เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 08:41



กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 08:41
หลังจากจบกระทู้ “พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด” ในเรือนไทยไปแล้ว หลายท่านคงทราบว่า ผมได้เอาเนื้อหาในทั้งเรื่องนี้และใน “ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช ? ”กระทู้เก่าที่ผมเคยเขียน ไปเรียบเรียงอีกครั้งเป็นบทความ เพื่อนำลงในคอลัมน์ “ประวัติศาสตร์มีชีวิต” ของสกุลไทยรายสัปดาห์เป็นตอนๆ  ซึ่ง ณ วันนี้ก็เป็นตอนที่ ๑๐ ใน ๑๓ ตอนที่ผมส่งต้นฉบับไปแล้ว

ระหว่างนั้น ผมได้รับโทรศัพท์จากสถาปนิกรุ่นพี่ที่ผมเคารพนับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์ของผม คือ ดร.สุเมธ ชุมสาย ได้โทรมาคุยกับผมเรื่องของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เนื้อหาสาระก็เป็นเรื่องราวต่างๆที่ตอนนั้นท่านคิดว่าผมยังไม่ทราบ ครั้นมาถึงต้นสัปดาห์นี้ ท่านก็ได้มีอีเมล์มาถึงผมอีก พร้อมกับข้อความแนบ

เรียน ม.ล. ชัยนิมิตร  นวรัตน
ขอส่งเรื่องเกี่ยวกับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์มาให้

ด้วยความรฤกที่ดีเสมอ
จากพี่สุเมธ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 08:49
เรื่องที่ท่านส่งมาให้นั้น คือเรื่องราวในหนังสือ
Prince Prisdang’s Files
on
His Diplomatic Activities in Europe 1880-1886

หรือแปลเป็นไทยคือ  เอกสารของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  เกี่ยวกับงานการทูตของพระองค์ในยุโรป ค.ศ.1880-1886

หนังสือฉบับดังกล่าวเขียนโดย ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย บิดาของท่าน
ผมอ่านแล้วเห็นว่า หลายบทหลายตอนในหนังสือท่านมิได้ทรงเขียนเล่าละเอียดในพระประวัติ จึงไม่เคยผ่านตาผมมาก่อน  ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องราวชีวประวัติดั่งนวนิยายของพระองค์ท่าน ผมสมควรจะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้จะแจ้งว่าในช่วงชีวิตรุ่งโรจน์อันแสนสั้นของท่านนั้น ท่านได้สร้างผลงานในแผ่นดินที่สยามไม่เคยคุ้นเคยมาก่อน จนเป็นคุณานุคุณแก่ประเทศชาติไว้อย่างไร


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 09:57
ขอแนะนำอาจารย์สุเมธของผมสักเล็กน้อย

ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นสถาปนิกไทยระดับศิลปินแห่งชาติ เจ้าของผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นจนมีชื่อเสียงในระดับโลก และเป็นผู้ใฝ่ใจในการอนุรักษ์อาคารสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย  ผมเคยมีโอกาสได้ร่วมงานในกิจกรรมอาษากับท่านในส่วนหลังนี้อยู่หลายโครงการในระยะกว่าสิบปี

ดร.สุเมธได้ติดตามบิดา ม.ล. มานิจ ชุมสาย บิดาซึ่งไปทำงานที่กรุงปารีส ทำให้ได้ใช้ชีวิตนักเรียนนักศึกษาอยู่ในทวีปยุโรปยาวนาน ถึง ๑๗ ปี ทั้งที่ฝรั่งเศสและอังกฤษ จนกระทั่งจบการศึกษาสถาปัตยกรรมระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมารับราชการเป็นการใช้ทุน ก.พ.ที่กรมโยธาธิการ และสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จนพ้นเงื่อนไขแล้วจึงได้ลาออกเพื่อมาทำกิจการของตนเอง และเคยไปเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อยู่หลายปี ก่อนจะกลับมาประกอบวิชาชีพสถาปนิกอิสระอย่างจริงจังในประเทศไทย

ระหว่างรับราชการ ได้เป็นผู้คิดริเริ่มโครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โครงการอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ โครงการอนุรักษ์จวนเจ้าเมืองเก่าสงขลา โครงการอนุรักษ์กำแพงเมืองเก่าที่ยังเหลืออยู่ในทุกจังหวัด โครงการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมและอาคารทรงคุณค่าต่างๆทั่วประเทศ งานเหล่านี้ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าผู้มีอำนาจจะเข้าใจและยินยอมปฏิบัติ แต่ละโครงการกว่าจะสัมฤทธิ์ผลต้องใช้ความานะพยายามของบุคคลผู้ร่วมอุดมการณ์มากมาย  สมบัติของชาติเหล่านี้จึงถูกสงวนรักษาไว้ได้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

จะว่าไป การท่องเที่ยวที่บูมบามขึ้นนั้นเองที่มีส่วนทำให้เกิดความสำเร็จในงานอนุรักษ์อาคารสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ เพราะผู้มีอำนาจเห็นว่ามันมีค่า สามารถจะทำเงินได้จากนักท่องเที่ยว  จึงยินดีจัดหางบประมาณมาให้ทำโดยคิดแบบลงทุนเพื่อแสวงหากำไร ที่ซาบซึ้งในนามธรรมที่นักอนุรักษ์พยายามอธิบายก็คงจะมีบ้าง แต่ไม่น่าจะมาก
 
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายอย่างหลายประการนับไม่ถ้วน ที่สำคัญๆคือ ได้รับรางวัลนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓  ได้รับพระราชทานกิตติบัตรบุคคลตัวอย่างด้านส่งเสริมงานอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๖  ได้รับรางวัลคริสเติล อวอร์ด ด้านศิลปและวัฒนธรรม ของ The World Economic Forum (WEF) ประจำปี ๒๕๔๒ ที่เมืองดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: walai ที่ 20 มี.ค. 16, 10:29
 :)เปิดประตู หน้าต่างชั้นเรียนเรียบร้อยแล้วนะคะ จองโต๊ะหน้า แถวกลาง แล้วนะคะ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 11:12
ยินดีต้อนรับครับ

ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านสืบสายอัจฉริยะของราชสกุลชุมสายมาจากบิดา ม.ล.มานิจ ชุมสาย ผู้สอบชิงทุนคิง (King’s scholarship)ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาอักษรศาสตร์ จากทรินิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จนสำเร็จการศึกษา กลับมารับราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำงานด้านการพัฒนาการศึกษาของชาติระดับต่างๆ ตั้งแต่อนุบาลศึกษาไปจนจบระดับมัธยม จนกระทั่งท่านอายุ ๔๒ ปี องค์การยูเนสโกก็ได้ขอตัวไปรับราชการประจำ อยู่ ณ กรุงปารีส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญการตำรา และเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษช่วยเหลือการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาอยู่หลายปี ก่อนย้ายให้กลับมาเป็นรองผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย ประจำที่กรุงเทพ จึงได้เป็นผู้จัดทำโครงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระหว่างทำงานให้ยูเนสโกในยุโรปนี้เอง ม.ล.มานิจ ชุมสาย ได้เริ่มเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับสยาม ไม่ว่าจะเขียนโดยคนไทยหรือโดยชาวต่างชาติ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนรัตนโกสินทร์ ทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสาร รูปภาพ หรือสำเนาไมโครฟิล์ม 

หลังเกษียณอายุราชการ ท่านได้หันมาทำงานค้นคว้าประวัติศาสตร์เพิ่มเติม โดยไปอยู่ลอนดอน ๓ ปี พบแฟ้มเก่าๆ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ เจอเรื่องราวอันมีค่าในประวัติศาสตร์มากมาย ตั้งแต่คราวที่เซอร์จอห์น เบาวริงมาทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม
กลับมาเมืองไทยแล้วระยะหนึ่งก็กลับไปปารีสอีก เพราะจำได้ว่าท่านเคยเห็นแฟ้มที่เขาโยนๆ ลงไปเก็บใต้ถุนสถานทูตไทย โดยไม่มีใครสนใจที่จะรู้เรื่อง อาศัยจังหวะที่ลูกสาวไปเรียนหนังสืออยู่ที่นั่นจึงตามไปเช่าบ้านอยู่ด้วย แล้วขออนุญาตท่านทูตลงไปกวาดขี้ฝุ่น โรยยาฆ่าหนู มดแมลง กว่าจะลงไปรื้อค้นจนอ่านได้  แต่หาเอกสารประวัติศาสตร์ทางการทูตไม่พบ กลับไปพบที่ใต้ถุนสถานทูตไทย ที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี
ท่านกล่าวถึงสาเหตุที่เอกสารอยู่ผิดที่ว่า “คงจะย้ายไปเมื่อปารีสถูกโจมตีสมัยสงครามโลก อยู่ครบหมดเชียว จึงบอกให้เขาเอามาเก็บที่กระทรวงการต่างประเทศ ในกรุงเทพ เพราะของนี้มีค่ามาก”

ของมีค่าชุดหนึ่งที่พบคือเอกสารและไดอารี่ของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของท่าน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ทำบันทึกภาษาไทยเพื่อรายงานต่อเสนาบดีการต่างประเทศ และหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตั้งแต่พระองค์ท่านทรงเป็นราชทูตอยู่ในกรุงลอนดอน และปารีส ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๔- พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ในภาคภาษาไทยว่า “ประมวลจดหมายของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ราชทูตองค์แรกของไทยประจำทวีปยุโรป”


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 มี.ค. 16, 11:22
บิดาและบุตร

ม.ล.มานิจ ชุมสาย ซ้าย และ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ขวา
ภาพถ่ายขณะอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 มี.ค. 16, 19:40
รายงานตัวครับ จองโต๊ะหลังห้องใกล้ประตูหลังห้อง จากเด็กหลังห้องที่อยากเป็นคนขยันกับเขาบ้าง :D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 20 มี.ค. 16, 20:46
นอกเรื่องนิดนึง งานหนังสือปีนี้ท่านอาจารย์ใหญ่กว่ามีกำหนดไปแจกลายเซ็นต์วันไหน ตอนกี่โมงบ้างครับ เผื่อจะได้ถือโอกาสพกเตารีด คันไถไปขอกราบสวัสดีที่งานได้ครับ  ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 07:29
งานสัปดาห์หนังสือที่จะถึงนี้ ไม่่มีหนังสือใหม่ของผมออกครับ เลยไม่มีคิวไป


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 07:30
หนังสือเล่มนั้น ม.ล. มานิจท่านเริ่มในบทนำว่า แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจะได้ทรงกระทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับหลายชาติในยุโรปไปแล้ว แต่พระองค์ก็ยังไม่ทรงสามารถที่จะส่งทูตไปประจำยังประเทศเหล่านั้นได้ จวบจนกระทั่งรัชกาลต่อมา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นอัครราชทูตประจำชาติอันทรงอำนาจดังกล่าว รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย ทำให้ชาติตะวันตกเหล่านั้นค่อยรู้สึกหน่อยว่าสยามมีตัวมีตนตนอยู่จริง

แต่ผู้ที่รู้จักพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังมีน้อยคนมาก บันทึกต่างๆที่ท่านทรงทิ้งไว้ในแฟ้มที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน ถูกทำลายทิ้งไปอย่างมิได้ตั้งใจในปี 1965 การขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ท่านยิ่งเห็นได้ชัด  ในช่วงหลังจากที่เสด็จกลับมากรุงเทพในปี 1886 แล้ว ความขัดแย้งระหว่างท่านกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็ได้บานปลายไปถึงขั้นที่ทรงสมัครใจลาออกจากทางราชการ แล้วเนรเทศพระองค์เองไปบวชเป็นพระภิกษุที่ซีลอน ซึ่งชีวิตที่นั่นแม้จะแตกต่างกับที่ท่านทรงเป็นในยุโรป ทว่า ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน


(ผมเป็นคนให้ตัวหนาในประโยคข้างบนเองครับ เพื่อหาโอกาสกลับมาเติมเต็มข้อมูลที่ค้นพบใหม่ในภายหลัง)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 07:42
แม้บันทึกส่วนใหญ่ของสถานทูตได้ถูกทำลายไปแล้ว แต่ก็ยังพบว่ามีแฟ้มอยู่สามปึกยังหลงเหลืออยู่ที่ลอนดอน และอีกมากพอสมควรที่สถานทูตไทยในปารีส เป็นหนังสือที่ทรงเขียนโต้ตอบกับรัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส และที่ยังอาจจะค้นหาเพิ่มเติมได้อีกมากจากห้องเก็บเอกสารสาธารณะและห้องจดหมายเหตุของกระทรวงการต่างประเทศในปารีส รัฐบาลฝรั่งเศสยังคงเก็บรักษาต้นฉบับประวัติอย่างเป็นทางการของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงยื่นต่อท่านประธานาธิดีในปี 1882

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพระราชวงศ์ไทยและพระราชวงศ์ต่างๆของยุโรป ซึ่งเจ้านายทั้งหลายที่นั่นก็ทรงยินดีและยอมรับท่านในฐานะที่เป็นเจ้าด้วยกัน ด้วยเหตุนั้น จึงทำให้ทรงสามารถทูลขอให้ทรงช่วยประเทศสยามได้ในหลายโอกาส

ทรงฝากนักเรียนไทยให้เข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆหลายประเทศ ในเยอรมันและออสเตรียนั้น พระจักรพรรดิ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นักศึกษาไทยเข้าเรียนโรงเรียนนายทหารได้เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับอนุญาตให้ดูการจัดกองทัพ และส่งออกเครื่องอาวุธกับเครื่องกระสุนให้สยาม และทั้งสองประเทศยินยอมให้นายทหารของตนมาฝึกหัดทหารให้ด้วย

(ผมไม่เคยผ่านสายตาว่ามีนายทหารเยอรมันและออสเตรียมารับราชการในกองทัพสยาม นอกจากในช่วงนั้นกรมโทรเลขและไปรษณีย์จะว่าจ้างคนเยอรมันมาเป็นที่ปรึกษา และนายท่า(Port Master)เป็นคนเยอรมัน ส่วนงานด้านการป้องกันประเทศ พระเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัย เลือกเดนมาร์กมหาอำนาจอันดับรอง ให้มารับราชการช่วยปฏิรูปกองทัพ)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 07:46
ทรงนำความทันสมัยทางตะวันตกมาปรับเข้ากับสยาม ทรงริเริ่มแนวความคิดใหม่ๆสำหรับงานสาธารณะ ยกตัวอย่าง ทรงมีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช โดยทรงเป็นองค์ประธานคู่กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงมีส่วนช่วยในการจัดสร้างโรงงานสรรพาวุธทหาร  และพัฒนาการไปรณีย์โทรเลข  ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเคยเป็นผู้แทนของสยามไปร่วมการประชุมไปรษณีย์สากลนานาชาติที่เวียนนาในปี 1883

ทรงเดินทางตลอดเวลาระหว่างลอนดอนไปปารีส แมดริด ลิสบอน โรม เวียนนา เบอร์ลิน ปรัสเซลส์ กรุงเฮก สต๊อกโฮล์ม โคเปนเฮเกน เพื่อเข้าพบบุคคลสำคัญๆทั้งหลายในสมัยนั้น ทรงจัดตั้งสถานกงสุลสยามขึ้นในหลายประเทศของยุโรป และเครือจักรภพ ดังนั้น ไม่เฉพาะงานบุกเบิกกิจกรรมด้านการทูตที่กระทำกันสืบเนื่องต่อมาทั้งหมด ในยามที่ท่านเดินทางออกจากยุโรปนั้น สยามมีสถานภาพพอที่จะดำเนินการเจรจากับรัฐบาลต่างๆได้โดยผ่านกงสุลของตนเอง

ม.ล. มานิจท่านใช้อุตสาหะมากที่จะปะติดปะต่อผลงานอันโดดเด่นในด้านการทูตในยุโรปยุคแรก โดยใช้หลักฐานจากข้อมูลอันมีที่มาดังกล่าวไปแล้ว ผนวกกับเอกสารในราชสกุลของท่านยังพอมีหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะครอบคลุมสิ่งที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงกระทำในยุโรปทั้งหมดระหว่างปี 1880-1886

(กงสุลเหล่านี้เป็นคนของแต่ละประเทศนั้น แต่ไม่เรียกกงลุลกิตติมศักดิ์ เพราะรับเงินเดือนเป็นข้าราชการประเภทหนึ่งของกระทรวงต่างประเทศสยาม)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 21 มี.ค. 16, 09:02
พี่ Superboy แย่งที่นั่งผม (ฮ่า)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 21 มี.ค. 16, 09:42
มาขานชื่อ ตามระเบียบ และขอนั่งโต๊ะ ติดหน้าต่างห้อง แถวสอง มองเห็นวิวนอกโรงเรียน ครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 10:04
เตรียมมาหลับกันใหญ่ เอาน่า สนุกนะ ไม่ธรรมดาหรอกลองดูสารบรรณก่อน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 10:05
สารบรรณเรื่องราวในหนังสือมีดังนี้ครับ

๑ พระประวัติในวัยเริ่มต้น
๒ ปัญหากงสุลต่างชาติในกรุงเทพ
๓ ภารกิจพิเศษของพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ที่เยอรมันและออสเตรียในปี ๑๘๘๑
๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตพิเศษ มีอำนาจเต็ม
๕ การเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
๖ หน้าที่ของพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ในลอนดอน
๗ การประชุมเจรจาเรื่องสุรากับอังกฤษ
๘ การประชุมเจรจากับฮอลแลนด์
๙ การประชุมเจรจากับสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและเบลเยียม
๑๐ ภารกิจพิเศษที่เสปญและปอร์ตุเกต
๑๑ การประชุมเจรจากับฝรั่งเศส
๑๒ ข้อตกลงเรื่องการโทรเลข
๑๓ คอคอดกระ
๑๔ ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์บนอาณาเขตของสยาม
๑๕ การประมงในโตนเลสาปเขมร
๑๖ กิจกรรมของบรรดากงสุลในสยาม
๑๗ กงสุลเยอรมันในกรุงเทพ
๑๕ กงสุลอังกฤษในกรุงเทพ
๑๖ งานแสดงสินค้าไทยในฮอลแลนด์
๑๗ นักเรียนไทยในยุโรป
๑๘ ย้ายไปปารีส
๑๙ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ในปารีส
๒๐ เข้ายื่นเอกสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีฝรั่งเศส
๒๑ กงสุลสยามในยุโรป
๒๒ ถนนสยาม
๒๓ เข้าเฝ้าพระเจ้าไกเซอร์ในปี ๑๘๘๔
๒๔ เข้าเฝ้าจักรพรรดิ์โยเซฟ ฟรานซิส โยเชฟ ที่ ๑
๒๕ เข้าเฝ้าพระเจ้าวิกเตอร์เอมมานูเอลที่ ๒ แห่งอิตาลี
๒๖ เข้าเฝ้าพระสันตปาปา
๒๗ การประชุมไปรษณีย์สากล ๑๘๘๕ ที่ลิสบอน
๒๘ การประชุมโทรเลขสากล ๑๘๘๕ ที่เบอร์ลิน
๒๙ การประชุมเจรจาเรื่องสุรากับเยอรมัน
๓๐ การประชุมกับออสเตรียฮังการี
๓๑ การประชุมกับเสปญ
๓๒ การประชุมและบันทึกความเข้าใจกับฝรั่งเศส
๓๓ การเรื่มต้นกิจการไปรณีย์และโทรเลขในสยาม
๓๔ ดวงตราไปรษณีย์แรกของสยาม
๓๕ เทวรูปของอินเดียจากกำแพงเพชร
๓๖ แฟนนีกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสยาม
๓๗ อังกฤษผนวกพม่าเป็นเมืองขึ้น
๓๘ ข้อเสนอรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม (โดยสุเมธ ชุมสาย)
๓๙ กลับบ้าน
๔๐ ปัจฉิมลิขิต (โดยสุเมธ ชุมสาย)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มี.ค. 16, 10:07
เชิญนักเรียนจองที่นั่งตามสะดวก  ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 16, 10:09
และเช่นเคย การเขียนของผมจะไม่ใช่การแปลแบบบรรทัดต่อบรรทัด แต่จะจับความมาย่อยให้อ่าน อะไรที่เคยเขียนแล้วรู้กันแล้วก็จะว่าแต่พอประมาณ ไปเน้นเอาเฉพาะเรื่องที่เราไม่เคยทราบกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศุศศิ ที่ 21 มี.ค. 16, 11:15
มาครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 21 มี.ค. 16, 11:33
มาลงทะเบียนเรียน ภาคค่ำครับ
กลางวันติดงาน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 มี.ค. 16, 13:47

จองแถวหลังสุดติดหน้าต่างครับ
 8)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 21 มี.ค. 16, 14:41
 ;D ;D ;D ;Dจองแถวหน้าสุดค่ะสายตาหนูสั้น ;D ;D ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: แพรวพิม ที่ 21 มี.ค. 16, 19:34
นักเรียนหน้าใหม่มารายงานตัวเจ้าค่ะ ตามอ่านมานานแล้ว เพิ่งได้ฤกษ์สมัครสมาชิกเมื่อเร็วๆ นี้เอง  :D :D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 21 มี.ค. 16, 19:41
ต้องขออนุญาตไปห้องนำ้บ่อย จองที่นั่งใกล้ประตูครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 21 มี.ค. 16, 21:35
มาไม่ทันหลังห้องติดหน้าต่างแฮะ เอาไงดี


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 07:09
เอาไงก็ได้ฮะ ที่ไหน เมื่อไหร่ พร้อมแล้วก็ว่ามาเลย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 07:10
ผมขอข้ามพระประวัติในด้านการศึกษาของพระองค์ท่านไปเลย เพราะได้เคยเขียนไว้แล้ว ขออนุญาตลงระโยงไว้อีกทีหนึ่งสำหรับผู้ที่บังเอิญผ่านเข้ามาครั้งแรก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html)
และ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/08/K8264362/K8264362.html (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/08/K8264362/K8264362.html)

แล้วต้องไม่พลาดอ่านเรื่องนี้ด้วย
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6360.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6360.0)

ผมขอเริ่มตรงที่ว่า เมื่อ(เจ้า)พระยาภาสกรวงศ์ ราชเลขาธิการได้รับพระราชบัญชาจากพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นอัครราชทูตพิเศษนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายแห่งเวลส์ และยังมีภารกิจอันสำคัญยิ่ง คือไปอธิบายรัฐบาลอังกฤษถึงปัญหาที่นายน๊อกซ์ กงสุลใหญ่สร้างขึ้นในสยามในคดีความของพระปรีชากลการลูกเขย ด้วยการนำไปพัวพันกับการเมืองระหว่างประเทศ ถึงขนาดสั่งการให้เรือรบจากสิงคโปร์เข้าไปจอดลอยลำอยู่ในกรุงเทพเพื่อข่มขู่พระเจ้าอยู่หัวให้ปล่อยตัวพระปรีชา คณะราชทูตชุดนี้ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการแทนล่ามประจำคณะในตำแหน่งเลขานุการเอก เพราะตัวจริงเกิดป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

ความในตอนนี้หาอ่านได้จากระโยงนี้ครับ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6242.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6242.0)

ม.ล.มานิจท่านเขียนว่า เมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ รัฐมนตรีต่างประเทศได้ไปลอนดอนเพื่อลงนามในข้อตกลงในปัญหาเกี่ยวกับเชียงใหม่ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในฐานะที่รู้ภาษาอังกฤษดี ได้ทรงถูกเรียกไปใช้ในฐานะเลขานุการเอกและล่ามประจำคณะราชทูต และได้ร่วมเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายแห่งเวลส์ที่พระราชวังวินเซอร์เป็นครั้งแรก ในโอกาสที่ท่านราชทูตได้นำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกไปทูลเกล้าถวายทั้งสองพระองค์
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้กลับกรุงเทพครั้งแรก และได้ทำงานเป็นผู้ช่วยพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นราชเลขานุการในพระองค์


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 07:58
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อยู่เมืองไทยได้ปีเดียวก็เสด็จกลับไปยุโรปอีก โดยทรงเป็นผู้พาพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)และนักเรียนไทยอื่นๆไปศึกษาต่อที่นั่น การไปครั้งนี้ ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงนำพระราชสารไปมอบให้กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนำของขวัญพระราชทานไปถวายเจ้าชายวิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย และองค์มกุฏราชกุมารแห่งออสเตรียในวโรกาสที่ทรงอภิเษกสมรสด้วย

ระหว่างที่เรือโดยสารจอดเทียบที่ท่าโคลัมโบระหว่างการเดินทางสู่ยุโรปนั้น  ท่านได้เสด็จขึ้นฝั่งและไปเที่ยววัดพรหมนันทวิหาร ได้พบท่านเจ้าอาวาสชื่อสิริสมณะ  ทรงพบว่าภิกษุองค์นี้เป็นพระสหายเก่าแก่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งยังคงเก็บรักษาพระบรมฉายาลักษณ์ และพระรูปของเจ้านายสยามอีกหลายพระองค์ที่ได้รับพระราชทานไว้จนบัดนั้น

คณะได้เดินทางถึงฝรั่งเศสและได้พบกับพระสยามธุรานุรักษ์(M. de Gréhan) กงสุลสยาม ซึ่งมารอรับที่เรือเมืองมาร์แซย์ ในการนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอักษรส่วนพระองค์มาพระราชทานนายเกรอองด้วย
 
(มองซิเออร์ เดอ เกรออง ผู้นี้รับราชการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งทรงว่าจ้างให้เป็นกงสุลคนแรก ประจำอยู่ที่ปารีส)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มี.ค. 16, 10:52
พระสยามธุรานุรักษ์


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มี.ค. 16, 10:58
ซองพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ พระราชทานพระสยามธุรานุรักษ์

จาก https://www.spink.com/lot-description.aspx?id=9018869 (https://www.spink.com/lot-description.aspx?id=9018869)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 12:05
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เสนาบดีต่างประเทศของสยามก็มีหนังสือราชการกำกับไปด้วย ความว่า พระเจ้าจักรพรรด์ไกเซอร์แห่งเยอรมันนี ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องที่พระราชโอรสจะทรงอภิเษกสมรส และ พระเจ้าจักรพรรดิ์แห่งออสเตรียก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน ในเรื่องที่มงกุฏราชกุมารของพระองค์จะทรงอภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระองค์  พร้อมทั้งเครื่องบรรณาการของขวัญไปพระราชทานเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์

โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชบัญชาให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์เข้าพบท่านประธานาธิบดีแห่งประเทศฝรั่งเศสเพื่อแสดงพระราชไมตรีอันดีของพระองค์  และตัวท่านเองได้มอบหนังสือแนะนำหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศมาให้ด้วย ความตามสำเนาที่แนบมาพร้อมกัน

ตามด้วยข้อความข้างล่างครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 16, 12:08
ผมชอบภาษาของท่านตรงนี้มาก แต่จะแปลแบบนุ่มๆสักหน่อยนะครับ

เมื่อหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ถึงปารีสแล้ว ขอท่านปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อแนะนำพระองค์ต่อท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ  เพื่อให้ท่านรัฐมนตรีหาโอกาสนัดหมายให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เข้าพบท่านประธานาธิบดี เพื่อแสดงพระราชกระแสรับสั่งดังกล่าว
และข้าพเจ้าขอให้สำนักงานของท่าน ช่วยเหลือตามความเหมาะสมในสิ่งใดที่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อาจจะทรงต้องการ ระหว่างที่ทรงประทับในปารีสด้วย

ตามสำนวนภาษาอังกฤษนั้น ท่านสั่งแบบนายสั่งลูกน้องจริงๆ นับถือ ๆ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 22 มี.ค. 16, 15:38
ขออนุญาตเข้าห้องครับ
ขอนั่งแถวหลังตรงกลางครับ
 ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 22 มี.ค. 16, 22:11
มาสาย ย่องไปนั่งแถวหลังสุดดีกว่า ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 09:19
ในปารีส พระสยามธุรานุรักษ์(M. Gréhan) กงสุลสยามสามารถจัดให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เข้าเยี่ยมคำนับรัฐมนตรีต่างประเทศ แต่ไม่มีโอกาสได้พบกับท่านประธานาธิบดี เพราะท่านเพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ครองตำแหน่งแทนคนเดิมในเวลาเพียงเดือนสองเดือนก่อนหน้านั้นนั่นเอง  คงยังไม่พร้อมรับแขก มิน่า หนังสือของฝ่ายไทยเวลากล่าวถึงท่านประธานาธิบดีจึงมิได้ระบุชื่อ เพียงแต่เรียกตำแหน่งลอยๆไว้ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ  เพราะช่วงที่ออกหนังสือยังไม่รู้ใครจะเป็นหมู่เป็นจ่า นี่ผมเข้าไปค้นหาในเน็ตเข้าจึงได้ทราบ

ฝรั่งเศสจัดให้ท่านได้พบกับรัฐมนตรีว่าการสงคราม (Minister of War) และรัฐมนตรีว่าการทหารเรือ (Minister of Marine) แทน ผมคิดว่านี่เป็นการบอกใบ้นิดๆด้วยนะครับ ฝรั่งเศสกับสยามยามนั้นมีเขตแดนติดกันไปแล้ว เมื่อเขาเข้ามาฮุบเขมรและลาวไปหลังได้ญวณเป็นเมืองขึ้นไปแล้ว และชักจะมีปัญหากันอยู่บ้างแล้ว ต้องตัดไม้ข่มนามกันก่อน

โปรดสังเกตุนะครับ กระทรวงที่เกี่ยวกับการสงครามนี่ ปกติกระทรวงกลาโหม จะใช้ภาษาอังกฤษว่า(Ministry of Defense) ตามความหมายตรงๆว่าเพื่อการป้องกันประเทศ แต่สมัยนั้นมหาอำนาจจะใช้คำว่า(Minister of War)เป็นการเบ่งกล้ามกันตรงๆ

ภาพข้างล่างคือนาย Leon Gambetta ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เพิ่งครองตำแหน่งดังกล่าว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 10:02
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จึงอยู่ในปารีสแค่ ๓ วัน แล้วพาคณะนักเรียนไทยไปอังกฤษต่อ

ลอร์ดแกรนวิลล์ (Granville Leveson-Gower) รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษมิได้อยู่ในลอนดอนระหว่างนั้น ท่านจึงมอบหมายให้ปลัดกระทรวงไปรับรองและเชิญเจ้านายทั้งสองพระองค์ไปพำนักที่ Walmer Castle ปราสาทส่วนตัวของท่านลอร์ด

การเดินทางไปที่นั่นสะดวกสบายมาก ขึ้นรถไฟที่สถานี Charing Cross ในลอนดอนไปเพียงสามชั่วโมงก็ถึง ท่านลอร์ดได้ส่งรถม้าไปรอรับที่สถานี Walmer แล้ววิ่งไปอีกไม่กี่นาทีก็ถึงตัวปราสาท

ผมอยากเห็นภาพของปราสาทนี้ หาอยู่นานจึงจะเจอ เพราะหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ท่านเขียนชื่อปราสาทผิดไปว่า Wamour Castle



กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 10:14
Walmer Castle อยู่ชายทะเล บรรยากาศแสนจะรื่นรมณ์  ท่านลอร์ดได้มายืนรอต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายจากเมืองสยามอันไกลโพ้นอยู่ถึงหน้าประตูปราสาท เสียดายสมัยนั้นยังไม่มีฮอลิคอปเตอร์ มิฉะนั้นเจ้าบ้านคงจะจัดให้ทั้งสองท่านได้เสด็จขึ้นไปสำรวจปราสาทของท่านเยี่ยงวิหกเหิรหาว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 11:01
ใกล้เวลาอาหารกลางวันแล้ว ท่านลอร์ดจึงนำอาคันตุกะทั้งสององค์ไปสู่ห้องเลี้ยงรับรอง และแนะนำกับบรรดาสหายของท่านที่ได้รับเชิญมาร่วมต้อนรับด้วยในครั้งนี้ เคาน์เตสแกรนวิลล์ ภรรยาท่านลอร์ดได้จูงพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณไปประทับนั่งใกล้กับท่าน  จะพูดคุยอะไรกันบ้างไม่ทราบแต่หลังจากอาหารแล้วทั้งสองได้ออกไปเล่นเทนนิสกัน  ผมอ่านๆเขียนๆถึงตรงนี้ยังรู้สึกจุกถึงหน้าอกไปด้วย

ลอร์ดแกรนวิลล์พาหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ไปนั่งกับท่านเสียอีกทางหนึ่งเพื่อจะพูดธุระกัน  เรื่องก็มีประเด็นที่จะขอใช้เส้นก๋วยจั๊บของท่านฝากพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยดีๆหน่อย แล้วจึงปรึกษาความอันสำคัญเรื่องที่สยามอยากจะขอแก้สนธิสัญญาทางราชไมตรีเกี่ยวกับการค้าสุรา ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบอยู่ กับเรื่องเกี่ยวกับคนในบังคับของอังกฤษและสิทธิคุ้มครองที่คนพวกนี้ได้รับ รวมถึงเรื่องที่สยามอยากจะเพิ่มสัมพันธภาพกับอังกฤษ ด้วยการเปิดสถานทูตในลอนดอนและส่งคนมาประจำในฐานะอัครราชทูต ซึ่งอังกฤษจะต้องยกความสัมพันธ์จากระดับกงสุลมาอยู่ระดับเดียวกันด้วย  ทั้งหมดนี้ลอร์ดแกรนวิลล์จะขอรับไปพิจารณา แล้วหันไปบอกลอร์ดสเปนเซอร์  รัฐมนตรีศึกษาธิการให้ช่วยรับเรื่องการศึกษาของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณไปจัดการแทนให้ท่าน

ไม่ทราบว่าทรงพระสำราญหรือเครียด แต่ทั้งสองพระองค์กว่าจะเสด็จกลับถึงลอนดอนได้ก็เวลาประมาณสองทุ่ม

ภาพล่างลอร์ดแกรนวิลล์ได้เลื่อนขึ้นเป็นท่านเอิร์ลแล้วนะครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 16, 11:56
ในหนังสือกล่าวสรุปว่า นักเรียนไทยอีกเก้าคนที่ไปด้วยกันในคณะนี้ สองคนไปเรียนที่กรีนิช  สามคนไปเรียนที่แฮมสเตด สองในปารีส และอีกสองได้เรียนที่เดียวกันกับพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทำให้ได้ช่วยเหลือพระองค์ในระหว่างการศึกษาเล่าเรียนด้วย

คงทราบกันแล้วนะครับ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณทรงได้เข้าศึกษากฎหมายจากเบลเลียลคอลเลจ ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด แต่ยังไม่ทันจะจบการศึกษา พระองค์ต้องเสด็จกลับประเทศไทย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 16, 07:50
ปัญญาเกี่ยวกับกงสุลต่างชาติในกรุงเทพ

เมื่อกระทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับสยามไปแล้ว นานาประเทศส่วนใหญ่ก็มาตั้งสถานกงสุลของตนขึ้นในกรุงเทพ ชาติมหาอำนาจที่มีอาณานิคมแถวนี้ก็ใช้สถานกงสุลเป็นที่แสดงบารมีของตน  เช่น อังกฤษที่ยึดครองสิงคโปร ปีนัง และรัฐมลายูเข้าไปกว่าครึ่งแล้ว รวมถึงพม่าใต้ที่มีย่างกุ้งเป็นเมืองหลวง แล้วกำลังทางผนวกพม่าที่หนีไปตั้งราชอาณาจักรใหม่ทางเหนือด้วย ฝรั่งเศสก็ยึดครองญวนและดินแดนส่วนหนึ่งของลาวและเขมรที่อ้างว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ดัชท์มีอาณานิคมในชวา และปอร์ตุเกตมีอาณานิคมในมาเก๊า ประชาชนของเมืองขึ้นเหล่านี้ถือว่าเป็นคนในบังคับของชาติผู้ปกครอง

ปอร์ตุเกตได้เริ่มต้นรู้มากขึ้นก่อนเพราะคนจีนจากมาเก๊ามาอยู่เมืองไทยไม่มากนัก จึงรับเอาพวกจีนอพยพไม่เลือกหน้ามาเข้าสังกัด อังกฤษฝรั่งเศสก็เลยเอาอย่างบ้าง แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 16, 07:57
เมื่อรัฐบาลสยามประท้วงว่าคนจีนจำนวนมากมิได้เข้ามาจากเขตอาณานิคมของชาติเหล่านั้น ทั้งอเมริกาก็ไม่มีอาณานิคมในจีนเลย เรื่องนี้กงสุลอเมริกันก็ตอบหน้าตายง่ายๆว่าก็ประเทศจีนไม่มีกงสุลในสยาม แต่เมื่อจีนกับอเมริกาเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกัน คนจีนจึงต้องได้รับความคุ้มครองจากอเมริกันด้วย

ส่วนลูกจีนที่ทำมาค้าขายในเมืองไทยอยู่ แม้คนที่เกิดที่นี่ แต่ก็เห็นช่องทางที่จะได้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษบางประการ  และเห็นเกราะป้องกันมิให้ถูกเจ้าหน้าที่รีดไถเช่นแต่เคยมา ก็พากันไปสมัครเข้าเป็นคนในบังคับของชาติมหาอำนาจ โดยยอมเสียค่าธรรมเนียมที่คำนวณแล้วถูกกว่าที่จะต้องจ่ายภาษีให้สยาม แล้วยังไม่ต้องถูกหมายเกณฑ์ หลบเลี่ยงการจับกุม และไม่ต้องขึ้นศาลไทย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 16, 17:05
การค้าสุราก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่ก่อนแต่ไรมารัฐบาลผูกขาดการกลั่นและการขายเหล้า นำมาซึ่งรายได้แผ่นดินจำนวนมหาศาลทุกปี ฝรั่งเศสและอังกฤษไม่สามารถจะนำเข้าไวน์และวิสกี้มาขายแข่งขันได้ ด้วยราคาที่แพงสุดโต่งเพราะค่าขนส่ง  แต่ไม่ช้าไม่นานพวกกงสุลก็ค้นพบว่าเหล้าโรงที่กลั่นกันในอินโดจีนและชวาถูกกว่าและแรงกว่าเหล้าไทย การนำเหล้าพวกนี้เข้ามาขายก็ยอมแค่เสียภาษีตามสัญญาร้อยชักสามตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อรัฐบาลสยามไม่ตกลงให้สิทธิคนต่างด้าวในเรื่องการค้าสุรา  พวกเขาก็พริ้วไปออกทะเบียนและและหนังสือรับรองให้การคุ้มครองให้แก่คนในบังคับของตนแทน ในกิจการค้าขายสุรา รัฐบาลก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจที่จะจับกุมคนในบังคับกงสุลต่างชาติ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 16, 17:40
แย่ยิ่งกว่านั้นอีก เพราะไม่ว่าอะไรที่รัฐบาลอยากจะทำ พวกกงสุลก็คอยแต่จะคัดค้าน อ้างว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา และกล่าวกับรัฐบาลไทยเป็นนัยๆ ประมาณว่าจะออกกฏหมายใดๆโดยไม่ได้รับความเห็นชอบของกงสุลก่อนไม่ได้ เพราะกฏหมายเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในสยาม


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มี.ค. 16, 07:45
นายนิวแมน ผู้ที่ตามอ่านเรื่องที่ผมเขียนคงรู้จักนายคนนี้นะครับ ม.ล.มานิจท่านเขียนว่าเป็นกงสุลอังกฤษ แต่ความจริงน่าจะยังเพียงรักษาการกงสุลระหว่างที่นายน๊อกซ์ถูกเรียกไปปลดออกจากตำแหน่ง และรอนายวิลเลียม พัลเกรฟซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บัลกาเรียให้มาเป็นกงสุลแทน
นายนิวแมนโกรธรัฐบาลมากที่ออกกฏหมายว่าด้วยการพนันออกมา กระทบถึงคนในบังคับอังกฤษที่นำเกมเสี่ยงโชคมาตั้งล่อชาวบ้านชาวเมืองกันข้างถนนหนทาง เกมที่ว่านี้เป็นเกมโยนห่วงที่พ่อค้าอังกฤษนำเข้าโต๊ะมาขายให้คนจีนในบังคับ นำไปวางข้างถนน ล่อให้คนจ่ายเงินซื้อห่วงนำไปโยนให้คล้องลงบนเดือยไม้เล็กๆให้ได้ เพื่อชิงรางวัล  คนไทยไม่เคยเห็นเกมอย่างนี้มาก่อนก็แห่กันไปมุง เล่นกันจนกระเป๋าแห้ง เงินไปตุงอยู่ในกระเป๋าของอาเฮียเจ้าของโต๊ะ  แล้วไปจ่ายค่าต๋งให้กงสุลอังกฤษอีกที

เมื่อกระทรวงพระคลังออกกฏหมายฉบับใหม่ ห้ามมิให้เล่นเกมเสี่ยงโชคกันบนพื้นข้างถนน เข้าข่ายพระราชบัญญัติการพนัน นายนิวแมนก็ประท้วงว่าการห้ามเช่นนี้ไม่ได้ตกลงกันมาก่อนตามความในสญธิสัญญาทางพระราชไมตรี และกงสุลอังกฤษมิใด้รับแจ้งล่วงหน้า เขาจึงมีความเห็นว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้ และเตือนเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่ให้จับกุมคนในบังคับอังกฤษอย่างเด็ดขาด


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 มี.ค. 16, 08:34
เรื่องข้างบนมิได้เป็นเหตุยั่วยุกรณีย์เดียว  การคุ้มครองสิทธิ์ที่เกินกว่าเหตุของชาวต่างชาติจะเกิดขึ้นทุกครั้งในคดีความระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของกงสุล ซึ่งศาลกงสุลจะตัดสินให้คนของเขาเป็นฝ่ายชนะคดีทุกครั้ง และเมื่อรัฐบาลอุทธรณ์ ศาลก็จะวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และไม่ใช่ธุระของรัฐบาลที่จะเข้าแทรกแซงในคดีความส่วนบุคคลของประชาชน

เมื่อรัฐบาลสยามประท้วงเรื่องไปยังรัฐบาลของกงสุลเหล่านั้น เรื่องก็ต้องยื่นผ่านสถานกงสุลอีก กงสุลก็จะทำข้อแก้ตัวประกบไปยังรัฐบาลของตัวแบบเยาะเย้ยความเห็นของรัฐบาลสยามไปด้วย จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวต่อที่คดีความจะทั้งหลายจะตกไปทุกคดี

ฝรั่งทำอย่างนี้กับทุกชาติที่ยังไม่ได้ถูกยึดครองเป็นเมืองขึ้นโดยสมบูรณ์ แต่จำเป็นต้องยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ภาพข้างล่างคือศาลกงสุลในเมืองจีน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 มี.ค. 16, 09:11
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงมีพระราชดำริว่า หากรัฐบาลสยามสามารถส่งคนของตนไปอธิบายเหตุขัดแย้งต่างๆกับกงสุลได้ถึงตัวผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลของเขา ก็จะได้รับผลทางยุติธรรมกว่าการที่จะต้องผ่านเรื่องไปทางคู่กรณีย์ ดังเช่นคราวที่พระยาภาสกรวงศ์ได้เป็นราชทูตพิเศษ เดินทางไปเจรจาความขัดแย้งกรณีย์นายน๊อกซ์ กงกุลใหญ่อังกฤษถึงลอนดอนกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของเขา แล้วได้รับผลสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจ

ดังนั้น หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ซึ่งได้พิสูจน์ความรู้ความสามารถในครั้งนั้นด้วยในฐานะล่ามและเลขานุการเอก จึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงเป็นอัครราชทูตสยามองค์แรก ประจำการที่ลอนดอนและรับผิดชอบประเทศคู่สัญญาอีกทั้งหมดรวม ๑๒ ประเทศ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 26 มี.ค. 16, 14:46
ฮิฮิ ให้เวลาท่านอาจารย์ใหญ่กว่าถึงเดือนตุลา ในงานหนังสืองวดหน้า ออกเล่มใหม่เรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ รวมทุกมุมทุกรสชาติ จะได้พกเตารีดคันไถไปขอลายเซ็นได้ ถ้าตุลานี้ไม่ออกหละไม่ยอมจริงๆ ต้องมีอาละวาดกันแล้ว :)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 มี.ค. 16, 17:47
เขียนไปบอกที่สกุลไทยสิครับ อย่ามาเบ่งในห้องนี้ มันบ่มีผล


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 26 มี.ค. 16, 21:34
 >:(  >:(  >:(


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 16, 07:59
ทางโน้นเลยทั่น ทางโน้นเลย มีงานทำแน่


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 16, 08:03
แม้จะไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน แต่ท่านราชทูตปฤษฎางค์ก็ได้ทรงเดินทางไปถวายพระราชสาส์นแสดงความปรารถนาดีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯต่อ กษัตริย์ ชาร์ลที่ ๑ แห่งโรมาเนียด้วย

กษัตริย์ของรัฐเอกราชอันไกลโพ้นอีกพระองค์หนึ่งที่เคยได้รับการถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกของสยามก็คือกษัตริย์กาลากะลัว แห่งฮาวาย คราวเสด็จมาสยามในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ เพื่อแสวงหาพันธมิตรไปคัดง้างกับอเมริกา คราวนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนพระองค์ถวายการต้อนรับคือหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ผู้เพิ่งจะทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยม และกำลังเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัวในช่วงนั้นทีเดียว

ผมเคยเขียนไว้ "เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕" ว่างๆลองไปเปิดอ่านนะครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5767.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5767.0)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 16, 08:05
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้ทรงจัดตั้งสถานอัครราชทูตสยามขึ้นเป็นครั้งแรกที่ อาคารเลขที่ 8 Glendower Place, South Kensington แล้วย้ายไปอยู่หมายเลข 13 Ashburn Place และ 23 Ashburn Place เป็นที่สุดท้าย
จนกระทั่งปี ๑๙๖๕ สถานเอกอัครราชทูตไทยจึงได้ย้ายอีกครั้ง มายังที่อยู่ปัจจุบัน ณ อาคารเลขที่ 30  Queen’s Gate


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 16, 08:46
ภารกิจพิเศษของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในออสเตรียและเยอรมันนี เมื่อปี ๑๘๘๑

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เมื่อก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูต หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับคำสั่งให้ไปเฝ้าถวายของขวัญพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่ พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรด์ไกเซอร์แห่งเยอรมันนี ในวโรกาสที่ทรงอภิเษกสมรส และ พระมงกุฏราชกุมาร พระราชโอรสพระเจ้าจักรพรรดิ์แห่งออสเตรีย ในวโรกาสที่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเช่นเดียวกัน

คราวนั้น ท่านทรงเดินทางด้วยรถไฟจากปารีสไปสวิตเซอร์แลนด์  มุ่งไปเฝ้าดยุคแห่งเยนัวที่อิตาลีก่อน
ท่านดยุคนี้เป็นน้องเขยของกษัตริย์อิตาลีผู้เคยเสด็จไปประพาสเมืองไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะ และหม่อมเจ้าปฤษฎางค์เคยได้รับพระราชบัญชาให้ถวายการต้อนรับระหว่างเสด็จอยู่ในสยาม การเดินทางครั้งนี้ทรงนำผู้ช่วยชื่อนายเสน่ห์ กับคนรับใช้อีกคนหนึ่งไปด้วย และทรงทำบันทึกประสบการณ์ครั้งนี้ไว้อย่างค่อนข้างจะละเอียด


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 มี.ค. 16, 08:52
เมื่อท่านเดินทางถึงสถานีรถไฟ Arona เคานต์โอลิเวรา จาก เวโรนา ได้มาต้อนรับ และพาไปวังท่านดยุคด้วยรถเทียมม้าสี่ตัว เมื่อถึงแล้วก็ได้รับการต้อนรับอย่างเก็นกันเอง ท่านดยุคได้แนะนำให้รู้จักท่านแม่ ก่อนที่จะพาไปยังห้องรับรอง ซึ่งเป็นห้องชุดหรูหราซึ่งจัดถวายพระราชินีแห่งอิตาลี ผู้เสด็จมาพำนักที่นั่นเมือสัปดาห์ที่ผ่านมา

เมื่อถึงเวลาค่ำ ท่านแม่ได้ให้ท่านคล้องแขนนำไปยังโต๊ะอาหาร และใช้เวลากันจนดึกดื่นด้วยการเล่นไพ่ และบิลเลียด  เช้าวันรุ่งขึ้นดยุคแห่งเยนัวได้นำท่านไปยังเรือกลไฟที่จอดเทียบท่าอยู่ที่ทะเลสาป หลังจากนั้นก็ให้ท่านเคานต์นำท่านนั่งรถม้าไปส่งยังสถานีอโรนา

ท่านดยุคยังคงประทับใจในไมตรีจิตอันอบอุ่นระหว่างที่อยู่ในสยาม และยินดีที่ได้ต้อนรับหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในครั้งนี้ ท่านได้เมตตาเขียนหนังสือแนะนำตนในนามของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ เพื่อถวายแด่กษัตริย์แห่งอิตาลี ซึ่งขณะนั้นกำลังเสด็จอยู่ในกรุงเวียนนาให้ด้วย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 มี.ค. 16, 08:54
หลังจากที่เดินทางออกจากอโรนาไปสู่เวียนนา หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงต้องเจอปัญหาความล่าช้าของการเชื่อมต่อขบวนรถ ต้องเดินทางตลอดทั้งคืนเพื่อจะไปถึงเวียนนาอย่างฉุกละหุกในเช้าของวันที่กำหนดนัดจะเข้าเฝ้า
 
หลังจากได้พักหายใจหายคอได้ไม่นานก็จะถึงช่วงเวลาอันสำคัญ นาย Schönburger กงสุลสยามประจำเวียนนาได้เช่ารถม้าแบบแทกซี่ข้างถนน เพื่อที่จะนำท่านและผู้ช่วย ผู้ซึ่งแต่งเครื่องแบบเข้าเฝ้าอย่างเต็มยศ  เข้าวังไปพบกับกรมวังผู้ใหญ่ ก่อนที่จะนำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ Franz Joseph I แห่งออสเตรีย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 09:41
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงมีบันทึกว่า การขาดความรู้ความเข้าใจของกงสุลที่สยามจ้างไว้คนนี้เป็นที่ชัดเจน ท่านจึงไม่ได้รับการต้อนรับที่สมควรแก่การ เพราะการจัดการล่วงหน้าที่ใช้ไม่ได้

สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงมีพระกรุณามาก แม้จะทรงแปลกพระทัยเพราะไม่ทรงทราบมาก่อนว่า ราชทูตพิเศษของสยามเดินทางมาเฝ้าพระองค์เพียงเพื่อจะถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าอยู่หัวอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น
กงสุลสยามมิได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าในครั้งนี้ แต่สำนักพระราชวังยอมให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงมีล่ามได้ ในการนี้ นาย Schönburger ได้จัดให้พี่ชายของตนมาทำหน้าที่นั้น นายคนนี้ตื่นเต้นขนาดหนักจนเหงื่อแตกพลั่กๆต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งก็น่าจะทรงสังเกตุได้เห็นเช่นกัน

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงกราบบังคมทูลตามแบบฉบับทางการทูต ผมคงไม่ต้องแปล แต่ผู้อ่านคงถอดความได้ไม่ยาก


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 10:24
สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงตรัสตอบโดยไม่ทรงอ่านร่าง เนื้อหาว่าทรงมีความยินดีต่อความปรารถนาดีของพระเจ้าอยู่หัวสยามผู้ทรงเป็นทั้งเพื่อนและพี่น้องของพระองค์ ทรงพอพระทัยที่ได้ทรงทราบว่าท่านราชทูตผู้แทนพระองค์ในกรุงเทพได้ทำหน้าที่กระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ดี  และทรงได้รับรายงานกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวด้วยความนิยมชมชอบอยู่เสมอ ทรงยินดีต้อนรับหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในฐานะราชทูตพิเศษท่านแรกที่มาเจริญสัมพันธไมตรี และทรงหวังว่าจะได้รับความสุขความเพลิดเพลินระหว่างพำนักอยู่ในกรุงเวียนนา

ค่ำวันนั้นหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้รับเชิญไปฟังคอนเสริต และได้ถูกเบิกตัวต่อสมเด็จพระราชินีที่เสด็จมาเป็นองค์ประธาน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 10:42
ในระหว่างที่เฝ้าอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ว่า สยามกำลังคิดจะสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันชายฝั่งของตนเอง และอยากจะเรียนรู้ว่าในออสเตรียนั้นได้กระทำไว้อย่างไร สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงสนองตอบโดยทันทีว่าพระองค์ทรงอนุญาต แต่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ยังไม่สะดวก ณ เวลานั้นเพราะยังมีภารกิจต้องเสด็จไปเยอรมันต่อ จึงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตที่จะกลับไปลอนดอนก่อน แล้วจึงจะกลับมาอีกครั้ง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 11:10
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เดินทางต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน เมื่อถึงเวลานัดหมาย กรมวังผู้ใหญ่ได้นำรถม้าของสำนักพระราชวังไปรับท่านและคณะ และนำมายังสถานที่เข้าเฝ้าอย่างสมเกียรติ

เมื่ออยู่เบื้องพระพักตร์แล้วท่านราชทูตสยามได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามทรงมีพระราชบัญชาให้ท่านนำพระราชสาส์นแสดงความยินดี ซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่องที่สร้างขึ้นด้วยศิลปหัตถกรรมสยาม ในวโรกาสที่พระราชนัดดาของพระองค์ทรงอภิเษกสมรส ในครั้งนี้..

ส่วนข้อความตามสำนวนปฏิบัติทางการทูตก็ตามที่นำมาลงไว้ให้เป็นการศึกษานะครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 11:45
สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ไกเซอร์ได้มีพระราชดำรัสด้วยพระกรุณาอย่างยาวนาน และทรงเชิญให้กลับไปในงานเลี้ยงพระราชทานตอนค่ำ ทรงสัญญาว่าจะสั่งการให้ทหารจัดพาท่านไปชมกิจการและอาวุธยุทโธปกรณ์ หลังจากที่จะไปเวียนนามาแล้ว

กว่าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะกลับมาอีกได้ก็ประมาณเดือนหนึ่งให้หลัง ที่ออสเตรียนั้น ได้เสด็จไปดูป้อมปราการป้องกันทางฝั่งทะเลตอนใต้ โดยมีท่านอาร์ค ดยุก คาล์ล สตีเฟนได้ร่วมเดินทางไปในเรือกลไฟลำเดียวกันด้วย ท่านอาร์ค ดยุกชอบใจท่านราชทูตมาก จึงได้เชิญไปพำนักที่ปราสาทของท่านและยังได้พาไปชมที่ตั้งทางทหารอื่นๆที่ปกติ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่ชาวต่างชาติ

หลังจากนั้น จึงได้เสด็จไปเบอร์ลินอีกครั้งตามนัดหมาย  และทรงมีหนังสือเล่าความไปยังกงสุลสยามในเวียนนาถึงเรื่องราวที่เบอร์ลินว่า การศึกษางานของท่านเป็นไปด้วยดี และทรงได้รับเกียรติเชิญให้ไปในงานพระราชทานเลี้ยงอีกครั้งพร้อมกับราชทูตของตุรกี ซึ่งนำเครื่องราชย์มาถวายสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ไกเซอร์ ในโอกาสนี้ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทร์แดง (The Order of the Red Eagle)จากพระเจ้าไกเซอร์
นายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีสงครามผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำท่านไปดูที่ตั้งทางการทหารต่างๆนั้น พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ทำให้ต้องพูดจากันผ่านล่ามตลอดเวลา การไปเยี่ยมชมนี้จึงไม่เป็นที่พึงพอใจเลย

ไม่ทราบว่าท่านเอ่ยถึงล่ามขึ้นมาเพื่อจะเปรียบเปรยไปกระทบตัวกงสุลกับพี่ชายหรือเปล่า


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 มี.ค. 16, 11:46
อาจารย์ครับ จากคำกราบบังคมทูล ที่ว่า  

"The King of Siam, my August Sovereign,..."

คำว่า August ในประโยคนี้ หมายถึงอะไรครับ ในกรณีนี้ คงไม่ได้หมายถึงชื่อเดือนกระมังครับ ?




กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 12:30
แหะ ๆ
รอท่านอาจารย์ใหญ่เทาชมพู ท่านหายไข้แล้วเข้าตอบก็แล้วกันนะครับ

ขอตัวแว็บ  ฟิ๊ววววว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 มี.ค. 16, 13:23
August มีความหมายในสองสิ่ง
คือเดือนสิงห์คุณนริศคิดความหมาย
คือสูงส่งน่าเคารพนบนอบกาย
August Sovereign หมาย "บรมราชา" น่าจะตรง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 มี.ค. 16, 13:43
ขอบพระคุณครับ
ถ้าอย่างนั้น ผมสันนิษฐานว่า มาจากชื่อเจ้าของเดือน August คือ Augustus Caesar (63 B.C.–A.D. 14)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 29 มี.ค. 16, 13:53
ความรู้ใหม่เอี่ยมเลย ขอบคุณอาจารย์ใหญ่ทุกท่านครับ ;)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 15:28
ย่องกลับเข้ามานั่งเป็นนักเรียนมั่ง

เท่าที่หาเจอในเน็ทมีพระจักรพรรคิ์แห่งญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ฝรั่ง(อเมริกัน)ใช้คำว่า August Sovereign of Japan
อาจารย์หมอเพ็ญพอจะหากษัตริย์พระองค์อื่นที่ทรงใช้ August Sovereign ได้อีกไหมครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 มี.ค. 16, 15:45
ความหมายของ august ที่ใช้เป็น adjective คือ
noble, great, kingly, grand, excellent, imposing, impressive, superb, distinguished, magnificent, glorious, splendid, elevated, eminent, majestic, dignified, regal, stately, high-ranking, monumental, solemn, lofty,

น่าทึ่งอยู่เหมือนกันกับคนที่ประดิษฐ์คำๆนี้มาประกอบพระนามพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่ง(ผมว่า)ไม่เกี่ยวกับ Augustus Caesarแต่อย่างใด
เพียงแต่หลีกเลี่ยงไม่ใช้คำ เช่น Great Sovereign หรือ Glorious Sovereign ฯลฯ ซึ่งอาจจะฟังว่ายกพระองค์จนเกินไป

บางที อาจจะนำความคิดมาจากการที่นายพลเรือเพอรรี่ ใช้คำๆนี้กับสมเด็จพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นในสนธิสัญญาเปิดประเทศ ซึ่งถือเป็น case studyในสมัยนั้น และผ่านตาคนไทยอยู่ จึงนำมาใช้บ้าง




กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 29 มี.ค. 16, 19:12

ความรู้ใหม่สำหรับผมเหมือนกันครับ

"the august sovereign of ..." น่าจะแปลว่าเจ้าเหนือหัว
ลงค้นดู ... มีตั้งแต่

Spain Siam China German England France ไปจนถึง Mosquito  ;D
 


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 มี.ค. 16, 07:48
การแต่งตั้งหม่อมเจ้าปฤษฎางค์เป็นราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม

เมื่อกลับจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปมาถึงลอนดอนแล้ว ทรงได้รับคำสั่งจากกรุงเทพว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นราชทูตพิเศษประจำทุกราชสำนักในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีหนังสือของเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดีกำกับมาว่า พระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชบัญชายังตัวท่านให้แจ้งความมาทูลให้ทราบว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พระสยามธุระพาหะเป็นเลขานุการต่างประเทศ หลวงนายเดชเป็นเลขานุการ ขุนปฏิภาณพิจิตรกับนายร้อยเอกเพียรเป็นผู้ติดตาม บุคคลเหล่านี้กำลังเดินทางมาสมทบ ส่วนงานของท่านอันเกี่ยวกับการขอแก้ไขสัญญาว่าด้วยการค้าสุรานั้น ก็ตามที่ได้เคยทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับท่านไว้แล้ว

เอกสารประจำตัวที่จะต้องนำขึ้นถวายยังราชสำนักต่างๆนั้น ได้ถูกจัดส่งมากับหลวงนายเดชและคณะที่มาจากกรุงเทพ ซึ่งมากันเป็นคณะใหญ่เพราะโปรดเกล้าฯให้นำนักเรียนไทยอีก ๘ คน มาเรียนต่อในยุโรปด้วย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 มี.ค. 16, 08:01
หน้าที่ของราชทูตสมัยนั้นจึงรวมไปถึงการเป็นผู้ปกครองเด็กไปด้วยเป็นงานฝาก จึงถือว่าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำยุโรปองค์แรกด้วย  ทรงจัดการให้นักเรียนคณะนั้นเข้าเรียนใน ๔ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย ในอังกฤษนั้น ทรงจ้างครูคนหนึ่งให้ตระเวนเยี่ยมนักเรียนซึ่งมีอยู่มากคนแล้ว เพื่อประเมินผลการเรียนและให้คำแนะนำต่างๆกับเด็กในด้านการศึกษาเล่าเรียน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 มี.ค. 16, 08:18
พระบรมราชโองการแต่งตั้งราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มทำให้กงสุลใหญ่สยามในอังกฤษไม่พอใจ นายเมสัน (D.K Mason) หรือพระสยามธุระพาหะ ต่อมาได้เป็นพระยา ผู้ที่เคยเป็นพ่อค้าและมีห้าง ชื่อห้างเมสันตามชื่อของตนเองนี้แหละ ทำมาค้าขายอยู่ในกรุงเทพตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาทรงจ้างให้ไปเป็นกงสุลของสยามประจำอยู่ในลอนดอน แต่ห้างนั้นก็ยังคงดำเนินการต่อ

นายเมสันถือว่าเป็นคนเก่าแก่ แต่ตำแหน่งใหม่ที่เขาได้รับคือเลขานุการต่างประเทศนั้นกระจ๋อนเกินไป ไม่สมศักดิ์ศรี จึงทำหนังสือขอเกษียณทางทางราชการ อ้างว่าชราภาพแล้ว ขอรับพระราชทานบำนาญอยู่กินกับบ้านดีกว่า
ท่านทูตปฤษฎางค์ก็ทรงเข้าใจเป็นอันดี แต่ทรงขอร้องให้เขาอยู่ช่วยท่านในระยะเริ่มต้นนี้ก่อน โดยจะแต่งตั้งตำแหน่งให้ใหม่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งนายเมสันก็พอใจ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 08:19
มีเรื่องปวดหัวประดังมาแทรกซ้อน

คณะของหลวงนายเดชผู้จะมาเป็นเลขานุการสถานทูต ได้นำข้าราชการและนักเรียนทั้งแปดไปหลงทางเสียตั้งแต่ลงจากเรือที่ยุโรป แต่แรกนั้นท่านทูตปฤษฎางค์รับสั่งให้มองซิเออร์ เกรออง กงสุลสยามในฝรั่งเศสไปรอรับคณะที่ท่าเรือเมืองมาร์แซย์  แต่คณะคนไทยนี้ไปลงเสียที่เนเปิล  ต้องโทรเลขไปๆมาๆกันหลายตลบกว่าจะได้ความว่า ณ จุดสุดท้ายที่ติดต่อกันนั้น  ทั้งหมดได้ขึ้นรถไฟจากเนเปิลไปแล้ว มุ่งหน้าจะไปลงที่เวียนนา ท่านทูตปฤษฎางค์จึงทรงสั่งการให้กงสุลฝรั่งที่นั่นไปคว้าตัวมาให้ได้ แล้วให้ประกบขึ้นรถไฟมาที่โดเวอร์ และลงเรือข้ามฟากมาลอนดอนด้วย

สุดท้ายหลวงนายเดชก็มาถึงที่หมายได้ และนำหนังสือของกรมหมื่นเทววงศ์ ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ทรงมีถึงมองซิเออร์ เกรออง กงสุลสยามในฝรั่งเศส แจ้งเรื่องที่สยามได้จัดตั้งสถานอัครราชทูตขึ้นในลอนดอน และขอให้กงสุลที่ฝรั่งเศสคอยรับรองและช่วยเหลือในกิจการที่ท่านทูตจะพึงมีในอนาคต

แน่นอน เมื่อเรื่องนี้ถึงมือ มองซิเออร์ เกรออง ก็ไม่พอใจ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 08:52
กรมหมื่นเทววงศ์ทรงได้รับหนังสือตอบจากมองซิเออร์ เกรออง แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะจัดตั้งสถานทูตในลอนดอนแทนที่จะเป็นปารีส เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่ ถ้ามีสถานทูตในอังกฤษโดยไม่มีในฝรั่งเศสด้วยก็เท่ากับดูถูกกัน

กรมหมื่นเทววงศ์ทรงตอบกลับไปอย่างเรียบๆว่า สยามเป็นประเทศเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถจะมีสถานทูตหลายๆแห่งได้

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จึงได้ทรงเป็นอัครราชทูตไทยองค์แรกประจำราชสำนักเซนต์เจมส์  เข้าถวายพระราชสาส์นตรงตั้งต่อพระนางเจ้าวิกทอเรียที่พระราชวังวินเซอร์ ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๑๘๘๒ แต่กว่าจะได้เข้าพบประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็ล่วงเลยไปจนในวันที่ ๙ ธันวาคม ๑๘๘๒  อย่างไรก็ตาม ในเวลาประมาณสองปีให้หลัง สยามจึงจำเป็นต้องจัดตั้งสถานทูตขึ้นในปารีสด้วย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 31 มี.ค. 16, 13:26
กรมหมื่นเทววงศ์ทรงได้รับหนังสือตอบจากมองซิเออร์ เกรออง แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะจัดตั้งสถานทูตในลอนดอนแทนที่จะเป็นปารีส เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่ ถ้ามีสถานทูตในอังกฤษโดยไม่มีในฝรั่งเศสด้วยก็เท่ากับดูถูกกัน

[/b][/u][/b][/u]


อ่านมาถึงตรงนี้แล้วปรี๊ดเลย...เจตนาจะหาเรื่องชัดๆ ในกรมฯท่านก็คงต้องอดกลั้นน่าดูเลยนะคะ






กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 15:35
ใจเย็นๆครับ เรื่องมันผ่านไปแล้ว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 15:35
แม้ว่าท่านทูตปฤษฎางค์จะบันทึกว่าทรงได้รับการต้อนรับเป็นการส่วนพระองค์เป็นอย่างดีจากองค์พระประมุขของทุกประเทศ ในฐานะที่ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์จากสยาม แต่เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นได้

เมื่อถึงวันที่จะเข้าถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อพระนางเจ้าวิกทอเรียที่พระราชวังวินเซอร์ ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๑๘๘๒ นั้น แม้จะได้นัดหมายกับลอร์ดแกรนวิลล์ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครจะทราบเรื่องการเดินทางของท่าน เมื่อเดินทางออกจากลอนดอนไปโดยรถไฟตู้โดยสารธรรมดา ท่านได้สังเกตุเห็นชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งในเครื่องแต่งกายประจำชาติอลังการ ขึ้นรถไฟขบวนเดียวกันในรถตู้พิเศษ นำไปโดยมาควิสแห่งฮาร์ติงตัน รัฐมนตรีกิจการอินเดียของอังกฤษ ท่านทูตปฤษฎางค์สอบถามได้ความว่า คณะนั้นประกอบด้วยรัฐมนตรีสองคนจากไฮเดอราบาด ราชทูตจากรัฐไนซาม กับเจ้าหน้าที่ชาวอินเดียและอังกฤษอีกสามสี่คน

ท่านกับมาควิสแห่งฮาร์ติงตันนั้นเคยได้รับการแนะนำให้รู้จักกันมาก่อน แต่ในนาทีนั้นท่านมาควิสไม่มีท่าทีว่าจะจำท่านได้ เพราะกำลังง่วนอยู่กับแขกของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งท่านทูตจำเป็นต้องรักษามารยาทไม่ไปรบกวนเขา


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 15:58
เมื่อไปถึงสถานีวินเซอร์ มีรถม้าสามคันมาเทียบไว้รอรับคณะชาวอินเดีย แต่ไม่มีวี่แววว่าจะมีคันใดอีกที่มารอรับท่านราชทูตจากสยาม เมื่อท่านทูตสอบถามเจ้าหน้าที่ก็พบกับคำตอบที่น่าผิดหวัง ไม่มีใครทราบการมาของท่าน เมื่อท่านร้องขอให้จัดรถให้ เขาก็นำท่านไปนั่งในรถคันที่สาม ร่วมกับพวกคนใช้ในเบาะหลัง เพราะที่นั่งดีๆทุกที่ถูกจัดให้แขกผู้มีเกียรตินั่งหมดแล้ว

นายทหารคนสนิทของมาควิสแห่งฮาร์ติงตันหันมาถามท่านว่าท่านทราบไหมว่าคณะของราชทูตสยามจะมาถึงเมื่อไหร่ และจะมากี่คนด้วยกัน ท่านทรงตอบไปว่า ไม่มีใครหรอกนอกจากตัวท่านคนเดียวนี่แหละ นายทหารคนนั้นทำท่างงเป็นไก่ตาแตกแล้วถามว่า ตัวท่านเนี่ยนะ คือท่านราชทูต ครั้นท่านทูตยืนยันว่าใช่ นายทหารผู้นั้นทำท่าตกใจแล้วก็รีบขอให้ท่านสลับที่นั่งกับตน แต่ท่านทูตบอกว่าไม่เป็นไร ท่านรู้สึกสบายดีอยู่แล้วไม่มีปัญหา นายทหารผู้นั้นหายอมไม่ และยืนยันจะให้ท่านเปลี่ยนที่นั่งกับตนให้ได้ จนท่านทูตปฤษฎางค์ต้องทรงยินยอมกระทำตาม


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 19:29
เอารูปมาประกอบสักหน่อยให้พอเห็นที่นั่งคนรับใช้บนรถม้าหลวงของราชสำนักอังกฤษ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 16, 19:44
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกจัดให้นั่งที่นั่งบ่าว ตรงนี้เลยหรือคะ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 16, 21:20
ท่านว่าอย่างนั้นแหละครับ เพราะแขกนั่งที่นั่งดีๆหมดแล้ว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 เม.ย. 16, 08:57
เมื่อถึงพระราชฐานแล้ว คณะทูตชาวอินเดียได้รับการเลี้ยงรับรองมื้อกลางวันโดยมาควิสแห่งฮาร์ติงตัน โดยมีข้าราชสำนักทั้งชายและหญิงเข้าร่วมต้อนรับ  ท่านทูตปฤษฎางค์คงได้ถูกมั่วๆเชิญไปนั่งโต๊ะด้วย จึงมีโอกาสคุยกับคณะชาวไนซาม ทราบว่าพวกเขาต้องรออยู่ในลอนดอนถึง ๒ เดือน กว่าพระนางเจ้าวิกทอเรียจะโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าได้ หลังจากวันนี้ก็จะอยู่ต่ออีกสักสิบวัน แล้วจะเดินทางไปเที่ยวยุโรปกันก่อนจะกลับบ้าน

หลังอาหารกลางวันทุ กคนลุกขึ้นจากโต๊ะแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่ามาควิสแห่งฮาร์ติงตันจะมาเสวนาด้วย ท่านทูตปฤษฎางค์จึงเป็นฝ่ายเดินไปทักทายก่อนโดยกล่าวว่าท่านมีโอกาสได้พบท่านมาควิส  เมื่อคราวที่มาเข้าเฝ้าพระนางเจ้าวิกทอเรียในครั้งแรก  ท่านมาควิสจำได้จึงตอบว่านึกออกแล้วว่าเคยพบท่านในโอกาสนั้นนั่นเอง  ท่านทูตปฤษฎางค์ไม่ทราบจะพูดอะไรต่อนอกจากจะถามว่า ท่านจะต้องถวายตราตั้งทั้งซองหรือต้องนำออกมาก่อน  มาควิสแห่งฮาร์ติงตันตอบว่าตนก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เดี๋ยวจะถามราชเลขานุการส่วนพระองค์ให้  ได้ความแล้วจะแจ้งให้ทราบภายหลัง จากนั้น  ท่านมาควิสจึงเดินไปถามเซอร์เฮนรี พอนซันบี

ภาพข้างล่าง มาควิสแห่งฮาร์ติงตัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 เม.ย. 16, 16:31
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์รออยู่สักพักหนึ่งก่อนที่จะถูกเชิญเข้าไปในห้องที่ตกแต่งด้วยสีเหลืองเพื่อรอเวลาที่จะทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้า ระหว่างที่พระนางเจ้าวิกทอเรียกำลังทรงเตรียมพระองค์อยู่นั้น  ราชเลขานุการส่วนพระองค์ได้เข้ามากระซิบทูลถามถึงวิธีประดับสายสะพายเรื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกของสยาม  หลังจากนั้นสักพัก เซอร์เฮนรี พอนซันบีได้เข้ามาประกาศว่า  พระนางเจ้าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัครราชทูตจากสยามเข้าเฝ้าก่อนเป็นรายแรก

ทุกอย่างพร้อม มาควิสแห่งฮาร์ติงตันได้เดินนำหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ไปยังท้องพระโรง  พนักงานชาวที่เปิดประตูให้  ภายในนั้น ลอร์ดริบเบิลส์เดล และลอร์ด เฟรดิคาร์ยืนรออยู่แล้ว  มันน่าแปลกเกินไปสักหน่อยที่ไม่มีการเตรียมการใดๆมาก่อนเลย  ลอร์ดริบเบิลส์เดลจึงเพียงแต่ขานเบิกตัวผู้เข้าเฝ้าง่ายๆว่า “อัครราชทูตสยาม” แทนที่จะต้องเอ่ยนามและตำแหน่งเต็มตามระเบียบพิธีการ

มาควิสแห่งฮาร์ติงตันเดินเคียงท่านทูตปฤษฎางค์ไปยังกลางท้องพระโรง ซึ่งพระนางเจ้าวิกทอเรียทรงประทับยืนเป็นสง่าอยู่โดยมีเจ้าหญิงบีทรีสอยู่เบื้องหลังทางด้านขวาของพระองค์  แล้วท่านมาควิสได้ก้าวไปยืนคู่กันทางด้านซ้าย  หลังถวายคำนับ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้ยื่นถวายพระราชสาส์นตราตั้ง พระนางเจ้าวิกทอเรียทรงแย้มพระพักตร์อย่างงดงาม แล้วทรงยื่นพระหัตถ์ออกมารับ  หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงกราบบังคมทูลตามถ้อยคำที่ทรงเตรียมมาอย่างดีในสมอง พระนางเจ้าวิกทอเรียทรงมีพระราชดำรัสตอบ ถามว่า “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งสยามทรงมีพระกรุณามาก พระองค์ทรงสุขสบายดีอยู่หรือ”
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ “พระองค์ทรงสุขสบายดีพระเจ้าข้า”
พระนางเจ้าวิกทอเรีย  “ท่านพูดภาษาอังกฤษได้ดีมากทีเดียว”
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์  “ข้าพระองค์ถือเป็นเกียรติที่ได้มาพำนักอยู่ในประเทศของใต้ฝ่าพระบาทมากว่าสิบปีแล้ว พระเจ้าข้า”
พระนางเจ้าวิกทอเรีย  “ มิน่าเล่า ท่านจึงพูดได้คล่องแคล่วนัก”
มาควิสแห่งฮาร์ติงตันสอดตนเข้ามาขัดจังหวะการสนทนา “ เจ้าชายองค์นี้เคยเป็นเลขานุการคณะทูตสยามที่เคยมาเฝ้าพระองค์ในปี 1880 พระเจ้าข้า”
พระนางเจ้าวิกทอเรีย  “ฉันคิดว่าฉันจำท่านได้  ยินดีมากที่ได้พบท่านอีก”

พระองค์ทรงพยักพระพักตร์  ผู้เข้าเฝ้าตระหนักว่าได้เวลาอันสมควรแล้ว
“ เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น” หม่อมเจ้าปฤษฎางค์กราบบังคมทูลก่อนจะถวายคำนับ แล้วถอยตนออกไปจากท้องพระโรงนั้น

หลังจากนั้น คณะของชาวอินเดียจึงได้เข้าเฝ้าต่อ
 


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 เม.ย. 16, 09:40
หลังการเข้าเฝ้าแล้ว ยังมีเวลาเหลืออีกมากก่อนจะถึงเวลาที่รถไฟขบวนต่อไปจะแวะสถานีวินเซอร์ในเที่ยวกลับสู่ลอนดอน  ลอร์ดริบเบิลส์เดล และลอร์ด เฟรดิคาร์สองกรมวังก็ได้ทำคณะทูตอินเดียและท่านทูตปฤษฎางค์ไปเที่ยวชมภายในห้องหับต่างๆของปราสาท ครั้นได้เวลาบ่ายสามโมงครึ่ง ขบวนรถม้าสามคันจึงได้มาจอดเรียงกันอยู่ด้านหน้าของพระราชวัง เพื่อนำคณะไปส่งยังสถานีรถไฟ

และเช่นเดิม หาได้มีใครเชิญท่านราชทูตไทยให้ขึ้นรถไม่ ดังนั้น โดยปราศจากระเบียบมารยาทอันพึงปฏิบัติ เมื่อชาวอินเดียทั้งหมดได้ขึ้นไปนั่งบนรถเรียบร้อยแล้ว หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จึงได้เชิญตนเองขึ้นไปนั่งร่วมกับเขา

เรื่องการไปเข้าเฝ้าพระราชินีนาถแห่งอังกฤษจึงจบลงอย่างสันติสุขได้ดังนี้แล 


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 เม.ย. 16, 09:06
ภารกิจสำคัญของราชทูตสยามตามพระราชบัญชา

ท่านทูตปฤษฎางค์จะต้องเดินทางไปเฝ้าองค์พระประมุขและเข้าพบประธานาธิบดีประเทศต่างๆอีก ๑๑ ประเทศ หลังจากราชสำนักเซนต์เจมส์แล้ว  ซึ่งภารกิจเหล่านี้ต้องทะยอยกระทำตามแต่จะกำหนดนัดหมายกับกระทรวงการต่างประเทศของแต่ละแห่งได้ กว่าจะเสร็จสิ้นก็ใช้เวลาเป็นปี

ภารกิจหลักที่สำคัญที่สุดตอนนั้น คืองานที่จะต้องเจรจากับรัฐบาลของชาติมหาอำนาจให้ยอมแก้ไขสนธิสัญญาภาษีร้อยชักสาม ในเรื่องการนำเข้าสุราเข้ามาในพระราชอาณาจักรให้ได้ โดยสยามต้องการเก็บภาษีเพิ่มเป็นร้อยละสิบ  และผู้ค้าปลีกจะต้องลงทะเบียนและเสียค่าอากรกับรัฐบาลด้วย เงื่อนไขดังกล่าวฝรั่งมองว่าสยามมีแต่ได้ประโยชน์ ส่วนเขามีแต่เสีย  รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้เสนอข้อต่อรองโหดๆออกมาสำหรับการทำข้อตกลงใหม่ ส่วนรัฐบาลอังกฤษยื่นเงื่อนไขว่า อังกฤษจะยอมแก้ไขสนธิสัญญากับสยามก็ต่อเมื่อมหาอำนาจทุกชาติตกลงยอมแก้ในบริบทเดียวกันทั้งหมดเท่านั้น

การทำงานของราชทูตสยามยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก เพราะความริษยาของกงสุลใหญ่อังกฤษประจำกรุงเทพ ผู้ไม่ต้องการให้สยามมีผู้แทนประจำราชสำนักซึ่งอังกฤษจะมีแต่จะเสียผลประโยชน์  จึงได้ทำหนังสือประท้วงไปยังรัฐบาลของตนในเรื่องนี้หลายฉบับ และฟ้องว่าสยามแสดงเจตนาไม่ชอบในเรื่องของสุรานำเข้าจากต่างประเทศ  และถ้าเมื่อไหร่ที่อังกฤษยอมแก้ไขให้เป็นไปอย่างที่คนไทยต้องการแล้ว วงการค้าสุราก็จะเผชิญความเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะพ่อค้าในบังคับของอังกฤษจะต้องถูกบีบจากการปฏิบัติอย่างโหดร้ายจากหน่วยงานทางราชการสยาม

ท่านทูตปฤษฎางค์ต้องทรงใช้ความอดทนอย่างยิ่งยวดที่จะติดตามความคืบหน้าของเรื่อง และเจรจาทีละขั้นละตอนกว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 เม.ย. 16, 07:22
ท่านอัครราชทูตทรงติดต่อขอเข้าพบปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เซอร์จูเลียน ผู้ซึ่งเพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ท่านทูตทรงทวงว่าท่านได้เจรจาเรื่องนี้ผ่านลอร์ดแกรนวิลล์ครั้งหนึ่งนานพอสมควรแล้ว  ท่านรัฐมนตรียังไม่ให้ให้คำตอบแก่ท่านตามที่สัญญาไว้  เซอร์จูเลียนได้ยกกล่องเอกสารกล่องหนึ่งมาให้ท่านดูแล้วบอกว่า ตั้งแต่รับตำแหน่งนี้มา ท่านยังไม่มีเวลาอ่านเอกสารในกล่องเลย นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุราของสยามทั้งนั้น แต่เอาเถอะ ท่านจะหาเวลาอ่านให้เร็วที่สุดและจะทูลแจ้งให้ท่านทูตทรงทราบต่อไป  แต่ท่านก็มีลูกเล่นที่จะประวิงเวลาโดยขอให้ส่งกฏหมายว่าด้วยสุราของสยามมาให้ท่านศึกษาก่อนเป็นพื้นฐานความรู้

หลังจากนั้นอีกหลายเดือนเหมือนกัน แต่ก็ถือว่าไม่นานเกินรอ สยามและสหราชอาณาจักรก็ได้ทำกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราฉบับใหม่ต่อกัน  โดยมีหม่อมเจ้าปฤษฎางค์และลอร์ดแกรนวิลล์เป็นผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย ส่วนปัญหาที่จะไปแก้ไขในตัวสนธิสัญญาเดิมอย่างไรนั้น จะตกลงกันภายหลัง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 เม.ย. 16, 07:59
เมื่อตกลงกับอังกฤษได้แล้ว หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ก็อาศัยความสนิทสนมกับท่านทูตฮอลแลนด์ที่ประจำอยู่กรุงลอนดอน ผู้ซึ่งมีบุตรชายทำงานเป็นเลขานุการรัฐมนตรีต่างประเทศ  พ่อหนุ่มผู้นี้เป็นผู้ต้อนรับท่านยังกรุงเฮกและพาเข้าพบท่านรัฐมนตรี  ยังผลให้เกิดกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราฉบับระหว่างสยามกับฮอลแลนด์ แต่ยังลงนามกันไม่ได้ เนื่องจากระหว่างนั้นกษัตริย์ฮอลแลนด์เสด็จลักซ์เซมเบิร์ก

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ต้องเดินทางกลับไปครั้ง เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ เพื่อถวายพระราชสาส์นตราตั้งให้ท่านเป็นอัครราชทูตสยาม ประจำกรุงเฮก หลังจากวันนั้นแล้วท่านจึงมีฐานะและอำนาจเต็มที่จะลงนามในกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราฉบับในนามของรัฐบาลสยาม แต่ยังมิทันจะได้เซนต์สัญญากัน กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์  อัครราชทูตสยามประจำอังกฤษองค์ใหม่ผู้จะมาแทนท่านได้เสด็จถึงโดเวอร์แล้ว ท่านจึงต้องรีบเสด็จกลับไปรับ

แต่การลงนามในกรอบข้อตกลงก็ได้กระทำกันโดยเรียบร้อยในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 เม.ย. 16, 16:14
เป็นงานระดับล้มยักษ์ทีเดียว
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงสร้างผลงานได้ยอดเยี่ยมในช่วงนี้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 เม.ย. 16, 18:19
ครับ ไม่ว่าจะอย่างไร ท่านเป็นคนไทยระดับสุดยอดคนหนึ่งทีเดียว ที่ทำคุณประโยชน์ให้ชาติและพระมหากษัตริย์ไว้มากถึงระดับนี้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 เม.ย. 16, 07:21
ในภาพคือพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ แห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงบันทึกว่า ในวันที่กลับไปลงนามในกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราฉบับใหม่ต่อกันนั้น รัฐบาลดัชท์ได้จัดงานรับรองเป็นเกียรติแก่ท่านโดยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมดมาร่วมในงาน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 เม.ย. 16, 08:10
ต่อจากฮอลแลนด์ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์เสด็จไปสี่ประเทศในการเดินทางครั้งเดียว เริ่มต้นที่สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และจบที่เบลเยียม ประเทศเหล่านี้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจในข้อเสียเปรียบของสยามอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ท่านทูตได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์เดินทางไปกับ Mr. Verney เลขานุการด้านการต่างประเทศของสถานทูต ระหว่างการเดินทางโดยเรือโดยสารตัดข้ามทะเลเหนือมีเรื่องให้ตื่นเต้นเล็กน้อย ฤดูกาลนั้นหมอกลงจัด ในเช้าวันดังกล่าวเรือต้องวิ่งไปอย่างช้าๆราวกับหอยทาก แต่ก็ไม่วาย ระหว่างเดินทางไปข้างหน้าโดยมองหน้าต่างออกไปไม่เห็นอะไรเลยนั้น ต้องเปิดหวูดให้สัญญาณกันเป็นระยะๆ ครั้งหนึ่งเมื่อได้ยินหวูดสัญญาณตอบรับทางด้านหน้าขวา กัปตันก็หักซ้ายหมดตัวและลดความเร็วที่ก็ช้าอยู่แล้วลงอีกจนแทบจะหยุด ทันใดนั้นก็มีเรือสำใหญ่โผล่มาจากหมอกด้วยความเร็วสูงตัดหน้าไปในระยะใกล้ ท่านกล่าวว่าถ้ากัปตันเรือไม่ตัดสินใจทำเช่นนั้น เรือคงถูกเรือลำที่ว่าผ่ากลางขาดเป็นสองท่อนแน่

หลังจากบ่ายสองโมงไปแล้วหมอกจางหายหมด เรือใช้ความเร็วเต็มที่เดินทางถึงเมืองโกเธนเบิร์กอย่างปลอดภัยในเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น เมื่อหาโรงแรมในเมืองนั้นพักผ่อนรับประทานอาหารเช้าแล้ว ทั้งคู่ก็นั่งรถไฟเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพชนบทอันงดงามสู่กรุงสตอกโฮล์ม แล้วเข้าพำนักยัง Grand Hotel อันหรูเลิศที่สุดของเมืองนั้น ก่อนจะลงมือเขียนหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อขอเข้าพบ มอบให้นายเวอร์นีย์ถือไปหาด้วยตนเองในวันรุ่งขึ้น


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 เม.ย. 16, 08:42
นายเวอร์นีย์กลับมารายงานว่าตนได้รับการต้อนรับจากท่านรัฐมนตรีอย่างฉันท์มิตร และบอกว่าพระเจ้าKarlที่ ๘ กษัตริย์แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ในช่วงนั้นมิได้เสด็จอยู่ในเมืองหลวง แต่จะกลับมาในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งท่านรัฐมนตรีจะจัดการให้ท่านอัครราชทูตสยามเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและตราตั้งโดยเร็วที่สุดหลังจากนั้น

ส่วนในเรื่องภาษีสุรา ท่านรัฐมนตรีเห็นว่ายุติธรรมแล้ว และจะพยายามเร่งเรื่องอย่างดีที่สุดเพื่อให้เสร็จทันเวลา เพื่อจะได้มีการลงนามกันได้หลังจากท่านทูตเสร็จจากการเข้าเฝ้าแล้ว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 เม.ย. 16, 09:17
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จไปพบรัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดนตามนัดหมาย เพื่อนำสำเนาพระราชสาส์นและตราตั้งให้ท่านเป็นอัครราชทูตสยามประจำสวีเดนไปมอบให้ ซึ่งท่านได้รับการต้อนรับอย่างดีเยี่ยม

เมื่อพระเจ้าKarlที่ ๘ เสด็จกลับกรุงสตอกโฮล์มตามกำหนดการ ท่านรัฐมนตรีก็ได้ประสานงานให้ท่านได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าถวายพระราชสาส์นและตราตั้งอย่างสมพระเกียรติในวันศุกร์นั้นเอง
ทรงมีบันทึกว่า
“สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ทรงมีพระกรุณาเป็นล้นพ้น ทรงต้อนรับด้วยพระราชอัธยาศัยที่เปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรี คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของพระองค์ก็เช่นเดียวกับท่านรัฐมนตรีต่างประเทศที่เป็นมิตรมาก ไม่มีอะไรจะประเสริฐไปกว่านี้ได้สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง
ในวันจันทร์ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศได้เชิญข้าพเจ้าไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อแนะนำให้รู้จักกับรัฐมนตรีท่านอื่นๆในคณะรัฐบาล และหลังจากงานเลี้ยงแล้ว ก็ได้มีพิธีลงนามในกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราฉบับใหม่ต่อกัน ซึ่งข้อความทุกตัวอักษรก็เหมือนกับที่สยามลงนามกับรัฐบาลอังกฤษไปแล้ว”

เหตุการณ์อันน่าประทับใจนั้นเกิดขึ้น ณ วันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๑๘๘๓


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 เม.ย. 16, 07:56
จากสตอกโฮล์มท่านราชทูตได้ประทับรถไฟมุ่งต่อไปยังเดนมาร์ก และได้พบกับ อองเดร ดู ปริชีส์ เดอ ริเชอลิเยอร์ ท่านที่ติดตามข้อเขียนของผมคงจะจำ “ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม” ได้นะครับ ทรงคุ้นเคยกันสมัยท่านทรงจบการศึกษาใหม่ๆแล้วเสด็จกลับไปเยี่ยมบ้าน มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบนเรือพระที่นั่งเวสาตรีที่ฝรั่งเดนมาร์กนี้เป็นกัปตัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท่านอยู่บนเรือนั้นด้วยกันหลายวัน  

ริชลิวเพิ่งจะได้รับโปรดเกล้าให้เป็นปลัดกรมแสง และถึงเทอมที่เขาจะได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด การพบกันบนรถไฟเช้าวันนั้นเป็นเรื่องบังเอิญ ไม่มีพระราชกระแสรับสั่งอะไรมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ขอประทานโทษ ถึงพ.ศ. นี้ท่านเป็นพระองค์เจ้าแล้วละครับ เป็นตั้งแต่กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์  อัครราชทูตสยามประจำอังกฤษองค์ใหม่ได้เชิญพระสุพรรณบัตรที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานมามอบให้ท่านที่กรุงลอนดอน แต่ภาษาอังกฤษยังใช้คำว่า prince ตามเดิม ผมก็แปลเพลิน เมมโมรี่หมู่นี้ก็ไม่ค่อยทำงานตามปกติ สะกดอะไรจากความจำก็ผิดๆถูกๆ สงสัยอะไหล่จะหมดอายุ

ริชลิวเป็นไก้ด์นำทางไม่ต้องเสียเวลาอ่านป้ายตามสถานีรถไฟ จาก Malmö ซึ่งเป็นเมืองท่าของสวีเดน ทั้งหมดได้ต่อเรือข้ามช่องแคบ Øresund ไปยังโคเปนเฮเกนเลยทีเดียว บ๋ายบายกับริชลิวแล้ว ท่านและเลขาก็เข้าพักในโรงแรม Angleterre ในภาพข้างล่าง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 เม.ย. 16, 08:24
และเช่นกัน เมื่อนายเวอร์นีย์นำหนังสือขอเข้าพบของท่านราชทูตสยามไปให้รัฐมนตรีต่างประเทศในวันรุ่งขึ้น ท่านรัฐมนตรีก็แจ้งว่าท่านไม่มีอะไรจะขัดข้องทั้งนั้น แม้แต่จะกระทำสัญญากันในภาษาอังกฤษ
เมื่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสด็จไปพบท่านรัฐมนตรีตามนัดหมายในบ่ายวันเดียวกัน พอยื่นสำเนาร่างกรอบข้อตกลงในเรื่องภาษีสุราให้ ท่านก็บอกว่าได้อ่านแล้ว กัปตันริชลิวได้นำมามอบให้เมื่อวาน
 
ริชลิวท่านนี้เป็นลอบบี้อิสต์ตัวฉกาจระดับโลก เรื่องแค่นี้จิ๊บๆ ท่านยอมกลับไปถึงบ้านช้าเพียงเพื่อนำสำเนาที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์มอบให้ตอนคุยกัน ไปเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศก่อนล่วงหน้าเป็นการกรุยทางให้ คงจะแย้มๆบ้างละว่าท่านนั้นไม่ใช่ทหารเรือธรรมดานะขอรับ แต่เป็นคนของพระเจ้าคริสเตียนที่ส่งไปทำงานในราชสำนักสยามเลยเชียวละ ขอแรงท่านรัฐมนตรีช่วยดูแลเรื่องนี้ให้เป็นพิเศษด้วย

ไม่แปลกที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงทรงได้รับการต้อนรับระดับปูพรมแดงในเดนมาร์ก ซึ่งผมจะได้เล่าต่อไป


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 เม.ย. 16, 09:34
วันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฏาคม ๑๘๘๓ คณะของท่านราชทูตสยามซึ่งมีผู้ติดตามนอกจากนายเวอร์นีย์เลขานุการแล้ว นาวาเอก อองเดร ดู ปริชีส์ เดอ ริเชอลิเยอร์ แห่งราชนาวีสยามยังทำหน้าที่นายทหารคนสนิท เดินทางเดินทางไปยัง Christianborg Palace เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ เพื่อถวายพระราชสาส์นและตราตั้ง เป็นอัครราชทูตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประจำราชอาณาจักรเดนมาร์ก

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกจัดให้เข้าเฝ้าตามลำพังพระองค์เดียวก่อน นอกจากจะเป็นระเบียบพิธีการเช่นนั้นแล้วก็น่าจะเป็นโอกาสที่พระเจ้าคริสเตียนจะทรงมีพระราชดำรัสกับท่านทูตสองต่อสอง ซึ่งท่านมิได้กล่าวถึง แต่หลังพิธีการนั้นแล้ว ชาวต่างด้าวทั้งสองจึงได้รับพระราชานุญาตให้เข้าสมทบ บรรยากาศขณะนั้นเต็มตื้นไปด้วยความประทับใจ

สุดท้ายในช่วงเช้านั้น พระเจ้าคริสเตียนทรงบอกกับคณะว่า เวลาบ่ายห้าโมงวันนี้ขอเชิญไปงานเลี้ยงกันต่อที่ My cottage นะ แล้วเจอกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 เม.ย. 16, 09:37
อย่าเข้าใจผิดว่าจะทรงนัดไปเสพย์สุราฮะกึ้นแถวซอยทองหล่อหรืออะไรนะครับ ในพระราชตำหนักอันเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินในพระราชวัง Christianborg มีห้องที่ทุกวันนี้ยังเรียกว่าห้องส่วนพระองค์ของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ ซึ่งทรงเรียกว่า My cottage ไม่ใช่กระท่อมน้อยแบบชนบทตามมโนภาพ

คืนนั้น พระราชวงศ์ที่อยู่ในโคเปนเฮเกนทุกพระองค์ ตั้งแต่พระราชาธิบดีและพระราชินี พระมกุฏราชกุมารและพระชายา เจ้าชายวิลเลียมกับเจ้าชายจอห์น ได้เสด็จมาร่วมงานที่พระราชบิดาโปรดให้จัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับท่านราชทูตจากสยาม รัฐมนตรีต่างประเทศและขุนนางหลายท่านก็ได้รับเชิญด้วย รวมโต๊ะเสวยทั้งหมด ๒๑ ที่นั่ง

พระเจ้าคริสเตียนโปรดที่จะรับฟังท่านราชทูตกราบบังคมทูลเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัว และทรงปฏิสันถารในเรื่องทั่วๆไปของสยามอยู่ตลอดเวลา ในตอนท้ายหลังเสวยพระกระยาหารแล้วเสร็จ ทรงมีพระราชดำรัสว่าทรงยินดีที่ได้รับพระราชหัตถเลขาที่ทรงได้รับเป็นการส่วนพระองค์ และทรงทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญดี ทรงยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะราชทูตสยามที่มาเจริญทางพระราชไมตรีในครั้งนี้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 เม.ย. 16, 12:20
วันรุ่งขึ้นที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก ท่านอัครราชทูตสยามได้เข้าพบท่านรัฐมนตรี เพื่ออ่านและลงนามในกรอบข้อตกลงเรื่องภาษีสุราระหว่างทั้งสองประเทศ โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย
ระหว่างนั้นทรงได้รับแจ้งว่ารัฐมนตรีสงครามจะสั่งการให้ทหารที่ป้อมปราการป้องกันชายฝั่งแห่งหนึ่ง ซ้อมยิงปืนใหญ่ให้ชมเป็นพิเศษ โดยจะส่งรถมารับในตอนบ่าย น่าเสียดายมากที่ท่านทูตมีกำหนดจะต้องเข้าเฝ้าพระมกุฏราชกุมารและพระชายาในช่วงเวลาเดียวกัน จึงพลาดโอกาสนั้นไป

รุ่งขึ้นเช้า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จออกจากเดนมาร์กเพื่อไปเบลเยียมตามที่ได้นัดหมายล่วงหน้า


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 เม.ย. 16, 10:09
กัปตันริชลิวได้มาส่งท่านที่สถานีรถไฟกรุงโคเปนเฮเกน บ่ายสามโมงวันนั้นรถไฟมาถึงเมือง Korsor พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องเปลี่ยนขบวนรถมุ่งไปยังแฮมเบิร์ก กว่าจะถึงก็สี่ทุ่มเข้าไปแล้ว นาย Paul Pickenpack มารอรับแล้วนำไปขึ้นขบวนรถ แต่แทนที่รถไฟจะไปถึงบรัสเซลส์ตามที่มุ่งหวัง พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กลับค้นพบว่าท่านไปลงที่สถานีโคโลญ จากที่นั่น ทรงต้องจับรถไฟอีกขบวนหนึ่งแล้วเดินทางตลอดคืนไปเช้าที่บรัสเซลส์ แทบจะไม่ได้หลับสักงีบ

นายเวอร์นีย์ผู้ถูกสั่งให้เดินทางมาก่อนล่วงหน้าเพื่อติดต่อเตรียมการไว้ได้มารอรับที่สถานีรถไฟอย่างรู้งาน และพาท่านไปยังโรงแรม de Belle Isle
ผมชอบหาภาพโรงแรมที่ท่านทรงพักในเมืองต่างๆ แต่คราวนี้ไปพบ คงจะเลิกกิจการไปแล้ว เอารถไฟที่ให้บริการในยุโรปในค.ศ.นั้นมาให้ชมก็แล้วกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 เม.ย. 16, 10:14
ท่านอัครราชทูตแทบจะไม่มีเวลาเตรียมพระองค์เพราะต้องรีบไปพบรัฐมนตรีต่างประเทศตามที่นายเวอร์นีย์นัดไว้ให้ และได้ผลเช่นเคย ท่านรัฐมนตรีทูลว่าหาเหตุผลที่จะคัดค้านไม่เจอ แต่เลือกที่จะใช้ร่างฉบับภาษาฝรั่งเศสโดยขอแก้สองสามคำซึ่งมิใช่สาระที่สำคัญอันใด แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่มีเวลาสำหรับที่จะประชุมเรื่องนี้กับคณะข้าราชการ จึงขอเลื่อนว่าจะทรงกลับไปลอนดอนก่อน ให้ทางเบลเยียมแก้ตามที่ว่าไว้เลย เมื่อเสร็จแล้วจะทรงย้อนมาอีกเพื่อกระทำการลงนาม

ดังนั้น ในวันที่ ๔ สิงหาคม ๑๘๘๓ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จมายังกรุงบรัสเซลส์เพื่อเข้าเฝ้าพระราชาธิบดีที่พระราชวังหลวง ซึ่งในวันนั้น ทรงแนะนำท่านราชทูตกับพระราชินีด้วย
เมื่อมีพิธีการลงนามในกรอบข้อตกลงเรื่องภาษีสุราระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จกลับกรุงลอนดอนในวันที่ ๕ สิงหาคม ๑๘๘๓


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 16, 06:11
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จออกจากลอนดอนไปเสปญและปอร์ตุเกต และทรงกระทำหน้าที่อัครราชทูตตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จทั้งสองประเทศ King Alfonso XII พระราชาธิบดีแห่งเสปญ และ King Luís I พระราชาธิบดีแห่งปอร์ตุเกต ทรงตอนรับอัครราชทูตสยามอย่างดี การกระทำกรอบข้อตกลงเรื่องภาษีสุรากับทั้งสองประเทศก็เป็นไปโดยไร้ปัญหา

ในขาเสด็จกลับ ทรงแวะปารีสเพื่อเจรจาในเรื่องเดียวกัน ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวที่ไม่จบลงโดยง่าย

ในปีที่ผ่านมา ทรงเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสมาแล้ว แม้การต้อนรับจะเป็นมิตร แต่คำกล่าวที่ว่าฝรั่งเศสมีความยินดีที่จะเห็นความก้าวหน้าของสยาม และต้องการส่งเสริมสัมพันธภาพที่มีต่อกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงปรารถนาที่จะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างอินโดจีนฝรั่งเศสกับสยามทั้งทางสายโทรเลขและทางรถไฟ การเฉไฉเรื่องออกไปจากการแก้ไขข้อตกลงภาษีสุราเช่นนี้ คือตัวปัญหาที่ฝรั่งเศสดึงเรื่องไว้ ยังไม่ให้คำตอบ
ผ่านไปหลายเดือน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จไปพบกับผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพาณิชย์ เพื่อทวงถามเรื่องที่ไปติดค้างอยู่ที่นั่น นาย Calvary ก็บอกว่าตนยังยุ่งอยู่ ไม่มีเวลาที่จะพิจารณาเรื่องนี้เลย ท่านจึงจำต้องกลับลอนดอนมือเปล่า

ในครั้งที่สอง ในโอกาสที่ไปร่วมงานฉลองปีใหม่ที่ประธานาธิบดีจัดขึ้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงถือโอกาสไปพบนาย Calvary อีกเพื่อถามความคืบหน้า เขาก็บอกว่ายังไม่มีเวลาเช่นเคย แต่ขอให้ท่านเสด็จกลับไปใหม่หลังปีใหม่แล้วจะมีคำตอบให้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 16, 08:09
เหตุที่รัฐบาลฝรั่งเศสใช้เวลายาวนานไม่ลงตัวกับเรื่องคำขอของสยาม มาจาก Count Kergaradec กงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ที่เสนอให้รัฐบาลเรียกร้องขอสิ่งตอบแทน โดยสยามต้องให้สิทธิ์แก่คนฝรั่งเศสเท่านั้น ที่จะเป็นผู้รับเหมาวางสายโทรเลขจากกรุงเทพไปไซ่ง่อน และขอสัมปทานสิทธิการประมงในทะเลสาปเขมรที่พระตระบอง ซึ่งเวลานั้นยังอยู่ในพระราชอาณาเขตขอบขัณฑสีมาแต่เพียงผู้เดียว

เรื่องโทรเลขนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยเด็ดขาดแล้วที่จะไม่ให้สายโทรเลขผ่านไปทางไซ่ง่อนก่อนที่จะมากรุงเทพ เพราะฝรั่งเศสจะดักฟังข่าวสารต่างๆได้หมด เวลานั้นสยามกับฝรั่งเศสเป็นเพื่อนบ้านที่เป็นศัตรูมากกว่ามิตร ดินแดนเขมรส่วนใหญ่นั้น พระเจ้าแผ่นดินเขมรนำไปยกให้ฝรั่งเศส ขอเป็นเมืองขึ้นของเขาแทนถวายเครื่องราชบรรณาการมาสยามไปแล้ว และฝรั่งเศสก็กำลังเหล่ๆที่จะผนวกส่วนที่เหลือ รวมทั้งลาวไปรวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย

ก่อนหน้านั้น รัฐบาลสยามเคยจ้างบริษัทฝรั่งเศสทำงานดังกล่าวบางส่วน แต่ไม่สามารถจะควบคุมการกระทำบางอย่างได้ เมื่อสั่งการใดๆก็จะปฏิเสธ หรือไม่ก็ปฏิบัติอย่างเลว หรือกระทำหยาบช้ากับคนไทย สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีเสนาบดีว่าการโทรเลขและไปรษณีย์เองก็ไม่ทรงสามารถบังคับสัญญาได้ เพราะเคานต์ เคอกาลาเดกจะเข้าแทรกแซง หรือประท้วงอย่างรุนแรงแทนทุกครั้ง
ข้อที่ใช้อ้างเสมอคือ บุคคลในบังคับฝรั่งเศสจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกงสุลเสมอตามสนธิสัญญาปี ๑๘๕๖


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 16, 08:40
ยกตัวอย่างลูกจ้างรัฐบาลสยามคนหนึ่ง เป็นชาวฝรั่งเศสชื่อนาย Edel นายคนนี้ได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจแนวเส้นทางทางกาญจนบุรี แต่มักไปก่อเรื่องทะเลาะและทำร้ายเจ้าของร้านขายเหล้าเป็นประจำด้วยฤทธิ์เมา แถมยังชอบลวนลามชาวบ้านแถวนั้นด้วย จนถูกเจ้าเมืองกาญจน์จับตัวมาปรับครั้งหนึ่ง แต่กงสุลฝรั่งเศสประท้วงว่าไม่ได้ดำเนินคดีผ่านศาลกงสุล รัฐบาลสยามจะลงโทษคนของเขาโดยพลการไม่ได้ เมื่อเรื่องจบลงไปครั้งนั้นแล้วนาย edel ก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีทรงระอาเต็มทีจึงเลิกจ้างนายคนนี้โดยยอมจ่ายค่าจ้างที่เหลือจนกว่าจะหมดสัญญาให้ไป

เมื่อกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว นาย edel ก็ยังไม่จบเรื่อง ได้ขอเข้าพบพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามอีกหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องว่าตนเสียหายจากเหตุถูกเลิกสัญญา ฉะนั้นรัฐบาลสยามควรจะจ่ายเงินชดเชยให้มากกว่าที่ให้ตนมาแล้ว สงสัยหมอนี่จะหางานทำไม่ได้เพราะประวัติไม่ดี หรือเข้าไปพบใครก็เอากลิ่นเหล้าหึ่งเข้าไปด้วย จึงเดือดร้อนสาหัส
ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีจึงสาปส่งคนฝรั่งเศส ทรงตรัสว่าจะไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับงานของพระองค์อีกต่อไป

และเรื่องนี้เองที่เป็นอุปสรรค พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงยืนหยัดปฏิเสธข้อเสนอที่ฝรั่งเศสจะรวมเอาเรื่องโทรเลขและสัมปทานอื่นๆมารวมกับข้อตกลงเรื่องสุรา โดยทรงขอให้แยกเป็นกรณีย์ๆไป จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลฝรั่งดองเรื่อง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 16, 08:45
อย่างไรก็ดี หลังปีใหม่แล้วได้เสด็จกลับไปกระทรวงต่างประเทศอีกครั้งตามนัดหมาย เวลานั้นนาย Armand Fallières (ภาพล่าง) ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ท่านอาจจะเห็นว่าทุกประเทศได้ตกลงลงนามกับสยามไปหมดแล้ว ถ้าประวิงต่อไปจะเสียภาพพจน์หมาป่าผู้การุณหมด หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า Count Kergaradec กงสุลใหญ่ประจำกรุงเทพย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว กระแสคัดค้านจึงไม่มี ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตกลงยอมลงนามในกรอบข้อตกลงเรื่องภาษีสุราในคราวที่เสด็จไปครั้งนี้

เป็นอันว่าภารกิจเรื่องแก้ภาษีสุรากับนานาประเทศของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้สำเร็จเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 16, 08:48
หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย กับกองเอกสารใต้สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีส


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 เม.ย. 16, 07:04
งานด่วนต่อไปคือเรื่องข้อตกลงสัญญาเรื่องการโทรเลข

ฝรั่งเศสมีความตั้งใจที่จะเชื่อมโยงสายโทรเลขกับกรุงเทพจากไซ่ง่อนผ่านทางพนมเปญ และได้ช่วยเหลือสยามในการวางสายโทรเลขจากกรุงเทพไปยังพระตะบอง โดยส่งคนฝรั่งเศสหลายคนมาช่วย หนึ่งในนั้นที่สมควรกล่าวถึงคือ ม.ปาวี ผู้ที่คนไทยไม่เคยลืม
ฝรั่งเศสหวังจะได้เป็นผู้ที่ดำเนินการเรื่องโทรเลขให้สยามแต่ผู้เดียว เพราะคนไทยทำไม่เป็นจะต้องจ้างต่างชาติมาทำงานให้อยู่แล้ว ข้อแลกเปลี่ยนในการช่วยเหลือนี้คือ สถานกงสุลฝรั่งเศสจะได้ใช้บริการโทรเลขฟรี และมีสิทธิได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องที่กล่าวนั้น

อังกฤษก็จำเป็นจะต้องเชื่อมโยงประเทศในจักรภพของตน จากอินเดียเข้าพม่า ผ่านสยามไปปีนัง มลายูและสิงคโปร จึงได้วางสายโทรเลขจากทวายมายังกรุงเทพให้ เวลานั้นการก่อสร้างของทั้งสองมหาอำนาจใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ก็ยังจะใช้งานไม่ได้หากสยามยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์โทรเลขสากล เรื่องนี้จึงตกเป็นหน้าที่ของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่จะต้องเป็นตัวแทนของสยามไปสมัครเข้าเป็นสมาชิก โดยยื่นความจำนงผ่านรัฐบาลอังกฤษในฐานะตัวแทนของสหพันธ์


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 เม.ย. 16, 07:05
ฝรั่งเศสเองก็กระตือรือล้นอยากให้สยามจบข้อตกลงกับตน เพื่อจะได้ใช้งานติดต่อทางโทรเลขเสียที โดยจะต้องเห็นพ้องต่อข้อกำหนดในเรื่องวิธีการ ค่าธรรมเนียม และระเบียบต่างๆที่จะปฏิบัติต่อกันของทั้งสองประเทศ มิใช่ใครอยากจะส่งโทรเลขอะไรก็ส่งไป แต่จะต้องมีการลงบันทึกจำนวนครั้งที่ส่ง เป็นจำนวนคำกี่คำ จุดหมายปลายทางที่ไหน ฯลฯ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บต่อกันก็จะเนื่องมาจากบัญชีดังกล่าวที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงรายละเอียด ในการนี้ตกลงกันว่าเงินฝรั่งเศส ๑ ฟรังก์ มีค่าเท่ากับเงินไทย ๑ เฟื้อง
โอโห สมัยนั้นเงินไทยแข็งมากนะครับ เพราะ ๘ เฟื้องเท่ากับ ๑ บาท  ปัจจุบันนี้ ฟรังก์หนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินไทยได้ถึง ๖ บาททีเดียว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 14 เม.ย. 16, 07:15
อาจารย์NAVARAT.Cเข้าบรรยายเช้าดีจัง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 เม.ย. 16, 07:26
รีบๆทำครับ เดี๋ยวจะไม่จบ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 เม.ย. 16, 07:29
การเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์โทรเลขสากลไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเรื่องภาษีสุรา ส่วนในข้อตกลงกับฝรั่งเศสก็บรรลุได้ในเวลาไม่ช้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จไปเปิดที่ทำการโทรเลขของสยาม(ในภาพ)อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๑๘๘๓  และทรงมีพระราชโทรเลขไปยังปารีสถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส และถึงข้าหลวงใหญ่อินโดจีนในกรุงไซ่ง่อน ทรงส่งความปรารถนาดีและขอบคุณในความร่วมมือฉันท์มิตร ทรงหวังว่าสายโทรเลขนี้จะช่วยสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
พระราชโทรเลขนี้ กระทำผ่านนายโทรเลขฝรั่งเศส ซึ่งสยามได้ว่าจ้างไว้ทั้งหมด ๘ คน เพื่อดำเนินการกรมโทรเลข

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์คงไม่รู้พระองค์ในตอนนั้นหรอกครับ ว่าจะต้องมาขับเคี่ยวกับคนพวกนี้เพื่อจะเปลี่ยนเป็นคนเยอรมัน หลังจากที่เสด็จกลับเมืองไทยเมื่อพ้นหน้าที่ทางการทูตแล้ว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 16, 10:16
คอคอดกระ สเต็กที่สองมหาอำนาจจ้องจะขย้ำ

ฝรั่งเศสและอังกฤษได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งยวดที่จะขุดคลองผ่าคอคอดกระ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการเดินเรือเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก ในการนี้ M. Gréhan กงสุลสยามในปารีสได้ออกหน้าที่จะให้รัฐบาลสยามสนับสนุนพยายามของกลุ่มทุนชาติเดียวกับเขา อารัมภบทในหนังสือที่นายคนนี้มีมายังกระทรวงการต่างประเทศส่อให้เห็นว่า เขาต้องมีผลประโยชน์ก้อนใหญ่ในการที่เข้าไปสมาคมกับบริษัทนั้น เห็นได้ชัดจากที่เขากล่าวหา Mr. Mason กงสุลในลอนดอนว่าสมคบกับบริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งเช่นกัน

ผู้ที่เริ่มต้นให้ความสนใจโครงการคอคอดกระคนแรกชื่อ  M. Deloncle เป็นนักการเมืองระดับรองประธานสภาผู้แทนของฝรั่งเศส เขาคือผู้ที่ก่อตั้งบริษัทร่วมกับเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะผู้ขุดคลองสุเอซ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงปฏิเสธข้อเสนอของเขา นายคนนี้ก็กระทำตนเป็นศัตรูใต้ดิน คอยยุยงส่งเสริมให้นักการเมืองและข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเมืองขึ้น ให้จัดการกับสยามเสีย

พระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินพระราโชบายอย่างสุขุมรอบคอบต่อความพยายามของทั้งสองมหาอำนาจที่อยากจะได้สิทธิ์ในการขุดคอคอดกระ ทรงเห็นว่าถ้าให้สัมประทานแก่ประเทศใดประเทศหนึ่งไป ก็จะทำให้อีกประเทศหนึ่งเสียหน้า นอกจากนั้น หากมีคลองเกิดขึ้นและสยามต้องยกเอกสิทธิ์บนที่ดินนั้นแก่ชาติอื่น ก็จะหมิ่นเหม่ต่อการสูญเสียอธิปไตยของชาติในภาคใต้ของสยามทั้งหมด


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 16, 06:33
ขอเบรกนิดนึงนะครับ

พอดีได้อ่านเรื่อง “ประธานาธิบดีอเมริกันนั่งเรือเมล์มาเฝ้า ร.๕!ทรงปรึกษาเรื่องคนไทยกินเหล้ามาก คำแนะนำใช้มาจนทุกวันนี้!!” เขียนโดยคุณโรม บุนนาค ตามเว็บนี้

http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000037608 (http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000037608)

ข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความพยายามของสยามที่จะแก้ข้อตกลงเรื่องภาษีสุรา ดังที่ผมได้เขียนไปแล้วในกระทู้นี้ น่าจะสืบเนื่องจากการที่อดีตประธานาธิบดียูลิซิส ซิมป์สัน แกรนท์ ของอเมริกามาเยือนกรุงเทพในคราวนั้น แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรองเต็มที่ โดยจัดให้พำนักที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อมีโอกาส ก็ทรงปรึกษาท่านอดีตประธานาธิบดีอเมริกันในเรื่องจะขอแก้ไขเรื่องภาษีสุรากับประเทศต่างๆที่ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกันไว้ ในฐานะที่อเมริกันไม่มีผลประโยชน์ด้านการนำสุราราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายให้คนไทย

อยากให้อ่านดูครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 16, 06:36
ในการไปเยี่ยมประธานาธิบดีแกรนท์ที่วังสราญรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๒๖ พรรษา จะทรงรับสั่งถึงเรื่องอะไรบ้างนั้นไม่เป็นที่เปิดเผย แต่เรื่องหนึ่งที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๒๒ ได้ทรงเล่าถึงการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่คนไทยกินเหล้ามาก เพราะเหล้าราคาถูกมาจากต่างประเทศ ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
       
       “...คนยุโรปซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯนี้ ก็พูดหลายคนว่าทุกวันนี้มีคนเมาเดินตามถนนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะสุราขายถูก คนกินมาก เมื่อเยเนอราลแกรนท์เอกซ์เปรสิเดนต์อเมริกันเข้ามาในกรุงเทพฯ ฉันได้ไปปฤกษาด้วยเรื่องสุราในเมืองไทย
       
       เยเนอราลแกรนท์พูดว่า การสุรานี้ธรรมดาทุกประเทศต้องคิดจัดรักษาพลเมืองของตัวเอง เพื่อจะไม่ให้เมามายมาก ถ้าสุราขายถูกคนซื้อได้โดยง่าย ก็จะเป็นคนเมาเหลือเกินไปเสียโดยมาก การเรื่องสุรานี้เป็นการสำคัญของประเทศยุโรปแลอเมริกาที่ยังต้องคิดจัดการอยู่เสมอ
       
       การเรื่องสุราในเมืองไทยนี้ เขาก็ได้ทราบว่าคนไทยเสียไปมากด้วยเรื่องสุรา เห็นว่าควรคอเวอนเมนต์จะคิดห้ามปรามคนกินสุราที่เมาเดินตามถนนให้แข็งแรงขึ้น แลอย่าคิดเลยที่จะขอต่อประเทศที่เป็นไลเซนซ์ฤาสิ่งใดเล็กๆน้อยๆ ควรจะคิดจัดการเป็นของคอเวอนเมนต์ให้ตลอด แต่ถ้าจะพูดแล้วอย่าให้ยกที่เงินภาษีอากรตกขึ้นพูด ให้ยกเอาข้อที่บ้านเมืองจะเสียไปเพราะคนกินเหล้ามากขึ้นมาพูดแต่อย่างเดียว ต้องคิดจัดการให้มีที่ขายเฉพาะแห่ง ต่อรับไลเซนซ์จึงจะขายได้ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ กะราคาให้แพงพอสมควรแก่ที่จะปิดไม่ให้คนกินมากได้ ถ้าคิดการตลอดอย่างนี้แล้ว พูดกับกงสุลต่างประเทศเสียแต่พอเป็นที่ที่พูดกับคอเวอนเมนต์ต่างประเทศทีเดียว เห็นว่าคงจะมีผู้เห็นด้วยมาก ด้วยเป็นการจำเป็นที่จะต้องคิดรักษาเมือง การเห็นจะสำเร็จไปได้ ถ้าไม่คิดจัดการเรื่องนี้เสียให้เรียบร้อย บ้านเมืองคงจะต้องเสียเพราะเรื่องเหล้า ประเทศอื่นๆ เขาได้คิดระวังการเรื่องนี้หนัก
       
       ฉันเห็นว่า เยเนอราลแกรนท์เป็นคนราชการสำคัญ เคยปกครองรักษาแผ่นดินมา เขาพูดแนะนำดังนี้ ก็เห็นว่าควรจะต้องตรึกตรองการดูให้ตลอด ควรจะจะพูดอย่างไรได้ ก็จะต้องคิดจัดไปตามสมควร
       
       การที่เยเนอราลแกรนท์พูดนี้ ฉันก็ได้บอกกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ เมื่อไปรดน้ำสงกรานต์ไว้โดยย่อ มีราชการอื่นเสียก็หาได้ชี้แจงให้ท่านทราบตลอดไม่ เห็นว่าในขณะนี้พระยาภาสกรวงษ์ยังอยู่ที่ลอนดอน ถ้าเสร็จราชการที่ออกไปแล้ว จะให้พูดจาชี้แจงการขัดข้องของเราประการใดประการหนึ่งต่อคอเวอนเมนต์อังกฤษก็เห็นจะได้ แต่การพูดเรื่องไลเซนซ์นั้น เธอก็ได้พูดครั้งหนึ่งแล้วไปติดเงียบหายอยู่เสีย ไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป การครั้งนี้ขอให้เธอตริตรองดูตามสมควรเถิด”



กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 16, 06:44
อ่านตรงนี้แล้ว ทำให้เห็นกุศโลบายที่สยามใช้ในการเจรจากับชาติต่างๆในยุโรปนั้น จะไม่อ้างว่าจะทำให้สยามเสียผลประโชน์จากภาษีอากรสุรามี่เคยได้รับ แต่จะเน้นว่าการที่สุรามีราคาถูกเข้ามาขายนท้องตลาดมาก ทำให้พลเมืองสยามกลายเป็นคนขี้เหล้าเมายา บ้านเมืองคงจะต้องเสียเพราะเรื่องเหล้า

เมื่ออ้างเหตุผลดังนี้ ชาติที่เจริญแล้วคงค้านไม่ออก ทำให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงประสบความสำเร็จในการเจรจากับทุกประเทศ ด้วยการไปเยือนเพียงครั้งเดียวแทบจะทั้งสิ้น

ภาพล่าง อดีตประธานาธิบดียูลิซิส ซิมป์สัน แกรนท์


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 16, 07:38
กลับมาที่คอคอดกระ

ตามประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่สนใจจะทำโครงการใหญ่ ด้วยการขุดคลองเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ วิศวกรหนุ่มลูกผู้ดีคนนี้ชื่อเดอ ลามาร์

เมื่อเชอร์วาเลียร์  เดอ  โชมองต์ เป็นราชทูตฝรั่งเศสเดินทางมากรุงศรีอยุธยา ด้วยเรือปืนชื่อ ลัวโซ กับเรือฟรีเกตชื่อ ลา มาลีญ พาคณะบุคคลมาหลายคน หนึ่งในนั้นมีช่างทำแผนที่ชื่อ  เดอ ลามาร์ มาด้วย เพื่อทำแผนผังตัวเมืองชายฝั่งที่ผ่านไปและแผนที่ประเทศสยาม  เพื่อส่งกลับไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ต่อมานายคนนี้ถูกส่งไปยังซิงกอรา ซื่อที่ฝรั่งเรียกแผลงมาจากชื่อไทยว่าสงขรา เดี๋ยวนี้เขียนสงขลา เพื่อปักหลักสำรวจ เพราะสมเด็จพระนารายณ์ยกเมืองให้ตามคำแนะนำของออกญาวิชาเยนทร์

วิศวกรคนนี้เฉียบคมมาก อายุของเขาตอนนั้นไม่น่าจะถึงสามสิบด้วยซ้ำ เขาทำรายงานขึ้นไปว่า เมืองนี้น่าสนใจ เพราะสามารถจะขุดคลองจากทะเลสาปที่นั่นทะลุตามแม่น้ำออกไปเชื่อมต่อกับทะเลอันดามันได้ ไม่รู้ว่าเขารู้ได้อย่างไรในสมัยที่ แผนที่ก็ยังไม่มี
แผนที่ข้างล่าง เดอ ลามาร์เขียนขึ้นภายหลัง

โชคดีที่สมเด็จพระเพทราชาทรงทำรัฐประหาร แล้วขับไล่ชาวฝรั่งเศสกลับประเทศไปก่อนที่จะตั้งตัวได้ทันตามแผนที่คบคิดกันไว้ฝรั่งขุนนางไทย มิฉะนั้นแล้ว ถึงคลองลัดคอคอดอาจจะไม่เกิด แต่สยามคงต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสโดยถาวรแน่ๆ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 16, 08:13
ผ่านมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นาย Deloncle เดินทางมาขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๑๘๘๒ เพื่อทูลขอสัมปทาน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธอย่างนิ่มนวล เหตุผลที่ทรงอรรถาธิบายแสดงถึงพระปรีชาเป็นที่ยิ่ง ทรงกล่าวว่าก่อนที่จะทรงตัดสินใจให้สัมปทานดินแดนของสยามส่วนนั้น จะต้องทรงแน่พระทัยเสียก่อนว่าการขุดคลองในภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขานั้นจะมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และคุ้มค่าในการลงทุน  จึงขอให้มีการสำรวจเส้นทางอย่างจริงจังก่อน

เมื่อจนในเหตุผลของพระองค์ นาย Deloncle ก็ต้องกลับไปตั้งหลักใหม่แล้วส่งกัปตัน Bellion นำคณะมาในวันที่ ๑๒ มกราคม ๑๘๘๓ เพื่อดำเนินการรังวัดสำรวจในนามของ บริษัท The Suez Co. เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆบริษัทของอังกฤษชื่อเป็นลูกครึ่งชอบกลๆว่า Le Febvre of London ได้ประกาศความสนใจที่จะลงทุนขุดคอคอดกระเช่นกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 16, 08:58
เรื่องนี้ กงสุลGréhan ก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยอมพบกับเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ วิศวกรใหญ่ตั้งแต่ต้น แต่ทรงปฏิเสธ  แม้กงสุลGréhanจะลงทุนจัดงานเลี้ยงอย่างใหญ่แล้วเชิญท่านราชทูตสยามไปร่วม เพื่อหวังจะให้เจอกับเดอ เลสเซปส์แบบไม่ได้ตั้งใจ แต่ทรงรู้แกวจึงปฏิเสธว่าทรงติดนัดที่อื่นแล้ว แต่ก็ย้ำว่าอย่าพยายามนัดหมายหรือจัดการใดๆให้เป็นมลทินต่อสถานะภาพอัครราชทูตเป็นอันขาด

กงสุลGréhanจึงต้องแสดงเองด้วยการทำหนังสือของตนไปยังรัฐบาลสยามเพื่อสนับสนุนโครงการขุดคอคอดกระ อวยกลุ่มทุนของฝรั่งเศสและพาดพิงกงสุลเมสันตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ในกรุงเทพเวลานั้น  M. Harmand ผู้เป็นกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพก็ประสานเสียง ทำหนังสือกดดันรัฐบาลสยามให้ให้สิทธิ์โน่นนี่นั่นแก่บริษัทของฝรั่งเศส และยังทำหนังสือกระตุ้นให้รัฐบาลฝรั่งเศสเองมีบทบาทในการสนับสนุนบริษัทชาติของตนด้วย สร้างความอึดอัดต่อรัฐบาลสยามอย่างยิ่ง

จะเห็นได้ว่านานมาแล้ว นายทุนมีอิทธิพลต่อข้าราชการ นักการเมืองและรัฐบาลอย่างไร ตอนนั้นถ้าสามารถใช้เงินสั่งปลดพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ นายทุนข้ามชาติก็คงจะทำไปแล้ว บังเอิญว่ามันคนละระบอบกัน จึงวิ่งเต้นไม่ได้ ต้องใช้อำนาจข่มขู่เอาอย่างเดียว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 เม.ย. 16, 11:10

ขอแทรกเล็กน้อยครับ

ในช่วงเวลาไม่นานที่ เดอ ลามาร์ อยู่ในสยาม
เขาได้ทิ้งผลงานสำรวจ วางผัง และผลงานวิศวกรรมไว้ทั่วหัวเมืองสำคัญของสยาม
ในขณะที่พระเพทราชาทำรัฐประหาร เดอ ลามาร์ ก็ยังทำงานสำรวจอยู่ในสยาม
ใช้เส้นทางหลบหนี เดินเท้าไปยังฝั่งอันดามัน
นับเป็นบุคคลที่น่าสนใจยิ่งในประวัติศาสตร์

ส่วนฝรั่งเศสที่รวมกลุ่มออกไปทางเรือ เช่น เด ฟาร์จ กลับไปไม่ถึงฝรั่งเศส


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 16, 07:02
ผลงานของ เดอ ลามาร์ที่ยังอยู่ในสงขลา ที่ปลายเขาแดงก่อนจะขึ้นสะพานติณสูลานนท์ ยังปรากฏสมบูรณ์อยู่นะครับ เป็นป้อมปืน กรมศิลปากรตั้งชื่อว่าป้อมปืนเขาม่วง


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 16, 07:03
ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๑๘๘๒ กงสุลGréhanได้รับหนังสือตอบจากราชเลขานุการในพระองค์ตามที่ผมได้นำต้นฉบับมาให้ชมก่อนจะแปล ดังนี้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 16, 08:05
ความในหนังสือมีว่าหนังสือที่นายกรียองทำหนังสือกราบบังคมทูลมาพร้อมกับสำเนาสัญญาให้สัมปทานการขุดคลองลัดคอคอดกระนั้น แผนดังกล่าวทรงได้รับแล้ว

แต่นายกรียองก็ทราบดีว่ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่มีความประสงค์จะให้สัมปทานแก่ผู้ใด โดยมิได้รับฟังความเห็นอย่างเต็มที่ จากชาติมหาอำนาจที่กระทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีต่อกันไว้ และมีความสนใจไม่มากก็น้อยต่อโครงการดังกล่าว  ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพิจารณานานกว่าจะได้ข้อยุติ

สยามจะไม่กระทำการใดๆเพื่อที่จะฉกฉวยความได้เปรียบ หากการกระทำนั้นอาจสร้างความเสียหายแก่ชาติอื่น และหากจะเกิดประโยชน์แท้จริงแก่นานาชาติส่วนใหญ่แล้ว แม้สยามจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้างก็เสียสละได้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ตามหน้าที่ของมนุษยชนอันพึงกระทำ
นายกรียองคงจะเห็นว่าท่านไม่มีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เบื้องหลังในคำอรรถาธิบายอย่างตรงไปตรงมานี้

ทรงลงพระนามอย่างเต็ม เทวะวงศ์วโรปการ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 เม.ย. 16, 06:49
เอกสารที่ค้นพบใต้ถุนสถานทูตมีสำเนาที่แสดงว่าเกือบปีหนึ่งต่อมากงสุลกรียองยังได้รับหนังสือเตือนซ้ำอีกว่า ในการติดต่อกับผู้ใดในเรื่องนี้ก็ตาม ให้พึงระมัดระวังเสมอว่าเขาไม่ได้มีอำนาจหน้าที่อันใดที่จะไปเกี่ยวข้องหรือรับข้อตกลงที่จะทำให้ตนต้องตกเป็นฝ่ายผิด

และอีกหกเดือนให้หลังกงสุลกรียองยังถูกแจ้งเพื่อทราบอีกว่า ให้ปรึกษาพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสมอเพื่อที่จะได้รับความเห็นที่ถูกต้องในทุกกรณีย์ ตัวเขาไม่ควรที่จะมีหนังสือถึงรัฐบาลสยามโดยพลการโดยที่ท่านอัครราชทูตมิได้ทรงทราบเรื่องราวด้วย
อีกฉบับหนึ่งนั้น ท่านราชเลขาทรงเขียนตอบนายกรียองว่า หากเมื่อใดพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชประสงค์ให้ฝรั่งเศสได้สัมปทานนี้แล้วละก็ ขอให้เขามั่นใจได้เลยว่าจะทรงแจ้งให้เขาทราบโดยทันทีมิชักช้า

อ่านตรงนี้แล้วพวกเราคงจะเห็นว่า คอคอดกระเป็นประเด็นร้อนเพียงใดในการเมืองเรื่องผลประโยชน์ระหว่างประเทศที่บีบคั้นสยาม


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 เม.ย. 16, 11:44
แต่แล้วความกดดันทั้งหมดก็มลายไปสิ้น

สยามค่อยหายใจหายคอโล่งปอดเมื่อกัปตันเบลลิยองรายงานผลสำรวจ ว่าภูมิประเทศในแนวทางที่จะขุดคลองคอคอดกระนั้น หนีไม่พ้นเทือกเขาสูงๆต่ำๆกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถจะทำการขุดคลอง ความเป็นไปได้ทางเทคนิคประมาณว่าศูนย์ ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงขนาดการลงทุน แล้วจะคุ้มหรือไม่คุ้ม

นายทุนเมือไม่เห็นกำไรก็สิ้นความละโมบในเรื่องนี้ หันไปมองหาเหยื่อชิ้นอื่นเขมือบต่อไป


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 เม.ย. 16, 11:46
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีน้ำพระทัยต่อความผิดหวังของเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ จึงทรงมีพระราชบัญชาให้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปยังพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เพื่อให้ทรงมอบแก่วิศวกรใหญ่ท่านนี้ ในฐานะผู้มีชื่อเสียงและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาวโลก คลองสุเอซที่เขาขุดไว้ได้ทำให้ยุโรปกับเอเชียสามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายขึ้น และสยามได้รับประโยชน์จากการนี้ด้วย

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้จัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติต่อเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ โดยเชิญข้าราชการสถานทูตและมิตรสหายมาร่วมอย่างคับคั่ง ในการมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์(น่าจะใช่มงกุฎสยาม)ดังกล่าว ทรงกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งผมไม่แปลดีกว่า ภาษาทูตนี่พรรณนายาว แต่ใจความนิดเดียวตามที่ผมกล่าวในย่อหน้าที่แล้ว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 เม.ย. 16, 08:26
ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนสยาม

ความสนใจของฝรั่งเศสในดินแดนที่แม่น้ำโขงไหลผ่านนั้นได้เริ่มขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากที่คิดว่ามันสามารถจะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเมืองขึ้นของพวกเขาไปยังดินแดนจีนตอนใต้ได้  

ในสมัยที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นทูตนั้น กงสุลใหญ่ในสยามก็ได้ใช้พยายามอย่างหนักในการที่จะคัดค้านอำนาจการปกครองของสยามเหนือดินแดนสิบสองจุไท และดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยพยายามหาข้อมูลทั้งหลายมาพิสูจน์ว่าสยามไม่มีสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว และเร่งเร้ารัฐบาลฝรั่งเศสให้เข้าดำเนินการ ระหว่างนั้น พวกเขาก็ใช้อำนาจเท่าที่มีอยู่ในมือเข้าประจันหน้ากับส่วนราชการของสยามในภูมิภาคดังกล่าว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 เม.ย. 16, 08:29
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของฝ่ายไทยที่กงสุลใหญ่ฝรั่งเศสค้นพบว่าจะเอาเปรียบได้ก็คือ รัฐบาลสยามไม่มีแผนที่แสดงราชอาณาเขตที่ชัดเจน เส้นแบ่งแดนนั้นเพียงแต่กำหนดไว้โดยคร่าวๆ
เมื่อปี ๑๘๘๐ นายอามองด์กงสุลใหญ่ได้ทำรายงานกลับไปยังปารีสว่า เราควรจะแสดงความยินดีกับตัวเองได้ว่า ในเร็ววันนี้ เราจะสามารถฉกฉวยความได้เปรียบจากความคลุมเครือนี้ ว่าดินแดนของฝ่ายเราอยู่ภายในแนวเขตที่สยามชี้

ฝรั่งเศสเริ่มกลับคำเรื่องเมืองพระตะบองและเสียมราษฎร์ ซึ่งสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ยอมให้เป็นของสยาม เมื่อได้เขมรเป็นเมืองขึ้น แต่ ณ วันนั้นแล้ว เขาอ้างว่าเป็นของเขา




กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 16, 09:12
ดังที่ได้เล่าไปแล้วว่า ฝรั่งเศสได้อ่อยเหยื่อให้สยามโดยอาสาจะวางสายโทรเลขให้จากพระตะบองมากรุงเทพ ในการนั้นรัฐบาลได้ส่งหม่อมราชวงศ์แดงเป็นตัวแทนไปร่วมปฏิบัติงานและตรวจตราการก่อสร้าง แต่หม่อมราชวงศ์แดงกลับนำตัวเข้าไปผูกพันกับบุตรสาวของพระยาคฑาธร ท่านเจ้าเมือง หลังจากสมประสงค์แล้วก็ทิ้งเธอไปโดยไม่ยอมแต่งงานด้วย จึงเป็นไปได้ว่านั่นคือเหตุผลที่พระยาคฑาธรน้อยใจสยามแล้วมีท่าทีสนิทชิดเชื้อกับกษัตริย์เขมรเมืองขึ้นฝรั่งเศส

กงสุลอามองด์ได้รับข่าวนี้ด้วยความยินดีปรีดา มันเป็นโอกาสทองที่ฝรั่งเศสจะได้พระตะบองไปด้วยโดยแทบจะไม่ต้องออกแรงอะไรเลย เมื่อฟังว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้มาเข้าเฝ้าที่กรุงเทพ แล้วพระยาคฑาธรปฏิเสธ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 16, 09:13
กงสุลอามองด์หมายใจว่าสยามจะส่งกองทัพขึ้นไปปราบพระตะบองแน่ จึงทำหนังสือไปถึงข้าหลวงใหญ่อินโดจีนฝรั่งเศสให้เตรียมกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือทหารพระตะบอง  
แต่การณ์กลับปรากฏว่าสยามไม่ได้คิดที่จะส่งทหารไทยเข้ายึดครองเมืองพระตะบอง หรือลงโทษพระยาคฑาธรแม้น้อย สิ่งที่รัฐบาลกระทำคือ จับกุมตัวหม่อมราชวงศ์แดงส่งไปติดคุกที่พระตะบอง และส่งพระศรีสหเทพไปเป็นตัวแทนรัฐบาลสยามคนใหม่ ประสานงานเรื่องการติดตั้งสายโทรเลขต่อ  

เหตุการณ์จึงจบลงในยกนี้อย่างง่ายๆ แบบว่ากงสุลอามองด์หน้าแตกเสียโฉม


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 16, 09:16
ผมไปหาข้อมูลจากคุณวิกี้ได้ความมาว่า พระยาคทาธรธรณินทร์ ที่ท่านอาจารย์หม่อมหลวงมานิจเขียนถึง นามเดิมชื่อ เยีย อภัยวงศ์ เป็นบุตรของพระยาอภัยภูเบศร (นอง) เข้ารับราชการในครั้งแรกได้เป็นหลวงอภัยพิทักษ์ ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รักษาราชการในพระตะบองแทน แล้วเลื่อนให้เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ กระทั่งวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ จึงได้เป็นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ รามนรินทร์อินทราธิบดี ศรีสยามกัมโพชเกษตราภิบาล ปรีชาญาณยุติธรรมาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง

ช่วงปลายชีวิตของท่านขณะเป็นเจ้าเมืองพระตะบองนั้น ฝรั่งเศสพยายามขยายอำนาจเข้ามาจากเขมร ทำให้สยามระแวงว่าพระตะบองจะแข็งเมืองหรือไปเข้ากับเวียดนาม คุณวิกี้เขียนว่า เจ้าพระยาคทาธรได้แสดงความจงรักภักดีต่อสยามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๓๕ บุตรชายของท่านคือเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์ ตามภาพ) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 16, 09:30
จะต้องบอกต่อไหมละครับว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)นี้ คือท่านบิดาของนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ๔ สมัยของประเทศไทย
ผมเชื่อในความจงรักภักดีที่บรรพชนของสกุลนี้จะถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ สืบมา


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 08:27
ความจำเป็นที่จะต้องมีแผนที่แสดงแนวพระราชอาณาเขตอย่างแน่ชัดจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีหนังสือมายังกระทรวงว่า ขณะนั้นฝรั่งเศสกำลังมีข้อขัดแย้งกับจีนในมณฑลตังเกี๋ย เมื่อใดที่ปัญหานี้ยุติ ชายแดนญวนของฝรั่งเศสจะติดต่อกับเขตสยามทางด้านสิบสองจุไททันที แล้วจะสร้างเชื้อให้เกิดข้อขัดแย้งใหม่ในรูปแบบเดิมขึ้นมาอีกครั้งกับสยาม ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจัดทำแผนที่ที่ชัดเจนขึ้นมาโดยเร็วที่สุด

พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย จึงโปรดเกล้าให้จ้างนายช่างสำรวจรางวัดชาวอังกฤษชื่อแมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล) ให้รีบปฏิบัติงานนี้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 25 เม.ย. 16, 09:41
กว่าจะหาทางเข้าได้ยากเหลือเกิน เลยได้สมัคร Login ใหม่

กราบสวัสดี คุณอานวรัตน์ ครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 เม.ย. 16, 10:31

หนังเรื่องนี้ ฝรั่งที่เป็นฝ่ายพระเอกมีไม่ค่อยเยอะ
หลังจาก เดอ ลามาร์ ก็มี แมคคาร์ธี นี่เหละ ที่เป็นพระเอกได้  8)


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 16, 11:08
พระเอกอีกท่านหนึ่งน่าจะเป็น "นายพลอองเดร" (André du Plésis de Richelieu)  คนเขียนบทละครเรื่อง "ชาติพยัคฆ์" คงประทับใจท่านมากถึงกับเอาชื่อมาเป็นตัวละครตัวหนึ่ง  แถมยังมีหน้าคล้ายกันเสียด้วย  ;D


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 13:20
โอ้ กำลังวังเวงอยู่ทีเดียวครับ นึกว่าหายไปกันหมดแล้ว สวัสดีคุณสองล้อด้วย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 13:24
นายแมคคาร์ธีคงเป็นพระเอกฝ่ายฝรั่งได้ทีเดียว คู่กับพระยาสุรศักดิ์มนตรีพระเอกฝ่ายไทย

ไม่นานเขาก็ทำหนังสือทูลพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร อธิบดีกรมสำรวจรางวัดลงมาจากหน้างานว่า ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ออกเสียงแสดงประชามติ มากกว่าสิบล้านคงสนับสนุนให้รัฐบาลประกาศสงครามในตังเกี๋ย ทหารฝรั่งเศสจึงเคลื่อนพลเข้าพื้นที่เพื่อปฏิบัติการ ทำให้พวกฮ่ออพยพหนีภัยเข้ามาในเขตของสยาม เกิดข่าวที่พูดกันทั่วไปว่า ทหารฝรั่งเศสจะเดินหน้าเข้ากวาดล้างพวกฮ่อต่อจนถึงหลวงพระบาง แต่ขณะนี้ตามชายแดนมิได้ปรากฏกองกำลังไม่ว่าจะฝ่ายใดให้เห็น และดูเหมือนทหารฝรั่งเศสพอใจที่จะหยุดทัพอยู่ลึกเข้ามาในดินแดนของสยาม

ดังนั้น รัฐบาลควรจะทำหนังสือท้วงอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แม้จะทราบกันดีว่าสยามได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่พวกฮ่อเคยถือครองอยู่ก็ตาม  แต่หากสยามไม่ยืนยันอย่างหนักแน่น ฝรั่งเศสก็คงถือโอกาสกล่าวอ้างกินแดนมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเรื่องการสำรวจรางวัดจึงเป็นประเด็นรองเนื่องจากสถานการณ์ข้างต้น ขณะนี้งานที่ทำได้ก็เพียงแต่ตระเวนดูพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาในลักษณะการหาข่าวเท่านั้น

ฝรั่งเศสนั้น ต้องการเวลาอย่างน้อยสี่ห้าปีหลังจากการยึดครองดินแดนของญวน ก่อนที่จะมีเวลามายุ่งกับเรื่องการปรับเส้นแผนที่ตามแนวชายแดน ความยุ่งยากลำบากของฝรั่งเศสนี้คือข้อได้เปรียบอย่างเดียวที่สยามพึงฉกฉวย แต่ถ้าสยามกระทำการล่าช้าไปแม้แต่ปีเดียวก็อาจจะสูญเสียข้อได้เปรียบที่ว่าได้


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 13:32
พวกฮ่อพร้อมอยู่ที่จะมอบตัวเข้าอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสยาม ความร่วมมือร่วมใจของหลวงพระบางก็กำลังเข้มแข็ง การแต่งตั้งเจ้านายสักพระองค์หนึ่งไปทรงบัญชาการที่นั่น จะเป็นสิ่งที่สร้างเสริมให้ดีขึ้นไปอีก
การส่งกองกำลังสักสามสี่ร้อยนายไปที่นั่น จะแสดงให้พวกนั้นประจักษ์ความใส่พระทัยที่พระเจ้าอยู่หัวสยามทรงมีต่อพวกเขาอย่างเป็นรูปธรรม

แต่ทหารที่ส่งไปจะต้องอยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด และไม่ไปถือโอกาสข่มเหงพวกชาวบ้าน ทุกสิ่งที่เอาไปจากพวกเขาจะต้องจ่ายราคาให้ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่ายในปฏิบัติการนี้ทั้งหมด หลวงพระบางจะเป็นผู้ชดเชยคืนให้ในภายหลัง

คำถามมากมายที่เกี่ยวข้องในกรณีย์นี้ไม่มีทางจะหาคำตอบได้ในกรุงเทพ แต่จะต้องมาดูกันยัง สถานที่จริง และภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตรงนั้น

หากเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง บทสรุปอันน่าพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้กระสุนแม้แต่นัดเดียว


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 13:42
หนังสือฉบับนี้ ม.ล.มานิจ ชุมสายท่านหมายเหตุไว้ว่า คงจะไม่มีใครมีโอกาสได้อ่านต้นฉบับอีกแล้ว เพราะถูกหมกอยู่ในห้องใต้ดินในสถานทูตที่ปารีสมายาวนานมาก ขนาดตอนที่ท่านไปพบ ข้อความที่เขียนด้วยหมึกก็เลอะเลือนเกือบจะอ่านไม่ออก ท่านจึงคัดลอกมาพิมพ์ไว้ด้วยเพื่อป้องกันสูญหาย

เดี๋ยวว่างแล้วผมจะเอาต้นฉบับภาษาอังกฤษมาลงไว้ให้ครับ ขณะนี้ยังไม่ได้ทานข้าวกลางวันเลย


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 25 เม.ย. 16, 15:36
กำลังสนุกครับคุณอา แต่ก็แอบง่วงเนื่องจากท้องอิ่มมากไปหน่อย อิอิ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 18:34
มาแล้วครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 18:34


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 18:35


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 16, 18:36


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 16, 09:21
แรงกดดันที่ฝรั่งเศสใช้กำลังรบรุกเข้ามา ทำให้พวกฮ่อได้หลบหนีออกมาทางสิบสองจุไท แล้วปล้นสะดมราษฎรในเขตบ้านนอกของเมืองเชียงขวางและหัวพัน รัฐบาลสยามได้ส่งกองทัพนำอาวุธทันสมัยขึ้นไปปราบ ในการนี้คณะสำรวจทำแผนที่ของนายแมคคาร์ธีได้ติดตามทหารขึ้นไปด้วยเพื่อทำงานต่อให้สำเร็จ
การปฏิบัติการครั้งนี้ ทหารไทยได้ขับไล่ฮ่อออกไปจากดินแดนสยามสำเร็จโดยฮ่อกลุ่มสุดท้ายได้ยอมมอบตัวโดยดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงยินดีต่อความสำเร็จของกองทัพสยามที่ยกไปปราบฮ่อในครั้งแรกมาก ในพระราชดำรัสที่ทรงมีต่อหมู่ข้าเฝ้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศเนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล ๒๑ กันยายน ๑๘๘๔ ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างยืดยาว สำเนาภาษาไทยคงอยู่ที่สถานทูต และ ม.ล. มานิจ คงจะแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมาลงไว้ในหนังสือของท่าน ผมจะกล่าวแต่โดยย่อก็แล้วกัน


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 16, 10:40
ทรงกล่าวถึงเหตุผลที่ส่งกองทหารจำนวนไม่มากนักขึ้นไปปราบฮ่อ และให้นายช่างชาวอังกฤษที่ไว้ใจได้ขึ้นไปทำแผนที่แนวชายแดน ที่ทรงต้องการก็คือ ผลของการสำรวจพื้นที่บริเวณภูเขาและที่ราบลุมแม่น้ำโขงที่ยังไม่เคยศึกษามาก่อน ส่วนข้อจำกัดของการนี้นั้น คือเขตแดนที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่เหล่านั้น และต้องการทราบวิถีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ และการคมนามคมติดต่อระหว่างกัน อันจะเป็นก้าวแรกที่จะอำนวยให้เกิดการทำมาค้าขาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และเป็นปัจจัยของความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ

การสำรวจที่มีเวลาแค่สองสามเดือนก่อนถึงหน้าฝนที่ผ่านมาก็ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ครบตามความต้องการของเรา เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ฝนเมื่อต้นฤดูได้นำความเจ็บป่วยมาให้ และทหารหลายคนหนีทัพ เราได้สูญเสียนายทหารชาวยุโรปไปคนหนึ่ง ทำให้เราต้องยกกำลังกลับ

คณะสำรวจจะกลับไปทำงานนี้ต่อเมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว เพื่อลงรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ และจะถอนกลับก่อนฤดูฝนที่จะมาในปีหน้า



กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 16, 11:34
ฝรั่งเศสกำลังติดพันกับสงครามตังเกี๋ยกับจีน จึงไม่มีเวลามาแทรกแซงเรื่องของสยาม ตอนนั้นก็เพียงแต่กะว่าถ้าเสร็จศึกด้านโน้นเมื่อไหร่ ก็จะโยกทหารมายึดครองดินแดนที่ตัวจะอ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของแล้ว ก่อนที่ฝ่ายไทยจะกระดิกตัว

ครั้นเห็นพระราชดำรัสที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งนำไปเสนอข่าว รักษาการกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสในกรุงเทพ M. Lorgeou ก็เต้นผาง แล้วทำหนังสือลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๑๘๘๔ ประท้วงอย่างรุนแรงมายังรัฐบาลสยามทันทีว่า การกระทำดังกล่าวบนพื้นที่ซึ่งเป็นของรัฐที่ส่งเครื่องราชบรรณาการแก่หลายประเทศนั้น ทำให้เขาจำต้องประท้วง ภายในขอบเขตของพันธกรณีย์อันดีที่มีต่อกัน และขอสงวนสิทธิ์ตามสากลปฏิบัติ ที่จักรวรรด์เวียตนามและฝรั่งเศสอันจะพึงมี ต่อเส้นแนวเขตที่จะแบ่งดินแดนกันระหว่างเวียตนามและสยาม


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 26 เม.ย. 16, 14:16
เข้ามาลงชื่อว่าไม่ได้นั่งหลับหลังห้องนะครับ แต่แอบปั่นงานตัวเองไปด้วย  ;D

เนื้อหากำลังสนุกเลยแต่วันนี้ผมเบลอๆมืนๆนิดหน่อย นี่คือสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 4 ใช่ไหมครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 16, 07:12
ครั้งแรกเลยครับ


กระทู้: พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 16, 10:23
นายแมคคาธีมองเห็นแล้วว่า แม้ว่าสยามจะส่งกำลังทหารออกปฏิบัติการ และทำแผนที่แล้วเสร็จตามคำแนะนำของเขา ก็ยังถือว่าสายเกิน

นายลอร์ซูว์ประท้วงแม้กระทั่งพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีสร้อยต่อท้ายพระปรมาภิไภยว่า พระเจ้าแผ่นดินแห่งพระราชอาณาจักรสยามเหนือใต้ และแผ่นดินลาวเฉียง ลาวกาว ฯลฯ ว่า ในหลวงน่าจะทรงทราบดีว่าคำว่าลาวใช้กันโดยทั่วไป และมีความหมายกว้าง ซึ่งในหลวงทรงไม่สามารถจะมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินลาวทั้งหมดที่ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิ์ไว้ จนเป็นเหตุแห่งสงครามตังเกี๋ยได้ เพียงแต่ฝรั่งเศสยังไม่มีเวลาที่จะทำข้อตกลงเงื่อนไขกับสยาม แต่ยังยืนยันสงวนสิทธิ์ในดินแดนที่เกี่ยวข้องในทุกกรณีย์

ในขณะเดียวกัน นายเฮอร์มานก็ได้ทำรายงานยาวเหยียดถึงความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะยึดครองที่ดินในภูมิภาคนี้
หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสจึงทำหนังสือแจ้งนโยบาย ลงวันที่ ๖ เมษายน ๑๘๘๓ ว่า “ …นครรัฐแม่โขงจะต้องถูกจัดตั้งขึ้นโดยปราศจากข้อสงสัยในเขตแดนของทั้งสองประเทศ ภายในเร็ววันข้างหน้า…”

ฝรั่งเศสเริ่มคุกคามสยามอย่างหนักในสมัยที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นทูต ภาระในการที่จะยับยั้งให้สำเร็จได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่พวกเขาจะเรียกร้องในรูปแบบต่างๆ เช่นเรื่องความต้องการที่จะควบคุมการโทรเลขระหว่างกรุงเทพกับไซ่ง่อนโดยคนฝรั่งเศส และการเป็นผู้ควบคุมการทำประมงในโตนเลสาป