เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Package ที่ 05 ธ.ค. 06, 21:46



กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Package ที่ 05 ธ.ค. 06, 21:46
 ตราโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งนะครับที่ เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ หรือเยาวชนอยากจะเข้าเรียนในสถานศึกาานั้นๆ
แหม ก็เหตุนี้แหละครับผมเลยอยากรู้
ว่า ตราโรงเรียนของแต่ละท่านเป็นอย่างๆไร
อ้อ ถ้ามีความหมายละก็บอกกันด้วยก็ได้นะครับ

รูปนี้เป็นตราโรงเรียนของผมเองนะ คงไม่เคยได้ยินกันแน่เลย ..


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Karine!! ที่ 06 ธ.ค. 06, 23:18
 แฮะๆๆๆ....เขินจังเลย...อยากเอามาให้ดูนะ แต่ตอนนี้โรงเรียนข้าพเจ้าก็ดังอยู่พอสมควรเลยล่ะ เอ...ไม่เกี่ยวกัน ไม่มีตราโรงเรียนอะคะ

แต่อยากบอกจัง โรงเรียนสันติราษฎณ์วิทยาลัยคะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Karine!! ที่ 06 ธ.ค. 06, 23:51
 อ๊าก...เขียนชื่อโรงเรียนตัวเองผิด

สันติราษฎร์วิทยาลัย


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: กอประกาญจน์ ที่ 29 มี.ค. 07, 15:34
คุณ Package คะ ดิฉันเคยได้ยินชื่อโรงเรียนวิเชียรมาตุค่ะ อยู่จังหวัดตรังถูกไหมคะ

เราคนบ้านใกล้เรือนเคียงค่ะ ดิฉันเรียนที่สงขลา ถ้าสามารถหาตราประจำโรงเรียนมาได้จะนำมาแปะให้ดูค่ะ โรงเรียนวรนารีเฉลิม ใช้ตราวงพักตร์สีกรมท่าขาว ดูงามสมกับที่สมัยก่อนเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดคู่กับที่โรงเรียนมหาวชิราวุธเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดค่ะ ยุคนี้เป็นโรงเรียนสหศึกษากันหมดแล้ว


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 28 เม.ย. 07, 09:57
โรงเรียนวิเชียรมาตุ ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชทานกำเนิดไว้ ปัจจุบันเป็นสหศึกษาแล้วเหรอครับ เพิ่งทราบ นึกว่ายังเป็นโรงเรียนสตรีเสียอีก


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: หัวหน้าแดน ที่ 15 พ.ค. 07, 10:52
ผมจบวัดลิงขบ ตราโรงเรียนโดนยาหม่องยี่ห้อหนึ่งละเมิดลิขสิทธินำไปเป็นตราสินค้า ครับ

 ;D


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: หล่อลากดิน ที่ 04 ก.ค. 07, 13:45
มาช่วยอีกคนครับ
ตราโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย


(http://i59.photobucket.com/albums/g310/ttana/pic04.jpg)

เป็นรูปสมุด ไม้บรรทัด ดินสอ และปากกาขนไก่ หน้าปกสมุดอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ จปร พร้อม มหาพิชัยมงกุฏ บนหมอนรอง
มีดอกกุหลาบสี่สี (ซึ่งมีความหมาย ของแต่ละสี ผมจำไม่ได้ว่าคืออะไรบ้าง) ถัดมาเป็นริบบิ้น เขียนว่า "โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ"
ล้อมกรอบด้วยคำขวัญประจำโรงเรียน "สุวิชาโน ภวํ โหติ" "ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ"

นี่คืออีกหนึ่งความภาคภูมิใจในชีวิตผมครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 07, 15:06
ตราโรงเรียนเก่า เป็นโล่มีคำว่า Serviam อ่านว่าเซอร์เวียม เป็นภาษาละติน แปลว่ารับใช้
จุดมุ่งหมายคือ เตือนใจให้รู้ว่านอกจากรับใช้พระผู้เป็นเจ้าอย่างศาสนิกชนที่ดีแล้ว   ยังรับใช้ประเทศชาติและสังคมอีกด้วย
ส่วนดาวเจ็ดดวง ที่เห็นเรียงกันอยู่บนโล่คือดาวหมีใหญ่  สัญลักษณ์ของนักบุญแอนเจลาผู้ก่อตั้งคณะนักบวชนิกายที่สอนในโรงเรียน
เครื่องหมายกางเขน คือเครื่องหมายของคริสตศาสนา

ป.ล.  ดิฉันเป็นชาวพุทธค่ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Mastermander ที่ 09 ก.ค. 07, 19:40
 :D


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Package ที่ 12 ก.ค. 07, 22:10
เห็นทีคุณ UP คงจะเข้าใจผิดเสียแล้ว กระมังครับ "วิเชียรมาต"ุ เคยเป็นโรงเรียนชายล้วย ต่างหากครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Package ที่ 12 ก.ค. 07, 22:14
นำมาให้ยลครับ "วรนารีเฉลิม"


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Package ที่ 12 ก.ค. 07, 22:20
ช่างงดงามจริงๆครับ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: Package ที่ 14 ก.ค. 07, 13:15
เพิ่งทราบนะครับเนี้ยว่า คุณเทาชมพู สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 16 ก.ค. 07, 00:16
(http://www.benchama.ac.th/thai/images2/new_logoben.png)

พระมหาพิชัยมากุฎ รัชกาลที่ 5 เหนือฐานดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ต้นไผ่ใบว่าน ที่ 16 ก.ค. 07, 15:02
โรงเรียนเราเอง  ;D


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: aha_s ที่ 19 ก.ค. 07, 00:50
สวยงามจังครับ น่าจะมีเยอะๆนะครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 27 ก.ค. 07, 05:09
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยค่ะ

สัญลักษณ์คือคบเพลิง เสมือนเป็นไฟส่องทางให้นักเรียนทุกๆคน


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 30 ก.ค. 07, 14:06
ตอนนี้ย้ายชายคามาอยู่ที่นี่แล้วครับ :D
นำมาจากเว็บ ม.ครับ ;D
ตาม จุดประสงค์เจ้าของกระทู้


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ชื่นใจ ที่ 03 ส.ค. 07, 01:30
อ่า ... หายไปนาน โผล่มาอีกที คุณศรีมาอยู่รั้วเดียวกันซะละ ดีใจจังค่ะ ;D


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 07, 08:33
สวัสดีค่ะ คุณชื่นใจ  ยังเรียนหนักเหมือนเดิมไหมคะ

พยายามค้นตราของคณะเทาชมพู   ซึ่งเป็นรูปพระสุรัสวดีขี่นกยูง แต่เท่าไรก็ไม่เจอ  แม้แต่ในเว็บของคณะโดยเฉพาะก็ยังไม่เห็นภาพนี้
เลยได้แต่เอาเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย ที่ไปเรียนเป็นที่สุดท้ายมาให้ชมกันค่ะ



กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 04 ส.ค. 07, 07:36
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f9/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF.jpg)

อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าภาพนี้พอจะใช้ได้หรือไม่ ผมไปเจอในวิกิพีเดียพอดี
เป็นภาพที่งดงามมากทีเดียวไม่ทราบว่าศิลปินท่านใดเป็นผู้วาดไว้





กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 07, 08:34
ภาพนี้ละค่ะ    ใช่แล้ว
ไม่ทันนึกว่าจะหาได้ในวิกิพีเดีย  ขอบคุณคุณ pharmaceutical scientist มากๆ
ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครวาดไว้  แต่งามมากจริงๆด้วย


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: iko ที่ 06 ส.ค. 07, 12:52
สวัสดีค่ะ

เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะว่าใช้ตราโรงเรียนเหมือนกับอาจารย์เทาชมพูค่ะ จบจากโรงเรียนเรยีนาเชลี วิทยาลัย เชียงใหม่ค่ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ส.ค. 07, 13:21
เข้าใจว่าในเครือจะใช้เครื่องหมายเซอร์เวียมเหมือนกันหมด คือมาแตร์เดอี วาสุเทวี กุหลาบวัฒนา และเรยีนาเชลี  ค่ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: c_cin ที่ 11 ก.ย. 07, 23:19
โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมคะ
สัญลักษณ์โรงเรียนเป็นรูปคบเพลิง  มีอักษรย่อโรงเรียน อ.ผ.ว. (อุ้มผางวิทยาคม)  ด้านล่างเป็นผืนผ้าแพรมีคำว่า "โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม"

รูปเล็กไปนิด ไม่ว่ากันนะคะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: วรณัย ที่ 12 ก.ย. 07, 17:19
มาร่วมด้วยนะครับ
ตราโรงเรียนในกลุ่มจตุรมิตร

" สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์จำให้มั่น อัสสัมชัญ กรุงเทพคริสเตียน ร่วมเพียรจัดหา"

แกร่งกว่าเพชร ชมพูฟ้าน่าเชิดชู การกีฬาใครมีหลู่ให้รู้กันเลย
เทพศิรินทร์มาวินให้เทพของเรา จงสู้เขาเพื่อชิงนำชัยมา
อัสสัมชัญโห่ให้ลั่นเพื่ออวยชัย ให้ AC นามที่เรารักและทูนเทิด
ม่วงคือเกียรติเราผอง อันสีทองคือราคาค่าความดี ม่วงทองสัญลักษณ์ BCC เป็นเครื่องชี้ ศักดิ์ศรีมีราคา


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: วรณัย ที่ 12 ก.ย. 07, 17:20
เกียรติเราเชิดชู ให้รู้กันทั่วหน้า ธรรมศาสตร์-จุฬาฯลือชื่อไกล

เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน

ฉันรักธรรมศาสตร์  เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: วรณัย ที่ 12 ก.ย. 07, 17:23
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: วรณัย ที่ 12 ก.ย. 07, 17:34
โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
"ดอกบัวคือความบริสุทธิ์สะอาด เพชรคืออัญมณีล้ำค่า มีความแข็งแกร่งในตนเอง" สีประจำโรงเรียน ชมพู-ขาว-เขียว

โรงเรียนปทุมคงคา
"ดอกบัวหลวงสีชมพู บานลอยอยู่เหนือน้ำ น้ำหมายถึงกิเลส ดอกบัวหมายถึงผู้มีปัญญา คบเพลิงแทนความหมายของแสงสว่างและปัญญา" สีประจำโรงเรียน น้ำเงิน-ฟ้า

โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
"พระมหาพิชัยมงกุฏ" สีประจำโรงเรียน แสด-ดำ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: วรณัย ที่ 12 ก.ย. 07, 17:46
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
"สีแดงขวาน้ำเงิน แทนชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ สีแดงขาวแทนความเสียสละ กล้าหาญ และกระทำในสิ่งดีงาม 1944ปีเกิดสถาบัน " สีประจำโรงเรียน แดง-ขาว

โรงเรียนพรหมานุสรณ์ เพชรบุรี
"ช้างชูคบเพลิง แทนความหมายของแสงสว่างแห่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่" สีประจำโรงเรียน น้ำเงิน-ชมพู

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1
"อนุสรณ์ดอนเจดีย์" สีประจำโรงเรียน ดำ-เหลือง

โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี
พระปรมาภิไภยย่อ จภ สีประจำโรงเรียน น้ำเงิน-แสด


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 21:02
ผมลูกพระเกี้ยวครับ มีตราโรงเรียน ที่ คห. บนๆ ท่านหามาใส่ให้ดูแล้ว
อยากรู้คำแปลของคติพจน์ คำขวัญ ต่างๆ ในตราด้วยครับ
มีพี่ที่รักเคารพกันคนหนึ่งจบ มช. เป็นลูกช้าง ผมเคยแซวท่านว่าโรงเรียนท่านนั้นใช้ตราสัญลักษณ์ ช้างชูไอติมโคน ...
ถ้ามีลูกช้าง มช. แถวนี้ ขอทราบความหมายของคำขวัญของ มช. ภาษาบาลีในตราด้วยครับ ติดใจตรคำกลางว่า ทมยนติ เกี่ยวอะไรกับคุณหญิงป้าที่เป็นนักเขียนใหญ่หรือเปล่าก้ไม่ทราบ? ทราบแต่ว่าเป็นนามชายาพระนล แต่ผมเดาว่าในที่นี้น่าจะเกี่ยวกับ ทมะ ความข่มใจหรืออดกลั้น? ไจ้บ่ไจ้เจ้า?


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 21:09
ตรา NIDA ผมเคยเห็นแล้ว แต่เป็นภาษาไทย เมื่อมาเห็นตราที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงขอค่อนหน่อยว่า ท่านที่ถอดคาถาประจำสถาบัน หรือพุทธศาสนสุภาษิตประจำนิด้ามาเป็นอักษรโรมันนั้น เห็นจะไม่รู้จักภาษาบาลีเป็นแน่เชียว เพราะคำว่า ปญญา น่ะถอดเป็นตัวโรมันให้ถูกแท้เขาไม่ได้ถอดว่า Panya เอาดื้อๆ ยังงั้น คำแรกว่า นัตถิ ผมก็สงสัยอยู่ว่าถอดผิดเหมือนกัน

(คำขวัญประจำโรงเรียนนิด้านี้แปลว่า "แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี" ครับ)

เมื่อมันเป็นคาถาไม่ใช่ชื่อคนหนรือศัพท์อะไรที่ต้องทับเสียงออกเสียงเป็นภาษาไทย ก็น่าจะถอดตามหลักบาลีเดิม ขลังดีกว่าครับ 


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: momo ที่ 18 ก.ย. 07, 22:14
ตอบพี่ นกข.ค่ะ เรื่องตราของนิด้าน่ะ จริงๆมีเวอร์ชั่นสะกดบาลีผิด(กว่านี้)ด้วยนะคะ ไม่กี่ปีมานี่เอง สมัยที่หนูยังเรียนอยู่อ่ะค่ะ ;D (แล้วใช้คำขวัญอันเดียวกับโรงเรียนที่หนูเคยเรียนตอนม.ต้น เลยค่ะ ตอนแรกก็ว่าทำไมคำขวัญนี้คุ้นๆ อิอิ)


ส่วนของ มช. “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนค่ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 22:18
เวรกรรม!
ขอบใจที่เล่าให้ฟังจ้ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 22:28
พยายามแปะตราโรงเรียนตัวเองครับ ทดลอการใส่รูปไปในตัว เรือนไทยเวอร์ชั่นนี้ยังไม่ค่อยคุ้นครับ เพี้ยง ขอให้สำเร็จ.....


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: สไบแพร ที่ 21 ก.ย. 07, 15:36
โรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่เจ้า

พอเข้ามาหาดูกระทู้เก่า ก็เลยนึกถึงโรงเรียนตัวเองขึ้นมาทันทีเลยค่ะ
ไม่รอช้ารีบหาข้อมูลโรงเรียนเก่า นี่ถ้าไม่เจอกระทู้นี้ ก็ไม่รู้จะหาเว็บโรงเราได้ไหม

(http://www.dara.ac.th/dara3/general/logogif.gif)

ป.ล. จบมานานสมัยที่จบโรงเรียนยังไม่มีเว็บเลยค่ะ ตอนนี้น้องรุ่นใหม่เข้าใช้เว็บโรงเรียนนี้อ่านข่าว
ส่งเมล์หาอาจารย์กันแล้ว



กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 21 ก.ย. 07, 17:13
ตราโรงเรียนอันที่สองของผม ซึ่งไม่ใช่พระเกี้ยวนั้น ก็รูปเป็นมงกุฎเหมือนกัน เป็นแต่เป็นมงกุฏฝรั่ง ในขณะที่พระเกี้ยวเป็นศิราภรณ์ของเจ้านายไทย
 
ตลกดีตรงที่ตรามงกุฏนี้เป็นตราของสถาบันการศึกษาที่อยู่ในประเทศที่ปกครองลักษณะอย่างสาธารณรัฐ ไม่ยักมีราชวงศ์ แต่ใช้ตรามงกุฏ เหตุเพราะสถาบันของผมตั้งมาตั้งแต่ก่อนดินแดนนี้จะก่อกบฏแข็งข้อแยกตัวออกจากการปกครองของราชอาณาจักรที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมมาก่อนได้สำเร็จ สมัยโน้นเมื่อยังไม่เป็ยประเทศเอกราช เจ้าอาณานิคมเดิมมาตั้งโรงเรียนไว้ในดินแดนใหม่นี้ ให้เป็นสถานที่เล่าเรียนของหลวงใต้พระบรมราชูปถัมภ์ ตรามันก็เลยติดมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นครับ จนปฏิวัติสำเร็จเป็นประเทศเอกราชแล้วโรงเรียนก็ยังไม่เปลี่ยนตรา


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 26 ก.ย. 07, 04:28
เป็นลูกพระเกี้ยวเหมือนกันค่ืะ แต่แค่ระดับมัธยม เพราะถูกส่งตัวมาดัดนิสัย เ้อ้ย...เรียนหนังสือเสียก่อน

คติพจน์ของโรงเรียนคือ ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้

ส่วนวัฒนาวิทยาลัยใช้ คุณธรรม นำวิชาการ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 26 ก.ย. 07, 04:30
โรงเรียนที่เคยเรียนที่อังกฤษค่ะ ชื่อว่า Parsons Mead School


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ศนิ ที่ 27 ก.ย. 07, 20:15
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ ค่ะ

LUX ET VERITUS หมายถึง แสงสว่างและความจริง


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 27 ก.ย. 07, 20:43
ฮั่นแน่ คำขวัญดังซะด้วย ประโยคนี้ แสงสว่างและสัจจะ Lux et Veritas เป็นคำขวัญของมหาวิทยาลัยเยลเหมือนกันครับ นอกจากของปรินส์รอแยล

เยล Yale เป็นมหาวิทยาลัยชั้นยอดแห่งหนึ่งของอเมริกา จัดอยู่ในกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า Ivy League (ห้ามอ่านว่าย่าเหล และดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับกุญแจยี่ห้อเยล...)

เอาตรามหาวิทยาลัยเยลมาฝากครับ 


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 27 ก.ย. 07, 20:54
ตัวอักษรฮิบรูหรือภาษาของพวกยิวบนหน้าหนังสือนั้นผมอ่านไม่ออก แต่เดาว่าก็คงแปลว่าแสงสว่างและความจริงเหมือนกันนั่นแหละ ม้อตโต้ของมหาวิทยาลัยเขียนอยู่รอบๆ เล่มหนังสือเป็นภาษาลาติน ส่วนที่เขียนอยู่ในวงกลมรอบตรานั้นก็เป็นภาษาลาตินเหมือนกัน เดาแปลได้ว่า ตราแห่งวิทยาลัยเยล (คงคิดประดิษฐ์ตรานี้มาตั้งแต่เยลยังเป็นวิทยาลัย) ตำบล "ท่าใหม่" ในเขต "อังกฤษใหม่" หรือนิวอิงแลนด์

ผมไม่ได้จบเยล จึงไม่รู้ประวัติว่าเยลเคยตั้งอยู่ที่เมืองอื่นก่อนย้ายมาที่ปัจจุบันรึเปล่า แต่เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยเยลตั้งอยู่ที่เมือง New Haven รัฐคอนเนคติกัต ในแถบนิวอิงแลนด์ของสหรัฐฯ ออกนอกนิวยอร์กไปไกลพอสมควร

ชื่อเมืองนิวเฮเว่นนั้น จะแปลว่าท่าเรือแห่งใหม่หรือ New Port ก็คงพอจะได้มั้งในภาษาลาติน เพราะ haven ในความหมายนั้นก็คืออ่าวหรือแหล่งที่จอดเรือ สามาถทอดสมอพักเรือใบได้ เพราะหลบพ้นจากพายุในทะเล แหล่งที่จอดเรือ มันก็ท่าเรือนั่นแหละ

นอกจากเยล ดูเหมือน Harvadr ก็มีคำขวัญว่า Veritas (สัตยธรรม) ครับ แต่ผมไม่ชัวร์ (ตราที่ฮาร์วาร์ดมีแต่ สัจจะ คำเดียว โดยไม่ต้องเปิดไฟ เอ๊ย ไม่ได้ใส่คำว่า แสงสว่าง เข้าไปในคำขวัญด้วยครับ แต่เชื่อว่าในหอพักนักศึกษาคงจะพอหาสบู่ Lux ได้บ้างหรอกน่า...)


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 28 ก.ย. 07, 00:04
เฝ้าดูมาหลายวันแล้วค่ะ  ไม่เห็นมีใครPostไว้เสียที  ตราของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ค่ะ  ดร.นิพนธ์ ศศิธร ซึ่งเป็นอดีตอธิการบดีเคยอธิบายไว้ว่า กราฟนี้หมายถึงความเจริญที่ไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ  เป็นกราฟที่อยู่ในแนวที่เป็นค่าบวกทั้งแกนx และy และจะชึ้นไปได้เรื่อยโดยจะไม่มีวันไปตัดกับทั้งแกน x และ y

สมัยที่ดิฉันเรืยน  อาจารย์ท่านจะประชดประชันตัวเองหน่อยว่า  เราเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสอง เพราะนักศึกษาที่เรียนส่วนใหญ่เลือก มศว.เป็นอันดับท้าย ๆ พอขึ้นปี 2 จะมีนักศึกษาหายไปจำนวนมากเอาการโดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์  เพราะไปentใหม่แล้วติดมหาวิทยาลัยชั้น 1 มหาวิทยาลัยเลยต้องรับนักศึกษาปี 1 เผื่อไว้ทุกที  ในคณะที่ดิฉันเรียนมารายงานตัวไม่ถึงจำนวนที่รับด้วยซ้ำ  อาจารย์ท่านพยายามบอกให้เราขยัน และตั้งใจ เพื่อคุณภาพของพวกเราเอง และมหาวิทยาลัยก็จะได้ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยชั้น 1 กับเขาบ้าง  ซึ่งดิฉันก็ไม่รู้ว่าปัจจุบันสถานการณ์เป็นอย่างไร  ซึ่งดิฉันก็ภาคภูมิใจมาก ๆ เพราะอาจารย์ทุกท่านตั้งใจ ทุ่มเท กับเรามาก ๆ และที่ดิฉันภาคภูมิใจที่สุดก็คือ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยค่ะ  อ้อ... ดิฉันเรียนที่ประสานมิตรค่ะ  ขอเชิญชวนทุกท่านไปใช้บริการนะคะ  เจ้าหน้าที่ทุกท่านน้ำใจให้บริการเป็นยอด  ไม่รู้อะไร หาไม่ได้ หาไม่เจอ หาไม่เป็น ไม่ต้องเสียเวลาเกรงใจอยู่ค่ะ  ไปถามเจ้าหน้าที่ได้เลย  ไม่มี เรื่องถูกดุ ถูกว่า หน้าตาดูหมิ่นเหยียดหยาม  ทุกวันนี้ ถ้าต้องค้นคว้าอะไรดิฉันก็ยังเข้าไปใช้บริการอยู่  ดิฉันแนะนำใครไปไม่มีผิดหวัง

อ้อ.... เพิ่งนึกขึ้นได้ค่ะว่า  ปัจจุบัน มศว.เป็นที่รู้จัก และมีความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะ  มีดาราเรียนกันเยอะ  ก็อาจารย์ท่านเดิมนั่นแหละค่ะ  ท่านยังคงช่างประชดประชันเหมือนเดิม เมื่อได้เข้าไปกราบท่านในงานรวมศิษย์เก่าของคณะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 02 ต.ค. 07, 10:14
ผมออกตัวเสียก่อนว่าไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ เวลาเรียนหนังสือก็เกือบตกเลข ขอความรู้จากผู้ร่วมเรือน รวมทั้งท่านที่จะข้ามมาจากวิชาการดอทคอม ด้านคณิตศาสตร์ด้วยครับ

ดูหน้าตาเส้นกราฟของ มศว. ผมเข้าใจว่าเป็นการพุ่งขึ้นแบบเอ็กซโปเนนเชียล จะถูกผิดก็ขอวิทยาทานด้วย อันตั้งใจจะหมายถึง การเจริญเติบโตทะยานขึ้นไปได้เรื่อยๆ อย่างไร้ขีดจำกัด ความหมายดีครับ

ที่ยังงงๆ ไม่เข้าใจก็คือ ที่ท่านอาจารย์นิพนธ์ท่านอธิบายว่า เส้นกราฟจะไม่ตัดทั้งแกนเอ็กซ์และแกนวาย ก็ตามรูปตรามหาวิทยาลัยน่ะมันตัดแกนอยู่แกนหนึ่งเห็นชัดๆ นี่ครับ? หรือจะหมายความว่า หลังจากตัดแกนตั้งอยู่จุดหนึ่งแล้วก็แล้วไป ตรงนั้นไม่นับ นับที่ถ้าลากเส้นต่อไปเรื่อยๆ เส้นนั้นจะไม่ตัดแกนตั้งและแกนนอน (อีก) เลย ยังงั้นผมพอรับได้   


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 02 ต.ค. 07, 10:44
ค่ะ  ถ้านับจากจุดตัดนั้นแล้วลากต่อไปเรื่อย ๆ เช่นนั้นแหละค่ะ  ทีจริงท่านอธิบายไว้ดี ละเอียดรอบคอบ  และมีสาระกว่านี้นะคะ  แต่ดิฉันจำได้เท่านี้เอง


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 02 ต.ค. 07, 14:24
ผมลูกพระจอมครับ...(http://C:\Documents and Settings\SIT.LAB3_PC\My Documents\My Pictures\logokmutt)
ตราประจำมหาวิทยาลัย ลักษณะของตรานำมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ( ตราประจำพระองค์ ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลักษณะของตราประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฏ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม " มงกุฏ " และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 02 ต.ค. 07, 14:35
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมชื่อ "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503 สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ.2514 ได้รวมกับวิทยาลัยเทคนิคโทรคมนาคมนนทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคพระนคร จัดตั้งเป็น "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" นามภาษาอังกฤษว่า "King Mongkut's Institue of Technology" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา ให้การศึกษาทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
ปี พ.ศ.2517 ได้ยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ปี 2529 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมในทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐบาลและเป็นนิติบุคคล พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2541 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2541

วิสัยทัศน์พระจอมเกล้าธนบุรี
 
มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยใฝ่เรียนรู้
มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก


พระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนพุทธศักราช 2489 ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายนพุทธศักราช 2493 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย โดยทรงมีพระราชฐานะและพระราชภารกิจตามรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตลอดมา โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยากของพระวรกาย โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันพระราชทานปริญญาของมหาวิทยาลัยจึงเป็นวันที่บัณฑิต มหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษา และบิดามารดา ต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น หากจะกล่าวว่าการได้รับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นเป้าหมายของบัณฑิต และบิดามารดา เป็นโอกาสที่พสกนิกรคนหนึ่งเป็นได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าเพื่อชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด

นอกจากทรงพระกรุณาเสด็จมา พระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัย แล้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้

28 พฤษภาคม 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม "พระจอมเกล้า" เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology Thonburi”
22 ธันวาคม 2514 สถาบันฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ เครื่องหมายรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบใหม่ เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2514
7 ธันวาคม 2522 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดอาคารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และงานครบรอบ 20 ปี ของสถาบันฯ
8 ธันวาคม 2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และอาคารห้องสมุด
11 ตุลาคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอย่หัว ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4 พฤศจิกายน 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
9 ธันวาคม 2528 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ทรงเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 และทรงเปิดสำนักงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ภายใต้โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
24 ตุลาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6
15-18 ตุลาคม 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
30 มิถุนายน 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอบรรณสารสนเทศ
ทอดพระเนตรนิทรรศการ มจธ. กับมิติด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่อาศัย
และทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร ปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แขวงบางมด เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

เพื่อเป็นการเทอดทูนพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อมหาวิทยาลัยตลอดมา มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำ ซีดีเฉลิม พระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชขึ้นมา



กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 02 ต.ค. 07, 14:45
นับจากปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. 2538 ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ ออกรับใช้สังคมไทยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางด้าน ไอทีจวบจนกระทั่งปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นภาระกิจที่ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง ควบคู่ไปกับการที่โลกมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมหลายอย่างในการฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการในช่วงรอยต่อ ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมขนาดใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์กร ในรูปแบบที่มีพลวัตสูง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการศึกษาเพื่อการแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเอง ไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาล และอีกหลายสิ่งที่ทรัพยากรบุคคลของคณะฯ ได้ร่วมกันทุ่มเทให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้คณะฯ ประสบความสำเร็จ ในระดับที่น่าพอใจกล่าวคือ เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอน สาขาเทคโนโลยี สารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ท่ามกลางแรงกดดันจากหลากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ยังคงยืนยันในเรื่องคุณภาพของบัณฑิต ทั้งด้านวิชาชีพ และการสื่อสารในยุค โลกาภิวัฒน์ซึ่งพอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีการกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาของคณะฯ ต้องผ่านการ ทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานสากล

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยีสารสนเทศระดับปริญญาตรี และสูงกว่าระดับปริญญาตรี ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อตอบสนองและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย และช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ โดยดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาและการวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการถ่ายทอดและดัดแปลงเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของตนเอง ให้เป็นศูนย์กลางในการบริการทางวิชาการคอมพิวเตอร์และการประมวลสารสนเทศ กับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐและเอกชน

ปี พ.ศ. 2536 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการสนับสนุนจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในการจัดรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับประชาชนผู้มีความสนใจทั่วไปปี พ.ศ. 2538 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคปกติและภาคค่ำ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ (จันทร์-ศุกร์) พร้อมกันนั้นได้ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดคณะฯ ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและพัฒนาความรู้ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานของคณะฯ

ปี พ.ศ. 2539 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายโครงการไปยังจังหวัดราชบุรี โดยเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้นโยบายส่งเสริมการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งโครงการราชบุรีนั้น ได้มีการเรียนการสอนโดยผ่าน ระบบการสอนทางไกล(VDO Conference) ทำให้คุณภาพของนักศึกษาของคณะฯ มีคุณภาพได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะศึกษาอยู่ ณ ที่กรุงเทพฯ หรือที่โครงการราชบุรี


ปี พ.ศ. 2540 ได้รับการประกาศเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 114 วันที่ 21 พฤษภาคม 2540 จึงถือว่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ในปีเดียวกัน คณะฯได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษขึ้น ด้วยความมุ่งมั่นที่คณะฯ จะพัฒนาและเตรียมพร้อมเพื่อความเป็นสากล โดยมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ ให้กับนักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เพื่อยกระดับทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่กรุงเทพฯ และโครงการราชบุรี และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรระดับปริญญาโท คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ (จันทร์-ศุกร์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ(เสาร์-อาทิตย์) ในปีการศึกษา 2543 นี้ คณะฯ ได้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาเอก คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะแรกของประเทศไทย ที่เปิดดำเนินการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ทางเทคโนโลยีสารสนเทศครบถ้วน

ในปี พ.ศ. 2543 คณะฯ มีบุคลากรประกอบด้วยคณาจารย์ 21 คน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ 2 คน อาจารย์พิเศษภาษาอังกฤษ 1 คน พนักงานทั่วไป 37 คน นักวิจัยระดับปริญญาโท 10 คน และผู้ช่วยวิจัย 4 คน และมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี 509 คน ระดับปริญญาโท 522 คน ระดับปริญญาเอก 1 คน
นับจากปีการศึกษา 2536 ถึงปีการศึกษา 2543 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีได้ 575 คน และระดับปริญญาโทได้ 212 คน ผลิตงานวิจัยได้ 26 เรื่อง ผลงานวิชาการ 58 บทความ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ต.ค. 07, 14:50
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
ใช้ตราสัญลักษณ์เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยศิลปากรพระพิฆเนศ คือเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์
ประทับบนเมฆ   พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล   พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง   พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ(เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำประทับบนลวดลายกนก
ภายใต้มีอักษรว่า"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร"


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 02 ต.ค. 07, 22:35
เนื่องจากลิ้งค์รูปภาพตราโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ภาพหายไป
จึงขอแก้ไขใหม่ และเพิ่มตราโรงเรียนที่เคยร่ำเรียนมาทั้งหมด
ตั้งแต่ประถมวัยไปจนถึงอุดมศึกษาด้วยกันในคราวเดียว

ประถมวัย: โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม

(http://www.sriubon.ac.th/image2/logonew6.jpg)

 อักษรย่อ ศอร อยู่ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น และอยู่ภายในการโอบล้อมของกลีบดอกบัว

ความหมาย

โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนรามเป็นโรงเรียนที่เกิดจากพระราชปรารภของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้แก่โรงเรียน
อักษรย่อ ศอร อยู่ภายในการโอบล้อมของกลีบดอกบัว หมายถึง
โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนารามเป็นโรงเรียนที่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

มัธยมศึกษา: โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

(http://www.benchama.ac.th/main/images/stories/aboutus/new_logoben.png)

พระมหาพิชัยมงกุฏ รัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่เหนือฐานดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี

"ขอให้นามโรงเรียนตัวอย่างมณฑลอุบลฯ ซึ่งบรรดาข้าราชการได้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่
สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า

โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลอุบลราชธานี เบ็ญจะมะมหาราช

                  ขอให้โรงเรียนนี้ดำรงอยู่เพื่อได้เป็นที่เพาะวิชาแห่งกุลบุตร์สืบไปชั่วกาลนาน"
                                                                                       
                                                                                  จักรพงษ์
                                                                                เืมืองอุบลราชธานี
                                                                              ๒๘ กันยายน ๒๔๕๘

อุดมศึกษา: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/0/07/FPSCUtitle_01.jpg)

พระเกี้ยวเหนือถ้วยยาไฮเกีย

ถ้วยยาไฮเกีย หรือ ถ้วยยาไฮเจีย (อังกฤษ: Bowl of Hygeia)
รูปงูศักดิ์สิทธิ์พันรอบถ้วยยาของเทพีไฮเจีย (Hygeia) ซึ่งเป็นเทพี แห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ
และเป็นธิดาของแอสคลีปิอุส (Asclepius) ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
และต่อมาถูกยกย่องเป็นเทพแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนไฮเกียถูกยกย่องเป็นเทพีแห่งเภสัชกรรมด้วย




                                       


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 03 ต.ค. 07, 08:52
โรงเรียนที่ผมรักครับ
.... กว่าจะมาเป็นโรงเรียนสิรินธร ....
โรงเรียนสิรินธร เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด เดิมชื่อ " โรงเรียนสตรีสุรินทร์ " ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2487 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2506
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า " โรงเรียนสิรินธร "
ซึ่งเป็นพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีในขณะนั้น

ปล. ขณะนั้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีเฉพาะหญิงล้วนครับ และมัธยมศึกษาตอนปลายมีทั้งชายและหญิง (สหศึกษา) แต่ก็มีนักเรียนชายเป็นส่วนน้อยครับ...

โรงเรียนสิรนธร เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงครับ
จากงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น สู่ความสำเร็จอันงดงามของเด็กเมืองช้าง

ความสำเร็จอันงดงามในการจัดงาน “ สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2548 ” ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2548 โดยมีสถาบันการศึกษาใน 19 จังหวัดของภาคอีสาน ตลอดทั้งผู้สนใจทั่วไปร่วมงานไม่น้อยกว่า 100,000 คน นี่คือ ดัชนีชี้วัดถึงความตื่นตัวแห่งยุคสมัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวสู่การรับใช้สังคม

จากหลากหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นในงานครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า การจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เป็นกิจกรรมที่โดดเด่นและได้รับความสนใจมากที่สุด โดยปีนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียนจากโรงเรียนทั่วภาคอีสาน ส่งโครงงานเข้าประกวดมากถึง 214 โครงงาน ใน 3 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จำนวน 65 โครงงาน , สาขากายภาพ 55 โครงงาน และสาขาชีวภาพ 94 โครงงาน และแทบไม่น่าเชื่อว่า แต่ละโครงงานที่ส่งเข้าประกวด เกิดขึ้นจากฝีมือและแนวคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยม

จากจำนวน 214 โครงงาน ใน 3 สาขา ที่มีการประกวดดังกล่าว ปรากฏว่า โครงงานของนักเรียนจากโรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์ กวาดรางวัลชนะเลิศไปถึง 2 สาขา และรางวัลชมเชยอีก 1 สาขา คือ ชนะเลิศ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ชื่อโครงงาน “ การรับ – ส่งสัญญาณภาพ ” จากเครื่องบินบังคับเล็ก โดย นส.นันท์ชญาน์ สมกล้า นส.ขวัญแก้ว มีทรัพย์ทวีกูล และ นาย วงศกร ลิ้มศิริ , ชนะเลิศ สาขาชีวภาพ ชื่อโครงงาน การลดมลภาวะของตะกั่วในน้ำด้วย “ วัสดุทางชีวภาพ ” โดย นส.พิม โกกนุฑาภรณ์ นส.พลอย โกกนุฑาภรณ์ และ นส.จุฬาลักษณ์ พงษ์นุเคราะห์ศิริ ส่วนรางวัลชมเชยในสาขากายภาพ ชื่อโครงงาน “ ข้าวดูดความชื้น ” ความรู้จากภูมิปัญญาสู่สากล โดย นส.กนกวรรณ กกรัมย์ นส.กรรณ์ชลิกา ชัยสุวรรณ และ นาย เกียรติรัฐ อาจหาญ

“ เราส่งเข้าประกวดทุกปี นับตั้งแต่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้น เมื่อปี 2526 เพราะทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า เพิ่มทักษะ เกิดความสนใจ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเราก็ได้รางวัลทุกปี เช่น ปี 2544 ได้ที่รางวัล 1 สาขากายภาพ และในโครงงานเดียวกันนี้ เราไปได้รางวัลที่ 3 ในระดับประเทศ ปี 2545 เราได้รางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และได้รางวัลที่ 2 ในระดับประเทศ ส่วนปี 2547 เราได้รางวัลที่ 1 สาขากายภาพ และได้รางวัลที่ 1 ในดับประเทศ ซึ่งโครงงานที่ได้รางวัลนี้ ได้ส่งเสนอโครงงานที่ประเทศออสเตรเลีย อีกด้วย ส่วนปีนี้ เราส่ง 3 โครงงาน ได้รางวัลทั้งหมด ใน 3 สาขา ” นางอรวรรณ รัมพณีนิล หัวหน้าโครงการผลิตโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์

นางอรวรรณ กล่าวต่อว่า ความสำเร็จครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการปฏิรูปการศึกษา ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนเป็นศูนย์กลาง 100 % โดยจะเริ่มจากการสอนในห้องเรียนแบบเดิม เพื่อปูพื้นฐานความรู้ให้เหมาะสม ก่อนจัดกระบวนการให้ศึกษาหาความรู้เอง โดยให้แนวทางในการเรียนรู้ เช่น การสืบค้นข้อมูล การจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ การจัดรวบรวมเป็นแผนผังต่างๆ แล้วนำเสนอให้อาจารย์ เพื่อช่วยวิเคราะห์ ประเมินผล ถึงข้อดี ข้อบกพร่อง ช่วยแก้ไข เพิ่มเติมให้ในสิ่งที่ขาดไป ที่สำคัญคือ การติดตามพบปะกันอย่างใกล้ชิดของอาจารย์และนักเรียน โดยสามารถพบปะปรึกษาและสอบถามกันได้ทุกเวลา นี่คือความสำเร็จที่เกิดขึ้น

นส.พิม โกกนุฑาภรณ์ หนึ่งในทีมงานโครงการลดมลภาวะของตะกั่วในน้ำด้วย “ วัสดุทางชีวภาพ ” ที่ชนะเลิศในสาขาชีวภาพ กล่าวว่า เริ่มมีแนวคิดจากการนำเศษวัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในบ่อน้ำทิ้งหรือน้ำเสียโรงงาน ซึ่งมักจะมีสารตะกั่วเจือปนอยู่จำนวนมาก และมักแก้ปัญหาโดยใช้สารเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น จึงเลือกการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุทางชีวภาพ 5 ชนิด คือ เปลือกกุ้งแชบ๊วย เปลือกกุ้งแม่น้ำ เปลือกหอยแครง เปลือกหอยแมลงภู่ และกระดองปู โดยนำมาบดให้หยาบและละเอียดต่างกัน ก่อนนำไปแช่ทดสอบความสามารถในการดูดจับสารละลายตะกั่ว ของวัสดุทางชีวภาพทั้ง 5 ชนิด ที่มีลักษณะหยาบและละเอียดที่ต่างกัน

“ ผลการทดสอบของเราพบว่า เปลือกกุ้งแชบ๊วยหยาบดูดจับสารละลายตะกั่วดีที่สุด รองลงมาคือเปลือกกุ้งแม่น้ำละเอียด และเปลือกหอยแครงละเอียด ขณะที่ เปลือกหอยแครงหยาบ เปลือกกุ้งแม่น้ำหยาบ เปลือกหอยแมลงภู่และกระดองปูทั้งหยาบและละเอียด มีประสิทธิภาพในการดูดจับสารละลายตะกั่วได้ต่ำกว่า ซึ่งผลการทดสอบจากโครงงานนี้ แม้จะเป็นเพียงการทดสอบจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ก็อยากให้เห็นว่า เศษวัสดุทางธรรมชาติที่ไม่ใช้แล้ว อย่างเช่น เปลือกกุ้ง เปลือกหอย กระดองปู เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงานได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมีจากต่างประเทศ ”

นาย วงศกร ลิ้มศิริ หนึ่งในทีมงานโครงงาน “ การรับ – ส่งสัญญาณภาพ ” จากเครื่องบินบังคับเล็ก ที่ชนะเลิศสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กล่าวว่า ได้เริ่มต้นแนวคิดโครงงานนี้กับเพื่อนเนื่องจากเห็นว่า ส่วนใหญ่การเล่นเครื่องบินบังคับเล็กมักจะใช้เพื่อความสนุกสนานหรือบินเล่นกันแบบผาดโผน ขณะเดียวกัน กล้องไร้สายหรือกล้องวิดีโอขนาดเล็ก มักจะถูกนำไปใช้งานไม่เหมาะสม เช่น การนำไปแอบถ่าย จึงคิดนำเครื่องมือ 2 ชนิดนี้มาสร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยติดตั้งกล้องไร้สายบนเครื่องบินบังคับเล็ก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การประกอบเครื่องบินหรือสร้างเครื่องบินขึ้นเองด้วยวัสดุที่เบาและเหมาะสม การฝึกบังคับเครื่องบิน ก่อนที่จะนำกล้องขึ้นติดตั้งและทำการศึกษาประสิทธิภาพในการรับ – ส่งสัญญาณจากเครื่องบิน

“ เราสร้างเครื่องบินพร้อมติดตั้งกล้องน้ำหนักรวม 480 กรัม ใช้ทดลองบินสำรวจในความสูง 3 ระดับ คือ ความสูง 27 ฟุต ความสูง 40 ฟุต และความสูงมากกว่า 50 ฟุต ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เครื่องบินบังคับที่นำมาใช้เล่นกันสามารถพัฒนาเพื่อการสำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง โดยเฉพาะการบังคับเครื่องบินให้ร่อนในระดับความสูงมากๆ จะเก็บรายละเอียดของภาพได้ดี นำไปใช้ในการสำรวจภูมิประเทศ สำรวจผังเมือง การจราจร หรือใช้ในงานด้านอาชญากรรม ทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีราคาถูก นอกจากนี้ เรายังได้รับความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของเครื่องบิน การต่อวงจรและการทำงานของกล้องวิดีโอ การรับ – ส่งสัญญาณภาพและการบันทึกภาพลงแถบวิดีทัศน์ การแปลงสัญญาณภาพเพื่อบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ”

นี่คือส่วนหนึ่งของผลงานที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีรายละเอียดของขั้นตอนการศึกษาและการทดลองอีกมากมาย กว่าจะมาถึงวันนี้ วันที่นักเรียนจากโรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์ สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและจังหวัดของตัวเอง พร้อมกับความสำเร็จอย่างงดงามในการจัดงาน “ สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ” ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 03 ต.ค. 07, 18:21
ขอแสดงความยินดี ชื่นชม นักเรียน และคุณครู ของโรงเรียนสิรินธรด้วยคน  ดีใจกับคุณKmuttด้วยนะคะที่ได้เรียนโรงเรียนที่มีคุณครูดี ๆ มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียน  ควรค่าแก่การเป็น"โรงเรียนที่รัก"ค่ะ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 18:43
ขอถือโอกาสบ่น ให้ลูกพระจอมฯ ทุกท่านฟังว่า ผมชอบชื่อเก่าของสถาบันคุณในภาษาอังกฤษมากกว่า คือ KMIT สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า King Mongkut Institute of Technology ผมรู้สึกว่ามีประพิมประพายคล้าย MIT ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีชื่อก้องโลก คือแมสซะชูเซตต์ อินสะติติวท์ ออฟ เทคโนโลยี

ในเมืองฝรั่งผมคิดว่าไม่มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นกับชื่อว่ามหาวิทยาลัยมากเท่ากับของเรา ถ้าคุณภาพการศึกษาและคุณภาพบัณฑิตที่ออกไปดีจริงถึงขนาดแล้วก็เป็นที่ยอมรับเอง อย่าง CalTech ผมก็ไม่ได้ข่าวว่าเขานึกจะเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนียด้านเทคโนโลยี - แต่อย่างใด

แต่ KMIT นั้น ตอนนี้เห็นเปลี่ยนเป็น KMUT แล้ว คือกลายเป็น King Mongkut University of Technology มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ผมไม่แน่ใจสาเหตุที่เปลี่ยน แต่เข้าใจว่าจะเกี่ยวกับการที่ผู้บริหารการศึกษา (โดยเฉพาะการอุดมศึกษา) ไทยจำนวนหนึ่งหลงผิดคิดเอาเองว่าหมาวิทยาลัยนั้นต้องมีศักดิ์และสิทธิ์เหนือวิทยาลัย หรือสถาบัน แล้วคงจะบังคับให้สถานศึกษาต่างๆ ยอมรับการตีความอันนี้ด้วย หรืออย่างไรก้ไม่ทราบ เพราะตอนหลังเห็นมีการพยายามดิ้นรนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยกันจังเลย หลายแห่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกพระจอมฯ ทั้งหลายนั้น ผมก็มีเพื่อเป็นลูกพระจอมฯ และผมเคยบอกเขาว่า KMIT เคเอ็มไอที เก๋กว่า ขะมุท อย่างเทียบกันไม่ได้เล้ย..


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 19:06
เดี๋ยวนี้การ ยกฐานะ เป็นมหาวิทยาลัย กำลังเป็นแฟชั่น หรือไม่ก้ถูกบังคับโดยทางการที่ดูเรื่องการศึกษา อะไรสักอย่างที่แหละ ผมไม่รู้ความนัย เห็นแต่ผลที่ออกมา ตัวอย่างอีกอันที่ผมเศร้าใจมากคือมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระท่าน แห่งหนึ่งชื่อ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แห่งหนึ่งชื่อ มหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งสองชื่อเป็นชื่อพระราชทาน และพระราชทานมานานมากแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีคำว่า มหาวิทยาลัย ปรากฏใช้ในภาษาไทยซะอีก

สถาบันการศึกษาของสงฆ์สองแห่งนี้ท่านก็ได้อำนวยการด้านการอุดมศึกษาให้พระมาหลายสิบปีแล้ว ท่านเป็น "ราชวิทยาลัย" ของท่านอยู่ดีๆ ก็ดีอยู่แล้ว ระเบียบหรือแฟชั่นหรืออุปาทาน หรืออะไรก็ไม่รู้ของใครก้ไม่รู้ ไปบีบให้เปลี่ยนเป็นชื่อที่ประดักประเดิดอย่างยิ่งว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย กับมกาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครับ ซ้อนกันยังงั้นแหละ เพราะจะบังคับให้เป็นยูนิเวอร์ซิตี้ ก้ปล้ำใส่เข้าไปดื้อๆ ในชื่อพระราชทาน หายขลังเสียความไพเราะหมด

ก็ทำไมจะยอมรับกันไม่ได้หรือว่า สถาบันอุดมศึกษามีหลายประเภท หลายชื่อได้ ทั้ง มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบัน และราชวิทยาลัยสำหรับพระ? ถ้าของเขาดีมีมาตรฐาน ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับกันไปเอง แต่ถ้าผลิตบัณฑิตออกมาห่วย การเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยก็ไม่น่าจะช่วยให้คุณภาพทางวิชาการของสถาบันนั้นๆ ดีขึ้น ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย

ดูเหมือนจะมีแต่สถานศึกษาของทางทหารเท่านั้นแหละครับที่ยังคงรักษาความั่นใจในตัวเองได้อยู่ โรงเรียนนายร้อย นายเรือ นายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน ต่างก็เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดม จบแล้วได้วิทยฐานะเท่าปริญญาตรี แต่ก็ยังยืดอกยึดมั่นในชื่อเดิมของตนว่าเป็น โรงเรียน อยู่อย่างองอาจ ไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเลย วิทยาลัยของกองทัพที่ฝึกอบรบในหลักสูตรขั้นสูงขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยการทัพบกเรืออากาศ ก็พอใจที่จะเป็นแค่วิทยาลัย ไม่ได้กระตือรือร้นขวนขวายที่จะเป็นมหาวิทยาลัยกับเข้าเลย ยิ่ง วปอ. หรือวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ยิ่งสำคัญใหญ่และเป็นระดับสูงใหญ่เลย ก็ไม่ได้สะดุ้งสะเทือนวิ่งเต้นจะเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยซักนิด

กลับมาเรื่อง KMUT ผมขอย้ำว่าไม่มีอคติใดๆ กับลูกพระจอมฯ ทุกท่านนะครับ แต่ผมมีความเห็นส่วนตัวว่าชื่อเก่าคุณเก๋ดีอยู่แล้ว เก่กว่าชื่อใหม่ เท่านั้นแหละ แต่ถ้าถือว่าเป็นพัฒนาการหรือการขยายตัวขึ้นมา เพราะนึกว่าเป็นมหา-ลัยต้องดีกว่าเป็นแค่สถาบัน ผมก็ไม่ว่า


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 20:09
ไม่ยังงั้นเอางี้ไหม KMU มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า เป็นมหาวิทยาลัยเต็มตัวไปเลย

แต่ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องของผมสักกะนิดเลยนะ แค่มีเพื่อนสนิทเป็นลูกพระจอมเกล้าฯ เท่านั้น(เพื่อนผมจบลาดกระบัง สมัยยังเป็น KMIT ครับ) - เอาเถอะครับ ชื่อนั้นสำคัญไฉน กุหลาบแม้เรียกอื่น ก็หอมรื่นอยู่เหมือนกัน...

กำลังนึกว่า ถ้าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA นิด้า อยากจะเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นมาบ้าง เห็นจะต้องเรียกว่า NUDA ซึ่งออกเสียงเป็นไทยยังไงก็ไม่ทราบ - หนูดา?


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 20:49
สงสัยเอง ก็เลยตามไปดูเว็บของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นเอง ดูแล้วก็ต้องเห็นใจท่าน กว่าพระท่านจะต่อสู้จนได้รับการรับรองวิทยะฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาจากรัฐบาลได้ ท่านก็ต้องเดินเรื่องกันมานานหลายสิบปี จนสำเร็จ ดูเหมือนว่าในระหว่างการฝ่าฟันเพื่อให้ได้รับการรับรองวิทยะฐานะเท่ามหาวิทยาลัยทางโลกนี้เอง ที่มีการเสนอชื่อ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ ขึ้นมา อยู่ในร่าง พรบ. มหาวิทยาลัยสงฆ์ ตั้งแต่ 2518 โน่นแน่ะ แต่ตอนนั้นไม่สำเร็จ มาสำเร็จเอา 2540 นี้เอง

ผมไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด แต่เข้าใจว่ารัฐสภาสมัยนั้น กระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น มหาเถรสมาคมสมัยนั้น รวมทั้งพระเดชพระคุณพระเถราจารย์ของสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยสมัยนั้นจะช่วยกันดูดีแล้ว หรือจะมีความเข้าใจร่วมกันอะไรอย่างไรไม่ทราบว่า การที่จะรับรองวิทยฐานะเท่ามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องชื่อว่า "มหาวิทยาลัย" ด้วย ก็เลยใช้ชื่อนั้น ตามในร่าง พรบ. ที่เข้าสภามาหนหนึ่งแล้วตั้งแต่ 2518 แต่สภาไม่ทันได้พิจารณามีมติ ตกไปก่อน

ก็ขอกราบอนุโมทนาครับ เมื่อท่านได้อุตส่าห์ดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จได้แล้ว ผมก็ไม่มีอะไรจะพูดอีก ทั้งๆ ที่จริง (ไหนว่าจะไม่พูดไง..) ถ้าย้อนเวลาไปได้ ผมคิดประสาโง่ๆ ของผมว่ามันน่าจะแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ตอนยกร่าง พรบ. จัดตั้งสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ทั้งสองแห่งนี้ ก็เขียนว่า สถาบันชื่อนี้ คือ ชื่อเดิม ตามที่ได้รับพระราชทานมาทั้งสองชื่อ นี่น่ะ ให้ถือว่ามีฐานะ ศักดิ์ และสิทธิ์เทียบเท่าที่ทางโลกเรียกว่ามหาวิทยาลัยนะ ใส่ไว้ใน พรบ.- ก็น่าจะจบกันไป ผมเองเรียนด้วยความเคารพว่าตัวเองยังไม่เห็นความจำเป็นต้องใส่ มหาวิทยาลัย ลงไปประดับข้างหน้าให้รุงรัง ซ้อนกับ ราชวิทยาลัย ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อแล้ว

แต่ในเมื่อตอนนี้เป็นกฏหมายไปแล้ว ทั้งสองชื่อ เป็นมาหลายปีแล้วด้วย ผมก็จะเงียบ - ด้วยความเคารพ ครับ

เอ - โรงเรียนนายร้อยนายเรือนายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ เขามีพื้นฐานทางกฏหมายหรือ พรบ. อะไรกำหนดฐานะไว้ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาไหมนะ?


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 21:13
ตราของมหาจุฬาฯ ท่านมี 2 ตราครับ อ้อลืมบอกไปว่า มหาจุฬาฯ นั้นท่านเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ ในฝ่ายมหานิกาย ส่วน มหามกุฏฯ นั้นท่านเป็นสถาบันการศึกษาของพระสงฆ์ ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ดูตราของมหาจุฬาฯ ก่อนนะครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ต.ค. 07, 21:16
ของมหามกุฎฯ ครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ต้นกล้า ที่ 04 ต.ค. 07, 11:01
เห็นมีเชียงใหม่มาหลายโรงเรียน อันนี้ก็โรงเรียนเดิมที่เคยเรียนตอนมัธยมคับ


วิชชา นารานัง ครุ --> วิชา เป็น ครู ของมวลชน ครับ


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: ต้นกล้า ที่ 04 ต.ค. 07, 11:06
นี่ก็อีกโรงเรียนครับ น่าจะเป็นโรงเรียนที่ชื่อสั้นที่สุดในประเทศไทย

โรงเรียนสา จ.น่าน อักษรย่อ ส

นัตถิ ปัญญา สมา อาภา -> แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 04 ต.ค. 07, 11:34
ตราโรงเรียนของผมก็คือตราในความเห็นที่ ๔๒ ครับ

ตอนไปเรียน ร.ด. สิบโทครูฝึกทำหน้างงๆ มองที่ตราโรงเรียนแล้วถามว่า โรงเรียนจีนเหรอ เห็นตราคล้ายๆ อักษรจีน!

เอ่อ ตรากราฟเนี่ยนะ? ช่างดูไปได้เป็นอักษรจีน

กราฟนั้นคือกราฟเอ็กซโปเนียนเชียล ซึ่งมีแต่ขึ้นไปไม่สิ้นสุด ดังที่คุณ นกข.วินิจฉัยไว้ครับ เป็นเส้นกราฟของสมการ Y = ex ซึ่งมีความหมายว่าการเพิ่ม หรือความเจริญงอกงาม อันสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบัน ที่ว่า สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา แปลว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงาม




กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 04 ต.ค. 07, 12:34
รูปกราฟในตรามศว เป็นสมการ y = ex

เมื่อแทนค่า x = 0 จะได้ y = 1

นี่เป็นเหตุที่รูปกราฟนี้ตัดแกน y ที่ y = 1 ครับ

แต่กราฟนี้จะไม่ตัดกับแกน x เลย เพราะไม่มี x ค่าใดที่ทำให้ y = 0 ได้

เอาเข้าจริงตรานี้กลับถูกเรียกว่า "ฝาเบียร์" เสียมากกว่า โดยไพล่ไปเรียกตามลักษณะขอบของตรา ไม่ได้สนใจกราฟตรงกลางเลย

อ้อ... โรงเรียนเก่าผมเหมือนกันครับ  ;D


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 06 ต.ค. 07, 19:49
KMUTT
การที่เปลี่ยนจากสถาบันมาเป็นมหาวิทยาลัย ก็เพราะว่ามันเป็นการยกระดับ(ทางการศึกษาไม่ใช่ว่ามหาวิทยาลัยดีกว่าสถาบัน)ของตัวเองขึ้นมา และจะสามารถแข่งขันทางด้านการศึกษาได้มากขึ้น และมีการจัดการกระบวนการต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไงล่ะครับ เข้าใจหรือยัง??? คุณทำงานราชการ...


กระทู้: ตราโรงเรียน-มหาวิทยาลัย
เริ่มกระทู้โดย: kmutt ที่ 06 ต.ค. 07, 19:58
ถึงคุณนิลกังขา (ทำงานราชการ)
ที่ทราบมาจากอาจารย์ -->  ระบบการศึกษาของเมืองนอกนะครับ ระบบการศึกษาไม่ได้เหมือนของไทยนะครับ การที่ออกนอกระบบไม่ได้เกี่ยวกับชื่อ มหาวิทยาลัย กับ สถาบันสักนิดเดียว แต่มันเปนในด้านของคุณภาพการศึกษามากกว่าครับ ไม่ทราบว่าได้ดูที่อาจารย์จุฬาให้สัมภาษณ์หรือเปล่าว่า การออกนอกระบบเป็นอย่างไร???