เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ย. 06, 15:43



กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ย. 06, 15:43
 เราไม่มีทางรู้ว่ามนุษย์นิรนามคนแรก หรือกลุ่มแรกของโลก ที่เอาใบไม้ หรือว่าหนังสัตว์ที่ล่ามาได้ขึ้นมาคลุมหัวนั้นเป็นใคร  

แต่ก็ต้องยกย่องเขาในฐานะผู้ให้กำเนิด หมวก ขึ้นมาเป็นคนแรก

หลังจากจุดเริ่มต้นนี้แล้ว  มนุษย์ก็ประดิษฐ์ "สิ่งหนักหัว " ครอบอยู่บนกระโหลกศีรษะมาตลอด ไม่เคยขาดในแต่ละยุคสมัย  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: NickyNick ที่ 05 ก.ย. 06, 16:09
 เปิดขึ้นมาอ่านเห็นหัวเรื่องเข้า
ให้ตกใจ  เกรงว่าตัวเองจะเป็นเหตุให้อาจารย์ที่เคารพของพวกเรารำคาญอกรำคาญใจ
วันนี้กว่าจะโหลดเข้าได้นานเหลือเกิน  แต่ก็ต้องรออ่านเพื่อให้หายกังวล

เฮ้อ  โล่งอกครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เม็ดดิน เม็ดทราย และ ชายทะเล ที่ 05 ก.ย. 06, 20:07
 อยากเห็นหมวกของแต่ละยุคละสมัยจังคะ  ไม่ทราบว่าพอจะมีให้ชมหรือเปล่า


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 05 ก.ย. 06, 22:57
 ตามมาฟังอาจารย์เทาเล่าเรื่องหนักหัวก่อนประวัติศาสตร์ครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 05 ก.ย. 06, 23:11
 มานั่งฟังอาจารย์ ทำหน้าตาสนใจสุดขีด


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 06 ก.ย. 06, 06:29
 ไทยมุงมาแอบขอฟังด้วยคนค่ะ

ไม่ได้เข้ามาที่วิชาการตั้งนาน ขอรายงานตัวว่าดิฉันได้เป็น Horror member แล้วค่ะ อิอิอิ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 08:31
 ยินดีด้วยค่ะที่ได้เป็น Horror Member   ดิฉันอยากจะเป็น Horror Webmaster บ้างเสียแล้ว

เรื่องนี้ทีแรกตั้งใจจะเล่าถึง "มาลานำไทยไปสู่มหาอำนาจ" แต่ด้วยความเคยชินกับเขียนบทความที่ต้องปูพื้นด้วยประวัติความเป็นมา  ก็เลยถอยหลังไกลไปถึงยุคหินโน่น  นับว่าไกลเกินต้องการไปมาก

หวังว่าคุณ Hotaculus และคุณกุรุกุลาจะช่วยเติมส่วนที่ขาดตกบกพร่องให้ได้  ระหว่างดิฉันเดินเปะปะอยู่ในเส้นทางโบราณคดีจากยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ดิฉันหาหลักฐานว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์มี "สิ่งหนักหัว "กันบ้างไหม ก่อนจะมาถึงยุคอารยธรรมอียิปต์ที่หนักหัวกันจริงๆจังๆ
ก็พบว่ามีเรื่องนี้

ภาพนี้เป็นภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์   เห็นไม่ถนัดว่ามนุษย์คนนี้มีอะไรอยู่บนหัว   ยังกะถักหางเปีย หรือไม่ก็สายอะไรสักอย่าง  บวกด้วยลวดลายอะไรเป็นหย่อมๆ
อาจจะเป็นเครื่องประดับหัวอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าจำไม่ผิด ภาพนี้แหละที่อีริค ฟอน ดานิเก้น เจ้าพ่อทฤษฎีมนุษย์ต่างดาวบุกโลกมานานแล้ว  บอกว่าเป็นหลักฐานภาพมนุษย์ต่างดาวที่ชาวถ้ำวาดไว้
.
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 09:16
 ส่วนภาพนี้คุณ Hoฯ น่าจะรู้จัก  ชื่อว่า  Dancing Violinist  เป็นภาพวาดบนหิน flagstone ที่นักโบราณคดีชื่อ Stéphane Lwoff ค้นพบที่เมืองลามาร์ช  
เป็นภาพผู้ชายสวมหมวก ถืออะไรอย่างหนึ่งที่เขาดูว่าคล้ายไวโอลิน (จึงตั้งชื่อภาพว่า Dancing Violinist)มีสร้อยหรือเครื่องประดับคอ  อีกมือจับที่วัตถุยาวๆที่ห้อยเอวคล้ายกับปืน
เมื่อ Lwoff นำภาพนี้ไปเสนอต่อ French Prehistoric Society  ไม่มีใครเชื่อว่าเป็นของจริง  เพราะมันดูใหม่และทันสมัยเกินกว่าจะเชื่อว่าเป็นภาพวาดเมื่อ ๑๔๐๐๐ ปีมาแล้ว  
เจ้าตัวเองก็เคราะห์ร้ายถูกกล่าวหาว่าเอาภาพมาตบตาหลอกนักวิชาการอีกแน่ะ  เสียชื่อแทบเสียคนไปเลย
ภาพนี้ก็เลยถูกมองข้ามไป ไม่มีใครแยแสจนกระทั่งปี 2002  Dr. Michael Rappenglueck แห่ง University of Munich ใน เยอรมนี รื้อฟื้นกันขึ้นมาใหม่   พบว่าเป็นภาพยุคถ้ำจริงๆ    ตอนนี้ก็กำลังศึกษากันต่อ
 http://www.geocities.com/jirimruzek/firearm.htm

ถ้าหากว่าเป็นของจริง แสดงว่ามีหลักฐานว่ามนุษย์สวมหมวกกันมาแล้ว 14000 ปีเป็นอย่างน้อย


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 10:08
 เรื่องนี้เริ่มด้วยวาดเส้นมนุษย์ต่างดาว
จบด้วยมาลานำไทยไปสู่ฟามล่อนจ้อน
จะมีช่องว่างให้กีรีฏมุกุฏของคุณกุรุกุลาแทรกได้บ้างใหมเอ่ย

แต่.....
เรื่องหมวกยังไม่มหัศจรรย์เท่ากับได้ทราบว่า
ท่านอาจารย์ของเราเป็นสมาชิกฝ่าหลุนก๊งด้วย....55555


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 10:35
 ฝ่าหลุนก๊ง???
คุณพิพัฒน์ว่าดิฉันเมางั้นหรือคะ?  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 11:51
ตรงมุมซ้ายของหน้าที่อาจารย์ทำลิ้งค์ไว้
มีแบนเนอร์ให้คลิก
ตามรอยไปเรื่อยจะมาที่นี่ครับ
บางทฤษฎีบอกว่า นี่เป็นองค์กรที่ CIA จ่ายเงินอุดหนุน
ส่วนที่เมืองจีนเอง เห็นว่าลัทธินี้เป็นภัยต่อความมั่นคง
มีท่านที่ผมคุ้นเคย ไปราชการปักกิ่งมา เล่าว่า จุดหมายปลายทางคือการสอนให้เลิกนับถือทุกสิ่ง ไม่ว่าพ่อแม่ หรือพรรค
สหายเติ้งเห็นว่าเป็นภัยยิ่งกว่ากรณีเทียนอันเหมินเสียอีก

ตอนนี้เจ้าลัทธิดูเหมือนไปอยู่ที่เมริกาครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 12:03
 เอาหัว(ที่ไม่มีของหนักครอบ) เป็นประกัน ว่าหัวข้อนี้ไม่มีใครรู้ตอนจบ
ลองหาเรื่องหนักหัวใส่ขมอง เจอบทความนี้ อึ้งไปเลย
 http://www.xanga.com/UncleanSpirits/453588239/item.html
ฝากอาจารย์อ่านได้ใหมครับ
ผมไม่รู้ทั้งคริสต์ ทั้งเมโสฯ ทั้งภาษาอังกฤษ


งานนี้ต้องไปตามหาท่านกำนันมาช่วยอีกแรงซะแล่ว


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 12:08

.
ได้รูปจากเวบนี้ครับ เผื่อต้องใช้
 http://gallery.villagehatshop.com/gallery/albums/chapter3/17_G.sized.jpg  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 12:12


 
.

World's oldest hat revealed
 http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/725803.stm  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 12:31
 ขอบคุณที่มาไขข้อข้องใจให้  ดิฉันไม่ได้สนใจ banner ในเว็บแรกเลยค่ะ มองข้ามไป   เลยไม่รู้ว่าเกี่ยวกับฟาหลุนกง
ก็เลยเปลี่ยนลิ้งค์ใหม่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ยังขอลบลิ้งค์ที่คุณพิพัฒน์บอกไว้ด้วย  จะได้ไม่เป็นการชี้โพรงให้กระรอก

ลิ้งค์ในค.ห. 11 อ่านแล้ว เห็นว่ามันมั่วจับแพะชนแกะเราดีๆนี่เอง  ทำนองเดียวกับแดน บราวน์และอีริค ฟอน ดานิเก้นที่หาหลักฐานอะไรก็ได้มามั่วให้เข้ากับทฤษฎีของตัวเอง  ไม่สนใจความเสียหายทางสถาบันที่ตัวเองพูดถึง
จะว่าสรุปมันก็สรุปอะไรไม่ได้ทั้งนั้น  แม้คนเขียนเองก็สรุปไม่ได้
แต่จะยังไม่ลบ  นอกจากใครจะร้องเรียนมา

ตอนนี้กำนันแหนบทองไม่ค่อยมีเวลาเข้าเว็บ  เห็นว่าสำเร็จปริญญา PHD (Permanent Heart Damage) คงไปพักระยะยาว อยู่มั้ง

ชักไม่แน่ใจเสียแล้วว่ากระทู้นี้จะไปได้มากน้อยแค่ไหน  ขอบคุณสำหรับรูปและลิ้งค์ที่ทำมาให้ค่ะ
ถ้ายุ่งยากนักก็ลบกระทู้ได้ทุกโอกาสค่ะ  ไม่มีปัญหา


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 12:48
 เครื่องครอบศีรษะนี่ เป็นเรื่องใหญ่ขนาดสารานุกรมมนุษย์ชาติเชียวละครับ ตั้งแต่วีนัสข้างบน เรื่อยมาจนถึงหมวกนักบินอวกาศ
ออกเป็นหนังสือชุดได้หนึ่งชั้นหนังสือทีเดียว
แต่น่ารู้มาก อาจารย์ตั้งหัวข้อได้เจ๋งขนาด
อันนี้ผู้น้อยขอรับประกัน

ว่ากันเฉพาะเอเชีย ครอบหัวเจ๊กกับแขกก็ยุ่งขิงเป็นลิงทะเลาะกันแล้ว ยังต้องมาดูพวกดองซอน บ้านเชียง เบ๊กธาโน เลยไปถึงชวา....โอ๊ย ท่านเอาสมองส่วนใหนมาคิดหัวข้อกันนี่
ครีเอถีปสุดๆ

ว่าแต่ว่า คำว่า "หมวก" เป็นคำไตหรือเป่ากั๊บ
อันนี้น่าจะจับตั้งต้นก่อนจะหลงทาง
แล้วท่านจะแถมความเชื่อเกี่ยวกับขวัญ กระบาล หัว ศีรษะ แถมด้วยหรือเปล่า

งานนี้กลิ้งภูเขาทับครกยังง่ายกว่าเล็ยยยย...........


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 13:06
พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ ให้นิยามคำว่า หมวก ไว้ว่า
เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดดกันฝนเป็นต้น.
ไม่ได้บอกว่าเป็นคำจากภาษาอะไร   ตีความได้ว่า
๑) เป็นคำไทย
หรือ
๒) ไม่รู้ที่มา

ถ้าเป็นข้อ ๒  ขนาดท่านราชบัณฑิตยังไม่รู้แล้วดิฉันจะไปรู้กระไรได้   ก็รีบฉวยช่องว่างตรงนี้เป็นประโยชน์แก่ตัว ด้วยการถือว่าเป็นภาษาอะไรก็ช่างมันไปก่อน

ยึดเส้นทางเดิมตามหัวข้อนี้ว่า "เรื่องหนักหัว" คือเล่าถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาวางไว้บนหัว  มีน้ำหนักมากกว่าตอนที่ไม่มีมันอยู่บนหัว จนรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง

ดิฉันจะจับเส้นทางใหญ่ คือจากยุคก่อนประวัติศาสตร์  แล้วมุ่งหน้าสู่ถนนไปอียิปต์ แล้วเข้ากรีกกับโรมัน  ก่อนจะไปอังกฤษ
แล้วตามเรือสินค้าฝรั่งมาเข้าอ่าวไทย
เส้นทางที่จะไป  นำชมสองข้างทางแบบที่สำนวนจีนเรียกว่า "ขี่ม้าชมดอกไม้" คือดูผ่านๆ  ไม่มีเวลาและปัญญาจะดูให้ละเอียดกว่านี้
มันจะหนักหัวมากเกินไป  และเผลอๆจะจบไม่ลง
ปล่อยให้คนอื่นต่อยอดกันไปตามสะดวกดีกว่า

แต่มีความเชื่อมั่นว่าในเรือนไทย มีหลายท่านที่รู้จักเส้นทางมากกว่าดิฉัน ก็คงจะพาลูกทัวร์เข้าซอยแยกไปชมวัฒนธรรมหนักหัวได้โดยละเอียดกว่า
ขอเชิญทุกท่านมาร่วมวงด้วยค่ะ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 06 ก.ย. 06, 13:34
 แอบมานั่งหลังห้องครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 06, 13:53
ว่ากันว่า อวัยวะทุกอย่างของมนุษย์ถูกพระเจ้าดีไซน์มาเพื่อใช้สอยเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น   ไม่มีส่วนใดเกินจำเป็น  (ยกเว้นไส้ติ่ง ที่ยังขบคิดไม่ออกว่าประทานมาทำไม)  

ดังนั้น ถ้ายึดตามหลักเกณฑ์นี้   สิ่งที่อยู่บนหัวของคน ได้แก่ผม  ก็เป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานมาเพื่อช่วยเหลือหัว ไม่ให้ลำบากลำบนเกินไปกับความหนาวร้อนและแรงกระทบกระแทกจนเป็นอันตราย

อย่างไรก็ตาม ถือว่ามนุษย์คนแรกที่รู้จักเอาสิ่งหนึ่งขึ้นมาครอบหัว  เป็นคนที่เริ่มรู้สึกว่า ผมที่ได้รับมานั้นยังไม่พอ   เขาสามารถจะเพิ่มเติมให้มันดีขึ้นกว่าเก่าด้วย
เมื่อเริ่มที่จุดนี้ได้แล้ว   หัวของมนุษย์ก็กลายเป็นที่รองรับวัตถุอันประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อผลดีของมนุษย์เองต่อเนื่องยาวนานกันมาก่อนประวัติศาสตร์จนถึงประวัติศาสตร์ปัจจุบัน
ผลดีที่ว่านี้  ดิฉันแบ่งเอง ไม่ได้พึ่งทฤษฎีใคร  เพราะยังหาไม่เจอว่าใครเขียนไว้บ้าง
๑) ผลดีทางกาย
๒) ผลดีทางใจ
หรือจะเรียกให้ยากแบบนักวิชาการก็ได้ว่า อย่างที่ ๑ คือผลดีทางรูปธรรม และอย่างที่ ๒ คือผลดีทางนามธรรม

มนุษย์คนแรกที่หาอะไรมาคลุมหัว แกคงไม่ได้คิดลึกซึ้งไปถึงข้อ ๒ คงหยุดอยู่แค่ข้อ ๑ ว่า ถ้าเอาใบไม้ปิดหัว หัวก็เปียกฝนน้อยกว่าไม่มีอะไรปิด      หรือในถิ่นหนาว ถ้าเอาขนสัตว์คลุมหัวไว้ได้ ก็อุ่นหัวสบายกว่าไม่มีอะไรคลุม
จุดมุ่งหมายของหมวกหรือเครื่องคลุมศีรษะคงมีแค่นี้ในยุคแรกๆ ที่สังคมมนุษย์ยังเรียบง่ายเกือบจะเท่าสัตว์โลกชนิดอื่น  จนกระทั่งสังคมซับซ้อนขึ้น     หมวกจึงมีบทบาทพัฒนามาถึงข้อ ๒


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:13
 ขออภัย หายไปนานมาก ....
งานแยะครับ และงส่วนก็ไม่สนุก ถ้าจะให้ผมบ่นก็คงจะบ่นได้ว่าหนักหัวจริงๆ และรำคาญใครหรืออะไรบางอย่างมากๆ แต่เดี๋ยวจะกลายเป็นการคุยเรื่องการเมืองไป เพราะฉะนั้นผมจะหยุดบ่น
ดีกว่า
เข้าประเด็นกระทู้นะครับ

ถ้าคุณครูเทาชมพูย้อนไกลไปถึงมนุษย์ก่อน ปวศ. ผมก็เห็นจะต้องรับฟังอย่างเดียวเลย เพราะเกิดไม่ทันครับ แต่มีข้อสังเกตว่า ลิงใหญ่บางชนิดในสมัยนี้ ก็รู้จักหักเอาใบไม้มาปิดหัวกันฝนเหมือนกัน ลิงที่ว่านี่ไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของคน เป็นแต่เพียงญาติของคน คือคนไม่ได้วิวัฒนาการมาจากลิง แต่ทั้งคนทั้งลิง (ปัจจุบัน) มีบรรพชนร่วมกัน แต่แยกสายวิวัฒน์ไปคนละทาง

ถ้าถืออนุโลมตามพฤติกรรมของลิงเอปบางประเภท ก็สงสัยว่ามนุษย์จะรู้จักเอาอะไรดปะปิดหัวมานานมากแล้วตั้งแต่ยังไม่เป็นมนุษย์ ยังเป็นกึ่งๆ วานรอยุ่ด้วยซ้ำครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:17

ตัดข้ามเวลาพรวดมากี่แสนล้านปีก้ไม่รู้ แต่ว่าตอนนั้นเข้ายุคประวัติศาสตร์แล้ว คือเมื่อ 800 ปีมานี้เอง

ขณะนั้น เจงกีสข่านเพิ่งรวบรวมเผ่ามงโกลต่างๆ ตั้งเป็นอาณาจักรมองโกลเดียวกันได้สำเร็จ ก่อนยุคพ่อขุนรามของเราไม่ถึงร้อยปี

เผอิญผมเพิ่งไปมองโกเลียไปร่วมฉลอง 800 ปี แห่งการตั้งประเทศเขา จึงขออนุญาตเอารูปหมวกมองโกลมาฝากครับ

รูปแรก เจงกีสข่านเอง บนยี่ห้อวอดก้า ใส่หมวกขนสัตว์กันหนาว


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:19

นางแบบมงโกลที่โชว์ขวดก็ใส่หมวกแบบสตรีครับ
ถัดไป สารพันหมวกในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มองโกเลีย แบบหมวกเหล่านี้จะเก่าแก่เท่าไหร่ผมก็ไม่ทราบ แต่คิดว่าไม่เก่ามากกว่าพันปีไปได้


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:20

อีกใบครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:21

เอ๊ะ แปะไม่ติด - ลองใหม่


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:22

อีกใบหนึ่งครับ ใบนี้สวย เป็นหมวกกำมะหยี่เบาๆ ของผู้หญิงใส่หน้าร้อน ปักขนนกฮูก


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.ย. 06, 22:24

หมวกมองโกล ใบสุดท้ายครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ย. 06, 23:32
เครื่องหนักกระบาลนี่ น่าจะแบ่งเป็น 2 สาขานะครับ
1 คือพวกที่ไม่ใส่ กระบาลจะหนักยิ่งกว่า คือต้องหามาปกปิดเพราะเหตุจำเป็นทางกายภาพมันบังคับ เช่นกันเปียก หรือกันเลือดโชก
2 พวกที่ใส่ให้หนักกระบาลอย่างเดียว ประเภทนาโปเลยองไงครับ

ใช้คำว่ากระบาลเพราะรู้สึกว่าตรงกว่าหัว
ตีกระบาลนี่ ถ้าโดนท้ายทอยคงต้องถือว่าตีผิด
แต่ถ้าดักตีหัวนี่ ตามสะบายครับ คุณนิลเล็งไอ้ตัวน่าหมั่นไส้แถวๆนั้น ฟาดเข้าไปตรงไหนก็ได้ ขอให้เลยคอขึ้นมา น่าจะถือว่าตีหัว

ขอต้อนรับคุณนิลกลับบ้านครับ หายไปนาน โชคดียังจำทางกลับเรือนได้...5555


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 ก.ย. 06, 03:33
 มากราบสวัสดี คุณเทาชมพูครับ

เรื่อง "หมวก" นี่น่าสนใจครับ ผมลองให้ในพจนานุกรมคำตระกูลไท-กะได  ( http://starling.rinet.ru/cgi-bin/response.cgi?root=config&morpho=0&basename=data   haizhtaet&first=581  ) ก็ไม่พบ

ไม่รู้ว่าจะเป็นมอญ-เขมร ได้หรือไม่ ???

เรื่องภาพบุคคลสวมหมวกในภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์นี่ มีอยู่เกือบทุกแห่งบนโลกเลยครับ แม้แต่ของไทยเองก็มี แต่เรามักจะเรียกว่า "เครื่องประดับศีรษะ" เพราะภาพพวกนี้ มักไม่ชัดเจน แต่ก็ถือได้ว่า เป็นหมวกประเภทหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมีคำถามตามขึ้นมาอีกว่า "หมวก" ที่ว่านี้ มีหน้าที่อย่างไรในสังคมก่อนประวัติศาสตร์ ?

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า "หมวก" มักจะมีการใช้กันแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งนอกจากจะทำให้ที่ให้ความอบอุ่นให้กับหัวแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับอีกด้วย

สำหรับกลุ่มประเทศร้อนๆ อย่างบ้านเราก็มีหมวก แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อกันความร้อน โดยเฉพาะชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องสู้แดดกันทั้งวัน ดังนั้น หมวกของชาวนาจึงไม่ได้เป็นเรื่องประดับแต่อย่างใด เพราะ ถ้าใส่กันร้อนๆ ไม่ถอดทั้งวัน ขี้กลากขึ้นหัวแน่ๆ ครับ อิอิ

---------------------------------------------------------

"เครื่องประดับศีรษะ" กับ "หมวก" อันนี้ มีความเหมือนในความแตกต่างครับ ภาพก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกตีความว่า เป็น หมวก ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องประดับศีรษะ เพื่อบ่งบอกสถานภาพทางสังคม และเพื่อการประกอบพิธีธรรมของเผ่า

ดังนั้น เราจะพบได้ว่า "หมวก" มีหน้าที่หลักๆ อยู่ ๓ ประการครับ

๑. เป็นอุปกรณ์ป้องกันแดด ป้องกันความหนาวเย็น (เราเรียก หมวก)
๒. เป็นอุปกรณ์แสดงสถานภาพทางสังคม (ถ้าเป็นหมวกที่แสดงสถานภาพความเป็นพระราชา เราเรียกมงกุฎ หรือ อย่างพวกขุนนางจีนสมัยแมนจูก็สวมหมวก ไทยเองก็พวกขุนนางสมัยอยุธยาก็สวมหมวกครับ)
๓. เป็นอุปกรณ์แสดงความโก้เก๋ (Fashion) กรณีนี้อาจเข้ากับกระแส "ทั่นผู้นำ" ที่พยายามจะทำให้ "หมวก" เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญแบบฝรั่ง (ทั้งๆ ที่บ้านเราร้อนกว่าบ้านฝรั่ง ! )

นี่แหละครับ เรื่องหนักหัว ที่ใครๆ ก็อยากได้


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 ก.ย. 06, 03:46

ที่มา http://www.memoires-de-siam.com/  (ภาษาฝรั่งเศส)

ภาพโกษาปาน สวมหมวกขุนนางแบบอยุธยาครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 ก.ย. 06, 04:05

ที่มา http://www.memoires-de-siam.com/  (ภาษาฝรั่งเศส)

ภาพออกขุนชำนาญ "ทูตเรือแตก" สวมหมวกเก๋ไก๋ จำเรื่องราวของท่านไม่ได้แล้วครับ จำได้ว่าท่านเรือแตกแถวๆ อาฟริกาใต้ หรือไงนี่แหละครับ ต้องกินรองเท้าหนังต่างข้าว ใครจำได้ช่วยเล่าด้วยนะครับ (ตั้งกระทู้ใหม่ก็ได้ครับ)


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 ก.ย. 06, 04:12

ที่มา http://www.memoires-de-siam.com/  (ภาษาฝรั่งเศส)

การแต่งกายของขุนนางอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(ถ้าทำกระทู้ โดดสมัยไป ก็ของอภัยคุณเทาชมพู ด้วยนะครับ ถือว่าเป็นกับแกล้มแล้วกันครับ รออาหารจานหลักต่อครับ)


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 06, 08:00
 ขอต้อนรับคุณนกข.และคุณ Hotacunus ที่แวะเข้ามาร่วงวงสังสรรค์ค่ะ  ไม่งั้นวงสนทนาจะมีแต่เสียงอยู่สองสามคน
ดิฉันย้อนได้แค่ก่อนมนุษย์ถ้ำก่อนประวัติศาสตร์  คุณนกข.ย้อนได้ถึงลิง  เก่งจริงๆ

หมวก(หรืออนุโลมว่าเครื่องประดับศีรษะ) มีบทบาทให้เห็นในสมัยอียิปต์ว่า ไม่ได้เอาไว้แค่กันร้อนกันหนาวอย่างเดียว แต่เป็นความหมายทางนามธรรม คือประกอบสถานภาพสูงเด่นในสังคม  
เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายของฟาโรห์  และเทพเจ้าอีกหลายองค์
บุคคลสำคัญเหล่านี้ ปรากฏองค์ออกมา ศีรษะไม่เปล่าอย่างชาวบ้าน
ภาพในคห.นี้คือเทพเจ้าโอซิริส  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 06, 08:07
 หมวกสวมศีรษะท่านโกษาปาน เรียกว่าลอมพอก  (หวังว่าคงจะใช่) เป็นเครื่องประดับศีรษะ  เพราะไม่ได้กันร้อนหนาวอะไรได้  แสดงถึงยศศักดิ์ของขุนนาง

กลับมาถึงอียิปต์ ถ้าเป็นคนธรรมดา ก็หัวเปล่าๆ
ภาพนี้ตรงกลางคือมนุษย์ สองข้างเป็นเทพเจ้า
.
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 06, 08:11
 ส่วนฟาโรห์ก็เห็นๆกันอยู่ในหนังและรูปภาพออกมากมาย  
ว่าพระองค์ต้องสวมเครื่องประดับศีรษะ คลุมมิดชิดไม่เห็นผม
 
ถ้าของจริงเป็นโลหะทึบ  ไม่ใช่ผ้า  ฟาโรห์คงร้อนน่าดู  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 07 ก.ย. 06, 09:50
 หยิบหมวกมาสวม แล้วขออนุญาตเท้าคางฟังอยู่หลังห้องด้วยความตั้งใจด้วยคนครับ

.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 06, 10:20


   นางพญาของอียิปต์ประมาณ ๑๓๐๐ กว่าปีก่อนคริสตกาล  ปรากฏหลักฐานพร้อมด้วยเครื่องสวมศีรษะ  

นี่คือภาพปั้นของพระนางเนเฟอร์ติติ  มเหสีของฟาโรอเมนโฮเต็ปที่ ๔  ปัจจุบันอยู่ที่  Berlin's Altes Museum  เธอเป็นราชินีมาก่อนจะครองบัลลังก์เองเมื่อพระสวามีสิ้นพระชนม์

จากรูป เป็นสาวงามลำคอระหง สัดส่วนที่เห็นน่าจะผอมคล้ายนางแบบ โครงหน้าคมมาก   เก็บผมไว้หมดใต้หมวกไม่ปล่อยให้เห็นเส้นผมว่าสีอะไรสวยแค่ไหน  

ไม่รู้ว่าวัสดุที่สวมบนพระเศียรนั้น ของจริงเมื่อหลายพันปีก่อนทำด้วยอะไร

แต่เท่ราวกับดีไซเนอร์ของฝรั่งเศสย้อนเวลาไปออกแบบให้ทีเดียว  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ก.ย. 06, 23:23

ขออนุญาตโพสต์ภาพ "ลอมพอก" เสริมความเห็นเพิ่มเติมที่ 30 เล็กน้อยครับอาจารย์

ภาพที่ว่าเป็นจิตรกรรมฝาหนังจากวัดโบสถ์สามเสน ที่ออกจะเบลอซักเล็กน้อย
ขุนนางเสื้อขาวด้านบนสวมลอมพอก แต่พวกขุนนางเสื้อแดงด้านล่างสวมหมวกอะไร ผมขอเวลาค้นเพิ่มซักสองสามวันครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ก.ย. 06, 23:25

.


แทรกอีกซักภาพครับ ขบวนช้างขบวนเดิม ภาพนี้เข้าใกล้ลอมพอกขึ้นอีกนิดนะครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ก.ย. 06, 23:30

.



แถมอีกนิดนึงครับ

"ลอมพอก" ในจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรีย์ ครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ก.ย. 06, 23:34

.



ขอแถมวัดช่องนนทรีย์อีกซักภาพนะครับ เป็นจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาที่เห็นแล้วใจแทบจะละลายลงไปกองกับพื้นได้เลย
ลองดูขบวนให้ดีสิครับ เห็นแล้วผมแทบจะนึกว่ามีขบวนเสด็จสมัยอยุธยาเสด็จผ่านหน้าไปได้เลยล่ะครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ก.ย. 06, 23:38

.


แถมหมวกแบบอยุธยาให้อีก 1 ทรง ครับ ภาพนี้จากวัดเกาะแก้วฯ จังหวัดเพชรบุรี


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 08 ก.ย. 06, 05:48
 ว่าด้วย "ลอมพอก"

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย "ลอมพอก" ว่า

คำ :  ลอมพอก
เสียง :  ลอม-พอก
นิยาม :  เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา.

ไม่ได้ระบุที่มาของคำเหมือนกันครับ

มีบทความเกี่ยวกับมุสลิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของ คุณปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ กล่าวถึง "ลอมพอก" ดังนี้ครับ


“ลอมพอก” เครื่องแต่งกายสมานฉันท์


     หลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของการผสานกลมกลืนกันระหว่าง 2 วัฒนธรรม ก็คือ “ลอมพอก” อันได้แก่หมวกสำหรับขุนนางไทยที่นิยมใช้กันในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

       โดย “ลอมพอก” นี้ทำจากผ้าขาว พันและผับเป็นทรงหมวก มียอดแหลม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต ที่ขอบของ “ลอมพอก” จะมีเครื่องประดับแสดงชั้นยศ สันนิษฐานกันว่ารูปแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าโพกศีรษะของมุสลิมเปอร์เซีย ผสมผสานกับรูปแบบชฎาของไทย


    เมื่อครั้งที่คณะราชทูตในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 ได้สวมเครื่องแต่งกายดังกล่าวจนเป็นที่ดึงดูดความสนใจจากชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก


ที่มา : http://www.muslimcampus.com/wbreply.php?id=371

แต่อย่างไรก็ตาม นายซิม็องต์ เดอ ลาลูแบร์ ได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ลอมพอก (Lom Pok) ไว้ว่า

"lom หมายถึง "หมวก" pok หมายถึง "สูง" ปกติจะมีสีขาว แต่ในการออกล่าสัตว์ หรือออกศึกสงคราม จะใช้สีแดง

ผมสงสัยว่า "ลอม" หมายถึง "หมวก" ? ก็เลยไปหาคำว่า "ลอม" มาได้ดังนี้ครับ

๑. ลอม (กริยา) :  รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม.
๒. ลอม (นาม) :  เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.

(ตะล่อม ลอม ล้อม ห้อม รวม = มีรากเดียวกัน ???)

-----------------------------------------

ส่วนคำว่า "พอก"

๑. พอก (กริยา) หุ้ม เช่น พอกไข่, พูน, โปะให้หนา
๒. พอก (วิเศษณ์) โป่งออกมา เช่น คอพอก.
๓. พอก (กริยา - กลอน) โพกผ้า.
๔. พอก (นาม - กลอน) ผ้าโพกคล้ายหมวก.

-------------------------------------------

สรุปว่า ลอมพอก แปลว่า ผ้าที่นำมาล้อมสุ่มไปให้สูงบนศีรษะ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 08 ก.ย. 06, 06:23
 ว่าด้วย "หมวก"

ผมมานึกถึงหมวกของชาวนาที่เรียกว่า "งอบ" นี่น่าจะเป็น "หมวก" ดั่งเดิมที่สุดของคนเผ่าไท ดังนั้น คำว่า "หมวก" ก็อาจไม่ใช่คำไทเดิมครับ แต่อาจเป็นคำศัพท์ต่างชาติ เพราะรูปแบบของหมวกที่เราเข้าใจกันปัจจุบันนี้ เป็นสินค้าต่างชาติครับ

คำว่า "หมวก" ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Hat (ฝรั่งเศสว่า ชาโป - chapeau) ซึ่งไม่น่าจะเป็นที่มาของคำว่าหมวกได้เลย แต่มีศัพท์คำหนึ่งของภาษาฮินดีน่าสนใจ

Maur (ฮินดี, ไม่น่าใจว่าออกเสียงอย่างไรนะครับ อาจเป็น เมารฺ) แปลว่า มงกุฎ หรือ หมวกทรงสูงชนิดหนึ่ง

คำว่า "เมารฺ" นี้ มีรากมาจากคำสันสกฤตว่า "มกุฏ" หรือ "มุกุฏ" หรือ อีกทางหนึ่งก็ว่ามาจากคำบาลี-สันสกฤตว่า "โมลิ" (เกล้าผม ตรงกับคำไทยว่า เมาลี)

คำนี้น่าสนใจเรื่องเสียงครับระหว่าง "เมารฺ" กับ "หมวก" เป็นไปได้หรือไม่ว่า หมวกรุ่นแรกๆ (หมวกฝรั่ง) ถูกนำเข้ามาโดยพวกพ่อค้าอินเดีย-เปอร์เซีย ??? แต่ปัญหาอยู่ที่ความหมายไม่ตรงกับคำว่า "หมวก" เสียทีเดียว แต่มันก็เกี่ยวๆ กับ "เรื่องหนักหัว" เหมือนกัน

ตอนนี้ก็ขุดหารากได้แค่นี้ครับ คำนี้ยากจริงๆ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 08 ก.ย. 06, 09:15
 ลอมพอก ผมสงสัยว่าเกี่ยวกับคำว่า โพก (ผ้า)

ร่วมด้วยช่วยมั่วครับคุณ Hotacunus
ภาษาจีนกลาง คำว่า หมวก เรียกว่า เม่า (-ซจึ) คำหลังช่างมันเหอะ แต่คำว่าเม่านั้นจะมาเป็น หมวก ได้ไหม?

ในภาษาตระกูลจีน คำจีนกลางสำเนียงฟังดูอาจจะไม่ค่อยใกล้คำไทยเท่าไหร่ แต่ภาษาจีนถิ่นสำเนียงทางใต้ๆ เช่นกวางตุ้งนั้นบางคำก็คล้ายๆ บางคำในภาษาตระกูลไทและเวียดนามพอใช้ทีเดียว เช่นเรื่องการนับเลข

เผอิญผมไม่รู้กวางตุ้ง ใครทราบบ้างครับว่ากวางตุ้งเรียกหมวกยังไง  ถ้าจีนกลางเรียกเม่า กวางตุ้งอาจจะเรียกหม็อกหรืออะไรทำนองนั้นได้หรือเปล่า แล้วจะกลายมาเป็น หมวก ได้ไหม (มั่วครับ เรียนแล้วว่ามาช่วยมั่ว)

ขอตัวช่วยครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 08 ก.ย. 06, 09:19
 เห็นด้วยว่า งอบ น่าจะเป็นหมวกทรงไทยดั้งเดิมกว่าหมวกอื่นๆ ดังนั้นน่าจะสันนิษฐานว่าคำว่า งอบ ก็น่าจะเป็นคำไทมากกว่าคำว่าหมวก หรือเปล่า?

ทำไมไม่รู้ ใจผมโยงคำว่า งอบ กับ ครอบ แล้วก็นึกถึงอีกคำด้วยว่า เงิบ เช่น "ผาเงิบ" ซึ่งผมรู้สึกว่า (แต่ไม่แน่ใจ) แปลว่าชะโงกเงื้อมคลุมอยู่ข้างบนเหนือหัว หรือเปล่า? ใครรู้ความหมายของคำว่าเงิบบ้างครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 08 ก.ย. 06, 09:30
 ราชาศัพท์เรียกหมวกเป็นคำแขกว่า พระมาลา
แต่ที่จริงมาลาน่ะแปลว่าดอกไม้นี่ครับ จะตีความได้หรือเปล่าว่า ไทเราแต่เดิมถ้าจะประดับแต่งหัวกัน อย่างมากที่สุดก็เกล้าผมมวยให้สุงขึ้นไป ปักปิ่นหรือแซมดอกไม้ ความคิดเรื่องการใช้ดอกไม้เลยติดอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับการตกแต่งศีรษะ แม้แต่เมื่อเปลี่ยนรูปมาใช้หมวกแล้ว

ผมจำได้คล้ายๆ ว่า ชฎาหรือพระมหามงกุฎ ซึ่งก็คือหมวกอย่างหนึ่ง ก็มีส่วนประกอบที่เรียกชื่อเป็นดอกไม้เหมือนกัน?

ลอมพอกขุนนางหรือที่ท่านเอกอัครบรมมหาอภิบรรพทูต โกษาปาน ต้นตระกูลทูตไทย ท่านสวมนั้น ก็มีส่วนที่ได้ชื่อว่าเป็นดอกไม้ ดูเหมือนเรียกดอกไม้ไหวหรืออะไรทำนองนั้นแหละ แต่ไม่ได้ใช้ดอกไม้สดจริงๆ แล้ว พัฒนามาเป็นอัญมณีและทองแทน


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 06, 09:39
 ชอบม้าขาวในภาพ 39 ของคุณติบอ  หน้าตาภาคภูมิ น่าจะเป็นม้าเทศ
ระหว่างหาหมวกว่าเกิดมาจากภาษาไหน  ขอพาย้อนกลับอียิปต์ ไปดูพระนางคลีโอพัตรา ว่าเธอมีเรื่องหนักหัวแบบไหน
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 06, 09:44
 ชนกันกลางอากาศกับคุณนกข.  หลีกทางให้ค่ะ

นึกได้ถึงพระนาม เจ้าฟ้ามหามาลา  กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล
คำว่า มาล แปลได้ทั้งดอกไม้ และหมวก  แต่ถ้าเป็นราชาศัพท์ พระมาลา แปลว่าหมวกอย่างเดียว ไม่ได้แปลว่าดอกไม้หลวง

เลี้ยวออกนอกเรื่องไป  ใส่เกียร์ถอยหลังกลับมาที่เดิมดีกว่า


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ก.ย. 06, 11:28
 เคยได้ยินสมมติฐานหนึ่งเกี่ยวกับลอมพอกครับ แต่จนใจจำไม่ได้ว่ามาจากไหน

ท่านว่า ลอมพอกนี้เป็นผ้าลงแป้งแข็ง(พอก)เพื่อให้เกิดความสะดวกในการถอด/ใส่

ลักษณะเฉพาะนี้ทำให้ลอมชนิดนี้ถูกเรียกว่าลอมพอกครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: tuka007 ที่ 08 ก.ย. 06, 12:47
 แวะมาลงชื่อไว้ก่อนค่ะ ช่วงนี้เครื่องที่บ้านเสีย กำลังหาทางกู้รูปที่ไปเที่ยววัดที่เมืองเพชรคืนอยู่ค่ะ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ก.ย. 06, 14:03
 หมวก กวางตุ้งว่า mou6 ครับ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด จะอ่านว่า โหม่ว ครับ

เข้าเค้าเหมือนกัน


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 08 ก.ย. 06, 15:01
 ขอบคุณคุณอาชาผยองครับ

คำเรียกเต็มๆ จีนกลางเขาเรียก เม่าซจึ ถ้าหากกลายเป็นกวางตุ้งว่า โหม่วกี้ หรืออะไรทำนองนั้นได้ ก็จะยิ่งเข้าเค้าพอใช้ทีเดียวเชียวนะนั่น...


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 08 ก.ย. 06, 15:05
 จับแพะชนแกะมั่วไปเรื่อยเปื่อยตามประสาผม

ยังไม่รู้อยู่ดีว่า เงิบ แปลว่าอะไรมีความหมายรึเปล่า แต่เท่าที่ทราบ ลาวก็เรียกหมวกว่าหมวก เหมือนไทย แต่ลาวเรียกรองเท้าว่า เกิบ ("ปดเกิบ" หรือ ปลดเกิบ คือ ถอดรองเท้า) เกิบนั้นไทยเราเรียก เกือก อันนั้นเป็นสิ่งที่สวมกับเท้า ไกลจากหัวเอาการอยู่

แต่ว่าในเมื่อเคยมีคนป่าที่ไม่รู้จักรองเท้า เรียกรองเท้าว่า "หมวกตีน" มาแล้ว (คือไอ้เถื่อน ของอาจานต์ ปัญจพรรค์ ในเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่) แถมเสียงก็คล้ายๆ กัน ผมก็เลยสงสัยว่า เกิบ กับ เงิบ เกี่ยวกันรึเปล่า แล้วเกี่ยวกับ งอบ รึเปล่า???????

โยงกันจนได้...


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว ที่ 11 ก.ย. 06, 00:05
 ขอหนักหัวด้วยคนนะคับผม อิอิอิ (ท่าทางจะหนักหลายกิโลเลยแหละ)


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 06, 21:25
 ย้อนกลับไปสมัยกรีก  หมวกนำมาเป็นเครื่องแสดงสถานภาพของสามัญชนได้ด้วย
ภาพหมวกไม่มีปีกนี้ คือหมวกฟรายเจียน (Phrygian cap)   สำหรับทาสที่เป็นไทแก่ตัว  
ผู้ชายที่สวมหมวกนี้แสดงสถานภาพว่าพ้นจากทาสแล้วค่ะ หมวกแบบนี้จึงเรียกอีกชื่อว่า Liberty cap  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 11 ก.ย. 06, 22:29
 ขอเอาเรื่องหมวกอียิปต์มาลงบ้างครับ

ภาพโอสิริสเทพแห่งความตายที่อาจารย์เทาชมพูลงไว้ ก็สวมหมวกที่มีขนนกกระจอกเทศประดับอยู่สองข้าง เรียกว่า Atef crown ขนนกนั้นจะเกี่ยวข้องกับขนนกของเทพ Maat ที่ใช้ชั่งหัวใจคนตายหรือไม่ก็ยังไม่แน่ใจครับ

ส่วนหมวกของคลีโอพัตรา เป็นรูปแร้งหัวเป็นงูเห่า ก็อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของการรวมอิยิปต์เหนือและอิยิปต์ใต้เข้าด้วยกันก็เป็นไปได้ครับ หมวกแบบนี้ถูกสวมโดยเทพี Nekhbet เทพีที่มีรูปเป็นนกแร้งครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 11 ก.ย. 06, 22:32

ครับ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว ที่ 12 ก.ย. 06, 10:52

สงสารน้องพลอย ไลลา จังเลย คงหนักหัวพิลึก  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 06, 08:54
 หมวกโรมัน ที่ทหารโรมันสวมออกรบ กันอาวุธและการกระทบกระแทก  ของจริงน่าจะหนักไม่น้อยว่าเครื่องสวมหัวน้องไลล่า
หมวกแบบนี้เรียกว่า helmet ค่ะ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 06, 08:59
 ขอโทษที  เรียงลำดับภาพผิดไป ภาพนี้น่าจะมาก่อนหมวกโรมันค่ะ
ภาพโถโบราณสมัยกรีกใบนี้ แสดงให้เห็นหนุ่มชาวกรีกคนกลาง สะพายหมวกมีปีก ห้อยอยู่หลังศีรษะ  
หมวกแบบนี้ เรียกว่า Pestasos
ถือเป็นหมวกมีปีกชนิดแรกที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 13 ก.ย. 06, 22:11
 จดจดจ้องจ้องอยู่นานกว่าจะคลิ๊กเข้ามา  
เพราะกลัวชื่อกระทู้ เกรงว่าจะต้องเครียด
พอคลิ๊กเข้ามาถึงได้ทราบว่าถึงหนักหัวก็ไม่ต้องเครียด  
ไหน ๆ เข้ามาแล้วก็เลยขอแจมหน่อยนะครับ

#58 ;
สมมติว่าหมวกสองใบนี้หนักเท่ากันจริง
แต่#59 มีเสถียรภาพมากกว่า จะยักย้ายส่ายก้มก็ล้มยาก
เพราะจุดศูนย์ถ่วงของหมวกต่ำกว่า #58 แยะเลย
แบบฟอร์มูล่าวันที่เลี้ยวอย่างไรก็ไม่คว่ำ    


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 14 ก.ย. 06, 17:01
 คห. อ. นิรันดร์ สมเป็นอาจารย์ฟิสิกส์จริงๆ อิอิอิ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 06, 15:43
 เมื่อสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน  สายตาของนักประวัติศาสตร์ก็ย้ายไปโฟคัสที่ยุโรปตะวันตก แทน  
ยุคสมัยหลายร้อยปีจากนั้น  อยู่ในยุคกลาง  (Medieval Period หรือ Middle Ages)  เป็นยุคที่ริบหรี่ทางด้านศิลปวิทยาการ
หนังที่สะท้อนบรรยากาศยุคกลางก็อย่างพวกโรบินฮู้ด   ไอแวนโฮ พวกนี้
ความแตกต่างระหว่างชนชั้นต่างๆเป็นที่เห็นชัด   ระดับล่างสุดคือชาวนา   พวกนี้แต่งตัวกันง่ายๆ  เสื้อผ้าทอเอง   มีเอาไว้กันหนาวมากกว่าจะคำนึงถึงสวยงาม
หมวกก็สวมตามหน้าที่ของมัน คือทำให้อุ่นหัว อย่าง Conical hat
ที่ชาวบ้านชาวไร่ชาวนา สวมกัน


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 06, 15:52
 ส่วนผู้หญิงชาวบ้านมีผ้าคลุมศีรษะที่ตวัดชายไว้บนบ่า เรียกว่า wimple อย่างในภาพ
ถ้าหากว่าใครจำเครื่องแต่งกายของแม่ชีคาทอลิคได้ จะพบว่ามี wimple คลุมศีรษะอยู่อย่างมิดชิด  อย่างในหนังเรื่อง Sister Act
มาเปลี่ยนเมื่อไม่ถึง ๕๐ ปีมานี้เอง
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 06, 16:12
 กระบังรอบศีรษะแบบนี้เรียกว่า crespine เป็นที่นิยมกันมาจนถึงประมาณศตวรรษที่ 14
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 16 ก.ย. 06, 22:46

เห็นหนักหัวมานานแล้ว
ลองเรื่องเบาหัวบ้างนะครับ

"ภาระทั้งหลายเป็นของหนักเน้อ
ก็คนนั่นแหละ คือผู้แบกของหนักพาไป"


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 06, 08:59

เคยสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมพระแม่มารี หรือ The Virgin Mary ถึงต้องมีผ้าคลุมผมยาวๆคลุมศีรษะอยู่เสมอ
ทีแรกนึกว่าเป็นการแต่งกายสมัยคริสตกาล  เพราะดูในหนังเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ก็แต่งแบบนั้น
มาดูอีกทีในเน็ต รู้สึกว่าผ้าคลุมผมของเวอร์จิ้นแมรี่  เหมือนแฟชั่นยุคกลางมากๆ
อ่านประกอบได้ที่นี่ค่ะ
kyaracaledonii.tripod.com/id104.htm


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 06, 09:00

.
อีกรูปหนึ่ง


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 06, 21:24
 เมื่อศิลปวิทยาการรุ่งเรืองขึ้นในยุโรป   นักประวัติศาสตร์ก็นับว่ายุคกลางสิ้นสุดลง  เข้าสู่ยุคใหม่ประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑๖
หมวกแบบต่างๆก็ยังเชื่อมต่อกับยุคกลาง   ในที่นี้จะไม่บรรยายละเอียด เดี๋ยวกระทู้ไม่จบ
ขอนำรูปมาให้ดูแต่เฉพาะแบบแปลกๆที่ไม่เห็นกันอีกแล้วในสมัยนี้

อย่างแรกคือ snood สำหรับผู้หญิงผมยาว  ถักเปีย หรือขมวดปลายผมเข้าไปเก็บไว้ในถุงไหมถักยืดหยุ่นได้  ไม่ให้ผมกระจายรุงรัง
อย่างในรูปนี้ค่ะ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 06, 21:28

.
หมวกแบเรต์แบบเรอเนสซองส์ค่ะ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 06, 21:38
 พระราชินีทั้ง ๖ องค์ของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ แห่งอังกฤษ ขอให้สังเกตว่าทุกองค์สวมพระมาลาแบบคล้ายๆกัน
เป็นผ้าแนบศีรษะ ไม่มีปีกหมวก


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 06, 21:42
 พระมาลาของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘  เป็นแบบเดียวกับในค.ห. ๗๐
แต่ว่าประดับประดาหรูหรากว่า และปักขนนก
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 06, 20:27

.
สาวน้อยคนนี้คือเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘
ต่อมาคือนางพญาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ
พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑

ในพระรูปนี้ทรงพระมาลาแบบกระบัง ประดับไข่มุก ตามแฟชั่นที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยพระมารดา พระนางแอนน์ โบลีน


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 06, 20:29

พอขึ้นครองราชย์  ฉลองพระองค์เต็มยศแสนจะหรูหรา  
และพระมงกุฎมาลาในพระรูปนี้ น่าจะหนักพระเศียรไม่ใช่เล่น


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 06, 20:31

.
ส่วนพระรูปนี้ ทรงมงกุฎ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 06, 20:33
 พ้นจากเรอเนสซองส์ มาถึงศตวรรษที่ ๑๗   ในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๒  ที่เคยเล่าไว้เป็นบทความ
สตรีบรรดาศักดิ์ในราชสำนักแต่งกายกันหรูหราอลังการมาก แต่ไม่หนักหัว เพราะสมัยนี้ แทบไม่สวมอะไรบนศีรษะเลย
อย่างภาพเลดี้คาสเซิลเมนพระสนมเอก ในภาพซ้าย
ต่อจากนั้น ปลายศตวรรษที่ ๑๗ ต่อกับต้นศตวรรษที่ ๑๘  ข้ามไปฝรั่งเศส  
มาดามปอมปาดูร์(ในภาพขวา) ก็แต่งกายแสนจะวิจิตรขึ้นชื่อไปทั่วประเทศ  แต่ไม่นิยมสวมหมวก
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 06, 20:35
 มาดามปอมปาดูร์เป็นพระสนมคนดังของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ แห่งฝรั่งเศสค่ะ
ถ้าหากว่าเธอพอจะสวมอะไรบนศีรษะบ้าง ก็อาจจะเป็นผ้าคลุมผม ทำด้วยลูกไม้เบาๆ อย่างภาพนี้
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 06, 20:48
 ในตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕  แฟชั่นแต่งผมและหมวกด้วยขนนกก็เป็นที่นิยม
สาวงามในภาพนี้คือพระสนมคนโปรด  ชื่อมาดาม ดูบาร์รี่
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ย. 06, 18:20
 จากยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ มาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งเป็นพระนัดดา    พระราชินีมารี อังตัวแน็ตต์ ได้ชื่อว่าเป็นราชินีที่งามที่สุดในยุโรป
ทรงแต่งพระองค์หรูหราอยู่เป็นนิจ    เกล้าพระเกศาวิจิตรพิสดาร พระมาลานั้นเล่าก็ปีกใหญ่ส่งเสริมความอลังการ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: tuka007 ที่ 02 ต.ค. 06, 19:52
 เห็นแล้ว หนักแทนจริงด้วยค่ะ อาจารย์


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 10:11
 รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ และพระนางมารี อังตัวแน็ตต์จบลงด้วยการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๘๙
หัวของเจ้านายและขุนนางในสมัยนั้นถูกสังเวยให้เครื่องประหารที่เรียกว่ากีโยตีนกันเสียแทบจะหมดอาณาจักร
หมดยุคนี้ไปแล้วก็เกิดการชิงอำนาจรบราฆ่าฟันอีกพักใหญ่ในหมู่ผู้ชนะ
จนกระทั่งนายทหารหนุ่มจากคอร์สิกาก้าวเข้ามายุติปัญหา   รวบอำนาจเข้าไว้ในกำมือเขาเพียงคนเดียว
เขาคือนโปเลียน โบนาปาร์ต ผู้สถาปนาระบบจักรวรรดิให้ฝรั่งเศส  ตัวเขาครองตำแหน่งจักรพรรดิหรือ Emperor

ยุคนี้เรียกว่าจักรวรรดิ หรือ Empire แฟชั่นสาวๆในยุคนี้จึงเรียกว่าทรงเอมไพร์  
นำแฟชั่นโดยเอมเปรส โจเซฟีน มเหสีคนแรกของนโปเลียน ตามรูปนี้
แทนที่จะเป็นกระโปรงสุ่มบานกว้างรัดเอว  ก็เป็นทรงต่อใต้อกไม่เน้นเอว  กระโปรงทิ้งตัวหลวมสบาย  นิยมใช่ผ้าบางเบา
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 10:14
 แฟชั่นทรงเอมไพร์ ปลายศตวรรษที่ ๑๘ ต่อมาถึงต้นศตวรรษที่ ๑๙ค่ะ
ในอังกฤษตรงกับสมัยพระเจ้าจอร์ชที่ ๓ ซึ่งเสียพระสติ ไม่อาจครองราชย์ได้
พระโอรสจึงต้องสำเร็จราชการแทน เป็น Regent
ยุคนี้จึงเรียกว่า Regency
ซึ่งกลายมาเป็นคำประกอบอะไรก็ได้ที่หมายถึงยุคสมัยนี้
รวมทั้งแฟชั่นด้วย
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 10:20
 หมวกในสมัยนี้ น่าจะหนักหัวน้อยกว่าสมัยก่อน
ส่วนใหญ่สานด้วยฟาง หรือผ้า  ไม่นิยมปีกใหญ่
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 10:24
 อีกสองแบบค่ะ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 10:25

อีกสองแบบค่ะ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 20:31
 เมื่อพ้นยุครีเจนซี่(ที่ไม่ใช่บรั่นดีไทย) ในช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๙ ล่วงมาถึงกลางศตวรรษ ก็เริ่มยุควิกตอเรียน
ยุคนี้ผู้ครองราชบัลลังก์อังกฤษคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย  ทรงเป็นผู้เคร่งครัดในศีลธรรม  

การแต่งกายของผู้หญิงก็ย้อนกลับไปสู่ธรรมเนียมนิยมคล้ายศตวรรษที่ ๑๘ ก่อนยุคเอมไพร์อีกครั้ง
เสื้อผ้าที่สวมนอกบ้าน นิยมมิดชิด คอปิดแขนยาว กระโปรงสุ่มไก่ตัวบาน  
ยกเว้นชุดราตรีซึ่งเปลือยไหล่คอลึกแล้ว ชุดกลางวันไม่อวดร่างกายส่วนไหนเลยนอกจากเอว
ซึ่งนิยมรัดกันแน่นแทบหายใจไม่ออก  เพื่อให้เอวคอดเล็ก จะได้ดูสวยรับกับกระโปรงบานกว้าง

เอวสาวงามในยุคนี้ต้องเล็กกว่า ๒๐ นิ้ว  ประมาณ ๑๘ นิ้วถือว่าสวย  แต่ถ้าเล็กกว่านี้ถึง ๑๗ นิ้วก็ยิ่งน่าชื่นชม
ผลออกมาคือหุ่นเหมือนนาฬิกาทรายค่ะ
ชุดชั้นในที่ทรมานกายหญิงสาวเรียกว่าคอเซ็ต  รัดตั้งแต่ใต้อกถึงสะโพก  ใส่กันทั้งวันทั้งคืน  เคยเล่าไว้ในกระทู้แรกๆของเรือนไทย

ในเมื่อเสื้อผ้าออกมาในแนวเรียบร้อยมิดชิด    หมวกและถุงมือก็เป็นส่วนประกอบให้ดูเรียบร้อยเป็นงานเป็นการมากขึ้น
หมวกสมัยวิกตอเรียน  เป็นงานเป็นการและอลังการอย่างที่เห็น
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 21:14
 ยุควิกตอเรียนกินระยะเวลาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๙ มาจนถึงต้นศตวรรษที่ ๒๐ บวกกับยุคเอ็ดเวิร์ดเดียนซึ่งตรงกับปลายรัชกาลที่ ๕ ด้วย
เหมือนกันในเรื่องขนบธรรมเนียม
หมวกในสมัยวิกตอเรียนไม่ได้เป็นแค่ของกันแดดกันฝนหรือทำให้หัวอุ่นขึ้นในหน้าหนาว   แต่ว่ากลายเป็นเครื่องหมายของวัฒนธรรมการแต่งกาย
เคร่งครัดถึงขั้นที่ว่า ชายหญิงยุคนั้นจะนั่งยืนเดินหัวเปล่า ไม่มีหมวกอยู่บนหัวได้ก็เฉพาะแต่เวลาอยู่ในบ้านเท่านั้น
อย่างในภาพนี้  สาวหน้าตาจิ้มลิ้มคนนี้ นั่งอยู่ในบ้าน เธอไม่ต้องสวมหมวก
.  


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 06, 21:18
 แต่ถ้าเมื่อใด เธอ(หรือเขา) เปิดประตูบ้านโผล่หัวออกไปให้ชาวบ้านเห็น  
แม้แต่แวบเดียว  จะต้องสวมหมวกและถุงมือให้ครบครัน    
แม้ว่าจะแค่ออกไปแค่หย่อนจดหมายลงตู้ไปรษณีย์หน้าบ้าน  
ก็จะออกไปหัวเปล่าๆไร้หมวก ไม่ได้
มิฉะนั้นจะถูกติฉินนินทา  พอๆกับสาวๆสมัยนี้สวมชุดชั้นในเดินออกนอกบ้านทีเดียว

เอาหมวกสารพัดแบบมาให้ดูกันอีกค่ะ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 06, 10:06
 สงครามโลกครั้งที่ ๑ ในต้นศตวรรษที่ ๒๐ (ตรงกับรัชกาลที่ ๖)กลายเป็นจุดจบทางวัฒนธรรมหลายๆด้าน
ในด้านวรรณกรรม ถือว่าสงครามโลกเป็นจุดจบของวิธีการเขียนแบบสมจริงอย่างที่ดำเนินมาในสมัยวิคตอเรียน    
เพราะสงครามได้สั่นคลอนความเชื่อถือ วิธีคิด การดำเนินชีวิต ของผู้คนอย่างรุนแรง
จนการเขียนแบบเดิมไม่อาจรองรับวิธีคิดของคนได้อีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้ Modernism อย่างในงานของ James Joyce จึงเกิดขึ้นมาตอบสนองความต้องการของนักประพันธ์และกวี

ขอลากความกลับมาทางด้านหมวกนะคะ
สงครามโลกครั้งที่ ๑ คืออวสานของขนบธรรมเนียมการสวมหมวก
เมื่อสงครามจบลง  ใครจะสวมหรือไม่สวมหมวกออกนอกบ้าน  ก็ตามสบายทั้งสองแบบ


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 06, 07:59
 หลังสงครามโลก หมวกกลายมาเป็นแฟชั่นของสาวๆ
มากกว่าจะกลายเป็นระเบียบการแต่งกายอย่างเคร่งครัด เหมือนเมื่อก่อนสงครามโลก  
ทรงผมเปลี่ยนไป จากผมยาวถักเปียขดเป็นมวย  เป็นระเบียบเรียบกริบทรงเดียวกันหมด อย่างเมื่อสมัยวิกตอเรียน
มาเป็นผมทรงสั้น ดัดเป็นคลื่นสลวย

แฟชั่นผม เน้นให้เห็นความงามของเส้นผม มากกว่าโชว์หมวกที่ครอบผมอยู่
อย่างในภาพนี้จะเห็นผมแบบต่างๆ ช่วง 1920-1930 ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อกับต้นรัชกาลที่ ๗
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 06, 08:01
 แต่ขนบการสวมหมวกก็ยังเหลือค้างอยู่ในหมู่ผู้ชาย ซึ่งล้าหลังด้านแฟชั่นมากกว่าผู้หญิง
หลังสงครามโลก ผู้ชายสวมสูทออกนอกบ้านก็ต้องสวมหมวกด้วยค่ะ
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 06, 08:07
 ส่วนผู้หญิงก็มีหมวกแบบเก๋ๆ เป็นแฟชั่นหนึ่งของการแต่งกาย
โดยเฉพาะเมื่อแต่งออกนอกบ้านไปร่วมงานประเภทเป็นงานเป็นการ
แต่หมวกก็มักออกแบบให้เห็นทรงผมที่จับลอนมาอย่างสวยงามด้วย   ไม่ได้ปิดเอาไว้หมดอย่างเมื่อก่อน
.


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 06, 20:57
 แฟชั่นหมวกในยุค 1930
ตรงกับช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ และต้นรัชกาลที่ ๗


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 06, 21:09
 แฟชั่นหมวกยุค 1930-40


กระทู้: เรื่องหนักหัว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 06, 15:09
 ทศวรรษ 1940s เริ่มต้นด้วยสงครามโลกครั้งที่ ๒  จดชนวนจากเยอรมันบุกโปแลนด์เมื่อปลายปีก่อน    แล้วญี่ปุ่นก็บุกเพิร์ล ฮาเบอร์แบบสายฟ้าแลบ
ผลกระทบกระจายไปทั่วโลก และทุกสาขาการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมทั้งการแต่งกายด้วย
เสื้อผ้าในช่วงสงคราม  รัดกุม กะทัดรัดขึ้นกว่าในยุคก่อน  สภาพแวดล้อมไม่เอื้อให้โก้หรูได้อยางเมื่อก่อน
หมวกยังมีอยู่ แต่ก็ลดความจำเป็นลงไป   โดยมากผู้หญิงสวมหมวกเมื่อสวมชุดสูท เวลาแต่งกายอย่างเป็นทางการ
แต่ถ้าไม่เป็นทางการ ก็ไม่จำเป็น
ผู้ชายที่เคยสวมหมวกเวลาสวมเสื้อนอกออกไปไหนมาไหน ก็อาจจะสวมสูทอย่างเดียวได้
.