เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 10:49



กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 10:49
         จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)

หน้าต่างโลกบานนี้เปิดออกพาไปไกลหลุดโลก, ไกลโพ้นจนพ้นทางช้างเผือก
สู่แดนสุขาวดี

               ส่งปีเก่า สู่ปีใหม่ ด้วยเรื่องราวจากเน็ทซึ่งประทับใจที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา และ
คงจะทรงจำในปีต่อไป

คลิปต้นน้ำจาก buzzfeed.com

           https://www.youtube.com/watch?v=gIbfYsQfNWs (https://www.youtube.com/watch?v=gIbfYsQfNWs)

(คุณเพ็ญช่วยแปะคลิปด้วย, ขอบคุณหนอ :))


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ธ.ค. 14, 10:50
ความลับของการโพสต์คลิปยูทูบอยู่ที่ว่า คุณศิลาจะต้องถอดอักษร "s" ออกจาก "https" เสียก่อน  ;D

http://www.youtube.com/watch?v=gIbfYsQfNWs#ws (http://www.youtube.com/watch?v=gIbfYsQfNWs#ws)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 10:56
รวดเร็วทันใจจริง, ขอบคุณอีกครั้งหนอ

        ภาพและเรื่องจาก 26 Pictures Will Make You Re-Evaluate Your Entire Existence

The universe, man… THE UNIVERSE.

          http://www.buzzfeed.com/daves4/the-universe-is-scary#.grm3aY2 (http://www.buzzfeed.com/daves4/the-universe-is-scary#.grm3aY2)

credit:


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:02
1. This is the Earth! This is where you live.

          นี่แหละโลก! โลกที่เราอาศัยอยู่

(ขอเปลี่ยนจาก คุณเป็นเรา - ผองเพื่อนร่วมโลกใบเดียวกัน)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:07
2. And this is where you live in your neighborhood, the solar system.

        และนี่คือที่ที่เราอยู่ร่วมกับผองเพื่อนอวกาศ, ระบบสุริยะ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:09
3. Here’s the distance, to scale, between the Earth and the moon.
Doesn’t look too far, does it?

          ย่อสัดส่วนลง, ระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดูแล้วก็ไม่ห่างกันสักเท่าไร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:15
4. THINK AGAIN. Inside that distance you can fit every planet in our solar
system, nice and neatly.
 
         คิดใหม่ ระยะห่างเท่านี้ แต่ สามารถจุดาวบริวารระบบสุริยะทั้งมวลได้อย่างเป็นระเบียบ
เรียบร้อยประณีตลงตัว

แล้วยังเหลือเนื้อที่อีกราว 8,000 กม. หรือ 5,000 ไมล์(จากระยะทางระหว่างโลก-ดวงจันทร์
384,400 กม. หรือ 238,555 ไมล์)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:18
5. But let’s talk about planets. That little green smudge is North America
on Jupiter.

        ไปดูดาวเคราะห์กัน แต้มสีเขียวที่เห็นนั้นคือทวีปอเมริกาเหนือเมื่อนำไปแปะบนดาวพฤหัสบดี


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:20
6. And here’s the size of Earth (well, six Earths) compared with Saturn:

          และนี่คือโลกของเรา(หกใบ) เมื่อเทียบกับดาวเสาร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:22
7. And just for good measure, here’s what Saturn’s rings would look like
if they were around Earth:

         และเพื่อให้เทียบเคียงกันชัดขึ้น นี่คือภาพจินตนาการเมื่อวงแหวนดาวเสาร์โอบล้อมโลกเรา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:26
8. This right here is a comet. We just landed a probe on one of those bad boys.
Here’s what one looks like compared with Los Angeles

          ตระหง่านง้ำเบื้องหน้านี้คือ หนึ่งในดาวหางที่ย่างกรายเฉียดใกล้โลกเรา และเราเพิ่งส่งยาน
ไปลงสำรวจ
           ขนาดของมันเมื่อเปรียบเทียบกับนคร Los Angeles


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:28
9. But that’s nothing compared to our sun. Just remember:

             แต่ขนาดเท่านั้นเปรียบได้ดั่งเศษธุลีเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา

เราอยู่ตรงนี้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 11:30
10. Here’s you from the moon

            โลกของเรา เมื่อมองจากดวงจันทร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:07
11. Here’s you from Mars:

            จากดาวอังคาร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:09
12. Here’s you from just behind Saturn’s rings

            จากหลังวงแหวนดาวเสาร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:13
13. And here’s you from just beyond Neptune, 4 billion miles away.

          จากแถบปริมณฑลนอกชายขอบเขตดาวเน็ปจูน ที่สี่พันล้านไมล์จากโลกเรา

หยิบยกถ้อยความของ Carl Sagan มาอ้างถึงว่า

               ทุกคน และ ทุกสิ่ง ทั้งหลายที่เราเคยรู้อยู่บนจุดจิ๋วกระจิดริดกระจ้อยร่อยนั้น

To paraphrase Carl Sagan,

               everyone and everything you have ever known exists on that little speck.


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:19
       Carl Sagan(1934 - 1996) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศ
ของดาวเคราะห์, การศึกษาการเกิดของสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการบนโลก, ความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมี
ชีวิตอยู่บนดาวดวงอื่น
       นอกจากนี้เขายังมีผลงานสร้างชื่อจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ที่เล่าเรื่องความพยายาม
ของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก ที่ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นหนังชื่อเดียวกัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:21
14. Let’s step back a bit. Here’s the size of Earth compared with the size
of our sun. Terrifying, right?

           ขยับกลับใกล้เข้ามา ขนาดของโลกเทียบกับสุริยัน ช่างน่าพรั่นสะพรึง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:24
15. And here’s that same sun from the surface of Mars:

           สุริยันดวงเดียวกันนี้ที่มองเห็นจากดาวอังคาร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:27
16. But that’s nothing. Again, as Carl once mused, there are more stars in
space than there are grains of sand on every beach on Earth

         แต่แล้ว, สุริยันนั่นก็เปรียบได้ดั่งเศษธุลี เมื่อรำลึกถึงรำพึงของ Carl ที่ว่า

         บนท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาลมีดวงดาวตระการมากกว่าจำนวนเม็ดทรายบนชายหาด
ทุกแห่งในโลกรวมกัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:32
17. Which means that there are ones much, much bigger than little wimpy sun.
Just look at how tiny and insignificant our sun is:

         แปลความหมายได้ว่า ยังมีดาวดวงใหญ่มหึมามโหฬารกว่าดวงอาทิตย์จิ๊ดจิ๋วนี้อีกมากมาย
         จนอาทิตย์เปรียบคล้ายดั่งเถ้าธุลีเมื่อเทียบขนาดกับดาว VY Canis Majoris


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:35
           ดาวดวงใหญ่ที่สุด(จัดอันดับด้วยความยาวรัศมี) เท่าที่มีการสำรวจพบ
           ด้วยขนาด  1,420 solar radii (อาจคลาดเคลื่อนได้ 120)

1 solar rudius คือระยะรัศมีดวงอาทิตย์ = 695,500 kilometres หรือ 432,450 miles
 
           หากเคลื่อนดาวดวงนี้เข้ามาแทนที่ดวงอาทิตย์ของเรา เราก็จะได้พบว่าดาวดวงนี้มีขนาดใหญ่
จนกินเนื้อที่เกินตำแหน่งดาวพฤหัสบดี


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:39
18. Here’s another look. The biggest star, VY Canis Majoris, is 1,000,000,000
times bigger than our sun:
       
         ดาวดวงนี้ใหญ่ที่สุด(เท่าที่ได้มีการค้นพบ) ด้วยขนาดหนึ่งพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 ธ.ค. 14, 14:44
        ดวงอาทิตย์จิ๊ดจิ๋ว
        ดาว Beta Caraday ใหญ่กว่าห้าล้านเท่าของดวงอาทิตย์
        Betelgeuse ใหญ่เป็น 300 เท่าของ Beta Caraday และ
        VY Canis Majoris ดาวใหญ่ยักษ์เท่าที่ได้มีการค้นพบ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.7 พันล้านไมล์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ธ.ค. 14, 15:35
คลิ๊ปคลาสสิก

Powers of Ten™ (1977) (http://www.youtube.com/watch?v=0fKBhvDjuy0#)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:41
ขอบคุณ classic clip สิบยกกำลัง ครับ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:44
19. But none of those compares to the size of a galaxy. In fact, if you shrank
the sun down to the size of a white blood cell and shrunk the Milky Way galaxy
down using the same scale, the Milky Way would be the size of the United
States:

          แต่ ดาวยักษ์เหล่านี้ก็ไม่มีทางเทียบได้เลยกับขนาดของดาราจักร(galaxy)
หากเราย่อดวงอาทิตย์ให้เล็กลงเหลือขนาดเท่าเม็ดเลือดขาว และใช้มาตราเดียวกันนี้
ย่อทางช้างเผือกลงก็จะใหญ่ได้ขนาดเท่ากับสหรัฐอเมริกา

ขนาดของเม็ดเลือดขาว(ซึ่งมีอยู่หลายชนิด) เฉลี่ยอยู่ที่ราวเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5-8 micron
(micron = 1/ล้าน ม. หรือ 0.001 มม.)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:47
20. That’s because the Milky Way galaxy is huge. This is where you live inside
there:
   
         ทางช้างเผือกนั้นแสนยิ่งใหญ่ไพศาล โลกของเราอยู่ในทางช้างเผือกตรงนั้น


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:49
21. But this is all you ever see:

          แต่ดวงดาวดาษดาบนฟากฟ้าที่เรามองเห็นเป็นแค่เพียงเศษส่วนนี้เท่านั้น


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:51
22. But even our galaxy is a little runt compared with some others.
Here’s the Milky Way compared to IC 1011, 350 million light years
away from Earth

          ใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้แล้ว แต่เมื่อเทียบกับดาราจักรอื่นๆ ดาราจักรของเราก็ดุจ
ดั่งเจ้าจ้อยตัวน้อยนิด
          ในรูปเปรียบเทียบทางช้างเผือกกับดาราจักร  IC 1011 ที่อยู่ไกลจากโลกไป
350 ล้านปีแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:54
23. But let’s think bigger. In JUST this picture taken by the Hubble telescope,
there are thousands and thousands of galaxies, each containing millions of
stars, each with their own planets.

           คิดใหญ่ขึ้นไปอีก จากรูปถ่ายด้วยกล้อง Hubble(telescope) ปรากฏภาพดาราจักร
นับหลายหมื่น แต่ละดาราจักรจุดาวหลายล้านดวง แต่ละดวงมีดาวเคราะห์บริวารมากมาย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:56
24. Here’s one of the galaxies pictured, UDF 423. This galaxy is 10 BILLION
light years away. When you look at this picture, you are looking billions
of years into the past.

           นี่คือรูปถ่ายของดาราจักร UDF 423 ที่อยู่ไกลออกไปหนึ่งหมื่นล้านปีแสง
เมื่อเรามองภาพนี้ เรากำลังมองอดีตเมื่อหลายพันล้านปีก่อน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 10:00
25. And just keep this in mind — that’s a picture of a very small, small part
of the universe. It’s just an insignificant fraction of the night sky.


           และ เก็บภาพนี้ไว้เตือนใจว่า นี่คือภาพของเศษเสี้ยวน้อยนิดของจักรวาล เป็นแค่เศษเสี้ยว
ที่ไม่มีนัยสำคัญแต่อย่างใดในฟ้างามยามราตรี


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ธ.ค. 14, 10:05
26. And, you know, it’s pretty safe to assume that there are some black holes
out there. Here’s the size of a black hole compared with Earth’s orbit, just
to terrify you:
 
           และ เราสามารถสันนิษฐานได้อย่างค่อนข้างน่าเชื่อว่าเป็นจริงได้ว่า เวิ้งเวหาเบื้องบนนั้น
มีหลุมดำอยู่หลายหลุม และนี่คือขนาดของหลุมดำเมื่อเทียบกับวงโคจรของโลกเรา, มหึมามืดมน
อนธการ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:18
        ยามเมื่อเรารู้สึกเซ็ง, เศร้า หรือผิดหวัง  พึงระลึกไว้ว่า

นี่คือบ้านของเรา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:21
เมื่อเราซูมออกจากบ้านไปสู่ระบบสุริยะของเราก็จะเห็นเป็นเช่นนี้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:23
ซูมออกไปอีก ในท่ามกลางเพื่อนหมู่ดาวดาษดาสุริยา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:25
ไกลออกไป ในดาราจักรทางช้างเผือก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:29
ไปเรื่อยๆ สู่กลุ่มดาราจักรละแวกเดียวกัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:30
ไกลออกไปอีกนิด ถึงมหาดาราจักร Virgo


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:37
ใกล้แล้ว กลุ่มมหาดาราจักรละแวกเดียวกัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 09:40
และที่นี่ คือสรรพสิ่งในจักรวาลที่เราสามารถสังเกตการณ์ได้ และตำแหน่งแห่งหนของเรา
ในเวิ้งว้างเวหาหาวนี้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ธ.ค. 14, 10:05
16. But that’s nothing. Again, as Carl once mused, there are more stars in
space than there are grains of sand on every beach on Earth

         แต่แล้ว, สุริยันนั่นก็เปรียบได้ดั่งเศษธุลี เมื่อรำลึกถึงรำพึงของ Carl ที่ว่า

         บนท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาลมีดวงดาวตระการมากกว่าจำนวนเม็ดทรายบนชายหาด
ทุกแห่งในโลกรวมกัน

"The total number of stars in the Universe is larger than all the grains of sand on all the beaches of the planet Earth."

Carl Sagan's Cosmos episode 8, "Journeys in Space and Time."


http://youtube.com/watch?v=sJ_tZr0D2pk#ws (http://youtube.com/watch?v=sJ_tZr0D2pk#ws)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 14, 10:21
" โฮราชิโอ   สรวงสวรรค์และพื้นพิภพนั้น  มีสรรพสิ่งเหลือคณานับ   เกินกว่าที่วิชาความรู้ของเจ้าจะคำนึงถึงได้"

จาก "แฮมเล็ต" ของ วิลเลียม เชคสเปียร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 ธ.ค. 14, 11:04
ย้อนอดีตไปไกล

จากเว็บวิชาการปี 2001 จักรวาลในพุทธศาสนา

          ที่ http://www.vcharkarn.com/varticle/258 (http://www.vcharkarn.com/varticle/258)

ท้องฟ้าจำลอง Hamburg, Germany


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 15:51
         องค์การ NASA ได้เผยแพร่ภาพถ่ายด้วยกล้อง Hubble Space Telescope ต่อประกอบ
กันขึ้นเป็นภาพของดาราจักรเพื่อนบ้าน(อยู่ใกล้แค่ 2.5 ล้านปีแสง) นั่นคือดาราจักร Andromeda
           
ภาพมุมกว้างมวลดาราดาษดากว่า ร้อยล้านดวงของดาราจักร Andromeda
(หรือมีชื่ออื่นอีกว่า Messier 31, M31,  NGC 224)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 15:53
         ชื่อดาราจักรนั้ตั้งตามบริเวณที่ดาราจักรนี้ปรากฏบนท้องฟ้านั่นคือแถบกลุ่มดาว(constellation of)
Andromeda

ภาพกลุ่มดาว Andromeda และ ดาราจักร M31(Andromeda)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 15:56
         ที่ได้ชื่อจากเทพปกรณัมกรีก, Andromeda คือธิดาของราชา Cepheus และ
ราชินี Cassiopeia ผู้ภาคภูมิใจ(hubris) ในความงามของธิดาตนจนนำภัยมาสู่ หลังจาก
ที่ได้เอ่ยวาจาอวดอ้างว่าธิดานั้นงามเหนือ Nereids ธิดาแห่งเทพท้องสมุทร Nereus
         เทพสมุทร Poseidon จึงลงเทวฑัณฑ์โดยส่ง Cetus อสูรสมุทรมาเข่นฆ่าประชาชน
จนราชา Cepheus จำต้องส่ง Andromeda ให้มาสังเวยอสูร แต่ Perseus ซึ่งผ่านมาพบ
หลังจากสำเร็จภารกิจปลิดศีรษะ Medusa ได้ช่วยชีวิตนางไว้แล้วได้เสกสมรสกัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 15:58
         ภาพจากการต่อประกอบกันจากนาซานี้มีขนาดใหญ่ที่สุดและคมชัดที่สุด จากการเปิดรับแสง
(exposure) 7,398 ครั้ง และจากตำแหน่งแตกต่างกันกว่า 411 แห่งหน
         เปรียบได้กับการถ่ายรูปหาดทรายลงรายละเอียดถึงมวลเม็ดทราย

แบ่งภาพออกเป็นสามส่วนจากซ้ายไปขวา   

ส่วนที่หนึ่ง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 16:00
          ภาพประกอบขึ้นจากจุดภาพบนจอแสดงผล(pixel) จำนวนกว่า 1.5 billion pixels
ซึ่งต้องใช้ HD TV ราว 600 เครื่องเพื่อเป็นจอแสดงภาพ

