เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 20:04



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 20:04
หลังจากที่ตนเองไม่ได้ลงไปสัมผัสคลุกคลีกับผู้คนและสังคมท้องถิ่นในระดับหมู่บ้านมาประมาณสิบปีก่อนปี 2550  แล้วก็ได้ลงไปสัมผัสคลุกคลีอีกหลังจากปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้เอาสัมผัสเก่าๆมาประมวล ผนวกเข้ากับสัมผัสใหม่ๆ  ผมคิดว่าได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนคิดว่าพอจะมองเห็นภาพของภาษาไทยในยุค AEC ในสองสามเรื่องที่สำคัญๆ 

เรื่องแรก คือ การออกเสียง ร ในคำควบกล้ำคงเกือบจะไม่ได้ยินอีก และคงจะเปลี่ยนไปเป็นเสียง ล แทนเกือบทั้งหมด    สำหรับคำควบกล้ำ ล นั้น อาจจะเข้าขั้นหายเลย
เรื่องที่สอง คือ dialect ของภาษากลาง (แบบกรุงเทพฯ) คงจะเปลี่ยนไป และเกิด dialect ใหม่
เรื่องทีสาม คือ คำศัพท์ ประโยค

จะค่อยๆขยายความครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 13, 20:13
รีบเข้ามาจัดเก้าอี้แถวหน้าให้ขาประจำค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 20:45
การออกเสียงควบกล้ำ ร นั้น จะว่าไปก็ได้เกิดมานานมากแล้ว แต่ดูจะไม่สาหัสเท่าในปัจจุบัน เพราะแต่ก่อนนั้นดูจะเป็นเพียงออกเสียงเป็น ล แทน  

แต่ก่อนนั้น อย่างน้อยเราก็ยังได้ยินการออกเสียงที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ ผู้บริหาร และบรรดาสื่อต่างๆ มากกว่าในปัจจุบันค่อนข้างมาก  
ในปัจจุบันนี้หาเสียง ร ได้ยากมากทั้งในสื่อหลักของรัฐ ในสื่อวิทยุโทรัศน์ ทั้งในการถ่ายทอดการประชุมต่างๆ และรวมทั้งบรรดาผู้ที่อยู่ในวงวิชาการ   ที่หนักหนาสาหัสก็คือ แม้กระทั่ง ล ก็ยังหายไปหมดเลย

การขาดหายไปของเสียง ร และ ล ในการออกเสียงภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ชอบเอามาใช้แทรกหรือใช้ร่วมในข้อความที่สนทนากัน ยิ่งทำให้ต้องเดาเอาเลยว่าพูดถึงเรื่องอะไร  

ลองพยายามนึกถึงภาษาไทยที่พูดกันแบบไม่มี ร และ ล ก็แล้วกัน  เราฟังกันออก เข้าใจได้ก็เพราะมันเป็นการพูดในวงของข้อสนเทศที่กำลังนำมาถกกัน หากคนใดคนหนึ่งพูดแวบออกนอกเรื่อง หลายๆครั้งกลายเป็นฟังไม่ออก      



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 21:38
การมีอยู่ของอักขระทั้งสองตัวนี้ในภาษาไทย มันก็จะยังคงปรากฎอยู่ในชุดอักษร 44 ตัวที่ใช้อยู่ในภาษาไทยตลอดไป แต่ต่อไปในภายภาคหน้าอาจถูกแปรสภาพของการใช้ไปเป็นเพียงอักษรทีอยู่ในการสะกดคำแต่จะออกเสียงหรือไม่ออกเสียงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผมเอาเรื่องการออกเสียง ร และ ล ขึ้มานำเรื่อง เพื่อจะนำพาไปสู่เรื่องของสภาพแวดล้อมทีกำลังทำให้ภาษาไทยในองค์รวมเปลี่ยนไป ทั้งในเชิงของสำเนียง ศัพท์ การใช้คำ ฯลฯ



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 13, 22:01
เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 22:02
การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของภาษาของกลุ่มชนชาติใดๆนั้น ผมเห็นว่า โดยปรกติแล้วมันเป็นการพัฒนาที่มาจากสภาพแวดล้อมและอิทธิพลภายในของวงสังคมของชนชาตินั้นๆ (มีลักษณะเป็นระบบปิด_close system_) จะได้รับอิทธิพลจากภายนอกวงค่อนข้างน้อยมาก

ที่ผ่านมาแต่ก่อนนั้น พัฒนาการของภาษาไทยเราก็เป็นเช่นนั้น แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่ามันมิใช่เสียแล้ว พัฒนาการของภาษาไทยกำลังเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบเปิด (open system)  แล้วผมเห็นอะไรบ้าง ?

เข้าเรื่องจริงจังพรุ่งนี้ครับ




กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 13, 22:25
เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 

ผมเห็นว่าเสียง ล ในคำควบกล้ำนั้นก็หายไปมาก ยิ่งที่ฟังจากสือทางเสียงทั้งหลาย ทั้งตัวคนที่ทำอาชีพสื่อ ผู้ที่ให้สัภาษณ์/ออกความเห็น และรวมทั้งจากบรรดาเสียงที่ถ่ายทอดสดหรือแห้ง จะหา ล แทบไม่พบ (ปูกป่า จับปา ก้ำกืน ปดป่อย ฯลฯ)

เป็นภาษาไทย ขาด ร หรือ ล ไป ก็ยังฟังออก  แต่ใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์นี่ซิครับ (ก๊าดเลด = glassless, เฟ้นฟาย = french fries, ฟิดดาย = freeze dry)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 13, 18:44
ผมอาจจะผิดที่เลือกใช้คำว่า ระบบปิด และ ระบบเปิด เพื่อบรรยายสภาพแวดล้อมที่มีอิทธพลในกระบวนพัฒนาการทางภาษาที่เกิดขึ้น 
ในอีกมุมหนึ่งก็คือ ผมเห็นว่า พัฒนาการของภาษานั้น ตามปรกติมันน่าจะเป็นลักษณะของการกระจายออกไปจากแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงหรือการนำเสนอ (disseminate) มากกว่าจะเป็นไปในลักษณะของการเข้ามาปนเปื้อนจนต้องเปลี่ยนไป (assimilate)

ผมได้สัมผัสและเห็นภาพของ assimilation นี่แหละครับ ที่มันกำลังเกิดขึ้นกับภาษาไทยของเราอย่างเข้มข้น รุนแรง และรวดเร็วมากๆ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 13, 19:21
สภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อมของสังคมคนไทยที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง
(ไม่เรียงเรื่องให้สวยงามนะครับ)

แรงงานไทยออกไปรับจ้างอยู่ในต่างประเทศ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานทดแทนแรงงานไทยที่ขาดหายไป

ด้วยสภาพที่ประเทศไทยเรามีความสงบ ไม่มีภาวะความขัดแย้งที่รุนแรง (ในอดีต) ดังที่ประเทศรอบบ้านเราเขามีกัน  ผลก็คือ ทำให้เราสามารถดำเนินการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆได้อย่างล้ำหน้าเพื่อนบ้านเรา ยังผลให้มีการยกระดับฝีมือแรงงานทิ้งห่างจากเพื่อนบ้านไปไกล แรงงานของเราจึงเป็นแรงงานที่มีฝีมือเป็นที่ต้องการของต่างชาติ  เมื่อขาดแรงงานภายใน เราก็เลยมีแรงงานระฝีมือต่ำจากประเทศพื่อนบ้านเข้ามาแทนที่ ซึ่งเพื่อให้มีโอกาสได้รับการจ้าง แรงงานต่างด้าวต่างๆจึงต้องพยายามเรียนภาษาไทย เพื่อให้พอจะสามารถสื่อสารกับนายจ้าง/ผู้คุมงานคนไทยได้   
เขาเหล่านี้ เรียนภาษาไทยจากใหน ?  ที่ผมเคยเห็นและสัมผัสมา คือ เรียนจากคู่มือเรียนภาษาไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเคยเห็นคู่มือเหล่านี้ทั้งในพม่า เขมร และเวียดนาม (โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง)  ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือ ชาวบ้านตามชายแดน หรือที่อยู่ใกล้ๆชายแดนนั้น ก็เรียนจากคนที่พอพูดภาษาไทยได้ ซึ่งก็พูดไม่ชัดบ้าง ออกเสียงไม่ชัดบ้าง ใช้คำผิดคำถูกบ้าง

การพูดภาษาไทยแบบมวยวัดนี้ ได้เข้ามาเบียดแทรกแบบฝังรากอยู่ในคนไทยไปมากแล้ว โดยเฉพาะในด้านของสำเนียง    โดย แรงงานผู้หญิงที่เป็นญาติโยมของแรงงานชายเหล่านั้น เข้ามารับจ้างเป็นคนใช้ เป็นคนขายของหน้าร้าน เป็น ฯลฯ (เหล่านี้แหละครับ)   เรื่องก็เกิดขึ้นจากการที่ผู้จ้างให้ช่วยเลี้ยงลูกบ้าง เป็นพี่เลียงเด็กบ้าง  เด็กมันก็ซึมซาบเอาสำเนียงและการออกเสียงที่ไม่ชัดฝังเอาไว้ในสมอง เหมือนกับการ burn chip ฝังโปรแกรมสำหรับการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ 
 





กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 13, 19:49
เรื่องการจำแบบ burn chip นี้ น่ากลัวครับ

ผมได้เคยถูกเชิญไปเป็นแขก รับฟังงานวิจัยของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น เป็นบริษัทเก่าแก่ เอ่ยชื่อก็ร้องอ๋อเลยทีเดียว  เรื่องที่บริษัทให้เงินทำวิจัยนั้น แทบจะกล่าวได้ว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องของสินค้าที่เขาผลิตจำหน่ายเลย คนที่ทำการวิจัยเป็นแพทย์ของบริษัทนี้ ทำการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับความจดจำของสมองคน  ประเด็นครอบคลุมเรื่องที่วิจัย ที่จำได้คือ ทำไมคนญี่ปุ่นจึงออกเสียงตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย น ไม่ได้ เช่น one ออกเสียงเป็น วัง หรือ ทำไมคนญี่ปุ่นจึงไม่สามารถออกเสียงคำภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง   ผลการวิจัยที่ทำมาหลายปี สรุปได้ว่า หากจะแก้ไข จะต้องแก้ที่พ่อแม่ต้องพูดให้ชัด เพราะเสียงต่างๆมันถูกฝังใว้อย่างลึกในสมองของเด็กแบบแก้ได้ยากในภายหลัง

เช่นกัน หากพี่เลี้ยงเด็กไทยที่พูดไม่ชัด พูดอยู่กับเด็กตลอดเวลา ออกเสียงไม่ชัดเจน ฯลฯ  (สำเนียงมอญบ้าง พม่าบ้าง ลาวบ้าง เขมรบ้าง....) คงจะไม่ต้องสงสัยเลย และคงพอจะเดาออกว่า ในอีก 20 ปีต่อมา สำเนียงภาษาไทยจะเป็นเช่นใด


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 13, 20:27
เลยเถิดเรื่องการวิจัยของบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นไปอีกหน่อยครับ

ได้เล่าเรื่องบริษัทผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ ทำการวิจัยเรื่่องเกี่ยวกับความจำของสมอง ซึ่งเป็นเรื่องทางแพทย์  ดูไม่เกี่ยวโยงกันเลย.....?

ก็มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญของญี่ปุ่นเช่นกัน ทำการวิจัยเรื่องการกระโดดของกบ เกี่ยวอะไรกับเรื่องรถบ้างครับ .....?   บริษัทผู้ผลิตรถรายนี้ ต่อมาทำการวิจัยเกี่ยวกับฟางข้าว  พอจะเดาออกใหมครับว่า จะเอาไปทำอะไร.....?





กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 13, 20:30

คงจะไม่ต้องสงสัยเลย และคงพอจะเดาออกว่า ในอีก 20 ปีต่อมา สำเนียงภาษาไทยจะเป็นเช่นใด
ภาษาไทยก็จะถูกปับปุงเปี่ยนแปงไปอีกมากละค่ะ   เด็กๆอาจฟังเลาพูดไม่ลู้เลื่องก็เป็นได้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 13, 21:11
ภาษาพูดที่คุณเทาชมพูเขียนมานั้น มันเกิดขึ้นและแทบจะสัมผัสเป็นปรกติอยู่แล้วในปัจจุบัน  ที่น่าตกใจ คือ มันอยู่ในรั้วการศึกษาทุกระดับอีกด้วย 

ปัจจุบันนี้ ก็มีบ่อยๆที่ต้องฟังย้ำจึงจะฟังออกและรู้เรื่อง ไปต่างจังหวัด บางทียังฟังภาษาไทยที่เด็กเสิร์ฟหรือเด็กปั้มพูดด้วยไม่รู้เรื่องก็มี

ในอนาคต เด็กรุ่นหลังอาจจะต้องมีความเข้าใจและใช้ความจำในสามแบบ คือ ออกเสียงแบบถูกต้อง ออกเสียงแบบทั่วไป และคำสะกดเขียนที่ถูกต้อง


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.ย. 13, 19:19
ในพื้นที่ภาคเหนือของเราก็มีสภาพแวดล้อมที่สับสนไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุที่เกิดมาประจวบเหมาะกันพอดีในช่วงเวลาปัจจุบัน

สภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือ เกิดการประสานงากันระหว่างสังคมที่มีการพัฒนาอยู่บนพื้นที่ป่าเขาสูง กับ สังคมดั้งเดิมในพื้นที่ราบลุ่ม

ขออภัยที่ต่อไปผมจะขอใช้คำว่า ชาวเขา กับ ชาวบ้าน/ชาวเมือง

ย้อนไปไกลสมัยผมยังเป็นเด็กประถมอยู่ ได้รับรู้ข้อมูลที่ผู้ใหญ่เขาบอกให้รู้ว่า ชาวเขาในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 40 เผ่า ผมจำชื่อไม่ได้หมด ปัจจุบันเหลือแต่อะข่า (อีก้อ) ที่ทางราชการกล่าวถึงเป็นหลัก เผ่าอื่นๆหายไปใหนหมดก็ไม่รู้ (มูเซอดำ มูเซอแดง ยางขาว ยางแดง ลั๊วะ ขมุ ลีซอ เย้า ฯลฯ)
 
ด้วยโครงการลดการปลูกฝิ่นและการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทำให้มีพัฒนาการในหลายๆด้าน ทั้งจากฝ่ายต่างๆของไทยและชาวต่างชาติ
   - เกิดมีการสอนภาษาไทยเพื่อให่อ่านออกเขียนได้ โดยใช้สำเนียงเสียงภาษาของกรุงเทพฯ (โดยครู ตชด.)
   - เกิดมี missionary เข้าไปเผยแพร่ศาสนา สอนหนังสือ สอนภาษาอังกฤษ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่
   - เกิดมีองค์กรเอกชนต่างชาติเข้าไปช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ มีการสอนภาษาอังกฤษ
   - เกิดมีการเปลี่ยนจากชาวเขาไปเป็นชาวไทยภูเขา ต่อมาก็มีเอกสาร/บัตรประจำตน ต่อมาก็กลายเป็นบัตรประจำตัวสีฟ้า (ไปใหนมาใหนได้ในเขตจังหวัด) สุดท้ายเมื่อครบระยะเวลาตามเงื่อนไขก็จะได้บัตรประชาชนแบบที่เรามีกัน กลายเป็นคนไทย 100%
   - ราชการฝ่ายรักษาป่าภายใต้กฎหมายต่างๆ ก็พยายามผลักดันให้ออกจากผืนป่า เขาเหล่านั้นจึงลงมาอยู่ในพื้นราบรับจ้างทำงานทั่วไป มักจะอยู่เป็นกลุ่มแยกจากชาวบ้าน แล้วก็มี missionary ตามลงมาช่วยเหลือต่อ
   - ลูกหลานเด็กหนุ่มทั้งหลายก็พยายามเรียนต่อเพื่อจะได้มีงานการทำเหมือนกับชาวเมืองโดยทั่วไป


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.ย. 13, 19:36
ผลที่ตามมาจากความประจวบเหมาะนี้ คือ ภาษาเหนืออันเป็นภาษาถิ่นเริ่มหายไป มีการใช้ภาษาไทยภาคกลางแพร่หลาย แต่มีหลากหลายสำเนียง ทั้งสำเนียงแบบใช้วรรณยุกต์สับสน แบบสำเนียงที่ขาดหรือมีตัวสะกดของแม่ต่างๆผิดแผกไป   เขาเหล่านั้นอ่านภาษาไทยออกและเขียนได้ แต่ผิดถูกเป็นไปตามที่เขาเข้าใจ รวมทั้งการใช้วรรณยุกต์

พวกเด็กลงมาเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด ก็ไปรับเอาภาษาที่ออกเสียงไม่ถูกต้อง (เช่น ร และ ล) ฝังเข้าไปอีก

คงไม่ต้องเล่าถึงผลว่าจะเป็นเช่นไรนะครับ ลองไปสัมผัสกันดูบ้างเมื่อมีโอกาสไปเที่ยวพักผ่อน 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.ย. 13, 20:37
ในยุค AEC   เป็นธรรมชาติที่จะต้องมีภาษาอังกฤษเข้ามาป้วนเปี้ยนผสมอยู่ในภาษาพูดมากขึ้น
ลองมาดูสภาพนะครับ

สถานศึกษาต่างๆ ต่างก็พยายามจัดครูสอนภาษาอังกฤษด้วยคนที่พูดภาษาอังกฤษ แต่จะด้วยทุนน้อยหรือจำกัดด้วยความสามารถเข้าถึงตัวบุคลากรใดๆก็ตาม
ปรากฎว่าเราได้ครูสอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่เป็นจำนวนมาก หลากหลายประเทศเลยครับ มีครูเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่เป็นนักท่องเที่ยว อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีวุฒิของความเป็นครูเลยก็ได้ และที่น่ากลัวคือ ตัวเองแข็งแรงในภาษาที่ตนเองสอนหรือไม่ และที่น่ากลัวไปกว่านั้นอีก ครูคนไทยที่เป็นหัวหน้าสายนั้นก็ยังสนทนาไม่ได้กับครูต่างชาติ แถมปล่อยให้ครูต่างชาติจัดการหลักสูตรไปเองเลย

ต่อไปเราก็จะมีเด็กไทยที่ออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างหลากหลายไม่เหมือนกัน ที่จะแย่ก็คือ เมื่อครูต่างชาติหมุนเวียนเปลี่ยนไป เด็กก็จะได้รับรู้ภาษาอังกฤษแบบคละสำเนียง คละการออกเสียง ไม่มีรูปแบบ   ต่อไปคนฟังหรือคู่สนทนาคงจะต้องเงื่ยหูเดาเอา  เดี๋ยวเป็นอังกฤษแบบอเมริกัน แบบอังกฤษ แบบเวลส์ แบบออสเตรเลีย แบบฟิลิปปินส์ก็มี แบบกรีกก็มี แบบเม็กซิกันก็มี ฯลฯ ปนเปกัน







กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.ย. 13, 21:00
สำหรับภาคอิสานและภาคใต้นั้น ผมสัมผัสน้อยมากในรอบเกือบจะยี่สิบปีที่ผ่านมา จึงมิอาจเห็นภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ชัดเจน



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 ก.ย. 13, 11:48
คุณตั้งกลับมาแล้ว ...เรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมรับ AEC คงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเราล่ะคะ

แต่เดิมการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนทั่วไปก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน

การเรียนภาษาความจริงเป็นทักษะทางธรรมชาติ คนที่ได้ฟังภาษานั้นๆอย่างต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ
จะเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็วแต่เราไม่มีครูที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เด็กฟังอย่างต่อเนื่องจนเด็กสามารถจับหลักของภาษาได้

เราเริ่มจากการอ่านที่กระท่อนกระแท่น สำเนียงไม่ชัดเจน แล้วก็เรียนไวยากรณ์แบบท่องจำในใจ
เด็กไม่เคยได้ยินเสียงก็จะออกเสียงไม่ถูก  ก็เลยขาดความเชื่อมั่น ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราสอนภาษา
แต่ทฤษฎี จากการท่องจำ  ทั้งสิ้น

ปัจจุบันผู้ปกครองที่มีฐานะที่จะเลือกโรงเรียนให้ลูกหลานได้เต็มที่ เขาจะส่งไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์กัน
เพราะสิ่งแวดล้อมจะช่วยเด็กในเรื่องการเรียนภาษามากกว่า...เด็กเหล่านี้เก่งภาษาอังกฤษและภาษาอื่น
แต่จะอ่อนภาษาไทย กลายเป็นพูดภาษาไทยที่ลึกซึ้งไม่ได้ ไม่เข้าใจ นานเข้าเขาก็จะอึดอัดแล้ว
ถอยออกไปจากสังคมไทย ไปรวมกลุ่มกับเด็กแบบเดียวกัน ไม่สนใจสังคมไทยอีกเลย แล้วมุ่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
ไปทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ  แล้วประเทศไทยจะได้อะไรจากบุคคลรุ่นใหม่เหล่านี้
ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทรัพยากรอยู่ในมือมากกว่า เด็กในชนบท  แต่มีชีวิต ความคิดห่างไกล้จากความเป็นไทยมากขึ้นทุกที

ในที่สุดก็ต้องกลับไปดูที่การจัดระบบการศึกษาที่นับวันจะสับสน วุ่นวาย จนคนที่มีอาชีพครูจริงๆ ยังออกปากบ่นว่า
เหนื่อยเหลือเกินกับการเป็นครูในเมืองไทย

ส่วนการจ้างคนต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษ นั้นเป็นปัญหามานานมากแล้ว อย่างที่คุณตั้งเอ่ยไว้นั่นแหละค่ะ
และจะยังคงเป็นเช่นนั้นอีกนาน





กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 13, 19:53
ครับ   ภาพมันก็เป็นดังที่คุณพวงแก้วว่าไว้

เมื่อมีการใช้ภาษาอังกฤษผสมผสานอยู่ในการสนทนามากขึ้น ก็เกิดมีคำใหม่เกิดขึ้น เช่น โอ (เค) ใหม,  สองวิ(นาที),   ชิวๆ ฯลฯ   ผมเห็นว่านอกจากจะเป็นคำตามสมัยนิยมแล้ว คำที่ยกมาเช่นดังตัวอย่างนี้ ก็คงจะยังใช้กันไปอีกนานเลยทีเดียว

เมื่อ AEC ได้เกิดขึ้นสักระยะหนึ่งแล้ว ผมว่าคงมีอีกหลายคำภาษาอังกฤษแบบไทยที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะคำที่นักท่องเที่ยวต้องใช้กันเป็นประจำ เช่น โรงแรม_hotel_ซึงต่อไปอาจจะเหลือเพียง โฮ เป็นต้น



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 13, 20:33
อีกสภาพหนึ่งที่ผมได้สังเกตมานานสักระยะหนึ่งแล้ว ได้แก่ การออกเสียงคำต่างๆที่กำลังเปลี่ยนไป  ที่เห็นได้ชัดมาก คือ การออกเสียงคำว่า ค่ะ ของเด็กผู้หญิง ก็เปลี่ยนเป็นเสียงใกล้ๆ เคอะ  หรือจะกำลังเข้าสู่สภาพสะกดอย่างหนึ่ง ออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง   มีอีกครับ ยังนึกไม่ออก     ทั้งนี้ ผมไม่หมายรวมถึงการออกเสียงคำที่คนในภูมิภาคต่างๆเขาพูดกันเป็นปรกติ เช่น แก้ว เก้า ที่ออกเสียงสั้นก็มี ออกเสียงยาวก็มี  หรือ ภูเก็ต ที่ออกเสียงใกล้จะเป็น ภูแก็ต ก็ดี

อีกเรื่องหนึ่ง
ตัวอักษรที่ใช้สะกดท้ายคำที่เขียนแทนภาษาต่างประเทศ ถูกออกเสียงเปลี่ยนไป เช่น เสียง ส ก็กลายเป็น ด  เลยเป็นผลทำให้การพูดหรือการออกเสียงภาษาอังกฤษผิดเพี่้ยนไป เช่น รถบัส(ซ...) กลายเป็น รถบั๊ด   

 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 13, 20:36
อีกสภาพหนึ่งที่ผมได้สังเกตมานานสักระยะหนึ่งแล้ว ได้แก่ การออกเสียงคำต่างๆที่กำลังเปลี่ยนไป  ที่เห็นได้ชัดมาก คือ การออกเสียงคำว่า ค่ะ ของเด็กผู้หญิง ก็เปลี่ยนเป็นเสียงใกล้ๆ เคอะ  หรือจะกำลังเข้าสู่สภาพสะกดอย่างหนึ่ง ออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง   มีอีกครับ ยังนึกไม่ออก     ทั้งนี้ ผมไม่หมายรวมถึงการออกเสียงคำที่คนในภูมิภาคต่างๆเขาพูดกันเป็นปรกติ เช่น แก้ว เก้า ที่ออกเสียงสั้นก็มี ออกเสียงยาวก็มี  หรือ ภูเก็ต ที่ออกเสียงใกล้จะเป็น ภูแก็ต ก็ดี

อีกเรื่องหนึ่ง
ตัวอักษรที่ใช้สะกดท้ายคำที่เขียนแทนภาษาต่างประเทศ ถูกออกเสียงเปลี่ยนไป เช่น เสียง ส ก็กลายเป็น ด  เลยเป็นผลทำให้การพูดหรือการออกเสียงภาษาอังกฤษผิดเพี่้ยนไป เช่น รถบัส(ซ...) กลายเป็น รถบั๊ด   

 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 13, 21:26
การเพี้ยนเสียงคำจากภาษาต่างประเทศ    ญี่ปุ่นก็คงมีอยู่ไม่น้อย    คุณตั้งคงพอจะเทียบได้ว่าเสียงบางเสียงของต่างชาติ  ลิ้นญี่ปุ่นก็ออกเสียงไม่ได้จริงๆ  ก็ต้องลากให้เข้ากับเสียงของเขาที่มีอยู่แล้ว
ตัวสะกดของเรามีเสียงแค่  ง น ม ย ว   และ ก ด บ     พอเจอตัวสะกดออกเสียง s l z  บัซเลยกลายเป็นบั๊ด   ใครตั้งชื่อลูกชายว่าน้องบอล ก็มักจะถูกออกเสียงว่า บอน ไปเสียแทน   น้องจิลก็เป็นน้องจิน  น้องบิลเป็นน้องบิน   ถ้าน้องจอย   น้องแจ๊ค น้องเจมส์ละก็พอไหว  ลิ้นคนไทยออกเสียงได้ค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 13, 22:21
อืม์

ใช่ครับ

กลับมาลองยกตัวอย่างคำว่า รถบัส    หากเราเขียนเสียใหม่ว่า รถบัซ มันก็จะเป็นการบังคับให้เราต้องอ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงขึ้นใหมครับ

แฮ่ๆ แหกกฎเกณฑ์กติกาเรื่องตัวสะกดของเราออกไปเลย    :-X ;D     แต่ธรรมชาติของภาษามันก็ต้องมี evolution    เป็นไปได้ใหมครับ ?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 13, 22:34
รถบัซ   ถ้าเป็นสมาชิกเรือนไทย ดิฉันว่าออกเสียง ส หรือ s ได้ทุกคนค่ะ   แต่ถ้าเป็นชาวบ้านที่ไม่คุ้นกับเสียง s   ยังไงก็ออกไม่ได้   
คำว่า Police  ก็ยังออกเสียงว่า โปลิด  กันอยู่ทุกวันนี้  จนเป็นเสียงที่ถูกไปแล้ว   ไม่มีคนไทยออกเสียงว่า โพลีซซซซซซซ

เสียงภาษาอังกฤษบางเสียงไม่มีในภาษาไทย อย่างเสียง th  เราก็ออกเป็น ด บ้าง ท บ้าง เท่าที่จะใกล้กับเสียงพยัญชนะของเราได้   จนต้องปลงเสียแล้วว่า  ภาษาในประเทศหนึ่งยังไงก็ต้องกลายเสียงเมื่อออกโดยคนในอีกประเทศหนึ่ง
แต่มันก็น่าสนุก ที่จะติดตามคุณตั้งแกะรอยไปว่า AEC ก่อให้เกิดภาษาใหม่ยังไงแบบไหนบ้าง


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 15 ก.ย. 13, 17:04
การออกเสียงในภาษาใดๆก็ตาม ผู้เรียนต้องได้ยินภาษนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะจากเจ้าของภาษาที่ออกเสียงได้ถูกต้อง สมองจะบันทึกและเมื่อต้องออกเสียงก็จะชัดเจน
เอวโโยอัตโนมัติ เหมือนการฟังเพลงซ้ำๆ ในที่สุดเราก็จะร้องเพลงนั้นๆได้

แต่ถ้าผู้ร้องต้นแบบออกเสียงเพี้ยน เช่น  ฉ เป็น ช  ฉันเป็นช้าน เดี๋ยวนี้ฟังเด็กรุ่นใหม่ร้องเพลงแล้ว
เหนื่อย เพราะบางทีฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ เขารับเอาเสียงที่เพี้ยนนั้นมาเป็นความทันสมัย ก็จบกัน

ในอนาคตถ้าเราไม่ตระหนักถึงการออกเสียงที่ถูกต้องก็คงจะถูกกลืน ขนาดรุ่นๆพวกเรา
ยังบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินสมัยเราเด็กๆ กับเสียงที่ได้ยินปัจจุบันมีความแตกต่างกันชัดเจนขนาดนี้
 รุ่นต่อจากเราคงจะมีความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นตามการหมุนของสังคมที่เข้ามาทับซ้อนกันมากขึ้น
ก็เป็นเรื่องของอนาคตล่ะคะ  นักภาษาศาสตร์คงจะบันทึกเอาไว้แล้ว

ภาษาไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ  ตามสิ่งที่เข้ามาในสังคม สิ่งไหนแข็งแรงกว่าก็
ครอบงำสิ่งที่อ่อนแอกว่า ...



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 13, 20:44
คิดต่อไปในอีกมุมหนึ่ง

การออกเสียงของมนุษย์นั้นเราสามารถจะฝึกได้   เด็กเล็กได้รับการฝึกมาทั้งจากการฟังด้วยตัวเองแล้วพยายามเลียนแบบ จากการถูกสอนโดยพ่อแม่ ซึ่งต่อมาก็ถูกปรับแต่งเสียงให้ชัดเจนโดยครู และจากการเปล่งเสียงปละปรับแต่งด้วยตนเอง 
 
ผมไม่ทราบว่าการฝึกออกเสียงให้ถูกต้องได้โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือที่วุ่นวายนั้น เราสามารถจะทำได้ถึงประมาณอายุเท่าไร  ซึ่งก็เชื่อว่าทำได้ถึงวัยเบ็ญจเพศแน่นอน   ดังนั้นในวงการศึกษา เราจึงสามารถเข้มงวดได้ทุกระดับจนถึงอุดมศึกษา แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาภาระไปโยนให้กับอาจารย์ภาควิชาภาษา  เพราะในวิชาอื่นๆทั้งหมดและในทุกสาขาวิชาต่างก็ต้องมีการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษในการสอนกันอยู่แล้ว ประเด็นอยู่ที่อาจารย์นั่นแหละที่ออกเสียงไม่ถูกบ้าง ไม่ชัดบ้าง ลูกศิษย์ก็ลอกเลียนตาม ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่สำหรับการออกเสียงศัพท์ทางเทคนิค ผิดเพี่ยนไปแล้วเดาเอาได้ยากมาก ไม่เหมือนกับศัพท์ที่ใช้ตามปรกติในชีวิตประจำวันที่เดาได้ไม่ยาก

ที่ได้กล่าวถึงสื่อมาแล้ว ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันนี้ คนไทยเกือบจะทั้งหมดดูทีวีจากระบบดาวเทียม  คนที่ใช้เวลาเฝ้าดูมากที่สุดก็จะเป็นเด็กและคนในวัยหนุ่มสาว ซึ่งด้วยระบบนี้ การลอกเลียนจากสื่อและพิธีกรเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ดังนั้น หากเพียงคนในแวดวงนี้ทั้งระบบ (สอน เรียน ทำงาน) ได้ช่วยกันทำให้มันถูกต้อง ก็จะช่วยทำให้การใช้ภาษา การออกเสียง ฯลฯ เป็นไปอย่างค่อนข้างจะถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็น       

เลยเถิดข้ามเส้นเขตแดนประเทศออกไป คนรอบบ้านเราก็ดูทีวีของเรา เรียนรู้การออกเสียง การใช้ภาษาจากทีวีเหล่านี้  แล้วเขาเหล่านั้นก็เข้ามาทำงาน มาดูแลลูกเด็กเล็กแดงของคนไทยเรา ภาษาไทยก็คงหนีไม่พ้นที่จะเปลี่ยนไป


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 13, 21:10
ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ในอนาคต จะมีการพัฒนาอักขระหรือวิธีการเขียนสำหรับคำที่ไม่ใช่ภาษาไทย เพื่อให้มีการออกเสียงได้ใกล้เคียงหรือไม่  ในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้อักษร Katakana สำหรับคำจากภาษาอื่น เพราะว่าการจะเอาเสียงจากตัวอักษรจีน (Kanji) มาเรียงกันเพื่อให้เป็นการออกเสียงคำของภาษาอื่นนั้น จะกลายเป็นต้องท่องจำชุดของตัวอักษร Kanji หลายตัวเพียงเพื่อบอกถึงคำๆหนึ่งในภาษาอื่น แถมเสียงก็ไม่ตรงอีกด้วย (แม้ว่า Katakana เองก็ออกเสียงไม่ตรงตามคำในภาษาอื่นเช่นกัน มีแต่ใกล้เคียงมากๆ)     เซนเซทั้งหลายครับ ผิดถูกว่ากล่าวได้เลยครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 13, 21:17
เอา"Why can't the English learn to speak?" มาปลอบใจคุณตั้งว่าคนอังกฤษก็มีปัญหานี้มาแต่โบราณแล้ว
http://www.youtube.com/watch?v=EAYUuspQ6BY


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 13, 21:29
....แต่ถ้าผู้ร้องต้นแบบออกเสียงเพี้ยน เช่น  ฉ เป็น ช  ฉันเป็นช้าน เดี๋ยวนี้ฟังเด็กรุ่นใหม่ร้องเพลงแล้ว
เหนื่อย เพราะบางทีฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ เขารับเอาเสียงที่เพี้ยนนั้นมาเป็นความทันสมัย ก็จบกัน...

ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะกลายเป็นสิ่งที่ได้เจอะเจอในอนาคต     อีกหน่อยมาตรฐานอาจจะเป็น ช้านล๊ากเธอ  ก็ได้  ;D    


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 13, 21:35
ในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้อักษร Katakana สำหรับคำจากภาษาอื่น เพราะว่าการจะเอาเสียงจากตัวอักษรจีน (Kanji) มาเรียงกันเพื่อให้เป็นการออกเสียงคำของภาษาอื่นนั้น จะกลายเป็นต้องท่องจำชุดของตัวอักษร Kanji หลายตัวเพียงเพื่อบอกถึงคำๆหนึ่งในภาษาอื่น แถมเสียงก็ไม่ตรงอีกด้วย (แม้ว่า Katakana เองก็ออกเสียงไม่ตรงตามคำในภาษาอื่นเช่นกัน มีแต่ใกล้เคียงมากๆ)     เซนเซทั้งหลายครับ ผิดถูกว่ากล่าวได้เลยครับ

อักษรคะตะคะนะออกเสียงเหมือนกับอักษรฮิระงะนะ เทียบกันตัวต่อตัวเลย มีไว้เพียงเพื่อให้ทราบว่าคำนั้นมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้นเอง ว่ากันตามจริงก็เกินความจำเป็นไป

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 13, 21:42
ขอบคุณ คุณนวรัตน์ ครับ

ทำให้นึกถึงหนังเพลงเก่าๆอีกหลายเรื่องขึ้นมาทันที่เลยครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 13, 22:12
ในที่สุดนางเอกก็ออกเสียงภาษาอังกฤษชัดเจนจนได้

http://www.youtube.com/watch?v=uVmU3iANbgk


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ก.ย. 13, 20:45
ผมรู้สึกจากการได้ยินได้ฟังของผมเอง พบว่า
สำเนียงของภาษาไทยกลางโดยทั่วๆไปในปัจจุบันนี้ มีอยู่สามแบบ คือ สำเนียงแบบคนกรุงเทพฯ สำเนียงแบบคนไทยภาคกลางโดยทั่วไป และสำเนียงแบบคนต่างชาติพูด    ซึ่งกำลังสัมผัสได้ว่า สำเนียงแบบคนไทยภาคกลางกำลังได้ยินขยายวงกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยรุ่น   ส่วนสำเนียงแบบคนกรุงเทพฯกำลังได้ยินน้อยลงไป

 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ก.ย. 13, 21:13
หายไป ตจว. มาครับ

เรื่องสำเนียงพูดของคนไทยในภาคกลางเท่าที่สัมผัสมานั้น
 
ผมเห็นว่า สำเนียงของคนกรุงเทพฯมีลักษณะเฉพาะ  ซึ่งจะพัฒนามาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อใดก็ไม่ทราบ มีลักษณะการออกเสียงแบบเน้นคำแต่ละคำในประโยคที่พูดค่อนข้างจะชัดเจน คล้ายกับการออกคำสั่ง

ผมเห็นว่า สำเนียงของคนภาคกลางในจังหวัดอื่นๆ เป็นสำเนียงแบบดั้งเดิมที่คนไทยในภาคกลางพูดกันมานานมากแล้ว มีลักษณะการออกเสียงแบบที่เราเรียกกันว่าเหน่อ ซึ่งมีอยู่ 2 สำเนียงหลัก คือ สำเนียงแบบคนในที่ราบลุ่มภาคกลางด้านตะวันตก และสำเนียงแบบคนในพื้นที่ขอบที่ราบลุ่มด้านตะวันออก
  ด้านตะวันตกเป็นเสียงเหน่อแบบที่เรามักจะนำมาล้อเลียนกัน คือ แบบคนสุพรรณบุรี (ซึ่งผมเห็นว่ายังไม่เท่ากับสำเนียงพูดของคนใน อ.เลาขวัญ จ.กาญนบุรี  ขนาดไปพูดกับคนใต้ คนใต้ยังพูดตอบกลับมาด้วยภาษาใต้เลยทีเดียว)     ที่จริงแล้วหากฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนพื้นบ้านในจังหวัดต่างๆทั้งภาคกลางของเราพูดด้วยสำเนียงแบบนี้ทั้งนั้น สำเนียงเข้มข้นหนักแน่นต่างกันไป ก็มีอาทิ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี  พอขึ้นไปแถบเหนือสิงห์บุรี ไปทางนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สำเนียงเหน่อในลักษณะนี้จะเบาบางลงจนแทบจะสังเกตไม่ได้
  ด้านตะวันออกเป็นเสียงเหน่อแบบคนระยอง จันทบุรี ตราด ที่เราเอามาพูดล้อเลียนกัน  สำเนียงนี้ได้ยินทั้งภาคตะวันออก และรวมไปถึงโคราชด้วย

ที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้ คือ คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน ทำธุรกิจ และอาศัยอยู่ในเมืองในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีการขยายตัวทางด้านเศรษกิจอย่างต่อเนื่อง
เลยทำให้ผมพอจะเห็นภาพทิศทางของสำเนียงในภาษาไทยในอนาคต





กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 21:19
คนนครปฐม (น่าจะรวมไปถึงภาคกลางรวมสุพรรณบุรีด้วย) มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่มีในสำเนียงคนกรุงเทพ   อาจารย์นักภาษาเคยบอกว่า เป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 6   เพิ่มจาก 5 เสียงคือสามัญ เอก โท ตรี จัตวา ที่เรารู้จักกันจากแบบเรียน   
เสียงนี้บอกไม่ถูกว่าเป็นยังไง แต่น่าจะอยู่ระหว่างเสียงเอกกับเสียงโท      เขาใช้เสียงนี้แทนเสียงวรรณยุกต์เอกของสำเนียงกรุงเทพค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ก.ย. 13, 21:46
ครับ แม้จะออกเสียงเลียนแบบเขาได้ แต่ก็ไม่สามารถจะเขียนเป็นคำให้อ่านออกเสียงดังนั้นได้     

หรือว่า ? การออกเสียงตามอักขระวิธีที่เป็นกฎเกณฑ์ทางวิชาการที่เราเรียนกันมานั้น เป็นการออกเสียงที่ไม่ถูกต้องตามเสียงที่คนแต่เก่าก่อนโน่นเขาออกเสียงกัน ? 
 
ที่จริงแล้ว ผมได้เห็นการเขียนภาษาไทยของชาวบ้านตามแบบที่เขาออกเสียง แรกๆที่เห็นก็เมื่อสมัยทำงานอยู่ในถิ่นทุรกันดาร (เช่น รถเครื่อง เขียนเป็น รถเครื้อง) ตอนนี้เริ่มเห็นตามบิลส่งของ และตามโน๊ตเตื่อนความจำที่เขียนไว้บนกระดานบ้างแล้ว


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 22:06
หรือว่า ? การออกเสียงตามอักขระวิธีที่เป็นกฎเกณฑ์ทางวิชาการที่เราเรียนกันมานั้น เป็นการออกเสียงที่ไม่ถูกต้องตามเสียงที่คนแต่เก่าก่อนโน่นเขาออกเสียงกัน ? 
ดิฉันขอเรียกว่าไม่ครอบคลุมค่ะ    เรามีสัญลักษณ์แสดงอักขระน้อยกว่าเสียงที่มีอยู่ในความเป็นจริง      ยกตัวอย่างง่ายๆ  ถ้าพูดว่า "จริงๆนะ" โดยลากเสียงคำว่า "นะ" ให้ยาว     วรรณยุกต์ที่กฎเกณฑ์ทางวิชาการอนุญาตให้ใช้สะกดคำนี้  มีเพียงวรรณยุกต์โท   คือคำว่า "น้า"   
แต่เวลาพูด  เราไม่ได้ออกเสียงว่า "จริงๆน้า" ซึ่งจะกลายเป็นพูดถึงน้องสาวของแม่     เราออกเสียงสูงกว่านั้น   ควรเขียนว่า "จริงๆน๊า"    แต่หลักการผันวรรณยุกต์ไม่อนุญาตให้ใช้ไม้ตรีกับอักษรต่ำ     คำว่า "น๊า" จึงกลายเป็นการสะกดผิด    ก็ต้องกลับมา" จริงๆน้า"  ทั้งๆไม่ได้ออกเสียงว่า "น้า"


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 20 ก.ย. 13, 23:46
หายไป ตจว. มาครับ

เรื่องสำเนียงพูดของคนไทยในภาคกลางเท่าที่สัมผัสมานั้น
  
ผมเห็นว่า สำเนียงของคนกรุงเทพฯมีลักษณะเฉพาะ  ซึ่งจะพัฒนามาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อใดก็ไม่ทราบ มีลักษณะการออกเสียงแบบเน้นคำแต่ละคำในประโยคที่พูดค่อนข้างจะชัดเจน คล้ายกับการออกคำสั่ง

ผมเห็นว่า สำเนียงของคนภาคกลางในจังหวัดอื่นๆ เป็นสำเนียงแบบดั้งเดิมที่คนไทยในภาคกลางพูดกันมานานมากแล้ว มีลักษณะการออกเสียงแบบที่เราเรียกกันว่าเหน่อ ซึ่งมีอยู่ 2 สำเนียงหลัก คือ สำเนียงแบบคนในที่ราบลุ่มภาคกลางด้านตะวันตก และสำเนียงแบบคนในพื้นที่ขอบที่ราบลุ่มด้านตะวันออก
  ด้านตะวันตกเป็นเสียงเหน่อแบบที่เรามักจะนำมาล้อเลียนกัน คือ แบบคนสุพรรณบุรี (ซึ่งผมเห็นว่ายังไม่เท่ากับสำเนียงพูดของคนใน อ.เลาขวัญ จ.กาญนบุรี  ขนาดไปพูดกับคนใต้ คนใต้ยังพูดตอบกลับมาด้วยภาษาใต้เลยทีเดียว)     ที่จริงแล้วหากฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนพื้นบ้านในจังหวัดต่างๆทั้งภาคกลางของเราพูดด้วยสำเนียงแบบนี้ทั้งนั้น สำเนียงเข้มข้นหนักแน่นต่างกันไป ก็มีอาทิ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี  พอขึ้นไปแถบเหนือสิงห์บุรี ไปทางนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สำเนียงเหน่อในลักษณะนี้จะเบาบางลงจนแทบจะสังเกตไม่ได้
  ด้านตะวันออกเป็นเสียงเหน่อแบบคนระยอง จันทบุรี ตราด ที่เราเอามาพูดล้อเลียนกัน  สำเนียงนี้ได้ยินทั้งภาคตะวันออก และรวมไปถึงโคราชด้วย

ที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้ คือ คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน ทำธุรกิจ และอาศัยอยู่ในเมืองในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีการขยายตัวทางด้านเศรษกิจอย่างต่อเนื่อง
เลยทำให้ผมพอจะเห็นภาพทิศทางของสำเนียงในภาษาไทยในอนาคต


เหน่อกรุงเทพ มาจากคนจีนอพยพที่พูดไทยไม่ชัดครับ และน่าจะเป็นกันมานานแล้ว

นอกจากนี้ ในจังหวัดอย่าง เพชรบุรี ก็ยังมีสำเนียงของตัวเองอีกต่างหาก ที่จะใช้ลักษณะเหมือนการพูดไม่เต็มเสียง ซึ่งก็ไม่เหมือนกับทาง ราชบุรี หรือ กาญจนบุรี แต่อย่างใดเหมือนกันครับ แต่ปัจจุบันอาจจะหายไปบ้างพอสมควร

อย่างเช่น ถ้าจะพูดว่า ไม่ได้  ถ้าเป็นคนรุ่นเก่า เวลาพูดออกมา คนถิ่นอื่นก็จะฟังเป็น ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาเยอะแล้ว เพราะคนเพชรบุรี จะพูดว่า (ไม่)ได้  คำว่าไม่ จะพูดออกมาไม่เต็มเสียง และค่อนข้างเร็ว


ผมเดาว่า ภาษาไทยแต่ละสำเนียงที่ต่างกันไป ไม่ใช่เฉพาะสำเนียงพื้นถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเผ่าพันธุ์ของแต่ละชุมชน ก็จะมีภาษาเดิมของตัวเองอยู่แล้วด้วย เมื่อใช้ลักษณะการพูดของแต่เดิมที่ติดตัวมา มาพูดภาษากลางในถิ่นนั้น ย่อมทำให้เสียงที่ได้ยิ่งเพี้ยนเข้าไปอีก อย่างนี้เป็นต้น


อีกประการก็คือ ในแถบภาคตะวันออก โดยเฉพาะในส่วนของ จันทบุรี ก็ไม่ได้มีแค่ ภาษาไทยเท่านั้น แต่ก็ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองเดิม อย่างเผ่าชอง อยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งภาษาที่พูดก็จะเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่านี้ ไม่เหมือน และไม่คล้ายกับภาษาไทยแต่อย่างใดครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 13, 21:02
ครับ แท้จริงแล้ว สำเนียงถิ่นของแต่ละจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดก็มีความแตกต่างกันไป  สำเนียงของเพชรบุรีนั้น ผมกลับเห็นว่าละม้ายไปทางเมืองชายทะเลของภาคตะวันออก ต่างไปจากกลุ่มจังหวัดทางด้านตะวันตก (ราชบุรี ฯลฯ)

ส่วนสำเนียงที่เกิดจากการผสมระหว่างภาษาของคนชาติพันธุ์อื่นกับไทยกลางนั้น ผมกลับเห็นว่าเป็นเรื่องของการออกเสียงคำไม่ชัด

เอ ?  คำว่า สำเนียง กับ dialect เป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ???   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 13, 21:26
dialect คือภาษาถิ่นค่ะ  รวมถึงการใช้สำเนียงตามธรรมชาติของเจ้าของภาษานั้นด้วย


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 13, 21:34
จากการเดินทางไปทำงานในพื้นที่ท้องถิ่นทุรกันดารในหลายๆจังหวัดของผม ผมได้มีโอกาสใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านชาวถิ่นค่อนข้างจะหลากหลายมาก  ได้พบว่าภาษาและสำเนียงถิ่นนั้น หลายพื้นที่มีเอกลักษณ์บางอย่างเฉพาะตัวที่สามารถแยกลงไปได้ถึงระดับกลุ่มหมู่บ้านแลยทีเดียว เอามาล้อเลียนกันได้ (เช่นเดียวกับ ระยอง ฮิสั้น จันทบุรี ฮิยาว)  ตอนนี้นึกไม่ออกแล้วก็ลืมอีกด้วย นึกออกเป็นบางที

ปัจจุบันนี้ ผมก็ยังสนุกที่จะคุยกับพนักงานหรือแรงงาน แล้วก็เดาบ้านเกิดว่าอยู่ที่ใหน เมื่อใช้องค์ประกอบบางอย่าง บางทียังเดาไปถึงย่านที่อยู่ได้ด้วย  มิใช่เก่งฉกาจใดๆหรอกครับ สร้างมิตรโดยอาศัยประสบการณ์เท่านั้น



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 13, 21:57
ขอบพระคุณครับ

วันนี้เป็นวัน Car free day  ได้ยินเสียงทางวิทยุทั้งหลายออกเสียงการเรียกวันนี้เหมือนๆกัน คือ  สองคำแรกเป็นเสียงสั้นต่อเนื่องแล้วลากเสียงยาวกับคำสุดท้าย

นี่ก็คงจะเป็นอีกลักษณะของหนึ่งของการออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่เอามาพูดปนอยู่ในการสนทนาที่เราจะได้ยินในกาลข้างหน้า  คำภาษาอังกฤษสองพยางค์ ย่นย่อลงเหลือพยางค์เดียว คำสามพยางค์ขึ้นไป ออกเสียงสองพยางค์แรกแบบสั้นๆและเร็ว ไปลากเสียงให้ยาวกับพยางค์หลัง 

ที่จริงอาจจะจะเป็นไปตามเทรนด์ของสื่อที่ใช้ในการอ่านข่าว ที่ดูจะนิยมลากเสียงของคำท้ายประโยคให้ยาวขึ้น


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 22 ก.ย. 13, 23:56
เล่าเรื่องให้ฟัง Bahasa Patani ยุคปัจจุบัน กับอิทธิพลของภาษาไทย

1)เพื่อนผมเล่าว่าไปเจอหญิงชรา 2 คนคุยกันที่โรงพยาบาล  คุยกันไม่รู้เรื่อง
คนหนึ่งมาจากมาเลย์ อีกคนคนปาตานี เป็นญาติกัน  กำลังคุยเรื่องโรคภัย  โดยเริ่มจากชาวมาเลย์ที่บ่นเป็นภาษามาเลย์ว่า
เดี๋ยวนี้คนป่วยเป็น Cancer เยอะขึ้น

หญิงชราชาว ปาตานีไม่รู้ว่า Cancer คืออะไรเลยถาม  ถามไปถามมา งง

จนเพื่อนผมไปนั่งคุยจึงอธิบายหญิงชาว ปาตานีว่า Cancer คือ มะเร็ง..........คนปาตานีใช่ศัพท์สมัยใหม่ตามไทย

2)ผมเชิญอาจาร์ยทางมาเลย์ มาบรรยายเรื่องเรือน ตรังกานูเมื่อหลายเดือนก่อน
มีคน ปาตานีท่านหนึ่งยกมือ  แล้วถามเรื่องที่ บรรยาย เป็นภาษามลายู

อาจาร์ยทางมาเลย์ฟังแล้ว งง ทั้งๆที่ไม่มีศัพท์ไทยเลย  ล่ามที่ไปด้วยชำนาญด้านภาษาแปลก่อนจะบอกผมหลังงานว่า

คนที่ถามใช่ศัพท์มลายูก็จริง  แต่เรียบเรียงประโยคตามไวยกรณ์ภาษาไทยแบบคนปาตานียุคปัจจุบัน  ทำให้อาจาร์ยทางมาเลย์ไม่เข้าใจ

3)วันก่อนผมคุยกับ อาจาร์ยผู้เชี่ยวชาญทางภาษามลายู เรื่องการเขียนเสียงท้องถิ่นที่ไม่มีในภาษามลายูกลาง  เช่นเสียง ออ แอ อือ

น่าสนใจคือ  เสียงภาษามลายูไม่มีเสียง อือ  แต่ปัจจุบันคนพื้นที่ใช่ภาษาที่มีเสียง อือ เช่นซื่อ  บือราเฮง  บือราเปะ  ตือระ ฯลฯ

เมื่อพูดคุยจึงทราบว่าคำเสือง อือ ในเสียงท้องถิ่น เวลาเป็นมลายูกลางจะเป็นเสียง เออร์  เช่นท้องถิ่น บือซาร์ มลายูกลาง เบอร์ซาร์

เชื่อว่าเสียง อือ เกิดจากการเข้ามาของไทยในเรื่องการจัดการ  หูคนไทยได้ยินและแยกเสียง เออร์ไม่ได้  หลายคำเขียนเป็นสระ อือ

ผลคือ  ปัจจุบัน ปาตานี มีทั้งเสืยง เออร์ และ อือ  เสียงที่ไม่มีในภาษามลายูกลางหรือ อินโดฯ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 13, 13:33
เรียนถามคุณตั้ง
เคยได้ยินมาว่า ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียง ล หรือ L ในภาษาอังกฤษ   เสียง r .ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงกึ่งๆ ระหว่าง R และ L
ถ้างั้น ถ้าคนญี่ปุ่นจะออกเสียงอังกฤษ อย่าง raw/law   rock/lock  row/low  เขาก็ออกเสียงเหมือนกันงั้นหรือคะ

เดี๋ยวนี้คนไทยรุ่นใหม่ แยกเสียงระหว่าง ร กับ ล ไม่ค่อยจะได้แล้ว    ลา กับ รา   รบ กับ ลบ   รัก กับ ลัก  ออกเสียงเหมือนกันไปหมด


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ก.ย. 13, 20:18
ผมคงไม่มีความสามารถที่จะตอบได้ครับ ผมรู้จักเฉพาะตัวคันจิอยู่ไม่กี่ตัวที่สามารถอ่านและออกเสียงได้ ส่วนมากจะออกเสียงไม่ได้เพียงแต่พอจะรู้ความหมายเท่านั้นเพื่อความอยู่รอดและความปลอดภัยในการไปอยู่ในสถานที่ต่างๆและใช้ในการขับรถท่องเที่ยว 
ผมเคยได้หนังสือเก่ามาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือที่บอกเล่าถึงที่มาของการเขียนตัวคันจิแต่ละตัวว่าเป็นตัวแทนของภาพอะไรบ้าง และให้ความหมายอะไร รวมทั้งตัวคันจิที่มีอักษรพื้นฐานสองถึงสี่ตัวผสมอยู่ภายในตัวนั้นๆด้วย ก็เลยทำให้พอเข้าใจและเดาอะไรได้บ้าง

เท่าที่ได้สังเกตนะครับ  ในภาษาญี่ปุ่นมีการออกเสียงตัว ร หรือ ล แต่จะเป็นการออกเสียงเป็นพยัญชนะนำเสียงเท่านั้น ที่น่าแปลกก็คือ เมื่อถอดเสียงเขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะนำด้วยตัว R เท่านั้น (Ryukan, Ryukyu, Arigato)   ซึ่งก็แปลกต่อไปอีก (หากเราเทียบเสียงตัว ร ให้เป็นตัว R) การออกเสียงแบบตัว ร ก็เป็นเสียงตัว ล หมด   คิดว่าในภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำควบกล้ำที่ต้องใช้เสียงของตัว ร หรือตัว ล ด้วยครับ

เท่าทีพอจะรู้นะครับ   ญี่ปุ่นมีระบบตัวอักษรที่ใช้แทนตัวอักษรภาษาต่างชาติ แต่การออกเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น ต่างไปจากเสียงแท้จริงของอักษรตัวนั้น เช่นตัว t จะออกเป็น โตะ ดังนั้น หากชื่อท่านใดที่ลงท้ายสะกดตัวท้ายด้วยตัว t ชื่อของท่านก็จะถูกแถมด้วย โตะ ต่อท้าย   สำหรับตัวอกษร l และ r ถูกออกเสียงว่า หรุ

เซ็นเซเพ็ญ ช่วยเข้ามาแก้ให้ถูกต้องด้วยครับ



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 13, 20:41
เท่าทีพอจะรู้นะครับ   ญี่ปุ่นมีระบบตัวอักษรที่ใช้แทนตัวอักษรภาษาต่างชาติ แต่การออกเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น ต่างไปจากเสียงแท้จริงของอักษรตัวนั้น เช่นตัว t จะออกเป็น โตะ ดังนั้น หากชื่อท่านใดที่ลงท้ายสะกดตัวท้ายด้วยตัว t ชื่อของท่านก็จะถูกแถมด้วย โตะ ต่อท้าย  

ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่แทบไม่มีตัวสะกด มี ん หรือ ン  เป็นตัวสะกดแม่กงอยู่ตัวเดียวเท่านั้น  อักษรญี่ปุ่นทุกตัวผสมสระเสียงสั้นสำเร็จรูปมาแล้ว (อะ อิ อุ เอะ โอะ)  ดังนั้นคำที่มีตัวสะกดทุกตัวที่มาจากภาษาต่างประเทศจึงจะถูกผสมด้วยสระเสมอ

STOP จึงต้องเป็น satoppu(สะโต๊ปปุ)  NAVARAT จึงต้องเป็น Navaratto (นะวะรัตโตะ) ด้วยประการฉะนี้แล

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 13, 20:54
ก็ยังงงๆอยู่นิดหน่อย เพราะนึกไม่ออกว่า ญี่ปุ่นมีชื่อไหนที่สะกดด้วยเสียง L  นึกออกแต่ R ค่ะ  คุณตั้งบอกว่า "การออกเสียงแบบตัว ร ก็เป็นเสียงตัว ล หมด  "  งั้น Arigato  ก็ออกเสียง" อาลิงาโต" งั้นหรือคะ

ชื่อสระเสียงยาวอย่าง "เพ็ญชมพู" คำท้าย ญี่ปุ่นออกเสียงสั้นหรือยาวคะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 13, 21:16
๑. เสียง ร แบบญี่ปุ่นพื้นฐานมี ๕ ตัวคือ  ら  り  る  れ  ろ ระ ริ รุ เระ โระ หากอยากฟังการออกเสียง คุณเทาชมพูให้ คุณกุ๊ก  (http://translate.google.co.th/?hl=th&tab=iT&q=%E5%8C%97%E6%B5%B7%E9%81%93%E5%BA%81%E6%97%A7%E6%9C%AC%E5%BA%81%E8%88%8E#ja/th/%E3%82%89%20%20%E3%82%8A%20%20%E3%82%8B%20%20%E3%82%8C%20%20%E3%82%8D) ช่วยได้

๒. ชื่อเพ็ญชมพูเขียนด้วยอักษรคะตะคะนะออกมาประมาณนี้ ペンチョムプウ Penchomupuu (http://translate.google.co.th/?hl=th&tab=iT&q=%E5%8C%97%E6%B5%B7%E9%81%93%E5%BA%81%E6%97%A7%E6%9C%AC%E5%BA%81%E8%88%8E#ja/th/%E3%83%9A%E3%83%B3%E3%83%81%E3%83%A7%E3%83%A0%E3%83%97%E3%82%A6)  คำว่า พู ต้องการเสียงยาวก็ใส่สระซ้อนเข้าไปอีกตัวหนึ่ง プウ - พุอุ = พู

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ก.ย. 13, 21:36
คล้ายๆกับว่า คำทั้งหลายจะลงท้ายด้วยเสียงสระ     (คล้ายๆภาษาตระกูล Spanish ที่ชอบจะลงท้ายด้วยสระเช่นกัน)


แถมพกข้อสังเกตเรื่องหนึ่งครับ   ภาษาญี่ปุ่นและเยอรมันนั้น เราต้องฟังให้จบประโยดเสียก่อนจึงจะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ทำให้เห็นภาพของคนเถียงกันแบบพูดสวนกันไม่ค่อยจะมี ก็เพราะต้องฟังให้จบจึงจะรู้เรื่อง     ประเทศทั้งสองนี้มีอะไรๆเหมือนกันอยู่หลายอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะตรรกะความคิดลึกๆต่างๆ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ก.ย. 13, 21:36
คุณ sigree ได้พูดถึงอิทธิพลของภาษาไทย แล้วได้ยกตัวอยางกรณีภาษายาวีขึ้นมา

นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เราคงได้มีโอกาสเห็น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแพร่กระจายและอิทธิพลของการใช้ภาษาไทยในภูมิภาคนี้

โดยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สถานะทางเศรษฐกิจ และระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทย  ทำให้ประเทศไทยหนีไม่พ้นที่จะต้องกลายเป็น Hub ในแทบจะทุกเรื่อง ทั้งในเชิงของ hub ลักษณะศูนย์กลางของการเคลื่อนย้าย และ hub ในลักษณะของพื้นที่กลางของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม   ด้วยสภาพเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้ผู้ที่เก้ี่ยวข้องทั้งหลายต้องเรียนรู้และใช้ภาษาไทย ก็จะเกิดมีสภาพของภาษาไทยอย่างหนึ่งดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้วในตอนต้น  

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นหรือยัง ?  กำลังเกิดอยู่และแบบเข้มข้นด้วย  ที่น่าสนใจ คือ เกิดมานานแล้วด้วยครับ ผมได้มีโอกาสพบเห็นด้วยตนเองและได้เคยพูดคุยกับคนที่พยายามเรียนการพูดภาษาไทยตั้งแต่ยุคเวียดนามและรวมทั้งพม่าได้เริ่มเปิดประเทศอย่างจริงจัง ในเมืองหลวงของเขาเลย  ได้เห็นทั้ง Dictionary  และเทปสอนภาษา รวมทั้งการยอมรับการใช้เงินบาทไทยด้วย   แม้ในยุนนานเองก็มีนักศึกษานิยมเลือกเรียนวิชาเอกภาษาไทยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผมเลยเห็นภาพที่จะมีคนรู้จัก เข้าใจ และอาจจะเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่างกันสำหรับคนระดับรากหญ้าต่างชาติต่างภาษากันและกับนักท่องเที่ยว มากกว่าที่จะใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่มีพื้นฐานมากพอ  ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ภาษาในตระกูลภาษาไทยมีการใช้กันเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ทั้งในจีนตอนใต้ ลาว ตอนเหนือของเวียดนาม พม่าตอนบน  


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ก.ย. 13, 21:47
อีกภาพหนึ่งของภาษาไทยในอนาคตอันใกล้นี้ คือ จะดิ้นได้มากกว่าในปัจจุบันนี้มาก

การดิ้นในความหมายของของภาษาไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว เดิมก็เป็นเฉพาะเรื่องระหว่างบุคคล  แต่ที่ได้เริ่มมีผลกระทบต่อความถูกหรือผิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางสังคม ทางความรับผิดชอบและทางกฏหมายนั้น ผมคิดว่าได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณสัก 30 ปีมาแล้วเมื่อรัฐแรกเริ่มกระบวนการปฏิรูปที่ดิน   คำว่า เกษตรกร ดูจะเป็นคำแรกๆที่ต้องนำมาถกกันว่ามีความหมายอย่างไร ต่อมาก็คำว่า เกษตรกรรม    จนในปัจจุบันนี้มีมากมายหลายเรื่อง ทั้งตัวคำศัพท์เองและประโยคที่เขียนหรือในการพูดกล่าว จนแทบจะกลายเป็นเรื่องปรกติ เราจะได้ยินบ่อยมากในแวดวงทางการเมือง จนลามไปถึงในเรื่องของกฏหมาย กฎ ระเบียบ กติกา สัญญา ฯลฯ 

อาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อใดที่ผู้ใช้ขาดธรรมาภิบาล เมื่อนั้นก็จะมีการแถ แถก และอธิบายความหมายในการใช้ของเขาแบบศรีธนญชัย 


   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.ย. 13, 21:57
หลังๆนี้ได้ยินเรื่องการตีความถ้อยคำในกฎหมายถี่ขึ้นมากค่ะ   โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมือง  
บางทีก็เลยงง ไม่รู้ว่ากฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆนั้นดิ้นได้  หรือว่าภาษาดิ้นได้  หรือคนใช้ภาษาเป็นคนดิ้นได้เก่ง

ไปเจอเว็บนี้เข้า
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=398

   การใช้ถ้อยคำหรือภาษากฎหมายที่ไม่ชัดเจนและตายตัว ก่อให้เกิดการตีความแบบศรีธนญชัย หรือตีความที่ก่อให้เกิดผลประหลาด ตัวอย่างที่ท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้เคยให้ไว้เช่น "การทรมานทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้"
ในเชิงภาษาต้องอ่านว่า
1) การทรมานด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
2) การทารุณกรรมด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
3) การลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
และ หากตีความว่า "การทรมานหรือการทารุณกรรมด้วยวิธีการไม่โหดร้ายหรือไม่ไร้มนุษยธรรมย่อมทำได้"
ย่อมเป็นการตีความที่ก่อให้เกิดผลประหลาด และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 13, 19:26
นั่นนะซีครับ

เคยได้ยินมาว่า กฏหมายไทยอยู่ในรูปแบบ Franco-German คือ ว่าไปตามตัวอักษรที่เขียนไว้    ทั้งสองภาษานั่นให้ความหมายที่ดิ้นได้ยากมาก  แต่เสร็จพี่ไทย ตะแบงไปได้อย่างสบายๆเลย

ผมเห็นว่า กฏหมายทั้งหลายที่ออกมาใช้บังคับกันนั้น เป็นการเขียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสังคมที่มีธรรมมาภิบาล มีจริยธรรม และมีศีลธรรมอันดีเป็นปรกติ จึงมุ่งผลไปที่การกำจัดหรือจัดการกับสิ่งที่ไม่ดีในสังคมที่มีธรรมะ  เมื่อสังคมเริ่มมีฝ่ายอธรรมมากขึ้น ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ฝ่ายอธรรมก็จะต้องหาทางบิดเบือน แถ ตะแบงเพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์กับการกระทำของตน   

ผมเลยมองไปว่า คนนั่นแหละครับที่ไปทำให้ภาษามันดิ้นได้  และมันเกิดขึ้นก็เพราะการมีอัตตาในระดับที่สูง  และก็เป็นการแสดงให้เห็นประการหนึ่งว่า สังคมมันเปลี่ยนไปจากสังคมแบบธรรมะ เคลื่อนเข้าไปสู่สังคมแบบอธรรมมากขึ้นทุกที


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 20:07
 ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 21:04
เห็นมีการตีความรัฐธรรมนูญกันหลายหน  ตีความกฎหมายใหม่กันก็มาก      ดิฉันไม่รู้หรอกว่าเรื่องไหนถูกเรื่องไหนผิดเพราะว่าพูดกันคนละทางสองทาง  แม้แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ตีความไม่ตรงกัน
รู้แต่ว่าไม่มียุคไหนตีความกันมากเท่ายุคนี้เลยค่ะ

ภาษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม   เดี๋ยวนี้การออกเสียง  ฉ  ช เป็นเสียง ch sh ในเพลงภาษาไทย  ก็กลายเป็นแบบแผนกันไปแล้ว   เพลงบางเพลงฟังตั้งแต่ต้นจนจบ  ไม่รู้ว่าร้องว่าอะไร  เพราะการออกเสียงแตกต่างไปจากเพลงรุ่นเก่า  แต่ก็เป็นที่ยอมรับของคนฟังรุ่นใหม่อย่างดี  ฟังกันรู้เรื่อง
แสดงว่าการออกเสียงภาษาไทยกรุงเทพ เปลี่ยนไปจากเดิมต่อหน้าต่อตาเรานี่แหละ  ไม่ต้องรอให้ประชาคมอาเซียนมาเปลี่ยนค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 13, 22:05
เล่าประสบการณ์ให้ฟังเรื่องนึงครับ  ได้มาจากการทำงานในระบบ UN ซึ่งเป็นสังคมที่การเจรจาต่อรองกันในแทบจะทุกเรื่อง ทุกเวลา และทุกโอกาส     เผื่ออาจจะเป็นประโยชน์ครับ

มีข้อเท็จจริงพื้นฐานดังนี้ครับ
   - หลักคิดในการใช้ภาษาของภาษาต่างๆนั้น เรื่องหนึ่ง คือ ให้พยายามลดการใช้คำซ้ำๆให้มากที่สุด จึงจะจัดว่าเป็นภาษาที่ดี
   - ในภาษาที่ใช้อักษรภาพ (จีน ญี่ปุ่น)  เขาจะแปลความหมายของคำภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวใดตัวหนึ่งหรือชุดของตัวอักษรสองสามตัว ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบให้ความหมายที่ตรงกัน และแบบเพื่อใช้ทดแทนเสียงคำนั้นๆ
   - ในภาษาละตินมีระบบไวยากรณ์ และการผันคำที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและสลับซับซ้อน

เรื่องก็เกิดดังนี้ครับ
ในระหว่างการเจรจาตกลงในเรื่องใดๆโดยทั่วไป  เขานิยมใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง การบันทึกการประชุมและการยกร่างมติหรือความตกลงใดๆก็เป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นจึงจะนำมาเขียนให้เป็นภาษาอังกฤษที่ดี ก่อนที่จะถูกแปลเป็นภาษาแต่ละภาษาที่ถูกกำหนดให้เป็นภาษาทางการของ UN (ซึ่งคำแปลของแต่ละภาษาจะต้องมีความหมายตรงกัน แทบจะเป็นคำต่อคำ)   สิ่งที่เกิดขึ้น คือ
  - ในภาษาอังกฤษนั้น อาจจะมีการเปลี่ยนการใช้คำอีกคำหนึ่งในความหมายที่เหมือนกัน  สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คำที่เอามาใหม่นั้น ในภาษาจีนอาจจะแปลด้วยอักษรต่างชุดกันกับคำเดิม ซึ่งจะให้ความหมาย (อย่างลึกซึ้ง) ต่างกันไป     เรื่องนี้เป็นประเด็นปัญหาของจีนอย่างหนึ่ง
  - ในระหว่างการเจรจา พวกคนที่ใช้ภาษาละติน (กลุ่ม GRULAC = Group of Latin America and Caribbean) มักจะใช้ความรู้สึกในเรื่องของเวลาในภาษาของเขาในการกล่าวถึงในเรื่องใดๆ  

ความขัดแย้งในระบบของภาษาเล็กๆน้อยๆที่ยกมานี้ ได้ทำให้ภาษาที่ปรากฎในข้อตกลงหรือข้อมติในระบบการเจรจาแบบพหุภาคีต่างๆ กลายเป็นภาษาที่ไม่อ่านให้เข้าใจแบบลึกซึ้งได้ค่อนข้างยาก เพราะยากที่จะปรับแต่งให้สวยงามได้นั่นเอง

หากสภาพของภาษาไทยจะมีชิวิตดิ้นได้มากขึ้นมากในอนาคต ก็คงจะทำให้ต่างคนต่างก็จะต้องใช้วิธิศรีธนญชัยในการเจรจาและเขียนบันทึกตวามตกลงต่างๆ ภาษาไทยที่สามารถจะเขียนให้สละสลวยสวยงามได้ก็คงจะมีอันเป็นไป  คงจะต้องระวังการเว้นวรรคให้ดีทั้งการพูดและการเขียน คงต้องระวังพวกคำว่า และ หรือ  และแม้กระทั่งการจะเอาเวลาและสถานที่มานำหรือตามหลังในประโยคใดๆ ก็อาจทำให้เกิดการตีความหมายที่ต่างกันได้    


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 13, 22:12
เห็นมีการตีความรัฐธรรมนูญกันหลายหน  ตีความกฎหมายใหม่กันก็มาก      ดิฉันไม่รู้หรอกว่าเรื่องไหนถูกเรื่องไหนผิดเพราะว่าพูดกันคนละทางสองทาง  แม้แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ตีความไม่ตรงกัน
รู้แต่ว่าไม่มียุคไหนตีความกันมากเท่ายุคนี้เลยค่ะ
ภาษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม   เดี๋ยวนี้การออกเสียง  ฉ  ช เป็นเสียง ch sh ในเพลงภาษาไทย  ก็กลายเป็นแบบแผนกันไปแล้ว   เพลงบางเพลงฟังตั้งแต่ต้นจนจบ  ไม่รู้ว่าร้องว่าอะไร  เพราะการออกเสียงแตกต่างไปจากเพลงรุ่นเก่า  แต่ก็เป็นที่ยอมรับของคนฟังรุ่นใหม่อย่างดี  ฟังกันรู้เรื่อง
แสดงว่าการออกเสียงภาษาไทยกรุงเทพ เปลี่ยนไปจากเดิมต่อหน้าต่อตาเรานี่แหละ  ไม่ต้องรอให้ประชาคมอาเซียนมาเปลี่ยนค่ะ

ครับ
ผมเห็นว่าในขณะนี้มันกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่าย อาจจะยังคงมีการปรับ มีแปรไปแปรมาอยู่  แต่จะปรากฏอยู่อย่างถาวรก็เมื่อ AEC ได้มีการพลวัติอย่างเต็มรูป


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 25 ก.ย. 13, 22:17
ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของคนรุ่นใหม่นะครับ

 จากที่สังเกตมาจากในเว็บบอร์ดต่าง ๆ รู้สึกว่า เดี๋ยวนี้ การใช้สรรพนามแทนตัวเอง ดูจะไม่ค่อยได้รับความสำคัญเท่าไร การใช้สรรพนามที่สุภาพและเป็นกลาง ๆ เช่น ผม , ดิฉัน  ไม่ค่อยจะเห็นแล้วในเด็กรุ่นใหม่ ๆ (ที่ยังเรียนหนังสืออยู่ทั้งระดับประถม มัธยม หรือ อุดมศึกษา)

ส่วนใหญ่ที่เห็น จะใช้คำว่า  เรา  และใช้สรรพนามเรียกบุคคลอื่นว่า  เพื่อน ๆ

กลายเป็นว่า ในโลกสังคมออนไลน์ แทบจะแยกไม่ออกแล้วว่าใครเป็นใคร (ซึ่งมันก็ไม่ได้มีคำจำกัดความมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะแยกเพศ หรือ อายุ หรือสถานะแบบไหน)

ตรงนี้ผมมองว่า พื้นฐานของภาษาไทยก็จะอ่อนด้อยลงไปเรื่อย ๆ ไม่ต่างจากเรื่องการออกเสียงตัวสะกดที่กำลังถกกันอยู่นี่ล่ะครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 22:18
      ดิฉันเห็นด้วยกับทฤษฎีที่ว่าตราบใดภาษายังมีคนใช้อยู่ มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหลักภาษาและวิธีใช้ภาษาไปเรื่อยๆตามสภาพสังคม        ภาษาที่หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวคือภาษาที่ตายแล้ว  หมายความว่าไม่มีใครใช้อีก      ปัจจุบันภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นภาษาอีกแบบหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการกดคีย์บอร์ด     คำยาวๆยากๆเสียเวลาจิ้ม  ย่อมไม่เป็นที่นิยม  คำจึงสั้นลง  การสื่อสารแบบเป็นประโยคสมบูรณ์ ก็ไม่เอื้อต่อเนื้อที่แคบๆในการส่งสาร  เช่นเวลาเล่น line   ใครหน้าไหนจะอยากพิมพ์ว่า "ขอเชิญไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน"   ก็กลายเป็นว่า " เที่ยง กิน  ป่ะ" แค่นี้รู้เรื่องแล้ว     ด้วยเหตุนี้  ภาษาทางการจึงลดลงไม่เหลืออีกในการสื่อสารในโลกเสมือน  ไม่ว่าจะใช้มือถือ ไอแพด  หรือโน้ตบุ๊คก็ตาม จะออกมาแบบเดียวกัน
     ภาษากฎหมายในอนาคตเป็นไง  ประโยคก็คงสั้นลง  กระชับ รัดกุม   มองในแง่ดีก็ดี เพราะอาจจะตีความให้ดิ้นได้ยาก   แต่ถ้าศรีธนนชัยมาตีความ คำสั้นๆนี่แหละดิ้นเก่งนัก เพราะคนตีความเขาดิ้นเป็น


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 25 ก.ย. 13, 22:26
     ดิฉันเห็นด้วยกับทฤษฎีที่ว่าตราบใดภาษายังมีคนใช้อยู่ มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหลักภาษาและวิธีใช้ภาษาไปเรื่อยๆตามสภาพสังคม        ภาษาที่หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวคือภาษาที่ตายแล้ว  หมายความว่าไม่มีใครใช้อีก      ปัจจุบันภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นภาษาอีกแบบหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการกดคีย์บอร์ด     คำยาวๆยากๆเสียเวลาจิ้ม  ย่อมไม่เป็นที่นิยม  คำจึงสั้นลง  การสื่อสารแบบเป็นประโยคสมบูรณ์ ก็ไม่เอื้อต่อเนื้อที่แคบๆในการส่งสาร  เช่นเวลาเล่น line   ใครหน้าไหนจะอยากพิมพ์ว่า "ขอเชิญไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน"   ก็กลายเป็นว่า " เที่ยง กินข้าว  ป่ะ" แค่นี้รู้เรื่องแล้ว     ด้วยเหตุนี้  ภาษาทางการจึงลดลงไม่เหลืออีกในการสื่อสารในโลกเสมือน  ไม่ว่าจะใช้มือถือ ไอแพด  หรือโน้ตบุ๊คก็ตาม
     ภาษากฎหมายในอนาคตเป็นไง  ประโยคก็คงสั้นลง  กระชับ รัดกุม   มองในแง่ดีก็ดี เพราะอาจจะตีความให้ดิ้นได้ยาก   แต่ถ้าศรีธนนชัยมาตีความ คำสั้นๆนี่แหละดิ้นเก่งนัก เพราะคนตีความเขาดิ้นเป็น

เห็นด้วยครับ

ขอเสริมครับว่า  แต่การที่เราไม่ได้ใช้ไปนาน ๆ จะกลายเป็นว่าจะใช้กันไม่ถูกต้องนะครับ

ส่วนตัวผมเคยเจอเด็กมาขอข้อมูลบริษัท  โทรศัพท์มาหา ประโยคแรกที่ได้ยินคือ  "คือเราอยากจะขอข้อมูล............"

ซึ่งผมมองว่า ถ้าในชีวิตจริง ที่ต้องติดต่อธุระอย่างเป็นทางการ น่าจะใช้ระดับของภาษาให้ถูกต้องกว่าก็จะเป็นการดีมากครับ

เหมือนที่เคยอ่านกระทู้ในเว็บบอร์ดยอดนิยมของเมืองไทย เคยเห็นฝ่ายบุคคลหลาย ๆ ที่บ่นเหมือนกันว่า เด็กรุ่นใหม่ ไม่เข้าใจข้อควาที่ประกาศหรืออย่างไร

เช่นบอกว่า ตำแหน่งนี้ ต้องมีคุณสมบัติแบบนี้ อย่างนี้

กลายเป็นว่า ผู้สมัครเองไม่มีคุณสมบัติ แต่อยากจะสมัคร ก็เลยโทรศัพท์ หรือส่งเมล์มาถามว่า ไม่มีคุณสมบัติแบบนี้แต่จะสมัครได้ไหม ก็กลายเป็นอย่างนั้นไป


นอกจากนี้

เรื่องของการสะกดคำ ที่ผิดกันเยอะมาก ทั้งในหนังสือพิมพ์ (ที่เดี๋ยวนี้ น่าจะไม่มีตำแหน่งพิสูจน์อักษรแล้ว) หรือนิตยสาร ก็หลุดออกมามาก

เช่นคำที่เห็นบ่อย ๆ คือ  อัฒจันทร์  เขียนผิดกันจนชินกลายเป็น อัฒจรรย์ ไปเสียอย่างนั้น ก็เห็นอยู่ประจำ


ผมเกรงว่า การที่ปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เละเทะไปเรื่อย ๆ สุดท้ายภาษาไทยก็จะกลายเป็นภาษาคาราโอเกะไปแทนครับ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 22:54
ถ้ารวบรวมคำผิดจากหนังสือพิมพ์ละก็  ตั้งกระทู้ได้อีกยาวเชียวค่ะ

อ้างถึง
ผมเกรงว่า การที่ปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เละเทะไปเรื่อย ๆ สุดท้ายภาษาไทยก็จะกลายเป็นภาษาคาราโอเกะไปแทนครับ
จริงค่ะ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 18:59
ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยที่สั้น รวบรัด อ่านปราดเดียวเข้าใจได้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 26 ก.ย. 13, 21:42
ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยที่สั้น รวบรัด อ่านปราดเดียวเข้าใจได้

แหม กะเพรา  ;D ;D ;D ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 21:47
ไม่ทันดู   ในรูปสะกดผิดจริงๆด้วย
ดีนะครูเพ็ญไม่เข้ามา  ไม่งั้นคนโพสต์โดนคัดลายมือ 10 ครั้ง


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ก.ย. 13, 22:01
ใช่เลยครับ
  
สังเกตดูดีๆจะสัมผัสได้ว่า การใช้ภาษาไทยของเราค่อนข้างจะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของการบังคับ การข่มขู่ และการห้ามมากกว่าการเชื้อเชิญ ดูเป็นสังคมที่เริ่มปราศจากความเป็นมิตรระหว่างผู้คนมากขึ้นทุกขณะ   อาจจะพอกล่าวได้ว่าในอีกมุมหนึ่งว่า เป็นการใช้ในสภาพของจิตใจและความคิดแบบทัศนคติลบ มิใช่ในทัศนคติที่เป็นบวก
 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ก.ย. 13, 22:47
แล้วเราก็มีศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นมามาก ซึ่งผมเห็นว่ามันก็เป็นธรรมชาติของภาษาที่จะต้องมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นมาตามยุคสมัยของสังคม คำเหล่านี้เกืดมาแล้วก็หายไปเป็นปรกติ 

แต่ขณะนี้กำลังมีคำศัพท์หลายคำที่มีความหมายใหม่เพิ่มเติม และได้ถูกใช้แทนคำศัพท์อื่นๆที่ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน  รู้สึกว่าคำเหล่านั้นจะอยู่ยงคงกระพันเสียด้วย เช่น คำว่า ประมาณ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย   ขี่จักรยาน ก็กลายเป็นขับจักรยาน  ระบายสี(ภาพในสมุด)ก็เป็นทาสี 

รวมทั้งคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยโดยการเปิดพจนานุกรม แล้วเลือกความหมายที่ไม่ตรงมาใช้   เมื่อเร็วๆนี้ ได้ยินคำบรรยายสารคดีเรื่องหนึ่ง แปลคำว่า dating ในความหมายของการตรวจวัดหาอายุ เป็น ไปหาวันที่ ตรงๆเลย

ในทำนองเดียวกันก็เริ่มสัมผัสได้ว่า คำไทยที่มีคำขยายติดท้าย (เช่น ใหญ่โต เล็กน้อย แดงจัด เหลืองอ่อน)   คำเหล่านี้กำลังเหลือเพียงพยางค์เดียว



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 09:37
ใช่เลยครับ
  
สังเกตดูดีๆจะสัมผัสได้ว่า การใช้ภาษาไทยของเราค่อนข้างจะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของการบังคับ การข่มขู่ และการห้ามมากกว่าการเชื้อเชิญ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 10:34
ตัวอย่างการตีความต่อไปนี้   ดิฉันไม่ได้มุ่งจะวิจารณ์เนื้อหาหรือตัวรางวัล  แต่จะยกเป็นตัวอย่างการตีความภาษาที่ดิ้นได้ ตามที่คุณตั้งเกริ่นไว้ในกระทู้    เพราะฉะนั้นก็ขอยกเว้นชื่อรางวัลเอาไว้ก่อน  ใครสนใจก็ไปค้นหาต่อเอาเองนะคะ

หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและการตัดสินรางวัลวรรณกรรมรางวัลหนึ่งมีกติกาข้อหนึ่งว่า  วรรณกรรมที่เข้าประกวด ต้องเป็นประเภทบทกวี  หากเป็นฉันทลักษณ์แบบแผน ต้องมีขนาดความยาว 6-12 บท    

แต่บทกวีที่ได้รางวัล มีความยาว 14 บทครึ่ง

หลังจากประกาศผลแล้ว มีคนโวยขึ้นมาว่ารางวัลที่ชนะเลิศ ผิดหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้    คณะกรรมการออกมาแถลงว่า  มีกรรมการหลายท่านไม่เห็นด้วยกับกติกาดั้งเดิม ที่ระบุให้บทกวีฉันทลักษณ์ มีความยาว 6-12 บท   จึงพิจารณากันว่า จะเปลี่ยนกติกาหรือไม่ ที่ประชุมเห็นว่าไม่เปลี่ยน เพราะถ้าต้องมาแก้กฎกติกามันจะล่าช้ายุ่งยาก  จึงให้ใช้ข้อกติกาเดิมโดยอนุโลม แต่ให้เป็นดุลพินิจของกรรมการกลั่นกรอง(คือกรรมการเบื้องต้น)ว่าจะอนุโลมแค่ไหนเพียงใด
  
เพราะฉะนั้นกรรมการชุดแรกก็เลยอนุโลมว่า บทกวีที่ยาวเกินข้อกติกานั้น ไม่ผิดกติกา    ผ่านเข้ารอบไปได้  เมื่อถึงกรรมการชุดตัดสิน  กรรมการเห็นว่าผ่านกรรมการชุดต้นมาแล้ว  ไม่ต้องมาดูเรื่องกฎกติกากันอีก    ก็พิจารณาแต่คุณสมบัติอื่นๆ แล้วก็ตัดสินว่าบทนี้ดีที่สุด   ให้ชนะเลิศไป


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 10:40
เพราะฉะนั้น   ก็พอจะลำดับได้ดังนี้ 
๑  คณะกรรมการปัจจุบันไม่เห็นด้วยว่าต้องมากำหนดกติกาความยาวของงานที่ส่งประกวด ให้อยู่ในกรอบ 6-12 บทอย่างในกติกาเดิม
๒  จะแก้กฎก็แก้ไม่ทัน  หรือแก้ไม่ได้จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
๓  จึงเติมเข้าไปว่า กรรมการเบื้องต้นสามารถอนุโลมได้  หากว่ามันไม่เป็นตามกติกา
๔  ขอบเขตการอนุโลม ก็มีแบบไม่จำกัด  แล้วแต่กรรมการจะอนุโลมกันแบบไหนอย่างไร  เป็นดุลยพินิจของกรรมการ
๕  ด้วยเหตุนี้   ผลงานที่ไม่อยู่ในขอบเขตกติกา  จึงถือว่าไม่ผิดถ้ากรรมการอนุโลมว่าใช้ได้ 
๖  ทำให้งานที่ไม่อยู่ในขอบเขตกติกาเดิม  ได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ

คุณตั้งคงจะเห็นว่า การใช้คำว่า "อนุโลม" คำเดียว  ก็ทำให้คำว่า กติกา ไร้ความหมายไปในพริบตา   อย่างถูกต้องตามกติกาเสียด้วยซีคะ




กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 19:52
เมื่อกี้ดูข่าวจัสติน บีเบอร์จะมาออกคอนเสิร์ตในไทย    นักข่าวไปสัมภาษณ์หนูๆทั้งหลายที่จะมาฟัง   หลายคนบอกว่า ฟังเพลงของจัสติน  ช่วยฝึกภาษา"อังกิด" ให้ดีขึ้น
กี่คนๆที่ให้สัมภาษณ์ ก็ "อังกิด" หมด    ไม่มีใครออกเสียงควบกล้ำว่า "อังกริด" เลยสักคนเดียว   สงสัยว่าเด็กนักเรียนไทยรู้หรือเปล่าว่าอังกฤษ ไม่ได้อ่านว่า "อังกิด"


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ย. 13, 20:26
ครับผม  บางสถานีวิทยุ แม้กระทั่งสถานีของทางราชการเอง และรวมทั้งสถานีของมหาวิทยาลัยที่ใช้ฝึกนิสิตนักศึกษาก็ยังได้ยินคำที่ขาด ร  ล  และไม่ออกเสียงคำควบกล้ำ จากปากของแทบจะทุกคน ตลอดทั้งวัน   แถมด้วยคำภาษาอังกฤษที่ออกเสียงตามตัวสะกดไม่เหมือนที่ชาวบ้านเขาออกเสียงกันอีกด้วย

อีกไม่นานเราก็คงจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยแบบโบราณ   ;D

บ่อยครั้งมากที่ผมฟังพนักงานที่ให้บริการไม่ออก ต้องขอให้เขาพูดรอบสอง แล้วก็ต้องพยักหน้าหรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนเรื่อง ไม่มีขอให้พูดซ้ำเป็นรอบที่สาม หากขอเป็นครั้งที่สาม ก็มีโอกาสจะเจอของดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทำหน้าเขียวใส่  โกรธเอา  ถูกตราหน้าเป็นไอ้โง่ หรือไม่เขาจะยิ่งตอบแบบเราไม่รู้เรื่องมากขึ้น (ดีไม่ดีมีภาษาต่างชาติปนออกมาด้วย) หรือเดินหนีไปเลย

เป็นธรรมดาสำหรับผมไปเสียแล้วที่จะฟังเด็กเขาคุยกันออกทุกคำ แต่ไม่รู้เรื่องว่าเขาคุยอะไรกัน   ไปตลาดนัดบางครั้งยังรู้สึกคล้ายกับว่าเดินอยู่ในต่างประเทศ เหมือนกับผู้คนเขาไม่ได้พูดภาษาไทยกัน    ต่างกับไปเดินในต่างจังหวัด ยังฟังอะไรๆเป็นภาษาไทยอยู่เหมือนเดิม แปลกดี   คล้ายกับพลวัติในเมืองหลวงมันเร็วกว่าต่างจังหวัดมาก จนแซงหน้าไปอยู่ที่ใหนก็ไม่รู้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ย. 13, 21:10
คุณตั้งคงจะเห็นว่า การใช้คำว่า "อนุโลม" คำเดียว  ก็ทำให้คำว่า กติกา ไร้ความหมายไปในพริบตา   อย่างถูกต้องตามกติกาเสียด้วยซีคะ

ต่อไปภายหน้า นอกเหนือไปจากการตีความโดยอ้างอิงคำแปลหรือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิสถานโดยไม่คำนึงถีงสภาพแวดล้อมหรือองคาพยพของการใช้ศัพท์คำนั้นๆแล้ว   เราก็คงจะได้เห็นการนำศัพท์ต่างๆมาใช้ในความหมายแบบห้วนๆเฉพาะตัวของมันเอง 

ผมเห็นว่า เรื่องที่ขาดไปในการอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่างๆนั้น คือ ขอบเขตของความหมาย     คำศัพท์ต่างๆนั้นมักจะแสดงตัวอย่างของการใช้ซึ่งเราอาจจะเลือกใช้ตัวอย่างการใช้ที่แสดงถึงขอบเขตของความหมาย หรือไม่ก็ต้องอธิบายประโยคตังอย่างนั้นๆว่ามันมีขอบเขตอยู่เพียงใด

เมื่อถึงขนาดยกความหมายตามพจนานุกรมไปใช้อ้างกันในสภาแล้ว   บางทีท่านรอยอินอาจจะกำลังพยายามสังคายนาคำศัพท์ โดยเฉพาะในเรื่องขอบเขตของความหมายของคำต่างๆ (และออกพจนานุกรมใหม่) อยู่ก็ได้     
 
อะไรคือความต่างระหว่าง พจนานุกรม กับ ปทานุกรม ครับ ?    คำใหนตรงกับคำว่า dictionary ครับ ?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 21:20
พจนานุกรม = dictionary ค่ะ
รอยอินให้ความหมายของ ปทานุกรมว่า
ปทานุกรม   น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
คำว่า ปทานุกรม  พอแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็แปลได้ทั้ง  dictionary ; lexicon ; glossary ; wordbook  ค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 21:34
คุณตั้งคงจำการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีนี้ได้

เรื่องมีอยู่ว่าศาลจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ว่านายเนวิน ชิดชอบ จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 50,000 บาท ไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยได้รับโทษ จำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 , 30 กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชน เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน และขณะนี้นายเนวิน ชิดชอบได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีดังกล่าวนี้ทำให้เกิดประเด็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเนวิน ชิดชอบ น่าจะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4) หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่ศาลตัดสินให้ลงโทษจำคุกนายเนวิน โดยให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี  ถือว่าการรอการลงโทษมิใช่เป็นการต้องคำพิพากษาให้จำคุก เมื่อนายเนวิน ชิดชอบ ถูกศาลจังหวัดบุรีรัมย์พิพากษาลงโทษ จำคุก 6 เดือน แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่านายเนวิน ชิดชอบ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ตามความหมายของ รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4)
โดยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4)

http://www.kodmhai.com/vinit/2542/Vnit-36.html


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ย. 13, 21:58
ครับ หลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นมาก็คงจะพอจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า  การใช้ภาษาไทยในภายหน้าอาจจะต้องมีการแปลเป็นไทยกำกับอยู่ด้วย หรือไม่ก็ ก่อนจะที่จะกล่าว เขียน หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ จะต้องแสดงคำจำกัดความไว้แต่ต้นหรืออยู่ในภาคผนวก


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 13, 20:44
ยังคงมีข้อสังเกตอื่นๆอีก แต่จะขอลงด้วยอีก 2 ข้อสังเกตครับ

เรื่องแรก คำหลายคำและชื่อนามต่างๆ คงจะหายไปมากเลยทีเดียว   ขอยกตัวอย่าง เช่น ชื่อเรือชนิดต่างๆ หรือ ชื่อกับข้าวต่างๆ (ในปัจจุบันก็เหลือกับข้าวที่วางขายกันหรือสั่งกินกันไม่กี่อย่างแล้ว) หรือ ชื่อของใช้ต่างๆ    เนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป   

เรื่องที่สอง ภาษาเขียนกับภาษาพูด จะมีความแตกต่างที่เด่นชัดใน คือ เขียนอย่างหนึ่งแต่อ่านออกเสียงอย่างหนึ่ง หรือกลับกัน พูดออกเสียงอย่างหนึ่งแต่ต้องเขียนตามหลักภาษาอีกอย่างหนึ่ง    เด็กรุ่นหลังคงจะยุ่งยากในการจำน่าดูเลยทีเดียว 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ย. 13, 21:00
ภาษาอินเทอร์เน็ตนี่แหละค่ะ จะมาเป็นตัวบงการและควบคุมภาษาไทย    ถ้าคุณตั้งเปิดเข้าไปในเว็บต่างๆที่คุยกันได้   จะเห็นภาษาปัจจุบันไม่เหมือนภาษาเมื่อ 10 กว่าปีก่อนอีกแล้ว   เกิดขึ้นเร็วและตายจากไปเร็ว  พร้อมกับมีคำใหม่ๆเข้ามาแทนที่
ครับ---> คับ--->ครัฟ
ใช่ไหม--->ใช่มั้ย---->ชิมิ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 13, 21:26
ปล.

ข้อเขียนในกระทู้นี้เป็นเพียงการฉายภาพที่ผมเห็นว่าเป็นพลวัติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบันกาล ซึ่งจะเป็นกลายเป็นดอกผลี่พอจะเดาได้ว่าจะเป็นเช่นใดในอนาคต

เคยคิดอยู่ว่า เมื่อเกิด AEC ขึ้นมา จะมีการเคลื่อนย้ายในเรื่องต่างๆมากมาย (โดยเฉพาะคน) แล้วไทยเราก็หลีกเลี่ยงสภาพการเป็นศูนย์กลางนี้ไม่ได้  เรามีคนอยู่รอบบ้านที่อยากจะเข้ามาทำงานหรือเคลื่อนย้ายผ่านไทย คนเหล่านี้ก็หัดเรียนภาษาไทยอยู่แล้ว แล้วก็ยังมีคนที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษาไทยอยู่อีกเป็นจำนวนมาก  สภาพเช่นนี้ น่าจะมีนักวิชาการทางภาษาลองศึกษาดูโอกาสและลักษณะของภาษาที่จะทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารของอาเซียนก็น่าจะดี  

ผมเคยทราบนานมาแล้วว่า ได้มีความพยายามจะพัฒนาภาษาอาเซียนขึ้นมา ซึ่งดูเหมือนจะไปอิงๆทางตระกูลภาษายาวี ซึ่งหากดูจำนวนประชากรแล้ว ก็แน่นอนว่าเขามีมากกว่าแน่ๆ แต่หากดูในเชิงที่อิงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ตระกูลภาษาไทยดูเหมือนจะมีคนใช้อยู่ในหลายประเทศ ก็ครึ่งหนึ่งของประเทศอาเซียนเลยทีเดียว  ในปัจจุบันนี้ อาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางราชการ บางทีอาจจะต้องมีการส่งเสริมการใช้ภาษาที่สองสำหรับบุคลากรที่เป็นกำลังขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจ   หน้าตาของภาษาก็อาจจะเป็นการผสมผสานการใช้ภาษาดังตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเป็นข้อสังเกตในกระทู้นี้



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 พ.ย. 14, 09:50
ขออนุญาตกู้กระทู้นี้ขึ้นมา ด้วยมีปรากฏการณ์ทางภาษาที่น่าสนใจ ๒ ประการเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ขอเรียกว่า "ปรากฏการณ์ภาษาถิ่นในยุค AEC"  ปรากฏการณ์แรกขอให้ชื่อว่า "น้องล่าเหนี่ยวไก่" เพิ่งเกิดขึ้นยังอุ่น ๆ อยู่เลย ปรากฏการณ์ที่สองชื่อว่า "น้องหยองบีเอ็มเอ็กซ์" เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง

น้องล่าเป็นคนใต้ ดังในโลกออนไลน์ด้วยการใช้ภาษาใต้ต่อว่า (หรือด่าดี  ;)) คนที่ขโมยเอาข้าวเหนียวไก่ที่เอาไว้ในตะกร้าหน้ารถมอเตอร์ไซค์ไปรับประทาน ลงเป็นคลิปในยูทูบ ผู้คนในโลกออนไลน์เข้าชมกันเป็นแสน จนน้องล่าดังออกมาในโลกภายนอก

http://www.youtube.com/watch?v=cdwMks62JjY#ws (http://www.youtube.com/watch?v=cdwMks62JjY#ws)

น้องหยองเป็นฝรั่งลูกครึ่งอีสาน ดังด้วยการให้สัมภาษณ์ทางทีวีด้วยภาษาอีสานก่อนและหลังการได้รับเหรียญทองกีฬาแข่งขันจักรยานในเอเชียนเกมส์ที่เกาหลีใต้

http://www.youtube.com/watch?v=KUJ0zIdSwPs#ws (http://www.youtube.com/watch?v=KUJ0zIdSwPs#ws)

ทำไมน้องล่าซึ่งเป็นเด็กสาวชาวบ้านธรรมดาจึงดังในชั่วข้ามคืน และน้องหยองซึ่งเป็นนักกีฬาเหรียญทองจึงดังล้ำหน้ากว่านักกีฬาเหรียญทองคนอื่น นั่นเป็นเพราะว่าคนไทยปัจจุบันมีความรู้สึกแปลก และเล็งเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในภาษาถิ่น   ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 14, 10:46
คลิปน้องล่า  ในไลน์ก็ส่งกันให้ว่อนเหมือนกัน

คำอุทานของน้องล่าที่เธอแทรกไว้เป็นระยะๆ    ตอนนี้แพร่กระจายในโซเชียลเน็ตเวิร์ค    เพราะมันเป็นคำที่พิมพ์ได้โดยไม่ติดระบบกรองคำในเว็บต่างๆ  และเป็นคำที่นำมาใช้ได้ในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ที่ต้องการระบายความไม่สบอารมณ์ทางการบ้านการเมือง ในประเด็นร้อนต่างๆ

ไม่มีใครบอกว่าน้องล่าพูดเพราะ หรือแม้แต่ชมเชยว่าน้องล่าดีหรือเก่งอย่างน้องอแมนด้า    แต่คลิปนี้ดูแล้วขำและเอ็นดูในความจริงใจของเธอ ตลอดจนตอนจบที่เธอยังอุตส่าห์อารมณ์ดีส่งท้ายอารมณ์เสียในตอนต้น
นี่แหละคนไทย  ทำได้ตามใจคือไทยแท้  กับเป็น Land of Smile


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 พ.ย. 14, 13:02
เรื่องคำสบถของน้องล่าสำหรับคนใต้อาจจะมีความรุนแรงพอ ๆ คำสบถภาษาถิ่นกรุงเทพฯของน้องดัฟฟี่ นิสิตจุฬาฯ ลูกครึ่งไทย-อเมริกันในคลิปข้างล่างนี้ (มีผู้เข้าชมเป็นหลักแสนเหมือนกัน)

ใครหนอไปสอนน้องพูด  ;D

http://youtube.com/watch?v=PUFeaGWIa3c#ws (http://youtube.com/watch?v=PUFeaGWIa3c#ws)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 14, 13:29
น้องคุยกับพวกไหน ก็พวกนั้นแหละ   เพื่อนๆด้วยกัน

ยุคนี้คำสบถกำลังอินเทรนด์    ไปห้างสรรพสินค้า   เจอเด็กนักเรียนมัธยมต้นหน้าตาใสๆน่ารักน่าเอ็นดูทั้งกลุ่ม   คำเรียกตัวเองเหมือนพ่อขุนรามใช้ในศิลาจารึก   เรียกเพื่อนด้วยคำแปลมาจาก animal   เหมือนน้องดัฟฟี่เรียก   
ไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นคำหยาบ     
ก็ต้องทำใจว่าหนูๆเมื่อไม่มีเจตนา ก็ไม่ผิด 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 16 พ.ย. 14, 16:54
อ่านกระทู้นี้มาถึงเรื่องควบกล้ำ ร เรือ ล ลิง ทำให้ดิฉันนึกถึงหนังโฆษณาครีมกำจัดขนใต้วงแขนยี่ห้อหนึ่ง ที่มีสองสาวคุยกัน จำไม่ได้ทุกคำพูดหรอกนะคะ

จำได้ว่าบทสนทนามีประมาณนี้ค่ะ

สาวหนึ่งพูดกับเพื่อนว่า"ยังใช้แหนบอยู่อีกหรือ" (น้ำเสียง สีหน้าแสดงออกชัดว่าเพื่อน'เอ้าท์'มากๆ) "เปลี่ยนมาใช้(ชื่อยีห้อ..)คีมกำจัดขนสิ"

ได้ยินแค่นี้  ดิฉันก๊ากเลยค่ะ ;D  โห! วิธีนี้ของหล่อนน่ากลัวยิ่งนัก  เจ้าของสินค้ากับเอเจนซี่ที่ทำโฆษณาชิ้นนี้ไม่รู้สึกสะดุดหูบ้างหรือไง

ปล่อยโฆษณาชิ้นออกมาได้ไงไม่ทราบ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 พ.ย. 14, 18:41
ผมกำลังเข้าไปสู่สภาพไล่ตามไม่กับทันโลกยุคใหม่ และกำลังล้าหลังไปมากขึ้นเรื่อยๆ    ได้ยินคนเขาคุยกันในห้างสรรพสินค้า เห็นหน้าตาก็เป็นคนไทยวัยหนุ่มสาว  แต่ได้ยินเสียง สำเนียง รูปประโยค หรือโครงสร้างภาษา บางทีก็ยังไม่แน่ใจเลยว่านั่นพูดภาษาไทยกันหรือเปล่า

ตอนนี้ ยิ่งเมื่อความชรามาเยือน  เมื่อหูก็กำลังพัฒนาไปสู่ความตึง  เมื่อภาษาและสำนวนใหม่ๆกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลก digital media และ social network   และเมื่อเริ่มมีการคลุกคละกันของสังคม ภาษา และสำนวน ในโลกปัจจุบัน       ผู้เฒ่าในโลกยุค AEC เช่นผม ก็คงจะเริ่มมีคำพูดติดปาก (อาทิ) ว่า  ฮะ ว่าไงนะ, พูดอีกที (อีกครั้ง) ครับ/ค่ะ, พูดช้าๆหน่อยหนู, ช่วยอธิบายหน่อย ฯลฯ 

วลีตามที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น น่าจะจัดได้เป็นอีกหนึ่งวลีมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุของไทยในโลกยุด AEC 

   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 17 พ.ย. 14, 15:39
อีกเรื่องที่ได้พบมานานแล้วคือ การใช้ภาษาต่างประเทศแบบฟุ่มเฟือย ทั้ง ๆ ที่ก็มีคำภาษาไทยเดิมที่มีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว หมู่นี้ที่เห็นบ่อย ๆ ก็คือคำว่า "แผน"


ซึ่งจะตรงกับคำว่า "Plan" ในภาษาอังกฤษ มักจะเห็นได้บ่อย ๆ ในกระดานสนทนาทั่ว ๆ ไปครับ เช่น  มีแพลนจะไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ , วางแพลนจะทำอย่างนั้นอย่างนี้



หรือบางที ก็ใช้คำให้ฟุ่มเฟือยทั้ง ๆ ที่คำที่ใช้ในภาษาไทยก็ตรงตัวอยู่แล้วเช่น  ...ออกแบบ ดีไซน์....    ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะใช้คำให้ฟุ่มเฟือยไปทำไม ในเมื่อออกแบบ กับ Design ถ้าแปลออกมาแล้ว ก็ความหมายเดียวกัน


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 17 พ.ย. 14, 20:36
เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนยุคนี้ แม้ว่าคนไทยจะพูดภาษาอังกฤษได้เยอะขึ้น มีความรู้ด้านภาษามากขึ้น แต่ในความเห็นส่วนตัว ก็ยังคิดว่าน่าเป็นห่วงอยู่ค่ะ
ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะนักเรียนสายศิลป์ภาษา ผิดถูกประการใดขออภัยไว้ด้วยนะคะ มุมมองอาจจะไม่ลึกซึ้งและรอบคอบเท่าที่ควร

ถ้าจะให้เด็กไทยแข่งกันทำข้อสอบภาษาอังกฤษ รับรองได้เลยว่า คะแนนพุ่งปรี๊ดแน่ๆ แต่ถ้าจะให้มาแสดงทักษะการพูด ไม่ต้องถึงกับให้สมบูรณ์แบบ น้อยคนที่จะสามารถพูดได้อย่างมั่นใจ ออกเสียงหรือมีสำเนียงคล้ายกับเจ้าของภาษา ทั้งๆ ที่เราเรียนวิชานี้กันมาตั้งแต่อนุบาล
การมีพื้นฐานที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บางครั้งเราเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาตอนมัธยมปลาย แต่ก่อนหน้านั้นไม่เคยเรียนกับครูฝรั่งเลย มันก็เป็นเรื่องยากที่จะฝึกพูด ฝึกใช้ ให้ดีได้เท่าๆ กับคนที่เคยผ่าน English Program มาก่อน แต่ถึงอย่างนั้น เด็กส่วนมากก็ยังไม่ได้ใส่ใจทักษะการพูดเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

อีกเรื่องหนึ่งคือ เวลาที่เด็กพูดภาษาอังกฤษได้ชัด โดยเฉพาะการออกเสียง r แบบอเมริกัน หรือเอาลิ้นออกมาเวลาออกเสียงตัว th มักมีเพื่อนล้ออยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการหยอกล้อขำๆ หรือเสียดสี ผู้พูดก็ต้องเสียความมั่นใจเป็นธรรมดา ทำให้ไม่กล้าออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษชัดๆ เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น

การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่ค่อยเอื้อกับการพัฒนาทักษะการพูดของเด็กไทยสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะโรงเรียนในต่างจังหวัด ถ้าหากไม่ใช่ English Program น้อยมากที่เด็กในห้องจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

จริงๆ เด็กไทยที่เก่งและมีความสามารถด้านภาษาก็มีไม่น้อย แต่เท่าที่เคยเจอมา (ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด) ถ้าไม่ใช่เด็กโรงเรียนนานาชาติ, English Program, ลูกครึ่ง, หรือเด็กที่พ่อแม่ปลูกฝังภาษาอังกฤษผ่านสื่อ เช่น ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ เป็นต้น ก็น้อยมากที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะการเรียนการสอนในห้อง เน้นแกรมม่าร์เยอะมากค่ะ ไม่ใช่ว่าแกรมม่าไม่สำคัญ แต่เด็กๆ ไม่รู้ว่านอกจากข้อสอบแล้ว แกรมม่าจะเอาไปใช้การพูด การเขียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  :'(


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 17 พ.ย. 14, 20:39
เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 

โอ้ ความรู้ใหม่ ไม่ทราบว่าเมื่อก่อน เสียงของ ฎ ฏ ต่างจาก ด ต ยังไงเหรอคะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลย  ???


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ย. 14, 20:46
การสะกดด้วยตัวอักษรต่างกัน เป็นร่องรอยให้รู้ว่าแต่เดิมมาการออกเสียงพยัญชนะต่างกันค่ะ
แต่จะให้ออกเสียงยังไงก็จนปัญญา


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 17 พ.ย. 14, 20:49
การสะกดด้วยตัวอักษรต่างกัน เป็นร่องรอยให้รู้ว่าแต่เดิมมาการออกเสียงพยัญชนะต่างกันค่ะ
แต่จะให้ออกเสียงยังไงก็จนปัญญา

อูย… ขอโทษด้วยนะคะ ถามอะไรตื้นเขินเหลือเกิน  :-[


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 17 พ.ย. 14, 22:51
ครูก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ค่ะ แทบพูดได้ว่าส่วนใหญ่ไม่ออกเสียงควบกล้ำ ร เรือ ล ลิง เด็กเล็กๆอย่างเด็กอนุบาลจะพูดชัดได้ไง ในเมื่อเริ่มต้นก็ได้ยินมาแบบผิดๆ

ส่วนครูสอนภาษาอังกฤษบางคนก็ยังออกเสียงตัว H เป็นเฮด  F เป็นเอ็บ  L เป็นแอน  S เป็นเอ็ด 

ดิฉันเคยได้เด็กประถมคนหนึ่งของโรงเรียนชื่อดัง อ่านคำว่าElephant โดยเสียงว่า อี-ลา-เฟ้น ดิฉันแก้ให้ เด็กก็ว่าหนูอ่านตามคุณครู ในเมื่อเด็กยืนยันแบบนั้นดิฉันก็จนใจ จะบอกว่าคุณครูหนูอ่านผิด  ก็จะเป็นการหักหน้าคุณครู หรือไม่อีกทีเด็กก็ฟังผิดเอง


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 พ.ย. 14, 18:55
เรื่องของการออกเสียงนี้  ในระยะต้นของการเปิดทำนบ AEC ให้เกิดการเคลื่อนไหลของสังคมมาผสมผสานกัน เราคงจะได้พบกับหลายหลากการออกเสียงและสำเนียงของคำภาษาอังกฤษคำเดียวกัน น่าจะถึง 10 แบบเลยทีเดียว     เพราะภาษาอังกฤษที่แต่ละประเทศของอาเซียนถูกฝังกันมานั้น มีทั้งบนฐานของสำเนียงแบบฝรั่งเศส แบบอังกฤษ แบบสเปน แบบดัชท์ แล้วก็แบบที่พัฒนาขึ้นมาตามสังคม (เช่น แบบมาเลเซีย-สิงคโปร์)  แล้วก็อีกแล้วหนึ่ง คือ จากการที่มีชาวต่างชาติมาเป็นครูสอนภาษา ซึ่งก็จะทำให้มีสำเนียงอื่นมาผสมผสานอีกด้วย (เช่น เยอรมัน กรีก ลาติน และเผลอๆจะมี Afrikaan อีกด้วย) 

ทั้งเสียง สำเนียง และสำนวน คงจะฟุ้งกระจายกันอยู่พักหนึ่งก่อนที่จะเกิดความลงตัว และได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลในหมู่ชาติอาเซียน



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 พ.ย. 14, 19:11
นึกขึ้นได้อีกสองเรื่องของภาษาไทยที่น่าจะเปลี่ยนไป

เรื่องแรก คือ ชื่อเล่นของเด็กทั้งหลาย     ณ วันนี้ เราจะได้ยินชื่อเล่นของเด็กที่เป็นสองพยางค์ ต่างกับสมัยก่อนนั้นซึ่งจะเน้นไปทางพยางค์เดียว   นอกจากนั้นแล้วก็ยังเป็นชื่อเล่นที่นึกตั้งขึ้นมาตามความคล้องจองของคำมากกว่าที่จะเอาคำหรือคำศัพท์เดิมมาใช้

เรื่องที่สอง คือ คำว่า พ่อ กับ แม่ นั้น ในสังคมเมืองใหญ่ๆดูเหมือนว่าจะไม่นิยมใช้กันเสียแล้ว  จะได้ยินคำว่า ปาป๊า และ มาม้า หรือ มามี้  เสียมากกว่า


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 พ.ย. 14, 19:55
เมื่อก่อนชื่อเล่นของเด็ก เป็นวิสามานยนาม เช่น  ติ๋ว แต๋ว   ปุ๊   อุ้ย    ส่วนใหญ่ไม่มีความหมายชื่อ    ที่มีความหมายก็เช่น จ้อย  ตั้ว ต้อย  อ๊อด 
เดี๋ยวนี้คงไม่มีเด็กคลอดปี 2557 มีชื่อพวกนี้อีกแล้ว    มีแต่ชื่อสามานยนาม    น้องต้นกล้า  น้องมัดหมี่   น้องไหมพรม
ที่โดดเด่นกว่านี้คือเด็กไทยชื่อเป็น common noun ของฝรั่ง เช่น golf   apple  cherry  ice    ที่ฝรั่งเองก็ไม่มีเด็กชื่อพวกนี้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 15, 15:01
ต่อไปนี้ในยุค AEC คนที่เราติดต่อด้วยแม้จะพูดไทยแต่อาจไม่ใช่คนไทย ทักษะในการเขียนภาษาไทยอาจจะด้อยลงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังกรณีข้างล่างนี้

เรื่องนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นเรื่องจริง   ;D  ;D

ยืนยันโดย มติชน (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430194045)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 15, 12:11
ฟังข่าวแผ่นดินไหวที่เนปาล แต่ก่อน เนปาล อ่านว่า เน - ปาน พอมาถึงยุค AEC อ่านเป็น เน - ปาว ไปเสียแล้ว

ต่อไป ลูกตาล อาจจะเป็น ลูกตาว  ;D  ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 15, 20:26
หาก "ลูกตาล" อ่านเป็น "ลูกตาว" เมื่อใด   ก็คงจะต้องมีสร้อยห้อยท้ายคำทั้งสองนี้  เพราะว่า "ลูกตาล" เป็นเรื่องของน้ำตาล (ของหวาน) เป็นพืชตามท้องทุ่งท้องนาในพื้นที่ราบลุ่ม ออกผลเป็นทะลายคล้ายมะพร้าว    แต่ "ลูกตาว" เป็นเรื่องผลไม้รสจืดที่ต้องกินกับของหวาน เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในป่าในเขา ออกผลเป็นทะลายเช่นกัน แต่คล้ายทะลายหมาก (ที่กินกับพลู) ก็ที่เขาเอามาทำเป็นลูกชิดนั่นแล

เลยพาลทำให้นึกถึง "ลูกชก" ที่มีทะลายยาวเป็นวา ลูกกลมๆคล้ายลูกของ "ต้นเป้ง" พบมากแถวพังงา แต่กว่าจะออกผล ก็เมื่อมันมีอายุล่วงเข้า 45 ปีแล้ว (คนถิ่นเขาว่าอย่างนั้น)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 เม.ย. 15, 09:01
ตัวสะกด ล เป็นตัวสะกดในแม่กน ควรออกเสียง น
แต่เด็กสมัยใหม่บางคนจะคิดว่า จะออกเสียงด้วยการกระดกลิ้นหน่อย ให้เหมือนเป็นคำที่ลงท้ายด้วยตัว L
พอฟังเป็นเสียงไทย จึงเหมือน ออกเสียง ว ไป


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 30 เม.ย. 15, 16:30
ปัญหาคือเสียง L ที่เป็นตัวจะกด ไม่มีในภาษาไทยครับ เมื่อไม่มี เราจะจับเข้ากับเสียงที่เราคุ้นเคย บางคนเป็นแม่กน บางคนเป็นแม่เกอว มองจากเจ้าของภาษาเขา ผมว่าก็ผิดทั้งคู่แหละครับ เพียงแต่ว่าการออกเสียงเป็นแม่กน ยังมีหลักให้ยึดอยู่ตรงที่ว่าเราเขียนเนปาลโดยรักษารูปศัพท์เดิมไว้ แล้วเสียงตัวสะกด ล ลิง ภาษาไทยเราออกเสียงเป็นแม่กน


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 15, 16:53
เด็กไทยปัจจุบัน ออกเสียงตัวสะกด L  เป็น ว  ค่ะ  เช่น field เป็น ฟิว 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 เม.ย. 15, 18:16
ส่วนคำว่า fault ที่แปลว่า รอยเลื่อน อันเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่กำลังมีการกล่าวถึงในขณะนี้นั้น ก็มีการออกเสียงที่สะกดด้วยทั้ง น, ว และ ..ลท์ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 เม.ย. 15, 19:28
จะโบ้ยไปโทษใคร ก็คงจะไม่ถูกต้องนัก   ผมเห็นว่ามันเป็นผลมาจากระบบการเรียนรู้ของปุถุชนในสังคม  และมันก็ไม่มีใครผิดหรือใครถูก

การออกเสียงคำศัพท์ใดๆของภาษาใดๆ รวมทั้งสำเนียงการพูดของภาษาถิ่นใดๆนั้น อาจจะพอกล่าวได้ว่ามันฝังรากลึกมาตั้งแต่วัยเด็กอ่อน (baby) ไปจนถึงเด็กเล็ก (child) แต่มันก็สามารถปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลงได้หากไม่เกินวัยในระดับหนึ่ง  โดยนัยนี้ ก็คือ เป็นการเรียนรู้และเลียนแบบผ่านอวัยวะทางโสต

เมื่อเข้าสู่วัยเรียน สาระแห่งความรู้อันพึงมีที่ครูบาอาจารย์ได้พยายามถ่ายทอด มันมีมากขึ้นจนจดจำไม่ทัน ไปถึงระดับที่จะต้องท่องเอา แถมยังถูกทดสอบความรู้อีกด้วย  ก็เลยต้องใช้วิธีการบันทึกด้วยการเขียน ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องราว เสียง และสำเนียงต่างๆ   

ดังนั้น เมื่อครูออกเสียงเช่นใด แถมยังเป็นสำเนียง/เสียงของฝรั่งจากหลากแหล่ง   เด็กก็อาจจะจดบันทึกเสียง/สำเนียงนั้นๆด้วยความเข้าใจของตนเองว่ามันทดแทนเสียง/สำเนียงนั้นๆตามที่ครูได้เปล่งเสียงออกมา ซึ่งเมื่อ replay ก็อาจได้เสียง/สำเนียงนั้นๆเหมือนเดิม 

แต่เมื่อครูเป็นผู้เขียนการออกเสียงนั้นๆให้เด็กจดบันทึกไว้ (แถมอาจจะออกเป็นข้อสอบอีกด้วย) รวมทั้งการสะกดคำแทนเสียงนั้นๆก็ต้องเป็นไปตามพื้นฐานระบบราชบัญฑิตฯ  ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสียง/สำเนียงใดๆก็ตาม เราก็เลยได้เสียง/สำเนียงที่เกือบจะเป็นมาตรถฐานแบบไทยไปอีกแบบหนึ่ง

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายใดๆ เมื่อสิงค์โปร์ยังมี Singlish ได้  เมื่อไทยโดยสภาพก็เป็นศูนย์ของอาเซียนได้ ทำใมเราจะมี Thailish หรือ T-lish ไม่ได้   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 เม.ย. 15, 19:43
ที่น่าตกใจ ณ ปัจจุบันนี้ ก็คือ บรรดาชื่อสถานที่ต่างๆของประเทศไทย กำลังถูกเรียกขาน (ออกเสียง)โดยผู้คนและสื่อในชื่อที่เขียนสะกดในอีกแบบหนึ่ง หรืออ่านออกเสียงไปในอีกแบบหนึ่ง  ลองติดตามฟังข่าวทางสื่อที่ใช้เสียงต่างๆก็จะได้ยินเองครับ 

มันส่อถึงเรื่องอะไรต่อมิอะไรต่างๆหลายๆเรื่องเลยทีเดียว 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 10 พ.ค. 15, 23:38
โอ้ ความรู้ใหม่ ไม่ทราบว่าเมื่อก่อน เสียงของ ฎ ฏ ต่างจาก ด ต ยังไงเหรอคะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลย

เอื้องหลวง  17 พ.ย. 14, 19:39

=======

กรุณาไปดูที่ http://staff.buu.ac.th/~subhrang/208321/psconsons.htm (http://staff.buu.ac.th/~subhrang/208321/psconsons.htm)


ด้วยความรู้ทางภาษาศาสตร์อันน้อยนิด ขอสารภาพค่ะว่าอ่านแล้วก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ถึงกับต้องเสิร์ชหาคำแปลของคำว่า สถิล ธนิต
ดูจากตาราง อักษร ต และ ฏ ดูเหมือนจะไม่ได้ออกเสียงต่างกันมากเลยนะคะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 11 พ.ค. 15, 12:05
ขอบคุณคุณ share เช่นกันค่ะ ที่ช่วยไขข้อกระจ่างให้ ได้ความรู้ประดับสมองไปอีกหนึ่งเรื่อง
น่านำไปค้นคว้าต่อนะคะ ว่าอักษรเหล่านี้เคยออกเสียงยังไง แล้วทำไมกลายพันธ์ุเป็นเสียงเดียวกันหมด


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 13 พ.ค. 15, 22:15
ด กับ ฎ, ต กับ ฏ แต่ละคู่ออกเสียงเหมือนกันในภาษาไทย เรารักษาพยัญชนะไว้ตามอย่างที่มาคืออินเดีย

ลองอ่านกระทู้นี้นะครับ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2868.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2868.0)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 พ.ค. 15, 18:32
ไป ตจว.ในครั้งนี้ ก็ได้สัมผัสกับภาษาไทยที่ภาษาต้นแบบอ่านออกเสียงอย่างหนึ่ง ถอดเสียงเขียนออกมาเป็นภาษาไทยตามหลักวิชาอย่างหนึ่ง ออกเสียงในการพูดคุยกันอย่างหนึ่ง ซึ่งสะกดเป็นภาษาตามเสียงภาษาไทยที่เปล่งเสียงออกมาในอีกรูปหนึ่ง

ผมแทบจะหัวเราะก๊ากออกมาเลย ก็ในขณะที่นั่งทานอาหารอยู่ในร้านแห่งหนึ่ง  ได้ยินเด็กบริกรคนหนึ่งตะโกนบอกเพื่อนเด็กบริกรอีกคนหนึ่งว่า เอา สะไป๊ ด้วย  เพื่อนก็ตะโกนกลับออกมาว่า สะไป๊ใหน สะป๊าย หรือ สะไป๊      คงไม่ต้องอธิบายความต่อนะครับ 

ลักษณะของภาษาไทยเช่นนี้ เราคงได้ยินอยู่เป็นประจำอยู่แล้วในขณะปัจจุบันนี้ ไม่เว้นแม้แต่สื่อของทางราชการและเอกชน แต่เราก็ยังพอจะได้ยินการออกเสียงทึ่ถูกต้องอยู่บ้าง   

ในสภาพสังคมต่อไปข้างหน้า ไทยเราก็จะมีผู้คนจากรอบบ้านและต่างชาติอื่นๆเข้ามาทำงานในระบบเศรษฐกิจของเรามากขึ้นและอาจจะล้นหลาม พวกเขาเหล่านั้นแหละที่จะช่วยกันย้ำและกลบกลืนความถูกต้องของภาษาไทยไป ให้เปลี่ยนไปอยู่ในอีกรูปแบบหนึ่งทั้งการออกเสียง สำเนียง สำนวน และการสะกดคำต่างๆ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 พ.ค. 15, 19:40
ภาษา ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย  เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง แต่การเปลี่ยนไปโดยขาดซึ่งสำนึกของอัตลักษณ์นั้น คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก 

ก็จะขออ้างถึงภาษาอังกฤษที่ตนเองไม่สันทัดว่า   ในภาษาของเขานี้ ความต่างๆๆก็เพียงอยู่ในกรอบของสำเนียง สำนวน เป็นหลักใหญ่ ส่วนเรื่องศัพท์และตัวสะกดนั้นมีค่อนข้างน้อย จะว่าไปก็แยกออกเป็นเพียงสองกลุ่ม คือ แบบอังกฤษ หรือ แบบอเมริกา อาทิ กรณีในเรื่องเดียวกันที่ใช้กันคนละคำศัพท์ก็เช่น lift กับ elevator หรือ dynamo กับ generator   หรือ ในเรื่องเดียวกันแต่สะกดต่างกันก็เช่น tire กับ tyre หรือ defense/offense กับ defence/offence      ส่วนภาษาที่แปลกออกไปจากพื้นฐานจริงมักจะจัดออกเป็นกลุ่มที่เรียกว่า slang เช่น night กับ nite

สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ค. 15, 20:04
อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ค. 15, 20:30
 ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 มิ.ย. 15, 20:50
เกิดมีข้อสงสัย  ???

เราได้พยายามสอนหลักภาษาไทยกันมาช้านาน โดยเฉพาะเรื่องของการเขียนการสะกดผิดหรือสะกดถูก คู่ไปกับเรื่องของการออกเสียงที่ถูกต้องของคำสะกดนั้นๆ     
แต่สำเนียงและการออกเสียงคำเดียวกันของคนภาคกลางกับของคนในภูมิภาคนั้นมันต่างกัน อาทิ คำว่า "ถามว่า" คนภาคกลางก็จะออกเสียงอย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทยที่เป็นตำรา  คนภาคใต้จะออกเสียงเป็น "ท้ามหว่า"   และคนในภาคตะวันออกและตะวันตกจะออกเสียงเป็น "ถ่ามว้า" (ซึ่งใกล้จะเป็นเสียงมาตรฐานที่เราได้ยินกันทุกวันและทุกแห่งหน)   ฤๅ หลักภาษาไทยจะเป็นจริงเฉพาะที่ ???

ก็นึกไม่ออกว่า เมื่อเข้ายุค AEC ไปแล้ว ไปในคนอีกรุ่นหนึ่ง หลักภาษาและการออกเสียงของภาษาไทย จะแปรเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 มิ.ย. 15, 22:48
อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ
ผมคิดว่า สติ๊กเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยรูปกร๊าฟฟิกและคำพูด เป็นเพียงสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็คงค่อยเลือนหายไป คำว่า ครัช คงมาจาก ครับ แต่บีบส่วนบนของ บ ใบไม้ให้ตีบ เพื่อให้สะดุดอารมณ์เท่านั้นเอง  ภาษาพูดสื่อสารทั่วไป ก็ยังใช้ สวัสดีครับ ขอบคุณครับ เสียใจด้วยนะครับ อยู่ (ทีวีมีช่องมากขึ้น รายการมีมากขึ้น พิธีกรมีมากขึ้น จึงได้ยินคำว่า หวัดดีค่ะ หวัดดีครับ ทักทายผู้ชมผู้ฟังตอนเริ่มรายการจนเป็นธรรมดาไปแล้ว) อยากให้เอาคำว่า สวัสดี กลับมา  ท่านเจ้าคุณอุปกิตฯอุตส่าห์คิดคำทักทายแบบไทยๆ ความหมายงดงามมาให้ใช้ เมื่อประกอบกิริยาพนมมือ ค้อมศีรษะน้อยหนึ่ง ก็คือเอกลักษณ์คนไทยที่รู้จักกันทั่วโลก


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 มิ.ย. 15, 10:00
คำแสลงบางคำเกิดจาก การพิมพ์ Keyboard ผิดพลาดด้วยครับ แต่ผลที่ออกมาคงเป็นที่ชื่นชอบเลยใช้กันอย่างแพร่หลายต่อๆมา เช่นคำว่า เมพ และ เมพขิงๆ ในหมู่นักเล่นเกมส์ Online คำนี้หมายถึง เทพ คือเป็นผู้เล่นที่มีฝีมือสูง เ-ม-พ ก็มาจากการที่ แป้นพิมพ์ "ม" และ "ท" อยู่ชิดกัน จึงทำให้พิมพ์ผิด ส่วน ขิงๆ ก็คือ จิงๆ (ตัดตัว ร ออก เพื่อให้พิมพ์ได้ไวขึ้น) และ "ข" กับ "จ" ก็อยู่ในแป้นพิมพ์ติดๆกัน เช่นกันครับ คำสักษณะนี้มีอยู่หลายคำครับ 

บางคำอาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่จริงๆเป็นคำไทยที่เกิดจากความพยายามใช้รูปร่างของอักษรโรมัน เพื่อสะกดเป็นคำไทย เช่น คำว่า InW = เทพ iisv = แรง xsoe = หรอย เป็นต้นครับ

บางคำ เกิดจากความพยายามลดทอนคำหยาบคาย ให้หยาบคายน้อยลง เช่น (ขออภัยครับ) สัตว์ คนเล่นเกมส์ก็จะเลี่ยงไปพูดว่า "แสด" แทน บางทีก็ลายเสียงยาวๆ เป็น "แสรรรรด" คำว่า อะไรวะ ก็จะกลายเป็น "อะไรฟระ" มึง ก็จะกลายเปิน "เมิง" เป็นต้นครับ

บางคำใช้เสียงแทนความหมายไปเลยเช่น 555 = หัวเราะ เป็นต้น (คำนี้ นักเล่นเกมส์ชาวต่างชาติก็เริ่มเข้าใจแล้วหละครับ ว่าหมายถึงอะไร)     

 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 15, 10:05
ตัวอย่างภาษาสติ๊กเกอร์ไลน์


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 15, 10:11
ภาษาสติ๊กเกอร์ไลน์ (ต่อ)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 มิ.ย. 15, 19:29
ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น กำลังขยายวง และพร้อมที่จะกลายเป็นสภาพที่ถาวร   ในญี่ปุ่นครับ

คนญี่ปุ่นนิยมสื่อสารกันด้วยการพิมพ์ข้อความส่งทางโทรศัพท์ พอพิมพ์เสร็จก็กดแป้นให้คำที่พิมพ์นั้นเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษรจีน ทำกันจนกระทั่งเริ่มจะเขียนตัวคันจิไม่เป็นกันแล้ว ส่วนเรื่องอ่านนั้นไม่ค่อยจะเป็นปัญหา (แต่ก็ได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว) 

กรณีที่เกิดขึ้นก็คือ การเขียนตัวคันจินั้น มันมีขั้นตอนของการลากเส้น ตั้งแต่เส้นแรกต่อเนื่องไปเส้นที่สอง สาม สี่ ฯลฯ การตวัดเส้นเหล่านี้มีการเรียงลำดับที่เป็นกฎเกณฑ์ ลากขึ้นหรือลากลง และไปทางซ้ายหรือทางขวา ที่เราเห็นเป็นเส้นยุ่งเหยิงนั้นบ้างก็นับเป็นการตวัดเส้นเดียว  คราวนี้ หากไม่แน่ใจในความหมายของตัวอักษรนั้น ก็ต้องเปิดพจนานุกรม  อ้าว..เจ้ากรรมเอ๋ย จะเปิดพจนานุกรมหาคำนั้น ก็จะต้องรู้ว่าการเขียนคำนั้น มีการตวัดเส้นกี่ครั้ง เพราะพจนานุกรมจะแยกคำออกไปเป็นหมวดหมู่ตามจำนวนการตวัดเส้น   

คราวนี้ เมื่อเริ่มลืมวิธีการตวัดเส้นให้เป็นคำคันจิ เพราะเทคโนโลยีทำให้หมด (เพียงกดแป้นมันก็จะเปลี่ยนจากการเขียนคะตาคานะหรือฮิรางานะไปเป็นคันจิได้เลย) จะเปิดพจนานุกรมก็จึงทำไม่ได้ เพราะเหตุดังที่เล่ามา    ก็เลยมีภาพที่ได้เห็นเป็นประจำ คือ มีการถามกันเรื่องตัวเขียนคันจินี้มีกี่ตวัด (stroke)

ไม่ทราบว่าเรื่องลักษณะนี้จะพัฒนาไปเป็นอย่างไรในภายหน้า


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ก.ค. 18, 11:08
วันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

เจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทยร่วมกันทดสอบความสามารถภาษาไทยด้วยวลีปราบเซียน

เขาว่าภาษาไทยไม่ยาก

จริงไหม
 ;D

https://www.facebook.com/usembassybkk/videos/1939093922778407/


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 29 ก.ค. 18, 13:13
อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ
ผมคิดว่า สติ๊กเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยรูปกร๊าฟฟิกและคำพูด เป็นเพียงสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็คงค่อยเลือนหายไป คำว่า ครัช คงมาจาก ครับ แต่บีบส่วนบนของ บ ใบไม้ให้ตีบ เพื่อให้สะดุดอารมณ์เท่านั้นเอง  ภาษาพูดสื่อสารทั่วไป ก็ยังใช้ สวัสดีครับ ขอบคุณครับ เสียใจด้วยนะครับ อยู่ (ทีวีมีช่องมากขึ้น รายการมีมากขึ้น พิธีกรมีมากขึ้น จึงได้ยินคำว่า หวัดดีค่ะ หวัดดีครับ ทักทายผู้ชมผู้ฟังตอนเริ่มรายการจนเป็นธรรมดาไปแล้ว) อยากให้เอาคำว่า สวัสดี กลับมา  ท่านเจ้าคุณอุปกิตฯอุตส่าห์คิดคำทักทายแบบไทยๆ ความหมายงดงามมาให้ใช้ เมื่อประกอบกิริยาพนมมือ ค้อมศีรษะน้อยหนึ่ง ก็คือเอกลักษณ์คนไทยที่รู้จักกันทั่วโลก
เห็นด้วยค่ะ พิธีกรสมัยนี้บางคนภาษาไทยค่อนข้างแย่ บางคนพูดไม่ชัดมีปัญหาเวลาพูดคำควบกล้ำ บางคนก็คิดคำขึ้นใหม่ตามความพอใจ
มีพิธีกรคนหนึ่งชอบพูดก่อนจบรายการว่า"ลาไปแล้ว"เข้าใจว่าพยายามจะคิดอะไรแหวกแนว แต่ไม่เข้าท่า ฟังเหมือนคนต่างชาติที่ภาษาไทยไม่ดีพอพูดภาษาไทย เดี๋ยวนี้ชักได้ยินบ่อย พิธีกรคนอื่นๆคงนึกว่าเท่เลยเลียนแบบบ้าง เพื่อนดิฉันนั่งดูทีวีอยู่ด้วยกัน เจอพิธีกรพูด"ลาไปแล้ว พบกันใหม่ตอนหน้า" เพื่อนดิฉันพูดต่อทันทีเลยว่า "ลาไปแล้ว แล้วที่พูดอยู่นี่คงเป็นม้า"


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 14:14
 :-X


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 15:03
 ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 01 ส.ค. 18, 15:44
ผมคิดว่า จริงๆ ทุกคนทราบว่า อย่างไรใช้ "คะ" อย่างไรใช้ "ค่ะ" เพราะว่าเวลาพูด ก็ไม่ปรากฎว่ามีการพูดผิด หรือออกเสียงผิด

เพียงแต่เวลาเขียนเป็นอักษร มักเขียนกันผิดเท่านั้นแหละครับ แต่ทำไมถึงเขียนผิด ผมเดาว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การผันวรรณยุกต์ มีความคล้ายคลึงกับเสียงดนตรี โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด๊ กล่าวคือ ไล่เสียงจากเสียงต่ำสุด ไปจนถึงบันใดเสียงที่สูงที่สุด

เมื่อ เสียง "คะ" สูงกว่า "ค่ะ" คนจำนวนหนึ่งจึงเผลอเขียนเอาเสียงที่ต่ำกว่าไว้ลำดับแรก คือเสียง "ค่ะ" แต่เวลาเขียน ลำดับแรกต้องเป็นรูปสามัญ ก็เลยเขียน "คะ" แล้วเข้าใจว่า "คะ" ออกเสียงว่า "ค่ะ"

และดัวยตรรกนี้ ลำดับที่สองที่เสียงสูงกว่าจึงเป็น "คะ" แต่ลำดับสองต้องมีวรรณยุกต์ ไม้เอก จึงเผลอเขียนว่า "ค่ะ" แต่เข้าใจว่า "ค่ะ" ออกเสียงว่า "คะ"

งงจังเลยคะ (ออกเสียงว่า งง-จัง-เลย-ค่ะ)

 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 16:16
คำ นะค่ะ เคยถูกลากยาวกันใน facebook มาแล้วค่ะ
เริ่มต้นด้วยเจ้าของค.ห. นี้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 16:20
ความเห็นสนับสนุนค.ห.ข้างบนนี้
v
v
v

Khemmanat Seehawallop
27 กรกฎาคม เวลา 23:36 น. ·
การรวมศูนย์อำนาจทางภาษา (linguistic centralization) และลัทธิต่อต้านการใช้นะค่ะ (antiนะค่ะism)

DISCLAIMER: โพสนี้เป็นการบ่นโดยอ้างอิงแนวคิดทางภาษาศาสตร์ อาจอ่านเข้าใจยากนิสนึง
#นี่ผมเป็นคนจริงจังไปใช่ไหม

ล่าสุดเห็นเพจรณรงค์ด้านการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพจนึง ออกมาแซะคนใช้ "นะคะ" ผิดเป็น "นะค่ะ" อีกแล้ว ซึ่งคนที่ใช้ผิดนั้นก็ได้อธิบายว่า "ทานข้าวไหมค่ะ จะสุภาพกว่า ทานข้าวมั้ยคะ เหมือนถามว่า มึงสิแดกบ่" [1]

สมมติฐาน: คนที่ใช้ผิดคนนั้นเป็นคนอีสาน

คือใครเป็นคนอีสาน/พูดอีสาน จะรู้สึกว่าการพูดว่า "กินข้าวบ่ค่ะ/ขรับ" มันฟังดูสุภาพกว่า "กินข้าวบ่คะ/ครับ" จริงๆ เพราะลงท้ายด้วย "คะ" เสียงสูงมันฟังดูหาเรื่องมากๆ

Fact คือ ภาษาไทยถิ่นอื่นๆ ไม่มีการสะกดคำที่เป็นแบบแผน เพราะไม่มีองค์กรอย่างราชบัณฑิตฯ มาควบคุม การสะกดคำทุกอย่างอ้างอิงภาษาไทยกลางหมด โดยเฉพาะการผันวรรณยุกต์ ดังนั้นสิ่งที่เขียนเลยไม่ตรงกับสิ่งที่อ่านออกเสียงจริงๆ เพราะต้องสะกดคำให้ถูกตามภาษามาตรฐาน การสะกดแบบอื่น ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้ตรงมากกว่าแท้ๆ จึงถูกมองว่าผิดในทันที

เช่น คนอีสานพูดว่า
"กิ่นเข่าบอค่ะ" = กินข้าวไหมคะ
"ไป่แหล้วเด้อค่ะ" = ไปแล้วนะคะ

แต่ไม่มีใครสะกดกันแบบนั้น
จริงๆ แล้วคนอีสานก็ยังสะกดว่า "กินข้าวบ่คะ" อยู่ดี เพราะไม่งั้นคนอื่นจะอ่านไม่รู้เรื่อง (ทั้งคนกรุงเทพและคนอีสานด้วยกันเอง)
หรืออย่างคำว่า "เหี่ย" ซึ่งเทียบได้กับภาษากรุงเทพว่า "เรี่ย" แปลว่าหล่น (เรี่ยราด) ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยเจอคนอีสานสะกดว่าเรี่ย ก็มันออกเสียงว่า "เหี่ย" นี่

ดังนั้นมันเลยเกิดช่องว่างอันถ่างโพด ระหว่างความอ่านออก (intelligibility) กับความตรงเสียง (phoneticity)
ซึ่งมันคือความขัดแย้งระหว่าง การสะกดที่ถูกต้องตามภาษากรุงเทพ vs การสะกดที่ถูกต้องตามการออกเสียงของท้องถิ่น

อีกตัวอย่างนึงที่เห็นได้ชัดในภาษาต่างประเทศ คือคำว่า "โกปี่เตี่ยม" (咖啡店) ซึ่งแปลว่าร้านกาแฟในภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นคำที่ใช้เรียกร้านกาแฟในหลายจังหวัดภาคใต้ของไทย ทั้งๆที่ภาษาฮกเกี้ยนมีตัวสะกดของคำคำนี้เป็นของตัวเอง (㗝呸店) [2] แต่ไม่มีใครเขาสะกดแบบนี้กันแล้ว เพราะคนอื่นอ่านไม่รู้เรื่อง ทุกวันนี้คำภาษาถิ่นสะกดแบบจีนกลางกันเกือบหมดแล้ว เหลือแค่ฮ่องกงที่ยังรักษาตัวสะกดแบบกวางตุ้งไว้ได้อยู่

หรือจริงๆ แล้ว ปัญหามันอยู่ที่ภาษาท้องถิ่นไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง ทำให้ผู้พูดภาษาถิ่นเลือกไม่ได้ที่จะต้องใช้อักษรไทย ในการเขียนภาษาถิ่นของตนเอง ซึ่งทำให้ต้องยึดโยงกับการผันวรรณยุกต์แบบกรุงเทพ และไม่สามารถสะท้อนถึงความ distinct ของภาษาถิ่นได้
ถึงต่อให้จะสะกดในแบบที่ท้องถิ่นคิดว่าถูกแล้ว ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ เพราะภาษาถิ่นไม่มีสถานะ official พอที่จะมาเป็นภาษาเขียนทางการแบบภาษากรุงเทพได้เลย

ยกตัวอย่างเพลงเต่างอย ของจินตหรา พูนลาภ [3]
มีท่อนนึงที่ร้องว่า "ปล่อยน้องระทม ขื่นขมน้ำตาย้อย" ซึ่งจริงๆ คำว่าย้อย ควรสะกดว่า "ญ้อย" ด้วยซ้ำ เพราะมันเป็น ย แบบขึ้นจมูก (เป็นยังไงลองฟังดูได้)
แต่ในเมื่อภาษากรุงเทพบัญญัติไปแล้วว่า ย้อย คือการสะกดที่ถูกต้อง คนนิยมใช้กันจนแพร่หลายแล้ว คำว่า "ญ้อย" จึงกลายเป็นการสะกดแบบเอเลี่ยนไปโดยปริยาย

ทั้งหมดนี้มีส่วนให้คนจำนวนมากยังสะกด "นะค่ะ" หนึ่งในนั้นคือคนอีสาน
ไม่รู้ว่าภาษาถิ่นอื่นเป็นอย่างไร เพราะภาษาอีสานเป็นภาษาถิ่นเดียวที่เรารู้ แต่เราสามารถ justify การใช้นะค่ะโดยคนอีสานได้ ตามเหตุผลข้างต้น

สุดท้ายนี้อยากฝากใครก็ตามที่พูดภาษากรุงเทพ (โดยเฉพาะผู้นิยมลัทธิต่อต้านการใช้นะค่ะ) ว่า

1. อักษรไทยไม่ได้มีไว้เพื่อเขียนภาษาไทยมาตรฐานเพียงอย่างเดียว

ยกตัวอย่างอักษรละติน หรือ a-z (Latin Script) ซึ่งเป็นอักษรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ใช้เขียนภาษาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะภาษาในยุโรป [4] แต่ทุกภาษาก็ล้วนมีระบบของตัวเองในการสะกดคำและการออกเสียง เช่น ตัว r ในภาษาอังกฤษเป็นเสียงห่อลิ้น ภาษาฝรั่งเศสเป็นเสียงขากเสลด ภาษาสเปนเป็นเสียงรัวลิ้น หรือที่แปลกๆหน่อยก็ภาษาจีนกลางที่ใช้ r แทนเสียงอะไรก็ไม่รู้ (มันคล้ายเสียง z ในภาษาอังกฤษที่ต้องห่อลิ้น)
อักษรละตินมันก้าวข้ามความเป็นเจ้าของ ก้าวข้ามการผูกขาดโดยกลุ่มผู้ใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งไปแล้ว

ทีนี้มันขึ้นก็อยู่กับความใจกว้างของผู้ใช้ภาษากรุงเทพแล้วล่ะว่า จะยอมให้ภาษาถิ่นอื่นๆ ใช้อักษรไทยในระบบของตัวเองหรือเปล่า

2. ถึงภาษากรุงเทพจะเป็นภาษาราชการ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะพูดภาษานี้ในชีวิตประจำวัน

ยกตัวอย่างป้าร้านโจ๊กแถวออฟฟิศ จะถามเราทุกวันว่า "ไซไคบอค่ะ" (ใส่ไข่ไหมคะ) คือถึงแม้ว่านี่จะลูกครึ่งอีสาน แต่หน้าจีนพอที่จะไปวัดพระแก้วแล้วโดนถามว่าคนไทยมั้ย ไม่ใช่ว่าป้าแกรู้ว่าเราพูดอีสานได้ เพราะไม่เคยพูดอีสานกับป้า แต่เพราะป้าพูดภาษากรุงเทพไม่ได้ ฟังได้อย่างเดียว และไม่มีเหตุผลที่ป้าจะพูดอีสานกับเจ๊กชนชั้นพนักงานออฟฟิศในกรุงเทพ เพราะหากป้าแกพูดกรุงเทพได้ก็คงพูดไปแล้ว

การที่เขาพูดไม่ได้ ทำให้เขาไม่รู้ว่าจะสะกด "นะคะ" ให้ถูกได้อย่างไร ก็ภาษาบ้านเขาใช้ "ค่ะ" มาตลอด

และคนอีสานไม่ได้พูด "นะคะ" แต่พูดว่า "เด้อค่ะ"

อ้างอิง:
[1]https://www.facebook.com/…/a.154972285201…/2078345595816976/
[2]https://www.facebook.com/…/a.809874489118…/1115088018597606/
[3]http://music.sanook.com/…/s…/Be_yumzpmco4DVOmGyqJZQ==/lyric/
[4]https://en.wikipedia.org/wiki/Spread_of_the_Latin_script

https://www.facebook.com/k.seehawallop/posts/2519823864698111


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 16:30
ใครไม่งงกับค.ห. 2 ค.ห. ข้างบนนี้ช่วยถอดรหัสให้ทีนะคะ
เราพูดกันถึงการสะกดคำ นะคะ ที่ใส่ไม้เอกเข้าไปบนคำว่า คะ กลายเป็นค่ะ  ทั้งๆเวลาพูด  ออกเสียง นะคะ 
พูดง่ายๆคือสะกดผิด
นะคะ มันก็ภาษาไทย  ทำไมประเด็นกลายเป็นภาษาถิ่นไปได้
นะคะ กับ เด้อค่ะ คนละคำกันนี่นา   
ไม่มีใครบังคับให้ออกเสียงเป็น เด้อคะ สักหน่อย


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 19:02
เรื่องการออกเสียงก็ยังมีปัญหา แม้แต่ครูสอนภาษาไทยบางท่านยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกเสียงคำว่า "ค่ะ"

"ส่วนคำว่า "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ รักค่ะ เกลียดค่ะ เชิญค่ะ จบค่ะ

จาก คะ ค่ะ นะคะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่ โดย คุณครูลิลลี่ (https://www.thairath.co.th/content/972383)

https://youtu.be/whptMwNxj7Y

"ค่ะ" กับ "ขะ" ออกเสียงต่างกัน

ค่ะ เสียงวรรณยุกต์โท ส่วน ขะ เสียงวรรณยุกต์เอก ถ้าต้องการเทียบจริง ๆ ค่ะ = ข้ะ ลองดูในตารางข้างล่างนี้เด้อ
  ;)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7333938/K7333938-0.gif)




กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 20:08
อ้างถึง
"ส่วนคำว่า "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ รักค่ะ เกลียดค่ะ เชิญค่ะ จบค่ะ

ครูลิลลี่น่าจะตกวรรณยุกต์ไปตัวหนึ่ง   
ค่ะ ต้องออกเสียงว่า ข้ะ  ไม่ใช่  ขะ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 20:21
คุณเทาชมพูลองฟังคุณครูลิลลี่ออกเสียงคำว่า "ค่ะ" ในคลิปข้างบน

คุณครูเชื่อจริงๆ ว่า "ค่ะ" ออกเสียงว่า "ขะ"  ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 02 ส.ค. 18, 11:56
ในความเห็นที่สอง ที่ยกเอาเรื่อง วิธีการพูด เรื่องสำเนียงเสียงเหน่อหรือไม่เหน่อ เอามาแสดงนั้น ก็เพื่อที่จะนำเสนอว่า ภูมิภาคของเขา "ออกเสียง" อย่างนี้ (ยกตัวอย่างจาก เพลงของคุณจินตหรา พูลลาภ) เมื่อเขาออกเสียงอย่างนี้ เขาก็ควรมีสิทธิที่จะสำกดคำตามเสียงที่เขาออก การบังคับให้สะกดคำตามการออกเสียงของคนภาคกลาง คือการรวบอำนาจทางภาษาครับ

ถ้าคิดเง้ ต้องให้เจอภาสาเท่นักเล่นเกมออนไรพูดกัน หนุกเน่ๆ ไม่เมฟจิงฟังไม่รู้เรื่องหลอก 5555    


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 18, 16:02
จิงขะ  ชิมิ  ;D ;D ;D


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 18, 21:30
ในมุมหนึ่ง

เมื่อเราเขียนและสะกดคำต่างๆเพื่อถ่ายทอดสรรพสิ่งที่เป็นภาษาและสำเนียงถิ่นให้ออกมาในรูปของภาษาที่เราคิดว่ามันมีความถูกต้องในทางสำเนียง การสื่อความหมาย และการพลวัตทางภาษา มันก็จะทำให้เรื่องราวต่างๆสามารถสื่อสารออกมาได้ในเชิงของคุณภาพ ความสุนทรีย์ และความมีชีวิตชีวาของเรื่องราวเหล่านั้น    ต่างไปจากการเขียนและการสะกดคำที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์ และการใช้ภาษาตามหลักทางวิชาการหรือทางภาษาศาตร์ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วเราจะต้องตีความและใส่ความอารมภ์ความรู้สึกของเราเข้าไปให้กับข้อเขียนหรือคำสะกดที่เขียนอย่างถูกต้องตามหลักภาษาเหล่านั้นแล้วจึงจะได้อรรถรส

อ่านและเขียนในภาษาพูดย่อมให้อรรถรสมากกว่าการอ่านและเขียนในภาษาเขียน ยกเว้นในเรื่องทางวิชาการ โดยเฉพาะในเรื่องทาง empirical และ theoretical

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็จะต้องมีการผสมผสานที่เหมาะสมจึงจะเกิดความมีคุณค่า


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 02 ส.ค. 18, 22:21
อักษรนำ อักษรตาม สมัยนี้ก็แปลกๆไปครับ

ตรีผลา อ่านว่าอย่างไรครับ

ตรี - ผะ -หลา

หรือ

ตรี -ผะ -ลา


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 18, 08:30
ท่านรอยอินอธิบายว่า

ตรีผลา [-ผะลา] น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นผลไม้ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).

อาจารย์ทองย้อย แสงสินชัยอธิบายเพิ่มเติมว่าคำนี้ไม่ใช่เรื่องของ อักษรนำ อักษรตาม

คำว่า “ตรีผลา” นี้มีผู้อ่านว่า ตฺรี-ผะ-หฺลา หรือบางทีก็อ่านว่า ตฺรี-ผฺลา คืออ่านเช่นนั้นเพราะเข้าใจว่า ผ- เป็นอักษรนำ (หรือเป็นอักษรควบ- เพ็ญชมพู) เหมือนคำว่า ผลาญ อ่านว่า ผฺลาน (เสียงสูง) ไม่ใช่ ผะ-ลาน แต่เนื่องจากคำว่า “-ผลา” ในที่นี้ รากเดิมมาจาก “ผล” อ่านว่า ผะ-ละ “ผ” กับ “ล” แยกพยางค์กันชัดเจน จึงต้องอ่านว่า ผะ-ลา ไม่ใช่ ผะ-หฺลา หรือ ผฺลา

โปรดดูเทียบกับคำเหล่านี้ :

– ผลานิสงส์ (ผล + อานิสงส์) อ่านว่า ผะ-ลา-นิ-สง ไม่ใช่ ผะ-หลา-นิ-สง หรือ ผฺลา-นิ-สง
– ผลาผล (ผล + อผล) อ่านว่า ผะ-ลา-ผน ไม่ใช่ ผะ-หลา-ผน หรือ ผฺลา-ผน
– ผลาหาร (ผล + อาหาร) อ่านว่า ผะ-ลา-หาน ไม่ใช่ ผะ-หลา-หาน หรือ ผฺลา-หาน

ดังนั้น “ตรีผลา” จึงต้องอ่าน ตฺรี-ผะ-ลา ไม่ใช่ ตฺรี-ผะ-หฺลา หรือ ตฺรี-ผฺลา

http://dhamma.serichon.us/ทองย้อย/ตรีผลา-ศัพท์วิชาการในตํ/ (http://dhamma.serichon.us/ทองย้อย/ตรีผลา-ศัพท์วิชาการในตํ/)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 18, 11:09
ดังนั้นมันเลยเกิดช่องว่างอันถ่างโพด ระหว่างความอ่านออก (intelligibility) กับความตรงเสียง (phoneticity)
ซึ่งมันคือความขัดแย้งระหว่าง การสะกดที่ถูกต้องตามภาษากรุงเทพ vs การสะกดที่ถูกต้องตามการออกเสียงของท้องถิ่น

เรื่องภาษาบางทีก็ยอกย้อนไม่ตรงไปตรงมา การสะกดที่ถูกต้องตามมาตรฐานของรอยอินก็ไม่ใช่สะกดตามการออกเสียงภาษากรุงเทพเสมอไป ในทางตรงกันข้ามอาจเป็นการสะกดตามการออกเสียงภาษาของบางถิ่นเสียด้วยซ้ำ

คำว่า                             ออกเสียงว่า

น้ำ                                น้าม
ไม้                                ม้าย
ไหว้                              ว่าย
ได้                                ด้าย
ใต้                                ต้าย
เก้า                               ก้าว
เช้า                               ช้าว
เปล่า                              ปล่าว

การออกเสียงเช่นนี้เป็นสำเนียงกรุงเทพ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ส.ค. 18, 17:13
ดึงกระทู้นี้ขึ้นมา
ตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ สะกดผิดกันบ่อยมาก แม้ในคำง่ายๆ
แสดงว่าไม่มีผู้ทำหน้าที่พิสูจน์อักษรตามแบบเมื่อก่อนอีกแล้ว หรืออย่างไร?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ส.ค. 18, 18:26
คนเขียนข่าวเกร็งกับกฎเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษของท่านรอยอินซึ่งไม่ให้ใช้วรรณยุกต์ จนเขียนชื่อเฉพาะของนางเอกสาวเป็น "เจนี" และคู่รักเป็น "มิกกี" โดยไม่คำนึงว่าชื่อทั้งสองเป็นชื่อเฉพาะ ควรเขียนตามที่ออกเสียงจริงคือ "เจนี่" และ "มิกกี้"

ในขณะเดียวกันก็ละเลยกับการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องเช่นคำว่า เพชร, มงกุฎ และเปล่งปลั่ง


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ส.ค. 18, 20:37
สื่อหนุ่มสาวยุคนี้ ไม่รู้จักคำว่า "โอละพ่อ" เสียแล้ว

โอละพ่อ   =   กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ.


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 18, 18:52
ใครที่รณรงค์ไม่ให้ใช้ "นะค่ะ" ต้องพยายามกันต่อไป...

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000084988


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 18, 13:24
ข้อความข้างล่างนี้  ส่วนที่วงกลมไว้ คือส่วนที่ไม่มีการพิสูจน์อักษร     นักข่าวส่งมาอย่างใด ก็นำลงอย่างนั้น
ส่วนที่ขีดเส้นใต้ คือข้อความที่พิมพ์ผิด  และอ่านไม่รู้เรื่อง
๑)ความคิด ซึ่งการกระทำรุนแรงในลักษณะนี้ เป็นการะสะท้อนสังคม
ความคิดเกี่ยวกับการข่มขืน เป็นการสะท้อนสังคมได้อย่างไรไม่ทราบ  ???
๒)ทำให้เกิดความเข้าใจว่า การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เพราะผู้เป็นเหยือไม่สามารถปกป้องดูแลตนเองได้
ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว  เพราะถ้าเหยื่อสามารถปกป้องดูแลตนเองได้    การข่มขืนก็ไม่เกิด  หรือเกิดได้ก็แค่ความพยายามจะข่มขืน


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 18, 20:18
สื่อยุคนี้ไม่รู้จักความแตกต่างระหว่าง "รม" กับ "ลม" เสียแล้วหรือ?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 03 ก.ย. 18, 15:01
เป็นเรื่องแปลกมากครับอาจารย์

ในหมู่พวกเล่นเกมส์ออนไลน์ มันใช้ "ร" และ "ล" สลับกันครับ ยกตัวอย่าง เช่น
"ช่วยที มอน(สเตอร์) ลุม" คือเขากำลังถูกสัตว์ร้ายในเกมส์หลายๆตัวเข้าทำร้ายพร้อมๆกัน ซึ่งที่ถูกต้อง "ถูกรุม"


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ย. 18, 16:04
ดิฉันสังเกตว่า ร เกือบจะหายไปจากยุคปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก พูด ร  ออกมาเป็น ล ไปหมด
ลองสังเกตเวลานักข่าวสัมภาษณ์ชาวบ้าน  หรือแม้แต่ผู้รับเชิญมาออกรายการ     เราจะได้ยินเสียงพูด  ลายการ
ลีบล้อน  ลวยกันใหญ่  ลอดตายแล้ว ฯลฯ  โดยไม่มีใครรู้สึกสะดุดหู
ถ้าคนเขาสะกดคำตามเสียงที่เขาพูดหรือได้ยิน   ก็เป็นได้ว่า ล  จะออกมาแทน ร  ค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 18, 11:58
หนังสือพิมพ์ใหญ่ๆ  ในยุคก่อนหน้า AEC  ไม่ใช้ภาษาไทยแบบนี้
เดี๋ยวนี้น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000095406

แหกไปถึงไส้ “น้ำเพชร” ซ้อมเต้นสุดเอ็กซ์ เตรียมไปประกวด Miss Global ลุ้นกันหน้าใหม่จะได้มงไหม?

จัดว่าเด็ด “น้ำเพชร” หอบหน้าใหม่ ไปประกวด Miss Global Charlity Queen ประเทศไต้หวัน ซ้อมเต้นแหกไปถึงไส้ มั่นใจหน้าใหม่พาชิงมง

ลงทุนไปให้โรงพยาบาลนานะประเทศเกาหลีเฉาะหน้าไปเป็นล้านเพื่อเตรียมเอาหน้าใหม่สวยๆ ไปประกวด Miss Global Charlity Queen ที่ประเทศไต้หวัน การประกวดระดับอินเตอร์ที่มีสาวงามจากทั่วโลกกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมชิงมงกุฎ งานนี้น้ำเพชรก็เลยจัดหนัก หน้าสวยแล้วหุ่นก็ต้องปั๊ว ทั้งฟิตร่างกายทั้งซ้อมเต้นเพื่อนำไปแสดงโชว์ เห็นท่าแหกขาแล้วแซ่บมากฟาดคู่แข่งตายหมดแน่ ซึ่ง "น้ำเพชร ฏีญาร์ภา" ก็ได้เปิดเผยถึงการไปประกวดครั้งนี้ว่า
ฯลฯ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 19, 15:19
สมัยนี้ ไม่มีบรรณาธิการพิสูจน์อักษรแล้วหรือคะ?

เฮี้ย  ---> เฮี้ยน?  หรือ เ-ี้ย ที่ใช้ ห หีบ สะกด?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 19, 15:20
ใครจะช่วยแก้ไขได้บ้าง?


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 19, 15:21
มีอีกค่ะ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ก.พ. 19, 21:11
อาจารย์ถามว่า "ใครจะช่วยแก้ไขได้บ้าง ?"

ในความเห็นนอกตำราของผม
   เมื่ออยู่ในระดับอนุบาล  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ในเรื่องของการออกเสียงตัวอักษรให้ถูกต้อง และชัดเจน
   เมื่ออยู่ในระดับประถมต้น  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของความรู้จักหมวดหมู่ของอักขระต่างๆในภาษาเขียนของไทย การนำมาประสมให้เป็นคำสะกดที่ถูกต้อง และลายมือ
   เมื่ออยู่ในระดับประถมปลาย  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการรู้จัก และการใช้คำที่เหมาะสมกับกาลเทศะต่างๆ
   เมื่ออยู่ในระดับมัธยมต้น  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการรู้จักภาษาไทยในเชิงของการใช้ภาษาและสำนวนที่เห็นว่าดีที่ปรากฎมาในอดีตจากในวรรณเรื่องราวในวรรณคดี บทความ .....
   เมื่ออยู่ในระดับมัธยมปลาย  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทักษะในการเขียน การเรียงความ การจับความ การย่อความ ฯลฯ

  ในระดับมหาวิทยาลัย  นอกจากในเรื่องวิชาการทางอัษรศาสตร์แล้ว ก็น่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาให้ถูกต้องทั้งการพูด การเขียน การสื่อสาร ตรรกะและความลึกซึ้งในภาษาที่สื่อสารออกมา
   เมื่อเข้าทำงาน เจ้าของงานก็ควรจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้คัดกรองเอาที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการใช้ภาษาที่ถูกต้อง นอกเหนือไปจากเรื่องทางกายภาพและอื่นๆ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ก.พ. 19, 19:29
มีวลีใหม่วลีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบ ดูจะเป็นที่นิยมกันอยู่ไม่น้อย เป็นภาษาพูดที่มีลักษณะเป็น Question tag  ซึ่งแตกต่างไปจากของภาษาฝรั่งตรงที่ของเราเป็นเพียงวลีเดียวที่ใช้ได้ในทุกเรื่อง 

  "ใช่หรือไม่"  ซึ่งแต่ก่อนเรานิยมจะใช้วลีว่า "ใช่หรือเปล่า" หรือ "ใช่ใหม"   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.พ. 19, 20:06
มีเรื่องหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังมีพัฒนาการ   

เราเอาภาษาไทยที่ว่าเป็นสำเนียงภาคกลางไปสอนหนังสือเด็กๆตามชายแดนรอบๆบ้านเรา ให้พูด ให้เขียน ให้อ่านภาษาไทย  แล้วก็ให้บังเอิญว่า ตามแนวชายแดนเหล่านั้นก็จะมีพวกชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ เช่น อเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวียน และอัฟริกา... ที่พูดไทยได้หลากหลายสำเนียง อ่านออกเขียนได้บ้าง  พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาอยู่ทั้งในรูปแบบของสมาคมการให้ความช่วยเหลือ บำเพ็ญประโยชน์ ย้ายถิ่นฐาน ... ภาษาไทยที่ไปพูดในการทำงาน ไปสอนหรือช่วยสอน เหล่านั้น มีทั้งที่ขาดและเกิน โดยเฉพาะตัว ร.เรือ ล.ลิง และคำควบกล้ำ....  เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับภาษาไทยชายขอบรุ่นใหม่ ซึ่งกำลังแพร่ขยายเข้ามาในตัวเมืองในพื้นที่ชายแดนต่างๆ


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.พ. 19, 20:34
การเขียนก็กำลังเปลี่ยนแปลง  เรื่องนี้เราคงได้เห็นการเขียนอักขระไทยในยุคนี้ที่เป็นแบบหัวม้วนโตๆ ไม่ได้มีการเน้นการเขียนให้ส่วนอื่นใดของตัวอักษรที่จะต้องลากลงมาจนจรดกับเส้นบรรทัด  ก็จึงไม่แปลกนักที่เราจะเห็นตัวอักษรไทยมีแต่หัวกลมๆเด่นออกมาดังเช่น ตัว ส.เสือ ใกล้กับเครื่องหมายอุณาโลม หรือเป็นตัว ร. เรือ เขียนกลับทาง   

นี่ขนาดเรามีครูสอนภาษาไทยเป็นการเฉพาะประจำชั้นและประจำโรงเรียนต่างๆในกรุงเทพฯ เรายังเห็นภาพนี้ที่ไปเน้นกับการเน้นที่หัวตัวอักษร ซึ่งดูจะเป็นการไปห่วงเรื่องการเขียนแบบลายมือของแต่ละคนเสียมากกว่า  ต่างกับที่แต่ก่อนนั้นที่ดูจะเน้นไปที่การเขียนให้เป็นตัวอักษรแบบที่เป็นมาตรฐานของภาษาไทย     ก็ยังสงสัยอยู่ว่า แล้วการเขียนภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนต่อจากนี้ไปจะออกไปในทางใด แถวเขตต่อกับพม่าก็อาจได้เห็นลายมือการเขียนใกล้ไปทางพม่า ใกล้ไปทางทางเขมรและทางลาวก็อาจจะเป็นเช่นนั้น 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ก.ค. 19, 15:51
สุขสันต์วันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒

กับเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทย
 ;D

https://youtu.be/fTd_lV2Sa3c


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ค. 19, 19:43
ในความเห็นของผม   
clip ที่คุณเพ็ญชมพูนำมาแสดงนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงตรรกะและกรอบแนวคิดของรัฐต่างชาติในด้านที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐต่างชาติต่างๆที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในเรื่องทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม   

 



กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 19, 19:04
เป็นเรื่องปกติที่ จนท.ทางการทูตจะเรียนรู้การใช้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ เพื่อให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความคล่องตัวและมีความสุขมากขึ้น และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงการมีมิตรไมตรีต่อบุคคลและคณะบุคคลในวาระต่างๆ    แต่เป็นเรื่องไม่ปกติที่บุคคลที่เป็น จนท.ระดับสูงของสถานทูตหรือในระดับเอกอัครราชทูตฯจะเรียนรู้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ ลึกลงไปถึงระดับการเขียน การสะกดคำที่ให้ความหมายต่างกัน และการเลือกใช้คำที่เหมาะสม

ภาษาไทยมิใช่เป็นภาษาที่ใช้อยู่เฉพาะแต่ในประเทศไทย หากแต่เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารได้ในระดับหนึ่งกับผู้คนที่อยู่ในประเทศรอบบ้านเรา ก็ประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกับผู้คนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลุ่มขายปลีก      ใช้กันมากเพียงใด ?  ก็มากพอที่จะมีการทำพจนานุกรมระหว่างภาษาไทยกับภาษาถิ่น พิมพ์วางขายกันนานมาแล้ว (30+/- ปี)


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 19, 10:02
เป็นเรื่องไม่ปกติที่บุคคลที่เป็น จนท.ระดับสูงของสถานทูตหรือในระดับเอกอัครราชทูตฯจะเรียนรู้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ ลึกลงไปถึงระดับการเขียน การสะกดคำที่ให้ความหมายต่างกัน และการเลือกใช้คำที่เหมาะสม

ในกรณีนี้อาจถือเป็นเรื่องปรกติ  ;D

พระเอกนางเอกในคลิปของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เนื่องในวันภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ คือ คุณปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อัครราชทูตที่ปรึกษา และคุณดุษฎีภรรยาซึ่งเป็นคนไทย

คุณปีเตอร์เดินทางมาไทย ทำงานเป็นมิชชันนารีและใช้ชีวิตร่วมกับคนท้องถิ่นหลายปี ได้เริ่มหัดพูดภาษาไทยด้วย ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง การพูดภาษาไทยได้จะทำให้คุณปีเตอร์มองหาเพื่อนคนไทย เมื่อเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ได้พบภรรยาซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่การทูตซึ่งลาราชการไปศึกษาต่อ การพูดภาษาไทยได้ยังทำให้คุณปีเตอร์อยากมีอาชีพด้านการต่างประเทศอีกด้วย

https://th.usembassy.gov/th/match-made-in-heaven-th/


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 19, 17:40
อ้อ เป็นเช่นนี้เอง  ;D    แสดงว่าเขามีความสนใจและได้เรียนรู้แบบลึกลงไปมากเลยทีเดียว   

เรี่องของไม้ม้วนและไม้มลายนี้ ก็ยังมีคนไทยอยู่ไม่น้อยที่สะกดผิดๆถูกๆกันอยู่    แต่ก่อนนั้นนักเรียนจะต้องท่องและจดจำโคลงกลอนเรื่องของไม้ม้วน 20 ม้วน  ไม่ทราบว่าในสมัยนี้ยังคงกระทำกันอยู่หรือไม่ ?

เคยได้ยินว่าเรื่องของการอ่านออกเสียงเป็น "ซ" ของคำใช้ "ทร" ก็มีโคลงกลอนว่าไว้เช่นกัน


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 19, 17:42
ลืมไปครับ    กับคำที่สะกดด้วย "คร" ก็ดูจะมีอยู่เช่นกัน


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 19, 19:02
เรื่องการออกเสียง ร และ ล นั้น จะออกเสียงแบบกระดกลิ้นหรือจะออกเป็นแบบลิ้นแข็งก็ยังให้ความหมายของคำได้ ยังอยู่ในวิสัยที่รู้ว่าพูดถึงอะไร    แต่หากไม่มีเสียงควบกล้ำของ ร หรือ ล ในคำต่างๆไปเลย แบบนี้ ต้องนึกหรือเดาเอาเลยว่าพูดถึงอะไร

ในกรณีของการออกเสียง ร และ ล ไม่ชัดเจนให้ต่างกันนั้น  เป็นสิ่งที่เราได้ยินจนคุ้นหู ก็พอจะเข้าใจได้ว่าขาดการฝึกพูดออกเสียงหรือการเอาใจใส่มาตั้งแต่เยาว์วัยและขาดการแก้ไขตลอดช่วงของการศึกษาภาคบังคับ   แต่เมื่อเช้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาที่มุ่งหวังจะไปทำงานในด้าน mass communication ก็ควรจะมีการพยายามแก้ไขให้เป็นไปตามหลักภาษา มิควรจะให้เป็นผลิตผลชนิดที่ขาดหายไปทั้ง ร และ ล


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 19, 19:54
การขาดหายไปทั้ง ร และ ล นี้ ยังส่งผลไปถึงการใช้ภาษาอื่นที่ใช้อักษรละติน(อักษรโรมัน)ของเราอีกด้วย   

ในโลกทางเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดน   เมื่อการสื่อสารเกือบทั้งหมดอยู่บนฐานของการใช้ภาษาที่ใช้อักษรละติน(อักษรโรมัน) ซึ่งมีตัวอักษร R และ L ซึ่งออกเสียงไม่ต่างกันมากนักกับ ร และ ล    ก็ลองสังเกตดูครับ เราก็มีการใช้ภาษาอังกฤษที่ออกเสียงแบบไม่มีอักษร R และ L เลย  ต่างชาติก็เลยเป็นงง นั่งนิ่งพยายามฟังเนื้อความโดยรวมว่าจะว่าอย่างไร   ขนาดการประกาศที่สนามบินยังงง ทั้งที่รู้ว่ากำลังพูดเรื่องเกี่ยวกับอะไร


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ส.ค. 19, 18:55
เมื่อผนวกความนิยมในการใช้คำทับศัพท์อย่างมากหลายในสาระที่สื่อสารกันผ่านทางสื่อสาธารณะ  ซึ่ง..ด้วยที่คำศัพท์ภาษาต่างด้าวเหล่านั้นมีหลายคำที่จะต้องมีการออกเสียงตัวสะกดเป็นเสียงเสมือน ช หรือ ซ ท้ายคำ หรืออื่นๆ   เมื่อการออกเสียงตัวสะกดที่ไม่เป็นไปอย่างใกล้เคียง ก็เล่นเอาเป็นงง ต้องเดาเอา หรือฟังกันไม่รู้เรื่องกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะคำที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทาง หรือเป็นศัพท์ทางเทคนิค 

อาทิ เคด(case), ค๊อด(course), บั๊ด(bus), บีทีเอ็ด(BTS), ฯลฯ         ไฟ้(flight), ที(three, tree), ซาตีด(street), ลิบ(lift), ฯลฯ   


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 19, 10:36
สังเกตว่า ร. เรือกลายเสียงเป็น ล.ลิง ในหมู่คนไทยจำนวนมาก   
แม้แต่บุคคลสำคัญในวงการต่างๆ มีน้อยคนออกเสียง ร เรือได้ชัดเจน   ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น ล ลิงโดยไม่รู้ตัว
ถ้าเป็นหนุ่มสาวแล้วยิ่งออกไม่ได้กันเกือบ 100%
ส่วนเสียงควบกล้ำหายไป 

ส่วนการออกเสียงตัวอักษร  L  S  T  TH Z  ท้ายคำไม่ได้ เพราะภาษาไทยเรามีเสียงตัวสะกดแค่ 8 เสียง คือ ง น ม ย ว และ ก ด บ
L   จึงกลายเป็น น บ้าง ว บ้าง  เช่น  feel   เป็น ฟิน  field  เป็น ฟิว  mall เป็น มอน
Police  เป็น โปลิด

ส่วนคำควบกล้ำที่หายไป ก็เช่น class เป็น ค้าด  Flight เป็น ไฟ้


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 19, 19:31
เอา MV ของฝรั่งสอนภาษาไทยผ่านเพลง มาให้ฟังคั่นรายการค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=XAPgUWGyntI


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 19, 19:32
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ ซึ่งนานๆก็สักครั้งหนึ่ง  ในครั้งนี้ได้สัมผัสกับการใช้ภาษาที่น่าทึ่งมาก เป็นการผนวกการออกเสียงที่ขาดเสียง ร, ล, r, l, s, t, th, ch, ... ที่เปล่งอยู่ในเสียงประกาศต่างๆทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษและทั้งในสนามบินและบนเครื่อง  ซึ่งเมื่อผนวกเข้ากับการพูดแบบกระชับและรวดเร็ว(ใกล้ละล่ำละลัก)ที่ระดับเสียงและการพูดแบบต่อเนื่อง(ที่ขาดการเว้นวรรค)จนจบกระบวนความ     อืม์ ยอมรับเลยว่าฟังเกือบไม่ออก    สำหรับในส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจับความได้จากคำที่ฟังออกเอามาประมวลรวมกัน

ภาษาไทยและอังกฤษในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเกิดมาจากอิทธิพลแบบ "บนลงล่าง หรือ ล่างขึันบน" เช่นใดก็ไม่รู้ ดูจะไม่ต่างกันไปมากนักในด้านของระดับการศึกษา  


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ส.ค. 19, 19:57
เพลงที่ โจนัส แอนเดอร์สัน ร้องนั้น น่าจะมีมูลเหตุของการแต่งส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของการใช้ภาษาไทย (เนื้อร้อง/ทำนอง คุณสินทรัพย์ เอี่ยมเพ็ญแข) ในทำนองว่า ขนาดฝรั่งก็ยังสามารถออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและชัดเจนเลย แล้วพวกเราล่ะ ?

ผมมีความสนใจในเพลงที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มแพลงพื้นบ้านที่ฟังง่าย และมีท่วงทำนองที่ไม่สลับซับซ้อน    คุณ โจนัส เป็นคนสวีเดน แล้วก็บังเอิญว่าผมไปถูกโฉลกกับการฟังเพลงของวง BAO (Benny Anderson Orkester) ซึ่งเป็นวงที่นักแต่งเพลงของวง ABBA เป็นหัวหน้าวงและเป็นผู้สร้างสรรค์เพลงต่างๆ ผมก็จึงไม่รู้สึกแปลกใจมากนักที่คุณ โจนัส จะออกเสียงภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยจับความได้ว่า คนสวีเดนมีการออกเสียงตัว  r หลายรูปแบบตั้งแต่ปลายปากจนลึกไปถึงลำคอ (แบบฝรั่งเศส) รวมทั้งเสียงควบกล้ำต่างๆ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ส.ค. 19, 09:32
เอาเพลงของโจนัส มาฝากคนเมืองเหนืออีกเพลงค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=OYSt3S9QAIM

สังเกตว่าโจนัสออกเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ไม่ผิดพลาด     เสียงวรรณยุกต์ไทยหรือ Thai intonation ทำเอาฝรั่งตกม้าตายมาเยอะแล้ว    เพราะเสียงสูงต่ำของคำของเขาไม่ได้ตายตัวอย่างของไทย   มาเจอ "ใครขายไข่ไก่" เข้า ขนาดอาจารย์ทางภาษายังออกเสียงไม่ได้เลยค่ะ 


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ส.ค. 19, 19:38
ผมเกิดมีข้อสังเกตเล็กๆอยู่นิดนึงว่า  จำได้ว่า โจนัสเคยแนะนำชื่อของตนเองในรายการหนึ่งในลักษณะออกเสียงยาวว่า โจนาซ   เมื่อมีการสะกดว่า โจนัส ก็จะทำให้เสียงลากนั้นหดสั้นลง แต่ก็ได้เสียงที่ใกล้เคียงที่เขาเรียกชื่อของตนเองมากที่สุด แต่หากจะสะกดว่า โจนาส เมื่ออ่านก็จะออกเป็นอีกเสียงหนึ่ง     

ก็เลยเกิดนึกแปลกใจขึ้นมาว่า บรรดาคำที่เป็นชื่อเรียกเฉพาะนั้น เมื่อจะถอดเป็นภาษาไทย เราควรจะถอดให้เป็นคำที่เขียนแล้วอ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำต้นทาง หรือจะต้องถอดให้เป็นไปตามหลักอักษรที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างใหนจะดีกว่ากัน ?   อาทิ Peter ควรจะเป็น ปีเต้อ หรือ ปิเตอร์ (ซึ่งออกเสียง ปิเตอ)  อเล็กซานเดอร์ ควรจะเป็น อเล็กซานเด้อ หรือ อเล็กซานเดอร์ (ซึ่งออกเสียง อะเล็กซานเดอ)   

คำว่า ก๊าซ หรือ กาซ จะมีวรรณยุกต์กำกับหรือไม่ก็ออกเสียงอ่านเหมือนกัน (คำใดสะกดผิด /ถูก ?  หรือขึ้นอยู่กับว่าเขียนเมื่อ พ.ศ. ใด)  เช่นเดียวกับ แก็ส หรือ แกส    แล้วที่ถูกต้องจะต้องสะกดเช่นใด  หรือว่าหากจะให้เป็นแบบอังกฤษก็แบบหนึ่ง เป็นแบบอเมริกันก็อีกแบบหนึ่ง    อย่างไรก็ตาม ผู้คนดูต่างๆดูจะนิยมการสะกดว่า ก๊าซ

เรื่องเหล่านี้ก็รู้อยู่ว่าได้มีการถกกันมามากมาย แต่ทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นบริบทเชิงปรัชญาทางวิชาการ   ซึ่งดูจะทำให้ในโลกกว้างของเด็กและผู้ที่มีโอกาสน้อยจะได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ก้าวเข้าไปทำอะไรๆที่สอดคล้องไปกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงก็ดูจะถูกจำกัดลง  ด้วยเพราะว่าสื่อของการให้ความรู้ที่สามารถลงไปถึงผู้คนห่างไกลปืนเที่ยงและระดับรากหญ้าจริงๆก็ยังอยู่ในรูปของตัวอักษร หนังสือ และข้อความที่ปรากฎตามสื่อออนไลน์ต่างๆ   

เอาอย่างไรดีระหว่าง correct กับ right หรือ justify


กระทู้: ภาษาไทยในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 19, 20:27
เพลง ลมทะเล ของสุนทราภรณ์ เป็นเพลงปราบเซียน สำหรับคนที่ออกเสียง ร  ล และควบกล้ำ
ใครออกเสียงไม่ถูกต้อง รับรองตกม้าตายตั้งแต่ก่อนจบเพลงค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=QLa7zOiI2wA