เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: naitang ที่ 08 ม.ค. 17, 19:37



กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ม.ค. 17, 19:37
ภาพของสังคมในจินตนาการบนฐานของความตกลงและความร่วมมือ AEC นั้น  นอกจากจะอยู่บนพื้นฐานของการเจรจาแบบ บวก ลบ คูณ หาร ประโยชน์อันพึงได้ทางทางเศรษฐกิจที่เป็นหลักแล้ว จินตนาการนี้ก็ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของการไหลเทไปมาของความสัมพันธ์ทั้งในด้านของบุคคล สังคม และวัฒนธรรม

ปัจจุบันนี้ AEC ก็ได้เริ่มต้นขึ้นมาแล้ว พัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมในเชิงขององค์กรที่ได้เริ่มเกิดมา ก็ได้มีการรายงานและการวิเคราะห์ปรากฎออกมาทางสื่ออยู่ไม่น้อย  ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นเรื่องในเชิงของ Institutional Frameworks (ความร่วมมือ องค์กร กฎหมาย การปฎิบัติต่กัน ฯลฯ)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ม.ค. 17, 20:44
แน่นอนว่า ในความตกลงต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็น Declaration, Resolution, Decision หรือ Directive ก็จะมีส่วนที่เรียกว่า Preamble Clauses (สุดแท้แต่จะแปลว่า ความนำ เบื้องต้น ที่มา เห็นว่า เหตุผล ..ฯลฯ) แล้วตามด้วยส่วนที่เรียกว่า Operative Clauses (ภาคบังคับ ภาคปฎิบัติ ปฎิบัติการ ..ฯลฯ)

ผลของการประชุมในเรื่องหนึ่งๆที่ทำให้เกิดความตกลงต่างๆนั้น มีเรื่องราวในแง่มุมต่างๆถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วยเยอะมาก จะกล่าวว่าครบทุกเรื่องก็ว่าได้ (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง..ฯลฯ)  การกล่าวในเวทีการประชุมเต็มรูป (Panel Session) นั้นจึงเป็นเพียงการแสดงจุดยืนในบางประเด็นหรือจุดยืนแบบกล้อมแกล้ม   การยกร่างความตกลงที่เกิดขึ้นจากการประชุมหลังเวทีไปพร้อมๆกับการประชุมเต็มรูปนั้นต่างหากที่เป็นการประชุมต่อรองกันอย่างแท้จริง    ก็ถกกัน เถียงกัน ว่ากันตั้งแต่ Preamble ไปจนถึง Operative มีทั้งเพิ่มเติม ขยายความ ปรับแต่ง แปรเรื่อง ด่าว่า (โดยนัย)..ฯลฯ สอดแทรกแฝงให้ปรากฎอยู่ในข้อความของความตกลงเหล่านั้น     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ม.ค. 17, 21:18
อารัมภบทมาก็เพียงเพื่อจะกล่าวว่า  การถกกันในการประชุมคู่ขนานหลังเวทีการประชุมเต็มรูปที่เรียกว่า Committee of ...(เช่น  Committee of the Whole) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า Committee Meeting ของผู้แทนประเทศต่างๆนั้น ความตกลงที่พอยอมรับกันได้ เกิดขึ้นบนฐานของหลัก Comparative advantage  ก็คือ แต่ละประเทศนั้นๆ ประเมินได้ว่าได้เปรียบในบางเรื่อง หรือมีโอกาสสู้ได้ หรือ มีโอกาสแย่งชิงประโยชน์ได้..ฯลฯ

ขมวดเรื่องเข้ามา     ก็คงจะได้ยินได้ฟังกันตลอดมาว่า ไทยเราจะเป็น Hub โน่น นี่ สารพัด Hub    ซึ่งดูจะหมายความว่า เราคิดว่าเราได้เปรียบ (comparatively) ในเรื่องทางภูมิรัฐศาสตร์ เรื่องของการสื่อสารต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านภาษา (ที่เราจะสามารถพัฒนาคนของเราได้ทัน) ด้วย..ฯลฯ  หมายความว่าเรากำลังตกลงใจเข้าไปแข่งขันในกลุ่มอุสาหกรรมบริการ (Services Sector)  ซึ่งหมายความต่อมาว่า ผู้คนในงานกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะต้องพูดคุยสื่อสารกับคนแปลกหน้า ต่างชาติ ต่างภาษา กับเขาทั้งหลายได้รู้เรื่อง

น่าสนใจนะครับ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ม.ค. 17, 20:20
จะขอขี่ม้าเลียบค่ายอีกหน่อย ครับ

เรื่องแรก  เท่าที่พอจะมีความรู้จากการได้รับฟังบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ  ต่างก็ว่าภาคอุตสาหกรรมบริการนั้น เป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะเห็นได้จากพื้นฐานรายได้มวลรวมของประเทศ ดังเช่นที่ปรากฎในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ซึ่งก็ล้วนแต่จะมีรายได้จากภาคอุตสาหกรรมบริการในสัดส่วนที่สูงมากหรือมากกว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิต

สำหรับไทยในภาพหนึ่งนั้น   เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา   เราเริ่มได้รับฟังข่าวการพยายามจะโยกย้ายอุตสาหกรรมการผลิตหลายชนิดออกจากประเทศไทยไปอยู่ในประเทศอื่นๆ เสมือนว่าจะมีการย้ายฐานการผลิต ปิดโรงงานหนีออกไปจากไทย   ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว   ครับ เป็นเรื่องของการเริ่มปรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เขามาลงทุน เนื่องมาจากคนของเรามีขีดความสามารถในระดับที่สูงมากแล้ว (ฝีมือ ความรู้ การสื่อสารทางภาษา)   ซึ่งก็คงพอจะขยายความต่อไปได้ว่า เขาเริ่มจะเห็นว่า เราน่าจะกำลังเริ่มเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการบริการแล้ว   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ม.ค. 17, 20:33
ในภาพดังกล่าวมา   คำศัพท์และภาษาที่ใช้ในระบบจะมีส่วนเกี่ยวโยงกับความหมายเฉพาะทาง (เทคนิค กฏหมาย..ฯลฯ) ก็คือมีลักษณะทาง legal binding อยู่ไม่มากก็น้อย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ม.ค. 17, 20:59
เรื่องที่สอง   คนไทยกลับไปทำมาหากินในถิ่นที่เป็นบ้านเกิดมากขึ้น  บุคคลเหล่านี้ใช้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญที่ได้รับมาในระหว่างการทำงานในระบบต่างๆไปเปิดกิจการของตนเอง ให้บริการแก่ชุมชมท้องถิ่นรวมทั้งรับงานจากที่ต่างๆ  ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปอยู่ในลักษณะของ supply chain  เกิดธุรกิจในระดับจิ๋วเป็นจำนวนมากมาย (Micro entrepreneur)

ในพื้นที่เหล่านั้น ก็มีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ทั้งในลักษณะชั่วคราว (เช่น long stay) แบบถาวร (เช่น แต่งงาน) และแบบผ่านไปมา (เช่น นักท่องเที่ยว)  คนเหล่านี้ได้ใช้ประโยชน์จากธุรกิจจิ๋วเหล่านั้นไม่น้อยเลยทีเดียว  ตัวผมเองก็ยังได้เคยสัมผัสกับความต้องการของชาวต่างชาติเหล่านี้หลายครั้ง นอกเหนือไปจากการสอบถามเส้นทาง


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ม.ค. 17, 21:08
ในภาพนี้  ภาษาอังกฤษที่สื่อกันไปมาจะมีความหลากหลายมาก ทั้งในเชิงของสำเนียง การออกเสียงคำ การใช้คำศัพท์ ลักษณะของวลีและประโยค และสำนวน   ขนาดว่าใช้ทั้งคำศัพท์อังกฤษ + คำภาษาไทย + ภาษามือ + หน้าตาท่าทางแล้ว บางครั้งก็ยังไม่รอด                                     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ม.ค. 17, 19:12
เรื่องที่สาม    เพื่อการเข้าสู่ความเป็นสากลในกรอบอาเซียนและสังคมโลก ภาคการศึกษาของเราจึงมีการปรับการสอนในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยการใช้ชาวต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้เข้ามาร่วมสอนด้วย ก็เลยมีครูหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติเข้ามาสอนกระจายกันอยู่ทั่วไปทั่วประเทศ แถมในบางพื้นที่ก็ยังอาจจะเป็นกลุ่มครูที่มาจากประเทศเดียวกัน

แน่นอนว่า นักเรียนในแต่ละโรงเรียนก็จะได้การฝังภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป (ในแทบจะทุกมิติ)  แต่ที่น่าเป็นห่วงก็ตรงที่การสอนนั้นๆมีความเหมาะสมและเป็นไปตามขั้นหรือระดับความรู้ที่เด็กในวัยนั้นๆพึงจะได้รับหรือไม่ ??  เพราะ..คนต่างชาติเหล่านั้นก็คงจะมิใช่คนที่เรียนมาโดยตรงในสาขาวิชาด้านการศึกษาเพียงใดนัก เขาเข้าใจหรือมีความกระจ่างชัดมากน้อยเพียงใดในเป้าหมายของภารกิจที่เขากำลังกระทำอยู่     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ม.ค. 17, 20:14
ตามสภาพดังกล่าว  ก็คงจะเกิดความต่างกันมากในเด็กนักเรียนที่อยู่ในชั้นการศึกษาระดับเดียวกันแต่อยู่ต่างโรงเรียนกัน อยู่ต่างถิ่นกัน  ซึ่งก็คงจะไม่แปลกนักหากเราจะต้องรู้สึกมีความขัดแย้งในผลการทดสอบเปรียบเทียบความรู้  อาทิ บางโรงเรียนที่ไม่น่าจะดูเก่งก็กลับเก่งกว่า หรือเก่งบ้างไม่เก่งบ้างเป็นปีๆไป   เพราะการเปลี่ยนแปลงตัวครู (ตามสัญญาการจ้าง) ??


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ม.ค. 17, 18:37
นั่นเป็นภาพของเด็กในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  ในระดับอุดมศึกษาก็จะเป็นอีกภาพหนึ่งที่ไม่ต่างกันไปมากนัก

ในระดับอุดมศึกษานั้น ในเกือบจะทุกสาขาวิชาที่มีการสอนจะต้องมีศัพท์ทางเทคนิคที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของแต่ละวิชา บางวิชาก็อุดมไปด้วยศัพท์ทางเทคนิคมากมาย   ก็จะมีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป    แต่ละสถาบันจะมีอาจารย์ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศทำการสอน ก็มีการออกเสียงศัพท์เทคนิคต่างๆทั้งแบบฝรั่งในประเทศที่ได้ร่ำเรียนมา ออกเสียงแบบไทย ออกเสียงแบบมี ร เรือ ล ลิง หรือไม่มี (เยอะมาก) แตกต่างกันไป ....     

ก็พอเข้าใจได้อยู่ว่า การบรรยายคำสอนด้วยการใช้ศัพท์บัญญัตินั้นมันยากเอาการอยู่เลยทีเดียว การบรรยายคำสอนแบบใช้คำทับศัพท์นั้นง่ายกว่าเยอะ  เลยดูจะเป็นเหตุผลว่า ด้วยเหตุนี้เอง ในวงสนทนาเรื่องทางวิชาการจึงมีคำภาษาอังกฤษปนเข้ามาในประโยคคำพูดเสมอๆ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ม.ค. 17, 18:57
เรียนจบมาก็เข้าทำงาน แต่ละกลุ่มงานมันก็ยังมีความต่างกันในการใช้ภาษาอังกฤษกันอีก ทั้งในเชิงของประโยค คำศัพท์และความหมายของศัพท์คำเดียวกัน สำนวน การสะกดคำ วิธีการกล่าว การสร้างประโยค  Pattern ต่างๆ...ฯลฯ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ม.ค. 17, 19:22
จากอารัมภบทที่ผ่านมา  ดูจะเป็นการ set tone ของกระทู้นี้ไปในลักษณะของการตำหนิและการบ่นเป็นหลัก   

มิใช่นะครับ

ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะขอให้ท่านสมาชิกได้เข้ามาลองช่วยกันประมวลเรื่องของความเข้าใจที่ต่างกันในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารสนทนากันระหว่างผู้คนในสังคม AEC และที่มาที่ไปของมัน 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ม.ค. 17, 18:32
ภาพของการเรียนการสอนดังกล่าวมานั้น คงจะมีความคล้ายคลีงในแต่ละประเทศสมาชิก AEC  คงไม่ต่างกันไปมากนัก แต่ดอกผลจากการเรียนการสอนที่จะได้นำมาใช้สื่่อสารระหว่างกันในภายหลังนั้น อาจจะเกิดมีความไม่ลื่นไหลดังที่คาดหวังไว้ในช่วงเวลาหนึ่งเลยทีเดียว
 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ม.ค. 17, 19:29
เรื่องหนึ่งก็คือ การใช้ศัพท์ในภาษาอังกฤษ ภาษาอเมริกัน และอื่นๆ

ขอเริ่มด้วย

cookie กับ biscuit     คนไทยคุ้นเคยกับคำว่าคุ๊กกี้ และในความหมายของขนมหวานกรอบร่วน   แต่ทั้งสองคำนี้ โดยนัยของทั้งอังกฤษและอเมริกันแล้ว หมายถึงขนมแป้งอบก้อนเล็กที่ผิวค่อนข้างแห้งกรอบแต่มีเนื้อในนิ่ม

ผมก็ไม่รู้ว่า คนในประเทศสมาชิก AEC อื่นๆจะเห็นภาพของทั้งสองคำนี้ไปในลักษณะใด ?  ก็ล้วนแต่เคยอยู่ในกำกับดูแลของ อังกฤษ ฝรั่งเศส ดัช สเปน และอเมริกัน   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ม.ค. 17, 20:20
lift กับ elevator

คนไทยใช้คำว่า lift ซึ่งเป็นอังกฤษ   อเมริกันใช้คำว่า elevator   
ในลิฟท์ก็มีปุ่มกดเลือกชั้น แบบอังกฤษนิยมเรียกชั้นล่างสุดว่าชั้น G ในขณะที่อเมริกันนิยมเรียกว่าชั้น 1
     
G=ground floor_อังกฤษ  ทำให้ชั้นที่อยู่ถัดขึ้นเหนือขึ้นไปกลายเป็นชั้นที่ 1 (first floor)  ซึ่งหมายถึงชั้นที่ 2 ในแบบอเมริกัน

ลิฟท์ในเมืองไทยทั้งหลาย บางอาคารก็ใช้ระบบการเรียกชื่อชั้นแบบอังกฤษ แต่ส่วนมากดูจะนิยมใช้การเรียกชื่อชั้นแบบอเมริกัน


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ม.ค. 17, 19:21
ปั้มน้ำมัน   เป็นสถานที่หนึ่ง เรียกกันในภาษาอังกฤษอยู่หลายคำ

อเมริกันชนเรียกน้ำมันเบ็นซินว่า gasoline แต่จะนิยมเรียกสั้นๆว่า gas   ปั้มน้ำมันก็เลยเรียกว่า gas station  (คนอเมริกัน ไม่นิยมใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล)

อังกฤษเรียกน้ำมันในลักษณะรวมๆว่า petrol (ซึ่งก็ค่อนข้างจะหมายถึงน้ำมันเบ็นซินเป็นหลัก)  ปั้มน้ำมันก็เลยเรียกว่า petrol station  แต่ที่นิยมเรียกว่า petrol pump ก็มีไม่น้อย

ปั้มน้ำมันก็ยังมีการเรียกในชื่ออื่นๆอีก เช่น service station และ garage      แล้วก็มีคำกลางๆเชิงทางการว่า filling station   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ม.ค. 17, 20:12
ในบ้านเรามีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซอยู่ค่อนข้างมาก ก็เลยมีปั้มก๊าซอยู่ไม่น้อย    หากต้องตอบคำถามคนต่างชาติในภาษาอังกฤษ ก็คงจะไม่ถูกต้องนักที่จะเรียกปั้มก็าซเหล่านี้ว่า gas station คงจะต้องเรียกแบบจำเพาะเจาะจงลงไปว่า LPG หรือ NGV station (หรือ LPG, NGV pump ?)   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ม.ค. 17, 18:21
คำถาม Can you give me a lift to a gas station ? ในพื้นที่ห่างไกล  อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นงงได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ความหมายตรงตัวของประโยคนี้ ห่างไกลกับความหมายของเรื่องที่ต้องการมากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ม.ค. 17, 18:42
ที่ปั้มน้ำมันก็ต้องมี ห้องน้ำ (ภาษาสุภาพหน่อย) อีกคำหนึ่งก็คือ ห้องส้วม (ภาษาพื้นๆ)  แล้วก็มีอีกคำที่สุภาพมากหน่อย คือ ห้องสุขา    

ภาษาอังกฤษก็มีคำว่า water closet ซึ่งค่อนข้างจะตรงกับคำว่า ห้องสุขา และซึ่งโดยนัยแล้วจะเป็นห้องที่พร้อมไปด้วยเครื่องสุขภัณฑ์     คำว่า ห้องน้ำ ดูจะตรงกับคำว่า rest room   และคำว่า toilet ค่อนข้างจะตรงกับคำว่า ห้องส้วม

ในต่างจังหวัด ผู้คนจะคุ้นเคยกับคำว่า toilet มากกว่าคำอื่นๆ    หากเจอคำถาม water closet ไปทางใหน ก็คงจะต้องเป็นงงกันสักพักหนึ่งอยู่บ้างเป็นแน่  


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ม.ค. 17, 19:19
พูดถึงปั้มน้ำมัน ก็นึกไปถึงศัพท์บางคำที่ช่างซ่อมรถของเราใช้ต่างไปจากศัพท์ทางเทคนิคในทางวิชาการ

เราคงจะได้ยินบ่อยครั้งและเป็นที่คุ้นหูมาก คือคำว่า ไดชาร์ต และ ไดสตาร์ท

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่ตรงกับคำ ไดชาร์ต คือ dynamo (แบบอังกฤษ) หรือ generator (แบบอเมริกัน) และคำที่ตรงกับคำว่า ไดสตาร์ท ก็คือ  (starting) motor  (ก็คงทราบกันอยู่แล้วว่า dynamo และ generator นั้นปั่นไฟฟ้าออกมาให้เราใช้  ในขณะที่ motor นั้น ใช้ไฟฟ้าไปปั่นให้มันหมุน)

แต่จะใช้คำว่า ไดชาร์ต และ ไดสตาร์ท ก็คงจะไม่มีความสับสน เพราะมีเสียงของคำว่าชาร์ต (charge) และ สตาร์ท (start) ร่วมอยู่ด้วย   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ม.ค. 17, 20:24
oil, lube, grease     3 คำนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน

oil แปลตรงตัวในภาษาไทย คือ น้ำมัน    lube คือ น้ำมันหล่อลื่น  และ grease คือ ใขน้ำมันในอาหาร     ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษใน ตจว. คงจะไม่ลงลึกแยกแยะความต่างของคำเหล่านี้

คำว่า oil และ grease นั้น มีใช้ทั้งทางด้านเครื่องจักรกลและในครัวทำอาหาร   ส่วนคำว่า lube นั้นเป็นคำรวมๆที่ใช้ในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ขยับไหวไปมาและซึ่งมักจะเป็นของชิ้นไม่ใหญ่

คำที่ดูจะสื่อกันไม่ได้ดีนัก คือ จาระบี ซึ่งตรงกับคำว่า grease   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ม.ค. 17, 20:57
เลยขออยู่ในเรื่องของเครื่องจักรกลอีกสักหน่อย

ก็มีคำว่า ประเก็น หรือ ปะเก็น (สะกดอย่างไรถูกก็ไม่รู้ครับ)  ช่างไทยทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยสิ่งของชิ้นนี้เป็นอย่างดี  จะว่าออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า gasket ก็ดูจะห่างกันเกินไป   ทั้งนี้ หากต่างคนต่างภาษาไม่แข็งแรง ก็คงจะมีมโนต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง

แหวนรองน๊อต ภาษาอังกฤษเรียกว่า washer   ดูจะใกล้เคียงกับที่หมายถึงเครื่องซักผ้า (washing machine) มากกว่าที่จะหมายถึงแหวนรองน็อต   แต่หากช่างจะแปลตรงตัวออกไปเป็น ring ก็คงน่าจะพอเข้าใจกันได้หากหยิบเอาน๊อตออกมาแสดงประกอบด้วย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ม.ค. 17, 21:21
อีกคำที่คงจะสื่อกันยากเต็มที คือ การเชื่อมโลหะ  ภาษาช่างของไทยเกือบจะเต็มทั้งร้อย จะเรียกว่า อ๊อก, ช่างอ๊อก

คนต่างชาติทั้งหลายเรียกการเชื่อมโละว่า welding  คงไม่รู้จักคำเรียกว่า อ๊อก แน่ๆ       

คำว่า อ๊อก นี้น่าจะมาจากวิธีการเชื่อมโลหะด้วยความร้อนจากไฟที่จุดจากแกส acetylene    ที่เรียกการเชื่อมแบบนี้ว่า Oxy-acetylene welding 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ม.ค. 17, 19:06
gear,  stuff,  rig

ทั้งสามคำนี้ มีทั้งความหมายที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่คล้ายกัน และที่เหมือนกัน

ในความหมายที่ต่างกัน 
  gear หมายถึง(ฟัน)เฟืองหรืออุปกรณ์ส่วนการถ่ายทอดกำลัง   stuff หมายถึง สิ่ง(ของ)ต่างๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง(ที่เอามารวมๆกัน)ก็ได้   rig หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อการปฎิบัติงานบางอย่าง เช่น แท่นเจาะน้ำมัน (oil rig)

ในความหมายที่คล้ายกัน
   gear หมายถึง อุปกรณ์เฉพาะสำหรับกิจกรรมบางอย่าง จะเป็นชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นรวมกันก็ได้ เช่น fishing gear อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการไปตกปลา   stuff หมายถึง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สิ่งของที่จัดใส่กระเป๋าสำหรับการเดินทาง   rig หมายถึง (โดยนัย) กองเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่ยังไม่ได้คัดหรือเลือกออกมาใช้   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ม.ค. 17, 19:25
ในความหมายที่เหมือนกัน
   ทั้ง สามคำนี้ ใช้ในความหมายที่หมายถึงสิ่งของต่างๆที่เราขนมา รวบรวมมา (ในทำนองนี้)   เช่น my gear, my stuff, my rig


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ม.ค. 17, 20:18
เราคุ้นกับการใช้คำว่า gear ที่หมายถึงเกียร์ของเครื่องจักรกล โดยเฉพาะของรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ และจักรยาน   คุ้นกับคำว่า stuff ที่เราออกเสียงยาวเป็นสต๊าฟ ที่หมายถึงการสต๊าฟสัตว์  ส่วนคำว่า rig นั้นจะไม่คุ้นกัน ซึ่งหากจะพอคุ้นอยู่บ้างก็จะหมายถึงแท่นเจาะน้ำมันในทะเล

Where to buy diving gear ?   อาจจะสื่อความหมายไปคนละเรื่องเอาเลยทีเดียว    เมื่อเราถนัดและนิยมออกเสียงขาดเสียงของอักษรควบกล้ำ (ร เรือ และ ล ลิง)  driving ก็จะกลายเป็น diving  อาจจะต้องปรับความเข้าใจกันสักพักนึงก็ได้

Can I put my stuff here ?    ก็เห็นแต่เป้หลังแล้วยังจะมีสัตว์สต๊าฟอีกหรือไร  (ก็มโนภาพบนรถไฟขึ้นมาครับ  ;D)

Where to park my rig ?  รถบ้าน (mobile home) ถามหาที่จอดรถ  


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ม.ค. 17, 20:36
เมื่อภาษาต่างด้าวของเราไม่แข็งแรง และของคนต่างชาติก็ไม่แข็งแรง  แต่ต่างคนก็ต่างก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร    proper English นั้นไม่ปรากฎแน่ๆ ก็เหลือแต่ broken English แล้วก็คงจะต้องลดลงไปอีกจนถึงระดับเอาคำศัพท์มาต่อเรียงกันเป็นเรื่องราวเพื่อการสื่อสารกัน   หากได้ไปออกเที่ยว ตจว. ในปัจจุบันนี้ ผมเชื่อว่าจะต้องได้มีโอกาสประสบพบเห็นกันบ้าง

I put there go where not know   คำพูดวลีนี้ สื่อสารกันได้ความอย่างดีเลยทีเดียว  แต่หากจะลองปรับให้เป็นประโยคที่ถูกต้อง เป็น proper English แล้ว  ก็ไม่แน่ใจนักว่าจะสื่อได้อย่างลึกซึ้งเข้าใจกันได้มากน้อยเพียงใด


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ม.ค. 17, 18:21
หายไป ตจว.มาครับ
   
กลับมาย้อนอ่านเรื่องราวดู   อืม์ ใช้คำภาษาอังกฤษเดินเรื่องอยู่เยอะเลยทีเดียว  ชักจะเกรงว่าจะเป็นการนำพาให้คิดไปว่าอวดรู้ และมีแต่เรื่องมโนไปทั้งนั้น

ก็ตั้งใจว่า จะให้เป็นเพียงการฉายภาพของสภาพบางประการของการใช้ภาษาในสังคมแบบคละความหลากหลาย (cosmopolitan) ที่ตนเองพอจะได้เคยไปสัมผัสมาอยู่บ้าง 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ม.ค. 17, 18:53
สังคมแบบคละความหลากหลายที่กล่าวถึงนั้น เป็นสังคมเล็กๆขององค์กรหนึ่งในสังกัดของ UN ที่ประเทศต่างๆเกือบทั้งหมดในโลกเข้าเป็นสมาชิก

ด้วยความเป็นนานาชาตินี้ ก็หมายความว่าในทุกระดับงานย่อมต้องประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่ก็ไม่วายที่ในบางงานจะมีจำนวนของคนบางเชื้อชาติทำงานอยู่เป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่

ทำงานด้วยกัน เป็นทีมงานเดียวกัน พูดคุยกัน หยอกล้อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในที่สุดก็มีเรื่องที่ตกผลึกออกมากลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรบ้าง เป็นประเพณีบ้าง ฯลฯ  และแน่นอนว่า ก็ต้องมีเรื่องของภาษาสื่อสารที่ใช้ด้วย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ม.ค. 17, 19:07
แต่แรกก็ใช้เฉพาะในกลุ่ม แล้วก็ขยายเป็นวงกว้างจนนิยมใช้กันในทุกหมู่เหล่า    ก็มีทั้งที่เป็นคำ slang  เป็นคำศัพท์ทั่วไป และเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะ

คำเหล่านี้ ก็คือคำในแต่ละภาษาที่บ้างก็มีความหมายง่ายๆ บ้างก็มีความหมายลึกซึ้ง บ้างก็มีความหมายกว้างๆครอบคลุมเรื่องราว  บ้างก็ขอยืมมาใช้เป็นคำ slang ฯลฯ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ม.ค. 17, 19:40
เช่น ฉันรู้สึกไม่สบาย หรือฉันป่วย...I am krank.     

krank เป็นภาษาเยอรมันที่สังคม UN ที่กรุงเวียนนานิยมใช้   ให้ความหมายในเรื่องของการเจ็บป่วยในองค์รวมตั้งแต่แรกรู้สึกจนกระทั้งไม่สบายจริงๆ      ดีกว่าการใช้คำว่า ill ที่จะต้องขยายความหรือต้องใช้ในลักษณะว่าเมื่อเกิดการป่วยแล้วจริงๆ

   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ม.ค. 17, 20:11
เช่น  kaput

ก็เป็นคำในภาษาเยอรมันอีกคำหนึ่งที่นิยมใช้กัน  หมายถึง เสียหาย ชำรุด   เป็นคำที่ใช้สื่อสารได้ดี ทุกคนจะเดาความหมายและเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

com si com sa (ไม่ได้สะกดอย่างถูกต้องตามภาษาฝรั่งเศส) ก็เป็นวลีหนึ่งที่นิยมใช้กันในการตอบคำถามทักทาย    ซึ่งพูดออกมาทุกคนก็เกือบจะเข้าใจได้ในทันที ในความหมายว่า ก็งั้นๆ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 28 ม.ค. 17, 15:30
เป็นการเรียนรู้ภาษา ที่ทำให้รู้สึกสนุก บันเทิงใจมากครับ เพราะมันมองเห็นความหมายออกมาเป็นภาพฃัดเจน

อย่างคำว่า com si com sa ผมเคยได้ยินมานานแล้ว แต่นึกว่าเป็นแค่คำสร้อย ไม้ได้มีความหมายอะไร

ส่วนคำว่า krank ถ้าจะหมายถึง อาการครั่นเนื้อครั่นตัว พอได้ไหมครับ

kaput นั้น เป็นคำใหม่ถอดด้ามสำหรับผมเลย เคยใช้แต่ input/output

และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ ที่ทำให้ผมทราบว่า cosmopolitan ที่เป็นหัวหนังสือนั้น เป็นเช่นใด


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ม.ค. 17, 16:18
เห็นคุณตั้งเขียนถึง com si com sa  คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส  สะกดว่าcomme ci comme ça ค่ะ
ทำให้นึกได้ว่า ภาษามียุคสมัยของมัน
แต่ดั้งเดิม  คำทักทายของฝรั่งเศส คือ comment allez-vous   แปลเป็นอังกฤษก็ตรงกับ How do you do  หรือ How are you   นักเรียนก็จะตอบ ว่า Très Bien,et vous? คือ very good, and you?
มาถึงยุคนี้  ไม่มีใครพูดเชยๆแบบนี้อีกแล้ว  เขาจะตอบว่า  comme ci comme ça   แปลเป็นไทยๆก็คือ "ก็เรื่อยๆ"  หรือ "ก็โอเคนะ"


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ม.ค. 17, 18:52
คำทักทายในภาษาฝรั่งเศสนี้ หากเราพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ อย่าได้ใช้ทักทายกับคนที่มีถิ่นพำนักอยู่ในพื้นที่ๆพูดภาษาฝรั่งเศสเลยนะครับ หลังจากที่ได้รับคำตอบว่าสบายดีแล้วก็จะไม่มีโอกาสได้ยินภาษาอังกฤษอีก   แม้กระทั่งการจะใช้คำตอบต่อคำถามใดๆว่าใช่ (Oui ) ไม่ใช่ (Non) หรือ คำขอบคุณสั้นๆ (Merci) ก็ตาม


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ม.ค. 17, 19:30
นอกจากภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างบุคคลจะถูกหลอมรวม หรือถูกคัดเอาคำที่สื่อความหมายได้ดีมาใช้กันจนเป็นสากล (norm) แล้ว
ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการในการปฎิบัติงานก็มีการเลือกใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้ง เช่น คำว่า inscribe ซึ่งตามปกติจะใช้ในความหมายว่า จารึก หรือ สลักไว้   แต่คำนี้ได้ใช้ในความหมายของการลงทะเบียนเพื่อที่จะขึ้นกล่าวถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการบนเวที
แทนที่จะใช้คำว่า register อย่างที่เราพึงคิด

มีคำอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ status quo (ยังไม่มีใครยอมใคร ยังอยู่กับที่ เรื่องยังไม่มีความก้าวหน้า)  inter alia (อาทิ  ...เป็นอาทิ) 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ม.ค. 17, 19:56
นั่นเป็นเรื่องของคำศัพท์และคำพูด

การสะกดคำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาทิ program กับ  programme,  tire กับ tyre,  dike กับ dyke, colour กับ color


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ม.ค. 17, 18:46
นึกศัพท์เฉพาะทางออกอีกคำหนึ่ง   คำว่า  clean slate

เราทราบความหมายของคำว่า clean ที่หมายถึง สะอาด เกลี้ยงเกลา และ slate ที่หมายถึงหินชนวน กระดานชนวน    เมื่อเอา 2 คำนี้มารวมกันก็น่าจะมีความหมายว่า กระดานชนวนที่สะอาด   แต่คำรวมกันนี้กลับไปใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งในเชิงของตัวผู้สมัครและคะแนนเสียง  ที่สื่อความหมายในลักษณะว่า นอนมา ไร้คู่แข่ง หรือแบเบอร์

ที่จริงแล้ว คำว่า slate นั้น มีความหมายนอกเหนือไปจากหินชนวนหรือกระดานชนวน  คือหมายถึงคนที่ลงสมัครแข่งขันในการคัดเลือกใดๆอีกด้วย   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ม.ค. 17, 20:09
มาถึงเรื่องของการสะกดคำที่ต่างกันที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้

programme เป็นการสะกดคำแบบอังกฤษ   ส่วน program นั้นสะกดแบบอเมริกัน  จะสะกดอย่างไรก็ตามก็มีความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน   กระนั้นก็ตามมันก็มีความต่างในการใช้คำทั้งสองคำนี้อยู่ไม่น้อย       

ในระบบของ UN ทั้งหลายนั้น ใช้คำว่า programme และใช้ในเรื่องของปฏิบัติการที่เป็นความเห็นร่วมของนานาชาติ (เป็นระดับนโยบายหลัก_ governing policy)  ส่วน program นั้นจะใช้กับเรื่องของคอมพิวเตอร์ และใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ในระหว่างทำการเจรจาหารือกันในเรื่องของโครงการหรือปฏิบัติการต่างๆ (ก่อนที่จะนำเสนอให้เป็นความตกลงร่วมในคำว่า project)   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ม.ค. 17, 18:39
tyre กับ tire ในความหมายที่หมายถึงยางล้อรถ  อังกฤษจะสะกดว่า tyre  ส่วนอเมริกันจะสะกดว่า tire

อังกฤษใช้คำว่า tire ในความหมายของการ เบื่อหน่าย    ซึ่งในความหมายทำนองนี้ อเมริกันจะมี d ต่อท้าย กลายเป็น tired และหมายถึง เหนื่อย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ม.ค. 17, 19:15
ดังตัวอย่างที่กล่าวมา  เนื่องจากการสะกดคำที่ต่างกันและก็ยังมีความหมายที่ต่างกัน(อยู่บ้าง)ในภาษาอังกฤษที่ผู้คนจะใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารกันในสังคมคละความหลากหลาย  แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษของแต่ละประเทศแต่ละโรงเรียนนั้น ย่อมต้องมีการสอนภาษาอังกฤษทั้งแบบอเมริกันและแบบอังกฤษ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน   ก็เลยเห็นภาพว่า จะไปบอกว่าคนใหนเขียนถูกต้อง ใช้ถูกต้อง ออกเสียงถูกต้อง ฯลฯ ก็คงจะไม่ได้นัก   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ม.ค. 17, 19:37
ในสังคมคละความหลากหลายที่ผมพอจะได้มีโอกาสสัมผัสอยู่บ้างนั้น นอกจากภาษาสื่อสารที่ใช้กันที่พอจะแบ่งออกได้เป็นแบบอังกฤษและอเมริกันแล้ว ก็ยังมีภาษาอังกฤษแบบต่างคนต่างถนัดเข้ามาปนอยู่อีกด้วย (แบบที่นิยมใช้กันในหมู่ของพวกตน)   รูปร่างหน้าตาของภาษาที่คละกันดังกล่าวนี้ พอจะเห็นได้ดีจากเอกสารประกอบการประชุมนานาชาติที่จัดโดยองค์กรนานาขาติต่างๆ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ม.ค. 17, 19:29
เมื่อแรกเริ่มรับหน้าที่เข้าไปรับผิดชอบ เมื่ออ่านเอกสารเตรียมการประชุมแล้ว ก็งงๆอยู่สักพัก ก็เข้าใจเรื่องราวอยู่ แต่ทำไมลักษณะการใช้ภาษาจึงไม่เป็นอย่างที่เราคิดว่าควรจะเป็น คือ เป็นทั้งแบบอเมริกันหรือแบบอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง

หากจะชี้ให้เห็นความต่างของลักษณะของการใช้ภาษาทั้งสองแบบนี้ ก็คงจะต้องขอให้ลองไปพลิกอ่านตำรา (Text book) ในสาขาวิชาที่เราเรียน ว่าตำราของวิชาเดียวกันที่เขียน(และพิมพ์)โดย ศ.คนอังกฤษ กับ โดย ศ.คนอเมริกัน นั้น ต่างกันอย่างไร อ่านง่ายหรืออ่านยาก เข้าใจได้ง่ายหรือเข้าใจได้ยาก ต่างกันเช่นใด     หรือก็อาจจะพอเปรียบเทียบได้จากลักษณะของเรื่องราวและการสนทนาในภาพยนต์ที่สร้างโดยอังกฤษกับโดยอเมริกา

ครับ...ต่างก็ใช้หลักการใช้ภาษาที่ดีเหมือนกัน..SVOPT (Subject Verb Object Place Time) แต่ต่างกัน     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ม.ค. 17, 20:23
จากที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยภาษาที่ถูกต้องแบบเป๊ะหลายสิบหน้ากระดาษ ให้ข้อมูลและเรื่องราวของการทดลองที่ถูกต้องและมีความชัดเจน ทำให้พอจะรู้ว่าภาษาอังกฤษที่ดีนั้นมีลักษณะเป็นเช่นใด   

แต่พอทำงานในวงกว้างมากขึ้น ภาษาอังกฤษของเราที่ว่าพอได้อยู่นั้นก็ค่อยๆแย่ลงๆ นอกจากจะแย่ลงเพราะใช้น้อย พูดน้อย เขียนน้อยลงไปแล้ว ก็ยังเป็นเพราะว่าในภาคปฎิบัตินั้นมันเป็นอีกเรื่องนึงเลยทีเดียว จะเป็นเช่นใดก็ได้เพียงขอให้รู้เรื่องและเข้าใจตรงกัน  แต่จะเข้าใจแบบถ่องแท้หรือไม่นั้นก็อีกเรื่องนึง (ต่างก็ขอแอบแฝงการได้เปรียบไว้ด้วย)      ผมเคยอยู่ในเหตุการณ์ ศัพท์คำเดียวเถียงกันข้ามวันข้ามคืนระหว่างเจ้าของภาษากับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งฝ่ายเจ้าของภาษายอมแพ้ครับ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 31 ม.ค. 17, 23:32
ขอบคุณครับคุณ naitang อ่านสนุกมากครับ

คำ kaput ถ้าเขียนอย่างเยอรมันจะว่า kaputt ครับ คำนี้เข้าใจว่าใช้แพร่หลายในหลายวงการที่เป็นสังคมนานาชาติครับ

ผมอยากทราบว่าการใช้ I am krank. จะออกเสียง krank ว่า ครางค์แบบเยอรมัน หรือว่าเป็นแครงค์แบบอเมริกันนิยมครับ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.พ. 17, 18:34
ผมไม่ทราบว่า kaput กับ kaputt นั้น คำใหนเขียนถูก  เคยเห็นมีเขียนทั้งสองแบบเลยครับ

krank  ออกเสียงว่า ครางค์ ครับ    ก็ถูกต้องครับหากให้คนอเมริกันอ่านออกเสียงก็คงต้องเป็น แคร้งค์

และก็เช่นกัน หากจะให้คนอเมริกันออกเสียง kaputt ก็คงต้องเป็น คาพัตต์ ??   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.พ. 17, 19:19
ทำให้นึกถึงการออกเสียงแบบอเมริกันสำหรับสระ i คือ ออกเสียงเป็น ไอ อยู่มากมาย อาทิ  ประเทศอิรัค (Iraq) ที่เราออกเสียงเช่นนั้น คนอเมริกันออกเสียงเป็น ไอรัค   วิตามิน (vitamin) ที่เราคุ้นเสียงกันก็เป็น ไวตามิน ...ฯลฯ   เราก็รับหมดทั้งการออกเสียงแบบอเมริกันและอังกฤษและอื่นๆอีกด้วย 

ก็น่าสนใจอยู่ว่า ในกระบวนการสอบของเราในการวัดความรู้ภาษาอังกฤษ เช่น การสอบคัดเลือก สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ สอบความถนัด หรือสอบทักษะการใช้ภาษานั้น   ผู้ทำการสอบจะใช้มาตรวัดความสามารถของผู้เข้าสอบบนพื้นฐานของภาษาอเมริกันหรืออังกฤษ หรือของภาษาอังกฤษแบบอื่นๆ (อาทิ แคนาดา ออสเตรเลีย)

   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.พ. 17, 21:06
ในภาษาอังกฤษก็มีภาษาอื่นๆแทรกเข้ามารวมอยู่ด้วยมากมาย  บ้างก็ยังคงการออกเสียงแบบภาษาเดิม เช่น ensemble,   entourage, restaurant ..ฯลฯ     หลายคำก็แล้วแต่จะออกเสียงกัน เช่น route (เร้าท์ หรือ รู๊ท)     บางคำเดียวกันก็ออกเสียงต่างกันและให้ความหมายต่างกัน เช่น present   บางคำก็ออกเสียงให้ต่างเพื่อเน้นไปในอีกความหมายหนึ่ง เช่น minute

       


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.พ. 17, 17:55
หายไปเชียงใหม่มาครับ  ไปด้วยรถทัวร์ กลับด้วยรถไฟ   เดินทางไปใหนมาใหนด้วยตนเองแบบนักท่องเที่ยว ก็ได้เห็นภาพที่น่าสนใจอะไรๆอยูไม่น้อยเลย

ดังที่ได้กล่าวมาโดยนัยแล้วว่า อุตสาหกรรมบริการกำลังก้าวย่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย  เมื่อได้ไปเห็นที่เชียงใหม่คราวนี้  ภาพก็เป็นดังที่เคยพบเห็นใน ตปท.มาเช่นนั้นเลย   ซึ่งก็คิดว่า ในพื้นที่ๆนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเที่ยวกันในภาคใต้ก็คงจะไม่ต่างกันไปมากนัก   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.พ. 17, 19:11
ก็คือ

มีนักท่องเที่ยวใช้พาหนะเดินทางสาธารณะค่อนข้างมากกว่าคนท้องถิ่นในช่วงเวลาของการทำงานวันในวันทำงานปกติ ซึ่งบ่งชี้อย่างแน่นอนว่า จะต้องมีอีก 2 เรื่องพ่วงพันที่นักท่องเที่ยวจะต้องใช้เงิน คือ เรื่องของที่พัก และ อาหาร

นักท่องเที่ยวดูรู้จักสถานที่และไปใหนมาใหนคล่องกว่าผมเสียอีก ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการสื่อสารกันกับฝ่ายผู้ให้บริการ (เจ้าหน้าที่ต่างๆ คนขับรถสองแถว พนักงานกวาดถนน ฯลฯ) ทั้งทางคำพูด ด้วยภาพ(แผนที่) ด้วยสำเนียงภาษาและการเรียกชื่อของสถานที่ฟังยากๆเอาเลยทีเดียว

คงจะพอเห็นภาพที่มาส่วนหนึ่งของภาษาในยุค AEC (เฉพาะที่เป็นอิทธิพลจากจากเรา คนไทย)     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.พ. 17, 20:18
ทีผมทึ่งอยู่ ก็คือ มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสอีกด้วย  ผมนั่งในโบกี้ที่มีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสมาเป็นกลุ่มประมาณ 10 คน  พนักงานของรถตู้สะเบียงเดินขายน้ำส้มคั้นบนรถไฟ ออกเสียงเพี้ยนไปหน่อย แต่ฝรั่งก็เข้าใจกัน   จู๊ส โอรอง (jus d'orange)  พอตื่นเช้าขึ้นมาก็ได้ยินเสียงพนักงานผู้หญิงอีกคนหนึ่งเดินขายกาแฟทักทายกลุ่มฝรั่งว่า บองจูร์ (Bon jour) สวัสดีตอนเช้า

ก็อาจจะแสดงด้วยว่า นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสนิยมเดินทางไป-กลับเชียงใหม่ด้วยรถไฟ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ก.พ. 17, 20:24
ด้วยสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทำให้เมืองไทยมีลักษณะเป็น hub โดยธรรมชาติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันออกไกล คือเป็นจุดที่เป็นพื้นที่ๆเหมาะสมต่อการคละเคล้าทางมนุษย์วิทยา(Humanities)ต่างๆในองค์รวม  เห็นได้จากความหลากหลายในเกือบจะทุกเรื่องบนผืนแผ่นดินของไทยเรา    กลายเป็นมรดกตกทอดที่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆอย่างมาก  เมืองไทยก็เลยกลายเป็นแหล่งที่ชาวต่างชาตินิยมเข้ามาท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวก็มาจากหลากหลายประเทศ หลากหลายชาติพันธุ์ ภาษา สำเนียงการพูดและการเขียน   แล้วจะมิทำให้ชื่อสถานที่หนึ่งๆที่เราพยายามถอดเสียงเป็นภาษากลาง (อังกฤษ) ผิดเพี้ยนไปหรือไร ?


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 17, 18:13
ด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดสำหรับการถอดอักขระและการถอดเสียงเป็นภาษาอังกฤษที่แตกต่างหันของแต่ละประเทศแต่ละภาษา ซึ่งแม้กระทั่งพลเมืองของตนเองก็ยังออกเสียงเรียกชื่อนั้นๆไม่ถูกหากว่าไม่เคยได้ยินหรือเคยไปมาก่อน แล้วคนต่างชาติอื่นๆจะไปออกเสียงได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร   

เราคงเคยได้พบเห็นภาพของชาวเมืองในบ้านเรายืนทำหน้าครุ่นคิดอยู่กับคนต่างชาติที่มาถามทาง  ตำรวจเองก็ยังเห็นเป็นงงอยู่เป็นประจำ

Isan หากอ่านออกเสียงเป็น ไอซาน ก็คงจะต้องใช้เวลานึกอยู่บ้างว่าหมายถึงอะไร
 
(จะว่าไปแล้วคำเขียนที่ถูกต้องคือคำใหนครับ?  อีสาน อีสาณ อิสาน หรือ อิสาณ)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 17, 18:50
อื่นๆก็มี อาทิ

สะกด khong อ่านออกเป็นเสียงได้ทั้ง ของ (อ.เชียงของ) หรือ โขง (แม่น้ำโขง, อ.โขงเจียม)

สะกด hat ต่างชาติออกเสียง แฮท (หมวก) เราใช้เป็น แฮด (อ.บ้านแฮด) หาด (อ.หาดใหญ่, สวนบวกหาด)

สะกด rat... ต่างชาติออกเสียง แรท (หนู) เราใช้เป็น ราช (Rat Buri, Ratchaburi) รัตน์ (อ.รัตนบุรี)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 17, 19:19
ในภาษาจีน การถอดเสียงถอดอักขระใช้อักษร Q, X, D, ค่อนข้างมาก เราก็ออกเสียงไม่ถูก จะเป็นเสียง ฌ ช ซ ด ต ส ..บ้างเช่นใดก็ไม่รู้  ยิ่งเมื่อมีความเป็นเรื่องราวนานาชาติมากขึ้น อักษรและเสียงก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ กลายเป็นมีพวกอักษร s sh t...  ทำให้การอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ราชวงศ์ยุคต่างๆสับสนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว   (เช่น ยุค Song เราก็ออกเสียงทั้ง ซ่ง ซ้อง)  แน่นอนว่าจีนเองเขาก็ออกเสียงต่างกันตามแต่ละภาษาของเขาที่มีอยู่ 

ในภาษาเวียดนามก็มีคำ Nguyen ที่เราออกเสียงว่า เหงียน      ในภาษาพม่าก็มีคำว่า ...gyi   ...ฯลฯ เป็นอาทิ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 17, 19:30
เมื่อโลกเปิด การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันสะดวกง่ายดาย   ก็คงจะนึกภาพออกนะครับว่า ต่างคนต่างก็อ่านชื่อต่างๆในอีกประเทศหนึ่งด้วยความรู้หรือความคุ้นเคยกับวิธีการใช้ภาษาอังกฤษแบบบ้านของตน   

ชื่อพื้นบ้านหนึ่งเดียวที่เรารู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี  ก็จึงเริ่มจะมีหลายชื่อ หลายสำเนียงเรียกขาน


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 17, 18:49
ภายในประเทศเราเองก็ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เมื่อการเดินทางไปมาหาสู่กันของผู้คนระหว่างภาคต่างๆเป็นไปได้ด้วยความสะดวกมากขึ้น   ภาษาถิ่นหลายๆคำก็เริ่มหายไปอย่างสิ้นเชิง เช่น

  คำว่า ตีกี่ (นาฬิกาตีกี่ทีแล้ว) ที่เป็นภาษาถิ่น ใช้กันในภาษาใต้ในการถามเวลา คำนี้ได้หายไปจนเกือบจะไม่ได้ยินอีกแล้วเพราะถูกทดแทนด้วยคำที่เป็นกลางๆที่สามารถสื่อสารกับผู้คนจำนวนมากจากภาคอื่นๆที่มาท่องเที่ยวหรือทำงานในพื้นที่
  คำว่า ข้าวหนุกงา คำเดิมที่เคยใช้ คนถิ่นเองก็ยังก็เปลี่ยนเป็น ข้าวคลุกงา (ข้าวเหนียวคลุกงา)
  คำว่า ปลาแดก ก็ถูกเรียกเป็น ปลาร้า ไปทั้งหมด แม้ว่ากรรมวิธีผลิตและส่วนผสมจะต่างกันก็ตาม

อิทธิพลของภาษาไทยภาคกลาง 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 17, 19:21
อิทธิพลจากภาษาอิสานก็มีเช่นกัน

คำว่า ภู ถูกนำไปใช้ในเกือบจะทุกพื้นที่ ยกเว้นทางภาคใต้    แทนคำว่า ดอย ที่ใช้กันในภาษาเหนือและภาษากลางตอนบนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาแล้ว  ตั้งชื่อใหม่กันจนคำว่า ดอย แทบจะหายไปหมด ยกเว้นก็เฉพาะดอยที่มีชื่อเรียกขานมาแต่ดั้งเดิม   

ในภาคอิสานมีดอยที่ชื่อ ภูบ่เอิ้น เยอะแยะไปหมด ซึ่งก็คือดอยที่ไม่มีชื่อเรียกนั่นเอง

คำว่า ภู นี้เป็นที่นิยมมากที่จะเอาไปตั้งเป็นชื่อเรียกสถานที่ต่างๆที่ยังไม่มีชื่อเรียกขาน    สถานที่ใดที่เป็นเนินพอจะเห็นเด่นออกมา ก็จะตั้งชื่อเรียกว่า ภู... ทั้งนั้น   แต่ที่แย่มากๆก็คือ มีพื้นที่อยู่ไม่น้อยที่เป็นซับน้ำ ซึ่งมักจะพบอยู่ในพื้นที่ๆเป็นเขาหินปูน แต่เดิมก็เรียกชื่อกันว่า พุ...  ถูกตั้งชื่อกันใหม่อย่างเป็นทางการ (ราชการ) เลยว่า ภู... (พื้นที่พวกนี้อยู่ในพื้นที่ป่าเขา)

ในภาษาใต้ ก็ดูจะมีแต่คำว่า เขา   ไม่มีคำว่า ภู นำหน้า ไม่ว่าจะใหญ่หรือสูงชันเพียงใดก็ตาม เช่น เขาสก หรือ เล็กๆ เช่น เขาทะลุ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 17, 19:38
ก็พอจะเห็นภาพอยู่บ้างว่า ด้วยเหตุใด คำว่า ภู... จึงกลายเป็นชื่อนิยมของสถานที่จำนวนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก (รวมทั้งภาคเหนือตอนล่าง)  คลับคล้ายคลับคลาว่ายังปรากฏอยู่แถวตะเข็บชายแดนไทย-มาเลย์อีกด้วย

เมื่อครั้งก่อนและหลังคำสั่งที่ 66/23  ได้มีคนอิสานเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ที่อพยพถิ่นฐานไปอยู่ตามชายแดน โดยเฉพาะตั้งแต่แถว อ.แม่สอด จ.ตาก เรื่องลงๆไปจนถึง อ.สุคิรินทร์ จ.นราธิวาส    จึงทำให้ ภูบ่อเอิัน ทั้งหลายกลายเป็นมีชื่อกำกับด้วยคำว่า ภู นำหน้ากระจายอยู่ทั่วไปหมด   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 17, 18:05
คำลงท้ายประโยคคำพูดว่า เนาะ ก็มีการใช้กันค่อนข้างจะแพร่หลายทั่วไปในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะกับคนในวิชาชีพแพทย์และอาจารย์  คำนี้ได้กลายเป็นคำต่อท้ายประโยคคำอธิบายหรือคำสอนต่างๆที่ทำด้วยความเมตตาเอ็นดู   

คำนี้มีการใช้อยู่แล้วในภาษาพูดของภาคต่างๆ  (ไม่รู้ว่ามีอยู่ในภาษาใต้หรือไม่ ?) เพียงแต่มีการออกเสียงต่างกันไปแยกกันชัดเจนเป็นถิ่นๆไป  นะ ก็มี    เน่อ ก็มี    น่อ ก็มี   เนาะ ก็มี   ในยุคที่สังคมภูมิภาคต่างๆเริ่มคละกันก็ดูเหมือนจะฮิตออกเสียงเป็น เนอะ   แต่ปัจจุบันนี้นิยมออกเสียงเป็น เนาะ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 17, 18:32
คำ(เสียง)ที่พ่วงท้ายประโยคแล้วทำให้เปลี่ยนความหมายไปเป็นคำถาม ก็มีอยู่หนึ่งที่ออกเสียงคล้าย เอ๋ (eh ?)  เสียงนี้หรือคำนี้ได้ยินเป็นปรกติในการสนทนาของผู้คนชาวแคนาดา และมีการใช้อยู่ในผู้คนชาวออสเตรเลียอยู่ไม่น้อย   ในปัจจุบันนี้เราเริ่มได้ยินจากปากของนักท่องเที่ยวไม่น้อยแล้ว ซึ่งคนไทยก็ใช้กับนักท่องเที่ยวเช่นกัน    ก็เป็นคำหรือเสียงที่ใช้เปลี่ยนความหมายของเรื่องราวได้ง่ายๆ    ผู้คนชาว ASEAN ก็มีการใช้กันอยู่พอสมควรแล้วในถิ่นของตนเอง     คิดว่าไม่นานก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาปรกติในการสื่อสารกันในยุค AEC   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 17, 19:21
สำหรับวลี เช่น  sort of   ที่นิยมใช้เป็นปรกติในภาษาอังกฤษของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์นั้น ไม่น่าจะเป็นที่นิยมใช้ของผู้คนใน AEC ในอนาคต

 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.พ. 17, 19:26
ก็มีศัพท์เป็นจำนวนมากที่ออกเสียงมากกว่าสองพยางค์     ในเรื่องที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็มีอาทิ photography, chocolate, terminal ...ฯลฯ     ในเรื่องทางวิชาการก็มี อาทิ chronology, sophisticated หรือ gas chromatograph ...ฯลฯ

คำหลายพยางค์ดังเช่น ตย. นี้ หากออกเสียงไม่ตรงกันหรือไม่คุ้นกับการออกเสียงของกันและกัน ก็เป็นอันวาฟังกันเกือบจะไม่รู้เรื่องเอาเลยทีเดียว   การเน้นเสียงพยางค์ที่ถูกต้องเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งกับคำประเภทหลายพยางค์นี้


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.พ. 17, 19:42
ท่านทั้งหลายที่เคยเข้าประชุมนานาชาติคงพอจะสังเกตเห็นได้อยู่บ้างว่า   ในบรรดาคำกล่าวบนเวทีของบุคคลที่มาจากประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และที่มิใช่เป็นนักวิชาการในศาสตร์นั้นๆ (นักการเมือง, หัวหน้าส่วนงาน)  ในคำกล่าวเหล่านั้นเกือบจะไม่มีคำที่ออกเสียงมากกว่าสองพยางค์เลย  ซึ่งแม้จะเป็นนักวิชาการบรรยายในทางวิชาการ คำศัพท์ทางวิชาการเช่นนั้นก็จะถูกเขียนให้ปรากฎอยู่ใน slide show เสมอ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.พ. 17, 20:28
ครับ..  เมื่อนายก็อยากแสดงว่าฉันก็มีความสามารถทางภาษานะ ผู้ใต้บังคับบัญชาก็อยากแสดงว่าฉันมีความรู้นะ  แสดงร่วมกันเพื่อให้ภาพออกมาในองค์รวมว่าเรา (หน่วยงาน องค์กร ..) ก็มีเรื่องราวและความคิดเห็นที่ดีๆนะ   

แต่ผลลัพท์มันไม่ใช่เลย  ที่พูดได้ก็เพราะตนเองเคยมีประสบการณ์ต้องเข้าไปช่วยปรับคำกล่าวที่มีคำหลายพยางค์เยอะแยะไปหมด  จะยึดถือร่างเดิมก็ได้ แต่หากออกเสียงไม่ถูกก็จะทำให้สาระดีๆที่จะสื่อความออกไปมันคงอยู่แต่ในกระดาษ คือ สื่อออกไปไม่ได้  กว่าจะถึงบางอ้อเหล็กก็หายร้อนตีขึ้นรูปไม่ได้เสียแล้ว


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.พ. 17, 20:06
นอกจากการเรื่องของการเน้นเสียงแล้วก็ยังมีเรื่องของความเร็วมาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว  การพูดช้าหรือเร็วมากไปก็มักจะฟังไม่ค่อยออกเช่นกัน  ยิ่งหากผนวกกับการออกเสียงที่ราบเรียบและขาดเสียงของ ร (เช่น พีเมียร์ ..premier) หรือ ล (ค๊อก ..clock) ควบกล้ำเข้าไปอีก หรือมีจนมากเกินไป ก็เพิ่มความเป็นเป็นงงได้อีกไม่น้อย  และยิ่งบวกคำที่ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากพยัญชนะตัวสะกดอีกด้วย (วัง ..one  )   

ก็คงจะเคยได้ยินสำเนียงเสียงลักษณะดังกล่าวจากทางสื่อต่างๆ (ทีวี วิทยุ ประกาศ ประชาสัมพันธ์) แม้กระทั่งจากครูบาอาจารย์จนเป็นปรกติแล้ว   แล้วจะมิทำให้ภาษาหลัก(ไทย) ภาษารอง(อังกฤษ...) ที่จะต้องใช้ในชีวิตและในสังคมจะมิปรับเปลี่ยนไปกระนั้นหรือ ?     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.พ. 17, 18:17
ทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะต้องค่อยๆปรับเข้าหากัน

ดูจากอีกมุมหนึ่ง เมื่อไทยเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในเกือบจะทุกเรื่อง   ผู้คนที่เข้ามาท่องเที่ยว มาทำงาน เข้ามาสัมผัสหรือสัมพันธ์กับคนไทยเรื่องต่างๆ ต่างก็ย่อมอยากจะทำตัวให้กลมกลืนไปกับสังคมที่ตนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการเรียนรู้จากคนท้องถิ่น  สิ่งที่จะได้เรียนรู้ก็คือภาษาไทยแบบสังคมยุคใหม่ ซึ่งผมคิดว่าคนรุ่นๆผมก็คงจะมีสภาพคล้ายๆกันคือ มีบ่อยครั้งมากที่ฟังออกแต่ไม่รู้เรื่อง จะต้องคิดแว๊ปหนึ่งจึงจะเข้าใจ  (ก็ซ้ำรอยกับสภาพเดิมสมัยพ่อแม่กับเรา)  ภาษาไทยที่ตัดให้สั้นลงเช่น วินาที เป็น วิ .. ก็ยังพอจะเดาออกได้ในทันใด  แต่หากเป็นภาษาอังกฤษที่นิยมใช้คละเคล้าอยู่ในประโยคคำพูด ออกเสียงอย่างรวบ(ครับ..รวบ)เร็ว ไม่เต็มคำ เน้นเสียงไปอีกแบบหนึ่ง สนุกเลยครับ     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.พ. 17, 19:19
คนต่างชาติเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานก็เรียนรู้  แล้วก็กลับไปสอนเพื่อนฝูงลูกหลานเพื่อจะได้เข้ามาหางานทำง่ายขึ้น   ภาษาสื่อสารที่เป็นลักษณะเดียวกันในวงกว้างก็เกิดขึ้น 

ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการใช้ภาษาของชาวบ้านรวมทั้งเด็กที่ได้ร่ำเรียนมาหรือที่กำลังเรียนอยู่ ซึ่งเป็นภาษาที่ตั้งอยู่บนความถูกต้องตามหลัก กับ ภาษาของกลุ่มผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าคนอยู่ในเมือง   

ครับ no right, no wrong    แต่ภาษาพูด (colloquial language) กำลังจะเบียดเข้ามาเป็นหลักแทนภาษาเขียน (written language)   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 17, 18:20
ผมได้มีโอกาสเล็กน้อยไปทำงานอยู่ในช่่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเริ่มขยับในบางประเทศ     

ในประเทศแคนาดา ก็ในช่วงที่ผู้อพยพชาวเวียดนามและลาวกำลังผสมกลมกลืนกับคนเจ้าของประเทศในพื้นที่ทางฝั่งตะวันออก และชาวจีนจากฮ่องกงในพื้นที่ฝั่งตะวันตก   ในยุโรป ก็ในพื้นที่ตะเข็บระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกในช่วงเวลาที่ EU กำลังขยายเขต(สมาชิก) ก็เป็นช่วงเวลาที่กำลังมีการเคลื่อนไหลของผู้คนข้ามภูมิรัฐศาสตร์ไปมา   ในประเทศเราเองก็ในช่วงเวลาช่วงแรกๆที่ชาวไทยภูเขากำลังได้รับการเปลี่ยนบัตรประจำตัวจากสีฟ้าเป็นสีขาว

ก็เลยได้เห็นในบางสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในลักษณะ assimilation และ dissemination

ที่เล่ามานั้น ก็เพียงพยายามจะฉายภาพเล็กๆน้อยๆที่ได้สัมผัสมา ว่าจะพอจะมีเรื่องใดเกิดขึ้นบ้าง


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 17, 19:37
ส่งท้าย ก็อยากจะกล่าวว่า
   
   - แล้วในภาษากลางที่ใช้ในการสนทนาก็จะมีภาษาอื่นปนเข้ามา  ซึ่งเป็นเรื่องปรกติที่ในระหว่างที่กำลังพูดกันออกรส ก็ดันนึกคำไม่ออกหรือไม่รู้จักคำศัพท์ ก็จะใส่ภาษาของตนเข้าไปแทน  ฝ่ายผู้ฟังก็จะพยักหน้าเข้าใจ และก็มักจะเสนอคำของภาษากลางหรือคำของภาษาตัวให้     ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา   ผมได้ฟังการสนทนาแบบคละนี้บ่อยมาก
   
   - แล้วภาษาเขียนก็เข้าใกล้กับการเขียนเป็นแบบโน๊ตสั้นๆ  เป็นภาษาวลี มิใช่ภาษาเขียนตามปรกติ   การเขียนแบบถูกต้อง เป็นประโยคสละสลวย ก็อาจจะสื่อความหมายกับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ตรงกันก็ได้ 

   - แล้วก็จะมีเรื่องของความหมายที่ลึกซึ้งของศัพท์ของภาษาหนึ่ง ที่ถูกแปลเป็นภาษากลาง(อังกฤษ)ในคำศัพ์หนึ่ง แล้วก็ถูกแปลมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งให้ความลึกซึ้งไม่เหมือนกัน เช่น  cute, pretty, beauty, gorgeous, elegance   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 18, 07:52
ต่างชาติชมเด็กไทยที่ติดอยู่ในถ้ำว่าสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเยี่ยม  แต่ผู้ใหญ่ไทยไฉนสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษแบบนี้

Thank you very much for you help.

Robert Charles Harper (British cave-driver)

ตัว r แรก จากคำว่า driver ควรไปอยู่ท้ายคำว่า you คำที่สอง จะดูดีขึ้นเยอะ  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 18, 10:34
คนลอกลงแผ่นป้าย ตก r ไปตัวหนึ่งจากคำว่า you
you help ไม่มี  มีแต่ your help


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 18, 11:01
cave driver นักขับรถในถ้ำ ก็คงไม่มี มีแต่ cave diver นักดำน้ำในถ้ำ  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 18, 11:06
 :)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 18, 20:31
คำลงท้ายประโยคคำพูดว่า เนาะ ก็มีการใช้กันค่อนข้างจะแพร่หลายทั่วไปในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะกับคนในวิชาชีพแพทย์และอาจารย์  คำนี้ได้กลายเป็นคำต่อท้ายประโยคคำอธิบายหรือคำสอนต่างๆที่ทำด้วยความเมตตาเอ็นดู  

คำนี้มีการใช้อยู่แล้วในภาษาพูดของภาคต่างๆ  (ไม่รู้ว่ามีอยู่ในภาษาใต้หรือไม่ ?) เพียงแต่มีการออกเสียงต่างกันไปแยกกันชัดเจนเป็นถิ่นๆไป  นะ ก็มี    เน่อ ก็มี    น่อ ก็มี   เนาะ ก็มี   ในยุคที่สังคมภูมิภาคต่างๆเริ่มคละกันก็ดูเหมือนจะฮิตออกเสียงเป็น เนอะ   แต่ปัจจุบันนี้นิยมออกเสียงเป็น เนาะ  

เรื่อง เนอะ กับ เนาะ เป็นข่าวขึ้นมา ดาราใช้ เนอะ แต่แฟนคลับสับสนเพราะเข้าใจว่าใช้ เนาะได้อย่างเดียว

ถูกติงเรื่องใช้ภาษาไทยไม่ถูก ‘กบ สุวนันท์’ ถึงกับค้นข้อมูลมาแจง

กบ สุวนันท์ ลงภาพลูกสาว น้องณดา พร้อมแจ้งข่าวแฟน ๆว่า หลังจากลูกชายคือน้องณดล ไข้ลด ตัวเธอเองก็อาการดีขึ้น ณดากลับมีไข้สูงเสียอย่างนั้น อีกทั้งยังบอกทุกคนด้วยความเป็นห่วงว่าให้ดูแลสุขภาพให้ดี

ซึ่งก็มีผู้เข้ามาท้วงติงเรื่องภาษาที่เธอใช้ เกี่ยวกับคำว่า 'เนอะ' กับ 'เนาะ' จนเจ้าตัวต้องเข้ามาเขียนชี้แจง

https://www.matichon.co.th/entertainment/news_1161309


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ต.ค. 18, 13:07
สื่อบางฉบับในยุคนี้ ไม่รู้จักคำว่า "ทั้งกลม" เสียแล้ว


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ต.ค. 18, 13:08
ทั้งกลม หรือ ท้องกลม

          แฟนคอลัมน์ท่านหนึ่งถามมาที่ราชบัณฑิตยสถานว่า ตายท้องกลม หรือ ตายทั้งกลม เป็นคำที่ถูกต้อง

          พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นิยามคำ ตายทั้งกลม ว่า ตายทั้งหมด ตายทั้งแม่ทั้งลูก เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม ดังนั้น คำที่ถูกต้องก็คือ ตายทั้งกลม ไม่ใช่ ตายท้องกลม เหตุที่หลายคนใช้ผิดว่า ตายท้องกลม คือเปลี่ยนจาก ทั้ง เป็น ท้อง คงจะเนื่องมาจากโดยทั่วไปหญิงที่มีลูกอยู่ในท้อง ท้องมักจะกลมโต จึงคิดว่า ตายท้องกลม เป็นคำที่ถูกต้อง

          คำที่จะต้องอธิบายเพิ่มเติมคือคำว่า กลม ซึ่งในพจนานุกรมฯ มีหลายความหมาย ความหมายที่เกี่ยวข้องกับ ตายทั้งกลม คือความหมายที่เป็นภาษาโบราณ แปลว่า ปวง หมด สิ้น เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในประชุมจารึกสยาม ภาคที่ ๑ จารึกสุโขทัย ซึ่งศาสตราจารย์ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ มีข้อความว่า จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ ทงงกลํ ในที่นี้แปลว่า ทั้งหมด หญิงที่ตายทั้งกลมก็คือตายทั้งหมด คือตายทั้งแม่ทั้งลูก

          ความหมายอื่นของคำว่า กลม ในพจนานุกรมฯ ยังมีอีก ๓ ความหมาย ดังนี้ กลม เป็นชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ทำตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้ และใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์สักบรรพในเวลามีเทศน์มหาชาติ กลม เป็นชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง พบในป่าโปร่งทั่วไป และ กลม เป็นลักษณนามเรียกจำนวนเหล้าบางประเภทที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ กลม หมายถึง มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม ถ้าเหมือนเส้นที่ลากเป็นวงมาจบกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว ถ้าเหมือนลูกโซ่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี ถ้าเป็นภาษาปาก กลม หมายถึง อ้วน และถ้าเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง กลม มีความหมายโดยปริยายว่า เรียบร้อยดี นอกจากนี้ กลม ยังแปลว่า กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกบนใบบัว

แสงจันทร์ แสนสุภา

http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1-%E0%B9%91%E0%B9%94-%E0%B8%81


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ต.ค. 18, 20:04
คำว่า กลม ที่เราใช้ในลัษณะเป็นคำวิเศษณ์หมายถึง มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม นั้น  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่เป็นลักษณะนามหลายคำเลยทีเดียว เช่น แท่งกลม = rod  ท่อกลม = pipe  ทรงกลม = spheroid  กลมมน = round   กลมรี = ellipsoid  ลูกกลมๆ = ball  วงกลม = circular  กลมแบน = coin  โต๊ะกลมๆ = a round table

ก็มีคำภาษาอังกฤษที่คำว่า round (กลม) ใข้ในลักษะคำวิเศษณ์ เช่น round trip การเดินทางไปและกลับ, round table การพูดคุยพร้อมหน้ากัน, another round ดื่มอีกรอบหนึ่ง .....     

เดินจงกลม = walk back and forth (??)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ต.ค. 18, 20:16
เดินจงกลม = walk back and forth (??)

คำที่ถูกต้องคือ "จงกรม"


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ต.ค. 18, 20:03
ขอบคุณครับที่เห็นคำที่เขียนผิด และว่าคำที่ถูกต้องจะต้องเขียนเช่นใดพร้อมที่อ้างอิงด้วย     

ทำให้นึกถึงเมื่อครั้งไปเรียนต่อ ต้องเขียนวิทยานิพนธ์หลายสิบหน้า เราทวนแล้วทวนอีก แก้คำพวกพิมพ์ผิดและที่เขียนผิดเยอะแยะไปหมด ส่งให้ Prof. อ่านก่อนส่งคณะกรรมการ ก็ยังพบ ผ่านส่งต่อไปให้คนที่รับจ้างพิมพ์ให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด ก็ยังพบ    กระทั่งใน Text Book และ Journal มีระดับดีก็ยังเคยเห็นมี

แต่ก่อนก็เป็นความผิดพลาดด้วยการกระทำของมนุษย์ (Human error)  บางเรื่องก็เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความนิยมเปลี่ยนไป  บางเรื่องก็ผิดพลาดไปเพราะกฎ ระเบียบ ใหม่   ในอนาคตอันใกล้นี้เรื่องเหล่านี้ก็คงจะหมดไปด้วย AI (ซึ่งมีอยู่ในระบบของ Word processor ที่ีมีมาน่าจะกว่า 30 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยจะได้ใช้กัน) ครูก็เพียงสอนให้ออกเสียงให้ถูกต้อง เด็กก็เพียงพิมพ์อักษรให้ได้ใกล้เคียงกับการออกเสียงของคำนั้นๆ ก็จะได้การเขียนคำที่ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์เสมอ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 31 ต.ค. 18, 09:35
ระบบแก้คำอัตโนมัติ ของ Word processor นี่น่ากลัวมากนะครับ เพราะระบบไม่สามารถหยั่งรู้เจตนาที่แท้จริงของผู้เขียนได้
ท่านอาจารย์ทุกท่าน อาจจะเคยได้ยินเรื่องนี้มาแล้ว ผมขออนุญาตเล่าซ้ำ คือ

ในการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับข้าราชการในหน่วยงานแห่งหนึ่ง มีการลอกผลงานกัน ผลงานต้นแบบนั้น ทำหัวข้อ "การพัฒนา XXXX กรณีศึกษาเฉพาะจังหวัดแพร่" เพราะคนที่ทำผลงานเล่มนี้ เขารับราชการอยู่ในจังหวัดแพร่ ส่วนคนลอก เป็นข้าราชการในหน่วยงานเดียวกัน แต่รับราชการอยู่ในจังหวัดน่าน เขาลอกโดยการเอา File ผลงานของข้าราชการคนแรกมา แล้วให้ Word processor แทนที่คำ จากคำว่า "แพร่" เป็น "น่าน" ซึ่งก็จะได้ผลงานที่มีชื่อว่า "การพัฒนา XXXX กรณีศึกษาเฉพาะจังหวัดน่าน" เอาละพร้อมส่งผลงานได้ กรรมการตรวจผลงานเยอะแยะจำไม่ได้หรอกว่าของใครเป็นของใคร

ในตอนแรกกรรมการก็จำไม่ได้จริงๆ แต่มาผิดสังเกตตรงที่ คำว่า "เผยแพร่" ในผลงานทั้งเล่มทุกคำ ไหงกลายเป็น "เผยน่าน" หมดเลย ไหนลองไปค้นผลงานชื่อนี้ แต่เป็นจังหวัดแพร่มาดูซิว่ามีมั๊ย ก็พบว่ามี และข้อความตรงกันเด๊ะ ความจึงแตกว่าลอกกันมาเพราะเหตุนี้ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 31 ต.ค. 18, 09:42
เรื่องที่สอง เป็นเรื่องของผมเองครับ
สมัยผมรับราชการอยู่กรมการศาสนา (สมัยนั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ด้วยความที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานนี้ เอกสารต่างๆ จึงมักมีคำว่า "มหาเถรสมาคม" อยู่เสมอๆ ซึ่งผมจะกลัวพลาดพิมพ์คำว่า "มหา" เป็นคำว่า "หมา" มากๆ ดังนั้น เมื่อพิมพ์เอกสารเสร็จแล้ว ผมจึงให้ Word processor แทนที่คำว่า "หมา" เป็น "มหา" ให้หมด เพราะมั่นใจว่า เอกสารราชการ ไม่มีทางมีคำว่า "หมา" ติดอยู่แน่นอน

ผลปรากฎว่า คำว่า "กฎหมาย" กลายเป็น "กฎมหาย" หมดเลย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ต.ค. 18, 21:18
เกิดนึกได้ขึ้นมาว่า พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถานมีอยู่หลายฉบับ ผมเคยมีฉบับ พ.ศ.2493 เก็บไว้ แต่ได้เอาไปให้เด็กชาวบ้าน ตจว.ใช้กัน    สำหรับฉบับ 2525 นั้น ใช้กันในส่วนราชการยุคแผนพัฒนาเศรษกิจและสังคม(ฉบับต่างๆ)เฟื่องฟู   ที่จำได้ก็เพราะว่าต้องเขียนรายงานทางวิชาการและทำเอกสารทางราชการอยู่มากพอสมควร  จำได้ว่าในช่วงของการใช้ฉบับ 2525 นั้น ดูจะมีการกวดขันกันมากขึ้นในการใช้คำสะกดให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะมีคำใหม่เกิดขึ้นมาทั้งในด้านของศัพท์บัญญัติใหม่ คำทับศัพท์ และสำนวนใหม่

การเขียนนั้น เราใช้แทนการสื่อสารในรูปแบบที่ไม่ใช้เสียง ซึ่งทำได้ทั้งในรูปแบบของตัวแทนการพูดและการออกเสียงต่างๆ กับการเขียนในลักษณะที่เป็นไปตามแบบฉบับที่ถูกต้องตามหลักของภาษาศาสตร์นั้นๆ   พจนานุกรมก็เป็นเอกสารที่รวบรวมการใช้คำและศัพท์ทางภาษาต่างๆ ซึ่งจะต้องมีอยู่สองส่วนปนกันอยู่ คือส่วนที่เป็นศัพท์หรือสำนวนที่นิยมใช้กันในการพูดกัน ณ ข่วงเวลาหนึ่งๆ และส่วนที่เป็นคำที่เขียนอย่างถูกต้องตามรากศัพท์หรืออื่นใด   ด้วยที่ภาษาพูดของเรา ตัว ร กำลังหายไปและใช้เสียงตัว ล แทน มีการใช้คำภาษาอื่นร่วมด้วยมากขึ้น สะกดด้วย ท ก็มี ด ก็มี ต ก็มี ฌ ก็มี    ทำให้ฟั่นเฟือนคิดเลยเถิดไปว่า สงสัยอีกไม่นานในพจนานุกรมอาจจะมีคำที่เปลี่ยนจากการใช้ ร ไปเป็นการใช้ ล ก็น่าจะเป็นได้  ก็ขนาดคำว่า แล ในสมัยกระโน้นยังต้องเปลี่ยนเป็น และ   คำว่า เปน ก็กลายเป็น เป็น   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 12:23
ในยุคที่โลกทั้งโลกอยู่แค่ปลายนิ้วมือ   ไม่ต้องอุ้มหนังสือพจนานุกรมหนักหลายกิโลลงจากชั้นหนังสือลงมาเปิดหาทีละหน้าอีกแล้วค่ะ
ถ้าไม่แน่ใจคำไหน  พิมพ์ถามได้เลยที่นี่

http://www.royin.go.th/dictionary/


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ย. 18, 19:43
ด้วยความอยากรู้ว่า คำว่า "ปทานุกรม" กับ "พจนานุกรม" ต่างกันเช่นใด  ก็เลยเข้าเว็ปของ royin ไปถามดู   ได้ความว่า

ปทานุกรม    น. หนังสือสำหรับค้นคว้าความหมายของคำที่เรียงตามสำดับบท
พจนานุกรม   [-กรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่วๆไปจะบอกความหมายและที่มา
                             ของคำเป็นต้นด้วย
                                แม่คำของ "พจนานุกรม" คือ พจน- พจน์ ๑

เมื่อไปพิมพ์ถามหาคำว่า "-กรม" ก็ได้คำตอบว่าไม่มีคำศัพท์ที่ต้องการค้นหา มีแต่ความหมายของคำว่า "กรม"
ลองๆไปหาคำว่า "สารานุกรม" ก็ได้คำตอบในอีกรูปแบบหนึ่ง คือไม่มีการอธิบายในรูปแบบที่เหมือนกับคำว่า "จงกรม" และ "พจนานุกรม" (คือ ใช้ [-กรม].....)  แต่ไปอธิบายในรูปแบบของคำเต็มเช่นเดียวกันกับคำว่า "ปทานุกรม"    คำว่า "อักขรานุกรม" ก็ใช้วิธีการอธิบายทั้งคำ แต่ให้ไปเปิดดูความหมายของคำว่า อักขร- อักขระ

หมายความว่า "-กรม" เป็นคำที่เป็นคำกริยา (เช่น จงกรม) เป็นคำที่เป็นคำนาม (ก็ดังที่กล่าวมา) แล้วก็เป็นคำในรูปอื่นๆอีก....


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 19:55
เมื่อไปพิมพ์ถามหาคำว่า "-กรม" ก็ได้คำตอบว่าไม่มีคำศัพท์ที่ต้องการค้นหา

คุณตั้งต้องพิมพ์หาคำว่า "อนุกรม" จึงจะได้คำตอบที่ต้องการ  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 20:10
ด้วยความอยากรู้ว่า คำว่า "ปทานุกรม" กับ "พจนานุกรม" ต่างกันเช่นใด  ก็เลยเข้าเว็ปของ royin ไปถามดู   ได้ความว่า

ปทานุกรม    น. หนังสือสำหรับค้นคว้าความหมายของคำที่เรียงตามสำดับบท
พจนานุกรม   [-กรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่วๆไปจะบอกความหมายและที่มา
                             ของคำเป็นต้นด้วย
                                แม่คำของ "พจนานุกรม" คือ พจน- พจน์ ๑
พจนานุกรม และปทานุกรม  ไม่ได้มาจากคำว่า พจนานุ+กรม   และ ปทานุ+กรม ค่ะ
แต่เป็นคำสนธิของคำ 2 คำ  คือ พจน หรือ พจนา + อนุกรม   ปทา+อนุกรม
ในการสนธิ คำหลังที่ขึ้นต้นด้วย อ  ตัว อ จะหายไป   ค่ะ

เพราะฉะนั้น จึงเป็นคนละคำกับ กรม ใน จงกรม   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 20:13
สำหรับคำว่า "จงกรม" อาจารย์ทองย้อย แสงสินชัยอธิบายไว้ดังนี้

ในภาษาบาลีมีคำว่า “จงฺกม” อ่านว่า จัง-กะ-มะ รากศัพท์มาจาก -

(๑) กม (ก้าวไป, ย่างไป) + อากม (ก้าวมา, ย่างกลับ), แปลง ก ที่ ก-(ม) เป็น จ, ลบ อา ที่ อา-(กม), แปลง ม ที่ (จ)-ม เป็นนิคหิต, แปลงนิคหิตเป็น งฺ

: กม + อากม = กมากม > จมากม > จมกม > จํกม > จงฺกม แปลตามศัพท์ว่า “การก้าวไปก้าวมา”

(๒) กมฺ (ธาตุ = ก้าวไป) + อ ปัจจัย, ซ้อน ก หน้าธาตุ (กมฺ > กกมฺ), แปลง ก เป็น จ, ลงนิคหิตอาคมที่ จ, แปลงนิคหิตเป็น งฺ

: กมฺ + อ = กม > กกม > จกม > จํกม > จงฺกม แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ก้าวไป”

“จงฺกม” มีความหมาย ๒ อย่าง คือ -

(๑) การเดินไปเดินมา, เดินจงกรม (walking up & down) = การเดินจงกรม

(๒) สถานที่ซึ่งคนเดิน, ที่เดินจงกรม (the place where one is walking, a terraced walk, cloister) = สถานที่สำหรับเดินจงกรม

ในสันสกฤตมีคำว่า “จงฺกฺรมณ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)

“จงฺกฺรมณ : (คำนาม) ‘จงกรมณ์,’ ผู้เดิรไปช้า ๆ; การไป, การเดิรไปช้า ๆ; one who goes slowly; going, proceeding slowly.”

“จงฺกม” ในภาษาไทยใช้อิงสันกฤตเป็น “จงกรม”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า -

“จงกรม : (คำกริยา) เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป. จงฺกม).”

https://www.facebook.com/100002512387360/posts/1129061120520957/


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ย. 18, 20:15
ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ปทานุกรม ต่างกับ พจนานุกรม จะต่างกันเช่นใด    เพราะดั้งเดิมครั้งกระโน้นก็ใช้คำว่า ปทานุกรม ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า พจนานุกรม  กระนั้นก็ยังมีการใช้คำว่า ปทานุกรม กันต่อมา  


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ย. 18, 21:16
อ่านคำอธิบายของสองท่านอาจารย์แล้ว ก็ไม่สงสัยเลยว่าทำไมจึงอ่อนแอภาษาไทยกัน   คำอธิบายในลักษณะของท่านทั้งสองที่ว่ามานั้นคงจะหาอ่านได้ยากในเอกสารที่มีการเผยแพร่ต่างๆ     คำอธิบายอื่นๆที่จะมีก็มักจะอยู่ในรูปของคำอธิบายทางวิชาการเชิงลึก ซึ่งลึกเข้าไปจนถึงต้นตอของคำทางบาลีและสันสกฤต เป็นคำอธิบายที่เกินพอ เข้าไปในเขตของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือในระดับ post grad. เสียด้วยซ้ำไป

เรื่องราวต่างๆที่จะสอนให้คนเกิดความรู้และปัญญาขึ้นมานั้น เราใช้วิธีการเข้าถึงแบบทำเรื่องให้มันเป็นเรื่องสนุกก็ได้ ในทางเครียดก็ได้ ในทางกระตุ้นทางปรัชญาหรือตรรกะก็ได้ เป็นนิทานเหมือนไร้สาระแต่มีเนื้อหาที่ดีก็ได้ มีสารพัดวิธีการที่จะสื่อกัน   ครูบาอาจารย์ที่เก่งๆในระดับบรมครูที่แต่งเรื่องป้ากับปู่กู้อีจู้   ไม้ม้วน-ไม้มลาย 20 ม้วนจำจงดี   ปัญญา-เรณู   มานะ-มามี-ปิติ-ชูใจ  ครูในประเภทนี้ก็ยังมีอยู่มากแต่อาจจะถูกเบียดบังไปด้วยแสงที่ไม่สวยงามนัก   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 18, 07:08
ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ปทานุกรม ต่างกับ พจนานุกรม จะต่างกันเช่นใด    เพราะดั้งเดิมครั้งกระโน้นก็ใช้คำว่า ปทานุกรม ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า พจนานุกรม  กระนั้นก็ยังมีการใช้คำว่า ปทานุกรม กันต่อมา  

ท่านรอยอินได้วิสัชนาไว้ดังนี้

ก่อนหน้าที่คนไทยจะมีพจนานุกรมเป็นของตนเอง ผู้ที่ทำหนังสือประเภทนี้คือพวกมิชชันนารี โดยใช้ชื่อต่าง ๆ กัน เช่น “อักขราภิธานศรับท์” (ฉบับของหมอปรัดเล) “สัพะ พะจะนะ พาสา ไทย” (ฉบับของพระสังฆราชปาเลกัว)

กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๔ กรมศึกษาธิการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) จึงได้พิมพ์หนังสือ “พจนานุกรม ลำดับแลแปลศัพท์ที่ใช้ในหนังสือไทย (ฉบับ ร.ศ. ๑๑๐)” ออกเผยแพร่และใช้ในราชการ

และปรับปรุงอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงเกิด “พจนานุกรม เปนคำแปลศัพท์ภาษาไทยสำหรับเขียนคำใช้ให้ถูกต้องตัวสกด (ฉบับ ร.ศ. ๑๒๐)” ขึ้น

ทว่าเมื่อได้ปรับปรุงพจนานุกรมฉบับ ร.ศ. ๑๒๐ ใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทานุกรมสำหรับนักเรียน พ.ศ. ๒๔๖๓” แทนและยังคงใช้ชื่อนี้จนถึงฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๔๗๒

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะกรรมการชำระปทานุกรมได้ดำริเปลี่ยนชื่อหนังสือกลับเป็นพจนานุกรมอีกครั้ง เพราะพจนานุกรม (พจน + อนุกรม) แปลว่า ลำดับคำ จึงเหมาะสมและมีความหมายตรงกับคำ Dictionary มากกว่าปทานุกรม (ปท + อนุกรม) ที่แปลว่า ลำดับบท และนิยมใช้ว่าพจนานุกรมกันมาจนปัจจุบัน

ดังนั้นปทานุกรมกับพจนานุกรมจึงแตกต่างเพียงชื่อ แต่ใช้ “ค้นความหมายคำ” ได้เหมือนกัน.

ที่มา : วิวัฒนาการของพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๓


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ย. 18, 19:13
ชอบคุณครับ

   โดยสรุปก็เป็นอันว่าใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมใช้คำว่า 'พจนานุกรม' เพราะมีความหมายที่ถูกต้องมากกว่า    สำหรับในกรณีที่หากจะเลือกใช้คำว่า 'ปทานุกรม' ก็อาจจะถูกทักท้วงหรือถูกตำหนิได้   สาระของย่อหน้านี้อยู่ในความหมายของคำภาษาอังกฤษว่า Dictionary

   ลองไปเปิดดูคำว่า Lexicon ว่าจะตรงกับศัพท์คำใดของท่าน royin   ก็ใช้ว่า"คลังศัพท์" และ "ศัพทานุกรม" (ทั้งสองคำนี้คงจะเป็นศัพท์บัญญัติ)  ส่วนของ NECTEC  ว่า "ศัพท์เฉพาะสาขา"   สาระของย่อหน้านี้ไปเกี่ยวกับเรื่องของบรรดาคำที่ใช้ในแต่ละเรื่องราว(หรือศาสตร์)และบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น

พิจารณาดูด้วยความรู้พื้นๆแบบอ่อนหัด  คำว่า "ปทานุกรม" ก็เลยดูจะเป็นคำที่ตรงกับความหมายของคำว่า lexicon ที่สุด   ???

       


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ย. 18, 18:39
เรื่องที่คุยกันในกระทู้หลังๆนี้(ประมาณ 10 กระทู้) ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องตามหัวข้อของกระทู้อยู่ไม่น้อย 

ในความเป็นจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ชนบทและชายแดนนั้น  การสอนหนังสือในโรงเรียนต่างๆทั้งหมด เราใช้ภาษาไทยภาคกลางในการสอนและสื่อสารกับเด็กๆ  ซึ่งก็จะได้ผลเป็นภาษาไทยที่มีสำเนียงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสำเนียงคุณครูผู้สอนผสมผสานกับสำเนียงพื้นบ้านหรือชาวถิ่นของนักเรียนเหล่านั้น    เราดูจะเน้นผลสัมฤิทธิ์หลักในเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ (literacy) ซึ่งวัดผลสำเร็จกันในเชิงปริมาณ เกือบไม่เห็นการเน้นในเรื่องทางคุณภาพของการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ซึ่งตัววัดผลความสำเร็จทำได้ยากกว่า (เช่น การใช้กิจกรรมแข่งขันการออกเสียงภาษาไทย) ตัว ร จึงหายไปเกือบหมด  ขนาดว่าในภาษาใต้ซึ่งมีหลายคำที่ออกเสียงตัว ร ได้ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ากระดกลิ้นได้สบายๆ เมื่อมาออกเสียงคำที่มีตัว ร ในสำเนียงภาคกลาง ก็ยังกลายเป็น ล ไปจนได้     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ย. 18, 19:18
ในพื้นที่ชนบทห่างไกลนั้น เรามีทั้งพวกสอนศาสนา พวกอาสาสมัคร รวมทั้งพวกต่างชาติ เข้ามาอยู่มากมาย ก็ล้วนแต่ใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงต่างๆในการสอนเด็กบ้าง ในการสื่อสารบ้าง (รวมทั้งใช้ภาษาไทยสำเนียงแปลกๆ)  เราก็เลยได้ยินภาษาอังกฤษของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนออกเสียงอักขระทั้งแบบอเมริกันและยุโรป โดยเฉพาะตัว h และตัว z   (สำหรับตัว t ก็มีอยู่บ้าง)  แต่เมื่อเป็นคำศัพท์แล้ว การออกเสียงและการสะกดคำจะเป็นแบบอเมริกันทั้งหมด


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ย. 18, 18:24
สิ่งที่เกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่งคือ การไปเปลี่ยนชื่อเดิมของสถานที่หลายแห่งให้เป็นชื่อในภาษาถิ่นอื่นเพื่อให้ที่ดูดี หรือคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้อง หรือเป็นเพราะความเข้าใจผิด ที่ทำไปแล้วก็มีอาทิ พุเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีพุน้ำซับไหลซึมออกมา เป็นแอ่งอยู่หน้าผาหินปูน ก็เลยตั้งชื่อเสียใหม่ว่า ภูเตย (คนละเรื่องกันเลย)    ม่อนพญาพ่อ ซึ่งเป็นชื่อของจุดสูงสุดของสันเขาที่แบ่งเขตระหว่างอุตรดิตถ์กับแพร่ ก็ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น ภูพญาพ่อ  แล้วก็อีกหลาย ภู.... ทีเดียว (เอาภาษาอิสานมาใช้แทนคำว่า ม่อน ที่คนในภาคเหนือเขาใช้กันทั่วไป)   มีบางชื่อที่ใช้คำสะกดที่ทำให้ผิดความหมายไป เช่น ร่องกาศ (แทนที่จะต้องเป็น ร่องกาด   ฮ่องกาด..ตลาดในสถานที่หนึ่ง)

ก็มีสถานีรถไฟแห่งหนื่งใกล้ๆตัวเมืองประจวบฯ ชื่อว่า สถานีคั่นกระได  คำว่ากระไดนี้ก็ยังเป็นชื่อของหมู่บ้านอีกหลายแห่ง    เรื่องนี้ก็ดูจะแปลกอยู่ตรงที่ หากจะเขียนว่า ขั้นกระได ก็ดูจะไม่ถูกต้อง จะต้องเขียนว่า ขั้นบันได จึงจะถูก   คั่น ดูจะใช้คู่กับ กระได เท่านั้น   คำว่าบันไดดูจะใช้กันในภาษาเขียน ส่านคำว่ากระไดนั้นใช้กันในภาษาพูดและในสำนวนต่างๆ  แต่ก็คงไม่มีผู้ใดเขียนว่า บ้านนี้หัวบันใดไม่แห้ง คงะมีแต่เขียนว่า บ้านนี้หัวกระไดไม่แห้ง


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ย. 18, 19:12
อีกภาพหนึ่งก็อิทธิพลของการใช้ภาษาในรายการต่างๆที่ออกอากาศทางทีวี ตั้งแต่การออกเสียงในภาษาไทยที่ ร และ ล หายไปหมดเลย จะเหลือไว้สักตัวก็ยังพอจะไหว แถมยังชอบเอาศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ผสมอยู่ในประโยค แต่ออกเสียงที่ขาดเสียงของตัว r หรือ l และเสียง ซ จากคำที่ลงท้ายด้วย ..se  ..ch ฯลฯ   บางทีก็เลยฟังไม่ออกและไม่เข้าใจ   เด็กๆเองก็คงจะลำบากในการเปิดหาคำศัพท์ต่างๆเหล่านั้น ทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 05 พ.ย. 18, 09:30
ขออนุญาตครับ ขอย้อนกลับไปเล็กน้อย คำว่า "ปทา" ใน ปทานุกรม หมายความว่าอย่างไรครับ ขอบพระคุณครับ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 พ.ย. 18, 10:33
ปทานุกรม มาจากคำว่า ปท สนธิกับคำว่า อนุกรม

ตามหลักภาษา คำในภาษาบาลีสันสกฤต ถ้าตัวหน้าเป็นตัว ป เวลาเรานำมาใช้ในภาษาไทย มักจะแผลงเป็นตัว บ เช่น "ปุญญฺ" เราใช้ว่า "บุญ"  "ปาป" เราก็ใช้ว่า "บาป"

เช่นเดียวกัน "ปท" ก็คือ "บท" นั่นเอง  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ย. 18, 10:37
เอกสัตวแพทยศาสตร์  โทอักษรศาสตร์ ค่ะ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 06 พ.ย. 18, 09:02
ขอบพระคุณครับ ถ้าเช่นนี้ หนังสือลำดับบท กับ หนังสือลำดับคำ แบบที่สองคงจะมีความหมายตรงกว่าจริงๆ แหละครับ

แต่จะว่าไปแล้ว สมัยเด็กๆ หนังสือลักษณะนี้เล่มแรกที่จำความได้คือ ปนานุกรมฉบับนักเรียน ครับ เป็นหนังสือขนาดราวๆ สมาร์ทโฟนสมัยนี้ ปกสีน้ำตาล มีตัวอักษรสีขาวพิมพ์อยู่ช่วงล่างของปกว่า ปทานุกรมฉบับนักเรียน ผมจำชื่อสำนักพิมพ์ไม่ได้แล้วครับ แต่พอจำได้ว่า โลโก้เป็นรูปวงกลมสามวงซ้อนกัน คล้ายๆโลโก้ ช่อง 7 สี พอโตขึ้นมา ผมเอาไปทำหายไว้ที่ไหนเสียก็ไม่รู้

หลักจากนั้นก็ไม่เคยเป็น ปทานุกรมอีกเลยครับ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ย. 18, 10:02
แต่พอจำได้ว่า โลโก้เป็นรูปวงกลมสามวงซ้อนกัน คล้ายๆโลโก้ ช่อง 7 สี

ประมาณนี้  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 06 พ.ย. 18, 13:30
ขอบพระคุณอีกรอบครับ ใช่ครับ ยังงี้เลย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 พ.ย. 18, 19:26
เขียนไปเขียนมา ส่งไป หายไปเลย พรุ่งนี้ค่อยเขียนใหม่ครับ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ย. 18, 18:27
จำได้ว่า 'ปทานุกรมฉบับนักเรียน' นั้น เนื้อหาภายในแบ่งออกเป็นหลายส่วน  ส่วนแรกเป็นเรื่องของความหมายของคำที่ใช้กันในภาษาไทย ซึ่งเป็นเพียงวลีสั้นๆในลักษณะของการแปลไทยเป็นไทย   สำหรับส่วนอื่นๆในหนังสือ เท่าที่พอจะนึกเค้าลางออก(ซึ่งอาจจะผิดโดยสิ้นเชิงก็ได้) ก็ดูจะมีเรื่องเกี่ยวคำในภาษาไทยที่มักจะสะกดผิด   มาตราชั่ง ตวง วัด    ลำดับชื่อของพระมหากษัตริย์ของไทยสมัยต่างๆ   เครื่องราชอิสริยาภรณ์และตัวย่อ วันสำคัญทางศาสนา

นักเรียนรุ่นเก๋า(สมัยครั้งกระโน้น) มักจะมีปทานุกรมฯเล่มนี้อยู่ที่บ้านหรือไม่ก็พกพาติดกระเป๋านักเรียนไปโรงเรียนด้วย ซึ่งส่วนมากก็จะใช้เพื่อการตรวจทานคำสะกดต่างๆว่าเขียนถูกหรือไม่ (มากกว่าที่จะใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ)    ปทานุกรมฯฉบับนี้ก็เลยเป็นครูผู้ช่วย(ในอดีต)อีกแรงหนึ่งที่ช่วยทำให้คนที่ถูกจัดให้เป็น สว ในยุคนี้เขียนและสะกดคำภาษาไทยได้ค่อนข้างจะไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก (ยกเว้นผม  :-X)

เมื่อหนังสือ 'ปทานุกรมฉบับนักเรียน' ที่มีสารและเนื้อในๆลักษณะเช่นนี้  ก็ไม่รู้ว่าจะตรงกับความหมายของคำว่า "ลำดับบท" หรือไม่ ???  ซึ่งหากใช่ ก็จะไปตรงกับคำศัพท์ว่า "ปทานุกรม"   ก็จะทำให้เห็นภาพของความต่างระหว่างคำว่า พจนานุกรม =ลำดับคำ กับ ปทานุกรม =ลำดับบท   

หรือว่า เนื้อหาสาระและเรื่องราวของหนังสือ "ปทานุกรมฉบับนักเรียน" จะไปเรื่องในสาระของของคำว่า treatise  ซึ่งดูเหมือนจะถูกแปลเป็นไทยว่า ตำรา


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ย. 18, 18:30
ก็น่าเสียดายที่ ปทานุกรมฉบับนักเรียน ได้เลิกพิมพ์และเลิกใช้กันไปแล้ว    ซึ่งผมเห็นว่าอย่างน้อยหนังสือเล่มนี้มันก็มีประโยชน์สำหรับเด็กใน ตจว. และในพื้นที่ชนบทไกลปืนเที่ยงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวกที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนในระบบปกติ หรือพวกที่เรียนในระบบ กศน.ก็ตาม หรือแม้กระทั่งพวกคนไทยที่ย้ายถิ่นไปอยู่ใน ตปท. และพวกคนต่างชาติที่ศึกษาภาษาไทยด้วยตนเองหรือในระบบ กศน.


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ย. 18, 18:39
ปุจฉาดังที่กล่าวมาเช่นนี้  คิดว่าคงจะไม่ทำให้ผู้ทรงความรู้ท่านใดเกิดความรำคาญและมีความรู้สึกในทาง -ve นะครับ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 18, 10:21
ไม่ค่ะ เชิญเล่าต่อได้เลยค่ะ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 พ.ย. 18, 18:23
ย้อนกลับไปต่อเรื่องที่ว่าเราใช้ภาษาไทยภาคกลางในการสอนหนังสือในสถานศึกษาทั่วประเทศ แล้วก็เน้น(แบบกลายๆ)อีกด้วยว่า ภาษาไทยที่ถูกต้องก็คือภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ   ภาษาไทยอื่นๆนั้นเป็นภาษาที่ใช้กันในแต่ละภูมิภาค (ภาษาเหนือ ภาษาใต้ ภาษาอิสาน และสำเนียงตามท้องถิ่นต่างๆ)    สำหรับภาษาไทยภาคกลางนั้น แม้จะมีสำเนียงแบบภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน ก็ยังต้องพยายามที่จะเปลี่ยนให้เป็นสำเนียงกรุงเทพฯ   

ก็ดูจะมีอะไรแปลกอยู่บ้างที่สำเนียงของภาษาไทยในภาคกลางดูจะมีความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะเสียงที่เราเรียกว่าเหน่อและการออกเสียงของคำต่างๆที่ดูจะสั้นกว่าสำเนียงกรุงเทพฯ  แต่เราใช้การออกเสียงและสำเนียงกรุงเทพฯเป็นมาตรฐานของภาษาไทย 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 พ.ย. 18, 19:26
ด้วยอิทธิพลของการใช้ภาษาในการสอนในพื้นที่ห่างไกล และโดยที่ผู้คนเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องติดต่อกับผู้คนจากส่วนกลาง (นักท่องเที่ยว) ทำงาน รับจ้าง รวมทั้งค้าขายหรือขายของเล็กน้อยๆ  ภาษาถิ่นก็เริ่มไม่ค่อยได้ใช้กัน ปรับเปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยภาคกลางแทน  เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ภาษาถิ่นยังคงอยู่ค่อนข้างจะครบ รวมทั้งสำนวนและสำเนียง ซึ่งมีพอที่จะเดาได้ว่าใครผู้นั้นอยุ่ในจังหวัดใด ในบางกรณีก็ลงลึกได้ถึงกระทั่งพื้นที่  เมื่อประมาณสัก 30 ปีที่ผ่านมา ก็ยังพอจะเดาได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ในปัจจุบันนี้ส่วนมากจะบอกได้เพียงในระดับภูมิภาคและด้วยสำเนียงที่ยังคงติดค้างอยู่เท่านั้น

เช่น สับปะรด ที่คนในภาคเหนือเรียกว่า บะขะนัด   ภาคอิสานว่า บักนัด   ภาคใต้ เรียกว่า ย่านัด นุ้น เกือบจะไม่ได้ยินเด็กรุ่นใหม่ใช้กันเลย    ปลาช่อน มาแทนที่ ปลาหลิม (เหนือ) ปลาค้อ (อิสาน)    ชะอม มาแทนที่ผักหละ (เหนือ) ผักขา(อิสาน)


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 พ.ย. 18, 20:05
เมื่อครั้งอยู่ในช่วงเวลาของความขัดแย้งกันในเรื่องของความคิดทางสังคมและการปกครอง เรามุ่งเน้นการศึกษาในะดับพื้นฐานไปในเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่อยู่ในสิ่งพิมพ์ทั้งหลายได้ (เน้นไปในทางเชิงปริมาณ) และเริ่มจะไม่เน้นเรื่องราวรวมทั้งเริ่มละทิ้งเนื้อหาของเรื่องที่เป็นสาระที่เกี่ยวกับความเป็นไทย ทั้งในเชิงกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (ไม่เน้นไปในเชิงคุณภาพ)    เรื่องในตรรกะนี้ดูจะดำเนินการต่อเนื่องมาจนในปัจจุบัน ก็เลยดูจะไม่แปลกนักที่คนไทยจำนวนค่อนข้างจะมากรู้จักประเทศของตนเองน้อยกว่าฝรั่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 พ.ย. 18, 20:35
พอยุค IT ต่างๆทะยอยเข้ามา  สาระทั้งหลายก็ไปอยู่ในคอมพิวเตอร์และเครื่องโทรศัพท์ทั้งหลาย หาอ่านได้อย่างสะดวกใจ จะเอาแบบย่อแบบยาว แบบเวอร์ แบบใส่ไข่ แบบใหนๆก็ได้ทั้งนั้น ทั้งจากผู้รู้ลึก รู้จริง และผู้ที่คิดว่าตนเองรู้มากพอ  ข้อมูลและความรู้ที่ขัดแย้งกันก็จะมีมากขึ้น ซึ่งพ่วงมาด้วยสำนวน คำศัพท์ การสะดคำ และการใช้ภาษาไทยแบบที่ไม่ใช่มาตรฐานของภาษาเขียน หรือภาษาพูด

ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนค่อนข้างมากเลยทีเดียว   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 พ.ย. 18, 18:23
มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการใช้คำภาษาอังกฤษปนเข้ามาในการสื่อสารระหว่างู้คนทั่วไปกันมากขึ้นมาก มากจนกลายเป็นความเคยชิน แล้วก็ดูจะมากขึ้นเรื่อยๆ    แต่เดิมนั้นก็ดูค่อนข้างจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะในวงของการสนทนาทางวิชาการ ด้วยเพราะว่ามันเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะในทางเทคนิค จะเป็นด้วยยังไม่มีการบัญญัติศัพท์เป็นคำไทยโดยเฉพาะ หรือไม่ก็มีการบัญญัติแล้วแต่ยังต้องแปลเป็นไทยต่อไปอีกหน่อย หรือไม่ก็ยากหรือไม่คุ้นเคยในการนำมาเรียบเรียงให้ถูกตำแหน่งในประโยคในอันที่จะทำให้ผู้อื่นได้เข้าใจและเห็นพ้องไปตามเรื่องราวที่ต้องการ

เดี๋ยวนี้ผู้คนทุกระดับความรู้จัก เข้าใจ และใช้คำภาษาอังกฤษหลายๆคำ ใช้กันแบบติดปากแบบนึกคำแปลเป็นภาษาไทยเกือบไม่ออก  คำเหล่านี้ก็มีอาทิ  case ที่ออกเสียกันว่า เคด    clear ที่ออกเสียงกันว่า เคีย     cream ที่ออกเสียงว่า คีม    cheese ออกเสียงว่า ชี๊ด    slip (ฝาก-ถอนเงิน)   เช็คบิน .....           


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 พ.ย. 18, 19:16
คำดังที่ยกตัวอย่างมานั้น ได้กลายเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ซึ่งคงจะยากแล้วที่จะไปแก้ให้ออกเสียงให้ถูกต้องแบบฝรั่ง  ก็คิดว่าการออกเสียงต่างๆนั้นมันต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็ก  ญี่ปุ่นเองได้ทำการวิจัยและได้พบว่าเด็กเริ่มเรียนรู้การออกเสียงตั้งแต่อยู่ในท้องแม่โน่น ซึ่งหลายเสียงใด้ถูกบันทึกใว้ในสมองแบบถาวรในระหว่างนั้น   ทั้งนี้ การแก้ไขหลายอย่างยังทำได้ในช่วงอายุก่อน 8 ขวบ (เท่าที่ผมจับความได้จากที่ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น หากไม่ถูกต้องก็ขอความกรุณาท่านที่รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ) 

การออกเสียงคำภาษาอื่นที่เราเอามาใช้ปนเปอยู่ในภาษาของเรานี้ ที่เราออกเสียงไม่เหมือนเขานั้น นานๆเข้ามันก็กลายเป็นปกติ เช่น คัดซีรถ (chassis)  ไอติม (ice cream)  ฟุตปาธ (footpath)  มู่เล่ (ย์ ?) (pulley) 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 พ.ย. 18, 19:36
แล้วก็มีข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่ง คือ ภาษาจีนที่เรานำมาใช้ปนไทยกันในชีวิตประจำวันนั้น ในปัจจุบันหายไปเกือบหมดแล้ว  คิดว่าเริ่มสังเกตเห็นว่าหายไปก็เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว เช่น ในกรณีเรียกเก็บเงิน กรณีถามราคาของ ...   แต่เกิดกรณีกลับกัน ในกรณีการเรียกพ่อ แม่ และญาติ ซึ่งดูจะหันไปทางการใ้ภาษาจีนกันมากขึ้น   ท่านที่รู้ภาษาจีนคงจะให้ความเห็นในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีว่า เป็นภาษาจีนกลุ่มใหน 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ย. 18, 18:27
เท่าที่พอจะมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษาจีนอยู่เล็กน้อย  ภาษาจีนที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในไทยดูจะเป็นการพูดแบบแต้จิ๋ว   ภาษาแบบฮกเกี้ยนจะพบอยู่มากในภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ๆเคยมีการทำเหมืองแร่ดีบุก   ภาษาแบบไหหลำมีใช้ไม่มากนัก ดูจะพบตามพื้นที่ชายทะเลที่ทำการประมง  ภาษาแบบแคะก็มีใช้ไม่มากนักเช่นกันและดูจะใช้กันมากทางภาคลางด้านตะวันตกและในพื้นที่ๆมีการทำเหมืองแร่อื่นๆนอกเหนือไปจากแร่ดีบุก  สำหรับกวางตุ้งนั้นไม่มีความรู้ครับ    ภาษาจีนในภาคเหนือดูจะมีการใช้คละกันมากกว่าในพื้นที่อื่นๆ มีทั้งจีนแบบเก่าที่มากับพวกกองพล 93 และพวกไต้หวัน และก็มีจีนฮ่อด้วย

ในปัจจุบันนี้ เรามีการสอนภาษาจีนเบื่องต้นในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆโดยใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก    เท่าที่พอจะรู้อยู่บ้าง ตัวอักษรที่เขียนแบบจีนกลางจะต่างไปจากตัวอักษรที่เขียนแบบเก่า(ที่จีนไต้หวันใช้กัน) และการออกเสียงต่างๆที่เราเคยรู้และใช้กัน(เช่นการนับเลข)ก็ไม่เหมือนกับการออกเสียงแบบจีนกลาง    ก็คงจะไม่เกินกว่าช่วงเวลาต่อไปอีกสัก 10-15 ปีที่สำเนียงเสียงภาษาจีนที่เราคุ้นๆหูกันก็คงจะเปลี่ยนไปอย่างเกือบจะสิ้นเชิง       


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ย. 18, 18:49
เมื่อมองไปในอีกภาพหนึ่ง ในภาพของพื้นที่ๆมีคนต่างชาติเข้ามาพำนักทั้งในเชิงของนักท่องเที่ยว การพำนักแบบกึ่งถาวร หรือการพำนักแบบถาวร  ก็น่าจะพอได้เห็นการออกเสียง การสะกดคำ และการใช้คำในความหมาย(ภาษาอังกฤษ)ที่ถูกต้องของเขา แต่อาจจะผิดเพราะไม่เป็นไปตามที่อยู่ในตำราเรียนของเรา


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 18, 19:14
การออกเสียงคำภาษาอังกฤษ (รวมอเมริกันด้วยค่ะ) ที่ยากสำหรับคนไทยมี 2 คำ  คำแรกคือ H  ที่ครั้งหนึ่งออกเสียง เฮช กันทั่วประเทศ   ครูจำนวนมากก็ เฮช กัน  แล้วยังเถียงเสียอีกว่าถูกต้องแล้ว
ทำเอาคนที่เรียนมาตั้งแต่เด็กว่า H ออกเสียงว่า เอช  ต้องเที่ยวถามเพื่อนฝูงว่าเราเรียนมาผิดหรือเปล่า 
จนบัดนี้ดิฉันยังไม่ทราบเลยว่า คำนี้  ฝรั่งประเทศไหนออกเสียงว่า เฮช  คุณตั้งทราบไหมคะ

อีกคำคือ L  ที่ออกเสียงท้ายศัพท์    เนื่องจากภาษาไทยไม่มีตัวสะกดเสียง ล  มีแต่  ง น ม ย ว  และ ก ด บ 
คนไทยจำนวนมากก็เลยออกเสียง L เป็น ว   เช่น fill  เป็น ฟิว   El  (ชื่อคน) เป็น เอว   



กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 18, 20:06
เรื่องของ H

คำแรกคือ H  ที่ครั้งหนึ่งออกเสียง เฮช กันทั่วประเทศ   ครูจำนวนมากก็ เฮช กัน  แล้วยังเถียงเสียอีกว่าถูกต้องแล้ว
ทำเอาคนที่เรียนมาตั้งแต่เด็กว่า H ออกเสียงว่า เอช  ต้องเที่ยวถามเพื่อนฝูงว่าเราเรียนมาผิดหรือเปล่า  
จนบัดนี้ดิฉันยังไม่ทราบเลยว่า คำนี้  ฝรั่งประเทศไหนออกเสียงว่า เฮช  คุณตั้งทราบไหมคะ

ศาสตราจารย์ John C. Wells (http://en.wikipedia.org/wiki/John_C._Wells) ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การออกเสียงอักษร H ของคนอังกฤษ  (http://www.phon.ucl.ac.uk/home/wells/blog0712b.htm) เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ไว้ดังนี้

Ho, ho, ho
 
How do we pronounce the name of the letter H?

All dictionaries agree that it is eɪtʃ. Only LPD gives an alternative possibility, heɪtʃ, which it marks with the symbol § to show that it is not the RP form. I added the note The form heɪtʃ is standard in Irish English, but not BrE or AmE. This claim is possibly too sweeping, but on visits to Irish universities I had noticed Irish academics at all levels using this form. I was particularly struck by the expression piː heɪtʃ diː PhD.
 
At that time, twenty or thirty years ago, calling the letter heɪtʃ was perceived in England as simply wrong, a pronunciation likely to be used only by the illiterate and uneducated — the people who were prone to h-dropping and to hypercorrect h insertion.
 
But things seem to have changed. Nowadays many younger Londoners, at any rate, call the letter H heɪtʃ. I have taught undergraduates who would defend this as the correct pronunciation, perhaps on the grounds that the name of a consonant letter should contain an instance of the corresponding consonant sound.
 
So I included the question of aitch or haitch in the on-line survey of pronunciation preferences that I conducted earlier this year. Here are the findings.

The overall voting figures were 84% for the traditional form, 16% for the newcomer. As you can see from the graph, heɪtʃ is indeed an innovation that appears to be spreading rather fast. As many as 24% of those born since 1982 voted for it.


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 18, 20:59
  ดิฉันไม่เชื่อว่า นักเรียนไทยที่ออกเสียง เฮช  เป็นผลจากการออกเสียงแบบไอริช    ประเทศเรามีครูกี่คนกันที่จบจากไอร์แลนด์  หรือเป็นชาวไอริชมาสอนในไทย   คิดว่าเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า  เพราะศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย H  ออกเสียงเป็น ฮ  ไม่ใช่ อ    ดังนั้น H ออกเสียงว่า เอช  แต่เวลาผสมเป็นคำแล้ว กลายเป็นเสียง ฮ  หมด ไม่ว่า he  horse home  ก็อาจทำให้เข้าใจไปว่า H คือเสียง เฮช
  พวกค็อกนีย์(หมายถึงคนที่มีการศึกษาน้อยในอังกฤษ อยู่ในลอนดอน  ตัวอย่างที่เห็นชัดคืออีไลซ่า ดูลิตเติ้ล นางเอกเรื่อง My Fair Lady ) เป็นกลุ่มชนที่ออกเสียง ฮ ในคำที่คนอื่นออกเสียง อ   เช่น honour  เขาออกเสียงว่า ฮอนเนอร์ แต่ถ้าเป็น humble  ที่คนอังกฤษทั่วไปออกเสียงว่า ฮัมเบิล  พวกนี้ออกเสียงว่า อัมเบิล คือเสียง h หายไป


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 18, 09:47
เรื่องของ L

อีกคำคือ L  ที่ออกเสียงท้ายศัพท์    เนื่องจากภาษาไทยไม่มีตัวสะกดเสียง ล  มีแต่  ง น ม ย ว  และ ก ด บ  
คนไทยจำนวนมากก็เลยออกเสียง L เป็น ว   เช่น fill  เป็น ฟิว   El  (ชื่อคน) เป็น เอว  

ตัวอย่างอีกคำหนึ่งคือ mail แต่คำนี้บางทีก็ออกเสียงเป็น เมว บางทีก็เป็น เม

คำว่า blackmail แต่ก่อนใช้ว่า แบล็กเมล์ (อ่านว่า แบล็กเม) มาสมัยนี้ได้ยินตามสื่อต่าง ๆ อ่านว่า แบล็กเมว

ส่วนคำว่า e-mail ตามสื่อใช้ว่า อีเมล (อ่านว่าอีเมว) แต่ใน พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (http://www.ba.cmu.ac.th/wp-content/uploads/pdf/_grad/2/15.pdf)  ให้ใช้ว่า "อีเมล์" (อ่านว่า อีเม)

หวังว่าในอนาคต คำว่า "รถเมล์" (อ่านว่า รดเม) คงไปถูกเปลี่ยนเป็น "รถเมล" (อ่านว่า รถเมว) ดอกหนา  ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 18, 17:19
ราชบัณฑิตให้ใช้คำว่า อีเมล  (ไม่มีการันต์)
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B9%91%E0%B9%97-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1

อิเล็กทรอนิกส์

          คำว่า อิเล็กทรอนิกส์ มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ว่า วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นํามาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนําและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า electronics ถ้าทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์หรือคำขยายใช้ว่า electronic แต่ยังคงทับศัพท์ว่า อิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน ตัวอย่างคำที่เรารู้จักกันดี คือ electronic mail ที่บัญญัติศัพท์ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้คำย่อว่า e-mail ทับศัพท์เป็น อีเมล


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 พ.ย. 18, 18:43
เป็นงงดีครับ  กระทู้ก่อนหน้านั้นสะกด อีเมล์   ต่อมาก็ว่า อีเมล (ไม่มีการันต์) เข้าใจว่าทั้ง 2 กระทู้นั้นต่างก็อ้างจากท่านรอยอิน

คำว่า รถเมล์  เรือเมล์  เครื่องเมล์หรือเที่ยวเมล์ (เครื่องบิน) ทั้งสามคำนี้มีความหมายที่ผู้คนมีความเข้าใจไปในอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างไปจากความหมายที่ได้บัญญัติคำขึ้นมา   แต่เดิมเป็นการใช้ในเรื่องของการไปรษณีย์และการรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นกิจกรรมประจำตามวันและเวลาต่างๆ   แต่ผู้คนได้นำลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำเช่นนี้ไปใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับระบบการเดินทางที่มีกำหนดการ (เป็นเรื่องที่มีพื้นฐานเกี่ยวข้องกัน)  ในปัจจุบันนี้ เรือเมล์และเครื่องเมล์(หรือเที่ยวเมล์) ไม่มีแล้ว (เรือเมล์อาจจะยังคงเหลืออยู่บ้างในทะเลสาบสงขลา ?)   ถ้าต้องมีการเปลี่ยนการสะกดให้เป็นการออกเสียงใกล้เสียง mail ดังที่คุณเพ็ญชมพูว่า ก็คงจะรู้สึกกระดากปากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวที่จะอกเสียงตามการสะกดคำนั้นๆ     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 พ.ย. 18, 20:11
สำหรับที่ อ.เทาชมพู ถามเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงตัว h ว่า เคยเห็นมีที่ใหนบ้างที่เขาออกเสียงเป็น เฮช นั้น   เท่าที่ผมเคยเดินทางไป ตปท.หลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ในช่วงระหว่างประมาณปี พ.ศ. 2525-2540 จำได้ว่าไม่เคยได้ยินการออกเสียงว่า เฮช เลย   แต่กลับได้ยินการออกเสียงเช่นนี้แบบหนาหูมากขึ้นในไทยเอง ซึ่งคิดว่าคงจะเป็นในประมาณช่วง พ.ศ.2535+/-  ซึ่งเป็นช่วงที่ดูจะมีทุนการศึกษามาก ทั้งด้านฝึกอบรม ดูงาน เรียนระยะสั้น และการศึกษาในระดับ ป.โท/ป.เอก  ซึ่งก็ดูจะมีเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ออสเตรเลีย อังกฤษ และสวีเดนนิดหน่อย   

ในช่วงนี้เองก็ได้ยินการออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่ไม่คุ้นหูอยู่หลายคำ  เช่น mineral ที่เขาออกเสียงว่า ไมเนอราล   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ย. 18, 18:41
ก็มีอีกคำหนึ่งที่นึกได้ว่ามีการออกเสียงที่แปลกไปจากที่เราคุ้นๆกัน คำว่า idea ที่เราออกเสียงคุ้นหูว่า ไอเดีย  แต่มีฝรั่งเนเธอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญนายหนึ่งออกเสียงว่า ไอดี


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ย. 18, 19:16
  ดิฉันไม่เชื่อว่า นักเรียนไทยที่ออกเสียง เฮช  เป็นผลจากการออกเสียงแบบไอริช    ประเทศเรามีครูกี่คนกันที่จบจากไอร์แลนด์ .....

ผมเคยไปดูเรื่องการใช้ประโยชน์ของระบบ GIS (Geographical Information System) ในแง่มุมต่างๆ ที่ประเทศไอร์แลนด์ อยู่ที่นั่นประมาณ 7 วัน  (ในยุคแรกๆที่กรมฯกำลังเริ่มพัฒนาระบบ GIS ที่ต่อมาได้นำไปสู่ใช้กันทั่วไปทั้งในราชการและภาคเอกชน โดยเฉพาะในด้านที่เรื่อง DTM (Digital Terrain Map) + GPS (Global Positioning System) + Navigation System)  จำได้ว่าไม่เคยได้ยินการออกเสียงอักษรตัว h เอช เป็น เฮช ทั้งในเขตเมืองหลวง Dublin และตามเมืองเล็กแถบชายทะเล   สำหรับในด้านรูปแบบของการใช้ภาษาและสำนวนนั้นเข้าใจได้ไม่ยาก มีแต่สำเนียงที่ทำให้ฟังออกได้ยากหน่อยเพราะไม่คุ้นหู  ก็มีที่ฟังแล้วเข้าใจกันไปคนละเรื่องเลยทีเดียว จำได้แม่นเลยคือ การออกเสียงคำว่า Tourist day กับคำว่า Thursday   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ย. 18, 20:11
คลับคล้ายคลับคลาว่า h ที่ออกเสียงว่า เฮช นั้น จะได้ยินในกลุ่มคนผิวสีอัฟริกา  เสียงที่หูของผมได้ยินจากการพูดของผู้คนเหล่านั้นดูจะบ่งว่าเปล่งเสียงออกมาจากพื้นที่ส่วนต่อของบริเวณโคนลิ้นกับโพรงจมูกส่วนใน (Nasopharynx) ซึ่งเป็นผลทำให้การออกเสียงเพี้ยนไป  จะผิดจะถูกเช่นใดก็ไม่รู้นะครับ เป็นความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีหลักทางวิชาการอ้างอิงใดๆเลย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 พ.ย. 18, 19:16
เมื่อวิทยาการของโลกมีความก้าวหน้ามากขึ้น  ศัพท์ทางเทคนิคก็มีมากขึ้นตามไปด้วย   ก็มีทั้งการใช้คำเดิมที่ใช้กันในภาษาตามปกติแต่เพิ่มความหมายหรือให้คำนิยามใหม่ เช่น protocol,  stable,  unstable,  virus,  trojan, ....     มีแบบเป็นคำศัพย์ย่อเพื่อใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลทั้งทางบวกและลบของการสร้างสรรทางเทคโนโลยี เช่น RADAR, LASER, SNAFU ...     มีแบบที่เป็นชื่อเฉพาะของบางสิ่งบางอย่าง เช่น Turquoise,  Coelacanth,  Whiskey,  Schnapps ...

คำดังตัวอย่างเหล่านี้ หากจะบัญญัติให้เป็นคำศัพท์ภาษาไทยก็คงไม่ง่ายนักยาก หลายคำดูจะเป็นได้เพียงคำบัญัติจำเพาะในลักษณะของการแปลความ เช่น ศิลาวรรณา (Petrography) ซึ่งหากใช้คำที่แปลกออกไปมากๆ คำที่บัญญัติออกมาก็จะต้องมีการแปลไทยเป็นไทยอีก  เช่น ชะวากทะเล (Estuary)  กุมภลักษณ์ (Potholes)  รงคเลขผิวบาง (Thin layer Chromatography)

คำดังตัวอย่างเหล่านี้ ก็อีกเช่นกัน ยากที่จะเขียนทัพศัพท์เป็นภาษาไทยตามกฎและให้ออกเสียงได้ใกล้เคียง     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 พ.ย. 18, 19:39
คงจะไม่เป็นการคิดมากฟั่นเฟือนจนเกินไป  ;D

ย้อนกลับไปที่เรื่องที่ว่ามีฝรั่งต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเยอะแยะไปหมด  ก็มีอยู่สองสามเรื่องที่พอจะเห็นภาพ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงคำต่างๆเรื่องหนึ่ง  เกี่ยวกับการสะกดคำอีกเรื่องหนึ่ง  ทั้งเหมือนและไม่เหมือนกับที่ปรากฎอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตสภาและในพจนานุกรมแปลคำศัพท์อังกฤษเป็นไทย  ซึ่งอาจจะทำให้คนไทยไกลปืนเที่ยงเป็นงงกันได้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 

ยกมาเป็นตัวอย่างเช่น วิตามิน / ไวตามิน    อิรัก / ไอรัค   เป็นต้น   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 18, 11:16
คำง่ายๆที่อเมริกันและอังกฤษออกเสียงต่างกัน  ก็คือ either neither   อเมริกันออกเสียง อี   อังกฤษออกเสียง ไอ
ค่ะ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 15 พ.ย. 18, 14:52
ผมเห็นมุขฝรั่งมุขหนึ่ง

ในสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารออสเตรเลีย เดินทางมาร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งในกองพลนั้น มีผู้บัญชาการเป็นคนอเมริกัน
ผู้บัญชาการก็ถามทหารนายหนึ่งว่า
ผบ. : ดู ยู คัม ทู ดาย (Do You come to Die?) เอ็งมาที่นี่เพื่อจะมาตายเรอะ
พลทหารออสเตรเลียตอบว่า
พลฯ : โน เซอร์ ไอ คัม เฮีย เยสเตอดาย (No Sir I come here yesterday) มิได้ครับท่าน ผมมาที่นี่ตั้งแต่เมื่อวานครับผม


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 18, 15:58
ค่ะ  สะดุดหูเมื่อได้ยินครั้งแรก
เสียง เอ ในภาษาอังกฤษ  ออสเตรเลียออกเป็น อาย   ถ้าไม่คุ้นจะงงมาก


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 พ.ย. 18, 18:45
ทำให้นึกถึงเรื่องหนึ่งที่ Australia ที่เกือบจะทำให้จะลงไปใต้กลับกลายเป็นจะไปทางเหนือ    ก็ครั้งหนึ่งไปเมือง Perth แล้วจะต่อไปเมืองหลวง Canberra   ฝรั่งอเมริกันสำเนียง Pittsburgh รัฐ Pennsylvania ติดต่อเรื่องตั๋วเครื่องบินจะไปยังเมืองหลวง Canberra เมื่อได้รับใบยืนยันการจองก็ทำให้งงกันไปเลย กลายเป็นว่าจะไปเมือง Cairns กัน    ก็งงอยู่นะครับว่า การออกเสียงชื่อเมือง Cairns กับ Canberra นั้น สำเนียงฝรั่งออสเตรเลียกับสำเนียงฝรั่งอเมริกันนั้น มันใกล้กันหรือห่างกันเช่นใด ??

 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 พ.ย. 18, 19:33
ตัว I ที่ออกเสียง อิ หรือ ไอ นี้ ทำให้เกิดการออกเสียงที่คำที่ไม่เหมือนกันมากมาย เช่น mobile (โมบิล กับ โมไบล์)  advertisement (แอดเวอทิสเม็นท์ กับ แอดเวอไท้ซเม็นท์)  Semi (เซมิ กับ เซไม)  anti (แอนตี้ กับ แอนไท) ....  ก็แน่นอนว่าจะต้องเลือกเอาว่าออก แบบใหน ซึ่งมันก็ไม่มีกติกาตายตัวว่าหากเป็นอเมริกันหรืออังกฤษแล้วจะต้องออกเสียงเป็น อิ หรือ ไอ ต่างก็มีข้อยกเว้นของมันอีกเช่นกัน

ก็ไม่มีความรู้ว่า การออกเสียงคำตามท่านรอยอินหรือตามพจจนานุกรมคำแปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นไทยฉบับใดๆ ได้ยึดการออกเสียงแบบอเมริกันหรือแบบอังกฤษ หรือแบบใหนๆ     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 พ.ย. 18, 09:39
ตัว I ที่ออกเสียง อิ หรือ ไอ นี้ ทำให้เกิดการออกเสียงที่คำที่ไม่เหมือนกันมากมาย

เคยเรียนกับ อาจารย์ชุมศักดิ์ (พล.ร.อ.ชุมศักดิ์ มัธยมจันทร์) (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/01/K5086321/K5086321.html)

ท่านสอนว่า ออกเสียง อาย ถูกที่สุด


 ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 18, 10:30
anti-war  อเมริกันออกเสียงว่า แอนทาย วอ    ส่วนอังกฤษออกเสียงว่า อันตี้ วอ 
แต่พอถึงคำว่า either  neither อเมริกันออกเสียง อี  ไม่ยักใช่ ไอ  อย่างอังกฤษ
อะไรถูก อะไรผิดกันแน่

a  ออกเสียง อา ในอังกฤษ เมื่อมาถึงอเมริกา กลายเป็น แอ
นอกจากนี้การออกเสียงคำระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตกของอเมริกาก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 พ.ย. 18, 19:04
...นอกจากนี้การออกเสียงคำระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตกของอเมริกาก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย

ใช่ครับ  ทั้งนี้ สำหรับในฝั่งตะวันออกนั้น ยังดูจะแตกต่างกันเป็นหย่อมๆตลอดแนวเหนือใต้ของเทือกเขา Appalachian อีกด้วย  ก็ต่างกันมากพอที่จะบอกได้ว่าอยู่ในพื้นที่ใด (ผมไม่สันทัดถึงขนาดนั้นดอกครับ ก็เดากันได้แบบสนุกๆไปเท่านั้นเอง)   นิวยอร์ค NY ดูจะเป็นเมืองเดียวที่เราจะได้ยินการออกเสียงคำภาษาอังกฤษในทุกรูปแบบ รวมทั้งสำเนียงและสำนวนต่างๆของคนต่างชาติต่างภาษาต่างวัฒนธรรมที่มาอยู่รวมกัน  ซึ่งทุกคนก็ดูจะฟังกันออก ยอมรับและมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 พ.ย. 18, 20:05
สำหรับเรื่องการออกเสียงตัว I นั้น  ผมมีข้อสังเกตว่า ในยุโรปมักจะออกเป็นเสียง อิ มากกว่าเสียง ไอ   และเกือบจะไม่มีเสียง ไอ เมื่อยิ่งเข้าไปในพื้นที่ทางตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ

สนทนากันมาเรื่องนี้ ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า ในพื้นที่ๆมีนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศใดมาก การออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่คนไทยจะซึมซับก็จะเป็นดังเช่นที่เขาออกเสียงกัน   อาทิ ชาวรัสเซียและยุโรปตะวันออกจะออกเสียง  ...ite เป็น ...อิท    ชาวจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น จะออกเสียงคำที่ลงท้ายด้วย น เป็น ง    คนฟิลิปปินส์ที่มาสอนภาษาอังกฤษเด็กห่างไกลออกเสียงตัว t เป็น ต  เป็นต้น     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 พ.ย. 18, 18:55
ก่อนที่จะเบื่อกับภาษาอังกฤษ ขอแถมอีกสองสามคำที่เรานำมาใช้กัน นอกจากคำว่า update ที่ถกกันในอีกกระทู้หนึ่งแล้ว ก็มีอาทิ
   recycle
   brand name ที่มักจะเหลือแค่คำว่า brand 
   cup ที่สะกดว่า คัพ
   motorcycle ที่เหลือแต่คำว่า motorcy...และยังสะกดว่า มอเตอร์ไซด์ อีกด้วย
   kilogram ก็เหลือแค่ kilo... และก็ไม่รู้ว่าจะต้องสะกดเช่นใดจึงจะถูกต้องตามที่ยอมรับกันในวงการวิชาการและราชการ kilogram หรือ kilogramme  คำว่า program และ programme ก็เช่นเดียวกัน หรือ tyre กับ tire  มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับว่าเราจะยอมรับการสะกดตามภาษาที่เป็นต้นตอของคำหรือไม่หรืออย่างใด หากจะยึดตามหลักคิดของท่านรอยอินที่ยึดภาษาต้นตอ ก็ต้องสะกดว่า kilogramme, programme (แบบฝรั่งเศส)     ส่วนคำว่า tyre ที่สะกดแบบนี้ ใช้กันในหมู่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างจะทั่วโลก สะกดว่า tire ใช้กันในอเมริกาและแคนาดาเป็นหลัก ดูไทยจะนิยมสะกดว่า tire แบบอเมริกัน
   shock absorber ที่กลายเป็น โชคอัพ
   promotion ที่เหลือแค่ pro...

       ฯลฯ   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ย. 18, 19:21
https://www.youtube.com/watch?v=vj7o0AAfM1U


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ย. 18, 19:28
https://www.youtube.com/watch?v=RJld_yfJ9qs


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 พ.ย. 18, 20:10
ในภาษาไทยเองก็มีการเปลี่ยนไปไม่น้อย  
   คำว่า วินาที ก็เหลือแค่ วิ    
   คำว่า กิโลกรัม ย่นลงมาเหลือเพียง กิโล แล้วก็ย่อต่อเหลือเพียง โล  บางทีก็เลยไม่รู้กันว่า โล นั้น คำเต็มในเรื่องของระยะ คือ กิโลเมตร ในเรื่องของน้ำหนัก คือ กิโลกรัม

ที่นึกออกในทันใดก็เท่านี้เอง ยังมีอีกหลายคำมากนักเลยทีเดียว    


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 18, 20:24
เคยได้ยินตลกเล่นมุขนี้บ่อย ๆ

ไปตลาดเเล้วสั่งถั่วฝักยาวสามกิโล เเม่ค้าบอกไม่มีหรอก ยาวขนาดนั้น ฟุตนึงยังพอหาให้ได้  ;D ;D


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 พ.ย. 18, 19:36
ก็มีบางเรื่องในภาษาสื่อการของเราที่ใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษปนเปกันไปแบบคนละเรื่องเดียวกัน  เช่น เราใช้คำว่าเลขไมล์ที่หมายถึงระยะทางสะสมที่รถได้วิ่งมา แต่ใช้ตัวเลขบอกระยะเป็นกิโลเมตร   เราใช้คำว่า แกลลอน (gallon) ที่หมายถึงบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุของเหลวในปริมาณมาก แต่เราใช้ปริมาณที่บรรจุอยู่ภายในเป็นมาตราเมตริก   เราใช้คำว่า หุน กับท่อต่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 หุน 4 หุน และ 6 หุน ใช้ นิ้ว กับท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถึง 1 ฟุต จากนั้นก็ใช้เป็นหน่วยเซ็นติเมตร   

เดี๋ยวนี้ดูจะมีการใช้คำว่า sale ในความหมายว่าของนี้ขาย  คำว่า soup ก็ดูจะมีการใช้ในความหมายของแกงแบบต่างๆ ...ฯลฯ 

ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันว่า แกงแบบต่างๆของเราที่ไม่ได้เข้าเครื่องจนมีหน้าตาออกมาคล้าย curry นั้น จะใช้คำรวมๆเรียกว่าอะไรดีจึงจะถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุด อาทิ แกงบวน ต้มเค็มหวานเห็ดเผาะ ต้มส้มปลากระบอกหรือปลาทู แกงแค แกงขนุน แกงอ่อมปลา ต้มถั่วลิสงต้มกระดูกหมูกับหัวไชเท้า ต้มเปอะ เอ๊าะหลาม ต้มปลาทูกับสายบัว ต้มมะระกับซี่โครงหมูหรือมะระยัดใส้ แกงร้อน ... ฯลฯ         


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 พ.ย. 18, 09:15
นาย ก. เป็นคนร่างท้วม น้ำหนักจะเฉียดร้อยกิโลกรัมอยู่รอมร่อ วันนึงนาย ก. ซื้อจักรยานมาเพื่อหวังจะขี่ออกกำลังกายโดยมีเพื่อนๆมองอย่างเชื่อครึ่งไม่เขื่อครึ่งว่า นาย ก. จะอดทนปั่นจักรยานลดน้ำหนักได้
"เออ เดี๋ยวข้าจะทำให้ดู วันละ 10 กิโล ทำไมมันจะทำไม่ได้" นาย ก. กล่าวอย่างมีอารมณ์ สวนทางกับเสียงหัวเราะของบรรดาเพื่อนๆ
วันรุ่งขึ้น นาย ก. ตื่นแต่เข้า ออกไปปั่นจักรยาน วันที่สอง นาย ก. ก็ยังคงปั่นจักรยาน ผ่านไป 5 วัน นาย.ก ก็ยังคงปั่นจักรยาน ทำเอาเพื่อนๆเริ่มไม่แน่ใจ หรือว่า นาย ก. จะเอาจริง ปั่นลดน้ำหนักได้ตามที่พูดไว้ วันหนึ่ง นาย ข. เลยตัดสินใจถามไปตรงๆว่า "เป็นไงเล่า ปั่นจักรยานลดไปได้กี่กิโลแล้ว"
"ห้ากิโลเว้ย"
"เห้ย ไรวะเพื่อน ปั่น 5 วัน ลดไปถึง 5 กิโลกรัมเชียวหรือ"
"เปล่า ลดไป 5 กิโลเมตร แบบว่า วันละ 10 กิโลมันเหนื่อย ข้าเลยลดลงมาเหลือแค่วันละ 5 โล"
โห่........ เสียงเพื่อนนาย ก. ร้องประสานเสียงกัน 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 พ.ย. 18, 17:44
คำว่า กิโล และ โล ยังใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ การซื้อ-ขายกันแบบถูกๆ เช่น "ไปหนังสือเก่ามา เจ้าของเขาเหมาขายเป็นกิโล"  "ซื้อยกโล"  "ขายยกโล"  "ของกิโล" เหล่านี้เป็นต้น


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 พ.ย. 18, 18:56
ศัพท์บัญญัติที่ผมชอบมากตระกูลหนึ่งคือบรรดาคำที่ขึ้นต้นด้วย โทร.... เช่น โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรทัศน์ โทรคมนาคม โทรพิมพ์ โทรจิต  เป็นศัพท์บัญญัติที่คู่กับบรรดากับคำภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วน Tele.....   ซึ่งเมื่อนานต่อมา คำเหล่านี้ก็แผลงไปส่วนหนึ่งหันกลับไปใช้ภาษาอังกฤษจนกลายเป็นคำหนึ่งในภาษาเขียน เช่น โทรศัพท์ ซึ่งก็หดสั้นลงเหลือเพียง โทร.   โทรเลขหายไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป   โทรสาร ก็หันไปนิยมใช้คำว่า แฟกส์   โทรทัศน์ ก็หันไปนิยมใช้คำว่า ทีวี   โทรพิมพ์ คำนี้หายไปตามยุคสมัย   โทรคมนาคม ก็ดูจะเริ่มหันไปใช้คำ เทเลคอม กันมากขึ้น

ก็มีอีกหลายคำที่ขึ้นต้นด้วย tele... ที่ไม่มีการบัญญัติคำศัพท์ จะมีเป็นแต่เพียงในรูปของความหมายแบบสั้นๆ อาทิ teleport  telemetry teleconference (ที่เรานิยมใช้คำว่า video conference) .....ฯลฯ  และก็มีหลายคำที่ไม่มีการใช้คำว่า โทร...นำหน้าแต่มีในภาษาอังกฤษ เช่น telescope กล้องส่องทางไกล   Telephoto ภาพที่ถ่ายจากระยะไกล

ในขณะเดียวกันก็มีคำที่ไม่มีคำว่า tele...นำหน้าเลย แต่เราก็เอาคำว่า โทร ไปวางไว้ เช่น โทรโข่ง (megaphone)       


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 20 พ.ย. 18, 09:20
ขออนุญาตย้อนกลับไป "โล" อีกรอบครับ
ในกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบการขับขี่มอเตอร์ไซด์ ยังมีคำว่า "ดันโล" ซึ่งความหมายก็ยังไม่ชัดเจนครับ แต่พอจับความได้ว่า คือการแข่งขันทดสอบกำลังของเครื่องยนต์ เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่สามารถทำได้ ในระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

ก่อนหน้านั้น ก็มีคำว่า "เบนโล" ซึ่งจริงๆเป็นยี่ห้อยาสตรี แต่ใช้ในความหมายว่า ตั้งครรภ์ ครับ 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 พ.ย. 18, 19:34
ก็มีอีก โล ที่ใช้ในความหมายว่า ต่ำ ตามคำภาษาอังกฤษ low เช่น แต่ง(ตัว)แบบโล   และก็มี โล ที่ใช้ในความหมายว่า ช้า ตามคำภาษาอังกฤษ slow  แต่ตัดเสียงออกไปเหลือเพียง โล เช่น รถคันนี้มีเกียร์(สะ)โลด้วย      ซึ่งตามที่เห็นสะกดเป็นภาษาไทยกัน  slow จะเขียนว่า สโลว์ แต่หากเป็น low ดูจะเขียนแบบไม่มีตัว ว + การันต์


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 พ.ย. 18, 21:42
รู้จักแต่ไฮโลครับ รู้จักเพราะเคยหมดตัวเพราะมันนี่เอง จากนั้นผมจึงไปสนใจป๊อกเด้งแทน อุ่ย!!


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 พ.ย. 18, 17:47
ในวงไฮโลก็มีศัพท์เฉพาะอยู่หลายคำ ที่รู้จักอยู่คำหนึ่ง คือ หกสี่เอี่ยว  ดูจะเป็นคำไทยปนจีน หก = 6 เป็นคำไทย  สี่ = 4 เป็นทั้งคำไทยและจีน เอี่ยว = 1 เป็นคำจีน  ส่วนคำว่า ไฮ = high กับ โล = low นั้นเป็นคำภาษาอังกฤษ  ผสมผสานกันหลายภาษา


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 พ.ย. 18, 18:42
คำว่า โล น่าจะเป็นคำไทยที่หายไป  แต่จะมีความหมายเป็นเช่นใดก็มิรู้ มิฉะนั้นแล้วเราก็คงจะไม่มีชื่อสถานที่ๆชื่อ ภูลมโล อยู่ในเขต จ.เลย

ชื่อสถานที่ต่างๆของเรานั้น มันจะบอกเรื่องราว ลักษณะทางภูมิประเทศ หรือบางอย่างที่สังเกตได้หรือเห็นได้ว่ามีความเด่นออกมาค่อนข้างจะจัดเจน เช่น ภูพาน ที่หมายถึงทิวเขาที่ตั้งขวางกั้นอยู่ (ซึ่งที่ถูกน่าจะต้องสะกดว่า ภูพาล)    พุ ที่หมายถึงจุดน้ำบริเวณที่มีน้ำผุดออกมา (ถูกเปลี่ยนเป็น ภู ดังที่เคยกล่าวถึงแล้ว)  ทุ่งก้างย่าง (สถานที่หนึ่งบนเส้นทางเดินทัพสมัยสงครามเก้าทัพ) ก็เปลี่ยนชื่อไปจาก ทุ่งย่างค่าง   หลังๆนี้เราก็มีชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วย โคก กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาค สื่อสารคล้ายกับว่ามีชาวอิสานอพยพมาอยู่ เอาเข้าจริงๆในหมู่บ้านนั้นกลับไม่คนอิสานเลย     


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 พ.ย. 18, 19:13
ใกล้ๆกับเสียงของคำว่า โล ก็มีอีกคำหนึ่งคือ โอ คำนี้มาจาก OK แต่ในการสนทนามักจะถูกตัดย่อเหลือแค่ O   

คำว่า OK จะเข้ามาอยู่ในภาษาพูดของเรานานเพียงใดก็มิรู้ได้  แต่หากจะให้เดา ก็คิดว่าเริ่มได้ยินแบบค่อนข้างจะจริงๆจังๆก็คงน่าจะแถวๆประมาณ พ.ศ.2500+/-   คำนี้ยังไม่ปรากฎอยู่ในภาษาเขียนที่เป็นทางการ มีแต่ปรากฎอยู่ในเฉพาะกระดาษหรือสมุดที่บันทึกผลการประชุมต่างๆก่อนที่จะนำมาทำเป็นเอกสารที่เป็นทางการ 

คำว่า OK นี้ ผมว่าใช้กันในความหมายของความพอใจที่ครอบคลุมในทุกเรื่องทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 พ.ย. 18, 10:50
พี่ Superboy นำเสนอ ศัพท์ที่มีพื้นฐานจากการเดินเรือบ้างมั๊ยครับ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ธ.ค. 18, 19:12
ภาษาไทยที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันนั้น หากจะลองพิจารณาลงไปถึงคำที่ใช้ประกอบกันเป็นประโยคต่างๆทั้งในการพูดและการเขียนตามปกติ ก็พอจะเห็นว่ามันมีคำในภาษาต่างด้าวปนอยู่ในประโยคเหล่านั้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว      แต่ก่อนนั้นก็ดูจะมีมากเฉพาะที่เป็นคำนามที่นำมาสะกดเป็นภาษาไทยตามที่เห็นว่าถูกต้องไปตามการสะกดและเสียงที่พูดเปล่งออกมา (เช่น gauge ที่มีทั้งเขียนว่า เกย์ เกจ และเกจ์) จนกระกระทั่งมีบัญญัติออกมาว่าจะต้องเขียนเช่นใดจึงจะถูกต้อง      ในปัจจุบันนี้ได้มีคำที่เป็นคำกริยามาปนอยู่ในแต่ะประโยคมากขึ้น (เช่น จะนั่งรถแท็กซี่ไปช้อปปิ้งที่สยามสแควร์ _ จะนั่งรถ taxi ไป shopping ที่สยาม square   หรือ เช็ดบิล, ไปพักที่รีสอร์ท, ใช้ถนนไฮเวย์สาย...., ไปกินบุฟเฟต์ติ่มซำ ซูชิ ซาชิมิ ก๋วยเตี๋ยว โรสพอร์ค ...)      บางทีก็เกือบจะไม่มีคำไทยปนอยู่เลย เช่น  add friend แล้วค่อย chat กันทาง Line


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ธ.ค. 18, 19:26
ยิ่งเมื่อเราเริ่มมีการสอนที่เรียกว่าหลักสูตรนานาชาติ  ซึ่งก็คงจะต้องมีการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งก็จะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นปนอยู่ด้วย     ทำให้ผมคิดเลยเถิดไปว่า ภาษาจีนที่เราคุ้นเคยกันแต่อดีตก็คงจะต้องเปลี่ยนไปบ้าง และก็คงจะต้องมีคำใหม่ๆของภาษาอื่นๆเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยของเราเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ธ.ค. 18, 19:35
นอกจากนั้นก็ยังมีการเลือกใช้ศัพท์อีกด้วย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษดังที่เคยเกิดขึ้นมา เช่น
   เลือกใช้คำว่า truck แบบอเมริกัน ไม่ใช้ lorry แบบอังกฤษ(และยุโรปโดยรวม)
   เลือกใช้คำว่า life แบบอังกฤษ ไม่นิยมใช้ elevator แบบอเมริกัน
   เลือกใช้คำว่าเสื้อ sweater แบบอเมริกัน ไม่ใช้ jumper แบบอังกฤษ

และก็มีการใช้คำทั้งแบบอเมริกันและแบบอังกฤษในลักษณะของความหมายแบบรวมๆ แต่มีความต่างกันในเนื้อหาตามคำศัพท์ที่ใช้กันในภาษานั้นๆ เช่น  flat, apartment, condominium

ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะกล่าวถึงภาษาใดๆที่กำลังเข้ามามีการใช้ปนอยู่ในภาษาไทยมากขึ้น เท่าที่พอจะนึกออกก็ดูจะมีอยู่ในพวกเมนูอาหารต่างๆ       


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ธ.ค. 18, 18:27
เมื่อมองภาพไปในอนาคตของภาษาไทยในที่มีการนำคำในภาษาอื่นๆเข้ามาใช้ปนอยู่ด้วยมากขึ้น (โดยเฉพาะที่เป็นคำทางเทคนิค)  ก็น่าจะยังผลให้ภาษาไทยแบบที่จะใช้กันอย่างเป็นทางการ(โดยเฉพาะภาษาราชการ)นั้น  อาจจะอ่านและเข้าใจได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม เพราะจะต้องมีการถอดคำที่พูดทับศัพท์หลายๆคำให้มีความเป็นภาษาไทยแบบทางการ ซึ่งก็คงจะทำให้แต่ละประโยคมีความยาวและอาจจะเยิ่นเย้อมากขึ้น เพราะว่าหากจะใช้ศัพท์บัญญัติก็ยากที่จะสื่อเรื่องราวและความหมาย ต่างก็เลยนิยมที่จะใช้วลีหรือประโยคในลักษณะที่เป็นคำอธิบายเสียมากกว่า   


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 18, 19:50
ยุคนี้ เทคโนโลยีนำศัพท์ใหม่ๆเข้ามาในไทยเยอะแยะ     เรียกทับศัพท์ง่ายกว่าพยายามแปล  ไม่ว่าจะเป็น  Line, Facebook , Twitter, messenger
คำหลังสุดนี้  ถ้าหมายถึงพนักงานส่งของโดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ    เรียกเมสเซนเจอร์จะคล่องปากกว่าเรียก "พนักงานส่งพัสดุและเอกสารตลอดจนของกินของใช้"   โลจิสติคส์ ก็เป็นคำที่คุ้นมากกว่า "ขนส่งลำเลียง"


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ธ.ค. 18, 19:29
อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคำที่น่าสนใจอยู่ 2 คำ คือ logistics และ messenger

logistics เขียนเป็นภาษาไทยตามการออกเสียงว่า โลจิสติคส์ ดังที่ใช้กันทั่วไปในการสื่อสารต่างๆโดยทั่วไป แต่เท่าที่ผมเคยได้ยินฝรั่งพูด ส่วนมากจะออกเสียงคำนี้ไปทาง ลอจิสติคส์   

กับคำว่า messenger ที่อาจารย์สะกดว่า เมสเซนเจอร์ ผมว่าสะกดถูกต้องมากกว่าที่จะสะกดว่า แมสเซนเจอร์ ดังที่นิยมเขียนกันโดยทั่วไป 


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 14 ธ.ค. 18, 10:23
Logistics ปัจจุบันในทางทหาร ใช้คำว่า การส่งกำลังบำรุง ครับ
เช่น
http://dlogs.rta.mi.th/
http://www.logistics.police.go.th/

โบราณกว่านั้น น่าจะเรียกว่า "เกียกกาย" กระมังครับ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 18, 13:37
เกียกกาย เป็นอีกคำที่หายไปจากความเข้าใจของคนไทยทั่วไปแล้วค่ะ
เหลือแต่สี่แยกไว้เป็นอนุสรณ์
เดี๋ยวนี้โลจิสติคส์ เป็นคำฮิท   เห็นเขียนอยู่ตามข้างรถขนสินค้าด้วยค่ะ


กระทู้: ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ธ.ค. 18, 19:36
ทำให้พานไปคิดว่า การเรียนรู้และความเข้าใจภาษาไทยนี้มีความยากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว   เรามีคำราชาศัพท์และวิธีการใช้ที่มีแบบแผน  เรามีคำและศัพท์ที่สามารถจะเลือกนำมาใช้แต่งประโยคในภาษาพูดและภาษาเขียนที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างหลากหลาย ไม่เพียงแต่คำสรรพนามแทนตัวเอง คู่สนทนา บุคคลที่สาม หรือสิ่งของ ซึ่งก็บอกอะไรๆได้มากแล้ว ก็ยังสามารถเลือกใช้คำและศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดถึงได้อีกด้วย