เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 18:28



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 18:28
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นจดหมายเหตุของคนไทยชื่อนายคร้าม   เป็นหนึ่งในนักดนตรี ๑๙ คนที่เดินทางไปรับราชการดนตรี ณ กรุงลอนดอน  เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๗ 
ตรงกับรัชกาลที่ ๕ ของสยาม  และรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร

ส่วนที่มา ว่าทำไมคนไทยถึงไปเล่นดนตรีในราชสำนักอังกฤษ คุณประยุทธ สิทธิพันธ์ผู้เรียบเรียง บอกไว้เป็น ๒ ทางคือ  ผู้ส่งนักดนตรีไทยเหล่านี้ไป  ถ้าไม่ใช่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช   ก็เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์      แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน

นายคร้ามเป็นใคร?
ประวัติบอกไว้ว่าเป็นบุตรหลวงปรนัยฯ  ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านขมิ้น  อ.บางกอกน้อย    สกุลนี้เป็นสกุลช่างศิลป สังกัดกรมช่างสิบหมู่  รับราชการสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่งกรุงธนบุรี จนถึงรัชกาลที่ ๕


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 18:34
นายคร้ามเป็นเชื้อไม่ทิ้งแถว   เชี่ยวชาญในศิลปะหลายอย่าง เช่นปั้น เขียน สลัก และยังเป็นนักดนตรีมีชื่อ เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนั้น

ผลงานชิ้นสำคัญของนายคร้ามและสกุลวงศ์ที่มีให้เห็นจนทุกวันนี้คือรูปปั้นยักษ์วัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม  โดยเฉพาะตัวทศกัณฐ์ และสหัสเดชะ  ที่หน้าโบสถ์
ช่างปั้นในสกุลสืบเชื้อสายกันมา ๓ ชั่วคนคือ ปู่ พ่อ และนายคร้ามเอง
ยักษ์สองตัวนั้น ของเดิมปั้นโดยหลวงปรนัยฯ   ต่อมาหักพังลงมาหลังจากหลวงปรนัยฯถึงแก่กรรม   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ลูกหลานในสกุลของหลวงปรนัยฯ เป็นผู้ซ่อมแซมเอง  นายคร้ามจึงได้ทำหน้าที่นี้ 
แต่รูปปั้นเดิมทรุดโทรมจนซ่อมไม่ไหว  นายคร้ามต้องรื้อใหม่ จนเหลือแต่โครง และปั้นขึ้นมาใหม่     งานชิ้นนี้นายคร้ามได้ทำเมื่อเดินทางกลับจากอังกฤษแล้ว

ใครมีรูปยักษ์ ๒ ตัวนี้บ้างคะ  เห็นรูปยักษ์แวบๆอยู่ในกระทู้รูปเก่าเล่าเรื่อง   คุณหนุ่มสยามกับคุณเพ็ญชมพู มีเก็บไว้บ้างไหม




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 18:52
ใช่ยักษ์ ๒ ตนข้างล่างนี้หรือเปล่า

ภาพในอัลบัมข้างบนที่บรรยายว่า Pagode in Bankok

(http://www.bildarchivaustria.at/Bildarchiv//BA/951/B13721315T13721320.jpg)

จำได้ไหมว่าที่ไหนบ้างเอ่ย

 ;D

ภาพนี้อยู่ใน Album "K.u.k. Expedition nach Ostasien 1868-1871" (http://www.bildarchivaustria.at/Pages/ImageDetail.aspx?p_iBildID=13721315) ถ่ายในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 20:32
ทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ ยืนอยู่หน้าโบสถ์ค่ะ    ในรูปใช่หน้าโบสถ์หรือเปล่า


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 20:52
ตนไหนคือทศกัณฐ์ ตนไหนคือสหัสเดชะ   ;)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 11, 22:25
งดงามมากครับ ทศกัณฐ์กายสีเขียว ส่วนสหัสเดชะกายสีขาว

แนบภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 ส.ค. 11, 22:26
 ทศกัณฐ์ กายสีเขียว ส่วน สหัสเดชะ กายสีขาว ค่ะ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 11, 22:27
 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 11, 22:28
จากหนังสือมูโอต์


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 ส.ค. 11, 22:33
อีกภาพละกันนะคะ.... ;D
ซุ้มประตูยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง
ทศกัณฐ์อยู่ด้านซ้าย และสหัสเดชะด้านขวา ปี พ.ศ.2410


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 08:59
ทศกัณฐ์และสหัสเดชะในภาพขาวดำของคุณ siamese และภาพขาวดำของคุณดีดีข้างบนนี้เป็นฝีมือของหลวงปรนัยฯ  ซึ่งในประวัติบอกว่าชำรุด      แล้วถูกรื้อทิ้งปั้นใหม่ด้วยฝีมือนายคร้าม
ยังหาประวัติไม่พบว่า พญายักษ์ ๒ ตนในรูปสีของคุณเพ็ญชมพูและรูปสีของคุณดีดี  เป็นยักษ์ปั้นใหม่ในรัชกาลต่อๆมาหรือเปล่า   ถ้าคงเดิมมาตั้งแต่หลังพ.ศ. 2417   ก็แปลว่าเรากำลังดูผลงานของนายคร้ามอยู่
โปรดสังเกตเครื่องทรงของยักษ์เก่าในรูปขาวดำ กับยักษ์ใหม่ในรูปสี   ว่าเครื่องทรงอลังการกว่ากันมาก

******************
นายคร้ามน่าจะเป็นคนมีการศึกษาดี เขียนอ่านได้คล่อง และมีนิสัยแปลกกว่าคนไทยร่วมสมัย คือชอบจดชอบจำ    จึงเขียนจดหมายเหตุ บันทึกไว้ละเอียดลออ ให้เราได้อ่านกันในวันนี้
ท่านบอกไว้ว่า ออกเดินทางจากสยามตั้งแต่วันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก ฉกศก  จ.ศ. ๑๒๔๖

นักดนตรี ๑๙ คนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว ออกไปรับราชการดนตรี ตั้งแต่วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 09:15
นายคร้ามระบุว่า ไปราชการดนตรี และนักดนตรีทั้งหมดได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว  ทำให้ดิฉันคิดว่า น่าจะไปอย่างเป็นทางการ    เรียกว่าราชการสยามส่งไป  ไม่ใช่เจ้านายหรือเสนาบดีส่งไปเป็นแน่    เพราะอย่างหลังย่อมถือว่าส่งไปส่วนพระองค์ หรือส่วนของกระทรวง    ถ้าไปลาก็ต้องลาต้นสังกัดคือทูลลาเจ้านายพระองค์นั้น หรือไปกราบลาท่านเสนาบดีท่านนี้

แต่นี่  ราชการส่งไป  ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นทูตทางวัฒนธรรม   จึงต้องกราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว    และอาจเป็นเรื่องทางกฏหมายด้วยว่าข้าราชการจะออกไปพ้นพระราชอาณาเขต ก็ต้องกราบถวายบังคมลา  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต อย่างเป็นทางการ

ส่วนเรือชื่อประหลาดว่า เหกคูบา นั้น  ภาษาอังกฤษคือ Hecuba มาจากมหากาพย์ Iliad ของ Homer ว่าด้วยสงครามกรุงทรอย  เฮคคิวบาคือชื่อพระมเหสีของพระเจ้าเพรียม พระราชาแห่งทรอย  ที่เจ้าชายปารีสพระโอรสไปพาเฮเลน ราชินีกรีกหนีมา จนเกิดสงครามล้างผลาญเครือญาติเผ่าพันธุ์ของเมืองทรอย  แบบเดียวกับทศกัณฐ์พานางสีดามาผลาญโคตรวงศ์พงศายักษ์เสียหมดลงกา และเมืองอื่นๆด้วย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 09:44
ถึงเวลาถูตะเกียง

นักดนตรี ๑๙ คนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว ออกไปรับราชการดนตรี ตั้งแต่วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที

อยู่ตรงไหนคะ?


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ส.ค. 11, 10:21
ถึงเวลาถูตะเกียง

นักดนตรี ๑๙ คนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว ออกไปรับราชการดนตรี ตั้งแต่วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที

อยู่ตรงไหนคะ?

ประวัติการไปรษณีย์สยาม กล่าวว่า เดิมนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กิจการไปรษณีย์ของไทยได้อาศัยการเดินเรือและการขนส่งจดหมายที่สถานกงสุลอังกฤษ (บางรัก) เดินเรือระหว่างสิงค์โปร์ - กรุงเทพ ต่อมาเมื่อกิจการไปรณ๊ย์ของสยาม เริ่มวางระบบและปูพื้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นต้นมาและได้เริ่มกิจการไปรณีย์แห่งสยาม ขึ้นเมื่อ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (วันการสื่อสารแห่งชาติ)

อาคารไปรษณีย์นั้นได้ใช้บ้านของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) ซึ่งถูกริบเป็นสมบัติของแผ่นดิน มาดัดแปลงเป็นตึกใหญ่ "ไปรษณียคาร" เป็นที่ตั้งของกรมไปรษณีย์แห่งแรก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงคลองโอ่งอ่าง

ตึกหลังนี้ได้ถูกรื้อทิ้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อเปิดทางให้ก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า แต่ก็ได้มีการจำลองใหม่ไม่นานมานี้ และท่าเรือไปรษณีย์นี้เอง ก็เป็นที่เดียวกับนายคร้าม มาขึ้นท่าเรือเพราะเป็นท่าเรือที่จอดเรือไปกรุงเทพ - สิงค์โปร์ ได้และอีกทั้งบ้านสมเด็จเจ้าพระยาก็อยู่ฝั่งตรงข้ามอีกด้วย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ส.ค. 11, 12:05
เรือ"ฮีกิวบา" 'H.M.T Hecuba' (สะกดตามที่ใช้ในราชกิจจานุเบกษา) เป็นเรือกลไฟสัญชาติอังกฤษ ของบริษัทวินซโรช โดยกัปตันไฮวต์ ในเที่ยวนั้น



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ส.ค. 11, 13:47
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงสนทนากับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย (Queeen Victoria) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๑๘๙๗ (พ.ศ. ๒๔๔๐)

เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

เพิ่มเติม - คัดลอกจากคำโฆษณาหนังสือเก่า http://www.digitalrarebook.com

รายละเอียดย่อ :

This is a historical journal published from a manuscript of nai Kram, by Kanahem. The manuscript was given by nai Payom Boonyasastra, nai Kram’s grandchild.

Nai Kram is one of 19 Thai musicians who performed Thai music in England, in 1884-1885 according to the invitation of British government at the reign of Queen Victoria. The Thai musicians were considered 2nd diplomatic corps who contacted to England after Mom Rahothai, at the reign of King Rama IV. The historical journal presented the voyage by Hegcuba boat, from Bangkok, Singapore, Sri Lanka to England. Nai Kram talked about British civilization through Thai people points of view interestingly. If you read the Voyage to London by Mom Rachothai, this journal won’t be missed as well.

There’re also 2 music notes published: Tai Yoi Nok (เพลงทะยอยนอก), Churd Chin (เพลงเชิดจีน). Both of them are available at Siam Brannakom. They will be on site soon or call 0870048833.

รายละเอียดทั้งหมด :

     นี่คือจดหมายเหตุรายวัน ซึ่งพิมพ์ตามต้นฉบับลายมือเขียนของ นายคร้าม โดยคณะเหม ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากนายโพยม บุณยะศาสตร์ ผู้เป็นหลานตาของนายคร้ามเอง

     นายคร้าม ผู้เป็นหนึ่งในคณะนักดนตรีไทยทั้ง 19 คน ที่เดินทางไปแสดงดนตรีไทยในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2427 - 2428 โดยคำเชิญของรัฐบาลอังกฤษ สมัยพระราชินีนาถวิกตอเรีย นักดนตรีคณะนี้นับเป็นคณะฑูตทางศิลปวัฒนธรรมที่ได้เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 หลังจากคณะของ หม่อมราโชทัย ในสมัยรัชกาลที่ 4 เรื่องราวในจดหมายเหตุนี้ ค่อนข้างละเอียดละออ เริ่มจากออกเดินทางโดยเรือเฮกคูบา ออกจากกรุงเทพฯ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไปถึงอังกฤษ นายคร้ามได้เล่าเรื่องราวการพบปะผู้คน บ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณีของคนอังกฤษตามสายตาของชาวสยามได้อย่างน่าขบคิด น่าติดตาม หากท่านชอบ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย แล้วก็ไม่ควรพลาด จดหมายเหตุ ฉบับราษฐ์ นอกสาระบบ เล่มนี้

     ในการแสดงคราวนี้ ฝ่ายไทยได้นำโน๊ตเพลงไทยจำนวน 2 เพลง (เท่าที่ค้นพบ) คือ เพลงทะยอยนอก(Tai Yoi Nok) และ เพลงเชิดจีน(Churd Chin) ประพันธ์โดยหลวงวาทิตบรเทศ มี Joseph Romano เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งพิมพ์เผยแพร่และจำหน่ายในอังกฤษอีกด้วย จากหลักฐานดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าโน๊ตเพลงทั้ง 2 น่าจะเป็นเพลงไทยที่บันทึกด้วยโน๊ตสากลชิ้นแรก ๆ ที่มีการตีพิมพ์และจำหน่าย อย่างเป็นทางการก็ว่าได้ ปกของหนังสือเล่มนี้คาดว่าน่าจะออกแบบและเขียนโดย ครูเหม เวชกร ผู้เป็นเสมือนบิดาบุญธรรมของ นายโพยม บุณยะศาสตร์ 




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ส.ค. 11, 13:55
ภาพลายเส้นงานเลี้ยงทีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) จัดถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

เพิ่มเติม - หลวงวาทิตบรเทศ

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกองแตรวงขึ้นในบริเวณสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง ทรงมอบหมายให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ ๕ ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ปกครองบังคับบัญชา ต่อมาพระองค์ทรงตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ( พลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระดำรงค์ราชานุภาพ )  ซึ่งในครั้งนั้นมียศเป็นร้อยตรี  เป็นผู้บังคับการกองแตรวง และทรงเห็นว่า  ม.ร.ว.ชิต  เสนีวงศ์  ณ  กรุงเทพ  เป็นผู้รู้วิชาแตรเป็นอย่างดี เป็นนายวงดนตรีมียศเป็นจ่านายสิบ ซึ่งต่อมา ม.ร.ว.ชิต  เสนีวงศ์ ณ กรุงเทพ ได้เป็นผู้บังคับการกองแตรวง และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น  พระวาทิตบรเทศ  ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นผู้บังคับการกองแตรวง  และได้รับพระทานยศเป็นพันตรี พระวาทิตบรเทศ  เช่นเดียวกัน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 20:20
พระรูปควีนวิคตอเรีย ทรงฉายในปี 2440


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 20:27
ควีนวิคตอเรียกับพระราชโอรส   ปรินซ์ออฟเวลส์และเจ้าหญิงอเลกซานดราพระชายา


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 20:42
อ้างถึง
จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที

น่าสังเกตว่าการเตรียมตัวลงเรือใช้เวลาหลายชั่วโมงทีเดียว  คงต้องเผื่อขนสัมภาระลงไปด้วย    นัดมาเจอกันย่ำรุ่ง แต่ว่าจะลงเรือก็เข้าไปบ่ายสี่โมงกว่า เกือบจะเย็นแล้ว  และอีกหนึ่งชั่วโมงเรือถึงจะออกจากท่า

เรือเหกคูบา หรือฮีกิวบา  ลำใหญ่และหน้าตาโก้เอาการ   แล่นออกปากอ่าวไปถึงสมุทรปราการเมื่อสองทุ่ม ๑๕ นาที  ต้องจอดรอให้ผู้รักษาเมืองตรวจตราตามธรรมเนียม   แล้วก็จอดสมอรอน้ำขึ้น   จนสามทุ่มถึง"ถอนสมอเปิดจักร" ออกเรือ
คืนนั้นเรือแล่นทั้งคืน มาถึงสีชังเอาตอนเจ็ดโมงครึ่ง   ถึงเวลารับประทานอาหารเช้า   พวกนักดนตรีแต่งตัวโอ่โถงพากันมาที่ห้องดินเนอร์  พบว่ากินอาหารไม่ลงกันเลย คงจะเป็นอาหารฝรั่ง  ก็ต้องแข็งใจกินแก้หิว แล้วกลับไปกินของกินที่นำมาจากบ้าน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 11, 20:51
ในบันทึกบอกว่าเรือเหกคูบาทอดสมอที่สีชัง รับข้าวกล้องขึ้นเรือ จนบ่ายสามโมงจึงออกเดินทางต่อ   ย่ำค่ำก็มาถึงเกาะล้าน
วันนั้นบังเอิญฝนตก   นักดนตรีก็พากันหนาวสั่นลำบากลำบนกันอยู่ในเรือ  จนวันอาทิตย์  ตั้งแต่เช้าเรือแล่นมาจนเที่ยงเศษ  นายคร้ามออกมายืนชมวิวอยู่หน้าเรือ  เกิดอาการเป็นทุกข์  ไม่ได้บอกว่าเกิดจากร้อนหนาว   ว้าเหว่คิดถึงบ้าน หรือกลัวทะเลกันแน่   เพราะบรรยายสั้นๆว่า

"เกิดความร้อนใจต่างๆ   พวกดนตรีเวลานั้น ต่างคนต่างยกมือไหว้เทพารักษ์ที่อยู่ในที่นั้น    และขอเดชะพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน ก็หาอันตรายมิได้"

ทุ่มเศษ เรือมาถึงปากอ่าวหน้าเมืองสิงคโปร์   ทอดสมอ ๙ ทุ่ม ๖ นาที  เพื่อหยุดนอนพัก
คำบรรยายเวลาในที่นี้ใช้ภาษาในสมัยรัชกาลที่ ๕   เลยไม่แน่ใจว่า ๙ ทุ่มที่ว่านี้หมายถึง ๓ ทุ่มหรือตีสาม  แต่ขยายความว่าพักนอนอยู่สามชั่วทุ่มก็สว่าง จึงคิดว่าเป็นตีสาม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 11, 21:32
นายคร้ามตื่นแต่เช้า  ไปเดินบนดาดฟ้าชมหน้าเมืองสิงคโปร์เท่าที่จะเห็นจากเรือ   ด้วยความเป็นคนช่างเล่า  ก็บรรยายเอาไว้ละเอียดลออพอใช้ ว่าสิงคโปร์เป็นเมืองกว้างขวาง น่าสบาย  การค้าก็ดูคึกคักดี
เขาบรรยายลักษณะเมืองไว้ว่า
หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น

นายคร้ามยังเล่าด้วยว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นที่เรือเมล์ลำหนึ่ง   พอรู้ว่าไฟไหม้เรือ ป้อมในเมืองก็ยิงปืนเป็นสัญญาณดังสนั่น   เรือเล็กเรือใหญ่รวมเรือรบก็มาช่วยดับไฟกัน   คนบนบกก็มายืนดูกันแออัด     บรรดาเรือต่างๆก็วิตกทุกข์ร้อนกลัวว่าจะลามมาถึงเรือตน  นายคร้ามเองก็ตกใจมาก แต่เดชะบุญ เรือไหม้จนจมไปก็จริงแต่ไม่มีใครได้รับอันตราย
จากนั้นนายคร้ามก็แต่งตัว เข้ากลุุ่มกัน ๗-๘  คน ลงเรือจ้างไปเที่ยวในเมือง   เล่าว่าในเมืองมีทั้งแขก ฝรั่งและจีน ซึ่งในหนังสือเรียกว่าเจ๊ก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ส.ค. 11, 08:44
ผลงานชิ้นสำคัญของนายคร้ามและสกุลวงศ์ที่มีให้เห็นจนทุกวันนี้คือรูปปั้นยักษ์วัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม 
โดยเฉพาะตัวทศกัณฐ์ และสหัสเดชะ  ที่หน้าโบสถ์
ช่างปั้นในสกุลสืบเชื้อสายกันมา ๓ ชั่วคนคือ ปู่ พ่อ และนายคร้ามเอง
ยักษ์สองตัวนั้น ของเดิมปั้นโดยหลวงปรนัยฯ   ต่อมาหักพังลงมาหลังจากหลวงปรนัยฯถึงแก่กรรม   
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ลูกหลานในสกุลของหลวงปรนัยฯ เป็นผู้ซ่อมแซมเอง 
นายคร้ามจึงได้ทำหน้าที่นี้ 
แต่รูปปั้นเดิมทรุดโทรมจนซ่อมไม่ไหว  นายคร้ามต้องรื้อใหม่ จนเหลือแต่โครง และปั้นขึ้นมาใหม่     
งานชิ้นนี้นายคร้ามได้ทำเมื่อเดินทางกลับจากอังกฤษแล้ว


หลวงปรนัยฯ  ซึ่งบรรดาศักดิ์บิดาของนายคร้าม  น่าจะจดจำมาคลาดเคลื่อน
ราชทินนามที่ขึ้นต้นว่า ปรนัย  ไม่เคยปรากฏว่าเคยมี
สันนิษฐานว่า  หลวงปรนัยฯ ในที่นี้  น่าจะหมายถึง  หลวงกรมัยนฤมิตร์
ตำแหน่งเจ้ากรมช่างปั้น (ขวาหรือซ้าย จำไม่ได้) ในสังกัดกรมช่างสิบหมู่

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีคุณหลวงกรมัยนฤมิตร์ (บางแห่งเขียน  หลวงกลมัยนฤมิตร์) คนหนึ่ง ชื่อ รอด
บ้านอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างสะพานยศเส  คงจะไม่ใช่บิดานายคร้าม

ส่วนยักษ์สองตนที่ตรงซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามนั้น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  เคยมีรับสั่งไว้ว่า
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓  อาจจะเป็นเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียง
กับการปั้นยักษ์โดยรอบวัดพระแก้ว  เล่ากันต่อมา  เป็นฝีมือหลวงเทพกัน
ซึ่งคงหมายถึง  หลวงเทพรจนา  ชื่อตัวว่า กัน  เป็นช่างปั้นมีฝีมือในสมัยรัชกาลที่ ๓

ยักษ์สองตนนี้ผ่านการบูรณะและปั้นใหม่หลายครั้ง  เคยถูกฟ้าผ่าครั้งหนึ่งทำให้ยักษ์แขนหัก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 08:48
นายคร้ามตื่นแต่เช้า  ไปเดินบนดาดฟ้าชมหน้าเมืองสิงคโปร์เท่าที่จะเห็นจากเรือ   ด้วยความเป็นคนช่างเล่า  ก็บรรยายเอาไว้ละเอียดลออพอใช้ ว่าสิงคโปร์เป็นเมืองกว้างขวาง น่าสบาย  การค้าก็ดูคึกคักดี
เขาบรรยายลักษณะเมืองไว้ว่า
หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น

ภาพถ่ายเก่าเกาะสิงคโปร์ ที่ระยะก่อนการมาถึงของนายคร้ามไม่นาน ด้วยเกาะนี้อังกฤษได้ยึดเป็นที่ตั้งสำหรับขนถ่ายสินค้า แลกเปลี่ยนสินค้าทำให้มีความเจริญมั่งคั่ง ผู้คนมากมายต่างพากันมาแสวงหาความฝัน ทั้งจากมาเลย์ จากจีน จากอินเดีย ร่วมทำการค้ากันอย่างดี เป็น Little London ที่สยามต้องมาดูเป็นตัวอย่างไว้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 08:59
"หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น"

ที่นายคร้ามเห็นภาพเมืองสิงคโปร์ คงตื่นตาตื่นใจไม่น้อยทีเดียว ที่เห็นมีป้อม คงเป็นป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งบนยอดเขา Plamer ซึ่งเป็นที่ตั้งของป้อม CORNWALL

ส่วน "หอคอยรายตลอด" คงจะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบยุโรปที่ก่อสร้างสูงขึ้นไป ตลอดรายทาง และถ้าในสมัยนายคร้ามไปช่วง ค.ศ. 1884-1885 ท่าเรือที่รับการเดินทางมาถึง คงเป็น Johnson's Peir ที่มั่งคั่งด้วยเรือสินค้าและการเดินทาง เป็น Town ศูนย์กลางทางการค้าของสิงคโปร์

จึงนำภาพมาเปรียบเทียบให้ดูถึงกรุงสยาม กับ กรุงสิงคโปร์ ว่างดงามตื่นตาตื่นใจอย่างไร


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 09:07
ชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 09:17
บรรยากาศที่ท่าเรือ Johnson ศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ส.ค. 11, 09:26
จากภาพประกอบในความเห็นที่ ๑๕ ของลุงไก่ ที่คัดลอกมาจากเวปแห่งหนึ่ง พบว่ามีข้อผิดพลาดอย่างแรง (คงจะเพราะหมูแพง จึงเผลอปล่อยไก่ออกจากเล้าแทบหมด)
เมื่อมาพบว่าคำบรรยายภาพไม่ถูกต้อง เมื่อมาพบคำบรรยายภาพในหนังสือ "จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖" ของ พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วอริยศิริ) ครั้งที่ยังเป็นพระสฤษดิ์พจนกร ในคราวตามเสด็จฯ ประพาสยุโรปในตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "เสด็จพระราชดำเนินพบปรินสบิสมากที่เฟรดริคสรูห์ เยอรมนี ในวันที่ ๒ กันยายน ร,ศ. ๑๑๖

บันทึกตอนหนึ่งในจดหมายเหตุฯ กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "... รถพระที่นั่งถึงสเตชั่นฟรีดริคสะรูห์ เคานต์รันเซาบุตรเขยปรินซ์บิสะมาครับเสด็จพระราชดำเนินที่สเตชั่น นำเสด็จพระราชดำเนินไปยังวังที่ปรินซ์บิสะมากอยู่ ปรินซบิสะมากกับบุตรสาวชื่อมารีอิสะเบิคยีน และมิสเกิตส์หลานสาว คอยรับเสด้จพระราชดำเนินอยู่หน้าบ้านโดยความยินดีทีได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมนั้นเป็นอันมาก ..."

จึงขออภัยมา ณ ที่นี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 10:35
เรื่องยักษ์ล้ม

จากบันทึกเรื่องยักษ์ล้มของท่านเจ้าคุณพระเทพมุนี (เจียร ปภสฺสโร) ความว่า

"เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรงกับ ๑ ฯ ๑๐ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ กลางคืนฝนตกหนัก อสุนีบาตถูกยักษ์หน้าพระอุโบสถด้านเหนือ (สหัสเดชะ) พังลงมาต้องสร้างใหม่ เวลาที่รูปยักษ์ล้มนี้ พระพิมลธรรม (นาค) เป็นเจ้าอาวาส

ความจริงยักษ์คู่นี้ เคยซ่อมมาหลายครั้งแล้ว ดังปรากฎในรายการมรรคทายก เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๕ ก็มีรายการซ่อม และ พ.ศ. ๒๔๕๖ ก็ซ่อมแขนยักษ์อีกส่วนที่สร้างใหม่นี้ สืบไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ซ่อม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 10:56
ดีจริง   กระทู้เริ่มคึกคัก  :D

นายคร้ามเดินเที่ยวซื้อของบริโภค เอากลับมากินในเรือ    ไม่ได้บรรยายว่าซื้ออะไรบ้าง แต่แสดงว่าอาหารในเรือคงจะเต็มกลืนสำหรับลิ้นคนไทย  เล่าด้วยว่า ชาวบ้านไม่เคยเห็นนักดนตรี(ไทย) ก็พากัน "ออกมาดูเรียดทางไปทั้งสิ้น"  แปลว่าพวกนี้เดินไปทางไหน ชาวบ้านคงแห่มาดูกันด้วยเห็นประหลาด    แต่ว่าประหลาดเรื่องอะไรไม่ได้บอก  เดาว่าคงเป็นการแต่งกาย  เพราะหน้าตาคนไทยก็ไม่ไกลจากจีนหรือแขกสิงคโปร์นัก
ร้านขายของในสิงคโปร์  นายคร้ามเปรียบเทียบว่าเหมือนห้าง  แถวสำเพ็งหน้าวัดเกาะ
จนบ่ายสี่โมงเย็นก็กลับเรือ
วันรุ่งขึ้น วันพฤหัส ก็ยังอยู่ที่สิงคโปร์
วันศุกร์  ลงจากเรือเก่ามาขึ้นเรือใหม่ที่หลังเมืองสิงคโปร์ ชื่อเรือ " เวตีนนา"  คำนี้ยังนึกไม่ออกว่าอังกฤษสะกดอย่างไร    เป็นเรือมีกลาสีประจำราว 50 คนเศษ

นายคร้ามบรรยายภาพด้านหลังเมืองสิงคโปร์เอาไว้ว่า
"ข้าพเจ้าดูบ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่หลังเมืองสิงคโปร์นั้น    ดูน่าสนุกสนานพอเหมาะดี    และดูชัยภูมิที่วางท่าทางนั้นพอแก่ราชการได้    บ้างก็ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้าง   อยู่ตามชายเขาบ้าง   ที่มุมด้วยจากก็อยู่พวกหนึ่ง  มุงด้วยกระเบื้องพวกหนึ่ง  มุงด้วยสังกะสีพวกหนึ่ง  ไม่ปะปนกันอย่างเมืองไทย    แต่ที่มุมด้วยจากนั้นห่างเมืองกว่าเขา   และลักษณะท่าทางที่เขาพวกนั้นจะทำเหย้าเรือน  และโรงทำการต่างๆ  แลที่นั่งเล่นเดินเล่นเปลี่ยนบรรยากาศนั้นจะไปติเตียนเขาไม่ได้เลย"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 11:01
นายคร้าม ใช้คำว่า "สนุก" บรรยายบ้านเมืองภูมิประเทศไว้สองสามแห่ง ซ้ำๆกัน
อ้างถึง
" มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก "
 
อ้างถึง
"ข้าพเจ้าดูบ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่หลังเมืองสิงคโปร์นั้น    ดูน่าสนุกสนานพอเหมาะดี   

อ่านแล้วสะดุด  ว่ามันสนุกได้อย่างไร  ความหมายไม่เหมือนกับที่เราคิดในปัจจุบันนี้แน่ๆ    ก็เลยต้องหันไปพึ่งรอยอินตามเคย  ได้คำอธิบายมาว่า สนุก แปลว่าทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน, ทำให้เบิกบานใจ,

ก็เลยถึงบางอ้อ  ว่าสนุกของนายคร้ามเป็นอย่างนี้เอง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ส.ค. 11, 11:46
Chinatown ย่านคนจีนที่สิงคโปร์ในยุคนั้น



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ส.ค. 11, 12:31
เรือ "เวตีนนา" โดยใช้ข้อพิจารณาจากจำนวนลูกเรือประมาณ ๕๐ คน เท่าที่สืบค้นได้ น่าจะเป็นเรือ "เวียนนา" R.M.S VIENNA สัญชาติอังกฤษ

ยังหาประวัติของเรือไม่พบ



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ส.ค. 11, 15:00
ราชกิจจาฯ เล่มที่ ๑  แผ่นที่  ๑๑ วัน ๑  เดือน ๔  แรม ๘ ค่ำ ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖
ที่ ๑  ข่าวราชการ

"...ครั้นรุ่งขึ้น  ณ วันพุฒ  เดือนสี่ ขึ้นสิบสองค่ำ  เวลาเช้า ๓ โมงเสศ
พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจออกทางพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท
ขึ้นทรงพระราชยาน  เสดจพระราชดำเนินโดยกระบวนตำรวจ  แลทหาร
แห่นำตามเสดจออกประตูศรีสุนทรไปประทับพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย...ฯลฯ...
แล้วพระโทรเลขธุรานุรักษนำมิศเตอเบจีกราบถวายบังคมลา  คุมเครื่องดนตรีต่างๆ
แลคนสำหรับเครื่องดนตรี  ออกไปกรุงลอนดอน  แล้วจึ่งทรงประทับ
ทอดพระเนตรเครื่องดนตรีต่างๆ ที่น่าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย 
ซึ่งสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมหลวงภาณุพันธุวงษวรเดช
ทรงจัดทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับจะพระราชทานไปกรุงลอนดอน 
ในการเอกซฮิบิเชอน  พนักงานเครื่องดนตรีทั้งปวงซึ่งจะกราบถวายบังคมลา
ไปนั้นได้ดีดสีตีเป่าทูลเกล้าฯ ถวาย   แล้วจึ่งเสดจพระราชดำเนินไปที่ท่าราชวรดิฐ 
ประทับในเรือพระพระที่นั่งเวสาตรี  เรือกระบวนแห่ทั้งปวงก็เคลื่อนออกจาก
ท่าแห่พระบรมธาตุ  พระพุทธรูป  พระธรรมขึ้นไป..."
(คัดตามต้นฉบับ)
 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ส.ค. 11, 15:11
เรือฮีกิวบา  สัญชาติอังกฤษ  เป็นเรือกลไฟ  ขนาด ๕๙๐ ตัน
กัปตันเรือชื่อ นายไวต์  เดินทางมาจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๑๘๘๕
เข้ามาถึงบางกอก  เมื่อวันพุธ  เดือนสี่  ขึ้น ๑๒ ค่ำ  ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖
เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที  (๐๙.๓๐ น.)
เดินทางออกจากบางกอกไปยังสิงคโปร์ เมื่อวันเสาร์  เดือนสี่  ขึ้น  ๑๕ ค่ำ
ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖  เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 15:15
ราชกิจจาฯ เล่มที่ ๑  แผ่นที่  ๑๑ วัน ๑  เดือน ๔  แรม ๘ ค่ำ ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖
ที่ ๑  ข่าวราชการ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/011/92.PDF (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/011/92.PDF)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 15:50
แล้วพระโทรเลขธุรานุรักษนำมิศเตอเบจีกราบถวายบังคมลา  คุมเครื่องดนตรีต่างๆ
แลคนสำหรับเครื่องดนตรี  ออกไปกรุงลอนดอน  แล้วจึ่งทรงประทับ
ทอดพระเนตรเครื่องดนตรีต่างๆ ที่น่าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย 
ซึ่งสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมหลวงภาณุพันธุวงษวรเดช
ทรงจัดทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับจะพระราชทานไปกรุงลอนดอน 
ในการเอกซฮิบิเชอน (คัดตามต้นฉบับ)

 ;D

ประกาศการจัดงาน International Exhibition of Inventions ที่ลอนดอนใน พ.ศ. ๒๔๒๘ ในหนังสือพิมพ์ The New York Times


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 15:53
น่าสนใจมากครับ ได้ความจาก Strait Times ของสิงคโปร์ เมื่อ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๘๘๕ ถึงเรื่องเรือเฮคิบา น่าจะเกี่ยวเนื่องกัน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 15:56
บรรยากาศในงานนิทรรศการที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๘ ทางซ้ายมือคือ Royal Albert Hall  (http://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Albert_Hall) (ภาพจาก London Illustrated News)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 15:58
บรรยากาศในงานนิทรรศการที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๘ ต่อจากคุณเพ็ญชมพู  ;)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 16:01
นายคร้ามคงบรรยายน้ำพุบริเวณหน้า Royal Albert Hall จุดเด่นของงานนี้ ด้วยความตื่นเต้น

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 16:10
กระผมว่า รอ อ.เทาชมพู ช่วยพาล่องเรือออกจากสิงคโปร์ให้ได้ก่อนดีกว่า เพื่อนสมาชิกใจร้อนพากันไปชมงาน เอ๊กฮิบิชั่น ก้นหมดแล้ว เดี่ยวจะไม่สนุก  :-\

กว่าเรือเดินสมุทรออกจากสิงคโปร์คงมีเรื่องสนุกหลาย ๆ ที่ไว้เริ่มงานเอ็กฮิบิชั่น ค่อยกระหน่ำข้อมูลกัน  ;D

และผมทราบว่า คณะนักดนตรีไทยมี ๑๙ ท่านล้วนเป็นครูเพลง นำซอสามสาย แคน ไปแสดงหน้าพระพักตร์เสมอ ๆ ดังนั้นไม่ใช่เป็นการจัดสำรับไปร่วมงานการเอ๊กฮิบิชั่น แต่ได้เข้าไปร่วมชมงานเฉย ๆ มากกว่า โดย "พระนางเจ้าวิคตอเรีย โปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงต่อหน้าพระพักตร์อยู่เสมอ ๆ"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 16:55
บรรยากาศในงานนิทรรศการที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๘ ต่อจากคุณเพ็ญชมพู  ;)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23550;image)

คนละงานกันละมั้งคุณหนุ่ม   ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ส.ค. 11, 19:36
ประวัติของเรือเฮคิวบา:

HECUBA (1) was built in 1882 by Scott & Co. at Greenock with a tonnage of 918grt a length of 233ft 5in, a beam of 32ft 7in and a service speed of 10 knots. She was built for the Bangkok to Singapore route at a cost of £22,000, initially for a joint venture in which the Ocean Steam Ship Co. held 46/64, but was then transferred to the East India Steam Ship Co. She was sold as part of the East India fleet to Norddeutscher Lloyd of Bremen in 1899 and renamed Kudat. In 1905 she was sold to Hokuriku Kise Kaisya of Osaka and renamed Matsushima Maru. By 1916 she was no longer in use.



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ส.ค. 11, 20:30

บรรยากาศในงานนิทรรศการที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๘ ต่อจากคุณเพ็ญชมพู  ;)

คนละงานกันละมั้งคุณหนุ่ม   ;D

งานเดียวกันครับคุณเพ็ญชมพู การจัดงาน Exhibition ที่กรุงลอนดอน จัดขึ้นที่ Albert Hall ปี ๑๘๘๖ ในหัวข้อปีนี้คือ "Colonial and Indian Expostion 1886"
โดยเป็นการจัดงานในดินแดนเครือจักรภพอังกฤษ มาแสดงสินค้าและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและให้คนอังกฤษได้ดูของแปลก ๆ จากทุกมุมโลก

ในภาพที่นำมาให้ชมเป็นภาพการแสดงตัวอย่างหินแบบต่าง ๆ ของประเทศออสเตรเลีย ครับ จึงเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกัน

แต่ว่าครั้งนี้สยาม ไม่น่าจะส่งของเข้าร่วมจัดบูธ เหมือนครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา (ดังที่เคยจัดที่ลอนดอนครั้งที่ ๑ และ ปารีส) เนื่องจากหัวข้องานเกี่ยวกับดินแดนในเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งสยามไม่ใช่ (เพราะเคยมีประวัติว่างาน Expo งานหนึ่งจัดให้สยามไปรวมกลุ่มในเครือจักรภพ หรือ ดินแดนที่อยู่ใต้ธงอังกฤษ ทำให้ไทยเกิดประท้วงนิดหน่อย) หากแต่งานนี้คงเป็นการส่งการแสดงดนตรีไทย เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่าครับ



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 20:59
Nai Kram is one of 19 Thai musicians who performed Thai music in England, in 1884-1885  according to the invitation of British government at the reign of Queen Victoria.

นิทรรศการของคุณหนุ่มจัดปี ๑๘๘๖

นายคร้ามคงกลับถึงสยามเรียบร้อยแล้วกระมัง

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 21:13
เหรียญที่ระลึกงานนิทรรศการที่นายคร้ามและคณะเข้าร่วมแสดงดนตรีไทย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 21:29
นายคร้าม ท่านเดินทางเรือไปอังกฤษ เมื่อร้อยปีก่อน  ไม่ได้นั่งเครื่อง TG  จะได้ถึงอังกฤษใน 10 ชั่วโมงเศษ

ขอให้ใจเย็นๆ   ร่วมลงเรือไปกับนายคร้าม ล่องทะเลชมวิวไปตามทาง    เพราะพวกเรายุคนี้ถ้าไปต่างประเทศ ก็ไม่มีโอกาสนั่งชมคลื่นดูปลาบินหลังคลื่นอย่างท่านอีกแล้ว
คุณเพ็ญชมพูจะได้เพลิดเพลินกับสัตว์ประหลาดในทะเล ที่นายคร้ามเล่าให้ฟัง

อีกอย่าง เมื่อถึงลอนดอน  นายคร้ามและนักดนตรีชุดนี้ไม่ได้พูดถึงเอกซิบิชั่น     แต่ไปเล่นดนตรีอยู่ในอัลเบิร์ตฮอลล์   เข้าเฝ้าเล่นดนตรีถวายควีนวิคตอเรียกับปรินซ์ออฟเวลส์     มีประชันกับวงดนตรีฝรั่งด้วย  นอกจากนี้บ้านผู้ดีที่ไหนจ้างไปเล่นก็ไป
ท่านเล่าถึงชีวิตชาวกรุงลอนดอนไว้อย่างละเอียดด้วยค่ะ

จากสิงคโปร์  เรือเดินทางต่อไปเกาะหมาก หรือเกาะปีนัง 
นายคร้ามเล่าถึงหน้าเมืองเกาะหมากว่า เป็นเล็กกว่าสิงคโปร์ครึ่งหนึ่ง    ที่หน้าเขาลงมาริมตลิ่งเป็นหาดทรายขาวสะอาด  ริมทะเลมีที่ดักปลา   มีตึกแน่นติดกันเป็นแถวหน้าเมือง  มีเรือจ้างแบบสิงคโปร์
ชาวเมืองเป็นแขกบ้างจีนบ้าง แต่แขกมากกว่า

จากเกาะหมาก เรือก็ออกเดินทางต่อไปในทะเล


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 11, 23:03
นายคร้ามเล่าถึงหน้าเมืองเกาะหมากว่า เป็นเล็กกว่าสิงคโปร์ครึ่งหนึ่ง    ที่หน้าเขาลงมาริมตลิ่งเป็นหาดทรายขาวสะอาด  ริมทะเลมีที่ดักปลา   มีตึกแน่นติดกันเป็นแถวหน้าเมือง  มีเรือจ้างแบบสิงคโปร์

(http://lh5.ggpht.com/-ZgERvQrof7M/Ry5naY9xDtI/AAAAAAAAADA/n48BGJPjSKQ/s640/beach%252520street.JPG)

(http://lh6.ggpht.com/-sgaMVYT_kVo/Ry5nfo9xD8I/AAAAAAAAAE4/rTDEJhsHFh8/s576/fms.jpg)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ส.ค. 11, 06:37



เรือเฮกุบะ  กำปั่นกลไฟอังกฤษ  ๕๙๐ ตัน  กัปตันไวต์  ขึ้นห้างวินเซอรโรซแอนโก  มาจากสิงคโปร์

สยามไสมยของคุณอ้วนธงชัย ทั้ง ๔ เล่ม   ลงเรื่องเรือเข้าออกตลอด

ในรายงานประจำอาทิตย์หนึ่งใน สัปตศก ๑๒๔๗  ลงเรื่อง กำปั่นเฮกุบะ  มีคนโดยสารที่ห้องแกะบิน ๓ คน
ดาดฟ้า ๑๕ คน

ในเวลานั้น วินเซอรโรซแอนโก มีเรือหลายลำ  เช่นขงเบ้ง  มาจากซัวเถา  แดนยุบมาจากสิงคโปร์  มงกุฎมาจากสิงคโปร์  พระจอมเกล้า มาจากฮองกอง

หนังสือพิมพ์รุ่นแรกของสยามเช่น บางกอกแอดเวอร์เดลี่ไตเซอร์  และสยามเดลิี่แอดเวอร์ำตเซอร์ 
เป็นแค่แผ่นพับลงเรื่องเรือสินค้าเข้าออก

หวังว่าคุณเพ็ญชมพูที่น่ารักคงชอบ  "ห้องแกะบิน"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 07:46
ชาวพื่นเมืองที่ปีนัง หรือเรียกว่า เกาะหมาก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 08:02
เมืองปีนัง ภาพถ่ายสมัย พ.ศ. ๒๔๒๗


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 08:35
นายคร้ามเป็นคนช่างสังเกตธรรมชาติ    ในช่วงเวลาหลายวันที่เรือแล่นอยู่ในทะเล  คงจะไม่ยอมอุดอู้อยู่ในห้อง แต่ขึ้นดาดฟ้ามาชมวิวอยู่บ่อยๆ จึงบรรยายสิ่งเล็กๆน้อยๆที่พบเห็นไว้ด้วย

" ได้แลเห็นฝนตกกลางทะเล  วนผิดกับที่บ้านเรา   แลเห็นลมหอบเอาน้ำขึ้นไปเป็นสาย  แล้วแตกเป็นพร่าเป็นเม็ดตกลงมาอีกทีหนึ่ง"

ตรงนี้ นายคร้ามฝากมาถึงคุณเพ็ญชมพู และคุณดีดี

"ยังมีฝูงปลาจำพวกหนึ่งบินได้  เป็นฝูงตัวเล็กๆเหมือนนกนางแอ่นลม ฝูงหนึ่งใน ๕๐-๖๐ ตัว      ข้าพเจ้าได้ถามกลาสีๆบอกว่านั่นแหละปลา  ไม่ใช่นก"

" แต่ปลาที่บินได้นั้น   วันนั้นจำเพาะบินขึ้นมาบนเรือตัวหนึ่ง   แล้วก็จับมาดู  ไม่เห็นมีปีก  มีแต่หูแต่ว่าใหญ่  จึงรู้ว่าบินด้วยหู

ปลากระเบนหรือคะ ?


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 11, 08:39
^ น่าจะเป็นปลานกกระจอกครับ  ยิ่งบรรยายว่าอยู่เป็นฝูงใหญ่ก็ดูจะเป็นปลาอื่นได้ยาก
 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 08:42
นายคร้ามเป็นคนช่างสังเกตธรรมชาติ    ในช่วงเวลาหลายวันที่เรือแล่นอยู่ในทะเล  คงจะไม่ยอมอุดอู้อยู่ในห้อง แต่ขึ้นดาดฟ้ามาชมวิวอยู่บ่อยๆ จึงบรรยายสิ่งเล็กๆน้อยๆที่พบเห็นไว้ด้วย

" ได้แลเห็นฝนตกกลางทะเล  วนผิดกับที่บ้านเรา   แลเห็นลมหอบเอาน้ำขึ้นไปเป็นสาย  แล้วแตกเป็นพร่าเป็นเม็ดตกลงมาอีกทีหนึ่ง"

ตรงนี้ นายคร้ามฝากมาถึงคุณเพ็ญชมพู และคุณดีดี

"ยังมีฝูงปลาจำพวกหนึ่งบินได้  เป็นฝูงตัวเล็กๆเหมือนนกนางแอ่นลม ฝูงหนึ่งใน ๕๐-๖๐ ตัว      ข้าพเจ้าได้ถามกลาสีๆบอกว่านั่นแหละปลา  ไม่ใช่นก"

" แต่ปลาที่บินได้นั้น   วันนั้นจำเพาะบินขึ้นมาบนเรือตัวหนึ่ง   แล้วก็จับมาดู  ไม่เห็นมีปีก  มีแต่หูแต่ว่าใหญ่  จึงรู้ว่าบินด้วยหู

ปลากระเบนหรือคะ ?

แปะภาพให้ชมระหว่างรอคุณเพ็ญชมพู และคุณดีดี  Flying Fish ใน Travel Far East 1887


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 08:44
นี่ก็สัตว์ทะเลอีกตัว   นายคร้ามฝากมาให้คุณเพ็ญชมพูเหมือนกัน

"ยังมีนกอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าเป็ดทะเล  ลอยอยู่ในน้ำนานๆ   ต่อเมื่อไรมีเรือแล่นมาใกล้เคียงจึงอาศัยเรือบ้าง   แต่อังกฤษมักไล่มัน  ไม่ให้ใครจับ  ดูรูปพรรณเหมือนเป็ดน้ำเมืองเรา  แต่ปากแหลม"

จากเกาะหมาก  เรือเดินทางต่อไปถึงเกาะ"กาลัมบู"
ภูเขาที่กาลัมบูเป็นทิวเขาใหญ่โตและยืดยาว  สูงมาก เป็นลดเป็นหลั่นกันตามลำดับ   ยื่นเป็นแหลมงอกก็มี  ที่โค้งอ้อมไปเหมือนคันธนูก็มี   ดูใหญ่กว่าภูเขาทางภาคเหนือหลายเท่า    บริเวณหน้าเขาลงมาเป็นทิวไม้   แล้วเป็นหาดทราย  แล้วก็ทะเล
ที่เป็นทิวไม้ ก็มีชาวบ้านอาศัยอยู่   ตามลำน้ำมีเรือหาปลา
ที่เรียกว่ากาลัมบู เป็นแค่เมืองปากน้ำ  ไม่ใช่ทั้งประเทศ

นายคร้ามบรรยายภูเขาอีกลูกหนึ่งว่าสูงใหญ่รูปร่างเหมือนเจดีย์  แลดูอ้อมเป็นวง ยื่นออกมากลางทะเล   ในอ้อมเขานั้นแขกอยู่พวกหนึ่ง อังกฤษอยู่อีกพวกหนึ่ง ไม่ปะปนกัน
บริเวณที่แขกอยู่มีตึกเล็กตึกน้อย    แต่ที่อังกฤษอยู่ ตึกใหญ่โตมาก

คิดว่าชาวเรือนไทยที่เข้ามาร่วมวงในกระทู้คงดูออกว่ากาลัมบูคือเกาะอะไร


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 09:00

คิดว่าชาวเรือนไทยที่เข้ามาร่วมวงในกระทู้คงดูออกว่ากาลัมบูคือเกาะอะไร

เรือน่าจะออกจากเกาะหมากไม่ไกลเท่าไร คงเป็นบริเวณหมู่เกาะนี้แน่ ๆ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 09:24
ต้องถูตะเกียง    ปัดฝุ่นแผนที่ใหม่แล้วค่ะ

เรือออกจากเกาะหมากวันอังคาร  ถึงเกาะกาลัมปู วันเสาร์
ไกลโขอยู่นะ    คุณ genie สยาม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 09:53
ต้องถูตะเกียง    ปัดฝุ่นแผนที่ใหม่แล้วค่ะ

เรือออกจากเกาะหมากวันอังคาร  ถึงเกาะกาลัมปู วันเสาร์
ไกลโขอยู่นะ    คุณ genie สยาม

นั่งเรือมาหลายวัน คงทานข้าวกับเนื้อจนเบื่อ ให้เรือแล่นมาหลายวันแบบนี้คงเข้าเขตลังกา เป็นแน่ ส่วน "กาลัมบู" คล้ายว่า "โคลัมโบ" แน่นอน งานนี้ตะเกียงไม่พลาดแล้วครับ ;)

เกาะนี้คือ "เกาะลังกา" มีเมืองหลวงชื่อ "โคลัมโบ" ซึ่งเป็นเมืองตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำดังที่นายคร้ามกล่าวไว้ แต่คนทั่วไปก็เรียกเหมารวมไปเลยว่า เกาะโคลัมโบ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 12:50
ตรงนี้ นายคร้ามฝากมาถึงคุณเพ็ญชมพู และคุณดีดี

"ยังมีฝูงปลาจำพวกหนึ่งบินได้  เป็นฝูงตัวเล็กๆเหมือนนกนางแอ่นลม ฝูงหนึ่งใน ๕๐-๖๐ ตัว      ข้าพเจ้าได้ถามกลาสีๆบอกว่านั่นแหละปลา  ไม่ใช่นก"

" แต่ปลาที่บินได้นั้น   วันนั้นจำเพาะบินขึ้นมาบนเรือตัวหนึ่ง   แล้วก็จับมาดู ไม่เห็นมีปีก  มีแต่หูแต่ว่าใหญ่  จึงรู้ว่าบินด้วยหู

ปลากระเบนหรือคะ ?

^ น่าจะเป็นปลานกกระจอกครับ  ยิ่งบรรยายว่าอยู่เป็นฝูงใหญ่ก็ดูจะเป็นปลาอื่นได้ยาก
 ;D

ปลานกกระจอกอย่างที่คุณหลวงว่านั่นแหละ หูที่นายคร้ามว่าก็คือครีบปลานั่นเอง

ครีีบของปลานอกจากจะทำหน้าที่เป็นเท้าแบบปลาตีนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นปีกได้อีก อย่างเช่น

ปลาบิน http://en.wikipedia.org/wiki/Flying_fish (http://en.wikipedia.org/wiki/Flying_fish)

รู้สึกว่าคนไทยจะเรียกว่า ปลานกกระจอก


http://www.youtube.com/watch?v=OmWRCdUw17E&feature=player_embedded

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=20528;image)

 ;D



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 13:00
นี่ก็สัตว์ทะเลอีกตัว   นายคร้ามฝากมาให้คุณเพ็ญชมพูเหมือนกัน

"ยังมีนกอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าเป็ดทะเล  ลอยอยู่ในน้ำนานๆ   ต่อเมื่อไรมีเรือแล่นมาใกล้เคียงจึงอาศัยเรือบ้าง   แต่อังกฤษมักไล่มัน  ไม่ให้ใครจับ  ดูรูปพรรณเหมือนเป็ดน้ำเมืองเรา  แต่ปากแหลม"

นกนางนวลกระมัง

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ส.ค. 11, 13:40

จากเกาะหมาก  เรือเดินทางต่อไปถึงเกาะ"กาลัมบู"
ภูเขาที่กาลัมบูเป็นทิวเขาใหญ่โตและยืดยาว  สูงมาก เป็นลดเป็นหลั่นกันตามลำดับ   ยื่นเป็นแหลมงอกก็มี  ที่โค้งอ้อมไปเหมือนคันธนูก็มี   ดูใหญ่กว่าภูเขาทางภาคเหนือหลายเท่า    บริเวณหน้าเขาลงมาเป็นทิวไม้   แล้วเป็นหาดทราย  แล้วก็ทะเล
ที่เป็นทิวไม้ ก็มีชาวบ้านอาศัยอยู่   ตามลำน้ำมีเรือหาปลา
ที่เรียกว่ากาลัมบู เป็นแค่เมืองปากน้ำ  ไม่ใช่ทั้งประเทศ

นายคร้ามบรรยายภูเขาอีกลูกหนึ่งว่าสูงใหญ่รูปร่างเหมือนเจดีย์  แลดูอ้อมเป็นวง ยื่นออกมากลางทะเล   ในอ้อมเขานั้นแขกอยู่พวกหนึ่ง อังกฤษอยู่อีกพวกหนึ่ง ไม่ปะปนกัน
บริเวณที่แขกอยู่มีตึกเล็กตึกน้อย    แต่ที่อังกฤษอยู่ ตึกใหญ่โตมาก

คิดว่าชาวเรือนไทยที่เข้ามาร่วมวงในกระทู้คงดูออกว่ากาลัมบูคือเกาะอะไร


กาลัมบู นั้นใช่เกาะลังกาแน่ แต่ลักษณะภูมิประเทศที่นายคร้ามอธิบายไม่น่าจะใช่เมืองโคลอมโบ
ผมลองหาดูแล้ว เมืองที่คล้ายกับคำบรรยายมากที่สุดน่าจะเป็นเมือง "กอล-Galle" ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของเกาะลังกา ระยะเวลาเดินเรือถึงโคลอมโบประมาณสี่ชั่วโมง




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 13:42
นั่งเรือมาหลายวัน คงทานข้าวกับเนื้อจนเบื่อ ให้เรือแล่นมาหลายวันแบบนี้คงเข้าเขตลังกา เป็นแน่ ส่วน "กาลัมบู" คล้ายว่า "โคลัมโบ" แน่นอน  งานนี้ตะเกียงไม่พลาดแล้วครับ ;)

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Colombo) ให้ข้อมูลว่าเมืองนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Kalanpu" เป็นชื่อที่นักเดินทางชื่อ Ibn Battuta (http://en.wikipedia.org/wiki/Ibn_Batuta) เรียกในศตวรรษที่ ๑๔

สมัยนายคร้ามเดินทางไปถึงคงมีคนเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "คาลันปู" อยู่กระมัง

 ???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ส.ค. 11, 13:52
จากจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ พระยาศรีหเทพ บรรยายลักษณะเมืองกอล (Galle) ไว้ตอนหนึ่งว่า

 "... เมื่อเสด็จมาถึงป้อมเก่าในเมืองลงจากรถพระที่นั่ง เสด็จประพาสหน้าป้อมทางชายทะเลตลอด มิสเตอร์เวซเจ้าเมืองกอลและกรรมการอีกหลายคน ตามเสด็จและกราบบังคมทูลชี้แจงในเรื่องป้อม ป้อมนี้เป็นป้อมเก่า เขาว่าพวกโปรตุเกสมาสร้างไว้แต่ครั้งเมืองกอลยังขึ้นอยู่กับเมืองโปรตุเกส ป้อมนี้ตามรายงานทูตานุทูตสยามซึ่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงฝรั่งเศสเมื่อปีระกายังเป็นโทสก จุลศักราช ๑๒๒๓ หน้า ๒๕ ดูอังกฤษยังจัดการรักษาแข็งแรงอยู่ แต่เวลานี้อังกฤษไม่ได้ใช้แล้ว รักษาไว้สำหรับดูเป็นของประหลาดและเป็นที่เดินเล่นเหมือนกัน ..."




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ส.ค. 11, 14:28
นั่งเรือมาหลายวัน คงทานข้าวกับเนื้อจนเบื่อ ให้เรือแล่นมาหลายวันแบบนี้คงเข้าเขตลังกา เป็นแน่ ส่วน "กาลัมบู" คล้ายว่า "โคลัมโบ" แน่นอน  งานนี้ตะเกียงไม่พลาดแล้วครับ ;)

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Colombo) ให้ข้อมูลว่าเมืองนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Kalanpu" เป็นชื่อที่นักเดินทางชื่อ Ibn Battuta (http://en.wikipedia.org/wiki/Ibn_Batuta) เรียกในศตวรรษที่ ๑๔

สมัยนายคร้ามเดินทางไปถึงคงมีคนเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "คาลันปู" อยู่กระมัง

 ???

ในแผนที่โบราณ แสดงที่ตั้งของเมือง คาลันปู-Kalunpu



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 15:00
เล่าต่อ ถึงเกาะกาลัมบู
นายคร้ามเล่าต่อว่า
ที่อีกแห่งหนึ่ง  เป็นถนนยื่นออกมากลางทะเลหน่อยหนึ่ง   ที่เรียกว่าแต่ครั้งจองถนนนั้น    แต่ทุกวันนี้อังกฤษทำกระโจมไฟไว้ที่นั่น  สำหรับเรือลูกค้าเป็นที่สังเกต    แล้วปราบศิลานั้นเรียบร้อยน่าเดินเล่น
และในท้องที่เป็นวงอ่าวนั้นมีเรือเมล์จอดอยู่ ๘-๑๐ ลำ   กับเรือจ้างก็มีเหมือนกัน  แต่เป็นของแขกทั้งสิ้น  มีลูกค้าขายของเรือเร่ทั้งของกินและของเล่นต่างๆ

ถึงตอนนี้คงทราบกันแล้ว  กาลัมบู คือเกาะลังกานั่นเอง 

นายคร้ามยังบ่นถึงชาวพื้นเมืองที่ลังกา   ซึ่งท่านเรียกสั้นๆว่า "แขก" เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และปีนัง ว่าพอเรือจอดพวกนี้ก็กรูกันขึ้นมาบนเรือ  เพราะตามธรรมเนียมเมืองเขาเป็นอย่างนั้น
เข้ามาถึงในห้องหับของผู้โดยสาร  ไล่เท่าไรก็ไม่ไป   หยิบฉวยขโมยอะไรเล็กๆน้อยๆได้ก็ฉวยเอาไปด้วย   คนไทยต้องไปตามฝรั่งมาไล่
พวกนี้ไม่นุ่งผ้า มีแต่ถุงใส่ที่ลับไว้เท่านั้น    นายคร้ามบ่นว่า "ดูพิกลจริต"

หน้าน้ำเมืองลังกามีเรือสินค้า เหมือนทุกเมืองที่ผ่านมา  ก็คงเป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งของลังกา      นายคร้ามบอกว่าเดินทางมา ๑๕ วันแล้วจึงถึงที่นี่


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ส.ค. 11, 15:33
ที่อีกแห่งหนึ่ง  เป็นถนนยื่นออกมากลางทะเลหน่อยหนึ่ง   ที่เรียกว่าแต่ครั้งจองถนนนั้น    แต่ทุกวันนี้อังกฤษทำกระโจมไฟไว้ที่นั่น  สำหรับเรือลูกค้าเป็นที่สังเกต    แล้วปราบศิลานั้นเรียบร้อยน่าเดินเล่น

และในท้องที่เป็นวงอ่าวนั้นมีเรือเมล์จอดอยู่ ๘-๑๐ ลำ   กับเรือจ้างก็มีเหมือนกัน  แต่เป็นของแขกทั้งสิ้น  มีลูกค้าขายของเรือเร่ทั้งของกินและของเล่นต่างๆ

คงไม่ใช่ครั้งหนุมาณมาจองเป็นแน่

ปัจจุบันนี้เราเรียกว่าเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) โดยการนำหินแกรนิตก้อนใหญ่ๆ ที่ได้จากการระเบิดภูเขาไปถมทิ้งลงในทะเลให้เป็นแนวเขื่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลสูงสุด สำหรับป้องกันคลื่นลูกใหญ่จากทะเลเปิด

ในภาพด้านซ้ายมือจะเห็นแนวเขื่อนกันคลื่นยื่นออกไปในทะเล แต่ถ้าเป็นช่วงพายุจากทะเลพัดเข้าฝั่ง นายคร้ามจะกล้าไปเดินเล่นบนเขื่อนไหม?



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 16:00
ที่อีกแห่งหนึ่ง  เป็นถนนยื่นออกมากลางทะเลหน่อยหนึ่ง   ที่เรียกว่าแต่ครั้งจองถนนนั้น    แต่ทุกวันนี้อังกฤษทำกระโจมไฟไว้ที่นั่น  สำหรับเรือลูกค้าเป็นที่สังเกต    แล้วปราบศิลานั้นเรียบร้อยน่าเดินเล่น
และในท้องที่เป็นวงอ่าวนั้นมีเรือเมล์จอดอยู่ ๘-๑๐ ลำ   กับเรือจ้างก็มีเหมือนกัน  แต่เป็นของแขกทั้งสิ้น  มีลูกค้าขายของเรือเร่ทั้งของกินและของเล่นต่างๆ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 16:18
ท่าเรือโคลัมโบ (http://en.wikipedia.org/wiki/Colombo_Harbour) ปีที่นายคร้ามมาถึง (พ.ศ. ๒๔๒๗)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 20:26
ที่กาลัมบู มีวัดพระเขี้ยวแก้ว  ระยะนั้นตรงกับเทศกาลตรุษไทย   นายคร้ามอยากไปจะนมัสการ  จึงตกลงเดินทางไปกับคนไทยคนอื่นๆ
ต้องนั่งรถไฟไป 1 วันตั้งแต่เช้าจนยามกว่า กว่าจะถึง
คนไทยที่ตกลงไปด้วยกันมี 16 คน  ก็เลยลงชื่อให้อ่านกัน
1    นายตาด                  2   จางวางทองดี              3  ครูยิ้ม            4  ครูเปีย          5      นายชุ่ม
6    นายสิน                    7   นายสาย                   8   นายนวล        9  นายเนตร       10     นายต่อม
11  นายช่าง                  12  นายคร้าม                  13  นายแปลก  (พระยาประสานดุริยศัพท์  เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 )
14  นายเหม                   15 นายเมจี                    16  เพื่อนนายเมจี

วงเล็บหลังชื่อนายแปลก  เข้าใจว่าผู้เรียบเรียงหนังสือขยายความให้เข้าใจกัน      ถ้าหากว่าใครมีหนังสือประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์  ก็อาจจะตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เผื่อจะได้ข้อมูลว่าท่านไปอังกฤษในปีนี้ ไปทำอะไรบ้าง

ส่วนนายเมจี  ฟังชื่อเหมือนไม่ใช่ไทย   ผู้เรียบเรียงหนังสือเข้าใจว่าหมายถึงเมเยอร์   คือเจ้าเมืองหรืออธิบดี   สมัยนี้น่าจะหมายถึง mayor หรือนายกเทศมนตรี
อ่านมาถึงตอนนี้   นายเมจีเป็นใครไม่ทราบ   เพิ่งมีบทบาทตอนนายคร้ามเอ่ยขึ้นมาว่าอยากจะไปนมัสการพระเขี้ยวแก้ว   นายตาดก็บอกว่าจะไปถามเมจี
นายคร้ามท่านใช้คำว่า
"ขออำนาจของนาย(เมจี)ไปด้วยจึงจะเป็นสุข  เพราะเห็นอยู่ว่าแขกพวกนี้ติดจะหยุกหยิกมาก     แล้วจงอธิบายทางใกล้ไกลให้ทราบด้วย   อีกทั้งค่ารถไฟจะราคาเท่าไร"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 20:36
13  นายแปลก  (พระยาประสานดุริยศัพท์  เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 )

วงเล็บหลังชื่อนายแปลก  เข้าใจว่าผู้เรียบเรียงหนังสือขยายความให้เข้าใจกัน      ถ้าหากว่าใครมีหนังสือประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์  ก็อาจจะตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เผื่อจะได้ข้อมูลว่าท่านไปอังกฤษในปีนี้ ไปทำอะไรบ้าง

คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C_(%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C)) เล่าว่า

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษ ผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา

เอ ไปคนละงานกับนายคร้ามหรืออย่างไร

 ???



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 20:49
นักดนตรีพวกนี้น่าจะไปแสดงหลายงานค่ะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 20:52
วัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว ตั้งอยู่เมืองแคนดี้ อยู่ใจกลางเกาะลังกา อยู่บนภูเขา ดังนั้นการเดินทางด้วยรถไฟจึงเป็นการที่สะดวกที่สุดแล้วในสมัยนั้น จึงได้นำรูปเส้นทางรถไฟสายขบวนดังกล่าวมาให้ชมกัน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 11, 20:55
วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ส.ค. 11, 22:14
ร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษ

ยังติดใจชื่อ เมืองอวิมปลีย์ ที่คุณวิกกี้เอ่ยถึง  ในเน็ตก็มีเอ่ยถึงในทำนองเดียวกันเยอะไปหมด (http://www.google.co.th/search?hl=th&biw=1600&bih=689&q=%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&oq=%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C&aq=f&aqi=&aql=&gs_sm=s&gs_upl=123566l125859l0l126818l1l1l0l0l0l0l268l268l2-1l1l0) 

แต่สุดท้ายก็ไม่ทราบว่า เมืองอวิมปลีย์นี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่ากระไร อยู่แถวไหนของอังกฤษ และมีความสำคัญอย่างไร

มีท่านผู้ใดพอให้ความกระจ่างได้บ้างหนอ

 ;D





กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 12 ส.ค. 11, 10:59
เคยได้ยินแต่เขต Wembley ทางตอนเหนือของลอนดอนครับ
คำนี้เป็นคำอังกฤษแท้ จะเห็นได้ว่ามีหลายเขตที่ลงท้ายด้วน -ley
ภาษาไทยน่าจะ quote ผิด หรือพิมพ์เกิน ต้องถามนักเรียนไทย
ภาคพื้นอังกฤษสมัยหลังสงครามโลก คงมีท่านที่ทราบบ้างครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 12:18
เจอย่างคุณ hobo ว่า มีแต่ Wembly  แต่ที่นั่นไม่เคยได้ยินว่ามีพิพิธภัณฑ์  มีแต่สนามกีฬาหรือสเตเดี้ยม

ก็เลยไปหารายชื่อพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษมาลงไว้  เผื่อคุณเพ็ญชมพูจะหาเจอ


รายชื่อพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ A-Z
 (http://www.britainexpress.com/Where_to_go_in_Britain/Museums/Museums_outside_London.htm)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 13:19
ต้นตอของเรื่องนี้อาจจะมาจากบทความ Queen Victoria and Classical Thai Music  (http://www.oknation.net/blog/SIAM1932/2008/06/30/entry-1) ของคุณอยุทธ์ สยามไชยา ในหนังสือe-Lang  No.8 February 2007

ชื่อพิพิธภัณฑ์ในบทความนี้เป็นอีกชื่อหนึ่ง

Maestro Plaeg once traveled to England to participate in the celebration of the centenary of the Rimbly Museum.

แต่หา Rimbly Museum โดยอินทรเนตรไม่พบ

 ???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 12 ส.ค. 11, 13:57
อย่างนี้น่าจะเป็น Ripley's museum หรือเปล่าครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 14:28
ยี่ห้อ Ripley (http://en.wikipedia.org/wiki/Ripley's_Believe_It_or_Not!) ยังอายุไม่ครบร้อยปีเลย

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 12 ส.ค. 11, 15:35
ต้นตอของเรื่องนี้อาจจะมาจากบทความ Queen Victoria and Classical Thai Music  (http://www.oknation.net/blog/SIAM1932/2008/06/30/entry-1) ของคุณอยุทธ์ สยามไชยา ในหนังสือe-Lang  No.8 February 2007

ชื่อพิพิธภัณฑ์ในบทความนี้เป็นอีกชื่อหนึ่ง

Maestro Plaeg once traveled to England to participate in the celebration of the centenary of the Rimbly Museum.

แต่หา Rimbly Museum โดยอินทรเนตรไม่พบ

 ???


ค้นหาใน Oxford English Dictionary  ก็ยังไม่พบคำว่า Rimbly  เลยครับ

 :-\

 :'(


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 12 ส.ค. 11, 18:21
"... ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม  การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย .."

ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

www.thaiclassic.net


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ส.ค. 11, 20:49
ภาพถ่ายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จวังบูรพา) กับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

เหตุการณ์นี้สมเด็จวังบูรพา ได้รวมนักดนตรีในราชการ และนอกราชการ ซึ่งสมเด็จวังบูรพาทรงขึ้นชื่อในเรื่องการแสวงหานักดนตรีฝีมือเก่ง ๆ มาชุบเลี้ยงในวังบูรพา


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 21:00
ยังหาชื่อพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จนแล้วจนรอดว่า "อวิมปลีย์"  สะกดยังไง   หรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เลิกไปเสียนานแล้วก็ไม่รู้ซีคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยนายคร้ามกันคนละไม้คนละมือ

นายคร้ามเล่าต่อว่า รถไฟในลังกาที่แล่นตามเส้นทางไปสู่วัดพระเขี้ยวแก้ว แล่นเร็วมาก  เร็วกว่านกบิน จนดูสองข้างทางไม่ทัน  เห็นแต่ว่าผลไม้ที่ปลูกกันมีมะพร้าว  ริมทางบางแห่งก็มืด บางแห่งสว่าง บางแห่งแคบ บางแห่งกว้าง  บางทีก็แล่นไปกลางภูเขา  บางแห่งมีคลองมีสะพาน  บางแห่งสองข้างทางก็เป็นศิลาแลง
ดูจากคำบรรยาย  รถไฟลังกาเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน เห็นจะเจริญก้าวหน้าและมีมากกว่ารถไฟสยามในตอนนั้น  อังกฤษคงจะมาวางเส้นทางคมนาคมเอาไว้ดี

รถไฟหยุดตามสถานีต่างๆ ทำให้นายคร้ามพอมีโอกาสเห็นบ้านช่องบ้าง   บอกว่าถ้าเป็นบ้านคนรวยก็ถือปูน  ถ้าเป็นคนจนก็ทำด้วยดิน
อย่างหลังนี้เห็นทีจะคล้ายๆอินเดีย   ของไทยเราไม่ต้องใช้ดิน เพราะไม้มีอยู่มากมาย




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 21:07
ทางรถไฟ ตัดเข้าไปในป่า  คงเหมือนทางรถไฟสายเหนือของเราสมัยสมาชิกเรือนไทยทุกคนยังไม่เกิด   นายคร้ามบอกว่าหลังสถานีเป็นป่าเป็นเขา  ได้ยินเสียงนกป่าร้องกันเซ็งแซ่    
คนไทยสมัยนายคร้ามคงใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าสมัยนี้หลายร้อยเท่า  ท่านจึงจำเสียงนกมาฝากคุณเพ็ญชมพูได้ 2 ชนิดคือ เสียงนกโพระดก และระวังไพร  แสดงว่านกสองอย่างนี้มีอยู่ชุกชุมในกรุงเทพสมัยนั้น
นอกจากนี้ยังมีเสียงจักจั่นลองไน เซ็งแซ่     ปกติในเมืองไทย ใครอยู่ต่างจังหวัดมักได้ยินเสียงแมลงพวกนี้ตอนค่ำๆ  แต่ในสมัยป่ายังครองเนื้อที่มากกว่าเมือง   คงจะร้องกันได้ไม่เลือกเวลา
นึกภาพตามไปว่ารถไฟวิ่งเข้าไปในป่ามืดครึ้ม   มีสถานีเป็นระยะ  ตลาดและร้านชำคั่นอยู่เล็กน้อย    ก็นึกวังเวงไปด้วยตามคำบรรยายของนายคร้าม

รถไฟผ่านทุ่งนา  นายคร้ามบันทึกว่าเป็นนาข้าวสาลี  ริมนาปลูกกล้วย    ท่านคงสายตาดีมาก  มองออกว่ากล้วยที่ออกลูกนั้นเหมือนกล้วยจังนวน
ไม่เคยได้ยินชื่อกล้วยจังนวน  แต่ผู้เรียบเรียงหนังสือบอกว่าเป็นกล้วยน้ำว้าชนิดหนึ่งมีไส้สีแดง       สงสัยว่ากล้วยชนิดนี้ยังปลูกอยู่ในบ้านเราหรือเปล่า  ทุกวันนี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 21:18
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23585;image)

นายคร้ามคงเคยมายืนดูวัดในยุคที่เป็นอย่างในรูปนี้     จึงบรรยายไว้ว่าเป็นที่วิเวกสงัดเยือกเย็น  มีอุโบสถ กุฏิและศาลาสองสามหลัง  มีพระอยู่สิบกว่ารูป   
มีพระพุทธรูปศิลาขาวอยู่ 2 องค์  หน้าตักสองศอกองค์หนึ่ง   ศอกคืบองค์หนึ่ง   และพระสำริดหน้าตักกำมาหนึ่ง

คำว่า "กำมาหนึ่ง" ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร  แต่ไม่ได้ค้นกูเกิ้ล  ทิ้งการบ้านไว้ให้สมาชิกกระทู้นี้ทำ เพราะรู้ว่าตอบได้
ท่านผู้เรียบเรียงบอกไว้ในวงเล็บว่า ศอกตูม คือศอกที่กำนิ้วมือ      แต่ในหนังสือไม่ยักมีคำว่าศอกตูม  เลยต้องถูตะเกียงอีกทีว่ามันคืออะไรกันแน่
ในวัดนี้  นายคร้ามบอกว่า "พระธาตุมีบ้าง พระธรรมมีเล็กน้อย  พระเจดีย์แก้วองค์หนึ่ง  โตสามกำเศษ สูงศอกเศษ"
พระสงฆ์เป็นชาวลังกา ครองผ้าอย่างพระธรรมยุตติ์   ท่านออกมาต้อนรับพาชมวัด  และให้ลูกศิษย์ไปปีนเก็บมะพร้าวมาเลี้ยง   การเจรจากันนั้นพูดกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
จางวางทองดีอาราธนาศีล ท่านก็สวดมนตร์ให้ศีล 5  พรมน้ำมนต์
ชื่อวัดที่นายคร้ามจดลงไว้คือ วัดอาบินนะวา   ส่วนชื่อหมู่บ้านชื่อบ้านคาเม

นายคร้ามไม่เห็นพูดถึงพระเขี้ยวแก้ว ว่าอยู่ที่ไหนในวัด


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 21:31
มีพระพุทธรูปศิลาขาวอยู่ 2 องค์  หน้าตักสองศอกองค์หนึ่ง   ศอกคืบองค์หนึ่ง   และพระสำริดหน้าตักกำมาหนึ่ง

นายคร้ามบอกว่า "พระธาตุมีบ้าง พระธรรมมีเล็กน้อย  พระเจดีย์แก้วองค์หนึ่ง  โตสามกำเศษ สูงศอกเศษ"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 11, 21:33
ต้นหมากรากไม้ต่างๆของลังกาเหมือนในสยาม   เมื่อผ่านบ้านก็มองเห็นว่าระหว่างบ้านนั้นปลูกผลไม้  คงเป็นบ้านเรือนปนสวนอย่างในภาพเก่าของกรุงเทพสมัยรัชกาลที่ ๕    บ้านชาวบ้านมีวัวมีเกวียนไว้ใช้สอยตามอัตภาพ   ส่วนคนจนก็อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ ปลูกพอซุกหัวนอน
นายคร้ามเห็นว่า "ถ้าเทียบกับคนขัดสนในสยามแล้ว   ก็ไม่แย่เหมือนในประเทศนั้นเป็นแน่"
ประโยคนี้ตีความว่าคนจนของลังกา เห็นทีสภาพที่อยู่อาศัยจะย่ำแย่กว่าในคนจนในสยาม

จากนั้น เดินทางออกจากลังกามาอีก ๗ วัน จึงมาถึงเกาะใหญ่อีกแห่งหนึ่ง   เกาะนี้คำบรรยายราวกับอยู่ในนิยายกลาสีซินแบด คือฝรั่งบนเรือเล่าว่า เป็นเกาะน้ำตื้น   พวกชาวเกาะเป็นแขกดำดุร้าย มักทำอันตรายชาวเรือที่ผ่านไปอยู่เนืองๆ
เรือลำไหนพลัดเข้าไปติดน้ำตื้น ก็ถูกชาวเกาะจับฆ่าบ้าง ขับไล่บ้าง   พวกนี้ไม่มีบ้านช่อง แต่อยู่ในรู    เห็นจะเป็นโพรงดินละมัง?
ชื่อเกาะไม่คุ้นหูเลยค่ะ  ชื่อเกาะสโฟร์

จากเกาะสโฟร์  ผ่านเกาะมนุษย์กินคนอีกเกาะ ชื่อเกาะกาดิบ  เคยจับฝรั่งกินมาก่อนหน้านี้แล้ว จนอังกฤษเคยมารบที่เกาะนี้   พวกนี้ไม่นุ่งผ้า นุ่งแต่ใบไม้
เรือไม่ได้แวะ  แต่ผ่านไปแค่มองเห็นไกลๆ เป็นเกาะใหญ่โต มองเห็นเหมือนเมฆลอยอยู่ติดขอบฟ้า


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 12 ส.ค. 11, 21:58
"กำมา" ในอักขราภิธานศรับท์ อธิบายไว้ว่า กำมือเข้า แล้ววัดลงมาถึงข้อศอก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ส.ค. 11, 07:29
กำมา  ใน นิทานชาวไร่ ของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี บอกว่า "พระองค์เล็ก (หน้าตัก) ๑ กำมา (ราว ๒๒ นิ้วฟุต), พระองค์ใหญ่ (หน้าตัก) ๑ ศอกคืบ (ราว ๒๘ นิ้วฟุต)"

ความหมายคือการบอกขนาดของพระพุทธรูป มักจะบอกด้วยความกว้างของหน้าตักองค์พระ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ส.ค. 11, 08:55

จากนั้น เดินทางออกจากลังกามาอีก ๗ วัน จึงมาถึงเกาะใหญ่อีกแห่งหนึ่ง   เกาะนี้คำบรรยายราวกับอยู่ในนิยายกลาสีซินแบด คือฝรั่งบนเรือเล่าว่า เป็นเกาะน้ำตื้น   พวกชาวเกาะเป็นแขกดำดุร้าย มักทำอันตรายชาวเรือที่ผ่านไปอยู่เนืองๆ
เรือลำไหนพลัดเข้าไปติดน้ำตื้น ก็ถูกชาวเกาะจับฆ่าบ้าง ขับไล่บ้าง   พวกนี้ไม่มีบ้านช่อง แต่อยู่ในรู    เห็นจะเป็นโพรงดินละมัง?
ชื่อเกาะไม่คุ้นหูเลยค่ะ  ชื่อเกาะสโฟร์

จากเกาะสโฟร์  ผ่านเกาะมนุษย์กินคนอีกเกาะ ชื่อเกาะกาดิบ  เคยจับฝรั่งกินมาก่อนหน้านี้แล้ว จนอังกฤษเคยมารบที่เกาะนี้   พวกนี้ไม่นุ่งผ้า นุ่งแต่ใบไม้
เรือไม่ได้แวะ  แต่ผ่านไปแค่มองเห็นไกลๆ เป็นเกาะใหญ่โต มองเห็นเหมือนเมฆลอยอยู่ติดขอบฟ้า


เปรียบเทียบกับเส้นทางการเดินทางในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ เกาะสโฟร์ น่าจะหมายถึงหมู่เกาะ ๔ เกาะ ใน Arabian Sea ปากทางเข้า Gulf of Aden ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่ที่โจรสลัดโซมาเลียทำการปล้นเรือสินค้าอยู่ตอนนี้



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ส.ค. 11, 09:25
ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) บรรยายไว้ว่า

"วันที่ ๒๙ เมษายน ร.ศ ๑๑๖ เวลาย่ำรุ่งถึงเกาะในหมู่เกาะโสโขตรา (Sokotra or Socotra) อยู่ทางขวามือ เกาะหมู่นี้มีอยู่ ๔ เกาะด้วยกันตั้งเรียงทางตะวันออกตะวันตก แต่เกาะใหญ่ที่เรียกว่าโสโซตรานั้นอยู่ฝ่ายตะวันออกทีเดียวแต่เยื้องขึ้นเหนือหน่อยหนึ่ง เกาะทั้งสี่คือ เกาะโสโขตรา ๑ เกาเเยเซรัดซาแฮะ ๑ เกาะดาสี ๑ เกาะอัปด์เอลคูรี ๑ ... เกาะเหล่านี้อังกฤษเป็นเจ้าของได้ไว้แต่รัตนโกสินทรศก ๑๐๔ มอบให้ขึ้นอยู่ในเมืองเอเดน ..."

"เกาะเยเซรัดซำแฮะหรือมักเรียกกันโดยย่อว่าเกาะซำแฮะ ยาว ๖ ไมล์กึ่งและกว้าง ๓ ไมล์ มีภูเขาข้างทิศใต้สูงราว ๒,๔๔๐ ฟิต ..."  น่าจะหมายถึงเกาะ Samhah

"และอีกเกาะหนึ่งเรียกว่าเกาะดาสี (Dorzi) ... เกาะซำแฮะกับเกาะดาสีคู่นี้ บางทีเรียกว่าเกาะพี่น้อง ... เกาะสองเกาะแลดูแต่ไกลๆ เป็นรูปคล้ายปลาตีน" เกาะกาดิบที่นายคร้ามกล่าวถึง คงจะหมายถึงเกาะดาสีนี่กระมัง?

"อีกเกาะหนึ่งที่เรียกว่าเกาะอัปด์เอลคูรี (Abd-Al-Kuri) ... เขาว่ายาวถึง ๒๐ ไมล์ กว้าง ๔ ไมล์ ยาวไปทางตะวันออกตะวันตก แลดูไกลๆ ดูเหมือนเป็นสองเกาะ เพราะตรงกลางคอดยอด ... ข้างตะวันตกของเกาะเป็นเกาะเล็กๆ หลายเกาะ ..."





กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 10:11
คุณลุงไก่ตามแกะรอยได้กระชั้นชิด   ;D

นายคร้ามเล่าว่า เรือแล่นผ่านเกาะกาดิบได้ ๒๐ นาทีก็เข้าเขตเมืองเอเด็น
เมืองนี้เรือผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้แวะ  แล่นไปอีก ๙ วัน ๙ คืน ก็เข้าเขตทะเลแดง     ผ่านช่องแคบอีกแห่งหนึ่ง  ที่ท่านเรียกว่า "ปากช่อง"
ผู้เรียบเรียงวงเล็บไว้ว่า (คือช่องแคบแบบเอลแมนแคป  ตามจดหมายเหตุหม่อมราโชทัย)
คงจะมีท่านผู้รู้อธิบายได้ว่าเอลแมนแคปคืออะไร

เรือผ่านช่องแคบไปในเวลากลางคืนสามทุ่มเศษ   นายคร้ามอธิบายว่าช่องแคบดูน่ากลัวมาก    เพราะเขายืดลงมาในน้ำบ้าง  สองข้าง ข้างหนึ่งมีไหล่เขา   เขานั้นใหญ่ยาวติดเนื่องกันไป
มีทางอ้อมคือถ้าเลี้ยวซ้าย ก็อีก ๓ เดือนกว่าจะถึงลอนดอน

จากนั้นก็ถึงทะเลแดง สิบสามวันถึงคลองสุเอซ  นายคร้ามบรรยายเขาสองข้างคลองสุเอซว่าสวยมาก    ซ้ายมือคือเมืองอียิปต์  ขวามือคือเมืองอาหรับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 11, 10:20
ภาพวาดคลองสุเอซ ปีค.ศ. 1881


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 11, 10:24
การก่อสร้างคลองสุเอซเริ่มเมื่อวันที่ 25 เม.ย.1859 โดยได้ขุดตามเส้นทางผ่านทะเลสาบทิมซา และทะเลสาบบิตเตอร์ด้วย ทำให้เหลือระยะทางที่ต้องขุด
ไม่ถึง 40 ไมล์บนพื้นที่ๆ เป็นทะเลทรายเกือบทั้งหมด ซาอิดเป็นผู้หาแรงงาน 6 หมื่นคน มาจากชาวไร่ชาวนาในอียิปต์
ซึ่งมาโดยไม่เต็มใจนัก กล่าวกันว่าคนงานไม่ได้รับเครื่องมือสำหรับขุดคลองบางคนต้องขุดด้วยมือเปล่าๆ และไม่มีการจัดที่พักให้คนงาน ทำให้มีคนงาน
อียิปต์ต้องตายถึง 2 หมื่น 5 พันคน และเปิดใช้เมื่อ 15 ส.ค.1869


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 10:30
แผนที่บริเวณคลองสุเอซ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 10:41
บริเวณทางเข้าคลองสุเอซ ที่ Port Said ปีที่นายคร้ามเดินทางกลับสยาม พ.ศ. ๒๔๒๘


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ส.ค. 11, 11:31
คุณลุงไก่ตามแกะรอยได้กระชั้นชิด   ;D

นายคร้ามเล่าว่า เรือแล่นผ่านเกาะกาดิบได้ ๒๐ นาทีก็เข้าเขตเมืองเอเด็น
เมืองนี้เรือผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้แวะ  แล่นไปอีก ๙ วัน ๙ คืน ก็เข้าเขตทะเลแดง     ผ่านช่องแคบอีกแห่งหนึ่ง  ที่ท่านเรียกว่า "ปากช่อง"
ผู้เรียบเรียงวงเล็บไว้ว่า (คือช่องแคบแบบเอลแมนแคป  ตามจดหมายเหตุหม่อมราโชทัย)
คงจะมีท่านผู้รู้อธิบายได้ว่าเอลแมนแคปคืออะไร

เรือผ่านช่องแคบไปในเวลากลางคืนสามทุ่มเศษ   นายคร้ามอธิบายว่าช่องแคบดูน่ากลัวมาก    เพราะเขายืดลงมาในน้ำบ้าง  สองข้าง ข้างหนึ่งมีไหล่เขา   เขานั้นใหญ่ยาวติดเนื่องกันไป
มีทางอ้อมคือถ้าเลี้ยวซ้าย ก็อีก ๓ เดือนกว่าจะถึงลอนดอน

จากนั้นก็ถึงทะเลแดง สิบสามวันถึงคลองสุเอซ  นายคร้ามบรรยายเขาสองข้างคลองสุเอซว่าสวยมาก    ซ้ายมือคือเมืองอียิปต์  ขวามือคือเมืองอาหรับ


ปากช่อง (ช่องแคบแบบเอลแมนแคป  ตามจดหมายเหตุหม่อมราโชทัย) อธิบายได้ตามนี้

พากษ์ภาษาอังกฤษ - http://en.wikipedia.org/wiki/Bab-el-Mandeb

พากษ์ภาษาไทย - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%9A

จากภาพบน - เส้นทางเดินเรือจากอ่าวเอเดนผ่านช่องแคบบับเอลมันเดบเข้าทะเลแดง

ภาพล่าง - แผนที่ช่องแคบบับเอลมันเดบเมื่อปี 1932





กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ส.ค. 11, 13:29
ร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษ

ยังติดใจชื่อ เมืองอวิมปลีย์ ที่คุณวิกกี้เอ่ยถึง  แต่สุดท้ายก็ไม่ทราบว่า เมืองอวิมปลีย์นี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่ากระไร อยู่แถวไหนของอังกฤษ และมีความสำคัญอย่างไร

มีท่านผู้ใดพอให้ความกระจ่างได้บ้างหนอ

 ;D


ในด้านฝีมือการบรรเลงดนตรีนั้น พระยาประสานดุริยศัพท์ โด่งดังมากในเรื่องระนาดเอก ได้เคยไปแสดงฝีมือถึงประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ในงานมหกรรมฉลองครบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์แห่งเมืองเวมบลี่ย์ ครั้งนั้นรัฐบาลอังกฤษได้เชิญประเทศต่างๆให้ส่งดนตรีของตนไปบรรเลงฉลองในงาน ประเทศไทยก็ได้ส่งนักดนตรีไปร่วมบรรเลงด้วย สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นแม่กองหานักดนตรีชั้นเยี่ยมจริงๆมิได้ทรงเลือกแต่เฉพาะพวกพิณพาทย์หลวง ดังนั้นครูแปลกจึงได้รับคัดเลือกไปด้วยในฐานะผู้มีฝีมือในการเป่าปี่และขลุ่ยอย่างหาตัวจับได้ยาก ฝีมือการเดี่ยวปี่และขลุ่ยของครูแปลกเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียมากถึงกับให้ท่านไปเดี่ยวขลุ่ยถวายให้พระองค์ท่านเป็นการพิเศษที่พระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้งหนึ่ง ทรงยกย่องชมเชยฝีมือครูแปลกมากขณะนั้นครูแปลกเพิ่งมีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น

ที่มา - สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ประวัตินักระนาดเอกที่มีชื่อเสียง

ในเวปนี้บอกว่า เมืองเวมบลี่ย์ ใกล้เคียงที่สุดก็น่าจะเป็นเมือง Wembley
แต่หาประวัติ museum ที่เมืองนี้ไม่ได้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 20:39
หา Wembley Museum ไม่เจอเหมือนกันค่ะ

คุณSiamese ตามประกบติดนายคร้ามทุกระยะ    ;D
นายคร้ามชมคลองสุเอซว่างาม น่าเพลิดเพลินใจ   บางแห่งน่าพายเรือเล่น ดูน่านัดกันเหมือนคนไทยนัดกันเล่นเกาะและสระ  ถึงเรือล่มก็ไม่อันตรายเพราะน้ำตื้น
ท่านก็เลยคิดถึงเมืองไทย ว่าถ้ามีคลองแบบนี้ พอถึงเทศกาล สัปบุรุษคงนิมนต์พระมาเลี้ยงและถวายเพล   

คลองสุเอซทันสมัยกว่าสยามเพราะมีท่อไฟฝังตลอด  เหมือนกรุงเทพมีไฟแกส    มีเรือแล่นสำรวจในคลองว่าตรงไหนตื้นก็ต้องคอยขุด มิฉะนั้นทรายจะไหลลงมาถมจนตื้น   ส่วนทะเลทรายมีน้ำขังอยู่บางส่วนเหมือนนาเกลือ

นายคร้ามบันทึกต่อไปว่า ปากคลองที่ผ่านเข้ามาเรียกว่าสุเอซ   ส่วนปากคลองอีกด้านที่เรือแล่นออกไป เรียกว่า ปอตเสด  ฟากหนึ่งเป็นเมือง อีกฟากเป็นท่าเรือ

เมื่อพ้นคลองสุเอซ ก็เข้าเขตประเทศเสปญ   จากนั้นก็ผ่านลิสบอนของโปรตุเกส  เห็นเป็นเมืองมีเขาล้อม  ตั้งชัยภูมิบนยอดเขาและติดเคียงกัน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 20:45
นายคร้ามบ่นไว้นิดหน่อย ระหว่างเรือแล่นพ้นเกาะกาดิบมาจนถึงคลองสุเอซ ว่า ไม่มีความสุข  ที่เห็นแต่น้ำกับฟ้า   เห็นเกาะเมื่อไรก็ค่อยยังชั่ว    เมื่อออกจากปากคลองปอตเสด ผ่านเสปญ และโปรตุเกสก็เจอแต่พายุพัด และคลื่นใหญ่ๆ   ไม่มีกะจิตกะใจจะจดจำวันเดือนในตอนนั้น
นายคร้ามน่าจะเป็นชาวเมืองหลวง ที่ไม่ชินกับทะเลกว้าง     เห็นทางน้ำก็แต่คลองและแม่น้ำ ซึ่งไม่เวิ้งว้างน่าใจหายอย่างทะเล     จึงไม่ค่อยมีความสุขที่รอนแรมมานานนับเดือนในทะเล   ยิ่งเจอพายุเข้าด้วยก็คงจะใจคอไม่ดีหนักขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม  แต่พอพ้นเขตนี้แล้ว   สถานการณ์คงจะดีขึ้น    นายคร้ามก็เริ่มจดจำวันเดือนปี  นับวันนับเดือนกันใหม่


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 11, 21:14
อยู่ในเรือวันสองวัน คงยังสนุกอยู่ แต่นี่เดินทางเป็นเดือน ๆ เห็นน้ำ ฟ้า เมฆ คงเบื่อเอาการอยู่ แต่ไม่ยักพูดถึงเรื่องเมาคลื่น หรือ อยากอาหารอะไรเลย คาดว่านายคร้าม ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นพอสมควรเลยทีเดียว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 21:40
เมื่อพ้นคลองสุเอซ ก็เข้าเขตประเทศเสปญ จากนั้นก็ผ่านลิสบอนของโปรตุเกส  เห็นเป็นเมืองมีเขาล้อม  ตั้งชัยภูมิบนยอดเขาและติดเคียงกัน

(http://www.topnews.in/files/Mediterranean_sea.jpg)

กว่าจะถึง สเปน (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/02/K7542311/K7542311.html) ต้องผ่านอีกตั้งหลายประเทศ

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 11, 22:04
นายคร้ามคงนึกไปถึงการเดินทางที่ผ่านไปยัง "ช่องแคบยิบรอลตาร์" ที่จะออกไปยังอังกฤษมากกว่า จึงทำให้ระบุไปยังสเปน เลย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 22:15
อ้างถึง
กว่าจะถึง สเปน ต้องผ่านอีกตั้งหลายประเทศ
เชิญนายคร้ามมายืนยัน

" เมื่อออกจากปอตเสตเวลาย่ำค่ำ   จะมาโดยสองวันสองคืน  เมื่อเช้าเวลาตีสิบจึงเห็นกระโจมไฟเป็นเขตแดนของเมืองเสปญ"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 11, 22:21
ขอแหย่ ๆ ภาพระนาดเอก ที่นายคร้ามเคยเล่น  ;) ;) ;) ;) ;) ;)

เมื่อ อ.เทาชมพูเล่าถึงการแสดงของคณะดนตรีจากสยามนี้ จะนำเครื่องดนตรีไทย เผยโฉมให้ชม รวมทั้งซอสามสายที่แสดงต่อหน้าพระพักตร์ควีนวิคตอเรีย และค่อยนำสู่ภาพนายคร้ามต่อไป

จากภาพระนาดเอก

๑. ระนาดรางนี้สวยมากครับ ฝังมุกอย่างงดงาม เดินคิ้ว (น่าจะเป็นงาช้าง) ตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ตราเกี่ยวเนื่องใน ร.๕

๒. ผืน เป็นไม้ไผ่อย่างดี

๓. ใช้ไม้นวมตีเสียด้วย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 11, 22:25
อยากเห็นภาพนายคร้ามค่ะ
และอยากรู้ประวัติต่อไปด้วยว่า นามสกุลอะไร   หลังจากกลับจากอังกฤษแล้วท่านได้บรรดาศักดิ์หรือไม่   


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 13 ส.ค. 11, 22:32
รอชมเครื่องดนตรีที่แสดงต่อหน้าพระพักตร์ควีนวิคตอเรียค่ะ  ;D
อยากเห็นภาพถ่าย ที่ไม่ใช่ภาพวาดค่ะ...


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ส.ค. 11, 07:09
" เมื่อออกจากปอตเสตเวลาย่ำค่ำ   จะมาโดยสองวันสองคืน  เมื่อเช้าเวลาตีสิบ จึงเห็นกระโจมไฟเป็นเขตแดนของเมืองเสปญ"

๑. ได้ความกระจ่างว่าจาก Port Said ถึงเขนแดนสเปนใช้เวลา ๒ วัน ๒ คืน

๒. แต่กลับมาสงสัยต่อว่า "เวลาตีสิบ" หมายถึงเวลาอะไร

ในภาษาใต้ ถ้าเป็น "ตีสิบ" ของคุณวิทวัส ตอนกลางคืน ก็เท่ากับ "สี่ทุ่ม"  ถ้าตอนเช้า "ตีสิบ" ก็เท่ากับ "สิบโมงเช้า"

นายคร้ามใช้ภาษาใต้บอกเวลาฉะนั้นฤๅ  

???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ส.ค. 11, 14:56
ข้อมูลการเดินทางออกจากสยามของนายคร้ามและคุณหลวงไม่ตรงกัน

นายคร้ามว่าไว้อย่างนี้

นายคร้ามน่าจะเป็นคนมีการศึกษาดี เขียนอ่านได้คล่อง และมีนิสัยแปลกกว่าคนไทยร่วมสมัย คือชอบจดชอบจำ    จึงเขียนจดหมายเหตุ บันทึกไว้ละเอียดลออ ให้เราได้อ่านกันในวันนี้
ท่านบอกไว้ว่า ออกเดินทางจากสยามตั้งแต่วันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก ฉกศก  จ.ศ. ๑๒๔๖

นักดนตรี ๑๙ คนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว ออกไปรับราชการดนตรี ตั้งแต่วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที


คุณหลวงค้นมาเป็นอย่างนี้

เรือฮีกิวบา  สัญชาติอังกฤษ  เป็นเรือกลไฟ  ขนาด ๕๙๐ ตัน
กัปตันเรือชื่อ นายไวต์  เดินทางมาจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๑๘๘๕
เข้ามาถึงบางกอก  เมื่อวันพุธ  เดือนสี่  ขึ้น ๑๒ ค่ำ  ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖
เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที  (๐๙.๓๐ น.)
เดินทางออกจากบางกอกไปยังสิงคโปร์ เมื่อวันเสาร์  เดือนสี่  ขึ้น  ๑๕ ค่ำ
ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖  เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที

จะเชื่อใครดีหนอ

 ;D




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 11, 16:49
คงจะต้องขอแรงให้ตรวจสอบกันเอง

ตีสิบ คงหมายถึงสิบโมงเช้า   ทุกวันนี้เรายังใช้คำว่า ตีสาม ตีสี่ ตีห้า แต่พอถัดไปแทนที่จะเป็นตีหกก็กลายเป็นหกโมงเช้า เจ็ดโมง แปดโมง ตามลำดับ

เรื่องพิพิธภัณฑ์ที่เมืองวิมบลีย์   ดิฉันเจอแต่สเตเดียมหรือสนามกีฬา ไม่เจอมิวเซียม   ขอสันนิษฐานไว้ 3 ทาง
๑  พิพิธภัณฑ์ในเมืองนั้นเคยมีในสมัยนายคร้ามไปอังกฤษ  แต่ล้มเลิกกิจการไปหลังจากนั้น  นานหลายสิบปีแล้ว   จึงไม่มีหลักฐานให้ค้นได้ในกูเกิ้ล 
๒  บันทึกผิด   เช่น เป็นพิพิธภัณฑ์ในเมืองอื่น ไม่ใช่เวมบลีย์  หรือไปแสดงที่ไหนสักแห่งในเวมบลีย์แต่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์
๓  บันทึกไม่ผิด  แต่มาถึงตอนตีพิมพ์ เกิดพิมพ์ผิดขึ้นมา
 
ช่วงนี้มีงานด่วนเข้ามา  กระทู้คงไปได้ช้า ต้องขออภัยด้วยค่ะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ส.ค. 11, 21:39
ข้อมูลจากหนังสือ  "จดหมายเหตุดนตรี ๕ รัชกาล"  (http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=2681)

(http://multiply.com/mu/balladdrums/image/11/photos/18/500x500/30/5reign.jpg?et=IowvWDygjgP%2CPVllXTPkAw&nmid=331433838)

มีการบรรยายสรรพคุณของหนังสือเล่มนี้ว่า "มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ค้นคว้า เรียบเรียง ตรวจสอบอย่างพิถีพิถัน โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ.พูนพิศ อมาตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีวิทยา และประวัติศาสตร์ดนตรี และคณะ ประกอบไปด้วย นายอานันท์ นาคคง นายอัษฎาวุธ สาคริก ทายาทของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และ นายเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ นักวิชาการดนตรี จากมหาวิทยาลัยมหิดล"

มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คณะของนายคร้ามเดินทางไปอังกฤษดังนี้

๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ คณะพิณพาทย์สยามเดินทางถึงลอนดอนโดยมีนักดนตรีไทยทั้งหมด ๑๙ คน เดินทางออกจากประเทศสยามเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘  ไปถึงประเทศอังกฤษและได้เข้าเฝ้ากรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ ราชทูตไทยที่ลอนดอน เพื่อเข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าและดนตรีในครั้งนั้น  และต่อมาคณะพิณพาทย์สยามได้ถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๒๘ และจากนั้นเดินทางกลับถึงพระนคร วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๒๘

วันที่เดินทางออกจากสยามไม่ใกล้เคียงกับข้างบนเลย  แต่ชื่องานที่เข้าร่วมใกล้เคียงกับ International  Inventions  Exhibition เข้ามาหน่อย

 ;D



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ส.ค. 11, 22:41
เข้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ฉบับวันเสาร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 ได้ใจความว่า นักดนตรีไทยไปร่วมงานที่ Royal Albert Hall งาน INTERNATIONAL INVENTIONS EXHIBITION 1885 แน่นอนครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ส.ค. 11, 22:56
เหอะ ... เหอะ ...





กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 11, 14:00

คนไทยที่ตกลงไปด้วยกันมี 16 คน  ก็เลยลงชื่อให้อ่านกัน
1    นายตาด                  2   จางวางทองดี              3  ครูยิ้ม            4  ครูเปีย          5      นายชุ่ม
6    นายสิน                    7   นายสาย                   8   นายนวล        9  นายเนตร       10     นายต่อม
11  นายช่าง                  12  นายคร้าม                  13  นายแปลก     14  นายเหม        15 นายเมจี                  
16  เพื่อนนายเมจี


ในแหล่งข่าวหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ระบุว่า  "นายทองดี" หรือ "จางวางทองดี" เป็นคนควบคุมวงในการแสดงดนตรี


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 11, 14:53
เห็นชาวเรือนไทยมารอรับนายคร้ามกันสลอนที่ลอนดอน  หอบระนาด พิณพาทย์ลาดตระโพนมารออยู่แล้ว   ก็จะรีบเร่งเรือให้เดินทางเร็วๆ
ขอรวบรัดว่า เรือนายคร้ามผ่านแหลมฟินนิสเตอร์   เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา
ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ

นายเมเยอร์( น่าจะเป็นคนเดียวกับนายเมจีละมัง) มาแจ้งข่าวว่าเอกอัครราชทูตไทย กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (พระยศทรงกรมในขณะนั้น) ทรงแจ้งมาว่าให้ขึ้นฝั่งที่ปอร์ตแลนด์แล้วเดินทางบก ขึ้นรถไฟต่อไปยังลอนดอน    ซึ่งถึงเร็วกว่าจะเดินทางเรือ  ถ้าไปทางเรือก็อีก ๓ วันกว่าจะถึง
ไม่ต้องสงสัยว่านักดนตรี ๑๙ คนที่รอนแรมเห็นน้ำกับฟ้ามาเป็นเดือนจะดีใจขนาดไหน  รีบเก็บข้าวของลงหีบ  อยากขึ้นบกพ้นเรือเสียรู้แล้วรู้รอด


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ส.ค. 11, 15:03

คนไทยที่ตกลงไปด้วยกันมี 16 คน  ก็เลยลงชื่อให้อ่านกัน
1    นายตาด                  2   จางวางทองดี              3  ครูยิ้ม            4  ครูเปีย          5      นายชุ่ม
6    นายสิน                    7   นายสาย                   8   นายนวล        9  นายเนตร       10     นายต่อม
11  นายช่าง                  12  นายคร้าม                  13  นายแปลก     14  นายเหม        15 นายเมจี                  
16  เพื่อนนายเมจี


ในแหล่งข่าวหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ระบุว่า  "นายทองดี" หรือ "จางวางทองดี" เป็นคนควบคุมวงในการแสดงดนตรี

ลองสืบหาตัวนักดนตรีไทยชุดนี้ ก็พอจะหาได้บ้าง

จางวางทองดี - ทองดี ชูสัตย์ ( ประมาณ ๒๓๘๕ - ประมาณ ๒๔๗๐) เป็นครูใหญ่ของสำนักบ้านพิณพาทย์วัดกัลยา มีลูกศิษย์ อาทิ จางวางทั่ว พาทยโกศล
หลวงประสานดุริยางค์(สุทธิ์ ศรีชยา) ฯลฯ ในปี ๒๔๖๗ กรมมหรสพหลวงทำพิธีไหว้ครูครั้งใหญ่ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าให้ครูทองดี ชูสัตย์ เป็นผู้บอกเพลงหน้าพาทย์สูงสุดแก่นักดนตรี ๖ คนด้วยกัน
ได้แก่ พระยาเสนาะดุริยางค์ พระเพลงไพเราะ หลวงบำรุงจิตรเจริญ หลวงสร้อยสำเนียงสนธิ์ หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร และนาย มนตรี ตราโมท
ภาพ - ครูทองดี ชูสัตย์


นายสิน - ครูสิน สินธุสาคร (พ.ศ.2375-2457) นักระนาดเอกคนที่ 3

ครูสิน สินธุสาคร เป็นนักดนตรีสำนักบ้านขมิ้นเรียนดนตรีจากบ้านตัวเองซึ่งเป็นตระกูลดนตรีและ โขนละครกันมานาน แต่จะได้เรียนจากครูอื่นเพิ่มเติมบ้างหรือไม่ไม่อาจทราบได้พอเข้าวัยหนุ่ม ต้องเป็นไพร่สมประจำการที่วังบ้านหม้อของกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ได้ทำหน้าที่เป็นคนระนาดมานานและเป็นครูสอนนักร้องนักดนตรีในวังนี้มาจนถึง พ.ศ. 2448 จึงให้นายเถา (ขุนสมาน เสียงประจักษ์) บุตรชายมาทำหน้าที่แทน ส่วนตัวเองกลับไปผักผ่อนที่บ้าน

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2450 ได้ไปเป็นครูควบคุมวงปี่พาทย์ประจำวังของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่นางเลิ้งตลอดมา จนถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2457 รวมอายุได้ 82 ปี ขณะที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีในวังของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯนั้น ครูสินได้นำวงดนตรีออกประชันกับวงอื่นๆอยู่เสมอเช่น วงวังบูรพาภิรมย์ วงวังบางขุนพรหม (ยุคนักดนตรีตระกูลนิลวงศ์) วงของกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม วงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) ท่านได้แต่งเพลงไว้หลายเพลง แต่เมื่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯเลิกทรงปี่พาทย์ นักดนตรีจึงกระจัดกระจายกันไป เพลงของท่านจึงกระจัดกระจายเสื่อมสูญไปด้วย




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 11, 15:06
นายเมเยอร์ เห็นทีจะเป็นชื่อมากกว่าตำแหน่ง  อ่านบทบาทในหนังสือแล้วทำตัวคล้ายๆพี่เลี้ยงของนักดนตรีไทย   มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน ตลอดจนพาไปโน่นมานี่ตามประสงค์    
ตอนนักดนตรีขึ้นจากเรือเดินทางไปลอนดอน   เขาก็เป็นคนพาจากเรือไปส่งที่สถานี   ผ่านด่านตรวจภาษีหรือต.ม. ก็กระซิบบอกว่าเขาเข้มงวดแต่บุหรี่  ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องเสียภาษี
ผ่านด่านไปได้ ไปแวะโฺฮเต็ล แกก็ซื้อขนมให้คนไทยกินกันจนอิ่มหนำสำราญ   เหมือนเลี้ยงเด็กไม่มีผิด    เสร็จแล้วก็พาไปส่งสถานีรถไฟ  เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตไทย

ถึงสถานเอกอัครราชทูต วันพฤหัสบดีขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา สัปตศก(พ.ศ. ๒๔๒๘)
นายคร้ามเล่าว่ามีเจ้านายเสด็จมาเยี่ยมสองพระองค์ คือพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์โส และพระองค์สวัสดิ์
พระองค์โสที่นายคร้ามเรียกสั้นๆ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา  เลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ   ส่วนพระองค์สวัสดิ์คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
มีหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์กับนักเรียนไทยอีกหลายคน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 11, 15:21
เห็นชาวเรือนไทยมารอรับนายคร้ามกันสลอนที่ลอนดอน  หอบระนาด พิณพาทย์ลาดตระโพนมารออยู่แล้ว   ก็จะรีบเร่งเรือให้เดินทางเร็วๆ
ขอรวบรัดว่า เรือนายคร้ามผ่านแหลมฟินนิสเตอร์   เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา
ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ

นายเมเยอร์( น่าจะเป็นคนเดียวกับนายเมจีละมัง) มาแจ้งข่าวว่าเอกอัครราชทูตไทย กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (พระยศทรงกรมในขณะนั้น) ทรงแจ้งมาว่าให้ขึ้นฝั่งที่ปอร์ตแลนด์แล้วเดินทางบก ขึ้นรถไฟต่อไปยังลอนดอน    ซึ่งถึงเร็วกว่าจะเดินทางเรือ  ถ้าไปทางเรือก็อีก ๓ วันกว่าจะถึง
ไม่ต้องสงสัยว่านักดนตรี ๑๙ คนที่รอนแรมเห็นน้ำกับฟ้ามาเป็นเดือนจะดีใจขนาดไหน  รีบเก็บข้าวของลงหีบ  อยากขึ้นบกพ้นเรือเสียรู้แล้วรู้รอด

เรือเทียบท่าที่ Portland อยู่ท้ายเกาะอังกฤษ ครับผม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ส.ค. 11, 16:02
เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ


ป้อมบนยอดเขา น่าจะหมายถึงป้อมที่เมือง Plymount ก่อนจะถึงท่าเรือที่เมือง Portland


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 11, 20:21
Plymouth citadel  ป้อมนี้หรือเปล่าที่นายคร้ามบรรยายไว้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 11, 22:21
นายคร้ามไม่ได้บรรยายหน้าตาสถานเอกอัครราชทูตไทยว่าเป็นอย่างไร    แต่เล่าเกี่ยวกับงานเท่านั้น เรื่องแรกคือต้องตัดเสื้อผ้าใหม่   กรมหมื่นนเรศวร์ทรงเรียกช่างมาวัดตัวตัดเสื้อ    นายคร้ามแจกแจงไว้ละเอียดลออว่า

" ได้รับพระราชทานเสื้อเชิ้ตขาวกาว  เชิ้ตสักหลาดอ่อนสามตัว  เสื้อยืดสามตัว  กางเกงยืดสามตัว  อีฟนิ่งสำรับหนึ่ง  มอร์นิ่งสำรับหนึ่ง  เสื้อในยูนิฟอร์มหนึ่ง  กางเกงขาสั้นสำรับหนึ่ง  แต่ยูนิฟอร์มนั้นสำหรับทำดนตรี  โอเวอร์โค้ตหนึ่ง  ถุงเท้าเจ็ดคู่  รองเท้าสามคู่"

นอกจากนี้ยังได้รับเงินเดือนด้วย คือเดือนละปอนด์ครึ่ง  เฉลี่ยเป็นวัน วันละหนึ่งชิลลิง    ความเป็นอยู่ก็โอ่อ่าดี คือมีบ๋อยประจำห้องพัก ๓ คน  ทำหน้าที่ปูที่นอน จัดโต๊ะ และแปรงรองเท้าให้นักดนตรี ๑๙ คน    ถ้าอยากไปไหนก็มีคนไทยที่พูดอังกฤษได้พาเที่ยว  แยกกันไปเป็นกลุ่มละ ๓-๔ คน

นายคร้ามเริ่มเล่าถึงกรุงลอนดอนว่าเป็นเมืองใหญ่ สถานทูตทั้งหลายอยู่ในเมืองเหมือนกรุงเทพ      ห้างร้านก็มีมากมาย แต่ว่าแต่ละร้านขายสินค้าอย่างเดียว ไม่ปนกันอย่างร้านคนไทย
นายคร้ามหมายความว่า  ร้านไหนขายรองเท้าก็ขายรองเท้าอย่างเดียว   ร้านไหนขายผลไม้ก็ผลไม้ ร้านไหนรับตัดเสื้อก็มีแต่เสื้อ     คงจะเป็นร้านเล็กๆในละแวกของสถานทูตที่นายคร้ามเดินเที่ยว

ต่อไป นายคร้ามก็ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์มาดามตูโซ   ไกด์กิตติมศักดิ์คือพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต  กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา  มีเพื่อนนักดนตรีไปด้วยอีกคนคือนายสิน    ค่าผ่านประตูคนละ ๑ ชิลลิง  
เจ้านายทรงออกค่าผ่านประตูให้     นับเป็นโชคดีของนายคร้าม  ไม่งั้นเบี้ยเลี้ยงวันนั้นคงหมดไปเลย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 11, 22:27
Madame Tussaud's  wax museum


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 11, 23:26
อ้างถึงประวัติของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของมาดามทูสโซเป็นชาวฝรั่งเศส เดิมก่อตั้งไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตรงนี้

1835: With her sons, Madame Tussaud establishes a base in London at ‘The Baker Street Bazaar.’
1846: Punch Magazine coins the name Chamber Of Horrors for Madame Tussaud’s ‘Separate Room’, where gruesome relics of the French Revolution are displayed.
1850: Madame Tussaud dies.
1884: Marie’s grandsons move the attraction to its current site on Marylebone Road

ดังนั้นนายคร้ามไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น ซึ่งอยู่ยืนมาถึงทุกวันนี้

www.madametussauds.com/London/About/History/200YearsofFame/BakerStreet/Default.aspx



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 07:59
นายคร้ามไม่ได้บรรยายหน้าตาสถานเอกอัครราชทูตไทยว่าเป็นอย่างไร    แต่เล่าเกี่ยวกับงานเท่านั้น เรื่องแรกคือต้องตัดเสื้อผ้าใหม่   กรมหมื่นนเรศวร์ทรงเรียกช่างมาวัดตัวตัดเสื้อ    นายคร้ามแจกแจงไว้ละเอียดลออว่า

" ได้รับพระราชทานเสื้อเชิ้ตขาวกาว  เชิ้ตสักหลาดอ่อนสามตัว  เสื้อยืดสามตัว  กางเกงยืดสามตัว  อีฟนิ่งสำรับหนึ่ง  มอร์นิ่งสำรับหนึ่ง  เสื้อในยูนิฟอร์มหนึ่ง  กางเกงขาสั้นสำรับหนึ่ง  แต่ยูนิฟอร์มนั้นสำหรับทำดนตรี  โอเวอร์โค้ตหนึ่ง  ถุงเท้าเจ็ดคู่  รองเท้าสามคู่"

นอกจากนี้ยังได้รับเงินเดือนด้วย คือเดือนละปอนด์ครึ่ง  เฉลี่ยเป็นวัน วันละหนึ่งชิลลิง    ความเป็นอยู่ก็โอ่อ่าดี คือมีบ๋อยประจำห้องพัก ๓ คน  ทำหน้าที่ปูที่นอน จัดโต๊ะ และแปรงรองเท้าให้นักดนตรี ๑๙ คน    ถ้าอยากไปไหนก็มีคนไทยที่พูดอังกฤษได้พาเที่ยว  แยกกันไปเป็นกลุ่มละ ๓-๔ คน

ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ (http://books.google.com/books/about/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8.html?id=mw9wAAAAMAAJ) ว่า

(http://bks5.books.google.com/books?id=mw9wAAAAMAAJ&printsec=frontcover&img=1&zoom=1)

"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 08:20
มีภาพภายในสถานทูตสยามในเวลานั้นให้ชม

ภาพจากหนังสือพิมพ์  ‘Illustrated London’ ฉบับวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ต้นราชสกุล กฤดากร ณ อยุธยา) นำตราสุพรรณบัตรพระราชทาน และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สถาปนาหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ที่สถานทูตสยามในลอนดอน  (พ.ศ. ๒๔๒๖)



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 10:59
เห็นการแต่งกายของคนไทยในภาพข้างบนนี้ ก็พอจะนึกออกว่านักดนตรี ๑๙ คนแต่งตัวแบบไหนเมื่อลงเรือ   และทำไมตอนขึ้นไปเที่ยวบนฝั่ง ชาวเมืองถึงออกมาดูกันเป็นทิวแถว
พวกนั้นคงไม่เคยเห็นเสื้อราชปะแตนกับโจงกระเบน
เมื่อมาถึงลอนดอน เจ้านายถึงประทานเสื้อผ้าใหม่ให้ทั้งหมด    ไม่งั้นออกไปไหนมาไหน คงเป็นตัวประหลาด   เด็กเล็กคงวิ่งตามดูกันเกรียว

นายคร้ามดูๆก็ตื่นตาตื่นใจกับพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งพอสมควร    พยายามหาว่าท่านเรียกหุ่นขี้ผึ้งว่าอะไร  ก็พบแต่ว่าเรียกว่า "รูป" ทุกคำ  ไม่มีคำขยาย
เช่นคำว่า รูปพระเจ้าแผ่นดิน  รูปนายทหาร
คำว่า "รูป" ในสมัยรัชกาลที่ ๕ คงไม่ได้หมายถึงรูปอย่างในปัจจุบัน    เดี๋ยวนี้พอเอ่ยถึงรูป เราเข้าใจว่าหมายถึง picture  แต่สมัยโน้น รูปน่าจะหมายถึงรูปร่างของคำที่นำมาประกอบ   อย่างคำว่า รูปปั้น รูปถ่าย  รูปวาด     
นายคร้ามจะทราบหรือไม่ว่าเป็นขี้ผึ้ง   ก็ไม่รู้เหมือนกัน     แต่ท่านเรียก "รูป" เฉยๆ

นายคร้ามเข้าไปชมห้องดังของพิพิธภัณฑ์ด้วย คือห้อง Chamber of Horrors      ท่านเล่าว่ามีเครื่องมือประหารชีวิตหลายอย่าง   อย่างหนึ่งในนั้นคงจะเป็นกีโยตีน
ถ้าอยากดูรูปในกูเกิ้ล ก็มีให้ดูมากมายค่ะ

 รูปในห้องสยองขวัญในพิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซด์ (http://www.google.co.th/search?q=chamber+of+horrors+madame+tussauds&hl=th&client=firefox-a&hs=cYD&rls=org.mozilla:en-US:official&prmd=ivns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=JzxLTv6lIqzTiALl5Yly&ved=0CC8QsAQ&biw=1353&bih=528)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 11, 12:43
หนังสือพิมพ์เก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่มหนึ่ง  ออกในปี ร,ศ, ๑๐๓
ลงข้อความข่าวว่า

                      ราชทูตสยาม

@ ในประเทศอิงแลนด         ขยายไปอยู่ในตึกใหม่
เลขนำเบอ  ๒๓  ณะ  ตำบลมีชื่อว่า  แอชเบอนเปลซะ  ที่
นี้จัดแจงเรียบร้อยสำหรับราชทูตแลพวกของท่านด้วย
เครื่องประดับต่างๆ นั้นแมเยอรเสนห  คนหนึ่งสำหรับ
พวกราชทูตนั้น  ได้จัดเครื่องประดับโคมระย้านั้น
เรียบงาม  แลคนทั้งปวงชมสรรเสริญปัญาท่านผู้จัด
การนั้นด้วย                                                    ฯฯ




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 13:59
แอชเบอนเปลซะ = Ashburn Place


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 13:59
      ราชทูตสยาม

@ ในประเทศอิงแลนด         ขยายไปอยู่ในตึกใหม่
เลขนำเบอ  ๒๓  ณะ  ตำบลมีชื่อว่า  แอชเบอนเปลซะ   
 ที่
นี้จัดแจงเรียบร้อยสำหรับราชทูตแลพวกของท่านด้วย
เครื่องประดับต่างๆ นั้นแมเยอรเสนห  คนหนึ่งสำหรับ
พวกราชทูตนั้น  ได้จัดเครื่องประดับโคมระย้านั้น
เรียบงาม  แลคนทั้งปวงชมสรรเสริญปัญาท่านผู้จัด
การนั้นด้วย                                                    ฯฯ

สถานอัครราชทูตสยาม เลขที่ ๒๓ ถนนแอชเบิร์นเพลส ลอนดอน เอส ดับบลิว ๗ (ปัจจุบันถูกรื้อ สร้างใหม่เป็นโรงแรมไปแล้ว)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 14:10
สำหรับสภาพภายในของตึกเลขที่ ๒๓ แอชเบิร์นเพลสนี้ ยิ่งไม่มีอะไรโดดเด่นขึ้นไปอีก ไม่เหมือนกับคฤหาสน์หรูหราของสถานทูตของประเทศสาธารณรัฐใหม่ ๆ ในปัจจุบัน แต่ออกจะดูซอมซ่อ และทึม ๆ ทำให้ดูราวกับว่า เป็นสถานกงสุลของประเทศเล็ก ๆ ที่สมมติขึ้นในนวนิยายที่เรียกกันว่า ประเทศรูริเทเนีย  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงใช้เวลาประทับอยู่ที่นั่นหลายปี และได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน The Twain Have Met ว่า

“ตึกนี้มีอยู่หลายชั้นและมีห้องนอนจำนวนมากมาย แต่ไม่มีลิฟต์ ตรงบานประตูแต่ละห้องนอนมีตัวอักษรในภาษาอังกฤษติดกำกับไว้ และเพียงแต่เดินผ่านห้องโถงใหญ่ ซึ่งมีกระจกสีประดับอยู่ ก็จะรู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งแล้ว”

ที่ดูสง่างามกว่าอย่างแน่นอน ได้แก่ ป้ายที่มีรูปพระยาครุฑไทยประดับอยู่เหนือทางเข้า มีถ้อยคำว่า “สถานอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรสยาม” ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจารึกลงไว้ ทั้งในส่วนบนและส่วนล่างของสัญลักษณ์ที่มีลักษณะรูปไข่ ตราครุฑนี้เป็นที่ยกย่องเชิดชูและเคารพนับถือสำหรับคนไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้แต่ทุกวันนี้

จากหนังสือ ถิ่นที่แห่งชีวิต   (http://www.postbooksonline.com/media/pdf_files/post_book_145.pdf) บันทึกความทรงจำของชาวสยามในประเทศอังกฤษระหว่างสงครามและในยุโรปกับสยามประเทศภายหลังสงคราม โดย สภา ปาลเสถียร แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 14:11
เห็นจะต้องป่าวร้องขอแรงให้ช่วยแกะรอยสถานที่ใหม่ในลอนดอนอีกแล้ว

วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗   กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ทรงให้ฝรั่งชื่อมิส(เตอร์)ลอปตัท  พานายคร้ามไปดู "แกลเลอรี่"  หรือท่านเรียกว่า "แควเรียม"
แกลเลอรี่ที่ท่านบรรยาย  เป็นโรงใหญ่โตกว่าโรงละครในกรุงเทพ   มีการเต้นรำและงานรับรองต่างๆ  นอกจากนั้นก็ยังมีการแสดงและการละเล่น  เช่นรำและร้องเป็นคู่ๆ สีซอ  และรำพัด
การแสดงที่นายคร้ามเล่า ฟังคล้ายการแสดงห้อยโหนในละครสัตว์ หรือไม่ก็คล้ายการแสดงสยามนิรมิตในบ้านเรา   เล่าว่ามีคนโหนชิงช้าซึ่งแขวนไว้สูงมาก   คนหนึ่งห้อยศีรษะลงมา อีกคนก็คาบเอากลางตัว   คนแรกก็ปล่อยมือและเท้าจากชิงช้า โค้งตัวให้กลม  คนที่คาบก็หมุนอีกคนเหมือนกังหัน  ลงมาร้องเพลงต่างๆ  มีพิณพาทย์ฝรั่งรับ
พิณพาทย์ฝรั่งที่ว่ามีแตรสั้นสองอันทั้งเล็กและใหญ่  กลองเล็กหนึ่งใหญ่หนึ่ง และซอสิบสองคัน

รายการแสดงอีกอย่างคือมีผู้หญิงเดินมาบนร่างแห  ร้องและรำ จากนั้นรอกก็ชักให้สูงขึ้น   เธอก็โดดลงมาบนร่างแห ได้จังหวะกับกลองตีตูมใหญ่รับเข้าพอดี
ยังนึกไม่ออกว่าโรงมหรสพ "แกลเลอรี่" หรือ "แควเรียม" ที่ว่านี้คืออะไรตรงไหน ในลอนดอน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 14:42

วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗   กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ทรงให้ฝรั่งชื่อมิส(เตอร์)ลอปตัท  พานายคร้ามไปดู "แกลเลอรี่"  หรือท่านเรียกว่า "แควเรียม"
แกลเลอรี่ที่ท่านบรรยาย  เป็นโรงใหญ่โตกว่าโรงละครในกรุงเทพ    มีการเต้นรำและงานรับรองต่างๆ  นอกจากนั้นก็ยังมีการแสดงและการละเล่น  เช่นรำและ


แล้วกรุงสยาม สมัย พ.ศ. ๒๔๒๘ มีโรงละครในกรุงเทพฯ ทำให้นึกถึงโรงละครของพระยามหินทร ฯ กับโรงละครปรีดาลัย

และเมื่อในสายตาของนักดนตรีที่สัมผัสกับการไปร่วมงานตีระนาด ตามงานต่าง ๆ ในโรงละคร ในโรงพิธีไหว้ครู ก็ย่อมตื่นเต้นไม่น้อยทีเดียว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 14:51
The Royal Aquarium, and Imperial Theatre, Westminster, London


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 14:58
The Royal Aquarium, and Imperial Theatre ก่อตั้งเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1876 ถนน Tothill ในเขตเวสมินสเตอร์ (อยู่แถว ๆ วิหารเวสมินสเตอร์ และรัฐสภาอังกฤษ - หอนาฬิกาบิกเบน)

สิ่งหนึ่งซึ่งตื่นเต้นกันมากคือ การแสดงด้วยคนลงไปในปืนใหญ่ แล้วยิงออกมาพร้อมคน

 Royal Aquarium (ftp://www.arthurlloyd.co.uk/RoyalAquarium.htm)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 15:05
The Royal Aquarium http://www.arthurlloyd.co.uk/RoyalAquarium.htm (ftp://The Royal Aquarium)

ช่วยนำทางให้คุณหนุ่ม

The Royal Aquarium, and Imperial Theatre, Westminster, London (http://www.arthurlloyd.co.uk/RoyalAquarium.htm)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ส.ค. 11, 15:09
ไม่เหลือซากแล้วครับ

After the Royal Aquarium was demolished in 1903, the Imperial Theatre continued to stand on the site until it finally closed in 1907 and was pulled down.

ตอนนี้เป็น
The Methodist Central Hall
http://www.methodist-central-hall.org.uk/


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 17 ส.ค. 11, 15:12
ตามมาเกือบทันช่วงเข้าโค้ง: The Royal Aquarium

New Royal Aquarium and Summer and Winter Garden, Westminster, London, 1876. The Royal Aquarium was an entertainment complex designed by Alfred Bedborough that opened in 1876. The west end of the building housed a theatre. By the 1890s the Royal Aquarium had acquired an unsavoury reputation and declined in popularity. It was demolished in 1903 and Westminster Central Hall now stands on the site.


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 15:12
อีกภาพของ The Royal Aquarium นายคร้ามและคณะคงเดินทางด้วยรถม้า เช่นเดียวกัน

เห็นภาพเมืองลอนดอน เก่า ๆ แล้วนึกถึงเหตุการณ์ JACK THE RIPPER เป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ออกทำฆาตกรรมในย่าน "ไวท์ชาเปล" ซึ่งเป็นถิ่นยากจนใกล้นครลอนดอนในช่วงครึ่งปีหลังของ ค.ศ. 1888  :-X


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 17 ส.ค. 11, 15:18
Westminster Central Hall:

Opened in 1912, the Methodist Central Hall Westminster marked the centenary of John Wesley's death (the founder of Methodism). The design was chosen from 132 entries in an anonymous architectural competition. The design had to be non-Gothic and should not resemble a church. The intention was to create non intimidating but welcoming buildings in which all would feel comfortable. The winning design was submitted by Messrs Lancaster and Rickards of London. No cross is visible on the outer building or any overtly religious symbolism. The building itself is Viennese Baroque in style with Romanesque decoration.
Picture taken early January 2007


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 11, 15:25

วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗   กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ทรงให้ฝรั่งชื่อมิส(เตอร์)ลอปตัท  
พานายคร้ามไปดู "แกลเลอรี่"  หรือท่านเรียกว่า "แควเรียม"


เอ...  มิศเตอร์ลอปตัทคนที่พาคณะนักดนตรีสยามไปดูแกลเลอรี่นี่เป็นใครกันหนอ ???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 11, 15:43
Mr. Loftus เป็นล่ามของสยาม   น่าจะเป็นคนที่ปรากฏชื่ออยู่ในข่าวของนิวยอร์คไทมส์เรื่องนี้

 Events in the Metropolis  (http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf?res=FB0F1EF93A5F15738DDDAC0894DD405B8484F0D3)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 15:56
ขอนำภาพครูจางวางทองดี ชูสัตย์ มาให้ชมครับ

ครูจางวางทองดี เป็นพี่ชายมารดาของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ) มีศักดิ์เป็นปู่ของจางวางทั่ว พาทยโกศล นักดนตรีบ้านฝั่งธน ย่านวัดกัลยาณ์ฯ และนักตรีในวังบางขุนพรหม ของทูลกระหม่อมบริพัตร ฯ

ครูจางวางทองดี มีภรรยาชื่อ นางพวง มีบุตรชื่อ นายย้อย และท่านได้ร่วมไปอังกฤษในครั้งนั้นด้วย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 12:28
มาทำความรู้จัก The Royal Aquarium สักเล็กน้อย

สถานที่แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1876 เป็นการรวมความสนุกสนานของผู้คในปลายยุควิคตอเรียน โครงสร้างหลักก่ออิฐถือปูน โครงหลังคาเป็นโครงเหล็กถัก และกรุกระจก เพื่อเป็นหลังคาโดมแก้ว แบบ Crystal Hall ที่เคยจัดการแสดงสินค้าแห่งชาติมาก่อนหน้า และภายในจัดแสดงปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ปาล์ม ไม้หายาก นำมาปลูกไว้ และพื้นที่ก็จะตกแต่งด้วยรูปปั้นประดับ น้ำพุที่หรูหรา

บริเวณโถงกลางตั้งเวทีสำหรับการแสดงวงออเครสตรา จุที่นั่งผู้ชมได้ 400 ที่นั่งและมีออร์แกนขนาดยักษ์ติดตั้งเป็นเอกลักษณ์ด้วย ส่วนบริเวณพื้นที่ริมผนังอาคาร ได้วางถังน้ำสำหรับจัดแสดงปลาหายากไว้ ซึ่งเป็นปลาทะเล และปลาน้ำจืด มีอ่างเก็บน้ำขนาดยักษ์ใต้ดิน เป็นอ่างน้ำเค็ม 7 บ่อและน้ำจืด 2 บ่อ


ส่วนแกเลอรี่ นั้นก็มีประดับตกแต่งไว้บริเวณชั้นสองของอาคาร เป็นการแสดงภาพวาดจากหลายศิลปิน เป็นศูนย์รวมความบันเทิงที่ถือว่ายิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 13:09
นอกจากนี้แล้วยังเป็นสถานที่ไว้จัดแสดงสิ่งประหลาดหลาย ๆ รายการที่เคยจัดมาคือ

ปี ค.ศ. 1885 (ปีที่นายคร้ามมาเที่ยว) จัดแสดงนกไนติงเกล สองหัว

ปี ค.ศ. 1883 "เครา" เด็กน้อยขนยาวทั้งลำตัวนำมาจากลาว โดยใช้หัวข้อ "The Missing Link" เป็นการผสมข้ามกันระหว่าง มนุษย์ - ลิง  
ปี ค.ศ. 1898 จัดแสดงเด็กชายสามขา จากสเปน

การแสดงโชว์ The Great Farini บุคคลที่เดินบนลวดเส้นเดียวข้ามน้ำตกไนแองเกอร่า ก็มาจัดการแสดงที่นี้



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 13:14
ใครอยากชมปลาวาฬ ก็สามารถมาดูได้ที่ อแควเรียม แห่งนี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 14:05
ถึงวันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๗  นายคร้ามและเพื่อนๆนักดนตรี ก็เริ่มงาน ที่ Albert Hall
เดี๋ยวชาวเรือนไทยคงจะพาผู้อ่านชมอัลเบิร์ตฮอลล์ตามเคยค่ะ

นายคร้ามเล่าว่า ในตอนแรกนั้นทำมโหรีก่อน   คนดูเป็นหนุ่มสาวกันส่วนใหญ่ ที่แก่เฒ่าไม่ค่อยมีเพราะเบียดคนไม่ไหว     พอจบบรรเลงเพลงหนึ่งก็มีเสียงปรบมือเชียร์กัน
นายคร้ามไปเล่นดนตรีที่นี่ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละสามหนบ้าง สี่หนบ้าง      แต่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เดียว  ใครว่าจ้างมาก็ไปบรรเลงที่บ้านเขาให้ฟัง   คนมาว่าจ้างเป็นพวกขุนน้ำขุนนาง  ไม่มีพวกคนยากจน
เงินค่าจ้างก็มี ๒ ราคา คือถ้าเป็นเครื่องเล็กก็ ๑๐๐ บาท  ถ้าเครื่องใหญ่เต็มวงก็ ๒๐๐ บาท

นายคร้ามไม่ได้แจกแจงรายละเอียดว่าเงินค่าจ้างส่วนนี้ ใครได้  นักดนตรีหรือสถานเอกอัครราชทูต(หมายถึงราชการไทย)  แต่เดาว่าน่าจะเป็นราชการไทยได้ไป   เพราะนักดนตรีพวกนี้ไปในฐานะข้าราชการ หรือข้าน้ำคนหลวง  มีเบี้ยเลี้ยงที่รัฐบาลสยามจ่ายให้อยู่แล้ว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 14:14
ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ (http://books.google.com/books/about/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8.html?id=mw9wAAAAMAAJ) ว่า

"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

คณะดนตรีไทยได้เปิดการแสดงที่อัลเบิรต์ ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๒๘ ซึ่งเป็น การเปิดการแสดงด้วยวงมโหรี คณะดนตรีไทยได้บรรเลงอยู่ที่นั่นประมาณ ๓ เดือนสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง และ ในวันว่างก็ได้รับงานไปบรรเลงนอกสถานที่

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 14:24
การมาร่วมแสดงดนตรีในครั้งนี้ รัฐบาลสยาม ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมแสดงดนตรีใน  Royal Albert Hall ซึ่งใช้สำหรับร่วมจัดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument 1885

คือ การจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแบบใหม่ให้กับชีวิตประจำวัน ในส่วนเครื่องดนตรีก็เน้นว่าสิ่งประดิษฐ์ทางด้านคนตรีชิ้นไหนที่ล้ำเลิศ และมีการมอบรางวัลเป็นเหรียญทอง เงิน บรอนซ์ ให้กับการประกวดด้วย

ภาพ Prince of Wales (พระเจ้ายอร์ชที่ 6) กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 14:30
ขยายให้เห็นชัด ๆ

(http://old-print.net/7991897/7991897285.jpg)

The exhibition was opened by the Prince of Wales on 4th May 1885. It closed on 9th November 1885, some 3,760,581 people admitted; the total receipts were 214,403 GBP.

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 14:34
^

ชัด แจ่ม แจ้ง  ;D

มาดูตัวอย่างรายการที่ได้รางวัลกันครับ

เป็นที่หนีบหนังสือพิมพ์ และเป็นราวสำหรับวางหนังสือพิมพ์ ก็เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์นี้ ได้รางวัลด้วยนะครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 14:36
บรรยากาศการจัดแสดงในสวนด้านนอก จัดวางสิ่งประดิษฐ์ และสินค้าต่าง ๆ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ส.ค. 11, 14:38
บริเวณสวน (เห็น Royal Albert Hall) ด้านหลัง มีน้ำพุขนาดใหญ่ ในภาพเป็นการแสดงพลุ ดอกไม้ไฟ ที่แสนสวยงาม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 15:54
... and a larger instrument on the same principle used in the Lao States of Siam is there called Phan.  In nearly all instances it is retained as a solo instrument. The Siamese musicians, whom H.M. the King of Siam very generously sent at his own expense to the London Inventions Exhibition, and who performed there, in the music room and in the Royal Albert Hall, had among them a Phan player, who always played alone.

จาก Musical instruments : historic, rare and unique (http://www.archive.org/stream/cu31924022263861#page/n24/mode/1up) หน้า XVIII

What is a Phan ?

 ???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 16:03
ในนี้บอกว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นกันในภาคอีสาน ( the Lao States of Siam)  แล้วเล่นเดี่ยวเสียด้วย ไม่ได้เข้าวงมโหรี
ดิฉันนึกออกอย่างเดียว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:01
มีภาพเครื่องดนตรีไทยที่นำมาเล่นในงานนี้พร้อมคำบรรยายอยู่ใน หนังสือเล่มข้างบน (http://www.archive.org/stream/cu31924022263861#page/n204/mode/thumb)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:05
อีกชุดหนึ่ง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:11
What is a Phan ?

 ???

มีคำอธิบายเพิ่มเติม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:17
reed instrument called phan   
reed = ต้นอ้อ หรือต้นกก

ถ้าเป็นต้นกก น่าจะทอเป็นเสื่อมากกว่าเครื่องดนตรี   
อ้อ   ขลุ่ยไม้อ้อ  ปี่อ้อ   ???    ???

เป็นเครื่องดนตรีอีสานหรือคะ?


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:19
Phan = แพน = แคน  

ฝรั่งพูดถึงวงลาวแพน

แต่เข้าใจผิดว่าเป็นของทางเหนือ

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 11, 21:35
ลาวแพน  (http://baannapleangthai.com/04/04-09.htm)

เพลงลาวแพนสองชั้นสำเนียงลาว เพลงสำหรับเดี่ยวปี่และจะเข้ นิยมมาแต่โบราณโดยใช้เดี่ยวและบรรเลงออกด้วยเพลงสำเนียงลาวต่าง ๆ เช่น ลาวสมเด็จ ลาวแพนน้อย เป็นต้น ตอนท้ายจบด้วยเพลงซุ้ม เพลงลาวแพนนี้เมื่อนำไปประกอบลีลาท่ารำเรียกฟ้อนลาวแพน เนื่องจากเป็นเพลงที่มีความไพเราะ ท่วงทำนองและจังหวะรุกเร้าสนุกสนาน จึงมีนักดนตรีนำทำนองไปแต่งเป็นทางเดี่ยวหลายทางด้วยกันคือ เดี่ยวทางระนาดเอก หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) แต่งทางหนึ่ง นายสอน วงฆ้อง แต่งทางหนึ่งโดยแต่งตามคำแนะนำของพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) โดยเป็นเพลงเดี่ยวทางระนาดเอกเพลงแรกที่แต่งขึ้น ส่วนเดี่ยวทางฆ้องวงใหญ่ พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) แต่งทางหนึ่ง และจางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งขึ้นอีกทางหนึ่ง ฯลฯ

เพลงนี้สันนิษฐานว่าเดิมคงชื่อ “ ลาวแคน ” หรือเพลงที่เป่าแคนต่อมาจึงเรียกเพี้ยนเป็น “ ลาวแพน ” ในสมัยโบราณมีการฟ้อนรำชนิดหนึ่งเรียกว่า ” รำแพน ” หรือ “ ฟ้อนแพน ” ซึ่งอาจจะมาจากเพลงสำหรับฟ้อนชนิดนี้ก็ได้ แต่เพลงลาวแพนสำหรับเดี่ยวนี้ท่านโบราณาจารย์ได้นำเพลงลาวต่าง ๆ เข้ามาติดต่อเป็นเรื่องด้วยหลายเพลง เช่น ลาวสมเด็จ ลาวแพนน้อย สำหรับเดี่ยวลาวแพน มีลีลาอารมณ์เพลงทั้งอ่อนหวาน เร้าใจและสนุกสนาน เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาบรรเลงเดี่ยวกันมากคือ ขิม จะเข้ และ ระนาด เพลงนี้เป็นการบรรเลงนำโดยขิม เคยมีบริษัทเบียร์ของไทยได้นำเพลงนี้มาใช้ประกอบการภาพยนตร์โฆษนา ในเพลงที่บรรเลงชุดนี้บรรเลงได้พลิ้วหวานมาก พอช่วงจังหวะเร่งเร้าก็บรรเลงเร้าใจมาก เพลงนี้ คุณ สมศักดิ์ เทพานนท์ นำมาใส่เนื้อร้อง ในชื่อเพลง “ บ้านนา ” ขับร้องโดย คุณวินัย จุลละบุษปะ กับ คุณ วรนุช อารีย์

http://www.youtube.com/watch?v=F83bqfXj1rA&feature=related

 ;D



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 08:35
มาอ้างเอกสารต่างประเทศกันต่อ เรื่องนายคร้ามไปแสดงดนตรีที่ The Royal Alber Hall

"On Monday the Court Band of the King of Siam gave their first public performance in ... the music room of the Inventions Exhibition at South Kensington. The Players are 17 in mumber, and the name of their conductor is Nai Tong Dee. Their instruments are of great externial beauty and considerable value. In the centre of the group formed by the band stood their player of the Khong, and instrument which is semicircualr in shape, being .... orangewood inlaid with ivory, ..."

จัดความได้ว่า

ในวันจันทร์ได้มีคณะดนตรีจากพระมหากษัตริย์แห่งสยามได้ทำการแสดงเป็นครั้งแรกที่ห้องดนตรี ในงานแสดงผลงางสิ่งประดิษฐ์ที่เซาท์เคนซิงตัน ประกอบด้วยนักดนตรี ๑๗ ท่าน และมีผู้ควบคุมวงโดย นายทองดี เหล่าเครื่องดนตรีนั้นแสดงถึงความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามและมีราคา ในกลางวงกลุ่มผู้แสดงประกอบด้วย "ฆ้อง" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีครึ่งวงกลม ทำด้วยไม้ออกสีส้มและมีงาช้างผสม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 08:48
การบรรยายความนี้อธิบายเครื่องดนตรีเกือบทุกชิ้น ในหนังสือพิมพ์ แสดงว่า นักข่าวอังกฤษนั้นให้ความสนใจกับเหล่านักดนตรีและเครื่องคนตรีเหล่านี้มาก อาจจะเป็นของเอเซียตะวันออกไกล ซึ่งน้อยคนจะได้เห็น จะได้ฟังเสียง (ทั้งนี้ไม่ใช่มีเพียงสยามเท่านั้น ยังมีเครื่องดนตรี จีน ญี่ปุ่น เข้าร่วมการแสดงด้วย)

การบรรยายตรงนี้อธิบายถึงแพน ที่ทางคณะดนตรีได้จัดเตรียมไป

"ข้อความอ่านไม่ออกควรบรรยายถึง Pipe, of seven bamboo pipes of vary lengths, with a collective mouthpiece in centre of them. The Violins, called ..... "Saw," are very far removed from the rough instruments ordinary found in the East. One in particular has the stick handle of ebony in laid with ivory, the sounding box of craved ...... of exceptional size having been .... keys for tightening the string.."

จัดความได้ว่า

ท่อยาวประกอบกอบด้วยไม้ไผ่ที่มีความยาวต่างกัน ๗ ท่อ และเป่าเข้าที่ตรงกลาง ส่วนไวโอลิน (เครื่องสี) เรียกว่า "ซอ" ซึ่งเป็นเครื่องสีที่สามารถพบได้เห็นได้ทั่วไปในซีกโลกตะวันออก โดยที่คันถือเป็นแท่งยาว และประกอบด้วยงาช้าง ...และบรรยายด้วยว่า การเกิดเสียงต่าง ๆ เกิดได้ด้วยการขึงเส้นเสียงให้ตึง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 09:01
ดังเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีความงดงามมาก โดยชิ้นที่เด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น "ระนาดเอก" จำนวน ๒๑ ลูกอย่างโบราณ ตัวผืนเป็นไม้ไผ่ชั้นดี ส่วนรางก็ฝังมุกตราพระราชสัญลักษณ์ พร้อมฉัตรกระหนาบ ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ล้วนทำด้วยเครื่องงาทั้งสิ้น แต่การวาดนี้คงนำมาลงในหนังสือเพียงชิ้นเด่น ๆ แต่ เครื่องหนัง (กลองทัด ตะโพน) ฉิ่ง แพน ไม่เห็นนำมาลงอธิบายไว้

นำภาพตัวอย่างการจัดวงดนตรีไทย
พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป่าปี่
หลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตรวิสัย) ฆ้องวง
หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร (แตะ กาญจนผลิน) กลองทัต
พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ พิมพวาทิน) ตะโพน และ สองหน้า
พระเพลงไพเราะ (โสม สุดวาทิน) ระนาด
หมื่นขับคำหวาน (เจิม นาคมาลัย) กรับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 11:12
เครื่องแคน ยาว ๆ แบบนี้ที่ได้ร่วมไปเป่าโชว์ด้วย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ส.ค. 11, 11:20
เครื่องแคน ยาว ๆ แบบนี้ที่ได้ร่วมไปเป่าโชว์ด้วย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23761;image)

กองทหารดุริยางค์ เมืองอุบลราชธานี (วงแคน)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 15:47
มาต่อด้วยการรายงานข่าวของชาวอังกฤษกันต่อ

"..and the keys for tightening the strings of ivory encrusted with jewels. Another is covered with enamel work and with gold inlaid on silver. In front of the "Saw" players and flutists were the "Ranat" and "Takhay" player. The "Ranat" is an instrument similar .. in principle to the zither, but with wood .. metal taking the place of glass. There .. three of these "ranats," one having notes of brass, another of steel, and the third of bamboo.

As in the Khong, the varying thickness of wood or metal form the different notes, and the player held in each hand & striker of thin bamboo, tipped with a round hard leather. The "takhay" is in ... violoncello, but a violoncello laid ... back and raised from the ground on four .. has three strings, the note being marked.."

จัดความได้ว่า
เป็นการบรรยายเครื่องสานที่ประดับด้วยอัญมณี ซึ่งหมายถึง "ซอสามสาย" ที่หน้าซอจะประดับอัญมณีไว้ และต่อด้วยการวางตำแหน่งของนักดนตรีที่นั่ง ซึ่งระนาดและจะเฆ่ จะวางด้านหน้าด้วยกัน

จากคำบรรยายทำให้เราเห็นว่า ระนานที่นำไปจัดแสดงนั้นมี ๓ ตัวด้วยกัน ๑.ระนาดเหล็ก  ๒.ระนาดแก้ว  ๓.ระนาด (ผืนไม้ไผ่) และการอธิบายของจะเฆ่ ว่าคล้ายเครื่องดนตรีของเขา มี ๓ สายและมีการเขียนโน๊ตติดกำกับไว้ด้วย"

และกล่าวถึงฆ้องวง ที่ต้องตีด้วยหนัง ซึ่งเห็นว่าฝรั่งนั้นก็ถามซักไซร้ได้เรื่องราวดีมาก ละเอียดยิบ ไม่รู้ว่าครูเพลงท่านใดให้ข้อมูลพวกนี้ ช่างละเอียดดีแท้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 15:53
ระนาดแก้ว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 11, 21:15
นายคร้ามบรรยาย Albert Hall ไว้ละเอียด   เริ่มตั้งแต่มีโรงแถวยาวประมาณ ๒ เส้น   แบ่งเป็นซ้ายขวา    แถวหนึ่งมีทางเดิน ๒ทาง   ริมทั้งสองมีของตั้ง   แถวกลางก็มีของตั้ง   
ขวามือมีเครื่องรถและเครื่องม้า   ข้างซ้ายมีเรือไอเล็กๆ ที่เป็นตัวอย่าง(คงหมายถึงเรือจำลอง?) มีเรือใบบ้าง เรือไฟบ้าง  นายคร้ามเล่าถี่ถ้วนกระทั่งเครื่องชั่งน้ำหนัก ที่ต้องเสียเงินถ้าขึ้นไปชั่ง

ถัดไปน่าจะเป็นอควาเรียม   เพราะบอกว่ามีปลาเป็นๆในกระถางกระจก  มีกุ้งและกั้ง แต่แตกต่างจากกุ้งไทย  ตรงที่กรีสั้น  หนวดสิบหนวด  ก้ามใหญ่สองก้าม เล็กสองก้าม
ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่ากุ้งอะไร 

มีปลาจำนวนมากทั้งใหญ่เล็ก    ตัวที่นายคร้ามคงสะดุดตา เล่าว่าตัวใหญ่ยาวเหมือนปลากระทิง แต่หน้าเหมือนงูเห่า   ในเมืองไทยไม่มี

ชั้นล่าง มีร้านอาหาร มีอาหารทั้งของหวานของคาว 
มีโรงจักรที่ใช้ในโรงแสดง  มีหม้อไอน้ำที่เรียกว่า steam  สำหรับใช้ในโรงทุกๆแห่ง    คนไม่ต้องหนักแรง  ที่ไหนจะใช้สายพานก็ต่อ ที่ชอบใช้ไกก็ต่อเอาได้
ถึงคิวถามคุณหนุ่มสยามว่า หม้อ steam ที่ว่านี้สมัยวิคตอเรียนเขาใช้เป็นเครื่องจักรทำอะไร    ถ้าเป็นเรือก็รู้ละค่ะ  แต่ถ้าใช้ในโรงแสดง(ละคร) เขาเอาไว้ทำอะไร


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ส.ค. 11, 23:51

มีโรงจักรที่ใช้ในโรงแสดง  มีหม้อไอน้ำที่เรียกว่า steam  สำหรับใช้ในโรงทุกๆแห่ง    คนไม่ต้องหนักแรง  ที่ไหนจะใช้สายพานก็ต่อ ที่ชอบใช้ไกก็ต่อเอาได้
ถึงคิวถามคุณหนุ่มสยามว่า หม้อ steam ที่ว่านี้สมัยวิคตอเรียนเขาใช้เป็นเครื่องจักรทำอะไร    ถ้าเป็นเรือก็รู้ละค่ะ  แต่ถ้าใช้ในโรงแสดง(ละคร) เขาเอาไว้ทำอะไร

มีโรงจักรที่ใช้ในโรงแสดง  มีหม้อไอน้ำที่เรียกว่า steam  สำหรับใช้ในโรงทุกๆแห่ง    คนไม่ต้องหนักแรง  ที่ไหนจะใช้สายพานก็ต่อ ที่ชอบใช้ไกก็ต่อเอาได้
ถึงคิวถามคุณหนุ่มสยามว่า หม้อ steam ที่ว่านี้สมัยวิคตอเรียนเขาใช้เป็นเครื่องจักรทำอะไร    ถ้าเป็นเรือก็รู้ละค่ะ  แต่ถ้าใช้ในโรงแสดง(ละคร) เขาเอาไว้ทำอะไร


หม้อ Steam ที่กล่าวถึงนั้น เป็นเครื่องต้มน้ำเพื่อให้เกิดพลังงานการบังคับไปยังเครื่องสูบลม ..... ไว้ทำอะไร ?

คำตอบคือ ที่โถงกลางนั้นได้ทำการติดตั้งเครื่องดนตรีที่เรียกว่า "ออร์แกน" กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกไว้ ประกอบด้วยท่อกว่า ๘๐๐ ท่อเพื่อให้เกิดลม และหม้อ Steam ก็มีด้วยกันอยู่ ๒ ตัว คอยสร้างลมเข้าเครื่องออร์แกนนี้ครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ส.ค. 11, 23:56
The wind-pressure was raised by steam engines in the blowing room below the organ, driving six feeders. The high pressure was provided by two blowing cylinders, 2 feet in diameter, each containing a piston with a travel of 2 feet that provided the vacuum on the upward stroke and the 30-inch wind pressure on the return stroke. The plant worked well, and only one of the three tenderers.


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 11, 14:54
ภาพเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ใน The Royal Albert Hall

ประกอบด้วยกระบอกสูบคู่สูง 5 ฟุต มีไว้สำหรับกำเนิดพลังลม เข้าสู่ออร์แกน มีพลังงาน 12/13 แรงม้า เทียบเท่ากับ 9 กิโลวัตต์ ซึ่งเครื่องจักรไอน้ำสร้างโดย John Penn & Son of Greenwich


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 11, 15:04
ภายในอาคาร


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 11, 14:08
ก่อนหน้างานแสดงสิ่งประดิษฐ์และการแสดงดนครีจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1888 นั้น หนังสือพิมพ์รายใหญ่ฉบับหนึ่งทางซึกโลกอเมริกาได้ลงข่าวเกี่ยวกับงานนิทรรศการดังกล่าวไว้ล่วงหน้าด้วย และระบุถึงการแสดงดนตรีของวงจากพระมหากษัตริย์ชาวสยามอีกด้วย

ดังนั้นทางคนทางอเมริกาก็ได้ข่าวล่วงหน้าแล้วเช่นกัน

"An the International Inventions exhibition at London, Eng., to be held next month, the King of Siam will send a complete native orchestra national instruments. The famous Viennese band of Strauss will also play."


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 11, 15:32
"น้อยคนจะได้รู้จักดนตรีแห่งชนชาติสยาม"

หนังสือพิมพ์ฉบับวันศุกร์ ที่ ๑๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๕ บรรยายเกี่ยวกับคณะดนตรีจากสยาม

เล่นที่ South Kensington โดยคาดว่าจะเปิดการแสดงคนตรีทุกวัน โดยเป็นการแสดงของวงดนตรีแห่งราชสำนักสยาม โดยคณะดนตรีที่แท้จริงของพระมหากษัตริย์ชาวสยามจะบรรเลงด้วยเหล่าสุภาพสตรีเท่านั้นและไม่เคยเล่นนอกพระราชวังมาก่อน

คณะดนตรีที่ร่วมการแสดงนี้เดินทางมาถึงลอนดอนได้เดือนกว่าแล้ว และการแสดงจัดได้สามแบบ คือ ๑.วงมโหรี ๒.วงพิณพาทย์ ๓.เล่นกลองแขก

การแสดงพิณพาทย์นั้นเป็นวงบรรเลงเพลงและเป็นวงสำหรับกองทัพสยาม ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องคนตรี ๑๕ ชิ้นที่ส่วนมากเป็นเครื่องเป่า ส่วน "มโหรี" หมายถึง "เสียงเพลง" ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่เล่นดนตรีด้วยจำนวน ๑๖ คน ที่บรรเลงเครื่องสาย และมีนักร้องประจำวงด้วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อคณะนักแสดงจากสยาม ได้ขึ้นเวที ก็คงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ยิ่งถ้าเหล่านักแสดงเหล่านั้นต่างปรากฎตัวในชุดพื้นเมือง (ฝรั่งคงอยากเห็นการนุ่งโจงกระเบน)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ส.ค. 11, 16:40
นายคร้ามคงเดินสำรวจอัลเบิร์ตฮอลอยู่มากมายหลายครั้ง  ในเวลาที่เล่นดนตรีเสร็จแล้ว หรือไปเที่ยวในวันที่ไม่ได้เล่น   จึงบันทึกเอาไว้ละเอียด อย่างเรื่องของต่างๆที่จัดแสดงอยู่ในนั้นก็น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคนไทย เช่นเครื่องจักร เครื่องรถไฟ ปืนใหญ่ และตอร์ปิโด
นายคร้ามสะกดตอร์ปิโดได้ถูกต้อง   แต่ไม่ได้อธิบายว่าคืออะไร

ท่านบรรยายว่ามีปืนเล็กร้อยอย่างพันอย่าง  แต่ปืนแคตะริ่งนั้นดูแปลกกว่าที่เห็นในกรุงเทพ   ตั้งเป็นลำดับทั้งใหญ่และเล็ก
คุณหนุ่มสยามหรือคุณเพ็ญชมพูมีรูปปืนแคตะริ่งไหมคะ    นายคร้ามไปเห็นปืนแคตะริ่งในกรุงเทพ ที่ไหนหนอ?

นอกจากนี้ก็มีบัลลูนจำลองด้วย  ขนาดเท่าพ้อมเขื่องๆ    นายคร้ามอธิบายว่า มีคนอยู่ในนั้นแล้วปล่อยขึ้นไป   เห็นทีว่าทางกรุงเทพคงไม่มีบัลลูนมาแสดง   คำอธิบายของนายคร้ามจึงฟังเหมือนจดจากคำบอกเล่า    ท่านคงมีไกด์พาชมแน่นอน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 11, 19:35
รูปปืนแคตะริ่งครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ส.ค. 11, 09:01
การบรรยายตอนนี้ นายคร้ามสวมวิญญาณพระยาน้อยชมตลาด  คือเล่าถึงสินค้าต่างๆที่วางขายอยู่ในอัลเบิร์ตฮอล   ที่นี่กว้างขวางมีรถไฟเล็กพาชมบริเวณด้วย
สรรพสินค้ามีทั้งของโชว์และของขาย  กินเนื้อที่สองสามหน้ากระดาษ ลอกมาไม่ไหว     มีเครื่องจักรผลิตของต่างๆ ตั้งแต่ทำแร่ไปจนเครื่องทอผ้า  ทำถัง ทำถาดกาละมัง  มวนบุหรี่  นายคร้ามคงเดินดูด้วยความเพลิดเพลินมากทีเดียว
นายคร้ามเล่าว่าสถานที่นั้นมีอะไรต่อมิอะไรทั้งหมด  ขาด ๓ อย่างที่ไม่มีคือไม้ยืนต้น  สัตว์ใหญ่สี่เท้า และไม้อย่างในเมืองไทย  นอกนั้นมีหมด   รวมทั้งเครื่องไฟฟ้า เช่นต้นไม้มีช่อมีดอกเป็นไฟฟ้า  ใช้เดินถือเล่นตอนกลางคืนก็ได้  แต่ต้องซื้อหีบที่ใส่ด้วยถึงจะถือได้นาน
อ่านแล้วรู้สึกเหมือนเป็นโคมไฟชนิดตั้งประดับโต๊ะ  ไม่ใช่โคมไฟอ่านหนังสือ   หีบนั้นคงจะใส่ถ่านไฟฉายหรืออะไรที่เป็นเครื่องผลิตไฟฟ้าละมัง

นอกจากนี้ยังมีน้ำพุหลากสี   มีไฟประดับอยู่ ให้น้ำพุพุ่งขึ้นมาสว่างหลากสีสัน    แบบนี้คนไทยปัจจุบันเห็นกันมานานจนไม่ตื่นเต้นแล้ว  แต่สำหรับคนไทยเมื่อร้อยปีก่อน คงน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ส.ค. 11, 19:57
นอกจากนี้ยังมีน้ำพุหลากสี   มีไฟประดับอยู่ ให้น้ำพุพุ่งขึ้นมาสว่างหลากสีสัน    แบบนี้คนไทยปัจจุบันเห็นกันมานานจนไม่ตื่นเต้นแล้ว  แต่สำหรับคนไทยเมื่อร้อยปีก่อน คงน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย

นายคร้ามคงบรรยายน้ำพุบริเวณหน้า Royal Albert Hall จุดเด่นของงานนี้ ด้วยความตื่นเต้น

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23551;image)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ส.ค. 11, 20:09
พิธีเปิดอัลเบิร์ตฮอล เมื่อปี 1871


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ส.ค. 11, 20:59
การมาร่วมแสดงดนตรีในครั้งนี้ รัฐบาลสยาม ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมแสดงดนตรีใน  Royal Albert Hall ซึ่งใช้สำหรับร่วมจัดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument 1885

คือ การจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแบบใหม่ให้กับชีวิตประจำวัน ในส่วนเครื่องดนตรีก็เน้นว่าสิ่งประดิษฐ์ทางด้านคนตรีชิ้นไหนที่ล้ำเลิศ และมีการมอบรางวัลเป็นเหรียญทอง เงิน บรอนซ์ ให้กับการประกวดด้วย

ภาพ Prince of Wales (พระเจ้ายอร์ชที่ 6) กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ส.ค. 11, 23:47
บรรยากาศในงานนิทรรศการที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๘ ทางซ้ายมือคือ Royal Albert Hall  (http://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Albert_Hall) (ภาพจาก London Illustrated News)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23549;image)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 11, 09:03
ซุ้มที่จัดแสดงเครื่องกระสุน ปืนใหญ่ และตอร์ปิโด ที่นายคร้ามได้ไปเห็น


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 11, 09:08
ภาพอีกมุมหนึ่งจะเห็นปืนใหญ่ขวามือ และในแถวหลังภาพ เป็นสายพานสำหรับเดินเครื่องจักรไอน้ำ ส่วนภาพหลักเห็นจะวาดภาพซุ้ม มีคนหมุนกงล้อ คล้ายเครื่องปั่นฝ้ายจัดแสดงอยู่


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ส.ค. 11, 21:07
นายคร้าม นอกจากจะสังเกตข้าวของต่างๆแล้ว ยังชอบสังเกตคนอีกด้วย   ถึงกับบันทึกไว้ว่า
"คนเลวอังกฤษอยู่ข้างสันดานหยาบ"
ราคาเข้าชมแตกต่างกันไปไม่เท่ากันในแต่ละวัน   วันพุธกับวันเสาร์ค่าเข้าชมแพงหน่อย คือสองชิลลิงครึ่ง   วันอื่นๆแค่ ๑ ชิลลิง    ด้วยเหตุนี้พวกผู้ดีจึงมากันในวันที่ค่าตั๋วแพง   เพราะจะได้ไม่ต้องปะปนกับคนระดับล่าง   แต่ถึงอย่างนั้นคนก็แน่นอยู่เสมอไม่ว่าวันไหน
นายคร้ามบอกว่าผู้ดีแต่งกายผิดกับไพร่   โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหารก็ไม่เหมือนกัน  โต๊ะผู้ดี จานชามอาหารและบ๋อยดูหน้าตาหมดจด    กิริยาเรียบร้อย    ท่านไม่ได้เล่าว่าโต๊ะอาหารแบบไพร่เป็นอย่างไร  เดาว่าคงเป็นอาหารพื้นๆราคาถูก คนเดินโต๊ะก็คงจะไม่สุภาพเรียบร้อยเท่าบ๋อยของผู้ดี

เรื่องผู้ดีไพร่ในอัลเบิร์ตฮอล มีผลกระทบต่อนักดนตรีไทยเหมือนกัน   เพราะไพร่อังกฤษไม่สำรวมกิริยา   ถ้าคนไทยแต่งกายไม่เรียบร้อยถูกต้อง  หรือทำกิริยาอาการอะไรไม่เหมาะสม  พวกนี้จะส่งเสียงโห่ฮา  (หรือนายคร้ามเรียกว่า "เฮ")   ไม่มีใครห้ามปรามเสียด้วย
ส่วนคนไทย ๑๙ คน เข้าออกได้สะดวกเพราะมีตั๋วซึ่งท่านเรียกว่าติ้กเก้ท และใบอนุญาต    จะขับถ่ายก็สะดวกเพราะมีที่ถ่ายปัสสาวะจัดไว้ให้ทุกประตูเข้าออก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ส.ค. 11, 21:14
นักดนตรีไทย ๑๙ คนนี้ ส่วนมากคงเป็นหนุ่มคะนอง  จึงทำอะไรทะลึ่งอยู่บ้าง   นายคร้ามเล่าอย่างซุกซนตามประสาคนหนุ่มว่าเมื่อถึงเวลาเลิกงาน คนออกกันมาเนืองแน่น  เบียดเสียดกันเป็นธรรมดาเพราะชายหญิงชาวอังกฤษเขาไม่ถือ      ก็เป็นโอกาสที่หนุ่มไทยจะถือโอกาสกับสาวอังกฤษอยู่บ้างนิดๆหน่อยๆ   แอบมองลอดข้อศอกเข้าไปบ้าง  ไหล่บ้าง 
บางทีก็แกล้งเดินชนให้ด้านหน้าชนกันบ้าง   เพื่อจะชนอะไรคงไม่ต้องอธิบาย     บางทีก็คลำกระโปรงสัมผัสข้างในเสื้อดูบ้าง  ทำกันแบบนี้จนสาวอังกฤษรู้ตัว ต้องคอยระวังหนุ่มไทยมือไว

นายคร้ามออกตัวว่าทีแรกก็ไม่คิดจะทำ  แต่เมื่อเพื่อนๆทำหนักเข้า  ก็นึกอยากลองดูบ้าง  แต่ไม่ได้ทำอะไรมากแค่สัมผัสพอให้รู้ว่าอ่อนๆนุ่มๆ    แล้วก็คงจะอาย   จึงตัดบทไปเลยไม่บรรยายมากกว่านี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 22:05
การแต่งกายแบบผู้ดีอังกฤษ ปี ค.ศ. 1885


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 11, 10:14
สภาพความเป็นอยู่ของคนจนหรือไพร่ - ที่อยู่อาศัยสลัม ในมหานครลอนดอน ใยยุคของ Queen Victoria



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 11, 22:39
ในอังกฤษสมัยนั้น การแบ่งชนชั้นเห็นได้ชัดมาก  ไม่เฉพาะแต่การแต่งกาย  แม้แต่ถนน และตลาด ก็เป็นแหล่งเฉพาะของคนจน ซึ่งผู้ดีเงินจะไม่เฉียดเข้ามา
พสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์  หรือในตอนนั้นนายคร้ามเรียกว่าพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ก็ทรงออกปากเช่นนี้  เมื่อทรงพานายคร้ามและพรรคพวกไปเที่ยวริมแม่น้ำเธมส์   ทรงพาไปทางถนนคนจนซึ่งปกติไม่เสด็จมา   ผู้ดีในลอนดอนที่จะเดินทางไปริมแม่น้ำเธมส์ก็จะเลือกเส้นทางอื่น
แต่ทรงเลือกเส้นทางนี้เพื่อให้นายคร้ามและเพื่อนๆได้ดูว่าคนจนเขาอยู่กันอย่างไร     ในสายตานายคร้าม คนจนหรือไพร่ในลอนดอนก็ดูมีความสุข   อย่างน้อยที่อยู่อาศัยก็เป็นตึก    ในสายตาคนไทยซึ่งชินกับกระท่อมและเพิงของชาวบ้าน   ตึกคงจะเป็นอาคารที่โอ่อ่าเอาการ ไม่ว่าจะรกรุงรังหรือซอมซ่อขนาดไหน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 11, 11:27
ถนน Baker เป็ยถนนสำคัญในชุมชนแออัดของลอนดอน มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก เนื่องจากมีการใช้แรงงานในเมืองสูง ไม่รู้ว่านายคร้ามจะเข้ามาถนนนี้บ้างหรือไม่


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 15:13
กำลังลุ้นว่า เมื่อไรนายคร้ามจะได้แสดงดนตรีถวายต่อหน้าพระที่นั่งควีนวิคอตเรีย  ;)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 15:29
ขออนุญาตคุณเทาชมพูเดินหน้าไปเล็กน้อย ตามความต้องการของคุณหนุ่ม

ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ (http://books.google.com/books/about/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8.html?id=mw9wAAAAMAAJ) ว่า

"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

คณะดนตรีไทยได้เปิดการแสดงที่อัลเบิรต์ ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๒๘ ซึ่งเป็น การเปิดการแสดงด้วยวงมโหรี คณะดนตรีไทยได้บรรเลงอยู่ที่นั่นประมาณ ๓ เดือนสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง และ ในวันว่างก็ได้รับงานไปบรรเลงนอกสถานที่  

ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่น

คุณเทาชมพูกลับมาเมื่อไร บรรยายตอนนี้ต่อได้เลย

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ย. 11, 09:31
ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่น

พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเล  แก้ไขเป็น  พระราชวังฤดูร้อนชายทะเล  

แห่งนี้ละมั้ง

Osborne House (http://en.wikipedia.org/wiki/Osborne_House)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/19/Osborne-iow-3Ja10-10876.jpg/800px-Osborne-iow-3Ja10-10876.jpg)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 11, 16:16
ไม่ได้เอาหนังสือมาด้วย.  กระทู้นี้ต้องรออีกหลายวันกว่าจะมาต่อด้วยตัวเองได้.   ถ้าใครมีหนังสือเชิญบรรเลงไปก่อนนะคะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 11, 13:12
ภาพลายเส้นงานเลี้ยงทีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) จัดถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23527;image)

งานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันนี้จัดขึ้นที่พระราชวังออสบอร์น (Osborne House) เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๔๐

 ;D



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ย. 11, 15:09
รูปนี้เคยลงมาแล้วค่ะ.   ผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่ควีนวิคตอเรีย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 11, 15:48
แล้วเป็นใครหนอ ?



(http://www.sifa.in.th/images/2.jpg)

๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสกรุงโรม ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. ๑๘๙๗

๒. งานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันโดยพระนางเจ้าวิคตอเรียที่พระราชวังออสบอร์น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๑๘๙๗
 
๓. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ Otto von Bismarck นายกรัฐมนตรีของจักรวรรดิเยอรมัน ระหว่างปี ค.ศ.  ๑๘๗๑-๑๘๙๐ ที่คฤหาสน์ Friedrichsruh เมือง Hamburg  ในปี ค.ศ. ๑๘๙๘

ที่มา: ปิยมหาราชานุสรณ์ โดยไกรฤกษ์ นานา กรุงเทพฯ มติชน ๒๕๕๑ หน้า ๑๖๖ , ๑๖๗ , ๑๘๖  (http://www.sifa.in.th/th/history01.php)




กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:59
มาตราเงินไทยกับอังกฤษ มีอัตราแลกเปลี่ยนในสมัยต้นรัชกาลประมาณนี้ (ให้ไว้เผื่อนายคร้ามจักได้ใช้ที่ลอนดอน)

๑ ชิลลึง ( ๓๒ อัฐ )

๒ ชิลลึง ( ๑ บาท )

๑๐ ชิลลึง ( ๕ บาท )

๑ ปอนด์ ( ๑๐ บาท )

๒ ปอนด์ ( ๒๐ บาท )


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 11, 10:28
ไม่ได้เอาหนังสือมาด้วย.  กระทู้นี้ต้องรออีกหลายวันกว่าจะมาต่อด้วยตัวเองได้.   ถ้าใครมีหนังสือเชิญบรรเลงไปก่อนนะคะ

รอคุณเทาชมพูพาไปเทียว Osborne House   ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 11, 11:27
ก่อนถึง Osborne House  ขอตามนายคร้ามไปเลียบแม่น้ำเธมส์ก่อน

นายคร้ามเล่าว่าแม่น้ำเธมส์ กว้างเท่าแม่น้ำเมืองเรา(หมายถึงเจ้าพระยา)  มีถนนหินริมแม่น้ำ  มีสะพานหลายสะพาน  แต่ท่านเห็นอยู่ 3 สะพาน ไม่ได้บรรยายชื่อว่าสะพานไหน  บอกแต่ว่าเป็นสะพานสำหรับรถไฟ  สะพานสำหรับรถม้า  และสะพานสำหรับคนเดิน
ต้องรอผู้รู้มาแกะรอยเอาเองว่าชื่อสะพานอะไร

อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำเธมส์เป็นปาร์ค    ท่านเรียกว่าสวนสำหรับคนจน     ในสวนปลูกต้นไม้ดอกไม้เป็นลวดลายต่างๆเหมือนลายบนผืนพรม   มีเกาะกลางสวน และมีปลาในสระ  เป็นปลาตัวโต   ผู้คนสามารถเช่าเรือลงพายในสระได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีกระโจมแตร    แห่งหนึ่งมีมิวเซียม อีกด้วย

นายคร้ามบรรยายถี่ถ้วนขนาดว่า มีเขาทำด้วยปูน  และมีน้ำพุไหลอยู่เสมอ

น่าจะเป็นไฮด์ปาร์ค  ละมัง?
สวนคนจน ที่ท่านเรียก คงหมายถึงสวนสาธารณะที่ใครๆก็เข้าไปเดินได้  ไม่ได้จำกัดแต่ผู้ดีเท่านั้น


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 11, 14:24
นายคร้ามพูดถึงพิพิธภัณฑ์สัตว์   ไม่ได้ระบุชื่อ  บอกแต่ว่าอยู่ใกล้ที่พัก
มีห้องหนึ่งมีแต่สัตว์น้ำ  ทั้งปลาและแมวน้ำ  เจอสัตว์ชนิดหนึ่งท่านเรียกว่า "ช้างน้ำ" บอกว่ารูปร่างเหมือนนาก มีแต่เขี้ยวงอกลงมาจากปากบน  หูเหมือนหูปลา  มีสี่เท้า  หางนิดหนึ่ง

เห็นจะเป็นตัววอลรัส กระมัง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ก.ย. 11, 14:32
คนละตัวกับตัวนี้

(http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/photo/1298348970_60561298348970_6056.jpg)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 11, 16:28
^
น่าจะใช่  ลืมช้างน้ำตัวนี้ไป   ;D

นายคร้ามบรรยายถึงสวนสาธารณะอีกแห่งที่ท่านเรียกว่า "สวนอัลเบิร์ท"  บอกว่าเป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งที่ใหญ่โตกว้างขวาง  เหมือนป่าย่อมๆ แต่มีไม้ดอกปลูกไว้เรียงรายริมทาง   
มีม้านั่งให้นั่งฟรี    หนุ่มสาวมานั่งเล่น จนค่ำก็มีคู่รักมาพร่ำพลอดกัน แต่อยู่ได้ไม่เกินห้าทุ่ม สวนก็จะปิด   ในสวนมีแม่น้ำขนาดกว้างเท่าคลองบางกอกใหญ่  มีเรือเช่าให้พายเล่นกันในนั้น    บนฝั่งก็มีแตรวงบรรเลง   วันอาทิตย์มีนักเทศน์มาเทศน์ให้ฟังฟรีตามใต้ร่มไม้

ฟังท่านเล่าก็สงสัยว่าสวนอะไร เพราะลอนดอนไม่มีชื่อ Albert Park   มีแต่ Albert Hall  ฟังจากคำบรรยายก็เป็น park แห่งใดแห่งหนึ่งนี่เอง  ไม่ใช่ Hall
ตอนท้ายของตอนนี้  นายคร้ามเล่าว่ามีรูปพระสวามีควีนวิกตอเรีย คือเจ้าชายอัลเบิร์ตประดิษฐานอยู่  ทำเหมือนปราสาท มียอดสี่ชั้น ยอดสุดเป็นกางเขน      ตามมุมทั้งสี่มีรูปผู้สร้างโลก  ขี่โค  ขี่ช้าง  ขี่อูฐ และขี่สิงโต ที่ท่านเรียกทับศัพท์ว่าไลออน

ถึงนึกออก  ว่า  "รูป" ที่ท่านเรียกนี้คือ Albert Memorial นั่นเอง     สวนอัลเบิร์ทที่ว่าคือ Kensington Gardens อันเป็นสถานที่ตั้งของอัลเบิร์ตเมมโมเรียล  อยู่ทางเหนือของ Albert Hall


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 11, 16:58
สวนเคนซิงตัน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ย. 11, 08:11
ตอนนายคร้ามไปเดินชมสวน ยังไม่มีรูปปั้นเด็กน้อยคนนี้

นิยายของเซอร์เจมส์ แยกออกเป็นหลายเล่ม   หนึ่งในจำนวนนั้นคือ Peter Pan in Kensington Gardens  
ต่อมาอังกฤษก็สร้างรูปปีเตอร์แพนไว้ในสวนเคนซิงตันจริงๆ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=25004;image)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ต.ค. 11, 10:28
รอคุณเทาชมพูพาไปเทียว Osborne House   ;D

ยังคอย ยังคอย ยังคอยรออยู่ ทุกลมหายใจ  (http://www.youtube.com/watch?v=FmSXZlyWzxw)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 11, 10:36
เดี๋ยวจะมาทยอยจ่ายหนี้ค่ะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 11, 19:23
    ในตอนนี้  มาถึงเหตุการณ์สำคัญ ๒ เรื่องด้วยกัน  ดนตรีไทยที่ไปเล่นคราวนั้นน่าจะเป็นที่สนใจของชาวอังกฤษอยู่ไม่น้อย   ชื่อเสียงก็คงขจรขจายไปกระทบพระกรรณเจ้านาย   นายคร้ามกับนักดนตรีไทยจึงได้เข้าวังอังกฤษ   
   วันหนึ่งก็มีพระราชหัตถเลขาจากองค์รัชทายาทของอังกฤษ คือปรินซ์ออฟเวลส์มาถึงกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์   แจ้งพระประสงค์จะให้ดนตรีไทยเข้าไปบรรเลงในวังสักครั้ง
   ในวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘  ก็ถึงวันสำคัญ  นักดนตรีไทยก็เข้าวังเจ้าฟ้าเอ็ดเวิร์ด ปรินซ์ออฟเวลส์     นายคร้ามเล่าว่าเข้าวังตั้งแต่หกโมง  นั่งคอยอยู่จน ๒ ทุ่มถึงเวลาเสวย   ท่านก็เสด็จออกมานั่งเสวยที่โต๊ะ พร้อมกับเจ้านายอื่นๆ     พร้อมทั้งเจ้าหญิงอเลกซานดราพระชายา ซึ่งนายคร้ามเรียกว่า "หม่อมเอก  ธิดาเจ้าเมืองเดนมาร์ค"

     ดนตรีไทยของเราทำอะไรได้เก๋ไม่น้อย  เพราะสามารถใช้เครื่องมโหรีปี่พาทย์ของเราบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเจ้าฟ้า คือ God Save Prince of Wales ได้
     จากนั้นก็เล่นเพลงตามโปรแกรมที่เตรียมไว้ทุกเพลง    น่าเสียดายท่านไม่ได้อธิบายว่ามีเพลงอะไรบ้าง
     เสร็จแล้ว  ปรินซ์ออฟเวลส์อยากจะฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย      พวกนี้ก็เล่นให้ฟังได้    ได้รับเสียงปรบมือกันเป็นที่พออกพอใจ

     ข้างล่างนี้คือพระรูปปรินซ์ออฟเวลส์และเจ้าหญิงอเลกซานดรา    ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗  เสด็จสวรรคตในปีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
     พระรูปข้างล่างทรงฉายเมื่ออภิเษกสมรส


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ต.ค. 11, 19:29
         ดนตรีไทยของเราทำอะไรได้เก๋ไม่น้อย  เพราะสามารถใช้เครื่องมโหรีปี่พาทย์ของเราบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเจ้าฟ้า คือ God Save Prince of Wales ได้

God save the Prince of Wales

http://www.youtube.com/watch?v=4o3VIKyvbgs

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 11, 21:17
คราวนี้ มาถึงไฮไลต์ของกระทู้

ถึงวันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘  นายคร้ามและนักดนตรีไทยโชคดีครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง  คือมีพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมาถึงสถานทูตสยามว่า โปรดที่จะฟังนักดนตรีไทยมาบรรเลงถวาย    แต่สมเด็จพระราชินีมิได้ทรงอยู่ ณ พระราชวังแห่งใดแห่งหนึ่งในลอนดอน หรือใกล้ๆลอนดอน   แต่ว่าแปรพระราชฐานไปประทับถึงเกาะชายทะเล  นอกชายฝั่งอังกฤษโน่น
นักดนตรีทั้งหลายก็ขนเครื่องดนตรีบรรทุกรถม้า   เดินทางกันแต่เช้าไปสถานีรถไฟ  ขนของขึ้นรถไฟ   เดินทางรวมแล้วสี่ชั่วโมงจากตอนเจ็ดโมงเช้า   ลงจากรถไฟก็มาถึงท่าน้ำ  ขนเครื่องดนตรีลงเรือไฟจักร์   มาถึงเกาะชายทะเล  ซึ่งเป็นที่ตั้งของวังฤดูร้อนของสมเด็จพระราชินี

นายคร้ามไม่ได้บอกชื่อเกาะหรือชื่อวัง    แต่คุณเพ็ญชมพูรู้แล้วว่า คือ Osborne House   ดิฉันจึงขอแถมว่าเกาะนั้นชื่อ Isle of Wight


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 11, 21:21
ทิวทัศน์บน Isle of Wight   หมู่บ้านที่นั่นน่ารักมาก  หน้าตาเป็นแบบนี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 11, 21:29
Osborne House  อยู่ตอนเหนือของเกาะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ต.ค. 11, 15:21
ข่าวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนิน Osborne House  

จากหนังสือพิมพ์ Boston Evening Transcript - Aug 4, 1897 (http://news.google.com/newspapers?nid=2249&dat=18970804&id=zoo-AAAAIBAJ&sjid=6FkMAAAAIBAJ&pg=6420,3313897)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ต.ค. 11, 16:00
ตามเข้ามารอฟังนายคร้าม เล่นดนตรีต่อหน้าพระพักตร์  ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ต.ค. 11, 17:24
"... ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย .."

ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

www.thaiclassic.net

ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม

ในบันทึกของนายคร้าม มีการเข้าไปแสดงในพระราชวังบัคกิ้งแฮมหรือไม่

 ???


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 16:36
ดิฉันไม่ทราบว่าเข้าเฝ้าปรินซ์ออฟเวลส์ที่พระราชวังไหน   แต่เข้าเฝ้าควีนวิกตอเรียที่วังออสบอร์นครั้งเดียว
ขออภัยที่ต้องทิ้งนายคร้ามกับสหายไว้ในอังกฤษชั่วคราว   ยังไม่มีเวลามากพอที่จะมาต่อเรื่องนี้ค่ะ
ถ้าคุณเพ็ญมีข้อมูลเรื่องนี้  เชิญนำทางไปก่อน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 16:21
วันนี้  มีเวลาแวะเข้ามาแล้วค่ะ

นายคร้ามเก็บรายละเอียดได้ดีพอใช้     ทางวังเขาเลี้ยงอาหารนักดนตรี ท่านก็บันทึกไว้ด้วยว่าได้กินอะไรบ้าง  ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเนื้อสัตว์ คือ หมู  ไก่ เนื้อ(วัว) แกะ  เนื้อไก่ฟ้า  ไก่งวง และห่าน
ถึงรายชื่ออาหารพวกนี้  ทำให้คิดว่าคุณ(นาย)ตั้งในกระทู้โน้นคงจะได้กินมาทุกอย่างแล้ว    น่าแปลกที่ในวังเลี้ยงแขกด้วยเนื้อไก่งวง ในวาระธรรมดาไม่ใช่คริสต์มาส  และมีห่านอีกด้วย  เพราะในคริสต์มาส  ไก่งวงเป็นอาหารฉลองของคนรวย  ส่วนห่านเป็นของคนจน
อาหารที่กินนี้แยกเนื้อสัตว์และผักออกไปเป็นคนละจาน   ตามแบบดินเนอร์ของฝรั่ง  นายคร้ามบอกว่ามีทั้งผักสุกและผักดิบ    ผักสุกเห็นจะเป็นพวกผักต้มหรือซุป    ผักดิบน่าจะเป็นสลัด     มีขนมของหวานแบบฝรั่ง   
เขาเสิฟน้ำส้มระคนกับน้ำมะเน็ด สำหรับล้างคอไม่ให้เหม็นคาว?

นายคร้ามบอกว่าภาชนะบนโต๊ะก็ดูใกล้เคียงกับที่เคยกินในสยาม    แสดงว่าอาหารฝรั่งในบางกอกยุคนั้นหรูหราเอาการทีเดียว   แตกต่างกันก็คือมารยาทของบริกรที่ท่านเรียกว่า บ๋อย   มหาดเล็กเดินโต๊ะของวังออสบอร์นกิริยาเรียบร้อยมีระเบียบ   ไม่เหมือน "บ๋อยเปรต" ในบางกอก      อย่างหลังนี้นายคร้ามคงเคยเจอมาเวลาไปกินในภัตตาคารหรืองานเลี้ยงที่ไหนสักแห่ง    ไม่แน่ใจว่าบ๋อยที่นายคร้ามเก็บเอามาค่อนขอดถึงอังกฤษนี้ เป็นคนจีนในเมืองไทยหรือเปล่า

จากนั้น กินเสร็จก็ไปรอรับเสด็จควีน  แล้วดนตรีไทยก็ทำเพลง  God Save the Queen  ไม่น้อยหน้าที่เคยบรรเลง God Save Prince of Wales มาแล้ว
เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 16:30
ลงภาพนายคร้ามให้ อ.เทาชมพูครับผม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 16:43
^
ยอดเยี่ยมค่ะ  นายคร้ามเป็นหนุ่มน้อย  หน้าตาดีกว่าที่คิดไว้

ขอลงพระรูปควีนวิกตอเรียในยุคนั้นให้ดูบ้าง
นายคร้ามบรรยายถึงพระองค์ท่านว่า
"ข้าพเจ้าพิจารณาดูพระนางเจ้าวิกตอเรียนในเวลานั้นอย่างเต็มตา   เห็นว่าสมกับเป็นผู้มีบุญญาจริง   ประกอบด้วยลักษณะพร้อมทั้งผิวพรรณบริบูรณ์ทุกอย่าง    พระวรกายไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก    แต่พระชันษานั้นอยู่ในราว ๗๐ ปีเศษ    แม้พระชันษาถึงเท่านี้ก็ยังกระปรี้กระเปร่า    ยังวัฒนาไม่บกพร่องเลยอย่างที่เล่ามาก่อน...
และพระนางเจ้าวิคตอเรียนั้นประกอบด้วยท่วงทีเรียบร้อยงามสง่า  สมเป็นหญิงที่มีบุญในยุโรปนั้น   และมีอายุมาก   สมควรที่ข้าพเจ้าจะต้องเคารพนบน้อมท่านในวันนั้น"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 11, 16:40
นายคร้ามเล่าต่อไปว่า  สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียสนพระทัยเครื่องดนตรีไทยมาก   เสด็จพระราชดำเนินเข้ามาใกล้เมื่อบรรเลงถวายจบแล้ว  โปรดให้เป่าแคนถวาย แยกเป็นพิเศษจากการบรรเลงทั้งวง   มิสเตอร์ลอปตัสผู้เป็นล่ามก็ให้ครูเปียและครูสินเป่าถวาย
เป็นเพลงเทพบรรทม และเพลงภิรมย์สุรางค์
เมื่อประทับฟังแคน  ก็รับสั่งให้เจ้าชายเฟรดเดอริควิลเลียมแห่งปรัสเซีย (เป็นพระราชสวามีของปรินเซสรอแยลพระราชธิดาพระองค์ใหญ่) ยืมซอสามสายไปทอดพระเนตร  รับสั่งว่าไพเราะกว่าดนตรีจากประเทศอื่นๆ
เมื่อเสด็จขึ้น นักดนตรีถวายคำนับ  ก็ทรงคำนับตอบ   จากนั้นก็ให้เจ้าพนักงานเอาบุหรี่มาให้นักดนตรี เป็นรางวัลพระราชทาน

นักดนตรีเดินทางกลับลอนดอน   จบไฮไลต์ของเรื่องแค่นี้ค่ะ

ตอบคุณเพ็ญชมพู  นายคร้ามบันทึกการเข้าเฝ้าไว้หนเดียว  ไม่ได้ไปที่พระราชวังบัคกิงแฮม หรือถ้าไปก็ไม่ได้บันทึกไว้

จากนั้นก็เป็นบันทึกเล่าถึงเรื่องราวของบ้านเมืองและผู้คน  เป็นรายละเอียดแล้วแต่นายคร้ามท่านจะสะดุดตาสะดุดใจอะไรขึ้นมาบ้าง   อ่านจากที่บันทึก นายคร้ามก็ช่างสังเกตและจดจำเอามาประเมินผลได้เก่งเอาการ    อย่าลืมว่าในสมัยนั้น อังกฤษเป็นประเทศไกลสุดหล้าฟ้าเขียวจากความรู้ความเข้าใจของสยาม    นายคร้ามจะต้องบันทึกชื่อคน ชื่อสถานที่ ซึ่งแปลกหูแปลกตาไปเสียทุกเรื่อง  ดังนั้นท่านจำได้บ้างไม่ได้บ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ   ก็น่าเห็นใจ   แต่รวมความแล้วถือว่าสติปัญญาและความจำของนายคร้ามเข้าขั้นดีเยี่ยมทีเดียว     

นายคร้ามออกจะมีนิสัยช่างวิเคราะห์วิจารณ์    สนใจอยากรู้เรื่องวัฒนธรรมของคนอังกฤษอยู่มาก    ไม่ได้สนใจเฉพาะสิ่งที่ตาเห็นเท่านั้น


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 11, 16:53
นายคร้ามพูดถึงการพักผ่อนของคนอังกฤษ  ซึ่งคงน่าแปลกสำหรับชาวสยาม   เพราะชาวบ้านในสมัยนายคร้าม ไม่มีธรรมเนียมไปตากอากาศต่างเมืองหรือตากอากาศชายทะเลอย่างคนอังกฤษ      ถ้าเรานึกย้อนไปถึงนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่   จะเห็นว่าหนุ่มเมืองหลวงอย่างสุนทรภู่บ่นเสียแทบตายเรื่องเดินทางไประยอง    เห็นแต่ความลำบากลำบน  ไม่ได้มีจิตอภิรมย์กับได้ไปเห็นอะไรใหม่ๆแปลกๆในเมืองชายทะเล  เฝ้าแต่อยากกลับบ้านท่าเดียว

ผิดกับคนอังกฤษ นายคร้ามเล่าว่าพอถึงฤดูร้อน  ในเดือนเจ็ดถึงเดือนเก้า  ชาวอังกฤษชอบไปเล่นเรือ  ถ้าฐานะปานกลางก็โดยสารเรือใบ    ถ้าคนรวยก็นั่งเรือไฟออกทะเลไปเที่ยว   แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะอังกฤษไม่มีอะไรฟรี  คนก็ยังแห่กันไปเนืองแน่น เห็นกันแน่นขนัดตามเมืองท่าเรือ   
การออกจากเมืองในหมอกอย่างลอนดอน และเมืองใหญ่อื่นๆไปเที่ยวทะเล เป็นการท่องเที่ยวยอดนิยมในสมัยนั้น    ไม่ใช่แต่เที่ยวทะเลรอบเกาะ    แต่ชาววิคตอเรียนไปกันทั่วโลก ทุกดินแดนที่อังกฤษแผ่แสนยานุภาพไปถึง


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 20:53
นายคร้ามก็เช่นเดียวกับคนในวัยหนุ่มสาวทั้งหลาย คือสนใจคนวัยเดียวกันอยู่มาก   มาอยู่อังกฤษไม่นานก็เริ่มสังเกตเรื่องหนุ่มๆสาวๆ หรือเจาะจงลงไปน่าจะเป็นเรื่องของสาวมากกว่าหนุ่ม
นายคร้ามสรุปเรื่องความรักและการสมรสของหนุ่มสาวอังกฤษเท่าที่เห็นว่า หญิงสาวอังกฤษไม่ได้เลือกสามีที่รูปร่างหน้าตาว่าต้องหล่อเหลาหรือไม่     ผู้ชายที่สาวๆเมินไม่มองมี ๓ ข้อ ก็คือ
๑  เป็นคน "ต่ำชาติต่ำตระกูล"   ในที่นี้เห็นจะหมายถึงสาวๆชนชั้นกลาง ไม่เลือกผู้ชายชั้นกรรมกร หรือพวกค็อกนีย์ คือคนไร้การศึกษาในลอนดอน
ตัวอย่างค็อกนีย์ที่คนไทยรู้จักในหนัง ก็คือนางเอกเรื่อง My Fair Lady  อีไลซ่า ดูลิตเติ้ล ตอนยังไม่ได้ถอดรูปออกมาเป็นเจ้าหญิง
๒  เป็นคน"ขัดขวาง"  คำนี้เคยอ่านพบในอิเหนา   ที่ระเด่นมนตรีชมบุษบายามลงสรงว่า "งามจริงพริ้งพร้อมทั้งสรรพางค์   ไม่ขัดขวางเสียทรงที่ตรงไหน"   ยังไม่ชัดเจนว่านายคร้ามหมายถึงอะไร    หันไปพึ่งรอยอิน ท่านก็ให้คำตอบมาว่า ทําให้ไม่สะดวก, ทําให้ติดขัด. เป็นอันว่าไม่ได้เรื่อง
๓  เป็นคนพิการ  ทำให้หาเลี้ยงภรรยาไม่ได้
ทีแรกนึกว่าขัดขวางน่าจะแปลว่าร่างกายไม่สมประกอบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พอเจอข้อ ๓ ว่าพิการ  ก็แสดงว่าขัดขวางเป็นคนละอย่างกับพิการ
ทิ้งไว้ให้ผู้รู้ในเรือนไทยมาอธิบายดีกว่า 
นายคร้ามบอกว่าผู้ชายอังกฤษต่อให้แก่คราวปู่คราวตา แต่ถ้ามีทรัพย์สินและมีปัญญา  สาวๆไม่รังเกียจเลย    ข้อนี้เราคงเคยอ่านพบในนิยายหรือดูในหนังก็คงผ่านตาบ้าง  ว่าท่านลอร์ดท่านเอิร์ลแก่ๆ บางทีก็มีภรรยาสาวคราวลูกหลาน  ไม่เห็นเป็นเรื่องประหลาดในสังคม

ผู้หญิงอังกฤษในยุคนั้น มีอาชีพหลักคือเป็นภรรยา  น้อยคนมีอาชีพทำงานนอกบ้าน  เพราะฉะนั้น จึงต้องให้สามีหาเลี้ยง     ผู้ชายที่ดูแล้วแน่ใจว่าเลี้ยงครอบครัวได้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 21:28
นายคร้ามเล่าเรื่องธรรมเนียมสามีภรรยาเอาไว้หลายตอนด้วยกัน  ตามประสาคนซอกแซกช่างสังเกต   บางเรื่องที่คนอังกฤษเห็นเป็นเรื่องธรรมดา   ท่านก็เห็นเป็นเรื่องแปลก   ข้อนี้ก็พอเข้าใจได้ เพราะในสยามไม่มีธรรมเนียมแบบนี้
เรื่องเล็กๆอย่างหนึ่งที่นายคร้ามสังเกตก็คือเรื่องร่ม    ใครเคยไปอังกฤษคงนึกออกว่าฝนเจ้ากรรมตกได้ตลอดเวลา เดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก    คนอังกฤษจึงต้องมีร่มติดตัวไปไหนมาไหนเสมอ     แต่นายคร้ามก็ซอกแซกสังเกตได้ว่าร่มของผู้ชายกับผู้หญิงใช้ไม่เหมือนกัน
ผู้หญิงอังกฤษกางร่ม เป็นของปกติ    เดินออกจากบ้านไปไหนมาไหน กางร่มได้ตลอดเวลา แดดออกก็กันแดด  ฝนตกก็กันฝน   
แต่ผู้ชายต่อให้แดดจ้าแค่ไหนก็ไม่มีวันที่ผู้ชายอังกฤษคนไหนกางร่มเพื่อบังแดดให้ตัวเอง   ร่มของผู้ชายมักถือติดมือแทนไม้เท้า     จะกางร่มได้ก็ต่อเมื่อฝนตกเท่านั้น


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 21:29
ผู้ชายกางร่มเพื่อกันฝนเท่านั้น  ผู้หญิงกางร่มทั้งเพื่อความสวยงาม กันแดด และกันฝน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 08:29
เป็นความงามแห่งแฟชั่น และอาจจะเป็นไปได้ว่าอากาศของประเทศอังกฤษนั้น อากาศไม่แน่นอนฝนจะตกได้ทุกเมื่อ ถ้าตกแล้วก็อาจจะทำให้เสื้อผ้า ผมที่จัดไว้เสียรูปทรง แฟชั่นถือร่มจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งมีร่มเล็ก ร่มใหญ่ ร่มลูกไม้ซึ่งเกือบจะกันอะไรไม่ได้เลยก็มี


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 09:06
คุณ siamese กลับขึ้นเรือนไทยแล้ว    เก็บของขึ้นชั้นสองเสร็จแล้วหรือคะ   ;D

จริงอย่างที่คุณ siamese บอกค่ะ  ผู้หญิงวิคตอเรียนนิยมผิวขาวผ่อง ไม่คล้ำแดด  ร่มจึงมีความหมายมาก  
แม้ว่าบางครั้งร่มแฟชั่น   แทบจะกันแดดไม่ได้  อย่างร่มผ้าลูกไม้ข้างล่างนี่  ก็ยังต้องถือเอาไว้
แม้แต่หนูน้อยก็ยังมีแฟชั่นร่ม


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 09:43
ผู้หญิงอังกฤษกางร่ม เป็นของปกติ    เดินออกจากบ้านไปไหนมาไหน กางร่มได้ตลอดเวลา แดดออกก็กันแดด  ฝนตกก็กันฝน    
แต่ผู้ชายต่อให้แดดจ้าแค่ไหนก็ไม่มีวันที่ผู้ชายอังกฤษคนไหนกางร่มเพื่อบังแดดให้ตัวเอง   ร่มของผู้ชายมักถือติดมือแทนไม้เท้า     จะกางร่มได้ก็ต่อเมื่อฝนตกเท่านั้น

ก่อนหน้า ค.ศ. ๑๗๕๐  (http://www.shadyoldlady.com/location.php?loc=888) ตามธรรมเนียมของชาวลอนดอน ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ถือร่ม แม้แต่เพื่อบังฝน เพราะเป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ ผู้หญิงเท่านั้นที่มีสิทธิ์ถือร่ม

ผู้ชายคนแรกที่แหวกม่านประเพณีนี้คือ Jonas Hanway  (http://en.wikipedia.org/wiki/Jonas_Hanway)  เขาจะถือร่มติดมือตลอดเวลาไม่ว่าจะไปทำธุระที่ไหน ตอนแรกมีแต่คนล้อเลียนเยาะเย้ยการกระทำผ่าประเพณีสังคมของเขา เพื่อน ๆ คิดว่าเขาเป็นกะเทย เด็กวัยรุ่นจะตะโกนล้อเลียนเวลาเขาเดินผ่าน

(http://kaufmann-mercantile.com/images/jonas-hanway.jpg)

ส่วนคนขับรถเกลียดโจนาสมาก เพราะถ้าชาวอังกฤษทำตามเขา พากันถือร่มออกมาเดินเวลาฝนตกกันหมด คนที่เช่ารถม้าเพื่อหลบฝนก็จะน้อยลง คนขับรถม้าก็จะขาดรายได้ไปด้วย

(http://posterous.com/getfile/files.posterous.com/pettyfrance/lpVLWdjlzjTnUysMrE32KckJA3hiYVqv5Fu5Hp0HFgKqWL4Q72MOihZhbAHd/hanwaybrolly.jpg)

ถึงจะถูกเย้ยหยันแต่โจนาสก็ยังยืนหยัดต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ต่อไป จนในที่สุดผู้ชายคนอื่น ๆ ก็เริ่มเอาอย่าง และเริ่มเห็นว่าการลงทุนซื้อร่มเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะในกรุงลอนดอนฝนตกสลับกับแดดออกตลอดวัน พอถือร่มแล้วก็ไม่ต้องเรียกรถม้าทุกครั้งที่ฝนตกอีก ทำให้ประหยัดเงินได้มากทุกคนเลยหันมานิยมถือร่มตามโจนาสและร่มก็กลายเป็นของใช้ของคนทุกเพศมาจนถึงทุกวันนี้

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 11:11
ถ้านาย Jonas Hanway  แหวกแนวแพลงกิ้ง คงเนาะ... ;D ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 11:36
คุณ siamese กลับขึ้นเรือนไทยแล้ว    เก็บของขึ้นชั้นสองเสร็จแล้วหรือคะ   ;D


เรียบร้อยครับ ;)


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 21:41
สิ่งที่นายคร้ามแสดงความชื่นชมอีกอย่างก็คือชีวิตครอบครัวของชาวอังกฤษ  คิดว่านายคร้ามคงได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในบ้านของชาวอังกฤษบางคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานทูต  หรือเป็นเจ้าภาพให้นักดนตรีไปเล่น     ท่านจึงมีโอกาสเข้าไปเห็นบ้านช่องของคนอังกฤษพอจะมาวิจารณ์ได้
ท่านชมว่าภายในบ้านเรือนของชาวอังกฤษ สวยงาม สบายตา  มีระเบียบเรียบร้อย    ภรรยาชาวอังกฤษพิถีพิถันในเรื่องดูแลบ้านช่องมาก  ข้าวของก็จัดเป็นระเบียบ ภรรยาดูแลทั้งอาหารการกินของตนเองและสามี
ฝ่ายสามีชาวอังกฤษก็ดูแลเอาใจใส่ภรรยาเป็นอย่างดี   ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน  ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน    นอกจากมีระเบียบแล้วยังตรงต่อเวลาอีกด้วย    ห้องหับและข้าวของ(คงรวมอาหารการกินด้วย) ก็ไม่ปล่อยให้รกหรือเลอะเทอะเปรอะเปื้อน
มีมารยาทอย่างหนึ่งคือเวลาสนทนากัน  ภรรยาจะเอ่ยนำเรื่องก่อนไม่ได้  ต้องให้สามีเป็นผู้นำการสนทนา   ภรรยาก็จะยกย่องสามีว่ามีสติปัญญา และให้เกียรติสามี
ส่วนผู้ชายนั้นก่อนแต่งงานแล้วจะเที่ยวสนุกสนานตามสบายอย่างใดก็ได้  แต่แต่งงานแล้วต้องเลิกหมด  หันมาเอาใจใส่ครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง    ภรรยาก็เหมือนกัน เห็นครอบครัวสำคัญที่สุด
ท่านบอกว่าไพร่ผู้ดีก็ทำแบบเดียวกัน   นายคร้ามคงเคยไปเห็นครอบครัวในหลายระดับ   

ข้างล่างนี้เป็นภาพห้องในบ้านคนอังกฤษชั้นกลางในสมัยนั้น   ถ้านายคร้ามได้ไปเห็นก็คงเป็นบ้านประมาณนี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 21:51
ถ้าได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร  ห้องที่เห็นก็น่าจะเป็นแบบอย่างรูปแรก   ส่วนรูปที่สอง  เป็นห้องรับประทานอาหารบ้านเศรษฐี


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 20:32
นายคร้ามเล่าถึง "ถนนใต้ดิน"   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าเป็นส่วนไหนของลอนดอน   เข้าใจว่าต่อมาคงจะเป็นรถไฟใต้ดินหรือ underground กระมัง   
ท่านเล่าว่าท่านไปเดินเล่นที่ถนนใต้ดิน   บอกด้วยว่าน้ำไม่ท่วม   คงหมายถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินก็ไม่มีน้ำท่วมพื้นเป็นปูนอย่างหินชนวน  ผนังเป็นกระเบื้องมีโครงเหล็กข้างใน  มีช่องวางโคมแกซให้แสงสว่างไม่ว่ากลางวันกลางคืน เพราะถนนใต้ดินนั้นมืดตลอด ๒๔ ช.ม. ต้องจุดไฟ
แต่เมื่อเดินลงไปต้องจ่ายเงิน ราคาหนึ่งเพ็นนี   ถนนยาวสี่สิบเส้น  ริมทางเดินมีม้านั่งยาวตั้งไว้เป็นระยะ  และมีร้านขายขนมเล็กน้อย
ถนนใต้ดินนี้ เป็นเส้นทางทอดไปโดยมีทางขึ้นไปสู่ "โรงแสดงสรรพสิ่งของ"  หมายถึงมิวเซียมละมัง

นายคร้ามไม่ได้พูดถึงรถไฟใต้ดินในลอนดอนเลย   ไม่รู้ว่าในยุคนั้นสร้างกันหรือยัง   แต่รถไฟตามเมืองต่างๆมีแล้ว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ต.ค. 11, 21:46
นายคร้ามเล่าถึง "ถนนใต้ดิน"   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าเป็นส่วนไหนของลอนดอน   เข้าใจว่าต่อมาคงจะเป็นรถไฟใต้ดินหรือ underground กระมัง   
ท่านเล่าว่าท่านไปเดินเล่นที่ถนนใต้ดิน   บอกด้วยว่าน้ำไม่ท่วม   คงหมายถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินก็ไม่มีน้ำท่วมพื้นเป็นปูนอย่างหินชนวน  ผนังเป็นกระเบื้องมีโครงเหล็กข้างใน  มีช่องวางโคมแกซให้แสงสว่างไม่ว่ากลางวันกลางคืน เพราะถนนใต้ดินนั้นมืดตลอด ๒๔ ช.ม. ต้องจุดไฟ
แต่เมื่อเดินลงไปต้องจ่ายเงิน ราคาหนึ่งเพ็นนี   ถนนยาวสี่สิบเส้น  ริมทางเดินมีม้านั่งยาวตั้งไว้เป็นระยะ  และมีร้านขายขนมเล็กน้อย
ถนนใต้ดินนี้ เป็นเส้นทางทอดไปโดยมีทางขึ้นไปสู่ "โรงแสดงสรรพสิ่งของ"  หมายถึงมิวเซียมละมัง

นายคร้ามไม่ได้พูดถึงรถไฟใต้ดินในลอนดอนเลย   ไม่รู้ว่าในยุคนั้นสร้างกันหรือยัง   แต่รถไฟตามเมืองต่างๆมีแล้ว

คงเป็นเส้นทางใต้ดินเพื่อเดินไปสู่สถานีรถไฟใต้ดินกระมังครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 22:01
น่าจะใช่   เพราะถ้านายคร้ามเดินลงไปใต้ดิน ในลอนดอนก็มีแต่ underground เท่านั้น   ไม่มีถนนอะไรซ้อนอยู่ข้างใต้ลอนดอน
แต่แปลกใจว่านายคร้ามไม่รู้เลยหรือว่ามีรถไฟใต้ดิน  หรือว่าสมัยนั้นยังไม่มีกัน
ต้องขอแรงผู้รู้ช่วยเช็คให้หน่อยว่ารถใต้ดินเริ่มมีตั้งแต่ค.ศ.ไหนค่ะ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: mayom ที่ 18 ต.ค. 11, 04:34
มีแล้วค่ะ :)
มี Underground  ตั้งแต่ 10.01.1863 ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/London_Underground


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: mayom ที่ 18 ต.ค. 11, 04:43
 :-[
Picture from year 1870:

from link->
http://www.ltmcollection.org/resources/index.html?IXglossary=Public+transport+in+Victorian+London%3A+Part+Two%3A+Underground


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 09:32
ถนนใต้ดินของนายคร้ามคือ  อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์  (http://en.wikipedia.org/wiki/Thames_Tunnel)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/89/Thamestunnelshaft.gif/220px-Thamestunnelshaft.gif)

(http://s3-eu-west-1.amazonaws.com/lookandlearn-preview/M/M081/M081645.jpg)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 09:55
ไม่ได้นึกถึงอุโมงค์ลอดแม่น้ำเทมส์   เพราะนายคร้ามไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับแม่น้ำ  จึงนึกถึง underground แต่ก็แปลกใจว่าทำไมจะต้องจ่ายเงิน 1 เพ็นนีลงไปเดินด้วย

นายคร้ามเปรียบเทียบหมอไทยกับหมออังกฤษ ว่า นอกจากเรื่องรักษาบาดแผลแล้ว เป็นรองหมอไทยในการวินิจฉัยโรค    ถ้าคนไข้บาดเจ็บมีบาดแผล หมอฝรั่งจะเย็บแผลและผ่าเก่ง เพราะเครื่องไม้เครื่องมือดี   แต่ถ้าเป็นโรคที่ไม่มีแผล  หมอฝรั่งจะหาว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดไปเสียหมด   ผิดกับหมอไทยที่วิเคราะห์โรคได้หลากหลายกว่า

ส่วนนิสัยคนอังกฤษ  นายคร้ามแทรกไว้เป็นระยะ  อย่างหนึ่งที่ท่านเห็นก็คือ คนอังกฤษเป็นคนสุขุมกว่าคนไทย   คงจะหมายความว่าเป็นคนนิ่งๆ เก็บกิริยาอาการมากกว่า


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 10:00
ไม่ได้นึกถึงอุโมงค์ลอดแม่น้ำเทมส์   เพราะนายคร้ามไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับแม่น้ำ  จึงนึกถึง underground แต่ก็แปลกใจว่าทำไมจะต้องจ่ายเงิน 1 เพ็นนีลงไปเดินด้วย

ก็เพราะเขาเก็บค่าผ่านประตู

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Thames_Tunnel) อธิบายว่า

Pedestrian usage

Although it was a triumph of civil engineering, the Thames Tunnel was not a financial success. It had cost a fortune to build—£454,000 to dig and another £180,000 to fit out—far exceeding its initial cost estimates.  Proposals to extend the entrance to accommodate wheeled vehicles failed owing to cost, and it was only used by pedestrians. It became a major tourist attraction, attracting about two million people a year, each paying a penny to pass through, and became the subject of popular songs. The American traveller William Allen Drew commented that "No one goes to London without visiting the Tunnel" and described it as the "eighth wonder of the world". When he saw it for himself in 1851, he pronounced himself "somewhat disappointed in it" but still left a vivid description of its interior, which was more like an underground marketplace than a transport artery.

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ต.ค. 11, 10:07
คุณเพ็ญฯ ลองหาแผนที่ Royal Albert Hall ดูซิครับว่าตั้งอยู่ติดกับไฮด์ปาร์ก ไกลแม่น้ำเทมส์มากนะครับ

ส่วนผมก็ได้แนบ Thames Tunnel ให้ชมเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ที่คุณเพ็ญฯ กล่าวถึง ไม่ใกล้ Royal Albert Hall นะขอรับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ต.ค. 11, 10:12
คุณเพ็ญฯ ลองหาเพิ่มเติมจากข้อมูลนี้ละกัน  :-[

"The closest tube station is South Kensington which is linked to the museums by a tiled tunnel beneath Exhibition Road constructed in 1885. This tunnel originally continued as a covered route to the south porch of the Royal Albert Hall via a second tunnel (subsequently used for a period as Imperial College's shooting range) before emerging into the arcades and conservatory of the former gardens of the Royal Horticultural Society"


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ต.ค. 11, 10:21
แผนผังงานนิทรรศการ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 10:27
เส้นทางของนายคร้ามและนักดนตรีอื่นๆระหว่างพักอยู่ในลอนดอน น่าจะเป็นระหว่างสถานทูตสยามและอัลเบิร์ตฮอลล์เป็นสายหลัก   ส่วนไปที่อื่นๆบ้าง ตามแต่ใครจะเชิญไปเล่นดนตรี  ก็ไปแบบยกเครื่องดนตรีเดินทางขึ้นยานพาหนะไปเล่น แล้วก็เดินทางกลับ 
เวลาอยู่ในลอนดอน ก็ตามเสด็จเจ้านายไปสถานที่ต่างๆ แล้วแต่จะทรงพาไปเปิดหูเปิดตาที่ไหน   เที่ยวเสร็จก็กลับที่พัก

ถ้าท่านเดินไปเที่ยวของท่านเอง น่าจะไม่ไกลจากที่พักและที่ทำงานมากนัก   เพราะสะดวก  ประหยัด  ทั้งไม่ต้องกลัวหลงทางด้วย
ถนนใต้ดินที่นายคร้ามเดินไป  น่าจะเป็นเส้นทางที่ไม่ไกลที่พักและที่ทำงาน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 10:39
นายคร้ามเล่าถึง "ถนนใต้ดิน"   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าเป็นส่วนไหนของลอนดอน   เข้าใจว่าต่อมาคงจะเป็นรถไฟใต้ดินหรือ underground กระมัง  
ท่านเล่าว่าท่านไปเดินเล่นที่ถนนใต้ดิน   บอกด้วยว่าน้ำไม่ท่วม   คงหมายถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินก็ไม่มีน้ำท่วมพื้นเป็นปูนอย่างหินชนวน  ผนังเป็นกระเบื้องมีโครงเหล็กข้างใน  มีช่องวางโคมแกซให้แสงสว่างไม่ว่ากลางวันกลางคืน เพราะถนนใต้ดินนั้นมืดตลอด ๒๔ ช.ม. ต้องจุดไฟ
แต่เมื่อเดินลงไปต้องจ่ายเงิน ราคาหนึ่งเพ็นนี   ถนนยาวสี่สิบเส้น   ริมทางเดินมีม้านั่งยาวตั้งไว้เป็นระยะ  และมีร้านขายขนมเล็กน้อย
ถนนใต้ดินนี้ เป็นเส้นทางทอดไปโดยมีทางขึ้นไปสู่ "โรงแสดงสรรพสิ่งของ"  หมายถึงมิวเซียมละมัง

๔๐ เส้น = ๑.๖ กิโลเมตร

ข้อมูลจากคุณวิกกี้

The Thames Tunnel is an underwater tunnel, built beneath the River Thames in London, United Kingdom, connecting Rotherhithe and Wapping. It measures 35 feet (11 m) wide by 20 feet (6 m) high and is 1,300 feet (396 m) long, running at a depth of 75 feet (23 m) below the river's surface (measured at high tide).

อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์คงไม่ใช่แล้ว   :-[

อุโมงค์ของคุณหนุ่มเก็บค่าผ่านประตู ๑ เพ็นนีเหมือนกัน

ถ้ายาวกิโลเมตรครึ่งละก็

ถูกต้องแล้วคร้าบบบ...   ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 09:49
วันพุธ  แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา  มีนักดนตรีอังกฤษมาขอประชันกับนักดนตรีไทย  นายคร้ามเล่าเอาไว้ว่าทำกันที่บ้านท่านราชทูต  คนอังกฤษคนนั้นชื่ออะไรไม่ได้บอก แต่เป็นนักเปียโน    เมื่อฟังดนตรีไทยเล่นแล้ว  เขาก็เล่นเปียโนให้ฟังบ้าง
เพลงที่เล่นคงเป็นเพลงคลาสสิค   และเล่นเร็วมาก  นายคร้ามเล่าว่า  " มือเขาไวอย่างสำคัญดูเหมือนทำอยู่ในห้าคน"
จากนั้น เมื่อนักดนตรีไทยเอาโน้ตเพลงที่ทำไว้ไปให้ดู   นักดนตรีอังกฤษก็เล่นได้ทันที   แสดงว่าในสมัยนั้น มีการทำโน้ตดนตรีไทยแบบสากลแล้ว  ไม่ได้จำเอาเหมือนเมื่อก่อน
จากนั้น ต่างคนต่างก็เล่นเพลงเดียวกัน  ด้วยเครื่องดนตรีของตัวเอง   จนห้าทุ่ม งานจึงเลิก

ฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง โหมโรง ตอนเล่นเพลง ลาวดวงเดือน 


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 09:55
ฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง โหมโรง ตอนเล่นเพลง ลาวดวงเดือน 

จัดให้

http://www.youtube.com/watch?v=YZx2wEppct8

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ต.ค. 11, 10:03
วันพุธ  แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา  มีนักดนตรีอังกฤษมาขอประชันกับนักดนตรีไทย  นายคร้ามเล่าเอาไว้ว่าทำกันที่บ้านท่านราชทูต  คนอังกฤษคนนั้นชื่ออะไรไม่ได้บอก แต่เป็นนักเปียโน    เมื่อฟังดนตรีไทยเล่นแล้ว  เขาก็เล่นเปียโนให้ฟังบ้าง
เพลงที่เล่นคงเป็นเพลงคลาสสิค   และเล่นเร็วมาก  นายคร้ามเล่าว่า  " มือเขาไวอย่างสำคัญดูเหมือนทำอยู่ในห้าคน"
จากนั้น เมื่อนักดนตรีไทยเอาโน้ตเพลงที่ทำไว้ไปให้ดู   นักดนตรีอังกฤษก็เล่นได้ทันที   แสดงว่าในสมัยนั้น มีการทำโน้ตดนตรีไทยแบบสากลแล้ว  ไม่ได้จำเอาเหมือนเมื่อก่อน
จากนั้น ต่างคนต่างก็เล่นเพลงเดียวกัน  ด้วยเครื่องดนตรีของตัวเอง   จนห้าทุ่ม งานจึงเลิก

ฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง โหมโรง ตอนเล่นเพลง ลาวดวงเดือน 

อยากจะเห็นบรรยาศขณะนั้นมาก คงเป็นการผสานความงามของดนตรีตะวันออกและตะวันตกได้อย่างลงตัว ซึ่งครูเพลงทั้งหลายเป็นศิลปินที่สามารถเลียนเสียงทำนองเพลงได้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 10:13
ฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง โหมโรง ตอนเล่นเพลง ลาวดวงเดือน 

จัดให้
 ;D

นึกแล้ว! ;D
ใครจะนึกว่า My Blue Heaven กับ ลาวดวงเดือน จะผสมผสานกันได้ลงตัวขนาดนี้   

เสียดายที่นายคร้ามไม่ได้บอกว่า เพลงที่ส่งโน้ตให้นักดนตรีชาวอังกฤษดูและเล่นร่วมไปด้วย คือเพลงไทยเดิมชื่ออะไร
เสียดายอีกอย่างที่สมัยนั้น ยังบันทึกภาพและเสียงไม่ได้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 10:46
ไม่มีงานเลี้ยงใดที่ไม่เลิกรา (หรือว่า "ลา" คุณเพ็ญโนกรุณาเช็คให้ด้วยนะคะ) ในที่สุดงานดนตรีที่อัลเบิร์ตฮอล์ก็มาถึงวันสุดท้าย ณ วันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกา
นายคร้ามบรรยายว่าเมื่อจับมืออำลากับบรรดาฝรั่งที่มาขายของ และที่เฝ้าประตู   เขาก็แสดงกิริยาอาลัยอาวรณ์นักดนตรีไทยอย่างที่สุด   ข้อนี้อ่านแล้วก็ภูมิใจแทนคนไทย  แสดงว่านักดนตรีไทยทั้ง ๑๙ คนคงทำตัวดีมากตลอดเวลาที่ไปทำงานที่นั่น  ไม่เคยทำอะไรให้ตำหนิได้เลย    คนอังกฤษจึงพอใจในอัธยาศัย   ถ้าพวกเขารังเกียจ ก็คงไม่แสดงความรู้สึกออกมาดีๆขนาดนั้น อย่างมากก็คงอำลาอย่างเสียไม่ได้
นายคร้ามถ่อมตัวว่า เป็นเพราะบารมีของพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงคุ้มครองรักษา  จึงบันดาลให้คนอังกฤษมีไมตรีจิตด้วย  อีกอย่างก็คือนักดนตรีไทยตั้งใจสุจริตต่อราชการ  ผลจึงออกมาดีเช่นนี้


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 12:01
ไม่มีงานเลี้ยงใดที่ไม่เลิกรา (หรือว่า "ลา" คุณเพ็ญโนกรุณาเช็คให้ด้วยนะคะ)

คำนี้ไม่มีปัญหา "เลิกรา" แน่นอน

แต่คำว่า "ล่ำลา" "ล่ำรา"  "ร่ำรา" หรือ "ร่ำลา"

คำเฉลยอยู่ "ที่นี่" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2403.msg76578#msg76578)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 13:29
^


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 13:42
นายคร้ามได้บันทึกไว้ด้วยว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์  ทรงให้ช่างเขียนอังกฤษมาวาดรูปนักดนตรีทั้ง 19 คน ในท่าถือเครื่องดนตรีประจำตัวไว้      ไม่ทราบว่าภาพนั้นยังมีอยู่จนปัจจุบันนี้หรือเปล่า

นอกจากนี้ก็มีเกร็ด สิ่งละอันพันละน้อย เช่นลมฟ้าอากาศ  นายคร้ามก็บันทึกไว้เรื่องฤดูหนาวที่หนาวจนน้ำในสวนสาธารณะแข็งเป็นน้ำแข็งไปครึ่งสระ น้ำแข็งหนาหนึ่งนิ้วครึ่ง   แต่ท่านคงไม่กลัวหนาวเท่าไร   เพราะบอกว่าสามทุ่มยังออกไปเดินเล่น  เห็นหิมะตกลงมา
รูปพรรณสัณฐานของหิมะที่นายคร้ามเปรียบเทียบไว้ก็เข้าที   อ่านแล้วขำ เพราะไม่เคยพบใครเปรียบแบบนี้  ท่านบอกว่าหิมะเหมือนมะพร้าวขูด หยาบบ้างละเอียดบ้าง

ความใจกล้า ไม่กลัวหนาวของนายคร้ามเห็นได้อีกครั้ง เมื่อน้ำในทะเลสาบในปาร์คหนาแข็งขึ้นทุกที  จนหนาประมาณหนึ่งศอกเศษ  นายคร้ามก็ใจกล้าลงไปเดินเล่น  ไม่ยักกลัวน้ำแข็งแตก  อาจเป็นเพราะทะเลสาบในปาร์ค (น่าจะเป็นในไฮด์ปาร์ค) มีคนไปเดินหรือเล่นสเก๊ตกันมาก  นายคร้ามก็เลยไม่กลัว


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ต.ค. 11, 14:10
^
มีแต่ภาพวาดเครื่องดนตรีที่ฝรั่งวาดไว้ แต่ไม่ครบทุกชิ้นครับ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 14:39
^
^
มีภาพเครื่องดนตรีไทยที่นำมาเล่นในงานนี้พร้อมคำบรรยายอยู่ใน หนังสือเล่มข้างบน (http://www.archive.org/stream/cu31924022263861#page/n204/mode/thumb)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23740;image)

อีกชุดหนึ่ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4710.0;attach=23743;image)

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 18:23
    นายคร้ามพูดถึงสาวอังกฤษไว้บ้าง แต่อ้อมๆแอ้มๆ ไม่ค่อยเต็มปากนัก  คงจะเขินอายที่จะบรรยายมากกว่านี้    อ่านระหว่างบรรทัดพอสรุปได้ว่านายคร้ามเคยไปเที่ยวตามถนนในเวลากลางคืน  เจอโสเภณีข้างถนนเชิญชวนลูกค้าอย่างเปิดเผย   เรื่องนี้ท่านเห็นว่าไร้ยางอาย  ก็ประณามเสียมากกว่าจะเห็นเป็นเรื่องเอามาคุยอวดกัน 
    โสเภณีข้างถนนถือเป็นระดับต่ำที่สุดในบรรดาโสเภณีทั้งหมด  ลูกค้าก็คือพวกกรรมกรแรงงาน    ถ้าหากว่าเป็นชายมีฐานะดีจะไปที่ซ่องหรือสำนักโสเภณี เรียกตรงๆว่า whorehouse  ส่วนจะถูกแพงมากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่เจ้าของ    ยังไม่ปรากฏในหนังสือว่านายคร้ามไปเที่ยวระดับนี้
    อย่างไรก็ตาม นายคร้ามก็ชอบสาวอังกฤษไม่น้อย   มีคำว่า"ข้าพเจ้าได้ทดลองดูนิดหน่อย" แปลว่าอะไร เห็นจะต้องไปตีความกันเอง   อาจจะไม่ใช่โสเภณีอาชีพ คือผู้หญิงที่นายคร้ามสารภาพว่าคบหาด้วยชั่วครั้งชั่วคราว เป็นผู้หญิงระดับล่างอีกประเภทหนึ่ง   ท่านบอกว่าทำงานอยู่ในบ้านผู้ดีมีเงิน  เรียกว่า "บ๋อย"     อ่านอยู่หลายเที่ยวถึงพอจับได้ว่า น่าจะเป็น maid หรือหญิงรับใช้      พวกนี้จะว่าเหมือนบ่าวในสยามก็ไม่เชิง  เพราะเขามีอิสระไปไหนมาไหนได้เมื่อหมดเวลาทำงานแล้ว     นายคร้ามก็ชวนไปเดินเล่น  แต่ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างเดิน  เป็นการเดินคลอเคลียกระหนุงกระหนิง  ถึงเนื้อถึงตัวกันได้ เพราะฝรั่งไม่ถือ
   เรื่องโสเภณี  จะว่านายคร้ามไม่เกี่ยวข้องเสียเลยก็คงไม่ใช่  เพราะมีตอนหนึ่งเล่าว่าได้ไปเล่นดนตรีถึงสิบเก้าหัวเมือง  เจอโสเภณีอยู่มากมายทุกเมือง   ก็ถ้าไม่ซอกแซกไปดูในตอนกลางคืนแล้วจะรู้ได้ยังไง    ในแต่ละเมืองเขาก็มีแหล่งของเขา

    ภาพวาดข้างล่างนี้คือโสเภณีข้างถนน


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 20:49
ในเมื่อนายคร้ามอยู่ยาวจนถึงฤดูหนาว  จึงได้ฉลองวันคริสต์มาสด้วย   ท่านเล่าว่าหยุดติดต่อกัน 3 วัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  วันที่หนึ่งของการฉลอง ร้านรวงต่างๆหยุดหมด  ฉลองกันในบ้านอย่างโอ่โถง   บ้านท่านราชทูตสยามก็ฉลองเหมือนกัน    ส่วนคนรับใช้ก็แยกกันไปฉลองที่โต๊ะของพวกเขา
นักดนตรีอย่างนายคร้ามไม่ได้ไปร่วมโต๊ะเสวยของเจ้านาย    แต่ได้รับเชิญจากนายบุตเสมียนสถานทูตไปนั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน  มีนายสิน นายฉ่าง และนายสมบุญ ไปร่วมด้วย  กินอาหารกันไป กินเหล้ากันไปก็ครึกครื้นกันขึ้นทุกที

ที่ว่าครึกครื้นนั้นคือประเพณีอย่างหนึ่งของอังกฤษ  นายคร้ามเล่าว่ามีใบไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "มัชโต" ที่จริงคือ มิสเซิลโท (mistletoe)  เป็นพวงใบไม้ที่แขวนไว้เหนือประตูหน้าต่าง หรือเหนือโต๊ะอาหาร     ถ้าผู้ชายผู้หญิงคนไหนเด็ดใบมาชูหน้าใครอีกคน  จะสามารถจูบคนนั้นได้ตามสบาย  คนถูกจูบจะถือสาไม่ได้

พวกที่ร่วมโต๊ะกินอาหารกันพอดื่มกันได้ที่ ก็เด็ดใบมิสเซิลโทมาชูกันให้ขวักไขว่  นายคร้ามในตอนแรกก็คงกระอักกระอ่วน  แต่หนักเข้าก็เลยตามเลย


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 21:07
ในที่สุดก็ถึงเวลาเดินทางกลับสยาม  ในเดือน 3 ปีระกา  นักดนตรีเหลือ 17 คน เสียชีวิตไปคนหนึ่งคือครูจีน  คนที่ 18 เป็นล่ามชื่อนายสมบุญ   นายคร้ามได้บรรยายความเศร้าเสียดายที่ต้องจากลอนดอน   เสียดายสถานที่ต่างๆที่เคยพาเพื่อนชาวอังกฤษมาเดินเล่นชมสถานที่อยู่เสมอ
" เพื่อนชาวอังกฤษ" ที่นายคร้ามพาเดินชมโน่นชมนี่ เห็นทีจะเป็นเพื่อนสาว ไม่ต้องสงสัย     ถึงได้อาลัยอาวรณ์นัก

นายคร้ามเดินทางออกจากลอนดอนตอนเก้าโมงเศษ วันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา     โดยสารเรือลำใหญ่กว่าขามา เป็นเรือสินค้าไม่ใช่เรือเมล์    ห้องหับดีเป็นของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แต่ว่าอาหารที่กิน เป็นอัตราชั้นสาม  เพราะจะหนึ่งทั้งสองอย่างก็เปลืองเงินมากไป  นายคร้ามจึงบ่นอุบๆอิบๆเรื่องอาหารการกินที่กินไม่ลง อยู่ในบันทึก


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 21:23
สิบห้าวันจากลอนดอนมาถึงเมืองปอตเสด  จากนั้นก็เดินทางเข้าคลองสุเอซ    กลับมาทางลังกาในเส้นทางเดิม  นายคร้ามบ่นว่าเมาคลื่นสะบักสะบอม
พ้นเขตลังกาเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 เวลา 5 ทุ่ม   
นายคร้ามจบบันทึกไว้ห้วนๆ ว่า "อาหารรับไม่ได้ ดูช่างโซและโทรมเหลือประมาณทีเดียว กว่าจะลุถึงสยามบ้านเกิดเมืองนอน" 

ไม่มีบันทึกต่อไปว่าเมื่อกลับถึงกรุงเทพแล้วรู้สึกอย่างไร   พ่อแม่พี่น้องมารับดีอกดีใจกันแค่ไหน จากนั้นได้เข้าเฝ้าฯ หรือไม่     จากนั้นชีวิตนายคร้ามเป็นอย่างไรต่อไป ได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์หรือไม่ ก็ไม่ได้บอกไว้ในหนังสือเล่มที่ดิฉันเก็บความมา

พบจากอินทรเนตรว่ามีการทำเป็นซีดีรอมแล้ว   อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้อีก   ท่านสมาชิกผู้ใดทราบโปรดช่วยขยายความด้วย ขอขอบพระคุณ


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 21:35
ในที่สุดก็ถึงเวลาเดินทางกลับสยาม  ในเดือน 3 ปีระกา  นักดนตรีเหลือ 17 คน เสียชีวิตไปคนหนึ่งคือครูจีน

ครูจีนชื่อเต็มคือครูสังจีน

ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ (http://books.google.com/books/about/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8.html?id=mw9wAAAAMAAJ) ว่า

"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

คณะดนตรีไทยได้เปิดการแสดงที่อัลเบิรต์ ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๒๘ ซึ่งเป็น การเปิดการแสดงด้วยวงมโหรี คณะดนตรีไทยได้บรรเลงอยู่ที่นั่นประมาณ ๓ เดือนสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง และ ในวันว่างก็ได้รับงานไปบรรเลงนอกสถานที่  

ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฤดูร้อนชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่น

เมื่องานแสดงมหกรรมได้สิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคมของปีนั้นแล้ว คณะดนตรีไทยก็ได้ตระเวนไป แสดงตามเมืองต่าง ๆ และได้ออกเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๒๘ ในระหว่างที่อยู่ใน อังกฤษ นักดนตรีไทยคนหนึ่งได้ป่วยลงและเสียชีวิตที่นั่นชื่อว่านายสังจีน

 ;D


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ต.ค. 11, 19:27
ควันความเรื่องโน้ตเพลงไทย

จากนั้น เมื่อนักดนตรีไทยเอาโน้ตเพลงที่ทำไว้ไปให้ดู   นักดนตรีอังกฤษก็เล่นได้ทันที   แสดงว่าในสมัยนั้น มีการทำโน้ตดนตรีไทยแบบสากลแล้ว  ไม่ได้จำเอาเหมือนเมื่อก่อนจากนั้น ต่างคนต่างก็เล่นเพลงเดียวกัน  ด้วยเครื่องดนตรีของตัวเอง   จนห้าทุ่ม งานจึงเลิก

คงบรรเลงเพลงใดเพลงหนึ่ง หรือไม่ก็ทั้งสองเพลงข้างล่าง

     ในการแสดงคราวนี้ ฝ่ายไทยได้นำโน๊ตเพลงไทยจำนวน 2 เพลง (เท่าที่ค้นพบ) คือ เพลงทะยอยนอก(Tai Yoi Nok) และ เพลงเชิดจีน(Churd Chin) ประพันธ์โดยหลวงวาทิตบรเทศ มี Joseph Romano เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน  ซึ่งพิมพ์เผยแพร่และจำหน่ายในอังกฤษอีกด้วย จากหลักฐานดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าโน๊ตเพลงทั้ง 2 น่าจะเป็นเพลงไทยที่บันทึกด้วยโน๊ตสากลชิ้นแรก ๆ ที่มีการตีพิมพ์และจำหน่าย อย่างเป็นทางการก็ว่าได้

เห็นในโฆษณาหนังสือเขาว่า โน้ตเพลงดังกล่าวมีอยู่ที่สยามบรรณาคม และจะนำมาแสดงใน เว็บไซต์ (http://www.digitalrarebook.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=5067&pid=29214) เร็ว ๆ นี้

 ;D



กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 11, 09:46
เก่งมากค่ะ คุณเพ็ญชมพู

http://www.youtube.com/watch?v=UrmpdM-JMEY


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 11, 09:51
.
http://www.youtube.com/watch?v=jtQykjt6KFo&feature=related


กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ธ.ค. 11, 10:48
จบเรื่องของนายคร้ามแล้ว ก็ขอต่อเรื่องของนายบุศย์มหินทร์ ผู้นำวงมโหรีไทยไปแสดงในงาน นิทรรศการนานาชาติ 1900 (World Exhibition 1900) ที่กรุงปารีส และได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศในยุโรป

และเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของวงมโหรีไทยในสมัยนั้น มาให้ชาวเรือนไทยได้มาต่อเติมเรื่องกันต่อไป

จากเรื่อง กระบอกเสียงนายบุศย์มหินทร์

http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/talkingmachine/boosra_mahin/pluethipol.html

งานนิทรรศการนานาชาติ 1900 ที่กรุงปารีส

http://www.paris-in-photos.com/old-paris-1900-exhibition.htm

เพิ่มเติม - เกร็ดประวัติศาสตร์จากนาเอกสวัสดิ์ จันทนี


ในหนังสือนิทานชาวไร่ ของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี ตอนที่ ๗๒ ตอนหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า (ท่านบันทึกเรื่องที่คุณหลวงวภักดิ์ภูบาลเล่าให้ฟัง) ...

“คุยไปคุยมาเลยคุยถึงจางวางสอนแห่งวังบูรพา วังเจ้าทุกวังต้องมีจางวางสำหรับเป็นทนายหน้าหอหรือหัวหน้าคนรับใช้ ถ้าเจ้านายทรงกลมก็มีเจ้ากรมปลัดกรมและสมุหบัญชีเพิ่มขึ้น ส่วนจางวางคงมีตามเคย

ด้วยฝีมือดนตรีไทยอันเลอเลิศของจางวางสอน ฝรั่งมาพบเข้าก็เห็นว่าเป็นของแปลก ถึงคิดกับจะนำไปถวายให้พระนางวิคตอเรียได้ทอดพระเนตรและได้ทรงฟัง ทุนทรัพย์ที่เดินทางหอบคนทั้งงและเครื่องดนตรีนานาชนิดไปนั้น คุณหลวงไม่ทราบว่าใครออกเงิน ปรากฎว่าพระนางวิคตอเรียได้เห็นจางวางสอนตีระนาดถวาย ส่วนจะเข้ใครจะดีดไม่ทราบ ปรากฎว่าพระนางชอบเสียงของมันยิ่งนัก ถึงกับรับสั่งให้เอาไม้โอ๊คมาแกะให้มีขนาดและความหนาเท่าแบบเปี๊ยบ ครั้นประกอบแล้วดีดก็ไม่กังวาล ต้องสั่งเอาไม้ขนุนไปแกะ นั่นแหละเสียงจึงกังวานอย่างแบบ จะเข้นี้จะมีเฉพาะดนตรีไทยหรืออย่างไร ข้าพเจ้าก็ไม่มีความรู้ แต่เคยดูจากภาพก็ไม่เห็นชาติพม่าหรืออินโดนีเซียมีเหมือนเรา

สำหรับจางวางทั่วแห่งวังบางขุนพรหมนั้น ไม่ปรากฎว่าได้ไปต่างประเทศ”
จางวางสอน หมายถึง หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

จางวางทั่ว หมายถึง ทั่ว พาทยโกศล







กระทู้: คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เริ่มกระทู้โดย: ศุศศิ ที่ 21 ก.พ. 12, 16:48
ชอบมากเกร็ดประวัติศาสตร์ จากมุมมองของคนสามัญ