เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 07:25



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 07:25
อันเนื่องจากในรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ของคุณสรยุทธ ฯ เอ่ยถึงสะพานเหล็กชั่วคราว (Bailey bridge) ว่าสะพานแบริ่ง (Bearing)

ก็เลยคิดว่ามีคำหลายๆ คำมากที่ผู้ดำเนินรายการข่าวเข้าใจผิด และออกเสียงผิด ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่มีความรู้รอบตัวเอาเสียเลย สักแต่ว่าอ่านจากที่นักข่าวเขียนเรื่องมาให้

ถูก-ผิด แค่ไหน อย่างไร ....??





กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 07:31
อีกคำหนึ่งที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีก็ตาม คำนี้ก็ยังใช้ผิดมาตลอด คือ Backhoe (รถแบ๊คโฮว์)  กลายเป็น Macro (รถแม๊คโคร) มาตลอด

คำนี้ที่ออกเสียงผิดมาตลอด คงจะมาจากที่คนงานก่อสร้างได้ยินนายช่างเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็มาถอดเสียงตามที่ได้ยินแบบไทยๆ




กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 08:10
คำนี้ผิดมหาอมตะนิรันดร์กาล

footpath - ฟุตบาท = สองบาทา นี่เป็นความผิดเต็ม ๆ ของผู้ใช้ ไม่เกี่ยวกับท่านรอยอิน

คำที่ถูกคือ ฟุตปาธ หรือ บาทวิถี

 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 10:49
Innovation คือ นวัตกรรม ไม่ต้องมีคำว่าใหม่ต่อท้าย เพราะว่าในคำว่า นวัตกรรม มีคำว่าใหม่อยู่แล้ว นว (ใหม่) + อัตต (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 05 ม.ค. 12, 11:39
ช่วงน้ำท่วม ได้ยินบ่อยมากค่ะ  ;D
คำว่า สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ที่นักข่าวใช้กับรถที่สามารถลุยน้ำท่วมได้เวลาเข้าไปทำข่าว

ที่ถูกควรใช้คำว่า สะเทินน้ำสะเทินบก

เพราะคำว่า สะเทิน มีความหมายว่า
 - สะเทิน ๑ ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว
 หรือ อยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน.
 - สะเทิน ๒ (เคมี) ก. ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้.
 - สะเทิน ๓ ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน

ส่วนคำว่า สะเทิ้น มีความหมายว่า
 - สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย
 (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็
 รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 05 ม.ค. 12, 15:12
stainless steal เหล็กปลอดสนิม
stain - (สะเตน) รอยเปื้อน

มักถูกอ่าน-เรียก-เขียน ผิดเป็น สะแตนเลส อาจเป็นเพราะคนไทยคุ้นกับ stand มากกว่า stain
ที่ถูกต้องจึงควรเป็น สเตนเลส


 :D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ม.ค. 12, 15:21
อันเนื่องจากในรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ของคุณสรยุทธ ฯ เอ่ยถึงสะพานเหล็กชั่วคราว (Bailey bridge) ว่าสะพานแบริ่ง (Bearing)

ก็เลยคิดว่ามีคำหลายๆ คำมากที่ผู้ดำเนินรายการข่าวเข้าใจผิด และออกเสียงผิด ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่มีความรู้รอบตัวเอาเสียเลย สักแต่ว่าอ่านจากที่นักข่าวเขียนเรื่องมาให้

ถูก-ผิด แค่ไหน อย่างไร ....??





Bailey bridge เป็นชื่อเรียกสะพานชั่วคราวถูกต้องแล้ว เป็นสะพานที่ก่อสร้างได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นการสร้างด้วยโครงเหล็กถัก (Truss) และใช้ระบบหมุด และน๊อต เป็นเครื่องค้ำให้เหล็กอยู่ตัว ซึ่งในด้านวิศวกรรมแล้ว จะคำนึงถึงแรงที่กระทำลงกับโครงสร้าง คือ แรงเฉือน (Shearing Force), แรงดึง, แรงบิด, และแรงกด (Bearing Force).

การคำนวณโครงสร้างเหล็กใช้องค์ปประกอบการคำนวณหลายวิธี ในการให้หมุดและน๊อต พวกนี้รับแรงโครงสร้างและแรงจากการกระทำ เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม ได้อย่างปลอดภัย.

ในทางวิศวกรรมนั้น Bearing Steel Bridge พบได้เห็นทั่วไปใต้ทางด่วน จะเป็นชุดแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมอยู่ระหว่างตอม่อสะพานกับคานสะพาน เพื่อรับน้ำหนักระหว่างกันและกัน


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 15:27
คำว่า  ประชากร  จากเดิมที่แปลว่า  หมู่คน หมู่พลเมือง
เดี๋ยวนี้สื่อมวลชนเอาไปใช้ในความหมายว่า จำนวน ไปแล้ว
เช่น  ประชากรช้าง  ประชากรนก  เป็นต้น  จากที่ใช้ผิด
พอใช้กันบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นใช้ถูกในเวลาต่อไปหรือไม่

ตัวอย่างข่าว

ติวเข้มควาญช้างทั่วไทยที่ลำปาง หวังเพิ่มเพิ่มทักษะ-แก้วิกฤตประชากรช้างลด

ศูนย์ข่าวภาคเหนือ - สถาบันคชบาลฯ เปิดติวเข้มควาญช้างทั่วไทย หวังเพิ่มทักษะการดูแลช้าง ช่วยอนุรักษ์-เพิ่มประชากรช้างไทยในอนาคต หลังยอดประชากรช้างทั่วประเทศลดเหลือแค่ 5,000 เชือกเท่านั้น
      
       นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เผยว่า ปัจจุบันทั่วประเทศไทยมีจำนวนช้างป่าและช้างเลี้ยง เหลือเพียง 5,000 เชือกเท่านั้น ซึ่งทางสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มองว่าต้องมีการดูแลช้างที่เหลืออย่างดี เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับชีวิตคนไทยมาแต่อดีต
      
       ดังนั้น สถาบันฯ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมควาญช้าง ตามแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยใช้งบอุดหนุนรัฐบาล ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2554 ณ โรงเรียนฝึกควาญช้างและช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ใช้ชื่อโครงการ “ควาญช้างที่ดี รักษาชีวีช้างไทย” เพื่อเป็นการต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ควาญช้าง ผู้ซึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมไปแล้วในเบื้องต้นเมื่อปีที่แล้ว มาพัฒนาในการดูแลอย่างถูกวิธีให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น ปรากฏว่ามีควาญช้าง ผู้ดูแลช้าง และเจ้าของผู้ประกอบการจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมจำนวน 50 คนเข้าร่วมอบรมครั้งนี้
      
       ทั้งนี้ การให้ความรู้แก่ควาญช้างและเจ้าของปางช้าง เพื่อเข้าใจในธรรมชาติของช้างและนำความรู้ที่ได้กลับไปดูแลช้างที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อที่จะอนุรักษ์ช้างไทย และหากเป็นไปได้สามารถเพิ่มประชากรช้างไทยที่เหลือให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2554 15:12 น.

ลองหาดูในเน็ต  มีประชากรอื่นๆ อีกมากมาย


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 15:32
คำนี้ผิดมหาอมตะนิรันดร์กาล

footpath - ฟุตบาท = สองบาทา นี่เป็นความผิดเต็ม ๆ ของผู้ใช้ ไม่เกี่ยวกับท่านรอยอิน

คำที่ถูกคือ ฟุตปาธ หรือ บาทวิถี

 ;D

จะใช้ว่า  ทางเท้า  หรือ ทางเดินเท้า  ก็น่าจะได้
เพราะ  path ถ้าเทียบกับคำในภาษาบาลีสันสกฤต 
ก็น่าจะตรงหรือใกล้เคียงกับคำว่า ปถ หรือ บถ แปลว่า ทาง  เหมือนกัน


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 15:40
คำว่า  เรี่ยไร กับ เรี่ยราย

คนอ่านข่าวมักออกเสียงเป็นเรี่ยรายทั้งสองคำ 
เรี่ยราย หมายถึง กระจัดกระจายไปตามพื้น
แต่ เรี่ยไร หมายถึง การขอให้ช่วยกันบริจาคเงินทำบุญตามสมัครใจ

ถ้าอ่านออกเสียงว่า  ท่านขอเรี่ยรายเงินสำหรับสร้างศาลาการเปรียญ
แสดงว่า  ท่านกำลังขออนุญาตโปรยหว่านเงิน ไม่ใช่ ขอรับบริจาคเงิน
ถ้าเกรงว่าจะอ่านออกเสียงพลาด  ก็น่าจะเลี่ยงไปใช้คำว่า
ขอรับบริจาค...แทนจะดีกว่า


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ม.ค. 12, 15:54
ปัจจุบันนี้หัวข้อข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ก็มักจะใช้คำไทย ปนคำภาษาอังกฤษ ทับศัพท์กันไป

- หนุ่มไฮโซ
- ดินสไลด์
- แก๊งแว้น
- ดาบฮีโร่


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 16:01
คำว่า  ประชากร  จากเดิมที่แปลว่า  หมู่คน หมู่พลเมือง
เดี๋ยวนี้สื่อมวลชนเอาไปใช้ในความหมายว่า จำนวน ไปแล้ว
เช่น  ประชากรช้าง  ประชากรนก  เป็นต้น  จากที่ใช้ผิด
พอใช้กันบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นใช้ถูกในเวลาต่อไปหรือไม่

ความหมายจากรอยอิน

ประชากร น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).

ถ้าคำนึงถึงต้นศัพท์ภาษาอังกฤษ population (http://dictionary.reference.com/browse/population) ดูจะแคบไปหน่อย

ตัวอย่างที่คุณหลวงยกมา คงไม่ถึงกับผิด

 :D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 16:32
ความหมายจากรอยอิน

ประชากร น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).

ถ้าคำนึงถึงต้นศัพท์ภาษาอังกฤษ population (http://dictionary.reference.com/browse/population) ดูจะแคบไปหน่อย

ตัวอย่างที่คุณหลวงยกมา คงไม่ถึงกับผิด

 :D

ผิดสิครับ  เพราะความหมายไทยนั้น  มุ่งใช้เฉพาะคนอย่างเดียว
ที่ราชบัณฑิตวงเล็บไว้ว่า เกี่ยวกับจำนวน นั้น  ท่านหมายเอาว่า
จะใช้คำว่าประชากรในแง่ของการระบุจำนวนคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
หรือระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

ถ้าจะใช้ในความหมายว่า จำนวน  ก็ควรใช้ว่า จำนวน หรือ ปริมาณ
ระบุลงไป  หรือถ้าจะไม่ใช้ก็ได้   

จริงอยู่ว่า  คำว่า ประชากร  เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนคำภาษาอังกฤษ
แต่ต้องดูด้วยว่าเมื่อแรกบัญญัติศัพท์นี้  ท่านมุ่งใช้แค่ความหมายใดของคำว่าpopulation หรือว่าใช้เท่ากับความหมายของคำว่า population ทั้งหมด


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 16:48
อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย อธิบายคำว่า ประชากร ไว้ดังนี้

ประชากร หมายถึง คนโดยทั่วไป แต่มักใช้ในกรณีที่จะพิจารณาถึงจำนวน คือจำนวนคนของประเทศหรือของโลก เช่น กระทรวงมหาดไทยกำลังดำเนินการสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ มีการทำนายว่าประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลา ๑๐ ปีนี้ ในทางสถิติ มีการใช้คำว่า ประชากร หมายถึงจำนวนของสัตว์ หรือสิ่งที่สำรวจที่พิจารณาด้วย เช่น ในจังหวัดนครปฐมมีประชากรหมูมากกว่าสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ประชากรควายทั่วประเทศลดลงอย่างน่าใจหาย

จาก นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๘๒ ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคารที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕  (http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1408&stissueid=2482&stcolcatid=2&stauthorid=19)

 ;D



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ม.ค. 12, 08:55
การกล่าวลักษณะนามของพระพุทธรูปกับพระสงฆ์

กล่าวถึงพระพุทธรูปเป็นองค์น่ะ ถูกต้อง

แต่กล่าวถึงพระภิกษุนี่ จะใช้ลักษณะนามเป็น องค์ หรือ รูป  หรือตามแต่เหตุการณ์?


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 12, 09:08
รอยอินท่านอนุญาตให้ใช้ได้สองคำ

รูป     น.  ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป.
 
องค์  น.  (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

หากเป็นการรายงานข่าวอย่างเป็นทางการ ใช้ว่าพระสงฆ์ ๑ รูป น่าจะเหมาะสมกว่าพระสงฆ์ ๑ องค์

 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 12, 09:21
ข่าวจาก เดลินิวส์ออนไลน์ (http://www.dailynews.co.th/thailand/6124)

พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร เปิดเผยว่า เทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา แม้จะยังไม่ครบจำนวนวัน ๗ วัน อันตราย ที่มีการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาล ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธ.ค.-๔ ม.ค. แต่พบว่าขณะนี้มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ มากถึง ๑๑ ศพ  มากกว่าช่วงปีใหม่ปีที่แล้ว ที่มีผู้เสียชีวิต ๗ ศพ  แต่จำนวนการเกิดอุบัติเหตุและจำนวนผู้บาดเจ็บลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุยังเกิดจากการเมาสุรา และขับขี่เร็วเป็นสาเหตุต้น ๆ โดยรถจักรยานยนต์ยังครองแชมป์การเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ขณะที่พื้นที่ที่เกิดอุบัติบ่อยครั้งเป็นถนนสายรองในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ ได้แก่ สน.มีนบุรี นิมิตใหม่ หลักสอง บึงกุ่ม อย่างไรก็ตามหลังจากครบกำหนด ๗ วันอันตราย จะมีการเรียกประชุมนำข้อมูลสถิติที่เกิดขึ้น มาพิจารณาหาสาเหตุที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลต่อไป

ลักษณนาม  ผู้เสียชีวิต - ศพ

ถูกต้องหรือไม่

 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: หางอึ่ง ที่ 07 ม.ค. 12, 22:51
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 07:31
อ้างถึง
อีกคำหนึ่งที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีก็ตาม คำนี้ก็ยังใช้ผิดมาตลอด คือ Backhoe (รถแบ๊คโฮว์)  กลายเป็น Macro (รถแม๊คโคร) มาตลอด

คำนี้ที่ออกเสียงผิดมาตลอด คงจะมาจากที่คนงานก่อสร้างได้ยินนายช่างเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็มาถอดเสียงตามที่ได้ยินแบบไทยๆ

คำว่า Backhoe (รถแบ๊คโฮว์) สามารถใช้ทับศัพท์กับคนไทยเท่านั้น  ถ้าคนต่างชาติต้องพูดว่า Excavator (แปลว่ารถแบ๊คโฮว์ในภาษาไทย) แต่คำว่า Backhoe คนต่างชาติหมายถึง รถตักขนาดเล็กที่มีที่ขุดอยู่ข้างหลัง คนไทยเรียกตามชื่อยี่ห้อว่า JCB (แฟ๊บยี่ห้อบรีส) ผมเริ่มงงแล้วครับ

ผมเพิ่งตอบกระทู้เป็นครั้งแรก แต่ติดตามมานานมาก ด้วยความเคารพ อ.เทาชมพู่ เป็นอย่างมาก ขอบคุณ คุณนวรัต คุณเพ็ญชมภู คุณ Wandee และท่านอื่นที่ให้ความรู้ผมเป็นอย่างดี


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 12, 11:38
เพิ่งฟังพิธีกรรายการวิทยุพูดถึงหนังสือเรื่อง "นิทานสีขาว" ของดอกเตอร์ อา-จอง

(http://www.siambig.com/shop/photo_product/booksecondhand161489.jpg)

ดอกเตอร์ท่านนี้ดูจะมีผู้รู้จักมากกว่าดอกเตอร์อาจ-อง

 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 ม.ค. 12, 10:14
        มาทีหลังแต่ฮือ และ ฮามากจากคน(อ่าน)ข่าว คือชื่อนี้ที่ถูกออกเสียงว่า

                  พะชอน อิสอนสะเหนา     <<   จาก พชร อิศรเสนา ครับ

   

                 


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ม.ค. 12, 11:14
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 07:31
อ้างถึง
อีกคำหนึ่งที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีก็ตาม คำนี้ก็ยังใช้ผิดมาตลอด คือ Backhoe (รถแบ๊คโฮว์)  กลายเป็น Macro (รถแม๊คโคร) มาตลอด

คำนี้ที่ออกเสียงผิดมาตลอด คงจะมาจากที่คนงานก่อสร้างได้ยินนายช่างเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็มาถอดเสียงตามที่ได้ยินแบบไทยๆ

คำว่า Backhoe (รถแบ๊คโฮว์) สามารถใช้ทับศัพท์กับคนไทยเท่านั้น  ถ้าคนต่างชาติต้องพูดว่า Excavator (แปลว่ารถแบ๊คโฮว์ในภาษาไทย) แต่คำว่า Backhoe คนต่างชาติหมายถึง รถตักขนาดเล็กที่มีที่ขุดอยู่ข้างหลัง คนไทยเรียกตามชื่อยี่ห้อว่า JCB (แฟ๊บยี่ห้อบรีส) ผมเริ่มงงแล้วครับ

ผมเพิ่งตอบกระทู้เป็นครั้งแรก แต่ติดตามมานานมาก ด้วยความเคารพ อ.เทาชมพู่ เป็นอย่างมาก ขอบคุณ คุณนวรัต คุณเพ็ญชมภู คุณ Wandee และท่านอื่นที่ให้ความรู้ผมเป็นอย่างดี


คุณหางอึ่งเปลี่ยนชื่ออาจารย์ เทาชมพู  เป็น เทาชมพู่ กับคุณเพ็ญชมพู เป็น เพ็ญชมภู ซะแล้ว

กับชื่อ ดร อาจ-อง  ผมก็เคยอ่านชื่อท่านเป็น อา-จอง เช่นกัน

ใช่ครับ ฝรั่งเรียก  excavator แต่ชาวช่างเรียก backhoe
ฝรั่งเรียก  backhoe แต่ชาวช่างเรียก JCB
ฝรั่งเรียก  compactor แต่ชาวช่างเรียก frog jump หรือ กบกระโดด
ฝรั่งเรียก bulldozer แต่ผู้ประกาศข่าวบางท่านไปเรียกว่า tractor

อีกหลายคำที่แพร่หลายจากโลกอินเตอร์เน็ตสู่สื่อสารมวลชน เช่น มหาวิทยาลัย เสียงกร่อนเป็น มหา'ลัย (มะ-หา-ลัย) แต่เด็กๆ นักศึกษาจะย่อลงไปอีกเป็น หมา-ลัย
โรงพยาบาล กร่อนเป็น โรง'บาล (โรง-บาน)
วิทยาลัย กร่อนเป็น วิท'ลัย (วิด-ลัย)


เพิ่งจะสงสัยกับคำว่า สถานีตำรวจ  ที่เรียกว่า โรงพัก  ท่านใดจะกรุณาอธิบายได้





กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 ม.ค. 12, 13:33
มีคนช่างสงสัยเหมือน ลุงไก่ เลยค่ะ... ;D
คำตอบมีหลากหลาย ค่ะ
"โรงพัก" หมายถึง "ที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหา"
"โรงพัก" หมายถึง "ที่พักใจของผู้เดือดร้อน"
"โรงพัก" หมายถึง "ที่พักแรมของผู้เดินทางในสมัยโบราณ เพราะปลอดภัยและเปิด 24 ชม."
......

ลองเข้าไปดูนะคะ http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20100329100731AA7wYXo



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 09:49
ข่าวจาก คมชัดลึกออนไลน์ (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:jhD3yZ65M5wJ:www.komchadluek.net/detail/20110830/107675/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1.291%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3.3.html+%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th)

แนะ "สมศักดิ์"ให้เกียรติสมาชิกสภางานจะเดินหน้า

นายชัย  ฐานะอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในการแถลงนดยบายที่ผ่านมาว่า เป็นบทเรียนและเป็นเรื่องธรรมดาของการเปลี่ยนถ่าย คงต้องให้โอกาสและให้เวลาสักระยะ ส่วนตัวถือว่าประธานฯทำหน้าที่ได้ดี และวันนั้นไม่มีใครช่วยเลย ซึ่งตนรู้สึกเห็นใจและเชื่อว่าการทำงานต่อไปน่าจะไม่มีปัญหาอะไร

นายชัย กล่าวต่อว่า ปัญหาจากนี้ไปสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือจะมีการเสนอนับองค์ประชุมมากขึ้นกว่าเดิม ถือเป็นกงกรรมกงเกวียน  ที่เกิดขึ้น ซึ่งตนคงไม่จำเป็นต้องไปเตือน ส.ส. ในการเข้าประชุมสภาฯ เพราะทุกคนถือเป็นผู้รู้ทั้งสิ้น ส่วนปัญหาสภาล่มจะมีมากหรือน้อยนั้น เรื่องนี้อยู่ที่ประธาน ที่ควบคุมการประชุมหากให้เกียรติกับสมาชิกตนก็เชื่อว่าสมาชิกก็ย่อมให้เกียรติกลับไปเช่นเดียวกัน เพราะส.ส.เปรียบเสมือนกับ โคนันทวิศาล ถ้าเรารู้จักใช้ไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหน ก็จะจูงเกวียนไปได้

คำไหนถูกต้อง

กงกรรมกงเกวียน  กงเกวียนกรรมเกวียน กงกำกงเกวียน กงเกวียนกำเกวียน

 ;D



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 10:30
ข่าวจาก สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ (http://radio.prd.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=135&filename=index)

ยึดทรัพย์ เงินสด จำนวน ๒๒๔,๙๘๐ บาท, สร้อยคอทองคำ หนัก ๑ บาท ๑ เส้น , สร้อยคอทองคำหนักห้าสิบสตางค์ ๑ เส้น,  ตุ้มหูคล้ายทองคำหนักหนึ่งสลึง ๑ วง , แหวนทองคำหนักหนึ่งสลึง ๑ วง , เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ๒ เครื่อง, รถจักรยานยนต์ ๒ คัน, รถยนต์กระบะ จำนวน ๒ คัน

มาตราชั่งน้ำหนักของไทยที่เคยท่องมาแต่ครั้งยังเป็นเด็ก

๔ สลึง              เป็น       ๑ บาท
๔ บาท              เป็น       ๑ ตำลึง
๒๐ ตำลึง           เป็น       ๑ ชั่ง
๕๐ ชั่ง              เป็น       ๑ หาบ

ไม่มีหน่วย "สตางค์"

หลายคำใช้ผิดจนนึกว่าถูก

 ;D

 


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 10:38

คำไหนถูกต้อง

กงกรรมกงเกวียน  กงเกวียนกรรมเกวียน กงกำกงเกวียน กงเกวียนกำเกวียน

 ;D

ขอเชิญกวีเอกสุนทรภู่มาตอบ

“อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ 
ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน 
เหมือนกงเกวียนกำเกวียนเวียนระไว 
จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์"


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 12, 11:28
เดี๋ยวนี้ เขายังใช้คำว่า เสด็จพ่อร. ๕ กันอยู่อีกหรือเปล่าคะ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ม.ค. 12, 21:23
คุณเทาชมพูมีความเห็นว่าอย่างไร

๑. ผิด หรือ ถูก

๒. สมควร หรือ ไม่สมควร

 ???


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 12, 20:07
ที่จริงไม่อยากจะตอบ เพราะรู้ว่าคุณเพ็ญชมพูตอบเองได้   แต่พอดีคุณสุดสงวน แห่งคอลัมน์ ยามภาษา ในนิตยสารสกุลไทยส่งบทความมาให้อ่าน  ก็เลยตัดตอนมาลงให้อ่านกัน

      "อีกคำหนึ่งที่น่ารำคาญที่สุดคือมีคนปากพล่อยพวกหนึ่ง  ใช้คำสามัญเรียกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่คนไทย ชาติไทยและประเทศไทย จนประชาชนถวายราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช-พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นที่รักยิ่งของปวงชน”   แล้วคนที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง  ปากพล่อยเรียกพระปรมาภิไธยง่ายๆว่า “เสด็จพ่อ ร.๕” โดยไม่ศึกษาว่าเหมาะสมหรือไม่ที่ไปดึงพระราชฐานันดรศักดิ์ “พระบาทสมเด็จ”ลงมาเป็นเพียง “เสด็จ”เท่ากับพระฐานันดรศักดิ์ของพระราชโอรสพระราชธิดาของพระองค์ท่านที่ประสูติจากพระมารดาที่เป็นสามัญชน(เจ้าจอมมารดา)  เพราะพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ที่ประสูติจากพระมเหสีหรือพระบรมราชินี หรือพระบรมราชินีนาถ ก็จะทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าฟ้า (ที่ภาษาเรียกอย่างสามัญว่า “ทูลกระหม่อม”)
       .....
      แท้จริงนั้น  คนไทยสมัยก่อนเรียกพระองค์ท่านด้วยความเคารพสั้นๆว่า “พระพุทธเจ้าหลวง” หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “พระปิยมหาราช” เพราะว่าพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของปวงชน (“ปิย”แปลว่า “ที่รัก” ใครๆก็ซาบซึ้งดี) แม้กระทั่งเสด็จสวรรคตมาครบร้อยปีในปีนี้ ชนชาติไทยก็ยังรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่มีวันลดน้อยถอยลงเลย
   ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่าน หากต้องการใช้คำสามัญ ไม่เป็นทางการ โปรดใช้คำเรียกสั้นๆ ว่า “พระพุทธเจ้าหลวง”หรือ “พระปิยมหาราช” ก็เป็นการใช้คำถูกต้องและแสดงความเคารพที่งดงามได้ไม่น้อย  ดีกว่าเรียก “เสด็จพ่อ”ด้วยประการทั้งปวง@
 (สุดสงวน  "ยามภาษา"  สกุลไทยฉบับที่ ๒๙๒๙ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 12, 20:12
อ่านพบในเว็บไซต์ผู้จัดการ  คุณชาคริต แย้มนามให้สัมภาษณ์เรื่องกำลังจะแต่งงาน ว่า

ชาคริต : “กับเขาผมไม่ค่อยกังวล ผมนอยด์ตัวเองมากกว่า นอยด์เรื่องว่าจะมีวันนั้นมั้ยสำหรับเรา เขาจะเข้าใจเรามั้ย เราเป็นคนไม่ค่อยมีความมั่นใจในเรื่องแบบนี้เท่าไหร่ ไปไม่เป็นจริงๆ เกี่ยวกับเรื่องตัวเราเอง เรื่องความรัก เพราะหลายครั้งที่ผ่านมามันสองแง่สองง่าม มันอยู่บนพื้นฐานของตัวเองด้วย แต่มันก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดเห็นผู้อื่นเยอะเหมือนกัน ผมก็ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบกับใครบ้างรึเปล่า เพราะการที่ผมจะคบกับใครบางทีมันคงต้องคิดเหมือนกัน”

นอยด์ น่าจะย่อมาจาก paranoid
รอยอินอธิบายว่า   
สองแง่สองง่าม หมายความว่า ตีความหมายได้ ๒ นัย คือพูดฟังดูเหมือนปรกติแต่มีนัยความหมายไปในทางหยาบโลน เช่น ในเพลงพื้นบ้าน มักมีคำพูดสองแง่สองง่าม. ฉันไม่ชอบตลกคนนี้เพราะชอบพูดสองแง่สองง่าม

คุณชาคริตคงไม่ได้หมายความอย่างนี้  แต่จะหมายถึงอะไรก็ยังเดาไม่ถูก


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ม.ค. 12, 20:57

      แท้จริงนั้น  คนไทยสมัยก่อนเรียกพระองค์ท่านด้วยความเคารพสั้นๆว่า “พระพุทธเจ้าหลวง” หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “พระปิยมหาราช” เพราะว่าพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของปวงชน (“ปิย”แปลว่า “ที่รัก” ใครๆก็ซาบซึ้งดี) แม้กระทั่งเสด็จสวรรคตมาครบร้อยปีในปีนี้ ชนชาติไทยก็ยังรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่มีวันลดน้อยถอยลงเลย
   ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่าน หากต้องการใช้คำสามัญ ไม่เป็นทางการ โปรดใช้คำเรียกสั้นๆ ว่า “พระพุทธเจ้าหลวง”หรือ “พระปิยมหาราช” ก็เป็นการใช้คำถูกต้องและแสดงความเคารพที่งดงามได้ไม่น้อย  ดีกว่าเรียก “เสด็จพ่อ”ด้วยประการทั้งปวง@
 (สุดสงวน  "ยามภาษา"  สกุลไทยฉบับที่ ๒๙๒๙ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)

คำว่า "พระพุทธเจ้าหลวง" มีความหมายกว้างกว่าที่คุณสุดสงวนกล่าวถึง

จริงๆ  แล้วคำว่า  "พระพุทธเจ้าหลวง"  ไม่ได้หมายถึงเฉพาะรัชกาลที่  5  นะครับ  แต่เป็นคำที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อนๆ  ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว  เช่น  ในสมัยรัชกาลที่  2  เมื่อจะกล่าวถึงรัชกาลที่  1  ก็จะเรียกสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเหมือนกัน  เมื่อรัชกาลที่  5  สวรรคต  ในรัชกาลต่อๆ  มาพระบรมวงศานุวงศ์ก็เรียกพระองค์ว่า  "พระพุทธเจ้าหลวง"  มาในสมัยหลังๆ  นี้เองที่พอใช้คำว่า  "พระพุทธเจ้าหลวง"  แล้วคนเข้าใจว่าเป็นรัชกาลที่  5

ขอเสนออีกคำหนึ่ง ลองไปหาความหมาย

แล้วช่วยกันพิจารณาว่า

สมควรใช้หรือไม่

"พ่อหลวง" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=838.0)

 ::)


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ม.ค. 12, 21:22
คำถามนานมาแล้วที่ พันทิป (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/07/K4559621/K4559621.html)

มติชนรายวันเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒  หน้า ๑๒  ลงข่าวอาชญากรรม

พบสาวใหญ่ดับปริศนาข้างถนน
รายละเอียดของข่าวเราจะไม่เอ่ยนะคะ

ข่าวแจ้งว่า สตรีผู้นี้  อายุ ๖๕  ปี

สะดุ้งอยู่หลายรอบก็ยังคิดไม่ออกว่า คนเขียนข่าวมีจิตใจกว้างขวางหรืออ่อนโยนกันแน่

สำหรับสุภาพบุรุษนั้น  วัยสี่สิบกว่าก็นับว่าหนุ่มใหญ่ได้

อยากฟังความคิดเห็นด้วยเมตตาธรรมของท่านทั้งปวง

แบบว่า สงสัยว่า   สาวใหญ่  นี่น่าจะอยู่...ประมาณอายุเท่าไรคะ

จากคุณ : แสนอักษร

ชาวเรือนไทยช่วยกันตอบหน่อยเถอะน่า

 ;D




กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 12, 12:32
อ้างถึง
แบบว่า สงสัยว่า   สาวใหญ่  นี่น่าจะอยู่...ประมาณอายุเท่าไรคะ

อายุ 65 ค่ะ ;)
v


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 12, 18:22
ขอเสนออีกคำหนึ่ง ลองไปหาความหมาย
แล้วช่วยกันพิจารณาว่า
สมควรใช้หรือไม่
"พ่อหลวง" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=838.0)
 ::)

ยกตัวอย่างคำที่สื่อมวลชนทั้งพูดและเขียน  ใช้กันโดยไม่สำเหนียกว่าคำหรือข้อความนั้นถูกต้อง-เหมาะสมหรือไม่  เช่น ที่พูดกันปาวๆว่า “พ่อหลวง”บ้าง “พ่อของเรา”บ้าง ทั้งๆที่เรามีคำสามัญที่ใช้ไม่เป็นทางการ  แต่ก็เป็นที่นิยมว่างาม คือคำว่า “ในหลวง”  ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการอาจเอื้อมหรือไม่สุภาพ แต่อย่างใด  เห็นชาวไทยภูเขาเรียก “พ่อหลวง”ก็เอามาใช้สบายปากโดยไม่ได้ศึกษาให้รู้ถ่องแท้ว่า คำว่า “พ่อหลวง”นั้น  ชาวเขาเขาใช้เรียกผู้ใหญ่บ้าน ว่ากันอย่างนั้น

(สุดสงวน  "ยามภาษา"  สกุลไทยฉบับที่ ๒๙๒๙ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 18 ม.ค. 12, 19:34
ขออนุญาตเพิ่มเติมเรื่อง Backhoe
Hoe =
A long‑handled gardening tool with a thin metal blade, used mainly for weeding and breaking up soil.(Webster Dictionary)
A tool with a flat blade attached at right angle to the long handle (Wordweb)
 จอบ, เกรียงโบกปูน, เหล็กเกลี่ยไฟ. -vt. ขุด, ขุดหญ้า, พรวน, สับด้วยจอบ. (ดร.วิทย์)

ถ้าเทียบเคียงกับเครื่องมือของไทยก็คือ จอบ
Backhoe ก็คือรถตักที่มีตัวตักอยู่ท้ายรถ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 ม.ค. 12, 10:45
อีกคำหนึ่งที่มักได้ยินสับสนคือ พระรูป พระฉายาลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์
เรียนถามท่าน "เทาชมพู" ว่าที่ถูกต้องคืออะไรครับ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ม.ค. 12, 11:02
ขออนุญาตคุณเทาชมพูตอบ

รอยอิน ท่านว่าไว้ดังนี้


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 24 ม.ค. 12, 23:58
คำว่า "ท่าน"  เดี๋ยวนี้ใช้กันจนไม่รู้ว่าถูกหรือผิด  บางรายการเรียกชื่อกันออกอากาศ  ท่านไก่  ท่านกา (ชื่อสมมติ)  ยิ่งในสภายิ่งเรียกกันเกร่อ  เดี๋ยวนี้ตามต่างจังหวัด  สมาชิกเทศบาล  สมาชิก อ.บ.ต.  แม้แต่ครู  ก็ได้ยินเรียกกันโดยใช้ท่านนำหน้าชื่อกันอยู่บ่อยๆ

เท่าที่ทราบการที่ควรจะใช้ท่านนำหน้าชื่อนั้น  ต้องเป็นพระภิกษุ  เช่นท่านอิน  ท่านจันทร์
หรือไม่ก็เป็นเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า   เช่นท่านมุ้ย  (ขอประทานอภัยที่เอ่ยนาม)

ถ้าเป็นสามัญโดยทั่วไปใช้เรียกตำแหน่งก็สมควร  เช่น  ท่านนายก  ท่านผู้ว่า  ท่านส.ส.  ท่านกำนัน ฯลฯ

พี่ๆชาวเรือนไทยคิดยังไงครับกับเรื่องนี้........... ???


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 12, 17:32
คำว่า "ท่าน" ในวงการตุลาการผู้พิพากษาก็ใช้กันนะคะ  ทนายความเวลาขึ้นศาลก็เรียกทนายความด้วยกันว่า"ท่าน" เป็นการให้เกียรติกัน

ส่วนคำว่า"ท่าน" ของวงการอื่นๆ  ในปัจจุบัน กลายเป็นคำสุภาพแบบเดียวกับ "คุณ"  แต่ให้น้ำหนักสูงกว่า "คุณ"   "คุณ"นั้นค่อนจะไปทางเป็นกันเองเสียมากกว่า   
ในเรือนไทย ก็เรียก "ท่าน" กันอยู่หลายราย
ถ้าเป็นการให้เกียรติกัน ดิฉันก็ไม่ถือว่าผิด     ภาษาที่ยังไม่ตาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความหมายอยู่เสมอ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 27 ม.ค. 12, 12:49
คำว่า "ท่าน" ในวงการตุลาการผู้พิพากษาก็ใช้กันนะคะ  ทนายความเวลาขึ้นศาลก็เรียกทนายความด้วยกันว่า"ท่าน" เป็นการให้เกียรติกัน

ส่วนคำว่า"ท่าน" ของวงการอื่นๆ  ในปัจจุบัน กลายเป็นคำสุภาพแบบเดียวกับ "คุณ"  แต่ให้น้ำหนักสูงกว่า "คุณ"   "คุณ"นั้นค่อนจะไปทางเป็นกันเองเสียมากกว่า  
ในเรือนไทย ก็เรียก "ท่าน" กันอยู่หลายราย
ถ้าเป็นการให้เกียรติกัน ดิฉันก็ไม่ถือว่าผิด     ภาษาที่ยังไม่ตาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความหมายอยู่เสมอ

สำหรับผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยฯ สมควรเรียกท่านได้ตามเกียรติแห่งท่าน
ส่วนศรีสยาม เรียกท่านหนุ่มสยามและท่านเนาวรัตน์ ก็ด้วยนับถือในภูมิรู้ของท่านทั้งสอง
ส่วนการเรียกท่านjeans1966 คงเรียกด้วยหมั่นไส้แกมเอ็นดูซึ่งไม่สมควรกระทำ เพราะหลังไมค์ก็เรียกไอ้(คุณ)ยีนส์ทุกที?

ที่น่าแปลกคือ การเรียกขานบรรดา สส.ในสภา คนส่วนใหญ่คงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่เหมาะสม เพราะมีแต่วรานุชเกือบทั้งนั้น



อีกคำที่แปลกๆอยู่ทุกวันนี้ คือภาษา(พูด)ในราชการที่ได้ยินบ่อยๆ "ขออนุญาตนำเรียน........"
เรียนเฉยๆก็น่าจะพอรู้ความ ทำไมต้อง-นำ-ให้ลำบาก  


55555
 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.พ. 12, 15:55
อาจารย์กาญจนา นาคสกุลบอกว่า ใช้ "ภัยหนาว" ทำให้ภาษาวิบัติ  (http://www.oknation.net/blog/black/2012/02/01/entry-1)  นะ จะบอกให้

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201202/01/41df34.jpg)

คุณศรี คุณเทา คุณบานา คุณสุจิตรา มีความเห็นว่าอย่างไร

 ???


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 12, 16:07
    ^
    ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสาขาภาษาไทย ราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ขณะนี้พบการใช้คำภาษาไทยที่ผิดบ่อยที่สุดคือคำว่า "ภัยหนาว" ซึ่งปรากฏอยู่ในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนวิทยุ โทรทัศน์ และหน่วยงานรัฐที่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติในช่วงฤดูหนาว ตนต้องขอท้วงติงไม่ควรใช้คำว่าภัยหนาว ซึ่งเป็นการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง เพราะผิดความหมาย ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ เนื่องจากฤดูหนาวไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลปกติทุกปี ประชาชนรู้ตัวและเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ภัยรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก
    ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยกล่าวอีกว่า คำว่า "ภัย" ต้องใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เกิดขึ้นฉับพลัน ผิดปกติ หรือไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ ดินโคลนถล่มบ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น แต่สำหรับฤดูหนาวเป็นสิ่งที่เราทราบอยู่แล้วว่าอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลง ทำให้สภาพอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะยอดดอยภูเขาสูงมีอากาศหนาวจัด ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับตัวได้ เพราะเป็นฤดูกาลตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี
    "ถ้าใช้คำว่าภัยหนาวต้องมีความหมายว่าพื้นที่นั้นๆ มีหิมะตก ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ มีสภาพอากาศหนาวจัด ไม่สามารถทนอยู่ได้ และเป็นเหตุการณ์ที่น่าหวาดกลัว อาจทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก และต้องอพยพย้ายออกจากพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน แต่ฤดูหนาวของไทยเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกปีเหมือนฤดูร้อน แม้สภาพอากาศจะร้อนจัดและเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ใช้คำว่าภัยร้อน" ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว
    นายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทยบอกว่า เกรงว่าจะมีการใช้คำว่าภัยหนาวจนกลายเป็นคำปกติที่ใช้กันทั่วไปในฤดูหนาว ทำให้ภาษาไทยวิบัติมากยิ่งขึ้น เพราะสื่อโทรทัศน์นำไปใช้สื่อสารไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ชมนำไปใช้ผิดๆ อีกทั้งเห็นว่าภัยหนาวเป็นคำที่ใช้ในราชการ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ประกาศพื้นที่ภัยหนาว ซึ่งเป็นการบัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาเพื่อเบิกงบประมาณจัดซื้อผ้าห่มและเสื้อกันหนาวแจกประชาชนทุกปีซ้ำซากไม่มีจบสิ้น ทั้งๆ ที่เสื้อกันหนาวสามารถใช้สวมใส่ได้นานหลายปี แต่ก็ยังเบิกงบประมาณไปใช้มากเกินความจำเป็นทุกปี ส่งผลให้สังคมไทยนิสัยเสียและกลายเป็นผู้ขอตลอดเวลา
    "สื่อมวลชนควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทย และนำเสนอข่าวเตือนภัยธรรมชาติด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ประชาชนมีสติเตรียมพร้อมรับมือ รู้จักวิธีป้องกันและไม่ตื่นตัวจนเกินเหตุ ทั้งนี้ คำว่าภัยหนาวนอกจากเป็นการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกความหมายแล้ว ยังทำให้สังคมไทยแตกตื่นและไม่เรียนรู้เข้าใจฤดูกาลตามธรรมชาติที่แท้จริงอีกด้วย" ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว.

    เพิ่งรู้นี่แหละค่ะ    ถ้างั้น ภัยแล้ง  ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน    :)


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 02 ก.พ. 12, 11:36
.



คงเป็นการยากที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ทางภาษา แต่ใครก็ตามที่สัมผัสชนบทในฤดูหนาว โดยเฉพาะอีสานหรือจังหวัดที่ใกล้ป่าใหญ่ภูเขาสูง ย่อมรู้ดีว่าอากาสหนาวในบางปีของไทยเรา ถึงแม้ไม่มีหิมะตก ก็สามารถเป็นภัยต่อชีวิตของผู้คนที่ยากไร้ได้มากเอาการ โดยเฉพาะผู้เฒ่าและเด็กทารก

คำว่าภัยหนาว จึงไม่น่าทำให้ภาษาไทยวิบัติแต่ประการใด?



ร้อยเอ็ด-พบศพเฒ่าพเนจรนอนหนาวตาย
http://77.nationchannel.com/video/195520/

พิษณุโลกหนาวตายสองศพ
http://www.thaibizcenter.com/hotnewsdetail.asp?newsid=1329

สลด! อากาศหนาว ทารกหนาวตาย แม่ช็อกอุ้มกอดตัวแข็งทื่อ
http://hilight.kapook.com/view/17970


หนาวคร่าวิญญาณหนุ่มสกลนอนแข็งตาย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 09:47 น.
http://www.dailynews.co.th/crime/10329


มท.1สั่งผู้ว่าฯห้ามมีคนหนาวตาย
"มท.1" สั่ง "ผู้ว่าฯ" ห้ามมีคนหนาวตาย สั่ง 13 จังหวัด...... สกลนครหนาวหนักผู้ป่วยไข้หวัดล้นโรงพยาบาล
http://www.komchadluek.net/detail/20111215/117809/มท.1สั่งผู้ว่าฯห้ามมีคนหนาวตาย.html

สามล้อทรนงทิ้งมรดก30ล้านนอนหนาวตาย
http://www.youtube.com/watch?v=Ut454qqlc0k


หนาวตายอีกแล้ว 4
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=168765

 ;D


ฯลฯ


.


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 12, 11:47
ภัยลม  =  วาตภัย

ภัยน้ำ   =  อุทกภัย

ภัยไฟ  =  อัคคีภัย

ภัยแล้ง (ขาดแคลนอาหาร)  = ทุพภิกขภัย

แผ่นดินไหว, สึนามิ = ธรณีพิบัติภัย

ภัยร้อน  =   ?

ภัยหนาว =  ?

 ???


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 02 ก.พ. 12, 21:40
 :-[  ดีนะที่ยังไม่ค่อยได้ยินคำว่า "ภัยฝน"

ภัย มาจากคำภาษาบาลีสันสกฤตว่า ภย (อ่านว่า พะ -ยะ) แปลว่า ความกลัว, สิ่งที่น่ากลัว, สิ่งที่ทำให้กลัว. ในภาษาไทยใช้หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนได้รับความเดือดร้อน อันตราย หรือบาดเจ็บล้มตาย เช่น โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคร้าย. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากไฟไหม้. อุทกภัย คือภัยที่เกิดจากน้ำท่วม. ภัยทำให้ผู้คนประสบความทุกข์ยาก ลำบาก หรือสิ้นชีวิต. มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน. ในประเทศไทย เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม จนถึงมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน อากาศหนาวเช่นนี้เกิดขึ้นทุกปีเป็นสภาวะของอากาศประจำท้องถิ่นในฤดูหนาว ไม่ใช่ภัยอันตราย เพราะเป็นสภาพอากาศปรกติที่เกิดอยู่ประจำ อากาศหนาวในประเทศไทยเป็นสิ่งปรกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นประจำทุกปี จึงไม่ควรเรียกว่า ภัยหนาว

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.


ภัยอันตรายหมายถึง สิ่งที่น่ากลัวอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ  มี 10 อย่าง
๑. ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ
๒. โจรภัย คือภัยจากโจรผู้ร้าย
๓. อัคคีภัย  คือภัยที่เกิดแต่ไฟ
๔. วาตภัย คือภัยที่เกิดแต่ลม
๕. อุทกภัย คือภัยที่เกิดแต่น้ำ
๖. วิวาทภัย คือ ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
๗. โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคต่างๆ
๘. อุปัตติภัย  คือ ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปัจจุบันทันด่วน
๙. ทุพภิกขภัย คือภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง
๑๐. วินาศภัย คือ ภัยอันทำให้พินาศฉิบหายอย่างใหญ่หลวง

ส่วนภัยที่เกิดจากฤดูกาลถ้เป็นปกติ  ที่ไม่ถึงเป็นเหตุให้เกิดการล้มตายหรือเสียอย่างใหญ่หลวง  สำหรับผมไม่เห็นด้วยที่จะมาใช้คำว่า "ภัย"  คงเป็นแค่ภาวะ..... :)


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 ก.พ. 12, 23:51
คำว่า ภัยหนาว มันทำให้ภาษาวิบัติ ตรงไหนคะ...
ภาษา เป็นสิ่งที่พัฒนาไปตามยุคสมัย ถ้าหยุดนิ่งอยู่กับที่นั่นหละค่ะกำลังจะถึงคราววิบัติ

ภัยหนาว ฟังแล้วเข้าใจทันที่ว่า เป็นความวิกฤติที่เกิดจากความหนาว
ความหนาวเป็นภัยที่คุกคามชีวิตจริงๆ ตามที่คุณ srisiam ยกตัวอย่างมาให้ดู

ที่บอกว่า "ภัยหนาว เป็นการบัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาเพื่อเบิกงบประมาณจัดซื้อผ้าห่มและเสื้อกันหนาวแจกประชาชนทุกปีซ้ำซากไม่มีจบสิ้น ทั้งๆ ที่เสื้อกันหนาวสามารถใช้สวมใส่ได้นานหลายปี"

ขอโทษเถอะค่ะ เคยเห็นผ้าห่มกับเสื้อกันหนาวที่เขาแจก หรือเปล่าค่ะ มันบางมากใช้ผ้าคุณภาพแย่มาตัดเย็บ ติดโลโก้สวยงามเพื่อตั้งท่าถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ แต่กันหนาวได้แค่ไหน ทนทานแค่ไหนกันเชียว ที่เขาได้รับแจกทุกปีซ้ำซาก บางทีเขาต้องเอามาใส่ซ้อนๆ กัน 4-5 ชั้น ยังไม่อุ่นเลย
บางทีคนแจกอาจจะเอาตัวเองเป็นมาตรฐานคือ เสื้อกันหนาวขนาดนี้ใส่ในกรุงเทพก็เหงื่อหยดแล้ว แต่มันใช้ไม่ได้กับพื้นที่บนยอดดอยที่อากาศติดลบนะคะ พื้นที่ที่หนาว มันหนาวมากจริงๆ หนาวจนเป็นภัยค่ะ

จะบอกว่า "เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลปกติทุกปี ประชาชนรู้ตัวและเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ภัยรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต"
ค่ะเกิดขึ้นทุกปี ประชาชนรู้ตัวแต่ไม่สามารถจะเตรียมพร้อมได้ เพราะเขาไม่พร้อม เขาไม่มี เขาด้อยโอกาส เขาประสบภัย ทุกปี ทุกปี ...
ดังนั้น การเรียกว่า ภัยหนาว จึงไม่เกินความเป็นจริง และไม่น่าจะก่อความวิบัติให้กับภาษาค่ะ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 12, 10:57
อ้างถึง
เนื่องจากฤดูหนาวไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
สรุปว่า คำว่า "ภัยธรรมชาติ" ใช้ได้  แต่ภัยหนาว ภัยแล้ง ใช้ไม่ได้


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 12, 17:08
10 เรื่องเซอร์ไพรส์หลัง Facebook ยื่นหนังสือเข้าตลาด : Cyber Talk

1. จำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก : เอกสารระบุว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กมีจำนวน 845 ล้านคน เป็นตัวเลขที่มากกว่าสถิติที่บริษัทเคยประกาศไว้เมื่อเดือนกันยายนถึง 45 ล้านคน เฉลี่ยแล้ว เฟซบุ๊กมีแอคทีฟยูสเซอร์มากกว่า 483 ล้านคนต่อวัน ทุกคนมีส่วนช่วยให้ปริมาณคอมเมนต์และการกด Like บนเฟซบุ๊กทะลุ 2.7 พันล้านครั้ง และปริมาณภาพกว่า 250 ล้านรูปที่ถูกอัปโหลดต่อวัน
..............................
 6. ปัญหาอยู่ที่มือถือ : เซอร์ไพร์สสำคัญเรื่องหนึ่งที่พบจากเอกสารของเฟซบุ๊กคือแนวโน้มว่าเฟซบุ๊กกำลังมีปัญหากับตลาดอุปกรณ์มือถือ วันนี้เฟซบุ๊กยังไม่ได้ติดพื้นที่โฆษณาในแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กบนอุปกรณ์พกพาทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เรื่องนี้เฟซบุ๊กยอมรับเองว่าเป็นห่วงเรื่องเทรนด์การใช้งานเฟซบุ๊กบนอุปกรณ์พกพาที่อาจจะกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังหาวิธีทำการตลาดบนอุปกรณ์พกพาที่เหมาะสมและไม่สร้างความรบกวนแก่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

http://www.manager.co.th/CBizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000016005

ราชบัณฑิตฯ กำหนดศัพท์พวกนี้เป็นภาษาไทยหรือยังคะ  ใครทราบบ้าง?
โทรศัพท์มือถือ ดูเหมือนท่านจะให้ใช้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่   แต่ไม่เห็นมีใครใช้


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.พ. 12, 17:31
คุณชัย ราชวัตรเขาเสนอคำแปลเอาไว้หลายคำทีเดียว

 ;D



กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 12, 17:33
^
(คำว่า like  จะแปลว่าไงดี)


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.พ. 12, 17:57
^
^


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 05 ก.พ. 12, 07:28
^
^
^


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 12, 09:12
 ;)
ราชบัณฑิตคงไม่ให้ใช้คำนี้


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 12, 09:16
เจอข่าวนี้ เก่าไปหน่อยคงไม่ว่ากันนะคะ   คิดว่าหลายคนคงยังไม่รู้ว่าราชบัณฑิตกำหนดศัพท์ที่ใช้กันทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต หลายคำแล้ว

จากหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
 e-mail (electronic mail) =  อีเมล (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
ส่งอีเมล                         =  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
network                       =  เครือข่าย โครงข่าย,วงจรข่าย,
search                         =  ค้นหา การค้นหา
laptop computer           =  คอมพิวเตอร์วางตัก แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์,
overload                      =  โหลดเกิน, ภาระเกิน, โอเวอร์โหลด
adapter                       =  ตัวปรับต่อ, ตัวปรับ เป็นต้น


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 07 ก.พ. 12, 09:33
.


คอมพิวเตอร์วางตัก เป็นศัพท์บัญญัติที่ราชบัณฑิตยสถานเพิ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า Laptop Computer บางคนเห็นด้วย บางคนโต้แย้ง คำว่า Computer นั้น ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติให้ใช้คำว่า คณิตกรณ์ แต่ไม่มีใครใช้ มักใช้ทับศัพท์ว่าคอมพิวเตอร์ หรือภาษาปากก็ใช้เพียงสั้นๆ ว่า คอม
http://www.gotoknow.org/blog/kanyanee-km/450077?locale=th


ก็ทำไมไม่เรียก คณิตกรณ์วางตัก หรือ คณิตกรณ์ไข่ฝ่อ ไปเลยล่ะครับ


ปราชญ์ทางภาษาท่านหนึ่งที่ทรงพระปรีชามากเป็นที่ยอมรับระดับโลก คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศัพท์ที่พระองค์ท่านทรงสร้างไว้ จะงดงามและเป็นที่ยอมรับและนำมาใช้มากมายจนติดปาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C

ศัพท์ที่บัญญัติใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญทางภาษา ว่าที่จริง ควรนำไปให้ลูกหลานผู้บัญญัติลองพูด ลองเรียก ลองใช้ดูสักสามเดือน หากเด็กยังยอมใช้อยู จึงค่อยนำมาเผยแพร่ให้พวกเราใช้กัน
มิฉะนั้น มันจะมีเพียงว่า พิมพ์อยู่ในประกาศของรอยอินแค่นั้น เรียกว่า แจ้งตายตั้งแต่ยังไม่เกิด
เพราะฟังแล้วไม่ค่อยเป็นภาษา(มนุษย์)เท่าใด?


 ;D ;D ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 07 ก.พ. 12, 09:37
อ้างถึง
เนื่องจากฤดูหนาวไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
สรุปว่า คำว่า "ภัยธรรมชาติ" ใช้ได้  แต่ภัยหนาว ภัยแล้ง ใช้ไม่ได้


น่าจะใช้ได้แล้วกระมังครับ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปมากแล้ว จากที่เคยไม่เป็นภัย ก็มาเป็นภัยกันเห็นชัดๆ




 ภาษาที่ดีต้องมีพลวัฒน์ไม่ใช่หรือครับ


 ;D


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 12, 10:56
ฝากความเห็นของคุณศรีสยามไปให้ราชบัณฑิตที่เข้ามาอ่านในเรือนไทยเป็นประจำ แต่ไม่แสดงตัว   (รู้นะว่าใคร)   ไปพิจารณาด้วยค่ะ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 09 ก.พ. 12, 11:23
;)
ราชบัณฑิตคงไม่ให้ใช้คำนี้



แต่อาจให้ใช้คำนี้แทนกระมังครับอาจารย์........อิอิอิอิอิ


 :-X


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 09 ก.พ. 12, 14:09
ภัยหนาว กับ ภัยแล้ง นี่น่าจะใช้ได้แล้วครับ เพราะใช้กันทั่วไปจนเป็นที่เข้าใจหมดแล้ว ดูแล้วผมยังไม่เห็นว่าภาษาไทยจะวิบัติเราะคำสองคำนี้เลยครับ


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 09 ก.พ. 12, 14:10
อ้างถึง
ภาษาที่ดีต้องมีพลวัฒน์ไม่ใช่หรือครับ

พระยาอนุมานราชธน ท่านใช้คะว่า "ภาษา เป็นสัญญะนิยม"

ท่านใช้คำนี้ เพื่อแก้ข้อกล่าวหาเมื่อท่านต้องเผชิญกับคำถามว่า เห็นด้วยหรือไม่กับ ภาษาไทยใหม่ของ จอมพล ป.

จึงสนับสนุนคำว่า "ภาษาที่ดีต้องมีพลวัฒน์" ของคุณ Srisiam ค่ะ

พลวัฒน์ หรือ สัญญะ ของคนไทย สะท้อนความงามหรือ หยาบของวัฒนะธรรมไทยได้ด้วย

การพูดหรือเขียนเอาสนุก เป็นส่วนหนึ่งของนิสัยรักสนุกของคนไทย ดิฉันไม่ปฏิเสธค่ะ
ผ่อนคลายอารมณ์ได้ดีเลิศ

ขออย่างเดียว ให้ใช้กันอย่างมีศิลปะไม่ดูหยาบคาย หรือ ไร้รสนิยมจนเกินไป


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 09 ก.พ. 12, 14:21
"



 :)




"


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 12, 19:53
มีศัพท์จากราชบัณฑิตมาฝากอีกค่ะ

ถาม  คำว่า notebook computer มีคำ ​ไทย​ใช้​หรือ​ไม่ อย่าง​ไร
ตอบ ศัพท์คอมพิว​เตอร์ คำว่า notebook computer นั้น ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดศัพท์บัญญัติ​ไว้ ๒ คำ คือ
๑   คอมพิว​เตอร์ขนาดสมุดบันทึก
๒. ​ โน้ตบุ๊กคอมพิว​เตอร์

ถาม  คำว่า LCD มีคำ​ไทย​ใช้​หรือ​ไม่ ย่อ มาจากคำ​ใด
ตอบ ศัพท์คอมพิว​เตอร์ คำว่า LCD ย่อ มาจาก liquid crystral display ​ซึ่งราชบัณฑิตยสถานกำหนดศัพท์ บัญญัติของคำ liquid crystral display ว่า จอภาพผลึก​เหลว ​และ หาก​ใช้ย่อว่า LCD บัญญัติศัพท์​เป็น คำทับศัพท์ว่า ​แอลซีดี

ถาม  คำว่า e-government ตรงกับภาษา ​ไทยว่าอย่าง​ไร
ตอบ คำว่า e-government ย่อมาจากคำ ว่า electronic government หนังสือศัพท์​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ ของราชบัณฑิตยสถานระบุศัพท์ บัญญัติ​ไว้ว่า รัฐบาลอิ​เล็กทรอนิกส์

ถาม  คำว่า e-procurement ​ใช้​เป็นคำ ​ไทยว่าอย่าง​ไร
ตอบ คำว่า e-procurement ย่อมาจาก คำว่า electronic procurement ​ซึ่ง​ในหนังสือศัพท์​เทค​โน​โลยีสาร สน​เทศของราชบัณฑิตยสถานระบุ ศัพท์บัญญัติ​ไว้ว่า ระบบ​การจัดซื้อ จัดจ้างอิ​เล็กทรอนิกส์


กระทู้: คำจากรายการข่าว
เริ่มกระทู้โดย: ขนมครกยุคมืด ที่ 13 ก.พ. 12, 10:16
คุยกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในวงการสื่อนะคะ เขาคุยกันว่า นักข่าวที่ดีนั้นจะต้องไม่นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว ต้องนำเสนอข่าวเป็นกลาง ให้ถึงที่สุดนะคะ และก็การนำเสนอหรือเขียนข่าวนั้น สามารถสร้างสรรค์ หรือ ทำลายคนได้ทั้งชีวิต เพราะปากเราหรือน้ำหมึกจากปากกาเนี่ยได้เลยนะคะ ดังนั้นแล้วนักข่าวต้องมีจรรยาบรรณอย่างมาก ๆ เลยด้วยคะ รู้มาแค่นี้คะ  :-[