เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 12:52



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 12:52


พิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๔    สมเด็จพระปิตุฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี  โปรดให้จัดพิมพ์ในงานฉลองพระชันษาซายิด

ในปี ๒๔๕๙   วรรณคดีสโมสรยกย่องว่า  เป็นยอดของบทละครรำ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 13:21


ครูสมิท ที่ตั้งโรงพิมพ์ที่บางคอแหลม  ได้พิมพ์บทละคอนอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ในปี ๒๔๑๗

ขอประทานยืมมาจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

แปลกมากที่หนังสือชุดนี้ไม่มีปรากฎในมือนักอ่านหนังสือเก่าหรือนักสะสมแต่อย่างใด

ทั้งๆที่หนังสือวรรณคดีชุดอื่นที่ครูสมิทพิมพ์ยังมีตกทอดเป็นหลักฐาน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ก.ค. 11, 13:23
พาน้องหนู "บุษบา"มาร่วมรายการ

เทียนจุดเวียนพระพุทธา       ตัวข้าฯ บุษบาขออธิษฐาน
เทียนที่เวียนนมัสการ         บันดาลให้หทัยสมปรารถนา
ดลจิตอิเหนา                 ให้เขามารักข้าฯ
ขอองค์พระปฏิมา            เมตตาช่วยคิดอุ้มชู
ขอเทียนที่เวียนวน           ดลฤทัยสิงสู่
ให้องค์ระเด่นเอ็นดู          อย่าได้รู้คลายคลอน
 

*อ้า...องค์พระพุทธา        ตัวข้าฯ  บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าฯ  สวดมนต์ขอพระพร     วิงวอนให้  หทัยระเด่นปรานี
รักอย่าเคลือบแฝง            ดังแสงเทียนริบหรี่
ขอองค์ระเด่นมนตรี          โปรดมีจิตนึกเมตตา
ขอเทียนที่เสี่ยงทาย         ดลให้คนรักข้าฯ
รักเพียงแต่บุษบา           ดั่งข้าฯนี้ตั้งใจ   (ซ้ำ  * )


กล่าวไว้ในกระทู้โน้นว่าไม่เคยอ่านเรื่องอิเหนาเลย แต่มีหนังสือชุดนี้มากว่าสามสิบปีแล้ว ฉบับพิมพ์โดยแพร่พิทยา สำนักวังบูรพา คงต้องขุดมาอ่านซะที

ที่ไม่ได้อ่านก็เพราะติดขัดกับศัพท์ทางวรรณคดีนี่แหละ



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 13:40

เราจะทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า  มีกษัตริย์เชื้อสายเทวดา สี่ องค์  ต่างครอบครองนครใหญ่ที่รุ่งเรืองต่างๆ กัน

คือ กรุงกุเรปัน  ดาหา  กาหลัง  และสิงหัดส่าหรี

มเหสีเอกของสองนครแรกมาจากนครหมันหยา    พระธิดาองค์สุดท้องชื่อ จินดาส่าหรี แต่งกับพระญาติ ชื่อ ระเด่นมังกัน

และครอบครองหมันหยาต่อมา  มีธิดาคือ จินตหรา

ตัวเอกของเราคือ อิเหนา อยู่เมืองกุเรปัน    จินตหราอยู่หมันหยา  และ บุษยาอยู่เมือง ดาหา   ล้วนเป็นญาติสนิท  แต่การนับถือตำแหน่งเมืองใหญ่

ไม่นับหมันหยา

พ่อของอิเหนาตามตัวลูกชายไม่ได้  ก็ทรงเขียนมาด่าท้าวหมันหยาเป็นการระบายพระอารมณ์


     การอ่านสารบัญนั้นมีประโยชน์มาก    จะได้ทราบว่าใครเป็นใคร  ใครพี่  ใครน้อง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 14:32

อิเหนา  มีพี่ชายต่างมารดาชื่อ  กะหรัดตะปาตี  เป็นลูกมเหสีที่ ๔  ตำแหน่งลิกู
มีคนไม่ทราบว่า กะหรัดตะปาตีเป็นใคร


พระมหานครทั้งสี่นี้มีตำแหน่งมเหสีเรียงกัน ๕ ตำแหน่ง
คือ ประไหมสุหรี   
มะเดหวี
มะโต
ลิกู   และ
เหมาลาหงี

ไม่ต้องใส่ใจมากค่ะ เพราะไม่มีบทบาทอะไร  นอกจากมะเดหวีเมืองหมันหยา   ผู้ดูแลนางบุษบา

อิเหนา  จินตะหรา  และ บุษบา   เกิดไล่เรี่ยกัน

สียะตรา น้องร่วมท้องของบุษบา อ่อนกว่าบุษบา ๕ ปี

น้องร่วมท้องของอิเหนา คือ นางวิยะดาเกิดเมื่ออิเหนาเป็นหนุ่มแล้ว


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 14:42
สมเด็จพระมารดาของหมันยา  คือ พระมารดาของประไหมสุหรีกุเรปัน  ประไหมสุหรีดาหา รวมประไหมสุหรีหมันหยา

สิ้นพระชนม์

ท้าวหมันหยาก็ตั้งพระศพไว้ในปราสาท    และสั่งอำมาตย์ให้บอกเมืองขึ้นให้ตัดไม้มาใช้ในการพระศพ

และแจ้งไปให้พระพี่นางที่เป็นประไหมสุหรีกุเรปัน  และ ประไหมสุหรีดาหา ทราบ

เมืองกุเรปันส่งอิเหนาไปแทนตัวพระมารดาที่ท้องแก่(ท้องนางวิยะดา)


เรื่องการสร้างพระเมรุนี้  ประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์มีไว้ครบครัน

ดิฉันได้อ่าน อิเหนา เล่มใหญ่เมื่ออายุยังน้อยมาก  อ่านไปก็สงสัยว่าธรรมเนียมหลายอย่างเหมือนธรรมเนียมไทยจัง



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 15:04

มาถึงตอนนี้ก็อ่านสารบาญไปได้สะบาย


นางจินตะหรานั้นน่าจะมีจริตอันงามเพราะเมื่อไหว้อิเหนานั้นอายเหนียม

อิเหนามองดูว่านางงามเสงี่ยม เจียมจิต  เพราะนั่งแอบหลังพระมารดา

แต่สบสายตาอิเหนา

ในกลอนว่า    กัลยาอายเอียงเมียงมัน       


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ค. 11, 15:10




ปาเตะขุนนางผู้ใหญ่

เห็นเหตุการณ์ไม่ชอบกล  จึงคิดว่า

เสียแรงพระชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้        ได้มั่งมีอยู่เย็นเป็นสุข
จะมานิ่งนอนใจให้เกิดยุค             เห็นความจะลามลุกวุ่นวาย


ได้เขียนสารไปทูลท้าวกุเรปันว่าอิเหนาหลงพระบุตรี

และท้าวหมันหยาและพระมเหสีเป็นใจ


          จดหมายนี้เก็บความได้ดีมาก   "แย้มเยื้อนเหมือนจะให้เยาวมาลย์"


ต่อมาท้าวกุเรปันได้จ๊วกท้าวหมันหยาอย่างแสบว่า

มีลูกสาวให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย


ที่จริงท้าวหมันยาก็เป็นเขยเล็ก     ท้างกุเรปันเป็นเขยใหญ่

ไม่น่าจะโกรธถึงเพียงนี้


คงแค้นที่อิเหนาเขียนสารมาบอกเลิกบุษบา


   อันการที่จัดแจงไว้                  อย่าให้มีอาลัยเลยกับข้า

แม้นใครมาขอบุษบา                  จงให้ตามปรารถนาเขานั้น















กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 11:22
คุณวันดี ปูพื้นหินอ่อนมาอย่างดี
เพื่อเข้าสู่ตอนศึกท้าวกะหมังกุหนิง
ที่นักเรียนหลายคนทั่วประเทศ
อาจจะกำลังอ่านไปกุมขมับไป

อันที่จริง  เรื่องอิเหนานี้  เป็นวรรณคดีที่ออกจะอาภัพ
ที่ว่าอาภัพเพราะคนสมัยนี้ไม่ใคร่รู้จัก
ผิดกับสามก๊ก รามเกียรติ์  ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี
ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก  แม้จะไม่เคยอ่านก็ตาม
หากเป็นสมัยรัชกาลที่ ๗ ขึ้นไป  
เรื่องอิเหนาเป็นหนังสือยอดนิยมเรื่องหนึ่ง
นักประพันธ์สมัยก่อนมักเอามาอ้างถึงบ่อยๆ

สมัยนี้  คนแทบไม่พูดถึงเรื่องอิเหนากันเลย
เรารู้ล่ะว่า เป็นวรรณคดีที่วรรณคดีสโมสรยกย่อง
ให้เป็นยอดของวรรณคดีกลอนบทละคร
แต่เด็กนักเรียนไม่เคยรู้เรื่องวรรณคดีเรื่องนี้มาก่อน
แถมชื่อตัวละครก็ไม่คุ้นหู  และบางทีก็จำไม่ได้ด้วย
เมื่อถูกกำหนดให้เรียน  โดยที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน
ย่อมลำบาก  ยิ่งการเรียนสมัยนี้  ต่อให้ครูอธิบายดีเยี่ยมอย่างไร
แต่ถ้าเด็กไม่มีพื้นหรือไม่สนใจที่จะไปค้นต่อแล้ว
ย่อมเป็นยาขมที่ต้องรับประทานอย่างทุกข์ทรมานใจ

และต้องไม่ลืมว่า  เด็กเขาเรียนหลายวิชา
ไม่ว่า ฟิสิกซ์ เคมี คณิต ภาษาอังกฤษ สังคม ฯลฯ
เขาต้องแบ่งสมองไปเรียน จดจำ ทำความเข้าใจวิชาอื่นๆ
การให้เรียนวรรณคดีเก่าให้เข้าใจย่อมถูกวิชาอื่นๆ เบียดบัง

ฉะนั้น  เราควรจะช่วยเด็กๆ ให้ทำความเข้าใจวรรณคดีเก่า
เพื่อให้เรียนหนังสือได้สนุก  รื่นรมย์ และเข้าใจมากขึ้น (หรือเปล่า?)





กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 11:30
เล่มนี้ก็อิเหนา ในพระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ อธิบายดีครับ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 11:37
ผมจะจับความต่อจากที่ระเด่นวันดีเล่าไว้

เริ่มที่ตอนกล่าวถึงระตูจรกาแห่งเมืองจรกา
กำลังหาสาวมาเป็นคู่ครอง  ได้มีบัญชาให้
ช่างเขียนไปลอบวาดรูปนางทั้งหลายทั้งชวา
มาให้ดูหลายครั้ง  ก็ยังไม่พบนางที่สบใจ
จึงปรึกษากับเสนาข้าราชบริพาร  
ว่าเออ  ยังมีธิดาเมืองไหน
ที่ยังไม่ได้เอามาพิจารณาเป็นคู่ครองบ้าง

จะว่าไป  ระตูจรกานี่ก็เรื่องมากไม่สมกับรูปร่าง

ดังกลอนที่พรรณนารูปจรกาว่า

"ระตูรำพึงถึงองค์        ด้วยรูปทรงอัปลักษณ์หนักหนา
ดูไหนมิได้งามทั้งกายา     ลักษณาผมหยักพักตร์เพรียง
จมูกใหญ่ไม่สง่าราศี       จะพาทีแห้งแหบแสบเสียง
คิดจะหากัลยาเป็นคู่เคียง   ที่งามเพียงสาวสวรรค์ให้เกื้อองค์"

วิธีคิดของจรกานี่น่าสนใจดี  รูปตัวไม่งาม
แต่อยากหาคู่ครองงามมาชดเชยความไม่งามของตน


เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 11:42


พระมหานครทั้งสี่นี้มีตำแหน่งมเหสีเรียงกัน ๕ ตำแหน่ง
คือ ประไหมสุหรี   
มะเดหวี
มะโต
ลิกู   และ
เหมาลาหงี



ขอใส่ใจนิดนึง คงไม่เป็นการรบกวนนะขอรับ เพราะว่าเป็นภาษาไทย อ่านตามสำเนียงชวา หากทราบถึงที่มา แล้วจะได้อรรถรส เพิ่มขึ้น

ประไหมสุหรี  = มเหสีเอก = พระบรมราชินี

มะเดหวี = มเหสีองค์ที่สอง รองจากประไหมสุหรี

มะโต = มเหสีองค์ที่สาม

ลิกู = มเหสีองค์ที่สี่

เหมาลาหงี = มเหสีองค์ที่สี่ (ในเรื่องอิเหนา ไม่มีตำแหน่งนี้ พบตำแหน่งเหมาลาหงี ได้จากเรื่องดาหลัง กษัตริย์แห่งวงศ์เทวัญ)



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 11, 11:46
เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ;D


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 11:48
เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ;D

ดีครับ  แต่ผมสงสัยแล้วทำไมต้องเรียกว่า หน้าเพรียง ล่ะ
ใคร่ทราบที่มา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 11:50
เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ;D

ดีครับ  แต่ผมสงสัยแล้วทำไมต้องเรียกว่า หน้าเพรียง ล่ะ
ใคร่ทราบที่มา

ลองนึกถึงเพรียงที่เกาะตามท้องเรือซิครับ หรือไม่ เพรียงตามโขดหิน คงจะเละเทะแบบนั้นหรือ  ???


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 11:59

ขอใส่ใจนิดนึง คงไม่เป็นการรบกวนนะขอรับ เพราะว่าเป็นภาษาไทย
อ่านตามสำเนียงชวา หากทราบถึงที่มา แล้วจะได้อรรถรส เพิ่มขึ้น

ประไหมสุหรี  = มเหสีเอก = พระบรมราชินี

มะเดหวี = มเหสีองค์ที่สอง รองจากประไหมสุหรี

มะโต = มเหสีองค์ที่สาม

ลิกู = มเหสีองค์ที่สี่

เหมาลาหงี = มเหสีองค์ที่สี่ (ในเรื่องอิเหนา ไม่มีตำแหน่งนี้
พบตำแหน่งเหมาลาหงี ได้จากเรื่องดาหลัง กษัตริย์แห่งวงศ์เทวัญ)


ในเรื่องอิเหนา  เหมาหลาหงี  ไม่มีบทบาท  ท่านจึงไม่กล่าวไว้
ตำแหน่งอัครชายาทั้ง ๕ ตำแหน่งนี้  ตั้งได้เฉพาะ ๔ เมือง
ที่เป็นวงศ์อสัญแดหวาเท่านั้น คือ กุเรปัน  ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี

เมืองอื่นมีได้แต่อัครชายาที่ตำแหน่ง ประไหมสุหรี เท่านั้น

ประไหมสุหรี  คำนี้น่าจะกลายมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า
ปรเมศวรี  ปรม+อิศวรี  เดิมหมายถึง  พระอุมา  ชายาพระอิศวร
คำว่าประไหมสุหรีนี้  ยังคงใช้อยู่มาจนปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นที่มาเลเซีย  บรูไน  ชวา  และไทย

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ เมื่อเสด็จฯ ไปภาคใต้
ที่ชาวมุสลิมอยู่มาก  ชาวมุสลิมเรียกสมเด็จฯ ว่า ประไหมสุหรี

ส่วนมะเดหวี  คงกลายมาจาก มหาเทวี

ส่วนมะโต ลิกู  และเหมาหลาหงี  น่าจะเป็นคำชวามลายูแท้


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 11, 12:01
รอยอินท่านอธิบายคำว่า เพรียง ไว้อีกเยอะ

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. ส่วนร่างกายที่นูนอยู่หลังหู, มักใช้ว่า เพรียงหู; เรียก
 ผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง. ว. พร้อม,
 มักใช้คู่กันว่า พร้อมเพรียง.
 
 
เพรียง ๒ [เพฺรียง] น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง
 มีหลายชนิดในอันดับ Thoracica เปลือกหุ้มตัวมี ๖ แผ่น เรียงซ้อน
 กัน รูปร่างของเปลือกมีหลายแบบ เช่น รูปกรวยควํ่า มีปากเปิดด้าน
 บน เปลือกบริเวณปากบางและคม เกาะอยู่ตามหินและวัสดุอื่น ๆ
 ที่นํ้าท่วมถึง เช่น ชนิด Balanus amphitrite ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
 ที่ฐานประมาณ ๑ เซนติเมตร.
 
 
เพรียง ๓ [เพฺรียง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Teredinidae ลําตัวยาวอ่อนนุ่ม
 เปลือกเล็กมากคลุมเฉพาะด้านหัว เจาะกินเนื้อไม้ มีหลายชนิด เช่น
 ชนิด Lyrodus pedicellatus.

คำคำหนึ่งมีความหมายได้หลายสิ่ง

 ;)
 
 


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 12:03

ลองนึกถึงเพรียงที่เกาะตามท้องเรือซิครับ หรือไม่ เพรียงตามโขดหิน คงจะเละเทะแบบนั้นหรือ  ???

ขอดูรูปด้วยดิ   ว่าปากเปล่า  เด็กไม่เข้าใจ  บางคนไม่เคยไปทะเล
ไม่เคยไปหงายท้องเรือหงายก้อนหิน ดูจะรู้จักเพรียงไหม


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 11, 12:06
^
^

(http://www.siamfishing.com/board/upload2008/200803/120488789539679.jpg)

;)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 12:15
ตำแหน่งอัครชายาทั้ง ๕ ในเรื่องอิเหนา
ถ้าเทียบตามธรรมเนียมไทยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
ขอให้อ่านพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕
เรื่อง ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม ประกอบด้วย
หรือไม่ก็อ่านกฎมณเฑียรบาลข้อที่ว่าด้วยตำแหน่งพระภรรยาเจ้า

ในกฎมณเฑียรบาล มีตำแหน่งพระภรรยาเจ้า  ๓ ตำแหน่ง
คือ  พระมเหสี ๑  พระอัครชายา ๑  และแม่อยั่วเจ้าเมือง หรือแม่อยั่วเมือง ๑

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีตำแหน่งพระภรรยาเจ้าและพระสนมหลายชั้น

มี ๑ สมเด็จพระบรมราชินี/สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
   ๒ สมเด็จพระบรมราชเทวี
   ๓ พระอัครราชเทวี
   ๔ พระอัครชายา/พระราชชายา
   ๕ เจ้าจอมมารดา
   ๖ เจ้าจอม

การแบ่งชั้นลำดับยศพระภรรยาเจ้าและพระสนมเช่นนี้
ย่อมมีผลต่อลำดับตำแหน่งยศของพระราชโอรส
ที่ประสูติจากพระภรรยาเจ้าและพระสนมแต่ละชั้นด้วย
ลักษณะนี้เป็นอย่างเดียวกับตำแหน่งอัครชายาทั้ง ๕ ในเรื่องอิเหนา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 12:24
เพรียงที่คุณเพ็ญชมพูเอารูปมาแสดงนั้น  ยังไม่ตะปุ่มตะป่ำขรุขระเท่าที่ควรครับ
ขอรูปที่ขรุขระมากกว่านี้   รูปที่แสดงมานั้น ยังเรียบอยู่  
ยิ่งถ้าได้ข้อมูลว่า เพรียงมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีหน้าตาอย่างไร จะดีมาก


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 12:51

ลองนึกถึงเพรียงที่เกาะตามท้องเรือซิครับ หรือไม่ เพรียงตามโขดหิน คงจะเละเทะแบบนั้นหรือ  ???

ขอดูรูปด้วยดิ   ว่าปากเปล่า  เด็กไม่เข้าใจ  บางคนไม่เคยไปทะเล
ไม่เคยไปหงายท้องเรือหงายก้อนหิน ดูจะรู้จักเพรียงไหม



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 12:52
คำบรรยายรูปของจรกา ปรากฏอีกครั้งตอนจรกาเข้าเฝ้าท้าวดาหา
กล่าวคือ  ระตูจรกากับพี่ชายยกทัพจะไปช่วยเมืองดาหารบกับทัพท้าวกะหมังกุหนิง
แต่ว่าสงสัยม้าใช้จะไปแอบนอนหลับที่ไหนสักแห่ง  เลยไปแจ้งข่าวช้า
ทำให้ระตูจรกาและพี่ชายจัดทัพเดินทางมาไม่ทันช่วยรบ (เขารบกันเสร็จไปแล้ว)
แต่ก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหา  ในการเข้าเฝ้าครั้งนั้น
พวกสนมนางในเฒ่าแก่ชะแม่ต่างวิพากาวิจารณ์รูปร่างจรกาสนุกปากทีเดียว
จึงคัดมาให้อ่านดังนี้

"           บัดนั้น                  ฝุงสนมนารีศรีใส
ทั้งเถ้าแก่ชะแม่กำนัลใน          ต่างไปชิงช่องมองเมียง
ครั้นเห็นจรกาเข้ามาเฝ้า          บรรดาเหล่าชะแม่แซ่เสียง
บ้างตำหนิติว่าหน้าเพรียง        ดูดำดังเหนี่ยงน่าชังนัก
ไม่มีซวดทรงองค์เอวอ้วน       พิศไหนเลวล้วนอัปลักษณ์
ใส่ชฎาก็ไม่รับกับพักตร์           งามบาดตานักขี้คร้านดู
บ้างว่าเสียงเพราะเสนาะเหลือ   แหบเครือเบื่อฟังรำคาญหู
รูปร่างอย่างไพร่ใช่ระตู            ไม่ควรเคียงคู่พระบุตรี
กระนี้ฤาช่างมาตุนาหงัน          เห็นเกินหน้าไกลกันทั้งศักดิ์ศรี
ดังเอาปัดขี้ร้ายราคี                ปนมณีจินดาค่าควรเมือง
ลางคนว่าระตูจะคู่ครอง           ดั่งเพชรผูกเรืองรองด้วยทองเหลือง
เหมือนทองคำธรรมชาติรุ่งเรือง   มารู่กับกระเบื้องไม่ควรกัน
ลางนางบ้างโกรธแล้วพาที       เสียดายพระบุตรีสาวสวรรคื
ถ้าได้กับอิเหนากุเรปัน             น่าชมสมกันข้าชอบใจ
อันระตูผู้นี้บัดสีนัก                  จะร่วมเรียงเคียงพักตร์หาควรไม่
บ้างห้ามว่าอย่าอื้ออึงไป          บ้างบ่นพิไรไปมา"

อ่านแล้วรู้ทันทีว่า จรกามีรูปร่างอย่างไร
พวกนางในนี่ก็กระไร  ปากคอเราะรายนักเชียว มีทั้งเสียดสี
ประชดประชัน เหน็บแนม  กระทบกระเทียบเปรียบเปรย สารพัด

มีท้ายกลอนวรรคหนึ่ง ลงด้วยคำว่า อัปลักษณ์
คำนี้  ต้องอ่านออกเสียงว่า อับ-ปะ-หลัก
จึงจะไม่ผิดเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคของกลอน
ถ้าอ่านว่า อับ-ปะ-ลัก จะผิดเสียงท้ายวรรคทันที

เหมือนกับกลอนตอนหนึ่ง  ในบทลครเรื่องเวนิชวาณิช
พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ ที่ว่า

  "อันชนใดไม่มีดนตรีกาล         ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ       เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์  
ฤาอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก               มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก            ราวนรกเช่นกล่าวมานี้
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้             เราควรมาฟังดนตรีเถิดชื่นใจ..."

ก็ต้องอ่านว่าอับ-ปะ-หลัก เช่นกัน  

ในกลอนวรรณคดีเก่าๆ หลายเรื่องก็มีอย่างนี้  ถ้าไม่เข้าใจวิธีอ่าน
ก็เข้าใจว่าคนโบราณแต่งพลาด  





กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 13:29
อิเหนาฉบับใครเป็นใคร

ประสันตา     พี่เลี้ยงอันดับสี่ของราชกุมารเมืองกุเรปัน
                เป็นลูกของยาสา(ตำแหน่งอำมาตย์นะคะ  ไม่ใช่ชื่อบุคคล)
                นิสัยร่าเริง  หยอกล้ออิเหนาได้
                ต่อนกเป็น
                เชิดหนังได้
                เล่นไม้ดัดด้วย

               พระพี่เลี้ยงตำแหน่งอื่นๆมี   ยะรุเดะ        ปูนตา      กะระตาหลา


ระเด่นดาหยัน     ไม่ค่อยเกี่ยวหรือมีบทบาทอะไร   นำมาลงดักหน้าการออกข้อสอบแบบดาวกระจาย
                เป็นเชื้อวงศ์เมืองหมันหยา      ยายของอิเหนาส่งมาพร้อมพี่เลี้ยงชายหนึ่งร้อยคนและนางนมหนึ่งร้อยคน
                เมื่อตอนอิเหนาเกิด      
                กุเรปันจัดนางนมจัดภรรยาของเสนีไว้ให้แล้ว  แต่ไม่ได้บอกจำนวน
                คุณสมบัติของแม่นมนั้นในอิเหนาบอกว่ามี ๖๔ ข้อ    คือไม่สูงไม่เตี้ย ไม่มีกลิ่นตัว  น้ำนมหวานมันไม่เปรี้ยว
                เป็นผู้มีสกุล  คือรู้จักการที่ควรหรือไม่ควรประพฤติ

                พระนมนี่ในวรรณคดีบางเรื่องได้ดีเพราะเจ้าชายมีกตัญญู    เรื่องจริงในรัตนโกสินทร์ก็มีจ้ะ   ลูกพระนมได้รับราชการเป็นเจ้าพระยา



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.ค. 11, 13:37

                พระนมนี่ในวรรณคดีบางเรื่องได้ดีเพราะเจ้าชายมีกตัญญู    เรื่องจริงในรัตนโกสินทร์ก็มีจ้ะ   ลูกพระนมได้รับราชการเป็นเจ้าพระยา


คุณวันดีต้องบอกให้ครบ

พี่สาวเป็นคุณท้าว
พี่ชายเป็นเจ้าพระยา
น้องชายเป็นพระยา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 13:54

                พระนมนี่ในวรรณคดีบางเรื่องได้ดีเพราะเจ้าชายมีกตัญญู    เรื่องจริงในรัตนโกสินทร์ก็มีจ้ะ   ลูกพระนมได้รับราชการเป็นเจ้าพระยา


คุณวันดีต้องบอกให้ครบ

พี่สาวเป็นคุณท้าว
พี่ชายเป็นเจ้าพระยา
น้องชายเป็นพระยา

บอกให้หมดไปเลยซิ พ่อนมปักษา....ปลูกบ้านอยู่กลางเมือง ฟูเฟื่องโกธิคผสมนา แก่เฒ่าชายชรา ขายบ้านให้รัฐบาลไป เอย..


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 14:08
อิเหนาฉบับใครเป็นใคร   และอะไรเป็นอะไร(สงสัยจะยาวแฮะเรื่องนี้)


สังคามาระตา       น้องชายนางสการะวาตี  ลูกท้าวปักมาหงัน
                      ลุงของสังคามาระตา ชื่อ ท้าวปันจะรากัน  มีลูกสาวชื่อ มาหยารัศมี
                      ปันจะรากัน และ ปักมาหงัน  ไม่กล้าสู้อิเหนาที่สังหารระตูบุศสิหนาน้องชายตาย
                      จึงยกลูกสาวให้  แถมลูกชายอืกคน
                      อิเหนาเลี้ยงดูสังคามาระตาเท่ากับน้องชาย   ที่จริงศักดิ์ศรีไม่เท่ากัน

                      เล่าที่มาที่ไปไว้ก่อน


เพลงทวน           ตำราเพลงทวนเมืองไทยหายไปแล้ว   เห็นชื่อเพลงทวนสามสี่ท่าเมื่ออิเหนารบกับระตูบุศสิหนา
                      จึงเอามาใส่ไว้เพื่อกันหาย         สหายน้อยปัญญาไวผู้ใดค้นต่อได้ติดต่อมารับรางวัลได้
                      ถ้าเป็นสหายอาวุโส   จะกำนัลกลอนครูแจ้งที่หายากนักหนา 

ผ่าหมาก            เพลงทวนจ้ะ  ไม่ใช่แม่ไม้มวยไทย

นาคเกี้ยว           สงสัยจะม้วนสะบัดปลายทวนแทงกัน

ปลอกช้าง

หงส์สองคอ



ประวัติเมืองหมันหยา        เรื่องประวัติศาสตร์นั้น  เมื่อนำมาเล่าแล้ว  ท่านผู้อ่านโปรดอ่านแล้วเก็บไว้ให้ได้
                      ไม่ได้กินที่กินทางแต่อย่างใด      พระมารดาของนางมาหยารัศมีและพระมารดาของนางสการะวาตี เล่า
                      ให้ลูกสาวฟังว่า   เมืองหมันหยาที่เจริญและร่ำรวยมาก เกิดมีพระขรรค์และธงผุดขึ้นในพระลาน
                      เกิดข้าวแพงหมากแพงและสินค้าอื่นๆก็แพง   บ้านเมือง  ในที่นี้คือประชาชนก็เดือดร้อน  จึงมีการป่าวประกาศ
                      หาคนมาช่วย

                      ประไหมสุหรีทั้งสององค์นี้เล่าผิดไปว่า  หมันหยามีธิดาสี่องค์        ท่านผู้อ่านนึกเถิดว่าข้าพเจ้าต้องพลิกหาคำตอบขนาดไหน

                      เทวดาสี่องค์พี่น้องก็ลงมาช่วยถอนพระขรรค์และธงออก    รับพระธิดาไปสององค์   องค์เล็กพระมารดาไม่ให้
                      ในเรื่องไม่ได้บอกว่าสวยกว่าพี่สาว  


คุณหลวงเล็กที่นับถือ  ออกคำสั่งผู้บริหาร ว่า  ให้ยืดไปสี่ห้ากระทู้   กระทู้ละประมาณ ๕๐ ข้อ  
รับทราบและไม่เถียง



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 14:16



คุณอาร์ท47  และคุณหนุ่มสยาม aka (as known as) ดอนราชประสงค์


          ข้าพเจ้ามีหนังสืออนุสรณ์คุณท้าวด้วย     เดินทองระยับ   เก็บไว้ไหนก็ลืมไปแล้ว

เห็นคนเดินผ่านตู้หนังสือร้องอุทานเบาๆ(อาจจะดังก็ได้แต่ข้าพเจ้า hard of hearing)

เลยเก็บออกจากสายตาซะ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 14:22



คุณอาร์ท47  และคุณหนุ่มสยาม aka (as known as) ดอนราชประสงค์


          ข้าพเจ้ามีหนังสืออนุสรณ์คุณท้าวด้วย     เดินทองระยับ   เก็บไว้ไหนก็ลืมไปแล้ว

เห็นคนเดินผ่านตู้หนังสือร้องอุทานเบาๆ(อาจจะดังก็ได้แต่ข้าพเจ้า hard of hearing)

เลยเก็บออกจากสายตาซะ

รีบค้นหาให้เจอไว ๆ นะขอครับ

นำข้อมูลเนื้อเรื่องอย่างย่อกระชับที่สุดจากเวปวิชาการมาให้อ่านกัน จะได้ปูบันไดทอดยาว อ่านแล้วจะได้ทำความเข้าใจที่มาที่ไปได้ว่า อิเหนา เป็นใคร, ทำไมเกิดศึกกะหมังกุหนิง

ในชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง จึงทำให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้หมั้นไว้กับบุษบารากา ธิดาของท้าวกาหลังซึ่งเกิดจากลิกู

ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประไหมสุหรีมีโอรสบ้าง จึงได้ทำพิธีบวงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ได้สุบินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมาตกตรงหน้า และนางรับไว้ได้ เมือประสูติก็เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นนิมิตดี องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนำกริชมาประทานให้ พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่า อิเหนา ต่อมาประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา ฝ่ายท้าวดาหา ประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้พระนามว่า บุษบา ขณะประสูติก็เกิดอัศจรรย์ก็มี กลิ่นหอมตลบทั่วเมือง หลังจากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรีก็ประสูติโอรสอีก พระนามสียะตรา
ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหนึ่งหรัด ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรส พระนามสุหรานากง และธิดาพระนาม จินดาส่าหรี

กษัตริย์ในวงศ์เทวาจึงได้จัดให้มีการตุนาหงันกันขึ้น ระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา กระหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการแต่งงาน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น

จุดเริ่มต้นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ตัวละครประกอบความยุ่งยาก และเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายอันเป็นการดำเนินเรื่อง
ของบทละครเรื่องนี้ เกิดจากอัยยิกาของอิเหนาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุแทนท้าวกุเรปัน แต่เสร็จพิธีแล้วอิเหนาไม่ยอมกลับ เพราะหลงรักนาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนท้าวกุเรปันต้องมีสารไปเตือน เมื่อกลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ไม่ใคร่เต็มใจ จึงออกอุบายทูลลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นามว่ามิสาระปันหยี คุมไพร่พลรุกรานเมืองต่าง ๆ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองนั้นเป็นเมืองขึ้น ระตูหลายเมืองได้ถวายโอรสและธิดาให้ ที่สำคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือมาหยารัศมีและสะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่งอิเหนายกย่องให้เป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปันหยีรอนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้


พอถึงกำหนดการอภิเษก ท้าวดาหาก็มีสารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ที่มาขอ เพราะฉะนั้นเมื่อระตูจรกา กษัตริย์รูปชั่วตัวดำ ให้พี่ชายคือระตูล่าสำไปสู่ขอบุษบาให้ตน ท้าวดาหาก็ยอมยกให้ ต่อมา ท้าวกระหมังกุหนิง ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้ยกให้ระตูจรกาไปแล้ว เป็นเหตุให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธและยกกองทัพมาล้อมเมืองดาหา ท้าว ดาหาจึงขอกำลังจากพระเชษฐาและพระอนุชา ท้าวกุเรปันมีคำสั่งให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหราและยกกองทัพไปช่วยรบ การศึกครั้งนี้ อิเหนามีชัยชนะ ท้าวกะหมังกุหนิงถูกอิเหนาฆ่าตายและโอรสคือวิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตาย กองทัพที่ล้อมเมืองดาหาก็แตกพ่ายไป เมื่อชนะศึกแล้ว อิเหนาก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบา อิเหนาได้เห็นความงามของบุษบาก็หลงรักและเสียดาย พยายามหาอุบายอยู่ในเมืองดาหาต่อไป และพยายามหาโอกาสใกล้ชิดบุษบา โดยอาศัยสียะตราเป็นสื่อรัก อิเหนาพยายามหาวิธีการทุกทางเพื่อจะได้บุษบาเป็นของตน เช่นตอนที่ท้าว
ดาหาไปใช้บนที่เขาวิลิศมาหรา อิเหนาได้แอบสลักสารบนกลีบดอกปะหนัน (ลำเจียก) ให้นาง แอบเข้าไปในวิหารพระปฏิมา ตรัสตอบคำถามแทนพระปฏิมา ต้อนค้างคาวมาดับไฟแล้วแอบมากอดนาง ตลอดจนคาดคั้นมะเดหวีให้ช่วยเหลือตน เป็นต้น และเมื่อท้าวดาหาจะจัดพิธีอภิเษกระหว่างบุษบากับระตูจรกา อิเหนาก็ใช้วิธีการสุดท้ายโดยการทำอุบายเผาเมือง แล้วลอบพานางบุษบาหนีออกจากเมืองไปซ่อนในถ้ำที่เตรียมไว้ และได้นางเป็นมเหสี




กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 14:40
ก่อนที่จะพากันพายเรือออกไปปัตตาเวีย

ขอกลับมาจับเรื่องที่จรกาต่อไปว่า

ตำมะหงง เมืองจรกา  ทูลระตูจรกาว่า

ที่รับสั่งถามว่า ยังมีธิดาเมืองใดที่ลอดหูลอดตาไป
ยังไม่ได้นำขึ้นมาใต้เท้าทรงพิจารณานั้น
เห็นจะเหลืออยู่ ๒ นาง คือ ระเด่นจินดาส่าหรี
ธิดาเมืองสิงหัดส่าหรี  กับระเด่นบุษบา แห่งเมืองดาหา
ระเด่นจินดาส่าหรีนั้น เท่าที่ทราบข่าววงในมา
ยังหามีคู่ชู้ชื่นมาหมั้นหมายไว้ไม่  แต่นางก็งามยิ่งนัก

ฟากระเด่นบุษบา  ทราบมาว่าได้พระราชบิดาทำตุนาหงัน
กับอิเหนาแห่งเมืองกุเรปัน  แต่อิเหนาก็ไปมีชายาอื่นเป็นธิดาท้าวหมันหยา
ครั้นท้าวดาหาต้องการจะให้รีบทำอภิเษกกับนางบุษา
ก็ทำหนังสือบอกปัดตุนาหงัน  ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองถึงกับรับสั่งตัดขาดกัน


จรกาได้ฟังก็ยินเห็นช่องทางเหมาะ ก็ว่า
จะช้าอยุ่ไย  จงรีบให้หาจิตรกรเอกประจำเมืองมา ๒ คนด่วน
แล้วให้เดินทางไปสเก็ตรูปนางทั้งสองเอามาให้ยลสักหน่อยซิ

จิตรกรทั้งสองได้รับคำสั่งก็มายืนเกี่ยงกันอยู่ที่หน้าวังว่า
ฉันจะไปดาหา  แกไปสิงหัดส่าหรี  อยู่อย่างนี้
จนต้องจับไม้สั้นไม้ยาวกัน  จึงออกเดินทางได้



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 14:51
จิตรกรทั้งสองคนไปถึงเมืองดาหาและสิงหัดส่าหรีแล้ว
ก็เข้าไปตีสนิทกับคนดูแลราชอุทยานสราญรมย์
จนคนดูแลราชอุทยานไว้ใจ

ระเด่นจินดาส่าหรี ปกติจะเสด็จไปประพาสราชอุทยาน ๗ วันครั้ง  
ครั้นถึงกำหนด  ก็ไปเชิญมะเดหวีให้เสด็จไปประพาสด้วย

ทั้งสองก็สรงน้ำแต่งองค์ทรงเครื่องตามลักษณะบทละครไทย  ดังนี้

"วารีรดเย็นฉ่ำสำราญ
ทรงเครื่องสุคนธ์ธารปรุงเกสร
พระฉายตั้งเตียงสุวรรณตรงบัญชร
บังอรทรงปรัดผัดพักตร์
ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม
สไบหน้าเจียระบาดตาดปัก
เข็มขัดเพชรพรรณรายสายชัก
ประจำยามจำหลักลงยา
สอดทรงสังวาลบานพับ
สร้อยนวมสวมทับพระอังสา
ตาบกุดั่นพลอยประดับระยับตา
ล้วนจินดาแวววามอร่ามเรือง
.....(เอาเท่านี้พอ)"

ตรงนี้ มีชื่อผ้า  เครื่องประดับหลายอย่างไม่เข้าใจ
ไม่ทราบว่าจะมีใครกล้าหาญช่วยอธิบายได้ไหม
ที่แน่ๆ  นายโรงราชประสงค์ น่าจะสันทัดมากกว่าคนอื่น
(ขอภาพประกอบคำอธิบายด้วยนะ อย่าต้องให้ทวงซ้ำ)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 14:52
อะไรเป็นอะไรในอิเหนา

ม้าของอิเหนา


       ม้าเอยม้าต้น                            สามารถอาจผจญไม่เต้นตื่น

พ่วงพีมีกำลังยั่งยืน                            ตัวรู้อยู่ปืนได้ทดลอง

อยู่ปืน  หมายความว่า ไม่ตื่นเสียงปืน

การนี้ต้องนำปืนมายิง   ไม่ใช่ยิงม้านะ   ยิงใกล้ๆพอได้ยินเสียง    ให้ม้าคุ้นกับเสียงดัง      ถ้าจุดพลุอย่าว่าแต่ม้าเลย  ช้างก็ไม่อยู่จ้ะ

บอกอีกทีด้วยความเศร้าใจว่าตำราม้าของเก่าของไทยเราน่ะ สูญ   ไปนานแล้ว

ท่าทางขี่ม้ารำทวนที่ขุนนางนายทหารไทยล้วนเรียนรู้จากสำนักท่านผู้ใหญ่ทั้งสิ้น       สูญ  ไปด้วยจ้ะ

เหลือชื่อท่าอยู่ในพจนานุกรมเรื่องศัพท์ยากในวรรณกรรม

ตำราขี่ช้างยังอยู่

ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

เพราะมีการรำเพลงอาวุธแลพหยอกล้อกันด้วย    ผู้ขี่ม้าและผู้บังคับช้างต้องรู้จังหวะกันอย่างดี

ในเรื่องอิเหนาไม่มีช้าง   แต่อยากอธิบายว่าตำราขี่ม้าของเก่าสูญไปแล้วจ้ะ

ช้างของเราอีกหน่อยก็สูญ



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 14:59


โอโฮ   อย่าให้ต้องทวงซ้ำ


จะแย่งตอบก็มิกล้า   ไปหาตำรามาช่วยก่อน    จะรีบเดาโดยชำนาญก็เกรงจะโดนลูกหลง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 15:02
      ม้าเอยม้าต้น                            สามารถอาจผจญไม่เต้นตื่น

พ่วงพีมีกำลังยั่งยืน                            ตัวรู้อยู่ปืนได้ทดลอง

อยู่ปืน  หมายความว่า ไม่ตื่นเสียงปืน

การนี้ต้องนำปืนมายิง   ไม่ใช่ยิงม้านะ   ยิงใกล้ๆพอได้ยินเสียง    
ให้ม้าคุ้นกับเสียงดัง      ถ้าจุดพลุอย่าว่าแต่ม้าเลย  ช้างก็ไม่อยู่จ้ะ


ก็เหมือนกับเวลาที่มีการสวนสนามที่ลานพระราชวังดุสิต
ม้าที่ทหารม้าเอามาขี่เข้าขบวนสวนสนามปิดท้ายในการสวนสนาม
ก็ต้องเอามาฝึกให้ไม่ตื่นเสียงเครื่องดนตรีวงโยธวาทิตด้วยเหมือนกัน
ไม่เช่นนั้น เดี่ยวเหมือน "อ้ายอู๊ด" ที่ต้องไปหยุดรถม้าในคลอง

ในการพระราชพิธีแรกนาขวัญ  เจ้าหน้าที่ก็ต้องเอาพระโค
ทั้งพระโคคู่เอก และพระโคสำรองมาฝึกให้ฟังเสียงประโคมดนตรี
ให้คุ้นเคยเสียก่อน  พระโคจะได้ไม่ตื่นตกใจเวลาอยู่ในพระราชพิธีจริง

อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 15:12



ปรัด         (อ้างอิง รัตนมาลา  หน้า ๕๓๖)


ผัด  ปัด   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  อธิบายความหมายของคำนี้ว่า
"หนึ่งในคำปัด  แผลงเป็นปรัด     ใช้ตามประสงค์  เหมือนกับว่า ทรงปรัด ผัดพักตร์ขจร  โดยความก็คง  ว่าปัดกายา"
ไวพจน์ประพันธ์


(ใช้รัตนมาลาบ่อยจนพลัดตกจากโต๊ะหนังสือไม้แดงหุ้มหนัง (หนังสือนะไม่ใช่ข้าพเจ้า)  ปกแข็งฉีกขาดตลอด)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 15:19
^ดีมาก คุณวันดี   หนังสือชำรุดพอซ่อมแซมกันได้
ความรู้ชำรุด  ซ่อมแซมยาก   โปรดอย่าได้ร้อนใจไปเลย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ค. 11, 15:40
ยังไม่มีใครมาไขเรื่องผ้าผ่อนท่อนสไบให้  จะขอเล่าเรื่องต่อไป

ระเด่นจินดาส่าหรีและมะเดหวีเมืองสิงหัดส่าหรีเสด็จไปประพาส
ราชอุทยานสราญรมย์  พร้อมพวกบรรดาบ่าวไพร่นางใน
โดยได้รับพระอนุญาตจากประไหมสุหรี   

ฝ่ายจิตรกรเอกที่มาเฝ้ารอวาดรูปที่สวนราญรมย์ก็ได้ดอกาสงาม
แอบซุ่มในสวนสราญรมย์มองดูระเด่นจินดาส่าหรี มือก็วาดสเก็ตรูป
วาดเสร็จก็ลงสีให้สวยงาม  ใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จ

ตกเย็น ขบวนเสด็จกลับ  ช่างวาดภาพก็รีบกลับไปยังเมืองจรกา
เอาภาพวาดนางจินดาส่าหรี ขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร
จรกาได้เห็นภาพวาดนั้นก็ดีใจ หยิบเอาชมอยู่ไม่เว้นวาย
การบ้านการเมืองก็ไม่เป็นอันทำ  เฝ้าแต่ดูรูปนางไอดอลอยู่ในห้องนอนของตน



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.ค. 11, 15:41

อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น

ข้อนี้ขอจอง แต่อดใจรอหน่อยนะจ๊ะ
กลับบ้านไปหาข้อมูลก่อน
จะลอกลงมาทั้งดุ้น ไม่ตัด ไม่ขาด ไม่เกิน ;D



ท่าทางขี่ม้ารำทวนที่ขุนนางนายทหารไทยล้วนเรียนรู้จากสำนักท่านผู้ใหญ่ทั้งสิ้น       สูญ  ไปด้วยจ้ะ

เหลือชื่อท่าอยู่ในพจนานุกรมเรื่องศัพท์ยากในวรรณกรรม


เรื่องขี่ม้ารำทวนเหมือนจะเคยอ่านผ่านๆ ตามา
รู้สึกจะเป็นทางบรรพบุรุษของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

อันนี้ไม่แน่ใจนะ
ขอกลับไปตรวจสอบข้อมูลก่อนครับผม ;D


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 15:50
ใจเย็น ๆ ซิท่าน ยังไม่ทันหายใจครบ ๓ ลา ก็พากันตั้งกระทู้ต่อไป ยังไม่ทันหาคำตอบเลย  ;)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:06
"ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม"

หมายถึงผ้าที่ทำการทอแบบพิเศษ ที่เรียกว่า ผ้ายก เพื่อให้เกิดมิติ เป็นลาย เป็นดอกขึ้นมา บางครั้งเอาดิ้นเงิน ดิ้นทองสอดผสม ก็เรียกว่า ผ้ายกทอง

ระกำ เป็นการปักผ้าเป็นดอกเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อความงาม ถ้าด้ายทำด้วยไหม ก็เป็น ระกำไหม


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:12
"สร้อยนวมสวมทับพระอังสา"


สร้อยนวมเป็นเครื่องประดับแผงคอ แผงบ่า ทำด้วยทองหรือเงินถัก และประดับเพชร และพลอย เห็นได้ในเครื่องประดับในพิธีโสกันต์

พวกละครโขน ได้แปลงสร้อยนวมเป็น กำมะลอโดยใช้ปักผ้า ปักดิ้น เรียกใหม่ว่า "กรองคอ"


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:14
ผ้าตาด เป็นผ้าทอด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:16
เข็มขัดเพชรพรรณรายสายชัก


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:21
สอดทรงสังวาลบานพับ

สังวาล เป็นเครื่องประดับที่วางพาดเฉียงบ่า

บานพับ  การทำเครื่องทองแบบบานพับ หักไปซ้ายและขวาได้ ไม่ใช่แบบห่วงคล้อง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.ค. 11, 16:24
บานพับ  คือ พาหุรัด

อาจเป็นกนกต้นแขน


สร้อยนวมนั้นบางทีเรียกนวมนาง

เจียระบาด  คือ  ผ้าคาดเอว   บางครั้งจะเรียกว่า รัดพระองค์เจียระบาด



ในสาส์นสมเด็จ  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตืวงศ์  ทรงประทานคำอธิบายไว้ว่า

ผ้าห้อยหน้าละครไทยเดิมเป็นชายผ้านุ่ง  คือ ชายแครงที่เรียกว่า  จารบาด
(อ้างอิง  เครื่องแต่งกายละคร  กรมศิลปากร  ๒๕๔๗  เล่มสีเขียว)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:24
ตาบกุดั่นพลอยประดับ

ตาบ คือ เครื่องประดับหน้าอก เป็นแผ่น


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:25
กุดั่น คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจกบนพื้นทองคำ เช่น คราวงานพระเมรุ สมเด็จย่า เห็นพระโกศกุดั่นสวยงาม เป็นต้น


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:34
บานพับ  คือ พาหุรัด

อาจเป็นกนกต้นแขน


สร้อยนวมนั้นบางทีเรียกนวมนาง

พาหุรัด ต้องเลยสำเพ็งไปนิด เดินไม่เหนื่อย  ;D ;D

พาหุรัด เป็นเครื่องประดับต้นแขน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:39
พระฉายตั้งเตียงสุวรรณตรงบัญชร


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 16:43
ทรงเครื่องสุคนธ์ธารปรุงเกสร

หมายถึงน้ำอบ น้ำปรุง ที่ได้อบร่ำจากเกสรดอกไม้ไทยต่าง ๆ  นำใส่ขวดโหลแก้วเจียระไน

ถ้าจะให้งามต้องลดหลั่นกันไป ๓ ใบ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.ค. 11, 21:05

อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น

ข้อนี้ขอจอง แต่อดใจรอหน่อยนะจ๊ะ
กลับบ้านไปหาข้อมูลก่อน
จะลอกลงมาทั้งดุ้น ไม่ตัด ไม่ขาด ไม่เกิน ;D


วิธีหัดช้างรบ จะทำอย่างไรบ้าง ฉันไม่เคยพบในตำรา แต่ยังมีตำราขี่ช้างแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ซึ่งหอพระสมุดฯ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
ปรากฏอยู่ในตำรานั้นว่าถึงการซักซ้อมช้างรบหลายอย่าง มีซ้อมชนเป็นต้น สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตร คล้ายกับการกีฬา
และยังมีเป็นประเพณีสืบมาจนกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ฉันได้ทันเห็นหลายอย่าง สังเกตดูพอเป็นเค้าได้ว่า การฝึกหัดช้างรบนั้น หัดให้กล้าอย่างหนึ่ง
หัดให้อดทนต่อการบาดเจ็บอย่างหนึ่ง และหัดให้ทำตามคนขี่ บังคับในทันทีอย่างหนึ่ง ลักษณะการซ้อมช้างรบมีหลายอย่าง เรียกว่า “บำรูงา”
อย่างหนึ่ง   “ล่อแพน” อย่างหนึ่ง “ผัดพาน” อย่างหนึ่ง “แทงหุ่น” อย่างหนึ่ง “ล่อช้างน้ำมัน” อย่างหนึ่ง
(ฉันไม่เคยเห็นช้างบำรุงงา แต่นอกจากนั้นเคยเห็นทั้ง ๔ อย่าง) เดี๋ยวนี้สูญไปหมดแล้ว จึงจะพรรณนาไว้ในนิทานนี้

ซ้อมช้างอย่าง “ล่อแพน” นั้น สำหรับซ้อมช้างไล่ เวลารบไม่จำต้องใช้ช้างตกน้ำมันเหมือนช้างชน แต่ซ้อมถวายทอดพระเนตรอย่างกีฬา
ใช้ช้างตกน้ำมันเสมอ มีที่ท้องสนามชัย ทอดพระเนตรบนพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ หมอควาญขี่ช้างผูกเครื่องมั่นหลังเปล่า
มายืนอยู่ที่หัวสนามทางด้านเหนือ กรมม้าเลือกม้าตัวดีที่คล่องแคล่วและใจกล้าตัวหนึ่ง ผูกเครื่องแผงอย่างเต็มยศให้ขุนม้าผู้เชี่ยวชาญขี่
ขุนม้านั้นก็แต่งตัวเต็มยศโพกผ้าสีทับทิมขลิบทอง  มือถือ “แพน” ทำด้วยไม้รวกยาวสัก ๖ ศอก  ผูกผ้าสีเป็นปล้องๆ ในจนพู่ที่อยู่ปลายรำแพน
ขับม้าสะบัดย่างเข้าไปจนถึงหน้าช้าง ชักม้าหันหน้ากลับแล้วยื่นปลายแพนเข้าไปล่อใกล้ๆ ช้าง พอช้างขยับไล่ก็ขับม้าวิ่งล่อมาในสนาม
แต่มิให้ห่างช้าง ถือแพนเอาปลายล่อให้ช้างฉวย ดูเหมือนถือกันว่า ถ้าช้างฉวยเอาแพนได้ก็เป็นช้างชนะ ถ้าฉวยไม่ได้ก็เป็นม้าชนะ
ไล่กันมาหวิดๆ จนคนดูออกเสียวไส้ เห็นได้ว่าม้าและคนขี่ดีหือเลว ด้วยมีม้าบางตัวไม่กล้าเข้าใกล้ช้าง และคนขี่บางคนพอช้างไล่
ก็ขับม้าหนีเตลิดเปิดเปิง ชวนให้เห็นว่าขลาดเกินไป ในตำราว่าถ้าช้างฉวยได้แพน ให้หมอควาญหยุดไล่ และรำขอเล่นหน้าเยาะเย้ย
ถ้าช้างไม่ได้แพน ก็ให้ไล่ตลอดจนถึงปลายสนามแล้วหยุดไล่เป็นเสร็จการล่อแพน บางทีเปลี่ยนช้างเปลี่ยนม้าให้ล่อสองเที่ยวหรือสามเที่ยวก็มี

มีเรื่องเล่ากันมาว่า  เมื่อรัชกาลที่ ๓  มีช้างงาของหลวงตัวหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ  ขึ้นระวางชื่อว่า “พลายไฟพัทธกัลป์” แต่คนเรียกกันเป็นสามัญ
ตามชื่อเดิมว่า “พลายแก้ว” เป็นช้างฉลาดแต่ดุร้ายตกน้ำมันทุกปี แทงคนที่ไปล่อตายหลายคน จนขึ้นชื่อลือเลื่อง ถึงมีรูปภาพเขียนไว้
(อยู่ที่ในพิพิธภัณฑสถาน) ช้างพลายแก้วตัวนั้นอยู่มาจนถึงในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว มีม้าพระที่นั่งตัวหนึ่ง
ขึ้นระวางเป็น “เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด” เป็นม้าขี่คล่องแคล่วฝีตีนดี ทั้งเต้นและวิ่งใหญ่ก็รวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด
ถึงเกิดอยากทรงม้าสายฟ้าฟาดตัวนั้นล่อแพนช้างพลายแก้วเวลาตกน้ำมัน ตรัสสั่งให้มีการล่อแพนพลายแก้วที่สนามในวังหน้า
เสด็จทรงม้าสายฟ้าฟาดสะบัดย่างเข้าไปถึงหน้าช้างแล้วชักตลบหลัง ทรงยื่นแพนล่อช้างตามตำรา พอพลายแก้วขยับตัวจะไล่
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ทรงกระทบพระบาทขับม้าจะให้วิ่ง แต่อย่างไรม้าสายฟ้าฟาดเข้าใจว่าโปรดให้เต้นก็เต้นน้อยย่ำอยู่กับที่ไม่วิ่งหนีช้าง
แต่หมอช้างที่ขี่พลายแก้ววันนั้นปัญญาไว คงเป็นคนสำคัญที่กรมช้างเลือกสรรไป เขาแก้ไขด้วยใช้อุบายก้มตัวลงเอามือปิดตาพลายแก้วทั้งสองข้าง
แล้วขับเบนให้วิ่งไล่เฉไปเสียทางอื่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงพ้นอันตราย เล่ากันมาอย่างนี้

(นิทานโบราณคดี เรื่องที่ ๒๑ จับช้าง (ภาคปลาย))


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ค. 11, 21:54
"ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม"

หมายถึงผ้าที่ทำการทอแบบพิเศษ ที่เรียกว่า ผ้ายก เพื่อให้เกิดมิติ เป็นลาย เป็นดอกขึ้นมา บางครั้งเอาดิ้นเงิน ดิ้นทองสอดผสม ก็เรียกว่า ผ้ายกทอง

ระกำ เป็นการปักผ้าเป็นดอกเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อความงาม ถ้าด้ายทำด้วยไหม ก็เป็น ระกำไหม


แล้ว ท้องช้ำ ล่ะคะ คืออะไร  ???


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ค. 11, 21:59
การฝึกช้าง "ล่อแพน"


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 00:32
การขี่ช้่างน้ำมันใการม้าฬ่อแพน   การขี่ช้างน้ำมันไล่คน   การขี่ช้่างน้ำมันบำรูงา

น่าจะนำมาคุยกันในวันหน้า     รวมทั้งการรำของ้าวอันเป็นยอดวิทยายุทธ์สุดยอดของอาวุธโบราณของไทย




เรื่อง ทองซ้ำนั้น   คงต้องขอคำอธิบายขยายความจากคุณหลวงเล็ก  เพราะท่านมีตำรามาก



ท้าวสันนุราชใน "คาวี"  เมื่อเตรียมตัวจะไปหานางจันท์สุดา

   หยิบภูษามาทรงแล้วลูบคลำ             ยกทองท้องซ้ำชอบพระทัย

ตอนอื่น ๆ  ที่ไม่สำคัญ ท่าน

   นุ่งนอกอย่างวางขายกรายกรีดริม       สีทับทิมคล้องคอพอพระทัย



บทละคร  พระราชนิพนธ์รัชกาลที่สอง เรื่อง "สังข์ศิลป์ชัย"  ตอน ท้าวเสนากุฏ  จะออกไปหานางประทุม

   นุ่งผ้ายกทองท้องซ้ำ                      คาดเข็มขัดทองคำชมพูนุท
  

แวะไปอ่าน  ภาคผนวก ค  บททรงเครื่องที่ปรากฏในบทละครเรื่องต่าง ๆ  ใน  การศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ
การแต่งกายยืนเครื่องโขน - ละครรำ
กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่  ๒๕๕๐


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 08:57


ท้องช้ำ  นะคะ  ไม่ใช้ ท้องซ้ำ




กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 09:27

       การที่อิเหนาไปอยู่ที่เมืองหมันหยา  ไม่กลับกุเรปัน  และได้เขียนสารไปถึงพระบิดา

ใช่จะขัดบัญชานั้นหาไม่              แต่จนใจได้เกินสะเทินจิต

จะคืนหลังยังนครนั้นสุดคิด          ด้วยโทษผิดติดตัวกลัวอาญา

อิเหนาได้สั่งอำมาตย์ยาสาให้ไปกราบทูลว่า

ท้าวดาหาคงไม่ยกพระธิดาให้แล้ว  จะไปทำไมอีก   อยากยกให้ใครก็ได้


ท้าวกุเรปันขอเลื่อนการแต่งงานไป

ท้าวดาหารู้ทัน

จะรีรอง้อไปไยเล่า                       อันลูกเราเขาไม่ประสงค์


พระมารดาของบุษยาเสียใจมาก  กอดบุษบาแล้วครวญว่า

เสียที่ที่เกิดมา                            ในตระกูลเทวาอันสูงศักดิ์

รูปทรงยงยิ่งนรลักษณ์                   แต่อาภัพอัปลักษณ์กว่าฝูงชน

การที่เป็นหม้ายขันหมาก  ไม่ได้ยกขันหมากมาจริงแต่ได้ตกลงกันแล้ว

เป็นการขายหน้ามาก  เพราะ

ในแว่นแคว้นแดนชวาจะลือทั่ว           จะนินทาว่าชั่วไม่รู้หาย

บุษบาเมื่อทั้งพ่อและแม่มีความคิดเช่นนี้   นางคงโศกเศร้ามาก

นางระเด่นบุษบา                           พักตราสร้อยเศร้าแสนทวี

เหตุการณ์เป็นอย่างนี้อยู่หนึ่งปีเต็ม

       มะเดหวี  ซึ่งเลี้ยงดูบุษบามาเหมือนลูก  จึงชวนไปเที่ยวสวน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 09:49

     การจะไปไหนก็อาบน้ำแต่งตัว

ในประเทศเขตร้อนของเรานี้    นิยมความสะอาด    ไม่ว่าไพร่ผู้ดีก็สามารถอาบน้ำแต่งตัวทาแป้งน้ำได้

บุษบาไม่รื่นเริง  เมื่อไปถึงพระตำหนักในสวนก็แวะไปงีบ  เพราะอากาศร้อน     

นางกำนัลก็ไม่สนุก  นั่งกันเงียบ ๆ     มีแต่นางกำนัลเด็ก ๆที่ไปวิ่งเก็บดอกไม้กัน

เมื่อบุษบาตื่นแล้ว  ก็ทาน้ำอบคลายร้อน  ไม่ผัดหน้า  หรือแต่งตัว

มะเดหวีเอาใจพาไปชมดอกไม้  และเก็บมาแซมผม        นางกำนัลก็เล่นน้ำในสระ

นางบุษยานั่งอยู่กับมะเดหวี   รู้สึกสะบายใจขึ้นบ้าง 


นายช่างเขียนได้วาดรูปตอนนี้ไว้


เมื่อบ่ายแก่แล้ว  นางบุษบาก็อาบน้ำ  ผัดแป้ง  แต่งตัว  นุ่งผ้าสีเขียว  สไบทรงซับสีทับทิม   ใส่มงกุฏทับทิมล้วน  เพื่อกลับวัง

นายช่างได้วาดภาพนี้ไว้     

การแต่งตัวของนางนี้  โสภาผุดผ่องละอององค์


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 09:57


คนอ่าน อิเหนา  ถามกันว่า รูปบุษบาชิ้นไหนจะสวยกว่ากัน   รูปตื่นนอนหรือรูปทรงเครื่อง

เรื่องนี้ผู้มีโวหารดีย่อมสามารถแสดงความคิดอ่านได้กว้างขวาง

ศิลปินภาพเหมือนเลื่องชื่อของเมืองไทยนั้นเมื่อจะร่างรูปสาวงาม   ท่านขอให้สาวล้างแป้งน้ำมันออกก่อน

เพื่อดูผิวแท้ ๆ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 10:24
       เมื่อช่างเขียนวาดรูปแล้ว  ก็ม้วนกระดาษซ่อนไว้ที่โพกหัว  แล้วมุ่งหน้ากลับเมือง

เสด็จปู่ที่เป็นเทวดาอยู่ในสวรรค์  ต้องการลงโทษอิเหนา   จึงลงมาหยิบรูปบุษบาแต่งเต็มยศ

ขณะช่างนอนหลับอยู่  นำไปทิ้งที่ทางไปเมืองกะหมังกุหนิง(ย่อเรื่อง)

ช่างเขียนจึงเหลือรูปบุษบาเมื่อตื่นนอนมาถวายจรกา

จรกาดูรูปแล้วสลบ

ถามว่า  ถึงสลบเชียวหรือ        กลอนบอกว่า  รสรักรึงใจดังไฟกัลป์  และอีกตอนหนึ่งบอกว่า  ความรักสลักแน่นในอุรา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ค. 11, 10:33

จรกาดูรูปแล้วสลบ

ถามว่า  ถึงสลบเชียวหรือ        กลอนบอกว่า  รสรักรึงใจดังไฟกัลป์  และอีกตอนหนึ่งบอกว่า  ความรักสลักแน่นในอุรา


เป็นไปได้ อาจจะเนื่องจากตื่นเต้นสุดขีด ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง มือไม้เริ่มชา เส้นประสานส่วนกลางตกอยู่ในภาวะช็อค เลือดสูบฉีดสู่สมองไม่ทัน เลยเป็นลมไปชั่วขณะ...หมอตี๋ราชประสงค์กล่าว  ;D


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 10:40
บานพับ  คือ พาหุรัด


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือวินัยมุข (จำไม่ได้ว่า เล่ม ๑ หรือ ๒ หรือ ๓)
อย่างเดียวกับที่คุณวันดีอ้างมา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 11:05

วิหยาสะกำ  ได้รูปบุษบาแต่เต็มยศ   สลบบนหลังม้าเลยค่ะ


คลี่ดูเห็นรูปเยาวเรศ                                  ดังแว่นทองส่องเนตรเสียวกระสัน

สุดแสนปฎิพัทธ์ผูกพัน                                ป่วนปั่นหฤทัยไปมา


          นักวาดรูปเหมือนชวาคนหนึ่ง  ที่มาอยู่เมืองไทยนาน   วาดรูปหญิงไทยสวยค่ะ

แต่ดูจะสวยเหมือน ๆ กัน   คือใช้ผ้าบาง ๆ พันทรง        ดูไปดูมาก็ดูทรวดทรงผู้หญิงกันมากกว่า


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 11:29
ตกลง  ยังไม่มีใครอธิบายคำว่า ท้องช้ำ ได้
(ไม่ต้องมาถามผม  ผมไม่รู้เหมือนกัน  แต่สังเกตว่า
ผ้ายกทอง ต้องมาคู่กับคำว่า ท้องช้ำ เสมอ)

กลับไปที่จรกา  ซึ่งเฝ้าแต่ชมรูปวาดระเด่นจินดาส่าหรี ไม่เป็นอันทำงานการ
ถึงตรงนี้  สุนทรภู่ได้ยืมเอาบุคลิกของจรกาไปสร้างเป็นตัวละครตัวใหม่
ในเรื่องพระอภัยมณี  คือ  เจ้าละมาน  ซึ่งหลงรูปวาดนางละเวงจนตัวตาย

อีกด้าน ที่เมืองดาหา  ซึ่งศิลปินเอกของจรกาไปซุ่มโป่งอยู่ในราชอุทยาน
รอเวลาระเด่นบุษบามาประพาสสวนหลวง  ก็รออยู่หลายเพลา
หมดบะหมี่ไปหลายซอง

วันหนึ่ง  มะเดหวีเห็นว่านางบุษบา  (มะเดหวีปกติทำหน้าที่เป็นแม่เลี้ยง
และทปษ.ของนางบุษบา) ไม่ค่อยเสบยเบิกบานมานานร่วมปี
(แน่แหละ  พระราชบิดาเล่นมาโทษว่า นางเป็นเหตุให้อิเหนาตัดตุนาหงันนี่)
จึงชักชวนนางบุษบาเสด็จไปประพาสราชอุทยานเสียหน่อย
ว่าแล้ว  มะเดหวีก็ชวนบุษบาไปสรงน้ำแต่งองค์ทรงเครื่อง
นางบุษบาไม่ยอมผัดหน้า เพราะกำลังอยู่ในโหมดเศร้าหมอง
เครื่องแต่งกายอื่นๆ ไม่มีอะไรแปลก ขอข้ามมาขึ้นวอพระประเทียบเลยละกัน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 11:39
เมื่อวอพระประเทียบมาถึงราชอุทยานก็เสด็จลงจากวอ

ศิลปินเอกที่ซุ่มโป่งในสวนก็เริ่มทำงานทันที
แต่อารามตกตะลึงชื่นชมความงามนางบุษบา
เลยลืมวาดรูป  คิดแล้วเจ็บใจ นี่ถ้ามากล้องดิจิทัล
ก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว

ไม่เป็นโอกาสของศิลปินยังไม่หมด  
นางบุษากับมะเดหวีพร้อมนางกำนัลไปที่แท่นศิลากลางราชอุทยาน
มะเดหวีโอ้โลมปฏิโลมสารพัดชวนให้บุษบาย่างเยื้องไปชมต้นไม้
นางก็ไม่ไป  ยังคงทำหน้าไว้ทุกข์อยู่  ปล่อยให้นางกำนัลไปเที่ยวเล่น
จะมีบ้างก็พวกอยากเอาใจนาย

"บ้างพลอยทุกข์ด้วยเจ้าจะเอาหน้า
ทำเกศาตกแสกแหวกสยาย"

เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่เข้าใจคำว่า ตกแสก ช่วยกันอธิบายหน่อยนะ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 11:48
นางบุษบาอมทุกข์จนหลับไป  มะเดหวีก็ไล่พวกนางกำนัลลงน้ำ
นางบุษบาบรรทมเต็มอิ่ม ก็ตื่นขึ้นมา  จังหวะดีที่ศิลปินเราแอบรอเวลา
รีบวาดรูปนางบุษบาเพิ่งตื่นนอน  หน้าไม่ผัดแป้ง แต่ก็ยังงาม
(ถ้าเป็นหญิงอื่น  ช่างเขียนคงตกใจ  วาดผิดวาดถูก)

แล้วมะเดหวีก็ชวนนางบุษบาไปสรงน้ำล้างหน้าแต่งองค์ใหม่ที่ตำหนัก
ที่อยู่ในสวนหลวงนั้น   พอแต่งเครื่องแล้วก็เสด็จมาเตรียมจะกลับวัง
ก็เป็นเวลาดีที่จิตรกรเอกจะได้วาดรูปอีกรูป วาดเสร็จก็ม้วนใส่ผ้าโพก
พันไว้กับศีรษะ  แล้วก็รีบจรลีกลับเมืองจรกาไปรับค่าวาดรูป


แต่ระหว่างทาง  จิตรกรเราเดินทางเหนื่อย 
เพราะดาหาอยู่ไกลกับเมืองจรกา
ช่างวาดเลยขอนอนพักแรมตรงสามแยกไฟฉาย 
เอ๊ย ไม่ใช่  สามแยกไปเมืองกะหมังกุหนิงกับไปเมืองจรกา



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 12:45
องค์ปะตาระกาหลาเกิด
"อาสน์อ่อนเร่าร้อนคือไฟกัลป์  เทวัญเล็งทิพเนตรดู"
ก็เพิ่งรู้ว่า อิเหนา นัดดาเกิดไปหลงรักหญิงต่างเมืองอันต่ำศักดิ์
และจะให้นางบุษบาไปได้คู่ครองเป็นระตูต่างเมือง ดูประหนึ่งไม่เคารพต้นวงศ์
จึงได้คิดแกล้งอิเหนาให้สาหัส  แล้วก็เหาะมาที่จิตรกรที่นอนหลับกลางสามแยก
ในกลางคืนนั้น

เมื่อร่อนมาถึง ก็แก้ผ้าโพกหัวของช่างวาด
จิ๊กเอาภาพนางบุษบาทรงเครื่องไปแล้วเหาะกลับแมนชั่น

ช่างเขียนตื่นนอนตอนเช้า  ก็รับไปยังเมืองจรกาทันที
เข้าเฝ้าเอารูปวาดถวายจรกา

จรกาก็ต่อว่าช่างวาดว่า  ช่างวาดไปหลบลี้หนีไปกกกอดสาวนอน
อยู่ตรงไหนในเมืองดาหา  ปล่อยให้เรารอมาตั้ง ๕ เดือนเศษ
เหมือนกับเจ้าจงใจแกล้งประวิงเวลาให้เนิ่นช้าเสียการ


ช่างวาดก็แก้ไขว่า  เปล่าเลย  ข้าไปสืบข่าวกว่าจะรู้ว่า
อิเหนาเขาตัดสวาทขาดตุนาหงันกับบุษบาแล้ว  ก็นานนัก
และไหน ชาวเมืองดาหาจะโศกเศร้าเสียดายที่ไม่ได้จัดงานใหญ่
พระธิดาท้าวดาหาก็ไม่ได้เสด็จออกมาเยี่ยมสวนหลวง
ข้าก็รออยู่จนถึง ๕ เดือนเศา จึงได้สบโอกาสที่เสด็จลงสวน
วาดรูปมาจนได้  เอ้านี่ เอาไปทอดพระเนตร

จรกาได้ดูรูปนางบุษบาเมื่อไม่ได้ทรงเครื่องเต็มยศ
ก็ตกตะลึงขาดใจตาย เอ๊ย ไม่ใช่ เป็นลมสลบ เสนาอำมาตย์เห็นดังนั้น
ก็รีบปฐมพยาบาลกันยกใหญ่จนจรกาฟื้น 
พอฟื้นก็สั่งเสนาให้เตรียมเดินทางไปเมืองล่าสำทันที
แล้วเสด็จขึ้นห้องพินิจรูปวาดนางบุษบาต่อจนรุ่งเช้า

พอเช้าก็อาบน้ำแต่งตัวขี่ช้างไปเมืองล่าสำ
เมื่อถึงเมืองล่าสำ  จรกาก็เข้าเฝ้าท้าวล่าสำผู้เป็นพี่
เอาภาพวาดนางบุษบาให้พี่ดู  แล้วก็ว่า  เค้าอยากได้ๆ จัดให้หน่อยสิ

ท้าวล่าสำเป็นพี่ชายใจดี  ก็จัดการให้ตามที่น้องชายขอ
สั่งให้ตำมะหงงแต่งสารไปถึงท้าวดาหา
จัดเครื่องบรรณาการของดีไปถวายพร้อมกัน
แล้วให้ดะหมังกับยาสาเป็นทูต(เฒ่าแก่)
ไปเจรจาความเมืองสู่ขอนางบุษบา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 11, 12:51
เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่เข้าใจคำว่า ตกแสก ช่วยกันอธิบายหน่อยนะ

ตกแสก ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม).

 ;D
 


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 12:55
ดะหมังยาสาได้รับคำสั่งก็มาจัดเครื่องบรรณาการที่ศาลาลูกขุนใน

เอา ศาลาลูกขุนใน นี่เขามีไว้ทำอะไร  ช่วยกันอธิบายหน่อยเร้ว

"สั่งให้ชักไพร่หลวงสมกำลัง   เสบียงคนละถังทุกตัวไพร่"
กลอน ๒ วรรค นี้หมายความว่าอะไร  ช่วยอธิบายหน่อย


พอคณะทูตเมืองล่าสำเดินทางมาถึงด่านเมืองดาหา  
ก็หยุดให้เขาเรียกส่วย เอ๊ย ไม่ใช่  ให้เขาซักถามจนพอใจ
แล้วนายด่านก็ควบม้าเร็วฝีเท้าดีเคยแข่งกรังซ์ปรีมาก่อน
เข้าไปเมืองดาหา เอาความไปแจ้งแก่ท่านผู้ใหญ่ทั้งสี่

ท่านผู้ใหญ่ทั้ง ๔ นี้ หมายถึงใคร  จงอธิบายให้ฟังหน่อย

ฝ่ายปาเตะได้ฟังก็รีบไปเข้าเฝ้าท้าวดาหา
ท้าวดาหาทราบก็สั่งให้กรมวังจัดการรับแขกตามประเพณี
เขาทำอะไรในการเตรียมการรับแขกเมืองบ้าน
ให้คุณวันดีสาธยายให้ฟังดีกว่า



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.ค. 11, 12:57
เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่เข้าใจคำว่า ตกแสก ช่วยกันอธิบายหน่อยนะ

ตกแสก ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม).

 ;D
 


เออ นั่นสิ  แล้วหวีแหวกผมกลางศีรษะมันเกี่ยวข้องอะไรกับความโศกเศร้า
คุณเพ็ญฯ ช่วยอธิบายให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจหน่อย  มีภาพประกอบด้วยจะดีมาก


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 11, 13:20
จะมีบ้างก็พวกอยากเอาใจนาย

"บ้างพลอยทุกข์ด้วยเจ้าจะเอาหน้า
ทำเกศาตกแสกแหวกสยาย"

คิดว่าคำสำคัญซึ่งแสดงความโศกเศร้าน่าจะเป็นคำว่า "สยาย"

สยาย [สะหฺยาย] ก. คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น สยายผม. ว. ที่คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น ผมสยาย.

หากคุณหลวงเคยดูหนังแขก พอถึงบทโศก ผู้หญิงแขกจะร้องไห้คร่ำครวญพร้อมกับสยายผมลงกับพื้นทีเดียว

จาก จันทกุมารชาดก (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=28&A=4761&Z=5179)

[๘๑๑] หญิงสาว ๗๐๐ คน ผู้เป็นชายาของจันทกุมาร ต่างสยายผมแล้วร้องไห้ ดำเนินไปตามทาง  ส่วนพวกหญิงอื่น ๆ ออกแล้วด้วยความเศร้าโศกเหมือนเทวดาในนันทวัน ต่างก็สยายผมร้องไห้ไปตามทาง.

 :'(


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 11, 13:35
การสยายผมเป็นธรรมเนียมแสดงถึงการไว้ทุกข์ด้วย

คิดว่า  สุนทรภู่คงเห็นจากพราหมณ์ที่กรุงเทพฯ นี่แหละครับ  เพราะธรรมเนียมพราหมณ์เมื่อได้บวชเป็นพราหมณ์โดยพิธีอุปนยายะแล้ว (จำไม่ได้ว่ามีหนังสืออะไรสักเล่ม บอกว่า พราหมณ์ไม่ได้บวชโดยพิธีอุปนยายะ แต่เป็นพิธีอย่างอื่น)  พราหมณ์นั้นจะไม่ตัดผมอีกเลย  พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์ก็ยังถือธรรมเนียมเช่นนี้อยู่   พราหมณ์จึงมีผมยาวแต่ไม่ได้ปล่อยผมสยาย คงมุ่นผมเป็นมวยเอาไว้  จะปล่อยสยายก็ต่อเมื่อพราหมณ์ต้องเข้าร่วมเดินในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพเท่านั้น นัยว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ของพราหมณ์มาแต่โบราณ   (ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  พราหมณ์ที่ร่วมเดินในกระบวนแห่พระโกศพระศพมาที่พระเมรุท้องสนามหลวง ก็สยายผมไว้ทุกข์เช่นกัน)  การที่พราหมณ์ไว้ผมยาวและมุ่นเป็นมวยไว้เช่นนี้  คงเป็นธรรมเนียมพราหมณ์มาแต่อินเดีย และได้ถ่ายทอดมาถึงไทยและดินแดนข้างเคียง  ซึ่งก็มีหลักฐานเป็นภาพสลักภาพวาดพราหมณ์มุ่นมวยผม

 :'(


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ค. 11, 14:28
ดะหมังยาสาได้รับคำสั่งก็มาจัดเครื่องบรรณาการที่ศาลาลูกขุนใน

เอา ศาลาลูกขุนใน นี่เขามีไว้ทำอะไร  ช่วยกันอธิบายหน่อยเร้ว

"สั่งให้ชักไพร่หลวงสมกำลัง   เสบียงคนละถังทุกตัวไพร่"
กลอน ๒ วรรค นี้หมายความว่าอะไร  ช่วยอธิบายหน่อย



ลูกขุน” ที่กล่าวถึงใน “บุญบรรพ์” เป็นเรื่องของ “ลูกขุน” ในสมัยโบราณ อันเป็นประเพณีการปกครองมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ซึ่งคำว่า “ลูกขุน” มิได้หมายถึงแต่เฉพาะข้าราชการด้านศาล หรือแผนกตุลาการเท่านั้น ทว่าหมายถึง บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งคำโบราณเรียกรวมกันว่า “ลูกขุน”

ในสมัยโบราณจนถึงรัชกาลที่ ๕ วิธีบังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆนั้นเสนาบดีตั้งจวนอยู่ที่ไหนก็ว่าราชการกระทรวงของตนที่นั่น ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ หรือผู้มีกิจธุระในกระทรวงใด ต้องไปทำการและประกอบกิจธุระที่จวนเสนาบดีกระทรวงนั้น

แต่บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งคำโบราณเรียกว่า “ลูกขุน” ต้องมาประชุมกันที่พระราชวังทุกวัน

จึงมีศาลาที่ประชุมเรียกว่า “ศาลาลูกขุน” ๓ หลัง

หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ภายนอกพระราชวังจึงเรียกว่า “ศาลาลูกขุนนอก” ในกรุงเทพฯ แต่เดิมศาลาลูกขุนนอกตั้งอยู่ริมหลักเมือง เป็นที่ประชุมข้าราชการอันมีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาชั้นสูงปรึกษาอรรถคดี ศาลานี้จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า “ศาลหลวง” (Supreme Court) คณะข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งนั่งศาลาลูกขุนนอกจึงเรียกกันว่า “ลูกขุน ณ ศาลหลวง”

อีกสองหลัง ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังจึงได้เรียกกันว่า “ศาลาลูกขุนใน” ฝ่ายซ้ายเป็นที่ประชุมข้าราชการพลเรือน ขึ้นอยู่กับมหาดไทย (สมุหนายก) ฝ่ายขวาเป็นที่ประชุมข้าราชการฝ่ายทหาร ขึ้นอยู่กับกลาโหม (สมุหกลาโหม)
ที่เรียกว่าฝ่ายซ้ายขวา เพราะแต่โบราณมา เมื่อเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน พลเรือนอยู่ฝ่ายขวาของพระเจ้าแผ่นดิน ทหารอยู่ฝ่ายซ้ายของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งถ้านับจากผู้เข้าเฝ้าฯ ก็เป็นพลเรือนฝ่ายซ้าย ทหารอยู่ฝ่ายขวา จึงนับกันมาว่าทหารเป็นฝ่ายขวา พลเรือนเป็นฝ่ายซ้าย

ดังนั้น บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งนั่งประชุมศาลาลูกขุนทั้ง ๒ แห่ง จึงได้นามรวมเรียกกันว่า “ลูกขุน ณ ศาลา”

ทั้ง “ลูกขุน ณ ศาลหลวง” และ “ลูกขุน ณ ศาลา” ๓ ศาลานี้ ประชุมปรึกษา และบัญชาข้าราชการที่อยู่ในวงอำนาจหน้าที่ทั้ง ๓ แห่ง

เมื่อเสร็จแล้วต่างจึงเข้าไปเฝ้าฯ เป็นการประชุมพร้อมกันที่ในท้องพระโรง โดยพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกประทับ เป็นประธานนำข้าราชการขึ้นกราบบังคมทูล ทรงปรึกษาและบังคับบัญชาราชการเป็นชั้นชี้ขาดด้วยพระบรมราชโองการ

สำหรับศาลาลูกขุนใน ในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ

ศาลาลูกขุนในของเดิมเปน ๒ หลัง โปรดให้สร้างโรงใหญ่ที่ระหว่างศาลาลูกขุนนั้นหลัง ๑ เปนที่เก็บรักษาปืนใหญ่สำหรับเฉลิมพระ เกียรติยศ คือปืนพระยาตานีเปนต้น ที่สระน้ำน่าศาลาลูกขุนฝ่าย ขวาก็โปรดให้ลงเขื่อนแลสร้างเก๋งขึ้นเปนเครื่องประดับ ( โรงปืนแลสระรื้อแลถมเสียในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสร้างศาลาลูกขุนรวมเปนหลังเดียวกัน )


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 14:35

ขุนนางผู้ใหญ่ในกรุงดาหา  ก็ตำแหน่งเดียวกับกรุงกุเรปัน  กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี

คือ ปาเตะ   ตำมะหงง   ดะหมัง และ ยาสา

ประเพณีรับแขกเมืองนั้นน่าศึกษาอยู่   คือระหว่างที่คณะทูตคอยอยู่ที่เมืองหน้าด่านนั้น

ทางกรุงก็ดูแลในเรื่องการกินอยู่ทุกประการ      ในเรื่องการอยู่ก็จัดสถานที่ให้  ส่งที่นอน  หมอน  มุ้ง  กระทั่งหมอนข้างก็มีให้

อาหารก็ส่งทุกประการเช่นเนื้อสัตว์ต่างๆทั้งดิบ สุก และกึ่งดิบกึ่งสุก    ผัก   ผลไม้  ขนม  ส่งทุกวัน

ข้าวสารส่งทุกสามวัน ดั่งนี้เป็นต้น

ทูตฝรั่งสมัยรัตนโกสินทร์ชิมขนมไทยแล้วชอบกันมาก          ไม่ทราบว่าทันหน้าเงาะและมังคุดหรือไม่

เวียงวังคลังนารับผิดชอบไป    ตุ่มน้ำก็เบิกไปให้   ข้าวสาร   น้ำนมโค  ฟืนกี่ท่อนก็ส่ง(นายด่านเก็บเบี้ยใต้ถุนร้านรวยขึ้นเล็กน้อย)

นอกจากนี้ยังมีของทักทูตอีก  คือเจ้าคุณคลังส่งคนไปเยี่ยมก็นำผลไม้รสเลิศไปให้ทั้งคณะ      เจ้าคุณท่านอื่นก็ส่งบ้าง   บางท่านก็ไม่ต้องควักเนื้อ

เพราะพ่อค้านั่งประจำอยู่ที่จวน    จะทำอะไรพ่อค้าเจ้าภาษีก็ยินดี(ถึงไม่ยินดีก็ต้องทำยินดีแหละ)ช่วยราชการ  ไม่อย่างนั้นการประมูลคราวหน้าก็ปิ๋ว

(แปลว่าไม่ได้)

ทางเมืองหลวงก็จัดการให้บ้านเมืองสะอาด      ทาสี  ถมดินโรยทราย(เรื่องนี้ก็ตกหล่นไปบ้างเพราะการปรับทรายนั้นราชการมีกฎว่าต้องสูงเท่านี้เท่านั้น)

เสื้อผ้าของทหารก็ต้องตรวจกันว่ามีพอไหม  แมงกินตัวไปบ้างไหม  ซื้อใหม่เย็บใหม่อีกหน่อยเถิดน่า  แขกเมืองมาทั้งที

อาวุธประจำกายตำรวจทหารก็ตรวจดู  ล้างบ้าง  ซ่อมบ้าง

เศรษฐกิจในเมืองดาหาสะพัดมากตอนนั้น


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ค. 11, 14:54


เมื่อจัดแจงบ้านเมืองแล้ว  ก็แจ้งไปให้ทูตมาเฝ่าได้

ทูตถวายสาร (ตามหลักการเรื่องธุระของทูตนั้นต้องแจ้งขุนนางผู้ใหญ่มาก่อนแล้ว)

ตำมะหงงอ่าน   สุรปว่า   

           ขอพระธิดานารี   ไปเป็นศรีนครจรกา

พระราชสารก็ถ่อมตัวมากมายว่าวงศ์ระตูนั้นเปรียบเหมือนจอมปลวก   ท้าวดาหาเหมือนภูเขาทอง

ไกลกันมาก  ว่าอย่างนั้นเถอะ


       ท้าวดาหาผู้แค้นอิเหนามาก  ตกลง

แล้วได้ปราศรัยทักทูตสามคำ   ที่จริงจะต้องทักก่อน   คือ

ระตูทั้งสองสบายดีหรือ 

บ้านเมืองปกติดีหรือ

ทูตเดินป่ามานาน  ทหารสบายดีอยู่หรือไม่


       เจ้านายเล็กๆของเราในรัชกาลที่ ๕   เมื่อมีฝรั่งมังค่ามา  ก็เสด็จออกงานและทักทูตเช่นนี้ด้วย    เสด็จอาก็แปลให้



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 11, 18:50

        ท้าวดาหาผู้แค้นอิเหนามาก  ตกลง

แล้วได้ปราศรัยทักทูตสามคำ   ที่จริงจะต้องทักก่อน   คือ

ระตูทั้งสองสบายดีหรือ 

บ้านเมืองปกติดีหรือ

ทูตเดินป่ามานาน  ทหารสบายดีอยู่หรือไม่


       เจ้านายเล็กๆของเราในรัชกาลที่ ๕   เมื่อมีฝรั่งมังค่ามา  ก็เสด็จออกงานและทักทูตเช่นนี้ด้วย    เสด็จอาก็แปลให้



สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องพระราชปฏิสันถารกับทูตต่างประเทศไว้ในเรื่อง อธิบายเรื่องราชทูตไทยไปยุโรป

ลักษณพระราชปฏิสัณฐารทูตก็มีแบบโบราณว่าทรงปฏิสัณฐาร ๓ นัดเปนธรรมเนียม แลเปนธรรมเนียมลงไปจนถึงข้อความของพระราชปฏิสัณฐาร คือดำรัสถามว่า พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายโน้น กับทั้งพระราชวงศ์ทรงสบายดีอยู่หรือนัด ๑ ว่าทูตานุทูตเดินทางมาสดวกดีอยู่หรือเดินทางมาช้านานเท่าใดจึงมาถึงนัด ๑ ว่าประเทศโน้นฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองมีความสุขสมบูรณ์ ไพร่บ้านพลเมืองมีความสุขอยู่หรือนัด ๑ แบบพระราชปฏิสัณฐารอย่างนี้เข้าใจกันซึมทราบมาแต่ก่อนจนอาจจะแต่งลงเปนบทเสภา เมื่อสมเด็จพระพันวะษาเสด็จออกรับทูตล้านช้างได้ดังนี้

 ๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช      ชำเลืองพระเนตรผายผัน 
เห็นราชทูตมาถวายบังคมคัล       กับทั้งเครื่องสุวรรณบรรณา 
จึงตรัสประภาษปราไส             มาในป่าไม้ใบหนา 
กี่วันจึงถึงพระภารา                มรรคายากง่ายประการใด 
อนึ่งกรุงนาคบุรี                    เข้ากล้านาดีหรือไฉน 
หรือฝนแล้งเข้าแพงมีภัย           ศึกเสือเหนือใต้สงบดี 
ทั้งองค์พระเจ้าเวียงจันท์           ทรงธรรม์เปนสุขเกษมศรี 
ไม่มีโรคายายี                     อยู่ดีหรืออย่างไรในเวียงจันท์ ฯ  
                 
แบบแผนทางเมืองพม่ายิ่งหนักมือไป ถึงพระเจ้าแผ่นดินไม่ต้องมีรับสั่งว่ากะไร เพียงพยักพระพักตร์เท่านั้น ผู้สนองพระโอฐก็รับสั่งมาแจ้งพระราชปฏิสัณฐารแก่ทูตตามข้อความที่กล่าวมา

เมื่อมีพระราชปฏิสัณฐารนัด ๑ โกษาธิบดีก็รับพระราชโองการมาบอกแก่กรมท่าขวาหรือซ้าย อันเปนเจ้าหน้าที่ ๆ บอกล่าม ๆ แปลบอกทูต ทูตจะกราบทูลว่ากะไรก็ต้องย้อนกลับโดยนัยอันเดียวกัน แล้วมีพระราชปฏิสัณฐารนัดที่ ๒ ที่ ๓ ต่อไป ครั้นมีพระราชปฏิสัณฐารแล้ว เจ้าพนักงานจึงยกพานหมากกับเสื้อผ้ามาตั้งพระราชทานทูตานุทูต เปนสัญญาว่าเสร็จการเฝ้า พอตั้งพานหมากแล้วไม่ช้าก็ปิดบานพระบัญชรเสด็จขึ้นมีประโคม แลข้าราชการกับทูตานุทูตถวายบังคมอิก ๓ ครั้งแล้วทูตจึงออกจากท้องพระโรง เมื่อทูตออกมาจากเฝ้าแล้ว เจ้าพนักงานพาไปดูสิ่งสำคัญในพระราชวัง คือพระยาช้างเผือกเปนต้น ปรากฎเหมือนกันทั้งคราวราชทูตฝรั่งเศสแลราชทูตลังกา แล้วจึงพาทูตกลับไปพัก เมืองพม่าก็เหมือนกันอย่างนี้


 ;D


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ค. 11, 08:36
"ทรงยกทองท้องช้ำ"

เปิดตำราผ้าไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พบกลอนพรรณา  "ผ้ายกทองท้องแย่ง" อยู่หลายบทกลอน

องค์ประกอบของผ้าไทย ประกอบด้วย ๑. เชิงผ้า  ๒. ขอบข้าง  ๓. ท้องผ้า

ในส่วน "ท้องผ้า" คือพื้นที่มากที่สุด ไว้เดินลายผ้า และอาจจะเป็นไปได้ที่คุณหลวงเล็กสงสัยว่า "ผ้ายกทอง จะใช้ควบกับ ท้องซ้ำ"   

๑. ทางกลอนโดยให้ทอง รับสัมผัสกับ ท้อง

๒. ท้องซ้ำ และ ท้องแย่ง ปรากฎขึ้นมาในเนื้อหา

วิเคราะห์ได้ว่า ท้องซ้ำ น่าจะหมายถึง ลายผ้าที่อยู่บริเวณท้องผ้า มีลวดลายที่ซ้ำกันไปเรื่อย ๆ

และ ท้องแย่ง อาจจะหมายถึง ลายผ้าที่ผูกลายไทย ก้านแย่ง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 11:06



รบกวนคุณหนุ่มไซมีส  หารูปแว่นตา สมัยก่อน พ.ศ. ๒๓๖๗ หรือ ค.ศ. 1186  ด้วยค่ะ

เพราะตำมมะหงงดาหาเมื่ออ่านสารนั้นใส่แว่นด้วย

คงมีผู้สนใจอยากดูแว่นโบราณ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 11:19

ใครเป็นใคร ในอิเหนา


จรกา               ระตูจรกาเป็นเจ้าเมืองจรกา
                     ผิวหน้าไม่เรียบ
                     จมูกใหญ่
                     เสียงแห้งแหบ
                     ผิวดำ
                     อ้วน
                     ใส่ชฎาไม่รับกับใบหน้า
                     รูปร่างเหมือนอย่างไพร่
                     ที่จริงจรกามารยาทอ่อนน้อม  เมื่อเห็นอิเหนาก็นั่งลงไหว้


ท้าวล่าสำ          พี่ชายของระตูจรกา  ครอบครองเมืองล่าสำ
                     รักน้องและตามใจ




กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 11:49
ใครเป็นใครใน อิเหนา

ท้าวกะหมังกุหนิง   ครองเมืองกะหมังกุหนิง
เป็นพระบิดาของระเด่นวิหยาสะกำ
รักลูกมากที่สุด
ชำนาญการต่อสู้ด้วยหอกและบังคับม้า
ตีกระบี่   มีลวดลายเพลงอาวุธและคล่องแคล่ว   คงทนอาวุธคือโดนแทงและฟันด้วยกระบี่  ไม่เข้า
เก่งการแทงกริชมาก
        อันเพลงกริชชวามาลายู                    กูรู้สันทัดไม่ขัดสน

การแทงกริชนั้น  กะหมังกุหนิงถือกริชด้วยมือขวา  และมีผ้าเช็ดหน้าในมือซ้าย
การร่ายรำเพื่อแสดงความว่องไวจะคล่องแคล่วในการหลบ  ใช้ผ้าเช็ดหน้าสะบัดไปมาด้วย

กริชของอิเหนาคมมากเพราะเสด็จปู่วางให้ในเบาะ  เป็นของเทวดาประทาน
กริชชั้นดีของชวานิยมทำจากโลหะจากอุกกาบาต   ศิลปากรนิยมว่ายาว ๗ นิ้ว
เรื่องราวของกริชนั้น  ถ้าจะศึกษาไว้บ้างว่าเป็นอาวุธสั้นของเพื่อนในทวีปเดียวกัน  ก็ไม่เสียหาย



ระตูปาหยัง   ครองนครปาหยัง
เป็นน้องท้าวกะหมังกุหนิง
มีพระธิดาสององค์สวยมาก   ไม่เกี่ยวกับอิเหนาตอนกะหมังกุหนิง


ระตูประหมัน   ครองเมืองประหมันสลัด
เป็นน้องท้าวกะหมังกุหนิง
มีพระโอรส และราชบุตรี


ระเด่นวิหยาสะกำ   โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
รูปโฉมงดงาม    พ่อและแม่รักยิ่งกว่าชีวิต
ผิวเหลืองเหมือนทองคำ   คงจะทรงลงแป้งสารภีผสมละอองทองคำเป็นแน่แท้
พระพักตร์คมขำ
พระทนต์แดงเป็นสีทับทิม(เพราะเสวยหมากนั่นเอง)
พระขนง (คิ้ว) เข้มรับกับฟันสีทับทิม
พระเกศาปลายงอน  ยาวเพียงต้นพระศอ
รูปร่างดี  ได้สัดส่วนไม่ขัดสายตา


กะหมันหรา  ทหารเมืองกะหมังกุหนิง ผู้หยิบรูปนางบุษบาที่ตกอยู่ไปถวายเจ้าชาย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 12:18

       ศึกกระหมังกุหนิงนั้นเป็นตอนที่ศิลปากรคิดว่าประชานิยม

จัดตัวแสดงพรึบพรับ  ทรงเครื่องสีต่างๆกัน  กั้นสัปทนสีต่างๆยืนแน่นหน้าเวที

การเสียดสีตัดพ้อในละครในนั้นถูกใจท่านผู้ชมมาก
     

ฝ่ายอิเหนา มี ๕ องค์คือ

อิเหนา

กะหรัดตะปาตี   พี่ชายต่างมารดาของอิเหนา   เมื่อพูดกับอิเหนาเรียกตัวเองว่า "ข้า"  และเรียกอิเหนาพระองค์"

สุหรานากง    โอรสสิงหัดส่าหรีกับประไหมสุหรี  มีกริชเสด็จปู่ประทานเหมือนกัน   ท้าวดาหาพูดกระทบอิเหนาอย่างไร
พระน้องเล่าละเอียด

ระเด่นดาหยน   ญาติผู้น้อยจากเมืองหมันหยา

สังคามาระตา   น้องเมียของอิเหนา  มีฝีมือในการรบเพราะตามอิเหนาอยู่ตลอด



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ค. 11, 12:19



รบกวนคุณหนุ่มไซมีส  หารูปแว่นตา สมัยก่อน พ.ศ. ๒๓๖๗ หรือ ค.ศ. 1186  ด้วยค่ะ

เพราะตำมมะหงงดาหาเมื่ออ่านสารนั้นใส่แว่นด้วย

คงมีผู้สนใจอยากดูแว่นโบราณ

ถ้า พ.ศ. ๒๓๖๗ ก็ตก ค.ศ. 1824 แว่นตาสมัยก่อนน่าจะทำตาเลนส์และแก้วคริสตัล กลม ๆ เหมือนครูไหวใจร้าย ที่ใส่ไว้สอดส่องนักเรียน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 12:30


ขออภัย  ตั้งใจจะเทียบ จ.ศ.  เจ้าค่ะ

เป็นความหลงลืมของสาวน้อยผู้โดนเกณฑ์มาดำเนินเรื่อง

การอ่านหนังสือหรือดูหนังดูทีวีนั้น    ต่างคนต่างเล่า   เพราะมองเรื่องและความสำคัญต่างมุมกัน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 15:36

ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตและของบรรณาการ ๑๕ หีบไปถวายท้าวดาหา  ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ

และให้ทหารไปตามใน้องชายทั้งสองคนมา  เล่าเรื่องให้ฟัง

น้องชายห้ามไว้เพราะเกรงบารมีสกุลเทวดา   ท้าวกระหมังกุหนิงก็บ่ายเบี่ยงว่าจะแย่งนางจากจรกาต่างหาก

น้องชายทูลว่า    ไฉนพระผ่านเกล้ามาเบาความ

เบาความ  หมายความว่า เชื่อง่าย

เป็นประโยคที่แรงทีเดียว


ท้าวกระหมังกุหนิงกล่าวว่า


       ไม่ย่อท้อ  ไม่กลัว
สงสารลูกชายที่จะต้องตายถ้าไม่ได้นาง
ถ้าวิหยาสะกำตาย   ท้าวกระหมังกุหนิงก็คงตายด้วย

ไหนไหนในจะตายวายชีวา               ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน
ผิดที่ทำสงครามดูตามที                  เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน

พี่ดังพฤกษาพนาวัน                      จะอาสัญเหมือนลูกดังกล่าวมา

ต้นไม้อะไรที่เมื่อออกลูกแล้วตาย      (ประโยคคำถามนี้เชิญต่างคนต่างคิด)
   


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ค. 11, 16:00


ดาหามีโอกาสได้รับทูตต่างเมืองอีกหนึ่งครั้ง      และช้างเริ่มปรากฎในกลอน


       คราวนี้เมื่อแขกเมืองจะเข้ามา     ได้ผูกม้า และช้างนางพระยา ไว้รับด้วย

ม้านั้นคือม้าทรง

ช้างนางพระยา  คือช้างพังลักษณะดี  ไม่ถึงระดับช้่างเผือก

ธรรมเนียมบ้านเมืองใน อิเหนา  คือ ต้นรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น   ดาหาก็มีทหารฝรั่งมารับราชการที่โรงปืนใหญ่ด้วย

เกณฑ์ฝรั่งอยู่ประจำรายไป           

ศิลปในการตั้งปืนใหญ่รายไปนั้น  คือระบบการยิงที่วางคนยิงหน้าที่ต่าง ๆกัน  สลับที่กัน    เพื่อรับหน้าที่ต่อกันได้ในเมื่อได้รับบาดเจ็บ

ในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่ดูจากโทรทัศน์    คนจัดฉากวางปืนใหญ่ติดต่อกันเป็นแผง

ข้าพเจ้าตกใจไหวหวาดว่าอย่างนี้  แหะ ๆ   ตูมเดียวไปทั้งกรม


เรื่องช้างนั้น   สมาชิกเรือนไทยหลายท่านสามารถเลี้ยวเข้าหาและยกมาประกอบการสนทนาได้ทุกเรื่อง

ดังนั้นเราจะข้ามตอนนี้ไปก่อน



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ค. 11, 16:14

       
ศิลปในการตั้งปืนใหญ่รายไปนั้น  คือระบบการยิงที่วางคนยิงหน้าที่ต่าง ๆกัน  สลับที่กัน    เพื่อรับหน้าที่ต่อกันได้ในเมื่อได้รับบาดเจ็บ

ในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่ดูจากโทรทัศน์    คนจัดฉากวางปืนใหญ่ติดต่อกันเป็นแผง

ข้าพเจ้าตกใจไหวหวาดว่าอย่างนี้  แหะ ๆ   ตูมเดียวไปทั้งกรม




เรื่องอะไรหนอ ถ้าถ้าใช้เพลงปี่อย่างฉุยฉาย ก็ออกเสียงชื่อภาพยนต์ว่า "อุอิโออัย" หรือ "อำอานอ๋มเอ็ดอ๊ะอะเออ๋วน" ใช่ไหมเอ่ย ถ้าปืนใหญ่เกิดแตกสักกรบอก ก็ตายกันทั้งแผงไปเลย.....จบข่าว...ปิดม่าน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 ก.ค. 11, 23:43
มีความรู้เกี่ยวกับ กริช มาฝากค่ะ... ;D

กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ถือเป็นอาวุธประจำกายที่สำคัญบ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรี ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ ยศถาบรรดาศักดิ์และชาติตระกูลของผู้เป็นเจ้าของ เป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล ที่สามารถบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้

กริช แบ่งตามลักษณะของใบกริชได้สองแบบคือ ตัวกริชแบบใบปรือ และตัวกริชคด
- ตัวกริชแบบใบปรือ ใบกริชรูปยาวตรง ส่วนปลายค่อย ๆ เรียวและบางลงจนบางที่สุดซึ่งอาจจะแหลมหรืออาจจะมนก็แล้วแต่ แบบนี้คล้าย ๆ กับรูปใบปรือ (ปรือ คือพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีใบยาว บาง เรียว) กริชใบปรือบางเล่มจะมีร่องลึก ยาวขนานไปกับคมกริช บางเล่มมีร่องลึก 2 - 4 ร่องก็มี
- ตัวกริชคด ใบกริชจะมีลักษณะคดไปคดมา และค่อย ๆ เรียวยาวลงคล้ายกับเปลวเพลิง การทำกริชให้คดนั้นมีจุดประสงค์คือเมื่อใช้แทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างกว่า และสามารถแทงผ่านกระดูกได้ด้วย
 
ใบกริช มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดหลอมรวมกัน การทำตัวกริชในสมัยโบราณมีวิธีการที่พิศดารกำกับด้วยคาถาอาคม ผู้ทำต้องใช้ทั้งความสามารถ กำลัง สมาธิ พลังจิต และศิลปะอันวิจิตรงดงาม

มีภาพกริชสองแบบมาให้ดูค่ะ  ;D
ภาพบน กริชสกุลช่างชวา ใบกริชรูปใบปรือ 
ภาพล่าง กริชสกุลช่างชวาใบกริชคดแบบนาฆอ(นาค) มี 11 คด(เลาะ) คร่ำทองด้ามแบบบันจังของสุมาตรา ฝักแบบซันดังวาลิกัต ปลอกทองเหลืองดุนลาย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 19 ก.ค. 11, 01:52


ขอบคุณค่ะคุณ ดีดี    ข้อมูลกำลังต้องการอยู่พอดี

ไม่ทราบแน่คุณหลวงเล็ก  จะออกนำพลไปถึงไหน  สงสัยว่าไกลแน่

เมื่อถึงสามแยกกระหมังกุหนิงแล้ว    แหะ ๆ   ตัวใครตัวท่านนะคะ   

สหายทั้งปวงอยากเล่นอะไรด็เรียนท่านก็แล้วกัน   

สาเหตุที่ดิฉันต้องแยกทัพก็เพราะว่า  อิเหนาของดิฉันชุดนี้ซื้อลดราคามานานมากแล้ว

กว่าดิฉันจะอ่านไปถึงลมหอบ  และพบว่าไม่มีตอนลมหอบค่ะ (เหตุผลน่าจะรับฟังได้นะคะ)



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.ค. 11, 08:16
การสยายผมเป็นธรรมเนียมแสดงถึงการไว้ทุกข์ด้วย

คิดว่า  สุนทรภู่คงเห็นจากพราหมณ์ที่กรุงเทพฯ นี่แหละครับ  เพราะธรรมเนียมพราหมณ์เมื่อได้บวชเป็นพราหมณ์โดยพิธีอุปนยายะแล้ว (จำไม่ได้ว่ามีหนังสืออะไรสักเล่ม บอกว่า พราหมณ์ไม่ได้บวชโดยพิธีอุปนยายะ แต่เป็นพิธีอย่างอื่น)  พราหมณ์นั้นจะไม่ตัดผมอีกเลย  พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์ก็ยังถือธรรมเนียมเช่นนี้อยู่   พราหมณ์จึงมีผมยาวแต่ไม่ได้ปล่อยผมสยาย คงมุ่นผมเป็นมวยเอาไว้  จะปล่อยสยายก็ต่อเมื่อพราหมณ์ต้องเข้าร่วมเดินในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพเท่านั้น นัยว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ของพราหมณ์มาแต่โบราณ   (ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  พราหมณ์ที่ร่วมเดินในกระบวนแห่พระโกศพระศพมาที่พระเมรุท้องสนามหลวง ก็สยายผมไว้ทุกข์เช่นกัน)  การที่พราหมณ์ไว้ผมยาวและมุ่นเป็นมวยไว้เช่นนี้  คงเป็นธรรมเนียมพราหมณ์มาแต่อินเดีย และได้ถ่ายทอดมาถึงไทยและดินแดนข้างเคียง  ซึ่งก็มีหลักฐานเป็นภาพสลักภาพวาดพราหมณ์มุ่นมวยผม

 :'(


นั่นแหละ  ที่ผมต้องการ  ถ้ามีภาพด้วยก็ครบถ้วน
เพราะเด็กๆ สมัยนี้อาจจะไม่เข้าใจธรรมเนียมนี้
ยิ่งไม่ใช่ธรรมเนียมของคนทั่วไปยิ่งนับวันจะลี้ลับสำหรับเด็กๆ
ทำให้อ่านวรรณคดีเก่าๆ ไม่เข้าใจ

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่มีแก่ใจค้นหามา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.ค. 11, 08:20
"ทรงยกทองท้องช้ำ"

เปิดตำราผ้าไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พบกลอนพรรณา  "ผ้ายกทองท้องแย่ง" อยู่หลายบทกลอน

องค์ประกอบของผ้าไทย ประกอบด้วย ๑. เชิงผ้า  ๒. ขอบข้าง  ๓. ท้องผ้า

ในส่วน "ท้องผ้า" คือพื้นที่มากที่สุด ไว้เดินลายผ้า และอาจจะเป็นไปได้ที่คุณหลวงเล็กสงสัยว่า "ผ้ายกทอง จะใช้ควบกับ ท้องซ้ำ"   

๑. ทางกลอนโดยให้ทอง รับสัมผัสกับ ท้อง

๒. ท้องซ้ำ และ ท้องแย่ง ปรากฎขึ้นมาในเนื้อหา

วิเคราะห์ได้ว่า ท้องซ้ำ น่าจะหมายถึง ลายผ้าที่อยู่บริเวณท้องผ้า มีลวดลายที่ซ้ำกันไปเรื่อย ๆ

และ ท้องแย่ง อาจจะหมายถึง ลายผ้าที่ผูกลายไทย ก้านแย่ง

เป็นการสันนิษฐานที่เข้าทีมาก  เหมาะแล้วที่เล็งหาคนตอบไว้ไม่ผิดคน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.ค. 11, 08:36
เมืองดาหาจัดแจงแต่งบ้านเมืองรับทูตเมืองล่าสำนั้นน่าสนุก
ทำให้เห็นลักษณะการรับทูตสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังใช้แบบแผน
อย่างเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา  ราชสาส์นนั้นสำคัญ
เสมอด้วยองค์พระเจ้าแผ่นดิน  จึงต้องขึ้นยานมาศแห่เข้าเมือง
ส่วนผู้นำราชสาส์นนั้น  เดินตามพระราชสาส์น ธรรมเนียมอย่างนี้
ฝรั่งมังค่าไม่เข้าใจ  เห็นว่าชาวสยามไม่ให้เกียรติทูต
แต่ไปให้เกียรติกระดาษของพระเจ้าแผ่นดิน

มีที่น่าสนใจอันหนึ่ง กล่าวไว้ในตอนแขกเมืองเข้าเฝ้า

"วันแขกเมืองจะเฝ้าพระภูมี
ก็จัดแจงแต่งที่ระดมกัน
เกณฑ์ให้ไพร่ใส่เสื้อเสนากุฏ
ถืออาวุธพาดตักมักกะสัน
สองข้างมรคาเข้ามานั้น
รั้วไก่กั้นกัลบาทนั่งราย
ราชนิกุลขุนนางตำแหน่งนา
เข้ามาพร้อมพรั่งทั้งสองฝ่าย
ต่างฝ่ายต่างนุ่งสมปักลาย
คาดเสื้อครุยกรุยกรายตามทำนอง
ขึ้นพระโรงเตรียมเฝ้าเบียดเสียด
หน้าที่นั่งตั้งเจียดเป็นแถวถ้อง
ชาวที่คอยไขม่านทอง
กิดาหยันถือจ้องกรับสัญญา"

จัดเต็มที่ทุกฝ่าย เพราะเป็นหน้าเป็นตาแก่บ้านเมือง

มีคำที่ควรสงสัย คือ เสื้อเสนากุฏ
หน้าตาเป็นอย่างไร ใครช่วยอธิบายพร้อมรูป

ส่วน รั้วไก่ นั่งกัลบาท  นั้น ใครจะแสดงความเห็นก็ยินดีรับฟัง

บรรทัดนี้ "ราชนิกุลขุนนางตำแหน่งนา
เข้ามาพร้อมพรั่งทั้งสองฝ่าย"
ทำให้นึกถึงถ้อยคำสมัยสุโขทัยว่า ทวยลูกเจ้าลูกขุน

ผมสงสัยต่อไปว่า นุ่งสมปักลาย แต่ทำไมเอาเสื้อครุยมาคาด
เขาคาดอย่างไร  เพราะเด็กสมัยนี้คงเป็นแต่การสวมเสื้อครุย
แต่คาดเสื้อครุยนี้  เดี๋ยวนี้คงไม่มีให้เห็นแล้ว

เจียด  นี่  หน้าตาเป็นอย่างไร 
ใครมีที่บ้านโปรดเอามาแสดงให้ดูหน่อย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 10:23

ผมสงสัยต่อไปว่า นุ่งสมปักลาย แต่ทำไมเอาเสื้อครุยมาคาด
เขาคาดอย่างไร  เพราะเด็กสมัยนี้คงเป็นแต่การสวมเสื้อครุย
แต่คาดเสื้อครุยนี้  เดี๋ยวนี้คงไม่มีให้เห็นแล้ว


ใช่แล้ว

เสื้อครุยมีวิธีการใช้อยู่ ๓ วิธี คือ เวลาอยู่ในหน้าที่จะสวมเสื้อครุยทั้งสองแขน ถ้าอยู่นอกหน้าที่เอาออกมาม้วนคาดพุง แต่ถ้าสวมแขนเดียวอีกแขนหนึ่งพาดเฉียงบ่าแสดงว่าอยู่ในหน้าที่เข้ากรม

ส่วนอีกประการหนึ่งที่นำเอาเสื้อครุยมาคาดไว้ นัยว่าเข้าต่อหน้าผู้มีบรรดาศักดิ์กว่าตน เป็นการอ่อนน้อมกว่า


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 10:25
ผ้าสมปัก

ผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่งใช้เป็นเครื่องแบบมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะใช้เฉพาะในเวลาเข้าเฝ้าหรือในพระราชพิธี เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะกลางผืนผ้าเป็นสีและลายต่าง ๆ สมปักมีหลายชนิด ได้แก่ "สมปักปูม" ถือว่าเป็นชนิดดีที่สุด "สมปักล่องจวน" เป็นสมปักที่ทอเป็นรอยยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้นมีเชิงลายเป็นรอยยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้นมีเชิงลาย นอกจากนี้มี "สมปักลาย" และ "สมปักริ้ว" ซึ่งเป็นผ้าสามัญที่พวกเจ้ากรมปลัดกรมนุ่งเท่านั้นมิใช่เป็นของพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 ก.ค. 11, 10:30
ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ;D
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.ค. 11, 10:36
ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ;D
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณืมหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544

ขอตัวอย่างที่เป็นปัจจุบัน ไม่ทราบว่าหาได้หรือไม่


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 10:43
ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ;D
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณืมหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544

ขอตัวอย่างที่เป็นปัจจุบัน ไม่ทราบว่าหาได้หรือไม่

แบบนี้ครับผม ที่ใช้ในปัจจุบันนี้


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 ก.ค. 11, 10:45
เสื้อเสนากุฎ หมายถึง เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสีรูป สิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สําหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ ของหลวง

ภาพข้างล่างเป็น เสื้อเสนากุฏ แบบปัจจุบันค่ะ  ;D


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 11:04

เจียด  นี่  หน้าตาเป็นอย่างไร 
ใครมีที่บ้านโปรดเอามาแสดงให้ดูหน่อย


เจียด เป็นเครื่องประดับยศขุนนาง ทำด้วยเงิน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 ก.ค. 11, 11:16
"รั้วไก่กั้นกัลบาทนั่งราย"

รั้วไก่ หมายถึง แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสําหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า
แผงราชวัติ หมายถึง รั้วที่ทําเป็นแผงปักเป็นระยะ ๆ มีฉัตรปักหัวท้ายแผง
กัลบาท น่าจะเป็นคำเดียวกับ กลาบาต ที่เคยถกกันแล้วในเรือนไทย เป็นการตั้งกองทหารรายทาง คล้ายคำว่า "Guard"

กระทู้: นั่งกลาบาตคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3629.15 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3629.15)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 12:34
การสยายผมเป็นธรรมเนียมแสดงถึงการไว้ทุกข์ด้วย

คิดว่า  สุนทรภู่คงเห็นจากพราหมณ์ที่กรุงเทพฯ นี่แหละครับ  เพราะธรรมเนียมพราหมณ์เมื่อได้บวชเป็นพราหมณ์โดยพิธีอุปนยายะแล้ว (จำไม่ได้ว่ามีหนังสืออะไรสักเล่ม บอกว่า พราหมณ์ไม่ได้บวชโดยพิธีอุปนยายะ แต่เป็นพิธีอย่างอื่น)  พราหมณ์นั้นจะไม่ตัดผมอีกเลย  พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์ก็ยังถือธรรมเนียมเช่นนี้อยู่   พราหมณ์จึงมีผมยาวแต่ไม่ได้ปล่อยผมสยาย คงมุ่นผมเป็นมวยเอาไว้  จะปล่อยสยายก็ต่อเมื่อพราหมณ์ต้องเข้าร่วมเดินในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพเท่านั้น นัยว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ของพราหมณ์มาแต่โบราณ   (ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  พราหมณ์ที่ร่วมเดินในกระบวนแห่พระโกศพระศพมาที่พระเมรุท้องสนามหลวง ก็สยายผมไว้ทุกข์เช่นกัน)  การที่พราหมณ์ไว้ผมยาวและมุ่นเป็นมวยไว้เช่นนี้  คงเป็นธรรมเนียมพราหมณ์มาแต่อินเดีย และได้ถ่ายทอดมาถึงไทยและดินแดนข้างเคียง  ซึ่งก็มีหลักฐานเป็นภาพสลักภาพวาดพราหมณ์มุ่นมวยผม

 :'(


นั่นแหละ  ที่ผมต้องการ  ถ้ามีภาพด้วยก็ครบถ้วน
เพราะเด็กๆ สมัยนี้อาจจะไม่เข้าใจธรรมเนียมนี้
ยิ่งไม่ใช่ธรรมเนียมของคนทั่วไปยิ่งนับวันจะลี้ลับสำหรับเด็กๆ
ทำให้อ่านวรรณคดีเก่าๆ ไม่เข้าใจ

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่มีแก่ใจค้นหามา

นาลีวัณ หรือพราหมณ์ในพระราชสำนัก ที่สยายผมระหว่างเดินร่วมริ้วขบวนพระอิสริยยศในการเชิญพระโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวงนั้น การสยายผมของนาลีวัณ ถือเป็นการถวายความเคารพสูงสุดต่อพระศพ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ค. 11, 14:25

เมืองดาหาจัดแจงแต่งบ้านเมืองรับทูตเมืองล่าสำนั้นน่าสนุก
ทำให้เห็นลักษณะการรับทูตสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังใช้แบบแผน
อย่างเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา  ราชสาส์นนั้นสำคัญ
เสมอด้วยองค์พระเจ้าแผ่นดิน  จึงต้องขึ้นยานมาศแห่เข้าเมือง
ส่วนผู้นำราชสาส์นนั้น  เดินตามพระราชสาส์น ธรรมเนียมอย่างนี้
ฝรั่งมังค่าไม่เข้าใจ  เห็นว่าชาวสยามไม่ให้เกียรติทูต
แต่ไปให้เกียรติกระดาษของพระเจ้าแผ่นดิน


ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่เป็นเล่นแง่ในการทูต หากผิดใจเกิดกันขึ้น ก็อ้างถึงสิทธิ์นำเรือรบเข้ากำลังหักหาญ ยึดแผ่นดิน

การที่จะเข้าผูกมิตรระหว่างประเทศ ต้องศึกษาธรรมเนียมกันและกันมาก่อนแล้ว ทางยุโรปถือว่าตนเป็น Authorized Representative ชอบด้วยอำนาจทั้งปวง ไม่ใช่มาไหว้กระดาษ ส่วนการต้อนรับทูตอย่างใหญ่ มีอีกครั้งเมื่อ ท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง เสนอที่อยากจะให้สยาม ต้อนรับทูตอย่างใหญ่เสมอเมื่อครั้งรับทูตฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์

เหตุการณ์ไหว้กระดาษ (พระราชสาส์น) นี้ยังมีเหตุการณ์ที่ฝรั่งต้องเจอที่ปักกิ่ง สมัยจักรพรรดิ์เฉียนหลง มีราชทูตจากยุโรปส่งพระราชสาส์นมาขอทำการค้าด้วย ทางการจีนจึงนำพระราชสาส์น แห่ขึ้นเกี้ยวงดงาม ให้ราชทูตเดินตาม หลังจากนั้นมีพระบรมราชโองการตามออกมาให้คณะราชทูต ข้าราชสำนักชาวจีนต่างโค้งคำนับพระราชโองการ ด้วยถือเสมือนฮ่องเต้มาเอง แถมยังบังคับให้ชาวยุโรปคุกเข่า ก้มโค้งหมอบกับพื้น ๙ ครั้ง อย่างธรรมเนียมจีนอีกด้วย ... จีนถือว่าประเทศใหญ่ เป็นศูนย์กลางแห่งโลก มิเกรงกลัวผู้ใด


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ค. 11, 10:26
ส่ง อิเหนา เวอร์ชั่น คุณไชยา มิตรชัย มาให้ชม ระหว่ารอท่านอื่นๆ มาอัพ ค่ะ ;D
แต่ดูคุณ จินตหรา เวอร์ชั่นนี้ สว. ไปหน่อยนะคะ...

http://www.youtube.com/watch?v=ZegRyMo0nww


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 11, 14:06
กลับมาเล่าเรื่องอิเหนากันต่อไปตามสไตล์คุณหลวง

เมื่อตำมะหงงเมืองดาหาได้คลี่ราชสารอ่านถวายท้าวดาหาแล้ว
ท้าวดาหามีพระดำรัสประภาด้วยคณะทูต  ๓  นัดตามธรรมเนียม
จากนั้นก็ประทานเสื้อผ้าแพรพรรณแก่คณะทูตเป็นรางวัล
พร้อมกับรับสั่งไปว่า  อีก ๓ เดือน ข้างหน้าจะจัดการตบแต่งจรกากับบุษบา
ตามที่ได้มีสารขอมานั้น   แล้วเสด็จขึ้น

คณะทูตได้เฝ้าถวายราชสารเสร็จตามประสงค์แล้วก็รีบออกเดินทางกลับทันที
เพื่อไปกราบทูลเรื่องที่ท้าวดาหาทรงยินดีรับของหมั้นไว้พร้อมกับกำหนดการที่จะจัดงานมงคล

ฝ่ายจรกาได้ทราบข่าวดีก็ดีใจ ปลาบปลื้มเสียไม่มีที่เปรียบ

ฟากท้าวดาหา ได้รับสั่งให้เสนา ๓ คนไปแจ้งข่าวทรงรับของหมั้นระตูจรกา
ให้เมืองกุเรปัน  กาหลัง และสิงหัดส่าหรีทราบ   พร้อมกับอธิบายเหตุผลว่า

"ด้วยระตูล่าสำบุรี
มาขอบุตรีให้อนุชา
ไม่ควรเคียงศักดิ์ก็เข้าใจ
แต่ได้ให้เขาตามวาสนา
จะแต่งการเท่าวงศืเทวา
พอแก้หน้าที่ได้ความอัประมาณ"

เรื่องนี้เมื่อทราบถึงท้าวกุเรปัน  ท้าวเธอก็ตรัสว่า

"พระน้องไม่ยั้งคิดนี้ผิดนัก
ให้เสียศักดิ์สุริย์วงศ์อสัญหยา
เมื่อเห็นดีให้ปันลั่นวาจา
จะรื้อมาบอกเล่าเราไย"

ส่วนท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี ประทับอยู่ต่างเมืองกัน
แต่ในบทละครเกณฑ์ให้รับสั่งเป็นความอย่างเดียวกันว่า

"แต่แรกพระเชษฐาไม่หารือ
ปลงใจให้ระตูตุนาหงัน
อิเหนานั้นบรรลัยเสียแล้วหรือ
จะให้ไพร่พลเมืองเลื่องลือ
ไม่นับถือวงศาสุราลัย
ทั้งนี้สุดแต่พระเชษฐา
นครากุเรปันเป็นใหญ่
ถ้าพระองค์ยินยอมพร้อมใจ
เรามิได้แข็งขัดทัดทาน"

เสนาทั้งสาม เอาความที่พี่น้องทั้ง ๓ เมืองรับสั่งนั้น
มาทูลท้าวดาหา  ท้าวดาหาก็รับสั่งว่า

"ถึงจะเสียวงศ์วานก็ทำเนา
ตามแต่อนุชาจะว่าไป
ด้วยมิได้เจ็บช้ำน้ำใจเขา
อันความแค้นความอายของเรา
จะตราบเท่าสูญสิ้นดินฟ้า
ซึ่งยอมยกบุตรีให้ระตู
จะอดสูกระไรหนักหนา"

นั่นสิ  ลูกสารก็ลูกสาวเรา  จะมาเดือดร้อนอะไรกับเราด้วย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 11, 14:14
มาจะกล่าวบทไป  กษัตริย์ ๓ พระองค์พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน

พี่ชายชื่ออะไรไม่ทราบได้ แต่เรียกตามชื่อเมืองว่า ท้าวกะหมังกุหนิง
ท้าวมีโอรสชื่อ ระเด่นวิหยาสะกำ ฟันแดง หน้าตาคมขำ  ผิวดี
เป็นที่รักของบิดามารดามาก

ท้าวผู้น้องรองลงมา ครองเมืองปาหยัง ท้าวเธอมีธิดา ๒ พระองค์
ชื่อ ระเด่นรัตนาระติกา  ๑  และ  ระเด่นรัตนาวาตี ๑

ท้าวผู้น้องคนสุดท้าย  ครองเมืองประหมันสลัด
ท้าวเธอมีโอรส ชื่อ ระเด่นวิหรากะระตา
มีธิดา ชื่อ  ระเด่นบุษบาวิลิศ



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 11, 14:28
ท้าวกะหมังกุหนิง ทรงเลี้ยงดูบำรุงบำเรอระเด่นวิหยาสะกำ
อย่างดี  จัดสาวสนมนางกำนัลมาคอยปรนนิบัติพัดวีไม่ขาด 
เช้าเย็นวิหยาสะกำประทับสดับเพลงดีดสีตีเป่าในห้องหอปราสาท
แต่อยู่มาวันหนึ่ง  เทวดาดลใจให้วิหยาสะกำดำริอยากเสด็จไปประพาสป่าบ้าง
(คงเบื่อพวกนางในเมือง   จะไปดูนางไม้ในป่าเขาบ้าง)

ก็รับสั่งให้พี่เลี้ยงเตรียมพลเตรียมม้าและอาวุธครบมือ
เพื่อเสด็จไปประพาสป่าหาเห็ด  ขุดหน่อไม้  แยงไข่มดแดง
หากะปอม  ยิงนกกาล่าเนื้อ  เก็บผักหักฟืน  มาทำอาหารเองดูบ้าง

เมื่อพลโยธีเตรียมตัวพร้อม  วิหยาสะกำยังไม่พร้อม  ขอไปสระสรงก่อน
เครื่องแต่งตัวไม่มีอะไรน่าสนใจ  ขอข้ามมาถึงตอนทูลลาท้าวกะหมังกุหนิง
ว่าไปป่าจักน้อยหนึ่ง  พ่อก็ใจดี  ตามใจลูก  บอกว่าไปเถอะบักหำน้อย
แล้วคืนมาไวๆ อย่าให้ทันเย็นย่ำค่ำมืด  อีพ่อสิเป็นห่วงหลายเด้อล่ะ
คุณลูกรับปากก็ฟ้าวยกพวกไปตีป่าทันที


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 11, 14:39
อ๊ะ  ช้าก่อน  มีบทพรรณนาม้าต้นของวิหยาสะกำน่าสนใจ

"ม้าเอยม้าต้น                     เริงรนร่านร้องคะนองเสียง
ยกคอย่อท้ายร่ายเรียง           เผ่นโจนโผนเพียงม้ายนต์
ย่องย่ำทำพยศสะบัดย่าง       หักหันให้ข้างขวางถนน
ถูกน้อยซอยเต้นมากลางพล   คนเคียงข้างละคนคอยประจำ
ผูกเครื่องสุวรรณกุดั่นดาว       แวววาวชัชวาลอานคร่ำ
ใบโพธิ์พรายรายบุษราคัม      ง่องง้ำสายถือถักทอง
กิดาหยันโยธาม้าแซง           ขับแข่งควบตามเป็นแถวถ้อง
บ้างมุ่นหกผกเผ่นลำพอง       รีบกองหน้านำดำเนินไป"

บทนี้  มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับม้าหลายคำ  น่าสนใจ (ที่ทำตัวแดงไว้)
ผมอยากให้ช่วยกันอธิบายหน่อย

และอยากให้ช่วยหาข้อมูลเรื่องเครื่องอานม้าด้วย  ว่ามีอะไรบ้าง
แต่ละอย่างหน้าตาเป็นอย่างไร

กับเรื่องขบวนเจ้านายเสด็จด้วยม้า  ในอดีตเขาจัดกันอย่างไร



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ก.ค. 11, 15:33
สายง่อง หมายถึง สายโยงคางม้าไม่ให้หงายในเวลาที่ขึ้นที่ชัน ผูกติดขลุม โยงลงมาคล้องสายรัดทึบตรงระหว่างหน้าขา (2 ภาพบน)
ขลุม เป็นสายที่รัดอยู่บริเวณปากและหัวม้า (2 ภาพล่าง)


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ก.ค. 11, 15:49
สายถือ หมายถึง สายบังเหียน ทำด้วยหนัง ผูกติดกับปลายห่วงเหล็กซึ่งผ่าปากม้า ใช้สำหรับบังคับม้าให้เลี้ยวไปตามความต้องการ

สองภาพบนเป็นเหล็กปากอ่อนใช้สำหรับบังคับม้าที่ไม่ดื้อ ตัวที่บังคับง่ายนิสัยดี เหล็กปากแบบนี้ม้าจะสบายปากกว่าแบบแข็ง
สายบังเหียนจะต่อมาจากห่วงเหล็ก เป็นสายที่ห้อยลงมาด้านล่างแล้วอ้อมไปด้านหลังสำหรับผู้ขี่จับเวลาขี่ หรือใช้จูงม้าเวลาเดิน

สองภาพล่างเป็นเหล็กปากแข็ง สำหรับม้าดื้อที่บังคับยาก จะมีสองห่วงบนกะล่าง ส่วนเหล็กตรงกลางจะอยู่ในปากม้า
ห่วงล่างจะต่อกับสายบังเหียน ห่วงบนจะต่อกับขลุมขี่เส้นที่พาดผ่านท้ายทอยม้า


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ก.ค. 11, 16:03
สะบัดย่าง หมายถึง อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัดหางด้วย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 11, 16:10
ดีครับ  คุณดีดี   หายหน้าหายตาไปนานเลยนะครับ

เอ...รู้สึกว่าภาพที่เอามาลงประกอบคำอธิบายของคุณดีดี
จะดูเป็นสมัยใหม่และเป็นฝรั่งไปหน่อยนะครับ  แต่ก็พออนุโลมครับ


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ก.ค. 11, 16:38
ม้าแซง เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ กองทัพว่า ม้าแซง
ในสมันรัชกาลที่ 4 เคยมีโรงม้าแซงตั้งอยู่บริเวณระหว่างสนามไชยไปถนนบำรุงเมือง


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 11, 15:53

ในฐานะผู้ดำเนินเรื่องก็ขยับเรื่องไปก่อน   ทั้งนี้จะไปหยุดเมื่อจบศึกกระหมังกุหนิงแล้ว
ท่านอื่นจะปรารถนาไปต่อ  ขอเชิญเปิดกระทู้ใหม่เทอญ

ขอย้อนไปถึง อิเหนา  ที่อยู่เมืองหมันยา  กับจินตหรา  สการะวาตี  และมาหยารัศมี

ดะหมังจากกรุงกุเรปันได้นำสารจากท้าวกุเรปัน

สารนั้นเล่าเรื่องว่ากรุงดาหามีปัจจามิตรมาล้อมกรุง   ขอให้อิเหนาไปช่วย  เพราะถึงจะไม่ต้องการบุษบา 

บุษบาก็เป็นน้อง(ญาติผู้น้อง)

และพ่อของบุษบาก็เป็นอา


สารจากท้าวกุเรปัน  ตัดพ้ออิเหนามากมาย  จนเป็นที่นิยมท่องใส่กัน  หรือนำมาตั้งปัญหายอดนิยม(สมัยนู้น....)ต่อไป

"แม้นมิยกพลไกรไปช่วย             ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
 อย่าดูทั้งเปลวอัคคี                   ตั้งแต่นี้ขาดกันจนวันตาย"

เรื่องการตัดลูกไม่ให้เผาผีนี้  แสดงว่าโกรธมาก


อิเหนาชักสงสัยว่า  "บุษบาจะงามสักเพียงไร  จึงต้องใจระตูทุกบุรี"



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 11, 16:11

พ่อของอิเหนาได้ส่งสารมาถึงพ่อของจินตหราด้วย

การเหน็บแนมเจ็บปวดมากสำหรับคนอ่าน  ซึ่งก็เป็นเขยเล็กของท้าวกุเรปันเอง


       "ในลักษณ์สารา                        ว่าระตูหมันหยาเป็นใหญ่

มีราชธิดายาใจ                                แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย

จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                       ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย

จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย                    ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน"


       ท้าวหมันหยาอ่านแล้วเกรงใจพ่ออิเหนามาก  เพราะตัวเป็นเจ้าเมืองเล็ก

เลยสั่งอิเหนาว่า

แม้นมิยกพลขันธ์ไปพันตู                      หาให้อยู่กับจินตหราไม่


พันตูในที่นี้  รัตนมาลา  หน้า ๖๐๕  อธิบายว่า


"ต่อสู้  มาจากคำในถาษามลายูว่า "บันดู"  ว่าช่วยเหลือหรือสงเคราะห์"
ในภาษาไทยความหมายเปลี่ยนไป


นักรบคนหนึ่งแถวนี้  อยากได้พจนานุกรมเล่มนี้มาก  โปรดไปหาแถวถนนราชดำเนินเถิด    อย่าช้าอยู่ไฉน
ดูใครๆเขาออกมารำเลย        จะบอกให้ฐานคุ้นเคย


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ส.ค. 11, 17:19

อิเหนาไปลาจินตหรา

จินตหราตัดพ่อต่อว่ามากมาย

พระจะไปดาหาปราบศึก                          หรือรำลึกถึงคู่ตุนาหงัน
ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน                      จึงบิดผันพจนาไม่อาลัย


จินตหราแค้นใจเพราะเกรงอิเหนาจะไปเจอบุษบาที่ลือกันมาว่างามมาก  และมีศักดิ์ของราชธิดาเมืองใหญ่ด้วย

กลอนไพเราะเหลือหลาย

แล้วว่าอนิจจาความรัก                             พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                        ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ส.ค. 11, 23:36

อิเหนาได้ไปลานางมาหยารัศมี และ สการะวาตีด้วย  กำชับให้ฝากตัวกับจินตหรา

อิเหนาปลดสังวาลที่ทรงอยู่ให้จินตหรา
จินตหราเปลื้องสไบที่ทรงอยู่ให้ไว้ดูต่างหน้า  แสดงว่าจินตหราเป็นนักวางแผนที่ดีเข้าใจในการยั่วยวน

อิเหนาถอดแหวนให้มาหยารัศมี      มาหยารัศมีถวายปิ่น  อิเหนารับแล้วก็คงเก็บใส่กล่องไว้จะนำติดตัวไปคงไม่สดวก
จะชมระหว่างเดินทางในป่าคงพอไปได้

นางสการะวาตีถอดสะพังมณี(เครื่องประดับหู  จะแปลว่าต่างหูเฉยๆก็ไม่มีอ้างอิงค่ะ)ได้ซาโบะ  คือผ้าสะพักของอิเหนามาแทน


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ส.ค. 11, 23:57

ช้างทรงของอิเหนานั้น  ซับมัน  หลังดี  ต้องลักษณะที่เรียกว่าหางบังคลอง

หลังดีนั้นคือหลังเรียบเหมาะกับการเป็นช้างทรงในการเดินทาง

หางบังคลองนั้นนักเรียนไปหาศัพท์ได้จากพจนานุกรม

การเคลื่อนกองทัพเป็นไปตามตำราพิชัยสงคราม  คือหันไปในทิศที่เห็นมงคลในวันเวลานั้น

มีพราหมณ์มีโหรมาส่ง   มีการฟันไม้ข่มนามโดยปุโรหิต  โดยเลือกกิ่งไม้ที่เป็นชื่อของศัตรู  หรือใช้ท่อนกล้วยจารึกอักษรมาแทนตัว

การใช้ปุโรหิตเป็นผู้ฟันนี่ประหยัดแม่ทัพไปได้  เพราะปุโรหิตคงเลือกเอากาบกล้วยออกเสียหลายชั้น  ฟันตูมลงไป  ต้นกล้วยก็ขาดทั้งนั้น

มีการโห่ร้องด้วยเสียงดังสร้างกำลังใจ   พลังของเสียงที่มีอำนาจนั้น  ทำให้แผ่นดินกระเทือนได้

ทหารปืนใหญ่ก็มีฝรั่งมารับจ้าง  จุดปืนใหญ่

พราหมณ์ก็เบิกโขลนทวาร   คือเปิดประตูให้ทหารเคลื่อนพล

เรื่องนี้น่าจะมีสาวๆเมืองหมันหยามาร้องไห้ส่งทัพอยู่ไม่น้อย

ประเพณีธรรมเนียมของรัตนโกสินทร์ก็พร้อมมูลในเรื่องนี้



กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ส.ค. 11, 00:11

เครื่องแต่งตัวช้างนั้น    เคยมีการสนทนาระหว่างสหายอาวุโสหลายท่านมาแล้ว 

สหายนักรบผู้อ่อนอาวุโสต่างก็มีตำราช้างกันคนละหลายเล่ม

มิสมควรที่ท่านผู้ชำนาญการจะลองภูมิท่านผู้ใดเลย




อิเหนาเดินทางมาหลายวันเพราะศึกไม่ได้มาล้อมเมืองอิเหนานี่
ได้ยินเสียงนกยูงร้องก็แว่วว่าเสียงเมีย   แสดงว่าเสียงนางทั้งสามแหลมหวีดหวิว
หรือไม่อย่างนั้นก็ดัง ก้อก ๆ  กระโต้งฮง  ซึ่งออกจะแปลกประหลาดอยู่สักหน่อย

กลิ่นดอกไม้ก็เตือนให้คิดถึงผ้าสไบที่จินตหราให้มา


กระทู้: บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ส.ค. 11, 00:40

เมื่อกองทัพอิเหนามาถึงทางที่จะแยกไปเมืองดาหา  พี่ชายต่างมารดาคือ กระหลัดตะปาตี คอยอยู่

ทัพทั้งสองก็เดินทางไปยังเนินทรายชายทุ่งนอกเมือง

อิเหนาส่งตำมะหงงให้เข้าไปแจ้งกับ ท้าวดาหาว่ากองทัพมาถึงแล้ว

ท้าวดาหาดีใจมากเพราะอิเหนารบเก่งแต่ไม่แสดงออก  รับสั่งกับตำมะหงงว่าไปเชิญเข้ามาในเมืองก่อน

ตำมะหงงผู้ชำนาญเพราะรับราชการมานานก็กราบทูลไปว่า  อิเหนาขอต่อสู้กับกองทัพศัตรูก่อน

ระเด่นสุหรานากงเจ้าชายแห่งเมืองสิงหัดส่าหรี  ผู้ยกทัพมาคอยอยู่แล้วก็ออกไปหาอิเหนา

สนทนากันเป็นที่ถูกใจเพราะวัยเดียวกัน       ท้าวดาหาประชดอิเหนาไว้อย่างไร  สุหรานากงเล่าละเอียด



     กองทัพกะหมังกุหนิงรู้ว่ามีกองทัพใหญ่มาช่วยแล้ว

ฝ่ายกะหมังกุหนิงมีท้าวกะหมังกุหนิง  พระอนุชาสององค์ และ วิหยาสะกำ

ในวันเคลื่อนพลท้าวกะหมังกุหนิงเห็นลางไม่ดีต่างๆ  เรื่องสำคัญคือนกบินตัดหน้าฉาน  อันเป็นข้อห้ามในตำราพิชัยสงคราม

ฝ่ายอิเหนามี อิเหนา  กะหรัดตะปาตี  สุหรานากง  สังคามาระตา และระเด่นดาหยน


เจ้่าชายที่ศักดิ์ศรีสูงคือ  สุหรานากง   เพราะตอนเกิด  เสด็จปู้วางกริชไว้ให้เหมือนกับอิเหนาเนื่องจากเกิดจากประไหมสุหรี