เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ค. 01, 20:45



กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ค. 01, 20:45
สุดสัปดาห์นี้เอาเกร็ดพงศาวดารจีนเรื่อง "ซิยิ่นกุ้ย"มาอ่าน  เป็นเรื่องทหารเอกของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ หรือหลีสิบิ๋น
มาเจอเรื่องย่อยๆในนั้น เกี่ยวกับภรรยาคนแรกของซิยิ่นกุ้ย  ชื่อนางกิมฮวย เธอถูกพ่อตีจะให้ถึงตายเพราะสงสัยว่าจะมีเรื่องชู้สาวกับซิยินกุ้ยผู้เป็นคนงานในบ้าน ทั้งที่จริงๆก็ยังไม่มี
สมัยโน้นผู้หญิงจีนดูจะถูกกำหนดให้ตายกันง่ายๆ    แม้แต่เป็นลูกสาวเศรษฐีก็ไม่เว้น      แค่ถูกสงสัยหรือถูกใส่ความเรื่องชู้สาวพ่อก็ตีถึงตายได้แล้ว
แล้วเท้าก็ยังถูกมัดเหลือนิดเดียว  ทรมานทรกรรมไปตลอดชีวิต
เรื่องพวกนี้เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนคะ?


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 30 เม.ย. 01, 05:36
เท้าถูกมัดให้เล็กน่าจะจริงครับ
อาม่า (ย่า) ของผมเองก็เท้าเล็กเหมือนกัน แต่เรื่องเท้าเล็กนี่เหมือนจะเป็นค่านิยมของคนจีนนะครับว่าสำหรับครอบครัว ผู้ดีหน่อย ผู้หญิงจะต้องมีเท้าที่เรียวเล็ก
มีตำนานด้วยว่า ฮองเฮาของ จูเหยียนจางนั้นเท้าโต เพราะว่า เธอเกิดในช่วงมองโกลเข้ามาปกครองเมืองจีนมีแต่คนลำบาก ครอบครัวเธอก็คอยแต่อพยพหนีพวกทหารมองโกล จนทำให้เธอ ไม่ได้มัดเท้าเมื่อเด็ก ๆ จึงมีเท้าที่โต กว่าสาวชาวจีนทั่วไป


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 30 เม.ย. 01, 08:13
เห็นด้วยครับว่าเรื่องมัดเท้านี้เป็นค่านิยม คนในอนาคตอาจจะมองว่าสาวไทยสมัยนี้น่าสงสารก็ได้ เพราะต้องลำบากลำบนอดข้าวระวังตัวไว้ให้เอวเล็กตัวเล็ก จะกินจะอยู่ตามใจปากก็ไม่ได้ น่าสงสารจริงๆครับ :)


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 01, 09:02
การทรมานร่างกายของผู้หญิง รู้สึกว่าจะมีกันทุกยุค
เรื่องมัดเท้าเป็นเรื่องที่อ่านแล้วน่ากลัวมากค่ะ  มัดจนกระดูกเท้าบิดเบี้ยวไปหมด
ผู้หญิงฝรั่งสมัยปลายศตวรรษที่ ๑๙  รัดเอวเหลือ ๑๗-๑๘ นิ้วเท่านั้นละค่ะ  เพื่อนุ่งกระโปรงสุ่มไก่ได้สวย  ทรมานกว่าเดี๋ยวนี้อีก


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ศิษย์โง่ ที่ 30 เม.ย. 01, 15:36
คิดว่าน่าจะจริงนะครับ เพราะจีนนั้นค่อนข้างเคร่งตรััเรื่องจารีตนิยม
มีการแบ่งลำดับชั้นของคน มีกฎของบ้านที่มักพูดกันว่า นายบ่าว หญิงชาย ต้องแยกกัน
หรืออย่างที่ถือกันว่า บุตรีก่อนออกเรือน
ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ออกเรือนแล้วต้องนับถือสามี


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 01 พ.ค. 01, 08:48
เคยดูในทีวี เขาไปถ่าย คุณยายที่ทําการมัดเท้า คนสุดท้ายของจีน
อายุท่านราว๗๐ กว่า แล้ว เห็นบอกว่าเป็นคนสุดท้ายเท่าที่สํารวจได้ขณะนี้


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ml ที่ 01 พ.ค. 01, 09:24
เคยอ่านเรื่องการมัดเท้าของผู้หญิงจีน
อ่านแล้วสะเทือนใจมากค่ะ..น่ากลัวและโหดร้ายมาก..ที่แปลกใจมากคือ เท้าเล็กๆเนี่ยมีผลต่อชีวิตทั้งชีวิตของผู้หญิงคนนั้น..เช่นว่าถ้าไม่ได้มัดเท้าจะหาคู่ครองได้ยาก อะไรทำนองนี้ค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: อำแดงริน ที่ 01 พ.ค. 01, 20:55
เป็นค่านิยมน่ะค่ะ
เขาว่าจะให้สวยต้องเป็น"บัวทองสามนิ้ว"
หรืออะไรคล้ายๆนี้แหละค่ะ

หญิงยุโรปโบราณมัดเอว
หรือว่าเดี๋ยวนี้หญิงทั่วโลกอดแห้งอดแล้งให้เอวกิ่ว ตัวผอม
ก็เป็นค่านิยมเหมือนกัน....
ต่างกันแต่ว่าสมัครใจทำเอง
จะอดให้แห้งแค่ไหนก็ตามใจ

อย่างมัดเท้านี่โดนกันมาแต่เล็กๆ
ชีวิตที่ไม่มีทางเลือก.....
ดีที่ค่านิยมตกยุคไปแล้วนะเนี่ย
เฮ้อ ถ้ายังอยู่ไม่รู้จะทำมาหากินแข่งกะชาวบ้าน
ยังไงเลยค่ะ คนเท้าโตๆยังลำบากเลย ^__^


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 02 พ.ค. 01, 06:49
ในเมืองไทยมีค่านิยมทำนองนี้บ้างไหมครับ
ผมคิดว่าน่าจะมีบ้าง แต่คงไม่รุนแรง ยังนึกไม่ออกครับ?

ที่นึกออกก็อย่างในกรณีของชาวเขาเผ่าคอยาว
ที่ผู้หญิงต้องใส่ห่วงที่คอ อันนี้คงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แฟชั่นมีผลต่อการดำรงชีวิตของสุภาพสตรีและทำให้ลำบากขึ้น ( มั้ง...?)
เป็นเรื่องของเสื้อชั้นใน หรือ บรานั่นแหละ เคยดูสารคดีทางบีบีซี ( วิชาการครับ วิชาการ )
ตามประวัติแล้ว พึ่งคิดประดิษฐ์มาเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ไม่ถึง 100 ปีดี
จุดประสงค์เมื่อเริ่มออกแบบนั้นเพื่อแฟชั่นเป็นหลัก ประโยชน์ทางการแพทย์นั้น
แทบไม่มีเลย และอาจจะมีผลเสียมากกว่าเสียอีก ( เขารายงานมาอย่างนั้นครับ )
แต่พอเวลาผ่านไป ก็กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่สุภาพสตรีขาดไม่ได้ อันนี้คงถือเป็นค่านิยมได้เหมือนกัน
ไม่ใช่เฉพาะชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นทั้งโลกเลย


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพียงตะวัน ที่ 02 พ.ค. 01, 09:27
เอแต่ว่าผู้หญิงที่ต้องเล่นกีฬาหนักๆต้องใส่บรานะคะไม่งั้นอาจมีผลต่อหน้าอกได้


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 02 พ.ค. 01, 12:38
อืม เรื่องบรา ของผู้หญิงนี่ แล้วเราจะมาตอบได้ไงหว่า แต่ที่เห็นนะครับ อย่าง กีฬา ว่ายน้ำ
กีฬา ยิมนาสติก ไม่น่าจะใส่นะครับ สองอย่างนี้ไม่รู้ว่าเป็นกีฬาหนัก ๆ หรือเปล่า
อืมตอบเสร็จเราจะกลายเป็นคนทะลึ่งหรือเปล่านะเนี่ย ผมไปอ่านมาจากบทความด้วยนะครับ ไม่ใช่จากการสังเกตุทางทีวีอย่างเดียว เฮ้อ ท่าจะหนีไม่พ้นช้อหา สายตาไม่ดีแน่เลย


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: อ้อยขวั้น ที่ 02 พ.ค. 01, 15:11
บราไม่น่าใช่ค่านิยมนะคะ  น่าจะเป็นเพราะแก้ปัญหาแรงโน้มถ่วงมากกว่า (คงไม่ติดเรทนะคะ)


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: อำแดงริน ที่ 02 พ.ค. 01, 20:56
มาสนับสนุนคุณอ้อยขวั้นค่ะ ^_____^
บราน่าจะเป็นอุปกรณ์ช่วยคงสภาพนะคะ อิ อิ
คงไม่ได้ตลอดก็ยังช่วยsupportเวลาใช้งานได้
5555
ค่านิยมอาจเป็นในกรณีต้องใส่อย่างที่มีลูกไม้สวยๆ..มั้งคะ
เอ เรทไหนเนี่ย???


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 02 พ.ค. 01, 23:10
ไม่มีความรู้ครับมีแต่ความเห็น
ถ้า บรา เป็นแต่ค่านิยมที่ไม่เป็นประโยชน์จริง (จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) ก็อยากให้ผู้หญิงทุกคนลุกขึ้นยืนหยัด ปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการโดยเลิกใส่บราครับ ... จึ๊กกึ๋ย.....


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 03 พ.ค. 01, 06:28
สวัสดีค่ะคุณเทาฯ  พักนี้ติดธุระหลายอย่างเลยไม่ค่อยได้เข้ามาเลยค่ะ

บรามันของจำเป็นนะคะ  แต่มัดเท้านี่มันไม่จำเป็น  เอามาปนกันได้ยังไงกันเนี่ยะ ขอวกกลับมาเรื่องมัดเท้าละกันนะคะ  ก่อนที่หนุ่มๆเรือนไทยจะมะรุมมะตุ้มกระทู้นี้กันตรึม (คิกๆๆ)

เรื่องรัดเท้านี่เคยได้ยินว่าเค้านิยมว่าเท้าเล็กเป็นรูปดอกบัวสวยดีน่ะค่ะ  แล้วเป็นเครื่องแสดงความเป็นผู้ดีด้วย  เพราะรัดเท้่าเล็กๆแล้วทำงานไม่ได้  มีแต่ลูกสาวคนรวยเท่านั้นจึงจะทำได้  ลูกคนจนต้องไปทำงานในนา  ขึนรัดเท้าคงอดตาย  เนื่องจากคนรวยก็มักจะแต่งงานกับคนรวยด้วยกัน  ใครมีลูกสาวก็กลัวครอบครัวคนรวยด้วยกันจะไม่ยอมแต่ง  ก็เลยต้องรัดเท้ากันแต่เด็ก  

ดิฉันเคยเห็นคนรัดเท้าด้วยค่ะ  เป็นยายเฒ่าไม่ทราบพลัดมาเมืองไทยได้อย่างไร  แต่เค้ามาจากเมืองจีนค่ะ  อายุมากกว่าคุณยายของดิฉันอีก  พอแก่ตัวแล้วก็ลำบากไม่มีลูกหลาน  ต้องทำของเล่นมาขาย  แล้วเดินก็ไม่ถนัด  ของเล่นที่ทำมาก็มีแปลกๆไม่เคยเห็นที่ไหนเลยค่ะ  เค้าทำด้วยไม้ไผ่และกระดาษฝีมือละเอียดมากเลยค่ะ  ที่จำได้ก็มีเป็นเหมือนกลองเล็กๆแต่เปิดข้างหนึ่ง  แล้วปิดด้วยกระดาษบางๆขึงตึงอีกข้างหนึ่ง  เอาเศษไม้ไผ่ชิ้นเล็กๆขัดไว้  แล้วร้อยเชือกกับเศษไม้ให้ทะลุกระดาษนั้น  ไปโยงกับก้านไม้ไว้ถือ  เวลาเหวี่ยงไปเป็นวงกลม  เศษไม้จะเสียดสีกับกระดาษที่ปิดหัวนั้น  ทำให้เกิดเสียงแปลกๆ  แล้วมีอะไรอีกมากมายหลายอย่างจำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ  เค้าเอาก้านไม้ปักลงบนคันไม้เหมือนไม้เท้าเมื่อมีหลายๆอย่าง  ดูหลากสีสวยงาม  แล้วก็ต้องค่อยๆลากด้ามไม้ที่ปักของนั้นเดินช้าๆ  เพราะเท้าที่ถูกรัดทำให้เดินไม่ถนัด

ตอนเด็กๆดิฉันก็ชอบไปดู  บางครั้งก็ขอดูเท้าท่านน่ะค่ะ  บางทีเท้าเจ็บก็ต้องคลายผ้ารัดออกมาพันใหม่  จนเห็นฝ่าเท้างอโค้ง  ส่วนที่แตะพื้นมีแต่ส้นเท้ากับนิ้วเท้าเท่านั้นแหละค่ะ  ส่วนกลางฝ่าเท้ากระดูกถูกดัดจนพิกลพิการ  โค้งขึ้นไม่จรดพื้น  จึงดูเล็กลงได้  แต่ถ้าไม่รัดผ้าไว้ก็ทรงตัวไม่ได้ค่ะ  แล้วจะปวดมากด้วย  กลายเป็นทำให้พิการเพื่อความที่เชื่อว่าเป็นความงามน่ะค่ะ  ยังจำภาพติดตาได้จนทุกวันนี้เลยค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: อ้อยขวั้น ที่ 03 พ.ค. 01, 13:42
นึกไปนึกมา  เพศหญิงมักมีอะไรที่...อือ...ต้องเจ็บตัวแบบแปลกๆ นะคะ  อย่างรัดเท้า  สวมห่วงทองเหลืองที่คอ  สวมคอร์เซ็ท  เจาะหูเจาะจมูก  ถูกขลิบ!  แย่จัง...


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ชักงง.. ที่ 03 พ.ค. 01, 21:43
เอ๋! ผูู้หญิงถูกขลิบตรงไหนหนอ..คุณอ้อยขวั้น


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: แอร์ ที่ 03 พ.ค. 01, 23:11
น่านจิ  ถูกขลิบตรงไหนเหรอคะพี่อ้อยขวั้น


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: อ้อยขวั้น ที่ 04 พ.ค. 01, 09:08
ทำนองเดียวกับสุหนัดของผู้ชาย  แต่ผู้หญิงบางคนโชคร้ายถูกขลิบ-ปาดออกมากเกินไป  หรือติดเชื้ออักเสบ  แบบในเรื่องกุหลาบทะเลทรายที่กำลังลงในพลอยแกมเพชรตอนนี้น่ะค่ะ  หวาดเสียว...


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 05 พ.ค. 01, 06:11
genital mutilation เป็นประเด็นสิทธิสตรีที่มีอยู่ในบางภูมิภาคของโลกครับ เช่นในทะเลทรายอย่างว่า

มักจะมีการเข้าใจผิด หรืออ้างว่าเป็นธรรมเนียมมุสลิม ที่จริงอิสลามกำหนดแต่การเข้าสุหนัตหรือขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเท่านั้น การ" ขลิบ" หญิงนี่ เป็นแค่ธรรมเนียมปฏิบัติเฉพาะถิ่น บางเผ่า บางกลุ่มชน ไม่เกี่ยวกับอิสลาม แต่ผู้ชายกลุ่มหรือเผ่าเหล่านั้นก็ชอบอ้างศาสนาอิสลามมาเกี่ยวด้วย

เวลาขลิบอวัยวะเพศหญิง ขอโทษนะครับคุณสุภาพสตรี คือขลิบหรือตัดปุ่มที่ทำให้ผู้หญิงมีความรู้สึกหรือมีความสุขทางเพศออกไปครับ เขาเชื่อกันว่าพอขลิบแล้วผู้หญิงจะได้เป็นผู้หญิงที่ "ดี" ไม่ "ร่าน"  คือผู้ชายเผ่านั้นตัดโอกาสที่เธอจะมีความสุขทางเพศไปเลยตลอดชีวิต มีหน้าที่ผลิตลูกอย่างเดียว กลัวว่าถ้าเธอรู้สึกสนุกกับเซ็กซ์แล้วจะติดใจ เสียคน - ไม่ยุติธรรมเลยใช่ไหมครับ

แล้วก็อย่างที่คุณอ้อยขวั้นว่าคือ ทำไม่สะอาดหรือปาดออกมากไป ผู้หญิงถึงตายก็มี

เป็นเรื่องที่เป็นประเด็นทางสิทธิสตรีมาพักหนึ่งแล้วครับ ประชาคมโลกก็พยายามเรียกร้องให้เลิกธรรมเนียมนี้อยู่


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 05 พ.ค. 01, 09:50
ข้องใจอย่างยิ่งว่าเรื่อง "ซิยิ่นกุ้น" นี่
ใครเป็นคนแต่ง?
แต่งในยุคไหน?
เพราะว่ามันไม่ตรงกับบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง(จิ้วถังซู)เอาเสียเลย

นอกจากเรื่องที่ว่า เซวเหรินกุ้ย(ซิยิ่นกุ้ย)เป็นแม่ทัพที่เก่งมากในสมัยของถังไท่จง(หลี่ซื่อหมิน)และถังกาวจง(หลี่จื้อ โอรสหลี่ซื่อหมิน สวามีบูเช็คเทียน)เท่านั้น

ใน "จิ้วถังซู"  บท "ชีวประวัติเซวเหรินกุ้ย" บันทึกไว้ว่า :

 "เซวเหรินกุ้ยป่วยเสียชีวิต รวมอายุได้ 70 ปี ได้รับการเลื่อนยศไล่หลังเป็นจอมทัพฝ่ายซ้าย เซวเหรินกุ้ยมีบุตรชายนามเซวเน่อ และ เซวฉู่อวี้ ต่างเป็นทหารเหมือนบิดาทั้งคู่ เซวเน่อได้เป็นแม่ทัพและเป็นแม่ทัพที่ตงฉินเช่นกัน ส่วนเซวฉู่อวี้ตายแต่ยังหนุ่ม เซวฉู่อวี้มีบุตรนามเซวกาว เป็นคนองอาจห้าวหาญ ไม่สืบสนใจจัดการกับมรดกทรัพย์สินของตระกูล มีพลกำลังมหาศาล เก่งกาจในด้านขี่ม้ายิงธนู บุตรชายเซวกาวนามเซวผิง"

ส่วนประเพณีการรัดเท้านั้น ฟังว่าเริ่มมีในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ค่ะ
เรียงง่ายๆดังนี้

ราชวงศ์ถัง ค.ศ. ๖๑๘ - ๙๐๗
ยุคห้าราชวงศ์ ค.ศ. ๙๐๗ - ๙๖๐
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ค.ศ. ๙๖๐ - ๑๑๒๗
ราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ.๑๑๒๗ - ๑๒๗๙

ก่อนสมัยราชวงศ์ถังนั้น(ไม่นับราชวงศ์สุยที่อายุยืนแค่ไม่ถึง ๔๐ ปี)เป็นยุคแบ่งแยกดินแดน เกิดสงครามยาวนานหลายร้อยปี และส่วนเป็นยุคที่ชนกลุ่มน้อยครองเมือง บรรดาฮ่องเต้ของราชวงศ์ต่างๆเป็นชนกลุ่มน้อยแทบทั้งนั้น

 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากบรรดาชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ทำให้สตรีในราชวงศ์ถัง(โดยเฉพาะบรรดาชนชั้นสูง)มีสิทธิในการเลือกและเปลี่ยนคู่ครองสูง แต่งงานแล้ว สามีก็มีเมียน้อยไป ภรรยาก็ไปคบชู้ได้ตามสบาย อย่างบูเช็คเทียนที่เป็นภรรยาพ่อแล้วมาเป็นภรรยาลูกต่อนั้น เป็นเรื่องปกติสำหรับธรรมเนียมของชนกลุ่มน้อย ในยุคนั้นไม่มีใครถือสา ผู้หญิงเองก็แต่งงานใหม่ได้ตามใจชอบ สินเดิมที่พ่อแม่ให้มาตอนแต่งงานก็ถือเป็นสมบัติส่วนตัวของฝ่ายหญิง ที่จะนำติดตัวไปได้เมื่อแต่งงานใหม่ได้ด้วย

 คนจีนยุคหลังราชวงศ์ซ่งเหนือไปแล้วต่างหาก ที่มารื้อฟื้นเรื่องเคร่งครัดในหลักการของขงจื่อจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมของผู้หญิงจีนไป

ส่วนการรัดเท้านั้น ฟังว่า เพื่อทำให้เวลาเดิน จะดู "เยื้องกราย ส่ายไปมา" อย่างงดงาม(เพราะเจ็บเท้า เดินไม่ถนัด เลยเดินโขยกเขยก อย่างนั้นเขาเรียกว่าสวย ในสมัยนั้น)

สุดท้าย ข้องใจอย่างยิ่งว่า ใครเป็นผู้แต่งพงศารดาร "ซิยิ่นกุ้ย"?
น่าอัญเชิญไปถกเหตุผลกับ "หลิวซวี่"  ผู้เรียบเรียง "จิ้วถังซู" (ในโลกวิญญาณ)จริงๆ

ทำไมผู้เฒ่าผู้แก่เชื้อสายจีนในเมืองไทยดูเหมือนจะมีบรรดาพงศาวดารเหล่านี้อยู่กันหลายท่าน แต่ดูเหมือนจะไม่มี "เจิ้งสื่อ" อยู่ในมือกันเลยสักท่านหนอ? ทั้งที่มันก็ขายออกเกลื่อนเมืองจีนมานานเป็นพันปีแล้วอย่างนี้


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 05 พ.ค. 01, 11:26
ขออภัยคุณเทาฯนะคะ  มาทักทายคุณหลินหน่อยค่ะ  คิดถึงจัง เรียนหนักเหรอคะ  ดีใจมากที่คุณปลีกเวลามาแจมได้แล้วน่ะค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 05 พ.ค. 01, 19:01
เรียนหนักขนาด ได้วันหยุดติดกัน ๑๑ วัน ก็ไปไหนไม่ได้เลย เวียนว่ายตายเกิดอยู่กับกองหนังสือ ไม่ในบ้าน ก็ในหอสมุดน่ะค่ะ

T_T


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 06 พ.ค. 01, 07:25
คุณ นกข อธิบายได้หมดจดดีจังค่ะ  ดิฉันเห็นมาหลายวัน ไม่รู้จะเขียนอย่างไรให้ไม่เกิดความรู้สึกขยักขย่อนขึ้นมาได้น่ะค่ะ

ที่น่าสลดใจมากก็คือ  ในสังคมที่เชื่อสิ่งเหล่านี้  ผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสืบทอดประเพณีปฏิบัติเหล่านี้  หรือการต่อเนื่องความทุกข์ทรมานของลูกผู้หญิง  ก็คือผู้หญิงด้วยกันเองนั่นแหละค่ะ  ความกลัว เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด  โดยแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิง  แม้จะผ่านความโหดร้ายทรมานเหล่านี้มาด้วยตัวเอง  แต่สิ่งที่ทำให้กลับกลายมาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วยความเต็มใจ  ก็คือความหวาดกลัวว่า  ลูกหญิงน้อยของตัว  จะผจญกับชะตากรรมอันน่าสยดสยองเสียยิ่งกว่าการแล่เนื้อเถือหนังอย่างนี้  คือกลัวว่าจะแต่งงานกับใครไม่ได้  การเป็นหญิงโสดในสังคมเหล่านี้  ก็เหมือนถูกสาบ  และเป็นที่เย้ยหยันกดขี่ในสังคมเหล่านี้ตลอดชีวิต  ในสังคมมุสลิมแบบ fundamental อย่างพวกทาลีบันนั้น  ผู้หญิงจะออกนอกบ้านไปโดยลำพังยังไม่ได้เลยค่ะ  จับได้แล้วจะถูกโบยกลางถนนกันเลย

มีบทความที่เขียนขึ้นจากปากคำของผู้หญิงเหล่านี้ที่หลบหนีออกมาใช้ชีวิตในโลกตะวันตก  และพยายามกลับไปแก้สถานการณ์เหล่านี้  ลงในหนังสือพิมพ์ที่ได้อ่านอยู่เรื่อยๆเลยค่ะ  แล้วก็มีเพื่อชาวอียิปต์คนหนึ่ง  ตัวเค้าเองบอกว่า  สมัยเค้าเป็นสาวๆ  ไม่มีเรื่องอย่างนี้เลยค่ะ  แต่ต่อมารุ่นหลังๆ  พวก fundamentalists เริ่มได้อำนาจการปกครองในหลายๆท้องที่  แม้ในอียิปต์เอง  ที่ถือว่า  เป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาสูงๆ  ก็เริ่มหันกลับไปทำแบบนี้กัน  โดยมีแม่หรือป้าน้าอาของเด็กผู้หญิงนั่นเองแหละค่ะ  ที่จับเด็กวัยแรกสาวมาทำทุรกรรมกัน  แล้วก็ใช้เครื่องมือตามบ้าน  เช่นใบมีดโกนเก่าขึ้นสนิม  บางแห่งตามหมู่บ้านกันดาร  ยังใช้หนามไม้มาแทนมีดเลยค่ะ  มีเด็กติดเชื้อตายไปก็มาก  พอดีกว่าค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 01, 09:48
สวัสดีค่ะคุณ Linmou และคุณพวงร้อย  
หายไปพักใหญ่   กำลังรอว่าเมื่อไรจะกลับมา พอเห็นในกระทู้นี้ก็เลยทักทยสองคนรวด
เรื่อง "เจิ้งสื่อ" เป็นเรื่องอะไรคะไม่เคยได้ยินชื่อนี้ ?ภาษาจีนในเกร็ดพงศวดารมักจะออกสำเนียงแต้จิ๋วมากกว่าจีนกลาง

ซิยิ่นกุ้ย ไม่บอกชื่อคนจีนผู้แต่ง    ต่อจากนั้นคือเรื่องซิเตงซันลูกชายของซิยิ่นกุ้ยที่ไปได้นางฮวนลิฮวย
ดิฉันสงสัยมานานแล้วว่า "เกร็ด" พงศาวดารนี่มีแต่" เกร็ด"จริงๆ   หรือจะมองอีกทีก็เรียก "เกล็ด" ก็ได้  คือเอามาแต่เกล็ด  ทิ้งปลาไปทั้งตัว
ประเพณีในเรื่องก็ดูซ้ำๆ อย่างบังคับให้ลูกสาวโดดน้ำตายก็มีในเรื่อง จอยุ่ยเหม็ง    เรื่องรัดเท้าก็เช่นกัน

เรื่องการขลิบผู้หญิงอย่างที่ว่าเป็นเรื่องน่าเวทนาเพศหญิงมากค่ะ     กำลังนึกว่าในเมืองไทย โชคดีที่ผู้หญิงไทยไม่เจอขนาดนั้น
แต่สมัยอยุธยาจนต้นรัตนโกสินทร์  ผู้หญิงก็ถูกขายเป็นทาสได้เหมือนสัตว์เลี้ยงหรือสมบัติของพ่อและสามีเช่นกัน  ในตอนก่อนจะแก้ไขในรัชกาลที่ ๔   ผู้หญิงถึงไม่สมัครใจก็ถูกพ่อและสามีขายได้


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 06 พ.ค. 01, 11:19
สวัสดีค่ะคุณเทาชมพู คุณพวงร้อย และทุกท่านในเรือนไทย(มาสองครั้งก่อนเสียมรรยาทไปหน่อย ไม่ได้ทักทาย แหะๆ)

"เจิ้งสื่อ"  จะแปลว่า "ประวัติศาสตร์จีนมาตรฐาน" ก็ได้ค่ะ รู้สึกจะเริ่มมีมาแต่สมัยราชวงศ์ถัง และจะมีการเรียบเรียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามยุคสมัย ล่าสุดได้มีการประกาศโดยจักรพรรดิเฉียนหลงให้ "เจิ้งสื่อ"  มีทั้งหมด ๒๔ ชุด เรียกว่า "๒๔ สื่อ"(เอ้อรสือซื่อสื่อ)

"เจิ้ง"  แปลว่า มาตรฐาน หรือ ถูกต้อง ; "สื่อ" แปลว่า ประวัติศาสตร์ค่ะ

เนื่องจาก "เจิ้งสื่อ"  = "๒๔ สื่อ"  อยู่นานหลายร้อยปี ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักเคยชินกันว่า "เจิ้งสื่อ" คือ "๒๔ สื่อ" กันอยู่ ซึ่ง "๒๔ สื่อ" มีดังนี้ค่ะ

๑. สื่อจี้(บันทึกประวัติศาสตร์) เรียบเรียงโดย ซือหม่าเชียน(บิดาแห่งการบันทึกประวัติศาสตร์จีน) บุคคลในสมุยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นหนังสือ "ทงสื่อ" หรือ บันทึกประวัติศาสตร์นับแต่อดีตถึงปัจจุบันชุดแรกในประวัติศาสตร์จีน บันทึกเรื่องราวตั้งแต่สมัย "จักพรรดิเหลือง" ถึง สมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ รวมเวลาประมาณ ๓,๐๐๐ ปี มีทั้งสิ้น ๑๓๐ บท

๒. ฮั่นซู(ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่น) เรียบเรียงโดย ปานกู้ บุคคลในสมัยต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(คนนี้ต้องติดคุกจนตายเพราะไม่ยอมแก้สำนวนที่ฮ่องเต้สั่งให้แก้) เป็นหนังสือบันทึก ปวศ. ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ต่อจาก "สื่อจี้" ของซือหม่าเชียน มีทั้งสิ้น ๑๐๐ บท

๓. โฮ่วฮั่นซู(บันทึกปวศ.ราชวงศ์ฮั่นเล่มหลัง) เรียบเรียงโดย ฟ่านเยี่ย บุคคลในยุคราชวงศ์ใต้(ต่อจากราชวงศ์จิ้นของลูกหลานสุมาอี้) มีทั้งหมด ๑๒๐ บท

๔. ซานกั๋วจื้อ(บันทึก ปวศ. สามแคว้น) หรือสามก๊กนั่นเอง แต่เล่มนี้ไม่ใช่พงศาวดาร เป็นบันทึก ปวศ. ของจริง ซึ่งยังไม่เคยได้รับการแปลมาก่อน เรียบเรียงโดย เฉินโซ่ว บุคคลในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก(รางวงศ์ของลูกหลานสุมาอี้) ๖๕ บท

๕. จิ้นซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์จิ้น) นำเรียบเรียงโดย ฝางเสวียนหลิง ขุนนางใหญ่ในราชวงศ์ถัง(คำว่า "นำ" หมายถึง ตอนนั้นเขาเป็นอัครมหาเสนาบดี การเรียบเรียงบันทึก ปวศ. ในยุคหลังลงมา จะให้พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายบันทึก ปวศ. เป็นผู้บันทึก แล้วอัครมหาเสนาบดีจะเป็นผู้นำขึ้นถวายฮ่องเต้ จึงลงชื่อว่า อัครมหาเสนาบดีผู้นั้นเป็นผู้ "นำเรียบเรียง") ๑๓๐ บท

๖. ซ่งซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ซ่ง) เรียบเรียงโดย เสิ่นเยว(ยว อ่านควบ) บุคคลในแคว้นเหลียงแห่งยุคราชวงศ์ใต้ (เล่มนี้เป็นบันทึกปวศ. ของแคว้นเล็กๆแคว้นหนึ่งในยุคบ้านเมืองแต่เป็นหลายก๊ก ไม่ใช่ของราชวงศ์ต้าซ่งในภายหลังที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันจากเรื่องมังกรหยก) ๑๐๐ บท

๗. หนานฉีซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ฉีใต้) โดยเซียวจื๋อเสี่ยน แห่งแคว้นเหลียงในยุคเดียวกัน(แคว้นเหลียงตั้งขึ้นหลังจากที่แคว้นหนานฉีล่มสลายไปแล้ว) ๕๙ บท

๘. เหลียงซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เหลียง) โดย หยาวซือเหลียน แห่งราชวงศ์ถัง ๕๖ บท

๙. เฉินซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เฉิน) โดย หยาวซือเหลียน แห่ง ราชวงศ์ถัง(คนเดียวกับข้างบน)  ๓๖ บท

๑๐. เว่ยซู โดย เว่ยโซว แห่งราชวงศ์ เป่ยฉี(ฉีเหนือ) ๑๓๐ บท

๑๑. เป่ยฉีซู โดย หลี่ป๋ายเย่า แห่งราชวงศ์ถัง ๕๐ บท

๑๒. โจวซู นำเรียบเรียงโดยลิ่งกูเต๋อเฟิน แห่ง ราชวงศ์ถัง ๕๐ บท

๑๓. หนานสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ใต้)(หลังจากราชวงศ์จิ้นของลูกหลานสุมาอี้ล่มสลายแล้ว ชาวฮวนก็แห่กันเข้ามาครองแผ่นดินฮั่น เกิดเป็นราชวงศ์ต่างๆขึ้นมากมาย แยกใหญ่ๆเป็นราชวงศ์ทางเหนือ กับราชวงศ์ทางใต้) โดย หลี่เหยียนโซ่ว แห่งราชวงศ์ถัง ๘๐ บท

๑๔. เป๋ยสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เหนือ) โดย หลี่เหยียนโซ่ว แห่งราชวงศ์ถัง ๑๐๐ บท

๑๕. สุยซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์สุย)นำเรียบเรียงโดย เว่ยเจิง แห่งราชวงศ์ถัง ๘๕ บท

๑๖. จิ้วถังซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ถังเก่า ซึ่งก็คือ เล่มแรก) นำเรียบเรียงโดย หลิวซวี่ แห่งแคว้นโฮ่วจิ้น(จิ้นหลัง)ในยุค ๕  ราชวงศ์(ต่อจากราชวงศ์ถัง) ๒๐๐ บท

๑๗. ซินถังซู(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ถังใหม่ ซึ่งก็คือเล่มหลัง) นำเรียบเรียงโดย โอวหยางซิว และซ่งฉี แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ(อันนี้คือต้าซ่งในเรื่องมังกรหยก ซึ่งจะแบ่งเป็นซ่งเหนือและซ่งใต้) ๒๒๕ บท

๑๘. จิ้วอู่ไต้สื่อ(บันทึก ปวศ. ๕ ราชวงศ์เก่า หรือ เล่มแรก) โดย เซวจวีเจิ้ง แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ๑๕๐ บท

๑๙. ซินอู่ไต้สื่อ(บันทึก ปวศ. ๕ ราชวงศ์ใหม่ หรือ เล่มหลัง) โดย โอวหยางซิว แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ๗๔ บท

๒๐. ซ่งสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์ซ่ง) นำเรียบเรียงโดย ทัวทัว แห่งราชวงศ์เหยวียน(มองโกล) ๔๙๖ บท

๒๑. เหลียวสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เหลียว หรือชี่ตาน หรือชาวคีตั้น ในเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ของกิมย้ง) นำเรียบเรียงโดย ทัวทัว(คนเดิม) ๑๑๖ บท

๒๒. จินสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์จิน หรือกิมก๊ก ในเรื่องมังกรหยก)นำเรียบเรียงโดย ทัวทัว(คนเดิม) ๑๓๕ บท

๒๓. เหยวีนสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เหยวียน หรือ มองโกล) นำเรียบเรียงโดย ซ่งเหลียน แห่งราชวงศ์หมิง ๒๑๐ บท

๒๔. หมิงสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์หมิง) นำเรียบเรียงโดย จางเหยียนอวี้ แห่งราชวงศ์ชิง(แมนจู) ๓๓๒ บท

ปัจจุบัน ได้มีการเรียบเรียงบันทึก ปวศ. เพิ่มเข้ามาอีก ๒ ชุด คือ

๒๕. ซินเหยวียนสื่อ(บันทึก ปวศ. ราชวงศ์เหยวียน เล่มหลัง) จำชื่อผู้เรียบเรียงไม่ได้แล้วค่ะ

๒๖. ชิงสื่อก่าว(ต้นฉบับบันทึก ปวศ. ราชวงศ์ชิง) ปริมาณพอๆกับ "ซ่งสื่อ"  (ชุดที่ ๒๐)

สำหรับปริมาณที่เป็นรูปธรรมของหนังสือชุดนี้นั้น เฉพาะ "ซ่งสื่อ"(ชุดที่ ๒๐) ซึ่ง Linmou เองมีอยู่ในรูปเล่มแบบอ่านง่าย คือ ขนาดหนังสือปกอ่อนธรรมดาทั่วๆไป หนาเล่มละ ๑.๕ - ๒ cm. มีจำนวนทั้งหมด ๔๐ เล่ม ค่ะ

เจิ้งสื่อ ถือเป็นหนังสือที่ผู้ที่เรียน ปวศ. ทุกคนต้องรู้จัก( ไม่ถึงกับต้องมีไว้ในครอบครอง เพราะซื้อทั้งชุด มันก็แพงเอาการอยู่) แต่เนื้อหาของมันก็ยังจำกัดมาก ในการศึกษา ปวศ. จีน

"เจิ้งสื่อ" เป็นเพียง ๑ ในบรรดาหนังสืออ้างอิงทาง ปวศ. ที่เชื่อถือได้ของจีนจำนวนหลายร้อยชุด เป็นหนังสืออ้างอิงที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีนจะต้องอ่านก่อนเป็นชุดแรก แต่ไม่ใช่ชุดเดียวแน่นอน และไม่ใช่ชุดที่ยาวที่สุดด้วย อยู่ในระดับกลางๆค่อนข้างสั้นด้วยซ้ำ ชุดที่ยาวที่สุด คือ "ซือคู่เฉวียนซู" มีทั้งหมด ๗๐,๐๐๐ บท พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือปกแข็งเล่มขนาดสูงกว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่วางขายทั่วไปเล็กน้อย หนาพอๆกัน ๑,๕๐๐ เล่ม เป็นหนังสือชุดที่ Linmou กลัวที่สุดที่จะต้องไปแตะต้องมันเข้า

ซึ่งหนังสือเหล่านี้มีมานานแล้ว อย่าง "จิ้วถังซู" ซึ่งบันทึกเรื่องราวของ "ซิยิ่นกุ้ย" เอาไว้ด้วยนั้น ก็เรียบเรียงขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ซ่งเสียอีก และในการสอบรับบุคคลเข้ารับราชการในยุคโบราณ(เริ่มมีในสมัยราชวงศ์สุย รุ่งเรืองในสมัยถัง สมบูรณ์แบบในสมัยซ่ง)นั้น ก็มีการสอบเข้าเป็นขุนนางฝ่ายอารักษ์ด้วย โดยจะต้องสอบเนื้อหาใน "เจิ้งสื่อ" ของยุคนั้น ซึ่งดูเหมือนจะมี "สื่อจี้" , "ฮั่นซู" และ "โฮ่วฮั่นซู" สามชุดแรก


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 01, 12:56
ดิฉันเข้าใจว่าเกร็ดพงศาวดารจีนที่นิยมอ่านกันในไทย  มักไม่ได้อิงประวัติศาสตร์    อาจยืมมาแต่ชื่อ เช่นชื่อพระเจ้าถึงไทจง และชื่อซิยิ่นกุ้ย
เนื้อเรื่องมาเสริมจินตนาการตามใจชอบ   เติมรสให้โลดโผน
ใครจะแต่งก็ไม่บอกชื่อ  มีแต่ชื่อผู้แปลเรียบเรียง หรือไม่ก็ไม่บอกเลย  เพราะช่วยกันแต่งหลายคน ลงเป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์
ลักษณะตัวละครและเนื้อเรื่องก็เลยออกมาคล้ายคลึงกัน เป็น stereotype ไปหมด   จนบางทีคนอ่านอย่างดิฉันก็สับสนว่า คนแปลเลียนแบบกันเอง หรือว่าเรื่องต้นฉบับเดิมเป็นอย่างนั้นจริงๆ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 06 พ.ค. 01, 20:14
อือม์ อย่างนี้นี่เอง
ขอบคุณคุณเทาชมพูมากค่ะที่ช่วยอธิบาย

เพราะดิฉันเคยแปลเรื่องของซิยิ่นกุ้ย(จากใน "จิ้วถังซู" )ลงใน Pantip แบบคร่าวๆ(เพราะไม่เก่งขนาดแปลได้อย่างละเอียด) แล้วมีผู้อาวุโสที่สนใจในเรื่องนี่ท่านหนึ่งบอกว่า ท่านไปค้นอ่านหนังสือจีนเก่าๆในบ้านมา ปรากฏว่า เขียนอย่างในงิ้ว ซึ่งดิฉันก็ได้แต่บอกให้ผู้อาวุโสท่านนั้นไปลองหา "จิ้วถังซู" มาอ่านดู และรับรองว่า ด้านความเก่าแก่ของความเป็นเอกสารทาง ปวศ. "จิ้วถังซู" คงไม่น้อยหน้าหนังสือของผู้อาวุโสท่านนั้นแน่

วรรณคดีกับประวัติศาสตร์จะไปด้วยกันไม่ได้เสมอ โดยที่ นักประพันธ์มักไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ และคงไม่สามารถค้นคว้าอย่างละเอียดดังที่นักประวัติศาสตร์ทำ ก่อนที่จะลงมือเขียน เพราะถ้าทำถึงขนาดนั้น ที่เขียนออกมา คงเป็นบทความทางวิชาการ ไม่ใช่นิยายแล้วล่ะ

แต่อย่างน้อยก็น่าจะบอกสักหน่อยนะนี่ ว่าเรื่องนั้นๆแต่งขึ้นในยุคไหน เพราะแค่นี้ก็จะทำให้ทราบได้แล้วว่า เป็นเรื่องจริงหรือนิยาย

โดยส่วนตัว ตามข้อมูลที่คุณเทาชมพูบอกมา(ดิฉันเองก็ไม่เคยอ่านซิยิ่นกุ้ยเช่นกัน ที่ปักกิ่งนี่ก็ไม่เห็นมีวางขายด้วย) เช่น บังคับให้ลูกสาวโดดน้ำตาย , ยอมตายดีกว่าแต่งงานใหม่ และรัดเท้า คาดว่า คงเป็นนิยายที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงมากกว่าค่ะ เพราะเดิมที เรื่องรัดเท้านี่ เขาให้ทำเฉพาะพวกสนมนางใน เพื่อให้พวกนางออกไปคบชู้สู่ชายไม่ได้ด้วยประการหนึ่ง แล้วบรรดาลูกสาวขุนน้ำขุนนางกลับเห็นว่ามันดี มันแสดงความเป็นชนชั้นสูง จึงพากันทำตาม ชาวบ้านทั่วไปก็ไม่ได้ทำกันอย่างนั้นหรอก เพราะต้องทำงานหนัก ขืนเดินไม่สะดวกคงแย่แน่

ส่วนเรื่องฆ่าตัวตายโดยไม่ยอมแต่งงานใหม่อะไรเทือกนี้ จากสถิติจำนวนสตรีทีฆ่าตัวตายเพราะเรื่องพวกนี้ที่ ศ.ผู้วิจัยด้านนี้ท่านหนึ่งได้ทำการบันทึกไว้ พบว่าธรรมเนียมนี้เริ่มระบาดในสมัยราชวงศ์มองโกล(หลังราชวงศ์ซ่งใต้) เป็นกันเกร่อในสมัยราชวงศ์หมิง(อีกแล้ว) และเป็นหนักสุดในสมัยราชวงศ์ชิง(แมนจู) และในสมัยราชวงศ์ถัง ไม่เคยปรากฏว่ามีสตรีฆ่าตัวตายเพราะการนี้บันทึกเอาไว้เลยค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 01, 20:42
เป็นไปได้นะคะ ว่าเรื่องเกร็ดพงศาวดารจีนที่ฮิทกันมากในไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มาจนสงครามโลกครั้งที่ ๒
เป็นเรื่องที่ยืมชื่อตัวละครซึ่งแพร่หลายกันอยู่ในจีน มาแต่งใหม่   โดยเอาธรรมเนียมนิยมสมัยราชวงศ์หมิงมาใส่ไว้แทนธรรมเนียมของราชวงศ์ในเรื่อง
เท่าที่นึกออก ยังไม่ได้กลับไปเปิดย้อนอ่านดู  ก็จะมี sterotype ดังต่อไปนี้
๑) มีขุนนางกังฉินกลั่นแกล้งขุนนางตงฉิน เสียปางตายหรือตายไปจริงๆ
๒)ฮ่องเต้ค่อนข้างจะไม่เอาไหน  ถ้าไม่ได้ขุนนางตงฉินช่วยก็แย่กันทุกองค์
๓) ตัวเอกมักมีอาวุธวิเศษจากเซียน
๔) ปีศาจซึ่งมาก่อกวน เป็นสัตว์ต่างๆโดยกำเนิด เช่นเต่า  ชะมด(ฮู่ลี้)
๕) ผู้หญิงลูกผู้ดีถูกกวดขันมากเหลือเกิน   ออกจากบ้านก็ไม่ได้    พบผู้ชายก็ไม่ได้   จนแต่งงานไปก็ต้องอยู่ในห้องตลอด

ก่อนหน้าซิยิ่นกุ้ย  ดิฉันอ่าน "จอยุ่ยเหม็ง" ซึ่งใช้ฉากราชวงศ์หมิงตอนท้ายๆ   มีขนบธรรมเนียมแบบเดียวกับซิยิ่นกุ้ยราวกับแกะบล็อกกันมา
เคยถามเรื่องจอยุ่ยเหม็งจากผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีจีนซึ่งมาสอนในไทย   ปรากฏว่าท่านไม่รู้จัก
สงสัยจริงๆว่า เรื่องราวพวกนี้เราเอามาจากเรื่องที่เล่นงิ้วกันหรือเปล่า

เรื่องที่ดิฉันยังข้องใจมีอีกมาก เช่นโหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้วเพงหนำ  ซิเตงซันเจงไซ  บ้วนฮ่วยเหลา  เปาบุ้นจิ้นฉบับภาษาไทยของเดิมสมัยรัชกาลที่ ๕ (ไม่ใช่ในหนังไต้หวัน)
อีกเรื่องคือ ห้องสิน  ที่กล่าวถึงพระเจ้าติวอ๋องสมัยราชวงศ์แฮ่ ที่ถูกนางขันกีทำลายราชบัลลังก์เสียด้วยการยั่วให้ลุ่มหลง  ที่จริงนางคือปีศาจที่เทพธิดาใช้มาให้ลงโทษ
สงสัยว่าเกร็ด และ เกล็ด ล้วนๆ หรือเปล่า?

คุณนกข. คะ  ถ้าแวะเข้ามา  ขอเชิญมาช่วยอธิบายให้ฟังอีกคนด้วยนะคะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 01, 20:45
ถามอีกครั้งค่ะ
ราชวงศ์แฮ่นี่ราชวงศ์อะไรคะ  ปรากฏอยู่ในเรื่องห้องสินซึ่งแปลสมัยรัชกาลที่ ๒   หมายถึงราชวงศ์ฮั่นหรือเปล่า?
ที่สนใจเพราะเรื่องนี้เป็นที่มาของบทละครเรื่อง "อภัยนุราช" ของสุนทรภู่ ค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 06 พ.ค. 01, 23:03
สวัสดีค่ะ

คิดถึงคุณเทาฯมากด้วยค่ะ  แต่พักนี้มีหลายเรื่องตีกันจนเวียนหัวไปหมด  ไม่รู้จะหันไปทางไหนดี  เลยหนีไปเที่ยวซะ  ฮ่าๆๆ  ผ่านๆมาดูๆบ้างบางกระทู้น่ะค่ะ  แต่ไม่มีเวลาแจม   คิดว่าคุณเทาฯก็คงมีธุระทางอื่นกระมังคะ   พักนี้ดอกไม้แข่งกันบานสะพรั่งไปหมด  หันไปทางไหนก็ตื่นตาตื่นใจ  เลยเกิดอาการ spring fever นั่งไม่ติด  ต้องออกไปข้างนอกตลอดเลยค่ะ  ไม่ทราบจะเอารูปดอกไม้ ทิวทัศน์มาลงหน้าต่างโลกดีไหมคะ  พักนี้คิดเรื่องอื่นไม่ค่อยออก  ได้แต่ดูดอกไม้ค่ะ

ดีมจที่คุณหลินมาแจมได้น่ะค่ะ  ได้เห็นประวัติชัดๆนี่ช่วยได้มากเลย

ดิฉันว่าเพราะเหตุนี้เรื่อง Crouching Tiger, Hidden Dragon จึงน่าสนใจมาก  เพราะการที่ลูกผู้ดีขุนนางมองโลกอย่าง เจน จะมีความคิดที่แหกคอก  ดิ้นรนฝ่ากำแพงประเพณี  มันดูโรแมนติกดีไม่น้อยเลยนะคะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 07 พ.ค. 01, 00:56
ราชวงส์แฮ่สำเนียงแต้จิ๋ว น่าจะตรงกับราชวงศ์เซี่ย Xia จีนกลางครับ ถ้าเป็นวงศ์นั้นก็เก่าเอาการ เป็นราชวงศ์แรกๆ ของจีน

แม้แต่เครื่องงิ้วจีนก็เป็นเครื่องแต่งกายสมัยหมิงครับ ไม่ว่าจะเล่นเรื่องจากสมัยไหน


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 07 พ.ค. 01, 02:03
อือม์(รู้สึกว่าวันนี้เราจะเข้าเน็ตบ่อยจริงๆนะนี่)

เรื่องเปาบุ้นจิ้นนี่ คือเรื่อง "เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม" (ชีเสียอู่อี้) ค่ะ มีนิยายเรื่องนี้ในจีนจริง แต่ไม่มากอย่างที่ไต้หวันเอาอกมาทำแบบยืดสุดๆหรอกค่ะ ก็แค่เล่มเดียวจบ แต่หนาหน่อยเท่านั้น

ที่คุณเทาฯว่ามา คงจะเป็นราชวงศ์เซี่ยดังที่ท่านผู้อาวุโสนกข. ฉบับจิวแป๊ะทงว่ามานั่นแหละค่ะ

ราชวงศ์เซี่ย เป็นราชวงศ์แรกสุดของจีน ที่เริ่มการปกครองโดยถ่ายทอดตำแหน่งกษัตริย์จากพ่อสู่ลูก เน้นว่า "กษัตริย์"  เพราะสมัยนั้น โอรสสวรรค์ยังเป็น "หวาง" อยู่ ยังไม่ใช่ "หวงตี้" หรือ "ฮ่องเต้" ซึ่งคนแรกก็คือ "ฉินสื่อหวงตี้" หรือ "จิ๋นซีฮ่องเต้" นั่นล่ะค่ะ

ก่อนหน้าราชวงศ์เซี่ย เป็นสามกษัตริย์ในตำนาน หยาว ซุ่น อวี่ ที่ถ่ายทอดตำแหน่งแก่กันโดยเลือกผู้เปรื่องปราดสามารถและเป็นคนดีสืบตำแหน่งต่อจากตน โดย พระเจ้าหยาว เลือก ซุ่น และ พระเจ้าซุ่น เลือก อวี่ เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากตน

ราชวงศ์เซี่ย ก่อตั้งขึ้นประมาณ ๒,๑๐๐ ปีก่อนคริสตกาล โดย พระเจ้าอวี่ ที่ วางแผนทำลายระบบสืบตำแหน่งแก่ผู้มีความสามารถ และเป็นคนดี โดยการยกตำแหน่งให้ลูกชายตัวเอง และล่มสลายลงเมื่อประมาณ ๑,๖๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล โดยถูกกษัตริย์ทังแห่งราชวงศ์ซางตีแตก

กษัตริย์องค์สุดท้าย คือ "เจี๋ย" ซึ่งกล่าวกันว่า เพราะลุ่มหลงในความงามของพระสนม "ต๋าจี" (จี แปลว่า พระสนม)จนทำให้ไม่สนใจปกครองบ้านเมือง บ้านเมืองจึงถูกราชวงศ์ซางกลืนในที่สุด  ก็ตามประสาผู้ชายที่ไม่ยอมรับความจริงว่าตัวเองไม่ได้เรื่องเอง จนต้องโทษผู้หญิงเอาไว้ก่อนนั่นล่ะค่ะ

เนื่องจากในยุคนั้น ยังไม่มีตัวอักษรใช้กันเลย(อักษรกระดองเต่าเริ่มมีในสมัยราชวงศ์ซาง ซึ่งเป็นราชวงศ์ถัดมาค่ะ) เรื่องราวของราชวงศ์นี้ จึงมักเป็นการถ่ายทอดโดยเล่าปากต่อปาก เอกสารอ้างอิงจึงน้อยมาก จนมีนักวิชาการบางกลุ่มสงสัยมาจนทุกวันนี้ว่า ราชวงศ์เซี่ย(และราชวงศ์ซางด้วย) มีอยู่จริงหรือไม่?

ซึ่งจะว่าไป ยุคราชวงศ์เซี่ย ซาง และโจว ถือเป็นยุคเทพนิยายของจีนก็ว่าได้ นิทานที่ว่ากษัตริย์โฮ้วอูยิงพระอาทิตย์ตกลง ๙ ดวง เหลอไว้เพียงดวงเดียว ก็ร้สึกว่าจะอยู่ในช่วงต้นราชวงศ์เซี่ยด้วยค่ะ(อาจจำผิด ไม่ได้อ่านนานแล้ว)

สำหรับประเพณีที่ทำเอาผู้หญิงจีนน่าสงสารและน่าสมเพชไปเลยในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นละครเสียดสีสังคมในยุคนั้นกันเกร่อเลยค่ะ ในปักกิ่งนี่ ประเพณีนี้มันไร้สาระถึงขั้น ผู้หญิงนอนอยู่ แล้วลืมปิดหน้าต่าง เลยคิดเอาเองว่า คงถูกคนอื่นแอบเห็นตอนตัวเองนอนหลับ แล้วก็ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็ คู่หมั้นที่ถูกจับคลุมถุงชนด้วยซ้ำ ตายก่อนแต่ง ก็ต้องฆ่าตัวตายตาม ไม่ก็ครองตัวเป็นโสดตลอดชาติ อย่างนี้เป็นต้นค่ะ

เรื่องธรรมเนียมทารุณกรรมสตรีเหล่านี้ มีบันทึกเอาไว้ใน ปวศ. ของราชวงศ์หมิงและชิงด้วย โดย ได้บันทึกนามและการกระทำเพื่อรักษาพรหมจรรย์(ในความเห็นของคนยุคนั้น)โดยการฆ่าตัวตายของสตรีในยุคนั้น ในฐานะว่าเป็นสตรีที่มีคุณธรรมสูง ควรแก่การยกย่อง ตัวดีก็บรรดานักปราชญ์ในราชวงศ์หมิงทั้งหลายนั่นแหละค่ะ ทำถึงขั้นเปลี่ยนประวัติศาสตร์ เช่น ยอดกวีสตรีชื่อดังสมัยราชวงศ์ซ่ง หลี่ชิงเจ้า ที่แต่งงานแล้วหย่า แล้วแต่งใหม่ ๒ - ๓ ครั้งเห็นจะได้ กลับโดนแก้ไขประวัติของนางเองว่า ไม่เคยแต่งงานใหม่ เพื่อรักษาภาพพจน์ของนางในสายตาของคนรุ่นหลัง(ราชวงศ์หมิง และชิง)


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Peking man ที่ 17 พ.ค. 01, 03:55
Hmm.... Just coming through to look around and look what I have found....



Foot binding:



The origin of the foot binding practice, it is believed that the origin of this practice began during the Five dynasties period (907-960) in the Nan Tang dynasty, during the reign of  "Li Yu" ( the second and last ruler of the Nan Tang dynasty, before it was conquered and absorbed by the Song dynasty). As the story goes amongst Li Yu's most favorite court attendance there was "Yao niang" who has a habit of binding silk upon her feet while she dances, and it is this that later courtesans and dancers tries to imitate that led to the coming into fashion of the feet binding practice. The goal of early foot binding practice  was  to make a girl/ woman look more elegant while they walk and stand and not to disfigure the feet.  

During the Song period they are many accounts recorded concerning the small feet and the binding of the feet, amongst these recordings some are paintings which you can see clearly that the feet of these women are bounded and clearly smaller in porportion to the owner's body.



During the Yuan dynasty we began to see that the foot binding practice began to develop into Foot disfiguring as there began a need for smaller and smaller feet.  From this point on I believe that Foot binding became to be closely related to Foot disfiguring.  It is very important to also mention that the foot binding practice during the Yuan dynasty took on a political meaning in  becoming  the dividing symbol  between the Han girl/woman and that of the nomadic Mongols.



In the Ming period we see a further development of this practice, and see the appearance of the later well-knowned hump of the feet that is later to become one of the special characteristics of foot binding. Also during the Ming dynasty we see that the small feet of the woman are being called "san cun jin lian"  or "golden lotus which is 3 inch large". This term  refers to a story in the Southern dynasties period  (420-589)  during the Qi dynasty(479-502). The story goes  "Dong Hun Hou"  (the  Dong hun Duke) made for his concubine; "concubine Fei"  golden lotuses to be placed on the floor for her to walk upon. Later on,  to symbolize the petiteness of a woman's feet, the term golden lotus became one literary way to call a woman's feet.

During the MING Dynasty we can see the dramatic reduction in the size of a woman's bounded feet, more than that we began to see an elevation in the foot binding practice. Beside the size of the feet we see that the binded feet needed to be well formed and taken care of. During the peak of this practice in the Ming dynasty, the connoisseurs in this filed have a adopted seven criterias in judging the quality of a woman's binded feet;

1. size: The smaller the feet the better.

2. slim: The feet besides being small it should also be slim and not rounded along the whole of the feet.            

3. pointed: The feet should be bounded so that it forms a point at the front.

4. hump: The feet should be bounded so that the top of the feet forms a hump which according to their believe greatly enhancing the beauty of the feet.

5. smell: One important aspect of foot binding is the cloth used for the process and due to the cloth being bound to the feet for most of the day the hygiene of it then becomes important and hte smell is one of the aspect which reflects this truth.

6.softness:

7. symmetry: The symmetry of the bound feet tells of the meticulous care taken in sculpting the feet, for without meticulous care the feet will become deformed, and to these varying deformity there are specialized names set up for them.



With the standards for binded feet being set down in the Ming dynasty we see it passed on as a tool in distinquishing the Han girl/woman from those of the Manchus. During the Qing dynasty we see that the feet binding practices developing to the stage where some women can barely walk because their feet are too small to support their body weight, in the case of these women they are called " bao xiao jie "  (ladies who needs to be carried ).  



 Another interesting aspect of the foot binding practice is, this practice is more popular with the middle and upper class, for they are the people who can afford to have raise their daugthers without having thenm to work. For the common peasant it was not that practical to bind their feet. For feet binding limit their actions and make them less active.



An interesting note about small feet of Chinese women, as we see nowadays that men have certain fancies about parts of the woman's body, well Chinese men during the late Imperial China period is very crazed with the womens' small feet. Some recoding have shown the toes on a woman's small feet being describes as her nipples, and or the smell of the cinding cloth being described as a great aphrodisiac. During the lat Qing dynasty there was even a book written upon the art of appreciating small feet, the book is called " Jin Lian Pin Zao" ( A manual on appreaciation of the golden lotus ) (I have forgotten who the author is, I am sorry!)



During the late Qing dyansty we see many people are beginning to become oppose to the practice of feet binding, especially for health reasons. Kang You Wei  ( a famous liberal thinker and scholar active during the final years of the Qing dynasty and the early years of the Republic of China) in one of his letters said that it is because of Chinese women binded feet that their babies when born are also weak, thus less capable of achieving like those of foreign people.



After the fall of the Qing dynasty we see that at major cities in China, the population began to adopt to modern ways of living and shun away from the practice of feet binding, but the people who are in the rural areas still very much practice feet binding. The complete end to new cases of feet binding came with the establishment of the Peoples Republic of China, and the only small feet that we see today are those which was performed during the early years of the Reuplican era.



