เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: jilkung ที่ 13 พ.ค. 14, 23:59



กระทู้: เจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล ณ ต่างๆ กับเจ้าเมืองที่ได้รับการเเต่งตั้ง มีความต่างกันอย่างไรค
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 13 พ.ค. 14, 23:59
คืออยากทราบว่าเจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล เช่น ณ สงขลา ณ ระนองนะครับ กับเจ้าเมืองอื่นๆเช่นเจ้าเมืองไชยา พวกท่านเหล่านี้มิได้เป็นต้นสกุลณ ต่างๆ เเต่ได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ มีความเเตกต่างในด้านของที่มาเเละเครือญาติ อย่างไรครับและคือผมมีเชื้อสายจาก
ทางฝ่ายพ่อ มาจากเจ้าเมืองไชยา จะถือว่าผมมีเชื้อเจ้าหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
 :)


กระทู้: เจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล ณ ต่างๆ กับเจ้าเมืองที่ได้รับการเเต่งตั้ง มีความต่างกันอย่างไรค
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 พ.ค. 14, 06:59
คำว่า"เจ้า"เฉยๆ จะจำกัดว่าหมายถึงเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปในสายราชวงศ์จักรีเท่านั้น ถ้าเจ้าสายอื่นจะต้องขยายความต่อ เช่น เจ้าเชียงใหม่ เจ้านายสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น และราชวงศ์เหล่านั้นมีความต่อเนื่องโดยการสืบสันตติวงศ์ด้วย

ไม่ใช่ว่าเป็นเจ้าเมืองซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง ครั้นสิ้นตนพระเจ้าแผ่นดินก็โปรดเกล้าฯให้คนอื่นมาเป็นเจ้าเมืองแทน อย่างนี้เวลากล่าวต้องกล่าวอย่างเต็ม เช่น พระยานคร(น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

นามสกุลของคุณว่ากระไรหรือครับ


กระทู้: เจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล ณ ต่างๆ กับเจ้าเมืองที่ได้รับการเเต่งตั้ง มีความต่างกันอย่างไรค
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ค. 14, 08:08
นามสกุลของคุณว่ากระไรหรือครับ

ขออนุญาตตอบแทน ด้วยคุณ jilkung เคยให้ข้อมูลไว้ครั้งหนึ่งแล้ว  ;D

บรรพบุรุษ ของผมนามสกุลเเย้มมีศรีอะครับ เเย้ม มาจากหลวงอภัยภักดี(เเย้ม) มี มาจาก พระยาไชยา(บุญมี) ผมค้นไม่เจอ เจอเเต่มี เเละ ศรีมาจาก ศรียาภัย ญาติทาเเม่ปู่ผม


กระทู้: เจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล ณ ต่างๆ กับเจ้าเมืองที่ได้รับการเเต่งตั้ง มีความต่างกันอย่างไรค
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 14, 09:26
คืออยากทราบว่าเจ้าเมือง ที่เป็นต้นสกุล เช่น ณ สงขลา ณ ระนองนะครับ กับเจ้าเมืองอื่นๆเช่นเจ้าเมืองไชยา พวกท่านเหล่านี้มิได้เป็นต้นสกุลณ ต่างๆ เเต่ได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ มีความเเตกต่างในด้านของที่มาเเละเครือญาติ อย่างไรครับ

และคือผมมีเชื้อสายจากทางฝ่ายพ่อ มาจากเจ้าเมืองไชยา จะถือว่าผมมีเชื้อเจ้าหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
 :)

เจ้าเมืองต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1  พวกเจ้านายในภูมิภาคนั้นที่ได้ครองเมืองมาแต่เดิม   ต่อมาเมื่อสยามรวมหัวเมืองเหล่านั้นเข้าสู่ศูนย์กลางการปกครองจากเมืองหลวง   เจ้านายก็ได้เป็นเจ้าเมือง มีตำแหน่งเป็นขุนนาง  ขึ้นตรงต่อมหาดไทย
ยกเว้นหัวเมืองทางเหนือ ตัวอย่างเช่น เชียงใหม่ที่ยังมีเจ้าผู้ครองนครมาแต่เดิม  เป็น "เจ้า" ในอีกราชวงศ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่ราชวงศ์จักรี
 
2 ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งไปเป็นเจ้าเมือง   พอเทียบได้กับผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนี้

ดูจากนามสกุลของคุณแล้ว   คุณน่าจะมีเชื้อสายข้าราชการค่ะ  ไม่ใช่เจ้า