เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:02



กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:02
คำจำกัดความนี้ผมไม่ได้ว่าเอง แต่มาจากคำสรรเสริญของฝรั่งในยุคนั้น ความว่า “บ้านส่วนตัวของเขานั้น มีชื่อเสียงร่ำลือกันว่างามที่สุดในกรุงเทพที่อยู่นอกพระราชวัง”


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:21
ภาพที่เป็นประจักษ์พยานเหล่านี้ตีพิมพ์ในหนังสือ Twentieth Impressions of Siam ราวปีค.ศ.๑๙๐๘ ตรงกับพ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่๕

ขอเชิญทัศนา

ภาพแรก คือ ๑ กำแพงบ้านทางด้านนอกถนน (กำลังก่อสร้างใกล้เสร็จ) ๒ โรงละครขนาดเล็ก ระหว่างการก่อสร้าง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:22
ภาพขยายโรงละคร


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:24
ภาพต่อไป ๑ คฤหาสน์หลังใหญ่ของบ้าน ๒ คฤหาสน์หลังย่อม ๓ ห้องรับรองแขก


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:25
คฤหาสน์หลังใหญ่ของบ้าน แบบชัดๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:29
คฤหาสน์หลังย่อม แบบชัดๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:31
ห้องรับรอง แบบชัดๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:33
สภาพปัจจุบัน แบบชัดๆ เชิญออกแรงจิ้มนิ้วเล็กน้อย

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=820112


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 14:36
บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) ตั้งอยู่ที่ริมถนนสามเสน ทิศเหนือจดถนนสุโขทัย ทิศใต้จดถนนสังคโลก ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดคลองอั้งโล่ เป็นบ้านที่พระสรรพการหิรัญกิจ ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เริ่มสร้างในราวพ.ศ. ๒๔๔๘ ด้วยงบประมาณถึงพันชั่ง (๘๐,๐๐๐ บาท) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑

บ้านพระสรรพการหิรัญกิจประกอบด้วยตึกสองหลัง คือ ตึกเหลือง และตึกชมพู ตึกเหลืองเป็นตึกใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) ผสมผสานรูปแบบและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ถัดมาทางทิศใต้มีตึกชมพู เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) เช่นกัน แต่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ภายในทั้งตึกใหญ่และ ตึกเล็กมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร มีเครื่องเรือนที่นำเข้าจากยุโรปทั้งสิ้น


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มี.ค. 13, 15:04
อื้อฮือ..
บ้านศาลาแดงของเจ้าพระยายมราช  ขนาดเท่ากับบ้านหลังย่อมของคุณพระสรรพการฯ เท่านั้นเอง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 15:10
^
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านระดับเหล่านี้น่าจะมโหฬารทีเดียว

พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ากว่าใครในสมัยนั้น ท่านตั้งใจจะเปิดบ้านนี้ให้เป็นสวนสาธารณะให้คนเข้าชมอาณาบริเวณได้ เรียกว่า บ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสน ในขณะที่เมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีสวนสาธารณะเลยก็น่าจะเข้าท่าอยู่

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จไปเปิดบ้านหิมพานต์ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ นับว่าบ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสนเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย

ที่ล้ำสมัยอีกอย่างหนึ่งคือการจำหน่ายเหรียญหิมพานต์ป๊าก ใครซื้อเหรียญนี้แล้วจะมีอำนาจในการเช่าชมสวนได้ รายละเอียดตามโฆษณาที่ลงไว้  แต่ผมดูราคาแล้วก็น่าเป็นห่วงอยู่ว่าจะมีคนซื้อสักกี่คนกัน


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 15:18
มารู้จักท่านเจ้าของบ้านกันหน่อย

ผู้ที่เป็นเจ้าของคฤหาสน์และสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยนี้คือ พระสรรพการหิรัญกิจ(เชย อิศรภักดี) ภายหลังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระอรรถวสิษฐสุธี


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 05 มี.ค. 13, 15:25
ราคาเข้าขมปาร์คสามเสนท่าจะแพงเกินไปกิจการเลยไปไม่รอด เสียดายตึกเล็กมากๆที่โดนทุบทิ้งไปแล้ว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 15:38
คงไม่มีงบประมาณพอจะรักษา และแพ้ความต้องการใช้พื้นที่ของโรงพยาบาลด้วย ส่วนตึกใหญ่ก็คงอีกไม่นานแหละครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 15:39
พระสรรพการหิรัญกิจ เดิมชื่อเชย(นั่งขวาสุด) เป็นบุตรคนที่สามของบิดา คือ พระพรหมาภิบาลผู้เป็นสมุหราชองครักษ์ซึ่งเป็นที่รู้จักและให้ความเคารพอย่างกว้างขวางในสยาม เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการอยู่ร่วมสิบปีภายใต้พระบัญชาของพระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจล ซึ่งทำให้ท่านต้องลาออกจากราชการ มาอุทิศตนในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายในประเทศเพียงอย่างเดียว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 15:43
ภรรยาของท่านคือคุณทรัพย์ ธิดาของขุนนางผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งของสยาม


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 16:10
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย(พระรูปด้านล่าง) ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระคลังมหาสมบัติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสยามจะเสียเปรียบมากหากไม่มีธนาคารพาณิชย์ของเราเองเป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงทรงจัดหาเงินทุนก้อนแรกจำนวน30,000บาท เพื่อทดลองตั้งธนาคารขนาดเล็กๆขึ้นก่อนในนาม"บุคคลัภย์"(Book Club) เปิดกระทำการในวันที่ 4 เดือนตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 123 (พ.ศ.2448) โดยแจ้งไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิว่าจะประกอบกิจการห้องสมุด คือ จะมีหนังสือประเภทต่างๆไว้บริการให้สมาชิกอ่านหรือขอยืมได้ เหตุที่ต้องพรางความจริงเช่นนั้น เพราะทรงเกรงว่าหากไม่สำเร็จจะได้ไม่อัปยศมากนัก

ออฟฟิศแห่งแรกของบุคคลัภย์ คือ ตึกแถวของพระคลังข้างที่ที่ตำบลบ้านหม้อ เมื่อก่อตั้งแล้วกรมหมื่นฯได้เริ่มสั่งซื้อพัศดุเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ให้พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการ มีพนักงาน18คน มีคอมปราโดร์(Comprador)หรือนายหน้าหาคนมากู้เงินเป็นชาวจีนในสยาม 4 คน


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 16:16
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ คือ เป็นธนาคารพาณิชย์นั่นเอง โดยรับเงินฝากจากประชาชนและจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.50 ซึ่งมีเพียงระยะแรกเท่านั้นก็มีผู้นำเงินมาฝากถึง 80,000 บาทเศษ เมื่อนำมารวมกับทุนก่อตั้งของ “บุคคลัภย์” แล้ว สามารถนำไปให้กู้ยืมไปทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรับจำนองได้

หลังจากเปิดดำเนินการมาได้ 3 เดือน กิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น และได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากชาวสยามซึ่งได้รับทราบข่าวในลักษณะปากต่อปาก “บุคคลัภย์” จึงเพิ่มธุรกรรม โดยมีการถอนเงินได้ด้วยเช็ค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบกิจการและประชาชนต่างมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันมากขึ้น และเริ่มเคยชินกับระบบบริหารการเงินแบบใหม่ในระยะเวลาอันรวดเร็ว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 16:51
แต่เมื่อข่าวการยื่นขอจดทะเบียนประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ของสยามแพร่ออกไป ก็เกิดกระแสต่อต้านจากผู้บริหารธนาคารต่างประเทศที่เปิดสาขาดำเนินการอยู่ในกรุงเทพ เป็นผลให้ สถานกงสุลประเทศอังกฤษได้ยื่นบันทึกต่อกระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องที่เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์แข่งขันกับเอกชน ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ในที่สุด กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยทรงเลือกที่จะกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2449 รวมทั้งพระสรรพการหิรัญกิจด้วย ความบีบคั้นจากต่างประเทศก็หมดลง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงมีพระชนมายุสั้น สิ้นพระชนม์เมื่อ15 เมษายน พ.ศ. 2450นั่นเอง พระชันษาเพียง 42 พรรษา ไม่ทันเห็นตึกที่ทำการใหม่ของธนาคารสยามกัมมาจล ซึ่งฝ่ายกิจการภายในประเทศตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระสรรพการหิรัญกิจ อดีตข้าราชการในพระองค์


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 13, 19:39
โบกมือจอดนิด ๆ ขอหยอดแผนที่แปลนสามเสนปาร์คให้ชมกันก่อนที่จะไปเรื่องอื่นต่อไป

สามเสนปาร์ค มีแผนผังบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวเรือนกลุ่มประธานอยู่ค่อนมาติดถนนสามเสน มีประตูทางเข้าหลักสองประตู มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้านและสวนพร้อมทางเดินแบบวงกลม พื้นที่หลังบ้านมีขนาดกว้างขวางถึงสองในสาม ทำเป็นทางเดินเล่นได้กว้างขวาง มีเขาดินอยู่สี่ลูก พร้อมทำทางเดินอย่างยุโรป

รอบพื้นที่อาณาเขตบริเวณสามเสนปาร์คทั้งสามด้านจะขุดเป็นทางน้ำไว้รอบบริเวณ โดยนำน้ำมาจากคลองอั้งโล่ซึ่งขุดนำน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาอีกทอดหนึ่ง ด้านเหนือของบ้านติดกับแนวห้องแถวปลูกไว้อย่างแน่นหนา ด้านใต้ติดกับถนนสังคโลก ด้านตะวันออกติดกับถนนสามเสน ด้านตะวันตกติดกับที่ทำท้องร่องปลูกพืชและค่อยเป็นถนนขาว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 มี.ค. 13, 19:54
หยอดมานิ๊ดเดียว ขอใหญ่ๆ เยอะๆ สวยๆ ชัดๆ แล้วก็เร็วๆด้วย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มี.ค. 13, 20:13
ค่อยๆเอาแผนที่ปัจจุบันมาวางอย่างเจียมตัว   มิบังอาจเทียบแผนที่โบราณ   

หาคลองอั้งโล่ไม่เจอ คงถมไปนานแล้ว   แต่ถนนสังคโลกทางใต้ ถนนสามเสนทางตะวันออก และถนนขาวทางด้านตะวันตกยังอยู่     คงทำให้ท่านผู้เข้ามาอ่านนึกทิศทางออกนะคะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 13, 20:30
หยอดมานิ๊ดเดียว ขอใหญ่ๆ เยอะๆ สวยๆ ชัดๆ แล้วก็เร็วๆด้วย

ดูใจร้อนรน ชอบกล .... คิคิคิ  ;D  ใหญ่ ๆ สวย ๆ ชัด ๆ ไม่รู้จะเยอะยังไง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 13, 20:38
ขยายส่วนหน้าบ้านสามเสน ที่มีตึกหลักสามหลัง อาคารหลังประธานของพื้นที่ ด้านหน้าจัดให้มีการขุดบ่อน้ำ ส่วนอาคารหลังเล็กกว่าทำทางเดินเป็นทางวนรอบ ๆสวน ด้านหลังอาคารหลังเล็กมีสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 13, 20:42
พื้นที่สวน สร้างเป็นภูเขาไว้ สี่ลูก พร้อมทางเดินรอบ ๆ สามเสนปาร์ค


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 13, 20:50
หยิบแผนที่อีกระวางเทียบกัน อันนี้ พ.ศ. ๒๔๕๓ ของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ้านสามเสนปาร์คหลังผ่านภาวะล้มละลาย ถูกยึดเข้าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้วก็กลายมาเป็น "วชิรพยาบาล"

โครงสร้างสิ่งก่อสร้างยังคงเดิม แต่อาคารประธานหลังบนเหมือนจะต่อเติมยื่นออกไปชิดรั้วด้านเหนือเพิ่มมากขึ้น คลองอั้งโล่ยังสวยงามเช่นเดิม


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 07:07
เสียดายที่หารูปบ้านพระสรรพการและป๊ากสามเสนได้เพียงเท่านี้ แต่กระนั้นก็พอเพียงที่จะบอกอะไรต่ออะไรให้คนสมัยนี้ได้รู้ได้พอควร


Twentieth Century Impressions in Siam เขียนเรื่องราวของพระสรรพการในฐานะบุคคลชั้นสูงของสังคมไทยสมัยรัชกาลที่๕ พร้อมลงรูปประกอบถึงสามหน้าอย่างชื่นชม ผมเห็นคราวใดก็สนใจใคร่ทราบประวัติของท่านผู้นี้ต่อ แต่แล้วก็หันไปสนใจเรื่องอื่นก่อนทุกที จนกระทั่งครั้งนี้ ครั้นทราบแล้วก็อดนำมาแบ่งปันในเรือนไทยมิได้
Twentieth Century Impressions in Siam คงจะทำต้นฉบับขึ้นก่อนตีพิมพ์หนังสืออย่างน้อยปีสองปี ข้อมูลที่นำมาเขียนจึงน่าจะประมาณปี๒๔๔๙-๕๐ ตามที่ผมแปลความมาลงข้างล่าง

พระสรรพาการหิรัญกิจ เป็นบุตรคนที่สามของพระพรหมภิบาล ราชองครักษ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงราชการและเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางในสยาม เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการอยู่ร่วมสิบปีภายใต้พระบัญชาของพระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ การจัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจลและการที่ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทำให้ท่านต้องลาออกจากราชการ มาอุทิศเวลาทั้งหมดทำงานให้แก่กิจการดังกล่าวเพียงแห่งเดียว ความสำเร็จและความมั่นคงของธนาคารแห่งนี้ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการและความรอบรู้ในด้านการเงินของท่านเป็นอย่างดี
พระสรรพาการเป็นนักสะสมของโบราณชั้นยอด ได้เคยเดินทางไปแล้วอย่างทั่วถึงในสหพันธรัฐมลายูและอินเดียตะวันตก(อินโดนีเซีย) บ้านส่วนตัวของท่าน ซึ่งมีชื่อเสียงว่างามที่สุดในกรุงเทพด้านนอกพระราชวังนั้น ได้จัดตั้งของที่ระลึกงามๆได้มาจากการเดินทางเหล่านั้น บริเวณสวนที่อยู่โดยรอบคฤหาสน์ทั้งสองเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมตลอดเวลา และมีโรงละครเล็กๆชั้นเยี่ยมที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดแสดงการละครสมัยใหม่ครบครัน
พี่ชายคนที่สองของพระสรรพาการเคยไปยุโรปมาสองครั้งแล้ว และครั้งสุดท้ายได้นำน้องชายคนเล็กที่สุดไปด้วย น้องคนนี้ตั้งใจจะทำงานธนาคาร และกำลังได้รับการศึกษาอย่างเข้มข้นอยู่ในประเทศอังกฤษ
พระสรรพาการสมรสกับคุณทรัพย์ ธิดาของข้าราชการที่โดดเด่นอีกท่านหนึ่ง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 08:04
แบงก์สยามกัมมาจลตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ๆกับตลาดน้อย ซึ่งเป็นย่านคนจีนและพ่อค้าฝรั่งที่ธนาคารต่างประเทศยุคแรกในสยามมากระจุกตัวอยู่ อันมี ธนาคารอินโดจีนของฝรั่งเศส(บนซ้าย) ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้(ล่างขวา) ธนาคารชาร์เติร์ด ของอังกฤษ  และธนาคารจีนสยามหรือธนาคารยู่เสงเฮง(ล่างซ้าย) เพื่อความสะดวกของลูกค้าที่ดำเนินกิจการนำเข้าส่งออก โรงสี โรงเลื่อย โกดังสินค้า ข้าว และอื่นๆ

พระสรรพการก็เป็นบุุคคลระดับนายธนาคารอินเตอร์ที่มีรูปอยู่ในกรอบขวามือด้านบนนั่นเลยทีเดียว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 08:24
สำนักงานธนาคารสยามกัมมาจลเป็นอาคาร๓ชั้นขนาดกลางที่มีความสวยงามประณีตตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุค “โบซาร์” (Beaux Arts) ผสมกับ “นีโอคลาสสิก” (Neo-classic) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้มีชื่อเสียงในกรุงสยามในขณะนั้น คือ นายอันนิบาเล ริก๊อตติ (Annibale Rigotti) และนาย มาริโอ ตามันโย (Mario Tamagno) ทั้งคู่ได้รับการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะอย่างดีเยี่ยมจากประเทศอิตาลี ได้เข้ามารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงกำลังพัฒนาสยามให้ทันสมัยในแนวทางของชาวตะวันตก บุคคลทั้งสองได้ฝากฝีมือการสร้างพระที่นั่ง ปราสาทราชวัง ถนน สะพาน และคฤหาสน์ต่างๆไว้ในเมืองไทยมากมาย ผลงานชิ้นเอกก็คือพระที่นั่งอนันตสมาคมนั่นเอง

บริษัทที่ดำเนินการรับเหมาก่อสร้างอาคารของสยามกัมมาจลหลังนี้ได้แก่ ห้างยี ครูเซอร์ เสียค่าออกแบบก่อสร้างรวมค่าวัสดุวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่นำเข้าจากเสปญเป็นส่วนใหญ่ เป็นเงินราว ๓๐๐,๐๐๐บาท

ดูราคาค่าก่อสร้างแล้วยังงงๆว่า งบสร้างบ้านและสวนของพระสรรพาการอยู่ที่๘๐,๐๐๐บาทเท่านั้น อะไรจะขนาดนี้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 13, 10:19
ยังสงสัยเรื่องราคาบ้านเหมือนกันค่ะ  มัน ๘๐๐๐๐ บาท หรือ $๘๐๐๐๐  หรือ ๘๐๐๐๐ ปอนด์กันแน่
เพราะพระที่นั่งอนันตสมาคม  สร้างด้วยราคา ๑๕ ล้าน    ค่าบ้านคุณพระสรรพาการทั้งหลังใหญ่ หลังเล็ก แถมโรงละคร  อาจจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่น่าจะแค่แปดหมื่นเท่านั้น ต่อให้ไม่รวมค่าที่ดินก็เถอะ     
ถ้าบอกว่าแปดแสนก็ยังถือว่าราคาถูกเสียอีก   มันน่าจะเป็นล้านขึ้นไป   

เคยได้ยินมาว่าวังบางขุนพรหมราคา ๓ ล้าน ค่ะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 13, 10:37
เบื้องต้นทราบว่าบ้านพระสรรพการนั้นคงนำบ้านเข้าไปจดจำนองกับทางธนาคาร หรือไม่ก็กู้เงินจากธนาคารมาเพื่อก่อสร้างบ้านที่ใช้เงินมากมายขนาดนี้ นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 11:17
^
อ้างถึง
ดูใจร้อนรน ชอบกล .... คิคิคิ

เดี๋ยวผมจึงจะเข้ามาต่อนะครับ


ส่วนเรื่องค่าก่อสร้างบ้านพระสรรพการนั้น มีที่มาซึ่งผมได้จากเวปนี้

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9856616/K9856616.html

ส่วนว่าทำไมถึงถูก หรือทำไมธนาคารถึงแพง อันนี้ผมก็จนปัญญาหาข้อเท็จจริงครับ งงได้อย่างเดียว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 12:44
ฉายหนังตัวอย่างเรื่องที่จะเขียนในลำดับต่อไปสักหน่อย พอให้ได้คำตอบนิดนึงว่า มูลค่าของทรัพย์สินตรงนี้ของพระสรรพการที่ว่าสร้างด้วยงบประมาณ80,000บาท นั้น อีกสี่ปีต่อมามีมูลค่าต่างกัน 3 เท่าทีเดียว
80,000บาท จึงอาจจะเป็นค่าก่อสร้างตึกหลังใดหลังหนึ่ง ไม่น่าจะใช่ทั้งหมด
 
วชิรพยาบาล ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน ( ที่ดินโฉนดเลขที่ 145/3354/ว เลขที่ 19 จำนวน 27 ไร่ ) และสิ่งก่อสร้าง ( ตึกแบบฝรั่งขนาดใหญ่ 2 หลัง เรือนนอนไม้ 1 หลัง และกระโจม 1 หลัง ) ในราคา 3,000 ชั่ง ( 240,000 บาท ) จากแบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ซึ่งแต่เดิมคือ บ้านเลขที่ 677 ถนนสามเสน อำเภอดุสิต เป็นของพระสรรพการหิรัญกิจ(เชย อิสรภักดี) และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม ) เป็นแม่กองคุมงานดัดแปลงให้เป็นสถานพยาบาล


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 06 มี.ค. 13, 12:55
 ;Dมีเพื่อนบ้านอยู่แถวนั้นอ่ะคะแถววชิระพยาบาลมีประกันสังคมที่นั่นคนที่บ้านเพื่อนก็รักษาที่นั่นกันหมดเพราะว่าใกล้บ้านเพื่อนบอกที่วชิระพยาบาลผีดุมากไม่รู้ว่าเป็นผีคนไข้หรือว่าผีเจ้าของบ้านเดิม เพื่อนเคยเจอผีที่วชิระอยู่ 2 ครั้ง หลอนมากเลยเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมเป็นโรงพยาบาลอื่นเลย บรี๋ออออออ เหมือนกันนะคะ ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 13:12
สิบกว่าปีมาแล้วผมได้ไปนอนที่นั่นมาคืนนึง ตึกเก่า ห้องที่อยู่ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศแบบหนังผีครบครัน แต่ก็ผ่านไปแบบไม่เห็นมีอะไรนะครับ

เมื่อสมัยเด็กๆผมไปวชิระบ่อยมาก เพราะแม่ไปเยี่ยมป้าที่เป็นนางพยาบาลอยู่ที่นั่นแล้วเอาผมไปเป็นเพื่อน เดินผ่านตึกเหลืองทีไรก็นึกประหลาดใจว่าเป็นวังเก่าของใครหนอ เพิ่งมาทราบคำตอบก็ตอนแก่แล้วนี่แหละ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 มี.ค. 13, 13:44
ตึกเหลือง ภาพโดยคุณ akkarachai (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9856616/K9856616.html#10)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 มี.ค. 13, 18:54
นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย

ผู้จัดการธนาคารสยามกัมมาจลเวลานั้นมี ๒ คนคือ พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี - ต่อมาคือพระอรรถวสิษฐ์สุธี) เป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และ Herr. P. Schwaeze ชาวเยอรมัน เป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ 

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)

 


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 13, 19:04
หนังสือราชกิจจานุเบกษา เรื่อง โอนที่ดินบ้านสามเสนปาร์กให้แบงก์สยามกัมมาจล โดยที่ดินด้านหนึ่งติดกับที่ดินของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 13, 19:13
เบื้องต้นทราบว่าบ้านพระสรรพการนั้นคงนำบ้านเข้าไปจดจำนองกับทางธนาคาร หรือไม่ก็กู้เงินจากธนาคารมาเพื่อก่อสร้างบ้านที่ใช้เงินมากมายขนาดนี้ นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย โดยเป็นผู้ลงเงินทุนร่วมกัน และพระสรรพการก็ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการในธนาคารอีกด้วย

พระสรรพการ กับธนาคารสยามกัมมาจล ท่านได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ รองจากพระยาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จัดตั้งบริษัท แบงก์สยามกัมมาจลทุน จำกัด เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙ เวลาถ่ายรูปพระสรรพการก็จะอยู่ในตำแหน่งกลางเสมอ  (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม เดือนกันยายน ๒๕๔๓)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 13, 19:18
ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศถอดพระสรรพการหิรัญกิจ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 19:48
ข้อมูลของคุณหนุ่มสยามแสดงว่าพระสรรพการหิรัญกิจเป็นคนมีเงินมาก่อน จึงได้รับความไว้วางพระทัยจากกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ให้เป็นผู้รับผิดชอบทางการเงินการทอง ตามความเชื่อว่ารวยแล้วคงจะไม่โกง ซึ่งพิสูจน์กันมาหลายครั้งแล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนี้เชื่อไม่ได้

เรามาค่อยๆอ่านกันไปนะครับ ข้างล่างนี้มาจากประวัติของธนาคารไทยพาณิชย์

บุคคลัภย์เปิดดำเนินการในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยรับเงินฝาก ซึ่งกำหนดจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ปรากฎว่ามีเงินฝากที่ระดมได้เป็นจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาทเศษ ในเวลาอันสั้นนี้เมื่อนำมารวมเข้ากับทุนของบุคคลัภย์แล้ว ได้นำไปให้กู้ยืมในธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งก่อสร้างและรับจำนองเป็นส่วนใหญ่

หลังจากเปิดดำเนินธุรกิจได้ ๓ เดือนแล้ว กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงพิจารณาเห็นว่า กิจการของบุคคลัภย์สามารถดำเนินการไปได้ดี มีปริมาณเงินรับและจ่ายได้ไม่ติดขัด จึงได้เริ่มก้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ ในด้านการเบิกถอนเงินด้วยเช็ค ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยที่บุคคลัภย์เป็นกิจการที่ดำเนินงานด้วยชาวไทย สามารถให้บริการตลอดจนชี้แจงระบบการหักบัญชี การโอนเงินด้วยเช็คแก่ลูกค้าไทย จีนได้เป็นอย่างดี บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและทางราชการ จึงนิยมใช้บริการกันอย่างมากมาย ปริมาณเงินรับเข้าและจ่ายออกจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยแล้ว จากเดิมมีเงินรับเข้าประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน ก็เพิ่มเป็น ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน ส่วนเงินจ่ายก็เพิ่มขึ้นจากระดับ ๕๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน เป็น ๓๐๐,๐๐๐ บาทเศษต่อเดือน หลังจากการประกอบธุรกิจที่กล่าวครบ ๔ เดือน ก็พอดีกับเป็นเวลาสิ้นปี เมื่อปิดงวดบัญชีสิ้นปีแล้ว ปรากฏว่ามีผลกำไรอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเครื่องชี้ว่า การดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของบุคคลัภย์ สามารถดำเนินการไปได้ดี กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงตัดสินพระทัย ที่จะเริ่มประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นธุรกิจที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศผูกขาดไว้ทั้งหมด


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 19:56
ครั้นเริ่มศักราชใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ บุคคลัภย์จึงเริ่มดำเนินธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นอีกประเภทหนึ่ง นอกจากนี้โดยที่บรรดาพ่อค้าไทยและจีน โดยเฉพาะพ่อค้าข้าวและกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทยขณะนั้น พ่อค้าเหล่านี้ไม่ใคร่ได้รับความเอาใจใส่จากสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาก่อน เมื่อมีธนาคารที่ให้บริการโดยมิได้มีข้อแตกต่างกันระหว่างลูกค้า จึงต่างก็นิยมมาใช้บริการของ บุคคลัภย์กันอย่างมากมาย ปริมาณเงินรับเข้าจึงทวีขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑.๑๔ ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่มีเงินจ่ายสูงขึ้นเป็นจำนวน ๑ ล้านบาทต่อเดือน และเมื่อได้ดำเนินงานมาครบปี และปิดงวดบัญชีแล้วปรากฏว่ามีผลกำไรสูงอย่างไม่คาดคิดมาก่อนถึง ๙๐,๐๐๐ บาทเศษ นับว่าธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม และเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้กับบุคคลัภย์อย่างมากมาย

จากการทดลองดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ แล้วขยายขอบเขตของธุรกิจให้กว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นนี้ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า หากจะดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์เต็มตัวแล้ว ด้วยปริมาณของธุรกิจในขณะนั้น ประกอบเข้าด้วยกับการที่พนักงานของบุคคลัภย์ ก็มีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ก็คงจะสามารถดำเนินกิจการธนาคารไปได้ตลอดรอดฝั่ง

กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นดำเนินงานอย่างเปิดเผย โดยกำหนดเงินทุนไว้เป็นจำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท แบ่งออกเป็นหุ้นจำนวน ๓,๐๐๐ หุ้น ราคา ๑,๐๐๐ บาทต่อหุ้น โดยที่ทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของธุรกิจด้านการค้าต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อให้ธนาคารที่จะทรงตั้งขึ้น สามารถดำเนินธุรกิจด้านนี้ได้อย่างกว้างขวาง มีตัวแทนอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งเพื่อให้พนักงานของธนาคารได้มีโอกาสเรียนรู้ วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการติดต่อด้านการค้าต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเชิญชวนให้ดอยซ์เอเชียติสแบงก์ (Deutsch Asiatische Bank) ของประเทศเยอรมนี และเดนดานส์เกลานด์มานด์ส แบงก์ (Den Danske Landmancls Bank) ธนาคารจากประเทศเดนมาร์ก เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยจำนวน ๓๓๐ หุ้น และ ๒๔๐ หุ้น ตามลำดับ และเมื่อทรงจำหน่ายหุ้นได้ครบแล้ว จึงทรงยื่นขอเปลี่ยนกิจการบุคคลัภย์เป็นธนาคารพาณิชย์ต่อทางราชการ

ช่วงนี้เองที่ Twentieth Century Impressions in Siam มารู้จักและประทับใจในตัวพระสรรพการหิรัญกิจมาก


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:00
ยุคแบงค์สยามกัมมาจล

บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปิดดำเนินการในอาคารที่ทำการของ บุคคลัภย์เดิม ที่ตำบลบ้านหม้อ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และนายเอฟ คิเลียน ตัวแทนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศ สัญชาติเยอรมัน เป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ในการเปิดดำเนินกิจการธนาคารขึ้นนี้ คณะผู้จัดตั้งได้ขอพระราชทานตราอาร์มแผ่นดิน มาเป็นตราประจำธนาคารมาตั้งแต่ต้น

การดำเนินธุรกิจนั้น แบงก์สยามกัมมาจล มีการรับฝากเงินตามปกติทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ แต่ที่พิเศษ ได้แก่ การเสนอให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒ ต่อปี แก่ลูกค้าที่มีเงินเหลือในบัญชีเดินสะพัด นับว่าลูกค้าจะได้ประโยชน์จากเงินของตน ที่เหลือจากการหักบัญชีด้วยเช็คอย่างเต็มที่ บริการด้านนี้ได้สร้างความนิยมในหมู่ลูกค้าเป็นอย่างสูง นอกจากนั้น ก็เป็นการให้สินเชื่อเกี่ยวกับ การค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นผลิตผลหลักของประเทศ เป็นสำคัญ

ในด้านของบริการที่ให้แก่การค้าระหว่างประเทศนั้น โดยที่ปริมาณการส่งข้าวออกไปต่างประเทศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่เคยส่งออกเฉลี่ยเป็นจำนวน ๓,๘๕๐,๐๐๐ หาบต่อปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๘ – ๒๔๒๒ การส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงเฉลี่ยปีละ ๑๔,๗๖๐,๐๐๐ หาบต่อปี ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ ประกอบกับธนาคารมีตัวแทนในทวีปยุโรป สามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก ทั้งพ่อค้าข้าวทั้งไทยและจีน ซึ่งควบคุมการค้าข้าวของประเทศไทยไว้ได้เกือบทั้งหมด มีความนิยมมาใช้บริการของธนาคารมากกว่าจะไปติดต่อกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้ภาษาในการตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นปริมาณธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นธุรกิจที่สำคัญมากด้านหนึ่งของธนาคารในทันทีที่เปิดดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แบงก์สยามกัมมาจล ตกลงว่าจ้างให้ นาย พี ชวาร์ตเช่ (Mr. P.Schwarze) ชาวเยอรมันที่ธนาคารเยอรมันสาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ ส่งเข้ามาแทน นาย เอฟ คิเลียน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศต่อไป

ผู้จัการฝ่ายในประเทศกับผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศคงไม่ได้ก้าวก่ายหน้าที่ในความรับผิดชอบของแต่ละคน พระสรรพการหิรัญกิจจะปล่อยเงินกู้ให้ใคร ฝรั่งก็คงไม่ได้รับรู้แต่ต้น


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:06
หลังจากที่แบงก์สยามกัมมาจล เปิดดำเนินการเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก และสามารถดำเนินงานได้ราบรื่น ก็เป็นตัวอย่างให้บรรดาผู้มีฐานะและพ่อค้าชาวจีนในกรุงเทพฯ พากันยื่นขออนุญาตเปิดธนาคารพาณิชย์ขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ บริษัท แบงก์ยู่เส็งเฮง พ.ศ. 2450 บริษัท บางกอกซิตี้แบงก์ จำกัด พ.ศ. 2452 บริษัท แบงก์มณฑล จำกัด

ตรงนี้มีข้อความหนึ่งผมหาเจอในเวปลงไว้ว่า พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร
นายเชย สรรพาพรจะเป็นคนเดียวกับ พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย) หรือเปล่า ท่านก็ต้องเดาเอาเอง

บริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด หาข้อมูลยากในเวป แต่มีธนาคารมณฑลเกิดในยุคก่อนสงครามอีกแห่งหนึ่ง ผู้ถือหุ้นไม่เกี่ยวกัน


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:21
การที่แบงก์สยามกัมมาจล ยังคงเปิดดำเนินการในอาคารเดิมของบุคคลัภย์ ในขณะที่มีปริมาณธุรกิจสูงขึ้น ทั้งมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้จำเป็นต้องแสวงหาที่ทำการใหม่ หลังจากซื้อที่ดินย่านตลาดน้อย ติดกับตำบลสำเพ็งย่านธุรกิจที่สำคัญ และสร้างสำนักงานชั่วคราวขึ้น เมื่อได้ย้ายเข้าไปทำงานในสำนักงานชั่วคราวแล้ว จึงลงมือก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่จนแล้วเสร็จ แบงก์สยามกัมมาจล จึงย้ายขึ้นไปทำการในตัวตึกสำนักงานตลาดน้อยในพ.ศ. ๒๔๕๓ และได้เปิดบริการด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เงินฝากสงวนทรัพย์ หรือเงินฝากออมทรัพย์ขึ้นดำเนินการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ ซึ่งมีที่เก็บที่ปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนตามสมควรขึ้น

นอกจากนี้ยังได้ริเริ่ม นำบริการเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก (Deposit at call) และการให้กู้เบิกเกินบัญชีขึ้นอีกเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีในช่วงแห่งการขยายตัว ในด้านการให้บริการเพิ่มขึ้น ณ ที่ทำการชั่วคราวแห่งใหม่นี้ ผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศได้ขอถอนหุ้นทั้งหมด และผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศก็ขอลาออก ดังนั้น แบงก์สยามกัมมาจล จึงไม่มีผู้ถือหุ้นสำคัญเป็นชาวต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งนั้น

ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๒ ถึง ๒๔๕๓ นี้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจการค้า ฝืดเคือง เนื่องจากผลิตข้าวได้น้อย การค้าข้าวตกต่ำทำให้พ่อค้าข้าวต้องเลิกกิจการไปจำนวนมาก และหนี้ของธนาคารหลายแห่งกลายเป็นหนี้เสียไป บริษัทแบงก์ยู่เสงเฮง จึงได้รับเอากิจการ บริษัท บางกอกซิตี้แบงก์ ทุนจำกัด เข้ามารวมกันและตั้งชื่อใหม่ว่า บริษัท แบงก์จีนสยามทุน จำกัด ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยมีเงินทุนจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ภาวการณ์ค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าข้าวก็ยังคงตกต่ำติดต่อกันมาอีกหลายปี บริษัท แบงก์จีนสยาม ซึ่งขาดเงินทุนหมุนเวียนอยู่แล้วจึงต้องเลิกกิจการ แบงก์สยามกัมมาจล ซึ่งมีตัวแทนธนาคารอยู่ในตึกที่ทำการเดียวกันก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นจำนวนถึง ๕ ล้านกว่าบาท จึงต้องเพิ่มทุนอีกจำนวน ๓ ล้านบาท พร้อมทั้งปรับปรุงองค์กรใหม่ โดยให้มีผู้จัดการเพียงคนเดียวและให้นายวิลเลเก (Mr.A.Willeke) ชาวเยอรมันซึ่งมาจากธนาคารเยอรมันที่เซี่ยงไฮ้ส่งมาแทน นายชวาร์ตเช่ ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมา

ครับ ท่อนนี้มีสาระสำคัญน่าที่จะกล่าวถึง คือเมื่อย้ายที่ทำการธนาคารมาที่ตลาดน้อยไม่นาน ฝ่ายฝรั่งเกิดไม่พอใจนโยบายบางประการที่มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าอะไร ถึงกับถอนตัวและผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศลาออก ช่วงนั้นพระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการแต่เพียงคนเดียว ไม่นานก็เกิดวิกฤตการณ์ เริ่มจากวงการค้าข้าวแล้วกระทบเป็นลูกโซ่มาที่ธนาคาร ลูกค้าใหญ่ไม่มีเงินชำระหนี้ หลายแบงก์ล้มเพราะคนแห่ไปถอนเงิน
ในช่วงนี้สยามกัมมาจลก็อยู่ในขั้นโคม่า และคงมีการตรวจสอบลูกหนี้รายใหญ่ที่ไม่มีความสามารถจะชำระหนี้ได้ แล้วไปจ๊ะเอ๋ว่าผู้จัดการก็เป็นลูกหนี้ประเภทนี้ด้วย

พระสรรพการหิรัญกิจจึงมีอันต้องออกจากธนาคารในปีนี้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:29
เรื่องดังกล่าวนี้ มีงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมโยงไว้ให้แล้วข้างล่าง

www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/buss-crimefinance.doc

ที่ระบุถึงกรณีย์พระสรรพการหิรัญกิจมีดังนี้

การที่แบงก์สยามกัมมาจลก็ดำเนินนโยบายการกู้เงินเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ต่างชาตินั้น เป็นเพราะผู้ถือหุ้นชาวไทยไม่ค่อยมีบทบาท แม้จะมีหุ้นมากกว่าก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากการฉ้อโกงของผู้บริหารชาวไทย ทำให้การบริหารเป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นต่างชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีบทบาทในการบริหารกิจการธนาคารมากยิ่งขึ้น ดังพระราชดำรัสในการประชุมเสนาบดีสภา วันที่ 12 ธันวาคมพ.ศ.2453 ความว่า

“เรื่องแบงก์ได้ลองคิดแก้ไขอยู่บ้างแล้วตามการที่เป็นมา เมื่อพระสรรพการออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลแล้ว คงมีแต่มิสเตอร์สวาชเป็นผู้จัดการผู้เดียว เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็เดินปอลิซีที่จะให้เป็นของฝรั่งไปอย่างเดียว……ควรจะมีผู้จัดการฝ่ายไดไทยด้วยพอจะได้กำกับกัน แลอย่างต่ำก็พอรู้ว่าเขาจะทำอย่างไร…”

ปัญหาการทุจริตของแบงก์สยามกัมมาจลที่สำคัญเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกนั้นเป็นเพราะพระสรรพการหิรัญกิจ(เชย) ผู้อำนวยการฝ่ายไทยถอนเงินไปจนเกิดความเสียหายขึ้นในปี ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติเข้ากำกับดูแลนโยบายของธนาคารเสียเองเป็นส่วนใหญ่ ดังข้อความในรายงานเสนาบดีสภาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ร.ศ.129 ว่า

“….กรมหลวงดำรงรับสั่งว่า บริษัทนี้ตามพระบรมราชานุญาตมีกำหนดเงินทุนไว้ว่า ฝรั่งจะเข้าหุ้นส่วนเกินกว่าส่วนหนึ่งในสามไม่ได้ แต่ที่จริงทุนฝรั่งที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ส่วนหนึ่งในห้าเท่านั้น แลในข้อบังคับของแบงก์มีอยู่ว่าต้องมีผู้อำนวยการไทย 1 ฝรั่ง 1 และถ้าผู้อำนวยการจะถอนเงินมีกำหนดตั้งแต่เท่านั้นเท่านี้ขึ้นไปต้องบอกกรรมการ แต่ก่อนก็มีผู้อำนวยการไทย 1 ฝรั่ง 1 แต่ต่างคนต่างทำการไปไม่รู้ถึงการ พระสรรพการจึงถอนเงินโดยไม่บอกกรรมการได้ จนต้องออกจากผู้อำนวยการ การที่ต่างคนต่างทำไม่มีใครกำกับใครเช่นนี้จึงเกิดการเสียหายขึ้น เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นแล้วไทยต้องเสีย 4 ส่วนฝรั่งเสียส่วนเดียว…”


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:42
ช่วงชีวิตที่ขึ้นสู่จุดสูงสุด ได้เป็นเอกอัครมหาเศรษฐีของพระสรรพการหิรัญกิจดูจะสั้นมาก ดังTime lineที่ผมสรุปไว้ให้ดังนี้

๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ก่อตั้งบุคคลัภย์ ได้เป็นเป็นผู้จัดการ ประสพความสำเร็จทางธุรกิจงดงาม
พ.ศ. ๒๔๔๘  คงคิดว่าตนจะรวยแท้แน่นอน จึงเริ่มสร้างบ้าน
 ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ “บุคคลัภย์” แปลงโฉมเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด"
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้านายโดยตรง พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยสิ้นพระชนม์
๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ บ้านหิมพานต์ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดป๊ากสามเสน
พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร (?)
พ.ศ. ๒๔๕๓ แบงก์สยามกัมมาจลย้ายสำนักงานไปอาคารใหม่ที่ตลาดน้อย
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระสรรพการหิรัญกิจออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระสรรพการหิรัญกิจ ถูกฟ้องล้มละลาย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 13, 20:53
จากเวปของคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล

ที่ตั้งวชิรพยาบาลแต่เดิมทีเดียว(ไม่รวมที่ดินแปลงใหม่ที่ได้จัดซื้อเพื่อขยายเขตต์โรงพยาบาลไปจดริมแม่น้ำเจ้าพราะยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙) คือ ผืนที่ดินซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๒๗ ไร่เศษ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญมีตึกแบบเก่าขนาดใหญ่ ๒ หลัง ที่เคยมองเห็นจากด้านหน้าโรงพยาบาล เดิมเป็นบ้านเลขที่ ๖๗๑ ถนนสามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ของพระสรรพการหิรัญกิจ (นายเชย สรรพการ) ตึกเก่า ๒ หลังนี้ หลังใหญ่เป็นตึก ๓ ชั้น (ไม่นับชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพื้นซีเมนต์) ส่วนหลังเล็กเป็นตึก ๒ ชั้น ทั้ง ๒ หลังเป็นตึกแบบโบราณพื้นไม้สัก ตัวตึกไม่ปรากฏโครงเหล็กผนังตึกก่ออิฐถือปูนหนาไม่น้อยกว่าหนึ่งฟุตครึ่ง ลักษณะเดิมสลักเสลามาก ทราบว่าได้ถูกลบลวดลายออกให้ภายในตึกเป็นแบบเรียบๆ เสียมากตั้งแต่เริ่มใช้เป็นสถานพยาบาล แม้กระนั้นก็ยังปรากฏลวดลายสวยงามตามฝา เพดานประตู หน้าต่าง อีกหลายแห่ง แบบคฤหาสน์โบราณ มุขด้านหลังตลอดจนบันไดด้านหลังเป็นหินอ่อนนอกจากนั้นยังมีเรือนไม้ลักและกระโจมไม้สัก ซึ่งมีแบบและลวดลายพร้อมด้วยกระจกหลากสีสวยงามแบบโบราณ ส่วนบริเวณทั่วไปมีทั้งที่ราบเนินดินสูง อุโมงค์ ภูเขาจำลอง โขดหิน ต้นไม้ใหญ่น้อยประดับประดาเป็นจำนวนมาก และมีทั้งทางคดเคี้ยวไปมาแบบเดินในสวนสาธารณโบราณ สถานที่นี้ปรากฏในเอกสารบางฉบับ เรียกชื่อว่า “หิมพานต์ปาร์ค” ภายในปาร์คนี้มีคลองโดยรอบสี่เหลี่ยม ตามรูปที่ดินแล้วบรรจบกันไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเรียกชื่อว่า “คลองอั้งโล่” ขณะนี้บางตอนของคลอง ทางด้านหน้าและด้านหลังของโรงพยาบาลได้ถมดินหมดสภาพของคูคลองไปบ้างแล้ว

ที่ดินและตึกรวมทั่งสิ่งปลูกสร้างในปาร์คนี้ ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิของแบงค์สยามกันมาจลทุนจำกัดจนกระทั่ง ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๕๕) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง (ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๕/๓๓๕๔-๕/อ เลขที่ ๑๙) ในราคา ๒๔๐,๐๐๐ บาท ทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล เป็นผู้ปกปักษ์รักษาใช้เป็นสถานพยาบาลช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วย  


พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ (แต่ในรูปนี้ดูเหมือนสมเด็จกรมพระยาดำรงฯจะกำลังทรงกระทำพิธีเปิดประตูใหญ่อยู่ มีพระสรรพการหิรัญกิจยืนอยู่ใกล้ๆ เห็นจะเป็นวันเปิดสามเสนป๊ากเสียละกระมัง-navarat.c)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 08:54
คำจำกัดความนี้ผมไม่ได้ว่าเอง แต่มาจากคำสรรเสริญของฝรั่งในยุคนั้น ความว่า “บ้านส่วนตัวของเขานั้น มีชื่อเสียงร่ำลือกันว่างามที่สุดในกรุงเทพที่อยู่นอกพระราชวัง”

ในหนังสือ "สารจากนครพิงค์ถึงบางกอก" ซึ่งเขียนเป็นจดหมายโต้ตอบกันแบบ "สาส์นสมเด็จ" ระหว่าง "พลูหลวง" (ประยูร อุลุชาฏะ) และ ส.ตุลยานนท์ กล่าวถึงเรื่องนี้ทำนองเดียวกัน

พระอรรถวสิษฐ์สุธี ได้สร้างบ้านอย่างใหญ่โต เพราะความเป็นเศรษฐี เลียนแบบพระที่นั่งอัมพรสถานทุกประการ ในวันขึ้นบ้านใหม่ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จราชดำเนินไปในงานและทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (ซึ่งขณะนั้น เสด็กลับไปเยี่ยมนครเชียงใหม่) ได้เล่าในลายพระหัตถเลขาว่า ไปขึ้นบ้านใหม่พระสรรพการ (บรรดาศักดิ์ขณะนั้น) พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นอย่างไร ที่บ้านนั้นก็อย่างนั้นทุกอย่าง ชั่วแต่ขนาดเล็กกว่า

ลองเปรียบเทียบดู  บน - พระที่นั่งอัมพระสถาน  ล่าง - บ้านของพระสรรพการหิรัญกิจ

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 07 มี.ค. 13, 09:30
 :Dอย่างนี้แบบที่โบราณบอกไว้เหรอเปล่าคะว่า ทำเทียมเจ้าเทียมนาย จัญไรจะกินหัว  :-X


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 10:31
ภรรยาของท่านคือคุณทรัพย์ ธิดาของขุนนางผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งของสยาม

ในหนังสืองานศพของท่านใช้ชื่อว่า "นางอรรถวสิษฐ์สุธี (ทรัพย์ ยมาภัย)"

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 10:45
กำลังนึกคำเดียวกับคุณกิ๊กอยู่เลยค่ะ   :-X

ถ้ามองว่าคุณพระเอาเงินชาวบ้านที่ฝากแบงค์มาลงทุนสร้างบ้านหิมพานต์และสามเสนป๊าก   ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมกลายเป็นหนี้ NPL  เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่มีผลตอบแทนขึ้นมาเลยก็ว่าได้   คุณพระจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายดอกเบี้ยให้แบงค์สยามกัมมาจลได้ไหว    ไม่ต้องพูดถึงเงินต้นด้วยซ้ำ
เงินจำนวนมหาศาลถูกถมจมลงไปในตึก  ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ดูดเงินให้จมหาย   ไม่ก่อผลผลิตใดๆ     นอกจากค่าก่อสร้างที่ดิฉันแน่ใจว่าเกิน 80,000 บาทไปหลายเท่าแล้ว  ค่าบำรุงรักษาและดูแลอีกล่ะ เท่าไหร่   เดือนนึงต้องจ่ายเงินก้อนโตทีเดียว   ตัวอย่างง่ายๆ ในบ้านนี้มีโรงละครส่วนตัวด้วย ก็แปลว่าต้องเลี้ยงพวกละครและดนตรี  หรือต่อให้ไปจ้างมาเล่น ก็เป็นรายจ่ายที่ไหลออกอย่างเดียว ไม่มีไหลเข้า เพราะท่านไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม

อย่างเดียวที่คุณพระกำหนดให้เป็นรายได้กลับเข้ามาคือค่าเข้าชมป๊ากปีละ 200 บาท กับ 100 บาท    ในปลายรัชกาลที่ 5 ที่ครอบครัวใหญ่ๆอยู่กันหลายสิบคนจ่ายค่ากับข้าววันละ 1 บาทก็พอกิน   ปลาทูเข่งละ 1 สตางค์   เงิน 200 บาทน่าจะสร้างเรือนไม้หลังเล็กๆให้ชาวบ้านอยู่ได้ 1 หลังทีเดียว
เพราะฉะนั้น  ในสยามจะมีเศรษฐีกี่คนยอมควักกระเป๋าจ่ายเงิน 200 บาทตั้งแต่ต้นมือ เพื่อจะได้พาลูกเมียจำนวนรวมแล้วไม่เกิน 2 คนเข้าไปเดินชมบ้านและสวน  เป็นเวลา 1 ปี     เดินชมสวนมันก็ไอ้แค่นั้นแหละ  ใครจะทนชมกันได้ 365 วันต่อปี หรืออาทิตย์ละครั้งรวมเป็น 52 ครั้ง   ไม่เบื่อกันบ้างหรือ    ถ้าจะเอาเพื่อนฝูงไปสังสรรค์เฮฮา เพื่อนก็ต้องควักกระเป๋าซื้อเหรียญด้วย  เพราะเจ้าของบ้านเล่นกำจัดจำนวนคนถูกพาเข้า
ดิฉันคิดว่าต่อให้คุณพระแถมให้แขกได้พักฟรี 1 ปีรวด เป็นบริการหลังการขายค่าเข้าชม โดยโรงแรม 6 ดาวหลังแรกในประวัติศาสตร์ไทย  เหรียญทองราคา 200 บาท  ก็ยังแพงไปด้วยซ้ำสำหรับกระเป๋าเศรษฐีสยามยุคนั้น

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5555.0;attach=39456;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 11:42
ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายประสงค์ อิศรภักดี  (http://sunwas.weloveshopping.com/template/e2/showproduct1.php?shopid=202238&pid=16741887) วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

เนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นคำทำนายฝัน ประมวลตามความเชื่อ ตามคติชาวบ้าน โดย อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี(เชย อิศรภักดี) เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 11:48
หมายความว่าคุณพระ ได้รับคืนบรรดาศักดิ์เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธี ตามเดิม   ???  ???  ???


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 11:56
ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้กล่าวถึงพระสรรพการหิรัญกิจว่า

แฮร์ ปี. ชว๊าร์ซ (Herr. P. Sxhwarze), ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลถวายฎีกา มีใจความว่า ในชั้นตนแบงก์สยามกัมมาจลได้แคยมีผู้จ้ดการ ๒ คน, เปนไทยคน ๑. พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี, ภายหลังเปนพระอรรถวสิษฐ์สุธี) ผู้จัดการฝายไทย, ได้ทำการยุ่งเหยิงไว้มากจนต้องออกแล้ว, ผู้ถวายฎีกาได้เปนผู้จัดการโดยลำพังสืบมา, ได้อุตสาหะจัดการแก้ไขการที่พระสรรพารได้ทำยุ่งไว้จนแบงก์ต้องเสียหายน้น จนเปนที่เรียบร้อย, โดยชักเอากำไคจากทางแพนกการต่างประเทศของแบงก์น้นมาเจือจานและได้จัดการงานให้ดำเนิรมาโดยเรียบร้อยตลอด......

ประมวลจากเอกสารข้างบนจึงเป็นที่ทราบแน่ชัดว่า หลังจากที่พระสรรพการหิรัญกิจถูกถอดยศใน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) แล้ว คงได้กลับเข้ารับราชการอีกเป็น "พระอรรถวสิษฐ์สุธี" อย่างน้อยก็ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๗

ส่วนรายละเอียดการกลับเข้ารับราชการเป็นเช่นใดนั้น คงต้องสืบสวนกันต่อไป

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 14:13
ได้แต่เดาว่าคุณพระคงจะเคลียร์หนี้สินได้หมดแล้ว    ส่งเงินคืนแบงค์สยามกัมมาจล รวมดอกเบี้ยด้วย    จึงได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์คืน
ในราชกิจจาฯ น่าจะมีเรื่องนี้นะคะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 15:09
นามสกุล "อิศรภักดี" ได้รับพระราชทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘   พระสรรพการหิรัญกิจยังคงเป็น "นายเชย" อยู่

หมายเหตุ นายช่วง เดิมคือ หลวงประสารอักษรพรรณ (อยู่ในประกาศเดียวกับนายเชย ครา ร.ศ. ๑๓๐)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley09.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 15:34
ช่วงชีวิตที่ขึ้นสู่จุดสูงสุด ได้เป็นเอกอัครมหาเศรษฐีของพระสรรพการหิรัญกิจดูจะสั้นมาก ดังTime lineที่ผมสรุปไว้ให้ดังนี้

๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ก่อตั้งบุคคลัภย์ ได้เป็นเป็นผู้จัดการ ประสพความสำเร็จทางธุรกิจงดงาม
พ.ศ. ๒๔๔๘  คงคิดว่าตนจะรวยแท้แน่นอน จึงเริ่มสร้างบ้าน
 ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ “บุคคลัภย์” แปลงโฉมเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด"
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้านายโดยตรง พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยสิ้นพระชนม์
๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ บ้านหิมพานต์ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดป๊ากสามเสน
พ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดบริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร (?)
พ.ศ. ๒๔๕๓ แบงก์สยามกัมมาจลย้ายสำนักงานไปอาคารใหม่ที่ตลาดน้อย
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระสรรพการหิรัญกิจออกจากผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระสรรพการหิรัญกิจ ถูกฟ้องล้มละลาย 

พ.ศ. ๒๔๕๔(หรือ ๒๔๕๕ ร.ศ. ๑๓๐)  พระสรรพการหิรัญกิจถูกถอดยศ
พ.ศ. ๒๔๕๘   ได้รับพระราชทานนามสกุล อิศรภักดี  ยังคงเป็น "นายเชย" อยู่
พ.ศ. ๒๔๖๗   เรียบเรียง "คำทำนายฝัน ประมวลตามความเชื่อ ตามคติชาวบ้าน" ในฐานะอำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี(เชย อิศรภักดี)
พ.ศ. ๒๔๗๐   หนังสืองานศพของคุณนายทรัพย์ ยมาภัย   ใช้ชื่อว่า นางอรรถวสิษฐ์สุธี

หรือว่า คุณพระสรรพฯ จะได้คืนบรรดาศักดิ์แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธีในภายหลัง  ??? ??? ???   ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คือท่านตกอับอยู่ไม่ถึง ๑๐ ปี


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 15:43
ข้อมูลนี้น่าสนใจ

สำหรับเบื้องหลังชีวิต ทพ.สม นั้นเป็นบุตรของ พระอรรถวสิทธิ์สุธี (เชย อิศรภักดี) ซึ่งเป็นต้นตระกูล “อิศรภักดี”  รวมถึงมีหลาน ๆ เป็นหม่อมเจ้ารวมด้วยกันทั้งหมด ๕ คน หนึ่งในนั้น คือ หม่อมเจ้าชาตรี  เฉลิมยุคล ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภาพยนตร์ไทย

จาก บทความเรื่อง 'ทพ.สม อิศรภักดี' นักเขียนใหม่วัย 90 ปีกับหนังสือเล่มแรก (http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/read-write/20120617/457136/%E0%B8%97%E0%B8%9E.%E0%B8%AA%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-90-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81.html)

ถ้าข้อมูลนี้ถูกต้อง หมายความว่าพระอรรถวสิษฐ์สุธีนอกจากจะเป็นบิดาของทันตแพทย์สมแล้ว ยังเป็นบิดาของหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยาด้วย

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley03.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 13, 15:46
อีกสำนวนหนึ่งของบัญชีนามสกุลพระราชทานในหมวดอักษร อ

อิศรภักดี Isarabhakti นายช่วง (ประสารอักษรพรรณ) นายเชย (สรรพการหิรัญกิจ) กับรองอำมาตย์ตรีเคลื่อน ผู้พิพากษาศาลมณฑลพายัพ สำหรับบรรดาผู้สืบสกุลจากพระยาพรหมาภิบาล(แขก)

จากวงเล็บท้ายชื่อของบิดา หรือจะไขปริศนาว่าทำไมพระสรรพการจึงเคยท่องเที่ยวตระเวนไปทั่วมลายูและอินโดเนเซีย ตระกูลนี้ดั้งเดิมอาจเป็นมุสลิมก็ได้
อ้อ ตำแหน่งroyal guardที่ผมไปแปลว่าราชองครักษ์นั้น แท้จริงท่านเป็นพระตำรวจหลวงครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 13, 15:58
จากท่านผู้เขียนที่คุณเพ็ญกล่าวถึง

ในสมัยนั้น จอมพล ป. คิดว่าเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว(ท่านคิดอย่างนั้น) ท่านเห็นว่าคนควรจะมีฐานะเท่าเทียมกัน ท่านจึงให้ยกเลิกราชทินนาม คือ ขุน หลวง พระ พระยา ฯลฯ โดยให้ใช้ชื่อเดิม นามสกุลเดิม เช่น พ่อของผมเป็นอัยการและได้รับพระราชทินนามว่า พระอรรถวสิทธิ์สุธี ก็ต้องเปลี่ยนเป็น นายเชย อิศรภักดี ฟังดูมันเชยๆชอบกล

บางคนชื่อว่าเอี้ยง แต่รับราชการมีตำแหน่งใหญ่โต ก็เลยเปลี่ยนเป็น อินทรีย์ เพื่อให้ดูสมฐานะ สำหรับนามสกุล จะใช้นามสกุลเดิมก็ได้ หรือจะยกเอาราชทินนามมาเป็นนามสกุลก็ได้ เช่น หลวงพิบูลสงคราม ท่านใช้ชื่อ-นามสกุล เป็น แปลก พิบูลสงคราม โดยยกเอาราชทินนามมาเป็นนามสกุล

พอถึงหลังสงคราม รัฐบาลใหม่สั่งให้ยกเลิกการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยอนุญาตให้ใช้ชื่อและนามสกุลเดิมหรือราชทินนามเหมือนเดิมได้ พ่อของผมรีบเปลี่ยนไปเป็น พระอรรถวสิทธิ์สุธี โดยไม่ต้องคิดนานเลย

ท่านมีอายุยืนอยู่จนสิ้นสงคราม(๒๔๘๙)ทีเดียว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 13, 16:00
ท่อนนี้ น่าสนใจ

สมัยก่อน การที่จะปลูกบ้านซักหลังในที่ของตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่มีบ้านจัดสรรที่ผ่อนน้อยๆนานถึง 20-30 ปี แต่ก่อนนี้ ต้องรวบรวมเงินให้พอเสียก่อนจึงจะไปซื้อที่ดินด้วยเงินสด จากนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาเก็บหอมรอมริบให้มีเงินเพียงพอเพื่อปลูกบ้านซักหลัง ตัวผมเองมีบ้านในที่ของตัวเองเมื่ออายุ 40 กว่าปี เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธนาคารเขาไม่มีนโยบายที่จะปล่อยเงินกู้ให้คนนำไปสร้างบ้าน

ตอนผมเด็กๆ ตัวผมและคนข้างเคียงไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีธนาคาร เพราะธนาคารสมัยก่อนไม่มีสาขาและประกอบธุรกิจด้วยการรับฝากเงินแล้วให้ดอกเบี้ยเท่านั้น คนที่กู้เงินจากธนาคารได้ก็คือเจ้าของธนาคารกับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงเท่านั้น เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ผมทำงานอาชีพอิสระ ห่างจากสำนักงานของผมซัก 20 ก้าว มีสำนักงานที่เป็นสาขาของธนาคารหนึ่ง(ตอนนั้นเริ่มมีสาขาธนาคารบ้างแล้ว) บังเอิญผู้จัดการธนาคารแห่งนี้เคยเรียนหนังสือด้วยกันกับผมตอนเด็กๆ เราจึงจำกันได้และรู้จักกันดี

เขามาชักชวนให้ผมเอาเงินไปฝากที่ธนาคารของเขา บอกชื่อให้ก็ได้ว่าเป็นธนาคารมณฑล ผมก็เอาเงินไปฝาก แล้วเขาได้ให้เช็คมาสำหรับเบิกเงินหรือเอาไปใช้ซื้อของ(ถ้าเป็นคนรู้จักกัน) การฝากและการถอนหรือใช้ไปในทางอื่น ต้องมีการบวกลบในต้นขั้วของเราเพื่อให้รู้ว่าเรามีเงินเหลือเท่าไร บางครั้งเราอาจจะบวกลบผิดไป ทำให้เช็คที่เราเขียนออกไปนั้นมีเงินไม่พอ

ครั้งหนึ่ง ผมเขียนเช็คโดยที่คิดว่าเงินยังพอ แต่มันขาดไป 100-200 บาท เพื่อนของผมที่รู้จักกันดีโทรศัพท์มาบอกว่าเช็คของผมมีเงินไม่พอ จะให้ปฏิเสธการจ่ายหรือให้รีบเอาเงินมาเข้าบัญชีเพื่อให้เช็คพอจ่าย ที่เล่ามานี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในครั้งกระนั้น ทุกๆธนาคารมีนโยบายรับฝากเงิน แต่ไม่ให้ใครกู้ ยกเว้นเจ้าของกับพรรคพวก และการปลูกบ้านด้วยเงินสดนั้นก็ทำได้ยาก สมัยนี้ เพียงมีเงินเดือน 1 หมื่นบาทเป็นอย่างน้อย ก็สามารถมีบัตรเครดิตไปซื้อของได้ก่อน หรือจะเบิกเงินสดออกมาใช้ก็ได้ เท่ากับว่าเป็นการให้เครดิตกันง่ายๆ ไม่เหมือนสมัยก่อนโน้น

ธนาคารสมัยก่อนก็มีการล้มอยู่เหมือนกัน เช่น ธนาคารมณฑล สุดท้ายก็ล้ม เพราะไปเบิกเงินไม่ได้ สาเหตุการล้มผมไม่ทราบ คิดว่าเจ้าของคงเอาเงินไปใช้เกินตัวจนกระทั่งไม่มีเงินพอสำหรับให้คนมาเบิก   ก่อนพ.ศ.2540(ฟองสบู่แตก) ก็มีธนาคารล้มอยู่ก่อนบ้างแล้ว ส่วนมากก็เอาเงินที่รับฝากไปใช้จนกระทั่งถึงปีฟองสบู่แตก ธนาคารแห่งหนึ่งหรือสองแห่งไม่มีเงินให้ลูกค้าที่มาถอน ก็เลยเกิดโกลาหล ทุกคนกลัว จึงไปเบิกเงินออกมาจากธนาคาร

ถ้าเป็นแบบนี้ ธนาคารไหนๆก็ล้มทั้งนั้น รัฐบาลต้องจัดการใช้เงินแทนธนาคารให้กับผู้ฝากทุกคน เมื่อผู้ฝากได้รับเงินมาแล้วก็นำไปฝากไว้กับธนาคารที่มั่นคง รัฐบาลก็ยืมเงินจากธนาคารที่ว่านี้มาชดใช้ให้ธนาคารที่ไม่มีเงิน เงินจึงหมุนวน ซึ่งตอนนั้นพวกนักการเมืองเขาเรียกว่า รีไซเคิล


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 13, 16:07
ผมเกิดที่บ้านเลขที่ 822 ปากตรอกวัด บรมนิวาส(สมัยนั้นเรียกซอยว่า ตรอก) บ้านนี้เป็นบ้านคุณย่า ลักษณะของบ้านคล้ายๆ บ้านทรงไทย แต่ไม่ใช่ มีนอกชานเรือนขนาดเท่าสนามเทนนิส สูงกว่าพื้นดิน หนึ่งเมตร สองข้างของนอกชานเป็นห้องแถว ข้างละสามห้อง ตรงไปเป็นเรือนขนาดใหญ่ของคุณย่า เรือนคุณย่าสูงกว่านอกชานอีกเมตรกว่า

ดังนั้นใต้ถุนเรือนคุณย่าจึงสามารถเดินและ ใช้ประโยชน์แบบเรือนตามต่างจังหวัดได้ มีบันไดขึ้นเรือนคุณย่า ข้างบนเรือนมีชานเรือนขนาดไม่ใหญ่นัก มีห้องซ้าย ขวา ของชานเรือนและ ด้านหน้าเป็นห้องใหญ่ซึ่งคุณย่า นอนที่นั่น

ที่ชานเรือนเป็นที่ใช้เอนกประสงค์ คุณย่าจะรับประทานอาหารที่นั่น รับแขกและ ท่านจะอยู่ที่นั่นทั้งวัน มีหมากพลู พร้อมตะบันหมากมี กระโถนสำหรับบ้วนน้ำหมาก มีกาน้ำชาที่มีบุนวม

บ้านนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สาเหตุเพราะ คุณปู่ รับราชการเป็นตำรวจวัง ชื่อพระยาพรหมมาภิบาล คุณย่าชื่อเปลี่ยน คนที่รู้จักจะเรียกว่าคุณหญิงเปลี่ยน ส่วนพวกลูกหลานจะเรียกว่า ท่านเฉยๆ บ้านหลังนี้สร้างด้วยไม้ หน้าตาแตกต่างจากบ้านอื่นๆ ที่อยู่บริเวณนั้น

ตอนที่ผมเด็กๆ ผมไม่สนใจว่าบ้านคุณย่า ไม่เหมือนบ้านคนอื่น แต่ตอนนี้คิดเอาเองว่า บ้านนี้คงปลูกก่อนบ้านอื่นๆ ที่ผมคิดอย่างนี้เพราะอายุของคุณย่า จนถึงทุกวันนี้จะมีอายุ160 ปี ส่วนคุณปู่น่าจะอายุมากกว่า

ก็แปลว่าท่านอาจจะเกิดสมัยรัชกาลที่3หรือ รัชกาลที่4 ท่านอาจจะรับราชการในรัชกาลที่4หรือ รัชกาลที่5 ดังนั้นคุณปู่จัดว่าเป็นคนโบราณ
บ้านจึงเป็นบ้านแบบโบราณประยุกต์

คุณย่ามีลูกห้าคน ลูกสาวเป็นคนสุดท้อง แต่งงานกับนายตำรวจ ตระกูล รังควรมีลูกชายคนเดียวก็เสียชีวิต อีกสี่คนเป็นลูกชาย แต่ละคนมีภรรยาหลายคนและ มีลูกครอบครัวละเกือบยี่สิบคน พ่อผมเป็นขอนามสกุลพระราชทาน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่6 ประทานให้เป็น อิศรภักดี ดังนั้น ลูกหลานของคุณย่าทุกคนใช้นามสกุล อิศรภักดี ทำให้หลานๆ อีกจำนวนมากเป็น อิศรภักดีไปหมด สมัยคุณปู่ยังไม่มีนามสกุลใช้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 16:30
จากท่านผู้เขียนที่คุณเพ็ญกล่าวถึง

ในสมัยนั้น จอมพล ป. คิดว่าเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว(ท่านคิดอย่างนั้น) ท่านเห็นว่าคนควรจะมีฐานะเท่าเทียมกัน ท่านจึงให้ยกเลิกราชทินนาม คือ ขุน หลวง พระ พระยา ฯลฯ โดยให้ใช้ชื่อเดิม นามสกุลเดิม เช่น พ่อของผมเป็นอัยการและได้รับพระราชทินนามว่า พระอรรถวสิทธิ์สุธี ก็ต้องเปลี่ยนเป็น นายเชย อิศรภักดี ฟังดูมันเชยๆชอบกล
ท่านมีอายุยืนอยู่จนสิ้นสงคราม(๒๔๘๙)ทีเดียว

รู้สึกแปลกๆ  อ่านประวัติแล้วราวกับว่าคุณพ่อของคุณหมอสม เป็นคนละคนกับพระสรรพการฯเจ้าของสามเสนป๊าก    แต่ดูชื่อเดิม ชื่อบิดา  และประวัติการขอพระราชทานนามสกุลก็คนเดียวกันนี่นา ???
เป็นอันว่าการได้เลื่อนจากพระสรรพการหิรัญกิจเป็นพระอรรถวสิทธิ์สุธีเกิดขึ้นในระยะหลัง อาจจะในรัชกาลที่ ๗     ที่รู้ๆคือท่านได้บรรดาศักดิ์นี้ก่อนปี ๒๔๗๕  หรือช้าสุดก็ต้นปี   เพราะพอเปลี่ยนการปกครองแล้วเขายกเลิกการเลื่อนบรรดาศักดิ์กัน
จากนายแบงค์ ท่านคงไปเรียนเนติบัณฑิต ถึงสามารถเข้ารับราชการเป็นอัยการได้     ประวัติตรงนี้น่าสนใจมาก  ว่าข้าราชการคนหนึ่งที่จบอนาคตการงานในสาขาหนึ่งแล้ว ยังสามารถไปเริ่มต้นอนาคตในอีกสาขาหนึ่งได้   และไม่ต้องไต่ระดับจากขุนหรือหลวง  แต่ต่อยอดเป็นคุณพระได้เลย

จากประวัติของคุณหมอสม แสดงว่าครอบครัวของท่านไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกิจการธนาคาร ไม่ว่าแห่งไหนทั้งสิ้น     แต่คุณย่าน่าจะมีฐานะดี   คนที่มีนอกชานเรือนขนาดเท่าสนามเทนนิส ต้องเป็นเศรษฐีถึงจะมีได้   แล้วยังเป็นบ้านเก่าแก่ของคุณย่า  แสดงว่าฐานะท่านมิได้ซวดเซลงเลยตั้งแต่สาวๆจนชรา


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 มี.ค. 13, 16:49
ภาพธนาคารมณฑล เป็นตราเทวดาถือรวงข้าว มีความสัมพันธ์กับการค้าข้าวในยุคจอมพล ป.

เครดิดภาพคุณ Big MaHad


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 16:57
น่าจะคนละธนาคารกับ บริษัทแบงก์มณฑล ทุนจำกัด ของนายเชย สรรพาพร ที่เปิดเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๓
ตามประวัติของธนาคารมณฑล บอกไว้ว่า ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2485 โดยใช้ชื่อในชั้นแรกว่า บริษัท ธนาคารไทย จำกัด (Thai Bank Company Ltd.)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 18:50
เป็นอันว่าการได้เลื่อนจากพระสรรพการหิรัญกิจเป็นพระอรรถวสิทธิ์สุธีเกิดขึ้นในระยะหลัง อาจจะในรัชกาลที่ ๗  

ประมวลจากเอกสารข้างบนจึงเป็นที่ทราบแน่ชัดว่า หลังจากที่พระสรรพการหิรัญกิจถูกถอดยศใน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) แล้ว คงได้กลับเข้ารับราชการอีกเป็น "พระอรรถวสิษฐ์สุธี" อย่างน้อยก็ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๗

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 13, 18:59
ข่าวล่าสุด  (http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5601100010023) ของคุณหมอสม

ศาสตราจารย์ทันตแพทย์สม อิศรภักดี อายุ ๙๐ ปี อดีตอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประพันธ์หนังสือ “ผมเกิดก่อนสงครามโลก ครั้งที่ ๒” ซึ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ ได้ถึงแก่กรรมแล้วที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖ โดยญาติได้บำเพ็ญกุศลศพจนครบ ๗ วันแล้วจะบรรจุศพไว้ ๑๐๐ วัน เพื่อรอพระราชทานเพลิงศพต่อไป

ทันตแพทย์สม อิศรภักดี เป็นผู้เขียนเล่าเรื่องราวในอดีตตั้งแต่เกิดเมื่อ ๖ มีนาคม ๒๔๖๖ ย่านชุมชนวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดบรมนิวาส และโรงเรียนวัดสระเกศ เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมหอวัง ก่อนเข้าเตรียมอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แล้วไปศึกษาต่อที่ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย และโลมาลินดา สหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นอาจารย์สอนคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นรองราชเลขาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๗ จึงได้เป็นทันตแพทย์ประจำพระองค์จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯสิ้นพระชนม์ ต่อมาอพยพจากกรุงเทพมหานครมาพำนักที่บ้านผ่อดอย ในชุมชนโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เขียนเล่าประสบการณ์ในอดีตตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลงในบล็อกกะซีน จนกระทั่งรวมเล่มเป็นหนังสือ “ผมเกิดก่อนสงครามโลก ครั้งที่ ๒” จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย


เมื่อคุณหมอสมเกิด บิดาคงได้เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธีแล้ว

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley14.png)



กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 08:59
มาตามรอยท่านอัยการ คุณพระพระอรรถวสิษฐ์สุธีกันดีกว่า  ว่าท่านถือกำเนิดทางการงานอย่างไร เมื่อชีวิตของคุณพระสรรพการหิรัญกิจจบลงไปแล้ว

ใน ร.ศ.112 (พ.ศ. 2437 )  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้า ให้ตั้งกรมอัยการขึ้นอีกกรมหนึ่งในกระทรวงยุติธรรม  ให้หลวงรัตนาญัปติเป็นอธิบดีกรมอัยการ มีหน้าที่ราชการเป็นทนายหลวงว่าความแผ่นดินในศาลทั้งปวง ณ สนาม สถิตยุติธรรม และศาลกงศุลต่างประเทศ   ทรงแต่งตั้งทนายหลวงนาย มี 1 นายจัน 1 นายโหมด 1 นายสอน 1 นายแสง 1 นายเขียน 1 เป็นเนติบัณฑิต (หรือหมอกฎหมาย) ให้เป็นทนายความหลวงรับราชการอยู่ในกรมอัยการ แต่นายมีเนติบัณฑิตนั้นโปรดให้ว่าที่ "ราชมนตรี" (หรือ หมอกฎหมายชั้นสูง) ด้วย

จะเห็นได้ว่า "ทนายหลวง" หรืออัยการ  ทรงเลือกจากผู้เป็นเนติบัณฑิต    เพราะฉะนั้นนายเชย อิศรภักดี น่าจะได้ไปเรียนกฎหมายในช่วงที่ท่านพ้นจากราชการ  และคงจะสอบได้  ถึงสามารถสมัครเข้าเป็นอัยการได้ ก่อนพ.ศ. 2467 


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 09:34
ในปี พ.ศ.2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมอัยการหัวเมืองกับอัยการกรุงเทพฯ เข้าไว้ในกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม
และมีประกาศให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการแต่งตั้งพนักงานอัยการในกรุงเทพฯ เดิมการแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นไปโดยพระบรมราชานุญาตผ่านการพิจารณาทูลเกล้าถวายความเห็นของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เมื่อเริ่มมีการรวมพนักงานอัยการสังกัดกรมอัยการ จึงจำเป็นต้องให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการแต่งตั้งพนักงานอัยการ เพื่อให้มีอำนาจให้คุณให้โทษได้ตามหลักบริหาร 5 ประการ คือ ตั้ง เลื่อน ลด ปลด ย้าย อำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการของอธิบดีกรมอัยการเป็นไปตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.127

พระบรมราชโองการประกาศรวมพนักงานอัยการ ตามประกาศรวมพนักงานอัยการลงวันที่ 11 มีนาคม พุทธศักราช 2458 ดังนี้
......................
 มาตรา 34 วิธีตั้งพนักงานอัยการนั้นถ้าเป็นตำแหน่งอธิบดีเจ้ากรม ปลัดกรมอัยการ แลอัยการมณฑลอัยการเมืองแล้ว ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้จัดสรรตั้งโดยพระบรมราชานุญาต ถ้าเป็นพนักงานอัยการ อื่น ๆ ให้อธิบดีหรือเจ้ากรมอัยการเป็นผู้จัดสรรตั้งโดยได้รับอนุมัติของ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม” "ประกาศ มา ณ วันที่ 11 มีนาคม พระพุทธศักราช 2458

เพราะฉะนั้นถ้าหากว่านายเชย อิศรภักดีสอบได้เป็นเนติบัณฑิต สมัครเข้ารับราชการเป็นอัยการ    อธิบดีกรมอัยการเห็นว่ามีคุณสมบัติครบก็มีอำนาจแต่งตั้งได้    โดยมีเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้อนุมัติอีกชั้นหนึ่ง     
ก็น่าจะเป็นคำตอบได้ว่าเหตุใดคุณพระสรรพการฯจึงเกิดใหม่อีกครั้งในบรรดาศักดิ์คุณพระพระอรรถวสิษฐ์สุธี


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 10:53
สมัยพุทธกาล พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว มีกุลบุตรมาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร จวบจนพรรษาที่๒๐ของพระพุทธองค์ ลูกชายเศรษฐีคนหนึ่งชื่อสุทินกลันทบุตร ได้ฟังธรรมแล้วบังเกิดศรัทธาจนประสงค์จะออกบวช เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมให้บวช ท่านก็เลยอดข้าวประท้วง เพื่อนๆก็มาช่วยเกลี้ยกล่อมพ่อแม่ว่าให้บวชเถอะ คนที่ไม่เคยลำบากมาก่อน ไปเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย อยากได้ร้อนก็ได้เย็น อยากได้อ่อนก็ได้แข็ง สักพักก็คงสึกเอง พ่อแม่ก็เลยยอม ปรากฏว่าท่านตั้งใจบวชปฏิบัติ สามารถดำรงสมณเพศได้นานจนพ่อแม่เป็นทุกข์ หาหนทางจะให้ท่านสึก นิมนต์กลับมาเยี่ยมบ้านแล้วเอาทรัพย์สมบัติกองไว้เต็มเรือนแล้วบอกยกให้ พระสุทินก็ไม่ยอมสึก

เมื่อจนปัญญาจะอ้อนวอน พ่อแม่ก็เลยไปจูงมือลูกสะใภ้มา คร่ำครวญว่าถ้าไม่สึกก็ขอทายาทไว้สืบตระกูลสักคนหนึ่งเถิด สมัยนั้นมีกฎหมายว่าถ้าตระกูลใดถ้าไม่มีลูกชายสืบต่อ สมบัติจะถูกยึดเป็นของหลวง พระสุทินเห็นใจบิดามารดาตรงนี้ ในเมื่อยังไม่มีข้อห้ามใดๆ ก็เลยอยู่ร่วมประเวณีกับภรรยาจนกระทั่งมั่นใจว่าเธอตั้งท้องจึงได้กลับวัด

หลังจากนั้นท่านก็เกิดปริวิตกว่าการกระทำตนดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ คิดมากเครียดมากฉันอาหารไม่ลงจนผ่ายผอม เพื่อนภิกษุด้วยกันก็ถามว่าท่านเป็นอะไร เมื่อพระสุทินเล่าให้ฟังแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงพากันไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าภิกษุทำเช่นนั้นมิชอบ จึงทรงบัญญัติศีลขึ้นเป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนาว่า ภิกษุเสพเมถุนจักต้องปาราชิก ขาดจากความเป็นสมณะ แต่บุคคลที่เป็นอาทิกัมมิกะ คือ บุคคลที่ทำเป็นคนแรกก่อนมีข้อห้าม ถือว่าไม่ผิด พระสุทินหาโทษมิได้เลย
สภาวจิตพระสุทินจึงกลับเป็นปกติ สามารถปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อมาได้ สุดท้ายก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้อีกองค์หนึ่ง

ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาเล่า ก็เพื่อจะเขียนความคิดของผมสู่ท่านผู้อ่านว่า พระสรรพการก็คือ อาทิกัมมะบุคคลในวงการธนาคารไทย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 11:02
เมื่อแรกเริ่มกิจการธนาคารในสยาม ผมเชื่อว่าคงจะไม่มีกฎหมายรองรับอย่างละเอียดลออที่จะคุ้มครองผู้ฝากเงินเช่นที่มีในปัจจุบัน(ซึ่งก็ยังไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่ดี) นายธนาคารก็ล้วนหาวิธีการผันเงินฝากของลูกค้า ไปต่อยอดให้ธุรกิจของตนและพวกพ้อง จนร่ำรวยเป็นปกติ และดูเหมือนว่ายิ่งคนเหล่านี้ยิ่งรวยเท่าไร คนก็ยิ่งเชื่อมั่นศรัทธาที่จะเอาเงินมาฝากมากยิ่งขึ้น หวังให้เขาช่วยเอาไปหมุนทำผลประโยชน์ให้ แล้วตอบแทนกลับมาให้ตนในรูปของดอกเบี้ย ดีกว่าจะให้เงินนอนนิ่งๆอยู่ในกำปั่นที่บ้าน หากให้ใครขอหยิบขอยืมไปก็มีสิทธิ์สูญมากกว่าได้
และเป็นรู้ๆกันว่า “ในครั้งกระนั้น ทุกๆธนาคารมีนโยบายรับฝากเงิน แต่ไม่ให้ใครกู้ ยกเว้นเจ้าของกับพรรคพวก” ดังที่บุตรของพระสรรพการเขียนไว้ คนฝากก็ไม่สนใจ หากตนยังได้ดอกเบี้ยครบตามงวด

พระสรรพกรฉ้อฉล ผมใช้คำนี้เพราะถึงไม่มีกฎหมายแต่ก็มีจรรยาบรรณ (Professional etiquette )ของนายธนาคาร เมื่อเป็นผู้ขอกู้และผู้อนุมัติในสัญญาเดียวกันไม่ได้ จึงใช้ชื่อพี่ชายเป็นผู้กู้ ในขณะให้กู้คงไม่ได้คิดว่าตนจะโกง คงเชื่อว่าจะคืนต้นคืนดอกให้ธนาคารได้นั่นแหละ เรื่องนี้เผลอๆกรมหมื่นมหิศรเองก็อาจจะทรงรับทราบ เพราะพระสรรพการปลูกบ้านหิมพานต์ตั้งแต่ก่อนสิ้นพระชนม์ แม้จะยังเสร็จไม่ทันได้ทอดพระเนตรความอลังการเมื่อสร้างเสร็จ แต่โครงสร้างใหญ่โตที่ผุดขึ้นบนดินแล้ว น่าจะทรงเคยเห็นบ้างเพราะวังก็อยู่แถวๆนั้น

แต่พระสรรพการคงไม่ได้กู้เงินบุคคลัพภ์หรือสยามกัมมาจลไปสร้างบ้านตรงๆ เพราะ “เพราะธนาคารเขาไม่มีนโยบายที่จะปล่อยเงินกู้ให้คนนำไปสร้างบ้าน” แต่อาจเป็นในรูปสินเชื่อส่วนบุคคล อาจเอาเงินไปลงทุนในธนาคารมณฑลที่ตนมีส่วนจัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย(แต่มีหุ้นมากน้อยแค่ไหนไม่ทราบ คงไม่ถึงกับเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว) แต่ที่แน่ๆคือ มีการทรัพย์มาจำนองค้ำประกันเงินกู้นั้นด้วยอย่างถูกต้อง และทรัพย์ดังกล่าวอาจมีมากกว่าที่ดินและอาคารของบ้านหิมพานต์อันอลังการนั้น

ตรงที่มิได้อนุมัติให้กู้เงินแบบมือเปล่านี่แหละ ที่ทำให้ความผิดของพระสรรพากร เป็นแค่คดีแพ่ง หรือคดีอาญาที่ยอมความได้(หากมีการชำระหนี้) ที่สุดของโทษที่พระสรรพาการได้รับคือการล้มละลาย ไม่ถึงกับติดคุกติดตะรางดังเช่นนายธนาคารหลายๆคนในยุคหลัง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 13, 11:09
^
ติดเครดิตบูโร เลยครับ อิอิ  :-[


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 08 มี.ค. 13, 11:13
ยิ่งอ่านยิ่งน่าสนใจคะเพราะว่าเคยอ่านเรื่องของพระสรรพการหิรัญกิจจากหนังสือ คุณเอนก นาวิกมูล แต่ในหนังสือไม่ได้บอกว่าทำไมป๊ากสามเสนถึงล่มสลายภายในเวลาไม่กี่ปีขอขอบพระคุณอาจารย์ NAVARAT.C อย่างมากๆเลยคะที่ไขข้อข้องใจที่มีมาเป็นสิบๆปีแล้ว ไม่น่าทำไมพระสรรพการหิรัญกิจถึงไม่ยอมพูดหรือเล่าเรื่องป๊ากสามเสนให้ลูกๆฟังเลยเรื่องราวมันไม่ค่อยจะน่าเล่ายังนี้นี่เอง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 11:16
มาอ่านต่อว่า พระสรรพากรพลาดตรงไหน

ท่านผู้ใหญ่ในชีวิตการงาน ที่เสมือนนายและครูของผมคนหนึ่งเคยวิจารณ์ให้ฟังเมื่อเศรษฐกิจเมืองไทยล่มครั้งหนึ่ง และมีเถ้าแก่ใหญ่ที่เรารู้จักดีล้มทั้งยืน โดยกล่าวสรุปว่า แกเอาสิ่งที่แน่นอนไปผูกไว้กับความไม่แน่นอน

สมัยประมาณ๒๕๑๘ หมู่บ้านจัดสรรกำลังบูมสุดขีด การแข่งขันดุเดือด วัตถุก่อสร้างหลักๆเช่นเหล็ก ปูน ฯลฯ ขาดแคลน ขึ้นราคากันเป็นรายวัน เถ้าแก่ใหญ่คนนี้แกแป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่เกือบจะผูกขาดการก่อสร้างบ้านจัดสรรทั้งหมดในกรุ่งเทพ เพราะเข้าประมูลในราคาที่ต่ำกว่าเขาจนคนทั้งหลายสงสัยว่าทำได้อย่างไร ก็แกทำได้เพราะแกกู้เงินธนาคารมากักตุนวัสดุก่อสร้างไว้มหาศาลเป็นการล่วงหน้าแล้ว คนอื่นสายป่านไม่ยาวเท่าแกก็ต้องไปซื้อเงินสดราคาแพงๆ จึงต้องเสนอราคาเผื่อความเสี่ยงตรงนี้ไว้สูง ทำให้เปิดซองมาทีไรก็แพ้แกทุกที ช่วงนั้นเถ้าแก่ใหญ่คนนี้อู้ฟู่มา หน้าเป็นสีชมพู พูดเสียงดังฟังดูว่ามีความสุข
ฉับพลันนั้น ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเกิดรวมตัวกันได้แล้วจัดตั้งกลุ่มโอเปคขึ้นมา ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบไปไม่รู้กี่สิบเปอร์เซนต์จำไม่ได้แต่ในเมืองไทยราคาน้ำมันหน้าปั้มขึ้นไปร้อยเปอร์เซนต์ เบนซินจากลิตรละ๒.๕๐เป็น๕.๐๐บาท เศรษฐกิจเมืองไทยก็พินาศถล่มทลาย วงการก่อสร้างโดนแรงประทะก่อนใครเพื่อน ทุกโครงการหยุดนิ่งอยู่กับที่

แต่ดอกเบี้ยมันไม่หยุดน่ะซีครับ ท่านผู้เจริญ

ไม่นานเกินรอ ผมได้เห็นภาพเถ้าแก่ใหญ่คนนี้ตอนเขามาทำการเลหลังของที่สต๊อกไว้ในโกดัง แกนั่งเอามือกุมหน้าอกด้านซ้ายอยู่บนโต๊ะตัวเดิม หน้าตาซีดเซียว ตาเหม่อลอยจนผมไม่กล้าเข้าไปทัก

คือแกเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่แกมีในชีวิตไปเป็นหลักทรัพย์กู้เงินเขามาโดยมีกำหนดแน่นอนว่าทุกเดือนจะต้องจ่ายเขาคืนงวดละเท่าไหร่ เป็นเงินต้นเท่าไหร่ดอกเท่าไหร่ โดยแกเชื่อว่าเงินงวดเหล่านั้นแกจะได้มาจากกำไรในการรับเหมาก่อสร้างบ้านจัดสรร โดยที่แกไม่ได้นึกถึงว่า อุตสาหกรรมนี้นอกจากมันจะมีขึ้นมีลงอันเป็นความไม่แน่นอนแล้ว ยังมีหยุดนิ่งอยู่กับที่เป็นครั้งๆคราวๆด้วย

เมื่อเอาความแน่นอนไปผูกอยู่กับความไม่แน่นอน  ไม่ว่าจะเป็นเซียนใหญ่ขนาดไหนก็ดับมานักต่อนักแล้ว



ที่พระสรรพการเจอเข้าไปตอนนั้นคือ การค้าข้าวส่งออก


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 11:23
ธุรกิจที่ทำให้คนจีนในเมืองไทยร่ำรวยเป็นเถ้าแก่เป็นเจ้าสัวมากที่สุดก็คือการค้าข้าว ตั้งแต่เซอร์จอห์น บาวริ่งมาทะลายระบบผูกขาดการค้าข้าวของพระคลังหลวง ปริมาณการส่งออกข้าวจากเมืองไทยก็พุ่งกระฉูด เพราะพ่อค้ามีกำลังใจไปกว้านซื้อข้าวจากชาวนามาขายต่อกันเป็นทอดๆ จนถึงมือผู้ส่งออกตัวจริงที่รับซื้อในปริมาณไม่อั้น เมื่อการแข่งขันสูงขึ้น พ่อค้าข้าวเหล่านี้ก็ใช้วิธี “ตกข้าว” คือเอาเงินไปให้ผู้ขายก่อน เพื่อหวังว่าจะได้ความมั่นใจว่าตนจะได้ข้าวนั้นไปขายทำกำไรต่อ แน่นอนว่าเงินที่หมุนลงไปใช้ในแต่ละระดับ ตั้งแต่ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว สี่ปั๊ว โหงวป๊วย ฯลฯ จะเป็นเงินมหาศาลในแต่ละปี ใครมีเงินมากก็ไปตกเขียวได้มาก

ธุรกิจการธนาคารสมัยแรกเริ่มจะมีตัวสำคัญตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่ากัมปะโด มาจากภาษาโปรตุเกตว่าcomprador ที่แปลว่านายหน้าในการซื้อขาย เดี๋ยวนี้เขาเรียกใหม่ว่าโบรคเกอร์ คงเพราะกัมปะโดทำประวัติไว้ไม่สู้จะดีกระมัง

ธนาคารที่ตั้งขึ้นใหม่ๆย่อมไม่รู้จักกลุ่มลูกค้า จึงต้องจ้างผู้กว้างขวางไว้จำนวนหนึ่งเพื่อหาลูกค้าชั้นดีให้ธนาคาร แต่เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีการซี้ซั้ว กัมปะโดจะต้องนำเงินของตนมาฝากธนาคารไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ของผู้ที่กัมปะโดจะแนะนำมากู้เงิน ผลประโยชน์ของกัมปะโดนอกจากเงินเดือนที่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าแล้ว ก็คือคอมมิชชั่นที่ธนาคารจะจ่ายให้จากวงเงินที่ที่นำลูกค้ามากู้ เป็นกอบเป็นกำมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับมากกว่าธนาคารมาก

แรกๆอาจมีผู้กู้น้อยอยู่ และก็คงอยู่ในหมู่พรรคพวกพี่น้องที่กัมปะโดไว้ใจนั่นแหละ แต่คงไม่นานก็น่าจะมีผู้ต้องการกู้มากกว่าที่ธนาคารอยากจะปล่อย ตรงนี้ที่กลายเป็นกำปะโดฟาดสองต่อ คือได้เปอร์เซนต์จากธนาคารแล้ว ยังเรียกเอาจากผู้ขอกู้ด้วย แน่นอน ตรงนี้อาจจะต้องแบ่งให้คนอนุมัติด้วยก็ได้ คนที่กล้าสู้ต้นทุนของเงินกู้ที่สูงเช่นนี้ดูเหมือนจะมีแต่พวกพ่อค้าข้าวเท่านั้น

ตอนที่เศรษฐกิจดี อะไรก็ดีไปหมด ได้เงินไปดอกแพงโสหุ้ยแพงอย่างไรก็ไม่ว่า เอาไปตกเขียวชาวนาถูกๆยังไงก็มีกำไร เหมือนตลาดหุ้นตอนนี้ ไม่มีหุ้นตัวใดไม่ขึ้น แมงเม่าน้อยใหญ่ต่างตีปีกกันพั่บๆมีเรื่องโม้โอ้อวดกันทุกวันถึงกำไรจากการขายหุ้นตัวโน้น มาซื้อหุ้นตัวนี้
บัดเดี๋ยวเฮอะ ท่านผู้อ่านคอยติดตามดูเอาเองก็แล้วกัน


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 11:34
และแล้ว สิ่งที่คิดว่าแน่นอนก็แสดงความไม่แน่นอน เมืองไทยเกิดฟ้าฝนไม่เป็นใจ ทำนาไม่ได้ผลสองสามปีติดต่อกัน พ่อค้าในวงจรค้าข้าวก็ถึงกับล้มเป็นขบวน ในช่วงแรกของวิกฤตที่ธนาคารไม่ได้เงินที่ปล่อยกู้ไปคืนทั้งต้นทั้งดอก จนเกิดมีการตรวจสอบ ตอนนี้พระสรรพาการก็ต้องออกไปนอนกุมหน้าอกที่บ้านแล้ว  แต่กว่าจะสุดช่วงวิกฤต ธนาคารล้มไปหลายแห่งทั้งในเมืองไทยและสิงคโปร์ สยามกัมมาจลเอง ถ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯไม่ทรงตัดสินพระทัยให้พระคลังข้างที่เข้าอุ้มไว้ ก็คงถึงกาลกิริยาไปเรียบร้อย
พระสรรพาการเองก็คงหมดปัญญาที่จะหาเงินมาใช้หนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง เพราะรายได้ไม่ว่าจะทางใดคงเหลือแต่ลมในกำมือ ในที่สุดก็ต้องยอมล้มละลาย และถูกตราหน้าว่าเป็นคนเลว อ้าว เป็นหนี้แล้วไม่ใช้ก็ต้องเลวไว้ก่อนละ ถูกแล้วนี่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯโดยส่วนพระองค์นั้น ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ซื้อทรัพย์สินขาดจำนองของธนาคารชิ้นสำคัญคือบ้านหิมพานต์พระสรรพการไปสร้างโรงพยาบาลวชิระเป็นพระราชกุศล ก็พลอยเป็นว่า หนี้ของพระสรรพาการได้ถูกปลดเปลื้องไปก้อนใหญ่ อาจจะครอบคลุมมูลหนี้ด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นตามสมมติฐานนี้ พระสรรพการก็หมดหนี้ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนสภาพกลับเป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมายได้

มองในอีกด้านหนึ่งที่ไม่ใช่ในฐานะนายธนาคาร แต่ในฐานะนักธุรกิจแล้ว บุคคลที่ต่อสู้ ล้มแล้วลุกขึ้น ไม่ว่าจะกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ถ้าตอนจบยังคงยืนหยัดได้อยู่ ถือเป็นบุคคลที่ควรสรรเสริญมิควรถูกเย้ยหยัน

ในที่สุด หากพระสรรพการสามารถเปลี่ยนอาชีพเป็นอัยการจริง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์คืน ผมถือว่าท่านได้เรียกศักดิ์ศรีของตนและวงศ์ตระกูลคืนมาแล้ว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 12:46
แต่สงสัยยังจบเรื่องนี้ไม่ได้ครับ ผมยังติดใจอยู่เรื่องสองเรื่อง

เรื่องแรก
คำทำนายฝัน : ประมวลตามความเชื่อตามคติของชาวบ้าน / โดย อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี (เชย อิศรภักดี) ซึ่งเรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2467

คนที่เคยเป็นนายธนาคาร และ(อาจเป็น)อัยการด้วย มาเขียนเรื่องทำนายฝันไว้ประหนึ่งจะฝากไว้เป็นตำรา
แหม อยากรู้จริง ท่านเคยฝันอะไรไว้บ้าง แล้วมันออกหัวออกก้อยตามที่ท่านฝันหรือเปล่า

เรื่องที่สอง
ท่านระบุว่า ท่าน-ที่อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี เขียนเมื่อ ๑ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๖๗ ที่บ้านอิศรภักดี สามเสน พระนคร มันกำกวมอยู่ไม่ชัดเจนว่าท่านยังอยากให้คนอ่านเข้าใจว่าท่านเป็นเจ้าของบ้านหิมพานต์อยู่ หรือบอกว่าท่านยังพักอาศัยอยู่แถวๆบ้านเดิมนี่แหละ ในขณะที่ลูกชายระบุว่า “ผมเกิด(พ.ศ. ๒๔๖๖) ที่บ้านเลขที่๘๒๒ ปากตรอกวัดบรมนิวาส บ้านนี้เป็นบ้านคุณย่า”


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 14:45
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯโดยส่วนพระองค์นั้น ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ซื้อทรัพย์สินขาดจำนองของธนาคารชิ้นสำคัญคือบ้านหิมพานต์พระสรรพการไปสร้างโรงพยาบาลวชิระเป็นพระราชกุศล ก็พลอยเป็นว่า หนี้ของพระสรรพาการได้ถูกปลดเปลื้องไปก้อนใหญ่ อาจจะครอบคลุมมูลหนี้ด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นตามสมมติฐานนี้ พระสรรพการก็หมดหนี้ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนสภาพกลับเป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมายได้

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 13, 14:56
มีโรงพยาบาลสามเสน แถวนี้มาก่อน

"ยุบโรงพยาบาลสามเสนมารวมกับวชิรพยาบาล
ในขั้นดำริห์ที่จะจัดซื้อสถานที่นี้ ตามหลักฐานหนังสือจากศาลาว่าการนครบาลลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ทูลเกล้า ฯ เรื่องตกลงซื้อสถานที่นี้กับแบงค์สยามกัมมาจลด้วยราคา ๒๔๐,๐๐๐ บาท นั้น มีการเสนอความเห็นว่านอกจากโรงพยาบาลนี้จะรับรักษาข้าราชการในราชสำนักแล้วจะรับรักษาราษฎรในตอนเหนือพระนครด้วย และควรเลิกโรงพยาบาลสามเสนที่มีอยู่เวลานั้น โดยยกมารวมกับโรงพยาบาลใหม่ (วชิรพยาบาล)พร้อมกับยกเงินพระคลังมหาสมบัติที่เคยอุดหนุนโรงพยาบาลสามเสนอยู่ปีละ ๗,๒๐๐ บาท นั้น มาช่วยพระคลังข้างที่ด้วย แสดงว่าในระยะเริ่มตั้งวชิรพยาบาลนั้น การเงินยังไม่สู้สดวกนักและได้อาศัยเงินจากพระคลังข้างที่มาเป็นค่าใช้จ่าย กระทรวงนครบาล (เจ้าพระยายมราช) จึงทูลเกล้า ฯ ถวายความเห็นเสนอให้รวมโรงพยาบาล และโอนเงินงบประมาณของโรงพยาบาลสามเสนมาใช้ในวชิรพยาบาล"

http://www.vajira.ac.th/php/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=26


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 13, 15:11
ถูกปลดหนี้ได้อย่างไร  ???

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯโดยส่วนพระองค์นั้น ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ซื้อทรัพย์สินขาดจำนองของธนาคารชิ้นสำคัญคือบ้านหิมพานต์พระสรรพการไปสร้างโรงพยาบาลวชิระเป็นพระราชกุศล ก็พลอยเป็นว่า หนี้ของพระสรรพาการได้ถูกปลดเปลื้องไปก้อนใหญ่ อาจจะครอบคลุมมูลหนี้ด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นตามสมมติฐานนี้ พระสรรพการก็หมดหนี้ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนสภาพกลับเป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมายได้

บ้านหิมพานต์ --- ถูกยึดตกเป็นทรัพย์สินของธนาคารสยามกัมมาจล ---- ธนาคารฯ ขายให้ทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังนั้นเงินก็โอนมาเป็นของธนาคารสยามกัมมาจล  ??? ธนาคารคงได้เงินมากพอที่จะฟื้นตัวได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับลูกหนี้แต่ประการใด


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 15:51
แต่สงสัยยังจบเรื่องนี้ไม่ได้ครับ ผมยังติดใจอยู่เรื่องสองเรื่อง

เรื่องแรก
คำทำนายฝัน : ประมวลตามความเชื่อตามคติของชาวบ้าน / โดย อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี (เชย อิศรภักดี) ซึ่งเรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2467

คนที่เคยเป็นนายธนาคาร และ(อาจเป็น)อัยการด้วย มาเขียนเรื่องทำนายฝันไว้ประหนึ่งจะฝากไว้เป็นตำรา
แหม อยากรู้จริง ท่านเคยฝันอะไรไว้บ้าง แล้วมันออกหัวออกก้อยตามที่ท่านฝันหรือเปล่า

เห็นจะต้องจุดธูปจุดเทียนเชิญท่านมาเล่าให้ฟังกระมังคะ    ได้ความว่าไงช่วยกลับมาโพสต์บอกกันด้วย

เท่าที่บอกได้จากที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลงให้ดูเป็นตัวอย่าง  ว่า
๑   คุณพระพระอรรถวสิษฐ์สุธี (เชย อิศรภักดี) เขียนกาพย์ฉบัง ๑๖  ถูกฉันทลักษณ์หมดเลย  แล้วยังบอกเสียอีกว่าแต่งตำราเรื่องนี้ขอใช้ภาษาง่ายๆ ไม่มีศัพท์แสง   เพื่อให้เข้าใจทั่วกัน   แสดงว่าถ้าแต่งอย่างมีศัพท์แสงท่านก็น่าจะแต่งได้เหมือนกัน

๒   ท่านบอกว่าไปค้นคว้าตำรับตำรามาหลายเล่ม  มาเรียบเรียงกันเข้า  ไม่ได้คิดเอง
     ข้าจึงเที่ยวค้นเที่ยวหา              ตำรับตำรา
   แล้วมาประมวลด้วยกัน

คุณพระฯน่าจะสนใจเรื่องโหราศาสตร์อยู่ไม่น้อย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 15:58

เรื่องที่สอง
ท่านระบุว่า ท่าน-ที่อำมาตย์โท พระอรรถวสิษฐ์สุธี เขียนเมื่อ ๑ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๖๗ ที่บ้านอิศรภักดี สามเสน พระนคร มันกำกวมอยู่ไม่ชัดเจนว่าท่านยังอยากให้คนอ่านเข้าใจว่าท่านเป็นเจ้าของบ้านหิมพานต์อยู่ หรือบอกว่าท่านยังพักอาศัยอยู่แถวๆบ้านเดิมนี่แหละ ในขณะที่ลูกชายระบุว่า “ผมเกิด(พ.ศ. ๒๔๖๖) ที่บ้านเลขที่๘๒๒ ปากตรอกวัดบรมนิวาส บ้านนี้เป็นบ้านคุณย่า”


ข้อความนี้แสดงว่าคุณพระอรรถวสิษฐ์สุธีท่านมีบ้านอีกหลังหนึ่งที่ถนนสามเสน   ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบ้านหิมพานต์ที่ถูกแบงค์ยึดไป    ชื่อว่าบ้านอิศรภักดี    ท่านยังคงอยู่บ้านนี้ เมื่อท่านได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ส่วนศ.ทันตแพทย์สมบุตรชายของท่านเกิดที่บ้านอีกหลังหนึ่ง ปากตรอกวัดบรมนิวาส  ซึ่งเป็นบ้านของคุณย่า มารดาของคุณพระ

ถ้าถามว่าทำไมพ่อลูกอยู่กันคนละบ้าน   นวรัตนดอทซีตอบโจทย์ไว้ให้แล้วก่อนหน้านี้ค่ะ



คุณย่ามีลูกห้าคน ลูกสาวเป็นคนสุดท้อง แต่งงานกับนายตำรวจ ตระกูล รังควรมีลูกชายคนเดียวก็เสียชีวิต อีกสี่คนเป็นลูกชาย แต่ละคนมีภรรยาหลายคนและ มีลูกครอบครัวละเกือบยี่สิบคน พ่อผมเป็นขอนามสกุลพระราชทาน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่6 ประทานให้เป็น อิศรภักดี ดังนั้น ลูกหลานของคุณย่าทุกคนใช้นามสกุล อิศรภักดี ทำให้หลานๆ อีกจำนวนมากเป็น อิศรภักดีไปหมด สมัยคุณปู่ยังไม่มีนามสกุลใช้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 16:03
แหม อยากรู้จริง ท่านเคยฝันอะไรไว้บ้าง แล้วมันออกหัวออกก้อยตามที่ท่านฝันหรือเปล่า

คำเตือนของนายธนาคาร-อัยการ นักทำนายฝัน

     ฝันใดตำราว่ารวย           อย่าเอออย่าอวย
คอยมั่งคอยมีดังทาย
     กิจการอาชีพทั้งหลาย      เร่งขวนเร่งขวาย
เร่งคิดเร่งค้ากำไร
     ฝันร้ายอย่างพึงตกใจ       ระวังระไว
คงเสื่อมคงคลายหายสูญ
     ประมาทอย่ามีเป็นมูล       คงเพิ่มคงพูน
ทั้งเงินทั้งทองลองดู

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 16:05
คำนำของผู้เรียบเรียง

อันตำราทำนายฝัน      มีมาแต่บรรพ์
เป็นแบบฉบับโหรทาย
คนไทยใครฝันบรรยาย เล่าเรื่องราวขยาย
ให้ญาติและสุมิตรฟัง
ผู้เฒ่าผู้แก่แต่หลัง       เชื่อถือจริงจัง
ว่าเทพแลภูตสังหรณ์
วิบัติวัฒนาถาวร          มักฝันเมื่อนอน
เมื่อหลับสนิทนิทรา
มีเหตเภทภัยบีฑา       สวัสดิรักษา
ย่อมแจ้งประจักษ์จริงใจ
ตำราทั้งเทศและไทย    ต่างฝ่ายต่างไข
ต่างเชื่อต่างถือทำนาย
จักดีจักชั่วทั้งหลาย      จักเป็นจักตาย
สุบินเป็นบทสำแดง
ด้วยเทพแลภูตแถลง    ดุจดังชี้แจง
บอกเหตุบอกลางร้ายดี
ใครฝันย่อมจริงมากมี     ตำราเป็นศรี
แก่เหย้าแก่เรือนเหมือนโหร
ดีกว่าทำนายโลนโลน    ทายอย่างโลดโผน
บ่ถูกบ่ต้องตำรา
ข้าฯจึงเที่ยวค้นเที่ยวหา  ตำรับตำรา
แล้วมาประมวลเข้ากัน
ใช้แต่ถ้อยคำสามัญ      ไม่เลือกไม่สรรค์
เอาศัพท์เอาแสงแซงลง
ทำนายทายกันตรงๆ      จำเพาะเจาะจง
ให้ชนทุกชั้นเข้าใจ
แต่ว่าข้าเจ้าขอไข        เตือนจิตเตือนใจ
อย่าลุ่มอย่าหลงงงวย
ฝันใดตำราว่ารวย         อย่าเอออย่าอวย
คอยมั่งคอยมีดังทาย
กิจการอาชีพทั้งหลาย   เร่งขวนเร่งขวาย
เร่งคิดเร่งค้ากำไร
ฝันร้ายอย่าพึงตกใจ      ระวังระไว
คงเสื่อมคงคลายหายสูญ
ประมาทอย่ามีเป็นมูล    คงเพิ่มคงพูน
ทั้งเงินทั้งทองลองดู
คำใดที่ไม่เสนาะหู       โปรดให้อภัยตู
ผู้เจตนาดีด้วยเทอญ

พระอรรถวิสิษฐ์สุธี
(เชย อิศรภักดี)

บ้านอิศรภักดี สามเสน พระนคร
วันที่๑ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๗


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 16:12
อ้างถึง
บ้านหิมพานต์ --- ถูกยึดตกเป็นทรัพย์สินของธนาคารสยามกัมมาจล ---- ธนาคารฯ ขายให้ทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังนั้นเงินก็โอนมาเป็นของธนาคารสยามกัมมาจล   ธนาคารคงได้เงินมากพอที่จะฟื้นตัวได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับลูกหนี้แต่ประการใด

ธนาคารคงได้เงินมากพอที่จะฟื้นตัวได้ นั้นถูกละ
และการที่ทรัพย์จำนองนั้นขายได้ นำมาใช้หนี้ของลูกหนี้(หมด) ลูกหนี้จึงพ้นความรับผิดต่อเจ้าหนี้

แต่หากการขายทรัพย์จำนองนั้น ได้เงินไม่พอกับหนี้ ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ และต้องชดใช้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ขาด

ผมเดาว่า เมื่อ๒๔๕๔ ธนาคารนำทรัพย์สินชิ้นนี้มาขายทอดตลาด คงหาคนซื้อไม่ได้ตามราคาที่ธนาคารต้องการขาย เพราะราคาสูงมากและบ้านเมืองยังอยู่ในสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง พระสรรพการจึงถูกฟ้องล้มละลายและถูกถอดยศ

แต่พอ๒๔๕๕ ธนาคารขายทรัพย์สินได้ หนี้ที่พระสรรพากรยังคงมีอยู่ ก็ถูกล้างหมดไป


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 13, 19:25
เพราะฉะนั้นถ้าหากว่านายเชย อิศรภักดีสอบได้เป็นเนติบัณฑิต สมัครเข้ารับราชการเป็นอัยการ    อธิบดีกรมอัยการเห็นว่ามีคุณสมบัติครบก็มีอำนาจแต่งตั้งได้    โดยมีเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้อนุมัติอีกชั้นหนึ่ง     
ก็น่าจะเป็นคำตอบได้ว่าเหตุใดคุณพระสรรพการฯจึงเกิดใหม่อีกครั้งในบรรดาศักดิ์คุณพระพระอรรถวสิษฐ์สุธี

จากหนังสืองานศพพระอรรถวสิษฐ์สุธี ปี ๒๕๑๓ กล่าวว่าท่านมีบุตรอยู่ ๒๐ ท่าน ซึ่งคุณพ่อมีรสนิยมสูงกว่าคนธรรมดา เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชามต้องมีตราประจำตัวประทับไว้ที่ถ้วยทุกใบ ซึ่งสั่งทำมาจากอังกฤษ รวมทั้งการรับประทานอาหารแบบฝรั่งมีมีด ส้อม เป็นเครื่องเงินอังกฤษด้วยทั้งสิ้น ท่านมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษจนแตกฉานจนพูดภาษาอังกฤษกับฝรั่งที่แบงก์สยามกัมมาจลด้วยความคล่อง

รสนิยมนั้นท่านเป็นนักสะสมตัวยง ห้องสมุดมีหนังสือนานาชนิด และสังคมชั้นสูงเล่นอะไร ท่านก็เล่นไปกับเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ดอกหน้าวัว ไม้ดัด นกพิราบ พระพุทธรูป และการพักผ่อนก็มักจะไปหัวหิน และเตรียมอาหารดี ๆ ไปเช่น บรั่นดี แฮม เนยแข็ง ไปด้วย

หลังจากที่บ้านหิมพานต์ ป๊ากสามเสนได้ถูกยึดไปแล้ว รวมทั้งถูกถอดยศไปท่านก็ไปเอาดีด้านกฎหมายแทน โดยทั่วไปการเรียนเพื่อสอบกฏหมายใช้เวลา ๒ ปี พ่อได้ใช้เวลาปีเดียวในการสอบ ท่องครั้งเดียวจำข้อสำคัญได้เกือบหมด เมื่อลูกเรียกกฎหมายและมีข้อสงสัยไปถามท่าน ท่านก็บอกมาตราได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ได้เปิดตำราประกอบ ซึ่งในอดีตท่านว่าความแล้วมักจะนำความมาพิมพ์รายงานการซักพยานและเสนออธิบดีกรมอัยการอย่างละเอียด

ในการที่พ่อกลับมาทำงานด้านกฎหมายนี้เอง ทำให้ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธี และรับราชการจนเกษียณอายุ แล้วจึงไปประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งไม่ได้เปิดสำนักงานที่ไหน แต่อยู่บ้านและเมื่อมีคนรู้จักมาติดต่อก็รับว่าความให้ตามที่ท่านเห็นสมควร

ในบั้นปลายชีวิตท่านเป็นคนสมถะ รักสันโดษรักษาเกียรติยศของตนจนวาระสุดท้าย ท่านไม่ชอบนั่งรถยนต์ ละครภาพยนต์ก็ไม่ไปดู อ้างว่าเห็นสิ่งสวย ๆ แล้วเกิดความทะเยอทะยายอยากได้อีก

การเสียชีวิตของท่านไม่ได้ลงไว้ว่าเสียชีวิตเมื่อไร แต่ทราบว่าท่านเสียชีวิตมานานมากแล้ว ลูก ๆ ยังไม่พร้อมที่จะจัดงานศพให้และสุดท้ายตกลงทำการเผาศพท่านเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓

ลูกท่านทิ้งท้ายไว้ว่า "คงตระหนักแก่ตนแล้วว่าความทะเยอทะยานอาจนำมาซึ่งความทุกข์"

ที่มาศิลปวัฒนธรรม



กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 13, 19:42
การทำงานของพระอรรถวสิษฐ์สุธี ท่านทำงานตำแหน่งอัยการ อยู่กรมอัยการ บรรดาศักด์อำมาตย์โท อยู่บ้านอิศรภักดี สามเสน


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 20:26
ศ. นายแพทย์สม เล่าว่าคุณพ่อถึงแก่กรรมในพ.ศ. 2489   ท่านเป็นขุนนางระดับคุณพระมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5     
ขุนนางที่เลื่อนขึ้นจากขุนกับหลวงมาเป็นคุณพระ อายุอย่างน้อยก็ 30 ปี     ถ้าท่านอายุประมาณ 30 ต้นๆในพ.ศ. 2453 อันเป็นปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 5   มาถึงแก่กรรมหลังจากนั้นอีก 36 ปี   อายุท่านก็ต้องไม่ต่ำกว่า 66  อาจจะถึง 70 ปี


จากหนังสืองานศพพระอรรถวสิษฐ์สุธี ปี ๒๕๑๓ กล่าวว่าท่านมีบุตรอยู่ ๒๐ ท่าน ซึ่งคุณพ่อมีรสนิยมสูงกว่าคนธรรมดา เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชามต้องมีตราประจำตัวประทับไว้ที่ถ้วยทุกใบ ซึ่งสั่งทำมาจากอังกฤษ รวมทั้งการรับประทานอาหารแบบฝรั่งมีมีด ส้อม เป็นเครื่องเงินอังกฤษด้วยทั้งสิ้น ท่านมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษจนแตกฉานจนพูดภาษาอังกฤษกับฝรั่งที่แบงก์สยามกัมมาจลด้วยความคล่อง

รสนิยมนั้นท่านเป็นนักสะสมตัวยง ห้องสมุดมีหนังสือนานาชนิด และสังคมชั้นสูงเล่นอะไร ท่านก็เล่นไปกับเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ดอกหน้าวัว ไม้ดัด นกพิราบ พระพุทธรูป และการพักผ่อนก็มักจะไปหัวหิน และเตรียมอาหารดี ๆ ไปเช่น บรั่นดี แฮม เนยแข็ง ไปด้วย

ถึงแม้ว่าคุณพระประสบภาวะล้มละลายมาครั้งหนึ่ง  แต่จากคำบอกเล่าข้างบนนี้แสดงว่าชีวิตท่านในวัยกลางคนและวัยชรา ห่างไกลจากลำบากยากจน     แม้แต่ชีวิตประจำวัน และไปพักร้อน ก็ยังรักษาความหรูหรามีรสนิยมไว้ได้อย่างเศรษฐี      ยิ่งรายการของสะสมด้วยแล้ว   คนจนทำไม่ได้แน่นอน     ทำให้คิดว่าท่านคงยังพอจะมีทรัพย์สินเหลืออยู่  หรืออย่างที่เราเรียกในปัจจุบันว่า "ล้มบนฟูก"


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 21:58
พระอรรถวสิษฐ์สุธีเป็นผู้สนใจในการใช้ภาษาไทย มีผลงานที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งคือหนังสือเรื่อง "อักขระสมัย แลพระบรมราชาธิบาย พ.ศ. ๒๔๖๓"  ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 22:03
คุณพระเขียนคำนำไว้ดังนี้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 22:15
ตัวอย่างอักขระสมัยของพระอรรถวสิษฐ์สุธี - ซ้าย แลพระบรมราชาธิบาย (บรรทึกท้วงอักขระสมัย) - ขวา  ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 22:22
จากหนังสือข้างบน นอกจากเราจะได้ความรู้เรื่องภาษาไทยแล้ว

ที่สำคัญเราได้ทราบว่าท่านได้เป็นพระอรรถวสิษฐ์สุธีไม่ภายใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ก็ก่อนหน้านั้น

ข้อมูลอีกเรื่องหนึ่ง  (http://202.28.199.4/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=192396&display=list_subject&q=%A7%D2%B9%BA%C3%D4%A1%D2%C3) ที่เราได้ทราบจากหนังสือเล่มนี้ คือปีทีท่านเกิด คือ พ.ศ. ๒๔๒๓ และปีที่ท่านเสียชีวิต คือ พ.ศ. ๒๔๙๖

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 13, 22:31
เป็นอันสิ้นข้อสงสัย ท่านผู้นี้ถือเป็นอัจฉริยะผู้หนึ่งทีเดียว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 23:04
พระอรรถวสิษฐสุธี เป็นนักเขียนในนิตยสารรายเดือน "ศัพท์ไทย" ซึ่งออกระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๗

คุณวันดีได้กรุณาคัดลอกผลงานมาเผยแพร่ดังตัวอย่างนี้

คุณพระอรรถวสิษฐสุธี  เขียน  คอลัมน์ "ทำไม"  ตั้ง ๓ หน้า   ใน ศัพท์ไทยตอนที่สอง  หน้า ๑๕๖ - ๑๕๘

ขอคัดลอกบางตอนมาลงเพราะเป็นความคิดแบบไทย ๆ ที่ไม่ได้ลอกของฝรั่งมา       ๙๐ ปีแล้วที่ท่านเขียนไว้


ถาม                  ทำไมชายบางคนจึงชอบคบหญิงชั่ว
ตอบ                  เพราะคนดีเขาไม่คบด้วย

ถ.                    ว่าไปไหนมา  ทำไมจึงตอบว่า "เปล่า"
ต.                    เพราะไม่ใช่กงการของผู้ถาม

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงชอบทำบุญมาก
ต.                    เพราะชาติหน้าอยากให้สวยกว่าชาตินี้

ถ.                    ทำไมหนังสือกลอนถึงผู้หญิงจึงเรียกว่าเพลงยาว
ต.                    เพราะแต่งไม่รู้จบจักสิ้น

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงไม่ค่อยเชื่อคำผู้ชาย
ต.                    เพราะผู้ชายไม่เคยพูดจริงกับผู้หญิง

ถ.                    ทำไมผู้หญิงไทยชอบกินหมาก
ต.                    เพราะไม่อยากให้ปากอยู่นิ่ง ๆ

ถ.                    ทำไมเพื่อนตายจึงหายาก
ต.                    ถมไป       อยู่สวรรค์ก็มี  นรกก็มี


อ่านดูแล้ว เห็นว่าท่านเป็นผู้มีอารมณ์ขันคนหนึ่งเทียว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 13, 23:18
"ธรรมศาสตร์วินิจฉัย" ผลงานทางด้านหนังสือกฎหมายของพระอรรถวสิษฐสุธี

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)
 


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มี.ค. 13, 07:15
พระสรรการหิรัญกิจดับไป เกิดพระอรรถวสิษฐสุธีขึ้นใหม่ในภพปัจจุบันนี้เอง

ผมรู้สึกดีใจที่ได้ยกข้อสงสัยของตนมาตั้งเป็นกระทู้ ทำให้รู้จักคนไทยที่น่านับถือท่านนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ร่วมให้ข้อมูลทุกท่านด้วยครับ
กระทู้นี้คงจบลงแล้ว แต่คงยังไม่ปิดหากผู้ใดประสงค์จะเพิ่มเติมคำถามคำตอบใดๆนะครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 13, 07:37
พระสรรการหิรัญกิจดับไป เกิดพระอรรถวสิษฐสุธีขึ้นใหม่ในภพปัจจุบันนี้เอง

ผมรู้สึกดีใจที่ได้ยกข้อสงสัยของตนมาตั้งเป็นกระทู้ ทำให้รู้จักคนไทยที่น่านับถือท่านนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ร่วมให้ข้อมูลทุกท่านด้วยครับ
กระทู้นี้คงจบลงแล้ว แต่คงยังไม่ปิดหากผู้ใดประสงค์จะเพิ่มเติมคำถามคำตอบใดๆนะครับ


ยกมือสูง ๆ ถามต่อว่า เมื่อบ้านหิมพานต์ถูกยึดและกลายมาเป็นวชิระพยาบาลแล้ว ที่ดินทั้งกว่า ๒๗ ไร่ย่อมตกเป็นของโรงพยาบาล แล้วคำถามที่สงสัยคือ ตัวท่านพร้อมบุตรกว่า ๒๐ ชีวิตย้ายไปอยู่ตรงไหน ซึ่งในด้านบนผมกล่าวไว้ว่าท่านมีบ้าน "อิศรภักดี" ถนนสามเสน นั่นหมายความว่ายังมีบ้านที่พำนักสุดท้ายของท่านอีก หน้าตาเป็นอย่างไรหนอ ?


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 13, 09:21
คุณหมอสมบอกปีที่ถึงแก่กรรมของคุณพ่อผิดไป ๗ ปี    คุณพระถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๓ ปี
ชีวิตท่าน ถ้าหากว่าไปเกิดในประเทศที่สนใจทำหนังทำละครทีวีแบบสู้ชีวิต  น่าจะเป็นดราม่าขนาดยาวได้เรื่องหนึ่งทีเดียว

มาพูดถึงบ้านสามเสนที่ท่านระบุไว้ในหนังสือที่เขียน ว่าอยู่ตรงไหน

ดิฉันคิดว่าบ้านสามเสนน่าจะมาปลูกทีหลังท่านถูกฟ้องล้มละลาย   เพราะคนที่ถูกฟ้องล้มละลาย ทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่ย่อมถูกยึดหมดเพื่อเอาไปขายทอดตลาดให้เจ้าหนี้     ถ้าบ้านสามเสนยังมีตัวตนอยู่ในยุคเดียวกับบ้านหิมพานต์เป็นต้องโดนยึดด้วยแน่นอน
เมื่อคุณพระเคลียร์หนี้สินหมดแล้ว   มาเริ่มต้นใหม่เป็นอัยการในปลายรัชกาลที่ ๖   ท่านคงจะหาที่ดินแถวถนนสามเสนสักแปลงมาปลูกบ้านใหม่ได้ไม่ยาก    หรืออาจจะเป็นที่ดินของญาติพี่น้อง หรือที่ดินที่ท่านใส่ชื่อญาติพี่น้องเอาไว้เพื่อให้พ้นจากการถูกยึดก็เป็นได้   ดิฉันคิดว่าเป็นอย่างหลัง    เพราะท่านเลือกอยู่ตรงที่เป็นถิ่นเดิมของท่าน ใกล้บ้านหิมพานต์    แสดงว่าอาจเป็นที่ดินที่มีมาแต่ดั้งเดิมในละแวกนี้
บ้านสามเสนยังอยู่หรือไม่     เมื่อสิ้นคุณพระแล้ว ลูกๆจำนวน ๒๐ คนอาจจะขายเพื่อแบ่งมรดกกัน   ป่านนี้กลายเป็นอาคารพานิชย์  หรือถ้าแจ๊กพ็อทกว่านี้ก็ถูกทางการเวนคืนตอนขยายถนนไปแล้วก็เป็นได้      ถ้าหากยังสืบได้ว่ายังอยู่ดีมาจนทุกวันนี้ ก็น่าจะจัดเรือนไทยทัวร์ไปดูกันอย่างยิ่ง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 09 มี.ค. 13, 11:15
แล้วของสะสมของตกแต่งภายในบ้านหิมพานต์ก็โดนยึดไปด้วยมั้ยคะหรือว่าขนย้ายออกมาได้ยึดแต่ตัวบ้านแล้วก็ที่ดิน แล้วตอนที่บ้านหิมพานต์เปิดให้บริการทั้งละครแล้วก็ให้ชมสวนพักผ่อนหย่อนใจมีคนไปใช้บริการเยอะมั้ยคะช่วงเปิดใหม่ๆอ่ะคะ ขอบคุณคะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 13, 11:45
ปีทีท่านเกิด คือ พ.ศ. ๒๔๒๓

มีหลักฐานในตราประจำตัวของท่านซึ่งอยู่ด้านหน้าของ "เหรียญอนุญาตชมสวน ๑๒๗" ตรงกลางเป็นรูปโล่ มีตัวเลขว่า "ร.ศ. ๙๙" ทั้งสองข้างมีเทวดาถือพระขรรค์ เหนือโล่มีพญานาค ๓ เศียร ด้านล่างตรงกลางแถบผ้ามีตัวเลขว่า " ๑๒๔๒" คือ จ.ศ. ๑๒๔๒  

ทั้ง ร.ศ. ๙๙ และ จ.ศ. ๑๒๔๒ เป็นปีนักษัตรเดียวกันคือ ปีมะโรง ซึ่งมีพญานาคเป็นสัญลักษณ์ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓ ซึ่งเป็นปีเกิดของพระสรรพการหิรัญกิจหรือพระอรรถวสิษฐสุธีในเวลาต่อมา

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 13, 14:20
มาต่อคำตอบที่ว่าทำไมพระสรรพการหิรัญกิจ ถึงได้เป็นผู้จัดการแบงค์สยามกัมมาจล ซึ่งได้เคยอธิยายไว้ว่าท่านได้ถือหุ้นเป็นอันดับสอง จึงได้นำทะเบียนผู้ถือหุ้นมาให้ชมกัน

อันดับ ๑ กรมหมื่นมหิศพระราชหฤทัย จำนวน ๕๐๓ หุ้น เป็นเงิน ๕๐๓,๐๐๐ บาท

อันดับ ๒ พระสรรพการหิรัญกิจ จำนวน ๓๔๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท

อันดัย ๓ ดอยน์เอเซียทิช จำนวน ๓๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ ยาท

อันดับ ๔ กิมเซ่งหลี  จำนวน ๓๑๔ หุ้น เป็นเงิน ๓๑๔,๐๐๐ บาท

อันดับ ๕ พระคลังข้างที่ จำนวน ๓๐๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 13, 14:38
คุณพระสรรพการฯ มีเงินมาลงทุนมากกว่าฝรั่งไทยจีนใดๆ เสียอีก  ตระกูลของท่านค้าขายอะไรหนอถึงมีเงินมากขนาดนี้   น่าจะเป็นการค้าระหว่างประเทศ    เห็นว่าท่านเคยเดินทางไปหลายประเทศ ซื้อข้าวของงามๆมาประดับบ้านหิมพานต์
อาจจะทำกิจการอิมพอร์ตเอกซพอร์ตกระมัง?


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 13, 20:43
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการหิรัญกิจ กับ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย นอกจากจะเข้าชื่อร่วมถือหุ้นใหญ่ของแบงก์สยามกัมมาจลแล้ว วังของกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พื้นที่สีบานเย็น) และบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (พื้นที่สีเขียว) ยังอยู่ใกล้กันอีกด้วย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 13, 21:02
อันดัย ๓ ดอยน์เอเซียทิช จำนวน ๓๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ ยาท

อันดับ ๓ เป็นธนาคารเยอรมันชื่อว่า Deutsch Asiatische Bank  (http://en.wikipedia.org/wiki/Deutsch-Asiatische_Bank) (ดอย์ตช อาสิอาติสเช บังก์) ครั้งที่คุณพระสรรพการฯทำเรื่องยุ่งเหยิงไว้ที่แบงก์สยามกัมมาจล ผู้ที่แบงก์เยอรมันส่งมาดูแลกิจการคือ Herr. P. Schwarze (แฮร์ ปี. ชวาร์ซ)

ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้กล่าวถึงพระสรรพการหิรัญกิจว่า

แฮร์ ปี. ชว๊าร์ซ (Herr. P. Schwarze), ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจลถวายฎีกา มีใจความว่า ในชั้นต้นแบงก์สยามกัมมาจลได้แคยมีผู้จ้ดการ ๒ คน, เปนไทยคน ๑. พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี, ภายหลังเปนพระอรรถวสิษฐ์สุธี) ผู้จัดการฝายไทย, ได้ทำการยุ่งเหยิงไว้มากจนต้องออกแล้ว, ผู้ถวายฎีกาได้เปนผู้จัดการโดยลำพังสืบมา, ได้อุตสาหะจัดการแก้ไขการที่พระสรรพการได้ทำยุ่งไว้จนแบงก์ต้องเสียหายน้น จนเปนที่เรียบร้อย, โดยชักเอากำไรจากทางแพนกการต่างประเทศของแบงก์น้นมาเจือจานและได้จัดการงานให้ดำเนิรมาโดยเรียบร้อยตลอด......

แม้แบงก์เยอรมันมีหุ้นเพียง ๑ ใน ๕ เท่านั้นก็ดูจะมีสิทธิ์มีเสียงดังพอสมควรในแบงก์สยามกัมมาจล เพราะชวาร์ซเป็นถึงผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ เมื่อมีเรื่องยุ่งเหยิงของคุณพระสรรพการฯ ชวาร์ซถึงกับยื่นฎีกาว่าหากผู้จัดการฝ่ายไทยดำเนินการอย่างใดต้องให้ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศทราบด้วย แต่หากผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศดำเนินการอย่างใดแล้ว ผู้จัดการฝ่ายไทยไม่จำเป็นต้องรู้เห็นด้วย โดยขอให้รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราชโองการบังคับพระคลังข้างที่ให้ตกลงตามที่ชวาร์ซเสนอ  ทรงนำฎีกานี้เข้าปรึกษาในเสนาบดีสภา ในที่สุดได้ข้อตกลงวินิจฉัยว่าให้ยกฎีกาของชวาร์ซนี้เสีย

ทรงมีความเห็นว่า

"ส่วนในทางการเงินนั้นก็เปนรัฐประศาสโนบายของเยอรมันอันดำเนิรอยู่โดยทั่วไปหลายแห่ง, คือเอาทุนไปลงไว้ตามบริษัทหรือแบงก์ใหญ่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ ที่เขาปราถนาจะครอบงำ, แล้วแลดำเนิรอุบายให้กิจการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ยุ่งเหยิง, แล้วเขาจึ่งตั้งตัวเปนผู้ที่เมตตาเข้าช่วยดูแลแก้ไข, แล้วในที่สุดก็รวบเอาอำนาจอำนวยการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ไปไว้ในกำมือเยอรมันหมด, อุบายนี้ได้ดำเนิรสำเร็จมาแล้วในประเทศอิตาลีเปนตัวอย่าง จนเวลานั้นเยอรมันคุยป๋อว่า อิตาเลียนเท่ากับเปนทาสน้ำเงินของเขาทั้งหมด, สำหรับกรุงสยาม, เยอรมันได้มุ่งจะดำเนิรแบบเดียวกับอิตาลี, ไกเสอร์จึงได้สั่งดยู๊กโยฮันน์อัลเบร็คต์เข้ามา, เพราะรู้อยู่ว่าเปนคนโปรดของทูลกระหม่อม, ต่อมา พอพระสรรพการทำยุ่งและต้องออกจากตำแหน่งผู้จ้ดการ ฝ่ายเยอรมันนึกว่าสำเร็จตามอุบายของเขาได้อีกขั้น ๑, แต่พะเอินมาเกิดมีกรรมการผู้แทนพระคลังข้างที่ขัดคอขึ้น, จึ่งออกขัดใจ, และเปนธรรมเนียมของเยอรมัน, เมื่อจะเอาอะไรไม่ได้อย่างใจก็ต้องนึกถึงใช้อำนาจข่มขู่ก่อน,......"

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 มี.ค. 13, 07:12
อ้างถึง
แล้วของสะสมของตกแต่งภายในบ้านหิมพานต์ก็โดนยึดไปด้วยมั้ยคะหรือว่าขนย้ายออกมาได้ยึดแต่ตัวบ้านแล้วก็ที่ดิน แล้วตอนที่บ้านหิมพานต์เปิดให้บริการทั้งละครแล้วก็ให้ชมสวนพักผ่อนหย่อนใจมีคนไปใช้บริการเยอะมั้ยคะช่วงเปิดใหม่ๆอ่ะคะ ขอบคุณคะ
เข้ามาตอบคุณgiggsmayหน่อย

ของที่โยกย้ายได้ ใครเป็นลูกหนี้ก็มักจะไม่ยอมรอจนเจ้าหนี้มายึดไปพร้อมบ้านและที่ดินแหละครับ ส่วนใหญ่จะถูกยักย้ายถ่ายเทไปก่อน สุดท้ายก็ต้องจบที่การขายเพื่อเอาเงินมาเลี้ยงชีพอยู่ดี

เรื่องคนที่มาใช้บริการ เพื่อดูละครหรือชมสวน ตอนเปิดใหม่ก็อาจมีคนยอมลงทุนเสียเงินไปดูบ้าง แต่ค่าเข้าชมแพงขนาดนั้น และเศรษฐกิจกำลังแย่ด้วย คงเงียบเป็นส่วนใหญ่
ผมก็ตอบไปตามที่คิดนะครับ ไม่แน่ คุณเพ็ญชมพูหรือคุณหนุ่มสยามอาจไปค้นเอกสารอะไรเจอ แล้วเอามายืนยันข้อเท็จจริงก็ได้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 08:22
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสรรพการหิรัญกิจ กับ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย นอกจากจะเข้าชื่อร่วมถือหุ้นใหญ่ของแบงก์สยามกัมมาจลแล้ว วังของกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พื้นที่สีบานเย็น) และบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (พื้นที่สีเขียว) ยังอยู่ใกล้กันอีกด้วย
วังของกรมหมื่นมหิศรฯ ปัจจุบันนี้เป็นอะไรคะ ใครทราบบ้าง  จำได้ว่าตอนรถลงสะพานซังฮี้เลี้ยวมาทางวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ จะต้องผ่านบ้านงามหลังหนึ่ง เมื่อก่อนเคยทำเป็นภัตตาคารชื่อ "บ้านคุณหลวง" เดี๋ยวนี้เป็นอะไรจำไม่ได้แล้วเพราะไม่ได้ไปทางนี้เสียนาน     วังท่านคือหลังนี้หรือว่าหลังถัดไป?

อ้างจาก NAVARAT.C
อ้างถึง
"ส่วนในทางการเงินนั้นก็เปนรัฐประศาสโนบายของเยอรมันอันดำเนิรอยู่โดยทั่วไปหลายแห่ง, คือเอาทุนไปลงไว้ตามบริษัทหรือแบงก์ใหญ่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ ที่เขาปราถนาจะครอบงำ, แล้วแลดำเนิรอุบายให้กิจการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ยุ่งเหยิง, แล้วเขาจึ่งตั้งตัวเปนผู้ที่เมตตาเข้าช่วยดูแลแก้ไข, แล้วในที่สุดก็รวบเอาอำนาจอำนวยการในบริษัทหรือแบงก์นั้น ๆ ไปไว้ในกำมือเยอรมันหมด, อุบายนี้ได้ดำเนิรสำเร็จมาแล้วในประเทศอิตาลีเปนตัวอย่าง จนเวลานั้นเยอรมันคุยป๋อว่า อิตาเลียนเท่ากับเปนทาสน้ำเงินของเขาทั้งหมด, สำหรับกรุงสยาม, เยอรมันได้มุ่งจะดำเนิรแบบเดียวกับอิตาลี, ไกเสอร์จึงได้สั่งดยู๊กโยฮันน์อัลเบร็คต์เข้ามา, เพราะรู้อยู่ว่าเปนคนโปรดของทูลกระหม่อม, ต่อมา พอพระสรรพการทำยุ่งและต้องออกจากตำแหน่งผู้จ้ดการ ฝ่ายเยอรมันนึกว่าสำเร็จตามอุบายของเขาได้อีกขั้น ๑, แต่พะเอินมาเกิดมีกรรมการผู้แทนพระคลังข้างที่ขัดคอขึ้น, จึ่งออกขัดใจ, และเปนธรรมเนียมของเยอรมัน, เมื่อจะเอาอะไรไม่ได้อย่างใจก็ต้องนึกถึงใช้อำนาจข่มขู่ก่อน,......"

ฟังๆแล้ว เหมือนคุณพระสรรพการฯ มีคนชักใยอยู่เบื้องหลังงั้นแหละ    จนท่านกลายเป็นแพะรับบาปไปเต็มๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 03 พ.ค. 13, 16:08
บ้านสวยงามมากๆเลยค่ะ เห็นสภาพปัจจุบันแล้วก็เสียดาย แต่ว่าก็ต้องเข้าใจด้วยว่าโรงพยาบาลอาจจะไม่ได้มีงบประมาณในการซ่อมแซมมากมาย เพราะหากซ่อมต้องใช้เงินจำนวนมากจริงๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 14 พ.ค. 13, 09:30
เข้ามาตามอ่านค่ะ ชอบบ้านเก่าๆมาก


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: ท.เอริณวลี ที่ 22 พ.ค. 13, 15:06
ความรู้สึกที่ว่า "ใหญ่" ในสมัยนั้น คงประมาณได้มากกว่า ความรู้สึก "ใหญ่" ของสมัยนี้มากนะคะ
จากที่ดู รู้สึกว่าใหญ่ราวกับวังจริงๆ ขนาดว่าเป็นคนยุคนี้สมัยนี้ เห็นสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมาจนชินตาแล้ว
ก็ยังรู้สึกว่าใหญ่มากจริงๆ ค่ะ ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ และบทความค่ะ แฝงความรู้เรื่องธนาคารอีก แต่อ่านแล้วยังติดงงนิดหน่อย
ท่าทางหัวจะไม่ค่อยไปด้านการเงิน : (


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มิ.ย. 13, 09:45
รูปถ่ายล่าสุดของบ้านเศรษฐีสยาม ประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ก่อน ครับ

(ขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อบันทึกภาพไว้ ณ ที่นี้ด้วย)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มิ.ย. 13, 09:49
เมื่อมองเข้าไป


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มิ.ย. 13, 09:52
ชวนให้คิด


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มิ.ย. 13, 09:54
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มิ.ย. 13, 09:59
สภาพเดียวกับกับเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว

ตึกเหลือง ภาพโดยคุณ akkarachai (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9856616/K9856616.html#10)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5555.0;attach=39493;image)

โครงการนี้ยังคงดำเนินการอยู่ไหมหนอ  ???


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มิ.ย. 13, 21:49
คงจะต้องระดมทุนกันเป็นระยะ   ร้อยล้านเอาไม่อยู่อยู่แล้ว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: Lonelybankz ที่ 03 ส.ค. 13, 05:25
 ;)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: Lonelybankz ที่ 03 ส.ค. 13, 05:29

วังกรมหมื่นมหิศรฯ น่าจะอยุ่บริเวณที่เป็นตึกสีขาวๆ2 ชั้นหลังโรงพยาบาลวชิระนะครับ ที่ครั้งหนึ่งเคยเปิดเป็นร้านไดโดมอน จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือ ก่อนเลือนหายในสายลมของคุณอวัสดา ปกมนตรี ธิดา ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยยันต์ ตอนเกริ่นเรื่องนั้น กล่าวไว้ประมาณว่า คุณแม่ของคุณอวัสดา บอกว่าร้านอาหารที่นั่งกินข้าว ริมแม่น้ำแห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของพิ้นที่ที่เรียกว่า วัง กรมหมื่น ผมเลยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบริเวณนั้น ตัวตำหนักในหนังสือกล่าว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางอินโดนีเซีย ส่วนเลยไปนั้นคือ ตรงที่เป็น ร้านอาหารบ้านคุณหลวงเดิม ตอนนี้เป็นโรงแรม ของคุณ น้อย วง PRU เดิมเป็น บ้านของหลวงสรรสารกิจ อดีต หัวหน้ากองมหากเล็ก คุณพจน์สนิท ภรรยาของคุณหลวงได้น้อมเกล้า ถวายบ้านหลังนี้แด่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ นานแล้ว และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปปลูก ณ พระตำหนักบ้านสวนปทุม จ.ปทุมธานี ถัดไปไปเป็นวังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ตอนที่ไปถายรุปตึกเหลือง ในโรงพยาบาลวชิระ ที่คุณเพ็ญชมพู นำมาลงนั้น (
(ถ่ายเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว )  เสียดายตอนนั้นไม่ไ้ดเดินเลยไปถ่ายซุ้มประตูวังเก็บไว้ ไปอีกทีก็ไม่เห็นแล้วไม่แน่ใจว่าปัจจุบันตำหนักใหญ่ยังคงอยุ่หรือเปล่า ถัดไปอีก ก็ เป็น บ้าน บ้านพระยากฤตนิรุตติ์ ( ชม เพ็ญชาติ ) ปัจจุบันเป็นของคุณชาญ เพ็ญชาติ พึ่งเห็นลงในนิตยสาร who เมื่อ 2-3 เดือนก่อน จนสุดเขตก็เป็นกำแพงวัดราชผาติการามแล้ว  ก็คิดว่าไม่น่าจะมีวังละนะครับ นอกจากบ้านของพวกไกรฤกษ์ หรือ ตำหนักพระองค์อาทร ผมเลยคิดว่า วังกรมหมื่นมหิศร น่าจะเป็นตึกหลังนั้นแหละ ที่ติดกับ สถานีตำรวจดับเพลิงสามเสน ไม่ก็ไม่ปรากฎสิ่งปลูกสร้างแล้ว ^^


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 12 มิ.ย. 14, 09:56
ขออนุญาตดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้งค่ะ

เนื่องจากได้ไปอ่านหนังสือ ๖ ทศวรรษ ๒๕๕๗ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ภายในมีประวัติและความเป็นมาของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์  ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งของคณะพยาบาลศาสตร์ฯ  มีแผนที่เป็นลายมือแผ่นหนึ่ง  ชื่อว่า “แผนผังบริเวณโดยรอบโรงเรียนพยาบาล  ได้จาก ม.ร.ว. เหมือนหมาย  จรูญโรจน์”  คิดว่าอาจจะมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้  

ดิฉันลองแสกนเอกสารไว้  แต่จะแนบไฟล์ที่สแกนได้อย่างไรคะ?  ปรกติเวลาใส่รูปคือต้องนำ url address ของรูปมาใส่  แต่นี่เป็นไฟล์แสกน  เลยไม่ทราบว่าจะแนบอย่างไร


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 12 มิ.ย. 14, 10:16
ดูจากแผนที่นี้  พื้นที่ระหว่างถนนขาวกับแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นล็อกๆ  เริ่มจากทิศใต้
- วัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง)
- คลอง
- [บ้านพระยาอรรถกิจ (พ่อตา อ. สัญญา ธรรมศักดิ์ - นพ. เสริมศักดิ์ เพ็ญชาติ ] [วัดส้มเกลี้ยง]
- วังกรมหมื่นทิวากร (โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์)
- วังพระองค์เจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ (มจ. วิวัฒน์ไชย ไชยยันต์)(โอรส ก. มหิศร) (ภัตตาคารบ้านคุณหลวง)
- วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ต้นสกุลไชยยันต์) โอรสองค์สุดท้อง ร.๔  อนุชา ร.๕ (เป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคาร - ธ.ไทยพาณิชย์)  ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักดิ์ จรูญโรจน์  เป็นผู้สร้างตึกไชยยันต์ ตึกสามพี่น้อง โรงเรียนวัดราชาธิวาส (ดับเพลิงสามเสน)
   ล็อกนี้ช่วงด้านติดถนนขาวส่วนหนึ่งกั้นเว้าเข้ามาเป็น ๒ แปลง  แปลงหนึ่งเขียนว่าตึกคหบดี ณ นคร  อีกแปลงเขียนว่าตึก
- คลอง
- [วังพลเรือตรี นพ. หม่อมเจ้าถาวรมงคล ไชยยันต์ (โอรส ก. มหิศร)] [คานเรือไหหลำ]
ริมแนวด้านนี้เป็นห้องแถวตลอดแนวที่ชิดถนน (ที่ต่อมาจากถนนสุโขทัย) แต่เขียนชื่อว่าถนนดาวข่าง (หรือดาวช่าง?)

ปล. ข้อความเขียนตามแผนที่ค่ะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 มิ.ย. 14, 13:03
adminไม่เข้ามาตอบ ตัวสำรองเลยต้องลงสนาม

ภาพที่สแกนได้ จะเป็น jpg ซึ่งคุณคงจะsaveไว้ในไฟล์ใดไฟล์หนึ่ง
การโหลดเข้าหน้าในเรือนไทย คุณต้องคลิ๊กที่ตอบก่อน ต่อด้วยตัวเลือกเพิ่มเติม แล้วกดBrowseเพื่อเลือกไฟล์ดังกล่าวและรูปๆนั้น เมื่อคลิ๊กที่รูป url addressของรูปจะปรากฏขึ้นเอง หลังจากนั้นคุณก็ส่งข้อความได้

ลองดูนะครับ ไม่ยาก แต่คุณอาจต้องย่อรูปก่อน อย่าให้ใหญ่กว่า 250KB


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มิ.ย. 14, 13:05
ช่วยคุณ tita  ;D

ดูจากแผนที่นี้  พื้นที่ระหว่างถนนขาวกับแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นล็อกๆ  เริ่มจากทิศใต้
- วัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง)
- คลอง
- [บ้านพระยาอรรถกิจ (พ่อตา อ. สัญญา ธรรมศักดิ์ - นพ. เสริมศักดิ์ เพ็ญชาติ ] [วัดส้มเกลี้ยง]
- วังกรมหมื่นทิวากร (โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์)
- วังพระองค์เจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ (มจ. วิวัฒน์ไชย ไชยยันต์)(โอรส ก. มหิศร) (ภัตตาคารบ้านคุณหลวง)
- วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ต้นสกุลไชยยันต์) โอรสองค์สุดท้อง ร.๔  อนุชา ร.๕ (เป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคาร - ธ.ไทยพาณิชย์)  ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักดิ์ จรูญโรจน์  เป็นผู้สร้างตึกไชยยันต์ ตึกสามพี่น้อง โรงเรียนวัดราชาธิวาส (ดับเพลิงสามเสน)
   ล็อกนี้ช่วงด้านติดถนนขาวส่วนหนึ่งกั้นเว้าเข้ามาเป็น ๒ แปลง  แปลงหนึ่งเขียนว่าตึกคหบดี ณ นคร  อีกแปลงเขียนว่าตึก
- คลอง
- [วังพลเรือตรี นพ. หม่อมเจ้าถาวรมงคล ไชยยันต์ (โอรส ก. มหิศร)] [คานเรือไหหลำ]
ริมแนวด้านนี้เป็นห้องแถวตลอดแนวที่ชิดถนน (ที่ต่อมาจากถนนสุโขทัย) แต่เขียนชื่อว่าถนนดาวข่าง (หรือดาวช่าง?)

ปล. ข้อความเขียนตามแผนที่ค่ะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 12 มิ.ย. 14, 15:36
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูและคุณ Navarat.C มากค่ะ  ในหนังสือมีรูปตึกเหลืองอยู่รูปหนึ่ง  เดี๋ยวจะลองกลับไปย่อรูปและแนบไฟล์ตามแนวทางที่แนะนำค่ะ

ในบทที่ศิษย์เก่าได้มาเล่าถึงความทรงจำ  มีพูดถึงตึกเหลืองอยู่บ้าง  โดยเฉพาะในรุ่นแรกๆ

คุณยุพิน  วีรานุวัตติ์ (รุ่นที่ ๑)  อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลเกื้อการุณย์ (วชิรพยาบาล)  เล่าไว้ว่า
"ตึกวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง)  เป็นตึกโบราณที่คลาสสิกมาก  เป็นทั้งตึกเรียนและหอพัก"
"ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนพยาบาล  บรรยากาศการอยู่หอพักที่ตึกเหลืองแบ่งเป็นชั้น ๒ กับชั้น ๓  ดิฉันอยู่ชั้น ๓  ห้องหนึ่งมี ๖ -๗ เตียง  แยกย้ายกันนอนตามตัวอักษร โดยมีอาจารย์ผอบ  จักษุรักษ์ เป็นอาจารย์ฝ่ายปกครอง  อาจารย์มีความใกล้ชิด  ให้การดูแลลูกศิษย์อย่างทั่วถึงและอบอุ่นเสมอทั้งการกินและการนอน  ประกอบกับที่ดิฉันชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสัญชาตญาณด้านจิตอาสา  จึงเป็นคนแรกของรุ่นที่อาสาอยู่ในห้องอินเฟิร์มของรุ่น  แต่ขณะเดียวกันการเรียนพยาบาลเป็นการเรียนหนัก  ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ตื่นเช้าต้องไปอาบน้ำหลังตึกเหลือง  ตักน้ำใส่กาละมัง  หิ้วน้ำไปซักผ้า  กลางคืน ๑ ทุ่มเข้าห้อง Study  แล้วสวดมนต์ ๒ ทุ่มก่อนขึ้นห้องนอน  ส่วนกลางคืนเจ้หมวยขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเพราะมีบ้านพักในโรงเรียน  เราได้แอบอาจารย์ซื้อก๋วยเตี๋ยวมาทานกันในห้องพัก  สมัยเรียนพยาบาลยังอยู่ในช่วงเป็นวัยรุ่น  ตามประสาเด็กมาจากต่างจังหวัด  ไม่เคยจากบ้านมาทำให้ต้องปรับตัวกันมาก  ที่โรงเรียนมีต้นไม้ที่ให้ผลดกมาก เช่น ต้นชมพู่ ต้นมะม่วง และต้นมะละกอ  พวกเราก็เขย่าต้นให้ผลร่วงหล่นลงมา  มะละกอเอามาตำส้มตำ  มะม่วงจิ้มพริกกับเกลือ  ทั้งอร่อยและสนุกตามประสาวัยซน  เสื้อผ้าต้องซักรีดเอง  กลับบ้านต้องมีญาติมารับจึงจะออกจากหอพักได้  การใช้ชีวิตในหอพักจึงมีทั้งความสนุกสนานกับเพื่อนและความรักผูกพันกับอาจารย์"

คุณนวลจันทร์  เพียรธรรม (รุ่นที่ ๔) )  อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลเกื้อการุณย์ (วชิรพยาบาล)  เล่าไว้ว่า
"ตึกเรียนแสนโก้ของพวกเรา  ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงตึกเรียนเสียก่อน  เพราะชอบมากประทับใจมาก  สมัยนั้นพอเดินเข้ามาด้านหน้า คือถนนสามเสน  แต่ครั้งกระโน้นยังไม่มีตึกสมัยใหม่สูงๆ  ด้านหน้ามีสนามหญ้ากว้างขวางเขียวขจี  มีตึกใหญ่สีเหลืองสไตล์โคโลเนียนตั้งเด่นเป็นสง่า  มีสวนหย่อม มีภูเขา มีถ้ำจำลอง  แต่งแซมด้วยต้นลั่นทม (ต้นลีลาวดี)  ตรงนั้นตรงนี้อยู่ด้านขวามือของตึก"

แต่พอมาถึงรุ่นที่ ๔  คุณนวลจันทร์ฯ เล่าว่า  เรือนนอนเป็น "เรือนไม้ชั้นเดียวเก่าๆ ติดกับคลองตื้นๆ เล็กๆ และรั้วเก่าๆ ด้านถนนสุโขทัย" แล้วค่ะ  แต่งยังคงร่มรื่นอยู่  คุณนวลจันทร์ฯ ก็เอ่ยถึงการปีนต้นชมพู่ลูกดก และต้นมะม่วง ไว้ด้วย


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 12 มิ.ย. 14, 19:04
ตึกวชิรานุสรณ์  (ตึกเหลือง)

หมายเหตุ : หนังสือไม่ได้ระบุปี พ.ศ. ของภาพค่ะ  แต่ภาพอยู่ในบททศวรรษที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๗)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 12 มิ.ย. 14, 19:10
ภาพนี้อยู่ในหน้าเดียวกัน  ใต้ภาพเขียนว่า "อาจารย์สมรวย  สุขพิศาล กับนักเรียนพยาบาล หน้าตึกวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง)"


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 12 มิ.ย. 14, 19:36
เรียนสอบถามว่า ขณะนี้วังเสด็จพระองค์อาทรฯ เป็นบ้านพักหรือสถานที่ราชการ หรือเป็นของภาคธุรกิจครับ ผมทราบเพียงว่าบ้านหัวมุมขวามือ คือสำนักตรวจบัญชีกองทัพบก ส่วนหลังตรงกลางเป็นคอนโดมิเนียม ขอบคุณครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 08:35
แผนที่บล็อกที่ติดกับถนนสามเสนและถนนราชวิถีของ ม.ร.ว. เหมือนหมาย  จรูญโรจน์ ยังไม่ละเอียดพอ คือ มีวังพระองค์เจ้าอาทร บ้านพระยาไกรฤกษ์ และบ้านสกุลไกรฤกษ์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5555.0;attach=48891;image)

มีแผนที่อีกเวอร์ชั่นหนึ่งจากหนังสือย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ของ ดร.กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ ซึ่งคัดลอกจาก หนังสือพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา แสดงว่าบล็อกนี้มีเจ้าของคือ ที่พรัพย์สินฯ พระองค์เจ้าอาทรฯ พระยาประเสริฐฯ และพระยาบุรุษฯ  

คุณวีมีเคยอธิบายไว้ดังนี้

ที่ดินพระราชทานริมถนนราชวิถีฝั่งเหนือนั้นมี ๓ แปลงติดต่อกันครับ  แปลงแรกทางตะวันออกติดกับสี่แยกซางฮี้เป็นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรนิพยนิภา  ซึ่งมีเจ้าจอมมารดาเป็นพวกไกรฤกษ์  ปัจจุบันตกเป็นมรดกแก่ทายาทของคุณพูนเพิ่ม  ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพระราชวัง และท่านผู้หยฺงกุณฑี (สุจริตกุล) ไกรฤกษ์  แปลงกลางเป็นของพระยาประเสริฐศุภกิจ ซึ่งต่อมาตกเป็นมรดกแก่ ดร.พิริยะ  ไกรฤกษ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมือเป็นดุสิตอเวนิวในปัจจุบัน  ส่วนแปลงด้านตะวันตกนั้นเป็นของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ  ซึ่งปัจจุบันเป็นของกองทัพบก


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 มิ.ย. 14, 09:12
อ้างถึง
เรียนสอบถามว่า ขณะนี้วังเสด็จพระองค์อาทรฯ เป็นบ้านพักหรือสถานที่ราชการ หรือเป็นของภาคธุรกิจครับ ผมทราบเพียงว่าบ้านหัวมุมขวามือ คือสำนักตรวจบัญชีกองทัพบก ส่วนหลังตรงกลางเป็นคอนโดมิเนียม ขอบคุณครับ
ข้อมูลจากคุณวิกี้มีว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา (21 เมษายน พ.ศ. 2432 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม: ไกรฤกษ์)
 
ที่ดินที่สร้างวังของพระองค์ท่านเป็นมรดกทางฝ่ายพระมารดา เมื่อสิ้นพระชนม์จึงทรงยกให้ลูกหลาน ผู้ที่ครอบครองต่อมาคงจะเป็นนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ได้ยินว่าได้ตกมาเป็นของบุตรชายคนโต คือ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ที่นั่นพร้อมด้วยภริยา ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) และลูกๆ
รูปถ่ายของคุณ akkarachai


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 09:17
กำลังจะโพสต์ภาพตำหนักทิพย์ของ คุณ akkarachai (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/09/K8286637/K8286637.html#36) ทีเดียว

รถไฟเกือบชนกันอีกแล้ว  ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 09:33
บ้านของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) น้องชายของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)

(http://www.vcharkarn.com/uploads/23/23128.jpg)

นี่คือรูปบ้านของพระยาประเสริฐศุภกิจ ตอนตกเป็นของดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ปัจจุบันเป็นสโมสรของดุสิต อเวนนิว

ปัจจุบันใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ดุสิตอเวนิว  เป็นทางเข้าหลักของอาคาร ภายในอาคารชั้นล่างเป็นห้องรับแขกรวม สำนักงานของผู้จัดการอาคาร ห้องจดหมาย ห้องติวและเรียนพิเศษ ชั้นบนมีห้องเรียนพิเศษ ห้องประชุม ห้องพระและนั่งสมาธิ แต่อีกซีกหนึ่งของอาคารถูกปิดตายทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

ข้อมูลจาก ดุสิตสโมสร (http://wikimapia.org/6570123/%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3-Dusit-Samosorn)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 มิ.ย. 14, 09:41
ส่วนข้อความนี้คงจะไม่ชนกับใครนะครับ

อ้างถึง
ที่ดินที่สร้างวังของพระองค์ท่านเป็นมรดกทางฝ่ายพระมารดา เมื่อสิ้นพระชนม์จึงทรงยกให้ลูกหลาน ผู้ที่ครอบครองต่อมาคงจะเป็นนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ได้ยินว่าได้ตกมาเป็นของบุตรชายคนโต คือ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ที่นั่นพร้อมด้วยภริยา ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) และลูกๆ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 10:10
บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก
 
บริเวณที่ตั้งสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก เดิมคือ บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ผู้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ถึง ๓ แผ่นดิน ท่านได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ใน รัชกาลที่ ๕  ด้วยความอุตสาหะและจงรักภักดีจนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้ตามเสด็จอย่างใกล้ชิดโดยตลอด ท่านได้ทุ่มเทให้กับการรับราชการสนองพระเดชพระคุณ จนแทบไม่ได้กลับบ้าน ซึ่งอยู่ไกลออกไป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณปลายถนนราชวิถีให้ท่านได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัย เพื่อสะดวกในการเดินทางไปรับราชการ และยังพระราชทานเงินถึง ๓๐๐ ชั่ง เพื่อใช้ในการปลูกสร้างบ้าน หลังใหญ่จึงได้สร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โดยอาศัยช่างก่อสร้างชาวต่างประเทศ ชุดเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๖ ปี  โดยท่านเป็นผู้วางแบบแปลนเองทั้งหมดหลังคาทรงปั้นหยา อวดพื้นหลังคา ด้วยกระเบื้องว่าว เจาะตกแต่งช่องหน้าต่างเล็ก ๆ บนหลังคา

วันประวัติศาสตร์ของบ้านหลังนี้คือวันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ด้วยเป็นวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ โดยเป็นวันที่ รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเหยียบบ้านหลังนี้ทุกห้อง เพื่อเป็นสิริมงคล ทรงเสวยพระกระยาหารโดยพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นผู้ถวายพระกระยาหารด้วยตนเอง

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นต้นมา  สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบกคือผู้รับผิดชอบสถานที่แห่งนี้ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาคุณค่าและความงดงามของสถานที่นี้ไว้ แต่ก็ยากเกินกว่าที่จะดำเนินการได้โดยลำพัง จากวันนั้นถึงปัจจุบันกว่า ๙๘ ปี อาคารที่โดดเด่นและสะดุดตาหลังใหญ่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่อย่างสงบรอการบูรณะให้คงสภาพเดิม เพื่อเป็นทรัพย์ของแผ่นดินที่ทรงคุณค่าตลอดไป

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์มาโดยลำดับ เพื่อให้คงไว้ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด
(http://www.vcharkarn.com/uploads/23/23127.jpg)

ก่อนบูรณะมีสภาพที่ทรุดโทรม แล้วหลังคาก็ผุทุกวันจะมีนกมาทำรัง  
หลังการบูรณะ

(http://www.vcharkarn.com/uploads/23/23138.jpg)

มุมนี้สวย

ป.ล. ภาพที่หายไปในกระทู้ "บ้านบุรุษรัตนราชพัลลพ"นามบ้าน นามความดี" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1388.0) ที่เรือนไทย สามารถตามหาได้ที่ วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/vcafe/32155)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 13 มิ.ย. 14, 11:12
สีเหลืองแบบนี้เป็นสีท็อปฮิตของสมัยนั้นหรือเปล่าคะ  เพราะสังเกตเห็นว่าตึกสวยๆสมัยก่อนมักจะทาสีนี้


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 มิ.ย. 14, 14:06
สีที่ใช้กันในโบราณกาลได้มาจากวัสดุตามธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายหน่อยก็ที่นำดินมาบดเป็นฝุ่น มีเพียงไม่กี่สี คือสีแดง สีขาว และสีเหลือง กลุ่มนี้จะราคาไม่แพงมากถ้าเทียบกับสีดำ ที่ทำมาจากเขม่าไฟ หรือสีครามที่ทำมาจากต้นคราม ซึ่งจะพบได้ในภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่

สีฝุ่นจะต้องถูกนำมาผสมกับน้ำแล้วต้ม ก่อนเติมกาวที่เคี่ยวจากหนังสัตว์ลงไปให้มีความหนืดเหนียว แล้วจึงนำไปทาอาคารต่อไป
สีทาอาคารที่ฮิตที่สุดน่าจะเป็นสีขาว ซึ่งถูกสุด แล้วจึงเป็นสีเหลืองและสีแดงตามลำดับ ผมคิดว่านอกจากสีขาวแล้ว สีเหลืองจะมีธรรมชาติที่กลมกลืนกันได้ดีแม้ความเข้มจะต่างกัน ผิดกับสีแดงที่ยากจะหาฝุ่นที่มีความเข้มของสีเสมอกันหมด ยิ่งทาผนังใหญ่ยิ่งมองเห็นคล้ายกับว่ามันด่าง


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 14:24
คำถามของคุณแอนนา คุณ Bagheera ตอบไว้อยู่ใน พันทิป (http://pantip.com/topic/31228949#2)  มีเหตุมีผลน่าสนใจเหมือนกัน

สังเกตไหมครับว่า   ตึกทั้งหลายตามรูปที่คุณยกมานั้นเป็นสถาปัตยกรรมเก่าของยุโรปทั้งหมดซึ่งไทยคงจะรับเข้าไปในช่วงตั้งแต่รัชกาลต้น ๆ ที่เริ่มติดต่อและส่งลูกหลานไปเรียนยุโรปกัน  สีเหลืองนั้นเป็นที่นิยมใช้ในยุโรปในยุค Barock และตามมาด้วยยุค Neobarock ซึ่งตึกที่สำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็น  ราชวัง ไปรษณีย์ วิลล่า   สถานีรถไฟ ฯลฯ  จะนิยมทาสีเหลืองที่เรียกว่า Ocker โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทของออสเตรีย

และแม้แต่ในปัจจุบันนี้สีเหลืองและสีอิฐ terrocotta ก็ยังจัดว่าได้รับความนิยมรอง ๆ ลงมาจากสีขาวที่เลือกใช้ทาสีบ้านกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านในแถบยุโรปใต้แถมเมดิเตอเรเนียน  เพราะสีเหลืองเป็นสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น และมีพลังของแสงอาทิตย์ และยังแปลนัยยะอื่น ๆ ได้อีกมากมาย  เช่น ทองคำ  นอกจากสีเหลืองแล้วก็จะมีสี earth tone อื่น ๆ  ซึ่งสามารถกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อมได้เป็นอย่างดี


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 15:02
อดีตบ้านของหลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร)กลายมาเป็นโรงแรม 5 ดาว ที่ถนนสาทร
สีเหลืองอ๋อยเห็นแต่ไกล


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 15:04
ของเดิมเป็นภาพขาวดำ ดูไม่ออกว่าสีเหลืองหรือเปล่าค่ะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 14, 15:10
แถมคลองสาทรให้ดูด้วยค่ะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 13 มิ.ย. 14, 15:34
ดูรูปบ้านของท่านอื่นๆ แล้ว  เสียดายตึกเหลืองของพระสรรพการหิรัญกิจจริงๆ  ถ้าซ่อมแซมน่าจะออกมาสวยงามเหมือนหลังอื่นๆ  บ้านที่สร้างช่วงนั้นสวยงามประณีต  แม้จะเป็นสไตล์ยุโรปแต่ก็ดัดแปลงให้เหมาะสมกับเมืองไทย  น่าเสียดายอยู่หน่อยหนึ่งที่พอมาสมัยนี้ที่ดินแพงลิบลิ่ว  ตึกสูงเลยมาเบียดข่มไปหมด

ขอสอบถามด้วยค่ะว่าทำไมภายหลังบ้านของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภถึงแยกไปอยู่ในความดูแลของกองทัพบกล่ะคะ  ท่านไม่มีทายาทหรือคะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 14, 18:35
แถมคลองสาทรให้ดูด้วยค่ะ
นี่เป็นปากคลองสาทร ออกแม่น้ำเจ้าพระยาครับ ซ้ายมือภาพจะเป็นศาลเจ้าไหหลำ และ ศาลเจ้าพรหมเมศ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 13 มิ.ย. 14, 19:07
มีบ้านสไตล์โบราณอยู่หลังหนึ่ง ทางเข้าบ้านติดถนนราชวิถี ตรงข้ามถนน บ้านพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) ถ้าจะเห็นตัวบ้านต้องเข้าซอย ราชวิถี 17เพราะด้านหน้าตึกบัง ไม่ทราบว่าเป็นบ้านของพระยาท่านไหนหรือป่าว
(http://image.ohozaa.com/i/f5d/7hXXlb.jpg)
(http://image.ohozaa.com/i/354/bR7DTb.jpg)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:51
คณ chakad77 ลองแวะไปดูที่ความคิดเห็น ๑๒๑ อีกที น่าจะพอหาคำตอบจากแผนที่นี้ได้  ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 21 มิ.ย. 14, 18:39
เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีคฤหาสน์โบราณหลังหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นของท่านไหน
บริเวณใกล้เคียงมีซอยชื่อว่า ซอยพระยามุกมนตรี ที่สามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหม
(http://image.ohozaa.com/i/57a/LGYkWB.jpg)
(http://image.ohozaa.com/i/30c/25l9jp.jpg)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 13:38
ตึกเหลือง ถ่ายจากคนละด้านกับ คห ที่ 123

(ในนิทานชาวไร่ที่เคยอ่าน  จะกล่าวถึงวิธีการผันเงินของนายเชย ไว้ด้วย

ทำไมนายเชยถึงสามารถเอาเงินออกมาได้มากมายในยุคนั้น ซึ่งเป็นความเห็นของ ผู้เขียน)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:17
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:19
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:23
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:24
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:25
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:28
..


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 14, 14:31
..สุดท้ายแล้ว


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 14, 15:00
ขอบคุณครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 23 มี.ค. 15, 22:14
เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีคฤหาสน์โบราณหลังหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นของท่านไหน
บริเวณใกล้เคียงมีซอยชื่อว่า ซอยพระยามุกมนตรี ที่สามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหม
(http://image.ohozaa.com/i/57a/LGYkWB.jpg)
(http://image.ohozaa.com/i/30c/25l9jp.jpg)

ทราบแล้วนะครับ บ้านหลังนี้คือบ้านของ เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาลฯ (อวบ เปาโรหิตย์)  ซึ่งก็ตรงกับชื่อซอยพระยามุขมนตรี(ซอยเจริญกรุง51)  ทางเข้าบ้านท่านนั่นแหละ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: manu ที่ 22 พ.ค. 20, 18:21
ตึกเหลืองที่ตั้งอยู่ที่วชิรพยาบาลขณะนี้ได้ทำการอนุรักษ์โดย บ.กัณกนิษณ์ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานคร 50 กว่าล้านบาท กำลังจะเสร็จในวันที่ 27 พค. 2563 และกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือก การอนุรักษ์ในระยะที่ 2 จากการสำรวจและออกแบบเพิ่มเติมจากกรมศิลปากรครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: manu ที่ 22 พ.ค. 20, 18:32
กำลังจะเริ่มเฟส 2 ครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ค. 20, 21:08
เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีคฤหาสน์โบราณหลังหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นของท่านไหน
บริเวณใกล้เคียงมีซอยชื่อว่า ซอยพระยามุกมนตรี ที่สามารถไปยังบ้านหลังนั้นได้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหม
(http://image.ohozaa.com/i/57a/LGYkWB.jpg)
(http://image.ohozaa.com/i/30c/25l9jp.jpg)

ทราบแล้วนะครับ บ้านหลังนี้คือบ้านของ เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาลฯ (อวบ เปาโรหิตย์)  ซึ่งก็ตรงกับชื่อซอยพระยามุขมนตรี(ซอยเจริญกรุง51)  ทางเข้าบ้านท่านนั่นแหละ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ค. 20, 21:10
ตึกเหลืองที่ตั้งอยู่ที่วชิรพยาบาลขณะนี้ได้ทำการอนุรักษ์โดย บ.กัณกนิษณ์ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานคร 50 กว่าล้านบาท กำลังจะเสร็จในวันที่ 27 พค. 2563 และกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือก การอนุรักษ์ในระยะที่ 2 จากการสำรวจและออกแบบเพิ่มเติมจากกรมศิลปากรครับ
นับเป็นข่าวดีสำหรับนักอนุรักษ์ค่ะ   แต่สงสัยว่า 50 ล้านจะพอหรือเปล่า


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: manu ที่ 23 พ.ค. 20, 07:26
งบเฟสที่ 1 รวม 50 กว่าล้านกำลังก่อสร้างเสร็จ กำลังคัดเลือก บ.ก่อสร้างเฟสที่ 2 งบเพิ่มเติมอีก 50 กว่าล้านเท่าๆกันครับ ไม่รวมการยกตึกซึ่งต้องรอจังหวะ และอาจมีการก่อสร้างเฟสที่ 3 ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นของกรมศิลปากรครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ค. 20, 08:29
บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) ตั้งอยู่ที่ริมถนนสามเสน ทิศเหนือจดถนนสุโขทัย ทิศใต้จดถนนสังคโลก ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดคลองอั้งโล่ เป็นบ้านที่พระสรรพการหิรัญกิจ ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เริ่มสร้างในราวพ.ศ. ๒๔๔๘ ด้วยงบประมาณถึงพันชั่ง (๘๐,๐๐๐ บาท) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ค. 20, 08:57
บ้านพระสรรพการหิรัญกิจประกอบด้วยตึกสองหลัง คือ ตึกเหลือง และตึกชมพู ตึกเหลืองเป็นตึกใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) ผสมผสานรูปแบบและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ถัดมาทางทิศใต้มีตึกชมพู เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค (Neo-Classic) เช่นกัน แต่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ภายในทั้งตึกใหญ่และ ตึกเล็กมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร มีเครื่องเรือนที่นำเข้าจากยุโรปทั้งสิ้น

น่าเสียดายที่ปัจจุบันตึกชมพูได้ถูกรื้อถอนไปแล้วยังคงเหลือแต่ตึกเหลือง

ภาพลงสีโดยคุณหนุ่มสยาม จาก สยามพหุรงค์ (https://www.facebook.com/780950968608377/posts/1672569966113135/) งามนัก ๆ
 ;D


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 23 พ.ค. 20, 16:35
พอมาไล่อ่านแล้วก็เสียดายหลายที่นะคะบางที่ทรุดโทรมไปไม่มีคนมาดูแล บางที่ก็ถูกล้อถอนไป ทางที่ก็ถูกเปลี่ยนให้ไม่เหลือเค้าเดิม


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 25 พ.ค. 20, 13:36
ตึกพวกนี้คือที่เขาใช้ถ่ายละครประเภทท่านชาย เจ้าคุณปู่เจ้าคุณตาอะไรทำนองนี้รึเปล่าคะ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 25 พ.ค. 20, 13:46
ตึกพวกนี้คือที่เขาใช้ถ่ายละครประเภทท่านชาย เจ้าคุณปู่เจ้าคุณตาอะไรทำนองนี้รึเปล่าคะ

ละครบางเรื่องก็ถ่ายทำในโรงถ่ายที่จัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ดูย้อนยุคครับ แต่บางเรื่องก็ถ่ายที่บ้านเก่าอาคารเก่าจริงๆ ครับผม


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ค. 20, 14:15
ปัจจุบันคงไม่สามารถใช้ตึกเหล่านี้เป็นฉากในการถ่ายทำละครได้  เพราะทรุดโทรมมากและบูรณะยังไม่เสร็จสิ้น  แต่จุดประสงค์ของท่านเจ้าของบ้านก็นับว่าเพื่อการบันเทิงเหมือนกัน  ;D

พระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ากว่าใครในสมัยนั้น ท่านตั้งใจจะเปิดบ้านนี้ให้เป็นสวนสาธารณะให้คนเข้าชมอาณาบริเวณได้ เรียกว่า บ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสน ในขณะที่เมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีสวนสาธารณะเลยก็น่าจะเข้าท่าอยู่

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จไปเปิดบ้านหิมพานต์ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ นับว่าบ้านหิมพานต์หรือป๊ากสามเสนเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย

ป๊ากสามเสนหรือบ้านหิมพานต์เปิดบริการตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านพักของพระยาสรรพการหิรัญกิจหนึ่งในผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ในป๊ากมีที่ดินประมาณ ๑๖,๐๐๐๐ ตารางวา กลางป๊ากมีตึก ๒ หลังทำอย่างประณีตงดงาม

ตอนหน้าของตึกมีโรงละครใหญ่อย่างงาม ๑ โรง มีกรงเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ มีสระน้ำและสนามหญ้า มีเขาที่ก่อด้วยหินขนาดใหญ่พร้อมด้วยถ้ำสำหรับเข้าไปเที่ยวภายในได้ เขาและถ้ำนี้มีน้ำพุกระโจนออกมาไม่ขาดสาย ด้านหน้าน้ำพุเป็นสระประดับประดาด้วยเครื่องทอง ภายในถ้ำมีทางขึ้นบนยอดเขาได้และมีพระพุทธรูปสำหรับบูชาในถ้ำ

ส่วนบริเวณหลังตึกมีเขาดิน ภายในเขามีอุโมงค์กว้างขวาง บนเขามีถนนทำด้วยปูนซีเมนต์ มีที่พักทำด้วยศิลาและปลูกไม้หอม มีสระน้ำข้าง ๆ เขาก่อด้วยศิลาเป็นหย่อม ๆ สำหรับนั่งดูน้ำ มีโรงเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่นโรงกาแฟที่มีหมากพลูบุหรี่ มีเก้าอี้สำหรับนั่งเล่นตามสนาม มีเรือสำหรับพายเล่นในคลองและในสระ มีท่าน้ำและสนามหญ้าขนาดใหญ่และเล็ก และชายป่าที่ล้วนปลูกไม้ดอกและไม้ประดับ สำหรับผู้ที่ต้องการไปเที่ยวชมในป๊ากต้องเสียเงินค่าผ่านประตูคนละหนึ่งบาท  เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา ๗ โมงเช้าจนถึงสองยามหรือเที่ยงคืน ครั้นต่อมาก็มีการนำภาพยนตร์จากยุโรปเข้ามาฉายทุกคืนวันอังคารและวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา ๑ ทุ่มจนถึง ๔ ทุ่มครึ่ง

ป๊ากสามเสนมีลักษณะเป็นสวนสนุกที่ยังไม่ถึงกับเป็นสวนสาธารณะและคล้ายคลึงกับสวนสำราญในสังคมจารีตที่เป็นพื้นที่เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ เช่น สวนขวาและสวนสราญรมย์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ สระน้ำ สนามหญ้า ภูเขา และเครื่องบันเทิงประเภทต่าง ๆ

การสร้างสวนสนุกในยามค่ำคืนให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกรุงเทพฯ จึงทำให้กรอบความคิดเรื่องสวนเพื่อความสำราญไม่ได้เป็นพื้นที่ของชนชั้นนำอย่างในสังคมจารีตอีกต่อไป แต่ได้เริ่มเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับสาธารณชนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ชีวิตยามค่ำคืนในสวนสนุกได้

การเปิดบริการป๊ากสามเสนได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อนำภาพยนตร์เข้ามาฉาย แต่ผู้ที่เข้าไปชมและใช้บริการกิจกรรมยามค่ำคืนต่าง ๆ ในป๊ากสามเสนกลับพบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นนำมากกว่าสามัญชน

ทั้งนี้อาจพิจารณาได้จากอัตราค่าผ่านประตูที่เก็บอยู่ที่ ๑ บาทต่อ ๑ คน เมื่อเทียบกับรายได้ของสามัญชนส่วนใหญ่แล้วก็ยังนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับความไม่สะดวกในการเดินทางกลับบ้านของสามัญชนที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว เพราะเมื่อเวลาหนังเลิกตอน ๔ ทุ่มหรือเวลาปิดบริการป๊ากตอนเที่ยงคืนรถรางเที่ยวสุดท้ายได้หมดไปตั้งแต่ ๒ ทุ่มแล้ว ในเรื่องการเดินทางจึงเห็นได้ว่ายานพาหนะเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตยามค่ำคืนนอกบ้านของคนกรุงเทพฯ ที่สามารถพาพวกเขาไปสู่พื้นที่กลางคืนของเมืองที่ใดและจะกลับเมื่อใดก็ได้

อย่างไรก็ตาม ป๊ากสามเสนก็เป็นพื้นที่แรกที่แสดงให้เห็นการใช้พื้นที่สวนเพื่อความสำราญในยามค่ำคืนร่วมกันระหว่างชนชั้นสูงกับสามัญชนก่อนที่จะมีสวนสาธารณะเพื่อสาธารณชนในเมืองอย่างแท้จริงที่สวนลุมพินีในปลายทศวรรษที่ ๒๔๖๐

(จากหนังสือ กรุงเทพฯ ยามราตรี ของ วีระยุทธ ปีสาลี พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗)

จากบทความเรื่อง ป๊ากสามเสน : ที่เที่ยวเตร่ยามค่ำคืนในสยามยุคแรกมีสวนสนุกด้วย (https://www.silpa-mag.com/culture/article_2507)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5555.0;attach=39451;image)


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: manu ที่ 19 ก.ค. 20, 20:21
วันที่ 21 กค. 2563 ทางวชิรพยาบาลจะได้ทำการส่งมอบพื้นที่ให้ บ.กัณกนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัดเพื่อเริ่มต้นโครงการอนุรักษ์อาคารวชิรานุสรณ์ (ตึกเหลือง) ระยะที่ 2 ตามแบบที่จัดทำโดยกรมศิลปากรครับ


กระทู้: บ้านเศรษฐีสยามที่งามราวกับวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
เริ่มกระทู้โดย: manu ที่ 29 ก.ค. 20, 13:18
ให้ชมภาพจิตรกรรมเฟส 1 ที่เพิ่งเสร็จไปครับ