ส่วนที่สอง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ม.ค. 15, 16:00
และส่วนที่สาม


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 10:30
            ในเดือนสุดท้ายของปีที่ผ่าน องค์การ NASA ได้เผยแพร่ภาพสีสันสดใสวิบวับ
ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส?
            เป็นภาพต่อประกอบจากข้อมูลที่ได้จากกล้องของนาซา 3 ตัว แสดงปรากฏการณ์
ดาราจักรปะทะกัน(Galaxy Collision) เผยให้เห็นแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์เรืองโรจน์ยิ่งยวด
- "ultra-luminous X-ray sources"(ULXs) สุกสกาวพร่างพราวประดับประดาสอง
ดาราจักรรูปเกลียวที่มีนามว่า IC 2163 และ NGC 2207 ณ กลุ่มดาว Canis Major ห่าง
จากโลกของเราไป 130 ล้านปีแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 10:33
          ธรรมชาติที่แท้จริงของ ULXs นี้ ยังไม่เป็นที่รู้กันแน่ชัด นักดาราศาสตร์คิดว่า
อาจเป็น
          ระบบบดาวคู่รังสีเอ็กซ์ (X-ray binary) ซึ่งเป็นระบบดาวคู่ที่ประกอบ
ด้วยสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งดวงเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง(Compact Objects)
เช่น ดาวนิวตรอน(Neutron star เป็นซากที่เหลือจากการยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์
โนวาของดาวฤกษ์มวลมาก) หรือ หลุมดำ ทำให้มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลพอที่จะเร่งให้
สสารจากคู่ดาวมีความเร่งสูงก่อนที่จะตกลงไปยังดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ แล้วถ่ายเท
พลังงานมหาศาลแผ่ออกมาให้เห็นในช่วงความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 10:38
        ทั้งดาราจักร IC 2163 และ NGC 2207 นี้มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
จึงตกเป็นเป้าหมายติดตามสังเกตปรากฏการณ์อันน่าตื่นเต้นของเหล่านักดาราศาสตร์ที่
ได้ตรวจนับจำนวน ULXs ของสองดาราจักรนี้ได้แล้ว 28 แหล่ง และ เป็นบ้านของการเกิด
มหานวดารา - ซูเปอร์โนวา(supernova) 4 ครั้ง(ระหว่างปี 1975-2013)

Supernova in NGC 2207


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 10:44
          ซูเปอร์โนวา เป็นเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมหาศาลที่สุดเท่าที่ได้รู้จักกัน นั่นคือ
การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัย เปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดรัศมี
สว่างวาบชั่วครู่ก่อนที่จะเลือนลางจางลงไปในเวลานานนับสัปดาห์หรือเดือน

          พลังงานที่ปล่อยมานั้นเท่ากับพลังงานของอาทิตย์หนึ่งดวงที่ปลดปล่อยมาทั้งชีวิต
ในขณะที่แรงระเบิดนั้นจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปด้วยความเร็ว
10% ของความเร็วแสง(3,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบ



กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 15:23
         ดังที่ได้กล่าวข้างต้นไว้ว่า ภาพดาราจักรทั้งสองปะทะกันนี้ประกอบกันขึ้นมาจากข้อมูล 3 แหล่ง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 15:23
นั่นคือ จากยานสำรวจอวกาศ 3 ลำ แต่ละลำติดตั้งกล้องเพื่อศึกษาคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน
อย่างละเอียด ได้แก่
 
Chandra X-ray Observatory - แสงรังสีเอ็กซ์ X ray light > สีชมพู


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 15:26
Spitzer Space Telescope - แสงอินฟราเรด infrared light > สีแดง

Hubble Space Telescope - แสง near ultraviolet, visible และ infrared spectra
                                      > สีน้ำเงิน, ขาว, น้ำตาล และ ส้ม


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 15 ม.ค. 15, 15:28
          ยังมียานสำรวจอวกาศตัวพ่ออีกหนึ่งลำ รวมกันเป็นสี่ เรียกว่า Great Observatories
ได้แก่ ยาน Compton Gamma Ray Observatory แต่ได้ถูกปลดร่วงลงมหาสมุทรแปซิฟิค
ไปเมื่อปี 2000 เนื่องจากอุปกรณ์ gyroscope 1 ใน 3 ตัวเกิดขัดข้อง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 09:44
           กล่าวถึง Galaxy Collision การปะทะกันของดาราจักรนี้ เป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อย
ในวิวัฒนาการของดาราจักร ที่จะเกิดการปะทะปฏิสัมพันธ์กันโดยแรงโน้มถ่วง
           ผลพวงของการปะทะนี้ก่อให้เกิดดวงดาวเป็นระลอกๆ ด้วยคลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นเป็น
ตัวการกระแทกเมฆแก๊สและฝุ่นให้กระทบรวมกันเป็นกระจุกดาว(Star Cluster) เกิดเป็นกลุ่ม
ของดาวฤกษ์ที่อยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดจากแรงโน้มถ่วง  
           ทุกๆ ปี ดาราจักรทั้งสองนี้ให้กำเนิดอาทิตย์ใหม่ 24 ดวง ในขณะที่ทางช้างเผือก
ของเราให้กำเนิดอาทิตย์ปีละ 1 -3 ดวง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 09:47
           ดาราจักรเพื่อนบ้าน แอนดรอมิดะ(Andromeda) ซึ่งอยู่ใกล้ดาราจักรของเราที่สุด
(2.5 ล้านปีแสง) นี้ นอกจากจะมีขนาดใกล้เคียงทางช้างเผือกแล้ว นางยังเคลื่อนตรงมุ่งมาสู่
ด้วยความเร็วที่ 300 กม./วินาที


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 09:49
           ประมาณการได้ว่าในอีกไม่กี่(ราว 4) พันล้านปี ดาราจักรทั้งสองก็จะปะทะปฏิสัมพันธ์
รวมกันเป็นดาราจักรรูปวงรีที่มีขนาดใหญ่ยักษ์ขึ้น

กรอบแรกคือภาพปัจจุบัน - กรอบสุดท้ายคือภาพอนาคตไกลโพ้น 7 พันล้านปี


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 09:51
ฟากฟ้าครานางมาเยือน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 09:53
คลิป Milky Way and Andromeda Galaxies Collision

           Milky Way and Andromeda Galaxies Collision Simulated | Video (http://www.youtube.com/watch?v=4disyKG7XtU#ws)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ม.ค. 15, 10:19
           หลังจากการปะทะ, ปะปนรวมกัน(collide, merge) ของสองดาราจักรรูปเกลียว
กลายเป็นดาราจักรรูปรีที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดวงอาทิตย์ของเราถูกโยนไปโคจรรอบดาราจักรใหม่


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 21 ม.ค. 15, 09:29
          จากภาพพยากรณ์ข้างบนขององค์การนาซาบอกว่า ดวงอาทิตย์ยังอยู่รอดปลอดภัย
หลังการปะทะ แต่สำหรับบางคนอาจจะยังกังขาด้วยว่า
          เมื่อมองภาพดาราดารดาษอาจชวนให้คิดว่าดาวใกล้ชิดกัน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว
ดาวนั้นอยู่กันแสนห่างไกล

            ดาวเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่สุดอย่าง Proxima Centauri ก็ยังอยู่ห่างจากระบบสุริยะ
ไปไกลลิบถึง 60 ล้านรัศมีดวงอาทิตย์ ดังนั้นโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะปะทะชนกับดวงดาวของ
ดาราจักรแอนดรอมิดะจึงมีได้แบบว่า 1 in a hundred-billion
            ส่วนโอกาสที่ดาวจะเฉียดเข้าใกล้โลกเราจนกระทบต่อวงโคจรของโลกก็เป็นไปได้ในระดับ
แบบว่า 1 ในล้าน
            เพราะระยะห่างระหว่างดาวแสนยาวไกลเช่นนี้ หากจะเกิดเหตุการณ์ดาวสมาชิกของสอง
ดาราจักรชนกันก็คงจะมีแค่ไม่กี่ดวง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 21 ม.ค. 15, 09:34
           แต่แม้ว่าจะรอดเมื่อถึงเวลาปะทะกัน และ แม้ดวงอาทิตย์จะยังไม่แปรไปเป็น
ดาวแดงยักษ์(red giant star) หากทว่าในยามนั้นดวงตะวันก็ได้เข้าสู่ช่วงอายุขัยวัยชรา

           เช่นเดียวกับวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ดวงอื่น มีเกิด แก่ แล้วดับ ดวงอาทิตย์ในวันนี้
อยู่ในช่วงวัยกลางของชีวิต คือ ประมาณ 5,000 ล้านปี คาดว่าดวงอาทิตย์จะมีอายุอยู่ต่อไป
อีกราว 5,000 ล้านปี รวมเป็นอายุขัยยืนยาวราว 10,000 ล้านปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของดาวฤกษ์ทั่วไป
           ณ ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ส่องแสงแผ่พลังงานอยู่ในสภาพสมดุล จากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
ในใจกลางดวงสมดุลกับการยุบตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วง นั่นคือ
           การเผาไหม้และหลอมละลายจากภายในซึ่งประกอบด้วยเชื้อเพลิง Hydrogen และ Helium
มีการปลดปล่่อย ผลิตแสงสว่าง ความร้อน สารกัมมันตรังสีต่างๆ ออกมาจากภายในแกน (Core)
           ขณะเดียวกัน บริเวณผิวด้านนอกของดาวก็ได้สะสมก๊าซเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาผ่านไป
หลายพันล้านปีบรรยากาศภายนอกดาวจึงเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงมหาศาลที่ยังไม่ถูกเผาไหม้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 21 ม.ค. 15, 09:42
          เมื่อเชื้อเพลิง Hydrogen ภายในแกนเหลือน้อยลง ดวงอาทิตย์ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงชีวิตบั้นปลาย
ที่ไม่สมดุล การเผาไหม้เริ่มขยายตัวจากชั้นภายในสู่เชื้อเพลิงก๊าซที่เหลืออยู่ภายนอกรอบๆ ดวง เพื่อ
รักษาดุลยภาพพลังงานของดวงอาทิตย์
           บรรยากาศเกิดสภาพกดดันอุณหภูมิภายนอกมีความร้อนเพิ่มขึ้น ทำปฏิกิริยากับก๊าซที่สะสม
โดยรอบมานาน เกิดระเบิดและแผ่รังสีอย่างมหาศาล ทำให้เกิดการขยายตัวของดาวใหญ่กว่าปกติ
หลายร้อยหรือพันเท่า การลุกไหม้อย่างโชติช่วงดังกล่าว มองเห็นเป็นสีแดงเพลิง ขนาดใหญ่โต
เรียกว่า ดาวยักษ์สีแดง (Red Giant Star)
           ก๊าซและฝุ่นรอบนอกถูกแรงดันแผ่กระจายออกทุกทิศทาง มีลักษณะคล้ายวงแหวนของก๊าซ
เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์(Planetary Nebula)
           ขณะที่ใจกลางดวงอาทิตย์ยุบตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วงที่มีพลังสูงจนมีขนาดเล็กเท่าโลกกลาย
เป็น ดาวแคระขาว (White Dwarf) และสิ้นสุดชีวิตดาวฤกษ์กลายเป็นดาวตายดับไปในที่สุด(Black Dwarf)

แผนภาพชีวิตดวงอาทิตย์ของเรา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ม.ค. 15, 10:23
           ดังนั้นยามเมื่อนางมาเยือน ดวงอาทิตย์ก็จะอยู่ในช่วงเวลาขยายตัวเปล่งแสงแรงกล้า
แผดเผาผิวโลกเรา(ประมาณว่า ดวงอาทิตย์จะสว่างขึ้น 10 % ทุก ๆ 1,000 ล้านปี) น้ำทะเล
จะเหือดแห้ง สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศโลกเปลี่ยนไปไม่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต 
           นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่า เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลกเหลืออยู่อีกประมาณ 1,750 -
3,500 ล้านปี
           บ้างก็ว่าที่ 2,800 ล้านปี โดยเริ่มจากราว 500 ล้านปี พืชบางสายพันธุ์จะสูญพันธุ์ก่อน
ตามมาด้วยสัตว์ที่อาศัยพืชนั้นเป็นอาหาร จากนั้นก็จะพากันล้มตายมากขึ้นๆ ตามอุณหภูมิโลกที่ร้อน
เพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งเมื่อราว 2,800 ล้านปี จะมีเหลือเพียงจุลชีพเท่านั้นที่อยู่ได้ในโลกนี้ และเมื่อ
อุณหภูมิโลกขึ้นสูงเกิน 140 องศาซี ที่เป็นจุดแตกสลายของ DNA สิ่งมีชีวิตสิ่งสุดท้ายก็จะตาย
สิ้นโลก
           ก่อนถึงเวลานั้นมนุษย์ก็ได้พากันโยกย้ายไปยังดาวดวงอื่นแล้ว เพราะโลกโดนแผดเผาจน
อยู่ไม่ได้และต่อไปก็จะถูกกลืนกินด้วยดวงอาทิตย์ที่ขยายตัวเป็นดาวแดงยักษ์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ม.ค. 15, 10:46
           ส่วนนักวิทยาศาสตร์เซเลบ Stephen Hawking (ซึ่งหนังชีวประวัติของเขาเรื่อง
The Theory of Everything จะเข้าฉายในต้นเดือนหน้านี้ ) ให้ความเห็นว่า
           มนุษยชาติจะไม่สามารถอยู่ในโลกใบนี้ได้อีกถึง 1,000 ปี พวกเราต้องท่องไปในอวกาศ
เพื่อแสวงหาดาวเคราะห์ดวงใหม่
           สตีเฟนเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เชื่อมั่นว่า มีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่บนดาวต่างๆ ในจักรวาลนี้
และหากพวกเขามาเยือนโลกเมื่อใด จะเกิดมหันตภัยกับมวลมนุษย์คล้ายกับเมื่อตอนที่โคลัมบัสค้น
พบทวีปอเมริกา
           นักวิทยาศาสตร์บางคนให้เวลาที่เหลือน้อยลงไปอีก ด้วยแนวคิดว่า อีก 300 ปีโลกเรา
จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12 องศา น้ำจะท่วมแผ่นดินราว 40% และทรัพยากรในพื้นดินที่เหลือ
จะถูกใช้ไปหมดสิ้นจนมนุษย์ต้องอพยพออกจากโลกนี้ไปหาที่อยู่ใหม่ในโลกหน้า

เป้าหมายในขณะนี้ที่พอจะสามารถไปถึงได้ - ดาวอังคาร, บ้านใหม่ในระบบสุริยะ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: ทอภู่เท่า ที่ 22 ม.ค. 15, 17:22
อ่านแล้วตัวเล็กลงเล็กลงเท่ากับโมเลกุลของอะไรสักอย่างนึง ครับ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 15, 17:49
อาจจะเล็กลงอีก เท่าอะตอม ค่ะ เมื่ออ่านจบ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ม.ค. 15, 05:45
อาจจะเล็กเสียยิ่งกว่าอะตอม  ;D

http://www.youtube.com/watch?v=o-3I1JGW-Ck#ws (http://www.youtube.com/watch?v=o-3I1JGW-Ck#ws)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 09:45
     และ เล็กลงไปได้อีก, ยิ่งกว่าอะตอม ที่ระดับ Quark ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ครับ

            What are Quarks? | Physics | The Fuse School (http://www.youtube.com/watch?v=nlv06lSAC7c#ws)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 10:13
          เมื่อมีจุดหมายปลายทางแล้ว ก้าวต่อไปคือ การไปให้ถึง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ
          มนุษย์เราจะท่องไปในอวกาศโดยดำรงคงอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก(แรงโน้มถ่วง) เป็นเวลา
ยาวนานได้อย่างไร
          นักบินอวกาศที่กลับมาจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลานานในอวกาศประสบปัญหาอ่อนเพลีย
และอ่อนแรงจนไม่สามารถขยับกายได้เอง

มีนาคม 2014, แคปซูลโซยุสได้พานักบินอวกาศรัสเซียสองนายและอเมริกันหนึ่งนายกลับสู่โลก
โดยปลอดภัยหลังเสร็จสิ้นภารกิจที่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS นาน 5 เดือนครึ่ง ในภาพคือ
Flight Engineer Sergey Ryazanskiy ขณะได้รับการช่วยเหลือนำออกจากแคปซูลที่คาซัคสถาน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 10:17
           หัวใจของเขามีขนาดลดลง และปริมาณเลือดที่สูบออกจากหัวใจก็น้อยลง เพราะ
หัวใจไม่ได้ทำงานหนักเท่าบนโลก ทั้งยังตรวจพบว่ารูปร่างของหัวใจได้เปลี่ยนไปเป็นทรงกลม
จากสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงด้วย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 10:28
          นอกจากนี้ นักบินอวกาศยังจะมีอาการมึนศีรษะเรื้อรังและตาบอดชั่วคราวได้ เนื่องจาก
เลือดไหลเวียนไปสมองไม่พอ

          ขณะอยู่บนโลก, แรงโน้มถ่วงดึงเลือดไหลลงขา แต่เมื่อนักบินอวกาศขึ้นไปอยู่ในสภาพ
ปราศจากแรงโน้มถ่วง เลือดจะไหลเวียนขึ้นไปสู่ร่างกายส่วนบนและสมองมากขึ้นในทันที จนเมื่อ
ร่างกายปรับตัวกับภาวะไร้น้ำหนักแล้วแรงดันเลือดในสมองและทรวงอกก็จะลดลง
          ครั้นเมื่อกลับสู่โลก, เลือดในร่างกายส่วนบนถูกแรงโน้มถ่วงดึงลงสู่ร่างกายส่วนล่าง ทำให้
นักบินเกิดอาการจากภาวะเลือดไหลเวียนในสมองลดลง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 10:42
          ส่วนการเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อ พบว่ามวลกล้ามเนื้อลดลง, มีไขมันแทนที่ และ
มวลกระดูกก็ลดลงไปในอัตราราว 2 % ต่อเดือน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ม.ค. 15, 10:51
            ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอย่างไรก็ตาม มหกรรมพิชิตภารกิจแห่งมนุษยชาติครั้งนี้ต้องดำเนินการ
ต่อไปให้สำเร็จ
            นักวิชาการเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถท่องอวกาศไปลงดาวอังคารได้ในอีกราว 3 ทศวรรษ
ข้างหน้า
            (องค์การนาซา มีแผนพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการส่งมนุษย์ไป
ดาวอังคารในทศวรรษที่ 2030s)

ที่นั่น ณ ดาวอังคาร, บ้านใหม่ เมื่อมองกลับไปยังบ้านเก่า


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ม.ค. 15, 09:09
             การท่องอวกาศไกลออกไปนี้เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา
และอุปสรรคยากลำบากมากมาย
            
             ด่านสำคัญคือ ปัญหารังสีในอวกาศ ซึ่งมีที่มาจากดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ, ทางช้างเผือก
(ซึ่งเชื่อว่ามาจาก Supernova) และจากแหล่งรังสีอื่นไกลโพ้นอออกไป


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ม.ค. 15, 09:10
ภาพจากการ์ตูน Fantastic Four


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ม.ค. 15, 09:12
          อนุภาครังสีอวกาศนี้มีพลังงานและความเร็วสูงยากต่อการปิดกั้น อนุภาคจะทะลุทะลวงเข้า
ทำลาย DNA ทำให้เกิดมะเร็งชนิดรุนแรง, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, ระบบประสาทส่วนกลางเสื่อมลง โดย
ที่หากมนุษย์ได้รับรังสีปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ จะล้มป่วยลงแบบฉับพลัน หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็น
แบบเรื้อรังหลังจากได้รับรังสีในปริมาณน้อยกว่าแต่เป็นเวลานาน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ม.ค. 15, 09:15
          นักบินอวกาศในยาน ISS(International Space Station) มีสนามแม่เหล็กโลกและ
ชั้นบรรยากาศช่วยปกป้องรังสีอันตราย แต่ถ้าอยู่นานเกิน 1.5 - 2 ปี สำหรับหญิงและชาย เขาก็
จะได้รับรังสีในปริมาณที่มากเกินปริมาณรังสีที่ร่างกายรับได้ในชั่วชีวิต
(ปัจจุบันนี้นักบินอวกาศจะขึ้นไปอยู่ในยานคราวละ 0.5 ปี)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 02 ก.พ. 15, 09:52
          องค์การนาซาได้วางแผนขั้นตอนส่งมนุษย์พิชิตดาวอังคาร โดยเริ่มจากการส่งมนุษย์ไป
ในวงโคจรรอบโลกระดับล่างเพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตและการปฏิบัติงานอวกาศใน ISS ตามด้วย
การออกนอกวงโคจรโลกระดับล่างและการเพิ่มขีดความสามารถในการศึกษาสำรวจด้วยการเยือน
ดาวเคราะห์น้อยที่ได้ถูกเบี่ยงเบนให้มาเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ จากนั้นจึงท่องอวกาศไกลไปมุ่ง
สู่ดาวอังคารในทศวรรษ 2030s


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 02 ก.พ. 15, 09:55
               ณ ดาวอังคาร เป้าหมายพันธกิจพิชิตอวกาศของนาซานั้น ปราศจากสนามแม่เหล็ก
และ ชั้นโอโซนปกป้อง อนุภาคจากดวงอาทิตย์ได้ขจัดชั้นบรรยากาศของดาวอังคารออกไปเกือบ
หมดส่งผลให้นักบินอวกาศมีความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับมาแล้วระหว่าง
การท่องอวกาศในปริมาณรังสีที่สูงกว่ามาก นักวิทย์จึงต้องคิดคำนวณออกแบบอาคารที่พำนักให้
มีฉนวนปกป้องรังสี  
               ปัญหาอันตรายจากรังสีนี้เป็นเรื่องท้าทายขององค์การนาซาสำหรับแผนปฏิบัติการส่ง
มนุษย์สู่ดาวอังคารและดาวดวงอื่นไกลโพ้น

นักวิทยาศาสตร์บางคนได้เสนอแนวคิดเครื่องหักเหรังสีสำหรับยานอวกาศแบบในหนัง Star Trek
โดยเครื่องนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อป้องกันยานอวกาศเลียนแบบสนามแม่เหล็กโลก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 02 ก.พ. 15, 10:01
           โลกในอนาคตแสนไกลจะเป็นเช่นไร คงไม่มีใครพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องเต็มร้อย เพราะ
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจริงแต่ก็เป็นสิ่งไม่แน่นอน ยังมีตัวแปรอื่นๆ มากระทบ ทั้งจาก
ปัจจัยภายใน คือ มนุษย์เราเอง ได้แก่ สงคราม(ล้าง) โลก, การทำลายล้างธรรมชาติ และ
ปัจจัยภายนอก เช่น อุกกาบาต, ดาวหาง หรือ มนุษย์ต่างดาวบุกโลก
           ทั้งนี้, ทั้งนั้น, ทั้งมวล ล้วนเป็นคำทำนายที่สุดท้ายแล้ว เมื่อนั้นกาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
ความแม่นยำของคำพยากรณ์เหล่านั้น


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 13:59
        ลำดับจากนี้ขอวกกลับไปปีก่อนๆ ย้อนดูภาพจากอวกาศขององค์การนาซา อันตื่นตา ตื่นใจ
เริ่มจากภาพดาวเคราะห์เพื่อนบ้านร่วมระบบสุริยะที่อยู่แสนห่างไกลแต่ยังพอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เป็นดวงสุดท้าย

(Uranus, Neptune โคจรอยู่ในเวิ้งเวหาหาวไกลเกินสายตาเปล่า)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 14:00
          แถบสีสวยสดงดงามดุจสายรุ้งนี้ คือ วงแหวนดาวเสาร์ ส่วนขอบนอกของวงแหวน C
และส่วนขอบในของวงแหวน B (ซึ่งเริ่มที่ตรงกลางภาพ) บันทึกโดยยานสำรวจ Cassini
จับคลื่นความยาวช่วง ultraviolet ความยาวของวงแหวนในภาพนี้คือ 10,000 กม.
        สีต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลจากความแตกต่างในองค์ประกอบของวงแหวน สีเทอร์คอยส์
สะท้อนส่วนประกอบที่เป็นน้ำเกือบบริสุทธิ์ ในขณะที่สีแดงเป็นน้ำแข็งที่ปนเปื้อนฝุ่นผง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 14:05
           วงแหวนของดาวเสาร์นี้ประกอบขึ้นจากอนุภาคมากมาย ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตร
(1/1,000,000 เมตร - ระดับฝุ่น) จนถึงหลายเมตร(ขนาดภูเขา) รวมตัวกันโคจรรอบดาวเสาร์
อนุภาคเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและก้อนหิน

ภาพวงแหวนอย่างชิดใกล้ในจินตนาการ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 14:10
ในทางดาราศาสตร์, คำศัพท์ แก๊ส น้ำแข็ง และ หิน ใช้อธิบายถึงประเภทองค์ประกอบสสารต่างๆ
ที่พบทั่วระบบสุริยะ ดังนี้

              หิน - องค์ประกอบที่มีจุดหลอมเหลวสูง (สูงกว่า 500 เคลวิน*) เช่นพวก ซิลิเกต
องค์ประกอบหินพบได้มากในกลุ่มระบบสุริยะชั้นใน เป็นส่วนประกอบหลักของดาวเคราะห์และ
ดาวเคราะห์น้อย

*หน่วยวัดอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิคส์ ที่ William Thomson, 1st Baron Kelvin พัฒนา
ขึ้นใหม่ โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบ
นิวเคลียส จากการสังเกตว่า ถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น,
เคลื่อนที่เร็วขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อน อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง, เคลื่อนที่ลดลง
และ
        ถ้าลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไป
กว่านี้ได้อีก อุณหภูมิหรือพลังงานในสสารก็ไม่มี และไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ(เพราะไม่มี
การเคลื่อนที่ของอะตอมที่ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ที่เรียกว่า “ความร้อน”) จึงเรียกอุณหภูมิ
ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)

เปรียบเทียบค่าองศาทั้งสาม


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 14:15
           น้ำแข็ง - ประกอบด้วยน้ำ, มีเทน, แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ มีจุดหลอมเหลว
เพียงไม่กี่ร้อยเคลวิน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในดาวบริวารของบรรดาดาวแก๊สยักษ์* รวมถึง
เป็นองค์ประกอบอยู่ในดาวยูเรนัสกับ ดาวเนปจูน (บางครั้งเรียกดาวทั้งสองนี้ว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์")
และ ในวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่อยู่พ้นจากวงโคจรดาวเนปจูนออกไป
           แก๊ส - สสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เช่นอะตอมไฮโดรเจน ฮีเลียม และแก๊สมีตระกูล(noble gases)
หรือ แก๊สเฉี่อย (inert gases) นั่นคือแก๊ส(ผู้ดี) ที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ ประกอบด้วย ฮีเลียม,
นีออน,อาร์กอน,คริปทอน,ซีนอน และ เรดอน มักพบในย่านกึ่งกลางระบบสุริยะ เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่
ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 ก.พ. 15, 14:18
*ดาวแก๊สยักษ์ (Gas giant) หรือ ดาวเคราะห์โจเวียน (Jovian planet) คือ
ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจน และฮีเลียม ในระบบสุริยะมี
ดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวง คือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 09:38
             นักดาราศาสตร์บางคนได้ทำการศึกษาและตั้งทฤษฎีว่า วงแหวนเหล่านี้มีกำเนิดขึ้น
เมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อน จากการที่ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ถูกดาวหางพุ่งชนจนแตกกระจาย
แล้วแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ขัดขวางไม่ให้เศษและสะเก็ดต่างๆ มารวมตัวกันได้อีก หรือ เกิดจาก
การที่ดาวจากบริเวณขอบนอกระบบสุริยะโคจรเข้าใกล้ดาวเสาร์แล้วถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์
ทำลายจนแหลกแตกกระจาย

ภาพดาวเสาร์สวมวงแหวนจากยานสำรวจ Cassini


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 09:43
          จากรายงานของยานสำรวจพบว่า วงแหวนดาเสาร์มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 300,000 กม.
แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กม. (เปรียบเทียบได้กับกระดาษแผ่นกว้างแต่แบบบาง) มีจำนวนมากกว่า
1,000 วง

ภาพจากยานสำรวจ Cassini บันทึกภาพวงแหวน A ในแสง ultraviolet สีฟ้าหมายถึงน้ำ(แข็ง)
ส่วนสีแดงหมายถึงฝุ่น(ที่ยังไม่ทราบองค์ประกอบชัดเจน) วงแดงในย่านวงสีฟ้าคือ ช่องว่าง Encke


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 09:44
         วงแหวนสว่างที่สุด เรียก(ตามลำดับการค้นพบ) ว่า วงแหวน A ถัดเข้าไป คือวงแหวน B
โดยมีช่องว่าง Cassini(Division) คั่น  ส่วนช่องว่างจางๆ ที่ส่วนนอกของวงแหวน A เรียกว่า
ช่องว่าง Encke ลึกเข้าไปเป็นวงแหวนสลัว C ทั้งสามวงนี้สามารถมองเห็นได้จากโลก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 09:46
          ต่อมาได้มีการสำรวจพบวงแหวนใหม่เพิ่มขึ้นอีกคือ วงแหวน D ซึ่งอยู่ในสุดมองเห็นเลือนๆ,
วงแหวนชั้นนอกที่มีขนาดแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F แล้วก็วงแหวน G ส่วนด้านนอกสุดเป็นวงแหวน
ขนาดกว้างแต่ลางเลือนนั่นคือ วงแหวน E


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 09:56
           ภายในช่องว่างต่างๆ ระหว่างวงแหวนมักมีดวงจันทร์ขนาดเล็กโคจรอยู่ โดยได้รับ
การยืนยันวงโคจรแล้ว 60 กว่าดวง  และ 50 กว่าดวงนี้มีชื่อตั้งให้แล้ว
           ดวงจันทร์เหล่านี้มักมีขนาดเล็กด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่ไมล์ ในขณะที่บางดวงก็มี
ขนาดใหญ่มากอย่างเช่น ดวงที่ชื่อว่า Titan
           แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำหน้าที่จัดระเบียบให้วงแหวนอยู่ในที่ทางและ ยังทำให้
เกิดช่องว่างระหว่างวงแหวนด้วย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 05 ก.พ. 15, 10:00
           อำลาดาวเคราะห์สวมแหวนดวงนี้ด้วย ภาพถ่ายประกอบจากสามภาพของกล้อง Hubble
แสดงภาพ ดาวเสาร์สะท้อนแสงอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์ แต่ละเฉดสีแสดงถึงความแตกต่างของ
ระดับความสูงและส่วนประกอบของชั้นเมฆที่คิดว่าเป็นผลึกน้ำแข็งแอมโมเนีย และ
           ในภาพยังสามารถมองเห็นดวงจันทร์บริวารสองดวง ได้แก่ Tethys ที่อยู่ตรงขอบดาวเสาร์
ด้านขวาบนกับ  Dione ทางด้านซ้ายล่าง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 10:16
       ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ที่ได้แสดง เส้นทางลิขิตชีวิตของดาวฤกษ์ เช่น ดวงอาทิตย์ไปบ้างแล้ว
กล่าวคือ เมื่อดาวฤกษ์ย่างเข้าสู่ช่วงปลายอายุขัยจะกลายเป็นดาวยักษ์ ที่มีขนาดไหนขึ้นกับมวลของ
ดาวดวงนั้น
       โดยดาวฤกษ์มวลน้อย-ปานกลาง(ขนาด 0.6-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) จะกลายเป็น
ดาวแดงยักษ์
(ตามเส้นทางชราภาพสายบนของภาพ)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 10:18
          ที่เรียกว่า แขนงดาวยักษ์อะซิมโทติก(asymptotic giant branch - AGB)
ซึ่งปรากฏอยู่ในย่านหนึ่งของไดอะแกรมแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์(Hertzsprung-Russell diagram - HRD)
ที่เป็นแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่างของดาว แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าความส่อง
สว่างสัมบูรณ์ ความส่องสว่าง ประเภทของดาวฤกษ์ และอุณหภูมิของดาวฤกษ์ ชนิดต่างๆ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 10:22
          ดาว AGB นี้ปรากฏรูปลักษณ์เป็น ดาวแดงยักษ์(red giant) ที่แกนกลางประกอบด้วย
คาร์บอนและออกซิเจน ห่อหุ้มด้วยเปลือกฮีเลียมที่ทำปฏิกิริยาฟิวชันสร้างคาร์บอน ชั้นถัดออกไป
เป็นไฮโดรเจนที่กำลังทำปฏิกิริยาฟิวชันสร้างฮีเลียม และ ชั้นนอกเป็นเปลือกขนาดใหญ่


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 10:29
            ดาวแขนงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของความส่องสว่างและอุณหภูมิไต่ตาราง HRD ขึ้น, ลง
แล้วกลับขึ้นไปใหม่'แบบว่า' เกือบจะเป็นแนวเดียวกับเส้นดาวแดงยักษ์ของตัวเองก่อนหน้านั้น ตาม
ระยะเวลาที่ผ่านไปและตามการใช้เชื้อเพลิง นั่นคือ จากไฮโดรเจนที่ร่อยหรอแล้วต่อมามีการจุดติด
ปฏิกิริยาฟิวชั่นของฮีเลียม
            จึงเรียกดาวแบบนี้ว่า AGB ซึ่งคำ asymptotic นี้มาจากคณิตศาสตร์(ไทยใช้ศัพท์บัญญัติว่า
เชิงเส้นกำกับ) asymptote - เส้นที่เฉียดใกล้เส้นโค้งแต่ลากยาวแค่ไหนก็ไม่มีวันบรรจบกัน

