เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:45



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:45
คุณสมชาย สถาพรดำรงค์ เพือนร่วมรุ่นสถาปัตยกรรมศาสตร์ อดีตหัวหน้าแผนกอาคารสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเอกสารนี้มาให้ผม ถามว่าผมสนใจไหม

เชิญอ่านดูก่อนครับ
หรือถ้าอ่านต้นฉบับลำบาก ผมก็คัดลอกความให้อ่านแล้วในหน้าถัดๆไป


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:45
ต่อ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:46


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:48
                     659/107 จรัญสนิทวงศ์ 41 อรุณอมรินทร์
                     บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

               วันที่ 28 เมษายน 2557

เรื่อง  เรือนภะรตราชา
เรียน อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. สำเนาบทความ “ทัศนีย์เล่าเรื่อง ‘ถาปัตย์เจ้าเก่า”
      2. สำเนา “เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี โดย ดร. สุรพล วิรุฬรักษ์”
      3. สำเนาประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      4. สำเนารูปภาพอาคารเรือนภะรตราชา
      5. ภาพแผนที่สังเขปวิทยาเขตจุฬาฯ สมัยกำเนิดสถาปัตย์
   
   สืบเนื่องจากปรากฏพบบทความที่เกี่ยวข้องกับ “เรือนภะรตราชา” (บางแห่งเรียก “บ้านพระยาภรต” หรือ อาคารเจ้าคุณภรต) มีอยู่ในเอกสารและหนังสือหลายฉบับ เช่น ในประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหัวข้อเรื่อง “สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย”, ข้อมูลใน Google, ข้อมูลการมอบรางวัล อาคารอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2540 , ในบันทึก FIELD TRIP ของอาจารย์จิ๋ว 4-12 กรกฎาคม 2552 : Colonial style Architecture, ในหนังสือจามจรีปีที่ 15 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2556  ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สายตาประชาชนอย่างกว้างขวาง หลายเอกสารได้ลอกเลียนกันต่อๆมา โดยที่ต้นฉบับที่ลอกเลียนมานั้น ไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อๆกันมา ซึ่งมูลเหตุมาจาก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2536-2538 มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งปรับปรุงอาคารเก่าหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านเหนือของโรงพิมพ์จุฬาฯ ปัจจุบันโดยหลงผิดว่าเป็นอาคารเรือนภะรตราชาเดิม และเมื่อปรับปรุงเสร็จ จึงได้ติดป้ายชื่ออาคารนั้นว่า “เรือนภะรตราชา” จะโดยตั้งใจหรือสำคัญผิดก็ตาม อาคารนั้นจึงถูกเรียกว่า “เรือนภะรตราชา” มาจนถึงปัจจุบัน

   ที่ระบุไม่ถูกต้องนั้น เนื่องจากมีข้อสันนิษฐาน ข้อมูลหลักฐานและพยานบุคคล โดยเฉพาะพยานบุคคลระบุได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:49
1.   ขนาดของอาคาร
การจะออกแบบและก่อสร้างอาคารที่พักของ “ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย” ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอในการพักอาศัยประจำ ซึ่งคงจะไม่ใช่สำหรับ “ผู้บัญชาการ” แต่เพียงผู้เดียว คงจะต้องคำนึงถึงครอบครัวด้วย นอกจากนั้นยังจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่จะต้องมีกิจกรรม ต้องมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ตามภารกิจของ “ผู้บัญชาการ” เช่น ห้องสำหรับการต้อนรับแขกผู้มาเยือน อีกทั้งจะต้องมีความสมศักดิ์ศรี สมฐานะของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย เหล่านี้น่าจะเป็นสามัญสำนึกของบุคคลทั่วไปได้ว่า อาคารที่ได้ชื่อว่าเรือนภะรตราชาจะมีขนาดของอาคารเท่าที่ปรากฏในปัจจุบันนี้หรือ
   มีข้อมูลสนับสนุนจากบทความ ประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือ 60 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า เรือนภะรตราชา ในช่วงปี 2475-2483 และ 2478-2483 ใช้เป็นที่เรียนของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 3 ชั้นปี ย่อมแสดงว่าอาคารดังกล่าวจะต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร คงมิใช่ขนาดของเรือนภะรตราชาปัจจุบันอย่างแน่นอน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:50
2.    ตำแหน่งที่ตั้งอาคารเรือนภะรตราชา (อาคารเดิม)
2.1 จากข้อมูลในหนังสือที่ระลึก 60 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีบทความเรื่อง “ทัศนีย์เล่าเรื่อง ‘ถาปัตย์เจ้าเก่า” มีข้อความที่บ่งบอกที่เชื่อถือได้มากเกี่ยวกับเรือนภะรตราชา กล่าวคือ
1) เรือนภะรตราชา เคยเป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นแรก ๆ (ในหน้า 99)
2) บริเวณเรือนภะรตราชา ได้แปรสภาพไปเป็นอาณาบริเวณสำนักงานอธิการบดีไปเสียตั้งนานมาแล้ว (ในหน้า 99)
3) เป็นอาคารขนาดใหญ่โตสมเกียรติของท่านผู้บัญชาการ และสามารถจุนิสิตเรียนได้ทั้ง 3 ชั้นปี พร้อมห้องทำงานคณาจารย์และอื่นๆ (ในหน้า 130)
4) สถานที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของตรอกแป๊ะกงซัน และคลองไผ่สิงโต (ตรอกและคลองติดกันและอยู่ขนานกัน) และอยู่ฝั่งตรงข้ามของสนามหน้าหอประชุม (ยังไม่มีหอประชุมในแผนที่) ตามภาพแผนผังสังเขป วิทยาเขตจุฬาฯ สมัยกำเนิดสถาปัตย์ (หน้า 102)
2.2 ผู้เขียนบันทึกนี้ รับราชการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงที่เรือนภะรตราชายังมีอยู่ ช่วงสุดท้ายของการถูกรื้อเพราะทรุดโทรมหนัก เคยเป็นที่พักอาศัยของหัวหน้าคนงาน 2 ครอบครัวคือ
1) นายสวัสดิ์ นาคเกตุ เป็นหัวหน้าคนงานในสมัย ม.ร.ว. แหลมฉาน หัสดินทร์ เป็นหัวหน้าแผนกเบ็ดเตล็ด และ
2) นายประหยัด นาคเกตุ น้องนายสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคนงานถัดมา ในสมัยที่ผู้เขียนเป็นหัวหน้าแผนกอาคารสถานที่ (ชื่อแผนกเปลี่ยนมาจากแผนกเบ็ดเตล็ด) และอาจมีคนงานอื่นที่แอบแฝงอาศัยอยู่อีก แต่ผู้เขียนจำไม่ได้

       สิ่งที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว ผมได้เคยทักท้วงด้วยวาจากับผู้ออกแบบบูรณะแล้ว และยังได้เคยบอกกล่าวไว้กับอาจารย์และข้าราชการหลายท่าน เช่น รศ. ต่อพงศ์ ยมนาค, อาจารย์สวัสดิ์ และ ฯลฯ โดยมิได้มีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และการบอกกล่าวนั้นน่าจะเป็นที่มาของบทความในหน้า 75 ของหนังสือจามจุรี ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2556 โดยมีคณะอาจารย์ร่วมสนทนากับธิดาและหลานของพระยาภะรตราชา เมื่อ 30 เมษายน  2556 ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่า ไม่ใช่การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเดิม และสิ่งสำคัญในบทความดังกล่าวอีกประการหนึ่งคือ ที่ตั้งของอาคารมิได้ถูกระบุว่าอยู่ที่ใดตรงกับที่ตั้งเดิมหรือไม่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งที่จะยืนยันได้ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่ถูกต้องหรือไม่

        และในหลายบทความนี้ มหาวิทยาลัยมีบันทึกไว้ว่า “...หลังจากการการชำรุดตามกาลเวลา เรือนหลังนี้จึงได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน และเป็นการระลึกถึง พระยาภะรตราชา (ม.ล. ทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย ที่เคยพำนัก ณ เรือนแห่งนี้ ...” (การบูรณะโดยอาจารย์คณะ สถาปัตย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536-2538 แต่ข้อเท็จจริง อาคารเรือนภะรตราชาจริงถูกรื้อไปก่อนหน้านี้แล้ว คาดว่าก่อนปี พ.ศ. 2531 ตรวจสอบได้จากการสร้างอาคารจามจุรี 3 เพราะต้องรื้อเรือนจึงจะสร้างอาคารได้)

   แม้กระทั่ง ประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือที่ระลึก 60 ปี คณะสถาปัตย์ฯยังมีข้อผิดพลาด คาดว่าเนื่องมาจากการลอกเลียนต่อๆกันมา ซึ่งระบุข้อความในหน้า 18 ว่า “..โดยได้เปิดทำการสอนที่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยเดิม เป็นการชั่วคราว (เคยเป็นอาคารอำนวยการโรงเรียนสาธิต จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสถาบันวิจัยสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)” ข้อความในวงเล็บนี้ ไม่น่าถูกต้อง ตามข้อมูลหลักฐานที่กล่าวได้ข้างต้น ควรที่คณะสถาปัตย์ฯ ต้องแก้ไขโดยการลบข้อความในวงเล็กออก ก็จะไม่มีปัญหาผิดพลาดและลอกเลียนกันต่อไป

   จากข้อมูลข้างต้น น่าจะสรุปได้ว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริงหลังเดิม จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี 2 และเป็นอาคารจามจุรี 3 ในปัจจุบันมิใช่อาหารหลังปัจจบันที่เข้าใจกันตามเอกสารหลายๆ ฉบับที่เผยแพร่อยู่ในขณะนี้


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:50
3.ความจริงของอาคาร “เรือนภะรต” ปัจจุบัน
อาณาบริเวณที่ตั้งสำนักอธิการบดี เดิมเรียกว่า สำนักงานเลขาธิการ ในช่วงที่ผู้เขียนบันทึกนี้ เริ่มเข้าทำงาน (พ.ศ. 2508) ด้านทิศเหนือของอาคารปัจจุบันเป็นสำนักงานจัดการทรัพย์สิน และโรงพิมพ์จุฬาฯ จะมีบ้านพักอยู่ 3 หลัง เรียงลึกเข้าไปจากถนนพญาไท บ้านหลังแรกอยู่บริเวณสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ ในปัจจุบัน ผู้อาศัยในช่วงนั้นคือ ผอ. กองคลัง (คุณพิมล บุญอาภา และภรรยาคุณรุจา บุญอาภา ซึ่งต่อมามีตำแหน่ง ผอ. กองการเจ้าหน้าที่ ) บ้านหลังที่ 2 ผู้พักอาศัยคือ คุณอุดร ชื่นกลิ่นธูป ผอ. กองกลาง บ้านหลังที่ 3 ผู้เขียนจำไม่ได้
   ทางด้านทิศเหนือของบ้าน 3 หลังดังกล่าว ห่างไม่มากนัก เป็นคลองไผ่สิงโต คลองนี้จะตัดผ่านถนนพญาไท ผ่านหน้าตึกสถาปัตย์ ออกสู่คลองอรชรริมถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ปัจจุบัน) ติดกับรั้วจุฬาฯ ด้านทิศตะวันออก ช่วงคลองไผ่สิงโต ผ่านถนนพญาไทจะมีสะพานข้ามคลองตามแนวถนนพญาไท ชื่อ สะพานอุเทนถวาย ข้างคลองจะมีทางเดินเรียกกันว่า ตรอกแป๊ะกงซัน ตามชื่อศาลเจ้าจีนซึ่งอยู่กลางซอย (ดูภาพแผนผังสังเขปวิทยาเขตจุฬา สมัยกำเนิดสถาปัตย์ หน้า 102 หนังสือที่ระลึก 60 ปี สถาปัตย์ ) ตามแนวตรอกแป๊ะกงซัน จะมีบ้านพักอาจารย์อยู่ 2 หลัง เรียงลำดับจากถนนพญาไทหลังแรกจะเป็นที่พักของ อาจารย์เมือง เสนียวงศ์ ณ อยุธยา ขณะนั้นเป็นอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี หลังที่ 2 เป็นที่พักของ อาจารย์ทองระคน บุญเสรฐ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
   จากข้อมูลดังกล่าว (จากคุณรุจา บุญอาภา อดีต ผอ. กองการเจ้าหน้าที่) ตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ถูกเรียกว่า เรือนภะรตราชาในปัจจุบัน ควรจะเป็นที่พักเดิมของอาจารย์ทองระคน บุญเสรฐ (เพราะถ้าเป็นบ้านอาจารย์เมือง จะอยู่ใกล้ถนนพญาไทมาก) ดังนั้น จึงเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เรือนภะรตราชา หลังปัจุบันมิใช่ของจริงหลังเดิม ที่พระยาภะรตราชาเคยพำนัก


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 16:51
จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

   ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ

   
                     (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



หมายเหตุ  - เอกสารและข้อมูลบางส่วนได้รับความช่วยเหลือและค้นหาจากคุณอาภากร โพธิเย็น ศูนย์พัฒนกิจและศิษย์เก่าสัมพันธ์ , คุณรัชดา โชติพานิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคุณรุจา บุญอาภา อดีต ผอ. กองการเจ้าหน้าที่ จุฬาฯ



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 17:06
เอาละครับ

ผมเองก็งงกับภาพเก่าของเรือนภะรตราชานี้มาก


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 17:10
เหตุไฉนหลังการบรูณะจึงได้ผิดแผกไปจากของเดิมอย่างเห็นได้ชัด
ถามใคร ทุกคนก็ได้แต่แสดงความแปลกใจ ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนเท่าพี่สิน พวงสุวรรณ ตามเอกสารข้างบน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 08:04
สอดคล้องกับแผนที่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2453 เรื่องศาลเทพารักษ์อยู่ไหน ?

ศาลนี้ตั้งอยู่ริมคลองที่เอกสารของจุฬาอ้างว่าชื่อ "คลองไผ่สิงโต" ซึ่งเป็นแนวยาวผ่านหน้าตึกสถาปัตยกรรม และมีการสร้างสะพานอุเทนถวายสร้างอยู่


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 08:17
ค้นหาคำตอบเรื่องคลองบริเวณจุฬาลงกรณ์ มาให้ อา Navarat.C แล้วนะครับ
๑. คลองนางใบ้ จากคลองสวนหลวงวิ่งมายังศาลเทพารักษ์ (จุดเหลือง)

๒. คลองสะพานสูง ด้านทิศเหนือ จากด้านหอพักนิสิต (มาบุญครอง) ลงมาชนที่ตั้งโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง

๓. คลองอุเทน ด้านตะวันออก วิ่งจากโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง ผ่านหน้าคณะสถาปัตยกรรม ไปออกคลองอรชร


นั่นหมายความว่าครั้งหนึ่งคลองนางใบ้และคลองอุเทน (เรียกกันช่วง พศ. 2464) ได้ถูกเรียกต่อกันมาเป็น "คลองไผ่สิงโต" ในระยะหลัง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 08:49
อ้างถึง
ตำแหน่งที่ตั้งอาคารเรือนภะรตราชา (อาคารเดิม)

สถานที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของตรอกแป๊ะกงซัน และคลองไผ่สิงโต (ตรอกและคลองติดกันและอยู่ขนานกัน) และอยู่ฝั่งตรงข้ามของสนามหน้าหอประชุม

จากข้อมูลข้างต้น น่าจะสรุปได้ว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริงหลังเดิม จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี 2 และเป็นอาคารจามจุรี 3

เรือนภะรตราชาน่าจะเป็นกลุ่มอาคารที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมที่ผมประมาณไว้


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 09:01
น่าจะเป็นเรือนนี้หรือเปล่า


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 09:04
อ้างถึง
คลองไผ่สิงโต คลองนี้จะตัดผ่านถนนพญาไท ผ่านหน้าตึกสถาปัตย์ ออกสู่คลองอรชรริมถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ปัจจุบัน) ติดกับรั้วจุฬาฯ ด้านทิศตะวันออก ช่วงคลองไผ่สิงโต ผ่านถนนพญาไทจะมีสะพานข้ามคลองตามแนวถนนพญาไท ชื่อ สะพานอุเทนถวาย ข้างคลองจะมีทางเดินเรียกกันว่า ตรอกแป๊ะกงซัน ตามชื่อศาลเจ้าจีนซึ่งอยู่กลางซอย

สะพานอุเทนถวาย ตามภาพครับ เดี๋ยวนี้ไม่เหลือแม้แต่ทราก


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 09:29
เป็นอันว่า
ตามข้อมูลของอาจารย์สิน พวงสุวรรณ อดีตหัวหน้าอาคารสถานที่ เรือนภะรตราชาถูกกำหนดขึ้นใหม่ห่างออกไปสองร้อยกว่าเมตร จากเรือนเดิมของอดีตท่านผู้บัญชาการที่เคยพำนักอยู่จริง

อาจารย์สิน ทำหนังสือเรียนท่านอธิการบดีไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ จนถึงบัดนี้ยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านจะช่วยคิดก็ได้ครับ หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะทำอย่างไรดี


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 09:54
เรื่องของเรื่อง เผื่อใครยังไม่เข้าใจ เกริ่นคร่าวๆว่า เรือนภะรตราชาที่อยู่ในจุฬาปัจจุบันนี้เป็นตึกที่ผิดจากความเป็นจริงทำให้เกิดการสับสนของที่มา ทางคณะกรรมการสถาปัตยจุฬาลงการสำรวจและทำหนังสือไปยังจุฬาลงกรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขและหาความจริงของเรือนภะรตราชาในอดีตกลับคืนมา

ซึ่งคาดว่าเรือนภะรตราชาหลังดั้งเดิมอาจจะอยู่บริเวณอาคารจามจุรี 3 (ตามแผนที่)


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 11:14
ภาพถ่ายสมัยหลังสงครามโลกอีกภาพหนึ่ง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 12:28
เปรียบเทียบของเดิม กับของใหม่ชัดๆอีกรูปหนึ่ง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 มี.ค. 16, 13:55
ถ้าอย่างนั้นแล้ว เรือนหลังปัจจุบัน คือเรือนอะไรละครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 22 มี.ค. 16, 14:17
เรือนหลังปัจจุบัน เคยเป็นบ้านพักอาจารย์

นิสิตเก่ารุ่นพ่อเล่าไว้ว่า เรือนพระยาภรตราชาเคยเป็นที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬา ชั้นล่างมีโต๊ะบิลเลียด อันนี้ฟังมาไม่ทันได้เห็นเอง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 14:31
แนบแผนที่สำรวจ พ.ศ.2468 และพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2475 โดยกรมแผนที่ทหาร และเผยแพร่โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงตำแหน่งของอาคารสำคัญริมถนนพญาไท

ที่ในสมัยนั้นเป็นที่ตั้งห้องสมุดด้วยนะครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 15:00
เอามาตราส่วนที่ใหญ่กว่านี้มาให้ชมได้ไหมครับ ที่เห็นหอประชุมหรือคณะอักษรศาสตร์ด้วยน่ะ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 16:20
อาลองอ่านจับใจความดูว่า เรือนบัญชาการ ควรจะหมายถึงที่เดียวกันนี่ไหม

เครดิทเอกสารประวัติศาตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ฯ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 16:24
ความในหนังสือก็สมบูรณ์อยู่ เป็นที่เข้าใจได้ดี แต่คำว่าเรือนบัญชาการอยู่ตรงไหนครับ เห็นแต่คำว่าบ้านผู้บัญชาการ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 16, 16:43
ความในหนังสือก็สมบูรณ์อยู่ เป็นที่เข้าใจได้ดี แต่คำว่าเรือนบัญชาการอยู่ตรงไหนครับ เห็นแต่คำว่าบ้านผู้บัญชาการ

เบื้องต้นทราบว่าการติดชื่ออาคารภะรตราชาในที่ปัจจุบันเป็นการตั้งชื่อให้กับกลุ่มอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่สร้างในยุค พ.ศ. 2460 ว่าเป็นกลุ่มเรือนภะรตราชา ซึ่งวารสารจามจุรีได้เคยนำเสนออธิบายไว้ถึงที่มาเรียบร้อยแล้วว่าเรือนหลังนี้ไม่ใช่หลังเก่าแต่เป็นกลุ่มอาคารที่จุฬาตั้งให้เพื่อเป็นที่ระลึกดังกล่าว....ที่มา จากการคุยกับคุณรัชดา ครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 17:53
ขอยกมาลงซ้ำอีกทีครับ

จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

   ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                      ขอแสดงความนับถือ

   
                     (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 08:29
อาคารจามจุรี ๒  เห็นบ้านพักผู้บัญชาการอยู่ด้านหลัง
ที่มา ห้องปฏิบัติการแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 09:23
ใหญ่กว่าเรือนภะรตราชาหลังใหม่เยอะเลย


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 09:33
ขอนำข้อมูลจากเอกสารจามจุรี พิมพ์เผยแพร่เรื่องเรือนภะรตราชาดังนี้

บ้านพักของผู้ปกครองหรือเรือนผู้ปกครองที่จะก่อสร้างนี้  มีขนาดกว้าง ๘ ศอก ยาว ๓ วา ๒ ศอก  หรือเท่ากับ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร พื้นที่รวม ๒๘ ตารางเมตร ยังมีครัว ขนาดกว้าง  ๒.๕๐ เมตร ยาว ๕ เมตร  และเรือนคนรับใช้อีก ๑ หลัง ตัวเรือนเป็นโครงสร้างเป็นไม้ หลังคามุงจาก    


อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์  พบว่า น่าจะมีการก่อสร้างบ้านพักอื่นในบริเวณมหาวิทยาลัยอีกไม่น้อยกว่า ๗ หลัง   ด้วยพบเอกสารการจ้างช่างรับเหมามาติดไฟฟ้าในบ้านอาจารย์ ๗ หลังด้วยกัน  (แต่ข้อมูลในเอกสาร มีเพียง ๖ หลัง คือบ้านหลังใหญ่ ๒ หลัง และบ้านพักอาจารย์ ๖ หลังของพระยาอนุวัตร์ฯ พระยาวิทยาฯ (พระยาวิทยาปรีชามาตย์) พระภักดีฯ  พระเทพฯ  ครูเหลี่ยม และขุนจรรยา


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 10:55
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์  กรมขุนชัยนารทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย จึงเสนอต่อเสนาบดีกระทรวงธรรมการว่า เห็นควรให้ใช้บ้านหลังใหญ่ เป็นบ้านพักของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย และเป็นที่ทำการของกรมมหาวิทยาลัยไปพร้อมกัน โดยเสนอให้มีการรับขยายพื้นที่บางส่วน
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ และกำหนดบ้านเลขที่ ๕๐๑ ถนนพญาไทขึ้นเป็นสำคัญ

+++

จากข้อมูลด้านบนทำให้ทราบว่า เรือนภะรตราชา ของเดิมมีบ้านเลขที่ 501 ด้วยนะครับเนี่ย ;D


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 16, 14:05
ถ้าเข้าใจผิดกันจริง   เรื่องนี้ก็ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนนะคะ
เพราะเป็นประวัติส่วนหนึ่งของจุฬาเลยทีเดียว


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 15:41
ถ้าเข้าใจผิดกันจริง   เรื่องนี้ก็ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนนะคะ
เพราะเป็นประวัติส่วนหนึ่งของจุฬาเลยทีเดียว

เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชา ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."




กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 15:55
เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."

อ่านแล้วเหมือนสำนวนศรีธนนชัย

ข้อความนี้แปลว่าอะไรครับ เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ  

ผมแปลว่า เรือนที่จุฬาอัญเชิญเจ้านายเสด็จไปเยือนนั้น เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยอยู่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเรือนนั้นจะเป็นเรือนที่ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย(คนอื่นๆ)พำนักอยู่

เอ้า เลอะกันไปใหญ่


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 16:44
เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."

อ่านแล้วเหมือนสำนวนศรีธนนชัย

ข้อความนี้แปลว่าอะไรครับ เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ  

ผมแปลว่า เรือนที่จุฬาอัญเชิญเจ้านายเสด็จไปเยือนนั้น เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยอยู่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเรือนนั้นจะเป็นเรือนที่ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย(คนอื่นๆ)พำนักอยู่

เอ้า เลอะกันไปใหญ่

หมายถึง เจ้านายได้เสด็จไปเยือนเรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ที่ติดป้ายอยู่ตอนนี้) และอาคารอื่นๆที่ทรงเดียวกันครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 16:49
ก็ใช่น่ะสิขอรับ
คือจุฬาไปกราบทูลว่า เรือนที่เชิญเสด็จไปเยือนนี้ เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ไง

แต่ความจริงมันไม่ใช่นี่


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 16:53
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์  กรมขุนชัยนารทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย จึงเสนอต่อเสนาบดีกระทรวงธรรมการว่า เห็นควรให้ใช้บ้านหลังใหญ่ เป็นบ้านพักของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย และเป็นที่ทำการของกรมมหาวิทยาลัยไปพร้อมกัน โดยเสนอให้มีการรับขยายพื้นที่บางส่วน

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ และกำหนดบ้านเลขที่ ๕๐๑ ถนนพญาไทขึ้นเป็นสำคัญ

ในเว็บของหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า มีผู้บัญชาการเพียง ๒ ท่าน ก่อนที่ตำแหน่งดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนไปเรียกว่า อธิการบดี
http://www.memohall.chula.ac.th/history/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5/ (http://www.memohall.chula.ac.th/history/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5/)

กล่าวคือ
๑ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘ รวมเวลา ๕ ปี เกือบ ๗ เดือน
และ ๒ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน

แล้วทำไมจุฬาจึงให้ความสำคัญว่า เรือนของผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่บูรณะขึ้นมาใหม่นั้น จะต้องชื่อ เรือนภะรตราชา ทั้งๆที่ท่านไม่ใช่คนแรกที่ได้พำนักอาศัย และอยู่สั้นกว่ากันกว่า ๓ ปี

ที่แปลกก็คือ ความตามอ้างถึงข้างบนนั้น กล่าวว่า การก่อสร้างบ้านดังกล่าวแล้วเสร็จ และเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐
คำถามคือ แล้วใครได้เข้าไปพำนักในเรือนผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยตามนั้น แล้วอยู่ในฐานะอะไร


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 17:07
เรือนผู้บัญชาการที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ ภาพจากFB ของคุณรัชดา โชติพานิช ซึ่งกำลังเปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเหมือนกัน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มี.ค. 16, 17:20
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘ รวมเวลา ๕ ปี เกือบ ๗ เดือน

ข้อมูลข้างบนไม่ตรงกับประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๔ หน้า ๒๓ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ตั้งมหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 17:31
ถ้าเช่นนั้น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ผิดพลาดอีก

เป็นอันว่าพระยาอนุกิจวิธูรที่เป็นผู้บัญชาการคนแรก และพำนักอยู่ที่บ้านหลังนั้นนานยิ่ง น่าจะเป็นผู้ได้รับเกียรติ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มี.ค. 16, 17:42
มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน

คำสั่งตั้งมหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 23 มี.ค. 16, 18:43

มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน
ก่อนหน้านั้นเป็นคณบดีอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ปี ๒๔๗๕ มีการระบุว่า เรือนหลังใหญ่ (ที่เคยตั้งตรงสำนักอธิการบดีในปัจจุบัน) เป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปแล้ว
หากข้อมูลนี้ถูกต้อง แปลว่า พระยาภะรตราชา ไม่น่าที่จะได้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ตั้งแต่กลางปี ๒๔๗๕ แล้ว
อาจหมายถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่
               กลางปี ๒๔๗๕ ขณะยังเป็นผู้บัญชาการอยู่ได้ย้ายออกจากเรือนใหญ่ ไปอยู่ที่อื่น ?

ฟังดูแปลกๆ ครับ

ถ้าจะบอกว่า พระยาภะรตราชา ไม่เคยพักที่เรือนหลังใหญ่นี้เลยจะพอเข้าเค้ามากกว่า


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 16, 19:35
เรือนผู้บัญชาการที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ ภาพจากFB ของคุณรัชดา โชติพานิช ซึ่งกำลังเปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเหมือนกัน

เรือนหลังนี้ปัจจุบันยังอยู่และปรับปรุงสวยงามและได้รับเกียรติใหม่่ว่า "เรือนภะรตราชา"

เรือนหลังนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับพระยาภะรตราชาเลย หากแต่เป็นเรือนหลังน้อยของคณาจาราย์ที่จุฬาจัดให้พำนักและเคยเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสาธิตจุฬามาสักระยะหนึ่ง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 19:45
คำบอกเล่าของสถาปนิกในยุคบุกเบิก

พวกเราผ่านการสอบคัดเลือกมาได้ 10 มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ 10 คน โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก(ดีจัง) พอวันเปิดเทอมเราก็เข้าไปเรียนที่แผนกสถาบัตยฯ เป็นบ้าน 3 ชั้น เก่าๆ นอกรั้วจุฬาฯ (บ้านเจ้าคุณภะรตฯ) ซึ่งถูกรื้อมาเป็นตึกสำนักงานเลขาฯเดี๋ยวนี้ โดยอาจารย์ศิววงษ์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าแผนก
ชั้นล่างของบ้านเป็น Studio ของปี 1 พอเราเข้าไปก็เห็นโต๊ะเขียนแบบอยู่ 50 ตัว เราจึงรู้ว่าเป็นโต๊ะของพวกพี่ๆ ที่รอจะเรียนพร้อมเราอยู่ 30 คน!!
ชั้น 2 ของตัวตึกเป็น Studio ของปี 2 และห้องทำงานของอาจารย์ 4-5 คนอยู่ในห้องเดียวกัน มีอาจารย์ศิววงษ์,  อาจารย์เฉลิม, อาจารย์แหลมฉาน, อาจารย์รำไพ ฯลฯ
ชั้น 3 เป็นห้องวาดหุ่น (มีชีวิตและไม่มีชีวิต) ห้องนี้พวกพี่ๆ ชอบกันมากกับหุ่นที่มีชีวิต บางทีก็เจอะหุ่นลุงจันทร์ (ภารโรงเก่าแก่ของเรา)
ออกจากตึกไปเป็นโรงเรือนไม้ยาวๆ Studio 3 และ 4 อยู่ที่ปีก 2 ข้าง ตรงกลางเป็นห้องโล่งๆ มีโต๊ะปิงปอง 1 ตัว ผู้เล่นต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น ผู้ที่แพ้ต้องออกไปให้ผู้อื่นเข้ามาเล่นบ้าง โดยมีกองเชียร์เยอะแยะ และพวกกองเชียร์ก็หาโอกาสเข้าไปเล่นเหมือนกัน แต่ต้องมือดีนะถึงได้เล่นนานๆ


เรือนพระยาภะรตราชา สร้างเป็นที่พักของผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยหนึ่งที่ต้องอยู่ประจำ เพื่อดูแลนิสิตที่ต้องอยู่หอพักเช่นกัน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้ใหญ่ในคณะราษฎร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นแทนโดยไม่สนใจจะเข้าอยู่ในเรือนพัก ชื่อเรือนจึงไม่เปลี่ยนแต่ตัวพระยาภะรตต้องระเห็จไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในวชิราวุธวิทยาลัย ก่อนจะขึ้นเป็นผู้บังคับการ และลงตัวในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงแก่อนิจกรรม จุฬาฯได้ทำการอนุรักษ์เรือนพระยาภะรตไว้ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร" คือสถานที่จัดการประชุม สัมนาต่างๆ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 16, 11:29
ยิ่งอ่านยิ่งงง
เป็นอันว่าจุฬาไม่ได้เข้าใจผิดอีกต่อไป  จุฬารู้ และยอมรับแล้วว่า เรือนโบราณที่มีชื่อเป็นทางการว่า "เรือนภะรตราชา"  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับพระยาภะรตราชา แต่ในเมื่อใช้ชื่อนี้มาแต่แรก  ก็ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ส่วนเรือนที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระยาภะรตราชา เป็นอีกเรือนหนึ่ง ซึ่งไม่มีชื่อว่าภะรตราชา   จะเป็นชื่ออะไรอยู่ตรงไหน   ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้
รอคุณหมอเรือนไทยท่านใดก็ได้มาอธิบายอีกทีค่ะ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มี.ค. 16, 12:28
ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้

ส่งกระเช้ามาลีสีสดสวย
แนบมาด้วยฤทัยให้ห่วงหา
เจ็บป่วยไข้ไม่สบายให้สร่างซา
ให้กายาแกร่งดังเก่าท่านเจ้าเรือน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 16, 14:15
รอให้หายไข้เสียก่อนดีกว่าครับ แล้วผมจะเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายๆกันอีกที


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 มี.ค. 16, 19:30
ให้หายไข้ก่อนนะครับ  ;D


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มี.ค. 16, 20:09
ทีมบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุดใหม่
1) ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (อธิการบดี)
2) ศาสตราจารย์ นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม (รองอธิการบดี กำกับดูแลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม)
3) ศาสตราจารย์ นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานยุทธศาสตร์ แผน งบประมาณ และ เลขานุการสภาฯ)
4) รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานพัฒนานิสิตและกิจการภายใน)
5) รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานกายภาพ พัสดุ กฎหมาย สารสนเทศ)
6) รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานทรัพย์สิน และนวัตกรรม)
7) รองศาสตราจารย์ วันชัย มีชาติ
(รองอธิการบดี กำกับดูแลการบริหารงานบุคคล)
8) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ.อยุธยา
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานวิชาการ)
9) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานการเงิน บัญชี คลัง)
10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงาน ศิลปวัฒนธรรม สื่อสารองค์กร)


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 มี.ค. 16, 16:55
ยิ่งอ่านยิ่งงง
เป็นอันว่าจุฬาไม่ได้เข้าใจผิดอีกต่อไป  จุฬารู้ และยอมรับแล้วว่า เรือนโบราณที่มีชื่อเป็นทางการว่า "เรือนภะรตราชา"  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับพระยาภะรตราชา แต่ในเมื่อใช้ชื่อนี้มาแต่แรก  ก็ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ส่วนเรือนที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระยาภะรตราชา เป็นอีกเรือนหนึ่ง ซึ่งไม่มีชื่อว่าภะรตราชา   จะเป็นชื่ออะไรอยู่ตรงไหน   ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้
รอคุณหมอเรือนไทยท่านใดก็ได้มาอธิบายอีกทีค่ะ

คาดว่าถึงวันนี้ ท่านคงจะค่อยยังชั่วแล้ว ผมจะขออธิบายสรุปให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ว่า

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งปรับปรุงอาคารเก่าหลังหนึ่ง โดยหลงผิดว่าเป็นอาคารเรือนที่พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยพักอาศัยอยู่เป็นคนสุดท้าย  ดังนั้นเมื่อปรับปรุงเสร็จ จึงได้ติดป้ายชื่ออาคารนั้นว่า “เรือนภะรตราชา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จะโดยตั้งใจหรือสำคัญผิดก็ตาม ทำให้อาคารนั้นถูกเรียกว่า “เรือนภะรตราชา” มาจนถึงปัจจุบัน

ผู้เขียนบันทึกนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง คือนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผู้เคยรับราชการในแผนกอาคารสถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทันรู้ทันเห็นเรือนพำนักผู้บัญชาการที่ยังปรากฎอยู่ในสภาพทรุดโทรมหนัก ก่อนจะถูกรื้อทิ้งไปในที่สุด จึงตระหนักดีว่า การติดป้ายชื่ออาคารที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่นั้นว่า “เรือนภะรตราชา”เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงได้เคยทักท้วงด้วยวาจากับผู้ออกแบบบูรณะแล้ว และยังได้เคยบอกกล่าวไว้กับอาจารย์และข้าราชการหลายท่าน ทั้งที่มีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และไม่มี แต่ไม่ปรากฏว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนองตอบต่อเรื่องนี้อย่างใด

จากข้อมูลและหลักฐานต่างๆระบุว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริง จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี ๒ และเป็นอาคารจามจุรี ๓ ในปัจจุบัน

ส่วนอาคารหลังปัจจุบันที่บูรณะใหม่ ติดป้ายชื่ออาคารว่า “เรือนภะรตราชา” นั้น เคยเป็นที่พักของ ศาสตราจารย์ทองระคน บุญเสรฐ อาจารย์ท่านหนึ่งของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เคยพำนักอยู่ทั้งครอบครัว เป็นหลังหนึ่งในหลายในกลุ่มเรือนพักอาจารย์ ไม่ใช่หลังที่พระยาภะรตราชาเคยพำนัก สมัยเป็นผู้บัญชาการ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 มี.ค. 16, 17:03
อ้างถึง
จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ
                   (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรงนี้ผมขอใช้สิทธิ์ ตอบแทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในฐานะถูกพาดพิง

เรื่องการบูรณะอาคารเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้รับความสนใจจากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ แล้ว เพราะกรรมาธิการคนหนึ่งในคณะคือผู้เดียวกับอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้รับผิดชอบทำโครงการนี้ ซึ่งปีนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ เมื่อพ้นวาระไปเป็นที่ปรึกษา ผมก็ยังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง และได้มีส่วนเห็นชอบให้อาคารที่บูรณะขึ้นมาแล้วเสร็จสวยงามนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในปี ๒๕๔๐ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีตัวแทนไปเฝ้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ผมจึงสามารถจะเรียนได้ว่า รางวัลที่เรือนหลังนี้ได้รับ เป็นเพราะคุณค่างานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม มิใช้ด้วยชื่อบุคคลที่นำมาใช้เป็นชื่ออาคาร การที่ระบุให้รางวัลแก่ “อาคารภะรตราชา” ก็เพราะเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งชื่ออาคารเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้เคยพำนักอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคณะกรรมาธิการทุกท่านจะมีความเห็นเหมือนผม ที่เห็นด้วยกับอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า “หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป”


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 มี.ค. 16, 19:05
อ้างถึง
จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ
                   (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรงนี้ผมขอใช้สิทธิ์ ตอบแทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในฐานะถูกพาดพิง

เรื่องการบูรณะอาคารเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้รับความสนใจจากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ แล้ว เพราะกรรมาธิการคนหนึ่งในคณะคือผู้เดียวกับอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้รับผิดชอบทำโครงการนี้ ซึ่งปีนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ เมื่อพ้นวาระไปเป็นที่ปรึกษา ผมก็ยังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง และได้มีส่วนเห็นชอบให้อาคารที่บูรณะขึ้นมาแล้วเสร็จสวยงามนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในปี ๒๕๔๐ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีตัวแทนไปเฝ้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ผมจึงสามารถจะเรียนได้ว่า รางวัลที่เรือนหลังนี้ได้รับ เป็นเพราะคุณค่างานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม มิใช้ด้วยชื่อบุคคลที่นำมาใช้เป็นชื่ออาคาร การที่ระบุให้รางวัลแก่ “อาคารภะรตราชา” ก็เพราะเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งชื่ออาคารเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้เคยพำนักอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคณะกรรมาธิการทุกท่านจะมีความเห็นเหมือนผม ที่เห็นด้วยกับอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า “หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป”


แก้ไขก็น่าจะเติม "กลุ่ม" เข้าไปก็ได้นะครับจะได้ไม่สับสน จาก “อาคารภะรตราชา” เป็น "กลุ่มอาคารภะรตราชา" จะได้เป็นที่เข้าใจด้วยกันทั้งปวง


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 07:27
คำว่า “เรือนภะรตราชา” นั้น ไม่ว่าชื่อจะได้มาโดยความเข้าใจอย่างไรก็ตาม ก็ดูเหมือนว่าจุฬาให้คำอธิบายอ้อมๆแอ้มๆว่า เรือนนี้จุฬาฯได้ทำการอนุรักษ์ไว้  แล้วตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการท่านหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มิได้หมายความว่าท่านเคยพำนักอยู่ในเรือนที่ว่า

เรื่องจึงไม่จบ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 07:31
ปัจจุบันเรือนพระยาภะรตใช้ประโยชน์เป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร" คือสถานที่จัดการประชุม สัมนาต่างๆ
ถ้าจุฬาจะเปลี่ยนชื่อเรือนเป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร ภะรตราชา" ก็คงจะได้

แต่ถ้ายังจะรักษาคำว่า “เรือนภะรตราชา” ไว้ ให้ตรงกับตราที่ได้รับพระราชทาน อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มป้ายขึ้นอีกป้ายหนึ่ง เพื่อเป็นถาวรวัตถุติดให้ผู้มาเยือนเห็นได้โดยง่าย ข้อความประมาณนี้

“เรือนภะรตราชา”หลังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการอนุรักษ์เรือนหลังหนึ่งที่ยังคงเหลืออยู่  ในจำนวนกลุ่มอาคารเรือนพักผู้บัญชาการและอาจารย์ที่สร้างขึ้นแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการคนสุดท้ายที่พำนักอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 01 เม.ย. 16, 06:33

ผมยังมีข้อสงสัยบางประการครับ

มีหลักฐานยืนยันหรือไม่ว่า พระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังใหญ่ที่ถูกรื้อไปแล้ว


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 เม.ย. 16, 07:52
^
ขณะที่ท่านได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการนั้น เรือนประจำตำแหน่งผู้บัญชาการมีอยู่ จะให้ท่านไปพำนักที่ไหนทำไมครับ


มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน
ก่อนหน้านั้นเป็นคณบดีอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ปี ๒๔๗๕ มีการระบุว่า เรือนหลังใหญ่ (ที่เคยตั้งตรงสำนักอธิการบดีในปัจจุบัน) เป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปแล้ว
หากข้อมูลนี้ถูกต้อง แปลว่า พระยาภะรตราชา ไม่น่าที่จะได้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ตั้งแต่กลางปี ๒๔๗๕ แล้ว
อาจหมายถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่
               กลางปี ๒๔๗๕ ขณะยังเป็นผู้บัญชาการอยู่ได้ย้ายออกจากเรือนใหญ่ ไปอยู่ที่อื่น ?

ฟังดูแปลกๆ ครับ

ถ้าจะบอกว่า พระยาภะรตราชา ไม่เคยพักที่เรือนหลังใหญ่นี้เลยจะพอเข้าเค้ามากกว่า


ไม่น่าจะแปลกนะครับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่ประจำตำแหน่ง จนถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ ซึ่งท่านลาออกไปเนื่องจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เรือนนั้นก็ว่างอยู่ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศสาตร์เมื่อแรกตั้งจึงถูกจัดให้ไปเรียนที่อาคารนั้น ซึ่งน่าจะเป็นปี ๒๔๗๖ แล้ว ตามประวัติของคณะดังนี้

อ้างถึง
ในปีพุทธศักราช 2475 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ สั่งการให้เปิดรับนิสิต จำนวน 11 คนเข้าศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากมีตามพระราชกฤษฎีกา การจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงธรรมการนั้น ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 50 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นกรม ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2476 ให้สถาปัตยกรรม เป็นแผนกหนึ่งใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีการปรับหลักสูตรใหม่ ขยายระยะเวลาศึกษาเป็น 3 ปี เพื่อให้ ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับอนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต




กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 01 เม.ย. 16, 10:00
พระยาภะรตราชามีบ้านพักที่จุฬาฯ แน่นอน มีภาพถ่ายท่านผู้หญิงขจรที่บ้านพักผู้บัญชาการด้วย
เรื่องนีถ้าเรียนถามท่านผู้หญิงทัศนีย์ ก็น่าจะได้ความ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 01 เม.ย. 16, 15:24

ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ถูกต้องครับ
แต่ไม่ใช่ที่เรือนหลังใหญ่แน่ๆ

ถ้าท่านย้ายเข้าพักเรือนหลังใหญ่ทันที เรือนหลังเดิมที่เคยอยู่ก็ยังสามารถตั้งชื่อท่านได้
เรื่องนี้ยังไม่พิจารณาว่าเรือนหลังเดิมท่านอยู่ที่ไหน

ถ้าจดหมายร้องเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ปี 2475 เรือนหลังใหญ่ใช้เป็นที่เรียนแล้ว
แปลว่าท่านย้ายออกตั้งแต่กลางปี ก่อนที่จะลาออกใาเดือนกันยายน
ซึ่งฟังดูแปลกๆครับ



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 01 เม.ย. 16, 15:36

ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 เม.ย. 16, 16:59

ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ถูกต้องครับ
แต่ไม่ใช่ที่เรือนหลังใหญ่แน่ๆ

ถ้าท่านย้ายเข้าพักเรือนหลังใหญ่ทันที เรือนหลังเดิมที่เคยอยู่ก็ยังสามารถตั้งชื่อท่านได้
เรื่องนี้ยังไม่พิจารณาว่าเรือนหลังเดิมท่านอยู่ที่ไหน

ถ้าจดหมายร้องเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ปี 2475 เรือนหลังใหญ่ใช้เป็นที่เรียนแล้ว
แปลว่าท่านย้ายออกตั้งแต่กลางปี ก่อนที่จะลาออกใาเดือนกันยายน
ซึ่งฟังดูแปลกๆครับ


ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ไม่ถูกต้องครับ ไม่มีหลักฐานเช่นนั้น ท่านอาจไม่ได้พักบ้านพักหลวงก็ได้ พระยาภะรตเป็นผู้มีฐานะดี ท่านมีบ้านหลังใหญ่อยู่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ตรงที่เป็นศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ถือว่ากำเนิดในปี ๒๔๗๕ จริง แต่ในปีแรกนิสิตมีเพียงคน ๑๑ เรียนร่วมกับนิสิตปี ๑ คณะวิศวะ ยังไม่ได้ย้ายมาอยู่เรือนผู้บัญชาการ กว่าจะย้ายมาก็เป็นปี  ๒๔๗๖ แล้ว


ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ


ก็นั่นน่ะสิครับ ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็ก แต่มีหลักฐานอะไร


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 เม.ย. 16, 06:43

ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ไม่ถูกต้องครับ ไม่มีหลักฐานเช่นนั้น ท่านอาจไม่ได้พักบ้านพักหลวงก็ได้ พระยาภะรตเป็นผู้มีฐานะดี ท่านมีบ้านหลังใหญ่อยู่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ตรงที่เป็นศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ถือว่ากำเนิดในปี ๒๔๗๕ จริง แต่ในปีแรกนิสิตมีเพียงคน ๑๑ เรียนร่วมกับนิสิตปี ๑ คณะวิศวะ ยังไม่ได้ย้ายมาอยู่เรือนผู้บัญชาการ กว่าจะย้ายมาก็เป็นปี  ๒๔๗๖ แล้ว


ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ


ก็นั่นน่ะสิครับ ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็ก แต่มีหลักฐานอะไร


เริ่มเห็นจุดร่วมจากทั้งสองฝั่งแล้วครับ สมมุติว่าเรื่องเรือนหลังใหญ่ยังไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากจุฬายังไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการเคยมีอยู่ของเรือนผู้บัญชาการหลังใหญ่
อีกทั้งจุฬาฯ ไม่ได้อ้างว่าเรือนหลังเล็กเคยใช้เป็นที่เรียนสถาปัตฯ
ดังนั้นจึงพอรับฟังได้ว่า จุฬาฯ ทราบดีว่าเรือนทั้งสองหลังไม่ใช่สถานที่เดียวกัน


ประเด็นข้อขัดแย้งจึงน่าจะอยู่ที่เรือนหลังเล็ก
ฝ่ายสนับสนุนจุฬาควรหาข้อมูลสนับสนุนว่าพระยาภะรตราชาเคยอยู่ที่นั่น
ในทางตรงข้าม
ฝ่ายคัดค้านควรหาข้อมูลหักล้างว่าพระยาภะรตราชาไม่เคยพักอาศัยในเรือนหลังนั้นเลย

แนวทางนี้พอไหวไหมครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 เม.ย. 16, 06:49
ขออภัย ตรงนี้ตัดต่อผิดครับ /ลบแล้ว  :)


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 07:33
ขอแก้ไขในสิ่งผิดก่อนครับ

เมื่อวานเผลอไปเขียนว่าบ้านส่วนตัวของพระยาภะรตราชา อยู่เชิงสะพานมัฆวาน ขอแก้เป็นสะพานผ่านฟ้าลีลาศนะครับ แล้วเอาภาพถ่ายโบราญที่เห็นบ้านของท่านมาให้ชมด้วย


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 07:56
อ้างถึง
เริ่มเห็นจุดร่วมจากทั้งสองฝั่งแล้วครับ สมมุติว่าเรื่องเรือนหลังใหญ่ยังไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากจุฬายังไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการเคยมีอยู่ของเรือนผู้บัญชาการหลังใหญ่
อีกทั้งจุฬาฯ ไม่ได้อ้างว่าเรือนหลังเล็กเคยใช้เป็นที่เรียนสถาปัตฯ
ดังนั้นจึงพอรับฟังได้ว่า จุฬาฯ ทราบดีว่าเรือนทั้งสองหลังไม่ใช่สถานที่เดียวกัน


ประเด็นข้อขัดแย้งจึงน่าจะอยู่ที่เรือนหลังเล็ก
ฝ่ายสนับสนุนจุฬาควรหาข้อมูลสนับสนุนว่าพระยาภะรตราชาเคยอยู่ที่นั่น
ในทางตรงข้าม
ฝ่ายคัดค้านควรหาข้อมูลหักล้างว่าพระยาภะรตราชาไม่เคยพักอาศัยในเรือนหลังนั้นเลย

แนวทางนี้พอไหวไหมครับ


ประเด็นคือ ขณะนี้ไม่มีข้อขัดแยังดังกล่าว คณะทำงานโครงการอนุรักษ์เรือนพักอาจารย์แล้วตั้งชื่อว่าเรือนภะรตราชา ยอมรับข้อมูลของอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า เรือนนั้นพระยาภะรตไม่เคยพำนักอยู่ แต่นำชื่อท่านมาตั้งให้เป็นเกียรติ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 08:27
ขออภัยที่ต้องเอาข้อมูลนี้มาลง เพื่อมิให้คุณคนโคราชต้องหาทางจะพิสูจน์อะไรอีกให้เสียเวล่ำเวลา

หลังจากผมตั้งกระทู้ขึ้นในเรือนไทย เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันอยู่พักหนึ่งใน FB ของผู้ที่เกี่ยวข้องระดับวงในของคณะทำงานโครงการอนุรักษ์เรือนดังกล่าวในอดีต แต่ได้ลบทั้งเรื่องไปแล้วโดยที่ผมยังเซฟไว้ได้ ขอเอามาให้ดูเพียงแค่นี้

ภายในกลุ่ม”ผู้รู้” ของจุฬานั้น ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ตามที่ผมบอกแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่คณะผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไม่เคยมีปฏิกิริยาอันใดทุกครั้งที่มีข้อเรียกร้องของอาจารย์สิน พวงสุวรรณ ซึ่งกระทำมาตลอดตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 เม.ย. 16, 10:58

ยินดีด้วยครับ ที่จะลงเอยกันด้วยดี
แต่ถ้าผู้บริหารกลัวเสียหน้า ผมจะรับจ้างเถียงให้ต่อครับ


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 12:04
ว๊า   หมดกัน


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 เม.ย. 16, 13:17
บ้านส่วนตัวของพระยาภะรตราชา อยู่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

ที่มาภาพ วิลเลียมฮันท์ พศ. 2489


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 14:14
เยี่ยมเลย แต่ช่วงหลังสงครามท่านคงไม่ได้พักที่บ้านหลังนี้แล้ว ท่าจะทรุดโทรมมาก


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 15:51
พระยาภะรตราชาท่านลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๕๗๕  หลังจากนั้นหลายปีท่านจึงได้เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในวันที่ ๑ มกราคม ปี ๒๔๘๖ โดยได้พำนักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้  เรียกว่าบ้านผู้บังคับการ นักเรียนวชิราวุธเรียกว่าบ้านผู้การ  เป็นเรือนไม้สักทองทั้งหลัง สมัยผมเป็นนักเรียนชั้นมัธยม พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๗ บ้านหลังนี้มีค้างต้นไม้รอบบ้านร่มครึ้ม หลังบ้านมีมะม่วงอกร่องลูกดก


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 15:57
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสมัยท่านเป็นผู้บัญชาการ มีอะไรคล้ายๆกับวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอยู่มาก เพราะนิสิตส่วนใหญ่จะพักอยู่ในหอ อันเป็นที่มาของคำว่านิสิต ซึ่งแปลว่านักศึกษาที่อยู่ประจำสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บัญชาการจะต้องพำนักอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพื่อปกครองดูแลนิสิตอย่างใกล้ชิด บ้านคณาจารย์ บางตำแหน่งเรียกอนุสาสก ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับการดูแลศิษย์ที่อยู่ประจำ ไม่ใช่บ้านประจำตำแหน่งคณบดี หรืออาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการอย่างเดียว

พระยาภะรตราชาสมัยท่านเป็นผู้บังคับการโรงเรียนผม ท่านจะพำนักอยู่ในโรงเรียนใกล้ชิดกับเด็ก ครั้นปิดเทอมเด็กกลับบ้านหมดแล้ว ท่านจึงได้กลับไปบ้านของท่าน สมัยผมนั้น บ้านท่านอยู่ในซอยกล้วยน้ำไทย ถนนสุขุมวิท หลังที่เชิงสะพานผ่านฟ้าคงเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว มิตร ชัยบัญชาดาราหนังไทยผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้เคยเป็นเจ้าของที่ดินผืนงามนี้ครั้งหนึ่งด้วย ก่อนที่จะเสียชีวิตและถูกธนาคารกรุงเทพบังคับจำนองไป

ในภาพที่ถ่ายหลังสงคราม ต้นมะม่วงที่ผมว่าโตแล้ว


กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 16:07
ไม่ไกลจากบ้านผู้การ มีโรงทึมเล็กๆหลังหนึ่งปิดตายไว้ตลอด เด็กพวกผมเคยไปส่องมองตามร่องตามรูเห็นรถคันเบ้อเร่อจอดจมฝุ่นอยู่คับห้อง สองสามปีต่อมาวันหนึ่งโรงรถถูกเปิดออกแล้วรถโบราญคันนั้นได้ถูกภารโรงชักลากออกมา ยางแบนแต๊ดแต๋ แต่ตัวถังนั้นพอล้างน้ำแล้วมันแปร้บสวยงามมาก ผมจำได้ว่าเป็นสีเขียวเข้มบังโกรนสีดำ ได้ความว่านักนิยมของเก่าคนหนึ่งมาทุ่มราคาซื้อจากท่านไป

รถคันนี้หวนเข้ามาในมโนภาพ ค้นเน็ทดูพบว่าเป็นยี่ห้อ Wolseley สมัยท่านอยู่เชิงสะพานผ่านฟ้า คงขับรถคันนี้ไปสอนหนังสือที่จุฬา คนอย่างท่านคงจะไม่ไปอยู่บ้านหลวงระดับอนุสาสก



กระทู้: เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 16:11
ผู้บังคับการของผมเดิมท่านชื่อ หม่อมหลวง ทศทิศ อิศรเสนา เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๔๖ ได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนพับบลิกสกูลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ชื่อ เอาน์เดอล (Oundle) ก่อนสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยลอนดอน

ท่านกลับมาเป็นครู จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภะรตราชา ได้รับการแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษ ถือเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหน้าที่นี้แทนฝรั่ง โดยท่านอยู่ที่นั่นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - พ.ศ. ๒๔๖๙ รวมเวลา ๕ ปี ก่อนจะกลับเมืองไทยแล้วไปเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๔๗๐

ภาพของท่านและครอบครัวระหว่างเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษ