เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12948 ดอกลิลลี่ในสวนดอกไม้ ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 31 ธ.ค. 10, 15:29



       การไปเป็นครูที่โรงเรียนราชินีทำให้ท่านผู้หญิงมีสิทธิพิเศษกว่าข้าหลวงอื่นที่ไม่ได้เป็นครู   คือไม่ต้องเฝ้าฯ รับใช้

หลัง ๒ ยาม  เพราะเกรงจะตื่นไปโรงเรียนไม่ทัน   เพราะฉะนั้นถ้าจะมีพระราชเสาวนีย์หรือเกิดโกลาหลอะไรขึ้น  ถ้าเกิน ๒ ยามแล้ว

ท่านเป็นไม่รับรู้ทั้งสิ้น      หลังกลับจากญี่ปุ่นแล้วท่านก็ยังเกล้าผมแบบญี่ปุ่นอยู่เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงโปรด    และยังทรงอนุญาต

เป็นพิเศษให้ท่านผู้หญิงเก็บดอกกุหลาบที่ปลูกไว่ในบริเวณพระตำหนักมาปักผมด้วย   ตอนนั้นข้างในนิยมผมเกล้าแบบญี่ปุ่นกัน   

ท่านก็ได้เกล้าให้เจ้าจอมหลายคน


       นอกจากการเป็นครูแล้วเมื่อกลับจากโรงเรียนก็คงรับใช้ในหน้าที่ข้าหลวง  แต่เลื่อนขึ้นเป็นข้าหลวงผู้ใหญ่   หน้าที่ต่างๆตามที่ท่านเล่าให้

ท่านผู้หญิงทัศนีย์  บุณยคุปต์ บุตรสาวของท่าน ผู้เขียนความทรงจำนี้ฟัง  มีต้องขึ้นเฝ้าฯ เชิญเครื่อง  ตั้งเครื่อง  รับใช้ขณะเสวย

บางครั้งสมเด็นพระพันปีหลวงก็ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ไปป้อนข้าวหลาน ๆชั้นหม่อมเจ้า  ท่านจำได้ว่าเคยป้อนข้าวถวายสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี 

ท่านหญิงพิบูลย์เบญจางค์  และท่านหญิงพวงรัตนประไพเป็นต้น        บางครั้งก็ช่วยแต่งพระองค์และตามเสด็จ         ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จ

พระพุทธเจ้าหลวงทรงเริ่มสร้างวังพญาไท        ทุกเย็นทั้งสองพระองค์เสด็จมาทรงสำราญ ณ ที่นั้น  แต่ไม่ได้เสด็จพร้อมกัน  จะเสด็จมาองค์ละที

แลมาประทับเสวยร่วมกัน


       ตอนนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงโปรดการปลูกข้าว ดำนา  บริเวณรอบวังพญาไทสมัยนั้นยังเป็นท้องนาโดยรอบ   ท่านจะทรงดำนาจากบนเรือ 

มีชาวนาเข็นเรือไปตามแนวที่จะปลูกข้าว   และจะมีข้าหลวงถวายพระกรดเดินตามอยู่ในน้ำ    ชาวนาเล่าให้ท่านผู้หญิงฟังว่าปลิงชุมระวังให้ดี 

ทำให้ท่านกลัวปลิงเกาะเพราะย่ำอยู่ในน้ำกว่าครึ่งน่อง      พอรู้สึกว่ามีอะไรผ่านน่องไปก็ร้องด้วยเสียงอันดังด้วยความตกใจมิได้เกรงกลัวพระอาญา   

สมเด็จพระพันปีหลวงงตกพระทัย  ทรงถามว่าเป็นอะไรจึงร้องดังเช่นนั้น     ท่านกราบทูลว่ารู้สึกเหมือนปลิงเกาะ    เลยโดนกริ้วว่า

ร้องอะไรตกอกตกใจกันไปหมด     ตั้งแต่วันนั้นมาถ้าเลี่ยงการถวายพระกรดและลงน้ำได้ท่านเป็นเลี่ยง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 06:00



       การที่ท่านผู้หญิงไปเป็นครูที่โรงเรียนราชินี  เป็นโอกาสให้คุณหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์(ยศในเวลานั้นของท่านเจ้าคุณภะรตราชา)

รับราชการในกระทรวงธรรมการ เป็นครูโรงเรียนสวนกุหลาบ และเป็นเลขานุการส่วนตัวของเสนาบดีไปตรวจโรงเรียนต่าง ๆ

ในพระนครไปพบท่านผู้หญิง    ต่อมาจึงขอให้มารดา(เอี่ยม  ราชดรุณรักษ์)  ไปกราบบังคมทูลขอพระราชทานต่อสมเด็จพระพันปีหลวง

ท่านผู้หญิงทัศนีย์  บุณยคุปต์ เล่าว่า  คุณย่านั้นสมเด็จพระพันปีหลวงทรงรู้จักมักคุ้น  เพราะบ้านคุณย่าตั้งกี่ทอผ้าขาย  และได้ทอพระภูษาทรง

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง   เมื่อนำเข้ามาถวายครั้งใดสมเด็จพระพันปีหลวงจะทรงเลือกด้วยพระองค์เอง   คุณย่าจึงได้เฝ้า

อยู่เสมอ  ผ้าพื้นของคุณย่านั้นท่านจะย้อมสีและดัดแปลงการผสมสีโดยค้นคว้าประดิษฐ์ขึ้นเอง  ทำให้มีผ้าสีแปลก ๆ   นอกจากนั้นผ้าพื้น

ของคุณย่ามีขนาดกว้าง  เนื้อแน่น และเนื้อดี      พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดผ้าพื้นที่คุณย่าทอ   ท่านเคยรับสั่งว่า 

ผ้านุ่งของแม่เอี่ยมนุ่งสบายและสีสวย              การที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงรู้จักคุณย่า   และการที่คุณพ่อเป็นข้าราชการในราชสำนัก

รับใช้สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด            จึงทำให้คุณย่ากล้าเข้าไปเฝ้าฯ ขอพระราชทานข้าหลวง

ของสมเด็จพระพันปีหลวง   โดยคิดว่าจะไม่มีอุปสรรคประการใด      แต่การหาได้เป็นเช่นนั้นไม่           สมเด็จพระพันปีหลวงไม่รับสั่งประการใด

ท่านหวงข้าหลวงของท่านเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ท่านได้อุปการะมาตั้งแต่เด็ก   ทั้งคงจะโปรดและมีความรู้สึกว่าคุณแม่ยังเด็กอยู่

ซึ่งที่จริงตอนนั้นคุณแม่อายุประมาณ ๒๑ ปี  ไม่เป็นเด็กแล้ว           ฝ่ายคุณย่าเมื่อเห็นสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเฉย 

แสดงว่าไม่ทรงเต็มพระทัยจะประทานข้าหลวงของท่านแล้ว   ก็ไม่กล้าเข้าเฝ้าฯหรือกราบบังคมทูลเรื่องนั้นอีกต่อไป


       อยู่มาวันหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ  เสด็จมาเฝ้าฯ   สมเด็จพระพันปีหลวงก็รับสั่งฟ้องพระราชโอรสของท่านว่า

ดูสิลูกโต  เจ้าหลวงอภิบาลฯ กำเริบมาขอข้าหลวงของแม่          แทนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จะทรงคล้อยตามกลับทรงพระสรวลและรับสั่งว่า 

เด็กมันก็โตด้วยกันแล้ว   สมเด็จแม่น่าจะประทานให้เขาไป   แล้วหม่อมฉันจะรับเลี้ยงดูเขาเอง  เมื่อทรงได้ยินพระราชโอรสตรัสเช่นนั้นแล้ว   

สมเด็จพระพันปีจึงทรงแย้มสรวล  และรับสั่งว่าอย่สงนั้นรึลูก   เป็นอันว่าท่านทรงอนุญาต


ฝ่ายคุณย่าก็ถูกกริ้วอีกว่า  ดูสิแม่เอี่ยมมาขอข้าหลวงของฉันแล้วเงียบหายไป  ไม่เห็นมาติดต่อถามข่าวคราวอย่างไรเลย       เมื่อคุณย่า

ทราบจึงต้องรีบเข้าเฝ้าฯ  เพื่อรับพระราชทานพระเสาวนีย์เกี่ยวกับการสมรสของคุณพ่อและคุณแม่

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 07:39



       วันแต่งงานคือวันที่ ๑๙​ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕     ในบ่ายวันนั้น  ได้มีพระราชเสาวณีย์ให้จัดรถม้าคอยอยู่นอกประตูวัง

เจ้าสาวเดินออกไปขึ้นรถม้า   คุณเฒ่าแก่ชื่อคุณช้อยนั่งเคียงไปด้วย   ไปที่บ้านคุณย่าที่ถนนพระสุเมรุ    ในพิธีสมรสวันนั้น

สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงสวมมงคลและประทานน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาว    พระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงิน ๑๐๐ ชั่ง


       เมื่อแต่งงานแล้วท่านผู้หญิงก็ยังไปสอนที่โรงเรียนราชินีอยู่จนกระทั่งตั้งครรภ์ลูกคนโต   จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ

ให้หยุดสอนเพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางครอบครัวอย่างเต็มที่



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 08:24

ช่วยหาภาพมาประกอบเรื่องครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 08:53

อ้างถึง
ตอนนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงโปรดการปลูกข้าว ดำนา  บริเวณรอบวังพญาไทสมัยนั้นยังเป็นท้องนาโดยรอบ   ท่านจะทรงดำนาจากบนเรือ 


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 10:50


       ขอบคุณคุณ Navarat.C  ค่ะ  สวัสดีปีใหม่ค่ะ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 11:05


ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา  มาลากุล  เขียนคำอาลัยท่านผู้หญิงขจรภะรตราชาไว้ว่า  

       เป็นผู้มีพระคุณ  เป็นครูคนแรกที่โรงเรียนราชินี  


       ท่านอุ้มเด็กอายุ ๓ ขวบกว่าไปอาบน้ำประแป้งวันละสองครั้งและป้อนข้าว

ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลารับว่าท่านดื้อและเอาแต่ใจตนเองอยู่เสมอจนมารดาสู้ไม่ไหว    ท่านว่าท่านซนที่สุดในโรงเรียนด้วย

ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชากำลังสาวและสวยมาก  ไว้ผมดอกกระทุ่ม  ใส่เสื้อคอตั้ง  ใบหน้างามอิ่มเอิบ  สวยงามน่ารัก


       ท่านอาจารย์เจ้าคุณภะรตราชาได้เคี่ยวเข็ญ  ให้ท่านผู้หญิงแต่งเพลงให้โรงเรียนวชิราวุธ  และท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาเกรงบารมี

จึงพยายามแต่งออกมา ๑๐ เพลง   บทเพลงมหาวชิราวุธราชสดุดี  เป็นที่ชื่นชมมาก

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 11:48

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณพี่วันดี

ท่านเจ้าคุณภะรต(อ่านว่าพะ-รดนะครับ ไม่ใช่ภา-ระ-ตะ) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย พระเอกในเรื่องของคุณวันดีนี้ ท่านเป็นบูรพาจารย์ของกระผมเอง ภาพที่นำเสนอนี้เป็นปางใจดี ซึ่งหาได้ยากมากๆ ส่วนใหญ่พวกเราจะเจอแต่ปางหน้าดุ เพียงแค่โดนท่านจ้อง เข่าก็อ่อนแล้ว

ตอนที่เข้าไปเป็นศิษย์ของท่าน ดูเหมือนท่านจะ๗๓เข้าไปแล้ว รูปตอนหนุ่มๆยังหาไม่เจอครับ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 11:52

คุณหญิงอุบล  หุวะนันท์   เขียน  ระลึกถึงพระคุณท่านผู้หญิงไว้ว่า


       คุณหญิงเล่าว่า  ท่านเป็นญาติปลายอ้อปลายแถว    ครอบครัวและตัวคุณหญิงได้รับความอุปการะจากครอบครัวของท่านเจ้าคุณมาถึง ๓ ชั่วอายุคน

บิดาและป้าเป็นกำพร้าแต่ยังน้อย    คุณยายของท่านเจ้าคุณคืออาแท้ ๆ รับมาเลี้ยงไว้       มารดาท่านเจ้าคุณคือป้าของคุณหญิงอุบล


       รูปสมบัติของท่านผู้หญิงขจรประกอบด้วยบุคลิกงดงาม  จะพูดตามคำชาวบ้านก็เรียกว่า  ท่านทั้งสวยและงาม   จะดูเป็นแหม่มก็ได้  เป็นญี่ปุ่นก็ดี

มารยาทก็แช่มช้อยเพราะอยู่ในวังมาตั้งแต่เด็ก          สำเนียงที่พูดจาก็นิ่มนวล  บอกลักษณะของผู้มีอารมณ์อ่อนโยน  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 11:59


จำได้ว่าคุณ Navarat  เคยเขียนเรื่องโรงเรียนวชิราวุธ และท่านผู้บังคับการไว้

ดิฉันมีหนังสืออนุสรณ์ของท่านด้วยค่ะ   คงหาประเด็นที่น่าสนใจมาลงไว้

ยังไม่ลืมที่จะค้นหารูปที่ต้องการค่ะ     

นักสะสมริชาร์ด ใจสิงห์บอกว่ามีรูปวังหน้าอยู่บ้าง  แต่ไม่ทราบใครเป็นใคร  และจะค้นมาให้

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 12:31

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

และขอถือโอกาสเอารูปท่านผู้บังคับการพิมพ์นิยม ปางหน้าดุ มาลงไว้ใช้ชมด้วย จะได้อ่านเรื่องท่านผู้หญิงของท่านออกรสยิ่งขึ้น
สมัยผมเป็นนักเรียน ท่านยังเป็นคุณหญิงครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 13:16

ได้มาแล้วครับ

พระยาและคุณหญิงภะรตราชา ถ่ายภาพพร้อมบุตรธิดา ระหว่างท่านเจ้าคุณไปดำรงตำแหน่งผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษคนแรก ในพ.ศ.๒๔๖๔ - ๒๔๖๙


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 13:24

หลังจากกลับจากอังกฤษ ท่านเจ้าคุณได้เป็นเลขานุการเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ แล้วจึงย้ายไปเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในอีกสองปีต่อมาควบคู่กับตำแหน่งหน้าที่เดิม จนออกจากราชการเมื่อวันที่๑สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๕

ในภาพเป็นครอบครัวของท่านหลังกลับจากอังกฤษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 13:55

เมื่อออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระยาภะรตราชาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพคนแรกในสมัยที่พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นนายกเทศมนตรี ต่อมาได้เป็นเทศมนตรีหลายสมัยและเป็นสมาชิกวุฒิสภาสองสมัย ระหว่างนั้น ท่านได้มาเป็นครูพิเศษสอนในวชิราวุธวิทยาลัยด้วย

ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ และคงอยู่ในตำแหน่งนี้เกือบ๓๒ปี ขาดไปไม่กี่วันเท่านั้น ท่านถึงอนิจกรรมโดยสงบที่บ้านพักของท่านในโรงเรียนนั่นเอง คืนนั้นเป็นคืนวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘  สิริอายุรวม ๘๙ปี

* L1040550.JPG (0 KB - ดาวน์โหลด 325 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 ม.ค. 11, 14:00

ขอเชิญคุณพี่วันดีนำท่านผู้อ่านกลับไปที่เรื่องของท่านผู้หญิงต่อด้วยครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง