เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: tita ที่ 13 ก.ย. 16, 19:59



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 13 ก.ย. 16, 19:59
เห็นเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า  สกุลไทยคงจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้

...และแล้ว นิตยสารเก่าแก่ระดับตำนานที่โลดแล่นอยู่ในวงการหนังสือมากว่า 60 ปี อย่างสกุลไทย ก็เตรียมตัวปิดฉากลง ตามรอยนิตยสารรุ่นพี่บ้างรุ่นน้องบ้าง ไปอย่างน่าใจหาย เหตุเพราะขาดหัวเรือใหญ่ อย่าง ประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ ซึ่งได้เสียชีวิตลงไปเมื่อไม่นานมานี้ งานนี้โฆษณาก็เลยลดน้อยลงไปด้วย แว่วๆ มาว่า ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะเป็นฉบับสุดท้าย ที่เราจะได้เสพสาระจากหนังสือที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน หากเป็นจริง สาวกแฟนคลับหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมตามเก็บฉบับสุดท้ายกันนะเจ้าคะ...

จริงเหรอคะ  สกุลไทยเป็นนิตยสารฉบับท้ายๆ เลยนะคะที่ดิฉันคิดว่าจะปิดตัวลงในช่วงนี้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 16, 20:09
จริงค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 16, 20:20
จะเป็นฉบับที่ขึ้นรอบปีของสกุลไทยพอดีค่ะ    ก่อนจะอำลาวงการ
บก.ขอให้เขียนอะไรให้เป็นที่ระลึก   กำลังร่างอยู่ค่ะ
เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก   เหมือนเห็นเพื่อนเก่าที่รู้จักมาตลอดชีวิต ต้องจากลาไปไม่มีวันกลับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 13 ก.ย. 16, 20:33
โอย ใจหายค่ะ  เพื่อนจากไปอีกหนึ่งแล้ว

จำได้ว่าตอนเด็กๆ ดิฉันอ่านนิทานจากสตรีสาร  พอโตขึ้นก็เริ่มอ่านนิยายจากสกุลไทย

ที่ไม่คาดคิดว่าสกุลไทยจะต้องปิดตัวลง  เพราะมองว่าสกุลไทยแตกต่างจากนิตยสารแฟชั่นหัวนอกหัวในที่ทยอยปิดตัว  เพราะมี content ที่แตกต่าง  ไม่สามารถหาอ่านจากอินเทอร์เน็ตได้  ไม่คิดว่าปัญหาการขาดโฆษณาจะส่งผลรุนแรงเช่นนี้

หลังๆ นิตยสารรายปักษ์ที่เคยเล่มหนาขนาดนอนอ่านแล้วหล่นใส่หน้าดั้งจมูกแทบยุบ  ก็พากันบางลง  โฆษณาสวยๆ ที่เคยเปิดดูอย่างเพลิดเพลินก็ลดน้อยลง  รวมทั้งเรื่องราวน่าสนใจก็พลอยหายตามหน้ากระดาษที่ลดลงจนไม่อยากซื้อ  ต่อให้พยายามหาของแถมมาล่อก็ตาม

นี่ยังเหลือต่วยตูนพิเศษอีกเล่ม  ไม่ทราบจะยืนได้นานแค่ไหน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 16, 07:38
นิตยสารสกุลไทย เคยใช้ข้อมูลตัดแปะเพื่อส่งครูทำรายงานเรื่องความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีพอๆ กับนิตยสารขวัญเรือน ซึ่งมีคอลัมภ์ให้ความรู้ดีๆ อยู่มากมาย ก็ตกใจเหมือนกันว่านิตยสารเก่าแก่นี้จะปิดตัวลงไป


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 08:17
ในเฟซบุ๊ค มีสกุลไทยออนไลน์ซึ่งเริ่มทำมาระยะหนึ่งแล้วค่ะ  คัดบทความประวัติศาสตร์ไปลง ก็มีการตอบรับด้วยดี
ต้องรอว่าผู้บริหารสกุลไทยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป     ดิฉันก็ไม่ทราบรายละเอียดเหมือนกันค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 09:23
ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะเป็นฉบับสุดท้าย

จะเป็นฉบับที่ขึ้นรอบปีของสกุลไทยพอดีค่ะ    ก่อนจะอำลาวงการ

ปกสกุลไทยฉบับแรก วางแผงเมื่อ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ นางแบบคือคุณบุญปรุง ศิริธร ฉบับละ ๓ บาท


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 16, 09:25
สงสัยผมคงไปทำให้เขาต้องปิด :-\


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 09:40
คงมิใช่เช่นนั้นหนอ  ;D

ผมเลยอยากจะถือโอกาสบอกว่า กระทู้นี้ได้แปลงร่างเป็นบันเทิงสารคดี ลงในคอลัมน์ประวัติศาสตร์มีชีวิตของสกุลไทยไปแล้ว คิดว่าวันจันทร์หน้า ตอนที่ ๑ จะออกโรง แล้วจะต่อเนื่องกันไปถึงสิ้นปี รวม ๑๖ ตอน
หลังจากนั้นก็จะรวมเล่มครับ

ใครอยากได้เอาไว้เก็บบนหิ้งหนังสือ สำหรับตนเองหรือลูกหลานจะได้อ่าน ก็อดทนรอหน่อยแล้วกัน ๔ เดือนลืมๆซะก็แป๊บเดียวเอง


กำลังนึกอยู่เชียวว่า จะกระทบถึงหนังสือเรื่อง "ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์" ของคุณนวรัตนอย่างไร  ???


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 09:56
"สกุลไทย" ควรรับนับเป็นพี่
"เรือนไทย" นี้เป็นน้องสองสมร
เมื่อพี่ต้องจากไปให้อาวรณ์
น้องร้าวรอนห่วงหาไห้อาลัย


ในนามของชาวเรือนไทยคนหนึ่ง  :'(


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 10:19
   สังคมของคนรุ่นใหม่ ไม่มีพื้นที่ให้การอ่านอะไรยาวๆ หน้าแล้วหน้าเล่า ต่อเนื่องกัน 7 วันครั้งอีกแล้ว     เขาสื่อสารสองทางกันได้ทันใจ    ด้วยการอ่านข้อความสั้นๆในมือถือ  ดูข่าวสั้นๆและรูปที่ส่งกันไปมา แป๊บเดียวรู้เรื่อง   
   เมื่อโซเชียลมิเดียก้าวเข้ามา   สิ่งพิมพ์ที่เป็นการสื่อสารทางเดียวก็ต้องหลีกทางไปค่ะ

       


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 14 ก.ย. 16, 10:25
ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าคงต้องมาเขียนต่อบนเรือนไทยแทนแล้วหละครับ

ยุคสมัยของนิตยสารกำลังจบลง หนังสือธรรมดาก็กำลังตามไปติดๆ

ขนาดผมที่เป็นคนขาดตัวหนังสือไม่ได้ จะกินข้าว นั่งอึในห้องน้ำ รอเพื่อน ประชุมฯลฯ ต้องมีอะไรอ่านติดมือตลอด ตอนนี้แทบจะไม่อ่านอะไรจากหนังสือกระดาษแล้ว  ขนาดบอกรับเป็นสมาชิก NG ไว้ปีนึง 2-3 เล่มหลังยังไม่ได้อ่านเลยและคงไม่ต่ออายุสมาชิกแล้ว หรือต่วยตูนพิเศษนี่ตั้งแต่ไปขับ taxi ที่ต่างแดนก็เลิกอ่านไปเลยจนถึงปัจจุบัน

แม้จะเลิกอ่านหนังสือกระดาษ แต่ผมยังคงอ่านๆๆๆๆ อยู่ เพียงแต่อ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนแล้ว ยิ่งยุคนี้แหล่งข้อมูลความรู้มีให้อ่านหลากหลาย แค่หนังสือโหลดฟรีก็อ่านไม่หวาดไม่ไหวแล้ว  ที่เป็นภาษาอังกฤษเจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจก็สามารถกดดูความหมายได้เลย  หรืออย่างนิยายของ "แก้วเก้า" เล่มหนาๆ นี่ ไม่กี่วันก่อนไปเจอให้โหลดแบบละเมิดลิขสิทธิ์ เอาใส่ tablet อ่านสะดวกกว่าแบบเล่มมาก ผมจะรอซื้อแบบ e-book ก็ไม่มีขาย จะซื้อแบบกระดาษตอนนี้นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนไปแล้ว

สื่อหรือสำนักพิมพ์ต้องรีบปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงแล้วเพราะช่องทางหารายได้จากโฆษณาบนหนังสือตีพิมพ์ใช้ไม่ได้อีกต่อไป  ขนาดผมเป็นคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ เพิ่งมี tablet ใช้ไม่กี่ปี ลักษณะนิสัยการอ่านเปลี่ยนไปอย่างถาวรแล้ว แล้วคนรุ่นใหม่ๆ จะยิ่งเปลี่ยนมากกว่าอีก

และที่ท่านอาจารย์ใหญ่ว่ามายิ่งจริงขึ้นไปอีก คนจำนวนไม่น้อยไม่สามารถทนอ่านอะไรยาวๆ ได้อีกต่อไป แต่ต้องเป็นอะไรที่สั้นๆ กระชับ สำเร็จรูป ขนาดข้อสอบ ถ้าโจทย์ยาวหน่อย นศ สมัยใหม่ยังอ่านไม่ได้เลย


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 14 ก.ย. 16, 10:31
ได้อ่านข่าวเหมือนกันค่ะ เสียดายจริงๆ แต่ติดตามสกุลไทยออนไลน์อยู่เหมือนกัน

สมัยเด็กๆติดกุลสตรีค่ะ ด้วยที่บ้านน้าเป็นร้านตัดเสื้อก็ต้องรับนิตยสารเหล่านี้มาไว้ มีหญิงไทย กุลสตรี ขวัญเรือน

แต่ที่ชอบอ่านกุลสตรีเพราะคอลัมน์ "นางในวรรณคดี" ของมาลัย กับพวกนิทานสนุกๆในนั้น ปัจจุบันที่เห็นล่าสุดกุลสตรีปรับตัวไปไกลมากโขจนนึกว่าเป็นนิตยสารนอกอย่าง "คลิโอ" เสียอีก


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 10:36
ยุคสมัยของนิตยสารกำลังจบลง หนังสือธรรมดาก็กำลังตามไปติดๆ

ที่คุณชายประกอบเทพว่ามา เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

สมัยก่อนต้องซื้อหนังสือพิมพ์รายวันอ่านวันละอย่างน้อย ๑ ฉบับ จนมีหนังสือกองเป็นตั้ง ๆ รอให้คนรับซื้อของเก่ามาจัดการ ระยะหลังเคยซื้อมาแล้วทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้เปิดเลยก็มี จนวันหนึ่ง (เมื่อไม่นานมานี้) เห็นว่าหมดความจำเป็นที่จะต้องอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์กระดาษแล้ว ด้วยว่าข่าวสารทั้งปวงหาได้จากหนังสือพิมพ์ในอินทรเนตร รวดเร็ว หลากหลาย และไม่เสียตังค์อีกด้วย (เรื่องหลังคุณชายฯคงชอบ  ;D)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 11:14
ทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องไปทางเดียวกันนะคะ
การอ่านบนกระดาษที่เรารู้จักกันมาหลายชั่วคน เปลี่ยนแปลงเป็นอ่านหน้าจอ   การเขียนและการพิมพ์บนกระดาษก็กำลังจะหมดไป  เมื่อหน้าจอมีทั้งเขียนและพิมพ์ได้   
เดี๋ยวนี้ยังพูดใส่หน้าจอให้เลขาดิจิตัลพิมพ์ลงได้ด้วย

เมื่อปี 2435  ดิฉันเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นเรียกว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์  เป็นเครื่องตั้งโต๊ะจอขาวดำ    เวลาพิมพ์ต้องใช้โปรแกรมแผ่น เสียบลงไป ต่อพริ้นเตอร์    มีโปรแกรมให้พิมพ์ คือเวิร์ดราชวิถีกับเวิร์ดจุฬา   คำสั่งเยอะมาก  เวลาพิมพ์ตัวเอียงตัวหนา ต้องตั้งหลักให้ดีว่าจะสั่งตรงคำไหน  ไม่งั้นผิด
พิมพ์เสร็จ ก็ออกคำสั่งพริ้นเตอร์ให้พิมพ์ลงแผ่น เสร็จแล้วส่งไปรษณีย์ไปที่ปลายทาง
ต่อมา สกุลไทยมาติดตั้ง Fax modem ให้

ต่อมา อินเทอร์เน็ตมาถึงกรุงเทพและกระจายไปปริมณฑล ปี 2542   ก็เริ่มใช้อีเมล์กะเขาส่งต้นฉบับ ไม่ต้องพริ้นท์อย่างเมื่อก่อน   พิมพ์ลงไฟล์เสร็จส่งอีเมล์ได้เลย     เริ่มรู้จักวินโดว์เป็นครั้งแรก   หน้าต่างบานแรกคือวินโดว์ 3.1

กูเกิ้ลยังไม่มี มีแต่ยาฮู ซึ่งใช้ได้ดีที่สุดในยุคนั้น เอาไว้ค้นข้อมูล ส่วนใหญ่ข้อมูลจากต่างประเทศหาได้เยอะกว่าของไทย
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ค่อยๆผุดขึ้นมาทีละเว็บสองเว็บ     เลยสั่งเด็กส่งหนังสือพิมพ์ให้เลิกส่ง    อ่านออนไลน์ง่ายกว่า
ส่วนใหญ่อ่านหน้าแรกพอ   ไม่ขยันพอจะเปิดหน้าหลังๆเหมือนสมัยคลี่หนังสือพิมพ์ออกอ่านทุกหน้า
 
จาก 2542 ถึง 2559   ยาวนานพอที่พฤติกรรมการอ่านจะเปลี่ยน   เมื่อก่อนชอบซื้อวรรณกรรมฝรั่งรุ่นเก่ามาสะสมไว้อ่าน     เดี๋ยวนี้เปิดเข้าไปดูทีไร เจอของฟรีให้โหลดได้ทั้งนั้น     ก็เลยอำลาการซื้อมาสิบกว่าปีแล้วค่ะ

อ่านอะไรจากหน้าจอยาวๆเกิน 2-3 หน้าไม่ได้   มันปวดตา     เดี๋ยวนี้อ่านจากมือถือยิ่งอ่านไม่ได้หนักเข้าไปอีก  ใหม่ๆเคยเห่อไลน์  ลงทุนพิมพ์เป็นประโยค เพื่อคุยกับเพื่อนๆ   เดี๋ยวนี้เหลือแต่กู๊ดมอนิ่งกับสติ๊กเกอร์ ok thank you 

พฤติกรรมตัวเองยังเปลี่ยน  ก็เลยไม่แปลกใจว่าทำไมคนหนุ่มสาวเขาถึงเปลี่ยนกันจากยุคเราไปหมดแล้วน่ะค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 14 ก.ย. 16, 13:29
เมื่อปี 2435  ดิฉันเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นเรียกว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์

 ??? ??? :-X


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 14 ก.ย. 16, 14:39
เมื่อปี 2435  ดิฉันเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นเรียกว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์

 ??? ??? :-X

จริงๆ แล้วที่นี่คือเรือนไทยในเรือนมยุรา  ;D  ;D  ;D


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 15:23
เรือนมยุราน่าจะย้อนอดีตไกลไป เอาเบาะ ๆ แค่ทวิภพเห็นทีจะพอเหมาะ  ;D

       หนังเปิดเรื่องที่สถานกงสุลฝรั่งเศส ประจำบางกอก ในคืนฝนฟ้าคะนองของวันวิกฤตปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒
- ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5041.0;attach=30676;image)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 16, 17:22
เด็กพวกนี้ชอบจับผิดเรื่องพิมพ์พ.ศ. ผิด   :-[


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 16, 19:11

เรียนผู้อ่านสกุลไทยทุกท่าน

เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และเอเย่นต์จัดจำหน่ายที่ลดลง ทำให้นิตยสารกระดาษค่อยๆลดบทบาทลงในในยุคของสื่อดิจิตอลเช่นทุกวันนี้

ด้วยเหตุนี้ สกุลไทยจำเป็นอย่างที่สุดที่ต้องแจ้งต่อท่านผู้อ่านว่า คณะผู้บริหารนิตยสารสกุลไทยได้มีมติให้ยุติการจัดทำนิตยสารสกุลไทย โดยฉบับที่ ๓๒๓๗ ซึ่งจะวางจำหน่ายวันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ จะเป็นฉบับสุดท้าย

 ส่วนสำนักพิมพ์เพื่อนดี สำนักพิมพ์ทรีบีส์ยังคงดำเนินการต่อไป สำหรับนวนิยายที่กำลังตีพิมพ์ในสกุลไทยขณะนี้และดำเนินเรื่องยังไม่จบ สำนักพิมพ์เพื่อนดี และทรีบีส์ จะดำเนินการรวมเล่มต่อ คือ กระจกขอบทอง ความฝันครั้งที่สอง ร้านน้ำชาชื่อดูฌอนเบ บอกให้รู้ว่า...รัก แสง เสียง ใน ศิลป์ สี แผนรักยักษ์จัดให้

สำหรับสมาชิกนิตยสารสกุลไทย ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์จะติดต่อกลับไปยังสมาชิกทุกท่าน หรือหากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อที่ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ โทร.๐-๒๒๕๘-๕๘๖๑-๒ (โปรดติดตามรายละเอียดแถลงการณ์ฉบับเต็มอีกครั้งในสกุลไทย ฉบับ ๓๒๓๒ วางตลาดวันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙)

อนึ่ง นิตยสารสกุลไทยฉบับ ๓๒๓๗ ได้จัดทำเป็นฉบับพิเศษที่มีเนื้อหาควรค่าแก่การสะสม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางของนิตยสารสกุลไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน บทความและภาพถ่ายที่หาชมได้ยาก และข้อเขียนจากนักเขียนที่เคยฝากผลงานไว้ใน “สกุลไทย” โปรดติดตามข่าวสารของฉบับพิเศษนี้ในนิตยสารสกุลไทยต่อไป

นิตยสารสกุลไทยขอกราบพระคุณในน้ำใจไมตรีของผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้ให้ความกรุณาสนับสนุนสกุลไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนานบนถนนสายนี้ และได้กรุณาแสดงความห่วงใยต่อสกุลไทยมาเป็นจำนวนมาก น้ำใจของท่าน คณะผู้บริหาร กองบรรณาธิการ พนักงานบริษัทอักษรโสภณ จำกัด ขอรับไว้ด้วยความซาบซึ้ง ด้วยเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าถนนสายนี้มิได้โดดเดี่ยว แต่งดงามและอบอุ่นด้วยน้ำใจของท่านผู้อ่านที่มอบให้สกุลไทยตลอด ๖๑ ปีที่ผ่านมา

ด้วยจิตคารวะ
 คณะผู้บริหาร และกองบรรณาธิการ นิตยสารสกุลไทย



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 16, 10:11
ด้วยจิตคารวะ
คณะผู้บริหาร และกองบรรณาธิการ นิตยสารสกุลไทย

ชอบคำลงท้ายมิ่งมิตร
ด้วย "จิตคารวะ" มุ่งมั่น
เคยมีลิขิตผูกพัน
ใจหายใกล้วันจากไป





กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 16, 11:40
ผมเห็นด้วยกับความเห็น ตั้งแต่นาที 1.50 เป็นต้นไปครับ

http://www.facebook.com/tnamcot/videos/906162346154572/ (http://www.facebook.com/tnamcot/videos/906162346154572/)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 16, 12:04
สกุลไทยสิ้นแล้ว ผมต้องพิมพ์รวมเล่มขึ้นมาเอง
ขออภัยมิได้ประสงค์จะละเมิดกติกาห้ามโฆษณาในห้องนี้ เพียงแต่อยากจะแจ้งข่าวสำหรับผู้ที่ยังรักการอ่านจากหนังสือ มิใช่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ซึ่งผมก็คงจะต้องโหนกระแสไปกับมันควบคู่กันด้วย
.
.
.

ที่เอาปกมาให้ดูนี้ยังเป็นร่างอยู่นะครับ จึงดูไม่เนี๊ยบสักเท่าไหร่


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 16 ก.ย. 16, 12:48
อ๊ะ หนังสือแจก  ;D  ;D  ;D


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 16, 13:01
อ๊ะ หนังสือแจก  ;D  ;D  ;D

นี่แน่ะ!


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 16, 13:03
ตลกครั้งที่แล้ว ยังไม่ยอมตอบคำถามผมเลย


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 16 ก.ย. 16, 13:09
ตลกครั้งที่แล้ว ยังไม่ยอมตอบคำถามผมเลย

หาาาา ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าถามผม! ! ! !  ว้ายยยยย ถามว่าอะไรครับ ไม่เห็นเห็นเลย  :-\  :'(  :'(  :'( เดี๋ยวไปหาซิ กระทู้ไหนเนี่ย ไหงไม่ตอบ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 16, 13:15
เจอท่านอาจารย์ใหญ่กว่าใน facebook แล้วดุ๊ดุ ไม่ยักกะใจดีเหมือนบนเรือน ตอนนี้เลยแหยงๆ ไม่ค่อยกล้าไปซะแล้วครับ  :'(  :'(  :'(  :'(  :'(
แถมมาอยู่บ้านนอก แม้ไม่ไกลกรุงเทพเท่าไหร่ แต่น้านนนนนานทีถึงจะได้เข้ากรุง



แหม่ แต่รายการของฟรีนี่ดึงดูดไม่เลว
^
ผมอาจจะโง่ก็ได้นะ แต่ไม่เข้าใจจริงๆว่าผมดุ๊ดุยังไง ขนาดคนอย่างคุณประกอบแหยง คนอื่นคงสาปส่ง fb ของผมแน่นอน
ลองเม้นต์กันหน่อยก็ได้ครับ ยินดีรับฟ้ง

https://www.facebook.com/มล-ชัยนิมิตร-นวรัตน-1174884455908584/

(วิธีเข้า ต้อง copy บรรทัดบนทั้งหมดไปแปะใน google แล้วให้มันหาให้อีกทีครับ)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 16 ก.ย. 16, 13:36
อ๋อ แห่ะๆ ใน facebook ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าผมไม่กล้าล้อท่านเล่นหนะสิครับ เห็นหน้าแล้วเขิลลลลล ที่กะว่าจะไปกินกุ้งฟรีก็เกรงใจเหลือหลาย ปากเก่งว่าจะไปกินฟรีถล่มให้ยับยังโง้นยังงี้ เอากุ้งฝอยตกปลากระพงงี้ ไถหนังสือเล่มโน้นเล่มนี้ เอาเข้าจริงกล้าซะที่ไหน กลับจากขับ taxi ขนชอคโกแลตบ้าง สบู่บ้าง จะเอาไปฝากก็ไม่กล้า งานหนังสืองวดก่อนโน้นทำใจกล้าพกของฝากทั้งท่านอาจารย์ใหญ่และใหญ่กว่าไปด้วยเผื่อว่าเจอก็ไม่ได้เจอ คลาดไปนิดเดียวเอง กะว่าจะได้ไถหนังสือซักเจ็ดแปดเล่มเลยต้องกัดฟันซื้อมาอ่านแทน


แบบว่าตัวจริงผมขี้อายครับ  :'(  :'(  :'(    เป็นนักเลงคีย์บอร์ดของแท้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 16, 14:07
ไม่เข้าใจ
เอ้า ไม่เป็นไร ถือว่าผมถามไม่ตรงคำตอบก็แล้วกัน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 16, 14:21
แบบว่าตัวจริงผมขี้อายครับ  :'(  :'(  :'(    เป็นนักเลงคีย์บอร์ดของแท้

วิธีรักษา คือต้องลงรูปจริง ให้หายอายค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 16, 16:11
นั่นน่ะสิครับ วันหลังเห็นจะต้องเอาคืนสักทีเหมือนกัน 8)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 17 ก.ย. 16, 11:54
แห่ะๆ ที่ไม่ค่อยกล้าเม้นอะไรใน FB ท่านอาจารย์ใหญ่กว่า เพราะเห็นในเฟซนี่ท่านอาารย์ใหญ่กว่าจะดูจริงจังขึงขังกว่าบนเรือนหนะสิครับ พวกอีโมคุคิๆ แบบที่ใช้บนเรือนก็ไม่ค่อยเห็น  ไอ้เราก็ประเภทเกรียนคีย์บอร์ดโจทย์เยอะเลยรู้สึกไปเองว่าท่านดุ  กลัวจะไปเหลวไหลผิดที่ผิดทาง  :-[  :-[ เลยกด like อย่างเดียว  ;D  ;D  ;D


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 16, 12:09
อ้างถึง

เจอท่านอาจารย์ใหญ่กว่าใน facebook แล้วดุ๊ดุ

ผมอาจจะโง่ก็ได้นะ แต่ไม่เข้าใจจริงๆว่าผมดุ๊ดุยังไง

อ๋อ แห่ะๆ ใน facebook ท่านอาจารย์ใหญ่ กว่าผมไม่กล้าล้อท่านเล่นหนะสิครับ เห็นหน้าแล้วเขิลลลลล

ไม่เข้าใจ  เอ้า ไม่เป็นไร ถือว่าผมถามไม่ตรงคำตอบก็แล้วกัน

แห่ะๆ ที่ไม่ค่อยกล้าเม้นอะไรใน FB ท่านอาจารย์ใหญ่กว่า เพราะเห็นในเฟซนี่ท่านอาารย์ใหญ่กว่าจะดูจริงจังขึงขังกว่าบนเรือนหนะสิครับ
[/i]

ภูมิปัญญาระดับด๊อกเตอร์จบจากอังกฤษเขาตอบคำถามกันอย่างนี้หรือครับ  ผมเพียงอยากจะทราบว่าที่บอกว่าผมดุ๊ดุนี่  ผมดุ๊ดุยังไง ไปไล่ต้อนใครอย่างนี้บ้างหรือก็เปล่า  รูปที่ลงก็ออกจะยิ้มเผล่  ตกลงตรงไหนที่ดุ๊ดุ

ขับแท๊กซี่วนๆเวียนๆอยู่นั่นแล้ว จอดไม่ถูกที่สักที


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 17 ก.ย. 16, 12:32
ฮือๆ ๆ ๆ  ต้อนกันขนาดนี้ยังบอกว่าไม่ดุอีก  :'(  :'(  :'(  :'(

จุ๊จุ๊ มาบอกว่า ดร. เดี๋ยวคนไม่รู้เค้านึกว่าผมเป็น ดร.จากอังกฤษจริงขึ้นมาผมจะแย่เอานะครับ ไอ้ขับ taxi ป้ายดำหนะจริง แต่ที่บอกว่าเป็นด็อกเตอร์นี่ถ้าไม่มีปริญญาตัวจริงที่ กพ รับรองมายืนยันห้ามเชื่อครับ  ขนาดแม่กิมเอ็งที่เป็นข่าวอยู่นี่แกยังเป็น ดร. ได้เลย 8)

เอาหละ ผมตัดสินใจเด็ดขาดละ งานสัปดาห์หนังสืองวดหน้านี้จะนัดหมายเวลาท่านอาจารย์ใหญ่กว่าให้แน่ชัด หอบขนมเปียะ ส้มโอ(นครชัยศรีของแท้ ถ้าหาได้ ถ้าไม่ได้เปลี่ยนเป็นมะพร้าวน้ำหอมแทน)ไปกราบสวัสดีให้ได้เลย  ถ้างานหนังสือไม่สะดวกจะไปกราบสวัสดีถึงบ้านแทนเลย


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 16, 12:40
สงสัยอยู่อังกฤษนาน อ่านภาษาไทยไม่แตกจริงๆ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 16, 15:57
ท่านออกญาศรีนวรัตนก็ไม่ยอมเข้าใจซักที       
เด็กขับแท็กซี่น่ะกลัวยิ้มของท่านในเฟซบุ๊คซะจนลนลานตอบข้อสอบไม่ถูกน่ะค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 16, 20:01
ก็มีสามรูปเนี่ย ยิ้มอย่างนีหรือครับที่น่ากลัวจนลนลาน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 16, 09:08
ลองใช้ภาพนี้  คุณชายประกอบเทพอาจคลายความกลัวไปบ้าง

ยิ้มน่ารัก อบอุ่น และแสนดี
  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6418.0;attach=60292;image)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 18 ก.ย. 16, 10:08
@ 38  รอยยิ้มแจ่มใสค่ะ  อันที่จริงก็ต่างจากปัจจุบันไม่มาก  ระยะเวลาห่างกันกี่ปีคะ

เมื่อตะกี้ตามรอยยิ้มเข้าไปที่ FB    เห็นมีรูปเกี่ยวกับพม่าอยู่ 5 รูป  อันนี้คือมีแต่รูปหรือมีเรื่องประกอบด้วยคะ  ถ้าจะอ่านเรื่องต้องเข้าไปอ่านที่ไหน  (ดิฉันไม่ได้เล่น FB คือใช้ไม่เป็นน่ะค่ะ)

เป็นเรื่องเดียวกับที่คุณ Navarat.C เคยเขียนลงพันทิปและเรือนไทยหรือเปล่าคะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 18 ก.ย. 16, 10:11
อีกประการหนึ่ง  หนังสือใหม่ของคุณ Navarat.C และเล่มอื่นๆ ในอนาคต  สามารถสั่งผ่านเว็บเพื่อนดีได้เหมือนเดิมไหมคะ

ขอบคุณค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 16, 14:17
คุณ tita ครับ

สงสัยเป็นที่ทรงผมนั่นเองที่ทำให้ผมดูดุ๊ดุ ดร.ประกอบจึงเลี่ยงไปเลี่ยงมา กลัวผมจะสวนกลับด้วยภาพขององค์ชายวิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์ ที่ท่านอาจารย์ใหญ่เชียร์นักเชียร์หนาให้งัดมาปราบจอมซ่าสักที

ส่วนเรื่อง พม่าที่เป็นกระทู้ในตำนานในพันทิป ๕ ตอนนั้น คุณหมอเพ็ญชมพูได้รวบรวมมาทำระโยงไว้ให้ในเรือนไทยทีนึงแล้ว ผมพยายามจะหาก็ยังหาไม่สำเร็จ เห็นจะต้องรบกวนคุณหมออีกสักทีหนึ่งละกระมัง

และก็หนังสือของผม มาแจ้งในนี้มากก็จะเข้าข่ายเป็นโฆษณาได้ ทั้งๆที่ผมลงทุนพิมพ์ขึ้นมาโดยไม่ได้หวังกำรี้กำไรเอารวย แค่ขาดทุนไม่มากก็พอใจแล้ว เพียงมีกิเลศอยากจะมีผลงานทิ้งไว้ในห้องสมุดต่างๆบ้าง เผื่ออนุชนรุ่นหลังมาอ่านแล้วจะรักที่จะเรียนรู้เรื่องราวเในประวัติศาสตร์ เหมือนกับผมเองเมื่อยังเป็นเด็กแล้วได้สัมผัสกับหนังสือที่ถูกใจ รวมทั้งเพื่อสนองความต้องการของนักอ่านกลุ่มเล็กๆที่ยังรักที่จะเก็บเรื่องที่ตนชอบไว้ในรูปแบบหนังสือเท่านั้น

ถ้าคุณเข้าห้องของผมในfbได้ ในนั้นผมได้แจ้งแล้วว่าจะหาซื้อหนังสือของผมที่สนพ.เพื่อนดีพิมพ์ได้ที่ใด และอีกไม่กี่วันข้างหน้า ผมก็คงจะแจ้งเกี่ยวกับหนังสือทั้ง ๒ เล่ม ที่ผมจัดพิมพ์ขึ้นเองด้วยครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 16, 15:34
ส่วนเรื่อง พม่าที่เป็นกระทู้ในตำนานในพันทิป ๕ ตอนนั้น คุณหมอเพ็ญชมพูได้รวบรวมมาทำระโยงไว้ให้ในเรือนไทยทีนึงแล้ว ผมพยายามจะหาก็ยังหาไม่สำเร็จ เห็นจะต้องรบกวนคุณหมออีกสักทีหนึ่งละกระมัง

ขอชวนให้แวะไปพันทิป  ห้องสมุดนะคะ

คุณ Navarat.C  เขียนเรื่อง พม่าไว้สี่ตอนแล้วค่ะ
มีรายการวิทยุต่างจังหวัดนำไปอ่านเฉยเลย
มีเรื่องและรูปเยอะเลยค่ะ
ข้อมูลทันสมัยมาก

แฟนานุแฟนนั่งเฝ้า

รวมผลงานชุด พม่าเสียเมือง ของคุณนวรัตน ทั้งหมด ๕ ตอน

ตอนที่ ๑ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8387677/K8387677.html

ตอนที่ ๒ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8404784/K8404784.html

ตอนที่ ๓ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8411452/K8411452.html

ตอนที่ ๔ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8420681/K8420681.html

ตอนที่ ๕ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8435679/K8435679.html


 ;D


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 16, 15:46
ขอบคุณคุณหมอมากครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 18 ก.ย. 16, 17:08
ขอบคุณค่ะ  จะคอยติดตามความคืบหน้าของหนังสือใหม่ทั้งสองเล่ม

ดิฉันยังติดการอ่านหนังสืออยู่ค่ะ  อันที่จริงการอ่านข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ก็มีประโยชน์ในด้านความรวดเร็วในการอัพเดทข้อมูล  ความสามารถในการสืบค้นข้อมูล  การที่แต่ละคนสามารถอัพโหลดข้อมูลเพื่อแชร์ต่อคนอื่นๆ ได้  แทนที่จะปล่อยให้ข้อมูลสูญหายไปอย่างยุคก่อนสังคมออนไลน์  ดิฉันเองเจอเพื่อนเก่าๆ สมัยเด็ก ที่ไม่คาดคิดว่าจะได้เจออีกแล้ว  ทั้งหนังทีวีเก่าๆ เพลงเก่าๆ ที่เคยอยู่ในความทรงจำ  ก็กลับฟื้นคืนชีพมาให้เจอกันเพราะมีคนใจดีอัพโหลดขึ้น Youtube บ้าง Web ต่างๆ บ้าง  ถือเป็นข้อดีของสังคมออนไลน์
 
เด็กสมัยนี้จะว่าเขาไม่อดทนต่อการอ่านหนังสือเล่มหนา ข้อมูลละเอียด การสื่อสารด้วยการเขียนให้ได้ใจความครบถ้วน สละสลวย ตรงตามหลักการเขียน  แต่เด็กๆ เขาโตมาในยุคที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ล้อมเขาเต็มไปหมด  เขาจำเป็นต้องเลือกดึงเอาข้อมูลที่เขาต้องใช้เฉพาะหน้าเท่านั้น  และเมื่อเขาจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ เขาค่อยไปค้นหาข้อมูลที่เขาต้องการ  ในลักษณะนี้ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์และสังคมออนไลน์ตอบสนองเขาได้  แต่ดิฉันก็เชื่อว่าในจุดหนึ่งหนังสือกระดาษก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่  เพราะเรื่องบางเรื่องก็ต้องอาศัยความละเอียดประณีตในการค่อยๆ อ่าน ไตร่ตรอง ชื่นชมความงดงามของภาษา ความสวยงามของรูปภาพ




กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 18 ก.ย. 16, 17:26
ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มน่าจะได้เปรียบกว่านิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ที่ต้องต่อสู้กับความไวของข้อมูลออนไลน์  เหมือนนวนิยายรวมเล่มที่ยังขายได้เรื่อยๆ  เฉพาะในเรือนไทยเองนี้ก็มีนับร้อยกระทู้ที่สมควรจัดพิมพ์รวมเล่มเก็บไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวในสมัยก่อน 

เรื่องพม่าที่คุณ Navarat.C เขียนนี่ก็น่ารวมเล่มนะคะ  เพราะข้อมูลแน่นหนารูปภาพก็งดงาม  แต่ 3 เล่มแรกที่พิมพ์ออกมาเล่มเล็กเหลือเกินค่ะ  อ่านไม่จุใจ  อยากได้เล่มใหญ่ เรื่องราวละเอียดและภาพสวยๆ อย่างในกระทู้น่ะค่ะ  จะได้เก็บไว้ให้ลูกหลาน

กรุณารับความเห็นไว้พิจารณาด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 16, 17:52
จะพิมพ์อย่างนั้นได้ต้องมีสปอนเซอร์แยะๆน่ะครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 18 ก.ย. 16, 22:49
ก่อนนี้ผมก็เคยคิดว่าหนังสือกระดาษน่าจะยังอยู่ไปอีกนาน แต่ตั้งแต่ยุคของ tablet ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดครับ


ก่อนหน้านี้นับสิบปี ผมอ่านอะไรต่อมิอะไรบน internet ผ่านคอมพิวเตอร์ notebook ซึ่งมันก็สะดวกในระดับนึง แต่มันยังเคลื่อนย้ายไม่สะดวกนัก น้ำหนักยังมากไป แถมจอเป็นแนวนอน เวลาอ่านพวก web ต่างๆ พอไหว แต่เวลาอ่านหนังสือที่มีการแปลงเป็น pdf มันยังไม่สะดวก เพราะหนังสือส่วนใหญ่ที่ถูกแปลงมาจากกระดาษแนวตั้ง พอมาอ่านบนคอมการเลื่อนหน้าจอทีละหน้าจอจะลำบากเพราะมันจะเหลื่อมๆ แต่ก็อ่านมาได้เป็นสิบปีแบบขัดอกขัดใจพอสมควร  ระหว่างนี้หนังสือกระดาษก็๋ยังสำคัญกับผม แต่ก็ลดลงไปไม่น้อย ผมใช้เวลากับการอ่านบนหน้าจอมากกว่าบนกระดาษมากๆ


สามสี่ปีก่อน ผมซื้อ tablet ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วเครื่องแรกมาใช้ โลกของการอ่านเปลี่ยนไปเยอะ เพราะสำหรับ tablet จะอ่านในแนวตั้งหรือแนวนอนได้ทั้งนั้น การอ่าน pdf ที่มาจากหนังสือกระดาษสะดวกขึ้นในเรื่องของการอ่านได้ทีละ 1 หน้าจอเหมือนอ่านหนังสือกระดาษ ไม่ต้องค่อย slide เลื่อนบรรทัด แต่มีปัญหาว่า pdf ที่มาจากหนังสือเล่มใหญ่กว่า pocket book เวลาอ่านบนจอ 7 นิ้วตัวหนังสือจะเล็กมาก แม้จะขยายขนาดตัวหนังสือได้ แต่ก็ไม่สะดวกกับการต้องคอยเลื่อนหน้าจอ  แต่ถ้าเป็นการอ่าน e-book ที่ทำมาสำหรับอุปกรณ์พวกนี้จะไม่มีปัญหาเลย ผมซื้อ e-book มาอ่านจำนวนมาก ราคาถูกกว่าหนังสือกระดาษเยอะ เจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจเปิดดิกดูได้เลยแค่กดที่คำนั้นไว้


แต่ e-book ตอนนี้จะมีข้อด้อยตรงที่หนังสือที่มีรูปมากๆ พอทำเป็น e-book เค้าไม่เอารูปมาใส่ไว้ เจอแต่ตัวหนังสือ หรือหนังสือที่พิมพ์ 4 สีสวยงามพอมาทำ e-book แล้วไม่ได้เรื่อง สู้หนังสือกระดาษไม่ได้เลย แต่ถ้าสำหรับคนที่รักตัวหนังสือมากกว่ารูป มันสะดวกกว่าหนังสือมาก จะนั่งกินข้าวอ่านหนังสือไปด้วยสะดวก ไม่ต้องหาอะไรมาคอยทับหน้ากระดาษแบบหนังสือด้วย ปัญหาเดียวคือหนังสือภาษาไทยที่เป็น e-book จริงๆ ไม่ค่อยมี แต่ภาษาอังกฤษนี่เยอะมาก และ e-book นี่ไม่ใช่หนังสือกระดาษที่เอามาแปลงเป็น pdf นะครับ จะแตกต่างกันมากโดยเฉพาะการจัดหน้า


สามเดือนก่อนซื้อ tablet ราคาถูกขนาดจอ 10 นิ้วแต่แบตอึดมาใช้ คราวนี้ pdf เก่าที่สะสมไว้ที่ตัวอักษรเคยเล็กบนจอ 7 นิ้ว ตอนนี้มันใหญ่พอให้อ่านสะดวกแล้วบนจอ 10 นิ้วที่แม้ขนาดอุปกรณ์มันจะใหญ่ไปบ้างแต่กลายเป็นว่าตอนนี้ผมไปไหนโดยไม่มี tablet ไม่ได้แล้ว การอ่านหนังสือส่วนใหญ่ 90% ตอนนี้เป็นการอ่านบน tablet  ตอนนี้ทั้งหนังสือกระดาษหรือคอมพิวเตอร์ notebook ที่เคยเป็นอุปกรณ์หลักหมดความสำคัญไป ผมมีหนังสือเป็นร้อยเล่มอยู่บนอุปกรณ์อันเดียว แถมเวลาเบื่อจากการอ่านก็เปลี่ยนไปเล่นเน็ตดูหนังฟังเพลงได้อีก


ยุคสมัยใหม่ที่หนังสือกระดาษจะหายไปจะมาเร็วกว่าที่คิดมากๆ ครับ น่าจะเป็นในชั่วชีวิตพวกเราทั้งเด็กและเด็กน้อยหน่อยแล้วนี่แหละที่ได้เห็น หนังสือกระดาษยังไม่หมดไปทันที แต่สุดท้ายจะหายไปในที่สุดแน่นอน ส่วนสำนักพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ นิยายต่างๆ ยังคงอยู่ นักอ่านยังคงเป็นนักอ่าน แต่ทุกอย่างจะไม่อยู่บนกระดาษแล้ว


การจากไปของสกุลไทยป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะเป็นการจากไปในช่วงรอยต่อ จากไปก่อนยุคของนิตยสารแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาครองโลกของการอ่านอย่างเต็มรูปแบบ แต่จากไปเพราะผลกระทบของมัน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 16, 08:57
ความเห็นของคุณประกอบ ทำให้ดิฉันเกิดความคิดใหม่  ว่า...
ถ้าสกุลไทยไม่ไปผูกพันอยู่กับแผ่นกระดาษ     สกุลไทยก็จะไม่มาถึงตอนจบค่ะ
ความเป็นสกุลไทยมีได้อีกหลายแบบ   เมื่อกระแสโลกหนังสือเปลี่ยนแปลง ก็ปรับตัวให้เข้ากับมัน   สกุลไทยก็จะอยู่ได้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 16, 10:28
อันนี้ซีเรียสนะครับ

ถ้าดร.ประกอบเขียนแนวนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมาก คุ้มค่ากับเวลาที่มานั่งเสียไปกับการ "เล่น" อินเทอเน็ต (ของทั้งสองฝ่าย)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 16, 14:13
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2559 00:00:16 น.
ถนอมจิต คงจิตต์งาม
thanomjitk9@gmail.com

ดิฉันเป็นสมาชิกนิตยสารสกุลไทย เป็นโดยผ่านร้านซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ เจ้าประจำข้างบ้าน

ทุกเย็นวันจันทร์หรือเช้าวันอังคาร พี่โกวิท เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตจะต้องประคับประคองถือสกุลไทยไว้อย่างดี เพราะกลัวยับย่นยู่ยี่ มากดออดเรียกแล้วบรรจงเสียบไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน โดยคำนวณเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศประกอบ เพื่อไม่ให้หนังสือถูกฝนเปียกปอนเสียหาย



ดิฉันเองอาจจะไม่ได้มีเวลาอ่านทุกอย่างภายในหนังสือเล่มนี้ แต่เมื่อรับมาปุ๊บจะพลิกดูโดยพลัน และหนึ่งในคอลัมน์ที่เปิดก่อนเลยคือ บทสัมภาษณ์พิเศษที่เขียนโดย "เมล็ดข้าว" เพื่อนรุ่นพี่ที่รู้จักกันมานาน ไม่ค่อยได้ติดต่อกัน แต่อาศัยคอลัมน์นี้เองที่ช่วยเป็นสะพานการสื่อสารเพื่อบอกให้รู้ว่า ตอนนี้พี่เขาทำอะไร ไปที่ไหน และยังสุขสบายดีอยู่หรือเปล่า

ถัดมาก็พินิจพิจารณาเรื่องของปก สกุลไทยนำภาพคนมาขึ้นปก แต่ถ้าเป็นช่วงวาระสำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็เป็นรูปของพระองค์ท่าน ดิฉันเคยทึ่งว่าตลอดเวลา 61 ปีที่ผ่านมา ทำไมนิตยสารฉบับนี้จึงสามารถสร้างความแตกต่างได้ภายใต้โจทย์เดียว วันสำคัญมีเป็นประจำทุกปี แต่สิ่งที่นำมาเป็นรูปปกก็แตกต่างไปได้ทุกปีเช่นกัน

จากนั้นต้องพลิกไปอ่านก่อนเลย คือนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน ศิลปินแห่งชาติและนักเขียนในดวงใจ ที่มีทั้งวิธีคิด คติสอนใจ ซุกซ่อนไว้ในกลวิธีดำเนินเรื่อง ผ่านชีวิตคน ทุกเรื่องวางอยู่บนสัจธรรมพื้นฐานของกฎธรรมชาติที่อยู่เบื้องหลังการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน

ถัดมาขาดไม่ได้เลย คือ "ตอบปัญหาคาใจ" ของ "น้ำผึ้งป่า" ซึ่งส่วนใหญ่ที่ให้คำตอบกับผู้เขียนมาถามได้อย่างเหลือเชื่อ ภายใต้ความรอบรู้เข้าอกเข้าใจในความเป็นมนุษย์ผสมผสานกับการนำหลักวิชาโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงดาวมาช่วยอธิบายเป็นแนวทางของคำตอบ

ดิฉันเคยลองอ่านเรื่องที่ผู้อ่านถามมา แล้วทำตัวเป็นคนตอบ จากนั้นค่อยไปอ่าน "น้ำผึ้งป่า" ว่าให้แนวทางกับคนอ่านอย่างไร ปรากฏว่าความคิดของเรานั้นเต็มไปด้วยอารมณ์  ขณะที่ "น้ำผึ้งป่า" คลี่คลายปัญหาให้ผู้อ่านด้วยหลักของเหตุผลและหลักธรรม

ต้องบอกว่าคอลัมน์ต่างๆ ในสกุลไทยช่วยทำให้เราหูตากว้างไกล กลายเป็นคนทันสมัย เพราะมีตั้งแต่ภาพและข่าวสังคมความเคลื่อนไหว มีบทสัมภาษณ์ทั้งผู้ที่มากประสบการณ์และคนหนุ่มสาวผู้เปรียบเสมือนดาวพราวแสงที่กำลังเติบโต, มีแฟชั่น ความงาม บันเทิง, บทกวี มองภาษา, คอลัมน์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน, สารคดี บทความ การให้โอกาสนักเขียนหน้าใหม่ในคอลัมน์สนทนาประสาเรื่องสั้น

ที่ดิฉันต้องอ่านอีก 2-3 คอลัมน์ คือ "ตะวันชายบ่ายคล้อย" ของครูแอ๋ว     อรชุมา และ "เศรษฐศาสตร์ชาวเมือง"ของ "นวพร เรืองสกุล" "สำรับโลก" ของวราภรณ์ สามโกเศศ ส่วนนวนิยายไม่ต้องพูดถึง สัปดาห์หนึ่งทยอยอ่านเกือบครบ ไม่ว่าจะเป็นงานของ ว.วินิจฉัยกุล, ม.มธุการี, โสภาค สุวรรณ และอีกหลายท่าน

ปกติเวลาอ่านเสร็จแล้ว ดิฉันจะส่งหนังสือไปบริจาคตามโรงพยาบาล ให้คนไข้เอาไว้ใช้อ่านระหว่างรอ เพราะรู้สึกว่าอยากส่งสารที่เป็นสาระและดีไปให้ผู้อ่านอื่นๆ พอรู้แบบนี้ปุ๊บเป็นอันต้องเก็บที่เหลือไว้ทั้งหมด

เพราะโดยส่วนตัวนั้น สำหรับดิฉันวนเวียนอยู่กับการทำงานเขียน นิตยสารสกุลไทย ไม่ได้เป็นแค่หนังสือสำหรับมีไว้ให้อ่านแก้เหงาเท่านั้น หากแต่เป็นตำราเล่มใหญ่ที่ดิฉันมีไว้หาคำตอบในการเขียนหนังสือด้วย ติดขัดเรื่องใด ข้องขัดเรื่องไหน ก็ไปรื้อ ไปค้น สักพักก็ได้คำตอบ ได้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการทำงานด้านภาษา

นิตยสารเล่มนี้จึงมีคุณค่าทางใจ เพราะเป็นหนังสือในอุดมคติ มีเรื่องราวของความจริง ความดีและความงามอยู่ภายใน มีความทันสมัยที่หยิบฉวยมาปฏิบัติได้ เป็นบรรทัดฐานของการใช้ภาษาไทย อ่านครั้งใดก็อิ่มเอมใจ ติดขัดเรื่องใดก็ศึกษาหาความรู้ได้

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง เลยทำให้รู้สึกวิเวก โหวงเหวง เมื่อทราบว่านิตยสารสกุลไทยจะต้องปิดตัวลงไป ไม่มาทักทายกันเหมือนที่ผ่านมา แต่ครั้นพินิจพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ก็ต้องยอมรับความจริงและทำใจ

ทุกอย่างเป็นไปตามกติกาสากลของธรรมชาติ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามกาลเวลา
ส่วนที่เป็นกายภาพ เป็นสังขารนั้น เป็นธรรมดาที่ย่อมเปลี่ยนแปลงและแตกดับได้
แต่สิ่งที่คงอยู่ตลอดไปคือ คุณค่าที่มีต่อชีวิตและจิตใจของผู้คน
ดิฉันสั่งพี่โกวิทไว้แล้วว่า ช่วยเก็บฉบับสุดท้ายไว้ 5 เล่ม อยากได้ไว้เป็นที่ระลึกและเก็บไว้เป็นของขวัญสำหรับคนที่คู่ควร

ส่งไลน์ไปไม่กี่นาที พี่โกวิทตอบทันใจ อาจไม่ได้ตามที่สั่ง เพราะใครๆ ก็สั่งแบบเดียวกัน

ดิฉันเลยคิดว่า ไม่เป็นไร เพราะสิ่งที่ได้รับมาแล้วจากนิตยสารสกุลไทยตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น เป็นคลังขุมทรัพย์ทางความรู้ ที่นำมากิน มาใช้มากเท่าไรก็ไม่มีวันหมดอยู่แล้ว


 : http://www.ryt9.com/s/tpd/2511732


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ก.ย. 16, 14:17
ฮิฮิ นานๆ ค่อยมีสาระที  :-[  :D


เนื่องจากช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อ สิ่งเก่าคือหนังสือกระดาษกำลังหมดไป สิ่งใหม่คือนิตยสาร online ยังมีอุปสรรคและความท้าทายรออยู่อีกเยอะ ดังนั้นน่าเศร้าที่สกุลไทยแบบปัจจุบันต้องจบลงโดยยังไม่ทันได้เป็นนิตยสาร online เต็มรูปแบบ


อุปสรรคหนึ่งของหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์คือเนื้อหามันถูกทำสำเนาหรือ copy แจกจ่ายกันง่ายมาก ดังนั้นรูปแบบการขายจะไม่เหมือนหนังสือซะทีเดียว การขายสมาชิกที่อนุญาตให้เฉพาะคนที่จ่ายเงินอ่านได้อาจจะไม่เหมาะ เพราะถ้ามีคนจ่ายคนเดียวก็อาจจะ copy ไปจ่ายแจกได้ อีกปัญหาหนึ่งคือระบบการจ่ายเงิน โดยเฉพาะในบ้านเรายังไม่สะดวก เช่นการตัดบัตรเครดิตหรืออื่นๆ นี่เป็นอุปสรรคอยู่และบ้านเราก็ปรับตัวกับเรื่องนี้ช้ามากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ พวกนี้จะทำให้จำนวนคนบอกรับเป็นสมาชิกจะน้อย


ดังนั้นรายได้หลักของนิตยสาร online ตอนนี้ที่มองเห็นจะมาจากค่าโฆษณามากกว่าและ เพราะการเข้าถึงที่สะดวกของคนอ่านถ้าเนื้อหาน่าสนใจปริมาณคนอ่านจะเยอะกว่าแบบหนังสือมากๆ  ถ้าไปดูในเว็บของสกุลไทยที่น่าจะเป็นช่องทางหารายได้ได้มากจะไม่เห็นโฆษณาข้างนอกเลย กลายเป็นเว็บที่เป็นช่องทางขายหนังสือนิยายกระดาษแบบ online มากกว่า แถมเนื้อหาที่น่าสนใจที่อ่านได้ก็ไม่มีโฆษณาเลย พื้นที่ว่างเหลือเยอะมาก ทำให้ช่องทางหารายได้หายไปอย่างน่าเสียดายทั้งที่ปริมาณคนอ่านน่าจะเยอะ นี่เป็นการปรับตัวไม่ทันที่มีผลเสียหายต่อสกุลไทยมากทั้งๆ ที่สกุลไทยมีศักยภาพที่ทำได้  หลายๆ เว็บที่หารายได้จากค่าโฆษณาอย่างเดียวแล้วเติบโตได้ก็มี ตัวอย่างเช่นเว็บ Pantip หรือ Dek-dee ที่โฆษณาไม่ได้ทำให้ดูรกแต่ค่อนข้างกลมกลืน เว็บพวกนี้รายได้ไม่น้อยสามารถเอาตัวรอดทางธุรกิจได้ แม้แต่เรือนไทยของเราถ้าจะมี sponsor บ้างผมก็ไม่รังเกียจเลย


อีกเรื่องคือหนังสือที่สกุลไทยขายบนเว็บยังเป็นหนังสือกระดาษ ซึ่งพวกนี้มีต้นทุนทั้งค่าพิมพ์ ค่ากระดาษ ต้อง stock ของอีก กำไรต่อเล่มไม่มาก หนังสือจำนวนมากพวกนี้ไม่ได้ทำเป็นแบบ e-book ขายเลยทั้งที่ทำได้ไม่ยาก ถ้าขายเองลำบาก สามารถฝากขายผ่านเว็บใหญ่ๆ เช่น Amazon ได้  ไม่ต้องกลัวถูกอ่านฟรีๆ เพราะพวก Amazon เค้าป้องกันการอ่านฟรีได้ดีพอสมควร ไม่ต้อง stock ของ จะมากจะน้อยเล่นต้นทุนเท่ากัน แถมขายได้ทั่วโลกตลอดเวลา คนไทยในต่างแดนจำนวนมากเป็นแสนคนต้องการอ่านนิยายแต่หาซื้อไม่ได้ หรือซื้อได้ก็ราคาแพงเกินไป ตอนผมอยู่ ตปท อยากอ่านหนังสือมากมายแต่ซื้อไม่ได้ สู้ค่าส่งไม่ไหว การขายแบบ online จะทำให้ต้นทุนต่อเล่มลดลงมากๆ แถมขายได้ตลอดเวลาไม่มีพรมแดน  แถมถ้าหนังสือ e-book มีมากๆ เข้าถึงสะดวกจะเป็นการบังคับคนอ่านให้หันมาปรับตัวกับหนังสือลิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นด้วย จำนวนคนใช้ก็จะมากตามไปอีก


เดิมผมเป็นพวกไม่อ่านนิยาย โดยเฉพาะนิยายไทย แต่หลังเป็นสมาชิกเรือนไทยแล้วกลับมาไทยค่อยมาเริ่มอ่าน ช่วงนี้อ่านงานเรื่องผีๆ แบบติดหนึบ แต่เงินรายได้ขับ taxi มันน้อย ผมซื้ออ่านเล่มละ 3-4 ร้อยมากๆ ก็ไม่ไหว งานหนังสืองวดที่แล้วโชคร้ายไม่เจอท่านอาจารย์ใหญ่และใหญ่กว่า เตารีดคันไถที่พกไปไม่ได้ใช้งาน แค่นิยายของ "แก้วเก้า" นี่เผลอแป๊บเดียวแบงค์พันหายไปสองสามใบ ถ้าเป็นแบบ e-book ที่ราคาถูกลง อาจจะแค่ 25% แปลว่าผมจะซื้อหนังสือได้มากขึ้นอีก 25% ด้วยกับจำนวนเงินเท่ากัน แต่จริงๆ ต้นทุนกระดาษโกดังไม่มี อาจจะลดราคาไปได้มากกว่านั้นโดยที่ทุกๆ ฝ่ายยังมีรายได้เท่าเดิมก็ได้ นี่ต้องฝากท่านอาจารย์ใหญ่ไปบอก "แก้วเก้า" ด้วยครับ อย่างตอนนี้ที่ผมมี 3-4 เรื่องแบบ pdf เป็นของละเมิดลิขสิทธิ์หมดเลย ไม่ใช่อยากละเมิด แต่หาแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ถูกกฏหมายไม่ได้เลย ทั้งที่มันอ่านบน tablet สะดวกมาก ผมไม่สนใจว่าปกต้องสวย สนใจแต่เรื่องที่สนุก ผมเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนไปรอของใหม่แล้ว แต่ของใหม่ยังมาไม่ทันผม



ช่วงเวลาที่สกุลไทยเหลือเวลาอยู่อีกไม่มาก แต่ยังมีเนื้อหาต่อเนื่องที่ยังไม่จบ แฟนยังมีมากมาย แทนที่จะปิดตัวลง ทีมงานแยกย้าย สกุลไทยอาจจะลองกัดฟันเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจหันมาเป็นนิตยสาร online ที่หารายได้จากการโฆษณาหรือแบบอื่นๆ ซักระยะหนึ่งดูผมเชื่อว่าน่าจะไปต่อได้ ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วแม้แฟนๆ รุ่นเก่ามากๆ บางส่วนอาจจะปรับตามไม่ทัน แต่ก็มีโอกาสที่จะได้แฟนรุ่นใหม่เพิ่ม เพราะถ้าพูดถึงเนื้อหาแล้วสกุลไทยไม่แพ้ใคร นิยายแต่ละเรื่องระดับปรมาจารย์เขียนทั้งนั้น เพียงแต่รูปแบบทางธุรกิจปัจจุบันมันปรับตัวไม่ทัน ที่จริงคนที่พร้อมจะสนับสนุน ที่ผูกพันกับสกุลไทย ทั้งคนอ่านและ sponsor ที่พร้อมลงโฆษณาแบบ online ผมเชื่อว่ายังมีอยู่เยอะมากๆ แทนที่จะเป็นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็กลายเป็น เกิดขึ้น คงอยู่ ต่อไป(แต่เปลี่ยนรูปแบบ)


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 16, 14:44
ดิฉันขออนุญาตนำข้อเขียนของคุณประกอบ ส่งให้ผู้บริหารสกุลไทยนะคะ

หลังจากหดหู่มาพักหนึ่งกับการจากไปของสกุลไทย   ดิฉันก็นึกขึ้นมาได้ว่า สกุลไทยไม่ได้มีความหมายแค่สิ่งพิมพ์    แต่สกุลไทยหมายถึงความรู้ และความบันเทิงที่ยังมีเสน่ห์อยู่ในตัวครบถ้วน
ถ้าเปลี่ยนจากพิมพ์บนกระดาษเป็นเผยแพร่ในรูปอื่น     สกุลไทยก็ยังเป็นสกุลไทยอยู่ดี 
ขึ้นกับว่าผู้บริหารจะหาทางออกยังไงเท่านั้นค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ก.ย. 16, 15:00
ยินดีมากๆ เลยครับ ผมอยากให้ผู้บริหารสกุลไทยลองสู้ดูวิธีใหม่ ผมเป็นแฟนคอลัมภ์ในสกุลไทยหลายคอลัมภ์มาก  ในระยะแรกอาจจะต้องสอนหรือแนะนำแฟนรุ่นเก่าทีไม่ทันเทคโนโลยีนิดนึง แต่ชื่อสกุลไทยมันผูกพันกับผู้อ่านมากเกินกว่าจะให้จบไปง่ายๆ ครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ก.ย. 16, 16:22
ต้องเสริมอีกนิดหน่อยเผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ


รูปแบบธุรกิจของหนังสือแบบดิจิตอลจะแตกต่างกับนิตยสารแบบดิจิตอลมาก และเมื่อเปลี่ยนการขายหนังสือเข้าสู่ความเป็นดิจิตอลมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประพันธ์มากกว่าต่อสำนักพิมพ์เช่นสกุลไทย ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้แต่งมีนิยายดีๆ ซักเรื่องต้องการขายเป็น e-book ผู้แต่งสามารถแปลงเป็น e-book เองได้อย่างง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก แล้วส่งไปขายบน Amazon ได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งตัวแทนจำหน่ายใดๆ อีก  Amazon ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายให้เอง ดังนั้นบทบาทเดิมของสกุลไทยในฐานะผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือนิยายอาจจะต้องเปลี่ยนไป ต่อไปอาจต้องมีการตกลงเรื่องลิขสิทธิ์หรือสิทธิในการจำหน่ายหนังสือแบบ e-book จากนิยายที่ตีพิมพ์ในนิตยสารก่อนที่อาจจะไม่เหมือนเดิมสมัยเป็นกระดาษ ดังนั้นสมมุติถ้าสกุลไทยจะเปลี่ยน บทบาทตรงนี้ก็จะเปลี่ยนเช่นกัน


e-book ที่ขายบน Amazon ส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยที่ประมาณ  $2.99 หรือแค่ประมาณร้อยบาทเท่านั้น จำนวนมากราคาแค่ $0.99 เท่านั้น  Amazon จะหักหัวคิว 30% ที่เหลือเป็นของคนแต่ง  ถ้าราคายิ่งแพงค่าหัวคิวจะยิ่งมาก และยิ่งถ้าแพง ถ้าไม่ใช่หนังสือดังหรือคนแต่งมีชื่อเสียงอาจจะขายได้ยาก อาจต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการโปรโมทและการขาย แต่นั่นคือหนังสือภาษาอังกฤษ ปัจจุบันหนังสือภาษาไทยผมไม่เคยเจอ ไม่รู้ราคาเฉลี่ยเท่าไหร่ คนไทยขายหนังสือบน Amazon มีน้อยมากๆ ก็ไม่รู้นักเขียนใหญ่ท่านใดจะเริ่มก่อน


ข้อเสียของ Amazon คือค่าหัวคิว ถ้าจะขายเองโดยตรงก็ไม่ต้องเสียหัวคิว แต่ต้องระวังเรื่องการ copy e-book  ซึ่งถ้าผ่าน Amazon หนังสือแต่ละเล่มจะผูกติดกับบัญชี Amazon ของผู้ซื้อคนนั้นซึ่งขั้นตอนการ copy e-book ออกไปให้คนอื่นอาจยุ่งยาก ทำให้ซื้อเลยง่ายกว่าเพราะราคาไม่แพง แต่ Amazon ยืดหยุ่นให้แบ่งปันหนังสือในบัญชีของเรากับคนในครอบครัวได้ด้วยทำให้ไม่ต่างกับการซื้อหนังสือเข้าบ้านที่ทุกคนในบ้านอ่านได้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 16, 16:25
ขอไปเผยแพร่ในเฟซนะคะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 16, 18:13
สมกับวิทยฐานะจริงๆ

น่าคิดมากครับ ทำอย่างไรมนุษยชาติจะปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคดิจิตอลได้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ย. 16, 19:08
ถ้าผู้แต่งมีนิยายดีๆ ซักเรื่องต้องการขายเป็น e-book ผู้แต่งสามารถแปลงเป็น e-book เองได้อย่างง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก แล้วส่งไปขายบน Amazon ได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งตัวแทนจำหน่ายใดๆ อีก  Amazon ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายให้เอง

e-book ที่ขายบน Amazon ส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยที่ประมาณ  $2.99 หรือแค่ประมาณร้อยบาทเท่านั้น จำนวนมากราคาแค่ $0.99 เท่านั้น  Amazon จะหักหัวคิว 30% ที่เหลือเป็นของคนแต่ง  ถ้าราคายิ่งแพงค่าหัวคิวจะยิ่งมาก และยิ่งถ้าแพง ถ้าไม่ใช่หนังสือดังหรือคนแต่งมีชื่อเสียงอาจจะขายได้ยาก อาจต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการโปรโมทและการขาย แต่นั่นคือหนังสือภาษาอังกฤษ ปัจจุบันหนังสือภาษาไทยผมไม่เคยเจอ ไม่รู้ราคาเฉลี่ยเท่าไหร่ คนไทยขายหนังสือบน Amazon มีน้อยมากๆ ก็ไม่รู้นักเขียนใหญ่ท่านใดจะเริ่มก่อน

อ่านในบทความเรื่อง ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการเอาหนังสือไปขายที่ Amazon (http://ebookmakerich.blogspot.com/2015/07/amazon.html) เขาบอกว่า Amazon ไม่รองรับภาษาไทย หากทำหนังสือไปขายที่ Amason ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ (หรือภาษาที่ Amazon รองรับ) ก่อน จริงหรือเปล่าท่านดอกเตอร์


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ก.ย. 16, 20:50
ฮิฮิ ผมอ่านแต่ e-book ภาษาอังกฤษ ยังคิดเลยทำไมไม่มีภาษาไทย ที่แท้ Amazon ยังไม่รองรับนี่เอง นี่จะเป็นอุปรรคกับนักเขียนไทยมากหน่อย แต่สำหรับนิตยสารอาจจะไม่ใช่ เพราะช่องทางหารายได้ต่างกัน

แต่แม้ Amazon ไม่รองรับ ปัจจุบันมีเว็บที่ขาย e-book ภาษาไทยหลายที่ เท่าที่ดู app ต่างๆยังข้อจำกัดยังมีในหลายๆ ส่วนเพราะระบบต้องป้องกันการ copy ต่อค่อนข้างมาก ความสะดวกเลยลดลง แต่ก็เป็นช่องทางขายงานของนักเขียนได้ไม่เลว แต่เท่าที่เห็น e-book ไทยจากนักเขียนที่ผมไม่รู้จักยังราคาค่อนข้างแพงอยู่ ไม่ค่อยดึงดูดให้ลองซื้อ

e-book เริ่มต้นเป็นจริงเป็นจังมายังไม่ถึง 10 ปี ในต่างประเทศผลกระทบค่อนข้างชัดเจนกว่าเมืองไทย คิดว่าต่อไปอีกไม่นานอุปสรรคเรื่องภาษาอาจจะลุล่วงไป  และเมื่อนั้นมันจะมา เพราะในมุมมองของนักคอมพิวเตอร์ที่ผมพอมีประสบการณ์บ้างนิดหน่อยเทคโนโลยีไม่ใช่ข้อจำกัดหลัก น่าจะเป็นเรื่องตลาดหรือการเมืองมากกว่า แต่ของพวกนี้พอมันมามันจะมาเร็วมากๆ มาแบบไม่รู้ตัวเลย ดูอย่าง facebook ก็ได้ ในเวลาไม่ถึง 10 ปีกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของคนจำนวนมากไปแล้ว ตอนนี้มือถือเองเริ่มจอใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์การเป็นเครื่องมือในการเสพสื่อหลายรูปแบบ tablet ที่จอใหญ่กว่าก็เริ่มมา คนที่พกอุปกรณ์พวกนี้คนละอันหรือสองอันเป็นเรื่องปกติมากในปัจจุบัน

อีกปัญหาที่จะเป็นคู่แข่งนิตยสาร online หรือ e-book คือลักษณะนิสัยการอ่านของคนที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบพวก social network เช่น facebook ที่่ทำให้คนต้องการอ่านอะไรที่กระชับ สั้น แต่ up-to-date มากกว่าอะไรที่ช้าและยืดยาวกว่า พวกนี้มันกระทบสมาธิในการอ่านมากเพราะทำให้เราไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำอะไรสิ่งเดียวได้ คนจะสมาธิสั้นขึ้น จดจ่อกับอะไรนานๆ ไม่ได้ แต่ถ้าหนังสือมีเนื้อหาที่ชวนติดตามก็ยังสู้กับนิสัยการอ่านที่เปลี่ยนไปได้ครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 16, 07:43
ในอนาคตที่ยังพอเดาถูก ประมาณว่าสัก ๕ ปีที่จะถึงนี่ ผมยังไม่คิดว่า e-book จะเข้าถึงคนไทยทุกระดับได้เช่นเดียวกับหนังสือที่เป็นเล่ม เพราะปัญหาหลักคืออุปกรณ์ที่ใช้สื่อยังมีราคาสูงอยู่ แม้ว่าตามบ้านนอกจะมีมือถือในระบบ Android กันเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็จะใช้เล่นไลน์กันมากกว่าที่จะใช้อ่านหนังสือประเภทเป็นเล่มๆ ส่วน tablet เห็นจะมีน้อยมาก พวกนี้พอเสียก็จบข่าว เพราะหาช่างซ่อมยาก จะซื้อใหม่ก็แพงเกิน

หนังสือที่เป็นเล่มกระดาษในห้องสมุด จะยังคงมีบทบาทไม่น้อยลงไปกว่าเดิม ยิ่งห้องสมุดประจำจังหวัดและอำเภอ ถือเป็นขุมทองของผู้กระหายการอ่านโดยแท้ แต่ที่ผมไม่ทราบก็คือ ปัจจุบันรัฐมีการส่งเสริมและจัดงบให้ห้องสมุดสาธารณะทั้งหลายซื้อหนังสือใหม่ๆแค่ไหน แต่คงไม่ได้แค่รอบริจาคหนังสือเก่าอย่างเดียว


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 16, 07:58
ผมตระหนักดีว่า คนรุ่นใหม่จะชอบอ่านอะไรที่สั้นๆเพื่อความบันเทิงมากกว่าความรู้ อนาคตในเรื่องภูมิปัญญาของชาติ(หรือของโลก)จะเป็นอย่างไรไม่อยากเดา แต่ผมคงจะไม่ผลิตงานของผมออกมาเพื่อสนองกลุ่มผู้ใช้นี้โดยตรง ปล่อยให้คนอ่านบทความของผมไปตัดต่อย่อเรื่องเอาเองดังที่เขาก็ทำๆกันอยู่แล้ว ซึ่งผมมิได้รังเกียจเลยแม้ว่าเขาจะไม่เอ่ยชื่อผมสักคำก็ตาม

แต่ผมสนใจ e-book มาก มันจะนำบางคนที่อ่านแบบสั้นข้างบนแล้วติดใจมาค้นหาอ่านต่อแบบจะให้จุใจ ทว่าผมยังมีข้อมูลไม่พอที่จะเลือกเอางานของผมไปฝากไว้กับใคร จุดมุ่งหมายไม่ใช่เพื่อรายได้เข้ากระเป๋านะครับ อยากให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ผมเพียรพยายามค้นคว้ามาเขียน ได้ถูกเผยแพร่ออกไปให้กว้างขวางที่สุดไม่ว่าจะโดยสื่อใด แต่การที่จะประกาศแจกฟรีๆนั้น อาจทำให้มันดูไร้ค่า จนไม่มีใครอยากหยิบก็ได้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ย. 16, 08:50
  ที่คิดๆอยู่ตอนนี้คือจะเขียนนิยายออนไลน์ค่ะ   แต่เป็นเว็บปิด ต้องสมัครสมาชิก   
  แล้วลงวันละตอนสั้นๆ เหมือนกระทู้  ไม่ใช่ยาวๆหลายหน้าอย่างที่ลงในนิตยสาร  เพื่อคนอ่านจะได้อ่านในมือถือ   เวลาอยู่ในรถไฟฟ้า หรือในรถตู้ไปทำงาน  หรือตอนพักเที่ยง
  หมดเวลาก็หมดตอนพอดี
  พรุ่งนี้มาอ่านตอนใหม่ ต่อจากเมื่อวาน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ก.ย. 16, 09:11
ผมทำงานแผนกไอทีนะ แต่อ่าน PDF File ใน tablet แล้วปวดหัวครับ อาจเป็นเพราะมันเป็นคู่มือทำงานก็ได้มั้ง ทำให้นิยายต่าง ๆ เลยอ่านบนโน๊ตบุ๊คสถานเดียว จะเป็นการจำกัดว่าต้องอ่านที่บ้านนะ หรือที่ทำงานตอนพักเที่ยงนะ เพราะมันใหญ่พกพาไม่สะดวก จัดว่าดีในเรื่องแบ่งเวลา ไม่อย่างนั้นก็จะอ่านหนังสือมันทั้งวัน


อันที่จริงสำหรับผู้ที่นิยมชมชอบ E-BOOK ก็จะมีสินค้าไว้สำหรับอ่านโดยเฉพาะ อย่าง Amazon ก็มี Amazon Kindle ซึ่งมันปรับแสงให้เราอัตโนมัติ สามารถคั่นย่อหน้าให้เพื่อกลับมาดูได้อีกครั้ง และแม้จะไม่ใช่ tablet แต่ก็สามารถเข้าเน็ตเพื่อโหลดหนังสือ และอัพเดทอะไรต่อมิอะไรบนเครื่องได้ มีให้เลือกหลายยี่ห้อหลายรุ่น จอสี ขาว-ดำ ทำอะไรได้บ้างก็มีให้เลือกเยอะ หรือจะดูหนังบนเครื่องเดี๋ยวนี้ก็สามารถทำได้ แต่จุดเด่นที่สุดของบรรดา kindle ทั้งหลายคือเหมาะสมกับการอ่านมากกว่า tablet ชนิดมากมายก่ายกอง



(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ec/Kindle_Paperwhite_WiFi.jpg/435px-Kindle_Paperwhite_WiFi.jpg)



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ก.ย. 16, 09:28
นิยายออนไลน์ตอนนี้ผมก็เขียนอยู่นะครับ มีทั้งเรื่องยาวและเรื่องจบในตอนที่ไม่ค่อยอยากจะจบในตอนนัก

ปัญหาคือ

 1 สั้นเกินไปมันดำเนินเรื่องไม่ได้ คนอ่านก็จะบ่นว่ามันสั้นไปหน่อยนะ คุยกันแพร๊บ ๆ จบตอนแล้วหรือ อะไรเนี่ย

 2 เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเขียนอาทิตย์ละ 2 ตอนนะ ลงวันนี้นะ ผมกำหนดไว้นั่นแหละแต่พอเอาเข้าจริง ๆ มันมีปัญหาวุ่นวายเยอะมาก ไหนจะคิดเรื่องไม่ได้เอย มีงานด่วนงานสำคัญแทรกเข้ามาเอย ที่สำคัญเวลาไม่มีอารมณ์จะเขียนมันก็เขียนไม่ออก ถ้าเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับบทความ ข้อเท็จจริง ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นนิยายที่ต้องใช้จินตนาการนี่ประสบปัญหาพอสมควร

 3 ยาวเกินไปคนก็ไม่อยากจะอ่านกันนัก บางครั้งผมซอยเนื้อเรื่องออกเป็น 3 ตอน ต้นฉบับก็ยังตอนล่ะ 15 หน้ากระดาษ A4 อยู่เลย

4 คนอ่านมักเข้ามาอ่านช่วงเย็นวันธรรมดาไปจนถึงกลางดึก ส่วนวันหยุดก็มาเรื่อย ๆ มากบ้างน้อยบ้างว่ากันไป ผมจึงพอสรุปได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษา นักเรียน มากกว่าคนทำงาน เพราะฉะนั้นการกำหนดขนาดตอนในแต่ละตอนจึงค่อนข้างสำคัญ  ผมจะพยายามให้อยู่ที่ประมาณ 8-10 หน้ากระดาษ A4 ต่อตอน แน่นอน ผมว่าเรื่องจบในตอนเกินแหง ๆ ฮ่า ๆๆๆๆ

5 คนทำงานส่วนใหญ่ไม่อ่านนิยายจากมือถือ คนทำงานที่อ่านนิยายจะใช้คอมพิวเตอร์จากที่ทำงานหรือที่บ้าน เพราะมันอ่านง่ายกว่าสะดวกกว่าและชัดเจนกว่า วัยรุ่นต่างหากล่ะครับที่จะอ่านนิยายจากมือถือ เป็นเรื่องที่ต้องจับประเด็นด้วยว่าเราอยากไปทางไหนกันแน่


ผมเขียนเอาสนุกและอยากมีประสบการณ์ใหม่ ๆ น่ะครับ รวมทั้งอยากเผยแพร่นิยายน้ำเน่าสมัยฝึกเขียนของตัวเองไปด้วย ข้อดีคือทำให้เรารู้ว่าสนามจริงมันเป็นอย่างไร ช่วยพัฒนาวิธีการเขียนของเราให้เป็นไปตามมาตราฐานด้วย


แต่ผมไม่อ่านนิยายคนอื่นเลยนะ นอกจากเรื่องที่มันสนุกโดนใจและใช้วิธีเขียนที่เราชอบจริง ๆ ไม่อย่างนั้นความคิดเรามันจะวิ่งไปตามคนอื่นมากไป ค่อนข้างพอใจกับผลงานตัวเองพอสมควร แต่ก็ยังไม่ได้จริงจังอะไรเพราะช่วงนี้ยุ่งเหลือเกิน


ในอนาคตหวังไว้ว่าจะเขียนนิยายเรื่องยาวเรื่องใหม่เอี่ยมให้สำเร็จลุล่วง ด้วยประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาหลายปีนั่นแหละครับ และด้วยแนวคิดมุมมองของเราเองโดยไม่ไปเอาแนวการเขียนของใคร ส่วนจะไปได้ถึงไหนอย่างไร  ออกมาเป็นเล่มขายจริงหรือไม่ผมไม่ซีเรียส ขึ้นอยู่กับฝีมือ จังหวะ และวาสนากระมังครับ  ;D


ในอดีตเคยทำสัญญากับสำนักพิมพ์เหมือนกันนะ แต่เขาปิดตัวไปก่อนเลยไม่ได้พิมพ์เลย ฮ่า ฮ่า ฮ่า








กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 20 ก.ย. 16, 10:42
ผมซื้ออุปกรณ์ tablet เครื่องแรกก่อนจะมี smartphone ซะอีก เครื่องที่ผมซื้อคือ Amazon Kindle Fire HD ที่ถือว่าเป็น tablet ไม่ใช่ e-reader แบบเครื่องอ่าน e-book รุ่นก่อนหน้าของ Amazon ที่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักเพราะเป็นเครื่องอ่านหนังสืออย่างเดียว ไม่ใช่เป็นอุกรณ์สารพัดประโยชน์แบบ tablet


Amazon kindle ของผมใช้งานอ่าน e-book ไม่มีปัญหาเลย ผมซื้อ e-book มาอ่านจำนวนมาก แต่มันใช้อ่านพวก pdf ไม่ค่อยดีแบบที่คุณ superboy บอกเพราะจอมันเล็กไป แค่ 7" ทำให้ตอนหลังต้องขยับมาซื้อ tablet 10" แทน คราวนี้ชีวิตการอ่าน pdf ดีขึ้นมาก ยกเว้นเอกสารหรือหนังสือที่ scan มาจากหนังสือเล่มใหญ่มากๆ ที่ทำให้ตัวหนังสือยังคงเล็ก แต่อ่าน pdf ที่ scan มาจากพวกตำรา textbook นี่ไม่มีปัญหาเลย


ตอนนี้ tablet ยังไม่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ชาวบ้านพกพากันเหมือน smartphone แต่ยุคสมัยของมันคงจะมาอีกไม่นานครับ อาจจะ 5 ปี 10 แต่คงไม่เกิน 10 ปีนี้ เพราะความสะดวกของระบบ internet จะทำให้มันชนะห้องสมุด โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ตอนนี้ internet ไปเกือบทั่วประเทศแล้ว ชาวบ้านร้านตลาดห่างไกลดู youtube กันเป็นเกือบหมด พวกนี้ปริมาณข้อมูลเยอะกว่าหนังสือ 1 เล่มหลายเท่า   อีกทั้งต้นทุนซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดในระยะยาวจะแพงกว่าซื้อ e-book มาก โดยเฉพาะห้องสมุดที่มีพื้นที่จำกัด เก็บหนังสือจำนวนมากไม่ได้ ต่อไปคงมีโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับระบบห้องสมุดมากขึ้นเล่นสิทธิการอ่านแบบเป็นกลุ่ม แทนที่จะเป็นคนเดียวซื้อขาด รวมถึง e-book ฟรีที่มาจากหนังสือที่หมดลิขสิทธิ์แล้วอีกจำนวนมาก  ยิ่งยุคนี้เป็น cloud แล้วอีก อะไรที่มันอยู่บน internet แล้ว มันมักจะคงอยู่ตลอดไปครับ ยั่งยืนกว่ากระดาษมาก เพียงแต่จะอยู่ถูกที่ถูกทางถูกกฏหมายรึเปล่าเป็นอีกเรื่องนึง ดังนั้นต่อให้อุปกรณ์เสีย แต่สิทธิในหนังสือที่เคยซื้อยังอยู่ เปลี่ยนอุปกรณ์ก็ยังอ่านหนังสือเดิมได้ มันจะไม่หายไปตามอุปกรณ์ที่พังครับ  tablet 10" ผมซื้อมา 6800 บาท แม้จะแพงแต่ราคาถูกกว่า smartphone หลายๆ รุ่นเลย หรือถ้า tablet ไม่มา ก็จะเป็น e-book เองที่จะปรับตัวให้เข้ากับหน้าจอที่เล็กหน่อยของ smartphone ครับ หรือไม่ tablet หรือ smartphone ต่อไปอาจจะเป็นจอพับได้แถมไร้รอยต่อ ทำให้ย่อขยายได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน


คนยุคใหม่จะคุ้นเคยกับการอ่านแบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หนังสือกระดาษค่อยๆ หมดความสำคัญไปเรื่อยๆ เช่นกัน ต่อไปจะมีลักษณะของของสะสมมากกว่าการเป็นสื่อนำสารแล้ว   แต่ e-book หรือนิตยสาร online ก็ต้องสู้รบกับคนยุคใหม่สมาธิสั้นที่อดทนอ่านอะไรยาวๆ ไม่ค่อยได้กัน ชอบอะไรไวๆ มากหน่อย  นี่ก็เป็นอีกโจทย์ที่ท้าทายให้ต้องผลิตแต่เนื้อหาที่ดึงดูดมากขึ้นถึงจะสู้ได้


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 16, 10:51
 tablet 10" ที่ซื้อมา 6800 บาท ของยี่ห้อไหนหรือครับ เห็นมีราคาเป็นหมื่นทั้งนั้น


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 16, 12:02
กรณียุตินิตยสารสกุลไทย กรณีศึกษาการอ่านของสังคมไทย

มกุฏ อรฤดี  (http://www.culture.go.th/subculture8/attachments/article/260/makoot.pdf)ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) บรรยายในห้องเรียนวิชาบรรณาธิการศึกษา
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๖ กันยายน ๒๕๕๙

 
          ครูถือว่าข่าวการประกาศปิดตัวของนิตยสารสกุลไทยเป็นข่าวสำคัญ ครูจึงนำมาเป็นหัวข้อการเรียนในวันนี้ซึ่งตรงกับวิชาบรรณาธิการศึกษาที่เรากำลังเรียนกันอยู่
 
          “เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และเอเย่นต์จัดจำหน่ายที่ลดลง ทำให้นิตยสารกระดาษค่อยๆลดบทบาทลงในยุคของสื่อดิจิตอลเช่นทุกวันนี้  ด้วยเหตุนี้ สกุลไทยจำเป็นอย่างที่สุดที่ต้องแจ้งต่อท่านผู้อ่านว่า คณะผู้บริหารนิตยสารสกุลไทยได้มีมติให้ยุติการจัดทำนิตยสารสกุลไทย โดยฉบับที่ ๓๒๓๗ ซึ่งจะวางจำหน่ายวันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ จะเป็นฉบับสุดท้าย...”
 
          หนังสือที่จะอยู่ได้ นิตยสารที่จะอยู่ได้ จะต้องเศรษฐกิจดี ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีอยู่ไม่ได้หรอก ส่วนเศรษฐกิจดีของนิตยสารมาจากว่า มีคนซื้อ มีผู้อ่าน ก็คือรายได้จากการขายนิตยสารนั้น และ รายได้จากโฆษณา

          ในกรณีของสกุลไทย แสดงว่ารายได้จากการขายนิตยสารและรายได้จากโฆษณาลดลง

          รายได้หลักของนิตยสารทั่วโลก ไม่ได้อยู่ที่การขายนิตยสาร แต่อยู่ที่รายได้จากโฆษณา  ถ้าสังเกตย้อนกลับไปประมาณ ๕ ปีที่แล้ว สกุลไทยมีจำนวนหน้ามากกว่านี้ เพราะว่ามีหน้าโฆษณาหลายหน้า

          ถามว่าคนอ่านสกุลไทยน้อยลงมั้ย มีคนให้ความเห็นว่าผู้อ่านสกุลไทยไม่ได้น้อยลง แต่ซื้อน้อยลงเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้น ย่อมมีคนอีกจำนวนมากไปอ่านสกุลไทยจากห้องสมุด หรือในครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ซื้อเพียงฉบับเดียวแล้วหมุนเวียนกันอ่าน เพราะฉะนั้น คนอ่านสกุลไทยจึงมิได้ลดน้อยลง

          แล้วทำอย่างไรละ ที่จะให้นิตยสารนี้อยู่ได้?

          ถ้าเราพิจารณาสกุลไทยทั้งฉบับ ประมาณครึ่งฉบับเป็นสาระ อีกครึ่งฉบับเป็นบันเทิงคดีนวนิยายซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะดึงดูดให้คนอ่าน

          ครูคิดว่าคนอ่านนิตยสารสกุลไทย ประมาณ ๘๐% อ่านเพราะนวนิยาย

          นอกจากนั้น สกุลไทยยังมีคอลัมน์ที่น่าสนใจอยู่มาก มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอยู่มาก และเนื้อหาสาระที่น่าสนใจเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวัฒนธรรม

          เราเป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา เราจึงวัดการอ่านจากหนังสือที่เรียกว่า Book ไม่ได้ เพราะยังไกลเกินไปที่จะให้คนอ่านหนังสือเล่มหนา ๆ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าประเทศไหนก็ตามที่อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา เช่น ประเทศอินเดียเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว ก็เริ่มต้นให้ประชาชนรู้จักการอ่านด้วยนิตยสารเล่มบาง ๆ ที่มีเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้งนิทานบันเทิงคดีด้วย  เมื่อเขาเริ่มการอ่าน ใฝ่หาการอ่าน หลังจากนั้นเขาจึงไปอ่านหนังสือที่หนาขึ้น ๆ

          นี่คือตัวอย่างการจัดการเรื่องการอ่านของนักจัดการเรื่องการอ่านของภาครัฐในประเทศอินเดีย  ขณะที่เราจัดการเรื่องการอ่านแบบจัดงานอีเว้นท์ ตบแต่งซุ้มในงานอย่างสวยงาม เพื่อให้คนแห่กันไปดู แล้วหลังจากนั้นเงินจำนวน ๑๐-๒๐-๓๐ ล้านบาท ก็สูญสลายไป วิธีการอย่างนี้ไม่เป็นผล

          แต่วิธีที่จะเป็นผลที่สุด ก็คือ สื่อซึ่งอยู่ในใจของคนมาเป็นเวลา ๖๑ ปีแล้ว  ถ้านักจัดการหนังสือที่ฉลาด เขาจะใช้สื่อนี้แหละ เพราะอะไร เพราะว่าสกุลไทยลงทุนให้รัฐบาลมาตั้ง ๖๑ ปีแล้ว ทำไมรัฐบาลไม่ถามสกุลไทยสักคำว่า คุณขาดทุนเดือนละเท่าไหร่  ถ้าครูเป็นรัฐบาล แค่หยิบเอาค่าโฆษณาของกระทรวงวัฒนธรรมมาสักจำนวนหนึ่ง ค่าโฆษณาของกระทรวงศึกษาธิการอีกสักจำนวนหนึ่ง ค่าโฆษณาของกระทรวงสาธารณสุขอีกสักจำนวนหนึ่ง และค่าโฆษณาจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกจำนวนหนึ่ง ฯลฯ ในที่สุดเมื่อรวมทั้งหมดก็พอที่จะให้สกุลไทยไม่ขาดทุนและอยู่ต่อไปได้ โครงสร้างการอ่านก็ไม่สูญสลายไป นี่เป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุด

          แต่บังเอิญรัฐบาลไม่มีคนที่จะมาคิดและรับผิดชอบเรื่องหนังสือและการอ่านของประเทศ จึงปล่อยให้นิตยสารดีๆต้องล้มหายจากไป

           เมื่อ ๔-๕ ปีที่แล้ว ร้านหนังสือเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศว่าจะต้องปิดกิจการ เนื่องจากดำเนินการต่อไปไม่ได้ ประสบกับภาวะขาดทุน  วันรุ่งขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศสไปที่ร้านหนังสือแห่งนั้น เพื่อที่จะบอกว่าหยุดไม่ได้นะ แล้วผมจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ร้านหนังสือของคุณอยู่ได้ จะด้วยวิธีไหนก็ตาม

            สำหรับนักจัดการเรื่องหนังสือและการอ่าน  นิตยสารที่มีคนอ่านมากกว่า ๑ หมื่นคนขึ้นไป ถือว่าเป็นเครื่องมือสาธารณะ เพราะเราจะใส่สาระอะไรลงไปก็ได้ เพื่อที่จะดึงคนอ่านอย่างพื้นฐานที่สุด จนกระทั่งอ่านสูงขึ้น

            ถามว่ามีอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จบปริญญาเอกหรือนักวิชาการระดับสูงถึงระดับศาสตราจารย์เป็นจำนวนมากแค่ไหนหรือไม่ที่อ่านนิตยสารสกุลไทย  มีบุคคลที่ประสบความสำเร็จกี่คนที่เริ่มการอ่านจากนิตยสารเล่มนี้ หรือใช้นิตยสารเล่มนี้เป็นองค์ประกอบในชีวิตด้วย

           เมื่อ รัฐบาลไม่มีหน่วยงานที่จะมาจัดการดูแลเครื่องมือสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องหนังสือและการอ่าน

            แต่นิตยสารสกุลไทยคือเครื่องมือสาธารณะชิ้นหนึ่งที่มีอยู่เป็นเวลานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีใครบอกว่านี่คือเครื่องมือของรัฐบาล

            ถ้าเปิดดูเนื้อหาข้างใน นิตยสารสกุลไทยทำในบางคอลัมน์ได้ดีกว่ากระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในบางคอลัมน์ทำได้ดีกว่ากระทรวงศึกษาธิการ แต่บังเอิญกระทรวงเหล่านี้ไม่รู้จักใช้เครื่องมือ แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป ถ้าเราหมดเครื่องมือนี้ไป

            หากว่าเรามีเครื่องมือวัดจำนวนคนอ่านหนังสือ หมายความว่าวัดปริมาณคนอ่านและวัดปริมาณสิ่งที่อ่าน ท้ายที่สุด ทันที่สกุลไทยเลิก ปริมาณการอ่านของคนชนบทก็จะลดลง

            เพราะอะไร เพราะให้สังเกตว่านิตยสารสกุลไทยจะมีอยู่ในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประจำอำเภอก็มี

            หรือแม้แต่การที่ทำให้นิตยสารฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาสาระครึ่งหนึ่งของจำนวนหน้าทั้งหมด ไปตกอยู่ที่ห้องสมุดกลายๆของประเทศทั้งประเทศ นั่นคือความสำเร็จอย่างใหญ่ยิ่งที่สุด

            ห้องสมุดกลาย ๆ ของทั้งประเทศคืออะไร ร้านทำผม เห็นผลกำไรที่เกิดขึ้นไหม ระหว่างที่รอทำผมหยิบนิตยสารขึ้นมาอ่าน อาจจะอ่านได้เพียง ๘ หน้า ถ้าคนไทยที่เข้าร้านทำผม แล้วได้สาระจาก ๘ หน้านี้ ประเทศนี้จะเกิดอะไรขึ้น แล้วถ้าเผื่อมันสูญไป ๘ หน้าละ จะเกิดอะไรขึ้น

            นี่คือสิ่งที่ผู้ที่ได้เรียนวิชาบรรณาธิการศึกษาต้องขบคิด หรือจะคิดเพียงแต่ว่าเจ๊งก็เจ๊งไป ไม่เป็นไร

            อย่าเชื่อว่าขณะนี้สิ่งที่ล้มหายตายจากไป สืบเนื่องมาจากสื่อดิจิตอล แม้แต่ประเทศฝรั่งเศสเขาก็ไม่เชื่อว่าดิจิตอลจะอยู่ยั้งยืนยง

            ดังนั้น หนังสือกระดาษในประเทศฝรั่งเศสจึงคงต้องมีอยู่ รัฐบาลฝรั่งเศสก็พยายามเข้ามาสนับสนุนอย่างยิ่งโดยการออกกฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ร้านหนังสือเล็ก ๆ ได้คงอยู่ สำนักพิมพ์เล็ก ๆ ได้คงอยู่ และนักเขียนนักแปลเล็ก ๆ ได้คงอยู่

            บังเอิญครูไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ถ้าครูมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล วันนี้ครูจะไปหาเจ้าของนิตยสารสกุลไทย เพื่อที่จะถามว่าอยากได้สตางค์สักเท่าไหร่ เพื่อให้นิตยสารฉบับนี้อยู่ต่อไป ดีกว่าที่เราจะมาเริ่มต้นกับนิตยสารฉบับใหม่ ซึ่งจะมีคนอ่านสักกี่คนก็ไม่รู้ แต่อย่างน้อยสกุลไทยก็มีคนอ่านอยู่แล้วจำนวนนับแสนคน

            การที่ทำให้คนสิบคนอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยากมาก แต่สกุลไทยมีผู้อ่านอยู่แล้วทั่วประเทศเป็นแสนคน ทำไมรัฐบาลจึงไม่เข้ามาทำอะไร ไม่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

            อย่าลืมว่านิตยสารสกุลไทยมีการทำงานเหมือนนิตยสารชั้นดีอื่นๆทั่วโลก คือมีระบบบรรณาธิการที่ดี มีการเลือกเรื่องที่ดี ที่เห็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน มีวาระพิเศษต่าง ๆ ในการจัดทำฉบับนั้น ๆ หรือถ้ามีการสัมภาษณ์เด็กที่เก่งมาลงในสกุลไทย สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นคือโฆษณากระทรวงศึกษาธิการที่ดีที่สุด โดยที่กระทรวงศึกษาฯไม่ต้องลงทุนเป็นเงินเป็นทองเลย แต่ว่าผลที่ได้มากมายมหาศาล เพราะคนที่อ่านสัมภาษณ์ จะรู้สึกว่ากระทรวงศึกษาฯนี่เก่ง ทำให้เด็กเก่งและดีได้

             ดังนั้น นิตยสารที่ติดตลาดแล้วของชาติใดก็ตาม รัฐบาลควรจะดูแลให้คงอยู่ต่อไป เพราะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ชนิดที่พูดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารประเทศด้วยซ้ำ

http://www.posttoday.com/social/think/455223


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 16, 12:23
อ้างถึง
แต่วิธีที่จะเป็นผลที่สุด ก็คือ สื่อซึ่งอยู่ในใจของคนมาเป็นเวลา ๖๑ ปีแล้ว  ถ้านักจัดการหนังสือที่ฉลาด เขาจะใช้สื่อนี้แหละ เพราะอะไร เพราะว่าสกุลไทยลงทุนให้รัฐบาลมาตั้ง ๖๑ ปีแล้ว ทำไมรัฐบาลไม่ถามสกุลไทยสักคำว่า คุณขาดทุนเดือนละเท่าไหร่  ถ้าครูเป็นรัฐบาล แค่หยิบเอาค่าโฆษณาของกระทรวงวัฒนธรรมมาสักจำนวนหนึ่ง ค่าโฆษณาของกระทรวงศึกษาธิการอีกสักจำนวนหนึ่ง ค่าโฆษณาของกระทรวงสาธารณสุขอีกสักจำนวนหนึ่ง และค่าโฆษณาจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกจำนวนหนึ่ง ฯลฯ ในที่สุดเมื่อรวมทั้งหมดก็พอที่จะให้สกุลไทยไม่ขาดทุนและอยู่ต่อไปได้ โครงสร้างการอ่านก็ไม่สูญสลายไป นี่เป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุด

บรรทัดทองทั้งย่อหน้า
อยากทราบจริงๆเหมือนกันว่า จะต้องมีงบสนับสนุนเดือนละ ปีละ เท่าไหร่นะ สกุลไทยจึงจะอยู่ได้โดยมารตฐานคุณภาพไม่ตก


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 20 ก.ย. 16, 16:14
tablet 10" ที่ซื้อมา 6800 บาท ของยี่ห้อไหนหรือครับ เห็นมีราคาเป็นหมื่นทั้งนั้น

lenovo tab2 A10-30 ครับ ซื้อจากงานคอมที่ศูนย์ประชุมฯเมื่อปลายเดือนมิถุนาที่ผ่านมานี่เอง จอใหญ่แต่อย่างอื่นเล็กหมด ค่อนข้างช้าแต่เมื่อเทียบกับราคาแล้วถือว่าคุ้มครับ ตอนนี้อ่าน e-book หรือ pdf สบายเลย แบตก็อึดมากๆ ของพวกนี้ราคาเป็นหมื่นไม่ได้แอ้มผมหละ เงินเดือนน้อยครับ :'(  :'(  :'(


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 16, 16:36
จะลองไปหาดูบ้าง ขอบคุณนะครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 16, 09:14
ผู้จัดการออนไลน์ ลงบทความยาวจุใจทีเดียว เรื่องสกุลไทยอำลาวงการ

 เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ในการ "ฟื้นคืนชีพ" หนังสือสกุลไทยในรูปแบบ "สื่อดิจิตอล" แหล่งข่าวท่านนี้บอกว่า น่าจะพอทำได้
       
       "ถ้ามองในแง่ของฉบับออนไลน์จริงๆ แล้ว โดยศักยภาพของสกุลไทยเอง เราก็น่าจะพอทำได้นะ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่มีคนพูดถึงกันเยอะก็คือ แฟนเก่าที่เหนียวแน่นของเรา ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่ไม่ค่อยใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ยังคงติดรูปแบบที่เป็นกระดาษกันอยู่ แม้จะบางส่วนจะไม่มีปัญหาที่จะอ่านในออนไลน์ ซึ่งก็คงต้องดูกันอีกที ปัจจุบันเราก็มีการทดลองด้วยการเอาเรื่องที่ลงในสกุลไทยมาลงให้อ่านฟรีในออนไลน์ เช่น ศิลปวัฒนธรรม คอลัมน์บ้านเก่า เพื่อทดลองดูว่าผู้อ่านจะรับไหม จนถึงตอนนี้ก็ยังจะทำอยู่จนกว่านิตยสารจะปิดตัวลง"

อ่านทั้งหมดได้ที่
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000094943


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 16, 09:33
จากใจ 'กฤษณา อโศกสิน' : หมดสิ้น 'สกุลไทย'

ตลอดชีวิตที่ผ่านมาหลายสิบทศวรรษนั้น ดิฉันเคยได้ยินคำว่า "สายฟ้าฟาด" หรือมิฉะนั้นก็ "ปลดฟ้าผ่า" ผ่านหูผ่านตาไปมาอยู่เนือง ๆ แต่ถ้าถึงกับฟาดลงมาตรง ๆ บนร่างกายหรือหัวใจของตัวเองนั้น คงจะต้องนับนิ้วกันสักนิด... หนึ่ง...สอง...สาม...สี่... ที่อาจสาหัสขนาดน้ำตานองหน้า

จากนั้นก็หลงลืมไปด้วยกาลเวลา แต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น เป็นปีที่ไม่เคยหายไปจากความระลึกถึง เนื่องด้วยคือปีที่ดิฉันแลเห็นตนเองเดินตามคุณประกาศ วัชราภรณ์เพื่อนนักเขียนอาวุโสขึ้นบันไดชัน ค่อนข้างมืดของตึกแถวบนถนนบำรุงเมือง ไปสู่ชั้นสองอันเป็นกองบรรณาธิการบริษัทอักษรโสภณ ผู้ผลิต นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗

ได้พบผู้จัดการ คุณเกษม ส่งเสริมสวัสดิ์ แต่ยังไม่พบผู้อำนวยการ คุณประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ ผู้พี่ชายครั้นแล้ว คุณประกาศก็ออกปากฝากดิฉันเข้าเป็นนักเขียนหน้าใหม่ ด้วยค่าเรื่องครั้งแรกตอนละ ๒๕๐ บาท มีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่มาแล้ว ๑๓ เรื่องจาก 'ศรีสัปดาห์' และ 'สตรีสาร' เป็นประกัน โดย 'สตรีสาร' กำลังตีพิมพ์ 'น้ำผึ้งขม' ในปีนั้น

ดิฉันได้รับการต้อนรับจากสกุลไทยอย่างดียิ่งจนต้องขอบคุณเรื่อยมากระทั่งทุกวันนี้

ต่อจากนั้น จึงได้ส่งนวนิยายเรื่องแรก 'ชลธีพิศวาส' เป็นประเดิมทันทีโดยสกุลไทยลงตีพิมพ์ให้อย่างเร็วจนดิฉันเองก็แปลกใจ

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นามปากกา "กฤษณา อโศกสิน" "กัญญ์ชลา" "สไบเมือง" ที่ต่อมา ดิฉันเกิดอารมณ์ประทับใจ อยากเขียนนวนิยายแนวธรรมะ ก็ได้ลงตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานโดยไม่เคยขาดหายไปแม้เพียงหนึ่งสัปดาห์ มีผู้อ่านเป็นกำลังใจ ติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอตลอดมา

จาก พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙ คือปีนี้ ชีวิตการเขียนหนังสือของดิฉันอันมีเวทีใหญ่คือสกุลไทยรายสัปดาห์รองรับ นับได้ทั้งสิ้น ๕๔ ปี

เป็นห้าสิบสี่ปีที่อาจกล่าวได้เต็มปากว่า อยู่ เย็น เป็น สุข ร่วมกับญาติสนิทมิตรสหายอันได้แก่คุณประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและคุณสันติ-วราภรณ์ ส่งเสริมสวัสดิ์ ทายาทผู้สืบทอดกิจการ พร้อมพรักด้วยเพื่อนนักเขียนทั้งรุ่นเดียวกัน รุ่นน้อง ลงมาจนถึงรุ่นหลาน

มีผู้อ่านเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ขับเคลื่อน

บรรณาธิการบริหารผู้ล่วงลับ คุณสุภัทร สวัสดิรักษ์และคุณนรีภพ สวัสดิรักษ์ จิระโพธิรัตน์ ผู้รับช่วงต่อตำแหน่งนี้ย่อมทราบดี

ครั้นแล้ว ทุกชีวิตก็เดินทางมาถึงวันสุดท้าย

วันที่สายฟ้าได้ฟาดลงบนเส้นทางของนิตยสารอายุ ๖๒ ปี จนถึงแก่ต้องปิดตำนาน อันเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญอีกหน้าหนึ่งของโลกนิตยสารไทยลงในฉบับสุดท้าย ๓๒๓๗ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ขอได้รับความรักความอาลัยอย่างท่วมท้น จากนักเขียนคนหนึ่งของนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์

กฤษณา อโศกสิน

http://www.nationtv.tv/main/content/social/378517165/


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 16, 14:29
จากใจ 'ซูม' เหะหะพาที : สกุลไทยรายสัปดาห์ อีก ๑ เพื่อนเก่าที่จากไป

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ ข่าวหนึ่งบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่เป็นข่าวใหญ่พาดหัวยักษ์ของคนรักหนังสือ และ ชอบอ่านหนังสือหนังหาหลายล้านคนทั่วประเทศไทย

นั่นก็คือข่าวการแถลงปิดตัวเองของนิตยสาร “สกุลไทยรายสัปดาห์" ที่ยืนหยัดเคียงคู่สังคมไทยมาถึง ๖๑ ปี

นับเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ระดับที่เรียกกันว่ายักษ์ใหญ่ฉบับที่ ๒ ที่ตัดสินใจปิดตัวเองอำลาแผงในปี ๒๕๕๙ นี้ หลังจากที่นิตยสาร บางกอกรายสัปดาห์ ประกาศปิดตัวไปก่อนเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน

ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่านิตยสารบางกอกจะปิดตัวเองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๗ โน่นแล้ว ผมยังหยิบมาเขียนอำลาอาลัยผ่านคอลัมน์นี้ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ แต่ปรากฏว่าคณะผู้บริหารเปลี่ยนใจ หันมากัดฟันต่อสู้จนในที่สุด บางกอกรายสัปดาห์ก็อยู่มาได้อีก ๒ ปีเศษดังกล่าว

สำหรับนิตยสารสกุลไทยนั้น แทบไม่มีข่าวคราวหรือเบาะแสใด ๆ เลยว่าจะเจอสถานการณ์หนักหน่วงจนถึงขั้นจะปิดตัวเอง

จู่ ๆ ก็มีจดหมายเปิดผนึกอำลาแผงออกมาทันที ทำให้แฟน ๆ และสมาชิกตลอดจนผู้ที่รู้จักคุ้นเคยแม้จะมิใช่สมาชิก รู้สึกช็อกไปตาม ๆ กัน

คงต้องกราบเรียนท่านผู้อ่านว่าความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นกับผมเมื่อทราบข่าวการจากไปของสกุลไทย ก็เป็นเช่นเดียวกับที่ผมเขียนไว้อาลัย "บางกอกรายสัปดาห์" (ล่วงหน้า ๒ ปี) นั่นแหละครับ

คือรู้สึกใจหาย อาลัยอาวรณ์ แม้จะตระหนักดีถึงการเกิดขึ้นและการดับไปอันเป็นสัจธรรมของโลกดังที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ แต่ผมก็อดเสียดายมิได้ที่เพื่อนเก่าและครูเก่าของผมคนหนึ่งกำลังจะจากไป

ผมถือว่า บางกอกรายสัปดาห์เป็น "เพื่อนเก่า" เพราะติดตามอ่านมาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม และถือเป็น "ครูเก่า" ด้วย ก็เพราะนักเขียนหลาย ๆ ท่านเปรียบเสมื่อนครูบาอาจารย์ที่ผมอ่านแล้วก็จดจำสำบัดสำนวนมาใช้เขียนหนังสือในภายหลัง

แต่สำหรับ สกุลไทยรายสัปดาห์นั้น นอกจากจะเป็น เพื่อนเก่า และ ครูเก่า ของผมเช่นกันแล้ว ยังเป็น "สนามแจ้งเกิด" สนามแรก ๆ ในการเขียนหนังสือของผมด้วย

ประมาณปี ๒๔๙๙ ผมกำลังเรียนอยู่มัธยม ๕ ที่ปากน้ำโพ เคยส่งบทกลอนมาประกวดได้รางวัลชนะเลิศประจำสัปดาห์ พร้อมเงินตอบแทน ๕๐ บาท ยังจำได้ดีถึงทุกวันนี้

ในปีเดียวกัน สกุลไทยมีหน้าสำหรับแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ อยู่ ๒ หน้าเต็ม ๆ ใช้ชื่อว่า "อุดมทัศนีย์" ซึ่งผมก็ส่งมาร่วมสนุกด้วย และได้ลงตีพิมพ์บ่อย ๆ แม้จะไม่มีเงินรางวัลตอบแทนให้ แต่ก็ทำให้คนได้ลงดังพอสมควร เพราะสกุลไทยจะพิมพ์รูปคนเขียนประกอบไว้ด้วย

ผมเลือกรูปที่หล่อมากมาลง ยังจำได้ว่ามีคนเขียนจดมหายมาสมัครเป็นมิตรกว่าร้อยฉบับ จนบุรุษไปรษณีย์ที่นำจดหมายมาส่งสัพยอกว่าไอ้น้องคนนี้ดังที่สุดในปากน้ำโพ เพราะมีคนส่งจดหมายมาถึงมากที่สุด

แม้เมื่อเติบใหญ่ขึ้นความสนใจของผมที่มีต่อนวนิยายจะลดน้อยลงเพราะหันไปอ่านหนังสือหลากรสมากขึ้น ทำให้ห่างเหินสกุลไทยไปนาน

แต่ก็ยังอ่านคอลัมน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะคอลัมน์สังคมหรือบทความที่เกี่ยวกับเจ้านายของเราที่เป็นสัญลักษณ์ของนิตยสารฉบับนี้ เวลาไปรอพบหมอตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีนิตยสารเก่า ๆ มาวางให้อ่านฆ่าเวลา และเกือบทุกโรงพยาบาลจะมีสกุลไทยรวมอยู่ด้วย

ขอแสดงความอาลัยอย่างจริงใจต่อการจากไปของเพื่อนเก่า ครูเก่า และสนามแจ้งเกิดแห่งแรก ๆ ของผม.. "สกุลไทยรายสัปดาห์" ไว้ ณ ที่นี้

"ซูม"

http://www.thairath.co.th/content/726390


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 16, 18:27
อดีตประทับใจ   ภาพปกสกุลไทยที่หายากมากในปัจจุบัน
ชายในชุดขาวผู้คุกเข่าอยู่ในภาพ คือจอมพลป.พิบูลสงคราม ค่ะ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ย. 16, 18:40
ตามมาอีก ๑ ฉบับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 29 ก.ย. 16, 08:59
พลอยแกมเพชรก็ปิดตัวลงไปอีกเจ้า :'( :'( :'(

แล้วต่อไปนวนิยายใหม่ที่จะลงเป็นตอนๆไปจนจบเรื่องจะเป็นแบบไหนต่อไปคะ รอเขียนจนจบแล้วพิมพ์เล่มทีเดียวเลยหรือเปล่าคะนี่ ???


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ก.ย. 16, 10:37
ณ วินาทีนี้ สื่อสิ่งพิมพ์อย่างนิตยสารบางฉบับที่เราคุ้นเคยกำลังลาลับอย่างไม่มีวันกลับ เพราะไร้ผู้อ่านไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาเหมือนวันเก่าก่อน ฟังความเห็นของอาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย นักการตลาดฝีปากกล้าระดับปรมาจารย์ของเมืองไทย

ผมคิดว่านิตยสารที่จะอยู่รอดต่อไปได้ จะมีเพียงแต่นิตยสารที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเบอร์ ๑ และเบอร์ ๒ ของเมืองไทย เท่านั้น หรือในประเภทของนิตยสารผู้หญิง อาจมีถึงเบอร์ ๓ หรือ เบอร์ ๔ ที่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ก็คือ ไม่ว่านิตยสารเบอร์ไหน ทุกรายจะต้องเจอปัญหา "โฆษณาลดลง" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้อ่านที่เปลี่ยนไป จากผู้อ่านในโลกกระดาษย้ายมาอ่านในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จนในที่สุด เราก็จะพบว่า โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ย้ายเข้าไปสู่โลกออนไลน์ตามไปด้วย

การอ่านไม่จำเป็นต้องอ่านในหนังสือกระดาษเท่านั้น เราสามารถอ่านเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ ได้จากสื่อออนไลน์ เพียงแต่ว่าการอ่านแบบลึกซึ้ง หรือการอ่านแบบมีสมาธิที่ต้องใช้เวลานานอาจจะไม่เกิดขึ้นเท่าใดนัก ซึ่งผู้อ่านในยุคปัจจุบันมักจะมีพฤติกรรมการอ่านแบบฉาบฉวย อ่านแบบสมาธิสั้น เนื่องจากผู้อ่านบนโลกโซเชียลมีสิ่งเร้ามากมายที่เข้าไปรบกวนความสนใจการการอ่าน

เด็กยุคใหม่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับสื่อกระดาษ พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีสารพัดประเภท บวกเข้ากับปัจจัยที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่แข็งแรงในเรื่องการอ่าน แต่สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการดู และด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ จึงเป็นเหตุในหนังสือรุ่นเก่าที่ปรับตัวไม่ทัน หรือปรับตัวช้า ต้องล้มหายตายจากอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศที่เป็นสังคมแห่งการอ่าน ยอดขายหนังสือประเภทต่าง ๆ ในประเทศไม่ได้ลดลง และยังขายได้ดี เพราะออนไลน์ไม่สามารถทำลายระบบหนังสือของประเทศนั้น ๆ ได้

ปัจจัยที่ทำให้นิตยสารต้องล้มหายตายจาก มาจากปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ

๑. การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ผู้อ่านหลายต่อหลายท่านที่ติดนิยายในนิตยสารไม่จำเป็นต้องรอคำว่า "โปรดอ่านฉบับหน้า" อีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขาสามารถเข้ามอ่านในโลกออนไลน์ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

๒. ผู้อ่านเปลี่ยนเครื่องมือในการอ่าน จากหนังสือย้ายไปสู่สมาร์ทโฟน

๓. เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป พฤติกรรมของเอเจนซี่โฆษณาก็เปลี่ยนตามไปด้วย

ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า นิตยสารไทยจะหายไป แต่พื้นที่ยืนของนิตยสารจะเล็กมาก ๆ หากจะพูดให้เห็นภาพก็คือ วันหนึ่งคุณเคยอยู่บ้านหลังใหญ่มีพื้นที่รอบตัวบ้านมากมาย แต่อยู่มาวันหนึ่ง คุณต้องย้ายไปอยู่คอนโดฯ เล็ก ๆ ขนาดไม่เกิน ๓๐ ตารางเมตร สิ่งสือพิมพ์จะไม่ตาย แต่จะอยู่ต่อไปแบบร่อแร่ นั่นแหละ อนาคตนิตยสารไทย

ทางรอดของนิตยสารไทยก็คือ อย่าหารายได้จากการโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ควรหารายได้เพิ่มจากการจัดอีเวนต์ ยกตัวอย่างเช่น ค่ายอมรินทร์จัดงานบ้านและสวนแฟร์, ค่ายกรังด์ปรีซ์จัดงานมอเตอร์โชว์ เป็นต้น อย่างน้อย ๆ ค่ายนิตยสารควรจัดอีเวนต์ขึ้นมาเป็นของตัวเองอย่างน้อยปีละครั้ง โดยทางออกเช่นนี้จะช่วยให้ค่ายนั้น ๆ มีรายได้จาการจัดงานสูงหลายสิบล้านบาท

http://www.thairath.co.th/content/737411



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ย. 16, 10:55
พลอยแกมเพชรก็ปิดตัวลงไปอีกเจ้า :'( :'( :'(

แล้วต่อไปนวนิยายใหม่ที่จะลงเป็นตอนๆไปจนจบเรื่องจะเป็นแบบไหนต่อไปคะ รอเขียนจนจบแล้วพิมพ์เล่มทีเดียวเลยหรือเปล่าคะนี่ ???

ยังไม่ทราบค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย  หลายข้อ 
หนังสือออนไลน์กับหนังสือเล่ม นำเสนอกันคนละรูปแบบ    ถ้านักเขียนปรับตัวไม่ได้ก็จะต้องเลิกอาชีพไป เท่านั้นเอง


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 ก.ย. 16, 09:08
สายการ์ตูนอย่างผมก็ได้รับผลกระทบครับ
(https://1.bp.blogspot.com/-KdEjG3GaU-0/V9bXvNgE42I/AAAAAAAAB-A/wYYYd1QX5nYC3oRQc5cYyJd-1_IfN_c8gCLcB/s640/ode2g8b99OTQW5duZOU-o.jpg)
C-kids นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ อ่านมาตั้งแต่สมัยเรียกมหาวิทยาลัย ตอนนี้ก็ประกาศปิดตัวไปเรียบร้อยแล้วครับ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 16, 09:23
มีเสียงแว่วมาว่า  หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับก็กำลังจะตามไปติดๆ ค่ะ
เดี๋ยวนี้ คนอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์จากมือถือกันเป็นส่วนใหญ่


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 30 ก.ย. 16, 13:13
มีเสียงแว่วมาว่า  หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับก็กำลังจะตามไปติดๆ ค่ะ
เดี๋ยวนี้ คนอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์จากมือถือกันเป็นส่วนใหญ่

เมื่อวานไปรับงานพิเศษทำความสะอาดห้อง lab computer มีนักศึกษากำลังหัดเขียนโปรแกรมกัน ปรากฏว่านักศึกษาจำนวนมากใช้ smartphone จอเล็กๆ อ่านโจทย์ที่ให้ทำกัน แทนที่จะอ่านบนจอคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ เพราะขี้เกียจสลับหน้าจอไปมา  เด็กรุ่นใหม่คุ้นเคยกับการอ่านอะไรต่อมิอะไรบนหน้าจอเล็กๆ กันอย่างไม่น่าเชื่อ ส่วนที่คุณ Naris ได้รับผลกระทบอ่านการ์ตูนไม่ได้ ผมใช้ app Manga Rock อ่านการ์ตูนมานานแล้วครับ ยิ่งตอนนี้อ่านบน tablet 10 นิ้วนี่อารมณ์เดียวกับอ่านการ์ตูนกระดาษเลย


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 ก.ย. 16, 15:16
ผมรอให้มือถือปัจจุบันสิ้นอายุขัยอยู่ครับ เดี๋ยวจะหาตัวที่หน้าจอใหญ่ๆ มาใช้แทนแล้วครับ  :'(


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:36
ว่ากันว่า สื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือ กำลังจะตาย แล้วผู้ชายที่มีตัวหนังสือละมุ่นละไมคนนี้คิดเห็นอย่างไร
 
กี่ร้อยกี่พันครั้งที่มีการโค้ดว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” และคนที่เอามาพูดหรือเขียน มีทั้งคนที่ห่วงใย และคนที่ประชดประชันแดกดัน แต่จะมีสักกี่คนที่มองเรื่องการอ่านอย่างลึกซึ้ง

เหตุใดคนไทยจึงไม่ค่อยอ่านหนังสือ...

“ตอนนี้เราพูดถึงอีบุ๊ค นั่นสำหรับประเทศที่เจริญแล้ว แต่คนไทยจำนวนมากของประเทศ ยังไม่รู้จักอีบุ๊ค” มกุฏ อรฤดี กล่าว และคาดคะเนว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ คือคนไทยจำนวนมากที่ไม่สนใจอีบุ๊ค
กว่า 40 ปีที่มกุฏ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์-นวนิยายและเรื่องสั้น ปี 2555) เจ้าของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ และนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมาย อาทิ ผีเสื้อและดอกไม้ เด็กชายจากดาวอื่น และปีกแห่งความฝัน ฯลฯ ไม่ได้คิดแค่ธุรกิจหนังสือ ยังเพียรพยายามทำให้ทุกคนในประเทศนี้มีโอกาสอ่านหนังสือ

มกุฏ ไม่ได้พูดอย่างเดียว แต่ลงมือทำ ผ่านโครงการที่เขาพอจะทำได้ และพยายามผลักดันเรื่องสถาบันหนังสือแห่งชาติ นอกจากนี้ยังริเริ่มและสอนวิชาบรรณาธิการศึกษา ในมหาวิทยาลัยสองแห่ง รวมถึงเป็นคุณตาที่ผลักดันให้เด็กๆ เขียนบันทึก จนมีนักเขียนเด็กที่เขียนให้เด็กวัยเดียวกันอ่าน อาทิ บันทึกส่วนตัว ซายูริ ,เรไรรายวัน ฯลฯ
แม้ใครจะมองเป็นโครงการเล็กๆ น่ารัก แต่เขาบอกว่า
“ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์มาก”


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:36
ทำไมคุณมองว่า คนอ่านอีบุ๊คในประเทศเรายังมีไม่มาก

ลองถามสำนักพิมพ์ที่ทำอีบุ๊คคู่ขนานกับหนังสือว่า ขายได้เท่าไหร่ ผมถามเจ้าหน้าที่นิตยสารสกุลไทยก่อนปิดกิจการว่า เคยทำอีบุ๊คหรือเปล่า เขาบอกว่าทำ มีคนซื้อผ่านอีบุ๊คไม่ถึงพันคน  ทั้งๆ ที่เขาทำเนื้อหาผ่านออนไลน์ ก็ยังต้องปิดตัว นั่นหมายความว่า การอ่านของคนไทยทั้งจากกระดาษและออนไลน์ล้มเหลว ถ้าเช่นนั้นใครจะกู้สถานการณ์ เพราะเราฝันกันว่า ทุกคนจะอ่านอีบุ๊ค ผมคิดว่าประเทศไทยยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดถึงอีบุ๊ค ในมิติของการอ่าน ผมคงต้องพูดถึงหนังสือสำหรับชาวบ้านทั่วไปก่อน ผมไม่ห่วงคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ และคนที่มีโอกาส

คนที่อ่านอีบุ๊ค...ใช่คนทั้งประเทศไหม ทั้งๆ ที่เรามีสำนักงานสถิติแห่งชาติ แต่ไม่เคยสำรวจวิจัยเลยว่า คนไทยทั้งประเทศอ่านจากอีบุ๊คหรืออ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วอ่านอะไรบ้าง อ่านแล้วเกื้อกูลต่อชีวิตและอาชีพอย่างไร ได้ความรู้มากน้อยเพียงใด ไม่ใช่มาคุยกันว่า คนประเทศนี้อ่านหนังสือกี่เล่ม แต่เป้าหมายคือ เราจะใช้การอ่านพัฒนาชาติยังไง


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:37
ปรากฎการณ์นิตยสารที่ค่อยๆ หายไปจากแผง คุณคิดเห็นอย่างไร

สกุลไทยกว่าจะตัดสินใจปิดตัวใช้เวลาสี่ปี ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสกุลไทย ผมดูโครงสร้างแล้วเห็นว่า นิตยสารเขามีประโยชน์ต่อชาวบ้าน ครึ่งหนึ่งเป็นนวนิยาย อีกครึ่งเป็นสาระทั้งเรื่องภาษา การเมือง กฎหมาย สาธารณสุข ฯลฯ เป็นวิชาความรู้ในรูปต่างๆ เป็นเครื่องมือให้ชาวบ้านอ่านอย่างง่ายที่สุด อย่างน้อยๆ ในหนึ่งสัปดาห์คนเข้าร้านทำผม ถ้าอ่านสัก 8 หน้า คงดีกว่าไม่อ่านเลย เหมือนนิตยสารคู่สร้างคู่สม ขายดีเพราะเป็นเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับชีวิตคน เนื่องจากคนไทยจำนวนมากต้องการอ่านหนังสือระดับพื้นฐาน ผมมองว่าเราต้องทำหนังสือแทรกความรู้ง่ายๆ แบบนี้แหละ ถึงจะอยู่รอด และเมื่อผมพูดว่าให้รัฐบาลช่วยนิตยสารที่มีประโยชน์ต่อคนในชาติ คนก็บอกว่า ช่วยนิตยสารฉบับนี้ก็ต้องช่วยฉบับอื่นด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเราไม่มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องหนังสือและการอ่านของชาติ

นิตยสารแบบนี้เป็นเครื่องมือกระจายความรู้ให้ชาวบ้านด้วยวิธีทางอ้อม เพราะห้องสมุดประเทศไทยล้มเหลว ทั้งที่ควรมีหอสมุดแห่งชาติดูแล แต่ไม่มีอำนาจจัดการ ห้องสมุดทั่วประเทศก็ดูแลกันเอง ในที่สุดรัฐบาลก็บอกว่า ให้กศน.ดูแล ระบบจัดการของกศน.กับห้องสมุดสากล คนละเรื่องกัน เราไปดูห้องสมุดชุมชนในต่างจังหวัดสิ เรามีหนังสือเพิ่มพูนความรู้ในการประกอบอาชีพที่จะเพิ่มศักยภาพของคนสักกี่เล่ม


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:38
อยากให้วิเคราะห์สถานการณ์สื่อกระดาษ (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ)สักนิด ?

หนังสือยังจำเป็น ไม่ตายหรอก ส่วนนิตยสารอาจจะตาย ในอนาคตจะมีสื่อสิ่งพิมพ์แจกฟรีมากขึ้น  พวกฟรีก็อปปี้ ผมมองว่าเกิดๆ ดับๆ มีออกใหม่ ไม่ดีก็จากไป แล้วก็ออกใหม่ได้อีก ส่วนหนังสือพิมพ์ ถ้ามีการจัดการที่ดี ยังอยู่ได้ ผมไปต่างจังหวัดยังเห็นชาวบ้านที่ไม่มีสตางค์อ่านหนังสือพิมพ์ พวกเขาไปนั่งอ่านตามร้านกาแฟ สื่อประเภทนี้ยังจำเป็นต่อสังคม แต่ถ้าสื่อเหล่านี้เจ๊ง ก็ต้องเจ๊ง

ทุกคนบอกว่าสื่อกระดาษจะตายหมด เพราะออนไลน์ แต่สำหรับผมศึกษาเรื่องหนังสือและการอ่านมาตลอดชีวิต ผมคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะปล่อยให้สื่อกระดาษตาย ผมมองในมิติคนไทยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ยังเข้าไม่ถึงหนังสือ คนไทยจำนวนมากยังไม่รู้จักอีบุ๊ค อยู่ดีๆ คุณเอาระบบของประเทศที่เจริญแล้วมาให้คนของเรา ซึ่งคนจำนวนหนึ่งไม่เคยอ่านหนังสือเลยทั้งชีวิต และมีคนจำนวนมากไม่มีสตางค์ซื้อหนังสือ แล้วจะจัดการยังไง ผมยังนึกไม่ออก
ขณะที่คนฟากหนึ่งพูดถึงโลกของออนไลน์ แต่คนอีกฟากยังอ่านหนังสือไม่ออก และไม่มีหนังสือให้อ่าน ทำไมคุณใส่ใจกับคนกลุ่มหลังมากกว่า

เมื่อเปิด AEC เพื่อนบ้านเข้ามาเต็มประเทศ คนที่อ่านหนังสือไม่ออก ก็สู้คนพวกนี้ไม่ได้ สังเกตได้จากจังหวัดที่มีชาวต่างชาติมาเที่ยวเยอะๆ ภูเก็ต พังงา กระบี่ พยาบาลมาจากฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ในระดับที่ใช้ภาษาอังกฤษ และในระดับอื่น เพื่อมาทำงานในเมืองไทย

คนส่วนใหญ่คิดไปว่า ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล คงอ่านเหมือนเรา เราคิดไปเอง เราไม่เคยสำรวจเลยว่า แท้จริงแล้วชาวบ้านหาความรู้จากไหน  เรากำลังจะเปิดประตู AEC ให้เพื่อนบ้านมาทำมาหากินในบ้านเรา แต่ปรากฎว่าคนของเราไม่มีความรู้พื้นฐานเท่าคนพม่า เท่าคนขายโรตี ฯลฯ



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:39
ข้อมูลชุดไหนที่ทำให้คุณคิดว่า ความรู้พื้นฐานของคนไทยสู้เพื่อนบ้านไม่ได้

เราเคยทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งปี 2553 โครงการหนังสือหมุนเวียนในโรงเรียนชั้นประถมขนาดเล็กในจังหวัดชลบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปรากฎว่า ข้อสอบที่เด็กชั้นประถม 3-6 ตอบ น่าตกใจมาก เด็กไม่รู้ความหมาย ไม่เข้าใจคำและศัพท์ เราไม่เคยสนใจเรื่องความรู้ของชาวบ้าน ผมทำเรื่องมาตลอด 40 ปี ผมเสนอให้รัฐบาลตั้งสถาบันหนังสือแห่งชาติ จัดการเรื่องความรู้ให้ประชาชน คุณเคยได้ยินไหมว่า เด็กจบประถม 6 อ่านหนังสือไม่ออก อีกสิบปีข้างหน้าเขาจะพัฒนาตัวเองอย่างไร แล้วเราจะให้พวกเขาอ่านอีบุ๊คจากสมาร์ทโฟนได้อย่างไร เราคิดว่าชาวบ้านที่กรีดยาง ออกเรือหาปลา ปลูกผัก กรรมกรรับจ้าง น่าจะเป็นแบบเรา หนังสือเขายังไม่อ่านเลย เขาคิดว่าหนังสือช่วยอะไรเขาไม่ได้ ทำมาหากินดีกว่า


ตอนทีผมไปทำงานที่กระบี่ มีโอกาสคุยกับกรรมการแบกหามคนหนึ่ง จบประถม 6 ไม่เคยอ่านหนังสือเลย จนอายุ 40 เริ่มอ่านหนังสือ ต่อมาพบว่า สิ่งที่เขาทำวิเศษมาก เขาเห็นว่า ชุมชนเขาต่างคนต่างอยู่ เขาก็เลยคิดเรื่องความร่วมมือกันในชุมชนตั้งกองทุนหมู่บ้าน เก็บเงินวันละบาท ช่วยเหลือกันเวลาเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล หลังจากนั้น เขาเริ่มอ่านหนังสือ 3 ปีผ่านไป เขาดูแลกองทุนหมู่บ้านและดูแลกิจการของตัวเอง เงินผ่านมือปีละ10 ล้านบาท เขายืนยันทุกครั้งที่มีคนสัมภาษณ์ว่า ชีวิตดีขึ้น เพราะอ่านหนังสือ



กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:40
ถ้าอย่างนั้น ควรทำอย่างไรให้ทุกคนมีโอกาสอ่านหนังสืออย่างเท่าเทียมกัน

สิ่งที่คนทำธุรกิจด้านนี้คิดก็คือ คนที่มีปัญญาซื้อหนังสือ คือ คนมีการศึกษา เราพูดถึงนวนิยายแปล หนังสือฮาวทู หรืออะไรไม่รู้ ซึ่งไกลเกินกว่าที่ชาวบ้านจะรู้จัก แต่ถ้าคุณลองถือหนังสือเล่มหนึ่งแล้วไปบอกชาวประมงว่า คุณอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วคุณจะจับปลาเพิ่มขึ้นสิบเท่า ถามว่าเขาจะอ่านไหม

เมื่อก่อนเราเคยมีกรมวิชาการ ศูนย์พัฒนาหนังสือแห่งชาติ แล้วเลิกไป ขณะนี้รัฐบาลไม่มีอะไรเลย เพื่อพัฒนาเรื่องหนังสือและการอ่าน  เราถนัดแต่เบิกเงินทำกิจกรรม ไม่เคยตั้งคำถามว่า หลังจากทำกิจกรรมได้ผลอะไรบ้าง ถ้ารัฐบาลไม่คิดเรื่องความรู้ประชาชาติ ผมว่าอันตราย เวลาบริหารประเทศ ก็จะบริหารแบบที่เข้าใจคนเดียว อย่างงบประมาณลงสู่หมู่บ้าน 8,000 หมู่บ้าน ปีเดียวสูญไป 8,000 ล้านบาท ไม่ได้อะไรกลับมาเลย

เพราะเราไม่มีคนในรัฐบาลดูแลจัดการว่า เราจะทำหนังสือให้เหมาะกับภูมิศาสตร์ประชากรของการอ่านอย่างไร ผมมีสำนักพิมพ์ ผมก็ทำไม่ได้ ประเทศนี้มีคนกว่า 60 ล้าน คนต้องการอ่านหนังสือแบบนี้ประมาณ 40 ล้านคน ผมไม่มีความรู้เรื่องเกษตร เรื่องการจับปลา หรือการขับแท็กซี่ ผมสอนคนขับแท็กซี่ไม่ได้ เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ในอินเดีย ตั้งสถาบันหนังสือแห่งชาติ สิ่งที่สถาบันทำก็คือ ไปหาต้นฉบับความรู้จากที่ต่างๆ แล้วจัดพิมพ์ รัฐให้เงินสนับสนุน แจกจ่ายไปที่ต่างๆ ซึ่งสำนักพิมพ์และนักเขียนก็อยู่ได้  ในฝรั่งเศสพยายามแก้ปัญหาเรื่องอ่าน มีกฎหมาย ห้ามลดราคาหนังสือใหม่ ถ้าเราปล่อยให้ร้านค้าใหญ่ลดราคา ร้านค้าเล็กๆ จะตาย  ถ้าสำนักพิมพ์เล็กๆตาย ต่อมาที่ตายคือ นักเขียน


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:41
คิดยังไงที่มีการสรุปแบบเหมารวมว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด

เราจะพูดว่า คนไทยไม่อ่านหนังสือ คงไม่ได้ ถ้ารัฐบาลบอกว่า การอ่านหนังสือต้องเริ่มจากห้องสมุด แล้วจะเอาหนังสืออะไรไว้ในห้องสมุด แล้วใครล่ะเป็นคนทำหนังสือ ถ้าอย่างนั้นคนทำหนังสือมีความรู้พอหรือเปล่า มีสำนึกรับผิดชอบต่อคนอ่านหรือเปล่า สิบปีที่แล้วผมจึงเสนอให้มีวิชาหนังสือในมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาคนทำหนังสือทำด้วยใจรัก แต่เราแทบจะไม่มีความรู้เลยว่า เรื่องไหนทำแล้วเสียหายหรือดีต่อสังคม

จำได้ว่า ตอนผมอายุ 10 ปี ผมซื้อศรีธนญชัยมาอ่าน ตอนนั้นผมอยู่โรงเรียนประจำ บาทหลวงมีกฎว่า หนังสือทุกเล่มที่ซื้อมา ต้องตรวจสอบก่อน ปรากฎว่าศรีธนญชัยถูกเซ็นเซอร์ไปครึ่งเล่ม เพราะเนื้อหาไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ นี่คือวิชาหนึ่งสำหรับคนทำหนังสือ เนื่องศรีธนญชัยเป็นคนฉลาดแกมโกง ซึ่งวิธีการตรวจสอบหนังสือแบบนี้ เป็นแนวคิดฝรั่งที่อ่านหนังสือมานาน เขาก็สอนผมให้เห็นว่า หนังสือบางเล่มไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน




กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:42
อะไรทำให้คุณหันมาสนับสนุนเด็กๆ เขียนหนังสือ

เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมตั้งคำถามว่าทำไมคนชนบทไม่มีหนังสืออ่าน ไม่มีห้องสมุด คนมากมายตั้งคำถามว่า ทำไมเด็กไทยไม่อ่านหนังสือ ท้ายที่สุดผมได้คำตอบว่า การทำให้คนอ่านหนังสือมีหลายวิธี ให้เด็กเขียนก็เป็นวิธีหนึ่ง เขียนแล้วก็ต้องอยากอ่าน  เราได้ผลงานของเด็กๆ มาจำนวนหนึ่ง เป็นผลสำเร็จที่ไม่มีใครคาดถึง 44 ปีที่ประกวดหนังสือ ไม่เคยมีเด็กได้รางวัลการเขียนหนังสือเลย เป็นครั้งแรกที่ซายูริ เด็ก 7 ขวบได้รางวัลที่แข่งกับผู้ใหญ่ และมีเด็กสองสามคนที่ผมกำลังจะทำหนังสือให้ รวมทั้งเด็กตาบอด  เหล่านี้คือทรัพยากรที่เรามี แต่เราจัดการไม่เป็น

คนส่วนใหญ่มองว่า เป็นโครงการเล็กๆน่ารัก แล้วทำไมคุณมองว่า เป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่ ?

นักวิชาการชาวฝรั่งเศส หลังจากได้เห็นหนังสือของซายูริ และโครงการที่เราทำ เขาบอกว่า นี่คือ นวัตกรรมในการสร้างนักเขียน และเป็นระบบใหม่ที่ชาติต่างๆ ไม่เคยคิดที่จะให้เกียรติเด็กผลิตหนังสือเอง ทั้งๆ ที่เด็กมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ตรงกัน จะเข้าใจกันมากกว่า

เราได้ข้อสรุปว่า ถ้าอยากให้เด็กอ่านหนังสือ เราใช้วิธีเก่าไม่ได้ ซื้อหนังสือแล้วโยนให้เด็ก วิธีนั้นไม่สำเร็จ เราแจกสมุดบันทึกและดินสอ ไม่กี่เดือนเขาจะขอหนังสือ หรือในวิชาบรรณาธิการศึกษา พลอย-สโรชา กิตติสิริพันธุ์" เจ้าของผลงานไดอารีผู้พิการทางสายตาเรื่อง “จนกว่าเด็กปิดตาจะโต” มาลงเรียนวิชานี้ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ การบ้านที่ผมให้คือ ต้องเขียนบันทึกประจำวัน ผมเห็นต้นฉบับของเธอดีกว่าทุกคน เธอวาดรูปด้วย เมื่อก่อนไม่มีใครเชื่อว่า คนตาบอดจะวาดรูปได้ เธอวาดจากคำบอกเล่าหรือการสัมผัสสิ่งของ และต่อมาให้ฝึกเขียนลายมือ ไม่มีใครเชื่ออีกว่า คนตาบอดจะเขียนลายมือได้ เพราะไม่เคยมีใครพยายามให้คนตาบอดเขียนลายมือ ตอนนี้เธอเขียนได้เหมือนคนตาดี สิ่งเหล่านี้อยู่ในห่วงของการจัดการความรู้ที่ผมคิด


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 16, 15:43
ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ทุกรูปแบบกำลังถดถอย คุณคิดว่า มันจะตายไหม

ไม่ตายหรอกครับ ในประเทศที่เจริญแล้ว คงไม่ปล่อยให้หนังสือตาย เวลาเราพูดว่า คนรู้มีอยู่ทั่วไป เราจะหาความรู้ที่ไหนก็ได้ เราพูดโดยเอาตัวเองเป็นหลัก ผมถามว่า ตาสีตาสาที่อยู่กลางทุ่งนา จะเอาความรู้มาจากไหน ผมพยายามทำเรื่องระบบหนังสือหมุนเวียนในมัสยิด กระตุ้นให้อยากอ่านหนังสือ หรือโครงการครอบครัวหนังสือ ชวนพ่อแม่ที่สนใจด้านนี้มาพร้อมกับลูก แล้วสอนวิธีการทำหนังสือ เราทำมาสองรุ่นแล้ว ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เมื่อเราสอนให้เขาเห็นความงามของหนังสือ เมื่อพวกเขาโตขึ้นก็อยากเป็นนักทำหนังสือ

ช่วงวัย 60 กว่าๆ คุณยังมีความฝันเรี่องอะไรอีก

ตอนนี้ผมมีความฝันเดียว ผมหวังตั้งแต่อายุ 13 อยากให้คนไทยมีโอกาสอ่านหนังสือเท่าๆ กัน เพราะตอนผมเป็นเด็ก ผมอยู่ชนบท ผมไม่มีหนังสืออ่าน ชาวบ้านคนอื่นๆ ก็เหมือนผม อยากอ่านหนังสือแต่ไม่มีโอกาส คนเรามีความรู้ไม่เท่ากัน แต่โอกาสในการหาความรู้ ก็ควรจะเท่ากัน
 
กรุงเทพธุรกิจ


กระทู้: สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 03 ต.ค. 16, 20:01
เรื่องนักศึกษาใช้ smartphone อ่านโจทย์ของคุณประกอบนี่เรื่องจริงครับ ขนาดคนใกล้ตัวผมอายุไม่ใช่น้อยแล้วยังทำหน้าตาเฉย ทั้งที่ผมก็เปิดโน๊ตบุ๊คให้อ่านตัวเบ้อเริ่มต่อหน้าต่อตา พูดในฐานะคนสายตาสั้นว่ามันทำร้ายสายตาเรามาก ต่อให้ใช้กระจกซูเปอร์กอลิล่าอะไรก็ตามเถอะ


แต่ก็อย่างว่ามันเป็นเรื่องของความคุ้นเคย เหมือนในอดีตที่เคยเราเปลี่ยนจากอ่านโจทย์ในหนังสือมาเป็นคอมพิวเตอร์ ไม่มีอะไรดีสุดหรือแย่สุดแล้วแต่มุมมอง ซึ่งมุมมองของผมออกจะประหลาดใจในความสามารถพวกนี้


นี่ก็เลยว่าจะเปลี่ยนมือถือใหม่ให้หน้าจอใหญ่ขึ้น เอารุ่นที่มันเล่นเกมส์ได้ในระดับหนึ่งก็ยังดี จะได้รู้ว่าคนรุ่นใหม่เขาคิดยังไงทำยังไงและถนัดยัง แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ต้องการอะไรพวกนี้เลยก็ตาม ยุคสมัยเปลี่ยนไปเราจะไปห้ามปรามก็คงไม่ดี แต่ผมขี้เหนียวคงซื้อเครื่องล่ะไม่เกิน 8 พันบาทพอแล้ว รอสิ้นปีให้มือถือหน้าจอ 3.2 นิ้วครบ 4 ปีก่อน เหอ ๆ ๆ  ;D