เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: jilkung ที่ 27 มิ.ย. 14, 21:56



กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 27 มิ.ย. 14, 21:56
ประกาศ

เรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


คณะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร

ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐

และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทรโยธิน
ปรีดี พนมยงค์
โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒ ว่า ฐานันดรศักดิ์ไม่ก่อเอกสิทธิ์อย่างใด บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย อันฐานันดรศักดิ์นี้ แต่เดิมได้มีระเบียบแบ่งเป็นยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง ฉะเพาะยศและตำแหน่งได้มีการแก้ไขดัดแปลงให้เข้ากับรูปของการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว แต่บรรดาศักดิ์อันเป็นฐานันดรศักดิ์อย่างหนึ่งนั้นยังมิได้มีการแก้ไข การมีบรรดาศักดิ์หรือไม่นั้นมิได้เป็นข้อที่ทำให้บุคคลได้รับผลปฏิบัติในทางกฎหมายต่างกัน ผู้มีบรรดาศักดิ์หรือไม่มีย่อมเสมอกันในกฎหมาย และในเวลานี้ ได้มีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ ทั้งที่อยู่ในราชการและนอกราชการ ตั้งแต่ผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสูงลงมาจนถึงผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นผู้น้อย ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังคงมีผู้มีบรรดาศักดิ์บางคนยังดำคงอยู่ในบรรดาศักดิ์ ยังมิได้ขอคืน จึงดูเป็นการลักลั่นไม่เป็นระเบียบ ทั้งยังจะทำให้เข้าใจผิดไปว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์นั้นจะมีสิทธิพิเศษดีกว่าผู้อื่นด้วย เหตุนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วนั้นเสีย เพื่อแก้ความเข้าใจผิดอันอาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวแล้ว และทั้งจะเป็นการดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปโดยครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องฐานันดรศักดิ์อีกด้วย

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ อันมีราชทินนามเป็นเจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน เป็นต้น ซึ่งได้พระราชทานให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันประกาศนี้ เสียสิ้นทุกคน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

แต่ถ้าผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้ใดประสงค์จะคงอยู่ในบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานด้วยเหตุผลฉะเพาะตัวผู้นั้น ก็ให้ชี้แจงขอรับพระราชทานพระมหากรุณาขึ้นมา เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควร จะได้อนุญาตให้ผู้นั้นคงอยู่ในบรรดาศักดิ์ต่อไป

อนึ่ง ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล เพื่อเป็นอนุสสรณ์แห่งความดีงามในราชการจนได้รับพระราชทานราชทินนามนั้น และเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ตนหรือครอบครัวของตน ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นได้ ให้ผู้นั้นติดต่อกับกับกระทรวงมหาดไทย จัดการเสียให้ถูกต้อง

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ เป็นปีที่ ๙ ในรัชชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจอมพลป. พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี


ตามประกาศดังกล่าว ผมมีข้อสงสัยว่า
1.ในปัจจุบัน ข้าราชการทหาร ตำรวจ ยังมียศ อยู่เช่นพันเอก พลเอก พลตำรวจเอก เเล้วทำไมข้าราชการพลเรือนถึงไม่มียศเหมือนกันบ้างครับเช่นอำมาตย์เอก มหาอำมาตย์เอก
2.การยกเลิกดังกล่าวนั้นมีผู้ออกมาทักท้วงบ้างหรือไม่ครับ


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 มิ.ย. 14, 19:20
ทหารต้องมียศตามหลักสากล ส่วนข้าราชการถูกยกเลิกยศจะไปกล้าหืออะไรครับ เดี๋ยวถูกยัดข้อหาว่าเป็นกากเดนศักดินาจะลำบากเปล่าๆ


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มิ.ย. 14, 10:56
ยศของข้าราชการพลเรือนเริ่ม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) ในรัชกาลที่ ๖ โดยมีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบถานันดรข้าราชการฝ่ายพลเรือน ร.ศ. ๑๓๐  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/A/124.PDF) โดยมีเหตุผลดังนี้


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มิ.ย. 14, 11:10
แบ่งยศเป็น ๑๐ ลำดับขั้น


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มิ.ย. 14, 11:18
ยศของข้าราชการดำรงอยู่เป็นเวลา ๓๑ ปี จึงถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ในรัชกาลที่ ๘


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 30 มิ.ย. 14, 19:04
ที่ยกเลิก เเล้วกล่าวว่ามีการเเบ่งเป็นชั้นต่างๆกันไว้เเล้ว ที่ว่าชั้นๆคืออย่างไรหรอครับ


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 มิ.ย. 14, 19:21
ชั้นๆ ที่ว่าคือ ชั้นพิเศษ  ชั้นเอก ชั้นโท  ชั้นตรี และชั้นจัตวา  ซึ่งต่อมาแปลงเป็นระบบ ซี แบ่งซอยเป็น ซี ๑๑ - ๑
โดย ชั้นพิเศษ เทียบ ซึ ๗ - ๑๑
      ชั้นเอก   เทียบ ซี ๕ - ๖
      ชั้นโท    เทียบ  ซี ๓ - ๔
      ชั้นตรี    เทียบ  ซี ๒
      ชั้นจัตวา เทียบ   ซี ๑


กระทู้: การยกเลิกยศเเละบรรดาศักดิ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 10:28
การแบ่งเป็นชั้น ๆ นี้ บัญญัติไว้เป็นครั้งแรกใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๙ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/A/937.PDF)