละครมาปล่อยให้เดินไปเดินมา แล้วก็โปรยเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตไปบนทางเดิน (ซึ่งไม่มีจุดหมายปลายทาง) ของตัวละครเหล่านั้น  ::)









กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 06 ก.พ. 18, 21:38

ดิฉันดูข้ามไปหรือเปล่าไม่ทราบ เลยไม่รู้ว่าผู้เขียนบทให้พระพันวัสสานับญาติกับพระยาพิชัยแบบไหนยังไง    เชื้อสายกรมพระราชวังหลังถึงกลายเป็นสามัญชนกันไปหมด  แต่จะยังไงก็ตาม   เด็กชายทองหยิบบังอาจเรียกพระพันวัสสาว่าสมเด็จทวด   ถ้าเป็นจริง ทั้งพ่อทั้งปู่โดนโทษเบาที่สุดก็เฆี่ยนหลังลาย นี่ถือว่ากรุณาแล้ว
 

เท่าที่รู้มาจากตอนแรกๆ (ปัจจุบันเลิกดูไปแล้วค่ะ แต่ยังตามอ่านกระทู้นี้อยู่ตลอด) พระยาพิชัยเป็นหลานอาของพระพันวัสสาน้อย เป็นพี่ชายของเจ้าจอมราตรี เจ้าจอมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เด็กชายทองหยิบเป็นหลานปู่ของพระยาพิชัย ตามศักดิ์แล้วก็เป็น "เหลน" ของสมเด็จพระพันวัสสาฯ

แต่ขอพูดเถอะ เท่าที่อ่านหนังสือมา ก็รู้ว่าคนสมัยก่อนเขาถือว่าอย่านับญาติกับเจ้านาย เดี๋ยวจัญไรจะกินหัว ขนาดเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าซึ่งก็ถือว่าเป็น "เจ้า" ก็ยังไม่กล้านับญาติกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงกว่านั้นเลยด้วยซ้ำ

แล้วนี่ตระกูลพระยาพิชัย ทำตัวเทียมเจ้าเทียมนาย เด็กชายทองหยิบใส่สังวาลย์เส้นเบ่อเร้อ ไม่กลัวจัญไรกินหัวเลยหรืออย่างไร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กงซุนต้าเหนียง ที่ 06 ก.พ. 18, 21:44
แล้วก็เห็นด้วยกับ อ. เทาชมพูค่ะ เรื่องคาแร็คเตอร์กับบทขัดแย้งกัน

เช่น อ.สอนโบราณคดีค้าของเก่า
หรือศาสตราจารย์ที่พูดไทยคำอังกฤษคำอย่างไม่สมเหตุสมผล บางทีพูดประโยคอังกฤษจบแล้วตามด้วยประโยคแปลภาษาไทย ซึ่งมันซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น การแสดงก็ล้นไม่เหมาะกับสถานภาพ ศ. เลย

ประเด็นเหล่านี้ดูแล้วรู้สึกหงุดหงิดมากค่ะ  ;D

:::::::::::::::::::::::::

ขออนุญาตนอกเรื่อง โดยยกตัวอย่าง dramatic license ที่น่าสนใจ

เช่น ซีรีส์เกาหลีเรื่อง Six Flying Dragons พูดถีงกษัตริย์แทโจผู้ก่อตั้งราชวงศ์โชซอน และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสัมพันธ์กับเขา
เรื่อง Deep Rooted Tree พูดถีงกษัตริย์เซจงผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี (ฮันกึล)
ประเด็นความสมจริงของฉาก จารีตธรรมเนียม ฯลฯ ไม่ต้องพูดถึงค่ะ เพราะคนทำละครเน้นเรื่องปรัชญาการปกครอง และการชิงไหวชิงพริบเพื่อวางรากฐานวัฒนธรรมและแนวคิดทางการเมืองของราชวงศ์ที่กำลังตั้งไข่

แม้แต่ซีรีส์ตระกูล taiga ของญี่ปุ่น เช่น Yae no Sakura พูดถึงบทบาทของ Niijima Yae ผู้ทำงานเพื่อสิทธิสตรีในญี่ปุ่น
บทละครได้ก้าวข้ามความสมจริงและข้อเท็จจริงไปจำนวนมาก โดยแต่งเรื่องเกินจริงใส่เข้าไปเพื่อเน้นการต่อสู้ของเธอให้ชัดเจนขึ้น

ซีรีส์จีน+ญี่ปุ่น เรื่อง The Pleiades พูดถึงพระนางซูสีไทเฮา แต่เอาดาราญี่ปุ่นมาเล่น และมีขันทีน้อยเป็นตัวดำเนินเรื่อง
หลายฉากหลายตอนขันทีน้อยเป็นผู้แสดงบทบาท ทั้งๆ ที่ตามธรรมเนียมควรเป็นหน้าที่ของคนอื่น แต่ประเด็นของเรื่องนี้คือการเน้นเสนอภาพของแรงกดดันทุกทิศทางที่โถมใส่ราชสำนัก
อันเป็นเหตุแห่งความล่มสลาย ซึ่งเนื้อเรื่องได้พลิกมุมมองเกี่ยวพระนางซูสีไปพอสมควร

ฯลฯ

อยากเห็นละคร/นิยายไทยออกไปแตะขอบฟ้า  ;D เอ๊ย...แตะเรื่องปรัชญา อุดมการณ์ หรือประเด็นทางเทคนิค เช่น นิติวิทยา กฎหมาย เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ บ้างจัง
จะเห็นว่าประเด็นเหล่านี้มีความเป็นสากล แม้จะผูกเรื่องขึ้นมาจากเหตุการณ์ประจำชาติ แต่มันก็มีศักยภาพที่จะก้าวออกไปในระดับนานาชาติ อันนี้เป็นข้อดี

ส่วนข้อเสียก็แน่นอนค่ะ ละทิ้งความสมจริง สูญเสียคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ก็ว่ากันไป  :-[





กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 18, 22:33
ขอบคุณค่ะคุณแพรวพิม
ถ้างั้นก็หมายความว่า กรมพระราชวังหลังกับพระพันวัสสาเป็น"เจ้า" อยู่ 2 องค์    ลูกหลานต่อมา ล้วนเป็นสามัญชน  แต่ก็ยังนับญาติกันอยู่

ตอบคุณกงซุนต้าเหนียง

ความจริง บรรพบุรุษไทยของเรารู้จัก dramatic license มานมนานกาเลแล้วค่ะ เพียงแต่ท่านไม่รู้จักศัพท์นี้เท่านั้น
DL มีอยู่เต็มไปหมดในลิเก ละครพื้นบ้านหรือเราเรียกว่าละครนอก   ช่อง 7 ก็ยังนำเสนออยู่เป็นประจำในละครพื้นบ้าน
แต่ "ขนบ" ของละครเหล่านี้มีให้เห็นชัดๆตั้งแต่เปิดฉากไปจนจบเรื่องไงคะ  เป็นที่รับรู้กันทั้งเจ้าของวิกและคนดู  คนดูจึงไม่เอา "เจ้า" อย่างจันทโครพมาปะปนกับเจ้านายจริงๆในสังคมไทย
แต่ถ้าเป็น "โขน"ราชสำนักอย่างโขนรัชกาลที่ 6  ขนบที่อิงความจริงในประวัติศาสตร์ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นเสมอ   ทศกัณฐ์ออกโรง นั่งแท่นบัลลังก์ทีไร  สังเกตดีๆ จะมีเสนายักษ์ใหญ่มานั่งเป็นสมุหนายก รองลงไปชั้นจตุสดมภ์จะต้องมานั่งตามตำแหน่งกันครบ 4 คน   เพราะทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์  ก็ต้องมีขุนนางใหญ่น้อยประดับเกียรติ อิงตามความจริง
คนโบราณท่านวางระเบียบเอาไว้   เพื่อสื่อสารกันเข้าใจได้ระหว่างคนแสดงและคนดู    ไม่เอามาปะปนกันให้เละ  จนกลายเป็นยำใหญ่    

ติดตามดูละครเรื่องนี้ ก็ได้ความเข้าใจขึ้นมาว่า  น่าจะมีผู้กำกับหลายคนไม่ใช่คนเดียว  แบ่งกันไปกำกับฉากบางฉากหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์  ทีนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนละ ว่าชอบอะไรแบบไหน     เช่นฉากถวายตัว " นางพระบำเรอ" เจ้าจอมแข  มีจับระบำรำฟ้อนกันในพระตำหนัก  น่าจะมาจากความคิดครีเอทของผู้กำกับว่า  เรื่องไหนๆก็มีนางรำสาวๆมารำแยะแล้ว   ซ้ำซากน่าเบื่อ ก็เปลี่ยนเป็นนางรำชายแทนมั่ง  เป็นความแปลกใหม่
ส่วนนางพระกำนัลสังข์นั้น  ดิฉันคิดอยู่นาน กว่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผสมผสานขันที(ชาย)เข้ากับโขลน(หญิง) ออกมาเป็นกึ่งชายกึ่งหญิง    นี่ก็มองได้ว่าครีเอทเหมือนกัน  เพราะไม่เคยมีตัวละครแบบนี้อยู่ในละครย้อนอดีตเรื่องไหนทั้งหมด     ถ้าเป็นฝ่ายดีก็คงประดักประเดิด   ก็เป็นฝ่ายร้ายเสียดีกว่า  ได้แสดงบทบาทฉูดฉาดได้เต็มที่


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กงซุนต้าเหนียง ที่ 06 ก.พ. 18, 23:01

ตอบคุณกงซุนต้าเหนียง

ความจริง บรรพบุรุษไทยของเรารู้จัก dramatic license มานมนานกาเลแล้วค่ะ เพียงแต่ท่านไม่รู้จักศัพท์นี้เท่านั้น
DL มีอยู่เต็มไปหมดในลิเก ละครพื้นบ้านหรือเราเรียกว่าละครนอก   ช่อง 7 ก็ยังนำเสนออยู่เป็นประจำในละครพื้นบ้าน
แต่ "ขนบ" ของละครเหล่านี้มีให้เห็นชัดๆตั้งแต่เปิดฉากไปจนจบเรื่องไงคะ  เป็นที่รับรู้กันทั้งเจ้าของวิกและคนดู  คนดูจึงไม่เอา "เจ้า" อย่างจันทโครพมาปะปนกับเจ้านายจริงๆในสังคมไทย
แต่ถ้าเป็น "โขน"ราชสำนักอย่างโขนรัชกาลที่ 6  ขนบที่อิงความจริงในประวัติศาสตร์ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นเสมอ   ทศกัณฐ์ออกโรง นั่งแท่นบัลลังก์ทีไร  สังเกตดีๆ จะมีเสนายักษ์ใหญ่มานั่งเป็นสมุหนายก รองลงไปชั้นจตุสดมภ์จะต้องมานั่งตามตำแหน่งกันครบ 4 คน   เพราะทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์  ก็ต้องมีขุนนางใหญ่น้อยประดับเกียรติ อิงตามความจริง
คนโบราณท่านวางระเบียบเอาไว้   เพื่อสื่อสารกันเข้าใจได้ระหว่างคนแสดงและคนดู    ไม่เอามาปะปนกันให้เละ  จนกลายเป็นยำใหญ่    

ติดตามดูละครเรื่องนี้ ก็ได้ความเข้าใจขึ้นมาว่า  น่าจะมีผู้กำกับหลายคนไม่ใช่คนเดียว  แบ่งกันไปกำกับฉากบางฉากหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์  ทีนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนละ ว่าชอบอะไรแบบไหน     เช่นฉากถวายตัว " นางพระบำเรอ" เจ้าจอมแข  มีจับระบำรำฟ้อนกันในพระตำหนัก  น่าจะมาจากความคิดครีเอทของผู้กำกับว่า  เรื่องไหนๆก็มีนางรำสาวๆมารำแยะแล้ว   ซ้ำซากน่าเบื่อ ก็เปลี่ยนเป็นนางรำชายแทนมั่ง  เป็นความแปลกใหม่
ส่วนนางพระกำนัลสังข์นั้น  ดิฉันคิดอยู่นาน กว่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผสมผสานขันที(ชาย)เข้ากับโขลน(หญิง) ออกมาเป็นกึ่งชายกึ่งหญิง    นี่ก็มองได้ว่าครีเอทเหมือนกัน  เพราะไม่เคยมีตัวละครแบบนี้อยู่ในละครย้อนอดีตเรื่องไหนทั้งหมด     ถ้าเป็นฝ่ายดีก็คงประดักประเดิด   ก็เป็นฝ่ายร้ายเสียดีกว่า  ได้แสดงบทบาทฉูดฉาดได้เต็มที่


อ่านแล้วรู้สึกใช่เลยค่ะ
จริงๆ ดิฉันก็เพิ่งนึกได้ถึงเรื่องลิเกและละครจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งใช้ dramatic license กันอย่างเต็มที่ และผู้ชมก็สนุกไปกับมัน

ปัญหาของศรีอยุธยาคือคนดูไม่สนุกไปด้วย เพราะมึนกับบทว่าจะเอายังไงแน่
เรื่องผู้กำกับหลายคนหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะ แต่ดิฉันเคยดูเบื้องหลัง พบว่ามีที่ปรึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย พร็อพต่างๆ หลายคน
บางคนก็ระดับดอกเตอร์ละค่ะ แต่ก็ยังปล่อยหลุดมามากขนาดนี้  ::)

ส่วนพระกำนัลสังข์ ดิฉันคิดว่าคนสร้างคาแร็คเตอร์คงไม่ได้คิดอะไรซับซ้อน คือจับลักษณะของเพศที่สามในยุคปัจจุบันใส่เข้าไปเลย
แม้แต่การออกแบบเสื้อผ้าตอนถวายตัว ก็คงเอาไอเดียประกวดทิฟฟานีมาออกแบบ (ล้อเล่นนะคะ)
ดิฉันเห็นแล้วต้องหัวเราะ เพราะนางนุ่งผ้าไทย ใส่เอี๊ยมจีน สวมเสื้อคลุมญี่ปุ่น ส่วนหัวทำทรงเขมร เทียบเคียงจากสิงห์ศิลาค่ะ  (https://ptcdn.info/emoticons/emoticon-faceplam.png)

(https://i.pinimg.com/236x/be/17/5d/be175df57c7cdaef71679cb70e5b8713--khmer-art-siem-reap.jpg)

Cr รูป: https://www.pinterest.com/pin/509962357791646744/



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 18, 10:50
https://www.youtube.com/watch?v=RPpFq0JNGCs

https://www.youtube.com/watch?v=iWzu2OjmpCQ

https://www.youtube.com/watch?v=mZyLQJDtDSc


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 18, 10:52
https://www.youtube.com/watch?v=8PwJGDUt3VM

https://www.youtube.com/watch?v=WsfnhLmYEfU

https://www.youtube.com/watch?v=ABwumvbiCrU


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: AroundTheWorld ที่ 09 ก.พ. 18, 08:52
ถือโอกาสที่มีกระทู้ของหม่อมน้อยแบบนี้ ขอถามเรื่องที่ค้างคาใจในสี่แผ่นดินว่าการโกนจุกลูกพระยาแบบพลอย รวมถึงช้อย (ที่ยศพ่อไม่ถึงพระยา) ใส่นวมสวมเกี้ยวเครื่องทองเต็มตัว มันเป็นแบบนี้จริงๆ หรือครับ
ขอความรู้ด้วยครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 18, 10:28
การแต่งกายเต็มยศในวันโกนจุก เป็นแบบนี้ค่ะ
เด็กน้อยในภาพนี้ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมราชวงศ์   ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2449



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: AroundTheWorld ที่ 09 ก.พ. 18, 10:52
แปลว่าในเรื่องสี่แผ่นดิน
เครื่องแต่งกายงานโกนจุกแม่พลอย แม่ช้อย
เป็นการแต่งกายที่ถูกต้องตามฐานะแล้วใช่ไหมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 18, 11:16
ดิฉันจำฉากนี้ไม่ได้ค่ะ 
รอคำตอบจากคุณ V_Mee หรือคุณ Siamese หรือท่านอื่นๆที่ทราบคำตอบ

จำได้แต่ว่า ในเรื่อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บรรยายว่า มีการเตรียมผ้านุ่งสีสดไว้ให้พลอยกับช้อย แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นผ้ายกทอง
ส่วนนวมที่สวมนั้น ก็ปักด้วยแก้วแหวนเงินทอง เสด็จประทานให้ยืม    มีเกี้ยวทองคำหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เกี้ยวทองน่าจะสูงไปสำหรับสามัญชน
เรื่องผิว  อาบน้ำแล้วลงขมิ้นให้เหลือง แล้วค่อยผัดแป้งทับ    แต่ไม่คิดว่าจะผัดขาววอกเหมือนนางรำญี่ปุ่นค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.พ. 18, 13:27
จำได้แต่ว่า ในเรื่อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บรรยายว่า มีการเตรียมผ้านุ่งสีสดไว้ให้พลอยกับช้อย แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นผ้ายกทอง
ส่วนนวมที่สวมนั้น ก็ปักด้วยแก้วแหวนเงินทอง เสด็จประทานให้ยืม    มีเกี้ยวทองคำหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เกี้ยวทองน่าจะสูงไปสำหรับสามัญชน

คุณชายท่านบรรยายไว้ว่า

เกี้ยวทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยแวววาม   ผ้ายกทองสีสด   มีนวมสวมรอบคอ ตรึงเครื่องเพชรต่างๆเข้ากับนวม  มีแหวน สายสร้อย จี้ และของอื่นๆอีกเป็นอันมาก"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: AroundTheWorld ที่ 09 ก.พ. 18, 13:33
ขอบคุณทั้งสองท่านครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.พ. 18, 20:05
https://www.youtube.com/watch?v=hf8Cr8gX9tY

https://www.youtube.com/watch?v=qxNIdMkLeac

https://www.youtube.com/watch?v=U1QISony_HU


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.พ. 18, 20:33
https://www.youtube.com/watch?v=gZ7sGy1S7vA

https://www.youtube.com/watch?v=FUd9seJwJMw

https://www.youtube.com/watch?v=ADm9v5U_bGQ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:07
https://www.youtube.com/watch?v=fcA0C0uRaSs

https://www.youtube.com/watch?v=616lTmQ5lpE

https://www.youtube.com/watch?v=0mqFIu1d6hE


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:11
https://www.youtube.com/watch?v=iDhJ7xDRRs0

https://www.youtube.com/watch?v=oyENqyX5zvk

https://www.youtube.com/watch?v=7MQ8oI07pp0


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:20
ได้ข่าวว่า ศรีอโยธยา จะจบภาค 1 เมื่อครบ 20 ตอน    แต่ยังไม่ได้ข่าวว่า ภาค 2 จะออกอากาศต่อกันไปเลยหรือว่าเว้นระยะ   เข้าใจว่าคงเว้นระยะ  เพราะถ้าไม่เว้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องแบ่งภาค 1 ภาค 2 ไปทำไม  ในเมื่อเนื้อเรื่องก็ยังไม่มีอะไรจบในภาค 1 สักอย่างเดียว

ตามดูตั้งแต่วันจันทร์และอังคาร     เห็น dramatic license เต็มไปหมดทุกตอน จนเรียกได้ว่าเป็นพื้นหลักของเรื่องแล้ว ไม่ใช่ข้อยกเว้น    มีตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เช่นพระเจ้าท้ายสระสวมพระมหามงกุฎและเครื่องทรงเต็มยศไม่ว่างเว้น  แม้แต่ยามใช้เวลายามว่างนั่งตกปลา  ไปจนเรื่องใหญ่ๆเช่นขุนนางชายเดินเข้าออกเขตพระราชฐานได้ตามใจชอบ   จะมองหน้าเจ้านายสตรีระดับเจ้าฟ้าหญิงก็ทำได้เปิดเผย ไม่มีจารีตประเพณีต้องห้ามใดๆ    ขุนนางที่ว่านี้ไม่ใช่แต่พระเอก แม้แต่นายสนิทเสน่ห์ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมหาดเล็กชั้นปลายแถว ก็ยืนจ้องเจ้าฟ้ารุจจาเทวีได้ตามสบาย
จึงทำใจได้สำเร็จแล้วว่า ละครเรื่องนี้ ถ้าจะดูก็อย่าไปเอาข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบ เพราะจะต้องพิมพ์จนเมื่อยมือ   เอาเป็นว่าดูเพลิน ฉากในอดีตสวยๆ เครื่องแต่งกายงามๆ  ตัวแสดงสวยหล่อเล่นเก่ง เหมือนดูละครนอกหรือลิเก    เพราะคนสร้างก็ดูเหมือนจะตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:25
ฝิ่นเป็นสินค้าต้องห้าม ตลอดยุคกรุงศรีอยุธยา จะมาสูบในโรงฝิ่นประเจิดประเจ้อให้พ่อสุทัศน์เห็น โดยพ่อพิมานเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ดูจะไม่ธรรมดานะจ๊ะ พ่อพิมาน ;D

ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักขณโจร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา บัญญัติไว้ว่า

ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือสามวัน ให้จำใส่คุกไว้กว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้วจึงให้ปล่อยผู้สูบ ขาย กินฝิ่น ออกจากโทษ

การสูบฝิ่นเป็นเรื่องผิดกฎหมายมาตั้งแต่นั้นจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อหารายได้จากภาษี ฝิ่นจึงเป็นสินค้าถูกกฎหมาย ทำรายได้เข้าหลวงเป็นกอบเป็นกำ โรงฝิ่นถูกกฎหมายจึงมีตั้งแต่บัดนั้น จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๒ ฝิ่นจึงจัดเป็นสินค้าผิดกฎหมายอีกคราหนึ่ง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:39
  แม้ตั้งใจจะดูเพลินๆ ก็ยังมีข้อสะดุดใจที่หวังว่าผู้สร้างจะนำไปแก้ไขได้ในภาคที่ 2   คือการดำเนินเรื่องที่ยืดยาด เนิบช้าและซ้ำซากโดยไม่จำเป็น     ตัวอย่างมีเยอะ แต่จะยกมาอย่างเดียวก่อนค่ะ  คือตอนเจ้าฟ้าสุทัศน์และพระพิมานปลอมตัวเป็นสามัญชนไปเที่ยวดูความเป็นอยู่ของประชาชน    ทั้งสองเผลอพูดราชาศัพท์กันออกมารวมแล้วหลายสิบประโยค  แล้วก็ต่างคนต่างแก้ให้อีกฝ่าย  ซ้ำแล้วซ้ำอีกในหลายฉากด้วยกัน
   ความจริงถ้าจะรวบ ให้เผลอพูดผิดสัก 2-3 ครั้งก็น่าจะกระชับและเป็นที่เข้าใจ ว่าคนมันไม่เคย และเผลอกันได้  นี่อะไรเผลอกันทุกประโยค  ต่อเนื่องกันหลายฉาก   ทำให้เนื้อหาหยุดนิ่งอยู่กับที่ ซ้ำซาก  ไม่เดินหน้าไปไหน

   ในสองตอนนี้ ตัวบุคคลสำคัญทั้งสองท่านออกจากอยุธยาไปต่างจังหวัดแล้วหายไปเลย คือพระยาตากและหลวงยกกระบัตรราชบุรี  ทั้งๆวีรกรรมของท่านน่าจะเป็นหัวใจของเรื่องนี้ แต่ก็กลายเป็นตัวประกอบไปทั้งสองท่าน    บุคคลที่เป็นศูนย์กลางของเรื่อง คือพระเจ้าเอกทัศ   ถูกนำเสนอในฐานะพระเจ้าแผ่นดินที่อ่อนโยน ธรรมธัมโม  ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้มีความสุขกายสบายใจกันถ้วนหน้า สะท้อนจากแม่ค้าขนมครก  (ที่ป้าออกเสียงว่า ขนมคก ทุกคำ) มีความรักและปรองดองกับน้องชายคือพระเจ้าอุทุมพร  เป็นอันดี  
   ทั้งๆประวัติศาสตร์ ก็มีหลักฐานถึงการคอรัปชั่นในสมัยนี้  จนราษฎรทนไม่ไหว  ต้องร้องเรียนถวายเรื่องกันตามประสาชาวบ้าน อย่างกรณีภาษีผักบุ้ง ที่นายสังพี่ชายพระสนมเอกกำหนดขึ้นมากดขี่รีดไถจากราษฎร
    หาอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
   https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1064455470284589:0
   ที่จริง ถ้าผู้เขียนบทตั้งใจจะสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าเอกทัศ   ก็สามารถดำเนินเรื่องไปตามหลักฐานข้างบนนี้ จนถึงพระเจ้าเอกทัศกริ้วและลงโทษผู้กระทำผิด  ก็น่าจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยไม่ต้องมีบทฝืนๆว่าแม่ค้าขนมครกเล่าให้ลูกค้าฟังว่าแสนจะสุขยังไงกับชีวิตบนแผ่นดินนี้      มันขัดกับธรรมชาติของคนหาเช้ากินค่ำ  เพราะต่อให้ทำมาหากินได้ไม่ผืดเคือง  พวกเขาก็แค่พอรอดไปวันๆเท่านั้น


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 18, 11:53
ตอนพระพิมานพาเจ้าฟ้าสุทัศน์ออกชมชีวิตชาวบ้านชาวเมือง    ดิฉันละหวาดเสียวเกรงว่าจะพาไปชมแม่ผีเสื้อราตรี เป็นไฮไลท์ของพิมานทัวร์เข้าไปอีก
กลายเป็นพาไปโรงฝิ่น   ซึ่งก็ไม่ดีไปกว่ากันเลย  แล้วยังตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง ตามที่คุณเพ็ญชมพูยกมาอีกด้วย



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 15 ก.พ. 18, 10:09
ช่วงนี้ผมไม่ได้ติดตามละครแล้วครับ (หมดแรงตั้งแต่เรื่องเจ้าจอมที่มีมนตร์ดำ ซึ่งมาทราบภายหลังว่า ตัวละครนี้หมดบทบาทไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สงสัยว่าจะใส่ประเด็นนี้มาในเรื่องเพื่อการใด) ตั้งใจว่า จะกลับมาตามดูอีกที เมื่อถึงคราวศึกเสียกรุง

พอมีการจบภาคเช่นนี้ สงสัยว่า คงไปไม่ถึงตอนนั้นเสียแล้วหละครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ก.พ. 18, 10:18
          (เดา) ในภาคสอง, เจ้าจอมหลังจากอัพเลเวลแล้วจะกลับมาตอนเสียกรุงแล้วทำของทำให้พระเจ้า
เอกทัศน์เปลี่ยนไป ต่อมา(จากตอนปัจจุบันที่วายุแสดงหนังรับบทเป็นพระเจ้าตากมีตอนที่)พระเจ้าตากเป็น
ผู้จัดการกำจัดทำลายแผนการณ์ของนางทำให้พระเจ้าเอกทัศน์(ที่ต้องมนต์) พิโรธพระเจ้าตากยิ่ง มีผลให้
ในที่สุดพระเจ้าตากทิ้งกรุง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 18, 18:15
เจ้าจอมแขกลับชาติมาเกิดเป็นนรี เพื่อนร่วมงานของพิมานอนันดาใช่ไหมคะ    ดูเหมือนนักแสดงจะคนเดียวกัน

ตอนนี้ไม่กล้าเดาอะไรทั้งนั้น  แม้ว่าอยากจะเดาอย่างคุณหมอ SILA นำทางไว้    รอดูตอนจบของภาค 1  วันจันทร์หน้าค่ะ
ที่แน่ๆคือละครเรื่องนี้ อย่างน้อย 20 ตอนแรก  เป็นละครเทิดพระเกียรติราชวงศ์บ้านพลูหลวงโดยเฉพาะรัชกาลพระเจ้าเอกทัศและพระเจ้าอุทุมพรนั่นเอง   (ยัง) ไม่ใช่ละครเทิดพระเกียรติราชวงศ์ธนบุรีและราชวงศ์จักรี
   
พระเอกที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องคือนพชัย ชัยนาม ไม่ใช่ศรรามและตุ้ยธีรภัทร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 18, 20:26
    ระหว่างรอตอนที่ 20 ของ ศรีอโยธยา ก็ขอขัดตาทัพด้วยการเล่าถึงราชวงศ์บ้านพลูหลวง ส่วนที่ไม่ได้ปรากฏในละคร  ตามนี้ค่ะ

     ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  เป็นขุนนางรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์   มีบรรดาศักดิ์เป็นพระเพทราชา ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล ซึ่งมีอำนาจสูงเพราะมีกำลังพลในสังกัดหลายพัน   เดิมเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบันคือบ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงมีเชื้อสายสืบต่อกันครองราชย์มาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา  นักประวัติศาสตร์จึงนับเป็นราชวงศ์ เรียกว่า"ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"     คำเรียกนี้ตั้งกันทีหลังสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง    เจ้านายในราชวงศ์บ้านพลูหลวงไม่มีใครรู้จักคำนี้
     พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อประชวรหนักใกล้สวรรคต    เจ้านายที่มีสิทธิ์จะครองบัลลังก์คือเจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าฟ้าน้อย ก็ถูกจับสำเร็จโทษไปหมด  อีกคนคือโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์ชื่อหม่อมปีย์ ก็ถูกสังหาร พ้นทางไปเช่นกัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 18, 20:47
   กษัตริย์ที่ขึ้นครองบัลลังก์อยุธยาต่อจากพระเพทราชา คือพระเจ้าเสือ(ในละครรับบทโดยเจมส์ เรืองศักดิ์)  เดิมเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรศักดิ์ บุตรชายของพระเพทราชา เมื่อบิดาขึ้นครองราชย์ ก็ได้รับการสถาปนาเป็นวังหน้า   
    พระเจ้าเสือมีพระนามเป็นทางการว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี   ประวัติศาสตร์เล่าว่าโปรดปลอมพระองค์เป็นชาวบ้าน ไปชกมวยกับชาวบ้านเพราะโปรดปรานกีฬาชนิดนี้มาก
ส่วนเรื่องน้ำพระทัย เป็นผู้รักใคร่เมตตาห่วงใยชาวบ้านมากมายเหมือนในละครหรือไม่    พบแต่หลักฐานว่า โปรดเสวยน้ำจัณฑฺ์ และมักมากในกามคุณ     ถ้าจะพอพระทัยแค่มีพระสนมเจ้าจอมจำนวนมากก็คงไม่เป็นไร เพราะสังคมสมัยนั้นชายมีภรรยาได้หลายคนอยู่แล้ว     แต่พระองค์ทรงเป็นอย่างที่นักจิตวิทยาเรียกว่า pedophile  คือเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบมีสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก   ถือเป็นอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสังคม
      พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกถึงพระอาการเช่นนี้ ว่า

     "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล"

    พงศาวดารสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ตรงกันว่า

      "ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้
     


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 18, 20:50
    พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกไว้อีกตอนหนึ่ง ถึงการลงพระอาญาข้าราชบริพารว่า

    "ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุข แลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร

    "ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 09:37
    ระหว่างรอตอนที่ 20 ของ ศรีอโยธยา ก็ขอขัดตาทัพด้วยการเล่าถึงราชวงศ์บ้านพลูหลวง ส่วนที่ไม่ได้ปรากฏในละคร  ตามนี้ค่ะ

     ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  เป็นขุนนางรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์   มีบรรดาศักดิ์เป็นพระเพทราชา ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล ซึ่งมีอำนาจสูงเพราะมีกำลังพลในสังกัดหลายพัน   เดิมเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบันคือบ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงมีเชื้อสายสืบต่อกันครองราชย์มาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา  นักประวัติศาสตร์จึงนับเป็นราชวงศ์ เรียกว่า"ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"     คำเรียกนี้ตั้งกันทีหลังสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง    เจ้านายในราชวงศ์บ้านพลูหลวงไม่มีใครรู้จักคำนี้
     พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อประชวรหนักใกล้สวรรคต    เจ้านายที่มีสิทธิ์จะครองบัลลังก์คือเจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าฟ้าน้อย ก็ถูกจับสำเร็จโทษไปหมด  อีกคนคือโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์ชื่อหม่อมปีย์ ก็ถูกสังหาร พ้นทางไปเช่นกัน


ขอเสริมเรื่องคำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" หน่อยนะครับอาจารย์

จริงๆ แล้วคำนี้เห็นว่าผู้ที่กำหนดขึ้นมาใช้เรียกเป็นท่านแรกก็เห็นจะเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนั่นเองครับ

แต่เดิมเมื่อศึกษาจากพระราชพงศาวดาร (ตั้งแต่ฉบับบริติชมิวเซียมเป็นต้นมา) จะระบุว่าพระเจ้าเสือทรงเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ดังนั้นผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคแรกๆ จึงนับให้กษัตริย์อยุทธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือลงมาจนเสียกรุงอยู่ในราชวงศ์ปราสาททองทั้งหมด ดังที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องราชประเพณีตั้งพระมหาอุปราช ทรงแบ่งว่า

-ตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองมาถึงพระมหินทราธิราช คือราชวงศ์เชียงราย เป็นเชื้อลาวสืบมาจากทางเหนือ
-ตั้งแต่พระมหาธรรมราชามาถึงพระศรีเสาวภาค คือราชวงศ์สุโขทัย
-ตั้งแต่พระเจ้าทรงธรรมถึงพระอาทิตยวงศ์ เป็นราชวงศ์ใหม่ไม่ได้ระบุชื่อ (ในเวลานั้นยังไม่พบหลักฐานของตะวันตกที่ระบุว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสพระเอกาทศรถ จึงเข้าใจว่าเป็นเจ้าต่างวงศ์ที่มาแย่งราชสมบัติ)
- ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง (ไม่นับพระเพทราชา) เป็นราชวงศ์ปราสาททอง


แต่ต่อมาหลังจากที่มีการศึกษาข้อมูลจากหลักฐานอื่นๆ มากขึ้น มีหลักฐานต่างประเทศให้สอบเทียบมากขึ้น ก็มีการแบ่งราชวงศ์ใหม่โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็น ๕ ราชวงศ์อย่างที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน ทรงจัดให้ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาลงมาจนเสียกรุงอยู่ในราชวงศ์ที่ชื่อว่า "บ้านพลูหลวง" ดังปรากฏในพระนิพนธ์เรื่อง "ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่"

ทรงเรียกราชวงศ์ของพระเพทราชาว่าบ้านพลูหลวงเพราะ "หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง"


และทรงจัดพระเจ้าเสือไว้ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเพราะว่า "สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า อนึ่งปีสวรรคตสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือก็ลงไว้ต่างกันเปนหลายอย่าง แต่ที่ใกล้กันมากนั้นที่ว่ารัชกาล ๗ ปี ข้าพเจ้าจึงลงศักราชตามหลักนั้น"


ซึ่งเป็นตามที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ คือไม่มีหลักฐานร่วมสมัยในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ลงมาถึงรัชกาลพระเจ้าเสือชิ้นใดเลยที่บ่งชี้ว่าพระเจ้าเสือทรงเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ แต่ล้วนระบุตรงกันว่าทรงเป็นโอรสของพระเพทราชา และในพงศาวดารฉบับที่ค่อนข้างเก่าแก่อย่างฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) หรือฉบับพันจันทุนมาศ (เจิม) ก็ไม่กล่าวเรื่องโอรสลับเช่นเดียวกันครับ


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงพระนิพนธ์ไว้ใน "ไทยรบพม่า" ว่า "ประหลาดอยู่อย่าง ๑ ที่จดหมายเหตุของฝรั่งครั้งนั้นก็มีมากมายหลายฉบับ แต่ไม่มีฉบับใดที่จะปรากฏว่า ผู้แต่งรู้วี่แววว่าหลวงสรศักดิ์เป็นราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ดังว่าในหนังสือพระราชพงศาวดาร กล่าวแต่ว่าเป็นบุตรพระเพทราชาทุกๆฉบับ ข้อนี้ทำให้เห็นว่าที่อ้างว่าหลวงสรศักดิ์เป็นราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชกาลภายหลังต่อมาเมื่อจวนจะเสียกรุงฯ หลวงสรศักดิ์เองหาได้ตั้งตัวเป็นราชโอรสลับดังกล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดารไม่"



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 09:55
   กษัตริย์ที่ขึ้นครองบัลลังก์อยุธยาต่อจากพระเพทราชา คือพระเจ้าเสือ(ในละครรับบทโดยเจมส์ เรืองศักดิ์)  เดิมเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรศักดิ์ บุตรชายของพระเพทราชา เมื่อบิดาขึ้นครองราชย์ ก็ได้รับการสถาปนาเป็นวังหน้า   
    พระเจ้าเสือมีพระนามเป็นทางการว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี   ประวัติศาสตร์เล่าว่าโปรดปลอมพระองค์เป็นชาวบ้าน ไปชกมวยกับชาวบ้านเพราะโปรดปรานกีฬาชนิดนี้มาก


พระนามที่เรียกขานกันว่า "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘" นั้น เป็นพระนามที่เพิ่มเรียกขานกันในสมัยหลังโดยไม่พบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นใดเลยครับ เช่นเดียวกับกษัตริย์อยุทธยาอีกหลายพระองค์ที่ถูกเรียกว่าสมเด็จสรรเพชญ์ ที่มีหลักฐานจริงๆ ว่าถูกเรียกด้วยพระนามดังกล่าวใน ๙ พระองค์นั้นมีเพียง ๓ พระองค์คือสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระเจ้าท้ายสระครับ


ที่มาของการเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาในยุคปัจจุบันว่า “พระสรรเพชญ์” มีที่มาจากหนังสือเรื่อง “พระราชกรัณยานุสร” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยพระราชประสงค์จะให้มีตำราราชประเพณีไว้สำหรับพระนคร

ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ว่าพระนามกรุงศรีอยุทธยาแต่ละพระองค์น่าจะควรมีพระนามอย่างไรบ้างด้วย แต่ก็ไม่ได้ทรงระบุว่าพระนามตามพระราชวินิจฉัยเป็นพระนามที่ถูกต้อง เป็นเพียงการคาดคะเนส่วนพระองค์และไม่สามารถยืนยันได้

“ความซึ่งเพ้อเจ้อแล้วมานี้ เปนข้อสาธกยกมาให้เห็นว่าแต่ในเร็วๆนี้ ยังเลอะเทอะเปรอะเปื้อนกันมาก พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนครั้งกรุงทวาราวดี ฤๅจะไม่เลอะเทอะยิ่งกว่านี้ ผู้ใดจะทรงจำไว้ได้ยืดยาวต่อมาหลายชั่วอายุ ด้วยนิไสยชาวเราเปนดังนั้นอยู่เองแล้ว ก็แต่ถ้าจะคิดสืบเสาะค้นคว้าเอาพระนามที่แท้ที่จริง อันได้จารึกในพระสุพรรณบัตรนั้นก็เห็นจะพอได้รูปอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยืนยันแล้ว ก็ยืนยันไม่ได้ จะยกแต่เหตุอ้างอิงขึ้นตามแต่ผู้อ่านจะคิดเห็นเอาเอง ว่าจะถูกฤๅผิด ขออย่าให้ว่าอวดรู้เกินผู้ใหญ่ เปนการคาดคเนทั้งสิ้น



โดยเหตุที่ทรงวินิจฉัยว่าพระเจ้าเสือทรงใช้พระนามว่าสรรเพชญ์นั้น เพราะพระเจ้าท้ายสระที่เป็นพระโอรสทรงมีพระนามในจารึกวัดป่าโมกข์ว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ จึงทรงมีพระวินิจฉัยว่าพระเจ้าเสือที่ทรงเป็นพระราชบิดาก็น่าจะใช้พระนามแบบเดียวกัน

"ที่ ๒๙ สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี พระนามนี้ในพงษาวดารมอญว่ามีนิมิตร เมื่อราชาภิเศก แสงส่องว่างไปทั้งปราสาท จึงถวายพระนามว่าพระสุริเยนทราธิบดี แต่ที่จริงนั้น เห็นท่านจะยกย่องปู่ท่านมาก น่ากลัวจะออกจากสุรศักดิ์นั้นเอง เพราะถ้าจะคอยนิมิตรเวลาราชาภิเศกแล้วจึงจารึกพระสุพรรณบัตรเห็นจะไม่ทัน ไม่มาแต่อื่น เปนคำเรียกให้เพราะขึ้นสมควรกับที่เปนพระเจ้าแผ่นดิน เพราะในพระราชพงษาวดารนั้น ไม่ปรากฏว่าพระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรนั้นอย่างไร คนทั้งปวงก็เรียกเสียว่าพระพุทธเจ้าเสือ เพราะพระองค์ท่านดุร้ายหยาบช้านัก ราษฎรก็เรียกเอาตามที่กลัวฤๅที่ชังตามชอบใจ แต่พระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรนั้น เห็นจะใช้นามอย่างเช่นพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง จะว่าด้วยเรื่องพระนามนี้ต่อไปข้างหลัง

ที่ ๓๐ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา พระนามนี้มาจากพงษาวดารมอญอิก ว่าเรียกพระภูมินทราชาก็เรียก พระบรรยงก์รัตนาศน์ก็เรียก แต่พระภูมินทราชานั้นเห็นจะถวายเอาเอง ในพระราชพงษาวดารเรียกว่าพระพุทธเจ้าอยู่หัวท้ายสระ อธิบายว่าท่านเสด็จอยู่ที่พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ข้างท้ายสระ ก็ตรงกันกับความที่เรียกว่าพระบรรยงก์รัตนาศน์ ไนยหนึ่งเรียกว่าขุนหลวงทรงปลา จะเปนด้วยท่านทรงโปรดตกเบ็ด แลโปรดปลาตะเพียนฤๅกระไร แต่พระนามซึ่งจารึกในพระสุพรรณบัตรนั้นไม่ปรากฏ ยังได้พบพบเห็นเปนพยานอยู่แห่งเดียวแต่วัดปากโมกข์ มีอักษรจารึกในแผ่นศิลาว่า ลุศักราช ๑๐๘๗ ฤๅ ๘๘ จำไม่ใคร่ถนัด สมเด็จพระสรรเพชญ์มีสร้อยพระนามออกไปอีกมาก ได้ทรงสถาปนาก่อกู้วัดปากโมกข์นี้ไว้มิให้เปนอันตรายด้วยอุทกไภยดังนี้เปนต้น ควรเห็นว่า พระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรนั้นเปน สมเด็จพระสรรเพชญ์เปนแน่ไม่ต้องสงไสย

ก็พระพุทธเจ้าเสือนั้น ท่านจะทรงพระนามสรรเพชญ์ด้วยดอกกระมัง พระราชโอรสจึงได้ทรงพระนามดังนี้ เพราะไม่มีปรากฏในพระราชพงษาวดารเลย จะจารึกกันต่อๆมาไม่ได้ผลัดเปลี่ยน ถ้าเปนดังนั้น จะคิดต่อขึ้นไปอิกชั้นหนึ่ง ว่าพระเจ้าปราสาททองนั้น ท่านก็เปนพระไอยกาของพระพุทธเจ้าเสือ ท่านจะมิใช้พระนามสรรเพชญ์ดังนี้ก่อนฤๅ จึงได้ใช้กันมา แต่พระนารายน์นั้นท่านไม่ยอมตาม เพราะพระนามเดิมของท่านเปนพระนารายน์อยู่แล้ว เปนรามาธิบดีถูกต้องกว่า ก็ถ้าจะเถียงอิกคำหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าเสือท่านจะเปนรามาธิบดี ตามพระราชบิดามาแต่ก่อน ไม่ได้เปนนารายน์ก็มี แต่เห็นว่าถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าเสือเปนรามาธิบดีแล้ว พระพุทธเจ้าอยู่หัวท้ายสระคงเปนรามาธิบดีด้วยเปนแน่ นี่ท่านกลับเปนสรรเพชญ์ไปอย่างหนึ่ง ชรอยพระนามรามาธิบดีนั้น จะยกไว้เฉภาะพระนารายน์ดังเช่นว่ามาแล้ว ถ้าเห็นดังนี้ พระเจ้าปราสาททองต้องเปนสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสือเปนสรรเพชญ์ที่ ๖ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระนี้เปนสรรเพชญ์ที่ ๗” (ในเวลานั้นยังไม่ได้นับเจ้าฟ้าไชยเป็นสรรเพชญ์ที่ ๖ และพระศรีสุธรรมราชาเป็นสรรเพชญ์ที่ ๗)



จึงเห็นได้ว่าพระนาม “พระสรรเพชญ์” แต่ละพระองค์นั้นมาจากพระวินิจฉัยส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก โดยอาศัยข้อที่ว่าผู้ที่เป็นเครือญาติก็น่าจะใช้พระนามเดียวกัน ซึ่งไม่ปรากฏว่าทรงใช้หลักฐานใดๆ ในการอ้างอิง ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงใช้พระนามตามพระราชวินิจฉัยของพระองค์ใน "พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช" ซึ่งได้พระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๒๐ (แต่พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๗๙) โดยทรงเปลี่ยนให้เจ้าฟ้าไชยเปนสรรเพชญ์ที่ ๖ พระศรีสุธรรมราชาเป็นสรรเพชญ์ที่ ๗ เป็นเหตุให้พระเจ้าเสือซึ่งเดิมเป็นสรรเพชญ์ที่ ๖ ถูกเลื่อนเป็นสรรเพชญ์ที่ ๘ และพระเจ้าท้ายสระกลายเป็นสรรเพชญ์ที่ ๙ ครับ



พระนามเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ไม่ได้ทรงชี้ขาดว่าเป็นพระนามที่ถูกต้อง ดังที่ทรงมีพระราชนิพนธ์ไว้แล้วว่า “แต่ถ้าจะให้ยืนยันแล้ว ก็ยืนยันไม่ได้ จะยกแต่เหตุอ้างอิงขึ้นตามแต่ผู้อ่านจะคิดเห็นเอาเอง ว่าจะถูกฤๅผิด ขออย่าให้ว่าอวดรู้เกินผู้ใหญ่ เปนการคาดคเนทั้งสิ้น”

พระนามบางองค์อย่างสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ที่ทรงนับว่าเป็นพระสรรเพชญ์ที่ ๕ นั้น ก็ยังทรงเห็นด้วยว่าที่มาของพระนามที่ว่าพระองค์เป็นโอรสลับของพระเอกาทศรถ (ซึ่งขัดกับหลักฐานร่วมสมัยที่ว่าพระองค์เป็นโอรสของออกญาศรีธรรมาธิราช) จึงใช้พระนามอย่างพระบิดา “เปนเรื่องเกร็ดไป” เมื่อเทียบกับพระนามอื่นๆ ที่ทรงสันนิษฐาน

แต่สันนิษฐานว่าในสมัยหลังคงมีผู้นำพระวินิจฉัยของพระองค์ในพระราชกรัณยานุสรที่ทรงระบุว่า “คาดคะเน” ไปยึดถือว่าเป็นพระนามจริง แล้วบัญญัติใช้เป็นพระนามพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาโดยที่ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ยืนยันเลยครับ



และจากการศึกษาในปัจจุบัน ทำให้มีการพบหลักฐานใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการวินิจฉัยเดิมได้ อย่างเช่นการพบหลักฐานการใช้พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญ์” ของพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาพระองค์อื่น ซึ่งไม่เคยถูกนับรวมใน ๙ องค์ที่กล่าวมา ได้แก่

- สมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) พบหลักฐานคือจารึกเจ้าเถรพุทธสาคร ๒ มหาศักราช ๑๔๒๖ (พ.ศ. ๒๐๔๗) ระบุพระนามในภาษาขอมว่า "วฺรศิรสวฺวิชสตจปฺวิตฺร (พระศรีสรรเพชญบพิตร)"

- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พบหลักฐานคือพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา พ.ศ.๒๑๕๓ ระบุพระนามว่า “พระศรีสรรเพชญสมเด็จบรมบพิตร”

- สมเด็จพระนารายณ์ พบหลักฐานคือศิลาจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ. ๒๒๒๔ ระบุพระนามว่า "พระศรีสรรเพชญสมเดจพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชเมศวรธรรมิกราชเดโชชัยบรมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐวิสุทธิ มกุฎพุทธางกูรบรมจักรพรรดิศวรธรรมิกราชาธิราช"

- สมเด็จพระเพทราชา พบหลักฐานคือพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา พ.ศ.๒๒๔๒ ระบุพระนามว่า “พระศรีสรรเพชญสํมเดจพระรามาธิบดีศรีสีนทรบรํมมหาจักรพรรดิษรวรราชาธิราชราเมศวรธรรมิกราชเดโชไชยพรรมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐ วิสุทธมกุฎพุทธางกุรบรมจุลจักรพรรดิษรธรธรรมิกราชาธิราช”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พบหลักฐานคือสำเนากฎ เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงเก่า ออกพระนามว่า "พระบาทพระศรีสรรเพช สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือองค์สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า พระเจ้าปราสาททอง พระเจ้าช้างเนียม พระเจ้าช้างเผือก ทรงทศพิธราชธรรม์ ราชอนันตสมภาราดิเรก เอกอุดมบรมจักรพรรดิสุนทรธรรมมิกราชบรมนารถ บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว"


จึงเห็นได้ว่าเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่เรายึดถือกันมาตลอด ในบางทีอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งถูกต้องตายตัวเสมอไปแต่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามหลักฐานที่ค้นพบ ซึ่งในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักแม้จะมีหลักฐานใหม่ๆ ที่สามารถหักล้างความเชื่อเดิมได้ก็ตาม

เรื่องพระนามของพระเจ้าแผ่นดินก็เช่นเดียวกัน พระนามที่เราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หลายๆ พระนามก็ไม่มีหลักฐานชัดเจน ในอนาคตอาจจะพบหลักฐานพระนามใหม่ๆ มากขึ้นไปอีกโดยอาจจะพบหลักฐานพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้พระนามว่า "พระศรีสรรเพชญ์" มากขึ้น หรืออาจจะพบพระนามอื่นๆ ที่มาหักล้างก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ


https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1110226359040833:0


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 15:09
ขอบคุณค่ะคุณศรีสรรเพชญ  กำลังรอคุณเข้ามาร่วมวงอยู่ทีเดียว
โดยส่วนตัว เชื่อว่าพระนามศรีสรรเพชญน่าจะเป็นคำยกย่องประกอบพระนามกษัตริย์อยุธยาหลายๆพระองค์  แล้วแต่จะจารึกในพระสุพรรณบัตร  หรือในพระราชสาส์น 
คำว่า ศรีสรรเพชญ ยังไม่ไดไปถามผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบาลีว่าแปลว่าอะไร แต่เดาว่าเป็นคำยกย่องพระศาสดา ทำนองเดียวกับคำว่า พระทศพล หรือพระศรีศากยมุนี   ดังที่เห็นได้จากชื่อพระพุทธรูปและวัดที่ประดิษฐาน    คุณศรีสรรเพชญเอามาเป็นนามแฝง คงจะทราบความหมายดีกว่าดิฉัน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 15:17
ต่อ เรื่องพระเจ้าเสือ

ในละคร  พระเจ้าเสือได้รับการนำเสนอ เป็นภาพกษัตริย์ที่น่ายกย่องมาก

https://www.youtube.com/watch?v=hf8Cr8gX9tY


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ก.พ. 18, 16:00
           royin บอกว่า

       คำว่า สรรเพชญ มาจากภาษาสันสกฤตว่า สรฺวชฺ (อ่านว่า สัร-วะ -ชญะ) ตรงกับภาษาบาลีว่า สพฺพญฺญู แปลว่า ผู้รอบรู้
ผู้รู้ทุกสิ่ง. ในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า สรฺวชฺ เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า พระศิวะ พระอรหันต์ในศาสนาเชน และเจ้าลัทธิอื่น ๆ ด้วย.
       ในเรื่องของพระพุทธศาสนาคำว่า สรรเพชญ เป็นคำที่ใช้กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้มีสรรเพชญดาญาณ.
แม้พระอรหันตสาวกผู้มีดวงประทีปแห่งปัญญามองเห็นความเกิดดับว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก และสามารถขจัดกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว
ก็ตามก็ยังไม่บังเกิดภาวะสรรเพชญดาญาณ หรือความเป็นผู้รู้ทุกสิ่งได้ดังเช่นพระพุทธเจ้า.
       ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอที่พระอรหันต์ทูลขอให้พระองค์ทรงเล่ามูลเหตุของปรากฏการณ์ที่ตนไม่ทราบ หรือขอให้ทรงอภิปราย
ปรากฏการณ์ที่เกินกำลังความรู้ของตน. พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่แตกต่างกันในเรื่องของความรู้ของตน แต่แตกต่างกันตรงที่
พระพุทธเจ้าเป็นผู้เดียวในพระพุทธศาสนาที่มีสรรเพชญดาญาณ คือ ความรู้แห่งความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง

https://goo.gl/vkTh3p


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ก.พ. 18, 16:05
          ในอดีต,เมื่อครั้งพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลนิพนธ์ละครเวที(ต่อมาเป็นหนังและล่าสุดซีรี่ส์ทีวีโดยม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
เรื่องพันท้ายนรสิงห์ ก็ได้เปลี่ยนบทบาทพระเจ้าเสือให้ต่างไปจากคำกล่าวขานที่มีมา โดยยกบทร้ายนั้นไปให้กับเสนาบดี
ผู้ใกล้ชิดที่ออกไปข่มเหงราษฎรโดยอ้างว่าเป็นพระบรมราชโองการของพระเจ้าเสือ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 16:44
 บุคคลที่เป็นศูนย์กลางของเรื่อง คือพระเจ้าเอกทัศ   ถูกนำเสนอในฐานะพระเจ้าแผ่นดินที่อ่อนโยน ธรรมธัมโม  ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้มีความสุขกายสบายใจกันถ้วนหน้า สะท้อนจากแม่ค้าขนมครก  (ที่ป้าออกเสียงว่า ขนมคก ทุกคำ) มีความรักและปรองดองกับน้องชายคือพระเจ้าอุทุมพร  เป็นอันดี  
   ทั้งๆประวัติศาสตร์ ก็มีหลักฐานถึงการคอรัปชั่นในสมัยนี้  จนราษฎรทนไม่ไหว  ต้องร้องเรียนถวายเรื่องกันตามประสาชาวบ้าน อย่างกรณีภาษีผักบุ้ง ที่นายสังพี่ชายพระสนมเอกกำหนดขึ้นมากดขี่รีดไถจากราษฎร
    หาอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
   https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1064455470284589:0
   ที่จริง ถ้าผู้เขียนบทตั้งใจจะสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าเอกทัศ   ก็สามารถดำเนินเรื่องไปตามหลักฐานข้างบนนี้ จนถึงพระเจ้าเอกทัศกริ้วและลงโทษผู้กระทำผิด  ก็น่าจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยไม่ต้องมีบทฝืนๆว่าแม่ค้าขนมครกเล่าให้ลูกค้าฟังว่าแสนจะสุขยังไงกับชีวิตบนแผ่นดินนี้      มันขัดกับธรรมชาติของคนหาเช้ากินค่ำ  เพราะต่อให้ทำมาหากินได้ไม่ผืดเคือง  พวกเขาก็แค่พอรอดไปวันๆเท่านั้น


เรื่องพระอัธยาศัยของพระเจ้าเอกทัศ เข้าใจว่าผู้สร้างจะอ้างอิงจากเอกสารประเภทคำให้การขุนหลวงหาวัดที่กล่าวถึงพระเจ้าเอกทัศในเชิงบวก ตรงกันข้ามกับพงศาวดารที่กล่าวถึงพระองค์ในเชิงลบครับ ซึ่งเมื่อดูจากคลิปเบื้องหลังแล้วผู้สร้างอาจเห็นว่าพงศาวดารสมัยหลังถูกชำระโดยมีนัยยะทางการเมืองเพื่อโจมตีกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย ตามอย่างที่นักวิชาการบางท่านได้นำเสนอครับ

คำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวถึงพระเจ้าเอกทัศว่า

"ฝ่ายพระบรมเอกทัศจึ่งประพฤตดิ์ตามอย่างธรรมเนียมกระษัตริย์แต่ก่อนมา พระองค์ก็บำรุงพระสาศนาครอบครองอณาประชาราษฎร์ทั้งปวงตามประเพณีมา"

"พระองค์จึ่งบำรุงพระสาสนาแล้วครอบครองบ้านเมืองก็อยู่เยนเปนศุขมา แล้วพระองค์ก็ส้างอารามชื่อวัดลมุด แล้วส้างวัดครุธธาวัดหนึ่ง พระองค์จึ่งฉลองเลี้ยงพระสงฆ์พรรหนึ่ง จึ่งถวายเครื่องไตรจีวรแลเครื่องสังเคดพรรหนึ่ง เครื่องเตียบสิ่งละพรร ต้นกัลปพฤกษก็พรรหนึ่ง จึ่งแจกทานสารพัดสิ่งของนาๆ สิ่งละพัน แจกอนาประชาราษทั้งปวงสรรพสิ่งต่างๆ เปนการใหญ่ท่วนเจดวันแล้ว พระองค์จึ่งหลั่งน้ำทักขิโณทกให้ตกลงเหนือแผ่นพสุธา จึงแผ่กุศลให้แก่สัตว์ทั้งปวง แล้วเสดจคืนเข้ายังพระราชวงศ์ พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสดจ์ไปถวายนมัศการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้คาด พระบาทจงกรมอยู่เปนนิจ ตั้งอยู๋ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณาก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราศทุกขไภย ด้วยเมตตาปารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความสุขมิได้กันดาล ทั้งเข้าปลาอาหารแลผลไม่มีรศโอชา ฝูงอนาประชาราษฎรแลชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทานแลการมโหรศพต่างๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความสุขทั้วของขันธเสมา"



เช่นเดียวกับคำให้การชาวกรุงเก่าซึ่งเป็นเอกสารเดียวกัน แต่ต้นฉบับเป็นภาษาพม่าที่ระบุว่า

"พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระองค์นี้ทรงพระราชศรัทธาอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกุศลบริจาคพระราชทรัพย์เครื่องประดับระดาอาภรณ์ทั้งปวง พระราชทานแก่ยาจกวณิพกเปนอันมาก"



จะเห็นได้ว่าภาพของตัวละครพระเจ้าเอกทัศในศรีอโยธยานั้นถูกอ้างอิงตามข้อความที่ยกมาแทบจะทุกประการ รวมถึงเรื่องที่มักจะเดินจงกรมด้วย นอกจากนี้ตามเอกสารคำให้การทั้งสองฉบับนั้นไม่มีการกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพรเลย


อย่างไรก็ตามผมเองเห็นว่าผู้ชำระพงศาวดารสมัยหลังแม้จะเขียนโจมตีพระเจ้าเอกทัศก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเสียทีเดียว เพราะว่าหลายเรื่องก็ถูกยืนยันอยู่ในหลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศ ทั้งฝรั่งเศสและดัตช์ ที่ระบุว่าพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพรไม่ทรงถูกกัน มีเรื่องการล้างขั้วอำนาจทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม พระเจ้าเอกทัศทรงให้ท้ายคนสนิทให้ได้เป็นใหญ่ (ตรงกับพระยาราชมนตรี จมื่นศรีสรรักษ์ และนายสังในพงศาวดาร) รวมถึงการปล่อยให้เจ้านานฝ่ายในเข้ามามีอิทธิพลในราชสำนักจนส่งผลกระทบต่อการค้าต่างประเทศ รวมถึงการที่มีข้าราชการปิดบังพระเนตรพระกรรณในหลายๆ เรื่อง

สอดคล้องกับนิราศเพลงยาวตีเมืองพม่าของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรงเคยรับราชการเป็นนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพรในรัชกาลนี้ที่วิจารณ์พระเจ้าเอกทัศว่า

"ทั้งนี้เปนต้นด้วยผลเหตุ       จะอาเภทกษัตริย์ผู้เปนใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไทย               เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา
ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ       ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาษิตท่านกล่าวเปนราวมา    จะตั้งแต่งเสนาธิบดี
ไม่ควรจะให้อัครฐาน               จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี       จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา
เสียยศเสียศักดินัคเรศ       เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา
เสียทั้งตระกูลนานา               เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร"


เรื่องที่พระเจ้าเอกทัศทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงใฝ่พระทัยในการพระศาสนานั้นตามคำให้การฯ มีความเป็นไปได้จริงอยู่ เพราะเป็นประเพณีที่พระเจ้าแผ่นดินจะทรงพึงกระทำ แต่ส่วนตัวแล้วเห็นว่าการใฝ่พระทัยทางศาสนากับพระอัธยาศัยในด้านอื่นๆ และความสามารถทางการเมืองการปกครองนั้นดูจะเป็นคนละเรื่องกัน การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใฝ่พระทัยในศาสนาคงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ดีหรือเข้มแข็งมีพระปรีชาสามารถ ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมากเช่น พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ (梁武帝) แต่ความศรัทธาของพระองค์กลับทำให้ราษฎรเดือดร้อน นอกจากนี้ก็ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถ สุดท้ายก็ทรงถูกกักบริเวณระหว่างสงครามจนสวรรคตเพราะทรงไม่ได้เสวยพระกระยาหาร

ดังที่พบว่าการเมืองการปกครองในรัชกาลนี้ปรากฏหลักฐานว่ายุ่งเหยิงและมีเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวงอยู่บ่อยครั้ง ไม่ค่อยตรงกับที่คำให้การขุนหลวงหาวัดบรรยายว่า "ฝูงอนาประชาราษฎรแลชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์" สักเท่าไหร่นัก ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์กันต่อไปด้วยว่าใครเป็นผู้บันทึกของความเหล่านี้ เพราะการมองภาพในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลได้ครับ  

พระเจ้าเอกทัศคงจะไม่ได้ทรงเลวร้ายถึงขนาดหลงสุรานารีไม่สนพระทัยราชการบ้านเมืองเลยอย่างที่บางแห่งวิจารณ์กัน ซึ่งเป็นการกล่าวที่เกินเลยจากหลักฐานไปพอสมควรเพราะมีหลักฐานว่าทรงตระเตรียมในการป้องกันพระนครรับศึกพม่าอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่น่าจะเข้มแข็งถึงขนาดที่มีบางคนพยายามยกยอกันในช่วงหลังๆ นี้ว่าทรงรักษาพระนครได้ถึง ๑๔ เดือนจากพม่า (ผมมองว่าเป็นเพราะปราการธรรมชาติของกรุงมากกว่า) โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่ได้ทรงเลวร้าย แต่ทรงมีความทะเยอทานที่จะครองแผ่นดินในระดับหนึ่งไม่ได้ธัมมะธรรมโมอย่างในศรีอโยธยา แต่เมื่อทรงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถที่เพียงพอและทรงปล่อยให้เจ้านายข้าราชการปิดบังพระเนตรพระกรรณ รวมถึงใช้คนโดยไม่พิจารณาตามอย่างที่ทรงถูกวิจารณ์ไว้ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 17:10
    เห็นด้วยค่ะ   การทะนุบำรุงศาสนาเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินของอยุธยา ที่ทรงกระทำกันทุกรัชกาลก็ว่าได้  แต่ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่ากษัตริย์องค์นั้นเป็นคนธัมมะธัมโมเสมอไป 
    เรื่องพระเจ้าเอกทัศ หลักฐานร่วมสมัยหลายอย่างชี้ไปในทางเดียวกันถึงข้อบกพร่องทั้งในพระอุปนิสัย และการกระทำที่มีผลต่อการเสียกรุงในอยุธยา    คุณศรีสรรเพชญแจกแจงมาละเอียดลออ  ดิฉันจะไม่กล่าวซ้ำ  แต่ขอเพิ่มอีกเรื่อง คือจดหมายของบาทหลวงชื่อมองเซนเยอร์บรีโกต์ ที่ส่งไปยังต้นสังกัดที่วาติกัน  เล่าถึงการเมืองในราชสำนักฝ่ายใน    คือเจ้านายผู้หญิงที่มีอำนาจ พากันคอรัปชั่นฉ้อราษฎร์บังหลวง    ใครที่ทำผิดถึงขั้นถูกประหาร เจ้านายสตรีเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงเป็นแค่โทษริบทรัพย์  แล้วยึดทรัพย์มาเป็นสมบัติของตัวเองเสียดื้อๆ
    มองเซนเยอร์บรีโกต์ไม่ได้ระบุว่าเจ้านายสตรีที่ว่าคือใคร  แต่บรรยายว่ามีหลายคน   การกระทำแบบนี้ทำให้ขุนนางพากันเอาอย่าง  ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันไม่เกรงกลัว  พระเจ้าเอกทัศเองก็ไม่ทรงทราบ   ขุนนางก็พากันเหิมเกริม ถึงขั้นขุนนางไทยที่ภูเก็ตไปปล้นเรือของอังกฤษที่ภูเก็ตแล้วซัดทอดไปยังพวกที่เข้ารีตเป็นคริสต์    ทำให้พวกเข้ารีตและบาทหลวงถูกข่มเหงรังแกสาหัส

   เรื่องเจ้านายสตรีฝายในมีอำนาจขนาดยื่นมือออกมาก้าวก่ายกับกฎหมาย ของข้าราชสำนักฝ่ายหน้า โดยพระเจ้าเอกทัศก็ไม่ทรงทราบ หรือทราบแต่ไม่จัดการ ทำให้นึกถึงเรื่องห้ามยิงปืนใหญ่เพราะหนวกหูเจ้าจอมหม่อมห้าม    มันบ่งถึงความอ่อนแอไม่เด็ดขาดในเรื่องอิสตรี     กำลังรอดูว่าตอนที่ 20 จะมีเรื่องนี้หรือไม่   
   หรือมีเจ้าจอมแขเอาไว้เป็นแพะเสียแล้ว  ก็ไม่รู้นะคะ

   ส่วนหนังสือคำให้การฯ ดิฉันไม่ค่อยให้น้ำหนักนัก   เพราะเห็นว่าคลาดเคล่ื่อนหลายเรื่องด้วยกันค่ะ    แต่ก็เป็น license ของหม่อมน้อยอีกนั่นละที่จะเลือกเชื่อเรื่องใด
     


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 16 ก.พ. 18, 17:48
แวะพักชมสิ่งน่า...กันครับ  ;D

https://www.youtube.com/watch?v=o5QdpswPdGg (https://www.youtube.com/watch?v=o5QdpswPdGg)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 17:52
ดิฉันเข้าลิ้งค์แล้วออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ  ใครดูได้บ้างคะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 17:59
แวะพักชมสิ่งน่า...กันครับ   ;D

https://www.youtube.com/watch?v=o5QdpswPdGg (ftp://https://www.youtube.com/watch?v=o5QdpswPdGg)

https://youtu.be/o5QdpswPdGg


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 18:15
 
ส่วนเรื่องน้ำพระทัย เป็นผู้รักใคร่เมตตาห่วงใยชาวบ้านมากมายเหมือนในละครหรือไม่    พบแต่หลักฐานว่า โปรดเสวยน้ำจัณฑฺ์ และมักมากในกามคุณ     ถ้าจะพอพระทัยแค่มีพระสนมเจ้าจอมจำนวนมากก็คงไม่เป็นไร เพราะสังคมสมัยนั้นชายมีภรรยาได้หลายคนอยู่แล้ว     แต่พระองค์ทรงเป็นอย่างที่นักจิตวิทยาเรียกว่า pedophile  คือเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบมีสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก   ถือเป็นอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสังคม
      พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกถึงพระอาการเช่นนี้ ว่า

     "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล"

    พงศาวดารสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ตรงกันว่า

      "ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้
    


   พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกไว้อีกตอนหนึ่ง ถึงการลงพระอาญาข้าราชบริพารว่า

    "ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุข แลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร

    "ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"


สำหรับเรื่องพระเจ้าเสือเอง ซึ่งหากดูจากคลิปเบื้องหลังจะเห็นได้ว่าผู้สร้างแสดงความคิดเห็นไม่เชื่อถือเนื้อหาในพงศาวดารสมัยหลัง และเห็นว่าอาจจะถูกปรุงแต่งขึ้น และเข้าใจว่าผู้สร้างอ้างอิงพระอุปนิสัยจากเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัด และคำให้การชาวกรุงเก่าที่กล่าวถึงพระองค์ในเชิงบวกเช่นเดียวกันกรณีของพระเจ้าเอกทัศครับ

คำให้การชาวกรงเก่าระบุว่าพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) นั้นเสด็จปลอมเป็นสามัญชนออกจากวังโปรดการทรงปืนเหมือนกันในพงศาวดาร แต่เนื้อหาเป็นการกล่าวในทางบวกเสียส่วนใหญ่ ดังนี้

"พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีนี้มีบุญญาภินิการ ละอิทธิฤทธิ์ชำนาญในทางเวทมนตรกายสิทธิ์มาก เวลากลางคืนก็ทรงกำบังพระกายเสด็จประพาสฟังกิจสุขทุกข์ของราษฎร และทรงตรวจตราโจรผู้ร้ายมิได้ขาด ทรงชุบเลี้ยงคนที่มีเวทมนตร์ให้เป็นมหาดเล็กใกล้ชิดพระองค์รับสั่งใช้ให้กำบังกายออกตรวจโจรผู้ร้ายในราตรี ถ้าทรงทราบว่าใครมีเวทมนตร์ดีแล้ว ให้มหาดเล็กลอบไปทำร้ายในเวลาหลับ ผู้ใดไม่เป็นอันตรายก็ให้พามาเลี้ยงไว้เป็นข้าราชการ ผู้ใดที่โอ่อวดทดลองไม่ได้จริงก็ให้ลงพระราชอาญา พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีนี้ทรงปืนแม่นหาผู้เสมอยาก นกกาบินร้องมาในเวลากลางคืนก็ยิงถูก เต้าปลามัจฉาในน้ำแต่พอแลเห็นเงาก็ยิงถูก และทรงชำนาญในทางโหราศาสตร์ รู้คำนวณฤกษ์ยามชะตาบ้านเมือง..."


เช่นเดียวกับคำให้การขุนหลวงหาวัดที่ระบุว่า

"อันพระศรีสุริเยนทราธิบดีนั้น องอาจมีอำนาจหนักหนา ทั้งทรงทศพิธราชธรรม มิได้เที่ยวรบพุ่งบ้านเมืองใด จนถึงพระยาสามนต์อันเป็นใหญ่ อยู่ในกรุงศรีสตนาคนหุตก็เลื่องลือชาไปว่าพระองค์นี้ ตั้งอยู่ในธรรม ทั้งมีกฤตยาอาคม ทั้งพระเดชเดชาก็กล้าหาญนักหนา..."


เนื้อหาในเอกสารคำให้การฯ สำหรับรัชกาลที่อยู่ห่างจากการเสียกรุงนั้นน่าจะอาศัยเรื่องราวประเภทมุขปาฐะ (Oral History) ซึ่งเล่าต่อๆ กันมามากกว่าจะเป็นเรื่องที่มีการจดบันทึกเป็นบรรทัดฐานจริง ดังที่พบว่าเอกสารคำให้การนั้นมีเนื้อหาพิสดารคลาดเคลื่อนอยู่หลายตอน อย่างในกรณีนี้ที่เนื้อหาเป็นเรื่องเล่าแบบเกร็ดมีอภินิหารพอสมควร มีการระบุว่าพระเจ้าล้านช้างถวายพระธิดาให้ ซึ่งตามพงศาวดารและหลักฐานต่างประเทศระบุตรงกันว่าเกิดในรัชกาลพระเพทราชา เพิ่งจะมาค่อนข้างตรงสอดคล้องกับหลักฐานอื่นและมีรายละเอียดชัดเจนในช่วงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลงมา เข้าใจว่าเพราะเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปพม่ายังมีผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์อยู่มากหรืออาจมีเอกสารจดหมายเหตุติดตัวไปด้วย

อย่างไรก็ตามผมเห็นว่าเรื่องพระเจ้าเสือปลอมพระองค์ออกเสด็จประพาสนั้นต้นเพื่อฟังทุกข์สุขราษฎรก็เป็นไปได้อยู่ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเสียเดียว แต่ก็อาจจะตีความได้ว่าเป็นการเสด็จเพื่อการสำราญพระองค์ประการเดียวไม่เกี่ยวกับราษฎรก็อาจเป็นได้เช่นกัน


แต่ต่อให้ทรงเสด็จประพาสต้นเพื่อรับฟังทุกข์สุขของราษฎรจริง อาจจะต้องแยกเป็นคนละกรณีเรื่องพฤติกรรมมักมากในกามคุณหรือเรื่องพระอัธยาศัยในทางโหดเหี้ยมนั้นก็เป็นคนละเรื่องกันเหมือนกรณีของพระเจ้าเอกทัศครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 18:16
สำหรับเรื่องพระอัธยาศัยที่พงศาวดารระบุว่าทรงโหดร้ายและมีพฤติกรรมไม่งามนักในเรื่องสตรีก็ไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเช่นกัน เพราะมีหลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศยืนยันอยู่หลายชิ้น อย่างเช่นบาทหลวงเดอ แบสที่ระบุว่าเมื่อตั้งแต่ช่วงที่พระเพทราชาทรงยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงพระประชวรอยู่และจับฟอลคอนไปประหาร พระเจ้าเสือซึ่งยังเป็นออกหลวงสุรสักดิ์ได้ปรารถนาจะเอาท้าวทองกีบมาภรรยาของฟอลคอนมาครอบครองโดยสั่งให้ควบคุมนางอย่างเข้มงวดและทรมานนางด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้นางยอมทำตามคำขอ และยังให้ขุนนางชื่อออกหมื่นสีมันต์ชัยมาพูดกับบาทหลวงเดอ แบสเพื่อให้ไปกล่อมให้นางยอม แต่เดอ แบสปฏิเสธ

ฝ่ายออกหลวงสุรสักดิ์ก็ยังไม่กล้าทำอะไรรุนแรงเพราะเกรงว่าพวกบาทหลวงจะเอาเรื่องที่ตนทรมานท้าวทองกีบม้าไปฟ้องพระเพทราชาผู้เป็นบิดา เพราะจะเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจาก

"...เมื่อไม่นานมานี้เอง เขาได้บังอาจไปฉุดคร่าธิดาของนักบวชใหญ่ชาวมลายามา เมื่อเพทราชาได้รับคำฟ้องร้องจากนายพลแห่งชาตินั้นแล้ว ก็เอาตัว (ออกหลวงสรศักดิ์) ไปขังไว้ แล้วคาดโทษว่าจะตัดหัวเสียทีเดียวถ้าไปทำทารุณกรรมกับหญิงคนใดอีก เพราะเขารู้ดีว่าบุคคลนั้น (ออกหลวงสรศักดิ์) เป็นที่เกลียดชังของพวกขุนนางอยู่ด้วยได้ไปประกอบกรรมอันน่าบัดสี (ต่อลูกเมียของพวกเขา) อยู่เนืองๆ"


ข้อความตอนนี้ตรงกับพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ระบุว่า "ประการหนึ่งปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง"


จนเมื่อทรงได้เป็นพระมหาอุปราชจึงมีพระราชบัณฑูรให้กุมตัวท้าวทองกีบม้ามาไว้ในวังของพระองค์ แต่นางหนีไปได้ในภายหลัง


ในรัชกาลพระเพทราชาก็ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของดัตช์ว่าพระเจ้าเสือซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ ทรงมีพฤติกรรมมักมากในกามคุณในตัวหญิงสาวและโปรดกระทำการทารุณกรรมต่างๆ (sadistic treatment) รวมไปถึงหญิงสาวที่อาศัยอยู่ในบริเวณห้างของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) ด้วย แต่แม้ว่าบิดามารดาของพวกนางจะขอให้ทาง VOC ช่วยคุ้มครอง VOC ก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื้อฉาวกิดขึ้นในวังหน้าอีก คือใน ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) พระธิดาของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งมีพระชนม์ได้ ๑๙ ชันษาแอบไปรวมหลับนอนกับคนชั้นล่างอย่างพวกข้ารับใช้หรือคนละคร เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ ทรงทราบทำให้กริ้วมาก โปรดให้จับพระธิดาไปจำเจ็ดประการ และเรื่องนี้ก็ทำให้สมเด็จพระเพทราชาทรงไม่พอพระทัยเช่นเดียวกัน เพราะเหตุมาเกิดขึ้นในช่วงพระราชพิธีโสกันต์โอรสของกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์หนึ่ง


เมื่อพระเจ้าเสือทรงครองราชย์แล้ว ก็ยังปรากฏในหลักฐานชั้นต้นของฝรั่งเศสว่าทรงโหดร้ายพอๆ กับพงศาวดาร ดังที่ปรากฏในจดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๒๔๖) ความว่า

"เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ดำริห์การที่จะให้ฝรั่งเศสกับไทยทำการค้าขายติดต่อกันอีก และจะเอาคณะบาดหลวงเปนสายสำหรับให้การนี้ได้สำเร็จไปนั้น เปนการที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะข้าพเจ้าได้เห็นแล้วว่า การที่ฝรั่งเศสกับไทยได้ มีไมตรีติดต่อกันนั้นได้ทำให้เปนผลร้ายเกิดขึ้นเพียงไร การที่ได้เปนมาแล้วในเวลาที่เกิดจลาจลครั้งพระราชบิดาของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ก็เปนสิ่งทำให้ชาวฝรั่งเศไม่พอใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรไว้ใจในพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ซึ่งปฎิบัติการแต่ตามความพอพระทัย และทั้งพระทัยก็กลับกลอกไม่แน่นอนด้วย ยิ่งข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าเห็นว่าการต่าง ๆ ที่มีคนเล่า ถึงพระอัธยาศัยนั้นเปนความจริงนั้น ถ้าแม้ว่าจะกลับพระทัยในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้เปนการปลาดอย่างยิ่ง บางทีถ้าได้เดิรการปอลิติกอย่างดีก็อาจจะทำให้เปลี่ยนพระนิสัยได้บ้างกระมัง แต่ปอลิติกในเมืองชนิดนี้ ไม่แรงพอที่จะคุ้มครองเมืองซึ่งมีกษัตรย์อันมีนิสัยเต็มไปด้วยโทษะโมหะ และยิ่งมีอำนาจเด็จขาดที่จะทำตามโทษะได้ทุกอย่างแล้ว ก็เปนอันไม่ได้อยู่เอง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบีบคั้นพระอนุชาซึ่งเปนรัชทายาท ผู้ที่สมควรจะครองราชสมบัติโดยแท้อย่างแสนสาหัส และทรงบีบคั้นขุนนางข้าราชการที่เข้ากับพระอนุชาจนลงท้ายได้ห่าเสียหมดทุกคน ถึงพวกข้าราชการผู้ใหญ่แลพระสงฆ์จะกราบทูลทัดทานเท่าไรก็ไม่ฟังนั้น ทั้งการที่ทรงลงพระอาญาอย่างร้ายกาจแก่พระราชบุตร์ทั้ง ๒ ของพระองค์ซึ่งพระองค์ไม่ไว้พระทัยและทรงลงพระอาญาเฆี่ยนอยู่เสมอนั้น ก็ทำให้เห็นได้ชัดว่าคงมีบุคคลบางจำพวกที่จะไม่ยอมทนไปได้นานสักเท่าไร และจำเปนที่พระองค์จะต้องกลับใจเสียโดยเร็ว การทั้งปวงเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจเปนอันมาก เพราะข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มิได้รักชอบพวกเราเลย ข้าพเจ้าจึงเกรงว่าถ้าไม่มีเรือพ่อค้าฝรั่งเศสมาตามพระราชประสงค์แล้ว ก็น่ากลัวจะทรงถือว่าเปนการที่ฝรั่งเศสดูถูกและ คงจะทรงแก้แค้นกับพวกเราในโรงเรียนเปนแน่"


เรื่องเฆี่ยนเจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพรนี้ก็ตรงกับในพงศาวดารเช่นเดียวกันครับ



และในจดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๖ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๒๔๖) ก็ระบุว่าพระเจ้าเสือทรงมีพระอุปนิสัยกริ้วกราดอยู่เสมอ

"ตามที่ข้าพเจ้าได้เล่าถึงความเดือดร้อนของเมืองนี้ ถึงความไม่แน่นอนของรัฐบาลปัจจุบันนี้ ถึงพระนิสัยของพระจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ อันจะเชื่อพระวาจาไม่ได้นั้นเปนสิ่งที่จริงทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ต้องร้อนพระทัยด้วยยังต้องทำศึกสงครามอยู่ก็จริง แต่ถึงดังนั้นก็ยังคงโหดร้ายและทรงกริ้วกราดอยู่เสมอเท่ากับไม่มีเรื่องอะไรมากวนพระทัยเลย"



และในจดหมายฉบับเดียวกันยังระบุว่าพระเจ้าเสือทรงมีพระอุปนิสัยโปรดให้จับเด็กหญิงเด็กชายเข้าไปในพระราชวัง

"พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้โปรดนักในการที่จะไปแย่งชิงเด็กทั้งหญิงและชายเพื่อเอาไปเปนทาสสำหรับไว้ใช้ในวัง เมื่อสองสามวันนี้เองได้มีพวกญวนและไทยเข้ารีตซึ่งตั้งบ้านเรือนใกล้กับโรงเรียน ได้ตื่นตกใจวิ่งมาขอให้เราช่วย เพราะเจ้าพนักงารได้มาจดชื่อเด็กลูกของคนเหล่านี้ จึงเกรงว่าเด็กพวกนี้จะต้องถูกจับเข้าไปในวัง พวกนี้คิดจะบอกเจ้าพนักงารว่าตัวเขาและลูกเปนทาสขายตัวอยู่กับพวกบาดหลวง เพราะฉนั้นพอรุ่งขึ้นพวกนี้ก็ได้ไปทำหนังสือยอม ตัวเปนทาสของบาดหลวงตามที่คิดไว้ แล้วได้พาลูกมาขอให้เรารับไว้ ซึ่งเปนการที่เราจะไม่ยอมไม่ได้ เพราะถ้าจะคิดถึงส่วนประโยชน์ของเด็กเหล่านี้แล้ว ถ้ามาอยู่กับเราอาจที่จะหันให้นับถือสาสนาคริศเตียนได้ แต่ถ้าจะขืนปล่อยตามลำพังแล้ว เด็กพวกนี้คงจะประพฤติตามเยี่ยงอย่างของผู้ใหญ่ ส่วนเด็กผู้หญิงซึ่งจะต้องระวังมากกว่าผู้ชายนั้น เราได้เอาไปเที่ยวฝากไว้กับผู้หญิงแก่ ๆ ที่เข้ารีตและผู้หญิงเหล่านี้ได้จัดการซ่อนเด็กผู้หญิงไว้อย่างดีที่สุดที่จะซ่อนได้ แต่ถึงเราได้จัดการป้องกันเด็กเหล่านี้ไว้ก็จริง แต่เราจะอวดอ้างไม่ได้ว่าเด็กเหล่านี้จะพ้นอันตรายแล้ว ถ้าไทยยกพวกมาจับเด็กเหล่านี้แล้วเราก็จะเดือดร้อนมาก "


แม้ว่าดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซจะไม่ได้บอกว่าจับเด็กไปทำอะไร แต่เมื่อดูจากรายละเอียดของจดหมายแล้วก็น่าจะเดาได้อยู่ครับ


จนเมื่อพระเจ้าเสือสวรรคตและพระเจ้าท้ายสระทรงครองราชย์แทน ความโหดร้ายของพระองค์ก็ยังคงเป็นที่จดจำอยู่ ปรากฏในจดหมายมองซิเออร์เกดีถึงมองเซนเยอร์เมโกร เมืองปอนดีเชอร๊ วันที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๑๑ (พ.ศ. ๒๒๕๔) ได้เรียกพระเจ้าเสือว่า "พระเจ้าแผ่นดินองค์ดุร้าย" ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 16 ก.พ. 18, 18:24
ดิฉันเข้าลิ้งค์แล้วออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ  ใครดูได้บ้างคะ

ขออภัยด้วยครับ ผมใส่ลิ้งค์เป็น FPT ครับ แก้ไขแล้วครับ :-[


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 18:38
ขอบคุณค่ะคุณศรีสรรเพชญ  กำลังรอคุณเข้ามาร่วมวงอยู่ทีเดียว
โดยส่วนตัว เชื่อว่าพระนามศรีสรรเพชญน่าจะเป็นคำยกย่องประกอบพระนามกษัตริย์อยุธยาหลายๆพระองค์  แล้วแต่จะจารึกในพระสุพรรณบัตร  หรือในพระราชสาส์น 
คำว่า ศรีสรรเพชญ ยังไม่ไดไปถามผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบาลีว่าแปลว่าอะไร แต่เดาว่าเป็นคำยกย่องพระศาสดา ทำนองเดียวกับคำว่า พระทศพล หรือพระศรีศากยมุนี   ดังที่เห็นได้จากชื่อพระพุทธรูปและวัดที่ประดิษฐาน    คุณศรีสรรเพชญเอามาเป็นนามแฝง คงจะทราบความหมายดีกว่าดิฉัน


จะขอขยายความเรื่องชื่อล็อกอินผมหน่อยนะครับ

ศรี แปลว่า มิ่งขวัญ ความดีงาม
สรรเพชญ์ แปลว่า ผู้รอบรู้หรือผู้มีปัญญา

สรรเพชญ์ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตคือ สรฺวชฺญ หรือในภาษาบาลีคือ สพฺพญฺญ ด้วยความหมายเลยใช้เรียกแทนพระพุทธเจ้าด้วย เพราะทรงตรัสรู้ทุกสิ่งอย่าง (อาจจะเคยเห็นการเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระสัพพัญญู หรือพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า)



ชื่อสรรเพชญ์ ก็มีคนไทยหลายๆ คนใช้ชื่อนี้กัน บางคนสะกดเป็น สรรเพชญ  สรรเพชร ก็มี ซึ่งส่วนใหญ่ก็ตั้งในความหมายว่า "ผู้มีปัญญา" มากกว่าจะไปเปรียบว่าตนเสมอพระพุทธเจ้าครับ

ในที่นี้นำมาตั้งเป็นชื่อล็อกอินเพราะเห็นว่ามีความหมายดี ไม่ได้มีชื่อตัวว่า สรรเพชญ์ ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 16 ก.พ. 18, 19:04
   แต่ขอเพิ่มอีกเรื่อง คือจดหมายของบาทหลวงชื่อมองเซนเยอร์บรีโกต์ ที่ส่งไปยังต้นสังกัดที่วาติกัน  เล่าถึงการเมืองในราชสำนักฝ่ายใน    คือเจ้านายผู้หญิงที่มีอำนาจ พากันคอรัปชั่นฉ้อราษฎร์บังหลวง    ใครที่ทำผิดถึงขั้นถูกประหาร เจ้านายสตรีเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงเป็นแค่โทษริบทรัพย์  แล้วยึดทรัพย์มาเป็นสมบัติของตัวเองเสียดื้อๆ
    มองเซนเยอร์บรีโกต์ไม่ได้ระบุว่าเจ้านายสตรีที่ว่าคือใคร  แต่บรรยายว่ามีหลายคน   การกระทำแบบนี้ทำให้ขุนนางพากันเอาอย่าง  ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันไม่เกรงกลัว  พระเจ้าเอกทัศเองก็ไม่ทรงทราบ   ขุนนางก็พากันเหิมเกริม ถึงขั้นขุนนางไทยที่ภูเก็ตไปปล้นเรือของอังกฤษที่ภูเก็ตแล้วซัดทอดไปยังพวกที่เข้ารีตเป็นคริสต์    ทำให้พวกเข้ารีตและบาทหลวงถูกข่มเหงรังแกสาหัส

   เรื่องเจ้านายสตรีฝายในมีอำนาจขนาดยื่นมือออกมาก้าวก่ายกับกฎหมาย ของข้าราชสำนักฝ่ายหน้า โดยพระเจ้าเอกทัศก็ไม่ทรงทราบ หรือทราบแต่ไม่จัดการ ทำให้นึกถึงเรื่องห้ามยิงปืนใหญ่เพราะหนวกหูเจ้าจอมหม่อมห้าม    มันบ่งถึงความอ่อนแอไม่เด็ดขาดในเรื่องอิสตรี     กำลังรอดูว่าตอนที่ 20 จะมีเรื่องนี้หรือไม่    
   หรือมีเจ้าจอมแขเอาไว้เป็นแพะเสียแล้ว  ก็ไม่รู้นะคะ
    


สำหรับเรื่องเจ้านายสตรีฝ่ายในเหล่านี้ก็ถูกกล่าวถึงในหลักฐานชั้นต้นของดัตช์เช่นเดียวกันครับ โดยระบุชัดเจนว่าเป็นบรรดาพระพี่นางและพระน้องนางของพระเจ้าเอกทัศนั่นเอง

โดยในหลักฐานดัตช์ระบุว่าระบบราชการของราชสำนักในช่วงหลังจบสงครามพระเจ้าอลองพญานั้นไม่ค่อยเป็นปกติ หลังจากพระเจ้าอุทุมพรออกผนวชครั้งที่สอง ขั้วอำนาจของพระเจ้าเอกทัศก็กลับมามีอำนาจในขณะที่ขั้วอำนาจของพระเจ้าอุทุมพรอ่อนแอลง ข้าราชการของพระเจ้าเอกทัศไม่สนใจที่จะเคารพกฎหมายแต่สนใจเฉพาะผลประโยชน์ของตนเอง นอกจากนี้บรรดาเจ้าหญิงที่เป็นพี่น้องกับพระเจ้าเอกทัศก็ทำให้สถานการณ์วุ่นวายมากขึ้น โดยการพร้อมจะเปลี่ยนข้างอย่างรวดเร็วมาสนับสนุนพระเจ้าเอกทัศหรือพระเจ้าอุทุมพรขึ้นกับว่าพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ไหนมีอำนาจในเวลานั้น

ดัตช์ระบุว่าเจ้าหญิงเหล่านี้เลวร้ายยิ่งกว่าเสนาบดี เพราะต่างก็พยายามที่จะครอบงำพระเจ้าเอกทัศให้อยู่ในอำนาจของตน ถึงขนาดแอบอ้างใช้พระราชอำนาจเกินกว่าเหตุในบางครั้งด้วย จนดัตช์ถึงกับกล่าวว่าทั้งเจ้าหญิงและเสนาบดีว่าต่างทำหน้าที่เป็น "พวกรีดไถ (extortionists)" ครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 19:17
ขอบคุณค่ะคุณศรีสรรเพชญ์  ชัดเจนดีทุกประเด็น
ทำให้คิดว่า ความอ่อนแอในราชสำนักทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน  ไม่ใช่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเสียกรุง   แต่เป็นตัวเร่งให้เสียกรุงง่ายขึ้น



กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 20:50
   ภาพลักษณ์ของพระเจ้าเอกทัศดีมากในหนังสือคำให้การฯ บวกกับมีความเห็นว่า พงศาวดารและหลักฐานอื่นๆอาจไม่ค่อยยุติธรรมกับท่านนัก   เพราะมีการเมืองเข้ามาผสม ทำให้ระบายสีท่านร้ายแรงเกินจริงไป      แต่มันก็มีหลักฐานบางอย่างที่เถียงไม่ได้   ดังนี้
   1 ท่านเป็นลูกคนโต ที่พ่อมองข้ามไม่ยกตำแหน่งให้  แต่ไปเลือกลูกคนรองขึ้นมาเป็นมหาอุปราชแทน    
   เอาละ  เราจะไม่นับเรื่องที่พระเจ้าบรมโกศตรัสว่าเจ้าฟ้าเอกทัศเป็นคนโฉดเขลา   จนยกราชสมบัติให้ไม่ได้    ถือว่าคำนี้ถูกใส่สีใส่ไข่เข้ามา     แต่มันก็ไม่ได้ลบล้างความจริงว่า การที่พ่อไม่ยกให้ลูกชายคนโตแต่ไปยกให้ลูกชายคนรอง ชนิดแต่งตั้งดำรงตำแหน่งวังหน้าอย่างเปิดเผย   ไม่ใช่แค่สั่งเสียไว้ลอยๆ   เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระเจ้าบรมโกศต้องเห็นว่าเจ้าฟ้าเอกทัศด้อยความสามารถด้วยประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ
   ดังนั้น ต่อให้เจ้าฟ้าเอกทัศธรรมธัมโม เดินจงกรมเป็นประจำ      มีเมตตากรุณาต่อราษฎร และขุนนางโดยทั่วไป   ก็ยังไม่พอที่พระราชบืดาจะเห็นว่าเก่งพอจะปกครองบ้านเมืองอยู่ดี
   2  ท่านไม่ปรองดองกับพระเจ้าอุทุมพร  
    สมมุติว่ามีความคิดว่า คนรุ่นหลังสาดโคลนท่านต่างหากว่าขัดแย้งกับน้อง  แย่งราชสมบัติน้อง  จริงๆแล้ว ไม่มีอะไร    พระเจ้าอุทุมพรเบื่อหน่ายทางโลก อยากแสวงหาทางธรรมมากกว่าต่างหาก     พี่ชายก็เลยเสียสละครองราชย์แทน    
    แต่ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า  เมื่อเกิดศึกอลองพญาขึ้นมานั้น    พระเจ้าอุทุมพรยอมสึกออกมา   พระเจ้าเอกทัศก็มอบหมายให้บัญชาการทัพ
     คนที่มุ่งทางหลุดพ้นจะไปนิพพานแต่แรก  แม้แต่ราชสมบัติก็ไม่ไยดี    ไม่น่าจะยอมสึกออกมารบทัพจับศึก  เพราะไม่ใช่แค่อยู่อย่างผู้ครองเรือนธรรมดาทั่วไป แต่ต้องออกมารบราฆ่าฟันผลาญชีวิตคน    ศีลห้าก็ถือได้ไม่ครบด้วยซ้ำ   แต่พระเจ้าอุทุมพรก็สึกออกมา   แสดงว่าท่านเองก็ยินยอมจะกลับมาทางโลก     พอเสร็จศึก พระเจ้าเอกทัศได้ปูนบำเหน็จน้องชายอะไรบ้าง ก็ไม่มี     ตำแหน่งอะไรก็ไม่ได้  แม้เป็นวังหน้าอย่างเก่าก็ไม่ได้เป็น  พระเจ้าอุทุมพรก็ต้องกลับไปผนวชอีกครั้ง
    ที่สำคัญ คือผนวชครั้งนี้แล้วไม่ยอมสึกออกมาอีกเลย    ราษฎรไปขอร้องอ้อนวอนกี่ครั้งท่านก็ไม่ลาผนวช  จนบ้านเมืองแตกท่านก็ไม่สึก   ยอมที่จะให้พม่าอัญเชิญไปอยู่ในเมืองของเขาดีกว่าจะหนีไปตั้งหลักใหม่  แล้วค่อยกลับมากู้บ้านเมืองอย่างกรมหมื่นเทพพิพิธ
    พี่ชายที่ปฏิบัติกับน้องชายอย่างไม่มีน้ำใจ  และน้องชายที่ปฏิบัติต่อพี่ชายอย่างไม่อาลัยไยดี   จะเรียกว่ารักใคร่กลมเกลียวกันคงไม่ได้      
     เมื่อนำมาเป็นละคร สร้างให้พี่น้องรักกัน  จึงดูไม่ลงล็อคค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 10:33
ขอบคุณคุณหมอ SILA สำหรับค.ห. 485-6 ค่ะ

อยากจะถามคุณศรีสรรเพชญและท่านอื่นๆ ถึงชื่อ "ศรีอโยธยา"
เอาละ เราก็รู้กันว่ามีอาณาจักรโบราณเคยตั้งอยู่ในบริเวณเมืองหลวงอยุธยา  ชื่อ อโยธยาศรีรามเทพนคร อยู่ทางตะวันออกของเกาะอยุธยา   ก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นมา อาณาจักรใหม่นี้ใช้ชื่อคล้ายๆว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
ชื่ออยุธยาจึงกลายเป็นชื่อเรียกทางการของอาณาจักรนี้   ฝรั่งมังค่าเรียกตามนี้ เห็นได้จากแผนที่ของลาลูแบร์ เรียกอาณาจักรว่า  AYUTTHAYA

แม้ว่าชื่ออโยธยา หรืออโยทธา ยังไม่หายไปเสียทีเดียว พบได้ประปรายในหลักฐานบางชิ้น   แต่ก็น้อยนิด ส่วนใหญ่คือคำว่า อยุธยา    มีแต่พม่าที่ออกเสียง โอ  ไม่ใช่ อุหรืออู เรียกชาวอยุธยาว่า โยเดีย

ถ้าอย่างนั้น ทำไมละครจึงใช้ชื่อว่า ศรีอโยธยา   แทนที่จะเป็น ศรีอยุธยา


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 11:14
ถ้าอย่างนั้น ทำไมละครจึงใช้ชื่อว่า ศรีอโยธยา แทนที่จะเป็น ศรีอยุธยา

ส่วนเมืองสยามนั้น ชาวสยามเรียกว่า ศรีโยธยา (Si-yo-thi-ya) และในคำว่า โย นั้น ต้องจีบปากออกเสียงยิ่งกว่าสระ au ของเรา ลางทีพวกเขาก็เรียกเมืองสยามว่า กรุงเทพพระมหานคร (Crung-thé -paprà-maha-nacôn)

จากหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.พ. 18, 14:38
ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ของลาลูแบร์ มีบันทึกโน้ตและเนื้อร้องเพลงไทยเพลงหนึ่งซึ่งขึ้นต้นว่า "สายสมร" ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อเพลงนี้ในเวลาต่อมา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4186.0;attach=16432;image)

อาจจะด้วยคำอธิบายเรื่องชื่อเมืองของลาลูแบร์ เป็นเหตุผลที่เพลงนี้ได้ชื่อว่า "ศรีอโยธยา" อีกชื่อหนึ่ง

เพลงศรีอโยธยาหรือศรีอยุธยา  พระเจนดุริยางค์ได้นำทำนองมาจากเพลงเก่าซึ่งมีโน้ตเพลงปรากฏในหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกชื่อกันว่า  เพลงสายสมร  (Siamese  Song)  เป็นเพลงสยาม  บันทึกโดยเอกอัครราชทูตลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศส  ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานเอกสารเพลงเดียวที่มีมาแต่สมัยอยุธยาและเป็นเพลงสยามเพลงเดียวที่เหลืออยู่  ส่วนเพลงอื่น ๆ  สืบทอดกันโดยการต่อเพลง  จากคนหนึ่งไปอีกช่วงคนหนึ่ง  ไม่มีเอกสารใด ๆ

แม้ว่าเสียงเพลงจะแตกต่างกัน  เมื่อบันทึกไว้ด้วยโน้ตสากล  คนส่วนใหญ่จะอ่านเป็นทำนองสากล  เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากล  ถ้าหากว่าอ่านด้วยบันไดเสียงไทย  เล่นด้วยเครื่องดนตรีไทย  ก็จะได้สำเนียงที่แตกต่างไปจากเสียงสากล  ซึ่งเชื่อว่าเป็นทำนองเพลงเหย่ย  ซึ่งเป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายหญิง  ปัจจุบันนิยมเล่นแถบกาญจนบุรี

ก่อนหน้าพระเจนดุริยางค์จะนำทำนองศรีอยุธยามาเรียบเรียงใหม่  ครูฟุสโก  (M.Fusco)  ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน  สัญชาติอิตาเลี่ยน  เป็นหัวหน้าวงดนตรีของกองดุริยางค์กองทัพเรือ ได้เรียบเรียงเพลงนี้สำหรับเปียโนมาก่อนแล้ว  ชื่อว่าเพลงพระนารายณ์หรือสรรเสริญพระนารายณ์  (Pra Narai)  ปรากฏในหนังสือ “สยามอาณาจักรแห่งช้างเผือก”  ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.  ๑๘๙๙  ตรงกับปี พ.ศ.  ๒๔๔๒  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  ซึ่งได้เสด็จประพาสยุโรป  ได้ทรงใช้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ระลึกเผยแพร่ประเทศสยามในเวลาต่อมา

ชื่อเพลงสายสมร  เพลงสรรเสริญพระนารายณ์  เพลงศรีอยุธยา  หรือเพลงศรีอโยธยา  เพลงที่มีชื่อแตกต่างกัน  แต่เป็นเพลงที่มีทำนองเดียวกัน  ทำนองอาจจะผิดแผกไปบ้าง  ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครผู้ที่นำเอาทำนองเพลงไปเรียบเรียงอย่างไร  เพื่อวงดนตรีประเภทไหน  แต่โดยทำนองเนื้อหาแล้ว  เพลงเดียวกัน

เพลงประกอบภาพยนตร์ "พระเจ้าช้างเผือก" โดย พระเจนดุริยางค์


https://youtu.be/TJNo-Uv23nM

เพลงนี้ใช้ประกอบละครของหม่อมน้อย ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า "ศรีอโยธยา" อันอาจมาจากชื่อของเพลงนี้ก็เป็นได้  


https://youtu.be/Nj7AfVezvEU


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 18 ก.พ. 18, 18:55

อยากจะถามคุณศรีสรรเพชญและท่านอื่นๆ ถึงชื่อ "ศรีอโยธยา"
เอาละ เราก็รู้กันว่ามีอาณาจักรโบราณเคยตั้งอยู่ในบริเวณเมืองหลวงอยุธยา  ชื่อ อโยธยาศรีรามเทพนคร อยู่ทางตะวันออกของเกาะอยุธยา   ก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นมา อาณาจักรใหม่นี้ใช้ชื่อคล้ายๆว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
ชื่ออยุธยาจึงกลายเป็นชื่อเรียกทางการของอาณาจักรนี้   ฝรั่งมังค่าเรียกตามนี้ เห็นได้จากแผนที่ของลาลูแบร์ เรียกอาณาจักรว่า  AYUTTHAYA

แม้ว่าชื่ออโยธยา หรืออโยทธา ยังไม่หายไปเสียทีเดียว พบได้ประปรายในหลักฐานบางชิ้น   แต่ก็น้อยนิด ส่วนใหญ่คือคำว่า อยุธยา    มีแต่พม่าที่ออกเสียง โอ  ไม่ใช่ อุหรืออู เรียกชาวอยุธยาว่า โยเดีย

ถ้าอย่างนั้น ทำไมละครจึงใช้ชื่อว่า ศรีอโยธยา   แทนที่จะเป็น ศรีอยุธยา



อย่างที่อาจารย์เทาชมพูกล่าวมาครับ "ศรีอโยธยา" นั้นพบหลักฐานน้อยมาก ส่วนใหญ่พบเป็นศิลาจารึกในสมัยอยุทธยาตอนต้นหรือช่วงก่อนเสียงกรุง พ.ศ. ๒๑๑๒ เป็นหลัก แต่ในหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นเอกราชทางราชการเช่นสนธิสัญญา กฎหมาย พงศาวดาร ล้วนแต่สะกด "ศรีอยุทธยา" เป็นหลัก

แต่ก็น่าจะยังมีเรียก อโยธยา อยู่ประปรายบ้างเช่นวรรณกรรม อย่างที่พบในแผนที่ของสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ ซึ่งประเมินว่าทำขึ้นราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์ จะเรียกชื่อกรุงว่า "ศรีโยท่ญา" ใกล้เคียงกับที่ลาลูแบร์เรียกว่า Si-yo-thi-ya (น่าจะเป็น ศรีโยธิยา) ซึ่งในไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรีเปลี่ยนมาเรียกว่า "ศรีอยุทธยา" อย่างเอกสารอื่นๆ แต่ไม่ได้ปรากฏเรียกเป็นทางการครับ


ส่วนที่ภาพยนตร์ซีรีส์ชุดนี้เลือกใช้คำว่า "ศรีอโยธยา" ในขณะที่ตัวภาพยนตร์เองก็ใช้คำว่า "อยุธยา" เกือบตลอด ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษนอกจากให้ฟังดูแล้วอาจจะไพเราะกว่าหรือไม่ธรรมดาจนเกินไปครับ





กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 ก.พ. 18, 09:51
ขออนุญาตครับ
แผนที่นี้ ทิศเหนือคือด้านซ้ายมือใช่ไหมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 15:31
คืนนี้ ศรีอโยธยาจบภาคแรก      ได้ข่าวว่านำเสนอตอนความรักของเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาล   
ถ้าจริง  ก็ยังไม่ถึงตอนพระเจ้ามังระเตรียมทำศึกกับอยุธยา 
ชีวิตตัวละครเอกทุกตัวก็ยังค้างอยู่      พระยาตากสินยังอยู่ที่เมืองตาก   หลวงยกกระบัตรยังอยู่ที่ราชบุรี     รักสามเส้าของพิมาน เจ้าฟ้าสุทัศน์และบุษบาบรรณก็ยังคาราคาซัง      ทั้งหมดยังอยู่ในพาร์ทอดีต  ส่วนพาร์ทปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรขยับเขยื้อนไปจากสามสี่ตอนที่ผ่านมา


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 19:29
จะได้ดูภาคสองมั้ยครับคุณหญิง
ตอนสงครามเสียกรุงจะแต่งตัวงามๆ สวมมงกุฏก็คงจะดูแปลกๆ นะครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 19:42
ต้องรอดูกันค่ะ ว่าจะมีโอกาสได้ดูภาค 2 หรือไม่
ถ้ายังยึด Dramatic license จนจบเรื่อง   ก็ต้องนึกว่าพระเจ้าทรงธรรมยังสวมเครื่องทรง มีพระมหามงกุฎขณะตกปลาได้  พระเจ้าเอกทัศก็ึคงจะแต่งองค์เต็มยศตอนหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสียกรุงได้ ไม่แปลกค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: กงซุนต้าเหนียง ที่ 19 ก.พ. 18, 22:03
สรุปคือแบ่งภาคโดยอาศัยสงครามครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2

ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งภาค 1 ทั้งภาคก็ยังจับใจความไม่เป็นเรื่องเป็นราวอะไร

ป.ล. ถ้าทีมงานมาอ่านเจอ อยากจะบอกว่าดิฉันดูนะคะ ถึงบ่น  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 22:19
จบภาค 1 แบบค้างไว้ทุกประเด็น ??? ??? ???
ถ้าละครเรื่องนี้เป็นทางรถไฟ   การรถไฟฯสร้างรางให้แล่นขนานกันไปหลายสายมากค่ะ  แล้วยังไม่หยุดที่สถานีไหนสักสถานีเดียว  อย่าว่าแต่จะดูปลายทางเลยค่ะ

เจ้าฟ้าสังวาลกับเจ้าฟ้ากุ้งยังไม่ทันจะมีบทกันเลย  จบแล้ว?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 08:08
อวสาน  ???


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 16:58
https://www.youtube.com/watch?v=UAOIY87SxlA

https://www.youtube.com/watch?v=EoT5KgWy0v4

https://www.youtube.com/watch?v=akbOUuuptNE


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 17:00
https://www.youtube.com/watch?v=07rD82WchbY

https://www.youtube.com/watch?v=-vGoE9FXEjc

https://www.youtube.com/watch?v=kKHQ6CfGG0Y


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 18:56
ศรีอโยธยาตอนที่ 20   มีบทเจ้าฟ้าสังวาลย์   ในละครเรียกท่านว่า "หม่อมเจ้าสังวาลย์" หรือ" ท่านหญิงสังวาลย์" ตลอด     ก่อนที่ท่านจะได้เป็นหนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้าบรมโกศ
เลยสงสัยว่า เจ้าฟ้าสังวาลย์เป็นหม่อมเจ้ามาก่อนจริงหรือ  เพราะในพงศาวดารทุกฉบับที่มีเรื่องของท่าน เรียกตรงกันว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์

ได้คำตอบจาก facebook คุณ วิพากษ์ประวัติศาสตร์  ตามนี้ค่ะ

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1679656102097853

ศรีอโยธยาตอนสุดท้ายของซีซั่นแรกตัวละครใหม่คือ “เจ้าฟ้าสังวาลย์” ซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าทรงเป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ถูกลงอาญาจนสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๒๙๘ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าทรงลักลอบคบชู้กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งทรงเป็นพระมหาอุปราชอยู่ในเวลานั้น

มีข้อสังเกตุประการหนึ่งคือศรีอโยธยาระบุว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์เป็น “หม่อมเจ้าสังวาลย์” และมีการเรียกขานว่าว่า “ท่านหญิงสังวาลย์” หรือ “หญิงสังวาลย์” ซึ่งคำว่า “ท่านหญิง” เป็นสรรพนามของหม่อมเจ้า สอดคล้องกับข้อมูลของเพจทางการของศรีอโยธยาที่ระบุว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์นั้นมีฐานันดรศักดิ์เดิมเป็น “หม่อมเจ้าสังวาลย์” ก่อนจะได้เป็นมเหสีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และระบุว่า “เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมเหสีเอก จึงจะได้รับการอวยยศเป็นเจ้าฟ้า”

เรื่องนี้ไม่เคยปรากฏในหลักฐานชิ้นใดเลย และมีความขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างมากเพราะเจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงเป็นเจ้าฟ้าแต่กำเนิด ไม่ได้ทรงเป็นหม่อมเจ้ามาก่อนตามที่ศรีอโยธยานำเสนอแต่ประการใดครับ

.

แรกสุดต้องพิจารณาก่อนว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงเป็นใครมาจากไหน

พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้ให้ข้อมูลไว้ตรงกันว่า พระบิดาของเจ้าฟ้าสังวาลย์มีพระนามว่า “พระองค์เจ้าดำ” พระมารดาคือ “เจ้าฟ้าเทพ” ซึ่งเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เจ้าฟ้าสังวาลทรงมีพี่น้องร่วมพระบิดาและพระมารดาอีก ๒ องค์คือ เจ้าฟ้าจีด (หรือ เจ้าฟ้าจิตร) กรมขุนสุรินทรสงคราม และเจ้าฟ้านิ่ม

“ขณะนั้นจ้าวฟ้าจีดเปนบุตรพระองค์จ้าวดำ ซึ่งต้องสำเรจ์โทษครั้งจ้าวฟ้าอไภย จ้าวฟ้าปรเมศร พระมานดานั้นจ้าวฟ้าเทพเป็นราชธิดาสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงแผ่นดินทรงปลา เปนพี่จ้าวฟ้านิ่ม จ้าวฟ้าสังวาร ซึ่งเปนโทษครั้งกรมพระราชวังบวรนั้น”

พระองค์เจ้าดำ หรือ เจ้าพระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา) ที่ประสูติแต่พระสนม
แต่ข้อความในพงศาวดารตอนนี้ระบุว่าถูกสำเร็จโทษในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชกับพระโอรสของพระเจ้าท้ายสระคือเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศวร์ที่เกิดขึ้นหลังสมเด็จพระเจ้าท้ายสระสวรรคตน่าจะมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากปรากฏในพงศาวดารตอนอื่นว่าพระองค์เจ้าดำถูกสำเร็จโทษตั้งแต่ต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ส่วนในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ซึ่งเชื่อว่าชำระในสมัยอยุทธยาตอนปลายระบุว่าพระองค์เจ้าดำถูกสำเร็จโทษในต้นรัชกาลพระเจ้าเสือ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 18:58
     นอกจากนี้พงศาวดารยังระบุว่า พระองค์เจ้าดำทรงได้พระองค์เจ้าแก้ว พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นบาทบริจาริกา เมื่อพระองค์เจ้าดำทรงถูกสำเร็จโทษ พระองค์เจ้าแก้วซึ่งเสด็จออกผนวชเป็นพระรูปชีอยู่ที่พระตำหนักวัดดุสิต ร่วมกับกรมพระเทพามาตย์ซึ่งเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงของพระเจ้าเสือ ไม่ได้กล่าวว่าได้เจ้าฟ้าเทพเป็นพระชายาแต่อย่างใด
     เมื่อมาพิจารณาเนื้อหาในพงศาวดารช่วงที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศรบกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศวร์แล้ว พบว่ามีเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ถูกสำเร็จโทษคือ “พระองค์เจ้าแก้ว” หรือ “เจ้าพระองค์แก้ว” (คนละองค์กับพระชายาของพระองค์เจ้าดำที่กล่าวไว้ข้างต้น)

      พระองค์เจ้าแก้วเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาบุรุษที่ประสูติแต่พระสนม ซึ่งพงศาวดารระบุไว้ชัดเจนว่าเป็น “พี่เขย” ของเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศวร์ ที่ตามเสด็จเจ้าฟ้าทั้งสององค์หนีออกจากพระราชวังหลังจากที่ทรงรบแพ้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งยังทรงเป็นพระมหาอุปราช แต่ภายหลังทรงทิ้งเจ้าฟ้าทั้งสองแล้วเอาเครื่องยศมาถวายพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พร้อมทั้งกราบทูลเป็นอุบายต่างๆ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไม่ทรงไว้วางพระทัยจึงทรงหาเหตุสำเร็จโทษในข้อหากบฏ
.
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ระบุว่าถูกสำเร็จโทษในช่วงเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศวร์ และทรงเป็นพี่เขยของเจ้าฟ้าทั้งสององค์ (เจ้าฟ้าเทพทรงเป็นพระพี่นางของเจ้าฟ้าทั้งสอง) จึงเข้าใจได้ว่าผู้ที่เป็นพระบิดาของเจ้าฟ้าสังวาลย์ควรจะเป็นพระองค์เจ้าแก้วมากกว่า ส่วนที่พงศาวดารระบุว่าเป็นพระองค์เจ้าดำ เข้าใจว่าน่าจะชำระคลาดเคลื่อนหรือเกิดความสับสน เนื่องจากเป็นพระโอรสของสมเด็จพระมหาบุรุษเหมือนกัน

สรุปแล้ว เจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงมีพระบิดาเป็นพระองค์เจ้าราชโอรสของสมเด็จพระเพทราชา ในขณะที่พระมารดาทรงเป็นเจ้าฟ้าราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

เหตุที่ศรีอโยธยานำเสนอว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงเป็น “หม่อมเจ้าสังวาลย์” มาก่อน คงเป็นด้วยผู้สร้างจะเห็นว่าตามธรรมเนียมราชตระกูลของไทยแล้ว โอรสธิดาของพระองค์เจ้าชายต้องมีฐานันดรศักดิ์ต่ำลงมาจากชั้นบิดาเป็น “หม่อมเจ้า”


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 19:01
    เรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่องธรรมเนียมราชตระกูล เพราะตามศักดิ์แล้ว เจ้าฟ้าสังวาลย์และพี่น้องทรงเป็น “เจ้าฟ้า” แต่กำเนิด

    เอกสารความแทรก "คำให้การ"เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การขุนหลวงหาวัดได้กล่าวถึงเจ้าฟ้าสังวาลและพี่น้องของพระองค์ว่าทรงมีฐานะเป็นเจ้าฟ้าราชนัดดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทั้ง ๓ องค์

“อันพระราชนัดดาเป็นกุมารองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าฟ้าจิต อันเจ้ากรมชื่อกรมขุนสุรินทรสงคราม ถัดมาจึ่งเจ้าฟ้าสังวาลย์แล้วถัดมาจึ่งเจ้าฟ้านิ่ม พระนัดดาทั้งบุตรีเกณฑ์เจ้าฟ้าสามองค์ด้วยกัน”

เหตุที่พระบิดาเป็นเพียงพระองค์เจ้า แต่โอรสธิดากลับได้เป็นเจ้าฟ้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ลงวันพฤหัสบดีเดือนยี่ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก (พ.ศ. ๒๔๐๘) ว่า หากเจ้าฟ้าหญิงทรงมีพระโอรสธิดา ก็ย่อมได้เป็นเจ้าฟ้าตามอย่างพระมารดานั้น

“สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิง เมื่อได้พระสวามีเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ก็ดี เป็นกรมพระราชวังฯ ก็ดี เป็นเจ้าต่างกรมไม่มีกรมเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้าก็ดี ถ้ามีบุตรบุตรีบังเกิดก็เป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดา แต่ศักดินาต่ำเสมอพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าหลานเธอ ดังสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ มีศักดินาเสมอเพียงพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าลูกเธอ”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายในพระราชนิพนธ์ ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม ไว้ตรงกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

“เจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ ฤๅสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ดี มีพระสวามีเป็นพระเจ้าแผ่นดินฤๅเป็นเจ้าฟ้า ฤๅเป็นเจ้าต่างกรมพระองค์เจ้าอย่างใด ๆ ก็ดี เมื่อเจ้าฟ้าหญิงองค์นั้นมีพระโอรสพระธิดา ก็คงเป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดา แต่ศักดินาลดไปตามบรรดาศักดิเจ้าซึ่งเป็นพระบิดา ได้แต่ชื่อว่าเป็นเจ้าฟ้า เหมือนสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทั้งสองพระองค์ มีพระสวามีแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้ามีพระโอรสพระธิดา องค์ละหลายองค์ พระโอรสพระธิดานั้น ต้องนับเป็นเจ้าฟ้าทั้งสิ้นตามพระมารดา ครั้นภายหลังมาเจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเป็นพระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางพระองค์น้อยได้เป็นพระชายาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธออยู่ มีพระโอรสสามพระองค์เป็นเจ้าฟ้าทั้งสามพระองค์ เป็นตัวอย่างดังนี้”

เหตุที่ถือศักดิ์เจ้าฟ้าตามข้างพระมารดาเหนือกว่าบิดาคงเป็นตามพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ในราชตระกูลนั้นนับถือข้างฝ่ายมารดามาก” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคติความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่สังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ถือให้เพศหญิงเป็นใหญ่
.

เจ้าฟ้าประเภทนี้ถือว่าเป็น “เจ้าฟ้าชั้นตรี” เป็นเจ้าฟ้าหลานเธอของพระเจ้าแผ่นดิน อย่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีเจ้าฟ้าหลานเธอที่ประสูติจากพระพี่นางเธอเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ และเจ้าฟ้าหลานเธอที่ประสูติแต่เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) กับเจ้าฟ้าบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี)

อย่างไรก็ตาม เจ้าฟ้าประเภทนี้พบไม่มากนัก เนื่องจากตามธรรมเนียมแล้วเจ้าฟ้าหญิงควรจะมีพระสวามีที่ศักดิ์เสมอกันหรือสูงกว่า อย่างเช่นในกรณีของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรที่ทรงได้เจ้าฟ้าบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี) เป็นพระชายานั้นทรงศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าเสมอกัน จึงมีพระโอรสที่เป็นเจ้าฟ้าหลานหลวงทั้ง ๓ พระองค์ นอกจากนี้แทบไม่ปรากฏว่าเจ้าฟ้าหญิงจะทรงมีพระสวามี

“แต่ผู้อ่านต้องเข้าใจว่า เจ้าฟ้าหญิงซึ่งจะได้ไปเป็นเมียพระองค์เจ้าแลพระองค์เจ้าจะไปเป็นเมียหม่อมเจ้า ฤๅเป็นเมียขุนนาง ฤๅเจ้าต่างประเทศ แลเจ้าในราชตระกูล แต่มิใช่พี่น้องสนิทกันนั้น ธรรมเนียมห้ามมีไม่ได้ เพราะฉะนั้นเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า จะมีพระสวามี ต้องมีได้แต่ที่เป็นพี่น้องกันสนิท แลมียศเสมอกัน ฤๅที่ชายสูงกว่าหญิง เพราะเหตุนั้นเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า จึงเป็นธรรมเนียมไม่ได้มีพระสวามีแทบทั้งนั้น ถ้าจะมีก็เป็นแต่พระราชเทวีของพระเจ้าแผ่นดินบ้าง ซึ่งจะมีพระสวามีอื่นนอกจากพระเจ้าแผ่นดินนั้นน้อยนัก เพราะมักจะเป็นที่รังเกียจกันไป จึงไม่มีเจ้าฟ้าซึ่งสืบจากตระกูลพระมารดาดังเช่นว่ามาแล้ว ซึ่งจะชี้เป็นตัวอย่าง ให้เห็นได้ในปัจจุบันนี้ มีมากอยู่ก็แต่เมื่อแรกตั้งบรมราชวงศ์ เป็นเจ้าขึ้นใหม่ๆ เจ้าฟ้าโดยพระมารดาดังนี้ ก็นับว่าเป็นไบคอกเดสซี (By courtesy)”
.

กรณีของเจ้าฟ้าเทพซึ่งได้พระสวามีเป็นพระองค์เจ้าซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ต่ำกว่าจึงเป็นกรณีที่พิเศษ ซึ่งพบได้ยาก อย่างไรก็ตามเมื่ออภิเษกกันแล้วก็ทำให้เจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงได้เป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดาได้แม้ว่าพระบิดาเป็นเพียงพระองค์เจ้า ดังที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

"พระบุตร พระบุตรี ของเจ้าฟ้าก็ดี เจ้าต่างกรมก็ดี พระองค์เจ้าก็ดี ถ้ามารดาเป็นพระองค์เจ้า ลูกก็เป็นพระองค์เจ้า ดังเช่นเจ้าฟ้าหญิงมีลูกต้องเป็นเจ้าฟ้าเสมอมารดาฉะนั้น”

เจ้าฟ้าสังวาลย์จึงมีศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าโดยกำเนิด เมื่อได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้วก็คงทรงเป็นเจ้าฟ้าตามเดิม

“แต่ท่าน (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)ได้ถือว่าพระเกียรติยศท่านเหมือนพระเจ้าแผ่นดินที่ปราบข้าศึกศัตรูชนะได้แผ่นดิน จึงได้ตั้งหม่อมห้ามเดิมของท่าน ๒ คนซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของท่านห่าง ๆ ขึ้น เป็นกรมหลวงอภัยนุชิตองค์หนึ่ง กรมหลวงพิพิธมนตรีองค์หนึ่ง องค์แรกว่าเป็นพระอัครมเหสี องค์หลังว่าเป็นพระราชมเหสี เจ้าฟ้าสังวาลย์ น้องท่านอีกองค์หนึ่งก็คงเป็นเจ้าฟ้าตามเดิม แต่ว่าเป็นมเหสี มีพระราชโอรสธิดาถึง ๑๙-๒๐ องค์ด้วยกัน เป็นเจ้าฟ้าเหมือนกันทั้งสิ้น”

ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง “อธิบายว่าด้วยยศเจ้านาย” ก็ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าฟ้าสังวาลย์และพี่น้องทรงเป็นเจ้าฟ้าหลานเธอของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 19:03
“เจ้าฟ้ายังมีอีกชั้นหนึ่งซึ่งเป็นพระราชนัดดา คือ ถ้าพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า พระโอรสธิดาก็เป็นเจ้าฟ้าตามอย่างพระมารดา เจ้าฟ้าชั้นนี้ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพงศาวดารครั้งแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ คือเจ้าฟ้าหญิงสังวาลย์และเจ้าฟ้าชายจีด พระบิดาทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าแก้ว ลูกเธอในสมเด็จพระเพทราชา เจ้าฟ้าเทพราชธิดาของพระเจ้าท้ายสระเป็นพระมารดา ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เป็นเจ้าฟ้าราชนัดดามาแต่เสด็จสมภพในรัชกาลที่ ๑ เพราะสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ พระบรมราชชนนีเป็นเจ้าฟ้า”

.

“เจ้าฟ้าชั้นตรี” ถือเป็นเจ้านายชั้นพระอนุวงศ์ ไม่ใช่พระบรมวงศ์ (คือเจ้าฟ้าชั้นสูงและพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง) แต่เป็นพระอนุวงศ์ชั้นสูงสุด มีศักดิ์เสมอด้วยพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามธรรมเนียมต้องตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง หากได้ทรงกรมก็มีศักดิ์เสมอพระองค์เจ้าต่างกรม ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า

“เจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนหนึ่งเจ้าฟ้าหลานเธอนับเป็นชั้นต่ำ ด้วยถึงเป็นกรมแล้ว ก็มียศอยู่เพียงเสมอพระองค์เจ้าต่างกรม แต่ความนิยมนับถือของคนทั้งปวงนั้นเป็นตามกาลตามเวลาตามผู้ชิดผู้ห่าง แลพระมารดาบริสุทธิ์น้อยในราชตระกูล จึงปรากฏเป็นเจ้าฟ้าสืบมา ไม่ได้ขาดระหว่างเลยจนถึงบัดนี้”

.

จึงควรสรุปได้ว่า เจ้าฟ้าสังวาลย์ รวมถึงพี่น้องคือเจ้าฟ้าจีดและเจ้าฟ้านิ่ม ทรงเป็นเจ้าฟ้าหลานเธอของทั้งพระเจ้าท้ายสระและพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แม้ว่าจะทรงมีพระบิดาเป็นพระองค์เจ้าก็ทรงเป็นเจ้าฟ้าโดยกำเนิดจากข้างพระราชมารดาเป็นเกณฑ์ แต่เป็นเพียงพระอนุวงศ์ มีศักดิ์เสมอพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงเท่านั้น

.

ส่วนที่ผู้สร้างศรีอโยธยานำเสนอในแนวทางว่าสามารถยกหม่อมเจ้าขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเมื่อได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน ก็ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์เลยว่ามีธรรมเนียมดังกล่าว

แม้ว่าจะมีการสถาปนาพระภรรยาเจ้าถึงชั้นพระอัครมเหสีก็ไม่ได้แปลว่าพระอัครมเหสีองค์นั้นจะได้เป็นเจ้าฟ้า เพราะตามธรรมเนียมราชตระกูลโบราณเจ้าฟ้ามีเพียง ๗ ประเภทเท่านั้นคือ

๑. เมื่อแรกตั้งพระราชวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินสามารถตั้งพี่เธอน้องเธอร่วมชนกชนนี พระราชโอรส พระราชธิดา ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าได้

เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงยกสมเด็จพระพี่นางเธอ ๒ พระองค์ แลพระเจ้าลูกเธอซึ่งเป็นพระโอรสพระธิดาสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เป็นเจ้าฟ้าทั้ง ๔ พระองค์ จะมีที่พิเศษคือสถาปนาเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาเป็นเจ้าฟ้าด้วย
.

๒. พระราชโอรส พระราชธิดา ที่ประสูติด้วยลูกหลวงหรือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน

เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นพระราชบิดา ถือเป็นเจ้าฟ้าตามสิทธิ์ (By Right)
.

๓. พระราชโอรส พระราชธิดา ที่ประสูติด้วยหลานหลวงหรือพระราชนัดดาของพระเจ้าแผ่นดิน

เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระโอรสของพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นเจ้าฟ้าตามสิทธิ (By right)
.

๔. พระราชโอรส พระราชธิดา ที่ประสูติด้วยธิดาเจ้าประเทศราช

เช่น เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี แต่เดิมเป็นพระองค์เจ้าราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์กับพระธิดาเจ้าเวียงจันทน์ ก็โปรดให้ยกขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ถือเป็นเจ้าฟ้าตามสิทธิ (By right) แต่ก็ไม่เป็นที่เคารพนับถือเท่ากับเจ้าฟ้าที่พระราชมารดาเป็นพระบรมราชวงศ์เดียวกับพระเจ้าแผ่นดิน
.

๕. เจ้าซึ่งมีพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า สามารถเป็นเจ้าฟ้าหลานเธอได้ตามพระมารดา

เช่น เจ้าฟ้าจีด เจ้าฟ้าสังวาลย์ เจ้าฟ้านิ่ม ถือเป็นเจ้าฟ้าได้ตามธรรมเนียม (By courtesy)
.

๖. โอรสธิดาของวังหน้าซึ่งมีพระมารดาเป็นเจ้า พระเจ้าแผ่นดินสามารถตั้งเป็นเจ้าฟ้าได้

ทั้งนี้เพราะตามธรรมเนียมแล้วโอรสธิดาของวังหน้าเป็นได้แค่พระองค์เจ้า นอกจากมารดาเป็นเจ้าฟ้าจึงได้เป็นเจ้าฟ้าตามข้อ ๕ แต่มีพระองค์เจ้าบางองค์ที่เชื้อวงศ์ข้างพระมารดาอยู่พอจะยกย่องให้เป็นเจ้าฟ้า ก็โปรดยกขึ้นให้เป็นเจ้าฟ้าพอเป็นเกียรติยศ ปรากฏในประวัติศาสตร์เพียง ๒ องค์คือ เจ้าฟ้าพิกุลทอง พระธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงมีพระมารดาเป็นน้องสาวของพระเจ้ากาวิละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าฟ้าอิศรพงศ์ พระโอรสของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ พระมารดาคือพระองค์เจ้าดาราวดี พระธิดากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เดิมก็เป็นพระองค์เจ้า แต่ทรงทำราชการมาอย่างเรียบร้อยมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงได้เลื่อนเป็นเจ้าฟ้า ถือเป็นเจ้าฟ้าด้วยการแต่งตั้ง (Promotion)
.

๗. เจ้าที่เป็นพระราชบุตรพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ถ้ามารดาเป็นบุตรเสนาบดีมีความชอบ ถ้าแรกตั้งพระวงศ์พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้เป็น ก็เป็นเจ้าฟ้าได้

เช่น เจ้าฟ้าสุพันธุวงษ์ หรือ เจ้าฟ้าเหม็น พระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมารดาคือพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เมื่อยังทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงเป็นเจ้าฟ้าแต่กำเนิด (เข้าใจว่าเพราะยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ มีศักดิ์เสมอเจ้าต่างกรม) เป็นเจ้าฟ้าวิเศษไม่ใช่เจ้าฟ้าตามสิทธิ (By right).

จะเห็นได้ว่าไม่มีธรรมเนียมยกหม่อมเจ้าเป็นเจ้าฟ้าเมื่อทรงยกขึ้นเป็นมเหสีเลย เต็มที่ก็พบว่าสามารถยกหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้าเท่านั้น ดังที่ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงรับพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าโสมนัส (สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี) และ หม่อมเจ้ารำเพย (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) มาเป็นพระราชเทวี ก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกย่องขึ้นเป็นพระองค์เจ้าทั้งสององค์ เพื่อที่จะให้สมพระเกียรติยศเจ้าฟ้าพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะหากถือธรรมเนียมอย่างโบราณ พระมารดาเป็นเพียงหม่อมเจ้าไม่สมควรที่จะมีโอรสธิดาเป็นเจ้าฟ้า (ต่างจากสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมาที่ไม่นิยมอภิเษกกันเองในหมู่เครือญาติใกล้ชิดแล้ว แม้เป็นพระอนุวงศ์หรือชั้นสามัญชนอย่างหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ก็สามารถยกย่องเป็นพระภรรยาเจ้าเพื่อให้มีพระโอรสธิดาเป็นเจ้าฟ้าได้)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 19:04
นอกจากนี้หากเจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงเคยเป็นหม่อมเจ้าแล้วได้เป็นเจ้าฟ้าเพราะได้เป็นมเหสีจริง แล้วเหตุใดเจ้าฟ้าจีดที่ไม่ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงเป็นเจ้าฟ้าด้วย เรื่องนี้จึงไม่มีความสมเหตุสมผลแต่ประการใด กลับกลายเป็นการลดทอนฐานันดรศักดิ์ของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ลงมา และยังสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้แก่ผู้ชมทั่วไปที่ไม่ทราบธรรมเนียมราชตระกูลด้วย

ซึ่งหากผู้สร้างยอมสละเวลาศึกษาสักเล็กน้อยมากจะใช้ความเข้าใจของตนเอง เช่นเดียวกับเรื่องเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และธรรมเนียมราชสำนักอื่นๆ ที่ศรีอโยธยาได้นำเสนอมาแล้ว ก็น่าจะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชมมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ

-----------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง
- จุลจอมเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ปกิณกะพระนิพนธ์ เล่ม 2: พระราชประวัติกษัตริย์ไทย
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง.-- กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ผูก ๑๗ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) มัดที่ ๑
- พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม จากฐานข้อมูลดิจิตอลของ British Libary (bl.uk/manuscripts)
- พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน
- พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเปนส่วนพระกุศลทานมัย ในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๓) กรมหลวงวรเสฐสุดา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัญญา สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกย์ลักษณวดี


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 19:27
ภาพข้างล่างนี้คือคำอธิบายของเพจ  SriAyodhaya Official ซึ่งเป็นของผู้จัดทำละครเรื่องนี้   คำอธิบายความหมายของเจ้าฟ้าชั้นเอกและเจ้าฟ้าชั้นโทในเรื่องนี้ เป็นความเข้าใจผิดของผู้อธิบาย 
คุณวิพากษ์ประวัติศาสตร์ได้ชี้แจงไว้ข้างล่างนี้ค่ะ

  และนี่คือคำอธิบายของเพจ official ซึ่งเห็นได้ว่าเอาฐานันดรหม่อมเจ้า พระองค์ และเจ้าฟ้า มาปะปนกันจนผิดเพี้ยนไปหมด และยังกล่าวอ้างว่ามีการแยกนับฐานันดรเป็นฝั่งพระบิดาและพระมารดาด้วย ซึ่งไม่มีธรรมเนียมดังกล่าวแต่อย่างใดครับ

   ส่วนตัว  ดิฉันคิดว่าผู้เขียนบทคงจะตั้งใจให้เกิดความถูกต้องในยศของเจ้าฟ้าสังวาลย์   จึงไปค้นพระประวัติ  เมื่อค้นพบว่าพระบิดาของท่านเป็นพระองค์เจ้า ก็เอาความเข้าใจในยุคปัจจุบันมาปรับใช้ว่า ลูกต้องเป็นหม่อมเจ้า   ถ้าอย่างนั้นทำไมพงศาวดารจึงเรียกท่านว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์  ก็เข้าใจต่อไปว่าคงเลื่อนขึ้นทีหลัง คือได้เป็นพระมเหสี
   ที่จริงถ้าไม่คิดมาก   พงศาวดารระบุพระยศว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์ก็ดำเนินเรื่องไปตามนั้น  เพราะในเนื้อหาก็ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดถึงต้องมีฉากพระบิดาพระมารดาของท่าน   เป็นเพียงเนื้อเรื่องสั้นๆแทรกอยู่ในละคร   ถ้าทำตามนี้ อาจไม่ผิดพลาดก็ได้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 20:16
  ในเมื่อเจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงเป็นเจ้าฟ้าโดยกำเนิด   จะไม่เรียกสามัญชนอย่างนางข้าหลวงราตรีว่า "พี่"   ถ้านอนห้องเดียวกันก็ไม่ได้นอนอย่างเพื่อนร่วมห้อง แบบพลอยกับช้อย  แต่จะต้องนอนอย่างเจ้านายกับนางข้าหลวงรับใช้
  ต่อให้เจ้าฟ้าสังวาลเป็นหม่อมเจ้า  ฐานะของท่านกับราตรีก็ยังแตกต่างกันอยู่ดี
  บทสนทนาระหว่างราตรีกับเจ้าฟ้าสังวาล ที่ราตรีคอยเตือนคอยห้ามเหมือนบุคคลเสมอกัน  จึงเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด

  อีกข้อหนึ่งที่เห็นจะต้องขอคุณศรีสรรเพชญ์ไขข้อข้องใจให้  คือระหว่างเจ้าสามกรมกับเจ้าฟ้าสังวาล   ฝ่ายชายเป็นพระองค์เจ้าแต่เป็นพระโอรสพระเจ้าแผ่นดิน  แม่เป็นเจ้าจอมสามัญชน ส่วนฝ่ายหญิงเป็นเจ้าฟ้าแต่เป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าหญิงพระธิดาพระเจ้าแผ่นดิน  พระบิดาเป็นพระองค์เจ้าแต่ก็เป็นพระโอรสพระเจ้าแผ่นดิน    ฝ่ายไหนสูงกว่ากัน
  เพราะฉากที่เจ้าสามกรมพบเจ้าฟ้าสังวาล  ดูแทะโลมจนน่าเกลียดมากค่ะ 


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 20 ก.พ. 18, 21:55

  อีกข้อหนึ่งที่เห็นจะต้องขอคุณศรีสรรเพชญ์ไขข้อข้องใจให้  คือระหว่างเจ้าสามกรมกับเจ้าฟ้าสังวาล   ฝ่ายชายเป็นพระองค์เจ้าแต่เป็นพระโอรสพระเจ้าแผ่นดิน  แม่เป็นเจ้าจอมสามัญชน ส่วนฝ่ายหญิงเป็นเจ้าฟ้าแต่เป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าหญิงพระธิดาพระเจ้าแผ่นดิน  พระบิดาเป็นพระองค์เจ้าแต่ก็เป็นพระโอรสพระเจ้าแผ่นดิน    ฝ่ายไหนสูงกว่ากัน
  เพราะฉากที่เจ้าสามกรมพบเจ้าฟ้าสังวาล  ดูแทะโลมจนน่าเกลียดมากค่ะ 

ของคุณ อ.เทาชมพู ที่นำบทความจากเพจมาลงให้นะครับ


สำหรับเรื่องที่ถามมา จากพระบรมราชาธิบายของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และ ๕ จะได้ข้อสรุปว่า เจ้าฟ้าหลานหลวงมีศักดิ์เสมอพระองค์เจ้าลูกหลวงครับ  แต่ธรรมเนียมที่ต้องเดินเป็นลำดับกันตามยศ เจ้าฟ้าหลานหลวงเดินตามหลังพระองค์เจ้าลูกหลวงครับ

ถ้าในกรณีที่เจ้าฟ้าสังวาลย์ยังไม่เป็นมเหสีนั้นถือว่ามีศักดิ์เสมอกัน แต่ในกรณีนี้เจ้าสามกรมนั้นเป็นเจ้าต่างกรม เจ้าฟ้าสังวาลย์ไม่ได้ทรงกรม ไม่แน่ใจว่าจะมีวัตรปฏิบัติในการทำความเคารพที่ผิดแผกไปจากปกติหรือไม่ แต่สันนิษฐานว่าแตกต่างกันเฉพาะศักดินาเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นต่างฝ่ายต่างก็น่าจะทรงเสมอกันทั้งสองฝ่าย

ถ้าเทียบเจ้าสามกรมกับเจ้ากรมขุนสุรินทรสงครามซึ่งเป็นพระเชษฐาเจ้าฟ้าสังวาลย์ ถือว่าศักดิ์เสมอกันแน่นอน เพราะเจ้าฟ้าหลานหลวงที่ทรงกรมมีศักดิ์เสมอพระองค์เจ้าต่างกรม


อย่างไรก็ตามแม้ศักดิ์อาจเสมอกัน แต่เรื่องความนับถืออาจต่างกันได้ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า

"เจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนหนึ่งเจ้าฟ้าหลานเธอนับเป็นชั้นต่ำ ด้วยถึงเป็นกรมแล้ว ก็มียศอยู่เพียงเสมอพระองค์เจ้าต่างกรม แต่ความนิยมนับถือของคนทั้งปวงนั้นเป็นตามกาลตามเวลาตามผู้ชิดผู้ห่าง แลพระมารดาบริสุทธิ์น้อยในราช​ตระกูล จึงปรากฏเป็นเจ้าฟ้าสืบมา"



แต่เมื่อเจ้าฟ้าสังวาลย์ได้เลื่อนเป็นที่พระมเหสีฝ่ายซ้ายแล้ว ย่อมมีศักดิ์สูงกว่าเดิม และควรจะสูงกว่าเจ้าสามกรมครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 21 ก.พ. 18, 10:03
การสำเร็จโทษคือ... ::)

(https://scontent.fbkk1-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/28277040_1734213219932484_3453052996255739341_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-4&_nc_eui2=v1%3AAeHqF31lPDrYirKNEnbWx_lxwl2ituA2HrJZI4DHUCdRvlhS6c9OtzrWBs2y0FKmWa2i9WhOcmv7leEfOQ1nfO-6ezrDW73BPW9Tp5q0CbKwiA&oh=9db4a2749bab0a49c33ec3e51db59f2f&oe=5B16CACD)

ทำให้โทษสำเร็จไปได้ งั้นคงจะไม่ผิดถ้าการจับไปขังคุกเรียกว่าสำเร็จโทษ เพราะมีโทษแค่จำคุกแล้วการนำไปขังคือการทำโทษให้สำเร็จครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 10:43
ขอบคุณคุณศรีสรรเพชญสำหรับคำอธิบายเรื่องศักดิ์ของเจ้าสามกรมและเจ้าฟ้าสังวาลย์ค่ะ   
ถ้าถือว่าเสมอกัน (ก่อนเจ้าฟ้าสังวาลย์ได้เป็นพระมเหสีพระเจ้าบรมโกศ) เจ้าสามกรมก็ต้องให้เกียรติเจ้าฟ้าสังวาลย์มากกว่านี้  หากมีโอกาสเจอกัน

ขอบคุณคุณคทาธรเรื่องสำเร็จโทษที่ quote มา    ตั้งใจจะนำมาลงเพื่ออธิบายอยู่แล้วพอดีเลยค่ะ

ถ้าคุณคนที่ตอบในนาม  Ayodhaya  Official  เปิดกูเกิ้ลขึ้นมา พิมพ์คำว่า "สำเร็จโทษ" ลงไป ง่ายๆแบบนี้เอง  ก็จะได้คำตอบมาอย่างถูกต้อง ว่ามันหมายถึงการประหารชีวิต เป็นศัพท์ใช้สำหรับเจ้านาย   สามัญชนไม่มีสิทธิ์ใช้  ถ้าถูกตัดสินให้ตายก็เรียกว่าถูกประหารชีวิต    จะด้วยวิธีไหนก็ตามแต่
สำเร็จโทษไม่ใช่วิธีการต้องโทษ  อย่างที่คุณเดาเอาจากศัพท์คำว่าสำเร็จ

ถ้างั้นใครสมัยอยุธยาต้องโทษถูกปรับ 5 บาท  จ่ายสตางค์ชดใช้ไปแล้วก็ถือว่าถูกสำเร็จโทษแล้วซีคะ
โทษขังคุก จำเลยถูกจับเข้าคุกไปเรียบร้อยก็ถือว่าสำเร็จโทษ อย่างที่คุณคทาธรยกมา
กลายเป็นว่าไม่ว่าโทษอะไรตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่สุด  หมายถึงสำเร็จโทษได้หมด ถ้าได้รับโทษตามตัวบทกฎหมายนั้นแล้ว
เพจนี้ใช้คำว่า Official เสียด้วย หมายความว่าให้คำตอบโดยรับรองว่ามาจากผู้สร้างละครและทีมงาน     น่าจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์เสียก่อน ถ้าไม่แน่ใจคำตอบ   


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 10:51
รอยอินท่านว่า

สำเร็จโทษ  (โบ; ราชา) ก. ลงโทษเจ้านายให้สิ้นชีวิต.


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 22 ก.พ. 18, 13:10
ตามอ่านตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย
ดูละครตั้งแต่ตอนแรกถึงตอนสุดท้าย

ความคิดก็คล้ายๆกัน
สร้างเพื่อเชิดชูพระเกียรติ
แต่ผลทีออกมาได้เชิดชูจริงหรือไม่

วัฒนธรรมประเพณีทั้งในราชสำนัก หรือพื้นบ้าน
ต่างผิดเพี้ยน
หลายข้อก็รับรู้เองอยู่แล้ว
หลายเรื่องก็ได้รู้เพิ่มจากกระทู้นี้
ค่อยๆอ่าน ค่อยๆลำดับความคิดเรื่องราว ค่อยๆย่อย

สุดท้ายก็เป็นละครที่สร้างตามจิตนการผู้สร้างเอง
ใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้สักอย่าง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 23 ก.พ. 18, 15:03
ทั้งเรื่องดิฉันรอดูคนนี้คนเดียวเลยค่ะ คุณนุ่นในบทเจ้าฟ้าสังวาลย์ โอ๊ย เธอสวยจับจิตจับใจทีเดียว สวยหวานเหมือนหลุดออกมาจากภาพวาด ต้องขอบคุณอ.เทาชมพูที่กรุณาอธิบายยศเจ้าฟ้าสังวาลย์ให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ  :) :)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 08 มี.ค. 18, 19:58
จากเพจ SriAyodhaya Officialครับ
 หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ได้อธิบายความแตกต่างระหว่าง ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ กับละครวิทยุ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ไว้ได้อย่างน่าสนใจ...

(https://scontent.fbkk2-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/28795787_284488608753146_9194473821850042368_n.jpg?_nc_eui2=v1%3AAeFfgnsKK20dcgGYv1MkX1dKSf02cfxOeF0qMiVtwHNMbMUgY9RroHjr1Wi9laPqOdhg3VJd3evH2A71nvdUWjrWlFkjm8aHuajhf8Sk3yuOng&oh=e7d90881830a3f44f99d64f3e03af738&oe=5B02FAC4)

ช่วงนี้กระแส บุพเพสันนิวาสกำลังมาแรง ขอเกทับบ้างอะไรบ้างครับ...


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 20:28
จำได้แต่ว่ามีฉากหนึ่งที่พระพันวัสสาสินจัยมาที่บ้านพ่อของบุษบาแพนเค้ก    พอแพนเค้กออกมาในฉาก ก็มีการเอ่ยชมโฉมแพนเค้กว่างดงามยังงั้นยังงี้ 
นอกจากฉากนี้ยังมีฉากก่อนหน้านี้ ที่ตัวละครอื่นเอ่ยชมเชยโฉมบุษบาบรรณ์ต่อเนื่องกันหลายประโยค 
ตอนนั้นรู้สึกว่า เออ แปลก สคริปต์เหมือนละครวิทยุ ที่ต้องอาศัยบทสนทนามาเล่าแทนบทบรรยาย ค่ะ 
ความจำเป็นของละครวิทยุคือมีแต่เสียง ไม่สามารถจะแสดงหน้าตาพระเอกนางเอกออกมาให้คนฟังเห็นได้  ก็ต้องขอยืมปากตัวอื่นๆพูดให้คนฟังรู้   แต่นี่เป็นละครทีวี(หรือจะเรียกภาพยนตร์ก็ตาม) แพนเค้กก็นั่งสวยงามอยู่หน้ากล้องให้คนดูเห็นเต็มตาอยู่แล้ว   ตัวละครอื่นๆจะต้องมากล่าวย้ำแล้วย้ำอีกทำไมว่าบุษบาบรรณ์ ช่างสวยจริง ช่างงดงาม  ยิ่งเห็นยิ่งงาม โตเป็นสาวแล้วงามมากกว่าหญิงอื่น ฯลฯ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 18, 10:05
             เข้าใจ  ที่ฝ่ายศรีอโยธยา บอกว่า ใช้ภาพสื่อความหมายโดยไม่ต้องมีบทพูดหรือคำบรรยาย
และ เห็นชอบด้วยว่า สวยงาม,เป็นไปได้ถ้าได้ทีมงานที่มีความสามารถในการถ่ายทอดด้วยภาพไร้เสียง
ใน หนังต่างชาติ หลายเรื่องก็ทำออกมาเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างเดิมคือเรื่อง Christmas in August มีหลายฉากที่ภาพพูดแทนคำตลอดเรื่อง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 18, 10:07
           แต่ สำหรับบ้านเรา,สื่อทีวีที่คนดูไม่โดนจำกัดให้นั่งอยู่กับที่ หรือ มีภาพใหญ่ลอยแช่อยู่ตรงหน้า
แบบหนังโรง การทำเช่นนั้นก่อปัญหาตามมา นั่นคือ ทำให้คนดูรู้สึกห่างเหินจากละคร หรืออาจพลาดไป
จากสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ เพราะคนดูอาจแว่บไปตอบไลน์,ไปดื่มน้ำพอกลับมาก็ไม่เก็ทสารที่ต้องการสื่อ
จึงต้องพูดไว้ให้ได้ยินแม้ไม่ได้เห็น
           ดังนั้นละครไทยจึงต้องมีบทพูดๆๆ ถ้าตัวเอกไม่พูดหรือพูดน้อยก็จะมีคนรับใช้,คนรถมานั่งเมาธ์
บรรยายขยายความให้ในห้องครัว

แต่ ละครไทยที่ใช้ภาพสื่อโดยปราศจากคำพูดก็พอมีที่จำได้คือเรื่อง รากนครา หนึ่งในหลายฉากแบบนี้
เป็น ฉากที่นางเอกเขียนจดหมายโดยใช้ปากกาแบบฝรั่ง ฉากนี้สวยงามและไร้คำพูด

ขณะเดียวกัน, เรทติ้งก็ทำให้ช่องแทบพูดไม่ออก(ด้วยความผิดหวัง)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นิ่มนวล ที่ 31 มี.ค. 18, 11:16
 ;D ;D ;D ;D ;D

ตามมาดูจากละครเรื่องอื่น ที่ผู้เขียนบทยืนยันว่าเขาเคารพบทประพันธ์ดี แต่ดิฉันว่ายังไม่ค่อยจะเคารพดังปากว่านัก อยากทราบว่าละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องที่ออกอากาศใกล้ๆกันเป็นอย่างไรบ้าง ก็ดันดูไม่จบ

ดิฉันคิดเอาเองว่า เรื่องราวที่ดี ย่อมมีคติบางอย่างที่สะท้อนความเป็นคนของตัวละครที่ผู้ดูจะรู้สึกได้ ไม่ว่าจะเป็นความอดทน มัธยัสถ์ การใช้สติของตัวละครฝ่ายดี การสละประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อความสุขแบบชั่ววูบของตัวละครร้ายๆ หรือการเสียสละทำเพื่อผู้อื่นก็มี บางเรื่องก็เป็นการปล่อยวางอดีตแต่หนหลังตัดใจดำเนินชีวิตต่อไป อยู่กับปัจจุบันขณะ หากไม่มีคติบางอย่างที่สอนคนดูก็ไม่มีอะไรที่สมควรจะดูเพราะไม่รู้จะดูทำไมหรือดูอะไร

ตามอ่านมานาน ได้ประโยชน์เรื่องความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมดีมากค่ะ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้สละเวลาหาข้อมูล ลำดับความมาให้อ่าน มีประโยชน์และได้อรรถรสจังเลยค่ะ ดีใจจัง


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 09 เม.ย. 18, 15:03
พุธที่จะถึงนี้ บุพเพสันนิวาส จะอวสานแล้ว ผมว่า ทุกท่านคงทราบอยู่แล้วว่า ตามประวัติศาสตร์เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จะต้องถูกจับกุมตัวและถูกประหารในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็คงจะเกิดขึ้นในตอนที่จะถึงนี้

และผู้ที่ไปจับกุมตัววิชาเยนทร์นั้น ก็จะต้องเป็นบรรพบุรุษ ต้นตระกูลของแม่บุษบาบรรณ ตามที่เธอได้เล่าให้คุณพระพิมานฯ ฟังนั่นเอง 

 ;D ;D ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 เม.ย. 18, 17:44
ไม่ได้ตามอ่านนิยาย เลยไม่รู้ว่าพี่ขุนของการะเกดเป็นหนึ่งในผู้จับกุมเจ้าพระยาวิชเยนทร์ด้วยหรือเปล่า
แม่บุษบาบรรณคงจะข้ามมาเล่าให้แม่การะเกดฟังไม่ได้อยู่ดีละค่ะ    น่าเสียดาย เลยอดรู้


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นิ่มนวล ที่ 11 เม.ย. 18, 20:07
ในนิยายไม่ได้กล่าวถึงบทบาทช่วงชุลมุนผลัดแผ่นดินของพระเอกบุพเพฯนะคะ บอกแค่ไมนด์เซ็ตว่าพระเอกคิดว่าขุนนางมีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ และเอาตัวให้รอดในสังคมศักดินา นางเอกยังทักเลยว่าคิดแบบนี้ บ่าวไพร่ยังดูมีความสุขกว่า

จะมีช่วงนึงที่ละครตัดออก นางเอกพูดในที่ชุมนุมของลูกศิษย์อาจารย์เดียวกัน ถึงทศพิธราชธรรม พระเอกก็ตามมาจับผิด ท้าวความว่านางเอกรู้ได้ไงว่าในนั้นจะมีพระมหากษัตริย์ในอนาคตข้างหน้า


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 18, 20:35
ในนิยายไม่ได้กล่าวถึงบทบาทช่วงชุลมุนผลัดแผ่นดินของพระเอกบุพเพฯนะคะ

พี่ขุน (หรือที่คุณรอมแพงอวยยศให้เป็น "พระศรีวิสารสุนทร") อยู่ในทีมจับฟอลคอนด้วยแล  ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: นิ่มนวล ที่ 11 เม.ย. 18, 23:52
ขาดตัวละครสำคัญมากๆไปคน" ขุนวรวงศาธิราชสนิทหรือขุนทอง " อยากดูคนนี้ค่ะ อันไม่มีเสียนี่ :'( :'( :'( :'(

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูนะคะลืมไปเลยว่าออกไปจับฟอลคอนกับเขาด้วย มัวแต่ลุ้นว่าพระนารายณ์สิ้นพระชนม์ยังไง สงสารมากๆค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ต.ค. 19, 10:42
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

คืนนี้ ศรีอโยธยาจบภาคแรก ได้ข่าวว่านำเสนอตอนความรักของเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาล  
ถ้าจริง  ก็ยังไม่ถึงตอนพระเจ้ามังระเตรียมทำศึกกับอยุธยา  
ชีวิตตัวละครเอกทุกตัวก็ยังค้างอยู่ พระยาตากสินยังอยู่ที่เมืองตาก หลวงยกกระบัตรยังอยู่ที่ราชบุรี   รักสามเส้าของพิมาน เจ้าฟ้าสุทัศน์และบุษบาบรรณก็ยังคาราคาซัง  ทั้งหมดยังอยู่ในพาร์ทอดีต  ส่วนพาร์ทปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรขยับเขยื้อนไปจากสามสี่ตอนที่ผ่านมา


จะได้ดูภาคสองมั้ยครับคุณหญิง
ตอนสงครามเสียกรุงจะแต่งตัวงามๆ สวมมงกุฏก็คงจะดูแปลกๆ นะครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=67082;image[size=10pt]คืนนี้ ศรีอโยธยาจบภาคแรก      ได้ข่าวว่านำเสนอตอนความรักของเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาล   ถ้าจริง  ก็ยังไม่ถึงตอนพระเจ้ามังระเตรียมทำศึกกับอยุธยา  ชีวิตตัวละครเอกทุกตัวก็ยังค้างอยู่      พระยาตากสินยังอยู่ที่เมืองตาก   หลวงยกกระบัตรยังอยู่ที่ราชบุรี     รักสามเส้าของพิมาน เจ้าฟ้าสุทัศน์และบุษบาบรรณก็ยังคาราคาซัง      ทั้งหมดยังอยู่ในพาร์ทอดีต  ส่วนพาร์ทปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรขยับเขยื้อนไปจากสามสี่ตอนที่ผ่านมา[/size][/quote][quote author=cinephile link=topic=6855.msg161584#msg161584 date=1519043361][size=10pt]จะได้ดูภาคสองมั้ยครับคุณหญิงตอนสงครามเสียกรุงจะแต่งตัวงามๆ สวมมงกุฏก็คงจะดูแปลกๆ นะครับ[/size][/quote][img]http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6855.0;attach=67082;image)

หลังจากรอมา ๑ ปี ๙ เดือน ศรีอโยธยา ภาค ๒ จะกลับมาในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

แฟน ๆ เตรียมตัววิจารณ์กันต่อได้ในกระทู้นี้
 ;D


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 24 ต.ค. 19, 19:48
ที่บ้านไม่มี true ครับ เดี๋ยวผมตามมาส่องในกระทู้นี้แทน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 25 ต.ค. 19, 14:33
ผมก็ไม่มีครับ คราวภาคแรก ผมส่องดูทาง ท่อของท่าน (Youtube) ครับ

รอบนี้ เขาไปถ่ายทำกันที่พิจิตรบ้านผมด้วยนะครับ น้องๆนักเรียนมัธยม กับเทคนิค ได้เข้าร่วมฉากกันหลายคน เป็นทหารบ้าง นางข้าหลวงบ้าง ฝีพายเรือพระที่นั่งบ้าง เป็นที่สนุกสนานกันไปครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ต.ค. 19, 18:27
ฝากดูเป็นทัพหน้าก่อนค่ะ    ไม่รู้ว่าภาค 2 ออกมาเป็นยังไงแบบไหน


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 26 ต.ค. 19, 16:52
รอติดตามชม
จะมาแนวเฟ้อๆแบบภาคแรกหรือเปล่าหนา


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 27 ต.ค. 19, 20:10
ผมได้ทราบเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของภาคสองแล้วครับ เพราะตัวผู้กำกับอัพเนื้อเรื่องประกอบภาพลง instagram อยู่เป็นประจำ


ขอยกภาพบางส่วนที่เพจ Anti ละครภาพยนตร์ซีรีส์เรื่องศรีอโยธยา แคปมาให้ชมครับ  ที่เหลือสามารถรับชมได้จาก instagram actingclass_hmom ครับ


ความรู้สึกส่วนตัวของผมเห็นว่าเนื้อเรื่อง "เลอะเทอะ" ยิ่งกว่าภาคแรกอีกครับ และไม่ได้เป็นการเฉลิมพระเกียรติตามที่กล่าวอ้างแต่ประการใดครับ  มีทั้งตั้งพระกำนัลนารีเป็นสูงสุดในฝ่ายใน แสดงคาบาเร่ต์ในวังหลวง พระเจ้าเอกทัศถูกมนต์ดำ ให้เจ้าฟ้ารุจจาเทวีอยากแต่งงานกับพระพิมานที่เป็นสามัญชนมากจนได้แต่งกันจริงจนถึงกับมีการวางแผนให้พิมานได้เป็นกษัตริย์  ให้เจ้านครศรีธรรมราชเป็นเจ้าประเทศราชตั้งแต่กรุงยังไม่เสีย  มีการเอากริชจี้พระศอพระเจ้าเอกทัศเป็นตัวประกัน ฯลฯ ครับ


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/65645313_2429175313769601_2752168296852750336_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeHlBVI94sV62unYaDJiP4DYRpZoRssU-9f3Guwhzzw1Qxh-hkz4skqyIDu77u9ddszAnR5cEwO9Fqdip7BsspmP2Ltrj7WxPww1Sb8ghRI8Mw&_nc_oc=AQlzqPMHB-O4EAxgKMtubZN9q9RUYhkH5KM4Ak0Hdzvid3IrExdQA_XzD6eHcS-pbOE&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=4dc51639b4ae0d128bddc36a89fc9c66&oe=5E195F30)


(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/65708266_2427493183937814_1851895344330178560_n.png?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeEj6YEs8HuMgYr7OG1tTzmZGZa8kQoqZzRCDTX2reFangfkVt1nM582VinXjkFqn9SYAf3lCtZfUht3VBIGFuYPBMlVkvyU4jot5hHXV7RWUA&_nc_oc=AQm11eruntkoDWP_50AFnikPrZbM1rJw3Opmxbc884dtOwU3e4_zdUGO67glYMUzo5g&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=85813f2c2e001aa3ffd1ed352bbf2942&oe=5E5F68BD)

(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/66066778_2427508820602917_602037325500776448_n.png?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeGhXv-6D1Jrh18KYqSj-iZlgtgFoLcEBJTGa_2Vlxd_GO_gum9a_qq1ZMjCDrUWQ4tm9ZhL1HUlBWoCAIsw8o9rcFanCbkbN0INHQRzj7aQ6A&_nc_oc=AQldcLm6R50DTNhL98_aG4VqxYHsLTjZEjobZZpEQUv3FHgLXHLVQQLoP1C0j2u4ilM&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=62b2bde58771ca216b3e16b849db4975&oe=5E1EC4B4)


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/63924017_2431047503582382_3182696411309277184_n.png?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeF-OHO4J1y0EJIPz4DSHCbCZ0VIAQxBAW39L8YUNaiEmFu-NHlEDwm3eEtDiuT6bBTNtnvqGDOGjLAIbziyQQkMwmFn9uro-80hQDGi0YFM9g&_nc_oc=AQksf9o8KinlAbPFg_vFw15wqqf4Rx9Ux0bJH4jSn4tlRa7HeyR2kvD_0YXJKksnNa8&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=09e398b8a01086b5a5beb4de1739f678&oe=5E25829B)


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46419055_2078304908856645_3742390319958720512_n.png?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeH9kWWsUjm4FSAeZ3Qp1qq3iuvcroPiqV1zj134qi5U9bPNkeGwgVjqunMLutOvnQIwKFgsxcZuUSOIDNumZsmGf0d4Izr0-V7bzNId3747jg&_nc_oc=AQk-VrmnmVSlQ4VBqmcBT8J7sPOfythaDQVrDdU7fwBnAwf5mpFzqeOOU559bgrdPrk&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=dd5c817a931b61e493cc220ad7db79fd&oe=5E60BB41)


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46972279_2091738877513248_8351424960585007104_n.png?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeGIe1DGuidduP-oSfl8BPZ0nbsws07aMJh6l8145Xnm3wwiTMQ4-3NBFdCgR2aRmt7lCwOMrIGsLTTWkNfkOpFZKb5dsETevXB8atm4xkA2Qw&_nc_oc=AQlzZahQ8a5-EefQ83IRtonwpo9DeUzS63DhKskGryr_wyCJ74QutmqXkdNpOkL8NgE&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=8209b7f592fdc506911cfd7e21d9ac8f&oe=5E5F2F73)


(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/55788306_2250753768278424_7403676783897214976_n.png?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeGRlm7oc6Vr5CswrCisQy5zhg9r2EdQvc0OcvAIeDV582ywzqZ5AyT1jrO3aLb72er5SKrlmePrFUTBYXvX8eRtHEKny2UFBPLsjbN2S6ZL7A&_nc_oc=AQlVwr4_cxiNyelocI83kaE0JVbLZHFavpN4Qa8EznDeVDAh_6hlSPRhVJtXeQ1TZyU&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=acbaa3008b0917cdbdfb0c1eef0b1937&oe=5E53D5EF)


(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/62242660_2380421035311696_7992006231646535680_n.png?_nc_cat=106&_nc_eui2=AeFdfaclDfslpZBnM6l0MGnzhVsZdCJDEoi6Y-e3qu4rmgKQmGCldMrjvigjmWbZ9bMBEA0zKCbBZ3mDBZlZw3gnr7aXJpiciiuoK8u99KlzFQ&_nc_oc=AQmiWruDqsBfRMwEsBXVhR3nMWyw-jHtjcO8La6ZbiS3R7nise-Ds8CyG7ldt_8KOmA&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=4a018fb416126e7da1c2466680bfbe24&oe=5E27C5DE)


(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/64423719_2402032943150505_7767764876725846016_n.png?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeEB1YXlFgZKitSdTcQ15hPvRdbuw-iNcGOV3-ZISryfI2klLa5q5HLhdWVo_yuYQaw7DR1JdFjgwfr5wahkaOmQLmBE7AwMe_xdInIoI-A1VQ&_nc_oc=AQnicHTiWdNJJ8Xg5na20Gp_pzwY78ecy1bs0zg6MoqHM3Fu2FtIRVXPKV5BRGkC2nA&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=d2fbe16398fb0b02d291fa56dc078aee&oe=5E5E7EB6)


(https://scontent.fbkk2-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/66581287_2446605552026577_9025611324272410624_n.png?_nc_cat=110&_nc_eui2=AeHUnKjknLYr1K4rAUQMJPFbVQx7CtOodbXSy5fwSMAca79BWpHoQRmzWep3pEv3BBfEMVgPzK7tAOY95MoV7-Pe9CoqppQcV8c8VDt1TST4Ew&_nc_oc=AQmHWn2vf6AwSIPCl6FWweW0c0gbjsn-LeYIFBumdaJdqrAgv3Z_9v-ILww0JLfZbkA&_nc_ht=scontent.fbkk2-5.fna&oh=6eb854bb237e5aae34267655ada913ea&oe=5E241967)


(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/51075906_2184451274908674_8500340637902569472_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeFNxNL0mvGEkA7ISf4rCE-Jglfr7ZQ2m0GmwAsi18VzI0P_gCAd1SP7Y-5S7Dy2tOLYYZog9Dq2jF5_wTGlr5AhJohA_2D8ZZjnnGvHcZfbgw&_nc_oc=AQmOmDywVsYCBxnk2P3KotBjXOwj1uvlfPG0RczN_iQ7nDh5wo0Cdl9hsNVk29pjqnk&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=f39d7c09d50b5d062c95098cb767e24d&oe=5E201BDA)


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/65911412_2427236810630118_1076960584160772096_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeETCbicoGYpnV8MMwDndC7_RCDyaMciSiRlB8l8_ezGg-5PfS5E5Bca_tPagGEYe2b_FGp8vZkiGVJe0vPvKzQR563jcPJoyhZql0OqlB_tyQ&_nc_oc=AQkDElNS9mf1sxGRh_HOU2TIu34vkted6xhel4hgoJctIO0HzFo0GeaBsrvQDNJ3rxk&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=6a18cf6e5146d47000766ad5370e7d4c&oe=5E1F434C)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 19, 08:22
ดูจากรูปตัวอย่างและคำบรรยายข้างบนนี้     ดิฉันเดาว่า คงเป็นหนังทีวีทำนองเดียวกับหนังจีนอย่างเปาบุ้นจิ้น ที่เราจะเอาประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถัง(หรือราชวงศ์อะไรก็ตามที่เอ่ยถึงในเรื่อง)เข้าไปจับไม่ได้    จะเอาขนบธรรมเนียมประเพณีจีนจากประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมแท้ๆเข้าไปเปรียบเทียบก็ไม่ได้อีก
ในเปาบุ้นจิ้นเราจึงเห็นองค์หญิงในวัง ไม่ถูกรัดเท้า  สามารถออกมาผจญภัยข้างนอกวังกันเป็นว่าเล่น    นางในเดินเข้าเดินออกในวังนอกวังตามสะดวก  อยากไปไหนก็ไป  จอมยุทธทั้งหลายก็เหาะข้ามหลังคาบ้านกันเกือบจะทุกตอน 
ไม่มีใครบอกว่าผิดธรรมเนียมทั้งหมด

เรื่องนี้มีข่าวว่าผลิตเพื่อนำออกจากฉายต่างประเทศ   ก็คงจะใส่สีสันเข้าไปเต็มที่ ทั้งเนื้อเรื่อง ฉาก การแต่งกาย   เรียกความสนใจ 
เนื้อเรื่องจึงถูกดัดแปลงเป็นเรื่องใหม่   เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเฉพาะชื่อตัวละครเท่านั้นค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 29 ต.ค. 19, 10:20
โอย...จะเป็นลม  :( เสียดายเทียนใช้เสียเยอะเชียว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 ต.ค. 19, 14:18
หง่า... ผมจะได้เห็นฉากการทำสงครามไหมเนี่ย


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ต.ค. 19, 15:07
การผลิตและการกำกับเป็นสิทธิ์ของผู้ผลิตจะทำอย่างไรแบบไหนก็ได้   เช่นเดียวกับการวิจารณ์ก็เป็นสิทธิ์ของผู้วิจารณ์ที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเช่นกันค่ะ
ส่วนดิฉันเป็นคนหัวโบราณ  บางครั้งก็เชื่ออะไรที่ไม่สามารถเอาเข้าห้องแล็บทดลองออกมาให้เห็นผลจะๆกันได้   ดังนั้นถือเป็นความเห็นส่วนตัวก็แล้วกัน
ดิฉันมีความเชื่อว่าบุคคลที่ได้เกิดมาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรในอดีตนั้นล้วนแล้วแต่ได้กระทำ "บุพกรรม" อันยิ่งใหญ่มาก่อน จึงได้ถือกำเนิดมาอยู่ในฐานะเช่นนี้    การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับบทบาทของท่าน โดยมีเหตุผลรองรับเป็นเรื่องของนักวิชาการจะทำกันไป   เป็นคนละอย่างกับการจาบจ้วงลบหลู่   จะเหมาเป็นอย่างเดียวกันไม่ได้  ไม้ว่าจะทำโดยตั้งใจหรือโดยประมาท
หากทำไปด้วยความเขลาเบาปัญญา หรือโมหะ โทสะ หรือแม้แต่ความเพี้ยน    เกรงว่าผลมันจะเหมือนบูเมอแรง  ขว้างกลับไปก็ย้อนกลับมาสู่ตัวเอง    ทำแรง แรงสะท้อนกลับก็แรง   
บางทีจะแรงกลับมาอีกหลายเท่าตัว ถึงขั้นวิบัติในทางใดทางหนึ่งหรือหลายทางก็เป็นไปได้

ออกความเห็นแค่นี้ละค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ต.ค. 19, 21:11
ความคิดเห็นหนึ่งจาก instagram ของ "hmom"

ยังมีคนหวังเรียนประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้  :o


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 19, 08:53
^
ความคิดเหมือนเด็กนักเรียน แต่ภาษาที่ใช้ ตลอดจนตัวสะกด เหมือนวัยทำงานแล้ว


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 03 พ.ย. 19, 17:15
หง่า... ผมจะได้เห็นฉากการทำสงครามไหมเนี่ย

มีให้ชมอยู่ครับ บทเด่นส่วนใหญ่ตกเป็นของ ตัวละครเจ้าฟ้าสุทัศน์ กรมพระราชวังบวรผู้แทนพระองค์ ครับ

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67240657_2476274985726300_7439447169913847808_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeFXql7FKDY6XQdmmF61GtpTz7JUIWl_CYZuyzQDbJn6dYINJjhVE5wN5VX_Zjxz-XwTxwCxpZXgiXXYFq8hnbbtOwtjxoGiDd6Ooh5pv0GgKw&_nc_oc=AQkoBNGEpUy-2KSdJSrcKWd1a7BUxyem0rmyPjPdupFfLoFr-GuHYk29elYbM5KmKLU&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=0ff93f661a98edb99e90fec57f1dcb1f&oe=5E5F5A96)

(https://scontent.fbkk2-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67312746_2474221802598285_7180971987886407680_n.png?_nc_cat=110&_nc_eui2=AeHjHbtn-CYu7SJzGNP1vPWQ12jy_jFscUZq_0iBeKKZmwK5ESw-Opfn8tcOGlc4Iokny-a8G5eX4MEidMPMsGHzEz7bS2bR3piC2Hh4-TdZKw&_nc_oc=AQnxo2gD0phxc3lBoHfwav4aXgyGB5H7w8Y8acFBKmDAERqU-LfBrqSSjWVVnS3mnv0&_nc_ht=scontent.fbkk2-5.fna&oh=02daa1305d96e7eebe8fe65789f26dff&oe=5E52DBC0)

(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67512908_2484941824859616_7883251943110344704_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeGzuq3dW6S5NFH8-KXR_pDh3wU8JpdwGdcdVjr1VG4fwtHkiMTIKvjjWDRWvyKwAfT0J9m2pEnvInXIq666VvneLXzyZ-RhDBqWoyVt62XEfA&_nc_oc=AQmSYSjQe3GnhESvNm3_e8xzVrBnKSSVu7zD29ENBbgZCA-A-Z3BsCSdbPDhF3tuilM&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=3ac9b653db8b71fdd9ef1a8a170ee2fb&oe=5E4876A9)

(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/65690121_2421187827901683_1249943072066764800_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeExO4UyI5rvovhS82hNlrAUx-6UkAVd_V45a51bDcTGHgmlxtYrHUFp1stjfiRx5K7S8tWmqB9hNY16GwiFgv0GtDYswzsdWpYKYCUTungJ_g&_nc_oc=AQm36kWIxqCvNgxpg9AAQCy9r_sPKP2_KSLQkosIY6vvceBQgERLb6HvZsRja2xShho&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=67b358ced3d13b335112ce87c6b30bd3&oe=5E554E99)

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/65743334_2432402083446924_2333459159300702208_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeF-JgyAjopmGomTo4phwZ3I2L4kEUgfteJvVhujISB2zuLACKhWq22PsZdJD5-lPyjNWkWMuL6Oz7V32j6ERv9RLdKbXbd_zS7q_GoP7Xj76w&_nc_oc=AQmIazgl63hrn4mHvyxY7KqsRf8Um8UBMneUTgjhDjMWo4-vf-Tkb9aIpG21pIDd8d8&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=370c63944c011f0c15fc018777231c9c&oe=5E49BE39)

(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/66300656_2432138573473275_652488717188988928_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeGnQ15NALsfDrqOyWMjHdgD04aM7Jicic-uzLwe0TRCEiGCXw5xK_LtetsVxbJi3mLGZsGWsb8t8o1JfdCH2IQQQhlDqYyPhpd7tA_KpuvAIA&_nc_oc=AQmgQx6KoVDGGVAtFpS-tcJicPWUJMfXAH-ebUdzfOa7hOxeSYb532-gJXvzBrhZDyo&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=94156915ee1422cf4d4ced0726bf09dd&oe=5E1B757A)

(https://scontent.fbkk2-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/66366817_2441666659187133_7169830902850125824_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeGe1H6wkZukew82zsQ-QTrWGZkdN__B13kAfhzpuVYnxcTYYFkQ4auo63gaBGqfMc4m8oM_V66VcXePlzA7syV9yJJRhzJblHKL9nttBpJfcw&_nc_oc=AQmuGDmvMUqmBItRVFFcBEPDLknGMt5a42n6VHppWfS6_T2Dw17FiXgqtyAjlxp8K8E&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.fna&oh=08be6c0c57ca265583f138f29c3c0fd5&oe=5E64E4F5)

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67174583_2457256120961520_8906203004286271488_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeEx8CeK4gxw5cwbRQxcK0Wc7sH1KBoo_0Kn1ZwBR0Ul6JoW5O3U8H-d7oIOlgWWKgEOwC4-ZFHt6kTL-59Kl7d3V9ovYHCcsdI_vr3aAikAoA&_nc_oc=AQk99-CMlhavKN9sGRcvJa03NQNI8e7c90vXBCmGkjqZU8JEA0xOrmrih_bhS28kcnY&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=da192b67d9f0d34af6896e85ed6dd63c&oe=5E4AD255)

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67049384_2459334967420302_5789648530989645824_n.png?_nc_cat=102&_nc_eui2=AeFcxVRNK2914kXGz_QYUyPaDp-vFO7ilXIlteEc4CInEI5UNU9yWAfDH1O-l4VwNxu7qFKoq8vD0gmn7hNbfbfoujAoibmI_-hl79Sje8TFBA&_nc_oc=AQlc_O02eHlE2C5h7fFCwHiaAmcyP8j3OdR5VC_r5lPoM6WKMgkGjC8uY5YAgzhII4I&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=4182d3514c333ba810d254e49d742707&oe=5E46AE0B)

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67564243_2459336714086794_3297784771584720896_n.png?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeGomfTb-sDD1ZYwROWAktMvsdpuNpN5_DymZOJT0mcCXWH4k5-hhXP7D8ihg1ZSEqkFjTRBjBe5cUmeKaCuNdcnRGyWeLkbj2Wvfamz6UvxlQ&_nc_oc=AQnCvkNOZSPb4e3DLHGzhoLuu7JnntYA4KwmxHadFBOdiHfFBvcNjP9XRWRdM_Q3Hc8&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=703d676fcc5c5595b4e11664252ddb99&oe=5E4C764D)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 19, 20:12
คุณบุญมาที่่ฆา่ตัวตาย เป็นตัวละครสร้างใหม่  หรือว่าหมายถึงมหาดเล็กนายสุดจินดา คะ?


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 19, 20:13
พลเทพเรียกพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาว่า "มหาราชา"  แกคงมาผิดประเทศ นึกว่าอยุธยาคืออินเดีย ถึงมีมหาราชา


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 19, 07:27
บางที เราอาจต้องตั้งต้นมองในแง่มุมใหม่ ว่ากรุงศรีอยุธยาในละครเรื่องนี้ คือโลกเสมือน  หรือเอกภพคู่ขนานกับกรุงศรีอยุธยาในพงศาวดารไทย  เป็นคนละแห่งกัน
แต่ในเมื่อเป็นเอกภพคู่ขนาน  จึงมีอะไรหลายอย่างเหมือนในโลกของเรา  เช่นมีพระเจ้าเอกทัศ มีศึกไทยกับพม่า  มีขุนนางหลายคนที่ชื่อซ้ำกับคนจริงในประวัติศาสตร์ไทย
แต่ในเมื่อเป็นคนละภพ  เหตุการณ์จำนวนมากจึงไม่มีในไทย เช่น พระเจ้าเอกทัศยกพระธิดาให้ขุนนางสามัญชน   เจ้าฟ้าชายสุฮัทกับมหาดเล็กคนโปรดก็สนิทกันชนิดแกะกันไม่ออก   พระมเหสีที่ตายไปนานแล้วในประวัติศาสตร์ไทยก็ยังมีชีวิตอยู่ในเอกภพคู่ขนาน ฯลฯ
คิดอย่างนี้อาจดูละครได้สบายใจขึ้นค่ะ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ย. 19, 13:57
ศรีอโยธยา = เรือนมยุรา + แดนดาว ⁉️


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 19, 16:46
 ;)


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 พ.ย. 19, 09:18
อ้างถึง
บางที เราอาจต้องตั้งต้นมองในแง่มุมใหม่ ว่ากรุงศรีอยุธยาในละครเรื่องนี้ คือโลกเสมือน  หรือเอกภพคู่ขนานกับกรุงศรีอยุธยาในพงศาวดารไทย

ถ้าทำใจว่าเป็น Multiverse แบบที่หนังมาเวลชอบใช้ ก็ไม่เป็นการเทิดพระเกียรติ หรือให้เกียรติผู้ใดเลยสิครับ


กระทู้: Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 19, 10:09
การทำละคร  คนทำสามารถตั้งเป้าได้ว่าจะทำอะไร  แต่จะเป็นอย่างที่วางเป้าหมายหรือไม่   คนดูจะเป็นคนตัดสินเองค่ะ    ว่าใช่หรือไม่