เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 07:43



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 07:43
สวัสดีตอนเช้าครับทุกๆท่าน

ขอร่วมสนุกสักหน่อย
ต่อไปนี้เป็นเรื่องของการเดานะครับ
มาช่วยกันดูรูปที่ชัดที่สุดที่ผมหาได้อีกสักที


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 07:47
จากหนังสือสมุดภาพรัชกาลที่๔

รูปพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ที่ถ่ายร่วมสมัย


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 08:22
และรูปของท่านผู้นี้ ในหนังสือเล่มเดียวกัน

พระยากระสาปน์กิจโกศล(โหมด อมาตยกุล)
บิดาของพระปรีชากลการ

จากสายตา(อันชักจะย่ำแย่)ของผม
เห็นว่าละม้ายกับบุคคลต้องสงสัยมี่ยืนอยู่ด้านขวามือของรูปถ่ายหมู่มากกว่า

ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่ตอนที่สัมพันธภาพยังดีๆอยู่ ท่านเหล่านี้จะครึ้มอกครึ้มใจ
เมื่อประชุมกันแล้วก็ถ่ายรูปอันเป็นเรื่องใหญ่หลายสตังค์ในยุคนั้น ไม่ใช่เรื่องถ่ายทิ้งถ่ายขว้างไว้ดูเล่นเฉยๆ
ดูหน้าที่และราชทินนามแล้ว น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพระคลัง
เรื่องภาษีเงินๆทองๆที่สมเด็จเจ้าพระยาท่านกำกับดูแลอยู่ และเกี่ยวพันกับการค้าของคนอังกฤษด้วย

ท่านเจ้าคุณโหมดกับมิศหนอกก็น่าจะมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นการส่วนตัวด้วย
จากฐานะการงานที่คุมการกระสาปน์อยู่ อาจเป็นเสันสายที่กงสุลอังกฤษใช้เข้ามาตีซี้กับบุคคลระดับบิ๊กของสยามตอนนั้น
ภาพนี้นายน๊อกซ์อาจจะเจ้ากี้เจ้าการรับเป็นเจ้ามือด้วยซ้ำ เพราะจะได้ส่งรูปไปแสดงผลงานเอาหน้ากับนายของตนที่เมืองนอก



หลังจากนี้แล้ว ก็มีเหตุเป็นไปให้แตกคอกัน และเรื่องลุกลามใหญ่โตถึงกับต้องล้างตระกูลกันไปข้างหนึ่ง
ดังที่ท้องเรื่องข้างต้นดำเนินมา

ใครจะช่วยเดาต่อว่าผมเดาผิดก็เชิญนะครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 09:56
ดิฉันนำรูปหมู่มาลงให้เห็นอีกครั้ง


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 09:57
ขยายรูปบุรุษนิรนาม


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 09:59
นี่คือรูปพระยามนตรีสุริยวงศ์(ชุ่ม) ในวัยหนุ่ม ถ่ายเมื่อเป็นราชทูต


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 10:01
เชิญทัศนารูปนำมาเทียบ เทอญ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 10:13
คะแนนเสียง

โหวตให้ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ๒ เสียง - คุณ Bhanumet และคุณเทาชมพู
โหวตให้ พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ๑ เสียง - คุณนวรัตน

ขอโหวตให้ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) อีกเสียงหนึ่งเป็น ๓ เสียง

ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เป็นให้เป็นราชทูตไทยคนแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราช บรรณาการไปถวาย สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เป็นการเจริญพระราชไมตรีตอบแทนที่พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ได้ส่งเซอร์ จอห์น บาวริ่ง (SIR JOHN BOWRING) เป็นราชทูตมายังกรุงสยามในปี พ.ศ. ๒๓๙๘

ภาพลายเส้นตีพิมพ์ในหนังสือ The Illustrated London News ฉบับวันที่ ๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔oo)

คนกลาง -  พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 10:18
ทิ้งเจ้าคุณโบราณฯ ท่านไว้ที่จวนเจ้าเมืองอยุธยา    หันมาอลหม่านกับ สแกนรูป  ขยายรูป ลดรูป คร็อพรูป  และตัดแปะ  ด้วย ACDSee และ Paint ตั้งแต่เช้าจนสิบโมง   กว่าจะได้ออกมา ๓ รูป
ตามประสาคนโลว์เทค
นอกจากได้คะแนนโหวตแล้ว  ขอคะแนนจิตพิสัยด้วยนะคะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 10:26
เอาสองรูปนี้มาเปรียบเทียบกันน่าจะดูง่ายกว่า

 :D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 10:51
ยอมแพ้แล้วคร้าบบบบ.


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 11:02
ตกลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ๔ เสียง โหวตให้ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

 ;D

แต่มีข้อสงสัยอยู่เรื่องหนึ่ง

รูปนี้ ลงตีพิมพ์ในหนังสือ สกุลบุนนาค  หน้า ๙๓

ส่วนคนขวาสุดที่เป็นปริศนาหนังสือระบุว่า "ไม่ทราบนาม"

รูปนี้อยู่ในหนังสือสกุลบุนนาคแท้ ๆ

เหตุไฉนจึงไม่ทราบนามบุคคลสำคัญในสกุล "บุนนาค" คนนี้

น่าสงสัยแท้

 ???


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 11:32
เดาว่า  รูปท่านมีอยู่น้อยมาก แค่ ๒ รูป ในวัยหนุ่ม   แต่ในวัยกลางคน คงมีรูปเดียว  คือรูปนี้  ซึ่งไม่ชัดอีกต่างหาก
เมื่อลูกหลานรวบรวมรูปเก่าๆ มาจัดทำคำบรรยายว่าใครเป็นใคร  ท่านไหนถ่ายรูปไว้มากหน่อย  มีหลักฐานปรากฏอยู่หลายที่  ก็จำได้ง่าย   ระบุง่าย  
เจ้าคุณมนตรีฯ  อยู่ในกลุ่มหายาก   คนบรรยายก็ไม่แน่ใจ  เลยไม่กล้าฟันธงว่าใคร
 


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 12:33
มีรูป พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) อีกรูปหนึ่งยืนอยู่ตรงกลางของคณะราชทูตสยาม

คณะราชทูตสยามที่เดินทางไปเจริญราชไมตรี ณ ประเทศอังกฤษในครั้งนั้นประกอบด้วย

ทูต  - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ราชทูต), เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี (อุปทูต), หมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ตรีทูต)
ล่าม - หม่อมราโชทัย (ล่ามหลวง), ขุนปรีชาชาญสมุทร, ขุนจรเจนทะเล
ผู้ควบคุมเครื่องราชบรรณาการ - หมื่นราชามาตย์, นายพิจารณ์สรรพกิจ

รวม ๘ ท่าน

แต่ในรูปข้างล่างนี้มี ๙ ท่าน

ขาดชื่อใครหนอ

 ???


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 12:42
รอคนอื่นมาตอบ   
ขอนำรูปเครื่องราชบรรณาการมาลงให้ดูไปก่อนค่ะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 12:43
ภาพวาดลายเส้น คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเพื่อถวายพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณการ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔oo

หมอบอยู่หน้าสุด - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

ภาพนี้เห็นท่านเพียงด้านหลัง  

 ;D



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 14:00
รูปคณะทูตที่คุณเพ็ญชมพูถามถึง
คนที่สองจากซ้ายไม่น่าจะเป็นขุนนาง และไม่ใช่คนไทย      อาจจะเป็นล่าม หรือคนรับใช้ในเรือ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 14:43
บุคคลปริศนาคนที่สอง

ใครหนอ

 ???


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 14:55
เขาไม่ได้แต่งตัวอย่างคนไทย   ไม่ได้แต่งอย่างฝรั่ง     ดูจากรูปร่างและหน้าตา  อายุยังน้อย 
ผู้รับใช้คณะทูตหรือเปล่า


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 15:41
รายชื่อบุคคลในคณะราชทูตสยาม จากจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่งโดยหม่อมราโชทัย ในตู้หนังสือเรือนไทย

http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ (http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐)

(๑) ราชทูต พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ ร่วมมารดากับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้เปนที่สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ

(๒) อุปทูต เจ้าหมื่นสรรพ์เพ็ธภักดี ( เพ็ญ ต้นสกุลเพ็ญกุล ) เปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ ๕ เปนพระยา ราชสุภาวดี แล้วเลื่อนเปนเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บัญชาการ กรมพระสุรัสวดี

(๓) ตรีทูต (เดิมกะว่าหลวงชาญภูเบศร์ แล้วเปลี่ยนเปน) จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ด้วง) เปนข้าหลวงเดิม ร่วมพระนมในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีความผิดต้องออกจากราชการ

(๔) ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย ชื่อหม่อมราชวงศ์กระต่าย(อิศรางกูร ณอยุธยา) บุตรกรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในเจ้าฟ้ากรมขุน อิศรานุรักษ์

(๕) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ กลับมา ได้เปนที่พระเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ ปลัดเมืองเพ็ชรบุรี แล้วเลื่อนเปนพระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ในรัชกาล ท ๕ เปนเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี

(๖) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) เปนบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร ต่อมา ได้เปนหลวงเดชนายเวร

(๗) ล่ามของราชทูต ขุนจรเจนทเล ชื่อฉุน ได้ไปเรียนวิชาเดินเรือในยุโรป ในรัชกาลที่ ๕ ได้เปนหลวงชลธารพินิจจัย แล้วเลื่อน เปนพระชลธารพินิจจัย เจ้ากรมคลอง

(๘) ล่ามของอุปทูต ชื่อนายโนรี

(๙) ล่ามของตรีทูต ขุนปรีชาชาญสมุท ชื่อดิศ เปนนายรือในพระบวรราชวัง ภายหลังได้เปนหลวงสุรวิเศษ นายทหารหน้าในกรม พระราชวังบวร ฯ เปนครูสอนภาษาอังกฤษเจ้านายวังหน้าจนรัชกาลที่๕

(๑๐) นายเทศ บุนนาค (คือเจ้าพระยาสุรพันธ์พันธุ์พิสุทธ) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ อายุ ๑๗ ปี เปนนักเรียส่งไป เรียนวิชา

(๑๑) นายทด บุนนาค บุตรพระยามนตรี ฯ ราชทูต อายุ ๑๖ ปีเปนนักเรียนส่งไปเรียนวิชา นักเรียน ๒ คนนี้ เมื่อถึงเมืองอังกฤษราชทูตได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยหาที่เล่าเรียน กระทรวงต่างประเทศอังกฤษสืบหาที่เล่าเรียน เดิมกะว่าจะให้ไปเรียนที่ราชวิทยาลัยในลอนดอน แต่จะเปนด้วยเหตุใด ไม่ปรากฎ เมื่อทูตกลับมา นักเรียนก็กลับมา หาได้อยู่เล่าเรียนไม่

(๑๒) เสมียนของราชทูต นายบริบาลบรรยงก์

(๑๓) เสมียนของอุปทูต ขุนบุรินทามาตย์

(๑๔) เสมียนของตรีทูต ไม่ปรากฎชื่อ

(๑๕) หมอยา จะเปนใครหาทราบไม่

(๑๖) เข้าใจว่าหมอนวด

คนใช้ ๑๑ คน

รวมทั้งสิ้น ๒๗ คน


มีชื่อล่ามเพิ่มอีกคนหนึ่งคือ นายโนรี ประวัติไม่ปรากฏ

หรือจะเป็นนายคนนี้

 ???



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 17:03
ขออนุญาตแยกกระทู้ตั้งแต่มีเรื่องพระยามนตรีฯ เข้ามานะคะ    เพราะเรือออกอ่าว ไปกับคณะทูต   ไกลมิศแฟนนีไปทุกทีแล้ว
กลับมาเรื่องบุคคลปริศนาในคณะทูต

สแกนรูปมาดูกันให้ชัดๆอีกที   แล้วลองพิจารณาว่าพอจะบอกอะไรได้บ้าง เกี่ยวกับเสื้อผ้าเขา
๑  เด็กหนุ่ม  (ดูๆไปเหมือนเด็กสาว) หน้าตาเป็นเอเชีย  
๒  นุ่งกางเกงขายาวแบบฝรั่ง เสื้อทูนิคแบบแขก    แสดงว่าไม่ใช่ไทยและตะวันตก
๓  มีแถบคาดเหนือหน้าผาก หรือว่าขอบหมวก ยังดูไม่ชัด  เลยแถบคาดเป็นเส้นผม หรือว่าตัวหมวก ก็ไม่รู้เหมือนกัน
๔  ท่ายืน   เหมือนรู้วิธีโพสท่าต่อหน้ากล้อง
๕  มายืนถ่ายรูปรวมกลุ่มกับคณะทูต  ศักดิ์ศรีคงไม่ด้อยจนถึงขนาดเด็กรับใช้
๖  ประสานมืออย่างสำรวมแบบตะวันตก   คนสยามไม่ประสานมือแบบนี้ ในรัชกาลที่ ๔  ท่ายืน  ทิ้งน้ำหนักเท้าไม่เท่ากัน  เท้าเหลื่อมกันอย่างสวยงาม แสดงว่าโพสท่ายืนต่อหน้ากล้อง เป็น
๗  ยืนอยู่เกือบจะริม แสดงว่าไม่ใช่บุคคลสำคัญ   คนสำคัญต้องยืนกลาง


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 18:43
ขอขัดจังหวะสักเล็กน้อย

ก่อนจะต่อปฤศนาบุคคลต้องสงสัยรายที่สอง ผมขอส่งหลักฐานมาประกอบคำสารภาพที่เดาผิดไปเมื่อเช้า
รูปภาพและคำบรรยายนี้เป็นหลักฐานชัดเจน อยู่ในหนังสือที่ผมอ้างอิงเมื่อเช้านั้นแล

พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) คือผู้ที่ยืนอยู่ด้านขวามือ ไม่ต้องสงสัยใดๆอีกครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 18:55
 :)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 19:12
ขอประทานโทษ ฝรั่งในรูปนั้น คำบรรยายบอกว่าคือราชทูตจากปรัสเซีย นายกอนต์ เอวเลนเบิก (Friedrich Albrect zu Eulenburg) ผู้เข้ามากรุงเทพระหว่างวันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป ถ่ายร่วมกับเสนาบดีผู้ใหญ่ฝ่ายไทยระหว่างการเยี่ยมคำนับ

เอาละซี ข้อมูลเดิมที่เคยได้มาว่าฝรั่งที่ว่าเป็นนายน๊อกซ์ กงสุลอังกฤษ(รวมทั้งในเวปต่างๆที่ลอกกันต่อๆมาด้วย) เลยสร้างความเพี้ยนกันใหญ่ ผมก็เอาไปจินตนาการโยงเข้ากับท่านโหมดไปโน่น

แต่ดูเถอะครับ รูปนายมิศหนอกอดีตครูผึกแถวทหารวังหน้านี่ก็คล้ายกับท่านทูตปรัสเซียเสียด้วย เพียงแต่เครายาวกว่าหน่อยนึงเท่านั้น


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: JD ที่ 30 เม.ย. 10, 21:05
ผู้เข้ามากรุงเทพระหว่างวันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป


ปี? ???


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 เม.ย. 10, 22:09
วันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป (คศ ๒๘๑๗)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: JD ที่ 30 เม.ย. 10, 22:23

วันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป (คศ ๒๘๑๗)



ปัจจุบัน คศ ๒๐๑๐
เลยเดาไม่ออกว่าท่านตั้งใจเขียน พ.ศ หรือ ค.ศ


เพราะว่าสมัย ร. ๔ ค.ศ. ที่ใกล้เคียง คือ ๑๘๖๑ ก็ยังไม่ใกล้เคียงตัวเลขท่าน
หากเป็น พ.ศ  ปีปัจจุบันก็เพิ่ง ๒๕๕๓



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ค. 10, 03:26
ขอประทานโทษอีกครั้งครับ

ขอยอมรับว่าขณะนี้โรคสติไม่เที่ยงกำลังครอบงำผมอย่างแรง
ผมตั้งใจจะเขียน คศ.
๒๓ พฤศจิกายน คศ ๑๘๖๑ แต่ไปจิ้มเป็น ๒๘๑๖ ได้ยังไงก็ไม่ทราบ พอผิดที่แรกที่ต่อมาก็ผิดซ้ำอีกเป็น ๒๘๑๗

ขอแก้ไข ที่ถูกต้องคือ ตั้งแต่ ๒๓ พฤศจิกายน คศ ๑๘๖๑ ถึง ๓๐ มกราคม คศ ๑๘๖๒ ครับ
โปรดให้อภัยด้วย


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ค. 10, 09:15
การค้นพบของคุณนวรัตนเป็นประโยชน์มากต่อชาวเรือนไทยรวมทั้งชาวเน็ตที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ให้ทราบความจริงว่าฝรั่งในภาพนั้นเป็นใคร

ขอฝากลิ้งก์นี้ให้คุณนวรัตนและทุกท่านอ่านเกี่ยวกับคุโณปการแด่สยามของฝรั่งท่านนี้

ครั้งแรกของคนโทรคมนาคมไทย ได้เห็นโฉมผู้นำการโทรคมนาคมแรกเข้าสู่สยาม ( ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔)
http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=190

คุณนวรัตนคงต้องพักผ่อนให้มาก ๆ ตีสามครึ่งแล้วยังไม่นอน (หรือตื่นแล้ว ?)

แล้วสติจะมาพร้อมสตางค์

 ;D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 10, 15:56
เอารูปพระยามนตรีสุริยวงศ์มาให้ดูกัน    ถ่ายสมัยท่านเป็นราชทูตหนุ่ม เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีที่อังกฤษ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 10, 07:13
แวะเอาการบ้านมาส่งคุณเพ็ญชมพูหน่อย

หนุ่มน้อยปริศนาผู้นี้เป็นจะใครกันหนอ
แต่งตัวก็แปลก ไม่ใช่เครื่องแต่งกายแบบไทยๆ หรือเครื่องแบบข้าราชการ
แต่เป็นชาวเอเซีย ดูสนิทสนมกลมกลืนกับหมู่คณะดี


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 10, 07:50
รูปถ่ายร่วมสมัย ปรากฏต่อสาธารณะในปี1857เช่นกัน

เป็นภาพสังฆราชปาเลอกัวถ่ายกับศิษย์คนโปรดของท่าน
น่าจะเป็นเด็กญวนที่มาเติบโตในเมืองไทย ครอบครัวคงอพยพหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพร้อมกับคณะสอนศาสนาฝรั่งเศส
ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านญวน สามเสน

ศิษย์โปรดพวกนี้ภาษาคงดีด้วยไม่ต้องสงสัย

มีบันทึกชัดเจนว่า คณะทูตชุดพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษาธิบดี(แพ บุนนาค)เคยขอลูกศิษย์ของท่านสังฆราชปาเลอกัวมาช่วยเป็นล่ามคราวไปราชสำนักฝรั่งเศสในปี1860

ครั้งก่อนก็อาจจะขอยืมตัวลูกศิษย์ของท่านไปเป็นล่ามในคณะเช่นกัน มีคนพูดภาษาคล่องๆ จะกินอยู่อย่างไรก็เบาใจไปเยอะ
และนั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง แม้มิได้มีชื่ออยู่ในคณะอย่างเป็นทางการ แต่เด็กคนนี้ก็มีความสำคัญมากขนาดเข้าแถวถ่ายรูปอยู่ในหมู่คณะทูตด้วย


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 10, 07:55
ไม่ทราบว่าจะเป็นเด็กคนเดียวกันหรือเปล่า

รูปปรากฏปีเดียวกัน แต่รูปท่านสังฆราชอาจถ่ายก่อนหน้านั้นเป็นปีก็ได้
ปีนึงๆ คนวัยนี้เติบโตเปลี่ยนแปลงได้เยอะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 10, 08:01
เด็กเชื้อสายญวน มาอยู่เมืองไทยก็อาจไว้ผมจุกตามแฟชั่นของที่นี่ก็ได้
พอตัดจุก แล้วก็โพกผ้า

เปรียบเทียบรูปแล้ว หรือจะเป็นคนนี้

เดาได้เท่านี้แหละครับ ถ้าจะเอาถึงว่าชื่อเสียงเรียงใด คงต้องใช้บริการของร่างทรงแล้ว


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ค. 10, 18:08
ใจเชื่อไปทางว่า เด็กหนุ่มคนนี้เป็นล่าม    เพราะคนเอเชียที่ไม่ใช่ไทย เดินทางไปกับคณะทูตไทย  มีหน้าที่การงานมีเกียรติ  พอจะถ่ายรูปรวมกันได้   แต่งกายก็ดูเรียบร้อยเป็นงานเป็นการ     ก็เห็นมีแต่ล่าม เท่านั้นค่ะ 

ข้อสันนิษฐานคุณ N.C.ที่ว่าอาจเป็นศิษย์สังฆราชปาเลอกัวส์    ให้คะแนนไว้ประมาณ 60     ที่คิดว่าใช่เพราะดูหมวกก็เข้าเค้า     ที่ยังแย้งอยู่คือราชทูตไทยคณะนี้ไปอังกฤษ   ไม่ใช่ฝรั่งเศส   
ท่านสังฆราชน่าจะสอนศิษย์พูดฝรั่งเศสเป็นพื้นฐาน    ไม่ใช่อังกฤษ    คนพูดฝรั่งเศสนั้นก็หาใช่ว่าจะสื่อสารอังกฤษได้โดยอัตโนมัติไม่   อาจจะพูดขอ fish and chip กินไม่ได้ด้วยซ้ำไป     เอาไปเป็นล่ามคงไม่ได้เรื่อง
จะว่าท่านสอนไว้ทั้ง ๒ ภาษา  ก็ยังไม่พบหลักฐานว่าท่านสังฆราชเก่งอังกฤษด้วย     ต้องถามกลับไปอีกทีว่าท่านสังฆราชใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้วยหรือไม่   เพราะบันทึกของท่านที่คุณสันต์ ท.โกมลบุตรแปล เป็นภาษาฝรั่งเศส

คนเอเชียที่พูดอังกฤษได้  น่าจะเป็นพวกมลายู หรือสิงคโปร์  แล้วมาอยู่ในสยาม     เลยรู้ทั้งไทยและอังกฤษ  ดูรูปน่าจะผิวคล้ำ  เสื้อผ้าก็ออกทางมลายูมากกว่าญวน    ถ้ามีผ้านุ่งคาดทับรอบเอวอีกผืน เหมือนเวลาเต้นร็องเง็งกันละก็   น่าจะเป็นมาเลย์ได้เลย 


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 10, 23:59
เข้าไปใช้บริการของคุณวิกี้มา เลยไปเจอภาพนี้ครับ มีคำบรรยายภาพว่า ฌัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397   (ค.ศ.1854)
ก่อนหน้าคณะทูตไปยุโรป 3 ปี นายชมจึงโตขึ้นมานิดนึงตามภาพที่ยืนเข้าแถวกับคณะทูต

ถ้าจะว่าลูกศิษย์ของท่านปาเลอกัว(สะกดแบบไทยๆ) เก่งแต่ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษไม่เก่ง ก็ไม่น่าจะอย่างนั้นนะครับ ผมว่า ตัวท่านสังฆราชปาเลอกัวท่านปราชญ์เปรื่องทั้งสองภาษา รวมถึงละตินและไทยด้วย เจ้าฟ้ามงกุฏนั้น สมัยทรงผนวชที่วัดราชาธิวาส แค่ข้ามคลองก็เจอวัดคอนเซปชั่นเลย พระองค์กับท่านปาเลอกัวจึงได้มีโอกาสเสวนากันบ่อยๆ ทรงรับสั่งภาษาอังกฤษได้อย่างดีเพราะมีติวเตอร์ที่เก่งอย่างท่านสังฆราชปาเลอกัวนั่นแหละ

อาจารย์เทาชมพูเองเคยตอบกระทู้เรื่อง “ก.ศ.ร กุหลาบ คือใครครับ” ตอนหนึ่งว่า นายกุหลาบบวชเป็นสามเณรอยู่หลายปีจนถึงรัชกาลที่4จึงสึก แล้วดำเนินชีวิตแบบชายไทย คือเข้ารับราชการ สังกัดในกองร้อยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ความสนใจพิเศษของนายกุหลาบอยู่ที่การเรียนภาษาต่างประเทศ ซึ่งทั้งสยามมีคนไทยรู้กันไม่กี่คน   นายกุหลาบสมัครไปเป็นศิษย์ของสังฆราชปาเลอกัวซ์ เรียนภาษาละติน อังกฤษและฝรั่งเศส


ดังนั้น ตามภาษาเด็กอัจฉริยะระดับศิษย์โปรด นายชม จึงน่าจะเก่งภาษาอังกฤษด้วย ยิ่งผ่านเมืองนอกเมืองนามาแล้ว อย่าว่าแต่จะสั่ง fish and chipเลย เผลอๆจะสั่งให้ฝรั่งทำไข่เจียวหมูสับมาให้คนไทยคิดถึงบ้านกินเล่นกับขนมปังได้ด้วย

แต่ว่าแหละครับ  เด็กคนนี้จะใช่นายชมหรือไม่ ก็ยังต้องพึ่งร่างทรงอยู่ดี




กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 10, 08:36
รายชื่อบุคคลในคณะราชทูตสยาม จากจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่งโดยหม่อมราโชทัย ในตู้หนังสือเรือนไทย

http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ (http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐)

..................................

(๘) ล่ามของอุปทูต ชื่อนายโนรี

.............................................

มีชื่อล่ามเพิ่มอีกคนหนึ่งคือ นายโนรี ประวัติไม่ปรากฏ

หรือจะเป็นนายคนนี้

 ???

แล้วชื่อ นายโนรี นี้ คุณเทาชมพูจะให้สักกี่คะแนนหนอ

 ???


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 10, 09:14
พอคุณนวรัตนส่งศิษย์ปาเลอกัวซ์ ขึ้นเวที     ดิฉันก็นึกไปถึงนายโนรีที่คุณเพ็ญชมพูส่งเข้าประกวด     โดยยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์อะไรทั้งนั้น  ใจก็ลำเอียงว่าหนุ่มน้อยในรูปคณะทูตน่าจะเป็นล่าม  เมื่อเป็นล่ามก็ต้องเป็นนายโนรีในลิสต์ชื่อคณะทูต
ส่วนนายโนรีเป็นใครมาจากไหน   ยังบ่ฮู้บ่หันอยู่      ตามรูปการณ์ รู้ขนาดไปเป็นล่ามได้   กลับมาน่าจะเข้ารับราชการได้สบายๆ   ตำแหน่งเลื่อนปรูดปราดอย่างต่ำก็คุณหลวง  อย่างสูงอาจได้ถึงพระยา   เพราะในรัชกาลที่ ๔ ใครรู้ภาษาฝรั่งย่อมเป็นคนโปรด   ทำไมพ่อโนรีลงเวทีแล้วหายตัวไปเฉยๆ ไม่มีประวัติให้ตามหาได้อีก   (คงต้องถามคุณวันดี หรือคุณหลวงเล็กละทีนี้   มีอยู่ในหนังสืองานศพเก่าๆ  หรือในราชกิจจาฯบ้างไหม)

ส่วนเรื่องท่านสังฆราชรู้ภาษาอังกฤษหรือไม่      จำได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎท่านเรียนละติน แลกกับสอนบาลีให้ท่านสังฆราช    บาลีกับละตินก็มีรากฐานศัพท์เทียบกันได้อยู่  จึงแลกเปลี่ยนความรู้กันไม่ยาก    แต่เจ้าฟ้ามงกุฎท่านไม่ได้เรียนอังกฤษกับสังฆราช   ท่านไปเรียนกับมิชชันนารี     เจ้าฟ้าน้อยกรมขุนอิศเรศฯ ก็เช่นกัน ไปเรียนกันมิชชันนารี     ดิฉันก็เลยยังลังเล ไม่ฟันธงลงไป
คุณนวรัตนยันกลับมาด้วยข้อมูลนายกุหลาบไปเรียนหลายภาษากับท่านสังฆราช    ข้อนี้ตัวดิฉันเองเป็นคนให้ข้อมูล ซึ่งแน่นอนว่าเอามาจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง   จะแก้ตัวดื้อๆว่าหนังสือบอกไว้ผิดก็คงไม่ได้

สรุปแล้ว    มีโอกาสเท่าๆกันว่าหนุ่มน้อยคนนี้จะเป็นนายชมหรือนายโนรี  ให้คะแนนไม่ถูก  เอาเป็นว่าสวมมงกุฎกันคนละครึ่งอันก็แล้วกันค่ะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 พ.ค. 10, 10:50
ส่วนเรื่องท่านสังฆราชรู้ภาษาอังกฤษหรือไม่      จำได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎท่านเรียนละติน แลกกับสอนบาลีให้ท่านสังฆราช    บาลีกับละตินก็มีรากฐานศัพท์เทียบกันได้อยู่  จึงแลกเปลี่ยนความรู้กันไม่ยาก    แต่เจ้าฟ้ามงกุฎท่านไม่ได้เรียนอังกฤษกับสังฆราช   ท่านไปเรียนกับมิชชันนารี     เจ้าฟ้าน้อยกรมขุนอิศเรศฯ ก็เช่นกัน ไปเรียนกันมิชชันนารี     ดิฉันก็เลยยังลังเล ไม่ฟันธงลงไป
คุณนวรัตนยันกลับมาด้วยข้อมูลนายกุหลาบไปเรียนหลายภาษากับท่านสังฆราช    ข้อนี้ตัวดิฉันเองเป็นคนให้ข้อมูล ซึ่งแน่นอนว่าเอามาจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง   จะแก้ตัวดื้อๆว่าหนังสือบอกไว้ผิดก็คงไม่ได้


สังฆราชปาเลกัวซ์รู้ภาษาอังกฤษครับ  หลักฐานที่ยืนยันได้ว่าท่านรู้ภาษาอังกฤษดี ก็คือหนังสือพจนานุกรมเล่มโตชื่อว่าศริพจน์ภาษาไทย์ ที่ท่านทำไว้มีทั้งภาษา ฝรั่งเศส อังกฤษ และไทย   ;D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 พ.ค. 10, 10:53
ศริพจน์ภาษาไทย์ สังฆราชปาเลกัวซ์ ทำ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 พ.ค. 10, 10:56
ศริพจน์ภาษาไทย์ สังฆราชปาเลกัวซ์ ทำ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 พ.ค. 10, 11:00
ด้านอักษรศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน  และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น  โดยมีวชิรญาณเถระ  (ต่อมาคือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย  และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก

นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา  คือ  ภาษาไทย  ละติน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  หรือสัพพะ  พะจะนะ  พาสาไท  พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397  เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส  และแต่งหนังสือเรื่อง  "เล่าเรื่องเมืองสยาม"  ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น


ข้างบนนี้ เป็นข้อความที่เอามาจากเวปครับ
ท่านที่สามารถเขียนพจนานุกรมได้ จะต้องเป็นเอกะทัคคะทางภาษาคนหนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสยาม ไม่เหมือนในญวนที่ใช้ฝรั่งเศส ท่านสังฆราชคงจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเช่นเดียวกับเจ้าของภาษา ท่านอาจต้องใช้ภาษาอังกฤษในสังคมของชาวสยามและต่างชาติในยุคนั้นนะครับ  ผมสันนิฐานเอาเองเหมือนกัน

                    


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 10, 11:13
น่าทึ่งมาก  ขอบคุณคุณหลวงและคุณนวรัตน ที่หาหลักฐานมาให้จนกระจ่าง ไม่มีข้อสงสัยว่าสังฆราชปาเลอกัวซ์ รู้ภาษาอังกฤษแตกฉาน
คำถามสุดท้าย คือถ้าท่านเอื้อเฟื้อให้ลูกศิษย์เดินทางไปเป็นล่ามให้คณะทูต   ท่านอาจจะมีลูกศิษย์มากกว่า ๒ คน   เป็นไปได้ไหมว่าคนที่ส่งไปชื่อนายโนรี   ไม่ใช่นายชม 


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 10, 11:15
อ่าน ศริพจน์ภาษาไทย์ ฉบับเต็มได้จากลิ้งก์ข้างล่าง

http://library.tu.ac.th/rarebook/rt0128/01หน้าปกในERRATA.pdf (http://library.tu.ac.th/rarebook/rt0128/01หน้าปกในERRATA.pdf)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 10, 11:37
มีใครพอจะรู้อะไรเกี่ยวกับ บาทหลวง J.L. Vey บ้างไหมคะ    คิดว่าท่านน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง   ไม่งั้นคงทำหน้าที่ revise ไม่ได้


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 พ.ค. 10, 11:50
อ่าน ศริพจน์ภาษาไทย์ ฉบับเต็มได้จากลิ้งก์ข้างล่าง

http://library.tu.ac.th/rarebook/rt0128/01หน้าปกในERRATA.pdf (http://library.tu.ac.th/rarebook/rt0128/01หน้าปกในERRATA.pdf)

ศริพจน์ภาษาไทย์ฉบับที่คุณเพ็ญฯ บอกมานี้ไม่จบทั้งเล่มนะครับ  มีแต่ส่วนหน้าของหนังสือเท่านั้น   ถ้าอยากอ่านทั้งหมดต้องไปหาอ่านใน www.archive.org


มีใครพอจะรู้อะไรเกี่ยวกับ บาทหลวง J.L. Vey บ้างไหมคะ    คิดว่าท่านน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง   ไม่งั้นคงทำหน้าที่ revise ไม่ได้


Bishop Jean-Louis Vey, M.E.P.
Deceased
Vicar Apostolic of Eastern Siam {Siam Orientale}
Titular Bishop of Gerasa

--------------------------------------------------------------------------------

Events
Date Age Event Title
6 Jan 1840  Born Araules, France
10 Jun 1865 25.4 Ordained Priest Priest of La Société des Missions Etrangères
30 Jul 1875 35.6 Appointed Vicar Apostolic of Eastern Siam {Siam Orientale}, Thailand
30 Jul 1875 35.6 Appointed Titular Bishop of Gerasa
5 Dec 1875 35.9 Ordained Bishop Titular Bishop of Gerasa
21 Feb 1909 69.1 Died Vicar Apostolic of Eastern Siam {Siam Orientale}, Thailand

a priest for 43.7 years
a bishop for 33.2 years
 
บาทหลวง Jean-Louis Vey เป็นผู้ตัดภาษาละติน ใน ศริพจน์ภาษาไทย์ ออกในฉบับพิมพ์ครั้งต่อมา


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 10, 10:06
ตอนนี้ เราก็พอแกะรอยกันได้แล้วว่า เด็กหนุ่มในคณะทูตน่าจะเป็นล่าม   เพราะตำแหน่งที่จะมาถ่ายรูปกับคณะทูตผู้ทรงเกียรติได้  โดยตัวเองไม่ใช่ทูต  ก็มีแต่ล่ามเท่านั้น   
เห็นได้ว่าในรูปนี้แม้แต่กัปตันเรือก็ไม่มายืนปนอยู่ด้วย    อาจจะถ่ายรูปร่วมกันในรูปอื่น   แต่ไม่ใช่รูปที่บอกถึงภาระกิจที่มีร่วมกัน
ก็คงจบได้แค่นี้     ส่วนชื่อก็รู้แต่ว่าชื่อนายโนรี   เกี่ยวข้องกับสังฆราชปาเลอกัวซ์อย่างไร ยังหาหลักฐานไม่พบ

ย้อนกลับมาที่พระยามนตรีสุริยวงศ์     เท่าที่สกุลบุนนาคบันทึกประวัติท่านไว้ก็คือ
๑    เป็นบุตรคนที่ ๙ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  กับท่านผู้หญิงจันทร์
๒    เป็นน้องชายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
๓    เริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก  เป็นนายพลพันหุ้มแพร
๔    ตำแหน่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ คือจางวางมหาดเล็ก
๕    พอกลับจากยุโรป  ทั้งที่ยังเป็นพระยา  แต่ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ    เป็นพระยาคนแรกที่ได้เป็นสมุหกลาโหม


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 10, 10:09
ในประวัติไม่ได้บอกว่าท่านเรียนภาษาอังกฤษที่ไหน   แต่ดูจากตำแหน่งราชทูตที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯแล้ว เชื่อว่ารู้ภาษาฝรั่งดีพอจะส่งไปเจรจากับฝรั่งได้ที่อังกฤษ
ก็เดาต่อว่าท่านก็เรียนภาษาแบบเดียวกับพี่ชาย คือสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้เรียนมา คือเรียนกับมิชชันนารีฝรั่ง   อาจจะพูดคล่องด้วยซ้ำ เพราะเรียนแบบตัวต่อตัว    หรืออย่างดีก็มีนักเรียนสัก ๒ คนในชั้นเรียน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 08 พ.ค. 10, 19:36
๕    พอกลับจากยุโรป  ทั้งที่ยังเป็นพระยา  แต่ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ    เป็นพระยาคนแรกที่ได้เป็นสมุหกลาโหม

กราบเรียน อาจารย์เทาชมพูที่เคารพอย่างสูง
ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ เป็นที่ พระยา อยู่แล้วครับ
ต้องระดับ สมุหพระกลาโหม ถึงเป็นที่อัครมหาเสนาบดี ที่เจ้าพระยาสุพรรณบัฏ

ส่วนสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ บังคับบัญชากรมพระกลาโหมฝ่ายเหนือ (เช่นเดียวกับสมุหนายกฝ่ายเหนือ กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ) เป็นที่พระยาครับ

สันนิษฐานกันว่า เป็นตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีเมืองพระพิษณุโลก สมัยอยุธาตอนกลาง ที่โปรดให้สมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพระพิษณุโลก
ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนเรศวร เทครัวหัวเมืองเหนือลงมาอยุธยาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เพื่อรับศึกพม่า ตำแหน่งทั้งสองจึงลดลงมาเป็นขุนนางกรุงศรีอยุธยา

เมื่อพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ถึงแก่อนิจกรรม  จึงโปรดฯ ให้ พระเพชรพิสัยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ปลัดเมืองเพชรบุรี (รักษาการตำแหน่งเจ้าเมือง) เข้ามาเป็นสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือแทนพี่ชายต่างมารดา ที่ พระยาเทพประชุน
พระยาเทพประชุน ทำหน้าที่แทนสมุหพระกลาโหม คราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕ เนื่องจาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
หลังจากนั้นไม่นาน พระยาเทพประชุน (ท้วม บุนนาค)  ได้เลื่อนเป็นที่ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ที่กรมท่า ท่านเป็นเสนาบดีกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) คนแรกของสยาม เรียกกันลำลองว่า ท่านเจ้าคุณกรมท่า
ส่วนตำแหน่งสมุหพระกลาโหมนั้น โปรดฯ ให้ พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) จางวางมหาดเล็ก บุตรเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค - ซึ่งเมื่อพ้นจากผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) เป็น เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม เรียกกันลำลองว่า ท่านเจ้าคุณทหาร

เมื่อตำแหน่งพระเพชรพิสัยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองรักษาการเจ้าเมืองเพชรบุรีว่างลงนั้น ร. ๔ จึงโปรดให้ นายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก (เทศ บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ น้องต่างมารดาของท่านช่วง ท่านชุ่ม ท่านท้วม เป็นที่ พระเพชรพิสัยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองรักษาการเจ้าเมืองเพชรบุรี
ท่านเทศ คือผู้ที่ได้ไปในคณะทูตของพระยามนตรีสุริยวงศ์ เพื่อจะไปศึกษาต่อ แต่เกิดเหตุขัดข้องเสีย   เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๕ ท่านได้เป็นที่ พระยาสุรินทรฦๅไชย เจ้าเมืองเพชรบุรีเต็มตำแหน่ง  ต่อมาได้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี และเลื่อนเป็นที่ เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์
ท่านเป็นบิดาของเจ้าจอมก๊กออ และมีบุตรชายเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี ราชบุรีหลายท่าน

ถ้าท่านพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ไม่ถึงแก่อนิจกรรมไปเสียก่อน  ท่านต้องถึงที่เจ้าพระยาเสนาบดีอย่างแน่นอน เพราะท่านเป็นน้องชายร่วมมารดากับท่านช่วง
และอาจได้เป็นถึงที่สมเด็จเจ้าพระยา แบบสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ องค์น้อย ในรัชกาลที่ ๔ ก็เป็นได้ เพราะท่านช่วง และท่านชุ่ม เป็น เจ้าคุณพระราชพันธ์ ชั้นที่ ๓ เนื่องจากมีมารดาเป็นเอกภริยา  จึงมีเพียงท่านสองคน ที่เป็นผู้สืบราชินิกุลสายตรง จากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) และเจ้าคุณนวล ซึ่งเป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ ชั้นที่ ๑
เพราะผู้ที่เกิดจากอนุภรรยา จะมิได้เป็น "เจ้าคุณชาย" แต่เรียกกันเพียง "คุณชาย" ในสกุลถือว่ามีศักดิ์ต่ำกว่า เช่น เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค) เมื่อ ร. ๕ จะเลื่อนศักดินาและเครื่องยศเทียบที่สมเด็จเจ้าพระยา นา ๓๐๐๐๐ คู่กับท่านช่วง พี่ชายต่างมารดา  คนในสกุลก็ประท้วงว่าท่านเกิดแต่อนุภรรยา ร. ๕  จึงลดศักดินา เหลือ ๒๐๐๐๐ แทน
สายสมเด็จองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)) จึงมีทายาทสายตรงเพียง เจ้าคุณชายช่วง กับ เจ้าคุณชายชุ่ม
ส่วนสายสมเด็จองค์น้อย (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)) ไม่มีทายาทสายตรงเลย เนื่องจากบุตรชายที่เกิดจากเอกภริยา คือ เจ้าคุณชายสนิท (บุนนาค) ซึ่งเป็นที่ พระสุริยภักดี เจ้ากรมพระตำรวจ ในรัชกาลที่ ๓ ต้องโทษประหารเมื่อปี ๒๓๘๑

บุตรของท่านที่ได้สืบทอดราชทินนาม พระยามนตรีสุริยวงศ์ มีหลายท่าน เช่น พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)  และหลาน คือ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (วิเชียร บุนนาค) พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 10, 20:25
ขอบคุณที่มาชี้แจงคำตอบถูกต้องให้ค่ะ   ดิฉันสับสนเองระหว่างสมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ กับสมุหพระกลาโหม


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 09 พ.ค. 10, 19:26
ส่วนสายสมเด็จองค์น้อย (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)) ไม่มีทายาทสายตรงเลย เนื่องจากบุตรชายที่เกิดจากเอกภริยา คือ เจ้าคุณชายสนิท (บุนนาค) ซึ่งเป็นที่ พระสุริยภักดี เจ้ากรมพระตำรวจ ในรัชกาลที่ ๓ ต้องโทษประหารเมื่อปี ๒๓๘๑

ขอแก้คำผิดเล็กน้อยนะครับ  พิมพ์เพลินไปหน่อย  พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) เรียกกันเพียง "คุณชาย"  
เพราะท่านถึงแก่กรรมก่อนที่รัชกาลที่ ๔ จะโปรดฯ ให้บุตรธิดาของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ องค์น้อย ที่เกิดแต่เอกภริยา เป็นที่ เจ้าคุณพระสัมพันธวงศ์ (รัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนเป็น เจ้าคุณพระราชพันธุ์) ชั้นที่ ๓
(ท่านบุนนาค เจ้าคุณนวล เป็นชั้นที่ ๑ สมเด็จองค์ใหญ่ องค์น้อย เป็นชั้นที่ ๒)
คุณชายสนิท จึงยังไม่ถึงที่ "เจ้าคุณ" อย่างเป็นทางการ
ส่วนบรรดาบุตรธิดา ของสมเด็จองค์ใหญ่ องค์น้อย ที่ถึงแก่กรรมไปก่อน ร. ๔  หรือที่เกิดแต่อนุภริยานั้น เรียกกันเพียง "คุณ" เป็น คุณหญิง คุณชาย (เชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ออกนาม คุณหญิง คุณชาย เช่นกัน)

ส่วนบุตรธิดาของเจ้าคุณพระราชพันธุ์ ชั้นที่ ๓ (เจ้าคุณชายช่วง เจ้าคุณชายชุ่ม)  ถ้าเกิดแต่เอกภริยา ก็ออกนามว่า คุณชาย คุณหญิง
ในสี่แผ่นดิน ลูกอนุภริยา ก็ออกนามแค่ แม่พลอย พ่อเพิ่ม  แต่เมื่อเป็นลูกคุณหญิงเอกภริยา ก็เป็น คุณชิต เป็นต้น



ในประวัติไม่ได้บอกว่าท่านเรียนภาษาอังกฤษที่ไหน   แต่ดูจากตำแหน่งราชทูตที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯแล้ว เชื่อว่ารู้ภาษาฝรั่งดีพอจะส่งไปเจรจากับฝรั่งได้ที่อังกฤษ
ก็เดาต่อว่าท่านก็เรียนภาษาแบบเดียวกับพี่ชาย คือสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้เรียนมา คือเรียนกับมิชชันนารีฝรั่ง   อาจจะพูดคล่องด้วยซ้ำ เพราะเรียนแบบตัวต่อตัว    หรืออย่างดีก็มีนักเรียนสัก ๒ คนในชั้นเรียน


เห็นด้วยกับอาจารย์เทาชมพูอย่างยิ่งครับ
 ;D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 09 พ.ค. 10, 22:10
คุณชายสนิท จึงยังไม่ถึงที่ "เจ้าคุณ" อย่างเป็นทางการ

(เพราะก่อนรัชกาลที่ ๔ คำว่า เจ้าคุณ ท่านผู้หญิง คุณหญิง คุณชาย หม่อม เป็นคำใช้เรียกลำลอง มิได้มีกฎระเบียบตายตัว)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 พ.ค. 10, 22:37
จากตำนาน " พริฏิษ แฟกฏอรี่ "ที่คุณหลวงเล็กท่านไปค้นคว้าหามาให้อ่านในกระทู้โน้น

อ้างถึง
นายหันแตรได้ตั้งการค้าขายจนได้เป็นพ่อค้าใหญ่ในกรุงเทพฯ    ต่อมานายหันแตรได้แต่งงานกับหญิงเชื้อสายปตุกัน  ซึ่งเรียกกันโดยสามัญว่า พวกฝรั่งกะฎีจีน  หญิงคนนี้ชื่อ  คาโรไลน์ ทรัพย์   ผู้คนทั่วไปและบ่าวต่างเรียกภรรยานายหันแตรนี้ว่า  ท่านผู้หญิงทรัพย์   เพราะนายหันแตรมีตำแหน่งเป็นที่หลวงอาวุธวิเศษ

ผมก็ยังงงๆอยู่ เคยคิดจะถามที่มาที่ไปสักหน่อยว่า ภรรยาคุณหลวงนี่ เขายกกันให้เป็นถึงท่านผู้หญิงเชียวหรือ ในกระทุ้นี้ท่านภาณุเมศฺวรบอกว่าก่อนรัชกาลที่ ๔ คำว่า เจ้าคุณ ท่านผู้หญิง คุณหญิง คุณชาย หม่อม เป็นคำใช้เรียกลำลอง มิได้มีกฎระเบียบตายตัว ผมก็ยังใคร่ถามท่านผู้รู้อยู่ดี เรื่องนี้คงมีความตื้นลึกหนาบางอยู่บ้างกระมัง  มิฉะนั้นในวงสังคมชั้นสูงคงจะเขม่นกันตายเพราะบรรดาศักดิ์ที่บ่าวไพร่ยกนายนี่แหละ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 10, 22:45
ตอบไว้ในกระทู้ ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร

อ้างถึง
อ้างถึง
ท่านผู้หญิงจับ  ภรรยาพระมหาอำมาตย์ (ชื่น  กัลยณมิตร)
เท่าที่เคยทราบมา  ท่านผู้หญิงก็คือภรรยาของเจ้าพระยา
ทำไมภรรยาพระมหาอำมาตย์  ได้เป็นท่านผู้หญิงค่ะ  ขอความรู้หน่อยค่ะ
ขอขยายความจากที่คุณวันดีตอบ  คือสมัยที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติคำนำหน้าสตรี     ภรรยาหลวงของขุนนาง เรียกกันอย่างยกย่องว่า ท่านผู้หญิง   ไม่จำกัดว่าขุนนางระดับพระยาหรือเจ้าพระยา
ในขุนช้างขุนแผน  ขุนช้างเป็นแค่มหาดเล็ก  ไม่มีบรรดาศักดิ์    นางวันทองเป็นภรรยาหลวง (หรือที่ถูกคือภรรรยาคนเดียว)   กวีก็เรียกว่าท่านผู้หญิง  เห็นได้จากตอนพระไวยแต่งงาน

ท่านผู้หญิงวันทองร้องเรียกบ่าว             .....................

ในนิราศเมืองเพชร   ระหว่างเส้นทางที่สุนทรภู่เดินทาง   แวะบ้านมิตรเก่าชื่อขุนแพ่ง   ผู้ไปตายเสียในศึกเจ้าอนุวงศ์
ก็เรียกภรรยาหลวงว่า
สงสารท่านผู้หญิงมิ่งเมียหลวง              .......................

ขยายความต่อว่า แม้ในยุครัชกาลที่ ๖  ที่มีคำนำหน้าสตรีแล้ว   สตรีที่เป็นภรรยาหลวงของพระยา  ถึงไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้า  ก็เรียกว่า "คุณหญิง"   ส่วนผู้ที่ได้รับ ก็แน่นอนว่าเป็น "คุณหญิง" อย่างเป็นทางการ
ส่วนภรรยาหลวง หรือภรรยาออกหน้าออกตา ของเจ้าพระยา  ถ้าไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯถึงขั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ    ก็ไม่เรียกว่า ท่านผู้หญิง   เรียกว่า"คุณหญิง" เท่านั้น

แถมท้ายให้อีกหน่อยว่า   เมียหลวงขุนนาง   เรียกว่าท่านผู้หญิง   ส่วนภรรยารองๆลงมา เรียกกันว่า หม่อม ค่ะ

ถ้าถามว่าคำเหล่านี้เป็นทางการหรือไม่     ดิฉันสรุปว่าเป็นประชานิยม เห็นจะถูกต้องกว่าเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

ส่วนสมัยนี้   คำว่าหม่อม  ไปยกให้หม่อมหลวงครอบครองเสียแล้ว   
หม่อมราชวงศ์ชายพลอยได้รับไปด้วยจากบรรดาสื่อ   แต่หม่อมราชวงศ์หญิง สื่อยังไม่เรียกหม่อม    บางท่านที่มีอาวุโสสูง  ถูกสื่อยกเป็นท่านหญิงไปเลยก็มี


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 09 พ.ค. 10, 23:15
เพราะท่านถึงแก่กรรมก่อนที่รัชกาลที่ ๔ จะโปรดฯ ให้บุตรธิดาของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ องค์น้อย ที่เกิดแต่เอกภริยา เป็นที่ เจ้าคุณพระสัมพันธวงศ์ (รัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนเป็น เจ้าคุณพระราชพันธุ์) ชั้นที่ ๓
(ท่านบุนนาค เจ้าคุณนวล เป็นชั้นที่ ๑ สมเด็จองค์ใหญ่ องค์น้อย เป็นชั้นที่ ๒)

ลองเช็คข้อมูลดู  เห็นว่าที่ทรงจำไว้นั้นผิดหลายประการ  ขอแก้ใหม่นะครับ

รัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้เจ้าคุณนวล และบรรดาเจ้าคุณที่เป็นพระภคินีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ เป็นเจ้าคุณพระไอยิกา
เจ้าคุณที่เป็นธิดาของเจ้าคุณพระไอยิกา คือเจ้าคุณที่เป็นพี่สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๒ นั้น โปรดฯให้มีฐานันดรเป็นเจ้าคุณพระสัมพันธวงศ์

ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ จึงได้เปลี่ยนเป็น เจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ ๑ ๒ และ ๓ ตามลำดับ
ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=12-07-2007&group=2&gblog=67 (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=12-07-2007&group=2&gblog=67)


ประเด็นต่อไป

ในขุนช้างขุนแผน  ก็มีบทที่บ่าวไพร่เรียกขุนช้างว่า "เจ้าคุณ" ด้วยนะครับ
คำ เจ้าคุณ นี้ คงมาจาก เจ้าพระเดชนายพระคุณ และนำมาเรียกผู้ที่เราเคารพอย่างสูง เช่น  พระเจ้าเสือ ก็เรียกพระมารดาเลี้ยงว่า เจ้าคุณ
ในการเรียกพระราชาคณะว่าเจ้าคุณ ก็ยังมีคำเดิมติดมา เช่น พระเดชพระคุณ เจ้าประคุณ (เจ้าพระคุณ) สมเด็จ...
ต่อมาในรัชกาลที่ ๔  เรียกเจ้าคุณกันเกร่อ จึงต้องมีระเบียบออกมา

อย่างไรก็ตาม การเรียกขุนนางระดับพระยาขึ้นไปว่า เจ้าคุณ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ นั้น ผู้สนทนาต้องเป็นผู้มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีความสนิทสนมกัน  ผู้มีศักดิ์ต่ำกว่าต้องใช้ว่า "ใต้เท้า" (พระยา) "ใต้เท้ากรุณา" (เจ้าพระยา) "ใต้เท้ากรุณาเจ้า" (เจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยา)

คำว่า หม่อม เดิมก็หมายถึงลูกหลานผู้ดี ผู้เกิดในตระกูลสูง เช่น หม่อมบุนนาค (เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ต้นสกุลบุนนาค)  หรือเจ้าที่ถูกถอดยศ เช่น หม่อมเหม็น หม่อมไกรสร   ลูกหม่อมเจ้า ก็เรียกหม่อม (หม่อมราชวงศ "น่าจะ" มามีใน ร. ๔  ส่วนหม่อมหลวงมีใน ร. ๕)
นอกจากนี้ยังใช้ในความหมายของอนุภรรยาของเจ้านาย หรือ ขุนนาง เช่น อนุภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาก็เรียกหม่อม   ต่อมาจึงได้มีกฎให้ใช้กับสามัญชนที่เป็นหม่อมห้ามของเจ้านาย

ส่วนคุณชาย คุณหญิง นั้น ใช้เรียกบรรดาเชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรี และเชื้อสายเจ้าคุณนวลกับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบุนนาค ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้

ท่านผู้หญิง ใช้เรียกเอกภริยาของขุนนาง

ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=11-04-2007&group=2&gblog=56 (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=11-04-2007&group=2&gblog=56)

แต่ที่ไม่ทราบคือ มาจัดลำดับให้ คุณหญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับพระยาขึ้นไป และท่านผู้หญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับเจ้าพระยาขึ้นไป  ตั้งแต่เมื่อใด
สันนิษฐานว่าในรัชกาลที่ ๕ ที่มีการพระราชทานเครื่องราชย์ ตระกูลจุลจอมเกล้า กระมังครับ ???

ป.ล. ขอบพระคุณคุณกัมม์ สำหรับลิงค์ข้อมูลดี ๆ ครับ
 ;D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 10, 10:06
ขอกลับมาที่ประวัติพระยามนตรีสุริยวงศ์ อีกครั้ง ค่ะ

ท่านสมรสกับคุณหญิงเป้า  ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัด บุนนาค) อาของท่าน  มีบุตรธิดา ๑๑ คน 
ขอยกมาเพียงบางคนที่หนังสือประวัติสกุลลงไว้
๑    มหาอำมาตย์โท  พระยามนตรีสุริยวงศ์(ชื่น)  สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ
๒    พระยาราชพงศานุรักษ์( ชม) ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
๓    พระศรีธรรมสาส์น (เชย) เสนาบดีกรมท่า
๔    พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์

ส่วนบุตรธิดาจากภรรยาอื่น ที่สำคัญก็มี
๑    พระภักดีพิรัชภาค (เจิม) มหาดเล็ก  สังกัดกองพิเศษกรมตำรวจ
๒    อำมาตย์เอก พระยามหาบุรีรมย์ (ทับทิม) ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
๓    มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด) เสนาบดีกระทรวงการคลัง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ ๗
๔    พระยารำไพพงศ์บริพัตร (จิตร) รับราชการในกรมรถไฟหลวง

ส่วนธิดาของท่านนั้น  บางคนก็สมรสกับพี่ชายหรือน้องชายต่างมารดาของตน   :o
๑    คุณหญิงนิ่ม  เป็นภรรยาพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่)
๒    นิล  เป็นภรรยาพระยามนตรีสุริยวงศ์(ชื่น)
๓    คุณหญิงลิ้นจี่ เป็นภรรยาพระยาสุริยานุวัตร (เกิด)
๔    ปุย  เป็นภรรยาพระศรีธรรมสาส์น (เชย)   ท่านรับราชการในห้องเครื่องต้นในรัชกาลที่ ๖  ได้เป็นท้าวราชกิจวรภัตร    ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ตติยจุลจอมเกล้า

ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย สำหรับสามัญชน  พี่น้องพ่อเดียวกันแต่ต่างแม่ สมรสกันได้ด้วย   รู้แต่ว่าลูกพี่ลูกน้องในสกุลเดียวกันแต่งงานกันเอง  เป็นเรื่องธรรมดา   
ในกรณีนี้ เมื่อดูว่ามีตั้ง ๔ คน  ก็แสดงว่าเป็นเรื่องยอมรับกันในครอบครัว  ผู้ใหญ่เห็นชอบด้วย จึงสมรสกันได้หลายคู่   

พระยามนตรีสุริยวงศ์ มีบุตรธิดารวมทั้งหมด ๒๘ คน  เป็นชาย ๑๘  หญิง ๑๐ คน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 10 พ.ค. 10, 10:37
ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย สำหรับสามัญชน  พี่น้องพ่อเดียวกันแต่ต่างแม่ สมรสกันได้ด้วย   รู้แต่ว่าลูกพี่ลูกน้องในสกุลเดียวกันแต่งงานกันเอง  เป็นเรื่องธรรมดา    
ในกรณีนี้ เมื่อดูว่ามีตั้ง ๔ คน  ก็แสดงว่าเป็นเรื่องยอมรับกันในครอบครัว  ผู้ใหญ่เห็นชอบด้วย จึงสมรสกันได้หลายคู่    

ใช่ครับ  ในสกุลมีการสมรสกันระหว่างพี่น้องต่างมารดาหลายคู่  เช่น เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)  ก็สมรสกับน้องสาวต่างมารดา ๒ ท่าน (แต่เคยได้ยินมาว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ท่านคัดค้าน ทำให้เกิดความบาดหมางกันขึ้น  จำได้ราง ๆ นะครับ  ???)

นอกจากนั้นที่นึกออกในขณะนี้ก็มี พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) ที่ได้น้องสาวต่างมารดาเป็นอนุภรรยาอยู่ ๑ ท่าน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 พ.ค. 10, 10:47
เคยกราบเรียนถาม หลานสาวของ ตระกูลแรกของประเทศไทย      เนื่องด้วยประวัติ อาๆ ของท่านดูจะสับสนอยู่บ้าง

ท่านเมตตาตอบว่า อาของท่านคนหนึ่ง   เป็นภรรยาของคุณลุงของท่าน


เรียนถามต่อไป คืบได้แล้วต้องรุก   ว่าทำไมเพราะคุณลุงก็เป็นนักเรียนนอกเกริกไกร ทำไมย้อนยุค

ท่านอธิบายว่า  พี่น้องแทบไม่รู้จักกัน เพราะน้องสาวก็เข้้าวังไปตั้งแต่เล็ก

เมื่อพี่กลับมาจากต่างประเทศ   น้องสาวก็เฉิดฉายเป็นสาวสพรั่งออกมาแล้ว     แทบจะเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน ดั่งนี้




ยิ่งในสกุลมหาศาล   หม่อม ๆ ก็มีเรือนอยู่ต่างหาก       พี่น้องไม่สนิทสนมกัน

ที่จวนนั้นก็เป็นที่บัญชาการงานบ้านงานเมือง  มีขุนนางและพ่อค้าเจ๊สัวมาดักท่านประธานของบ้านตั้งแต่เช้าจดเย็น

หม่อมน้อยๆ  ไหนจะย่างกรายพาลูกเล็กๆ มาเล่นตี่จับหรือซ่อนหาได้



หม่อมน้อยๆนั้นบางคนที่ลูกชายเกิดได้ดีเป็นพระยาหรือเจ้าพระยาขึ้นมานั้น

เมื่อศึกษาดูดีๆ  จะเป็นหลานสาวของสกุลขุนนางระดับเจ๋งเหมือนกัน

มิใช่จะเป็นหม่อมมโหรีไร้ญาติเสียทีเดียว



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 พ.ค. 10, 11:02
เรียนคุณ  Bhanumet   ว่า  โปรดมาพำนักเสียที่นี่เลยจะดีกว่า



สหายหลายท่าน วุ่นวายใจนัก   เพราะยังมีเรื่องต้องถามไถ่กันอีกมาก

เรากำลังวางแผนจะค้นงานเขียนของเจ้าคุณภาสกรวงศ์ มาเปรียบกัน  เพราะคนไม่รู้จักงานของท่าน

อีกชิ้นหนึ่งที่เป็นแต่โครงร่าง   คือ หม่อมไกรสร    ความรู้ความสามารถของท่านก็น่าจะอธิบายกันได้อีกไม่น้อย(ที่จริงเยอะ)

ลองอ่านจดหมายหลวงอุดมสมบัติดู









กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 10, 11:09
สงสัยเรื่องนี้จะแยกซอยออกไปได้หลายทาง

เคยได้ยินจากปากคุณเดือนฉาย (บุนนาค) คอมันตร์ว่า มีเบื้องหลังก็อสสิปตกทอดกันมากันว่า ผู้ชายที่แหม่มแอนนาปิ๊งนั้น ที่จริงเป็นขุนนางสกุลบุนนาค    เป็นหนุ่มสง่างามความรู้ดี    
แต่ดิฉันจำไม่ได้ว่าเป็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ หรือน้องชายคนไหนของท่าน  คุณ Bhanumet เคยได้ยินบ้างไหมคะ

เมียหม่อมของขุนนางใหญ่    ไม่จำเป็นต้องเป็นระดับอีเย็นในนางทาส  หรือเป็นสาวกำพร้าพ่อแม่นำมาขัดดอกเสมอไป    
ลูกสาวขุนนางมีสกุลรุณชาติ ก็เป็นภรรยารองได้เหมือนกัน   ไม่ได้ถือว่าเสียหน้า     ญาติพี่น้องก็ยอมรับด้วยดี
ในงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา   เมื่อเอกภริยาเข้าวังถือน้ำพร้อมสามี  เธอก็นุ่งขาวห่มขาวเป็นสง่า    ส่วนเมียหม่อมตามไปเป็นขบวน  นุ่งห่มสีสันกันเฉิดฉาย  
เป็นหน้าที่คุณหญิงหรือท่านผู้หญิงจะต้องดูแลให้เมียหม่อมเหล่านี้แต่งกายสวยสมหน้าสมตา  ประกาศบารมีของสามีไปในตัว     ขบวนไหนมีหม่อมแต่งตัวงดงาม จำนวนอุ่นหนาฝาคั่งไม่โหรงเหรง   ก็จะดูมีหน้ามีตากว่าเพื่อน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 10 พ.ค. 10, 11:35
เรื่องกอสสิปนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือไม่  เพราะเหมือนคุ้น ๆ  เข้าใจว่าไม่ใช่สมเด็จเจ้าพระยา แต่ตอนนี้ต้องไปราชการนครสวรรค์แล้วครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้ามาใหม่นะครับ  ;D


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 10, 12:13
อ้างถึง
แต่ที่ไม่ทราบคือ มาจัดลำดับให้ คุณหญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับพระยาขึ้นไป และท่านผู้หญิง ใช้กับเอกภริยาของขุนนางระดับเจ้าพระยาขึ้นไป  ตั้งแต่เมื่อใด
สันนิษฐานว่าในรัชกาลที่ ๕ ที่มีการพระราชทานเครื่องราชย์ ตระกูลจุลจอมเกล้า กระมังครับ


ทราบแต่ว่าในรัชกาลที่ ๖ มีพระราชกำหนดคำนำหน้านามสตรีออกมาแล้ว    เรื่องนี้ต้องถามคุณ V_Mee ค่ะ  คงจะจำได้มากกว่าดิฉัน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ค. 10, 22:31
ท่านอาจารย์เทาชมพูกล่าวถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)ไว้ดังนี้

อ้างถึง
เดาว่า  รูปท่านมีอยู่น้อยมาก แค่ ๒ รูป ในวัยหนุ่ม   แต่ในวัยกลางคน คงมีรูปเดียว  คือรูปนี้  ซึ่งไม่ชัดอีกต่างหาก
เมื่อลูกหลานรวบรวมรูปเก่าๆ มาจัดทำคำบรรยายว่าใครเป็นใคร  ท่านไหนถ่ายรูปไว้มากหน่อย  มีหลักฐานปรากฏอยู่หลายที่  ก็จำได้ง่าย   ระบุง่าย 
เจ้าคุณมนตรีฯ  อยู่ในกลุ่มหายาก   คนบรรยายก็ไม่แน่ใจ  เลยไม่กล้าฟันธงว่าใคร

บังเอิญผมไปเปิดหนังสือ"ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย" โดยคุณเอนก นาวิกมูล เจอภาพหนึ่งซึ่งบรรยายไว้ว่าเป็นรูปของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)ถ่ายเมื่อต้นรัชกาลที่๕ แต่ฟังน้ำเสียงคุณเอนกก็ไม่ค่อยจะมั่นใจเท่าไรเหมือนกัน จึงนำมาให้ท่านทั้งหลายได้ช่วยพิจารณาและวิจารณ์ดูครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 10, 22:47
รูปที่คุณเอนกนำลง เป็นใครไม่ทราบ แต่ไม่ใช่พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)  จะเป็นลูกชายท่านที่ได้เป็นพระยามนตรีฯ เหมือนกันในภายหลัง  ได้หรือไม่
ถ้ามีหลักฐานที่ไหนสักแห่งเขียนไว้ว่า เจ้าของรูปคือพระยามนตรีสุริยวงศ์  คุณเอนกก็อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นท่านที่ชื่อชุ่ม   ซึ่งเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด

ที่ว่าไม่ใช่   เหตุผลง่ายๆคือรูปที่คุณนวรัตนนำมาลง  เป็นรูปเด็กหนุ่ม  รูปร่างยังผอมเก้งก้างเหมือนยังเจริญวัยไม่เต็มที่
ถ้าถ่ายในรัชกาลที่ ๕   ท่านราชทูตไทยต้องอายุเข้าวัยกลางคนแล้ว   เพราะท่านเป็นหนุ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔
ถ้าจะค้นประวัติก็จะบวกลบได้ว่า เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๕  พระยามนตรีฯ ท่านอายุเท่าไร   แต่ชาวอักษรฯเป็นพวกแพ้ตัวเลข   เลยฝากคุณนวรัตน ช่วยบวกลบแทนค่ะ

อีกอย่างคือหุ่นพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ท่านเป็นคนร่างท้วมและช่วงตัวสั้น     ส่วนรูปที่นำมาให้ดู  ผอมสูง     
จริงอยู่ว่าผู้ชายหนุ่มตัวผอมๆอาจอ้วนได้เมื่ออายุมากขึ้น      แต่จะอ้วนก่อนในรัชกาลที่ ๔ แล้วมาผอมขนาดนี้เมื่ออายุมากขึ้นในรัชกาลที่ ๕   เป็นไปไม่ได้   (ไม่รวมว่าหน้าเด็กด้วยนะคะ)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 10, 23:01
เอารูปมาเทียบกัน  เห็นได้ว่าเป็นคนละคน   คนขวาอายุน้อยกว่าคนซ้าย


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ค. 10, 06:51
รูปของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ถ่ายเมื่อเป็นอัครราชทูตนั้นเป็นพ.ศ.๒๔๐๐ ซึ่งยังอยู่ในรัชกาลที่๔ ดังนั้นการบรรยายภาพของคุณเอนกจึงผิดแน่นอนอยู่แล้ว

เช้านี้เลยต้องทำการบ้านต่อ ในหนังสือสมุดภาพรัชกาลที่๔ คุณพิพัฒน์ พงศ์ระพีพร ลงรูปนี้ไว้เหมือนกันเป็นภาพเล็กๆ บรรยายภาพว่าเป็นพระยามนตรีพจนกิจ(ชื่น บุนนาค) ๒๔๑๐

พระยามนตรีเหมือนกัน บุนนาคเหมือนกัน คุณเอนกเลยเบลอไป


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 10, 08:19
ไปเปิดหนังสือดูแล้ว  รูปของพระยามนตรีพจนกิจ (ชื่น บุนนาค) รูปนี้ อยู่ในหนังสือสกุลบุนนาค
เป็นบุตรชายของพระยามนตรีสุริยวงศ์   (ชุ่ม บุนนาค)   ท่านเลื่อนขึ้นได้บรรดาศักดิ์เดียวกับบิดา  เป็นมหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น) ในบั้นปลายชีวิต

อย่างที่ดิฉันสันนิษฐานไว้  คงมีคำบรรยายรูปนี้ ระบุบรรดาศักดิ์สุดท้ายของท่านไว้   คุณเอนกจึงไปเข้าใจว่าเป็นพระยามนตรีฯ(ชุ่ม) พ่อของท่าน  ซึ่งเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด
บรรดาศักดิ์มนตรีสุริยวงศ์มีถึง ๔ คน ในสกุลบุนนาค   สามารถทำให้คนรุ่นหลังสับสนได้ค่ะ

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น) เกิดจากเจ้าคุณหญิงเป้า  ภริยาเอก    เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๔  เป็นมหาดเล็กวิเศษ   ในรัชกาลที่ ๕ เป็นนายฉันหุ้มแพร   แล้วเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราช   หัวหมื่นมหาดเล็ก
รูปนี้น่าจะถ่ายสมัยเป็นมหาดเล็กหนุ่ม



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 10, 09:04
ประวัติของพระยามนตรี ฯ คนลูก น่าสนใจไม่แพ้บิดา

เป็นเจ้าหมื่นเสมอในราช หัวหมื่นมหาดเล็ก จนอายุ ๒๙ ก็ย้ายจากกรมมหาดเล็กไปเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ต
งานที่ท้าทายฝีมือท่านข้าหลวงหนุ่ม   คือจีนกุลีเหมืองแร่ก่อจลาจลขึ้นทั่วเมือง   ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะเรียกว่าผู้ก่อการร้าย     
เจ้าหมื่นเสมอใจราชไม่ตั้งโต๊ะเจรจา  ไม่ปรองดองด้วย    แต่นำทหารออกปราบปรามจลาจลได้ราบคาบ    พูดอีกทีคือหัวหมื่นมหาดเล็กจากวังหลวง  ต้องบัญชาการรบในมณฑลภาคใต้  เหมือนเป็นแม่ทัพภาค ๔  เสียเอง
ผลงานนี้ทำให้ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์     เป็นสมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ (แต่อยู่ทางใต้?)


เมื่ออายุ ๓๔  ท่านย้ายไปเป็นข้าหลวงใหญ่  ประจำหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก    อยู่ ๔ ปีจนอายุ ๓๘ ถึงย้ายไปเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ  ประจำอยู่ที่เชียงใหม่

น่าทึ่งอีกอย่างคือเมื่ออายุ ๔๑   ท่านย้ายงานใหม่อีกครั้ง  คราวนี้ไปไกลยิ่งกว่าใต้และเหนือของสยาม  คือไปยุโรปเลยทีเดียว
เป็นเอกอัครราชทูตสยามประจำ ๔ ประเทศ  คืออังกฤษ  อเมริกา ฮอลแลนด์ และเบลเยี่ยม   สำนักงานอยู่ในลอนดอน     รับราชการอยู่ ๒ ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้าน  มาเป็นรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

สรุปว่าตำแหน่งการงานของเจ้าคุณมนตรีสุริยวงศ์(ชื่น) เริ่มต้นด้วยตำแหน่งมหาดเล็ก  อย่างบรรดาลูกผู้ดีมีสกุล  (คุณเปรมของแม่พลอยก็เริ่มต้นแบบนี้)
จากนั้นไปเป็นนักปกครองมหาดไทย     ต่อจากนั้นไปเป็นทูตของกระทรวงการต่างประเทศ  แล้วมาจบที่กระทรวงกลาโหม

ในรัชกาลที่ ๖ ท่านได้เลื่อนเป็นมหาอำมาตย์โท  แต่ยังคงบรรดาศักดิ์เดิมคือพระยามนตรีสุริยวงศ์   เกษียณราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ ๖๙ ปี 
ท่านมีบุตรธิดารวม ๓๕ คน
หนึ่งในจำนวนนี้คือพระยามนตรีสุริยวงศ์ เหมือนกัน    ชื่อตัวชื่อวิเชียร   เป็นอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่นในรัชกาลที่ ๖

บทบาทพระยามนตรีสุริยวงศ์ทุกคนแห่งสกุลบุนนาค ใครศึกษาอย่างละเอียด    น่าจะรวมรวมทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทได้ ๑ เล่ม


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 10, 09:06
ข้อสังเกต   ในประวัติไม่ได้ระบุว่าท่านเป็นพระยามนตรีพจนกิจ  ค่ะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ค. 10, 10:07
พระยามนตรีพจนกิจ ฟังบรรดาศ้กดิ์เหมือนกับจะเป็นล่ามมากกว่านักปกครองนะครับ

เป็นไปได้ที่ผู้รวบรวมรูปถ่ายโบราณเอามาพิมพ์รวมเล่ม จะไม่มีเวลาค้นคว้าตรวจสอบต้นฉบับอย่างถ้วนถี่ เพราะต้องรีบจัดพิมพ์ จึงต้องผิดพลาดบ้าง
ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ไฝ่ใจ ช่วยแก้ไขทีหลัง

นี่ดีที่เป็นยุคอินเตอร์เนตนะครับ ค้นข้อมูลง่าย ข้อมูลในหนังสือก็สแกนปุ๊บโพสต์ปั๊บ ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ เรารู้เห็นที่ผิดก็ไม่รู้จะช่วยแก้ไขให้ถูกได้อย่างไร
สิ่งที่ผิดๆ อ้างอิงกันต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งคนก็เข้าใจว่าเป็นถูกไปได้เหมือนกัน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 10, 11:05
อ้างถึง
พระยามนตรีพจนกิจ ฟังบรรดาศ้กดิ์เหมือนกับจะเป็นล่ามมากกว่านักปกครองนะครับ

สะดุดใจตรงกันค่ะ    เมื่อได้ยินบรรดาศักดิ์นี้     เพราะบรรดาศักดิ์ขุนนางมักจะบ่งชี้ถึงหน้าที่การงาน  
พวกที่มีคำว่า พจน- มักจะเกี่ยวกับงานเรียงร้อยถ้อยคำ   พวกนี้เก่งด้านเขียนหนังสือ    จำได้ว่าพระยาพจนปรีชา(ม.ร.ว.สำเริง อิศรศักดิ์) เคยเรียบเรียงตำราโหราศาสตร์ถวายรัชกาลที่ ๕  
ทำไมพระยามนตรีฯ(ชื่น) ถึงมีบรรดาศักดิ์เหมือนท่านทำงานขีดๆเขียนๆ     แต่ตามประวัติ   ถูกส่งจากหัวหมื่นมหาดเล็กไปเป็นนักปกครองระดับบิ๊กที่ภูเก็ต   ถ้าออกจากวังไปมหาดไทย ก็ไม่น่าจะทำงานด้าน"พจนกิจ"

ทิ้งคำถามไว้ก่อน  ยังไม่ติดใจจะค้นคว้าต่อ

กลับมาถึงบรรดาศักดิ์มนตรีสุริยวงศ์     คำนี้ แปลว่า ขุนนางที่เป็นวงศ์สุริยะ หรือพระอาทิตย์    
บรรดาศักดิ์นี้ เปรียบได้กับตราประทับให้ขุนนางในสกุลบุนนาคเท่านั้น   เพราะวงศ์ตระกูลอื่นไม่มีตราพระอาทิตย์เป็นตราตระกูล
และเจาะจงว่าเป็นบุนนาคสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไม่ใช่สายอื่น  อีกด้วย
ถ้าเป็นสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ    ไม่มีคำที่แปลว่าวงศ์สุริยะ  มีแต่คำว่า สุริยภักดี

เพราะว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ท่านได้รับพระราชทานตรา "สุริยมณฑล" จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราประจำตัว    ภายหลังจึงได้เป็นตราประจำกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) ได้รับพระราชทานตรา "จันทรมณฑล" เป็นตราประจำตัว

สาย "สุริยมณฑล" รุ่งเรืองมาตลอดรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๕     ส่วนสาย"จันทรมณฑล" ประสบชะตากรรมน่าเศร้า บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยถูกประหารในข้อหาลักลอบส่งสารรักใคร่กับเจ้าจอม  ซึ่งผิดกฎมนเทียรบาลถึงขั้นประหาร
แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่เต็มพระทัยจะลงโทษทัณฑ์   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติก็ไม่ยอม  เกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่ายกเว้นให้ลูกชาย     ทายาทของท่านก็เลยต้องเสียชีวิตไป     พลอยทำให้สกุลสายนี้ ไม่รุ่งเรืองเท่าอีกสาย

ครูแจ้ง คนโปรดของคุณวันดี  แต่งเสภาขุนช้างขุนแผน บอกนัยยะถึง สุริยะ ที่เด่นขึ้นมามากกว่า จันทร    ว่า

พระอาทิตย์ชิงดวงพระจันทร์เด่น             ดาวกระเด็นใกล้เดือนดาราดับ
....................................


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 13 พ.ค. 10, 19:26
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู คุณนวรัตน และทุก ๆ ท่านมากครับ สำหรับความรู้

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ท่านถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๔ ครับ (ถ้าอยู่ถึง ร. ๕  คงได้เป็นเจ้าพระยาไปแล้วเป็นอย่างน้อย)

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นข้าหลวงที่มีความใกล้ชิดกับในหลวง ร. ๕ เป็นอย่างมาก ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างสูง
ลูกชายท่านชื่น คนหนึ่งก็ได้เป็นที่ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (วิเชียร บุนนาค)  ซึ่งถือเป็นชั้นหลาน
(ชั้นหลาน ยังมีอีก ๑ ท่าน คือ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) บุตรพระยาไกรเพชรรัตนราชสงคราม (แฉ่ บุุนนาค))

สายสมเด็จองค์ใหญ่ มักมีราชทินนามมีความหมายเป็นพระอาทิตย์ ตามดวงตราสุริยมณฑล เช่น
ศรีสุริยวงศ์ รวิวงศ์ ทิพากรวงศ์ มนตรีสุริยวงศ์ ภาณุวงศ์ ภาสกรวงศ์ ประภากรวงศ์
โดยสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังเป็นสายย่อย ที่ฝรั่งเรียกกันว่า Suriwongse Family โบราณว่า สุริวงษ์ (คงมาจาก สุริย์วงศ์) แต่ตามหลักภาษาคือ สุรวงศ์ ซึ่งสายตรงทางนี้ก็จะมีราชทินนาม "สุรวงศ์" คือ สุรวงศ์ไวยวัฒน์ สุรวงศ์วัฒนศักดิ์ สุรวงศ์วิวัฒน์ และเป็นที่มาของสาย "สุรวงศ์ บุนนาค" ในปัจจุบัน

ส่วนสายสมเด็จองค์น้อย  เนื่องจากไม่มีทายาทสายตรง ทำให้บทบาทลดน้อยลงไป แต่ก็มี เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) สืบทอดราชทินนามเจ้าคุณทวด สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)

อนึ่ง ในรัชกาลที่ ๒  สมเด็จองค์ใหญ่ (ดิศ บุุนนาค) เป็นที่ พระยาสุริยวงศ์มนตรี (บ้างว่า สุริวงศ์มนตรี สุรวงศ์มนตรี) จางวางมหาดเล็กวังหลวง (ภายหลังเป็นพระยาสุริยวงศ์โกษา ว่าที่พระคลัง ก่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง)
ส่วนสมเด็จองค์น้อย (ทัต บุนนาค) เป็นที่ พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กวังหน้า

สุริยวงศ์ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หมายถึงผู้เกิดในตระกูลสูง ตระกูลผู้ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อกษัตริย์
เช่น (เคยอ่านจากที่ไหนจำไม่ได้ ถ้าจำผิดต้องขออภัยอย่างยิ่ง) เจ้าพระยาพระคลัง (สน) ในรัชกาลที่ ๑ ที่ขอพระราชทานหัวหมูบายศรีคราวไปส่งสำเภาข้ามสันดอนปากน้ำ รัชกาลที่ ๑ ก็ตรัสทำนองว่า เลอะนักแล้ว  เสียแรงเป็นสุริยวงศ์
หรือ กล่าวถึงขุนนางบางท่าน ว่าเป็นสุริยวงศ์ สมควรได้เป็นที่เสนาบดี
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ก็เคยเห็นมีหนังสือเขียนไว้ว่า ฃำ สุริยวงศ์
บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ซึ่งเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๘๓๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า "เต็ม สุริยวงศ์" (พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค)) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก "Suriwongse Family"

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ก็ให้แต่งเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง ตั้งชื่อว่า "พระอาทิตย์ชิงดวง"

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) บุตรสมเด็จองค์ใหญ่  ได้ตั้งชื่อถนนในเมืองเพชรเส้นหนึ่งว่า "พงษ์สุริยา"



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 10, 19:53
ราชบุรี มีถนนมนตรีสุริยวงศ์   แต่ไม่ทราบว่าตั้งเป็นที่ระลึกถึงพระยามนตรีฯ ท่านไหน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 13 พ.ค. 10, 21:21
ราชบุรี มีถนนมนตรีสุริยวงศ์   แต่ไม่ทราบว่าตั้งเป็นที่ระลึกถึงพระยามนตรีฯ ท่านไหน

น่าจะเป็น พระยามนตรีสุริยวงศ์  (ฉี่ บุนนาค) ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ อายุ ๔๕ ปี

ราชบุรี ยังมีถนนศรีสุริยวงศ์  ถนนสุรพันธ์เสนีย์ (พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค)) 
มณฑลราชบุรี (ราชบุรี เพชรบุรี สุมทรสงคราม ประจวบ กาญจน์) เป็นเป็นเขตอิทธิพลราชินิกุลบางช้าง (อัมพวา สมุทรสงคราม) โดยเฉพาะราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ถือว่าเป็นถิ่นราชินิกุลเลยทีเดียว
ทั้งสาย ณ บางช้าง บุนนาค วงศาโรจน์ ฯลฯ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 25 พ.ค. 10, 03:18
มารีเฟรชกระทู้ครับ

รอฟังคำตอบ บุคคลปริศนา คนที่ ๒ ครับ
ตกลงได้ข้อสรุปกันหรือยังครับว่าเป็นผู้ใดครับ

ผมจำได้คร่าวๆ แต่ยังหาเอกสารไม่ได้ว่า คณะราชทูต แวะกรุงปารีส
แล้วได้ให้ L'Illustration (หรือเปล่าไม่แน่ใจ)ถ่ายภาพที่โรงแรมดูลูฟท์โดยมีคำบรรยายใต้ภาพว่าใครเป็นใครอยู่นะครับ
ในภาพนั้น จะมี ๑๓ ท่านด้วยกัน นอกจากท่านราชทูต อุปทูต ตรีทูต คณะล่าม และขุนนางฯ รวม ๙ ท่านแล้ว
ยังมีบุคคลที่แต่งกายแบบเดียวกับบุคคลปริศนา อีก ๔ ท่าน

แล้วก็อีกภาพหนึ่ง ใน "Le Monde ILLUSTRE" ฉบับ 20 Mar 1858
ก็มีภาพถ่ายคณะท่านราชทูตรวม ๖ ท่าน เป็นท่านราชทูต และขุนนาง ๕ ท่าน
ส่วนอีกท่านหนึ่ง ยืนด้านหลัง แต่งกายคล้ายๆ บุคคลปริศนา เช่นเดียวกัน (แต่หน้าไม่เหมือน)


พอดียังไม่มีภาพมาอ้างอิงครับ ดูได้แต่ภาพเล็กๆ เลยยังไม่มีหลักฐานมาเสริม


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ค. 10, 09:23
อ้างถึง
ยังมีบุคคลที่แต่งกายแบบเดียวกับบุคคลปริศนา อีก ๔ ท่าน

แล้วก็อีกภาพหนึ่ง ใน "Le Monde ILLUSTRE" ฉบับ 20 Mar 1858
ก็มีภาพถ่ายคณะท่านราชทูตรวม ๖ ท่าน เป็นท่านราชทูต และขุนนาง ๕ ท่าน
ส่วนอีกท่านหนึ่ง ยืนด้านหลัง แต่งกายคล้ายๆ บุคคลปริศนา เช่นเดียวกัน (แต่หน้าไม่เหมือน)

น่าสนใจมาก  อยากเห็นรูปค่ะ   
ที่เราพูดกันก็คือเขาน่าจะเป็นล่ามในคณะทูต  แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร

มาดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกด้วยภาพนี้   เข้าใจว่าเป็นภาพวาดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 25 พ.ค. 10, 16:25
ขอประทานโทษครับ เมื่อคืนที่มาตอบ ไม่มีแหล่งข้อมูล

ตอนนี้ หาได้เพียงภาพวาดที่ผมจำผิดไว้ครับ

เป็นภาพวาดจากภาพถ่ายที่โรงแรมดูลูฟท์ กรุงปารีส ที่คณะราชทูตไปพำนักก่อนเดินทางไปอังกฤษ
มีบุคคลในภาพ ๑๒ ท่านครับ
๑ ท่าน คือราชทูต ๒ ท่านที่สวมหมวกหูกระต่ายและเสื้อครุย คือท่านอุปทูต ท่านตรีทูต
อีกห้าท่าน ที่สวมหมวกหูกระต่ายก็น่าจะเป็น ท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ คือ ล่าม ๓ ท่าน และขุนนางคุมเครื่องบรรณาการ ๒ ท่าน

แล้วอีก ๔ ท่านที่อยู่ด้านหลัง ก็สวมหมวกคนละแบบกับท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ในคณะ

ดูคนนั่งแถวหลังซ้ายมือ ตามความเห็นผมว่า หมวกดูคล้ายๆกับของบุคคลปริศนา นะครับ
แต่หน้าตาไม่คล้าย


ผมเดาอีกว่า ในเมื่อ ท่านที่ถูกเอ่ยนามแปดท่านที่ได้เข้าเฝ้าในราชสำนัก อยู่ในภาพนี้ครบ
บุคคลที่เหลือก็คงเป็นผู้ติดตาม

หรือว่า นี่จะเป็นเครื่องแบบ ของผู้ติดตามของคณะนี้ครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ค. 10, 16:44
เห็นการแต่งกายและหมวกของคนนี้ นึกไปถึงคนจีน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 25 พ.ค. 10, 19:05
มาเสริมอีกภาพ จาก LE MONDE ILLUSTREE

จะเห็นท่านราชทูต ท่านอุปทูต นั่งอยู่
ส่วนท่านตรีทูต ยืนอยู่หลังท่านราชทูต
โดยมี(น่าจะเป็น) ท่านขุนนางผู้คุมเครื่องฯ ยืนประกบอยู่สองด้าน

แต่ปรากฎว่า มีภาพใครลางๆ ยืนอยู่ด้านหลังท่านทั้งหมด โดยที่เครื่องแต่งกายผิดแผกออกไป

ท่านๆ ลองส่องดูลึกๆครับ เอามือซ้ายปิดตาขวาแล้วเพ่งดู อาจจะเห็นเหมือนผมก็ได้
ผมว่า หมวกและเสื้อของชายที่ยืนข้างหลัง ดูคล้ายๆ กับบุคคลปริศนานะครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 25 พ.ค. 10, 22:52
ลองเปรียบเทียบ ภาพถ่ายกับภาพวาด

ผมว่า มีความคล้ายกันในเครื่องแต่งกายบางส่วนครับ
ไม่ทราบว่า จะพอไขอะไรได้บ้างหรือเปล่า

แต่เสียดายที่หา ภาพชัดๆของภาพวาด ที่โอแต็ลดูลูฟท์ ไม่ได้
เพราะในภาพนั้นมีคำบรรยายระบุชื่อผู้ที่เป็นนายแบบครบทั้ง ๑๒ ท่าน
คงต้องรบกวน ท่านผู้อาวุโสทั้งหลาย หากได้เดินทางไปกรุงปารีส
ช่วยไปอ่านมาถ่ายทอดหลานๆ เพื่อเป็นวิทยาทานด้วยเถิดครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ค. 10, 21:58
แบ่งจากเครื่องแต่งกาย ในภาพหมู่  จะเห็นได้ว่าเป็น ๒ กลุ่ม  ๒ แบบ  คือขุนนางแต่งกายแบบไทย มีเสื้อครุยสวมทับ กลุ่มหนึ่ง  และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้แต่งแบบขุนนาง ก็สันนิษฐานว่าไม่ใช่ขุนนาง

รายชื่อคณะราชทูต (ลอกมาจากคุณเพ็ญชมพู)

(๑) ราชทูต พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ ร่วมมารดากับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้เปนที่สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ

(๒) อุปทูต เจ้าหมื่นสรรพ์เพ็ธภักดี ( เพ็ญ ต้นสกุลเพ็ญกุล ) เปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ ๕ เปนพระยา ราชสุภาวดี แล้วเลื่อนเปนเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บัญชาการ กรมพระสุรัสวดี

(๓) ตรีทูต (เดิมกะว่าหลวงชาญภูเบศร์ แล้วเปลี่ยนเปน) จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ด้วง) เปนข้าหลวงเดิม ร่วมพระนมในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีความผิดต้องออกจากราชการ

(๔) ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย ชื่อหม่อมราชวงศ์กระต่าย(อิศรางกูร ณอยุธยา) บุตรกรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในเจ้าฟ้ากรมขุน อิศรานุรักษ์  
(๕) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ กลับมา ได้เปนที่พระเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ ปลัดเมืองเพ็ชรบุรี แล้วเลื่อนเปนพระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ในรัชกาล ท ๕ เปนเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี

(๖) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) เปนบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร ต่อมา ได้เปนหลวงเดชนายเวร

(๗) ล่ามของราชทูต ขุนจรเจนทเล  ชื่อฉุน ได้ไปเรียนวิชาเดินเรือในยุโรป ในรัชกาลที่ ๕ ได้เปนหลวงชลธารพินิจจัย แล้วเลื่อน เปนพระชลธารพินิจจัย เจ้ากรมคลอง
(๘) ล่ามของอุปทูต ชื่อนายโนรี  
(๙) ล่ามของตรีทูต ขุนปรีชาชาญสมุท ชื่อดิศ  เปนนายเรือในพระบวรราชวัง ภายหลังได้เปนหลวงสุรวิเศษ นายทหารหน้าในกรม พระราชวังบวร ฯ เปนครูสอนภาษาอังกฤษเจ้านายวังหน้าจนรัชกาลที่๕

(๑๐) นายเทศ บุนนาค (คือเจ้าพระยาสุรพันธ์พันธุ์พิสุทธ) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ อายุ ๑๗ ปี เปนนักเรียนส่งไป เรียนวิชา

(๑๑) นายทด บุนนาค บุตรพระยามนตรี ฯ ราชทูต อายุ ๑๖ ปีเปนนักเรียนส่งไปเรียนวิชา นักเรียน ๒ คนนี้ เมื่อถึงเมืองอังกฤษราชทูตได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยหาที่เล่าเรียน กระทรวงต่างประเทศอังกฤษสืบหาที่เล่าเรียน เดิมกะว่าจะให้ไปเรียนที่ราชวิทยาลัยในลอนดอน แต่จะเปนด้วยเหตุใด ไม่ปรากฎ เมื่อทูตกลับมา นักเรียนก็กลับมา หาได้อยู่เล่าเรียนไม่

(๑๒) เสมียนของราชทูต นายบริบาลบรรยงก์

(๑๓) เสมียนของอุปทูต ขุนบุรินทามาตย์

(๑๔) เสมียนของตรีทูต ไม่ปรากฎชื่อ

(๑๕) หมอยา จะเปนใครหาทราบไม่

(๑๖) เข้าใจว่าหมอนวด
คนรับใช้อีก ๑๑ คน

ตัดคนรับใช้ออกไปก่อน  เหลือแต่เสมียน ๓ คน  หมอยา ๑ คน นักเรียน ๒ คน และล่าม ๔ คน
ในจำนวนล่าม  ๔  คน เป็นขุนเสีย ๒ คน  เป็นคนธรรมดา ๑ คน และหม่อมราโชไทย ซึ่งไม่ได้ระบุตำแหน่งการงาน ๑ คน
บุคคลปริศนาทั้ง ๔ แต่งตัวเหมือนกัน    แต่ล่ามเป็นขุนนางอยู่ ๒ คน  ถ้าบุคคลปริศนาทั้งหมดเป็นล่าม  ทำไม ๒ ใน ๔ ถึงไม่แต่งกายอย่างขุนนาง?


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 10, 09:09
ภาพ จาก LE MONDE ILLUSTREE

ภาพนี้ปรากฏอยู่ในเว็บของตระกูลบุนนาค

http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang011.html

บรรยายว่า

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ) พร้อมด้วยคณะทูตสยามซึ่งนำพระราชสาส์น ไปถวายพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ณ ประเทศฝรั่งเศส

ถ้าภาพนี้อยู่ในหนังสือพิมพ์ LE MONDE ILLUSTREE ปี ๑๘๕๘ แล้วไซร้ คำบรรยายนี้ต้องผิดแน่ ๆ เพราะเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ฯ ท่านไปฝรั่งเศสปี ๑๘๖๑ (พ.ศ. ๒๔๐๔)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 27 พ.ค. 10, 11:54
ภาพเอามาจาก LE MONDE ILLUSTREE  No48 20 Mars 1858 ครับ

ในคำบรรยายใต้ บอกแค่ว่า เป็นคณะราชทูต
ซึ่งในปีนั้น ก็มีคณะราชทูตไปลอนดอน

ผมอ่านพบในเกร็ดบางแหล่ง มีเล่าว่า ช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ.1858 นั้น
ท่านราชทูตไปเที่ยวกลางคืน ก็มักจะสรวมเสื้อครุยทองออกเที่ยวกลางคืน
ผู้ติดตาม คืออาจจะเป็นล่าม ฯลฯ ก็แต่งกายสวยงามเช่นกัน
เครื่องแต่งกายสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 10, 13:56
ชักมึนๆ  ใครช่วยกรุณาบอกอีกทีว่าคณะราชทูตในหนังสือพิมพ์นั้น ชุดราชทูตไทยไปอังกฤษ หรือไปฝรั่งเศสกันแน่
ดิฉันคิดว่าเป็นชุดที่ไปอังกฤษ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 27 พ.ค. 10, 14:52
คุณเทาชมพูก็ถามซะ แทบไปไม่เป็นเลย

การไปปรากฎตัวในภาพข่าวหนังสือพิมพ์ LE MONDE ILLUSTRE ครั้งนี้
จริงๆแล้ว ไม่แน่ใจว่า หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวใช้แหล่งข่าวจากที่ใด แต่ นสพ ฉบับนี้ นำเอาภาพคณะราชทูตมาลงประกอบกับคอลัมภ์การเมืองเท่านั้นเอง
แต่ทว่า คอลัมภ์ดังกล่าว มีเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์
"การมาถึงของพระยาสุริยมนตรีแบบไม่ได้แจ้งให้ฝรั่งเศสรู้ล่วงหน้า (โดยอ้างว่าให้เรือหลบคลื่นลมแรงในช่องแคบอังกฤษ)นั้น จะต้องมีอะไรแอบแฝงหรือไม่"

คุณไกรฤกษ์ นานา เคยวิเคราะห์ไว้ว่า การที่คณะราชทูตจากบางกอกแวะที่ปารีส ก่อนไปลอนดอนนี้
นับเป็นกุศโลบายอย่างดีเยี่ยม
เพราะแรกเริ่มนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้จัดเตรียมคณะราชทูตไว้ รอจดหมายตอบจากทั้งสองประเทศคือ ทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
ปรากฎว่า ราชสำนักเซนต์เจมส์ ตอบรับมาก่อน ในขณะที่ราชสำนักนโปเลียนที่ 3 กลับเงียบ
แต่จากการลงข่าวหน้าหนึ่ง อาจถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝรั่งเศสตอบรับ และส่งเรือมารับราชทูตไทยชุดที่ ๒ ในอีก 2 ปีถัดมา

ท่านคุรุ อาจารย์ และท่านผู้ช่ำชองทั้งหลายคิดว่าอย่างไร ครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Baitoey ที่ 14 ม.ค. 11, 18:44
คณะทูตไปอังกฤษ
แต่ขากลับ กลับผ่านฝรั่งเศสค่ะ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Paramet ที่ 09 ธ.ค. 12, 13:22
https://www.dropbox.com/sh/92h42ktarmv0oj6/jOB0NIFUV8


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 มิ.ย. 15, 09:00
รายชื่อบุคคลในคณะราชทูตสยาม จากจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่งโดยหม่อมราโชทัย ในตู้หนังสือเรือนไทย

http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ (http://www.reurnthai.com/wiki/จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐)
...........................................................

(๑๖) เข้าใจว่าหมอนวด  

มีข้อมูลใหม่ นามของบุคคลลำดับที่ ๑๖ เปิดเผยแล้วในเรื่อง "ข้าบดินทร์" ของ วรรณวรรธน์

ยืนยันในละครโทรทัศน์เรื่องเดียวกัน ตอนจบเมื่อวานนี้เอง  ;D  ;D  ;D

(http://f.ptcdn.info/640/032/000/1434872491-1434813378-o.gif)



กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มิ.ย. 15, 09:40
นายเหมผู้นี้ใช่ไหมหนอ 
ป.ล. ภาพโบราณหายาก  เพิ่งขุดเจอ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 มิ.ย. 15, 11:06
นายเหมผู้นี้ใช่ไหมหนอ 
ป.ล. ภาพโบราณหายาก  เพิ่งขุดเจอ

ภาพคุณเหม เนื้อขาวราวหยวกกล้วย ตาตี่ดั่งมีดกรีด คงเป็นลูกจีน


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มิ.ย. 15, 11:52
ยังสงสัยอยู่  ด้วยนามจริงและสกุลจริงนั้นเป็นฝรั่งวิลาศ   หาใช้ไทยแท้อย่างคุณ Siamese ไม่


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 17 มี.ค. 23, 09:48
ในรวมจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2400 บอกไว้ว่า วันที่มีการชักรูป หม่อมราโชทัย "จับไข้อยู่ไปหาได้ไม่"

และวันที่เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์น ผู้ที่ได้ไปเข้าเฝ้ามี ราชทูตทั้ง 3 หม่อมราโชทัย จมื่นราชามาตย์ นายพิจารณ์สรรพกิจ ขุนจรเจนทะเล ขุนปรีชาชาญสมุทร รวม 8 คน

เมื่อนำข้อมูลข้างต้น มาประกอบกับการพิจารณาใบหน้าบุคคลเทียบกับรูปอื่น ๆ ผมสันนิษฐานได้ดังนี้ครับ

จากซ้ายไปขวา

1. ล่ามของราชทูต ขุนจรเจนทะเล (ฉุน ชลานุเคราะห์) ต่อมาเป็น พระชลธารวินิจฉัย

2. นักเรียนส่งไปเรียนวิชา นายทด (บุนนาค)

3. ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) ต่อมาเป็น หลวงเดชนายเวร

4. อุปทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) ต่อมาเป็น เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)

5. ราชทูต พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

6. ตรีทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ด้วง) ต่อมามีความผิดต้องออกจากราชการ

7. ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) ต่อมาเป็น เจ้าพระยาภาณุวงศ์

8. นักเรียนส่งไปเรียนวิชา นายเทศ (บุนนาค) ต่อมาเป็น เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์

9. ล่ามของตรีทูต ขุนปรีชาชาญสมุทร (ดิศ) ต่อมาเป็น หลวงสุรวิเศษ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 17 มี.ค. 23, 11:18
ภาพแบบชัด ๆ ครับ
https://www.rct.uk/sites/default/files/collection-online/a/e/730209-1515063470.jpg (https://www.rct.uk/sites/default/files/collection-online/a/e/730209-1515063470.jpg)


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 17 มี.ค. 23, 12:12
https://www.dropbox.com/sh/92h42ktarmv0oj6/jOB0NIFUV8

ขอบพระคุณคุณ Paramet มากครับ รูปนี้ดูแบบชัด ๆ ที่ https://www.dropbox.com/sh/92h42ktarmv0oj6/AAAOfS2YJZw9rm-5UNeHK78pa?preview=153134795.pdf (https://www.dropbox.com/sh/92h42ktarmv0oj6/AAAOfS2YJZw9rm-5UNeHK78pa?preview=153134795.pdf) จะเป็นคำบรรยายใต้รูปอธิบายครบทั้ง 12 ท่านครับ


กระทู้: พระยามนตรีสุริยวงศ์
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 17 มี.ค. 23, 12:21

4. อุปทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) ต่อมาเป็น เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)


อันนี้ผมพลาดครับ ก๊อปมาแล้วลบไม่หมด เลยมี ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย ฯ เกินมาครับ