เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 19 ก.พ. 11, 09:31



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.พ. 11, 09:31
มาตั้งกระทู้รอการรบราเรื่องรามเกียรติ์รอบที่ ๔  อันเป็นรอบสุดท้าย
ในระหว่างที่มีการพักรบราชั่วคราว   ผมมีคำถามมาถามความเห็นนักรบทั้งหลายว่า

เรื่องรามเกียรติ์ถูกปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้สามารถดำรงอยู่
ในสังคมวัฒนธรรมไทยในสมัยปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง
จงยกตัวอย่างมาสัก ๑ ตัวอย่าง พร้อมอธิบาย 
จะแนบภาพแนบคลิปด้วยก็ไม่ว่ากัน

กรุณาตอบก่อนถึงวันอังคาร เวลา ๐๘.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.พ. 11, 11:10
มาตั้งกระทู้รอการรบราเรื่องรามเกียรติ์รอบที่ ๔  อันเป็นรอบสุดท้าย
ในระหว่างที่มีการพักรบราชั่วคราว   ผมมีคำถามมาถามความเห็นนักรบทั้งหลายว่า

เรื่องรามเกียรติ์ถูกปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้สามารถดำรงอยู่
ในสังคมวัฒนธรรมไทยในสมัยปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง
จงยกตัวอย่างมาสัก ๑ ตัวอย่าง พร้อมอธิบาย  
จะแนบภาพแนบคลิปด้วยก็ไม่ว่ากัน

กรุณาตอบก่อนถึงวันอังคาร เวลา ๐๘.๐๐ น.

การเอาตัวรอดของเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมที่เร่งรีบ ไม่ต้องการอะไรที่ยาวนาน วรรณคดีไทยก็ต้องประยุกต์ตัวเองให้เข้ากับบทบาทและสังคมให้ทันสมัยมากขึ้น อย่างเช่น การนำหนุมานนำมาผสมกับยอดมนุษย์จากญี่ปุ่น ให้เด็กๆได้ชม เป็นการเปิดจินตนาการที่ค่อยๆรับรู้และคุณค่าและการมีอยู่ของหนุมาน

อีกอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วรรณคดีได้ออกมาโลดแล่นในระบบไซเบอร์มากขึ้น ทั้งในรูปแบบกระทู้เช่นนี้ รูปแบบคลิปภาพ รูปแบบเกมส์ออนไลน์ เป็นต้นครับ

http://www.youtube.com/watch?v=_RUXN1GqWMs



นี่ก็เป็นเกมส์รามเกียรติ์ครับ ลองคลิกเข้าไปเล่นดูได้

http://game.siamha.com/name/ramayana/


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 20 ก.พ. 11, 01:24
แม้จะดึกจนขึ้นวันใหม่แล้ว ขอปรากฏตัวมายืนยันว่า ยังตามอ่านอยู่ค่ะ

ข้าพเจ้าความรู้น้อย  แต่พอพูดถึงรามเกียรติ์ปรับตัวให้เข้ากับยุคใหม่

สมัยเด็ก ก่อนมีการ์ตูนยอดมนุษย์ เคยดู TV ช่อง 4 บางขุนพรหม ยังเป็นขาวดำอยู่เลยค่ะ มีการ์ตูนไม่ทราบใครสร้าง

หนุมานจะสู้กับใครก็จำไม่ได้ (เพราะยังเด็กมาก ๆ) เหาะไปที่ภูเขา แล้วก็เอามือ ถลกแผ่นดินที่หุ้มภูเขาขึ้นมา ข้างในภูเขามีรถถังมีปืนใหญ่เต็มไปหมด พากันแล่นออกมาช่วยหนุมานรบเจ้าค่ะ

จำได้แค่นี้แหละค่ะ ด้วยความเป็นเด็ก ก็จะตบมือส่งเสียงเชียร์ลั่นบ้านร่วมกับเด็กรุ่นเดียวกัน ดีใจว่าหนุมานมีของใช้ทันสมัย(ยุคสงครามเวียตนาม)

คุณหลวงเล็กไม่ต้องให้คะแนนหรอกนะคะ ขออนุญาติตอบกะเขามั่งก็พอใจแล้ว



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.พ. 11, 08:39
ผมลืมบอกไปว่า  ข้อนี้ไม่มีคะแนน  เพราะอยากให้ตอบแบบสบายๆ ไม่เครียด
ไม่ต้องไปแสวงหาข้อมูลกันคร่ำเคร่งหน้าเครียด  (เพราะเครียดมาหลายข้อแล้ว)
และอยากให้ใครบางคนปล่อยของที่อยากปล่อย

คุณไซมีส  นี่ใช่ไหมที่อยากนำเสนอเหลือเกิน  ดีครับ   สนุกดี

คุณร่วมฤดี  ตอนนั้นผมยังไม่เกิดเลย  แต่เคยดูที่เอามาฉายใหม่ตอนเด็กๆ
เลยยังพอร่วมสมัยได้บ้าง   

คนอื่น ไม่ทราบว่ามีใครที่เห็นรามเกียรติ์ยุคใหม่ในสื่อรูปแบบอื่นๆ อีกบ้าง
เอามานำเสนอกันหน่อยเร้ว   รีบผ่อนคลายก่อนที่จะเริ่มลั่นกลองทัดออกศึกวันอังคารนี้
หลังจากนั้น  เราจะรบกันเต็มรูปแบบ    8) 8) 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 11, 08:59
http://www.youtube.com/watch?v=uqDm07Sgw6A

http://www.youtube.com/watch?v=IxZly13jfMQ&feature=related

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ก.พ. 11, 09:20
ผมลืมบอกไปว่า  ข้อนี้ไม่มีคะแนน  เพราะอยากให้ตอบแบบสบายๆ ไม่เครียด
ไม่ต้องไปแสวงหาข้อมูลกันคร่ำเคร่งหน้าเครียด  (เพราะเครียดมาหลายข้อแล้ว)
และอยากให้ใครบางคนปล่อยของที่อยากปล่อย

ของใหม่ไม่มีปล่อย เพราะของเก่าที่ปล่อยยังไม่หมด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.พ. 11, 09:37
ของใหม่ไม่มีปล่อย เพราะของเก่าที่ปล่อยยังไม่หมด

เช่นนั้น ก็อย่าชักช้าร่ำไร  ไปจัดการเสียให้สำเร็จ
(มือกุดถึงข้อศอกหรือยัง   ;D  เป็นห่วงนะเนี่ย
เดี๋ยวจะซื้อกล้วยแขกนางเลิ้งไปฝากสัก ๒ ถุง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.พ. 11, 11:24
ของใหม่ไม่มีปล่อย เพราะของเก่าที่ปล่อยยังไม่หมด

เช่นนั้น ก็อย่าชักช้าร่ำไร  ไปจัดการเสียให้สำเร็จ
(มือกุดถึงข้อศอกหรือยัง   ;D  เป็นห่วงนะเนี่ย
เดี๋ยวจะซื้อกล้วยแขกนางเลิ้งไปฝากสัก ๒ ถุง)

น้ำมันปาล์มแพง ไม่ทราบว่า กล้วยแขกได้ถึง ๗ ชิ้นหรือ ๕ ชิ้นใน ๑ ถุงขอรับ  :P บางร้านจะใส่กากมะพร้าวกะทิหลังคั้นแล้ว เพิ่มความอร่อยยิ่งขึ้น

นำมาฝากครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.พ. 11, 11:53
เรื่องรามเกียรติ์ถูกปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้สามารถดำรงอยู่
ในสังคมวัฒนธรรมไทยในสมัยปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง
จงยกตัวอย่างมาสัก ๑ ตัวอย่าง พร้อมอธิบาย  
จะแนบภาพแนบคลิปด้วยก็ไม่ว่ากัน

กรุณาตอบก่อนถึงวันอังคาร เวลา ๐๘.๐๐ น.

ขอตอบค่ะ   ;D  (ไม่มีคะแนนก็อยากตอบค่ะ)

โลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ต้องการความรวดเร็วฉับไว ความคุ้มค่าคุ้มเวลา
เรื่องรามเกียรติ์ ในปัจจุบันจึงได้รับการปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในสังคมวัฒนธรรมไทย
- มีความรวดเร็วฉับไวขึ้น มีการนำเทคนิค และเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น
      + การแสดงโขนชุดนางลอย โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปลายปี 2553 ที่มีผู้กล่าวถึงกันมากในการนำเทคนิคต่างๆ
      มาช่วยให้เกิดความสมจริง ทั้งการเปลี่ยนฉากโดยใช้รีโมทคอนโทรลแบบเวทีคอนเสริต์ ฉากการแปลงกาย ฉากน้ำที่สมจริง ฯลฯ
- มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และเผยแพร่ อย่างเหมาะสม และน่าสนใจ เช่น
      + มีการดูแลรักษาตัวหนัง ให้คงสภาพได้ยาวนานขึ้น มีสีสันที่งดงามขึ้น โดยใช้ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่
      + มีการจัดการแสดง นิทรรศการต่างๆ ที่ดูมีชีวิตชีวา มีแสงสีเสียง ประกอบ ให้ดูน่าสนใจขึ้น
      + มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ จูงใจให้สนใจใฝ่รู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเทคนิคที่จูงใจ เช่น กระทู้ ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์  (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ)
     + มีการเผยแพร่ เอกสาร ข้อมูล ในรูปแบบดิจิตอล ผ่านทางอินเตอร์เน็ท ให้ผู้สนใจใฝ่รู้ได้ค้นคว้าได้อย่างสะดวก ในทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
- มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ตัวละครและเนื้อเรื่อง ในทุกแง่มุม ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปรัชญา จิตวิทยา ข้อคิด ต่างๆ
- มีการเผยแพร่เนื้อเรื่องที่ปรับปรุงดัดแปลงให้กระชับฉับไว ทางสื่อต่างๆ ทั้งทางเว็ปไซด์ ทางหนังสือ ทางการ์ตูน ทางเกมส์ออนไลน์ ทางภาพยนต์
- มีการจัดทำการ์ตูนแอนนิเมชั่น เปลี่ยนจากหนุมานชาญสมร ที่ทำการรบเพื่อองค์ราม กลายมาเป็น หนุแมน ฮีโร่พันธุ์ใหม่ ที่สู้รบกับเหล่าร้าย เพื่อผดุงคุณธรรม ช่วยชาวโลก

กล่าวโดยบริบทแล้วทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การปรับปรุงดัดแปลงบางอย่างบางเรื่อง มีทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่เห็นต่าง อย่างไรก็ดี ไม่ควรวิตกกังวลกับการดัดแปลงที่ผิดเพี้ยนให้มากนัก เพราะสิ่งที่ไม่ใช่ไม่เหมาะไม่ควรก็จะไม่ได้รับความนิยมและจะค่อยๆ เสื่อมสลายหายไปเองตามกาลเวลา

       ในขณะที่เรามนุษย์เราศึกษาเรื่อง อวกาศ นาโนเทคโนโลยี การตัดต่อพันธุกรรม การทำสเต็มเซลล์ การโคลนนิ่ง การค้นหาพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ ฯลฯ
แต่เรายังคงต้องการยึดเหนี่ยวอดีตเอาไว้เพื่อแสดงถึงความมีรากเง่าของตนเอง มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น อนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความงดงามตามแบบโบราณ
เห็นได้จาก ความนิยมในเรื่องรามเกียรติ์ ที่มีมาจากอดีต สืบทอดมาจนปัจจุบัน ทั้งเรื่องราว การแสดงต่างๆ ทั้ง วรรณคดี โขน หนังใหญ่ ยังคงเอกลักษณ์ระเบียบแบบแผนตามแบบโบราณไว้อย่างครบถ้วน มีเพิ่มเติมเพียงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการอนุรักษ์ให้ยั่งยืนขึ้นเช่นการจัดการกับตัวหนังใหญ่ การนำเทคนิคต่างๆ มาเพิ่มความสมจริงยิ่งขึ้นในการแสดง
 
ขอยก ตัวอย่าง ที่ท่าน siamese เคยนำมาให้ชมกันค่ะ
การแสดงโขนพรหมาศ อดีต พ.ศ. 2474 แสดงที่โรงละครสวนมิกสักวัน  สลับกับกับ การแสดงในพ.ศ 2552 แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=Qa3-b_LPpzA


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 11, 12:43
คุณหนูดีดีตอบได้ละเอียดชัดเจนดี  และยังแจกแจงเป็นข้อๆ อ่านง่ายด้วย
เสียดายที่ข้อนี้ไม่มีคะแนน  ไม่เช่นนั้นจะเพิ่มคะแนนพิเศษให้สักหน่อย
(แน่ะๆ  มีใครบางคนแอบค้อนใส่ผมด้วย :))


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 11, 13:52
คำถามข้อที่ ๗๑.

คำถามข้อนี้  ให้เริ่มตอบโดยส่งข้อความหลังไมค์  ได้ตั้งแต่เวลา ๒๐.๐๐ น.
ทั้งนี้ให้ส่งคำตอบมาครั้งเดียวครบทุกข้อ  ห้ามทยอยส่งมาทีละข้อ สองข้อ
หมดเขตส่งคำตอบ เวลา ๒๓.๐๐ น.ของวันนี้ 

ใครส่งเกินเวลาที่กำหนด  เราจะเอาคะแนนที่ได้หารด้วย ๑/๒

คำสั่ง  จงถ่ายถอดชื่อต่างๆ ที่ขีดเส้นใต้ในข้อความต่อไปนี้มาให้ถูกต้อง

เมื่อไม่กี่วันมานี้  ผมเพิ่งได้รับหนังสือรามายณะฉบับแปลเป็นภาษาไทย
มา ๑ เล่ม  เมื่อเปิดอ่านดูได้ไม่กี่หน้า  ก็ให้หงุดหงิดเหลือประมาณ
เพราะผู้แปล  (เธอหรือเขาคนนั้นจะชื่ออะไรก็ช่างเขาเถอะ)
ถ่ายถอดชื่อต่างๆ ผิดเพี้ยนหลายแห่งจนอ่านไม่เป็นภาษา
ด้วยความรำคาญดังกล่าว จึงคิดเอามาตั้งเป็นโจทย์ให้นักรบทั้งหลายมาแก้

๑. "...พระเจ้าทศรถมีอำมาตย์ราชสำนักแปดคน  ล้วนเปรื่องปราดหลักแหลม
จงรักภักดี  อำมาตย์เหล่านี้มีนามว่า  ชัยยันต์  สุมันตรา  ธีรฐิ  วิชัย  สิทธารัต
อรรถาสัทกา  มนตร์ปาละ  และอโศก   ทั้งนังมีปราชญ์ฤษีที่คอยชี้แนะ
หนึ่งในนนั้นคือกุลกุรุผู้บัญญัติกฎปฏิบัติแห่งราชตระกูล..." (๗ คะแนน)

๒.  "...พระองค์เคยได้ยินนามฤษียาสิงฆะหรือไม่? ..." (๑ คะแนน)

๓.  "...เจ้าสมควรได้เห็นครั้งมหาฤษีโคทมเคยนั่งบำเพ็ญสมาธิที่นี่..." (๑ คะแนน)

๔.  "...วสิษฐ์ฤษีลุกขึ้น  กล่าวรำลึกย้อนรอยถึงพระมนูผู้เป็นต้นวงศ์
ยอพระเกียรติราชาอิศวกุ  กษัตริย์มนุษย์สุริยวงศ์องค์แรกที่ปกครอง
อโยธยาตามด้วยไตรสังข์  ยุวนัศว์  และมันธัท  ผู้เป็นยอดราชาแห่งไตรดายุค
จากนั้นมุนีอาวุโสจึงกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสาคร   ราชาอังศุมันและภาคีรัถ
พระเจ้ากากุศ  รคู  และอชาบิดาพระเจ้าทศรถ..."  (๙ คะแนน)

๕.  "...มา  นิสทา  ปราทิสตัง  ตวามากามาฮ์  ศาสวาตีฮ์  สามาฮ์
ยาตกราอันจา  มิทุนาที  กามาวาธิฮ์  กามาโมหิตัง
..." (๕ คะแนน)

๖.  "...เมื่อพระรามสวมมงกุฎราชาอโยธยา  ปวงฤษีจากสี่ทิศได้มาร่วมอวยพร
ให้พระองค์  ฤษีเกาศิกา  ยุวกฤต  คารยะ  คทา  กัณว์  และบุตรแห่งมุนีเมธาทิฐิ
ทุกองค์ที่สถิตอยู่ ณ บูรพทิศได้มารวมกันในสภาสุริยวงศ์  จากประจิมทิศมี
ท่านมุนีนฤสัง  กาวาส  ธัมยุ  และเกาสยา  ทางทักษิณทิศมีท่านสวัสไตรยะ
นามูจิ  ปรามุจี  อรรคต  สุมุข  และวิมุข  จากอุดรทิศมีท่านวสิษฐ์  กัศยปะ
วิศวามิตร  อาตรี  โคตมะ  ชมัทอัคนี และภารทวาช..."  (๑๕  คะแนน)

๗.  "...นางนั่งบำเพ็ญเพียรจนชนะใจ....    ได้พระองค์เป็นสามี
ทั้งสองมีบุตรชื่อ การัตติเกยะ  อันเป็นผู้สังหารทารกอสูรในภายหลัง..."  (๒ คะแนน)

ขอให้นักรบทั้งหลายโชคดี   ข้อนี้ง่ายมาก ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 11, 16:00
คำถามข้อที่ ๗๒.

จากบทพากย์หนังใหญ่ต่อนี้  นักรบทั้งหลายจงตอบว่าเป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด
จงเล่าเรื่องตอนนั้นมาพอรู้เรื่อง
ตัวละคร ๑ ๒  ๓  ๔  คือใคร  อาวุธ  ก  คืออาวุธชื่ออะไร  เพลง ๕  ๖ คือเพลงอะไร

ข้อนี้  ๑๐ คะแนน  ตอบได้ที่หน้าไมค์  ในระหว่าง  ๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น.
ผู้ตอบคนที่ ๒ เป็นต้นไป  จะได้คะแนนครึ่งหนึ่งจากคะแนนที่ได้ทั้งหมด

"....๑ ก็ทอดทัศนาแลเห็นเต็มไปทั้งอากาศเวหา   ไม่รู้ว่า ๒ ....ตนใด
แล้วจึงตรัสถาม  ๓  ด้วยทันใด   ๓  ท่านจงดูซิ  ๒  น่ะรูปมันเต็มทั้งอากาศเวหา
ไอ้ตัวไหนเป็น ๒

พะย่ะค่ะ   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าตัวไหน   ขอพระองค์จงใช้ ๔
๔ ตัวนี้เดิมเป็นสหายรักกับ ๒  ถ้าตายก็ตายด้วยกัน   ได้ลงน้ำสบถไว้ด้วยกันฉะนั้น
แล้ว....ก็ตรัสเรียก ๔ มาเข้าเฝ้า  แล้วจึงตรัสกับ ๔  ว่า  ท่านจงขึ้นไปหา ๒  อย่าช้านะ

พะย่ะค่ะ  ๔ ได้ฟัง ๑  ก็เหาะขึ้นไปบนเวหา  พอเห็น ๒  ต่างก็กอดกันโศกา  บัดนี้  (เพลง๕)

๑ ....พระองค์แลเห็นแน่ชัดในพระทัย   ก็โก่ง  ก  ขึ้นพาดสาย  แผลงไปให้ต้อง..... บัดนี้ (เพลง ๖)

๒ ... เมื่อต้อง....ของ ๑ ทั้ง ๔ ต่างก็กอดกันอยู่มิได้คลาดเคลื่อนออกจากกัน  
๔ ก็ตกลงมาถึงพสุธา  กระแทกร่างกายก็แตกทำลายดับสิ้นชีวิตลงไปด้วย ๒    บัดนี้



ง่ายใช่ไหมล่ะ    คำถามอย่างนี้  จะมีเวียนมาอีกแน่นอน  โปรดติดตาม



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 22 ก.พ. 11, 18:55
คำถามข้อที่ ๗๒.

จากบทพากย์หนังใหญ่ต่อนี้  นักรบทั้งหลายจงตอบว่าเป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด
จงเล่าเรื่องตอนนั้นมาพอรู้เรื่อง
ตัวละคร ๑ ๒  ๓  ๔  คือใคร  อาวุธ  ก  คืออาวุธชื่ออะไร  เพลง ๕  ๖ คือเพลงอะไร

ข้อนี้  ๑๐ คะแนน  ตอบได้ที่หน้าไมค์  ในระหว่าง  ๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น.
ผู้ตอบคนที่ ๒ เป็นต้นไป  จะได้คะแนนครึ่งหนึ่งจากคะแนนที่ได้ทั้งหมด

"....๑ ก็ทอดทัศนาแลเห็นเต็มไปทั้งอากาศเวหา   ไม่รู้ว่า ๒ ....ตนใด
แล้วจึงตรัสถาม  ๓  ด้วยทันใด   ๓  ท่านจงดูซิ  ๒  น่ะรูปมันเต็มทั้งอากาศเวหา
ไอ้ตัวไหนเป็น ๒

พะย่ะค่ะ   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าตัวไหน   ขอพระองค์จงใช้ ๔
๔ ตัวนี้เดิมเป็นสหายรักกับ ๒  ถ้าตายก็ตายด้วยกัน   ได้ลงน้ำสบถไว้ด้วยกันฉะนั้น
แล้ว....ก็ตรัสเรียก ๔ มาเข้าเฝ้า  แล้วจึงตรัสกับ ๔  ว่า  ท่านจงขึ้นไปหา ๒  อย่าช้านะ

พะย่ะค่ะ  ๔ ได้ฟัง ๑  ก็เหาะขึ้นไปบนเวหา  พอเห็น ๒  ต่างก็กอดกันโศกา  บัดนี้  (เพลง๕)

๑ ....พระองค์แลเห็นแน่ชัดในพระทัย   ก็โก่ง  ก  ขึ้นพาดสาย  แผลงไปให้ต้อง..... บัดนี้ (เพลง ๖)

๒ ... เมื่อต้อง....ของ ๑ ทั้ง ๔ ต่างก็กอดกันอยู่มิได้คลาดเคลื่อนออกจากกัน  
๔ ก็ตกลงมาถึงพสุธา  กระแทกร่างกายก็แตกทำลายดับสิ้นชีวิตลงไปด้วย ๒    บัดนี้

ง่ายใช่ไหมล่ะ    คำถามอย่างนี้  จะมีเวียนมาอีกแน่นอน  โปรดติดตาม

ขอตอบค่ะ  ;D
1.พระราม
2.มังกรกัณฐ์
3.พิเภก
4.เกสรทมาลา
ก.ศรพรหมาสตร์
5.เพลงโอด
6.เพลงเชิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.พ. 11, 19:01
คำถามข้อที่ ๗๒.

จากบทพากย์หนังใหญ่ต่อนี้  นักรบทั้งหลายจงตอบว่าเป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด
จงเล่าเรื่องตอนนั้นมาพอรู้เรื่อง
ตัวละคร ๑ ๒  ๓  ๔  คือใคร  อาวุธ  ก  คืออาวุธชื่ออะไร  เพลง ๕  ๖ คือเพลงอะไร

ข้อนี้  ๑๐ คะแนน  ตอบได้ที่หน้าไมค์  ในระหว่าง  ๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น.
ผู้ตอบคนที่ ๒ เป็นต้นไป  จะได้คะแนนครึ่งหนึ่งจากคะแนนที่ได้ทั้งหมด

"....๑ ก็ทอดทัศนาแลเห็นเต็มไปทั้งอากาศเวหา   ไม่รู้ว่า ๒ ....ตนใด
แล้วจึงตรัสถาม  ๓  ด้วยทันใด   ๓  ท่านจงดูซิ  ๒  น่ะรูปมันเต็มทั้งอากาศเวหา
ไอ้ตัวไหนเป็น ๒

พะย่ะค่ะ   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าตัวไหน   ขอพระองค์จงใช้ ๔
๔ ตัวนี้เดิมเป็นสหายรักกับ ๒  ถ้าตายก็ตายด้วยกัน   ได้ลงน้ำสบถไว้ด้วยกันฉะนั้น
แล้ว....ก็ตรัสเรียก ๔ มาเข้าเฝ้า  แล้วจึงตรัสกับ ๔  ว่า  ท่านจงขึ้นไปหา ๒  อย่าช้านะ

พะย่ะค่ะ  ๔ ได้ฟัง ๑  ก็เหาะขึ้นไปบนเวหา  พอเห็น ๒  ต่างก็กอดกันโศกา  บัดนี้  (เพลง๕)

๑ ....พระองค์แลเห็นแน่ชัดในพระทัย   ก็โก่ง  ก  ขึ้นพาดสาย  แผลงไปให้ต้อง..... บัดนี้ (เพลง ๖)

๒ ... เมื่อต้อง....ของ ๑ ทั้ง ๔ ต่างก็กอดกันอยู่มิได้คลาดเคลื่อนออกจากกัน  
๔ ก็ตกลงมาถึงพสุธา  กระแทกร่างกายก็แตกทำลายดับสิ้นชีวิตลงไปด้วย ๒    บัดนี้



ง่ายใช่ไหมล่ะ    คำถามอย่างนี้  จะมีเวียนมาอีกแน่นอน  โปรดติดตาม



๑.พระราม
๒.มังกรกัณฐ์
๓.พิเภก
๔.เกสรทมาลา
๕. ศรพรหมมาศ
 เพลงคงใช้เพลงเชิด

แทรกภาพหนังใหญ่ตอน ศึกมังกรกัณฐ์ ที่กำลังเป็นคำถาม-คำตอบอยู่นี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.พ. 11, 19:57
ก่อนแปป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.พ. 11, 20:00
๑. "...พระเจ้าทศรถมีอำมาตย์ราชสำนักแปดคน  ล้วนเปรื่องปราดหลักแหลม
จงรักภักดี  อำมาตย์เหล่านี้มีนามว่า  ชัยยันต์/ไชยยันต์  สุมันตรา/สุมันตัน  ธีรฐิ/ธีรติ  วิชัย  สิทธารัต/สิทธิรัตน์
อรรถาสัทกา  มนตร์ปาละ  และอโศก   ทั้งนังมีปราชญ์ฤษีที่คอยชี้แนะ
หนึ่งในนนั้นคือกุลกุรุ/กุลกิลิ ผู้บัญญัติกฎปฏิบัติแห่งราชตระกูล..." (๗ คะแนน)


๒.  "...พระองค์เคยได้ยินนามฤษียาสิงฆะ/ฤๅษียศฤงคะหรือไม่? ..." (๑ คะแนน)


๓.  "...เจ้าสมควรได้เห็นครั้งมหาฤษีโคทม/โคตมะเคยนั่งบำเพ็ญสมาธิที่นี่..." (๑ คะแนน)


๔.  "...วสิษฐ์ฤษีลุกขึ้น  กล่าวรำลึกย้อนรอยถึงพระมนูผู้เป็นต้นวงศ์ยอพระเกียรติราชาอิศวกุ/อิกษวากุ  กษัตริย์มนุษย์สุริยวงศ์องค์แรกที่ปกครองอโยธยาตามด้วยไตรสังข์  ยุวนัศว์  และมันธัท  ผู้เป็นยอดราชาแห่งไตรดายุคจากนั้นมุนีอาวุโสจึงกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสาคร/สาคร  ราชาอังศุมันและภาคีรัถ/ภังคีรถ พระเจ้ากากุศ  รคู  และอชา/อัชบาลบิดาพระเจ้าทศรถ..."  (๙ คะแนน)


๕.  "...มา  นิสทา/นินทา  ปราทิสตัง  ตวามากามาฮ์  ศาสวาตีฮ์  สามาฮ์
ยาตกราอันจา  มิทุนาที/มีทุกนาที  กามาวาธิฮ์/กามาวิธี  กามาโมหิตัง..." (๕ คะแนน)

๖.  "...เมื่อพระรามสวมมงกุฎราชาอโยธยา  ปวงฤษีจากสี่ทิศได้มาร่วมอวยพร
ให้พระองค์  ฤษีเกาศิกา/เกาศิกะ  ยุวกฤต  คารยะ/คายะ  คทา  กัณว์/กาล  และบุตรแห่งมุนีเมธาทิฐิ
ทุกองค์ที่สถิตอยู่ ณ บูรพทิศได้มารวมกันในสภาสุริยวงศ์  จากประจิมทิศมี
ท่านมุนีนฤสัง  กาวาส  ธัมยุ  และเกาสยา  ทางทักษิณทิศมีท่านสวัสไตรยะ
นามูจิ  ปรามุจี  อรรคต  สุมุข  และวิมุข  จากอุดรทิศมีท่านวสิษฐ์  กัศยปะ
วิศวามิตร  อาตรี  โคตมะ  ชมัทอัคนี และภารทวาช..."  (๑๕  คะแนน)


๗.  "...นางนั่งบำเพ็ญเพียรจนชนะใจ....    ได้พระองค์เป็นสามี
ทั้งสองมีบุตรชื่อ การัตติเกยะ/กรรตติเกยะ  อันเป็นผู้สังหารทารกอสูร/ตาระกาสูร ในภายหลัง..."  (๒ คะแนน)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 08:24
ผมขอขยายการตอบข้อที่ ๗๑ ออกไปถึงวันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ นี้
ผู้ใดที่ยังไม่ได้ตอบหรือตอบไม่ครบ ยังมีเวลานะครับ

ส่วนข้อที่ ๗๒ มีผู้ตอบมาแล้ว ๒ คน คือคุณดีดี กับคุณไซมีส

คุณดีดีตอบว่า

1.พระราม  /
2.มังกรกัณฐ์  /
3.พิเภก  /
4.เกสรทมาลา  /
ก.ศรพรหมาสตร์  /
5.เพลงโอด  /
6.เพลงเชิด X ที่ถูกคือเพลงฉิ่ง

เสียดายว่าไม่ได้ตอบว่าตอนอะไร  และไม่ได้เล่าเรื่องมาประกอบ
เสียไป ๓ คะแนน   ได้  ๖ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส  ตอบมาดังนี้

๑.พระราม  /
๒.มังกรกัณฐ์  /
๓.พิเภก  /
๔.เกสรทมาลา  /
๕. ศรพรหมมาศ  ๑/๒  (สะกดผิดให้ครึ่งคะแนน)
 เพลงคงใช้เพลงเชิด X ใช้เพลงโอด(๕) และเพลงฉิ่ง (๖) ครับ

ตอน ศึกมังกรกัณฐ์  / ได้ ๕ ๑/๒  คะแนน
ไม่ได้เล่าเรื่องมาประกอบ  จึงไม่ได้คะแนน
ตามกติกา ตอบคนที่ ๒ เป็นต้นไป คะแนนที่ได้ต้องหาร ๑/๒
ผมหารเฉพาะคะแนน ๕ ได้ ๒ ๑/๒ บวกอีก ๑/๒ ที่ไม่ได้หาร เป็น ๓
แต่เห็นว่ามีรูปหนังใหญ่มาให้ดู  จึงเพิ่มให้ ๑ คะแนน  รวมเป็น  ๔ คะแนนครับ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 08:36
คำถามข้อที่ ๗๓.

คำถามข้อนี้  อาเจ็กท่านหนึ่งฝากถามมา

"อาคุงหลวง   คงจีงนะชอบอ่างสามก๊ก  เพาะว่าสามก๊กสองกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
คงทายก็ชอบอ่างสามกีกเหมืองกัง  แต่อั๊วะว่า  รามเกียงของคงทายก็ใช้สองกางเป็งผู้นำ
และกางบริหางคงไล่เหมือนกังนะว่าไหมอาคุงหลวง   อั๊วะอยากให้ผู้เข้าแข่งขังค้งหาตัวอย่าง
เหกกางตองใลตองหนึ่ง  จำนวง ๒ ตองนะ  ที่แสดงให้เห็งกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
มาให้ลูหน่อย 

ข้อนี้  ๑๐  คะแนง  ตัวอย่างละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เก้าโมงเช้า
ใครตอบซ้ำกับคงอื่ง  หัก ๑ คะแนนนะ"  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 09:20
คำถามข้อที่ ๗๓.

คำถามข้อนี้  อาเจ็กท่านหนึ่งฝากถามมา

"อาคุงหลวง   คงจีงนะชอบอ่างสามก๊ก  เพาะว่าสามก๊กสองกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
คงทายก็ชอบอ่างสามกีกเหมืองกัง  แต่อั๊วะว่า  รามเกียงของคงทายก็ใช้สองกางเป็งผู้นำ
และกางบริหางคงไล่เหมือนกังนะว่าไหมอาคุงหลวง   อั๊วะอยากให้ผู้เข้าแข่งขังค้งหาตัวอย่าง
เหกกางตองใลตองหนึ่ง  จำนวง ๒ ตองนะ  ที่แสดงให้เห็งกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
มาให้ลูหน่อย 

ข้อนี้  ๑๐  คะแนง  ตัวอย่างละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เก้าโมงเช้า
ใครตอบซ้ำกับคงอื่ง  หัก ๑ คะแนนนะ"  ;D


ไอ๊หย๋า ลื้ออย่าซี้ซั้วต่านา เรื่องรามเกียงอีไม่เหมือนสามก๊กนา ก็ล่ายๆ อั๊วจะเล่าให้ลื้อฟัง

การบอริหาง การจัดกาง อีต้องเชิญสาสน์ในการรบ แบบนี้ถึงจะเรียกว่ามีการบริหารที่ดีนา ลื๊อฟังไว้

จะได้จัดกระบวนทัพ เกณฑ์คน เข้าสู้รบได้ง่ายขึ้น อย่างนี้นะ

"ตอนศึกสหัสเดชะ ซึ่งทศกัณฐ์สั่งให้เสนาเปาวนาสูรแต่งสาสน์ไปยังนครปาตาล เพิญมูลพลัม ซึ่งเป็นเพื่อนมาช่วยรบ เปาวนาสูรรับราชโองการแล้วจึงเขียนจดหมายให้อาลักษณ์ลงสุพรรณบัตรใส่กล่อง แล้วให้คนเดินสารถือไป โดยใช้ม้าใช้เป็นพาหนะ"

ลดองค์ลงเหนือบัลลังก์อาสน์  พร้อมเสนามาตย์ยักษี
ประนมกรน้อมเกล้าอัญชุลี    จึ่งมีพระราชโองการ
สั่งเปาวนาสูรผู้ปรีชา        ให้แต่งสาราราชสาส์น
ไปยังนครปางตาล          ถวายแก่พระยามารสหายรัก
....
ครั้นถึงลงจากพาชี   อสุรีชูกล่องราชสาส์น
ก็เข้าไปหาเสนามาร  แจ้งการโดยราชบัญชา

ซึ่งการส่งสาส์นโดนราชสาส์น จะมีความสำคัญมากกว่าการเจรจาสั่งการ ในเรื่องสามก๊กก็มีการนำสาส์นไปยังแม่ทัพอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเนื้อความ


หรืออีกตอนหนึ่ง อั๊วจะเล่าให้ลื๊อฟังอีกได้นา อย่างจูกัดเหลียงขงเบ้ง อีใช้กลศึกการจัดทัพเป็นค่ายกลต่างๆ อีต้องอ่างรามเกียงให้จบหลายเล่มก่องนา แต่สำหรับพระพรต อีก็จัดกระบวงทัพอีเหมือนกาน เป็นดังนี้

ศึกท้าวจักรวรรดิ์ มีการจัดทัพกระบวนเป็นการเดินกลศึกจัดทัพแบบรูปครุฑ เป็นการบริหารและจัดการทัพให้มีประสิทธิภาพเพื่อการรบเข้าตีได้อย่างสมบูรณ์
"จัดเป็นพยุหครุฑตัวหาญ        ลูกพระกาลเป็นเศรียรปักษา
เกยูรมายูรเป็นสองตา           ปิงคลาเป็นปากสกุณี
อันขุนกระบินทร์นิลขัน          เป็นคอสุบรรณปักษี
ปีกขวาวิสันตราวี               ปีกซ้ายกระบี่ทวิพัท
วานรสุรเสนธุรการ              เป็นสองเท้าทะยายยืนหยัด
ทัพหลวงเป็นตัวครุฑรัตน์       หางคืออสุรผัดชาญฉกรรจ์
ยักษากระบี่รี้พล                รายเป็นเล็บขนสลับคั่น
สุครีพหนุมานพิเภกนั้น         อยู่ในทัพขันพระภูมี"

ฝากรูปการจัดทัพรูปครุฑให้ลื้อฝากให้อาแปะด้วย อีจะได้เอาไปขงเบ้งไว้ใช้ .....ฮ่อ ฮ่อ ฮ่อ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.พ. 11, 09:27
คำถามข้อที่ ๗๓.

คำถามข้อนี้  อาเจ็กท่านหนึ่งฝากถามมา

"อาคุงหลวง   คงจีงนะชอบอ่างสามก๊ก  เพาะว่าสามก๊กสองกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
คงทายก็ชอบอ่างสามกีกเหมืองกัง  แต่อั๊วะว่า  รามเกียงของคงทายก็ใช้สองกางเป็งผู้นำ
และกางบริหางคงไล่เหมือนกังนะว่าไหมอาคุงหลวง   อั๊วะอยากให้ผู้เข้าแข่งขังค้งหาตัวอย่าง
เหกกางตองใลตองหนึ่ง  จำนวง ๒ ตองนะ  ที่แสดงให้เห็งกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
มาให้ลูหน่อย  

ข้อนี้  ๑๐  คะแนง  ตัวอย่างละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เก้าโมงเช้า
ใครตอบซ้ำกับคงอื่ง  หัก ๑ คะแนนนะ"  ;D


ขอตอบค่ะ  ;D
ตัวอย่างเหกกาง เอ้ย!! เหตุการณ์ ที่แสดงให้เห็นการเป็นผู้นำและการบริหารคน จากรามเกียรติ์ 2 ตอนคือ

1. ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ  
ท้าวมาลีวราช ป็นผู้ใหญ่ที่มีคนนับหน้าถือตา เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้นำ การตัดสินความต่างๆ จึงกระทำโดย
- วางตัวเป็นกลางไม่กระทำการใดๆ ให้เกิดความคลางแคลงใจ เช่น ไม่เข้าไปว่าความในกรุงลงกา ฯลฯ
- ไม่เห็นแก่ความใกล้ชิด ความเป็น ญาติ มิตร ให้ความสำคัญและความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย
- รับฟังเหตุผลของทุกฝ่าย และพิจารณาอย่าไตรตรอง ตามเหตุผล
- ตัดสินอย่างเป็นกลางโดยพิจารณาจากเหตุผล และความเป็นจริง
- เชิญผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย คือเป็นกลาง ได้แก่เทพเทวดา มาร่วมเป็นสักขีพยานในการตัดสิน เพื่อความโปร่งใส  

เนื้อเรื่อง:
   "หลังจากที่ทศกัณฐ์ส่งพี่น้องลูกหลานออกไปรบกับฝ่ายพระราม แล้วพ่ายแพ้ถึงแก่ความตายหมด ทศกัณฐ์จึงนึกขึ้นได้ว่ามีอัยกาอยู่องค์หนึ่งคือ ท้าวมาลีวราช อยู่ที่เขายอดฟ้า  เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมและมีวาจาศักดิ์สิทธิ์  ถ้าแม้นโกรธแช่งชักผู้ใดผู้นั้นก็จะเป็นไปตามแช่งทุกประการ จึงคิดว่าควรจะต้องไปเชิญมายังกรุงลงกา   แล้วกล่าวโทษพระราม พระลักษณ์ ส่วนของตนจะพูดถึงแต่ความดีและจะปกปิดความผิดไว้ หากท้าวมาลีวราช เชื่อและด่าว่า พระลักษณ์พระราม ก็จะต้องพ่ายแพ้ตามตามวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น
           ทศกัณฐ์จึงมีบัญชาให้หลานทั้งสองคือ นนยวิกและวายุเวก ไปเชิญเสด็จท้าวมาลีวราชจากเขายอดฟ้ามาว่าความ  ท้าวมาลีวราชเป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรมจึงไม่เข้ามายังกรุงลงกาเกรงจะถูกนินทาว่าเข้าข้างหลาน จึงพักอยู่ที่สนามรบและให้เชิญเทพยดามาเป็นพยาน แล้วให้เชิญทั้งสองฝ่ายมาให้ปากคำ ในที่สุดก็ได้ตัดสินให้ทศกัณฐ์คืนสีดาแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม และยกทัพกลับลงกาไปด้วยความโกรธโดยไม่ไหว้ลาท้าวมาลีวราช ท้าวมาลีวราชจึงแช่งทศกัณฐ์ แล้วอวยชัยให้พรพระรามแทน....."

2. ตอนพาลีสอนน้อง  
รามกียรติ์ตอนพาลีสอนน้อง เป็นตอนที่ พาลีกำลังจะตายแล้วเรียกสุครีพ และองคตลูกชายมาสั่งลา
พร้อมกับแนะนำถึงการปฏิบัติตนในการทำงาน แนะวิธีทำงานให้ครองใจ ทั้งเจ้านายและลูกน้อง
เป็นเทคนิคในการเป็นผู้นำและการบริหารคน นั่นเอง

สิ่งที่พาลีสอน สรุปความได้ว่า
 
1.หมั่นเฝ้าเช้าเย็นเป็นนิจกาล อย่าเกียจคร้านแต่ตามอำเภอใจ
คือ เป็นลูกน้องต้องหมั่นไปหาเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ เพราะการไปพบเจ้านายบ่อยๆ
จะทำให้เจ้านายจำได้ และยังเป็นโอกาสเรียนรู้งานจากนายด้วย

2.สิ่งใดพระองค์จะตรัสถาม อย่าเบาความเพ็ดทูลแต่โดยได้
คือ หากเจ้านาย พูดคุยซักถามอะไรก็ตอบให้ตรงประเด็น
อย่าพูดมาก หรือเลือกพูดเอาแต่ได้

3.อย่าแต่งตัวโอ่อวดพระทรงชัย ที่ในพระโรงรัตนา
หมอบเฝ้าอย่าก้มอย่าเงยหงาย อย่าเตร่ตร่ายเหลือบแลซ้ายขวา
คือ เวลางานต้องแต่งกายให้ถูกกาละเทศะ และต้องรู้จักสำรวมกิริยา
ไม่ลุกลี้ลุกลน ทำตัวให้มีมาด

4.พระที่นั่งบัลลังก์อลงการ์ อย่าฝ่าฝืนขึ้นนั่งอิงองค์
คือ อย่าตีตนเสมอผู้ใหญ่ ให้รู้จักวางตัวให้เหมาะสม

5.อันฝูงพระสนมนางใน อย่าผูกจิตพิสมัยใหลหลง
คือ อย่าไปยุ่งกับของรักของหวงของเจ้านาย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ
อย่าละโมบโลภมาก อย่าอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน

6.จงภักดีต่อใต้บาทบงสุ์ อย่าทะนงว่าทรงพระเมตตา
เป็นการสอนให้รู้จักจงรักภักดี ให้ความเลื่อมใสเคารพนับถือต่อผู้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ
และอย่าเหลิงหรือทะนงตัวว่านายรัก

7.แขกเมืองอย่าบอกความลับ อย่าสนิทคำนับคบหา
คือ อย่าเอาความลับของหน่วยงานไปบอกแก่ผู้อื่น อย่าไปสาวไส้ให้กากิน

8.อันรางวัลให้ปันเสนา อย่ามีใจฉันทาทัดทาน
เมื่อทำงานดีได้รับปูนบำเหน็จรางวัลมา ก็ควรจัดสรรปันส่วนให้ลูกน้องและเพื่อนร่วมงานด้วย
เพื่อลูกน้องและเพื่อนร่วมงานจะได้ร่วมมีความยินดีในผลงานนั้นๆ 
การทำงานจะได้ราบรื่น ไม่มีคนคอยขัดขวางทัดทาน

9.แม้นกริ้วโกรธลงโทษผู้ใด อย่าใส่ใจยุยงจงผลาญ
คือ เมื่อลูกน้องและเพื่อนร่วมงานทำผิดพลาดจน เจ้านายเกิดโมโหลงโทษหรือดุว่า
เราก็ควรวางตัวให้เป็นกลาง อย่ายุยงทับถม

10.อย่าโลภลักราชทรัพย์ศฤคาร พระบรรหารสิ่งใดจงจำความ
คือ อย่าโลภมาก อย่าริอ่านขโมยหรือยักย้ายถ่ายเทสมบัติของนายหรือของหลวงมาเป็นของตัว

จะเห็นได้ว่าแม้คำสอนของพาลีทั้งสิบข้อ นี้จะเป็นเรื่องโบราณ แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ในการเป็นผู้นำและการบริหารคน ทั้งเจ้านายและลูกน้องก็จะรักใคร่ให้การสนับสนุน กิจการงานต่างๆ ก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 ก.พ. 11, 09:33
คำถามข้อที่ ๗๓.

คำถามข้อนี้  อาเจ็กท่านหนึ่งฝากถามมา

"อาคุงหลวง   คงจีงนะชอบอ่างสามก๊ก  เพาะว่าสามก๊กสองกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
คงทายก็ชอบอ่างสามกีกเหมืองกัง  แต่อั๊วะว่า  รามเกียงของคงทายก็ใช้สองกางเป็งผู้นำ
และกางบริหางคงไล่เหมือนกังนะว่าไหมอาคุงหลวง   อั๊วะอยากให้ผู้เข้าแข่งขังค้งหาตัวอย่าง
เหกกางตองใลตองหนึ่ง  จำนวง ๒ ตองนะ  ที่แสดงให้เห็งกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
มาให้ลูหน่อย 

ข้อนี้  ๑๐  คะแนง  ตัวอย่างละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เก้าโมงเช้า
ใครตอบซ้ำกับคงอื่ง  หัก ๑ คะแนนนะ"  ;D


กาผงจาตอบคามถัมของอาเจ๊กนะ ถัมสงข้อก้อจะตอบสงข้อนะ เปงสำเนียงจีนด้วยอาเจ๊กจะด้ายรู้เรื่อง

ข้อแรก "เท้าจากกะหวาดตีเมืองลงกา"
พอหลั้งจักเส็ดสึกลงกาเลี้ยว พิเปกก้อได้คองเมืองต่อ พะรามทรงอปิเสกให้นามว่า เท้าทศสิริโวง
ต่อมาเกิดทดสะพินกึ้น เลี้ยวทดสะพินดันรู้ว่าตัวเองเปงลูกทกสะกัน เลยหนีไปหาเท้าจากกะหวาดที่เมืองมะลิวาน
ใฝ่เท้าจากกะหวาดก็ยกทัพมาตีเมืองลงกาให้หลานชัย และแก้แค้นพิเปกด้วยที่เปงไส้สึกชักทัพเข้าบ้าน
เท้าทศศิริโวงรู้ข่าวสึก ก็กลัวเปงกำลัง เพราะตงเองนั้งอ่องเเอ แต่ด้วยคว้างที่เปงปู้ครองเมือง จึงต้องเกนทัพสึก
ออกไปสู้รบกับเท้าจากกะหวาด แต่เลี้ยวก็แพร้อยู่เอง โดนจับขังคุ้กโจนได้

เรื่องนี้เปงเรื่องเกี่ยวกับกางเปงปู้นำนะ เพราะถึงแม้เท้าทศสิริโวงจะรู้ตัวว่าแพร้แน่ๆ แต่ก้อยังออกสึกเพื่อแสดงคว้าง
เปงปู้นำที่ดีต่อเหล่าลูกน้อง

ข้อสอง "โองคตสื่อสาร"
เมื่อทัพของพะรามยกข้ามมหาสะมุกถึงเกาะลงกาเลี้ยว ก็ตั้งทัพหรั้งอยู่ สุครีพทะหานใหญ่กราบทูลว่าควนจะโส่ง
ทูตไปเจรจาคว้างเมืองกันก่อน ตามธรรมเนียมแต่โบราน ดีกว่ายกทัพไปตีเมืองเลย พะรามก็ถามสุครีพว่าควรจะให้
ใครไปดี สุครีพก้อว่าโองคตนั่นแลดีที่ซู้ด เพราะกรรมลังมั๊ก สะติปังยาดี คำปูดหลักแหลม ทั้งยังไม่กลัวทกสะกัน
พะรามก็อนุมัด โส่งโองคตไปเจรจาคว้างเมือง ม้วงหางต่างอาดนั่งสูงเทียมทกสะกัน ปูดจาโต้ตอบอย่างโองอาจไม่เกงกลัว
จนทกสะกันโมโห สั่งเสนาเข้าจับกุม โองคตก็สำแดงเดก จับเสนาเข้าฟาดกับยอกปราสาทจนหักโคงลง เลี้ยวบิงกลับฐาง
กรับทูงพะรามตามคว้างเมืองที่เจรจามาไม่ได้ผง พะรามก็ชมเชยตามธรรมเนียม

เรื่องนี้เปงเรื่องเกี่ยวกับกางบริหางนะ เพราะถ้าใช้ลิงตัวอึงไป ไม่ใช่โองคตเลี้ยว อาจจะทำการมากมายกว่านี้ เกิงรับสั่งของ
พะรามก็เปงได้ หรือมิฉะนั้นก็จะเจรจาย่อหย่อง เสียทียักกลับมาจนเสื่องเสียถึงพะรามก็เปงด้ายเช่งกาน
ฉะนั้นจึงต้องใช้ให้งานถูงคง (หรือลิงตามท้งเรื่องนี้)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 09:51
คุณไซมีส  โจทย์ถามเรื่องการเป็นผู้นำและการบริหารคน
ไม่ได้ถามเรื่องการจัดทัพและการทำศึก  ฉะนั้นที่ตอบมา
ยาวตะแหลนแป๋น  ยังไม่มีคะแนนให้   
ถ้ายังประสงค์คะแนน  ผมอนุญาตให้ตอบใหม่


ส่วนคุณดีดี  ตอบมาโดยยกตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
กับตอนพาลีสอนสุครีพ  มาเป็นตัวอย่างนั้น

ท้าวมาลีวราช ยังเป็นอย่างของผู้นำไม่ชัดเจนนัก
แต่ถ้าเป็นตัวอย่างของผู้ใหญ่ผู้อาวุโสที่วางตัวเป็นกลาง
ก็ใช้ได้   แต่เรื่องเป็นผู้นำนั้น  ไม่ชัด  ให้ได้  ๑ ๑/๒ คะแนน
ส่วนคำสอนของพาลีที่สอนสุครีพองคตนั้น
ก็ยังไม่มีข้อใดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการบริหารจัดการคน
เพื่อใช้มีประสิทธิภาพเหมาะกับงาน  เป็นคำสอนก็จริง
แต่ยังไม่นับเป็นตัวอย่างของการบริหารคนได้ชัดเจน
ให้ได้ ๑ คะแนน   รวมแล้ว  ๑  ๑/๒  คะแนน
ถ้ายังประสงค์คะแนน  ผมอนุญาตให้ตอบใหม่



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 10:00
คุณไซมีส  โจทย์ถามเรื่องการเป็นผู้นำและการบริหารคน
ไม่ได้ถามเรื่องการจัดทัพและการทำศึก  ฉะนั้นที่ตอบมา
ยาวตะแหลนแป๋น  ยังไม่มีคะแนนให้   
ถ้ายังประสงค์คะแนน  ผมอนุญาตให้ตอบใหม่



ไอ๊หยา !!!!~ เกือบตกม้าซี๋เลี้ยวอะ อาแปะลื้อนี้ช่าง....นัก 

ขอตอบใหม่ในการบริหารจัดการคือ ตอนท้าวทศรถสอนพระราม ให้วางตนใน "ทศพิศราชธรรม" เพื่อปกครองไพร่ฟ้า ในกลอนพูดถึงการบริหารจัดการผู้คนไว้อย่างดีเยี่ยม

"พ่อจะให้ครองสมบัติ สืบวงศ์จักรพรรดิ์นาถา
จงตั้งอยู่ในทศธรรมา เป็นตราชูโลกทั้งไตรดาล
เจ้าจงเลี้ยงเสนาพลากร ให้ถาวรดั่งร่มพฤกษาสาร
เอาความสัตย์สุจริตเป็นประธาน คือรากแก้วกิ่งก้านดอกใบ
อันฝูงสัตว์จุบาททวิบาท จะเกลื่นกลาดมาพึ่งอาศัย
จงเอาเมตานั้นแผ่ไป ดังกลิ่นดอกไม้อันตระการ
จะหอมขจรทุกประเทศ  เย็นเกศไปทั่วทิศาศาล
ทานนั้นต่างผลโอฬาร หว่านให้บำเหน็จโดยตรา
แก่หมู่เสนีย์รี้พล ประชาชนยาจกทั่วหน้า
ตัดโลกเอาความกรุณา เป็นปัญจมหานที
ไหลมาไม่รู้สุดสิ้น อาบอิ่มเป็นสุขเกษมศรี
อย่าเบียดเบียนไพร่ฟ้าประชาชี ให้มีความเดือดร้อนเวทนา
น้ำเย็นฝูงปลาก็อาศัย ปักษาพึ่งไม้ใบหนา
ป่ากว้างย่อมมีมฤคา พากันมาอยู่สำนัก
จงแผ่เดชาวรายศ ให้ปรากฎเกียรติไปทั้งไตรจักร
แก่มนุษย์เทวัญคนธรรพ์ยักษ์ ลูกรักจงฟังพ่อสอนไว้"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 10:13
การบริหารจัดการคน ที่ใช้ในเรื่องรามเกียรติ์ มีตัวอย่างการรบ เทียบกับสามก๊ก คือ

ฝ่ายโจโฉ เหมือนดัง ทศกัณฐ์ มีขุนนางบู๊ บุ๋นในมือมากมาย

ฝ่ายเล่าปี่ เหมือนดัง พระราม มีขุนนางบู๊ บุ๋นในมือมากมาย

การผลัดกันทำศึก ขุนศึกทั้งสองต่างเรียกใช้แม่ทัพ นายกองต่างๆกัน โดยทศกัณฐ์เรียกใช้ พงศ์ยักษ์ เพื่อนผองมากระทำศึก

ส่วนฝ่ายพระรามใช้ ลิง ซึ่งส่วนมากเป็น หนุมาน ออกรบกันอยู่เสมอๆ

เช่น ศึกกุมภกรรณ ทศกัณฐ์ให้กุมภกัณฐ์ ออกรบ ส่วนพระรามให้สุครีพ ออกรบ หรือ
ตอน ศึกอินทรชิต ทศกัณฐ์ให้อินทรชิต ออกรบ ส่วนพระรามให้พระลักษณ์ ออกรบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 ก.พ. 11, 10:16
ทำไมไม่ตรวจให้เราหว่า ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 10:24
ทำไมไม่ตรวจให้เราหว่า ::)

ดีเลี้ยว ดีเลี้ยว...อีกำลังงง กับภาษาจีน ของลื๊ออยู่งาย ลื๊อพูดได้ชัดเจงมั๊กๆ ลื๊อน่าจะพิมพ์ยาวๆ เยอะๆ ให้อีอ่าน อ่าน หัวหมุนปายเลย  :-\


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ก.พ. 11, 10:26


ขบวนการจปล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 10:28
คุณอาร์ท  ตอบมาด้วยสำเนียงจีนพูดไทย  (เดี๋ยวจะหักคะแนนออกเสียครึ่งหนึ่ง
โทษฐานที่ทำให้อ่านยากและล้อเลียนผู้ตั้งคำถาม)

ยกตัวอย่างแรก เรื่องท้าวทศสิริวงศ์ (พิเภก) นำทัพออกรบกับท้าวจักรวรรดิ
แม้ว่าท้าวทศสิริวงศ์จะกลัวทัพของท้าวจักรวรรดิ  
เนื่องจากตนเองอ่อนแอไม่มีความสามารถในการรบ
แต่ก็ยังนำทัพออกรบด้วยฐานะผู้นำผู้ปกครองเมืองลงกา
เพื่อเป็นขวัญแก่ทหารลงกา
ตัวอย่างนี้   ชัดอยู่พอประมาณ  แต่ไม่ใช่ลักษณะผู้นำที่ดี
เพราะผู้นำที่ดีย่อมต้องรอบรู้การศึก  ไม่หวั่นไหวหวาดกลัวง่าย
อันที่จริงไม่เหมาะจะเป็นผู้นำ  แต่เหมาะที่จะเป็นที่ปรึกษามากกว่า
ฉะนั้นตัวอย่างนี้ ให้ ๓ ๑/๒ คะแนน

ตัวอย่างเรื่ององคตสื่อสาร   ตัวอย่างนี้ดีสำหรับการชี้ให้เห็น
การบริหารคน  การเลือกให้คนให้ถูกกับงาน  แต่คุณอาร์ท
ยังอธิบายประกอบเหตุผลไม่หมดครบถ้วน
เพราะการที่พระรามเลือกองคตเป็นทูตไปสื่อสารที่เมืองลงกาประการหนึ่ง
ก็เพราะเห็นว่า องคตเป็นลูกนางมณโฑ  ถึงอย่างไร ทศกัณฐ์ก็จะไม่จับฆ่า  
ด้วยเกรงใจนางมณโฑด้วยประการหนึ่ง
ตัวอย่างนี้ ผมให้ ๔ ๑/๒ คะแนน  รวม ๒ ตัวอย่าง ได้ ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 10:39
ทำไมไม่ตรวจให้เราหว่า ::)

ดีเลี้ยว ดีเลี้ยว...อีกำลังงง กับภาษาจีน ของลื๊ออยู่งาย ลื๊อพูดได้ชัดเจงมั๊กๆ ลื๊อน่าจะพิมพ์ยาวๆ เยอะๆ ให้อีอ่าน อ่าน หัวหมุนปายเลย  :-\

ดีเหมืองกัง  จะได้ตักคะแนงทั้งของอีคงตอบและของอีคงแนะนำลงเหลือคงละหนึ่งคะแนง 8)



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 11:15
คำถามข้อที่  ๗๔.

มีระบำกรมศิลปากรชุดใดบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรามเกียรติ์  จงยกมา ๒ ชุด
พร้อมอธิบายรายละเอียดของระบำชุดนั้นๆ  ว่าใครคิดค้นขึ้น  เคยแสดงครั้งแรกเมื่อไร
มีคำร้องทำนองเพลงอย่างไร   การแต่งกายของผู้แสดง  และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  เริ่มตอบได้  ตั้งแต่  ๑๓.๓๐ น.  ตอบหน้าไมค์
ใครตอบซ้ำคนอื่นแต่สามารถตอบได้ดี และละเอียดกว่า ให้คะแนนเต็ม
แต่ถ้าตอบไม่ดีกว่า  จะหัก ๒ คะแนนในตัวอย่างที่ซ้ำ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.พ. 11, 11:46
คำถามข้อที่ ๗๓.
คำถามข้อนี้  อาเจ็กท่านหนึ่งฝากถามมา
"อาคุงหลวง   คงจีงนะชอบอ่างสามก๊ก  เพาะว่าสามก๊กสองกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
คงทายก็ชอบอ่างสามกีกเหมืองกัง  แต่อั๊วะว่า  รามเกียงของคงทายก็ใช้สองกางเป็งผู้นำ
และกางบริหางคงไล่เหมือนกังนะว่าไหมอาคุงหลวง   อั๊วะอยากให้ผู้เข้าแข่งขังค้งหาตัวอย่าง
เหกกางตองใลตองหนึ่ง  จำนวง ๒ ตองนะ  ที่แสดงให้เห็งกางเป็งผู้นำและกางบริหางคง
มาให้ลูหน่อย  
ข้อนี้  ๑๐  คะแนง  ตัวอย่างละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เก้าโมงเช้า
ใครตอบซ้ำกับคงอื่ง  หัก ๑ คะแนนนะ"  ;D

ส่วนคุณดีดี  ตอบมาโดยยกตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
กับตอนพาลีสอนสุครีพ  มาเป็นตัวอย่างนั้น
ท้าวมาลีวราช ยังเป็นอย่างของผู้นำไม่ชัดเจนนัก
แต่ถ้าเป็นตัวอย่างของผู้ใหญ่ผู้อาวุโสที่วางตัวเป็นกลาง
ก็ใช้ได้   แต่เรื่องเป็นผู้นำนั้น  ไม่ชัด  ให้ได้  ๑ ๑/๒ คะแนน
ส่วนคำสอนของพาลีที่สอนสุครีพองคตนั้น
ก็ยังไม่มีข้อใดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการบริหารจัดการคน
เพื่อใช้มีประสิทธิภาพเหมาะกับงาน  เป็นคำสอนก็จริง
แต่ยังไม่นับเป็นตัวอย่างของการบริหารคนได้ชัดเจน
ให้ได้ ๑ คะแนน   รวมแล้ว  ๑  ๑/๒  คะแนน
ถ้ายังประสงค์คะแนน  ผมอนุญาตให้ตอบใหม่

ขอตอบใหม่ละกันนะคะ  ;D

เหตุการณ์ ที่แสดงให้เห็นการเป็นผู้นำและการบริหารคน จากรามเกียรติ์ 2 ตอนคือ

1.ตอนพระรามปูนบำเหน็จ
 “หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามกลับไปครองเมือง และปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่เหล่าทหาร พระลักษมณ์ให้ครองเมืองโรมคัล พระพรตและพระสัตรุต ให้เป็นอุปราชอยู่ในกรุงศรีอยุธยา หนุมานแบ่งกรุงศรีอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แล้วตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพระยาอนุชิต สุครีพนั้นให้มีชื่อว่า พระยาไวยวงศา ครองเมืองขีดขิน    พิเภกให้ชื่อว่า ท้าวทศคิริวงศ์ ไปครองเมืองลงกา องคตให้ชื่อว่า พระยาอินทรนุภาพศักดา เป็นฝ่ายหน้าเมืองขีดขิน ชมพูพานให้ไปครองเมืองปางตาล สุรเสนไปครองเมืองสัทธาสูร ชมพูวราช นิลราช นิลนนท์ เป็นอุปราชทั้งหมด โดยให้ชมพูวราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองปางตาล นิลราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองอัสดงค์ นิลนนท์เป็นอุปราชเมืองชมพู  ไชยามและโคมุท เป็นมหาเสนาซ้ายขวาที่เมืองขีดขิน สัตพลีให้เป็นอาลักษณ์ ส่วนพลลิงอื่น ๆ ก็ให้ยศฐาบรรดาศักดิ์ตามสมควร
          ฝ่ายหนุมานทูลคัดค้านว่า เมืองโรมคัลเป็นเมืองยักษ์ ไม่ควรให้พระลักษมณ์ไปครอง แต่ควรจะอยู่ใกล้ชิดพระรามจะดีกว่า  ส่วนพระพรตกับพระสัตรุต นั้นควรจะให้ไปอยู่ที่เมืองไกยเกษ พระรามเห็นด้วย ได้ให้สุรกานต์ไปครองเมืองโรมคัล แล้วให้ศรรามเป็นมหาอุปราช กุขันพรานป่าให้เป็นพระยากุขันธิบดินทร์ ครองบุรีรัม สำหรับพิเภกนั้นเป็นผู้ไม่มีความชำนาญการรบและไม่มีฤทธิ์ หากมีศัตรูมารุกราน ให้เขียนสาสน์แขวนศรมา เมื่อพระรามแผลงศรมาถามข่าว”

หลักในการเป็นผู้นำและการบริหารคน :
- พระราม  เป็นผู้นำและการบริหารคนที่ดี หลังจากที่ตัวเองได้รับผลสำเร็จของงานแล้ว ก็ให้บำเหน็จรางวัล ตัดเค็กแบ่งปันให้กับลูกน้องอย่างถ้วนหน้าด้วย  
-  พระราม  มีศิลปในการ “ดูคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น” มองลูกน้องจากพฤติกรรมและนิสัยเดิม เช่น พิเภก ซึ่งเคยทรยศต่อญาติพี่น้องมาแล้วหากเปิดโอกาสให้ก็อาจทรยศพระองค์ได้ พระรามเลยให้ท้าวทศคิริวงศ์ (พิเภก) ต้องรายงานตัว โดยส่งสารแขวนมากับศรที่ท่านแผลงไป เป็นความแยบคายทำทีเป็นห่วงเป็นใย แต่จริงๆ แล้วเป็นการตรวจสอบความสวามิภักดิ์ และแสดงอำนาจที่เหนือกว่า
- การปูนบำเหน็จของพระราม ไม่ได้เป็นการให้ตามความพอใจ แต่ให้แบบมีกุศโลบายที่แยบคาย เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้มีการคานอำนาจกันอยู่ในที เพื่อลูกน้องทั้งหลายจะได้ไม่มีโอกาสรวมกำลังกันแข็งเมืองขึ้นได้ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างราบรื่น

2.ตอนศึกกุมภกรรณ
“ภายหลังที่ไมยราพถูกหนุมานฆ่าตายแล้ว ทศกัณฐ์จึงขอให้กุมภกรรณน้องชายของตน ซึ่งมีหอกโมขศักดิ์เป็นอาวุธสำคัญทั้งได้พรจากองค์พระพรหม และมีฤทธิ์เดช กล้าหาญ ยกทัพต่อสู้กับข้าศึก ซึ่งกุมภกรรณได้พยายามทัดทานแต่ในที่สุดก็ออกไปช่วยรบและพ่ายแพ้ต่อหนุมานและสุครีพ
                ฝ่ายลูกพระพายชัยชาญ           เข้าทะยานกัดหูซ้ายขวา
                สุครีพผู้มีศักดา                       เข้ากัดนาสากุมภกรรณ
ทศกัณฐ์ นอกจากจะไม่ต่อว่าแล้วยังพูดจาปลอบใจกุมภกรรณ
               อันการศึกเสียทีแลมีชัย               มิใช่มีแต่องค์พระน้องรัก
               ตัวเจ้าก็ทรงอานุภาพ                   ปราบได้ทั่วไปทั้งไตรจักร
               อันศึกเพียงนี้ไม่หนักนัก              จงคิดหักเอาชัยแก่ไพรี
               ให้เป็นเกียรติไปภายหน้า              ตราบสิ้นดินฟ้าราศี
              จะละห้อยน้อยใจไปไยมี               เจ้าพี่เร่งคิดไปต่อกร
กุมภกรรณได้ฟังก็เกิดมานะ มีกำลังใจ คิดวางแผนการรบใหม่  ไปทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์แล้วมาสู้กับศัตรูใหม่  ซึ่งคราวนี้ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พระลักษมณ์ถูกหอกบาดเจ็บสาหัส..”

หลักในการเป็นผู้นำและการบริหารคน :
-ทศกัณฑ์ มีหลักในการบริหารคนที่ดี ไม่ซ้ำเติมลูกน้อง ลูกน้องผิดพลาดสู้ไม่ได้ พ่ายแพ้กลับมาก็ไม่โวยวายลงโทษ
- ทศกัณฑ์ พูดจาปลอบโยน และให้กำลังใจ ลูกน้อง ทำให้ลูกน้องอย่างกุมภกรรณ เกิดมีความฮึดที่จะไปต่อสู้อีกครั้งเพื่อให้ได้ชัยชนะ
-มีกุศโลบายในการโน้มน้าว ชัดจูง บังคับขู่เข็ญ หว่านล้อม ให้ลูกน้องมาร่วมสู้รบเพื่อตัวเอง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.พ. 11, 13:02
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 13:26
คุณดีดีตอบข้อ ๗๓ มาใหม่

ผมให้  ๙   คะแนน
และจะเพิ่มเติมเล็กน้อย
ในตอนพระรามปูนบำเหน็จนั้น  ผมอยากให้อ่านให้ดีๆ
เพราะไม่ใช่ว่าพระรามจะแบ่งรางวัลเอาตามใจชอบ
แต่ได้พิจารณาตามผลงานของแต่ละคน  ใครออกแรงมาก
ใครเสี่ยงตายมาก  ใครทำความสำเร็จมาก 
ที่สำคัญคือพระรามคิดอย่างรอบคอบที่ให้บำเหน็จ
ให้สมกับผลงานของแต่ละคน

ในกรณีทศกัณฐ์ ผมติดใจคำว่า ลูกน้องที่จะใช้กับกุมภกรรณที่เป็นน้อง
น่าจะใช้ว่า  ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่า
และกรณีทศกัณฐ์นั้น  ไม่น่าจะระบุว่าเป็นตัวอย่างที่ดี 
แต่ควรจะระบุว่าเป็นตัวอย่างของผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชา
เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไม่สำเร็จตามที่คาด
ด้วยเหตุที่เกิดจากฝ่ายตรงข้ามสามารถแก้เกมได้อย่างชาญฉลาด
ก็ไม่โทษไม่ต่อว่า  แต่ให้กำลังใจ และในข้อท้ายที่ว่า

"มีกุศโลบายในการโน้มน้าว ชัดจูง บังคับขู่เข็ญ หว่านล้อม ให้ลูกน้องมาร่วมสู้รบเพื่อตัวเอง"

อันนี้ไม่เรียกว่ากุศโลบายหรอกครับ  ต้องเรียกว่า กโลบาย หรืออุบาย
 
ตัวอย่างที่ ๒ นี้ ผมหักคะแนน ๑ คะแนน โดยรวมที่สะกดผิดด้วย
จึงได้ไป ๙ คะแนน แต่คุณดีดีตอบได้ดีมากครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 13:30
ชื่อ ระบำพรหมาสตร์
ประเภทการแสดง ระบำ  

http://www.youtube.com/watch?v=gCemkql0cYo

ประวัติที่มา  ระบำพรหมาสตร์ เป็นระบำของเหล่าเทวดา - นางฟ้าอีกชุดหนึ่งสำหรับแสดงประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ เนื่อเรื่องกล่าวถึงอินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ กำลังทำสงครามติดพันอยู๋กับพระลักษมณ์ จึงใช้กลยุทธลวงพระลักษมณ์และกองทัพวานร โดยอินทรชิตได้แปลงกายเป็นพระอินทร์ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และให้การุณราชแปลงตัวเป็นช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นพาหนะทรงของตน อีกทั้งให้บรรดาพลยักษ์นักรบในกองทัพแปลงกายเป็นเทพบุตร และนางฟ้า พากันเหาะฟ้อนรำ นำขบวนไปหน้าช้าง เพื่อลวงพระลักษมณ์ และกองทัพวานร ว่าขบวนเสด็จของพระอินทร์กำลังเสด็จผ่านมาในกลางอากาศ อินทรชิตหวังสบโอกาสเหมาะ จะลอบใช้สรพรหมาสตร์แผลงสังหารณ์พระลักษมณ์ และพลวานร ด้วยเหตุนี้ ระบำชุดนี้จึงเรียกในวงการนาฏศิลป์ไทยอีกชื่อหนึ่งว่า "ระบำหน้าช้าง" น่าจะเป็นเพราะเรียกตามลักษณะระบำ ที่รำอยู่หน้าช้าง

 เอราวัณของพระอินทร์แปลง กรมศิลปากรได้จัดโขนออกแสดงเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละชุดจะมีชั้นเชิงและลีลาลท่าทีของศิลปะที่แตกต่างกันไปตามเจตน์จำนงของการจัด โดยมุ่งหมายให้เป็นการฝึกศิลปิน และนักเรียนของกรมศิลปากร เกิดความรู้ความชำนาญในการแสดงแต่ละชุดแต่ละตอน ซึ่งบางชุดก็เป็นการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ บางตอนก็สืบทอดกันมาโบราณ อีกทั้งยังต้องการเสนอให้ผู้ชมเห็นความหลากหลายของการแสดงโขนด้วย ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขนชุดนี้ที่โรงโขนหลวง มิกสักวัน สนามเสือป่า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ กรมศิลปากรจึงได้จัดการแสดงโขนชุดศึกพรหมาสตร์ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่ก็ยังคงรักษารูปแบบการแสดงศิลปะของเดิมไว้ด้วย ดังเช่นในองค์ที่ ๔ ศรพรหมาสตร์ ปรับปรุงโดย นายประพันธ์ สุคนธชาติท่านได้นำบทคอนเสิร์ตของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์มาใ้ช้ทั้งหมด โดยแต่งคำเจรจาแทรกในตอนท้ายของระบำพรหมาสตร์

        โขนชุดนี้ได้ปรับปรุงการแสดง พิมพ์บท และฝึกซ้อม พร้อมทั้งจัดฉาก แล้วเตรียมแสดงเป็นประจำ ณ โรงละคอนศิลปากร แต่ต้องระงับไปชั่วคราว ด้วยเกิดเหตุไฟไหม้โรงละคอนศิลปากรในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ การแสดงโขนชุดนี้จึงต้องย้ายไปจัดแสดง ณ หอประชุมวัฒนธรรม สนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ ตึกกองบัญชาการ กรป.กลาง) แล้วภายหลังต่อมาโขนชุดนี้ก็ได้นำมาจัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ อีกหลายครั้ง ท่ารำของระบำพรหมาสตร์ชุดนี้ได้รับการถ่ายทอด แล้วสืบทอดมาโดยครูอาจารย์นวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       ระบำพรหมาสตร์ เป็นการแสดงกลลวงของฝ่ายยักษ์ (อินทรชิต) ที่จะทำลายกองทัพฝ่ายมนุษย์ (พระลักษมณ์) ลักษณะของระบำ จึงเป็นการร่ายรำอย่างวิจิตร สวยงาม เพื่อให้พระลักษมณ์ และพลวานรเคลิบเคลิ้มหลงใหล จนลืมหลง ไม่ทันระวังตัว สามารถทำให้อินทรชิตแผลงศรไปสังหารพระลักษมณ์ และไพร่พลได้ ระบำชุดนี้เป็นระบำหมู่พระ - นาง เริ่มด้วยการรำนำในขบวนทัพ และรำตามเนื้อร้องในเพลงสร้อยสน ซึ่งเนื้อเพลงมี ๔ คำกลอน กล่าวถึงเหล่าเทวดา - นางฟ้า มาจับรำระบำบรรพ์ อย่างรื่นเริงบันเทิงใจ การแสดงระบำชุดนี้ใช้ประกอบการแสดงโขนโดยเฉพาะ แต่ด้วยความเป็นมาตรฐานในท่ารำ และเพลงร้องระบำพรหมาสตร์จึงได้เป็นท่ารำชุดหนึ่งในหลักสูตรการศึกษานาฏศิลป์ไทย

       สำหรับการแสดงระบำพรหมาสตร์จะปรากฏอยู๋ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรต์ตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นการรำตามรูปขบวนเกียรติยศเครื่องสูง และมีการเรียงลำดับเพลงดนตรี เพลงร้อง และกระบวนท่ารำเป็นขั้นตอน  
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑  รำออกตามทำนองเพลงสร้อยสน
ขั้นตอนที่ ๒  รำตามบทร้องในเพลงสร้อยสน  
ขั้นตอนที่ ๓  รำเข้าตามทำนองเพลงเร็ว - ลา

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงช้าสร้อยสน เพลงเร็ว (ชื่อเพลงต้นบรเทศ และเพลงแขกเบรเทศ) และเพลงลา

เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฏกษัตรีย์

บทร้องระบำพรหมาสตร์  
- ปี่พาทย์ทำเพลงสร้อยสน -
- ร้องเพลงสร้อยสน -
  ต่างจับระบำรำฟ้อน        ทอดกรกรีดกรายซ้ายขวา
ร่ายเรียงเคียงคมประสมตา เลี้ยวไล่ไขว่คว้าเป็นท่าทาง
ซ้อนจังหวะประเท้าเคล่าคล่อง      เลี้ยวลอดสอดคล้องไปตามหว่าง  
วงเวียนเหียนหันกั้นกาง    เป็นคู่คู่อยู่กลางอัมพร    
    
บทระบำนี้พระนิพนธ์โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ โดยทรงทำเป็นบทคอนเสิร์ตไว้สำหรับขับร้องประกอบการบรรเลง

โอกาสที่ใช้แสดง
ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ขุนศึกพรหมาสตร์ หรือสำหรับการแสดงสาธิตระบำใบโขน

+++++++++++++++++++++++

ชื่อ หนุมานจับนางเบญกาย
ประเภทการแสดง รำ (รำคู่ที่เป็นชุดเป็นตอน)
http://www.youtube.com/watch?v=MgK_Cw8S6oA

ประวัติที่มา รำหนุมานจับนางเบญกาย เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสที่รัฐบาลไทยเตรียมการจะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีที่รัฐบาลสหภาพพม่า ณ นครร่างกุ้ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี ครั้งที่ ๒ ในครั้งนั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการแสดงต่างๆไปแสดงให้ดู ณ เวทีหอประชุมกระทรวงวัฒนธรรมหลายคืน โดยปรารภว่าถ้ากรมศิลปากรจัดการแสดงได้ดีก็จะนำการแสดงนาฏศิลป์ไทยร่วมเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมด้วย

รายการแสดง ณ เวทีหอประชุมกรทรวงวัฒนธรรมของคืนหนึ่ง ได้มีการยืนตีเดี่ยวระนาดฝรั่ง โดยคุณครูเชื้อ อัมพผลิน ศิลปินผู้เชี่ยวชาญในแผนกดุริยางค์สากล กรมศิลปากร คืนต่อมากรมศิลปากรได้จัดให้มีการเดี่ยวระนาดเอกเพลงเชิดนอก โดนคุณครูพริ้ง ดนตรีรส ศิลปินผู้มีฝีมือเป็นเยี่ยมในการตีระนาดเอก ในแผนกดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร เป็นผู้ยืนตีเดี่ยวระนาดเอก เช่น เดียวกับการเดี่ยวระนาดฝรั่ง การแสดงทั้งสองคืนดังกล่าวสร้างความพึงพอใจให้แก่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และผู้รับชมเป็นอย่างมาก

ต่อมา นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ดำริว่า หากการแสดงเดี่ยวระนาดเอกเพลงเชิดนอกมีการแสดงท่ารำประกอบก็จะยิ่งเพิ่งอรรถรสในการชมมากยิ่งขึ้นจึงได้มอบหมายให้คุณครูพริ้ง ดนตรีรส เดี่ยวระนาดเอกอัดลงแถบบันทึกเสียง โดยมอบให้คุณครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ – โขน) พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นผู้ประดิษฐ์กระบวนท่ารำตัวหนุมาน และคุณครูเจริญจิต ภัทรเสวี เป็นผู้ประดิษฐ์กระบวนท่ารำตัวนางเบญกาย ซึ่งได้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำหนุมานจับนางเบญกายให้กับนาฏศิลปินของกรมศิลปากร การประดิษฐ์ท่ารำในครั้งนั้น ได้ฝึกซ้อมโดยใช้นาฏศิลปินลิงถึง ๔ ท่าน ในขณะที่ฝึกนาฏศิลปินนางเพียงคนเดียว ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกระบานท่ารำของตัวละครทั้งสอง ที่ต้องการมีการติดตาม โลดไล่ หลบหนี และไขว่คว้า ในที่สุดก็สามารถประดิษฐ์กระบวนท่ารำได้อย่างสวยงาม การแสดงเผยแพร่ครั้งแรกโดยนายบุญเลิศ ขำทัศน์ รับบทเป็นหนุมาน และนางรัจนา พวงประยงค์ รับบทเป็นนางเบญกายพร้อมกันนั้นยังได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ฯลฯ ร่วมติชมการฝึกซ้อม ตลอดจนจัดให้มีการแสดง ให้ประชาชนชมเป็นครั้งแรกในการซ้อมใหญ่ก่อนเดินทาง ณ เวทีหอประชุมกระทรวงวัฒนธรรม (สนามเสือป่า) โดยมีคุณครูพริ้ง ดนตรีรส เป็นผู้ยืนเดี่ยวระนาดเอกเพลงเชิดนอกประกอบการแสดงกระบวนท่ารำชุดหนุมานจับนางเบญกาย ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุด นางลอย การแสดงชุดนี้ได้มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       การรำหนุมานจับนางเบญกาย เป็นศิลปะแห่งการรำคู่ที่ปรากฏอยู่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนางลอย ที่ได้รับความนิยมชุดหนึ่งของกรมศิลปากร ลักษณะการแสดงจะประกอบด้วยกระบวนท่าการหลบหนีของนางเบญกาย จากการโลดไล่ติดตามจับของหนุมาน กระบวนท่าของนางเบญกาย จะเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นพรั่นกลัวประกอบกระบวนในท่าการเหาะหนี และความพยายามที่จะซ่อนตัวไปตามเกลียวควัน และกลุ่มเมฆ กระบวนท่าของหนุมานก็พยายามฝ่าเกลียวควัน แหวกเมฆค้นหา ขับไล่ไขว่คว้า ท่ามกลางอากาศของตัวละครทั้งสอง  
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑  นางเบญกายออกมาซ่อนตัวหลบหนุมาน
ขั้นตอนที่ ๒  หนุมานออกติดตามค้นพบนางเบญกาย
ขั้นตอนที่ ๓  มานไล่ล่า นางเบญกายหลบหนี และจับได้ในที่สุด แล้วรำเข้า
 
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
       ใช้การเดี่ยวระนาดเอกเพลงเชิดนอก ประกอบวงปี่พาทย์ในการบรรเลงประกอบการแสดง
เครื่องแต่งกาย
       ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง หนุมานเครื่องลิงสีขาว นางเบญกาย สีเหลือง ศิราภรณ์รัดเกล้าเปลว


 

 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 13:33
คุณไซมีสตอบข้อ ๗๓. มาใหม่
ตัวอย่างแรก ตอนท้าวทศรถสอนพระราม  ข้อนี้ดี
เอาไป ๕ คะแนน  แต่เสียดายไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม
ขอหักคะแนน ๑  คะแนน

แต่ตัวอย่างหลัง  ตอบไม่เคลียร์ ไม่ชัดเจน
ให้คะแนนยากเหลือเกิน   คุณน่าจะตอบ
โดยยกตัวอย่างมาตอนใดตอนหนึ่ง
ที่แสดงให้เห็นการบริหารหรือการเลือกใช้คน
(จะตัวอย่างดีหรือไม่ดีก็ได้)  ผมจะให้โอกาสอีกเป็นครั้งสุดท้าย
หากยังตอบไม่ตรงประเด็นอีก  ผมคงต้องให้คะแนนตามจริง
ตอนนี้เอาไป  ๔ คะแนนก่อน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 13:37
คุณไซมีสตอบข้อ ๗๔

โดยยกเอาระบำพรหมาสตร์
และการแสดงรำหนุมานจับนางเบญกาย
รายละเอียดถี่ยิบครบถ้วน  เอาไป  ๑๐  คะแนนเต็ม
ไม่มีที่จะหักเลย  แถมคลิปให้ดูด้วย ให้อีก ๓ คะแนน
เป็น  ๑๓  คะแนน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 13:42
คุณหลวงเล็กๆๆๆๆๆๆ ผมกำลังลงภาพเครื่องกระเบื้องวังหน้า กระโถนค่อมให้ อ.เทาชมพู พอดีสังเกตุว่า ภาพวาดรามเกียรติ์จับตอนเดียวกันกับเครื่องแต่งงานถวายพระเพลิง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พอดีเลย อารมณ์เดียวกัน อยู่ในป่าเหมือนกัน อย่างน้อยคุณ Art47 ก็น่าจะยิ้มออก จึงได้นำภาพมาเปรียบให้ชมกันครับ ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 13:55
อืมม์ สวยดี   ขอบคุณ  แต่ดูรายละเอียดตัวละครยักษ์แล้ว  คงไม่ใช่ตัวเดียวกันกระมัง

อ้อ  ที่คุณเคยบอกว่า  มีสีเขียวๆ คล้ายๆ กับเป็นสนิม  จริงไม่ใช่สนิมนะครับ
เป็นสีลงยาครับ   จึงแจ้งมาให้ทราบ :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 14:04
คุณไซมีสตอบข้อ ๗๓. มาใหม่
ตัวอย่างแรก ตอนท้าวทศรถสอนพระราม  ข้อนี้ดี
เอาไป ๕ คะแนน  แต่เสียดายไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม
ขอหักคะแนน ๑  คะแนน

แต่ตัวอย่างหลัง  ตอบไม่เคลียร์ ไม่ชัดเจน
ให้คะแนนยากเหลือเกิน   คุณน่าจะตอบ
โดยยกตัวอย่างมาตอนใดตอนหนึ่ง
ที่แสดงให้เห็นการบริหารหรือการเลือกใช้คน
(จะตัวอย่างดีหรือไม่ดีก็ได้)  ผมจะให้โอกาสอีกเป็นครั้งสุดท้าย
หากยังตอบไม่ตรงประเด็นอีก  ผมคงต้องให้คะแนนตามจริง
ตอนนี้เอาไป  ๔ คะแนนก่อน

ตอบเพิ่ม
ลักษณะการเป็นผู้นำ เลือกใช้คนและกลยุทธเชิงได้อย่างล้ำเลิศ คือ การเลือกใช้ที่ปรึกษาทางการทหาร เช่นเดียวกับ เล่าปี่ มีขงเบ้งไว้ปรึกษาหาความต่างๆ ทำนองเดียวกัน พระรามก็มี “ภิเภก” ไว้ปรึกษา
แม้ว่ากำเนิดของภิเภกเองจะเป็นยักษ์ และเป็นพี่น้องกับทศกัณฐ์ ซึ่งถูกขับไล่ออกจากกรุงลงกา มาอยู่ด้วยพระราม พระรามก็แสดงน้ำใจยินดีรับไว้ให้เป็นที่ปรึกษาทางการทหาร แต่ก็ยังเคลือบแคลงเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับทศกัณฐ์อยู่มากเนื่องด้วยเป็นพี่น้องกัน เมื่อภิเภกเข้ามารับใช้พระรามก็ทุ่มเทกำลังให้โดยตลอด เช่นในครั้งแรก พระรามนั้นถามถึงกำลังของทหารฝ่ายทศกัณฐ์ว่าเป็นอย่างไร
พระรามถามภิเภกว่า
“พลในลงกาธานี  จะมีมากน้อยสักเพียงใด
แม้นมาตรจะยกพลขันธ์   เข้าโรมรันบันบุกรุกไล่
หักเอาด้วยกำลังฤทธิไกร  จะได้หรือไม่อสุรา”
ภิเภกทูลว่า
“อันลงกาธานี  พ้นที่จะคณนาได้
มากกว่าวานรในทัพขัย  ว่องไวเชี่ยวชาญชำนาญยุทธ์
แปลงกายหายตัวได้ทั้งสิ้น  ทั้งดำดินเหาะเหินเดินสมุทร
จะหักเอาด้วยกำลังไวยวุฒิ   สุดที่จะหมายกำหนดการ
ด้วยยังไม่เห็นฤทธิรอน     โยธาวานรทวยหาญ
ในใต้เบื้องบาทพระอวตาร   ไม่รู้ที่จะประมาณมือกัน”
หลังจากนั้นภิเภกก็ได้ทราบถึงกำลังรี้พล ซึ่งพอเปรียบเทียบได้ว่า กำลังของพระรามนั้นมีมาก และถ้าได้ต่อสู้กันแล้วเปรียบ “ดั่งหิ่งห้อยกับดวงอาทิตย์” และภิเภกยังได้แจ้งว่ามียักษ์แปลงตนเข้ามาในกองทัพพระราม ทำให้หนุมานจับสุกรมสารได้
ซึ่งการกระทำนี้เองทำให้พระรามและเหล่าหหารเกิดความไว้วางใจในตัวภิเภกและไม่สงสัยอีกแต่อย่างใด จนในที่สุด พระรามก็ให้ภิเภกได้ครองกรุงลงกา
-   หลักการคือ การใช้คน ต้องให้ความไว้วางใจ แม้ว่าเป็นฝ่ายศัตรูก็ตาม ให้หยั่งเชิงดูก่อน เมื่อประจักษ์ถึงความสามารถแล้วจึงปูนบำเหน็จรางวัลให้
-   พระรามรู้ว่า ภิเภก เก่งในด้านโหราศาสตร์ เรื่องยา จึงได้เอาตัวไว้ใช้งานต่างๆ เป็นการบริหารจัดการคน ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.พ. 11, 14:06
รำ กับ ระบำ ต่างกันไหมคะ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 14:17
รำ กับ ระบำ ต่างกันไหมคะ  ;D

จริงๆ ต่างกัน  เพราะระบำ เป็นการแสดงที่มีผู้เล่นเป็นจำนวนมากกว่า ๒ คนขึ้นไป
มุ่งเน้นแสดงความงดงามในการรำอย่างพร้อมเพรียง  การแปรแถว
การแต่งกายสวยงามและดนตรีไพเราะ


ส่วนรำ  เป็นการแสดงเดี่ยวหรือคู่ หรือมากกว่านั้น  มุ่งแสดงการรำที่สวยงามประกอบดนตรี
ไม่มุ่งเน้นเนื้อเรื่อง

แต่โดยลักษณะทั่วไปนับว่าใกล้เคียงกันทั้งรำและระบำ   เพราะมุ่งเน้นการแสดงการรำที่งดงาม
ประกอบดนตรี  ไม่มุ่งเน้นดำเนินเนื้อเรื่อง   ผมจึงอนุโลมให้ตอบเรื่องรำได้ด้วย
คุณดีดีถามมาก็ดีครับ   ฉะนั้นถ้าจะตอบรำด้วย  ผมก็จะให้คะแนนเหมือนกัน   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.พ. 11, 14:22
รำ กับ ระบำ ต่างกันไหมคะ  ;D

    ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน  การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรีประกอบ  คำว่า "ระบำ" รวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วยกัน เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน แตกต่างกันที่วิธีร่ายรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามท้องถิ่น

ระบำ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด
     ๑. ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่ปรมาจารย์ได้กำหนดเนื้อร้อง ทำนองเพลง ลีลาท่ารำและการแต่งกาย ตลอดถึงกระบวนการแสดงไว้อย่างแน่นอนตายตัว และได้สั่งสอน ฝึกหัด ถ่ายทอด ต่อๆ กันมาเป็นเวลานาน จนนับถือเป็นแบบฉบับ จัดเป็นระบำมาตรฐาน เป็นแม่บทที่ควรธำรงรักษาไว้ ซึ่งใครจะเปลี่ยนแปลงลีลาท่ารำไม่ได้ เช่น ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำเทพบันเทิง ระบำโบราณคดี


     ๒. ระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมัยนิยม และตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์ต้องการ  ระบำปรับปรุงแยกออกเป็น

          -  ปรับปรุงจากแบบมาตรฐาน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดแบบและลีลา ตลอดจนความสวยงามในด้านระบำไว้  ท่าทางลีลาที่สำคัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ดูงามขึ้นอีก หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ที่นำไปแสดง เช่น การจัดรูปแถว การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเข้าไปสอดแทรก เป็นต้น


          -  ปรับปรุงจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกเป็นรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น เช่น เซิ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา รองเง็ง ฯลฯ


          -  ปรับปรุงจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำบันเทิงกาสร ระบำตั๊กแตน เป็นต้น


          -  ปรับปรุงจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการต้อนรับ เพื่อแสดงความยินดี อวยพรวันเกิด เป็นต้น


          -  ปรับปรุงจากสื่อการสอน เป็นระบำประดิษฐ์และสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน เหมาะสำหรับเด็ก ๆ เป็นระบำง่าย ๆ เพื่อเร้าความสนใจ ประกอบบทเรียนต่าง ๆ เช่น ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์
         ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่ารำจะไม่ตายตัว จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือและความสามารถของผู้สอนและตัวนักเรียนเอง

     รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก

ประเภทของการรำ ได้แก่ การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำหมู่
๑.  การรำเดี่ยว  คือ การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายคือ
     ๑.๑  ต้องการอวดฝีมือในการรำ
     ๑.๒  ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ
     ๑.๓  ต้องการสลับฉากเพื่อรอการจัดฉาก หรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย
การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ


๒.  การรำคู่  แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ในชุดสวยงาม
     ๒.๑  การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริช เป็นการรำไม่มีบทร้อง ใช้สลับฉากในการแสดง
     ๒.๒  การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า

๓.  การรำหมู่  เป็นการแสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวงทั่วไป การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว         


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.พ. 11, 15:15
คำถามข้อที่  ๗๔.
มีระบำกรมศิลปากรชุดใดบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรามเกียรติ์  จงยกมา ๒ ชุด
พร้อมอธิบายรายละเอียดของระบำชุดนั้นๆ  ว่าใครคิดค้นขึ้น  เคยแสดงครั้งแรกเมื่อไร
มีคำร้องทำนองเพลงอย่างไร   การแต่งกายของผู้แสดง  และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  เริ่มตอบได้  ตั้งแต่  ๑๓.๓๐ น.  ตอบหน้าไมค์
ใครตอบซ้ำคนอื่นแต่สามารถตอบได้ดี และละเอียดกว่า ให้คะแนนเต็ม
แต่ถ้าตอบไม่ดีกว่า  จะหัก ๒ คะแนนในตัวอย่างที่ซ้ำ

ขอตอบค่ะ  ;D

1.ชื่อ : ระบำวานรพงศ์

ประวัติที่มา: ระบำวานรพงศ์เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่ โดยนาย เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขาศิลปการละคร ( ถึงแก่กรรม ๒๕๕๐ ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและสร้างบท
นำออกแสดงในโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
 
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ : นาย กรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขานาฏศิลป์โขน ( ถึงแก่กรรม ๒๕๔๑ )
ผู้รับถ่ายทอดท่ารำ : นาย ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ( เกษียณฯ ๒๕๔๕ )

การแสดงชุดนี้เป็นการนำให้ผู้ชมทราบชื่อลิงสิบแปดมงกุฏและลิงพญาวานรที่เป็นกำลังสำคัญในกองทัพฝ่ายพลับพลาของพระราม และได้เห็นลักษณะการแต่งกายและสีประจำกายของลิงแต่ละตัว

เครื่องแต่งกาย : การแต่งกายนั้นแต่งตามรูปแบบลิงสิบแปดมงกุฎ และลิงพญายืนเครื่องเต็มตัว พร้อมอาวุธประจำตัว สีเสื้อและศีรษะเป็นสีเดียวกันตามพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์

รูปแบบ และลักษณะการแสดง :  ลักษณะท่ารำนั้น ลิงสิบแปดมงกุฏออกท่าเพลงหน้าพาทย์รุกร้น แล้วตีบทในเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว ต่อจากนั้นลิงพญาออกท่าเพลงหน้าพาทย์รัวสามลาและเพลงกราวกลาง โดยตีบทตามความหมายของบทร้อง ในกิริยาอาการของลิงผสมผสานกับลีลานาฏศิลป์เรียงตามลำดับตามชื่อด้วยความคล่องแคล่วว่องไวการแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๑๒ นาที

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง : ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่

บทร้องระบำวานรพงศ์ :
ชุดแรก : วานรสิบแปดมงกุฏ ปี่พาทย์ทำเพลงรุกร้น ร้องเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว
นำดัวยไชยามพวานทหารหน้า   เกสรทมาลากล้ากลั่น
ถัดมานิลราชกาจฉกรรจ์      เคียงคู่นิลขันชาญชัย
นิลเอกฤทธิไกรดังไฟกัลป์   คู่นิลปานันทหารใหญ่
วิมลรณรบว่องไว      ถัดไปชื่อวิสันตราวี
มาลุนเริงแรงกำแหงหาญ      เคียงขนานเกยูรกระบี่ศรี
ทั้งมายูรพูนพลังแข็งขันดี   คู่กับสัตพลีมีเดชา
สุรเสนเจนจบรบรอนราญ      คู่กับสุรกานต์ทหารกล้า
โกมุทวุฒิไกรไวปัญญา      เคียงมากับกระบี่กุมิตัน
ไวยบุตรรำบาญราญแรง      เคียงแข่งกับนิลปาสัน
ครบสิบแปดมงกุฎสุดฉกรรจ์   ทหารเอกทรงธรรม์รามราชา

ชุดที่ 2 : เหล่าพญาวานร ปี่พาทย์ทำเพลงรัวสามลา ร้องเพลงกราวกลาง
สุครีพโอรสพระสุริย์ฉาน      คำแหงหนุมานทหารหน้า
นิลพัทฝ่ายชมพูนัครา      องคตบุตรพญาพาลี
ชมพูพานศิวะโปรดประสาท   ชามภูวราชชาติเชื้อพญาหมี
นิลนนท์ลูกพระอัคนี      ล้วนกระบี่พงศ์พญาวานร

2. ชื่อ : ระบำมฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง )

ประวัติ : เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นแสดงเนื่องในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศสหภาพพม่า เมื่อปีพุทธศักราช 2498 โดยจัดให้มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนลักนางสีดา มีหมู่ระบำกวางออกมาร่ายรำเพื่อความสวยงาม เพลินเพลิน เร้าใจ ตามท่วงทำนองเพลงมฤคระเริง ที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ได้แต่งทำนองเพลงขึ้น ประกอบท่ารำของหมู่กวางอย่างสนิทสนมกลมกลืน ก่อนที่กวางทอง (มารีศ) จะออกมาล่อให้นางสีดาเห็น และเกิดความใหลหลง ขอร้องให้พระรามไปจับมาให้ เมื่อพระรามตามไปทศกัณฐ์ได้แปลงตนเป็นฤษี ลักนางสีดาไปกรุงลงกา

ผู้แต่งทำนองเพลงมฤคระเริง : นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน :  คุณมานิตย์ บูชาชนก
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำมฤคระเริง :  คุณครูลมุล ยมะคุปต์
การแต่งกาย : แต่งกายเลียนแบบกวาง
เพลงมฤคระเริงเป็นเพลงที่มีแต่ทำนองเพื่อประกอบระบำ ไม่มีบทร้อง ค่ะ

 http://www.youtube.com/watch?v=uYY1ufTJ-wM&feature=player_embedded





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.พ. 11, 15:31
คุณไซมีส  ตอบ ๗๓ มาเพิ่มเติม 
ผมให้ ๓ ๑/๒ คะแนน รวมของเดิม ๔ คะแนน เป็น ๗ ๑/๒ คะแนน

ส่วนคุณดีดี ตอบข้อที่ ๗๔.
โดยยกเอาระบำวานรพงศ์ และระบำกวาง(มฤคระเริง)
ละเอียดดีมีภาพมีคลิปประกอบ  แถมให้อีก ๓ คะแนน
รวมเป็น ๑๓ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 ก.พ. 11, 20:55
คำถามข้อที่  ๗๔.

มีระบำกรมศิลปากรชุดใดบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรามเกียรติ์  จงยกมา ๒ ชุด
พร้อมอธิบายรายละเอียดของระบำชุดนั้นๆ  ว่าใครคิดค้นขึ้น  เคยแสดงครั้งแรกเมื่อไร
มีคำร้องทำนองเพลงอย่างไร   การแต่งกายของผู้แสดง  และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  เริ่มตอบได้  ตั้งแต่  ๑๓.๓๐ น.  ตอบหน้าไมค์
ใครตอบซ้ำคนอื่นแต่สามารถตอบได้ดี และละเอียดกว่า ให้คะแนนเต็ม
แต่ถ้าตอบไม่ดีกว่า  จะหัก ๒ คะแนนในตัวอย่างที่ซ้ำ

1. ระบำอสุเรศเศวตฤทธา
การแสดงโขนเกี่ยวกับยักษ์สีขาว ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
การแสดงชุดนี้เป็นการแสดงที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ โดยมีแนวคิดที่จะนำเอาบรรดาอสุรพงศ์ที่มีกายสีขาวตั้งแต่ต้นวงศ์อสุรพรหม
และอสุรพงศ์ที่มีอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จำนวน ๑๐ ตน มาร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แสดงครั้งแรกที่หอวชิรวุธานุสรณ์ วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑
ตัวละคร – ท้าวจตุรพักตร์, ท้าวสหมลิวัน, ท้าวลัสเตียน, ท้าวสหัสเดชะ, ท้าวจักรวรรดิ, ท้าวไพจิตราสูร, ท้าวกุเวรณุราช, มารีจ, ตรีเศียร, อัศธาดา
ประดิษฐ์ท่ารำ           นายราฆพ โพธิเวส (ศิลปินแห่งชาติ)
                          นายจตุพร รัตนวราหะ
                          นายสุดจิตต์ พันธสังข์
ประพันธ์บทร้อง          นายจรัญ พูลลาภ
บรรจุเพลง               นายสมชาย ทับพร
บทร้องระบำ
(ปี่พาทย์ทำเพลงรัวสามลา)
ร้องเพลงเขมรเอวบาง
องค์ปฐม พรหมพงศ์ เจ้าลงกา        นามมหา จัตุรพักตร์ ยักษี
ท้าวสห- มลิวัน อสุรี                 สถิตที่ บาดาล กรุงไกร
จอมอสูร ปิ่นกษัตริย์ ลัสเตียน       ปิตุเรศ ทศเศียร เป็นใหญ่
ท้าวสหัสส- เดชะ เดโชชัย          อ่าอำไพ เกียรติกระเดื่อง เมืองปางตาล
องค์ท้าว จักรวรรดิ จรัสฤทธิ์         ไพจิต- ราสูร เหี้ยมหาญ
มารีศ ตรีเศียร พระยามาร            เป็นเผ่าพงศ์ วงค์วาน ลงกา
องค์อัศ- ธาดา ผู้กล้าแกร่ง          เจ้าแห่ง วัทกัน แหล่งหล้า
กุเวรนุราช อาจอง ทรงศักดิ์ดา       ทุกตน ฤทธิ์ธา อาธรรม์
ร้องเพลงตระบองกัน
งามประยูร มวลหมู่ อสุเรศ           ทรงอินทรีย์ ศรีเศวต วิเศษสรรค์
สละโลก โมหะ ละโรมรัน          มโนมั่น บริสุทธิ์ ดุจสีกาย
น้อมนพเบื้อง ยุคลบาท นาถบพิตร จุ่งสถิต รื่นรมย์ ด้วยสมหมาย
ปวงศัตรู หมู่อรินทร์ สิ้นมลาย      น้อมใจกาย ถวายพระองค์ ทรงพระเจริญ
(ปี่พาทย์ทำเพลงพราหมณ์เข้า)

2. ระบำบันเทิงกาสร
ระบำบันเทิงกาสรเป็นระบำชุดในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพาลีสอนน้อง แสดงถึงความเบิกบานสำราญใจของทรพา
และบริวารกาสร ซึ่งออกมาโลดเล่นเต้นตามชั้นเชิงลีลาของนาฏศิลป์
ก่อนจะมีทรพีเข้ามาต่อสู้ด้วย
ประดิษฐ์ท่ารำ                       ท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์
แต่งทำนองเพลง                    ครูมนตรี ปราโมท (ศิลปินแห่งชาติ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 24 ก.พ. 11, 09:46
คุณหลวงหายไป ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 ก.พ. 11, 09:59
คุณหลวงหายไป ???

ไม่ได้หายไปไหนหรอก  อยู่แถวนี้แหละ   แต่ทำงานอยู่
เดี๋ยวเสร็จงานก่อน  จะมาตั้งคำถาม ไม่เกินเที่ยงหรอก



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 24 ก.พ. 11, 10:01

       ที่จริงข้าพเจ้าบอกป่วยหนักอยู่  ไม่สมควรปรากฏตัวไม่ว่าที่ไหนทั้งนั้น    ก็เลยไม่ทราบว่าท่านทำอะไรอยู่  

กลุ่มหนังสือเก่ามาปลุกว่ามูลนิธิสักแห่งจะขอยืมหนังสือโบราณพิมพ์ครั้งแรก  เลยตื่นขึ้นมาหัวเราะ

สหายเลยขอยืมประวัติตระกูลเก่าตระกูลหนึ่ง  เมื่อเป็นลูกหลานของตระกูลแล้ว    นักอ่านทุกคนในชมรมยินดีและเต็มใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 24 ก.พ. 11, 10:14

       ที่จริงข้าพเจ้าบอกป่วยหนักอยู่  ไม่สมควรปรากฏตัวไม่ว่าที่ไหนทั้งนั้น    ก็เลยไม่ทราบว่าท่านทำอะไรอยู่ 

กลุ่มหนังสือเก่ามาปลุกว่ามูลนิธิสักแห่งจะขอยืมหนังสือโบราณพิมพ์ครั้งแรก  เลยตื่นขึ้นมาหัวเราะ

สหายเลยขอยืมประวัติตระกูลเก่าตระกูลหนึ่ง  เมื่อเป็นลูกหลานของตระกูลแล้ว    นักอ่านทุกคนในชมรมยินดีและเต็มใจ

คุณวันดีป่วยจริง หรือป่วยใจ ครับ
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 11, 10:30
เป็นอะไรกันไปหมดนี่  :-\


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 ก.พ. 11, 10:47
ส่งผลไม้มาเยี่ยมไข้คุณวันดีค่ะ หายไวๆ นะคะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 24 ก.พ. 11, 11:26

ขอบคุณคุณหนูดีดีจังเลย   คงมีโอกาสได้เลี้ยงไอติมรวมกลุ่มในเร็ววัน  หรือจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วงกับไอติมน้ำมะพร้าว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 11, 11:36
นำหมูหยอง มาเยี่ยมไข้ อย่าได้ปวดหัวอีกต่อไป ด้วยของกำนัลหนุ่มสยาม "หมูหยอง ตราพระรามออกศึก" มีขายแห่งเดียว ในพระนครอโยธยา  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 24 ก.พ. 11, 11:51

ชอบหมูหยองพระราม     โชคดีที่เป็นพระราม    คิดไม่ถึงว่าพระรามก็เสวยหมูด้วย   ขอบคุณในน้ำใจ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 ก.พ. 11, 16:00
คำถามข้อที่  ๗๕.  

คำสั่ง   จงคิดว่าโจทย์ข้อนี้ง่ายแล้วลงมือตอบ
 ;D ;D ;D ;D ;D

จากข้อความบางส่วนของเอกสารที่นำมาตั้งเป็นโจทย์
จงค้นหาว่า  เอกสารดังกล่าวบันทึกเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมอะไร
และเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์อย่างไร  เล่ามาให้ละเอียด


ข้อนี้ ๒๐ คะแนน  ตอบมาที่หน้าไมค์  ให้เวลาตอบ
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่  ๒๘  กุมภาพันธ์ ศกนี้ เวลา  ๐๖.๐๐ น.
หลังจากเวลาที่กำหนด  คะแนนเต็มจะลดลง  ๕  คะแนนเมื่อผ่านไปครบ ๑ วัน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 11, 16:28
ข้อ ๗๕ คือ พิธีสัมพัจฉรฉินท์ ช่ายไหม  ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 ก.พ. 11, 16:31
อิอิ...โอว โนจ้ะ   หาใช่พิธีสัมพัจฉรฉินท์ไม่  ตอบใหม่นะ
ยังมีเวลาอีกหลายวัน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 ก.พ. 11, 16:43
คำถามข้อที่  ๗๕.  

คำสั่ง   จงคิดว่าโจทย์ข้อนี้ง่ายแล้วลงมือตอบ
 ;D ;D ;D ;D ;D


โอ้โห!!!  แค่คำสั่งก็ยากส์ส์ส์...แล้วค่ะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 24 ก.พ. 11, 19:19
คำถามข้อที่  ๗๕.  

คำสั่ง   จงคิดว่าโจทย์ข้อนี้ง่ายแล้วลงมือตอบ
 ;D ;D ;D ;D ;D

จากข้อความบางส่วนของเอกสารที่นำมาตั้งเป็นโจทย์
จงค้นหาว่า  เอกสารดังกล่าวบันทึกเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมอะไร
และเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์อย่างไร  เล่ามาให้ละเอียด

ข้อนี้ ๒๐ คะแนน  ตอบมาที่หน้าไมค์  ให้เวลาตอบ
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่  ๒๘  กุมภาพันธ์ ศกนี้ เวลา  ๐๖.๐๐ น.
หลังจากเวลาที่กำหนด  คะแนนเต็มจะลดลง  ๕  คะแนนเมื่อผ่านไปครบ ๑ วัน


ชิช่ะ พูดราวกับท้าถาม จักให้รามือได้เยี่ยงไร
โจทย์ข้อนี้นั้นยากจริงอยู่ แต่เมื่อมีคำถามก็ต้องมีคำตอบนั้นแล

ประกาศพระแสงศร ๓ องค์ (ปีขาล ฉศก พ.ศ. 2397)

ข้าพระพุทธเจ้า ขอประนมน้อมนมัสการ อัญเชิญพระนารายณ์เป็นเจ้า เสด็จเนาในกระเษียรสมุทร ทรงครุฑเป็นพาหนาศน์ โดยอากาศวิถี
พระหัตถ์ทั้งสี่ ทรงสังข์จักรคธาธรธรณี หนึ่งองค์พระศุลีจอมไกรลาศ ทรงเศวตรอุศภอาศน์ข้ามเขาหลวง สัพด้วยทิพาภรณ์ทั้งปวงอันเรือง
รอง ทรงสังวาลนาคสภักจำนองเฉวียงไหล่ พระหัตถ์ถือไฟตรีกุณฑลเพชรปราบมาร หนึ่งพรหมญาณครรไลหงส์ ทรงทิพประทุมทองทั้ง
แปดพระหัตถ์ จตุรพักตร์ประภัศรเรืองโรจน์ โชติชัชวาลทั้งสี่ทิศบพิตรสฤษดิโลทั้งสามเสร็จสมบูรณ์ บัดนี้มีพระบรมราชโองการมาณพระ
บัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าประนมน้อมอัญเชิญเทพยทั้งสามพระองค์มาประชุมในสถานที่นี้ เพื่อขอประสิทธิ
พระแสงศร เทพยแปดกรสถิตย์พระแสงพรหมมาศ พระวิสายเทวราชอยู่ ณ พระแสงอัคนี พระจักรีเนาพระแสงปลัยวาต จงประสาทเทพย
สาตราวุธทั้งสามองค์ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏสุทธสมมติเทพยพงศ์ วงษาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม
จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย
บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพ
สุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ
คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล
วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ
สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต
สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์
อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช
บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเสด็จเถลิงถวลัยราชสมบัติ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยาบรมราช
ธานีนี้ จงปรากฎพระเกียรติยศสืบไปภายหน้า ขอเทพยดาอวยพระราชศิริสวัสดิ์ ขจัดเสียซึ่งศัตรูหมู่ร้ายอันเป็นปัจจามิตรในทิศานุทิศต่างๆ
ให้พินาศรื่นราบ ขอเดชานุภาพปรากฏทุกนานาประเทศราชขอบขันธสิมาอาณาเขต ดังพระกฤษณุเทเวศร์รามาวตาร และเมื่อจะได้ทำการ
พระราชพิธีตรุษสารทประชุมข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ถือน้ำพระพัทธสัจจาธิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามใน
เบื้องหน้า ขอเทพยดาอันรักษาพระแสงศรและอัษฎาวุธ สำหรับพิชัยยุทธป้องกันพระราชอาณาจักร แลเทพยอันรังรักษ์สถิตในนพปดลมหา
เศวตรฉัตร ทั้งเทพยอันเนาดุสิตมหาปราสาทรัตนราชมณเฑียรพิมาน อีกพระกาฬ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง หลักพระนคร อนึ่งเทพยนิกร
ในจักรวาฬ เชิญมาช่วยอภิบาลพระแสงสราวุธ ถ้าผู้ใดมีจิตรประทุษฐมิได้ซื่อตรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหา
ประเสริฐ ขอเทพยเจ้าผู้เลิศด้วยเทวฤทธิ์ จงบันดาลผู้คิดผิดให้พินาศ ด้วยเทพสาตรและอัษฎาวุธคมกล้าอันมหาวิเศษ แล้วให้ผู้นั้นเป็น
โรคันตรายภัยเภทพิบัติทำลายในกายต่างๆ ให้เห็นปรากฏ ถ้าผู้ใดมิให้คิดคดซื่อตรงดำรงอยู่ในสุจริต ขอเทพยผู้เรืองฤทธิ์ช่วยอภิบาลรักษา
ผู้นั้นให้เจริญในฐานานุศักดิ์สืบตระกูลวงศ์ ดำรงฑีฆายุยืนนาน ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไปเบื้องหน้า อย่ามีโรคาภยันตราย ขอ
เทพยทั้งหลายอันมาสโมสรสันนิบาตจงเจริญพรประสาททุกประการ ดังข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอธิษฐานนี้ เทอญ ฯ

คาถาบรรจุในพระแสงศรอัคนีวาต
อัตฺถิพราหฺมณธัมฺเมสุ           เทวเสฎฺโฐสมีริโต
มเหสฺสโรสิโวติปิ               ปายโตอิธวิสฺสุโต
วิวิธานฺยัสฺสนามานิ             นานัปฺปการญายโต
ปรเมสฺสโรอีสาโน              สูสีติโลจโนปิจ
อุมฺมาปติปสุปติ                สํกโรจันฺทเลขโน
วามเทโวมหาเทโว             กุณฺฑลีนีลโลหิโต
อิจฺจาทิกานิวุตฺตานิ             เตหิเตหิตหึตหึ
เสโตอุสโภกิรัสฺส              สิริมานิจฺจพาหโน
วชีรัคฺยาทิเตเชน               เตชวาปรมิทฺธิมา
วุโตสฺสิทฺธานุถาโวว            ติฏฺฐตํอัสฺมึสเร ฯ
คาถาบรรจุพระแสงศรพรหมาศ
อัตฺถิพราหฺมณธัมฺเมสุ           พรหฺมานามสมีริตา
โยมหาพรหฺมาอภิภู             สยัมฺภูกมลาศโน
เสฏฺโฐอนภิภูโตว                สุรเชฎฺโฐปชาปติ
อัญฺญทัตฺถํทโสวส              วัตฺติโลกัสฺสนิมฺมิตา
กัตฺตาสัชฺชิตาวิธาตา            วสิปิตามโหปิตา
ภูตานํภัพฺยานัญฺจ              ธาตาโลกัสฺสสัพฺพทา
จตุรานโนอัฎฺฐกโร             สุวัณฺณหํสวาหโน
อิจฺจาทีหากาเรหิ               วัณฺณิโตวตหึตหึ
เอกายังคุลิยาเยว               โลกัสฺสโชตโกกิร
วุตฺโตสฺสิทฺธานุภาโวว            ติฎฺฐตํอัสฺมึสเร ฯ
คาถาบรรจุในพระแสงปลัยวาต
อัตฺถิพราหฺมณธัมฺเมสุ            วุตฺโตเทโวมหิทฺธิโก
นารายโนติปาเยน               วิสฺสุโตวตหึตหึ
นามานฺยัสฺสวิวิธานิ              อีริตานิปิกัตฺถจิ
เวกุณฺโฑสิริกโรจ               วิณฺหุจักฺกกรีปิจ
วาสุเทโวหริกัณโห              จักฺกปาณีจเกสโว
ทาโมจตุภุโชสํข                ธโรอิจฺจาทิกานิจ
ตัสฺโสตาโรติรัจฺฉาน             มนุสฺเสสุกทาจิปิ
สทโสวตารวัตฺถูสุ               กถิโตปิตถาตถา
รามาวตาโรสาเนสุ              นานาวิธิทฺธิสิทฺธิโต
วุตฺโตสฺสิทฺธานุภาโวว           ติฎฺฐตํอัสฺมึสเร ฯ

เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ก็เพราะว่าประกาศฉบับนี้เป็นประกาศบรรจุคาถาใส่พระแสงศรสามองค์ สำหรับที่ใช้ในงานพระราชพิธี
ศรีสัจปานกาล ก่อนจะเอาพระแสงศรไปชุบที่ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี ในวันที่ศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีขาลฉศก พ.ศ. 2397

พระแสงศรนั้น ยืมนามมาจากศรวิเศษของพระราม ในเรื่องรามเกียรติ์ คือศรพรหมมาศ และศรอัคนิวาต นั้นแล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 11, 19:42
คุณอาร์ท สุดยอดมากครับ หาคำกลอนพร้อมเนื้อหา มาครบถ้วนอย่างสมบูรณ์

อันพระแสงศร อัคนิวาตนี้เอง จึงได้กลายมาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 11, 19:51
แบบนี้คำตอบที่ ๗๕ ที่ยกมาก็คงหมายถึง ตอนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราม ครองกรุงอโยธยา หลังจากได้ปราบทศกัณฐ์เรียบร้อยแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 24 ก.พ. 11, 20:21
คุณอาร์ท สุดยอดมากครับ หาคำกลอนพร้อมเนื้อหา มาครบถ้วนอย่างสมบูรณ์

มิกล้ารับคำชมดอกครับคุณไซมีส

บางครั้งคนมันก็อยู่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกเล่ม เท่านั้นเอง :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 ก.พ. 11, 08:31
ยอดเยี่ยม ทั้งสองท่านเลยค่ะ... ;D

(http://widget.sanook.com/static_content/widget/full/graphic_1/0454/309454/e021f1ad24f42be0f69c9e231d82c5c2_1233656192.gif)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 08:41
คุณอาร์ท สุดยอดมากครับ หาคำกลอนพร้อมเนื้อหา มาครบถ้วนอย่างสมบูรณ์

อันพระแสงศร อัคนิวาตนี้เอง จึงได้กลายมาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครับ

ลูกศร ที่กลายมาเป็นพระราชลัญจรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นั้น
มาจากพระนามประชาธิปกศักดิเดชน์  เฉพาะคำว่า เดชน นั้น  แปลได้ความหมายหลายอย่าง
แต่ความหมายหนึ่งในนั้นคือ ลูกศร  ส่วนที่ว่าทำไมจึงเป็นพระแสงศร ๓ เล่ม 
ก็เพราะพระมหากษัตริย์ไทยมีอุดมคติคือพระราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 08:45
คุณอาร์ทตอบข้อที่ ๗๕. ได้ไวปานกามนิตหนุ่ม
เอาไปเต็ม ๆ ๒๐ คะแนน 

ต่อไปเห็นจะลดระยะเวลาตอบข้อยากลงแล้ว
และคงต้องเพิ่มดีกรีความยากของคำถามขึ้นไปอีก

ผู้ใดเห็นด้วยยกมือขึ้น  (นั่นแน่ะ  ชูมือเป็นฝักถั่วเลย) ;D ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 11, 09:09
ส่งหลังไมค์ครับ แฮะๆๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 09:17
โจทย์บอกให้ตอบหลังไมค์   ยังจะตอบหน้าไมค์อีก
จะเอาคะแนนไหมนี่    >:(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 10:07
คำถามข้อที่  ๗๖.

ใครจะคาดคิดว่า  การชี้โพรงให้กระกอก
จะทำให้โจทย์คำถามข้อนี้ ;D

คำถามนี้  พนักงานวรภาชน์ฝากถามมา
หลังจากได้อ่านกระทู้ในเรือนไทยที่อยู่ข้างเคียง

กระโถนค่อมใบนี้   เขียนภาพรามเกียรติ์ตอนใด
ตัวละครในภาพคือใครกับใคร   จงตอบ
พร้อมการวิเคราะห์ภาพมาอย่างละเอียด
อ้อ  เล่าเนื้อเรื่องตอนนั้นมาประกอบด้วยนะ  

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น.
ตอบหน้าไมค์นี่แหละ  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 11, 10:17
คำถามข้อที่  ๗๖.

ใครจะคาดคิดว่า  การชี้โพรงให้กระกอก
จะทำให้โจทย์คำถามข้อนี้ ;D

คำถามนี้  พนักงานวรภาชน์ฝากถามมา
หลังจากได้อ่านกระทู้ในเรือนไทยที่อยู่ข้างเคียง

กระโถนค่อมใบนี้   เขียนภาพรามเกียรติ์ตอนใด
ตัวละครในภาพคือใครกับใคร   จงตอบ
พร้อมการวิเคราะห์ภาพมาอย่างละเอียด
อ้อ  เล่าเนื้อเรื่องตอนนั้นมาประกอบด้วยนะ  

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น.
ตอบหน้าไมค์นี่แหละ  

กระรอกพิษ !! แอบคาบกระโถนค่อมที่ข้าพเจ้าลงไว้นำมาถามประลองยุทธ ไม่ต้องชี้ให้เมื่อยตา แปะโพรงใหญ่ๆ ให้เห็นกับตาเสียเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 ก.พ. 11, 11:21
ว้า..!!!
ไวรัสลงเครื่องหนูอีกแล้วค่ะ... :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 11:43

กระรอกพิษ !! แอบคาบกระโถนค่อมที่ข้าพเจ้าลงไว้นำมาถามประลองยุทธ ไม่ต้องชี้ให้เมื่อยตา แปะโพรงใหญ่ๆ ให้เห็นกับตาเสียเลย

ตอบไปๆ  อย่าบ่น  กระโถนใบเดียวเอง
ไม่ยากเท่าไรหรอก   เห็นอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 11, 13:13
ขอตอบก่อนว่า ที่เห็น เป็นพระลักษณ์ แน่แท้เพราะกายสีทองถือพระขรรค์

ส่วนยักษ์ถือกระบองนั้นไม่แน่ใจว่าตนใด เห็นพาดผ้าขาวเหมือนถือศีลภาวนา หรือทำพิธีอะไรอยู่ มาดูยักษ์กายขาวบ้าง
 
๑. อัศธาดา
๒. ตรีเศรียร (ต่อมาถุกศรพรหมมาศปักอก จึงตกไป)
๓. สหัสเดชะ (ต่อมาถูกหนุมานฆ่า)
๔. สัสเตียน (ยิ่งใหญ่เกินไป)
๕. มารีศ (ร่างกายควรจะเป็นกวาง)
๖. ไพจิราสูร (ไม่ใช่แน่นอน)
๗. เปาวนาสูร
๘. ท้าวจักรวรรดิ์ (ไม่เข้ารบกับพระลักษณ์)

ก็เหลือ อัศธาดา กับ เปาวนาสูร ที่ควรจะสู้กัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 13:22
ตอบแบบฟันธงได้หรือยัง   กำลังนั่งลุ้นอยู่เลยเนี่ย :)



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 11, 13:31
ตอบแบบฟันธงได้หรือยัง   กำลังนั่งลุ้นอยู่เลยเนี่ย :)



เหล่านักรบหายไปหมด คุณดีดี ก็พลอยมาโดนไวรัส คุณสวนส้ม คุณตอติญา ก็พาลหายกันหมด ก็ได้แต่ตอบครึ่งๆกลางๆ ไว้ก่อน  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 16:28

เหล่านักรบหายไปหมด คุณดีดี ก็พลอยมาโดนไวรัส คุณสวนส้ม คุณตอติญา ก็พาลหายกันหมด ก็ได้แต่ตอบครึ่งๆกลางๆ ไว้ก่อน  :P

ตอบไม่ได้ล่ะสิ  หันหน้าเลิ่กลั่กตามหาพรรคพวกใหญ่เชียว
ป่านนี้  สหายคงกำลังวิ่งหาข้อมูลอยู่สมรภูมิไม่ทราบได้
แต่โปรดกลับมาเร็วๆ หน่อย  สหายไซมีส เหงาแล้วนิ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 25 ก.พ. 11, 16:35

เหล่านักรบหายไปหมด คุณดีดี ก็พลอยมาโดนไวรัส คุณสวนส้ม คุณตอติญา ก็พาลหายกันหมด ก็ได้แต่ตอบครึ่งๆกลางๆ ไว้ก่อน  :P

ตอบไม่ได้ล่ะสิ  หันหน้าเลิ่กลั่กตามหาพรรคพวกใหญ่เชียว
ป่านนี้  สหายคงกำลังวิ่งหาข้อมูลอยู่สมรภูมิไม่ทราบได้
แต่โปรดกลับมาเร็วๆ หน่อย  สหายไซมีส เหงาแล้วนิ ;D

อันนี้ยากจริง
ยักษ์กายขาวตนไหนหนอ บำเพ็ญพรต แล้วรบกับพระลักษณ์
อัศธาดา เห็นไม่ถูกน้องชายอย่างทศกัณฐ์เรียกตัวไปช่วยรบเลย
เปาวนาสูร เป็นแค่เสนายักษ์ ไม่น่าสู้กับพระลักษณ์ (แถมบางกระแสว่าหัวโล้น บางกระแสว่ามงกุฎน้ำเต้า)

คิดหนักๆ :(

แต่เอ่... ยักษ์ในกระโถนก็มีมงกุฏคล้ายๆ น้ำเต้าอยู่นา.....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 11, 16:44

เหล่านักรบหายไปหมด คุณดีดี ก็พลอยมาโดนไวรัส คุณสวนส้ม คุณตอติญา ก็พาลหายกันหมด ก็ได้แต่ตอบครึ่งๆกลางๆ ไว้ก่อน  :P

ตอบไม่ได้ล่ะสิ  หันหน้าเลิ่กลั่กตามหาพรรคพวกใหญ่เชียว
ป่านนี้  สหายคงกำลังวิ่งหาข้อมูลอยู่สมรภูมิไม่ทราบได้
แต่โปรดกลับมาเร็วๆ หน่อย  สหายไซมีส เหงาแล้วนิ ;D

อันนี้ยากจริง
ยักษ์กายขาวตนไหนหนอ บำเพ็ญพรต แล้วรบกับพระลักษณ์
อัศธาดา เห็นไม่ถูกน้องชายอย่างทศกัณฐ์เรียกตัวไปช่วยรบเลย
เปาวนาสูร เป็นแค่เสนายักษ์ ไม่น่าสู้กับพระลักษณ์ (แถมบางกระแสว่าหัวโล้น บางกระแสว่ามงกุฎน้ำเต้า)

คิดหนักๆ :(

แต่เอ่... ยักษ์ในกระโถนก็มีมงกุฏคล้ายๆ น้ำเต้าอยู่นา.....

อาร์ท ตอบไปเลย ๑.ลงสีไม่ครบ ๒.สีหลุด ๓.กระโถนปลอม

ว่าแต่ดูที่สนับเพลาพระลักษณ์ดีๆนะ เป็นลายอย่างฤาษีนะ เหมือนบำเพ็ญพรต ลองหาจับตอนเดินดงกับพระราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 17:01
อันนี้ยากจริง
ยักษ์กายขาวตนไหนหนอ บำเพ็ญพรต แล้วรบกับพระลักษณ์
อัศธาดา เห็นไม่ถูกน้องชายอย่างทศกัณฐ์เรียกตัวไปช่วยรบเลย
เปาวนาสูร เป็นแค่เสนายักษ์ ไม่น่าสู้กับพระลักษณ์ (แถมบางกระแสว่าหัวโล้น บางกระแสว่ามงกุฎน้ำเต้า)

คิดหนักๆ :(

บุราณท่านว่าไว้   ตีเหล็กต้องตีตอนกำลังร้อน
ฉันใดก็ฉันนั้น  เราจึงให้การบ้านให้ไปปวดขมองเล่น
ในช่วงสุดสัปดาห์นี้  อีก  ๑ ข้อ

คำถามข้อที่  ๗๗.
จากคำพากย์รามเกียรติ์ภาษาเขมรที่ยกมานี้  
สหายพอจักสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า  เป็นรามเกียรติ์ตอนใด
จงตอบพร้อมเล่าเรื่อง พร้อมระบุวิธีสันนิษฐานจากโจทย์ที่ให้
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบได้ตั้งแต่
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔  เวลา  ๐๙.๐๐ น.

คาบ่ยล่ยกฺสยง่ติรฺถีย         แสรกเหานรปตี
สนฺธาบ่นูวสพฺทเหาหาน

ไพรเนะชาบุรีสฺถาน           โทะโยบีมาน
สตฺวอมฺรึคยง่ฆฺนงณา

อาจมกเฎีรกฺนุงสีมา           อญนึงโภกฺฎา
จํแอตอุทรอญโหง

อิฬูวมึงพีรมกผฺคง             คาบ่อญจง่โหง
บริโภคไนมนุสฺสพิสา

โทะพังเธวีจิตฺตโกรฺธา        โนะรึงอปรา-
ชัยพีงอญแหกปีราย

ฎงโนะพฺระพิสฺณุพงฺสนารายณ์    ฉฺลาส่เฉลียอภิปฺราย
พฺระโอสฺฐพฺระสูรเทาขฺมี

เวียยกฺสยง่ยสติรฺถีย             มึงธฺลาบ่จาบ่สี
อมฺรึคสพฺพไถงโภกฺฎา

มึงพุมนึงฤทฺธิเจสฎา            เยีงพีรราชา
พนฺลึกรูเภลีงกลฺปไกร

มึงอฺวตปฺรกฺวตตไฎ             พุมนึงขฺลฺวนกฺสัย
อิฬูวเนะโหงฎฺวลแสฎง

(ขุนขพุนขรขึงคัศแขง           แสรกสฺรฺวลนูวสํแญง
สนฺธาบ่สํเบีมราชา)

กางจูลขาบ่พฺระบาทา           พฺนะหสฺตราชา
ก็กาจงฺกูมยกฺสบาก่

(เสด็จดมเสด็จชันเสด็จทัก   เสด็จจราลบีตำลัก
เสด็จแหกรวายเบาะบง

ฉามหูรเชราะเชราถลายง      โชรชลลิจลง
รูหารสมุทรชลธี

เสด็จเพจนขพุนยักษ์ฤทธี      เสด็จปีรบรบดี
รำพึงเจนจรยาตรา)

โซกดีเด้อ  สหาย  แล้วพบกันวันจันทร์ปลายเดือน
แม่ทัพขอไปนอนเล่นแถวๆ หัวหินก่อน นะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.พ. 11, 17:06

อาร์ท ตอบไปเลย ๑.ลงสีไม่ครบ ๒.สีหลุด ๓.กระโถนปลอม

ว่าแต่ดูที่สนับเพลาพระลักษณ์ดีๆนะ เป็นลายอย่างฤาษีนะ เหมือนบำเพ็ญพรต ลองหาจับตอนเดินดงกับพระราม

นี่ๆ ดูหมิ่นคำถามนะครับ   เล่นสงสัยโจทย์อย่างนี้
เดี๋ยวตัดคะแนนเสียหรอก   คิดไม่ออกแล้วเกเรนี่ 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 25 ก.พ. 11, 17:30
ว่าแต่ดูที่สนับเพลาพระลักษณ์ดีๆนะ เป็นลายอย่างฤาษีนะ เหมือนบำเพ็ญพรต ลองหาจับตอนเดินดงกับพระราม

คิดเหมียนกัลล์เลยคุณพี่ไซมีส ไม่ตอนเดินดงครั้งแรก ก็เดินดงครั้งที่สอง
มาเทียบๆ ดูแล้ว พระลักษณ์ก็ออกศึกไม่กี่หน เท่าที่เห็นนะ
1. คราวเดินดงครั้งแรก จะรู้สึกว่ามีหนเดียว
 -รบกับกุมภกาศ (แม้จะบำเพ็ญพรตเหมือนกัน แต่กายสีหงดิน ตัดทิ้งไป แม้ว่าใจอยากจะตอบอันนี้ก็ตามเถอะ)
2. คราวเดินดงครั้งที่สอง ก็มีอีกครั้งเดียว
 -รบกับตรีปักกัน (กายสีเขียวแก่ ตัดทิ้ง)

ยิ่งหนักไปกันใหญ่เลย ???
อันนี้ยากจริง
ยักษ์กายขาวตนไหนหนอ บำเพ็ญพรต แล้วรบกับพระลักษณ์
อัศธาดา เห็นไม่ถูกน้องชายอย่างทศกัณฐ์เรียกตัวไปช่วยรบเลย
เปาวนาสูร เป็นแค่เสนายักษ์ ไม่น่าสู้กับพระลักษณ์ (แถมบางกระแสว่าหัวโล้น บางกระแสว่ามงกุฎน้ำเต้า)

คิดหนักๆ :(

บุราณท่านว่าไว้   ตีเหล็กต้องตีตอนกำลังร้อน
ฉันใดก็ฉันนั้น  เราจึงให้การบ้านให้ไปปวดขมองเล่น
ในช่วงสุดสัปดาห์นี้  อีก  ๑ ข้อ

คำถามข้อที่  ๗๗.
จากคำพากย์รามเกียรติ์ภาษาเขมรที่ยกมานี้ 
สหายพอจักสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า  เป็นรามเกียรติ์ตอนใด
จงตอบพร้อมเล่าเรื่อง พร้อมระบุวิธีสันนิษฐานจากโจทย์ที่ให้
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบได้ตั้งแต่
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔  เวลา  ๐๙.๐๐ น.

คาบ่ยล่ยกฺสยง่ติรฺถีย         แสรกเหานรปตี
สนฺธาบ่นูวสพฺทเหาหาน

นี่ก็อีกข้อ
ดูท่าต้องไป "อ่าน เขียน เรียนขอม" แล้วกระมั้ง
เอ่.. หรืออยากให้หนังสือกรมศิลป์ขายได้ก็ไม่รู้สินะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.พ. 11, 08:35
คำถามข้อที่  ๗๖.

ใครจะคาดคิดว่า  การชี้โพรงให้กระกอก
จะทำให้โจทย์คำถามข้อนี้ ;D

คำถามนี้  พนักงานวรภาชน์ฝากถามมา
หลังจากได้อ่านกระทู้ในเรือนไทยที่อยู่ข้างเคียง

กระโถนค่อมใบนี้   เขียนภาพรามเกียรติ์ตอนใด
ตัวละครในภาพคือใครกับใคร   จงตอบ
พร้อมการวิเคราะห์ภาพมาอย่างละเอียด
อ้อ  เล่าเนื้อเรื่องตอนนั้นมาประกอบด้วยนะ  

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น.
ตอบหน้าไมค์นี่แหละ  

เทวาเข้ามาบอกว่า "ของโบราณสีอาจจะจางได้" จึงได้รีบลุกมาเปิดตำราอ้างถึง อีกทั้งการแต่งกายของฝ่ายยักษ์นุ่มผ้าเหมือนกระทำพิธีสักอย่าง และสนับเพลาพระลักษณ์นั้นก็นุ่งอย่างลายเสือ อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้มีกระบอง กับ พระขรรค์ รายล้อมด้วยป่าไม้ โขดหิน

"พระลักษณ์ได้พระขรรค์ ต่อสู้กับ กุมภากาศ"

เนื่องจากในขณะนั้นกุมภกาศได้ตั้งโรงพิธีขอพรจาก พระพรหม เพื่อขอพระขรรค์เทพศัตรา แต่เนื่องจากพระพรหมท่านมีธุระสำคัญจึงมิได้เหาะลงมามอบด้วยพระองค์เองแต่ได้ทิ้งพระขรรค์ลงมาข้างโรงพิธีของกุมภกาศที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรีจึงทำให้กุมภกาศโกรธมากต่อว่าพระพรหมว่าไม่ให้เกียรติ

และระหว่างนั้นพระรามและพระลักษมณ์ได้มาประทับที่ศาลาริมแม่น้ำโคทาวรี พระลักษมณ์ได้เสด็จออกมาหาอาหารระหว่างทางได้พบกับพระขรรค์เทพศัตรา ของพระพรหมที่ทรงทิ้งลงมาให้แก่กุมภกาศพระลักษมณ์จึงทรงยกพระขรรค์ขึ้นมาทำให้แสงของพระขรรค์ไปเข้าตาของกุมภกาศจึงได้ออกมาต่อสู้กับพระลักษมณ์เพื่อแย่งชิงพระขรรค์  ในที่สุดกุมภกาศจึงถูกพระลักษมณ์ฆ่าตายด้วยพระขรรค์เทพศัตรา

ซึ่งเป็นที่มาของกระโถนค่อมตามภาพครับ  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.พ. 11, 10:40
อันนี้ยากจริง
ยักษ์กายขาวตนไหนหนอ บำเพ็ญพรต แล้วรบกับพระลักษณ์
อัศธาดา เห็นไม่ถูกน้องชายอย่างทศกัณฐ์เรียกตัวไปช่วยรบเลย
เปาวนาสูร เป็นแค่เสนายักษ์ ไม่น่าสู้กับพระลักษณ์ (แถมบางกระแสว่าหัวโล้น บางกระแสว่ามงกุฎน้ำเต้า)

คิดหนักๆ :(

บุราณท่านว่าไว้   ตีเหล็กต้องตีตอนกำลังร้อน
ฉันใดก็ฉันนั้น  เราจึงให้การบ้านให้ไปปวดขมองเล่น
ในช่วงสุดสัปดาห์นี้  อีก  ๑ ข้อ

คำถามข้อที่  ๗๗.
จากคำพากย์รามเกียรติ์ภาษาเขมรที่ยกมานี้  
สหายพอจักสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า  เป็นรามเกียรติ์ตอนใด
จงตอบพร้อมเล่าเรื่อง พร้อมระบุวิธีสันนิษฐานจากโจทย์ที่ให้
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบได้ตั้งแต่
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔  เวลา  ๐๙.๐๐ น.

คาบ่ยล่ยกฺสยง่ติรฺถีย         แสรกเหานรปตี
สนฺธาบ่นูวสพฺทเหาหาน

ไพรเนะชาบุรีสฺถาน           โทะโยบีมาน
สตฺวอมฺรึคยง่ฆฺนงณา

อาจมกเฎีรกฺนุงสีมา           อญนึงโภกฺฎา
จํแอตอุทรอญโหง

อิฬูวมึงพีรมกผฺคง             คาบ่อญจง่โหง
บริโภคไนมนุสฺสพิสา

โทะพังเธวีจิตฺตโกรฺธา        โนะรึงอปรา-
ชัยพีงอญแหกปีราย

ฎงโนะพฺระพิสฺณุพงฺสนารายณ์    ฉฺลาส่เฉลียอภิปฺราย
พฺระโอสฺฐพฺระสูรเทาขฺมี

เวียยกฺสยง่ยสติรฺถีย             มึงธฺลาบ่จาบ่สี
อมฺรึคสพฺพไถงโภกฺฎา

มึงพุมนึงฤทฺธิเจสฎา            เยีงพีรราชา
พนฺลึกรูเภลีงกลฺปไกร

มึงอฺวตปฺรกฺวตตไฎ             พุมนึงขฺลฺวนกฺสัย
อิฬูวเนะโหงฎฺวลแสฎง

(ขุนขพุนขรขึงคัศแขง           แสรกสฺรฺวลนูวสํแญง
สนฺธาบ่สํเบีมราชา)

กางจูลขาบ่พฺระบาทา           พฺนะหสฺตราชา
ก็กาจงฺกูมยกฺสบาก่

(เสด็จดมเสด็จชันเสด็จทัก   เสด็จจราลบีตำลัก
เสด็จแหกรวายเบาะบง

ฉามหูรเชราะเชราถลายง      โชรชลลิจลง
รูหารสมุทรชลธี

เสด็จเพจนขพุนยักษ์ฤทธี      เสด็จปีรบรบดี
รำพึงเจนจรยาตรา)

โซกดีเด้อ  สหาย  แล้วพบกันวันจันทร์ปลายเดือน
แม่ทัพขอไปนอนเล่นแถวๆ หัวหินก่อน นะ ;D

ในบทความมีการกล่าวถึง ป่าอันเป็นเมืองสถาน เปรียบดังทิพยวิมาน แต่ต้องเสียเมืองไป มาอยู่ในป่าเดินดง เป็นมนุษย์สองขา เจอ “จํเอตอุทรอยโหง” ท้องอันใหญ่โต
พระองค์เป็นพระวิษณุอวตาร มีความฉลาดหลักแหลม มีวาจาอันไพเราะ มารู้ตัวอีกทีก็เห็นจะเป็นบทข้ามห้วย (เชรา แปลว่าห้วย) และข้ามมหาสมุทร เสด็จไปปราบยักษ์
ขอตอบตอนว่า “พระรามฆ่ายักษ์อสุรกุมพล”
หลังจากที่พระรามได้ตามกวางมารีศเข้าป่าไป ทศกัณฐ์ได้เข้ามาชิงตัวนางสีดาจากอาศรม ระหว่างนั้นเจอนกสดายุเข้าขัดขวางแต่สู้กำลังไม่ได้ ทศกัณฐ์จึงได้ถอดแหวนจากนางสีดา ขว้างไปยังนกสดายุจนปีกหักตกพื้น ส่วนพระรามหลังจากนั้นได้ฆ่ามารีศแล้วกลับอาศรม ระหว่างทางได้พบพระลักษณ์ จึงพร้อมกันออกตามหานางสีดา และได้มาพบนกสดายุปีกหักและเล่าเรื่องทศกัณฐ์ลักนางสีดาไปพร้อมกับนำแหวนนางสีดามาให้ดู แล้วนกสดายุก็ขาดใจตาย ระหว่างทางพระรามและพระลักษณ์ได้พบยักษ์อสุรกุมพล ซึ่งถูกพระอิศวรสาปไว้เนื่องจากไปหยอกเย้านางฟ้านิลมาลี ท่านจึงเอาจักรตัดกายเหลือแต่ท่อนบน ทนทุกข์มากว่าหกหมื่นปี ซึ่งความว่านะพ้นคำสาปได้ต้องมาเจอพระราม จึงจะแก้คำสาปได้
หลังจากนั้นยักษ์อสุรกุมพลก็ได้บอกทางไปยังเมืองลงกา หลังจากนั้นพระรามก็ได้แผลงศรพรหมาสาตร์ถุกอสุรกุมภพตายจึงพ้นคำสาป หลังจากนั้นพระรามและพระลักษณ์จึงเดินทางต่อไปและหนุมานเริ่มเข้ามาถวายตัวต่อไป

๖๘๒ พระชวนอนุชาดั้น      ดงเดิน
ข้ามเฃตรสิงฃรเขิน      โขดเค้า
ไปชมพนมเนิน      พนาเวศ
ถวิลบวายคลายเศร้า      โศกซึ้งคนึงสมร ฯ
      
      
๖๘๓ กุมพลคนโปรดเจ้า      โลกี
ลอบหยอกนิลมาลี      ท่านรู้
คว่างจักรตัดนาภี      ขาดสาป ซ้ำแฮ
ต่อพบพาสุเทพกู้      กลับให้ไปสวรรค์ ฯ
      
      
๖๘๔ กุมภัณฑ์มีฤทธิเรื้อง      เดโช
แต่รูปครึ่งตนโค      เติบเตื้อง
จับถึกมฤคโค      เข้าเฃตร กินแฮ
ตามสาปแต่บาปเบื้อง      บ่มเศร้าโศกสนอง ฯ
      
      
๖๘๕ อดิศรสองราชเฃ้า      เฃตรมาร
ยักษกระหยิ่มใจทยาน      อยากเคี้ยว
ขยดจับกลับบันดาน      แดพรั่น
ฉงนจิตรคิดเชดเขี้ยว      ขยับย้อนยุบลถาม ฯ
      
      
๖๘๖ พระรมดิลกแจ้ง      แก่มาร
กูอวตารผลาญ      เผ่าเสี้ยน
ตามมิ่งมหาศาล      ไปปราบ อสูรเฮย

๖๘๗ แทตย์ทูลไขขษณต้อง      โทษา สยมแฮ
ถวายนิเทศลงกา      เกาะแก้ว
ทศภักตรลักสีดา      ด่วนรีบ ไปเฮย
เชิญเสดจขีดขินแล้ว      จักรู้ทางไป ฯ
      
      
๖๘๘ พระจักได้พานเรศล้วน      เทวินทร์
จุติเป็นโยธิน      ทาศร้า
ชมพูและขีดขิน      สองนะ ครแฮ
แต่พระเอนดูฃ้า      โปรดให้ไปสวรรค์ ฯ
      
      
๖๘๙ พระตรีภูวนารถได้      สดับสาร
เสี่ยงพระแสงแผลงผลาญ   ส่งฟ้า
กุมพลดับปราณหาญ      เหาะกลับ สวรรค์แฮ
โทธิเบศเกษหล้า      รีบดั้นดงพนานต์ ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.พ. 11, 11:06
แกะความ

คาบ่ยล่ยกฺสยง่ ติรฺถียสัตว์ร้าย       แสรกเหานรปตี
สนฺธาบ่นูวสพฺทเหาหาน

ไพรป่าเนะชาบุรีสฺถานเมืองสถานที่           โทะโยบีมานทยะพิมาน
สตฺวอมฺรึคยง่ฆฺนงณา

อาจมกเฎีรดำเนินกฺนุงสีมาอาณาเขต           อญนึงโภกฺฎา
จํแอตอุทรท้องอญโหง

อิฬูวมึงพีรเพียรมกผฺคง             คาบ่อคาปากบ่อญจง่โหง
บริโภคกินไนมนุสฺสมนุษย์พิสา

โทะพังเธวีจิตฺตโกรฺธาจิตด้วยความโกรธ   โนะนะรึงอปรา-อัปราชัย
ชัยพีงอญแหกปีราย

ฎงโนะพฺระพิสฺณุพงฺสนารายณ์ พระพิษณุพงศ์นารายณ์    ฉฺลาส่เฉลียอภิปฺรายฉลาดเฉลียวอภิปราย
พฺระโอสฺฐปากพฺระสูรคำพูดเทาขฺมี

เวียยกฺสยง่ยสติรฺถีย             มึงธฺลาบ่จาบ่สี
อมฺรึคสพฺพไถงโภกฺฎา

มึงพุมนึงฤทฺธิเจสฎา            เยีงพีรราชาเยี่ยงพีระราชา
พนฺลึกรูเภลีงกลฺปไกร

มึงอฺวตอวตารปฺรกฺวตตไฎ             พุมนึงขฺลฺวนกฺสัย
อิฬูวเนะโหงฎฺวลแสฎง

(ขุนขพุนขรขึงคัศแขง           แสรกสำแดงสฺรฺวลหัวเราะ ยิ้มนูวสํแญง
สนฺธาสนทนาบ่สํเบีมราชา)

กางจูลขาบ่พฺระบาทา           พฺนะหสฺตราชา
ก็กาจงฺกูมยกฺสบาก่

(เสด็จดมเสด็จชันเสด็จทัก   เสด็จจราลบีตำลัก
เสด็จแหกรวายเบาะบง

ฉามหูรเชราะเชราซอกห้วย,ผาถลายง      โชรชลลิจลง
รูหารสมุทรชลธี

เสด็จเพจนขพุนยักษ์ฤทธี      เสด็จปีรบรบดี
รำพึงเจนจรยาตรา)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 ก.พ. 11, 11:14
คราวนี้ไม่ทันคุณไซมีสเสียแล้ว เก็บทีเดียว 2 ข้อเลย

อุตส่าห์รู้คำตอบมาแต่เมื่อคืนนี้แล้วเชียว
อดเสียดายไม่ได้ แย่ๆๆๆๆ ;D

คราวหน้าไม่ยกให้แน่
5555555
(หัวเราะแบบตัวโกง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.พ. 11, 11:24
คราวนี้ไม่ทันคุณไซมีสเสียแล้ว เก็บทีเดียว 2 ข้อเลย

อุตส่าห์รู้คำตอบมาแต่เมื่อคืนนี้แล้วเชียว
อดเสียดายไม่ได้ แย่ๆๆๆๆ ;D

ไม่เป็นไร ดูพระราม แผลงศรอัคนิบาต เกิดเป็นไฟ เผาศพให้นกสดายุไปพลางก่อน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.พ. 11, 08:11
คำถามข้อที่  ๗๖. คุณไซมีสตอบมาว่า



เทวาเข้ามาบอกว่า "ของโบราณสีอาจจะจางได้" จึงได้รีบลุกมาเปิดตำราอ้างถึง อีกทั้งการแต่งกายของฝ่ายยักษ์นุ่มผ้าเหมือนกระทำพิธีสักอย่าง และสนับเพลาพระลักษณ์นั้นก็นุ่งอย่างลายเสือ อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้มีกระบอง กับ พระขรรค์ รายล้อมด้วยป่าไม้ โขดหิน

"พระลักษณ์ได้พระขรรค์ ต่อสู้กับ กุมภากาศ"

เนื่องจากในขณะนั้นกุมภกาศได้ตั้งโรงพิธีขอพรจาก พระพรหม เพื่อขอพระขรรค์เทพศัตรา แต่เนื่องจากพระพรหมท่านมีธุระสำคัญจึงมิได้เหาะลงมามอบด้วยพระองค์เองแต่ได้ทิ้งพระขรรค์ลงมาข้างโรงพิธีของกุมภกาศที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรีจึงทำให้กุมภกาศโกรธมากต่อว่าพระพรหมว่าไม่ให้เกียรติ

และระหว่างนั้นพระรามและพระลักษมณ์ได้มาประทับที่ศาลาริมแม่น้ำโคทาวรี พระลักษมณ์ได้เสด็จออกมาหาอาหารระหว่างทางได้พบกับพระขรรค์เทพศัตรา ของพระพรหมที่ทรงทิ้งลงมาให้แก่กุมภกาศพระลักษมณ์จึงทรงยกพระขรรค์ขึ้นมาทำให้แสงของพระขรรค์ไปเข้าตาของกุมภกาศจึงได้ออกมาต่อสู้กับพระลักษมณ์เพื่อแย่งชิงพระขรรค์  ในที่สุดกุมภกาศจึงถูกพระลักษมณ์ฆ่าตายด้วยพระขรรค์เทพศัตรา

ซึ่งเป็นที่มาของกระโถนค่อมตามภาพครับ  ;)

ถูกต้องตามที่ตอบมา   เอาไป ๑๐ คะแนน  แหม ลุ้นแทบแย่

ในระหว่างวันที่ ๒๘ ก.พ. - ๑ มี.ค. ๒๕๕๔  ผมมีกิจต้องไปปฏิบัตินอกสถานที่
ทำให้ไม่สามารถติดตามกระทู้ได้อย่างเคย   จึงของดตั้งคำถามไว้สักระยะ
แต่ถ้ามีเวลามากพอก็ตั้งคำถามเอาไว้สักข้อสองข้อ  พอให้นักรบคลายเหงาสมองได้บ้าง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.พ. 11, 08:26
ส่วนข้อที่ ๗๗. นั้น
คุณไซมีสตอบมาว่า เป็นตอนพระรามสังหารอสุรกุมพล
ก็ถูกต้องตามนั้น  เอาไป ๑๐  คะแนน

แต่ที่ลองแกะความนั้น   พลาดหลายแห่งนะครับ

คาบ่ยล่(ยล-มองดู)ยกฺส(ยักษ์)ยง่ติรฺถีย         แสรกเหา(-ว่า)นรปตี
สนฺธาบ่(สำทับ)นูว(ด้วย)สพฺท(ศัพท์)เหาหาน(ห้าวหาญ)

ไพรเนะ(-นี้)ชา(-เป็น)บุรีสฺถาน           โทะโยบีมาน
สตฺวอมฺรึค(-มฤค,กวาง)ยง่ฆฺนง(คะนอง)ณา

อาจมก(-มา)เฎีร(เดิร)กฺนุง(-ใน)สีมา(-เขต)          อญ(-ข้า)นึง(-กับ)โภกฺฎา(-กิน)
จํแอตอุทรอญโหง

อิฬูวมึงพีร(-สอง)มกผฺคง             คาบ่อญจง่โหง
บริโภคไนมนุสฺสพิสา

โทะพังเธวี(-ทำ)จิตฺตโกรฺธา        โนะรึงอปรา-
ชัยพีงอญแหกปีราย

ฎงโนะ(-เมื่อนั้น)พฺระพิสฺณุพงฺสนารายณ์    ฉฺลาส่(-ฉลาด)เฉลีย(-เฉลย,พูด)อภิปฺราย
พฺระโอสฺฐพฺระสูรเทาขฺมี(-ไปพลัน)

เวียยกฺสยง่ยสติรฺถีย             มึงธฺลาบ่จาบ่สี(-กิน)
อมฺรึคสพฺพไถงโภกฺฎา
(ถอดให้ดูเท่านี้พอ  อยากรู้ความที่เหลือ
ให้ไปหาหนังสือคำพากย์รามเกียรติ์เล่ม ๓ ของกรมศิลปากรมาอ่านเถิด)

มึงพุมนึงฤทฺธิเจสฎา            เยีงพีรราชา
พนฺลึกรูเภลีงกลฺปไกร

มึงอฺวตปฺรกฺวตตไฎ             พุมนึงขฺลฺวนกฺสัย
อิฬูวเนะโหงฎฺวลแสฎง

(ขุนขพุนขรขึงคัศแขง           แสรกสฺรฺวลนูวสํแญง
สนฺธาบ่สํเบีมราชา)

กางจูลขาบ่พฺระบาทา           พฺนะหสฺตราชา
ก็กาจงฺกูมยกฺสบาก่

(เสด็จดมเสด็จชันเสด็จทัก   เสด็จจราลบีตำลัก
เสด็จแหกรวายเบาะบง

ฉามหูรเชราะเชราถลายง      โชรชลลิจลง
รูหารสมุทรชลธี

เสด็จเพจนขพุนยักษ์ฤทธี      เสด็จปีรบรบดี
รำพึงเจนจรยาตรา)

คำที่ไขชื่อตอนนี้คือ คำว่า ขพุน ซึ่งเป็นชื่อยักษ์
คำนี้ในรามเกียรติ์ฉบับกัมพูชา ใช้ว่า กพนฺธ  ซึ่งตรงกับ กพนฺธ ในรามายณะ
แต่ผมเพิ่มความยากขึ้นโดยยกเอาคำพากย์รามเกียรติ์เขมรฉบับไทยมาใส่แทน
โดยใส่วงเล็บแยกต่างหาก   ทำให้เดายากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 มี.ค. 11, 08:15
คำถามข้อที่  ๗๘.

allusion  คือ  การอ้างถึง เป็นศัพท์วรรณกรรม
หมายถึงการกล่าวถึงเรื่องอื่นนอกเรื่องที่เขียน
เช่นกล่าวถึงบุคคล  เหตุการณ์  นิทาน หรือวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ 

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งที่มีการอ้างถึงไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง
ตัวอย่างเช่น

บุญเจ้าจอมภพพื้น         แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม       ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม        รอนราพณ์  แลฤา
ราญอริราชแผ้ว              แผกแพ้ทุกภาย

ไพรินทรนาศเพี้ยง          พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร          แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ     รอฤทธิ์  พระฤา
ดาลตระดกเดชลี้            ประลาตเหล้าแหล่งสถาน

จากลิลิตตะเลงพ่าย  พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

นักรบทั้งหลาย   จงหาตัวอย่างการอ้างถึงเรื่องรามเกียรติ์ในวรรณคดีไทยเรื่องต่างๆ
พร้อมอ้างอิงด้วยว่าเอามาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครเป็นคนแต่งวรรณคดีเรื่องนั้น
ยกมา ๕  ตัวอย่าง  อย่าให้ซ้ำกัน   ตัวอย่างละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  (เปลี่ยนจากหน้าไมค์)
ใครตอบเกิน  หักตัวอย่างละ  ๒ คะแนน  ตอบซ้ำ  หัก  ๑  คะแนน 
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.  ขอให้โชคดี ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 มี.ค. 11, 11:00
ตอบหน้าม่านดังนี้

“เล่าเรื่องในก่อนกาล      พระอวตาลตามสีดา
ทศภักตร์พาลอบหนี      พระจักกรีติดตาม
บุกป่าหนามข้ามศิงขร      ได้พานรเป็นพล
จองถนนข้ามคงคา      ถึงลาการอญราพ
พวกสัตวบาปแบหลา      ได้สีดาเหมือนหมาย
องค์นารายณ์คืนกลับ      ประทับฝั่งสาคร
แล้วแผลงศรตัดถนน      ให้สาชลหลั่งหลาม
เรียกถนนพระรามสืบมา      ทั้งสองราเล่าถวาย”

จากลิลิตพระฦา แต่งโดยหลวงศรีมโหสถ (กลัด)
๏ พระคุณพระครอบฟ้า      ดินขาม
พระเกียรติพระไกรแผน      ผ่านฟ้า
พระฤทธิพ่างพระราม      รอนราพ ไส้แฮ
พระก่อพระเกื้อหล้า      หลากสวรรค์ ฯ

      
๏ การบุญการบาปแท้      ทุกการ
การท่ยงธรรมาธรรม์      ถ่องถ้วน
ล่วงบาลบาลบร      ทุกเทศ ก็ดี
ล่วงโทษล่วงคุณล้วน      เลิศราม ฯ

๏ ชยชยยศโยศเจ้า      จักรกรี
ไกรเทพศรีสาคร      เฟื่องหน้า
ชยชยเมื่อพูนศรี      นางนาฏ
ชยบพิตรพ้นฟ้า      เพื่อมมา ฯ
      
๏ ชยชยอำนาจท้าว      คือราม
รอนราพล่วงลงกา      แผ่นแผ้ว
ชยชยดิ่งติดตาม      มารมารค นั้นฤๅ
ชยชำนะได้แก้ว      ครอบครอง ฯ

จากลิลิตยวนพ่าย ไม่ปรากฎผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

๏ นาเวศดื่นกลาดหลาย เร่งพลพายคลาดคลา ถึงบางหว้าบางค้อ จรดวัดต่อจอมทอง ถับถึงคลองขุนเทียน ชะวากทุ่งเตียนปทุมน้อย คลองสวนอ้อยปทุมใหญ่ ดลวัดไทรบางมด จรจรดบ้านตะพุ่น นํ้าขอดขุ่นรำคาญ ล่วงระยะบ้านบางระแนะ ล้วนแค่นแคะหากิน เถื่อนแถวถิ่นเยงโยง ถึงสำโรงบางบอน สวนเชิงดอนแนวตลิ่ง ถึงวัดสิงห์บางสิบบาท นาเวศคลาดบางกก วัดร้างรกดูมลาก ถึงวัดนากวัดเลา แล้วนาเจ้ารามลักษมณ์ ดลตลิ่งหักท่าข้าม ฝั่งรำรามมากมี ลุคลองศีรษะกระบือ ล้วนพงปรือพงแฝก พงแขมแทรกพงคา แต่พงหญ้าพงเลา ล่วงถึงเสาพรมแดน อำเภอกำหนดแคว้นพระราชสีมา ท่านนา ฯ
จากร่ายลิลิตเสด็จไปขัดทัพพม่าเมืองกาญจน์ ๒๓๖๓ พระราชนิพนธ์: สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ

๏ เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม      สิบหน้าเจ้าอสูรช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร      แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู ฯ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ ไม่ปรากฎผู้แต่งสันนิษฐานว่าคงให้พวกพราหมณ์แต่งขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง

๏ ชะปดแล้วปดเล่าเฝ้าแต่ปด      ช่างเลี้ยวลดยืนยาวเป็นราวเรื่อง
ยิ่งให้หลอกแล้วก็หลอกอยู่เนืองเนือง      ราวกับเรื่องรามเกียรติ์เจียวสาลิกา
แต่แรกบอกว่าออกไปหลอกพ่อ      ประดิษฐ์ต่อข้อกลอนมาย้อนว่า
พ่อร้อยลิ้นกินหวานน้ำตาลทา      กินข้าวปลาเสียเถิดเจ้าข้าเข้าใจ
อนิจจาไม่ว่าเปล่าหนาเจ้าแม่      แม้นไม่แน่แล้วจงฟัดให้ตัดษัย
พยานลูกเอามาพิงไว้กิ่งไทร      ไม่เชื่อใจฉันจะอ้างต้นกร่างทอง
พูดพลางทางบินไปต้นไทรใหญ่      จับกิ่งไทรไพรศรีไม่มีสอง
ก็สมใจไม่วิตกนกขุนทอง      มาคาบตองไปถวายนางเทวี
เจ้างามพริ้มยิ้มหยิบใบตองอ่อน      เห็นอักษรเรื่องราชสารศรี
เป็นความขำตามคำสกุณี      พระหัตถ์คลี่นิ่งอ่านสำราญใจ ฯ

เรื่องโคบุตร แต่งโดยสุนทรภู่



๏ ปางปิ่นขีดขินบุเรศ      ผู้สมเยศพาลี
สู้เสียสละชี      พิตรเพื่อสงวนกาย
๏ แผลแผลงแท่งพรหมาสตร์      แต่ผมพาดฤาพานรคาย
กุมศรตรัสเรียกสาย      สวาทคู่คัพโภทร
๏ สุครีพพระนุชน้อง      ธพร่ำพร้องนุสนธ์สอน
อ้าพี่จะเมื่อมรณ์      อาลัยหลั่งจักสั่งสาร
๏ สูเนากับโอรส      คือองคททั้งอาว์หลาน
ฉลองเรณุบทมาลย์      บำเรอรักษ์พระจักรา

ฉันท์พาลีสอนน้อง ผู้แต่งสันนิษฐานว่าพระนิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 มี.ค. 11, 11:10
คำถามข้อที่  ๗๘.

allusion  คือ  การอ้างถึง เป็นศัพท์วรรณกรรม
หมายถึงการกล่าวถึงเรื่องอื่นนอกเรื่องที่เขียน
เช่นกล่าวถึงบุคคล  เหตุการณ์  นิทาน หรือวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ  

นักรบทั้งหลาย   จงหาตัวอย่างการอ้างถึงเรื่องรามเกียรติ์ในวรรณคดีไทยเรื่องต่างๆ
พร้อมอ้างอิงด้วยว่าเอามาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครเป็นคนแต่งวรรณคดีเรื่องนั้น
ยกมา ๕  ตัวอย่าง  อย่าให้ซ้ำกัน   ตัวอย่างละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  (เปลี่ยนจากหน้าไมค์)
ใครตอบเกิน  หักตัวอย่างละ  ๒ คะแนน  ตอบซ้ำ  หัก  ๑  คะแนน  
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.  ขอให้โชคดี ;D

1. กาพย์ห่อโคลง
แต่งโดย พระศรีมโหสถ
๏ เกลือกเกลื่อนเหมือนพาลี         ได้มารศรีปรีปึงไป
ฝากน้องต้องติดใจ                    พิศสมัยอยู่คู่เคียงเอง ฯ
๏ เกลือกเหมือนเงื่อนเมื่อครั้ง        พาลี
รับนุชอุดมศรี                         ฝากน้อง
เสียสัตย์ตัดชนม์ชี                    พิตรนาศ
เอาเองเพลงปืนต้อง                  ท่าวล้มไลลาญ ฯ

2. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
แต่งโดย เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
๏ กะเช้าเจ้าบรรจง                   ปากแฉกตรงทรงหาบหาม
แล่งปืนของพระราม                  รูปงามดีมีสืบมา ฯ
๏ กะเช้านางแต่งเจ้า                  ผจงงาม
ปากแฉกทรงหาบหาม                ห่วงห้อย
แล่งปืนของพระราม                  ยังอยู่
รูปร่างงามน้อยน้อย                  งอกขึ้นสืบมา ฯ

3. บทละครเรื่อง อุณรุทร้อยเรื่อง
แต่งโดย คุณสุวรรณ
๏ เมื่อนั้น                            กุมภกรรฐ์คำนับรับบรรหาร
กับพระคาวีปรีชาชาญ                รับสั่งแล้วคลานออกมา
........................                 ........................
๏ เมื่อนั้น                             วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ
ยี่สิบกรกุมศรพระอวตาร              สิบโอษฐสั่งสารสุวิญชา

4. นิราศเกาะแก้วกาลกัตตา
แต่งโดย พระราชสมบัติ (การเวก รัตนกุล)
เขาเรียกถ้ำพาลีที่ตรงนั้น              มีสำคัญมั่นคงไม่สงไสย
เมื่อรบกับทรพีก็มีไชย                 โลหิตไหลนองถ้ำดังลำธาร
..........................               .............................
อันสภาพบ้านเมืองของพาลี            เห็นแต่ที่ดูเขินเปนเนินดิน
แต่ศีศะทรพียังมีอยู่                    ชวนกันดูเหมือนควายกลายเป็นหิน
ลงทอดทิ้งพิงถ้ำตำแผ่นดิน            ก็เห็นสิ้นสมกล่าวที่เล่ามา

5. โคลงนิราศพระยาตรัง
แต่งโดย พระยาตรัง
๏ ปางโฉมราเมศน้าว                  ศรทรง
แผลงราบวายชีพลง                   แหลกหลู้
เสร็จศึกสีดาคง                        คืนบาท พระนา
ศึกที่ทรวงเรียมสู้                      รบแพ้ฤๅถอย ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 มี.ค. 11, 16:36
คุณไซมีส  ตอบถูก ๒ ตัวอย่างแรก  ที่เหลือ ไม่เข้าเกณฑ์  เอาไป  ๔ คะแนน

คุณอาร์ท  ตอบเข้าเกณฑ์ข้อ ๑ ๔  ๕  ข้อที่เหลือผิด  เอาไป ๖ คะแนน 

จะแก้ตัวไหม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 มี.ค. 11, 17:15
คุณไซมีส  ตอบถูก ๒ ตัวอย่างแรก  ที่เหลือ ไม่เข้าเกณฑ์  เอาไป  ๔ คะแนน

คุณอาร์ท  ตอบเข้าเกณฑ์ข้อ ๑ ๔  ๕  ข้อที่เหลือผิด  เอาไป ๖ คะแนน 

จะแก้ตัวไหม

ทามมายผิด
ช่วยชี้แจงแถลงไข


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 01 มี.ค. 11, 17:21
คำถามข้อที่  ๗๘.

allusion  คือ  การอ้างถึง เป็นศัพท์วรรณกรรม
หมายถึงการกล่าวถึงเรื่องอื่นนอกเรื่องที่เขียน
เช่นกล่าวถึงบุคคล  เหตุการณ์  นิทาน หรือวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ
นักรบทั้งหลาย   จงหาตัวอย่างการอ้างถึงเรื่องรามเกียรติ์ในวรรณคดีไทยเรื่องต่างๆ
พร้อมอ้างอิงด้วยว่าเอามาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครเป็นคนแต่งวรรณคดีเรื่องนั้น
ยกมา ๕  ตัวอย่าง  อย่าให้ซ้ำกัน   ตัวอย่างละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  (เปลี่ยนจากหน้าไมค์)
ใครตอบเกิน  หักตัวอย่างละ  ๒ คะแนน  ตอบซ้ำ  หัก  ๑  คะแนน  
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.  ขอให้โชคดี  

ขอตอบค่ะ   ;D

1.   กากีกลอนสุภาพ
ผู้แต่ง: เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
จะหาทรงสุดวงศ์กษัตริย์สิ้น      จะหากลิ่นสามภพไม่หอมถึง
พระสะอื้นรัญจวนครวญตะนึง      ถึงเมื่อราเมศร้างแรมสีดา
ยังได้ข่าวทศพักตร์มันลักนุช      ข้ามสมุทรไปนครของยักษา
พระหริวงศ์กับองค์อนุชา      ได้โยธาพานรินทร์ก็รีบตาม
จองถนนยกพลพยุหทัพ      ไปตั้งรับชิงชัยในสนาม
ล้างอสูรแหลกลงในสงคราม      ได้นงรามคืนยังอยุธยา
ปางพระไทรโอบอุ้มอนิรุธ      ไปสมสุดสวาทสร้อยศรีอุษา
แล้วพาพรากจากรักภิรมยา      ให้สองรานิราศร้างกันกลางคัน


2.   โคลงนิราศรัตนะ
พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิเคราะห์ไปให้เห็นเหมือนเช่นยักษ์      เมื่อทศภักตร์ประน้ำมนต์ด้นมาหา
ต่างกวัดแกว่งแสงศรแลคทา      พยักหน้าเต้นโลดโดดทยาน
พระรามแผลงศรไปเป็นข่ายล้อม      ให้วงอ้อมกันไว้ไม่ประหาร
ยิ่งดูดูก็ยิ่งเบื่อเหลือรำคาญ      ต้องคิดอ่านกลับห้องท้องนาวา


3.   ราชาพิลาป
ผู้แต่ง: พระโหราธิบดี
 จักร่ำปางเมื่อนรา      นเรศนิรา
นิราศสีดาดวงมาลย์       
เสด็จสององค์นุชยุพาล      ยุพามหิบาล
เต้าแถวพนาสณฑ์พลางยล       

4.   เพลงยาวถวายโอวาท
ผู้แต่ง: สุนทรภู่
จงอยู่ดีศรีสวัสดิ์พิพัฒน์ผล                ให้พระชนม์ยั่งยืนหมื่นพรรษา  
ได้สืบวงศ์พงศ์มกุฏอยุธยา                บำรุงราษฎร์ศาสนาถึงห้าพัน  
เหมือนสององค์ทรงนามพระรามลักษณ์   เป็นปิ่นปักปกเกศทุกเขตขัณฑ์  
ประจามิตรคิดร้ายวายชีวัน                 เสวยชั้นฉัตรเฉลิมเป็นเจิมจอม  
จะไปจากสมเด็จพระเชษฐา               จงรักพระอนุชาอุตส่าห์ถนอม  
พระองค์น้อยคอยประณตนิ่งอดออม       ทูลกระหม่อมครอบครองกันสององค์  
      
5.   สุภาษิตสอนหญิง
ผู้แต่ง: สุนทรภู่
จงซื่อต่อภัสดาสวามี      จนชีวีศรีสวัสดิ์เจ้าตัดษัย
อย่าให้มีราคินที่กินใจ      อุปไมยเหมือนอนงค์องค์สีดา
ถึงที่สุดทดลองก็ทองแท้      ด้วยนางแน่อยู่ในสัจอธิษฐาน์
หญิงเดี๋ยวนี้แม้นมีสัตยา      ภัสดาก็ยิ่งรักขึ้นหนักครัน ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 มี.ค. 11, 18:05
คุณไซมีส  ตอบถูก ๒ ตัวอย่างแรก  ที่เหลือ ไม่เข้าเกณฑ์  เอาไป  ๔ คะแนน

คุณอาร์ท  ตอบเข้าเกณฑ์ข้อ ๑ ๔  ๕  ข้อที่เหลือผิด  เอาไป ๖ คะแนน  

จะแก้ตัวไหม

ทามมายผิด
ช่วยชี้แจงแถลงไข

ไม่รอคำตอบแล้ว ตอบใหม่เลยดีกว่า

1. นิพพานวังหน้า
แต่งโดย พระเจ้าบวรวงศ์เธอชั้นที่ 1 พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตร
ลูกระลึกถึงฝ่ายุคล                จึงนิพนธ์ประกอบสาร
หวังพระยศในบทมาลย์            ให้ปรากฏพระเกียรติระบือ
ดังองค์นารายณ์ราม                ยังพระนามสนั่นฦา
ทั้งสามภพบ่เคียงคือ               เหมือนบิตุเรศปิ่นเกษเรา

2. โคลงกลอนยอพระเกียรติ 3 รัชกาล
แต่งโดย พระยาไชยวิชิต (เผือก)
๏ รามาธิราชเรื้อง                 รณงค์เท่าใด
มล้างเหล่าอสุรพงศ์               มอดม้วย
สมเด็จอิศวรมง-                  กุฏโลก นี้แฮ
ปราบอริรานด้วย                  เดชล้ำลาญแสยง ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 08:55
คุณดีดี ตอบข้อ ๗๘.มา

ตัวอย่างที่ ๑ ๒ ผ่าน ตัวอย่างที่ ๓ ไม่ผ่านเพราะเรื่องนี้กล่าวถึงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
ตัวอย่างที่ ๔ ขอยังไม่ให้ผ่าน  ตัวอย่างที่ ๕ ผ่าน  สรุปได้ไป ๖ คะแนน

คุณอาร์ทแก้มือมา ๒ ตัวอย่าง 
ผ่านทั้ง ๒ ตัวอย่าง  เอาไป ๔ คะแนน รวมของเดิม เป็น ๑๐  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 09:10
คำถามข้อที่  ๗๙.

Herr Michael ส่งคำถามมาเป็นภาษาเยอรมัน
ผมเกรงว่า  จะเป็นการทรมานนักรบเกินไป 
จึงส่งให้ "ล่ามดี" แปลเป็นภาษาไทยให้

คุณมิชาเอลถามว่า   ผมสนใจและอยากรู้เรื่องโขนละครไทย
โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์  ผมได้รับดีวีดีบันทึกการแสดงโขน
จากเพื่อนคนไทยคนหนึ่ง    ผมเปิดดูแล้ว   แต่ในการแสดง
มีนักแสดงแต่งกายสวมหัวโขนเป็นวานรเป็นยักษ์เยอะมาก
ผมอยากทราบว่า   ถ้าผมอยากรู้จักชื่อตัวละครโขนละครเหล่านั้น
ผมจะจำแนกความแตกต่างของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างไร

โปรดอธิบายมาอย่างละเอียด  พร้อมตัวอย่างสัก ๓ - ๔ ตัวอย่าง
ประกอบด้วย   ตอบมาที่หน้าม่าน  ตั้งแต่เพลา ๑๑.๐๐  น.

ข้อนี้  คุณมิชาเอล  บอกว่า  จะให้  ๒๐  คะแนน 
แต่มีข้อแม้ว่าต้องตอบดี  ละเอียด และตอบก่อนเวลา  ๑๓.๐๐ น.

อ้อ  คุณมิชาเอลบอกด้วยว่า  ถ้าใครแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
เขาจะแถมคะแนนให้พิเศษ  ๑๕  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 10:15
คำถามข้อที่  ๗๘.

allusion  คือ  การอ้างถึง เป็นศัพท์วรรณกรรม
หมายถึงการกล่าวถึงเรื่องอื่นนอกเรื่องที่เขียน
เช่นกล่าวถึงบุคคล  เหตุการณ์  นิทาน หรือวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ
นักรบทั้งหลาย   จงหาตัวอย่างการอ้างถึงเรื่องรามเกียรติ์ในวรรณคดีไทยเรื่องต่างๆ
พร้อมอ้างอิงด้วยว่าเอามาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครเป็นคนแต่งวรรณคดีเรื่องนั้น
ยกมา ๕  ตัวอย่าง  อย่าให้ซ้ำกัน   ตัวอย่างละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  (เปลี่ยนจากหน้าไมค์)
ใครตอบเกิน  หักตัวอย่างละ  ๒ คะแนน  ตอบซ้ำ  หัก  ๑  คะแนน  
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.  ขอให้โชคดี

ขอตอบ 2 ข้อที่ผิด มาใหม่ค่ะ  ;D

1.      เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร
           ผู้แต่ง: สุนทรภู่

  ๏ ฝ่ายพระองค์หงษาตรึกตราตรัส      อันจังหวัดเมืองไทยไอสวรรย์
มีทุ่งลำน้ำรอบเปนขอบคัน      ดูเหมือนกันกับลงกากลางสาชล
มีเรื่องราวคราวพระรามข้ามทหาร      ต้องคิดการถมน้ำทำถนน
ครั้งนี้เราเล่าจะไปพร้อมไพร่พล      ต้องคิดกลการปีจึงมีไชย
ด้วยเมืองรายฝ่ายเหนือเมืองไทยนั้น      แม่น้ำคั่นเขาขวางล้วนกว้างใหญ่
เมืองพิจิตรพิศณุโลกศุโขไทย      เมืองพิไชยเมืองกำแพงระแหงนั้น

2.      โคลงทวาทศมาส
           ผู้แต่ง: ไม่ปรากฏนาม

๒๐      โอะโอ้นัยนิศน้อง      นางนงค์ แน่งเอย
           จรเจตจิตต์เรียมจง      จอดเจ้า
           สระบาสมบูรณ์บง      กชมาศ กูเอย
           ฤานิรารสเหน้า                   หน่อศรี ฯ
      
๒๑      ปางบุตรนคเรศไท้      ทศรถ
          จากสีดาเดียวลี                   ลาสแล้ว
           ยังคืนสู่เสาวคต      ยุพราช
           ฤาอนุชน้องแคล้ว      คลาศไกล ฯ
      
๒๒      ศรีอนิรุทธราสร้าง      แรมสมร
          ศรีอุสาเจียรไคล      คลาศแคล้ว
          เทวานราจร                   จำจาก
          ยังพร่ำน้าวน้องแก้ว      คอบคืน ฯ

ตัวสะกดลอกตามต้นฉบับค่ะ เช่น พิศณุโลก ศุโขไทย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 มี.ค. 11, 11:00
คำถามข้อที่  ๗๙.

Herr Michael ส่งคำถามมาเป็นภาษาเยอรมัน
ผมเกรงว่า  จะเป็นการทรมานนักรบเกินไป 
จึงส่งให้ "ล่ามดี" แปลเป็นภาษาไทยให้

คุณมิชาเอลถามว่า   ผมสนใจและอยากรู้เรื่องโขนละครไทย
โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์  ผมได้รับดีวีดีบันทึกการแสดงโขน
จากเพื่อนคนไทยคนหนึ่ง    ผมเปิดดูแล้ว   แต่ในการแสดง
มีนักแสดงแต่งกายสวมหัวโขนเป็นวานรเป็นยักษ์เยอะมาก
ผมอยากทราบว่า   ถ้าผมอยากรู้จักชื่อตัวละครโขนละครเหล่านั้น
ผมจะจำแนกความแตกต่างของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างไร

โปรดอธิบายมาอย่างละเอียด  พร้อมตัวอย่างสัก ๓ - ๔ ตัวอย่าง
ประกอบด้วย   ตอบมาที่หน้าม่าน  ตั้งแต่เพลา ๑๑.๐๐  น.

ข้อนี้  คุณมิชาเอล  บอกว่า  จะให้  ๒๐  คะแนน 
แต่มีข้อแม้ว่าต้องตอบดี  ละเอียด และตอบก่อนเวลา  ๑๓.๐๐ น.

อ้อ  คุณมิชาเอลบอกด้วยว่า  ถ้าใครแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
เขาจะแถมคะแนนให้พิเศษ  ๑๕  คะแนน

Demon Masks หรือหัวโขนกลุ่มยักษ์
   
        ลักษณะเบื้องต้นของการจำแนกหัวโขนประเภทยักษํ จะดูจากสี, หน้าตา, อารมณ์ของหัวโขน, และลักษณะของยอดมงกุฎประกอบกัน ซึ่งลักษระแต่ละอย่างจะบ่งบอกถึงลักษณะจุดเด่นของหัวโขนยักษ์และต้นกำเนิดได้
โดยทั่วไปหัวโขนกลุ่มยักษ์จะลงสี แดง, ขาว และเขียวเป็นหลัก
๑.ลักษณะดวงตา bulging พองโตนูนออก สังเกตุได้ง่ายคือ ตาพองโต หรือ crocodile eye ตาจระเข้ซึ่งมีลักษระตาปรือๆ ปิดๆ
๒. ลักษณะปาก มี ๒ แบบคือ ปากแสยะ ขบเขี้ยวยิงฟัน snarling และปากตรงปกติและจะมีเขี้ยว fang เหมือนเขี้ยวสัตว์
๓. เรื่องยอดมงกุฎสำหรับกลุ่มยักษ์ มี ๑๔ กลุ่ม เช่น กลุ่มยอดแหลม กลุ่มทรงน้ำเต้า กลุ่มทรงหางไก่ cock's tail top และแถมยังมีประเภทไม่มีมงกุฎคือ พวกหัวล้าน
 
ถ้าแหม่มจะดูให้สนุกต้องรู้จักบุคคลสำคัญของยักษ์ คือ ทศกัณฐ์ ซึ่งจะสวมหัวโขนสีเขียวเป็นจุดเด่น มีพระพักตร์ซ้อนกันเป็นชั้นๆขึ้นไป มี ๓ ชั้นที่เด่นๆ ซึ่งในชั้นบนสุด มีพระพักตร์ ๔ หน้านั้นหมายถึง การกำเนิดของทศกัณฐ์นั้นเกิดในวงศ์พรหม และชั้นต่อมาอีก  ๔ หน้าเพื่อจะแสดงให้หมายรวมทั้งหมดมี ๑๐ หน้าตามตำนาน

Monkey Masks  หรือหัวโขนกลุ่มลิง
 กลุ่มนี้แหม่มมิชเชล สังเกตุเบื้องต้นง่ายมาก ดูลักษณะอย่างแรกจะสังเกตุถึงความเป็นลิงได้เป็นสิ่งแรก ซึ่งมีจำนวนมากถึง ๓๐-๔๐ ตัว ซึ่งการสังเกตุก็เหมือนกลุ่มยักษ์ คือ สี, ลักษณะหน้าตา และมงกุฎ และแน่นอนว่า ลักษณะของสี ย่อมจะหมายถึง ลักษณะแห่งชาติกำเนิดของบรรดาลิงนั้นๆ เช่น นิลนนท์ โดยมีพ่อเป็นพระอัคนีเทพแห่งไฟ จึงมีสีแดง ในขณะเดียวกัน นิลพัทธ์ ลูกของพระยมจึงมี สีดำ
๑.ลักษณะดวงตา  กลุ่มหัวโขนลิงจะตาปรือและตาโพลง มีอ้าปาก และหุบปาก
๒.ลักษณะของยอดมงกุฎ มีลักษณะ ๗ ประเภท เช่น ยอดแหลม เรียกว่า ชฎายอดบัด"Yodbat Crorwn" ซึ่งหมายถึงมีตำแหน่งสูงเป็นเชื้อพระวงศ์ คือ พาลีและสุครีพ และ ชฎายอดชัย จะสวมโดย ชมพูพาน ซึ่งหมายถึง กำเนิดจากทางพระอิศวร ซึ่งเป็นกลุ่มเทพเจ้าที่สำคัญ มีความฉลาดจึงมียอดแหลม
   
๓.หัวโขนลิงศีรษะล้าน เป็นหัวลิงกลุ่มใหญ่ที่สุดมีจำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะต่างกันถึง ๔ ประเภท และบ่งบอกถึงลักษณะลำดับชั้นของความสำคัญ เช่น มีมาลัยรักร้อย และมาลัยทองเป็นต้น โดยกลุ่มลิงหัวโล้นนี้ มีตัวแสดงที่สำคัญคือ “หนุมาน” ซึ่งเป็นลิงที่มีกำลังพิเศษ เป็นกำลังสำคัญให้กับพระรามช่วยปราบเหล่ายักษ์ โดยแหม่มมิชเชล สังเกตุง่ายๆคือ เป็นลิงสีขาวทั้งตัว หัวโขนอ้าปากและจะสังเกตุเห็นเครื่องประดับเพชร ติดอยู่ที่ปากบนแวววาวอยู่ โดยเครื่องประดับนี้หมายถึงลักษณะเด่นของหนุมาน ตอนกำเนิดจะหาวเป็นดาวและเดือน เป็นบุตรแห่งลม หรืออีกนัยหนึ่งจะหมายถึง หนุมานมีเขี้ยวแก้วเป็นเพชร
   
Celestial and Human Masks หรือหัวโขนกลุ่มมนุษย์ เทพ เทวา นางฟ้า นางสวรรค์
 กลุ่มนี้แหม่มมิชาเอล จะจำได้ง่ายและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะชอบมาก เนื่องจากดูง่ายมาก เป็นชฎาสำหรับผู้หญิงและ ชฎาสำหรับตัวพระผู้ชาย โดยจำลองมาจากเทพบุตร เทพธิดา ที่อยู่บนสวรรค์
   หัวโขนกลุ่มนี้ออกแบบง่ายที่สุดในบรรดาหัวลิงและหัวยักษ์ เดิมของโบราณจะทำคลุมหัวได้ เช่น พระรามจะทำหน้าสีเขียว พระลักษณ์จะทำหน้าสีทอง แต่ตอนหลังอยากให้เห็นหน้าผู้แสดงเลยเหลือแต่ชฎาสวมเวลาเล่นเท่านั้น
๑.ลักษณะเด่นของหัวโขนตัวพระแบบโบราณ ปากหุบ รวมทั้งกลุ่มเทพ เศียรพระนารายณ์ พระอิศวร พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น โดยจะสังเกตุความแตกต่างของเครื่องประดับอัญมณีประดับอยู่กลางหว่างคิ้วและจะประดับ (ทัด) ดอกไม้ที่จอนหู

นอกจากนี้แหม่มยังดูจากหัวโขนยังไม่พอ ยังต้องดูเครื่องแต่งกายประกอบตามไปด้วย ซึ่งลักษณะของตัวฝ่ายยักษ์จะดูลักษณะบึกบึน แข็งแกร่ง ส่วนเหล่าเทพเทวา ตัวพระ จะดูลักษณะสง่างาม วางทีท่าองอาจ และสำหรับลิงจะวางชุดเสื้อผ้าปักเป็นขนลิงเป็นวง ให้เห็นเด่นชัดและมีหางโผล่ออกมาด้วย




บทความภาษาอังกฤษส่งให้แหม่มอ่านเลย

Demon Masks   
         Demon masks comprise the largest category; there are more  than one hundred. Individual demons are distinguished by a  number of features on the masks, for example, color, facial expressions, and crown types. Which features a particular character possesses have been determined by traditions established long ago; maskmakers are not free to change them. Like other masks, demon masks are painted red, white, blue, or green, etc.,  with contrasting colors for highlights around the eyes, mouth,   and nose. Demons may have two types of eyes, bulging or crocodile. Bulging eyes are wide open and crocodile ones are partially closed. Demons may also have two types of mouths, clamping or snarling. Both types of mouths display the teeth which  include either curving, tusk-like canines or straight, fanglike canines. Demon masks can also display features of masks from, the other categories. For instance, Indrajit, a son of Tosakanth, has human ear flaps. Two other sons of Tosakanth have trunks fixed to their noses which reflect their parentage;  they had elephantine mothers (Bridhyakorn and Yupho 1962, P.14).
   
        For demons, there are fourteen types of crowns or head-dresses.(Yupho 1960, p.10). In general, the more important  characters wear crowns while the most important ones have the  most e1aborate styles. Some of these styles include a crown with multiple tiers, one with a cock's tail top, or one with  a gourd top. The demons with crowns fit into the Peaked Mask category and the ones without are of the Bald Mask category.
   
        The mask of the most important demon, Tosakanth, is described in detail. Tosakanth's green face is highlighted with blue and gold lines and bright red lips. He has bulging eyes with a snarling mouth and curving, tusk-like canine teeth. His crown is his most distinguishing feature. He is the only character with a three tiered crown. It is also classified as a Crown of Victory. The first level is a gold leaf cap complete
    with jewels and flower designs. The second level contains a face identical to the mask proper. This face is repeated on all four sides and represents Tosakanth's ten faces. The top level of the crown is the face of a celestial being. Possibly, this reflects the fact that some people consider Tosakanth a descendent of Phra Phrom, the Thai name for the Hindu god Brahma (Sripochanart and Mekchaidee 1971(?) and Vajiravudh 1967, P.15). Or it could be due to the fact that, as was mentioned earlier, the Thai people do not consider Tosakanth completely evil. He is good but behaves badly at times. Before being born on the earth, he was associated with the gods in some way. At certain times during a Khon performance, a gold mask represent ing Tosakanth is used. In his kinder moments, his canine shrinks to half the normal size. Tosakanth is a demon possessing a tremendous amount of power. Multiple body parts are usually a reflection of power. Tosakanth not only has ten faces with which he can see in every direction, but has twenty arms also.
    The Hindu gods are often represented with multiple body parts to indicate their power.

Monkey Masks
   
       Monkey masks are the second most numerous type, totaling thirty to forty. Individual monkeys are also distinguished by color, facial expressions, and types of crowns. With some char acters, the colors or the masks reflect their parentage. For example, Nilanol is an incarnation of Agni the Fire-God and is therefore red. Nilapat, on the other hand, is an incarnation of the God of Death and thus is black. Both Nilanol and Nilapat are monkey leaders (Bridhyakorn and Yupho 1962, p.16). All of the monkeys have bulging or wide open eyes, Their mouths may be
    either open or closed.
   
   Crowns and headdresses for the monkeys are of seven types (Yupho 1960, p.8), One type, a Peaked Mask called a "Yodbat Crown" and worn by Pali and Sukrip, two monkey kings, dicates high royal rank. These two kings had gods for fathers. Another Peaked Mask, the Yodchai Crown, is worn by Chompoopan, one of Rama's generals. Chompoopan was brought into being by Phra Isuan, the Thai name for the Hindu god Shiva. Phra Isuan or Shiva is considered the chief of the gods among the Thai people. Chompoopan's crown, reflecting his heritage, is very tall and sharply peaked, very similar to Rama's crown. Bald Masks are the most abundant of the monkey masks. They are divided into four different types and each type is worn by different ranks of monkey officers.
   
         Hanuman is by for the most important monkey. Therefore, his mask will be described in detail. Hanuman's mask has many features which indicate he is a monkey with very special powers. In the Ramakien, Hanuman is Rama's most trusted general. In fact, some scholars say Hanuman is at times more important than Rama (Bowie 1960, p. 212 and Desai 1969, p.127). Hanuman's white mask is highlighted in green and pink. He wears only a coronet so red and gold markings are evident on the top of his head. Hanuman's gaping mouth displays his canine teeth which are usually just features of the demons. His gaping mouth also makes visible the jewel in the roof of his mouth. The jewel is a symbol of his special powers. Hanuman is the son of the God of Wind and can thus fly through the air. Also, when Hanuman yawns, he exhales suns, moons, and stars. This is the magical power by which people recognize Hanuman, The jewel is sometimes  referred to as a "glass canine" thus, Hanuman has five canines.  Another symbol of Hanuman's special power is the jewel between his eyebrows. This symbol appears on statues of the Buddha and represents inner energy. Possibly it means the same with regards to Hanuman.

Celestial and Human Masks
         Although masks of gods and humans are usually no longer worn, they are still being made. The following is a possible explanation for this phenomena. First, a Khon performance must be proceeded by a special ceremony in which the gods are recognized. If this is not done, misfortune may come to the performers. The celestial masks may be used in this ceremony. Secondly, the masks may be made in order to sell both to Thai people and to tourists.   

         Celestial and human masks are much simpler in design than the demon and monkey masks. They are more refined in appearance  also, especially the representations of gods or the humans which are incarnations of gods. Coloring varies between characters  as it does with all the masks. Rama is green although it is a different shade of green from the mask of Tosakanth. Phra Isuan or Shiva is white in keeping with the Hindu tradition of representing Shiva covered with ashes. Most celestial masks have closed mouths and the important deities display a jewel between their eyebrows skin to Hanuman's. Crowns also vary among characters but like with the other types of masks, the more important characters have more elaborate Crowns. The crowns are still worn even though the masks are not and they have remained the same. They are decorated with flowers.



อันนี้ส่งให้แหม่มมิชาเอล ไปเล่นเป็นการบ้าน เป็นการจับสี หน้าตา เครื่องยอด เล่นให้สนุกนะแหม่ม มีบรรยายไทยให้อ่านแล้วคลิกตาม แล้วดูเฉลยที่ “ภาพตัวอย่าง” เล่นไปเรื่อยๆ แหม่มจะเก่งมากเลย


http://khon.swu.ac.th/roomkhon/games/giant/21.asp

http://khon.swu.ac.th/roomkhon/games/giant/13.asp

http://khon.swu.ac.th/roomkhon/games/monkey/18.asp

http://khon.swu.ac.th/roomkhon/games/monkey/3.asp


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 11:49
คำถามข้อที่  ๗๙.

Herr Michael ส่งคำถามมาเป็นภาษาเยอรมัน
ผมเกรงว่า  จะเป็นการทรมานนักรบเกินไป  
จึงส่งให้ "ล่ามดี" แปลเป็นภาษาไทยให้

คุณมิชาเอลถามว่า   ผมสนใจและอยากรู้เรื่องโขนละครไทย
โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์  ผมได้รับดีวีดีบันทึกการแสดงโขน
จากเพื่อนคนไทยคนหนึ่ง    ผมเปิดดูแล้ว   แต่ในการแสดง
มีนักแสดงแต่งกายสวมหัวโขนเป็นวานรเป็นยักษ์เยอะมาก
ผมอยากทราบว่า   ถ้าผมอยากรู้จักชื่อตัวละครโขนละครเหล่านั้น
ผมจะจำแนกความแตกต่างของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างไร

โปรดอธิบายมาอย่างละเอียด  พร้อมตัวอย่างสัก ๓ - ๔ ตัวอย่าง
ประกอบด้วย   ตอบมาที่หน้าม่าน  ตั้งแต่เพลา ๑๑.๐๐  น.

ข้อนี้  คุณมิชาเอล  บอกว่า  จะให้  ๒๐  คะแนน  
แต่มีข้อแม้ว่าต้องตอบดี  ละเอียด และตอบก่อนเวลา  ๑๓.๐๐ น.

อ้อ  คุณมิชาเอลบอกด้วยว่า  ถ้าใครแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
เขาจะแถมคะแนนให้พิเศษ  ๑๕  คะแนน

ขอตอบค่ะ  ;D (แยกเป็น 2 ส่วนนะคะ เพราะใส่รูปประกอบด้วยค่ะ)

โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆ มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 เรื่องที่นิยมใช้สำหรับเล่นโขน คือ "รามเกียรติ์"  หรือ "รามายณะ" ซึ่งแต่งโดยพระฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย เมื่อหลายพันปีก่อน ปัจจุบัน เรื่องรามายณะมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน ทั้งไทย ชวา เขมร และอินเดีย ในการแสดงโขน ผู้แสดงจะสวมใส่ "หัวโขน" ปิดหน้า ยกเว้นเทวดา มนุษย์ มเหสี และธิดาพระยายักษ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนคือวงปี่พาทย์ มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ และมีคนพากย์
รามเกียรติ์หรือรามายณะ เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารปางหนึ่งเป็น "พระราม" เพื่อคอยปราบอสูรที่คอยเบียดเบียนเหล่าเทวดาและมนุษย์ให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นพญายักษ์ครองกรุงลงกา เกิดจากทศกัณฐ์ได้ไปลักพานางสีดา มเหสีของพระราม มาเพื่อเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระอนุชาคือ "พระลักษมณ์" จึงได้ออกติดตาม จนกระทั่งได้สองพญาวานร คือ พญาสุครีพ เจ้าเมืองขีดขิน และ ท้าวมหาชมพู เจ้าเมืองชมพูมาเป็นบริวาร โดยมีหนุมานเป็นทหารเอก กองทัพของพระรามจึงจองถนนข้ามทะเลไปสร้างพลับพลา และตั้งค่ายประชิดกรุงลงกาเพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์ จนกระทั่งฝ่ายพระรามได้รับชัยชนะ
การจำแนกประเภทของตัวแสดง โขน สังเกตุ จากหัวโขน และสีของเครื่องแต่งกาย หัวโขนแต่ละตัวจะมีความแตกต่างไม่ซ้ำกัน
Khon is a traditional most sophisticated form of Thai masked drama which combines gracefulness with masculinity in its dancing and singing. It is believed to have been performed since the Ayutthaya Period (1350-1767). Most khon performances feature episodes from the Ramakien, the Thai version of an Indian epic Ramayana. The Khon roles are male humans, female humans, monkeys and demons. The latter two are dominant ones. Traditionally, all its performers wore masks and all the speaking and singing were done by the reciters and the singers sitting at one side of the stage with the Thai orchestra.
The stories played in Khon presentations are invariably those of "Rama", a reincarnation of the Hindu god Vishnu who is the hero in the Hindu epic Ramayana and its Thai version Ramakian. A greater part of the epic is concerned with the protracted war between Rama the righteous king and Thotsakan the king of demons, which is touched off by the abduction of Rama's beloved consort by the Demon King. The drama is therefore full of love, magic and war scenes.
The Khon actors classify from  mask and color of costume. No two masks had the same features, but it was this difference that distinguished each mask. The white-faced Siva, for example, wore a gourd-like crown, while Narayana wore a victory crown. Brahma, with his four faces all painted in white, wore a two-tiered victory crown, while Ravana came with two heads, one with a face in three shades of gold and the other green, each head wearing a victory crown.

ตัวอย่าง  การแต่งกายและหัวโขน ลิงและยักษ์ในรามเกียรติ์  เพื่อให้ คุณ Herr Michael ได้รู้จักค่ะ

ความแตกต่างของ ลิง กับ ยักษ์ สังเกตุจากหัวโขน ค่ะ ดูที่เขี้ยวนะคะ
ลิง-วานร หัวโขนมีลักษณะคล้ายลิง มีเขี้ยว 4 ซี่ เหมือนสัตว์
ยักษ์ หัวโขนมีเขี้ยว 2 อันที่มุมปาก และชี้ขึ้น ค่ะ
For example , Mask and Costume of Monkeys, Demons in Thai khon Ramayana :
Herr Michael; you can easy identify monkey and demon by canine of the mask.
: Monkey mask is like a monkey with four canine teeth like animal.
: Demons mask with two upwards canine.

ลิง-วานร : Monkeys

1. หนุมาน-พญาวานร - Hanuman
ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีขาวผ่องหัวโล้นสวมมาลัยทองมีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปากนอก จากนี้ยังมีการทำหนังโขนหน้าหนุมานอีหลายแบบ คือตอนแผลงฤทธิ์มีหน้า เป็นหน้าปกติหน้าและมีหน้าเล็กหน้าที่ด้านหลังตอนทารองเครื่องอาสาพระรามล่อลวง ทศกัณฐ์สวม
มงกุฎยอดชัยตอนออกบวชสวมชฎายอดฤๅษีนอกจากนี้ยังมีการทำหน้าหนุมานเป็นหน้ามุกอีกด้วย

Hanuman, a noble monkey-warrior, born from Phra Isuan’s power and powerful weapon carried by Phra Pai to place into the mouth of Nang Sawaha. When manifesting his magic power; Hanuman will have four faces and eight arms.
Hanuman donning a traveling headdress while on a voluntary trip to deceive Tosakanth for a box that contains the Demon King’s heart.
Hanuman donning Yodchai headdress when rewarded by Phra Ram with the title, “Phaya Anuchit Chakrit Pipatpongsa”, ruler of the City of Nopburi.

2. สุครีพ - Sukreep
ลักษณะหัวโขน หน้าวานรหากอ้าสีแดง หรือสีแดงชาด สวมชฎายอดบัด (บางแห่งว่าชฎายอดเดินหน)
ตามประวัติกล่าวว่าเป็นโอรสพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนาต้องคำสาปจากฤๅษีโคดมเช่นเดียวกับพญากากาศ บทบาทสำคัญ คือ อาสาทำให้เขาพระสุเมรุซึ่งเอยงด้วยรามสูรจับอรชุนฟาดให้ตั้งตรงดังเดิม
Sukreep, a noble monkey warrior and a son of Phra In and Nang Kalaatchana. Sukreep is a regent of the City of Keedkhin. After the battles of Longka, he is appointed with the title, Phaya Waiyawongsa Mahasuradet.

3. นิลพัล - Nilamond
ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีน้ำรัก หรือสีดำขลับ หัวโล้น สวมมาลัยทอง เป็นบุตรพระกาลซึ่งพระอิศวรประทานให้ไปอยู่ช่วยกิจการบ้านเมืองของท้าวมหาชมพู บทบาทของนิลพัทในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นผู้คุมวานรเมืองชมพูจองถนนข้ามกรุงลงการ่วมกับหนุมาน ซึ่งคุมวานรเมืองขีดขิน เกิดทะเลาะวิวาทกัน พระรามลงโทษให้ไปรักษาเมืองขีดขิน โดยส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง อาสาเป็นทัพหน้าครั้งกบฏกรุงลงกา เสด็จศึกได้ศักดิ์เป็นพญาอภัยพัทวงศ์อุปราชเมืองชมพู

Nilamond, a leading monkey warrior, a citizen of the City of Chompu. After the battles of Longka, he is rewarded with the position of regent of the City of Chompu.



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 11:54
ตัวอย่าง  การแต่งกายและหัวโขน ลิงและยักษ์ในรามเกียรติ์  เพื่อให้ คุณ Herr Michael ได้รู้จักค่ะ
ความแตกต่างของ ลิง กับ ยักษ์ แนะนำให้คุณHerr Michael สังเกตุแบบง่ายๆ จากหัวโขน ค่ะ ดูที่เขี้ยวนะคะ
- ลิง-วานร หัวโขนมีลักษณะคล้ายลิง มีเขี้ยว 4 ซี่ เหมือนสัตว์
- ยักษ์ หัวโขนมีเขี้ยว 2 อันที่มุมปาก และชี้ขึ้น ค่ะ

For example , Mask and Costume of Monkeys, Demons in Thai khon Ramayana :
Herr Michael; you can easy identify monkey and demon by canine of the mask.
: Monkey mask is like a monkey with four canine teeth like animal.
: Demons mask with two upwards canine.

พญายักษ์  : Demons

1. ทศกัณฐ์-Tosakanth
ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ชั้น คือ ชั้นแรกมีหน้าปกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน 3 หน้า ตรงท้ายทอง ชั้นที่ 2 ทำหน้าเป็นหน้าเล็ก ๆ 4 หน้า เรียงสีด้าน ชั้น 3 ทำเป็น หน้าพรหมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้านหลัง ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดขัย หน้าทศกัณฐ์มี 3 สี คือ ปกติใช้หน้าสีเขียว ตอนนั่งเมืองใช้หน้าสีทอง และมีทำหน้าสีน้ำรักยังไม่มีปรากฏใช้ใน การแสดง
นอกจากนี้ยังมีหัวโขนทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์ในการรบครั้งสุดท้าย ลักษณะทำเป็นหน้าพระ 3 ชั้น สีเขียว มีเขี้ยว ซึ่งเป็นหัวโขนเพียงหัวเดียวในเมืองไทยมีประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชการที่ 2 และยัง มีหัวโขนหน้าทศกัณฐ์ที่ทำด้วยทองแดงปิดทองประดับกระจกอีก 1 หัว
Tosakanth, the Demon King, the third monarch of Longha City. He is the reincarnation of Nontuk, the first child of King Lastian and Nang Ratchada and he has seven siblings.

2.พิเภก-Pipek
พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระรามปราบทศกัณฐ์ พิเภกเป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือนและแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไป ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่พิเภกออกไปจากเมืองพิเภกจึงไปสวามีภักดิ์กับพระราม ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา มีพระนามว่า ท้าวทศคีรีวงศ์
Pipek or Phra Vessuyarn in his previous life, reborn Tosakanth’s half brother by Phra Isuan’s command. He is meant to spy on the Demon’s side for the benefit of Phra Ram.

ปล.หวังว่าคุณ Herr Michael คงเข้าใจภาษาอังกฤษฉบับหนูดีดี นะคะ   ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 14:20
คุณไซมีส  ตอบมายาว  ดี แต่สะกดภาษาไทยผิดบางแห่ง  ขอหัก  ๑  คะแนน
ยกตัวอย่างน้อยไป ไม่ละเอียด รวบรัดเกินไป ฝรั่งไม่ค่อยเข้าใจ หัก  ๔ คะแนน 
มีภาษาอังกฤษให้ด้วย  ให้ ๑๕ คะแนน   รวมเป็น  ๓๐  คะแนน

คุณดีดี  ตอบมายาว ๒ วาเศษ  ละเอียดดี  แต่สะกดผิด  หัก ๑ คะแนน
เขี้ยวใช้ลักษณนามเป็นเขี้ยวครับ  ไม่ใช่ซี่อย่างฟัน หรืออัน  หัก ๑ คะแนน
ยกตัวอย่างดี   มีภาพประกอบ  ฝรั่งดูแล้วเข้าใจ
ภาษาอังกฤษ  อ่านเข้าใจง่าย  ให้  ๑๕  คะแนน  รวมเป็น  ๓๓  คะแนน


อ้อ  Herr Michael เป็นชาวเยอรมัน  แต่อ่านภาษาอังกฤษได้
Herr Michael เท่ากับ Mr. Michael ในภาษาอังกฤษ 
ออกเสียงตามสำเนียงเยอรมันว่า แฮร์  มิชาเอล  เป็นผู้ชาย ไม่ใช่แหม่ม  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 มี.ค. 11, 14:28
คุณไซมีส  ตอบมายาว  ดี แต่สะกดภาษาไทยผิดบางแห่ง  ขอหัก  ๑  คะแนน
ยกตัวอย่างน้อยไป ไม่ละเอียด รวบรัดเกินไป ฝรั่งไม่ค่อยเข้าใจ หัก  ๔ คะแนน 
มีภาษาอังกฤษให้ด้วย  ให้ ๑๕ คะแนน   รวมเป็น  ๓๐  คะแนน

คุณดีดี  ตอบมายาว ๒ วาเศษ  ละเอียดดี  แต่สะกดผิด  หัก ๑ คะแนน
เขี้ยวใช้ลักษณนามเป็นเขี้ยวครับ  ไม่ใช่ซี่อย่างฟัน หรืออัน  หัก ๑ คะแนน
ยกตัวอย่างดี   มีภาพประกอบ  ฝรั่งดูแล้วเข้าใจ
ภาษาอังกฤษ  อ่านเข้าใจง่าย  ให้  ๑๕  คะแนน  รวมเป็น  ๓๓  คะแนน


อ้อ  Herr Michael เป็นชาวเยอรมัน  แต่อ่านภาษาอังกฤษได้
Herr Michael เท่ากับ Mr. Michael ในภาษาอังกฤษ 
ออกเสียงตามสำเนียงเยอรมันว่า แฮร์  มิชาเอล  เป็นผู้ชาย ไม่ใช่แหม่ม  ;D


แล้ว แฮร์  มิชาเอล ไม่เล่นเกมส์ที่ผมลงไว้หน่อยหรือ  ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 14:53
แล้ว แฮร์  มิชาเอล ไม่เล่นเกมส์ที่ผมลงไว้หน่อยหรือ  ???

แฮร์  มิชาเอล  รับทราบ  แต่มีงานต้องทำ  จะมามัวเล่นเกมส์ไม่ได้ดอก
เดี๋ยวถูกตัดเงินเดือน    เอาไว้ว่างๆ จะเล่น  ขอบคุณมาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 15:18
คุณ luanglek อย่าลืมดู คห.96 ด้วยนะคะ
หนูดีดี ตอบคำถามข้อที่  ๗๘. ข้อที่ผิดมาใหม่ค่ะ อยากรู้ว่าถูกหรือเปล่าน่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 15:34
คุณ luanglek อย่าลืมดู คห.96 ด้วยนะคะ
หนูดีดี ตอบคำถามข้อที่  ๗๘. ข้อที่ผิดมาใหม่ค่ะ อยากรู้ว่าถูกหรือเปล่าน่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ขออภัย ไม่ทันเห็น  ขอบคุณที่เตือนมา
ที่ตอบมาใหม่ ๒ ข้อ  ใช้ได้เข้าเกณฑ์ เอาไปอีก ๔ คะแนน
รวมเป็น  ๑๐  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 มี.ค. 11, 15:45
คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 17:30
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 มี.ค. 11, 18:07
คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ;D

ขอตอบนะคะ  ;D

เป็นข้อความใน บานแผนกซึ่งบอกวันเวลาที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น และออกตัวว่าบทพระนิพนธ์นี้ยังไม่ดีนัก(ตามความเห็นขององค์ผู้นิพนธ์)

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชของชาติได้ และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ก็ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมรวมถึงวรรณคดีให้กลับคืนรุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่ก็ยังต้องมีพระราชภารกิจ ไปปราบปรามก๊กต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ กระด้างกระเดื่องอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ  และเมื่อคราวที่เสด็จกลับจากนครศรีธรรมราชในการปราบปรามก๊กเจ้านคร  ในปลาย พ.ศ. 2312   ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน ทราบได้จากในบานแผนกมีบอกวันเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หน้าต้นที่เล่มว่า “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่” และพระราชนิพนธ์นี้ได้ใช้เล่นละครหลวงในงานสมโภชครั้งสำคัญๆ ตลอดสมัยกรุงธนบุรี

- วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก หมายถึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจุลศักราช1132 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 2 จึงเรียก "โทศก" และเป็นปีนักษัตร ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. 2313 ตรงกับค.ศ. 1770

- ที่ว่า พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่ เพราะทรงใช้เวลาว่างจากการศึกเพียง 1 เดือน (เพราะหลังจากนั้นต้องเสด็จไปปราบก๊กเจ้าพระฝาง) ในการนิพนธ์ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นจึงบันทึกไว้ว่า บทพระนิพนธ์นี้เป็นเพียง  ”ชั้นต้นป็นปฐม”  เท่านั้น  “ยังทรามยังพอดีอยู่” ยังไม่ไพเราะสละสลวยเท่าที่ควร แต่เนื่องจากทรงต้องการ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู วรรณคดีของชาติ ที่ชะงักงันและกระจัดกระจายพลัดหายไปจากการสงคราม  ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงต้องใช้เวลาอันน้อยนิดนี้นิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้น  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”

ตัวอย่างบทพระราชนิพนธ์บางตอนที่ทรงใช้คำง่ายๆ กระชับ ไม่พรรณายืดยาว :

: ตอนที่ท้าวมาลีวราชปู่ของทศกัณฐ์   ปลอบทศกัณฐ์เพื่อให้คืนนางสีดา
      ๐ จงฟังคำกูผู้ปู่สอน                                ให้ถาวรยศยิ่งภายหน้า
      จะทำไมกับอีสีดา                                   ยักษาเจ้าอย่าไยดี
      มาดแม้นถึงทิพสุวรรณ                             สามัญรองบทศรี
      ดังฤาจะสอดสวมโมลี                              ยักษีอย่าผูกพันอาลัย
      หนึ่งนวลนางราชอสุรี                               ดิบดีดั่งดวงแขไข
      ประโลมเลิศละลานฤทัย                           อำไพยศยิ่งกัลยา
      ว่านี้แต่ที่เยาว์เยาว์                                  ยังอีเฒ่ามณโฑกนิษฐา
      เป็นยิ่งยวดเอกอิศรา                               รจนาล้วนเล่ห์ระเริงใจ ๐

: ตอน หนุมานเกี้ยวนางวานริน
      ๐ เจ้านี้ยศยิ่งยอดกัญญา                           สาวสวรรค์ชั้นฟ้าไม่มีสอง
      อย่าแคลงพี่จะให้แจ้งน้อง                          ขอต้องนิดหนึ่งนารี
      นี่แน่เมื่อพบอสุรา                                     ยังกรุณาบ้างหรือสาวศรี
      หรือว่าเจ้ากลัวมันราวี                                จูบทีพี่จะแผลงฤทธา ๐


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 02 มี.ค. 11, 20:51
คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
      
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด)  
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ;D

วันนี้โดนเกณฑ์ไปเฝ้าด่านแถวแขวงบางมด
กว่าจะยินข่าวว่ามีการณรงค์สงครามกันก็ย่ำค่ำแล้ว (ใต้เท้าพระกรุณาบอกมา)
ข้อแรกไม่ทัน ได้ข้อหลัง

จากคำถาม
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่ นั้น
หมายความว่า การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีในครั้งนี้
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพียงแต่บางเรื่องบางตอนเท่านั้น เพราะการสงครามกับพม่ามอญยังร้างรากันอยู่
การทำนุบำรุงบทละครเพื่อความบันเทิงในพระราชสำนัก และเพื่อเป็นเกียรติยศของแผ่นดินนั้น
แม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจ (เพิ่งจะใส่ใจกันก็เมื่อผลัดแผ่นดินแล้วในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์)
การพระราชนิพนธ์บทละครจึงเพื่อแสดงเป็นครั้งเป็นคราว ยังไม่ถือฉบับว่าถูกต้อง สละสลวยไพเราะเป็นสำคัญ
จึงทรงพระราชนิพนธ์เพียงแค่ "พอประมาณ" เท่านั้น (ชั้นต้นเป็นปฐม)

ส่วนว่า "ยังทรามยังพอดีอยู่"
แปลความว่า พอแต่งได้ พอใช้ได้ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ไพเราะเสียเท่าไร
พอจะเล่นบทละครได้ อะไรเทือกนั้น

ส่วนวันเดือนปีที่ปรากฏในฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรี
คือวันเดือนปีที่การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับนี้สิ้นสุดลง
คงไม่ต้องอธิบายกันมาก คุณหนูดีดี พูดเอาไว้ยาวยืดแล้ว เดี๋ยวเป็นการทับเส้นทับลายกัน
 :-X

ปล. ข้อนี้เป็นการวิจารณ์ตามความเห็น ความเข้าใจ ไม่มีถูกผิดอันใด ฉะนั้นทุกคนที่ตอบย่อมถูกหมด
คุณหลวงต้องให้คะแนนทุกคนนะจ๊ะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 07:27
คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ;D

เทียบจุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ อันเป็นช่วงรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (สมเด็จพระเจ้าตากสิน) ในเดือนหก นั้นเป็นช่วงที่ได้ข่าวว่าแผ่นดินเมืองเหนือ (เจ้าฝาง) ก่อการกำเริบจึงได้จัดทัพขึ้นไปปราบและต่อลงมายังเดือน ๘ เสด็จไปไหว้พระพุทธชินราช ด้วยบ้านเมืองอยู่ในภาวะการศึกสงครามและรอนแรมไปตามถิ่นต่างๆ

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น ดังนั้นคำว่า "พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่”

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่" คือบทประพันธ์เรื่องรามเกียรติ์อาจจะสูญหาย ตกหล่นไปเสียมากในระหว่างเสียบ้านเมือง หนังสือตำราถูกเผาไปมากมาย หรืออาจจะกระจัดกระจายไปตามถิ่นต่างๆที่อาจเหลืออยู่ ซึ่งกระท่อนกระแท่น ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน (ยังทราม) แต่ก็ยังเหลือดีอยู่ให้สามารถเหลือเค้าโครงไว้ให้แต่งเป็นรูปแบบต่อมาได้ คือ สามารถที่จะแต่งเป็นเรื่องจากเค้าโครงที่สูญหายไปเสียมากนั่นเอง ซึ่งรัชสมัยนี้วรรณกรรมรามเกียรติ์ได้กำเนิดถึง ๔ ตอน คือ

ตอนที่ ๑ ตอนพระมงกุฎ
พระมงกุฎอยู่ป่า
พระรามเสี่ยงม้า
พระมงกุฎขี่ม้าเสี่ยงทาย หนุมานจะจับ ถูกพระมงกุฎเสกมนตร์มัดตัว
พระพรตจับพระมงกุฎ
พระลบแจ้งข่าวนางสีดา พระมงกุฎถูกจองจำ
พระลบช่วยพระมงกุฎหนี พระรามเตรียมยกทัพไปจับพระมงกุฎ

ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานริน จนท้าวมาลีวราชมา
หนุมานเกี้ยววานริน
ทศกัณฑ์ให้นนยุเวกวายุเวกไปตามท้าวมาลีวราช
หนุมานเกี้ยววานริน
ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์
ท้าวมาลีวราชให้พระวิษณุกรรมไปตามพระราม

ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
ท้าวมาลีวราชสอบความข้างพระราม
ท้าวมาลีราชสอบความนางสีดา
ท้าวมาลีวราชตัดสินความ
ทศกัณฑ์พาล ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ทศกัณฑ์คืนเมือง คิดแค้นพระรามพระลักษมณ์และเหล่าเทวา

ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษมฌ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
พระอินทร์ให้เทพพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด
ทศกัณฑ์คิดว่าพิเภกเป็นต้นคิดทำลายพิธี ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภก
พระลักษมณ์ถูกหอกทศกัณฑ์ พิเภกบอกวิธีแก้
หนุมานหายาแก้พระลักษมณ์ให้ฟื้น ผูกผมทศกัณฐ์ติดกับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ให้ตามฤษีโคบุตรมมาช่วย

ยกตัวอย่างตอนพระมงกุฎอยู่ป่า
พระมงกุฎอยู่ป่า
 
๏ มาจะกล่าวบทไป  หน่อในอวตารรังสี 
หาผลปรนนิบ้ติชนนี  ทั้งพระฤษีมีญาณ 
ว้นหนึ่งชวนน้องเข้าพาที  พระมุนีจงโปรตเดฉาน 
ข้าไสร้เกลือกคนภัยพาล  ขอประทานรํ่าเรียนวิชา 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฤษีรักจูบกระหม่อมเกศ  สอนให้เล่าเวทคาถา 
ฯ เจรจา ฯ 
 
๏ หุดีกุณฑ์กองวิทยา  เจ็ดราตรีศรผุดพลัน 
ฯ ตระ ฯ 
 
๏ จึงประสิทธิ์ประสาทธนูศิลป์  เจ้าจินดารมณ์หมายมั่น 
เมึ่อลั่นซั้นซ้ำมนตร์พลัน  สรรพโลกไม่ทนฤทธา 
ฯ เจรจา ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายสองกุมารเรียนเสร็จ  ได้ทั้งกลละเม็ดคาถา 
รบเอาธนูศิลป์มา  ลาล่าหาผลพนาลี 
ฯ เข้าม่าน ฯ 
 
๏ ครั้นถึงกาลวาตพนาลัย  ปราศัยน้องลบเรืองศรี 
ฝ่ายพี่จะแผลงฤทธี  ยิงรังด้นนี้ให้ขาดไป 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ เจ้าลบว่าใหญ่ถึงแสนวา  ข้าเจ้าเห็นหาห้กไม่ 
๏ พระมงกุฎก็วางศรชัย  สนั่นไปถึงชั้นพรหมา 
ตระเชิด 
๏ ถูกรังต้นใหญ่สินขาด  ยับเยินวินาศดังฟ้าผ่า 
แล้วกลับต่อว่าอนุชา  น้องยาจะว่าประการใด 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ พระลบสรรเสริญบุญญา  อานุภาพเป็นหาที่สุดไม่ 
พระชนนีจะมิตกใจ  ก็ชวนเก็บผลไม้กลับมา 
ฯ พญา เดิน ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระฤษีสนั่นเสียง  สำเนียงกึกก้องเวหา 
ตกใจทิ้งนางสีดา  ก็ลีลาออกตามกุมาร 
ฯ เชิด ๒ คำ ฯ 
 
๏      ฝ่ายพระพี่น้องเห็นฤษี  ก็วิ่งเข้าอัญชลีทูลสาร 
ทิ้งนางสีดาดวงมาลย์  พระอาจารย์มาไยชนนี 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ พระมุนีสีดาว่าดูเอา  ให้เราตกใจถึงสองศรี 
สุ้งเสียงอะไรเมื่อกี้  คิดว่าอสุรีพะพาน 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระมงกฎทูลไข  หาไม่ดอกยิงไม้พฤกษาสาร 
๏ เจ้าลบว่าแสนอ้อมประมาณ  พฤกษาสารสูงเทียมเมฆา 
หักย้บสะบั้นสินขาด  วินาศดุจดั่งฟ้าผ่า 
ที่กาลวาตพนาวา  หาภ้ยมิได้พระมุนี 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ สีดาว่ายิงทำไม  ให้ตกใจทั้งพระฤษี 
นี่ลูกอะไรน่าใคร่ตี  ก็พาทีขู่รู่กุมาร 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 08:33
ปล. ข้อนี้เป็นการวิจารณ์ตามความเห็น ความเข้าใจ ไม่มีถูกผิดอันใด ฉะนั้นทุกคนที่ตอบย่อมถูกหมด
คุณหลวงต้องให้คะแนนทุกคนนะจ๊ะ ;D

จ้ะ  พ่อคุณ  เดี๋ยวกระผมจะจัดคะแนนให้ถ้วนทุกคน 
แต่จะว่าไม่มีที่ผิดนั้นคงไม่ใช่   เรื่องความคิดเห็นนั้น
เราจะขอพิจารณาก่อน  แต่อะไรที่เห็นว่าผิด เช่น ใช้ราชาศัพท์ผิด
สะกดคำผิด  และอื่นๆ ที่เห็นอยู่ว่าผิดแน่ๆ  เราก็จะหักคะแนนตามสมควร
คุณหลวงไม่ใช่พระเวสสันดร  จะให้ไล่แจกคะแนนกันสะเปะสะปะ
ทำมิได้หรอก  หากทำอย่างนั้นเท่ากับดูถูกผู้เข้าแข่งขัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 08:51
ขอตอบนะคะ  ;D

เป็นข้อความใน บานแผนกซึ่งบอกวันเวลาที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น และออกตัวว่าบทพระนิพนธ์นี้ยังไม่ดีนัก(ตามความเห็นขององค์ผู้นิพนธ์)

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชของชาติได้ และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ก็ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมรวมถึงวรรณคดีให้กลับคืนรุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่ก็ยังต้องมีพระราชภารกิจ ไปปราบปรามก๊กต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ กระด้างกระเดื่องอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ  และเมื่อคราวที่เสด็จกลับจากนครศรีธรรมราชในการปราบปรามก๊กเจ้านคร  ในปลาย พ.ศ. 2312   ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน ทราบได้จากในบานแผนกมีบอกวันเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หน้าต้นที่เล่มว่า “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่” และพระราชนิพนธ์นี้ได้ใช้เล่นละครหลวงในงานสมโภชครั้งสำคัญๆ ตลอดสมัยกรุงธนบุรี

- วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก หมายถึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจุลศักราช1132 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 2 จึงเรียก "โทศก" และเป็นปีนักษัตร ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. 2313 ตรงกับค.ศ. 1770

- ที่ว่า พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่ เพราะทรงใช้เวลาว่างจากการศึกเพียง 1 เดือน (เพราะหลังจากนั้นต้องเสด็จไปปราบก๊กเจ้าพระฝาง) ในการนิพนธ์ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นจึงบันทึกไว้ว่า บทพระนิพนธ์นี้เป็นเพียง  ”ชั้นต้นป็นปฐม”  เท่านั้น  “ยังทรามยังพอดีอยู่” ยังไม่ไพเราะสละสลวยเท่าที่ควร แต่เนื่องจากทรงต้องการ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู วรรณคดีของชาติ ที่ชะงักงันและกระจัดกระจายพลัดหายไปจากการสงคราม  ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงต้องใช้เวลาอันน้อยนิดนี้นิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้น  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”


คุณดีดี  ตอบมาหลังเวลาที่กำหนดให้เริ่มตอบไป ๑ นาที  นับว่าแม่นยำเรื่องเวลามาก
ที่ตอบมา  ผม หักเรื่องใช้ราชาศัพท์ ผิด หลายแห่ง  ๑  คะแนน 
ข้อความที่ขีดเส้นใต้  ไม่ใช่คำของพระเจ้าตากสิน  เป็นคำผู้อื่นวิจารณ์ไว้ต่างหาก
ตรงนี้ผิด  ผมหัก อีก ๑ คะแนน   การอธิบายนั้นกับตัวอย่างที่ยกมา  น่าจะอธิบายให้มากกว่านี้
ขอหักอีก ๑ คะแนน  รวมได้ ๗ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 09:02

จากคำถาม
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่ นั้น
หมายความว่า การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีในครั้งนี้
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพียงแต่บางเรื่องบางตอนเท่านั้น เพราะการสงครามกับพม่ามอญยังร้างรากันอยู่
การทำนุบำรุงบทละครเพื่อความบันเทิงในพระราชสำนัก และเพื่อเป็นเกียรติยศของแผ่นดินนั้น
แม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจ (เพิ่งจะใส่ใจกันก็เมื่อผลัดแผ่นดินแล้วในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์)
การพระราชนิพนธ์บทละครจึงเพื่อแสดงเป็นครั้งเป็นคราว ยังไม่ถือฉบับว่าถูกต้อง สละสลวยไพเราะเป็นสำคัญ
จึงทรงพระราชนิพนธ์เพียงแค่ "พอประมาณ" เท่านั้น (ชั้นต้นเป็นปฐม)

ส่วนว่า "ยังทรามยังพอดีอยู่"
แปลความว่า พอแต่งได้ พอใช้ได้ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ไพเราะเสียเท่าไร
พอจะเล่นบทละครได้ อะไรเทือกนั้น

ส่วนวันเดือนปีที่ปรากฏในฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรี
คือวันเดือนปีที่การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับนี้สิ้นสุดลง
คงไม่ต้องอธิบายกันมาก คุณหนูดีดี พูดเอาไว้ยาวยืดแล้ว เดี๋ยวเป็นการทับเส้นทับลายกัน
 :-X


คุณอาร์ทตอบมา ไม่มีตัวอย่างประกอบ  หัก ๓ คะแนนก่อนเลย
อันที่จริง  ถ้ายกเหตุการณ์ในช่วงมาอธิบายประกอบให้ละเอียดอีก
ก็จะเห็นภาพชัดว่า  ตอนนี้ บ้านเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ
การสงครามยังมีอยุ่ไม่ค่อยขาด   เรื่องความมั่นคงของรัฐ
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อน   ส่วนเรื่องศิลปวัฒนธรรม
เป็นงานที่จะดำเนินการได้ต่อเมื่อบ้างสงบราบคาบ  จึงมีเวลา
ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต และตำรับตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายครั้งเสียกรุง
ให้คืนมา   เราจะบอกว่าในสมัยกรุงธนไม่ได้ทำเลยคงไม่ได้
แต่อาจจะทำได้ไม่มากเท่าสมัยรัชกาลที่ ๑  เพราะบ้านเมืองยังเพิ่งรวมกันได้
ภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามยังไม่ค่อยดีนัก   จึงทำเท่าที่จะทำได้
คือ  แต่งวรรณคดีเฉพาะบางตอนก่อน  และสำนวนก็ยังไม่ใช่กวีแท้
จึงยังไม่ใช่วรรณคดีที่ดีเลิศ  แต่ก็ยังมีที่ดีไพเราะแทรกอยู่เหมือนกัน
ฉะนั้น  คุณอาร์ท เอาไป ๖ ๑/๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 09:15

เทียบจุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ อันเป็นช่วงรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (สมเด็จพระเจ้าตากสิน) ในเดือนหก นั้นเป็นช่วงที่ได้ข่าวว่าแผ่นดินเมืองเหนือ (เจ้าฝาง) ก่อการกำเริบจึงได้จัดทัพขึ้นไปปราบและต่อลงมายังเดือน ๘ เสด็จไปไหว้พระพุทธชินราช ด้วยบ้านเมืองอยู่ในภาวะการศึกสงครามและรอนแรมไปตามถิ่นต่างๆ

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น ดังนั้นคำว่า "พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่”

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่" คือบทประพันธ์เรื่องรามเกียรติ์อาจจะสูญหาย ตกหล่นไปเสียมากในระหว่างเสียบ้านเมือง หนังสือตำราถูกเผาไปมากมาย หรืออาจจะกระจัดกระจายไปตามถิ่นต่างๆที่อาจเหลืออยู่ ซึ่งกระท่อนกระแท่น ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน (ยังทราม) แต่ก็ยังเหลือดีอยู่ให้สามารถเหลือเค้าโครงไว้ให้แต่งเป็นรูปแบบต่อมาได้ คือ สามารถที่จะแต่งเป็นเรื่องจากเค้าโครงที่สูญหายไปเสียมากนั่นเอง ซึ่งรัชสมัยนี้วรรณกรรมรามเกียรติ์ได้กำเนิดถึง ๔ ตอน คือ

ตอนที่ ๑ ตอนพระมงกุฎ
พระมงกุฎอยู่ป่า
พระรามเสี่ยงม้า
พระมงกุฎขี่ม้าเสี่ยงทาย หนุมานจะจับ ถูกพระมงกุฎเสกมนตร์มัดตัว
พระพรตจับพระมงกุฎ
พระลบแจ้งข่าวนางสีดา พระมงกุฎถูกจองจำ
พระลบช่วยพระมงกุฎหนี พระรามเตรียมยกทัพไปจับพระมงกุฎ

ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานริน จนท้าวมาลีวราชมา
หนุมานเกี้ยววานริน
ทศกัณฑ์ให้นนยุเวกวายุเวกไปตามท้าวมาลีวราช
หนุมานเกี้ยววานริน
ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์
ท้าวมาลีวราชให้พระวิษณุกรรมไปตามพระราม

ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
ท้าวมาลีวราชสอบความข้างพระราม
ท้าวมาลีราชสอบความนางสีดา
ท้าวมาลีวราชตัดสินความ
ทศกัณฑ์พาล ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ทศกัณฑ์คืนเมือง คิดแค้นพระรามพระลักษมณ์และเหล่าเทวา

ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษมฌ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
พระอินทร์ให้เทพพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด
ทศกัณฑ์คิดว่าพิเภกเป็นต้นคิดทำลายพิธี ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภก
พระลักษมณ์ถูกหอกทศกัณฑ์ พิเภกบอกวิธีแก้
หนุมานหายาแก้พระลักษมณ์ให้ฟื้น ผูกผมทศกัณฐ์ติดกับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ให้ตามฤษีโคบุตรมมาช่วย

ยกตัวอย่างตอนพระมงกุฎอยู่ป่า
พระมงกุฎอยู่ป่า
 
๏ มาจะกล่าวบทไป  หน่อในอวตารรังสี 
หาผลปรนนิบ้ติชนนี  ทั้งพระฤษีมีญาณ 
ว้นหนึ่งชวนน้องเข้าพาที  พระมุนีจงโปรตเดฉาน 
ข้าไสร้เกลือกคนภัยพาล  ขอประทานรํ่าเรียนวิชา 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฤษีรักจูบกระหม่อมเกศ  สอนให้เล่าเวทคาถา 
ฯ เจรจา ฯ 
 
๏ หุดีกุณฑ์กองวิทยา  เจ็ดราตรีศรผุดพลัน 
ฯ ตระ ฯ 
 
๏ จึงประสิทธิ์ประสาทธนูศิลป์  เจ้าจินดารมณ์หมายมั่น 
เมึ่อลั่นซั้นซ้ำมนตร์พลัน  สรรพโลกไม่ทนฤทธา 
ฯ เจรจา ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายสองกุมารเรียนเสร็จ  ได้ทั้งกลละเม็ดคาถา 
รบเอาธนูศิลป์มา  ลาล่าหาผลพนาลี 
ฯ เข้าม่าน ฯ 
 
๏ ครั้นถึงกาลวาตพนาลัย  ปราศัยน้องลบเรืองศรี 
ฝ่ายพี่จะแผลงฤทธี  ยิงรังด้นนี้ให้ขาดไป 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ เจ้าลบว่าใหญ่ถึงแสนวา  ข้าเจ้าเห็นหาห้กไม่ 
๏ พระมงกุฎก็วางศรชัย  สนั่นไปถึงชั้นพรหมา 
ตระเชิด 
๏ ถูกรังต้นใหญ่สินขาด  ยับเยินวินาศดังฟ้าผ่า 
แล้วกลับต่อว่าอนุชา  น้องยาจะว่าประการใด 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ พระลบสรรเสริญบุญญา  อานุภาพเป็นหาที่สุดไม่ 
พระชนนีจะมิตกใจ  ก็ชวนเก็บผลไม้กลับมา 
ฯ พญา เดิน ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระฤษีสนั่นเสียง  สำเนียงกึกก้องเวหา 
ตกใจทิ้งนางสีดา  ก็ลีลาออกตามกุมาร 
ฯ เชิด ๒ คำ ฯ 
 
๏      ฝ่ายพระพี่น้องเห็นฤษี  ก็วิ่งเข้าอัญชลีทูลสาร 
ทิ้งนางสีดาดวงมาลย์  พระอาจารย์มาไยชนนี 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ พระมุนีสีดาว่าดูเอา  ให้เราตกใจถึงสองศรี 
สุ้งเสียงอะไรเมื่อกี้  คิดว่าอสุรีพะพาน 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระมงกฎทูลไข  หาไม่ดอกยิงไม้พฤกษาสาร 
๏ เจ้าลบว่าแสนอ้อมประมาณ  พฤกษาสารสูงเทียมเมฆา 
หักย้บสะบั้นสินขาด  วินาศดุจดั่งฟ้าผ่า 
ที่กาลวาตพนาวา  หาภ้ยมิได้พระมุนี 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ สีดาว่ายิงทำไม  ให้ตกใจทั้งพระฤษี 
นี่ลูกอะไรน่าใคร่ตี  ก็พาทีขู่รู่กุมาร 


คุณไซมีสยกตัวอย่างมายาว   แต่ไม่ได้อธิบายให้เห็นว่า ยังทรามพอดีหมายถึงอะไร ตรงใด หัก ๑ คะแนน
แต่ก่อนอื่น ต้องหักคะแนนที่ตอบล่ากว่าเวลาย่ำรุ่ง (๖ โมงเช้า) ๑  คะแนน

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น  
จะหมายถึง  ใบลานที่จารเรื่องไตรภูมิพระร่วงเมืองปากน้ำ? หรือ สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี?
แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็จะเรียกว่าวรรณกรรมสมัยธนบุรีไม่ได้  คงเรียกได้แต่หนังสือหรือเอกสาร
ที่สร้างขึ้นคัดลอกขึ้นสมัยธนบุรีเท่านั้น   ตรงนี้ หัก ๑ คะแนน

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน
แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่"

คำว่าพระราชนิพนธ์นั้นชื่อชัดอยู่  ไม่ว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เองหรือมีรับสั่งให้ข้าราชการแต่งถวาย
แล้วนำมาอ่านเพื่อมีพระราชวินิจฉัยจะตัดแก้ไขอย่างไร  อย่างนี้ก็เรียกพระราชนิพนธ์
บทละครรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑ และ๒ ก็เป็นเช่นนี้  ส่วนจะเป็นหน้าที่อาลักษณ์หรือไม่นั้น
คิดว่าไม่ควรชี้ลงไปขนาดนั้น  เพราะจริงๆ อาลักษณ์เป็นผู้คัดลอกลงสมุดของหลวง
ขอหัก อีก ๑ คะแนน

รวมได้ไป ๖  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 09:18
วันนี้  คำถามจะมาเวลาบ่าย
นักรบทั้งหลาย โปรดเล่นกระทู้อื่นๆ ไปก่อนนะครับ

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 13:25
คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ;D





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 13:37
จะค้นหามาถวายอย่างดีเลิศ  แต่จะหามาให้ชมไม่แน่ใจ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 16:00
คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ;D





๑.   ตราพระรามทรงรถ เป็นตราประจำกระทรวงคมนาคม
แต่เดิมดวงตรานี้เป็นตราสำหรับกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงคมนาคมเดิมใช้ตราพระอินทร์ทรงช้าง แต่มีขนาดใหญ่โตเกินไป จึงโปรดเกล้าฯให้ใช้ตราพระรามทรงรถ ให้เข้าเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นเลิกกระทรวงโยธาธิการมารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตั้งเป็นกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมขึ้นในรัชกาลทที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตราดวงนี้จึงตกมาเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

ครั้นเมื่อปรับปรุงกระทรวงใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการภายหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถจึงตกไปเป็นตราของกระทรวงคมนาคมจนบัดนี้

อ้างถึงหนังสือพระราชลัญจกรและตราประจำตำแหน่ง เรียบเรียงโดยพระยาอนุมานราชธน, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ หน้าที่ ๔๒


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มี.ค. 11, 16:00
คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ;D

ขอตอบค่ะ  ;D  (แบ่งตอบเป็นตอน ตอนละ 4 ข้อนะคะ เพราะลงภาพได้ทีละ 4 ภาพ)

1.   กระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ
แต่เดิม ตราพระรามทรงรถ เป็นตราใหญ่ของ กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเดิมใช้ตราอินทร์ทรงช้าง แต่มีขนาดโตไป จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็น ตราพระรามทรงรถ ให้เข้ากับเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นเลิกกระทรวงโยธาธิการ มารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตั้งกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ขึ้น ในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2468 ตราดวงนี้จึงตกมาเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ครั้นเมื่อปรับปรุง กระทรวงนี้ขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ภายหลัง เมื่อ พ.ศ. 2484 ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงการเศรษฐกิจ และกระทรวง คมนาคม ตราพระรามทรงรถ จึงตกมาเป็นตราของกระทรวงคมนาคม จนบัดนี้ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 3 ตุลาคม 2484
 http://www.news.mot.go.th/motc/portal/us/history_Logo.asp

2.   กระทรวงอุตสาหกรรม ตราพระนารายณ์กวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร
สัญลักษณ์นี้สืบเนื่องมาจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร เพื่อช่วยให้เทพทั้งปวงมีภาวะเป็นอมตะ ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกนี้ด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงนำตรานี้มาเป็นตรากระทรวงในความหมายว่าอุตสาหกรรมเป็นผู้สร้างให้เกิดสิ่งต่างๆ นั่นเอง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)

3.   กระทรวงการคลัง ตรานกวายุภักษ์
เป็นนกที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ว่า อสูรวายุภักษ์ รูปร่างเป็นนกอินทรี ตัวและหน้าเป็นยักษ์ มีปีก มีหาง มีเท้าเหมือนครุฑ แต่หางมีแววเหมือนนกยูงตามประวัติในเรื่องรามเกียรติ์ว่า วายุภักษ์มีพ่อเป็นอสูรผู้ครองกรุงวิเชียร ซึ่งอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก จึงมักจะเที่ยวข่มเหงรังแกเทวดาและฤาษีชีไพรอยู่เสมอ เมื่อพระรามพระลักษมณ์ออกเดินดงครั้งที่ 2 อสูรวายุภักษ์บินผ่านมาพบเข้าจึงโฉบลงมาจับพระราม พระลักษณ์จะนำไปกินเป็นอาหาร หนุมาน สุครีพ และไพร่พลลิงก็รีบตามไปช่วย และได้เข้าต่อตีกับอสูรวายุภักษ์  ในที่สุดก็ช่วยพระราม พระลักษมณ์ไว้ได้ และองคตกับนิลพัทก็ได้ฆ่าอสูรวายุภักษ์ตาย
รูปนกวายุภักษ์ เดิมเป็นตราตำแหน่งพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ผู้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าทำการคลังมาก่อน คณะเสนาบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กำหนดให้นำตรานกวายุภักษ์มาใช้เป็นตรากระทรวงพระคลัง และใช้เป็นตรากระทรวงการคลังติดต่อกันเรื่อยมา โดย สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงใช้รูปนกการเวกเป็นแบบการเขียนตราวายุภักษ์ โดยตรัสอธิบายว่า นกกินลม จึงเหมาะที่จะเป็นตราของกระทรวงการคลัง

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

4.   ตราประจำกรุงเทพมหานคร ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตามแบบภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ตรานี้ เคยใช้เป็นตราเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยมีข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้าง เป็นคำว่า "เทศบาลนครหลวง"
ปัจจุบันเป็นตราประจำกรุงเทพมหานคร โดยมีข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้าง เป็นคำว่ากรุงเทพมหานคร

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 16:01
๒.   ตราหนุมานสี่กร เป็นตราประจำตำรวจ
ตำรวจไทยเกิดเป็นรูปแบบองค์กรครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 4 ทรงโปรดให้จัดตั้งองค์ตำรจและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เป็นระบบ แสดงความเป็นอารยะทัดเทียมตะวันตกโปรดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูป  "หนุมานสี่กร"                       
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเป็นพระราชหัตถเลขา อนุญาต ให้กรมตำรวจภูธรใช้พระรูปพระแสงดาบเขนและโล่ ประจำที่มุมธงและใช้เป็นตราประจำกระดาษสำหรับราชการในกรมตำรวจภูธร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2445 ตราโล่เขนนี่ ออกแบบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2440 โดย หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย (ผู้ผุกลายพระราชลัญจกรแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2416)

                      ถึงสมัยราชการที่ 6 ดาบเขนและโล่ได้ปรากฏอยู่ในพระธรรมนูญตราที่โปรดเกล้า ฯ ให้ตราขึ้น เมื่อ พ.ศ.2453 ให้เป็นตราประจำกรมพลตระเวน (ต่อมา พ.ศ. 2458 เปลี่ยนเป็นกรมพลตำรวจนครบาล) ปัจจุบันใช้ตราโล่ห์เขนเป็นสัญลักษณ์แทน
อ้างถึงแหล่งที่มา http://www.uttaradit.police.go.th/thar3.html


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มี.ค. 11, 16:03
(ตอบข้อ ๘๑ ต่อค่ะ)
5.   พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7  ตราพระราชลัญจกรพระแสงศร
ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้งบังแทรก สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์ คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
http://www.baanjomyut.com/library/calendar/mark_king/index.html

6.   กรมสรรพสามิต ตรารูปนกวายุภักดิ์
รูปนกวายุภักดิ์ ภายใต้อุณาโลมเปล่งรัศมี อักษรตอนล่างว่า “ สรรพสามิตต์ ” ริมขอบล่างมีลวดลายกนกล้อมรอบนกวายุภักษ์  ซึ่งมีปรากฏในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2493 ได้เปลี่ยนชื่อ “ กรมสรรพสามิตต์ ” เป็น “ กรมสรรพสามิต ” แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลง คำว่า “ สรรพสามิตต์ ” ในดวงตราประจำกรมแต่อย่างใด
http://www.excise.go.th/index.php?id=424&L=1%2520and%25201%253D0%2520union%2520select%2520*%252F (http://www.excise.go.th/index.php?id=424&L=1%2520and%25201%253D0%2520union%2520select%2520*%252F)

7.   กรมพลศึกษา ตราพระพลบดี
เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ  แต่ทางกรมมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า พระพลบดี แปลว่า เจ้าแห่งพละกำลัง
ตรา พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมือถือวชิราวุธเป็นอาวุธ คล้ายกันกับตราประจำกรุงเทพมหานคร แต่พระพลบดีหรือพระอินทร์ของกรมพลศึกษา นั้น วชิราวุธเป็น 2 ด้าน 2 คม และช้างเอราวัณมี 3 เศียร ส่วนของกรุงเทพมหานคร วชิราวุธมีด้านเดียว และช้างก็มีเศียรเดียว http://www.vcharkarn.com/vcafe/4683/2
กรมพลศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ในชื่อ กรมพลศึกษา เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม และถ่ายโอนภารกิจของกรมพลศึกษา แยกออกไปสังกัดกับหน่วยงานต่างๆ เช่น งานสารวัตรนักเรียน ไปขึ้นกับสำนักพัฒนานักเรียนนักศึกษาและกิจการพิเศษ งานลูกเสือ ไปขึ้นกับสำนักกิจการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนกิจการด้านการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ไปขึ้นกับสถาบันการพลศึกษา และภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ นันทนาการ เป็นสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กลับไปเป็น กรมพลศึกษาเช่นเดิม ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ คือ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

8.   กรมตำรวจ ตราหนุมานสี่กร
ตำรวจไทยเกิดเป็นรูปแบบองค์กรครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้จัดตั้งองค์กรตำรวจและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เป็นระบบ แสดงความเป็นอารยะทัดเทียมตะวันตกโปรดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูป "หนุมานสี่กร"
ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเปลี่ยนตราสัญญลักษณ์มาใช้รูปพระแสงดาบเขนและโล่ เป็นรูปวงกลมเส้นคู่สองชั้น วงนอกเป็นลายพรรณพฤกษา วงในเป็นลายใบเทศผูกลายเป็นรูปหน้าสิงห์หรือหน้ายักษ์เรียกว่าจตุรมุข ตามธรรมเนียมโบราณที่แกะสลักรูปหน้ายักษ์จตุรมุขไว้บนหน้าบันประตู ทั้งสี่ทิศของปราสาทหิน ด้วยความเชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์ทวารเข้า-ออก ปกป้องคุ้มครองและขจัดสิ่งชั่วร้ายส่วน "ดาบ" ที่คาดติดอยู่ในปลอก มีลวดลายกนก ทั้งนี้สัญลักษณ์ไม่จำกัดสีและขนาด
http://logosociety.blogspot.com/2010/07/blog-post_5798.html


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 16:04
๓.ตราหอระมาน (หนุมาน) ประจำจังหวัดเชียงราย
อดีตพ.ศ. ๒๔๓๗ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๕ได้พระราชบัญญัติจัดตั้งมณฑลต่าง ๆ ขึ้น ยุคนี้มีการรวมอาณาจักรล้านนาอันเป็นเมืองประเทศราชเข้าเป็นมณฑลพายัพโดยมีการส่งข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณขึ้นมาปกครองแทนเจ้าเมืองหรือเจ้าหลวงและต่อมาได้กลายมาเป็นการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด โดยสมัยนั้นเรียกว่าข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพภาคเหนือ รับราชกาลต่างพระเนตรพระกรรณพระมหากษัตริย์สำหรับในจังหวัดเชียงรายได้มีพระภักดีณรงค์เป็นข้าหลวงคนแรกมาปกครองเมืองเชียงราย
แหล่งอ้างอิง http://board.palungjit.com/f17/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-148241.html


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 16:10
โอ้โฮ  ใส่กันใหญ่เลย   หมดไส้หมดพุงหรือยังเนี่ย  
แต่ขอตั้งสังเกตก่อนตรวจหน่อยเถอะว่า  ข้อมูลเหมือนกันโดยมากเลย
มีที่ต่างกันน้อยที่นัก   ดูจะหนักไปทางรูปนะ
พิมพ์ผิดก็มี มีที่ให้หักคะแนนเยอะเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 11, 16:36
โอ้โฮ  ใส่กันใหญ่เลย   หมดไส้หมดพุงหรือยังเนี่ย 
แต่ขอตั้งสังเกตก่อตรวจหน่อยเถอะว่า  ข้อมูลเหมือนกันโดยมากเลย
มีที่ต่างกันน้อยที่นัก   ดูจะหนักไปทางรูปนะ
พิมพ์ผิดก็มี มีที่ให้หักคะแนนเยอะเลย

ถ้าคุณหลวงพิมพ์ผิดจะขอคะแนนเพิ่มได้ไหมคร้าบบบบบบ
โอ้โฮ  ใส่กันใหญ่เลย   หมดไส้หมดพุงหรือยังเนี่ย 
แต่ขอตั้งสังเกตก่อตรวจหน่อยเถอะว่า  ข้อมูลเหมือนกันโดยมากเลย
มีที่ต่างกันน้อยที่นัก   ดูจะหนักไปทางรูปนะ
พิมพ์ผิดก็มี มีที่ให้หักคะแนนเยอะเลย  8) ;) :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 11, 16:42

       แวะมาอ่านอย่างเดียวค่ะ        ไม่ได้หัวเราะเลย 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มี.ค. 11, 16:43
ดีใจที่คุณ Wandee แวะเข้ามาค่ะ หายไปหลายวันเลยนะคะ คิดถึงจัง  ;D

แวะมาอ่านอย่างเดียวค่ะ        ไม่ได้หัวเราะเลย  

หนูว่า หนูได้ยินเสียงหัวเราะ ดังมาแว่วๆ นะคะ..ฮิฮิ..

(ขอตอบข้อ ๘๑ ต่อค่ะ)  ;D

9. อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ตราหนุมาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ได้ทรวงผนวชหลายพรรษาก่อนเสวยราชสมบัติ จึงมีเวลาศึกษาวิทยาการต่าง ๆ ทั้งใหม่เก่าจนเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในเอเชียที่สามารถตรัส เขียนภาษาอังกฤษได้รวมทั้งสอบเปรียญทางภาษาบาลี-สันสกฤต อีกด้วย เมื่อขึ้นครองราชต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชแล้ว จึงทรงรับมือกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ต่อชาวต่างประเทศได้ดี สำหรับการปกครองภายในประเทศนั้นก็ทรงปรับปรุงตัวบทกฎหมายมี พระบรมราชโองการต่าง ๆ หลายฉบับซึ่งเป็นสำนวนภาษาอันรัดกุม สละสลวยยิ่ง ส่วนชื่อเมืองที่ไม่ไพเราะขัดหูก็ทรงพระกรุณาพระราชทานชื่อให้ใหม่ โดยอิงชื่อเดิมอย่างถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ 3 เมืองคือ เมืองบางสะพาน เปลี่ยนเป็น เมืองประจวบคีรีขัน คู่กับเมืองเกาะกง ฝั่งตรงข้ามอ่าวไทยเป็นเมืองจันต์คีรีเขต (ต่อมาฝรั่งเศสยึดครองและยกให้เขมร) อีกเมืองหนึ่งอยู่บริเวณภูพานได้ทรงเปลี่ยนชื่อ จากเมืองสกลทวาปี เป็นสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2381 เมืองนี้เป็นเมืองของชาวย้อถือเป็นเมืองพี่ แล้วพระองค์ก็ได้ยก “ บ้านกุดลิง ” ของชาวโย้ยซึ่งเป็นเมืองน้อง พระราชทานชื่อใหม่ให้คล้องจองกันเป็นเมือง “ วานรนิวาส ” เมื่อวันจันทร์แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา ตรีศกจศ. 1223 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2404
บ้านกุดลิง (วานรนิวาส) มีชื่อมาจากคำว่า กุด คือลำน้ำที่ไหลมาหยุด ส่วนลิงนั้นมิใช่มีลิงมากแต่เพราะมีต้นหูลิงอยู่มาก ต้นหูลิงนั้นบางคนเรียกว่า “ ต้นหูหมาน ” กินได้เป็นยา ตำนานบางเรื่องว่า คือ “ สังกรณี-ตรีชวา ” เมื่อหนุมานเหาะมาจากเขาสุวรรณบรรพตแล้วเหาะผ่านมา บางส่วนกระเด็นมาตกเป็น “ ภูลังกา ” อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ต้นสมุนไพรสังกรณี-ตรีชวาจึงงอกแพร่พันธุ์เรียกว่าต้นหูหมาน (หนุมาน) หรือหูลิงเพราะใบเหมือนหูลิงมาก จึงเป็นที่มาของการใช้รูปหนุมาน เป็นตราประจำอำเภอ
http://wanonniwat.sakonnakhon.doae.go.th/html/resume.html (http://wanonniwat.sakonnakhon.doae.go.th/html/resume.html)

10. ตราพระราชลัญจกรมหาสุรสิงหนาท รูปพระลักษณ์ทรงหนุมาน
ตราพระราชลัญจกรมหาสุรสิงหนาทนี้เป็นรูปพระลักษณ์แผลงศร ทรงหนุมานแผลงฤทธิ์ ออกศึกสงคราม เป็นตราประจำพระองค์ของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑
ความหมายของตรา เส้นรัศมีที่พุ่งออกมาโดยรอบ ภายในวงกลมสีแดง หมายถึง พระอัจฉริยภาพของพระองค์ ที่แสดงแสนยานุภาพแผ่ไพศาลไปทุกสารทิศส่วนขอบที่มีลักษณะเป็นเส้นร้อยคล้องต่อกันนั้น หมายถึง ความร่วมมือ ร่วมใจ ด้วยความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99&imgurl=http://www.surasee.com/images/sub_1262658367/111.gif&imgrefurl=http://www.surasee.com/index.php%3Flay%3Dshow%26ac%3Darticle%26Id%3D538973075%26Ntype%3D5&usg=__ufxo-7M639u0SeoG4_uP0oLPcbE=&h=500&w=531&sz=144&hl=th&zoom=1&tbnid=nFXXTBXraQY29M:&tbnh=124&tbnw=132&ei=sGZvTbaRHoq8rAeOiNmEDw&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%26start%3D20%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbs%3Disch:1&um=1&itbs=1&start=31&um=1&sa=N&tbs=isch:1#tbnid=nFXXTBXraQY29M&start=35 (http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99&imgurl=http://www.surasee.com/images/sub_1262658367/111.gif&imgrefurl=http://www.surasee.com/index.php%3Flay%3Dshow%26ac%3Darticle%26Id%3D538973075%26Ntype%3D5&usg=__ufxo-7M639u0SeoG4_uP0oLPcbE=&h=500&w=531&sz=144&hl=th&zoom=1&tbnid=nFXXTBXraQY29M:&tbnh=124&tbnw=132&ei=sGZvTbaRHoq8rAeOiNmEDw&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%26start%3D20%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbs%3Disch:1&um=1&itbs=1&start=31&um=1&sa=N&tbs=isch:1#tbnid=nFXXTBXraQY29M&start=35)

11. กองพันทหารช่างที่ 112 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ตราหนุมาน
ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปหนุมาน ทหารเอกของพระราม เหาะอยู่กลางอากาศ มือซ้ายถืออาวุธตรี หันหน้าไปทางขวาเบื้องล่างสุดมีแพรแถบปลายแฉกสะบัดขึ้นทั้งสองข้าง กลางแพรแถบมีคำว่า  " กองพันทหารช่างที่ ๑๑๒ "
http://chor112.com/html/history_112.html (http://chor112.com/html/history_112.html)

12. ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตราพระรามแผลงศร
ตราประจำองค์การบริหารส่วนตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ตราพระรามแผลงศร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
http://www.kokyang.go.th/web/index.php/mainmenu (http://www.kokyang.go.th/web/index.php/mainmenu)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มี.ค. 11, 16:49
โอ้โฮ  ใส่กันใหญ่เลย   หมดไส้หมดพุงหรือยังเนี่ย 
แต่ขอตั้งสังเกตก่อตรวจหน่อยเถอะว่า  ข้อมูลเหมือนกันโดยมากเลย
มีที่ต่างกันน้อยที่นัก   ดูจะหนักไปทางรูปนะ
พิมพ์ผิดก็มี มีที่ให้หักคะแนนเยอะเลย

ถ้าคุณหลวงพิมพ์ผิดจะขอคะแนนเพิ่มได้ไหมคร้าบบบบบบ
โอ้โฮ  ใส่กันใหญ่เลย   หมดไส้หมดพุงหรือยังเนี่ย 
แต่ขอตั้งสังเกตก่อตรวจหน่อยเถอะว่า  ข้อมูลเหมือนกันโดยมากเลย
มีที่ต่างกันน้อยที่นัก   ดูจะหนักไปทางรูปนะ
พิมพ์ผิดก็มี มีที่ให้หักคะแนนเยอะเลย  8) ;) :P

คนละเรื่องเดียวกันเลย   ถ้าผิดน้อยแห่ง  ผมก็ไม่หักคะแนน
แต่ถ้าผิดมาก ๔ แห่งขึ้นไป  ผมต้องหักบ้าง  เพราะเวลาที่ให้ตอบ
ก็ให้เวลาอยู่   อยากให้คนตอบพิถีพิถันมากกว่านี้ 
ถ้าเป็นข้อความโต้ตอบธรรมดา  ถึงพิมพ์ผิดก็ไม่หักคะแนน

การแซวผู้ตั้งคำถามอย่างนี้  นอกจากไม่ขำแล้ว
อาจจะทำให้คะแนนหดหายได้ด้วย   พึงระวัง
เพราะพักนี้หงุดหงิดง่ายจังเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มี.ค. 11, 17:55
(ขอตอบข้อ ๘๑ ต่อค่ะ)

13. สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี ตรานารายณ์ทรงศร
       ดวงตราเครื่องหมายของเทศบาลนี้เป็นรูปพระนารายณ์ทรงศร เพราะเมืองลพบุรีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นผู้ทรงสร้างขึ้นและโดยที่มีเรื่องรามเกียรติ์ ที่ว่าพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามช่วยมนุษย์รบกับยกษ์ (ทศกัณฐ์) เทศบาลจึงได้กำหนดดวงตราเครื่องหมายเป็นรูปพระนารายณ์ทรงศร เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่เมือง และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
      รายละเอียดของตรา เป็นตรารูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15.07 เซนติเมตร และอาจย่อลงเล็กลงเท่าไรก็ได้ ตามความประสงค์
รูปลักษณะ ตรงกลางมีรูปพระราม (พระนารายณ์อวตาร) ยกศรชื่อมหาธนูโมลี เป็นศรของพระอิศวรที่ทรงใช้ปราบยักษ์ตรีบุรัม แล้วประทานไว้ที่เมืองมิถิลา ต่อมาท้าวขนกจักรวรรดิเจ้าเมืองมิถิลาได้ใช้ศรเล่มนี้สำหรับเสี่ยงทายหาคู่อภิเษกให้นางสีดาและพระรามเป็นผู้ยกได้

          ครั้นถึงจึ่งยื่นพระหัตถ์ขวา      อันมีลักขณาประภัสสร
งามดั่งงวงเทวกุญชร                      พระสี่กรจับคันศิลปชัย
อันมหาธนูสิทธิศักดิ์                        จะหนักพระหัตถ์ก็หาไม่
ยกขึ้นได้คล่องว่องไว                       ภูวไนยกกวัดแกว่งสำแดงฤทธิ์

วรรณคดีไทยรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
โรงพิมพ์คุรุสภา เล่ม 1 หน้า 388

และมีลายช่อกนกประกอบอยู่สองข้าง เบื้องบนมีอักษร "สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี" เบื้องล่างมีอักษร "จังหวัดลพบุรี"
สีพื้นเป็นสีเหลืองนวล (นวลจันทร์) หมายถึงสีประจำวันจันทร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามหลักฐานในพระพงศาวดาร
หากจะพิมพ์บนหัวกระดาษเป็นลายเส้นสีเดียว ควรใช้สีเขียว อันเป็นสีแสดงสัญญลักษณ์ของเทศบาล
http://www.lopburicity.com/history.htm (http://www.lopburicity.com/history.htm)

14. จังหวัดอุดรธานี ตราประจำจังหวัด ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)
      ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร ภาษาทมิฬ เรียกว่า กุเปรัน ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่าเป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ เป็นพญายักษ์ถือกระบอง ซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483
http://www.okkid.net/home/blog_journal_detail.php?journal_id=4065 (http://www.okkid.net/home/blog_journal_detail.php?journal_id=4065)

15. จังหวัดน่าน ตราเมืองเป็นรูปโคอุศุภราช
      ตราเมือง ในอดีตทำด้วยงาช้างกลึงทรงกรวยกระบอก หัวเม็ดบริเวณหน้าสัมผัสที่ใช้กดประทับ และสลักเป็นรูปทรงกลม ภายในมีลวดลายสลัก เป็นรูปโคอุศุภราชล้อมรอบด้วยลายช่อกนกประกอบพื้นช่องไฟ ดวงตรานี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงใช้เป็นตราเมืองสำหรับประทับในหนังสือ กราบบังคมทูลถวายรายงานข้อราชการแก่พระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์ และประทับในหนังสือราชการงานเมืองต่าง ๆ
     จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2481 เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการริเริ่มออกแบบ ดวงตราประจำจังหวัด โดยให้ยึดหลักองค์ประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เช่น ปูชนียวัตุถหรือปูชนียสถานที่สำคัญ ที่ประชาชนในจังหวัดให้ความเคารพ กราบไหว้บูชา
      จังหวัดน่านจึงจัดทำตราเมืองแบบใหม่ขึ้น โดยดวงตราแบบใหม่นี้ ยังคงไว้ซึ่งสัญลักษณ์และความหมายของตราเมืองที่เคยใช้อยู่เดิม ได้ปรับปรุงโดยเปลี่ยน รูปโคอุศุภราชเสียใหม่ ให้แลดูสง่างามและเพิ่มพระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นปูชนียสถานเก่าแก่ที่สำคัญ และเป็นศูนย์รวมจิตใจ คู่บ้านคู่เมืองของน่านคือ เจดีย์พระธาตุแช่แห้ง และปรับปรุงลายช่อกนกประกอบพื้นช่องไฟให้แลดูเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ส่วนการให้สี กำหนดใช้ตามความเหมาะสมสวยงามทางด้านศิลปะ
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=15832.0 (http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=15832.0)

(โคอุศุภราช เป็นพาหนะของพระอิศวร ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนพระสัตรุดต้องหอกเมฆพัท หอกนี้พระอิศวรให้แก่สุริยาภพไว้ มียาแก้พิษคือต้องใช้ จันทน์แดงกับมูลอุศุภราช บดด้วยหินบดยาและลูกหินบดยาที่อยู่คนละที่กัน)  




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 11, 00:34
      
       คุณหนูดีดี  น่าจะได้ดาวทองเพราะขยันจัง  และจะต้องพาไปฉลองกินทีรามิสึชิ้นโตๆ กับน้ำชาขาวในถ้วยเดมิตาส(ทั้งบ้านมีอยู่ ๔ ถ้วย)

คุณอาร์ตไปเฝ้าสวนส้ม   ไม่ได้ยินเสียงพระเดชพระคุณเรียกหาตัว  


      
       ข้าพเจ้าอ่านหนังสือ "เรื่องของตา  เรื่องของปู่"  จบแล้ว    มีตอนน่ารักๆหลายตอนเลย    ลายเซ็นของผู้ประพันธ์นั้นเขียนว่า  "เป็นผู้รักใคร่สนิทสนมเหมือนญาติ"

ได้มาสามอาทิตย์แล้วค่ะ             ท่านจขกทผู้อยากอ่านมากที่สุดประชดว่า  "ไปอิ๊บของใครมาล่ะ"

รับประทานลืมไปแล้วฤาว่าข้าพเจ้ารับของกำนัลเป็นหนังสือเท่านั้น  

มีประวัติของ คุณหลวงสุขกิจโกศล   ตาของตา

ตาของยาย  พระยาบรมบาทบำรุง

ตาของพ่อ   นายจรูญ  เอื้อชูเกียรติ

และ  ตาของแม่   นายสงัด  วสุธาร

พิมพ์ ธันวาคม ๒๕๕๑        แจกในงานอายุ ๖ รอบ ของคุณวิทยา  เวชชาชีวะ



       หนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มคือ  เกร็ดพงศาวดาร รัชการที่ ๖       คงต้องมาตามขอลายเซ็นแถวๆนี้     ขอกราบแสดงความยินดีกับท่านผู้ประพันธ์ด้วยค่ะ

เรียนขออนุญาต      คัดลอกมาฝากเรือนไทยสักตอนหนึ่ง  เพื่อเป็นความรู้สืบไป


       ขออภัยที่ละเมิดเนื้อที่ของกระทู้ที่มีสาระที่สุดกระทู้หนึ่ง      


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 มี.ค. 11, 10:03
ฮ่าฮ่า..มีหนูดีดี ตอบอยู่คนเดียว ท่านอื่นคงติดธุระอยู่มั้งคะ...

(ขอตอบข้อ ๘๑ ต่อค่ะ)

"คชสีห์"เป็นสัตว์หิมพานต์ มีลำตัวเป็นราชสีห์ มีหัวเป็นช้าง จึงเรียกเป็นครึ่งช้างครึ่งราชสีห์ในเรื่องรามเกียรติ์ กล่าวถึงคชสีห์3 ตัว ว่าใช้เทียมรถศึกให้มูลพลัมซึ่งเป็นอุปราชนครปางตาล ครั้งยกทัพไปช่วยทศกัณฐ์แต่ถูกศรพระลักษมณ์สิ้นชีวิต ในประวัติศาสตร์ไทยนั้น "คชสีห์" เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่งเสนาบดีตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
http://www.sonsue.com/kodjasi.php (http://www.sonsue.com/kodjasi.php)
ชุดนี้เป็นตราคชสีห์ค่ะ

16. ตราคชสีห์พิชัยสงคราม
ดวงตราคชสีห์ พิชัยสงคราม  เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาอำนาจวาสนา บารมี ดวงตรานี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นตราประทับของกองทัพ และยังใช้เป็นตราของแม่ทัพ นายกองรบ สมัยนั้น อีกด้วย
http://www.akefuture.com/product_view.asp?pid=580 (http://www.akefuture.com/product_view.asp?pid=580)

17. กระทรวงกลาโหม ตราคชสีห์
ตราประจำกระทรวงกลาโหม คือ ตราพระคชสีห์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวไว้ว่า เป็นตราเจ้าพระยามหาเสนาบดี ฯ สมุหพระกลาโหม มีทั้งตราใหญ่ ตรากลาง และตราน้อย ในราชพิพิธพระคชสีห์
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1 (http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีบันทึกว่าได้ทรงโปรดให้ชำระสะสางระเบียบราชการ ซึ่งเคยมีอยู่มากมาย แต่กระจัดกระจายหายไปบางส่วนตั้งแต่ครั้งเสียกรุงแก่พม่า ครั้นชำระแล้วให้ประทับตรา พระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้ทุกเล่มเป็นสำคัญ แล้วเรียกกฎหมายนี้ว่า "กฎหมายตรา 3 ดวง" ส่วนด้านการปกครองได้กำหนดตำแหน่งบังคับบัญชาไว้ 2 ตำแหน่งคือ สมุหนายก ให้บังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ใช้ตราพระราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง และสมุหกลาโหม ให้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง รวมถึงทหารบก และทหารเรือ ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนไปใช้ตราครุฑเป็นตราแผ่นดิน ตราพระคชสีห์ ก็ไม่ได้ปลดระวางไปไหน แต่ถูกนำมาใช้เป็น เครื่องหมายราชการแห่งกระทรวงกลาโหมมานับแต่บัดนั้น
http://web.ruammid.com/go.php?url=http://www.sonsue.com/kodjasi.php (http://web.ruammid.com/go.php?url=http://www.sonsue.com/kodjasi.php)

18. สำนักนายกรัฐมนตรี ตราคชสีห์
ตราราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรูปกลม ลายกลางเป็นรูปรัฐธรรมนูญมีรัศมี ประดิษฐานอยู่บนพาน 2 ชั้น เหนือตั่ง มีรูปราชสีห์กับคชสีห์ยืนในท่าเผ่นหันหน้าเข้าหากันอยู่ 2 ข้าง
ตรานี้มีฐานะเป็นตราราชการ กำหนดอยู่ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายตราราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2482 หน้า 2372
โดยตราราชการตรานี้ ถือว่าเป็นตราราชการประจำของรัฐบาลไทย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Seal_Prime_Minister_of_Thailand.png (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Seal_Prime_Minister_of_Thailand.png)

19. ตราพระคชสีห์น้อย  ตราพระคชสีห์ใหญ่ และตราพระคชสีห์เดินดง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้เป็นตราสำหรับตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม ตามระเบียบการใช้ตรา ใน ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)
โดย เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ใช้ตราคชสีห์ใหญ่ยืนแท่นลายเปลว ตราคชสีห์น้อยยืนแท่นลายเปลว และตราคชสีห์เดินดงลายใบไม้
และ ปลัดทูลฉลอง กรมปลัดทัพบก ใช้ตราคชสีห์ยืนแท่นลายเปลว มีอักษรว่า "ปลัดทูลฉลอง"
ปัจจุบัน ทั้งสองตำแหน่งได้ยกเลิกไปแล้ว
http://thaindc.org/files/M29(1).pdf (http://thaindc.org/files/M29(1).pdf)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มี.ค. 11, 10:46
วันนี้งดตั้งคำถาม ๑ วัน  เพราะเจ้าของกระทู้มีภารกิจติดพันมาก
คำถามจะเริ่มตั้งอีกในวันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม  ๒๕๕๔
จึงแจ้งมาให้รับทราบโดยทั่วกัน   

หลวงเล็ก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 มี.ค. 11, 10:48
ค่ะ..สงสัยคุณหลวง จะมึน ตราของหนูดีดี.. ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 11, 10:54
ค่ะ..สงสัยคุณหลวง จะมึน ตราของหนูดีดี.. ;D

ผมเองก็งง  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มี.ค. 11, 13:10
ค่ะ..สงสัยคุณหลวง จะมึน ตราของหนูดีดี.. ;D

คงจะใช่ครับ   คุณหลวงจากกระทรวงมุรธาธรที่ตั้งคำถามก็งง
ทำไมไม่เอาเฉพาะตราที่เห็นชัดๆ แจ้งๆ ว่าเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์
ตอบอย่างนี้  ออกจะเป็นการทอดแหลากอวนตาถี่
ติดหมดไม่ว่าจะเป็นปลาเล็กปลาน้อย  กุ้งฝอย  แพลงก์ตอน  ไรน้ำ
ซึ่งได้มาแล้วก็ใช้การอะไรไม่ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 มี.ค. 11, 13:16
หนูดีดี ก็ว่าที่ตอบมานี่เกี่ยวกะรามเกียรติ์นะคะ  ;D
มีแค่ตราของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เดิมเป็นตราหนุมานสี่กร น่ะค่ะ
หาแทบพลิกเน็ท ก็เจอแต่หนุมานแบบปลุกเสกค่ะ เลยเอาตราปัจจุบันมาให้ดูแทน... ;D

(คุณหลวง ตรวจและหักคะแนนได้ตามสบายนะคะ เอ!หรือว่าไม่มีคะแนนจะให้หัก.. ;D)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 มี.ค. 11, 15:10
คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ;D


เลยเวลาหน้าม่านมาไกลโข
แต่ไม่เป็นไรหักค่าภาษีเวลาเสีย 3 บาท ยังมีกำไรได้อีกมาก ;D

หาจากหนังสือใกล้มือก็พบว่ามีเพียงไม่กี่ตำแหน่งเท่านั้น

1. ตราหนุมานแผลงฤทธิ์
ผู้ถือ พระยาสีหราชเดโชชัย กรมอาสาหกเหล่า
ใช้เมื่อตั้งนายทหาร ณ หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ฝ่ายขวา
(กฏหมายตราสามดวง-พระธรรมนูญ
2. ตราองคตถือพระขรรค์
ผู้ถือ พระยาท้ายน้ำ กรมอาสาหกเหล่า
ใช้เมื่อตั้งนายทหาร ณ หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ฝ่ายซ้าย
(กฏหมายตราสามดวง-พระธรรมนูญ)
3. ตราพาลีถือพระขรรค์
ผู้ถือ พระพิชัยสงคราม เจ้ากรมอาสาซ้าย
4. ตราองคตถือธง
ผู้ถือ พระรามกำแหง เจ้ากรมอาสาขวา
5. ตราองคตนั่งแท่น
ผู้ถือ พระพิชัยรณฤทธิ์ เจ้ากรมเขนทองขวา
6. ตราหนุมานถือกิ่งไม้
ผู้ถือ พระวิชิตณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้าย
(3-6 จาก กฏหมายตราสามดวง-พระอัยการนาทหาร)
7. ตรานารายณ์บรรทมสินธุ์
ผู้ถือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
8. ตราหนุมานสี่กรเหาะ หาวเป็นดาวเป็นเดือน
ผู้ถือ จางวางกรมพระตำรวจหลวง (พระยาอภัยรณฤทธิ์, พระยาอนุชิตชาญชัย)
9. ตราสุครีพ
ผู้ถือ พระยามหานุภาพ จางวางกรมพลพันขวา
10. ตราองคตถือสาร
ผู้ถือ หลวงเสนาภิมุข กรมอสาญี่ปุ่น
11. ตราหนุมานแต่งเครื่องนั่งถือสาร
ผู้ถือ พระยาราชวังสรรค์ กรมอาสาจาม
12. ตราหนุมานนั่งถือพระขรรค์ ถือธง
ผู้ถือ หลวงรามรักษา กรมล้อมวัง
13. ตราองคตเหาะ
ผู้ถือ หลวงเสนานนท์ อาสาใหม่กรมท่า
(7-13 จาก ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 7 เรื่อง บัญชีโคมตราในพระราชพิธีวิสาขบูชา รัชกาลที่ 4)
ส่วนรูปร่างของตราเป็นยังไงก็จนด้วยเกล้า เพราะไม่เคยเห็น คงจะเหมือนชื่อกระมั้ง เหาะก็คือเหาะ นั่งก็คือนั่ง
ถืออะไรก็ถืออันนั้น
ใช้เมื่อไร ก็คงเป็นในราชการเฉพาะของผู้ถือตราต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับตน
อย่างตราหนุมานนั่งถือพระขรรค์ ถือธง ของหลวงรามรักษานั้น คุณหลวงรามฯ ก็ใช้ได้เพียงผู้เดียว
และใช้ในราชการกรมล้อมพระราชวังของตน เช่นบาดหมายต่างๆ การเกณฑ์ การเข้าเวรออกเวรอะไรพวกนั้น

คงมีอีกในหนังสือที่เกี่ยวกับตราประจำตำแหน่ง หรือเกี่ยวกับตราประจำพระองค์ต่างๆ
ต้องลองบอกคุณหลวงกระทรวงมุรธาธรว่าให้ไปค้นดูในคลังเถิด คงจะพบตราที่เลิกใช้แล้วและยังเก็บไว้อยู่มาก



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มี.ค. 11, 16:23
ตรวจคำตอบคุณไซมีสก่อน 
คุณไซมีสตอบมา ๓ ตัวอย่างคือ
๑.ตราพระรามทรงรถ เป็นตราประจำกระทรวงคมนาคม
๒.ตราหนุมานสี่กร เป็นตราประจำตำรวจ
๓.ตราหอระมาน (หนุมาน) ประจำจังหวัดเชียงราย

มีรายละเอียดครบถ้วนดี  โดยเฉพาะตราดวงสุดท้าย ชอบมาก
แม้จะตอบมาน้อย  แต่คุณภาพดี  ให้  ๒๐ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มี.ค. 11, 16:49
คุณดีดี  เป็นผู้มีมานะอุตสาหะอย่างยิ่ง
ตอบมายาวหลายความเห็น  คนตรวจหนักใจมาก

๑.ตราพระรามทรงรถ ไม่มีปัญหา ผ่าน

๒.ตราพระนารายณ์กวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร  ไม่ผ่าน  เพราะนอกเรื่องรามเกียรติ์

๓.ตรานกวายุภักษ์   ไม่ผ่าน  เพราะอสูรวายุภักษ์กับนกวายุภักษ์เป็นคนละตัวกัน
นกวายุภักษ์ของเก่าตัวอ้วน ปีกสั้นๆ  ดูคล้ายกับนกกระทาตัวใหญ่ๆ  
ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นนกการเวก ดูสง่างาม

๔.ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ข้อนี้ก้ำกึ่ง  ตัดสินใจไม่ให้ผ่าน
เพราะไม่ชัดเจนว่าเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์โดยตรงหรือไม่

๕.พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7  ตราพระราชลัญจกรพระแสงศร
ข้อนี้ให้ผ่าน  

๖.กรมสรรพสามิต ตรารูปนกวายุภักดิ์ ไม่ผ่าน ได้อธิบายไปแล้วว่าทำไม

๗.กรมพลศึกษา ตราพระพลบดี  ไม่ผ่าน เหตุผลเหมือนตรากรุงเทพฯ

๘.กรมตำรวจ ตราหนุมานสี่กร  ผ่าน

๙.อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ตราหนุมาน  ผ่าน

๑๐.ตราพระราชลัญจกรมหาสุรสิงหนาท รูปพระลักษณ์ทรงหนุมาน  ผ่าน

๑๑.กองพันทหารช่างที่ 112 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ตราหนุมาน  ผ่าน

๑๒.ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตราพระรามแผลงศร  ผ่าน

๑๓.สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี ตรานารายณ์ทรงศร  ผ่าน

๑๔.จังหวัดอุดรธานี ตราประจำจังหวัด ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ไม่ผ่าน
ก้ำกึ่งมาก  ขอไม่ให้ผ่าน  เพราะดูเป็นคติไทยจากไตรภูมิมากกว่ารามเกียรติ์

๑๕-๑๙.  ไม่ผ่าน


คุณดีดี ตอบมามาก  ข้อมูลดี  (บางอันก็เยิ่นเย้อ  พอให้อภัยได้บ้าง)
แต่ก็ใช้ไม่ได้หลายตรา  กระนั้นด้วยเห็นแก่ความอุตสาหะ
และตั้งใจดีจึงให้  ๒๕  คะแนน




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มี.ค. 11, 16:57
คุณอาร์ทตอบมาล่าช้ากว่ากำหนด  แต่ว่าตอบตรงใจคิดส่วนหนึ่ง
ให้คาบเส้น  ๑๓ คะแนน  หักที่ตอบช้าไป  ๓ คะแนน ได้ ๑๐ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 09:36
คำถามข้อที่  ๘๒.  เริ่มมาเวลา  ๑๓.๓๐ น. เป็นต้นไป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 11:07
คำถามข้อที่  ๘๒.  

๑.นายกน้อมรับเกล้า     โองการ
ปวงเทพย์อภิบาล          ปกป้อง
สี่ภักตรแปดกรกรทยาน   อาวุธ     ครบแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว       ประนตไท้ผธมสินธุ์


๒.บดินทรสูรเสียเกียรติทั้ง     เสียกิจ
พลันลั่นบันลือฤทธิ์              ครั่นครื้น
พระเปรมกระมลคิด              ปราโมทย์
พิเภกโศกลิงสอื้น                เสือกดิ้นเศียรกระเดน


๓.ลูกลมแถลงกิจเล้า            โลมสมร
รับสั่งถอยคลานจร                จากเฝ้า
ทศภักตรรีบรถจร                   นำเชษ    ฐาแฮ
สองอสุรอาษาเจ้า                 ฆาฎล้างตายหลาย

คำสั่ง   คุณคิดว่าโคลงรามเกียรติ์ ๓ บทนี้อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ ไหม
ถ้าคุณรู้สึกว่าแปลก   จงค้นหาที่มาของโคลงรามเกียรติ์ดังกล่าวแต่ละบท
ประกอบขึ้นมาอย่างไร   พร้อมกับบอกด้วยว่าส่วนประกอบเหล่านั้น
อยู่ที่ห้องใด  ใครแต่ง  

การให้คะแนน  หาที่มาของส่วนประกอบโคลงได้ครบ  ๕  ส่วน  เอาไป ส่วนละ  ๒ คะแนน
ตอบที่มาถูกว่าอยู่ห้องใด  เอาไป ๑ คะแนน  ตอบชื่อคนแต่งถูก  เอาไป ๑ คะแนน
ตอบถูกครบทั้งสามส่วนในหนึ่งชิ้นส่วนประกอบโคลง  ให้คะแนน อีก ๑ คะแนน
รวม ๑ ข้อ  เอาไป ๒๕ คะแนน  

ข้อนี้  ให้เลือกทำข้อเดียวเท่านั้น   ห้ามทำมาเกินเด็ดขาด
ทำส่งหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.ของวันนี้เป็นต้นไป
หมดเขตส่งคำตอบ  วันที่ ๑๐  มีนาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๑๒.๐๐ น.

อ้อ  ใครทำซ้ำโคลงข้อเดียวกับของคนอื่น  หักทันที  ๒  ๑/๒  คะแนน
(ข้อนี้เราไม่มีให้แก้ตัว   จงไปตกลงกันให้ดี  จะได้ไม่มีตบตีกันภายหลัง)

ขอให้สนุกสนานโดยทั่วหน้ากัน    ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 มี.ค. 11, 11:18
คำถามชวนหัว ???

ขอแจ้งความทางหน้าม่าน

ข้าพเจ้าจะรับผิดชอบ บทที่ 3

๓.ลูกลมแถลงกิจเล้า            โลมสมร
รับสั่งถอยคลานจร                จากเฝ้า
ทศภักตรรีบรถจร                   นำเชษ    ฐาแฮ
สองอสุรอาษาเจ้า                 ฆาฎล้างตายหลาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 11:31
คำถามข้อที่  ๘๓.

ข้อนี้ง่าย  อ่ะ  ไม่เชื่อล่ะสิ

จงหาชื่อต่างๆ  ของสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ  
ที่ตั้งจากชื่อตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มา  ๑๐  ชื่อ
พร้อมกับบอกรายละเอียดข้อมูลมาย่อๆ ด้วย
มีรูปด้วยก็จะดี  

ทั้งนี้  ห้ามเอาชื่อต้นไม้ที่เคยเล่นไปแล้ว
ชื่อถนนและสะพานที่ชื่อพระราม ก็ไม่เอา  
ถ้าใครขืนตอบมาเราจะหักคะแนนชื่อละ ๓ คะแนน
ตอบซ้ำกับของคนอื่นได้  แต่ให้  ๑/๔ คะแนน
ไม่มีรายละเอียดย่อๆ แนบมา หัก ๑ คะแนน
ไม่มีรูปเราไม่หักคะแนน

ข้อละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน
ได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น.  
หมดเวลาตอบ  ๑๖.๐๐  น.วันนี้




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 11, 11:58
คำถามข้อที่  ๘๒. 

หนูดดีดี ขอรับบทที่๑.นะคะ จองไว้ก่อน  ;D
๑.นายกน้อมรับเกล้า     โองการ
ปวงเทพย์อภิบาล          ปกป้อง
สี่ภักตรแปดกรกรทยาน   อาวุธ     ครบแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว       ประนตไท้ผธมสินธุ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 11, 13:07
คำถามข้อที่  ๘๓.

ข้อนี้ง่าย  อ่ะ  ไม่เชื่อล่ะสิ

จงหาชื่อต่างๆ  ของสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ 
ที่ตั้งจากชื่อตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มา  ๑๐  ชื่อ
พร้อมกับบอกรายละเอียดข้อมูลมาย่อๆ ด้วย
มีรูปด้วยก็จะดี 

ทั้งนี้  ห้ามเอาชื่อต้นไม้ที่เคยเล่นไปแล้ว
ชื่อถนนและสะพานที่ชื่อพระราม ก็ไม่เอา 
ถ้าใครขืนตอบมาเราจะหักคะแนนชื่อละ ๓ คะแนน
ตอบซ้ำกับของคนอื่นได้  แต่ให้  ๑/๔ คะแนน
ไม่มีรายละเอียดย่อๆ แนบมา หัก ๑ คะแนน
ไม่มีรูปเราไม่หักคะแนน

ข้อละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน
ได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น. 
หมดเวลาตอบ  ๑๖.๐๐  น.วันนี้

ขอตอบนะคะ  ;D

1. ผาหนุมาน (มี 2 ที่)
- ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อยู่บนยอดเขาบางจำ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-800 เมตร เป็นจุดชมทะเลหมอกและทิวทัศน์ของปาดิบชื้นเทือกเขาบรรทัด
- อีกที่ชื่อเดียวกัน อยู่ที่เทือกเขาตะบองนาค ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีการพบซากดึกดำบรรพ์ฟอสซิลของสัตว์เซลเดียว ยุค 350 ล้านปี ซึ่งเป็นฟอสซิลที่หายาก ที่เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า ในอดีตพื้นที่ตำบลตากฟ้าน่าจะเป็นทะเล

2.บึงพระราม
อยู่ในตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยาเดิมเรียกว่า หนองโสน

3.วัดพระราม
ตั้งอยู่นอกเขต พระราชวัง ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร คาดว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1912 ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา แต่พระองค์ทรงครองราชได้เพียงแค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงได้ช่วยเหลือให้สร้าง จนสำเร็จก็ได้ หรืออาจจะสร้างเสร็จเมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสวยราชย์ครั้งที่ 2 ก็เป็นไปได้
ปัจจุบันซากปรักหักพังเหลือแต่ พระปรางค์ กำแพงด้านหนึ่ง และ เสาในพระอุโบสถ วิหาร 7 หลัง

4.เบียร์ตราหนุมาน
ประเทศไทย เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์
ปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมานแต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 11, 13:09
ตอบคำถามข้อที่  ๘๓.(ต่อ)

5. ตลาดสี่แยกทศกัณฑ์
ตั้งอยู่ที่บางไผ่ บางแค กรุงเทพมหานคร

6. พระรามราชนิเวศน์
พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านในตำบลบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างพระราชวังใช้ประทับยามหน้าฝน การก่อสร้างพระราชวังบ้านปืน มาสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2461 และพระราชทานนามพระที่นั่งองค์ใหม่ว่า “พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "พระราชวังบ้านปืน" โดยพระราชทานนามพระราชวังใหม่ว่า “พระรามราชนิเวศน์” แต่คนทั่วไปจะเรียกติดปากว่าพระราชวังบ้านปืนตาม ชื่อเดิมของถิ่นที่อยู่นั่นเอง

7.อุทยานแห่งชาติปางสีดา
อุทยานแห่งชาติปางสีดา มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองจังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า มีสภาพธรรมชาติและเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกปางสีดา น้ำตกผาตะเคียน น้ำตกแควมะค่า จุดชมวิว โขดหินตามลำน้ำที่มีลักษณะแปลกๆ มีเนื้อที่ประมาณ 527,500 ไร่ หรือ 844 ตารางกิโลเมตร
ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 24 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย

8.น้ำตกปางสีดา
อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว อยู่ในอุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นน้ำตกชั้นเดียว เดินเท้าจากลานจอดรถลงบันไดประมาณ 50 เมตร จะถึงตัวน้ำตก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 11, 13:18
ตอบคำถามข้อที่  ๘๓.(ต่อ)

9.อำเภอสีดา
เดิมเป็นตำบลตำบลหนึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบัวใหญ่ และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกระทรวงฯ ยกฐานะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) และในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จึงมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสีดา ขึ้นกับจังหวัดนครราชสีมา

10.ร้านอาหารหนุมาน (ไม่ได้ค่าโฆษณานะคะ)
ชั้น B1 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ร้านอาหารจานด่วน มีบะหมี่หนุมาน เป็นพระเอกร้าน ทีเด็ดนั้นอยู่ที่เครื่องที่ใส่ลงในบะหมี่ซึ่งมีถึง 3 อย่างด้วยกัน คือ หมูแดง หมูหวาน และลูกชิ้นหมูกุ้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 มี.ค. 11, 13:21
1 สี่แยกทศกัณฑ์ ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑลสาย2 ตัดกับถนนบางแวกครับ
2 โรงแรมรามา อดีตตั้งอยู่บนถนนสีลม ปัจจุบันกลายเป็นโรงแรม ฮอลิเดย์อินท์
3 โรงแรมรามาการ์เดนท์ ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต
4อาคารสีดา   เป็นอาคารเรียนครึ่งตึกครึ่งไม้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยเงินอุดหนุน 1,584,000 บาท แบบอาคาร 004 ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียน 8 ห้อง ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง
5 ห้องอาหารรามายณะ ตั้งอยู่ชั้น 2 คิงพาวเวอร์คอมเพล็กซ์ ซอยรางน้ำ เป็นร้านอาหารบุฟเฟท์ อร่อยมาก
6 ร้านอาหารหนุมาน ตั้งอยู่ที่อาคารมาลีนนท์ พระราม 4  บริการก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ,เกาเหลาเย็นตาโฟ,ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย,ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น,ข้าวหมูตุ๋น
7 ดาดา..ใกล้ศูนย์การค้าเมโทร ถนนเพชรบุรี ใช้สัญลักษณ์ประจำคือ พระรามทรงราชรถ ปัจจุบันรื้อทิ้งแล้ว
8 กระบวนเรือพระราชพิธี มีเรือ 2 ลำ คือ เรือพาลีรั้งทวีป – เรือสุครีพครองเมือง เรือทั้งสองลำนี้หัวเรือเป็นรูปพญาวานร
9 พระราชวังหนุมานโดก้า กรุงเนปาล เป็นอาคารแบบยุโรปสีขาว มีหอสูง 9 ชั้นเรียกว่าหอพสันตปุระ พระราชวังแห่งนี้ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม อันสำคัญในราชวงศ์ และเมื่อเวลาที่พระมหากษัตริย์ เสด็จออกชม การสวนสนาม
10 ป่าดึกดำบรรพ์บนผาหนุมาน จ.นครสวรรค์ จากคำบอกเล่าของนักวิชาการป่าไม้ที่ได้เคยศึกษาตามหลักธรณีวิทยาสัญนิษฐานว่า น่าจะเป็นฟอสซิลของสัตว์เซลเดียว อยู่ในยุค 350 ล้านปี ซึ่งเป็นฟอสซิลที่หายาก ที่เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า ในอดีตพื้นที่ตำบลตากฟ้าน่าจะเป้นทะเล นอกจากนั้น ในบริเวณนี้ยังพบพันธุ์ไม้หายากเกือบ 80 ชนิดเช่น ต้นปรงป่าที่มีอายุประมาณ 100 ปี ซึ่งขึ้นอยู่อย่างมากมายบนเขาพุลำไย และต้นกำลังหนุมานที่ขึ้นอยู่ตามหน้าผา ที่เป็นที่มาของชื่อ "ผาหนุมาน" เป็นต้น
11 ศาลลูกศร จ. ลพบุรี "หลักเมืองลพบุรี อยู่ทางตลาดข้างเหนือวัง เรียกกันว่า ศรพระราม จะมีมาแต่ก่อนสมัยขอม ฤาเมื่อครั้งขอมทราบ   ไม่ได้แน่ ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้น เกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์มาสมมุติเป็นตำนานของเมืองนี้ คือ เมื่อเสร็จศึกทศกัณฑ์  พระรามกลับไปครองเมืองอยุธยาแล้ว จะสร้างเมืองประทานตรงนั้น ลูกศรพระรามไปตกบนภูเขา บันดาลให้ยอดเขานั้นราบลง
หนุมานตามไปถึงจึงเอาหางกวาดดินเป็นกำแพงเมืองหมายไว้เป็นสำคัญ แล้วพระอินทร์ให้พระภิษณุ-กรรมลงมาสร้างเมือง ครั้นเสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า เมืองลพบุรี ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือลูกศรพระรามที่กลายเป็นหิน และเนินดินตามกำแพงเมืองที่ยังปรากฏอยู่เป็นของหนุมานที่เอาหางกวาดทำไว้"
12 ทะเลชุบศร จ.ลพบุรี เชื่อกันว่าเป็นที่ชุบศรของพระราม
13 เขาสมอคอน จ. ลพบุรี เมื่อครั้งพระลักษณ์ต้องหอกโมกศักดิ์ของกุมภกัณฐ์ สิ้นสติสมปดีรอเวลาทิวงคต ถ้าไม่มีใครแก้ให้ฟื้นทันพระอาทิตย์ขึ้น หนุมานทหารเอกของพระรามจึงได้ขันอาสาจะไปหายาวิเศษอันมีชื่อว่า "ต้นสังกรณีตรีชะวา" ที่เขาสรรพยา (ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดชัยนาท) มาฝนทาที่หอกที่ปักอยู่จึงจะหลุด หนุมานไปหาต้นสังกรณีตรีชะวาไม่พบเพราะเป็นเวลามืด เกรงว่าจะรุ่งสางเสียก่อนจึงได้คอนเอาภูเขามาทั้งลูก เผอิญเหาะผ่านมาทางเมืองลพบุรีซึ่งไฟกำลังลุกไหม้ตั้งแต่ครั้งที่หนุมานเอาหางกวาดเมือง แสงสว่างจากไฟทำให้มองเห็นต้นสังกรณีตรีชะวา หนุมานจึงถอนเอาแต่ต้นสังกรณีตรีชะวาไป และทิ้งภูเขาที่คอนมาลงกลางทุ่งทะเลเพลิง ภูเขาที่ทิ้งลงมาได้ถูกไฟเผากลายเป็นหินสีขาวและมีชื่อเรียกว่า "เขาสมอคอน" ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 07 มี.ค. 11, 13:22
แวบมาตอบข้อ ๘๓ ค่ะ

คุณหนู ดีดี ไวดีจริงเลย

๑. "โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"       
หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดินเพื่อช่วยเหลือประชาชน  ทรงเน้นการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  ให้ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินร่วมกับธรรมชาติแบบเกื้อหนุนกัน ตามหลักการฟื้นฟูและสร้างสมดุลในระบบนิเวศ  และพัฒนาเป็นต้นแบบชีวิต "พอเพียง" แบบ "เพียงพอ"   ได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"     มีพื้นที่ประมาณ ๒๐,๖๒๕ ไร่  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาพระฤๅษี-เขาบ่อแร่  แปลงที่ ๒  ครอบคลุมเขตปกครองบ้านเขาแหลม บ้านม่วงเฒ่า บ้านบารมี  และบ้านห้วยองคต ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี 

๒.   เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun)  มาจากชื่อ  วิรุณจำบัง 
เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย  ประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า ๕๐๐ ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น  พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉาณุ 
เรือหลวงวิรุณ ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงมัจฉาณุ แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ กองทัพเรือไทยจึงถือว่าวันที่ ๔ กันยายน เป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ
๓.   เรือหลวงมัจฉาณุ  (HTMS Matchanu)  เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย  ประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า ๕๐๐ ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น  ได้รับพระราชทานชื่อเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.  ๒๔๘๐    เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง   ปลดประจำการวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
๔.   รถทรงหนุมาน  ชื่อรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นหนึ่งในรถยนต์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีชื่อคล้องจองกัน
๕.   รถรามประพาส ชื่อรถยนต์ส่วนพระองค์ ในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นหนึ่งในรถยนต์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีชื่อคล้องจองกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 13:29
โอ้โฮ  มาตอบกันคึกครื้นกันจังเลย
ขอต้อนรับคุณกะออม  ที่ห่างหายกระทู้นี้ไปนาน
เชิญเล่นให้เต็มที่เลยนะครับ  อย่าได้ออมมือเด็ดขาด ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 11, 13:51
เรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค

๑. เรือพาลีรั้งทวีป

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7f/Pali_Rang_Thawip_bow.jpg/300px-Pali_Rang_Thawip_bow.jpg)

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร จัดเป็นเรือกระบวนปิดทอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง โขนเรือเป็นรูปพาลีปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง

ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ น้ำหนัก ๖.๙๗ ตัน ยาว ๑๓ วา ๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก ลึก ๑ ศอก ๒ นิ้ว กำลัง ๕ ศอก ๕ นิ้ว หรือยาว ๒๗.๕๔ เมตร กว้าง ๑.๙๙ เมตร ลึก ๐.๕๙ เมตร กินน้ำลึก ๐.๓๑ เมตร หัวเรือกว้างมีรูกลมโผล่ไปทางหัวเรือ สำหรับติดตั้งปืนใหญ่บรรจุทางปากกระบอก ได้ ๑ กระบอก ขนาดปากกระบอก ๖๕ มม. เหนือช่องปืนแกะเป็นรูปขุนกระบี่สีเขียว ฝีพาย ๓๔ คน นายท้าย ๒ คน

ซ่อมทำเครื่องตกแต่งเรือตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ จนถึงวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ โดยมีบริษัท สำนักงานเกษรดอกประดู่ เป็น ผู้จัดทำ

พ.ศ. ๒๕๒๔ ซ่อมใหญ่เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ชำรุด ลงรักปิดทองใหม่ ทาสีตัวเรือใหม่และอื่น ๆ ให้ทันใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ใน วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เริ่มซ่อมทำตั้งแต่วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีบริษัทสหายสันต์ จำกัดเป็นผู้รับ เหมาซ่อมทำ

การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำแต่งตัวสวมมาลา สวมเสื้อตาดอย่างน้อยทนายหมอบหน้า สวมเสื้ออัตลัค โพกแพรสี ฝีพาย สวมกางเกงมัสรู่

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_1/kurokung-web1/contents/04_03.html


๒. เรือสุครีพครองเมือง

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c5/Sukrip_Khrong_Mueang_bow.jpg/300px-Sukrip_Khrong_Mueang_bow.jpg)

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร โขนเรือเป็นรูปสุครีพปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง

ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ น้ำหนัก ๖.๕๖ ตัน ยาว ๑๔ วา กว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว ลึก ๑ ศอก ๓ นิ้ว กำลัง ๕ ศอก ๔ นิ้ว หรือยาว ๒๗.๔๕ เมตร กว้าง ๑.๓๙ เมตร ลึก ๐.๕๙ เมตร กินน้ำลึก ๐.๓๑ เมตร หัวเรือ กว้างมี รูกลมโผล่ไปทางหัวเรือสำหรับติดตั้งปืนใหญ่บรรจุทางปากกระบอกได้ ๑ กระบอก ขนาดปากกระบอก ๖๕ มม. เหนือช่องปืนแกะเป็นรูปขุน กระบี่สีแดง

ซ่อมทำเครื่องตกแต่งเรือตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ จนถึงวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ โดยมีบริษัท สำนักงานเกษรดอกประดู่ เป็น ผู้จัดทำ

พ.ศ. ๒๕๒๔ ซ่อมใหญ่เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ชำรุด ลงรักปิดทองใหม่ ทาสีตัวเรือใหม่และอื่น ๆ ให้ทันใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ใน วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เริ่มซ่อมทำตั้งแต่วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีบริษัทสหายสันต์ จำกัดเป็นผู้รับ เหมาซ่อมทำ

นายลำ สวมมาลา เสื้อตาดอย่างน้อย ทนายหมอบหน้า สวมเสื้ออัตลัด โพกแพรสี ฝีพายสวมกางเกงมัสรู่

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_1/kurokung-web1/contents/04_04.html








กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 11, 14:13
๓. เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

(http://www.trueclicklife.com/_admin/images/P-07.jpg)

โขนเรือเป็นรูปหนุมาน ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ ยาว ๑๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ กว้าง ๔ ศอก ลึก ๑ ศอก กำลัง ๕ ศอก ๔ นิ้ว ลำเดิมถูกระเบิดเสียหาย กรมศิลปากรเก็บหัวเรือท้ายเรือไว้ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑

ส่วนลำปัจจุบันสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาซ่อมแซม ช่างแกะสลักลวดลายทำงานประมาณ ๑๒ เดือน ช่างรักทำงานประมาณ ๔ เดือน ช่างเขียนทำงานประมาณ ๖ เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ ๔ เดือน

น้ำหนัก ๕.๖๒ ตัน ยาว ๒๖.๘๐ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร ลึก ๐.๕๑ เมตร กินน้ำลึก ๐.๒๕ เมตร ฝีพาย ๓๖ นาย นายท้าย ๒ นาย หัวเรือมีช่องสำ หรับติดตั้งปืนใหญ่ ๑ กระบอก ขนาด ๖๕ มม. เหนือช่องปืนและเป็นรูปขุนกระบี่สีขาว

พ.ศ. ๒๕๑๒ จัดทำเครื่องตกแต่งเรือใหม่ตั้งแต่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๒ จนถึง ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๓ โดยบริษัท สำนักงานเกษรดอก ประดู่ เป็นผู้ทำ

พ.ศ.๒๕๒๔ ซ่อมใหญ่เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุหรือชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทอง ทาสีตัวเรือใหม่และอื่น ๆ เพื่อให้ทันใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เริ่มซ่อมทำตั้งแต่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีบริษัทสหายสันต์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาซ่อมทำ

การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_1/kurokung-web1/contents/04_05.html


๔. เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a3/Krabi_Ran_Ron_Rap_bow.jpg/300px-Krabi_Ran_Ron_Rap_bow.jpg)

โขนเรือเป็นรูปนืิลพัทปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง

พ.ศ. ๒๕๐๙ ซ่อมทำตัวเรือทั้งลำและได้ทำหางเรือขึ้นใหม่ ช่างแกะสลักลวดลายทำงานประมาณ ๑๒ เดือน ช่างรักทำงานประมาณ ๔ เดือน ช่าง เขียนทำงานประมาณ ๖ เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ ๔ เดือน

พ.ศ.๒๕๑๔ จัดทำเครื่องตกแต่งเรือใหม่ ตั้งแต่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ จนถึง ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ โดยบริษัท สำนักงานเกษรดอกประดู่ เป็นผู้ทำ

พ.ศ. ๒๕๒๔ ซ่อมใหญ่เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุหรือชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทองใหม่ ตกแต่งลวดลายและอื่น ๆ เพื่อให้ทันใช้ในงานสมโภชกรุงรัตน โกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เริ่มซ่อมทำตั้งแต่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีบริษัทสหายสันต์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาซ่อมทำ

การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_1/kurokung-web1/contents/04_06.html








กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 14:48
คุณดีดี  ตอบมาดังนี้

1. ผาหนุมาน (มี 2 ที่) /

2.บึงพระราม  /

3.วัดพระราม  /

4.เบียร์ตราหนุมาน /

5. ตลาดสี่แยกทศกัณฑ์ X เพราะตลาดตั้งชื่อตามสี่แยก


6. พระรามราชนิเวศน์ /

7.อุทยานแห่งชาติปางสีดา /

8.น้ำตกปางสีดา X เพราะน้ำตกตั้งชื่อตามชื่ออุทยานแห่งชาติ

9.อำเภอสีดา /

10.ร้านอาหารหนุมาน /

รวมได้  ๑๖  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 11, 15:01
คำถามข้อที่  ๘๒.  

๑.นายกน้อมรับเกล้า     โองการ
ปวงเทพย์อภิบาล          ปกป้อง
สี่ภักตรแปดกรกรทยาน   อาวุธ     ครบแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว       ประนตไท้ผธมสินธุ์

คำสั่ง   คุณคิดว่าโคลงรามเกียรติ์ ๓ บทนี้อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ ไหม
ถ้าคุณรู้สึกว่าแปลก   จงค้นหาที่มาของโคลงรามเกียรติ์ดังกล่าวแต่ละบท
ประกอบขึ้นมาอย่างไร   พร้อมกับบอกด้วยว่าส่วนประกอบเหล่านั้น
อยู่ที่ห้องใด  ใครแต่ง  

การให้คะแนน  หาที่มาของส่วนประกอบโคลงได้ครบ  ๕  ส่วน  เอาไป ส่วนละ  ๒ คะแนน
ตอบที่มาถูกว่าอยู่ห้องใด  เอาไป ๑ คะแนน  ตอบชื่อคนแต่งถูก  เอาไป ๑ คะแนน
ตอบถูกครบทั้งสามส่วนในหนึ่งชิ้นส่วนประกอบโคลง  ให้คะแนน อีก ๑ คะแนน
รวม ๑ ข้อ  เอาไป ๒๕ คะแนน  

ข้อนี้  ให้เลือกทำข้อเดียวเท่านั้น   ห้ามทำมาเกินเด็ดขาด
ทำส่งหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.ของวันนี้เป็นต้นไป
หมดเขตส่งคำตอบ  วันที่ ๑๐  มีนาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๑๒.๐๐ น.

อ้อ  ใครทำซ้ำโคลงข้อเดียวกับของคนอื่น  หักทันที  ๒  ๑/๒  คะแนน
(ข้อนี้เราไม่มีให้แก้ตัว   จงไปตกลงกันให้ดี  จะได้ไม่มีตบตีกันภายหลัง)

ขอให้สนุกสนานโดยทั่วหน้ากัน    ;D



ขอตอบค่ะ
๑.นายกน้อมรับเกล้า     โองการ
ปวงเทพย์อภิบาล          ปกป้อง
สี่ภักตรแปดกรกรทยาน   อาวุธ     ครบแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว       ประนตไท้ผธมสินธุ์

มีส่วนประกอบดังนี้ค่ะ

1. (ห้องที่ ๑  แผ่นที่ ๓  ผู้แต่ง: พระยาศรีสุนทรโวหาร)
นายกน้อมเกล้ารับ        โองการ
ด่วนๆ มาสั่งงาน      เสร็จพร้อม
นังคัลกิจบัญหาร      เทียมแอก ไถเฮย
ไถประดังดาล้อม      เฃตรด้าวแดนไทร ฯ

2. (ห้องที่ ๑๐ แผ่นที่ ๓๗ ผู้แต่ง: ขุนโอวาทวรกิจ)
ทรพีสถิตยถิ่นถ้ำ      สุรการ
ปวงเทพย์อภิบาล      ปกป้อง
เจริญไวยศุขสำราญ   ฤทธิรุ่ง เรืองเฮย
จรจากคูหาห้อง        ฮึกห้าวหาญคนอง ฯ

3. (ห้องที่ ๓๓ แผ่นที่ ๑๓๐ ผู้แต่ง : หม่อมราชวงษวิณ)
อากาศไตลยักษเสื้อ   เมืองมาร
สึงมัชฌิมเลงการ       รอบด้าว
สี่ภักตร์แปดกรทยาน   อาวุธ ครบแฮ
ขรรค์จักรคทาง้าว      หอกค้อนศรตรี ฯ

4. ( ห้องที่ ๑๔๔  แผ่นที่ ๕๗๖ ผู้แต่ง :  นายประภาษมณเฑียรปลัดวังขวา)
น้องนารายน์ทราบเสรจแล้ว      แผลงศร
ต้องจักรกระจายรอญ            หักร้าว
กลับเปนอัคนีฟอน               พยนต์ยักษสูญแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว              ท่านไท้ทิ้งศร ฯ

5. (ห้องที่ ๑๑๔ แผ่นที่ ๔๕๔ ผู้แต่ง :  หลวงฤทธิพลไชย)
พนักงานเถ้าแก่ให้         ตรีชา ดาเอย
กับมิ่งมณโฑนา           เรศล้อม
ต่างสรงต่างทรงอา            ภรณ์เพริศ พรายแฮ
เสร็จจาปราสาทน้อม       ปรนตไท้ผธมสินธุ์

อ้างอิง : ตู้หนังสือเรือนไทย: โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 มี.ค. 11, 15:56
คำถามข้อที่  ๘๒. 

๓.ลูกลมแถลงกิจเล้า            โลมสมร
รับสั่งถอยคลานจร                จากเฝ้า
ทศภักตรรีบรถจร                   นำเชษ    ฐาแฮ
สองอสุรอาษาเจ้า                 ฆาฎล้างตายหลาย

คำสั่ง   คุณคิดว่าโคลงรามเกียรติ์ ๓ บทนี้อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ ไหม
ถ้าคุณรู้สึกว่าแปลก   จงค้นหาที่มาของโคลงรามเกียรติ์ดังกล่าวแต่ละบท
ประกอบขึ้นมาอย่างไร   พร้อมกับบอกด้วยว่าส่วนประกอบเหล่านั้น
อยู่ที่ห้องใด  ใครแต่ง 

การให้คะแนน  หาที่มาของส่วนประกอบโคลงได้ครบ  ๕  ส่วน  เอาไป ส่วนละ  ๒ คะแนน
ตอบที่มาถูกว่าอยู่ห้องใด  เอาไป ๑ คะแนน  ตอบชื่อคนแต่งถูก  เอาไป ๑ คะแนน
ตอบถูกครบทั้งสามส่วนในหนึ่งชิ้นส่วนประกอบโคลง  ให้คะแนน อีก ๑ คะแนน
รวม ๑ ข้อ  เอาไป ๒๕ คะแนน   

ข้อนี้  ให้เลือกทำข้อเดียวเท่านั้น   ห้ามทำมาเกินเด็ดขาด
ทำส่งหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.ของวันนี้เป็นต้นไป
หมดเขตส่งคำตอบ  วันที่ ๑๐  มีนาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๑๒.๐๐ น.

อ้อ  ใครทำซ้ำโคลงข้อเดียวกับของคนอื่น  หักทันที  ๒  ๑/๒  คะแนน
(ข้อนี้เราไม่มีให้แก้ตัว   จงไปตกลงกันให้ดี  จะได้ไม่มีตบตีกันภายหลัง)

ขอให้สนุกสนานโดยทั่วหน้ากัน    ;D


๓.ลูกลมแถลงกิจเล้า            โลมสมร
รับสั่งถอยคลานจร                จากเฝ้า
ทศภักตรรีบรถจร                   นำเชษ    ฐาแฮ
สองอสุรอาษาเจ้า                 ฆาฎล้างตายหลาย

โคลงบทที่ 825 แผ่นที่ 120 ห้องที่ 30 ตอนองคตลูบหลังยักษ์ปักหลั่นให้พ้นสาป หนุมานส่งนางบุษมาลีขึ้นสวรรค์
แต่งโดย นายทัดกุเรเตอร์
๏ ลูกลมแถลงกิจเล้า    ลาสมร
เสาวะณิศแนะทางจร    จิตรเร้า
โศกกระซิกสุดอาวรณ์   วานส่ง สรวงเฮย
วายุบุตรดับโศกเศร้า     ส่งคล้อยลอยโพยม ฯ

โคลงบทที่ 1825 แผ่นที่ 261 ห้องที่ 66 ตอนอินทรชิตออกรบกับพระลักษณ์เป็นครั้งแรก ไม่แพ้ชนะกับจนพลบจึงหย่าทัพ
แต่งโดย หลวงอินทรอาวุธ
๏ บุตรระวิวรเชื้อ         ชาญสมร
รับสั่งถอยคลานจร       จากเฝ้า
เกณฑ์พยุหพานร        อะเนกนับ สมุทแฮ
จัดรถที่นั่งเจ้า            อนุขไท้ถนิมกาฬ ฯ

โคลงบทที่ 2310 แผ่นที่ 330 ห้องที่ 83 ตอนทศกัณฐ์เลี้ยงพระยามูลพลัม กับท้าวสหัสเดชะ
แต่งโดย พระเจ้าศรีโสภณ
๏ สนทนาพลางสั่งให้    เดินนิกร พลเอย
รีบสู่ลงกานคร           ดังซร้อง
ทศภักตรรีบรถจร        นำเชษ- ฐาแฮ
เหนรถเชษฐจักต้อง     ติดซุ้มทรวรวัง ฯ

โคลงบทที่ 3729 แผ่นที่ 533 ห้องที่ 134 ตอนอสุรผัด ลิวัน กันยุเวก จับทศพิณ กับวรณีสูร
แต่งโดย พระราชครูพิเชต
๏ ธเถลิงวรรคแก้ว       แกมกาญจน์
ยกพยุหทวยหาญ        โห่เร้า
รีบเมื้อจากเมืองมาร      เสียงมี่ สนั่นแฮ
สองอสุรอาษาเข้า        รับร้าปีกสอง ฯ

โคลงบทที่ 4214 แผ่นที่ 602 ห้องที่ 151 ตอนท้าวจักรวรรดิออกรบพระพรต
แต่งโดย พระวิสูตรเสนี
๏ พลลิงได้ท่าต้อน      ตีตลุม บรแฮ
ฆ่าอสุรตายสุม           ศพซ้อน
กุมพินแม่กองคุม        พลต่อ ตีแฮ
ลิงแย่งอาวุธข้อน        ฆาฏล้างตายหลาย ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 15:58
คุณไซมีสตอบมา

1 สี่แยกทศกัณฑ์ /
2 โรงแรมรามา X ที่ไม่ให้เพราะกำกวม
3 โรงแรมรามาการ์เดนท์ X ที่ไม่ให้เพราะกำกวม
4  อาคารสีดา   /
5 ห้องอาหารรามายณะ X  ท่องไว้  รามเกียรติ์ๆๆๆ
6 ร้านอาหารหนุมาน 1/4
7 ดาดา..ใกล้ศูนย์การค้าเมโทร ถนนเพชรบุรี
ใช้สัญลักษณ์ประจำคือ พระรามทรงราชรถ ปัจจุบันรื้อทิ้งแล้ว XXXX
8 กระบวนเรือพระราชพิธี มีเรือ 2 ลำ คือ เรือพาลีรั้งทวีป /
– เรือสุครีพครองเมือง เรือทั้งสองลำนี้หัวเรือเป็นรูปพญาวานร /

9 พระราชวังหนุมานโดก้า กรุงเนปาล X

10 ผาหนุมาน จ.นครสวรรค์  1/4

11 ศาลลูกศร จ. ลพบุรี X
12 ทะเลชุบศร จ.ลพบุรี X
13 เขาสมอคอน จ. ลพบุรี X

รวมได้  ๘ ๑/๒   คะแนน  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 มี.ค. 11, 16:10
คำถามข้อที่  ๘๓.

ข้อนี้ง่าย  อ่ะ  ไม่เชื่อล่ะสิ

จงหาชื่อต่างๆ  ของสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ  
ที่ตั้งจากชื่อตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มา  ๑๐  ชื่อ
พร้อมกับบอกรายละเอียดข้อมูลมาย่อๆ ด้วย
มีรูปด้วยก็จะดี  

ทั้งนี้  ห้ามเอาชื่อต้นไม้ที่เคยเล่นไปแล้ว
ชื่อถนนและสะพานที่ชื่อพระราม ก็ไม่เอา  
ถ้าใครขืนตอบมาเราจะหักคะแนนชื่อละ ๓ คะแนน
ตอบซ้ำกับของคนอื่นได้  แต่ให้  ๑/๔ คะแนน
ไม่มีรายละเอียดย่อๆ แนบมา หัก ๑ คะแนน
ไม่มีรูปเราไม่หักคะแนน

ข้อละ ๒ คะแนน  ตอบหน้าม่าน
ได้ตั้งแต่  ๑๓.๐๐  น.  
หมดเวลาตอบ  ๑๖.๐๐  น.วันนี้


บัญชีชื่อปืนใหญ่ จ.ศ. 1187

1. ปืน"อสุรผัด"ผ่าพล         ยาวสี่ศอกคืบสองนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
2. ปืน"นิลนนท์"แทงเขน      ยาวสี่ศอกคืบสองนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
3. ปืน"สุรแสน"แสนหาร       ยาวสี่ศอกคืบสองนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
4. ปืน"สุรกานต์"แสนกล้า     ยาวสี่ศอกคืบสองนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
5. ปืน"องคต"โจมฟัน         ยาวสี่ศอกคืบ            กระสุนห้านิ้ว      ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
6. ปืน"พาลี"ล้างกองกูณฑ์    ยาวห้าศอกคืบ          กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 4 ชั่ง
7. ปืน"นิลพัท"แปลงกาย      ยาวห้าศอกเจ็ดนิ้ว      กระสุนเจ็ดนิ้ว    ดินหนัก 4 ชั่ง 10 ตำลึง
8. ปืน"ชมภูพาน"แผลงฤทธิ์   ยาวห้าศกหกนิ้ว         กระสุนหกนิ้ว    ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
9. ปืน"อินทรชิต"สาดศร      ยาวห้าศกหกนิ้ว         กระสุนหกนิ้ว    ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
10. ปืน"พญาขร"ถอนรัง      ยาวห้าศอกเจ็ดนิ้ว      กระสุนหกนิ้ว    ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง

(ยังมีอีกเยอะ :P หาอ่านได้จาก จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 1)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 16:12
คุณดีดี  ตอบข้อที่ ๘๒ มาเร็ว ดังนี้

๑.นายกน้อมรับเกล้า     โองการ
ปวงเทพย์อภิบาล          ปกป้อง
สี่ภักตรแปดกรกรทยาน   อาวุธ     ครบแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว       ประนตไท้ผธมสินธุ์

มีส่วนประกอบดังนี้

1. (ห้องที่ ๑  แผ่นที่ ๓  ผู้แต่ง: พระยาศรีสุนทรโวหาร)
นายกน้อมเกล้ารับ        โองการ
ด่วนๆ มาสั่งงาน      เสร็จพร้อม
นังคัลกิจบัญหาร      เทียมแอก ไถเฮย
ไถประดังดาล้อม(พร้อม)      เฃตรด้าวแดนไทร ฯ   - ๔ คะแนน

2. (ห้องที่ ๑๐ แผ่นที่ ๓๗ ผู้แต่ง: ขุนโอวาทวรกิจ)
ทรพีสถิตยถิ่นถ้ำ      สุรการ
ปวงเทพย์อภิบาล      ปกป้อง
เจริญไวยศุขสำราญ   ฤทธิรุ่ง เรืองเฮย
จรจากคูหาห้อง        ฮึกห้าวหาญคนอง ฯ   -  ๕  คะแนน

3. (ห้องที่ ๓๓ แผ่นที่ ๑๓๐ ผู้แต่ง : หม่อมราชวงษวิณ)
อากาศไตลยักษเสื้อ   เมืองมาร
สึงมัชฌิมเลงการ       รอบด้าว
สี่ภักตร์แปดกรทยาน   อาวุธ ครบแฮ
ขรรค์จักรคทาง้าว      หอกค้อนศรตรี ฯ  -  ๕  คะแนน

4. ( ห้องที่ ๑๔๔  แผ่นที่ ๕๗๖ ผู้แต่ง :  นายประภาษมณเฑียรปลัดวังขวา)
น้องนารายน์ทราบเสรจแล้ว      แผลงศร
ต้องจักรกระจายรอญ            หักร้าว
กลับเปนอัคนีฟอน               พยนต์ยักษสูญแฮ
สว่างบ่เหนน้องท้าว              ท่านไท้ทิ้งศร ฯ  -  ๕  คะแนน

5. (ห้องที่ ๑๑๔ แผ่นที่ ๔๕๔ ผู้แต่ง :  หลวงฤทธิพลไชย)
พนักงานเถ้าแก่ให้         ตรีชา ดาเอย
กับมิ่งมณโฑนา           เรศล้อม
ต่างสรงต่างทรงอา            ภรณ์เพริศ พรายแฮ
เสร็จจา(จาก)ปราสาทน้อม       ปรนตไท้ผธมสินธุ์ ฯ  - ๔  คะแนน


ได้  ๒๓ คะแนน   เก่งมากครับ ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 มี.ค. 11, 16:14
คุณอาร์ท มาแรงมาก ตอบปืนใหญ่มาเลยหรือนี่ น่ากลัวอะไรปานนั้น กะว่าจะถล่มข้าศึกให้ราบเลย  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 16:20
คุณอาร์ท  ตอบมาแถมยังแหกตาหลอกอีก

บัญชีชื่อปืนใหญ่ จ.ศ. 1187

1. ปืนอสุรผัดผ่าพล        /
2. ปืนนิลนนท์แทงเขน     /
3. ปืนสุรแสน(สุรเสน)แสนหาร      X
(ทีแรกจะให้ ๑ คะแนน  แต่แลบลิ้นล้อเลียนเลยไม่ให้สักคะแนน)
4. ปืนสุรกานต์แสนกล้า    /
5. ปืนองคตโจมฟัน       /
6. ปืนพาลีล้างกองกูณฑ์ /
7. ปืนนิลพัทแปลงกาย   /
8. ปืนชมภูพานแผลงฤทธิ์ /  
9. ปืนอินทรชิตสาดศร   /
10. ปืนพญาขรถอนรัง    /

ได้ ๑๘  คะแนน

ถ้ามีอีกเยอะไหนเอามา แผ่ให้ดูอีกสัก ๔๐ ชื่อซิ
ไม่งั้น   จะหักคะแนนข้อที่ ๘๓  ออกสัก  ๑๐  คะแนน

เพิ่งแลเห็นว่า  ตอบหลังเวลา  ๑๖.๐๐ น.  

ขอหัก   ๑ คะแนน   ได้  ๑๗  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 มี.ค. 11, 16:28
คุณหลวงอยู่กรมกองแก้วจินดาฤๅ ถึงใคร่อยากได้ยินนามปืนใหญ่เหล่านี้

ปืนที่มีชื่อจากรามเกียรติ์มีอีกไม่กี่กระบอกดอก
แต่ถ้าเป็นปืนใหญ่มีชื่อ มีมากมายนัก

ให้สำแดงนั้นหาใช่เรื่องยากไม่
แต่.... ช่วงนี้คอฝืดอยากกินน้ำชาสักแก้วสองแก้ว แลกกัน พอไหวไหมใต้เท้า ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 16:30
 คุณอาร์ทตอบมาดังนี้

๓.ลูกลมแถลงกิจเล้า            โลมสมร
รับสั่งถอยคลานจร                จากเฝ้า
ทศภักตรรีบรถจร                   นำเชษ    ฐาแฮ
สองอสุรอาษาเจ้า                 ฆาฎล้างตายหลาย

โคลงบทที่ 825 แผ่นที่ 120 ห้องที่ 30 ตอนองคตลูบหลังยักษ์ปักหลั่นให้พ้นสาป หนุมานส่งนางบุษมาลีขึ้นสวรรค์
แต่งโดย นายทัดกุเรเตอร์
๏ ลูกลมแถลงกิจเล้า    ลา(โลม)สมร
เสาวะณิศแนะทางจร    จิตรเร้า
โศกกระซิกสุดอาวรณ์   วานส่ง สรวงเฮย
วายุบุตรดับโศกเศร้า     ส่งคล้อยลอยโพยม ฯ  -  ๔  คะแนน

โคลงบทที่ 1825 แผ่นที่ 261 ห้องที่ 66 ตอนอินทรชิตออกรบกับพระลักษณ์เป็นครั้งแรก ไม่แพ้ชนะกับจนพลบจึงหย่าทัพ
แต่งโดย หลวงอินทรอาวุธ
๏ บุตรระวิวรเชื้อ         ชาญสมร
รับสั่งถอยคลานจร       จากเฝ้า
เกณฑ์พยุหพานร        อะเนกนับ สมุทแฮ
จัดรถที่นั่งเจ้า            อนุข(อนุช)ไท้ถนิมกาฬ ฯ - ๔ คะแนน

โคลงบทที่ 2310 แผ่นที่ 330 ห้องที่ 83 ตอนทศกัณฐ์เลี้ยงพระยามูลพลัม กับท้าวสหัสเดชะ
แต่งโดย พระเจ้าศรีโสภณ (เป็นกษัตริย์เมืองไหนครับ?) (หม่อมเจ้าศรีโสภณ)
๏ สนทนาพลางสั่งให้    เดินนิกร พลเอย
รีบสู่ลงกานคร           ดังซร้อง
ทศภักตรรีบรถจร        นำเชษ- ฐาแฮ
เหนรถเชษฐจักต้อง     ติดซุ้มทรวร(ทวาร)วัง ฯ  -  ๒  คะแนน

โคลงบทที่ 3729 แผ่นที่ 533 ห้องที่ 134 ตอนอสุรผัด ลิวัน กันยุเวก จับทศพิณ กับวรณีสูร
แต่งโดย พระราชครูพิเชต
๏ ธเถลิงวรรค(รถ)แก้ว       แกมกาญจน์
ยกพยุหทวยหาญ        โห่เร้า
รีบเมื้อ(เมือ)จากเมืองมาร      เสียงมี่ สนั่นแฮ
สองอสุรอาษาเข้า        รับร้าปีกสอง ฯ  - ๔  คะแนน

โคลงบทที่ 4214 แผ่นที่ 602 ห้องที่ 151 ตอนท้าวจักรวรรดิออกรบพระพรต
แต่งโดย พระวิสูตรเสนี (ขุนวิสูตรเสนี)
๏ พลลิงได้ท่าต้อน      ตีตลุม บรแฮ
ฆ่าอสุรตายสุม           ศพซ้อน
กุมพินแม่กองคุม        พลต่อ ตีแฮ
ลิงแย่งอาวุธข้อน        ฆาฏล้างตายหลาย ฯ  - ๓  คะแนน

ได้  ๑๗  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 16:34
คุณหลวงอยู่กรมกองแก้วจินดาฤๅ ถึงใคร่อยากได้ยินนามปืนใหญ่เหล่านี้

ปืนที่มีชื่อจากรามเกียรติ์มีอีกไม่กี่กระบอกดอก
แต่ถ้าเป็นปืนใหญ่มีชื่อ มีมากมายนัก

ให้สำแดงนั้นหาใช่เรื่องยากไม่
แต่.... ช่วงนี้คอฝืดอยากกินน้ำชาสักแก้วสองแก้ว แลกกัน พอไหวไหมใต้เท้า ;D

แน่ะ  มีต่อรอง   ไหนว่ามีเยอะไง 
จำไว้อย่าแหย่เสือ   ครั้งนี้ให้อภัย  เอามาแสดงเท่าที่ใช่ก็แล้วกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มี.ค. 11, 16:42
คุณกะออมตอบมา

๑. "โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"   X
ตั้งตามชื่อห้วยครับ
    
๒.เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun)  มาจากชื่อ  วิรุณจำบัง  /

๓.เรือหลวงมัจฉาณุ  (HTMS Matchanu) /

๔.รถทรงหนุมาน 
ชื่อรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร /

๕.รถรามประพาส ชื่อรถยนต์ส่วนพระองค์ ในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ /

ได้ไป  ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 มี.ค. 11, 16:47
คุณหลวงอยู่กรมกองแก้วจินดาฤๅ ถึงใคร่อยากได้ยินนามปืนใหญ่เหล่านี้

ปืนที่มีชื่อจากรามเกียรติ์มีอีกไม่กี่กระบอกดอก
แต่ถ้าเป็นปืนใหญ่มีชื่อ มีมากมายนัก

ให้สำแดงนั้นหาใช่เรื่องยากไม่
แต่.... ช่วงนี้คอฝืดอยากกินน้ำชาสักแก้วสองแก้ว แลกกัน พอไหวไหมใต้เท้า ;D

แน่ะ  มีต่อรอง   ไหนว่ามีเยอะไง  
จำไว้อย่าแหย่เสือ   ครั้งนี้ให้อภัย  เอามาแสดงเท่าที่ใช่ก็แล้วกัน

1. ปืน"ไมยราพ"ฟาดรถ              ยาวสี่ศอกคืบ           กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
2. ปืน"พระพาย"พัดล้างทวีป         ยาวสี่ศอกคืบแปดนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
3. ปืน"สุครีพ"หักฉัตร                ยาวสี่ศอกคืบแปดนิ้ว    กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
4. ปืน"หนุมาน"ตัดเศียรไมยราพ     ยาวสี่ศอกสิบนิ้ว         กระสุนหกนิ้ว     ดินหนัก 2 ชั่ง 10 ตำลึง
5. ปืน"พิราพ"คอนช้าง               ยาวสามศอกคืบ         กระสุนสี่นิ้ว       ดินหนัก 1 ชั่ง
6. ปืน"พระราม"รณยุทธ             ยาวสามศอกสี่นิ้ว        กระสุนห้านิ้ว      ดินหนัก 1 ชั่ง
7. ปืน"สุกระสาร"ปลอมศึก          ยาวสามศอกสี่นิ้ว        กระสุนห้านิ้ว      ดินหนัก 1 ชั่ง

อ่อ... เสือที่ใต้เท้าพระกรุณาว่านี้ เป็นเสือโคร่ง หรือเสือปลา ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 11, 09:56
คำถามข้อที่  ๘๔.

คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  8)

เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา

แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

๑.หัวล้านผาลไถ
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง
๓.ล้านแก้วมาเมือง
๔.ล้านกบาลทองเหลือง
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์
๗.สุริยันหมดเมฆ
๘.ห้ามไม่หยุด
๙.หลุดท้ายทอย
๑๐.ห้อยหนองปรือ
๑๑.ลือทั่วบ้าน
๑๒.หัวโอง
๑๓.หัวอ๋อย
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย
๑๕.ล้านกำแหง
๑๖.ล้านน้ำเต้า
๑๗.ตาฝั่งโยด
๑๘.ยีบนกระหม่อม
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น
๒๐.งวงช้างหลั่ง
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง
๒๒.ทังโคตบ่มี
๒๓.ล้านกิ่วกวาง
๒๔.ปีนลาดหน้าผา
๒๕.หน้าจักแตน

 :) ;) :D ;D :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 มี.ค. 11, 13:00
คำถามข้อที่  ๘๔.

คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  

เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา

แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

๒. ล้านเพชรหน้าทั่ง               ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหน้า
๓. ล้านแก้วมาเมือง               ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหลัง
๔. ล้านกบาลทองเหลือง          ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านตรงกลางศีรษะ
ดังมีคำจากวรกรรมท้องถิ่นเรื่องวรวงศ์ว่า
"คนหัวล้านมีอยู่มั่ง ล้านข้างหน้าเพชรหน้าทั่ง ล้านข้างหลังแก้วมาเมือง ล้านตรงกลางเรียก กระบาลทองเหลือง ล้านไม่ต้องเรื่อง เป็นเบื้องหม้อใหม่"

๖. ครึ่งซีกพระจันทร์              ภาคกลาง       ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
๗. สุริยันหมดเมฆ                ภาคกลาง       ล้านเกลี้ยงทั้งหัว เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์

๘. ห้ามไม่หยุด                   จันทบุรี          ล้านเถิกขึ้นไปสองข้างขมับ มีผมไว้ตรงกลาง หรือกระหม่อมไปจนถึงด้านหลัง เหมือน "ง่ามเทโพ"
๙. หลุดท้ายทอย                 จันทบุรี          ล้านเป็นวง กลางกบาล มีผมรอบๆทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง เหมือน "ชะโดตีแปลง"
๑๐. ห้อยหนองปรือ               จันทบุรี          ล้านเถิกไปทั้งสองข้างขมับ ลึกโอบกระหม่อม ไปต่อกันด้านหลัง เหลือกระจุกผมอยู่เพียงด้านหน้า
เหมือน "แร้งกระพือปีก"

ทางจันทบูร (จันทบุรี) เรียกชื่อหัวล้านไม่เหมือนทางภาคกลาง แต่ลักษณะของการล้านนั้นเหมือนกัน
ฉอกหมาหลง (ทุ่งหมาหลง) ดงช้างข้าม (ดงช้างข้าม) ห้ามไม่หยุด (ง่ามเทโพ) หลุดท้ายทอย (ชะโดตีแปลง)
ห้อยหนองปรือ (แร้งกระพือปีก) ลือทั่วบ้าน (ฉีกขวานฟาด)

๑๖. ล้านน้ำเต้า                   ภาคอีสาน        มีคำอธิบายไว้ในเสภาเรื่องศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง   
“บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน”

๒๒. ทังโคตรบ่มี                  ภาคเหนือ         ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ลักษณะเหมือน "สุริยันหมดเมฆ" ของทางภาคกลาง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 มี.ค. 11, 13:00
คำถามข้อที่  ๘๔.
คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  8)
เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา
แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

ขอตอบค่ะ
๑๒.หัวโอง : ภาคเหนือ  : ลักษณะ ล้านจนหัวใส โล่งไม่มีผม
๑๓.หัวอ๋อย : ภาคเหนือ : ลักษณะ หัวล้านแบบผมบาง ยังมีผมอยู่แต่ผมบางจนมองเห็นหนังหัว
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่:ภาคใต้ :ลักษณะ ล้านไม่มีรูปแบบ ล้านไม่ตรงเรื่อง
๖. ครึ่งซีกพระจันทร์ : ภาคกลาง : ลักษณะ ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
๗. สุริยันหมดเมฆ : ภาคกลาง :ลักษณะ: ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
๑๔. ล้านเฉลิมรอยควาย : ภาคเหนือตอนล่าง : ล้านเว้าหน้า ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบนเป็นรูปครึ่งวงกลม
๑๕. ล้านกำแหง : ภาคกลาง : ล้านตรงกลางหัว เหมือนกับ ล้านชะโดตีแปลง คือล้านเป็นวงกลางกบาล มีผมรอบๆ ทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง มองจากด้านบนจะเห็นชัดเจน
๑๘. ยีบนกระหม่อม : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านลึกเข้าไปทั้งสองขมับต่อกันถึงด้านหลัง เหลือผมอยู่ตรงกลางหนึ่งกระจุก และเป็นผมหยิกหนึ่งกระจุก
๒๑. ท่อมค่อมทางหลัง : ภาคเหนือ :ลักษณะ  ล้านทางด้านหลัง
๒๒. ทังโคตบ่มี : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ไม่มีผมเหลืออยู่เลย เหมือนกันกับสุริยันหมดเมฆ

อันนี้แถมค่ะ เพลงคนหัวล้าน ของ สุรพล สมบัติเจริญ  
http://www.youtube.com/watch?v=sjaeNhpqNh0


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 11, 13:48
หนังสือวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องวรวงศ์กล่าวว่า “คนหัวล้านมีอยู่มั่ง ล้านข้างหน้าเพชรหน้าทั่ง ล้านข้างหลังแก้วมาเมือง ล้านตรงกลางเรียก กระบาลทองเหลือง ล้านไม่ต้องเรื่อง เป็นเบื้องหม้อใหม่”
๑.หัวล้านผาลไถ เป็นท้องถิ่นภาคใต้
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านด้านหน้า
๓.ล้านแก้วมาเมือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านข้างหลัง
๔.ล้านกบาลทองเหลือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านตรงกลาง
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่ เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านไม่ตรงกับประเภทใดเลย
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์ คือล้านที่ด้านหน้าตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก ล้านแบบนี้ดูคล้าย “ล้านรอยควาย” ของภาคเหนือตอนล่าง
๗.สุริยันหมดเมฆ คือล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์ เหมือนกับล้านเฉ่งเหม่งของจันทบูร และ ล้านแบบตังโคตรบ่มีของล้านนา
๘.ห้ามไม่หยุด ทางจันทบุรี
๙.หลุดท้ายทอย ทางจันทบุรี
๑๐.ห้อยหนองปรือ ทางจันทบุรี
๑๑.ลือทั่วบ้าน ทางจันทบุรี
๑๒.หัวโอง
๑๓.หัวอ๋อย
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย คือ ล้านเว้าหน้า
๑๕.ล้านกำแหง
๑๖.ล้านน้ำเต้า
๑๗.ตาฝั่งโยด
๑๘.ยีบนกระหม่อม
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น
๒๐.งวงช้างหลั่ง
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง
๒๒.ทังโคตบ่มี
๒๓.ล้านกิ่วกวาง
๒๔.ปีนลาดหน้าผา
๒๕.หน้าจักแตน

รูป http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=156684&Ntype=5


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 11, 13:49
ลักษณะการผมร่วงเป็นขั้นต่างๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 11, 16:03
คุณอาร์ตตอบคำถามข้อที่  ๘๔.


/ ๑/๒ ๒. ล้านเพชรหน้าทั่ง               ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหน้า
/ ๑/๒ ๓. ล้านแก้วมาเมือง               ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหลัง
/ ๑/๒ ๔. ล้านกบาลทองเหลือง          ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านตรงกลางศีรษะ
/ /๖. ครึ่งซีกพระจันทร์              ภาคกลาง       
ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
/ /๗. สุริยันหมดเมฆ                ภาคกลาง      
ล้านเกลี้ยงทั้งหัว เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
/๘. ห้ามไม่หยุด                   จันทบุรี          
ล้านเถิกขึ้นไปสองข้างขมับ มีผมไว้ตรงกลาง หรือกระหม่อมไปจนถึงด้านหลัง เหมือน "ง่ามเทโพ"
/๙. หลุดท้ายทอย                 จันทบุรี          
ล้านเป็นวง กลางกบาล มีผมรอบๆทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง เหมือน "ชะโดตีแปลง"
/๑๐. ห้อยหนองปรือ               จันทบุรี         
ล้านเถิกไปทั้งสองข้างขมับ ลึกโอบกระหม่อม ไปต่อกันด้านหลัง เหลือกระจุกผมอยู่เพียงด้านหน้า
เหมือน "แร้งกระพือปีก"
//๑๖. ล้านน้ำเต้า                   ภาคอีสาน        
มีคำอธิบายไว้ในเสภาเรื่องศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง
“บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน”
//๒๒. ทังโคตรบ่มี                  ภาคเหนือ        
ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ลักษณะเหมือน "สุริยันหมดเมฆ" ของทางภาคกลาง

ได้ไป  ๑๕  ๑/๒  คะแนน 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 11, 16:10
คุณดีดี  ตอบมาดังนี้

/๑๒.หัวโอง : ภาคเหนือ  : ลักษณะ ล้านจนหัวใส โล่งไม่มีผม
//๑๓.หัวอ๋อย : ภาคเหนือ : ลักษณะ หัวล้านแบบผมบาง ยังมีผมอยู่แต่ผมบางจนมองเห็นหนังหัว
/๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่:ภาคใต้ :ลักษณะ ล้านไม่มีรูปแบบ ล้านไม่ตรงเรื่อง
//๖. ครึ่งซีกพระจันทร์ : ภาคกลาง : ลักษณะ ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
//๗. สุริยันหมดเมฆ : ภาคกลาง :ลักษณะ: ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
//๑๔. ล้านเฉลิมรอยควาย : ภาคเหนือตอนล่าง : ล้านเว้าหน้า ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบนเป็นรูปครึ่งวงกลม
//๑๕. ล้านกำแหง : ภาคกลาง : ล้านตรงกลางหัว เหมือนกับ ล้านชะโดตีแปลง คือล้านเป็นวงกลางกบาล มีผมรอบๆ ทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง มองจากด้านบนจะเห็นชัดเจน
//๑๘. ยีบนกระหม่อม : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านลึกเข้าไปทั้งสองขมับต่อกันถึงด้านหลัง เหลือผมอยู่ตรงกลางหนึ่งกระจุก และเป็นผมหยิกหนึ่งกระจุก
/๒๑. ท่อมค่อมทางหลัง : ภาคเหนือ :ลักษณะ  ล้านทางด้านหลัง
//๒๒. ทังโคตบ่มี : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ไม่มีผมเหลืออยู่เลย เหมือนกันกับสุริยันหมดเมฆ

ได้ไป  ๑๖  คะแนน  บวกคะแนนแถมจากรูป  ๓  คะแนน เป็น  ๑๙  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 11, 16:25
คุณไซมีสตอบมาดังนี้


/๑.หัวล้านผาลไถ เป็นท้องถิ่นภาคใต้
/ ๑/๒  ๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านด้านหน้า
/ ๓.ล้านแก้วมาเมือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านข้างหลัง
/ ๑/๒  ๔.ล้านกบาลทองเหลือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านตรงกลาง
/ ๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่ เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านไม่ตรงกับประเภทใดเลย
//๖.ครึ่งซีกพระจันทร์ คือล้านที่ด้านหน้าตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก ล้านแบบนี้ดูคล้าย “ล้านรอยควาย” ของภาคเหนือตอนล่าง
//๗.สุริยันหมดเมฆ คือล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์ เหมือนกับล้านเฉ่งเหม่งของจันทบูร และ ล้านแบบตังโคตรบ่มีของล้านนา
/๘.ห้ามไม่หยุด ทางจันทบุรี
/๙.หลุดท้ายทอย ทางจันทบุรี
/๑๐.ห้อยหนองปรือ ทางจันทบุรี
/๑๑.ลือทั่วบ้าน ทางจันทบุรี
/๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย คือ ล้านเว้าหน้า

รวมได้  ๑๕  คะแนน  บวกคะแนนรูป  ๓ คะแนน  ได้ ๑๘  คะแนน


หมายเหตุ   ไม่ได้ตัดคะแนนตามกติกาว่า
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน
เพราะเห็นว่า  คนตอบอุตสาหะหาข้อมูลมาตอบดี 
ผู้ตั้งคำถามก็ไม่มีประสงค์จะตัดคะแนนให้เสียกำลังใจของนักรบ

(หัวล้านที่เหลือ  อยากให้ช่วยกันหาคำตอบมาตอบด้วย 
คนอื่นๆ จะได้รู้ว่าเป็นหัวล้านแบบไหน  อย่างไร   จักขอบคุณยิ่ง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 มี.ค. 11, 17:03
ไม่ได้ชำนาญด้านหัวล้านนะคะ พยายามหามาตอบค่ะ
ได้แค่ว่าภาษาถิ่นไหนค่ะ ลักษณะอย่าไรคงต้องพิจารณาเอาจากชื่อนะคะ

๑.หัวล้านผาลไถ = ภาคใต้
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง= ภาคใต้
๓.ล้านแก้วมาเมือง= ภาคใต้
๔.ล้านกบาลทองเหลือง= ภาคใต้
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่= ภาคใต้
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์=ภาคกลาง
๗.สุริยันหมดเมฆ=ภาคกลาง
๘.ห้ามไม่หยุด= จันทบุรี
๙.หลุดท้ายทอย= จันทบุรี
๑๐.ห้อยหนองปรือ= จันทบุรี
๑๑.ลือทั่วบ้าน= จันทบุรี
๑๒.หัวโอง= ภาคเหนือ
๑๓.หัวอ๋อย= ภาคเหนือ
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย= ภาคเหนือตอนล่าง
๑๕.ล้านกำแหง= ภาคกลาง
๑๖.ล้านน้ำเต้า= ภาคอีสาน
๑๗.ตาฝั่งโยด= ภาคเหนือ(ต๋าฝั่งโหยด)
๑๘.ยีบนกระหม่อม= ภาคเหนือ
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น= ภาคเหนือ
๒๐.งวงช้างหลั่ง= ภาคเหนือ (งวงจ้างหลั่ง)
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง= ภาคเหนือ (ต้อมก้อมตางหลัง)
๒๒.ทังโคตบ่มี= ภาคเหนือ (ตึงโคตรบ่มี)
๒๓.ล้านกิ่วกวาง= ภาคเหนือ (ล้านกิ๋วกว่าง)
๒๔.ปีนลาดหน้าผา= ภาคเหนือ
๒๕.หน้าจักแตน= ภาคเหนือ (หน้าจั๊กแต๋น)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 มี.ค. 11, 15:26
ขอบคุณคุณดีดี  ในรายละเอียดลักษณะหัวล้านแต่ละชื่อ 
เดี๋ยวว่างๆ  ผมจะเอามาลงไว้ให้อ่านกันเป็นความรู้


คำถามข้อที่  ๘๕.

สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า

แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง 

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 11, 16:13
ตอบข้อ 85

1. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
    ในเรื่องรามเกียรติ์มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์มากมาย เช่นไมยราพ ใช้อาคาประกอบบริกรรมคาถาต่างๆนานา ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของคนไทย
     "จึงหยุดยืนอยู่เหนือลม   ทำตามอาคมยักษา
       เทยาสะกดนิทรา         ใส่กล้องรัตนาแล้วเป่าไป"


2. ความเชื่อซึ่งโชคลางต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายตอน เช่น ทศกัณฐ์ฝันร้าย จึงได้ขับภิเภกออกจากกรุงลงกา, ตอนหนุมานแปลงเป็นหมาเน่าลอยน้ำมา ส่วนองคตก็แปลงเป็นอีกาจิกไส้ ตายลอยน้ำมา ทำลายพิธีชุบหอกโมกศักดิ์ของกุมภกรรณทำให้พิธีสิ้นความขลังไป, การออกรบทับจับศึกก็ต้องดูเวลา ยาม จับยามต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฤกษ์ อันอุดมมงคล
    "ขอให้วายุบุตรวุฒิไกร    องคตผู้ไวปัญญา          
     นิมิตเป็นกาจิกสุนัขเน่า   ลอยเข้าใกล้ยักษา"

3. การกระทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งไทยได้อยุธยา - รัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีดังกล่าวเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและการสาบานตนให้ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัติรย์ เช่น ตอน ภิเภกถวายตัวแก่พระราม เป็นต้น

4. การละครใน เป็นศิลปะการร่ายรำในราชสำนัก ก็ปรากฎให้เห็นในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ตอนศึกอินทรชิตครั้งที่ 2
    "มีทั้งนางรำระบำใน   มิได้เคยเห็นแต่ก่อนมา"




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 มี.ค. 11, 18:56
คำถามข้อที่  ๘๕.
สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า
แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง  

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน


ขอตอบค่ะ

1. เกี่ยวกับการแต่งกาย ที่งดงามตามแบบเอกลักษณ์ไทย ทั้งตัวพระและตัวนาง

ตัวอย่างตอนทัพนาคได้เปรียบ พระยากาลนาคคิดแค้นท้าวสหะมลิวันยักษา จึงยกทัพไปตีเมืองมาร    
  ประทุมแก้วโปรยปรายดังสายฝน    ทรงสุคนธานทิพย์เกสร
  สอดใส่สนับเพลาเชิงงอน              อุทุมพรภูษาพื้นแดง
  ชายแครงชายไหวประดับพลอย      ฉลององค์อย่างน้อยเครือแย่ง
  ตาบทิศทับทรวงลายแทง               สังวาลเพ็ชรลูกแดงชิงดวง
  พาหุรัดทองกรมังกรเกี้ยว                ธำมรงค์พลอยเขียวรุ้งร่วง
  มงกุฎแก้วสุรกานต์ดอกไม้พวง         ห้อยห่วงกุณฑลกรรเจียกจร
  จับพระแสงขรรค์แก้วแววฟ้า           งามสง่าดั่งพระยาไกรสร
  เสด็จจากแท่นทิพย์อลงกรณ์           บทจรขึ้นรถสุรกานต์

ตัวอย่างตอนท้าวโรมพัดส่งธิดา (อรุณวดี) ไปทำลายตละฤาษีกไลโกฎ       
  ชำระสระสนานสำราญองค์    ทรงสุคนธ์ธารกลิ่นเกสร
  ภูษาลายเครือกินนร            ช่อเชิงมังกรกระหวัดกาย
  สไบตาดพื้นทองกรองริม      สอดสีทับทิมเฉิดฉาย
  ทับทรวงมรกตจำหลักลาย     ตาบทิศสร้อยสายสังวาลวรรณ
  สะอิ้งแก้วแววเลื่อมมุกดาหาร ดวงประพาฬบานพับประดับถัน
  พาหุรัดทองกรมังกรพัน         ธำมรงค์เพชรกุดั่นพรายตา
  ทรงมหามงกุฎเนาวรัตน์         กรรเจียกจรจำรัสซ้ายขวา
  งามเพียงนางเทพกินรา          นวยนาดยาตรามาขึ้นรถ

2. เกี่ยวกับการรบ การจัดทัพและการตั้งค่ายใน  
มีการจัดกระบวนทัพและการตั้งค่ายเป็นแบบต่างๆ ตามค่านิยมและความเชื่อของคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล ความได้เปรียบในการรบ สร้างขวัญกำลังใจ มีการแบ่งกำลังพลและการบังคับบัญชา รวมถึงมีการกล่าวถึงอาวุธที่ใช้ในการรบแบบไทย เช่น ศร ขรรค์ ดาบ โล่ ง้าว ปืน ธนู โตมร ฯลฯ

ตัวอย่างการจัดทัพ ตอน หนุมานเผากรุงลงกา
             ทัพหน้าเกณฑ์ให้นิลนน          คุมพลสิบสมุทรเป็นนายใหญ่
 ทัพหนุนองคตฤทธิไกร                       คุมพลสิบสมุทรวานร
 เกียกกายคำแหงหนุมาน                     คุมทหารสิบสมุทรชาญสมร
 ทัพหลวงโยธาพลากร                        ซับซ้อนยี่สิบสมุทรตรา
 ยกกระบัตรนิลพัทชาญยุททธ์                คุมพลสิบสมุทรแกล้วกล้า
 กองขันสิบสมุทรโยธา                        นิลราชศักดาบัญชาการ
 กองหลังนิลเอกคุมไพร่                       นับได้เจ็ดสมุทรทวยหาญ
 รายเรียงเพียบพ้นสุธาธาร                    เสียงสะเทื้อนสะท้านเป็นโกลี

3. เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่
มีการบรรยายเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สอดแทรกไว้ในบทพระราชนิพนธ์
ทำให้มองเห็นภาพผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่างตอน หนุมานเผากรุงลงกา
           รู้ว่าสมโภชธานี                     ต่างตนยินดีเกษมสันต์
 แต่งตัวผัดหน้าใส่น้ำมัน                      ชวนกันมาดูวุ่นไป

และ
           บัดนั้น                                ฝ่ายหมู่อสุราน้อยใหญ่
 บ้างกินเหล้ากินแกล้มวุ่นไป                 เมามายไม่สมประดี
 บ้างเต้นบ้างรำทำเพลง                      ตบมือโฉงเฉงอึงมี่
 อื้อฉาวไปทั้งธานี                             อสุรีชื่นชมปรีดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 มี.ค. 11, 21:20
คำถามข้อที่  ๘๕.

สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า

แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง  

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน


เดือนร้อนกระผมนาคุณหลวงที่ต้องตอบคำถามของนายห้างแขกนักกุด่า

1. การจัดพระราชพิธีบรมศพของท้าวพระยาผู้ครองเมือง
ซึ่งในสมัยนี้ไม่จัดทำแบบโบราณกันแล้ว เนื่องด้วยคิดเห็นกันว่าสิ้นเปลืองโดนใช้เหตุ
จึงทอดลดยุบดุลเหลือเพียงสิ่งสำคัญเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ ก็เลิกหายไป
ตัวอย่าง ตอนงานพระเมรุของทศกัณฐ์
"จึ่งให้ตั้งมหาเมรุมาศ                อันโอภาสพรรณรายฉายฉาน
สี่มุขห้ายอดดั่งวิมาน                 สูงตระหง่านเงื้อมง้ำอัมพร
ทั้งเมรุทิศเมรุแทรกรายเรียง         ดูเพียงสัตภัณฑ์สิงขร
มีชั้นอินทร์พรหมประนมกร          รายรูปกินนรคนธรรพ์
ประดับด้วยราชวัติฉัตรจรง           พนมแก้วแถวองค์สลับคั่น
ชั้นในพระเมรุทองนั้น                มีบัลลังก์รัตน์รูจี
เพดานปักทองเป็นเดือนดาว         แสงวาวด้วยแก้วมณีศรี
ทั้งระย้าพู่พวงดวงมณี               ก็เสร็จตามมีพระบัญชา
เมื่อนั้น                              พญาพิเภกยักษา
จึ่งให้เชิญพระศพเจ้าลงกา          ขึ้นมหาพิชัยราชรถ
ประดับด้วยเครื่องสูงเศวตฉัตร       กรรชิงรัตน์พัดโบกอลงกต
ขนัดพลเกณฑ์แห่เป็นหลั่นลด       รถโยงรถนำเรียบเรียง
กลองชนะปี่ฆ้องก้องกึก             พันลึกครึกครั่นสนั่นเสียง
แตรงอนแตรฝรั่งเป็นคู่เคียง         สำเนียงเอิกเกริกเป็นโกลา
จึ่งให้เคลื่อนรถทรงบรมศพ         พระจอมภพธิราชยักษา
โดยกระบวนไปตามรัถยา           ยังมหาเมรุมาศรูจี"

2. สมโภชเด็กเกิดใหม่
ในอดีตไม่ว่าจะเป็นลูกชาวบ้าน บุตรขุนนาง หรือพระราชกุมารของพระเจ้าแผ่นดิน
ก็ย่อมมีงานสมโภชให้เด็กเกิดใหม่อยู่ทั่วไป แต่ปัจจุบันประเพณีนี้กลับหาเห็นยากนัก
ตัวอย่าง ตอนสมโภชพระราชกุมารท้าวทศรถ
"บัดนั้น                              ปุโรหิตพฤฒาผู้ใหญ่
ได้ฤกษ์ก็จุดเทียนชัย                ติดในแว่นแก้วรจนา
เวียนเอยเวียนเทียน                 ให้เวียนแต่ซ้ายไปขวา
โหรเฒ่าลั่นฆ้องสามครา             ประโคมทั้งกาหลดนตรี
ขับไม้ขับขานประสานเสียง         ดุริยางค์จำเรียงอึงมี่
ราชครูปุโรหิตเสนี                   พระศรีสุริยวงศ์พร้อมกัน
เจ็ดรอบชอบราชตำรับ              จึ่งดับเทียนชัยเฉลิมขวัญ
ชีพ่อจบหัตถ์แล้วโบกควัน           ให้พระพงศ์เทวัญกุมารา
เอาจุณเจิมเฉลิมพระนลาฏ          สี่องค์อัครราชโอรสา
แล้วโอมอ่านพระเวทพรหมา         ถวายอาเศียรพาทสวัสดี"

3. การลงทัณฑ์นักโทษ
สมัยนี้เขาไม่ทำกันแล้ว จารีตนครบาล ไม่มีหรอก
ยกเลิกไปแต่รัชกาลที่ 5 โน่น (แต่อาจจะยังมีจารีตภูธร จารีตสันติบาล :-X)
ตัวอย่าง ตอนหนุมานเผาลงกา
"ครั้นถึงจึ่งช่วยกันผูกมัด             รึงรัดกรกายกระบี่ศรี
แทงด้วยแหลนหลาวทวนตรี         บ้างตีด้วยตระบองเท่าลำตาล
บ้างเอาค้อนเหล็กรุมรัน              บ้างหมู่ก็ฟันด้วยขวาน
บ้างเอาพะเนินค้อนรอนราญ         บ้างประหารด้วยง้าววุ่นไป"
...............
"ครั้นถึงช่วยกันอุตลุด               กลิ้งฉุดซึ่งครกเหล็กใหญ่
ที่เหนื่อยก็หยุดหายใจ               บ้างได้สากเหล็กก็แบกมา"
...............
"จับเท้าจับกายจับหัตถ์              ซัดลงในครกเหล็กใหญ่
บ้างฉวยเอาสากด้วยว่องไว          ตำไล่กันเป็นโกลา"
...............
"บัดนั้น                              จึ่งขุนคชาขาญสมร
รับสั่งท้าวยี่สิบกร                    ก็รีบบทจรออกไป"
...............
"ครั้นถึงก็ไสเข้าให้แทง             ด้วยแรงหัสดินตัวกล้า
โจมจ้วงทะลวงลงงา                 บาทาถีบฉัดวุ่นไป"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มี.ค. 11, 11:36
คำถามข้อที่  ๘๖.

คำถามนี้   ใครก็ไม่รู้ส่งมาจากสนามม้านางเลิ้ง
คำถามถามว่า   
๑. ม้า ๔ ตระกูล  มีลักษณะสังเกตได้อย่างไร?
๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?
๓. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร ?
๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
๕. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร ?
๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?

ข้อนี้ ให้เลือกทำ ๓ ข้อ เป็นชุดตามนี้  คือ  ๑-๓-๕   ๒-๔-๖   เท่านั้น
ตอบถูกหมด  ข้อละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๔.๐๐  น.
จนถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.   ตอบหลังเวลานี้  หัก  ๓  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มี.ค. 11, 14:28
ตอบข้อ 85

1. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
    ในเรื่องรามเกียรติ์มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์มากมาย เช่นไมยราพ ใช้อาคาประกอบบริกรรมคาถาต่างๆนานา ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของคนไทย
     "จึงหยุดยืนอยู่เหนือลม   ทำตามอาคมยักษา
       เทยาสะกดนิทรา         ใส่กล้องรัตนาแล้วเป่าไป"


2. ความเชื่อซึ่งโชคลางต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายตอน เช่น ทศกัณฐ์ฝันร้าย จึงได้ขับภิเภกออกจากกรุงลงกา, ตอนหนุมานแปลงเป็นหมาเน่าลอยน้ำมา ส่วนองคตก็แปลงเป็นอีกาจิกไส้ ตายลอยน้ำมา ทำลายพิธีชุบหอกโมกศักดิ์ของกุมภกรรณทำให้พิธีสิ้นความขลังไป, การออกรบทับจับศึกก็ต้องดูเวลา ยาม จับยามต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฤกษ์ อันอุดมมงคล
    "ขอให้วายุบุตรวุฒิไกร    องคตผู้ไวปัญญา          
     นิมิตเป็นกาจิกสุนัขเน่า   ลอยเข้าใกล้ยักษา"

3. การกระทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งไทยได้อยุธยา - รัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีดังกล่าวเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและการสาบานตนให้ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัติรย์ เช่น ตอน ภิเภกถวายตัวแก่พระราม เป็นต้น

4. การละครใน เป็นศิลปะการร่ายรำในราชสำนัก ก็ปรากฎให้เห็นในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ตอนศึกอินทรชิตครั้งที่ 2
    "มีทั้งนางรำระบำใน   มิได้เคยเห็นแต่ก่อนมา"


ตัวอย่างที่ ๑  ยังไม่บ่งบอกวัฒนธรรมไทยที่ชัดเจนนัก
เพราะชนชาติอื่นในแถบนี้ก็มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เช่นเดียวกับคนไทย
ตัวอย่างให้  ๐  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๒ ความเชื่อเรื่องโชคลางน่ะใช่  แต่ยกตัวอย่างคนละเรื่อง
องคตหนุมานแปลงเป็นกาจิกกินหมาเน่าลอยน้ำมาผ่าน
หน้าปะรำที่กุมภกรรณตั้งพิธีลับหอกโมกขศักดิ์
อันนี้เป็นเรื่องของค่านิยมในการประกอบพิธีกรรม 
ข้อนี้  ให้  ๐  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๓  เรื่องการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
อันนี้ใช้ได้  แต่ไม่เอาตัวอย่างกลอนมาให้ดู  ให้  ๓ คะแนน

ตัวอย่างที่ ๔ ไม่มีคะแนนให้  เพราะยกมาเกินที่กำหนด
และไม่มีตัวอย่างที่ชัดเจนมาประกอบพร้อมอธิบาย


คุณไซมีสได้  ๓  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มี.ค. 11, 14:40

ขอตอบค่ะ

1. เกี่ยวกับการแต่งกาย ที่งดงามตามแบบเอกลักษณ์ไทย ทั้งตัวพระและตัวนาง

ตัวอย่างตอนทัพนาคได้เปรียบ พระยากาลนาคคิดแค้นท้าวสหะมลิวันยักษา จึงยกทัพไปตีเมืองมาร    
  ประทุมแก้วโปรยปรายดังสายฝน    ทรงสุคนธานทิพย์เกสร
  สอดใส่สนับเพลาเชิงงอน              อุทุมพรภูษาพื้นแดง
  ชายแครงชายไหวประดับพลอย      ฉลององค์อย่างน้อยเครือแย่ง
  ตาบทิศทับทรวงลายแทง               สังวาลเพ็ชรลูกแดงชิงดวง
  พาหุรัดทองกรมังกรเกี้ยว                ธำมรงค์พลอยเขียวรุ้งร่วง
  มงกุฎแก้วสุรกานต์ดอกไม้พวง         ห้อยห่วงกุณฑลกรรเจียกจร
  จับพระแสงขรรค์แก้วแววฟ้า           งามสง่าดั่งพระยาไกรสร
  เสด็จจากแท่นทิพย์อลงกรณ์           บทจรขึ้นรถสุรกานต์

ตัวอย่างตอนท้าวโรมพัดส่งธิดา (อรุณวดี) ไปทำลายตละฤาษีกไลโกฎ      
  ชำระสระสนานสำราญองค์    ทรงสุคนธ์ธารกลิ่นเกสร
  ภูษาลายเครือกินนร            ช่อเชิงมังกรกระหวัดกาย
  สไบตาดพื้นทองกรองริม      สอดสีทับทิมเฉิดฉาย
  ทับทรวงมรกตจำหลักลาย     ตาบทิศสร้อยสายสังวาลวรรณ
  สะอิ้งแก้วแววเลื่อมมุกดาหาร ดวงประพาฬบานพับประดับถัน
  พาหุรัดทองกรมังกรพัน         ธำมรงค์เพชรกุดั่นพรายตา
  ทรงมหามงกุฎเนาวรัตน์         กรรเจียกจรจำรัสซ้ายขวา
  งามเพียงนางเทพกินรา          นวยนาดยาตรามาขึ้นรถ

2. เกี่ยวกับการรบ การจัดทัพและการตั้งค่ายใน  
มีการจัดกระบวนทัพและการตั้งค่ายเป็นแบบต่างๆ ตามค่านิยมและความเชื่อของคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล ความได้เปรียบในการรบ สร้างขวัญกำลังใจ มีการแบ่งกำลังพลและการบังคับบัญชา รวมถึงมีการกล่าวถึงอาวุธที่ใช้ในการรบแบบไทย เช่น ศร ขรรค์ ดาบ โล่ ง้าว ปืน ธนู โตมร ฯลฯ

ตัวอย่างการจัดทัพ ตอน หนุมานเผากรุงลงกา
             ทัพหน้าเกณฑ์ให้นิลนน          คุมพลสิบสมุทรเป็นนายใหญ่
 ทัพหนุนองคตฤทธิไกร                       คุมพลสิบสมุทรวานร
 เกียกกายคำแหงหนุมาน                     คุมทหารสิบสมุทรชาญสมร
 ทัพหลวงโยธาพลากร                        ซับซ้อนยี่สิบสมุทรตรา
 ยกกระบัตรนิลพัทชาญยุททธ์                คุมพลสิบสมุทรแกล้วกล้า
 กองขันสิบสมุทรโยธา                        นิลราชศักดาบัญชาการ
 กองหลังนิลเอกคุมไพร่                       นับได้เจ็ดสมุทรทวยหาญ
 รายเรียงเพียบพ้นสุธาธาร                    เสียงสะเทื้อนสะท้านเป็นโกลี

3. เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่
มีการบรรยายเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สอดแทรกไว้ในบทพระราชนิพนธ์
ทำให้มองเห็นภาพผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่างตอน หนุมานเผากรุงลงกา
           รู้ว่าสมโภชธานี                     ต่างตนยินดีเกษมสันต์
 แต่งตัวผัดหน้าใส่น้ำมัน                      ชวนกันมาดูวุ่นไป

และ
           บัดนั้น                                ฝ่ายหมู่อสุราน้อยใหญ่
 บ้างกินเหล้ากินแกล้มวุ่นไป                 เมามายไม่สมประดี
 บ้างเต้นบ้างรำทำเพลง                      ตบมือโฉงเฉงอึงมี่
 อื้อฉาวไปทั้งธานี                             อสุรีชื่นชมปรีดา



ตัวอย่างที่  ๑  ดี  แต่อธิบายน้อยไป ไม่ค่อยตรงจุดที่อยากได้
(ถ้าบอกเรื่องรายละเอียดเรื่องเครื่องแต่งกายตัวละครไทยจะให้คะแนนเต็ม)
เอาไป ๓ ๑/๒  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๒  ดี  แต่อธิบายน้อยไปหน่อย  
(ถ้าอธิบายว่า  การจัดทัพแบบนี้  มีแบบแผนมาอย่างไร  
มีคติความเชื่ออะไรประกอบ  ก็จะให้เต็ม)  เอาไป ๔  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๓  ดี  แต่ตัวอย่างที่ยกมาสั้นและไม่ค่อยเห็นภาพชัดนัก
(มีตอนอื่นที่ให้ภาพชัดเจน เรื่องชาวบ้านมาเดินดูงานมหรสพสมโภชของหลวง
และถ้ายกมาให้ดูด้วยว่างานสมโภชมีการละเล่นอะไรบ้างก็จะให้เต็ม)
เอาไป ๓ ๑/๒ คะแนน

ได้ไป ๑๑  คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 มี.ค. 11, 14:54
คำถามข้อที่  ๘๖.

คำถามนี้   ใครก็ไม่รู้ส่งมาจากสนามม้านางเลิ้ง
คำถามถามว่า  
๑. ม้า ๔ ตระกูล  มีลักษณะสังเกตได้อย่างไร?
๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?
๓. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร ?
๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
๕. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร ?
๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?

ข้อนี้ ให้เลือกทำ ๓ ข้อ เป็นชุดตามนี้  คือ  ๑-๓-๕   ๒-๔-๖   เท่านั้น
ตอบถูกหมด  ข้อละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๔.๐๐  น.
จนถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.   ตอบหลังเวลานี้  หัก  ๓  คะแนน

ขอตอบชุด ข้อ ๒-๔-๖ ค่ะ

๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

ขวัญม้าแบ่งตามลักษณะของขน มีสองประเภทคือ
- ขวัญก้นหอย คือขวัญที่มีลักษณะขนขึ้นเรียงกันเป็นรูปวงก้นหอย
- ขวัญตะขาบ คือขวัญที่มีขนเป็นรอยเส้นขึ้นเรียงกันตามยาวคล้ายรูปตะขาบ
ขวัญเกิดได้ทั่วไปตามตำแหน่งต่างๆ ทั่วตัว และมีชื่อเรียก ต่างๆ กันตามตำแหน่ง

ประเภทของขวัญตามตำแหน่งที่ปรากฏ
1.ขวัญที่หน้า
.ขวัญหลุมผี เป็นขวัญเดียวลึกอยู่ที่หน้าผาก เปิดผมหน้าม้าจะพบ
.ขวัญรัดเกล้า อยู่บริเวณสายรัดเกล้า ใกล้หูติดกับผม
.ขวัญดวงจันทร์ หรือขวัญเทพนม อยู่กึ่งกลาง Mid line ถ้าพบขวัญอยู่ต่ำลงมาเรียก ขวัญใต้ตาขี้โกง ม้าลักษณะนี้มักจะดื้อ
.ขวัญมังกรคาบแก้ว พบบริเวณปลายจมูก ( Muzzle ) อาจพบได้หลายขวัญ ในการลงทะเบียนระบบนานาชาติจะไม่ลงบันทึกขวัญนี้
.ขวัญน้ำตาตก ขวัญข้างแก้มใกล้เบ้าตา ถือเป็นขวัญเลว
.ขวัญธงไชย อยู่ที่ปลายหู ถือเป็นขวัญดี เป็นม้าที่คู่ควรกับกษัตริย์หรือแม่ทัพ
.ขวัญหัวคิ้ว เป็นขวัญอยู่ตรงหัวคิ้ว ข้างหนึ่งข้างใน
2.ขวัญด้านข้าง
.ขวัญกาจับปากโลง พบอยู่ใต้ขากรรไกรล่าง ถือเป็นขวัญเลว มักพบในม้าเทศ แต่ไม่พบในม้าไทยตามธรรมชาติ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นขวัญใต้ขากรรไกร
3.ขวัญบริเวณลำคอ
.ขวัญทัดดอกไม้ พบหลังหู
.ขวัญข้างคอ อาจพบอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม แต่ถ้าตรงกลาง ( Middle crest of neck ) เรียกขวัญข้างคอถ้าพบทั้งซ้ายขวาเรียก ขวัญขนาบคอ
.ขวัญคอเชือก พบตรงบริเวณลูกกระเดือก
.ขวัญห้อยราชสาส์ เป็นขวัญอยู่ระหว่างคอกับหน้าอก
.ขวัญห้อยราชสาส์น้อย ขวัญนี้จะอยู่ใกล้ไปทางคอ
.ขวัญห้อยราชสาส์ใหญ่ ขวัญนี้จะอยู่ใกล้ไปทางหน้าอก
.ขวัญแสนเดือน บ้างเรียกขวัญข้างคอ พบบริเวณตรงกลางของลำคอ
.ขวัญพาดหอก อยู่ที่แนวสันคอใกล้ผมแผงคอ มีอยู่ข้างเดียว
.ขวัญอกแตก (จุกอก) พบบริเวณอก ม้าที่มีขวัญนี้มักจะไม่ใช้ในการรบ เพราะมีขวัญไม่ดี
4.ขวัญบริเวณลำตัว
.ขวัญจอมปราสาท อยู่ตรงตะโหงกม้า ( wither ) ถือเป็นขวัญดี
.ขวัญนางพิม อยู่ท้ายตะโหงก มีที่มาจากวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางพิมหนี นั่งมาบนม้าตัวเดียวกัน อานม้ามีขนาดเล็กจึงต้องให้นางพิมนั่งอยู่ข้างหน้า
.ขวัญที่นั่งโจร อยู่ทางท้ายอานถือเป็นขวัญเลว ผู้ที่ขี่ม้าที่มีขวัญนี้อาจจะตกม้าได้
.ขวัญแร้งกระพือปีก อยู่บริเวณหัวไหล่ด้านหน้าขาหน้า อาจพบทั้งซ้ายและขวา
.ขวัญโกลนพระอินทร์ เป็นขวัญตรงตำแหน่งโกลนถือเป็นขวัญดีี อยู่ตรงรัดทึบเหนือข้อศอกทั้งสองข้าง ถ้ามีเพียงข้างเดียวเรียกว่า ขวัญบันไดแก้ว
5.ขวัญบริเวณขาหน้า
.ขวัญหน้าอก พบที่ซอกขาด้านในม้าทุกตัวต้องมี
.ขวัญบันไดแก้ว บนขาท่อน Radius-Ulna
.ขวัญห้องโซ่ หรือห้อยโซ่ ตรงบริเวณ Carpal joint ถือเป็นขวัญไม่ดี
.ขวัญจำตรวน ตรงข้อตาตุ่มเป็นขวัญไม่ดี
6.ขวัญบริเวณขาหลัง
.ขวัญเร่ง พบในม้าทุกตัว
.ขวัญอู่ตะเภา พบบริเวณสวาบในบางตัว หากมีถือเป็นขวัญดีในม้าตัวเมีย เชื่อว่าให้ลูกมาก
.ขวัญยุ้งแก้ว บริเวณหน้าท้องตอนล่างพบทุกตัว
7.ขวัญบริเวณท้ายตัว
.ขวัญเลิกซิ่น พบบางตัวข้างๆ อวัยวะเพศเมีย
.ขวัญน่องสิงห์ หากมีแล้วถือว่าม้าวิ่งเก่ง
.ขวัญลึงค์จ้ำ เรียกในม้าตัวผู้เท่านั้น อยู่ใต้ท้องตรงลึงค์
.อาจพบขวัญจำตรวนบริเวณข้อตาตุ่มได้เช่นกัน

ขวัญที่ม้าทุกตัวต้องมี เป็นขวัญปกติ  11 แห่ง  คือ (ตำแหน่งตามภาพในคห.ถัดไป)
ขวัญหลุมผี ขวัญดวงจันทร์ ขวัญมังกรคาบแก้ว ขวัญข้างคอ ขวัญหน้าอก ขวัญเร่ง ขวัญยุ้งแก้ว

๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?

ขวัญม้าที่ดี คือ ขวัญที่มีลักษณะเป็นก้นหอยหรือตะขาบก็ได้ อยู่ในตำแหน่งที่ดีตามความเชื่อของคนโบราณ เชื่อว่าม้าที่มีขวัญในตำแหน่งที่ดี จะให้คุณแก่ผู้ขี่
ขวัญม้าที่ดีมี ๗ ชนิด คือ
๑. ขวัญดวงจันทร์ เป็นขวัญอยู่ที่หน้าผากม้ามีสามขวัญ
๒. ขวัญธงชัย อยู่ปลายใบหู ม้าที่มีขวัญนี้เป็นม้าที่คู่ควรกับกษัตริย์หรือแม่ทัพ
๓. ขวัญทัดดอกไม้ อยู่บริเวณหลังหู จะข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ให้จับหูม้าพับวนโดยรอบ ถ้าอยู่ในรัศมีของหูมีขวัญอยู่เรียกว่าขวัญทัดดอกไม้ทั้งสิ้น
๔. ขวัญรัดเกล้า อยู่ชิดโคนผมด้านหน้าทั้งสองข้าง
๕. ขวัญพาดหอก รูปก้นหอยหรือ ตะขาบ อยู่ที่แนวสันคอใกล้ผมแผงคอ มีอยู่ข้างเดียว
๖. ขวัญโกลนพระอินทร์ อยู่เหนือข้อศอกกับรัดทึบมักมีสองข้าง
๗. ขวัญห้อยราชสาส์น อยู่ตามแนวใต้คอด้านหน้า

๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?
-


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 มี.ค. 11, 14:55
ขวัญปกติ  11 แห่ง ที่ม้าทุกตัวต้องมี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มี.ค. 11, 14:58
1. การจัดพระราชพิธีบรมศพของท้าวพระยาผู้ครองเมือง
ซึ่งในสมัยนี้ไม่จัดทำแบบโบราณกันแล้ว เนื่องด้วยคิดเห็นกันว่าสิ้นเปลืองโดนใช้เหตุ
จึงทอดลดยุบดุลเหลือเพียงสิ่งสำคัญเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ ก็เลิกหายไป
ตัวอย่าง ตอนงานพระเมรุของทศกัณฐ์
"จึ่งให้ตั้งมหาเมรุมาศ                อันโอภาสพรรณรายฉายฉาน
สี่มุขห้ายอดดั่งวิมาน                 สูงตระหง่านเงื้อมง้ำอัมพร
ทั้งเมรุทิศเมรุแทรกรายเรียง         ดูเพียงสัตภัณฑ์สิงขร
มีชั้นอินทร์พรหมประนมกร          รายรูปกินนรคนธรรพ์
ประดับด้วยราชวัติฉัตรจรง           พนมแก้วแถวองค์สลับคั่น
ชั้นในพระเมรุทองนั้น                มีบัลลังก์รัตน์รูจี
เพดานปักทองเป็นเดือนดาว         แสงวาวด้วยแก้วมณีศรี
ทั้งระย้าพู่พวงดวงมณี               ก็เสร็จตามมีพระบัญชา
เมื่อนั้น                              พญาพิเภกยักษา
จึ่งให้เชิญพระศพเจ้าลงกา          ขึ้นมหาพิชัยราชรถ
ประดับด้วยเครื่องสูงเศวตฉัตร       กรรชิงรัตน์พัดโบกอลงกต
ขนัดพลเกณฑ์แห่เป็นหลั่นลด       รถโยงรถนำเรียบเรียง
กลองชนะปี่ฆ้องก้องกึก             พันลึกครึกครั่นสนั่นเสียง
แตรงอนแตรฝรั่งเป็นคู่เคียง         สำเนียงเอิกเกริกเป็นโกลา
จึ่งให้เคลื่อนรถทรงบรมศพ         พระจอมภพธิราชยักษา
โดยกระบวนไปตามรัถยา           ยังมหาเมรุมาศรูจี"

2. สมโภชเด็กเกิดใหม่
ในอดีตไม่ว่าจะเป็นลูกชาวบ้าน บุตรขุนนาง หรือพระราชกุมารของพระเจ้าแผ่นดิน
ก็ย่อมมีงานสมโภชให้เด็กเกิดใหม่อยู่ทั่วไป แต่ปัจจุบันประเพณีนี้กลับหาเห็นยากนัก
ตัวอย่าง ตอนสมโภชพระราชกุมารท้าวทศรถ
"บัดนั้น                              ปุโรหิตพฤฒาผู้ใหญ่
ได้ฤกษ์ก็จุดเทียนชัย                ติดในแว่นแก้วรจนา
เวียนเอยเวียนเทียน                 ให้เวียนแต่ซ้ายไปขวา
โหรเฒ่าลั่นฆ้องสามครา             ประโคมทั้งกาหลดนตรี
ขับไม้ขับขานประสานเสียง         ดุริยางค์จำเรียงอึงมี่
ราชครูปุโรหิตเสนี                   พระศรีสุริยวงศ์พร้อมกัน
เจ็ดรอบชอบราชตำรับ              จึ่งดับเทียนชัยเฉลิมขวัญ
ชีพ่อจบหัตถ์แล้วโบกควัน           ให้พระพงศ์เทวัญกุมารา
เอาจุณเจิมเฉลิมพระนลาฏ          สี่องค์อัครราชโอรสา
แล้วโอมอ่านพระเวทพรหมา         ถวายอาเศียรพาทสวัสดี"

3. การลงทัณฑ์นักโทษ
สมัยนี้เขาไม่ทำกันแล้ว จารีตนครบาล ไม่มีหรอก
ยกเลิกไปแต่รัชกาลที่ 5 โน่น (แต่อาจจะยังมีจารีตภูธร จารีตสันติบาล :-X)
ตัวอย่าง ตอนหนุมานเผาลงกา
"ครั้นถึงจึ่งช่วยกันผูกมัด             รึงรัดกรกายกระบี่ศรี
แทงด้วยแหลนหลาวทวนตรี         บ้างตีด้วยตระบองเท่าลำตาล
บ้างเอาค้อนเหล็กรุมรัน              บ้างหมู่ก็ฟันด้วยขวาน
บ้างเอาพะเนินค้อนรอนราญ         บ้างประหารด้วยง้าววุ่นไป"
...............
"ครั้นถึงช่วยกันอุตลุด               กลิ้งฉุดซึ่งครกเหล็กใหญ่
ที่เหนื่อยก็หยุดหายใจ               บ้างได้สากเหล็กก็แบกมา"
...............
"จับเท้าจับกายจับหัตถ์              ซัดลงในครกเหล็กใหญ่
บ้างฉวยเอาสากด้วยว่องไว          ตำไล่กันเป็นโกลา"
...............
"บัดนั้น                              จึ่งขุนคชาขาญสมร
รับสั่งท้าวยี่สิบกร                    ก็รีบบทจรออกไป"
...............
"ครั้นถึงก็ไสเข้าให้แทง             ด้วยแรงหัสดินตัวกล้า
โจมจ้วงทะลวงลงงา                 บาทาถีบฉัดวุ่นไป"


ตัวอย่างที่  ๑  ตัวอย่างดี   แต่อธิบายไม่ดี   เอาไป ๓ คะแนน
ถ้าอธิบายว่า  พระเมรุกษัตริย์สมัยก่อนมีการสร้างใหญ่โตเพียงใด
ประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอย่างไร
เพื่ออะไรแล้ว ด้วยคติอะไร  ก็จะให้เต็ม)

ตัวอย่างที่  ๒  ตัวอย่างดี  แต่อธิบายน้อยไป
แถมอธิบายไม่ถูก   การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ตามที่ยกมา
โอเคว่า  เป็นประเพณีที่ชาวบ้านสามัญชนนจนเจ้านายก็ทำกัน
แต่เมื่อยกตัวอย่างในรามเกียรติ์มาก็ควรจะอธิบายว่า
นี่เป็นการทำขวัญพระกุมารตามพระราชประเพณี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1234....   ถ้าอธิบายดังนี้  ก็จะให้เต็ม  
เอาไป  ๓  คะแนน


ตัวอย่างที่  ๓  จารีตนครบาล   แล้วยกตัวอย่าง
ตอนทศกัณฐ์สั่งให้ลงโทษหนุมานด้วยวิธีการต่างๆ
ไปเทียบกับจารีตนครบาลในกฎหมายเก่าของไทย
ที่ยกเลิกสมัยรัชกาลที่  ๕  ไม่ทราบว่า  คนตอบตรวจดูแน่ใจแล้วหรือ
ว่าตัวอย่างที่ยกมาในรามเกียรติ์เหมือนกับจารีตนครบาลของไทย
เอาไป  ๐  คะแนน

รวมได้  ๖  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 มี.ค. 11, 15:02
คำถามข้อที่  ๘๖.

คำถามนี้   ใครก็ไม่รู้ส่งมาจากสนามม้านางเลิ้ง
คำถามถามว่า  
๑. ม้า ๔ ตระกูล  มีลักษณะสังเกตได้อย่างไร?
๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?
๓. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร ?
๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
๕. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร ?
๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?

ข้อนี้ ให้เลือกทำ ๓ ข้อ เป็นชุดตามนี้  คือ  ๑-๓-๕   ๒-๔-๖   เท่านั้น
ตอบถูกหมด  ข้อละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๔.๐๐  น.
จนถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.   ตอบหลังเวลานี้  หัก  ๓  คะแนน

เอาชุด 1-3-5

1. ม้าสี่ตระกูลมีจุดสังเกตอย่างไร
   -ม้าตระกูลกษัตริย์ หูม้านั้นเป็นกนก ถ้าอยากจะใคร่รู้ไปเกี่ยวเอาคามาวัดที่หลังแล้วปูให้นอน ถ้าม้าเอาศีรษะไปทิศ
ตะวันออก บอกตระกูลกษัตริย์แท้ ถ้าไม่ดังนั้นยังสงสัย เอาเข็มสักที่ใบหูเลือดเป็นสีมันปู คือตระกูลกษัตริย์แท้
จุงลงนำเอาท้าวคุ้ยแหงนดูอากาศ ตระกูลกษัตริย์แท้
   -ม้าตระกูลพราหมณ์ ท่อนหน้าเล็กหน้าบาง ท่อนฟน้าเล็กใบหูใหญ่ ตระกูลพราหมณ์แล
   -ม้าตระกูลแพทย์พ่อค้า หน้าสั้นฟันสิบซีกไซ้เศษสอง ตระกูลแพทย์แล
   -ม้าตระกูลสูท สัณฐานหน้าตาจระเข้เขียวเป็นถั่วแปบ ผมหน้ายิกหางยุ่ง เรียกว่าตระกูลสูท

3. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร
   ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายนั้น ก็คือลักษณะขวัญของม้าที่โบราณถือว่าไม่ดีสำหรับผู้ขี่หรือเจ้าของม้า
   ขวัญชั่วของม้า  เช่น ขวัญขนาบคา  อยู่ข้างสันคอใกล้แนวผมแผงคอ มีสองข้า (ถ้ามีข้างเดียว เรียกว่าขวัญพาดหอก ถือว่าดี)
   ขวัญกาจับปากโรง อยู่ใต้คาง
   ขวัญคอเชือด อยู่ใต้คอต่อ ใต้ขากรรไกรกับคอ

5. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร
    -ม้าพยศวิ่งมิตรงทาง ให้ใส่บุ้งทั้งสองข้าง ให้ถือจงตรง ผูกอานคร่อมไหล่ ให้ถอยลงมาข้างหลังสน่อยเหมือนดังง่องๆ
นั้นผูกเครือทั้งสองข้าง ครั้นจะชักสายถือไม้นั้นผูกปากม้า ๆ นั้นวิ่งตรงทางแล ฯ
    -ม้าพยศขบอกมันเอง ให้ใส่บังเหียนบุ้งให้เจ็บแต่พอดี เอาไม้ใส่ต่างง่องปลายไม้ใส่เล่กตกต้นไม้ทานอก ม้านั้นขบอกมิได้แล ฯ
    -ม้าพยศถอยหลัง ให้ใส่บังเหียนเกลี้ยง ไว้สายถือเพียงต้นแปรงให้คลายสายถือ มือขวาถือแซ่ยาว 3 ศอกคืบ 3 นิ้ว
ปลายแซ่นั้นให้ใส่ตะกั่ว ถ้าและม้าถอยหลังเอาเชือกตีให้ถูกราวท้องตรงปลายลึงค์ ม้านั้นถอยหลังไปมิได้แล ฯ
    -ม้าดีดขบ ให้เอายานี้แก้ ให้เอาขัดมอนขึ้นที่ป่าช้านั้น เมื่อไปเอานั้นเบี้ย 3 เบี้ย หมากคำ 1 กล้วยลูก 1 เข้าปั้น 1
ให้ว่าแก่ผีว่า ม้าข้านี้ร้ายมีพยศขบกัดดีดหนัก ข้าขอจะเอาท่านไปแก้พยศซึ่งมันร้ายดีดขบกัดหนัก อย่าให้มันร้ายดีดขบกัดได้เลย
แล้วเอามาทั้งรากมาสับให้ละเอียดตากแดดไว้ให้แห้งตำเป็นผง จึงเอาเทียนเล่ม 1 ไก่ตัว 1 มะพร้าวใบ 1 เหล้ากะติก 1
เข้าตอกดอกไม้พลี เอายานั้นจงคำนับเอายานั้นใส่ปนข้าวให้ม้ากินเมื่อสงัด อย่าให้คนเห็นดีนักแล ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 มี.ค. 11, 15:20
อุทธรณ์คำสั่งศาลตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความ......(ไม่รู้แพ่งหรืออาญาดี)

คำพิพากษา
ตัวอย่างที่  ๑  ตัวอย่างดี   แต่อธิบายไม่ดี   เอาไป ๓ คะแนน
ถ้าอธิบายว่า  พระเมรุกษัตริย์สมัยก่อนมีการสร้างใหญ่โตเพียงใด
ประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอย่างไร

เพื่ออะไรแล้ว ด้วยคติอะไร  ก็จะให้เต็ม)

ตัวอย่างที่  ๒  ตัวอย่างดี  แต่อธิบายน้อยไป
แถมอธิบายไม่ถูก   การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ตามที่ยกมา
โอเคว่า  เป็นประเพณีที่ชาวบ้านสามัญชนนจนเจ้านายก็ทำกัน
แต่เมื่อยกตัวอย่างในรามเกียรติ์มาก็ควรจะอธิบายว่า
นี่เป็นการทำขวัญพระกุมารตามพระราชประเพณี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1234.... 
  ถ้าอธิบายดังนี้  ก็จะให้เต็ม 
เอาไป  ๓  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๓  จารีตนครบาล   แล้วยกตัวอย่าง
ตอนทศกัณฐ์สั่งให้ลงโทษหนุมานด้วยวิธีการต่างๆ
ไปเทียบกับจารีตนครบาลในกฎหมายเก่าของไทย
ที่ยกเลิกสมัยรัชกาลที่  ๕  ไม่ทราบว่า  คนตอบตรวจดูแน่ใจแล้วหรือ
ว่าตัวอย่างที่ยกมาในรามเกียรติ์เหมือนกับจารีตนครบาลของไทย

คำอุธรณ์
1. คุณหลวงบอกแค่ว่าตัวอย่างนั้นแสดงถึงวัฒนธรรมไทยอย่างไร ไม่ได้บอกว่าให้อธิบายถึงรายละเอียด
ของพิธีกรรมนั้นๆ มาด้วย ไม่เช่นนั้น ถ้าพูดถึงมหรสพหลวง ไม่ต้องยกทุกอย่างดอกหรือ
ทั้ง ญวนหก ระเบง กุลาตีไม้ รำโคม บอกวิธีการเล่น เนื้อร้อง สารพัดสารพัน... มันมากไปมั้งใต้เท้า ???
2. เรื่องพิธีสมโภชกุมาร อธิบายผิดตรงไหนบอกล่าวด้วย
3. ถึงไม่ใช่จารีตนครบาล แต่ในสมัยก่อนมันก็มีการลงทัณฑ์อย่างนี้มิใช่หรือ หนักกว่านี้ก็มี
กฏหมายตราสามดวงก็เขียนไว้ (จำไม่ได้ว่าพระอัยการไหน)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 09:14
อุทธรณ์คำสั่งศาลตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความ......(ไม่รู้แพ่งหรืออาญาดี)

คำพิพากษา
ตัวอย่างที่  ๑  ตัวอย่างดี   แต่อธิบายไม่ดี   เอาไป ๓ คะแนน
ถ้าอธิบายว่า  พระเมรุกษัตริย์สมัยก่อนมีการสร้างใหญ่โตเพียงใด
ประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอย่างไร

เพื่ออะไรแล้ว ด้วยคติอะไร  ก็จะให้เต็ม)

ตัวอย่างที่  ๒  ตัวอย่างดี  แต่อธิบายน้อยไป
แถมอธิบายไม่ถูก   การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ตามที่ยกมา
โอเคว่า  เป็นประเพณีที่ชาวบ้านสามัญชนนจนเจ้านายก็ทำกัน
แต่เมื่อยกตัวอย่างในรามเกียรติ์มาก็ควรจะอธิบายว่า
นี่เป็นการทำขวัญพระกุมารตามพระราชประเพณี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1234.... 
  ถ้าอธิบายดังนี้  ก็จะให้เต็ม 
เอาไป  ๓  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๓  จารีตนครบาล   แล้วยกตัวอย่าง
ตอนทศกัณฐ์สั่งให้ลงโทษหนุมานด้วยวิธีการต่างๆ
ไปเทียบกับจารีตนครบาลในกฎหมายเก่าของไทย
ที่ยกเลิกสมัยรัชกาลที่  ๕  ไม่ทราบว่า  คนตอบตรวจดูแน่ใจแล้วหรือ
ว่าตัวอย่างที่ยกมาในรามเกียรติ์เหมือนกับจารีตนครบาลของไทย

คำอุธรณ์
1. คุณหลวงบอกแค่ว่าตัวอย่างนั้นแสดงถึงวัฒนธรรมไทยอย่างไร ไม่ได้บอกว่าให้อธิบายถึงรายละเอียด
ของพิธีกรรมนั้นๆ มาด้วย ไม่เช่นนั้น ถ้าพูดถึงมหรสพหลวง ไม่ต้องยกทุกอย่างดอกหรือ
ทั้ง ญวนหก ระเบง กุลาตีไม้ รำโคม บอกวิธีการเล่น เนื้อร้อง สารพัดสารพัน... มันมากไปมั้งใต้เท้า ???
2. เรื่องพิธีสมโภชกุมาร อธิบายผิดตรงไหนบอกล่าวด้วย
3. ถึงไม่ใช่จารีตนครบาล แต่ในสมัยก่อนมันก็มีการลงทัณฑ์อย่างนี้มิใช่หรือ หนักกว่านี้ก็มี
กฏหมายตราสามดวงก็เขียนไว้ (จำไม่ได้ว่าพระอัยการไหน)



อะ...มีผู้ประท้วงมา   

เวลาที่คุณตอบคำถามในกระทู้นี้  คุณคิดว่าคุณเขียนตอบให้ผมอ่านคนเดียวน่ะหรือ
จริงแล้ว  ผมเป็นเพียงคนตรวจ   ผมอาจจะเข้าใจสิ่งที่คุณตอบ   
แต่คุณก็ต้องคิดถึงคนอื่นที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ด้วยว่าเขามีความรู้ไม่ทัดเทียมกับเรา
บางคนรู้มากกว่า  บางคนรู้น้อยกว่า   ฉะนั้น  คุณต้องคิดเผื่อคนอ่านคนอื่นด้วยว่า
คุณตอบเท่านี้  คนอ่านคนอื่นเขาจะเข้าใจไหม  ก็เหมือนเราทำข้อสอบนั่นแหละ
คุณคิดว่าตอบย่อๆ  อาจารย์คนที่ตรวจข้อสอบคงเข้าใจได้ว่าคุณหมายความว่าอย่างไร
ถ้าคิดอย่างนั้น  คุณก็คิดผิดพลาดมาก   คุณต้องเขียนให้ละเอียดอ่านรู้เรื่อง 
อย่าย่ออย่าข้ามข้อมูลที่คุณคิดว่าคนอื่นจะรู้อย่างคุณ     เพราะรายละเอียดบางอย่าง
ไม่ใช่ข้อมูลสามัญที่ทุกคนต้องรู้ต้องทราบ    การตอบคำถามที่ผ่านมา
ผมตรวจค่อนข้างละเอียด   อาจจะมีบางข้อต้นๆ ที่ผมมองข้ามเรื่องรายละเอียดเล็กน้อยไป
เพราะเห็นว่าข้อมูลสำคัญที่ต้องการมีอยู่ครบแล้ว  แต่ในบางคำถาม
ที่ผมเน้นให้อธิบายปรกอบ  ผมอยากให้เขียนให้ละเอียด  ส่วนจะมากหรือละเอียดเท่าใด
คุณจะต้องให้ผมต้องแจงสี่เบี้ยขนาดนั้นเชียวหรือ  ขอให้อยู่ดุลยพินิจของคนตอบเถิด
ถ้าอธิบายย่อแล้วคุณเข้าใจคนเดียว   ผมไม่เข้าใจ   คนอ่านหลายคนไม่เข้าใจ
ผมจะให้คะแนนเต็มได้อย่างไร    ตอบคำถามอย่างนี้ต้องคิดเผื่อคนอ่านด้วยครับ
เพราะเราไม่ใช่เอตทัคคะกันทุกคนนี่


1. คุณหลวงบอกแค่ว่าตัวอย่างนั้นแสดงถึงวัฒนธรรมไทยอย่างไร ไม่ได้บอกว่าให้อธิบายถึงรายละเอียด
ของพิธีกรรมนั้นๆ มาด้วย ไม่เช่นนั้น ถ้าพูดถึงมหรสพหลวง ไม่ต้องยกทุกอย่างดอกหรือ
ทั้ง ญวนหก ระเบง กุลาตีไม้ รำโคม บอกวิธีการเล่น เนื้อร้อง สารพัดสารพัน... มันมากไปมั้งใต้เท้า ???

แก้ว่า   คุณยกตัวอย่างมายาวเท่าไร  คุณก็อธิบายกลอนที่ยกมาสิ   นี่คุณเล่นอธิบายก่อนตัวอย่าง
คำอธิบายของคุณเลยกว้างกว่าตัวอย่างไป   ถ้าเอาตัวอย่างตั้งก่อนแล้วอธิบายว่ากลอนนี้กล่าวถึงอะไร
แสดงให้เห็นประเพณีไทยอย่างไร  อะไรบ้าง  ก็ถ้าคุณยกเรื่องมหรสพหลวงมา
ผมก็อยากรู้ว่า  การละเล่นแต่ละอย่างเป็นอย่างไร   คุณคิดว่าคนอ่านทุกคนรู้จักหมดน่ะหรือ
แต่จะอธิบายหมดที่ยกมาหรือไม่   อยู่ในดุลยพินิจของผู้ตอบ


2. เรื่องพิธีสมโภชกุมาร อธิบายผิดตรงไหนบอกล่าวด้วย

แก้ว่า  การสมโภชพระกุมารเป็นพิธีหลวง  ที่ทำเอิกเกริกกว่าของชาวบ้าน
เพราะของชาวบ้านเขาจะจัดพิธีเป็นการภายใน   เชิญแต่ญาติที่สนิทที่นับถือ
และไม่มีการประโคมโหมโรงอะไรอย่างของหลวง   
ดูในเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นตัวอย่าง  หรือในสี่แผ่นดิน
เพราะการรับขวัญเด็กเกิดใหม่นั้น  การฉลองว่าเด็กคนนั้นคลอดออกมาแล้ว
ยังมีชีวิตปลอดภัยอยู่พ้น ๓ วัน (สามวันลูกผีสี่วันลูกคน)
ฉะนั้นคุณต้องอธิบายว่า งานสมโภชพระกุมารเป็นงานของหลวง
คุณก็ต้องอธิบายในรายละเอียดงานของหลวง 
ถ้าบอกคลุมไปถึงงานชาวบ้านก็ผิดแน่ๆ   เพราะอะไรยังต้องให้อธิบายอีกไหม


3. ถึงไม่ใช่จารีตนครบาล แต่ในสมัยก่อนมันก็มีการลงทัณฑ์อย่างนี้มิใช่หรือ หนักกว่านี้ก็มี
กฏหมายตราสามดวงก็เขียนไว้ (จำไม่ได้ว่าพระอัยการไหน)

แก้ว่า  ตามพระราชบัญญัติยกเลิกวิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล
ร,ศ, ๑๑๕  (รายละเอียดไปหาอ่านเอาเอง)  ผมไม่เห็นมีข้อไหน
ทำแรงหมายเอาชีวิตนักโทษอย่างที่ทศกัณฐ์ทำกับหนุมาน 

การเอากระบอง ค้อน กระหน่ำตี   เอาง้าวหอกแทง   
เอาใส่ครกเหล็กตำ  และไสช้างเอางาไล่แทง 
เหล่านี้มีในจารีตนครบาลด้วยหรือ 
จารีตนครบาล  เป็นส่วนหนึ่งในการทรมานผู้ต้องหาให้ยอมเผยข้อมูล
หรือยอมรับข้อหาตามวิธีการพิจารณาศาลอย่างเก่า
วิธีการ มี เฆี่ยนถาม    จำ ๕ และ ๓ ประการใส่คุก  มัดโยง
ตบปาก   ทวน  จำคาจำขื่อ  มัดแช่น้ำตากแดด   สับเสี่ยง
บีบขมับ  ตอกเล็บ   บีบนิ้ว  เป็นต้น  เหล่านั้นนี้มีอยู่ใน
พระอัยการลักษณะโจร  พระอัยการลักษณะตระลาการ
พระอัยการลักษระอุทธรณ์  กฎ ๓๖ ข้อ  พระราชกำหนดเก่า


จารีตนครบาลเหล่านี้  มุ่งทรมานให้นักโทษยอมให้ปากคำ
เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี   ไม่ได้มุ่งหมายจะเอาชีวิต
อย่างที่ทศกัณฐ์ทำแก่หนุมาน   แน่นอนว่าจารีตนครบาล
อาจจะทำให้คนถูกทรมานตายได้  ซึ่งมีตัวอย่างมากมาย
แต่ก็เป็นเพราะเกิดจากการทรมานหนักมือไป   
หาได้เป็นการมุ่งเอาชีวิตแต่ต้นไม่

ก็ลองพิจารณาดูว่า  ที่คุณแย้งมากับที่ผมอธิบายนี้  มันไปด้วยกันหรือไม่




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 11, 09:46
อย่าลืมนะคุณอาร์ท ติดฤชากร ประทับรับฟ้องศาลกรุงลงกา จึงจะฟ้องได้

๑. การที่คุณหลวงมีเจตนาดีให้คุณอาร์ท นำเรื่องมาเล่าก็เห็นเป็นประโยชน์แท้ จะได้เมตตาแก่เหล่ากุ้งปลา อย่าพวกเราได้อาศัยความรู้เพิ่มเติม

๒. เมื่อคุณอาร์ทได้อธิยายให้สมน้ำ สมเนื้อแก่คุณหลวงแล้วไซร้ คุณหลวงก็ควรยกคะแนนพิศวาส พิเศษบำเรอแก่คุณอาร์ทตามเนื้อผ้าไหมทอชั้นดีด้วยเทอญ

บรรดากุ้งปลา อย่าพวกเราจักได้พลอยยินดีปรีดาด้วยกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 09:52
อย่าลืมนะคุณอาร์ท ติดฤชากร ประทับรับฟ้องศาลกรุงลงกา จึงจะฟ้องได้

๑. การที่คุณหลวงมีเจตนาดีให้คุณอาร์ท นำเรื่องมาเล่าก็เห็นเป็นประโยชน์แท้ จะได้เมตตาแก่เหล่ากุ้งปลา อย่างพวกเราได้อาศัยความรู้เพิ่มเติม

๒. เมื่อคุณอาร์ทได้อธิยายให้สมน้ำ สมเนื้อแก่คุณหลวงแล้วไซร้ คุณหลวงก็ควรยกคะแนนพิศวาส พิเศษบำเรอแก่คุณอาร์ทตามเนื้อผ้าไหมทอชั้นดีด้วยเทอญ

บรรดากุ้งปลา อย่างพวกเราจักได้พลอยยินดีปรีดาด้วยกัน

ศาลนี้ไม่ควรติดสินบนใครและก็ไม่ให้ใครติดสินบนด้วย
ไม่เช่นนั้น  ศาลนี้จะเป็นได้แค่ศาลเพียงตา  ที่ตั้งอยู่ชั่วคราว
หมดการพิธีแล้วก็รื้อลง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 มี.ค. 11, 09:59
ท้าวมาลีวรราชมาเอง ;D

ดูเหมือนเมืองนี้ค่าเงินจะถูกนะคุณไซมีส
ฤชาอากรค่ารับฟ้องเพียงฬศเดียว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 11, 10:03
อย่าลืมนะคุณอาร์ท ติดฤชากร ประทับรับฟ้องศาลกรุงลงกา จึงจะฟ้องได้

๑. การที่คุณหลวงมีเจตนาดีให้คุณอาร์ท นำเรื่องมาเล่าก็เห็นเป็นประโยชน์แท้ จะได้เมตตาแก่เหล่ากุ้งปลา อย่างพวกเราได้อาศัยความรู้เพิ่มเติม

๒. เมื่อคุณอาร์ทได้อธิยายให้สมน้ำ สมเนื้อแก่คุณหลวงแล้วไซร้ คุณหลวงก็ควรยกคะแนนพิศวาส พิเศษบำเรอแก่คุณอาร์ทตามเนื้อผ้าไหมทอชั้นดีด้วยเทอญ

บรรดากุ้งปลา อย่างพวกเราจักได้พลอยยินดีปรีดาด้วยกัน

ศาลนี้ไม่ควรติดสินบนใครและก็ไม่ให้ใครติดสินบนด้วย
ไม่เช่นนั้น  ศาลนี้จะเป็นได้แค่ศาลเพียงตา  ที่ตั้งอยู่ชั่วคราว
หมดการพิธีแล้วก็รื้อลง

งั้นก็ตามแก่ใจคุณอาร์ท จะลงหรือไม่ลง

"จงแผ่เดชา วรายศ   ให้ปรากฎทั่วทิศ ทิศาศาน"

อัฐฬศ กรุงลงกา ไม่เหมือน อัฐฬศ โลกมนุษย์นะขอบอก  ;D ;D ฬศเดียว ฟ้องไปทั่ว คิคิ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 16:05
คุณดีดีตอบข้อที่ ๘๖. มาดังนี้

๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

ขวัญม้าแบ่งตามลักษณะของขน มีสองประเภทคือ
- ขวัญก้นหอย คือขวัญที่มีลักษณะขนขึ้นเรียงกันเป็นรูปวงก้นหอย
- ขวัญตะขาบ คือขวัญที่มีขนเป็นรอยเส้นขึ้นเรียงกันตามยาวคล้ายรูปตะขาบ
ขวัญเกิดได้ทั่วไปตามตำแหน่งต่างๆ ทั่วตัว และมีชื่อเรียก ต่างๆ กันตามตำแหน่ง

ประเภทของขวัญตามตำแหน่งที่ปรากฏ
1.ขวัญที่หน้า
.ขวัญหลุมผี เป็นขวัญเดียวลึกอยู่ที่หน้าผาก เปิดผมหน้าม้าจะพบ
.ขวัญรัดเกล้า อยู่บริเวณสายรัดเกล้า ใกล้หูติดกับผม
.ขวัญดวงจันทร์ หรือขวัญเทพนม อยู่กึ่งกลาง Mid line ถ้าพบขวัญอยู่ต่ำลงมาเรียก ขวัญใต้ตาขี้โกง ม้าลักษณะนี้มักจะดื้อ
.ขวัญมังกรคาบแก้ว พบบริเวณปลายจมูก ( Muzzle ) อาจพบได้หลายขวัญ ในการลงทะเบียนระบบนานาชาติจะไม่ลงบันทึกขวัญนี้
.ขวัญน้ำตาตก ขวัญข้างแก้มใกล้เบ้าตา ถือเป็นขวัญเลว
.ขวัญธงไชย อยู่ที่ปลายหู ถือเป็นขวัญดี เป็นม้าที่คู่ควรกับกษัตริย์หรือแม่ทัพ
.ขวัญหัวคิ้ว เป็นขวัญอยู่ตรงหัวคิ้ว ข้างหนึ่งข้างใน
2.ขวัญด้านข้าง
.ขวัญกาจับปากโลง พบอยู่ใต้ขากรรไกรล่าง ถือเป็นขวัญเลว มักพบในม้าเทศ แต่ไม่พบในม้าไทยตามธรรมชาติ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นขวัญใต้ขากรรไกร
3.ขวัญบริเวณลำคอ
.ขวัญทัดดอกไม้ พบหลังหู
.ขวัญข้างคอ อาจพบอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม แต่ถ้าตรงกลาง ( Middle crest of neck ) เรียกขวัญข้างคอถ้าพบทั้งซ้ายขวาเรียก ขวัญขนาบคอ
.ขวัญคอเชือก พบตรงบริเวณลูกกระเดือก
.ขวัญห้อยราชสาส์(น) เป็นขวัญอยู่ระหว่างคอกับหน้าอก
.ขวัญห้อยราชสาส์(น)น้อย ขวัญนี้จะอยู่ใกล้ไปทางคอ
.ขวัญห้อยราชสาส์(น)ใหญ่ ขวัญนี้จะอยู่ใกล้ไปทางหน้าอก
.ขวัญแสนเดือน บ้างเรียกขวัญข้างคอ พบบริเวณตรงกลางของลำคอ
.ขวัญพาดหอก อยู่ที่แนวสันคอใกล้ผมแผงคอ มีอยู่ข้างเดียว
.ขวัญอกแตก (จุกอก) พบบริเวณอก ม้าที่มีขวัญนี้มักจะไม่ใช้ในการรบ เพราะมีขวัญไม่ดี
4.ขวัญบริเวณลำตัว
.ขวัญจอมปราสาท อยู่ตรงตะโหงกม้า ( wither ) ถือเป็นขวัญดี
.ขวัญนางพิม อยู่ท้ายตะโหงก มีที่มาจากวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางพิมหนี นั่งมาบนม้าตัวเดียวกัน อานม้ามีขนาดเล็กจึงต้องให้นางพิมนั่งอยู่ข้างหน้า
.ขวัญที่นั่งโจร อยู่ทางท้ายอานถือเป็นขวัญเลว ผู้ที่ขี่ม้าที่มีขวัญนี้อาจจะตกม้าได้
.ขวัญแร้งกระพือปีก อยู่บริเวณหัวไหล่ด้านหน้าขาหน้า อาจพบทั้งซ้ายและขวา
.ขวัญโกลนพระอินทร์ เป็นขวัญตรงตำแหน่งโกลนถือเป็นขวัญดีี อยู่ตรงรัดทึบเหนือข้อศอกทั้งสองข้าง ถ้ามีเพียงข้างเดียวเรียกว่า ขวัญบันไดแก้ว
5.ขวัญบริเวณขาหน้า
.ขวัญหน้าอก พบที่ซอกขาด้านในม้าทุกตัวต้องมี
.ขวัญบันไดแก้ว บนขาท่อน Radius-Ulna
.ขวัญห้องโซ่ หรือห้อยโซ่ ตรงบริเวณ Carpal joint ถือเป็นขวัญไม่ดี
.ขวัญจำตรวน ตรงข้อตาตุ่มเป็นขวัญไม่ดี
6.ขวัญบริเวณขาหลัง
.ขวัญเร่ง พบในม้าทุกตัว
.ขวัญอู่ตะเภา พบบริเวณสวาบในบางตัว หากมีถือเป็นขวัญดีในม้าตัวเมีย เชื่อว่าให้ลูกมาก
.ขวัญยุ้งแก้ว บริเวณหน้าท้องตอนล่างพบทุกตัว
7.ขวัญบริเวณท้ายตัว
.ขวัญเลิกซิ่น พบบางตัวข้างๆ อวัยวะเพศเมีย
.ขวัญน่องสิงห์ หากมีแล้วถือว่าม้าวิ่งเก่ง
.ขวัญลึงค์จ้ำ เรียกในม้าตัวผู้เท่านั้น อยู่ใต้ท้องตรงลึงค์
.อาจพบขวัญจำตรวนบริเวณข้อตาตุ่มได้เช่นกัน

ขวัญที่ม้าทุกตัวต้องมี เป็นขวัญปกติ  11 แห่ง  คือ (ตำแหน่งตามภาพในคห.ถัดไป)
ขวัญหลุมผี ขวัญดวงจันทร์ ขวัญมังกรคาบแก้ว ขวัญข้างคอ ขวัญหน้าอก ขวัญเร่ง ขวัญยุ้งแก้ว

ได้ ๔ ๑/๒ คะแนน (หักที่เขียนตก น  ๓ แห่ง)

๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?

ขวัญม้าที่ดี คือ ขวัญที่มีลักษณะเป็นก้นหอยหรือตะขาบก็ได้ อยู่ในตำแหน่งที่ดีตามความเชื่อของคนโบราณ เชื่อว่าม้าที่มีขวัญในตำแหน่งที่ดี จะให้คุณแก่ผู้ขี่
ขวัญม้าที่ดีมี ๗ ชนิด คือ
๑. ขวัญดวงจันทร์ เป็นขวัญอยู่ที่หน้าผากม้ามีสามขวัญ
๒. ขวัญธงชัย อยู่ปลายใบหู ม้าที่มีขวัญนี้เป็นม้าที่คู่ควรกับกษัตริย์หรือแม่ทัพ
๓. ขวัญทัดดอกไม้ อยู่บริเวณหลังหู จะข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ให้จับหูม้าพับวนโดยรอบ ถ้าอยู่ในรัศมีของหูมีขวัญอยู่เรียกว่าขวัญทัดดอกไม้ทั้งสิ้น
๔. ขวัญรัดเกล้า อยู่ชิดโคนผมด้านหน้าทั้งสองข้าง
๕. ขวัญพาดหอก รูปก้นหอยหรือ ตะขาบ อยู่ที่แนวสันคอใกล้ผมแผงคอ มีอยู่ข้างเดียว
๖. ขวัญโกลนพระอินทร์ อยู่เหนือข้อศอกกับรัดทึบมักมีสองข้าง
๗. ขวัญห้อยราชสาส์น อยู่ตามแนวใต้คอด้านหน้า

ได้  ๕  คะแนน

๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?
-
ได้ ๐ คะแนน

คุณดีดีได้ไป  ๙  ๑/๒  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 16:23
คุณอาร์ทตอบมา  ดังนี้

1. ม้าสี่ตระกูลมีจุดสังเกตอย่างไร
   -ม้าตระกูลกษัตริย์ หูม้านั้นเป็นกนก ถ้าอยากจะใคร่รู้ไปเกี่ยวเอาคามาวัดที่หลังแล้วปูให้นอน ถ้าม้าเอาศีรษะไปทิศ
ตะวันออก บอกตระกูลกษัตริย์แท้ ถ้าไม่ดังนั้นยังสงสัย เอาเข็มสักที่ใบหูเลือดเป็นสีมันปู คือตระกูลกษัตริย์แท้(ตำราของผมตรงนี้เป็นม้าตระกูลพราหมณ์ไม่ใช่ม้าคชตระกูลกษัตริย์)จุงลงนำเอาท้าวคุ้ยแหงนดูอากาศ ตระกูลกษัตริย์แท้
   -ม้าตระกูลพราหมณ์ ท่อนหน้าเล็กหน้าบาง ท่อนฟน้าเล็กใบหูใหญ่ ตระกูลพราหมณ์แล
   -ม้าตระกูลแพทย์ (แพศย์) พ่อค้า หน้าสั้นฟันสิบซีกไซ้เศษสอง ตระกูลแพทย์(แพศย์)แล
   -ม้าตระกูลสูท (ศูทร) สัณฐานหน้าตาจระเข้เขียวเป็นถั่วแปบ ผมหน้ายิกหางยุ่ง เรียกว่าตระกูลสูท

เอาไป  ๓ ๑/๒  คะแนน  (หักที่เขียนสะกดผิด  กับข้อมูลผิดและยังมีข้อมูลน้อยเกินไป )


3. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร
   ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายนั้น ก็คือลักษณะขวัญของม้าที่โบราณถือว่าไม่ดีสำหรับผู้ขี่หรือเจ้าของม้า
   ขวัญชั่วของม้า  เช่น ขวัญขนาบคา  อยู่ข้างสันคอใกล้แนวผมแผงคอ มีสองข้า (ถ้ามีข้างเดียว เรียกว่าขวัญพาดหอก ถือว่าดี)
   ขวัญกาจับปากโรง (โลง) อยู่ใต้คาง
   ขวัญคอเชือด อยู่ใต้คอต่อ ใต้ขากรรไกรกับคอ

ได้  ๓  คะแนน (หักที่สะกดผิดและตอบน้อยไปหน่อย)

5. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร
    -ม้าพยศวิ่งมิตรงทาง ให้ใส่บุ้งทั้งสองข้าง ให้ถือจงตรง ผูกอานคร่อมไหล่ ให้ถอยลงมาข้างหลังสน่อยเหมือนดังง่องๆ  (เมื่อรัดง่อง ๒ นั้น)
นั้นผูกเครือทั้งสองข้าง ครั้นจะชักสายถือไม้นั้นผูก(ถูก)ปากม้า ๆ นั้นวิ่งตรงทางแล ฯ
    -ม้าพยศขบอกมันเอง ให้ใส่บังเหียนบุ้งให้เจ็บแต่พอดี เอาไม้ใส่ต่างง่องปลายไม้ใส่เล่กตก(เหล็กปฏัก)ต้นไม้ทาน(พาน)อก ม้านั้นขบอกมิได้แล ฯ
    -ม้าพยศถอยหลัง ให้ใส่บังเหียนเกลี้ยง ไว้สายถือเพียงต้นแปรงให้คลายสายถือ มือขวาถือแซ่(แส้)ยาว 3 ศอก (๒ ศอก)คืบ 3 นิ้ว
ปลายแซ่นั้นให้ใส่ตะกั่ว ถ้าและม้าถอยหลังเอาเชือกตีให้ถูกราวท้องตรงปลายลึงค์ ม้านั้นถอยหลังไปมิได้แล ฯ
    -ม้าดีดขบ ให้เอายานี้แก้ ให้เอา(ต้น)ขัดมอนขึ้นที่ป่าช้านั้น เมื่อไปเอานั้นเบี้ย 3 เบี้ย หมากคำ 1 กล้วยลูก 1 เข้าปั้น 1
ให้ว่าแก่ผีว่า ม้าข้านี้ร้ายมีพยศขบกัดดีดหนัก ข้าขอจะเอาท่านไปแก้พยศซึ่งมันร้ายดีดขบกัดหนัก อย่าให้มันร้ายดีดขบกัดได้เลย
แล้วเอามาทั้งรากมาสับให้ละเอียดตากแดดไว้ให้แห้งตำเป็นผง จึงเอาเทียนเล่ม 1 ไก่ตัว 1 มะพร้าวใบ 1 เหล้ากะติก 1
เข้าตอกดอกไม้พลี เอายานั้นจงคำนับเอายานั้นใส่ปนข้าวให้ม้ากินเมื่อสงัด อย่าให้คนเห็นดีนักแล ฯ

ได้ ๔ ๑/๒ คะแนน  (หักที่ผิดเล็กๆ น้อยๆ )

ได้ไป ๑๑  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 มี.ค. 11, 17:06
ตำรามีแค่ไหนก็ตอบแค่นั้นนะจ๊ะ
ลอกหนังสือเก่ามา (ตำราม้าของเก่า,ประดิทินบัตรแลจดหมายเหตุ) จะไปตรวจแก้ของเก่ามันก็กระไรอยู่

ถือว่าโบราณท่านถูกไว้ก่อนแล้วกัน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 17:11
ลอกเขามาแล้วปรับให้เป็นอักขรวิธีปัจจุบันสิครับ
เรารู้อยู่แล้วไม่ใช่หรือว่าคำใด  สะกดอย่างไรในปัจจุบัน
ไม่อย่างนั้นก็ต้องวงเล็บไว้ว่า  คัดลอกตามต้นฉบับ
จะได้ไม่ต้องตรวจกันมาก  ผิดถูก  ว่าไปตามตำราที่ลอกมา
แต่อย่างนั้นก็ดูเป็นการลอกที่ไม่ได้ใช้วิจารณญาณเท่าที่ควรนะ


จะอุทธรณ์คะแนนที่ได้อีกไหม  จะได้ร่ายยาวให้ฟัง
แบบเมื่อเช้านี้ไง  แต่วันนี้คงไม่ทัน  ต้องเป็นพรุ่งนี้แล้วล่ะ
เอาแบบสดๆ เลย  เอาไหม ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 มี.ค. 11, 17:17
เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเป็นพระมหาอุด

"ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่พูด ไม่ฟัง ไม่เห็น" ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 มี.ค. 11, 17:19
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มี.ค. 11, 17:21
เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเป็นพระมหาอุด

"ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่พูด ไม่ฟัง ไม่เห็น" ;D

โอเค  แต่... ไม่อยากไปดูตุ๊กตาลงพุง ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 08:45
คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 11, 09:29
โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 09:32
โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  :P


น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ;D
จะได้พอใจกันทั่วหน้า 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 มี.ค. 11, 09:53
โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  :P

น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ;D
จะได้พอใจกันทั่วหน้า 8)

นับวันยิ่งใจร้ายนะใต้เท้า
ราวกับรีดเลือดปู


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 10:52
โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  :P

น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ;D
จะได้พอใจกันทั่วหน้า 8)

นับวันยิ่งใจร้ายนะใต้เท้า
ราวกับรีดเลือดปู

แหม  ยกย่องกันอย่างนี้  ผมก็เขินแย่สิ
ไม่ถึงอย่างนั้นหรอก  เรียกว่า  โหด  มันส์  ฮา  ดีกว่าครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 11:04
คำถามข้อที่  ๘๘.

คุณยายท่านหนึ่งซึ่งเป็นแฟนโขนกรมศิลปากรอย่างเหนียวแน่น
ส่งมาถามว่า   อยากทราบว่า มีศิลปินกรมศิลปากรคนใด
ที่เคยแสดงโขนเป็นพระรามบ้าง  จงบอกชื่อมาสัก  ๕  คน

คุณยายท่านใจดีอีก  ท่านบอกว่า
ใครให้ข้อมูลประวัติศิลปินแต่ละคนมาด้วย
จะให้คะแนนเพิ่มอีกชื่อละ  ๑  คะแนน

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.
ไปจนกระทั่งเวลา ๒๒.๐๐  น.  
ตอบชื่ออย่างเดียว  ชื่อละ ๑ คะแนน
มีประวัติด้วย  ให้ชื่อละ ๒ คะแนน  
ตอบซ้ำคนอื่น  ถูก  ให้ชื่อละ ๑/๒ คะแนน

ตอบเกินที่สั่ง  ไว้พิจารณากันอีกที


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 มี.ค. 11, 12:00
คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

1. ชื่อผลงาน หอกโมกขศักดิ์
    -กรมศิลปากร จัดแสดง ณ อุทยาน ร. 2 อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
2. ชื่อผลงาน ศึกสหัสเดชะ
    -จัดแสดง ณ พระราชอุทยาน ร. 2 อัมพวา สมุทรสงคราม วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532
3. ชื่อผลงาน นาคบาศ
    -ณ พระราชอุทยาน ร.2 อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2534
4. ชื่อผลงาน สมโภชพระรามราชจักรี
    -กรมศิลปกรจัดแสดงฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ณ เวทีท้องสนามหลวง วันที่ 9 มิถุนายน 2539
5. ชื่อผลงาน กไลโกฎหลงรส
   -บทประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน กไลโกฎหลงรส
6. ชื่อผลงาน กำเนิดหนุมาน
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2546 เวลา 17.00 น. ณ สังคีตศาลา
   บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
7. ชื่อผลงาน กุเปรันรบทศกัณฐ์
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี 2546 วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2546 เวลา 19.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
8. ชื่อผลงาน เกสรทมาลาอาสา 1
   -จัดแสดงเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปี 2545 ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 22  มีนาคม 2545 เวลา 19.00 น.
   และ วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2545 เวลา 10.00 น. และ 14.00 น.
9. ชื่อผลงาน เกสรทมาลาลิงตัวหอม
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปีที่ 28 ครั้งที่ 4 วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2549 เวลา 14.00 น.
   ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)
10. ชื่อผลงาน ไกยเกษีสละกร
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ 52 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันที่ 4 ธันวาคม 2547 เวลา 17.00 น.
11. ชื่อผลงาน ฉลองพระบาทพระรามราชสุริยวงศ์
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2550 ณ หอประชุมธรรมศาสตร์ วัน 28 มีนาคม 2550 เวลา 15.00 น.
12. ชื่อผลงาน ช้างสารหาญกล้าบ้าบ่มมันร่วมตลุงเดียวกันย่อมประงา
   -จัดแสดงเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปี 2541 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2541
13. ชื่อผลงาน สำมนักขาหึงสีดา
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 27 ครั้งที่ 11 ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เวลา 17.00 น.
14. ชื่อผลงาน พาลีสอนน้อง ตอน ทรพีรบทรพา
   -จัดแสดงเนื่องในงาน “คุรุปูชนีย์ 104 ปี หม่อมอาจารย์” ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2549 เวลา 14.00 น.
15. ชื่อผลงาน พาลีสอนน้อง
   -จัดแสดงในรายการ “มหกรรมลายลักษณ์อักษรศิลป์” ครั้งที่ 2 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
   วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2544 เวลา 17.00 น.
16. ชื่อผลงาน ทศกัณฐ์เกี้ยวนางมณโฑ
   -จัดแสดงเนื่องในงานเผยแพร่ให้ประชาชนชม ในรายการศรีสุขนาฏกรรม ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2551
   เวลา 17.00 น.
17. ชื่อผลงาน ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง
   -จัดแสดงเนื่องในงานฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชนปีที่ 54 ครั้งที่ 37 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2550 เวลา 17.00 น.
18. ชื่อผลงาน ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง - จองถนน
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี 28 ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 เวลา 17.00 น.
    ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)
19. ชื่อผลงาน ท้าวมาลีวรราชว่าความ
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 24 ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2545 เวลา 17.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
20. ชื่อผลงาน นางกาลอัคคี
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 14.00 น.
21. ชื่อผลงาน นางลอย
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศิลปิน-ศิลปากร (ปกรณ์ พรพิสุทธิ์) ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
   วันเสาร์ที่ 9 และ 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 14.00 น.
22. ชื่อผลงาน นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ
   -ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2549 เวลา 14.00 น.
23. ชื่อผลงาน นางอดูลปีศาจสิงรูป
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี 2546 วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2546 เวลา 10.00 น. และ 14.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
24. ชื่อผลงาน นิ้วเพชร
   -การแสดงไว้อาลัยท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศืเสนี ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2543 เวลา 17.00 น. เสรี หวังในธรรม
25. ชื่อผลงาน ศูรปนขาชมป่า
   -ดำเนินเรื่องตามฉบับอินเดีย จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี 2550 ครั้งที่ 3 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงละครเล็ก)
   วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2550 เวลา 17.00 น.
26. ชื่อผลงาน ปราบนนทุก ลักสีดา และยกรบ
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 27 พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2548 เวลา 17.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
27. ชื่อผลงาน ปักหลั่นและนกสัมพาทีพ้นคำสาป
   -จัดแสดงเพื่อให้ประชาชนชม ในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2544 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 เวลา 17.00 น.
28. ชื่อผลงาน พระมิ่งแม่เกาสุริยา
   -จัดแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชมในรายการสุขนาฏกรรม ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
   วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550 เวลา 14.00 น.
29. ชื่อผลงาน พระรามตามกวาง
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศิลปิน-ศิลปากร ครั้งที่ 9 (วันทนีย์ ม่วงบุญ) ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) วันพุธที่ 13 กันยายน 2549 เวลา 17.00 น.
30. ชื่อผลงาน กำเนิดหนุมาน
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2546 เวลา 17.00 น. ณ สังคีตศาลา
   บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
31. ชื่อผลงาน พุ่งหอกกบิลพัท
   -จัดแสดง ณ อุทยาน ร.2 วันที่ 19 มกราคม 2545
32. ชื่อผลงาน ศึกกุมภกรรณ  ตอนทดน้ำ 
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 13 เมษายน  2511   โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
33. ชื่อผลงาน สำมนักขา   
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
34. ชื่อผลงาน ลักนางสีดา 
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 13 เมษายน  2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
35. ชื่อผลงาน สุกรสารปลอมพล   
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่  17 สิงหาคม 2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 12:03
แหม  มาตรงเวลาเป๊ะเชียว พ่ออาร์ท


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 มี.ค. 11, 12:08
คำถามข้อที่ ๘๗.  

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ  

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

ขอตอบค่ะ
1.   ตอน ไมยราพสะกดทัพ
2.   ตอน สำมนักขาหึงสีดา
3.   ตอน พาลีเสียสัตย์ (ชุด พาลีสอนน้อง)
4.   ตอน พาลีได้นางเทพดารา (ชุด พาลีสอนน้อง)
5.   ตอน ทศกัณฑ์อาฆาต (ชุด พาลีสอนน้อง)
6.   ตอน พาลีรบกับปู (ทศกัณฑ์แปลง) (ชุด พาลีสอนน้อง)
7.   ตอน ทรพีฆ่าพ่อ (ชุด พาลีสอนน้อง)
8.   ตอน พาลีรบกับทรพี (ชุด พาลีสอนน้อง)
9.   ตอน สุครีพต้องโทษ (ชุด พาลีสอนน้อง)
10.   ตอน พาลีสอนน้อง (ชุด พาลีสอนน้อง)
11.   ชุด  พระรามตามกวาง
12.   ตอน ปักหลั่นและนกสัมพาทีพ้นคำสาป
13.   ตอน นางอดูลปีศาจสิงรูป
14.   ตอน อัญเชิญจักรีอวตาร
15.   ตอน เกสรทมาลาลิงตัวหอม
16.   ตอน บรรลัยกัลป์ตามทัพ
17.   ตอน สุครีพแจ้งสาร (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
18.   ตอน ถวายพลเมืองชมพู (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
19.   ตอน จองถนน (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
20.   ตอน พระรามข้ามสมุทร (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
21.   ตอน ศึกกุมภกรรณ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
22.   ตอน ศึกพรหมาสตร์ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
23.   ตอน หักคอช้างเอราวัณ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
24.   ตอน พระรามช่วยพระลักษมณ์ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
25.   ตอน หนุมานล่อกล่องดวงใจ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
26.   ตอน ยกรบ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
27.   ตอน หนุมานชูกล่องดวงใจ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
28.   ตอน สิ้นศึกลงกา (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
29.   ตอน สีดาลุยไฟ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
30.   ตอน พระนารายณ์ปราบนนทุก (ชุด รามาวตาร)
31.   ตอน ทศกัณฐ์ลักพานางสีดา(ชุด รามาวตาร)
32.   ตอน ศึกฑูต ขร ตรีเศียร(ชุด รามาวตาร)
33.   ตอน พระรามตามกวาง(ชุด รามาวตาร)
34.   ตอน  สดายุถวายแหวน (ชุด รามาวตาร)
35.   ตอน พระรามพบหนุมาน (ชุด รามาวตาร)
36.   ตอน หนุมานถวายตัว (ชุด รามาวตาร)
37.   ตอน ยกพล (ชุด รามาวตาร)
38.   ตอน เกสรทมาลาอาสา
39.   ตอน ขับพิเภก (ชุด รามาวตาร)
40.   ตอน ทดน้ำ (ชุดศึกกุมภกรรณ)
41.   ชุด  สุกรสารปลอมพล
42.   ชุด  หอกกบิลพัสดุ์
43.   ชุด มารซื่อชื่อพิเภก
44.   ชุด พระรามสุริยวงศ์
45.   ชุด สีดามารศรี (ศรีดามารศรี)
46.   ชุด ท้าวมาลีวราชว่าความ
47.   ตอน กำเนิดหนุมาน (ชุด หนุมานชาญสมร)
48.   ตอน หนุมานต้องสาป (ชุด หนุมานชาญสมร)
49.   ตอน ถวายพล (ชุด หนุมานชาญสมร)
50.   ตอน สงคราม  (ชุด หนุมานชาญสมร)
51.   ตอน พระมิ่งแม่เกาสุริยา
52.   ตอน ศึกวิรุญจำบัง
53.   ตอน ศึกสุริยาภพ
54.   ตอน ศึกสัทธาสูร
55.   ตอน ศึกนาคบาศ
56.   ตอน พระพิราพปลูกต้นพวาทอง
57.   ตอน ปราบกากนาสูร
58.   ตอน หนุมานอาสา
59.   ตอน นางลอย
60.   ตอน นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ
ที่มา http://www.finearts.go.th/saree.php


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 มี.ค. 11, 12:09
แหม  มาตรงเวลาเป๊ะเชียว พ่ออาร์ท

ระดับโลกน่ะคุณหลวง ;D

ปล. ข้อมูลมาจากสำนักสังคีตกรมศิลป์นะจ๊ะ
เดี๋ยวหาว่ามั่วอีก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 11, 12:19
คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

อ.เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๓๑ สาขาศิลปะการละครได้จัดทำบทโขนละครเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ อีกทั้งยังแต่งเพลงไทยสากล กวีนิพนธ์อีกเป็นจำนวนมากมาย)
๑. ตอน สำมนักขา   แสดงเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๑         
๒. ตอนลักนางสีดา  แสดงเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน  ๒๕๑๑
๓..ชุดสุกรสารปลอมพล   แสดงเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑
๔. ชุดศึกพรหมาสตร์

ตัวอย่าง                            บทโขน เรื่องรามเกียรติ์   ชุดศึกพรหมาสตร์
สร้างบทโดยอาจารย์เสรี   หวังในธรรม

-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
(อสูรสองสารัณออกเต้นผ่านหน้าเวทีแล้วเข้าโรง  เสนายักษ์ออกตั้งท้องพระโรงทศกัณฐ์ออกนั่งเตียง  สองสารัณคลานเข้าเฝ้า)
- -เจรจา-
สองสารัณ         ข้าแต่พระจอมอสูรผู้ร่มเกล้า  บัดนี้เล่ามังกรกัณฐ์ และแสงอาทิตย์  ต้องด่าวดิ้นสิ้นชีวิตลงกลางทัพ  ข้าพระบาทจึงรีบกลับมาทูลพระองค์  ขอได้ทรงทราบใต้เบื้องบาทบงสุ์พระทรงชัย
                                                             - ร้องเพลงสร้อยเพลง -
         เมื่อนั้น      ทศเศียรสะท้อนถอนใจใหญ่
         ชิชะมนุษย์นี้สุดใจ            ทำไฉนหนอจะล้างมันวางวาย
      จะใช้ใครไปรบก็แพ้ฤทธิ์         ปัจจามิตรคิดองอาจประมาทหมาย
     ยิ่งกลุ้มกลัดขัดใจไม่สบาย         แสนเสียดายสองนัดดายอดยาใจ
                                                              - ปี่พาทย์ทำเพลงโอด -
                                                               - เจรจา -
ทศกัณฐ์   จอมกษัตริย์รัฐลงกา  จึงมีพระราชบัญชาตรัสสั่งเสนากาลสูร  ว่าตัวเจ้าจงเร่งไปทูลอินทรชิต  ว่าบัดนี้แสงอาทิตย์สิ้นชีวัน มังกรกัณฐ์สิ้นชีวาตม์  ข้าศึกองอาจฮึกฮักหนักมาประชิดติดพระนคร  ให้ลุกกูเร่งชุบศรพระพรหมาสตร์  แล้วยกไปหมายพิฆาตพวกไพรี   จงเร่งไปในบัดนี้นะขุนยักษ์                                                                                                                                                       
-ร้องเพลงกราวใน -
บัดนั้น               กาลสูรเสนีมีศักดิ์
รับสั่งบังคมทศพักตร์               ขุนยักษ์รีบเหาะระเห็จไป

                          - ปี่พาทย์ทำเพลงกราวใน แล้วเชิด -
               - อินทรชิตออกนั่งตั้งสมาธิ ชุบศรอยู่ในโรงพิธี  มีเสนานั่งประจำที่รอบโรงพิธี -
 - กาลสูรออก -
- ร้องเพลงมอญรำดาบ -
ครั้นถึงโรงราชพิธี            กาลสูรเสนีบังคมไหว้
ทูลว่าพระองค์ผู้ทรงชัย               ให้มาทูลข่าวปัจจามิตร
แสงอาทิตย์ฤทธิรอนมังกรกัณฐ์            ไปโรมรันเสียทัพดับจิต
ขอให้พระองค์ทรงฤทธิ์               ไปเข่นฆ่าปัจจามิตรให้มรณา
- ร้องเพลงรื้อร่ายศัพทัย -
เมื่อนั้น                   อินทรชิตสิทธิศักดิ์ยักษา
ได้ยินบอกออกความอัปรา            โกรธาลืมเนตรเห็นเสนีย์
ลุกขึ้นกระทืบบาทหวาดไหว            เหม่ไอ้กาลสูรยักษี
มาพูดให้เป็นลางกลางพิธี            ชีวิตมึงถึงที่จะบรรลัย
หากคิดนิดเดียวว่ารับสั่ง               จึงหยุดยั้งยกโทษโปรดให้
ว่าพลางทางทรงศรชัย               คลาไคลออกจากโรงพิธี
- ปี่พาทย์ทำเพลงพราหมณ์ออก -
- อินทรชิตรำออกจากโรงพิธี  รุทการกับการุณราชหมอบเฝ้า  กาลสูรเข้าโรง -
- ร้องเพลงช้างประสานงา -
จึงตรัสสั่งรุทการชาญกำแหง      จะเปลี่ยนแปลงกายกูเป็นโกสีย์
ให้การุณราชอสุรี               แปลงอินทรีย์เป็นคชาเอราวัณ
อันโยธาทั้งหลายให้กลายเพศ         เป็นเทเวศร์สาวสุรางค์นางสวรรค์
ไว้สำหรับขับลำระบำบรรพ์         เร่งเตรียมไว้ให้ทันฤกษ์ดี
                                                               - ร้องเพลงฝรั่งควง -
   เมื่อนั้น   รุทการประณตบทศรี
   ออกมาเกณฑ์กันทันที   คอยเสด็จภูมีรณรงค์      
                                                      - ร้องเพลงตระนิมิต -
เมื่อนั้น               อินทรชิตชื่นชมสมประสงค์
จึงขึ้นบนแท่นสุวรรณบรรจง         แปลงองค์อสุรินทร์เป็นอินทร
                                            - ปี่พาทย์ทำเพลงตระนิมิต-รัว -
                                           - พระอินทร์แปลงออก –


๕. ตอนอัญเชิญจักรีอวตาร 
๖. ตอนพาลีเสียสัตย์
๗.  ตอน นางอดูลปีศาจสิงรูป จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี ๒๕๔๖
๘. ชุดศึกกุมภกรรณ  ตอนทดน้ำ  แสดงเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน  ๒๕๑๑   
๙. ตอนท้าวมหาชมพูผู้ทรนง
๑๐.ตอนพระรามข้ามสมุทร
๑๑.ชุดหนุมานชาญสมร
๑๒.ชุดมารซื่อชื่อภิเภก
๑๓. ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ
๑๔. ชุดจองถนน
๑๕.ตอนตอนพระแม่เจ้าเกาสุริยา
๑๖.ชุดหนุมานเข้าห้องสุวรรณกันยุมา
๑๗. ตอนลักนางสีดา
๑๘. ตอนนางลอย
๑๙.ตอนปราบโอรสทศกัณฐ์
๒๐. ตอนพระรามครองเมือง
๒๑. ตอนศึกวิรุญจำบัง
๒๒. ตอนศึกสุริยาภพ
๒๓. ตอนศึกสัทธาสูร
๒๔. ตอนพระพิราพปลูกต้นพวาทอง
๒๕. ตอนปราบกากนาสูร
๒๖. ตอนพิเภกสวามิภักดิ์
๒๗. ตอนหนุมานอาสา
๒๙. ตอนสีดาลุยไฟ
๓๐. ตอนนางมณโฑหุงน้ำทิพย์
๓๑.ตอนอัญเชิญจักรีอวตาร
๓๒. ตอนพระรามประชุมพล
๓๓. ตอนองคตสื่อสาร
๓๔.ชุดศรีดามารศรี
๓๕. ตอนกุมภกัณฑ์ทดน้ำ
๓๖. สุครีพถอนต้นรัง
๓๗.ตอนนารายณ์ปราบนนทุก
๓๘.ตอนศึกทูต ขร ตรีเศียร
๓๙.ตอนพระรามตามกวาง
๔๐. ตอนพระรามพบหนุมาน
๔๑. ตอนขับภิเภก
๔๒. ตอนหักคอช้างเอราวัณ
๔๓. ตอนพระรามช่วยพระลักษณ์
๔๔. ตอนหนุมานล่อกล่องดวงใจ
๔๕. ตอนยกรบ
๔๖. ตอนหนุมานชูกล่องดวงใจ
๔๗. ตอนสิ้นศึกลงกา
๔๘. ตอนสีดาลุยไฟ
๔๙ ตอนพระรามคืนนคร
๕๐. ตอนพาลีได้นางเทพดารา
๕๑. ตอนทศกัณฐ์อาฆาต
๕๒. ตอนพาลีรบกับปู
๕๓. ตอนทรพีฆ่าพ่อ
๕๔. ตอนพาลีรบกับพาลี
๕๕. ตอนสุครีพต้องโทษ
๕๖. ตอนกำเนิดสีดา
๕๗. ตอนหนุมานถวายแหวน
๕๘. ตอนสุครีพแจ้งสาส์น
๕๙. ตอนถวายพลเมืองชมพู
๖๐. ผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ ตอนไมยราพสะกดทัพ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 มี.ค. 11, 15:01
คำถามข้อที่  ๘๘.

คุณยายท่านหนึ่งซึ่งเป็นแฟนโขนกรมศิลปากรอย่างเหนียวแน่น
ส่งมาถามว่า   อยากทราบว่า มีศิลปินกรมศิลปากรคนใด
ที่เคยแสดงโขนเป็นพระรามบ้าง  จงบอกชื่อมาสัก  ๕  คน

คุณยายท่านใจดีอีก  ท่านบอกว่า
ใครให้ข้อมูลประวัติศิลปินแต่ละคนมาด้วย
จะให้คะแนนเพิ่มอีกชื่อละ  ๑  คะแนน

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.
ไปจนกระทั่งเวลา ๒๒.๐๐  น.  
ตอบชื่ออย่างเดียว  ชื่อละ ๑ คะแนน
มีประวัติด้วย  ให้ชื่อละ ๒ คะแนน  
ตอบซ้ำคนอื่น  ถูก  ให้ชื่อละ ๑/๒ คะแนน

ตอบเกินที่สั่ง  ไว้พิจารณากันอีกที


ขอตอบค่ะ
ศิลปินกรมศิลปากร ที่เคยแสดงโขนเป็นพระราม คือ

1. อาคม สายาคม
ผู้เชียวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปกร เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๐ อยู่บ้านใกล้สี่แยกถนนหลานหลวง เป็นบุตรนายเจือ ศรียาภัย และนางผาด สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา เหตุที่ใช้นามสกุลสายาคม ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นบุตรบุญธรรมของนายสายและนางเพี้ยน สายาคม เฉพาะนางเพี้ยนมีศักดิ์เป็นป้าของนายอาคมด้วย
นายอาคม สายาคม มีนามเดิมว่าบุญสม ซึ่งพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเปลี่ยนให้สมัยที่มีการฟื้นฟูวัฒนธรรม เพื่อให้มีความหมายเข้มแข็งสมเป็นผู้ชาย เริ่มต้นเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนพร้อมมูลวิทยาจนถึงชั้นประถมปีที่ ๒ จึงลาออกไปสมัครเรียนโขนที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนศรีอยุธยา ควบคู่กับการฝึกหัดโขน จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ได้เป็นโขนหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นตรงต่อพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ผู้กำกับกรมปี่พาทย์และโขนหลวงในรัชกาลที่ ๗ กับคุณหญิงเทศนัฏกานุรักษ์
เริ่มฝึกหัดโขนเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โดยพระยานัฏกานุรักษ์และคุณหญิงเทศ ได้มอบให้ครูลิ้นจี่ จารุจรณ ดูแลควบคุมการฝึกหัดเบื้องต้นอยู่กับพวกละครหลวง ในสมัยนั้น ตัวพระและตัวนาง จะฝึกหัดกันที่วังสวนกุหลาบ ส่วนยักษ์และลิงจะฝึกกันที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
นายอาคมได้ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ ๑๔ ปี เป็นตัวพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ตอนขาดเศียรขาดกร เป็นการแสดงโขนนั่งราว แสดงหน้าพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานต้อนรับแขกเมือง คือนายดักลาส แฟร์แบงค์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ต่อมาได้แสดงหน้าพระที่นั่งอีกหลายครั้งที่โรงโขนหลวงมิสกวัน
เข้ารับราชการในกรมมหรสพเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ในแผนกโขนหลวง ตำแหน่งเด็กชา เงินเดือน ๔ บาท ต่อมารัฐบาลได้มีคำสั่งให้โอนงานการช่างและกองมหรสพไปอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ใน พ.ศ.๒๔๗๘ นายอาคมซึ่งขณะนั้นบวชอยู่ที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) จึงตกลงใจสึกมารับราชการอยู่ที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป) นายอาคมได้รับหน้าที่ให้เป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนฝ่ายพระ และเป็นศิลปินผู้แสดงด้วย
ครั้นถึงสมัยนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้ร่วมกับหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ) และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี รื้อฟื้นและส่งเสริมให้มีการแสดงโขนละครเพื่อให้ประชาชนชมทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ณ โรงละครศิลปากร (โรงละครนี้ถูกไฟไหม้ไปหมดเมื่อคืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓) นายอาคมจึงมีโอกาสได้แสดงโขนและละครเป็นประจำ สำหรับการแสดงโขนนั้นนายอาคมแสดงเป็นตัวพระรามเพียงคนเดียว
หน้าที่สำคัญที่นายอาคม สายาคม ได้รับสืบทอดจากครูผู้ใหญ่ฝ่ายโขน ละครก็คือ การทำพิธีไหว้ครูและครอบโขน ละครของกรมศิลปากร โดยเริ่มทำพิธีไหว้ครูและครอบเป็นทางการครั้งแรกที่ โรงเรียนนาฏศิลป ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้สืบทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ จากนายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ณ โรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
นายอาคม สายาคม รับราชการในกรมศิลปากรมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ จนครบเกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ในตำแหน่งศิลปินพิเศษของกรมศิลปากร ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ กรมศิลปากรจึงให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์
นายอาคม สายาคม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๒๕ รวมอายุได้ ๖๔ ปี ๗ เดือน ๑๔ วัน
http://ongphra.multiply.com/photos/album/7/7

2. ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2499 ( ปีวอก) ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง 4 คน เป็นบุตรของนายจำนงค์ พรพิสุทธิ์ อดีตนาฏศิลปิน กรมศิลปากร และนางสมศรี พรพิสุทธิ์ อดีตนักเรียนนาฎศิลป์ และนักแสดงของคณะพลายมงคล ( ของพลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร ณ อยุธยา) มีน้องสาว 2 คน และน้องชาย 1 คน  เริ่มเข้าเรียนในชั้นอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลจารุณี จากนั้นเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ที่โรงเรียนประชาราษฎร์พิทยา ประถมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดใหม่อมตรส และศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนาฎศิลป ( วิทยาลัยนาฎศิลป ปัจจุบัน) โดยเลือกเรียนในสาขานาฏศิลป์โขน ( พระ) ฝึกหัดนาฎศิลป์พื้นฐานกับคุณครูอุดม อังศุธร และแม่ลมุล ยมะคุปต์ เรียนที่วิทยาลัยนาฎศิลป์จนถึงชั้นกลางปีที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2515 ลาออกไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยกรุงเทพการบัญชี  
การทำงาน
คุณครูพนิดา สิทธิวรรณ อดีตศิลปินของกรมศิลปากร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกนาฏศิลป์กองการสังคีต กรมศิลปากร ได้เป็นผู้ชวนให้มาสอบบรรจุเข้ารับราชการในแผนกนาฎศิลป์ เริ่มทดลองปฎิบัติราชการในตำแหน่งศิลปินจัตวา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 อัตราเงินเดือน 750 บาท ต่อมาได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งนาฎศิลป์จัตวาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 อัตราเงินเดือน800 บาท โดยมีหน้าที่รับผิดชอบแสดงเป็นตัวพระ ( โขน) รับบทพระ ตัวเอก ตัวรอง และตัวประกอบในการแสดงโขน ละคร ฟ้อนรำ การละเล่นพื้นเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการสังคีต  กรมศิลปากร

3. ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ที่บางซื่อ กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ สร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์มาตั้งแต่อายุเพียง ๘ ขวบ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีการสอนนาฏศิลป์นอกเวลาอย่างจริงจัง และนำไปแสดงปีละหลายครั้ง ประกอบกับได้ดูศิลปินที่มีชื่อเสียงแสดงโขนละครอยู่เสมอ นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ได้ศึกษานาฏศิลป์จากสถานศึกษาหลายแห่งจนมีความเชี่ยวชาญ สามารถสร้างเอกลักษณ์การฟ้อนรำที่โดดเด่นเป็นแบบฉบับของตนเอง ได้แก่ การรำโขนพระ รำด้วยท่วงท่างามสง่า การรำละครนอก รำไปพร้อมกับใช้อารมณ์ตามท้องเรื่อง การรำละครในด้วยความนิ่มนวล เป็นผู้ที่มีผลงานการแสดงโขนละครมาอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย โดยรับบทแสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง (ละครนอก) พระเอก นางเอก เช่น พระราม พระอภัยมณี พระสังข์ กระหมังกุหนิง พลายชุมพล คาวี เป็นต้น นอกจากนั้น ยังออกแสดงนาฏศิลป์ประเภทระบำชุดอีกเป็นจำนวนมาก การได้ออกแสดงบนเวทีให้ประชาชนชมในบทบาทตัวละครหลากหลาย ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการรำตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทยทุกประเภท จึงเปรียบเสมือนคลังแห่งความรู้ที่พร้อมจะถ่ายทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังได้ทุกเรื่องในวรรณคดี ได้รับรางวัลเพชรสยาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จากการแสดงนาฏศิลป์จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร
นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์) พุทธศักราช ๒๕๔๘

4. สมรัตน์ ทองแท้  
นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ  สำนักการสังคีต กรมศิลปากร รักษาการตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งเลขที่ ๓๖๕ และเป็น อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะศิลปนาฏดุริยางค์   สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

5. ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ
นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร สมรสแล้ว ภรรยาชื่อ ดวงดาว เถาว์หิรัญ (แนน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคีตศิลปิน สังกัดกลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร  มีบุตร 2 คน หญิง 1 คน ชื่อ ปริยอร ( โรส )เถาว์หิรัญ  และชาย 1 คน ชื่อ รัวฤทธิ (รัว) เถาว์หิรัญ ทั้งคู่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 15:12
คุณดีดี  ตอบข้อที่ ๘๘. มา ดังนี้

1. อาคม สายาคม
2. ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
3. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
4. สมรัตน์ ทองแท้ 
5. ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ

มีข้อมูลประกอบ   
เอาไป  ๑๐  คะแนนเต็ม ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 11, 15:15
โอ้ว...คุณดีดี นี่มาแรง เฟี้ยวจริงๆ เยี่ยมมากเลยครับ  :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 16:09
โอ้ว...คุณดีดี นี่มาแรง เฟี้ยวจริงๆ เยี่ยมมากเลยครับ  :)

แล้วคุณไซมีส จะไม่ลองแรงดีกับเขาบ้างหรือ
หรือว่าตอนนี้แรงตกแล้ว ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 11, 16:21
โอ้ว...คุณดีดี นี่มาแรง เฟี้ยวจริงๆ เยี่ยมมากเลยครับ  :)

แล้วคุณไซมีส จะไม่ลองแรงดีกับเขาบ้างหรือ
หรือว่าตอนนี้แรงตกแล้ว ;D

แรงยังดี แต่ข้อนี้ผ่อนให้ก่อน  ;) ตอบซ้ำกันดูไม่งาม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 16:27
คุณอาร์ทตอบข้อที่ ๘๗ มา


1.  หอกโมกขศักดิ์/
2.  ศึกสหัสเดชะ/
3. นาคบาศ/
4. สมโภชพระรามราชจักรี/
5. กไลโกฎหลงรส/
6. กำเนิดหนุมาน/
7. กุเปรันรบทศกัณฐ์/
8. เกสรทมาลาอาสา 1/
9. เกสรทมาลาลิงตัวหอม/
10. ไกยเกษีสละกร/
11. ฉลองพระบาทพระรามราชสุริยวงศ์/
12. ช้างสารหาญกล้าบ้าบ่มมันร่วมตลุงเดียวกันย่อมประงา/
13. สำมนักขาหึงสีดา/
14. พาลีสอนน้อง ตอน ทรพีรบทรพา/
15. พาลีสอนน้อง/
16. ทศกัณฐ์เกี้ยวนางมณโฑ X (เกี้ยวนางเบญกายแปลง)?
17. ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง/
18. ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง - จองถนน/
19. ท้าวมาลีวรราชว่าความ/
20. นางกาลอัคคี/
21. นางลอย/
22. นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ/
23. นางอดูลปีศาจสิงรูป/
24. นิ้วเพชร/
25. ศูรปนขาชมป่า/
26. ปราบนนทุก ลักสีดา และยกรบ/
27. ปักหลั่นและนกสัมพาทีพ้นคำสาป/
28. พระมิ่งแม่เกาสุริยา/
29.  พระรามตามกวาง
30.  กำเนิดหนุมาน (ซ้ำ)X
31. พุ่งหอกกบิลพัท/
32.  ศึกกุมภกรรณ  ตอนทดน้ำ  /
33.  สำมนักขา   /
34. ลักนางสีดา 
35. สุกรสารปลอมพล   /

๓๓ / ๒ ได้  ๑๖  ๑/๒ คะแนน


   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มี.ค. 11, 16:28

แรงยังดี แต่ข้อนี้ผ่อนให้ก่อน  ;) ตอบซ้ำกันดูไม่งาม
พระรามกรมศิลป์มีตั้งหลายคน  ทำไมต้องตอบซ้ำกันล่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 มี.ค. 11, 16:00
คำถามข้อที่  ๘๙.

อาแปะคนหนึ่งส่งมา  ถามว่า  นักลบลามเกียรติ์ทั้งหลาย
อั๊วะอยากลู้ว่า  ในบทละคองลามเกียรติ์มีตงไหลมั่ง
ที่แสลงให้เห็งวัฒนธรรมจีงในสมัยต้งกุงลัตนโกสิง
ยกมาให้เห็งสัก  ๒  ตัวอย่าง  เอาไป ๑๐ คะแนง
ลีบตอบบัดเหลียวนี้  ที่หน้าม่าง  ก่องเวลา  ๒๒.๐๐  น.
พ้งนี้  หัก  ๓  คะแนง   

ฟังอาแปะพูดแล้วก็ปวก เอ๊ย ปวดหัว  เอาเถอะช่วยแกหน่อยนะ
ฮ่อ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มี.ค. 11, 16:14
คำถามข้อที่  ๘๙.

อาแปะคนหนึ่งส่งมา  ถามว่า  นักลบลามเกียรติ์ทั้งหลาย
อั๊วะอยากลู้ว่า  ในบทละคองลามเกียรติ์มีตงไหลมั่ง
ที่แสลงให้เห็งวัฒนธรรมจีงในสมัยต้งกุงลัตนโกสิง
ยกมาให้เห็งสัก  ๒  ตัวอย่าง  เอาไป ๑๐ คะแนง
ลีบตอบบัดเหลียวนี้  ที่หน้าม่าง  ก่องเวลา  ๒๒.๐๐  น.
พ้งนี้  หัก  ๓  คะแนง   

ฟังอาแปะพูดแล้วก็ปวก เอ๊ย ปวดหัว  เอาเถอะช่วยแกหน่อยนะ
ฮ่อ ;D

อั๊วเจอเลี้ยวๆๆ เจ็กรากรถ เขียนไว้ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 มี.ค. 11, 16:19
ในบทละคองลามเกียรติ์ ว่ะอาตี๋
ม่ายช่ายในภาพวาด  ลื้อดูคำถามลีๆ  เหลียวหักคะแนนเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มี.ค. 11, 16:25
ในบทละคองลามเกียรติ์ ว่ะอาตี๋
ม่ายช่ายในภาพวาด  ลื้อดูคำถามลีๆ  เหลียวหักคะแนนเลย

ลากรถเจ๊ก ผ่านมาเฉยๆ เดี๋ยวก็รีบลากหนีแล้ว  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 มี.ค. 11, 16:29

ลากรถเจ๊ก ผ่านมาเฉยๆ เดี๋ยวก็รีบลากหนีแล้ว  ;D

งั้นลื้อรีบลากรถไปไกลๆ เลย    ก่อนสึนามิอารมณ์จะมา >:(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 15 มี.ค. 11, 18:36
คำถามข้อที่  ๘๙.

อาแปะคนหนึ่งส่งมา  ถามว่า  นักลบลามเกียรติ์ทั้งหลาย
อั๊วะอยากลู้ว่า  ในบทละคองลามเกียรติ์มีตงไหลมั่ง
ที่แสลงให้เห็งวัฒนธรรมจีงในสมัยต้งกุงลัตนโกสิง
ยกมาให้เห็งสัก  ๒  ตัวอย่าง  เอาไป ๑๐ คะแนง
ลีบตอบบัดเหลียวนี้  ที่หน้าม่าง  ก่องเวลา  ๒๒.๐๐  น.
พ้งนี้  หัก  ๓  คะแนง  

ฟังอาแปะพูดแล้วก็ปวก เอ๊ย ปวดหัว  เอาเถอะช่วยแกหน่อยนะ
ฮ่อ ;D

ขอตอบค่ะ
1. ตอน จองถนน
มีการกล่าวถึง สำเภา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเดินเรือของชาวจีน แสดงให้เห็นว่าในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีการติดต่อค้าขายกับจีนทางเรือสำเภาจนมีการนำมาอ้างถึงในวรรณกรรมในยุคนั้น

บัดนั้น.......................เสนาโยธากระบี่ศรี
ฟังราชบรรหารพระจักรี.......................ยินดีดั่งได้โสฬส

ต่างตนต่างทูลอาสา.............โดยกำลังฤทธาด้วยกันหมด
บ้างจะโน้มพระเมรุบรรพต................ลงเป็นทางบทจรไป

บ้างจะวิดวักตักสมุทร...........ให้แห้งหยุดเป็นหนทางใหญ่
บ้างจะเอารี้พลสกลไกร.................ใส่ในหัตถาแล้วพาจร

บ้างจะนิมิตเป็นสำเภา.................ใหญ่เท่าอัสกรรณสิงขร
บ้างจะเอาหางพาดสาคร...................ให้วานรไต่ข้ามชลธี

2. ตอน องคตสื่อสาร
เป็นการจัดทัพเพื่อข้ามไปกรุงลงกา การจัดทัพของเหล่าวานรเป็นรูป มังกร ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน

จัดเป็นมังกรข้ามสมุทร................วายุบุตรเป็นเศียรไปหน้า
ปากบนวาหุโรมฤทธา................ปากล่างปิงคลาวานร

สองเขาสุรเสนสุรกานต์................ศรีชมพูพานนั้นเป็นหงอน
ตาซ้ายโคมุทฤทธิรอน................ตาขวาศรรามชาญฉกรรจ์

ตัวคือองคตหลานอินทร์................เท้าขวากบินทร์นิลขัน
เท้าซ้ายนั้นนิลปานัน................ลิ้นนั้นเกสรทมาลา

เท้าหลังเบื้องซ้ายทวิพัท................มหัทวิกันเป็นเท้าขวา
นิลนนท์เป็นหางถัดมา................กายานั้นจอมโยธี

อันหมู่จังเกียงวานร................เป็นเล็บเขี้ยวมังกรสลับสี
โยธาเป็นเกล็ดทั้งอินทรีย์................ก็เสร็จตามมีพจมาน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 15 มี.ค. 11, 20:49
คำถามข้อที่  ๘๙.

อาแปะคนหนึ่งส่งมา  ถามว่า  นักลบลามเกียรติ์ทั้งหลาย
อั๊วะอยากลู้ว่า  ในบทละคองลามเกียรติ์มีตงไหลมั่ง
ที่แสลงให้เห็งวัฒนธรรมจีงในสมัยต้งกุงลัตนโกสิง
ยกมาให้เห็งสัก  ๒  ตัวอย่าง  เอาไป ๑๐ คะแนง
ลีบตอบบัดเหลียวนี้  ที่หน้าม่าง  ก่องเวลา  ๒๒.๐๐  น.
พ้งนี้  หัก  ๓  คะแนง  

ฟังอาแปะพูดแล้วก็ปวก เอ๊ย ปวดหัว  เอาเถอะช่วยแกหน่อยนะ
ฮ่อ ;D

ช่วงนี้ใต้เท้าคบค้าต่างชาติมากนัก
ทั้งจีน แขก ฝรั่งพุทธเกษ (ต่อไปอาจจะมี พม่า รามัญ จาม ญวน ลาว เขมร อีกก็ได้)

ไม่อยากให้อาแปะรอนาน
1. การละเล่นเพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีน มีชื่อเรียกว่า "งิ้ว"
ตัดมาจาก "ราชาภิเษกพระราม"
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
"บัดนั้น                           หญิงชายชาวเมืองถ้วนหน้า
แตกกันมาดูเทวา                 กับนางฟ้าจับระบำสำราญใจ
อันโขนละครมอญรำ              งิ้วหุ่นมวยปล้ำปรบไก่
หน้าโรงตะดล่งตะลุยไป           ผู้ใหญ่จะดูก็ไม่มี
แต่เหล่าลูกเล็กเด็กน้อย           วิ่งเล่นทุบต่อยกันอึงมี่
บ้างทะเลาะวิวาทชกตี             พี่น้องพ่อแม่ไม่นำพา ฯ"

2. เครื่องมือใช้ในการกินชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "ตะเกียบ"
ตัดมาจาก คำถามข้อที่ 49 ในแฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์ 2 ตอน "พิราพ"
บทละครรามเกียรติ์ชุดเบ็ดเตล็ดสำหรับเล่นเบิกโรง  พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
"เมื่อนั้น                           พิราพร้องว่ากล่าวกับบ่าวไพร่
ชวนกันกินก่อนนายสบายใจ       เอออะไรไม่รออยู่ท่ากู
เช่นนี้ชอบแต่ถองสักสองศอก     มัดไว้ให้ออกอ่อนหู
ว่าพลางทางเดินเข้าไปดู           ถึงที่อยู่โรงใหญ่ในนั้น
เห็นพ่อครัวหัวป่าหากับเข้า         แกล้มเหล้าหลายสิ่งมหิงส์หัน
เนื้อพะแนงแกงช้างกวางทอดมัน  กุมภัณฑ์นั่งลงตรงโต๊ะโต
ชิมเนื้อช้างลองสิ้นสองขา          เทสุราดื่มพลางทางพูดโอ้
เรียกบ่าวช่วยฉีกซีกโครงโค       เคี้ยวคำโตโตยิ่งติดใจ
เอาไม้ลำทำตะเกียบหยิบแกล้ม   ซ้ำแถมเหล้าเข้มอีกเต็มไห
แล้วรินใส่ถ้วยลงส่งไป             บ่าวไพร่พร้อมพรั่งนั่งทำที"

คำตอบ 2 ข้อ ชัดๆ ว่า "วัฒนธรรมจากเมืองจีน"
หากคุณหลวงไม่เชื่อถามอาแปะดู ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มี.ค. 11, 22:20
๑. เรื่องตะเกียบ เป็นวัฒนธรรมอย่างจีนโดยแท้ เช่น ตอนพระพิราพ

เมื่อนั้น
พิราพร้องว่ากล่าวกับบ่าวไพร่
ชวนกันกินก่อนนายสบายใจ
เอออะไรไม่รออยู่ท่ากู
เช่นนี้ชอบแต่ถองสักสองศอก
มัดไว้ให้ออกอ่อนหู
ว่าพลางทางเดินเข้าไปดู
ถึงที่อยู่โรงใหญ่ในนั้น
เห็นพ่อครัวหัวป่าหากับเข้า
แกล้มเหล้าหลายสิ่งมหิงส์หัน
เนื้อพะแนงแกงช้างกวางทอดมัน
กุมภัณฑ์นั่งลงตรงโต๊ะโต
ชิมเนื้อช้างลองสิ้นสองขา
เทสุราดื่มพลางทางพูดโอ้
เรียกบ่าวช่วยฉีกซีกโครงโค
เคี้ยวคำโตโตยิ่งติดใจ
เอาไม้ลำทำตะเกียบหยิบแกล้ม
ซ้ำแถมเหล้าเข้มอีกเต็มไห
แล้วรินใส่ถ้วยลงส่งไป
บ่าวไพร่พร้อมพรั่งนั่งทำที


๒. ตาชั่ง ไทยรับเอาอย่างจีนมาใช้ ตอนชั่งนางพิรากวน โดยหนุมานแปลงเป็นใยบัว แทรกในสไบนางพิรากวน

นางกระเดียดม่อน้ำ..ถึงทวาร เวียงเฮย
ขึ้นชั่งคันลั่นราน.............หักห้อย
พลยักษคึกคักขาน..........คำขู่
นางว่าชั่งกว่าร้อย............ขวบแล้วกลายเอง

*ตาชั่งแบบจีน ที่ใช้ระบบคานแขวน อย่างภาพที่ใช้ชั่งนางพิรากวน เป็นอย่างจีน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 09:03
คุณดีดีตอบข้อที่ ๘๙  มาดังนี้

1. ตอน จองถนน
มีการกล่าวถึง สำเภา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเดินเรือของชาวจีน แสดงให้เห็นว่าในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีการติดต่อค้าขายกับจีนทางเรือสำเภาจนมีการนำมาอ้างถึงในวรรณกรรมในยุคนั้น

บัดนั้น.......................เสนาโยธากระบี่ศรี
ฟังราชบรรหารพระจักรี.......................ยินดีดั่งได้โสฬส

ต่างตนต่างทูลอาสา.............โดยกำลังฤทธาด้วยกันหมด
บ้างจะโน้มพระเมรุบรรพต................ลงเป็นทางบทจรไป

บ้างจะวิดวักตักสมุทร...........ให้แห้งหยุดเป็นหนทางใหญ่
บ้างจะเอารี้พลสกลไกร.................ใส่ในหัตถาแล้วพาจร

บ้างจะนิมิตเป็นสำเภา.................ใหญ่เท่าอัสกรรณสิงขร
บ้างจะเอาหางพาดสาคร...................ให้วานรไต่ข้ามชลธี

วิจารณ์  สำเภาในที่นี้  อาจจะไม่ใช้สำเภาจีนก็ได้  ถือว่ายังไม่ชัดเจน  เอาไป ๒ ๑/๒  คะแนน

2. ตอน องคตสื่อสาร
เป็นการจัดทัพเพื่อข้ามไปกรุงลงกา การจัดทัพของเหล่าวานรเป็นรูป มังกร ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน

จัดเป็นมังกรข้ามสมุทร................วายุบุตรเป็นเศียรไปหน้า
ปากบนวาหุโรมฤทธา................ปากล่างปิงคลาวานร

สองเขาสุรเสนสุรกานต์................ศรีชมพูพานนั้นเป็นหงอน
ตาซ้ายโคมุทฤทธิรอน................ตาขวาศรรามชาญฉกรรจ์

ตัวคือองคตหลานอินทร์................เท้าขวากบินทร์นิลขัน
เท้าซ้ายนั้นนิลปานัน................ลิ้นนั้นเกสรทมาลา

เท้าหลังเบื้องซ้ายทวิพัท................มหัทวิกันเป็นเท้าขวา
นิลนนท์เป็นหางถัดมา................กายานั้นจอมโยธี

อันหมู่จังเกียงวานร................เป็นเล็บเขี้ยวมังกรสลับสี
โยธาเป็นเกล็ดทั้งอินทรีย์................ก็เสร็จตามมีพจมาน

วิจารณ์   มังกร  ในที่นี้ คิดว่าไม่ใช่มังกรจีน  น่าจะเป็น มกร อย่างอินเดียมากกว่า
ดูตำราพิไชยสงครามประกอบด้วย   ตัวอย่างนี้  ให้ ๐ คะแนน

รวมได้ ๒ ๑/๒  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 09:06
คุณอาร์ทตอบมาดังนี้

1. การละเล่นเพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีน มีชื่อเรียกว่า "งิ้ว"
ตัดมาจาก "ราชาภิเษกพระราม"
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
"บัดนั้น                           หญิงชายชาวเมืองถ้วนหน้า
แตกกันมาดูเทวา                 กับนางฟ้าจับระบำสำราญใจ
อันโขนละครมอญรำ              งิ้วหุ่นมวยปล้ำปรบไก่
หน้าโรงตะดล่งตะลุยไป           ผู้ใหญ่จะดูก็ไม่มี
แต่เหล่าลูกเล็กเด็กน้อย           วิ่งเล่นทุบต่อยกันอึงมี่
บ้างทะเลาะวิวาทชกตี             พี่น้องพ่อแม่ไม่นำพา ฯ"

วิจารณ์  โอเคผ่าน  ได้ ๕ คะแนน

2. เครื่องมือใช้ในการกินชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "ตะเกียบ"
ตัดมาจาก คำถามข้อที่ 49 ในแฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์ 2 ตอน "พิราพ"
บทละครรามเกียรติ์ชุดเบ็ดเตล็ดสำหรับเล่นเบิกโรง  พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
"เมื่อนั้น                           พิราพร้องว่ากล่าวกับบ่าวไพร่
ชวนกันกินก่อนนายสบายใจ       เอออะไรไม่รออยู่ท่ากู
เช่นนี้ชอบแต่ถองสักสองศอก     มัดไว้ให้ออกอ่อนหู
ว่าพลางทางเดินเข้าไปดู           ถึงที่อยู่โรงใหญ่ในนั้น
เห็นพ่อครัวหัวป่าหากับเข้า         แกล้มเหล้าหลายสิ่งมหิงส์หัน
เนื้อพะแนงแกงช้างกวางทอดมัน  กุมภัณฑ์นั่งลงตรงโต๊ะโต
ชิมเนื้อช้างลองสิ้นสองขา          เทสุราดื่มพลางทางพูดโอ้
เรียกบ่าวช่วยฉีกซีกโครงโค       เคี้ยวคำโตโตยิ่งติดใจ
เอาไม้ลำทำตะเกียบหยิบแกล้ม   ซ้ำแถมเหล้าเข้มอีกเต็มไห
แล้วรินใส่ถ้วยลงส่งไป             บ่าวไพร่พร้อมพรั่งนั่งทำที"

วิจารณ์  ตัวอย่างนี้ลอกของผมมา  ให้  ๒ ๑/๒  คะแนน

รวมได้  ๗  ๑/๒  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 09:09
คุณไซมีสตอบข้อที่ ๘๙. มาดังนี้

๑. เรื่องตะเกียบ เป็นวัฒนธรรมอย่างจีนโดยแท้ เช่น ตอนพระพิราพ

เมื่อนั้น
พิราพร้องว่ากล่าวกับบ่าวไพร่
ชวนกันกินก่อนนายสบายใจ
เอออะไรไม่รออยู่ท่ากู
เช่นนี้ชอบแต่ถองสักสองศอก
มัดไว้ให้ออกอ่อนหู
ว่าพลางทางเดินเข้าไปดู
ถึงที่อยู่โรงใหญ่ในนั้น
เห็นพ่อครัวหัวป่าหากับเข้า
แกล้มเหล้าหลายสิ่งมหิงส์หัน
เนื้อพะแนงแกงช้างกวางทอดมัน
กุมภัณฑ์นั่งลงตรงโต๊ะโต
ชิมเนื้อช้างลองสิ้นสองขา
เทสุราดื่มพลางทางพูดโอ้
เรียกบ่าวช่วยฉีกซีกโครงโค
เคี้ยวคำโตโตยิ่งติดใจ
เอาไม้ลำทำตะเกียบหยิบแกล้ม
ซ้ำแถมเหล้าเข้มอีกเต็มไห
แล้วรินใส่ถ้วยลงส่งไป
บ่าวไพร่พร้อมพรั่งนั่งทำที

วิจารณ์  ตัวอย่างนี้  ลอกของผมมาเหมือนคุณอาร์ท  แต่เพราะลอกเป็นคนต่อมา
ผมให้  ๒  คะแนน


๒. ตาชั่ง ไทยรับเอาอย่างจีนมาใช้ ตอนชั่งนางพิรากวน โดยหนุมานแปลงเป็นใยบัว แทรกในสไบนางพิรากวน

นางกระเดียดม่อน้ำ..ถึงทวาร เวียงเฮย
ขึ้นชั่งคันลั่นราน.............หักห้อย
พลยักษคึกคักขาน..........คำขู่
นางว่าชั่งกว่าร้อย............ขวบแล้วกลายเอง

*ตาชั่งแบบจีน ที่ใช้ระบบคานแขวน อย่างภาพที่ใช้ชั่งนางพิรากวน เป็นอย่างจีน

วิจารณ์  ตัวอย่างนี้ไม่ใช่บทละคร  หัก  ๓  คะแนน
แต่ด้วยเห็นว่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนด้วย จึงให้ ๒ คะแนน

รวมแล้วได้  ๔  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มี.ค. 11, 09:23
2. ตอน องคตสื่อสาร

เป็นการจัดทัพเพื่อข้ามไปกรุงลงกา การจัดทัพของเหล่าวานรเป็นรูป มังกร ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน

จัดเป็นมังกรข้ามสมุทร................วายุบุตรเป็นเศียรไปหน้า
ปากบนวาหุโรมฤทธา................ปากล่างปิงคลาวานร

สองเขาสุรเสนสุรกานต์................ศรีชมพูพานนั้นเป็นหงอน
ตาซ้ายโคมุทฤทธิรอน................ตาขวาศรรามชาญฉกรรจ์

ตัวคือองคตหลานอินทร์................เท้าขวากบินทร์นิลขัน
เท้าซ้ายนั้นนิลปานัน................ลิ้นนั้นเกสรทมาลา

เท้าหลังเบื้องซ้ายทวิพัท................มหัทวิกันเป็นเท้าขวา
นิลนนท์เป็นหางถัดมา................กายานั้นจอมโยธี

อันหมู่จังเกียงวานร................เป็นเล็บเขี้ยวมังกรสลับสี
โยธาเป็นเกล็ดทั้งอินทรีย์................ก็เสร็จตามมีพจมาน

วิจารณ์   มังกร  ในที่นี้ คิดว่าไม่ใช่มังกรจีน  น่าจะเป็น มกร อย่างอินเดียมากกว่า
ดูตำราพิไชยสงครามประกอบด้วย   ตัวอย่างนี้  ให้ ๐ คะแนน

รวมได้ ๒ ๑/๒  คะแนน

มังกรที่คุณดีดียกมา มีหงอน มีเขี้ยว มีเกล็ด น่าจะเข้าเค้า มังกรจีน  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99) มากกว่า

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/6/67/Legend_chinese_dragon.jpg/250px-Legend_chinese_dragon.jpg)

ส่วน มกร  (http://en.wikipedia.org/wiki/Makara_(Hindu_mythology)) มีส่วนผสมของ ช้าง จระเข้ ปลา ไม่เห็นมีหงอน มีเขี้ยว มีเกล็ด สักหน่อย

ในรูปเป็นพาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณตามความเชื่อของแขก

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/fd/Ganga.jpg/220px-Ganga.jpg)      (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/48/Varunadeva.jpg/220px-Varunadeva.jpg)

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 09:29
ในการจัดทัพตามตำราพิไชยสงครามของไทย
มังกรของไทยมีลักษณะอย่างนาคมีเท้า  ๔ เท้า



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 09:44
ในการจัดทัพตามตำราพิไชยสงครามของไทย
มังกรของไทยมีลักษณะอย่างนาคมีเท้า  ๔ เท้า




แบนี้ใช่ไหมครับ เพิ่งได้ตำราการจัดกระบวนทัพมา  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 มี.ค. 11, 09:47
เหม่

ได้ตำราพิชัยสงครามจัดกระบวนทัพมาใหม่ ก็ออกใช้เชียวนะคุณไซมีส ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 09:50
เหม่

ได้ตำราพิชัยสงครามจัดกระบวนทัพมาใหม่ ก็ออกใช้เชียวนะคุณไซมีส ;D

ใช่แล้วคุณอาร์ท กำลังจะหากระบวนทัพตามอย่างไทย อย่างมอญ เช่น รูปตีนนา รูปกลอง รูปถังน้ำ รูปแตงโม เอาไว้ประยุทธกับศึก ๑๐ ข้อสุดท้าย .... กองสอดแนมบอกว่า จะเอาให้ยากหนักหนา.. อะไรจะปานนั้น :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มี.ค. 11, 09:59
เอามาฝากคุณไซอามีส

ตำราพิชัยสงครามของไทย
บทวิเคราะห์โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

http://gotoknow.org/blog/drdanai/252329
http://gotoknow.org/blog/drdanai/252332
http://gotoknow.org/blog/drdanai/252336
http://gotoknow.org/blog/drdanai/252340
http://gotoknow.org/blog/drdanai/252346
http://gotoknow.org/blog/drdanai/252348

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 10:10
ภาพสี  การจัดทัพรูปมังกร  จะได้ไม่ต้องเถียงกันว่าเป็นมังกรจีนหรือไทย
ชัดเจน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 10:22
เอามาฝากคุณไซอามีส

ตำราพิชัยสงครามของไทย
บทวิเคราะห์โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

 ;D

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพูที่หาภาพมาฝาก เห็นตำราต้นฉบับ ซึ้งตามากครับ

และขอบคุณ คุณหลวงเล็ก เช่นกัน (เดี่ยวจะหาว่าไม่ใส่ใจ)  ;D ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 16:34
คำถามข้อที่  ๙๐.

วันนี้เราได้คุณตำรวจจากเกาะลงมาตั้งคำถามถึงกระทู้ทีเดียว
เชิญอ่านคำถามบัดเดี๋ยวนี้

กระผมร้อยตำรวจตรีทศนิยม ประจำสำนักงานตำรวจเกาะลงกาชั้นนอก
เมื่อหลายปีดีดักมาแล้ว  มีผู้มาแจ้งความรถหายหลายราย   แต่ด้วยขณะนั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจเราถูกเกณฑ์ไปรบบ่อย  เลยไม่ค่อยมีเวลาติดตามหารถมาคืน
แก่ผู้แจ้งความ   มาบัดนี้เหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
จึงได้มีเวลาติดตามหารถที่มีผู้แจ้งหายไว้จนพบหมดทุกคัน   แต่ทีนี้กระผม
ก็เกิดจนปัญญาว่า   รถที่หาเจอนี้ไม่ทราบว่าเป็นของใครบ้าง  
เบาะแสที่จะให้ตามหาเจ้าของรถได้  ก็มีแต่รายละเอียดรถแต่ละคันเท่านั้น
เพราะตำรวจที่รับแจ้งความก็ดันลืมจดชื่อผู้แจ้งความไว้  (สงสัยตอนนั้นกำลังเมา ชัวร์)

กระผมเลยมาขอความช่วยเหลือจากท่านทั้งหลายโปรดเมตตา
แก่ยักษ์นายตำรวจชั้นผู้น้อยตาดำๆ และไม่กะพริบตนนี้ด้วยนะครับ
 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 16:47
คำถามข้อที่  ๙๐.

วันนี้เราได้คุณตำรวจจากเกาะลงมาตั้งคำถามถึงกระทู้ทีเดียว
เชิญอ่านคำถามบัดเดี๋ยวนี้

กระผมร้อยตำรวจตรีทศนิยม ประจำสำนักงานตำรวจเกาะลงกาชั้นนอก
เมื่อหลายปีดีดักมาแล้ว  มีผู้มาแจ้งความรถหายหลายราย   แต่ด้วยขณะนั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจเราถูกเกณฑ์ไปรบบ่อย  เลยไม่ค่อยมีเวลาติดตามหารถมาคืน
แก่ผู้แจ้งความ   มาบัดนี้เหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
จึงได้มีเวลาติดตามหารถที่มีผู้แจ้งหายไว้จนพบหมดทุกคัน   แต่ทีนี้กระผม
ก็เกิดจนปัญญาว่า   รถที่หาเจอนี้ไม่ทราบว่าเป็นของใครบ้าง  
เบาะแสที่จะให้ตามหาเจ้าของรถได้  ก็มีแต่รายละเอียดรถแต่ละคันเท่านั้น
เพราะตำรวจที่รับแจ้งความก็ดันลืมจดชื่อผู้แจ้งความไว้  (สงสัยตอนนั้นกำลังเมา ชัวร์)

กระผมเลยมาขอความช่วยเหลือจากท่านทั้งหลายโปรดเมตตา
แก่ยักษ์นายตำรวจชั้นผู้น้อยตาดำๆ และไม่กะพริบตนนี้ด้วยนะครับ
 8)


รถท้าวอัศกรรณ

รถเอยรถศึก  กงกำพันลึกงอนระหง
แปรกแอกเพลาดุมวง  ล้วนอลงกตแก้วแถบสุวรรณ
บัลลังก์ก็ลอยตั้งบุษบก   สิงห์อัดเครือกระหนกกระหนาบคั่น
ชั้นครุฑยุคนาคยืนยัน ถือนั้นเทพนมประนมกร

เทียมด้วยคชสีห์ตัวหาญ  สองพันเริงร่านตั้งไกรสร
สารถีมือถือโตมร   ขับโผนโจนจรดั่งลมพัด



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 16:49
ตายละหวา ไม่เห็นมีคะแนนนนน  :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 16:53
คำถามข้อที่  ๙๐.

วันนี้เราได้คุณตำรวจจากเกาะลงมาตั้งคำถามถึงกระทู้ทีเดียว
เชิญอ่านคำถามบัดเดี๋ยวนี้

กระผมร้อยตำรวจตรีทศนิยม ประจำสำนักงานตำรวจเกาะลงกาชั้นนอก
เมื่อหลายปีดีดักมาแล้ว  มีผู้มาแจ้งความรถหายหลายราย   แต่ด้วยขณะนั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจเราถูกเกณฑ์ไปรบบ่อย  เลยไม่ค่อยมีเวลาติดตามหารถมาคืน
แก่ผู้แจ้งความ   มาบัดนี้เหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
จึงได้มีเวลาติดตามหารถที่มีผู้แจ้งหายไว้จนพบหมดทุกคัน   แต่ทีนี้กระผม
ก็เกิดจนปัญญาว่า   รถที่หาเจอนี้ไม่ทราบว่าเป็นของใครบ้าง  
เบาะแสที่จะให้ตามหาเจ้าของรถได้  ก็มีแต่รายละเอียดรถแต่ละคันเท่านั้น
เพราะตำรวจที่รับแจ้งความก็ดันลืมจดชื่อผู้แจ้งความไว้  (สงสัยตอนนั้นกำลังเมา ชัวร์)

กระผมเลยมาขอความช่วยเหลือจากท่านทั้งหลายโปรดเมตตา
แก่ยักษ์นายตำรวจชั้นผู้น้อยตาดำๆ และไม่กะพริบตนนี้ด้วยนะครับ
 8)


รถท้าวอัศกรรณ

รถเอยรถศึก  กงกำพันลึกงอนระหง
แปรกแอกเพลาดุมวง  ล้วนอลงกตแก้วแถบสุวรรณ
บัลลังก์ก็ลอยตั้งบุษบก   สิงห์อัดเครือกระหนกกระหนาบคั่น
ชั้นครุฑยุคนาคยืนยัน ถือนั้นเทพนมประนมกร

เทียมด้วยคชสีห์ตัวหาญ  สองพันเริงร่านตั้งไกรสร
สารถีมือถือโตมร   ขับโผนโจนจรดั่งลมพัด



จะรีบร้อนไปไหนพ่อคู้ณ  คำถามยังไม่จบเลย  จะเล่นแล้ว
เดี๋ยวจับไปขังคุกมืดสัก ๗ วัน   จะรอก่อนสัก ๔-๕  ชั่วหม้อข้าวเดือดไม่ได้หรือ

โมโหและ >:( >:( >:(   โจทย์คำถามที่เหลือเอาไว้พรุ่งนี้มาบอกต่อ
ไล่ เอ๊ย เชิญคุณตำรวจยักษ์กลับลงกาทวีปไปก่อน
พรุ่งนี้ค่อยมาบอกคำถามที่ค้างไว้ต่อ >:( >:( >:(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มี.ค. 11, 16:55
ตายละหวา ไม่เห็นมีคะแนนนนน  :o

ก็แน่ล่ะสิ  ตอบไม่ดูตาม้าตาเรือเลย   
ทหาร  ลากตัวเอาไปใส่ครกเล็กตำให้เหนียวดี
แล้วปั้นเป็นทอดมันทอดเป็นอาหารมื้อเย็นนี้
โทษฐานที่ตอบไม่ดูให้รอบคอบเสียก่อน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 มี.ค. 11, 16:57
โกรธหน้าแดงเลยอ่ะ

น่ากลัวเจียว :-X


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 มี.ค. 11, 17:19
ตายละหวา ไม่เห็นมีคะแนนนนน  :o

ก็แน่ล่ะสิ  ตอบไม่ดูตาม้าตาเรือเลย  
ทหาร  ลากตัวเอาไปใส่ครกเล็กตำให้เหนียวดี
แล้วปั้นเป็นทอดมันทอดเป็นอาหารมื้อเย็นนี้
โทษฐานที่ตอบไม่ดูให้รอบคอบเสียก่อน

;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 11, 17:57
โกรธหน้าแดงเลยอ่ะ

น่ากลัวเจียว :-X

คิคิ แดงหลายหน้าเชียว ที่จริงชั่วหม้อข้าวเดือด ก็ตกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที นี่เอาหลายหม้อข้าวเดือดเลยเนาะ คุณอาร์ท  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 09:37
คำถามข้อที่  ๙๐.

วันนี้เราได้คุณตำรวจจากเกาะลงมาตั้งคำถามถึงกระทู้ทีเดียว
เชิญอ่านคำถามบัดเดี๋ยวนี้

กระผมร้อยตำรวจตรีทศนิยม ประจำสำนักงานตำรวจเกาะลงกาชั้นนอก
เมื่อหลายปีดีดักมาแล้ว  มีผู้มาแจ้งความรถหายหลายราย   แต่ด้วยขณะนั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจเราถูกเกณฑ์ไปรบบ่อย  เลยไม่ค่อยมีเวลาติดตามหารถมาคืน
แก่ผู้แจ้งความ   มาบัดนี้เหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
จึงได้มีเวลาติดตามหารถที่มีผู้แจ้งหายไว้จนพบหมดทุกคัน   แต่ทีนี้กระผม
ก็เกิดจนปัญญาว่า   รถที่หาเจอนี้ไม่ทราบว่าเป็นของใครบ้าง  
เบาะแสที่จะให้ตามหาเจ้าของรถได้  ก็มีแต่รายละเอียดรถแต่ละคันเท่านั้น
เพราะตำรวจที่รับแจ้งความก็ดันลืมจดชื่อผู้แจ้งความไว้  (สงสัยตอนนั้นกำลังเมา ชัวร์)

กระผมเลยมาขอความช่วยเหลือจากท่านทั้งหลายโปรดเมตตา
แก่ยักษ์นายตำรวจชั้นผู้น้อยตาดำๆ และไม่กะพริบตนนี้ด้วยนะครับ
 8)


รถที่จะให้ตามหาเจ้าของมี ๑๐  คันดังนี้

๑.รถเอยรถศึก              กงกำแก้วผลึกอลงกต
แอกงอนอ่อนงามช้อยชด    ชั้นลดภาพล้อมบัลลังก์ลอย
เครือขดเรือนเก็จเสากาบ    พรหมศรกระหนาบกระหนกห้อย
บันแววแก้ววามอร่ามพลอย   สุกย้อยงามเพียงพิมานอินทร์
เทียมด้วยราชสีห์สี่พัน         โลทันมือถือธนูศิลป์
ขับทะยานผ่านเร็วดั่งหงส์บิน    เครื่องสูงบังทินกรพราย...


๒. รถเอยราชรถทรง         กงกำแกมแก้วสุกใส
งอนแอกบะแหรกวิไล        ฉัตรชัยวิจิตรเจษฎา
เพลาเพชรเก็จแกมหน้าหลัง   บังใบล้วนนิลวัตถา
พระที่นั่งดั่งจะเลื่อนลอยฟ้า    ระย้าระย้อยพลอยพราย
อับภิรมกันภิรมย์เศวตฉัตร      จูลจำรัสจัดแจ่มพระสุริย์ฉาย
เครื่องแห่คับคั่งยั่งย้าย         ผาดผายเลื่อนลอยเมฆา...


๓.  รฎแก้ว                   เพรีดแพรวจำหรัดพระเวหา
โตตั้งบันลังรจนา            อะลังกาพระที่นั้งเป่ลงปลิว
เครือครุทยุดกุมหางนาค   อ้าปากเพ่งดูชูหางหิ้ว
ไบระกาช่อฟ้ากระหง่านปลิว   ลอยลิ่วฉัดก้รรชั้นอง
แม่ลายทูบท้ายบุดศบก      ช่อกระหนกเห็นอาหร่ามงามระหง
เทียมสินทพชาดอาดอง     ทั้งเฉลีมงอนงามกระหง่านทารตะวัน
อะพิรุมชุมสายภาหุรัด        มะยุระฉัดเคียงคูดูเฉีดฉิน
จะหมูกสิงเทพะนมบังคมคัน  ชูดอกบุษบันถวายกร
กลิ้งกลดกลดกลิ้งพริ้งพราย   ปัติยานทูบท้ายประภักษร
จ่ามรช่อตั้งกระจังซ้อน        ประแหรกแอกงอนพราวตา...


๔. รถเอยรถวิมาน         เวไชยันต์ทิพยานสูงใหญ่
กงกำล้วนแก้วแววไว       แอกอ่อนงอนไสวรูจี
บัลลังก์ลดแก้วรายรายภาพ    บุษบกเก็จกาบมณีศรี
เทียมด้วยเทพบุตรพาชี        พันหนึ่งล้อนมีฤทธิรอน
พระมาตุลีขี่ขับสินธพ   เสียงสนั่นลั่นภพไหวกระฉ่อน
ธงทิพเจ็ดชายปักปลายงอน    จามรเครื่องสูงสลับกัน...


๕.รถเอยราชรถศึก          พันลึกสามโลกไม่หาได้
กำกงล้วนแก้วเจียระไน       แอกประไพดวงประพาฬตระหง่านงอน
บัลลังก์แก้วลายรายภาพ     เรือนเก็จเสากาบพรหมศร
บุษบกซุ้มบันอลงกรร์        ลอยผาดอัมพรอำไพตา
เทียมสัตว์ไกรสรสองพัน     โลทันถือทวนเงื้อง่า
ขับรีบแล่นเร็วดั่งลมพา      ธงชัยนำหน้าดำเนินพล...


(ยังมีต่ออีก   ห้ามใครมาตอบก่อน  ผู้ใดฝ่าฝืนหัก ๒๐ คะแนน)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 11, 10:01
(ยังมีต่ออีก   ห้ามใครมาตอบก่อน  ผู้ใดฝ่าฝืนหัก ๒๐ คะแนน)

เอี๊ยดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด....เกือบเบรคแตก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 มี.ค. 11, 10:07


       คุณไซมีสกินดีหมีหัวใจสิงห์มาฤา

       จะแซว  จะชวนคุยยังไม่กล้าเลยข้าพเจ้าน่ะ

       เดา ๆ คำถามอยู่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 11, 10:14


       คุณไซมีสกินดีหมีหัวใจสิงห์มาฤา

       จะแซว  จะชวนคุยยังไม่กล้าเลยข้าพเจ้าน่ะ

       เดา ๆ คำถามอยู่

กำลังคึก ฟังเพลง "สร้อยแสงแดง" พระลอตามไก่ ครับ ไก่กำลังตีปีก ด้วยผีลงครับ  :-X


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 มี.ค. 11, 10:17
รถหายแจ้งตำรวจ
ทำไมมาให้เราหา
  ::)

ไปข้างนอก 3 ชั่วโมง กลับมาจะทันหรือไม่ ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 10:37
รถหายแจ้งตำรวจ
ทำไมมาให้เราหา
  ::)

ไปข้างนอก 3 ชั่วโมง กลับมาจะทันหรือไม่ ???

ตกลงจะเล่นหรือไม่เล่น   

เดี๋ยวเชือดไก่(ผีลง)ให้ลิงลงพุงดูเสียเลย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 มี.ค. 11, 10:49
บทพรรณาราชรถ ในรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 มี 137 ตอน
บทพรรณาเหล่านี้บางครั้งแม้จะกล่าวถึงราชรถองค์เดียวกัน แต่ใช้ถ้อยคำต่างกัน  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 13:55
มาต่อ อีก ๕ คัน

๖.รถเอยรถทรง                           ดุมวงเฉวียนฉวัดผัดผัน
พระที่นั่งบัลลังก์แก้วแพรวพรรณ      กระหนกเกรินสามชั้นเป็นหลั่นลด
ช่อฟ้าหน้าบันปราลี                      ล้วนแล้วแก้วมณีสีสด
แอกงอนสลวยชวยชด                   มรกตแกมสลับกับโกเมน
เทียมสินธพที่นั่งทั้งสี่                    สารถีวานรกรกุมเขน
กลิ้งกลดบดบังสุริเยน                    กลองชนะกะเกณฑ์เป็นคู่กัน
เสียงสังข์เสียงแตรแซ่ซ้อง             โห่ร้องก้องสะเทือนเลื่อนลั่น
เร่งรัดพลนิกรจรจรัล                     มาสมรภูมิพลันทันใด...


๗.รถเอยรถทรง                          ฝากระจกบรรจงกว้างขวาง
บุษบกบัลลังก์ตั้งกลาง                  มีห้องหับสำหรับนางบำเรอเรียง
กิเลนข้างละหมื่นครื้นครึก              ก้องกึกกงลั่นสนั่นเสียง
มิ่งไม้ที่ริมทางข้างเคียง                อ่อนเอียงเอนทาบลงราบดิน
คชสารสีหราชผาดผก                  ตื่นตกใจวิ่งทิ้งถิ่น
พระยาครุฑยุดเหยียบนาคินทร์        ก็วางนาคบากบินไปสิมพลี...


๘.รถเอยสองรถประพาส                แอกงอนหุ้มมาศงามระหง
แปรกเรือนเครือคร่ำกำกง               ดุมวงบัลลังก์กระจังราย
ลดชั้นคั่นภาพกระหนาบพลอย         ช่อห้อยบุษบกบังหงาย
เสาซุ้มทรงมัณฑ์แม่ลาย                ห้ายอดงามคล้ายวิมานฟ้า
เทียมด้วยไกรสรสี่พัน                    โลทันถือหอกเงื้อง่า
สำทับขับเร็วดั่งลมพา                    เครื่องสูงสายระย้าธงชัย...


๙.รถเอยราชรถแดง                 สีแสงสว่างสุกใส
งอนแอกปะแหรกวิไล               ฉัตรชัยวิจิตรเจษฎา
เพราเพชรเก็จแกมหน้าหลัง        บังใบด้วยมณีมีค่า
ระย้าระย้อยลอยเลื่อนฟ้า           กรีฑาพหลไปพลัน...


๑๐.รถเอยราชรถทรง                สำหรับพงศ์เผ่าพรหมรังสี
เทียมด้วยเทพบุตรพาชี              รัศมีวิจิตรเจษฎา
ดุจดั่งดวงอโณทัยตรัส               แจ่มจัดสว่างเวหา
ระย้าระยับจับเมฆา                    อลังการ์รัศอัมพร...


คำสั่ง   จงค้นหาว่า รถทั้ง ๑๐ คันนี้ ใครเป็นคนขี่รถตามบทพรรณนา
และอยู่ในตอนใด  เมื่อตอบได้ครบว่า เป็นรถที่ใครขี่  อยู่ตอนใดแล้ว
ให้เรียงลำดับก่อนหลังรถโจทย์แต่ละคันตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑
(เอาเฉพาะตัวเลขข้อมาเรียง)

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.เป็นต้นไป
อนุญาตให้ตอบว่า  ใครเป็นคนขี่รถตามบทพรรณนา
และอยู่ในตอนใดก่อนได้  โดยยังไม่ต้องเรียงลำดับ
แต่ต้องตอบครั้งแรกให้ครบทั้งหมด  ๑๐  ข้อ  ไม่ครบไม่ตรวจ
ถ้าตอบผิดให้ตอบใหม่เฉพาะข้อที่ผิด   ข้อใดมีคนตอบถูกแล้ว
ใครมาตอบซ้ำอีก ไม่ให้คะแนน (ยกเว้นครั้งแรกของการตอบแต่ละคน)


ขอให้สนุกกันนะครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 11, 15:01
๑.รถเอยรถศึก              กงกำแก้วผลึกอลงกต
แอกงอนอ่อนงามช้อยชด    ชั้นลดภาพล้อมบัลลังก์ลอย
เครือขดเรือนเก็จเสากาบ    พรหมศรกระหนาบกระหนกห้อย
บันแววแก้ววามอร่ามพลอย   สุกย้อยงามเพียงพิมานอินทร์
เทียมด้วยราชสีห์สี่พัน         โลทันมือถือธนูศิลป์
ขับทะยานผ่านเร็วดั่งหงส์บิน    เครื่องสูงบังทินกรพราย...
เป็นของอินทรชิตครับ ก็ควรจะเป็นตอนศึกอินทรชิต


๒. รถเอยราชรถทรง         กงกำแกมแก้วสุกใส
งอนแอกบะแหรกวิไล        ฉัตรชัยวิจิตรเจษฎา
เพลาเพชรเก็จแกมหน้าหลัง   บังใบล้วนนิลวัตถา
พระที่นั่งดั่งจะเลื่อนลอยฟ้า    ระย้าระย้อยพลอยพราย
อับภิรมกันภิรมย์เศวตฉัตร      จูลจำรัสจัดแจ่มพระสุริย์ฉาย
เครื่องแห่คับคั่งยั่งย้าย         ผาดผายเลื่อนลอยเมฆา...
บทชมราชรถศึกของทศกัณฐ์ คราวศึกเปาวนาสูร จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน



๓.  รฎแก้ว                   เพรีดแพรวจำหรัดพระเวหา
โตตั้งบันลังรจนา            อะลังกาพระที่นั้งเป่ลงปลิว
เครือครุทยุดกุมหางนาค   อ้าปากเพ่งดูชูหางหิ้ว
ไบระกาช่อฟ้ากระหง่านปลิว   ลอยลิ่วฉัดก้รรชั้นอง
แม่ลายทูบท้ายบุดศบก      ช่อกระหนกเห็นอาหร่ามงามระหง
เทียมสินทพชาดอาดอง     ทั้งเฉลีมงอนงามกระหง่านทารตะวัน
อะพิรุมชุมสายภาหุรัด        มะยุระฉัดเคียงคูดูเฉีดฉิน
จะหมูกสิงเทพะนมบังคมคัน  ชูดอกบุษบันถวายกร
กลิ้งกลดกลดกลิ้งพริ้งพราย   ปัติยานทูบท้ายประภักษร
จ่ามรช่อตั้งกระจังซ้อน        ประแหรกแอกงอนพราวตา...


๔. รถเอยรถวิมาน         เวไชยันต์ทิพยานสูงใหญ่
กงกำล้วนแก้วแววไว       แอกอ่อนงอนไสวรูจี
บัลลังก์ลดแก้วรายรายภาพ    บุษบกเก็จกาบมณีศรี
เทียมด้วยเทพบุตรพาชี        พันหนึ่งล้อนมีฤทธิรอน
พระมาตุลีขี่ขับสินธพ   เสียงสนั่นลั่นภพไหวกระฉ่อน
ธงทิพเจ็ดชายปักปลายงอน    จามรเครื่องสูงสลับกัน...
ตอนพระอินทร์ยกทัพรถบรณพักตร์ ม้าเทียมของราชรถองค์นี้เกิดจากเทวบุตร ๑,๐๐๐ องค์ แปลงกายเป็นม้า เทียมรถ


๕.รถเอยราชรถศึก          พันลึกสามโลกไม่หาได้
กำกงล้วนแก้วเจียระไน       แอกประไพดวงประพาฬตระหง่านงอน
บัลลังก์แก้วลายรายภาพ     เรือนเก็จเสากาบพรหมศร
บุษบกซุ้มบันอลงกรร์        ลอยผาดอัมพรอำไพตา
เทียมสัตว์ไกรสรสองพัน     โลทันถือทวนเงื้อง่า
ขับรีบแล่นเร็วดั่งลมพา      ธงชัยนำหน้าดำเนินพล...
บทชมราชรถศึกของท้าวจักรวรรดิ์

๖.รถเอยรถทรง                           ดุมวงเฉวียนฉวัดผัดผัน
พระที่นั่งบัลลังก์แก้วแพรวพรรณ      กระหนกเกรินสามชั้นเป็นหลั่นลด
ช่อฟ้าหน้าบันปราลี                      ล้วนแล้วแก้วมณีสีสด
แอกงอนสลวยชวยชด                   มรกตแกมสลับกับโกเมน
เทียมสินธพที่นั่งทั้งสี่                    สารถีวานรกรกุมเขน
กลิ้งกลดบดบังสุริเยน                    กลองชนะกะเกณฑ์เป็นคู่กัน
เสียงสังข์เสียงแตรแซ่ซ้อง             โห่ร้องก้องสะเทือนเลื่อนลั่น
เร่งรัดพลนิกรจรจรัล                     มาสมรภูมิพลันทันใด...
รถพระลักษณ์ ต้องเป็นสำนวนในรัชกาลที่ ๒ แน่เลย เนื่องจาก "รถเอยรถทรง ดุมวงเฉวียนฉวัดผัดผัน" พบในเรื่องอิเหนา ชมรถอุณากรรณ


๗.รถเอยรถทรง                          ฝากระจกบรรจงกว้างขวาง
บุษบกบัลลังก์ตั้งกลาง                  มีห้องหับสำหรับนางบำเรอเรียง
กิเลนข้างละหมื่นครื้นครึก              ก้องกึกกงลั่นสนั่นเสียง
มิ่งไม้ที่ริมทางข้างเคียง                อ่อนเอียงเอนทาบลงราบดิน
คชสารสีหราชผาดผก                  ตื่นตกใจวิ่งทิ้งถิ่น
พระยาครุฑยุดเหยียบนาคินทร์        ก็วางนาคบากบินไปสิมพลี...
รถท้าวชนก ตอนแห่ขบวนนางสีดาเข้ากรุง


๘.รถเอยสองรถประพาส                แอกงอนหุ้มมาศงามระหง
แปรกเรือนเครือคร่ำกำกง               ดุมวงบัลลังก์กระจังราย
ลดชั้นคั่นภาพกระหนาบพลอย         ช่อห้อยบุษบกบังหงาย
เสาซุ้มทรงมัณฑ์แม่ลาย                ห้ายอดงามคล้ายวิมานฟ้า
เทียมด้วยไกรสรสี่พัน                    โลทันถือหอกเงื้อง่า
สำทับขับเร็วดั่งลมพา                    เครื่องสูงสายระย้าธงชัย...
รถของพระลบและพระมงกุฎ


๙.รถเอยราชรถแดง                 สีแสงสว่างสุกใส
งอนแอกปะแหรกวิไล               ฉัตรชัยวิจิตรเจษฎา
เพราเพชรเก็จแกมหน้าหลัง        บังใบด้วยมณีมีค่า
ระย้าระย้อยลอยเลื่อนฟ้า           กรีฑาพหลไปพลัน...
รถของพระพรต ตอนพระมงกุฏอยู่ป่า จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน


๑๐.รถเอยราชรถทรง                สำหรับพงศ์เผ่าพรหมรังสี
เทียมด้วยเทพบุตรพาชี              รัศมีวิจิตรเจษฎา
ดุจดั่งดวงอโณทัยตรัส               แจ่มจัดสว่างเวหา
ระย้าระยับจับเมฆา                    อลังการ์รัศอัมพร...
ตอนท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์ จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน


+++++
อันนี้แถมให้ ไม่ต้องเสียไฟแนซ์ ตอนทัพนาคได้เปรียบ พระยากาลนาคคิดแค้นท้าวสหะมลิวันยักษา จึงยกทัพไปตีเมืองมาร
        
                ประทุมแก้วโปรยปรายดังสายฝน   ทรงสุคนธานทิพย์เกสร
    สอดใส่สนับเพลาเชิงงอน   อุทุมพรภูษาพื้นแดง
    ชายแครงชายไหวประดับพลอย   ฉลององค์อย่างน้อยเครือแย่ง
    ตาบทิศทับทรวงลายแทง   สังวาลเพ็ชรลูกแดงชิงดวง
    พาหุรัดทองกรมังกรเกี้ยว   ธำมรงค์พลอยเขียวรุ้งร่วง
    มงกุฎแก้วสุรกานต์ดอกไม้พวง   ห้อยห่วงกุณฑลกรรเจียกจร
    จับพระแสงขรรค์แก้วแววฟ้า   งามสง่าดั่งพระยาไกรสร
    เสด็จจากแท่นทิพย์อลงกรณ์   บทจรขึ้นรถสุรกานต์
        
                รถเอยรถนิมิต   ชวลิตดั้งรถสุริย์ฉาน
    กงกำล้วนแล้วแก้วประพาฬ   ดุมเพลาชัชวาลด้วยเนาวรัตน์
    แปรกแอกอ่อนงอนระหง   ธงทิวริ้วรายปลายสบัด
    เทียมเหราเร็วดั่งลมพัด   เครื่องสูงทิวฉัตรธงชัย
    เสียงฆ้องกลองประโคมโครมครึก   เสียงทหารโห่ฮึกแผ่นดินไหว
    เร่งรถเร่งพลสกลไกร   ตรงไปพิภพเมืองมาร *
        
            ตอนท้าวโรมพัดส่งธิดา (อรุณวดี) ไปทำลายตละฤาษีกไลโกฎ
        
                ชำระสระสนานสำราญองค์   ทรงสุคนธ์ธารกลิ่นเกสร
    ภูษาลายเครือกินนร   ช่อเชิงมังกรกระหวัดกาย
    สไบตาดพื้นทองกรองริม   สอดสีทับทิมเฉิดฉาย
    ทับทรวงมรกตจำหลักลาย   ตาบทิศสร้อยสายสังวาลวรรณ
    สะอิ้งแก้วแววเลื่อมมุกดาหาร   ดวงประพาฬบานพับประดับถัน
    พาหุรัดทองกรมังกรพัน   ธำมรงค์เพชรกุดั่นพรายตา
    ทรงมหามงกุฎเนาวรัตน์   กรรเจียกจรจำรัสซ้ายขวา
    งามเพียงนางเทพกินรา   นวยนาดยาตรามาขึ้นรถ
        
                รถเอยรถทรง   งามองค์พระธิดาอลงกต
    งามแปรกแอกงอนอ่อนชด   งามช่อชั้นลดบัลลังก์ลอย
    งามทวยรวยรับหางหงส์   งามทรงบุษบกกระหนกห้อย
    งามมุขสุกวามอร่ามพลอย   งามยอดดั่งจะย้อยด้วยทองพราย
    งานสินธพเทียมทั้งสี่   งามสารถีขับเฉิดฉาย
    งามเครื่องสูงริ้วเป็นทิวราย   งามพวกกลองตะพายประโคมครึก
    งามแถวธงชายพรายสุวรรณ   งามเสียงกงลั่นก้องกึก
    งามทางหว่างไศลไพรพฤกษ์   งามพลแห่ฮึกเข้าดงดอน **
        
            คติความเชื่อเรื่องราชรถ จากการรวบรวมบทพรรณนาโวหารในวรรณคดีหลายเรื่อง ต่างเชื่อว่าราชรถมาจาก เทพเจ้าและเทพเป็นผู้สร้างขึ้น เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระอินทร์ถวายรถแก้วท้าวทศรถโดยสั่งให้มาตุลีเอา ราชรถไปส่งให้ท่าวทศรถซึ่งเปรียบเสมือนเป็นวงศ์ที่กำเนิดมาจากพระนารายณ์ และมาตุลีก็บันดาลให้เกิดราชรถตาม บัญชาของพระอินทร์
        
                เมื่อนั้น    หัสนัยน์เจ้าตรัยตรึงศา
    ครั้นเสร็จระบำก็ปรีดา   จึงมีบัญชาอันสุนทร
    มิเสียทีเป็นวงศ์พระจักรกฤษณ์   เรืองฤทธิ์ห้าวหาญชาญสมร
    สังหารอาธรรม์ม้วยมรณ์   ดับร้อนฝูงเทพเทวา
    จะปรากฏพระยศลือฤทธิ์   ชั่วพระจันทร์พระอาทิตย์ส่องหล้า
    ให้จำเริญสวัสดิ์ศวรรยา   ใต้ฟ้าอย่ามีใครต่อกร
    ตรัสแล้วสั่งองค์มาตุลี   จงเอารถมณีประภัสสร
    ไปส่งวงศืนารายณ์ฤทธิรอน   ถวายภูธรไว้ในธานีฯ
        
                เมื่อนั้น   พระมาตุลีเรืองศรี
    รับสั่งท้าวสุชัมบดี   ถวายอัญชุลีแล้วออกมา
        
                ครั้นถึงจึงบันดาลฤทธิ์   นิรมิตเพลาราชรัถา
    สอดใส่ดุมแก้วรจนา   เตรียมท่าเสด็จพระภูมี ***
        
            พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ กล่าวถึงความงามของราชรถไว้หลายตอน ดังนี้
            ตอนทศรถชวนมเหสีประพาสป่า
        
                ขึ้นยังรถทรงอลงการ    ให้เลกทวยหาญซ้ายขวา
    ออกจากทวารพารา   ไปตามมรรคาพนาวัน
        
                รถเอยรถมรกต   แอกงอนอ่อนชดฉายฉัน
    กงกำล้วนแก้วประกับกัน   ลดชั้นบัลลังก์อลงกรณ์
    จตุรมุขงามแม้นพิมานรัตน์   ครุฑอัดสิงห์หยัดไกรสร
    เทียมสินธพชาติอัสดร   บทจรย่างเยื้องกรีดกราย
    มยุรฉัตรพัดโบกสุพรรณพราย   ธงนำปลิวปลายสะบัดบน
    ปี่กลองฆ้องขานประสานกัน   แตรสนั่นกึกก้องกุลาหล
    โยธาเยียดยัดอึงอล   เร่งพลเร่งรถจรลี ****
        
            ตอนพระอินทร์ยกทัพรถบรณพักตร์ ม้าเทียมของราชรถองค์นี้เกิดจากเทวบุตร ๑,๐๐๐ องค์ แปลงกายเป็นม้า เทียมรถ
        
                รถเอยรถวิมาน   เวชไชยันต์ทิพยานสูงใหญ่
    กงกำล้วนแก้วแววไว   แอกอ่อนงอนไสวรูจี
    บัลลังก์ลดแก้วลายรายภาพ   บุษบกเก็จกาบมณีศรี
    เทียมด้วยเทพบุตรพาชี   พันหนึ่งล้วนมีฤทธิ์รอน
    พระมาตุลีขี่ขับสินธพ   เสี่ยงสนั่นลั่นภพไหวกระฉ่อน
    ธงทิพเจ็ดชายปักปลายงอน   จามรเครื่องสูงสลับกัน
    ฆ้องกลองแตรสังข์ประโคมขาน   อิสารอยู่หน้าพลขันธ์
    โบกธงเดินนำเป็นสำคัญ   โห่สนั่นลั่นฟ้าธาตรี *****
        
            ตอนอิทนรชิตเตรียมทัพ
        
                รถเอยรถศึก   แอกงอนพันลึกงามระหง
    กำแก้วสลับประดับกง   ธูปธารดุมวงอลงกรณ์
    บุษบกบัลลักงก์ลอยฟ้า   เทียมด้วยพระยาไกรสร
    สารถีมือถือโตมร   ธงปักปลายงอนโบกบน
    มยุรฉัตรอภิรุมชุมสาย   ธงริ้วทิวรายสับสน
    โยธียักเยื้องอึงอล   กาหลฆ้องกลองโครมครึก
    สำเนียงเสียงพลโห่ร้อง   เริงร่าลำพองคะนองศึก
    มืดกลุ้มชอุ่มควันพันลึก   ขับกันคึกคึกรีบมา ******
        
            ตอนทศกัณฐ์จัดทัพ
        
                รถเอยราชรถทรง    พิลึกล้ำกำกงอลงกต
    เรือนแปรกแอกงอนอ่อนชด   ชั้นลดช่อตั้งบัลลังก์ทอง
    เทียมโตสองพันชำนาญศึก   เริ่งร่านหาญฮึกเผ่นผยอง
    โลทันสันทัดในทำนอง   ขับคล่องรีบเร่งดั่งลมพัด
    พร้อมเครื่องอภิรุมชุมสาย   ธงชัยเก้าชายปลายสะบัด
    โยธาเบียดเสียดเยียดยัด   กวัดแกว่งอาวุธดั่งแสงไฟ
    เสียงฆ้องกลองประโคมโครมครึก   เสียงพลโห่ฮึกแผ่นดินไหว
    เร่งหมู่ม้ารถคชไกร   ออกจากพิชัยธานี *******

รถเอยรถทรง                    งอนระหงระเหิดเฉิดฉาย
              พระที่นั่งบัลลังก์แก้วแพรวพราย                  แท่นท้ายบุษบกกนกเกริน
              เทียมอัศวราชผาดผยอง                                  ดังจะล่องลอยฟ้าเวหาเหิน
              ธงหน้านำพหลพลเดิน                     ข้ามเนินมุ่งหน้ามาตรง ฯ
อินทรชิตแผงศรนาคบาศ
อินทรชิตยกทัพไปรบกับหนุมานว่า
 
                รถเอยรถศึก   แอกงอนพันลึกงามระหง
    กำแก้วสลับประดับกง   ธูปธารดุมวงอลงกรณ์
    บุษบกบัลลังก์ลอยฟ้า   เทียมด้วยพญาไกรสร
    สารถีมือถือโตมร   ธงปักปลายงอนโบกบน
    มยุรฉัตรอภิรุมชุมสาย   ธงริ้วทิวรายสับสน
    โยธียักเยื้องอึงอล   กาหลฆ้องกลองโครมครึก
    สำเนียงเสียงพลโห่ร้อง   เริงร่าลำพองคะนองศึก
    มืดคลุ้มชอุ่มควันพันลึก   ขับกันคึกคึกรีบมาฯ
        
            สำหรับราชรถของพระรามนั้นก็ได้บรรยายไว้เช่นกัน และเรียกราชรถว่า พิชัยรถ
        
                รถเอยรถแก้ว   เพริศแพรวกำกงอลกต
    แอกงอนอ่อนสลวยซวยซด   เครือขดซ่อตั้งบัลลังก์ลอย
    รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน   สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
    ดุมเพลาวาววับประดับพลอย   แปรกแก้วกาบซ้อยสะบัดบัง
    เทียมด้วยสินธพเทพบุตร   ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์
    มาตุลีขับโผนด้วยกำลัง   รี่เรื่อยเร็วดั่งลมพัด
    เครื่องสูงมยุรฉัตรชุมสาย   ธงฉานธงชายปลายสะบัด
    กาหลพลแห่เหยียดยัด    ขนัดฆ้องกลองประโคมโครมครึก
    โยธาโลดโผนโจนทะยาน   เริงร่าลำพองคะนองศึก
    เสียงสะเทือนเลื่อนลั่นพันลึก   คึกคึกรีบข้ามชลธี
สำหรับราชรถของทศกัณฐ์มีบรรยายว่า
        
                รถเอยราชรถทรง    แก้วสลับประกับกงอลงกต
    แอกซ้อยซานงอนอ่อนชด   ชั้นลดภาพล้อมบัลลังก์ลอย
    สี่มุขงามแม้นพิมานมาศ   เครือหงส์สิงหาสน์ช่อห้อย
    ดุมเพลาแสงพลามอร่ามพลอย   กาบช้อยแก้วช่วงอรชร
    เทียมสัตว์จัดสวรรค์ราชสีห์    เกศาล้วนมีเกสร
    สารถีมือถือโตมร   ขับเผ่นอัมพรดั่งลมพัด
    เครื่องสูงบังแทรกชุมสาย   ธงฉานธงชายกระชิงฉัตร
    กาหลพลแห่เยียดยัด   เป็นขนัดกลาดแน่นอึงอล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 มี.ค. 11, 15:21
คำถามข้อที่  ๙๐.

ขอตอบค่ะ
1. ราชรถศึก ของ อินทรชิต ตอน ศึกอินทรชิต
2. ราชรถศึก ของ ทศกัณฑ์ ตอน ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภกเพราะส่งพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด
3. ราชรถ ของ ท้าวทศรถ ตอน เหรันต์ทูต
4. ราชรถ ของ พระอินทร์  ตอน พระอินทร์ยกทัพรบรณพักตร์
5. ราชรถศึก ของ ท้าวจักรวรรดิ ตอน รบกับพระพรต
6.ราชรถ ของ พระลักษณ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ
7.ราชรถ ของ ทศกัณฑ์ ตอน ลักสีดา
8.ราชรถ ของ ทศกัณฑ์ ตอน ทศกัณฑ์ประพาสป่าฝากเมืองไว้กับชิวหา
9. ราชรถ ของ พระพรต และพระสัตรุด ตอน พระรามเสี่ยงม้า
10.ราชรถ ของท้าวมาลีวราช ตอน ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์

เรียงลำดับ : 3-8-7-6-1-4-2-5-10-9


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 มี.ค. 11, 15:49
คำสั่ง   จงค้นหาว่า รถทั้ง ๑๐ คันนี้ ใครเป็นคนขี่รถตามบทพรรณนา
และอยู่ในตอนใด  เมื่อตอบได้ครบว่า เป็นรถที่ใครขี่  อยู่ตอนใดแล้ว
ให้เรียงลำดับก่อนหลังรถโจทย์แต่ละคันตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑
(เอาเฉพาะตัวเลขข้อมาเรียง)

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.เป็นต้นไป
อนุญาตให้ตอบว่า  ใครเป็นคนขี่รถตามบทพรรณนา
และอยู่ในตอนใดก่อนได้  โดยยังไม่ต้องเรียงลำดับ
แต่ต้องตอบครั้งแรกให้ครบทั้งหมด  ๑๐  ข้อ  ไม่ครบไม่ตรวจ
ถ้าตอบผิดให้ตอบใหม่เฉพาะข้อที่ผิด   ข้อใดมีคนตอบถูกแล้ว
ใครมาตอบซ้ำอีก ไม่ให้คะแนน (ยกเว้นครั้งแรกของการตอบแต่ละคน)


ด้วยความเคืองใต้ถุน เอ้ย... ใต้เท้า
ที่หลอกให้หาเจ้าของรถอยู่นาน ไม่พูดพล่ามแล้ว ตอบเลย :o
เจ้าของรถ และรถอยู่ในตอนไหน

1. สุริยาภพ ตอนยกทัพรบกับพระพรต (สำนวนรัชกาลที่ 1)
2. ทศกัณฐ์ ตอนยกทัพรบกับพระลักษณ์ หลังพิธีชุบหอกกบิลพัท (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)
3. พระราม ตอนพระรามยกทัพถึงกรุงลงกา (สำนวนกรุงศรีอยุธยา)
4. พระอินทร์ ตอนยกทัพรบกับรณพักตร์ (สำนวนรัชกาลที่ 1)
5. ท้าวจักรวรรดิ ตอนยกทัพรบกับพระพรต (สำนวนรัชกาลที่ 1)
6. พระลักษณ์ ตอนยกทัพรบกับหนุมาน (สำนวนรัชกาลที่ 2)
7. สหัสเดชะ ตอนยกทัพไปกรุงลงกา (สำนวนรัชกาลที่ 2)
8. ท้าวคนธรรพ์ ตอนยกทัพประพาสอุทยาน (สำนวนรัชกาลที่ 1)
9. พระพรต ตอนยกทัพมาเฝ้าพระรามในพิธีปล่อยม้าอุปการ (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)
10. ท้าวมาลีวรราช ตอนยกทัพมาตัดสินคดีความของทศกัณฐ์และพระราม (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)

เรียงลำดับเหตุการณ์ตามหมายเลขดังนี้

4-3-7-10-2-6-1-5-9-8


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 16:27
นักรบตอบมาแล้วแต่เรายังไม่ตรวจ
เพราะเพิ่งจะออกจากห้องประชุมนาน ๕ ชั่วโมงมา


เพื่อไม่ให้นักรบเหงาใจ  เราจึงมีคำถามข้อที่  ๙๑.
มาโจมตีนักรบไม่ให้ตั้งตัวติด  ดังนี้

คำถามข้อที่ ๙๑

คำถามนี้ส่งมาจากเด็กปักษ์ใต้   ชื่อ  ไข่นุ้ย
ถามว่า  รู้จักแทงศาสตราไหม  ถ้าไม่รู้บอกให้ก็ได้

"แทงศาสตรา  แปลว่า  การเสี่ยงทายของคนไทยถิ่นใต้ดั่งเดิม
โดยอธิษฐานแล้วใช้ไม้มีรูปร่างคล้ายพระขรรค์เล็กๆ
เสียบเข้าไปในหนังสือทำนายโชคชะตา เข้าไปหน้าไหน
ก็ให้อ่านคำทำนายหน้านั้น"

ศาสตราเล่มสำคัญที่อ้างถึงกันมาก  คือ ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง
ศาสตราเล่มนี้มีภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ  อยู่ จำนวน ๑๕  ภาพ
เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใดบ้าง  และแต่ละภาพมีคำพยากรณ์กำกับไว้ว่าอย่างไร


ส่งคำตอบหน้าม่าน  ก่อนเวลาพระอาทิตย์ขึ้นวันพรุ่งนี้ (๑๘  มีนาคม ๒๕๕๔)
พ้นเวลาที่กำหนดแล้ว  คะแนนเต็ม  ๓๐  คะแนน  จะหดเหลือ  ๑๕  คะแนน
และถ้าพ้นเวลาเที่ยงตรงของวันศุกร์ที่ ๑๘  มีนาคมไปแล้ว  
คะแนนเต็มจะหดเหลือ  ๕  คะแนน

ขอให้ตอบกัน หรอยจังฮู้   ;D ;D ;D




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 16:35
ตรวจของคุณอาร์ทก่อน

1. สุริยาภพ ตอนยกทัพรบกับพระพรต (สำนวนรัชกาลที่ 1)/
2. ทศกัณฐ์ ตอนยกทัพรบกับพระลักษณ์ หลังพิธีชุบหอกกบิลพัท (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)/
3. พระราม ตอนพระรามยกทัพถึงกรุงลงกา (สำนวนกรุงศรีอยุธยา)/
4. พระอินทร์ ตอนยกทัพรบกับรณพักตร์ (สำนวนรัชกาลที่ 1)/
5. ท้าวจักรวรรดิ ตอนยกทัพรบกับพระพรต (สำนวนรัชกาลที่ 1)/
6. พระลักษณ์ ตอนยกทัพรบกับหนุมาน (สำนวนรัชกาลที่ 2)/
7. สหัสเดชะ ตอนยกทัพไปกรุงลงกา (สำนวนรัชกาลที่ 2)/
8. ท้าวคนธรรพ์ ตอนยกทัพประพาสอุทยาน (สำนวนรัชกาลที่ 1)/
9. พระพรต ตอนยกทัพมาเฝ้าพระรามในพิธีปล่อยม้าอุปการ (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)/
10. ท้าวมาลีวรราช ตอนยกทัพมาตัดสินคดีความของทศกัณฐ์และพระราม (สำนวนพระเจ้ากรุงธนบุรี)/

เรียงลำดับเหตุการณ์ตามหมายเลขดังนี้

4/-3/-7/-10/-2/-6/-1/-5/-9/-8/

เอาไปเต็มๆ  ๓๐  คะแนน :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 16:41
คุณดีดีตอบมา

1. ราชรถศึก ของ อินทรชิต ตอน ศึกอินทรชิตX
2. ราชรถศึก ของ ทศกัณฑ์ ตอน ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภกเพราะส่งพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด /
3. ราชรถ ของ ท้าวทศรถ ตอน เหรันต์ทูตX
4. ราชรถ ของ พระอินทร์  ตอน พระอินทร์ยกทัพรบรณพักตร์ /
5. ราชรถศึก ของ ท้าวจักรวรรดิ ตอน รบกับพระพรต/
6.ราชรถ ของ พระลักษณ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ/ ๑ คะแนน
7.ราชรถ ของ ทศกัณฑ์ ตอน ลักสีดาX
8.ราชรถ ของ ทศกัณฑ์ ตอน ทศกัณฑ์ประพาสป่าฝากเมืองไว้กับชิวหาX
9. ราชรถ ของ พระพรต และพระสัตรุด ตอน พระรามเสี่ยงม้า / ๑ คะแนน
10.ราชรถ ของท้าวมาลีวราช ตอน ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์ /

เรียงลำดับ : 3X-8X-7/-6X-1X-4X-2X-5/-10X-9X

ได้  ๑๒  คะแนน ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มี.ค. 11, 16:47
คุณไซมีสตอบมา


๑.เป็นของอินทรชิตครับ ก็ควรจะเป็นตอนศึกอินทรชิตX
๒. บทชมราชรถศึกของทศกัณฐ์ คราวศึกเปาวนาสูร จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน /๑ คะแนน
๓.  X
๔.ตอนพระอินทร์ยกทัพรถบรณพักตร์ ม้าเทียมของราชรถองค์นี้เกิดจากเทวบุตร ๑,๐๐๐ องค์ แปลงกายเป็นม้า เทียมรถ/
๕.บทชมราชรถศึกของท้าวจักรวรรดิ์/ ๑ คะแนน
๖.รถพระลักษณ์ ต้องเป็นสำนวนในรัชกาลที่ ๒ แน่เลย เนื่องจาก "รถเอยรถทรง ดุมวงเฉวียนฉวัดผัดผัน" พบในเรื่องอิเหนา ชมรถอุณากรรณ /๑ คะแนน
๗.รถท้าวชนก ตอนแห่ขบวนนางสีดาเข้ากรุง X
๘.รถของพระลบและพระมงกุฎ X
๙.รถของพระพรต ตอนพระมงกุฏอยู่ป่า จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน /
๑๐.ตอนท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์ จากบทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน/

ได้ไป ๙ คะแนน :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 11, 08:44
นักรบตอบมาแล้วแต่เรายังไม่ตรวจ
เพราะเพิ่งจะออกจากห้องประชุมนาน ๕ ชั่วโมงมา


เพื่อไม่ให้นักรบเหงาใจ  เราจึงมีคำถามข้อที่  ๙๑.
มาโจมตีนักรบไม่ให้ตั้งตัวติด  ดังนี้

คำถามข้อที่ ๙๑

คำถามนี้ส่งมาจากเด็กปักษ์ใต้   ชื่อ  ไข่นุ้ย
ถามว่า  รู้จักแทงศาสตราไหม  ถ้าไม่รู้บอกให้ก็ได้

"แทงศาสตรา  แปลว่า  การเสี่ยงทายของคนไทยถิ่นใต้ดั่งเดิม
โดยอธิษฐานแล้วใช้ไม้มีรูปร่างคล้ายพระขรรค์เล็กๆ
เสียบเข้าไปในหนังสือทำนายโชคชะตา เข้าไปหน้าไหน
ก็ให้อ่านคำทำนายหน้านั้น"

ศาสตราเล่มสำคัญที่อ้างถึงกันมาก  คือ ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง
ศาสตราเล่มนี้มีภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ  อยู่ จำนวน ๑๕  ภาพ
เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใดบ้าง  และแต่ละภาพมีคำพยากรณ์กำกับไว้ว่าอย่างไร


ส่งคำตอบหน้าม่าน  ก่อนเวลาพระอาทิตย์ขึ้นวันพรุ่งนี้ (๑๘  มีนาคม ๒๕๕๔)
พ้นเวลาที่กำหนดแล้ว  คะแนนเต็ม  ๓๐  คะแนน  จะหดเหลือ  ๑๕  คะแนน
และถ้าพ้นเวลาเที่ยงตรงของวันศุกร์ที่ ๑๘  มีนาคมไปแล้ว  
คะแนนเต็มจะหดเหลือ  ๕  คะแนน

ขอให้ตอบกัน หรอยจังฮู้   ;D ;D ;D




นั่งหาทั้งคืนไม่มีข้อมูลอันใดให้ค้นคว้าและมาตอบหน้าม่านได้เลย ชะรอยข้อนี้จำต้องหลบรี้หนีค่าย เสียกระมัง  ::) ถ้าจะใจดีเฉลย นำภาพของเก่าของโบราณมาให้ชมก็เป็นบุญตาแท้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 มี.ค. 11, 08:49
อย่างคุณไซมีสว่า

ถ้าไม่มีตำรับตำราก็ตอบไม่ได้หรอก

ตัวหนังสือนั้นรู้ชื่อรู้เล่มรู้แหล่ง แต่หาจะใครมี
(นอกจากผู้ถาม) เล่า  ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 มี.ค. 11, 09:32
ขออนุญาตหัวเราะเล็กๆ  พอเป็นงาม  หุหุหุ
 ;D

แต่ยังไม่เฉลยหรอก  จนกว่าจะพ้นเที่ยงวันวันนี้
นักรบในกระทู้ออกจะสามารถเหลือหลาย
ยากกว่ายากก็ยังตอบได้มาตั้งหลายข้อ

กระชิบให้ทราบว่า  ข้อที่ ๙๑ - ๑๐๐
คำถามจะยากสุดๆ  ชนิดที่ต้องร้องอู้หูกันทีเดียว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 11, 10:09
ขออนุญาตหัวเราะเล็กๆ  พอเป็นงาม  หุหุหุ
 ;D

แต่ยังไม่เฉลยหรอก  จนกว่าจะพ้นเที่ยงวันวันนี้
นักรบในกระทู้ออกจะสามารถเหลือหลาย
ยากกว่ายากก็ยังตอบได้มาตั้งหลายข้อ

กระชิบให้ทราบว่า  ข้อที่ ๙๑ - ๑๐๐
คำถามจะยากสุดๆ  ชนิดที่ต้องร้องอู้หูกันทีเดียว

เอาให้ยากได้ แต่อย่าให้เกินงามนะขอรับ เดี๋ยวจักรนั้นจักย้อนศร :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 มี.ค. 11, 08:19
เฉลย
 

คำถามข้อที่ ๙๑

คำถามนี้ส่งมาจากเด็กปักษ์ใต้   ชื่อ  ไข่นุ้ย
ถามว่า  รู้จักแทงศาสตราไหม  ถ้าไม่รู้บอกให้ก็ได้

"แทงศาสตรา  แปลว่า  การเสี่ยงทายของคนไทยถิ่นใต้ดั่งเดิม
โดยอธิษฐานแล้วใช้ไม้มีรูปร่างคล้ายพระขรรค์เล็กๆ
เสียบเข้าไปในหนังสือทำนายโชคชะตา เข้าไปหน้าไหน
ก็ให้อ่านคำทำนายหน้านั้น"

ศาสตราเล่มสำคัญที่อ้างถึงกันมาก  คือ ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง
ศาสตราเล่มนี้มีภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ  อยู่ จำนวน ๑๕  ภาพ
เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใดบ้าง  และแต่ละภาพมีคำพยากรณ์กำกับไว้ว่าอย่างไร

.....................................................
ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง  เดิมเป็นสมบัติของนายสวน  บัวมาศ
อาศัยอยู่ที่ หมู่ที่ ๔  ตำบลเขารูปช้าง  อำเถอเมืองสงขลา  จังหวัดสงขลา
ศาสตราเล่มนี้ เป็น บุดขาว  มีภาพวาดทั้งหมด  ๖๓  ภาพ  ภาพเหล่านี้
มีทั้งที่เป็นวรรณคดีไทย ได้แก่  รามเกียรติ์  พระลอ  พระเวสสันดรชาดก  
สังข์ทอง   กฤษณาสอนน้อง  พระสุธนมโนห์รา  ไกรทอง   ไตรภูมิ
พระมหาชนกชาดก   จันทโครพ  พระมาลัย  และพระรถเมรี  และ
ที่เป็นนิทาน

ภาพที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ในศาสตราเล่มนี้ มี ๑๕  ภาพดังนี้

๑.ภาพนางเบญกายแปลง   คำพยากรณ์ว่า  พระเคราะห์ร้ายนักหนา  จะเจ็บไข้ไม่สบาย

๒.ภาพควายทรพีวัดรอยเท้าบิดา   คำพยากรณ์ว่า  ผู้นั้นจะมีจิตใจกล้าแข็ง
ไม่เกรงกลัวพ่อแม่   ดื้อรั้น  ไม่รู้จักบุญคุณผู้มีพระคุณ

๓.ภาพพระชนกฤาษีแรกนาพบผอบนางสีดา   เอามาเลี้ยงไว้เป็นลูก   คำพยากรณ์ว่า
ผู้ใดแทงศาสตราถูกภาพนี้  จะอาภัพพ่อแม่และพี่น้อง   ญาติพี่น้องกลายเป็นศัตรู
แต่จะเป็นผู้มีบุญวาสนา  มีคู่ครองเป็นคนสกุลสูง

๔.ภาพพาลีสู้กับทรพี  คำพยากรณ์ว่า  ชะตาร้าย   พี่น้องจะหาทุกข์มาให้  จะประสบภัยพิบัติ

๕.ภาพนางมณโฑครองเมือง  คำพยากรณ์ว่า  ได้หลุดพ้นความขัดเคือง  เป็นสุข  
ชะตาดีพอประมาณ  จะมีคู่ครองหลายคน

๖.ภาพพิเภกถูกขับ   คำพยากรณ์ว่า  ต้นร้ายปลายดี  เป็นคนมีปัญญาสูง  
อาสาเจ้านายดี  แต่จะไร้ญาติพี่น้อง



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 มี.ค. 11, 08:34
๗.ภาพพระรามตามกวาง   คำพยากรณ์ว่า   จะถูกหลอกลวง   มักเสียของรัก   มักเกิดทะเลาะวิวาท
พระเคราะห์นี้ร้ายนัก

๘.ภาพสำมนักขาถูกตัดมือตัดเท้า   คำพยากรณ์ว่า  มีเคราะห์ร้าย   จะต้องโทษ   เจ็บไข้ได้ป่วย
จะแพ้คดีความ

๙.ภาพควายทรพีได้บริวาร   คำพยากรณ์ว่า  เมื่อยังน้อยลำบาก   อาภัพบิดา 
จะมีคู่ครองหลายคน   จะชนะคดีความ  ค้าขายได้กำไร    และได้ลาภ

๑๐.ภาพนกสดายุต้องแหวนนางสีดา   คำพยากรณ์ว่า   จะได้โทษเพราะปากตนเอง 
ชะตาชีวิตต้นร้ายปลายดี   ควรรู้จักสำรวมวาจา

๑๑.ภาพพระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์   คำพยากรณ์ว่า   เมื่อน้อยอาภัพ   มาเติบโตขึ้นจะได้ดี
ต้องเจ้บไข้ได้ป่วยจากอุบัติเหตุ   ให้ระวังมือเท้าจะได้รับอันตราย

๑๒.ภาพสุครีพถูกขับออกจากเมืองขีดขินไปนั่งร้องไห้จนขี้ตาสูงเป็นจอมปลวก
คำพยากรณ์ว่า  จะมีเคราะห์ร้าย  มักขัดใจด้วยพี่น้อง   จะเสียของรัก  ต้นร้ายปลายดี

๑๓.ภาพหนุมานเผากรุงลงกาแล้วหางติดไฟ  ดับไม่ได้   คำพยากรณ์ว่า  ชะตาอาภัพ
ทำคุณมักได้โทษ   พระเคราะห์ร้าย  แต่เอาดีได้ด้วยปัญญาและบุญวาสนาของตนเอง

๑๔.ภาพสุครีพได้ครองเมือง  คำพยากรณ์ว่า   จะทะเลาะวิวาทกับญาติพี่น้อง 
เกณฑ์ชีวิตต้นร้ายปลายดี   มีผู้ช่วยชูชุบอุปถัมภ์  เป็นคนมีบุญ   
และจะพ้นทุกข์เพราะวาสนาตนเอง

๑๕.ภาพทศกัณฑ์ลักนางสีดา  คำพยากรณ์ว่า  ชีวิตจะลำบากเมื่อตอนเด็ก   
ต้องพลัดพรากจากบิดามารดา  มีคู่ครองต่างเมือง   จะได้ดีเพราะสามี   
ชอบแต่งตัว   หลงเชื่อผู้อื่นง่าย   ชีวิตจะพบสุขและทุกข์พอๆ กัน

จากหนังสือ  รามเกียรติ์กับวรรณกรรมในท้องถิ่นภาคใต้
ฉันทัส  ทองช่วย  แต่ง   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 11, 08:38
ขอบคุณ คุณหลวงเล็กมากครับที่เฉลยทั้ง ๑๕ ภาพให้รับทราบโดยทั่วกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 มี.ค. 11, 08:52
คำถามข้อที่  ๙๒.

คำศัพท์ต่อไปนี้เป็นคำที่ใช้ในการแสดงโขน
แต่ละคำมีความหมายและรายละเอียดอย่างไร
จงอธิบาย มีภาพประกอบด้วยยิ่งดี

๑.สามเส้า

๒.สามจับ

๓.จับสามเส้า

๔.ลอย

๕.รบ/ไม้ ๒ /ไม้ ๔

๖.พลาด/หนีฉาก

๗.เก้ง

๘.เสี้ยว

๙.กระทืบกลับ

๑๐.กระทืบฟัน

๑๑.อันทพา/พาสุริน

๑๒.ฉะน้อย/ฉะใหญ่/ปาดเข่า

๑๓.เต้นเสือลากหาง

๑๔.โคมสามใบ

๑๕.ผ่าหมาก

กติกา   ให้เลือกทำ  ๕ ข้อ  ข้อละ  ๓ คะแนน
เลือกทำซ้ำข้อได้  แต่คนที่เลือกที่หลังแล้วตอบถูก
จะได้ข้อละ ๑ คะแนน   ตอบที่หน้าม่าน
ตั้งแต่  เวลา  ๑๐.๓๐  น.  จนถึง  เวลา  ๑๑.๓๐  น.
ตอบก่อนและตอบหลังเวลาที่กำหนด  คะแนนเหลือข้อละ ๑ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 มี.ค. 11, 10:12
คำถามข้อที่  ๙๒.

คำศัพท์ต่อไปนี้เป็นคำที่ใช้ในการแสดงโขน
แต่ละคำมีความหมายและรายละเอียดอย่างไร
จงอธิบาย มีภาพประกอบด้วยยิ่งดี

๒.สามจับ

๔.ลอย

๙.กระทืบกลับ

๑๐.กระทืบฟัน

๑๑.อันทพา/พาสุริน

กติกา   ให้เลือกทำ  ๕ ข้อ  ข้อละ  ๓ คะแนน
เลือกทำซ้ำข้อได้  แต่คนที่เลือกที่หลังแล้วตอบถูก
จะได้ข้อละ ๑ คะแนน   ตอบที่หน้าม่าน
ตั้งแต่  เวลา  ๑๐.๓๐  น.  จนถึง  เวลา  ๑๑.๓๐  น.
ตอบก่อนและตอบหลังเวลาที่กำหนด  คะแนนเหลือข้อละ ๑ คะแนน

มีราชการปลายแดน หาเวลาตรงตามใต้เท้ากำหนดมิได้
นาฏยศัพท์ข้อละคะแนนเดียวก็ยังดี

๒.สามจับ
ใช้ในตอนสุครีพถอนต้นรัง ท่านี้เป็นท่าที่ยักษ์และลิงคือสุครีพ กุมภกรรณ และหนุมาน จับกันสามตัว
(กุมภกรรณจับสุครีพ หนุมานมาจับกุมภกรรณ)

๔.ลอย
ท่านี้คือท่าที่เรียกว่าท่าจับ แต่จับกันแล้วก็มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ลอยด้านบน แสดงว่าได้เปรียบ ส่วนด้านล่างแสดงว่าเสียเปรียบ
เช่น พระรามจับทศกัณฐ์ พระรามอยู่ลอยบนด้าน ทศกัณฐ์เป็นฐานให้พระรามลอย ฉะนี้

๙.กระทืบกลับ
มีคำอธิบายว่า "สูดเท้ายกเท้าซ้ายติด แล้วย้อนขึ้นไปทางหน้าอัด วางเท้าซ้ายขวาสลับจากช้าไปหาเร็ว สองมือจับผ้า ยกเท้าขวาติด"
คือการเดินของยักษ์และลิงนั่นเอง

๑๑.อันทพา/พาสุริน
ท่านี้เป็นท่าคือลิงตีลังกานั่นเอง อันทพา คือการม้วนหน้า พาสุรินคือการตีลังกาแบบล้อเกวียน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 11, 10:30
คำถามข้อที่  ๙๒.

คำศัพท์ต่อไปนี้เป็นคำที่ใช้ในการแสดงโขน
แต่ละคำมีความหมายและรายละเอียดอย่างไร
จงอธิบาย มีภาพประกอบด้วยยิ่งดี

๔.ลอย

๘.เสี้ยว

๙.กระทืบกลับ

๑๐.กระทืบฟัน

๑๑.อันทพา/พาสุริน


กติกา   ให้เลือกทำ  ๕ ข้อ  ข้อละ  ๓ คะแนน
เลือกทำซ้ำข้อได้  แต่คนที่เลือกที่หลังแล้วตอบถูก
จะได้ข้อละ ๑ คะแนน   ตอบที่หน้าม่าน
ตั้งแต่  เวลา  ๑๐.๓๐  น.  จนถึง  เวลา  ๑๑.๓๐  น.
ตอบก่อนและตอบหลังเวลาที่กำหนด  คะแนนเหลือข้อละ ๑ คะแนน

๔.ลอย เป็นนาฏยศัพท์ที่หมายถึงการแบก ต้องใช้พลังขามาก โดยท่าพื้นฐานต้องเต้นเสาเพื่อฝึกกำลังไว้ เช่น ยกตัวอย่างการขึ้นลอยของลิง ต้องเหยียบตัวยักษ์ ซึ่งจะมีอยู่หลักๆ ๒ ท่า
- ท่าลอยที่หนึ่ง เมื่อยักษ์เข้าตีสองครั้งแล้วย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าซ้ายเหยียบที่หน้าขาด้านซ้ายของฝ่ายยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปยืนบนขายักษ์ ตึงเข่าซ้าย ยกขวาหนีบน่อง มือขวาทำท่าเงื้อ
-ท่าลอยสอง เมื่อฝ่ายยักษ์เข้าตีสองครั้งย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าขวาเหยียบที่หน้าขาซ้ายของยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปบนขายักษ์ ตึงเข่าขวา ขาซ้ายเหยียบที่ต้นแขนขวายักษ์

๘. กระดกเสี้ยว  คล้ายกระดกหลัง แต่ย้ายลำขามาไว้ข้าง ๆตรงระดับไหล่ กระดกส้นเท้าให้ฝ่าเท้าหงายอยู่ข้างตัว กันเข่าห่างออกไปจากเข่าที่ยืนอยู่ ที่เรียกว่ากระดกเสี้ยว ก็เพราะอาการกระดกเหมือนกัน แต่มิได้อยู่ข้างหลัง ด้วยย้ายส่วนขาที่กระดกมาข้าง ๆ จึงเรียกกระดกเสี้ยว เช่น ท่ารำเมขลาล่อแก้ว

๙.ท่ากระทืบกลับ มีหลักการปฏิบัติดังนี้
-ยกเท้าขวากระทืบพื้น ๑ ครั้ง พร้อมกับมือทั้ง ๒ จีบคว่ำบริเวณหน้าขา หน้ามองด้านซ้าย
-ยกเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางลงตำแหน่งเดิม พร้อมกับปล่อยจีบออกหงายมือ
-ยกเท้าขวาขึ้นวางไปด้านขวา เฉียง ๔๕ องศา หลบเข้าซ้าย ตั้งเข่าขวา พลิกมือมาตั้งวงล่าง (แบมือ) หน้าสะบัดกลับมามองทางขวา เอียงซ้าย ลำตัวตั้งตรง เปิดปลายคาง ตามองไกล

๑๐ ท่ากระทืบฟัน เป็นท่ารำของทางฝ่ายลิง ซึ่งเป็นท่าต่อเนื่องจากท่าฉะใหญ่ คือ การยกเท้าขวากระทืบลงพื้น ๑ ครั้ง มือขวายังยกข้อศอกระดับหัวไหล่อย่างเดิม

๑๑.อันทพา/พาสุริน ใช้สำหรับฝึกหัดเป็นตัวลิง  เป็นท่าโลดโผนสำหรับการแสดงออกตามลักษณะที่เป็นธรรมชาติของลิง เป็นส่วนหนึ่งของท่าหกคะเมนโดยยืนในท่าตรง  ใช้ฝ่ามือทั้งสองของตนยันกับพื้น  ต่อจากนั้นจึงค่อยยกเท้าทั้งสองขึ้นไปในอากาศ  แล้วหกเท้าลงข้างหลังหรือข้างหน้า
ท่าหกคะเมนมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้
๑.หกคะเมนหงายไปข้างหลัง  เรียกว่า “ตีลังกาหกม้วน”
๒.หกคะเมนไปข้างหน้า เรียกว่า “อันธพา”
๓.หกคะเมนไปข้าง ๆ เรียกว่า “พาสุริน”


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 11, 10:31
.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 11, 10:33
..


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 มี.ค. 11, 18:45
เอ๊ะๆๆ...
นางสุวรรณกันยุมาช่างขี้ฟ้องนัก :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 08:15
คุณสองคนนี่เล่นอะไร  เป็นเด็กๆ ไปได้   
คนหนึ่งก็ขยันฟ้อง  คนหนึ่งก็ขี้เล่น 
แต่ก็ดี   คลายเครียดได้มาก

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 11:15
คำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร
และมีบทบาทอยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด 
จึงเล่าเรื่องตอนนั้นมาโดยละเอียด
พร้อมระบุเอกสารที่ใช้ในการตอบ

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน  ราคาข้อนี้  ๑๕ คะแนน 
(ตอบคำถาม ๕ คะแนน  เล่าเรื่อง  ๑๐ คะแนน)
ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๑.๒๐ น.
จนถึงเที่ยงคืนวันนี้   พ้นนี้คะแนนจะลดลงเหลือ  ๑๐  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 11, 11:28
คำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร


รบกวนยกตัวอย่างกระจ่างแจ้ง ช่วยสำแดง "พี่เลี้ยง" กระจ่างผล
จะหมายถึงพี่เลี้ยงดูหรือแม่นม      อันฟูมฟัก
หรือพี่เลี้ยงมุ่งหมาย กระทำศึก
รบกวนขอเมตตาขยายความนึก  จะได้นึกถึงคำตอบเทอญ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 11:30
พี่เลี้ยงก็คือพี่เลี้ยง  หาใช่แม่นมไม่
 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 มี.ค. 11, 15:06
อ้างถึง
ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๑.๒๐ น.
จนถึงเที่ยงคืนวันนี้   พ้นนี้คะแนนจะลดลงเหลือ  ๑๐  คะแนน

คำถามก็ยากแล้ว เวลาก็ให้น้อย แล้วยังมีหักคะแนนตอบช้าด้วย.... :-X :-X :-X

นี่แหละ เสน่ห์ของคุณหลวงเล็ก....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 15:23
อ้างถึง
ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๑.๒๐ น.
จนถึงเที่ยงคืนวันนี้   พ้นนี้คะแนนจะลดลงเหลือ  ๑๐  คะแนน

คำถามก็ยากแล้ว เวลาก็ให้น้อย แล้วยังมีหักคะแนนตอบช้าด้วย.... :-X :-X :-X

นี่แหละ เสน่ห์ของคุณหลวงเล็ก....

นั่นเขาเรียกว่า เสน่ห์  หรือครับ  โอ้  ผมไม่รู้จริงๆ นะเนี่ย
ถ้ารู้อย่างนี้   ผมจะต้องคำถามแนวนี้ตั้งแต่ข้อแรกไปแล้ว
(แล้วจะมีใครกล้ามาเล่นกระทู้นี้ไหมเนี่ย :()


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 มี.ค. 11, 15:32
คำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร
และมีบทบาทอยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  
จึงเล่าเรื่องตอนนั้นมาโดยละเอียด
พร้อมระบุเอกสารที่ใช้ในการตอบ

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน  ราคาข้อนี้  ๑๕ คะแนน  
(ตอบคำถาม ๕ คะแนน  เล่าเรื่อง  ๑๐ คะแนน)
ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๑.๒๐ น.
จนถึงเที่ยงคืนวันนี้   พ้นนี้คะแนนจะลดลงเหลือ  ๑๐  คะแนน


คำถามข้อนี้
ช่างยากแท้หยั่งถึง :o
ลึกล้ำยิ่งกว่ามหานทีสีทันดร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:03
คำถามข้อนี้
ช่างยากแท้หยั่งถึง :o
ลึกล้ำยิ่งกว่ามหานทีสีทันดร

ไม่มัวมาสรรเสริญเยินยอคำถามว่ายากอย่างนั้นอย่างนี้เลย
หาคำตอบมาตอบไม่ได้ก็ว่าเถิด   นึกว่าไม่รู้หรือ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 มี.ค. 11, 16:11
ถ้าดูจากเนื้อเรื่องเนื้อความแล้ว ให้เดามันก็พอได้ แต่ไม่รู้ถูกหรือเปล่า
เอกสารอ้างอิงมันก็ไม่มี
ใครกันจะเขียนโต้งๆ ว่าพี่เลี้ยงของอินทรชิตชื่ออะไรบ้าง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 11, 16:12
คำถามข้อนี้
ช่างยากแท้หยั่งถึง :o
ลึกล้ำยิ่งกว่ามหานทีสีทันดร

ไม่มัวมาสรรเสริญเยินยอคำถามว่ายากอย่างนั้นอย่างนี้เลย
หาคำตอบมาตอบไม่ได้ก็ว่าเถิด   นึกว่าไม่รู้หรือ


ใช่ๆ คุณอาร์ท พาลงไปยังห้วงมหานทีสีทันดร เราก็หายังห้วงนภากาศ เจอแต่หมู่ดาว ไร้เรื่องพี่เลี้ยงสักนิด ข้อนี้ช่างยากจริงหนอ  ??? แต่ก็ยังดีเนาะ ไม่ถามว่า พี่เลี้ยงใส่ผ้านุ่งโจงสีอะไร  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:14
ใช่ๆ คุณอาร์ท พาลงไปยังห้วงมหานทีสีทันดร เราก็หายังห้วงนภากาศ เจอแต่หมู่ดาว ไร้เรื่องพี่เลี้ยงสักนิด ข้อนี้ช่างยากจริงหนอ  ??? แต่ก็ยังดีเนาะ ไม่ถามว่า พี่เลี้ยงใส่ผ้านุ่งโจงสีอะไร  :P

อ้าว  มาจับทางได้เสียแล้ว   นี่  กำลังว่าจะตั้งเป็นคำถามข้อต่อไปอยู่เลยนะเนี่ย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 11, 16:14
คำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร
และมีบทบาทอยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  
จึงเล่าเรื่องตอนนั้นมาโดยละเอียด
พร้อมระบุเอกสารที่ใช้ในการตอบ

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน  ราคาข้อนี้  ๑๕ คะแนน  
(ตอบคำถาม ๕ คะแนน  เล่าเรื่อง  ๑๐ คะแนน)
ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๑.๒๐ น.
จนถึงเที่ยงคืนวันนี้   พ้นนี้คะแนนจะลดลงเหลือ  ๑๐  คะแนน


ตอบ

พี่เลี้ยงของอินทรชิต คือ "ฤาษีโคบุตร" เลี้ยงมาจนอายุ ๑๕ พรรษาพร้อมทั้งสั่งสอนวิชาการต่างๆให้หลายกระบวนวิชา

นุ่งผ้าลายเสือ สีน้ำตาลพาดดำ พร้อมไม้เท้า ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:33
คุณอาร์ทตอบข้อที่ ๙๒
มาก่อนเวลา  ตามกติกา  ถึงถูกหมด ก็ได้แค่ ๕  คะแนน

๒.สามจับ X
ใช้ในตอนสุครีพถอนต้นรัง ท่านี้เป็นท่าที่ยักษ์และลิงคือสุครีพ กุมภกรรณ และหนุมาน จับกันสามตัว
(กุมภกรรณจับสุครีพ หนุมานมาจับกุมภกรรณ)

เฉลย  หมายถึง เหตุการณ์เมื่อ หนุมาน  และองคต  ตามมาแก้ไขสุครีพจากกุมภกรรณได้แล้ว
เกิดต่อสู้กันระหว่างกุมภกรรณและวานรทั้ง ๓  จึงมีการแสดงต่อสู้กันคล้ายกับเล่นมุขตลก
คือ  จับที่ ๑ องคต หนุมานจับกุมภกรรณ  สุครีพถีบโดนองคต
จับที่ ๒ องคต  หนุมานจับกุมภกรรณ  สุครีพต่อยโดนหนุมาน
จับที่ ๓ องคต  หนุมานจับกุมภกรรณ   สุครีพลงศอกโดนองคต


๔.ลอย  ๑/๒
ท่านี้คือท่าที่เรียกว่าท่าจับ แต่จับกันแล้วก็มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ลอยด้านบน แสดงว่าได้เปรียบ ส่วนด้านล่างแสดงว่าเสียเปรียบ
เช่น พระรามจับทศกัณฐ์ พระรามอยู่ลอยบนด้าน ทศกัณฐ์เป็นฐานให้พระรามลอย ฉะนี้

เฉลย  ลอยที่ใช้ในโขนมีดังนี้  ลอยพระ  มี  ๓  ลอย
ลอยลิง มี  ๓  ลอย  (ยักษ์ไม่มีลอย  เป็นแต่ผู้รับลอยเท่านั้น)

ตัวละครที่อยู่ด้านบน  เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นการลอย
ลอยนี้ยังมีแบ่งเป็น  ลอย ๑  ลอย ๒  ลอย ๓
ลอย ๑ ใช้เท้าซ้ายเหยียบยักษ์  ยกเท้าขวา
ลอย ๒ ใช้เท้าขวาเหยียบยักษ์  เท้าซ้ายเหยียบแขนขวายักษ์
ลอย ๓ ใช้เท้าขวาเหยียบยักษ์  เท้าขวาเกี่ยวแขนขวายักษ์

นอกจากนี้ยังมีลอย ที่เรียกว่า  ลอยสูง อีก  ๒ ลอย  คือลอยลอยที่ประกอบด้วย 
พระราม ยักษ์  ลิง  ๑ และพระลักษณ์  ยักษ์  ลิง  ๑

๙.กระทืบกลับ ๑/๒
มีคำอธิบายว่า "สูดเท้ายกเท้าซ้ายติด แล้วย้อนขึ้นไปทางหน้าอัด วางเท้าซ้ายขวาสลับจากช้าไปหาเร็ว สองมือจับผ้า ยกเท้าขวาติด"
คือการเดินของยักษ์และลิงนั่นเอง

เฉลย  กระทืบกลับยักษ์  ย่อเหลี่ยม  มือซ้ายลงวง  มือขวาทอดแขนตึง  ทำท่าเงื้อ
หน้ามองทางซ้าย  ยกเท้าขวากระทืบ  ขยับเท้าซ้าย  พร้อมกับวางเท้าขวา
มือขวาลงวง  หันหน้ากลับมองมาทางขวา

กระทืบลิง  เหมือนกับยักษ์  แต่ว่องไวกว่า   


๑๑.อันทพา/พาสุริน  /
ท่านี้เป็นท่าคือลิงตีลังกานั่นเอง อันทพา คือการม้วนหน้า พาสุรินคือการตีลังกาแบบล้อเกวียน


รวมได้  ๒  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:36

ตอบ

พี่เลี้ยงของอินทรชิต คือ "ฤาษีโคบุตร" เลี้ยงมาจนอายุ ๑๕ พรรษาพร้อมทั้งสั่งสอนวิชาการต่างๆให้หลายกระบวนวิชา

นุ่งผ้าลายเสือ สีน้ำตาลพาดดำ พร้อมไม้เท้า ;D
X ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 11, 16:47

ตอบ

พี่เลี้ยงของอินทรชิต คือ "ฤาษีโคบุตร" เลี้ยงมาจนอายุ ๑๕ พรรษาพร้อมทั้งสั่งสอนวิชาการต่างๆให้หลายกระบวนวิชา

นุ่งผ้าลายเสือ สีน้ำตาลพาดดำ พร้อมไม้เท้า ;D
X ;D

ต้องร้องแบบลูกกรุง  "เป็นไปไม่ด้ายยยยยย...."  :'( :'( :'(  xxx


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:49
คุณไซมีส  ตอบมาดังนี้


๔.ลอย เป็นนาฏยศัพท์ที่หมายถึงการแบก ต้องใช้พลังขามาก โดยท่าพื้นฐานต้องเต้นเสาเพื่อฝึกกำลังไว้ เช่น ยกตัวอย่างการขึ้นลอยของลิง ต้องเหยียบตัวยักษ์ ซึ่งจะมีอยู่หลักๆ ๒ ท่า
- ท่าลอยที่หนึ่ง เมื่อยักษ์เข้าตีสองครั้งแล้วย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าซ้ายเหยียบที่หน้าขาด้านซ้ายของฝ่ายยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปยืนบนขายักษ์ ตึงเข่าซ้าย ยกขวาหนีบน่อง มือขวาทำท่าเงื้อ
-ท่าลอยสอง เมื่อฝ่ายยักษ์เข้าตีสองครั้งย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าขวาเหยียบที่หน้าขาซ้ายของยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปบนขายักษ์ ตึงเข่าขวา ขาซ้ายเหยียบที่ต้นแขนขวายักษ์ (เอาไป  ๑  ๑/๒)

๘. กระดกเสี้ยว  คล้ายกระดกหลัง แต่ย้ายลำขามาไว้ข้าง ๆตรงระดับไหล่ กระดกส้นเท้าให้ฝ่าเท้าหงายอยู่ข้างตัว กันเข่าห่างออกไปจากเข่าที่ยืนอยู่ ที่เรียกว่ากระดกเสี้ยว ก็เพราะอาการกระดกเหมือนกัน แต่มิได้อยู่ข้างหลัง ด้วยย้ายส่วนขาที่กระดกมาข้าง ๆ จึงเรียกกระดกเสี้ยว เช่น ท่ารำเมขลาล่อแก้ว (เอาไป  ๑  คะแนน)

๙.ท่ากระทืบกลับ มีหลักการปฏิบัติดังนี้
-ยกเท้าขวากระทืบพื้น ๑ ครั้ง พร้อมกับมือทั้ง ๒ จีบคว่ำบริเวณหน้าขา หน้ามองด้านซ้าย
-ยกเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางลงตำแหน่งเดิม พร้อมกับปล่อยจีบออกหงายมือ
-ยกเท้าขวาขึ้นวางไปด้านขวา เฉียง ๔๕ องศา หลบเข้าซ้าย ตั้งเข่าขวา พลิกมือมาตั้งวงล่าง (แบมือ) หน้าสะบัดกลับมามองทางขวา เอียงซ้าย ลำตัวตั้งตรง เปิดปลายคาง ตามองไกล
(เอาไป  ๓ คะแนน)

๑๐ ท่ากระทืบฟัน เป็นท่ารำของทางฝ่ายลิง ซึ่งเป็นท่าต่อเนื่องจากท่าฉะใหญ่ คือ การยกเท้าขวากระทืบลงพื้น ๑ ครั้ง มือขวายังยกข้อศอกระดับหัวไหล่อย่างเดิม
  (เอาไป  ๑ ๑/๒  คะแนน)


๑๑.อันทพา/พาสุริน ใช้สำหรับฝึกหัดเป็นตัวลิง  เป็นท่าโลดโผนสำหรับการแสดงออกตามลักษณะที่เป็นธรรมชาติของลิง เป็นส่วนหนึ่งของท่าหกคะเมนโดยยืนในท่าตรง  ใช้ฝ่ามือทั้งสองของตนยันกับพื้น  ต่อจากนั้นจึงค่อยยกเท้าทั้งสองขึ้นไปในอากาศ  แล้วหกเท้าลงข้างหลังหรือข้างหน้า
ท่าหกคะเมนมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้
๑.หกคะเมนหงายไปข้างหลัง  เรียกว่า “ตีลังกาหกม้วน”
๒.หกคะเมนไปข้างหน้า เรียกว่า “อันธพา”
๓.หกคะเมนไปข้าง ๆ เรียกว่า “พาสุริน”
(เอาไป  ๓  คะแนน)

รวมได้  ๑๐  คะแนน  (เฉลยเอาไว้วันหลังละกัน  เพราะมันยาวมาก)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มี.ค. 11, 16:52

ต้องร้องแบบลูกกรุง  "เป็นไปไม่ด้ายยยยยย...."  :'( :'( :'(  xxx

ปี่พาทย์ทำเพลงกราวรำสัก  ๓  รอบ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มี.ค. 11, 16:23
ในคำถามข้อที่ ๘๘.

ผมได้ถามเกี่ยวกับศิลปินกรมศิลปากรที่ได้แสดงเป็นพระราม
ขออนุญาตเฉลยย้อนหลัง  เพิ่อเป็นข้อมูลแก่ท่านผู้สนใจ ดังนี้

ศิลปินกรมศิลปากรผู้ที่เคยแสดงเป็นพระราม  มีดังต่อไปนี้

๑.นายอาคม  สายาคม
๒.นายจำนง  พรพิสุทธิ์
๓.นายธีรยุทธ  ยวงศรี
๔.นายทองสุข  ทองหลิม
๕.นายอุดม  อังศุธร
๖.นายธงไชย  โพธยารมย์
๗.นายสมบัติ  แก้วสุจริต
๘.นายสัญชัย  สุขสำเนียง
๙.นายเผด็จ  พลับกระสงค์
๑๐.นายไพฑูรย์  เข้มแข็ง

๑๑.นายวีระชัย   มีบ่อทรัพย์
๑๒.นายปกรณ์   พรพิสุทธิ์
๑๓.นายศุภภัย  จันทร์สุวรรณ์
๑๔.นายปัญญา  ธรรมมน
๑๕.นายประสิทธิ์  คมภักดี
๑๖.นายชวลิต  สุนทรานนท์
๑๗.นายคมสัณฐ  หัวเมืองลาด
๑๘.นายสมรัตน์  ทองแท้
๑๙.นายฤทธิเทพ  เถาว์หิรัญ
๒๐.นายสัจจะ  ภู่แพ่งสุทธิ์

๒๑.นายธีรเดช  กลิ่นจันทร์
๒๒.นายฉันทวัฒน์  ชูแหวน
๒๓.นายสมเจตน์  ภู่นา
๒๔.นายพงษ์ศักดิ์  บุญล้น
๒๕.นายวัลลภ  พรพิสุทธิ์

๒๖.นางสุวรรณี  ชลานุเคราะห์
๒๗.นางศิริวัฒน์  ดิษยนันทน์
๒๘.นางเทียมแข  กุญชร  ณ  อยุธยา
๒๙.นางรัตติยะ   วิกสิตพงษ์
๓๐.นางอิงอร  ศรีสัตตบุษย์

๓๑.นางนฤมล (สมุทรโคจร) พ่วงบุญมาก
๓๒.นางเวณิกา  บุนนาค
๓๓.นางนงลักษณ์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา

หมายเหตุ ข้อมูลจากวารสารศิลปากร ปีที่ ๕๓  ฉบับที่ ๑  มกราคม-กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 มี.ค. 11, 19:04
จากรายชื่อผู้แสดงเป็นพระราม
มีศิลปินแห่งชาติ ด้านศิลปการแสดง นาฏศิลป์ไทย 3 ท่านค่ะ
และมี นามสกุล พรพิสุทธิ์ 3 ท่าน
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 มี.ค. 11, 16:46
เออ......

ยังไงกัน
คุณหลวงไปต่างเมืองเสียแล้วกระมั้งนี่
ทิ้งงานให้คั่งค้างได้อย่างไร ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 มี.ค. 11, 18:40
ท่านคงหนาว ครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 มี.ค. 11, 21:08
ท่านคงหนาว ครับ ;D

หนาวกายเราไม่ว่า
แต่
หนาวใจซินะ... เราว่าไม่ได้
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 มี.ค. 11, 08:18
อะแฮ่มๆ!!!...ผมติดธุระและต้องไปประชุมนอกสถานที่มาครับ
ตอนนี้อาจจะยังไม่มีเวลาจะเข้ามาตั้งคำถามต่อให้จบ ๑๐๐ ข้อ
ในภายสัปดาห์นี้ได้   คงต้องขอยืดไปถึงต้นเดือนเมษายน

นักรบทั้งหลายคงเข้าใจ   จึงแจ้งมาเพื่อทราบ(เท่านั้น) 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มี.ค. 11, 08:42
ท่านคงหนาว ครับ ;D

หนาวกายเราไม่ว่า
แต่
หนาวใจซินะ... เราว่าไม่ได้
 ;D

บทแรกใน โคลงนิราศสุพรรณ  (http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93) ของสุนทรภู่

๏ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า          ดาดาว  
จรูญจรัสรัศมีพราว               พร่างพร้อย  
ยามดึกนึกหนาวหนาว            เขนยแนบ แอบเอย  
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย                เยือกฟ้าพาหนาว ฯ  

ตอนนี้ ใคร ๆ ก็หนาว

 :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 มี.ค. 11, 08:52
นอนรอ...คร้าบ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 มี.ค. 11, 10:24
เฉลยคำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร
และมีบทบาทอยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด 
จึงเล่าเรื่องตอนนั้นมาโดยละเอียด
พร้อมระบุเอกสารที่ใช้ในการตอบ

บทพากย์หนังใหญ่ วัดขนอน  จังหวัดราชบุรี
เรื่องรามเกียรติ์  ตอนนาคบาศ

"...บุตรทศเศียรสุริย์วงศ์พงศ์พรหมมาน   ยกทวยหาญมาเขาไกรลาสคิรี
ท้าวยักษีจึงตรัสกับพี่เลี้ยงทั้งสองให้ประชุมพลอยู่ที่นี่   แล้วอสุราก็เสด็จลงจากรถ
บทจรไปยังต้นพฤกษาโรคันคี  บัดนี้ เพลงช้า

บุตรทศเศียรทรงดำเนินเลียบเหลี่ยมบรรพตา  ถึงต้นพฤกษาริม (นที)
ท้าวยักษีจึงตรัสสั่งกับวิจิตรไพรีบรรลัยหาญ  ตัวท่านทั้งสองจงกลับไปที่ประชุมโยธา
ต่อรุ่งพระสุริยาเวลาบ่ายตัวเราจึงจะออกการพิธีได้  สั่งเท่านั้นแล้วพลางทางเสด็จเข้าไปในโพรงไม้โรคันคี
ถือเอกฉาหิหลับพระเนตรสำรวมจิต  ยกศรประนมขึ้นเหนือเกศ   อ่านพระเวทพรหมประสิทธิ์  สมดังพระทัยคิด
บัดนี้  ตระรัว..."

พี่เลี้ยงของอินทรชิต มี ๒ ตน ชื่อ วิจิตรไพรี กับ บรรลัยหาญ
ข้อมูลจากหนังสือ วรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่
วัดขนอน  จังหวัดราชบุรี  ของพันตรีหญิง ผะอบ  โปษะกฤษณะ
หน้า ๗๖


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 เม.ย. 11, 16:45
คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 เม.ย. 11, 20:00
คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔



โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่รวบรวมกวีนิพนธ์ไว้มากมาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้วาดภาพเรื่องราวในพระราชพงศาวดารและมีคำอธิบายประกอบโคลงจำนวน ๙๒ ภาพ และนำไปติดในกรอบภาพที่จัดทำขึ้นอย่างสวยงาม ติดประดับไว้รายรอบบริเวณพระเมรุเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาอ่าน เข้ามาดูเมื่อหน้าแล้งปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นงานพระเมรุของเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ใกล้เคียงกัน ๔ พระองค์ คือ

๑.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๒.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๓.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๔.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เจ้านายทั้งหลายร่วมกันแต่งโคลงตามภาพที่ได้ทรงคัดเลือกไว้ หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (ที่เคยทรงกลอนเรื่องรามเกียรติ์ไว้ที่ห้องเลขที่ ๕๐-วัดพระแก้ว)
กลอนที่ทรงนิพนธ์ไว้อยู่ใน รูปที่ ๔ แผ่นดินสมเด็จพระนครินทราธิราช ภาพเจ้าอ้ายเจ้ายี่ชนช้าง

นครินทร์ปิ่นธเรศไท้   ทิวงคต
สองราชวะโรรส      เรื่องรู้
รีบยกคชพลบท      จรสู่ กรุงนา
เจ้ายี่ตั้งทัพสู้      ป่าพร้าวพลับพลาฯ

เจ้าอ้ายมาตั้งทัพ      วัดไชย ภูมิเฮย
สองยกเข้ากรุงไกร      แต่เช้า
หวังชิงราชมไห      สวรรค์แก่ ตนนา
ถึงป่าถ่านช้างเข้า      ปะทะทั้งโททรงฯ

สององค์ทรงเงือดเงื้อ   ง้าวขอ
สองฟากสบสองสอ      ขาดม้วย
สองบุญไม่มีภอ      ผ่านภพ แลพ่อ
สองจึ่งสิ้นชีพด้วย      บาปกี้กอบผลฯ

มนตรียินข่าวเจ้า      มรณา
ต่างตริตรึกปฤกษา      เสร็จแล้ว
เชิญพระบาทสามพระยา   นุชนารถ น้อยเฮย
มาครอบครองกรุงแก้ว   ปกเผ้าเหล่าประชาฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 03 เม.ย. 11, 22:34
คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔



ชื่อเรื่อง - กรุงเทพทวาราวดีจารึกไว้ในปีที่ 200 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ผู้แต่ง   - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

...รู้มาแค่นี้....
 :-[


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 เม.ย. 11, 13:55
คุณไซมีส  ตอบมา  ไม่ถูก  ได้ ๐ คะแนน

คุณอาร์ท  ตอบมา  ถูกแค่ชื่อผู้แต่ง  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เอาไป ๒ คะแนน

เฉลย
คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)


กวีนิพนธ์ ชื่อ  ชักม้าชมเมือง
ผู้แต่ง  เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
พิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนกันยายน  ๒๕๒๐  ราคา  ๑๘  บาท
สำนักพิมพ์การเวก   พิมพ์จำหน่าย
หนา  ๒๐๐๐ หน้า + (๔๐ หน้า)
พ.  ณ  ประมวญมารค  (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์  รัชนี) ทรงนิพนธ์นำนำ
เมื่อวันที่  ๒๑  กรกฎาคม  ๒๕๒๐

กวีนิพนธ์เรื่องนี้  แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ  ๕๐๐  บท  มีร่ายสุภาพนำ ๑ บท
เนื้อเรื่องแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้   ร่ายนำ   ไหว้พระ   ไหว้ครู  ดีดสีตีเป่า
ชักม้าชมเมือง  สีดา  บ้านนอกคอกนา พระราม  รามสูร  ปราสาทพระเทพบิดร  
ชมไม้  ทรพี  ชมดง  ชิวหา  มารีศ   ลายมุกประตูหอมนเทียรธรรม   แห่นางแมว
สองโศก  พระมณฑป  การะเกด  เผาลงกา  วิหารยอด   พระศรีรัตนเจดีย์  หอพระนาก  
พิเภก   นางลอย   ไมยราพ   กุมภกรรณ  อินทรชิต  มาลีวราช   กลบทสิบแบบ
ทศพักตร์พ่าย   พระอุโบสถ  หอพระคันธารราษฎร์   หอระฆัง  หอราชกรมานุสรณ์
หอราชพงศานุสรณ์   พระโพธิธาตุพิมาน  เจ้าขุนทอง  จันทร์เจ้าขา  และพุทธบูชา

เนื้อเรื่องเป็นการบรรยายและพรรณนาเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในบริเวณวัดพระแก้ว
โดยบรรยายสลับกับภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระแก้ว เป็นช่วงๆ


คุณเนาวรัตน์ เริ่มแต่งชักม้าชมเมืองเมื่อต้นเดือนมิถุนายน  ๒๕๒๐  เสร็จวันที่  ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๐
วันที่ ๒ - ๓ กรกฎคม  ๒๕๒๐  เกลาสำนวนก่อนส่งไปที่โรงพิมพ์


แรงบันดาลใจ  เกิดจากคุณเนาวรัตน์ได้พาลูกไปไหว้พระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันวิสาขบูชา ปี  ๒๕๒๐  เป็นเหตุให้ตั้งใจแต่งกวีนิพนธ์บรรยายพรรณนาเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ
ที่อยู่ในบริเวณวัดพระแก้ว   ซึ่งรวมไปถึงภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ด้วย

(ตัวอย่างไม่ยกมาให้ดู  ไปหาอ่านกันเอาเองเถิด)




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 เม.ย. 11, 14:43
โห ได้ศูนย์เลยหรือนี่ กะแล้วจะตอบว่า "กวีนั้นคือ คุณหลวงเล็ก  ;D" ได้แรงบันดาลใจเลยนำมาตั้งคำถาม ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์" คิคิ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 เม.ย. 11, 14:58
มีเสียงแซวแว่วมา   เดี๋ยวจะตบรางวัลให้สักหน่อย ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 เม.ย. 11, 16:16
มีเสียงแซวแว่วมา   เดี๋ยวจะตบรางวัลให้สักหน่อย ;)

เสียงแซวดังไปไกลถึง คุ้งบ้านหลวงพ่อโต บางพลี จึงต้องรีบนำภาพมาฝากไว้

ภาพวาดดินสอบนกระดาษ สองหน้า "หนุมาน-ทศกัณฐ์" โดย อ.เฟื้อ หิริพิทักษ์ ขนาด ๑๘ x๒๖ ซม. ประมูลเริ่มต้น ๕๐๐,๐๐๐ แนะขอรับ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 เม.ย. 11, 22:44

คุณอาร์ท  ตอบมา  ถูกแค่ชื่อผู้แต่ง  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เอาไป ๒ คะแนน


สองคะแนนก็ยังดีนะจ๊ะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 เม.ย. 11, 17:02
คำถามข้อที่  ๙๕.

คุณป้าท่านหนึ่งส่งคำถามมา

"คุณหลวงเล็กคะ   อิฉันเคยได้ยินคุณยายซึ่งได้รับราชการฝ่ายในในสมัยรัชกาลที่ ๖
เล่าให้ฟังว่า  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น  เมื่อตอนมีพระราชพิธีเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ที่สวนจิตรลดา ตำบลทุ่งส้มป่อย  นั้น  รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์พระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการด้วย
คุณยายของอิฉันท่านก็เคยมี  แต่หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้   แล้วคุณยายก็เล่าอีกว่า
ในพระราชพิธีนั้น มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ถวาย
เพื่อทอดพระเนตรด้วย   (อิฉันคิดว่าน่าจะเป็นโขนมากกว่ากระมัง)
ท่านเล่าไว้ละเอียดยิบที่เดียว  แต่อิฉันก็ดันลืมจดเสียได้ 
เดี๋ยวนี้ลืมไปหมดแล้ว   พอมาเห็นกระทู้ของคุณหลวงมีคนดีศรีอยุธยา
ที่มีความรู้หลายคนมาตอบคำถามที่ยากมากๆ ได้
อิฉันก็เลยมาขอความอนุเคราะห์คุณหลวงช่วยลงคำถามของอิฉันให้หน่อยนะคะ

อิฉัน อยากทราบว่า
๑.งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
๒.ในงานนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์เรื่องไร
สำหรับพระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ
๓.ในงานนั้น  มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนอะไร
ช่วยเล่าเรื่องตอนที่ใช้แสดงด้วยนะคะ
๔.ผู้ที่แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ในคราวนั้น มีใครบ้างคะ

อิฉันอยากให้ช่วยกันตอบหน้าม่าน  คะแนนเต็มข้อละ ๕ คะแนน  รวม ๒๐ คะแนน
กรุณาตอบได้ตั้งแต่บัดนี้  จนถึงวันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔  เวลา  ๐๖.๐๐ น.

คำถามของอิฉันไม่ยากใช่ไหมคุณหลวง  หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือนะคะ  อิอิ" ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 เม.ย. 11, 17:11
๑. ในงานทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖

๒. ข้าพเจ้าได้จัดการให้พิมพ์หนังสือรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ และมีความปรารภอย่างไร มีข้อความแจ้งอยู่ในคำนำที่หน้าหนังสือนั้นแล้ว

ข้าพเจ้ามาคำนึงดูถึงเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นเรื่องราวสำคัญที่ชาวไทยเรารู้จักกันดีอย่างซึมทราบก็จริงอยู่ แต่มีน้อยตัวนักที่จะทราบว่ามีมูลมาจากไหน ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยรู้สึกเช่นนี้มาแล้ว แต่ก่อน ๆ จึ่งได้ตั้งใจเที่ยวค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนี้ ตั้งความพยายามมาแล้วหลายปี กว่าจะหาหนังสือได้เท่าที่พอใจและต่อมาก็ค่อย ๆ อ่านไปดูไปตามแต่จะมีเวลาว่าง มาจนบัดนี้รู้สึกว่าได้ความรู้พอที่จะขยายให้พวกนักเลงหนังสือด้วยกันฟังบ้างแล้ว ข้าพเจ้าจึ่งได้แต่งข้อความเหล่านี้ รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือนี้ขึ้น เรียกว่า บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ สำหรับแจกไปพร้อมกับหนังสือพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้จัดการพิมพ์ขึ้นใหม่ หวังใจว่าผู้ที่ได้รับไปจะได้ใช้เป็นประโยชน์ในทางเปรียบเทียบและสอบทานกับข้อความที่มีอยู่ ไม่เฉพาะแต่ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ทั้งจะใช้อ่านเทียบกับฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีพิมพ์แพร่หลายอยู่แล้วนั้นด้วย

จริงอยู่ หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ นี้คงจะเป็นของสนุกสำหรับนักเลงหนังสือและโบราณคดีนั้นและเป็นอาทิ แต่ข้าพเจ้าหวังว่า ถึงแม้ผู้อ่านทั่ว ๆ ไปก็จะอ่านสนุกได้บ้าง และหวังว่าจะเป็นทางบำรุงความรู้บ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยินดีหาน้อยไม่

พระปรมาภิไธย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 05 เม.ย. 11, 17:39
คำถามข้อที่  ๙๕.

คุณป้าท่านหนึ่งส่งคำถามมา

"คุณหลวงเล็กคะ   อิฉันเคยได้ยินคุณยายซึ่งได้รับราชการฝ่ายในในสมัยรัชกาลที่ ๖
เล่าให้ฟังว่า  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น  เมื่อตอนมีพระราชพิธีเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ที่สวนจิตรลดา ตำบลทุ่งส้มป่อย  นั้น  รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์พระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการด้วย
คุณยายของอิฉันท่านก็เคยมี  แต่หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้   แล้วคุณยายก็เล่าอีกว่า
ในพระราชพิธีนั้น มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ถวาย
เพื่อทอดพระเนตรด้วย   (อิฉันคิดว่าน่าจะเป็นโขนมากกว่ากระมัง)
ท่านเล่าไว้ละเอียดยิบที่เดียว  แต่อิฉันก็ดันลืมจดเสียได้  
เดี๋ยวนี้ลืมไปหมดแล้ว   พอมาเห็นกระทู้ของคุณหลวงมีคนดีศรีอยุธยา
ที่มีความรู้หลายคนมาตอบคำถามที่ยากมากๆ ได้
อิฉันก็เลยมาขอความอนุเคราะห์คุณหลวงช่วยลงคำถามของอิฉันให้หน่อยนะคะ

อิฉัน อยากทราบว่า
๑.งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
๒.ในงานนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์เรื่องไร
สำหรับพระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ
๓.ในงานนั้น  มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนอะไร
ช่วยเล่าเรื่องตอนที่ใช้แสดงด้วยนะคะ
๔.ผู้ที่แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ในคราวนั้น มีใครบ้างคะ

อิฉันอยากให้ช่วยกันตอบหน้าม่าน  คะแนนเต็มข้อละ ๕ คะแนน  รวม ๒๐ คะแนน
กรุณาตอบได้ตั้งแต่บัดนี้  จนถึงวันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔  เวลา  ๐๖.๐๐ น.

คำถามของอิฉันไม่ยากใช่ไหมคุณหลวง  หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือนะคะ  อิอิ" ;D

ขอตอบนะคะ  ;D
1. งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
๑๔ สิงหาคม ๒๔๕๖  พระราชพิธีราชคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักใหม่ ในสวนจิตรลดารโหฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช เป็นแม่กองจัดการก่อสร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ ที่บริเวณทุ่งส้มปอย ซึ่งเป็นทุ่งนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพระคลังข้างที่ซื้อไว้เป็นเนื้อที่ ๑๕๗,๙๒๐ ตารางวา  เมื่อสร้างพระตำหนักเสร็จพระราชทานนามว่า "พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน" และพระราชทานนามบริเวณทุ่งส้มป่อยว่า "สวนจิตรลดา" แล้วโปรดเกล้าให้มี งานพระราชพิธีราชคฤหมงคล ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเฉลิมฉลอง

2. หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พิมพ์พระราชทานในงานทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ มี 2 เรื่อง คือ
2.1 บทลคร เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
2.2 บ่อเกิดรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

3.ละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่แสดงในงานนั้น คือ
ตอนหนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม
และตอนพระรามคลั่งฆ่านางสีดา จนถึงอภิเษกไกรลาส

4. 



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 เม.ย. 11, 18:27
โห ตามไม่ทันคุณเพ็ญชมพู และ คุณดีดี เลยครับ ฝากข้าวเหนียวมะม่วงให้ท่านทั้งสองได้รับประทานกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 เม.ย. 11, 18:35
๑.งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
ตอบ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 05 เม.ย. 11, 18:37
คำถามข้อที่  ๙๕.

คุณป้าท่านหนึ่งส่งคำถามมา

"คุณหลวงเล็กคะ   อิฉันเคยได้ยินคุณยายซึ่งได้รับราชการฝ่ายในในสมัยรัชกาลที่ ๖
เล่าให้ฟังว่า  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น  เมื่อตอนมีพระราชพิธีเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ที่สวนจิตรลดา ตำบลทุ่งส้มป่อย  นั้น  รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์พระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการด้วย
คุณยายของอิฉันท่านก็เคยมี  แต่หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้   แล้วคุณยายก็เล่าอีกว่า
ในพระราชพิธีนั้น มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ถวาย
เพื่อทอดพระเนตรด้วย   (อิฉันคิดว่าน่าจะเป็นโขนมากกว่ากระมัง)
ท่านเล่าไว้ละเอียดยิบที่เดียว  แต่อิฉันก็ดันลืมจดเสียได้  
เดี๋ยวนี้ลืมไปหมดแล้ว   พอมาเห็นกระทู้ของคุณหลวงมีคนดีศรีอยุธยา
ที่มีความรู้หลายคนมาตอบคำถามที่ยากมากๆ ได้
อิฉันก็เลยมาขอความอนุเคราะห์คุณหลวงช่วยลงคำถามของอิฉันให้หน่อยนะคะ

อิฉัน อยากทราบว่า
๑.งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
๒.ในงานนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์เรื่อง
สำหรับพระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ
๓.ในงานนั้น  มหาดเล็กกรมโขนหลวงได้แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนอะไร
ช่วยเล่าเรื่องตอนที่ใช้แสดงด้วยนะคะ
๔.ผู้ที่แสดงละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ในคราวนั้น มีใครบ้างคะ

คำตอบ

ข่าวในพระราชสำนัก พระราชวังสวนดุสิต วันพฤหัศบดีที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๐ หน้า ๙๗๔)

"      อนึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แจกหนังสือบทละครเรื่องรามเกียรติ์อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นโดยบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์ในรัชกาลปัจจุบัน เรื่องบ่อเกียรติ์รามเกียรติ์ อันเป็นคำอธิบายกำกับ แก่พระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการ
       ครั้นเสวยแล้ว เสด็จประทับทอดพระเนตรละครดึกดำบรรพ์ ชุดลงสวนแลถวายแหวน
(คือตอนที่ทศกัณฐ์แต่งกายอย่างวิจิตร มีผ้าห้อยไหล่สองข้าง มือถือพัดด้ามจิ๋ว เดินทางมายังอุทยานเพื่อเกี้ยวนางสีดา
กับตอนหนุมานเหาะมายังกรุงลงกา ช่วยนางสีดาจากการผูกคอตาย และถวายแหวนของนางสีดาคืนไป)
ซึ่งมหาดเล็กกรมโขนหลวงเล่นสนองพระเดชพระคุณ มีตัวโขนที่สำคัญคือพระนัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เป็นพระราม
หมื่นเจนภรตกิจ (แปลก มงคลนัฎ) เป็นนางสีดา ขุนศรีนัจวิไสย (สอน ลักษมณนัฎ) เป็นพระลักษณ์ พระพำนักนัจนิกร (เพิ่ม สุคีวกะ) เป็นสุครีพ
ขุนฟ้อนถูกแบบ (พร้อม สมรรคนัฎ) เป็นหนุมาน นายเลี่ยม มณฑาศวิน เป็นชมพูพาน
ขุนเชิดกรประจง (ไปล่ สครึวนัฎ) เป็นองคต พระระบำภาษา (ทองใบ สุวรรณภรต) เป็นทศกัณฐ์
หลวงสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยน สุนทรนัฎ) เป็นนางอากาศตะไล"



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 เม.ย. 11, 18:39
โขนที่เล่นตอน "หนุมานถวายแหวน"

บุคคลที่เล่นในการครั้งนี้ ๑.เจ้าพระยารามราฆพ  ๒.เจ้าพระยาอนิรุทเทวา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 05 เม.ย. 11, 19:00
ไปหาข้าวเหนียวมะม่วงกินดีกว่า   :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 05 เม.ย. 11, 19:03
ไปหาข้าวเหนียวมะม่วงกินดีกว่า   :)

ทำไมต้องกินข้าวเหนียวมะม่วงกัน ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 เม.ย. 11, 19:18
ไปหาข้าวเหนียวมะม่วงกินดีกว่า   :)

ทำไมต้องกินข้าวเหนียวมะม่วงกัน ???

งั้นให้คุณอาร์ท เลือกทานขนมหวานได้ตามใจชอบ ขนมชุดนี้ออกมาจากฟ้านะครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 เม.ย. 11, 08:45
โอ้โฮ  ตอบกันเร็วมาก  ถ้าจะง่าย
แถมยังมีการเอาข้าวเหนียวมะม่วงยกมาเลี้ยงกันเป็นที่เอิกเกริก
ท่านผู้ใดเห็นข้าวเหนียวมะม่วงของคุณไซมีสแล้วอดไม่ได้
ก็พึงระวังจะกลายเป็นเหยื่อเหมือนเหยื่อของคุณนายองุ่นนะครับ ;D

คำถามข้อที่ ๙๕.
มีผู้ตอบถูกหมด ๑ คน  คือ

คำตอบ

ข่าวในพระราชสำนัก พระราชวังสวนดุสิต วันพฤหัศบดีที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๐ หน้า ๙๗๔)

"      อนึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แจกหนังสือบทละครเรื่องรามเกียรติ์อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นโดยบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์ในรัชกาลปัจจุบัน เรื่องบ่อเกียรติ์รามเกียรติ์ อันเป็นคำอธิบายกำกับ
แก่พระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการ
       ครั้นเสวยแล้ว เสด็จประทับทอดพระเนตรละครดึกดำบรรพ์ ชุดลงสวนแลถวายแหวน
(คือตอนที่ทศกัณฐ์แต่งกายอย่างวิจิตร มีผ้าห้อยไหล่สองข้าง มือถือพัดด้ามจิ๋ว เดินทางมายังอุทยานเพื่อเกี้ยวนางสีดา
กับตอนหนุมานเหาะมายังกรุงลงกา ช่วยนางสีดาจากการผูกคอตาย และถวายแหวนของนางสีดาคืนไป)
ซึ่งมหาดเล็กกรมโขนหลวงเล่นสนองพระเดชพระคุณ มีตัวโขนที่สำคัญคือ
พระนัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เป็นพระราม
หมื่นเจนภรตกิจ (แปลก มงคลนัฎ) เป็นนางสีดา
ขุนศรีนัจวิไสย (สอน ลักษมณนัฎ) เป็นพระลักษณ์
พระพำนักนัจนิกร (เพิ่ม สุคีวกะ) เป็นสุครีพ
ขุนฟ้อนถูกแบบ (พร้อม สมรรคนัฎ) เป็นหนุมาน
นายเลี่ยม มณฑาศวิน เป็นชมพูพาน
ขุนเชิดกรประจง (ไปล่ สครึวนัฎ) เป็นองคต
พระระบำภาษา (ทองใบ สุวรรณภรต) เป็นทศกัณฐ์
หลวงสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยน สุนทรนัฎ) เป็นนางอากาศตะไล"


ได้ ๒๐  คะแนน  แต่หักที่เขียนผิด ๓ ที่  หัก ๓ คะแนน  ได้ไป ๑๗ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 เม.ย. 11, 08:48
๑. ในงานทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖

๒. ข้าพเจ้าได้จัดการให้พิมพ์หนังสือรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ และมีความปรารภอย่างไร มีข้อความแจ้งอยู่ในคำนำที่หน้าหนังสือนั้นแล้ว

ข้าพเจ้ามาคำนึงดูถึงเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นเรื่องราวสำคัญที่ชาวไทยเรารู้จักกันดีอย่างซึมทราบก็จริงอยู่ แต่มีน้อยตัวนักที่จะทราบว่ามีมูลมาจากไหน ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยรู้สึกเช่นนี้มาแล้ว แต่ก่อน ๆ จึ่งได้ตั้งใจเที่ยวค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนี้ ตั้งความพยายามมาแล้วหลายปี กว่าจะหาหนังสือได้เท่าที่พอใจและต่อมาก็ค่อย ๆ อ่านไปดูไปตามแต่จะมีเวลาว่าง มาจนบัดนี้รู้สึกว่าได้ความรู้พอที่จะขยายให้พวกนักเลงหนังสือด้วยกันฟังบ้างแล้ว ข้าพเจ้าจึ่งได้แต่งข้อความเหล่านี้ รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือนี้ขึ้น เรียกว่า บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ สำหรับแจกไปพร้อมกับหนังสือพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้จัดการพิมพ์ขึ้นใหม่ หวังใจว่าผู้ที่ได้รับไปจะได้ใช้เป็นประโยชน์ในทางเปรียบเทียบและสอบทานกับข้อความที่มีอยู่ ไม่เฉพาะแต่ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ทั้งจะใช้อ่านเทียบกับฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีพิมพ์แพร่หลายอยู่แล้วนั้นด้วย

จริงอยู่ หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ นี้คงจะเป็นของสนุกสำหรับนักเลงหนังสือและโบราณคดีนั้นและเป็นอาทิ แต่ข้าพเจ้าหวังว่า ถึงแม้ผู้อ่านทั่ว ๆ ไปก็จะอ่านสนุกได้บ้าง และหวังว่าจะเป็นทางบำรุงความรู้บ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยินดีหาน้อยไม่

พระปรมาภิไธย

คุณเพ็ญฯ ตอบถูกคำถามข้อที่ ๒ 
ส่วนข้อที่ ๑ ตอบผิด ที่ถูกคือ  ๑๔ สิงหาคม ๒๔๕๖ ครับ
ได้ไป ๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 เม.ย. 11, 08:50
ขอตอบนะคะ  ;D
1. งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
๑๔ สิงหาคม ๒๔๕๖  พระราชพิธีราชคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักใหม่ ในสวนจิตรลดารโหฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช เป็นแม่กองจัดการก่อสร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ ที่บริเวณทุ่งส้มปอย ซึ่งเป็นทุ่งนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพระคลังข้างที่ซื้อไว้เป็นเนื้อที่ ๑๕๗,๙๒๐ ตารางวา  เมื่อสร้างพระตำหนักเสร็จพระราชทานนามว่า "พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน" และพระราชทานนามบริเวณทุ่งส้มป่อยว่า "สวนจิตรลดา" แล้วโปรดเกล้าให้มี งานพระราชพิธีราชคฤหมงคล ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเฉลิมฉลอง

2. หนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พิมพ์พระราชทานในงานทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ มี 2 เรื่อง คือ
2.1 บทลคร เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
2.2 บ่อเกิดรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

3.ละครดึกดำบรรพ์หรือโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่แสดงในงานนั้น คือ
ตอนหนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม
และตอนพระรามคลั่งฆ่านางสีดา จนถึงอภิเษกไกรลาส

4. 



คุณดีดีตอบถูก ๓ ข้อ เอาไป ๑๕ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 เม.ย. 11, 08:56
๑.งานเฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  จัดขึ้นเมื่อวันเดือนปีใด
ตอบ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

โขนที่เล่นตอน "หนุมานถวายแหวน"

บุคคลที่เล่นในการครั้งนี้ ๑.เจ้าพระยารามราฆพ  ๒.เจ้าพระยาอนิรุทเทวา

คุณไซมีสตอบข้อที่ ๑ ถูก  เอาไป ๕ คะแนน
ข้อที่ ๓ ถูก ส่วนหนึ่ง (ที่จริงยกข้อความมาและเล่าเรื่องสักหน่อยก็ได้เต็มแล้ว) เอาไป  ๑ ๑/๒  คะแนน
รวมได้  ๖ ๑/๒ คะแนน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 เม.ย. 11, 10:26
คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน 
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ;D
 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 11:05
คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน 
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ;D
 

๑.   วันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระราม หรือวัน “รามนวมี”
ท้าวทศรถ เป็นกษัตริย์แห่งนครอโยธยา มีมเหสีอยู่ด้วยกันสามพระองค์ คือ พระนางสมุทรเทวี พระนางเกาสุริยา และ พระนางไกยเกศีครับ แต่กลับไม่มีบุตรสืบสกุล พระองค์จึงไปขอคำแนะนำจากพระฤาษีวษิต พระฤาษีได้แนะนำให้ท้าวทศรถ ประกอบพิธียัญญะ เพื่อขอบุตรครับ ซึ่งมเหสีทั้งสามก็เห็นด้วย พระองค์จึงได้ทำการประกอบพิธียัญญะขึ้น ในระหว่างประกอบพิธียัญญะนั้น สิ่งมหัศจรรย์ก็ได้บังเกิดขึ้น ถือมีถ้วยๆ หนึ่งมาอยู่ในมือของท้าวทศรถ แล้วมีเสียงบอกว่าให้พระองค์ทรงแบ่งของที่อยู่ในถ้วยให้กับภรรยาทั้งสาม พระองค์ทรงแบ่งให้พระไกยเกศี และ พระสมุทรเทวีคนละครึ่ง เมื่อนางทั้งสองได้ของในถ้วยไปคนละครึ่ง จึงแบ่งอีกครึ่ง ให้กับ พระนางเกาสุริยา สุดท้ายไม่กี่วันต่อมา มเหสีทั้งสามก็ทรงพระครรภ์ครับ และในวันที่เก้าของเดือนนวมี ตามปฏิทินฮินดู พระนางเกาสุริยา ให้กำเนิดพระราม พระนางไกยเกษี ให้กำเนิดพระพรต และ พระนางสมุทรเทวี ได้บุตรฝาแฝดคือพระลักษมัน และพระสัตตรุต


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 11:24
ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ของทุกปีได้เกิดพระอาทิตย์ตรงช่องประตูทุกบานที่ปราสาทหินพนมรุ้งอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งชาวบุรีรัมย์ได้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

"รายการนี้โฆษณาท่องเที่ยวเมืองไทย นะคุณหลวงเล็ก  ;D ;D ;D"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 เม.ย. 11, 11:30
ท่าน siamese ไวจริงๆ แต่ว่า...เกี่ยวกะ รามเกียรติ์ ไหมเนี่ย... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 11:33
๒.   วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันคล้ายวันกำเนิด หนุมาน คือวันชยันตี ( Hanumat jayanti )

หนุมานกำเนิดจากนางสวาหะ ซึ่งถูกสาปให้ยืนกินลมขาเดียวเป็นเวลานานปีพระอิศวรเห็นนางสวาหะยืนอยู่ก็รู้สึกสงสารจึงแบ่งกำลังให้พระพาย ซัดเข้าปากนางสวาหะ จนนางตั้งครรภ์อยู่ ๓๐ เดือน ก็คลอดบุตรออกมาเป็นวานรเผือกเผ่นกระโจนออกมาทางปาก มีลักษณะพิเศษคือ มีคทาเพชรเป็นสันหลัง ตรีเพชรเป็นกาย จักรแก้วเป็นศีรษะ มีเขี้ยวแก้ว หาวเป็นเดือนเป็นดาว ฤทธิ์เดชร้ายกาจ รบใครก็ชนะตลอดกาล วานรเผือกตัวนี้มีชื่อว่า หนุมาน ด้วยความซุกซนไปก่อความเดือนร้อนบนสวรรค์จึงถูกสาปว่าเมื่อต่อสู้กำลังจะลดลงครึ่งหนึ่ง และจะพ้นคำสาปต่อเมื่อพระนารายณ์มาลูบหลัง

อนพระอิศวรเห็นรูปนางอัปสร ร่างจำแลงของพระนารายณ์
เมื่อคราจะไปปราบยักษ์นนทุก
เกิดกำหนัดพุ่งปรี๊ด...พระอิศวรจึงมีโองการให้พระพายพัดกำลังส่วนที่ปรี๊ดออกมาพร้อมกับเทพอาวุธ ๓ อย่าง คือ คทา ตรี และจักร
ไปซัดเข้าปากนางสวาหะ

มีคทาเพชรเป็นสันหลัง ตลอดหางเพื่อให้เหาะได้ ให้ตรีเพชรเป็นกาย เป็นมือเป็นเท้า
ให้จักรแก้วเป็นศรีษะ ทั้งหมด รวมกันเป็นกายวานร ผู้แกล้วกล้า
และถ้าจะรบกับข้าศึก ก็ให้ชัก ตรีเพชรออกมาจากอก ได้ทันทีและใช้รบได้ชนะตลอดกาล
แล้วพระอิศวรสั่งพระพายอีกว่า



แล้วดูแลป้องกันอันตราย ..............อย่าให้ใครกล้ำกลายดวงสมร
ตัวท่านนั้นเป็นบิดร...................................วานรในครรภ์นางเทวี



ดังนั้น นางสวาหะจึงตั้งครรภ์
และเนื่องจากไม่ใช่ท้องลูกคนธรรมดา นางจึงตั้งครรภ์อยู่นานสามสิบเดือน จึงคลอดบุตร เป็นวานรเผือก
โดยบุตรนั้น เผ่นออกมาทางปากมารดา แล้วเหาะได้ด้วยฤทธิ์เดชที่พระอิศวรประทานมา


ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี.......................... รัศมีโชติช่วงในเวหา
มีกุณฑลขนเพชรอลงกา .......................เขี้ยวแก้วแวฟ้ามาลัย
หาวเป็นดาวเดือนรวิวร...........................แปดกรสี่หน้าสูงใหญ่
สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกร...............แล้วลงมาไหว้พระมารดา
ทั้งองค์พระพายเรืองเดช........................สำคัญว่าบิตุเรศนาถา
ก็เข้าอิงแอบแนบกายา.................................วานรชื่นชมยินดี





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 11:40
๓. วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑ วันมหาฤษีวาลมิกิ ชยันติ ( Mahashu Vamiki Jayanti )

วันคล้ายวันเกิดฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อประมาณ ๒,๔๐๐ ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง และได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด ผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า รามาวตาร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 11, 11:43
ท่าน siamese ไวจริงๆ แต่ว่า...เกี่ยวกะ รามเกียรติ์ ไหมเนี่ย... ;D

นั่นนะซิ

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 เม.ย. 11, 11:55
โปรดอ่านซ้ำสัก ๑๐๐ ครั้ง  โดยเฉพาะที่ขีดเส้นใต้

คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน 
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ;D

(อย่างนี้ควรจะให้คะแนนเท่าใดดี) >:(
 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 12:13
โปรดอ่านซ้ำสัก ๑๐๐ ครั้ง  โดยเฉพาะที่ขีดเส้นใต้

คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน 
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ;D

(อย่างนี้ควรจะให้คะแนนเท่าใดดี) >:(
 


ก็ดันตอบไปแล้ว ก็หักคะแนนตามสมควรละกันครับ สงกรานต์อย่าได้ร้อนรุ่มกายา ข้าจักพาน้ำนี้ดับร้อนเอย ให้คุณหลวงสดชื่นๆ ปีใหม่ ๒๕๕๔ นะครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 12:17
ท่าน siamese ไวจริงๆ แต่ว่า...เกี่ยวกะ รามเกียรติ์ ไหมเนี่ย... ;D

นั่นนะซิ

 ;D

เกี่ยวซิครับ คุณดีดี และคุณเพ็ญชมพู วันที่คุณหลวงยกมา ก็เป็นวันประสูติของพระราม, วันเกิดหนุมาน, วันเกิดฤาษีวาลมิกิ ที่ทางศาสนาฮินดูเขาจัดประจำปีเลยครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 เม.ย. 11, 12:49
ปฏิทินอาราย..กันเนี่ย  ???

เรียนถามคุณ luanglek ค่ะ
ข้อนี้ วันขึ้น หรือวันแรมคะ (พอดีเจอแต่ข้อมูลวันแรมค่ะ เลยเรียนถามเพื่อความแน่ใจ)

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 เม.ย. 11, 13:35
ปฏิทินอาราย..กันเนี่ย  ???

เรียนถามคุณ luanglek ค่ะ
ข้อนี้ วันขึ้น หรือวันแรมคะ (พอดีเจอแต่ข้อมูลวันแรมค่ะ เลยเรียนถามเพื่อความแน่ใจ)

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

อ้อ  อันนี้เป็นปฏิทินฮินดูของชาวแคว้นเบงกอล ที่ใช้อักษรเบงคาลีเขียน   อาจจะไม่คุ้นตา
เพราะตัวอักษรหลายตัวเขียนแตกต่างจากอักษรเทวนาครีมาก   คุณไซมีสก็ช่างค้นหามาเสนอดีแท้
มีปฏิทินของชาวแคว้นอื่นๆ ให้ดูอีกไหม  อยากดูอีก (ไม่มีคะแนนให้หรอกครับ)

ส่วนข้อ ๓  วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ที่คุณดีดีสงสัยนั้น 
ใช่ครับ  ที่ถูกต้องเป็นวันข้างแรมครับ   ผมกำลังดูว่าใครจะสังเกตบ้าง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 เม.ย. 11, 13:40
คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด 

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 14:35
ปฏิทินอาราย..กันเนี่ย  ???

เรียนถามคุณ luanglek ค่ะ
ข้อนี้ วันขึ้น หรือวันแรมคะ (พอดีเจอแต่ข้อมูลวันแรมค่ะ เลยเรียนถามเพื่อความแน่ใจ)

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

อ้อ  อันนี้เป็นปฏิทินฮินดูของชาวแคว้นเบงกอล ที่ใช้อักษรเบงคาลีเขียน   อาจจะไม่คุ้นตา
เพราะตัวอักษรหลายตัวเขียนแตกต่างจากอักษรเทวนาครีมาก   คุณไซมีสก็ช่างค้นหามาเสนอดีแท้
มีปฏิทินของชาวแคว้นอื่นๆ ให้ดูอีกไหม  อยากดูอีก (ไม่มีคะแนนให้หรอกครับ)

ส่วนข้อ ๓  วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ที่คุณดีดีสงสัยนั้น 
ใช่ครับ  ที่ถูกต้องเป็นวันข้างแรมครับ   ผมกำลังดูว่าใครจะสังเกตบ้าง


ปฏิทินแบบนี้เรียบง่าย ไม่รกเท่าอันแรก  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 เม.ย. 11, 14:43
คำถามข้อที่ 97 เข้าทางท่าน siamese เลยค่ะ..  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 เม.ย. 11, 14:46
ปฏิทินอักษรคุชราตี   ตัวอักษรคล้ายอักษรเทวนาครีเป็นส่วนใหญ่ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 เม.ย. 11, 18:06
คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน  
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ;D
  

ขอตอบค่ะ  ;D

1.วัน ราม นวมี ตรงกับวัน ขึ้น 9 ค่ำ  เดือน 5 (ปี 2554 ตรงกับวันที่  12 เมษายน 2554)
การอวตารของพระนารายณ์ลงมาเป็นพระรามนั้น ในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่าพระรามได้ประสูติตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือนจิตรา (เดือน 5 ไทย) โดยมีชื่อเรียกวันนี้แบบเต็มๆ ว่า “จิตรามาสศุกลปักษ์นวมี” จึงถือว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่สำคัญวันหนึ่งของชาวฮินดู
ในวันนี้ชาวฮินดูจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไปวัดสวดมนต์ ฟังเทศน์ ฟังธรรม โดยเฉพาะการสวดร่ายรามายณะ หรือการฟังเรื่องราวในมหากาพย์รามเกียรติ์ และจัดพิธีเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ มีการอัญเชิญพระรามพร้อมพระแม่สีดาและพระลักษมณ์มาเป็นประธานในพิธี การสรงสนานอาบน้ำเทวรูปของพระรามพระแม่สีดาด้วยน้ำปัญจามฤต ซึ่งเป็นน้ำมงคล 5 อย่างอันได้แก่ น้ำนมสด, โยเกิร์ต, น้ำมันเนย, น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดอ้อย อีกทั้งยังมีการอัญเชิญและสวดบูชาศรีหนุมาน อันเป็นตัวแทนของเหล่าวานรและสาวกที่จงรักภักดีของพระรามด้วย
การเฉลิมฉลองนี้จะมีติดต่อกันไปถึง 9 วัน 9 คืน เหมือนกับงานนวราตรี หรือเทศกาลนวทุรคาบูชา

2.วัน หนุมาน ชยันตี ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ถือเป็นวันกำเนิดของหนุมาน  (ปี 2554 ตรงกับวันที่ 18 เมษายน 2554)
ตามธรรมเนียมของชาวฮินดูจะตั้งรูปปั้นหนุมานพร้อมของถวายต่างๆ ได้แก่ ผงสีแดง เม็ดงา น้ำมันงา กล้วย มาลัยคล้องคอ ใบรัก ใบพลู และในวันนี้จะมีการอ่านบทสวดสรรเสริญหนุมาน การท่องนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระราม ทั้งยังมีการอดอาหารตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดินเป็นการบูชาด้วย ผู้ที่มาร่วมงานมักจะนำผงสีแดงป้ายบนรูปเคารพหนุมานแล้วนำมาป้ายที่หน้าผากตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อสิ้นสุดพิธีกรรมทางวัดมักจะจัดอาหารมังสวิรัตมาเลี้ยงผู้มาร่วมในพิธีหลังจากอดอาหารมาตลอดทั้งวัน

3.วัน ธันเตราส วันแรกของเทศกาล ดีปวาลี(ดิวาลี) ตรงกับวัน แรม 10 ค่ำ เดือน 11 (ซึ่งในปี 2554 นี้ตรงกับ วันที่ 22 ตุลาคม 2554) เป็นการฉลองการกลับมาครองเมืองอโยธยาของพระรามและนางสีดา หลังจากต้องจากบ้านจากเมืองไปนานถึง 14 ปี ชาวอโยธยาจึงจัดพิธีต้อนรับการกลับคืนมายังพระนคร โดยการจุดประทีป โคมไฟ (ดิยา) ตั้งวางเรียงรายเป็นแถวตามถนนหนทาง ตามอาคารบ้านเรือน สว่างไสวไปทั่วทั้งเมือง ดังนั้นจึงถือว่า ดิยา–ตะเกียงดินเผาใบเล็กๆ ใส่น้ำมันเนยเป็นเชื้อเพลิง เป็นสัญญลักษณ์ของงานนี้  
และวันนี้ถือเป็นวันเริ่มเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่เรียกว่า เทศกาลดีปวาลี(ดิวาลี) จะมีการฉลองยาวนานถึง 5 วัน โดยจะมีการทำความสะอาดบ้าน สวมใส่เสื้อใหม่ นำของขวัญและขนมหวานไปกราบขอพรจากญาติๆ และแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนฝูง และวันสุดท้าย ซึ่งก็คือวันเดือนดับ(แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปี 2554 ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม 2554) พวกเขาก็จะออกมาจุดตะเกียงดินเผาอันเล็กๆ (ดิยา) ที่มีน้ำมันอยู่ในตะเกียง โดยจะวางไว้บนหลังคาบ้าน หน้าประตูบ้าน และตามแนวรั้วบ้าน นอกจากนี้ก็ยังมีการจุดพลุ เล่นดอกไม้ไฟ และจุดประทัดเสียงดังเปรี้ยงป้างด้วย



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 เม.ย. 11, 19:42
คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ;D
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 เม.ย. 11, 20:04
คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ;D
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)

เล่นลิ้นน่าดู ... หักคะแนนดีปะ 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 เม.ย. 11, 08:19
คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ;D
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)

เล่นลิ้นน่าดู ... หักคะแนนดีปะ 8)

น่าสนใจ   หักย้อนหลังก็ไม่เลวนะ
ไม่ตอบแล้วยังมารบกวนบรรยากาศสังคมอุดมปัญญา 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 เม.ย. 11, 09:58
หนูดีดี ขอโทษคุณ luanglek ด้วยนะคะ ที่ทำให้สับสนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม
คำถามของคุณหลวง ที่เป็นข้างขึ้นถูกต้องแล้วค่ะ.... :-[

คำถามข้อที่ ๙๖.
๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

เลยขออนุญาตตอบข้อนี้ใหม่ให้ถูกต้องนะคะ  ;D

3.วัน ดุชเชห์ร่า หรือ วิชยทัสมิ หรือ วิชยาทศมี  ตรงกับวัน ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11 (ปี 2554 ตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม 2554) เป็นวันฉลองชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย เป็นวันที่พระรามปราบอสูร โดยสังหารทศกัณฑ์(อสูรราวัณ)ได้ เชื่อกันว่าพระรามได้ทำพิธีจันดิบูชาขอพรจากพระแม่ทุรคา ทำให้พระรามได้รู้ความลับของทศกัณฑ์ และสังหารทศกัณฑ์ได้ จากนั้นพระรามพร้อมทั้งนางสีดาและพระลักษณ์ได้เสด็จกลับนครอโยธยาในวันที่เรียกว่า "ดิวาลี"
ในวันดุชเชห์ร่า จะมีการแสดงละครพื้นบ้านรามลีลา เล่าเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างพระรามและทศกัณฑ์ คำว่าดุชเชห์ร่า หมายถึงการตัดเศียรทั้งสิบของทศกัณฑ์ นักแสดงจะแต่งกายเป็นพระรามแล้วยิงศรไปยังหุ่นอสูรซึ่งมีประทัดซ่อนไว้ ทำให้หุ่นระเบิดและมีไฟลุกท่วม เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงชัยชนะ ของความดีที่มีเหนือความชั่วร้าย หลังจากนั้นผู้แสดงเป็นพระราม สีดา และพระลักษณ์ ก็จะขึ้นรถม้าแห่แหนไปรอบๆ ฝูงชนจะตะโกนว่า ชัย-ศรี-ราม หมายถึงชัยชนะของพระราม (เป็นการเตือนตนเองให้ทำลายอสูร-ความชั่วร้าย ความไม่ดี ที่อยู่ในตัวของเรา ให้หมดไป)
ดุชเชห์ร่า ถือเป็นวันมงคลมากที่สุดวันหนึ่งของชาวฮินดู เชื่อว่าถ้าเริ่มต้นทำกิจการงานใดๆ ในวันนี้ก็จะประสพความสำเร็จอย่างงดงาม ดังนั้นในวันนี้จึงมักมีการวางฐานอาคารใหม่ๆ เปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ ทั้งยังมีการนำเครื่องมือเกษตร เครื่องจักรกล เครื่องใช้ในครัวเรือน หนังสือเรียนของเด็ก รวมถึงอาวุธทุกประเภทที่มีอยู่ในบ้าน มาเข้าร่วมในพิธีให้พราหมณ์เจิม เพื่อความเป็นสิริมงคล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 เม.ย. 11, 11:27
หนูดีดี ขอโทษคุณ luanglek ด้วยนะคะ ที่ทำให้สับสนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม
คำถามของคุณหลวง ที่เป็นข้างขึ้นถูกต้องแล้วค่ะ.... :-[



นั่นน่ะสิครับ  ผมไปนั่งคิดอยู่ทั้งคืนว่า 
ตกลงมันเป็นข้าขึ้นหรือข้างแรมกันแน่
คิดไปคิดมาคิดไม่ตก เลยหลับไป ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 22:20
คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด 

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ 


ว่า "มหรสพหน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือ หนัง ซึ่งเราเรียกกันในภายหลังว่า หนังใหญ่ เพราะหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็ก เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงเติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป สำหรับหนังใหญ่ตามหลักฐานที่ปรากฎในสมุทรโฆษคำฉันท์บอกว่ามีมาก่อนสมัยพระนารายณ์ฯ" ดังนั้น ตามทรรศนะของธนิต อยู่โพธิ์ หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นหลังรัชกาลดังกล่าว แต่จะเป็นช่วงใดไม่ได้สันนิษฐานไว้

         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นของใหม่ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง คิดเอาอย่างหนังชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วแพร่หลายไปยังที่อื่น และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เองที่หนังตะลุงได้แสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก เมื่อปีชวด พ.ศ.2419

         สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์ มีความเห็นว่า หนังตะลุงคงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีวัฒนธรรมอินเดียปนอยู่ด้วยโดยยกเหตุผลประกอบดังนี้ 
         1. การออกรูปฤาษีและรูปพระอิศวรของหนังตะลุงมักขึ้นต้นด้วย โอม ซึ่งเป็นคำแทนเทพเจ้าสามองค์ของพราหมณ์ (โอม มาจาก อ + ม อ = พระวิษณุ, อุ = พระศิวะ, ม = พระพรหม)
         2. รูปหนังตัวสำคัญ ๆ มีชื่อเป็นคำสันสกฤต เช่น ฤาษี อิศวร ยักษ์ นุด (มนุษย์ = รูปที่เป็นพระราชโอรสของเจ้าเมือง) ชื่อตัวประกอบที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตก็มี เช่น ทาสี เสหนา (เสนา) 
         3. ลักษณะรูปหนังตัวสำคัญๆ มีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระราชาทรงศรหรือไม่ก็ทรงพระขรรค์เครื่องทรงของกษัตริย์ก็เป็นแบบอินเดีย รูปประกอบก็บอกลักษณะวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ปราสาท ราชวัง ต้นรัง (ต้นสาละ)
         4. ลักษณะนิสัยตัวละครบางตัวมีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระอินทร์คอยช่วยเหลือผู้ตกยาก มียักษ์เป็นตัวมาร ตัวละครบางตัวมีความรู้ทางไสยศาสตร์ 
         5. เนื้อเรื่องแบบโบราณจริงๆ นิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนหลังแม้จะเล่นเรื่องอื่นๆ แต่ในพิธีแก้บนจะเล่นเรื่องรามเกียรติ์
อุดม  หนูทอง มีทรรศนะเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า หนังตะลุงเป็นการเล่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากขนบนิยมในการแสดงและหลักฐานอื่นๆ ดังนี้
         1. เรื่องที่แสดง ปรากฏจากคำบอกเล่าและบทกลอนไหว้ครูหนังหลายสำนวนว่า เดิมทีหนังตะลุงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ดังตัวอย่างกลอนไหว้ครูของหนังอนันต์ตอนหนึ่งว่า 

         "เรื่องรามเกียรติ์เล่นแต่ตอนปลาย หนุมานพานารายณ์ไปลงกา"

         2. ลำดับขั้นตอนในการแสดง มีการออกลิงดำลิงขาวหรือ ออกลิงหัวค่ำ (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ออกฤาษี ออกโค (ออกรูปพระอิศวรทรงโค) ออกรูปฉะ คือ รูปพระรามกับทศกัณฐ์ต่อสู้กัน (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ธรรมเนียมเหล่านี้แสดงร่องรอยของอิทธิพลพราหมณ์ทั้งสิ้น
 
พิธีแก้บนหรือพิธี เห.ม.รย         

  เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เห.ม.รย หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเห.ม.รย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบ
         ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มารับ
         เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเห.ม.รย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดต่อเห.ม.รย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเห.ม.รย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 เม.ย. 11, 09:39
คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด  

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ  


วันเนาตอบไม่ทันค่ะ ตอบวันนี้ละกันนะคะ... ;D

รามเกียรติ์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ในการแสดงหนังตะลุงเพื่อการใช้บนหรือการตัดเหมรย

การใช้บน (แก้บน แก้เหมรย หรือ ตัดเหมรย) คือการแก้บน เป็นกิจกรรมที่ช่วยปลดเปลื้องความผูกพันที่ติดค้างทางใจ เป็นสื่อกลางในเรื่องการช่วยเหลือและการตอบแทนระหว่างผู้บนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เร้นลับ
 
เหมรย เป็นข้อตกลงที่ให้ไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เร้นลับ เมื่อบรรลุเป้าประสงค์ ก็นำหนังตะลุงมาแสดงเพื่อตัดเหมรย ห่อเหมรยที่บรรจุหมากพลู มอบให้แก่นายหนัง การตัดเหมรยต้องแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันยกเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดงพอเป็นพิธี เช่น ตอนพระรามแผลงศรไปสังหารทศกัณฑ์ ดนตรีทำเพลงเชิด มีพระอินทร์มาเป็นสักขีพยานด้วย ฤาษีจับห่อเหมรยขึ้น นายหนังถือเขียน ตัดห่อเหมรยด้วยมีดครู บริกรรม รมคาถาตัดเหมรยว่า “พุทธัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะธัมมัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะ สังฆัง ปัจจักขามิ เดหิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะ” เจ้าภาพจุดเทียนหน้าโรงหนัง ประกาศแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนมีข้อตกลงไว้โดยสมบูรณ์ถูกต้องแล้ว

พิธีแก้บนหรือแก้เหมรย เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เหมรย  หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเหมรย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบด้วย

ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มา เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเหมรย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดห่อเหมรย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเหมรย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงเพื่อให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 เม.ย. 11, 13:41
ผมนึกว่าจะไม่มีคนตอบคำถามข้อที่ ๙๗ เสียแล้ว

คุณไซมีสตอบมายาวพอสมควร  ผมให้  ๒๐ คะแนน

คุณดีดีตอบมายาวแต่ละเอียดกว่า  ให้ ๒๕ คะแนน

รายละเอียดของคำตอบข้อนี้ ผมจะเอาเฉลยให้ภายหลังนะครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 เม.ย. 11, 14:17
คำถามข้อที่ ๙๘.


จงหาโคลงที่ต่อจากโคลง ๓ บทที่ให้ไว้นี้อีก  ๑๐  บท
พร้อมระบุด้วยว่า ได้คำตอบมาหนังสือหรือแหล่งข้อมูลใด

๑.ลูกลมสงบแล้ว              แหงนมอง
ทั่วมรรคในเมฆี                เพื่อค้น
หาสมรซึ่งราพณ์ตระกอง    กอดเห็จ  หาวแฮ
วายุบุตรห้าวด้น                ดิ่งหา


๒.รามจันทร์บรรลุเบื้อง       บึงปัม   ปาเอย
สัตตบุษย์สัตตบรรณฟู         ฟ่องน้ำ
ทอดทัศน์มัตสยาสำ           ราญว่าย   เวียนแล
รามเมศวุ่นว้าช้ำ                ชอกครวญ


๓.ทรงยินวายุบุตรซ้อง      สัจวา  จาเนอ
รามรื่นหฤทัยพลัน             พลุ่งถ้อย
"โอ้สุครีพเคลื่อนทัพครา    สูรย์เที่ยง
ชนะแน่ฤกษ์นี้ข้อย            คาดการณ์"

ข้อนี้ราคา  ๔๐ คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เลือกทำข้อเดียว
ตั้งแต่เพลา  ๑๘.๐๐ น. ของวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔
สิ้นสุดการตอบในวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน  ศกนี้  เวลา ๑๐.๐๐ น.
ตอบก่อนเพลาไม่ตรวจ  ตอบไม่ครบไม่ตรวจ 
ทำผิดคำสั่งไม่ตรวจ (แถมหักคะแนน ๕ คะแนน)
แซว  หัก  ๒๐ คะแนน   ให้ใบ้ข้อมูล  ลดคะแนนครั้ง ๑๐ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 เม.ย. 11, 13:47
กำหนดตอบคำถามข้อที่ ๙๘. ผ่านพ้นไปหลายวันแล้ว
ยังไม่มีผู้ใดตอบโจทย์ที่ให้ไว้ได้แม้แต่คนเดียว

ฉะนั้น  ผมจะให้คำใบ้ ๑ คำใบ้   และลดคะแนนเต็มลงเหลือ ๓๐ คะแนน

คำใบ้   โคลงที่ยกเอามาเป็นโจทย์นี้ 
มาจากวรรณกรรมที่แต่งหลัง ๒๕๐๐ และคนแต่งเป็นผู้ชาย

อ้อ   ถ้ายังไม่มีใครตอบได้  เราจะยังไม่ตั้งคำถามข้อต่อไป
ตอบไม่ได้ก็ค้างไว้อย่างนี้   ถ้าไม่มีใครตอบได้
เราก็จะตั้งคำถามใหม่   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 13:55
คนแต่ง น่าจะเป็นคนอีสานนะคะ พระรามแทนตัวเองว่า "ข้อย" ด้วย....

(อันนี้รำพึงรำพันเฉยๆ นะคะ ไม่ได้แซวใครเลย... ;D)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 14:09
คนแต่ง น่าจะเป็นคนอีสานนะคะ มีคำว่า "ข้อย" ด้วย....

(อันนี้รำพึงรำพันเฉยๆ นะคะ ไม่ได้แซวใครเลย... ;D)

เห็นพ้องด้วย วรรณกรรมรามเกียรติ์หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ นี่ถือว่าท่านผู้นี้เก่งมานะครับ  (อันนี้รำพึงให้คุณดีดี ได้ยินนะ ไม่เกี่ยวกับให้ช่วยใบ้คำ  ;D ;D)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 09:58
คำใบ้เพิ่ม  คราวนี้ขอลดคะแนนเต็มลงเหลือ ๑๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๙๘.


จงหาโคลงที่ต่อจากโคลง ๓ บทที่ให้ไว้นี้อีก  ๑๐  บท
พร้อมระบุด้วยว่า ได้คำตอบมาหนังสือหรือแหล่งข้อมูลใด

๑.ลูกลมสงบแล้ว              แหงนมอง
ทั่วมรรคในเมฆี                เพื่อค้น
หาสมรซึ่งราพณ์ตระกอง    กอดเห็จ  หาวแฮ
วายุบุตรห้าวด้น                ดิ่งหา


๒.รามจันทร์บรรลุเบื้อง       บึงปัม   ปาเอย
สัตตบุษย์สัตตบรรณฟู         ฟ่องน้ำ
ทอดทัศน์มัตสยาสำ           ราญว่าย   เวียนแล
รามเมศวุ่นว้าช้ำ                ชอกครวญ


๓.ทรงยินวายุบุตรซ้อง      สัจวา  จาเนอ
รามรื่นหฤทัยพลัน             พลุ่งถ้อย
"โอ้สุครีพเคลื่อนทัพครา    สูรย์เที่ยง
ชนะแน่ฤกษ์นี้ข้อย            คาดการณ์"

ข้อนี้ราคา  ๔๐ ๑๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   

คำใบ้คือ  คนแต่งคือ นายสุภร  ผลชีวิน
แต่งโคลงดั้น รามายณ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 10:34
^
ขอบคุณครับ คุณหลวงเล็ก ข้อนี้ถือว่าเบื้องต้นยากเช่นกัน แต่ถ้าได้มีหนังสือก็ไม่ยาก เปรียบดังความรู้ไซร้ ยากหรือไม่ยาก อยู่ที่รู้หรือไม่รู้  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 10:53
รามายณ / ของ พรหมฤษี วาลมีกิ ; เรียบเรียงเป็นโคลงดั้น โดย สุภร ผลชีวิน
พระนคร :โรงพิมพ์พระจันทร์, 2514
ห้องสมุดที่จัดเก็บ : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
สถานที่จัดเก็บ     : โครงการอุทยานการศึกษา
เลขเรียกหนังสือ  : PL4209.1ร6ร 2514
สถานะ              : ห้ามยืม

รามายณของพรหมฤษี วาลมีกิ/ ของพรหมฤษี วาลมีกิ; เรียบเรียงเป็นโคลงดั้นโดย สุภร ผลชีวิน
กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา , 2520
275 หน้า : 19 ซม.
อนุสรณ์งานศพ (ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์), หม่อม
: 12 บาท
ห้องสมุดที่จัดเก็บ :ห้องสมุด ศ.ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา
สถานที่จัดเก็บ     :สำนักวิทยบริการ
เลขเรียกหนังสือ  :SL 895.911 ร447 ฉ.1
สถานะ              : ใช้เฉพาะในห้องสมุด

ไม่มี online ขึ้นเว็ปเลย   :'(
ใครไป อ่านเผื่อด้วยนะคะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 11:10
จะให้เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๘ เป็นอย่างอื่นไหม
ผมจะได้เปลี่ยนเสียแต่วันนี้ 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 11:45
ไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐ เลยค่ะ......


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 13:11
ไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐ เลยค่ะ......

ไม่เป็นไร   ถ้ายังไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐
ผมจะซอยคำถามเป็น  ข้อที่ ๙๘.๐๑...ไปสัก ๙๙ ข้อ
ทำอย่างนี้ก็เล่นได้เป็นปี   แต่เกรงว่าจะเบื่อกันเสียก่อนนะสิ :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 13:21
ไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐ เลยค่ะ......

ไม่เป็นไร   ถ้ายังไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐
ผมจะซอยคำถามเป็น  ข้อที่ ๙๘.๐๑...ไปสัก ๙๙ ข้อ
ทำอย่างนี้ก็เล่นได้เป็นปี   แต่เกรงว่าจะเบื่อกันเสียก่อนนะสิ :)

๐.๐๑   ::) ::) ::) แบบนี้ต้องเรียกว่า "สตรางเกรียติ์" (สนธิ : สตางค์ + รามเกียรติ์ ใช่ไหมคุณหลวง  ;))


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:11
ไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐ เลยค่ะ......

ไม่เป็นไร   ถ้ายังไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐
ผมจะซอยคำถามเป็น  ข้อที่ ๙๘.๐๑...ไปสัก ๙๙ ข้อ
ทำอย่างนี้ก็เล่นได้เป็นปี   แต่เกรงว่าจะเบื่อกันเสียก่อนนะสิ :)

ยังจะซอยกันอีกหรือ

เหนื่อยใจๆ ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:12
๐.๐๑   ::) ::) ::) แบบนี้ต้องเรียกว่า "สตรางเกรียติ์" (สนธิ : สตางค์ + รามเกียรติ์ ใช่ไหมคุณหลวง  ;))

เป็นการสมาสสนธิคำได้ประหลาดมาก ::) ??? :-\
ตกลงจะให้เปลี่ยนคำถามไหม   จะได้เปลี่ยนให้ใหม่
เห็นใครบางคนบ่นว่ายาก  

(แต่ถึงจะเปลี่ยนก็ไม่ได้ง่ายลงหรอกนะ) 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:19
๐.๐๑   ::) ::) ::) แบบนี้ต้องเรียกว่า "สตรางเกรียติ์" (สนธิ : สตางค์ + รามเกียรติ์ ใช่ไหมคุณหลวง  ;))

เป็นการสมาสสนธิคำได้ประหลาดมาก ::) ??? :-\
ตกลงจะให้เปลี่ยนคำถามไหม   จะได้เปลี่ยนให้ใหม่
เห็นใครบางคนบ่นว่ายาก   

(แต่ถึงจะเปลี่ยนก็ไม่ได้ง่ายลงหรอกนะ) 8)

รอสักเจ็ดวันเถิด
บางทีอาจจะมีคำตอบโผล่มาให้ยลกัน ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:21
ไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐ เลยค่ะ......

ไม่เป็นไร   ถ้ายังไม่อยากให้ถึงข้อที่ ๑๐๐
ผมจะซอยคำถามเป็น  ข้อที่ ๙๘.๐๑...ไปสัก ๙๙ ข้อ
ทำอย่างนี้ก็เล่นได้เป็นปี   แต่เกรงว่าจะเบื่อกันเสียก่อนนะสิ :)

ยังจะซอยกันอีกหรือ

เหนื่อยใจๆ ::)

เอ้า  คนอยากเล่นเขามีนะคุณอาร์ท
ส่วนคนที่ชักเริ่มไฟมอด  แนะนำให้ไปเติมแก๊สก่อน
แต่ว่า  ผมเองก็อยากให้จบเร็วๆ นะ
จะได้ไปตั้งกระทู้ใหม่บ้าง   แต่หมดกระทู้นี้แล้วคงจะพักก่อน
เหนื่อยยยยยยยย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 08 พ.ค. 11, 09:26
นักรบสตางค์เกียรติ์เจ้าขา...อ่อนล้าอ่อนแรงกันหมดแล้ว ฤาๆๆๆๆๆๆๆๆ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 พ.ค. 11, 09:29
นักรบสตางค์เกียรติ์เจ้าขา...อ่อนล้าอ่อนแรงกันหมดแล้ว ฤาๆๆๆๆๆๆๆๆ



ยังปึ๋งปั๋ง อยู่ขอรับ  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 พ.ค. 11, 21:12
ร่างกายยังปึ๋งปั๋ง แต่สมองไร้ซึ่งกำลังเสียแล้ว :(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 พ.ค. 11, 15:10
เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๘

คำถามข้อที่ ๙๘.

มีคนไทยที่เป็นกวีคนหนึ่ง มีความสามารถด้านจิตรกรรม
ได้เคยวาดภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ไว้ที่หนึ่ง

ถามว่า  คนไทยที่เป็นกวีคนนั้นคือใคร   
เคยวาดภาพจิตรกรรมดังกล่าวไว้ที่ไหน 
ภาพที่ว่านั้นเป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด
จงเล่าเรื่องราวภาพรามเกียรติ์ตอนดังกล่าวมาสังเขป
และกวีคนนั้นมีผลงานกวีนิพนธ์เรื่องอะไรบ้าง

ตอบได้ที่หน้าม่าน  ได้ตั้งแต่บัดนี้  ราคา  ๒๐ คะแนน
เขียนผิดหักที่ละ ๒ คะแนน  หมดเขตตอบวันวิสาขบูชา
เวลา  ๐๖.๐๐  น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 พ.ค. 11, 17:39
คุณหลวงมายังไง ไม่ให้ซุ่มให้เสียง ???
แถมเปลี่ยนข้ออีกต่างหากน่ะ :o

เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๘

คำถามข้อที่ ๙๘.

มีคนไทยที่เป็นกวีคนหนึ่ง มีความสามารถด้านจิตรกรรม
ได้เคยวาดภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ไว้ที่หนึ่ง

ถามว่า  คนไทยที่เป็นกวีคนนั้นคือใคร  
เคยวาดภาพจิตรกรรมดังกล่าวไว้ที่ไหน  
ภาพที่ว่านั้นเป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด
จงเล่าเรื่องราวภาพรามเกียรติ์ตอนดังกล่าวมาสังเขป
และกวีคนนั้นมีผลงานกวีนิพนธ์เรื่องอะไรบ้าง

ตอบได้ที่หน้าม่าน  ได้ตั้งแต่บัดนี้  ราคา  ๒๐ คะแนน
เขียนผิดหักที่ละ ๒ คะแนน  หมดเขตตอบวันวิสาขบูชา
เวลา  ๐๖.๐๐  น.


คำตอบ

หมื่นพรหมสมพัตสร (มี) บุตรพระโหราธิบดี (ชุ่ม)

วาดภาพรามเกียรติ์ไว้ที่ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อคราวปฏิสังขรณ์บูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3
โดยเลือกวาดตอนพระอินทร์รับสั่งให้พระวิษณุกรรมลงมาสร้างเมืองลงกาแทนของเก่า หลังจากที่โดนหนุมานใช้อุบายเผาจนวอดวาย

แต่รูปที่นายมีวาดกล่าวกันว่า ผูกเป็นรูปกรุงลงกา ซึ่งนอกจากจะมีพระมหาปราสาทเป็นประธานตามขนบจารีตแล้ว
รูปตึกกว้านร้านรวงต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบเมืองนั้น กลับวาดแบบตึกอย่างจีนอย่างฝรั่งซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันในสมัยนั้น
แทนบ้านเรือนอย่างไทยๆ ด้วย

ด้วยเหตุนี้ นายมีจึงได้รับสมญานามว่า "นายมีลงกาใหม่"

หมื่นพรหมสมพัตสร (มี) มีผลงานทางด้านวรรณกรรมซึ่งเป็นที่รู้จักดังนี้
- นิราศเดือน
- นิราศพระแท่นดงรัง
- นิราศสุพรรณ
- นิราศถลาง
- กลอนเพลงยาวเลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ทศมูลเสือโค


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 พ.ค. 11, 10:09
ดีมาก  เอาไป ๑๘ คะแนน หัก ๒ คะแนนจาก
อ้างถึง
- กลอนเพลงยาวเลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 พ.ค. 11, 10:10
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 พ.ค. 11, 10:21
คำถามข้อที่  ๙๙.

โศลกภาษาสันสกฤตจากมหากาพย์รามายณะของวาลมีกิต่อไปนี้

“मा निषाद प्रतिष्टां त्वमगमः शाश्वतीः समाः ।
यत् क्रौंचमिथुनादेकमवधीः काममोहितम् ।।”॥१-२-१५॥
(โศลกในรามายณะ พาลกาณฑ์ สรรคที่ ๒ บทที่ ๑๕ )

มีผู้นำมาแต่งแปลเป็นร้อยกรองภาษาไทย
นักรบทั้งหลายจงหาบทร้อยกรองที่แต่งแปลโศลกข้างต้น
มาแสดงให้ครบถ้วน  

ตอบหน้าม่าน  ราคา ๓๐ คะแนน  เขียนสะกดผิด
หักที่ละ  ๒ คะแนน  เริ่มตอบได้ ณ บัดนี้
ไปจนกว่าจะมีคนหาคำตอบได้  

ถ้าพ้น  ๗ วันไปแล้วไม่มีคนตอบได้
ผมจะตั้งคำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๑ - ๙๙.๑๐
มาถามต่อไป  โดยไม่เฉลยคำถามข้อที่ ๙๙.
และไม่เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๙.

ขอให้โชคดี



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 พ.ค. 11, 10:56
 ;D
โศลกนี้ เป็นคำสาปค่ะ...

มา นิษาท ปฺรติษฺฐำ ตวมํ       อคมะ ศาศฺจตีะ สมาะ |                
ยตฺเกฺราญฺจมิถุนาเทกํ           อวธีะ กามโมหิตมฺ      ||

“ดูก่อน นิษาท (นายพราน) เจ้าได้สังหารนกตัวนี้ที่กำลังลุ่มหลงกับความรัก เจ้าจงอย่าได้มีชีวิตอยู่เนิ่นนานเลย”

ร้อยกรองภาษาไทยที่แต่งแปลโศลกนี้ แต่งเป็น ฉันท์ ค่ะ
ยังหาไม่เจอ.... ;D
(เข้ามาส่งเสียงให้รู้ว่า ยังเกาะติดกระทู้อยู่ค่ะ
ไม่ได้หายไปไหน แต่ยังหาคำตอบไม่ได้ค่ะ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 12 พ.ค. 11, 11:04
ดีมาก  เอาไป ๑๘ คะแนน หัก ๒ คะแนนจาก
อ้างถึง
- กลอนเพลงยาวเลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว



อ่ะนะ ข้าเจ้าพลาดเอง :(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 พ.ค. 11, 11:18
เข้ามาแวะส่งเสียงทักทาย

เหมือนโศลกนี้ท่านเคยบรรเลงมาแล้วนะนี่ मा निषाद प्रतिष्टां त्वमगमः शाश्वतीः समाः

 :P

แนบภาพนกกระเรียนอินเดีย ที่เกี่ยวข้องกับโศลกดังกล่าว นกกระเรียนไทยก็คล้ายกันแบบนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 11:44
สะกดรอยคุณหลวงได้ข้อมูลมาดังนี้แล

เรื่องที่ถูก น่าจะเป็นดังนี้  

ฤาษีวาลมีกิเห็นนายพรานยิงฆ่านกกระเรียนตัวผู้ที่กำลังเกี้ยวกันกับนกกระเรียนตัวเมียที่เป็นคู่รัก  เมื่อนกกระเรียนตัวผู้ตาย  นกกระเรียนตัวเมียก็ร่ำพิไรโสฏมาก  ฤาษีวาลมีกิเห็นเข้าก็สะเทือนใจ  จึงหลุดปากสาปแช่งนายพรานนั้น  คำสาปนั้น ก็คือ โศลกในรามายณะ พาลกาณฑ์ สรรคที่ ๒ บทที่ ๑๕  ความว่า

मा निषाद प्रतिष्ठाम्त्व ।  
मगमः शाश्वतीः समाः ।    
यत् क्रौङ्च मिथुनात् एक ।
मवधीः काम मोहितम् ॥१-२-१५॥

ท่วงทำนองของคำสาปเป็นฉันท์ ที่มีความไพเราะ  ฤาษีวาลมีกิพิจารณาเห็นดังนั้น  ก็คิดได้ว่า   จะเอาฉันท์ที่ตนเองขึ้นได้โดยบังเอิญนี้ไปแต่งเรื่องพระรามที่ฤาษีวาลมีกิได้ฟังจากพระฤาษีนารทเมื่อครั้งก่อน  (ก่อนหน้านั้น พระฤาษีนารทได้เล่าเรื่องพระรามให้ฤาษีวาลมีกิฟังแล้วเมื่อมาเยือนที่อาศรมของฤาษีวาลมีกิ) แล้วฤาษีวาลมีกิก็แต่งเรื่องพระรามด้วยฉันท์ดังกล่าว จากนั้น ก็ฝึกขับเรื่องรามายณะนั้น  ความทราบไปถึงพระฤาษีนารทและพระพรหม  ทั้งพระฤาษีนารทและพระพรหมจึงมาขอให้ฤาษีวาลมีกิขับรามายณะให้ฟัง

โศลก "มา นิษาท ฯ" นั้นสามารถแปลได้ ๒ แบบ  ถ้าอยากทราบความหมายของโศลก  ขอให้ไปหาอ่านเอาเถิด  

  

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 12 พ.ค. 11, 12:04
ทึ่งมาก คุณ D:D: อ่านออกเสียงเทวะนาครีให้ดูเป็นขัวญตาได้ด้วย เก่งจริง ๆ ;) ;) ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 พ.ค. 11, 12:23
ทึ่งมาก คุณ D:D: อ่านออกเสียงเทวะนาครีให้ดูเป็นขัวญตาได้ด้วย เก่งจริง ๆ ;) ;) ;)

ไม่เก่งหรอกค่ะ หามาจากอินทรเนตร (อินเตอร์เน็ท) น่ะค่ะ  :-[


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 12:54
internet  ---> อินทรเนตร

คุณดีดีบัญญัติศัพท์ได้เด็ดจริง ๆ

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 พ.ค. 11, 14:07
ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ ใช้ได้ค่ะ เผื่อฮิตในหมู่วัยรุ่นจะได้เพิ่มในพจนานุกรมคำใหม่...ฮิฮิ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 12 พ.ค. 11, 20:20
คำถามข้อที่  ๙๙.

ถ้าพ้น  ๗ วันไปแล้วไม่มีคนตอบได้
ผมจะตั้งคำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๑ - ๙๙.๑๐
มาถามต่อไป  โดยไม่เฉลยคำถามข้อที่ ๙๙.
และไม่เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๙.

ขอให้โชคดี


ดูท่าคุณหลวงจะมีคำถามอีกมากนะขอรับ
คงจักเสียดายความรู้อยู่ :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 พ.ค. 11, 20:39
คำถามข้อที่  ๙๙.

โศลกภาษาสันสกฤตจากมหากาพย์รามายณะของวาลมีกิต่อไปนี้

“मा निषाद प्रतिष्टां त्वमगमः शाश्वतीः समाः ।
यत् क्रौंचमिथुनादेकमवधीः काममोहितम् ।।”॥१-२-१५॥
(โศลกในรามายณะ พาลกาณฑ์ สรรคที่ ๒ บทที่ ๑๕ )

มีผู้นำมาแต่งแปลเป็นร้อยกรองภาษาไทย
นักรบทั้งหลายจงหาบทร้อยกรองที่แต่งแปลโศลกข้างต้น
มาแสดงให้ครบถ้วน  

ตอบหน้าม่าน  ราคา ๓๐ คะแนน  เขียนสะกดผิด
หักที่ละ  ๒ คะแนน  เริ่มตอบได้ ณ บัดนี้
ไปจนกว่าจะมีคนหาคำตอบได้  

ถ้าพ้น  ๗ วันไปแล้วไม่มีคนตอบได้
ผมจะตั้งคำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๑ - ๙๙.๑๐
มาถามต่อไป  โดยไม่เฉลยคำถามข้อที่ ๙๙.
และไม่เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๙.

ขอให้โชคดี



ฤๅษีวาลมิกิได้รับรู้เรื่องราวอันแสนยิ่งใหญ่ขององค์รามแล้ว ก็ปรารถนาจะเล่าขานตำนานนี้สืบต่อไปในมนุษยโลก แต่ก็มิรู้จะหาคำประพันธ์ใดที่ไพเราะเสมอเรื่องที่จะเล่าได้ จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ฤๅษีวาลมิกิพักผ่อนอยู่ที่ริมแม่น้ำทามาส สายตาของท่านได้มองเห็นนกกระเรียนคู่หนึ่งจับคู่ร้องเล่นกันอยู่ แต่พรานป่าผู้โหดเหี้ยมได้ขึ้นศรของตน ปล่อยศรจากธนูพุ่งเสียบนกกระเรียนตัวผู้ที่กำลังเกี้ยวพาราศีตัวเมียตาย ฤๅษีวาลมิกิโกรธมากจึงเอ่ยคำสาปแช่งพรานนั้นว่า 


मा निषाद प्रतिष्ठाम्त्व । (มานิษาท ปรติษฺฐามตว)
मगमः शाश्वतीः समाः । (มคมาฮ์ ศาฤจตีฮ์ สมาฮ์)
यत् क्रौङ्च मिथुनात् एक । (ยตฺ เกรญฺจ มิถุนาตฺ เอก)
मवधीः काम मोहितम् (มวโธฮ์ กาม โมหิตมฺ)

แปลเป็นไทยได้ความว่า "ดูก่อน เจ้าพรานป่า เจ้าอย่าได้ถึงความมั่นคงชั่วกาลนาน (= จงถึงแก่ความพินาศ) เหตุเพราะเจ้าได้สังหารนกกระเรียนคู่หนึ่งซึ่งกำลังลุ่มหลงอยู่ในกามแห่งตน ให้มันตายอยู่ฝ่ายเดียว "

ที่มา http://www.boysapolclub.com/Forums/index.php?action=printpage;topic=537.0


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 พ.ค. 11, 13:28
ยังไม่มีใครตอบ

ขอแทรกด้วยคำถามข้อที่ ๙๙.๐๑

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๑

มียักษ์ในรามเกียรติ์ตนใดบ้างที่ได้รับพรจากพระอิศวรหรือพระพรหม
และยักษ์แต่ละตนได้พรว่าอย่างไร  ตอบมา  ๕  ตน


กติกา  ข้อนี้  ๒๕  คะแนน  พิมพ์ผิดหักที่ละ  ๒  คะแนน
จงตอบหลังตะวันตกดินในวันจตุททสีเดือนไพศาขะ
ไปจนกระทั่งตะวันตกดินในวันบุณณมีเดือนไพศาขะ
พ้นนี้ไม่ให้คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 พ.ค. 11, 14:12
ยังไม่มีใครตอบ

ขอแทรกด้วยคำถามข้อที่ ๙๙.๐๑


นี่นะ ๐.๐๑ แสดงว่ามีอีก ๑๐๐ ข้อซิเนี่ย ...แบบนี้  ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 พ.ค. 11, 15:33
มีแค่ ๑๐ ข้อย่อย ขอรับ
กรุณาดูดีๆ 

อ้างถึง
ผมจะตั้งคำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๑ - ๙๙.๑๐

อ้อ  กรุณาสำรวมกิริยาด้วย
กระทู้นี้ งดใช้เสียงกรี๊ดวี้ดว้ายกระตู้วู้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 พ.ค. 11, 20:33
๐.๐๑ = ๑/๑๐๐  แสดงว่ามี ๑๐๐ ข้อ

หาก ๑๐ ข้อ คือ ๐.๑ = ๑/๑๐

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 พ.ค. 11, 19:52
ยังไม่มีใครตอบ

ขอแทรกด้วยคำถามข้อที่ ๙๙.๐๑

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๑

มียักษ์ในรามเกียรติ์ตนใดบ้างที่ได้รับพรจากพระอิศวรหรือพระพรหม
และยักษ์แต่ละตนได้พรว่าอย่างไร  ตอบมา  ๕  ตน


กติกา  ข้อนี้  ๒๕  คะแนน  พิมพ์ผิดหักที่ละ  ๒  คะแนน
จงตอบหลังตะวันตกดินในวันจตุททสีเดือนไพศาขะ
ไปจนกระทั่งตะวันตกดินในวันบุณณมีเดือนไพศาขะ
พ้นนี้ไม่ให้คะแนน


ค่ำแล้ว แสงดาวงามอร่ามสรวง จันทร์ลอยนวล ดูกับทรามเมื่อยามเห็น.....

1.   ตนแรกชื่อ หิรันตยักษ์ ซึ่งได้บำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากพระอิศวรให้มีฤทธิ์มากขึ้น เมื่อได้พรแล้วจึงคิดกำเริบว่าไม่มีใครสามารถสู้ได้ จึงม้วนแผ่นดินแล้วเหาะนำไปไว้ที่เมืองบาดาลทำให้เทวดาเดือดร้อนมาก และในขณะเดียวกันพระอิศวรก็ยังให้พรแก่ “ตรีบุรัม” เพื่อให้มีฤทธิ์มากมาย และตรีบุรัมกล้าที่จะประลองกับพระนารายณ์
ตอบว่าพระที่ได้รับจากพระอิศวร คือ “ขอให้มีฤทธิ์มากขึ้น” คือ หิรันตยักษ์  ให้สามารถม้วนแผ่นดินได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก    จึงต้องให้พระนารายณ์ลงไปปราบหิรันตยักษ์    โดยพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขวิดฆ่าหิรันตยักษ์ได้สำเร็จ

2.   นนทุก นี่ก็ได้รับพรจากพระอิศวรเช่นเดียวกัน โดยพระอิศวรได้ ให้พรแก่หิรัญยักษ์ ให้สามารถม้วนแผ่นดินได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก    จึงต้องให้พระนารายณ์ลงไปปราบหิรันตยักษ์    โดยพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขวิดฆ่าหิรันตยักษ์ได้สำเร็จ

3.   อินทรชิต ได้รับพรจะเทพทั้ง ๓ องค์เลย เนื่องจากอินทรชิตนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาถึง ๗ ปี เมื่อครบสำเร็จแล้วเทพทั้ง ๓ ต่างก็ประทานพร และของวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์และบอกพระเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์ให้  ส่วนพระพรหมนั้นประทานศรนาคบาศและให้พรว่า “เมื่อจะตายให้ตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดจากตัวตกถึงพื้นให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ และต้องได้พานทิพย์จากพระพรหมมารองรับจึงจะไม่เกิดไฟไหม้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษษุปาณัมให้แก่อินทรชิต

4.   ท้าวมหาบาล ได้รับพรจากพระอิศวร “หากว่าใครจะฆ่าไม่ตาย ยกเว้นแต่จะเอาดวงใจมาขยี้”
“ได้ฟังจึ่งร้องตอบไป  อันอ้ายอสุรามหาบาล
ได้พรสมเด็จพระศุลี  จึ่งมีศักดากล้าหาญ
ฟอนฟันแต่กายไม่วายปราณ ด้วยเดชชัยชาญประสาทมา
จะฆ่าจงแหวะเอาดวงใจ  ขยี้ไปให้แหลกกับหัตถา
ขุนมารก็จะม้วยมรณา   โดยบัญชาสั่งพระศุลี”


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 พ.ค. 11, 10:07
๐.๐๑ = ๑/๑๐๐  แสดงว่ามี ๑๐๐ ข้อ

หาก ๑๐ ข้อ คือ ๐.๑ = ๑/๑๐

 ;D

เลขข้อย่อย ๑๐ ข้อนี้  ผมตั้งใช้เฉพาะในกระทู้นี้  ไม่ได้อ้างเอาเลขทศนิยมมาใช้
และผมก็คงไม่ลากยาวไปอีก ๑๐๐ ข้อ  เพราะมีภาระหน้าที่ต้องทำอยู่มาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 พ.ค. 11, 13:11
ยังไม่มีใครตอบ

ขอแทรกด้วยคำถามข้อที่ ๙๙.๐๑


ยังไม่มีใครตอบข้อ 99 เลย
มาตั้งข้อย่อยอีกแหละ
ผิดกฏที่ตั้งไว้นะจ๊ะ

คำถามข้อที่  ๙๙.

ถ้าพ้น  ๗ วันไปแล้วไม่มีคนตอบได้
ผมจะตั้งคำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๑ - ๙๙.๑๐
มาถามต่อไป  โดยไม่เฉลยคำถามข้อที่ ๙๙.
และไม่เปลี่ยนคำถามข้อที่ ๙๙.

ขอให้โชคดี


คุณหลวงก็นะ.. หาเรื่องเหนื่อยให้จริงๆ :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 พ.ค. 11, 13:19
ตกลงจะตอบหรือไม่ตอบ   ตอบไม่ได้ก็บอก 
ติดอะไร  ก็คุยกันหลังม่านได้นะ 

ที่ตั้งคำถามข้อย่อย  ก็เพราะกลัวจะเหงาเปล่าๆ
ในระหว่างที่รอผู้มีบุญมาตอบคำถามข้อที่ ๙๙
ก็เลยเอาคำถามง่ายๆ มาโปรยเรือใบไว้ให้เหยียบเล่นไปพลางๆ ก่อน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 พ.ค. 11, 16:25
คำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๒

พระรามเคยแผลงศรชื่อจันทวาทิตย์ตอนใด
จงตอบพร้อมเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้นมาพอรู้เรื่อง

กติกา  ตอบได้เดี่ยวนี้ที่หน้าม่านไปจนกว่าจะถึงเพลาเที่ยงคืน
วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม  ๒๕๕๔  ราคา  ๑๐  คะแนน
เขียนสะกดผิด  หัก  ที่ ๒ คะแนน  เช่นเคย
ตอบเกินเวลา  ไม่มีคะแนนให้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 17 พ.ค. 11, 16:57
ผู้สนใจขอร่วมสนุกด้วยครับ
อยู่ในตอน "นางสีดาลุยไฟถวายสัตย์"
เมื่อนางสีดาเข้าเฝ้าพระรามหลังจากอยู่ในวังของทศกัณฐ์มาหลายปี พระรามแสร้งงว่าทศกัณฐ์คงพระราชทานของทีมีค่ามากมายให้นาง จึงขอทอดพระเนตรบ้าง
นางสีดาเสียพระทัย นางจึงขอให้พระรามเชิญเทวดามาเป็นพยาน นางจะลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์   พระรามจึงแผลงศรจันทวาทิตย์เชิญเหล่าเทวดา และแผลงศรอัคนี เป็นไฟไปจุดฟืน   นางสีดาตั้งจิตอธิษฐาน สาบานต่อหน้าเทวดา ถ้าแม้นนอกใจพระสวามีแม้เพียงแต่คิด ขอให้พระเพลิงเผาผลาญจนสิ้นชีวี ตกนรกอเวจี ถ้าแม้นมิได้เป็นเช่นนั้น ขออย่าได้ร้อนเลย   นางสีดาลุยบนกองไฟ ความร้อนก็มิได้แผ้วพานแม้แต่น้อยนอกจากนี้งมีดอกบัวทิพย์ผุดขึ้นมารองรับพระบาทด้วย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 พ.ค. 11, 15:20

ค่ำแล้ว แสงดาวงามอร่ามสรวง จันทร์ลอยนวล ดูกับทรามเมื่อยามเห็น.....

1.   ตนแรกชื่อ หิรันตยักษ์ ซึ่งได้บำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากพระอิศวรให้มีฤทธิ์มากขึ้น
เมื่อได้พรแล้วจึงคิดกำเริบว่าไม่มีใครสามารถสู้ได้ จึงม้วนแผ่นดิน
แล้วเหาะนำไปไว้ที่เมืองบาดาลทำให้เทวดาเดือดร้อนมาก
((และในขณะเดียวกันพระอิศวรก็ยังให้พรแก่ “ตรีบุรัม” เพื่อให้มีฤทธิ์มากมาย
และตรีบุรัมกล้าที่จะประลองกับพระนารายณ์
))??? ???
ตอบว่าพระที่ได้รับจากพระอิศวร คือ “ขอให้มีฤทธิ์มากขึ้น”
คือ หิรันตยักษ์  ให้สามารถม้วนแผ่นดินได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก   
จึงต้องให้พระนารายณ์ลงไปปราบหิรันตยักษ์   
โดยพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขวิดฆ่าหิรันตยักษ์ได้สำเร็จ

2.   นนทุก นี่ก็ได้รับพรจากพระอิศวรเช่นเดียวกัน
((โดยพระอิศวรได้ให้พรแก่หิรัญยักษ์ ให้สามารถม้วนแผ่นดินได้
ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก    จึงต้องให้พระนารายณ์ลงไปปราบหิรันตยักษ์    
โดยพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขวิดฆ่าหิรันตยักษ์ได้สำเร็จ ))??? ??? ???

3.   อินทรชิต ได้รับพรจะเทพทั้ง ๓ องค์เลย
เนื่องจากอินทรชิตนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาถึง ๗ ปี
เมื่อครบสำเร็จแล้วเทพทั้ง ๓ ต่างก็ประทานพร และของวิเศษให้
คือ พระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์และบอกพระเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์ให้ 
ส่วนพระพรหมนั้นประทานศรนาคบาศและให้พรว่า
“เมื่อจะตายให้ตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดจากตัวตกถึงพื้นให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์
และต้องได้พานทิพย์จากพระพรหมมารองรับจึงจะไม่เกิดไฟไหม้
ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษษุปาณัมให้แก่อินทรชิต

4.   ท้าวมหาบาล ได้รับพรจากพระอิศวร
“หากว่าใครจะฆ่าไม่ตาย ยกเว้นแต่จะเอาดวงใจมาขยี้”
ได้ฟังจึ่งร้องตอบไป  อันอ้ายอสุรามหาบาล
ได้พรสมเด็จพระศุลี  จึ่งมีศักดากล้าหาญ
ฟอนฟันแต่กายไม่วายปราณ ด้วยเดชชัยชาญประสาทมา
จะฆ่าจงแหวะเอาดวงใจ  ขยี้ไปให้แหลกกับหัตถา
ขุนมารก็จะม้วยมรณา   โดยบัญชาสั่งพระศุลี”


เขียนสะกดผิด  ๓ แห่ง  หักก่อน  ๖ คะแนน

 ๒๕ - ๖ เหลือ  ๑๙  มีที่หักได้อีก ๒ แห่งที่วงเล็บไว้
หักอีก  ๕  คะแนน  เหลือ  ๑๔  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ค. 11, 15:58
^
ขอบคุณครับผม  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 พ.ค. 11, 17:29
คำถามย่อยข้อที่ ๙๙.๐๒

พระรามเคยแผลงศรชื่อจันทวาทิตย์ตอนใด
จงตอบพร้อมเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้นมาพอรู้เรื่อง

กติกา  ตอบได้เดี่ยวนี้ที่หน้าม่านไปจนกว่าจะถึงเพลาเที่ยงคืน
วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม  ๒๕๕๔   ราคา  ๑๐  คะแนน
เขียนสะกดผิด  หัก  ที่ ๒ คะแนน  เช่นเคย
ตอบเกินเวลา  ไม่มีคะแนนให้

วันพุธที่ 18 ค่ะ วันพฤหัสที่ 19  ;D

ขอตอบค่ะ  ;D

1. ตอน หนุมานพาสุครีพมาถวายพระราม  
สุครีพกับพาลีรบกัน จนพาลีรู้ว่าเป็นศรนารายณ์จึงยอมตาย
จากนั้นสุครีพก็พาองคต ชมพูพานและไพร่พลลิงเข้าถวายตัวกับพระราม
อยู่ในโคลงรามเกียรติ์ ห้องที่ ๒๖ แผ่นที่ ๑๐๕

๗๓๒ ข้าบาทสวามิภักดิ์น้อม...นำหลาน มาเอย
องคตชมพูพาน....................พี่น้อง
ทั้งสมบัติรัชถาน..................ภูมประเทศ
อีกกบี่พลพรรคพ้อง.............พิริยเกล้าทูลถวาย ฯ

๗๓๓ จักรพงษทรงสดับแย้ม...ยลกบินทร์
สองกบี่นัดดาอินท์................อาจแกล้ว
ตรัสถึงศพพานรินทร์............ควรรีบ ปลงแฮ
สุครีพทูลว่าแล้ว...................แต่เบื้องบาทบงษุ์ ฯ

๗๓๔ จักรกฤษณุตรัสเสร็จขึ้น..ศรสฤทธิ
ทรงลั่นจันทวาทิตย์..............โลกย์สท้าน
เปนเมรุรัตน์ชวลิต................เลอภาคย์
งามสง่าสูงสุดสอ้าน.............อาจเย้ยเวชยันต์ ฯ


2. ตอน พระราม รบกับทศกัณฐ์
ทศเศียรทรงพาลจันท์แผลง
เรี่ยวแรงเรืองฤทธิ์ติดไล่
ทีเดียวพันเล่มเต็มไป
ต้องวานรไพรดาษดา
พระรามแผลงจันทวาทิตย์
ไล่ติดสังหารยักษา
ตายกลาดเกลื่อนเต็มพสุธา
อสุรามอดม้วยชีวี
(หุ่นละครเล็กในเรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทอยู่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒)

3.ตอน สีดาลุยไฟ
หลังเสร็จศึกลงกาเรียบร้อย กองทัพวานรก็ยาตราพลเหยียบบนครแห่งนี้
สีดาผู้เฝ้ารอพระสวามีมานานก็คิดว่าตนเองตกอยู่ในมือทศกัณฐ์ ย่อมจะเป็นที่ครหาของคนทั้งปวงว่าคงเสร็จทศกัณฐ์แน่ๆ แล้ว
จึงขอพระรามลุยไฟเพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง พระสวามีก็เห็นดีเห็นงามคิดว่านางซื่อตรงมั่นคงสุจริต
จึงจับศรจันทวาทิตย์แผลงไปบนฟากฝ้าเพื่อให้พระอินทร์และเหล่าเทวดามาลงเป็นพยานด้วยกัน
เมื่อนั้น                     พระสุริย์วงศ์องค์นารายณ์ทรงศร
ได้ฟังอัครราชบังอร     ภูธรชื่นชมด้วยสมคิด
อันนางสีดานี้ซื่อตรง     สัตย์ธรรม์มั่นคงสุจริต
ควรเป็นมารดาสุราฤทธิ์  หญิงทั้งทศทิศไม่เทียมทัน
คิดแล้วมีราชบัญชา       แก้วตาของพี่เฉลิมขวัญ
ซึ่งเจ้าว่ากล่าวรำพัน      ทั้งนั้นสัตย์จริงทุกสิ่งไป
แต่ว่าใครเลยจะล่วงเห็น เป็นที่รังเกียจสงสัย
แต่พี่กับองค์อรไท        เคยแจ้งจิตใจกันมา
ว่าแล้วเสด็จยืนเหนืออาสน์   งามวิลาศดั่งเทพเลขา
จับจันทวาทิตย์อันศักดา   ผ่านฟ้าก็แผลงไปทันที

4. ตอน ศึกพรหมาสตร์   
ทศกัณฐ์ให้ อินทรชิตทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ใช้ในการสู้กับกองทัพพระราม
อินทรชิตจึง แปลงเป็นพระอินทร์ล่อลวงให้กองทัพของพระลักษณ์หลงกล
แล้วจึงแผลงศรพรหมาสตร์ไปฆ่าเหล่าพลลิงและ พระลักษณ์
พระรามใช้ศรจันทวาทิตย์ เพื่อให้แสงสว่าง ในการตามหาพระลักษณ์

เดินทางกลางดงหลงเวียนวน    จะเห็นหนมรคาก็หาไม่
จึงจับจันทวาทิตย์ฤทธิไกร      แผลงไปให้สว่างดั่งกลางวัน
ครั้นถึงที่รบเห็นศพลิง             เกลื่อนกลิ้งกลางสุธาอาสัญ
เห็นกำแหงหนุมานชาญฉกรรจ์   ทับเศียรเอราวัณมรณา
แล้วอุตสาห์แข็งขืนยืนดำรง      เที่ยวหาองค์พระลักษมณ์ขนิษฐา
เห็นศรปักอกอนุชา                 วิ่งเข้ามากอดน้องประคองไว้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 พ.ค. 11, 15:18
ผู้สนใจขอร่วมสนุกด้วยครับ
อยู่ในตอน "นางสีดาลุยไฟถวายสัตย์"
เมื่อนางสีดาเข้าเฝ้าพระรามหลังจากอยู่ในวังของทศกัณฐ์มาหลายปี
พระรามแสร้งงว่าทศกัณฐ์คงพระราชทานของทีมีค่ามากมายให้นาง
จึงขอทอดพระเนตรบ้าง  นางสีดาเสียพระทัย
นางจึงขอให้พระรามเชิญเทวดามาเป็นพยาน นางจะลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์  
พระรามจึงแผลงศรจันทวาทิตย์เชิญเหล่าเทวดา
และแผลงศรอัคนี เป็นไฟไปจุดฟืน   นางสีดาตั้งจิตอธิษฐาน
สาบานต่อหน้าเทวดา ถ้าแม้นนอกใจพระสวามีแม้เพียงแต่คิด 
ขอให้พระเพลิงเผาผลาญจนสิ้นชีวี ตกนรกอเวจี ถ้าแม้นมิได้เป็นเช่นนั้น
ขออย่าได้ร้อนเลย   นางสีดาลุยบนกองไฟ ความร้อนก็มิได้แผ้วพาน
แม้แต่น้อยนอกจากนี้งมีดอกบัวทิพย์ผุดขึ้นมารองรับพระบาทด้วย


ตรงที่ผมขีดเส้นนั้น

"นางสีดาลุยไฟถวายสัตย์"  ตรงนี้ใช้ว่า ถวายสัตย์ ไม่ได้
ถวายสัตย์  หมายถึง  กล่าวคำสาบานหรือคำปฏิญาณต่อหน้าใครคนใดคนหนึ่ง
แต่กรณีนางสีดาลุยไฟ  ต้องใช้ว่า พิสูจน์สัตย์  
เพราะที่ลุยไฟ ก็เพื่อพิสูจน์ให้พระรามเห็นว่า  นางสีดาพูดจริง
ถ้าเป็นลุยไฟถวายสัตย์ ก็จะเป็น  ลุยไฟไปพลางกล่าวปฏิญาณสาบานไป
ตรงนี้  ผิด  ผมหัก  ๓  คะแนน

"เมื่อนางสีดาเข้าเฝ้าพระรามหลังจากอยู่ในวังของทศกัณฐ์มาหลายปี"
นางสีดาไม่เคยเข้าไปอยุ่ในวังของทศกัณฐ์  เพราะทศกัณฐ์เกรงใจนางมณโฑ
จึงเอานางสีดาไปขังไว้ในอุทยานหลวง  นอกเมืองลงกา  
ข้อความนี้ ผิด  ผมหัก  ๓  คะแนน

อีกที่ เขียนผิด  หัก ๒ คะแนน

รวมต้องหัก  ๘ คะแนน

คุณbangplama ได้ ๒ คะแนน   และขอบคุณที่กรุณามาร่วมสนุกในกระทู้นี้
และขออภัยที่ต้องหักคะแนนโหดจนคะแนนหดหายไปมาก   ยินดีต้องรับครับ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 พ.ค. 11, 15:32

วันพุธที่ 18 ค่ะ วันพฤหัสที่ 19  ;D

ขอตอบค่ะ  ;D

1. ตอน หนุมานพาสุครีพมาถวายพระราม  
สุครีพกับพาลีรบกัน จนพาลีรู้ว่าเป็นศรนารายณ์จึงยอมตาย
(เล่าข้ามเหตุการณ์สำคัญมาก งง)
จากนั้นสุครีพก็พาองคต ชมพูพานและไพร่พลลิงเข้าถวายตัวกับพระราม
อยู่ในโคลงรามเกียรติ์ ห้องที่ ๒๖ แผ่นที่ ๑๐๕

๗๓๒ ข้าบาทสวามิภักดิ์น้อม...นำหลาน มาเอย
องคตชมพูพาน....................พี่น้อง
ทั้งสมบัติรัชถาน..................ภูมประเทศ
อีกกบี่พลพรรคพ้อง.............พิริยเกล้าทูลถวาย ฯ

๗๓๓ จักรพงษทรงสดับแย้ม...ยลกบินทร์
สองกบี่นัดดาอินท์................อาจแกล้ว
ตรัสถึงศพพานรินทร์............ควรรีบ ปลงแฮ
สุครีพทูลว่าแล้ว...................แต่เบื้องบาทบงษุ์ ฯ

๗๓๔ จักรกฤษณุตรัสเสร็จขึ้น..ศรสฤทธิ
ทรงลั่นจันทวาทิตย์..............โลกย์สท้าน
เปนเมรุรัตน์ชวลิต................เลอภาคย์
งามสง่าสูงสุดสอ้าน.............อาจเย้ยเวชยันต์ ฯ


2. ตอน พระราม รบกับทศกัณฐ์
ทศเศียรทรงพาลจันท์แผลง
เรี่ยวแรงเรืองฤทธิ์ติดไล่
ทีเดียวพันเล่มเต็มไป
ต้องวานรไพรดาษดา
พระรามแผลงจันทวาทิตย์
ไล่ติดสังหารยักษา
ตายกลาดเกลื่อนเต็มพสุธา
อสุรามอดม้วยชีวี
(หุ่นละครเล็กในเรื่องรามเกียรติ์ ??? ???
พระราชนิพนธ์ในพระบาทอยู่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒)

3.ตอน สีดาลุยไฟ
หลังเสร็จศึกลงกาเรียบร้อย กองทัพวานรก็ยาตราพลเหยียบบนครแห่งนี้
สีดาผู้เฝ้ารอพระสวามีมานานก็คิดว่าตนเองตกอยู่ในมือทศกัณฐ์
ย่อมจะเป็นที่ครหาของคนทั้งปวงว่าคงเสร็จทศกัณฐ์แน่ๆ แล้ว
จึงขอพระรามลุยไฟ(ข้อความกำกวม)เพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
พระสวามีก็เห็นดีเห็นงามคิดว่านางซื่อตรงมั่นคงสุจริต
จึงจับศรจันทวาทิตย์แผลงไปบนฟากฝ้าเพื่อให้พระอินทร์และเหล่าเทวดามาลงเป็นพยานด้วยกัน
เมื่อนั้น                     พระสุริย์วงศ์องค์นารายณ์ทรงศร
ได้ฟังอัครราชบังอร     ภูธรชื่นชมด้วยสมคิด
อันนางสีดานี้ซื่อตรง     สัตย์ธรรม์มั่นคงสุจริต
ควรเป็นมารดาสุราฤทธิ์  หญิงทั้งทศทิศไม่เทียมทัน
คิดแล้วมีราชบัญชา       แก้วตาของพี่เฉลิมขวัญ
ซึ่งเจ้าว่ากล่าวรำพัน      ทั้งนั้นสัตย์จริงทุกสิ่งไป
แต่ว่าใครเลยจะล่วงเห็น เป็นที่รังเกียจสงสัย
แต่พี่กับองค์อรไท        เคยแจ้งจิตใจกันมา
ว่าแล้วเสด็จยืนเหนืออาสน์   งามวิลาศดั่งเทพเลขา
จับจันทวาทิตย์อันศักดา   ผ่านฟ้าก็แผลงไปทันที

4. ตอน ศึกพรหมาสตร์   
ทศกัณฐ์ให้ อินทรชิตทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ใช้ในการสู้กับกองทัพพระราม
อินทรชิตจึง แปลงเป็นพระอินทร์ล่อลวงให้กองทัพของพระลักษณ์หลงกล
แล้วจึงแผลงศรพรหมาสตร์ไปฆ่าเหล่าพลลิงและ พระลักษณ์
พระรามใช้ศรจันทวาทิตย์ เพื่อให้แสงสว่าง ในการตามหาพระลักษณ์

เดินทางกลางดงหลงเวียนวน    จะเห็นหนมรคาก็หาไม่
จึงจับจันทวาทิตย์ฤทธิไกร      แผลงไปให้สว่างดั่งกลางวัน
ครั้นถึงที่รบเห็นศพลิง             เกลื่อนกลิ้งกลางสุธาอาสัญ
เห็นกำแหงหนุมานชาญฉกรรจ์   ทับเศียรเอราวัณมรณา
แล้วอุตสาห์แข็งขืนยืนดำรง      เที่ยวหาองค์พระลักษมณ์ขนิษฐา
เห็นศรปักอกอนุชา                 วิ่งเข้ามากอดน้องประคองไว้

หัก ๑๕ คะแนน

คุณดีดี ยกมา ๕ คำตอบ  คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
ตรงที่สะกดผิด  ผมหักที่ละ ๒ คะแนน ที่เขียนไม่กระจ่างแจ้ง หักที่ละ ๓ คะแนน

๕๐ - ๑๕  เหลือ  ๓๕  คะแนน
ให้คะแนนคืน ๑ คะแนน ที่ท้วงเรื่องวันที่มา  ได้ ๓๖ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 พ.ค. 11, 17:27
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 19 พ.ค. 11, 21:08
ตามอ่านไม่ลดละ ดีใจจังที่ยังไม่ถึงข้อที่ 100
วิธีตอบและให้คะแนนของคณะสตางค์เกียรติ์ สนุกไม่แพ้รามเกียรติ์ที่เดียว ยอดเยี่ยมจริง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 19 พ.ค. 11, 22:32
"ยินดีต้องรับครับ"
ขอบคุณครับคุณหลวงที่ชื่อเดียวกัน
 ;Dสรุปว่ารับด้วยความยินดีหรือไม่ครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 11, 22:47
"ยินดีต้องรับครับ"
ขอบคุณครับคุณหลวงที่ชื่อเดียวกัน
 ;Dสรุปว่ารับด้วยความยินดีหรือไม่ครับ


ระวังไว้ เขามีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว พ่อคุณเอ๋ย...คิคิ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 19 พ.ค. 11, 22:58
"ยินดีต้องรับครับ"
ขอบคุณครับคุณหลวงที่ชื่อเดียวกัน
 ;Dสรุปว่ารับด้วยความยินดีหรือไม่ครับ


ระวังไว้ เขามีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว พ่อคุณเอ๋ย...คิคิ

ขอบพระคุณที่เป็นห่วงคนเคว็ดอย่างผมครับ  ท่านเขียนและหัวเราะอย่างมีเลศนัย
คงต้องโดนดีเป็นแน่แท้
จะโดนหางกระเบน หรือ ก้านมะยมก็ไม่รู้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 11, 23:08
"ยินดีต้องรับครับ"
ขอบคุณครับคุณหลวงที่ชื่อเดียวกัน
 ;Dสรุปว่ารับด้วยความยินดีหรือไม่ครับ


ระวังไว้ เขามีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว พ่อคุณเอ๋ย...คิคิ

ขอบพระคุณที่เป็นห่วงคนเคว็ดอย่างผมครับ  ท่านเขียนและหัวเราะอย่างมีเลศนัย
คงต้องโดนดีเป็นแน่แท้
จะโดนหางกระเบน หรือ ก้านมะยมก็ไม่รู้

โดนมาเยอะ...คุณบางปลาม้า แถวอำเภอบางปลาม้า ย่านเก่าริมน้ำ เคยกินกุ้งแพทอด อร่อยมาก ยังติดตรึงจดบัดนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 พ.ค. 11, 08:47
^  มีการแลกเปลี่ยนคุยโอดครวญกันและกัน
ระหว่างผู้มาใหม่และนักรบเก่า   น่าสงสารพอประมาณ 
(ผู้ที่มีจิตใจไม่แข็งแรงนัก  อ่านแล้วอาจจะมีน้ำตาซึม
ครุวนาว่าได้กำลังชมละครโอชิน  โถ  อิอิ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 พ.ค. 11, 09:22
^  มีการแลกเปลี่ยนคุยโอดครวญกันและกัน
ระหว่างผู้มาใหม่และนักรบเก่า   น่าสงสารพอประมาณ 
(ผู้ที่มีจิตใจไม่แข็งแรงนัก  อ่านแล้วอาจจะมีน้ำตาซึม
ครุวนาว่าได้กำลังชมละครโอชิน  โถ  อิอิ)

ดีนะ
ที่เราปลดประจำการแล้ว รับบำเหน็จบำนาญ มีความสุขพอประมาณ
ไม่ร่วมยุทธนาการกับหนุ่มๆ ทหารใหม่ (แลตะหานเก่ามือฉมัง) เค้า
 :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 20 พ.ค. 11, 10:17
คุณบางปลาม้า สู้ ๆ ๆ ๆ ๆ เอาใจช่วยค่ะ
 เตียมเสบียงกรัง และ อาวุธให้คมกริบนะคะ
คุณหลวงเล็กท่านให้คะแนนละเอียดยิบ
หักคะแนนก็ละเอียดปนโหดหน่อย ๆ
แต่จะภูมิใจนะคะ ทุกคะแนนที่ท่านให้นั้น
มีค่าสมราคาที่เดียวค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 20 พ.ค. 11, 11:28
^  มีการแลกเปลี่ยนคุยโอดครวญกันและกัน
ระหว่างผู้มาใหม่และนักรบเก่า   น่าสงสารพอประมาณ 
(ผู้ที่มีจิตใจไม่แข็งแรงนัก  อ่านแล้วอาจจะมีน้ำตาซึม
ครุวนาว่าได้กำลังชมละครโอชิน  โถ  อิอิ)

ดีนะ
ที่เราปลดประจำการแล้ว รับบำเหน็จบำนาญ มีความสุขพอประมาณ
ไม่ร่วมยุทธนาการกับหนุ่มๆ ทหารใหม่ (แลตะหานเก่ามือฉมัง) เค้า
 :D
8)ต้องให้ฉายาพี่ art47 ใหม่ว่า ล้วงลึก  เสียแล้วกระมัง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 20 พ.ค. 11, 11:35
คุณบางปลาม้า สู้ ๆ ๆ ๆ ๆ เอาใจช่วยค่ะ
 เตียมเสบียงกรัง และ อาวุธให้คมกริบนะคะ
คุณหลวงเล็กท่านให้คะแนนละเอียดยิบ
หักคะแนนก็ละเอียดปนโหดหน่อย ๆ
แต่จะภูมิใจนะคะ ทุกคะแนนที่ท่านให้นั้น
มีค่าสมราคาที่เดียวค่ะ
ผมเตรียมโพล่ใส่บ่า กะว่าจะแบกกันจนบรรลัย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 พ.ค. 11, 13:21

พี่อาร์ต 47

        ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก  เทวดาทั้งปวง  จงอำนวยพรให้พี่อาร์ตไม่เป็นอัลไซเมอร์

และผ่านโพรด้วยเถิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 พ.ค. 11, 14:02

พี่อาร์ต 47

        ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก  เทวดาทั้งปวง  จงอำนวยพรให้พี่อาร์ตไม่เป็นอัลไซเมอร์

และผ่านโพรด้วยเถิด

เคยเล่นคำถามตอนเด็กๆไหม

"เรือชนรถ ได้อย่างไร / รถชนเครื่องบิน ก็คงจะเป็นข่าวในเร็วๆนี้  :P"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 พ.ค. 11, 17:47
8)ต้องให้ฉายาพี่ art47 ใหม่ว่า ล้วงลึก  เสียแล้วกระมัง


พี่อาร์ต 47

        ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก  เทวดาทั้งปวง  จงอำนวยพรให้พี่อาร์ตไม่เป็นอัลไซเมอร์

และผ่านโพรด้วยเถิด


เคยเล่นคำถามตอนเด็กๆไหม

"เรือชนรถ ได้อย่างไร / รถชนเครื่องบิน ก็คงจะเป็นข่าวในเร็วๆนี้  :P"


 ;D แหมๆๆๆ ... แต่ละคนนะจ๊ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 พ.ค. 11, 20:03

 ;D แหมๆๆๆ ... แต่ละคนนะจ๊ะ

เอ้า   นั่นเขาหวังดีกับคุณอาร์ทนะ
(ส่วนจุดประสงค์แอบแฝงอื่นๆ ถือเป็นผลพลอยได้ก็แล้วกัน)

ขอแจ้งแก่นักรบกระทู้รามเกียรติ์ได้ทราบโดยทั่วกันว่า
"คำถามรามเกียรติ์ง่ายๆ จะไม่มีให้เล่นแล้ว"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 พ.ค. 11, 20:07

 ;D แหมๆๆๆ ... แต่ละคนนะจ๊ะ

เอ้า   นั่นเขาหวังดีกับคุณอาร์ทนะ
(ส่วนจุดประสงค์แอบแฝงอื่นๆ ถือเป็นผลพลอยได้ก็แล้วกัน)

ขอแจ้งแก่นักรบกระทู้รามเกียรติ์ได้ทราบโดยทั่วกันว่า
"คำถามรามเกียรติ์ง่ายๆ จะไม่มีให้เล่นแล้ว"

99 ข้อที่ผ่านมาเรียกว่าง่ายกระนั้นหรือ...โอย เป็นลม..ZZZZ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 พ.ค. 11, 20:23

 ;D แหมๆๆๆ ... แต่ละคนนะจ๊ะ

เอ้า   นั่นเขาหวังดีกับคุณอาร์ทนะ
(ส่วนจุดประสงค์แอบแฝงอื่นๆ ถือเป็นผลพลอยได้ก็แล้วกัน)

ขอแจ้งแก่นักรบกระทู้รามเกียรติ์ได้ทราบโดยทั่วกันว่า
"คำถามรามเกียรติ์ง่ายๆ จะไม่มีให้เล่นแล้ว"

99 ข้อที่ผ่านมาเรียกว่าง่ายกระนั้นหรือ...โอย เป็นลม..ZZZZ


รีบๆ ช่วยโปรยยาหอม ยาดม ให้คุณไซมีสตื่นก่อนเถิด
แล้วกระผมจะเป็นลมตาม โอย.... :-\


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 พ.ค. 11, 08:18

99 ข้อที่ผ่านมาเรียกว่าง่ายกระนั้นหรือ...โอย เป็นลม..ZZZZ

อะไรกันครับ  เจอโจทย์ยากเท่านี้ ทำสวิงสวายจะเป็นลม 
ทำเป็นนางศรีมาลายุคควีนวิกตอเรียนไปได้
ก็เห็นหาตอบได้กันแทบทุกข้อที่ผ่าน   แสดงว่าคำถามยังไม่ยากเท่าที่ควร
 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 พ.ค. 11, 11:21
เอายาดมมาประเคนนักรบค่ะ สู้ ๆ นะคะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 พ.ค. 11, 11:25
^
 ;D ยาดมใหญ่ขนาดนี้ ค่อยมีกำลังแรง ฮึดขึ้นสู้ในคำถามต่อไป  :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 พ.ค. 11, 13:44
คุณหลวงเล็กคะ ขุนศึกพร้อมรบแล้ว เชิญลั่นกลองศึกข้อ 99 ได้แล้วค่ะ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 พ.ค. 11, 09:20



ออกหลวงโจมจัตุรงค์เมื่อออกสอบฝีมือทหารนั้น  นั่งแคร่หาม  กั้นสัปทนเพราะอัญเชิญพระบรมราชโองการ


มีรายงานมาจากบางกอกไตมส์(ข่าวแม่น)มาว่า   คุณหลวงเล็กอารมณ์ดีมากวันนี้



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 พ.ค. 11, 09:54
นางศรีมาลา ยุคควีนวิคตอเรี่ยน เลิกตะบันหมากหันมาเคี้ยวหมากฝรั่งรอ ๆๆๆ

หากกระทู้ไม่เดิน แม่จะเสกเชี่ยนหมากเหลือใช้ให้ปลิวไสวกันละทีนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 พ.ค. 11, 10:53

มีรายงานมาจากบางกอกไตมส์(ข่าวแม่น)มาว่า   คุณหลวงเล็กอารมณ์ดีมากวันนี้


มิน่า วันนี้อากาศแจ่มใส.... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 พ.ค. 11, 10:59
คำถามข้อที่ 99.25 FM

ถามว่า คุณหลวงนั้นติดราชการอะไรหนอ  ??? ถึงได้อารมณ์ดีเป็นพิเศษ  ;D ;D

ข้อนี้ไม่มีคะแนนให้ มีแต่ความประทับใจล้วนๆ  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 พ.ค. 11, 11:27
http://www.youtube.com/watch?v=tS5yNIwGhZM&feature=related


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ค. 11, 11:46
เออ  อุเหม่  มาช้านิดหน่อย  ก็จะเสกสลาเหินให้วุ่นวายเสียแล้ว

เอาล่ะได้ฤกษ์ดีตีฆ้องโห่สามลา   เริ่มคำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๓ ได้บัดเดี๋ยวนี้

คำเตือน  โจทย์คำถามข้อนี้ยาวมาก 

คำถามข้อที่  ๙๙.๐๓ 

จงถอดแปลกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอน  นางสุวรรณกันยุมาหึงนางเบญกาย
พระบวรราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
ตามที่ได้ยกมานี้   ให้เป็นความเรียงที่สละสลวย
ละเอียด  ชัดเจน  ไม่กำกวม  เก็บความได้ครบถ้วน
และสะกดคำถูกต้อง

ข้อนี้  ราคา  ๕๐  คะแนน   สะกดผิด  หักที่ ๒ คะแนน
ผิดอื่นๆ หักที่ละ ๓ คะแนน   เริ่มตอบที่หน้าม่าน
ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐  น.ขิองวันที่  ๒๓  พฤษภาคม  ๒๕๕๔
ไปจนถึงเวลา  ๑๘.๐๐  น.ของวันศุกร์ที่ ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๕๔
ขอให้นักรบหน้าเก่าหน้าใหม่   จงสนุกสนานโดยทั่วกัน


เมื่อนั้น   นวลนางเบญกายสายสมร
แจ้งว่าวายุบุตรฤทธิรอน   ไปรบร้าวานรกลับมา
มีชัยได้เมียอินทรชิต    ให้คิดเคียดขึ้งหึงสา
อยากจะใคร่ไปฟังกิจจา   ให้รู้ว่าผัวรักสักเพียงไร

คิดแล้วอ่าองค์ทรงภูษา  ห่มผ้ากรองทองผ่องใส
ยุรยาตรนาดกรายตรงไป   ยังปรางค์ชัยขุนกระบี่สามีตัว

ค้อนควักชักหน้าอยู่นอกฉาก  คันปากจะใคร่ว่าก็เกรงผัว
ยิ่งมองยิ่งมุ่นยิ่งขุนมัว   ยิ่งเห็นตัวเขาเข้าเฝ้าทะเยอ
กระทบบานทวารเดาะเคาะฉาก  กรากกรากกร่างกร่างให้ค้างเก้อ
เห็นเขาสมสองมองชะเง้อ   เคาะเสมอให้ดังแกล้งจังฑาล

เมื่อนั้น  นางสุวรรณภิรมย์สมสมาน
ได้ยินเกาะเคาะฉากกรากสะท้าน  จึงผลักหนุมานเสียทันใด
ใครมาเราะเคาะฉากหลากหนักหนา  นัดให้ใครมาฤาไฉน
นึกน่าบัดสีนี่กระไร  นัดเขาไว้ฤาเปล่าแน่ะเขามา
ยังไม่วางอิกฤามายื้อยุด   แน่หม่อมห้ามไม่หยุดเข้ามาหา
อย่านิ่งเฉยอยู่แลดูตา   เบญกายฤาว่าผู้ใดใคร

ฟังสาร  หนุมานรู้แจ้งแกล้งไถล
ทำเชือนแชแก้เก้อเออผู้ใด  พี่นัดใครไว้เมื่อไรมี
ผีหลอกดอกกระมังเสียงดังกราก   น่าหลากฉากดังอยู่ข้างที่
ฤาว่าข้าสาวนางเหล่านี้   มาตีต้องเคาะทำเราะราย

ไขสือ   ไม่ทราบฤานัดกันมั่นหมาย
สาวสรรค์กันเองเบญกาย   น่าอายคงเห็นแล้วเช่นนี้
สาวใช้ไม่อาจสามารถเคาะ  เห็นจะเป็นหม่อมเมาะมเหสี
เชิญไปหากันให้ทันที   พลางจี้ผลักไสด้วยไม้มือ

ฟังแจ้ง   หนุมานยิ้มแห้งแกล้งไขสือ
เสียงดังข้างฝาพลางหารือ  คนฤาหนูกัดประหลาดใจ
กรากกรากฉากดังอยู่อย่างนั้น  อัศจรรย์หนักหนาน่าสงสัย
พี่จะออกไปดูเป็นผู้ใด   จึ่งคลาไคลไปพลันทันที

(มีต่อ) 



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ค. 11, 11:47
ออกจากฉากห้องมองชม้าย   เห็นโฉมเบญกายช้อนชยาหนี
จึ่งแก้เก้เร่อเข้าไปเย้ายี    อุยฟ้าผี่ข่วนผลักเข้าหักมือ
มาแล้วแก้วตาหันหน้าหนี   โกรธพี่จริงเจียวทีเดียวฤา
พลางแอบแนบนุชเข้ายุดยื้อ   น้องถือโทษโกรธกริ่งด้วยสิ่งใด
พี่คิดเช้าเย็นอยู่เป็นนิตย์   ถึงพุ่มพวงดวงจิตพิสมัย
ติดรบพุ่งยุ่งยิ่งต้องชิงชัย   พี่จึ่งไม่ได้ไปหาน้อง

ฟังพลัน   นางผันค้อนพลางทางสนอง
ผะคะรู้อยู่สิ้นพ่อลิ้นทอง   เพราะต้องชิงชัยที่ไสยา
ยุ่งจริงชิงชัยมิได้ว่าง   มัวล้างข้าศึกฮึกหนักหนา
น้องมาพบร่ำเห็นตำตา   เงื้ออาวุธไล่ชิงชัยกัน

ฟังพ้อ   หนุมายิ้มร่อเข้ารับขวัญ
แม่จูบหอมดังเนื้อเจือจุณจันทน์   อย่าประชันประชดไม่งดงาม
วันนี้ดอกพี่พึ่งอยู่ห้อง   พอน้องมาพบประสบถาม
อย่าอื้ออึงไปไม่ได้ความ   พี่ห้ามจงฟังเถิดครั้งนี้
มาห้องของเขาเจ้าอย่าว่า   เราพากันไปให้ไกลที่
ว่าพลางทางคลอจรลี  ไม่รู้ทีนางสุวรรณย่องตามไป

หนุมานย่างย่องถึงห้องว่าง   ชวนนางนั่งเรียงเข้าเคียงไหล่
คิดว่านางสุวรรณอยู่ชั้นใน   นั่งใกล้เบญกายภิปรายพลัน
แม่เนื้อคู่ชูช่วงดวงชีวิต    อย่าคิดขึ้งเคียดเดียดฉันท์
พี่ไม่หลงงงงวยด้วยสุวรรณ   ทศกัณฐ์ให้ครองต้องจำเป็น
ด้วยพี่นี้มาสามิภักดิ์   มิรับรักจะเกรี้ยวเคี่ยวเข็ญ
ไม่วายคิดถึงเจ้าเช้าเย็น    มาเห็นวันนี้พี่ดีใจ
เจ้าพี่เอ๋ยรูปโฉมประโลมจิต    พี่พิศยังหาแปลกแต่แรกไม่
ได้แนบกายหลายครั้งยังละไม   พลางไขว่คว้าถันกัลยา

อย่าต้อง    ตัวน้องไม่ควรแก่นวลหน้า
ไม่เหมือนแม่สุวรรณกันยุมา   วาสนากว้างขวางนางผู้ดี
ทั้งลูกมากรากดกโภคทรัพย์   ควรนับแนบชมประสมศรี
คล้อยคลุ่มนุ่มนวลน่ายวนยี   ท่วงทีฉันเห็นจะเป็นรอง
ด้วยเขาเคยราชการมานานแล้ว   เทือกแถวพร้อมมูลพิดทูลคล่อง
น้องเป็นสาวชาวสวนไม่ควรครอง   จะพาหมองมัวไปไม่ได้การ

(ยังมีต่อไปอีก)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ค. 11, 11:48
เจ้าพี่   ไม่พอที่จะมาว่าขาน
ทำไมกับแม่หม้ายร้ายทาน   ย้อยยานลูกติดไม่ชิดชม
ไม่เหมือนเบญกายสายสวาท   เอี่ยมสะอาดขำขาวสาวสม
ไม่มีที่มัวหมองต้องอารมณ์  น่าชมกว่าสุวรรณกันยุมา
แต่ข้างนั้นพานราชการคล่อง   รูปเป็นรองน้องรักพี่หนักหนา
มิได้แกล้งเสกสรรพรรณนา   เป็นรองห้าเอาหนึ่งไม่ถึงน้อง

ช่างว่า    เป็นต่อกว่าจึ่งไม่ไกลห้อง
ไม่ว่าก็เห็นจะเป็นรอง   จึ่งต้องแนบข้างไม่ห่างไกล
ฉันเป็นต่อจึ่งพ่อไม่อยู่ด้วย  ไม่ขวยแก่ปากหากว่าได้
เมื่อมาเห็นแก่ตาขืนว่าไป   น่าหยิกให้เลือดหยดช่างปดดี
อย่ามากอดฉันอยู่เลยพูคะ   เชิญไปหาพระมเหสี
นี่หากว่ามาพบเข้าสบที    จึ่งมีหน้ายิ้มแห้งมาแสร้งรัก
หาไม่ก็จะเปล่าแล้วเจ้าเอ๋ย   จะหลงเชยบวบต้มประสมศักดิ์
อย่ามาพิงอิงอังน่าชังนัก    เชิญยักออกไปอย่าได้แคะ

ดวงใจ    ขับไล่โกรธเกรี้ยวไปเจียวแหละ
ต้องหน่อยคอยปัดวัดคะแยะ   แหะแหะเยาะพี่ไปทีเดียว
บุญพี่ได้สร้างมาอย่างนั้น   อย่าฉันทาโทษเฝ้าโกรธเกรี้ยว
สาวแท้แม่หม้ายไกลกันเจียว   อย่าเคี่ยวเข็ญคำร่ำตะบอย
รูปร่างอย่างนี้ฤามิรัก   ผิวพักตร์ผ่องงามพึ่งทรามสร้อย
จริงหนอน้องรักอย่าพักชม้อย   ยอดกลอยใจพี่ไม่มีชัง
ถ้าแม้นแผ่นดินสิ้นข้าศึก  พี่ก็นึกพันผูกจะปลุกฝัง
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้าชีวายัง   จะนั่งแนบข้างไม่ห่างเชย
ด้วยน้องของเดิมที่เริ่มรัก   พี่ไม่ผลักเพื่อนยากจากเขนย
ที่สุวรรณนั้นเจ้าอย่าเฝ้าเย้ย   พี่กอดเกยแต่กายใจไม่ปลง
ด้วยท่านโปรดปรานประทานให้   เสียไม่ได้ต้องตามความประสงค์
ใจพี่นี้หวังดังนี้ตรง   รูปทรงเป็นต่อดั่งหล่อลอย
ว่าพลางกอดกุมอุ้มใส่ตัก   อย่างไรเล่าเฝ้าผลักพี่บ่อยบ่อย
ใจแข็งนี่กระไรมิใช่น้อย   ขอจูบหน่อยอุยข่วนแต่ล้วนเล็บ

กลัวข่วน   อย่ามากวนจุกจิกฉันหยิกเจ็บ
ผ้าขาดออกไปใครจะเย็บ  มาฟื้นฝอยหาตะเข็บให้เจ็บใจ
จริงแล้วน้องของเดิมที่เริ่มรัก    เพราะรักหนักจึ่งได้เป็นเช่นนี้ได้
น่าชังซังตายตะกายไป    เสียไม่ได้ก็ทำตามทำนอง
เป็นแต่กายไม้มือมาถือถูก   ใจนั้นผูกอยู่ที่เขาเจ้าของห้อง
แต่ปากหากว่าสารดอง   ตัวน้องรู้สิ้นพ่อลิ้นฦา
น้องเป็นเดนดอกบอกให้รู้   จะเชิดชูเหมือนเขาเป็นสาวฤา
อย่าฉุดยุดง้างจงวางมือ   ขืนยื้อยุดไว้ให้เป็นคาว

ดวงจิต   มิดชิดอยู่ดอกไม่ออกฉาว
ลับตาฝาบังทั้งม่านราว   พลางน้าวเหนี่ยวกรเข้าช้อนคาง
ถึงผ้าขาดไปจะใช้น้อง   พลางต้องเต้าแอบเข้าแนบข้าง
อย่าพักผลักไสพี่ไม่วาง  ว่าพลางคว้าไขว่อยู่ไปมา

(ยัง  ยังไม่หมดเท่านี้)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ค. 11, 11:49
เมื่อนั้น   นางสุวรรณแฝงฟังอยู่ข้างฝา
แลเห็นเช่นนั้นหวั่นวิญญาณ์   ชักหน้าปัดป้องดังต้องแตน
คิดแค้นเบญกายแค้นใจผัว   คิดแค้นใจตัวก็เหลือแสน
เป็นหม้ายได้คู่ผัวดูแคลน   แคะแค่นเล่าสู่ให้ชู้ฟัง
นินทาว่าร้ายแล้วไม่สา   มาซ้ำตำตาดูน่าคลัง
แค้นใจจะใคร่ว่าให้น่าฟัง   แล้วรอรั้งจังฑาลด้วยมารยา
ฉวยพระแส้ถือแช่ชุ่ย   เดินฉุยฉายกรายแขนว้ายขวา
ยักไหล่ส่ายคอไม่รอรา   แกล้วผ่าเข้าไปทำไม่รู้
เห็นผัวกับนางระคางเขิน    ทำเดินถือแส้ไล่แหย่หนู
ครั้นผัวผันหน้าเหลียวมาดู   ทำอั้นตู้หน้าตื่นยืนตกใจ
ปะตาเบญกายเห็นอายเขิน   ยืนประเชิญหน้าค้อนช้อนตาให้
แล้วชุ่ยแส้แหย่ฝาด่าแมงใย  ตั้งใจทำรังจังฑาลพาล
จะเดินเหินไม่ได้ชักใยขวาง   ยุ่งหยางยุ่งยิ่งขันจริงจ้าน
แยกเขี้ยวเที่ยวงับรับประทาน   อาหารแมลงวันไม่ครั่นครือ

ฟังแช่ง   หนุมานยิ้มแห้งแกล้งไขสือ
ผันแปรแก้เก้อว่าเอออือ   ชี้มือว่าแมงมุมอุ้มไข่ไป

แก้อาย   เบญกายชี้มือนั่นฤาใช่
เที่ยวแกว่งแรงร่านทะยานใจ   ตัวใหญ่ทีเดียวแยกเขี้ยวมา

ฟังพลัน  นางสุวรรณโกรธปัดสะบัดผ้า
ลงซ่นซนแส้แลปะตา   ค้อนควักชักหน้าด่าแมงใย
เหวยอีแมงมุมทำซุ่มซ่าม   คนตามมาพบหาหลบไม่
ชักสายใยเย่อแก้เก้อไป   ช่างกระไรกระนี้ไม่มีอาย...


(หมดกลอนที่ให้แปลเท่านี้แหละ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 พ.ค. 11, 12:03
เชี่ยนหมากของนางศรีมาลานากล้วน  เพราะบิดามารดาร่ำรวย

ถ้าคุณร่วมฤดีขว้างมาแบบจักรแก้ว หรือธนูมือ   ขอแนะนำให้คุณหลวงโดดตะครุบไว้ให้ได้

ถาดเงินชุบนาค  แพงกว่าทองอีกจ้ะ  เรียกกันว่า  ทองชมพู


การต้อนรับขุนนางนั้นแค่เชี่ยนหมากเงินก็สมฐานะ

เชี่ยนหมากเงินจะไม่ใหญ่มาก  เป็นตะกร้าสานก็มี  แต่ระวังกระปุกเงินไว้ด้วย  มีน้ำหนัก

ตะไกรตัดหมากนั้นถ้าใครใช้ต้องแจ้งพระนครบาล


เชี่ยนหมากทองเหลืองนั้นหนักหน่อย  แต่ถ้ามีใครใช้เป็นอาวุธน่าจะหลบทันเพราะป้อมบินเห็นได้ชัด



ว่าจะชวนคนอ่านกระทู้นี้ไปดู "เข้าห้องนางศรีมาลา"  ที่วิกราชดำเนิน

ใจคอตุ๋ม ๆต้อม ๆ  ว่าจะโดนซิวหรือเปล่า  เพราะฉากน่าจะหวาดเสียว

ถามคุณหลวงไปว่า  เขากล้าเล่นตอนนี้หรือ

คุณหลวงตอบเสียงลั่นว่า  ตอนเดินทัพไปเชียงใหม่

อ๋อ...ตอนจิ้งจกตกใส่พุงนางศรีมาลาน่ะเอง    

แหม!  อ่านซะเบื่อแล้ว       นึกว่าตอนแต่งงานพระไวย  อิอิ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ค. 11, 15:31
เมื่อนั้น   นางสุวรรณแฝงฟังอยู่ข้างฝา
แลเห็นเช่นนั้นหวั่นวิญญาณ์   ชักหน้าปัดป้องดังต้องแตน
คิดแค้นเบญกายแค้นใจผัว   คิดแค้นใจตัวก็เหลือแสน
เป็นหม้ายได้คู่ผัวดูแคลน   แคะแค่นเล่าสู่ให้ชู้ฟัง
นินทาว่าร้ายแล้วไม่สา   มาซ้ำตำตาดูน่าคลั่ง
แค้นใจจะใคร่ว่าให้น่าฟัง   แล้วรอรั้งจังฑาลด้วยมารยา
ฉวยพระแส้ถือแช่ชุ่ย   เดินฉุยฉายกรายแขนซ้ายขวา
ยักไหล่ส่ายคอไม่รอรา   แกล้งผ่าเข้าไปทำไม่รู้
เห็นผัวกับนางระคางเขิน    ทำเดินถือแส้ไล่แหย่หนู
ครั้นผัวผันหน้าเหลียวมาดู   ทำอั้นตู้หน้าตื่นยืนตกใจ
ปะตาเบญกายเห็นอายเขิน   ยืนประเชินหน้าค้อนช้อนตาให้
แล้วชุ่ยแส้แหย่ฝาด่าแมงใย  ตั้งใจทำรังจังฑาลพาล
จะเดินเหินไม่ได้ชักใยขวาง   ยุ่งหยางยุ่งยิ่งขันจริงจ้าน
แยกเขี้ยวเที่ยวงับรับประทาน   อาหารแมลงวันไม่ครั่นครือ

ฟังแช่ง   หนุมานยิ้มแห้งแกล้งไขสือ
ผันแปรแก้เก้อว่าเอออือ   ชี้มือว่าแมงมุมอุ้มไข่ไป

แก้อาย   เบญกายชี้มือนั่นฤาใช่
เที่ยวแกว่งแรงร่านทะยานใจ   ตัวใหญ่ทีเดียวแยกเขี้ยวมา

ฟังพลัน  นางสุวรรณโกรธปัดสะบัดผ้า
ลงซ่นซนแส้แลปะตา   ค้อนควักชักหน้าด่าแมงใย
เหวยอีแมงมุมทำซุ่มซ่าม   คนตามมาพบหาหลบไม่
ชักสายใยเย่อแก้เก้อไป   ช่างกระไรกระนี้ไม่มีอาย...


(หมดกลอนที่ให้แปลเท่านี้แหละ)

ขอแก้คำพิมพ์ผิดเล็กน้อย (ตามที่ขีดเส้นใต้) เดี๋ยวจะแปลกันผิดได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 พ.ค. 11, 19:00
คำเตือน  โจทย์คำถามข้อนี้ยาวมาก  

คำถามข้อที่  ๙๙.๐๓  

จงถอดแปลกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอน  นางสุวรรณกันยุมาหึงนางเบญกาย
พระบวรราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
ตามที่ได้ยกมานี้   ให้เป็นความเรียงที่สละสลวย
ละเอียด  ชัดเจน  ไม่กำกวม  เก็บความได้ครบถ้วน
และสะกดคำถูกต้อง



โห :o

ใต้เท้าขยันจริงๆ เชียว

แล้วใครเขาจะเข้ามาตอบบ้างนิ

เอ้า... จะลองดูเน้อ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 พ.ค. 11, 19:44
เมื่อนั้น   นวลนางเบญกายสายสมร
แจ้งว่าวายุบุตรฤทธิรอน   ไปรบร้าวานรกลับมา
มีชัยได้เมียอินทรชิต    ให้คิดเคียดขึ้งหึงสา
อยากจะใคร่ไปฟังกิจจา   ให้รู้ว่าผัวรักสักเพียงไร

คิดแล้วอ่าองค์ทรงภูษา  ห่มผ้ากรองทองผ่องใส
ยุรยาตรนาดกรายตรงไป   ยังปรางค์ชัยขุนกระบี่สามีตัว

ค้อนควักชักหน้าอยู่นอกฉาก  คันปากจะใคร่ว่าก็เกรงผัว
ยิ่งมองยิ่งมุ่นยิ่งขุนมัว   ยิ่งเห็นตัวเขาเข้าเฝ้าทะเยอ
กระทบบานทวารเดาะเคาะฉาก  กรากกรากกร่างกร่างให้ค้างเก้อ
เห็นเขาสมสองมองชะเง้อ   เคาะเสมอให้ดังแกล้งจังฑาล

เมื่อนั้น  นางสุวรรณภิรมย์สมสมาน
ได้ยินเกาะเคาะฉากกรากสะท้าน  จึงผลักหนุมานเสียทันใด
ใครมาเราะเคาะฉากหลากหนักหนา  นัดให้ใครมาฤาไฉน
นึกน่าบัดสีนี่กระไร  นัดเขาไว้ฤาเปล่าแน่ะเขามา
ยังไม่วางอิกฤามายื้อยุด   แน่หม่อมห้ามไม่หยุดเข้ามาหา
อย่านิ่งเฉยอยู่แลดูตา   เบญกายฤาว่าผู้ใดใคร

ฟังสาร  หนุมานรู้แจ้งแกล้งไถล
ทำเชือนแชแก้เก้อเออผู้ใด  พี่นัดใครไว้เมื่อไรมี
ผีหลอกดอกกระมังเสียงดังกราก   น่าหลากฉากดังอยู่ข้างที่
ฤาว่าข้าสาวนางเหล่านี้   มาตีต้องเคาะทำเราะราย

ไขสือ   ไม่ทราบฤานัดกันมั่นหมาย
สาวสรรค์กันเองเบญกาย   น่าอายคงเห็นแล้วเช่นนี้
สาวใช้ไม่อาจสามารถเคาะ  เห็นจะเป็นหม่อมเมาะมเหสี
เชิญไปหากันให้ทันที   พลางจี้ผลักไสด้วยไม้มือ

ฟังแจ้ง   หนุมานยิ้มแห้งแกล้งไขสือ
เสียงดังข้างฝาพลางหารือ  คนฤาหนูกัดประหลาดใจ
กรากกรากฉากดังอยู่อย่างนั้น  อัศจรรย์หนักหนาน่าสงสัย
พี่จะออกไปดูเป็นผู้ใด   จึ่งคลาไคลไปพลันทันที


กษณะนั้น เมื่อนางเบญกายสดับข่าวว่าหนุมานไปทำศึกสงครามมีชัยชนะต่อพลลิงกลับมา พร้อมรับพระราชทานนางสุวรรณกันยุมาเมียของอินทรชิตเป็นบำเหน็จรางวัลศึก
ก็เกิดอาการหึงหวงหนักหนา ด้วยใจใคร่อยากจะรู้ว่าผัวตัวนั้นรักตนเองเพียงไร ครั้นคิดได้จึงแต่งองค์ห่มผ้ากรองทอง จรลีจากตำหนักตรงไปยังสำนักที่พักของหนุมาน ณ ปรางค์ชัย
พร้อมอารมณ์อันเกรี้ยวกราดโกร ครั้นถึงยังปรางค์ปราสาท  ใจอยากจะด่าว่าก็คิดเกรงผัวอยู่ ยิ่งเห็นนางสุวรรณกันยุมาเข้าเฝ้าปรนนิบัติอยู่ภายในก็ยิ่งขุ่นมัวในจิตใจ
นางเบญกายไม่รู้ทำอย่างไร จึงเคาะฉากเคาะบานประตู ให้เสียงดังกรากกร่าง แกล้งหนุมานกับนางสุวรรณกันยุมาซึ่ง “ปรนนิบัติ” กันอยู่ในห้องให้ชะเง้องงสงสัย
หยุดภารกิจที่กำลังกระทำอยู่

ฝ่ายนางสุวรรณกันยุมา ครั้นได้ยินเสียงเคาะดังกรากกร่างข้างนอก ก็ผลักหนุมานออกทันใด พร้อมถามว่า “ใครกันมาเคาะฉากอยู่นั่น พี่นัดใครมาหาหรือเปล่า น่าบัดสีจริงๆ เลย
ถ้าเขามาเห็นเราเนี่ยะ แน่ะ... ยังไม่หยุดอีกน่ะ ห้ามแล้วยังไม่หยุดอีก ไปดูซิพี่ว่าใครกัน นางเบญกายหรือเปล่าหนา”

หนุมานซึ่งรู้ความจริงว่าเสียงนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร กลับทำแชเชือนแก้เก้อ พลางบ่นว่า
“พี่นัดใครที่ไหนกันเล่า เสียงที่ดังอยู่กรากๆ นั่น ชะรอยผีจะหลอกเสียแล้วกระมั้งน้องสุวรรณกันยุมา เอ่อ.. หรือว่าพวกข้าสาวเหล่านางกำนัล มาตีเคาะกัน”
“อย่ามาไขสือ พี่ไม่รู้จริงๆ หรือว่านัดใครไว้กันแน่ คงเป็นนางเบญกายทีเดียว พวกนางกำนัลมันไม่กล้าทำดอก ต้องเป็นหม่อมมเหสีของพี่แน่ๆ พี่ไปเถอะ ไปหาเมียรักของพี่เถอะนะ”
นางสุวรรณกันยุมาพูดพลางผลักไสหนุมานให้ลุกไป

ครั้นสดับฟังวาจานางสุวรรณกันยุมาแล้ว หนุมานก็ยิ้มแห้งๆ กล่าวว่า
“ไอ้เสียงนี้มันน่าสงสัยนัก คนหรือหนูคงจะกัดกันอยู่ล่ะมั้ง เดี๋ยวพี่ออกไปดูเองว่าใครกันมาเคาะ” พูดแล้วหนุมานก็รีบลุกไปทันที


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ค. 11, 19:47
^
^
ขออนุญาตขัดจังหวะ

เบญกาย จ้า ไม่ใช่เบญจกาย

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 23 พ.ค. 11, 19:51
^
^
ขออนุญาตขัดจังหวะ

เบญกาย จ้า ไม่ใช่เบญจกาย

 ;D

ขอบคุณครับคุณเพ็ญชมพู

ผมกำลังเพลินไปมาก ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 พ.ค. 11, 19:53
ใครไม่ตอบก็ชั่งเขานะคะ   ;D  หนูดีดี ตั้งใจตอบค่ะ

"จงถอดแปลกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอน  นางสุวรรณกันยุมาหึงนางเบญกาย
พระบวรราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
ตามที่ได้ยกมานี้   ให้เป็นความเรียงที่สละสลวย
ละเอียด  ชัดเจน  ไม่กำกวม  เก็บความได้ครบถ้วน
และสะกดคำถูกต้อง"

พอนางเบญกายทราบว่าหนุมานรบชนะพวกลิง กลับมาและได้รางวัลเป็นนางสุวรรณกันยุมา(อดีตเมียของอินทรชิต) ก็เกิดอาการหึง จึงจัดแจงแต่งตัวแล้วเดินตรงไปยังที่อยู่ของหนุมานทันที
พอไปถึงเห็นหนุมานจู๋จี๋อยู่กับนางสุวรรณกันยุมา ก็ยิ่งโกรธ จึงแกล้งเคาะบานประตูเคาะฉากส่งเสียง
นางสุวรรณกันยุมาได้ยินเสียงเคาะ ก็ทำทีเป็นผลักไสหนุมาน แล้วต่อว่าหนุมานว่านัดใครเอาไว้ ออกไปดูสิว่าเบญกายมาใช่ไหม
หนุมานที่รู้อยู่แก่ใจว่าใครมา ก็แกล้งทำไขสือ บอกว่าไม่ได้นัดใคร สงสัยจะเป็นผีหรือไม่ก็คงเป็นพวกสาวใช้
นางสุวรรณกันยุมา งอนบอกว่าสาวใช้ไม่บังอาจมาเคาะหรอก ต้องเป็นเบญกายแน่ๆ เลย แล้วก็ผลักไสหนุมานให้ออกไปหา
หนุมานก็แกล้งไก๋ว่าคนหรือหนู ก็ไม่รู้ พี่จะออกปดูนะจ๊ะ ว่าแล้วก็ออกมาออดอ้อนนางเบญกาย
นางเบญกายก็งอน ต่อว่าต่อขาน หนุมานเลยพาเข้าไปในห้องว่าง แล้วปลอบว่า ตนรักนางเบญกายมากกว่านางสุวรรณกันยุมา
เพราะนางสุวรรณกันยุมาเป็นแม่หม้ายลูกติด ไหนเลยจะสู้นางเบญกายที่ยังสาวยังสวยได้ แต่ที่ต้องอยู่กับนางสุวรรณกันยุมา เพราะเกรงใจทศกัณฐ์ที่ประทานนางมาให้ ว่าแล้วก็กอดจูบหยิกข่วนกันไปมา
นางสุวรรณกันยุมาแอบฟังอยู่ได้ยินดังนั้นก็โกรธ ถือแส้วิ่งเข้าไปขัดคอ ทำทีเป็นไล่แมงมุม แล้วก็ต่างแช่งด่าว่าแมงมุมกระทบกระเทียบกันไปมา....

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ค. 11, 20:16
ใครไม่ตอบก็ชั่งเขานะคะ   ;D  

ขออนุญาตขัดจังหวะ อย่าขัดใจนะ   ;D

ชั่งเขา กับ ช่างเขา      โปรดเลือกเอาชอบคำไหน
ความหมายต่างกันไกล    ดีดีไซร้โปรดใคร่ครวญ

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 24 พ.ค. 11, 04:46

กระซิบช้าง(แปลว่ากระซิบดัง)    ตามประสาคนข้างเวที



กลอนตอนนี้สนุกยอดเยี่ยมและบางตอนก็หวาดเสียวในระดับซ่อนเร้น

เพราะมีการประชดประชันระหว่างเมียเก่าที่ยัง "เอี่ยม" (แปลว่าใหม่)

และเมียใหม่ ที่   วาสนากว้างขวาง   วาสนาในที่นี้จะเทียมกับแม่ฝาบาตรกระจาดใหญ่ ใน ขุนช้างขุนแผนหรือไม่

ลูกมาก


คล้อยคลุ่ม    คล้อย แปลว่าหย่อนลง       คลุ่มแปลว่า  ลักษณะอย่างถ้วยหรือชามหรือฝาชี


เคยราชการมานานแล้ว   เมียเก่าประชด         
หนุมานบอกว่าคล่องราชการ     


บวบต้ม


แม่หม้ายร้ายทาน     


     เบญกายได้ต่อว่าหนุมานว่า สารดอง      สารดองแปลว่า จองหอง  ถือตัว(รัตนมาลา  หน้า ๘๓๖)


การบรรยายว่ามีฉากกั้นประตูอยู่ก็น่าสนใจว่าฉากนั้นน่าจะสูงถึงบังตาหรือไม่     


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 พ.ค. 11, 08:28
ใครไม่ตอบก็ชั่งเขานะคะ   ;D  

ขออนุญาตขัดจังหวะ อย่าขัดใจนะ   ;D

ชั่งเขา กับ ช่างเขา      โปรดเลือกเอาชอบคำไหน
ความหมายต่างกันไกล    ดีดีไซร้โปรดใคร่ครวญ

 ;)

ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพูค่ะ
ที่ถูกต้องเป็น "ช่างเขา" ค่ะ ถ้าเป็น "ชั่งเขา" จะหนักเกินไป  ... ;D


อยากอ่านสำนวนแปลของคุณWandee ค่ะ แค่โปรยตัวอย่าง ก็สนุกแล้วค่ะ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 11, 08:44
เผยม่านมาอ่านกระทู้แต่เช้า  อ่านไปก็นึกยิ้มอยู่ในหน้า
นักรบกระทู้นี้  เก่งไม่หยอก   แปลใช้ได้ทีเดียว
อย่างนี้ต้องให้แปล อีกสัก  ๒ ข้อ  ท่าจะดี

ที่จริงตอนที่อยากให้แปล  เป็นตอนต่อจากโจทย์ที่ให้ไว้
แต่เห็นว่าถ้าไม่ให้แปลแต่ต้น  ตัดเอามาให้แปลจะต่อเรื่องไม่ติด
จึงให้แปลตอนต้นซึ่งสนุกพอๆ กัน 

ข้อนี้น่าจะง่าย  เพราะศัพท์ยากมีน้อย 
แถมยังมีพลาย เอ๊ย พรายมากระซิบช้างให้อีก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 24 พ.ค. 11, 08:49
โอ้โห ไม่นึกว่าจะได้ศัพท์แสงใหม่ ๆ มาเป็นก่ายเป็นกอง นี่คือความวิจิตรแห่งภาษาไทย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 11, 11:59
ในระหว่างที่รอคำถามข้อย่อยที่  ๙๙.๐๓ สิ้นสุดกำหนดเวลาตอบ

ขอตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๔

ทำไมลิงขาวที่เป็นทหารเอกของพระรามจึงได้ชื่อว่า  "หนุมาน"
จงตอบพร้อมอธิบายที่มาและความหมายของชื่อ "หนุมาน"
มาโดยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้

กติกา  ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน
คนแรกที่ตอบได้ถูกต้องภายใน  ๑๒  ชั่วโมงแรกหลังจากที่ตั้งคำถาม
รับไปเต็มๆ (แต่ต้องไม่สะกดผิดแม้แต่คำเดียว) คนตอบถูกคนต่อไป
ถึงตอบถูกต้อง  เราจะหักคะแนน ๕ คะแนน
คนที่ตอบหลังจากพ้นกำหนด  ๑๒ ชั่วโมงไปแล้ว คะแนนเต็มลดลงครึ่งหนึ่ง
ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 พ.ค. 11, 13:10
ในระหว่างที่รอคำถามข้อย่อยที่  ๙๙.๐๓ สิ้นสุดกำหนดเวลาตอบ

ขอตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๔

ทำไมลิงขาวที่เป็นทหารเอกของพระรามจึงได้ชื่อว่า  "หนุมาน"
จงตอบพร้อมอธิบายที่มาและความหมายของชื่อ "หนุมาน"
มาโดยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้

กติกา  ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน
คนแรกที่ตอบได้ถูกต้องภายใน  ๑๒  ชั่วโมงแรกหลังจากที่ตั้งคำถาม
รับไปเต็มๆ (แต่ต้องไม่สะกดผิดแม้แต่คำเดียว) คนตอบถูกคนต่อไป
ถึงตอบถูกต้อง  เราจะหักคะแนน ๕ คะแนน
คนที่ตอบหลังจากพ้นกำหนด  ๑๒ ชั่วโมงไปแล้ว คะแนนเต็มลดลงครึ่งหนึ่ง
ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   

ขอตอบนะคะ  ;D

หนุมาน แปลว่า ผู้มีคางที่แตกและหัก.... แล้วทำไม่หนุมานถึงมีชื่อนี้....

หนุมานแต่เดิมมีชื่อว่า อัญจนียะ
ในวันหนึ่ง อัญจนียะในวัยเด็ก เห็นพระอาทิตย์แรกขึ้น ก็คิดว่าเป็นผลไม้สุก จึงเหาะเข้าไปหมายจะกินเป็นอาหาร แต่พระอินทร์เห็นเข้าจึงร้องเตือนว่าไม่ใช้ผลไม้ แต่อัญจนียะน้อยก็ไม่ฟัง พระอินทร์จึงได้ขว้างสายฟ้าใส่อัญจนียะน้อยจนตกลงมาคางกระแทกพื้นสลบไสลไม่รู้สึกตัว
     พระวายุผู้เป็นบิดาของอัญจนียะรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงได้อุ้มอัญจนียะเข้าไปอยู่ในถ้ำ เป็นเวลาหลายวัน เมื่อพระวายุเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ทำให้เบื้องนอกไม่มีลม ไม่มีอากาศ ทั้งคน เทวดา และสัตว์ต่างเดือดร้อนกันไปทั่ว เหล่าเทพต่างๆ จึงต้องมาขอร้องพระวายุให้ยอมออกมาจากถ้ำเถิด พระวายุจึงได้ออกมาจากถ้ำ
     เมื่อพระวายุออกมาจากถ้ำแล้ว เหล่าเทวดาต่างก็ให้พรแก่อัญจนียะ เช่น พระยมให้พรให้อัญจนียะไม่มีวันตาย และอีกหลายๆ อย่าง เมื่อได้รับพรมากๆ เข้า อัญจนียะก็กลายเป็นหนุ่มในทันที
     ในตอนที่อัญจนียะตกลงมานั้น คางได้กระแทกพื้นอย่างแรงจนแตก เหล่าเทวดาจึงเปลี่ยนชื่อเรียกอัญจนียะใหม่เป็น หนุมาน ซึ่งแปลว่า ผู้มีคางที่แตกและหัก
อัญจนียะ จึงได้ชื่อว่า หนุมาน นับแต่นั้นมา    ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 พ.ค. 11, 16:19

ขอตอบนะคะ  ;D

หนุมาน แปลว่า ผู้มีคางที่แตกและหัก.... แล้วทำไม่หนุมานถึงมีชื่อนี้....

หนุมานแต่เดิมมีชื่อว่า อัญจนียะ
ในวันหนึ่ง อัญจนียะในวัยเด็ก เห็นพระอาทิตย์แรกขึ้น ก็คิดว่าเป็นผลไม้สุก จึงเหาะเข้าไปหมายจะกินเป็นอาหาร
แต่พระอินทร์เห็นเข้าจึงร้องเตือนว่าไม่ใช้(ไม่ใช่)ผลไม้ แต่อัญจนียะน้อยก็ไม่ฟัง
พระอินทร์จึงได้ขว้างสายฟ้าใส่อัญจนียะน้อยจนตกลงมาคางกระแทกพื้นสลบไสลไม่รู้สึกตัว
     พระวายุผู้เป็นบิดาของอัญจนียะรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงได้อุ้มอัญจนียะเข้าไปอยู่ในถ้ำ
เป็นเวลาหลายวัน เมื่อพระวายุเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ทำให้เบื้องนอกไม่มีลม
ไม่มีอากาศ ทั้งคน เทวดา และสัตว์ต่างเดือดร้อนกันไปทั่ว เหล่าเทพต่างๆ
จึงต้องมาขอร้องพระวายุให้ยอมออกมาจากถ้ำเถิด พระวายุจึงได้ออกมาจากถ้ำ
     เมื่อพระวายุออกมาจากถ้ำแล้ว เหล่าเทวดาต่างก็ให้พรแก่อัญจนียะ
เช่น พระยมให้พรให้อัญจนียะไม่มีวันตาย และอีกหลายๆ อย่าง เมื่อได้รับพรมากๆ เข้า
อัญจนียะก็กลายเป็นหนุ่มในทันที
     ในตอนที่อัญจนียะตกลงมานั้น คางได้กระแทกพื้นอย่างแรงจนแตก
เหล่าเทวดาจึงเปลี่ยนชื่อเรียกอัญจนียะใหม่เป็น หนุมาน ซึ่งแปลว่า ผู้มีคางที่แตกและหัก
อัญจนียะ จึงได้ชื่อว่า หนุมาน นับแต่นั้นมา    ;D


ได้เวลาตรวจคำตอบ  ตอบในเวลา ๒๔ ชั่วโมง  ถ้าถูกต้องครบถ้วน  เอาไป ๔๐ คะแนน

มีที่เห็นถนัดๆ ว่าพิมพ์ผิด  ๑ ที่  หัก ๒ คะแนน

ชื่อ  อัญจนียะ  ที่ว่าเป็นชื่อของหนุมานมาก่อนจะได้ชื่อ ว่า หนุมาน
ที่ถูกต้องคือ  อาญชเนยะ  แปลว่า ผู้เป็นเชื้อสายของนางอัญชนา หรือลูกของนางอัญชนา
อันเป็นวัฒนธรรมอินเดียโบราณที่นิยมเอาชื่อพ่อแม่หรือบรรพบุรุษ
มาเติมปัจจัยตัทธิตแล้วตั้งเป็นชื่อลูกหลานในสายสกุล  เช่น พระราม ได้ชื่อว่า ราฆว
ก็เพราะพระรามมีบรรพบุรุษ ชื่อ รฆุ   พระกฤษณะ  ได้ชื่อ วาสุเทว  เพราะบิดาชื่อ วสุเทว
นางสีดา ได้ชื่อว่า  ชานกี  เพราะบิดาชื่อ ท้าวชนก  เป็นต้น
ในทางพุทธศาสนาก็มี  เช่น  อุปติสสะ ได้ชื่อ สารีบุตร  เพราะมารดาชื่อนางสารี
โกลิตะ  ได้ชื่อ โมคคัลลานะ  เพราะมารดาชื่อ  นางโมคคัลลี เป็นต้น
คุณดีดี  เอ่ยชื่อ อัญจนียะ  ๑๒ ครั้ง ในคำตอบ หักที่ละ ๒ คะแนน  รวมต้องหัก  ๒๔ คะแนน
รวมที่หักก่อนอีก ๒ คะแนน เป็น  ๒๖ คะแนน ๔๐ ลบ ๒๖  เหลือ ๑๔ คะแนน
นี่หักเฉพาะที่เขียนผิด  ยังไม่ได้พิจารณาตรวจเนื้อหา
เอาเป็นว่า  ผมตรวจเนื้อหาแล้วให้ผ่าน  
ไม่หักเพิ่มเติม  (เพราะหักที่สะกดผิดก็เสียคะแนนมากพอแล้ว)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 พ.ค. 11, 09:24
ขอบคุณค่ะ ที่ยังเหลือคะแนนไว้ให้.. ;D

ชื่อเดิมของหนุมาน หนูดีดี หามาจากอินทรเนตร (อินเตอร์เน็ท) ค่ะ
บางเว็ปบอกว่าชื่อเดิมหนุมานชื่อว่า อัญจนียะ
บางเว็ปบอกว่า เดิมชื่อ พัชรังพาลี หรือ พัชรัง....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 11, 10:54
เรียนถามคุณหลวง

ถึงคิวคำถามจากทางบ้านหรือยัง

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 พ.ค. 11, 12:51
ขอบคุณค่ะ ที่ยังเหลือคะแนนไว้ให้.. ;D

ชื่อเดิมของหนุมาน หนูดีดี หามาจากอินทรเนตร (อินเตอร์เน็ท) ค่ะ
บางเว็ปบอกว่าชื่อเดิมหนุมานชื่อว่า อัญจนียะ
บางเว็ปบอกว่า เดิมชื่อ พัชรังพาลี หรือ พัชรัง....

การถอดคำภาษาสันสกฤตอักษรโรมันเป็นอักษรไทยในเน็ต
ต้องตรวจสอบครับ  ที่ถอดผิดก็มาก  ต้องระวัง
ถ้าจำได้ผมเคยกล่าวไว้หลายครั้งแล้วในกระทู้นี้

เรียนถามคุณหลวง

ถึงคิวคำถามจากทางบ้านหรือยัง

 ;D

เชิญคุณเพ็ญฯ ประเคนมาสัก ๑ คำถาม  หลังจากที่ว่างเว้นไปนาน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 11, 14:52
ขอบพระคุณที่กรุณา

คำถามมีดังนี้

กรุณาถอดแปลกลอนบทอัศจรรย์ระหว่างนางอัญชนาและวายุเทพ จาก Griffiths's Ramayana ตามที่ได้ยกมานี้   ให้เป็นภาษาที่สละสลวย ละเอียด  ชัดเจน  ไม่กำกวม  เก็บความได้ครบถ้วน และสะกดคำถูกต้อง

จะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ แล้วแต่ถนัด

An Apsaras, the fairest found
Of nymphs, for heavenly charms renowned,
Sweet Punjikasthala, became
A noble Vanar's wedded dame.

Her heavenly title heard no more,
Anjana was the name she bore,
When, cursed by gods, from heaven she fell,
In Vanar form on earth to dwell.

In youthful beauty wondrous fair,
A crown of flowers about her hair.
In silken robes of richest dye,
She roamed the hills that kiss the sky.

Once in her tinted garments dressed,
She stood upon the mountain crest.
The god of wind beside her came,
And breathed upon the lovely dame;

And as he fanned her robe aside,
The wondrous beauty that he eyed,
In rounded lines of breast and limb,
And neck and shoulders, ravished him;
And captured by her peerless charms,
He strained her in his amorous arms.

Then to the eager god she cried,
In trembling accents, terrified:
"Whose impious love has wronged a spouse
So constant to her nuptial vows?"

He heard, and thus his answer made:
'Oh, be not troubled, nor afraid.
But trust, and thou shalt know ere long,
My love has done thee, sweet, no wrong.

So strong, and brave, and wise shall be
The glorious son I give to thee;
Might shall be his, that nought can tire,
And limbs to spring as springs his sire.'
Thus spoke the god: the conquered dame
Rejoice in heart nor feared the shame.

 ;D





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 พ.ค. 11, 15:26

จัดมาให้ถึงที่เลย    อื้อฮือ!


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 พ.ค. 11, 15:48

กรุณาถอดแปลกลอนบทอัศจรรย์ระหว่างนางอัญชนาและวายุเทพ จาก Griffiths's Ramayana ตามที่ได้ยกมานี้   ให้เป็นภาษาที่สละสลวย ละเอียด  ชัดเจน  ไม่กำกวม  เก็บความได้ครบถ้วน และสะกดคำถูกต้อง


สำนวนคำสั่งคุ้นๆ นะคะ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 27 พ.ค. 11, 18:57
เห็นแล้วมันปวดใจ
เหมือนโดนดาบตนเองทิ่มแทง :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 พ.ค. 11, 20:28
เมื่อแรกเห็นคำถามจากทางบ้านข้อนี้
ยอมรับว่าหนักใจอยู่  เพราะเป็นทราบกันดีว่า
รามายณะ ที่ กริฟฟิทส์ แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น
สำนวนภาษางดงามไพเราะอย่างอุกฤษฐ์
แถมแต่งเป็นร้อยกรองอีกต่างหาก
การแปลเป็นภาษาไทยย่อมไม่ง่าย
จำได้ว่า  ตอนเรียน ป.ตรี  อาจารย์ที่สอนผม
ท่านเอารามายณะสำนวนนี้มาให้อ่านและแปลในชั้นเรียน
เรียนเสร็จคาบนั้นแล้วแทบจะไปขอถอนรายวิชานี้
แต่ก็ทนเรียนมาจนจบเทอม 

ฉะนั้นที่คุณเพ็ญฯ ตั้งโจทย์ให้ผมแปล
ผมเรื้อเรื่องการแปลภาษาอังกฤษมานาน
จึงขอเวลาทำการบ้านนานหน่อย 
เพราะอยากทำให้ดีเท่าที่ความสามารถของผมจะมี


แต่ถ้ารอคำตอบผมไม่ไหว  ก็ขอเชิญอ่าน
สำนวนแปลของคุณแอ๊ด  ปากเกร็ด ไปพลางๆ ก่อน

๏ An Apsaras, the fairest found
Of nymphs, for heavenly charms renowned,
Sweet Punjikasthala, became
A noble Vanar's wedded dame.
ปุญชิกา- สถลา มิ่งอัปสร
ดวงสมร งามเลิศฟ้า จะหาไหน
มาเปรียบปาน เลื่องลือ ระบือไกล
เลือกคู่ได้ วิวาห์จ้าว ท้าววานร

๏ Her heavenly title heard no more,
Anjana was the name she bore,
When, cursed by gods, from heaven she fell,
In Vanar form on earth to dwell.
เทพพิโรธ ขับไล่ออก นอกสวรรค์
นามนางนั้น สาบสูญไป ไร้อักษร
สู่พิภพ จุติมา ชาติวานร
โฉมบังอร นามใหม่นั้น อัญชนา

๏ In youthful beauty wondrous fair,
A crown of flowers about her hair.
In silken robes of richest dye,
She roamed the hills that kiss the sky.
วัยกำดัด ร่างระหง นวลวงพักตร์
หลากหลายนัก น่าดู สีภูษา
มงกุฎเกศ แซมสร้อย ร้อยมาลา
ท่องวนา เขตฟ้าคลุม จุมพิตดิน

๏ Once in her tinted garments dressed,
She stood upon the mountain crest.
The god of wind beside her came,
And breathed upon the lovely dame;
กาละหนึ่ง ทรามวัย เที่ยวไปถึง
ยืนคำนึง ยั้งอยู่ ยอดภูหิน
วายุเทพ ฤทธิรณ ยลยุพิน
สวาทถวิล อวยลมกอด ยอดเทวี

๏ And as he fanned her robe aside,
The wondrous beauty that he eyed,
In rounded lines of breast and limb,
And neck and shoulders, ravished him;
And captured by her peerless charms,
He strained her in his amorous arms.
ลมโชยพัด ภูษาไหว แหวกให้เห็น
ดุจจันทร์เพ็ญ แจ่มจำรัส รัศมี
ทั่วเรือนร่าง ดั่งปฏิมา ไร้ราคี
ไฝฝ้านี้ ไม่มีเห็น เป็นมลทิน

สองเต้าเต่ง สมตัว สองบัวคู่
สองกรอยู่ สมลักษณ์ ชวนพักตร์ผิน
เอวแน่งน้อย สมส่วน ชวนยลยิน
องค์เทวินทร์ กำเริบรัก สุดหักใจ

๏ Then to the eager god she cried,
In trembling accents, terrified:
"Whose impious love has wronged a spouse
So constant to her nuptial vows?"
เข้าสวมสอด นวลอนงค์ หลงสุดขีด
นางร้องหวีด ไม่สมประดี นี่ไฉน
ผู้ใดหนอ ปลุกปล้ำ ทำร้ายใจ
ดิฉันไซร้ มีผัวอยู่ อย่าดูแคลน

๏ He heard, and thus his answer made:
'Oh, be not troubled, nor afraid.
But trust, and thou shalt know ere long,
My love has done thee, sweet, no wrong.
So strong, and brave, and wise shall be
The glorious son I give to thee;
Might shall be his, that nought can tire,
And limbs to spring as springs his sire.'
Thus spoke the god: the conquered dame
Rejoice in heart nor feared the shame."
วายุเทพ ฟังคำนาง จึงพลางว่า
เจ้าจงอย่า ตื่นตระหนก วิตกแสน
เชื่อพี่เถิด ดีจริงจริง สิ่งทดแทน
ไม่คลอนแคลน ฟังพี่เล่า เจ้าแก้วตา

บุตรของเจ้า กับพี่ จะดียิ่ง
พร้อมทุกสิ่ง กล้าหาญ ชาญอาสา
ทั้งเรี่ยวแรง แข็งแกร่งไซร้ ไวปัญญา
ศัตรูมา ล้วนพ่ายแพ้ แก่ลูกเรา

ฟังวาจา ให้เกษม อิ่มเอมจิต
อัญชนา มิพักคิด เรื่องบัดสี
ร่วมสมสอง สนองเล่ห์ ประเวณี
บังเกิดมี อัศจรรย์ ในทันใด.


เอามาจาก  http://www.sakulthai.com/webboard/Questionv.asp?GID=274



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 พ.ค. 11, 20:33
งดงามมากครับ  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 11, 20:53
ฉะนั้นที่คุณเพ็ญฯ ตั้งโจทย์ให้ผมแปล
ผมเรื้อเรื่องการแปลภาษาอังกฤษมานาน
จึงขอเวลาทำการบ้านนานหน่อย 
เพราะอยากทำให้ดีเท่าที่ความสามารถของผมจะมี

แต่ถ้ารอคำตอบผมไม่ไหว  ก็ขอเชิญอ่าน
สำนวนแปลของคุณแอ๊ด  ปากเกร็ด ไปพลางๆ ก่อน

หมอแอ๊ดแปลงดงามตามที่ว่า 
แต่หากถ้าคุณหลวงแปลแม้นานหน่อย
นับชั่วโมงนับวันมั่นรอคอย
จะไม่ถอยคอยลุ้นคุณหลวงแปล

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 28 พ.ค. 11, 02:05
นอนไม่หลับ จึงตะกายร่างมาแอบดู พอเห็น....
อ้างถึง
Griffiths's Ramayana

ถึงกับลงไปหมอบ กราบเสีย...3 ที อุ๊แม่เจ้า ภาษาอะไรช่างสละสลวยอย่างนี้ ราวกับภาษาเทพยดา

คุณหลวงเจ้าข่้า จะรออ่านสำนวนแปลคุณหลวงนะเจ้าคะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 28 พ.ค. 11, 14:26
๐นางสวรรค์ อัญชิกา สถาลา
An Apsaras, the fairest found
งามสรรพกว่า  อัปสรา องค์ไหนไหน
Of nymphs, for heavenly charms renowned,
นางเป็นเทพเทวีผู้มีใจ
Sweet Punjikasthala, became
มอบลิงไพรใจกล้าจ้าววานร
A noble Vanar's wedded dame.



๐ชื่อของนางจางจากฟากสวรรค์
Her heavenly title heard no more,
ชื่อใหม่นั้นอัญชนานามสมร
Anjana was the name she bore,
เจ้าเทวาสาปไว้ให้บังอร
When, cursed by gods, from heaven she fell,
จุติ มาเป็นวานรในพสุธา
In Vanar form on earth to dwell.


๐วัยสาวเบ่งบริสุทธิ์งามผุดผ่อง
In youthful beauty wondrous fair,
มงกุฎกรองผองสุคนธ์บนเกศา
A crown of flowers about her hair.
ในอาภรณ์อันอ่อนอุ่นละมุนตา,
In silken robes of richest dye,
เนินนิมิตจุมพิตฟ้านางเที่ยวชิน
She roamed the hills that kiss the sky.



๐คราหนึ่งในอาภรณ์สีอ่อนหวาน
Once in her tinted garments dressed,
นางสราญยืนตื่นตายอดผาหิน
She stood upon the mountain crest.
เทพเจ้าแห่งสายลมพรมพัดริน
The god of wind beside her came,
แล้วกลืนกินนางไว้ในทันที
And breathed upon the lovely dame;



๐วายุพัดอาภรณ์พริ้วสยิวจิต

And as he fanned her robe aside,.

ให้หวั่นหวามยามพิศเพศอิตถี

The wondrous beauty that he eyed,

ปทุมทองสองเต้าเร้าฤดี
In rounded lines of breast and limb,
กรนางนี้ทีท่วงงวงนาคีนทร์



๐คอระหงองเอวนางช่างสวยสม
ไหล่กลึงกลมยั่วยวนชวนถวิล
And neck and shoulders, ravished him;

เสน่ห์เหนือใครเทียบได้ในแดนดิน
And captured by her peerless charms,

องค์เทวินทร์ตระกองพลันในทันใด

He strained her in his amorous arms.



๐นางตระหนกอกสั่นพลันร้องหวีด
Then to the eager god she cried,

กลัวสุดขีดตัวสั่นจิตหวั่นไหว
 In trembling accents, terrified:


"ทุรยศต่อคู่ครองตรองเถิดใจ
"Whose impious love has wronged a spouse

สัตย์สาบานที่ให้ไว้ต้องหมองมัว?"

So constant to her nuptial vows?"




๐วายุกรอ้อนพลางทางว่าน้อง
He heard, and thus his answer made:

'โอ้ไม่ต้องหมองเศร้าเจ้าทูลหัว
'Oh, be not troubled, nor afraid.

จงวางใจเถิดหนาเจ้าอย่ากลัว
But trust, and thou shalt know ere long,

พึ่งเจอตัวก็ไม่ผิดคิดรักกัน
My love has done thee, sweet, no wrong.


๐ต้องเข้มแข็งและกล้าหาญชาญฉลาด
So strong, and brave, and wise shall be

วายุบุตรสุดเปรื่องปราดเกิดจากฉัน

The glorious son I give to thee;

เป็นหน่อเนื้อผู้สามารถฉกาจฉกรรจ์
ไม่มีวันพ่ายแพ้แก่ผู้ใด
Might shall be his, that nought can tire,




๐มีขาแขนแล่นเร่งเก่งเหมือนพ่อ
 And limbs to spring as springs his sire.'

ฟังพูดต่อนะมิ่งมิตรยอดพิสมัย
ควรชื่นชมยินดีปรีดาไป
Thus spoke the god: the conquered dame

หรือละอายแก่ใจเล่าคนดี

๐ได้ฟังคำมิอ้ำอึ้งดึงเข้ากอด
แล้วพร่ำพรอดสอดรัดลืมบัดสี
คลึงขยำถลำล่วงดวงมาลี
อัศจรรย์อันสุนทรีก็ประเลง

Rejoice in heart nor feared the shame."



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 28 พ.ค. 11, 14:44
๐นางสวรรค์ อัญชิกา สถาลา
งามสรรพกว่า  อัปสรา องค์ไหนไหน
นางเป็นเทพเทวีผู้มีใจ
มอบลิงไพรใจกล้าจ้าววานร

๐นามของนางจางจากฟากสวรรค์
ชื่อใหม่นั้นอัญชนานามสมร
เจ้าเทวาlสาปไว้ให้บังอร
จุติ มาเป็นวานรในโลกา

๐วัยสาวเบ่งบริสุทธิ์งามผุดผ่อง
มงกุฎกรองดอกไม้ใส่เกศา
ในอาภรณ์อันอ่อนอุ่นละมุนตา,
เนินนิมิตจุมพิตฟ้านางเที่ยวชิน

๐คราหนึ่งในอาภรณ์สีอ่อนหวาน
นางสราญยืนตื่นตายอดผาหิน
เทพเจ้าแห่งสายลมพรมพัดริน
แล้วกลืนกินนางไว้ในทันที

๐วายุพัดอาภรณ์พริ้วสยิวจิต
ให้หวั่นหวามยามพิศเพศอิตถี
ปทุมทองสองเต้าเร้าฤดี
กรนางนี้ทีท่วงงวงนาคินทร์

๐คอระหงองเอวนางช่างสวยสม
ไหล่กลึงกลมยั่วยวนชวนถวิล
เสน่ห์เหนือใครเทียบได้ในแดนดิน
องค์เทวินทร์ตระกองพลันในทันใด

๐นางตระหนกอกสั่นพลันร้องหวีด
กลัวสุดขีดเนื้อตัวสั่นจิตหวั่นไหว
"ทุรยศต่อคู่ครองตรองเถิดใจ
สัตย์สาบานที่ให้ไว้ต้องหมองมัว?"

๐วายุกรอ้อนพลางทางว่าน้อง
'โอ้ไม่ต้องหมองเศร้าเจ้าทูลหัว
จงวางใจเถิดหนาเจ้าอย่ากลัว
พึ่งเจอตัวก็ไม่ผิดคิดรักกัน

๐ต้องเข้มแข็งและกล้าหาญชาญฉลาด
วายุบุตรสุดเปรื่องปราดเกิดจากฉัน
เป็นหน่อเนื้อผู้สามารถฉกาจฉกรรจ์
ไม่มีวันพ่ายแพ้แก่ผู้ใด

๐มีขาแขนแล่นเร่งเก่งเหมือนพ่อ
 ฟังพูดต่อนะมิ่งมิตรยอดพิสมัย
ควรชื่นชมยินดีปรีดาไป
หรือละอายแก่ใจเล่าคนดี

๐ได้ฟังคำมิอ้ำอึ้งดึงเข้ากอด
แล้วพร่ำพรอดสอดรัดลืมบัดสี
คลึงขยำถลำล่วงดวงมาลี
อัศจรรย์อันสุนทรีก็ประเลง

                         




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 พ.ค. 11, 16:46


แบกโพล่ไม่ต้องแล้ว

เกาะหลังกูบท่านแม่ทัพไปเถิด  ท่านผู้เจริญ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 พ.ค. 11, 21:10


แบกโพล่ไม่ต้องแล้ว

เกาะหลังกูบท่านแม่ทัพไปเถิด  ท่านผู้เจริญ

ผมคิดว่าคุณบางปลาม้าน่าจะนั่งช้างไปอีกเชือกนะคุณวันดี

ส่วนเราทั้งสองคงอยู่เป็นกองสอดแนมเหมือนเดิม ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 28 พ.ค. 11, 21:39
ขอบคุณทั้งสองท่านที่เป็นกำลังใจครับ
แต่แม่ทัพผู้ให้คะแนนท่านยังไม่ได้หักคะแนนจะเหลือเท่าไรก็ไม่รู้

ขอแก้คำที่พิมพ์ผิด "นาคีนทร์ แก้เป็น นาคินทร์" ครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 พ.ค. 11, 23:31

คุณอาร์ท 47

       หนีทัพมาตั้งนานแล้วจ้า  อยู่กองเสมอนอก

ทนายที่นั่งท้ายช้างน่ะ  ได้รับความไว้วางใจมาก  บางทีก็ใช้บันทึกนิราศ

เช่นนิราศหนองคายเป็นต้น  ดังแบบไม่รู้ตัวเลย  ฮ่ะ ๆ ๆ  โด่งเป็นพลุ

ใต้เท้าคุณอาร์ท aka ใต้เท้าของคุณอาร์ทท่านเรืองวิทยาคมอยู่

จะประมาทหมิ่นมิได้        ระวังจะได้รับยศตะพุ่น


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 28 พ.ค. 11, 23:32
คำถามนี้คุณเพ็ญชมพูให้คุณหลวงตรวจหรือตรวจเองขอรับ :-\


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 พ.ค. 11, 23:49


     คุณหลวงจะแสดงฝีมือตอบคุณเพ็ญชมพู   และคุณเพ็ญจะให้คะแนนคุณหลวงค่ะ

แฟ้มข้อมูลอาทมาตแจ้งไว้ว่า  คุณหลวงถนัดเรื่องโคลงกลอนมาก

ตอนหนุ่ม ๆ ท่านรับจ้างเขียนเพลงยาวค่ะ   รับประกันเขียนสามฉบับเป็นได้ตัว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 พ.ค. 11, 00:24


     คุณหลวงจะแสดงฝีมือตอบคุณเพ็ญชมพู   และคุณเพ็ญจะให้คะแนนคุณหลวงค่ะ

แฟ้มข้อมูลอาทมาตแจ้งไว้ว่า  คุณหลวงถนัดเรื่องโคลงกลอนมาก

ตอนหนุ่ม ๆ ท่านรับจ้างเขียนเพลงยาวค่ะ   รับประกันเขียนสามฉบับเป็นได้ตัว

 :o
เอ๊ะ แสดงว่าตอนนี้ไม่หนุ่ม
ฮิๆๆๆ

ฝีมือเพลงยาวยังไม่เคยประชัน แต่สักวานั้นเคยปรบกันมาแล้ว


ระวังจะได้รับยศตะพุ่น



ชีวิตตอนนี้ก็คล้ายตะพุ่นหญ้าช้าง

แต่เป็นตะพุ่นหญ้านก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 29 พ.ค. 11, 01:32
โอ โองโงง โงย ชะ เอิง เอย

ตอนนี้คงเก่งตะพุ่นหญ้านก         เชิญมานครนายกจะให้ตะพุ่นหญ้าควาย
ผมรอดูแมนยูเตะฟุตบอล           กะว่าจะนอน นอน นอนตื่นตอนสายสาย
ถ้าคุณเอ็ดสี่สิบจ๊าดไม่ขัดข้อง     เชิญมาเที่ยวนางรองนะน้องชาย
ชวนคุณบางวันดีท่านมาด้วย       เอ้าผมจะซวยหาเรื่องตาย
ไอ้คำว่าบางถ้ามันอยู่ผิดที่          เช่นบางวันดีนี้ใช้ไม่ได้
ถ้าเป็นบางปลาม้าเข้าท่าอยู่        เพราะใครๆก็รู้ว่าอยู่ที่ไหน
ฉ่อยแบบต้นฉบับตำรับสุพรรณ     มาแซวเล่นกันอย่าถือฉันนะนาย    เอ่ชา ชา ชาฉ่า ชาเอย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 พ.ค. 11, 02:14
โอ โองโงง โงย ชะ เอิง เอย

เขามาร้องเพลงฉ่อยอร่อยหู                 จะนอนนิ่งดูมันก็กระไร
เลยเข้าคลุกลงวงร่วมหน่อยเถิดเหวย        ไอ้ฟังอยู่อย่างเคยมันไม่สบาย
พึ่งรู้จักไม่นานก็ชวนเพื่อนออกเที่ยว         ครั้นจะไปเดียวๆ ดูก็ไถล
ชวนคุณวันดีที่บ้านวันวาน                   ไม่รู้แกจะขานรับคำไหม
คนบางปลาม้าชวนเที่ยวคอรยก              จิตคิดไม่ตกยังสงกะสัย
เออนี่หรือว่าย้ายบ้านไปอยู่                   คงต้องไปแอบดูให้ได้

เอ่ชา เอ่ชา ชาฉ่าชา หน่อยแม่เอย..... :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ค. 11, 04:48
คำถามนี้คุณเพ็ญชมพูให้คุณหลวงตรวจหรือตรวจเองขอรับ :-\

ขออนุญาตให้เจ้าถิ่นตรวจ

แต่เห็นแว้บ ๆ ว่า นางฟ้าของคุณบางปลาม้าชื่อประหลาดอยู่

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 29 พ.ค. 11, 19:17
คำถามนี้คุณเพ็ญชมพูให้คุณหลวงตรวจหรือตรวจเองขอรับ :-\

ขออนุญาตให้เจ้าถิ่นตรวจ

แต่เห็นแว้บ ๆ ว่า นางฟ้าของคุณบางปลาม้าชื่อประหลาดอยู่

 ;D
ขอแก้ก่อนตรวจนะครับ อ่านแวบแรกแล้วสมองมันล็อกว่า อัญชิกา สถาลา

ขอแก้เป็น
"ปุญชิกา สถาลา ธิดาสวรรค์
อัปสราผู้เฉิดฉันกว่าองค์ไหน..."


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 29 พ.ค. 11, 19:41
จะแอบมาดูก็ให้บอกด้วย   ผมจะได้คอยช่วยทำเป็นไก๋
ทำทีทำท่าว่าไม่รู้จัก         เวลาคุณทักแกล้งตกใจ
ตกลงกันได้ขอให้มา         เออแล้วรู้หรือว่าผมอยู่ที่ไหน
อย่าบอกว่าผมก็อยู่บนหัวกบาล   เพราะบางคนหัวล้านกบาลใส
เพลงฉ่อยเพลงเป๋เพลงยี่เกขอทาน ร้องเล่นสนุกสนานสืบสานเพลงไทย  เอ่ชา ชา ชาฉ่า ชาเอย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 11, 09:45
หายหน้าไป ๒ วัน  กระทู้รามเกียรติ์ ๔  กลายเป็นวงมหรสพพื้นบ้านไปเสียแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 พ.ค. 11, 14:47
โดนท่านกริ้วแล้ว
ขอพักเพลงพื้นบ้านไว้เท่านี้ก่อนครับ
พร้อมกลับไปรอคำถามใหม่ ณ บัดนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 11, 15:11
โดนท่านกริ้วแล้ว
ขอพักเพลงพื้นบ้านไว้เท่านี้ก่อนครับ
พร้อมกลับไปรอคำถามใหม่ ณ บัดนี้

ไม่ได้กริ้วโกรธอันใด
แค่หลากใจเท่านั้นเอง
อย่าร้อนตัวร้อนใจไปเลยสหาย


คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 พ.ค. 11, 16:16

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ;D

๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา
ภาพข้างบนนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกภุมภกรรณ
จับความตั้งแต่ สุครีพถอนต้นรัง(ภาพบน) จนอ่อนแรงและเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้
สุครีพถูกกุมภกรรณโถมทะยานเข้าใส่ (ภาพกลาง)
ในที่สุด กุมภกรรณก็สามารถหนีบสุครีพไว้ใต้ซอกรักแร้(ภาพล่าง)

๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด
ภาพวาดนี้เป็นผลงานของพระอาจารย์นาค วาดไว้บนแผ่นไม้ด้านข้างและเหนือประตูทางเข้า ในหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
หอพระไตรปิฎกนี้เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖) ได้ทำการซ่อมแซมภาพวาด และอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม แล้วเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และได้รับการยกย่องว่า เป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด

อาจารย์เฟื้อเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยแวะเวียนหมั่นไปเยี่ยมชมอยู่เนือง ๆ ควบคู่กับใช้น้ำยาทำความสะอาดภาพเขียนนับครั้งไม่ถ้วน จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย ดังพระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ว่า "ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝา (ด้านตะวันออกและตะวันตก) นั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาค นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน"
เมื่อพบภาพเขียนของพระอาจารย์นาค ที่อยากเห็นแล้ว อาจารย์เฟื้อก็ทำเรื่องเสนอกรมศิลปากร เพื่อขอย้ายภาพทั้งสองนี้ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
จากนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้หาช่างมารื้อกุฏิเพื่อจะได้เปลี่ยนเสาที่เริ่มผุ อาจารญ์เฟื้อเห็นว่าจะกระทบกับภาพเขียนนี้ด้วย จึงขอให้อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ช่วยเจรจากับทางวัด ผลคือได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการบูรณะหอไตรขึ้น เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑ และงานบูรณะหอไตร ฯ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๑๓ (ใช้เวลาในการ วางแผน ระดมเงินทุน กำหนดรายละเอียดว่าจะซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ประมาณ ๒ ปี) การบูรณะเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวมเป็นเวลา ๑ ปี กับ ๔ เดือนครึ่ง โดยได้มีการย้ายที่ตั้งหอไตร จากตำแหน่งเดิมในเขตสังฆาวาส ใกล้ ๆ เมรุเผาศพ มาอยู่ข้างพระวิหาร ในเขตพุทธาวาส เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา, เสาบางต้น ไม้กระดานปูพื้น, รางน้ำฝน, เสาต่อม่อ ฯลฯ
งานของอาจารย์เฟื้อยังไม่เสร็จ “หน้าที่ผมหลังจากย้ายหอพระไตรมาแล้ว ก็รักษาภาพ ผมมานั่งล้างความสกปรกอยู่หลายปี พยายามเสาะหาน้ำยาดี ๆ ที่ใช้ในการอนุรักษ์มาใช้.."

จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่อยากเห็นจิตรกรรมฝีมือพระอาจารย์นาค นำมาสู่การทำความสะอาดเพื่อให้สามารถมองเห็นผลงานของปรมาจารย์, คลี่คลายมาเป็นการซ่อมแซมบูรณะหอไตรฯ ที่ผุเก่าจวนพัง ให้กลับมาสวยงามมั่นคง ท้ายสุดอาจารย์เฟื้อก็เยียวยาแทบทุกตารางนิ้วในหอไตรฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 พ.ค. 11, 17:18
๑.ตอนศึกภุมภกรรณ เริ่มตั้งแต่สุครีพถอนต้นรังจนอ่อนแรง(ภาพ ๑)
                            ตามด้วยการต่อสู้กับกุมภกรรณ(ภาพ๒)
                            และเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้ (ภาพ๓)
                           
๒.ผลงานของพระอาจารย์นาค     สัณนิษฐานว่าท่านเป็นจิตรกรในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีชีวิตยืนยาวล่วง
มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเขียน(วาด)ไว้ บนแผ่นไม้ทั้งด้านข้างและเหนือประตูทางเข้าในหอไตร วัดระฆังฯ  ธนบุรี
จัดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่แฝงความรู้สึกนึกคิด ชีวิต และวิญญาณของผู้คนในยุคกรุงเก่า   เป็นตัวอย่างความสืบเนื่องของ
งานศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

๓.อาจารย์เฟื้อ  หริพิทักษ์ ท่านเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ และพยายามใช้น้ำยาทำความสะอาดลงบนฝาปะกนทั้งสองฝา (ด้านตะวันออกและตะวันตก) จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย เมื่อเช็ดทำความสะอาด ยิ่งเช็ดมากขึ้น ดูง่ายขึ้น จึงประจักษ์สมดังพระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝานั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาคแน่นอน นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน
ท่านจึงทำการอนุรักษ์ส่วนของภาพตั้งแต่ปี ๒๕๑๔-๒๕๒๕ใช้เวลา ๑๐กว่าปี จึงเสร็จทันการสมโภชกรุง ๒๐๐ปี
(http://upic.me/i/e2/7_news_img_340415_1_1.jpg)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 พ.ค. 11, 21:58

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 พ.ค. 11, 22:06

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ;D


เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 11, 08:30

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ;D



เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  :P

เป็นเหตุผล (ภาษาปากว่า ข้ออ้าง) ในการเลี่ยงทัพยามสงครามที่น่าสนใจ
ที่ไม่ลงทำศึก  คงไม่เกี่ยวกับว่า  ถึงตอบถูก  ก็ไม่พ้นต้องถูกตัดคะแนน
เพราะตอบซ้ำคนอื่น  ใช่ไหม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 31 พ.ค. 11, 11:06

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ;D



เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  :P

เป็นเหตุผล (ภาษาปากว่า ข้ออ้าง) ในการเลี่ยงทัพยามสงครามที่น่าสนใจ
ที่ไม่ลงทำศึก  คงไม่เกี่ยวกับว่า  ถึงตอบถูก  ก็ไม่พ้นต้องถูกตัดคะแนน
เพราะตอบซ้ำคนอื่น  ใช่ไหม


ใต้เท้าคิดมากแล้วขอรับ

กระผมเพียงแต่เลี่ยงทางให้ช้างต้นคนสุพรรณ (เอ๊ะ หรือคนนครนายก)
กับคุณหนูแสนน่ารัก เท่านั้นเองขอรับ

ช่วงนี้เรียกว่า "ช่วงผลัดใบ"

คิดมากๆๆ :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 11, 11:11
มาตอบไม่ทันเขา  จะอ้างอะไรก็อ้างได้สารพัด
น่าฟังทั้งนั้น 

ผมไม่ใช่คนคิดมาก   แต่คิดไม่เหมือนคนบางคนที่คิดเข้าข้างตนเอง
ก็เท่านั้น


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 31 พ.ค. 11, 11:17
มาตอบไม่ทันเขา  จะอ้างอะไรก็อ้างได้สารพัด
น่าฟังทั้งนั้น 

ผมไม่ใช่คนคิดมาก   แต่คิดไม่เหมือนคนบางคนที่คิดเข้าข้างตนเอง
ก็เท่านั้น

เอ๊ะ :o

ใครกันน่ะ "คนที่คิดเข้าข้างตนเอง"

(นายวงหายไปไหน ไม่มาช่วยกันบ้างเลย โดนอยู่คนเดียว)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 11, 11:53
อะไรกัน  ร้องหาพวกเหรอ  ช่วงนี้นายวงไม่ค่อยว่างหรอก
เพราะต้องออกรอบเวียนไปรำที่วงอื่นด้วย 
ทราบว่า  อุปกรณ์ทำมาหากินก็เพิ่งมีปัญหาด้วย
ช่วยเหลือตัวเองไปก่อนดีกว่ามั้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 11, 14:20

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ;D

๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา

ภาพข้างบนนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกภุมภกรรณ
จับความตั้งแต่ สุครีพถอนต้นรัง(ภาพบน) จนอ่อนแรงและเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้
สุครีพถูกกุมภกรรณโถมทะยานเข้าใส่ (ภาพกลาง)
ในที่สุด กุมภกรรณก็สามารถหนีบสุครีพไว้ใต้ซอกรักแร้(ภาพล่าง)

๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด

ภาพวาดนี้เป็นผลงานของพระอาจารย์นาค วาดไว้บนแผ่นไม้ด้านข้างและเหนือประตูทางเข้า
ในหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
หอพระไตรปิฎกนี้เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่ง
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงาม
เพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘
ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖)
ได้ทำการซ่อมแซมภาพวาด และอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
แล้วเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕
และได้รับการยกย่องว่า เป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด

อาจารย์เฟื้อเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดีย
ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยแวะเวียนหมั่นไปเยี่ยมชมอยู่เนือง ๆ
ควบคู่กับใช้น้ำยาทำความสะอาดภาพเขียนนับครั้งไม่ถ้วน จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ
มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย
จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย ดังพระดำรัส
ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ว่า "ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝา
(ด้านตะวันออกและตะวันตก) นั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาค
นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน"
เมื่อพบภาพเขียนของพระอาจารย์นาค ที่อยากเห็นแล้ว
อาจารย์เฟื้อก็ทำเรื่องเสนอกรมศิลปากร เพื่อขอย้ายภาพทั้งสองนี้
ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

จากนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้หาช่างมารื้อกุฏิ
เพื่อจะได้เปลี่ยนเสาที่เริ่มผุ อาจารญ์เฟื้อเห็นว่าจะกระทบกับภาพเขียนนี้ด้วย
จึงขอให้อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ช่วยเจรจากับทางวัด
ผลคือได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการบูรณะหอไตรขึ้น
เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑ และงานบูรณะหอไตร ฯ
เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๑๓ (ใช้เวลาในการ วางแผน
ระดมเงินทุน กำหนดรายละเอียดว่าจะซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ประมาณ ๒ ปี)
การบูรณะเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวมเป็นเวลา ๑ ปี กับ ๔ เดือนครึ่ง
โดยได้มีการย้ายที่ตั้งหอไตร จากตำแหน่งเดิมในเขตสังฆาวาส ใกล้ ๆ เมรุเผาศพ
มาอยู่ข้างพระวิหาร ในเขตพุทธาวาส เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา,
เสาบางต้น ไม้กระดานปูพื้น, รางน้ำฝน, เสาต่อม่อ ฯลฯ
งานของอาจารย์เฟื้อยังไม่เสร็จ “หน้าที่ผมหลังจากย้ายหอพระไตรมาแล้ว
ก็รักษาภาพ ผมมานั่งล้างความสกปรกอยู่หลายปี พยายามเสาะหาน้ำยาดี ๆ
ที่ใช้ในการอนุรักษ์มาใช้.."

จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่อยากเห็นจิตรกรรมฝีมือพระอาจารย์นาค
นำมาสู่การทำความสะอาดเพื่อให้สามารถมองเห็นผลงานของปรมาจารย์,
คลี่คลายมาเป็นการซ่อมแซมบูรณะหอไตรฯ ที่ผุเก่าจวนพัง ให้กลับมาสวยงามมั่นคง
ท้ายสุดอาจารย์เฟื้อก็เยียวยาแทบทุกตารางนิ้วในหอไตรฯ

ตอบได้ละเอียดครบถ้วนดี ทันเวลาที่กำหนด  สะกดถูกต้อง
เอาไป ๓๐ คะแนน 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 11, 14:25
๑.ตอนศึกภุมภกรรณ เริ่มตั้งแต่สุครีพถอนต้นรังจนอ่อนแรง(ภาพ ๑)
                            ตามด้วยการต่อสู้กับกุมภกรรณ(ภาพ๒)
                            และเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้ (ภาพ๓)
(๑๐ - ๓  เหลือ ๗ คะแนน)
                           

๒.ผลงานของพระอาจารย์นาค     สัณนิษฐานว่าท่านเป็นจิตรกร
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีชีวิตยืนยาวล่วง มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ท่านเขียน(วาด)ไว้ บนแผ่นไม้ทั้งด้านข้างและเหนือประตูทางเข้าในหอไตร
วัดระฆังฯ  ธนบุรี จัดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่แฝงความรู้สึกนึกคิด ชีวิต
และวิญญาณของผู้คนในยุคกรุงเก่า   เป็นตัวอย่างความสืบเนื่อง
ของงานศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (๑๕ - ๓ - ๒  เหลือ ๑๐ คะแนน)

๓.อาจารย์เฟื้อ  หริพิทักษ์ ท่านเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร
วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙
และพยายามใช้น้ำยาทำความสะอาดลงบนฝาปะกนทั้งสองฝา
(ด้านตะวันออกและตะวันตก) จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ
มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย
จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย เมื่อเช็ดทำความสะอาด
ยิ่งเช็ดมากขึ้น ดูง่ายขึ้น จึงประจักษ์สมดังพระดำรัส
ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝานั้น
เป็นฝีมือพระอาจารย์นาคแน่นอน นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่น
ที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน
ท่านจึงทำการอนุรักษ์ส่วนของภาพตั้งแต่ปี ๒๕๑๔-๒๕๒๕
ใช้เวลา ๑๐ กว่าปี จึงเสร็จทันการสมโภชกรุง ๒๐๐ปี
(๕-๓  เหลือ ๒  คะแนน)

รวมแล้วได้  ๑๙  คะแนน ครับ 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 31 พ.ค. 11, 14:53
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มิ.ย. 11, 10:40
คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ป.ล.  จงใส่ที่มาแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงลงในท้ายคำตอบด้วย
         ไม่เช่นนั้น   หัก  ๑๐  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มิ.ย. 11, 10:53
คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

นางอัญชนาเคยเป็นนางฟ้าบนสวรรค์มาก่อน ตอนที่อยู่บนสวรรค์ชื่อว่านางปุญชิกาสถาลา
ต่อมาถูกสาปให้เป็นนางพญาวานรชื่อนางอัญชนา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 11, 10:59
ปุญชิกสถาลา เป็นธิดาของสุริยเทพและชายาของวายุเทพ วันหนึ่ง ๒ สามีภรรยาไปเที่ยวป่าเล่นน้ำกันจนน้ำกระเด็นไปโดนฤๅษีนาม  มะตัง ฤๅษีไม่พอใจจึงสาปให้นางกลายเป็นลิง และบอกวิธีถอนคำสาปคือให้ไปบูชาพระศิวะแล้วจะคืนร่างเดิม ขณะเดียวกันท้าวเกศรีออกป่าล่าสัตว์จนเข้าไปถึงในอาศรมฤๅษี พระฤๅษีไม่พอใจการที่มีคนมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในอาศรมและยังเป็นการรบกวนการทำสมณกิจของฤๅษี จึงสาปให้กลายเป็นลิง วิธีถอนคำสาปก็เช่นเดียวกัน

เมื่อทั้งสองกลายเป็นลิงแล้ว จึงมาบูชาพระศิวะเพื่อแก้คำสาปพร้อมกันโดยบังเอิญ พระศิวะพอใจแล้วมอบพรว่าให้ทั้งคู่ไปเกิดเป็นพญาวานรในชาติต่อไป นางปุญชิกสถาลาไปเกิดเป็นธิดาพญาวานร ชื่อว่านางอัญชนา และได้แต่งงานกับท้าวเกศรี พระศิวะจึงสั่งให้วายุเทพนำดวงไฟอวตารไปใส่ครรภ์ของนางอัญชนา แต่ก่อนไปวายุเทพได้ขอพรให้ตนได้เป็นพ่อของลูกนางอัญชนาด้วยเพราะอดีตชาติของนางคือภรรยาของตน ลูกของนางในชาตินี้ก็เหมือนลูกของตน หลังจากเกิดมาหนุมานก็นับถือวายุเทพเหมือนพ่ออีกคนหนึ่ง จึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ วายุบุตรหรือพาวันบุตร หมายถึงบุตรของเทพแห่งลม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มิ.ย. 11, 12:18
คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ป.ล.  จงใส่ที่มาแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงลงในท้ายคำตอบด้วย
         ไม่เช่นนั้น   หัก  ๑๐  คะแนน

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ;D

นางปุญชิกสถลา เป็นนางฟ้าที่งดงาม หนึ่งในเหล่า "เทพกัญญา" (นางฟ้าแถวหน้า รูปงามนามเพราะ ที่สวยที่สุดบนสวรรค์ ๑๑ นางฟ้า)
เป็นลูกสาวของพระสุริยเทพ และเป็นภรรยาของพระพาย หรือ วายุเทพ
วันหนึ่ง 2 สามีภรรยาไปเที่ยวป่าเล่นน้ำกันจนน้ำกระเด็นไปโดนฤาษี มะตัง ฤาษีไม่พอใจจึงสาปให้นางกลายเป็นลิง และบอกวิธีถอนคำสาปคือให้ไปบูชาพระศิวะแล้วจะคืนร่างเดิม
ขณะเดียวกันท้าวเกศรีออกป่าล่าสัตว์จนเข้าไปถึงในอาศรมฤาษี พระฤาษีไม่พอใจการที่มีคนมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในอาศรมและยังเป็นการรบกวนการทำสมณกิจของฤาษี จึงสาปให้กลายเป็นลิงวิธีถอนคำสาปก็เช่นเดียวกัน แล้วบังเอิญทั้ง 2 ได้มาบูชาพระศิวะด้วยกัน พระศิวะพอใจแล้วมอบพรว่าให้ทั้งคู่ไปเกิดเป็นพญาวานรในชาติต่อไป  
ทั้งคู่จึงมาเกิดเป็นพญาวานร โดย นางปุญชิกสถลา เกิดเป็น นางอัญชนา และท้าวเกศรีเกิดเป็นพญาวานรชื่อ เกสรี และได้เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่บนภูเขา ริศีมุก
ทั้งคู่อยากมีบุตรจึงบูชาขอจากพระศิวะ พระศิวะให้พรว่า การปรากฏเป็นองค์อวตารครั้งที่สิบเอ็ดของพระองค์จะเกิดเป็นบุตรของเธอ ซึ่งต่อมาในวันอังคาร พระจันทร์เต็มดวงเดือนไจตระ พระศิวะได้อวตารเป็นบุตรของนาง
ก่อนอวตารพระศิวะมีโองการให้พระพายเป็นผู้นำดวงไฟอวตารไปใส่ครรภ์ของนางอัญชนา พร้อมด้วยเทพอาวุธ คฑาเพชร ตรี และจักรแก้ว
โดยพระพายได้ขอพรจากพระศิวะ ขอให้ตนได้เป็นพ่อของลูกนางอัญชนาด้วย เพราะอดีตชาติของนางคือ นางปุญชิกสถลา นางฟ้าซึ่งเป็นภรรยาของตน
พระศิวะซึ่งอวตารมาเป็น หนุมาน บุตรของนางจึงนับถือพระพายเหมือนพ่ออีกคนหนึ่ง จึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ วายุบุตร หรือพาวันบุตร หมายถึงบุตรของเทพแห่งลม ก็คือพระพายนั้นเอง

: สรุปความจาก :
http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=3630.5;wap2 (http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=3630.5;wap2)
http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm (http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm)
http://www.thammachuk.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99.html (http://www.thammachuk.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99.html)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:14
อ้างถึง
นางปุญชิกสถลา เป็นนางฟ้าที่งดงาม
หนึ่งในเหล่า "เทพกัญญา" (นางฟ้าแถวหน้า
รูปงามนามเพราะ ที่สวยที่สุดบนสวรรค์ ๑๑ นางฟ้า)


ขอรายชื่อ เทพกัญญาทั้ง ๑๑ คน ด้วยครับ
เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:16
"เทพกัญญา" มี ๑๑ นางได้แก่ นางเมนะกา ๑  นางสหชันยา ๑  นางกรรณิกา ๑  นางปุญชิกสถาลา ๑  นางฤตุสถาลา ๑  นางฆฤตาจี ๑  นางปูรวจิตตี ๑  นางอุลโลจา ๑  นางปรัมโลจา ๑ นางอุรวศี ๑  และ นางวิศวาจี ๑

http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:18

นางอัญชนาเคยเป็นนางฟ้าบนสวรรค์มาก่อน ตอนที่อยู่บนสวรรค์ชื่อว่านางปุญชิกาสถาลา
ต่อมาถูกสาปให้เป็นนางพญาวานรชื่อนางอัญชนา

ผมถามเรื่องราวของนางอัปสรชื่อ ปุญชิกสถลา
แต่ตอบนางอัญชนามาอย่างนี้  เอาไป ๐  คะแนน  
แถมเขียนชื่อผิดอีก  หัก ๒ คะแนน  เอาไป - ๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:38
"เทพกัญญา" มี ๑๑ นางได้แก่ นางเมนะกา ๑  นางสหชันยา ๑  นางกรรณิกา ๑  นางปุญชิกสถาลา ๑  นางฤตุสถาลา ๑  นางฆฤตาจี ๑  นางปูรวจิตตี ๑  นางอุลโลจา ๑  นางปรัมโลจา ๑ นางอุรวศี ๑  และ นางวิศวาจี ๑

http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm


นางเมนะกา ๑  (เมนกา)
นางสหชันยา ๑  (สหชนฺยา)
นางกรรณิกา ๑  (กรฺณิกา)
นางปุญชิกสถาลา ๑  X (ปุญฺชิกสฺถลา)
นางฤตุสถาลา ๑  X (ฤตุสฺถลา)
นางฆฤตาจี ๑  (ฆฺฤตาจี)
นางปูรวจิตตี ๑  (ปูรฺวจิตฺตี)
นางอุลโลจา ๑  (อุลฺโลจา)
นางปรัมโลจา ๑ (ปฺรมฺโลจา)
นางอุรวศี ๑  (อุรฺวศี)
และ นางวิศวาจี ๑ (วิศฺวาจี)


แล้วแต่ละคน ยกเว้นนางปุญชิกสถลา
มีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาอย่างไรบ้าง
พอจะหามาเสนอได้หรือไม่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:48
๑.
นางอัปสรชื่อเมนกา เคยไปทำลายตบะของฤาษีวิศวามิตรสำเร็จ  มีลูกสาวออกมาชื่อศกุนตลา  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องของนางไว้ชื่อ "ศกุนตลา" เป็นของขวัญแด่พระคู่หมั้น คือพระวรกัญญาปทาน

๖.
นางฆฤตาจีเป็นชายาพระวิศวกรรม มีลูกสาวชื่อว่านางสัญชญา มีลูกเขยคือสุริยเทพ  

๙.
นางปรัมโลจาถูกพระอินทร์ส่งลงไปทำลายตบะฤๅษีกัณฑุ เมื่อภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระกัณฑุมุนีไม่ยอมให้นางจากไป เวลาก็ผ่านไปเป็นหลายร้อยปี และนางก็ขอร้องหลายครั้ง พระฤๅษีก็ยังไม่ยอม นางก็จำทนอยู่ต่อไปอีก วันหนึ่งพระฤๅษีตะลีตะลานจะรีบออกไปนอกอาศรม ปรัมโลจารู้สึกแปลกใจก็ถามว่า “ท่านจะรีบไปไหน” พระฤๅษีตอบว่า “นางเอย นางไม่ได้สังเกตเลยหรือว่าเวลาผ่านไปนานเท่าใด เราพบนางที่ริมฝั่งน้ำเมื่อเช้านี้และได้พานางมาอยู่ด้วยกันในอาศรมนี้ บัดนี้ก็เกือบจะสิ้นวันแล้ว พระอาทิตย์กำลังคล้อยต่ำ เราจะต้องรีบออกไปทำพิธีสนธยาก่อนพระอาทิตย์จะตก”

นางปรัมโลจาได้ฟังก็กลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่กล่าวแก่สามีของนางว่า “พระมุนี ท่านว่าอะไรอย่างนั้น เวลามิได้ผ่านไปวันเดียวหรอก แท้ที่จริงท่านอยู่กับข้าพเจ้านานถึง ๙๐๗ ปี ๖ เดือน ๓ วันแล้ว” นั่นแหละพระมุนีจึงรำลึกได้ว่าแท้ที่จริงตนได้เสพสุขกับนางจนลืมวันลืมคืนถึงเกือบพันปีแล้ว มิใช่วันเดียวดังที่เข้าใจ พระฤๅษีคิดได้ดังนี้ก็เสียใจยิ่งนักที่ตบะซึ่งตนสู้อุตส่าห์บำเพ็ญมาช้านานต้องมาสูญสิ้นเพราะผู้หญิงเพียงคนเดียว นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเสน่ห์นางอัปสรผูกมัดรัดรึงใจเพียงใด เมื่อได้คิด พระฤๅษีจึงขับไล่นางไปทันที

http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/post.asp?method=TopicQuote&TOPIC_ID=119&FORUM_ID=6


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 มิ.ย. 11, 14:52
แล้วแต่ละคน ยกเว้นนางปุญชิกสถลา
มีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาอย่างไรบ้าง
พอจะหามาเสนอได้หรือไม่

แต่ละคนมีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาต่างกันค่ะ

นางอุรวศี
Uravasi

O Uravasi, dweller of the Celestial Garden,
You are perfect feminine form.
You are not a mother, you are not a daughter or bride.
When evening descends upon the earth,
Covering her weary limbs with a mantle of gold,
You do not light any lamps on homely doorsteps.
You are revealed like the coming dawn,
O Uravasi, wholly unperturbed, unconcerned.

อุรวศี นงพาล อุทยานสวรรค์
สุดเฉิดฉัน ทั่วเอวองค์ ทรงอิตถี
มิเคยเป็น มารดามนุษย์ หรือบุตรี
มิเคยมี เป็นเจ้าสาว เข้าวิวาห์

ยามอัศดง เริ่มคล้อยเคลื่อน เยือนพิภพ
เหนื่อยอ่อนซบ คลุมเสื้อทอง ป้องสังขาร์
ไม่ต้องจุด ประทีปตาม ยามมืดมา
ดุจอุษา นางเผยโฉม ประโลมใจ

In the primal spring of creation
You arose from the foaming ocean,
Like a flower without a stem.
The mighty ocean fell at your feet
Like a thousand-hooded serpent (หมายถึงพญาอนันตนาคราช มี ๑๐๐๐ เศียร)
Tamed by the charmer's mantra.
Jasmine-white, your unclothed beauty
Received the worship of the gods,
O Uravasi, flawless Uravasi.

อุรวศี สูงสง่า ด้วยราศี
ไร้ราคี วรรณะสุด ผุดผ่องใส
ดั่งมะลิ ขาวผ่อง เป็นยองใย
ปลอดฝ้าไฝ ไร้อาภรณ์ ทอนความงาม

กำเนิดจาก ฟองธารา มหาสมุทร
เปรียบประดุจ หนึ่งดอกไม้ ไร้ก้านหนาม
แม้นเกลียวคลื่น พิโรธฝั่ง ดังครืนคราม
ยังซบตาม แทบเท้า เจ้าแก้วตา

ประดุจดั่ง นาคราช อนันตเศียร
เฝ้าวนเวียน พ่ายแพ้ แก่คาถา
อุรวศี นิ่งสงบ สยบธารา
ทวยเทพมา บูชาเจ้า เฝ้าภักดิ์เอย.

ประพันธ์โดย : ท่านรพินทรนาถ ฐากูร
ถอดความโดย : ท่านแอ็ด ปากเกร็ด

คัดลอกมาแสดงโดย : หนูดีดี  ;D

ต่อมานางอุรวศีก็มารักกับมนุษย์ ชื่อ ท้าวปุรุรวัส เป็นกษัตริย์นักรบ วันหนึ่งอสูรกำเริบไปฉุดนางอุรวศี  ท้าวปุรุรวัสยกทัพมาช่วย เลยได้พบรักกัน แต่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เพราะนางอุรวศีต้องกลับไปทำหน้าที่บนสวรรค์เป็นนางละคร แต่ความที่คิดถึงแต่ท้าวปุรุรวัส ทำให้นางท่องบทละครผิด พระภรตฤาษีเจ้าแห่งละครโกรธมาก  จึงสาปนางให้ลงมายังโลกมนุษย์ พระอินทร์ทราบเรื่องก็สงสารจึงส่งนางให้มาอยู่กินกับท้าวปุรุรวัส โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อใดก็ตามที่นางมีลูกและสามีเห็นหน้าลูก นางก็จะพ้นคำสาป ได้กลับมาเป็นนางฟ้าบนสวรรค์
ในที่สุดนางอุรวศีก็มีลูกชายชื่อ อายุส นางพยายามเลี่ยงคำสาป  ด้วยการซ่อนลูกชายไว้ไม่ให้ท้าวปุรุรวัสได้เห็น
จนกระทั่งวันหนึ่งนางไปเที่ยวป่ากับท้าวปุรูรวัส ได้เจอนางวิทยาธรรูปงามเข้า ท้าวปุรูรวัสเผลอจ้องนางวิทยาธร ทำให้นางอุรวศีหึง นางจึงหนีเข้าไปในเขตหวงห้ามของเทพสกันทกุมาร นางจึงถูกสาปให้กลายเป็นเถาวัลย์ ท้าวปุรูรวัสเสียใจมาก หาทางแก้คำสาปโดยต้องนำลูกแก้ววิเศษมาแก้คำสาป
ในขณะที่จะนำลูกแก้วมาแก้คำสาปนั้น ได้มีเหยี่ยวมาโฉบลูกแก้วไป แต่มีเด็กคนหนึ่งยิงเหยี่ยวตกลงมาและนำลูกแก้วมาคืนให้
ปรากฏว่าเด็กหนุ่มคนนี้คือ อายุส ลูกชายของนางอุรวศีกับท้าวปุรุรวัส นั่นเอง ทันทีที่พ่อลูกพบกัน คำสาปของพระภรตฤาษี ก็หมดไป นางอุรวศีกลับเป็นนางฟ้าขึ้นสวรรค์ตามเดิม....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 มิ.ย. 11, 08:15
|| वाल्मीकि रामायण - किष्किन्धाकाण्ड ||

|| सर्ग ||

६५
अनेकशतसाहस्रीं विषण्णां हरिवाहिनीम् |
जाम्बवान्समुदीक्ष्यैवं हनुमन्तमथाब्रवीत् || १||

वीर वानरलोकस्य सर्वशास्त्रमथाब्रवीत् |
तूष्णीमेकान्तमाश्रित्य हनुमन्किं न जल्पसि || २||

हनुमन्हरिराजस्य सुग्रीवस्य समो ह्यसि |
रामलक्ष्मणयोश्चापि तेजसा च बलेन च || ३||

अरिष्टनेमिनः पुत्रौ वैनतेयो महाबलः |
गरुत्मानिव विख्यात उत्तमः सर्वपक्षिणाम् || ४||

बहुशो हि मया दृष्टः सागरे स महाबलः |
भुजगानुद्धरन्पक्षी महावेगो महायशाः || ५||

पक्षयोर्यद्बलं तस्य तावद्भुजबलं तव |
विक्रमश्चापि वेगश्च न ते तेनापहीयते || ६||

बलं बुद्धिश्च तेजश्च सत्त्वं च हरिसत्तम |
विशिष्टं सर्वभूतेषु किमात्मानं न बुध्यसे || ७||

अप्सराप्सरसां श्रेष्ठा विख्याता पुञ्जिकस्थला |
अज्ञनेति परिख्याता पत्नी केसरिणो हरेः || ८||

अभिशापादभूत्तात वानरी कामरूपिणी |
दुहिता वानरेन्द्रस्य कुञ्जरस्य महात्मनः || ९||

कपित्वे चारुसर्वाङ्गी कदा चित्कामरूपिणी |
मानुषं विग्रहं कृत्वा यौवनोत्तमशालिनी || १०||

अचरत्पर्वतस्याग्रे प्रावृडम्बुदसंनिभे |
विचित्रमाल्याभरणा महार्हक्षौमवासिनी || ११||

तस्या वस्त्रं विशालाक्ष्याः पीतं रक्तदशं शुभम् |
स्थितायाः पर्वतस्याग्रे मारुतोऽपहरच्छनैः || १२||

स ददर्श ततस्तस्या वृत्तावूरू सुसंहतौ |
स्तनौ च पीनौ सहितौ सुजातं चारु चाननम् || १३||

तां विशालायतश्रोणीं तनुमध्यां यशस्विनीम् |
दृष्ट्वैव शुभसर्वाग्नीं पवनः काममोहितः || १४||

स तां भुजाभ्यां पीनाभ्यां पर्यष्वजत मारुतः |
मन्मथाविष्टसर्वाङ्गो गतात्मा तामनिन्दिताम् || १५||

सा तु तत्रैव सम्भ्रान्ता सुवृत्ता वाक्यमब्रवीत् |
एकपत्नीव्रतमिदं को नाशयितुमिच्छति || १६||

अञ्जनाया वचः श्रुत्वा मारुतः प्रत्यभाषत |
न त्वां हिंसामि सुश्रोणि मा भूत्ते सुभगे भयम् || १७||

मनसास्मि गतो यत्त्वां परिष्वज्य यशस्विनि |
वीर्यवान्बुद्धिसम्पन्नः पुत्रस्तव भविष्यति || १८||

अभ्युत्थितं ततः सूर्यं बालो दृष्ट्वा महावने |
फलं चेति जिघृक्षुस्त्वमुत्प्लुत्याभ्यपतो दिवम् || १९||

शतानि त्रीणि गत्वाथ योजनानां महाकपे |
तेजसा तस्य निर्धूतो न विषादं ततो गतः || २०||

तावदापततस्तूर्णमन्तरिक्षं महाकपे |
क्षिप्तमिन्द्रेण ते वज्रं क्रोधाविष्टेन धीमता || २१||

ततः शैलाग्रशिखरे वामो हनुरभज्यत |
ततो हि नामधेयं ते हनुमानिति कीर्त्यते || २२||

ततस्त्वां निहतं दृष्ट्वा वायुर्गन्धवहः स्वयम् |
त्रैलोक्ये भृशसङ्क्रुद्धो न ववौ वै प्रभञ्जनः || २३||

सम्भ्रान्ताश्च सुराः सर्वे त्रैलोक्ये क्षुभिते सति |
प्रसादयन्ति सङ्क्रुद्धं मारुतं भुवनेश्वराः || २४||

प्रसादिते च पवने ब्रह्मा तुभ्यं वरं ददौ |
अशस्त्रवध्यतां तात समरे सत्यविक्रम || २५||

वज्रस्य च निपातेन विरुजं त्वां समीक्ष्य च |
सहस्रनेत्रः प्रीतात्मा ददौ ते वरमुत्तमम् || २६||

स्वच्छन्दतश्च मरणं ते भूयादिति वै प्रभो |
स त्वं केसरिणः पुत्रः क्षेत्रजो भीमविक्रमः || २७||

मारुतस्यौरसः पुत्रस्तेजसा चापि तत्समः |
त्वं हि वायुसुतो वत्स प्लवने चापि तत्समः || २८||

वयमद्य गतप्राणा भवानस्मासु साम्प्रतम् |
दाक्ष्यविक्रमसम्पन्नः पक्षिराज इवापरः || २९||

त्रिविक्रमे मया तात सशैलवनकानना |
त्रिः सप्तकृत्वः पृथिवी परिक्रान्ता प्रदक्षिणम् || ३०||

तदा चौषधयोऽस्माभिः सञ्चिता देवशासनात् |
निष्पन्नममृतं याभिस्तदासीन्नो महद्बलम् || ३१||

स इदानीमहं वृद्धः परिहीनपराक्रमः |
साम्प्रतं कालमस्माकं भवान्सर्वगुणान्वितः || ३२||

तद्विजृम्भस्व विक्रान्तः प्लवताम् उत्तमो ह्यसि |
त्वद्वीर्यं द्रष्टुकामेयं सर्वा वानरवाहिनी || ३३||

उत्तिष्ठ हरिशार्दूल लङ्घयस्व महार्णवम् |
परा हि सर्वभूतानां हनुमन्या गतिस्तव || ३४||

विषाण्णा हरयः सर्वे हनुमन्किमुपेक्षसे |
विक्रमस्व महावेगो विष्णुस्त्रीन्विक्रमानिव || ३५||

ततस्तु वै जाम्बवताभिचोदितः
प्रतीतवेगः पवनात्मजः कपिः |
प्रहर्षयंस्तां हरिवीर वाहिनीं
चकार रूपं महदात्मनस्तदा || ३६||



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 มิ.ย. 11, 08:54
.. vālmīki rāmāyaṇa - kiṣkindhākāṇḍa ..

sarga - 65

anekaśatasāhasrīṃ viṣaṇṇāṃ harivāhinīm .
jāmbavānsamudīkṣyaivaṃ hanumantamathābravīt .. 1..

vīra vānaralokasya sarvaśāstramathābravīt .
tūṣṇīmekāntamāśritya hanumankiṃ na jalpasi .. 2..

hanumanharirājasya sugrīvasya samo hyasi .
rāmalakṣmaṇayoścāpi tejasā ca balena ca .. 3..

ariṣṭaneminaḥ putrau vainateyo mahābalaḥ .
garutmāniva vikhyāta uttamaḥ sarvapakṣiṇām .. 4..

bahuśo hi mayā dṛṣṭaḥ sāgare sa mahābalaḥ .
bhujagānuddharanpakṣī mahāvego mahāyaśāḥ .. 5..

pakṣayoryadbalaṃ tasya tāvadbhujabalaṃ tava .
vikramaścāpi vegaśca na te tenāpahīyate .. 6..

balaṃ buddhiśca tejaśca sattvaṃ ca harisattama .
viśiṣṭaṃ sarvabhūteṣu kimātmānaṃ na budhyase .. 7..

apsarāpsarasāṃ śreṣṭhā vikhyātā puñjikasthalā .
ajñaneti parikhyātā patnī kesariṇo hareḥ .. 8..

abhiśāpādabhūttāta vānarī kāmarūpiṇī .
duhitā vānarendrasya kuñjarasya mahātmanaḥ .. 9..

kapitve cārusarvāṅgī kadā citkāmarūpiṇī .
mānuṣaṃ vigrahaṃ kṛtvā yauvanottamaśālinī .. 10..

acaratparvatasyāgre prāvṛḍambudasaṃnibhe .
vicitramālyābharaṇā mahārhakṣaumavāsinī .. 11..

tasyā vastraṃ viśālākṣyāḥ pītaṃ raktadaśaṃ śubham .
sthitāyāḥ parvatasyāgre māruto.apaharacchanaiḥ .. 12..

sa dadarśa tatastasyā vṛttāvūrū susaṃhatau .
stanau ca pīnau sahitau sujātaṃ cāru cānanam .. 13..

tāṃ viśālāyataśroṇīṃ tanumadhyāṃ yaśasvinīm .
dṛṣṭvaiva śubhasarvāgnīṃ pavanaḥ kāmamohitaḥ .. 14..

sa tāṃ bhujābhyāṃ pīnābhyāṃ paryaṣvajata mārutaḥ .
manmathāviṣṭasarvāṅgo gatātmā tāmaninditām .. 15..

sā tu tatraiva sambhrāntā suvṛttā vākyamabravīt .
ekapatnīvratamidaṃ ko nāśayitumicchati .. 16..

añjanāyā vacaḥ śrutvā mārutaḥ pratyabhāṣata .
na tvāṃ hiṃsāmi suśroṇi mā bhūtte subhage bhayam .. 17..

manasāsmi gato yattvāṃ pariṣvajya yaśasvini .
vīryavānbuddhisampannaḥ putrastava bhaviṣyati .. 18..

abhyutthitaṃ tataḥ sūryaṃ bālo dṛṣṭvā mahāvane .
phalaṃ ceti jighṛkṣustvamutplutyābhyapato divam .. 19..

śatāni trīṇi gatvātha yojanānāṃ mahākape .
tejasā tasya nirdhūto na viṣādaṃ tato gataḥ .. 20..

tāvadāpatatastūrṇamantarikṣaṃ mahākape .
kṣiptamindreṇa te vajraṃ krodhāviṣṭena dhīmatā .. 21..

tataḥ śailāgraśikhare vāmo hanurabhajyata .
tato hi nāmadheyaṃ te hanumāniti kīrtyate .. 22..

tatastvāṃ nihataṃ dṛṣṭvā vāyurgandhavahaḥ svayam .
trailokye bhṛśasaṅkruddho na vavau vai prabhañjanaḥ .. 23..

sambhrāntāśca surāḥ sarve trailokye kṣubhite sati .
prasādayanti saṅkruddhaṃ mārutaṃ bhuvaneśvarāḥ .. 24..

prasādite ca pavane brahmā tubhyaṃ varaṃ dadau .
aśastravadhyatāṃ tāta samare satyavikrama .. 25..

vajrasya ca nipātena virujaṃ tvāṃ samīkṣya ca .
sahasranetraḥ prītātmā dadau te varamuttamam .. 26..

svacchandataśca maraṇaṃ te bhūyāditi vai prabho .
sa tvaṃ kesariṇaḥ putraḥ kṣetrajo bhīmavikramaḥ .. 27..

mārutasyaurasaḥ putrastejasā cāpi tatsamaḥ .
tvaṃ hi vāyusuto vatsa plavane cāpi tatsamaḥ .. 28..

vayamadya gataprāṇā bhavānasmāsu sāmpratam .
dākṣyavikramasampannaḥ pakṣirāja ivāparaḥ .. 29..

trivikrame mayā tāta saśailavanakānanā .
triḥ saptakṛtvaḥ pṛthivī parikrāntā pradakṣiṇam .. 30..

tadā cauṣadhayo.asmābhiḥ sañcitā devaśāsanāt .
niṣpannamamṛtaṃ yābhistadāsīnno mahadbalam .. 31..

sa idānīmahaṃ vṛddhaḥ parihīnaparākramaḥ .
sāmprataṃ kālamasmākaṃ bhavānsarvaguṇānvitaḥ .. 32..

tadvijṛmbhasva vikrāntaḥ plavatām uttamo hyasi .
tvadvīryaṃ draṣṭukāmeyaṃ sarvā vānaravāhinī .. 33..

uttiṣṭha hariśārdūla laṅghayasva mahārṇavam .
parā hi sarvabhūtānāṃ hanumanyā gatistava .. 34..

viṣāṇṇā harayaḥ sarve hanumankimupekṣase .
vikramasva mahāvego viṣṇustrīnvikramāniva .. 35..

tatastu vai jāmbavatābhicoditaḥ
pratītavegaḥ pavanātmajaḥ kapiḥ .
praharṣayaṃstāṃ harivīra vāhinīṃ
cakāra rūpaṃ mahadātmanastadā .. 36..



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:09
นี่ก็ผ่านไปหลายเพลา ไยคุณหลวงไม่เยี่ยมกรายมาเยือนสักที จนกระทู้ตกหน้าไปแล้ว

ทิ้งตัวเทวนาครีไว้ตั้งเยอะแยะ ลองแกะดูก็ทราบแต่การออกเสียง (งู ๆ ปลา ๆ)

ขอเชิญคุณหลวงมาอธิบายโศลกข้างบนที

 ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:17
อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  :-* :-* :-*


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:21
ปรึกษา อากู๋ ไปพลางๆ ก่อนค่ะ มีเสียงอ่านให้ฟังด้วย... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:22
ตามโจทย์ที่คุณเพ็ญฯ ให้ผมมานั้น
ผมได้ไปอ่านดูแล้ว  เห็นว่า คำแปลของฝรั่งยังเก็บความไม่ครบถ้วน
จึงว่าคิดจะย้อนไปเอาโศลกภาษาสันสกฤตในเรื่องรามายณะ
ตรงตอนที่ฝรั่งคนนั้นเอามาแต่งแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น
มาแปลเลยทีเดียวเลยจะได้อรรถรสดีกว่าฉบับแปลภาษาอังกฤษ
และจะได้ทราบด้วยว่าอรรถรสเดิมในภาษาสันสกฤตนั้นเป็นเช่นไร
และเรื่องของนางอัญชนามารดาของหนุมานมาปรากฏในเรื่องรามายณะ
ตอนใด  ใครเป็นคนเล่า  และเล่าไว้ทำไม

ผมกำลังแปลโศลกภาษาสันสกฤตดังกล่าวอยู่  อาจจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเอามาลงเมื่อไร   แต่คิดว่าน่าจะก่อนวันแม่แห่งชาติ

ไม่ต้องห่วงเรื่องกระทู้นี้ตกกระดานหรอกครับ
กระทู้ตกกระดานเป็นเรื่องธรรมดา   กระทู้เกิดใหม่มีหลายกระทู้
กระทู้เก่าๆ ก็ย่อมตกกระดานไป  แต่ถ้าเป็นกระทู้ดีมีคุณค่าแล้ว
ถึงจะตกกระดานไป  ก็ยังคงมีคนไปตามอ่านใน General Category จนได้
อย่าได้กังวลไปเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:32
อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  :-* :-* :-*

ก็ได้  คอร์สละ ๒๐,๐๐๐  บาท  สอนตามอารมณ์คนสอน
และอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มหากเป็นช่วงที่คนสอนกำลังหาหนังสือดีเข้ากรุ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:41
อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  :-* :-* :-*

ก็ได้  คอร์สละ ๒๐,๐๐๐  บาท  สอนตามอารมณ์คนสอน
และอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มหากเป็นช่วงที่คนสอนกำลังหาหนังสือดีเข้ากรุ


สนใจหนังสือกรุวังหน้าไหม เดี๋ยวจะลองทาบทามให้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:49
อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  :-* :-* :-*

ก็ได้  คอร์สละ ๒๐,๐๐๐  บาท  สอนตามอารมณ์คนสอน
และอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มหากเป็นช่วงที่คนสอนกำลังหาหนังสือดีเข้ากรุ


สนใจหนังสือกรุวังหน้าไหม เดี๋ยวจะลองทาบทามให้

ต้องดูก่อนว่ามีหนังสืออะไรบ้าง   ส่งมาแต่รายชื่อหนังสือก็ได้
ถ้ามีหนังสือที่ผมสนใจก็อาจจะพิจารณารับซื้อก็ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 มิ.ย. 11, 11:57
กรุไหนอีกล่ะคะ  ดอน

เดี๋ยวจะไปปล้น


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 มิ.ย. 11, 15:35
คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  " ปล้าง "  ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่คำคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๙.๐๐ น.วันที่ ๙ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๒๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 มิ.ย. 11, 16:09

มาเชียร์และกระซิบช้าง

ปล้าง  แปลว่า  ปลิด  กำจัด

อยู่ในเล่มแดงที่คุณอาร์ท ๔๗  สนใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มิ.ย. 11, 16:23

มาเชียร์และกระซิบช้าง

ปล้าง  แปลว่า  ปลิด  กำจัด

อยู่ในเล่มแดงที่คุณอาร์ท ๔๗  สนใจ

อ่านว่าอะไรครับ คุณวันดี ( ปะ-ล้าง. ปร้าง) ;) วู้ วู้ อยากอ่าน "รัตนมาลา" เสียกระไร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 มิ.ย. 11, 16:35


เล่มแดงไม่ได้เสียงอ่านไว้ค่ะ

ตอนหัดอ่านรามเกียรติ์ใหม่ๆ  อ่านออกเสียง

นึกไม่ออกค่ะว่าคุณหลวงท่านไปหยิบเล่มไหนมา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มิ.ย. 11, 16:40


เล่มแดงไม่ได้เสียงอ่านไว้ค่ะ

ตอนหัดอ่านรามเกียรติ์ใหม่ๆ  อ่านออกเสียง

นึกไม่ออกค่ะว่าคุณหลวงท่านไปหยิบเล่มไหนมา

นี่กระมัง เป็นแผนของคุณหลวง ให้หาหนังสือทุกอณู แบบพลิกแผ่นดิน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 มิ.ย. 11, 17:20


คุณหลวงส่งนกฮูกมาบอกว่า  เนื่องจากมากระซิบ    จึงลดเวลาตอบเป็น ๑๙.๐๐ น.

ซอรี่และซออู้กับสหายทั้งปวงด้วยค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 มิ.ย. 11, 18:25

มาเชียร์และกระซิบช้าง

ปล้าง  แปลว่า  ปลิด  กำจัด

อยู่ในเล่มแดงที่คุณอาร์ท ๔๗  สนใจ

สนใจครับ

แต่ยังไม่เคยไขว่คว้า ;D

คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  " ปล้าง "  ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่คำคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย


ใครเค้าจะอ่านหมดทุกฉบับคุณหลวง

ไอ้ที่มียังไม่ครบเลยอ่ะ :o


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 มิ.ย. 11, 19:05
คำว่า "ปล้าง" ไม่มีในพจนานุกรมค่ะ มีแต่คำว่า "ไปล้าง" ค่ะ

พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตอน หนุมานสังหารวิรุฬจำบัง

 เมื่อนั้น  หนุมานผู้ชาญชัยศรี  
แสนพิศวาสเทวี  ยังที่แท่นอาสน์ไสยา  
แล้วจึ่งปราศร้ยนวลนาง  ข้อซึ่งไปล้างยักษา  
แพ้พี่ต้ดเอาศีรษะมา  ทิ้งไว้ปากมหาคิรี  
บัดนี้สำเร็จการแล้ว  จะลาน้องแก้วบทศรี  
เอาเศียรไปถวายภูมี  ยังที่สมรภูมิชัย  
ว่าพลางก็ทางเชยชิด  แสนสนิทแนบน้องพิสมัย  
พี่จะส่งเจ้าไปสุราลัย  ก็อุ้มอรทัยออกมา  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 11, 19:18
ปล้าง น่าจะมีความหมายใกล้เคียงกับ มล้าง

๐ เมื่อนั้น                         องค์อินทรชิตยักษี
ครั้นถึงลงกาธานี                   จรลีขึ้นเฝ้าพระบิดร
จึ่งน้อมเศียรเกล้าบังคมทูล          นเรนทร์สูรธิราชชาญสมร
ลูกยกโยธาพลากร                 ไปจับวานรชาญฉกรรจ์
มันมรศักดาสามารถ                องอาจฤทธิแรงแข็งขัน
เสียพลนิกายหลายพัน               บัดนี้จับมันมัดมา ฯ

๐ เมื่อนั้น                          ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษา
ได้ฟังมีความปรีดา                  อสุราสวมกอดพระโอรส
มิเสียทีเป็นวงศ์พรหมเมศ            เรืองเดชเดชาดั่งเพลิงกรด
อันปัจจามิตรที่คิดคด                จะม้วยหมดด้วยมือลูกรัก
ซึ่งเจ้ามีชัยแก่วานร                 จะขจรเกียรติไปทั้งไตรจักร
ควรสืบสุริย์วงศ์พงศ์ยักษ์            เป็นปิ่นปักลงกาธานี
จงเอาอ้ายลิงกาลี                    ไปมล้างชีวีให้วายปราณ

บทละครรามเกียรติ์ ตอน หนุมานเผาเมืองลงกา

 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มิ.ย. 11, 10:48
คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  " ปล้าง "  ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่คำคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๙.๐๐ น.วันที่ ๙ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๒๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๕ คะแนน

ขออภัยบรรดานักรบทั้งหลาย   ผมพิมพ์ผิด 
แต่ไม่เป็นไร  เพื่อเป็นการคืนประโยชน์แก่ผู้สนใจกระทู้รามเกียรติ์
ผมจะตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๗ ใหม่  ดังนี้



คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  "ปลาง" "เหื้อง" และ "ชบ" ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่มีคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๙ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 มิ.ย. 11, 11:20
คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  " ปล้าง "  ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่คำคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๙.๐๐ น.วันที่ ๙ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๒๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๕ คะแนน

ขออภัยบรรดานักรบทั้งหลาย   ผมพิมพ์ผิด 
แต่ไม่เป็นไร  เพื่อเป็นการคืนประโยชน์แก่ผู้สนใจกระทู้รามเกียรติ์
ผมจะตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๗ ใหม่  ดังนี้



คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  "ปลาง" "เหื้อง" และ "ชบ" ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่มีคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๙ คะแนน



อุเหม่!!! ปล่อยให้ค้นเปิดหารามเกียรติ์ไปหลายเพลา แบบนี้ต้องแจกคนละ ๑๐ คะแนนให้ถ้วนทั่วทุกตัวตน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มิ.ย. 11, 12:03

อุเหม่!!! ปล่อยให้ค้นเปิดหารามเกียรติ์ไปหลายเพลา แบบนี้ต้องแจกคนละ ๑๐ คะแนนให้ถ้วนทั่วทุกตัวตน

ถ้าแจกคะแนนฟรีอย่างที่เสนอมานั้น 
ผมจะต้องป่วยการมาตั้งคำถามให้คิดจนปวดขมองทำไมกัน
เล่นแจกคะแนนให้ไป ใครได้รับแจกคะแนนมากสุด
ก็ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ไปงั้นหรือ  ไม่มีมั้ง  เสียดายคะแนนครับ
เล่นกันอย่างนี้ดีแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 มิ.ย. 11, 14:55
ขออภัยบรรดานักรบทั้งหลาย   ผมพิมพ์ผิด  
แต่ไม่เป็นไร  เพื่อเป็นการคืนประโยชน์แก่ผู้สนใจกระทู้รามเกียรติ์
ผมจะตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๗ ใหม่  ดังนี้

คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  "ปลาง" "เหื้อง" และ "ชบ" ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่มีคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๙ คะแนน


หนูดีดี ขอตอบค่ะ  ;D

สามารถพบคำทั้งสามนี้ใน บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ค่ะ
ปรากฏใน บทประณามพจน์   ดังนี้คะ

มีพระกมลอิษฎารมณ์
อุดมด้วยพระญาณพันลึก
ศรัทธาธึกบำเพ็ญ
ปองเป็นพระสรรเพชญ
เผด็จมัจฉริยะจำราญ
ผลาญสงสารจักร
หักด้ามข้ามโอฆโยคเกษม
เปรมโปรดสรรโยชน์นิกรเกื้อกู้
ผู้จะทำเป็นอันยาก
ธก็เปลื้องปลากทรัพย์ด้วยง่าย
จ่ายแจกแลกบุญบ่เบื่อ
เผื่อผลบ่อมิเหื้อง
เบื้องพระไตรปิฏก
เพียรชนะบกพิปลาส
เยียวจะชูพระศาสนจำเริญ
ก็ให้ประชุมเชิญชินบุตร
อุดมเรืองรสธรรม์
พ่างอรหันต์เอาภาร
ก็บริหารขานบวรณา
สงฆนิศยาสัยเสนาสน์
วัดมหาธาตุเป็นเขตเขื่อน.....
..........................

อุทิศถวายเวน
เกณฑ์กุศลบร้าง
แล้วก็แปลงปลางสร้างอาวาส
ตระดาษด้วยสุวรรณรัตน์
สมญาวัดพระเชตุพน
กลเชตุพนาราม
งามเงื่อนอินทรตั้งแต่ง.....
...........................

วัดพระศรีสรรเพชญ
เขบ็จพรรณพิมล
โสภณช่อชวลิต
พิศภายบนดิเรก
ล่างลายเลขลายทอง
นอกในสรองโสรมคำ
ทำเทียบเทพประชุมชบ
มณฑปพ่างทิพยอาสน์
เฉลาฉลุมาศพรายแพร้ว
ล้วนแล้วแก้วเก้าแกม
เสาซุ้มแซมพลอยพลาม
ฉัตรเงินงามวิมลาก
ชั้นฉัตรนากวิมลัก
ฉัตรทองปักวิเมลือง
แก้วไรเรืองหลากเลื่อม
บอาจเอื้อมแถลงถ้วน
ล้วนไว้มากเหลือหลาย...
........


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มิ.ย. 11, 15:30
หนูดีดี ขอตอบค่ะ  ;D

สามารถพบคำทั้งสามนี้ใน บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ค่ะ
ปรากฏใน บทประณามพจน์   ดังนี้คะ

มีพระกมลอิษฎารมณ์
อุดมด้วยพระญาณพันลึก
ศรัทธาธึกบำเพ็ญ
ปองเป็นพระสรรเพชญ
เผด็จมัจฉริย(ะ)จำราญ
ผลาญสงสารจักร
หักด้ามข้ามโอฆโยคเกษม
เปรมโปรดสรรโยชน์นิกรเกื้อกู้
ผู้จะทำเป็นอันยาก
ธก็เปลื้องปลากทรัพย์ด้วยง่าย
จ่ายแจกแลกบุญบ่เบื่อ
เผื่อผลบ่อมิเหื้อง
เบื้องพระไตรปิฏก
เพียรชนะบกพิปลาส
เยียวจะชูพระศาสนจำเริญ
ก็ให้ประชุมเชิญชินบุตร
อุดมเรืองรสธรรม์
พ่างอรหันต์เอาภาร
ก็บริหารขานบวรณา
สงฆนิศยาสัยเสนาสน์
วัดมหาธาตุเป็น(เขต)เขื่อน.....
..........................

อุทิศถวายเวน
เกณฑ์กุศลบร้าง
แล้วก็แปลงปลางสร้างอาวาส
ตระดาษด้วยสุวรรณรัตน์
สมญาวัดพระเชตุพน
กลเชตุพนาราม
งามเงื่อนอินทรตั้งแต่ง.....
...........................

วัดพระศรีสรรเพชร(สรรเพชญ)
เขบ็จพรรณพิมล
โสภณช่อชวลิต
พิศภายบนดิเรก
ล่างลายเลขลายทอง
นอกในสรองโสรมคำ
ทำเทียบเทพประชุมชบ
มณฑปพ่างทิพยอาสน์
เฉลาฉลุมาศพร่ย(พราย)แพร้ว
ล้วนแล้วแก้วเก้าแกม
เสาซุ้มแซมพลอยพลาม...
........


30 - (6 X 2) เหลือ  18 คะแนน
เก่งมาก  ที่หาคำตอบได้เร็ว  แต่คงอารามดีใจเลยพิมพ์ผิดหลายที่
จึงต้องหักคะแนนมากไปด้วย  น่าเสียดายมาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 มิ.ย. 11, 15:38
ห้องที่ ๕๘ พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย
ทศเศียรเห็นพระน้อง ทักถาม
ใดพ่อออกรบราม คาบนี้
ย่อยยับลับหลงความ กลก่อ งๅ
ฤๅศึกแรงกว่ากี้ ก่อล้างปางปฐม
(หม่อมเจ้าอลังการ แต่ง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 มิ.ย. 11, 15:39
คุณ luanglek ตรวจไวจัง ยังไม่ถึง ๑๖.๐๐ น.เลยค่ะ   ;D
หนูดีดี พิมพ์ไปแก้ไปค่ะ ตอนท้ายๆ ไพเราะมากพิมพ์แถมมาให้อ่านกันนะคะ(ชอบคำ วิมลัก วิเมลือง วิมลาก)

เสาซุ้มแซมพลอยพลาม
ฉัตรเงินงามวิมลาก
ชั้นฉัตรนากวิมลัก
ฉัตรทองปักวิเมลือง
แก้วไรเรืองหลากเลื่อม
บอาจเอื้อมแถลงถ้วน
ล้วนไว้มากเหลือหลาย...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 มิ.ย. 11, 16:48

คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  "ปลาง" "เหื้อง" และ "ชบ" ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่มีคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๙ คะแนน



ช่วงนี้ทำงานอ่ะ
น่าจะให้เวลาสักคืนสองคืนนะคุณหลวง ได้พอมีเวลา :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 มิ.ย. 11, 18:46
ห้องที่ ๕๘ พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย
ทศเศียรเห็นพระน้อง ทักถาม
ใดพ่อออกรบราม คาบนี้
ย่อยยับลับหลงความ กลก่อ งๅ
ฤๅศึกแรงกว่ากี้ ก่อล้างปางปฐม
(หม่อมเจ้าอลังการ แต่ง)

คนนี้ขยันเหมือนกัน  ให้ ๑๐ คะแนน  แต่พิมพ์ผิด (แก้ไม่ถูก)
ตัด ๒ คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน  (ตอบเฉียดฉิวมาก)

นี่ถ้าแปลศัพท์ที่ยกมาได้ด้วยจะให้อีก ๒ คะแนน

ส่วนใครที่มาร้องแรกขอความเห็นใจเพราะตอบไม่ทันหรือไม่มีเวลาค้น
หรืออ้างเหตุผลอุปสรรคใดๆ  เพื่อให้เมตตากรุณามุทิตา และอุเบกขานั้น
ผมได้รับฟังแล้ว  เห็นควรยกคำร้องผู้เจ็บท้องข้องใจ
เนื่องจากได้สะสมคะแนนมากกว่าคนอื่นไปมาก 
เห็นควรสละโอกาสให้ผู้อื่นสำแดงฝีมือบ้าง  จึงเรียนมาเพื่อทราบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มิ.ย. 11, 13:22
คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๘

ทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกาอายุเท่าไร?
มีหลักฐานหรือข้อมูลหรือเหตุผลอะไรมายืนยัน?

กติกาตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเวลา  ๑๖.๐๐ น.
ของวันจันทร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔  พ้นนี้ไปแล้วไม่ให้คะแนน
ข้อนี้  ๒๐ คะแนน  กรณีมีผู้ตอบถูกว้ำกัน 
คนที่ตอบถูกทีหลังถูกหัก ๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 มิ.ย. 11, 15:08



สามโกฎิ์ปี

นางอัคคีรำพันเมื่อทศกัณฐ์ตาย

(พระราขนิพนธ์รัชกาลที่ ๑  เล่ม ๓ พิมพ์ครั้งที่ ๖  ๒๕๑๔       หน้า ๕๒๑)




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 มิ.ย. 11, 15:14



สามโกฎิ์ปี

นางอัคคีรำพันเมื่อทศกัณฐ์ตาย

(พระราขนิพนธ์รัชกาลที่ ๑  เล่ม ๓ พิมพ์ครั้งที่ ๖  ๒๕๑๔       หน้า ๕๒๑)


โปรดยกกลอนมาประกอบด้วย 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 มิ.ย. 11, 15:56


      นางอัคคีว่าโอ้พระจอมภพ       พระเดชลือลบทุกทิศา
ทั้งหกฉ้อชั้นเทวา                       ก็เกรงกลัวศักดาทั้งแดนดิน
พระชันษาได้สามโกฎิ์ปี                ไพรีมิได้มาดูหมิ่น
แต่เขาไกรลาศสีขริน                   ภูมินทร์ยังยกสะดวกดาย ฯ


นางอัคคี หรือ กาลอัคคีเป็นบุตรีของท้าวกาลนาค และนางประภา  แห่งภพบาดาล
พระบิดาถวายนางแก่ท้าวลัสเตียน     หลังจากรบแพ้เพราะลัสเตียนแผลงศรเป็นพญาครุฑจับไว้

ท้าวลัสเตียนครองราชสมบัติมาหกหมื่นปี  จึงยกทศกัณฐ์ให้ครองลงกา

อันนางอัคคีวรนาฎ                     ให้เป็นอัคราชมเหสี
ใหญ่กว่าสนมนารี                      แปดหมื่นสี่พันกัลยา             

นางจึงทราบเรื่องราวในกรุงลงกาเป็นอย่างดี

ประหลาดใจว่าทำไมท้าวทศคิริวงศ์ไม่รับนางเป็นมเหสีต่อก็ไม่ทราบ  สงสัยจะดุ  หรือสูงวัย
ทศคิริวงศ์อ่อนกว่าพี่ชายเพียง ๑๔ ปีเท่านั้น


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 มิ.ย. 11, 18:11


      นางอัคคีว่าโอ้พระจอมภพ       พระเดชลือลบทุกทิศา
ทั้งหกฉ้อชั้นเทวา                       ก็เกรงกลัวศักดาทั้งแดนดิน
พระชันษาได้สามโกฎิ์ปี                ไพรีมิได้มาดูหมิ่น
แต่เขาไกรลาศสีขริน                   ภูมินทร์ยังยกสะดวกดาย ฯ


นางอัคคี หรือ กาลอัคคีเป็นบุตรีของท้าวกาลนาค และนางประภา  แห่งภพบาดาล
พระบิดาถวายนางแก่ท้าวลัสเตียน     หลังจากรบแพ้เพราะลัสเตียนแผลงศรเป็นพญาครุฑจับไว้

ท้าวลัสเตียนครองราชสมบัติมาหกหมื่นปี  จึงยกทศกัณฐ์ให้ครองลงกา

อันนางอัคคีวรนาฎ                     ให้เป็นอัคราชมเหสี
ใหญ่กว่าสนมนารี                      แปดหมื่นสี่พันกัลยา             

นางจึงทราบเรื่องราวในกรุงลงกาเป็นอย่างดี

ประหลาดใจว่าทำไมท้าวทศคิริวงศ์ไม่รับนางเป็นมเหสีต่อก็ไม่ทราบ  สงสัยจะดุ  หรือสูงวัย
ทศคิริวงศ์อ่อนกว่าพี่ชายเพียง ๑๔ ปีเท่านั้น

นานๆ จะมาเหยียบกระทู้ทั้งที เฉียบขาดเหลือเกินคุณวันดี

เอ๊ะ  ??? ไหนว่าหนีทัพ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 มิ.ย. 11, 18:24


ว่าจะมาเชียร์เฉย ๆ ค่ะ

วันนี้เพิ่งว่างราชการ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มิ.ย. 11, 19:03
คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  " ปล้าง "  ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่คำคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๙.๐๐ น.วันที่ ๙ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๒๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๕ คะแนน

ขออภัยบรรดานักรบทั้งหลาย   ผมพิมพ์ผิด  
แต่ไม่เป็นไร  เพื่อเป็นการคืนประโยชน์แก่ผู้สนใจกระทู้รามเกียรติ์
ผมจะตั้งคำถามข้อย่อยที่ ๙๙.๐๗ ใหม่  ดังนี้



คำถามที่ ๙๙.๐๗

ท่านสามารถพบคำว่า  "ปลาง" "เหื้อง" และ "ชบ" ได้ในรามเกียรติ์ฉบับใด
ตอนใด   จงยกข้อความที่มีคำนี้ปรากฏมาประกอบด้วย

กติกา  ตอบหน้าม่าน ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ๒๕๕๔
คะแนนเต็ม  ๓๐ คะแนน ตอบหลังจากนั้น  คะแนนเต็มเหลือ ๙ คะแนน



ตอบเพิ่ม ในโคลงภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่วงตอนนางสุพรรณมัจฉาทำลายถนน
แผ่นที่ ๑๘๖ - พระยาราชสัมภารากร
ฝ่ายบุตรสุริยผู้....ตรวจการ
เหตหลากผาในธาร.........ที่ทิ้ง
ปริ่มชบกลับซุดปาน........ทลายถล่ม ลงเฮย
ทั้งมัจฉาดากลิ้ง............เกลือกเข้าดอมผา ฯ


ห้องที่ ๖๓...หนุมานล้างพิธีทดน้ำของกุมภกรรณ
แผ่นที่ ๒๕๑ - พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ
ขุนกระบี่ฤมิตรได้..แลเหน
ชบหลั่งคั่งวนเปน...........กะทะท้น
ฤๅไหลสาดสายเซน.......เบื้องบูรพ ทิดแฮ
รู้ว่าขุนยักษด้น..............อยู่ใต้ลำละหาน ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มิ.ย. 11, 19:25
คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๘

ทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกาอายุเท่าไร?
มีหลักฐานหรือข้อมูลหรือเหตุผลอะไรมายืนยัน?

กติกาตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเวลา  ๑๖.๐๐ น.
ของวันจันทร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔  พ้นนี้ไปแล้วไม่ให้คะแนน
ข้อนี้  ๒๐ คะแนน  กรณีมีผู้ตอบถูกว้ำกัน  
คนที่ตอบถูกทีหลังถูกหัก ๒ คะแนน

แหม แหม เคยทวงถามวาจา   เรามิอาจวางท่าวางเฉย
เวลาเคยกล่าวให้ล่วงละเลย     ด้วยเฉลยมิอาจคำนวณ
บัดนี้คุณหลวงมาซ้ำคำถาม      ทำตามค่ำมั่นเกรงขาม
จึ่งได้ลบคำตอบนมนาน           แสนเสียสงสารตนเอง :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 10:17
คุณวันดีตอบดีตอบไว ตอบได้ถี่ถ้วนชัดเจน
แต่มีที่พิมพ์ผิด ๑ ที่ (ที่เห็นจังๆ "ให้เป็นอัค(ร)ราชมเหสี") ขอหัก ๒ คะแนน
ได้คะแนน ๑๘ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส   ผมให้แปลคำว่า "ชบ" ในโคลงที่คุณหามาตอบผม
ไม่ใช่ให้หามาตัวอย่างมาเพิ่ม   ฉะนั้น ผมขอยังไม่เพิ่มคะแนนให้



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 10:24
คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)

หลังจากเสร็จสิ้นศึกกรุงลงกา
และพระราม พระลักษมณ์ นางสีดา เดินทางกลับถึงกรุงอโยธยาแล้ว
พระรามได้ประทานปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบในราชการทัพอย่างไรบ้าง

ตอบมาหน้าม่าน  ราคา  ๓๐  คะแนน
ให้ตอบตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ น.ของวันนี้
ไปจนถึงเวลา  ๐๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔
ตอบนอกเวลาที่กำหนด  หักก่อนตรวจ ๑๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 11, 10:25
ถามคุณหลวง 

พระชันษาได้สามโกฎิ์ปี 

สามโกฎิ์ปี นานเท่าไรใคร่ขอทราบ

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 10:38
คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)


ดูนะ  :o มีวงเล็บ (ก) เข้ามาอีก นั่นหมายหมายถึง 99.091 ทำดั่งข้อปลีกย่อยข้อกฎหมาย สงสัยจะมีแบบนี้ (ก)ทิว ๑ เตรส ๑


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 มิ.ย. 11, 10:50

แพร่พิทยา พิมพ์อย่างนี้ จริงๆค่ะ
ตามความรู้ระดับประถม  คิดว่า เน้น อัค-คะ




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:03
ห้องที่ ๕๘ พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย
ทศเศียรเห็นพระน้อง ทักถาม
ใดพ่อออกรบราม คาบนี้
ย่อยยับลับหลงความ กลก่อ งๅ
ฤๅศึกแรงกว่ากี้ ก่อล้างปางปฐม
(หม่อมเจ้าอลังการ แต่ง)

คนนี้ขยันเหมือนกัน  ให้ ๑๐ คะแนน  แต่พิมพ์ผิด (แก้ไม่ถูก)
ตัด ๒ คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน  (ตอบเฉียดฉิวมาก)

นี่ถ้าแปลศัพท์ที่ยกมาได้ด้วยจะให้อีก ๒ คะแนน


ชบเนตรอาบพักตร์ไหล ก็น่าจะแปลว่า "น้ำตาอาบแก้มไหล" หรือ "หลับตาแล้วน้ำตาไหล"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:18

แพร่พิทยา พิมพ์อย่างนี้ จริงๆค่ะ
ตามความรู้ระดับประถม  คิดว่า เน้น อัค-คะ


คนเรียงพิมพ์ ตก ร ไป ๑ ตัว  คนพิสูจน์อักษรก็พลาด
เพราะหนังสือบทละครรามเกียรติ์หนาหลายหน้า
ย่อมจะที่หลุดลอดสายตาคุณละเอียดไป
แต่กระนั้น  คนคัดลอกเอามาก็ต้องรู้ว่าเขาผิดตกหล่นตรงไหน

ฉบับที่ผมใช้ปัจจุบันของศิลปาบรรณคาร
ยังมีที่ตกหล่นผิดพลาดหลายแห่งเหมือนกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:21
คำว่า ชบ เป็นภาษา เขมร แปลว่า หยุด  ;D

(ภาษาเขมรถิ่นไทย เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร
พูดโดยชาวเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:23
ตอบคุณไซมีส  ผมให้ค่าพยายามแปล ๒ คะแนน
ตามที่ได้ลั่นวาจาไว้   เป็น ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณเพ็ญชมพู  สามโกฏิปี  ก็ คือ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี
นานเท่าไรนั้น   ก็นานพอที่จะจัดงานเคานต์ดาวน์ได้  ๒๙,๙๙๙,๙๙๙ ครั้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:26
ถามคุณหลวง

หนังสือเก่าเล่มหนึ่ง  บอกว่า  คนแต่งโคลงที่วัดพระแก้ว ที่ ดี คือ

วาน
หรุ่น
ปาน
เวศ
เลื่อน
น้อย
สุด
ช่อง

ใครคะ

สยามประเภทเล่มสามค่ะ  หน้า ๑๓๘๘

เข้าใจว่าเล่ม ๗  มีคนเห็นและใช้อ้างอิงแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 11, 11:27
สามโกฏิปี พอทราบความหมาย  แต่ สามโกฎิ์ปี  นี่ซิยังกังขา

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 12:02
สามโกฏิปี พอทราบความหมาย  แต่ สามโกฎิ์ปี  นี่ซิยังกังขา

 ;)

การเขียนของคนโบราณ  คำบางคำที่สะกดด้วยตัวสะกดมีสระ
อย่าง ชาติ ธาตุ เหตุ เกียรติ   บางทีท่านก็ใส่ไม้ทัณฑฆาต
เพื่อให้คนอ่าน ไม่อ่านเป็น ชา ติ  เห ตุ  เกียร ติ 
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน  ต้องการให้อ่าน โกฏิ  ไม่ใช่ โก ฏิ  จึงใส่ไม้ทัณฑฆาต
ไม้ทัณฑฆาตนั้นฆ่าเสียงเฉพาะสระ  ไม่ฆ่าเสียงพยัญชนะตัวสะกด
หวังว่าจะเข้าใจตรงกัน

ไหนก็สงสัยแล้ว  คุณเพ็ญฯ ตอบผมได้ไหมว่า คำเขมรที่สะกดด้วย จ
ในคำบางคำ  ทำไมคนโบราณถึงต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ตัว จ ด้วย
เช่น  สมเดจ์  เสดจ์  เผดจ์  เสรจ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 12:06
คำว่า ชบ เป็นภาษา เขมร แปลว่า หยุด  ;D

(ภาษาเขมรถิ่นไทย เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร
พูดโดยชาวเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด)

ไม่ทราบว่า  "ชบ" ภาษาเขมรล่างมีเหมือนภาษาเขมรบนหรือไม่
มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
และความหมายที่คุณดีดีค้นมาใช้กับบริบทที่คุณไซมีสหามาได้ไหม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 13 มิ.ย. 11, 12:42
^ ภาษาเขมรถิ่นไทย กับเขมรต่ำ (กัมพูชา) มีคำว่า ชบ เหมือนกันค่ะ  ;D
ภาษาพูดอาจจะมีสำเนียงต่างกันไปบ้าง แต่จะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ค่ะ

สำหรับบริบทที่คุณไซมีสหามา

"ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย"

คำว่า "ชบ" หนูดีดี ลองหาคำแปลในภาษาไทยแล้ว ไม่มี
ถ้าในความหมายว่า "หยุด" น่าจะแปลว่า หยุด(ใช้)ตา หรือ หลับตา นะคะ  ;D
...หลับตาแล้วมีน้ำตาไหลออกมา...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 13:05
ถามคุณหลวง

หนังสือเก่าเล่มหนึ่ง  บอกว่า  คนแต่งโคลงที่วัดพระแก้ว ที่ ดี คือ

วาน
หรุ่น
ปาน
เวศ
เลื่อน
น้อย
สุด
ช่อง

ใครคะ

สยามประเภทเล่มสามค่ะ  หน้า ๑๓๘๘

เข้าใจว่าเล่ม ๗  มีคนเห็นและใช้อ้างอิงแล้ว


ขอตอบดังนี้

๑.วาน  คนนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นใครแน่

๒.หรุ่น คนที่แต่งโคลงรามเกียรติ์ มีชื่อ หรุ่น ๒ คน แต่คิดว่าคนที่แต่งดี
น่าจะเป็น  พระยาศรีสหเทพ  (หรุ่น  ศรีเพ็ญ)  ต่อมาได้เป็นที่พระยามหาอำมาตยาธิบดี

๓.ปาน คนนี้เป็นพระภิกษุ  ตอนที่แต่งโคลงรามเกียรติ์เป็นที่พระพินิตพินัย  
ต่อมาได้เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน)  อยู่วัดพระเชตุพน

๔.เวศ น่าจะเป็น เวก  คือ  พระยาราชวรานุกูล (เวก  บุณยรัตพันธุ์)
ต่อมาได้เป็นที่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช

๕.เลื่อน  คนนี้คือ พระยาสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์)

๖.น้อย   คนนี้คือ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)
เจ้ากรมพระอาลักษณ์  เป็นชาวแปดริ้ว

๗.สุด  คือ  หลวงบรรหารอรรถคดี  (สุด  สามะสุทธิ)
ต่อมาเป็นที่พระภิรมย์ราชา

๘.ช่อง  น่าจะเป็น  ช่วง   คือ  ขุนท่องสื่อคนเก่า  (ช่วง  ไกรฤกษ์)
ต่อมาได้เป็นที่หลวงมงคลรัตนราชมนตรี  เป็นบรรพบุรุษของตระกูลไกรฤกษ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 13 มิ.ย. 11, 13:10
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
มันคือ ชบ จริงหรือ
ถ้าผมเขียนโคลงบทนี้
ผมคงใช้ ชลเนตร อาบ พักตร์ ไหล   เล่ห์น้ำ
แปลว่า น้ำตาไหลอาบหน้าเหมือนกับน้ำไหล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 13 มิ.ย. 11, 13:20
จริงของคุณ bangplama ค่ะ  ;D
หนูดีดี ก็ว่าทำไมต้องเอาภาษาเขมรมาเขียนด้วยนะคะ
เลยตามรอยท่านsiamese เข้าไปดู โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ห้องที่ ๕๘ จากตู้หนังสือเรือนไทย เขาเขียนไว้ว่า

แผ่นที่ ๒๒๙ - หม่อมเจ้าอลังการ
  
๑๕๙๘ ยิ่งคิดยิ่งแค้นแน่น  ทรวงใน  
ชลเนตรอาบภักตรไหล  เล่ห์น้ำ  
ขึ้นยังพระโรงไชย  เฝ้าบาท เชฐนา  
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ  ภักตรก้มเกี่ยงอาย ฯ  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 มิ.ย. 11, 13:23
ขอบพระคุณค่ะ  

อ่านแล้วตีความไม่ออกค่ะ

ขอให้คุณหลวงสุขภาพดี  อารมณ์ดี เป็นที่พึ่งของหลาน ๆ สืบไป


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:15

ตอบเพิ่ม ในโคลงภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่วงตอนนางสุพรรณมัจฉาทำลายถนน
แผ่นที่ ๑๘๖ - พระยาราชสัมภารากร
ฝ่ายบุตรสุริยผู้....ตรวจการ
เหตหลากผาในธาร.........ที่ทิ้ง
ปริ่มชบกลับซุดปาน........ทลายถล่ม ลงเฮย
ทั้งมัจฉาดากลิ้ง............เกลือกเข้าดอมผา ฯ


ห้องที่ ๖๓...หนุมานล้างพิธีทดน้ำของกุมภกรรณ
แผ่นที่ ๒๕๑ - พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ
ขุนกระบี่ฤมิตรได้..แลเหน
ชบหลั่งคั่งวนเปน...........กะทะท้น
ฤๅไหลสาดสายเซน.......เบื้องบูรพ ทิดแฮ
รู้ว่าขุนยักษด้น..............อยู่ใต้ลำละหาน ฯ


ด้วยคำกลอนยกมาพลาดพลั้งผิด  มิได้คิดทบทวนก่อนหนหลัง
เกรงเวลานาทีหมดเร็วพลัน  จึงมิยั้งรีบส่งลงกระทู้
ขออภัยคุณหลวงสักนิดเถิด    คุณบางปลาม้าแสนเลิศช่วยพิศดู
คุณดีดีหยิบยกอ้างจึ่งได้รู้    มิได้ถูสีข้างบ้างจักได้หมาย
แต่ยังมีกลอนตอบอีกสองข้อ   ควรชะลอแก้ตัวมิให้อาย 
หนุ่มสยามแม่นมั่นขอทำนาย   ด้วยมีพรายกระซิบคะแนนเต็ม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:35
สามโกฏิปี พอทราบความหมาย  แต่ สามโกฎิ์ปี  นี่ซิยังกังขา

 ;)

การเขียนของคนโบราณ  คำบางคำที่สะกดด้วยตัวสะกดมีสระ
อย่าง ชาติ ธาตุ เหตุ เกียรติ   บางทีท่านก็ใส่ไม้ทัณฑฆาต
เพื่อให้คนอ่าน ไม่อ่านเป็น ชา ติ  เห ตุ  เกียร ติ  
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน  ต้องการให้อ่าน โกฏิ  ไม่ใช่ โก ฏิ  จึงใส่ไม้ทัณฑฆาต
ไม้ทัณฑฆาตนั้นฆ่าเสียงเฉพาะสระ  ไม่ฆ่าเสียงพยัญชนะตัวสะกด
หวังว่าจะเข้าใจตรงกัน

บางครั้งก็ยากที่จะแยกว่า ทัณฑฆาต ฆ่าอะไรกันแน่

สุรเกียรติ์ (เสถียรไทย) = สุ-ระ-เกียด

รามเกียรติ์  = ราม-มะ-เกียน

สองมาตรฐานชัด ๆ   ;)

(โกฎิ์ และ โกฏิ ยังต่างกันอีกจุดหนึ่งที่ตัวสะกด ฎ ชฎา และ ฏ ปฏัก นะคุณหลวง)


ไหนก็สงสัยแล้ว  คุณเพ็ญฯ ตอบผมได้ไหมว่า คำเขมรที่สะกดด้วย จ
ในคำบางคำ  ทำไมคนโบราณถึงต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ตัว จ ด้วย
เช่น  สมเดจ์  เสดจ์  เผดจ์  เสรจ์

เพื่อประสงค์บอกให้ทราบว่า จ เป็นตัวสะกด

 ;D





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:48

ตอบเพิ่ม ในโคลงภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่วงตอนนางสุพรรณมัจฉาทำลายถนน
แผ่นที่ ๑๘๖ - พระยาราชสัมภารากร
ฝ่ายบุตรสุริยผู้....ตรวจการ
เหตหลากผาในธาร.........ที่ทิ้ง
ปริ่มชบกลับซุดปาน........ทลายถล่ม ลงเฮย
ทั้งมัจฉาดากลิ้ง............เกลือกเข้าดอมผา ฯ


ห้องที่ ๖๓...หนุมานล้างพิธีทดน้ำของกุมภกรรณ
แผ่นที่ ๒๕๑ - พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ
ขุนกระบี่ฤมิตรได้..แลเหน
ชบหลั่งคั่งวนเปน...........กะทะท้น
ฤๅไหลสาดสายเซน.......เบื้องบูรพ ทิดแฮ
รู้ว่าขุนยักษด้น..............อยู่ใต้ลำละหาน ฯ


ด้วยคำกลอนยกมาพลาดพลั้งผิด  มิได้คิดทบทวนก่อนหนหลัง
เกรงเวลานาทีหมดเร็วพลัน  จึงมิยั้งรีบส่งลงกระทู้
ขออภัยคุณหลวงสักนิดเถิด    คุณบางปลาม้าแสนเลิศช่วยพิศดู
คุณดีดีหยิบยกอ้างจึ่งได้รู้    มิได้ถูสีข้างบ้างจักได้หมาย
แต่ยังมีกลอนตอบอีกสองข้อ   ควรชะลอแก้ตัวมิให้อาย  
หนุ่มสยามแม่นมั่นขอทำนาย   ด้วยมีพรายกระซิบคะแนนเต็ม


ไม่เป็นไรหนุ่มสยามนามกระเดื่อง
ความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องอภัยได้
ของอย่างนี้มีให้เห็นเป็นนิจไป
ยากกระไรผมก็แค่ขอคะแนนคืน

เพราะยกมาผิดพลาดขนาดนี้
ก็ควรที่ริบราชบาตอย่าขัดขืน
สิบคะแนนคือภูเขาที่โค่นครืน
ยิ้มระรื่นลงโทษแล้วสบายใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:52
โกฎิ = 10 ล้านรูปี

วัฒนธรรมอินเดียส่งอิทธิพลการนับเลขไปยังประเทศต่างๆ ดังนี้
Assamese: কোটি koti
Bengali: কোটি koti
Gujarati: કરોડ karoḍ
Hindi: करोड़ karoṛ
Kannada: ಕೋಟಿ koṭi
Goan Konkani/Mangalorean Catholics/Malvani/Samvedi: कोटि koṭi or karor
Malayalam: കോടി kodi (often written koti)
Marathi: कोटि koti
Bombay Hindi: खोका khoka (which in Marathi means a 'box')
Oriya: କୋଟି koti
Pashto: خبری korur
Punjabi: کروڑ/ਕਰੋੜ karor (often written karor)
Sindhi: kiroṛu
Sinhala කෝටි koṭi
Tamil: கோடி koṭi (often written kodi)
Telugu: కోటీ koṭī
Urdu: کروڑ karoṛ
[edit] Translation of crore into non-South Asian languages
Arabic: الكرور عشرة ملايين al-krūr ('ashra malāyyin)
Belorussian: крор kror
Burmese: ကုဋေ [ɡədè] (increasingly archaic)
Japanese: クロー kurō (but 千万 is actually used)
Korean: 천만 cheonman
Persian: خبری khbri
Portuguese: carora or carão
Spanish: carora
Tagalog: karora (also called kotiha or kotiya / but often called sampung milyon)
Thai: โกฏิ kot or kot̩i (from Pali koti, obsolete)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:55

(โกฎิ์ และ โกฏิ ยังต่างกันอีกจุดหนึ่งที่ตัวสะกด ฎ ชฎา และ ฏ ปฏัก นะคุณหลวง)


ไหนก็สงสัยแล้ว  คุณเพ็ญฯ ตอบผมได้ไหมว่า คำเขมรที่สะกดด้วย จ
ในคำบางคำ  ทำไมคนโบราณถึงต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ตัว จ ด้วย
เช่น  สมเดจ์  เสดจ์  เผดจ์  เสรจ์

เพื่อประสงค์บอกให้ทราบว่า จ เป็นตัวสะกด


สำหรับผม  การใช้ ฎ แทน ฏ ไม่ใช่ของแปลก
ที่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปจนเข้าใจผิดพลาด
คนไทยสมัยก่อน  เขียนปฏิทิน ประติทิน ปฎิทิน ประฎิทิน
มงกุฎ มงกุฏ  มกุฏ มกุฎ  ให้วุ่นวายขายปลาช่อน (เอ... ทำไมต้องขายปลาช่อน?)

แล้วทำไมคำอื่นๆ ที่สะกดด้วย จ ถึงไม่ใส่ล่ะครับ
แล้วตัวสะกดตัวอื่นมีใส่ไหม  ถ้าไม่มีหรือมีจะอธิบายว่าอย่างไร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 14:59
มีภาษามอญ   ละติน  กรีก  เขมร  ชวา  มลายูบ้างไหม
ถ้าเป็นไปได้ขอภาษาไทคำตี่  ไทยใหย่  ไทดำ  ไทยวน  และไทลื้อด้วยได้ไหม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:01
ว่ากันตามมาตรฐานของรอยอิน

ก็ควรที่ริบราชบาตอย่าขัดขืน

ริบราชบาตร [–ราดชะบาด] ก. รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้องพระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง.

โกฎิ  = 10 ล้านรูปี

โกฏิ [โกด] น. ชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน.
 
;D
 
 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:01
ไม่เป็นไรหนุ่มสยามนามกระเดื่อง
ความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องอภัยได้
ของอย่างนี้มีให้เห็นเป็นนิจไป
ยากกะไรผมก็แค่ขอคะแนนคืน

เพราะยกมาผิดพลาดขนาดนี้
ก็ควรที่ริบราชบาตอย่าขัดขืน
สิบคะแนนคือภูเขาที่โค่นครืน
ยิ้มระรื่นลงโทษแล้วสบายใจ

[/quote]

การลงโทษผู้น้อยจิตต้องเจ็บ   ด้วยหยิกเล็บเจ็บถึงเนื้อเชื่อถือมั่น
สิบคะแนนแค่นี้ชิวชิวพลัน       เบื้องหน้านั้นอีกร้อยข้อมิท้อเอย  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:05
มีภาษามอญ   ละติน  กรีก  เขมร  ชวา  มลายูบ้างไหม
ถ้าเป็นไปได้ขอภาษาไทคำตี่  ไทยใหย่  ไทดำ  ไทยวน  และไทลื้อด้วยได้ไหม

รู้แต่ภาษาอังกฤษ ขอรับ อ่านว่า Ten Million เท็น มิน-เลี่ยน  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:12
ยังจะหวังคะแนนอีกร้อยข้อ
พุทโธ่พ่อจะให้เล่นไปถึงไหน
แค่ร้อยข้อก็เล่นนานเหลือใจ
นี่ก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งปี

ถ้ายืดอีกร้อยข้อคงเบื่อแย่
จงพอใจเอาแค่ร้อยข้อนี่
หนุ่มสยามอย่าฝันหวานเกินพอดี
ผมก็มีงานต้องทำจำจากจร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:15
ทำไมบางภาษา ตัว ฏ เป็น ร  โปรดอธิบายอย่างมีเหตุผล

ขออภัยผู้สนใจกระทู้รามเกียรติ์ ๔ หลัง ๑๕.๕๙ น.ไปแล้ว
กรุณางดต่อกระทู้นี้  เพราะตอนนี้ความเห็นเยอะขึ้นมาก
กลัวว่าจะลืมคำถามที่ตั้งไว้เมื่อเช้านี้

ถ้าจะต่อกระทู้นี้ขอให้เริ่มตั้งแต่เวลาที่ให้เริ่มตอบคำถามนี้เป็นต้นไป

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)

หลังจากเสร็จสิ้นศึกกรุงลงกา
และพระราม พระลักษมณ์ นางสีดา เดินทางกลับถึงกรุงอโยธยาแล้ว
พระรามได้ประทานปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบในราชการทัพอย่างไรบ้าง

ตอบมาหน้าม่าน  ราคา  ๓๐  คะแนน
ให้ตอบตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ น.ของวันนี้
ไปจนถึงเวลา  ๐๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔
ตอบนอกเวลาที่กำหนด  หักก่อนตรวจ ๑๕ คะแนน


หวังว่า  สุภาพชนทุกท่านจะให้ความร่วมมือด้วยดี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:20
ลองเข้าไปหาวรรณคดีพื้นบ้านไทยลื้อ พบว่าไทยลื้อมีเรื่องดำเนินคล้ายรามเกียรติ์ เรียกว่า "คำขับลังกาสิบหัว"

เรื่องราวของ ภุมมจักร โอรสพระพรหม มี ๑๐ หัว มีฤทธิ์ได้ถึงสามภพ ยิ่งใหญ่มาก แต่มีข้อแม้ว่าจะพ่ายแพ้แก่ พระโพธิสัตว์ และไม่ให้มีชัยเหนือลิงเผือก และไม่ให้ภุมมจักรยกธนูอัศจรรย์

สีดา กำเนิดครั้งแรกเป็นเทพปฏิบัติธรรมที่ต้นนารีผล ถูกภุมมจักรลวนลามจึ่งฆ่าตัวตายและพยาบาทว่า ให้ชาติหน้ากลับมาฆ่าภุมมจักร

ดูท่าเนื้อเรื่องน่าสนุก เกรงใจเจ้าของกระทู้เขา  ;) เดี๋ยวเขาดุเอา  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 11, 15:54
คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)

หลังจากเสร็จสิ้นศึกกรุงลงกา
และพระราม พระลักษมณ์ นางสีดา เดินทางกลับถึงกรุงอโยธยาแล้ว
พระรามได้ประทานปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบในราชการทัพอย่างไรบ้าง


ตอนพระรามปูนบำเหน็จ
 “หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามกลับไปครองเมือง และปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่เหล่าทหาร พระลักษมณ์ให้ครองเมืองโรมคัล พระพรตและพระสัตรุต ให้เป็นอุปราชอยู่ในกรุงศรีอยุธยา หนุมานแบ่งกรุงศรีอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แล้วตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพระยาอนุชิต สุครีพนั้นให้มีชื่อว่า พระยาไวยวงศา ครองเมืองขีดขิน    พิเภกให้ชื่อว่า ท้าวทศคิริวงศ์ ไปครองเมืองลงกา องคตให้ชื่อว่า พระยาอินทรนุภาพศักดา เป็นฝ่ายหน้าเมืองขีดขิน ชมพูพานให้ไปครองเมืองปางตาล สุรเสนไปครองเมืองสัทธาสูร ชมพูวราช นิลราช นิลนนท์ เป็นอุปราชทั้งหมด โดยให้ชมพูวราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองปางตาล นิลราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองอัสดงค์ นิลนนท์เป็นอุปราชเมืองชมพู  ไชยามและโคมุท เป็นมหาเสนาซ้ายขวาที่เมืองขีดขิน สัตพลีให้เป็นอาลักษณ์ ส่วนพลลิงอื่น ๆ ก็ให้ยศฐาบรรดาศักดิ์ตามสมควร
          ฝ่ายหนุมานทูลคัดค้านว่า เมืองโรมคัลเป็นเมืองยักษ์ ไม่ควรให้พระลักษมณ์ไปครอง แต่ควรจะอยู่ใกล้ชิดพระรามจะดีกว่า  ส่วนพระพรตกับพระสัตรุต นั้นควรจะให้ไปอยู่ที่เมืองไกยเกษ พระรามเห็นด้วย ได้ให้สุรกานต์ไปครองเมืองโรมคัล แล้วให้ศรรามเป็นมหาอุปราช กุขันพรานป่าให้เป็นพระยากุขันธิบดินทร์ ครองบุรีรัม สำหรับพิเภกนั้นเป็นผู้ไม่มีความชำนาญการรบและไม่มีฤทธิ์ หากมีศัตรูมารุกราน ให้เขียนสาสน์แขวนศรมา เมื่อพระรามแผลงศรมาถามข่าว”

ตอบมาหน้าม่าน  ราคา  ๓๐  คะแนน
ให้ตอบตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ น.ของวันนี้
ไปจนถึงเวลา  ๐๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔
ตอบนอกเวลาที่กำหนด  หักก่อนตรวจ ๑๕ คะแนน


หวังว่า  สุภาพชนทุกท่านจะให้ความร่วมมือด้วยดี

ขออภัยอ่านเงื่อนไขไม่ละเอียด ยินดียอมรับผิดทุกกรณี

 ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 11, 16:12
คราวนี้ใครจะว่าผมโหดร้ายไม่ได้นะครับ

จากความเห็นที่คุณเพ็ญฯ เอามาลงข้างบนนี้
ผมถือว่าคำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก) ข้อก่อนเป็นโมฆะ

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)  ข้อใหม่  มีดังนี้

ในรามเกียรติ์  ตอนพระรามปูนบำเหน็จนั้น
หนุมานได้รับประทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุชิต (หรือพญาอนุชิต)

คำถามคือ  ข้าราชการในสมัยรัชกาลที่  ๕
๑.มีราชทินนามตำแหน่งใดบ้างที่ขึ้นต้นราชทินนามว่า อนุชิต
๒.ที่เป็นชั้นพระยามีราชทินนามใดบ้าง
๓.มีใครที่เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาอนุชิต...นั้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บ้าง


ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่หลัง  ๒๑.๐๐ น. ของวันนี้
ไปจนเวลา ๐๓.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น  พ้นนี้หักก่อน ๑๐ คะแนน
คะแนนเต็ม  ๓๐  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 16:15
มาแก้คำถามใหม่

ท่องไว้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ......พุทโธ พุทโธ  >:(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 11, 21:00
คราวนี้ใครจะว่าผมโหดร้ายไม่ได้นะครับ

จากความเห็นที่คุณเพ็ญฯ เอามาลงข้างบนนี้
ผมถือว่าคำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก) ข้อก่อนเป็นโมฆะ

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)  ข้อใหม่  มีดังนี้

ในรามเกียรติ์  ตอนพระรามปูนบำเหน็จนั้น
หนุมานได้รับประทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุชิต (หรือพญาอนุชิต)

คำถามคือ  ข้าราชการในสมัยรัชกาลที่  ๕
๑.มีราชทินนามตำแหน่งใดบ้างที่ขึ้นต้นราชทินนามว่า อนุชิต
๒.ที่เป็นชั้นพระยามีราชทินนามใดบ้าง
๓.มีใครที่เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาอนุชิต...นั้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บ้าง


ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่หลัง  ๒๑.๐๐ น. ของวันนี้
ไปจนเวลา ๐๓.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น  พ้นนี้หักก่อน ๑๐ คะแนน
คะแนนเต็ม  ๓๐  คะแนน


จัดมาในสมัยรัชกาลที่ ๕

๑ขุนอนุชิตภักดี (ชื่น) ปลัดกรมท่าขวา ฝ่ายพระราชวังบวร เดิมเป็นมหาดเล็กเวร หลวงชิตภูบาล

๒หลวงอนุชิตพิทักษ์ ตำแหน่งราชการ กระทรวงมหาดไทย เดิมชื่อ ขุนดรุพันพิทักษ์ ศักดินา ๖๐๐

๓พลตรีพระยาอนุชิตชาญไชย จางวางกรมพระตำรวจขวา

๔ นายร้อยโท ขุนอนุชิตสงคราม สัญญาบัตรทหารบก

 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 มิ.ย. 11, 21:20
รักษาการสะกดตามเอกสาร

๑.  ขุนอนุชิตสงคราม (ภู)  ปลัดกรมอาษาวิเศษขวา
     พระยาอนุชิตชาญชัย
     หลวงอนุชิตพืทักษ์
     หลวงอนุชิตภักดี(นุ้ย)

๒.  พระยาอนุชิตชาญชัย(ขุนทอง)
     พระยาอนุชิตชาญชัย  (ทองคำ  สีหอุไร)
     พระยาอนุชิต  ชาญชัย (สาย  สิงหเสนี)

๓.  ขุนทอง
     ทองคำ  สีหอุไร
     สาย  สิงหเสนี
    พึ่ง  สุวรรณทัต



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 มิ.ย. 11, 17:25
คำถามข้อที่  ๙๙.๑๐

จงแยกเป็น ๒ กลุ่ม  และเรียงลำดับก่อนหลัง

"อัมพะรีษนันทิวรรธนะอังศุมัตกัลมาษบาทสุปารศวะอิละวิละวิพุธรุรุกขัฏวางสัตยะธฤติสัณหตาสวะกฤติราตศราวัสตะชนกสินธุทวีปธรุวะสันธิเทวราตวิกุกษีมหาวีรยะฤตุบรรณฤตะเกษมาริตรัสะทัสยุศีระธวัชตรีธันวันสัตยะรถภคีรถคะพหุลาศวะอชะนลสุวรรณโรมธรุวะสันธิวัชระนาภกุณิชัยอัญชันอนะรัณยะประติพันธกะสัตยพรตสุนัยจุญจุสัตยะรถภคีรถคะพหุลาศวะอชะนล"


ข้อนี้  ๔๐  คะแนน  ผิดลำดับหักที่ละ ๑ คะแนน
สะกดผิดหักที่ละ  ๒ คะแนน   ตอบได้ในระหว่างเวลา
๑๘.๓๐ น.- เวลา  ๒๐.๐๐ น. วันที่ ๑๔ มิ.ย. ๕๔
ตอบที่หน้าม่าน  ตอบผิดเวลาจากที่กำหนดนี้
คะแนนเต็มลดเหลือ ๓๐ คะแนน 




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 มิ.ย. 11, 17:30


ราม  ราม  ราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 มิ.ย. 11, 18:06
ओह, बहुत मुश्किल ... रामायण... रामायण.  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มิ.ย. 11, 19:59
กฤติราต
กัลมาษ
คะพหุลาศวะ
จุญจุ
ชนกสินธุ
ตรีธันวัน
ตาสวะ
ทวีปธรุวะ
ทัสยุ
เทวราต
ธฤติ
ธวัช
นลสุวรรณ
นันทิ
นาภกุณิชัย
บาท
ประติพันธกะ
พหุลาศวะ
ภคีรถ
ภคีรถคะ
มหาวีรยะ
มาริต
รัสะ
รุกขัฏวาง
โรมธรุวะ
ฤตะเกษ
ฤตุบรรณ
วรรธนะ
วิกุกษี
วิพุธรุ
วิละ
ศราวัสตะ
ศีระ
สัณห
สัตยพรต
สัตยะ
สัตยะรถ
สัตยะรถ
สันธิ
สันธิวัชระ
สุนัย
สุปารศวะ
อชะ
อชะนล
อนะรัณยะ
อังศุมัต (Amsumat)
อัญชัน
อัมพะรีษ
อิละ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 มิ.ย. 11, 20:27
คำถามข้อที่  ๙๙.๑๐

จงแยกเป็น ๒ กลุ่ม  และเรียงลำดับก่อนหลัง

"อัมพะรีษนันทิวรรธนะอังศุมัตกัลมาษบาทสุปารศวะอิละวิละวิพุธรุรุกขัฏวางสัตยะธฤติสัณหตาสวะกฤติราตศราวัสตะชนกสินธุทวีปธรุวะสันธิเทวราตวิกุกษีมหาวีรยะฤตุบรรณฤตะเกษมาริตรัสะทัสยุศีระธวัชตรีธันวันสัตยะรถภคีรถคะพหุลาศวะอชะนลสุวรรณโรมธรุวะสันธิวัชระนาภกุณิชัยอัญชันอนะรัณยะประติพันธกะสัตยพรตสุนัยจุญจุสัตยะรถภคีรถคะพหุลาศวะอชะนล"


ข้อนี้  ๔๐  คะแนน  ผิดลำดับหักที่ละ ๑ คะแนน
สะกดผิดหักที่ละ  ๒ คะแนน   ตอบได้ในระหว่างเวลา
๑๘.๓๐ น.- เวลา  ๒๐.๐๐ น. วันที่ ๑๔ มิ.ย. ๕๔
ตอบที่หน้าม่าน  ตอบผิดเวลาจากที่กำหนดนี้
คะแนนเต็มลดเหลือ ๓๐ คะแนน 


พงศาวดารของพระราม                                พงศาวดารของท้าวชนก
อิกษวากุ                                                        นิมิ
กุกษิ                                                            มิถิ
วิกุกษิ                                                          อุทาวสุ
วาน                                                             นันทิวรรธน์
อนรัณย์                                                         สุเกตุ
ปฤถุ                                                            เทวราช
ตรีศังกุ                                                          พฤหัทรถ
ธุนทุมาร                                                        มหาวีร
ยุวนาศว                                                         สุธฤติ
มนธาตุ                                                          ธฤษฏเกตุ
สุสนธิ                                                           หริยาศว
ธรุวสนธิ                                                         มรุ
ประเสนชิต                                                      ประตินธก
ภรต                                                             กฤตรถ
อสีต                                                            เทวมีรหะ
สัคร                                                             วิพุธ
อสมัญชะ                                                        มหิธรก
อังศุมาร                                                         กฤติราช
ทิลิป                                                            มหาโรม
ภคีรถ                                                           สุวรรณโรม
กกุฏสถะ                                                       หรัศวโรม
รฆุ                                                              ศรีธวัช
ประพฤธ
ศังขนะ
สุทรรศร์
อัคนิวรรณ
สิฆรค
มรุ
ประศุจรุก
อัมพรีษ
นหุษ
ยยาตี
นาภาค
อัช
ทศรถ
รามจันทร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 มิ.ย. 11, 08:58


ราม  ราม  ราม

ओह, बहुत मुश्किल ... रामायण... रामायण.  ;D

๒ ความเห็นนี้  ไม่ได้ตอบคำถาม  ไม่ต้องให้คะแนน

ส่วนของคุณไซมีส  ดีมากครับ  เรียงตามลำดับพยัญชนะเป็นแถวดิ่งเดี่ยวสวยงาม
แต่ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำถามที่ตั้งไว้  ฉะนั้นก็เอาไป ๐ คะแนน

ส่วนคุณอาร์ท  ผมให้เรียงจากโจทย์ที่ให้ไว้  แต่คุณไปเอาจากที่อื่นมาตอบ
แม้จะกระทบคำตอบอยู่บ้าง   แต่เนื่องจากไม่ได้แบ่งกลุ่มและเรียงลำดับจากโจทย์ที่ให้ไว้
ก็เอาไป ๐ คะแนน  อย่างเท่าเทียมกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 มิ.ย. 11, 15:14
แจ้งแก่ผู้สนใจตอบกระทู้แฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์ได้ทราบ

ในที่สุดการสู้รบอันยาวนานหลายเดือนนับตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๔
เป็นต้นมา  การสู้รบระหว่างผู้ตั้งคำถามรามเกียรติ์และนักรบทั้งหลาย
ได้เดินทางมาถึงปลายทางกระทู้ที่ ๔  แล้ว  เพราะคำถามได้มาถึง
ข้อที่ ๑๐๐

ผมจึงเห็นควรที่จะแจ้งให้ทราบว่า
คำถามข้อที่ ๑๐๐  จะแบ่งเป็นข้อย่อย  ๖  ข้อย่อย
แต่ละข้อย่อยอาจจะมีข้อย่อยลงไปอีกตามแต่จะเห็นเหมาะสม
ทั้งนี้  ใน ๖ ข้อย่อย จะมีคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เท่ากันหมดทุกข้อ
ส่วนคำถามนั้นท่านไม่ต้องกังวลว่าจะง่ายเกินความสามารถ
เพราะได้เห็นฝีการค้นหาคำตอบแล้ว ๙๙ ข้อ  ๔ กระทู้
ผมย่อมไม่ให้ท่านทั้งหลายผิดหวังแน่นอน โปรดติดตาม

คำถามข้อที่ ๑๐๐ จะเริ่มลงข้อย่อยแรกภายในสัปดาห์นี้
แต่ยังไม่ระบุว่าวันใด   โปรดติดตามเถิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 มิ.ย. 11, 08:13
แจ้งแก่ผู้สนใจตอบกระทู้แฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์ได้ทราบ

ในที่สุดการสู้รบอันยาวนานหลายเดือนนับตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๔
เป็นต้นมา  การสู้รบระหว่างผู้ตั้งคำถามรามเกียรติ์และนักรบทั้งหลาย
ได้เดินทางมาถึงปลายทางกระทู้ที่ ๔  แล้ว  เพราะคำถามได้มาถึง
ข้อที่ ๑๐๐

ผมจึงเห็นควรที่จะแจ้งให้ทราบว่า
คำถามข้อที่ ๑๐๐  จะแบ่งเป็นข้อย่อย  ๖  ข้อย่อย
แต่ละข้อย่อยอาจจะมีข้อย่อยลงไปอีกตามแต่จะเห็นเหมาะสม
ทั้งนี้  ใน ๖ ข้อย่อย จะมีคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เท่ากันหมดทุกข้อ
ส่วนคำถามนั้นท่านไม่ต้องกังวลว่าจะง่ายเกินความสามารถ
เพราะได้เห็นฝีการค้นหาคำตอบแล้ว ๙๙ ข้อ  ๔ กระทู้
ผมย่อมไม่ให้ท่านทั้งหลายผิดหวังแน่นอน โปรดติดตาม

คำถามข้อที่ ๑๐๐ จะเริ่มลงข้อย่อยแรกภายในสัปดาห์นี้
แต่ยังไม่ระบุว่าวันใด   โปรดติดตามเถิด


หนทางอีกยาวไกล

เส้นทางอีกยาวไกล

ก้าวไป... ก้าวไป... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 มิ.ย. 11, 08:52


ทำไมต้องเดิน  เดิน  ด้วย    อือ...จริงซินะ  พวกหวังก้าวหน้า  ต้องพากันเดิน

นั่งเฉย ๆ ก็ได้

กรมข่าวจากสายใกล้ขิด  ปล่อยข่าวลวงว่า วันนี้ไม่ออกข้อสอบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มิ.ย. 11, 08:59
สงสัยด้วยคน

ทำไมต้องมีคำถามที่ ๑๐๐.๐๑, ๑๐๐.๐๒, ๑๐๐.๐๓ ......

ในเมื่อชื่อกระทู้คือ ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์

ต่อเป็นคำถามที่ ๙๙.๑๑, ๙๙.๑๒, ๙๙.๑๓ .......

และจบที่คำถามสุดท้ายที่ ๑๐๐ ข้อเดียว

น่าจะสวยงามกว่าไหม

คุณหลวง

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มิ.ย. 11, 09:27
ต้องร้องเพลงตี๊นา..

".. เพราะฉันนั้นต้องการมี เสี้ยวนาที ที่ยิ่งใหญ่ ให้จำจดไว้ นานเท่านาน และจะได้ภูมิใจ ที่มือฉันเคยได้เอื้อมผ่าน.."

คุณหลวงนั้นตั้งใจจะเขียนตำนาน ให้เหล่าผู้กล้าพากันโลดแล่นไปมาบนศึกคำถามรามเกียรติ์ ไปตามบทบาทที่คัดสรรแล้ว หลังเสร็จศึกบรรดาผู้กล้าก็จะจากไปพร้อมกับสายลม มิอาจหวนคืน จึงต้องยืดเวลาแห่งการจางหายด้วยการร่ำสุราชั้นเลิศเป็นการปิดท้าย คาดว่ารสสุรานั้นคงหวานและหอมหวล ต้องร่ำทีละน้อย ๆ และเมื่อรสสุราหยดสุดท้ายได้หมดลง ก่อนที่เหล่าผู้กล้าจะโบยบินหายไป ก็อาจจะถูกฉุดเหนี่ยวรั้งมือมิให้ลุกจากไปได้โดยง่าย และคาดว่าอาจจะมีการเชิญการแสดงบทใหม่มาโลดแล่นบนเวทีอีกครั้ง จนกว่าทุกอย่างจะจบสิ้นลง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 มิ.ย. 11, 10:28
จารึกหลักหนึ่ง  มีความตอนหนึ่ง

...กระทู้รามเกียรติ์นี้ดี  ใครจักมักเล่นเล่น
ใครจักมักตอบตอบ  ใครจักมักอ่านอ่าน
ใครจักเมินเมิน  ใครจักแซวแซว
บ่บังคับแก่ไพร่ฟ้าหน้าใสผู้มาเยือน...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มิ.ย. 11, 10:48
จารึกหลักหนึ่ง  มีความตอนหนึ่ง

...กระทู้รามเกียรติ์นี้ดี  ใครจักมักเล่นเล่น
ใครจักมักตอบตอบ  ใครจักมักอ่านอ่าน
ใครจักเมินเมิน  ใครจักแซวแซว
บ่บังคับแก่ไพร่ฟ้าหน้าใสผู้มาเยือน...

จารึกหลังหลักหนึ่ง  มีความตอนหนึ่ง

...กระทู้รามเกียรติ์นี้ดี  ใครจักอยากมึนมึน
ใครอยากจักหลอนหลอน  ใครอยากจักงง งง
ใครจักเถียงเถียง  ใครจักลุ้นลุ้น
แค่หักแต้มแก่ไพร่ฟ้าหน้าใสผู้มาเยือน... ;D ;D


พอแล้ว เดี๋ยวคะแนนหาย คิคิ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มิ.ย. 11, 16:08
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๑

คำสั่ง  เลือกทำ ๒ ข้อ  โดยให้สั่งจองไว้ก่อน
(จองได้ที่หน้าม่าน) ระยะเวลาจองตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา  ๑๒.๐๐ น.
พ้นนี้หักก่อนเลย  ๕  คะแนน
ทั้งนี้ให้เลือกทำข้อ  ก. หรือ ข. หรือ ค. ๑ ข้อ  ข้อ ง. หรือ จ. ๑ ข้อ

การทำคือถอดและเรียงให้เป็นคำกลอนที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งบอกด้วยว่า เป็นรามเกียรติ์ฉบับใด  ตอนอะไร

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.
ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน

โจทย์มีดังนี้

ก.   ทัถตั้ต            งลปฉ้ากน่ากนตหรอป่าต
ขสาฑเมิถคหคัทชัทผรัต         ฉ้ากต้ำปัตปุ่กนลกเค้ารกงา
ทัถตั้ต               หวุลเวตาปาลอาฑงร้า
วหถฉตังฉังวาจผาตอต้า         ค้หลาลันขตเขลื่หกปั่ต
แร้สคัทเถิตนาปบากงรากดตต         เอ็ตพู้ขตแมล๋แมล้ตแร่ตไร่
บี่คี่ผักตำอต้าปาไงรไงร         ดืหอรหถเคาเม่าไมเม็ตวำขัฑ
สิ่กอืถคึ้ตขหบั้กอปหขสาฑ         พูงวักอาลขฉวีอ์ปีต้ำปัต
ยึ่กเล่กใอ้ไมพุงฉ้ากปา         เค้าแบกไห้ริกม่าหจ่าฉ้างาล
ดึกบี่ฌ่าสาตลเพืหงพู้         อจุถหจู่จืตม่สตอสตอัต
ปาลวำอลัทคัทคี่คึ้ตผล้หปงัต         เหาเอร้างรั่ตใว่งละทหกงลหงเค้าไม


ข.  ขลั้ตเวล็ยฒึ่กร้ากดตตอรสก      ใอ้ร่สกผรโจฝีบัผอต้า
ผาถวาจต้าสอต่สกส่หกไส         ฬูสไตจพาถแพรกไมถ้สจฤบฐิ์
ยึ่กบลกผละแวกผราจสาน         หัตปีหำตายแพ่ตถิตไอส
โถจงละทสตผจุอจานลา         ไมนาปปลขาผตารี
ไถ้ฮักผิเฬงหวุลี            ฬูปีเอ็ตยลิกบุงวิ่กไม
บราจแอรงแนงงละยาจไมบุงบิศ      เวีจกวตั่ตขลลฉินหึกหร
ผละสปุบลนีฮหกตหกละลหง         งละช่หตชหงฮันธั่กงุราอร
เปื่หตั้ต               ผละอลิสกศ์บลกวสัวถิ์ลัสปี
เม็ตบากงส้ากใอฑ่ใตวาจฉร         ยตนรหถดึกเงาะรกงา
ศลไมร้ากดตตศีรา            ถสจงำรักศังถาผละยังลงฤษฎ์


ค.  ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง      ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร
ใฉ่ยะรสกเย้าเจาสรังษฏ์         ถสกยังษุผี่ยกเปนนา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์         ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี            หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วุถเหจวุถวสาบ            ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วหกวปฉปลวฤาถี            น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ         ยุปผินมลากเมลปตาวา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก         ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา         สาจุผัถผัถปาหึกหร


ง.  อามอั๊งอ๊ะอั๊กอออ๊ะอุ๊ด         อำไอเอื้องอู๋งอาออน
อามอะอัดอะอุ๊ดอั่งเออ๋า         อั้งแอ้นอามแอวแอ๋วอะอ๋น
เอ็นอู้เอียงเอียงเอื้องอามอะไอ๋      เอื่อนอ่นอั๊บอีอนอะอะอิด
อามอ๊ดอามอ๊ดโออี            เอ็นอัดอั้นโออาอาอี
อามอ๊ะอักอีองอ๋อน            อุ๊อีออนแอ้อ๊องอะเอ๋มอั๋น
อ๋อไอ้อ๋าอุกอุ๊กอิ๊อัน            อ่างอนอวยไออะอ๋ายออน
อามอ๊อมอ๋มองอิดอะอา         ไอ้อ๊าไอ้อีไอเอียมอัน
อิ่งอ๋องอกอ๋ายเอ้าะไอ่อิ๊ด         แอ่อั้งอาอิ๊อิ๊ดอิ๊ดไอ
องอ๋านอั้นอิ้วองไอ            เอ๋นเอนแอ่อ้วงเอ้าอะอูเอือง
อามอ๋องโออ๊ดอั่งอันออน         อามอะอ๊ดอิ๊ดอิ๊ออนอำเอินอา


จ.  อ้างอวนอันอันอูกเอ็นอู้กเออ      อั้งอะอ้อกออกอุอาอินอ่ง
อั๊บอั้งอั๊งอ๋องอ๊ะอ๊ะอา         เอ้าอาอินเอี๊ยงเอี๋ยงอึกอะอึ๊ก
อัดอั๊น               อนอิ๊อายอายไอ้อ๊อมอ้า
อะอั้งองไอ้เอ็งเอาอืนอิง         อ้างอกอีอิ๊อ้าดอาอา
เอ๊าออกอุ๊ดอ้าอ่มอ๊มอะอ๋า         เออาโอ่อ๊องอ้องไอ
อึงอื้ออือเอออนเอี๋ยงอ๋ง         อ่างอ่งอออื่มอังอึกอึก
อ้างอ่าอูไออั๊บอะอับอิง         อ้างอินเอ็ดไอ่อุ้งอุ้งแอ้ม
อนอืมอัวอัวเอาอาอู้ดอึ๊ก         อ้างอ๊าไอ่ไอ้อางอิ้เอดอ้อก
อ้างอวดอ้าอ้าอูอู่อง         อั้งโออาอาอึ๊กอัดอะอง
เอาอาอิ้งอนแอ้มแอมอุอา         อั๊งอ่ออกอู๋แอมอดอุกอิ่ง

ขอให้เล่นกันให้สนุก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มิ.ย. 11, 16:14
^
อะไรเนี่ยคุณหลวงฯ อ่านไปหัวเราะไป ขำไป น้ำหูน้ำตาเล็ดไหล ภาษาอะไรครับผม

ทั้งเขมรแปลง ทั้งไก่สั้น....แต่ได้มา ๑ คำ "เป็นคู่เคียง"  :-[


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 มิ.ย. 11, 16:21
สงสัยว่าเป็นรามเกียรติ์ฉบับภาษาดาวนาเม็กกระมัง

มีคนที่เขาช่วยคิดโจทย์ส่งมาให้  แถมบอกด้วยว่า ไม่ยากหรอก
แต่ว่าอาจจะซับซ้อนหน่อย  ถ้าจับทางได้ก็ไม่ยาก
เพราะมีการสลับที่และการใช้สูตรพรางอักษรอย่างหนึ่งของคนโบราณ
ใบ้ให้นิดหนึ่งว่า  หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก  จิตรกถึก)ช่วยคุณได้ใน ๓ ข้อแรก
นี่ใบ้ให้มากแล้วนะ  หวังว่าจะทำได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 มิ.ย. 11, 17:50
จองข้อไหนดีน้า..... ;D
ถอดความไม่ยาก...ยากตรงบอกว่าฉบับใด ตอนอะไร...

หนูดีดีขอจอง ข้อ ก. กะข้อ จ. ละกันนะคะ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 มิ.ย. 11, 20:54
ข้าเจ้าขอจอง ข้อ ข. และ ข้อ ง. ล่ะกัน

เห้อ แต่ละข้อหนอ :(
เหนื่อยใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มิ.ย. 11, 09:35
"กลอนกลบท"

เนื่องจากกลอนกลบทมีอยู่มากมาย เท่าที่ค้นคว้ามาได้ก็เกือบ ๖๐ ชนิด และมีชื่อเรียกกลบทนั้นๆมาตั้งแต่โบราณดังนี้...
๑.นาคเกี่ยวกระหวัด

๒.นาคราชแผลงฤทธิ์

๓.บัวบานกลีบขยาย

๔.อักษรสลับล้วน

๕.มยุราฟ้อนหาง

๖.ยัติภังค์

๗.ละเวงวางกรวด

๘.กินนรรำ

๙.เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด

๑๐.นารายณ์ประลองศิลป

๑๑.พระจันทร์ทรงกรด

๑๒.อักษรสังวาส

๑๓.ธงนำริ้ว

๑๔.วิสูตรสองไข

๑๕.เสือซ่อนเล็บ

๑๖.นาคบริพันธ์

๑๗.เบญจพรรณห้าสี

๑๘.ครอบจักรวาล

๑๙.หงส์คาบแก้ว

๒๐.พักพันร้าน

๒๑.งูกลืนหาง

๒๒.นกกางปีก

๒๓.คุลาซ่อนลูก

๒๔.ถอยหลังเข้าคลอง

๒๕.ม้าลำพอง

๒๖.กลบกลืนกลอน

๒๗.ลิ้นตะกวด

๒๘.ดอกไม้พวง

๒๙.เมฆขลาโยนแก้ว

๓๐.ดวงเดือนประดับดาว

๓๑.ช้างประสานงา

๓๒.พวงแก้วกุดั่น

๓๓.ดำเนินนางสระ

๓๔.ตรีเพชรพวง

๓๕.ม้าเทียมรถ

๓๖.เทพชุมนุม

๓๗.คมในฝัก

๓๘.พยัคฆ์ข้ามห้วย

๓๙.ตรีประดับ

๔๐.ก้านต่อดอก

๔๑.กระแตไต่ไม้

๔๒.กบเต้นสลักเพชร

๔๓.อักษรล้วน

๔๔.รักร้อย

๔๕.กบเต้นกลางสระบัว

๔๖.สะบัดสะบิ้ง

๔๗.วันพันหลัก

๔๘.สารถีชักรถ

๔๙.สุรางค์ระบำ

๕๐.ฉัตรสามชั้น

๕๑.กบเต้นต่อยหอย

๕๒.สร้อยสน

๕๓.สิงโตเล่นหาง

๕๔.ละลอกแก้วกระทบฝั่ง

๕๕.มังกรคาบแก้ว

๕๖.กบเต้นสามตอน

๕๗.กินนรเก็บบัว

๕๘.ตรีพิธพรรณ

๕๙.ประดับอักษรสามหมู่

๖๐.ตะเข็บไต่ขอน

๖๑.บุษบงแย้มผกา

๖๒.ดวงเดือนประดับดาว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 18 มิ.ย. 11, 11:05
เจ้าประคู้นนนนน....ไม่อยากให้กระทู้นี้จบเลย
กราบงาม ๆ ท่านละ 3 ที ช่วยกัน ยืดดดดดดด.....ต่อไป
100 คำถาม ไม่พอหรอกค่ะ คนอ่านวรรณคดีไม่แตกฉานอย่างดิฉัน ชอบเหลือเกิ้นนน
แต่ละท่านก็ช่างหาวิธีทำให้อ่านไปหัวเราะไปได้ทุกวัน อายุ...ยาว ได้หลายปี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 มิ.ย. 11, 22:27
ท่านsiamese ลองหา DVD รหัสลับดาวินซี มาดูสิคะ เผื่อจะถอดรหัสคุณหลวงออก... ;D
แต่ข้อ ง. กะข้อ จ. ที่ทำเสียงจมูกบี้ ถอดรหัสยากจัง...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 มิ.ย. 11, 22:35
ท่านsiamese ลองหา DVD รหัสลับดาวินซี มาดูสิคะ เผื่อจะถอดรหัสคุณหลวงออก... ;D
แต่ข้อ ง. กะข้อ จ. ที่ทำเสียงจมูกบี้ ถอดรหัสยากจัง...


 :o
เอ๊ะ พูดอย่างนี้แสดงว่าคุณหนูดีดี

ถอดรหัสลับคุณหลวงได้แล้วกระมั้ง

ปล. จริงดังว่า ข้อจมูกบี้จมูกแบนช่างตีความยากเสียจริงๆ นะ ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มิ.ย. 11, 22:39
ข้อ ง. น่าจะเป็นบทชมโฉม เห็นมีคำว่า "อาม" อยู่หลายวรรค

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 19 มิ.ย. 11, 19:43
อ้าว! คุณหลวงครับ  ไม่ได้เข้ามาอ่านแค่สัปดาห์เดียวถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้วหรือครับนี่  โกงกันหรือเปล่า?   อย่างนี้ต้องนับถอยหลัง
เป็น ๙๙-๙๘-๙๗ จนมาถึงข้อที่ ๑ ใหม่  ถึงจะยุติธรรม  ไม่งั้นไม่ย้อม ไม่ยอม!!!!!


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 08:15
อ้าว! คุณหลวงครับ  ไม่ได้เข้ามาอ่านแค่สัปดาห์เดียวถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้วหรือครับนี่  โกงกันหรือเปล่า?   อย่างนี้ต้องนับถอยหลัง
เป็น ๙๙-๙๘-๙๗ จนมาถึงข้อที่ ๑ ใหม่  ถึงจะยุติธรรม  ไม่งั้นไม่ย้อม ไม่ยอม!!!!!

ตามพระอัยการกบฏศึก  ถ้าผู้ใดไปทัพถึงเวลาเข้าสู้รบกับข้าศึกกับถอยหลังกลับ
ท่านว่าทำอย่างนี้ผิดตามพระอัยการ  สมควรลงโทษฟันคอริบเรือนฐานกบฏ

ฉะนั้น  เมื่อกระทู้นี้เดินมาถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้ว  จะชักเท้าคืนหลังไปตั้งต้นใหม่นั้น
เกรงว่าโทษทัณฑ์และคำครหาจะมีแก่ผม    ผมได้อำนวยแก่ท่านผู้สนใจรบและสนใจอ่าน
ด้วยการซอยเป็นข้อย่อยให้ (เท่านั้นก็มีคนค่อนขอดค่อนแคะว่าจะยืดไปถึงไหน  
ทั้งที่ก็ทำเพียง ๒ ข้อเท่านั้น  รู้อย่างนี้  ซอยตั้งแต่ข้อแรกที่เริ่มกระทู้ดีกว่า  
เป็นกระทู้ ๑๐๐ คำถาม (จริงๆ คือ ๑๐๐๐ คำถามแฝง) แฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์)


ส่วนท่านที่ยังติดใจว่า  อุเหม่  ยังเล่นยังอ่านไม่จุใจ  
เอาไว้คราวหน้าผมจะตั้งกระทู้วรรณคดีอย่างนี้อีกส่วนจะเป็นเรื่องอะไร  
โปรดติดตามก็แล้วกัน  (แต่คงไม่ใช่เร็วๆ นี้หรอก
เพราะเหนื่อยกับกระทู้ ๑๐๐ คำถามรามเกียรติ์มาตั้งครึ่งปี
ตั้งแต่ปีใหม่มา  ขอพักผ่อนสะสมเสบียงและตำราพิไชยสงครามก่อนนะครับ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 08:24
อ้าว! คุณหลวงครับ  ไม่ได้เข้ามาอ่านแค่สัปดาห์เดียวถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้วหรือครับนี่  โกงกันหรือเปล่า?   อย่างนี้ต้องนับถอยหลัง
เป็น ๙๙-๙๘-๙๗ จนมาถึงข้อที่ ๑ ใหม่  ถึงจะยุติธรรม  ไม่งั้นไม่ย้อม ไม่ยอม!!!!!

ตามพระอัยการกบฏศึก  ถ้าผู้ใดไปทัพถึงเวลาเข้าสู้รบกับข้าศึกกับถอยหลังกลับ
ท่านว่าทำอย่างนี้ผิดตามพระอัยการ  สมควรลงโทษฟันคอริบเรือนฐานกบฏ

ฉะนั้น  เมื่อกระทู้นี้เดินมาถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้ว  จะชักเท้าคืนหลังไปตั้งต้นใหม่นั้น
เกรงว่าโทษทัณฑ์และคำครหาจะมีแก่ผม    ผมได้อำนวยแก่ท่านผู้สนใจรบและสนใจอ่าน
ด้วยการซอยเป็นข้อย่อยให้ (เท่านั้นก็มีคนค่อนขอดค่อนแคะว่าจะยืดไปถึงไหน  
ทั้งที่ก็ทำเพียง ๒ ข้อเท่านั้น  รู้อย่างนี้  ซอยตั้งแต่ข้อแรกที่เริ่มกระทู้ดีกว่า  
เป็นกระทู้ ๑๐๐ คำถาม (จริงๆ คือ ๑๐๐๐ คำถามแฝง) แฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์)


ส่วนท่านที่ยังติดใจว่า  อุเหม่  ยังเล่นยังอ่านไม่จุใจ  
เอาไว้คราวหน้าผมจะตั้งกระทู้วรรณคดีอย่างนี้อีกส่วนจะเป็นเรื่องอะไร  
โปรดติดตามก็แล้วกัน  (แต่คงไม่ใช่เร็วๆ นี้หรอก
เพราะเหนื่อยกับกระทู้ ๑๐๐ คำถามรามเกียรติ์มาตั้งครึ่งปี
ตั้งแต่ปีใหม่มา  ขอพักผ่อนสะสมเสบียงและตำราพิไชยสงครามก่อนนะครับ)


นี่ไง ๆ ในที่สุดท่านก็เผยสิ่งที่แอบแฝงมาแล้ว  ;D ;D อยากให้คุณหลวงจัดรามเกียรติ์หินอ่อนวัดโพธิ์จังเลย รามเกียรติ์หินอ่อนวัดโพธิ์ เสื่อมชำรุดไปเยอะแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 08:30
เนื่องจากกองเสือป่าแมวเซาแอบมารายงานว่า
สหายนักรบต่างคลำเค้าเงื่อนสำหรับแก้โจทย์กันสนุกสนานเป็นที่ยิ่ง
บางคนคลำยังไม่ถูกที่  บางคนคลำออกอ่าวไปเกาะกวมโน่น
ฉะนั้นเห็นสมควรที่ชี้ช่องในการคลำทางเพิ่มดังนี้

ไทยนับสามตามตำราว่าเด็ดนัก
คนรู้จักใช้ซ่อนพรางทางอักษร
ส่งหนังสือไปหนใดไม่เดือดร้อน
คนมือบอนแก้ไม่เป็นเห็นจะงง



นี่ไง ๆ ในที่สุดท่านก็เผยสิ่งที่แอบแฝงมาแล้ว  ;D ;D
อยากให้คุณหลวงจัดรามเกียรติ์หินอ่อนวัดโพธิ์จังเลย รามเกียรติ์หินอ่อนวัดโพธิ์ เสื่อมชำรุดไปเยอะแล้ว

การวางอุบายใดๆ  หากฝ่ายตรงข้ามรู้แล้วและเตรียมตัวหาทางแก้มาเป็นอย่างดี
ก็ป่วยการเล่นนะคุณหนุ่มสยาม  (แต่เผลอๆ อาจจะเอามาเล่นก็ได้นะ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 20 มิ.ย. 11, 09:28
อ้าว! คุณหลวงครับ  ไม่ได้เข้ามาอ่านแค่สัปดาห์เดียวถึงข้อที่ ๑๐๐ แล้วหรือครับนี่  โกงกันหรือเปล่า?   อย่างนี้ต้องนับถอยหลัง
เป็น ๙๙-๙๘-๙๗ จนมาถึงข้อที่ ๑ ใหม่  ถึงจะยุติธรรม  ไม่งั้นไม่ย้อม ไม่ยอม!!!!!

ตามพระอัยการกบฏศึก  ถ้าผู้ใดไปทัพถึงเวลาเข้าสู้รบกับข้าศึกกับถอยหลังกลับ
ท่านว่าทำอย่างนี้ผิดตามพระอัยการ  สมควรลงโทษฟันคอริบเรือนฐานกบฏ

ชะอุ๋ย!
.......แล้วดำรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ล่าถอยลงมา  ฝ่ายพระราชมนูทำนองจะเห็นว่ากำลังรี้พลไล่เลี่ยกับกองทัพหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่ที่รบพุ่งกันอยู่
พอจะต่อสู้รอกองทัพหลวงให้ขึ้นไปถึงได้ก็ไม่ถอยลงมา   สมเด็จพระนเรศวรดำรัสสั่งให้จมื่นทิพรักษาเป็นข้าหลวงขึ้นไปเร่งให้ถอยอีก  พระราชมนูก็สั่งให้มากราบทูล
ว่ารบพุ่งกับข้าศึกติดพันกันอยู่แล้ว  ถ้าถอยเกรงจะเลยแตกพ่ายเอาไว้ไม่อยู่  สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังก็ทรงพระพิโรธ  ดำรัสสั่งให้จมื่นทิพรักษาคุมทหารม้าเร็ว
รีบกลับขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ถอย  ถ้าไม่ถอยก็ให้ตัดเอาศีรษะพระราชมนูมาถวาย.......ฮึ่ม!


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 10:00
ก็ถ้าไม่มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ถอยทัพแล้ว
ใครขืนถอยทัพกลับเองโดยพลการ ก็ต้องโทษฟันคอริบเรือนสิครับ
ถ้าไม่มีคำสั่งเด็ดขาดเปลี่ยนแปลงจากแม่ทัพใหญ่แล้ว   
ไพร่พลก็ต้องรบพุ่งให้เต็มกำลัง  ผิดจากนั้นถือว่าละเมิดพระอัยการกบฏศึก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 มิ.ย. 11, 10:48
เนื่องจากกองเสือป่าแมวเซาแอบมารายงานว่า
สหายนักรบต่างคลำเค้าเงื่อนสำหรับแก้โจทย์กันสนุกสนานเป็นที่ยิ่ง
บางคนคลำยังไม่ถูกที่  บางคนคลำออกอ่าวไปเกาะกวมโน่น
ฉะนั้นเห็นสมควรที่ชี้ช่องในการคลำทางเพิ่มดังนี้

ไทยนับสามตามตำราว่าเด็ดนัก
คนรู้จักใช้ซ่อนพรางทางอักษร
ส่งหนังสือไปหนใดไม่เดือดร้อน
คนมือบอนแก้ไม่เป็นเห็นจะงง



อยากรู้จริงเชียวว่าตอนนี้ใครถอดกลนี้ได้แล้วบ้าง

ข้อจมูกบี้แบนก็ผิดคาดอย่างใหญ่หลวง :o
ไอ้ที่คิดมันไม่เกิดขึ้นจริง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 11:04
^
คาดว่า ซ่อนอักษรแล้ว ยังซ้อนเสียงกันวุ่นวายอีกด้วย หลายชั้น เป็นเงื่อนปมผูกไว้ ต้องแก้มากมาย

 'ปัจจัย' ยังชีพต้อง..............'ไปจัด' หาเอย
'อยู่รอด' สารพัด...................'ยอดรู้'
'จ้องทำ' แบบฝึกหัด...............'จำท่อง'
'ห้อถาก' ถางทางสู้................'หากท้อ'ใครทำ

แบบนี้คุณหลวงฯ ต้องช่วยยกตัวอย่างให้หน่อย

ส่วนกลอนอู้อี้นั้น อ่านแล้วคล้ายกับบทชมความงาม แน่นอน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 11:55
^ ขออนุญาตให้พิณพาทย์บรรเลงเย้ยสัก ๓ รอบ
อ้าว  สหาย  นี่ท่านไม่ได้สุมศีรษะปรึกษาหารือกันอย่างแต่ก่อนแล้วหรือ
ว้า  อย่างนี้  กว่าจะแก้ปริศนาออก  ไม่ต้องฉลองคริสต์มาสกันก่อนหรือ
คำใบ้ที่ให้ไปนั้น  ถ้าสหายลองเอาไปค้นหาดูก็จะเจอลายแทงที่ต้องการ

จะบอกให้อีกอย่างว่า  ถึงถอดกลพรางได้แล้ว  ก็ยังต้องเรียงใหม่ด้วยนะ

ส่วนกลอนอู้อี้นั้น  สนุกมาก  แต่แค่คำว่า "อาม" คำเดียวอาจจะพากัน
เหาะเลยเกาะลงกาไปหลายโยชน์ก็ได้นะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 มิ.ย. 11, 13:32

อยากรู้จริงเชียวว่าตอนนี้ใครถอดกลนี้ได้แล้วบ้าง

ข้อจมูกบี้แบนก็ผิดคาดอย่างใหญ่หลวง :o
ไอ้ที่คิดมันไม่เกิดขึ้นจริง

ข้อ ก. ข. ค. หนูดีดี ถอดได้หมดแล้วค่ะ กะลังเรียงอยู่ค่ะ...
ส่วนข้อจมูกบี้ ... เฮ้อ....
 ;D คิดถึงตอนที่คุณluanglek ตั้งคำถาม คงต้องแอบนั่งพึมพำทำเสียงจมูกบี้อยู่หน้าคอม คนเดียว... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 มิ.ย. 11, 13:37
คุณหลวงท่าจะรำนางแมวเย้ยซุ้มได้  อยากดูอยู่เหมือนกัน


ข้อนี้ตอบไม่ได้ค่ะ  เพราะท่านเล่นสลับประโยคด้วยนี่นา


ไม่เป็นไรค่ะ  วันพระไม่ได้มีหนเดียว    วันพระหน้าคุณหลวงก็คงชนะอยู่ดี

อ่านดูเป็นตอนพระรามกลับอโยธยา

ไม่ได้สุมศีรษะค่ะ    ได้ยินมาว่าหมักน้ำมันก็พอใช้ได้  ใช้หวีละเอียดก็เรียบร้อยแล้วค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 14:10
หือ..กลอนโป๊ะนักนะคุณหลวง ...ชิ  ;)

"พระสมุทรตีฟองนองระรอก"

จองกฐินข้อ ค.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 14:21
ฮั่นแน่   เจอลายแทงขุมทรัพย์แล้วสิ
พอแก้กลพรางอักษรได้ก็หาง่ายขึ้นเยอะ
เหลือแต่เรียงให้ถูกต้อง และตอบให้ได้ว่าเป็นฉบับใด ตอนใด

ตอนนี้ท่าจะยากก็คงเป็นข้อ ง. และ จ.
ซึ่งไม่รู้จะใบ้อย่างไรดี  นอกจาก  แบ๊ะ แบ๊ะ แบ๊ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 มิ.ย. 11, 14:45
ตอนนี้ท่าจะยากก็คงเป็นข้อ ง. และ จ.
ซึ่งไม่รู้จะใบ้อย่างไรดี  นอกจาก  แบ๊ะ แบ๊ะ แบ๊ะ


เอาล่อเอาเถิดกับคุณหลวงนี่เหนื่อยนัก

ดูเค้าใบ้ซิ แบ๊ะๆๆๆๆๆ ปัดโธ่

ช่างไม่นำพา


ส่วนกลอนอู้อี้นั้น  สนุกมาก  แต่แค่คำว่า "อาม" คำเดียวอาจจะพากัน
เหาะเลยเกาะลงกาไปหลายโยชน์ก็ได้นะ


ตอนแรกก็เลยเกาะลงกาไปถึงเกาะแก้วพิสดารแล้ว

พอคลำทางเจอ เลยขออาศัยกองเรืออุศเรนกลับมาถูก

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 15:06
หนุ่มสยาม ขอตอบเลยนะเจ้าขา ทอดผ้าป่ากลองยาวแล้วนะคุณหลวงฯ

จัดได้ช่วงกลอนที่ได้จังหวะ ไพเราะนัก  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 15:09
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๑

คำสั่ง  เลือกทำ ๒ ข้อ  โดยให้สั่งจองไว้ก่อน
(จองได้ที่หน้าม่าน) ระยะเวลาจองตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา  ๑๒.๐๐ น.
พ้นนี้หักก่อนเลย  ๕  คะแนน
ทั้งนี้ให้เลือกทำข้อ  ก. หรือ ข. หรือ ค. ๑ ข้อ  ข้อ ง. หรือ จ. ๑ ข้อ

การทำคือถอดและเรียงให้เป็นคำกลอนที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งบอกด้วยว่า เป็นรามเกียรติ์ฉบับใด  ตอนอะไร

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.
ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน

เราเตือนท่านแล้ว  แต่ท่านไม่ฟังเรา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 มิ.ย. 11, 15:11

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.
ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน

เราเตือนท่านแล้ว  แต่ท่านไม่ฟังเรา


ห้ามไม่ทันจริงๆ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 15:54
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๒

ปีพุทธศักราช  ๒๔๒๑  มีการตั้งพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์
ในการพระราชพิธีโสกันต์ครั้งนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกเขาไกรลาส
ประดับประดาด้วยเครื่องตกแต่งอันวิจิตรพิสดารน่าพิศดูยิ่งนัก   เครื่องตกแต่งเขาไกรลาสครั้งนั้น
มีอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่า เครื่องจักรกล  ที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงทำมาตั้งประกวดประขันกัน
โดยทำเป็นหุ่นจำลองเรื่องราวในวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่ง  สามารถขยับกลไกได้ น่าดูมาก

คำถามคือ  อยากทราบว่า  เครื่องจักรกลที่ตั้งรายรอบเขาไกรลาสครั้งนั้น
มีชิ้นใดบ้างที่ทำตามท้องเรื่องรามเกียรติ์และใครเป็นคนทำ

ข้อนี้  คะแนนดิบ  ๓๐  คะแนน  คะแนนดิบที่ได้หารด้วย ๓
สะกดผิดหักที่ละ  ๑ คะแนน  ตอบได้ที่หน้าม่าน
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน  ๒๕๕๔
เวลา  ๑๖.๓๐ น. คะแนนหดเหลือ ๑๕ คะแนน
(หาร ๓ เหมือนเดิม) ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 16:05
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์

เมื่อคราวสิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสไว้ว่า ลูกคนนี้เป็นลูกคู่ทุกข์คู่ยากกันมา ต้องห่มขาวให้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 มิ.ย. 11, 16:19
งานโสกันต์
(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ นำเบอร์ ๓๒๙ วันอาทิตย์ เดือน๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาน สัมฤทธิษก ๑๒๔๐  แผ่นที่ ๔๒)

ขอคัดลอกเฉพาะเครื่องจักรกล  ที่มีในเขาไกรลาศ  ๓๔ ห้อง   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ทรงขอแรงบันดาพระบรมวงษานุวงษ์ ซึ่งเต็มพระทัยฉลองพระเดชพระคุณ

ห้องที่ ๑  พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค   ทรงทำเรื่องอิเหนาเมื่อวิหยาสะกำตามกวาง
ห้องที่ ๒  พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ  ทรงทำเรื่องอุณรุศเมื่อสมพาศกินนร
ห้องที่ ๓  เรื่องนารายน์ปราบอสูรกัณฑกะ
ห้องที่ ๔  เทพยาดาจับระบำ
ห้องที่ ๕  นารายน์ปราบเอกทันต์
ห้องที่ ๖  นารายน์ปางเมื่อนนทุกข์ไปอยู่ที่บันไดเขาไกรลาศ  เทวดาตบศีรษะนนทุกข์  นนทุกข์ไปขอพรพระอิศวรประสาทพรให้  นารายน์จำแลงเป็นนางนารายน์มาปราบนนทุกข์
ห้องที่ ๗  นนทุกข์ถือขันทองอยู่ที่เชิงบันใดที่จะขึ้นไปบนพระวิมาน

ว่ามาทั้งนี้อยู่บนเขาไกรลาศทั้งสิ้น
เมื่ออ่าน ราชกิจจานุเบกษา มาถึงตอนนี้  นึกถึง แม่พลอยในสี่แผ่นดินขึ้นมาทันที

     "พอตกค่ำถึงเวลาเริ่มจุดไฟทั้งพลอยและช้อยก็ไม่มีตาสำหรับจะดูที่อื่นนอกจากที่เขาไกรลาศ.............
เพราะเวลากลางคืนแสงไฟที่ประดับประดาไว้  ได้เปลี่ยนสภาพเขาไกรลาศที่ทำด้วยไม้ไผ่และดีบุก  ให้กลายเป็นเขาไกรลาศ
ในเทพนิยายไปจริงๆ  ต้นไม้ต่างๆที่ปลูกไว้บนเขาดูระยิบระยับไปด้วยดอกไม้ที่ถูกแสงไฟและลูกแก้วสีต่างๆที่แขวนไว้  รูปภาพต่างๆถูกแสงไฟก็กลับมีชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นรูปเทวดาหรือรูปสัตว์ที่เรียงรายอยู่ทั่วไป    ตามเชิงเขาไกรลาศนั้นทำเป็นคูหา   แต่ละคูหาก็ตั้งตุ๊กตาไขกลกระดิกตัวเคลื่อนไหวได้เหมือนคนจริงๆ  
แต่ละคูหาก็แสดงเรื่องต่างๆ มีรามเกียรติ์บ้าง  อิเหนาบ้าง  สังข์ทองบ้าง   จับเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดง  ซึ่งแสดงเป็นภาพด้วยตุ๊กตากลซ้ำไม่รู้จบ
.................................................................
พอเสร็จงานแล้ว  เสด็จถึงกับทรงทักว่า "นังพลอยเที่ยวงานเสียผอม"


ห้องที่ ๘   เรื่องพิราปป่า  พระรามนางษีดาพระลักษณ์เดินชมสวน    (รักษาตัวสะกดเดิม)
ห้องที่ ๙   ทำโฮเต็ล  ฝรั่งเดินออกจากตึกปลไปตึกได้
ห้องที่ ๑๐  เรื่องท้างกระบิลมหาพรหมแลนางทั้ง๗  แต่งตัวสีต่างๆทรงพาหนะแลถือสาตราวุธต่างๆกัน  มีฤๅษีแลเทวดาแห่ห้อมล้อมมา
ห้องที่ ๑๑  เรื่องอิเหนา เมื่ออุณากรรณไปบวชเป็นดาบศนี  ประสันตาไปพบ
ห้องที่ ๑๒  เรื่องอิเหนา  เมื่ออิเหนารับแอหนังขึ้นรถมาไว้ในเมืองกาหลัง
ห้องที่ ๑๓  เรื่องพระอภัยมณี ตอนเกษราชมสวน  ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ไปคอยอยู่ที่ในสวน
ห้องที่ ๑๔  รามเกียรติ  เมื่อไวยราบสะกดทัพพระราม  หนุมานจำแลงเป็นวานรใหญ่ล้อมพลับพลาไว้
ห้องที่ ๑๕  ไชยเชฐ  เมื่อนางสุวินชาเดินไปกลางทางกับวิลา  กระโดดลงในแม่น้ำให้จรเข้กิน  เกิดเป็นบัวกรดผุดขึ้นรับนางสุวินชาไว้


ที่ ๑๖   รามเกียรติ  หนุมานองคต  จำแลงเป็นสุนัขเน่ากับกาจิกสุนัขเข้าไปให้กุมภกรรณเห็น   (รักษาตัวสะกดเดิม)
ที่ ๑๗   อิเหนา   บุษบาอยู่ในถ้ำ  บุษบาชมสตาหมัน  ปะตารกาหราให้ลมหอบรถบุษบากับพี่เลี้ยงทั้งสองลอยไปในอากาศ
ที่ ๑๘   ขุนช้างขุนแผน เมื่อขุนช้างดำน้ำ
ที่ ๑๙   รามเกียรติ  หนุมานไปนอนในศาลาแล้วเนรมิตตัวคับศาลา
ที่ ๒๐   อิเหนา  ชนไก่ที่วังปันจรากัน  อิเหนากับอุนากรรณนั่งดู

ที่ ๒๑   พระอภัยมณี  ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์เนรมิตรฟางเป็นเรือสำเภายนต์ข้ามไปรมจักร
ที่ ๒๒   รามเกียรติ  ทหารในสุวรรณพลับพลามาลองฤทธิกัน  สุกะสานปลอมเข้ามา
ที่ ๒๓   อิเหนา   ปันหยีเล่นหนังให้แอหนังดู
ที่ ๒๔  รามเกียรติ  ประไลยกันลองแรงกับมหิงษา
ที่ ๒๕  รามเกียรติ หณุมาณลงตามก้านบัว  ด้านช้างด่านเขากระทบกันทุกทีที่รบ  ด่านยุงเท่าแม่ไก่  ยุงบินขึ้นได้  หณุมาณหายไปต่อหน้ามัจฉานุ


ที่ ๒๖  อินทรชิตทำพิธีโลทันติเรียกฝูงนาค
ที่ ๒๗ ท้าวดาหาใช้บล  มีกระบวนทหารและตำรวจ  กลองชนะแตรสังข์เครื่องสูง อภิรุมชุมสายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง  รถท้่วดาหากับมเหษีทั้งห้า  รถบุษบากับสียะตรา
        สียะตราแหวกม่านออกมาได้  ม้าของอิเหนาก็เดินได้  นกกางเขนร้องได้เป็นเพลงต่างๆ  หมีอ้าปากได้  ท่านทำเป็นของเหมือนจริงทุกสิ่ง
ที่ ๒๘ กุมภกรรณทดน้ำ  หนุมาณจำแลงเป็นลิงใหญ่ไปรบ
ที่ ๒๙  ระเด่นมนตรีไปอาบน้ำเล่นน้ำพุที่ลำธาร  น้ำไหลมาได้จริงๆ  ครว่ายน้ำได้ในลำธาร
ที่ ๓๐  ย่าหรันตามบุหรง


ที่ ๓๑  วิรุณจำบังตีลิงไปถึงหน้ารถพระราม
ที่ ๓๒  พระลอไปจับไก่   ไก่นั้นคลอดฟองออกมาได้และเดินได้น่าดูจริงๆ  เป็นของอัศจรรย์ประหลาด
ที่ ๓๓  พระปิ่นทองเมื่อนางแก้วหน้าม้าพาบุตรมาส่งให้
ที่ ๓๔  สุครีพพาองคตลงท่าลงไปได้ในน้ำ  ปูนั้นอ้าก้ามได้คอยจะหนีบองคตที่ลอยอยู่  ในน้ำมีท่าตำหนักแพ


เรื่องรายละเอียดของดูหาก็มีดั่งนี้แลท่านผู้เจริญ  ฟังดูสนุกสนานยิ่งนัก


 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 16:21
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๒

ปีพุทธศักราช  ๒๔๒๑  มีการตั้งพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์
ในการพระราชพิธีโสกันต์ครั้งนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกเขาไกรลาส
ประดับประดาด้วยเครื่องตกแต่งอันวิจิตรพิสดารน่าพิศดูยิ่งนัก   เครื่องตกแต่งเขาไกรลาสครั้งนั้น
มีอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่า เครื่องจักรกล  ที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงทำมาตั้งประกวดประขันกัน
โดยทำเป็นหุ่นจำลองเรื่องราวในวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่ง  สามารถขยับกลไกได้ น่าดูมาก

คำถามคือ  อยากทราบว่า  เครื่องจักรกลที่ตั้งรายรอบเขาไกรลาสครั้งนั้น
มีชิ้นใดบ้างที่ทำตามท้องเรื่องรามเกียรติ์และใครเป็นคนทำ

ข้อนี้  คะแนนดิบ  ๓๐  คะแนน  คะแนนดิบที่ได้หารด้วย ๓
สะกดผิดหักที่ละ  ๑ คะแนน  ตอบได้ที่หน้าม่าน
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน  ๒๕๕๔
เวลา  ๑๖.๓๐ น. คะแนนหดเหลือ ๑๕ คะแนน
(หาร ๓ เหมือนเดิม) ;D

อ้างถึงกระทู้คุณวันดี ผู้แสนประเสริฐ เคยลงไว้ กระทู้พระองค์เจ้าหญิงศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2404.15

ห้องที่เกี่ยวเนื่องกับรามเกียรติ์ ได้แก่
ห้องที่ ๖  นารายน์ปางเมื่อนนทุกข์ไปอยู่ที่บันไดเขาไกรลาศ  เทวดาตบศีรษะนนทุกข์  นนทุกข์ไปขอพรพระอิศวรประสาทพรให้  นารายน์จำแลงเป็นนางนารายน์มาปราบนนทุกข์
ห้องที่ ๗  นนทุกข์ถือขันทองอยู่ที่เชิงบันใดที่จะขึ้นไปบนพระวิมาน
ห้องที่ ๑๔  รามเกียรติ  เมื่อไวยราบสะกดทัพพระราม  หนุมานจำแลงเป็นวานรใหญ่ล้อมพลับพลาไว้
ห้องที่ ๑๖   รามเกียรติ  หนุมานองคต  จำแลงเป็นสุนัขเน่ากับกาจิกสุนัขเข้าไปให้กุมภกรรณเห็น
ห้องที่ ๑๙   รามเกียรติ  หนุมานไปนอนในศาลาแล้วเนรมิตตัวคับศาลา
ห้องที่ ๒๒   รามเกียรติ  ทหารในสุวรรณพลับพลามาลองฤทธิกัน  สุกะสานปลอมเข้ามา
ห้องที่ ๒๔  รามเกียรติ  ประไลยกันลองแรงกับมหิงษา
ห้องที่ ๒๕  รามเกียรติ หณุมาณลงตามก้านบัว  ด้านช้างด่านเขากระทบกันทุกทีที่รบ  ด่านยุงเท่าแม่ไก่  ยุงบินขึ้นได้  หณุมาณหายไปต่อหน้ามัจฉานุ
ห้องที่ ๒๖  อินทรชิตทำพิธีโลทันติเรียกฝูงนาค
ห้องที่ ๒๘ กุมภกรรณทดน้ำ  หนุมาณจำแลงเป็นลิงใหญ่ไปรบ
ห้องที่ ๓๑  วิรุณจำบังตีลิงไปถึงหน้ารถพระราม
ห้องที่ ๓๔  สุครีพพาองคตลงท่าลงไปได้ในน้ำ  ปูนั้นอ้าก้ามได้คอยจะหนีบองคตที่ลอยอยู่  ในน้ำมีท่าตำหนักแพ

คุณวันดีได้บรรยายไว้ทั้งหมดดังนี้
ขอคัดลอกเฉพาะเครื่องจักรกล  ที่มีในเขาไกรลาศ  ๓๔ ห้อง   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ทรงขอแรงบันดาพระบรมวงษานุวงษ์ ซึ่งเต็มพระทัยฉลองพระเดชพระคุณ


ห้องที่ ๑  พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค   ทรงทำเรื่องอิเหนาเมื่อวิหยาสะกำตามกวาง
ห้องที่ ๒  พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ  ทรงทำเรื่องอุณรุศเมื่อสมพาศกินนร
ห้องที่ ๓  เรื่องนารายน์ปราบอสูรกัณฑกะ
ห้องที่ ๔  เทพยาดาจับระบำ
ห้องที่ ๕  นารายน์ปราบเอกทันต์
ห้องที่ ๖  นารายน์ปางเมื่อนนทุกข์ไปอยู่ที่บันไดเขาไกรลาศ  เทวดาตบศีรษะนนทุกข์  นนทุกข์ไปขอพรพระอิศวรประสาทพรให้  นารายน์จำแลงเป็นนางนารายน์มาปราบนนทุกข์
ห้องที่ ๗  นนทุกข์ถือขันทองอยู่ที่เชิงบันใดที่จะขึ้นไปบนพระวิมาน
ห้องที่ ๘   เรื่องพิราปป่า  พระรามนางษีดาพระลักษณ์เดินชมสวน    (รักษาตัวสะกดเดิม)
ห้องที่ ๙   ทำโฮเต็ล  ฝรั่งเดินออกจากตึกปลไปตึกได้
ห้องที่ ๑๐  เรื่องท้างกระบิลมหาพรหมแลนางทั้ง๗  แต่งตัวสีต่างๆทรงพาหนะแลถือสาตราวุธต่างๆกัน  มีฤๅษีแลเทวดาแห่ห้อมล้อมมา
ห้องที่ ๑๑  เรื่องอิเหนา เมื่ออุณากรรณไปบวชเป็นดาบศนี  ประสันตาไปพบ
ห้องที่ ๑๒  เรื่องอิเหนา  เมื่ออิเหนารับแอหนังขึ้นรถมาไว้ในเมืองกาหลัง
ห้องที่ ๑๓  เรื่องพระอภัยมณี ตอนเกษราชมสวน  ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ไปคอยอยู่ที่ในสวน
ห้องที่ ๑๔  รามเกียรติ  เมื่อไวยราบสะกดทัพพระราม  หนุมานจำแลงเป็นวานรใหญ่ล้อมพลับพลาไว้
ห้องที่ ๑๕  ไชยเชฐ  เมื่อนางสุวินชาเดินไปกลางทางกับวิลา  กระโดดลงในแม่น้ำให้จรเข้กิน  เกิดเป็นบัวกรดผุดขึ้นรับนางสุวินชาไว้
ที่ ๑๖   รามเกียรติ  หนุมานองคต  จำแลงเป็นสุนัขเน่ากับกาจิกสุนัขเข้าไปให้กุมภกรรณเห็น   (รักษาตัวสะกดเดิม)
ที่ ๑๗   อิเหนา   บุษบาอยู่ในถ้ำ  บุษบาชมสตาหมัน  ปะตารกาหราให้ลมหอบรถบุษบากับพี่เลี้ยงทั้งสองลอยไปในอากาศ
ที่ ๑๘   ขุนช้างขุนแผน เมื่อขุนช้างดำน้ำ
ที่ ๑๙   รามเกียรติ  หนุมานไปนอนในศาลาแล้วเนรมิตตัวคับศาลา
ที่ ๒๐   อิเหนา  ชนไก่ที่วังปันจรากัน  อิเหนากับอุนากรรณนั่งดู

ที่ ๒๑   พระอภัยมณี  ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์เนรมิตรฟางเป็นเรือสำเภายนต์ข้ามไปรมจักร
ที่ ๒๒   รามเกียรติ  ทหารในสุวรรณพลับพลามาลองฤทธิกัน  สุกะสานปลอมเข้ามา
ที่ ๒๓   อิเหนา   ปันหยีเล่นหนังให้แอหนังดู
ที่ ๒๔  รามเกียรติ  ประไลยกันลองแรงกับมหิงษา
ที่ ๒๕  รามเกียรติ หณุมาณลงตามก้านบัว  ด้านช้างด่านเขากระทบกันทุกทีที่รบ  ด่านยุงเท่าแม่ไก่  ยุงบินขึ้นได้  หณุมาณหายไปต่อหน้ามัจฉานุ


ที่ ๒๖  อินทรชิตทำพิธีโลทันติเรียกฝูงนาค
ที่ ๒๗ ท้าวดาหาใช้บล  มีกระบวนทหารและตำรวจ  กลองชนะแตรสังข์เครื่องสูง อภิรุมชุมสายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง  รถท้่วดาหากับมเหษีทั้งห้า  รถบุษบากับสียะตรา
        สียะตราแหวกม่านออกมาได้  ม้าของอิเหนาก็เดินได้  นกกางเขนร้องได้เป็นเพลงต่างๆ  หมีอ้าปากได้  ท่านทำเป็นของเหมือนจริงทุกสิ่ง
ที่ ๒๘ กุมภกรรณทดน้ำ  หนุมาณจำแลงเป็นลิงใหญ่ไปรบ
ที่ ๒๙  ระเด่นมนตรีไปอาบน้ำเล่นน้ำพุที่ลำธาร  น้ำไหลมาได้จริงๆ  ครว่ายน้ำได้ในลำธาร
ที่ ๓๐  ย่าหรันตามบุหรง


ที่ ๓๑  วิรุณจำบังตีลิงไปถึงหน้ารถพระราม
ที่ ๓๒  พระลอไปจับไก่   ไก่นั้นคลอดฟองออกมาได้และเดินได้น่าดูจริงๆ  เป็นของอัศจรรย์ประหลาด
ที่ ๓๓  พระปิ่นทองเมื่อนางแก้วหน้าม้าพาบุตรมาส่งให้
ที่ ๓๔  สุครีพพาองคตลงท่าลงไปได้ในน้ำ  ปูนั้นอ้าก้ามได้คอยจะหนีบองคตที่ลอยอยู่  ในน้ำมีท่าตำหนักแพ
ด้านใต้มีพลับพลาทรงเครื่ององค์หนึ่ง  ปักฉัตรเงินทองนากเจ็ดชั้นล้อมเขา ๑๘ คัน   ราชวัตรทรงเครื่องล้อมเขาทั้งสี่ทิศ

บนวิมานยอดไกรลาศนั้นบุทองอังกฤษย่น  มีม่านหักทองขวางทั้งสี่ทิศ ล้อมบุษบกใหญ่มีราชวัตรทอง แลพระทวารยอดจรนำีมีม่านทองแผ่ลวดปิดทั้งสี่
พระทวารหลังราชวัตรทอง  ปักเครื่องสูงเจ็ดชั้น ๑๒ คันทั้ง ๔ ทิศ


ที่เขาไกรลาศนั้น  มีต้ันไม้ต่างๆประดับด้วยดอกไม้จีน  ผลนั้นแล้วด้วยแก้ว  มีนกต่างๆ
หม่อมเจ้าสัตบันในพระเจ้าบรมวงษเธอพระองค์เจ้าเรณู  แลหม่อมเจ้านิลวรรณในพระเจ้าราชวงษเธอกรมหมื่นอุดมลักษณะสมบัติ ทำถวาย สิบอย่าง
จมื่นวิไชยยุธเดชาคนี ทำรูปนารีแขวนต้นไม้
พระวรวงษเธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ  พระเทพรจนา  หลวงกัลยาไมยพิจิตร  ปันช้างสิบตระกูล  ช้างนั้นสีต่างๆกัน
ม้าอาชาไนย  ม้่าวลาหก  คชสีห ไกรสรราชสีห  บัณฑุราชสีห  พยัคฆ  หมูหมีแลเลียงผา กินนร  พระอิทร์ทรงช้างเอราวัณ  วิชาธรแลฤๅษี

กรมหมื่นภูมินทรภักดีทำวานรแลชะนีถวาย
หม่อมเจ้าวัชรินทร์ในพระเจ้าราชวงษเธอ กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณทำกระรอกแลกระแตถวาย

หม่อมเจ้ายินดีในพระเจ้าบรมวงษเธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ๑   หม่อมเจ้าสวัสดิ์ในพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระพิทักษเทเวศ ๑   
หม่อมเจ้าทั่งในพระเจ้าราชวงษเธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๑  ทั้งสามนี้ทำงูถวาย

.........................................
........................................
ที่ยอดเขาไกรลาศสี่มุมนั้น มีบุษบกประดับด้วยทองอังกฤษ มีรูปทั้งโลกบาลยืนอยู่ในบุษบกที้งสี่
บุษบกด้านอุดรทิศเชิญพระอิศวรพระอุมา   พระมหาวิฆเนศวรู่อยู่ในบุษบกทักษิณทิศ  พระนารายน์พระลักษมีพระมเหศวรีอยู่ในบุษบก

พระเพลิงทรงแรดองค์หนึ่ง  นารายน์ทรงครุฑองค์หนึ่ง  พระไพสบทรงโคองค์หนึ่ง   พระโสมทรงม้าองค์หนึ่ง  ยืนประจำอยู่สี่ทิศ 
หน้าบุศบกนั้นมีเครื่องนมัสการประจำทุกแห่ง

ที่บนเขาไกรลาศและเนินเขานั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ  ทรงทำรถพระอาทิตย์แลรถพระจันทร์  มีดวงจักรกลมหมุนไปได้  จักรเมฆขลารามสูรไล่ตามกัน  แลสุครีพพาลี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 11, 16:23
ว้า  ไม่เอาดีกว่า  ง่ายไป  ข้อที่ ๑๐๐/๒ ยกเลิกนะครับ

พรุ่งนี้จะเอาคำถามมาเปลี่ยนใหม่ละกัน  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มิ.ย. 11, 16:36
ว้า  ไม่เอาดีกว่า  ง่ายไป  ข้อที่ ๑๐๐/๒ ยกเลิกนะครับ

พรุ่งนี้จะเอาคำถามมาเปลี่ยนใหม่ละกัน  

ก่อนยกเลิก คุณหลวงพอจะมีภาพเครื่องจักรกลให้ชมเป็นขวัญตาไหมครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 มิ.ย. 11, 10:44
ว้า  ไม่เอาดีกว่า  ง่ายไป  ข้อที่ ๑๐๐/๒ ยกเลิกนะครับ

พรุ่งนี้จะเอาคำถามมาเปลี่ยนใหม่ละกัน  

ก่อนยกเลิก คุณหลวงพอจะมีภาพเครื่องจักรกลให้ชมเป็นขวัญตาไหมครับ

ยังหาภาพเครื่องจักรกลที่ว่าไม่ได้สักภาพ
เคยแต่เห็นภาพเขาไกรลาสในงานพระราชพิธีโสกันต์คราวนี้เท่านั้น
กระนั้นก็จำได้ว่า  มองไม่เห็นรายละเอียด
ของเครื่องตกแต่งเขาไกรลาส  น่าเสียดายเนาะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 มิ.ย. 11, 10:49
คำถามนอกรอบ

เนื่องจากตอนนี้  การทำ "Planking" กำลังเป็นประเด็นข่าวในสังคมไทยอยู่
กระทู้รามเกียรติ์  จึงอยากให้ทุกท่านช่วยกันค้นหาหน่อยว่า  
การทำ "Planking"  มีอยู่ในรามเกียรติ์ของไทยไหม
และขอรูปยืนยันหลักฐานด้วย
(เขาจะได้รู้ว่า  การทำ "Planking"  มีในเมืองไทยมานานแล้ว) ;D 8)

คำถามนี้ไม่มีคะแนนให้  แต่อยากให้ร่วมสนุกกัน  คลายเครียด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มิ.ย. 11, 10:52
นึกถึง "นางเบญกาย"

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/554/44554/images/Khon/nangloi-2.jpg)

พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์     ในวารินทะเลวน
เห็นรูปอสุรกล               อันกลายแกล้งเป็นสีดา
ผวาวิ่งก็หวั่นจิต              ไม่ทันคิดก็โศกา
กอดแก้วขนิษฐา             ฤดีดิ้นลงแดยัน
พระช้อนเกศขึ้นวางตัก       พิศพักตร์แล้วรับขวัญ
ยิ่งคิดยิ่งกระสัน              ยิ่งโศกเศร้าในวิญญา
พิศพื้นศิโรโรตน์              พระองค์โอษฐ์และนัยนา
กรแก้มพระกัณฐา            ก็แม้นเหมือนสีดาเดียว

บทพากย์รามเกียรติ์ ตอน "นางลอย" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มิ.ย. 11, 11:27
"Planking" แบบไทย ๆ

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 12:14
มายังไงนี่คุณหลวงเล็ก  ???

จัดให้ ๑ ท่า


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 12:16
น้องพระรามทั้ง ๒ ทำท่านั่งพับเพียบ เรียกกระแสแรงกว่าแผลงกลิ้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 12:18
องค์สีดา ตามมาติดๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 12:19
ท่าหงาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 12:22
นางลอย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 13:31
"Planking" ชุด กุมภกรรณทดน้ำ ค่ะ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 13:36
"Planking" แบบหมู่ เกลื่อนเวที ... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 13:54
หนุมาน "Planking"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 13:56
เกลื่อนเวที ทั้งลิง ทั้งยักษ์...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 13:59
พระลักษมณ์ แสดงเดี่ยว "Planking" ลิงดูกันเพียบเลย... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 14:08
"Planking" เป็นหมู่คณะ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มิ.ย. 11, 14:12
ภาพนี้ เรียกว่า "Planking" หรือเปล่า... :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 มิ.ย. 11, 18:34
ข้าพเจ้า นายสะอาด ไพร่สมเมืองประทุมธานี ขอบอกปรนนิบัติมายังท่านหลวงเล็ก ให้ทราบ

ด้วยเมื่อ ณ วันศุกร์ แรมค่ำหนึ่ง เดือน 7 ข้าพเจ้าทราบว่าใต้เท้าพระกรุณาตั้งปุจฉาเรื่องหนึ่งในทางวรรณคดี
แลจะให้ขุนหมื่นนายกองทั้งหลายร่วมกันประชุมวิสัชนา ณ วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ นั้น

บัดนี้อันข้าพเจ้ามีเหตุจำเป็นติดราชการทัพศึกบางประการ จึงมิอาจร่วมวงสนทนาประชุมได้ในวันดังกล่าว
แลมิมีเหตุผันแปรใดที่จะสามารถให้ข้าพเจ้าหลุดจากบ่วงหน้าที่นั้นได้อย่างแน่แท้

ข้าพเจ้าจึงสำแดงความต่อใต้เท้าว่า ขอให้ท่านเมตตายกกรณีนี้ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้ข้าพเจ้าสามารถตอบปุจฉาได้
ก่อนหน้าตามโมงยามเดิมนั้น ด้วยเทอญ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอบอกปรนนิบัติมา ณ วันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะตรีศก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 11, 19:20
ข้าพเจ้า นายสะอาด ไพร่สมเมืองประทุมธานี ขอบอกปรนนิบัติมายังท่านหลวงเล็ก ให้ทราบ

ด้วยเมื่อ ณ วันศุกร์ แรมค่ำหนึ่ง เดือน 7 ข้าพเจ้าทราบว่าใต้เท้าพระกรุณาตั้งปุจฉาเรื่องหนึ่งในทางวรรณคดี
แลจะให้ขุนหมื่นนายกองทั้งหลายร่วมกันประชุมวิสัชนา ณ วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ นั้น

บัดนี้อันข้าพเจ้ามีเหตุจำเป็นติดราชการทัพศึกบางประการ จึงมิอาจร่วมวงสนทนาประชุมได้ในวันดังกล่าว
แลมิมีเหตุผันแปรใดที่จะสามารถให้ข้าพเจ้าหลุดจากบ่วงหน้าที่นั้นได้อย่างแน่แท้

ข้าพเจ้าจึงสำแดงความต่อใต้เท้าว่า ขอให้ท่านเมตตายกกรณีนี้ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้ข้าพเจ้าสามารถตอบปุจฉาได้
ก่อนหน้าตามโมงยามเดิมนั้น ด้วยเทอญ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอบอกปรนนิบัติมา ณ วันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะตรีศก

ใบบอกมายังคุณหลวงเล็ก
ด้วยใบบอกนี้น่าจะมีมูลเหตุให้เชื่อถือได้ และหากคุณหลวงเล็กเชื่อได้ว่าแขวงเมืองประทุมธานีนั้น ยังมีเหล็กลอยได้บนฟ้า ก็ขอให้ท่านเชื่อเถิด ด้วยไพร่สมผู้นี้มีเวทมนต์ ซึ่งอ้างว่าสามารถทำให้เหล็กนั้นลอยได้ หากคุณหลวงเล็กเชื่อแล้วไซร์ จงอภัยให้แก่ไพร่สมผู้นี้เทอญ

ออกขุนหนุ่มสยาม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มิ.ย. 11, 10:00
ข้าพเจ้า นายสะอาด ไพร่สมเมืองประทุมธานี ขอบอกปรนนิบัติมายังท่านหลวงเล็ก ให้ทราบ

ด้วยเมื่อ ณ วันศุกร์ แรมค่ำหนึ่ง เดือน 7 ข้าพเจ้าทราบว่าใต้เท้าพระกรุณาตั้งปุจฉาเรื่องหนึ่งในทางวรรณคดี
แลจะให้ขุนหมื่นนายกองทั้งหลายร่วมกันประชุมวิสัชนา ณ วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ นั้น

บัดนี้อันข้าพเจ้ามีเหตุจำเป็นติดราชการทัพศึกบางประการ จึงมิอาจร่วมวงสนทนาประชุมได้ในวันดังกล่าว
แลมิมีเหตุผันแปรใดที่จะสามารถให้ข้าพเจ้าหลุดจากบ่วงหน้าที่นั้นได้อย่างแน่แท้

ข้าพเจ้าจึงสำแดงความต่อใต้เท้าว่า ขอให้ท่านเมตตายกกรณีนี้ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้ข้าพเจ้าสามารถตอบปุจฉาได้
ก่อนหน้าตามโมงยามเดิมนั้น ด้วยเทอญ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอบอกปรนนิบัติมา ณ วันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะตรีศก

หนังสือคุณหลวงเล็กมีมายังนายสะอาด ไพร่สมหัวเมืองประทุมธานี
ตามที่ท่านได้มีใบบอกมาถึงข้าพเจ้าความแจ้งแล้วนั้น   ข้าพเจ้ารับทราบ
แลได้นำความเข้าสู่ที่ประชุมเสนากระทู้แล้ว   ที่ประชุมมีความเห็นลงรอย
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันว่า  อย่ากระนั้นเลย  นายสะอาด ไพร่สมหัวเมืองประทุมธานี
ในเมื่อท่านมีภารกิจติดราชการในการปรนนิบัติบำรุงบำเรอเหล็กลอยฟ้าได้
ตามวันเวลาที่กำหนดไว้เดิมนั้น (ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อถือตามที่ไพร่สมผู้นี้ยืนกระต่ายขาเดียว  
ออกขุนหนุ่มสยามไม่พึงเป่าหูให้ข้าพเจ้าไขว้เขวหันเหออกจากทางยุติธรรม )
แลจะกระทำตามคำสั่งเดิมมิได้  ที่ประชุมจึงแนะนำให้ท่านมีใบบอกคำตอบ
มาทางลับถึงข้าพเจ้าก่อน  แล้วเมื่อวันเวลาที่กำหนดมาถึงแล้ว
ข้าพเจ้าจักจัดการให้ท่านแล  
ท่านอย่าได้กระวนกระวายไปเลย

แจ้งความมาถึงนายสะอาด ไพร่สมเมืองประทุมธานี  วันพุธ  เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีเถาะตรีณิศก  

ท้ายลิขิต  อันที่จริงก็ใคร่จะตัดสิทธิ์นายสะอาด ไพร่สมเมืองประทุมธานี
แต่เห็นว่า  ควรเมตตาแก่ลูกสุกร (ลูกนกลูกกาใช้แก่ท่านมิได้)
เพื่อกันข้อครหาอันจะมีแก่ข้าพเจ้าไปในภายหน้า  แลคงไว้ซึ่งความเป็นมิตรไมตรีแก่กัน
จึงได้อนุโลมตามที่มีใบบอกมาเรียนปรนนิบัติ (ซึ่งเป็นการดีแลรอบรู้ราชการยิ่งนัก)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 11, 10:25

แต่เห็นว่า  ควรเมตตาแก่ลูกสุกร (ลูกนกลูกกาใช้แก่ท่านมิได้)



พาดพิงอย่างหนักหน่วง อันสุกรนั้นตัวเล็ก ตัวใหญ่จับทำหมูหันได้อร่อยนักแล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 มิ.ย. 11, 10:37

แต่เห็นว่า  ควรเมตตาแก่ลูกสุกร (ลูกนกลูกกาใช้แก่ท่านมิได้)



พาดพิงอย่างหนักหน่วง อันสุกรนั้นตัวเล็ก ตัวใหญ่จับทำหมูหันได้อร่อยนักแล

เราไม่โทษ ไม่โกรธ ไม่ถือใคร

อมิตตาพุทธ...... ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 11, 11:07
คิคิ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มิ.ย. 11, 14:46
คำถามข้อที่  ๑๐๐/๒

จงพิจารณาคำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้

"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรอน
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."

แล้วตอบคำถามดังนี้
๑.คำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้  มาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครแต่ง
ผู้แต่งมีความประสงค์ในการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร 

๒.วรรณคดีที่ตัดตอนมาให้พิจารณานี้ 
เกี่ยวแก่เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะอย่างไร

กติกา  ข้อนี้ให้ตอบหน้าม่าน  ให้ตอบภายใน  ๒ วัน
(ตั้งแต่  ๐๐.๐๑ น.วันที่ ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ถึง ๒๔.๐๐ น. วันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๕๔)
ราคา  ๒๐  คะแนน   ตอบคนแรกแล้วถูกให้  ๒๐ คะแนน
ตอบถูกคนที่ ๒ และ ๓ ให้ ๑๐ คะแนน  หลังจากนั้น ๕ คะแนน
ใครที่ตอบนอกเวลาที่กำหนด  ไม่ตรวจ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 11, 14:57
อ่านจบแล้ว ก็ใช้เพลงเชิด....เตร้ง เตรง แตร่ง เตร้ง....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 มิ.ย. 11, 14:59
ทำไมต้อง "ลับ ลวง พราง" ด้วยอ่ะคุณหลวง

 ??? ??? ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 11, 15:11
ทำไมต้อง "ลับ ลวง พราง" ด้วยอ่ะคุณหลวง

 ??? ??? ???

อาร์ท..จุ๊ จุ๊ จุ๊ ...เขานึกว่าเราไม่รู้ สงสัยท่านได้เคล็ดลับวิชาล่องหนหายตัวจากไมยราพ จึ่งลองใช้วิชาซ่อนอักษร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 มิ.ย. 11, 15:48
ทำไมต้อง "ลับ ลวง พราง" ด้วยอ่ะคุณหลวง

 ??? ??? ???

อาร์ท..จุ๊ จุ๊ จุ๊ ...เขานึกว่าเราไม่รู้ สงสัยท่านได้เคล็ดลับวิชาล่องหนหายตัวจากไมยราพ จึ่งลองใช้วิชาซ่อนอักษร

เอาน่ะ  รบรันฟันแทงกันแบบเห็นกันจะจะมาหลายข้อ
เลยอยากใช้วิชาบังลับล่องหนบ้าง  เพื่อความตื่นเต้นบ้างไม่ได้หรือ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มิ.ย. 11, 15:55
คำถามข้อที่  ๑๐๐/๒

จงพิจารณาคำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้

"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรอน
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."

แล้วตอบคำถามดังนี้
๑.คำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้  มาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครแต่ง
ผู้แต่งมีความประสงค์ในการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร 

๒.วรรณคดีที่ตัดตอนมาให้พิจารณานี้ 
เกี่ยวแก่เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะอย่างไร

กติกา  ข้อนี้ให้ตอบหน้าม่าน  ให้ตอบภายใน  ๒ วัน
(ตั้งแต่  ๐๐.๐๑ น.วันที่ ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ถึง ๒๔.๐๐ น. วันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๕๔)
ราคา  ๒๐  คะแนน   ตอบคนแรกแล้วถูกให้  ๒๐ คะแนน
ตอบถูกคนที่ ๒ และ ๓ ให้ ๑๐ คะแนน  หลังจากนั้น ๕ คะแนน
ใครที่ตอบนอกเวลาที่กำหนด  ไม่ตรวจ
;D


อย่างน้อยก็ถอดรหัสได้ขั้นตอนหนึ่ง

 ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 22 มิ.ย. 11, 16:08
คำถามข้อที่  ๑๐๐/๒

จงพิจารณาคำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้

"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรอน
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."

แล้วตอบคำถามดังนี้
๑.คำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้  มาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครแต่ง
ผู้แต่งมีความประสงค์ในการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร 

๒.วรรณคดีที่ตัดตอนมาให้พิจารณานี้ 
เกี่ยวแก่เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะอย่างไร

กติกา  ข้อนี้ให้ตอบหน้าม่าน  ให้ตอบภายใน  ๒ วัน
(ตั้งแต่  ๐๐.๐๑ น.วันที่ ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ถึง ๒๔.๐๐ น. วันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๕๔)
ราคา  ๒๐  คะแนน   ตอบคนแรกแล้วถูกให้  ๒๐ คะแนน
ตอบถูกคนที่ ๒ และ ๓ ให้ ๑๐ คะแนน  หลังจากนั้น ๕ คะแนน
ใครที่ตอบนอกเวลาที่กำหนด  ไม่ตรวจ ;D


น่าจะเป็นราญรณ

คือใช้ราญ +รณ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 มิ.ย. 11, 08:03
ขอบคุณคุณ bangplama ที่ ถ้วงติง
ที่ถูกคือ  ราญรณ ไม่ใช่ ราญรอน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 มิ.ย. 11, 08:34
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๑

คำสั่ง  เลือกทำ ๒ ข้อ  โดยให้สั่งจองไว้ก่อน
(จองได้ที่หน้าม่าน) ระยะเวลาจองตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา  ๑๒.๐๐ น.
พ้นนี้หักก่อนเลย  ๕  คะแนน
ทั้งนี้ให้เลือกทำข้อ  ก. หรือ ข. หรือ ค. ๑ ข้อ  ข้อ ง. หรือ จ. ๑ ข้อ

การทำคือถอดและเรียงให้เป็นคำกลอนที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งบอกด้วยว่า เป็นรามเกียรติ์ฉบับใด  ตอนอะไร

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.

ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน

โจทย์มีดังนี้

ก.   ทัถตั้ต            งลปฉ้ากน่ากนตหรอป่าต
ขสาฑเมิถคหคัทชัทผรัต         ฉ้ากต้ำปัตปุ่กนลกเค้ารกงา
ทัถตั้ต               หวุลเวตาปาลอาฑงร้า
วหถฉตังฉังวาจผาตอต้า         ค้หลาลันขตเขลื่หกปั่ต
แร้สคัทเถิตนาปบากงรากดตต         เอ็ตพู้ขตแมล๋แมล้ตแร่ตไร่
บี่คี่ผักตำอต้าปาไงรไงร         ดืหอรหถเคาเม่าไมเม็ตวำขัฑ
สิ่กอืถคึ้ตขหบั้กอปหขสาฑ         พูงวักอาลขฉวีอ์ปีต้ำปัต
ยึ่กเล่กใอ้ไมพุงฉ้ากปา         เค้าแบกไห้ริกม่าหจ่าฉ้างาล
ดึกบี่ฌ่าสาตลเพืหงพู้         อจุถหจู่จืตม่สตอสตอัต
ปาลวำอลัทคัทคี่คึ้ตผล้หปงัต         เหาเอร้างรั่ตใว่งละทหกงลหงเค้าไม


ข.  ขลั้ตเวล็ยฒึ่กร้ากดตตอรสก      ใอ้ร่สกผรโจฝีบัผอต้า
ผาถวาจต้าสอต่สกส่หกไส         ฬูสไตจพาถแพรกไมถ้สจฤบฐิ์
ยึ่กบลกผละแวกผราจสาน         หัตปีหำตายแพ่ตถิตไอส
โถจงละทสตผจุอจานลา         ไมนาปปลขาผตารี
ไถ้ฮักผิเฬงหวุลี            ฬูปีเอ็ตยลิกบุงวิ่กไม
บราจแอรงแนงงละยาจไมบุงบิศ      เวีจกวตั่ตขลลฉินหึกหร
ผละสปุบลนีฮหกตหกละลหง         งละช่หตชหงฮันธั่กงุราอร
เปื่หตั้ต               ผละอลิสกศ์บลกวสัวถิ์ลัสปี
เม็ตบากงส้ากใอฑ่ใตวาจฉร         ยตนรหถดึกเงาะรกงา
ศลไมร้ากดตตศีรา            ถสจงำรักศังถาผละยังลงฤษฎ์


ค.  ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง      ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร
ใฉ่ยะรสกเย้าเจาสรังษฏ์         ถสกยังษุผี่ยกเปนนา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์         ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี            หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วุถเหจวุถวสาบ            ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วหกวปฉปลวฤาถี            น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ         ยุปผินมลากเมลปตาวา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก         ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา         สาจุผัถผัถปาหึกหร


ง.  อามอั๊งอ๊ะอั๊กอออ๊ะอุ๊ด         อำไอเอื้องอู๋งอาออน
อามอะอัดอะอุ๊ดอั่งเออ๋า         อั้งแอ้นอามแอวแอ๋วอะอ๋น
เอ็นอู้เอียงเอียงเอื้องอามอะไอ๋      เอื่อนอ่นอั๊บอีอนอะอะอิด
อามอ๊ดอามอ๊ดโออี            เอ็นอัดอั้นโออาอาอี
อามอ๊ะอักอีองอ๋อน            อุ๊อีออนแอ้อ๊องอะเอ๋มอั๋น
อ๋อไอ้อ๋าอุกอุ๊กอิ๊อัน            อ่างอนอวยไออะอ๋ายออน
อามอ๊อมอ๋มองอิดอะอา         ไอ้อ๊าไอ้อีไอเอียมอัน
อิ่งอ๋องอกอ๋ายเอ้าะไอ่อิ๊ด         แอ่อั้งอาอิ๊อิ๊ดอิ๊ดไอ
องอ๋านอั้นอิ้วองไอ            เอ๋นเอนแอ่อ้วงเอ้าอะอูเอือง
อามอ๋องโออ๊ดอั่งอันออน         อามอะอ๊ดอิ๊ดอิ๊ออนอำเอินอา


จ.  อ้างอวนอันอันอูกเอ็นอู้กเออ      อั้งอะอ้อกออกอุอาอินอ่ง
อั๊บอั้งอั๊งอ๋องอ๊ะอ๊ะอา         เอ้าอาอินเอี๊ยงเอี๋ยงอึกอะอึ๊ก
อัดอั๊น               อนอิ๊อายอายไอ้อ๊อมอ้า
อะอั้งองไอ้เอ็งเอาอืนอิง         อ้างอกอีอิ๊อ้าดอาอา
เอ๊าออกอุ๊ดอ้าอ่มอ๊มอะอ๋า         เออาโอ่อ๊องอ้องไอ
อึงอื้ออือเอออนเอี๋ยงอ๋ง         อ่างอ่งอออื่มอังอึกอึก
อ้างอ่าอูไออั๊บอะอับอิง         อ้างอินเอ็ดไอ่อุ้งอุ้งแอ้ม
อนอืมอัวอัวเอาอาอู้ดอึ๊ก         อ้างอ๊าไอ่ไอ้อางอิ้เอดอ้อก
อ้างอวดอ้าอ้าอูอู่อง         อั้งโออาอาอึ๊กอัดอะอง
เอาอาอิ้งอนแอ้มแอมอุอา         อั๊งอ่ออกอู๋แอมอดอุกอิ่ง

ขอให้เล่นกันให้สนุก

ได้เวลาแล้วส่งคำตอบได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 มิ.ย. 11, 08:38
จองข้อไหนดีน้า..... ;D
ถอดความไม่ยาก...ยากตรงบอกว่าฉบับใด ตอนอะไร...

หนูดีดีขอจอง ข้อ ก. กะข้อ จ. ละกันนะคะ...

คำสารภาพจากหนูดีดี......

ตามที่ได้จองข้อ ก กะข้อ จ เอาไว้นั้น ขอสารภาพว่า...

ข้อ ก. หนูดีดี ถอดรหัสได้ดังนี้
บัดนั้น                            กรมช้างต่างตนอลม่าน
ควาญเปิดขอขับฉับพลัน          ช้างน้ำมันมุ่งตรงเข้าลงกา
บัดนั้น                            อสุรเสนามารหาญกล้า
สอดชนักชักสายพานหน้า      ข้อรารัตคนเครื่องมั่น
แล้วขับเดินตามทางกลางถนน   เห็นผู้คนแปร๋แปร้นแล่นไล่
ที่ขี่พังนำหน้ามาแต่ไกล             ถือหลอดเขาเป่าไปเป็นสำคัญ
วิ่งหืดขึ้นคอทั้งหมอควาญ      ผูกสังหารคชสีห์มีน้ำมัน
จึ่งเร่งให้ไปผุกช้างมา       เข้าแทงไอ้ลิงป่าอย่าช้าการ
ถึงที่ฆ่าวานรเผือกผู้                 หยุดอยู่ยืนป่วนหวนหัน
มารสำหรับขับขี่ขึ้นพร้อมกัน   เอาเหล้ากลั่นใส่กระบอกกรอกเข้าไป

และจัดเรียงได้ดังนี้ค่ะ
 บัดนั้น                            อสุรเสนามารหาญกล้า
จึ่งเร่งให้ไปผุกช้างมา       เข้าแทงไอ้ลิงป่าอย่าช้าการ
สอดชนักชักสายพานหน้า      ข้อรารัตคนเครื่องมั่น
มารสำหรับขับขี่ขึ้นพร้อมกัน   ช้างน้ำมันมุ่งตรงเข้าลงกา
บัดนั้น                            กรมช้างต่างตนอลม่าน
วิ่งหืดขึ้นคอทั้งหมอควาญ      ผูกสังหารคชสีห์มีน้ำมัน
แล้วขับเดินตามทางกลางถนน   เห็นผู้คนแปร๋แปร้นแล่นไล่
ที่ขี่พังนำหน้ามาแต่ไกล             ถือหลอดเขาเป่าไปเป็นสำคัญ
ถึงที่ฆ่าวานรเผือกผู้                 หยุดอยู่ยืนป่วนหวนหัน
ควาญเปิดขอขับฉับพลัน          เอาเหล้ากลั่นใส่กระบอกกรอกเข้าไป

เป็น บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่1 ตอน หนุมานเผากรุงลงกา ค่ะ

สำหรับข้อ จ.  อูอี้  จับความได้แค่ว่าเป็นงานฉลองกินเลี้ยงรื่นเริง....
...บ้างชวนกัน...
...เข้ามากินเลี้ยงเสียงอึกทึก...
...เฮฮาโห่ร้องก้องไป..
...ต่างโก่งคอดื่มดังอึกอึก...
....ทั้งโลกาอาทิตย์อัศดง...
ขอตอบ(เดา)ว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่1 ตอน ตอนงานเลี้ยงที่อุทยานพวาทอง ค่ะ ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 มิ.ย. 11, 08:39
นายสะอาด  ไพร่สมหัวเมืองประทุมธานี  
มีใบบอกมาถึงผมว่าติดราชการสำคัญยิ่งยวด
ไม่อาจส่งคำตอบในวันเวลาที่กำหนดได้  
จึงได้ส่งข้อความคำตอบมาให้หลังม่านก่อน

ผมได้รับคำตอบของนายสะอาดแล้วนำมาลงให้
ดังนี้

....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มิ.ย. 11, 08:47
ค.  ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง      ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร
ใฉ่ยะรสกเย้าเจาสรังษฏ์         ถสกยังษุผี่ยกเปนนา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์         ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี            หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วุถเหจวุถวสาบ            ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วหกวปฉปลวฤาถี            น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ         ยุปผินมลากเมลปตาวา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก         ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา         สาจุผัถผัถปาหึกหร

ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา

ว่าพลางอิงแอบแนบชิด                 จุมพิตปรางเปรมนาสา
ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา         วายุพัดพัดมาอึงอล
พระสมุทรตีฟองนองระลอก            คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เมฆมัวทั่วทิศพโยมบน                   ฝนสวรรค์พรอยพรมสุมาลี
อันดวงโกสุมปทุมมาลย์                 ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
สองสมชมรสฤๅดี                         ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา


(http://www.era.su.ac.th/Mural/prasri/images/prasri2.jpg)

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 มิ.ย. 11, 08:49
ขอตอบเบื้องต้นได้ดังนี้ พร้อมทั้งบอกรหัสลับให้ทราบ ผิว์ว่าเยาวชนท่านใดสนใจนำไปแกะกลอนซ่อนกลเล่นได้

ส่วนกลอนหวัดเต็มจมูกนั้น ออกขุนหนุ่มสยามได้พยายามมาหลายเพลา มิอาจแกะได้ดังใจหมาย จึงได้เชิญออกไปก่อน

โคลง: ไทหลง
บังคับใช้ตัวอักษรแทนกัน ผู้อ่านต้องรู้จักสูตรของการใช้อักษร เรียกว่า
"สูตรไทหลง" ซึ่งพระปิฎกโกสล(อ่วม) ทำขึ้นไว้ดังนี้ (หลวงธรรมาภิมณฑ์ ๒๕๑๔:๗)
กาเหงา เจ่าอยู่ ไฟฮือ ฬือฦๅ ด เป็น ถ ถอดอักษรได้ว่า
ก <--> ง   ข <--> ค   ฃ <--> ฅ   ฆ <--> ฌ
จ <--> ย   ฉ <--> ช   ซ <--> ฒ   ญ <--> ฑ
ฎ <--> ฐ   ฎ <--> ณ   ด <--> ถ   ต <--> น
ท <--> บ   ธ <--> ฝ   ป <--> ม   ผ <--> พ
ฟ <--> ฮ   ภ <--> ฬ   ร <--> ล   ว <--> ส
ห <--> อ        
    หังวลสลวาลวล้หจ   วีวสัวถิ์
สติถาตาลีลันต                     แน่กไส้
จุทรงรโขรกผลัถ                 เผีจ้ตนิ
ขืหไบอรกพยกใอ้                หายห้ากเม็ดพร

ถอด
    อักษรวรสารสร้อย             สีสวัสดิ์
วนิดานารีรัตน์                      แต่งไว้
ยบุลกลโคลงพรัด                 เพี้ยนติ
คือไทหลงผจงให้                 อาจอ้างเป็นผล
                                                                                        (จินดามณี)
+++++
ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง   =   พระสมุทรตีฟองนองระรอก  
ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร = คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
ใฉ่ยะรสกเย้าเจารังสษฏ์   =   ใช่จะลวงเจ้าเยาลักษณ์    
สกถยังษุผี่ยกเปนนา = วงดจักษุพี่จงเมตตา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์   = อันดวงสุมปทุมมาลย์
ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี = ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี    =       รักเจ้าเท่าดวงชีวี
หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง  = อย่าหยิกข่วนพี่ให้เจ็บนัก

เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต    =    เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน
  ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี  =   ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
วุถเหจวุถวสาบ      =       สุดเอยสุดสวาท
ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี =   นุชนาฏผู้มิ่งมารศรี

เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต     =    เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน
 ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี =   ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
วหกวปฉปลวฤาถี        =     สองสมชมรสฤาดี
น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา =  ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ    =      ว่าพลางอิงแอบแนบสนิท
ยุปผินมลากเมลปตาวา  จุมพิตปรางเปรมนาสา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก    =      ความแสนพิศวาสนาฏน้อง
ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง =  จะต้องถือมิให้มือหนัก
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา   =      ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา
 สาจุผัถผัถปาหึกหรหร =   วายุพัดพัดมาอึงอลอล


เรียงกลอนได้ดังนี้  ซึ่งเป็นตอน หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา บทพระราชนิพนธ์ ร.๑
สุดเอยสุดสวาท นุชนาฏผู้มิ่งมารศรี
รักเจ้าเท่าดวงชีวี อย่าหยิกข่วนพี่ให้เจ็บนัก
ความแสนพิศวาสนาฏน้อง  จะต้องถือมิให้มือหนัก
ใช่จะลวงเจ้าเยาวลักษณ์     วงดจักษุพี่จงเมตตา
ว่าพลางอิงแอบแนบสนิท  จุมพิตปรางเปรมนาสา
ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา  วายุพัดพัดมาอึงอลอล
พระสมุทรตีฟองนองระรอก  คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
อันดวงสุมปทุมมาลย์ ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
สองสมชมรสฤาดี   ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 มิ.ย. 11, 09:39
คำถามข้อที่ ๑๐๐/๑

คำสั่ง  เลือกทำ ๒ ข้อ  โดยให้สั่งจองไว้ก่อน
(จองได้ที่หน้าม่าน) ระยะเวลาจองตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา  ๑๒.๐๐ น.
พ้นนี้หักก่อนเลย  ๕  คะแนน
ทั้งนี้ให้เลือกทำข้อ  ก. หรือ ข. หรือ ค. ๑ ข้อ  ข้อ ง. หรือ จ. ๑ ข้อ

การทำคือถอดและเรียงให้เป็นคำกลอนที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งบอกด้วยว่า เป็นรามเกียรติ์ฉบับใด  ตอนอะไร

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.
ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน

โจทย์มีดังนี้
ข.  ขลั้ตเวล็ยฒึ่กร้ากดตตอรสก         ใอ้ร่สกผรโจฝีบัผอต้า
ผาถวาจต้าสอต่สกส่หกไส                ฬูสไตจพาถแพรกไมถ้สจฤบฐิ์
ยึ่กบลกผละแวกผราจสาน                หัตปีหำตายแพ่ตถิตไอส
โถจงละทสตผจุอจานลา                  ไมนาปปลขาผตารี
ไถ้ฮักผิเฬงหวุลี                           ฬูปีเอ็ตยลิกบุงวิ่กไม
บราจแอรงแนงงละยาจไมบุงบิศ       เวีจกวตั่ตขลลฉินหึกหร
ผละสปุบลนีฮหกตหกละลหง            งละช่หตชหงฮันธั่กงุราอร
เปื่หตั้ต                     ผละอลิสกศ์บลกวสัวถิ์ลัสปี
เม็ตบากงส้ากใอฑ่ใตวาจฉร            ยตนรหถดึกเงาะรกงา
ศลไมร้ากดตตศีรา               ถสจงำรักศังถาผละยังลงฤษฎ์


ตอบ
รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ตอนพระรามเสร็จศึกลงกา ยกทัพกลับและทำลายถนนที่ข้ามมหาสมุทร

เมื่อนั้น         พระหริวงศ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
ได้ฟังพิเภกอุสรี      ภูมีเห็นจริงทุกสิ่งไป
จึ่งทรงพระแสงพลายวาต   อันมีอำนาจแผ่นดินไหว
พาดสายน้าวหน่วงว่องไว      ภูวไนยผาดแผลงไปด้วยฤทธิ์
ศรไปล้างถนนศีลา      ด้วยกำลังศักดาพระจักรกฤษณ์
ทลายแหลกแตกกระจายไปทุกทิศ   เสียงสนั่นครรชิตอึงอล
พระสมุทรตีฟองนองระลอก   กระฉ่อนฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เป็นทางกว้างใหญ่ในสายชล   จนตลอดถึงเกาะลงกา
ครั้นเสร็จซึ่งล้างถนนหลวง   ให้ล่วงพลโยธีทัพหน้า
โดยกระบวนพยุหยาตรา                ไปตามมรคาพนาลี

ง.  อามอั๊งอ๊ะอั๊กอออ๊ะอุ๊ด            อำไอเอื้องอู๋งอาออน
อามอะอัดอะอุ๊ดอั่งเออ๋า            อั้งแอ้นอามแอวแอ๋วอะอ๋น
เอ็นอู้เอียงเอียงเอื้องอามอะไอ๋        เอื่อนอ่นอั๊บอีอนอะอะอิด
อามอ๊ดอามอ๊ดโออี               เอ็นอัดอั้นโออาอาอี
อามอ๊ะอักอีองอ๋อน               อุ๊อีออนแอ้อ๊องอะเอ๋มอั๋น
อ๋อไอ้อ๋าอุกอุ๊กอิ๊อัน               อ่างอนอวยไออะอ๋ายออน
อามอ๊อมอ๋มองอิดอะอา            ไอ้อ๊าไอ้อีไอเอียมอัน
อิ่งอ๋องอกอ๋ายเอ้าะไอ่อิ๊ด            แอ่อั้งอาอิ๊อิ๊ดอิ๊ดไอ
องอ๋านอั้นอิ้วองไอ               เอ๋นเอนแอ่อ้วงเอ้าอะอูเอือง
อามอ๋องโออ๊ดอั่งอันออน            อามอะอ๊ดอิ๊ดอิ๊ออนอำเอินอา


ตอบ
รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ตอนพระรามพาพระลบ และพระมงกุฎ กลับเข้าเมือง เพื่อเข้าเฝ้าพระอัยกี

นั่งแน่นตามแนวแถวถนน   เกลื่อนกล่นซับซ้อนอกนิษฐ์
สิ่งของตกหายก็ไม่คิด      แต่ตั้งตาพินิจพิศไป
เห็นเกณฑ์แห่ล่วงเข้าประตูเมือง      เป็นคู่เคียงเรียงเนื่องงามไสว
ธงฉานคั่นริ้วธงชัย      อำไพเครื่องสูงจามร
งามรถงามทศโยธี      งามพระจักรีทรงศร
งามสองโอรสดั่งจันทร      งามพระพรตฤทธิรอนจำเริญตา
งามทั้งพระลักษมณ์วรนุช   งามพระสัตรุตดั่งเลขา
งามพร้อมสมวงศ์อิศรา      ใต้ฟ้าไม่มีใครเทียมทัน
ต่างคนอวยชัยถวายพร      ชุลีกรแซ่ซ้องเกษมสันต์
ขอให้ผาสุกทุกนิรันดร์      เป็นฉัตรกั้นโลกาธาตรี



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มิ.ย. 11, 10:01
ตอบ
รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ตอนพระรามพาพระลบ และพระมงกุฎ กลับเข้าเมือง เพื่อเข้าเฝ้าพระอัยกี

นั่งแน่นตามแนวแถวถนน   เกลื่อนกล่นซับซ้อนอกนิษฐ์
สิ่งของตกหายก็ไม่คิด      แต่ตั้งตาพินิจพิศไป
เห็นเกณฑ์แห่ล่วงเข้าประตูเมือง      เป็นคู่เคียงเรียงเนื่องงามไสว
ธงฉานคั่นริ้วธงชัย      อำไพเครื่องสูงจามร
งามรถงามทศโยธี      งามพระจักรีทรงศร
งามสองโอรสดั่งจันทร      งามพระพรตฤทธิรอนจำเริญตา
งามทั้งพระลักษมณ์วรนุช   งามพระสัตรุตดั่งเลขา
งามพร้อมสมวงศ์อิศรา      ใต้ฟ้าไม่มีใครเทียมทัน
ต่างคนอวยชัยถวายพร      ชุลีกรแซ่ซ้องเกษมสันต์
ขอให้ผาสุกทุกนิรันดร์      เป็นฉัตรกั้นโลกาธาตรี


ข้อ ง. น่าจะเป็นบทชมโฉม เห็นมีคำว่า "อาม" อยู่หลายวรรค

อย่างน้อยก็เดาไม่ผิด

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 มิ.ย. 11, 23:59
คำถามข้อที่  ๑๐๐/๒

จงพิจารณาคำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้

"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรอน
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."

แล้วตอบคำถามดังนี้
๑.คำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้  มาจากวรรณคดีเรื่องอะไร  ใครแต่ง
ผู้แต่งมีความประสงค์ในการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร  

๒.วรรณคดีที่ตัดตอนมาให้พิจารณานี้  
เกี่ยวแก่เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะอย่างไร

กติกา  ข้อนี้ให้ตอบหน้าม่าน  ให้ตอบภายใน  ๒ วัน
(ตั้งแต่  ๐๐.๐๑ น.วันที่ ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ถึง ๒๔.๐๐ น. วันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๕๔)
ราคา  ๒๐  คะแนน   ตอบคนแรกแล้วถูกให้  ๒๐ คะแนน
ตอบถูกคนที่ ๒ และ ๓ ให้ ๑๐ คะแนน  หลังจากนั้น ๕ คะแนน
ใครที่ตอบนอกเวลาที่กำหนด  ไม่ตรวจ ;D


 ;D

1. วรรณคดีเรื่อง นารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ค่ะ
2. เกี่ยวกับรามายาณะ คือเป็นชาติก่อน ที่จะเกิดมาเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ ทั้งสองเกิดเป็น หิรัณยักษ์ กับ หิรัณยกศิปุ และพระนารายณ์อวตารเป็นหมู และนรสิงห์ไปปราบ จากนั้นทั้งสองก็เกิดเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามไปปราบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 มิ.ย. 11, 11:02
"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรณ
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."


 ;D

1. วรรณคดีเรื่อง นารายณ์สิบปางx พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   ค่ะ
2. เกี่ยวกับรามายาณะ คือเป็นชาติก่อน ที่จะเกิดมาเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ ทั้งสองเกิดเป็น หิรัณยักษ์ กับ หิรัณยกศิปุ และพระนารายณ์อวตารเป็นหมู และนรสิงห์ไปปราบ จากนั้นทั้งสองก็เกิดเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามไปปราบ x


คุณดีดี ตอบถูก ส่วนเดียวในข้อแรก  เอาไป ๓ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 มิ.ย. 11, 11:06
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 มิ.ย. 11, 11:16
^
ปรบมือให้ครับ เยี่ยมๆๆๆ :D :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 มิ.ย. 11, 14:05
^
ปรบมือให้ครับ เยี่ยมๆๆๆ :D :D

ดูเหมือนเป็นการประชดประชันกันกลายๆ นะ ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 มิ.ย. 11, 15:21
^
ปรบมือให้ครับ เยี่ยมๆๆๆ :D :D

ดูเหมือนเป็นการประชดประชันกันกลายๆ นะ ???

มิได้ ๆ ด้วยเจตนาชื่นชมจริง ๆ มิได้ประชดประชันใด ๆทั้งสิ้น ด้วยความจริงใจขอรับ ... ฤาษีเพี้ยนสาส์นเข้าแล้ว....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 27 มิ.ย. 11, 17:00
ข้อที่ 100/1 ไม่เห็นตรวจ ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 มิ.ย. 11, 17:16
^ ยังไม่มีอารมณ์ตรวจ  แต่ที่แน่ๆ มีคนได้คะแนนดีมากอยู่ ๑ คน
กำลังคิดพิจารณาพฤติกรรมผู้ตอบว่า ควรตรวจแบบเขี้ยวหรือไม่
(ทวงดีนัก แกล้งเสียให้เข็ด) ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 08:20

คำสารภาพจากหนูดีดี......

ตามที่ได้จองข้อ ก กะข้อ จ เอาไว้นั้น ขอสารภาพว่า...

ข้อ ก. หนูดีดี ถอดรหัสได้ดังนี้
บัดนั้น                            กรมช้างต่างตนอลม่าน
ควาญเปิดขอขับฉับพลัน          ช้างน้ำมันมุ่งตรงเข้าลงกา
บัดนั้น                            อสุรเสนามารหาญกล้า
สอดชนักชักสายพานหน้า      ข้อรารัตคนเครื่องมั่น
แล้วขับเดินตามทางกลางถนน   เห็นผู้คนแปร๋แปร้นแล่นไล่
ที่ขี่พังนำหน้ามาแต่ไกล             ถือหลอดเขาเป่าไปเป็นสำคัญ
วิ่งหืดขึ้นคอทั้งหมอควาญ      ผูกสังหารคชสีห์มีน้ำมัน
จึ่งเร่งให้ไปผุกช้างมา       เข้าแทงไอ้ลิงป่าอย่าช้าการ
ถึงที่ฆ่าวานรเผือกผู้                 หยุดอยู่ยืนป่วนหวนหัน
มารสำหรับขับขี่ขึ้นพร้อมกัน   เอาเหล้ากลั่นใส่กระบอกกรอกเข้าไป

และจัดเรียงได้ดังนี้ค่ะ
 บัดนั้น                            อสุรเสนามารหาญกล้า
จึ่งเร่งให้ไปผุกช้างมา       เข้าแทงไอ้ลิงป่าอย่าช้าการ
(สอดชนักชักสายพานหน้า)      (ข้อรารัตคนเครื่องมั่น)
(มารสำหรับขับขี่ขึ้นพร้อมกัน)   (ช้างน้ำมันมุ่งตรงเข้าลงกา)
(บัดนั้น)                            (กรมช้างต่างตนอลม่าน)
(วิ่งหืดขึ้นคอทั้งหมอควาญ)      (ผูกสังหารคชสีห์มีน้ำมัน)
แล้วขับเดินตามทางกลางถนน   เห็นผู้คนแปร๋แปร้นแล่นไล่
ที่ขี่พังนำหน้ามาแต่ไกล             ถือหลอดเขาเป่าไปเป็นสำคัญ
ถึงที่ฆ่าวานรเผือกผู้                 หยุดอยู่ยืนป่วนหวนหัน
ควาญเปิดขอขับฉับพลัน          (เอาเหล้ากลั่นใส่กระบอกกรอกเข้าไป)

เป็น บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่1
(ที่ถูกต้องคือพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒)
ตอน หนุมานเผากรุงลงกา / ค่ะ

คำวินิจฉัย  เรียงถูก  ๑๑ วรรค  เขียนสะกดผิด  ๒ ที่ เหลือ ๙ คะแนน
หารด้วย ๒ ได้ ๔ ๑/๒ คะแนน

สำหรับข้อ จ.  อูอี้  จับความได้แค่ว่าเป็นงานฉลองกินเลี้ยงรื่นเริง....
...บ้างชวนกัน...
...เข้ามากินเลี้ยงเสียงอึกทึก...
...เฮฮาโห่ร้องก้องไป..
...ต่างโก่งคอดื่มดังอึกอึก...
....ทั้งโลกาอาทิตย์อัศดง...
ขอตอบ(เดา)ว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่1
ตอน ตอนงานเลี้ยงที่อุทยานพวาทอง ค่ะ ;D
(ที่ถูกต้องคือ  บทละครรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๒
ตอนทศกัณฐ์เลี้ยงต้อนรับสัทธาสูรและวิรุญจำบัง)

คำวินิจฉัย  ตอบไม่ถูกแต่เห็นว่าคนตอบมีความพยายามถอดเสียง
จึงให้ ๑ คะแนน

รวมแล้ว คุณดีดี ได้ไป ๕ ๑/๒ คะแนนครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 08:25
ค.  ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง      ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร
ใฉ่ยะรสกเย้าเจาสรังษฏ์         ถสกยังษุผี่ยกเปนนา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์         ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี            หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วุถเหจวุถวสาบ            ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี
เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต         ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี
วหกวปฉปลวฤาถี            น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ         ยุปผินมลากเมลปตาวา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก         ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา         สาจุผัถผัถปาหึกหร

ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา

ว่าพลางอิงแอบแนบชิด                 จุมพิตปรางเปรมนาสา
ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา         วายุพัดพัดมาอึงอล
พระสมุทรตีฟองนองระลอก            คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เมฆมัวทั่วทิศพโยมบน           ฝนสวรรค์พรอยพรมสุมาลี
อันดวงโกสุมปทุมมาลย์                 ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
สองสมชมรสฤๅดี                         ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา



 ;D

คำวินิจฉัย  คุณเพ็ญฯ ถอดมาไม่ครบตามที่โจทย์ให้มา
ผมนับตามวรรคที่ถอดได้  ๑๒ วรรค หักสะกดผิด ๑ แห่ง
เหลือ ๑๑ คะแนน (คะแนนดิบ) หารด้วย ๒ เป็น ๕ ๑/๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 มิ.ย. 11, 08:29
 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 08:34
คุณไซมีสตอบมาดังนี้

ผละวปุบลนีฮหกตหกละลหง   =   พระสมุทรตีฟองนองระรอก  
ขรื่ตงละชหงฮัถธั่กงุราอร = คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
ใฉ่ยะรสกเย้าเจารังสษฏ์   =   ใช่จะลวงเจ้าเยาลักษณ์    
สกถยังษุผี่ยกเปนนา = วงดจักษุพี่จงเมตตา
หัตถสกวุปมบุปปารจ์   = อันดวงสุมปทุมมาลย์
ง้แท่กทาตขรี่ขราจเงวรศลี = ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
ลังเย้าเบ่าอสกฉีสี    =       รักเจ้าเท่าดวงชีวี
หจ่าอจิงค่สตผี่ใอ้เย็ทตัง  = อย่าหยิกข่วนพี่ให้เจ็บนัก

เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต    =    เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน
  ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี  =   ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
วุถเหจวุถวสาบ      =       สุดเอยสุดสวาท
ตุฉตาณพู้ปิ่กปาลศลี =   นุชนาฏผู้มิ่งมารศรี

เปฌปัสบั่สบิศโผจปทต     =    เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน
 ธตวลลข์ผลหจผลปวุปารี =   ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
วหกวปฉปลวฤาถี        =     สองสมชมรสฤาดี
น่ากเงษปเมลปมลีถิ์บั้กวหกลา =  ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา
ส่าผรากหิกแหทแตทฉิถ    =      ว่าพลางอิงแอบแนบสนิท
ยุปผินมลากเมลปตาวา  จุมพิตปรางเปรมนาสา
ขสาปแวตผิศสาวตาณต้หก    =      ความแสนพิศวาสนาฏน้อง
ยะน้หกดืหปิใอ้ปืหอตัง =  จะต้องถือมิให้มือหนัก
ข่หจมละขหกน้หกเน้าวุปฏญา   =      ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา
 สาจุผัถผัถปาหึกหรหร =   วายุพัดพัดมาอึงอลอล


เรียงกลอนได้ดังนี้  ซึ่งเป็นตอน หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา /  บทพระราชนิพนธ์ ร.๑ /

สุดเอยสุดสวาท นุชนาฏผู้มิ่งมารศรี
รักเจ้าเท่าดวงชีวี อย่าหยิกข่วนพี่ให้เจ็บนัก
ความแสนพิศวาสนาฏน้อง  จะต้องถือมิให้มือหนัก
ใช่จะลวงเจ้าเยาวลักษณ์     วงด(ดวง)จักษุพี่จงเมตตา
ว่าพลางอิงแอบแนบสนิท  จุมพิตปรางเปรมนาสา
ค่อยประคองต้องเต้าสุมณฑา  วายุพัดพัดมาอึงอลอล(เกินมา ๑ คำ)
พระสมุทรตีฟองนองระรอก(ระลอก)  คลื่นกระฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เมฆมัวทั่วทิศโพยมบน ฝนสรรค์พรอยพรมสุมาลี
อันดวงสุม(โกสุม)ปทุมมาลย์ ก็แบ่งบานคลี่คลายเกสรศรี
สองสมชมรสฤาดี   ต่างเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา

คำวินิจฉัย  เรียงถูก  ๒๐ วรรค  แต่สะกดผิด ๓ แห่ง และเติมเกินมา ๑ แห่ง
หักไป ๔ คะแนน เหลือ ๑๖ คะแนน  หารด้วย ๒ ได้  ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 08:43
นายสะอาด  ไพร่สมหัวเมืองประทุมธานี
ส่งมาคำตอบมา  วินิจฉัยได้ดังนี้

อ้างถึง
ข.  ขลั้ตเวล็ยฒึ่กร้ากดตตอรสก         ใอ้ร่สกผรโจฝีบัผอต้า
ผาถวาจต้าสอต่สกส่หกไส                ฬูสไตจพาถแพรกไมถ้สจฤบฐิ์
ยึ่กบลกผละแวกผราจสาน                หัตปีหำตายแพ่ตถิตไอส
โถจงละทสตผจุอจานลา                  ไมนาปปลขาผตารี
ไถ้ฮักผิเฬงหวุลี                           ฬูปีเอ็ตยลิกบุงวิ่กไม
บราจแอรงแนงงละยาจไมบุงบิศ       เวีจกวตั่ตขลลฉินหึกหร
ผละสปุบลนีฮหกตหกละลหง            งละช่หตชหงฮันธั่กงุราอร
เปื่หตั้ต                     ผละอลิสกศ์บลกวสัวถิ์ลัสปี
เม็ตบากงส้ากใอฑ่ใตวาจฉร            ยตนรหถดึกเงาะรกงา
ศลไมร้ากดตตศีรา               ถสจงำรักศังถาผละยังลงฤษฎ์


ตอบ
รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ตอนพระรามเสร็จศึกลงกา ยกทัพกลับและทำลายถนนที่ข้ามมหาสมุทร/

เมื่อนั้น         พระหริวงศ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
ได้ฟังพิเภกอุสรี      ภูมีเห็นจริงทุกสิ่งไป
จึ่งทรงพระแสงพลายวาต   อันมีอำนาจแผ่นดินไหว
พาดสายน้าวหน่วงว่องไว      ภูวไนยผาดแผลงไปด้วยฤทธิ์
ศรไปล้างถนนศีลา      ด้วยกำลังศักดาพระจักรกฤษณ์
ทลายแหลกแตกกระจายไปทุกทิศ   เสียงสนั่นครรชิตอึงอล
พระสมุทรตีฟองนองระลอก   กระฉ่อนฉอกฟัดฝั่งกุลาหล
เป็นทางกว้างใหญ่ในสายชล   จนตลอดถึงเกาะลงกา
ครั้นเสร็จซึ่งล้างถนนหลวง   ให้ล่วงพลโยธีทัพหน้า
โดยกระบวนพยุหยาตรา                ไปตามมรคาพนาลี

คำวินิจฉัย  ตอบถูก  เรียงถูก  สะกดถูก หาที่ติมิได้  เอาไป ๒๐ คะแนน หาร ๒ ได้ ๑๐ คะแนน


ง.  อามอั๊งอ๊ะอั๊กอออ๊ะอุ๊ด            อำไอเอื้องอู๋งอาออน
อามอะอัดอะอุ๊ดอั่งเออ๋า            อั้งแอ้นอามแอวแอ๋วอะอ๋น
เอ็นอู้เอียงเอียงเอื้องอามอะไอ๋        เอื่อนอ่นอั๊บอีอนอะอะอิด
อามอ๊ดอามอ๊ดโออี               เอ็นอัดอั้นโออาอาอี
อามอ๊ะอักอีองอ๋อน               อุ๊อีออนแอ้อ๊องอะเอ๋มอั๋น
อ๋อไอ้อ๋าอุกอุ๊กอิ๊อัน               อ่างอนอวยไออะอ๋ายออน
อามอ๊อมอ๋มองอิดอะอา            ไอ้อ๊าไอ้อีไอเอียมอัน
อิ่งอ๋องอกอ๋ายเอ้าะไอ่อิ๊ด            แอ่อั้งอาอิ๊อิ๊ดอิ๊ดไอ
องอ๋านอั้นอิ้วองไอ               เอ๋นเอนแอ่อ้วงเอ้าอะอูเอือง
อามอ๋องโออ๊ดอั่งอันออน            อามอะอ๊ดอิ๊ดอิ๊ออนอำเอินอา


ตอบ
รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ตอนพระรามพาพระลบ และพระมงกุฎ กลับเข้าเมือง เพื่อเข้าเฝ้าพระอัยกี/

นั่งแน่นตามแนวแถวถนน   เกลื่อนกล่นซับซ้อนอกนิษฐ์
สิ่งของตกหายก็ไม่คิด      แต่ตั้งตาพินิจพิศไป
เห็นเกณฑ์แห่ล่วงเข้าประตูเมือง      เป็นคู่เคียงเรียงเนื่องงามไสว
ธงฉานคั่นริ้วธงชัย      อำไพเครื่องสูงจามร
งามรถงามทศโยธี      งามพระจักรีทรงศร
งามสองโอรสดั่งจันทร      งามพระพรตฤทธิรอนจำเริญตา
งามทั้งพระลักษมณ์วรนุช   งามพระสัตรุต(สัตรุด)ดั่งเลขา
งามพร้อมสมวงศ์อิศรา      ใต้ฟ้าไม่มีใครเทียมทัน
ต่างคนอวยชัยถวายพร      ชุลีกรแซ่ซ้องเกษมสันต์
ขอให้ผาสุกทุกนิรันดร์      เป็นฉัตรกั้นโลกาธาตรี

คำวินิจฉัย  ตอบถูก  เรียงถูก  แต่สะกดผิด ๑ แห่ง  หัก ๑ คะแนน
ได้ ๑๙ คะแนน หาร ๒ ได้ ๙ ๑/๒ คะแนน
รวมคะแนน ๒ ข้อ ได้  ๑๙ ๑/๒ คะแนน  ดีมาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 มิ.ย. 11, 09:09
คุณluanglek คะ... ;D

ไม่ได้ท้วงนะคะ แต่ชี้แจงน่ะค่ะ ว่าหนูสะกดตามที่คุณหลวงเขียนมานะคะ...

ยึ่กเล่กใอ้ไมพุงฉ้ากปา  = จึ่งเร่งให้ไปผุกช้างมา 

แล้วหนูมีข้อสงสัยว่าทำไมทุกคนต้องหารด้วยสองคะ   ไม่เห็นมีในคำสั่งเลยค่ะ  ???

คำถามข้อที่ ๑๐๐/๑

คำสั่ง  เลือกทำ ๒ ข้อ  โดยให้สั่งจองไว้ก่อน
(จองได้ที่หน้าม่าน) ระยะเวลาจองตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา  ๑๒.๐๐ น.
พ้นนี้หักก่อนเลย  ๕  คะแนน
ทั้งนี้ให้เลือกทำข้อ  ก. หรือ ข. หรือ ค. ๑ ข้อ  ข้อ ง. หรือ จ. ๑ ข้อ

การทำคือถอดและเรียงให้เป็นคำกลอนที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งบอกด้วยว่า เป็นรามเกียรติ์ฉบับใด  ตอนอะไร

ราคาข้อ ๑๐ คะแนน  สะกดผิด หักที่ละ ๑ คะแนน
เริ่มตอบได้ที่หน้าม่านในวันศุกร์ที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐  น. จนถึงเวลา  ๑๒.๐๐ น.
ตอบก่อนและหลังเวลาที่กำหนด หักคะแนน ๕ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 มิ.ย. 11, 09:57
ตุ้ม ๆ ๆ ๆ ตีกล้องร้องฎีกา มายังคณะลูกขุน

ด้วยบัดนี้ออกขุนหนุ่มสยาม ขอร้องเรียนฎีกา ด้วยคำใบ้ชักพาตามสาส์นดังนี้

"หัตถสกวุปมบุปปารจ์   = อันดวงสุมปทุมมาลย์"

"สาจุผัถผัถปาหึกหรหร =   วายุพัดพัดมาอึงอลอล"

ด้วยแก้กลอักษรสลับร่างให้วุ่นวายไซร้ ข้าจักได้แปลตามบทรจนา หาได้กระทำการแปลผิดเพี้ยนสาส์นดังที่ได้กล่าวอ้างได้


ครั้นมาหักหาญหักคะแนนด้วยไซร้ จึ่งได้ขอร้องเรียนยื่นฎีกา ขอให้โปรดพิจารณาชำระความ ขอความเป็นธรรมแก่ลูกนกลูกกา ลูกเสือ ลูกจระเข้ ตัวน้อย ๆ ตาดำ ๆ ด้วยเทอญฯ

ส่งทางอินทร์เนตร เมื่อ ๙ นาฬิกา ๙ บาทกับสองสลึง เศษเฟื้องไม่คิดจ้า  แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ปีกระต่ายน้อย จุลศักราช ๑๓๗๓



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 มิ.ย. 11, 11:11

ออกขุนท่าน

     ข้าพเจ้าเห็นว่าตัวท่านนั้น  ถ้าจะเปรียบแล้วน่าจะเป็นลูกไก่น้อยในกำมือที่ถูกบีบไปแล้ว  แป้ต....

เมื่อคลายมือออกก็เละตุ้มเปะ

ลูกกานั้นร้องเสียงดังถ้าพ่อแม่ป้อนอาหารช้า  หนวกหู

ลูกเสือ...จะพูดกันถึงอายุแค่ไหนล่ะ  คนเลี้ยงอย่าเผลอเชียว  เลียมือคนเลี้ยงอยู่หยกๆ  มือคนเลี้ยงถลอก  เลยพยายามกินมือคนเลี้ยงเสียเลย   

ลูกจระเข้...ตานิ่งน่ากลัว

แวะมาบอกว่า  เห็นใจอ่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 มิ.ย. 11, 11:24

ออกขุนท่าน

     ข้าพเจ้าเห็นว่าตัวท่านนั้น  ถ้าจะเปรียบแล้วน่าจะเป็นลูกไก่น้อยในกำมือที่ถูกบีบไปแล้ว  แป้ต....

เมื่อคลายมือออกก็เละตุ้มเปะ

ลูกกานั้นร้องเสียงดังถ้าพ่อแม่ป้อนอาหารช้า  หนวกหู

ลูกเสือ...จะพูดกันถึงอายุแค่ไหนล่ะ  คนเลี้ยงอย่าเผลอเชียว  เลียมือคนเลี้ยงอยู่หยกๆ  มือคนเลี้ยงถลอก  เลยพยายามกินมือคนเลี้ยงเสียเลย   

ลูกจระเข้...ตานิ่งน่ากลัว

แวะมาบอกว่า  เห็นใจอ่ะ


ช่างช้ำอะไรเยี่ยงนี้ หากเป็นลูกไก่ ขอเป็น "ไก่กรอบ" ละกัน เมื่อบีบแล้ว อย่างน้อยไม่ แป้ด..... ได้ยินเสียงแป้งกรอบ ก็ยอม..

คาดว่าคดีนี้คงหลุด ด้วยลืมติดฤชาอากรศาล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 13:35
^ เอาทีละกรณี

ฎีกาของคุณดีดี  เป็นความผิดพลาดของผม
แต่ในเมื่อคุณดีดีก็รู้ว่าคำที่ถูกที่ควรเป็นคำว่าอะไร
ทำไมไม่แก้ไขให้ถูกต้อง   ยังไปยึดโจทย์เป็นที่ตั้งอีก
ผมก็ได้ให้คะแนนแถมไปอีก ๑ คะแนน  
ถ้ายังไม่พอใจผมจะยึดคะแนนฟรีคืน ดีหรือไม่

ส่วนที่เอาคะแนนดิบ หารด้วย ๒  เพราะถ้าหักที่สะกดผิด
จากคะแนนสำเร็จแล้ว  บางคนอาจจะเหลือคะแนนไม่มากนัก
เกรงว่าจะเสียกำลังใจ  และผมไม่อยากให้คะแนนเฟ้อนัก
จึงต้องหาร ๒ ให้คะแนนอยู่ที่ ๒๐  คะแนน กำลังดี
แต่ถ้าใครพอใจจะให้หักจากคะแนนสำเร็จก็ย่อมได้
เดี๋ยวจัดให้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 มิ.ย. 11, 13:46
หนูไม่ได้ยื่นฏีกาค่ะ ไม่ได้ท้วงติงใดๆ แค่ชี้แจงค่ะ... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 13:52
ตุ้ม ๆ ๆ ๆ ตีกล้องร้องฎีกา มายังคณะลูกขุน

ด้วยบัดนี้ออกขุนหนุ่มสยาม ขอร้องเรียนฎีกา ด้วยคำใบ้ชักพาตามสาส์นดังนี้

"หัตถสกวุปมบุปปารจ์   = อันดวงสุมปทุมมาลย์"

"สาจุผัถผัถปาหึกหรหร =   วายุพัดพัดมาอึงอลอล"

ด้วยแก้กลอักษรสลับร่างให้วุ่นวายไซร้ ข้าจักได้แปลตามบทรจนา หาได้กระทำการแปลผิดเพี้ยนสาส์นดังที่ได้กล่าวอ้างได้

ครั้นมาหักหาญหักคะแนนด้วยไซร้ จึ่งได้ขอร้องเรียนยื่นฎีกา ขอให้โปรดพิจารณาชำระความ ขอความเป็นธรรมแก่ลูกนกลูกกา ลูกเสือ ลูกจระเข้ ตัวน้อย ๆ ตาดำ ๆ ด้วยเทอญฯ

ส่งทางอินทร์เนตร เมื่อ ๙ นาฬิกา ๙ บาทกับสองสลึง เศษเฟื้องไม่คิดจ้า  แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ปีกระต่ายน้อย จุลศักราช ๑๓๗๓


^ ฎีกาออกขุนหนุ่มสยาม ลักษณะเหมือนฎีกาคุณดีดี
รู้ว่าโจทย์ผิดบกพร่องยังไม่แก้ให้ถูกต้อง
หักจากคะแนนดิบก่อนหารนั้นนับว่าใจดีปรานีแล้ว  (หักหาร)
หรืออยากให้หารก่อนแล้วหัก  (หารหัก)

ส่วนโอดครวญว่า  แก้กลอักษรนั้นยากสารพัดจะพรรณนา
ลูกขุนได้ฟังแล้ว  ไม่แลเห็นหนทางให้เมตตาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
นอกจากรู้สึกสะใจในอารมณ์เป็นพ้นประมาณ (หัวเราะหึหึในลำคอ)

และที่ว่า "ขอความเป็นธรรมแก่ลูกนกลูกกา
ลูกเสือ ลูกจระเข้ ตัวน้อย ๆ ตาดำ ๆ "
ตกลงจะเป็นตัวอะไรกันแน่  มาจากป่าหิมพานต์หรือไร
ในเมื่อไม่สามารถระบุหรือจำแนกประเภทชนิดได้ชัดเจน
ก็ควรยกฎีกาเสียจากสารบบคำร้อง

อ้อ  
อ้างถึง
คาดว่าคดีนี้คงหลุด ด้วยลืมติดฤชาอากรศาล
แถมมีพฤติกรรมดูหมิ่นคณะลูกขุนเยี่ยงนี้
เห็นควร คาดโทษผู้ยื่นคำร้องไว้ ๑ ครั้ง  หากมีกรณีนี้เกิดอีก
เราจะปรานีโดยการหัก ๑๐ คะแนน เป็นสินน้ำใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 มิ.ย. 11, 14:17
เรียนถามคุณหลวง

คำว่า "ฤา" คุณหลวงจะถือว่าสะกดผิดฤๅถูก

 ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 14:20
โดยอนุโลมให้ถูก  ลูกขุนชี้ขาดแล้ว
ถ้าเป็น "ถา" หรือ "ถๅ" ถือว่าผิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 มิ.ย. 11, 14:21
^
พอเลยคุณเพ็ญฯ กว่าจะเอาตัวหนีรอดจากคำร้องฎีกาได้ เนื้อตัวขาดวิ่น เลือดไหลโทรมกาย  ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 มิ.ย. 11, 14:24
^
พอเลยคุณเพ็ญฯ กว่าจะเอาตัวหนีรอดจากคำร้องฎีกาได้ เนื้อตัวขาดวิ่น เลือดไหลโทรมกาย  ;D ;D

อารายๆ  ไม่ได้เฆี่ยนหลังออกขุนก่อนยื่นฎีกาเลยสักขวับ
โอดครวญเกินความเป็นจริง  จะเรียกคะแนนสงสารใช่มะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 มิ.ย. 11, 14:40
^
พอเลยคุณเพ็ญฯ กว่าจะเอาตัวหนีรอดจากคำร้องฎีกาได้ เนื้อตัวขาดวิ่น เลือดไหลโทรมกาย  ;D ;D

อารายๆ  ไม่ได้เฆี่ยนหลังออกขุนก่อนยื่นฎีกาเลยสักขวับ
โอดครวญเกินความเป็นจริง  จะเรียกคะแนนสงสารใช่มะ

 ::) รู้ทันไปโหม้ด เสียทุกเรื่อง  :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.ค. 11, 13:10
เฉลย คำถามข้อที่  ๑๐๐/๒

จงพิจารณาคำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้

"...ปางนั้นขุนมาลยวาน    ได้ทราบเหตุการณ์  ว่าพระนารายณ์ทรงยศ
จะเสด็จมาปราบรากษส     คงไม่ละลด   ฤาผ่อนฤาผันฉันใด
คิดถึงสี่กรร้อนใจ      พระองค์ทรงชัย  วิชิตชำนาญราญรณ
ครั่นคร้ามขามเดชเหลือล้น   พอรุ่งสุริยน   จึงไปยังที่สภาคาร
ครั้นถึงจึ่งกล่าวคำขาน   แก่สองขุนมาร  อีกทั้งอสูรญาติมิตร์
บัดนี้พี่ทราบประพฤติกิจ  แห่งฤษีสิทธิ์  อีกทั้งนิกรเทวัญ
ไปเฝ้าศังกรทรงธรรม์   ทูลพระจอมสวรรค์  ด้วยมุ่งประหารราญแรง
ว่าเหล่าเสาเกศกำแหง  โมหันขันแขง   เพราะได้พรพระพรหมา
ทวยเทพฤาสิทธา     เดือดร้อนหนักหนา  เพราะแพ้แก่เหล่ารากษส
ขอปศุบดีทรงยศ  ช่วยทรงเปลื้องปลด   ให้สิ้นรำคาญราญใจ
บัดนี้ที่เคยอาไศรย   พวกรากษสไซร้   ทำลายและกวนยวนยี
ขอให้ตรีเนตร์ฤทธี  ทรงปราบอสุรี    ด้วยฤทธิรุทร์แรงหาญ..."

แล้วตอบคำถามดังนี้
๑.คำประพันธ์ที่ตัดตอนมานี้  มาจากวรรณคดีเรื่องอะไร
ตอบ อสุเรนทรจารีตคำพากย์
ใครแต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์
เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๗ แต่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ไม่จบตามที่ทรงตั้งหัวเรื่องไว้
ในสารบัญเรื่อง

ผู้แต่งมีความประสงค์ในการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร
(เอาไว้จะคัดลอกมาให้อ่าน)




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ค. 11, 10:04
คำถามข้อที่  ๑๐๐/๓
คำถามข้อนี้แบ่งออกเป็น ๒ บั้น  คือ บั้นต้น  ข้อที่ ๑-๑๐
และบั้นปลาย  ข้อที่ ๑๑-๒๐

โดยแสดงเฉพาะบั้นต้นก่อน  ส่วนบั้นปลายจะตามมาในไม่ช้า

๑."ถึงมึงก็เป็นเชลยเก่า      ของพระปิ่นเกล้านาถา
    กูก็เป็นเชลยใหม่มา       อาสาล้างเหล่าปัจจามิตร"
   "มึง" คือใคร

๒."ตัวกูต้องสาปหัสนัยน์    นานได้ถึงสามหมื่นปี"
   "กู" คือใคร

๓.ท้าววิเชียรพรหมาในรามเกียรติ์ คือใคร

๔.ใครประทับอยู่เบื้องซ้ายของพระนารายณ์เมื่อประทับเหนือหลังอนันตนาคราช

๕.ใครแผลงศรวิษณุเวทใส่ศัตรู ทำให้ศัตรูเสียท่า ต้องร้องขอให้ไว้ชีวิต

๖.ใครปราบศัตรู "ซึ่งพระองค์ประทานคทาธร
   ทั้งพรประสิทธิ์ให้ยักษา
   ตัวเพื่อนเป็นคนหยาบช้า
   จะเบียนโลกาให้ร้อนใจ"

๗.ใครแต่งตัว ถือพระขรรค์ ออกจากวิมานแก้วมายังที่ประชุมเทวดา
    และพูดว่า "มึงไม่รู้จักกองอัคคี   วันนี้จะม้วยชีวัน"

๘.ใคร "ตกใจดั่งมีมาณพ    มาพลิกราชพิภพให้คว่ำไป"

๙."ธรรมดาสตรีกับบุรุษ     ที่วิมุตติมลทินแก่กันอยู่
    ใครห่อนจะเห็นใจกู       จะมีผู้กระหายนินทา"
    "กู" คือใคร

๑๐."ว่าองค์เจ้าตรีโลกา
     ประสาทพรไชยาพวาน
     ถ้านารายณ์อวตารให้อาสา
     ถือธงนำพยุหโยธา
     จริงเหมือนวาจาพานร
     ด้วยนามเพื่อนนั้นข่มนามยักษ์
     ทั้งแหลมหลักกล้าหาญชาญสมร
     จะเป็นศรีสวัสดิ์สถาวร
     แก่พระสี่กรผู้ทรงฤทธิ์"
    กลอนนี้ใครกล่าว

หมายเหตุ   ยังไม่ต้องรีบส่งคำตอบมา
ให้เอาไปนอนคิดเล่นก่อน  ส่วนจะให้ส่งคำตอบเมื่อไรนั้น
โปรดรอดูหลังจากลงคำถามครบ ถึงข้อที่ ๒๐ แล้ว
ใครทะเล่อทะล่าตอบมาก่อนไม่ว่าจะหน้าม่านหลังม่าน
ไม่มีการตรวจให้คะแนนและจะหักคะแนนทุกข้อ ๑/๒ คะแนน
ในการตอบกลับมาใหม่ด้วย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 10:17
หมายเหตุ   ยังไม่ต้องรีบส่งคำตอบมา
ให้เอาไปนอนคิดเล่นก่อน  ส่วนจะให้ส่งคำตอบเมื่อไรนั้น
โปรดรอดูหลังจากลงคำถามครบ ถึงข้อที่ ๒๐ แล้ว
ใครทะเล่อทะล่าตอบมาก่อนไม่ว่าจะหน้าม่านหลังม่าน
ไม่มีการตรวจให้คะแนนและจะหักคะแนนทุกข้อ ๑/๒ คะแนน
ในการตอบกลับมาใหม่ด้วย


...ร้องด้วยการเอื้อนลูกคอ......"..โหดร้าย จริง จริง ง ง  ง ...ทำไมถึง หยิ่ง ผยอง.ง.ง.ง.ง. " :P :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 10:59


โปรดก่อน

อยากทราบเรื่อง  อสุเรนจารีตคำพากย์  ค่ะ

คุณท่านเฉลยแล้ว    ดิฉันยังส่ายหน้าเหมือนพัดลมที่เปิดเบอร์สูงไว้เลยค่ะ

ถ้าใต้เท้าว่างราชการ(ไหน ๆ ก็ เงินเดือนขึ้นไปแล้วนี่) กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยเถิด

เรียนหนังสือมาน้อย    เป็นแค่นักอ่านเท่านั้น



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ค. 11, 14:27

...ร้องด้วยการเอื้อนลูกคอ......"..โหดร้าย จริง จริง ง ง  ง ...ทำไมถึง หยิ่ง ผยอง.ง.ง.ง.ง. " :P :P

ไม่ทราบว่าจะให้ผมตบรางวัลนักร้องเป็นอะไรดี
ถึงจะสาสม เอ๊ย เหมาะสมกับเสียงเพลงที่ครวญมา
หักก่อนเลยสัก ๕ คะแนน  หรือ ให้งดตอบในข้อนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 14:33

...ร้องด้วยการเอื้อนลูกคอ......"..โหดร้าย จริง จริง ง ง  ง ...ทำไมถึง หยิ่ง ผยอง.ง.ง.ง.ง. " :P :P

ไม่ทราบว่าจะให้ผมตบรางวัลนักร้องเป็นอะไรดี
ถึงจะสาสม เอ๊ย เหมาะสมกับเสียงเพลงที่ครวญมา
หักก่อนเลยสัก ๕ คะแนน  หรือ ให้งดตอบในข้อนี้

นึกถึงคำพูดคุณวันดี กล่าวไว้ " ..เป็นเพียงลูกเจี๊ยบ  บีบคามือ.....แป็ด..."  8) 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ค. 11, 15:18
โปรดก่อน
อยากทราบเรื่อง  อสุเรนจารีตคำพากย์  ค่ะ
คุณท่านเฉลยแล้ว    ดิฉันยังส่ายหน้าเหมือนพัดลมที่เปิดเบอร์สูงไว้เลยค่ะ
ถ้าใต้เท้าว่างราชการ(ไหน ๆ ก็ เงินเดือนขึ้นไปแล้วนี่) กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยเถิด
เรียนหนังสือมาน้อย    เป็นแค่นักอ่านเท่านั้น

เงินเดือนขึ้นหรือไม่ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย กรุณาอย่าโยง

ความรู้ไม่ได้มาจากการเรียนตามรายวิชาในห้องเรียนอย่างเดียว
การเที่ยวเดินซื้อหาหนังสือมาอ่านก็ได้ความรู้เหมือนกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 15:24
โปรดก่อน
อยากทราบเรื่อง  อสุเรนจารีตคำพากย์  ค่ะ
คุณท่านเฉลยแล้ว    ดิฉันยังส่ายหน้าเหมือนพัดลมที่เปิดเบอร์สูงไว้เลยค่ะ
ถ้าใต้เท้าว่างราชการ(ไหน ๆ ก็ เงินเดือนขึ้นไปแล้วนี่) กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยเถิด
เรียนหนังสือมาน้อย    เป็นแค่นักอ่านเท่านั้น

เงินเดือนขึ้นหรือไม่ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย กรุณาอย่าโยง

ความรู้ไม่ได้มาจากการเรียนตามรายวิชาในห้องเรียนอย่างเดียว
การเที่ยวเดินซื้อหาหนังสือมาอ่านก็ได้ความรู้เหมือนกัน


คุณหลวงเล็ก ตอบเยี่ยงนี้ เกรงว่า พัดลมนั้นจะหมุนได้รอบทิศทาง  ;D ;D ;D  แต่ระวังไว้ว่า หมุนได้รอบทิศทางก็อาจจะกลายร่างเป็น ทอร์นาโด ได้เช่นกัน

คาดว่าผู้ถามยังคงไม่มีตำราเช่นผู้ตอบกำลังถือไปหัวเราะ ฮึ ฮึ ในคอไปด้วย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ค. 11, 15:29

คุณหลวงเล็ก ตอบเยี่ยงนี้ เกรงว่า พัดลมนั้นจะหมุนได้รอบทิศทาง  ;D ;D ;D  แต่ระวังไว้ว่า หมุนได้รอบทิศทางก็อาจจะกลายร่างเป็น ทอร์นาโด ได้เช่นกัน

คาดว่าผู้ถามยังคงไม่มีตำราเช่นผู้ตอบกำลังถือไปหัวเราะ ฮึ ฮึ ในคอไปด้วย

เป็นทอร์นาโด ก็เหมาะดี  สูงใหญ่  เป็นอุปมาที่แหลมคมมาก
โบราณาจารย์ว่าไว้  ผู้ใดจะทำการรบ  หากไม่มีตำรากลยุทธ์ให้พร้อมมือ
ย่อมเสียเปรียบแก่ฝ่ายตรงข้ามที่มีตำรามากกว่า



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 11, 13:15
ตามโจทย์ที่คุณเพ็ญฯ ให้ผมมานั้น
ผมได้ไปอ่านดูแล้ว  เห็นว่า คำแปลของฝรั่งยังเก็บความไม่ครบถ้วน
จึงว่าคิดจะย้อนไปเอาโศลกภาษาสันสกฤตในเรื่องรามายณะ
ตรงตอนที่ฝรั่งคนนั้นเอามาแต่งแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น
มาแปลเลยทีเดียวเลยจะได้อรรถรสดีกว่าฉบับแปลภาษาอังกฤษ
และจะได้ทราบด้วยว่าอรรถรสเดิมในภาษาสันสกฤตนั้นเป็นเช่นไร
และเรื่องของนางอัญชนามารดาของหนุมานมาปรากฏในเรื่องรามายณะ
ตอนใด  ใครเป็นคนเล่า  และเล่าไว้ทำไม

ผมกำลังแปลโศลกภาษาสันสกฤตดังกล่าวอยู่  อาจจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเอามาลงเมื่อไร   แต่คิดว่าน่าจะก่อนวันแม่แห่งชาติ

รออ่านคำแปลด้วยใจระทึก

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ส.ค. 11, 16:14
รอไปเถิด  ช่วงนี้งานมีมาก  ยังไม่ว่างจริงๆ
แต่ก็อย่ารอจนกระทั่งหัวใจวายไปเสียก่อนนะครับ  เป็นห่วง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 28 ส.ค. 11, 22:39
วันนี้ 28 ส.ค.แล้ว กระทู้นี้ไม่เดินเสียนาน แต่ยังมีผู้รอ...คุณหลวงเล็กค่ะ

ระหว่างรอ อยากชวนให้ไปดูหนังเรื่อง "คนโขน" ค่ะ เรื่องราวของหนังนี้ไม่สำคัญเท่ากับการเน้นให้คนเข้าใจภาษากายของตัวโขน ใช้สื่อสารกันได้ในคนที่เข้าใจศิลปะของโขน

เก่งจริง ๆ

โขน คงจะคู่กับรามเกียรติ์เท่านั้น ไม่เคยเห็นโขนเล่นในเรื่องอื่นเลย

เพราะบทละครรามเกียรติ์ สร้างบุคคลิกตัวละครอย่าเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะ พระ นาง ยักษ์ ลิง 

บังเอิญมีผู้ใหญ่ให้ยืมหนังสือ บทละครรามเกียรติ์ ตอน นางเบญกายหึงนางสุวรรณกันยุมา

บรรยายท่าเขินของ หนุมานไว้ดังนี้

"ฟังนาง กระบี่หมางหมองใจไหวสะดุ้ง
แก้ขวยฉวยหางขึ้นพันพุง
ตบยุงแก้เก้อชเง้อคาง
ยืนไม่เป็นศุขทำหลุกหลิก
เกาตัวยิกยิกออกเต้นหยาง
แล้วขืนยื่นหน้ามาห่างนาง
ยิ้มพลางว่าเปล่าอย่าเซ้าซี้"

ใครมีคำบรรยายท่าทางน่ารัก ๆ ตอนใดก็ได้ มาแบ่งปันกันแก้เหงาระหว่างรอคุณหลวงก็จะดีไม่น้อยค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ส.ค. 11, 08:57
วันนี้ 28 ส.ค.แล้ว กระทู้นี้ไม่เดินเสียนาน แต่ยังมีผู้รอ...คุณหลวงเล็กค่ะ

ระหว่างรอ อยากชวนให้ไปดูหนังเรื่อง "คนโขน" ค่ะ เรื่องราวของหนังนี้ไม่สำคัญเท่ากับการเน้นให้คนเข้าใจภาษากายของตัวโขน ใช้สื่อสารกันได้ในคนที่เข้าใจศิลปะของโขน

เก่งจริง ๆ

เอาตัวอย่างภาพยนตร์มาให้ชม ประกอบคำเชิญชวนของคุณร่วมฤดี

http://www.youtube.com/watch?v=jZ2sGnmvEQk

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 30 ส.ค. 11, 17:21
ขอบคุณค่ะ คุณเพ็ญชมพู

Climax ของเรื่องสำหรับดิฉัน คือ ตอนพระเอกบอกรักสาวด้วยภาษาโขน แทนภาษาพูด

เป็น Body Language ที่สวยงามมาก ๆๆๆๆๆ

และ Body Language นี้เอง ที่ใช้จำแนกบุคคลิกตัวละครแต่ละตัวให้รู้นิสัยใจคอและอารมณ์

รามเกียรติ์ สร้าง Body Language มาตั้งแต่เป็นตัวอักษร จนปรากฏเป็นท่าโขน น่าทึ่งมากกกกก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 เม.ย. 12, 09:27
ท่านผู้อาวุโสนั่งดูข่าวในพระราชสำนักเมื่อคืนวันที่ ๒๐ เมษายน  ๒๕๕๕
เนื้อความนั้นมีดังนี้

มื่อวันที่ 20 เม.ย. 2555 เวลา 17.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ จากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ในโอกาสนี้  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ศ.คลินิก นพ.ดิเรก จุลชาต เป็นผู้เข็นรถพระที่นั่งถวาย
โดยมีคณะแพทย์พยาบาลตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์สูทสีน้ำเงินสดทับเชิ้ตสีฟ้าลายจุด
พระสนับเพลาสีดำ ฉลองพระบาทสีดำ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงฉลองพระองค์ลายดอกไม้หลากสี
พระสนับเพลาสีเหลืองสด   จากนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประทับรถยนต์พระที่นั่ง
เสด็จฯ จากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
 

เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ถึงพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ทางประตูศรีรัตน์  ในการนี้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เฝ้าฯ รับเสด็จ แล้วทรงนำทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตร
และกราบบังคมทูลบรรยายภาพจิตรกรรมฝาผนังไทยเรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 178 ห้อง โดยรอบพระระเบียง
 

จากนั้น เสด็จขึ้นสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  และทอดพระเนตรความงดงามภายในพระอุโบสถ
 
(ผมตัดทอนรายละเอียดขยายความและปรับคำในเนื้อข่าว  เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ และถูกต้องตามหลักราชาศัพท์)

ท่านผู้อาวุโสได้ชมข่าวนี้ ก็นึกถึงกระทู้แฟนพันธุ์แท้รามเกียรติ์ ที่ร้างรามานานหลายเพลา
ท่านอยากจะตั้งคำถามให้นักรบรามเกียรติ์และผู้สนใจช่วยกันตอบหน่อยว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละรัชกาลในสมัยรัตนโกสินทร์   ทุกพระองค์ย่อมทรงเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์เสมอมา
ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ไม่ว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ หรือโปรดเกล้าฯ ให้กระทำการทางศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกี่ยวกับรามเกียรติ์ในรัชกาลของพระองค์   ท่านผู้อาวุโสท่านอยากทราบว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน
ได้ทรงเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์อย่างไรบ้าง

(ข้อนี้ท่านผู้อาวุโส  ไม่ได้กำหนดคะแนนและกรอบวิธีการตอบเอาไว้   เชิญท่านทั้งหลายตอบได้ตามสะดวกโยธิน)
 ;D ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 เม.ย. 12, 10:40
ความรู้น้อยค่ะ แวะมาเก็บเกี่ยวจากคุณหลวงมากกว่าอื่นใด

ดิฉันรู้เพียงเรื่องเดียว คือ ทรงเป็น พระรามองค์ที่ 9 ค่ะ

พูดถึงเรื่องภาพจิตรกรรมรามเกียรติ์ ใครมีภาพสวย ๆ แปะกันมาไว้ดูเล่นบ้างนะคะ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 พ.ย. 12, 23:54
สงสัยอย่างยิ่งว่า ทำไมนางนางกาลอัคคีนาคราช เดิมเป็น เป็นมเหสีเอก ของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา เหตุใดจึงกลายเป็นรองนางมณโฑ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 12, 18:57
สงสัยอย่างยิ่งว่า ทำไมนางนางกาลอัคคีนาคราช เดิมเป็น เป็นมเหสีเอก ของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา เหตุใดจึงกลายเป็นรองนางมณโฑ

เป็นเพราะว่า นางมณโฑนั้นเป็นมเหสีพระราชทาน ศักดิ์ย่อมเหนือกว่า


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 พ.ย. 12, 22:05
สงสัยอย่างยิ่งว่า ทำไมนางนางกาลอัคคีนาคราช เดิมเป็น เป็นมเหสีเอก ของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา เหตุใดจึงกลายเป็นรองนางมณโฑ

เป็นเพราะว่า นางมณโฑนั้นเป็นมเหสีพระราชทาน ศักดิ์ย่อมเหนือกว่า


 8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 พ.ย. 12, 12:26
อื้ม...!   ;D