เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 78177 เพลงเก่า เล่าอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 23 มิ.ย. 14, 10:05

ชอบเพลง Fernando ตั้งแต่ได้ยินครั้งแรก  ขอบคุณคุณ SILA ที่นำที่มาของเพลงมาเล่าสู่กันฟังคะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:06

ยินดี ครับ

            ซาปาตา -Emiliano Zapata(1879 – 1919) หนึ่งในผู้นำการปฏิวัติในคราวนั้น
ถือกำเนิดในครอบครัวชาวไร่ที่รัฐ Morelos ทางตอนใต้ของเม็กซิโก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:08

            รัฐนี้เป็นหนึ่งใน 31 รัฐของประเทศมีขนาดเล็กที่สุดแต่ดินดีน้ำชุ่มจนปลูกพืชได้ทั้งปี
ในยุคนั้นราชาที่ดินผู้มีอิทธิพลไม่กี่เจ้าได้โกงกอบครอบครองกรรมสิทธิ์ผืนดินที่ปลูกข้าวโพด
ของชาวบ้าน ตลอดจนผูกขาดการใช้แหล่งน้ำเพื่อนำไปใช้ในการปลูกอ้อยซึ่งเป็นพืชมีราคาใน
ไร่ของตน

มอเรลอส(Morelos) ในปัจจุบัน ไกลออกไปยังคงมีไร่อ้อยให้เห็นได้อยู่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:09

           โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือและประธานาธิบดีเผด็จการ ดิอาด(Porfirio Diaz) สนับสนุน
คนพวกนี้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราสุขสบายในขณะที่ชาวบ้านผู้ยากไร้ ไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน
           สภาวะบ้านเมืองแบบนี้ การปฏิวัติดูจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำต้องเกิดขึ้นในไม่ช้า

ซากคฤหาสน์(Hacienda) ของราชาที่ดินใน Morelos  


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:13

            ซาปาตาได้รับเลือกเป็นประธานสภาท้องถิ่นเมื่อตอนอายุ 30 ปี เขามองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ
อยุติธรรมที่ไม่อาจจะยอมทนได้อีกต่อไป
             ด้วยสำนึกรักและภาคภูมิใจในแดนดินถิ่นกำเนิดของตน เขาจึงเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม
เพื่อทวงคืนสิทธิในที่ทำกิน เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของพี่น้องทั้งหลายด้วยวิธีการต่อสู้ตามวิถีทางกองโจรและการใช้
กำลัง โดยการรวมกับผู้นำชาวไร่กลุ่มอื่นๆ จัดตั้งเป็นกองทัพปลดแอกฝ่ายใต้ Liberation Army of the South
ต่อสู้กับอำนาจอธรรม
             ตัวเขาซึ่งมีความมุ่งมั่นโดดเด่นเป็นผู้นำเหนือพลพรรคคนอื่นๆ รับบทบาทเป็นผู้นำกองทัพที่เรียกว่า
Zapatistas

กองทัพนักรบสวมหมวก sombrero


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:17

          Zapatistas ร่วมกับกองกำลังกลุ่มอื่นรวมเป็น 18 รัฐ (หนึ่งในนั้นมีผู้นำทางฝ่ายเหนือชื่อคุ้น
นั่นคือ ปันโช วีญา - Pancho Villa) ทำการปฏิวัติจนเป็นผลสำเร็จในปี 1910
         ประธานาธิบดี ดิอาด ลาออกแล้วระเห็จหนีออกนอกประเทศ

อีกหนึ่งนักปฏิวัตินามคุ้นหู วีญา(Villa)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 09:23

           แต่แล้วเมื่อผู้นำการปฏิวัติ มาเดรอ(Francisco I. Madero) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ซาปาตากลับถูกหักหลัง แนวทางปฏิรูปที่ดินคืนชาวไร่ที่เสนอโดยซาปาตาไม่เป็นไปตามหวังทั้งยังโดน
กล่าวหาว่าเป็นแค่กองโจร(bandits) ที่ซ้ำร้ายมาเดรอยังแต่งตั้งผู้ว่าการรัฐคนใหม่ที่อวยพวกราชาที่ดิน
เจ้าเก่าอีก ความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเสื่อมลง
(พล็อตคุ้นๆ ซ้ำๆ แถบอเมริกาใต้ แบบว่า ปฏิวัติเถลิงเริงอำนาจแล้วหักหลังสหายปฏิวัติและประชาชน)  
            
           มาเดรอ ส่งกำลังเข้าปราบปรามพวกของซาปาตาในมอเรลอส หมายจะถอนรากถอนโคนด้วย
การเผาหมู่บ้าน กุมตัวพวกผู้ชายส่งไปทำงานในกองทัพหรือค่ายกรรมกรทางใต้ แต่ยิ่งปราบปรามกลับ
ยิ่งงอกงาม กองกำลังของซาปาตามีคนมาเข้าร่วมมากมายจนสามารถรุกไล่กำลังของทางการออกไปได้

ภาพจากหนัง Viva Zapata!


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 09:38

            อำนาจที่ได้มานั้นเป็นของชั่วคราว ต่อมา เวอร์ต้า(Victoriano Huerta) นายทหารที่มาเดรอ
ไว้วางใจกลับลำหักหลังสังหารมาเดรอแล้วยึดอำนาจแทน แต่ครองอยู่ได้ไม่นานก็ถูกขับออกไปโดย
กองกำลังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มีกองทัพของซาปาตาและปานโช วีญาสนับสนุน เวอร์ต้าลาออก
แล้วหนีลี้ภัยไปสเปน
         
             และแล้วประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยซ้ำซาก การันซา(Venustiano Carranza) ผู้ว่าการรัฐ
ซึ่งเป็นผู้นำการปฏิวัติครั้งนี้ก็ไม่เห็นคุณซาปาตา ในขณะที่วีญาทำศึกช่วงชิงอำนาจแต่แพ้พ่ายต้องถอย
ร่นกลับคืนสู่เหย้า ซาปาตาผู้ไม่สนใจในเรื่องราวนอกมอเรลอสก็กลับไปตั้งมั่นในถิ่นตน และถูกปราบปราม
โดยวิธีการเผาอีกเช่นเคย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 09:42

          แต่ซาปาตาก็สามารถยึดครองพื้นที่มอเรลอสรวมทั้งรัฐอื่นๆ ไว้ได้ในปี 1917 เขาต่อสู้ต้านทาน
กองทัพของการันซาอยู่นานนับปี ในขณะที่เหล่าสหายปฏิวัติเกิดอาการหน่ายสงครามไม่อยากสู้อีกต่อไป
จนท้ายที่สุดแล้วฝ่ายการันซาสามารถยึดมอเรลอสได้และซาปาตาถูกลวงไปสังหารในปี 1919



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 09:43

ประตู(ของกำแพง) ที่เหลืออยู่ของคฤหาสน์(Hacienda) San Juan สถานที่ซาปาตาถูกสังหาร
รอยกระสุนยังคงหลงเหลืออยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ซาปาตาบนหลังม้า


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 20:26

มาลงชื่อว่ายังตามอยู่นะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 09:19

ขอบคุณครับ อยากฟังคุณปลากรอบเล่าเรื่องจากเพลงบ้าง

             มรดกที่ซาปาตาได้มอบไว้ให้แก่เม็กซิโกคือ แนวคิดการปฏิรูปที่ดินทำกินโดยรัฐเพื่อเกษตรกร
(agrarian reform) ซึ่งเรียกว่า zapatismo
             ภายหลังจากที่อำนาจผลัดคนครองอีกครั้งเมื่อการันซาถูกโค่นลง นายทหารแห่งกองทัพซาปาติสต้า
ที่ร่วมในการล้มรัฐบาล ได้รับตำแหน่งสำคัญในรัฐมอเรลอสและได้ดำเนินแผนการปฏิรูปที่ดินตามแนวทาง
ของซาปาตา มีการคืนที่ดินบางส่วนให้แก่ชาวบ้านและการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา
             อย่างไรก็ตามการปฏิรูปที่ดินนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องที่เกินการตระหนักรู้และจัดการได้อย่างสมบูรณ์ตาม
แนวทางความคิดของเขา

อนุสาวรีย์สูง 20 ฟุต ณ ที่ฝังศพของซาปาตา
 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 09:23

           เรื่องราวการต่อสู้ปฏิวัติกับแนวทางปฏิรูปที่ดินเพื่อชาวไร่ผู้ยากไร้ และการจากไปก่อนกาล
ของซาปาตากระทบและประทับใจผู้คนโดยทั่ว ต่างเปรียบเขาเป็นเช่น มรณสักขี(martyr) ที่ถูก
ทรราชสังหาร
 
รูปถ่ายซาปาตา ในปี 1914 โพสท์โดยหลานของตากล้อง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 09:26

           ตราบจนปัจจุบันผ่านไปร่วมร้อยปี ซาปาตายังคงเป็นหนึ่งในวีรบุรุษแห่งชาติที่มีผู้คน
เคารพยกย่องสูงสุด   


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 09:33

          Lives of great men all remind us
We can make our lives sublime.
And departing leave behind us
Footprints on the sand of time.

                     Henry Wordsworth Longfellow

        ประวัติวีรบุรุษไซร้  เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์            เลิศได้
และยามจะบรรลัย           ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้     แทบพื้นทรายสมัย

                        ล้นเกล้ารัชกาลที่หก

                                 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง