เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: น.นิด ที่ 03 พ.ค. 01, 02:48



กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: น.นิด ที่ 03 พ.ค. 01, 02:48
รบกวนเรียนถามว่า ปัจจุบันนี้ "ฌ"  เป็นพยัญชนะ ที่ยังคงใช้กันอยู่หรือไม่


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: เฌอ ที่ 02 พ.ค. 01, 15:39
ชื่อดารา "เฌอมาลย์" ก็ใช้ "ฌ" นะ ในพยัญชนะก็ยังมีอยู่ ในแป้นพิมพ์ก็มี แต่คงเพราะศัพท์มีน้อยในพยัญชนะตัวนี้ เลยไม่ค่อยเห็นมั้ง...


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: วฤก ที่ 02 พ.ค. 01, 17:39
ยังมีใช้อยู่อ่ะครับ

เท่าที่นึกได้มี

"ฌาน" "ฌาปนกิจ".....

อ้อ ... อีกคำหนึ่งคือ "เฌอ" ที่แปลว่าต้นไม้ ...แต่ไม่ค่อยใช้กันแล้ว

คำอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังคิดไม่ออก อ่ะครับ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: อุ้ยครับ ที่ 02 พ.ค. 01, 19:55
เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ....ปู่รึกคร้าบบบบ....คิดถึงจังครับ....มาเล่นกันต่อนะครับ ดีใจจริงๆครับ  รบกวนปู่ช่วยดูในกระทู้มุทิงคฯอ่ะครับ...อุ้ยแต่งไปได้เยอะแล้วเหมือนกัน...เย้ๆๆๆๆๆๆๆ

แหะๆๆ..ขอโทษเจ้าของกระทู้ครับ แบบอุ้ยลืมตัวไปนิดอ่ะครับ

ตัว ฌ เฌอ ตำราบางเล่มยังใช้ว่า ฌ กระเฌอ อยู่เลยครับ ตาหลกเนอะครับ

ยังเหลือ ฌาปนสถาน แล้วก้อ เฌอเอม (ชะเอม)ครับ ...พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ ครับ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 02 พ.ค. 01, 22:53
ผมเองตอนสมัยเรียน ก็เรียกว่า
ฌอ กระเฌอ ตกลงว่าผิดเหรอครับ แล้วเค้าเปลี่ยนกันเมื่อไหร่ ผมไม่ทราบจริง ๆ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: เฌอ ที่ 02 พ.ค. 01, 23:34
ฌ เรียกว่า "ฌอเฌอ"หรือ"ฌอฌาน"เป็นพวกตาลุชะ(พยัญชนะที่เกิดจากเพดานในปาก)และมักจะใช้เฉพาะคำบาลีและสันสกฤต เท่านั้น แต่ก็มีน้อย เช่น ฌลา ฌลิ ฌษ ฌส ฌัลล์ ฌัลลกัณฐ์ ฌัษ ฌัส ฌาน ฌาปน ฌาปนกิจ ฌาปนสถาน ฌายกะ ฌูก เฌอ   เฌอเอม เฌาลิก โฌฑ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 03 พ.ค. 01, 03:56
เข้าใจว่า ทั้งคนถามและคนตอบบางท่านนึกถึง ฌ ในฐานะพยัญชนะต้นของคำ เป็นหลัก หรือเปล่าครับ คำที่ยกมานั้นเป็นคำที่ ฌ ขึ้นต้นทั้งหมด

แต่ถ้าถามผมเรื่องคำที่ใช้ ฌ ในภาษาไทย ผมว่าน่าจะรวมคำที่ ฌ เป็นส่วนประกอบอื่นๆ ของคำ ด้วย ก็คงจะได้เพิ่มมาอีกไม่กี่คำ เช่น อุปัชฌาย์ อัชฌาสัย ซึ่ง ฌ มักจะอยู่ติดกับ ช เป็น ชฌ เป็นคำไทยที่มาจากภาษาบาลีครับ แต่ก็แสดงว่า ฌ ก็ยังมีที่ใช้ในภาษาไทยอยู่
 
ฌ ในคำไทยที่ไม่ได้มาจากบาลี เห็นมีก็ที่มีท่านอื่นยกมาแล้ว เช่น เฌอ ต้นไม้ เฌอเอม เดี๋ยวนี้เห็นเขียนว่าชะเอม เป็นต้น

ผมขอถามผู้รู้ด้วยครับ ผมรู้สึกว่า เฌอ แปลว่าต้นไม้ ก็มีเป็นคำหนึ่ง แต่กะเฌอก็เป็นอีกคำหนึ่ง จะแปลว่าอะไรก็ลืมไปแล้ว ดูเหมือนเคยเห็นเขียนว่า กะเชอ ด้วยเหมือนกัน และถ้าจำไม่ผิด เป็นภาชนะอะไรสักอย่างหรือเปล่า
 จึงมีคำพูดว่า นางกะเชอก้นรั่ว ?


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 03 พ.ค. 01, 04:01
นอกจากภาษาไทยและบาลีแล้ว มีที่ใช้ถอดคำที่มาจากภาษาอื่นเป็นไทยด้วย เช่น มีบางท่านใช้ถอดเสียง J ในภาษาฝรั่งเศส คงนึกกันออกนะครับ ไม่ต้องยกตัวอย่าง หรืออย่างในชื่อไอริช Sean ก็เคยเห็นถอดว่า ฌอน

คงคล้ายๆ กับ Juan ที่คณุภาษาสเปนบางท่าน ใช้ตัว ฆ ถอด เป็น ฆวน


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: เฌอ ที่ 03 พ.ค. 01, 04:21
กระเชอ=ภาชนะสานชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กคล้ายกระบุงก้นสอบ ปากผาย มาตราตวง 5 ทะนานเป็น 1 กระเชอ 5 กระเชอ เป็น 1 สัด
ส่วนกระเชอก้นรั่วเป็นสำนวนแปลว่าสุรุ่ยสุร่าย,ขาดการประหยัด
สำหรับกะเฌอ กะเชอ ไม่เคยเห็น มี กระเซอ/กะเซอ=เซ่อ,โง่


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: ครูไหวใจร้าย ที่ 03 พ.ค. 01, 06:13
สรุปก็คือคนไทยก็เป็นคนไทยแหละค่ะ อะไรยาวเราก็ตัดสั้น เช่น"พิจารณา" เดี๋ยวนี้ก็อ่านออกเสียงกันแค่ พิ'ณา



พอต้นฉบับสั้น เราก็ลากให้ยาว เช่น "ตุ๊กตา" เราก็อ่านว่า ตุ๊ก-กะ-ตา ซึ่งตัวอย่างนี้ ผิดจนกระทั่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานยอมรับให้อ่านได้แล้วค่ะ



ถ้าไปถามคนแก่คนเฒ่า เรื่องจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ผู้เฒ่าก็จะออกเสียงว่า ราด-บุ-รี , เพ็ด-บุ-รี แต่เดี๋ยวนี้ออกเสียงเป็น ราด-ชะ-บุ-รี , เพ็ด-ชะ-บุ-รี  สุดท้ายทางราชบัณฑิตฯต้องอนุโลมทั้ง ๒ ประเภท บอกว่าประเภทหนึ่งเป็นการออกเสียงตามหลักภาษาฯ และ ประเภทความนิยม



คำว่า อรหันต์ ซึ่งเคยต้องอ่านว่า อะ-ระ-หัน ตอนนี้ก็อนุโลมให้อ่านว่า ออ-ระ-หัน ได้แล้ว



ถ้าเป็นสมัยดิฉันยังเด็ก ขืนอ่าน ออ-ระ-หัน เข้า เป็นถูกตีค่ะ เพราะจะไปพ้องเสียงกับ "อรหัน" ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์



สรุป ฌ เฌอ ก็ถูกลากไปเป็น ฌ กระเฌอ เข้าจนได้ ทั้งๆที่รูปประกอบเป็นรูปต้นไม้สองต้น ตามคำที่ว่า ฌ เฌอคู่กัน



ขออนุญาตอีกนิดเถอะนะคะ ที่โถงบันไดพระตำหนักดอยตุง ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีการแกะสลัก พยัญชนะไทยพร้อมกับเสียงอ่านไว้ทั้งหมด



ที่นั่นยังแกะว่า ฌ กระเฌอเลยค่ะ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงหมี ที่ 03 พ.ค. 01, 14:48
ฌาน   หรือ  ฌาน  อะไรนี่แหละ


กระทู้: ฌ.เฌอ
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 12 พ.ย. 05, 04:07
 จากพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ครับ

ค้น : เฌอ
คำ : เฌอ
เสียง : เชอ
คำตั้ง : เฌอ
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ข. เฌี ว่า ไม้, เฎิมเฌี ว่า ต้นไม้)
นิยาม : ไม้, ต้นไม้.

---------------------------------------------------

จะเห็นว่า เฌอ ไม่ใช่คำไทยแท้ครับ แต่เป็นคำที่รับมาจากคำเขมร แปลว่า ต้นไม้

"ฌ" ไม่ใช้ในคำไทยแท้ครับ แต่จะใช้ "เพื่อรักษารูปศัพท์เดิม" ที่รับมาจากภาษาสันสกฤต และ บาลี เป็นหลัก

--------------------------------------------------------------

ในภาษาไทยเราไม่มีเสียงในภาษาสันสกฤต-บาลีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงออกเสียงเหล่านั้น ซ้ำกับเสียงที่เรามี คือ
ฆ เราออกเสียงซ้ำกับ ค
ฌ - ญ ออกซ้ำกับ ช - ย
ฏ - ฐ - ฑ - ฒ - ณ ออกซ้ำกับ ต - ถ - ท - ธ - น
ธ ออกซ้ำกับ ท
ภ ออกซ้ำกับ พ
ศ - ษ - ฬ ออกซ้ำกับ ส - ล
ฎ นั้น ใช้แทน ฏ ให้ได้สำเนียงไทย เช่น ฎีกา (ดี-กา) ซึ่งแผลงมาจากภาษาบาลีว่า ฏีกา (ตี-กา)
ฃ และ ฅ ปัจจุบัน มีเสียงซ้ำกับ ข และ ค แต่เชื่อได้ว่าในสมัยแรกๆ ที่มีการประดิษฐ์อักษรไทยนั้น อักษรทั้งสองนี้ ต้องออกเสียงต่างไปจาก ข และ ค ปัจจุบัน

--------------------------------------------------------------
อักษรสีดำ คือ ชุดอักษรดั่งเดิมที่ไทยเรายืมมาจากชุดอักษรของภาษาสันสกฤตครับ จากอักษรตระกูลเทวนาครี-ปัลลวะ (อินเดียเหนือ-ใต้)
อักษรสีแดง คือ ชุดอักษรที่ไทยเรา ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อใช้ในเสียงภาษาไทย ที่ในภาษาสันกฤต-บาลีไม่มี
อักษรสีน้ำเงิน (ฬ) คือ เป็นอักษรที่ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาบาลีครับ