เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 7040 สุนทราภรณ์
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 27 พ.ย. 23, 20:36

นี่เป็นเพลงโปรดของตัวคนร้อง  คนฟัง ๆ แล้วแทบสลบเพราะมันเพราะจริง ๆ  ทั้งเสียงและดนตรีกลมกลืนบาดใจ



หมายเหตุ - นี่เป็นฉบับร้องครั้งสอง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 พ.ย. 23, 20:53

อีกเพลงก่อนเข้านอน

เพลงสั่งไทร นี่คุณบุษยาก็ร้อง 2 ครั้ง  ผมคุ้นเคยและชอบกับฉบับแรก  ต่อมาผมซื้อซีดีรวมเพลง  มีเพลงนี้ด้วย  ตอนฟังช่วงเริ่มต้นพบว่าดนตรีเปลี่ยนไป  ยิ่งพอถึงช่วงหลังทำนองเปลี่ยนไปเลยเป็นทำนองอะไรไม่รู้แปลกแหวกแนว  ผมหาฉบับนี้ทาง youtube ไม่ได้  ใครพบบ้างครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 09:07

อ้างจาก: nathanielnong link=topic=7391.msg185959#msg185959
นำเสนอเพลงโปรดของภรรยาคุณเอื้อ  คุณเอื้อแต่งให้  อีกไม่นานก็แต่งงานกัน

ชีวิตของครูเอื้อไม่ได้เต็มไปด้วยสีสันท่วงทำนองเฉพาะบทเพลงที่ท่านแต่งเท่านั้น   ชีวิตรักกับคุณอาภรณ์ กรรณสูต ก็เต็มไปด้วยท่วงทำนองรักโศก เหมือนนิยายรักแบบที่ "ยาขอบ" หรือ "อิงอร" นำมาเขียนให้คนอา่นยุคเกือบร้อยปีก่อนได้ร้องไห้ในตอนแรกแล้วหัวเราะทั้งน้ำตาในตอนหลัง

เมื่อครูเอื้อเป็นหนุ่ม มาเช่าบ้านอยู่ในกรุงเทพ กับเพื่อนนักดนตรีด้วยกัน  เผอิญบ้านติดกันเป็นคฤหาสน์ของขุนนางใหญ่ชื่อพระยาสุนทรบุรี   (อี้ กรรณสูต)   ท่านผู้นี้ไม่ใช่คนเล็กน้อย  เป็นถึงอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตนายอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อดีตสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย

ส่วนครูเอื้อเป็นเหนุ่มชาวบ้านจากตำบลอัมพวา  ที่ร้ายกว่านี้คือมีสถานะเป็นพวก “เต้นกิน รำกิน” ซึ่งเป็นคำเรียกเชิงเหยียดหยามของผู้อยู่ในวงการบันเทิงสมัยโน้น   นักแสดง นักร้อง นักดนตรี ถูกมองว่าต่ำต้อย เพราะมีรายได้น้อย และไม่มั่นคง ตกงานเมื่อใดก็อดตาย     ตรงกันข้ามกับสมัยนี้ที่ใครๆก็อยากอยู่ในวงการบันเทิง เพราะมันหมายถึงเม็ดเงินมหาศาล
ลูกสาวของพระยาสุนทรบุรีเป็นเด็กสาวชื่ออาภรณ์ กรรณสูต  เป็นนักเรียนโรงเรียน ขัตติยานีผดุง และต่อมาเข้าเป็นนักศึกษาเตรียมธรรมศาสตร์   เธอเป็นที่ต้องตาของนักดนตรีหนุ่ม  จนเป็นที่มาของเพลง "บ้านเรือนเคียงกัน"
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 09:11

   ความรักของครูเอื้อและคุณอาภรณ์เต็มไปด้วยขวากหนาม    ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่ยอมยกคุณอาภรณ์ให้แต่งงานกับนักดนตรีท่าเดียว  ระหว่างนี้ ก็มีหนุ่มนักเรียนนอกที่เหมาะสมกันเข้ามาจีบคุณอาภรณ์    เป็นเหตุให้ครูเอื้อได้แต่งเพลงระบายความในใจ ที่กลายเป็นเพลงอมตะอีกเพลงของสุนทราภรณ์




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 09:38

  เมื่อทางบ้านของคุณอาภรณ์ต้องอพยพหลบลูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2  เข้าไปอาศัยอยู่ในคลองทางฝั่งธน  ครูเอื้อจะนั่งเรือไปเยี่ยม   ชาวบ้านสองฟากคลองจะออกมานั่งรอ ฟังเสียงครูเอื้อร้องเพลงขณะนั่งเรือผ่านไป

   
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 20:51

เยี่ยมครับ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 29 พ.ย. 23, 09:32

   “เพลงยอดดวงใจ” เป็นเพลงอนุสรณ์ความรักที่ครูเอื้อมีให้คุณอาภรณ์  กรรณสูต  เนื้อทั้งเพลงบอกความในใจว่าความรักทั้งหวานและขมขนาดไหน  แต่ก็ฝ่าฟันกันไปจนได้
    “ดวงใจคนดี ที่ฉันห่วง โศกรุมเร้าทรวงหน่วงเหนี่ยว ดวงใจที่ฉันชื่นชม กลมเกลียว ฉันฝากรักเธอคนเดียว คนอื่นไม่เหลียว ไม่แล ปองรักก็แต่ดวงใจ ...”
   เพลงนี้เป็นเพลงที่ประทับใจคุณอาภรณ์มากที่สุด  ดังที่เธอเคยกล่าวว่า
   “... เป็นเพลงที่ครูเอื้อแต่งให้กับดิฉัน สมัยที่เริ่มรักกัน ตอนนั้นเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ. 2485 เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะจับใจ อาจเป็นเพราะเพลงนี้ ที่ทำให้ดิฉันมีความประทับใจในตัวครูเอื้อ และได้แต่งงานกับครูเอื้อในอีก 4 ปี ต่อมา”
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 30 พ.ย. 23, 10:04

   คุณอาภรณ์อยู่ในหัวใจของครูเอื้อเสมอ แม้หนทางข้างหน้าจะมีแสงสว่างริบหรี่มาก  ครูเอื้อก็ไม่ท้อถอย  เมื่อตั้งวงดนตรีของตัวเอง สำหรับบรรเลงนอกเวลาราชการ เมื่อ พ.ศ. 2486   ครูเอื้อ ก็นำคำแรกของนามสกุลบวกกับชื่อคุณอาภรณ์ มาเป็นชื่อ “สุนทราภรณ์”  ใช้ตลอดมา
   การรอคอยที่ยาวนานสิ้นสุดลง เมื่อผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงล่วงลับไป   ทั้งคู่ได้เข้าพิธีสมรสเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งขณะนั้นวงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุได้ราว 6 ปีครึ่ง  มีธิดาด้วยกัน 1 คนชื่ออติพร ต่อมา สมรสกับพลตำรวจโทสันติ เสนะวงศ์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 30 พ.ย. 23, 10:08

ความรักที่สูงสุดของครูเอื้อ แสดงออกในเพลง "พระเจ้าทั้งห้า"

คำร้อง สุรัฐ พุกกะเวส ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
-เนื้อเพลงพระเจ้าทั้งห้า...
ดวงใจดวงเดียวที่ฉันมีอยู่
ขออุทิศให้ผู้เอ็นดูเอื้อรักบูชา
มีพระคุณท่วมฟ้า
เป็นพระเจ้าทั้งห้า
ปั้นฉันมีค่าสุดคณารำพัน

หนึ่งนั้นหรือคือบิดาและมารดร
เลือดจากอุทรกลั่นป้อนลูกทุกวัน

สองชาติศาสนามหาทรงธรรม์
พระเจ้าอยู่หัวมิ่งขวัญ ราชันภูมิพล

สามความรู้จากครูอาจารย์
ขับขานชำนาญเพราะท่าน
ช่วยกันหว่านพืชผล

สี่ลูกรักเมียขวัญสำคัญกว่าตน
ทุกข์สุขยอมทน
เพื่อคนรักด้วยดวงใจ

พระที่ห้ามีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สิน
ซอสุดรักไวโอลิน เหนือศิลป์ใดใด

ขอฝากเพลงร้องให้เสียงนั้นก้องตลอดไป
อนุสรณ์ฝากไว้จากหัวใจสุนทราภรณ์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 15:07

    นอกเหนือจากความรักในเพลง สิ่งสูงสุดที่บำรุงจิตใจให้ทำงานได้อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยตลอดมาคือ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
     วันที่ครูเอื้อปลาบปลื้มที่สุดวันหนึ่งในชีวิตนักดนตรีก็คือ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 ที่ครูเอื้อได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเหรียญรูปเสมาทองที่มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 วงดนตรีสุนทราภรณ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 15:09

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ครูเอื้อ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เนื่องในโอกาสที่วงดนตรีสุนทราภรณ์ก่อตั้งครบ 20 ปี
      ครูเอื้อ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเพลงว่า "พระมหามงคล" และได้อัญเชิญมาบรรเลงเป็นเพลงเปิดวงสุนทราภรณ์ก่อนเริ่มแสดงนับแต่นั้นมา สืบเนื่องถึงปัจจุบัน
      เพลงพระราชนิพนธ์พระมหามงคลนี้ไม่มีคำร้อง มีจังหวะดนตรี 3 จังหวะ คือ เริ่มด้วยจังหวะฟอกซ์ทร็อต แล้วเปลี่ยนเป็นจังหวะแทงโกและแมมโบตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการนำจังหวะดนตรีทั้งสามจังหวะมาร้อยต่อกันไว้ในเพลงเดียวกัน

     
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 15:09

จำได้ว่า  รายการเพลงสุนทราภรณ์จะประเดิมด้วยเพลงนี้




และจบด้วยเพลงร้องหมู่  มักจะเป็นเพลงตะลุง

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 15:16

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ครูเอื้อ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เนื่องในโอกาสที่วงดนตรีสุนทราภรณ์ก่อตั้งครบ 20 ปี
      ครูเอื้อ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเพลงว่า "พระมหามงคล" และได้อัญเชิญมาบรรเลงเป็นเพลงเปิดวงสุนทราภรณ์ก่อนเริ่มแสดงนับแต่นั้นมา สืบเนื่องถึงปัจจุบัน
      เพลงพระราชนิพนธ์พระมหามงคลนี้ไม่มีคำร้อง มีจังหวะดนตรี 3 จังหวะ คือ เริ่มด้วยจังหวะฟอกซ์ทร็อต แล้วเปลี่ยนเป็นจังหวะแทงโกและแมมโบตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการนำจังหวะดนตรีทั้งสามจังหวะมาร้อยต่อกันไว้ในเพลงเดียวกัน

     

เรียน 'จาร เล่าเรื่องครูเอื้อได้รับการยกย่องจาก UNESCO ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 16:15

วัยรุ่นใจร้อน   เรื่องนี้เอาไว้ตอนท้ายค่ะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 18:30

วัยรุ่นใจร้อน   เรื่องนี้เอาไว้ตอนท้ายค่ะ

ฮับ...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง