เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NT ที่ 23 พ.ย. 15, 22:34



กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 23 พ.ย. 15, 22:34
ขออนุญาตเรียนถามในเชิงประวัติศาสตร์ครับ ขณะนี้มีละครโทรทัศน์แบบพีเรียดเรื่องหนึ่ง ท้องเรื่องคือตัวเอกเป็นหม่อมราชวงศ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในวังของตระกูลตนเอง แต่วังดังกล่าวกลับเป็นกรรมสิทธิ์ของป้าซึ่งมียศพระองค์เจ้า เช่นเดียวกับแฟนเก่าของตัวเอก ซึ่งเป็นหม่อมราชวงศ์เช่นกันและวังที่อาศัยอยู่ก็เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์เจ้าองค์ดังกล่าวเช่นกัน

ดูแล้วงงครับ พระองค์เจ้าหญิงในประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่หากไม่ประทับในพระบรมมหาราชวัง ก็ในตำหนักที่ได้รับพระราชทานมา ขณะที่ฝั่งชาย (พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า) มักมีวังของตนเอง แต่ในละครโทรทัศน์กลับฉายภาพว่า สองวังที่หม่อมราชวงศ์อาศัยอยู่กลับเป็นของพระองค์เจ้าหญิงองค์หนึ่ง

อันที่จริงนิยายไม่จำเป็นต้องตรงหลักการในประวัติศาสตร์ แต่ดูแล้วแปลกครับ คำถามที่ขอเรียนถามคือ ในประวัติศาสตร์ไทยนั้น มีเจ้านายชายที่ไม่มีวังของตนเอง และอาศัยวังของเจ้านายฝ่ายใน หรือไม่ครับ


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 08:54
ดูบ้างไม่ดูบ้าง เลยยังปะติดปะต่อไม่ได้   จำได้ว่าพระเอกเป็นม.ร.ว.  แสดงว่าพ่อเป็นหม่อมเจ้า  แต่มีพระองค์เจ้าหญิงเป็นเสด็จป้า แทนที่จะเป็นเสด็จย่า (น้องของเสด็จปู่)
มีคำอธิบายเห็นแวบๆในเว็บอื่นว่า พระองค์เจ้าหญิงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่านพ่อ  ไม่ใช่พี่สาวแท้ๆ  แต่นับญาติกันอย่างไรไม่ทราบ อาจจะเป็นได้ว่าพระบิดาของเสด็จป้าเป็นเจ้าฟ้า ร่วมรัชกาลเดียวกับเสด็จพ่อของหม่อมเจ้าพ่อพระเอก  ซึ่งเป็นพระองค์เจ้า   
ยิ่งคิดยิ่งเวียนหัวเลยไม่คิดดีกว่า

ส่วนเรื่องวัง  ทำไมหม่อมเจ้าพ่อพระเอกถึงไม่ได้รับประทานวังจากเสด็จพ่อของตัวเอง ซึ่งเป็นชั้นพระองค์เจ้าก็น่าจะมีวังพระราชทาน  ก็หายังคำตอบไม่ได้

ต้องฝากคำถามไปยังผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณ V_Mee  ซึ่งอาจจะแจกแจงวังสมัยรัชกาลที่ 6 ออกมาได้หมด   ท่านต่อไปคือเชื้อสายวังหน้า มาป้วนเปี้ยนอยู่ในเรือนไทย 6 ปีแล้ว คงจะตอบเรื่องวังได้เช่นกัน
เรื่องนี้ก็คงไม่เกินความสามารถของคุณ Siamese  และท้ายสุดคือคุณหมอเพ็ญชมพูที่ค้นคำตอบได้ทุกเรื่อง


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 09:14
คุณ NT กำลังดูละครเรื่องสะใภ้จ้าวอยู่เป็นแน่แท้

คุณ arawadee แห่ง พันทิป (http://pantip.com/topic/34302171#18) ได้ทำแผนผังความเป็นไปได้ของการสืบเชื้อสายดังนี้

     พระชายาเอก >>>>>>>>>+<<<<<<<<<<  สมเด็จเจ้าฟ้า >>>>>>>>>>>>>>>+<<<<<< หม่อม
    (มีพระยศพระองค์เจ้า)           v                                                           v           (สามัญชน)
                                      v                                                            v
         <<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>                                      v
         v                                             v                                          v
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า                พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง        หม่อมเจ้าชาย >>+<<< หม่อมอำพัน
(เสด็จพระองค์ชาย คู่หมั้นป้าสอางค์)                   (เสด็จป้าในเรื่อง)                                  v
                                                                                            หม่อมราชวงศ์ (คุณชายทั้งสาม)

เสด็จพระองค์ชายสิ้นชีพิตักษัยแล้ว ดังนั้นวังวุฒิเวสม์จงตกแก่เสด็จป้าซึ่งเป็นพระธิดาของพระชายาเอกนั่นแล  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 09:19
งั้นเสด็จป้าในเรื่องก็ไม่ใช่ลูกพี่ลูกน้องของท่านพ่อของพระเอก  แต่เป็นพี่สาวต่างแม่ของพ่อพระเอกน่ะซีคะ


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 15, 10:10
พระองค์เจ้าวังหน้านั้น มิค่อยจะได้รับพระราชทานทรัพย์สินมากเท่าเจ้านายฝ่ายวังหลวง แต่ทุกพระองค์ก็จะได้รับพระราชทานวังให้อยู่ ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ทายาทจะขายวังของเสด็จพ่อให้กับพระคลังข้างที่ เพื่อเอาเงินมาแบ่งกันในบรรดาลูกๆชั้นหม่อมเจ้า ซึ่งจะแยกย้ายกระจัดกระจายไปทาช่องทางทำมาหากินกันเอง องค์ไหนที่รับราชการก็คงจะดีหน่อยที่มีบ้านหลวงให้อยู่ แต่หลังเกษียณแล้วก็ต้องหาบ้านของตนเองอยู่ต่อไป ส่วนมากก็เป็นบ้านเช่า

บ้านของหม่อมเจ้าความจริงท่านก็ให้เรียกว่าวัง แต่วังบางแห่งถึงเรียกไปก็ไปทำภาพพจน์คนอื่นเขาเสียหายหมด โดยเฉพาะของพวกนักประพันธ์และพวกที่ชอบอ่านนวนิยายพวกเจ้าๆนายๆที่วาดฝันวังไว้ซะหรูเริ่ด

หลานระดับหม่อมราชวงศ์ ซึ่งแต่ละราชสกุลก็จะมีเยอะมากพอสมควร แต่หม่อมราชวงศ์สายวังหน้าส่วนใหญ่จะถูกท่านพ่อนำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในวังของเจ้านายฝ่ายวังหลวง ก่อนจะเข้ารับราชการหาเลี้ยงชีพตนเองต่อ ส่วนน้อยนักที่หม่อมราชวงศ์สายวังหลวงจะถูกนำไปถวายตัวยังวังอื่น ซึ่งผมก็ยังนึกไม่ออกว่ามีท่านผู้ใดบ้าง

หม่อมราชวงศ์แบบที่เดินคาบไป้ป ใส่เสื้อนอกสวมรองเท้าหนังอยู่กับบ้าน ในชีวิตจริงผมไม่เคยเห็น และไม่เคยคิดว่าจะมีใครเป็นเอามากถึงขนาดนั้น


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 24 พ.ย. 15, 13:54
คุณ NT กำลังดูละครเรื่องสะใภ้จ้าวอยู่เป็นแน่แท้

คุณ arawadee แห่ง พันทิป (http://pantip.com/topic/34302171#18) ได้ทำแผนผังความเป็นไปได้ของการสืบเชื้อสายดังนี้

     พระชายาเอก >>>>>>>>>+<<<<<<<<<<  สมเด็จเจ้าฟ้า >>>>>>>>>>>>>>>+<<<<<< หม่อม
    (มีพระยศพระองค์เจ้า)           v                                                           v           (สามัญชน)
                                      v                                                            v
         <<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>                                      v
         v                                             v                                          v
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า                พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง        หม่อมเจ้าชาย >>+<<< หม่อมอำพัน
(เสด็จพระองค์ชาย คู่หมั้นป้าสอางค์)                   (เสด็จป้าในเรื่อง)                                  v
                                                                                            หม่อมราชวงศ์ (คุณชายทั้งสาม)

เสด็จพระองค์ชายสิ้นชีพิตักษัยแล้ว ดังนั้นวังวุฒิเวสม์จงตกแก่เสด็จป้าซึ่งเป็นพระธิดาของพระชายาเอกนั่นแล  ;D


ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูครับ (และท่านอาจารย์ใหญ่และท่านอาจารย์ใหญ่กว่าด้วยครับ) หากแผนภูมิเป็นดังข้างต้นแล้ว ผมไล่ดูรายพระนามสมเด็จเจ้าฟ้าฯ พระราชโอรสรัชกาลที่ 5 น่าจะมีเพียง 2 พระองค์ที่มีพระชายาเอกเป็นหม่อมเจ้า และหม่อมเป็นสามัญชน  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 14:00
ขออนุญาตแก้ไขตรงนี้หน่อย

เสด็จพระองค์ชายสิ้นชีพิตักษัยแล้ว ดังนั้นวังวุฒิเวสม์จงตกแก่เสด็จป้าซึ่งเป็นพระธิดาของพระชายาเอกนั่นแล   ;D

สิ้นชีพิตักษัย แก้เป็น สิ้นพระชนม์  และ จง แก้เป็น จึง

เชิญคุณ NT เล่าเรื่องที่ค้นพบต่อ  ;D



กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 15:02
หม่อมราชวงศ์แบบที่เดินคาบไป้ป ใส่เสื้อนอกสวมรองเท้าหนังอยู่กับบ้าน ในชีวิตจริงผมไม่เคยเห็น และไม่เคยคิดว่าจะมีใครเป็นเอามากถึงขนาดนั้น

แสดงว่าคุณนวรัตนยังไม่มีโอกาสพบท่านชายพจนปรีชา แต่งองค์แบบนี้เวลาอยู่บ้าน...เอ๊ย..วัง


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 15, 15:16
เคยเห็นท่านแบบแวบๆน่ะครับ คนที่บ้านเขาดูกันก็ต้องผ่านตาผมบ้าง

สมัยเด็กๆเคยดูหนังเรื่องบ้านทรายทอง เห็นชายกลางในเรื่องแล้วก็นึกถึงหม่อมราชวงศ์หลายคนที่เรียนด้วยกัน อะไรมันต้องผิดสักอย่าง จะว่าเพื่อนผมเป็นพวกลูกเมียน้อย หมั๊นก็คงจะไม่ใช่ พวกนี้ถ้าเอ่ยชื่อออกมาแล้ว วงสังคมไฮโซก็คงรู้จักดีกันหลายคน

ยิ่งชายกลางในสายสาแหรกของผมแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 15:32
โปสเตอร์ละครเวทีบ้านทรายทอง พระเอกนางเอกคือสวลี ผกาพันธุ์ และฉลอง สิมะเสถียร


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 24 พ.ย. 15, 16:43
ปกติผมเป็นคนไม่ดูละครทีวีอยู่แล้ว  แต่คนที่บ้านเขาดูกัน  บางทีก็เลยดูแบบผ่านไปบ้างเหมือนท่านนวรัตน
แต่ดูจากลำดับญาติวงศ์ที่ คุณเพ็ญชมพูนำมาแสดงแล้วก็ออกจะงงๆ เหมือนกันครับ
เพราะ "เสด็จ" ใช้กับพระองค์เจ้าลูกเธอในพระมหากษัตริย์เท่านั้น  ส่วนพระองค์เจ้าที่เป็นพระโอรสพระธิดาสมเด็จเจ้าฟ้านั้นจะออกพระนามอย่างลำลองว่า พระองค์ชาย  พระองค์หญิง  หรือพระองค์จุลฯ เป็นต้น

ส่วนที่ว่าพระเอกเป็นหม่อมราชวงศ์นั้นปกติพ่อก็จะต้องเป็นหม่อมเจ้า  แต่ก็มีบ้างที่ท่านพ่อได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้า เช่น กรมหมื่นนร่าธิปพงศ์ประพัันธ์ ซึ่งแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า  แล้วได้รับสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า   แล้วเลื่อนเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ  ก็ออกพระนามกันอย่างลำลองว่า พระองค์วรรณ  แต่ธิดาในพระองค์ก็ยังเป็นหม่อมราชวงศ์

ฉะนั้นจึงพอจะอธิบายได้แบบเดาเอา  เพราะสับสนกับการลำดับญาติในละครว่า การที่พระเอกในเรื่องจะได้รับมรดกเป็นวังของเสด็จก็อาจจะเป็นได้  หากท่านพ่อของพระเอกนำพระเอกถวายตัวไว้กับเสด็จป้า  ซึ่งไม่ทราบนับญาติกันอย่างไร  ตัวอย่างในเรื่องนี้มีให้เห็น เช่น วังริมคลองสามเสนที่พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์แก่พระองค์เจ้าหญิงพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเมื่อเจ้านายผู้ทรงเป็นเจ้าของวังสิ้นพระชนม์ไปแล้ว  วังนั้นก็มักจะเป็นมรดกแก่ทายาททางฝ่ายเจ้าจอมมารดา  หรือบางพระองค์ก็ถวายคืนหลวงกลับไปก็มี

โดยส่วนตัวผมๆ มีเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นเป็น หม่อมราชวงศ์ ๒ คน  หม่อมหลวง ๒ คน  ก็ไม่เห็นทั้ง ๔ คนนั้นใช้ชีวิตหรือแต่งกายแปลกประหลาดพิสดารไปกว่าเพื่อนคนอื่นๆ  แม้กระทั่งท่านพ่อของเพื่อนคนหนึ่งก็ทรงเมตตาผมเกมือนเป็นโอรสของท่าน  เวลาไปที่บ้านท่านรับสั่งอย่างนั้นก็เห็นทรงแต่งองค์ธรรมดาเหมือนชาวบ้านร้านถิ่น  ถ้าไม่บอกว่าทรงเป็นหม่อมเจ้าก็จะดูว่าท่านเป็นผู้สูงอายุคนหนึ่งเท่านั้น  เวลารับสั่งด้วยก็ไม่มีพิธีรีตองอะไรเลย  ผู้ใหญ่บางคนที่ไม่มียศบรรดาศักดิ์ยังจะมากเรื่องกว่าท่านพ่อเยอะไป


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 18:34
เชิญอ่าน
ขอบคุณค่ะคุณ V_Mee
เชิญอ่าน
http://pantip.com/topic/34394984 (http://pantip.com/topic/34394984)
"เจ้าในละคร สะใภ้จ้าว"



กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 24 พ.ย. 15, 19:14
เชิญอ่าน
ขอบคุณค่ะคุณ V_Mee
เชิญอ่าน
http://pantip.com/topic/34394984 (http://pantip.com/topic/34394984)
"เจ้าในละคร สะใภ้จ้าว"



ขอบคุณครับอาจารย์

ทีนี้ล่ะยิ่งงงใหญ่ครับ หากอิงข้อมูลของอาจารย์วีมี ว่าเสด็จต้องเป็นพระเจ้าลูกเธอของพระเจ้าแผ่นดิน แผนผังในเว็บข้างต้น และแผนผังที่อาจารย์เพ็ญนำมาให้ดู (จากที่อื่นอีกที ไม่ใช่ว่าอาจารย์เพ็ญคิดเช่นนั้น) ก็ไม่ใช่เสียแล้ว

หากเสด็จในละครเป็นพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดิน (เพื่อที่จะถูก entitled ว่าเสด็จ) น้องชายของท่านจะเป็นหม่อมเจ้าไม่ได้ครับ เพราะพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินกับเจ้าจอมมารดา เป็นพระองค์เจ้าชั้นหนึ่ง

สงสัยเสด็จป้าในละคร คงเป็นพี่สาวของแม่?


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 19:24
มีคำตอบง่ายๆ ที่อาจเป็นไปได้ ว่า  มันผิด เท่านั้นละค่ะ

เคยอ่านนิยายแต่นานมากจนจำไม่ได้แล้ว  เลยไม่รู้ว่าเสด็จป้าในเรื่องเป็นใครกันแน่   แต่คุณสุภาว์ เทวกุล ณ อยุธยานั้น สามีเธอเป็นหม่อมราชวงศ์   เธอคงไม่ผิดพลาดเรื่องการลำดับพระยศ   แต่จะมาผิดตรงจุดไหนก็ไม่แน่ใจค่ะ

เอาเป็นว่า ถ้าเปลี่ยนจากเสด็จป้าเป็นท่านป้า  ก็จบ หมดปัญหาไป
ท่านป้าในเรื่องก็คือหม่อมเจ้าหญิงที่เป็นพี่สาวของหม่อมเจ้าชายพ่อของพระเอก    เราอาจสมมุติได้ว่า  วังนั้นวังนี้ที่เป็นของท่านป้าก็เพราะพระบิดาที่เป็นพระองค์เจ้า ทรงทำพินัยกรรมประทานวังของท่านให้พระธิดา แทนที่จะให้พระโอรส      ส่วนอีกวังนั้น ท่านป้าทรงปลูกไว้เป็นส่วนตัว   เมื่อท่านเองมาอยู่วังเสด็จพ่อ  ก็เลยยกให้พระญาติอยู่แทน
แต่พอเปลี่ยนพระยศเป็นเสด็จ คือพระองค์เจ้าพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน    แทนที่จะเป็นหม่อมเจ้าอย่างที่น่าจะเป็น   ก็เลยลำดับกันอลหม่านไม่ลงตัวอยู่ตอนนี้ละค่ะ


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 19:31
สมมุติฐานที่สองก็คือ  ถ้าจะคงความเป็นเสด็จเอาไว้    ก็ต้องเป็นเสด็จย่า ไม่ใช่เสด็จป้า

เสด็จย่าเป็นน้องสาว หรือไม่ก็พี่สาว ของเสด็จปู่ของพระเอก      ปู่ย่าพระเอกนั้นเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระเจ้าแผ่นดิน  หรือไม่ก็ในวังหน้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง  ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าด้วยกันทั้งสององค์
เสด็จย่าเป็นเจ้านายฝ่ายใน  แต่เมื่อทรงย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังออกมาอยู่ข้างนอก ก็ทรงสร้างวังไว้ประทับเอง  2 แห่ง  ส่วนเสด็จปู่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ยังหนุ่มก่อนสร้างวัง หรือไม่ทันได้รับพระราชทานวัง     เสด็จย่าก็เลยทรงรับหลานป้า(หรือหลานอา) มาอุปการะ  เรื่อยมาจนถึงรุ่นหลานย่า


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 20:24
ตกลงติดคำว่า "เสด็จ" คุณ ๑๙๕๓๕๖๕ อธิบายเรื่องนี้ได้ชัดเจนใน กระทู้ที่คุณเทาชมพูนำมาแสดง คคห. ๑๑ (http://pantip.com/topic/34394984#11)

เมื่อก่อนการลำลองว่าเสด็จ ใช้เฉพาะพระราชโอรสพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเท่านั้น แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเสด็จพระองค์หญิงวาปีบุษบากร เสด็จ (ที่แท้จริง) พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี ก็อนุโลมให้ใช้กับพระองค์เจ้าชั้นโทได้ครับ  (ซึ่งผมเห็นว่าไม่ควรอนุโลม เพราะจะสับสน) แต่ที่เห็น ก็ใช้กับพระองค์ชายทั้งสาม พระโอรสในเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร (ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าชั้นโท) แต่ก็งง ๆ ว่าทำไมไม่ใช้ลำลองกับพระโอรสพระธิดาในเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ (ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก) ด้วย

พระโอรสในเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรทั้ง ๓ พระองค์ คนทั่วไปก็ขนานพระนามว่า "เสด็จพระองค์ชาย ใหญ่-กลาง-เล็ก"  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 20:39
คนรุ่นพ่อแม่ดิฉัน เมื่อเอ่ยถึงพระองค์เจ้าทั้งสามพระองค์ในราชสกุลยุคล  เรียกสั้นๆว่า พระองค์ชายใหญ่ พระองค์ชายกลาง พระองค์ชายเล็ก     หรือไม่ก็ย่อลงไปอีกเป็นพระองค์ภาณุ   พระองค์เฉลิมพล พระองค์อนุสรณ์
เจ้านายในราชสกุลบริพัตร  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต   เคยได้ยินผู้ใหญ่เรียกอย่างลำลองว่า พระองค์จุมพฎ
ไม่เคยได้ยินคำว่า "เสด็จ" นำหน้า 
 
เพิ่งมาได้ยินไม่กี่ปีมานี้เอง ว่ามีการเติมคำว่า เสด็จ ข้างหน้าเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าหลานเธอ


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 24 พ.ย. 15, 21:19
พอจะได้ข้อสรุปว่า หากยึดตามธรรมเนียมที่อาจารย์วีมีกล่าว เสด็จป้าในละครน่าจะไม่มี น่าจะเป็นท่านป้า แต่หากอนุโลมตามกระทู้ของเวปพันทิพ ก็มีเสด็จป้าได้  :) แต่ก็ไม่ทราบว่าที่อนุโลมนั้น จริงหรือไม่จริง  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ย. 15, 21:33
แต่ก็ไม่ทราบว่าที่อนุโลมนั้น จริงหรือไม่จริง  ;D

จุลลดา ภักดีภูมินทร์ให้คำตอบไว้ใน "เวียงวัง"  (http://writer.dek-d.com/bird711/story/viewlongc.php?id=524172&chapter=148)ดังนี้

เมื่อสมัยสงครามเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ เสด็จอพยพไปประทับ ณ วัดเขาบางทราย ชลบุรี เพราะเวลานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ สุขบท) ท่านอยู่ที่วัดเขาบางทราย ท่านองค์นี้เป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายมาก ทั้งวัดเขาบางทรายก็เป็นสถานที่เหมาะสำหรับสร้างตำหนัก สร้างเรือน ด้วยมีบริเวณเชิงเขากว้างขวาง เจ้านายและเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ จึงชักชวนกันไปสร้างที่พักอาศัยในที่ดินของวัด โดยหากเมื่อสิ้นพระชนม์หรือสิ้นชีพแล้ว ตำหนักและเรือนก็ยกให้ทางวัดไปเป็นกรรมสิทธิ์

เจ้านายฝ่ายในที่ประทับอยู่ตามตำหนักวัดเขาบางทรายนั้น ได้ยินออกพระนามกันโดยลำลอง ก็เรียกกันเพียง ‘พระองค์’ ดัง ‘พระองค์วาปี’ ‘พระองค์หญิงมาลิศ’ และแม้พระองค์เจ้าชายก็เรียกกันว่า ‘พระองค์อาทิตย์’ ‘พระองค์ชายใหญ่’ ‘พระองค์จุล’

เมื่อแรกก็เข้าใจว่า พระองค์เจ้านั้นทรงศักดิ์เท่ากันเสมอกันทุกพระองค์

วันหนึ่งเรียกว่า ‘พระองค์วาปี’ กับย่า ย่าว่า ไม่ถูก หากออกพระนามให้ถูกต้องต้องว่า ‘เสด็จพระองค์วาปี’ เพราะท่านเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพระองค์เจ้าชั้นพระราชนัดดาลงมา ดังเช่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส (ประทับอยู่ที่วัดเขาบางทรายด้วยในขณะนั้น) ต้องเรียกว่า ‘ท่านพระองค์ชาย’ ‘ท่านพระองค์หญิง’ ดังเช่น ‘ท่านพระองค์ชายใหญ่’ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) ‘ท่านพระองค์หญิงมาลิศ’ ‘ท่านพระองค์จุล’ (พระองค์นี้บางทีก็เรียกกันว่า ‘ท่านพระองค์หนู’) เรียกว่า ‘ท่านพระองค์’ ทุกองค์ ไม่ว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือพระวรวงศ์เธอ เว้นแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  บรรดาชาววัง (ที่ออกมาอยู่นอกวังกันหมดแล้ว) ออกพระนามว่า ‘พระองค์อาทิตย์’

ทว่ารัฐบาลและทางการตลอดจนสังคมขณะนั้น ยกย่องเรียกท่านว่า ‘เสด็จพระองค์อาทิตย์’ หรือ ‘เสด็จฯผู้สำเร็จราชการ’ คงเป็นเพราะท่านทรงมีตำแหน่งเป็นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำให้ในเวลาต่อมา จึงพากันยกย่อง ‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า’ เรียกกันว่า ‘เสด็จ’ ทุกพระองค์ เช่น ‘เสด็จพระองค์จุล’ ‘เสด็จพระองค์ชายใหญ่’ ฯลฯ



กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 25 พ.ย. 15, 09:21
แต่ก็ไม่ทราบว่าที่อนุโลมนั้น จริงหรือไม่จริง  ;D

จุลลดา ภักดีภูมินทร์ให้คำตอบไว้ใน "เวียงวัง"  (http://writer.dek-d.com/bird711/story/viewlongc.php?id=524172&chapter=148)ดังนี้

เมื่อสมัยสงครามเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ เสด็จอพยพไปประทับ ณ วัดเขาบางทราย ชลบุรี เพราะเวลานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ สุขบท) ท่านอยู่ที่วัดเขาบางทราย ท่านองค์นี้เป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายมาก ทั้งวัดเขาบางทรายก็เป็นสถานที่เหมาะสำหรับสร้างตำหนัก สร้างเรือน ด้วยมีบริเวณเชิงเขากว้างขวาง เจ้านายและเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ จึงชักชวนกันไปสร้างที่พักอาศัยในที่ดินของวัด โดยหากเมื่อสิ้นพระชนม์หรือสิ้นชีพแล้ว ตำหนักและเรือนก็ยกให้ทางวัดไปเป็นกรรมสิทธิ์

เจ้านายฝ่ายในที่ประทับอยู่ตามตำหนักวัดเขาบางทรายนั้น ได้ยินออกพระนามกันโดยลำลอง ก็เรียกกันเพียง ‘พระองค์’ ดัง ‘พระองค์วาปี’ ‘พระองค์หญิงมาลิศ’ และแม้พระองค์เจ้าชายก็เรียกกันว่า ‘พระองค์อาทิตย์’ ‘พระองค์ชายใหญ่’ ‘พระองค์จุล’

เมื่อแรกก็เข้าใจว่า พระองค์เจ้านั้นทรงศักดิ์เท่ากันเสมอกันทุกพระองค์

วันหนึ่งเรียกว่า ‘พระองค์วาปี’ กับย่า ย่าว่า ไม่ถูก หากออกพระนามให้ถูกต้องต้องว่า ‘เสด็จพระองค์วาปี’ เพราะท่านเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพระองค์เจ้าชั้นพระราชนัดดาลงมา ดังเช่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส (ประทับอยู่ที่วัดเขาบางทรายด้วยในขณะนั้น) ต้องเรียกว่า ‘ท่านพระองค์ชาย’ ‘ท่านพระองค์หญิง’ ดังเช่น ‘ท่านพระองค์ชายใหญ่’ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) ‘ท่านพระองค์หญิงมาลิศ’ ‘ท่านพระองค์จุล’ (พระองค์นี้บางทีก็เรียกกันว่า ‘ท่านพระองค์หนู’) เรียกว่า ‘ท่านพระองค์’ ทุกองค์ ไม่ว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือพระวรวงศ์เธอ เว้นแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  บรรดาชาววัง (ที่ออกมาอยู่นอกวังกันหมดแล้ว) ออกพระนามว่า ‘พระองค์อาทิตย์’

ทว่ารัฐบาลและทางการตลอดจนสังคมขณะนั้น ยกย่องเรียกท่านว่า ‘เสด็จพระองค์อาทิตย์’ หรือ ‘เสด็จฯผู้สำเร็จราชการ’ คงเป็นเพราะท่านทรงมีตำแหน่งเป็นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำให้ในเวลาต่อมา จึงพากันยกย่อง ‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า’ เรียกกันว่า ‘เสด็จ’ ทุกพระองค์ เช่น ‘เสด็จพระองค์จุล’ ‘เสด็จพระองค์ชายใหญ่’ ฯลฯ



ขอบคุณอาจารย์เพ็ญฯ ครับ แสดงว่าไม่ได้เกี่ยวกับการอนุโลม แต่จุดเปลี่ยนอยู่ที่การเรียกพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา โดยมีคำว่าเสด็จนำหน้า นี่เอง  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ciri ที่ 02 ธ.ค. 15, 09:37
เรื่องลำดับชั้นคงผิดแน่นอนครับ ยังไงก็ไม่มีทางเป็นป้าหลานกันได้
ระหว่างหม่อมราชวงศ์กับเสด็จฯ เว้นแต่กรณีเสด็จฯ ทรงเป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าดับพระชายา ส่วนท่านพ่อของพระเอกเป็นโอรสที่ประสูติจากหม่อม จึงยศแค่หม่อมเจ้า ถ้าเป็นตามนี้ ก็คงต้องพึ่งพระบารมีเสด็จฯ จริงๆ และก็คงได้อยู่ตำหนักเล็กในวังเสด็จฯ และเท่าที่เคยเห็น เจ้าชั้นหม่อมเจ้าหลายองค์ประทับกับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มากกว่า



กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 03 ธ.ค. 15, 15:10
เรื่องลำดับชั้นคงผิดแน่นอนครับ ยังไงก็ไม่มีทางเป็นป้าหลานกันได้
ระหว่างหม่อมราชวงศ์กับเสด็จฯ เว้นแต่กรณีเสด็จฯ ทรงเป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าดับพระชายา ส่วนท่านพ่อของพระเอกเป็นโอรสที่ประสูติจากหม่อม จึงยศแค่หม่อมเจ้า ถ้าเป็นตามนี้ ก็คงต้องพึ่งพระบารมีเสด็จฯ จริงๆ และก็คงได้อยู่ตำหนักเล็กในวังเสด็จฯ และเท่าที่เคยเห็น เจ้าชั้นหม่อมเจ้าหลายองค์ประทับกับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มากกว่า



ผมคิดว่าในนิยายเรื่องนี้ ก็คงมีความสัมพันธ์ในกรณีที่คุณ ciri เขียนข้างต้นครับ เลยไม่ทราบว่าจะเรียกว่าผิด ได้หรือไม่


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ธ.ค. 15, 09:24
เราไม่มีทางทราบว่าเป็นความผิดพลาด หรือตั้งใจ     ต้องไปหานิยายมาอ่านค่ะ


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: Rangson Boontham ที่ 04 ธ.ค. 15, 21:57
ขออนุญาตสนทนานอกเรื่องไปสักหน่อยนะครับ เคยพานักเรียนไปทัศนศึกษาที่วังสวนผักกาด เจ้าหน้าที่และเอกสารแจก รวมถึงเว็บไซค์วังสวนผักกาด ใช้คำแทน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ท่านเจ้าของวังว่า "เสด็จในกรมฯ" จึงเกิดความสับสน เพราะเคยทราบแต่เพียงว่า เสด็จ หมายถึง พระองค์เจ้าทีเป็นลูกเธอฯ และเคยชินกับคำว่า เสด็จกรมหลวงชุมพรฯ หรือเสด็จในสี่แผ่นดิน ซึ่งทรงเป็นพระองค์เจ้าชั้นลูกเธอฯ ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่รู้จะไปถามใครหรือค้นที่ไหน เลยลองเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 พบความหมายดังนี้ "เสด็จ [สะเด็ด] น. คําเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอซึ่งพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน." ก็เลยพยายามจะทำความเข้าใจ แต่ก็ยังตะขิดตะขวงใจอยู่เล็กน้อยครับ  ;D


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 05 ธ.ค. 15, 07:51
การออกพระนามพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตอย่างลำลองนั้น  ใช้ว่า "พระองค์จุมภฏ" ตามพระนามเดิม  หรือ "ในกรมฯ" ไม่ใช่เสด็จ
เหมือนเวลาออกพระนามพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร  ก็มักจะออกพระนามว่า "พระองค์ธานี"  หรือ "ในกรมพิทยฯ"


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ธ.ค. 15, 10:34
รอคุณ V_Mee มาตอบ ก็มาได้ทันใจ
การเรียนขานพระนามแบบลำลอง เปลี่ยนจากสมัยก่อนไปหมดแล้วค่ะ  เมื่อก่อนนี้ เขาแยกแยะชัดเจนกว่าเดี๋ยวนี้  ว่าเสด็จ กับ พระองค์แตกต่างกันอย่างไร
แต่เดี๋ยวนี้ปนกันหมดแล้ว แม้แต่พจนานุกรมก็ให้คำจำกัดความไม่ตรงกับเมื่อก่อน

อีกคำหนึ่งคือ "ท่าน" เมื่อก่อนเป็นคำสรรพนามบุรุษที่สอง  ใช้เรียกพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า    หม่อมเจ้าพจนปรีชา หม่อมเจ้าดนัยวัฒนา ของ ว.ณ ประมวลมารค  ในหนังสือตัวละครอื่นๆ เรียกว่า ท่านพจน์ ท่านดนัย
ถ้าเป็นสรรพนามบุรุษที่สาม  เรียกอย่างลำลองว่า ท่านชาย   ส่วนหม่อมเจ้าหญิง เรียกว่า ท่านหญิง

เดี๋ยวนี้ ท่าน ใช้เรียกส.ส.กันในรัฐสภา    ปัจจุบันเมื่อมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  สมาชิกสภาก็เป็น"ท่าน" เช่นกัน


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 05 ธ.ค. 15, 21:10
อ่านที่อาจารย์ใหญ่เขียนถึงท่านพจน์ ท่านดนัย นึกขึ้นได้ว่าทั้งสองพระองค์ไม่มีนามสกุล ซึ่งแตกต่างจากหม่อมเจ้าในจินตนาการของนักเขียนท่านอื่นๆ ในจุดนี้มีเหตุผลอะไรพิเศษไหมครับ  :)


กระทู้: ธรรมเนียมการถือสิทธิในวัง ตำหนัก ของเจ้านายในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ธ.ค. 15, 21:17
ดิฉันคิดว่า องค์ผู้ประพันธ์ทรงไม่เห็นความจำเป็นจะต้องระบุราชสกุลของพระเอกทั้ง 2 เรื่องนี้ค่ะ     จะบอกหรือไม่บอก ก็ไม่มีผลกับเรื่อง
พระนามเสด็จอาในเรื่อง ก็ไม่ได้ระบุไว้เช่นกัน