เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: Hotacunus ที่ 14 ธ.ค. 05, 02:04



กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 14 ธ.ค. 05, 02:04
 คำนี้ได้ยินบ่อยครับ แต่พอเขียนก็รู้สึก เออ เราเขียนผิดแน่ๆ ก็เลยต้องไปพึ่ง พจนานุกรมออนไลน์ของราชบัณฑิตยสถาน ปรากฎว่า ผมเขียนผิดจริงๆ แต่ที่ผมพึ่งรู้ก็คือ คำนี้เขียนได้ ๓ แบบ แหนะครับ

คำถูก และคะแนนจาก google (อีกแล้ว อิอิ)
๑. เดรัจฉาน  ได้ 624 รายการ
๒. เดียรัจฉาน ได้ 248 รายการ
๓. ดิรัจฉาน  ได้ 188 รายการ

คำผิด
๑. เดรฉาน ได้ 130 รายการ
๒. เดียรฉาน ได้ 53 รายการ

จะเห็นได้ว่า คำนี้ก็มีเขียนผิดกันพอสมควร

คำเหล่านี้มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีครับ มาจากคำว่า

"ติรจฺฉาน" (ติ - รัจ - ฉา - นะ)

ดังนั้น คำที่ตรงกับศัพท์เดิมมากที่สุดคือ "ดิรัจฉาน" ครับ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนใช้กัน ส่วนใหญ่จะใช้ "เดรัจฉาน" กับ "เดียรัจฉาน" กันเป็นส่วนใหญ่  



กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 14 ธ.ค. 05, 02:05
 นอนดึกจัง


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 14 ธ.ค. 05, 02:36
 อิอิ ...    


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: ทิวฟ้า ทัดตะวัน ที่ 14 ธ.ค. 05, 11:29
 ค้น :  เดรัจฉาน
คำ :  เดรัจฉาน
เสียง :  เด-รัด-ฉาน
คำตั้ง :  เดรัจฉาน
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  
ที่มา :  
นิยาม :  สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่น หมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี.
ภาพ :  
อ้างอิง :  
ปรับปรุง :  98/4/2


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 05, 11:49
 ใช้ เดรัจฉาน ค่ะ
แต่เวลาอ่านออกเสียงเร็วๆ จะเป็น เดรฉาน


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 14 ธ.ค. 05, 21:03
 ส่วนตัวแล้ว ผมมักจะใช้ว่า "ดิรัจฉาน" มากกว่าครับ


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: เนยสด ที่ 14 ธ.ค. 05, 21:16
 ขยันดีจังเลยนะครับ คุณ Hotacunus
ขอบคุณครับ


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 15 ธ.ค. 05, 02:16
 ขอบคุณครับ คุณเนยสด เห็นว่าเป็นคำที่น่าสนใจครับเพราะเขียนได้ ๓ แบบ (ถึงแม้มักจะใช้พูดด่ากัน อิิอิ แต่ถ้าคิดในแง่ดี คำนี้ก็คำพระนะครับ เพราะใช้เทศน์เกี่ยวกับเดรัจฉานภูมิ)

ผมเองก็ยังไม่ได้บอกเลยครับว่าผมใช้คำไหน อิอิ ยอมรับเลยครับว่า ไม่ค่อยได้เขียนคำนี้ จนบางครั้งเขียนตามเสียงที่ได้ยินว่า "เดรฉาน" อย่างที่คุณเทาชมพู แนะนำว่า คำว่า "เดรัจฉาน" ถ้าพูดเร็วๆ จะฟังเป็น "เดรฉาน" ผมก็เป็นคนหนึ่งหลงกลมาแล้ว อิอิ

แต่ตอนนี้ทราบแล้ว ก็คงใช้ตามเสียงที่เคยได้ยินบ่อยๆ คือ "เดรัจฉาน" ครับ

ถ้าเขียนเป็น "ดิรัจฉาน" อย่างที่คุณศศิศ ใช้ก็เป็นการรักษารูปศัพท์บาลีได้ดีครับ



กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 15 ธ.ค. 05, 10:30
 เอ ช่วงนี้รู้สึกห้องเรือนไทยจะมีกระทู้้ประเภท ภาษาไทยวันละ(หลายๆ)คำนะครับ    
ดีครับ ชอบๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ค่อยได้ใส่ใจกันมากนัก
บางทีเราก็เผอเรอซะจนอาจทำให้ภาษาเพี้ยนไป

ว่าแล้วก็นำเสนอซะเลย
เผอเรอ VS เผลอเรอ
ใช้กูเกิ้ลค้นแล้วพบว่า
เผอเรอ 218 รายการ (ถูก)
เผลอเรอ 120 รายการ (ผิด)

ใช้กันผิดครึ่งต่อครึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะความหมายที่ใช้ใกล้เคียงกัน
จนทำให้คนคิดว่าเผอเรอ น่าจะเขียนเหมือนคำว่า เผลอ
เมื่อเทียบกับคำว่า เผลอไผล คนจะเขียนผิดน้อยกว่า


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 16 ธ.ค. 05, 17:33
 ถ้าต้องใช้ก็คงเป็นข้อ ๑ - เดรัจฉาน แหละครับ

แต่ไม่นิยมใช้คำนี้หรอกครับ


กระทู้: เลือกใช้คำไหนกันครับ - เดรัจฉาน - ดิรัจฉาน - เดียรัจฉาน - เดรฉาน - เดียรฉาน ?
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 17 ธ.ค. 05, 06:05
 ตอบคุณ pharmaceutical scientist ครับ

จริงๆ ก็น่าคิดนะครับ ๒ คำนี้ เพราะจริงๆ ผมก็ชินกับการเขียนว่า "เผลอเรอ" เหมือนกัน อิอิ ก็ขอบคุณมากครับ ที่นำมา

ก็ไปตรวจกับพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานแล้วครับ ได้ผลดังนี้



คำ :  เผอเรอ
เสียง :  เผอ-เรอ
คำตั้ง :  เผอเรอ
ชนิด :  ว.  
นิยาม :  ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทํา.

เผอ : ไม่พบคำ "เผอ" ในฐานข้อมูล
เรอ : อาการอย่างหนึ่งที่ลมในกระเพาะเฟ้อพุ่งออกทางปาก

-------------------------------------

คำ :  เผลอ
เสียง :  เผฺลอ
คำตั้ง :  เผลอ
ชนิด :  ก.
นิยาม :  หลงลืมไปชั่วขณะ.

---------------------------------------

คำ :  เผลอไผล
เสียง :  เผฺลอ-ไผฺล
คำตั้ง :  เผลอ
ชนิด :  ก.
นิยาม :  หลงๆ ลืมๆ.

----------------------------------

ไม่พบคำ "ไผล" ในฐานข้อมูล


-----------------------------------

โดยส่วนตัวนะครับ ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่า จริงๆ แล้ว "เผลอเรอ" น่าจะมีนัยทางความหมายว่า "ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทํา" มากกว่าคำว่า "เผอเรอ" ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่าเป็นคำถูกต้อง

เพราะำคำว่า "เผอ" ไม่มีความหมายครับ แต่คำว่า "เผลอ" มีความหมาย

"เผลอเรอ" ที่หมายถึง ไม่ได้ใส่ใจในสิ่งที่ต้องทำ ก็น่าจะมาจาก "มารยาทบนโต๊ะอาหาร" นั่นคือ เวลากินข้าวกับคนอื่นนั้น อย่า "เผลอ"  "เรอ" ออกมา เพราะไม่สุภาพ นั่นคือ เวลากินอาหารจะต้องระมัดระวังเอาใจใส่กับมารยาท อย่า "เผลอเรอ" ออกมา (ได้ยินมาว่า ถ้าไปกินข้าวบ้านคนอินเดีย ถ้าไม่เรอ จะไม่สุภาพ เพราะแสดงว่าอาหารไม่อร่อย ดังนั้น ไปกินข้าวบ้านคนอินเดีย ต้องเรอเยอะ ๆ อิอิ ไม่รู้จริงหรือเปล่า)

แต่ "เผอเรอ" มองหาที่มาของคำไม่ออกเลยครับ    

แต่ก็ต้องเขียนตามที่ราชการกำหนดครับ

อย่างมุขตลก มาเปลี่ยนเป็น มุก ตลก ซึ่งผมได้เคยอ่านคำอธิบายถึงการแก้ไขเหมือนกัน แต่ไม่เห็นด้วย อิอิ ผมมองว่า มุขตลกนี้ "มุข" ย่อมาจาก "มุขปาฐะ" ไม่ใช่แปลทื่อๆ ว่า "หน้า" อย่างที่ราชบัณฑิตฯ อธิบายไว้ แล้วก็นำมาเป็นข้ออ้างนี้ เปลี่ยนจาก มุขตลก เป็น มุกตลก แต่ก็ต้องจำใจเขียนตามครับ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ยินมาว่า "พจนานุกรม ฉบับมติชน ใช้ว่า "มุขตลก" อันนี้เห็นแล้วชื่นใจ ต่อมาปัญหาจะมาอยู่ที่ว่า ใช้เล่มไหนถึงจะถูก ???

ข้อเขียนนี้ ผมไปเจอในเว๊บมาครับ

ด้าน ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ นักเขียนคอลัมน์ พิธีกรรายการชิมอาหารชื่อดัง กล่าวว่า สิ่งที่สะดุดใจสำหรับพจนานุกรมมติชน ที่แตกต่างจากราชบัณฑิตยสถาน คือคำว่า "มุขตลก" ใช้ ข ไข่ สะกด แต่ราชบัณฑิตใช้ ก.ไก่ สะกด ที่แปลว่า หอยมุก แต่ "มุข" นี้น่าจะใช้ "ข" ซึ่งมาจาก "มุขปาฐะ"ซึ่งแปลว่าคำกล่าว ราชบัณฑิตน่าจะเปลี่ยนตามด้วยซ้ำ

"ผมเห็นว่าคำแสลงในแต่ละยุคแต่สมัยที่เกิดขึ้น น่าจะนำเข้ามารวมไว้ในเล่มนี้ด้วย คิดว่าสามารถใส่เข้าไปได้ ไม่มีปัญหา อย่างเมื่อก่อนยังมีคำว่า เต้ย แปลว่าเยี่ยม เป็นต้น" ม.ร.ว.ถนัดศรีกล่าว


ที่มา : http://www.matichon.co.th/advertise/book/dictionary/newsdic7.php

อีกเรื่องที่ราชการกำหนดแล้วไม่ค่อยชอบคือ วิธีการเขียนหมายเลขโทรศัพท์ครับ ซึ่งผมก็ยังคงเขียนแบ่งตัวเลขแบบเดิมครับ ไม่เคยทำตามราชการบอกแต่อย่างใด