ลักษณะ(เส้นกราฟ Horizontal) Asymptote


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 10:33
           ช่วงเวลาของ AGB แบ่งเป็น ระยะต้น(E-AGB) พลังงานของดาวมาจากฟิวชันของฮีเลียม
ดาวมีการขยายตัวออกไปกลายเป็นดาวยักษ์แดงอีกครั้ง จนหลังจากที่ฮีเลียมถูกใช้จนหมด ดาวก็จะ
เริ่มเข้าสู่ระยะ Thermally Pulsing TP-AGB ที่ดาวจะใช้พลังงานจากฟิวชั่นของไฮโดรเจนในชั้น
เปลือกที่ห่อหุ้มชั้นฮีเลียมที่หมดพลังงานไปแล้ว
           อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไป 10,000 ถึง 100,000 ปี ชั้นเปลือกฮีเลียมอาจจุดติดขึ้นมาอีก
ส่วนชั้นเปลือกไฮโดรเจนดับไป กระบวนการนี้เรียกว่า helium shell flash หรือ "thermal pulse"
นั่นเอง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 11:01
           ช่วงปลายอายุขัยของดาวที่แปรสภาพไปเป็นดาวยักษ์(หรือดาวยักษ์ใหญ่) นี้ ดาวได้สูญเสีย
สมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ภายใน
           ความไร้เสถียรปรากฏให้เห็นเป็นการลุกจ้าที่ผิวดาว ผลจากสนามแม่เหล็กของดาว, การขยายตัว
ออกและยุบเข้าของบรรยากาศ หรือ การระเบิดออกจากภายในดาว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสว่าง
ของดาว เราเรียกดาวเหล่านี้ว่า ดาวแปรแสง(variable star)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 ก.พ. 15, 11:04
           ดาวชราชนิด AGB นี้จะกลายเป็นดาวแปรแสงคาบยาว (long-period variable star
นั่นคือ ดาวที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากความเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติทางกายภาพ
ภายในดาวเอง โดยที่ดาวชนิดนี้จะมีช่วงการเปลี่ยนแปลงโชติมาตรหรืออันดับความสว่างค่อนข้างมาก
คาบการแปรแสงอาจยาวนานตั้งแต่ 2-3 เดือนไปจนถึง 2 ปี )
          และ มีการสูญเสียมวลจำนวนมหาศาลไปในรูปของลมดาวฤกษ์(stellar wind) โดยดาวอาจ
สูญเสียมวลถึง 50-70% ไปในระหว่างระยะ AGB นี้ ปริมาณมวลที่สูญเสียไปทางลมดาวฤกษ์นี้มีส่วน
กำหนดชะตากรรมของดาวดวงนั้น นั่นคือ ดาวที่มีมวลปานกลางได้กลายไปเป็นดาวแคระขาวแทนที่จะ
ระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา เพราะว่าได้สูญเสียมวลออกมากไปจากลมดาวฤกษ์แล้ว


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 15, 10:16
          Stellar wind ลมดาวฤกษ์ คือ การเคลื่อนไหลอย่างต่อเนื่องของสสารในสภาพแก๊ส
ที่ถูกขับออกมาจากชั้นบรรยากาศด้านบนของดาว ด้วยอัตราระหว่าง 20 - 2,000 กม./วินาที
ขึ้นกับขนาดของดาว
         ดาวแดงยักษ์(Red Giant), ดาวแดงยักษ์มหึมา(Red Supergiant) และดาว AGB
จะขับมวลสสารจำนวนมากแต่พัดช้า ลมนี้ถูกขับเคลื่อนโดยแรงดันการแผ่รังสีที่กระทำต่อฝุ่นซึ่ง
มีอยู่หนาแน่นในชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดาว ส่วนลมจากดาวมวลมหึมาจะมีมวลน้อยแต่เร็วแรง
กว่าลมจากดาวมวลต่ำ และ ลมสุริยะ ที่เป็นอนุภาคประจุไฟฟ้าซึ่งถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศ
ชั้นนอกของดวงอาทิตย์ก็จัดเป็นลมดาวฤกษ์เช่นกัน

ภาพจากกล้อง Spitzer นำเสนอ ดาวยักษ์ Zeta Ophiuchi แผลงฤทธิ์ออกแรงกระแทกเมฆฝุ่น
ที่รายรอบด้วยลมดาวฤกษ์จากดาวดวงนี้ที่โคจรอย่างเร็วรี่ก่อแรงกระเพื่อมธุลีเป็นระลอกริ้วแลเห็น
เป็นพลิ้วพรายสายเส้นใย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 15, 10:20
           ภาพที่จะนำเสนอต่อไปจากกล้องฮับเบิลเป็นภาพปรากฏการณ์ของดาวฤกษ์มวลปานกลาง
วัยชราในขั้นตอนสุดท้ายวายชีวีที่ดาวต้องก้าวไปสู่ นั่นคือ ยามที่ดาวนั้นหมดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แล้ว
อยู่ในระยะที่เรียกว่า สภาวะก่อนเนบิวลาดาวเคราะห์(preplanetary /protoplanetary nebula
stage) ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างระยะตอนปลายของแขนงดาวยักษ์อะซิมโทติก(late asymptotic
giant branch - LAGB) กับ ระยะ เมฆหมอกดาวเคราะห์(planetary nebula -PN)
           ช่วงเวลานี้ ส่วนใจกลางของดาวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการเผาไหม้ของแก๊สไฮโดรเจน อุณหภูมิ
ที่สูงขึ้นจนถึง 30,000 K ทำให้เกิดการแผ่รังสี ultraviolet เผาแก๊สรอบดวงดาวจนเกิดประจุกลายเป็น
planetary nebula


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 15, 10:24
          ที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของวิวัฒนาการช่วงสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลน้อย และมวลปานกลาง
เมื่อปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในแกนกลางยุติลง ทำให้ดาวเสียสมดุลระหว่างแรงดันออกจาก
ความร้อนกับแรงโน้มถ่วง แกนกลางดาวจะยุบตัวเข้าหาศูนย์กลางจากแรงโน้มถ่วง กลายเป็น
ดาวแคระขาว ส่วนเปลือกภายนอกและเนื้อสารของดาวจะหลุดออก และขยายตัวไปในอวกาศ เป็น
          เนบิวลาดาวเคราะห์ซึ่งไร้พลังงาน แต่สว่างได้เนื่องจากได้รับพลังงานจากดาวแคระขาวที่
อยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไปดาวแคระขาวจะเย็นตัวลง และเนบิวลาดาวเคราะห์ก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆ
จนจางไปในอวกาศ
          แม้จะเรียกว่าเนบิวลาดาวเคราะห์ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะ
ที่เป็นวงกลมขนาดเล็กแลคล้ายดาวเคราะห์เมื่อสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 15, 10:28
        ส่วนคำว่า เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน หมายถึง "เมฆ, หมอก") ละอองระหว่างดาว
หมายถึง กลุ่มเมฆหมอกของ ฝุ่น, แก๊สไฮโดรเจน, ฮีเลียม และพลาสมา* ในอวกาศ รวมตัวกันด้วย
แรงโน้มถ่วง มีปริมาณมหึมามหาศาลกระจายอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ในดาราจักร บ้างมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ถึง 10 ปีแสง บ้างก็ใหญ่กว่าระบบสุริยะถึง 10 เท่า
    
*พลาสมา - สถานะ(ที่สี่)ของสสาร คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน - ประจุไฟฟ้า เกิดจากการเผาแก๊ส
จนมีอุณหภูมิสูงมาก หรือการผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังแรงจากแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟ ทำให้
เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนอิเล็คตรอน ส่งผลให้ได้เป็นอนุภาคที่มีประจุบวกหรือลบ เรียกว่า ไอออน
ประจุไฟฟ้าจะทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าจึงสนองตอบต่อสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก่อเกิดรูปร่าง
เป็นเส้นสาย(filaments), ลำแสง(beams) และชั้นต่างประจุคู่ขนานกัน(double layers)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.พ. 15, 10:36
        เนบิวลา มีทั้ง'แบบว่า' เนบิวลาเปล่งแสง ในตัวเองจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจน
ที่อยู่ในสถานะไอออน เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์เกิดใหม่ภายในเนบิวลานั้นเอง ไอออน
ไฮโดรเจนนี้จะถูกอิเล็กตรอนอิสระกลับเข้าไปจับแล้วคายพลังงานออกมาในช่วงคลื่นเฉพาะตัวตามธาตุ
องค์ประกอบของเนบิวลา ทำให้มีสีต่างๆ กัน  กับ
        เนบิวลาสะท้อนแสง จากการกระเจิงแสงของดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่ไม่ร้อนมากพอ และ เนบิวลามืด
ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิวลาสะท้อนแสง แต่เนบิวลามืดนี้ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง
อยู่ภายในหรือโดยรอบ   
   
         ปฏิสนธิของเนบิวลานั้น คาดว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับกำเนิดของจักรวาลที่ก่อกำเนิดดาวฤกษ์รุ่นแรก
แล้วเกิดการระเบิดแตกดับของดาวฤกษ์กลายเป็นซากแก๊สและฝุ่นกระจายออกจากกัน ที่อาจจะกระจาย
ออกไปรวมกับฝุ่นและแก๊สที่อื่นแล้วกลายกลับเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 12 ก.พ. 15, 10:13
ภาพเนบิวลาทั้ง 3 ชนิด ใน กลุ่มดาวนายพราน(Orion) ที่มนุษย์รู้จักกันมายาวนาน
แถบย่านกึ่งกลางกลุ่มดาวนี้มีดาวเรียงกัน 3 ดวง เรียกว่า เข็มขัดนายพราน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 12 ก.พ. 15, 10:15
เนบิวลาหัวม้า(Horsehead)มืด ที่โด่งดัง ตั้งอยู่ใต้ดาว Alnitak ในเข็มขัดนายพราน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 12 ก.พ. 15, 10:21
          ภาพนี้เป็นภาพประกอบ(composite image) จากฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทั้ง 3 สี แสดงแสงสี
(ซึ่งสีสันในภาพไม่ใช่สีที่แท้จริง) จาก"ประภาคารอวกาศ" นั่น คือ Egg Nebula
          อยู่ห่างจากโลกไป 3,000 ปีแสง เผยสภาวะขั้นตอนนี้ที่แลเห็นเป็นประกายเจิดจ้าจาก
ความร้อนของดาวที่กำลังถึงแก่กรรมส่องแสงสว่างสู่เมฆหมอกแก๊สและฝุ่นที่รายลอบดาวนั้น
          แสงจากดาวส่องสะท้อนกับอนุภาคฝุ่นในลักษณะที่เรียกว่า แสงโพลาไรซ์ (Polarized light)
ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ที่ชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน เมื่อฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ในลักษณะที่มีการเรียงตัว
ของคลื่นเพียงแบบเดียว ในทิศทางที่แน่นอนก่อนที่จะถึงตาเรา
          ภาพนี้ถ่ายโดย Advanced Camera for Survey(ACS) ของฮับเบิล
แสงจากฟิลเตอร์โพลาไรซ์ที่แตกต่างกัน 3 อันแสดงให้เห็นเป็นสีแดง เขียว และน้ำเงิน  บริเวณใจกลาง
เห็นเป็นสีขาวเนื่องจากมีฝุ่นหนากว่า


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ก.พ. 15, 10:13
        ที่ใจกลางของภาพ, ซ่อนอยู่ใต้เมฆฝุ่นหนาเนบิวลา คือ ดาวฤกษ์คู่ที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวได้
โดยตรง หากแต่มีลำแสง 4 ลำจากดาวฤกษ์พุ่งตรงผ่านเนบิวลาออกมา นักวิทย์คิดกันว่า หลุมรูปร่างเหมือน
วงแหวนในกลุ่มฝุ่นหนานี้ที่ถูกเจาะโดยไอพ่นพุ่งจากดาวได้เปิดช่องทางให้ลำแสงลอดออกมาจากเมฆทึบแสง
       ส่วนลักษณะประกายแสงของเมฆที่จางกว่าซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายหอมหัวใหญ่ ที่รายล้อมรังฝุ่นบริเวณ
ใจกลางนั้นเป็นผลจากการระเบิดของมวลสารที่เกิดขึ้นอย่างเป็นช่วงเวลาที่แน่นอนจากดาวซึ่งกำลังจะตาย
การปะทุนี้มักจะเกิดขึ้นทุกๆ ไม่กี่พันปี

ภาพนี้จากกล้อง Wide Field Camera 3 ของ Hubble บันทึกภาพโดยเปิดรับแสงที่ตามองเห็น และ
แสง infrared


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ก.พ. 15, 10:18
          ฝุ่นผงละเอียดนี้ ส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอนที่สร้างมาจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นในใจกลางของดาวแล้ว
ถูกผลักออกสู่อวกาศเมื่อเวลาผ่านไป ในดาวที่มีอายุน้อยกว่า ฝุ่นนี้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการก่อตัว
ของดาวเคราะห์รายรอบดาวฤกษ์

สองภาพจาก Hubble นี้ มีกล้อง  Wide Field and Planetary Camera 2 (WFPC2) จับภาพใน
แสงสีแดง(ซ้าย) และกล้อง Near Infrared Camera and Multi-Object Spectrometer (NICMOS)
          แสงสีแดงคือ แก๊สไฮโดรเจนที่ถูกเผาจากการปะทะชนกันของชั้นเปลือกดาวที่ขยายออก และ
สีฟ้าคือ แสงจากดาวในใจกลางที่ถูกฝุ่นกระเจิงกระจายออก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ก.พ. 15, 10:24
พรุ่งนี้ วันที่ 14 ภุมภาพันธ์ ขอชวนชม เนบิวลารูปกุหลาบ ครับ

             The Rosette Nebula (หรือ NGC 2237) เป็นกลุ่มเมฆอวกาศและฝุ่นชนิดเปล่งแสง
(Emission Nebula) ที่สดสวยด้วยสีสันและรูปทรงดอกกุหลาบสีแดง ประดับเวหาหาวห่างไกล
ออกไป 5,200 ปีแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ก.พ. 15, 10:40
          เนบิวลานี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 ปีแสง อยู่ที่ชายขอบของกลุ่มเมฆโมเลกุลใหญ่
ในย่านกลุ่มดาว Monoceros
(เมฆชนิดโมเลกุล - Molecular cloud กล่าวคือ พื้นที่ของมวลสารระหว่างดาว* ที่มีความหนาแน่น
จนอะตอมตั้งแต่สองตัวขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเป็นโมเลกุลซึ่งส่วนใหญ่ คือ ไฮโดรเจน เมฆชนิดนี้จะมี
อุณหภูมิต่ำมากถึง - 225 องศาซี  และแก๊สจะเบียดเสียดกันแน่นจนรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วงให้กำเนิด
เป็นดวงดาว)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.พ. 15, 09:05
          ภาพนี้มีส่วนที่เป็นก้านยาวขนาดใหญ่ คือ แก๊สไฮโดรเจนสุกสกาว ส่วนกลีบกุหลาบคือ
เมฆชนิดโมเลกุลหรือ เรือนอนุบาลดารา(Molecular Cloud เมื่อมียุวดาวกำเนิดขึ้นเรียกว่า
Stellar Nursery) ที่ได้กระแสลมและรังสีจากกระจุกดาวตรงใจกลางสลักเสลารูปร่างสมมาตร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.พ. 15, 09:16
          ตามมาด้วย เนบิวลารูปหัวใจ ที่อยู่แสนไกลจากโลกถึง 7500 ปีแสง เป็นเนบิวลาเปล่งแสง
สุกสว่างสร้างรูปหัวใจด้วยพลาสมาที่เป็นแก๊สไฮโดรเจนมีประจุและอิเล็คตรอนอิสระ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.พ. 15, 09:19
       เคียงข้างอยู่ทางซ้ายมือคืออีกเนบิวลาเปล่งแสง จึงได้ชื่อคู่กับ Heart Nebula ว่า Soul Nebula

Soul & Heart 


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.พ. 15, 09:26
                ปรับสลับใหม่ให้เป็น

Heart & Soul


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.พ. 15, 09:42
และ ดาราจักรรูปหัวใจ

          Antennae Galaxies คือ สองดาราจักรปะทะประสมกัน อยู่ห่างจากโลกเรา 45 ล้านปีแสง
จัดเป็นหนึ่งในดาราจักรปะทะกันที่อยู่ใกล้โลกเรา
          สองดาราจักรโคจรมาใกล้กันเมื่อ 900 ล้านปีก่อน หลังจากนั้น 300 ล้านปีจึงผ่านเข้าประสานกัน
(เมื่อ 600 ล้านปีก่อน)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.พ. 15, 12:09
กุหลาบและหัวใจ     แม้อยู่ไกลสุดขอบฟ้า
จะขอสอยลงมา       เพื่อเพื่อนข้าและผองชน


สุขสันต์วันแห่งความรัก แด่ ชาวเรือนไทยทุกท่าน  ;D


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ก.พ. 15, 09:40
        ร้อยกรองคุณเพ็ญ ชวนให้ฮึมฮัมเพลงนี้ ;D

        พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาว
ส่องฟากฟ้า เด่นพราวไกลแสนไกล
ดั่งโคมทอง ผ่องเรืองรุ้งในหทัย
เหมือนธงชัย ส่องนำจากห้วงทุกข์ทน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 15, 09:48
ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
แม้นผืนฟ้ามืดดับเดือนลับมลาย
ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน..........

........ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 15, 16:00
ฮัมเพลงจบ ก็ต้องหันมาคำนึงถึงอัตตาตัวตนกันต่อ

เราเล็กหนอ เราจิ๋วหนอ อย่ายึดมั่นในอัตตากันมากนักเลย อยู่อย่างสงบสันติเถิด เกื้อกูลกันเถิด อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย  ;D


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ก.พ. 15, 09:20
             ต้อนรับปีใหม่จีนด้วย Dragon Nebula ภาพมังกร วาดบนฟากฟ้าด้วยฝุ่นอวกาศ
บันทึกโดยกล้องจาก Gemini Observatory ซึ่งอยู่ที่ Chile(และ Hawaii) สองสถานที่
ที่ดีที่สุดสำหรับการเฝ้าสังเกตการณ์ฟากฟ้าบนหล้าโลกนี้ โดยที่ตัวกล้องสามารถเก็บภาพของ
ฟ้ากว้างได้ทั้งหมด

             ไปที่กลุ่มเนบิวลา NGC 6559 Nebula Complex ซึ่งเป็นย่านบ่มเพาะดาวที่อยู่
ใกล้กลุ่มดาวคนยิงธนู(Sagittarius) แต่อยู่แสนไกลจากโลกไป 5,000 ปีแสง ย่านนี้ประกอบ
ด้วยเนบิวลาชนิดต่างๆ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ก.พ. 15, 09:23
          รูปนี้คือ ดาว, ฝุ่น และ เนบิวลาใน NGC 6559 ที่เป็นเมฆแก๊สไฮโดรเจนและฝุ่นธาตุหนัก
(เช่น carbon, iron หรือ silicon) สิ่งที่เห็นได้แก่
          ส่วนสีแดง คือ เนบิวลาเปล่งแสงจากแก๊สไฮโดรเจนเข้มข้นที่จะรวมกันเป็นดาวใหม่, ส่วน
สีน้ำเงิน คือ เนบิวลาสะท้อนแสง กับ เนบิวลามืดจากฝุ่น และ ดวงดาวเกิดใหม่


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ก.พ. 15, 09:26
           ที่นี่ ปรากฏงานจิตรกรรมงามล้ำคล้ายภาพวาดพู่กันจีนเป็นรูปมังกร  หมึกดำที่ใช้คือ ฝุ่นเย็น
ที่ดูดกลืนคลื่นรังสีจากแก๊สไฮโดรเจนเบื้องหลังที่เรืองรองเป็นสีแดงเนื่องจากอะตอมไฮโดรเจนอยู่ใน
สถานะไอออนด้วยความร้อนจากดาวใกล้เคียง มือที่มองไม่เห็นที่ตะหวัดวาดรูปทรงและเส้นสายพลิ้ว
ไหวคือ การเคลื่อนไหลปั่นป่วนจากรังสีของดาวเคียงใกล้ กับ การเคลื่อนไหวของแก๊สและฝุ่นใกล้เคียง
         
รูปจาก Gemini Observatory ที่ Chile


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ก.พ. 15, 09:58
       อีกหนึ่งภาพสำหรับเทศกาลนี้ คือ มังกรร่อนนภา Flying Dragon Nebula หรือ
Sharpless 2-114 Nebula

(Stewart Sharpless คือ นักดาราศาสตร์ผู้ศึกษาโครงสร้างทางช้างเผือก และจัดทำ
Sharpless catalog เนบิวลา)

      Sh 2-114 คือ เนบิวลาเปล่งแสงแห่งกลุ่มดาวหงส์(Cygnus) อยู่คู่เคียงกับ Sh 2-113
เป็นเส้นโค้ง 'คล้ายกับ' ซากซุเปอร์โนวา ทว่ายังไม่เคยมีบันทึกการเกิด'ซุปวา' ในย่านนี้มาก่อน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ก.พ. 15, 10:01
        รูปทรงโครงสร้างที่ซับซ้อนสลัวมัวบอบบางน่าจะเป็นผลงานผสานระหว่างลมจากดาวใหญ่ยักษ์
อุณหภูมิสูง กับสนามแม่เหล็กในมวลสารระหว่างดาว
        เรื่องราวเกี่ยวกับเนบิวลานี้มีน้อยมาก, หายาก ไม่ปรากฏข้อมูลของที่มา, ขนาด, อายุ และ ระยะ
ทางห่างไกล

ภาพจาก Sharpless catalog


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ก.พ. 15, 10:04
แลคล้ายม้า(น้ำ)มังกร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ก.พ. 15, 10:07
หมุนภาพกลับ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 ก.พ. 15, 10:08
เปลี่ยนเป็นมังกรฝรั่ง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.พ. 15, 10:11
เหลือบดูหัวกระทู้ จึงรู้ว่าไม่ใช่กระทู้ "สัตว์ประหลาด"  ;)

ยังมีมังกรอีกตัวหนึ่ง

สัตว์ประหลาดสีน้ำเงินตัวนี้ คุณเทาชมพูเคยพามาเที่ยวทีนี่เมื่อ ๒ ปีก่อน ให้ชื่อว่า "มังกรจิ๋วสีน้ำเงิน"

ไม่รู้ว่าตัวอะไร เอามาฝากคุณเพ็ญชมพูและคุณ DD ค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=17278;image)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ก.พ. 15, 09:54
         ชวนแวะกลับบ้านเรามาดูมังกรร่อนนภา จากการแสดงแสง, สี, เมฆ ชุดมังกรพ่นไฟ

(บันทึกจากดาดฟ้าอาคารจอดรถ)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ก.พ. 15, 09:55
ไฟมอดยังเหลือควัน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ก.พ. 15, 09:56
และ
            ต้อนรับปีแพะด้วยดาว Capella: The Goat Star

(Capella - ภาษาละตินและอารบิค แปลว่า แพะตัวน้อย, แพะเพศเมียตัวน้อย)

สมาชิกของกลุ่มดาวสารถี(Auriga)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 23 ก.พ. 15, 09:58
           สุกสกาวเปล่งสเปคตรัมเหมือน แต่สว่างกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 17 เท่า

           มองเห็นเป็นดาวดวงเดียว แต่ที่แท้มีถึงสี่(สองคู่) ได้แก่ คู่ดาวยักษ์เหลืองสุกสว่าง
กับคู่ดาวแคระแดงจาง อยู่ห่างจากโลกไปไกล 40 ปีแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ก.พ. 15, 14:43
เทศกาลผ่านพ้นแล้วย้อนกลับไปสืบเนื่องเรื่องก่อน -

        *มวลสารระหว่างดาว (Interstellar Medium - ISM) หมายถึง แก๊ส, พลาสมา, ฝุ่น
รวมถึง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, รังสีอวกาศ, สนามแม่เหล็ก, สนามแรงโน้มถ่วง และ สสารมืด(Dark
Matter มวลส่วนใหญ่ในดาราจักรที่เป็นปริศนาเพราะว่าไม่อาจมองเห็น แต่ การมีอยู่รับรู้ได้ด้วย
อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของสสารนี้ที่มีต่อสสารอื่น) ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ว่างระหว่างดาว เป็นสสาร
ที่ดำรงอยู่ระหว่างระบบดาวฤกษ์ต่างๆ ในดาราจักร เติมเต็มที่ว่างระหว่างดาวและเชื่อมประสานกลม
กลืนช่องว่างระหว่างดาราจักร

      ภาพทางช้างเผือก ที่เรียงรายด้วยดวงดาวดาษดาแลดูใกล้ชิดกันจนเห็นเป็นแถบเรืองแสงสุกสกาว
มากกว่าเป็นดาวแต่ละดวง แต่ในบางแถบที่ไม่โชนแสง นั่นคือแหล่งที่อยู่ของเมฆฝุ่นหนาแน่นปิดกั้น
แสงจากดาวเบื้องหลัง คือ ภาวะ(ที่ขอ) เรียกว่า แสงสูญระหว่างดาว(interstellar extinction)
เนื่องจากมวลสารนั้นกั้นแสงดาว โดยมีทั้งบดบังเป็นบางส่วนหรือหมดมืดมิด
      ในภาพนี้ยังนำเสนอ ตำแหน่งซากซุเปอร์โนวาใหม่ล่าสุด supernova remnant G1.9+0.3
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 140 ปีก่อนซ่อนอยู่เบื้องหลังฝุ่นที่ใจกลางทางช้างเผือก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ก.พ. 15, 14:51
         99% ของมวลสารนี้เป็นไอออน, อะตอม, โมเลกุลแก๊สที่เจือจางอย่างยิ่ง   ส่วนอีก 1%
เป็นฝุ่นซึ่งมีความหนาแน่นต่ำ
        และในส่วนของแก๊ส, 75% โดยมวลอยู่ในรูปของแก๊สไฮโดรเจน ส่วนอีก 25% เป็นฮีเลียม
กับธาตุหนักบางตัว

     ภาพโดยยานสำรวจรอบโลก แสดงบางส่วนของจานดาราจักรทางช้างเผือก ที่ซึ่ง  10% ของ
สสารที่มองเห็นอยู่ในรูปของแก๊ส นั่นคือ มวลสารระหว่างดาว แลเห็นเป็นปื้นกระจาย ดวงอาทิตย์
ของเราอยู่ย่านเมฆท้องถิ่น(ระหว่างดาว Local Interstellar Cloud) และกำลังเคลื่อนที่จากไป
ส่วนเมฆระหว่างดาวที่อยู่ถัดไปเรียกว่า G-Cloud


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ก.พ. 15, 14:57
          แก๊สที่อยู่กันหนาแน่นจะรวมกันเป็นเมฆโมเลกุลไฮโดรเจนที่เย็นจัด ในขณะที่แก๊สซึ่งอยู่
เป็น อนุภาคไฮโดรเจนจะมีประจุร้อนแรง เนื่องจากได้รับรังสี ultraviolet จากดาวรุ่งร้อนแรงที่
เกิดใหม่ใกล้เคียง เมื่ออิเล็คตรอนมาจับกับอนุภาคไฮโดรเจนมีประจุก็จะเกิดการปลดปล่อยแสง
สีแดงแลเห็นเป็นเนบิวลาเปล่งแสง
           ส่วนที่เป็นฝุ่น จะมีอนุภาคขนาดเล็กเป็นจุล ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นไมครอนที่ตรงกับ
ความยาวคลื่นสีน้ำเงิน มีส่วนประกอบเป็น carbon, silicon(ในรูปของ graphite, silicate)
เคลือบด้วยน้ำแข็ง(น้ำ, carbon dioxide, แอมโมเนีย) และ เหล็ก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ก.พ. 15, 14:59
            มวลสารนี้ปรากฏตัวต่อนักวิทย์เป็นเนบิวลารูปแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้
ทั้งเนบิวลาเปล่งแสง เมื่อเมฆแก๊สถูกแผดเผาด้วยรังสีจากดาวใกล้เคียงเกิดการปล่อยแสงจากอะตอม
แก๊ส แต่ถ้าฝุ่นอยู่กันหนาแน่นจนแสงไม่อาจผ่านได้ก็จะแลเห็นเป็นเนบิวลามืด ในขณะที่ฝุ่นเมฆล้อมดาว
ที่สะท้อนแสงจากดาวใกล้เคียง ก็จะปรากฏให้เห็นเป็นเนบิวลาสะท้อนแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.พ. 15, 14:59
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำแผนที่เอกภพ สิ่งสำคัญที่สุดคือสิ่งที่พวกเขามองไม่เห็น อันได้แก่สสารมืดและพลังงานมืด

หลังจากการวิจัยหลายทศวรรษ  ปัจจุบันนักเอกภพวิทยาสามารถบอกด้วยความมั่นใจระดับหนึ่งว่า เอกภพถือกำเนิดจากฟองอวกาศขนาดเล็กกว่าอะตอมเมื่อ ๑๓,๘๒๐ ล้านปีมาแล้ว  เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถทำแผนที่รังสีพื้นหลังในเอกภพ (cosmic background radiation) หรือแสงที่เปล่งออกมาเมื่อเอกภพมีอายุเพียง ๓๗๓,๐๐๐ ปี ด้วยความละเอียดถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๐.๐๐๑

แต่พวกเขาก็สรุปด้วยว่า ดาวและดาราจักรทั้งหมดที่พวกเขาเห็นบนท้องฟ้าเป็นเพียงร้อยละห้าของเอกภพที่สังเกตได้ ส่วนใหญ่ที่มองไม่เห็นประกอบด้วยสสารมืด (dark matter) ร้อยละ ๒๗ และพลังงานมืด (dark energy) อีกร้อยละ ๖๘ ทั้งสองสิ่งล้วนเป็นปริศนา เคยคิดกันว่าสสารมืดเป็นผู้ปั้นแต่งผืนแผ่นระยิบระยับกับลวดลายเกี่ยวกระหวัดของเหล่าดาราจักร ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ แต่กลับไม่มีใครทราบว่ามันคืออะไร ส่วนพลังงานมืดยิ่งลึกลับมากขึ้นไปอีก คำว่าพลังงานมืดซึ่งบัญญัติขึ้นแทนอะไรก็ตามที่กำลังเร่งอัตราเร็วของการขยายตัวของเอกภพได้รับการเหมารวมว่าเป็น “ฉลากสามัญสำหรับสิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับสมบัติของสิ่งยิ่งใหญ่ในเอกภพของเรา”

เบาะแสแรกที่ว่าสสารมืดมีอยู่ทั่วไปถูกพบในทศวรรษ ๑๙๓๐ โดยนักดาราศาสตร์ชาวสวิสชื่อ ฟริตซ์ ซวิกกี เขาวัดความเร็วที่ดาราจักรในกระจุกดาราจักรผมเบเรนิซ (Coma Cluster) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก ๓๒๑ ล้านปีแสง โคจรรอบศูนย์กลางกระจุกดาราจักร แล้วคำนวณว่า เว้นเสียแต่กระจุกดาราจักรจะมีมวลมากกว่าที่เห็น ดาราจักรของมันก็น่าจะปลิวกระจายออกสู่อวกาศนานแล้ว ซวิกกีสันนิษฐานว่า ในเมื่อกระจุกดาราจักรผมเบเรนิซอยู่มาได้หลายพันล้านปี ย่อมหมายความว่า “สสารมืดมีอยู่ในเอกภพด้วยความหนาแน่นยิ่งกว่าสสารที่มองเห็นได้อย่างไม่มีอะไรเปรียบ” การค้นคว้าต่อมาบ่งชี้ว่าดาราจักรไม่มีทางก่อตัวขึ้นได้ตั้งแต่แรก หากปราศจากความโน้มถ่วงของสสารมืดคอยดึงดูดวัสดุบรรพกาลเข้าด้วยกันในเอกภพวัยเยาว์

ปริศนาสสารมืดว่าแปลกแล้ว ยังกลายเป็นคำทายเด็กเล่น เมื่อเทียบกับปรากฏการณ์ลี้ลับของพลังงานมืด ซึ่งไมเคิล เทอร์เนอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ยกให้เป็น “ความลึกลับอย่างที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งมวล”

เทอร์เนอร์คิดคำว่า “พลังงานมืด” ขึ้นหลังจากนักดาราศาสตร์สองทีมประกาศเมื่อปี ๑๙๙๘ ว่า อัตราการขยายตัวของเอกภพดูเหมือนกำลังเร่งเร็วขึ้น พวกเขาได้ข้อสรุปนี้จากการศึกษาดาวที่ระเบิดด้วยลักษณะเฉพาะ ซึ่งสว่างมากจนเห็นได้จากที่ห่างไกล และมีความสว่างสม่ำเสมอเหมาะสำหรับช่วยวัดระยะดาราจักรอันห่างไกล แรงดึงดูดซึ่งกันและกันระหว่างดาราจักรทั้งหมดในเอกภพคือเครื่องชะลอการขยายตัวของเอกภพ ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงคาดว่าจะเห็นเอกภพที่ขยายตัวช้าลง แต่พวกเขากลับพบสิ่งตรงข้าม นั่นคือเอกภพมีแต่ขยายตัวเร็วขึ้นเรื่อยๆตลอดห้าพันถึงหกพันล้านปีที่ผ่านมา

ทุกวันนี้ นักสังเกตการณ์กำลังสาละวนทำแผนที่เอกภพซึ่งแม่นยำอย่างไม่เคยมีมาก่อน และหาหลักฐานว่าพลังงานมืดปรากฏขึ้นเมื่อไร มีพลังเท่าเดิมหรือมากขึ้น พวกเขาได้เปรียบที่สามารถมองย้อนไปในอดีต สิ่งที่นักวิจัยผู้ศึกษาดาราจักรที่ห่างจากโลกหลายพันล้านปีแสงมองเห็น คือภาพที่เป็นจริงเมื่อหลายพันล้านปีก่อน กระนั้น ขีดจำกัดของพวกเขาคือความสามารถของกล้องโทรทรรศน์และเครื่องตรวจวัดดิจิทัล การเขียนประวัติศาสตร์เอกภพวิทยาที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นในปัจจุบันก็ไม่ต่างจากในอดีตตรงที่เราจำเป็นต้องใช้หรือสร้างอุปกรณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

เรื่องโดย ทิโมที แฟร์ริส นิตยสาร National Geographic  (http://www.ngthai.com/ArticleDetail.aspx?ArticleId=159)



กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ก.พ. 15, 10:13
ออกจากความมืดน่าพรั่นสะพรึง^ มาดูแสงสีกันต่อ :)

      นอกจากนี้ยังมีเนบิวลาอื่นๆ ซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว ได้แก่ เนบิวลาดาวเคราะห์(Planetary Nebula) ที่ขับออก
มาจากผิวนอกของดาวฤกษ์สิ้นอายุขัย ด้วยรูปร่างกลมคล้ายดาวเคราะห์จึงได้ชื่อเช่นนี้ ส่วนเปลือกนอกนั้นสุกสว่าง
ด้วยแสงจากดาวที่ยังเหลืออยู่ในใจกลาง ในขณะที่ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ยักษ์วาระสุดท้ายจะระเบิดเกิดเป็นซุเปอร์
โนวาแล้วเหลือเนบิวลาซากซุเปอร์โนวา(Supernova Remnant) ซึ่งเรืองแสงจากเศษดาวที่เหลืออยู่ และ
     ยังมีอีกคำหนึ่งคือ  Spiral Nebula ใช้เรียกดาราจักรซึ่งมีโครงสร้างเห็นเป็นรูปกังหันที่เคยเป็นที่ถกกันว่า
เป็นเนบิวลาอยู่ใน หรือคือ อีกดาราจักรแยกต่างหากจากทางช้างเผือก จนเมื่อมีการศึกษาพบว่าเป็นอย่างหลัง
คำนี้จึงถูกยกเลิกไป

ซ้าย Planetary Nebula, ขวา Supernova Remnant


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ก.พ. 15, 10:20
(อ้างถึงภาพในความเห็น 142 เรื่องสีแดงและน้ำเงินของเนบิวลาสองแบบนั้น มีคำอธิบายว่า)
         เมื่อแสงส่องสู่มวลเมฆที่แสงพอผ่านได้ แสงจะถูกฝุ่นกระเจิงแสงให้มัวลง(extinction) และ
เนื่องจากขนาดของฝุ่นเท่าความยาวของคลื่นแสงสีน้ำเงินๆ จึงจะถูกกระเจิงออกไป ส่งผลให้แสงที่มาถึง
ให้เห็นเป็นแสงสีแดงมากกว่า(เรียกว่า interstellar reddening) ในขณะที่ เมื่อมองไปยังด้านข้างของ
เมฆฝุ่นซึ่งแสงดาวสาดส่องเราจะเห็นแสงสีน้ำเงิน(ที่กระเจิงออก) เช่นดังในภาพคู่ด้านขวาของ Egg Nebula
ที่ผ่านตาแล้ว


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 ก.พ. 15, 10:21
          ปรากฏการณ์นี้ที่โลกเราก็คือ ท้องนภาที่เราเห็นเป็นสีฟ้าตอนกลางวัน(สีแดงช่วงยามเย็น)
ก็เป็นผลมาจากการกระเจิงแสงตะวันโดยชั้นบรรยากาศของโลก


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 01 มี.ค. 15, 09:53
        นักท่องอวกาศ Terry Virts ทวีตภาพ'นิ้วมือแยก' เพื่อแสดงคารวะอาลัยนักแสดง
Leonard Nimoy ผู้รับบท Mr. Spock ใน Star Trek ซึ่งเพิ่งจากไปเมื่อ 27 กพ. นี้
        ด้านขวาของนิ้วมือในภาพคือชายฝั่ง Massachusetts รัฐเกิดของ Nimoy(เมือง Boston)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มี.ค. 15, 10:49
อนิจจา คุณสป๊อคของแฟนๆ ยุคปลาย 1960s  ลากลับดาววัลแคนชั่วนิรันดร์เสียแล้ว
คุณหมอ SILA ไม่ต่อกระทู้เก่า รำลึกถึงหน่อยหรือคะ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 มี.ค. 15, 11:18
RIP Leonard Nimoy, Mr.Spock. Live long and prosper.


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 15, 11:04
กลับสู่ มวลสารระหว่างดาว ครับ

          ที่มาของมวลสารระหว่างดาวส่วนใหญ่ก็คือ อังคารของดาวสิ้นกาล เมื่อไฮโดรเจนถูกหลอมรวมเป็น
ฮีเลียมจนหมดสิ้นแล้ว ฮีเลียมก็จะถูกหลอมต่อไปได้เป็นธาตุอื่นๆ เกิดการเสียสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงและ
แรงดันส่งผลให้ดาวขับสารออกจากดาวด้วยความเร็วสูง และหากเป็นสสารที่ถูกขับออกมาจากการแตกระเบิด
ซุเปอร์โนวาที่มีการปลดปล่อยพลังงานมหาศาล, สสารนั้นก็จะถูกขับออกด้วยความเร็วและอุณหภูมิสูงลิบ

ภาพหายากจาก astroanarchy.blogspot.com นำเสนอ จุดจบสองแบบของสองดาวเคียงกัน - เนบิวลา
(Sharpless Catalogue) Sh2-221, 216 แห่งกลุ่มดาวสารถี Auriga
 
       ซ้ายมือคือ Supernova Remnant หม่นมัว ส่วนขวามือ คือ Planetary Nebula ขนาดใหญ่ที่มี
อายุเก่าแก่จนจางสี


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 15, 11:07
          นอกจากนี้สสารระหว่างดาวยังมีที่มาจากดาวที่ยังไม่สูญเสียสมดุลได้ด้วย นั่นคือ ลมจากดาว
(เช่นเดียวกับลมสุริยะ) ที่พัดพาอนุภาคและรังสีสู่พื้นที่ระหว่างดาว ด้วยเหตุนี้องค์ประกอบทางเคมีของ
ดาวและมวลสารระหว่างดาวจึงใกล้เคียงกันมาก

Blowin' in the Stellar Wind - นาซาเสนอภาพ Elephant's Trunk nebula ที่ 2,450 ปีแสงจากโลก  
      
        ที่นั่น เมฆฝุ่นและแก๊สถูกผลักดัน, ริดกร่อนด้วยอิทธิพลจากดาวดวงยักษ์ ใกล้บริเวณใจกลางภาพคือ
งวงของเนบิวลาซึ่งเป็นเมฆหนาแน่นทานทนลมและรังสีดาว
        งวงช้าง - Elephant trunk เป็นคำที่นักดาราศาสตร์ใช้เรียกโครงสร้างลักษณะนี้ เมื่อดาวยักษ์หรือ
กระจุกดาวใกล้เคียงแผดรังสี UV และลมดาวเริงแรงพัดฝุ่นแก๊สกระเจิงไป ทิ้งไว้เพียงส่วนที่เป็นเมฆหนาแน่น
ที่สุด ดาวตัวการที่นี้คือ HR8281 ดาวดวงที่อยู่สูงที่สุดของดาวสามดวงซึ่งเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมแถบใจ
กลางภาพ อาณาเขตฤทธิ์เดชของดาวดวงนี้คือฝุ่นเมฆสีเขียวสดที่รายล้อมเป็นวงรอบ
        ส่วนจุดมืดที่ปลายงวงนั้นคือช่องว่างในแก๊สที่เกิดจากคู่ดาวรุ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในเมฆนั้น รังสีและลมจากดาว
คู่นี้พัดฝุ่นแก๊สโดยรอบกระเจิงไปเหมือนกับลมรังสีของดาวยักษ์แต่ระดับขนาดคนละรุ่น และ ดาวสีแดงที่กระจาย
อยู่ไม่กี่ดวงนั้นคือ ดาวรุ่งเกิดใหม่ยังอยู่ในรังฝุ่นรายรอบ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 15, 11:28
       ฝุ่นระหว่างดาวนี้เกาะกลุ่มรวมตัวกันยาวนานนับล้านปีจนมีความหนาแน่นเป็นเมฆฝุ่นที่มีองค์
ประกอบภายในแตกต่างกันไป บางแห่งที่อาจพบว่ามี อินทรีย์โมเลกุล ในบางเมฆฝุ่นซึ่งมาจาก
ซุเปอร์โนวา
       ธาตุทั้งหลายมากมีบนโลกเรานี้ก็ได้มาจาก 'ซุปวา' ในอวกาศ จากการตรวจมวลสารระหว่างดาว
พบว่า มีธาตุราว 30 ชนิดของตารางธาตุ

ภาพ Crab Nebula อยู่แถบกลุ่มดาววัว Taurus คือซาก'ซุปวา' ของดาวยักษ์เมื่อราวหนึ่งพันปีก่อน
(ปี 1054) ธาตุที่ตรวจพบของ Crab Nebula นี้, นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้วก็คือ อ็อกซิเจน
กับนีออน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 มี.ค. 15, 14:23
          นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ในมวลสารนี้แล้ว ยังตรวจพบ
โมเลกุลอีกร่วม 200 ชนิดซึ่งรวมถึงโมเลกุลขนาดใหญ่เกิน 12 อะตอมด้วย
          ทั้งนี้ รังสี UV ที่สาดส่องฝุ่นอวกาศอาจมีผลทำให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์เชิงซ้อน หรือขบวนการ
carbonization(การเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นคาร์บอนหรือมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ) ที่สำคัญสุด
คือ รังสีอวกาศ และ ขบวนการจากความร้อนที่จัดการปรับเปลี่ยนฝุ่นอวกาศทำให้เมล็ดฝุ่นปะทะ, ปะทุ,
มีขนาดโตขึ้น  

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_interstellar_and_circumstellar_molecules (http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_interstellar_and_circumstellar_molecules)

^ List of interstellar and circumstellar molecules

     รายการโมเลกุลที่พบใน interstellar medium และ circumstellar envelopes(ส่วนของดาวฤกษ์
ที่มีรูปร่างค่อนข้างทรงกลม, ไม่ถูกอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงดึงให้จับอยู่กับแกนดาว มีที่มาจากลมระหว่างดาว
ที่หนาแน่นหรือมีอยู่แล้วก่อนดาวฤกษ์ดวงนั้นกำเนิด)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 มี.ค. 15, 14:29
        ที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่จากอวกาศเมื่อปีก่อน ได้แก่ การตรวจพบโมเลกุลที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ
พร้อมโครงสร้างที่มีแขนงซึ่งใกล้เคียงกับลักษณะโครงสร้างเฉพาะของอินทรีย์โมเลกุลเชิงซ้อนในสิ่งมีชีวิต
(เช่น กรดอะมิโน) เป็นครั้งแรกจากเมฆโมเลกุลยักษ์ซึ่งเป็นเรือนเพาะดาวย่านกลุ่มดาวธนู Sagittarius B2
ย่านเกือบใจกลางทางช้างเผือก อยู่ห่างจากโลกไป 27,000 ปีแสง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 มี.ค. 15, 14:32
       จากเดิมโมเลกุลอินทรีย์ที่ตรวจพบจะมีคาร์บอนเรียงตัวเป็นเส้นเดี่ยว ในขณะที่การตรวจพบ
โมเลกุลคราวนี้มีคาร์บอนเรียงตัวพร้อมแขนง(branched carbon-chain molecules) ของ
iso-propyl cyanide (i-C3H7CN) จัดเป็นโมเลกุลที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดเท่าที่มีการพบมา
และเชื่อว่าอาจมีอยู่มากมายในมวลสารระหว่างดาว
       การค้นพบโมเลกุลพิเศษครั้งนี้ ทำให้นักวิทย์เชื่อหวังว่า วันข้างหน้าน่าจะมีการตรวจพบโมเลกุล
ของ(สิ่งมีชีวิต คือ) กรดอะมิโนซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นลักษณะสำคัญนั่นคือการแตกแขนงข้างอย่างเช่น
โมเลกุลนี้ในมวลสารระหว่างดาว


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 10:59
          ท่ามกลางหมู่ดาวในดาราจักร, มวลสารระหว่างดาวในย่านที่สสารนี้มีความหนาแน่น
(เมฆโมเลกุล) คือ สถานแห่งบ้านกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ ซึ่งมีที่มาจากสสารและพลังงานของ
อังคารดาวดับ(เนบิวลาดาวเคราะห์), 'ซุปวา' และ จากลมระหว่างดาว   

           จากดาวดับขับอังคาร สู่มวลสารระหว่างดาว เมื่อถึงคราวมวลรวมตัวกันแน่นหนาเป็น
ย่านกำเนิดดาว นักวิทย์คิดวาดวัฏจักรดวงดาว - ดาวแตกดับเป็นธุลี ธุลีรวมกลับเป็นดาว ดังนี้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 11:01
ภาพเนบิวลานกอินทรี(Eagle Nebula) - เมฆแก๊สระหว่างดาวประกอบด้วยพลาสมา(-แก๊สไฮโดรเจน
มีประจุ) และส่วนที่เป็นแถบมืดพาดผ่านกลางเนบิวลาคือฝุ่นบัง ที่นั่นซึ่งห่างไกลจากโลกไปประมาณ
6,500 ปีแสง คือ แหล่งก่อกำเนิดดาวรุ่งดวงใหม่


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 11:06
             คือที่มาของ หนึ่งในภาพจากเนบิวลานกอินทรีที่โด่งดังที่สุด นั่นคือส่วนมืดมนนี้ที่เรียกว่า  
          เสาแห่งการก่อกำเนิด(Pillars of Creation) ย่านแห่งการก่อกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่
จากการรวมกลุ่มกันของแก๊สและฝุ่นที่มีความหนาแน่นมากในเมฆโมเลกุลขนาดฤกษ์ สลักเสลา
โดยการเคลื่อนไหวของลมดาวฤกษ์จากดาวยักษ์ ตัวเสาซ้ายที่สูงสุดนั้นมีความสูงประมาณ 4 ปีแสง
          เสานี้เป็นเมฆแก๊สไฮโดรเจนเย็นและฝุ่นซึ่งรวมตัวกันหนาแน่นยื่นออกจากกำแพงเมฆโมเลกุล
เป็นส่วนที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากการถูกฉีกกัดด้วยรังสี UV จากดาวเกิดใหม่ใกล้เคียง เรียกขบวนการ
นี้ว่า photoevaporation ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดก้อนแก๊สกลม(globule) ที่หนาแน่นยิ่งกว่าส่วนอื่น
ภายในเมฆเรียกว่า evaporating gas globule(EGG) ออกมา
           แก๊สและฝุ่นนี้รวมตัวกันแน่นด้วยแรงโน้มถ่วงในขณะที่ EGG ดึงสสารจากจากบริเวณโดยรอบ
ทำให้เมฆทวีความหนาแน่นพร้อมกับการเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้นของ EGG
           ในบาง EGG นี้เองที่ตัวอ่อนของดาวก่อกำเนิดขึ้น นั่นคือดาวที่หยุดเติบโตทันทีเมื่อ EGG ถูกเปิด
ออกและแยกตัวออกจากหมู่มวลแก๊สรายรอบ เมื่อ EGG พ่ายต่อขบวนการรังสีระเหยนี้ในที่สุดดาวดวงใหม่
ก็จะคลอดออกมา

ภาพรังสีเอ็กซ์และแสงที่ตามองเห็น


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 11:13
          ส่วนภาพล่าสุดเมื่อมกราคมปีนี้ เป็นภาพฉลองครบ 25 ปีของเสาแห่งการก่อกำเนิด หลังจาก
กล้องฮับเบิ้ลบันทึกภาพครั้งแรกแล้วเผยแพร่สร้างความฮือฮาในแวดวงเมื่อปี 1990
         รูปล่าสุดนี้ที่คมชัดแสดงสัดส่วนของเสามากกว่าเดิม ดาวรุ่งยังคงก่อกำเนิดจากเสาเมฆที่ถูกรังสี
จากกระจุกดาวรุ่งดวงยักษ์สลักเสลากัดกร่อนรอวันมลายไป ไอสสารที่ถูกแผดเผาระเหยสู่อวกาศแลเห็น
เป็นหมอกมัวสีฟ้าแถบขอบเสา

ภาพรังสี near-infrared และแสงที่ตามองเห็นให้ภาพที่คมชัดขึ้น


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 11:15
Then & Now เปรียบเทียบกับภาพดั้งเดิมที่คุ้นเคย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 15, 11:47
และสุดท้ายแต่ไม่น้อยสุด จากหน้ารายงานข่าวนาซา เมื่อเดือนกันยายน 2013
         ยาน Voyager 1 ซึ่งออกจากโลกไปนานสามสิบปีกว่าปีแล้ว แต่โลกยังไม่ลืม บัดนี้
ยานได้เข้าไปในพลาสมา(ส่วนที่จินตนาการวาดเป็นสีน้ำตาล) ของมวลสารระหว่างดาวแล้ว
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2012 นับเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่ส่งออกนอกระบบสุริยะ
ยานนี้จะหมดอายุขัยสิ้นพลังงานในอีก10 ปีข้างหน้า(ปี 2025)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 มี.ค. 15, 09:41
          จากภาพสวยงามมาดูภาพสวยหลอนกันบ้าง นั่นคือ Eastern Veil Nebula
เนบิวลาผ้าคลุมหน้าส่วนตะวันออก แลเห็นเป็นเค้าใบหน้าชวนหวาดผวา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 มี.ค. 15, 09:43
         เมื่อราวเกือบหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว ก่อนที่จะมีการจารจารึกปูมประวัติศาสตร์ แสงจากห้วงอวกาศ
ไกลลิบข้ามเวหามาเยือนฟากฟ้ายามราตรีส่องสว่างวาบเจิดจรัส ก่อนที่จะจางหายไปในไม่กี่สัปดาห์
ปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่า แสงนั้นคือการระเบิดของดาวฤกษ์ และได้มีการตั้งชื่อเมฆสีสวยสดที่เหลือ
ประดับฟ้าแถบนี้ว่า เนบิวลาผ้าคลุมหน้า Veil Nebula


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 มี.ค. 15, 09:45
          นั่นคือ ซากซุปวาขนาดใหญ่อยู่ในย่านกลุ่มดาวหงส์ Cygnus ที่ปลายปีกข้างหนึ่ง
ซากทั้งหมดนี้รวมเรียกอีกชื่อว่า Cygnus Loop อยู่ห่างจากโลกเราไปราว 1,500 ปีแสง
จากการวิเคราะห์แสงที่เปล่งออกมาพบว่ามีอ็อกซิเจน, ซัลเฟอร์ และไฮโดรเจน


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มี.ค. 15, 10:10
          ส่วนตะวันตกของเนบิวลา(ด้านล่างของภาพนี้) มีชื่อว่า เนบิวลาไม้กวาดแม่มด


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มี.ค. 15, 10:12
The Witch's Broom Nebula


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มี.ค. 15, 10:14
           เมื่อมองภาพขยายใกล้ แลเห็นดาวเจิดจ้าดวงนั้นคือ 52 Cygnus - ดาวยักษ์สีเหลือง
ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าดาวคู่แห่งหมู่ดาววงศ์หงส์ Cygnus


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มี.ค. 15, 10:35
       จากธุลีละอองดาวฤกษ์ขนาดยักษ์แบบ เนบิวลาซากซุปวา ต่อไปมาดูธุลีละอองดาวฤกษ์ขนาดย่อม
แบบ เนบิวลาดาวเคราะห์   Helix Planetary Nebula
 
          ดาวฤกษ์ขนาดดวงอาทิตย์ที่กำลังสิ้นอายุขัยปล่อยรังสี UV เปล่งแสงสว่าง แลเห็นเป็นเมฆหมอก
ดาวเคราะห์ Planetary Nebula นี้มีรูปลักษณ์แลดูคล้ายเนตรนภากาศ บ้างเรียกว่า Eye of Sauron
แห่ง Lord of the Rings
         เป็นหนึ่งในเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สุกสว่างและอยู่ใกล้โลกที่สุด('แค่'ราว 700 ปีแสง) ในแถบหมู่ดาว
คนเท(คนโท) น้ำ(Aqaurius)
         ผลงานศิลปะสร้างสรรค์โดยธรรมชาตินี้ คืออังคารของดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ของเรา ที่ใจกลาง
ของดาวนี้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่คือ ขบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นผันไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมปลดปล่อยพลังความร้อน
และแสงสว่างออกมา เมื่อไฮโดรเจนหมดลง ดาวก็หันไปใช้ฮีเลียมเป็นเชื้อเพลิงหลอมให้เกิดธาตุหนักกว่าขึ้น
มา ได้แก่ คาร์บอน, ไนโตรเจน และ อ็อกซิเจน
          จนกระทั่งเมื่อฮีเลียมหมดลง, ดาวที่ใกล้ตายก็จะกระจายชั้นแก๊สด้านนอกออกไป เหลือมวลไว้เป็น
ดาวแคระขาวในส่วนใจกลางที่มีขนาดเล็ก, หนาแน่น และร้อนระอุ มีขนาดประมาณโลกเราแต่มีมวลมากกว่า

บันทึกโดยกล้อง Spitzer/IRAC(Infrared Array Camera)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มี.ค. 15, 10:38
        ประกายเจิดจรัสของเมฆหมอกนี้มีสเปคตรัมที่กว้างตั้งแต่ ultraviolet - infrared, รังสี uv
เข้มข้นแผดเผาชั้นแก๊สให้โชนแสงเป็นสี infrared ในขณะที่กล้องอีกตัวจับแสง ultraviolet เห็น
เป็นสีน้ำเงิน และอีกตัวจับสัญญาน infrared เป็นสีเหลือง นอกอาณาเขตเมฆหมอก
         ดาวแคระขาวที่เหลือมองเห็นเป็นจุดสีขาวขนาดเท่าปลายเข็มอยู่ใจกลางเมฆหมอก

Helix Planetary Nebula  บันทึกโดย Visible and Infrared Survey Telescope for Astronomy
(VISTA)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มี.ค. 15, 10:40
          กล้องนี้ยังได้จับภาพของโครงสร้างรูปเส้นสายของเมฆโมเลกุลเย็นที่จับตัวกันเป็นเส้นในแนวรัศมี
ชี้ออกจากใจกลาง เมฆโมเลกุลไฮโดรเจนนี้มีชื่อเรียกว่า ปมดาวหาง(cometary knots) แต่มีความยาว
เท่าความกว้างของระบบสุริยะ รวมตัวกันแน่นจนทนทานแรงรังสีจากดาวใกล้ดับด้วยมีฝุ่นและแก๊สโมเลกุล
เป็นเกราะหุ้ม


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 25 มี.ค. 15, 10:42
          ภาพขยายปมปริศนานี้ที่รอคำอธิบาย คือ ปม(knot) แก๊สไฮโดรเจนจำนวนมหาศาล รูปร่างราว
กับดาวหางชี้ออกจากดาวใจกลาง หนึ่งในสมมติฐานที่มาคือ แก๊สที่ถูกขับออกด้วยลมดาวจากดาวใจกลาง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 มี.ค. 15, 09:50
        ภาพจาก Hay Creek Observatory เผยให้เห็นอาณาบริเวณสุกสว่างข้างในซึ่งมีความยาว
ราว 3 ปีแสง เมื่อรวมกับส่วนขอบนอกที่จางกว่า เนบิวลานี้จะมีความกว้างยาวราว 6 ปีแสง จุดสีขาว
ที่ตรงกลางคือ ดาวแคระร้อนระอุใจกลางเนบิวลานี้


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 มี.ค. 15, 09:53
             วาระสุดท้ายของดาวขนาดยักษ์ที่ดับลงด้วยการระเบิดแบบซุเปอร์โนวานั้น ได้หว่านสสาร
กระจายสู่มวลสารระหว่างดวงดาวที่ในเวลาต่อมา สสารเหล่านี้ได้รวมตัวกันเกิดเป็นมวลหมู่ดาวพราวฟ้า
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือระบบสุริยะของเราด้วย 
             ประมาณการว่าระบบสุริยะก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเชื่อว่า คลื่นกระแทก
(shockwave) จากซุปวาเมื่อ 4,700 ล้านปี ส่งผลให้เมฆโมเลกุลยักษ์ยุบตัวลงเป็นระบบสุริยะ
             เนื่องจากช่วงระหว่างการระเบิดซุปวานี้ได้เกิดมีขบวนการสร้างธาตุกัมมันตรังสีขึ้นมาด้วย เมื่อ
นักวิทย์ทำการศึกษาระยะเวลาการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีนี้ ทำให้สามารถระบุเวลาของซุปวาได้ที่
100 ล้านปีก่อนกำเนิดระบบสุริยะ นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า มีเหตุการณ์ดาวแดงยักษ์เกิดขึ้นเมื่อ
30 ล้านปีก่อนกำเนิดระบบสุริยะด้วย
             นั่นคือ ระบบสุริยะของเรานี้ได้รับสสารที่มากับแรงกระแทกของซุปวาและตามมาด้วยลมจาก
ดาวแดงยักษ์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 มี.ค. 15, 09:56
         ส่วนวาระสุดท้ายของดาวขนาดย่อมยามเมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไฮโดรเจนใกล้หมด ดาวจะปลด
ปล่อยแสงส่องสว่างกว่าเดิมนับพัน, นับหมื่นเท่า และมีขนาดขยายใหญ่ขึ้น
         ในขณะที่ดาวใกล้จะดับ แต่ดาวกลับสร้างธาตุกำเนิดชีวิตขึ้น นั่นคือ ธาตุคาร์บอนที่เกิดมาจากเตา
นิวเคลียร์ของดาวแขนง AGB (ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 มี.ค. 15, 09:59
         คาร์บอนและธาตุหนักตัวอื่นๆ จะค่อยๆ ถูกปล่อยออกไปในลักษณะของลมฝุ่นโอบรอบดวงดาว
แลดูคล้ายรังไหม และ เฉกเช่นผ้าไหมสวยงามที่ถือกำเนิดจากรังไหม ในที่สุดรังฝุ่นนี้ก็จะกระจายออกไป
กลายเป็น เมฆหมอกดาวเคราะห์ Planetary Nebula เนบิวลาแสนงามแห่งห้วงอวกาศและทิ้งดาวแคระ
สีขาวไว้เบื้องหลัง

ภาพ NGC 2440 - เนบิวลาดาวเคราะห์ - เมฆหมอกที่ถูกขับออกมาจากดาวสิ้นอายุขัย เหมือนดั่งรังไหม
ห่อหุ้มดาวแคระขาวตรงใจกลางซึ่งเป็นหนึ่งในดาวที่ร้อนแรงสุดด้วยอุณหภูมิผิวเกือบถึง 200,000 Celsius
แผดรังสี UV ทำให้เนบิวลาเปล่งแสง ในขณะที่ส่วนซึ่งเป็นฝุ่นบังแสงแลเห็นเป็นเส้นมืดพุ่งออกจากใจกลาง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 09:54
          คาร์บอนและธาตุอื่นๆ ในลมจากดาวแขนง AGB จะผสมปะปนกับมวลสารระหว่างดาว เป็น
มวลพร้อมสำหรับการก่อเกิดเป็นดาวดวงใหม่ และ
          อาจกล่าวได้ว่าธาตุเกือบทุกชนิดบนโลกของเรานี้มีที่มาจากอังคารดาว โดยที่นอกจากไฮโดรเจน
และฮีเลียม(ซึ่งมาจากฝุ่น Big Bang)แล้ว คาร์บอน,ไนโตรเจน, อ็อกซิเจนในร่างกายของมนุษย์ทั้งหลาย
ตลอดจนธาตุหนักอื่นๆ ก็น่าจะมาจากภัสมธุลีเศษละอองฝุ่นดาวดับในอดีตเมื่อก่อนกำเนิดระบบสุริยะนั่นเอง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 09:56
         จากการคำนวณจำนวนอะตอมของร่างกายเรามีจำนวนทั้งสิ้นมหาศาลราว 7 x 10^(ยกกำลัง)
27 เป็นอะตอมไฮโดรเจน 4.2 x 10^27 ส่วนที่เหลือเป็นอะตอมที่มาจากละอองดาวคิดได้เป็น 40 %
         เนื่องจากอะตอมจากละอองดาวนี้เป็นธาตุหนัก ดังนั้นหากคิดเป็นมวลแล้วก็จะมีค่ามากกว่าคิดตาม
จำนวนอะตอม ไฮโดรเจนในร่างกายของเรานั้นส่วนใหญ่ไหลไปในรูปของน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบราว 60%
ของร่างกาย ซึ่งคำนวณแล้วได้เป็นมวลไฮโดรเจนเพียงราว 11 % ของมวลของน้ำ
         จากข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถสรุปได้ว่า 93 % ของมวลร่างกายเรานั้นมาจากละอองดาว


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 09:59
นักดาราศาสตร์ชื่อดัง(ซึ่งเคยกล่าวถึงไปแล้ว) Carl Sagan บอกว่า


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 10:01
นักจักรวาลวิทยา ผู้เคลื่อนไหวให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดลบความเชื่อเดิมๆ
Lawrence Maxwell Krauss ประกาศว่า


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 10:05
อีกภาพ


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 มี.ค. 15, 10:08
         ไม่ว่าเราจะมาจากธุลีดาวดวงไหนในฟ้ากว้าง ทางสุดท้ายที่เราต้องกลับคือหวนคืนเป็นธุลี 

(แปลงแต่งเติมจากเนื้อเพลง Woodstock ที่สมาชิกเรือนไทยบางคนน่าจะเคยคุ้น,ฮัมได้
                   We are stardust We are golden
         And we've got to get ourselves Back to the garden)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 มี.ค. 15, 12:49
เห็นคำว่า "stardust" แล้วนึกถึงเพลงโฆษณาภาพยนตร์ที่ว่า

"ละอองดาว ละอองดาว ละอองดาว ของหนุ่มสาวที่คาเธ่ย์"  ;D  ;D  ;D


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 มี.ค. 15, 15:06
จากนิยายดังสู่หนังปี 2507 :)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 มี.ค. 15, 15:11
         มีเพลงละอองดาวประกอบหนัง,ละคร แต่ขอเลือกเพลง Stardust จากเสียงอมตะ
ของ Nat King Cole

          Stardust | Nat King Cole | #1 YOUTUBE VERSION (best quality) (http://www.youtube.com/watch?v=GzRWwQK5OQ0#)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ธ.ค. 15, 10:13
ข่าวดาราศาสตร์ไทยในระดับโลก

           ดาวประดับฟ้าได้ชื่อไทยว่า ชาละวัน,ตะเภาแก้ว และ ตะเภาทอง จากพลังการโหวตของคนไทย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ธ.ค. 15, 10:14
         47 หมีใหญ่(47 Ursae Majoris; HIP 53721) หรือต่อไปนี้จะมีชื่อสามัญว่า ชาละวัน(Chalawan)
และดาวบริวารทั้ง 2 ดวง ซึ่งก็คือ 47 หมีใหญ่ บี และ 47 หมีใหญ่ ซี หรือ ตะเภาทอง(Taphao Thong) และ
ตะเภาแก้ว(Taphao Kaew) ตามลำดับ เป็นหนึ่งในบันทึกหน้าใหม่ของวงการดาราศาสตร์ไทย

เชิญอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ครับ               

http://thaiastro.nectec.or.th/nameexoworlds/ (http://thaiastro.nectec.or.th/nameexoworlds/)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ธ.ค. 15, 10:16
FB สมาคมดาราศาสตร์ไทย

        http://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety/?fref=nf (http://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety/?fref=nf)

ภาพจาก starlab.ru


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ธ.ค. 15, 11:18
         อ่านข่าวแล้วชวนให้นึกถึงบทสักวาดาวจระเข้ ในแบบเรียนชั้นประถม. กลุ่มดาวจระเข้ของไทยนี้
ฝรั่งมองเป็นดาวหมีใหญ่ Ursae Majoris

จากสมาชิกหมายเลข 936681 @ http://pantip.com/topic/31986330 (http://pantip.com/topic/31986330)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 ธ.ค. 15, 11:29
ในฐานะชาวพิจิตร ผมหละดีจั๊ย ดีใจ แต่ก็มีข้อสงสัยจริงๆ ว่า ในเมื่อเป็นดาวในกลุ่มดาวจระเข้ เหตุใดจึงไม่ใช้ตัวละครฝ่ายจระเข้ทั้งหมด เป็น ชาละวัน เลื่อมลายวรรณ วิมาลา ซึ่งมีเหตุผลกว่า ที่จะเป็นสองตะเภาธิดาเจ้าเมืองพิจิตร


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ธ.ค. 15, 12:02
อ่านข่าวแล้วชวนให้นึกถึงบทสักวาดาวจระเข้ ในแบบเรียนชั้นประถม

สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นคืนแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับฟ้าขอลาเอย


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ธ.ค. 15, 14:59
          สักวานี้อยู่ในแบบเรียนภาษาไทยชั้นประถม เป็นบทสักวาอาขยานที่โรแมนติกเกินวัย(ประถม)
ในเว็บต่างๆ มีบทสักวานี้ที่มีบางคำแตกต่างกันไป

          เวอร์ชั่นนี้มาจาก http://www.slideshare.net/piyarerk/008-4-35905925 (http://www.slideshare.net/piyarerk/008-4-35905925)
ซึ่งเป็นบทเรียนชุดฝึกทักษะการเขียนร้อยกรอง น่าจะถูกต้องกว่าเวอร์ชั่นอื่น

บางเว็บระบุว่าผู้แต่งคือ พระสุนทรโวหาร (ภู่)


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ธ.ค. 15, 15:52
แต่ก็มีข้อสงสัยจริงๆ ว่า ในเมื่อเป็นดาวในกลุ่มดาวจระเข้ เหตุใดจึงไม่ใช้ตัวละครฝ่ายจระเข้ทั้งหมด เป็น ชาละวัน เลื่อมลายวรรณ วิมาลา  

ดาวฤกษ์ 47 Ursae Majoris (https://en.wikipedia.org/wiki/47_Ursae_Majoris) หรือ ดาวชาละวัน มีดาวเคราะห์เป็นบริวารอยู่ ๓ ดวง คือ 47 Ursae Majoris b ชื่อใหม่คือ ดาวตะเภาทอง และ 47 Ursae Majoris c ชื่อใหม่คือ ดาวตะเภาแก้ว ยังเหลืออีกดวงหนึ่งคือ 47 Ursae Majoris d ยังไม่มีชื่อ เห็นที เลื่อมลายวรรณและวิมาลา จะต้องแย่งชิงตำแหน่งนี้กันละหนอ  ;D


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ก.พ. 16, 15:30
          จากข่าวดาราศาสตร์ที่สะเทือนเลื่อนลั่นโลกเรื่องการตรวจจับ คลื่นแรงโน้มถ่วง ได้สำเร็จ
ตามมาด้วยข่าวนี้จากแวดวงดาราศาสตร์ไทย -

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยผลวิจัยหาชมยาก ปรากฏการณ์หนึ่งในล้าน
ดาวแคระขาวกลืนดาวเคราะห์บริวาร ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวแห่งชาติของไทย


http://news.mthai.com/hot-news/general-news/480251.html (http://news.mthai.com/hot-news/general-news/480251.html)

         เมื่อนักดาราศาสตร์ไทยและเทศร่วมกันตรวจติดตามปรากฏการณ์นี้ โดยไทยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์
สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ร่วมกับ
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ของมหาวิทยาลัยวอร์ริค ประเทศสเปน

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติที่ดอยอินทนนท์
http://travel.mthai.com (http://travel.mthai.com) 


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ก.พ. 16, 15:49
          ศึกษาติดตามดาวเคราะห์บริวารถูกแรงโน้มถ่วงสลายมวล เมื่อเข้าใกล้ดาวแม่ซึ่งเป็น ดาวแคระขาว
มีชื่อว่า ดาว WD 1145+017 หลังจากพบว่าดาวดังกล่าวมีความสว่างผิดปกติเมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา

---------
          ดาวแคระขาวเป็นดาวเช่นดวงอาทิตย์ที่ก้าวสู่ช่วงสุดท้ายของวิวัฒนาการของดาวที่มีมวลไม่มาก
เมื่อปฏิกิริยาไฮโดรเจนนิวเคลียร์ฟิวชั่นจบลง ดาวจะกลายเป็นดาวแดงยักษ์ เปลือกนอกจะหลุดออกเหลือ
แกนขนาดเท่าโลกกลายสภาพเป็นดาวแคระขาว(ดูเรื่องวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ในความเห็นก่อนหน้านี้)

--------
        ดาว WD 1145+017 ดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 570 ปีแสง ในแถบกลุ่มดาว Virgo ถูกค้นพบโดยนาซา

sci-news.com


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ก.พ. 16, 16:07
        เมื่อข้อมูลจากยานเคปเลอร์ที่นาซาส่งออกไปสำรวจอวกาศได้พบปรากฏการณ์ วัตถุขนาดใหญ่เท่ากับ
ดาวเคราะห์น้อยเซเรส Ceres ของระบบสุริยะ ถูกกลืนเข้าไปในวงจรมรณะรอบดาวแคระขาวดวงนี้ จากการ
สังเกตการณ์จับจังหวะแสงวาบได้ทุก 4.5 ชั่วโมง คำนวณวงโคจรของวัตถุนี้ได้ที่ประมาณ 520,000 ไมล์จาก
ดาวแคระขาว
         จากนั้น นักดาราศาสตร์จึงใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินส่องไปติดตามสังเกตการณ์ต่อพบว่าเมื่อวัตถุ
เคลื่อนผ่านดาวแคระขาวนี้มีผลให้ความสว่างของดาวลดลง 40 %
         ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ คือการกลืนดาวเคราะห์บริวารของดาวแคระขาว ที่กระทำโดยแรงโน้มถ่วงมหาศาล
ดูดดาวบริวารให้เข้ามาในระยะใกล้ จากนั้นพลังของแรงโน้มถ่วงนี้ก็จะฉีกมวลของดาวเคราะห์จนแตกเป็นกลุ่มก๊าซ
และเศษมวลของดาวเคราะห์ ให้กระจายอยู่ในวงโคจรแผ่นวงแหวนรอบดาวแคระขาว จนในที่สุด ดาวเคราะห์บริวาร
ก็จะแตกสลายไป

31tv.ru


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 22 ก.พ. 16, 16:19
       นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ไทยได้เห็นจุดจบของดาวเคราะห์แบบวันต่อวัน ผ่านกล้องโทรทรรศน์
ของประเทศไทย
       จากการเฝ้ามองชะตากรรมของดาวบริวารในระบบดาวใกล้บ้านเราดวงนี้แล้วมองย้อนกลับมา ก็จะเห็น
ชะตากรรมของโลกเราใบนี้ในหลายพันล้านปีข้างหน้าว่าเหมือนกัน นั่นคือเมื่อดวงอาทิตย์หมดพลังงานลง
ก็จะกลายเป็นดาวแคระ และโลกพร้อมทั้งดาวบริวารระบบสุริยะดวงอื่นๆ ก็จะทยอยกันถูกฉีกเคี้ยวแหลกตามๆ
กันไปในที่สุด

ภาพวาดดาวแคระขาวเคี้ยวดาวบริวาร  

sci-news.com


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 01 มี.ค. 16, 11:06
          คุณอาจวรงค์ นักสื่อวิทยาศาสตร์,นักเขียน แต่งกลอนนี้ลงเฟซบุค อ่านแล้วชอบขอแชร์


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 01 มี.ค. 16, 11:08
imagine.gsfc.nasa.gov/science/objects/stars1.html


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 01 มี.ค. 16, 11:12
          ๒ คำสุดท้ายของวรรคส่งในบทที่ ๕ - ดาวดาว(น่าจะเป็น ดวงดาว) คุณวรงค์บอกว่าพิมพ์ผิดไป


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 มี.ค. 16, 14:25
กวีกาลแห่งดาวฤกษ์

๑.อันดวงดาวกลางฟ้ายามราตรี
มิได้มีอายุมั่นอนันต์สมัย
แต่มีเกิดแก่ดับสลับไป
เป็นวงจรอยู่ในจักรวาล

๒.เมื่อกลุ่มแก๊สดึงดูดกันพลันหนาแน่น
เกาะเป็นก้อนกลายเป็นแก่นของมวลสาร
ไฮโดรเจนร้อนเร่งเปล่งพลังงาน
เป็นสายธารแสงสว่างอย่างมณี

๓.แต่วันหนึ่งที่เชื้อเพลิงเริ่มร่อยหรอ
แรงโน้มถ่วงเริ่มไม่พอจะอัดขยี้
ให้ดาวนั้นคงรูปร่างไว้อย่างดี
มันจึงเริ่มอ้วนพีเป็นสีแดง

๔.พอดาวเฒ่าขยายตัวถึงจุดหนึ่ง
แรงโน้มถ่วงจะตบผึงเหมือนกลั่นแกล้ง
ให้ดาวฤกษ์แตกพร่างอย่างรุนแรง
กลายเป็นแสงโนวามหาประลัย

๕.ละอองแก๊สจะกระจายหลายปีแสง
เป็นถิ่นแห่งเนบิวลาอยู่อาศัย
รออีกหลายพันล้านปีที่ยาวไกล
แก๊สจะเริ่มรวมกันใหม่เป็นดวงดาว *

๖.แม้ดาวฤกษ์แสนใหญ่โตกว่าโลกา
เมื่อถึงครายังแตกดับลับหนหาว
ชีวิตคนแค่พริบตาดาราพราว
จงเร่งเร้าอย่าประมาททุกชาติไป

อาจวรงค์  (https://www.facebook.com/ardwarong/photos/pb.406167566171094.-2207520000.1455928573./916714425116403/?type=3)
๑๐ ก.พ. ๒๕๕๙


* แก้ไขตามความเห็นของคุณศิลา


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 03 มี.ค. 16, 13:57
จึงเป็นที่มาของข้อสอบข้อที่ว่า

อ้างถึง
4.ข้อคิดใดที่ได้จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
1.น้ำขึ้นให้รีบตัก
2.สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
3.ทุกสิ่งดำรงอยู่และดับไป
4.รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา
5.เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

 ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 24, 10:59
ค้นพบวัตถุปริศนา! อาจเป็นดาว'นิวตรอน' ขนาดใหญ่ที่สุดหรือหลุมดำขนาดเล็กที่สุด

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ นำโดยนักดาราศาสตร์จาก Max Planck Institute for Radio Astronomy ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT ค้นพบพัลซาร์ในกระจุกดาวทรงกลม NGC 1851 ที่มีวัตถุปริศนาโคจรอยู่รอบพัลซาร์นี้ ซึ่งวัตถุดังกล่าวอาจจะเป็นดาวนิวตรอนที่ใหญ่ที่สุด หรือหลุมดำที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา หรือเคยคาดการณ์กันว่าจะสามารถพบได้ในธรรมชาติ บ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะขยายขอบเขตความเข้าใจของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Science ในวันนี้ (19 มกราคม 2024 ตามเวลาประเทศไทย) [1]
เมื่อดาวฤกษ์มวลมากสิ้นอายุขัยลง แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันจะบีบอัดแกนกลางลงจนปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นหนึ่งในการระเบิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอกภพ ส่วนแกนกลางที่หลงเหลืออยู่นั้น แรงระเบิดอันมหาศาลจะดันอะตอมทั้งหมดให้ไปอยู่รวมกัน เป็นนิวเคลียสขนาดมหึมาเท่ากับดาวทั้งดวง กลายเป็นวัตถุที่เราเรียกว่า “ดาวนิวตรอน”

บางครั้งดาวนิวตรอนจะแผ่คลื่นวิทยุออกมาจากบริเวณขั้วเหนือ-ขั้วใต้ ซึ่งเราจะสามารถตรวจพบสัญญาณของมันได้ ดาวนิวตรอนที่หมุนอย่างรวดเร็วจะสาดสัญญาณวิทยุนี้แผ่ออกไปโดยรอบ สำหรับบนโลกของเราจะตรวจพบได้เพียงแต่สัญญาณวิทยุที่สว่างขึ้น และหรี่ลงอย่างเป็นจังหวะ เราเรียกสัญญาณในลักษณะนี้ว่า “พัลซาร์” ซึ่งมาจากดาวนิวตรอนนั่นเอง


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 24, 11:00
ดาวนิวตรอนเป็นวัตถุหนึ่งในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล โดยทฤษฎีแล้ว เราเชื่อว่าดาวนิวตรอนที่มีมวลมากเกินไป จะไม่สามารถทานแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของตัวมันเองได้ และจะยุบตัวลงกลายเป็นหลุมดำไปในที่สุด ตามความเข้าใจปัจจุบัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากพอที่จะยุบตัวลงเป็นหลุมดำได้ด้วยตัวเอง จะต้องกลายไปเป็นหลุมดำที่มีมวลตั้งแต่ 5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ขึ้นไป ในขณะเดียวกัน ขอบเขตของดาวนิวตรอนที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงสเถียรภาพเอาไว้ได้ เรียกว่า Tolman–Oppenheimer–Volkoff limit จะมีมวลเพียง 2.2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีช่องโหว่อยู่ระหว่าง 2.2 ถึง 5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ที่เราเชื่อว่าไม่ควรจะมีดาวนิวตรอน หรือหลุมดำที่พบในธรรมชาติได้

แต่การค้นพบล่าสุดโดยทีมนักวิจัยจาก Max Planck Institute for Radio Astronomy (MPIfR) จากการสังเกตการณ์ด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา เพื่อทำการสังเกตการณ์พัลซาร์ที่อยู่ภายในกระจุกดาวทรงกลม NGC 1851 มีอัตราการกระพริบมากกว่า 170 ครั้งในทุก ๆ วินาที จัดเป็นพัลซาร์ที่มีอัตราการกระพริบในระดับมิลลิวินาที (millisecond pulsar)

สัญญาณอันสม่ำเสมอที่ถูกปล่อยออกมาจากพัลซาร์ เปรียบได้กับนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยน เวลาที่ผิดเพี้ยนไปแม้เพียงเสี้ยวของหนึ่งในพันวินาที จึงบ่งบอกได้ถึงตำแหน่งและกาลอวกาศที่อาจเปลี่ยนไป สืบเนื่องมาจากอิทธิพลของวัตถุอันหนาแน่นอีกวัตถุหนึ่งที่โคจรอยู่รอบ ๆ พัลซาร์ จึงทำให้เราทราบได้ว่าวัตถุที่โคจรรอบพัลซาร์ที่พบนี้ มีมวลมากน้อยเพียงใด

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าระบบดาวนี้ น่าจะเริ่มขึ้นจากดาวคู่ที่เป็นพัลซาร์โคจรไปรอบ ๆ ดาวแคระขาวธรรมดา จากนั้น ด้วยตำแหน่งซึ่งอยู่กลางกระจุกดาวทรงกลมที่เต็มไปด้วยดาวเก่าแก่จำนวนมากอยู่กันอย่างหนาแน่น อาจทำให้วัตถุปริศนาบางอย่างเฉียดเข้ามาใกล้ และส่งอิทธิพลแรงดึงดูดระหว่างวัตถุทั้งสาม ก่อนที่จะดีดดาวแคระขาวออกไปในที่สุด จนกลายเป็นเพียงพัลซาร์ที่โคจรรอบวัตถุปริศนานี้

จากการสังเกตการสัญญาณของพัลซาร์ที่ผิดเพี้ยนไปโดยละเอียด ทำให้เราค้นพบว่าวัตถุปริศนานี้ มีมวลมากกว่าดาวนิวตรอนที่หนักที่สุดที่ควรจะเป็นไปได้ และมีมวลน้อยกว่าหลุมดำที่มีมวลน้อยที่สุดที่เคยมีการค้นพบ จึงเท่ากับเป็นการค้นพบวัตถุที่อาจจะเป็นดาวนิวตรอนที่หนักที่สุด หรือหลุมดำที่เบาที่สุด


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 24, 11:01
หากวัตถุนี้เป็นหลุมดำ จะถือเป็นการค้นพบระบบพัลซาร์ที่โคจรรอบหลุมดำระบบแรก ซึ่งเป็นวัตถุหนึ่งที่นักดาราศาสตร์พยายามตามหามาตลอด เพราะการที่เรามีพัลซาร์โคจรรอบหลุมดำ ก็เท่ากับมีห้องปฏิบัติการที่สามารถส่งสัญญาณอย่างเที่ยงตรงราวกับนาฬิกา ที่จะช่วยให้เราเข้าใจหลุมดำ หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพที่บ่งบอกถึงการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศรอบหลุมดำได้ หรือหากเป็นเพียงดาวนิวตรอน ก็จะเป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลมากที่สุด แหกกฎทั้งปวงที่เราเข้าใจเกี่ยวกับดาวนิวตรอน ซึ่งอาจจะบ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องในทฤษฎีที่เรามีอยู่เกี่ยวกับดาวนิวตรอน หรือแม้กระทั่งสถานะใหม่ของสสารภายใต้ความหนาแน่นสูงที่เรายังไม่รู้จัก

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าการค้นพบนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ๆ อีกมาก และยังบ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาระบบโครงสร้างที่จะสามารถศึกษาสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 40 เมตร ณ หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับเอกภพที่เราอาศัยอยู่มากขึ้นไปอีกได้

เรียบเรียง: ดร. มติพล ตั้งมติธรรม - นักวิชาการดาราศาสตร์

อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.science.org/doi/10.1126/science.adg3005
[2] https://www.mpifr-bonn.mpg.de/pressreleases/2024/2

https://www.naewna.com/local/781709


กระทู้: จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ม.ค. 24, 12:35
รู้จัก "ดาวนิวตรอน" ผ่านการเล่าเรื่องของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทายาทศิลปินแห่งชาติ "แทนไท ประเสริฐกุล"

เริ่มต้นนาทีที่ ๔.๔๐

https://youtu.be/DmxtH5V9VeM