เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 35405 มดอยากรู้ สำรวจกรุภาพเก่า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 22:16


.
พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา (ซ้าย) ผู้อาภัพ
พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี (ขวา)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 22:20


.
คนนี้ไว้ท้ายสุด เธอสวมรองเท้า บ่งบอกศักดิศรีอันสูง
รูปนี้ราว 2410 อาจจะเก่ากว่าได้ก็เพียง 2-3 ปี
นึกไม่ออกว่าจะมีนางในคนใด มีบุคคลิกภาพอย่างนี้

โดยไม่มีเอกสารใดเอ่ยถึง  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 10:32

ในรูป ค.ห. 57
พยายามถอดรหัสออกมาว่า น่าจะเป็นระดับคุณหลวงและคุณนาย  อย่างมาก
หรือไม่ก็คหบดี  แต่ไม่ถึงกับเป็นเจ้านายค่ะ
สังเกตว่าไม่สวมรองเท้ากันทั้งหญิงชาย   เครื่องประดับสร้อยปะวะหล่ำกำไลก็มองไม่เห็น
แต่ผู้ชายแต่งกายเรียบร้อย  เสื้อผ้าแบบนี้น่าจะเป็นขุนนางมากกว่าคนสามัญทั่วไป  คุณนายยังสาวผู้ภรรยาก็แต่งตัวเรียบร้อยเป็นงานเป็นการเช่นกัน
เป็นคนทันสมัย จึงกล้ามาถ่ายรูป  ผู้หลักผู้ใหญ่เขาไม่นิยม
ที่แน่ใจอีกอย่างเพราะเห็นลูกชายมายืนอยู่กับแม่ ในสติวดิโอโอ่อ่าของมิศฟะรันซิศ จิต
มาถ่ายรูปซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก    ไอ้หนูมาในชุดวันเกิด   แม่ไม่ยักจับแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งผ้า
ยังงี้ไม่ใช่คุณชายแน่นอน    และเจ้านายองค์เล็กๆท่านก็มีฉลองพระองค์กันทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 10:56

ส่วนรูปในค.ห. ๕๘
ภาพซ้าย  น่าจะเป็นย่าของย่าของอีเรียม ขวัญใจไอ้ขวัญแห่งแผลเก่า
แต่ตอนนั้นเธอคงอาศัยอยู่ไม่ไกลปากคลองตลาด  ใกล้สติวดิโอของมิศฟะรันซิศจิต  ถึงได้รับคำเชิญมาเป็นนางแบบ
หน้าตาคมคายทีเดียว  สาวชาวบ้านคนนี้  หุ่นก็ดี

บอกอะไรไม่ได้มากไปกว่าใช้วิชาเดา ว่าเธอน่าจะมีลูกแล้ว    หญิงสยามเมื่อออกเรือน มีลูกมีเต้า   แม้อายุแค่สิบแปดสิบเก้า ก็ไม่กระดากที่จะเปลือยอก
นอกจากนี้เธอถอดกำไลเท้าออกแล้วด้วย  ถ้ายังสาว ไม่ได้ออกเรือนก็ยังสวมอยู่  ธรรมเนียมนี้ชาวบ้านทำกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ ก็ยังมีบันทึกไว้

ยังสงสัยอีกอย่างค่ะว่าสาวทางภาพซ้าย เอาอะไรคล้องบ่าซ้ายลงมาถึงสะเอวขวา   ลองขยายภาพดู
คล้ายสร้อยตัวอะไรสักอย่าง หรือไม่ก็แถบผ้าผืนเล็กมาก  เป็นแฟชั่นหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 11:03

 หญิงสาวคนขวามือจากรูปคู่ในความเห็นที่ 58 สวมเอี๊ยมแบบจีนใช่ไหมคะอาจารย์ คุณพิพัฒน์?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 11:12

 ภาพในค.ห. ๖๒
เดาว่าเป็นนางในผู้มีตระกูลสูง  สังเกตจากผ้าโจงเป็นผ้าชั้นดี  จีบเป็นรอยเรียบกริบเชียว
เช่นเดียวกับรอยจีบของสไบที่อัดอยู่ตัว   ตามแฟชั่นสาวชาววัง  แหวนที่สวมทั้งมือซ้ายขวาก็วงเป้งๆ  มีสร้อยตัว และเครื่องยศบนโต๊ะก็ท่วงทีไม่เบา
สวมรองเท้าอีกด้วย
มือขวากับมือซ้ายเล็บยาวไม่เท่ากัน   มือขวาคงต้องหยิบจับทำอะไรต่อมิอะไร   แต่มือซ้ายไม่ค่อยได้ใช้จึงไว้เล็บเสียยาวเฟื้อย
แบบนี้ต้องมีบ่าวไพร่มาก   ไม่ต้องหุงข้าวโขลกน้ำพริกเอง

ขอให้สังเกตแขนที่อ่อนหยัด   เธอต้องถูกแม่หรือไม่ก็แม่นม ดัดแขนมาตั้งแต่เล็ก
เพื่อให้เวลารำละคร หรือนั่งเท้าแขนแล้วโก่งอ่อนช้อย  ดูสวยงาม ไม่ตรงทื่ออย่างแขนสาวปัจจุบัน
แต่เดี๋ยวนี้ใครแขนโก่งแบบนี้อาจถูกหมอสงสัยว่ากระดูกบิดเบี้ยว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 12:52

 .

























ตอบคุณ B ก่อนนะครับ เพราะตอบง่าย
น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
ดูรูปขยาย  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:05

 .






ตอบอาจารย์เทา 58 คิดว่าเป็นสร้อยครับ เธอกันไรหมดจด รูปร่างก็งามสมเป็นนางใน หรืออย่างน้อยก็นางละคอนตัวดัง

เสียดายที่รูปนี้ ได้มาจากปกหนังสือที่สนพ. อ็อกสเฟิร์ด พิมพ์เรื่องของนางแอนนา บอกที่มาว่าได้จากห้องสมุดคอร์แนล ใครมีช่องทางลองติดต่อขอต้นฉบับมาวินิจฉัยกัน เขาคงยินดี เพราะเขาก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับไทยคดีมากนัก

ฮิฮิ.....แซวศาสตราจารย์วัยอาจของคุณนิลฯ เสียหน่อย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:21

 นางใน ไม่ท็อปเลสให้ช่างชักเงารูป ซึ่งเป็นเพศชายถ่ายรูปนะคะ  ทำไม่ได้
ถ้าเป็นนางละคร พอไหว  แต่นางละครส่วนใหญ่ก็อีหนูของท่านเจ้าคุณเจ้าของโรงละครทั้งนั้น   ท่านผู้ชายจะยอมเร้อ?

เคยอ่านพบที่ไหนสักแห่งว่า  ในยุคต้นๆที่มีการถ่ายรูปหญิงสาวชาวบ้านสามัญชน  
ผู้หญิงที่ยอมให้ถ่ายรูปคือโสเภณี  ว่าจ้างให้ถึงยอมถ่าย  คนทั่วไปไม่นิยม  กลัวอายุสั้น

คุณพิพัฒน์จะระเบิดเปรี้ยงออกมาว่ายังไงคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:38


.

เรื่องไม่สวมรองเท้า มีแง่มุมดังนี้

1 ปกติ คนไทยไม่ค่อยใส่รองเท้า นี่ผมสังเกตจากรูปที่เคยเห็นนะครับ อย่างรูปบนนี่ กระบวนราบใหญ่ ไม่มีใครใส่เลยครับ ในรูปโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ก็เปลีอยเท้าหมด
2 สมมติว่าใส่ เวลาเข้าฉากถ่ายรูป ก็มักจะถอด เพราะต้องถอดตั้งแต่เข้าเรือนแพสตูดิโอของฟะรันซิศแกแล้วละครับ ขืนใครย่ำเข้าไปทั้งรองเท้าเห็นจะมีเรื่องมากกว่าการชักรูปเป็นแน่
3 แม้แต่เจ้านายชั้นสูง เวลาเรียกนายจิตไปชักรูปที่วัง ท่านก็ไม่ค่อยใส่รองเท้าเหมือนกัน

ผมคิดว่าบางกอกสมัยนั้น ตามวังตามบ้าน และท้องสนาม คงสะอาดเอี่ยมไม่มีสิ่งตำเท้าและเปรอะเปื้อน เว้นแต่ตอนฝนตกเพราะเราต้องทำบ้านเมืองไว้รอรับพระสงฆ์องค์เจ้า ท่านบิณฑบาตรตีนเปล่าทั้งนั้น

ส่วนที่ฝรั่งมาด่าว่าบ้านเมืองเราสกปรกนี่
ต้องโทษตัวมันเอง
สันดานคอเคซอย ไปบ้านเมืองใหน เป็นต้องมุดเข้ารูโสโครกโสกกะโดกตามความเคยชิน ไม่ซ่อง ก็บ่อน ไม่เคยขึ้นที่สูง
ทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย ตั้งแต่สมัยอยุธยา มาถึงยุคพัฒน์พงศ์ ไม่เคยเปลี่ยน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:41


.
คราวนี้เรื่องเข็มขัด ซ้ายเป็นของพระองค์ยอด ขวาคือสามีของสาวมาดมั่น
เหมือนกันยังกับยืมมาใส่ ผมเลยคิดว่าหมอนี่ น่าจะเป็นระดับสูง แต่ที่ลูกแกแก้ผ้าโทงๆ ชักรูป นับว่าแปลกประหลาดจนคิดไม่ออกเชียวครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:45


.
กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ฉายตอนจะออกงานคราวหว้ากอ งานนี้เชิญแขกต่างประเทศหลายคณะ จึงมีการถ่ายรูปกันขนานใหญ่
สมัยนั้นเขาแจกรูปกันแทนนามบัตร หรือแนบไปด้วยกัน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:56

 ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องสำเภา...ในความเห็น 44
ผมเดาว่าเครื่องขาวคือเครื่องกระเบื้อง
เครื่องเหลืองคือเครื่องทองเหลีอง
ซึ่งจะรวมพวกทองรูปปะพรรณแบบที่เราเรียกว่าทองเชิงช้าเข้าไว้ด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทองหยองเครื่องประดับมีใช้กันเกลื่อนกล่น จนถึงพระองค์ต้องทรงออกประกาศตักเตือนชาวบ้านอย่าแต่งองค์ทรงเครื่องเด็กให้มากนัก จะล่อตาผู้ร้าย

เคยอ่านเจอเรื่องเล่าว่า เด็กกลุ่มหนึ่งเดินเล่นในตลาดสมัยร. 5 โจรมาตีสนิท พาไปฆ่าชิงสร้อยทีเดียว

ส่วนเครื่องขาว ถ้าเป็นเครื่องกระเบื้องจริง ก็เป็นข้อมูลในยุครัชกาลที่ 4 มากกว่า 3
สมัยร. 3 นั้น เครื่องกระเบื้องยังเป็นของดีมีราคา ใช้กันแต่ในหมู่ชนชั้นสูง ถึงสมัยร. 4 มีพ่อค้าหัวใส สั่งเข้าเป็นสินค้ายอดนิยม
เพราะชาวบ้านร้านตลาดต่างมีเงินจับจ่ายเต็มมือ ด้วยการค้ากลายเป็นตลาดเสรี เงินสดเคลื่อนตัวเข้า-ออก จากกระเป๋าชาวบ้านโดยตรง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 14:32

 เรื่องจ้างอีตัวมาถ่ายรูปนี่มีจริงครับ แต่เป็นรุ่นรัชกาลที่ 5 ตอนปลายเข้ารัชกาลที่ 6 เมื่อการถ่ายรูปหรือรูปถ่ายกลายเป็นสินค้าในตัวมันเอง

สมัยนายจิต แม้จะโอ่ว่ามีรูปไว้ให้เลือกซื้อหามากมาย ก็เป็นรูปจากสองแหล่ง คือรูปที่ทรงโปรดให้ชัก เพื่อเก็บเป็นหลักเป็นฐานแก่บ้านเมือง แล้วทรงพระกรุณาให้เผยแพร่ นั่นคือแหล่งใหญ่

แหล่งที่สอง คือรูปที่รับจ้างแล้วเจ้าของทิ้งกระจกไว้ เพราะเวลาจ้างถ่ายรูป เขาคิดค่าบริการเฉพาะรูปอัดบนแผ่นกระดาษ กระจกเป็นของช่างภาพ เพราะสมัยนั้นกระจกแพงมาก ถ้าถ่ายเสีย เขาล้างน้ำยาออก เอากระจกมาใช้ใหม่
มีตัวอย่างว่าหมอบลัดเล ทราบข่าวว่าเจ้าเมืองเพชรบุรี (ท่านท้วม) ฉลาดรอบคอบ เห็นประโยชน์ของกล้อง เลยพานายจิตไปที่ตระกูล จับบรรพบุรุษทั้งหมดที่มีตัวอยู่ในปีนั้น ชักรูปไว้หมด บลัดเลออดว่า อยากได้รูปพวกนี้มาชมเล่นบ้าง(ตามประสาสื่อ ซึ่งอาจเพี้ยนไปเป็นเสือ...ได้ง่ายๆ)
ไปถามนายจิต ได้รับคำตอบว่า เจ้าเมืองเก็บรูปไปหมด ไม่เหลือไว้ที่ร้านเลยแม้แต่กระจก

เรื่องจ้างอีตัวนี่ มาจากฝรั่ง(อีกแล้ว)
จนถึง 2425 การถ่ายรูปยังรับผิดชอบกันโดยช่างไทย ซึ่งก็คือนายจิตและบุตร แต่ก่อนหน้านั้นนิดหน่อย พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จปัตตาเวีย ทรงชวนฝรั่งช่างภาพคนหนึ่งเข้ามา ผมเดาว่า คงเห็นว่าหมอนี่กิจการใหญ่โต เครื่องมือทันสมัยกว่าท่านจิตมากมายหลายขุม เพราะอีตาแลมเบิร์ตนี่ มีสาขาถึงสองแห่ง อีกแห่งก็สิงค์โปร์ จึงไม่ต้อสงสัยในศักยภาพ หมอนี่เคยเข้ามาชิมลางครั้งหนึ่งแล้วในรัชกาลที่ 4 เพราะเคยเห็นยี่ห้อแกประทับในรูปสมัยร. 4 (แต่แกก็อาจจะเอารูปเก่ามาพิมพ์ใหม่บนกระดาษของแกก็ได้)

คราวฉลองกรุง มีนักเผชิญโชคเข้ามาบางกอกหลายหน่อ พวกนี้หิวรูปและเรื่อง คงสืบสันดานแอนนากันมา และว่าไปแล้วพวกตาน้ำเข้า คงมีเกลื่อนบางกอกมานานแล้วละครับ หาไม่โรงแรมโอเรียนเตลจะต้อนรับใคร
พวกนี้มีรสนิยมที่เรียกว่า grotesque ซึ่งจะเป็นเครื่องทำเงินมหาศาล ถ้านำกลับไปยุโรบและโลกใหม่ อาจารย์คงจำรูปลูกช้างกินนมคนได้ ฝรั่งละชอบกันจริงๆ ทุกวันนี้ยังบอกขายกันในอินเตอร์เนต

หนังสือเล่มหนึ่งที่บรรจุรูปพวกนี้ไว้หลายชิ้น คือ ทะเวนตี้ เซนจุรี่ อิมเปรสชั่น ออฟ สยาม แต่ไม่มากเท่าที่พวกพ่อค้าเอารูปเหล่านี้ทำบัตรรูปแถมในซองยากาแร็ต ซึ่งเป็นช่วงปลาย ร. 5 แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 14:40

 รูปที่ 71
ช้างบนหัวเข็มขัด  เครื่องหมายเดียวกับธงช้างที่ไทยเคยมีก่อนธงไตรรงค์หรือเปล่าคะ?

ริ้วบนสายคาด จำนวนริ้วไม่เท่ากัน  ลักษณะก็ต่างกันด้วย
สามีของสาวมาดมั่นเป็นขุนนางหนุ่มในวังหน้าหรือเปล่า  ประเภทมหาดเล็กข้าราชบริพารใกล้ชิด

หรือว่าเป็นเข็มขัดที่ขุนนางสมัยนั้นมีกันได้ทั่วไป  เป็นส่วนประกอบเกียรติยศยามสวมชุดขุนนาง   อาจจะแตกต่างในรายละเอียด
ตามยศฐาบรรดาศักดิ์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง