เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 10, 09:45



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 10, 09:45

เรียนถามบ้านกระสุนตก(aka คุณหลวงเล็ก  ณ ท่าช้าง)

       สนใจ แถลงงาน คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย

๑.  คณะที่สี่   ต้นฉบับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ๒๔๒๑ - ๒๔๒๒

๒. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

๓. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ๒๓๒๕ - ๒๓๙๔

๔  จดหมายเหตุรายวันกรมพระสมมติอมรพันธุ์  ๒๔๒๕ ๒๔๒๖  เล่ม ๑

ทำอย่างไรถึงจะได้อ่านคะ

อยากติดตามว่าสมาชิกของคณะกรรมการและอนุกรรมการมีใครบ้าง

อยากติดตามประเด็นที่ท่านถกกัน เรื่องที่สำคัญ ๆ


     เมื่อคุณหลวงว่าง  กรุณาอธิบายงานสำคัญของกรมพระสมมติอมรพันธ์ด้วยเทอญ



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 10, 10:16
ถามอย่างนี้  ตอบหลังดีกว่ากระมัง
เพราะต้องพิมพ์ตอบยาว  พิมพ์ไม่ไหว 

มีคำถาม  คณะกรรมการที่ว่านี่  หมายถึง คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นเมื่อไร
แต่ดูท่าจะเป็นคณะกรรมการชุดเก่ามาก รุ่นราวมหาเถา ศรีชลาลัย
อาจารย์รอง ศยามานนท์  คุณตรี  อมาตยกุล  กระมัง

คณะที่สี่   ๑.  ต้นฉบับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ๒๔๒๑ - ๒๔๒๒
และ๔  จดหมายเหตุรายวันกรมพระสมมติอมรพันธุ์  ๒๔๒๕ ๒๔๒๖  เล่ม ๑
เอกสาร ๒ ชิ้นนี้  น่าสนใจ  กระซิบช้างว่า อ่านแล้ว



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 10, 10:32

คณะอนุกรรมการน่ะ  กำลังจะแต่งตั้ง

เรื่องอย่างนี้อยากติดตามก่อนหนังสือออกค่ะ

ในงานหนังสือน่ะไม่ค่อยได้ดูคน  เพราะท่าน ๆ ก็ไปนั่งคุยกัน

ดิฉันก็ไปอาศัยอ่านและจดใบรองปกตามร้านต่างๆ

หนังสืออนุสรณ์นักประพันธ์ดังน่ะ  เล่มละ สามพันแล้วนะท่าน



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 10, 10:51

กระซิบช้างตอบว่า  เขากำลังจะทำใหม่กันค่ะ   จึงต้องเฝ้าก่อนคณะกรรมการและอนุกรรมการ

นั่งลงทำงาน


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 10, 11:07
อ้อ อ้อ  ถ้าเช่นนั้น  ผมพอคาดเดาได้ว่าจะมีใครบ้างเป็นกรรมการ
คงไม่พ้นคนที่เคยอยู่ในคณะกรรมการชำระประวติศาสตร์นั่นแหละครับ
มีคุณชาย  มีอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนด้านประวัติศาสตร์
ผู้อยู่ในสมาคมประวัติศาสตร์  ราชบัณฑิตด้านประวัติศาสตร์


และต้องมีข้าราชการกรมศิลปากร  โดยเฉพาะจากสวป.
ที่อยู่หลังหอสมุดแห่งชาติ   ข้าราชการจากชั้น ๔ หอสมุดแห่งชาติ
ข้าราชการจากหอ จหช.  และอาจจะต้องมีคนแถวๆ บ้านผมด้วย
แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร


เอกสารชิ้นแรกนั้น  ได้ข่าวว่า  ประชุมทำกันอย่างไม่เป็นทางการมาหลายปีดีดัก
เน้นหนักไปทางหาชื่อคนในเอกสารว่าเป็นใครในเวลาต่อมา
กับทำคำอธิบายเชิงอรรถ  

ตัวต้นฉบับคงใช้ฉบับที่พิมพ์เผยแพร่แล้วเมื่อ ๒๔๗๖ - ๒๔๗๗
ดูจากช่วงปี พ.ศ.  คงอยู่ระหว่างภาคที่ ๑ ถึง ๕
และต้นฉบับที่ใช้ ก็คือต้นฉบับที่รัชกาลที่ ๗ พระราชทานให้หอสมุดนั่นเอง
ซึ่งเป็นฉบับที่กรมหลวงปราจีนฯ มีรับสั่งให้คัดพิมพ์ดีดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๖
(แน่นอน มีข้อความบางส่วนที่ถูกตัดออกไปบ้าง)



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 10, 11:31
ส่วนจดหมายเหตุรายวันกรมพระสมมติอมรพันธุ์  ๒๔๒๕ ๒๔๒๖  เล่ม ๑
เอกสารชิ้นนี้  พวกสวัสดิกุล  พิมพ์ออกเผยแพร่ มา ๓ ครั้งแล้ว

ครั้งแรก พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงษ์ สวัสดิกุล
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ยิ้มศรี  ปี ๒๔๘๕  หนา ประมาณ ๑๐๐ หน้า

ครั้งที่ ๒ พิมพ์แจกในงานศพ หม่อมเกื้อ สวัสดิกุล  จำไม่ได้ว่า ปีไหน
แต่น่าจะราวๆ ๒๕๑๐ - ๒๕๒๕   ปกสีขาว  ผมมีเล่มนี้

ครั้งที่ ๓ พิมพ์แจกในงานศพ หม่อมราชวงศ์โสตถินันทน์  สวัสดิกุล เมื่อปี ๒๕๓๙
หนาประมาณ ๖๐ หน้า  ปกสีน้ำเงิน  เล่มนี้ไม่แน่ใจว่าผมมีหรือเปล่า 
แต่ไม่เป็นไร เพราะพิมพ์เหมือนกับครั้งที่ ๒ 

บันทึกรายวันของเจ้านายพระองค์นั้น 
หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ เป็นผู้คัดขึ้นพิมพ์แจกในงานศพบิดาท่าน
มีเรื่องเกร็ดลางเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน   
ในวงคณะกรรมการชำระฯ เคยพูดถึงบ่อยๆ

ทราบว่าเอกสารชิ้นนี้มีหลายเล่ม  อยู่ในความครอบครองของสายราชสกุลนั้น
แต่ก็ไม่มีการคัดออกมาพิมพ์อีกเป็นตอนต่อๆ มา  คงมีแต่ตอนที่ ๑ เท่านั้น
เหมือนจดหมายเหตุรายวันของ เจ้านายวังเทวะเวสม์ ที่มีอยู่ปีเดียวที่เคยพิมพ์
แต่ความรู้ความลับแทรกอยู่มาก

เมื่อหลายปีก่อน  ตอนงานศพทผญ.ท่านหนึ่ง
มีบางคนคาดการณ์ว่า  อาจจะมีการพิมพ์หนังสือบันทึกรายวันนั้นอีกต่อจากที่พิมพ์ไปแล้ว
แต่ประทานโทษ  งานเขียนของทผญ.ก็มีมาก  อยู่แล้ว 
เจ้าภาพเลยไม่ได้เอาหนังสือนี้มาพิมพ์  แห้วไปตามๆ กัน



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 10, 11:39
ส่วนคณะอนุกรรมการชำระและพิมพ์เอกสารอีก ๒ คณะนั้น
ไม่แน่ใจว่า  จะพิมพ์อะไรออกมาบ้าง  เดาไม่ถูก
อาจจะต้องไปสืบในทางลึกแถวคลองท่อ ข้างวังสวนสุนันทา

ส่วนการพิมพ์เผยแพร่เอกสารนั้น  อาจจะคัมมิ่งซูน
ถ้าเอกสารต้นฉบับมีพร้อมแล้ว 
แต่ถ้าต้องประชุมทำคำอธิบายและเขียนต้นฉบับใหม่ 
ก็อาจจะต้องร้องเพลงรอไปสักระยะ
เพราะกว่าจะตีกัน  เอ๊ย  ประชุมกันเสร็จคงจะใช้เวลาหลายปักษ์
แต่คิดว่า ไม่น่าจะเกิน ๑๐ ปีนี้ 


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 10, 13:32

คำนับ  ๓ ครั้ง

เพราะอยากอ่านเป็นกำลัง

จะพยายามหายใจเข้าไว้จะอยู่อ่านให้ได้


ขอบคุณคุณหลวงจริงๆ

คุณหลวงไปงานหนังสือเมื่อไร  จะไปประกาศว่าคุณหลวงจะไปปรากฎตัวที่บู้ทไหน

ฮ่า ๆ ๆ



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 12 ต.ค. 10, 17:39
ขอร่วม 
อ้างถึง
เรียนถามบ้านกระสุนตก(aka คุณหลวงเล็ก  ณ ท่าช้าง)

และท่านอื่นๆ ด้วย ครับ

           เรื่องชำระประวัติศาสตร์แล้ว ปรากฏว่า พ.ศ. ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ผิดเวลา คือเร็วไป ๖๐ ปี
(ตอนนี้ต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๙๓)

         พ.ศ. มากกว่า ค.ศ. (๕๔๓ - ๖๐) = ๔๘๓ ปี       


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ต.ค. 10, 18:00
อ่านท่านผู้อาวุโสคุยกันแล้ว  พวกวงนอกพลอยได้ความรู้ไปด้วย

แต่พอคุณ Sila มาทักเรื่องการคำนวณ พ.ศ. ผิด  เลยนึกขึ้นมาได้ว่า กรมศิลปากรท่านเตรียมการฉลอง ๑๐๐ ปี ในวันที่  ๒๗  มีนาคม  ๒๕๕๔ นี้
แต่เมื่อย้อนไปอ่านประกาศพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๖  ระบุชัดว่า ให้ยกงานประณีตศิลป์จากกระทรวงโยธาธิการมารวมกับงานช่างมหาดเล็ก  แล้วยกขึ้นเป็น "กรมศิลปากร" ในวันที่  ๑  เมษายน  ร.ศ. ๑๓๑  โดยประกาศลงวันที่  ๒๗  มีนาคม  ร.ศ. ๑๓๐  หากนับกันจริงๆ แล้วประกาศพระบรมราชโองการนั้นออกก่อนตั้งกรมศิลปากรเพียง ๔ วัน  แต่เมื่อกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานรักษาประวัติศาวตร์ของชาตินับผีผิดไปเช่นนี้  ก็เท่ากับว่ามีประกาศวพระบรมราชโองการตั้งกรมศอลปากรล่วงหน้าถึง ๑ ปี  ๔ วันเจียวหรือ?จ

เรื่องการนับปีผิดนี้จะโทษหลวงพิบูลย์ที่เปลี่ยนปีปฏิทินให้คนรุ่นหลังสับสน  หรือจะโทษนักประวัติศาสตร์ที่ขาดความรอบคอบดีขอรับ


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ต.ค. 10, 09:36
      เดิมเรียนว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 543 ปีก่อน ค.ศ. แต่ปัจจุบันนี้ (เช่นจากวิกี้พีเดีย)
กล่าวว่า

        The time of his birth and death are uncertain:

            most early 20th-century historians dated his lifetime as c. 563 BCE to 483 BCE,[2]

but more recent opinion may be dating his death to between 411 and 400 BCE.[3]


http://indology.info:8106/papers/cousins/

^ L. S. Cousins (1996), "The dating of the historical Buddha: a review article",
Journal of the Royal Asiatic Society (3)6(1): 57–63.

^ "As is now almost universally accepted by informed Indological scholarship,
a re-examination of early Buddhist historical material, ..., necessitates

          a redating of the Buddha's death to between 411 and 400 BCE."

Paul Dundas, The Jains, 2nd edition, (Routledge, 2001), p. 24.


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ต.ค. 10, 10:21
ขอร่วม 
อ้างถึง
เรียนถามบ้านกระสุนตก(aka คุณหลวงเล็ก  ณ ท่าช้าง)

และท่านอื่นๆ ด้วย ครับ

           เรื่องชำระประวัติศาสตร์แล้ว ปรากฏว่า พ.ศ. ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ผิดเวลา คือเร็วไป ๖๐ ปี
(ตอนนี้ต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๙๓)

         พ.ศ. มากกว่า ค.ศ. (๕๔๓ - ๖๐) = ๔๘๓ ปี       

น่าสนใจดีครับ   แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระทู้ที่ตั้งไว้โดยตรงก็ตาม

ก็ถ้าเมืองไทยใช้ปีพุทธศักราชผิดไป  ๖๐ ปี ตามที่ฝรั่งท่านว่าไว้
ทางลังกาและพม่าก็ต้องใช้ผิดไป ๖๑ ปี  แต่ถ้าเป็นที่ลาวจะใช้ผิดช้ากว่าไทยประมาณ ๓ เดือนกึ่ง

ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของปีพุทธศักราชที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น
คุณเสถียร  โพธินันทะ  เคยรวบรวมเขียนไว้ในหนังสือประวัติพุทธศาสนา
อ่านแล้วก็สนุกดี  สำหรับคนที่ชอบเรื่องการคำนวณปีและโหราศาสตร์
แต่ถ้าใครไม่ชอบ จะบอกว่า ปวดศีรษะ 

แต่เมื่อปีพุทธศักราชที่ใช้ผิดเร็วไป ๖๐ ปีอย่างนี้แล้ว  คงกลับไปแก้ยากอยู่
ที่ยากเพราะเราใช้เป็นสากลมานานเป็นร้อยปี 

การผิดเร็วของปีพุทธศักราชไป ๑ รอบปี พฤหัสบดีจักร นั้น  เป็นไปได้
เพราะในรอบ ๖๐ ปี  วันทางจันทรคติจะเวียนกลับมาตรงกันครั้งหนึ่ง
ในย่านชนชาติที่นับปีนักษัตร ๑๒ นักษัตรอย่างไทย พม่า เขมร จีน  เป็นต้น
ก็มีโอกาสผิดพลาดได้อย่างนี้เหมือนกัน   

ในการชำระเอกสารประวัติศาสตร์ไทย  โดยเฉพาะสมัยอยุธยา
เรื่องความคลาดเคลื่อนของปีจุลศักราชกับเหตุการณ์เป็นไปได้มาก
เช่นช่วงอยุธยาตอนต้น  ตกลงอยุธยายกทัพไปตีนครหลวงกัมพูชา
ในรัชกาลไหนกันแน่   ถ้าอยากรู้ก็ต้องไปอ่านหนังสือ"ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์"

เรื่องปีศักราชนี่ ถ้าจะให้รู้มากขึ้น ควรอ่านหนังสือวันวารและกาลเวลา
หรือถ้าอุตสาหะก็หาอ่านจากหนังสือภาษอังกฤษได้หลายเล่ม  โดยเฉพาะพวกสารานุกรมทั้งหลาย

ผมเคยอ่านหนังสือรวมจารึกในอินเดีย  ในภาคผนวก มีวิธีการคำนวณวันเวลาของอินเดียโบราณ
ที่ละเอียดพิสดารมาก  เพราะต้องใช้ควบคู่ไปกับการอ่านจารึกแทบทุกหลัก
ในจารึกไทยก็เหมือนกัน   เคยไปนั่งฟังศ.ดร.ประเสริฐ ท่านสาธยายให้ฟังเรื่องการคำนวณวันเดือนปี
เทียบจันทรคติกับสุริยคติ  ดูเหมือนง่าย  (ก็ท่านจบด้านคณิตศาสตร์มานี่)
พวกสายสังคมไม่ชอบคำนวณเลข  ต้องเหวยยาแก้ปวดหัว  แต่ถึงคำนวณไม่ได้อย่างท่าน
ก็ใช้คู่มือช่วยได้  มีหลายสำนัก  แต่เขาว่าของคุณทองเจือ  อ่างแก้วใช้ดีมาก
หรือไม่ก็ใช้ในเว็บไซต์ประเภทโหราศาสตร์ก็ช่วยได้มาก


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ต.ค. 10, 10:39



หมายความว่าผิดแล้วผิดเลยใช่ไหมท่าน


กำลังตามพระยาวาสุเทพให้


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ต.ค. 10, 11:05
        ได้อ่านสัมภาษณ์ อ.ประเสริฐท่านพูดเรื่องชำระประวัติศาสตร์ไทยที่คลาดเคลื่อน และ
เรื่องพ.ศ. เกินไป ๖๐ ปีนี้ แล้วสรุปว่า ถ้าแก้ไข พ.ศ. ก็จะเกิดความสับสนวุ่นวาย ขนานใหญ่
        จึงเป็นแบบที่คุณวันดีว่า ผิดแล้วผิดเลย


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ต.ค. 10, 11:24
ใช่ครับ   ถ้าแก้ตามที่ว่าปีพุทธศักราชที่ใช้อยู่ปัจจุบันเร็วไป ๖๐ ปี
เราคงจะต้องไปตามแก้ปีพุทธศักราชในเอกสารต่างๆ ที่ได้ออกไปแล้ว
(ไม่ต้องพูดถึงจำนวน  มหาศาลเลยล่ะ) 

ทีนี้แหละ  โกลียุคจะบังเกิด  เอกสารประวัติศาสตร์จะใช้ยากยิ่งไปกว่าเก่า
ดีไม่ดีเด็กๆ ที่เรียนประวัติศาสตร์จะยิ่งเบื่อหน่ายยิ่งกว่าทุกวันนี้
อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์อาจจะต้องไปนั่งแก้เลขปีพ.ศ.ในเอกสารย้อนหลัง
แทนที่จะได้สอนหนังสือเขียนตำรากัน

นอกจากนั้น คงไม่ได้มีที่ไทยเท่านั้นที่ต้องแก้ไข
ถ้าจะแก้ก็คงต้องแก้ไขทั่วทุกชาติที่ใช้ปี พ.ศ.
ทีนี้ก็สนุกน่าดู   ถ้าลำพังแก้ปีใดปีหนึ่ง หรือเฉพาะช่วงสั้นๆ ก็คงไม่เท่าไร
แต่ต้องแก้ใหม่หมดนี่   ก็เหลือรับเหมือนกัน

กรณีนี้ก็เหมือนกันกับการเขียนคำไทยบางคำ
เรารู้ว่า  คำที่ใช้ในปัจจุบันเขียนไม่ถูก  แต่คนไทยใช้ที่ผิดจนชินและคิดว่าถูกไปแล้ว
แถมราชการก็ยอมรับไปแล้วให้ใช้อย่างนี้  ก็คงต้องใช้อย่างนี้ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ต.ค. 10, 11:47


อธิบายได้น่าฟัง  หรือฟังรู้เรื่องแฮะ


เรื่อง "ราชทินนามตำรวจไทย"  ที่คุณหลวงแนะนำให้เล่านั้น  ที่จริงก็ไม่ยาก  เพราะจะลอกมาอย่างเดียว

เท่านั้น     ไม่ต้องใช้ความคิดอะไร  แต่รายการยาวมาก  เฉพาะในปี ๒๔๗๕  ซึ่งเป็นปีสุดท้ายชองราชทินนาม

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


หนังสือชุดที่คุณหลวงอยากได้นั้น  ราคา ๑๕๐๐ บาท   มองหน้ากันไปมาอยู่นี่ค่ะ  อยากอ่านกันทุกคน แต่ต่างทรัพย์จาง 


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ต.ค. 10, 13:44

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


อ้าว  นึกว่าทราบแล้ว  อันที่จริงอยากทราบเรื่องชาวเดนมาร์กที่เข้ามาเป็นครูฝึกหัดตำรวจด้วย
ไม่ใคร่เห็นมีคนเล่าถึงเลย  (แสดงว่ามีคนเขียนบ้างแล้ว) กะว่าจะลองถามสมาชิกเรือนไทยดูบ้าง
เผื่อจะมีผู้วิเศษเมตตากรุณาแก่เราบ้าง

ส่วนราชทินนามตำรวจนั้น  ค่อยๆ ทำก็ได้  ไม่ต้องรีบหรอกครับ  เดี๋ยวเส้นยึด

หนังสือชุดนั้น ราคาสูงอย่างนั้น ก็ควรแก่นามผู้เขียน   (แต่ไม่ควรแก่เรา)
เอาเป็นว่าตอนนี้วาสนาหนังสือนั้นคงยังไม่สมพงศ์กับเรา  เพราะเราเป็นพวกชอบ สวย ดี ฟรี ถูก



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ต.ค. 10, 15:23

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้    

พลตรีพระยาวาสุเทพ Gustav Schau  อธิบดีกรมตำรวจภูธร (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๘) ชาวเดนมาร์ก

(http://www.saranitet.police.go.th/BossRTP/images1/BossRTP_Frame5.png)

พ.ศ. ๒๔๒๗ เดินทางเข้ามาในประเทศสยาม ได้เข้ารับราชการทหารไทย เป็น ร้อยเอกมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศัลวิธานนิเทศ

พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวาสุเทพ (พระยาพานทอง)ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนทหารที่จังหวัดนครราชสีมา และดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโรงเรียนทหารบก ณ วังสราญรมณ์ กรุงเทพฯ ด้วย

พ.ศ. ๒๔๔๐ โอนมารับราชการตำรวจ ครั้งแรกดำรงตำแหน่งเป็น เจ้ากรมกองตระเวนหัวเมืองและเป็นผู้จัดตั้งกองตำรวจภูธร

พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมตำรวจภูธร

พ.ศ. ๒๔๕๘ ทูลลาออกจากราชการ รวมเวลารับราชการตำรวจ ๑๘ ปี

http://www.saranitet.police.go.th/BossRTP/BossRTP5.html

 ;D
    
  
        
        
  



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ต.ค. 10, 16:48
อ่า........ขอบคุณค่ะคุณเพ็ญ       ข้อมูลนี้ก็ทราบอยู่

คุณเพ็ญกรุณาเติมให้



คุณหลวงเล็กอย่าขึ้นไปถึงเชียงรายเลย 



เรื่องพระยาวาสุเทพนั้น  เราไม่ทราบว่าท่านแต่งงานกับใคร  มีลูกหลานกี่คน

ทราบแต่เพียงว่า ภรรยาเป็นลูกสาวร้านเพชรพลอย เมืองจันทบุรี(ถ้าจำไม่ผิด)

หลานปู่มีหลายคน   

ยังติดต่อสัมภาษณ์ไม่ได้



กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ต.ค. 10, 22:26
พระยาวาสุเทพ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่าอะไรคะ


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 14 ต.ค. 10, 01:01
เห็นคุณครูใหญ่ สรุปกระทู้เสียแล้ว
ขออนุญาต ต่ออีกสักนิดนะครับ
 ;D ;D ;D ;D
นักเรียนขอเข้ามารายงานตัว และขอส่งเสียงเพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับ

เรื่องปี พุทธศักราช หากเรายึดเอาตามเรื่องที่ว่า
พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน เมื่อปีที่ ๘ ของรัชกาลแห่งพระเจ้าอชาติศัตรู
จากประเด็นนี้ ก็น่าจะตีความได้ว่า พระราชาแห่งมคธ พระองค์นี้ ครองราชย์ก่อน พ.ศ. 8 ปี

และเมื่อนำเทียบกับ wiki(ภาคอังกฤษ) ที่น่าจะนำมาจากทีปวงศ์ ว่าไว้ว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ครองราชย์เมื่อปี ก่อนคริสศักราช 491 ปี
จะสามารถตีความได้ว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อ ก่อน ค.ศ. 483 ปี
(เห็นได้ว่า ผิดจากที่เราเคยเรียนไว้ว่า ควรจะเป็น ก่อน ค.ศ 543 ปี)

แต่ทว่า ใน wiki(ภาษาไทย) ก็ยังคงเขียนไว้ว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ครองราชย์เมื่อ พุทธศักราช ๕๓
ถ้าอ่านดูใน wiki ไทย ผมรับรองว่า ท่านผู้อ่านหลายท่านต้องเกิดอาการ"มึนศรีษะ"เหมือนผมแน่นอน

หากพระราชาพระองค์นี้ ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๕๓ (หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 53 ปี) ตามนั้นจริง
แล้วเจ้าชายองค์ใดกันแน่ ที่หลงเชื่อพระเทวทัต ทำการอุกอาจ จับพระราชาพิมพิสารกักขังจนสิ้นพระชนม์
และพระราชาองค์ใด ส่งวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามเกี่ยวกับนครเวสาลี แคว้นวัชชี

ที่จริง ผมก็พอจะคิดออกแหละครับว่า พ.ศ. ๕๓  มาจาก เอาเลข 543 มาลบ ค.ศ.491 (ปีครองราชย์)
แต่หาก ใช้เลข 483 แทน 543 ก็จะเข้าใจและสอดคล้องนะครับ


แล้วอย่างนี้ เราควรจะปล่อยให้เป็นไปแบบนี้ตลอดกาลนาน เลยหรือครับ
 :o :o :o :o


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ต.ค. 10, 08:52
ถ้าแก้ไขเฉพาะข้อมูลให้ถูกต้องตามที่คุณDiwali ก็คงไม่มีปัญหาอะไร
ดีเสียอีก  ข้อมูลความรู้จะได้ถูกต้องยิ่งขึ้น  
ไม่ใช่ว่าเขาเขียนมาอย่างไร เราก็ลอกก็ก็อปปี้กันต่อไปโดยไม่ตรวจไม่สอบ
การแก้ไขส่วนน้อยนั้นไม่สู้ยากเย็นเท่าไร
แต่ถ้าจะให้แก้ไขใหม่หมดเป็นเรื่องวุ่นวายมาก

เรื่องการนับปีรัชกาลกับการเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดี  ก็ตกม้าตายกันมามาก
ตามธรรมเนียม  เมื่อพระเจ้าแผ่นพระองค์ใดเสด็จสวรรคตลง
และมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อในปีใดปีหนึ่ง
ก็จะนับเป็นที่ ๑ ในรัชกาลนั้นทันที

ผมตั้งสมมติว่า   พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์เมื่อปี ๒๑๐๓
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเสด็จสวรรคตในปี  ๒๑๒๔
ถามว่า  พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้  ครองราชย์นานกี่ปี

โดยทั่วไป เราก็จะเอาปีครองราชย์มาลบปีที่เสด็จสวรรคต  
๒๑๒๔ - ๒๑๐๓ =  ๒๑ ปี  หรือบางคนอาจจะหักลบละเอียดลงไปถึงชั้นเดือนและวัน
ย่อมอาจจะไม่ถึง ๒๑ ปี  อาจจะเหลือเพียง ๒๐ ปีเศษๆ เท่านั้น

แต่คนจดหมายเหตุในสมัยก่อน  ท่านไม่ได้นับปีครองราชย์อย่างที่เราเข้าใจกันในสมัยนี้
ท่านจะนับปี ๒๑๐๓ นับเป็นปีที่ ๑ ในรัชกาล  ไม่ว่าจะเริ่มครองราชย์ในเดือนใดของปี ๒๑๐๓
ต้นปีหรือปลายปีก็ตาม  เมื่อบรรจบครบวันขึ้นครองราชย์ในปีถัดไป ก็เป็นเป็นที่ ๒ ในรัชกาล
นับเช่นนี้เรื่อยๆ พอถึงปี ๒๑๒๔  ก็เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาล  เขาก็จดลงไปว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้
ครองราชย์นาน ๒๒ ปี  

และในปี ๒๑๒๔ มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ขึ้นครองราชย์ต่อ ก็นับปี ๒๑๒๔ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาล
สมมติว่า พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใหม่ครองราชย์ ถึงปี ๒๑๓๐  เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาล เขาก็จดไปว่า
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ ครองราชย์ นาน ๗ ปี  พระเจ้าแผ่นพระองค์ที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ปี ๒๑๓๐
และสิ้นสุดรัชกาลปี ๒๑๔๕  เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาล  ครองราชย์ นาน ๑๖ ปี  แล้วก็สิ้นพระราชวงศ์
เป็นพระราชวงศ์ใหม่  ถามว่า  ในระยะ ๒๑๐๓ ถึง ๒๑๔๕  มีพระเจ้าแผ่นดินครองราชย์รวมกี่ปี
ถ้าเอาปีครองราชย์แต่ละรัชกาลมารวมกัน ก็ตกม้าตายเท่านั้น  

เพราะ ๒๑๔๕ - ๒๑๐๓ = ๔๒ ปี  แต่ ๒๒ + ๗ + ๑๖ = ๔๕ ปี ห่างกันตั้ง ๓ ปี
ก็ถ้าพงศาวดารจดละเอียดอย่างที่เราอยากให้เป็น  เราก็คงไม่งง  
แต่เพราะความรู้ความเข้าใจของคนต่างยุคสมัยผิดแผกกันอย่างนี้  
คนเรียนประวัติศาสตร์จึงต้องปรับความรู้ความคิดให้เข้าใจวิธีคิดของคนโบราณด้วย

ท่านจึงว่า ประวัติศาสตร์นี้มันยอกย้อนนักหนา


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ต.ค. 10, 09:57
        ปัญหาการนับปีที่ต่างกันระหว่างแบบ "ปีย่าง" และ "ปีเต็ม"
(ไทยเรานับแบบปีเต็ม) ทำให้พ.ศ. คลาดเคลื่อนอย่างที่คุณหลวงแถลงไว้ ครับ

        

          


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 15 ต.ค. 10, 16:07
ถ้าให้เดาคณะกรรมการ ก็ไม่น่าจะใช่คนอื่นไกล ถ้าตามอ่านหนังสือมุทิตาจิตของท่านอาจารย์ต่าง ๆ ที่กรมศิลป์พิมพ์ออกมา รายชื่อมักจะวน ๆ อยู่ในนั้นล่ะครับ

ที่พอจะเดา ๆ ได้ ๑ ท่านต้องมีแน่ ๆ คือ อ.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต อย่างน้อยท่านก็เคยเป็นคณะทำงานชำระจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในสมัย ร. ๕ มาแล้ว ถ้าไม่มีนี่จะน่าแปลกใจมาก ๆ ส่วนท่านอื่น ๆ ผมไม่แน่ใจครับ แต่อย่างที่บอก รายชื่อคงไม่เกินในหนังสือแน่ ๆ

งานเขียนของท่านอ. ที่เคยได้อ่านมาต้องบอกว่า "สุดยอด" ถ้าท่านว่างและได้เมตตาเขียนเรื่องราวต่าง ๆ มากกว่านี้ คงจะดีไม่น้อยครับ


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 15 ต.ค. 10, 16:13


อธิบายได้น่าฟัง  หรือฟังรู้เรื่องแฮะ


เรื่อง "ราชทินนามตำรวจไทย"  ที่คุณหลวงแนะนำให้เล่านั้น  ที่จริงก็ไม่ยาก  เพราะจะลอกมาอย่างเดียว

เท่านั้น     ไม่ต้องใช้ความคิดอะไร  แต่รายการยาวมาก  เฉพาะในปี ๒๔๗๕  ซึ่งเป็นปีสุดท้ายชองราชทินนาม

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


หนังสือชุดที่คุณหลวงอยากได้นั้น  ราคา ๑๕๐๐ บาท   มองหน้ากันไปมาอยู่นี่ค่ะ  อยากอ่านกันทุกคน แต่ต่างทรัพย์จาง 

รบกวนสอบถามครับ ไม่ทราบว่าพอจะทราบถึงราชทินนาม "วรเวทย์กำจร" ที่เคยมีใช้อยู่ในกรมตำรวจสมัยยุคราว ๆ ร.๖-ร.๗ บ้างหรือไม่ครับ

พอดีกำลังอยากจะหาผู้ที่ได้รับพระราชทานอยู่ครับ


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 15 ต.ค. 10, 16:17
ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าได้อ่านหนังสือที่กรมศิลป์พิมพ์ออกมาในวาระต่าง ๆ คระกรรมการ และอนุกรรมการส่วนใหญ่ไม่ค่อยหนีไปจากตรงนั้นเท่าไรหรอกครับ..เท่าที่สังเกตมานานแล้ว มักจะเป็นอย่างนั้นนะครับ


กระทู้: ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ต.ค. 10, 16:26
เรียนคุณ  samun  

วรเวชชกำจร         หลวง นาถ  นิยโมสถ
นายร้อยเอก  ศัลยแพทย์
กองเสนารักษ์ที่ ๔


หน้า ๑๒๔๐
พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ   ศักราช ๒๔๗๔
(พิมพ์เสร็จและเริ่มแจกในต้นปี ๒๔๗๕  ไม่มีผู้กล้าเก็บเลยค่ะ)

ข้อมูลคือข้าราชการที่มีชีวิตอยู่ในเวลานั้น
ซึ่งหลายท่านเป็นข้าราชการเกษียณ