เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ภศุสรร ที่ 14 มี.ค. 21, 17:22



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 14 มี.ค. 21, 17:22
ก่อนอื่นนั้นกระผมต้องขอกราบสวัสดีสมาชิกและอาจารย์ผู้มีเกียรติทุกท่านของเว็บเรือนไทยอีกครั้งนะครับ หลังจากที่ได้หายไปจากเว็บนี้
ไปซะนานเชียว ;D วันนี้ต้องขอรบกวนสมาชิกและอาจารย์ทุกท่านด้วยคำถามที่อาจจะดูไร้สาระไปนิดหน่อยนะครับ  กล่าวคือ ไม่ทราบว่าสมาชิกและอาจารย์ทุกท่านในวัยเด็กนั้นเคยได้มีโอกาสรู้จักและได้ยินเรื่องเล่าจากผู้สูงอายุและผู้อาวุโส คนเฒ่าคนแก่ในยุคนั้นสมัยกันมาบ้างรึเปล่าครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายทีเคารพ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุท่านอื่นฯเช่น(คุณยายข้างบ้าน) ที่ทุกท่านได้มีโอกาสรู้จักในอดีตที่ผ่านมา ส่วนตัวกระผมนั้นอยากทราบว่าผู้สูงอายุที่ทุกท่านได้รู้จักในสมัยก่อนนั้น ท่านทั้งหลายที่เคารพเหล่านั้น ได้มีการเล่าหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา(เรื่องราวที่น่าสนใจไปจนถึงความเป็นของผู้คนในสมัยรัชกาลที่๕-๗เป็นต้น)กันบ้างหรือเปล่าครับซึ่งกระผมเองนั้นมีความเห็นส่วนตัวว่าการบันทึก’’ประวัติศาสตร์ปากเปล่า” (Oral history) เช่นนี้นั้นเป็นสิ่งที่สุดแสนจะล้ำค้าเลยละครับเป็นสิ่งที่ในความคิดเห็นของกระผมนั้นอาจจะน่าสนใจกว่าประวัติศาสตร์ในตำราเสียอีกเนื่องจากเรื่องราวเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเหตุจริงคนจริงทั่งสิ้น ดังนั้นการเล่าเรื่องราวดังกล่าวจึงสามารถเปรียบเทียบได้ว่าเปรียบเสมือนการได้นั่งไทม์มัชชินกลับไปในอดีดอีกครั่งหนึ่งผ่านเรื่องเล่าของคนเก่าคนแก่นั้นเองละครับ อีกทั้งตัวกระผมเองก็ยังไม่เคยได้เห็นว่ามีสมาชิกท่านไหนได้ตั้งกระทู้แนวนี้ลงในเรือนไทยมาก่อน จึงต้องขออนุญาตถามท่านสมาชิกทุกท่านในที่นี้ด้วยนะครับ ไม่ทรายว่าทุกท่านจะมีเรี่องราวอะไรมาเล่าบ้าง ส่วนตัวกระผมหวั่งว่ากระทู้
นี่จะทำน่าที่ในการช่วยอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และเรื่องราวในอดีตไว้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ ส่วนตัวกระผมต้องขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างมาก และต้องขออภัยด้วยนะครับหากคำถามนี้ยาวเกินควรนะครับ กระผมเองก็เป็นแค่เด็กวัยรุ่นคนนึ่ง หากมีอะไรไม่เหมาะสม ก็ต้องกราบขออภัยทุกท่านในที่นี้ด้วย ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงสำหรับคำตอบนะครับกระผมเองต้องขอรอฟังด้วยแล้วล่ะครับ ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มี.ค. 21, 19:08
คำถามของคุณน่าสนใจ  เป็นคำถามที่กว้างมาก  เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เล่าหลายด้านหลายมุมไม่มีข้อจำกัด
ก็คงมีหลายท่านที่จดจำเรื่องราวเก่าๆ ที่ปู่ย่าตายายบอกเล่าได้     รอสักพักคงจะมีคนเข้ามาตอบนะคะ

ขอเชิญทุกท่านค่ะ  จะเล่าเรื่องอะไรก็ได้ ในอดีต


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 มี.ค. 21, 09:18
เรื่องรุ่นพ่อของผม ก็เท่ากับเรื่องของรุ่นอาจารย์นั่นเองแหละครับ
เรื่องรุ่นปู่ย่า ก็.. เอ่ ย่าเคยเล่าอะไรให้ฟังบ้างหนอ เริ่มจำไม่ได้ครับ แหะๆ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มี.ค. 21, 10:04
รออยู่นานหลายวัน ยังไม่มีใครเข้ามาเล่าอะไรให้ฟัง    คงยังนึกไม่ออกมั้งคะ
ถ้างั้นก็ขอเกริ่นด้วยการเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ของความเชื่อสมัยปู่ย่าตายาย  (ซึ่งคงจะตรงกับยุคทวดหรือเทียดของคุณเจ้าของกระทู้)  เป็นความเชื่อที่ปัจจุบันไม่มีใครเชื่อกันอีกแล้ว
- ผู้ใหญ่สอนเด็กให้กินข้าวมากๆ  กินกับข้าวน้อยๆ    ถ้ากินกับมาก แต่กินข้าวน้อย  จะเป็นตานขโมย
(ตานขโมย เป็นโรคเกิดจากพยาธิลำไส้  มักเป็นแก่เด็กอายุประมาณ ๕ ขวบขึ้นไป  ป่วยแล้วผอม ท้องป่อง ก้นปอด  ชอบกินอาหารได้มาก มีอาการปวดท้องและซึม)
- ในตอนค่ำๆ  ถ้าได้ยินเสียงเรียกชื่อ ห้ามขานรับ  เพราะอาจถูกคุณไสยที่ถูกปล่อยมาตามลม  ใครขานรับก็จะถูกอาคมเข้าตัวคนนั้น
- ห้ามเล่นซ่อนหาในเวลาโพล้เพล้   จะถูกผีลักซ่อน ทำให้หาตัวไม่เจอ
- ห้ามกินน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำมะพร้าว ในเวลามีประจำเดือน จะป่วยเป็นไข้ทับระดู   คือปวดท้องอย่างหนักและเป็นไข้สูง   ถึงตายได้
  จริงๆก็คืออาการปีกมดลูกอักเสบ    ไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
- เด็กทุกคนเกิดมามีขวัญอยู่บนหัว  (คือตรงที่ผมขึ้นเวียนเป็นก้นหอย) ต้องรักษาไว้ให้ดี 
  ถ้ามีเรื่องกระทบกระเทือนร่างกายหรือจิตใจ  ขวัญจะออกไปจากตัว  ต้องทำพิธีรับขวัญกันให้กลับคืนมา   
  วิธีรักษาขวัญไว้คือโกนศีรษะแต่ปล่อยผมตรงกลางหัวไว้คลุมขวัญให้มิดชิด  ไม่ให้อะไรมากระทบกระเทือนได้   ผมที่คลุมขวัญนี้เมื่อขมวดเป็นก้อนไว้ ไม่ปล่อยยาวรุงรัง เรียกว่า "ผมจุก" 
   เมื่ออายุพ้นวัยเด็กแล้ว  ไม่ต้องมีจุกอีก ก็จะมีพิธีโกนจุก   พิธีนี้เลิกไปสมัยรัชกาลที่ ๖ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มี.ค. 21, 10:07
คุณภศุสรร คือคุณชูพงศ์ หรือเปล่าคะนี่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มี.ค. 21, 19:02
กระผมนั้นอยากทราบว่าผู้สูงอายุที่ทุกท่านได้รู้จักในสมัยก่อนนั้น ท่านทั้งหลายที่เคารพเหล่านั้น ได้มีการเล่าหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา (เรื่องราวที่น่าสนใจไปจนถึงความเป็นของผู้คนในสมัยรัชกาลที่ ๕-๗ เป็นต้น) กันบ้างหรือเปล่าครับซึ่งกระผมเองนั้นมีความเห็นส่วนตัวว่าการบันทึก’’ประวัติศาสตร์ปากเปล่า” (Oral history) เช่นนี้นั้นเป็นสิ่งที่สุดแสนจะล้ำค้าเลยละครับเป็นสิ่งที่ในความคิดเห็นของกระผมนั้นอาจจะน่าสนใจกว่าประวัติศาสตร์ในตำราเสียอีก

คุณหมอศานติ วิบูลมงคล ศิษย์เก่าศิริราช รุ่น ๖๕ อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ผู้ผันตัวมาเป็นช่างไม้เขียนเล่า "ประวัติศาสตร์ปากเปล่า" ถึงเหตุการณ์ปลายรัชกาลที่ ๗ จนถึงรัชกาลที่ ๘ ผ่านประวัติของนักเรียนทุนไปศึกษาที่อเมริกาพบรักกับสาวชาวฝรั่งเศส มาตั้งหลักฐานกันในกรุงเทพ มีลูกชายเรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นบุกต้องหนีไปในชนบท

เรื่องทั้งหมด อยู่ในกระทู้ เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5510 .msg118857#msg118857) ความคิดเห็นที่ ๗๘ ถึง ความคิดเห็นที่ ๑๑๑


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 18 มี.ค. 21, 08:30
ผมเป็นคนหนึ่งที่มี oral history ที่ได้ฟังมาเต็มหัวเลยครับ
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของบรรพบุรุษ และถิ่นกำเนิดที่ปัตตานี
จนผมต้องค่อย ๆ ถ่ายทอดมันออกมาเป็นตัวหนังสือ
บางครั้งก็ใช้วิธีการถ่ายทอดผ่านรูปถ่ายเก่า ๆ ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 18 มี.ค. 21, 09:14
- ผู้ใหญ่สอนเด็กให้กินข้าวมากๆ  กินกับข้าวน้อยๆ    ถ้ากินกับมาก แต่กินข้าวน้อย  จะเป็นตานขโมย
(ตานขโมย เป็นโรคเกิดจากพยาธิลำไส้  มักเป็นแก่เด็กอายุประมาณ ๕ ขวบขึ้นไป  ป่วยแล้วผอม ท้องป่อง ก้นปอด  ชอบกินอาหารได้มาก มีอาการปวดท้องและซึม)
ข้อนี้ผมก็เคยได้ยินครับ แต่ตอนผม พ่อไม่ค่อยจะเชื่อแล้ว พ่อบอกตรงๆเลยว่า "มันเปลืองเว้ย"

- ในตอนค่ำๆ  ถ้าได้ยินเสียงเรียกชื่อ ห้ามขานรับ  เพราะอาจถูกคุณไสยที่ถูกปล่อยมาตามลม  ใครขานรับก็จะถูกอาคมเข้าตัวคนนั้น
เคยได้ยินเช่นกันครับ
สมัยนี้ ก็ยังมีอยู่แต่เปลี่ยนเป็น ถ้ามีคนไม่รู้จักทักมาในโซเชียล ห้ามกดรับ ไม่งั้น มัลแวร์อาจเข้าตัว

- ห้ามเล่นซ่อนหาในเวลาโพล้เพล้ จะถูกผีลักซ่อน ทำให้หาตัวไม่เจอ
อันนี้ตอนเด็กยังได้รับการเตือนอยู่ครับ

- ห้ามกินน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำมะพร้าว ในเวลามีประจำเดือน จะป่วยเป็นไข้ทับระดู   คือปวดท้องอย่างหนักและเป็นไข้สูง   ถึงตายได้
  จริงๆก็คืออาการปีกมดลูกอักเสบ    ไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
คงเป็นเพราะว่าบ้านผมมีแต่ลูกชาย จึงไม่เคยได้ยินครับ

- เด็กทุกคนเกิดมามีขวัญอยู่บนหัว  (คือตรงที่ผมขึ้นเวียนเป็นก้นหอย) ต้องรักษาไว้ให้ดี
  ถ้ามีเรื่องกระทบกระเทือนร่างกายหรือจิตใจ  ขวัญจะออกไปจากตัว  ต้องทำพิธีรับขวัญกันให้กลับคืนมา
เคยได้ยินแน่นอนครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มี.ค. 21, 09:46
เด็กทุกคนเกิดมามีขวัญอยู่บนหัว  (คือตรงที่ผมขึ้นเวียนเป็นก้นหอย)

ขวัญที่อยู่บนหัวที่พบบ่อย ๆ จะมีอยู่ ๑ ขวัญ รองลงมาก็เป็น ๒ ขวัญ  มีคำพูดเกี่ยวกับเรื่องจำนวนขวัญได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า "ขวัญเดียวอีเปี้ยวขายปู สองขวัญขยันหาเมีย"

คุณกิเลน ประลองเชิง  (https://www.thairath.co.th/content/396534) เขียนเล่าไว้ในไทยรัฐว่า เด็กปากอ่าวแม่กลองบ้านผมร้องล้อ “ขวัญเดียวลูกอีเปี้ยวขายพลู สองขวัญขยันหาผัว” ส่วนคุณสมัคร บุราวาศเล่าไว้ในหนังสือ วัฒนธรรมไต-จีน ว่า คำร้อง “เล่นหัว” ของเด็ก ๆ มีสองอย่างคือ "ขวัญเดียวลูกไอ้เบี้ยวขายหมู สองขวัญลูกไอ้จันทร์ธนู"

ชาวเรือนไทยเคยได้ยินคำร้องเกี่ยวกับเรื่อง "ขวัญเดียว สองขวัญ" อย่างไรกันบ้าง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 18 มี.ค. 21, 10:10
ต้องขอขอบพระคุณท่านสมาชิกทุกท่านสำหรับคำตอบนะครับ ความเชื่อพวกผมเองถึงแม่เป็นคนรุ่นใหม่ก็ยังมีโอกาสได้ยินมาจากคนเก่าคนแก่อยู่เหมือนกัน
สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับกับขวัญบนหัวที่ท่านอาจารย์เทาชมพูได้พูดถึงนั้น ผู้ใหญ่ที่บ้านได้เคยเล่าอีกว่าจำนวนขวัญบนหัวสามารถกำกับนิสัยของเด็กได้เหมือนกัน
เกล่าคือ เด็กผู้ชายถ้ามีขวัญอยู่กระจุกเดียวจะเรียบร้อย ถ้ามีสองกระจุกจะซน ผมเองมีสองกระจุกพอดี :) ตอนเด็กก็ดันซนเอามากซะด้วย :)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 18 มี.ค. 21, 10:17
อีกตวามเชื่อของผู้ใหญ่ในบ้านคือ เวลากลางคืนห้ามนั้งบนขั้นบันได อาจทำให้แม่ซื้อโกรธได้แม่ซื้อในที่นี้อาจจะหมายถึงเจ้าที่มากกว่าผีแม่ซื้อที่คุมครองเด็ก
ส่วนตัวกระผมเองก็ไม่เคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับขันบันไดนี้จากใครที่ไหนอีกเลย ไม่ทราบว่ามีสมาท่านไหนเคยได้ยินอีกบ้างล่ะครับ?


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 21, 11:08
ผมเป็นคนหนึ่งที่มี oral history ที่ได้ฟังมาเต็มหัวเลยครับ
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของบรรพบุรุษ และถิ่นกำเนิดที่ปัตตานี
จนผมต้องค่อย ๆ ถ่ายทอดมันออกมาเป็นตัวหนังสือ
บางครั้งก็ใช้วิธีการถ่ายทอดผ่านรูปถ่ายเก่า ๆ ครับ
อยากได้เป็นความรู้ในเรือนไทยมากค่ะ   ถึงคุณหมอเคยเล่าที่อื่นมาแล้ว ก็คงไม่รังเกียจที่จะเล่าอีกนะคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 21, 11:10
เด็กทุกคนเกิดมามีขวัญอยู่บนหัว  (คือตรงที่ผมขึ้นเวียนเป็นก้นหอย)

ขวัญที่อยู่บนหัวที่พบบ่อย ๆ จะมีอยู่ ๑ ขวัญ รองลงมาก็เป็น ๒ ขวัญ  มีคำพูดเกี่ยวกับเรื่องจำนวนขวัญได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า "ขวัญเดียวอีเปี้ยวขายปู สองขวัญขยันหาเมีย"
ไม่เคยได้ยินทั้งสองอย่าง 
แต่จำนวนขวัญทำให้นึกถึงชื่อเพื่อนร่วมรุ่นคนหนึ่ง ชื่อ "สามขวัญ"   ไม่รู้ว่าเขามีขวัญเดียวหรือสามขวัญจริงๆ   เป็นชื่อที่แปลกไม่ซ้ำใคร เลยจำได้จนบัดนี้ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 21, 11:59
ความเชื่อเรื่องสุริยุปราคา
- ถ้าผู้หญิงตั้งครรภ์อยู่  เมื่อเกิดสุริยุปราคา ให้รีบเอาเข็มกลัดกลัดผ้านุ่งไว้    มิฉะนั้นลูกในท้องจะออกมาตาเหล่
- เมื่อเกิดสุริยุปราคา  ให้เอาไม้ไปเคาะตามต้นไม้ที่มีผล   เมื่อถึงเวลาออกลูก ลูกจะดกมาก

เรื่องผี
- อย่าตากผ้าค้างราวไว้ตอนกลางคืน  ผีกระสือจะมาเช็ดปากเป็นดวงๆบนผ้า
- บ้านไหนมีผู้หญิงกำลังจะคลอดลูก  ให้เอาไม้มีหนามอย่างไม้พุงดอ มาสะไว้ตรงร่องพื้นบ้าน  ไม่ให้ผีกระสือขึ้นมากินของสดคาว คือเลือดกับรกเด็ก 
- อย่าให้แมวดำกระโดดข้ามโลง   คนตายจะฟื้นขึ้นมาได้

เรื่องของขลัง
- ห้ามผู้ชายเดินลอดราวตากผ้า  เพราะถ้าลอดผ้านุ่งผู้หญิง ของขลังในตัวจะเสื่อม
- ประจำเดือนของผู้หญิง ทำให้อาคมและของขลังเสื่อมได้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มี.ค. 21, 08:03
  - เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน  สวนทุเรียนไม่ได้อยู่แถวนนทบุรี   แต่อยู่ที่คลองสาน   บริเวณถัดจากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาไปจนถึงลาดหญ้า เป็นสวนทุเรียนทั้งนั้น
  - แถวถนนสุขุมวิท ตั้งแต่พ้นทางรถไฟช่องนนทรีไป   เมื่อก่อนเรียกว่า "บางกะปิ"
  - บางกะปิไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระโขนง  พ้นจากตรงนั้นไปเป็นทุ่งนา


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 มี.ค. 21, 08:29
เรื่องของขลัง - ห้ามผู้ชายเดินลอดราวตากผ้า  เพราะถ้าลอดผ้านุ่งผู้หญิง ของขลังในตัวจะเสื่อม

ความเชื่อเรื่องนี้ของไทยเป็นเช่นเดียวกับในพม่า (แม้แตกต่างกันบ้างใน รายละเอียดบางอย่าง (https://www.brandthink.me/content/womenclothesinmyanmar)) อย่างที่ปรากฏในการชุมนุมต่อต้านคณะรัฐประหารในพม่าเวลานี้

ผู้ชุมนุมประท้วงในพม่าต่างพากันขึงราวตากผ้านุ่งผ้าถุงผู้หญิงขวางถนนเพื่อชะลอการเข้าปราบปรามของตำรวจและทหาร เนื่องจากมีความเชื่อว่าการเดินลอดใต้สิ่งเหล่านี้ถือเป็นโชคร้ายสำหรับผู้ชาย

ภาพจาก Reuters (https://www.reuters.com/article/us-myanmar-politics-protest-yangon-idUSKBN2AY0DX)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 19 มี.ค. 21, 11:06
  - เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน  สวนทุเรียนไม่ได้อยู่แถวนนทบุรี   แต่อยู่ที่คลองสาน   บริเวณถัดจากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาไปจนถึงลาดหญ้า เป็นสวนทุเรียนทั้งนั้น
  - แถวถนนสุขุมวิท ตั้งแต่พ้นทางรถไฟช่องนนทรีไป   เมื่อก่อนเรียกว่า "บางกะปิ"
  - บางกะปิไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระโขนง  พ้นจากตรงนั้นไปเป็นทุ่งนา


เท่าที่ผมทราบมาจากการพูดคุยกับผู้สูงอายุในพื้นที่ ในสมัยก่อนนั้นบริเวณแถบบางพลีไปจนถึงตำบลบางโฉลงในปัจจุบันก็มีสภาพเป็นทุ่งนาราบลุ่มเช่นเดียวกันครับ คนแก่ยังได้เล่าอีกว่าในอดีตสมัยปู่ย่าตายายนั้นบริเวณบางโฉลงเกือบทั้งหมดอยู่ติดกับท่องทะเล เรียกได้ว่าอยู่ริมทะเลเลยล่ะครับ ชาวบ้านในอดีตนอกจากมีอาชีพทำไร่ทำนาแล้วส่วนใหญ่ก็จะนั่งเรือออกทะเลหาปลาอีกด้วย แต่ทว่าต่อมาเนื่องจากได้มีการถมดินเพื่มพืนที่ทำให้ท่องทะเลนั้นได้เกิดการ’’ถด’’ออกไปราว๑๐กิโลเมตร ส่านตัวกระผมเองนั้นไม่รู้ว่าเรื่องราวดังกล่าวนี้จะเป็นเทศจริงอย่างไร คงต้องขออนุญาตถามเป็นความรู้จากสมาชิกท่านอื่นต่อไปด้วยนะครับ :)

‘‘เรื่องราวอันน่าจด ทะเลถดที่บางโฉลง’’


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มี.ค. 21, 20:43
    บางพลีเมื่อ 50-60 ปีก่อนเป็นชนบทค่ะ   จำได้แค่นี้   จากกรุงเทพไปทางตะวันออกเป็นทุ่งนา  อาจมีสวนมะพร้าวขึ้นอยู่บ้าง   แต่ไม่เหมือนฝั่งธนซึ่งเป็นสวนผลไม้หนาแน่น   เพราะได้ดินริมแมน้ำที่เป็นดินอุดมสมบูรณ์
   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 19 มี.ค. 21, 21:26
ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูเป็นอย่างสูงสำหรับความรู้นะครับ ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา... :)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 19 มี.ค. 21, 21:37
เมื่อเดือนก่อนผมได้เดินทางไปสักการะหลวงพ่อโสษรที่แปดริ้ว ระหว่างทางก็ยังพอได้เห็นทุ่งนาอยู่บ้าง บางแห่งตั้งอยู่ติดทางด่วนเลยก็มี นกกระสานกปากห่างยังบินว่อนเป็นวงกลมอยู่เลยล่ะครับ ส่วนตัวนั้นกระผมพอจะคาดคะเนได้ว่าชานเมืองกรุงเทพในสมัยก่อนก็คงมีบรรยากาศไม่ต่างจากจากนี้เป็นแน่
กระผมยังพอมีเรืองเล่าของเหตุการณ์ที่น่าสนใจในบริเวณบางโฉลงอยู่หลายเรื่องล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับฟังมาจากผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งนั้น เดี๋ยวผมมีเวลาเมื่อไหร่จะมาเล่าต่อให้ทุกท่านฟังนะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 21 มี.ค. 21, 14:35


โต้เหี่ย ตั้วเหี่ย

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีก่อน เคยได้ยินผู้ใหญ่ที่บ้าน ใช้คำนี้ ข้อความกึ่งฟ้องกึ่งปรารภ ประมาณว่า “หนูแป๋วกับเจ้าป๋องเกิดโต้เหี่ยกันใหญ่ตอนกลับจากโรงเรียน เรื่องล้ำเส้นขนมในตู้เย็นกัน”
สำนวน “โต้เหี่ยกัน” เข้าใจว่าหมายถึง ขัดแย้งทุ่มเถียงทะเลาะกันค่อนข้างหนัก ไม่เคยได้ยินจากที่อื่น นอกจากผู้ใหญ่และญาติพี่น้องของท่าน พอคิดจะซักถามหาความกระจ่าง ท่านก็ไม่อยู่ให้ถามแล้ว

 เลยสันนิษฐานเอาเองว่า น่าจะเป็นสำนวนเฉพาะถิ่นของเมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา เพราะผู้ใหญ่ที่บ้านและญาติๆพื้นเพเป็นเป็นคนแปดริ้ว อาจจะติดหูติดปากมาจากคนฉะเชิงเทรารุ่นเก่า เพราะเคยเกิดเหตุการณ์ใหญ่ร้ายแรงที่สุดที่นั่น คือมีอั้งยี่ก่อจราจลขึ้น ถึงขนาดฆ่าเจ้าเมืองตาย ถึงขนาดทางกรุงเทพฯต้องยกกำลังทหารไปปราบ เหตุการณ์จึงสงบลง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๙๑ พระราชพงศาวดารบันทึกหัวเรื่องว่า “เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย”  คนแปดริ้วรุ่นเก่าคงบอกเล่าสืบทอดกันมา  คนรุ่นปัจจุบันไม่ใช้คำนี้กันนานแล้ว คงใช้คำที่ติดปากติดหูกัน ๖-๗ ปีมานี่มากว่า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 มี.ค. 21, 09:12
บ้านผมอยู่ริมแม่น้ำครับ สมัยก่อนเคยได้รับการบอกเล่นว่า
1. ถ้าตรงไหนเคยมีคนจมน้ำตาย ให้ระวังให้ดี โดยเฉพาะเมื่อครบรอบปี เพราะผู้ที่ตายไป จะพยายามหาคนอื่นมาแทบที่ตัวเอง
2. คืนเดือนเพ็ญ ถ้าโชคดีอาจจะได้พบเงือก (บ้านผมมีแพสำหรับใช้เทียบเรือข้ามฟากครับ มีคนที่นอนเฝ้าแพตอนกลางคืนอ้างว่า เคยเห็นด้วยครับ)
3. คุ้งน้ำ ที่มีกระแสน้ำไหลทวนน้ำขึ้นไป เป็นคุ้งน้ำอันตราย อย่าลงเล่น อาจมี ตะพัก (สะกดอย่างนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ ตะพัก คือ หลุมใต้น้ำ ที่มองไม่เห็น)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มี.ค. 21, 09:38
คืนเดือนเพ็ญ ถ้าโชคดีอาจจะได้พบเงือก (บ้านผมมีแพสำหรับใช้เทียบเรือข้ามฟากครับ มีคนที่นอนเฝ้าแพตอนกลางคืนอ้างว่า เคยเห็นด้วยครับ)

มาเล่าเรื่อง 'เงือก' (สไตล์ล้านนา) น่ากลัวมิใช่น้อย  :o

ทางล้านนาเชื่อว่าผีเงือกเป็นผีรักษาแม่น้ำใหญ่คอยเอาชีวิตผู้คนที่กระทำขึ้ดทำลายแม่น้ำหรือเป็นผู้ไม่อยู่ในศีลธรรม

ลักษณะเงือกผู้คนล้านนาก็มีเล่าหลายสาย แต่ที่จะเล่าต่อไปนี้ก็เป็นสายหนึ่งว่ากันดังนี้

.....อันว่าผีเงือกมันตั๋วยาวเหมือนดั่งป๋าเหยี่ยน (ปลาไหล) ผิวหนังมีเมือกมื่น (ลื่น) หลืด ๆ หลาด ๆ จับยับมันบ่ได้เมือกไคลมันหนายับก็หลูด...ยับก็หลูด...ส่วนหัวมันเหมือนมุ่มเหมือนงูมีหงอน   มันชอบอยู่ในเงิ้มถืบถ้ำวังน้ำเลิ้ก (ลึก) มันชอบกิ๋นคนที่ไปเปลี่ยนกระแสแม่น้ำ  เยี๊ยะขึ้ดจา (อาถรรพ์) กับแม่น้ำกว๊านใหญ่  ด้วยเหตุที่มันมีเมือกและอยู่ในเงิบนี้เองผู้คนจึงเอาลักษณะเมือกกับเงิบมาผสมกั๋นฮ้อง (เรียก) มันว่า เงือก บ่งบอกลักษณะผีร้ายที่มีเมือกอยู่ในเงิบฝั่งวังน้ำ

วันเดือนดับเดือนเป็ง (วันแรม/วันเพ็ญ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) ผีเงือกจะออกมาหาเหยื่อตะแหลง (แปลงร่าง) เป็นปลาตัวใหญ่บ้าง  บางครั้งตะแหลงเป็นคนเดินตามหาดทรายบ้างตรวจตราท้องน้ำ  หากมันเกิดอารมณ์อยากเล่นน้ำมันจะเล่นน้ำดีดน้ำเสียงดัง..โต้มต้าม....โต้มต้าม..สายน้ำฟ้งกระจายดั่งถูกก้อนหินใหญ่ทุ่มลง   หากผู้คนได้ยินเสียงน้ำจะรีบขึ้นจากแม่น้ำทันทีพร้อมกับสงบปากเงี้ยบ..เงียบไม่ส่งเสียงดังเอะอะโวยวายเพราะกลัวว่าผีเงือกจำเสียงได้หากกลับลงน้ำเมื่อใดผีเงือกก็จะมาลากเอาตัวไป



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 มี.ค. 21, 10:58


โต้เหี่ย ตั้วเหี่ย

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีก่อน เคยได้ยินผู้ใหญ่ที่บ้าน ใช้คำนี้ ข้อความกึ่งฟ้องกึ่งปรารภ ประมาณว่า “หนูแป๋วกับเจ้าป๋องเกิดโต้เหี่ยกันใหญ่ตอนกลับจากโรงเรียน เรื่องล้ำเส้นขนมในตู้เย็นกัน”
สำนวน “โต้เหี่ยกัน” เข้าใจว่าหมายถึง ขัดแย้งทุ่มเถียงทะเลาะกันค่อนข้างหนัก ไม่เคยได้ยินจากที่อื่น นอกจากผู้ใหญ่และญาติพี่น้องของท่าน พอคิดจะซักถามหาความกระจ่าง ท่านก็ไม่อยู่ให้ถามแล้ว

 เลยสันนิษฐานเอาเองว่า น่าจะเป็นสำนวนเฉพาะถิ่นของเมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา เพราะผู้ใหญ่ที่บ้านและญาติๆพื้นเพเป็นเป็นคนแปดริ้ว อาจจะติดหูติดปากมาจากคนฉะเชิงเทรารุ่นเก่า เพราะเคยเกิดเหตุการณ์ใหญ่ร้ายแรงที่สุดที่นั่น คือมีอั้งยี่ก่อจราจลขึ้น ถึงขนาดฆ่าเจ้าเมืองตาย ถึงขนาดทางกรุงเทพฯต้องยกกำลังทหารไปปราบ เหตุการณ์จึงสงบลง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๙๑ พระราชพงศาวดารบันทึกหัวเรื่องว่า “เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย”  คนแปดริ้วรุ่นเก่าคงบอกเล่าสืบทอดกันมา  คนรุ่นปัจจุบันไม่ใช้คำนี้กันนานแล้ว คงใช้คำที่ติดปากติดหูกัน ๖-๗ ปีมานี่มากว่า

คำว่า’’ตั่วเหี่ย’’ ในภาษาจีนถิ่นหมิ่นหนาน[หมายถึงภาษาจีนถิ่นแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนไม่มีในภาษาจีนกลางมาตรฐาน] จะมีความหมายว่า’’พี่ใหญ่’’ครับ คำว่าตั่วเหี่ยนี้นอกจากจะสามารถใช้เรียกเพศชายที่มีอายุไกล้เคียงหรือมากกว่าเหมือนกับคำว่า’’พี่’’ในภาษาไทยแล้วนั่น ในภาษาจีนแต๋จิ๋วยังเป็นคำที่ใช้เรียกหัวหน้ากลุ่มหรือหัวหน้าวงในบรรดากลุ่มโจรขโมยและนักเลงในสมัยก่อนได้อีกด้วยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 มี.ค. 21, 11:01
คำว่า’’ตั่วเหี่ย’’ ในภาษาจีนถิ่นหมิ่นหนาน หมายถึงภาษาจีนถิ่นแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนไม่มีในภาษาจีนกลางมาตรฐาน จะมีความหมายว่า’’พี่ใหญ่’’ครับ คำว่าตั่วเหี่ยนี้นอกจากจะสามารถใช้เรียกเพศชายที่มีอายุไกล้เคียงหรือมากกว่าเหมือนกับคำว่า’’พี่’’ในภาษาไทยแล้วนั่น ในภาษาจีนแต๋จิ๋วยังเป็นคำที่ใช้เรียกหัวหน้ากลุ่มหรือหัวหน้าวงในบรรดากลุ่มโจรขโมยและนักเลงในสมัยก่อนได้อีกด้วยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 มี.ค. 21, 11:05
ต้องขอขอบพระคุณท่านสมาชิกและอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูงด้วยนะครับสำหรับคำตอบ ตอนผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาแรกๆๆก็ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีผู้สนใจเยอะขนาดนี้ครับ สำหรับตัวกระผมนั้นจะต้องขออนุญาตมาเล่าเรื่องราวแปลกประหลาดที่บางโฉลงอีกทีในตอนเย็นนะครับ หวังว่าทุกท่านจะได้รับฟังด้วยนะครับ :)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มี.ค. 21, 16:33
มาทักทายคุณ Jalito ค่ะ นานๆจะเข้ามาคุยด้วยสักที    เดี๋ยวจะต้องไปซื้อล็อตเตอรี่

เรื่องผี ที่เล่ากันมาแต่ดั้งเดิม เป็นเรื่องฮิทติดอันดับทุกยุคทุกสมัย    ในกรุงเทพสมัยหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน ภูมิประเทศเป็นใจ   ต้นไม้ขึ้นหนาทึบทุกหนทุกแห่งเพราะยังไม่มีคอนกรีตลาดทับอย่างทุกวันนี้   ผีจึงมีที่อยู่อาศัยมากมาย เรียกว่าอยู่ใกล้คนนิดเดียว
ผีที่อยู่ใกล้บ้านมีอะไรบ้าง
-นางตานี
สมัยนั้นกล้วยปลูกกันอยู่ทุกบ้าน  ไม่ต้องรดน้ำเพาะเม็ดหรือหาหน่อมาปลูก  มันก็ขึ้นของมันเอง   แต่กล้วยที่มีผีสิงสู่อยู่คือกล้วยตานี   กล้วยอื่นๆเช่นกล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  กล้วยไข้  ไม่มีผี
ผีตานีมีเฉพาะเพศหญิง และเป็นหญิงสาว เรียกว่านางตานี  ไม่มีเด็กหญิงตานีหรือคุณป้าคุณยายตานี  ห่มสไบสีเขียวตองอ่อน    ปรากฏกายให้มนุษย์หนุ่มเห็น  ถ้าเป็นคนแก่ ผู้หญิงหรือเด็ก นางตานีจะไม่สนใจนัก
ตามบ้านต่างๆจึงไม่ค่อยปลูกกล้วยตานีเพราะความเชื่อข้อนี้
- ผีบ้านผีเรือน  ว่ากันว่าเป็นบรรพบุรุษที่ยังวนเวียนดูแลลูกหลานอยู่   หรือไม่ก็เป็นวิญญาณของเจ้าของที่ดินเดิม ก่อนเจ้าของบ้านปัจจุบันมาปลูก
- นางตะเคียน ทำนองเดียวกับนางตานี  แต่สิงสู่อยู่ในต้นตะเคียน  เมื่อเอาไม้ตะเคียนมาทำเป็นเรือ  นางก็จะมาเป็นแม่ย่านางเรือ
ใครนึกออกอีกบ้างคะ

อ้อ  จีนตั้วเหี่ย ก็คือจีน"อั้งยี่"ค่ะ  น่าจะเป็นชื่อที่อั้งยี่เรียกหัวหน้าหรือลูกพี่   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มี.ค. 21, 09:05
มาเล่าเรื่อง ตั้วเหี่ย เพิ่มเติม คำนี้อักษรจีนเขียนว่า 大兄 แปลตรงตัวคือ พี่ใหญ่

มีภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่องหนึ่งชื่อว่า 唐山大兄 แต้จิ๋วอ่านว่า ตึ่งซัวตั่วเฮีย จีนกลางคือ ถางซานต้าซวง หมายถึงพี่ใหญ่จากเมืองจีน ชื่อภาษาอังกฤษคือ The Big Boss ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่ปากช่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ฉายในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ในชื่อว่า ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เป็นเรื่องเปิดตัวของดารากังฟูคนดัง บรูซ ลี

(http://f.ptcdn.info/146/004/000/1365952056-1005882-o.jpg)

ฉากที่เปิดตัว บรูซ ลี คือฉากในโรงน้ำแข็งดำรงไทย อยู่บนถนนมิตรภาพ ทางขวามือก่อนเข้าตัวอำเภอปากช่อง เจ้าของขณะนั้นคือเตี่ยของอาจารย์โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ก๋งของคุณจอห์น วิญญู นั่นเอง

http://youtu.be/nc6KggoYUlg


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 23 มี.ค. 21, 09:58
เคยได้ยินเรื่อง "เสือ" ที่ยายเล่าให้ฟังสมัยตอนเด็ก แต่ก็เลือนรางเต็มทน
พอโตขึ้นมาหน่อย ถึงได้รับรู้ว่า เสือที่ยายพูดถึงนั้นมีอยู่จริง จากการที่นำมาสร้างหนังหลายต่อหลายเรื่อง
ไม่ว่าจะ เสือดำ เสือใบ เสื้อฝ้าย เสือมเหศวร
เสียดายที่ตอนนั้นไม่ได้มีความรู้พอที่จะซักถาม แต่ยายเล่าว่า เวลาจะปล้น จะมีใบบอกมาก่อน ชาวบ้านก็จะหอบลูกเต้าหนีไปที่อื่นชั่วคราว
แต่ยายเล่าว่า เสือ ก็ไม่ได้ปล้นทุกบ้าน และไม่ได้มีการฆ่า หรือเผาทำลายใดๆ ก็นับถือน้ำใจคนยุคก่อนอยู่บ้าง
เป็นเรื่องเล่าของคนแถบ สิงห์บุรี อ่างทองครับ หากท่านใดพอจะทราบ หรือได้ยินได้ฟังมาอย่างไรแชร์สู่กันฟังได้ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 มี.ค. 21, 13:05
มาทักทายคุณ Jalito ค่ะ นานๆจะเข้ามาคุยด้วยสักที    เดี๋ยวจะต้องไปซื้อล็อตเตอรี่

สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู
ก่อนอื่นเนื่องจากทราบว่าเดือนนี้เป็นเดือนเนื่องในวันสำคัญของอาจารย์ จึงขออนุญาตใช้พื้นที่กระทู้นี้อวยพรแม้จะผ่านมา หลายวันแล้วก็ตาม
ขอให้อาจารย์มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง เพื่อจะได้มีพลังสร้างสรรค์งานประดับวงวรรณกรรมต่อไปได้นานๆ แม้นหากอยากเช็คดวงบ้าง ดังที่ปรารภไว้ข้างบน ก็ขอให้ถูกรางวัลซ้ำๆซ้อนๆจนเกินที่จะนับเทอญ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 21, 15:03
ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับพรของคุณ Jalito ค่ะ    ขอให้พรที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีนี้ศักดิ์สิทธิ์สมเจตนา   จะได้จัดเลี้ยงสมาชิกเรือนไทยได้ทั้งเรือนเสียที
ไหนๆก็ได้รับพรดีๆมาแล้ว ขอพรอีกสักข้อคือให้แวะเข้ามาทักทายกันบ้างนะคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 21, 15:17
เคยได้ยินเรื่อง "เสือ" ที่ยายเล่าให้ฟังสมัยตอนเด็ก แต่ก็เลือนรางเต็มทน
พอโตขึ้นมาหน่อย ถึงได้รับรู้ว่า เสือที่ยายพูดถึงนั้นมีอยู่จริง จากการที่นำมาสร้างหนังหลายต่อหลายเรื่อง
ไม่ว่าจะ เสือดำ เสือใบ เสื้อฝ้าย เสือมเหศวร
เสียดายที่ตอนนั้นไม่ได้มีความรู้พอที่จะซักถาม แต่ยายเล่าว่า เวลาจะปล้น จะมีใบบอกมาก่อน ชาวบ้านก็จะหอบลูกเต้าหนีไปที่อื่นชั่วคราว
แต่ยายเล่าว่า เสือ ก็ไม่ได้ปล้นทุกบ้าน และไม่ได้มีการฆ่า หรือเผาทำลายใดๆ ก็นับถือน้ำใจคนยุคก่อนอยู่บ้าง
เป็นเรื่องเล่าของคนแถบ สิงห์บุรี อ่างทองครับ หากท่านใดพอจะทราบ หรือได้ยินได้ฟังมาอย่างไรแชร์สู่กันฟังได้ครับ

เรื่องโจร พอจะมีเกร็ดเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ
คำว่า โจร กับ ขโมย เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว มีความหมายไม่เหมือนกัน   ขโมยคือพวกตัดช่องย่องเบา   วิ่งราว  ฉกลักของคนอื่น พวกนี้ทำงานเดี่ยวๆ หรืออย่างดีก็มีผู้ช่วยสักคนเอาไว้ดูทางหนีทีไล่  เมื่อปีนบ้านเข้าไปขโมยของในบ้านด้วยกัน
ส่วนโจรคือพวกปล้น  มักจะมีเป็นแก๊งค์   อยู่กันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุม(ชน)โจร   พวกนี้มีอาชีพหลักคือยกพวกเข้าปล้นคหบดีในตำบล    หรือปล้นพ่อค้าที่เดินทางมีทรัพย์สินติดตัวมากๆจากไปค้าขาย  พอได้ก็หนีกลับเข้าป่า   เพราะพวกนี้มีซ่องโจรคือหมู่บ้านโจรอยู่ในป่าลึก
คุณยายเล่ามาถูกต้องแล้ว   โจรที่มั่นใจในฝีมือมากๆจะแจ้งล่วงหน้าให้เจ้าทรัพย์ทราบว่าจะมาปล้น    แต่ไม่ถึงกับบอกวันเวลาราวกับนัดพบ    ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าบ้านมีโอกาสเตรียมตัว  และได้วัดดวงกันว่าใครฝีมือแน่กว่าใคร
โจรภาคกลางแถวสิงห์บุรีอ่างทองนั้น มักมีสัจจะ คือปล้นเอาเงินทองเจ้าทรัพย์ไปเท่านั้น  ถือว่ามีมากนักก็แบ่งๆกันไปบ้าง   แต่จะไม่ฆ่าแบบลากตัวเอามายิงทิ้ง  แต่ถ้าตอนเข้าปล้น สาดกระสุนใส่กันหูดับตับไหม้ จะโดนฝ่ายเจ้าบ้านตายไปบ้าง ถือว่าธรรมดา 
สัจจะอีกอย่างคือจะไม่ทำร้ายผู้หญิงและเด็ก     คือถ้าปล้นได้ก็เอาข้าวของไป  แต่ไม่ลวนลาม ไม่ฉุดลูกเมียเขาไปข่มขืน   
แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือหลักการของโจร   ถ้าถามว่าเป็นยังงี้ทุกแก๊งค์หรือเปล่าก็ขอตอบว่าไม่ใช่   พวกเหี้ยมโหดฆ่าไม่เลือก ข่มขืนไม่เลือกก็มีเหมือนกัน
เสือดำ เสือใบ เสือมเหศวรมีตัวจริง     ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของสามีดิฉันเป็นอดีตนายตำรวจที่อยู่ในกลุ่มจับเสือมเหศวร เคยเล่าให้ฟังว่าเสือมเหศวรไม่ได้ถูกยิงตาย แต่ยอมมอบตัว  เมื่อติดคุกจนครบกำหนดแล้วก็ออกมาประกอบอาชีพอย่างสุจริตชน  จนถึงแก่กรรมไปในวัยชรามากๆ อายุนับร้อยปี   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 21, 15:22
เล่าเรื่องผีต่อ
นอกจากต้นไม้  สัตว์ก็เป็นผีได้เหมือนกัน  ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือเสือสมิง   เป็นเสือที่กินคนเข้าไปมากๆจนวิญญาณผีตายโหงสิงอยู่ สามารถแปลงร่างเป็นคนได้ ไปล่อมนุษย์ให้หลงเชื่อแล้วขย้ำกิน

นิทานปรัมปราเล่าว่าพระภิกษุที่ธุดงค์ในป่ามักจะเจอเสือสมิง เมื่อท่านปักกลดนอนในเวลากลางคืน    พระธุดงค์ที่มีอาคมขลังมักจะพก "ควายธนู" ไว้ในย่าม   เมื่อเสือมารบกวนก็โยนควายธนูซึ่งเป็นหุ่นควายตัวเล็กๆสานด้วยหวายเสกออกไป  มันจะกลายเป็นควายป่าไล่ขวิดเสือสมิง  หรือแม้แต่เสือธรรมดา ให้กระเจิงไป ก่อนจะกลับเป็นตุ๊กตาควายตามเดิม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 08:50
คุณปู่คุณทวดมีความเชื่อเรื่องต้นไม้ต้องห้าม     คือห้ามปลูกกันในบ้าน    เช่นต้นลั่นทม นอกจากเป็นเพราะชื่อจะคล้ายกับ "ระทม" ยังถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกกันในวัด   
อะไรที่เป็นของวัด ชาวบ้านจะไม่เอามาใช้ในบ้าน   ต้นโพธิ์ ต้นไทร ก็ไม่ปลูกกันด้วยเหตุผลนี้  แต่เหตุผลจริงๆอาจเป็นว่า พวกนี้รากใหญ่ไชชอนไปกว้างมาก  อาจไปทำให้เสาบ้านเอียงได้
ต้นไม้ที่มีชื่อคล้ายคำทุกข์โศก เช่น ระกำ ก็ไม่เอามาปลูกในบ้าน   ถ้าเป็นต้นคูน ถือว่าดี เพราะคล้ายคำว่า "ค้ำคูณ" เป็นมงคล

นางแย้มป่ามีดอกสวยมาก เหมือนกุหลาบขาวอมชมพูรวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม    แต่ไม่นิยมปลูกเพราะเชื่อกันว่ามีผีสิงอยู่   ถ้าปลูกจะถูกผีขว้างเรือน
เรื่องนี้เคยเจอมากับตัว คือเอานางแย้มมาปลูกเป็นกอใหญ่ในบริเวณบ้าน  ปลูกอยู่นานพอสมควร  ต่อมาลูกสาวมาบอกแม่ว่า มักสะดุ้งตื่นมาตอนดึกๆ ได้ยินเสียงปังใหญ่บนหลังคา เหมือนอะไรตกบนหลังคา   ได้ยินบ่อย    จนต้องตามช่างมาดู  ก็ไม่พบว่าหลังคามีรอยแตกหรือรั่วอะไร  ช่างก็อธิบายว่าอาจเป็นโครงเหล็กมันหดตัวตอนกลางคืนที่อากาศเย็น
หลังจากนั้น คนสวนมาตัดหญ้าเลยถอนนางแย้มทิ้งไป    ก็ไม่ได้ยินเสียงปังบนหลังคาอีก   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 24 มี.ค. 21, 09:35
อีกต้นที่ไม่ควรปลูกในบ้านเท่าที่กระผมเคยได้ยินมาก็คือกล้วยตานีครับเพราะเชื่อว่าจะมีผีนางตานีสิงอยู่ อาจจะเกิดอันตรายกับคนในบ้านได้ ดอกไม้ที่ส่งกลินหอมในยามวิกาลก็ไม่นิยมปลูกเช่นเดียวกันคนโบราณจะเรียกว่า”ดอกไม้ผี’’ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 24 มี.ค. 21, 10:16
ขออนุญาตกล่าวถึงเรื่องผีในป่าต่อจากท่านอาจารย์เทาชมพูแล้วกันนะครับ นอกจากวิญญาณร้ายที่เรียกว่าเสือสมิงแล้ว ผีสางในป่าดงที่น่ากลัวอีกจำพวกก็คือ
‘‘ผีโป่งค่าง’’ครับ พรานป่าในสมัยโบราณรวมถึงผู้คนที่มีถิ่นอาศัยอยู่ใกล้ป่าล้วนหวาดกลัวครั้นครามผีชนิดนี้ยิ่งนัก ส่วนน่าตารูปร่างของผีโป่งค้างนี้เป็นจะเป็นอย่างไรก็ไม่มีหลักฐานชัดเจนผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านก็ล้วนกล่าวแตกต่างกันออกไป แต่โดยสรุปแล้วหลายท่านพูดตรงกันว่าหน้าตาของผีโป่งค่างนี้ก็เหมือนกับค่างหน้าแว่นครับ คนแก่เล่าว่าผีโป่งค่างเกิดมาจากค่างที่มีอายุยืนเกินร้อยปีขึ้นไปจะสามารถจำแลงแปลงกายไปเป็นผีโป่งค่างนี้ได้ กล่าวกันว่าผีโป่งค่างนี้นั้นส่วนมากจะอาศัยอยู่ในป่าลึกและจะปรากฏกายหลังตะวันลับขอบฟ้าไปแล้วเท่านั้น เล่ากันมาว่าผีชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายยิ่งนักสามารถใช้วิชาอาคม’’บังตา’’ผู้คนไม่ให้เห็นร่างของมันได้ และจะมีนิสัยชอบบุกเข้ามาในห่างล้าสัตว์ของเล่าพรานป่าในเวลาดึก ใช้ปากอันยาวของมันดูดเลือดจากหัวแม่เท้าของพรานที่ลับ อยู่จนหมดสิ้น
ทำให้พรานผู้โชคร้ายคนนั้นถึงแก่ความตายโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะครับ ด้วยความกลัวผีชนิดนี้ บวกกับความยำเกรงในสิ่งเร้นลับ และสัตว์ร้ายทีอาจจะซ่อนอยู่หย่างมิดชิด ภายในความมืดอันลึกลับและมืดมนของพืนป่า ในยามวิกาลทำให้พรานป่าและชาวบ้านบริเวณป่าในสมัยก่อนล้วนมีความเชื่อในพลังอำนาจของมนตร์คาถาใสวยศาสตร์ทั่งสิ้น และก่อนเข้าป่าก็มักจะทำพิธี’’เปิดป่า’’เสียก่อน พร้อมกับร่ายมนต์คถาในเวลาเดียวกันเพื่อที่จะป้องกันตนเองและครอบครัวจากภัยอันตรายในป่านั้นเองแหละครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 10:50
สัตว์ก็เป็นผีได้เหมือนกัน  ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือเสือสมิง   เป็นเสือที่กินคนเข้าไปมากๆจนวิญญาณผีตายโหงสิงอยู่ สามารถแปลงร่างเป็นคนได้ ไปล่อมนุษย์ให้หลงเชื่อแล้วขย้ำกิน

เรื่องเสือสมิงนี้ รัชกาลที่ ๕ ท่านทรงเล่าไว้ใน พระราชนิพนธ์คราวเสด็จประพาสจันทบุรี (https://vajirayana.org/พระราชนิพนธ์เสด็จประพาศจันทบุรี/ว่าด้วยแผ่นดินแลเรือกสวนไร่นาในเมืองจันทบุรี) ว่า

"ราษฎรชาวเมืองนี้เชื่อถือกลัวเสือสมิงมาก เล่าว่าที่เมืองเขมร มีอาจารย์ทำน้ำมันเสือสมิงได้ ศิษย์ได้ลักน้ำมันนั้นทาตัวเข้า กลายเปนเสือสมิงไปถึง ๓ คน พลัดเข้ามาในแขวงเมืองจันทบุรีตัวหนึ่งเปนเสือดุร้าย เที่ยวขบกัดคนตายที่พลิ้ว ๒ คน ที่ปากจั่น ๑ คน ที่ป่าสีเซ็น ๒ คน รวม ๕ คน อาจารย์เที่ยวตามได้บอกชาวบ้านว่า ศิษย์สามคนลักน้ำมันเสือสมิงทาตัวเข้า กลายเปนเสือไปทั้งสามคน บิดามารดาของศิษย์นั้นเขาจะเอาลูกเขาจึงมาเที่ยวตามหา แล้วสั่งไว้ว่าใครได้พบปะเสือนี้แล้ว ให้เอาไม้คานตี ฤๅมิฉนั้นให้เอากระลาครอบรอยเท้า เสือนั้นก็จะกลับเปนคนได้ แต่วิธีจะแก้นี้ทำได้ก็แต่เมื่อเสือนั้นยังไม่กินคน ถ้ากินคนรังควานทับเสียแล้ว ถึงจะทำวิธีที่บอกก็ไม่กลับเปนได้

เหมือนเมื่อครั้งก่อน เรามาที่สัตหีบครั้งหนึ่ง น้ำจืดในเรือหมดต้องเกณฑ์ให้ทหารขึ้นไปตักน้ำที่หนองบนบก ไกลฝั่งประมาณ ๓๐ เส้น พวกชาวบ้านบอกว่าที่นี่มีเสือสมิงมาเที่ยวอยู่ พระสงฆ์ผู้เปนอาจารย์มาติดตาม เวลากลางคืนแล้วก็ออกไปนั่งอยู่ที่ใต้ต้นตาลริมหนองน้ำนั้น คอยจะแก้ศิษย์ซึ่งเปนเสือสมิงให้กลับเปนคน ในเวลานั้นก็ยังอยู่ พวกทหารพากันกลัว กลับลงมาเล่าที่เรือจนเรารู้ เราอยากจะให้ไปตามตัวลงมาให้เห็นหน้าอาจารย์สักหน่อยหนึ่ง ก็เปนเวลาดึกเสียแล้ว ครั้นเวลาเช้าก็ไปเสียจากสัตหีบ ท่านขรัวอาจารย์นั้นปานนี้เสือมันจะเอาไปกินเสียแล้วฤๅอย่างไรก็ไม่รู้ ที่ว่ามานี้เปนแต่ฝอยตามคำที่ราษฎรเล่าฦๅกัน"


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 11:48
ผีโป่งค่างของคุณภศุสรร  น่าจะเป็นชนิดเดียวกับผีกองกอย 

ผีกองกอย เป็นผีที่มีขาข้างเดียว มีปากเป็นท่อเหมือนแมลงวัน เวลาไปไหนมาไหนจะกระโดดไปด้วยขาข้างเดียว และส่งเสียงร้องว่า ” กองกอย ๆ ” อันเป็นที่มาของชื่อ เชื่อว่ามีหน้าตาคล้ายลิงหรือค่าง บ้างเรียกว่า ผีโป่ง หรือผีโบ่งขาม สันนิษฐานว่า ความเชื่อเรื่องผีโป่ง ก็คือ ค่างแก่ที่หน้าตาน่าเกลียดไม่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ มีความเชื่อของคนบางกลุ่มว่า ถ้าได้ดื่มเลือดค่างจะทำให้ร่างกายคงกระพันเป็นอมตะ เจ้าย่องตอดในวรรณคดีพระอภัยมณีเชื่อว่า ก็คือ ผีกองกอย นั่นเอง
เชื่อว่า ผีกองกอย จะดูดเลือดจากหัวแม่เท้าของคนค้างแรมในป่า วิธีการป้องกันคือ ให้นอนไขว้ขาหรือชิดเท้ากันทั้งสองข้าง
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผีลักษณะแบบเดียวกับผีกองกอย มีความเชื่อกระจายทั่วไป ไม่เฉพาะในไทย ในมาเลเซียเชื่อว่า มีคนป่าเผ่าหนึ่งมีขาข้างเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า ที่จีนก็มีความเชื่อว่า มีปีศาจชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ตามภูเขา มีขาเดียว ตัวเล็ก แต่ผมยาว ตาโต หูแหลม มักขโมยอาหารหรือสิ่งของของคนเดินทาง เมื่อถึงวันตรุษก็มักเข้ามาอาละวาดในหมู่บ้าน เชื่อว่านำมาซึ่งความอัปมงคล และใครจับต้องตัวมันจะเผชิญกับโชคร้ายหรือเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ แม้แต่ผีขาเดียว ที่ไปไหนมาไหนด้วยวิธีการกระโดด ของยุโรปก็มี
ภาคเหนือมีผีชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผีโป๊กกะโหล้ง สันนิษฐานว่า เป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง เพราะมีลักษณะคล้ายกันคือ มีขาเดียว วิ่งไวเหมือนลมพัด แต่ผีชนิดนี้มีความแปลกอยู่บ้างตรงที่ไม่เคยดูดเลือดคนที่เดินป่า แต่ชอบบังตาคนเล่น ผีชนิดนี้มีเสียงร้องประจำตัวคือ โป๊กๆๆ กะโหล้ง โป๊กๆๆๆ กะโหล้ง เป็นลักษณะประจำตัว นิสัยประจำตัวอีกอย่างของผีชนิดนี้คือ หากมีคนตะโกนเรียกกันในป่า มันจะเลียนเสียง ทำให้คนที่ตะโกนรับหลงทางเดินห่างออกไปเรื่อยๆ ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่ถึงได้ห้ามตะโกนในป่า เพราะผีโป๊กกะโหล้งจะเลียนเสียงทำให้หลงป่าได้

https://sites.google.com/site/tananphithiythileakhankan/phi-kxngkxy


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 11:51
ถ้าติดใจเรื่องผี   เข้าไปอ่านกระทู้เก่าได้ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6963.msg166312#msg166312


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 18:50
เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) เล่าเรื่อง ผีนางตานีของคุณภศุสรร และ ผีนางแย้มป่าของคุณเทาชมพูไว้ในหนังสือ ผีสาง เทวดา (https://archive.org/details/unset0000unse_w8l4/page/n29/mode/1up) หน้า ๒๒-๒๓ ว่า

“กล้วยตานีก็อีกอย่างหนึ่ง แต่ก่อนเขาไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะเป็นกล้วยป่ามีนางไม้เรียกว่านางตานี ปลูกไว้ในบ้านไม่ดี เพราะจะถูกผีนางตานีหลอกให้ตกใจกลัว แต่เดี่ยวนี้กล้วยตานีมีราคาขายได้ เพราะตองตานีเหนียวกว่าตองกล้วยชนิดอื่น เรื่องถือไม่ปลูกไว้ในบ้านก็ดูจืตจางไป

ต้นนางแย้ม* ก็อีกอย่างหนึ่ง แม้ชื่อมันจะฟังไพเราะ ดอกก็มีกลิ่นหอมและเป็นช่องามดี แต่เขาก็ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่าที่ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะถือกันว่าถ้าต้นแก่จะกลายเบ็นมีผีขว้างเรือนให้เดือตร้อนด้วย อันที่จริงต้นนางแย้มปลูกไว้จนต้นแก่ก็รกบ้านเพราะรากมันชอนไชไปถึงไหนก็งอกหน่อเป็นต้นขึ้นที่นั่น"

* นางแย้ม ในที่นี้คือดอกทางซ้ายมือ นางแย้มป่า - (Clerodendrum infortunatum) ไม่ใช่ดอกทางขวามือคือ นางแย้ม (บ้าน) - Clerodendrum chinense


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 21, 18:57

ต้นนางแย้ม* ก็อีกอย่างหนึ่ง แม้ชื่อมันจะพังไพเราะ ดอกก็มีกลิ่นหอมและเก็นะช่องามดี แต่เขาก็ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่าที่ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะถือกันว่าถ้าต้นแก่จะกลายเบ็นมีผีขว้างเรือนให้เดือตร้อนด้วย อันที่จริงต้นนางแย้มปลูกไว้จนต้นแก่ก็รกบ้านเพราะรากมันชอนไชไปถึงไหนก็งอก”

* นางแย้ม ในที่นี้คือดอกทางซ้ายมือ นางแย้มป่า - (Clerodendrum infortunatum) ไม่ใช่ดอกทางขวามือคือ นางแย้ม (บ้าน) - Clerodendrum chinense
สงสัยจะมีผีทั้งสองนาง - นางป่าและนางบ้าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 25 มี.ค. 21, 10:43
อันดับต่อไป ไม่ใช่ผีครับ เป็นเรื่องเล่าที่พ่อเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับที่มาของชื่อตำบลที่ผมเกิด คือ ตำบล "ฆะมัง" อ.เมือง จ.พิจิตร
ผมเคยถามพ่อตอนเด็กๆว่า ทำไม ย่านนี้ จึงชื่อว่า ฆะมัง ซึ่งในความรู้สึกของผม คิดว่า แปลกประหลาด เพราะตัวอักษร ฆ ไม่ค่อยมี (มาเจออีกทีก็ตอนเรียนกฎหมายคือคำว่า โมฆะ และ โมฆียะ แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นอักษรนำ) ตอนนั้นพ่อเล่าว่า

"แถวบ้านเรามีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แม่น้ำน่านมีตลิ่งที่สูง ทำให้น้ำไหลแรง ทำให้มีอุบัติเหตุคนตกน้ำตายบ่อยๆ (อย่างที่ผมเล่าไปคราวก่อนหนะครับ มีแทบทุกปี จนคนเชื่อว่า คนที่จากไปแล้ว จะพยายามหาคนมาอยู่เฝ้าคุ้งน้ำแทนตน ตนเองจะได้ไปเกิดได้) ทีนี้ คนสมัยก่อน ไม่ว่าจะกลัวอย่างไร แต่ก็ขาดน้ำไม่ได้ อย่างไรก็ต้องมาลงอาบน้ำ ตักน้ำ ซักผ้า หาปลา ที่แม่น้ำอยู่ดี พอเกิดเรื่องคนตกน้ำที เลยไม่รู้ว่า ใครตกน้ำ ชาวบ้านจึงมักจะลือกันไปว่า "คนโน้นกระมัง คนนั้นกระมัง" ไปเรื่อยๆ จนคนเรียกย่านนี้ว่าย่าน กระมัง แล้วกลายเป็น ฆะมัง ในเวลาต่อมา"

สมัยเด็กๆ ผมก็เชื่อครับ

ต่อมามีโอกาสได้อ่าน เอ่อ ผมจำชื่อที่แน่นอนไม่ได้นะครับ น่าจะเป็น จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองเหนือ หรืออะไรนี่แหละครับ มีรายงานว่า ขบวนเรือของรัชกาลที่ 5 แวะจอดพักค้างแรมที่ตำบล "บ้านขมัง" ก่อนเข้าเมืองพิจิตร บ้านขมังนี้ อยู่เลย "เขารูปช้าง" ขึ้นมา (ปัจจุบัน เรียก "เขาลูกช้าง" ครับ) ผมจึงเชื่อว่า เดิมตรงนี้ชื่อว่า "ขมัง" มาก่อน แต่ทำไมถึงชื่อบ้านขมัง และ ขมัง กลายเป็น ฆะมัง ได้อย่างไร ผมยังไม่มีโอกาสได้สืบค้นดูเลยครับ   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 25 มี.ค. 21, 12:23
อันดับต่อไป ไม่ใช่ผีครับ เป็นเรื่องเล่าที่พ่อเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับที่มาของชื่อตำบลที่ผมเกิด คือ ตำบล "ฆะมัง" อ.เมือง จ.พิจิตร
ผมเคยถามพ่อตอนเด็กๆว่า ทำไม ย่านนี้ จึงชื่อว่า ฆะมัง ซึ่งในความรู้สึกของผม คิดว่า แปลกประหลาด เพราะตัวอักษร ฆ ไม่ค่อยมี (มาเจออีกทีก็ตอนเรียนกฎหมายคือคำว่า โมฆะ และ โมฆียะ แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นอักษรนำ) ตอนนั้นพ่อเล่าว่า

"แถวบ้านเรามีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แม่น้ำน่านมีตลิ่งที่สูง ทำให้น้ำไหลแรง ทำให้มีอุบัติเหตุคนตกน้ำตายบ่อยๆ (อย่างที่ผมเล่าไปคราวก่อนหนะครับ มีแทบทุกปี จนคนเชื่อว่า คนที่จากไปแล้ว จะพยายามหาคนมาอยู่เฝ้าคุ้งน้ำแทนตน ตนเองจะได้ไปเกิดได้) ทีนี้ คนสมัยก่อน ไม่ว่าจะกลัวอย่างไร แต่ก็ขาดน้ำไม่ได้ อย่างไรก็ต้องมาลงอาบน้ำ ตักน้ำ ซักผ้า หาปลา ที่แม่น้ำอยู่ดี พอเกิดเรื่องคนตกน้ำที เลยไม่รู้ว่า ใครตกน้ำ ชาวบ้านจึงมักจะลือกันไปว่า "คนโน้นกระมัง คนนั้นกระมัง" ไปเรื่อยๆ จนคนเรียกย่านนี้ว่าย่าน กระมัง แล้วกลายเป็น ฆะมัง ในเวลาต่อมา"

สมัยเด็กๆ ผมก็เชื่อครับ

ต่อมามีโอกาสได้อ่าน เอ่อ ผมจำชื่อที่แน่นอนไม่ได้นะครับ น่าจะเป็น จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองเหนือ หรืออะไรนี่แหละครับ มีรายงานว่า ขบวนเรือของรัชกาลที่ 5 แวะจอดพักค้างแรมที่ตำบล "บ้านขมัง" ก่อนเข้าเมืองพิจิตร บ้านขมังนี้ อยู่เลย "เขารูปช้าง" ขึ้นมา (ปัจจุบัน เรียก "เขาลูกช้าง" ครับ) ผมจึงเชื่อว่า เดิมตรงนี้ชื่อว่า "ขมัง" มาก่อน แต่ทำไมถึงชื่อบ้านขมัง และ ขมัง กลายเป็น ฆะมัง ได้อย่างไร ผมยังไม่มีโอกาสได้สืบค้นดูเลยครับ   
เรียนคุณ Naris ครับ กระผมได้ไปสืบค้นหาที่มาของชื่อตำบลฆะมัง มาให้แล้วนะครับ ตามประวัติจากเวบไซต์ของอบต.ได้เขียนว่าชื่อตำบลฆะมังนั้นมีที่มาจากตำนานที่ว่ามีชาวบ้านเคยค้นพบ’’ปลากระมัง’’ตัวใหญ่ลอยน้ำมาติดอยู่ที่บริเวณวัดในสมัยก่อนครับ สำหรับปลากระมังนั้นเป็นชื่อเรียกปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายปลาตะเพียนและก็อยู่ในวงศ์เดียวกันกลับปลาตะเพียนเสียอีกด้วยครับ ส่วนคำว่า’’ขมัง’’ชึ่งปรากฎอยู่ในชื่อตำบลเก่านั้นผมได้ลองไปสืบค้นดูในพจนานุกรมออนไลน์พบว่าคำว่า’’ขมัง’’นั้นก็เป็นชื่อเรียกของปลาอีกชนิดหนึ่ง กล่าวคือ’’ปลาเสือพ่นนำ้’’’นั้นเองล่ะครับ

อ้างอิง https://www.thaitambon.com/tambon/660111 และ https://dictionary.sanook.com/search/dict-fish/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B9


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 25 มี.ค. 21, 12:25
รูปภาพปลากระมังและปลาขมังครับ กระผมขออนุญาตสันนิษฐานดูอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าว่า บริเวณลำน้ำน่านชึ่งไหลผ่านตำบลฆะฆังนั้นอาจจะมีปลาทั้งสองชนิดนี้อยู่ชุกชุมมากพอสมควร อาจจะมากจนถึงขั้นเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่เลยก็เป็นได้ ชาวบ้านในพื้นถิ่นร่วมถึงชาวถิ่นอื่นจึงได้พากันเรียกบริเวณนี้ว่าตำบลกระมังจนติดปาก สำหรับคำถามว่าชื่อ’’ตำบลกระมัง’หรือ’’ขมัง’’ เปลี่ยนเป็น’’ตำบลฆะฆัง’’ในภาษาเขียนได้อย่างไรนั้นตัวกระผมเองมีข้อสันนิษฐานอยู่๒ข้อครับ กล่าวคือ

๑ สำเนียงในการเรียกอาจจะเพี้ยนไปตามกาลเวลา และส่วนหนึ่งอาจจะมีเหตุมาจากสำเนียงการพูดของคนต่างถิ่น อาจจะออกเสียงคำว่ากระมังไม่ชัด ชาวบ้านที่มาตั้งรกรากที่หลังจึงพากันเรียกตามกันไป นานเข้าสำเนียงการพูดจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร

๒ อาจจะมาจากการที่ ทางการและข้าราชการที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับสำเนียงและคำเรียกต่างๆในพื้นที่(กระผมเองก็ไม่ทราบว่าจังหวัดพิจิตรมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์หรือเปล่า] ประกอบไม่ทราบว่าปลากระมังนั้นหมายถึงอะไรจึงได้เกิดการ’’ฟังผิด เขียดผิด’’ขึ้น กล่าวคือข้าราชการท่านนั้อาจจะเขียนชื่อตำบลตามที่ตนเองได้ยิน มิได้คำนึงถึงถึงความหมายและที่มาอย่างไร คำว่ากระมังนั้นจึงอาจจะถูกเขียนผิดเป็นฆะฆังไปครับ ทั้งสองข้อนี้เป็นเพียงขอสันนิษฐานอย่างสุ่มเดาของตัวกระผมเองเท่านั้นมิได้มีแหล่งอ้างอิงมาสนับสนุนครับ ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นกระผมก็ขอประทานโทษด้วยนะครับ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 25 มี.ค. 21, 13:21
ประวัติของตำบลฆะฆังอีกฉบับหนึ่ง ได้กล่าวถึงที่มาของชื่อตำบลฆะฆังตรงกันกับคำเล่าของ คุณพ่อของคุณNaris ครับ เกล่าคือ

‘`ชื่อบ้านขมัง ตำบลขมัง เมืองพิจิตรนี้มีสะกดทั้งขมัง คะมัง และ ฆะฆัง มีตำนานเล่าว่ามีพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งของไทย เสด็จทางเรือมาถึงหมู่บ้านนี้
และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือหน้าพระที่นั่ง เมื่อเรือแข่งแล่นมาถึงบริเวณที่มีน้ำไหลเชี้ยวทำให้เรือล่ม ฟีผายจมนำ้ตายหลายคน ญาติพี่น้องของผู้คนตายต่างอุทานด้วยความตกใจว่า ลูกกูกระหมั่ง ลูกข้ากระมั่ง ลูกกูมั้ง กันเซ่งแซ่ ทำให้ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านนี้ว่า กระมังบ้าง ขมังบ้าง ตามลำดับ’’

ที่มา https://www.nat.go.th/Portals/0/Documents/pijit.pdf


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 มี.ค. 21, 09:26
ขอบพระคุณครับ

ปลาเสือพ่นน้ำ ผมเคยพบตัวจริงของเขาแค่ครั้งเดียว มีชาวบ้านจับได้ แม่ผมซึ่งเป็นครูของคนที่จับได้เลยขอซื้อต่อ เอามาใส่อ่างน่ำใหญ่ที่บ้านไว้ให้ลูกดู นั่นเป็นเรื่องตั้งแต่ผมยังอายุ 10 กว่าปี หลังๆมานี้ ไม่เคยเห็นปลานี้ในธรรมชาติอีกเลยครับ

ส่วนเรื่อง "ลูกเอ็งกระมัง" นี้ แม้จะต่างไปหน่อย แต่ก็แสดงว่า มีเค้า อยู่ครับ   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 มี.ค. 21, 11:51
ถัดจาก ฆะมัง เมืองพิจิตร ลงไปทางใต้ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร มีตำบลชื่อเดียวกันคือ ฆะมัง เมืองนครสวรรค์ เป็นที่เกิดนิยายรักระหว่างพี่ก้านกับน้องเพียงเพ็ญ ประทับอยู่ในความทรงจำของแฟนานุแฟนละครเรื่อง กรงกรรม อยู่มิรู้คลาย ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 มี.ค. 21, 10:19
ตอนเด็กๆเคยได้ยินว่า ปลาช่อนที่แก่มากๆจะกลายเป็นงูเห่า  (หรืองูเห่าแก่มากๆกลายเป็นปลาช่อน?) ความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในโคลงโลกนิติบทหนึ่งว่า
ช้างสาร หกศอกไซร้               เสียงา
งูเห่า    กลายเป็นปลา            อย่าต้อง
ข้าเก่า  เกิดแต่ตา                 ตนปู่ ก็ดี
เมียรัก  อยู่ร่วมห้อง              อย่าไว้วางใจ

จริงๆแล้ว   คนโบราณน่าจะเห็นปลาช่อนงูเห่าหรือปลาช่อนดอกจันทร์  ที่หัวคล้ายกับงูเห่า จนสร้างตำนานว่ามันมาจากงู
ไม่เคยเห็นปลาชนิดนี้ค่ะ    ไม่ทราบว่ากินได้หรือเปล่า   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 มี.ค. 21, 12:23
ขื้นชื่อว่าปลาช่อนก็นะจะกินได้อยู่กระหมังครับท่านอาจารย์เทาชมพู ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 มี.ค. 21, 08:20
ขออนุญาตเสริมเรื่องปลาช่อนงูเห่าเล็กน้อย

จาก กระทู้สัตว์ประหลาด ๓ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5920.msg134910#msg134910)

ตอนเด็กๆเคยได้ยินว่า ปลาช่อนที่แก่มากๆจะกลายเป็นงูเห่า  (หรืองูเห่าแก่มากๆกลายเป็นปลาช่อน?) ...จริงๆแล้ว   คนโบราณน่าจะเห็นปลาช่อนงูเห่าหรือปลาช่อนดอกจันทร์  ที่หัวคล้ายกับงูเห่า จนสร้างตำนานว่ามันมาจากงู

ชื่อปลาช่อนงูเห่ามาจากลักษณะหัวและลำตัว และนิสัยที่ดุร้ายพุ่งฉกได้เหมือนงู สังเกตที่โคนหางยังมีลายกลมเหมือนที่หัวของงูเห่าที่เรียกว่า "ดอกจัน"

(http://4.bp.blogspot.com/-UUxj1vjOdac/VmEr8PPEJOI/AAAAAAAAFcw/NZcn2IhjXzc/s1600/%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD.jpg)

ปลาช่อนงูเห่าจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ปลาช่อนดอกจัน มีอยู่ ๒ พันธุ์ คือ Channa aurolineatus เป็นปลาพื้นเมืองของไทย โตเต็มที่ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร (บน) และ  Channa marulius เป็นปลาพี้นเมืองของอินเดีย โตเต็มที่ที่เคยพบยาว ๑๘๓ เซนติเมตร (ล่าง)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5920.0;attach=49735;image)

ไม่เคยเห็นปลาชนิดนี้ค่ะ    ไม่ทราบว่ากินได้หรือเปล่า

ปลาช่อนงูเห่าเป็นปลาหายาก หากพบที่ไหนก็คงเอาต้มยำรับประทานได้เหมือนปลาช่อนทั่วไป  การนำปลาชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ส่วนมากเน้นในเรื่องเป็นปลาสวยงาม  และใช้สำหรับกีฬาตกปลา  


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มี.ค. 21, 10:53
ขอบคุณค่ะ

ความเชื่อเก่าแก่ของคนโบราณอีกเรื่องหนึ่ง คือเชื่อว่าความฝันเป็นลางบอกเหตุได้    มีทั้งเหตุดีและเหตุร้าย
ในขุนช้างขุนแผน   เมื่อแม่ของขุนแผน แม่ของขุนช้าง แม่ของนางวันทอง ตั้งครรภ์   ก็เกิดฝันด้วยกันทั้งสามคน ที่เป็นลางบอกล่วงหน้าว่าจะได้ลูก

นางทองประศรีฝันว่าได้แหวนเพชรของพระอินทร์
...นิมิตฝันว่าท้าวสหัสนัยน์       ถือแหวนเพชรเม็ดใหญ่เหาะดั้นมา
ครั้นถึงจึงยื่นแหวนนั้นให้      นางรับแหวนไว้ด้วยหรรษา
แสงเพชรส่องวาบปลาบเข้าตา   ตื่นผวาคว้าทั่วปลุกผัวพลัน"
ขุนไกรก็ทำนายว่า
ฝันว่าได้ธำมรงค์วงวิเศษ             ของโกสีย์ตรีเนตรอันเฉิดฉาย
เพชรรัตน์อร่ามงามเพริศพราย       บรรยายว่าเป็นสิ่งมิ่งมงคล
จะมีครรภ์ลูกนั้นจะเป็นชาย           ดังทหารนารายณ์มาปฏิสนธิ
กล้าหาญการณรงค์คงทน            ฤทธิรณปราบทั่วทั้งแดนไตร”


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มี.ค. 21, 11:01
ส่วนนางศรีประจัน แม่ของนางวันทอง  ก็ฝันว่าได้แหวนเช่นกัน

" ท่านขาคืนนี้ข้าเจ้าฝัน               ว่าพระวิษณุกรรมนายช่างใหญ่
ถือแหวนประดับงามจับใจ             เอามาส่งให้ไว้กับเรา"

พันศรโยธาสามีนางก็ทำนายว่า
"จึงทำนายฝันไปมิได้ช้า                 ว่าเจ้าฝันนั้นหนาจะมีครรภ์
ได้แหวนประดับลูกจะเป็นหญิง         รูปร่างงามจริงตละแกล้งสรร
ด้วยเป็นแหวนของพระวิศนุกรรม์       จะเป็นช่างใครนั้นไม่ทันเลย"



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 มี.ค. 21, 10:19
อ้างถึง
ถัดจาก ฆะมัง เมืองพิจิตร ลงไปทางใต้ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร มีตำบลชื่อเดียวกันคือ ฆะมัง เมืองนครสวรรค์
ขอบพระคุณครับ ฆะมัง ที่นครสวรรค์ น่าจะ อ.ชุมแสงกระมังครับ ผมเคยแต่นั่งรถผ่านครับ แต่ไม่เคยไปครับ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มี.ค. 21, 12:17
ผู้ใหญ่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน เชื่อว่าฝันที่เป็นลางบอกว่าเจอเนื้อคู่ คือฝันถึงงู

ในหนังสือประวัติเจ้าคุณพระประยูรวงศ์  พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า

"  ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปประทับอยู่วังหน้า ดำรัสสั่งให้ละครวังหลวงขึ้นไปเล่นให้พวกชาววังหน้าดู (ฉันสันนิษฐานว่า เห็นจะเป็นเมื่อเดือน ๕ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐) เวลานั้นท่าน(หมายถึงเจ้าคุณพระประยูรวงศ์) ออกไปอยู่บ้าน พระองค์ใหญ่โสม(หมายถึง  พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว) มีรับสั่งให้คนไปรับท่านเข้ามาดูละคร

วันนั้นเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทอดพระเนตรเห็นท่านเมื่อถือหีบหมากเสวยตามพระองค์ใหญ่โสมไปวังหน้า    เวลาดูละครตัวท่านนั่งอยู่ใกล้ๆกับคนบอกบทตรงหน้าพลับพลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ประทับอยู่บนพลับพลาเห็นมักทอดพระเนตรมาทางตัวท่านบ่อยๆ แต่ท่านก็ไม่รู้ว่าทรงมุ่งหมายที่ตรงตัวท่าน
ดูละครแล้วก็กลับออกไปบ้านในเย็นวันนั้น    แต่ประหลาดอยู่ที่ในค่ำวันนั้นจะเป็นด้วยบุรพนิมิตสังหรณ์หรืออย่างไรไม่ทราบ พอนอนหลับก็ฝันไปว่า มีงูตัวหนึ่งโตใหญ่  หัวเหมือนพระยานาคที่เขาเขียนไว้ ตัวมีเกล็ดสีเหลืองทั้งตัวตรงเข้ามาคาบที่กลางตัวท่าน   แล้วเลื้อยพาไปทิ้งไว้ตรงหน้าเรือนเก่าที่ท่านเคยอยู่   ความฝันนั้นยังจำได้มั่นคง แต่เวลานั้นตัวท่านยังไม่รู้เรื่องบุรพนิมิตที่เขาถือกัน 
พอเช้าขึ้นไปที่บ้านคุณเล็กพี่สาว ซึ่งแต่งงานใหม่ ไปเล่าความฝันให้พวกผู้ใหญ่ฟังตามซื่อ ด้วยเห็นว่าแปลกประหลาดไม่เคยฝันเช่นนั้นมาแต่ก่อน    พวกผู้ใหญ่ที่ได้ฟังเขาแลดูกันแล้วหัวเราะขึ้นฮาใหญ่ ท่านก็ยังไม่เข้าใจว่าเขาเห็นขันอย่างไรจึงหัวเราะฮากันเช่นนั้น"


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มี.ค. 21, 12:22
แต่ในขุนช้างขุนแผน    เมื่อหญิงสาวจะได้คู่  ไม่มีตรงไหนบอกว่าฝันเห็นงู   แต่กลายเป็นฝันเห็นดอกบัว
ตอนที่นางพิมจะได้คู่  ก็ฝันว่า

ครานั้นนางพิมนิ่มสนิท            เกิดนิมิตประจักษ์ใจเมื่อใกล้สว่าง
ว่าว่ายข้ามน้ำไปได้กลางทาง     กับพี่นางสายทองคะนองใจ
ถึงฝั่งหยั่งตื้นพอยืนตรง             สายทองส่งบัวทองประคองให้
หอมห่อผ้าห่มชมชื่นใจ              แล้วกลับข้ามน้ำได้ดังจินดา
สิ้นฝั่งเท่านั้นก็ตื่นตัว                 ไม่เห็นดอกบัวก็คว้าหา
เสียดายดวงโกสุมปทุมา            อนิจจาอกโอ้มาหายไป...

นางสายทองทำนายฝันว่า
ซึ่งฝันว่าได้ดอกบัวชม               จะได้คู่สู่สมพิสมัย
ชายนี้เห็นทีไม่ใกล้ไกล               คงจะได้โดยพลันมิทันช้า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มี.ค. 21, 19:05
ทีนี้มาถึงเรื่องฝันร้ายบ้าง   คนโบราณเชื่อว่าฝันว่าถูกฆ่า   หรือฟันหัก  เป็นฝันร้ายมาก    จะต้องสูญเสียคนในครอบครัว
ขุนช้างขุนแผน ก็สะท้อนความเชื่อนี้ไว้

๏ ฝ่ายเมียขุนเพชรอินทราฝัน   ว่าถูกฟันตัวขาดเป็นสองท่อน
ผ่าอกขว้างหัวใจไปดงดอน           ตื่นนอนตัวสั่นประหวั่นใจ

ฝ่ายว่าเมียขุนรามอินทรา           ฝันว่าฟันหักเป็นสามซี่
ตกใจผวาคว้าสามี                   พ่อเอ๋ยเมียนี้ช่างฝันร้าย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 เม.ย. 21, 12:03
ความเชื่อเก่าแก่อีกอย่างที่เดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครเชื่อแล้ว   คือเวลาไม่สบาย ต้องถูกจำกัดให้กินอาหารบางอย่างเท่านั้น
เช่นข้าวจานน้ำ  คือข้าวสวย เทน้ำใส่ ออกมาคล้ายๆข้าวต้ม    อาหารก็ห้ามของสดคาว   กินได้แต่ของแห้งๆอย่างปลาแห้ง   
กล้วยหักมุกเผาเป็นของที่ต้องกินเวลาป่วย    เวลาแข็งแรงดีไม่เคยต้องกินเลยค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 เม.ย. 21, 12:05
ย้อนไปเรื่องฝันอีกหน่อย     เมื่อเกิดฝันแปลกๆขึ้นมา จะดีหรือร้ายก็ตาม   คนฝันก็จะไปเล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เก็บเอาไว้คนเดียว
จากนั้น ผู้ใหญ่จะ "แก้ฝัน" ให้    คำนี้หมายถึงอธิบายความหมายของฝัน  ถ้าเป็นฝันร้ายก็มีคำปลอบใจแถมท้ายคำอธิบาย    เพื่อให้ฝันร้ายกลายเป็นดี


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 เม.ย. 21, 18:54
ความเชื่อเก่าแก่อีกอย่างที่เดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครเชื่อแล้ว   คือเวลาไม่สบาย ต้องถูกจำกัดให้กินอาหารบางอย่างเท่านั้น

เป็นความเชื่อเรื่อง "ของแสลง" คุณทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ใน หนังสือ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5510.msg118080#msg118080) ดังนี้

เมื่อสมัยคุณตาคุณยายยังเป็นเด็ก ๆ อยู่  ถ้าเกิดเจ็บป่วยเป็นอะไรไปนิดหน่อยก็ตาม คนนั้นจะต้องถูกจำกัดอาหาร  ให้กินแต่อาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย  ห้ามกินอาหารที่คิดว่าแสลงต่าง ๆ  จนกว่าจะหายเป็นปกติ

ถ้าใครท้องเสีย หรือเป็นบิด  จะต้องกินข้าวต้มเปื่อย ๆ หรือข้าวเปียก กับปลาแห้งป่น  หมูหยอง  กุ้งแห้งป่น  หรือปลาดุกย่างจิ้มน้ำปลา  จะไปวิ่งเล่นหรือกระโดดโลดเต้นไม่ได้  เดี๋ยวจะหายยาก  ถ้าเป็นไข้หวัด แล้วมีอาการไอก็จะห้ามอาหารทอดทุกชนิด  ไข่เจียว ไข่ดาวก็ไม่ได้  ต้องเปลี่ยนเป็นไข่ต้ม  ไข่ตุ๋นหรือไข่เค็ม  อาหารทุกอย่างต้องปิ้งและต้มห้ามทอดเป็นอันขาด  เพราะจะทำให้ไอมากขึ้น  เมื่อไข้สร่างก็จะห้ามกินแตงโม  แตงไทยหรือผลไม้ที่เย็น

ผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือไอ  จะดื่มน้ำแข็งไม่ได้  เพราะจะทำให้เป็นมากขึ้น ต้องดื่มแต่น้ำร้อน ๆ  ชาร้อน  น้ำข้าวร้อน ๆ หรือบางทีก็น้ำมะตูมร้อน ๆ  ที่เรียกว่า"น้ำชูบาน"  ทำด้วยมะตูมสุก ๆ ต้มใส่น้ำตาลนิดหน่อย  บางครั้งก็เอาเนื้อมะตูมไปราดน้ำผึ้งให้กินเป็นของหวาน  แล้วเอาที่เหลือคือเปลือกและเม็ดและเนื้อที่ติดมาต้มทำน้ำชูบาน  อีกอย่างหนึ่งก็คือนำมะตูมอ่อนที่หั่นเป็นแว่น ๆ ย่างไฟจนหอมแล้วชงน้ำร้อนให้ดื่ม  หอม ๆ ดี  แต่สู้น้ำชูบานไม่ได้

ถ้าใครเป็นแผลพุพอง  แผลหกล้มถลอก  หรืออุบัติเหตุอะไรก็ตาม  จะถูกห้ามไม่ให้กินข้าวโพดข้าวเหนียว  ขนมทุกชนิดที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว  กินได้แต่แป้งข้าวเจ้าและข้าวสาลีเท่านั้น  เพราะจะทำให้แผลกลัดหนอง  หายยาก  แผลที่จวนหายแล้วกลับกลัดหนองขึ้นมาอีก  แผลเล็กกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้นมา  คุณยายรู้สึกว่า  ที่ผู้ใหญ่ห้ามนี้เป็นเรื่องจริง ๆ เพราะเคยพิสูจน์มาหลายครั้งแล้ว  ครั้งหนึ่งคุณยายหกล้มหัวเข่าแตกเป็นแผลแห้งจวนจะหายดีแล้ว  แต่ยังไม่หายสนิท  คุณแม่ทำข้าวเหนียวมะม่วง  อยากจะกินเหลือเกิน  ก็บอกว่าแผลหายดีแล้ว  จึงกินข้าวเหนียวมะม่วงมากไป  พอรุ่งขึ้นเช้าก็ปวดและกลัดหนองขึ้นมาอีก  ต้องกลับไปเดินขาเขยกอีก

อาหารอร่อย ๆ ดี ๆ ที่ชอบต้องอดไปเพราะเจ็บป่วยมีบ่อย ๆ กำลังเป็นแผลพุพอง  ต้องอดข้าวต้มกุ้ง  กุ้งทอดที่มีมันสีแดงเยิ้มคลุกข้าวอร่อย  แม้แต่กุ้งเผาจิ้มน้ำปลาก็ไม่ได้  อาหารทะเล  หอยนางรม  ปลาทอดอร่อย ๆจิ้มน้ำปลามะนาวต้องอดหมด  ต้องภาวนาขอให้หายเร็ว ๆ จะได้กินอาหารอร่อย ๆ  อาหารพวกนี้ถูกหาว่าคาวจัด  กินแล้วทำให้คันแล้วก็เป็นจริง ๆ ด้วย

หน้าลำไย  ลิ้นจี่  หรือขนุน  ก็ต้องจำกัดให้กิน  เด็ก ๆ กินอะไรไม่รู้จักประมาณ กินจนไม่สบาย  ลำไยกินมากไปก็ตาแฉะ  เพราะร้อนเกินไป  เด็ก ๆ ที่เป็นแผลพุพอง แผลจะเยิ้มมาก  ลิ้นจี่ก็ย่อยยากถ้าธาตุไม่แข็งพอ  เพราะมักทำให้ปวดท้อง ขนุนก็เหมือนกันย่อยยาก  ทุเรียนนั้นร้อนมากห้ามกินตอนกลางคืน  เพราะจะทำให้ร้อนจนนอนไม่หลับ

คุณตาเคยไม่เชื่อฟัง  แอบกินขนุนเสียมากมาย  ทั้งที่ท้องไม่ดีกินยาจวนจะหายอยู่แล้ว กลับเป็นมากขึ้นอีก  เลยจับได้ว่าแอบไปกินขนุนมา  จึงต้องกินยาอีกมากมายกว่าจะหายดี อาหารต่าง ๆ เหล่านี้แสลงจริง ๆ  คุณตาและคุณยายลองมาแล้วแทบทั้งนั้น  แต่แรกก็คิดว่าผู้ใหญ่นี้ใจร้ายใจดำ  หวงไม่ให้กินอาหารอร่อย ๆ  เมื่อเห็นฤทธิ์แล้วจึงรู้ว่าผู้ใหญ่นี้คิดถูก

หมอบอกว่า  ถ้าไม่สบายให้กินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย ๆ ไว้เป็นดีที่สุด  จะรักษาโรคให้หายได้เร็วกว่าให้กินอาหารได้ตามใจเด็ก ๆ  แต่อันที่จริงคุณยายนั้นชอบข้าวเปียกกับปลาดุกย่าง   บางครั้งถึงกับภาวนาไม่อยากให้หาย  เพราะจะอดกินข้าวเปียกกับปลาดุกย่างจิ้มน้ำปลาอร่อย ๆ  ต่อไป  ต้องมากินข้าวสวย  เด็ก ๆ และคนแก่ที่ฟันไม่ดีกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย ๆ ดีเหมือนกัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 เม.ย. 21, 09:09
ความเชื่อเรื่องสัตว์เข้าบ้าน
- ผึ้ง   ถ้าผึ้งมาทำรังทางทิศตะวันตกของบ้าน  จะมีเงินทองโชคดี    แต่ถ้าทำรังทางทิศตะวันออก จะมีคนตาย
- ถ้าเต่าคลานเข้ามาในบ้าน ไม่ดี 
- ตุ๊กแกร้อง ให้นับครั้งดู   ถ้าร้องต่ำกว่า 5 ครั้ง จะเป็นเรื่องไม่ดี  คนอยู่ในบ้านจะพากันเดือดร้อน   ถ้าร้องจำนวนครั้งมากเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น
- ถ้าจิ้งจกร้องขึ้นมาตอนกำลังจะออกจากบ้าน  ถือว่าจิ้งจกทัก เป็นลางไม่ดี  ไม่ควรออกจากบ้าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 06 เม.ย. 21, 09:37
ไม่เห็นคนตอบมาหลายวันแล้ว ทางกระผมขออนุญาตเล่าต่อเลยนะครับ ความเชื่ออีกอย่างของคนในสมัยโบราณที่สมัยนี้ไม่เห็นจะมีใครรู้จักแล้วก็คือการ
 ไล่พระราหูครับ เกล่าคือในสมัยโบราณนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา คนโบราณจะเชื่อว่าเป็นพระราหูมากินพระจันทร์ครับ แล้วก็จะมีการนำเอาฆ้องหรือฉาบออกมาตี เพื่อไล่พระราหู ทำให้พระราหูนั้นตกใจแล้วคายพระจันทร์ออกมา อีกด้วยล่ะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 เม.ย. 21, 11:04
กระผมยังพอมีเรืองเล่าของเหตุการณ์ที่น่าสนใจในบริเวณบางโฉลงอยู่หลายเรื่องล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับฟังมาจากผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งนั้น เดี๋ยวผมมีเวลาเมื่อไหร่จะมาเล่าต่อให้ทุกท่านฟังนะครับ

จะต้องขออนุญาตมาเล่าเรื่องราวแปลกประหลาดที่บางโฉลงอีกทีในตอนเย็นนะครับ หวังว่าทุกท่านจะได้รับฟังด้วยนะครับ :)

รอฟังอย่างตั้งจิต
เผลอแอบคิดเมื่อไรหนอ
บางโฉลงที่เฝ้ารอ
จะเล่าต่อขอรับฟัง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 06 เม.ย. 21, 14:44
กระผมต้องขอโทษต่อทุกท่าน
ด้วยผมนั้นได้ลืมเลือนความจำหาย
เกิดมาเป็นมนุษย์ปุตุชน
ยอมจำนนต่อความลืมเลือน

ต้องขอโทษทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยหน้าที่การงานทุกสิ่งมาหรุมเร้า
ให้ตัวเราต้องลำบากยากหนักหนอ
ต้องเหนื่อยจิตรมือหงิกหลังโค้งงอ
ดั่งวัวสีซอย่อมลำเข็ญ
ตัวกระผมไม่ทราบความท่านร้องขอ
หากปล่อยท่านรอกระผมได้รู้เห็น
ต้องขอโทษทุกท่านอย่างใจเย็น
ต้องขอโทษท่านเพ็ญอย่างใจจริง


เรื่องราวบางโฉลงนั้นมีอยู่
หากใคร่รู้จะเล่าสู่ไม่มีหาย
แต่ด้วยการงานรุมล่อมกาย
เรื่องปู่ย่าตายายเห็นต้องรอ
ณ วันนี้กระผมได้หยั่งเห็น
ด้วยท่านเพ็ญได้เมตตาท่านสั่งสอน
ด้วยตัวท่านนั่นได้แต่งเป็นตัวกลอน
ได้จัดจรให้เห็นถึงความจริง

คนเราเมื่อหลงย่อมเสื่อมจิตร
จะมืดมิตมองอะไรก็ไม่เห็น
ได้ผู้รู้ติดเตือนจึงอยู่เป็น
แสงเดือนเพ็ญเห็นทีจะดีจริง

ด้วยเหตุนี้กระผมต้องขอกล่าว
เรืองราวปู่ย่ามาแต่ก่อน
ให้ทุกท่านได้ฟังก่อนเข้านอน
หากคุณท่านอยากรู้จงรับฟัง










กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 06 เม.ย. 21, 15:29
เรื่องราวแปลกประหลาดแห่งบางโฉลง: งู:

กล่าวกันว่าบางโฉลงในสมัยก่อนนั้นมีสภาพเป็นบึงน้ำหนองนำ้เสียส่วนใหญ่ อีกทั้งยังติดทะเลอ่าวไทยอย่างที่กระผมได้เคยเกล่ามาแล้ว ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของบางโฉลงในสมัยก่อนที่เต็มไปด้วยคลองและทางน้ำน้อยใหญ่ ประกอบกับสภาพอากาศที่ชื่นแฉะ ทำให้บริเวณนี้เป็นที่โปรดปราณของงูเงี้ยวเขี้ยวขอ
อสรพิษนานาชนิตเป็นอย่างยิ่ง และจากอสรพิษนี่เองที่เหตุการณ์อันแสนสลดได้เกิดขึ้น เกล่ากันว่าในบริเวณบางโฉลงสมัยก่อนนั้นมีครอบครัวที่เล็กแต่อบอุ่นครเบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งผู้เป็นพ่อของครอบครัวนี่นั้นมีอาชีพออกทะเลหาปลาทางอ่าวไทย โดยปกติจะออกไปตั่งแต่เช้าตรู่และจะไม่กลับมาจนมืดค่ำ ส่วนผู้เป็นแม่นั้นนอกจากจะเป็นแม่บ้านแม่ศรีเรือนตามปกติของผู้หญิงในสมัยนั่นแล้วนั่นก็ยังมีอาชีพเสริมด้วยการหาหอยแครงในพื้นที่มาขายอีกด้วย สามีภรรยาคู่นี้นั้นใต้ตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างคลองบางโฉลงในปัจจุบัน หลังจากแต่งงานแล้วไม่นั้นผู้เป็นภรรยาก็ให้กำเนิดบุตรหญิงอันแสนน่ารักคนหนึ่ง เป็นที่รักของผู้เป็นพ่อแม่อย่างมาก
แต่ใครเล่าจะอยั่งรู้ว่าอีกไม่นานเหตุการณ์อันน่าเศร้าจะเกิดขึ้นเมื่อ วันหนึ่งผู้เป็นพ่อได้ออกทะเลหาปลาแต่เช้าตามปกติ ส่วนผู้เป็นแม่ก็ได้ออกไปนั่งล้างหอยแครงอยู่ตรงหน้าบ้าน โดยได้นำเอาลูกน้องอุ้มใส่หลงในเปลเด็กแบบโบราณชึ่งตั้งไว้บนบ้าน หลังจากที่ผู้เป็นแม่ได้ออกไปนั่งล้างหอยแครงหน้าบ้านอยู่ไม่นาน จู่ๆก็ได้ยินเสียงแผดร้องของเด็กทารกดังออกมาจากเรือนของตัวเอง ผู้เป็นแม่จึงได้รีบวิ่งเข้าไปในบ้านด้วยความตกใจ ในขณะที่ย่างเท้าเขาไปในบ้านนั้น ผู้เป็นก็ต้องตกใจจนแทบจะสิ้นสติเมื่อเห็นว่า สิ่งที่อยู่ในเปลนั้นหาใช่ลูกน้อยของตัวเองไม่ แต่กลับเป็นงูเหลือมตัวเขื่อง่ที่ได้กลืนกิ้นร่างของเด็กน้อยเข้าไปจนไม่เห็นแม่แต่นิดเดียว คงจะเห็นแต่ท้องที่ป่องออกมาของงูเหลือมตัวนั่น ผู้เป็นแม่ตกใจจนแทบจะเสียสติ ได้แต่ตะโกนร้องเรียกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วยเสียงดังลั่น
เมื่อชาวบ้านได้วิ่งกรูกันเข้ามาดูเหตุการณ์แล้วก็ได้เห็นแต่สภาพของงูเหลือมยักษ์นอนท่องปองอยู่ในเปลเด็กอ่อนนั้นเอง ชาวบ้านได้ช่วยกับนำมีดมาผ่าท้องของงูเหลือมตัวนั้นเสีย และก็ต้องตกใจไปตามกันเมื่อพบร่างของเด็กทารกผู้โชคร้ายอยู่ในท้องของงูเหลือมยักษ์ตัวนั้นนั้นเอง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 เม.ย. 21, 07:16
บางโฉลงแต่ก่อนเก่า
งูเยือนเหย้าเล่าสืบมา
เรื่องอื่นมีไหมหนา
สักเรื่องนาตั้งตาคอย


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 เม.ย. 21, 10:12
ขัดตาทัพด้วยเรื่องเล่าจากสุนทรภู่ 'บางโฉลงแตก่อนเก่า'

จนตกลึกล่วงทางถึงบางโฉลง        
เปนทุ่งโล่งลานตาล้วนป่าแขม
เหงือกปลาหมอกอกกกับกุ่มแกม    
คงคาแจ่มเค็มจัดดังกัดเกลือ


จาก นิราศเมืองแกลง (https://vajirayana.org/ประชุมกลอนนิราศต่างๆ-ภาคที่-๑-นิราศสุนทรภู่-๔-เรื่อง/นิราศเมืองแกลง)

บางโฉลง ณ เวลานั้น คงเป็นท้องทุ่งที่น้ำทะเลท่วมถึงดั่งในภาพนั่นแล

ภาพจาก ที่นี่บางพลี (https://m.facebook.com/TeeNeeBangplee/photos/a.2013455688946687/2185295688429352/?type=3&source=57)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 09 เม.ย. 21, 10:49
แสดงว่าคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ว่า บางโฉลงแต่ก่อนเก่านั้นติดทะเล ก็น่าจะมีเค้าจริงอยู่บ้างน่ะสิครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 09 เม.ย. 21, 11:41
เรื่องเล่าบางโฉลง๒: ยายทองข้างวัด

ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ๔๐ปีที่แล้ว บ้านหลังโตซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดบางพลีใหญ่ในนั้น มีหญิงชราท่านหนึ่งชื่อว่า‘`คุณยายทอง’’ อาศัยอยู่
คุณยายทองท่านนี้เมื่อเวลา๔๐ปีทีแล้วก็ได้เข้าสู่ปัจฉิมวัยเป็นที่เรียบร้อย(ท่านเป็นคนรุ่นเดียวกันกับคุณย่าของคุณป้าที่เล่าเรื่องนี้มาให้ฟังอีกทีหนึ่ง จึงสามารถคาดคะเนได้ว่าคุณยายทองน่าจะเกิดในสมัยปลายราชกาลที่๕) กล่าวกันว่าคุณยายทองนั้นมีเชื้อสายเจ้านายเก่าในแถบบางโฉลง หรือที่เรียกกันในภาษาปากว่า’ผู้ดี’
นั้นเอง แต่จะจริงเทษอย่างไรก็ไม่อาจทราบได้ รู้แต่เพียงว่าคุณยายทองนั้นเป็นหนึ่งในผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในบางโฉลงผู้หนึ่ง คุณยายทองนั้นอยู่ตัวคนเดียวในบ้านหลังใหญ่ ส่วนของคุณยายจะมีผู้สืบทายาทหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ ตั้งแต่คุณป้าที่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ผมฟังจำความได้ก็ได้เห็นแต่คุณยายทองอยู่ตัวคนเดียว

คุณยายทองนั้นเป็นผู้มีความเมตตาและความใจบุญอย่างยิ่ง กล่าวกันว่าท่านบริจาคที่ดินของท่านให้กับวัดบางพลีใหญ่ในให้ไปเป็นธรณีสงฆ์ เป็นจำนวนหลายสิบไร่ อีกทั้งยังทำบุญตักบาตรอยู่เป็นประจำทุกวัน ส่วนตัวของคุณยายนั้นจะใส่โจงกระเบนเป็นประจำทุกวัน ใม่ค่อยใส่ผ้าถุงทั่งที่อยู่ในช่วงเวลาหลังจาก การสั่งห้าม
นุ่งโจงกระเบนของจอมพลแปลกเป็นเวลานานหลายปีแล้ว อีกทั้งตัวคุณยายทองเองยังชอบกินหมากเป็นประจำอีกด้วย เรื่องอันน่าแปลกคือคุณยายทองท่านนี้
มีอายุยืนยาวมาก คุณป้าได้เล่าว่าคุณยายทองเพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อประมาณสิบกว่าปีมาแล้วนี่เอง รวมอายุได้ประมาณ๑๒๐ปี ซึ่งหากเป็นเรื่องจริงคุณยายทองก็น่าจะเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทย กระผมเองก็แทบจะไม่เชื่อ แต่คุณป้าก็ได้ยืนยันว่าคุณยายทองข้างวัดนั้นเกิดไล่เลี่ยกันกับคุณย่าของคุณป้า (คุณย่าของคุณป้าเกิดในปี๒๔๓๙) ซึ่งหลังจากที่คุณยายทองได้เสียชีวิตไปก็มีเกียรติได้รับพระราชทานเพลิงศพอีกด้วย แต่ก็ยังมีเรื่องราวที่แปลกกว่านั้นไปอีก กล่าวคือหลังจากที่คุณยายทองได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น ก็มีคนได้ฝันว่ามีราชรถของเหล่าทวยเทพอย่างในรามเกียรติ์มารับตัวขอคุณยายทองไปยังสวรรค์อีกด้วย
ถือว่าคุณยายทองเป็นผู้มีบุญมากคนหนึ่งครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 10 เม.ย. 21, 21:52

ถึงบางพลี ยี่สิบสี่ นาฬิกา

บนทุ่งนา รกร้าง ข้างบ้านสวน

พบเรือนไทย ใหญ่โอ่อ่า ป้าเนื้อนวล

ประดับไฟ พอสมควร เห็นชัดดี

เราสองคน ดั้งด้น ถึงที่หมาย

ผ่านคอกควาย ผ่านโรงนา มาโรงสี

เจอคุณป้า ทาปากแดง เรี่ยวแรงดี

ดูอีกที ป้าหยิบนี่โว้ย โกยเถอะโยม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 เม.ย. 21, 23:42
ฝ่ายป้าหยิบ สงสัย เมื่อได้เห็น
โกยดั่งเช่น เห็นผี มีไฉน
หนีลงโอ่ง นี่ซิ หนีทำไม
ดูหนังผี มากไป ไหมล่ะโยม


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม18.png)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 เม.ย. 21, 14:00
   เล่าถึงบ้านเรือนในกรุงเทพเมื่อ 60  ปีก่อนบ้างนะคะ
   บ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้     ปลูกทั่วไปสองข้างถนน  มีเนื้อที่และบริเวณเป็นสัดส่วน
 แม้แต่บ้านเล็กๆก็อาจมีเนื้อที่ถึง 200 ตารางวา   ส่วนที่เป็นตึกคือตึกแถวซึ่งส่วนใหญ่ปลูก 2-4 ชั้น  ไม่สูงกว่านั้น  อยู่ในย่านค้าขาย
   บ้านในยุคนั้นไม่ต้องใส่เหล็กดัดตามหน้าต่าง  เหตุผลคือขโมยยังน้อย และคนในบ้านยังอยู่กันเยอะ  ตอนกลางวันก็จะมีพวกผู้หญิงอยู่ในบ้านเสมอ ทั้งนายและคนรับใช้   อย่างที่สองคือบานหน้าต่างเป็นไม้ทึบ    ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ปิดหน้าต่างเสียก็หมดเรื่อง   
    ความที่บ้านอยู่ห่างๆกันพอสมควร  ลมถึงพัดผ่านได้สะดวก   หน้าต่างกว้าง ลมพัดเข้ามาในบ้านได้
นั่งพักนอนพักได้สบายในตอนกลางวัน   ต้นไม้ใหญ่ในบ้านทำให้บ้านร่มเย็นพอจะไม่ต้องพึ่งแอร์  หรือแม้แต่พัดลม    ถ้ามีก็เป็นพัดลมตัวเล็กๆ ใบพัดทำด้วยเหล็กบางๆ สำหรับเปิดในหน้าร้อน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 เม.ย. 21, 13:01
เป็นบ้านที่สวยไม่ใช้เล่นเลยนะครับ แอบเสียดายนิดหน่อยที่ว่าบ้านอย่างนี้นับวันจะหาอยากขึ้น ความเจริญนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่บางทีก็อดคิดเสียไม่ได้ว่า
เรากำลังสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างไปตามกาลเวลา


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 เม.ย. 21, 13:08
ส่วนบ้านทั่วไปในพื้นที่ชนบทเมื่อสมัยก่อนก็เห็นจะบ้านยกพื้นสูง มีใต้ถุนเกือบหมด ไม่น่าจะต่างจากสมัยโบราณสักเท่าไหร่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 21, 15:48
ถ้าคุณเดินไปตามถนนสายเก่าของกรุงเทพ  อย่างแถวเขตดุสิต  สามเสน ศรีย่าน  จะเจอบ้านเก่าแก่อายุ ๑๐๐ ปีอยู่หลายหลังเหมือนกันค่ะ   ส่วนใหญ๋อยู่ตามตรอกตามซอย มองจากถนนใหญ่ไม่เห็น  ต้องทำตัวเป็นพลตระเวนจึงจะเห็นค่ะ

ส่วนภาพข้างล่างนี้เป็นบ้านแถวเจริญกรุง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 เม.ย. 21, 17:38
ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูสำหรับคำตอบนะครับ บ้านในรูปดูสวยไม่น้อยเลยนะครับ สวนตัวกระผมเป็นคนที่ชอบบ้านที่สร้างด้วยไม้เป็นพิเศษ ในความคิดส่วนของผมคิดว่ามันแลดูเป็นธรรมชาติกว่าอิฐปูนเยอะ ไม่ทราบว่าในสมัยก่อนนั้นเวลาสร้างบ้านเรือนจะนิยมใช้ไม้ชนิดใดเป็นหลักบ้าง ต้องขอรบกวนถามทุกท่านแล้วกันนะครับ โบราณท่านเกล่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 21, 17:53
  ตอนเด็กๆรู้สึกว่าบ้านไม้เป็นบ้านของคนจน หรืออย่างดีก็ฐานะปานกลาง  เพราะทั่วเมืองหลวงมีแต่บ้านไม้เป็นส่วนใหญ่  ส่วนน้อยถึงจะเป็นตึก   แถวถนนสุขุมวิทมีบ้านสวยๆ ปลูกใหม่ เป็นตึกทั้งนั้น
  มายุคนี้กลับเป็นตรงข้าม   ใครเป็นเจ้าของบ้านไม้สวยๆสภาพดีถือว่าเป็นรวย  เพราะไม้หายาก ถ้าเป็นบ้านไม้เก่าที่ดูแลไว้ดียิ่งหายากหนักเข้าไปอีก ใครมีก็ต้องรวยมาก  เพราะค่าซ่อมบำรุงแพงมาก   ส่วนตึกมีอยู่มากมายไปหมดจนเห็นเป็นของธรรมดา

  บ้านไม้ชั้นหรูที่สุดคือปลูกด้วยไม้สักค่ะ   ยิ่งพื้นกระดานไม้สักทองละก็ถือว่าชั้นยอดเลย  เป็นของแพง และปลวกไม่ขึ้น    รองลงมาก็ปลูกด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น เช่นไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง   ปลวกไม่ขึ้นเหมือนกัน คงทนมาก   ไม้กระดานก็ต้องไม้สัก  หน้าต่างประตูชั้นดีต้องไม้สักเหมือนกัน

 บ้านที่ราคาปานกลางหรือย่อมเยา ปลูกด้วยไม้ยาง    เป็นไม้ที่ไม่คงทนเท่าไม้สัก  แต่ก็อยู่ได้หลายสิบปีเหมือนกัน   ส่วนใหญ่บ้านไม้ยางเป็นบ้านเล็กๆ เจ้าของบ้านฐานะปานกลาง    ถ้าบ้านใหญ่โอ่อ่าละก็เชื่อได้ก่อนว่าไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 21, 17:58
บ้านในรูปนี้ ไม่เคยเห็นของจริง แต่คิดว่าน่าจะเป็นไม้ยางนะคะ  
เพราะสมัยโน้นบ้านแบบนี้มักปลูกด้วยไม้ยาง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 21, 18:02
บ้านนี้น่าจะเป็นไม้สักค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 เม.ย. 21, 18:12
ก็แลดูเรียบง่ายไปอีกแบบนะครับ ว่าแต่เหตุใดจึงมีรอยคราบคล้ายกับสนิมอยู่ด้วนล่ะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 21, 18:33
ตรงไหนคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 เม.ย. 21, 18:43
ต้องขอด้วยนะครับ สงสัยผมดูผิดไปเอง ดูอีกทีแล้วน่าจะเป็นสีที่เจือจางไปมากกว่า ขออนุญาตพูดต่อในเรื่องของบ้านเรือนในสมัยก่อนเลยนะครับ
ภาพที่ทุกท่านเห็นอยู่ข้างล่างนี้เป็นแบบตัวอย่างของเรียนไทยในภาคกลางทั่วไป ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือใต้ถุนที่ยกสูงเพื่อกันน้ำท่วม และหลังคาทรงจั่วยกสูง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 21, 09:14
ข้างบนนี้ไม่ใช่เรือนไทยทั่วไปในภาคกลางค่ะ  เป็นเรือนหมู่ระดับเรือนขุนช้าง มหาเศรษฐีเมืองสุพรรณ      เรือนชาวบ้านทั่วไปเป็นแบบนี้ค่ะ
ความจริงใต้ถุนต้องสูงกว่านี้ ขนาดคนเดินลอดได้สบาย  เพื่อป้องกันน้ำท่วมขึ้นมาถึงพื้นเรือนในหน้าน้ำหลาก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 21, 09:18
ถ้าเก่าแก่และโอ่โถงหน่อยก็เป็นแบบนี้ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 23 เม.ย. 21, 11:40
ขอเรียนถามเพิ่มหน่อค่ะในเรื่องเรือนว่าความต่างของเรือนภาคกลางระหว่างเรือนของชาวบ้านทั่วไปกับเรือนของคนมียศ มีฐานะดี เป็นเศรษฐีมีอะไรบ้างหรือคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 23 เม.ย. 21, 15:19
ความใหญ่ครับ คนที่เป็นระดับเศรษฐีหรือมีฐานะดีหน่อย จะนิยมปลูกบ้านเป็นเรือนหมู่ซึ่งมีอยู่หลายเรือนด้วยกัน นอกจะเรือนนอนและเรือนครัวแล้ว ก็สามารถสร้างห้องโถงหรือเรือนนั่งไว้สำหรับรับแขกอีกด้วย ลักษณะเรือนหมู่ของผู้มีอันจะกินระดับเศรษฐีในสมัยโบราณก็คงจะคล้ายกับรูปที่ผมได้ใส่หลงในความคิดเห็นด่านบนนี้ ถึงจะเวอร์วังเกินขนาดไปหน่อยตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ครับ(ผมต้องขออภัยด้วยหากตัวกระผมเองได้ลงรูปที่ไม่ถูกต้อง ต้องขอโทษทุกท่านด้วยนะครับ) ส่วนเรือนที่มีอยู่ทั่วไปก็ของจะมีขนาดเล็กกว่านี้ ส่วนมากจะเป็นเรือนเดี่ยวที่มีอยู่สองห้องด้วยกัน เรือนครัวและเรือนนอนครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 23 เม.ย. 21, 15:29
แต่สิ่งที่เหมือนกันก็มีอยู่ครับ เกล่าคือ จะไม่มีการสร้างห้องน้ำหรือส้วมไว้ในเรือนเป็นอันขาด เนื่องจากในสมัยก่อนไม่ได้มีท่อน้ำประปาและระบบสาธารณุประโภคในเรื่องของน้ำและสิ่งปฏิกูลเหมือนกับปัจจุบันนี้ ถ้าหากสร้างห้องน้ำไว้ในเรือนก็น่าจะสกปรกน่าดูเลยนะครับ ด้วยเหตุนี้คนสมัยก่อนจึงไม่มีการสร้างห้องน้ำไว้ในเรือน แต่จะนิยมใช้ห้องนำ้ที่ปลูกไว้ท้ายสวน เรียกว่า’’เวจ’’ ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 21, 15:57
เรือนคหบดี

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=13&chap=1&page=t13-1-infodetail02.html


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 21, 18:31
ภาพจิตรกรรมในลิ้งค์เป็นของใหม่  แต่วาดเรื่องราวยุคหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน   แสดงให้เห็นบ้านเรือนแบบไทยในชนบท ก่อนอิทธิพลตะวันตกจะเข้ามา

https://www.isaninsight.com/khonkaenhistorymuralpainting/


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 24 เม.ย. 21, 09:25
ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องเรือนค่ะคุณเทาชมพู


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 เม.ย. 21, 13:04
อ้างถึง
เรือนชาวบ้านทั่วไปเป็นแบบนี้ค่ะ
บ้านผมที่พิจิตร ตอนผมเกิดเป็นอย่างนี้เลยครับ
แต่พอลูกโตขึ้น มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นพ่อก็ต่อเติมด้านล่าง ด้วยการก่อผนังอิฐฉาบปูนให้ใต้ถุนกลายเป็นห้อง กลายเป็นบ้านครึงไม้ครึ่งปูนไปครับ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 26 เม.ย. 21, 13:51
อ้างถึง
เรือนชาวบ้านทั่วไปเป็นแบบนี้ค่ะ
บ้านผมที่พิจิตร ตอนผมเกิดเป็นอย่างนี้เลยครับ
แต่พอลูกโตขึ้น มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นพ่อก็ต่อเติมด้านล่าง ด้วยการก่อผนังอิฐฉาบปูนให้ใต้ถุนกลายเป็นห้อง กลายเป็นบ้านครึงไม้ครึ่งปูนไปครับ 
เหมือนผมมาตอบเองเลยครับ
แก้จากพิจิตร เป็นสิงห์บุรี


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 15:13
นึกภาพออกค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 15:15
บ้านไม้หลังข้างบนนี้ เอามารีโนเวท ออกมาเก๋มากค่ะ

https://kaijeaw.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9/


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 15:28
มีธรรมเนียมนิยมการสร้างบ้านอย่างหนึ่งที่ปัจจุบันดูจะลืมเลือนกันไปแล้ว   คือสร้างบันไดไว้นอกตัวบ้าน  ไม่เอาเข้ามาอยู่ภายในตัวบ้าน   
ถ้าดูบ้านเรือนสมัยอยุธยา จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ก็เห็นว่ารูปทรงเอื้อให้สร้างบันไดไว้นอกบ้าน   เพราะเป็นเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูง   เวลาจะขึ้นเรือนก็ต้องขึ้นจากบันไดที่ทอดไว้นอกตัวบ้าน สะดวกสุด   ถ้าจะขึ้นจากใต้ถุนก็คงประดักประเดิด  กลายเป็นว่าต้องลอดพื้นไม้กระดานขึ้นมานั่งอยู่ในห้อง 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 15:38
ต่อมา เมื่ออิทธิพลตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้ามาในสยาม   บ้านเรือนไทยก็เริ่มเปลี่ยนรูปทรง รับสไตล์โคโลเนียลเข้ามาบ้าง      แต่ก็ยังรักษาแบบแผนชั้นเดียวใต้ถุนสูง และบันไดอยู่นอกตัวบ้านเอาไว้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 15:44
แม้ว่าบ้านเรือนไทยเปลี่ยนรูปแบบเป็นสองชั้นเต็มรูปแบบฝรั่ง  ในยุคแรกๆก็ยังรักษาบันไดเอาไว้นอกบ้านอยู่ดี  คือทำบันไดทอดจากนอกตัวบ้านขึ้นชั้นสองเลยทีเดียว   ไม่ต้องทำบันไดไว้ในตัวบ้าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 26 เม.ย. 21, 17:53
อ้างถึง
บ้านผมที่พิจิตร ตอนผมเกิดเป็นอย่างนี้เลยครับแต่พอลูกโตขึ้น มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นพ่อก็ต่อเติมด้านล่าง ด้วยการก่อผนังอิฐฉาบปูนให้ใต้ถุนกลายเป็นห้อง กลายเป็นบ้านครึงไม้ครึ่งปูนไปครับ

ขอเรียนถามหน่อยค่ะว่าสังคมไทยเริ่มมีการก่อผนังอิฐฉาบปูนให้ใต้ถุนกลายเป็นห้อง กลายเป็นบ้านครึงไม้ครึ่งปูนตั้งแต่สมัยไหนคะ และพอจะทราบไหมคะว่าใครเป็นผู้เริ่มทำแบบนี้สมัยแรกๆ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 19:20
ข้อนี้ตอบจากประสบการณ์นะคะ เพราะจนปัญญาจะไปหาว่าใครริเริ่มทำ   
ตอนดิฉันเด็กๆ  บ้านในกรุงเทพเป็นบ้านสองชั้นตั้งแต่ปลูกสร้าง   ไม่ใช่บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่ต่อเติมชั้นล่างอย่างบ้านในชนบท    แต่ถ้าถามว่าบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้มีไหม ก็ตอบว่าเคยเห็น แต่สร้างแบบนี้กันตั้งแต่เริ่มปลูกอีกเช่นกัน
ถ้าจะมาต่อเติมกันแบบที่คุณถาม   ก็เดาว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกมาอีกหลายปี    เมื่อปูนซีเมนต์เริ่มมีราคาถูกพอจะนำมาต่อเติมเป็นชั้นล่างได้    ก่อนหน้าสงครามโลกและระหว่างสงครามมาจนเลิกสงคราม  ไม้ราคาถูก  อิฐปูนราคาแพง   ดังนั้นถ้าจะมีการต่อเติมบ้านไม้  เขาก็ใช้ไม้มาต่อเติมมากกว่าจะไปหาอิฐปูน 
คะเนอายุแล้ว ก็คงเริ่มมาสัก 50-60 ปีได้ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 21, 19:25
บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ที่สร้างแบบนี้ตั้งแต่แรก  ไม่ได้ต่อเติม  ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้   หลังคาเกือบจะแบนราบแบบนี้น่าจะสร้างประมาณ พ.ศ. 2500


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 เม.ย. 21, 08:14
ขอเพิ่เติมด้วยรูปของบ้านเรือนในชนบทของประเทศลาวครับผม บ้านเรือนอย่างนี้กระผมเชื่อว่าน่าจะเป็นแบบที่โบราณมากทีเดียวครับ ไม่ทราบว่ามีสมาชิกท่านไดจะพอทันเห็นบ้านเรือนอย่างนี้ในบ้านเราบางครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 เม.ย. 21, 08:20
กระผมอายุยังน้อย เกิดมาก็ไม่ทันเห็นบ้านแบบนี้ที่ไหนแล้ว แต่จำได้ว่าตอนเรียนอยู่ชั้นประถม ทางโรงเรียนได้เคยสร้างบ้านแบบนี้ไว้ที่สวนหลังโรงเรียน เพื่อเป็นการสอนนักเรียนในเรื่องของประเพณีไทยด้วย เราก็พากันเรียกว่า’’กระต็อบ’’ ครับผม ตอนเลิกเรียนพักเรียนก็แอบพากันไปเล่นที่นั้นบ่อยๆ จำได้ว่าข้างในเรียน รวมถึงหัวบันไดข้างนอกล้วนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งนั้นเลย กระผมเคยพลัดตกลงมาจากบันไดนั้นด้วย บอกได้คำเดียวว่า เจ็บจะบรรลัยเลยล่ะครับทุกท่าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 21, 09:11
กระต๊อบ ของจริงไม่สวยเหมือนในรูปและในคำบรรยายกระต๊อบหลังโรงเรียน ที่คุณภศุสรรเห็นมา   พวกนี้เป็นกระต๊อบสวยงาม  สร้างไว้เป็นบ้านพักเลียนแบบของโบราณค่ะ
กระต๊อบของจริงมีอยู่ในชนบท    เป็นเรือนชั้นเดียวปลูกง่ายๆ ยกพื้นสูงจากพื้นดิน  ส่วนใหญ่มีห้องเดียว  กระต๊อบของดั้งเดิมมีหลังคามุงจาก  ฝาอาจเป็นไม้แผ่นเล็กๆ ก็มี หรือเป็นไม้ไผ่สานขัดกันโปร่งๆ ยุงบินลอดได้ เรียกว่าฝาสำหรวดก็มี  ทั้งหมดเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย    

ปัจจุบัน ออกไปตามชนบทไกลๆก็ยังมีให้เห็นค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 21, 09:13
กระต๊อบของแท้ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 เม.ย. 21, 09:17
ถูกต้องแล้วครับ กระต๊อบหลังโรงเรียนผมแต่ก่อนเหมือนกับในรูปอันล่างของท่านอาจารย์เลยครับ ไม่รู้ว่าท่าตกจากบันไดลงมาอีกจะเจ็บเหมือนเดิมรึเปล่าครับ :)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 เม.ย. 21, 09:25
เรือนไทยดั้งเดิมของภาคเหนือ เรียกว่า’’เรือนกาแล’’ ครับผม รู้สึกว่าโครงสร้างและแบบแผนทั่วไปค่อนข้างจะแตกต่างกับเรือนไทยภาคกลางพอสมควร
ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่าภูมิประเทศที่แตกต่าง และอากาศที่หนาวเย็นกว่ามาก จึงจำเป็นที่จะสร้างบ้านเรือนในแบบที่จะสามารถเก็บความร้อนในฦดูหนาวให้ได้มากที่สุดครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 21, 10:14
ปัจจุบันเรามีอาคารพาณิชย์ หรือเรียกง่ายๆว่าตึกแถว สร้างด้วยปูน    แต่ภาพที่นำมาลงคืออาคารพาณิชย์ยุคถอยไปก่อนสงครามโลก    สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  
ประตูชั้นล่างด้านซ้ายที่ดูเหมือนเป็นเหล็ก เป็นของต่อเติมทีหลัง  ของเดิมโดยทั่วไปเป็นประตูไม้  อาจจะแบบประตูเฟี้ยม บานพับไปพับมาได้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 21, 10:20
ไปเจอบ้านครึ่งตึกเรื่องไม้ รุ่นเก่าอีกชุดหนึ่งค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 21, 10:24
ส่วนบ้านนี้เป็นบ้านไม้โอ่อ่า  สร้างสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒    ถ้ารักษาสภาพไว้ดี  ก็มักจะเป็นเพราะนำมาทำร้านอาหาร  หรือบูติคโฮเต็ล
ถ้าเจ้าของบูรณะเพื่ออยู่เอง จะต้องเปลืองเงินมาก  เพราะซ่อมบ้านไม้แบบนี้  ปลูกตึกใหม่ง่ายกว่า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 28 เม.ย. 21, 11:00
ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์สำหรับรูปภาพด้วยนะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 28 เม.ย. 21, 11:05
บ้านทรงมลายู พบได้มากในเขตสามจังหวัดครับผม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 28 เม.ย. 21, 14:46
ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้มีค่ะคุณเทาชมพู


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 09:02
ตึกแบบนี้เป็นตึกใหม่ในยุคหลังสงครามโลก  ประมาณทศวรรษ 2490s   เป็นตึกสองชั้นไม่มีไม้ปน ยกเว้นหน้าต่างซึ่งเป็นบานไม้ทึบ   
ไม่ใช้หน้าต่างกระจกเพราะยุคนั้นยังไม่มีห้องแอร์ (หรือมีก็น้อยมาก) มีแต่หน้าต่างมุ้งลวดติดซ้อนด้านในหน้าต่างไม้ทึบ   ให้เจ้าของห้องนอนได้สบายไม่ต้องกางมุ้งให้ร้อนอึดอัด   พัดลมก็ไม่จำเป็นนัก เพราะลมพัดผ่านเข้ามาได้สะดวก 
บ้านในรูปมาติดหน้าต่างกระจกทีหลัง เมื่อติดเครื่องปรับอากาศ
เจ้าของบ้านที่ปลูกบ้านระดับนี้ได้  ต้องเป็นเศรษฐี


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 10:58
นึกไม่ออกว่าจะเล่าเรื่องบ้านอะไรได้อีก  ขอเปลี่ยนไปเรื่องแฟชั่นเสื้อผ้าในยุคหลายสิบปีก่อนคุณภศุสรรเกิด  คนรุ่นนั้นถ้าอยู่มาจนถึงปัจจุบันก็เป็นทวดไปแล้ว

ตอนดิฉันเด็กๆ จำได้ว่าเสื้อผ้าลำลองของคุณพ่อ เวลาไปข้างนอก ที่ไม่ใช่ไปทำงาน คือเสื้อมีปก เป็นปกแบบแบะออก ไม่ใช่ปกตั้ง   แขนสั้นเหนือศอก ตัวปล่อยยาวทับกางเกง เรียกว่า "เสื้อฮาวาย"
ผู้ชายยุคนั้นไม่สวมเสื้อสีสด หรือลวดลายฉูดฉาด   เสื้อฮาวายของคุณพ่อสีอ่อนๆ   ถ้ามีลายก็ลายสก๊อตเล็กๆ    หรือเป็นริ้วยาวๆ เล็กๆ เช่นกัน 
กางเกงก็เป็นแบบเดียวกับที่เขาตัดสวมกับเสื้อสูท   
 
ถ้าแต่งกายสุภาพ   คุณพ่อสวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวผูกไท เชิ้ตสีขาวอย่างเดียวไม่มีสีอื่น  เนคไทผ้าไหมไทย ไม่มีลวดลาย หรือถ้ามีก็เป็นลายเรียบๆมาก    ถ้าไปงานที่เป็นพิธีรีตอง สวมสูทสีเทาแก่อย่างเดียว
ถ้าไปงานศพ สวมสูทขาวผูกเนคไทดำ  พันแขนทุกข์ แต่แฟชั่นนี้ตอนดิฉันโตขึ้นหน่อย ก็เลิกไปแล้ว เปลี่ยนเป็นสูทสีเข้มแทน
มีสูทผู้ชายอีกแบบหนึ่งที่ฮิทกัน  คือสูทตัดด้วยผ้าไหมไทยอย่างหนา เนื้อขึ้นเงา   ถ้าไม่ใช่ผ้าไหมไทยก็ตัดด้วยผ้าไหมม็องตากู  เนื้อคล้ายผ้าไหมไทยแต่ขึ้นเงามันวาบทีเดียว

ผู้ชายทั่วไปที่ไม่ใช่วัยรุ่น  เวลาออกนอกบ้านนิยมสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว เก็บชายไว้ในกางเกง  กางเกงเป็นแบบหลวมๆ
ถ้าไปทำงาน สวมเชิ้ตขาว แขนสั้นหรือไม่ก็แขนยาว 
 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 11:06
สูทผ้าไหม  แต่ดูไม่ออกว่าผ้าไหมไทยหรือผ้าไหมม็องตากู
เป็นภาพคุณเลิศ ประสมทรัพย์ นักร้องสุนทราภรณ์  ในวันหมั้นกับม.ล.ปราลี มาลากุล พ.ศ. 2515


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 11:11
ผู้ชายทั่วไปแต่งกายแบบนี้ เวลาออกนอกบ้าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 11:15
เสื้อเชิ้ตแขนยาวถือว่าสุภาพกว่าเชิ้ตแขนสั้น     แต่ถ้าพับแขน จะกลายเป็นไม่สุภาพไปทันที
ไปเที่ยวพอได้ แต่ถ้าพบผู้ใหญ่ ห้ามพับแขน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 11:22
สูททันสมัยในยุคนั้น
ดาราในภาพ  ตอนนี้เหลือคุณสมบัติ เมทะนี คนเดียว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 29 เม.ย. 21, 11:58
ชุดเสื้อฮาวายตามที่ท่านอาจารย์ได้เล่ามานั้นจำได้ว่าคุณตาของกระผมเคยใส่อยู่เหมือนกันครับ นอกจากนี้อยังจำได้ว่าคุณตาชอบใส่โสร่งตอนอาบนำ้เป็นประจำอยู่ด้วยครับ กระผมได้เคยเอารูปของเครื่องแต่งกายที่ได้ถูกสั่งห้ามไปในสมัยจอมพลแปลก(โสร่ง กระโจอกเป็นต้น) ดั่งในรูปข้างล่างนี้ไปให้ท่านดูอีกด้วย คุณตาท่านได้ยิ้มออกมา บอกผมไปพลางว่าในสมัยท่านยังเป็นเด็กอยู่นั้น ผู้ใหญ่รอบข้างล้วนสวมใส่’’ชุดต้องห้าม’’ซึ้งปรากฏอยู่ในคำสั่งราชการนี้ทั้งนั้น ถ้าจะควบคุมทั้งหมดก็เห็นทีจะคุมไม่ไหวเป็นแน้แท้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 29 เม.ย. 21, 12:10
เสื้ออีกชนิดหนึ่งซึ่งวัยรุ่นสมัยนี้เห็นทีจะลืมเลือนกันไปเกือบหมดแล้ว ก็คือ’’เสื้อกุยเฮง’’ หรือที่ผมชอบเรือกในวัยเด็กว่า ‘`เสื้อคอจีน’’ ครับ รู้สึกว่าเสื้อชนิดนี้จะได้รับความนิยมในชุมชนคนจีนโผ้นทะเลเป็นพิเศษเนื่องจากใส่ง่ายและสบายครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 12:44
ในช่วงอยู่ ม.ต้น  วัยรุ่นในกรุงเทพคลั่งไคล้ราชาร็อคแอนด์โรล  เอลวิส เพรสลี่ย์ กันมาก    แฟชั่นวัยรุ่นชายสมัยนั้นคือเสื้อเชิ้ตแขนยาวตัวใหญ่หลวมโคร่ง สีสดบาดตา   กับกางเกงที่ตรงข้าม คือตัดเล็กจนคับทั้งตัว ขาลีบเล็กยาวแค่ข้อเท้า   นิยมสีขาว
เคยเห็นวัยรุ่นข้างบ้าน สวมเสื้อเชิ้ตแดงสด ตัดกับกางเกงขาว  เจิดจ้ามาแต่ไกลค่ะ
สื่อเรียกกันล้อๆว่า "เสื้อพี่กางเกงน้อง"

เอลวิสเมืองไทยมีหลายคน  หนึ่งในนั้นคือคุณวิสูตร ตุงคะรัต


https://www.youtube.com/watch?v=mILUtJZTVRs




กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 12:50
เสื้อกุยเฮง เป็นเสื้อที่ผู้ชายเชื้อสายจีนในไทย  นุ่งกับกางเกงแพรปังลิ้นสีดำ  ค่ะ
ส่วนผู้ชายไทยมีเสื้อคล้ายๆกัน  เรียกว่า เสื้อมิสกรี เป็นเสื้อผ้าป่านบางสีขาว คอกลม ผ่าหน้าลงมาแค่อกสำหรับสวมทางหัว  แขนแค่ศอก  ตัวหลวมๆยาวเลยเอวลงมา   ไว้นุ่งกับกางเกงแพรสีต่างๆเวลาอยู่บ้าน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 16:40
จาก "โหมโรง" เสื้อที่คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ ผู้รับบทนายศร หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะสวมในฉากนี้ คือเสื้อมิสกรี

https://www.youtube.com/watch?v=3lwCOcs6Iuc


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 29 เม.ย. 21, 17:49
อาจารย์ครับ...ในฉากนี้คุณอดุลย์สวมเสื้อติดกระดุมทั้งตัวนี่ครับ (แต่คอกลม) พับแขนแล้วเหน็บเข้ากางเกงด้วยจิ๊กโก๋มากๆ ถ้าฉากตีระนาดให้พงษ์พัฒน์ได้ยินอันนั้นเป็นเสื้อมิสกรีแขนแค่ศอก สมัยยังมีชีวิตอากงผมก็ชอบใส่แต่ผมไม่รู้จักชื่อเสื้อ เวรของกรรม  :(


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 21, 21:18
กลับไปดูคลิปอีกครั้ง   เสื้อคุณอดุลย์คล้าย แต่ไม่ตรงกับมิสกรีจริงๆด้วยค่ะ   เพราะมิสกรีเป็นเสื้อผ่าอกลงมาครึ่งเดียวและไม่พับแขน    แขนยาวแค่ศอกหรือเหนือศอกนิดหน่อย
ส่วนท่อนล่าง เป็นกางเกงผ้าหลวมๆ นุ่งแบบกางเกงแพร คือเหน็บเอวไว้ค่ะ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 21, 10:22
ยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในประวัติการแต่งกายไทย คือยุค "วัธนธัม" ของจอมพลป.พิบูลสงคราม
ประชาชนเจอคำสั่งให้เลิกแต่งกายตามสบายแบบเดิม มาแต่งกายแบบตะวันตก ที่เรียกว่า "สากล"
เวลาไปงาน ถ้าให้ครบเครื่อง ผู้หญิงต้องสวมหมวกสวมถุงมือ     ผู้ชายก็ต้องสวมหมวก  สวมเสื้อนอกเวลาไปงานใหญ่ๆ   ทั้งๆประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน   แอร์ก็ยังไม่มี
ผู้หญิงทั้งสาวและแก่ต้องสวมหมวกเวลาออกนอกบ้าน   แฟชั่นสาวๆสมัยนั้นทันสมัยมากค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 21, 18:50
เอารูปคนสวยในอดีต ที่ไม่ใช่นางงามหรือดารามาให้ดูกันบ้าง
นี่คือรูปของ" เจ้าป้า" เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่  สมัยยังเป็นสาว  ท่านเป็นหลานตาของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย 
เจ้ากอแก้วเป็นสาวยุคหลังสงครามโลกครั้งที่่ 2   จบการศึกษาจากอังกฤษและฝรั่งเศส กลับมาประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2499   นำแฟชั่นมาตั้งแต่นั้น
ชุดทางซ้ายน่าจะเป็นชุดกีฬา   ส่วนทางขวาก็คือตามแฟชั่นยุค 2500S
แว่นกันแดดของเจ้า เปรี้ยวล้ำสมัยมากค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 21, 19:48
ไม่รู้ว่าคุณภศุสรรเคยนั่งรถสามล้อแบบดั้งเดิมของไทยหรือเปล่าคะ     ไม่ใช่ตุ๊กๆหรือสามล้อเครื่อง เป็นสามล้อแรงงานคนถีบ
ตามประวัติ ก่อนหน้ามีรถสามล้อ  คนไทยมีรถลาก หรือที่เรียกว่า รถเจ๊ก  เพราะคนจีนเป็นคนลาก   ต่อมาในปี 2476  น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ประดิษฐ์รถสามล้อสำเร็จ  จดทะเบียนที่กรุงเทพฯ โดย น.อ.เลื่อน เป็นผู้ขับขี่ด้วยตนเอง มีีนายพันตำรวจตรี หลวงพิชิตธุระการ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้นั่งทดลองรถสามล้อเป็นคนแรก ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 21, 19:57
สามล้อเป็นพาหนะโดยสารคู่คนไทยมานานหลายสิบปี     ฮิทขนาดมีเพลงเกี่ยวกับสามล้อออกมา  ลองฟังเพลงนี้นะคะ
ชื่อเพลง สามล้อแค้น   เป็นเพลงเพื่อชีวิตยุคแรกๆ สะท้อนภาพสังคมไทย  แต่งโดยเสน่ห์ โกมารชุน เมื่อต้นทศวรรษ 2490  เสน่ห์แต่งเพลงเสียดสีนักการเมือง ชื่อ “ผู้แทนควาย” และเป็นปากเป็นเสียงให้คนถีบสามซึ่งกำลังจะถูกรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งห้ามวิ่งในเขต พระนคร-ธนบุรี  ด้วยการแต่งเพลง “สามล้อแค้น” ในเชิงประท้วงรัฐบาล จนเสน่ห์กลายเป็นขวัญใจของชาวสามล้อในปี 2492

ผลก็คือเพลง “สามล้อ”, “ผู้แทนควาย” กลายเป็นเพลงต้องห้าม ไม่ให้เผยแพร่ทางสถานีวิทยุ และเมื่อวันหนึ่งเมื่อเสน่ห์ขับร้องเพลงนี้ที่เวทีเฉลิมนคร เขาก็ถูกเชิญตัวไปพบอธิบดีกรมตำรวจ พลต.อ.เผ่า ศรียานนท์
ทำให้ต้องเลิกแต่งและร้องเพลงแนวชีวิตยั่วล้อเสียดสีสังคม หันไปสร้างภาพยนตร์แทน

https://www.youtube.com/watch?v=FCydZCCahyQ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ค. 21, 20:52
รถจักรยานสามล้อถูกยกเลิกในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี โดยพระราชบัญญัติล้อเลื่อน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๐๒

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/A/084/361.PDF


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ค. 21, 21:01
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47292;image)


ใครเอ่ย ?
เมื่อยามยากเราเคยได้ใช้สอย
ไม่เคยขาดค่ำเช้าก็เฝ้าคอย
แม้ฝนปรอยเลนเปรอะเลอะมรรคา
ถึงวันนี้ได้ดีมีรถนั่ง
ลืมเพื่อนยากครั้งหลังกระมังหนา
ทุกถนนด้นดั้นด้วยกันมา
แม้นราคาติดเอาไว้ยังได้เลย

ใครเล่า ?
ที่พาเจ้านั่งแนบแอบสนิท
สองต่อสองประลองลมชื่นชมชิด
แขนโอบติดกระชับหลังนั่งชมวิว
ยามยากจนไร้รถยนต์จะพาชื่น
ขึ้นสามล้อระรื่นรับลมลิ่ว
ด้วยฤทธิ์รักรถน้อยเหมือนลอยปลิว
ไม่บิดพริ้วถีบถึงไหนก็ได้เอย

ใครกัน ?
เคยรับส่งลูกทุกวันจะหาไหน
ฝากชีวิตลูกยากล้าไว้ใจ
เช้ารีบไปเย็นรับเจ้ากลับมา
เด็กจะเล่นซุกซนก็ทนได้
เด็กร้องไห้ปลอบพลันให้หรรษา
ถึงรับจ้างก็ไม่ห่างทางเมตตา
คิดแล้วน่าเห็นใจไม่ลืมเอย

ใครนี่ ?
ถีบรถเลี้ยงชีวีน่าสงสาร
เหตุเพราะความยากจนพ้นประมาณ
วางสังขารเดิมพันพนันชีวิต
ใครจะว่าอาชีพนั้นต่ำช้า
ไม่ถือสายึดถือความสุจริต
เป็นพาหนะคนยากอยู่เป็นนิจ
โปรดช่วยคิดเห็นสำคัญกันบ้างเอย

         ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ๗ มิถุนายน ๒๕๐๒


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 03 พ.ค. 21, 10:25
เป็นเพลงที่เพราะมากเลยครับ แถมอยังสะท้อนภาพแห่งความเลื่อมล้ำทางสังคมในยุคนั้นได้ดีอีกด้วย ล้อเลียนรัฐบาลได้แบบแยบยนสอดเสียดที่สุด กระผมเชื่อว่า
กลุ่มหนักการเมืองในสมัยนั้นถ้าหากได้ยินคงจะเจ็บลึกถึงสรวงในเป็นแน่แท้ จึงไม่แปลกที่จะมีการสั่งห้ามออกมา โดยเฉพาะจากจอมผลแปลกด้วยแล้ว กระผมเองนั้นโชคร้าย เกิดมาก็ไม่ทันได้เห็น’’รถเจ็กลาก’’ แบบนี้แล้วล่ะครับ เคยได้ยินแต่ชื่อในคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เท่านั้นเอง แต่เท่าที่ผมรู้ รถคนลากแบบนี้ ในภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า ‘`rickshaw’’ ครับ ตามประวัติที่ว่าคนจีนเป็นคนลากก็เห็นจะไม่ผิด

เพราะว่าเท่าที่กระผมรู้(หากข้อมูลผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ) รถสามล้อคนลากแบบนี้ได้รับความนิยมและแพร่หลายเป็นอย่างมากในประเทศจีนในช่วงเวลาจากเวลาประมาณ ปลายราชวงศ์ชิง (晚清 ราวคศ 1840-1912) ไปจนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง(国民党时期 ค.ศ.1912-1949)ครับ เป็นยานพาหนะในเมืองใหญ่ของประเทศจีนในสมัยที่อยังไม่มีรถยนต์หรือรถไฟครับ

ภาพด่านล่างนี่ก็คือภาพของรถสามล้อคนลากในประเทศจีนครับ ในภาษาจีนเรียกว่า(黄包车 หวางเปาชือ) แปลตรงตัวว่า’’รถถุงเหลือง’’ ครับ ว่ากันว่าที่มาของชื่อเรียกนี้มาจากการที่ว่า ที่ประเทศจีนในสมัยโบราณนั้นคนลากรถดั่งกล่าวนี้ จะนิยมทาส่วนบนของรถเป็นสีเหลือง ทำรถให้สะดุดตาเพื่อเรียกลูกค้า แต่เนื่องจากรูปถ่ายสมัยก่อยส่วนมากเป็นภาพขาวดำจึงจะไม่เห็นสีเหลืองนี้เป็นส่วนใหญ่

ต่อมาชาวจีนอพยบก็คงจะนำเอารถนี้เขามาในไทยจากประเทศจีนล่ะกระหมังครับ  ส่วนประวัติของรถนี้นั้น ถึงแม้จะไดีรับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน แต่ก็ไม่ได้ถูกประดิษฐ์ที่นั้นแต่อย่างได รถนี้แท้จริงแล้วถูกประดิษฐ์ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก

และก็ได้รับขวามนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน ต่อมาในปี1873พ่อค้าชาวฟรังเศษก็ได้นำเอารถลากนี้จากญี่ปุ่นมาเพยแพร่ทีเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเป็นที่แรก รถลากจึงได้รับความนิยมในประเทศจีนตั้งแต่นั้นมา และชาวจีนก็ได้นำเอารถลากไปเพยแพร่ต่อในประเทศที่ตนเองได้อพยพไป เช่นประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์เป็นต้นครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 10:39
ทบทวนความหลังครั้งนั่งสามล้อ ว่าจำอะไรได้บ้าง
1   จำได้ว่าคนถีบสามล้อแต่งกายเรียบร้อย  ไม่ใช่ว่าใส่อะไรก็ได้ตามสบาย   เสื้อแขนสั้นสีกากี  และกางเกงสั้นแค่เข่าสีเดียวกัน    ไม่นุ่งกางเกงขายาว คงเป็นเพราะร้อนหรือไม่สะดวก  มองเห็นน่องโป่งเต็มไปด้วยเส้นเอ็น
เขาสวมหมวกด้วย เป็นหมวกทรงกะโล่สานด้วยใบลาน   บังแดดได้แต่ไม่ร้อนอบอ้าวอย่างหมวกผ้าหนาๆ
2  คนถีบสามล้อที่ดี จะพิถีพิถันกับเบาะนั่ง   คือซักสะอาดขาวรีดเรียบ  ไม่ปล่อยให้ดำมอมแมมสกปรก  ชายขาดลุ่ย   มิฉะนั้นคนโดยสารอาจรังเกียจไม่อยากนั่ง  ไปเลือกคนอื่น
3  ถ้าฝนตก  เขามีผ้ายางคลุมรอบรถไม่ให้ผู้โดยสารเปียก
4  สามล้อจ้างเหมารายเดือนได้    แม่ของเพื่อนนั่งสามล้อไปรับลูกที่โรงเรียน ก็จ้างเหมาสามล้อว่าบ่ายสามโมงมารับที่บ้าน    หรือบางบ้านก็จ้างสามล้อไปรับลูกๆที่โรงเรียนเลยทีเดียว   สามล้อพวกนี้จะดูแลเด็กๆเหมือนเป็นลูกหลาน 
5  สามล้อมีกระดิ่งดีดเสียงดังมาก   เวลาเลี้ยวมุมถนนเขาจะยื่นมือขวาออกไป  เป็นสัญญาณให้รถอื่นๆและคนเดินถนน รู้ว่าจะเลี้ยว
6  พื้นที่วางเท้า กว้างพอที่เด็กเล็กๆจะนั่งได้   วางตะกร้าจ่ายของจากตลาดได้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 03 พ.ค. 21, 10:42
ต้องขอรบกวนเรียนถามท่านอาจารย์หน่อยนึงน่ะครับ ว่าเท่าที่ท่านอาจารย์ทราบนั้น รถสามล้อคนลากได้เรี่มจางหายและหมดไปในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงเวลาใดครับผม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 11:09
รถลาก กับรถสามล้อไม่เหมือนกันนะคะ  ไม่ทราบว่าคุณหมายถึงประเภทไหน

รถลากมีสองล้อเท่านั้นค่ะ  ไม่ใช่สาม  น่าจะหมดไปเมื่อรถสามล้อเข้ามาได้รับความนิยม    ดิฉันเกิดมาก็ไม่เคยเห็นรถลากแล้วค่ะ
ส่วนสามล้อ ถูกผลักดันออกไปจากกรุงเทพหลังปี 2502  แต่ยังมีในต่างจังหวัด   ปัจจุบันน่าจะหมดไปแล้วเมื่อมีตุ๊กตุ๊กเข้ามาแทนที่

ฝากถามคุณหมอเพ็ญดีกว่า  แถวปากช่องยังมีไหม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 03 พ.ค. 21, 11:23
ต้องขอโทษด้วยจริงๆครับสำหรับความสับสน รถสามล้อที่กระผมได้กล่าวถึงก็คือรถลากนั่นแหละครับ กระผมก็น่าจะรีบพิมพ์จนพิมพ์ผิดไปเองนั่นแหละครับ ต้องขออภัยด้วยจริงๆครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 11:26
รถลากถูกยกเลิกในเขตจังหวัดพระนครและจังหวีดธนบุรี ตามพระราชบัญญัติรถลาก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๔๙๕

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/077/1456.PDF


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 03 พ.ค. 21, 11:36
ต้องขอขอบพระคุณท่านเพ็ญชมพูเป็นอย่างสูงจริงๆครับสำหรับข้อมูล ว่าแต่กระผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเหตุใดจึงได้สั่งเลิกการจดทะเบียนรถลากอย่างกระทันหันเช่นนี้ล่ะครับ กระผมต้องขออนุญาตคาดคะเนเองว่า ท่านจอมพลแปลกซึ่งกำหลังมีนโยบายพัฒนาและเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยนั้น ท่านอาจจะมีความคิดเห็นว่ารถลากเป็นสิ่งที่แลดูล้าหลังและไม่ทันสมัยก็เป็นได้ เลยได้สั่งเลิกไปเสีย ไม่ทราบว่าท่านสมาชิกผู้มีเกรติทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้างล่ะครับ ต้องขอขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นของทุกท่านไว้ก่อนหน้านี้ด้วย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 11:59
ส่วนสามล้อ ถูกผลักดันออกไปจากกรุงเทพหลังปี 2502  แต่ยังมีในต่างจังหวัด   ปัจจุบันน่าจะหมดไปแล้วเมื่อมีตุ๊กตุ๊กเข้ามาแทนที่

ฝากถามคุณหมอเพ็ญดีกว่า  แถวปากช่องยังมีไหม

ไม่เคยนั่งสามล้อที่กรุงเทพฯ แต่เคยนั่งที่ปากช่องหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบันอาจมีอยู่บ้างแต่ไม่เคยเห็น

ที่โคราชยังพอเห็นได้อยู่  ;D

https://youtu.be/i3d6TNvDDj4


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 03 พ.ค. 21, 13:43
         
          ในซอยวัดด่านแถวสำโรง และที่ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ ยังมีสามล้อถีบให้บริการอยู่ :)
 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 03 พ.ค. 21, 15:56
3-4 ปีก่อนยังเคยเห็นสามล้อถีบแบบนี้ให้บริการอยู่แถวท่าน้ำนนทบุรีและซอยทานสัมฤทธิ์ ถ.ติวานนท์ นะครับ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่ายังมีอยู่ไหม ไม่ได้ไปแถวนั้นนานแล้วครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 16:03
ไม่เห็นที่นครปฐมมาหลายปีแล้วเหมือนกันค่ะ   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 16:11
ไม่เคยนั่งสามล้อที่กรุงเทพฯ แต่เคยนั่งที่ปากช่องหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบันอาจมีอยู่บ้างแต่ไม่เคยเห็น

แต่ถ้าเป็นสามล้อสำหรับขนของ พอเห็นได้ในตลาดสดปากช่อง  ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 16:18
3-4 ปีก่อนยังเคยเห็นสามล้อถีบแบบนี้ให้บริการอยู่แถวท่าน้ำนนทบุรีและซอยทานสัมฤทธิ์ ถ.ติวานนท์ นะครับ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่ายังมีอยู่ไหม ไม่ได้ไปแถวนั้นนานแล้วครับ

คลิปนี้เพิ่งถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้เอง  ;D

https://youtu.be/tQjyRWQJfSA


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 21, 20:56
กระผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเหตุใดจึงได้สั่งเลิกการจดทะเบียนรถลากอย่างกระทันหันเช่นนี้ล่ะครับ กระผมต้องขออนุญาตคาดคะเนเองว่า ท่านจอมพลแปลกซึ่งกำหลังมีนโยบายพัฒนาและเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยนั้น ท่านอาจจะมีความคิดเห็นว่ารถลากเป็นสิ่งที่แลดูล้าหลังและไม่ทันสมัยก็เป็นได้ เลยได้สั่งเลิกไปเสีย ไม่ทราบว่าท่านสมาชิกผู้มีเกรติทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้างล่ะครับ

รถลากค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากมีรถสามล้อถีบเข้ามาแข่งขัน จนในที่สุดก็ต้องถูกสั่งให้เลิกไป

การจราจรบนถนนที่เยาวราช เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๑ รถลากกลายเป็นรถขนของ ผู้โดยสารหันไปนั่งสามล้อแทน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=61292;image)

ภาพจาก รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5929.msg151887#msg151887)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 03 พ.ค. 21, 21:02
ต้องขดขอบคุณท่านเพ็ญชมพูเป็นอย่างสูงสำหรับคำตอบนะครับ พิจารณาจากภาพดูแล้ว รถลากในไทยน่าจะเริ่มหมดไปตั้งแต่ราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นแหละครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 21, 08:54
มีสามล้ออีกประเภทหนึ่งที่เคยวิ่งในกรุงเทพ แล้วก็หายไป  จนไม่มีใครจำได้อีกแล้ว 
คือสามล้อเครื่อง  ที่ไม่ใช่ตุ๊กตุ๊กนะคะ
เป็นสามล้อที่ดัดแปลงเอาส่วนที่เป็นรถประทุน ต่อเชื่อมเข้ากับจักรยานยนต์     จึงวิ่งด้วยเครื่องยนต์ สะดวกรวดเร็วกว่าใช้แรงคนถีบ
แต่ก็เห็นแป๊บเดียว ก็หายไปจากเมืองหลวง  ไปค้นประวัติพบว่ายกเลิกไม่ให้วิ่งตั้งแต่พ.ศ. 2503   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 21, 08:55
แต่ว่าไปวิ่งอยู่ต่างจังหวัด  รูปนี้น่าจะเป็นช่วงสงครามเวียตนาม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 21, 18:59
เอารูปสามล้อเครื่องมาให้ดูชัดๆค่ะ
ไปเจอเรื่องราวของสามล้อเครื่อง ที่ศรีราชา ใน Facebook

ชมรมคนรักศรีราชา
29 กันยายน 2015  ·
ภาพเก่าเล่าอดีต...
จาก Facebook คุณสมพงษ์ สมวงษ์ ( Sompong Somvong )
สามล้อเครื่อง ไม่เป็นที่ยืนยันว่าใครนำมาใช้ที่ศรีราชาเป็นคนแรก มีแต่เล่ากันว่านำมาจากแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อเอาวิ่งที่ศรีราชาเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และผู้คนนิยมใช้ จึงแพร่หลายในเวลาต่อมา   
ตอนแรกๆ ก็ใช้เครื่องยนต์ติดมากับรถ เมื่อนานเข้าเครื่องยนต์เสื่อมสภาพจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงนำเครื่องรถยนต์มาใส่ และต่อตัวถังใหญ่ขึ้น บางคนตั้งชื่อว่า "สามล้อสกายแลป"
สามล้อที่ใช้เครื่องรถยนต์มาใส่ วิ่งได้เร็วกว่า แต่ไม่มีความปลอดภัย เพราะขนาดเครื่องกับตัวถังไม่สมดุลกัน ในศรีราชามีสามล้อเครื่องเป็นพันคัน แต่เกือบทั้งหมดไม่มีทะเบียน ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่วิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่ได้ เพราะตำรวจผ่อนผัน
ต่อมามีสามล้อตุ๊กๆ เข้ามาวิ่งในตลาดศรีราชา ได้รับความนิยมเพราะสะดวกปลอดภัยกว่า คนขับก็ไม่ต้องตากแดดตากฝนและมีทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาในปี 2536 กรมขนส่งทางบกเปิดรับจดทะเบียนสามล้อสกายแลป บอกให้มาจดภายในเดือนมีนาคม 2537   แต่สามล้อสกายแลปแทบจะไม่เหลิอแล้ว เพราะผู้โดยสารหันไปนิยมรถสามล้อตุ๊กๆ กันหมด..ปัจจุบันนี้ "สกายแลป" สูญหายกลายเป็นตำนานไปแล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 21, 19:30
สกายแล็บรูปแบบเก่าอาจหายไป แต่ก็มีรุ่นใหม่ ๆ ทันสมัยกว่าขึ้นมาทดแทน  ;D

https://youtu.be/ytDVJ_tM03s


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 04 พ.ค. 21, 21:12
แล้วไดฮัทสุคันนี้เคยเห็นของจริงกันบ้างไหมครับ ใหญ่กว่าสกายแลปนิดหน่อยเอง


(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/80749738_106157354216593_791622494820761600_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_eui2=AeH5czKASX-yeC_8XMY0hkgj1BlbZBC2nDrUGVtkELacOhyKExE69xS4doG2nR516t0&_nc_ohc=bzBYf5TpDOEAX9JfseI&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=2f450247c3c08b058909c3fd0c134627&oe=60B5F88A)


ปล.ภาพจากอำเภอตาคลี ปี 2513 บันทึกโดยลาร์ลี่ แวนน์ ทหารอากาศสหรัฐ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ค. 21, 09:11
คลับคล้ายคลับคลา เป็นรถกระบะรุ่นแรกๆหรือเปล่าคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 21, 09:54
     พยายามทบทวนความจำเรื่องรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพ   แต่นึกได้น้อยเต็มที   คงจะมีไม่มากนัก  
     จำได้แต่ว่าจักรยานยนต์รุ่นแรกที่เห็นเป็นแบบคันเล็กๆ  มีตะกร้าอยู่ข้างหลังคนขับ เอาไว้ใส่ของ   บางคันทาสีแดง
     จักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์สมัยนั้นไม่ใช่พาหนะเท่ๆอย่างบิ๊กไบค์ในปัจจุบัน  แต่มีเอาไว้สำหรับคนค้าขายใช้ส่งของ หรือเดินทางไปมาใกล้ๆในเมืองกรุง   ไม่ได้ใช้สำหรับออกต่างจังหวัด เพราะวิ่งได้ช้ากว่ารถยนต์มาก
     คนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นผู้ชายในวัยหนุ่ม หรือวัยทำงาน   ไม่ใช่วัยรุ่น     ส่วนผู้หญิงไม่ขี่มอเตอร์ไซค์   หมวกกันน็อคคืออะไรไม่มีใครรู้จัก
     อาชีพที่ขี่มอเตอร์ไซค์ประจำ คือตำรวจ ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 06 พ.ค. 21, 12:52
มอเตอร์ไซค์ท่ัวๆไปก็วิ่งอยู่ในทางราบ  ยังมีอีกอาชีพหนึ่งที่ขับมอเตอร์ไซค์ทางดิ่งหาเลี้ยงชีพ มอเตอร์ไซค์ไต่ถังน่ะเอง เท่าที่เห็นก็มีแต่ในเมืองไทย ไม่ทราบเมืองฝรั่งมังค่ามีโชว์แบบนี้หรือไม่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 21, 10:02
มีค่ะ  เรียกว่า the Wall of Death  ถ้าเป็นคำกริยา ขี่มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง เรียกว่า Riding the Wall of Death

https://www.youtube.com/watch?v=P5ZtnIi7W0g


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 21, 10:12
มีจักรยานยนต์อีกประเภทหนึ่งที่เคยเห็นตอนเด็กๆ   ใครๆเรียกว่ารถ "เวสป้า"   ถือว่าเป็นคนละประเภทกับมอเตอร์ไซค์   ทั้งๆมันก็เป็นจักรยานยนต์เหมือนกัน
เวสป้าคันขนาดเล็ก ส่วนประกอบน้อยชิ้นกว่ามอเตอร์ไซค์  มีแผ่นเหล็กโค้งกั้นบังข้างหน้า เหมือนไม่ให้เห็นส่วนล่างของผู้ขี่ถ้ามองจากข้างหน้าตรงๆ   วิ่งค่อนข้างช้า  จึงใช้กันเฉพาะในเมือง แบบไปไหนมาไหนนิดๆหน่อยๆ  ต่อมาก็หายไปจากท้องถนน
   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 21, 10:15
เวสป้าที่เคยเห็นค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 07 พ.ค. 21, 10:19
แปลกตาดีเหมือนกันครับ แลดู ก็เหมือนรถยนต์ยุค60sในอเมริกาเลย จะว่าทันสมัย จะว่า futuristicก็คงจะใช่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 21, 11:15
มารู้ทีหลังเมื่อหาในกูเกิ้ล   ว่าเวสป้า หรือ  Vespa เป็นยี่ห้อรถชนิดนี้  ส่วนชนิดของรถคือสกูตเตอร์ค่ะ  
เป็นรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กมาก  ไม่เหมาะจะวิ่งทางไกล


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 21, 19:06
     ในยุคคุณปู่คุณย่า   พอถึงฤดูร้อน จะเป็นช่วงปิดเทอมของเด็กๆ   ถ้าเป็นชาวกรุงที่มีฐานะดีหน่อยก็จะไปตากอากาศที่หัวหิน   การไปในยุคนั้นไม่ใช่ไปแค่วีคเอนด์อย่างสมัยนี้ แต่ไปอยู่กันเป็นสัปดาห์หรือเดือนๆ  หอบกันไปทั้งครอบครัว รวมทั้งคนรับใช้และแม่ครัวด้วย 
     การเดินทางที่สะดวกที่สุดคือไปรถไฟ   มีเที่ยวเช้า ออกเจ็ดโมงที่หัวลำโพง ผ่านนครปฐม ลงไปทางใต้ถึงหัวหินบ่ายโมง  มีอีกเที่ยวตอนบ่ายถึงเอากลางคืน  แต่ไม่เคยเดินทางเที่ยวนี้จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร 
    ยุคนั้นไม่มีใครไปพักที่เพชรบุรี หรือชะอำ  ทั้งสองแห่งแม้ว่ามีหาดทรายชายทะเล แต่ก็ไม่มีโรงแรมที่พัก  ยกเว้นแต่จะไปสร้างบ้านพักตากอากาศเอาไว้เอง  แล้วเดินทางไปพักปีละครั้งสองครั้ง   ที่พักที่่หาง่ายที่สุดคือหัวหิน   แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ โรงแรม บังกะโล  และบ้านพักของตัวเอง 
    บ้านพักของตัวเองมักจะเป็นบ้านที่สร้างกันมาเก่าแก่ สมัยคุณทวด ซึ่งเป็นยุคสมัยรัชกาลที่ 6  หรือ 7 ตดทอดมาถึงลูกหลานให้ไปพักอาศัยกัน   ส่วนโรงแรมและบังกะโลเป็นสถานที่สร้างไว้ให้คนกรุงเทพไปเช่าอยู่
    โรงแรมที่ขึ้นชื่อที่สุดคือโรงแรมรถไฟ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 21, 19:49
โรงแรมรถไฟ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 08 พ.ค. 21, 20:54
ดูเหมือนว่าโรงแรมรถไฟหัวหินในวันนั้น ได้เปลี่ยนมาเป็นโรงแรมเซ็นทาราหัวหินในวันนี้แล้วล่ะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 21, 21:21
ใช่ค่ะ  แต่สมัยโน้นเรียกว่า "โรงแรมรถไฟ" เฉยๆ  ไม่มีคำต่อท้ายว่าหัวหิน

โรงแรมรถไฟในยุคนั้นไม่มีแอร์  อากาศริมทะเลดีมาก  เปิดหน้าต่างนอนลมก็พัดเข้ามาในห้อง ไม่ร้อน จำไม่ได้ว่ามีพัดลมเพดานหรือเปล่า  แต่ละห้องมีเพดานสูงเพื่อให้ห้องโปร่งไม่อึดอัด      มีเตียงซึ่งมีมุ้งกระโจมครอบลงมา   หัวเตียงสลักเป็นรูปม้าน้ำดูเก๋มาก    มีห้องน้ำในตัวปูด้วยกระเบื้องขาว

ยุคนั้นไม่มีสระว่ายน้ำ   ทุกคนมาหัวหินก็เพื่อลงเล่นน้ำทะเล  จึงไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องมีสระน้ำกันทำไม  ตอนเช้าเด็กๆตื่นขึ้น  ลงไปกินอาหารเช้าในห้องรับประทานอาหาร มีพนักงานเสิฟสวมเสื้อคล้ายราชปะแตนกับกางเกงขายาวสีดำดูโก้ทีเดียวค่ะ   
เสร็จแล้วก็มาเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดว่ายน้ำ หรือจะสวมเสื้อนุ่งกางเกงขาสั้นก็ไม่มีใครว่า วิ่งลงทะเลหน้าโรงแรมกันไป
ทะเลบริเวณหน้าโรงแรมมีหินก้อนใหญ่น้อยอยู่เกะกะ แต่หาดทรายขาวสะอาดละเอียดเหมือนแป้ง   ลงเล่นน้ำตรงนั้นได้สบายเพราะหาดทรายลาดน้อยๆ ทำให้ชายฝั่งตื้นมาก    น้ำทะเลใสแจ๋วมองลงไปเห็นพื้นทรายริมหาด   น้ำเสียเป็นยังไงไม่มีใครรู้จัก   
บนหาดมีเด็กชาวบ้านเอาห่วงยางรถยนต์มาให้เช่าเล่นน้ำ    และมีม้าแกลบให้ขี่ด้วยค่ะ

ความสนุกก็อยู่ที่ได้ลอยคอเล่นคลื่น โต้คลื่นกันไปมาในกลุ่มเด็กๆ  บางทีพ่อแม่ก็ลงไปเล่นน้ำทะเลด้วย 
เล่นกันทั้งวันไม่รู้สึกร้อน เพราะน้ำทะเลเย็นสบาย   ขึ้นจากน้ำอีกทีแดดเผาหน้า คอ และแผ่นหลังจนแดงก่ำ   ตอนกลางคืนปวดระบมจากพิษแดดทั้งคืน  วันรุ่งขึ้นหนังลอกออกมาเป็นแผ่นๆ   สมัยนั้นยังไม่มีครีมทากันแดด 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 พ.ค. 21, 09:35
ป. อินทรปาลิตเล่าเกี่ยวกับโรงแรมรถไฟสมัยเฟื่องฟู (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐+) ไว้ในหัสนิยาย "พล นิกร กิมหงวน" ตอน "มนต์รักที่หัวหิน" ว่า

พอแดดอ่อนหลังจาก ๑๖.๓๐ น. ล่วงแล้ว ชายหาดหัวหินก็คราคร่ำไปด้วยหนุ่มสาว ชาวพระนครที่ล้วนแต่เป็นเศรษฐีเดินกรีดกรายหาหอย, เก็บหอย บ้างก็นั่งสนทนากันเป็นคู่ ๆ บ้างก็ขี่ม้าเล่น เด็ก ๆ ชาวหัวหินนำม้ามาให้เช่าขี่ชั่วโมงละ ๑๐ บาท นอกจากนี้ยังมียางในรถยนต์บรรทุกสูบลมเต็มที่มาให้เช่าชั่วโมงละ ๓ บาท บาร์ลอยน้ำหน้าโรงแรมเต็มไปด้วยชาวพระนคร ผู้ชายสวมเสื้อฮาวายลวดลายต่าง ๆ วางท่าทางให้ภาคภูมิสมเป็นคนมีเงิน พวกผู้หญิงสวมเสื้อกางเกงอาบน้ำฟิตเปรี๊ยะ เห็นส่วนเว้าส่วนโค้งถนัดตาเป็นที่น่าเสียวไส้ยิ่งนัก

ห่างจากเขื่อนหน้าโรงแรมไปทางใต้เป็นที่อาบน้ำเพราะปราศจากก้อนหิน หนุ่มสาวหลายร้อยคนดำผุดดำว่ายโต้คลื่นกันอย่างสนุกสนาน แต่อนินจา....หัวหินราวกับดินแดนของชนต่างชาติ  เพราะ ๕๐ เปอร์เซ็นต์เป็นชาวจีนอาเสี่ยกระเป๋าหนัก ๓๐ เปอร์เซ็นต์เป็นแขกหนวดเครารุ่มร่าม มีคนไทยเพียง ๑๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ชาวยุโรปและอเมริกันอีก ๕ เปอร์เซนต์

จาก หัวหินในอดีต (๒) (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6980.msg166972#msg166972)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 21, 21:06
การแต่งกายของหนุ่มสาวที่ไปเที่ยวหัวหิน ยุค 2500


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 10:55
นี่คือแฟชั่นยุคทศวรรษ 2500 ใต้ภาพบรรยายว่าพ.ศ. 2473  ซึ่งผิด  ในรัชกาลที่ 7  ผู้หญิงไทยนุ่งผ้าซิ่น ไม่ใช่กระโปรงสี่ชิ้น หกชิ้นหรือแปดชิ้น อย่างในภาพ
ที่เรียกเป็นชิ้นๆเพราะเป็นกระโปรงบาน ต้องอาศัยผ้าเดินตะเข็บต่อกันหลายผืน  ยิ่งจำนวนชิ้นมาก กระโปรงยิ่งบานมาก 
ตัวเสื้อแขนสั้น มีปก นิยมเก็บชายเสื้อไว้ในกระโปรงแล้วคาดเข็มขัดทับ   เหมือนชุดเครื่องแบบนักเรียนร.ร.เตรียมอุดม

https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=oley&month=06-2019&date=09&group=79&gblog=88


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 10:59
คุณภศุสรรคงจำคุณอาภัสรา หงสกุล นางงามจักรวาลคนแรกของไทยได้   แต่ไม่ทราบว่าเคยเห็นภาพเธอสมัยประกวดนางสาวไทยได้ตำแหน่งใหม่ๆหรือเปล่า   พ.ศ. 2507   เธออายุ 17 ปี
นางงามในยุคนั้น สัดส่วนและความสูงแตกต่างจากยุคนี้มาก  คุณอาภัสราสูง 165 ซม.  เอว 23 นิ้วเอง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 15:02
ทรงผมที่คุณอาภัสราทำเป็นประจำคือเกล้าเป็นมวยสูงอยู่บนกระหม่อม  เป็นมวยขนาดใหญ่  ต้องอาศัยการยีผมให้สูงพองขึ้นแล้วค่อยตะล่อมให้เป็นทรงสูง เกล้าไว้เหนือศีรษะ   ฉีดสเปรย์ให้แข็งตัวอยู่กับที่  
บางทีก็ต้องใช้เน็ตบางๆคลุมอีกที   ไม่ให้กระจุยกระจายเมื่อโดนลม    เหมาะสำหรับคนหน้ากลม จะช่วยทำให้ดูเรียวสูงขึ้น
ทรงผมแบบนี้กลายเป็นทรงฮิทกันเป็นการใหญ่ ตั้งแต่พ.ศ. 2507   ดูได้จากภาพนางฟ้าการบินไทยในภาพข้างล่าง    


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 10 พ.ค. 21, 21:09
สวยจริงๆครับ รู้สึกสรงผมกล้าวสูงอย่างนี้ จะได้รับความนิยมทั่วโลกในยุค60เลยนะครับท่านอาจารย์ แต่กระผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าชื่อของทรงผมนี้นั้นเรียกว่าอะไรกันแน่ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 21:34
เขาเรียกว่าทรง Beehive  แปลว่า รังผึ้ง ค่ะ
เพราะรูปทรงชวนให้นึกถึงรังผึ้งจริงๆ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 10 พ.ค. 21, 21:41
ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์สำหรับคำตอบด้วยนะครับผม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 21:47
คุณอาภัสราทำผมทรง beehive  ตลอด  เมื่อเดินทางไปประกวดนางงามจักรวาลที่ไมอามี่ รัฐฟลอริดา   วันที่ได้ตำแหน่ง เธอเป็นคนเดียวที่เกล้่าผม  รองนางงามอีก 4 คนปล่อยผม ไม่เกล้าไม่รวบเลยสักคน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 21:48
เช้าวันรุ่งขึ้นจากได้ตำแหน่ง  เธอก็ยังไว้ผมทรงเดิม ในชุดนอน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 21, 21:49
แถมให้อีกรูป  ในชุดว่ายน้ำเข้าประกวด เมื่อรับตำแหน่งนางสาวไทยแล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 11 พ.ค. 21, 20:45
สูง 165 เซนกำลังพอดีครับ  ;) สมัยก่อนอายุ 17 โตเป็นสาวแล้วเนอะ นางงามสมัยนี้ไม่รู้จะสูงไปถึงไหน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 08:34
นางงามบนเวทีเดียวกับคุณอาภัสราก็มีส่วนสูงไล่เลี่ยกัน  ;D

การประกวดนางสาวไทยในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่วังสราญรมย์ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5927.0;attach=24876;image)

จากซ้ายไปขวา รองอันดับ ๔ ละอองดาว กิริยา, รองอันดับ ๒ เนาวรัตน์ วัชรา, นางสาวไทย อาภัสรา หงสกุล, รองอันดับ ๑ อรัญญา นามวงศ์และรองอันดับ ๓ เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 08:48
  การประกวดนางสาวไทยในปีพ.ศ. 2507 เป็นที่ตื่นเต้นของคนไทยทั่วประเทศ    ก่อนหน้านี้  การประกวดยุติลงไปพักหนึ่งแล้วกลับมาฟื้นฟูขึ้นมาใหม่    สาวๆที่เข้าประกวดไม่ใช่นางงามอาชีพ  แต่เป็นสาวๆหน้าใหม่ สวยมาก  หนังสือพิมพ์ตีข่าวกันครึกโครม
  ตัวเก็งนางสาวไทยปีนั้นมี 2  คนคือ อาภัสรา หงสกุล   เป็นนักเรียนสาวจากปีนัง   และอีกคนคืออรัญญา นามวงศ์    คุณอรัญญาหน้าคม  ผิวสวย รูปร่างสวยแบบนางงาม  เรียกว่าเกิดมาสวยแท้จริง ไม่ต้องศัลยกรรมเลย     
  ยิ่งรอบสุดท้ายคะแนนยิ่งฉิวเฉียด  กล่าวกันว่าถ้าปีนั้นคุณอาภัสราไม่ได้เข้าประกวด คุณอรัญญาน่าจะได้มงกุฎไปแล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 08:52
ต่อมาก็อย่างที่รู้กัน คุณอรัญญาเลือกอาชีพดาราภาพยนตร์  เป็นนางเอกแถวหน้าในยุค 2510s


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 09:36
รองนางสาวไทยอีกคนที่สวยสะดุดตามากคือเนาวรัตน วัชรา  หน้าคม ตามเชื้อสายปาทานจากทางด้านคุณพ่อ
ตอนได้ตำแหน่งรองนางสาวไทย เธออายุน้อยมาก แค่ 15 ปี  เพิ่งจบมศ. 3   
จากนั้นเนาวรัตน์ก็ไปเอาดีทางด้านการแสดงเช่นกัน  เล่นหนังไทยหลายสิบเรื่อง จนอายุ 33 ปีก็อำลาวงการไป


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 09:48
สูง 165 เซนกำลังพอดีครับ  ;) สมัยก่อนอายุ 17 โตเป็นสาวแล้วเนอะ นางงามสมัยนี้ไม่รู้จะสูงไปถึงไหน
อายุ 15 ก็เป็นสาวแล้วค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 10:02
โปรไฟล์ของสองรองนางงาม  ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 11:28
รองนางสาวไทยอีกคนหนึ่ง คือคุณเสาวนีย์ วรปัญญาสกุล ไม่ได้เข้าวงการดารา   
เธอเป็นคนสวยที่มีโหงวเฮ้งแบบคนจีนถือว่าดีมาก   หลังจากได้ตำแหน่งไม่นาน เธอก็แต่งงานไปกับนักธุรกิจใหญ่ชื่อคุณวิเชียร เตชะไพบูลย์  แล้วไปช่วยธุรกิจของสามีจนบัดนี้     มีบุตรธิดา 2 คน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 21, 11:28
รูปเมื่อได้ตำแหน่งรองนางสาวไทย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 13 พ.ค. 21, 06:36
อายุสิบห้าเนี่ย ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงจะถึงว่าเป็นวัยเด็กอยู่กระมังครับท่านอาจารย์


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 21, 13:35
สิบห้าก็สาวแล้วค่ะ   ดูน้องจีนาเป็นตัวอย่าง
เมื่อเล่นละคร "รัตนาวดี" เธอก็อายุ 15 เหมือนกัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ค. 21, 15:51
วัยแรกรุ่นดรุณีชีวิตสาว
คนก่อนเก่ากล่าวคำสำนวนขาน
สิบห้าหยกหยกผ่านไปไม่ช้านาน
สิบหกหย่อนหย่อนเข้ากาลเจริญวัย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 21, 11:25
ไม่ได้ยินสำนวนนี้มาหลายสิบปีแล้ว

ขอเล่าเกร็ดเรื่องการประกวดนางงามจักรวาล เป็นความรู้ค่ะ

การประกวดนางงามจักรวาล เป็นกิจกรรมขององค์กรเอกชน ชื่อ  Miss Universe Organization ผู้เป็นเจ้าของในปัจจุบันคือ  WME/IMG talent agency   ก้อนหน้านี้ โดนัลด์ ทรัมป์ซื้อกิจการไปครองระหว่างปี 1996 ถึง 2015  จากนั้นก็ขายให้ WME/IMG 
มูลค่าของบริษัทที่จัดการประกวด Miss Universe อยู่ระหว่าง 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 175 ล้านบาท) - 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 875 ล้านบาท) อ้างอิงจากเอกสารที่นายทรัมป์ยื่นต่อ กกต.สหรัฐฯ ระหว่างศึกชิงเก้าอี้ผู้นำทำเนียบขาว

นอกจากจัดประกวด  Miss Universe แล้วองค์กรยังจัดประกวด Miss USA  และ Miss Teen USA อีกด้วย

ในอเมริกา บริษัทที่จัดประกวดนางงามมีหลายแห่งด้วยกัน  Miss World ก็เป็นอีกแห่งหนึ่ง     
อเมริกาจัดประกวดนางงามกันมากมายหลายรุ่น   มีตั้งแต่นางงามรุ่นจิ๋วระดับอนุบาล ไปจนนางงามวัยรุ่น และนางงามที่เป็นสาวเต็มตัว   
รายได้หลักก็คือการขายลิขสิทธิ์พิธีประกวดนางงามให้ไปเผยแพร่ออกทางทีวีช่องต่างๆทั่วโลก  เป็นรายการใหญ่ที่มีคนดูมากกว่าครึ่งพันล้านใน 190 ประเทศ 

นางงามที่ได้มงกุฎจะได้รางวัลมีค่ามากมาย   เช่นได้มงกุฎมูลค่า 300,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 10.5 ล้านบาท) ไปสวมระหว่างดำรงตำแหน่ง   เงินเดือน ๆ ละ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 7 แสนบาท) เครื่องสำอางและเสื้อผ้าหรูจากสปอนเซอร์ อพาร์ทเม้นต์ใจกลางนิวยอร์ก   ถ้าจะไปเอาดีในวงการบันเทิงและนางแบบก็ทำได้ บางคนก็ไปเอาดีทางการแสดง เช่นลินดา คาร์เตอร์ที่เป็นนางงามสหรัฐมาก่อน 
ได้ไปเป็นพรีเซนเตอร์ในกิจกรรมสังคมต่างๆ   ไปออกงานทั่วโลก   เป็นเวลา 1 ปี ก่อนคนใหม่จะมารับหน้าที่ต่อไป

เพราะฉะนั้นนางงามที่ได้มงกุฎในบริษัทจัดประกวดเหล่านี้   จึงต้องมีคุณสมบัติอีกหลายอย่างนอกเหนือจากสวย   เพราะคนที่ถูกส่งเข้าประกวดก็ล้วนแต่สวยพอๆกันอยู่แล้ว   เช่นจะต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  ทำตัวดีไม่เสียหายต่องานในหน้าที่     ออกงานสังคมได้ดี  พูดจาเหมาะสม  มีปฏิภาณไหวพริบดี    เรียกว่าเป็นหน้าเป็นตาของบริษัท 
เมื่อหมดหน้าที่แล้ว  จะไปทำงานที่ไหนต่อก็เรียกได้ว่ามีใบรับรองชั้นดีติดตัวมา   

ภาพล่างคือผู้เข้าประกวดนางงามจักรวาลรุ่นแรก ปี 1952


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ค. 21, 12:46
สาวไทยคนแรกที่เข้าประกวดนางงามจักรวาลคือ คุณอมรา อัศวนนท์

ในปี ๒๔๙๖ เป็นปีที่ “อนงค์ อัชวัฒนา” ได้รับตำแหน่งนางสาวไทย แต่ด้วยความไม่พร้อมหลายอย่างทางกองประกวดจึงได้ส่ง “อมรา อัศวนนท์” รองนางสาวไทยอันดับ ๑ ซึ่งมีความพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาที่เธอสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส กับใบหน้าสวยคมตามแบบฉบับสาวลูกครึ่งและคุณสมบัติอันเพียบพร้อมแบบกุลสตรีไทย ไปช่วงชิงความงามอันดับหนึ่งบนเวทีนางงามจักรวาลในนาม “มิสไทยแลนด์” การเดินทางไปประชันโฉมในครั้งนั้นเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ อมราต้องเดินทางไปประกวดด้วยทุนส่วนตัว และยังเดินทางด้วยความยากลำบากเพราะเธอต้องเดินทางสู่อเมริกาด้วยเรือเดินทะเล กว่าการเดินทางจะสิ้นสุดก็ใช้เวลากว่าครึ่งเดือน การเดินทางไปสู่เวทีการประกวดในครั้งนั้นอมราพลาดตำแหน่งนางงามจักรวาล แต่ก็ถือเป็นสาวไทยคนแรกที่ทำให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยบนเวทีนางงามจักรวาล

จากกระทู้ คนงามในอดีต (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3229.msg62469#msg62469)

นาทีที่ ๓.๑๐

https://youtu.be/j2X_67PDTYI


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 21, 13:16
ปี 1959  มีสาวไทยเข้าประกวดอีกคนหนึ่งคือสดใส วานิชวัฒนา   นักศึกษาไทยที่ UCLA  ได้ตำแหน่งนางงามมิตรภาพ หรือ Miss Amity
ปัจจุบันคือ  รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล  ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวทีและโทรทัศน์) ประจำปี 2554


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ค. 21, 13:55
สามสาวสามสไตล์บนเวทีนางงามจักรวาล

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6978.0;attach=71045;image)

อมรา อัศวนนท์ (๒๕๙๗)-สดใส วานิชวัฒนา (๒๕๐๒)-อาภัสรา หงสกุล (๒๕๐๘)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 21, 11:01
อีกคนหนึ่งที่สร้างปรากฏการณ์ให้ประเทศไทยคือคุณจีรนันท์ เศวตนันท์   นางสาวไทยปีต่อมาจากอาภัสรา 
  เธอได้ตำแหน่งรองอันดับ 2 ในการประกวดนางงามจักรวาล ปี 1966
เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้ตำแหน่งนี้




กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 21, 11:05
หลังจากได้ตำแหน่งนางสาวไทย ปี 2508


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 21, 11:06
คุณจีรนันท์ในปัจจุบัน กับลูกๆ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 21, 11:31
ย้อนกลับไปสมัยคุณทวดยังเด็ก   บทบาทของผู้หญิงจำกัดอยู่ในบ้านเรือน   หน้าที่สำคัญสุดคือดูแลบ้าน เลี้ยงดูลูก และเก็บเงินทองที่สามีหามาได้
สังคมกำหนดให้ผู้ชายเป็นฝ่ายเลือกผู้หญิงมาเป็นแม่บ้านแม่เรือนของตน จึงเกิดคำเปรียบเทียบถึงลักษณะของผู้หญิงที่ผู้ชายไม่ควรเลือก 9  ประเภท ตามนี้

แม่หญิงแม่ยัง  แม่กระชังหน้าใหญ่   แม่ไขว่หน้าผัว  แม่ยกครัวลงล่าง  แม่ย่างม้าเหาะ  แม่เดาะคันช่าง  แม่นั่งภาวนา  แม่ม้าดีดกระโหลก  แม่ชะโงกดูเงา   

ถ้อยคำอาจเพี้ยนๆกันไปบ้างนะคะ   เพราะเป็นการเล่าปากต่อปากสืบต่อๆกันมา 
แม่หญิงแม่ยัง   =  แม่บ้านที่อะไรๆก็ "ยัง ยัง"  คืองานบ้านยังไม่เสร็จสักอย่าง  มอบหมายให้ทำอะไรก็ไม่เสร็จเช่นกัน 
แม่กระชังหน้าใหญ่  =  แม่บ้านที่หน้าใหญ่ใจโต  อวดร่ำอวดรวย ชอบมีหน้ามีตา ใช้จ่ายเงินเกินตัวไปในเรื่องของสังคม
แม่ไขว่หน้าผัว   =  บางสำนวนใช้ว่า "แม่ใฝ่หน้าผัว"   ไขว่ มาจากคำว่า ขวักไขว่ คือวุ่นวาย   เป็นแม่บ้านที่วุ่นวายจุ้นจ้านไม่ให้เกียรติสามี เวลาอยู่ต่อหน้าแขกเหรื่อ   เช่นพูดมากกว่า ข่มสามี  แสดงว่าตัวเองเหนือกว่า
แม่เดาะคันช่าง  =  แม่บ้านที่อะไรๆ ก็ "ช่างมัน" ไว้ก่อน  บ้านช่องรกรุงรังก็ช่างมัน  ลูกสกปรกมอมแมมก็ช่างมัน

แม่ยกครัวลงล่าง  =  ผู้หญิงที่ไม่สนใจงานบ้านงานครัว   ทำกับข้าวกับปลาไม่เป็น 
แม่ย่างม้าเหาะ    =  ผู้หญิงที่ไม่ชอบอยู่ติดบ้าน   ออกไปโน่นมานี่  ไปขึ้นบ้านโน้นลงบ้านนี้ อยู่เสมอ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 21, 11:40
แม่นั่งภาวนา =  ไม่ได้หมายถึงแม่บ้านที่ชอบไปวัดปฏิบัติธรรม  แต่หมายถึงผู้หญิงขี้บ่น พูดมาก ด่ามาก  จุกจิกจู้จี้พูดไม่หยุด
แม่ม้าดีดกระโหลก  =  ผู้หญิงเดินเหินลุกนั่งไม่เรียบร้อย   ซุ่มซ่าม   กิริยามารยาทไม่งาม
 แม่ชะโงกดูเงา   =  หมายถึงผู้หญิงรักสวยรักงามจนไม่เป็นอันสนใจการบ้านการเรือน   วันๆเอาแต่ส่องกระจก หวีผม ผัดหน้าทาแป้ง สนใจแต่ความงามของตน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 16 พ.ค. 21, 09:10
ยังมีใครใช้คำว่า 'เก๊ะ' อยู่มั้ยครับ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 17 พ.ค. 21, 08:05
ยังมีใครใช้คำว่า 'เก๊ะ' อยู่มั้ยครับ


ผมครับ ใช้อยู่ทุกวันเลย คุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่รุ่นปู่ย่ามาก็เรียกเก็ะรถว่าเก็ะอยู่ตลอดครับแต่ก่อนก็เรียกลิ้นชักว่า’’เก็ะ’’เหมือนกัน สมัยนี้ไม่ค่อยได้ยินสักเท่าไหร่แล้วครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 17 พ.ค. 21, 09:10
ใครพอมีความรู้บ้างว่า บ. Warner Bros.ฯ เคยมาตั้งสาขาที่ กท. ตั้งแต่เมื่อไรครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/iq/210517021028.jpg) (http://picture.in.th/id/b2ec32918b118ddc5e529d48096bd947)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 17 พ.ค. 21, 12:42
ยังมีใครใช้คำว่า 'เก๊ะ' อยู่มั้ยครับ


คำนี้ยังไม่สูญง่ายๆแน่ อย่างน้อยหลานชาย ๗ ขวบที่บ้านก็ยังพูดอยู่ ...”เจอกล้องถ่ายรูปในเก๊ะใต้ตู้ครับ” (เขาอพยพหลบโควิดมากับครอบครัว)
             ผมเองใช้ ‘ลิ้นชัก’ มาตลอด


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ค. 21, 13:57
ไม่เคยได้ยินคำว่า "เก๊ะ" ตอนเด็กๆ    มาได้ยินตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วค่ะ
หมายถึงที่เก็บของในรถยนต์  มารู้ทีหลังว่าแปลว่าลิ้นชัก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 18 พ.ค. 21, 09:18
ตอนเด็ก ๆ ...

คุณยายเป็นคนโบราณจะนุ่งโสร่ง  ท่านจะพกเงินโดยเอาเงินทั้ง ธนบัตร และ เหรียญ ใส่รวมกันในผ้าเช็ดหน้าผืนโต  แล้วม้วน ๆ แบบม้วนโรตี

จากนั้นจะเอาเหน็บไว้กับเข็มขัดเป็นเข็มขัดเงิน  

(http://image.free.in.th/v/2013/ih/210518021628.jpg) (http://picture.in.th/id/cf3e5aee9362664bd9d2197559410ecc)

คงเป็นความชำนาญ  เพราะแน่นหนามาก

เวลาเรากอดกัน  ผมจะแอบแกะผ้าห่อเงินของท่าน  แต่ทำไม่สำเร็จสักที

ท่านจับได้ทุกครั้ง  โดยจะดักคอว่า

'แน่ะ ๆ จะแอบชัก ไถ้ ของยายงั้นรึ'

มีใครคุ้นเคยคำว่า 'ไถ้' นี้บ้างครับ

หมายเหตุ ออกเสียงได้ แต่สะกดไม่ถูกครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ค. 21, 09:38
ไถ้ เป็นถุงยาวๆเย็บด้วยมือ  เอาไว้ใส่ของติดตัวเวลาเดินทาง   มันกระชับรัดกุมมากกว่าหิ้วไป
ในขุนช้างขุนแผน  เมื่อพลายงามหนีจากบ้านขุนช้างไปหาย่าทองประศรี    นางวันทองก็เย็บไถ้ใส่ของกินกับของมีค่าแทนเงิน ให้ติดตัวไป

จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม                ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน
แหวนราคาห้าชั่งทองบางตะพาน        ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 19 พ.ค. 21, 09:21
ไถ้ เป็นถุงยาวๆเย็บด้วยมือ  เอาไว้ใส่ของติดตัวเวลาเดินทาง   มันกระชับรัดกุมมากกว่าหิ้วไป
ในขุนช้างขุนแผน  เมื่อพลายงามหนีจากบ้านขุนช้างไปหาย่าทองประศรี    นางวันทองก็เย็บไถ้ใส่ของกินกับของมีค่าแทนเงิน ให้ติดตัวไป

จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม                ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน
แหวนราคาห้าชั่งทองบางตะพาน        ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย

ขอบคุณครับ

แสดงว่าคุณยายเรียกผิด  จริง ๆ แล้ว แบบที่ว่า เค้ามีชื่อเรียกรึเปล่าไม่ทราบ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 21 พ.ค. 21, 09:17
ตอนเด็ก ๆ ไอศกรีมโฟร์โมสต์ตีตลาด  มีผลิตภัณฑ์แปลก ๆ ออกมาล่อตังค์เด็กเรื่อย ๆ

ไม่ว่า ไอศกรีม Apollo ไอศกรีม Dumbo (ที่ก้นมีหมากฝรั่ง 1 ลูกฝังอยู่)  ไอศกรีมหางเสือ (เนื้อไอศกรีมเป็นลายเสือ มีไม้เสียบอยู่ที่ก้นภาชนะ  เวลาจะกินก็ใช้ไม้นั้นดันไอศกรีมให้โผล่ขึ้นมาจากปากภาชนะแล้วเข้าปาก) ฯลฯ

(http://image.free.in.th/v/2013/is/210521024053.jpg) (http://picture.in.th/id/e72dc841f2beae83171188c12e692e5e)

ไอศกรีมยี่ห้อรอง ๆ ก็ Pop ตราเป็ด  ที่จำได้เด่น ๆ ก็ เนื้อไอสกรีมใส่ในกล่องทำด้วยขนมปัง  ขนาดเท่าฝ่ามือ  กัดแล้วเย็นฟันชะมัด

แล้วก็ยี่ห้อ db  มี 2 แบบ  แบบเนื้อสีเดียว (วานิลา สตอร์ฯ ช็อกฯ)  กับแบบ 3 สี 3 ชั้นในถ้วยเดียวกัน



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ค. 21, 09:18
คุณยายเรียกไม่ผิดหรอกค่ะ  
ไถ้ของท่านก็แบบเดียวกับนางวันทอง คือเก็บของมีค่าไว้กับเอว  
เพียงแต่ม้วนห่อเอาไว้  ไม่ต้องเย็บให้แน่นหนา  จะได้คลี่หยิบเงินออกมาได้สะดวก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ค. 21, 09:31
ความเชื่อแบบคนโบราณมีอีกหลายอย่าง  คุณภศุสรรคงเกิดไม่ทัน  ใครในเรือนไทยเกิดทันข่วยยกมือด้วยนะคะ
- ตอนเด็กๆเป็นคางทูม (ยุคนี้ไม่มีแล้ว)  จำได้ว่าแม่ไปหาชาวจีนแก่ๆ มาวาดหมึกดำเป็นตัวอักษรไว้บนคางเด็ก   ถามว่าอาแปะแกเขียนอะไร  แม่บอกว่าเขียนว่า โฮ้ว แปลว่า เสือ   คางทูมมันกลัวเสือ  จะได้หายเร็วๆ
- เมื่อเด็กผู้หญิงมีประจำเดือนครั้งแรก   ผู้ใหญ่จะให้นั่งถัดบันไดลงมา 3 ขั้น  เพื่อเป็นเคล็ดว่าจะได้มีแค่ 3 วัน  ไม่ลำบากไปมากกว่านั้น
- ถ้าระหว่างตั้งครรภ์ เกิดมีสุริยุปราคา  ให้หาเข็มกลัดมากลัดผ้านุ่ง ลูกออกมาจะได้ตาไม่เหล่
- ห้ามผู้ชายเดินลอดราวตากผ้า ที่มีผ้านุ่งผู้หญิงตากอยู่   ของขลังที่แขวนติดตัวจะเสื่อม
-  ห้ามผู้ชายจับผ้านุ่งผู้หญิง  คือจะไปช่วยซักผ้า ช่วยตากผ้า หรือเก็บเสื้อผ้าผู้หญิง ไม่ได้เป็นอันขาด  ของจะเสื่อมเช่นกัน
-  เด็กห้ามจับหัวผู้ใหญ่   ผู้หญิงห้ามจับหัวผู้ชาย
-  ห้ามนุ่งผ้าต่ำกว่าสะดือ    ถ้าเป็นผู้หญิงห้ามนุ่งผ้าสูงเหนือเข่า  ไม่ว่านุ่งโจงกระเบน ผ้าซิ่น กระโปรง ห้ามเห็นหัวเข่า



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 21 พ.ค. 21, 18:59
ส่วนที่เกี่ยวกับการห้ามจับหัวผู้ใหญ่นั้นผมก็ได้ถูกตักเตือนมาตั้งแต่เด็กเหมือนกันครับ คิดว่ามันน่าจะเป็นมารยาทพื้นฐานมาตลอด
สมัยเด็กนั้นได้ยินความเชื่อโบราณมาอีกเยอะครับ ไม่ใช่ว่าจะเกิดไม่ทันเสียทีเดียวนะครับท่านอาจารย์ ;D
กระผมต้องขออนุญาตเขียนเรียบเรียงมาในที่นี้ด้วย
๑ ห้ามยืนหรือเดินทับหนังสือ ทำเช่นนั้นเปรียบเสมือนเป็นการลบลู่ครูอาจารย์จะทำให้ไม่ฉลาด เรียนไม่เก่ง
๒ ห้ามใช้นิ้วชีรุ้งกินน้ำ นิ้วจะกุด
๓ ห้ามนั่งบนบันไดในเวลากลางคืน จะทำให้แม่ซื้อโกรธ
๔ เวลารับประทานลอดช่อง ใครหยิบได้ชิ้นสุดทายจะได้ภรรยาสวย
๕ เวลารับประทานข้าว หากกินแต่กับไม่กินข้าวแสดงว่าไม่รักพ่อแม่
๖ ห้ามนอนโดยเอาปลายเท้าชี้ไปทางประตู เป็นอัปมงคล เนื่องจากศพของคนหลังจากเสียชีวิตแล้วก็จะถูกหามออกจากบ้านในลักษณะเท้าชี้ไปทางประตูเหมือนกัน
๗ อาการปวดคอมากหลังจากตื่นมา เรียกว่า’’หนอนตกหมอน’’ ต้องเอาหมอนไปตากจึงจะหาย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 22 พ.ค. 21, 09:15
คุณยายเรียกไม่ผิดหรอกค่ะ  
ไถ้ของท่านก็แบบเดียวกับนางวันทอง คือเก็บของมีค่าไว้กับเอว  
เพียงแต่ม้วนห่อเอาไว้  ไม่ต้องเย็บให้แน่นหนา  จะได้คลี่หยิบเงินออกมาได้สะดวก


อ้อ... เข้าใจแล้ว  ขอบคุณครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 22 พ.ค. 21, 09:25
ความเชื่อแบบคนโบราณมีอีกหลายอย่าง  คุณภศุสรรคงเกิดไม่ทัน  ใครในเรือนไทยเกิดทันข่วยยกมือด้วยนะคะ



พวกนี้ไม่ทราบใช้เฉพาะครอบครัว (โบราณแบบของผม) รึเปล่า

- ตอนเป็นคางทูม  ซินแสวาดรูปเสือไว้ที่แก้มเลยครับ
- ห้ามเดินลอดบันได (แบบบันไดพาดพิงกำแพงอะไรแบบนี้)
- ถ้าจะให้ผัวรักผัวหลง  เวลาทำอาหารเสร็จต้องเอารอดหว่างขาตัวเองก่อน
- ห้ามเหยียบธรณีประตู
- จิ้งจกร้องห้ามร้องตอบ จะซวย
- เวลาตุ๊กแกร้อง  ถ้านับได้ 8 ครั้งให้รีบขอพร
- เช่นเดียวกับเวลาฮัดเช้ย  ถ้าครบ 3  คนรักจะคิดถึง
- กิน 'ข้าว' เสร็จต้องไหว้
- ห้ามเอ่ยคำว่า 'ตาย'
- ห้ามก้มมองลอดหว่างขา จะเห็นผี
- สมัยเด็ก ๆ ใครจับหัว  ต้องเอามือกราบหัว 3 ที  
- ห้ามตากผ้าตอนกลางคืน (ผีปอบ)
- ห้ามเล่นซ่อนหาตอนกลางคืน (ผีลัก)
- เวลาเป็นหัด  คุณยายจะอาบน้ำยาเขียว  อาบไปกินไป
- เวลาเป็นแผลห้ามกินไข่  จะเป็นหนอง (จริงมั้ยครับ)
- เวลาสะอึก  ให้ดื่มน้ำ 9 อึกติดต่อกัน (ได้ผลทุกครั้งด้วย)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 พ.ค. 21, 09:51
จะให้ผัวรักผัวหลง  เวลาทำอาหารเสร็จต้องเอารอดหว่างขาตัวเองก่อน

น่าจะเป็น หงส์ร่อนมังกรรำ แบบย่อ  ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 25 พ.ค. 21, 08:25
ใครครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/ie/210525015207.jpg) (http://picture.in.th/id/7950c1eb8c57f6981c0e3e91ddd8bee9)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 27 พ.ค. 21, 19:40
ขอเรียนถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง - ห้ามใช้นิ้วชีรุ้งกินน้ำ นิ้วจะกุด ที่คุณภศุสรรเขียนไว้หน่อยค่ะ

คือพอจะทราบไหมว่าว่าทำไมคนภาคกลางถึงมีความเชื่อเรื่องนี้ คือดิฉันไปทราบว่าว่าคนภาคเหนือเขามีความเชื่อว่ารุ้งคือภูตผีชนิดหนึ่งเลยห้ามชี้ เลยสงสัยว่าคนภาคกลางมีความเชื่อแบบนี้ด้วยไหมเลยมีการห้ามหรือไม่ได้เกี่ยวกัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 28 พ.ค. 21, 13:00
ขออนุญาตตอบคำถามของคุณดาวกระจ่างให้ได้ดีที่สุดเท่าที่กระผมจะทำได้แล้วกันนะครับ เท่าที่กระผมรู้นั้นคนไทยในภาคกลางมีความเชื่อว่า รุ้งกินน้ำนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการดลบันดาลของเล่าเทพเทวดา มิควรอย่างยิ่งที่จะเอานิ้วไปชี้ หากทำเช่นนั้นก็จะเท่ากับเป็นการลบลู่เทวดาไปด้วย เช่นเดียวกันกับที่เราไม่ควรจะเอานิ้วชี้หน้าของผู้หลักผู้ใหญ่นั้นเองล่ะครับ ต่างกันที่ว่าความเชื่อของภาคกลางนี้มิได้เกี่ยวข้องกับภูติผีแต่อย่างใด


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 28 พ.ค. 21, 13:08
เท่าที่กระผมทราบนั้น ประเทศจีนก็มีความเชื่อเรื่องการห้ามชี้รุ้งกินนำ้เหมือนกันกับไทย ว่าถ้าหากชีรุ้งกินน้ำแล้ว นิ้วจะเน่าเฟะไปครับ จะเป็นวัตนธรรมร่วมกันหรือไม่ กระผมก็ไม่อาจจะทราบได้ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 28 พ.ค. 21, 13:14
ส่วนตัวกระผมนั้นคิดว่า ความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของรุ้งกินนี้นั้น่าจะมีเหตุมาจากที่ผู้คนในสมัยโบราณไม่มีความเข้าใจว่ารุ้งกินนั้นมาได้อย่างไร
หลังฟนตก อยู่ดีดีเห็นว่ามีลวดลายลายสีสันอยู่บนฟากฟ้าก็คงจะคิดว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นไปไม่ได้ว่ามนุษย์จะสร้างอะไรอย่างนั้นได้ จึงได้คิดว่ารุ้งกินนำ้นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ค. 21, 13:34
ไปเจอภาพโฆษณาไอศกรีมที่เคยกินตอนเด็กๆ   เลยเอามาลงให้ดูค่ะ    ยี่ห้อนี้น่าจะเลิกขายไปหลายสิบปีแล้ว  
คุณภศุสรรอาจจะเกิดไม่ทันด้วยซ้ำ
ตอนเด็กๆไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย   ไปถึงก่อนเวลา พ่อแม่จะพาไปนั่งรอที่ร้านชั้นล่างติดกับล็อบบี้ของโรงหนัง  เป็นร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม   มีไอศกรีมตราเป็ดขาย ชื่อไอศกรีมป๊อป  
นั่งกินเป็นประจำเลยจำได้ค่ะ  


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 28 พ.ค. 21, 18:37
ไอสครีมป๊อป จำได้แล้วครับ
แต่จำไม่ได้ว่าเคยกินหรือเปล่า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ค. 21, 18:56
;D

https://www.facebook.com/276130502920748/videos/667029477042321/


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 29 พ.ค. 21, 09:57
คำถามครับ...

ตอนเด็ก ๆ เคยดูโฆษณายาสีฟันจากต่างประเทศยี่ห้อหนึ่ง  ใจความสำคัญมีว่า  ในปากถ้าไม่ทำความสะอาดจะมีแมงเจาะฟัน  

แล้วก็มีรูปแมงที่ว่า  หน้าตาเหมือนเมล็ดถั่วแดง  มีตาแล้วก็ที่หน้าจะมีสว่านเล็ก ๆ   เจาะฟันกันอย่างสนุกสนาน

แล้วก็ถึงตอนโฆษณายาสีฟันยี่ห้อที่ว่า  เวลาบีบหลอด  ตัวยาจะออกมาเป็นแท่งแล้วกลายร่างเป็นอัศวินพร้อมเกราะและทวน  ขี่ม้าพุ่งเข้าประหัตประหารแมงเจาะฟันกระจายไป

ฟันก็กลับมาขาวเหมือนเดิม

จำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไร  คาดไว้ว่า Blendax ไม่ก็ Ipana

แต่พอพยายามถาม อากู๋ กับ YT ก็ไม่มีใครเอามาลงเลย

เลยเป็นปริศนาจนบัดนี้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 29 พ.ค. 21, 10:02
อีกหนึ่งยาสีฟันที่หาหนังโฆษณาเก่า ๆ ไม่ได้ (แต่หามานานแล้ว)  คือ ยี่ห้อ Ultra Brite 

โฆษณาที่ว่าเป็นของเมืองนอกเช่นเคย  เป็นรูปผู้หญิงสาวเดินผ่านผู้ชายหล่อ  พอเจ้าหล่อนส่งจูบ

lipstick รูปริมฝีปากก็ไปติดที่แก้มพ่อหนุ่ม  น่ารักน่าชังจริง ๆ

เท่าที่จำได้  มีตั้ง 2-3 แบบ

พวกเราต้องจำโฆษณาเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 10:04
จำชื่อยาสีฟัน Blendax ไม่ได้ค่ะ   แต่จำ Ipana ได้  มีตัวบีเวอร์การ์ตูนเป็นพรีเซนเตอร์   
ชุดนี้หรือเปล่าคะ

https://www.youtube.com/watch?v=q0po-g28uTg


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 10:07
อีกหนึ่งยาสีฟันที่หาหนังโฆษณาเก่า ๆ ไม่ได้ (แต่หามานานแล้ว)  คือ ยี่ห้อ Ultra Brite 
โฆษณาที่ว่าเป็นของเมืองนอกเช่นเคย  เป็นรูปผู้หญิงสาวเดินผ่านผู้ชายหล่อ  พอเจ้าหล่อนส่งจูบ
lipstick รูปริมฝีปากก็ไปติดที่แก้มพ่อหนุ่ม  น่ารักน่าชังจริง ๆ
เท่าที่จำได้  มีตั้ง 2-3 แบบ


https://www.youtube.com/watch?v=FyJpY59fbEU


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 10:08
https://www.youtube.com/watch?v=Jf_4aozFjaU


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 10:59
การ์ตูนโฆษณา สมัยคุณปู่คุณย่ายังเด็ก

https://www.youtube.com/watch?v=QDkPM7Owu74


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 11:00
https://www.youtube.com/watch?v=A1MzT9CX9sQ&list=PLvc284hzb2J_oIwGJvtrXye5fVPEaYNar


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 11:04
ภาพยนตร์การ์ตูนฝีมือ ปยุต เงากระจ่าง เรื่อง "เหตุมหัศจรรย์" เป็นหนังการ์ตูนหรือแอนิเมชั่นเรื่องแรก ของประเทศไทย ออกฉายครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ใช้วิธีพากย์และทำเสียงประกอบสดขณะฉายในโรง
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๒ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕

https://www.youtube.com/watch?v=GhbpyfesrhQ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 29 พ.ค. 21, 11:08
ขอบคุณสำหรับความรู่ค่ะคุณภศุสรร


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 21, 11:19
เด็กยุคนี้เติบโตมากับของเล่นที่เป็นผลผลิตอุตสาหกรรม   แต่ยุคโน้น ของเล่นผลิตด้วยมือ เป็นงานหัตถศิลป์ อย่างหม้อข้าวหม้อแกงปั้นด้วยดินเผา   เด็กผู้หญิงรู้จักกันดี  เป็นการหัดทำขนมทำกับข้าวแบบง่ายๆตั้งแต่อายุห้าหกขวบ  
ตามตลาดหรืองานวัดมีขายเป็นชุดเล็กๆ มัดด้วยเชือกกล้วยเรียงซ้อนกันเป็นตั้งสูง    ได้มาแล้วก็ล้างให้สะอาด คีบถ่านร้อนก้อนเล็กๆลงไปในเตา   เอาเศษผ้าสะอาดชุบน้ำมันหมูทาให้ทั่วเบ้าขนมครก    เทไข่ที่ตีเข้ากันดีแล้วลงไป  เอาฝาปิด   สักพักก็สุก แคะออกมาเป็นขนมครกไข่    


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 30 พ.ค. 21, 09:19
จำชื่อยาสีฟัน Blendax ไม่ได้ค่ะ   แต่จำ Ipana ได้  มีตัวบีเวอร์การ์ตูนเป็นพรีเซนเตอร์   
ชุดนี้หรือเปล่าคะ



ไม่ใช่ครับ อ.  โฆษณาที่ว่าไม่ได้เป็นการ์ตูน  น่าจะเป็นดินปั้นแบบที่เรียกว่า Stop motion น่ะครับ

ตัวอัศวินหน้าตาคล้าย Tin Man ในหนังเก่า Wizard of Oz


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 30 พ.ค. 21, 09:19
อีกหนึ่งยาสีฟันที่หาหนังโฆษณาเก่า ๆ ไม่ได้ (แต่หามานานแล้ว)  คือ ยี่ห้อ Ultra Brite 
โฆษณาที่ว่าเป็นของเมืองนอกเช่นเคย  เป็นรูปผู้หญิงสาวเดินผ่านผู้ชายหล่อ  พอเจ้าหล่อนส่งจูบ
lipstick รูปริมฝีปากก็ไปติดที่แก้มพ่อหนุ่ม  น่ารักน่าชังจริง ๆ
เท่าที่จำได้  มีตั้ง 2-3 แบบ


อะฮ้า... มาแล้ว ๆ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 30 พ.ค. 21, 09:21
เด็กยุคนี้เติบโตมากับของเล่นที่เป็นผลผลิตอุตสาหกรรม   แต่ยุคโน้น ของเล่นผลิตด้วยมือ เป็นงานหัตถศิลป์ อย่างหม้อข้าวหม้อแกงปั้นด้วยดินเผา   เด็กผู้หญิงรู้จักกันดี  เป็นการหัดทำขนมทำกับข้าวแบบง่ายๆตั้งแต่อายุห้าหกขวบ  
ตามตลาดหรืองานวัดมีขายเป็นชุดเล็กๆ มัดด้วยเชือกกล้วยเรียงซ้อนกันเป็นตั้งสูง    ได้มาแล้วก็ล้างให้สะอาด คีบถ่านร้อนก้อนเล็กๆลงไปในเตา   เอาเศษผ้าสะอาดชุบน้ำมันหมูทาให้ทั่วเบ้าขนมครก    เทไข่ที่ตีเข้ากันดีแล้วลงไป  เอาฝาปิด   สักพักก็สุก แคะออกมาเป็นขนมครกไข่    

เล่นเป็นประจำครับ  มีทั้งชุดเล็กจิ๋ว กับ ชุดทำได้อย่างจริงจัง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 30 พ.ค. 21, 09:34
ต่อเรื่องยาสีฟันอีกนิด

ยุคนั้นมียาสีฟันอีกยี่ห้อที่พอบีบออกมาแล้ว  ไส้มี 2 สีสลับกันคือ แดง และ ขาว  ยี่ห้อ Signal

(http://image.free.in.th/v/2013/ix/210530030346.jpg) (http://picture.in.th/id/7cf3016e9b45c8f7ef03f362da38fd61)

ที่จะถามต่อไปคือ ยังมีอีกยี่ห้อ รู้สึกจะชื่อ Disney Lion

เป็นยาสีฟันสำหรับเด็ก  ภาพบนหลอดจะเป็นรูปตัวละครของ Walt Disney เช่น Donal Duck, Chip & Dale ฯลฯ

เนื้อยาสีฟันจะเป็นรสผลไม้  ถ้ารสส้มเนื้อยาจะสีส้ม  ถ้ารส strawberry เนื้อยาจะสีชมพู  รสกล้วยจะสีเหลือง เป็นต้น

แต่พอถูแล้วฟองเป็นสีขาวเหมือนกันหมด  

หาภาพโฆษณาไม่ได้เลย

ใครนึกออกบ้างครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 21, 09:50
ยาสีฟัน Blendax น่าจะเลิกผลิตไปนานแล้ว  เลยไม่เจอโฆษณาเก่าๆค่ะ
ส่วนยาสีฟันดิสนีย์ไลอ้อน คิดว่าเป็นของญี่ปุ่น   แต่คงจะได้ลิขสิทธิ์จากดิสนีย์ให้ใช้ชื่อได้  เป็นยาสีฟันสำหรับเด็ก ที่แตกแขนงมาจากยาสีฟันไลอ้อนของผู้ใหญ่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 31 พ.ค. 21, 11:13
ที่วงกลมไว้  คือใครบ้างครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/ig/210531044021.jpg) (http://picture.in.th/id/ff1ca96f3dbc082ab3e2b6d8d12c9db9)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 21, 17:04
วงกลมซ้ายสุด คือ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  (ระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๒)  อีกสองท่านนึกไม่ออกค่ะ
แต่บุคคลด้านหลังวงกลมที่สองคือจอมพลถนอม กิตติขจร   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 01 มิ.ย. 21, 08:45
วงกลมซ้ายสุด คือ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  (ระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๒)  อีกสองท่านนึกไม่ออกค่ะ
แต่บุคคลด้านหลังวงกลมที่สองคือจอมพลถนอม กิตติขจร   

ขอบคุณครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มิ.ย. 21, 19:10
สมัยเรียนประถม ตอนเช้าไปโรงเรียน มีเวลาก่อนเข้าเรียนก็เล่นกันที่ลานหน้าห้องเรียน  หนึ่งในเกมที่เล่นกันคือต้องเต
รองลงมาก็เล่นหมากเก็บ  กระโดดเชือก    มอญซ่อนผ้า  แม่งู  ได้ออกกำลังตลอด  ตอนเที่ยงก็เช้นกันค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 มิ.ย. 21, 19:30
สมัยเรียนประถม ตอนเช้าไปโรงเรียน มีเวลาก่อนเข้าเรียนก็เล่นกันที่ลานหน้าห้องเรียน  หนึ่งในเกมที่เล่นกันคือต้องเต

สมัยเป็นเด็กได้ยินเขาเรียกกันว่า ตั้งเต ไม่เคยได้ยินทั้ง ต้องเต และ จ้องเต

https://youtu.be/By_-OtRSF3c


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 09:05
สมัยเป็นเด็กได้ยินเขาเรียกกันว่า ตั้งเต ไม่เคยได้ยินทั้ง ต้องเต และ จ้องเต

สมัยเป็นเด็กได้ยินเขาเรียกกันว่า ต้องเต ไม่เคยได้ยินทั้ง ตั้งเต และ จ้องเต


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 02 มิ.ย. 21, 09:34
สมัยเรียนประถม ตอนเช้าไปโรงเรียน มีเวลาก่อนเข้าเรียนก็เล่นกันที่ลานหน้าห้องเรียน  หนึ่งในเกมที่เล่นกันคือต้องเต
รองลงมาก็เล่นหมากเก็บ  กระโดดเชือก    มอญซ่อนผ้า  แม่งู  ได้ออกกำลังตลอด  ตอนเที่ยงก็เช้นกันค่ะ

เป็นเกมที่ดูแล้วงง  สรุปคือเล่นไม่เป็น  เลยหันไปเล่นหมากเก็บ กับ โยนห่วง แปะแข็ง เอ อี ไอ โอ ยู โมราเรียกชื่อ บอลลูน

แต่กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเคยดูหนังฝรั่งเรื่องนึง  เห็นเด็กเล่นเกมแบบตั้งเตเลย

ค้นหาชื่อตั้งนานกว่าจะรู้ว่าชื่อ Hopscotch

อ. ดูแล้ว  กติกาเหมือนกันมั้ยครับ

https://www.youtube.com/watch?v=fZzswQaICfM


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 02 มิ.ย. 21, 10:51
สมัยเรียนประถม ตอนเช้าไปโรงเรียน มีเวลาก่อนเข้าเรียนก็เล่นกันที่ลานหน้าห้องเรียน  หนึ่งในเกมที่เล่นกันคือต้องเต
รองลงมาก็เล่นหมากเก็บ  กระโดดเชือก    มอญซ่อนผ้า  แม่งู  ได้ออกกำลังตลอด  ตอนเที่ยงก็เช้นกันค่ะ

ต้องเต หรือตั้งเต เด็กปัตตานีรุ่นผมเรียกว่าเล่น "เรือบิน" ตำแหน่งบ้านเราเรียกว่า "พัก" ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 11:05
ขออนุญาตขัดจังหวะ ต้องเต-ตั้งเต-เรือบิน

ที่วงกลมไว้  คือใครบ้างครับ

ภาพงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๔  เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ ๕๐ ปีลูกเสือไทย ณ สวนลุมพินี พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ จำนวนลูกเสือไทย ๕,๕๓๙ คน ลูกเสือต่างประเทศ ๓๔๘ คน

ในภาพเป็นเข้าเฝ้ารับเสด็จของคณะลูกเสือลาว วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๔

ภาพล่างจาก  ສກຸດລາວ - SCOUT LAO (https://www.facebook.com/102389631619010/posts/102406781617295/?d=n)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 11:14
พระบรมฉายาลักษณ์ของทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๔


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 14:58
แต่กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเคยดูหนังฝรั่งเรื่องนึง  เห็นเด็กเล่นเกมแบบตั้งเตเลย

ค้นหาชื่อตั้งนานกว่าจะรู้ว่าชื่อ Hopscotch

อ. ดูแล้ว  กติกาเหมือนกันมั้ยครับ

เล่นแบบเดียวกันละค่ะ คือกระโดดและยืนด้วยขาข้างเดียว  เอาขาลงได้สองข้างเฉพาะช่องบนสุด
แต่การขีดตารางไม่เหมือนกับในโรงเรียนดิฉัน   

มอญซ่อนผ้า   และรีรีข้าวสารที่บอกกันว่าเป็นการละเล่นของเด็กไทย  ดิฉันไม่แน่ใจว่าต้นทางมาจากประเทศไหน  เพราะสมัยเด็กๆเล่นกับเพื่อน เราถูกสอนให้ร้องกันเป็นภาษาอังกฤษ
เมื่ออ่านหนังสือภาษาอังกฤษออก  ก็พบว่าเป็นการละเล่นของเด็กอังกฤษ ค่ะ
   
รีรีข้าวสาร คือ London Bridge

https://www.youtube.com/watch?v=gOUblw0LqDQ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 15:04
ส่วน มอญซ่อนผ้า  อังกฤษเรียกว่า A-Tisket, A-Tasket

https://www.youtube.com/watch?v=jtM-3qW_miA


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 มิ.ย. 21, 17:08
ที่เมืองจีนมีการละเล่นที่คล้ายหรือเหมือนกับที่เล่นกันที่ไทยอยู่หลายอย่าง

มอญซ่อนผ้า 丢手绢(ทิ้งผ้าเช็ดหน้า)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6358.0;attach=58085;image)

แม่งูเอ๋ย       老鹰抓小鸡 (เหยี่ยวจับลูกไก่)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6358.0;attach=58087;image)

หมากเก็บ    捡石子 (เก็บลูกหิน)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6358.0;attach=58089;image)

จาก  ว่าด้วยการละเล่นของไทยกับจีนที่เหมือนกัน (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6358.0) โดย คุณปิ่น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 03 มิ.ย. 21, 09:18

ภาพงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๔  เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ ๕๐ ปีลูกเสือไทย ณ สวนลุมพินี พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ จำนวนลูกเสือไทย ๕,๕๓๙ คน ลูกเสือต่างประเทศ ๓๔๘ คน

ในภาพเป็นเข้าเฝ้ารับเสด็จของคณะลูกเสือลาว วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๔

ภาพล่างจาก  ສກຸດລາວ - SCOUT LAO (https://www.facebook.com/102389631619010/posts/102406781617295/?d=n)

อะฮ้า... ได้คำตอบแล้ว  ขอบคุณครับ

ดูแล้ว  จากความเห็นส่วนตัว  ชุดลูกเสือลาวดูเท่กว่าชุดลูกเสือไทยแฮะ  โดยเฉพาะกางเกงสั้นไม่เป็นคุณลุง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 03 มิ.ย. 21, 09:24
แต่กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเคยดูหนังฝรั่งเรื่องนึง  เห็นเด็กเล่นเกมแบบตั้งเตเลย

ค้นหาชื่อตั้งนานกว่าจะรู้ว่าชื่อ Hopscotch

อ. ดูแล้ว  กติกาเหมือนกันมั้ยครับ

เล่นแบบเดียวกันละค่ะ คือกระโดดและยืนด้วยขาข้างเดียว  เอาขาลงได้สองข้างเฉพาะช่องบนสุด
แต่การขีดตารางไม่เหมือนกับในโรงเรียนดิฉัน   

มอญซ่อนผ้า   และรีรีข้าวสารที่บอกกันว่าเป็นการละเล่นของเด็กไทย  ดิฉันไม่แน่ใจว่าต้นทางมาจากประเทศไหน  เพราะสมัยเด็กๆเล่นกับเพื่อน เราถูกสอนให้ร้องกันเป็นภาษาอังกฤษ
เมื่ออ่านหนังสือภาษาอังกฤษออก  ก็พบว่าเป็นการละเล่นของเด็กอังกฤษ ค่ะ
   
รีรีข้าวสาร คือ London Bridge


มีความเห็นว่าเราต้องรับมาจากเขาแน่  ตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม  เค้ามากันเป็นครอบครัว

เกม โอ-เอ็กซ์  ของเราก็คงรับมาจากของเค้าเช่นกัน

https://www.youtube.com/watch?v=5SdW0_wTX5c




กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 21, 10:13
ดูแล้ว  จากความเห็นส่วนตัว  ชุดลูกเสือลาวดูเท่กว่าชุดลูกเสือไทยแฮะ  โดยเฉพาะกางเกงสั้นไม่เป็นคุณลุง

ปัจจุบันไม่มีลูกเสือในลาวแล้ว

กองลูกเสือลาว(ສກຸດລາວ) ดำรงอยู่จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ กองลูกเสือลาวถูกยุบ และถูกแทนที่ด้วยการจัดระบบสมาชิก ศูนย์กลางชาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาว (ສູນກາງຊາວໜຸ່ມປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ) ซึ่งเป็นการพัฒนาในด้านระเบียบวินัย อุดมการณ์ และการเสียสละตามแนวทางแบบคอมมิวนิสต์

ข้อมูลจาก Scout Studio (https://www.facebook.com/1834832970148152/posts/2189510718013707/?d=n)

ภาพกองลูกเสือลาว พ.ศ. ๒๕๑๑


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 04 มิ.ย. 21, 10:54
เมื่อกล่าวถึงลูกเสือ ก็ต้องนึกถึงเพลง "สามัคคีชุมนุม" ที่นำทำนองมาจากเพลง Auld Lang Syne
ช่วงนี้ ผมไปติดตามยูทูปเบอร์น้องๆชาวเชียงตุง ก็เลยไปพบว่า ที่เชียงตุงมีเพลง "สามัคคี" ซึ่งใช้ทำนอง Auld Lang Syne ด้วย เนื้อร้องเป็นภาษาไทขืนและมีเนื้อหาใกล้เคียงเพลงสามัคคีชุมนุมของไทยเรา
กองลูกเสือลาว จะมีเพลงนี้ด้วยไหมนะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 21, 12:47
ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ   ใครทราบช่วยบอกด้วย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มิ.ย. 21, 19:35
ที่เชียงตุงมีเพลง "สามัคคี" ซึ่งใช้ทำนอง Auld Lang Syne ด้วย เนื้อร้องเป็นภาษาไทขืนและมีเนื้อหาใกล้เคียงเพลงสามัคคีชุมนุมของไทยเรา

ตามไปฟัง  ;D

https://youtu.be/mBHm7CNd_OA

สมัยที่ เชียงตุง ยังมีเจ้าฟ้า เป็นผู้ปกครอง อูทิพ เขมรัฐ ได้ร่วมกับราชบัณฑิตหอเจ้าฟ้า แต่งเพลง "สามัคคี" ขึ้น มีเนื้อร้องคล้ายกับเพลง "สามัคคีชุมนุม" ของไทย และใช้ทำนอง Auld Lang Syne เหมือนกัน

เพลงนี้ เปรียบเสมือนเพลงชาติของรัฐเชียงตุง ใช้ขับร้องหรือบรรเลง เมื่อเจ้าฟ้าเสด็จ หรือในพิธีการต่าง ๆ

แม้ปัจจุบัน ระบอบเจ้าฟ้าถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ชาวเชียงตุงยังขับร้องหรือบรรรเลงเพลงนี้ ในงานสำคัญต่าง ๆ อยู่เสมอ

ข้อมูลจาก นายช่างแลูกเรือน (https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=khurtai&month=11-2009&date=29&group=4&gblog=23)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 05 มิ.ย. 21, 09:21
ดูแล้ว  จากความเห็นส่วนตัว  ชุดลูกเสือลาวดูเท่กว่าชุดลูกเสือไทยแฮะ  โดยเฉพาะกางเกงสั้นไม่เป็นคุณลุง

ปัจจุบันไม่มีลูกเสือในลาวแล้ว

กองลูกเสือลาว(ສກຸດລາວ) ดำรงอยู่จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ กองลูกเสือลาวถูกยุบ และถูกแทนที่ด้วยการจัดระบบสมาชิก ศูนย์กลางชาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาว (ສູນກາງຊາວໜຸ່ມປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ) ซึ่งเป็นการพัฒนาในด้านระเบียบวินัย อุดมการณ์ และการเสียสละตามแนวทางแบบคอมมิวนิสต์

ภาพกองลูกเสือลาว พ.ศ. ๒๕๑๑

7 ปีผ่านไป  ชุดยังเท่เหมือนเดิม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 07 มิ.ย. 21, 09:48
ฝรั่งให้คำถามมาครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/id/210607030812.jpg) (http://picture.in.th/id/36ee4cb0ec8583c7e90499506217eec9)
ใต้รูปเขียนว่า 'The first tramway route between the Grand Palace and Bangkok Port'

ข้อมูลภาษาอังกฤษละเอียดกว่าภาษาไทย

.... Line 3, Dusit Line (สายดุสิต) - 11.5 km, a loop line around Rattanakosin Island, with spur to Thewet (1905-1968)[6]

    Ran on Phra Athit Road, Phra Sumen Road, passed Phan Fa Lilat Bridge, continued on Maha Chai Road, turned into Chak Phet Road and passing Pak Khlong Talat. It continued onto Maha Rat Road, behind Wat Pho and the Grand Palace before turning to run in front of Wat Mahathat and the National Museum and joins its origin back at Phra Athit Road. Also consisted of a spur which branched from Chak Phet Road, onto Worachak Road and Chakkraphatdiphong Road. It then turned at Nakhon Sawan Road and onto short sections on Luk Luang Road and Rama V Road, until it ran on Phitsanulok Road, terminating at Thewet....

ภาษาไทยบอกแค่ว่า

...  สายที่ 3 จากสวนดุสิต ริมวังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ถึงสถานีรถไฟบางซื่อ ...

ปลายทางไม่ตรงกัน

1. รบกวนผู้ทรงความรู้ให้ความกระจ่างด้วยครับ

2. วิวในภาพที่เห็นคือที่ไหนในปัจจุบันครับ
 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 07 มิ.ย. 21, 09:56
ฝรั่งให้คำถามมาครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/id/210607030812.jpg) (http://picture.in.th/id/36ee4cb0ec8583c7e90499506217eec9)
ใต้รูปเขียนว่า 'The first tramway route between the Grand Palace and Bangkok Port'

ข้อมูลภาษาอังกฤษละเอียดกว่าภาษาไทย

.... Line 3, Dusit Line (สายดุสิต) - 11.5 km, a loop line around Rattanakosin Island, with spur to Thewet (1905-1968)[6]

    Ran on Phra Athit Road, Phra Sumen Road, passed Phan Fa Lilat Bridge, continued on Maha Chai Road, turned into Chak Phet Road and passing Pak Khlong Talat. It continued onto Maha Rat Road, behind Wat Pho and the Grand Palace before turning to run in front of Wat Mahathat and the National Museum and joins its origin back at Phra Athit Road. Also consisted of a spur which branched from Chak Phet Road, onto Worachak Road and Chakkraphatdiphong Road. It then turned at Nakhon Sawan Road and onto short sections on Luk Luang Road and Rama V Road, until it ran on Phitsanulok Road, terminating at Thewet....

ภาษาไทยบอกแค่ว่า

...  สายที่ 3 จากสวนดุสิต ริมวังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ถึงสถานีรถไฟบางซื่อ ...

ข้อมูลไม่ตรงกันเลย

1. รบกวนผู้ทรงความรู้ให้ความกระจ่างด้วยครับ

2. วิวในภาพที่เห็นคือที่ไหนในปัจจุบันครับ
 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มิ.ย. 21, 11:04
รถรางสายดุสิต วิ่งวนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ คุณหนุ่มสยามอธิบายเส้นทางไว้ดังนี้

สายนี้เริ่มจากหน้าบริษัทสยามอิเลคทริคใกล้ ๆ วัดเลียบวิ่งไปตามถนนจักรเพ็ชร แล้ววิ่งไปตามถนนพระสุเมรุเลียบกำแพงเมืองไปยังประตูไม้ ที่แยกบางลำพู แล้ววิ่งผ่านถนนพระอาทิตย์, ถ.ราชินี ผ่านไปยังอนุสาวรีย์สงครามโลกครั้งที่ ๑ แถวกระทรวงยุติธรรมเก่า แล้ววิ่งไปตามถนนหน้าพระธาตุก่อนที่จะเลี้ยวขาวเข้าท่าพระจันทร์ที่ถนนท่าพระจันทร์ หลังจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมหาราช ผ่านท่าราชวรดิษฐ์และท่าเตียน, ปากคลองตลาด, ถ.จักรเพ็ชร, กระทรวงศึกษาธิการ และข้ามคลองโอ่งอ่างตรงคูเมืองเก่าแล้วผ่านไปทางวัดบพิตรพิมุข วิ่งไปตามถนนจักรวรรดิ์ไปทางวัดตึก และวิ่งไปตามถนนวรจักรไปยังสะพานแม้นศรี (สะพานดำ)

จากนั้นรถรางวิ่งเข้าถนนจักรพรรดิพงศ์ไปนางเลิ้ง(ถนนนครสวรรค์) ก่อนเลี้ยวเข้าถนนพิษณุโลกไปถนนราชดำเนินนอกไปบรรจบกับสายสามเสนหน้าวัดเทวราชกุญชร สายนี้เปลี่ยนไปในปี พ.ศ. ๒๔๖๙โดยไม่ผ่านหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบและเปลี่ยนจากสุดสายที่หน้าวัดเทวราชกุญชรไปเป็นที่สี่เสาเทเวศน์

จาก รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก ๓ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5922.msg72032#msg72032)

รถรางสายดุสิตกำลังจอดที่ป้ายติดกับวัดเบญจมบพิตร บนถนนพิษณุโลก ถ่ายโดย W.J. Higgins เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๒

ภาพจาก bus-planet.com (https://www.bus-planet.com/bus/bus-asia/Thailand-site/rail-transport/tram/model02.html)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 08 มิ.ย. 21, 08:42
รถรางสายดุสิต วิ่งวนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ คุณหนุ่มสยามอธิบายเส้นทางไว้ดังนี้

สายนี้เริ่มจากหน้าบริษัทสยามอิเลคทริคใกล้ ๆ วัดเลียบวิ่งไปตามถนนจักรเพ็ชร แล้ววิ่งไปตามถนนพระสุเมรุเลียบกำแพงเมืองไปยังประตูไม้ ที่แยกบางลำพู แล้ววิ่งผ่านถนนพระอาทิตย์, ถ.ราชินี ผ่านไปยังอนุสาวรีย์สงครามโลกครั้งที่ ๑ แถวกระทรวงยุติธรรมเก่า แล้ววิ่งไปตามถนนหน้าพระธาตุก่อนที่จะเลี้ยวขาวเข้าท่าพระจันทร์ที่ถนนท่าพระจันทร์ หลังจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมหาราช ผ่านท่าราชวรดิษฐ์และท่าเตียน, ปากคลองตลาด, ถ.จักรเพ็ชร, กระทรวงศึกษาธิการ และข้ามคลองโอ่งอ่างตรงคูเมืองเก่าแล้วผ่านไปทางวัดบพิตรพิมุข วิ่งไปตามถนนจักรวรรดิ์ไปทางวัดตึก และวิ่งไปตามถนนวรจักรไปยังสะพานแม้นศรี (สะพานดำ)

จากนั้นรถรางวิ่งเข้าถนนจักรพรรดิพงศ์ไปนางเลิ้ง(ถนนนครสวรรค์) ก่อนเลี้ยวเข้าถนนพิษณุโลกไปถนนราชดำเนินนอกไปบรรจบกับสายสามเสนหน้าวัดเทวราชกุญชร สายนี้เปลี่ยนไปในปี พ.ศ. ๒๔๖๙โดยไม่ผ่านหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบและเปลี่ยนจากสุดสายที่หน้าวัดเทวราชกุญชรไปเป็นที่สี่เสาเทเวศน์

จาก รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก ๓ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5922.msg72032#msg72032)

รถรางสายดุสิตกำลังจอดที่ป้ายติดกับวัดเบญจมบพิตร บนถนนพิษณุโลก ถ่ายโดย W.J. Higgins เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๒

ภาพจาก bus-planet.com (https://www.bus-planet.com/bus/bus-asia/Thailand-site/rail-transport/tram/model02.html)

ขอบคุณครับ  ตอนนั้นเลขสายดุสิตเปลี่ยนจาก 3 เป็น 9 แล้วเหรอครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 15 มิ.ย. 21, 09:04
ปี 1931 ร.7 เสด็จประพาสอเมริกา  

https://www.youtube.com/watch?v=HlW4t_b_ZRM


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 มิ.ย. 21, 09:25
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จประพาสสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ สาเหตุสำคัญเบื้องต้นในการเสด็จต่างประเทศครั้งนี้ คือการเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกพระเนตรซ้ายที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งยังทำไม่ได้ในสยาม และทรงถือเป็นพระราชภารกิจเจริญพระราชไมตรีกับประเทศสำคัญทั้งสามนั้น ทรงศึกษาดูงานความเจริญก้าวหน้าต่าง ๆ อย่างรวดเร็วของโลก  ขณะเดียวกันทรงทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สยามกับโลกด้วย กรณีกิจสำคัญอย่างหนึ่งคือ ทรงพระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในอเมริกา เรื่องที่ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ประชาธิปไตยกับสยาม

การเสด็จ ฯ ครั้งนั้น เป็นยุคที่ภาพยนตร์เสียงกำลังเป็นนิวนอร์มอล ภาพยนตร์ข่าวก็ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ข่าวเสียงกันเป็นปกติมากแล้ว  ภาพยนตร์นี้เป็นภาพยนตร์ข่าวของบริษัทฟอกซ์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ทำหนังข่าวเสียงรายแรกของโลก และได้เคยติดต่อขอเข้ามาถ่ายข่าวสัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ตั้งแต่ปี ๒๔๗๒ แต่พระองค์ไม่โปรดให้สัมภาษณ์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จสหรัฐอเมริกาครั้งนั้น บริษัทฟอกซ์ จึงถือโอกาสติดตามถ่ายทำภาพยนตร์ข่าวอย่างใกล้ชิด  

ฟิล์มภาพยนตร์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) อนุรักษ์จากต้นฉบับฟิล์มไนเตรท ซึ่งบริษัทฟอกซ์ได้ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในเวลานั้น และได้รับการเก็บรักษาไว้โดยข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด ซึ่งทายาทของท่านได้นำมามอบให้หอภาพยนตร์ตั้งแต่เมื่อแรกก่อตั้ง

ข้อมูลจาก หอภาพยนตร์ Thai Film Archive (https://www.facebook.com/110731632310379/posts/3201626923220819/?d=n)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 15 มิ.ย. 21, 19:47
เดี๋ยวนี้ฝรั่งไม่ค่อยสวมหมวกกันแล้วนะครับ เริ่มเลือนหายไปช่วงไหนหนอ  :(


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 16 มิ.ย. 21, 11:18
ข้อมูลจาก Wikipedia ระบุว่าหมวกตามแบบในวิดีโอซึ่งเรียกว่า “top hat” นั้น ได้เริ่มรับความนิยมน้อยกลงในช่วงเวลาแห่งสงครามโลกครั้งที่สองครับ พอมาถึงยุค50ก็หายากมากแล้วครับ สาเหตุน่าจะมาจากการที่ขนสัตว์ที่ใช้ในการพลิดหมวกนั้นแต่เดิมมีราคาแพงอยู่แล้ว ช่วงหลังมาก็ได้มีการนิยมหมวกจากฟ้ายที่ถูกกว่ามากขึ้น หมวก top hat จึงได้เลือนหายไปครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 10:31
หมวกที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสวมไม่ใช่หมวก Top Hat ค่ะ  
หมวกท็อปแฮทหน้าตาเป็นแบบนี้    ใช้สวมกับชุดออกงานในโอกาสพิเศษ  เช่นงานแต่งงาน หรืองานหรูต่างๆเช่นงานแข่งม้าที่แอสคอท ซึ่งถือเป็นงานชุมนุมประจำปีของพระราชวงศ์และผู้ดีมีตระกูลของอังกฤษ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 10:34
หมวกท็อปแฮท


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 10:42
พระมาลาที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงสวมเรียกว่า fedora hat   แปลว่าหมวกสักหลาด   เป็นหมวกที่ใช้ในงานกลางวัน   แต่งกับชุดสุภาพเวลาไปไหนมาไหน หรือไปร่วมงานที่จัดในตอนกลางวัน
หมวก fedora ยังคงใช้กันมาจนถึงต้นๆทศวรรษ 1960s  เวลาผู้ชายออกจากบ้านไปทำงาน จะสวมเสื้อนอกทับเชิ้ตผูกไท และกางเกงขายาว ขาดไม่ได้คือหมวกประเภทนี้  ถือเป็นชุดสุภาพออกนอกบ้าน   
แต่พอช่วงปลาย 1960s  ในอเมริกา  เครื่องแต่งกายเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง กลายเป็นชุดลำลองตามค่านิยมของบุปผาชน  หมวกก็เลยหายไปจากชุดทำงานประจำวันของผู้ชาย   ในอังกฤษเองก็เช่นกัน
ของไทยเรา  หมวกหายไปเมื่อจอมพลป.พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง  เมื่อนายควง อภัยวงศ์ขึ้นเป็นนายกฯ ก็ยกเลิกเรื่อง "วัธนธัม" ของจอมพลป.  ประชาชนสามารถกลับมานุ่งโจงกระเบน กินหมาก   ออกจากบ้านไม่ต้องสวมหมวก ฯลฯ ได้โดยอิสระ   หมวกเลยหายไปจากเครื่องแต่งกายของชายหญิง   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 10:57
ไม่ทราบว่าคุณภศุสรรรู้จักพวกฮิปปี้หรือเปล่าคะ
พวกนี้ถ้ามีอายุมาจนถึงปัจจุบัน ก็คราวปู่ย่าตาทวดแล้ว   เพราะเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960s คือ 60 กว่าปีแล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 10:59
วิถีชีวิตของหนุ่มสาวฮิปปี้  แบบเดียวกับนกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำไหนนอนนั่น  นอนตามริมถนนหนทาง
ก็ได้  ไม่อยู่บ้าน ไม่ทำงานเป็นเรื่องเป็นราว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 19 มิ.ย. 21, 12:46
ต้องขอท่านเทาชมพูสำหรับการแก้ไขครับ สำหรับพวกฮิปปี้นั้น รู้สึกว่าย้อนไปเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน พวกนี้ได้มีส่วนร่วมในการต่อต้านสงครามเวียดนามด้วยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 19 มิ.ย. 21, 12:52
เพลงเอกลักษณ์ของฮิปปี้ในยุค60ครับ ถ้าได้ไป San Francisco... https://youtu.be/7I0vkKy504U


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 21, 15:52
ฮิปปี้ หรือ บุปผาชน (Hippies or Flower People) เป็นขบวนการหนุ่มสาวของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950s แล้วขยายใหญ่ขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1960s  จนแพร่หลายไปทั่วอเมริกา
เป็นกลุ่มที่ปฏิเสธค่านิยมดั้งเดิมในสังคมอเมริกัน  
ถ้าอ่านกระทู้ American Dreams คงเห็นว่าสังคมของสหรัฐให้ความสำคัญกับชนชั้นกลางมาก   พวกนี้จัดระเบียบสังคมให้มีแบบแผนชีวิตชัดเจน   แต่พวกฮิปปี้คือการแหกคอกออกจากแบบแผนดังกล่าว  นิยมใช่ชีวิตเสรี  ทำอะไรตามใจชอบ ไม่เอากฎเกณฑ์สังคมมากำหนด  หันไปสนใจวิถีชีวิตใหม่ที่ตัวเองกำหนดเอง เช่นออกจากบ้านไปเร่ร่อนนอนริมถนน เพื่อค้นหาตัวเองให้พบ   ใช้ยาเสพติดเพื่อความสุขส่วนตัว ฯลฯ

ในช่วงที่หนุ่มสาวรุ่นใหม่ของอเมริกาเติบโตขึ้นมาเป็นฮิปปี้   หนุ่มสาวอเมริกันก่อนหน้านี้ก็ถูกปลุกใจด้วยค่านิยมให้ไปรบในนามกองทัพสหรัฐที่เวียตนาม  ซึ่งตอนนั้นประเทศแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเหนือกับใต้    อเมริกาสนับสนุนฝ่ายใต้  ก็ส่งกองทัพเข้าไปตรึงไว้ไม่ให้ฝ่ายเหนือที่มีคอมมิวนิสต์หนุนหลังรุกลงมาได้    ไทยก็เอากับเขาด้วย เพราะเราเป็นพันธมิตรฝ่ายเสรีนิยมซึ่งนำโดยอเมริกา

ทหารหนุ่มจากอเมริกาเข้าไปรบด้วยความฮึกเหิมในตอนแรก เพื่อเชิดชูอุดมการณ์ประชาธิปไตย   แต่นานหลายปีเข้า ตายกันไปมากมาย  สงครามก็ไม่มีท่าทีจะยุติลง    หนุ่มสาวรุ่นที่โตขึ้นไล่ๆตามกันมาก็เกิดความรู้สึกว่า เอาชีวิตไปทิ้งให้เปลืองเปล่าทำไม   เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปากท้องหรือประเทศชาติของตนสักนิด    
พอหันไปถือคติฮิปปี้นิยม รักเสรีภาพสุดโต่ง ไม่ต้องการใครบังคับไม่ว่าประเทศชาติ  หรือพ่อแม่หรือใคร  พวกนี้ก็เลยออกมาต่อต้านสงครามเวียตนามกันอย่างเอาจริงเอาจัง    ลุกลามแพร่ขยายไปทั่วประเทศ   จนในที่สุด สงครามเวียตนามก็จบลงในปี 2518

อิทธิพลของฮิปปี้แพร่ขยายจากอเมริกาไปอีกหลายประเทศ   เข้าไปในศิลปะประเภทต่างๆเช่นเพลง  ดนตรี ศิลปการแสดง  แฟชั่นฯลฯ  แต่จุดเสื่อมก็มาถึงเมื่อฮิปปี้นิยมใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องกล่อมอารมณ์ให้เป็นสุข  เคลิบเคลิ้มว่าบรรลุถึงสัจธรรม  จนเกิดการมั่วสุม  ก่ออาชญากรรมต่างๆอันเป็นผลจากเสพยาจนติด ทำให้ขบวนการเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อยุคสมัยผ่านไป   ฮิปปี้หนุ่มสาวแก่ตัวลง   ความนิยมก็หมดไปเป็นธรรมดา   ผ่านมา 60 ปีถ้ายังเหลืออยู่ก็เป็นคุณทวดฮิปปี้  หมดเรี่ยวแรงจะจูงสังคมได้อย่างเมื่อก่อนอีก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 21 มิ.ย. 21, 09:08
ถ้าพูดถึง ฮิปปี้ ต้องนึกถึง Woodstock Concert, 1969 ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=bcS6N_XPSqA

แล้วก็ต้องนึกถึงเพลงนี้  ดังสนั่น กรุงเทพฯ  

https://www.youtube.com/watch?v=kJpYO3qeid0




กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 21, 20:28
เพลงยอดนิยม เชิดชูอุดมการณ์ของชาวบุปผาชน

https://www.youtube.com/watch?v=vWwgrjjIMXA


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 21, 20:31
คุณปู่บ๊อบในปัจจุบัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 24 มิ.ย. 21, 09:44
จำได้ว่า  กาลครั้งหนึ่ง ณ สยามเซ็นเตอร์ชั้นบนสุด (ใช่ชั้น 5 รึเปล่า) มีร้าน ice cream ชื่อ Sixteen

เป็นแหล่ง hang out ของวัยรุ่นของยุคนั้น (น่าจะยุคพวกเรา)

แล้ววันหนึ่งก็มีอุบัติเหตุ  ถังแก๊สในร้านระเบิด  มีคนบาดเจ็บบ้าง

จำได้แค่นี้  พยายามหาข่าวเก่า  แต่ไม่เจอ

เลยไม่แน่ใจว่า 'มโน' ไปเองรึเปล่า

ใครนึกออกบ้างครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มิ.ย. 21, 16:21
จำไม่ได้เลยค่ะ  ใครนึกออกบ้างคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 มิ.ย. 21, 17:19
พอจะนึกออกคลับคล้ายคลับคลาว่ามีข่าวเหตุการณ์เรื่องถังแก๊สระเบิด แต่นึกเรื่องราวไม่ออกเลยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 มิ.ย. 21, 18:48
หมวกท็อปแฮท

หมวก top hat เป็นหมวกที่ใช้คู่กับชุดแต่งกายที่เรียกว่า Morning suit หรือ Morning dress หรือ Day dress หรือ Morning (dress) code  จะใช้ใส่เฉพาะเมื่อเวลาอยู่กลางแจ้ง จะถอดออกหรือไม่ใช้เมื่ออยู่ภายในอาคาร  ชุดแต่งกายดังชื่อเรียกต่างๆเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นการแต่งตัวในงานกลางวันสำหรับงานพระราชพิธีและในงานรัฐพิธี แต่ก็มีการนำมาใช้แต่งกันในงานวันสำคัญที่พึงจดจำไว้ในชีวิต โดยเฉพาะในงานแต่งงาน 

เมื่อได้รับบัตรเชิญที่มีการกำหนดการแต่งกายไว้ด้วย ตามชื่อดังกล่าวเหล่านี้ หากเป็นในประเทศไทยเราก็คงจะเป็นเรื่องที่โกลาหลเลยทีเดียว แต่หากได้รับบัตรเชิญในลักษณะนี้เมื่ออยู่ใน ตปท. ก็มีทาออกที่ไม่ยากนัก ก็เพียงติดต่อไปตามโรงละครต่างๆ เข้ามีชุดเหล่านี้สำหรับใช้ในการแสดงและเพื่อการให้เช่า แล้วก็ไม่ต้องอายที่จะต้องเช่าอีกด้วย คนในระดับผู้แทนประเทศทั้งหลายเขาก็เช่ากัน คงไม่มีคนมากนักที่คิดตัดสูทชุดหางแมลงสาบเป็นของตัวเอง ชุดแบบนี้มีทั้งแบบสีเทา สีดำ ใช้ผ้าลายเส้น ใช้เนคไทด์สีและลายเป็นลักษณะเฉพาะ ฯลฯ ใช้ในงานลักษณะต่างๆกัน    เป็นเรื่องที่ไม่แปลกเลยที่จะมีการติดต่อสอบถามกันว่าจะต้องแต่งกันอย่างไร (สีเสื้อ-กางเกง ต้องช้หมกหรือไม่ ฯลฯ) 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มิ.ย. 21, 18:56
 :D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 มิ.ย. 21, 19:08
ต่ออีกนิดนึงครับ

หากเป็นชุด black tie หรือชุดเย็นสำหรับงานเมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้ว การแต่งกายพอจะกล้อมแกล้มได้หลายอย่าง เพียงแต่ขอให้เป็นชุดสีดำ เสื้อเชิร์ตขาว เน็คไทด์สีเข้ม  จะผูกแบบ Bow tie ก็ได้ แต่ก็อาจจะดูแปลกๆต่างไปจากผู้อื่น

คำว่า Black tie ท้ายบัตรเชิญ ค่อนข้างจะบ่งว่า เป็นพิธีรีตรองตามสมควร  แต่หากใช้คำว่า Casual dress อันนี้ค่อนข้างจะเป็นงานแบบสบายๆ แต่ก็ยังหมายถึงการต้องใส่เสื้อนอกอยู่ดี  จะเป็นการเปลื่ยนเน็คไทด์ใ้ห้เป็นลักษณะ informal หรือจะใช้เสื้อ Brasher แทนเสื้อชุดสูทก็ได้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มิ.ย. 21, 11:58
คุณตั้งคงหมายถึงเสื้อ Blazer ใช่ไหมคะ

ภาพที่นำมาลงนี้เป็นสุภาพสตรีที่ได้ชื่อว่าแต่งกายงามที่สุดในสยาม ในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรื่อยมาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2     
ท่านชื่อหม่อมกอบแก้ว อาภากร    เดิมคือนางสาวกอบแก้ว วิเศษกุล  ธิดาของพระยาสุรินทราชา(นกยูง วิเศษกุล) และคุณหญิงเนื่อง    เป็นผู้หญิงที่มีความรู้ดีมากในสมัยนั้น คือได้ไปเรียนที่โรงเรียนคอนแวนต์แห่งพระกุมารเยซู ( Convent of The Holy Infant Jesus)เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย  ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงที่เรียนปีนังในยุคนั้นก็โก้พอๆกับเรียนจบจากอังกฤษในยุคนี้   เพราะคอนแวนต์ที่นั่นดำเนินงานโดยแม่ชีชาวตะวันตก  หลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษ  ตลอดจนฝึกขนบธรรมเนียมแบบอังกฤษล้วนให้นักเรียนหญิง

เมื่อกลับมาสยาม  หม่อมกอบแก้วได้เป็นนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ได่พบกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นครั้งแรกที่วังไกลกังวล ในวันงานพระราชพิธีคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข  ต่อมาได้สมรสกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472  แต่ไม่มีโอรสธิดาด้วยกัน

หม่อมกอบแก้วได้ชื่อว่าเป็นกุลสตรีไทยที่แต่งกายทันสมัยที่สุดในประเทศ  มีความรู้และทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด  เช่น ได้รับเชิญให้หน้าที่ผู้สวมมงกุฎและสายสะพายให้แก่นางสาวไทยแต่ละรุ่น
หม่อมกอบแก้วมีความชำนาญด้านการขี่ม้า จนได้รับพระราชทานยศเป็นทหารม้ายศพันโท  นอกจากนี้ยังทำงานเพื่อสภากาชาดไทยต่อเนื่องยาวนาน ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหารายได้ของสภากาชาดไทย

หม่อมกอบแก้วมีอายุยืนนานจน 100 ปีจึงถึงแก่กรรม เมื่อพ.ศ. 2551


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มิ.ย. 21, 12:02
ยังจำได้ว่าหนังสือพิมพ์หน้าสังคม ลงข่าวหม่อมกอบแก้วเป็นประจำ เพราะท่านออกงานบ่อยมาก   อายุมากแล้วแต่ก็ยังแต่งกายงาม รูปร่างงาม  แต่งหน้าแต่งผมทันสมัย  จนได้สมญาว่า "สาวสองพันปี" 
เคยมีข่าวว่าตอนสาวๆ  เสื้อผ้าของท่านสั่งตรงจากปารีส   คงเป็นเพราะท่านออกงานบ่อยโดยเฉพาะงานเลี้ยงกลางคืน   สมัยโน้นงานกลางคืนมีลีลาศแบบบอลรูมด้วย  หม่อมกอบแก้วลีลาศจังหวะวอลทซ์ได้สวยงาม น่าจะได้เรียนมาจากคอนแวนต์
หม่อมกอบแก้วไม่มีบุตรธิดา แต่ได้อุปถัมภ์เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่เป็นลูก   เจ้ากอแก้วเองก็ถอดแบบหม่อมกอบแก้วมา เรื่องออกงานสังคม     เป็นประธานตัดริบบิ้นเปิดงานต่างๆ เกือบทุกงาน แบบเดียวกัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 07 ก.ค. 21, 09:51
คำถามครับ

อากู๋ บอกว่า ห้างเซ็นทรัลสีลมเปิดบริการเมื่อปี 2511

หลังจากนั้นไม่กี่ปี ที่ห้างก็จัดงานสัปดาห์สินค้านานาชาติขึ้นที่ชั้นลอย

ครอบครัวผมก็ไปเดินกัน  จำได้ว่าตื่นตาตื่นใจเด็กน้อยอย่างผมมาก

มีของจากต่างประเทศหน้าตาแปลก ๆ (ซึ่งในปัจจุบันคงเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไป  แต่นี่เมื่อประมาณ 50 ปีก่อน)

แต่ highlight ของงานอยู่ที่เมืองจำลองนำมาโชว์จากต่างประเทศ บรรยากาศประมาณ เมืองจำลองที่ Madurodam ประเทศ Netherlands แต่เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ

คาด (เมื่อโตแล้ว) ว่าทางห้าง ฯ คงเช่ามาจากที่นี่นั่นแหละ

แต่ที่ผม ในฐานะนักเลงรถเหล็ก ตาถลนคือ  รถจำลองวางอยู่บนถนนมากมาย

รถเหล็กพวกนี้มีวางขายที่แผนกของเล่นด้วย

ผมเดินดูวนแล้ววนอีก  จนผู้ปกครองต้องลากออกไปเดินที่อื่นต่อ

คำถามคือมีใครจำเหตุการณ์นี้ได้บ้างครับ (เพี้ยง... ขอให้มีซักคน)





กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 21, 10:16
จำได้รางๆถึงเมืองจำลองทีนำมาโชว์   เหมือนบ้านตุ๊กตา   แต่มีไม่กี่หลังนะคะ

เซนทรัลแห่งแรกอยู่ที่วังบูรพา   จัดร้านธรรมดาๆมีตู้กระจกเตี้ยๆวางสินค้าอยู่ในชั้นล่างเมื่อเดินเข้าไป  มีแต่ของใช้ผู้ใหญ่  เช่นเสื้อสวมอยู่บนหุ่นครึ่งตัว   ไม่น่าสนใจสำหรับเด็ก
เซนทรัลที่สองคือสีลม  เป็นตึกแถวหลายห้อง สูงหลายชั้น  วางสินค้าชั้นดีราคาค่อนข้างแพง ลูกค้าที่ไปเดินมักจะเป็นคุณนาย แต่งตัวหรู (สมัยนั้นออกนอกบ้านมักจะแต่งตัวทำผมสวย เหมือนจะไปออกงาน   ไม่ใช่เสื้อตัวกางเกงตัวเหมือนเดี๋ยวนี้)
จากนั้นก็เซนทรัลชิดลม   สำหรับนักท่องเที่ยวฝรั่ง เพราะเพลินจิตไปจนสยามสแควร์มีโรงแรมดีๆหลายแห่ง
เคยไฟไหม้มาหนหนึ่ง ต้องปิดปรับปรุง ค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 09 ก.ค. 21, 08:36
จำได้รางๆถึงเมืองจำลองทีนำมาโชว์   เหมือนบ้านตุ๊กตา   แต่มีไม่กี่หลังนะคะ



ใช่ครับ อ. พื้นที่น้อย  จำได้ว่าศูนย์กลางคือสนามบิน  มีเครื่องบินวิ่งวนไปมา  รอบ ๆ ก็เป็นตึกรามบ้านช่อง

มีรถเหล็กวางอยู่ตรงโน้นตรงนี้  แค่นี้ก็ตาถลนแล้วครับ

ดีใจจังที่มีคนจำได้


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 ก.ค. 21, 10:10
[quote author=เทาชมพู link=topic=7204.msg176796#msg176796 date=1625627793

(สมัยนั้นออกนอกบ้านมักจะแต่งตัวทำผมสวย เหมือนจะไปออกงาน   ไม่ใช่เสื้อตัวกางเกงตัวเหมือนเดี๋ยวนี้)

[/quote]สำนวน “เสื้อตัวกางเกงตัว” ไม่ได้ยินนานแล้วนะครับ อาจารย์เอามาใช้นี่เห็นภาพชัดเลย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.ค. 21, 10:28
สำนวนคนเก่าคนแก่  เข้ากับกระทู้เลยค่ะ
คุณ Jalito เข้าไปจองที่นั่งในกระทู้พระยาอนุชิตชาญชัยหรือยังคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 ก.ค. 21, 11:37
ไปจองที่เดี๋ยวนี้ละครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 10 ก.ค. 21, 18:32
สมัยนั้นออกนอกบ้านมักจะแต่งตัวทำผมสวย เหมือนจะไปออกงาน   ไม่ใช่เสื้อตัวกางเกงตัวเหมือนเดี๋ยวนี้

ขอสอบถามหน่อยค่ะว่าหมายถึงการแต่งกายที่ท่อนล่างท่อนบนไปคนละทิศคนละทาง คนละสี คนละลาย หรือหมายถึงคนในสมัยนั้นนิยมใส่ชุดเดรชหรือชุดที่สีเดียวกัน ลายเดียวกันทั้งสองชิ้นคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ค. 21, 09:28
เสื้อตัวกางเกงตัว หมายถึงการแต่งกายแบบง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน  หยิบอะไรขึ้นมาใส่ก็ได้ พอให้ครบท่อนบนท่อนล่างก็พอ  ไม่ต้องดูว่าเข้ากันหรือไม่
หนุ่มสาวยุค 50 ปีก่อนแต่งกายออกนอกบ้านตามแฟชั่นมากกว่าสมัยนี้    จำได้ว่าเมื่อแพนท์สูทเป็นที่นิยม  ก็มีคุณแม่ยังสาวสวมแพนท์สูท  แต่งหน้าทำผมเรียบร้อย ไปเดินจ่ายของอยู่ที่เซนทรัลสีลม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 13 ก.ค. 21, 08:37
สงสัยใคร่รู้ว่า 

ในยุคโบราณ (ประมาณ ร.6 - ร.7)

การพูดภาษาไทยของคนไทยส่วนใหญ่ (ที่ได้รับการศึกษา) เช่น การออกเสียง ร. เรือ - ล.ลิง / คำควบกล้ำ ฯลฯ

ชัดเจนและมีจำนวนมากกว่าคนไทยในยุคปัจจุบันรึเปล่า

หรือว่าเละเทะเหมือนสมัยปัจจุบันครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 13 ก.ค. 21, 09:08
ขอบพระคุณสำหรับคำถามครับ แนะนำให้คุณหน่งลองไปฟังบันทึกเสียงคนผู้คนที่เกิดในสมัยที่ว่าดูแล้วกันนะครับ

https://youtu.be/ai1pqsPpTlY

https://youtu.be/LB9QAT-QNes

https://youtu.be/BORe1xqIqMc



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 13 ก.ค. 21, 09:23
ส่วนตัวนั้นผมคิดว่า คนไทยในสมัยร6-ร7นั้นออกเสียง ร-เรือ ล-ลิง ได้ชัดเจนกว่าคนไทยในปัจจุบันครับ สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความเข้มงวดในการสอนภาษาไทยในยุคก่อน ซึ่งเน้นเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้อง รวมถึงการพูดจาให้ไพเราะ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มหาได้อยากในคนรุ่นใหม่ในยุคนี้เสียแล้ว
เห็นได้จากการใช้ภาษาวิบัติทีมากขึ้นเป็นต้น จำได้ว่าสมัยผมยังเด็กนั้น เวลาเข้าเรียน คุณครูจะมีความเข้มงวดเรื่องเสียง ร-เรือ ร-ลิงมาก ใครพูดผิดก็เห็นทีจะมีสิทธิ์โดนดุเป็นแน่แท้ อาจจะเป็นเพราะความกลัวนี้เอง ทำให้ผมติดนิสัยเรื่องการออกเสียง ร-เรือมาจนถึงปัจจุบันครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 21, 10:24
ตอนดิฉันอยู่ชั้นประถม ก็ถูกสอนให้ออกเสียง ร  ล  ต่างกันอย่างเข้มงวด  เช่นเดียวกับ R และ L  ในภาษาอังกฤษ   อย่างหลังนี้จะใช้ปะปนกันไม่ได้เลย ความหมายผิดไปคนละทิศละทาง เช่น rice=ข้าว  lice =เหา
read = อ่าน  lead=นำ   
ภาษาไทย ร กับ ล ใช้ในความหมายต่างกัน เห็นได้ชัด เช่น รา - ลา   รอย-ลอย   รบ-ลบ   รัก-ลัก รอก-ลอก
เมื่อแยกการออกเสียงได้  เราก็จะเขียนคำเหล่านี้ได้ไม่ผิด

แต่ในระยะสัก 40 ปีมานี้ การออกเสียง ร ล  เริ่มกลืนเข้าหากัน โดยเฉพาะในกรุงเทพ   จน ร  เริ่มหายไป กลายเป็น ล  กันหมด


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 21, 20:26
การออกเสียงอีกอย่างหนึ่งที่หายไปจากลิ้นคนไทยจำนวนมากคือการออกเสียงคำควบกล้ำ ตัว ร และ ล  เช่นเกลียด  กลายเป็น เกียด 
คนรุ่นปัจจุบันจำนวนมากสะกดคำว่า เกลียด  เป็น  เกียจ  คงนึกว่ามาจากคำว่า รังเกียจ
กลาย  สะกดว่า กาย     กลับ  เป็น กับ 
เขากายเป็นคนไม่ดี     นัดกัน แต่เธอกับไม่ไป 
แสดงว่าเวลาออกเสียง ไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย    จึงสะกดไปตามที่ตัวเองพูดเพราะได้ยินมาแบบนั้น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 13 ก.ค. 21, 21:58
อีก๒คำ ที่สะดุดหู บ่อยมากทางสื่อทีวี พิธีกร ผู้รายงานข่าว
 เคียด จาก เครียด
 อังกิด จาก อังกฤษ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 14 ก.ค. 21, 09:47
ส่วนตัวนั้นผมคิดว่า คนไทยในสมัยร6-ร7นั้นออกเสียง ร-เรือ ล-ลิง ได้ชัดเจนกว่าคนไทยในปัจจุบันครับ สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความเข้มงวดในการสอนภาษาไทยในยุคก่อน ซึ่งเน้นเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้อง รวมถึงการพูดจาให้ไพเราะ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มหาได้อยากในคนรุ่นใหม่ในยุคนี้เสียแล้ว
เห็นได้จากการใช้ภาษาวิบัติทีมากขึ้นเป็นต้น จำได้ว่าสมัยผมยังเด็กนั้น เวลาเข้าเรียน คุณครูจะมีความเข้มงวดเรื่องเสียง ร-เรือ ร-ลิงมาก ใครพูดผิดก็เห็นทีจะมีสิทธิ์โดนดุเป็นแน่แท้ อาจจะเป็นเพราะความกลัวนี้เอง ทำให้ผมติดนิสัยเรื่องการออกเสียง ร-เรือมาจนถึงปัจจุบันครับ


อ่านแล้วนึกถึงตัวเอง  ก่อนหน้านี้ภาษาไทยของผมเละเทะมาก  โดยเฉพาะการออกเสียง  
วันหนึ่งก็ได้เจอ ดร.ถนอมวงศ์ ฯ ตำแหน่งขณะที่เจอคือ นายกสมาคมการเขียนการอ่านแห่งประเทศไทย  เจอแล้วก็ถูกชะตากัน
เธอก็เอาลิ้นผมมาทุบเสียน่วม  โดนให้ฝึกออกเสียง 'ร.เรือรุ่งริ่ง'
บัดนี้  ลิ้นผมพริ้วมากเมื่อมาถึง ร. เรือ กับ คำควบกล้ำ
เวลาได้คุยกัน  เธอจะชมว่า 'เออ... ค่อยได้ชื่อว่าเป็นคนไทยแท้หน่อย'

เมื่อฝึกการออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้องแล้ว  สิ่งที่สังเกตได้เมื่อ 'ออกสนาม' คือ
โดนล้อบ่อยมาก (จนถึงบัดนี้)  กลับกลายเป็นว่า  การอ่านออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องกระแดะไป

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือ  คนต่างชาติ (ฝรั่ง) ที่เรียนภาษาไทย  อ่านออกเสียงคำเหล่านี้ได้อย่างน่าชื่นชม
(แต่เราคนไทยกลับออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกเอาเลย  ทั้ง ๆ ที่เรามี 'วรรณยุกต์' ที่ช่วยให้สามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้มากกว่าภาษาอื่น)

และที่รู้สึกอายแทนคนไทย 'ทั่วไป' คือ  ที่หมู่บ้านมีคนงานชาวเขมร  ทุกคนพูดคำเหล่านี้ได้ชัดเจนมากทั้ง ๆ ที่ไม่มีการศึกษาเลย
เคยถามว่าไปเรียนมาจากไหน  พวกเธอ ๆ บอกว่า  ดูข่าว (ไทย)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 14 ก.ค. 21, 09:54
อีก๒คำ ที่สะดุดหู บ่อยมากทางสื่อทีวี พิธีกร ผู้รายงานข่าว
 เคียด จาก เครียด
 อังกิด จาก อังกฤษ

บางคำก็ย่อสั้นลงเสียจนอดคิดไม่ได้ว่า  'จะรีบพูดไปไหนวะ'

เช่น หนึ่งร้อยยี่สิบบาท  ก็ย่อเหลือแค่  ร้อยยี่

คำออกเสียงว่า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า นี่ก็นับว่าย่อแล้ว  ต่อมาก็ยังย่ออีกเป็น  สะพานปิ่นเกล้า  ในที่สุดก็เหลือแค่  สะพานพระปิ่น  อีกไม่นานคงเหลือ  สะพานปื่น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 14 ก.ค. 21, 10:02
'One thing leads to another'

เรื่องการเขียนที่เห็นทีไรหงุดหงิดใจมากคือ

'ขอบคุณ ..คะ..'

กับ

'ขอโทษนะ ..ค่ะ..'

แล้วก็อยากถามผู้รู้ว่าสมัยนี้ตามโรงเรียนยังมีวิชา อ่านไทย/เขียนไทย อยู่รึเปล่าครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 21, 10:14
ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่เห็นได้ชัดอีกอย่าง คือชื่อเล่นของเด็ก
ยุคคุณทวด   ตั้งชื่อเล่นให้ลูกตามเรียงลำดับพี่น้อง คนโตชื่อใหญ่ ต่อมาก็กลาง  คนเล็กชื่อเล็กหรือน้อย
เด็กคนไหนจ้ำม่ำตอนเกิดก็ชื่ออ้วน  ป้อม  ปุ้ย   ออกมาตัวแดง ชื่อแดง  ตัวขาว ชื่อเผือก  ตัวเล็กชื่อจ้อย หรือเปี๊ยก
ต่อมายุคคุณปู่คุณย่า ชื่อมักจะสั้นๆ ไม่ได้เน้นความหมาย  เช่นอู๊ด  อ๊อด  ตุ๋ม   แต๋ว  หรือถ้ามีความหมายก็เป็นชื่อสัตว์ที่รู้จักกันดีเช่นเจี๊ยบ ไก่  หมู
ต่อมา นิยมเอาชื่อฝรั่งมาตั้ง  เช่นโอ๊ค  แอน   ออย  เจน  

ปัจจุบัน  เด็กไทยเกือบทุกคนมีชื่อเป็นสามานยนาม (common noun) ภาษาอังกฤษ  เช่น  กอล์ฟ กีต้าร์ คุกกี้  ไอซ์ ครีม แคนดี้ เบิร์ด    พัตเตอร์ ซัมเมอร์ ไทเกอร์  เด็กฝรั่งไม่มีชื่อเหล่านี้
ยังไม่เจอว่าพ่อแม่คนไหนตั้งชื่อลูกที่เกิดในปี 2564 ว่า ต๋อย จี๊ด  แอ๊ด ติ๋ม  แอ๋ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 21, 10:15
'One thing leads to another'

เรื่องการเขียนที่เห็นทีไรหงุดหงิดใจมากคือ

'ขอบคุณ ..คะ..'

กับ

'ขอโทษนะ ..ค่ะ..'

แล้วก็อยากถามผู้รู้ว่าสมัยนี้ตามโรงเรียนยังมีวิชา อ่านไทย/เขียนไทย อยู่รึเปล่าครับ

บางทีก็เห็นครูเขียนผิดเองคะ  คุณโหน่ง    จริงๆนะค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 21, 11:29
แม่ปูกับลูกปู  ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 14 ก.ค. 21, 12:44

ความเข้าใจคนสมัยใหม่ เขียน "ค่ะ"  เป็นเสียงใกล้เคียงกับ
ภาษาเดิม  มากกว่า  "คะ"

"นะคะ"  ออกเสียง  "หนะขะ"


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 15 ก.ค. 21, 09:19
'One thing leads to another'

เรื่องการเขียนที่เห็นทีไรหงุดหงิดใจมากคือ

'ขอบคุณ ..คะ..'

กับ

'ขอโทษนะ ..ค่ะ..'

แล้วก็อยากถามผู้รู้ว่าสมัยนี้ตามโรงเรียนยังมีวิชา อ่านไทย/เขียนไทย อยู่รึเปล่าครับ

บางทีก็เห็นครูเขียนผิดเองคะ  คุณโหน่ง    จริงๆนะค่ะ

(http://image.free.in.th/v/2013/iq/210715024641.jpg) (http://picture.in.th/id/4b4ffbea0054587656f8f76572d5d24a)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 21, 09:26
คำว่า จ้ะ กับ จ๊ะ  ยุคนี้ใช้ได้ยากพอๆกับ คะ  และ นะค่ะ
เรมักจะเจอจริงจ๊ะ   ขอบใจจ๊ะ  นะจ้ะ  ใช่ไหมจ้ะ  กันตามหน้าจออยู่บ่อยๆ   


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 15 ก.ค. 21, 10:04

ต่อมา นิยมเอาชื่อฝรั่งมาตั้ง  เช่นโอ๊ค  แอน   ออย  เจน  

ปัจจุบัน  เด็กไทยเกือบทุกคนมีชื่อเป็นสามานยนาม (common noun) ภาษาอังกฤษ  เช่น  กอล์ฟ กีต้าร์ คุกกี้  ไอซ์ ครีม แคนดี้ เบิร์ด    พัตเตอร์ ซัมเมอร์ ไทเกอร์  เด็กฝรั่งไม่มีชื่อเหล่านี้
ยังไม่เจอว่าพ่อแม่คนไหนตั้งชื่อลูกที่เกิดในปี 2564 ว่า ต๋อย จี๊ด  แอ๊ด ติ๋ม  แอ๋ว

เห็นด้วยครับ อ.  การตั้งชื่อที่ว่านี้เพื่อนฝรั่งทึ่งมาก  บอกไม่เคยคิดแบบนี้มาก่อนเลย

เด็กทุกคนในซอยบ้าน  ล้วนเป็นลูกฝรั่ง (แต่พันธ์ุทางคือพ่อแม่ไทยบ้านนอก) ทั้งนั้น

มีเช่น น้อง (ใครพอเดาได้ว่า ประเพณีเรียก ลูก ว่า น้อง นี่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร) บอน (Ball)  น้อง อันฟ่า (Alpha)  น้อง อาลิด (Alice)  น้อง นิวตอน (Neutron)  น้อง นิวเคียด (Nucleus)  น้อง พีด (Peach)  รวมถึง น้อง พอย (พลอย)

แล้วก็นึกถึงเรื่องตลกที่จะขอเล่า


วันหนึ่งได้เผอิญไปอยู่กลุ่ม  เค้ากำลังคุย (นินทา) กันถึงหนุ่มนายหนึ่ง  เรียกกันว่า ไอ้เว็ด

ฟังมาถึงตรงนี้ก็เลิกสนใจเรื่องราวกลับไปสนใจชื่อนายคนนี้

สมองทำงานหนักพยายามวิเคราะห์หาความจริงว่า  ชื่อเรียกจริง ๆ ของเธอคืออะไร

จะว่าเป็นชื่อไทยก็ไม่น่าใช่  ใครจะบ้าตั้งชื่อลูกว่า เว็ด (เว็จฯ) ที่แปลว่า ส้วม

หรือว่าเป็นชื่อพื้นเมืองเพราะ นายเว็ด คนนี้เป็นคนลำปาง

หรือจะเป็นชื่อภาษาอังกฤษตามความนิยมของคนไทย  ก็หาคำพ้องเสียงได้ 2-3 คำ 'wet', 'vet', 'wed' ฯลฯ  
ซึ่งก็มองไม่เห็นความน่าจะเอามาตั้งชื่อลูก

สรุปแล้วหาคำตอบไม่ได้

ต่อมาอีกไม่นานได้เผอิญเจอเจ้าตัว  ก็ยิงคำถามทันทีว่า  ชื่อเธอว่า เว็ด น่ะ  มีที่มามาจากไหน
เป็นคำภาษาเหนือเหรอ

หนุ่มเจ้าของชื่อฟังแล้วก็เฉลยเสียงดังฟังชัดว่า 'เปล่าพี่  ก็มาจาก เว็ดป้า ไง  เว็ดป้า บื้น ๆ น่ะ'

จบ...





กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 21, 10:43
;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 21, 10:48
ตั้งชื่อลูกจากอีกภาษาหนึ่ง ก็ควรจะรอบคอบ เช็คความหมายในภาษาต่างแดนนั้นด้วยว่ามันเหมาะสมกับชื่อลูกเราหรือไม่
อย่างชื่อ นัท  ที่พ่อแม่ไทยตั้งให้ลูกที่มีชื่อจริงว่า ณัฐ- อะไรสักอย่าง    ในสำนวนอเมริกัน  nuts  แปลว่า บ้า
Are you nuts?  คือ  แกบ้ารึเปล่า (อาจจะต่อด้วยว่า..ถึงทำยังงี้ได้ลงคอ)
อีกชื่อคือ porn   สะกดด้วยภาษาไทยแล้วเพราะพริ้ง ไม่ว่า พร หรือ ภรณ์  ก็ออกมาดีงาม   แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก  pornography   แปลว่าหนัง คลิป หรือหนังสืออะไรที่มีภาพลามกอนาจาร


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 21, 12:02
อย่างชื่อ นัท  ที่พ่อแม่ไทยตั้งให้ลูกที่มีชื่อจริงว่า ณัฐ- อะไรสักอย่าง    ในสำนวนอเมริกัน  nuts  แปลว่า บ้า

คำนี้ในภาษาไทยจะเขียนอย่างไรก็เขียนเถิด แต่อย่าเขียนว่า "นัฐ"


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 21, 12:12
ในภาษาไทย  เสียงที่ลงท้ายคำ มี 8 เสียง คือ ง น ม ย ว และ ก ด บ  เราเรียกว่าคำเป็นกับคำตาย
แต่ฝรั่งมีมากกว่านี้ เสียงภาษาอังกฤษ มี L  X  S  Z  ที่คนไทยไม่มี
น้องแอล  จึงกลายเป็น น้องแอว  น้องเอล  ก็ น้องเอว
น้องฟิลด์   ก็เป็น น้องฟิว
น้องเอ็กซ์   เป็น น้องเอ๊ก
น้องโปลิศ  เป็น น้องโปลิด 
น้องบอล  ก็กลายเป็น น้องบอน  (อย่างที่คุณโหน่งยกมา)
 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 16 ก.ค. 21, 08:42
ตั้งชื่อลูกจากอีกภาษาหนึ่ง ก็ควรจะรอบคอบ เช็คความหมายในภาษาต่างแดนนั้นด้วยว่ามันเหมาะสมกับชื่อลูกเราหรือไม่
อย่างชื่อ นัท  ที่พ่อแม่ไทยตั้งให้ลูกที่มีชื่อจริงว่า ณัฐ- อะไรสักอย่าง    ในสำนวนอเมริกัน  nuts  แปลว่า บ้า
Are you nuts?  คือ  แกบ้ารึเปล่า (อาจจะต่อด้วยว่า..ถึงทำยังงี้ได้ลงคอ)
อีกชื่อคือ porn   สะกดด้วยภาษาไทยแล้วเพราะพริ้ง ไม่ว่า พร หรือ ภรณ์  ก็ออกมาดีงาม   แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก  pornography   แปลว่าหนัง คลิป หรือหนังสืออะไรที่มีภาพลามกอนาจาร

ขอเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก 1 เรื่องครับ

กาลครั้งหนึ่ง  เหตุเกิดที่ประเทศอเมริกา  วันนั้นกำลังทำธุรกรรมบางอย่างโดยต้องเผยชื่อและนามสกุล

โหน่งเขียนนามสกุลในฉบับภาษาอังกฤษว่า Nutsatit

เจ้าหน้าที่สาวอ่านแล้วหัวเราะคิกคัก  แล้วถามว่า  นามสกุลเธอเขียนอย่างนี้เหรอ

โหน่งบอกว่า  นามสกุลฉันเป็นภาษาไทย  สามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษให้อ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงได้หลากหลายรูปแบบ  แต่ฉันเลือกแบบนี้

.....ตอนนั้นก็เข้าใจอยู่ว่าเธอขำอะไร อย่างที่ อ. บอก... 'nuts' แปลว่า 'บ้า' ส่วน 'tit' แปลในฐานะของคำแสลงว่า 'หัวนม'.....

อธิบายแบบนี้  เธอก็ยังรื่นเริงต่อไป

โหน่งเหลือบไปเห็นป้ายชื่อของเธอก็เลยเอ่ยว่า

ในบ้านเมืองของเธอ  ชื่อเธออ่านว่า ซูซาน (Susan) ใช่มั้ย
ถ้าเธอมาเที่ยวบ้านเมืองฉัน  เผ่าพันธุ์ฉันเค้าจะเรียกเธอว่า 'สุสาน' ซึ่งแปลว่า สถานที่เก็บศพ อ้ะ

เธอก็เลยร่าเริงน้อยลงหน่อย

ไปเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนฝรั่งฟัง เธอหัวเสียใหญ่บอกว่า มันเป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรม (Cultural conflict) ไม่ควรเห็นเป็นเรื่องตลก



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 16 ก.ค. 21, 19:03
ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เหตุการณ์อย่างนี้ในประเทศไหนก็เกิดขึ้นได้ครับ เคยมีคนบอกผมมาว่า ฟรั่งตะวันตกค่อนข้างจะอ่อนไหวกับคำว่า porn
ยิ่งมีไหนชื่อคนไทยก็จะสามารถกลายเป็นจุดล้อเลียนได้ง่าย แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับเชื้่อเช่นกันครับ ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 22 ก.ค. 21, 10:03
รูปนี้  หารายละเอียดได้มั้ยครับ

(http://image.free.in.th/v/2013/ib/210722033006.jpg) (http://picture.in.th/id/afc131e300612636a4fa04de353879b9)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 22 ก.ค. 21, 20:53
รูปนี้เป็นรูปศาลาพลับพลา ซึ่งถูกปลูกไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าครับ รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890
โดยนาย G.R Lambert ครับ โตมาได้ถูกตีพิมพ์และประมูลลงเป็นรูปโปสการ์ดที่ประเทศออสเตรเลีย

อ้างอิง: https://www.joseflebovicgallery.com/pages/books/CL173-139/pavilion-for-the-king-of-siam-with-attendants-thailand


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ค. 21, 21:28
รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890(๑)โดยนาย G.R Lambert(๒) ครับ

(๑) ในลิงก์เขียนว่า c1890s อักษร c ในที่นี้มาจากภาษาละตินว่า circa แปลว่า ประมาณ หรือ ราว ๆ  c1890s จึงหมายความว่า ราว ๆ ค.ศ. ๑๘๙๐ (ไม่สามารถระบุปีที่แน่นอน)

(๒) คุณพิพัฒน์อธิบายเกี่ยวกับ G.R Lambert ไว้ในกระทู้ สาวน้อยใจถึง (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.msg50286#msg50286) ว่า "แลมเบิร์ตผู้นี้ คนที่เล่นรูปเก่าเป็นต้องรู้จัก และจะระวัง เมื่อต้องอ้างชื่อนี้ เพราะเขาไม่ใช่คนครับ เขาเป็นบริษัท มีที่ทำการพร้อมกันทั้งที่ปัตตาเวีย สิงคโปร์ และบางกอก"

G.R. Lambert and Co. were photographers for the King of Siam and the Sultan of Johore. They had branches in Kuala Lumpur, Sumatra, Singapore and Bangkok. They photographed the Federal Conferences in 1896 and 1903 and became the largest photographic business in the Malay Peninsula.

จาก britishmuseum.org (https://www.britishmuseum.org/collection/term/BIOG177123)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 23 ก.ค. 21, 06:15
ต้องขอขอบคุณคุณเพ็ญชมพูสำหรับคำชีแจงด้วยนะครับ ผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในสาขาภาพถ่ายเก่านี้เท่าไหร่ ถ้าหากได้ผิดพลาดไปในประการได ก็ของขออภัยด้วยนะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด G.R Lambert นี้ดูเมือนจะเป็นสตูดิโอถ่ายภาพขนาดใหญ่ที่เดียวในละเวกเอเชียตะวันออกเชียงใต้ในสมัยก่อน ซึ่งตัวกระผมเองก็ไม่ทราบว่าเขามีระบบการทำงานกันอย่างไร แต่เท่าที่ได้ไปสืบค้นข้อมูลมา รู้สึกว่าตัวนาย G.R Lambert เองนั้น มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์มีโดยได้ทำน่าที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารของกลุ่มสตูดิโอดั่งกล่าว และยังเป็นนักถ่ายภาพที่มีความสามารถในตัวอีกด้วย จึงต้องขออนุญาตถกท่านอาจารย์เพญชมพูในจุดนี้ด้วยนะครับ แต่กระผมก็ต้องเห็นด้วยว่าสตูดิโอในระดับนี้นั้น ต้องมีการจ้างนักถ่ายภาพอีกเป็นหล่าบสิบคน (ในแหล่งอ้างอิงของผมนั้นได้ระบุว่ามีนักถ่ยภาพในเฟิมถึงสี่ลิบคน) ซึ่งแน่นอนว่าภาพแต่ล่ภาพนั้น มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า ไม่ไช่ของนาย Lambert ถ่ายเอง ซึ่งจุดนี้กระผมก็ต้องเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ก.ค. 21, 09:40
รูปนี้เป็นรูปศาลาพลับพลา ซึ่งถูกปลูกไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าครับ รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890
โดยนาย G.R Lambert ครับ โตมาได้ถูกตีพิมพ์และประมูลลงเป็นรูปโปสการ์ดที่ประเทศออสเตรเลีย

อ้างอิง: https://www.joseflebovicgallery.com/pages/books/CL173-139/pavilion-for-the-king-of-siam-with-attendants-thailand

ได้คำตอบไปฝอยให้ฝรั่งอ่านแล้ว

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 23 ก.ค. 21, 10:00
รูปนี้เป็นรูปศาลาพลับพลา ซึ่งถูกปลูกไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าครับ รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890
โดยนาย G.R Lambert ครับ โตมาได้ถูกตีพิมพ์และประมูลลงเป็นรูปโปสการ์ดที่ประเทศออสเตรเลีย

อ้างอิง: https://www.joseflebovicgallery.com/pages/books/CL173-139/pavilion-for-the-king-of-siam-with-attendants-thailand

ได้คำตอบไปฝอยให้ฝรั่งอ่านแล้ว

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านครับ



ไม่เป็นไรครับ :D ต่อไปถ้าหากคุณหน่งมีความประสงค์อยากจะหาเบาะแสหรือที่มาของรูปภาพอะไรก็แล้วแต่ ต้องขอแนะนำให้คุณหน่งใช้วิธี Reverse image search ในกูเกิลนะครับ ถ้าหากคุณหน่งกดค้างไปที่รูปแล้วละก็ จะปรากฏตัวเลือก search google for this image ขึ้นมานะครับ ซึ่งถ้าหากคุณหน่งกดใช้ลงไปแล้วล่ะก็ มันจะทำการค้นหาบทความที่หรือที่มาของรูปภาพนั้นให้น่ะครับ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการค้นหาที่มาของรูปภาพในประวัติศาสตร์เหมือนกัน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ค. 21, 10:10
รูปนี้เป็นรูปศาลาพลับพลา ซึ่งถูกปลูกไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าครับ รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890

(http://image.free.in.th/v/2013/ib/210722033006.jpg)

สถานที่นี้อาจเป็นวัดไทยในดินแดนในปกครองของอังกฤษบนแหลมมลายู ป้าย GOD SAVE THE KING OF SIAM น่าจะเป็นป้ายที่ทางการอังกฤษจัดทำขึ้นเพื่อต้อนรับรัชกาลที่ ๕ คราเสด็จประพาส ใน ค.ศ. ๑๘๙๐ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

มีชื่อวัดไทยที่ปีนังอยู่ ๓ วัด ใน จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) ฯ  (http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:126188) หน้า ๓๔


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 23 ก.ค. 21, 10:51
เป็นไปได้ครับ ว่าแต่เหตุไดแหล่งข้อมูลเดิมถึงระบุว่าถ่ายในประเทศไทยล่ะครับ แต่ลองคิดดูอีกทีก็ไม่น่าจะมีวัดในประเทศไทยที่ไหนในสมัยนั้นติดแบนเนอร์ภาษาอังกฤษใหญ่โตเช่นี้เหมือนกัน รึว่าแม้แต่แหล่งข้อมูลก็สับสนคลาดเคลื่อนเหมือนกัน?


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 24 ก.ค. 21, 08:59
รูปนี้เป็นรูปศาลาพลับพลา ซึ่งถูกปลูกไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าครับ รูปนี้ถูกถ่ายที่ประเทศไทยในปี ค.ศ1890
โดยนาย G.R Lambert ครับ โตมาได้ถูกตีพิมพ์และประมูลลงเป็นรูปโปสการ์ดที่ประเทศออสเตรเลีย

อ้างอิง: https://www.joseflebovicgallery.com/pages/books/CL173-139/pavilion-for-the-king-of-siam-with-attendants-thailand

ได้คำตอบไปฝอยให้ฝรั่งอ่านแล้ว

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านครับ



ไม่เป็นไรครับ :D ต่อไปถ้าหากคุณหน่งมีความประสงค์อยากจะหาเบาะแสหรือที่มาของรูปภาพอะไรก็แล้วแต่ ต้องขอแนะนำให้คุณหน่งใช้วิธี Reverse image search ในกูเกิลนะครับ ถ้าหากคุณหน่งกดค้างไปที่รูปแล้วละก็ จะปรากฏตัวเลือก search google for this image ขึ้นมานะครับ ซึ่งถ้าหากคุณหน่งกดใช้ลงไปแล้วล่ะก็ มันจะทำการค้นหาบทความที่หรือที่มาของรูปภาพนั้นให้น่ะครับ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการค้นหาที่มาของรูปภาพในประวัติศาสตร์เหมือนกัน

ขอบคุณในคำแนะนำครับ  ลองแล้ว  ไม่เกิดผลดั่งที่ว่า  ไม่รู้ว่าผมใช้ browser ของ Firefox รึเปล่า

อย่างก็ตาม  บังเอิญไปได้ข้อมูลว่า  ถ้าใส่คำว่า images ลงที่ www.***.google.com  เค้าก็สามารถหาข้อมูลของรูปให้ได้  ไม่รู้ว่าเหมือนกันรึเปล่า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 24 ก.ค. 21, 12:18
ต้องขออภัยด้วยจริงๆครับคุณหน่ง รู้สึกเหมือนว่าฟังชั่นที่ว่านี่มันจะใช้ได้ผลกับเบราว์เซอร์ Google Chrome แต่นั้นน่ะครับ ยังไงถ้าคุณหนึ่งมีรูปอะไรที่อยากจะค้นอีน เชิญนำมาโพสต์ได้ที่นี้เลยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 26 ก.ค. 21, 08:26
ต้องขออภัยด้วยจริงๆครับคุณหน่ง รู้สึกเหมือนว่าฟังชั่นที่ว่านี่มันจะใช้ได้ผลกับเบราว์เซอร์ Google Chrome แต่นั้นน่ะครับ ยังไงถ้าคุณหนึ่งมีรูปอะไรที่อยากจะค้นอีน เชิญนำมาโพสต์ได้ที่นี้เลยครับ

ขอบคุณครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 21, 11:44
เห็นมีดพับนากของคุณยายคุณโหน่งแล้วนึกถึงเครื่องประดับโบราณขึ้นมาได้  เดี๋ยวนี้ไม่เห็นใครใช้กันแล้ว
คือ เข็มขัดนาก 
ในยุคก่อนมีกางเกงสแล็คและกระโปรง   ผู้หญิงไทยนุ่งผ้าถุงอยู่บ้านและออกไปนอกบ้าน  คำว่า "ผ้าถุง" คือเอามาผ้านุ่งมาเย็บชายสองข้างติดกัน  จนผ้าผืนยาวๆกลายเป็นทรงกลม เหมือนรูปถุงที่ไม่มีก้น   เวลานุ่งก็ทบชายให้กระชับกับรูปร่างแล้วคาดเข็มขัดทับ กันหลุด  เพราะไม่มีซิป ไม่มีตะขอเป็นตัวช่วย
เข็มขัดของสาวๆในสมัยนั้นมี 2  ชนิดคือเข็มขัดทอง กับเข็มขัดนาก   ส่วนเข็มขัดเงินไม่เป็นที่นิยม 

เข็มขัดทองใช้สำหรับคุณนายและลูกสาว ในบ้านเศรษฐี  เพราะเข็มขัดหนึ่งเส้นต้องใช้ทองจำนวนมาก  หนักประมาณ 20 บาทขึ้นไป   คนมีเงินเท่านั้นถึงจะซื้อมาได้
ส่วนเข็มขัดนากใช้กันทั่วไป สำหรับคนฐานะปานกลางจนถึงค่อนข้างดี   

นากสมัยนั้นสีอ่อนกว่านากยุคปัจจุบัน  ดูเผินๆนึกว่าทอง  ช่างทำลายได้สวยมากไม่แพ้เข็มขัดทอง

แต่เวลาผ่านไป  สาวๆเลิกนุ่งผ้าถุงกันแล้ว  มานุ่งกระโปรงและกางเกงหลากหลายแบบ   เข็มขัดทองและนากก็หมดความจำเป็น กลายเป็นวัตถุโบราณ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 27 ก.ค. 21, 08:36
ขอถามตรงนี้ว่า

อยากรู้ว่าใครยังครอบครองหนังสือนิทานกริมม์  ฉบับแปลของ อาษา ขอจิตต์เมตต์ อยู่บ้างครับ

สมัยเด็ก ๆ มีครบชุด  พิมพ์ครั้งที่ 1 (2505)  แต่ความเป็นเด็กไม่รักษาของ  บรรลัยไปหมด

อยากหาซื้อมาเก็บไว้จัง  แต่ไม่มีใครขายเลย

(http://image.free.in.th/v/2013/iu/210727020334.jpg) (http://picture.in.th/id/eddcef9843bc7deeab58928121ed1bd5)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 ก.ค. 21, 10:44
รู้สึกเหมือนว่ายังพอมีขายอยู่นะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 27 ก.ค. 21, 12:12
เห็นมีดพับนากของคุณยายคุณโหน่งแล้วนึกถึงเครื่องประดับโบราณขึ้นมาได้  เดี๋ยวนี้ไม่เห็นใครใช้กันแล้ว
คือ เข็มขัดนาก 
ในยุคก่อนมีกางเกงสแล็คและกระโปรง   ผู้หญิงไทยนุ่งผ้าถุงอยู่บ้านและออกไปนอกบ้าน  คำว่า "ผ้าถุง" คือเอามาผ้านุ่งมาเย็บชายสองข้างติดกัน  จนผ้าผืนยาวๆกลายเป็นทรงกลม เหมือนรูปถุงที่ไม่มีก้น   เวลานุ่งก็ทบชายให้กระชับกับรูปร่างแล้วคาดเข็มขัดทับ กันหลุด  เพราะไม่มีซิป ไม่มีตะขอเป็นตัวช่วย
เข็มขัดของสาวๆในสมัยนั้นมี 2  ชนิดคือเข็มขัดทอง กับเข็มขัดนาก   ส่วนเข็มขัดเงินไม่เป็นที่นิยม 

เข็มขัดทองใช้สำหรับคุณนายและลูกสาว ในบ้านเศรษฐี  เพราะเข็มขัดหนึ่งเส้นต้องใช้ทองจำนวนมาก  หนักประมาณ 20 บาทขึ้นไป   คนมีเงินเท่านั้นถึงจะซื้อมาได้
ส่วนเข็มขัดนากใช้กันทั่วไป สำหรับคนฐานะปานกลางจนถึงค่อนข้างดี   

นากสมัยนั้นสีอ่อนกว่านากยุคปัจจุบัน  ดูเผินๆนึกว่าทอง  ช่างทำลายได้สวยมากไม่แพ้เข็มขัดทอง

แต่เวลาผ่านไป  สาวๆเลิกนุ่งผ้าถุงกันแล้ว  มานุ่งกระโปรงและกางเกงหลากหลายแบบ   เข็มขัดทองและนากก็หมดความจำเป็น กลายเป็นวัตถุโบราณ

อันที่จริงเข็มขัดนาก ในปัจจุบันก็ยังพอเห็นได้ ไม่ได้เป็นของโบราณนัก เพียงแต่ไม่นิยมใส่กัน กลายเป็นของสะสมมากว่า
ในอดีต สมัยคุณแม่ยังสาว คุณพ่อใช้ของหมั้นคุณแม่ในงานแต่งงาน  ซื้อจากร้านทองมีตราร้าน และ ตอกเลข 40 %  ราคาก็คิดตามน้ำหนักทอง 40 %
แต่ปัจจุบันราคาทองแพงมาก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ค. 21, 17:32
รู้สึกเหมือนว่ายังพอมีขายอยู่นะครับ
ขออภัยคุณภศุสรร  เว็บเรือนไทยไม่ลงโฆษณาขายของค่ะ
แต่ดิฉันจะแจ้งคุณโหน่งไปทางอีเมลนะคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 ก.ค. 21, 19:16
จ้องขออภัยท่านอาจารย์เทาชมพูจริงๆนะครับ ที่ผมได้กระทำผิดกฎของเว็บเช่นนี้ และต้องขอบคุณท่านอาจารย์ด้วยที่เตือนผมมานะครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร ที่ 27 ก.ค. 21, 19:20
ที่จริงหนังสือเก่าหลายเล่มก็ออกจะหายากอยู่เหมือนกันครับ โดยเฉพาะหนังสือจัดพิมพ์ในงานศพจะยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ ยิ่งเก่าราคายิ่งสูง บางเล่มหาซื้อแทบไม่ได้เลยครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 28 ก.ค. 21, 09:29
รู้สึกเหมือนว่ายังพอมีขายอยู่นะครับ

ขอบคุณมากครับ  แต่หมดไปแล้วครับ  :'(


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 01 ส.ค. 21, 14:59
ขอบพระคุณคุณเทาชมพูสำหรับความรู้เรื่องเสื้อผ้าด้วยนะคะ ขออภัยที่ดิฉันมาขอบคุณช้าค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 02 ส.ค. 21, 08:26
เมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน  มี 'celeb' 2 ท่านคือ เรณู โอสถานุเคราะห์ กับ นันดา รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

นันดาฯ เปิด รร. สอน paint กระจกที่ดังมาก  ส่วน เรณูฯ จำไม่ได้ว่าเธอทำอาชีพอะไร

ทั้ง 2 มีบุคลิกคล้ายกันมากคือ สร้างข่าวมัน ๆ ให้อ่านในนิตยสารดัง ๆ ช่วงนั้นอย่าง ลลนา แพรว ดิฉัน ฯลฯ 

เท่าที่จำได้เช่น

ตอนบวชชีพราหมณ์  ต้องใช้ผ้าขาวของ Cartier หรือ Gucci ก็จำไม่ได้แม่น  หรือ  ออกข่าวว่า  เตรียมตัวตายโดยซื้อโลงไว้ข้างเตียง  พอใกล้ตายจะได้พลิกตัวลงไปในโลงเลย ฯลฯ

ต่อมาก็เงียบหายไปทั้งคู่

ถาม อากู๋ เธอก็บอกว่า  ไม่รู้โว้ย

มีใครนึกออกและพอทราบข่าวในบั้นปลายชีวิตของทั้ง 2 บ้างครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 21, 09:27
ไม่ทราบเรื่องคุณนันดา   ส่วนคุณเรณู โอสถานุเคราะห์พอรู้บ้างค่ะ
เธอมีฝีมือทางด้านทำเสื้อผ้าลูกไม้จากผ้าไหมไทย ด้วยการเลาะไหมแต่ละเส้นออกมาผูกเป็นลายลูกไม้ จนได้ผืนใหญ่แล้วตัดเป็นเสื้ออีกที   เป็นเสื้อลูกไม้ที่ไม่เหมือนใคร  ราคาแต่ละตัวแพงมาก
ต่อมาเธอแกะสลักกระจกใส ด้วยเครื่องมือหมอฟัน  แกะเป็นลายพิเศษตามแต่ละออกแบบ ไม่ใช่กระจกลายสลักจากโรงงาน
เธอมีบริษัท Nu House อยู่ที่ถนนชิดลมตรงริมคลองแสนแสบ  ถ้ามาจากประตูน้ำลงสะพานมาที่ถนนชิดลมก็จะเห็นอยู่ทางซ้าย   ในพื้นที่ที่เมื่อก่อนเป็นบ้านของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ในบั้นปลายชีวิต คุณเรณูละจากทางโลกที่เธอประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ไปสู่ทางธรรม  ถือศีลบวชชีที่วัดอมราวดี   เธอบวชอยู่นานนับสิบปีจนถึงแก่กรรมไปเมื่อปี 2559 นี้เองค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 03 ส.ค. 21, 08:14
ไม่ทราบเรื่องคุณนันดา   ส่วนคุณเรณู โอสถานุเคราะห์พอรู้บ้างค่ะ
เธอมีฝีมือทางด้านทำเสื้อผ้าลูกไม้จากผ้าไหมไทย ด้วยการเลาะไหมแต่ละเส้นออกมาผูกเป็นลายลูกไม้ จนได้ผืนใหญ่แล้วตัดเป็นเสื้ออีกที   เป็นเสื้อลูกไม้ที่ไม่เหมือนใคร  ราคาแต่ละตัวแพงมาก
ต่อมาเธอแกะสลักกระจกใส ด้วยเครื่องมือหมอฟัน  แกะเป็นลายพิเศษตามแต่ละออกแบบ ไม่ใช่กระจกลายสลักจากโรงงาน
เธอมีบริษัท Nu House อยู่ที่ถนนชิดลมตรงริมคลองแสนแสบ  ถ้ามาจากประตูน้ำลงสะพานมาที่ถนนชิดลมก็จะเห็นอยู่ทางซ้าย   ในพื้นที่ที่เมื่อก่อนเป็นบ้านของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ในบั้นปลายชีวิต คุณเรณูละจากทางโลกที่เธอประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ไปสู่ทางธรรม  ถือศีลบวชชีที่วัดอมราวดี   เธอบวชอยู่นานนับสิบปีจนถึงแก่กรรมไปเมื่อปี 2559 นี้เองค่ะ

ขอบคุณครับ  แสดงว่าโหน่งจำข้อมูลสลับกันแถมยังคลาดเคลื่อนอีก


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 03 ส.ค. 21, 21:00
ขอบคุณครับอาจารย์
เคยสงสัยมานานแล้วว่า บ้านจอมพลป.-ท่านผู้หญิงละเอียดอยู่ตรงไหนของซอยชิดลม
ตรงนู-เฮ้าส์สุดซอยชิดลมนี่เอง สมัยนู้นยังไม่มีสะพานข้ามแสนแสบ
จำได้ว่าเมื่อตอนที่สร้างสะพานเสร็จใหม่ๆ เย็นวันหนึ่งนั่งทานข้าวกับเพือ่นๆที่ร้านแถวปากซอยจารุรัตน์ฝั่งตรงข้ามเยื้องๆกับสะพาน
ได้ยินเสียงโครมใหญ่ ก็กรูกันออกมาดู
ปรากฏว่าเป็นรถบรรทุกวาดโค้งลงจากสะพานชิดลมยังไงไม่ทราบ เสยเอาแผงผลไม้พร้อมกับป้าคนขายเสียชีวิตคาที่


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 09 ส.ค. 21, 08:17
สงสัยใคร่รู้ว่า  มีข้อมูลบ่งบอกไว้หรือไม่ว่า  ห้องน้ำห้องส้วมในสมัยโบราณ  เป็นต้นว่า

ยุคอยุธยา - ทั้งของราชวงศ์ และ ชาวบ้าน
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ - ของชาวบ้าน

หน้าตาแบบไหนครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 21, 09:50
ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

คนไทยภาคกลางปลูกบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง   เพราะฉะนั้นการถ่ายลงน้ำก็เป็นของสะดวก  บ้านชาวบ้านบางบ้านก็ไม่ต้องมีส้วมให้ยุ่งยาก หรืออย่างดีก็ทำเพิงต่อจากตัวบ้านมานิดหน่อยอยู่เหนือผืนน้ำ  ใช้ไม้กระดานพาดผ่านกันเป็นช่อง  เอาไว้นั่งยองๆถ่าย  เป็นส้วมที่ไม่อับทึบ อากาศผ่านได้สะดวก น้ำก็พัดพาของไป ไม่มีกลิ่นอบอวลในห้อง
ถ้าบ้านใครอยู่ไกลแม่น้ำลำคลองหน่อย   ก็สร้างส้วมหลุมอยู่ห่างตัวบ้าน จะให้มิดชิดก็เอาทางมะพร้าวมากั้นเป็นผนัง    พอส้วมเต็มก็กลบแล้วไปขุดที่ใหม่ต่อไป
ส่วนบนบ้าน  มีกระโถนสำหรับใช้ตอนกลางคืนค่ะ 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 21, 09:53
แถมให้คุณโหน่ง  ภาพข้างล่างนี้คือห้องส้วมสมัยยุคกลางของยุโรปค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ส.ค. 21, 10:01
ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

เวจสมัยสมเด็จพระนารายณ์ในมโนทัศน์ของผู้สร้างละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ;D

https://youtu.be/AnpNr4_Dp6s


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ส.ค. 21, 17:18
และในสมัยของแม่หญิงการะเกดนี้ ในบริเวณพระราชมนเทียรมีการสร้างสถานที่สำหรับการขับถ่าย เรียกว่า ที่ลงพระบังคน หรือ ห้องพระบังคน โดยจะขับถ่ายลงในภาชนะรองรับและมีคนคอยปรนนิบัติรับใช้นำไปทิ้งลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ว่า

"ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้ และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์ ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 11 ส.ค. 21, 09:09
และในสมัยของแม่หญิงการะเกดนี้ ในบริเวณพระราชมนเทียรมีการสร้างสถานที่สำหรับการขับถ่าย เรียกว่า ที่ลงพระบังคน หรือ ห้องพระบังคน โดยจะขับถ่ายลงในภาชนะรองรับและมีคนคอยปรนนิบัติรับใช้นำไปทิ้งลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ว่า

"ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้ และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์ ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"

(http://image.free.in.th/v/2013/iq/210811023602.jpg) (http://picture.in.th/id/07de266d92c13cb0f173899c0ca86e70) ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 11 ส.ค. 21, 09:11
ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

คนไทยภาคกลางปลูกบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง   เพราะฉะนั้นการถ่ายลงน้ำก็เป็นของสะดวก  บ้านชาวบ้านบางบ้านก็ไม่ต้องมีส้วมให้ยุ่งยาก หรืออย่างดีก็ทำเพิงต่อจากตัวบ้านมานิดหน่อยอยู่เหนือผืนน้ำ  ใช้ไม้กระดานพาดผ่านกันเป็นช่อง  เอาไว้นั่งยองๆถ่าย  เป็นส้วมที่ไม่อับทึบ อากาศผ่านได้สะดวก น้ำก็พัดพาของไป ไม่มีกลิ่นอบอวลในห้อง
ถ้าบ้านใครอยู่ไกลแม่น้ำลำคลองหน่อย   ก็สร้างส้วมหลุมอยู่ห่างตัวบ้าน จะให้มิดชิดก็เอาทางมะพร้าวมากั้นเป็นผนัง    พอส้วมเต็มก็กลบแล้วไปขุดที่ใหม่ต่อไป
ส่วนบนบ้าน  มีกระโถนสำหรับใช้ตอนกลางคืนค่ะ 

แล้วก็นึกถึงตอนที่คุณชวดไปเช่าบ้านที่สี่กั๊กพระศรีให้คุณตาอยู่ในสมัย ร.6

อ. คะเนว่าส้วมที่บ้านเช่าประมาณไหนครับ  เหมือนส้วมซึมสมัยเราเด็ก ๆ รึเปล่า


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 11 ส.ค. 21, 09:17
สงสัยใคร่รู้

นี่เรียกว่า Bunsen burner รึเปล่าครับ

ถ้าไม่ใช่เค้าเรียกว่าอะไร (ขอชื่อ ภาษาอังกฤษด้วยครับ)

(http://image.free.in.th/v/2013/ih/210811024345.jpg) (http://picture.in.th/id/a13933b3c6d53101875f260f78b2f2d8)



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 21, 09:29
อ. คะเนว่าส้วมที่บ้านเช่าประมาณไหนครับ  เหมือนส้วมซึมสมัยเราเด็ก ๆ รึเปล่า
น่าจะเป็นส้วมซึมนะคะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 21, 09:31
ไม่มีความรู้เรื่องตะเกียงค่ะ  ต้องถามท่านอื่น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 13 ส.ค. 21, 14:13
ขอถามเรื่องส้วมหน่อยค่ะถ้าคนสมัยก่อนนิยมถ่ายแล้วทิ้งในแม่น้ำลำคลอง มันไม่เกิดความหมักหมมจนแม่น้ำลำคลองสกปรก เน่าเสียหรือคะ คนในสมัยก่อนมีปัญหานี้กันไหม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 21, 14:55
เด็ก ๆ สมัยก่อนเวลาเล่นน้ำในคลอง สิ่งที่ต้องระวังอันดับต้น ๆ คือ "แพข้าวเม่า" ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะของ ปลาแขยง ปลาพวกนี้จึงเป็นที่รังเกียจที่จะใช้บริโภคโดยปริยาย  ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 21, 16:15
ขอถามเรื่องส้วมหน่อยค่ะถ้าคนสมัยก่อนนิยมถ่ายแล้วทิ้งในแม่น้ำลำคลอง มันไม่เกิดความหมักหมมจนแม่น้ำลำคลองสกปรก เน่าเสียหรือคะ คนในสมัยก่อนมีปัญหานี้กันไหม

เมื่อก่อนบ้านเรือนไม่แออัดอย่างปัจจุบัน   ประชากรมีน้อย  แม่น้ำลำคลองจึงพอใช้อาบกินได้   ไม่ถึงกับโสโครกเน่าเสีย
นอกจากนี้คลองที่เชื่อมต่อกันตลอดก็ทำให้มีน้ำขึ้นน้ำลง  น้ำถ่ายเทได้  ไม่แห้งจนดำปี๋สกปรกอย่างยุคหลัง
สิ่งปฏิกูลในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้   ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนอย่างในยุคอุตสาหกรรม 
อย่างไรก็ตาม ในหน้าแล้ง ก็มีเหมือนกันที่เกิดโรคระบาดจากทางน้ำ  แต่ก็เป็นชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 15 ส.ค. 21, 09:29
ขอบพระคุณถึงเรื่องความรู้ในเรื่องส้วมด้วยค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 18 ส.ค. 21, 10:26
ไม่ทราบว่าเป็นข่าวล่ามาช้ารึเปล่า  เผอิญผ่านมาเห็นครับ

https://www.facebook.com/SiamRenaissancePublishing/posts/3018552408469916/



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 21 ส.ค. 21, 08:34
สมัยเด็ก ๆ อยู่ในย่านคนจีนซึ่งมีขนมของคนจีนมากมาย เช่น กะลอจี๊ จุ๋ยก้วย กุ้ยช่าย ฯลฯ

และขนมชนิดหนึ่ง  ยุคนั้นใส่ในถ้วยขนาดย่อมกว่าถ้วยข้าวต้มหน่อยนึง
เนื้อขนมสีขาวขุ่นหนืด ๆ   รสจืด ๆ มัน ๆ
พอจะซื้อ  แม่ค้าก็เอาถ้วยขนมขึ้นมาแล้วใช้ไม้ปลายเป็นรูปจั่วตัดไปที่เนื้อขนมเป็นแฉก ๆ
จากนั้นใช้น้ำตาลไหม้สีดำราดลงไปแล้วโรยด้วยงา

รสชาติอร่อยสุดขีด  กินเสร็จแล้วตามด้วยซดน้ำตาลไหม้ที่ก้นถ้วย  2 ถ้วยก็อิ่มแปล้

ยุคนี้ก็ยังมีแต่ไม่คลาสสิคเหมือนสมัยก่อน  ไม่อร่อยเท่าด้วย

เสียดายที่มัวแต่ลุ่มหลงกับความอร่อยเลยไม่ได้จดจำชื่อ (ภาษาจีน)
คนที่น่าจะรู้ก็เป็นคนโบราณที่ป่านนี้ตายกันไปหมดแล้ว

เท่าที่ค้นได้มีหลายชื่อ  แต่ไม่รู้ว่าชื่อดั้งเดิมคืออะไร

ใครพอทราบชื่อบ้างครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 21, 09:48
นึกภาพไม่ออกเลยค่ะ    ใครทราบช่วยบอกด้วย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 21 ส.ค. 21, 10:44
นึกภาพไม่ออกเลยค่ะ    ใครทราบช่วยบอกด้วย

สมัยนี้หน้าตาอย่างนี้  แล้วเรียกว่า ขนมด่าง ครับ อ.

แต่อยากรู้ชื่อดั้งเดิมของมัน

(http://image.free.in.th/v/2013/il/210821041122.jpg) (http://picture.in.th/id/42b10ee56d6b4ebec7a0908a07711b0b)

จำได้อีกนิดว่า น้ำที่ใช้ทำมาจากการหมักหญ้าอะไรซักอย่าง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ส.ค. 21, 11:15
ถ้าหน้าตาอย่างในภาพเรียกว่า จุ๋ยก้วย (水粿) แปลตรงตัวคือขนมน้ำ ;D

https://youtu.be/X1ljfkzmLYc


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 21 ส.ค. 21, 12:41
ผมดันคิดถึง ขนมแบบนี้ บางคนเรียกขนมเหนียว แต่บ้านผมที่ปัตตานีเรียก ขนมโกะหลี เป็นแป้งข้าวเหนียวต้มคลุกมะพร้าว โรยข้าวคั่ว ราดน้ำตาลเคี่ยวเหนียว ๆ ครับ

(https://scontent.fbkk5-6.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/236696516_2259825030819974_8027281773668651878_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-5&_nc_sid=730e14&_nc_eui2=AeFVnumf8DBwwXhi2cYxBKejOZU-pRJMjyE5lT6lEkyPIbiPX-6ER269NslDJNNxxA0XrS0ybWkIA8QRn3zTu12v&_nc_ohc=JBLODwAW-qYAX8lixVo&tn=RJNpTTF3DrLBMiRm&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.fna&oh=2721360b63116cdf32b7d88a163cd094&oe=6147DC3D)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ส.ค. 21, 14:27
ขนมแบบนี้ บางคนเรียกขนมเหนียว แต่บ้านผมที่ปัตตานีเรียก ขนมโกะหลี

โดยทั่วไปเรียกว่า ขนมกุหลี ;D

https://youtu.be/EuyzSMSczzA


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 21 ส.ค. 21, 16:01
รู้จักในชื่อขนมเหนียวครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 21, 17:46
ขนมถ้วย กับขนมเหนียวยังมีขายหลายแห่งค่ะ  ที่ดิโอลด์สยามก็มีขาย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ส.ค. 21, 10:07
กลับมารื้อฟื้นเรื่องขนม
ก่อนเบเกอรี่จะเข้ามาตีขนมไทยจนถอยร่นตกกระดานไปอย่างทุกวันนี้    เราเคยมีขนมไทยหลายอย่าง เป็นทั้งของหวานและของกินเล่นของเด็ก    การกินของหวานส่งท้ายอาหารไม่ใช่ของแปลก  กับข้าวไทยมักเผ็ดร้อน หรือคาว เพราะมีปลาเป็นหลัก  การกินของหวานจึงบรรเทารสเผ็ดคาวได้ในตอนท้าย

ขนมไทยมีตั้งแต่ทำง่ายไปจนยาก  ของง่ายๆก็ใช้วัตถุดิบที่มีติดครัว อย่างแป้ง มะพร้าว กะทิ น้ำตาลปีบ มาปรุงเป็นขนม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ส.ค. 21, 09:00
ถ้าหน้าตาอย่างในภาพเรียกว่า จุ๋ยก้วย (水粿) แปลตรงตัวคือขนมน้ำ ;D

https://youtu.be/X1ljfkzmLYc


ขออนุญาตแสดงความเห็นต่างครับ

จุ๋ยก้วย ลักษณะแบบนี้ครับ  คนปัจจุบันบัญญัติชื่อให้ใหม่ว่า ขนมถ้วยเค็ม

ปล... ถ้าเอาสูตรดั้งเดิมมาผสมหมูสับ  อร่อยสุดขีด

(http://image.free.in.th/v/2013/ir/210823022605.jpg) (http://picture.in.th/id/9f0bd199928f2f0aea390212791fadc0)


https://th.openrice.com/th/recipe/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A2/1490



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ส.ค. 21, 09:02
สมัยเด็ก ๆ อยู่ในย่านคนจีนซึ่งมีขนมของคนจีนมากมาย เช่น กะลอจี๊ จุ๋ยก้วย กุ้ยช่าย ฯลฯ

และขนมชนิดหนึ่ง  ยุคนั้นใส่ในถ้วยขนาดย่อมกว่าถ้วยข้าวต้มหน่อยนึง
เนื้อขนมสีขาวขุ่นหนืด ๆ   รสจืด ๆ มัน ๆ
พอจะซื้อ  แม่ค้าก็เอาถ้วยขนมขึ้นมาแล้วใช้ไม้ปลายเป็นรูปจั่วตัดไปที่เนื้อขนมเป็นแฉก ๆ
จากนั้นใช้น้ำตาลไหม้สีดำราดลงไปแล้วโรยด้วยงา

รสชาติอร่อยสุดขีด  กินเสร็จแล้วตามด้วยซดน้ำตาลไหม้ที่ก้นถ้วย  2 ถ้วยก็อิ่มแปล้

ยุคนี้ก็ยังมีแต่ไม่คลาสสิคเหมือนสมัยก่อน  ไม่อร่อยเท่าด้วย

เสียดายที่มัวแต่ลุ่มหลงกับความอร่อยเลยไม่ได้จดจำชื่อ (ภาษาจีน)
คนที่น่าจะรู้ก็เป็นคนโบราณที่ป่านนี้ตายกันไปหมดแล้ว

เท่าที่ค้นได้มีหลายชื่อ  แต่ไม่รู้ว่าชื่อดั้งเดิมคืออะไร

ใครพอทราบชื่อบ้างครับ

สรุปแล้วยังหาชื่อดั้งเดิมไม่ได้... เสียใจจัง


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ส.ค. 21, 09:13
กะลอจี๊ ก็อร่อย

(http://image.free.in.th/v/2013/ic/210823023557.jpg) (http://picture.in.th/id/c7747b7ca8838d3876a3a114852e49a5)

ขนมถังแตก

(http://image.free.in.th/v/2013/io/210823023642.jpg) (http://picture.in.th/id/6da88a4c5b8a5d924906716acd317b3a)

ขนมดอกโสน คุณยายผมทำอร่อยมาก

(http://image.free.in.th/v/2013/ib/210823023847.jpg) (http://picture.in.th/id/30051d477d4c13479e67407e3bbc4f3c)

ไอ้นี่ด้วย  ขนมข้าวเม่า

(http://image.free.in.th/v/2013/is/210823024032.jpg) (http://picture.in.th/id/b236ebd6dfe40f5330c94e86814c8bff)



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ส.ค. 21, 09:39
ขออนุญาตแสดงความเห็นต่างครับ

จุ๋ยก้วย ลักษณะแบบนี้ครับ  คนปัจจุบันบัญญัติชื่อให้ใหม่ว่า ขนมถ้วยเค็ม

ปล... ถ้าเอาสูตรดั้งเดิมมาผสมหมูสับ  อร่อยสุดขีด


(https://cdn1.th.orstatic.com/userphoto/Recipe/0/6/0001AF41FD20D24DC42271l.jpg)

นางสาวญาณณิศา จันทาทุม แห่งโรงเจอื่อเค่งเซี่ยงตึ๊ โรงเจเก่าแก่ของพิษณุโลก อธิบายว่า “จุ๋ยก้วย” จะมีสองสูตร คือ สูตรหวาน (สีเขียว) และสูตรเค็ม (สีขาว) แล้วแต่คนชอบ ซึ่งแต่ละสูตรก็จะมีน้ำซอสโบราณที่ปรับปรุงรสชาติให้ทันสมัยมากขึ้น เมื่อทานแล้วรสชาติจะกลมกล่อม เข้ากันดี ส่วนวิธีการทำก็ไม่ยาก

สูตรเค็มจะใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งสลิ่ม และเกลือ ตีแป้งให้เข้ากันเติมน้ำในเกลือเล็กน้อยและพักไว้ จะเพิ่มเครื่องเคียงราด โดยใช้เห็ดหอม ขาเห็ด ไชโป๊หวาน และตั้งฉ่าย นำไปผัดปรุงรสให้กลมกล่อม จากนั้นจะมาทำน้ำซอสราด ส่วนสูตรหวานจะใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน เบกกิ้งโซดาเพิ่มความนุ่ม และน้ำใบเตยคั้นสด ตีแป้งและพักไว้เช่นกัน สูตรหวานสูตรเค็มจะต่างกันที่ความหวานกับความเค็ม คือใช้ชีอิ๊วดำตั้งไฟ เพิ่มพริกเพิ่มความเผ็ด ปรุงรสให้กลมกล่อมก็เป็นอันเรียบร้อย

จาก พิษณุโลกนิวส์ (https://www.phitsanulokhotnews.com/2021/05/28/154994)

ภาพจาก บล็อกของคุณตังกวย (https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=poungchompoo&month=05-2015&date=12&group=53&gblog=85)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 24 ส.ค. 21, 08:13
สมัยเด็ก ๆ อยู่ในย่านคนจีนซึ่งมีขนมของคนจีนมากมาย เช่น กะลอจี๊ จุ๋ยก้วย กุ้ยช่าย ฯลฯ

และขนมชนิดหนึ่ง  ยุคนั้นใส่ในถ้วยขนาดย่อมกว่าถ้วยข้าวต้มหน่อยนึง
เนื้อขนมสีขาวขุ่นหนืด ๆ   รสจืด ๆ มัน ๆ
พอจะซื้อ  แม่ค้าก็เอาถ้วยขนมขึ้นมาแล้วใช้ไม้ปลายเป็นรูปจั่วตัดไปที่เนื้อขนมเป็นแฉก ๆ
จากนั้นใช้น้ำตาลไหม้สีดำราดลงไปแล้วโรยด้วยงา

รสชาติอร่อยสุดขีด  กินเสร็จแล้วตามด้วยซดน้ำตาลไหม้ที่ก้นถ้วย  2 ถ้วยก็อิ่มแปล้

ยุคนี้ก็ยังมีแต่ไม่คลาสสิคเหมือนสมัยก่อน  ไม่อร่อยเท่าด้วย

เสียดายที่มัวแต่ลุ่มหลงกับความอร่อยเลยไม่ได้จดจำชื่อ (ภาษาจีน)
คนที่น่าจะรู้ก็เป็นคนโบราณที่ป่านนี้ตายกันไปหมดแล้ว

เท่าที่ค้นได้มีหลายชื่อ  แต่ไม่รู้ว่าชื่อดั้งเดิมคืออะไร

ใครพอทราบชื่อบ้างครับ

สรุปแล้วยังหาชื่อดั้งเดิมไม่ได้... เสียใจจัง

ไปขุดมาได้อีกชื่อ ไหหลำก้วย

มีเหตุผลว่า เป็นขนมทำกินกันในหมู่คนจีนไหหลำ

ตกลงว่ามีหลายชื่อจัง  เบื่อละ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 06 ก.ย. 21, 09:32
ใครมีภาพร้านอาหาร ศรแดง ในยุคเก่าบ้างครับ

ถามอากู๋  เธอบอกไม่มี  มีแต่ภาพยุคใหม่

สมัยเด็ก ๆ  พอผู้ใหญ่พาไปเดินสนามหลวงแล้วต้องเลยไปกินข้าวกลางวันที่ร้านนี้  เมนูเด็ดในสมัยนั้นคือ ข้าวคลุกกะปิ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 21, 10:01
หาไม่เจอเหมือนกันค่ะ แต่จำได้ว่าเคยไป
จำอาหารในร้านไม่ได้เลยสักอย่างเดียว    มาจำได้ต่อเมื่อเปลี่ยนเป็นเมธาวลัย ศรแดง แล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 07 ก.ย. 21, 08:57
หาไม่เจอเหมือนกันค่ะ แต่จำได้ว่าเคยไป
จำอาหารในร้านไม่ได้เลยสักอย่างเดียว    มาจำได้ต่อเมื่อเปลี่ยนเป็นเมธาวลัย ศรแดง แล้ว

 :'(


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 08 ก.ย. 21, 09:28
ตามหารูปอีกครับ

ร้านแฮมเบอร์เกอร์ Wimpy  ตั้งอยู่ตรงข้ามซอยย่อยกับประตูเข้าห้างไทยไดมารูสาขาราชประสงค์

หารูปชัด ๆ ไม่ได้เลย  เห็นแต่เฉียดไปเฉียดมาเพราะคนถ่ายต้องการรูปห้าง ฯ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 21, 09:58
เคยเห็นแวบๆ แต่จำไม่ได้ว่าในกระทู้ไหนแล้วค่ะ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 09 ก.ย. 21, 09:41
จู่ ๆ ชื่อ เรือนไทย ของ อ. ก็ผุดเข้ามาในสมองแล้วนึกไปถึง
สมัยเข้าเรียนชั้น ม. ปลาย ที่ รร. ที่ตั้งติดกับ ม.จุฬา

เช้าวันหนึ่งขณะเดินเข้าประตู รร. ตาก็เหลือบไปเห็นเด็กหนุ่มหอบปึ้งเอกสารยืนเกะกะอยู่แถวนั้น
ใจคิดว่าเค้าคงเอาเอกสารเกี่ยวกับบทเรียนหรือโฆษณา รร. กวดวิชา ที่ฮิตมากในยุคนั้นมาแจก
คิดเสร็จก็ปรี่เข้าไปแบมือขอ

พี่เด็กหนุ่มมองหน้าแล้วพูดว่า หน้าใหม่ละซี

แหม... ตะลึงงันมาก  พี่คนนี้ดูทางในเป็น
ที่ไหนได้ ต่อมาถึงรู้ว่า เธอเห็นเข็มติดหน้าอก ยังเป็นมันวาว  แสดงถึงความเป็นหน้าใหม่นั่นเอง

หลังจากพยักหน้าหงึกหงัก  เธอก็ยื่นเอกสารให้ 1 ฉบับแล้วบอกว่า  อ้ะ... เอาไปอ่าน  ความจริงขายนะ  (ไม่แน่ใจว่าฉบับละเท่าไร  น่าจะ 2-3 บาท)
ถ้าติดใจคราวหน้าค่อยซื้อ

ขอบคุณในความใจดีของเธอ  แล้วคาบเอกสารไปแอบอ่านในห้องเรียน

เอกสารมีลักษณะเหมือนหนังสือพิมพ์แต่เล็กและบางกว่ามาก  ลักษณะเหมือนจัดทำกันเอง  เนื้อหาของบทความข้างในผิดคาดไปจากที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวกับเรื่องวิชาการ
มันมีแต่เรื่องไร้สาระที่อ่านแล้วตลกสุดขีด  ความตลกไม่ใช่แบบใน ขายหัวเราะ  น่าจะเหมือนในหนังสือ MAD ของฝรั่งมากกว่า

เอกสารที่ว่ามีชื่อว่า เรือนไทย จัดทำโดยนิสิตคณะ 'ถาปัด  จ่าหัวไว้ว่าเป็นนิตยสารรายสะดวก  ทำเสร็จเมื่อไรก็ออกขายเมื่อนั้น  อ่านแค่นี้ก็จี้แล้ว

เกิดความติดใจตั้งแต่บัดนั้น  ตั้งแต่นั้นขณะเดินเข้าประตู รร. ตาต้องสอดส่ายหาพี่ที่ถือปึ้งเอกสาร 

มันเป็นนิตยสารรายสะดวกจริง ๆ เพราะนานน้าน นานนานจะเห็นซักที

เคยเก็บไว้แต่น่าเสียดาย ปลวก เขมือบไปหมดแล้ว

สงสัยว่า สมัย อ. อยู่ จุฬาฯ  มีหนังสือ เรือนไทย แล้วยังครับ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 21, 08:24
หนังสือพิมพ์เรือนไทยของนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดทำครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๐๖

ประวัติและที่มาของหนังสือพิมพ์เรือนไทยอ่านได้ที่ เรือนไทยกะหล่ำปลี (https://www.facebook.com/100451118144962/posts/104058374450903/?d=n)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 21, 08:38
มีตัวอย่างหนังสือพิมพ์อยู่ฉบับหนึ่ง พิมพ์ว่าเป็นฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ร.ศ. ๑๕๔ ราคา ๔ บาท มีเนื้อหาชอบกล น่าจะเป็นผลงานของชาวถาปัด จุฬาฯ มากกว่า

วันเดือนปีน่าจะเป็นมุข ส่วนราคาน่าจะเป็นเรื่องจริง ;D

https://www.facebook.com/anucha.wangkasem/videos/3152034681511547/


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 21, 08:48
ภาพจาก https://www.facebook.com/groups/1786142224829982/permalink/3772138782896973/


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 12 ก.ย. 21, 20:29
พึ่งทราบว่ามีหนังสือพิมพ์เรือนไทยด้วย ดิฉันเคยได้เห็นแต่นิตยสารเรือนไทย


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ก.ย. 21, 08:57
สงสัยครับ ว่า...

ข้อมูลส่วนใหญ่บอกเหมือนกัน (อาจจะลอกกันมา) ว่า เจ้าจอมใน ร.5 คนสุดท้ายคือ ม.ร.ว. สดับฯ

แต่ในรายชื่อเจ้าจอมที่ลงใน Wikiฯ ยังมีชื่อเจ้าจอมหลังจากนั้นอีก

ขอความกระจ่างครับ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 21, 09:14
สงสัยครับ ว่า...

ข้อมูลส่วนใหญ่บอกเหมือนกัน (อาจจะลอกกันมา) ว่า เจ้าจอมใน ร.5 คนสุดท้ายคือ ม.ร.ว. สดับฯ

แต่ในรายชื่อเจ้าจอมที่ลงใน Wikiฯ ยังมีชื่อเจ้าจอมหลังจากนั้นอีก

ขอความกระจ่างครับ



เจ้าจอมสดับ ถวายตัวราว พ.ศ. 2449
เจ้าจอมแส ถวายตัวราว พ.ศ. 2451


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 21, 09:27
ถึงแม้นว่า เจ้าจอมสดับมิใช่เจ้าจอมซึ่งถวายตัวเป็นท่านสุดท้าย แต่ก็เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ที่มีชีวิตอยู่เป็นคนสุดท้ายก่อนถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. ๒๕๒๖

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เจ้าจอมคนงามในรัชกาลที่ ๕

ภาพลงสี โดย เซบัสเตียน พีท (https://www.facebook.com/1475248552783966/posts/1803999439908874/?d=n)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 23 ก.ย. 21, 09:31
ถึงแม้นว่า เจ้าจอมสดับมิใช่เจ้าจอมซึ่งถวายตัวเป็นท่านสุดท้าย แต่ก็เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ที่มีชีวิตอยู่เป็นคนสุดท้ายก่อนถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. ๒๕๒๖

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เจ้าจอมคนงามในรัชกาลที่ ๕

ภาพลงสี โดย เซบัสเตียน พีท (https://www.facebook.com/1475248552783966/posts/1803999439908874/?d=n)


สรุปแล้ว ข้อมูลต้นฉบับผิดพลาด  แล้วก็ลอก ๆ กันมาโดยขาดการไตร่ตรอง  ทำให้เกิดความสับสน

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 21, 09:36
วันที่ ๖-๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕ เข้าร่วมการอบรมลูกเสือชาวบ้าน "รุ่นเจ้าจอม"

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5927.0;attach=27884;image)

วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เพื่อรับเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งนำบุคคลในราชสกุล ศิริวงศ์ ลดาวัลย์ อุไรพงศ์ และชมพูนุท เฝ้าถวายเงินเฉลิมพระขวัญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5927.0;attach=27904;image)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 21, 10:40
เจ้าจอมสดับ ถวายตัวราว พ.ศ. 2449

นานทีปีหนจะเห็นคุณหนุ่มสยามเข้ามาเยือนเรือนไทย ฝากฝีมือลงสีภาพเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับของคุณหนุ่มไว้ให้ชาวเรือนไทยได้ชื่นชม ;D


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 21, 19:25
พาหนุ่มสาวยุค 2564 ย้อนอดีตกลับไปดูหนังเพลงของไทย เงิน เงิน เงิน  เมื่อปี 2508 
ดาราในเรื่องไปเล่นภาค 2  ต่อบนสวรรค์กับเกือบหมดแล้ว

เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์  ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ หรือ “เสด็จพระองค์ชายเล็ก” ของวงการหนังไทยในยุคนั้น นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฏร์คู่พระนางยอดนิยมสูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย และผู้แสดงประกอบเกือบทั้งวงการภาพยนตร์ไทยในขณะนั้น ด้วยการรวมเหล่าดารานักแสดงไว้มากมาย ถึง 60 กว่าคน ใช้คำโฆษณาว่า "เพลงพราว ดาวพรู ดูเพลิน" และยังมี 14 เพลงไพเราะจาก 15 ยอดนักเพลง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2555

https://www.youtube.com/watch?v=oIyMIRt4cPg


กำกับ : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ 
นำแสดงโดย : มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์,ชรินทร์ นัทนาคร, สุเทพ วงศกำแหง,  วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ล้อต๊อก, สุลาลีวัล สุวรรณทัต


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 04 ต.ค. 21, 08:38
ใครทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ดช. Xai คนนี้บ้างครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/10/04/CFTR8D.jpg) (https://www.picz.in.th/image/CFTR8D)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 21, 09:39
คุณศิลาวิสัชนาไว้ในกระทู้ "พ่อชาย" ที่ชาโต้ฟงแตนโบล (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3551.0)

ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อ พ่อชาย (Pho Xai) เป็นรูปเด็กชายไว้ผมจุก เขียนโดย ฌอง เลอง เฌอโครม (Jean Leon Gerome) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. ๑๘๖๑ มุมบนด้านขวามีอักษรไทย  "พ่อชาย" อยู่ด้วย (และภาษาฝรั่งเศสจับความได้ - บุตรชายของทูตสยาม) กลาง ๆ มีอักษรย่อของผู้วาดเขียนภาพ JL Gerome และปีที่วาด  ปัจจุบันอยู่ในการสะสมของตระกูลTanenbaum ประเทศแคนาดา

พ่อชาย ในรูปนั้นมีนามว่า พระยาประภากรวงศวรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) บุตรคนโตของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) กับท่านผู้หญิงอ่วม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิศักดิ์ ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ มีบุตรธิดารวม ๑๓ คน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3551.0;attach=14963;image)


ส่วนอีกหนึ่งภาพ เป็นภาพคณะราชทูตสยามภายใต้การนำของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นเจริญพระราชไมตรี พร้อมเครื่องมงคลราชบรรณาการ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎ พระราชสุพรรณบัฏ และเครื่องประกอบราชอิสริยยศ เช่น พระราชยาน พระกลด แด่จักรพรรดินโปเลองที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส ณ พระราชวังฟงแตนโบล เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔ (๑๘๖๑) ฝีมือของ ฌอง เลอง เฌอโครม เช่นกัน

ฝรั่งเศสได้ทำภาพสีน้ำมันบันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ ๒ ภาพ ภาพหนึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถาน พระราชวังฟงแตนโบล ส่วนอีกภาพจัดแสดงอยู่ที่ผนังด้านตะวันออกของพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ที่ท้องพระโรงกลาง ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระบรมมหาราชวัง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3551.0;attach=14970;image)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 21, 09:43
"พ่อชาย" เมื่อเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัวแล้ว


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 21, 09:56
“พ่อชาย" และบิดา เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ซึ่งต่อมาคือ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)  อุปทูตในคณะที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสยามและฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถ่ายก่อนเข้าเฝ้าพระเจ้านโปเลียนที่ ๓


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 05 ต.ค. 21, 08:09
ในนามของ คณะผู้ติดตาม (Followers) ชาวต่างชาติ  ขอขอบคุณในความรู้ที่มอบให้ครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 11 ต.ค. 21, 09:45
ตามหารูปเก่าครับ

เคยเห็นแวบ ๆ รูปพระองค์ฯ จุลฯ เล่นกับหลาน ๆ ที่สนาม  ข้าง ๆ มีรถขนาดจิ๋วสำหรับเด็กขี่เล่นอยู่ในฉากด้วย



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ต.ค. 21, 09:36
จากหนังสือเกิดวังปารุสก์

​"วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ สมเด็จพระราชชนนี​ สมเด็จพระอนุชา​ และสมเด็จพระพี่นาง​ เสด็จมาเสวยน้ำชาที่บ้านจักรพงษ์​ ข้าพเจ้ามีรถไฟฟ้าที่ทูลหม่อมลุงพระราชทานแก่ข้าพเจ้าเมื่อข้าพเจ้าอายุ​ ๘ ขวบ​ ซึ่งก็ยังใช้ได้ดีอยู่​ จึงนำรถไฟฟ้าออกถวายให้ทรงขับเล่นทั้งสองพระองค์​ ดูเป็นที่พอพระทัยอยู่มาก​... "

รูปที่คุณโหน่งตามหาน่าจะถ่ายในวันนี้ รูปข้างล่างนี้ก็น่าจะถ่ายในวันเดียวกัน

ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงขับรถไฟฟ้าย่อส่วนยี่ห้อ คาลิแลค สีแดงที่รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ในบริเวณบ้านจักรพงษ์ ท่าเตียน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช ทรงดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 01 พ.ย. 21, 08:25
จากหนังสือเกิดวังปารุสก์

​"วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ สมเด็จพระราชชนนี​ สมเด็จพระอนุชา​ และสมเด็จพระพี่นาง​ เสด็จมาเสวยน้ำชาที่บ้านจักรพงษ์​ ข้าพเจ้ามีรถไฟฟ้าที่ทูลหม่อมลุงพระราชทานแก่ข้าพเจ้าเมื่อข้าพเจ้าอายุ​ ๘ ขวบ​ ซึ่งก็ยังใช้ได้ดีอยู่​ จึงนำรถไฟฟ้าออกถวายให้ทรงขับเล่นทั้งสองพระองค์​ ดูเป็นที่พอพระทัยอยู่มาก​... "

รูปที่คุณโหน่งตามหาน่าจะถ่ายในวันนี้ รูปข้างล่างนี้ก็น่าจะถ่ายในวันเดียวกัน

ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงขับรถไฟฟ้าย่อส่วนยี่ห้อ คาลิแลค สีแดงที่รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ในบริเวณบ้านจักรพงษ์ ท่าเตียน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช ทรงดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด

ขอบคุณมากครับ  โชคดีจังที่ยังไม่ได้เอาเรื่องลงให้ต่างชาติอ่าน

ขอโทษที่เข้ามาช้ามาก  กลับบ้านเก่าไปหนึ่งเพลินครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 04 พ.ย. 21, 16:25
ขออนุญาตมาแบ่งปันความเชื่อเก่าๆบ้างค่ะ

คือการห้ามเดินลอดใต้บันไดบ้านใคร อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นแต่เฉพาะคนเหนือหรือเปล่า

เคยโดนคุณแม่ด่ามาจนเข็ดขยาดไปเลยค่ะ



กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 05 พ.ย. 21, 08:30
ขออนุญาตมาแบ่งปันความเชื่อเก่าๆบ้างค่ะ

คือการห้ามเดินลอดใต้บันไดบ้านใคร อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นแต่เฉพาะคนเหนือหรือเปล่า

เคยโดนคุณแม่ด่ามาจนเข็ดขยาดไปเลยค่ะ



ผมคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด  ก็ได้รับการสั่งสอนมาแบบนี้เช่นกันครับ

ลอดใต้บันไดทุกที่  ไม่จำเป็นต้องบันไดบ้าน 


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 05 พ.ย. 21, 08:43
มีอีกอันไปเจอมาในทวิต

ทายาทโดยธรรมยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกกรณีที่บุคคลผู้นั้นเสียชีวิตไปแล้วต่อศาล

ชาวบ้านแก่ๆหน่อยจะเรียก "ฟ้องผี" คนฟังเป็นคนรุ่นใหม่ก็งงๆสับสนว่าจะไปฟ้องอย่างไร


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 30 พ.ย. 21, 09:54
ตามหารูปครับ

หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 21, 19:44
ลายมือหม่อมเจ้าถูกถวิล  ศุขสวัสดิ์ ซึ่งได้ถวายตัวรับราชการเป็นข้าหลวงเดิม มาแต่ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5356.0;attach=36558;image)

ท.ป.ส. เป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชนิพนธ์บทละคร ย่อมาจาก ทวีปัญญาสโมสร ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นนายกสโมสร

ถ.ถ. หมายถึงหม่อมเจ้าถูกถวิล  ศุขสวัสดิ์

ภาพและคำอธิบายโดย คุณดีดี และ คุณวีมี จากกระทู้  มาทายภาพบุรุษ และสตรีปริศนากันเถอะ !!!! (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5356.270)


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 01 ธ.ค. 21, 09:27
ลายมือหม่อมเจ้าถูกถวิล  ศุขสวัสดิ์ ซึ่งได้ถวายตัวรับราชการเป็นข้าหลวงเดิม มาแต่ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5356.0;attach=36558;image)

ท.ป.ส. เป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชนิพนธ์บทละคร ย่อมาจาก ทวีปัญญาสโมสร ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นนายกสโมสร

ถ.ถ. หมายถึงหม่อมเจ้าถูกถวิล  ศุขสวัสดิ์

ภาพและคำอธิบายโดย คุณดีดี และ คุณวีมี จากกระทู้  มาทายภาพบุรุษ และสตรีปริศนากันเถอะ !!!! (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5356.270)

ขอบคุณครับ

ท่านส่งภาพถึงใครไม่ทราบ  คนในภาพคือท่านหรือครับ


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 22, 11:22
จาก จดหมายเหตุวชิราวุธ

       คำบรรยายภาพ - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยสกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ทรงฉายพระฉายาลักษณ์พร้อมด้วยสภากรรมการทวีปัญญาสโมสร ในการที่สภากรรมการทวีปัญญาสโมสรจัดการรื่นเริง
ส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ณ พระตำหนักจิตรลดา
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗

(แถวนั่งจากซ้าย)   
๑. นายพันเอก พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด  ศุภมิตร)     กรรมการพิเศษที่ปรึกษา
๒. หม่อมเจ้าถูกถวิล  ศุขสวัสดิ์                                ปฏิคม


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ก.พ. 22, 11:35
แถวนั่งจากซ้าย
๑. นายพันเอก พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด ศุภมิตร) กรรมการพิเศษที่ปรึกษา ๒. หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ์ ปฏิคม ๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา บรรณารักษ์ ๔.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สภานายก ๕. นายหยวก เตมียบุตร เหรัญญิก ๖. นายสอาด ชูโต เลขานุการ ๗. หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล

ยืนแถวหน้าจากซ้าย
๑. ขุนวิรัชเวชกิจ (สุ่น สุนทรเวช) ๒.นายพงษ์ สวัสดิ์ – ชูโต กรรมการผู้ช่วย ๓. พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ ๔. นายกริ่ม สุรนันทน์ ๕. พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญโนภาสรัศมี ๖. หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล ๗. หม่อมเจ้ามรุพรพันธ์ เทวกุล ๘. หม่อมเจ้าทิณทัต ศุขสวัสดิ์ ๙. นายจ่ายง (สาย ณ มหาชัย) ๑๐. หม่อมเจ้าปิยบุตร จักรพันธุ์ กรรมการผู้ช่วย ๑๑. นายพันโท พระพิเรนทรเทพ (เย็น ยมาภัย) ๑๒. จางวางวร ๑๓. นายพันเอก หม่อมเจ้าชื่น กำภู ๑๔. หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล

ยืนแถวหลังจากซ้าย
๑. หลวงบุรีนวราษฐ (จันทร์ จิตรกร) ๒. หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ๓. หม่อมเจ้าเสพโสมนัส เทวกุล ๔. หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร กรรมการผู้ช่วย ๕. นายฮัก บุนนาค ๖. หม่อมเจ้าตรีพิเพทพงศ์ เทวกุล

จาก https://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal72.htm


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.พ. 22, 12:39

ขอบคุณครับ

ท่านส่งภาพถึงใครไม่ทราบ  คนในภาพคือท่านหรือครับ

ไม่ทราบว่าม.จ. ถูกถวิลท่านส่งถึงใคร น่าจะเป็นพระสหายสนิท   เพราะข้อความที่เขียนเป็นการบอกเล่าแบบขำๆฉันเพื่อนฝูง  ไม่ใช่ส่งให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
ท่านทรงเขียนว่า
"นี่รูปมารี ตัวละครของ ท.ป.ส. รู้จักไหม
สวยไหม ไม่ขอให้ตอบ
คิดถึง 
ถ.ถ.

หม่อมเจ้าถูกถวิลทรงแต่งชุดสตรีตะวันตก เพื่อแสดงละครพระราชนิพนธ์ เรื่อง "เพื่อนแท้" ซึ่งแปลจากบทละครเรื่อง " My Friend Jarlet " ของ " Arnold Golsworthy " และ " E.B. Norman "
ท่านทรงรับบทมารี เลอร์รูซ์ (Marie Leroux) นางเอกของเรื่อง

ในยุคนั้น ละครพระราขนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่นตามขนบละครเชคสเปียร์ หรือละครนอกของไทย  คือไม่มีผู้หญิงร่วมแสดง   บทสตรีในเรื่องไม่ว่าจะนางเอก นางรอง หรือบทแม่ ใช้ข้าราชบริพารชายที่รูปร่างหน้าตาพอจะสวมบทผู้หญิงได้  เล่นเป็นตัวนางทั้งหมด
เพราะสมัยนั้นยังไม่ทรงมี "ฝ่ายใน"  จะหาสาวชาววังหรือลูกผู้ดีมาเล่นปนเป ถูกเนื้อต้องตัวผู้ชายก็คงไม่มีพ่อแม่คนไหนยอม
จนกระทั่งพระเจ้าอยู่หัวเริ่มทรงมีฝ่ายใน  ละครชายจริงหญิงแท้ จึงเริ่มกำเนิดขึ้นมา ในเรื่อง "โพงพาง" ที่ทรงแสดงคู่กับพระวรกัญญาปทาน


กระทู้: เรืองเล่าคนเก่าแก่
เริ่มกระทู้โดย: nathanielnong ที่ 14 ก.พ. 22, 09:09
ขอบคุณทุกท่านครับ