เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11351 เรื่องของชื่อแซ่
อำแดงริน
อสุรผัด
*
ตอบ: 22

ทำงาน


 เมื่อ 03 มิ.ย. 02, 17:37

 แซ่ในภาษาจีนส่วนใหญ่จะเป็นตัวเดียว
จำพวกที่ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปนี่ มีอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ

พอดีกำลังฝึกวิทยายุทธชุดมังกรหยกอีกวาระหนึ่ง(ว่างเว้นมานาน)
ให้รู้สึกสงสัยน่ะค่ะ
เช่น...อาวเอี้ยง เป็นต้น
หรือเรื่องอื่นๆ ที่ฮิตๆ ก็น่ำเก็ง ม่อย้ง ซีเบ๊ ต๊กโกว ตังฮึง
หรือของจริง อย่าง...อั้ยซิงเจี่ยวหรอ
อยากรู้ที่มาของการใช้แซ่หลายตัวน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
วิรุฬจำบัง ยังอยู่ยั้งยืนยง
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

มีที่นา 2 ไร่ ควาย 2 ตัว รถกระบะ 1 คัน ชกคราวหน้าจะพยายามใช้แม่ไม้มวยไทย น๊อคคู่ต่อต่อสู้ให้


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 02:58

 อ่า... ผมเดาว่า คงไม่มีอะไรซับซ้อนเหมือนความร่ำรวยของรัฐมนตรีบางคนหรอกครับ
คิดว่าคงคล้ายกับของชายไทย ที่มีทั้งสั้น และ ยาว
(( นามสกุล นะครับ ที่พูดเนี่ย ))
เช่นนามสกุล มิ่งขวัญ , จันทร์เพ็ญ ฯลฯ
หรือนามสกุลยาว ยาว เช่น ธนสารท่วมท้นเทียมฟ้า ,
ก้องเกียร์ติ์ขจรกำจาย หรือ กรุณาเดินชิดในด้วยครับ เป็นต้น

อ้อ ผมก็กำลังฝึกวิชา " พาสาวไปทานข้าวเย็น " อยู่พอดี
ถ้าจะขอรบกวนคุณอำแดงมาเป็นคู่ฝึกซ้อม จะรังเกียจไม๊ครับ ??

ลงชื่อ นายเหมือน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 08:57

   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 11:47

 ยาวเป็นพิเศษครับ ฮี่ฮี่ฮี่

เท่าที่ทราบไม่มีอะไรแตกต่างครับ ยกเว้น อ้ายซิงเจี้ยวหลอ นั้นเป็นชื่อสกุลของแมนจู ไม่ใช่ชาวฮั่นครับ

ผมเคยเรียนโรงเรียนจีนสมัยประถม จำได้ว่าเคยมีเพื่อน แซ่ซือหม่า(ซีแบ้ ในสำเนียงแต้จิ๋ว) และแซ่โอวหยาง(อาวเอี๊ยง ในสำเนียงแต้จิ๋ว) แซ่กลุ่มสองตัวอักษรขึ้นไปนี้จะมีอยู่ไม่กี่แซ่ครับ(น่าจะไม่เกิน 20-30)

อย่างในสามก๊ก คนดังๆที่แซ่สองตัวอักษรก็มีขงเบ้งไงครับ(แซ่จูเก๊อะ ชื่อตัว เลี่ยง) และสุมาอี้ก็แซ่ซือหม่านี่แหละครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 21:02

 เท่าที่เคยเรียนมา เขาบอกว่า พวกแซ้สองตัวส่าวนหนึ่งมาจาก
เดิมแซ้ตัวเดียว แต่พอเข้ามาเป็นหมู่คณะเจอคนแซ้ซ้ำก็เลย เพิ่มอักษรเข้ามาอีกตัว
บันทึกการเข้า
Linmou
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะประวัติศาสตร์ วิชาเอกประวัติศ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 21:29

 แซ่สองตัวนี้ บางกลุ่มจะเป็นชนกลุ่มน้อยค่ะ เช่นแซ่ม่อย้ง(มู่หรง) จะเป็นพวกเผ่าเซียนเปย แซ่หวานเหยียน(อ้วงงั้ง) เป็นพวกจิน(ต้ากิมก็กในเรื่องมังกรหยก) แซ่ เย ลวี่ เป็นพวกชี่ตาน(ชาวคีตั้น ในเรื่องมังกรหยก) แซ่ป๋อเอ๋อรจื่อจิน คือแซ่ของลูกหลานเจงกิสข่าน แซ่ทั่วป๋า ดูเหมือนจะพวกเผ่าเซียนเปยเช่นกัน

บางกลุ่มก็มีมาแต่โบราณ โดยเอาตำแหน่งขุนนางมาตั้งเป็นแซ่ของตน เช่น แซ่ซีทู้(ซือถู) , ซีเบ๊(ซือหม่า (คิดว่าใช่นะ))

บางกลุ่มก็เป็นดังที่คุณภูมิบอก

อ้ายซินเจว๋ลั๋วเป้นแซ่ของพวกฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของจีนค่ะ
   
บันทึกการเข้า
สร้อยสน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 143

ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 พ.ค. 02, 06:52

 พอมีท่านไหนจะให้ความรู้เพิ่มเติมไหมคะว่า แซ่ไหนเป็นแซ่ประจำของจีนกลุ่มไหน
เช่นถ้าพวกไหหลำ จะใช้แซ่ฮั่น แซ่ด่าน
ถ้าแต้จิ๋ว ก็แซ่ลิ้ม แซ่แต้ อะไรทำนองนี้ค่ะ
อย่างแซ่หยังนี่เป็นของพวกแคะ มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 พ.ค. 02, 13:06

 ขออกตัวไว้ก่อนนะครับว่านี่เป็นมุมมองของผม คนที่มีเชื้อสายจีนในไทยเท่านั้น ข้อมูลก็เลยเยอะไปทางแต้จิ๋วและแคะซึ่งเป็นบรรพบุรุษครับ

เรื่องแซ่ไหนเป็นของชนกลุ่มไหนนั้น เข้าใจว่าไม่น่าจะสรุปได้ง่ายนัก เพราะแซ่เดียวกันเป็นคนละพวกก็มีอยู่มากมาย อาจออกเสียงสำเนียงแตกต่างกันไปเท่านั้น แต่บางแซ่เองก็อาจจะมีสัดส่วนในบางพวกมากหน่อย อย่างเช่นแซ่คู (ของทั่นนายกทักษิณ) นั้นเป็นคนแคะซะมาก (ทั่นนายกก็ด้วย)

ส่วนแซ่ด่านนั้น ก็คือแซ่ตั้ง(ในสำเนียงแต้จิ๋ว)นั่นเอง คนไหหลำแซ่นี้กันเยอะ แต่ที่เป็นแต้จิ๋วก็มีไม่น้อย

กวาดตามองรัฐบาลนี้ ก็มี แซ่จึง(รมต.สุริยะ) ก็เป็นแต้จิ๋ว

แซ่ฮิตๆอย่างแซ่จาง (เตีย ในสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ จง ในสำเนียงแคะ) มีเยอะทั้งแต้จิ๋วและแคะ ส่วนจะเป็นไหหลำกวางตุ้งมากน้อยยังไงอันนี้ไม่ทราบครับ แซ่หวาง(อึ้งในสำเนียงแต้จิ๋ว) อันนี้ก็เป็นแต้จิ๋วเยอะครับ

แซ่เจิ้ง (แต้ ในสำเนียงแต้จิ๋ว) ซึ่งเป็นแซ่ของพระเจ้าตาก ก็เป็นแต้จิ๋วเยอะเหมือนกันครับ คนอื่นที่ดังๆก็มี พวกเตชะไพบูลย์ - สารพัดจะ เตชะ น่ะครับ

แซ่หม่า(เบ้ ในสำเนียงแต้จิ๋ว ที่คนไทยนิยมเรียกว่าเบ๊-ซึ่งไม่รู้ว่ามาได้ไงเพราะวรรณยุกต์ไทยก็กำกับได้ตรงอยู่แล้ว) ก็มีที่เป็นแต้จิ๋วเยอะครับ ความว่าหม่าแปลว่าม้า แซ่นี้ในไทยมักเปลี่ยนนามสกุลเป็อะไรม้าๆ เช่น อัศว ต่างๆ (CrazyHOrse ไม่เกี่ยวนะครับ ไม่เคยมีญาติโยมแซ่นี้เลย)

แซ่หลี่(ลี่ ในสำเนียงแต้จิ๋ว คนไทยเรียกลี้) ก็แต้จิ๋วเยอะ

จริงๆแล้วเท่าที่รู้จัก แต้จิ๋วจะมีเกือบทุกแซ่ที่พบในไทย นอกจากที่เอ่ยถึงแล้ว ที่นึกออกก็ยังมี อั๊ง, โค่ว(สี่ ในสำเนียงภาษากลางเช่นสี่เหวินเฉียงครับ - คนไทยเรียก โค้ว) แล้วก็.... เอ้อ... นึกไม่ออกครับ

พวกแคะจะมีน้อยกว่า เท่าที่เคยเห็นก็มี ปัง, คู, จง, อุน(หรือเวิน - อันนี้หาที่เป็นแต้จิ๋วยากครับ ส่วนมากจะเป็นแคะหรือกวางตุ้งซะมาก เวินเจ้าหลุน ดาราฮ่องกงก็แซ่นี้ครับ ในกวางตุ้งจะมีคนแซ่นี้มากพอควร อดีตเพื่อนร่วมงานชาวฮ่องกงของผมเคยบอกว่า top ten แต่พอผมทักว่าเว่อร์ไปม้าง แกก็บอกงั้น top twenty ก็ได้(ฟะ) ผมก็อือออไป ไม่ค่อยจะเชื่อเท่าไหร่ แต่หารสองดู top forty น่าจะฟังได้ เพราะเคยเห็นเยอะเหมือนกัน - แซ่นี้หาทำยายากในไทยครับ เชื่อว่ามีไม่กี่ร้อย อย่างมากก็พันกว่าคน...เอ้า) แล้วไงต่อ... เอ้อ... นึกไม่ออกครับ พวกแคะในไทยก็มีน้อยอยู่แล้ว

สงสัยต้องให้เพื่อนๆมารายงานตัวดูครับ จะได้มีข้อมูลเพิ่มขึ้น
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 มิ.ย. 02, 11:35

 มาร่วมแจมเรื่องแซ่ด้วยคน
บรรพบุรุษทางพ่อ แซ่จิวค่ะ  ฟังจากออกเสียง เชื่อว่าเป็นแต้จิ๋ว
ภาษาจีนกลางเรียกโจว  
ดิฉันคงจะเป็นญาติห่างๆคนละประเทศกับโจวเหวินฟะ
ถอยหลังกลับไปหาหลักฐาน พวกจิวหรือโจวย้อนกลังไปได้ถึงราชวงศ์โจว  
จำได้คลับคล้ายคลับคลา แต่หาประวัติไม่พบ  เพราะว่าที่บ้านละประเพณีจีนมาเป็นแบบไทยเต็มตัวก่อนสมัยคุณปู่ของดิฉันอีกค่ะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 มิ.ย. 02, 03:45

 When I was working in China, I was given a surname Su - as in Su Lian or Soviet Union, or as in Su Dongpo, one of the greatest Chinese writers. But I ma not relate in any way to the Great Su Dongpo. I was given this surname only because my real last name in Thai - which is too long and too complicated for my Chinese friends to pronounce - begins with "Su...".
In Taejew, I think this surname is pronounced - "Sow".

I should have a Hokkian name, because the grandfather of my paternal grandmother (Khun Ya, not Khun Yai) came from Fujian. But it was so long ago, and my grandmom was fully assimilated into Thai society, so I do not know my real Chinese surname.

I think SaiMung as in SaiMungChuaySau is another family name with two words. I am not quite sure if this surname is written "Xi Men" in Mandarin or not, and if that is the case, whether it means "western gate" or not. Can anyone explain? - And why should "Western Gate" become a family name in the first place?

Why there is Mr. Westerngate and not Mr. Eastern/ northern/ southern gate???
บันทึกการเข้า
Linmou
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะประวัติศาสตร์ วิชาเอกประวัติศ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 มิ.ย. 02, 15:57

 แซ่ "ไซมึ้ง"  ของ "ไซมึ้งชวยเสาะ" คือแซ่ "ซีเหมิน"(Ximen) ที่แปลว่า "ประตูตะวันตก" ในภาษาจีนกลางถูกต้องค่ะ
ไม่ทราบที่มาเช่นกัน เพียงแต่มาตอบไว้ก่อนว่าคุณ นกข. เดาถูกแล้ว

ยังมีอีกแซ่ที่มีลักษณะเดียวกัน คือ แซ่ "น่ำเก็ง" มาจากภาษาจีนกลางว่า "หนานกง"(Nan gong) ที่แปลว่า "เมืองทางใต้"
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 มิ.ย. 02, 22:38

 แซ่หลายพยางค์อีกตัวที่เป็นของชนกลุ่มน้อยที่ผมนึกออก คือ แซ่ "เยโฮลานา" (ตามที่อาจารย์คึกฤทธิ์ถอดแปลไว้) แซ่นี้เป็นของพวกชาวแมนจู และเป็นแซ่ของซูสีไทเฮาครับ จริงๆ แซ่นี้ควรจะถอดว่าอะไรจึงจะถูกต้องก็ไม่ทราบ เพราะอาจารย์คึกฤทธิ์ ตอนที่ท่านเขียนหนังสือเรื่อง ซูสีไทเฮา ท่านก็ถอดจากหนังสือฝรั่งไม่ได้เอามาจากแหล่งที่มาของจีนโดยตรง (ดูอย่างนายพลหยวนซื่อข่ายในหนังสือเล่มเดียวกัน ท่านก็เดาไว้ว่า ยวนชิไก๋) แม้แต้คำว่าซูสีไทเฮาชื่อหนังสือเอง ถ้าจะให้ถูกแท้คงต้องเรียกว่า ฉือซีไท่โฮ่ว

คนแซ่เดียวกันคือใช้แซ่ซ้ำกันไม่ได้เป็นญาติกันเลยก็ได้ครับ และที่ถามว่า ดูจากแซ่รู้ไหมว่าเป็นคนจีนเชื้อสายไหนก็พูดยาก เพราะบางทีมันซ้ำกันได้ เช่น  คนแต้จิ๋วที่ใช้แซ่กิม คนกวางตุ้งที่ใช้แซ่กำ คนจีนแผ่นดินใหญ่ทางเหนือใช้แซ่จิน หรือคนจีนกลุ่มน้อยบางพวกที่มาจากอาณาจักรต้าจินโบราณก็มีใช้แซ่จิน เป็นอักษรตัวเดียวกันหมด แปลว่าทอง (มีคนบอกว่าเป็นแซ่เดียวกับแซ่ยอดนิยมของเกาหลีคือ คิม ด้วย) แต่ไม่ได้เป็นญาติกันเลย

ยกอีกตัวอย่าง แซ่เฉินในภาษาจีนกลางนั้น คือแซ่ตั๊งหรือแซ่ตั้งในแต้จิ๋ว คือแซ่ด่านในภาษาไหหลำ (เช่นคุณสุรชัย) คือแซ่ฉั่นในภาษากวางตุ้ง (อย่างเช่น Jackie Chan คือ เฉินหลง) และคือแซ่ตันใน... ภาษาจีนอีกบางภาษา แซ่เดียวกัน ตัวอักษรเดียวกันหมดครับ ไม่ได้แปลว่าคนที่ชื่อคุณเฉิน (อ่านออกเสียงอย่างจีนกลาง) จะต้องเป็นคนจากภาคไหนของประเทศจีนเป็นพิเศษ

มาดามคอราซอน อะกิโน อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ไม่แน่ใจว่าแซ่โค้วหรือแซ่คูครับ แต่มีเชื้อจีน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 มิ.ย. 02, 22:44

 นึกได้อีกคน
อูเอ่อร์ไคซือ อดีตผู้นำนักศึกษาจีนคนหนึ่งสมัยกรณีเทียนอันเหมิน แกก็แซ่หลายพยางค์เหมือนกัน เห็นใครว่าแกเป็นชนมุสลิมกลุ่มน้อยชาวอุยกูร์ซินเกียง (จีนเรียกพวกเววูเอ๋อร์) หรืออะไรทำนองนั้นแถวๆ นั้น ผมไม่ทราบชัดว่า นามสกุลแกนั้น คือ อูเอ่อร์ หรือ อูเอ่อร์ไค

ตอนนี้เป็นตายร้ายดียังไงก็ไม่ทราบแล้ว เหตุการณ์เทียนอันเหมินผ่านไปได้เกินสิบปีแล้ว ไม่ได้ข่าวแกอีกเลย
บันทึกการเข้า
สร้อยสน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 143

ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 มิ.ย. 02, 07:16

 ขอบคุณค่ะ ดิฉันทึ่งคนจีนจัง ที่เขาใช้แซ่กันมาเป็นพันๆปีแล้ว

คุณตาดิฉัน แช่ ฮั่น ค่ะเป็นไหหลำ  เขามีการนับ รุ่นกันด้วย ว่านี่รุ่นพ่อ นี่รุ่นลูก นี่รุ่นหลาน ไม่ได้ใช้อายุเป็นเกณฑ์  บังเอิญคุณแม่ถูกเลี้ยงแบบไทยๆ ก็เลย แทบไม่ทราบ วัฒนธรรมทางบรรพบุรุษสายนี้เท่าไร
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 มิ.ย. 02, 11:40

 อีกแซ่นึงที่นึกออกคือ Xiahou (เข้าใจว่าสำเนียงจีนกลางออกเสียงว่าเซี่ยโหว-ขอความกรุณาคุณ Linmou ช่วยดูด้วยครับ) ขุนพลเอกของโจโฉ แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยนเป็นคนแซ่นี้แหละครับ ปัจจุบันไม่รู้ยังมีเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน เพราะผมไม่เคยเจอคนแซ่นี้เลย

เรื่องที่คุณสร้อยสนทึ่งว่าคนจีนสืบทอดแซ่กันมาเป็นพันๆปีนั้น จุดสำคัญอยู่ที่วัฒนธรรมจีนครับ

เดิมนั้นคนจีนรวมตัวกันอยู่เป็นหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านจะเป็นคนแซ่เดียวกันทั้งหมู่บ้าน การแต่งงานจะแต่งงานลูกสาวหมู่บ้านอื่นเข้ามา ซึ่งผู้หญิงที่แต่งงานเข้ามาจะไม่เปลี่ยนแซ่ แต่ลูกที่เกิดจะถือแซ่ตามพ่อ ดังนั้นนอกจากเหล่าสะใภ้แล้ว ทั้งหมู่บ้านจะแซ่เดียวกัน ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือคนจีนจะไม่แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้อง เรื่องนี้ประเพณีไทยไม่ถือ นิยายเรื่องหนึ่งคือกนกลายโบตั๋นเป็นความรักระหว่างลูกพี่ลูกน้อง พอเอามาทำละคร เข้าใจว่าผู้สร้างมีเชื้อจีน หรือไม่ก็รับวัฒนธรรมจีนจนรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง ก็เลยแก้บทตอนจบให้ไม่สมหวังซะ เห็นได้ชัดว่าประเพณีจีนแทรกตัวเข้ามาในวัฒนธรรมไทย

กลับมาต่อเรื่องหมู่บ้าน การรวมตัวคนแซ่เดียวกันในหมู่บ้าน พอมีการอพยพออกมา จะมีการคบค้าคนในหมู่บ้านเดียวกันอย่างสนิทสนม เรียกกันว่า กาตี่นั้ง หรือคนกันเอง(คนบ้านเดียวกัน-ที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าคนบ้านเดียวกันของไทย เพราะแซ่เดียวกันด้วย) คำนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันบ่อย แต่คนมักไม่ทราบความหมายที่แท้จริงครับ

เรื่องที่ว่าคนจีนตั้งชื่อตามรุ่นนั้น ปกติแล้วคนในครอบครัว ลูกชายจะนับรุ่นการตั้งชื่อโดยเป็น series พี่น้องรุ่นเดียวกันจะมีชื่อตัวอักษรแรกเหมือนกัน ส่วนลูกสาวไม่ว่ากัน จะเหมือนหรือจะต่างก็ได้ เรื่องนี้ผูกมาที่ว่าคนจีนจะให้ความสำคัญกับอาและลุง(สายพ่อ)มาก เพราะถ้าอยู่ในหมู่บ้านที่เมืองจีนแล้ว ถือว่าอยู่ในบ้านเดียวกัน เพราะครอบครัวจีนใหญ่มาก อยู่รวมกันในบ้านเดียวหลายชั่วคน เมื่อออกมาตั้งรกรากต่างแดน ประเพณีนี้ยังติดมา เด็กรุ่นใหม่หลายคนจะแปลกใจ ว่าทำไมเป็นญาติสนิทได้ ทั้งที่แทบไม่เคยเจอหน้ากันก็มี

ประเพณีนี้ผมสงสัยว่าในจีนก็กำลังจะล่มสลายเหมือนกันครับ ภายใต้การรุกของสังคมเมืองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 21 คำสั่ง