เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 14:57



กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 14:57
           เคยท่องเน็ทชมภาพวาดของจิตรกรต่างๆ และได้พบรูปนี้เมื่อนานหลายปีแล้ว
จนวันนี้จึงได้ข้อมูลรายละเอียด จาก bangkokbiznews.com

พ่อชาย (Pho Xai)

ไม่ได้ย่อขนาดรูป เพื่อจะได้เห็นตัวหนังสือชัด ครับ


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:02
          ห้องพิพิธภัณฑ์จีน (Salon et Muse'e chinois de l'impe'ratrice Euge'nie)
ของพระราชวังฟงแตนโบล (Chateau de Fontainebleau) ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคเรอเนสซองส์
(ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16) เป็นห้องที่ใช้แสดงของขวัญและสมบัติจากประเทศจีนและดินแดนตะวันออก
ที่สำคัญ คือ มีหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งตอนนั้นยังเป็นประเทศ “สยาม”
ได้แก่ ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อ พ่อชาย (Pho Xai) นี้


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:05
            Palace of Fontainebleau อยู่ห่างจากใจกลางกรุงปารีสไป 55 กม.
ปราสาทหลังเก่าได้ถูกใช้เป็นที่ประทับในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 12 ตัวปราสาทหลังปัจจุบันนี้
เริ่มสร้างในต้นศตวรรษที่ 16 สมัยพระเจ้า Francis I โดยมี Gilles le Breton เป็นสถาปนิก และ
ยังมี Leonardo da Vinci เป็นสถาปนิกร่วมด้วย
             จักรพรรดิ Napoleon Bonaparte ได้ทำการแปลงโฉมให้ชาโต้แห่งนี้กลายเป็นสัญญลัษณ์
แห่งความเกรียงไกรใหญ่โตโอฬารแทนพระราชวัง Versailles ที่กลายร้างว่างเปล่า
             และ กาลต่อมาชาโต้แห่งนี้ก็ได้เป็นที่ตั้งราชสำนักแห่งจักรวรรดิที่สองของหลานพระองค์
นั่นคือ Napoleon III


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:11
ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อ พ่อชาย (Pho Xai) เป็นรูปเด็กชายไว้ผมจุก เขียนโดย
                ฌอง เลอง เฌอโครม (Jean Leon Gerome)
ศิลปินชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1861 มุมบนด้านขวามีอักษรไทย  "พ่อชาย" อยู่ด้วย
(และภาษาฝรั่งเศสจับความได้ - บุตรชายของทูตสยาม) กลางๆ มีอักษรย่อของผู้วาดเขียนภาพ
JL Gerome และปีที่วาด 
               ปัจจุบันอยู่ในการสะสมของตระกูลTanenbaum ประเทศแคนาดา

                พ่อชาย ในรูปนั้นมีนามว่า พระยาประภากรวงศวรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) บุตรคนโต
ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) กับท่านผู้หญิงอ่วม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5
เป็นจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิศักดิ์
ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
เมื่อ พ.ศ. 2422  มีบุตรธิดารวม 13 คน

รูปซ้ำ ขนาดย่อ (รูปแรกขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏสักที)


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:13
            ส่วนอีกหนึ่งภาพ เป็นภาพคณะราชทูตสยามภายใต้การนำของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี
(แพ บุนนาค) ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นเจริญพระราชไมตรี พร้อมเครื่องมงคลราชบรรณาการ ของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎ พระราชสุพรรณบัฏ และ
เครื่องประกอบราชอิสริยยศ เช่น พระราชยาน พระกลด แด่จักรพรรดินโปเลองที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ณ พระราชวังฟงแตนโบล
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2404 (1861) ฝีมือของ ฌอง เลอง เฌอโครม เช่นกัน

              ฝรั่งเศสได้ทำภาพสีน้ำมันบันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ 2 ภาพ ๆ หนึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถาน
พระราชวังฟงแตนโบล ส่วนอีกภาพจัดแสดงอยู่ที่ผนังด้านตะวันออกของพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ที่ท้องพระโรงกลาง ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระบรมมหาราชวัง


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:17
                 คณะราชทูตไทยในครั้งนั้นประกอบด้วย 28 คน คือ
ราชทูต 1.พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี จางวางพระคลังภาษีสินค้า อายุ 43 บุตรคนที่ 2 ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ
          2.นายสมบุญ บุตรราชทูต  3.ขุนสมบัติบดี เสมียน  4.นายฮวด ล่าม  5.ขุนราชสมบัติ คนใช้  6.หมื่นนราภักดี คนใช้
 

อุปทูต : 7.เจ้าหมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็กเวรขวา ชื่อเดิมวอน อายุ 33 ปี บุตรที่ 1 ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหกลาโหม

           8.นายชาย บุตรอุปทูต ที่ปรากฏในภาพเขียนนั่นเอง 

9.นายหวาด บุตรพระยาอภัยสงคราม      10.หลวงชาติสุรินทร์ เสมียน  11.ขุนจรเจนทเล ล่าม
12.นายเอี่ยม มหาดเล็ก 13.นายเนตร มหาดเล็ก 14.พันทนงสิงหนาท คนใช้ 15.นายฃุ่น คนใช้
 
ตรีทูต : 16.พระณรงค์วิชิต เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวาในพระบวรราชวัง  อายุ 26 ปี บุตรที่ 9 ของสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
17.นายเปีย มหาดเล็กล่าม 18.หมื่นหาญณรงค์ เสมียน 19.พันสกลบันลือ คนใช้

ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการในพระบรมมหาราชวัง  20.หลวงอินทรมนตรี เจ้ากรมสรรพากรนอก
21.นายสรรพพิชัย มหาดเล็กหุ้มแพร 22.ขุนมหาสิทธิโวหาร ปลัดกรมอาลักษณ์  23.หมื่นจักรวิจิตร กรมพระแสงในฃ้าย
24.ขุนศรีวิสุทธากร เสมียน  25.นายเนียม คนใช้  26.นายสัง คนใช้  27.นายเดช คนใช้

ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการในพระบวรราชวัง 28 หมื่นจินดารักษ์ หัวหมื่นพระตำรวจนอกเขต

(สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 30 จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค)
เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีระกา พ.ศ.2404 / 49 - 56 ตอนที่ 6
ว่าด้วยราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส)


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:21
Jean Leon Gerome [French Academic Painter and Sculptor,
1824-1904]
 
        จิตรกรและประติมากรชาวฝรั่งเศส ผู้หยัดยืนทานกระแส Impressionism
โดยยังคงเขียนภาพตามแนวทางเดิม Neo-Classicism
        เขามีชื่อเสียงโดดเด่นจากผลงานภาพเชิงประวัติศาสตร์ ตำนานกรีก ดินแดนตะวันออก และสิงสาราสัตว์

ภาพวาดตัวเอง


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:25
ผลงานภาพอื่นๆ ของเขา เช่น

The Death of Caesar


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 15:37
Summer Afternoon on a Lake



กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ต.ค. 10, 15:43
                (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 30 จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค)
เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีระกา พ.ศ.2404 / 49 - 56 ตอนที่ 6
ว่าด้วยราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส)

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๐ จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔

ตอนที่ ๖ ว่าด้วยราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส

๔๙ วันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำเวลาบ่าย ๔ โมงมองติคนีพาราชทูต อุปทูต ตรีทูต นายสรรพวิชัย หลวงอินทรมนตรี ขุนมหาสิทธิโวหาร หลวงชาติสุรินทร์ ขุนสมบัติบดีรวม ๘ คน แต่งตัวตามบันดาศักดินำหนังสือเจ้าพระยารวิวงศมหาโกษาธิบดีที่พระคลังไปให้มินิศเตอทูวแนลผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ มินิศเตอทูวแนลว่าออกมารับเชิญทูตานุทูตให้นั่งเก้าอี้ตามลำดับ แล้วราชทูตบอกแก่มินิศเตอทูวแนลว่า ข้าพเจ้าเชิญหนังสือเจ้าพระยารวิวงศมหาโกษาธิบดีที่พระคลัง ผู้ว่าการต่างประเทศคำนับมายังท่านฉบับ ๑ ราชทูตจึงส่งหนังสือให้มินิศเตอทูวแนล ๆ รับหนังสือแล้วถามราชทูตว่าทูตานุทูตมาตามทางสบายอยู่หรือ ราชทูต ตอบว่าเปนสุขสบายอยู่ พูดจาอยู่ประมาณครู่หนึ่งแล้วคนใช้เอาน้ำกาแฟ น้ำองุ่นขนมน้ำแขงมาเลี้ยงทูตานุทูต พูดกันอยู่ประมาณโมงหนึ่งลากลับมาโฮเต็ล วันอังคารเดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำเวลาบ่าย ๔ โมง มินิศเตอทูวแนลกับมองติคนีมาหาทูตานุทูตที่โฮเต็ล แล้วมินิศเตอทูวแนลถามว่า ทูตานุทูตมาอยู่ที่โฮเต็ลสบายดีอยู่หรือ เดือนนี้เปนระดูร้อน ราชทูต ตอบว่ามีความสบายอยู่มิสู้ร้อนนัก แล้วราชทูตถามมินิศเตอทูวแนลว่าท่านกำหนดจะให้ทูตานุทูตเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอวันไร มินิศเตอ ๗


๕๐ ทูวแนลตอบว่าจะไปกราบทูลสมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอก่อน จะโปรดให้เฝ้าวันไรจึงจะกำหนดให้ทราบ มินิศเตอทูวแนลว่าอยากจะใคร่ดูเครื่องมงคลราชบรรณาการ ราชทูตจึงสั่งผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการให้เชิญหีบเครื่องมงคลราชบรรณาการที่เปนเครื่องทองลงยา เครื่องทองคำ เครื่องอาวุธมาเปิดให้ดู แล้วมินิศเตอทูวแนลชมว่าเครื่องมงคลราชบรรณาการทำที่กรุงสยามงามดี เปนของประหลาทยังไม่เคยเห็นราชทูตจึงจัดสิ่งของในหลวงซึ่งโปรด ฯ พระราชทานออกไปให้แก่มินิศเตอทูวแนล โต๊ะถม ๑ กาถมกลม ๑ กล่องบุหรี่ถม ๑ รวม ๓ สิ่ง กับ ดาบสันกลมฝักกาไหล่ทองบ้าง หุ้มทองคำประดับพลอยด้ามกาละปังหาฝังดอกไม้ทองคำเล่ม ๑ ราชทูตให้แก่มินิศเตอว่าเปนของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทฝากมาพระราชทานแก่มินิศเตอทูวแนล มินิศเตอทูวแนลได้รับสิ่งของทั้งปวงแล้วมีความยินดีเปน อันมาก พูดจาอยู่ประมาณชั่วโมงครึ่ง มินิศเตอทูวแนลแลมอง ติคนีกลับไป. วันพฤหัสบดีเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เวลาเช้ามองติคนีมาบอกทูตา นุทูตว่า มินิศเตอทูวแนลได้ไปเฝ้ากราบทูลสมเด็ลพระเจ้าแอมเปอเรอแล้วมีรับสั่งกำหนดให้ทูตานุทูต เฝ้าถวายพระราชสาส์นเครื่องมงคลราช บรรณาการที่พระราชวังฟอเตลโปล ณวันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำเวลาบ่าย ๕ โมง จะต้องไปรถไฟ ราชทูตจึงว่ากับมองติคนีว่าขอท่าน ได้ไปหารือมินิศเตอทูวแนลด้วย มินิศเตอจะโปรดให้ทูตานุทูตเฝ้าสัก กี่คน มองติคนีตอบว่าการข้อนี้ไม่ใช่ธุระของมินิศเตอทูวแนล แล้ว

๕๑ แต่ราชทูตจะเห็นควร ราชทูตจะจัดให้เฝ้าสักกี่คนขอให้ข้าพเจ้าทราบด้วยราชทูตจึงให้ทำบาญชีชื่อทูตานุทูตที่จะให้เฝ้านั้น ราชทูต ๑ อุปทูต ๑ ตรีทูต ๑ ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการ หลวงอินทรมนตรี ๑ นายสรรพวิชัย ๑ ขุนมหาสิทธิโวหาร ๑ หมื่นจักรวิจิตร ๑ สี่คน นายสมบุญบุตรราชทูต ๑ นายชายบุตรอุปทูต ๑ นายเอี่ยมมหาดเล็ก ๑ เสมียน ขุนสมบัติบดี ๑ หลวงชาติสุรินทร์ ๑ ล่าม ขุนจรเจนทเล ๑ นายเปี่ยม มหาดเล็ก ๑ รวม ๑๔ คนนั้นให้เฝ้า แต่หมื่นจินดารักษ์ ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการ ในพระบวรราชวัง ๑ นายหวาดบุตรพระยาอภัยสงคราม๑ นายเนตร มหาดเล็ก ๑ สามคนนี้หาให้เฝ้าไม่แล้วราชทูตจึงให้จดหมายรายชื่อคน ๑๔ คน ซึ่งจะให้เฝ้ามอบให้แก่ มองติคนี ๆ รับจดหมายแล้วลากลับไป เวลาค่ำมองติคนีพาทูตานุทูตไปดูละคอนโรงใหญ่ในเมืองปารีส ละคอนนั้นเล่นก็คล้ายกันกับที่เมืองไลยอน แต่ที่โรงแลเครื่องเล่นแลฉากเครื่องตั้งแต่งแขงแรงกว่าเมืองไลยอน จะพรรณาไปยืดยาวนัก เวลา ๒ ยามละคอนเลิก แล้วทูตา นุทูตก็กลับมาโฮเต็ล วันศุกร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำเวลาเช้า มองติคนีพาช่างเขียนถ่ายรูปมาที่โฮเต็ล มองติคนีบอกว่ามีรับสมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอให้พาช่างมาขอให้ทูตแต่งตัวอย่างไทย จะให้ช่างถ่ายรูปไว้สำหรับแผ่นดิน ในเวลานั้นช่างได้ถ่ายรูปราชทูต รูปนายสรรพวิชัย ๒ คนแผ่นหนึ่ง รูปอุปทูต รูปนายชาย ๒ คนแผ่นหนึ่ง ตรีทูตแผ่นหนึ่ง หลวงอินทรมนตรี

๕๒ แผ่นหนึ่ง ขุนมหาสิทธิโวหารแผ่นหนึ่ง รวม ๕ แผ่น แล้วเขียนประสานให้สีเหมือนสีตัวด้วย วันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ เวลาเช้า ๒ โมงมองติคนีพาขุนนางเจ้าพนักงารมารับเครื่องมงคลราชบรรณาการ ไปตั้งที่พระราชวังฟอเตลโปล ราชทูตจึงให้หลวงอินทรมนตรี ขุนมหาสิทธิโวหาร แต่งตัวตามบันดาศักดิ์ ๒ นายกำกับไปจะได้จัดตั้งด้วย ครั้นเวลาบ่าย ๒ โมงครึ่ง มาเชอวายยางขุนนางฝ่ายทหาร ๑ มารอนเตลริศ ขุนนางฝ่ายกรมท่า ๑ มองติคนี ๑ สามคนจักรถมารับทูตานุทูตที่โฮเต็ล ๕ รถ เทียมม้า ๔ ม้า สารถีขับรถใส่หมวกภู่ทอง ใส่เสื้อปักทองขับรถละ ๒ คน ราชทูต อุปทูต ตรีทูต แต่งตัวใส่สนับเพลานุ่งยกทอง คาด เข็ดขัด คาดกรองทอง ใส่เสื้อเยียระบับอย่างน้อยชั้นใน เสื้อกรุยกรองทองชั้นนอก ราชทูตขัดกระบี่ฝักทองคำลงยา ใส่มาลามีพระตราจอมเกล้าประดับเพ็ชร์ อุปทูตขัดกระบี่ฝักนาคบ้างทองคำประดับพลอย ใส่มาลา มีพระตราจอมเกล้าประดับทับทิม ตรีทูตขัดกระบี่ฝักกาไหล่ทอง ใส่ทรงประพาสมีพระตราปิ่นเกล้าทองคำ บาดหลวงลุยวิศลอนนาดีล่าใหญ่ นายสรรพวิชัย หมื่นจักรวิจิตร นายสมบุญบุตรราชทูต นายชาย บุตรอุปทูต ขุนสมบัติบดี หลวงชาติสุรินทร์ ขุนจรเจนทเลล่าม นายเปีย ล่ามมหาดเล็ก นายเอี่ยมมหาดเล็ก แต่งตัวตามบันดาศักดิ์ ๑๒ คน รถที่หนึ่งเปนรถราชทูตเชิญหีบพระราชสาส์นขึ้นรถมีขุนนางไปด้วยในรถมาเชอวายยางขุนนางฝ่ายทหาร ๑ มองติคนี ๑ บาดหลวงลุยวิศ ลอนนาดี๑รถที่สองนั้นอุปทูต ตรีทูต มารอนเตลริศขุนนางฝ่ายกรมท่า ๑ นายชายบุตรอุปทูต ๑ รวม ๔ นาย ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการ

๕๓ เสมียน ล่ามไป ๓ รถ ออกจากโฮเต็ลทางไมล์หนึ่งถึงที่โรงพักรถไฟ มีขุนนางฝ่ายทหารพลเรือนคอยรับทูตานุทูตอยู่ที่ท่ารถไฟหลายนายแล้วมองติคนีเชิญทูตานุทูตให้เชิญพระราชสาส์นขึ้นรถไฟ ขุนนาง ที่มาคอยอยู่ที่นั้นก็ไปพร้อมกับทูตานุทูต ทาง ๑๒๐ ไมล์ ถึงที่พักรถไฟ ณพระราชวังฟอเตลโปล ทูตานุทูตลงจากรถไฟแล้วเชิญพระราชสาส์นขึ้นรถเทียมม้า 4 ม้าทุกรถไปตามถนน ราษฏรยกธงตามหน้าต่างทุกตึกไปทาง ๓๐ เส้นถึงพระราชวัง มีปี่พาทย์ประโคมสำรับหนึ่ง ๓๖ คน มีทหารแต่งตัวถือปืนไรแฟนยืนข้างถนนข้างละ๒แถวเปนทหาร๒,๐๐๐คน ทหารใส่เสื้อเกราะขี่ม้ายืนหลังทหารปืนข้างละ ๒ แถวเปนทหาร๔๐๐ม้า รวมทหาร ๒,๔๐๐ คน กำแพงวังด้านทางทูตเข้านั้นเปนรั้วเหล็กยอดปิดทอง มีประตูใหญ่ ๔ ประตู รถทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวังถึง บันไดเกย ทูตลงจากรถแล้ว ขุนนางพาทูตานุทูตขึ้นไปบนตำหนัก เข้าพระทวารลดเลี้ยวไปประมาณเส้นหนึ่ง มีทหารใส่เสื้อเกราะยืน๒ แถวถือดาบถือขวานประมาณ ๕๐๐ คน ครั้นถึงห้องพระตำหนักแห่งหนึ่ง ขุนนางฝ่ายกรมวังออกมารับให้ทูตานุทูตหยุดพัก เปิดหีบพระราชสาส์น ออกแล้ว ราชทูตเชิญพระราชสาส์นในพระบวรราชวังรวมลงในพานพระราชสาส์นใหญ่ มองติคนีกับขุนนางกรมวังนำราชทูตเชิญพระบรมราชสาส์นแลพระบวรราชสาส์น กับทูตานุทูตเข้าไปถึงท้องพระโรง ที่เสด็จออก แล้วคลานตามลำดับเข้าไปถึงพระที่นั่ง ราชทูต ก็วางพานพระราชสาส์นลง ห่างกับที่สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอเสด็จออกประทับอยู่นั้นประมาณ ๘ ศอก ทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมครั้งหนึ่ง

๕๔ แล้วหมอบอยู่ ราชทูตอ่านทูลเบิกถวายพระราชสาส์นเครื่องมงคล ราชบรรณาการเปนคำไทยก่อน แล้วบาดหลวงลุยวิศลอนนาดีล่ามอ่านแปลเปนคำฝรั่งเศสถวายจบแล้ว ๆ ทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมอิกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอมีรับสั่งตอบว่า ขอบพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทั้งสองพระองค์ ที่ได้รับทูตแลขุนนางเรือรบซึ่งเข้าไปกรุงเทพมหานครโดยความยินดี แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามแต่งทูตานุทูตให้เชิญพระราชสาส์นเครื่องมงคลราชบรรณาการมาเจริญทางพระราชไมตรีอิกนั้น ขอบพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามเปนอันมากแต่ก่อนกรุงฝรั่งเศสกับกรุงสยามอยู่ไกลกัน เดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสตีได้เมือง ไซ่ง่อนเขตแดนญวนเปนของฝรั่งเศส แผ่นดินก็ใกล้กันกับกรุงสยาม คอเวอนแมนต์ทั้งสองฝ่ายมีธุระการงารสิ่งใดจะได้ปรึกษาหารือกัน พระราชไมตรีก็จะได้สนิทกันมากทวีขึ้นไป ขอให้สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทั้งสองพระองค์ ทรงพระชนมายุยืนยาวให้มาก พระราชไมตรีทั้งสองพระนครจะได้ถาวรวัฒนาสืบไปภายหน้าชั่วฟ้าแลดิน ทูตถวายบังคมพร้อมกันอิกครั้งหนึ่ง แล้วราชทูตเชิญพานพระราชสาส์นเข้าไปถวายสมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอทรงรับต่อพระหัดถ์ แล้วส่งพระราชสาส์นให้มินิศเตอทูวแนลผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ ราชทูตคลานถอยออกมาถึงที่เฝ้าทูตานุทูตถวายบังคมอิกครั้งหนึ่ง ขุนนางบอกว่าจะเสด็จขึ้นทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมคลานถอยหลังออกมา แล้วมีรับสั่ง ให้ทูตานุทูตยืนขึ้นทุกคน สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอแลแอมเปรศพระ มเหษีพระเจ้าลูกยาเธอเนโปเลียน เสด็จมาไต่ถามทุกข์สุขถึงสมเด็จ

๕๕ พระเจ้ากรุงสยามทั้งสองพระองค์ แลพระบรมวงศานุวงศท่านเสนาบดีผู้ใหญ่แลทูตานุทูต แล้วรับสั่งให้หาตัวนายชายมาให้พระเจ้าลูกยาเธอเนโปเลียนจับมือนายชาย สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอนั้นตรัสภาษาฝรั่งเศส แอมเปรศพระมเหษีนั้นตรัสภาษาอังกฤษ แล้วเสด็จเลย ไปทอดพระเนตรเครื่องมงคลราชบรรณาการ รับสั่งว่าฝีมือช่างไทยทำ สิ่งลงยาลายสลักประดับเพ็ชร์ประดับพลอยงามกว่าของในประเทศอื่นแล้วเสด็จขึ้น เมื่อแอมเปรศพระมเหษีเสด็จมานั้น มีหญิงสาวแต่งตัว มีใบไม้เพ็ชร์ผูกฅอ ใส่กำไลมือประดับเพ็ชร์ ถือชายพระภูษา ๔ คนท้องพระโรงที่เสด็จออกนั้น พื้นสองชั้น ๆ บนมีพระแท่นยาวแล้วมีพระพระที่นั่งเรียงกัน ๓ องค์ สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอเสด็จประทับพระ ที่นั่งองค์กลางมีเศวตฉัตร ทรงพระมาลากอกแฮต ทรงฉลองพระองค์ดำ ทรงพระสังวาลแพรแถบแดงห้อยพระตรา ทรงสนับเพลาแดงริ้วดำสองข้างทรงพระแสงฝักหนังดำ แต่งพระองค์เหมือนอย่างนายทหารแอมเปรศพระมเหษีนั้นทรงเครื่องขาวประดับแล้วไปด้วยเพ็ชร์ ประทับอยู่พระที่นั่งซ้าย พระเจ้าลูกเธอทรงเครื่องดำอย่างทหาร เสด็จยืน อยู่ข้างพระที่นั่งที่ฝ่ายขวา ข้างขวามีทหารแต่งตัวถือกระบองยืนอยู่ ๑๘คน ข้างซ้ายมีหญิงภรรยาขุนนางบ้าง สาวใช้บ้าง ยืนอยู่ ๓๐ คน ชั้นล่างเปนที่ขุนนางเฝ้า มินิศเตอแลขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแต่งตัวสพายดาบยืนเฝ้าอยู่ข้างละ ๑๙ คน ทูตานุทูตเฝ้าอยู่กลางขุนนาง ถัดออกมา ๒ ข้างท้องพระโรง ตั้งเครื่องมงคลราชบรรณาการ มองติคนีพาทูตานุทูตไปดูห้องแลพระแท่นของแอมเปรศพระมเหษี มีหลายห้องมีเตียงโต๊ะ

๕๖ เก้าอี้ตั้งแลเครื่องใช้สอยต่างกันทุกห้อง เครื่องทรงของแอมเปรศพระมเหษีที่แต่งพระองค์เมื่ออกรับทูตานุทูตนั้นก็ทรงเปลื้องกองไว้ในห้องให้ทูตานุทูตดูด้วย แล้วมองติคนีกับขุนนางกรมวังก็พาทูตานุทูตออกไปที่ห้องแห่งหนึ่ง แอมเปรศพระมเหษีเสด็จมายืนเสวยขนมอยู่ที่นั้น แล้ว จึงพระราชทานให้ราชทูต อุปทูต ตรีทูต ๆ ได้รับขนมต่อพระหัดถ์ แอมเปรศพระมเหษี แต่ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการ เสมียน ล่ามรับสั่งให้ขุนนางแจก แอมเปรศพระมเหษีจึงรับสั่งให้หาตัวนายชายไปให้ใกล้แล้วตรัสกับมองติคนีว่าทรงพระเมตตานายชายมาก จะทรงจูบได้หรือไม่ได้ มองติคนีทูลว่าได้ แอมเปรศพระมเหษีก็ทรงจูบ นายชายแล้วประทานขนมให้ต่อพระหัดถ์ แล้วแอมเปรศพระมเหษีรับสั่งแก่ทูตานุทูตว่า สิ่งของซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงยินดีมานั้นเปน ของงามดี จะเก็บรักษาไว้เปนที่ทรงระลึกถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทั้งสองพระองค์ ทูตานุทูตทูลว่าของถวายนั้นเปนเครื่งสำหรับขัติยราชตระกูลของกษัตริย์อย่างสูง ใช้ได้แต่ในหลวง แล้วแอมเปรศพระ มเหษีก็เสด็จขึ้น มองติคนีกับขุนนางกรมวังก็พาทูตานุทูตไปกินโต๊ะ ที่ห้องแห่งหนึ่ง ประมาณครึ่งชั่วโมงมองติคนีก็พาทูตานุทูตขึ้นรถ กลับพระราชวังฟอเตลโปล ขึ้นรถไฟกลับเวลาค่ำทุ่มหนึ่งถึงโฮเต็ล ที่กรุงปารีส



กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ต.ค. 10, 16:16
            เปิดกระทูอีกครั้ง ตกใจแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อเห็นข้อมูลว่องไว ยาวเหยียด จากคุณเพ็ญชมพู
              ขอบคุณ ครับ


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ต.ค. 10, 19:32
นำภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส เรื่อง บาดทหลวงลาร์โนดี นำนายชาย บุดรอุปทูตมาให้เจ้าชายหลุยส์ นโปเลียน องค์รัชทายาททรงจับมือ ซึ่งประวัตินายชาย ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ "พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี" ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ สมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ต.ค. 10, 19:36
พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) กับท่านผู้หญิงอ่วม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิศักดิ์ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒

พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๑๓ คน บุตรได้แก่ พระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) หลวงชลาลัยไกยกล (ใจ) พระยานิพัทธกุลพงศ์ (ชิน) และหลวงประสิทธิราชศักดิ์ (ไชย) มีธิดาที่รับราชการฝ่ายในได้แก่ เจ้าจอมอบ ในรัชกาลที่ ๕ คุณเชย รับราชการฝ่ายใน ต่อมาลาออกจากราชการและสมรสกับหลวงอมรศักดิ์ประสิทธิ (อัด) บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) นอกจากนี้ท่านยังมีธิดาอีกหลายคน ธิดาชื่อ จวง เป็นภรรยานายพลพ่าย (ชวน โกมารกุล ณ นคร) ธิดาชื่อ คุณหญิงแช่ม เป็นภรรยาเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ธิดาชื่อ คุณหญิงชม เป็นภรรยาพลโทพระยาสีหราชฤทธิไกร (ชวย ฉัตรกุล ณ อยุธยา) และธิดาชื่อ คุณหญิงเลี่ยน เป็นภรรยาพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา)

ที่มา http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang038.html


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ต.ค. 10, 09:25
ขอบคุณ คุณ siamese ครับ

         วันนี้กลับไปอ่านทวนข้อความแล้วพบว่า ที่ copy แล้ว paste มาจากบทความต้นฉบับ
มีความคลาดเคลื่อนตรง
            
อ้างถึง
มุมบนด้านขวามีอักษรไทย  "พ่อชาย" อยู่ด้วย

        จากรูป อักษรไทย เขียนว่า นายชาย    ถัดลงไปจึงเป็น Pho xai          


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:14
          สงสัยเรื่องที่อยู่ปัจจุบันของภาพทั้งสอง ครับ
กูเกิ้ลได้ว่า

ภาพ  Pho xai ขนาด 21.5 x 27.5 cm.

ที่อยู่  Royal Ontario Museum, Collection of Mr. and Mrs. Tanenbaum

ภาพ  The Reception of the Siamese Ambassadors at Fontainebleau
       ขนาด  260 x 128 cm

ที่อยู่  Musee national du Chateau de Compiegne
(Versailles, France)

- ราชสำนักที่เฌอโครมได้เข้าเฝ้าจักรพรรดินี Eugenie หลายครั้ง


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:22
        เล่าเรื่องรูป The Reception of the Siamese Ambassadors at Fontainebleau
โดย  Karine Huguenaud

 
         This painting was an official commission by the Ministère d'Etat
in commemoration of the reception of the ambassadors of the king of Siam,
Rama IV, by Napoleon III and the Empress Eugénie in the great Salle de Bal
in the Château de Fontainebleau, 27 June, 1861.



กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:25
        The event not only marked the re-establishment of diplomatic relations
(broken off since the 17th century) but also the signature of the treaty
between France and Siam, 15 August, 1856, which ensured peace between
the two countries, religious freedom for missionaries, and commercial dealings.
        The embassy was received with great pomp at a ceremony which mirrored
the famous 1684 Siamese embassy to Louis XIV.

เสาที่มีภาพวาด frescoes ภาพเดียวกับในรูปของเฌอโครม


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:32
           Gérôme took three years to finish this large painting,
which shows the unusual procession of the bowing ambassadors,
a long horizontal movement contrasting strongly with the verticality
of the members of the Imperial court.
          The curious ceremonial is an asiatic tradition:
             even though they enter in a line on all fours, the Siamese king's envoys
are not expressing submission to but rather respect for the sovereign.
          The exoticism of the scene is reinforced by the sumptuous costumes,
the coloured silk robes, the pointed hats decorated with burnished gold,
the lavish gifts, the crown, palanquins, stepped parasols, and replicas of objects
belonging to the King of Siam and subsequently held in the Empress Eugénie's Chinese Museum.


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:46
          On the dais transformed into a throne, Napoleon III, flanked by Eugénie
and the young Prince impérial, receives a chalice containing a letter from Rama IV.
 
         Taking his inspiration directly from David's 'Sacre de Napoléon Ier',
Gérôme here painted a remarkable gallery of portraits, either taken from nature
or from photographs by Nadar.

Jacques-Louis David - Sacre de Napoleon 1er par le pape Pie VII.


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 15:49
           80 personalities can be identified, including the Comte Walewski,
the Duc de Bassano, the Duc de Cambacérès and Mérimée.
           The distant vantage point, required so as to be able to get the whole
of scene in the picture, makes it possible to reveal all the Renaissance splendour
of the Salle de Bal with its frescoes by Nicolo dell'Abate after Primaticcio.
           The exactitude of the rendering gives a strong sense of reality.
           Indeed Gérôme fixed with almost photographic accuracy this strange
encounter of East and West.


กระทู้: "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 10, 16:05
อ้างถึง
The embassy was received with great pomp at a ceremony which mirrored
the famous 1684 Siamese embassy to Louis XIV

Kosa Pan and Siamese envoys at Versailles, 1 September 1686.