Hope that it had not been too long......            



Hope that this brief introduction of the feet binding story is interesting to the readers out there. And if there are any mistakes, please feel free to commment, as I am always welcome any comments that all of you out there might have.


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 18 พ.ค. 01, 01:05
Hi- Peking Man...
Welcome to the Thai House!
For others friends here, allow me to introduce our newcomer. Peking Man is my "long-lost brother" who, like Linmou Xiaojie, is a Thai student in Beijing. He is there (at Peking University) as a scholarship student sponsored by my office.
Others used to tell me thatfor them I looked like Peking Man - a case of unrelated twins. I mean Peking Man the Thai Student, not that I look like the prehistoric man called "Peking Man" ...

Well, is that the reason behind your choice of dotcom name, Peking Man? You think you look like the apeman of ZhouKhouDian Cave?

;-)


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 18 พ.ค. 01, 01:16
Perhaps Peking Man could help a lady up there in another kratoo (#585) who wants to know more about Beijing. My own knowledge of the city is rusty now.



It is interesting to note that the foot-binding tradition originated, as you said, from a dancer in the Nan Tang period. It brings to my mind the ballet dancers' shoes.


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Peking man ที่ 18 พ.ค. 01, 02:12
Thank you for the brief introduction by N. K. Kh. and well for me anywhere where there is a kratoo concerning Chinese stuff, I am always interested.



Concerning ballet shoes, i happen to have friends who takes ballet major at the Beijing Dance Academy and well their feet are also quite deformed esp. that of the toethumb,  the 2nd, and 3rd finger, for it is these that tkae on the most pressure.

The ballet shoes itself the front is made with a thick layering of cloth and adhesive, which on a level help with the dancer's stance. I also happen to know from my friends that getting infections and wounds from wearing ballet shoes are quite common during the early stages of intensive ballet training.



If you look at it from this perspective, then we might consider the West to also have developed like the East a feet disfiguring practice, which for both, the aim  is for beauty. Another thing concerning ballet dancers, it seems that they are so worn out by their practice and dance that most of them later in life will more than 80% suffer from at least one type of joint or bone problem.



Hmmm...... and then one thinks about the price that is paid for Art's sake.........Is it really worth it????


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 18 พ.ค. 01, 03:18
ได้ยินชื่อคุณ Peking man กับที่คุณนกข. พูดถึงมนุษย์ปักกิ่ง
ทำให้นึกได้ว่าหลายอาทิตย์ก่อนดูสารคดีเกี่ยวกับมนุษย์ปักกิ่ง
ค่อนข้างจะตื่นเต้นราวกับหนังแอ็กชั่น
เรื่องเกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นช่วงที่ญิี่ปุ่นกำลังบุกจีนอยู่พอดี
สารคดีบรรยายถึงกระบวนการที่สายลับจีนพยายามจะส่งหัวกะโหลกมนุษย์ปักกิ่ง
ไปยังอเมริกาเพื่อให้พ้นเงื้อมมือของทหารญี่ปุ่น เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบได้
เขาเสนอทำนองว่า จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นในช่วงนั้น ทรงชอบสะสมโครงกระดูกมนุษย์โบราณ
รู้สึกว่าจะมีโครงกระดูกของมนุษย์ชวาสะสมไว้ในคอเล็กชั่นด้วย

ในปัจจุบันนี้กะโหลกมนุษย์ปักกิ่งได้หายสาบสูญไปไม่รู้ว่าอยู่ที่ใดแน่
( นึกว่าคุณนกข เก็บไว้ซะอีก ได้ยินแว่วๆ ว่ามีใครหน้าเหมือนใคร ฮี่ๆๆ )

... ขออภัยครับนอกเรื่องยาวไปหน่อย


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ค. 01, 08:43
สวัสดีค่ะคุณ Peking Man  ยินดีที่ได้พบอีกครั้ง
เรื่องการทรมานร่างกายเพื่อความงาม เป็นสิ่งแปลกประหลาดหากมองด้วยสายตาของอีกยุคหนึ่ง
แม้แต่เรื่องการเร้าเสน่ห์ทางเพศด้วยเท้าพิการเหลือขนาดเล็ก และกลิ่นจากผ้ามัดเท้า ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ(แม้ชวนพะอืดพะอม)
อ่านแล้วกลับมาคิดว่าผู้หญิงไทยเราเจอเรื่องเจ็บตัวคล้ายๆอย่างนี้หรือเปล่า    ก็นึกออกแต่ขนาดเบา ไม่ทารุณนัก คือการดัดแขนให้โก่ง  เวลานั่งเท้าแขนจะได้สวย  
และดัดนิ้วให้อ่อน  งอนไปทางด้านหลัง ถ้าหากเรียนรำจะได้ดูสวย
เกล้าจุกในสมัยก่อนก็เจ็บหัวเอาการเหมือนกัน

คุณ Jor
เรื่องมนุษย์ปักกิ่ง เคยอ่านพบว่าเป็นโครงกระดูกไม่จริงใช่ไหมคะ   ไม่มีมนุษย์สายพันธุ์นี้

คุณนกข.
เรื่องบัลเลต์    เคยดูหนังเห็นภาพแต่ละคนลงนั่งเลือดออกซิบๆ หลังการฝึก
ท่าทางที่สง่าเหมือนหงส์เหิร เอาเข้าจริงก็เจ็บปวดสะบักสะบอม
ผู้หญิงตะวันตกในศตวรรษที่ ๑๙ ทรมานร่างกายด้วย corset   รูปร่างออกมาเหมือนนาฬิกาทราย  เอว ๑๗ นิ้วเท่านั้นเองค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 18 พ.ค. 01, 09:24
Peking Man เป็นชื่อเรียกหัวกะโหลกของมนุษย์โบราณที่ขุดพบในประเทศจีนครับ

จริงๆ ยังไม่ถือว่าเป็นมนุษย์ดี เพราะว่าเป็นสปีชี่ Homo erectus

คนละสปีชี่กับมนุษย์ปัจจุบันซึ่งเป็นตะกูล Homo sapiens จะเรียกว่ายังเป็นลิงอยู่ก็ได้ครับ

รู้สึกว่าจะอายุประมาณ 1.9 ล้านปีมาแล้ว แต่หัวกะโหลกนั้นหายไปซะแล้วครับ



มีสารคดีของบีบีซีเรื่อง ape man http://www.bbc.co.uk/science/apeman/

แต่สารคดีมนุษย์ปักกิ่งผมจำไม่ได้ว่าดูจากช่องไหนครับกำลังหาอยู่


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Peking man ที่ 18 พ.ค. 01, 14:38
Concerning the Peking man's first skull that was discovered at "Zhou Kou Dian" . The story mentioned by Khun jor is true that prior to the japanese invasion of Beijing (Pei Ping then) there was an attempt to ship the skull of to the US. for safe keeping I think that the skull was supposed to be sent by train to Shang Hai and then via Shanghai shipped to the US. As far as I can remember, I think that the skull and its log book made in to the train station, but during its journey from Beijing to Shanghai it then mysteriously disappeared. As to the current location of the Peking man's skull I believe that it is still a mystery that no one has solved.



To khun "tao Chompu"'s comment about the price that women throughout the ages has to pay for beauty, In Chinese there is a saying that goes " Ai Mei Bu Yao Ming" which roughly translates to "Not caring for one's life, as long as one is beautiful!" As to the reason behind why women are so willing to pay such a price to become beautiful.......My many female friends tells me that it is one to please men esp. their boyfriends, and two for their own self confidence.



For me, I personally believe that beauty is in the eye of the beholder..... and though some of these qualities might not shine through, .but if you look closely I can tell you that every one has their own beauty that longs to break free and shine through, both boys and girls, man and woman, young and old. Beauty is enhanced with age and wisdom.


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ค. 01, 16:16
Beauty is in the eye of the beholder.
ใช้ได้กับเรื่องสังข์ทองพอดีเลยค่ะ

จำได้นิดหน่อยว่ามีหนังเรื่องมนุษย์ปักกิ่งที่หายไปในขบวนรถไฟ  แต่จำไม่ได้แล้วว่าใครเป็นนักสืบเอกในเรื่อง

เคยได้ยินอาจารย์สอนภาษาจีนท่านหนึ่งเล่าถึงวรรณคดีจีนเก่าๆในไทย   เรื่อง "สามก๊กอิ๋ง" เป็นเรื่องโยงระหว่างไซฮั่นกับสามก๊ก ว่าตัวละครตัวไหนในเรื่องหนึ่งมาเกิดเป็นอีกตัวในเรื่องหนึ่ง
ดิฉันไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน  รู้จักแต่ไซ่ฮั่นและสามก๊ก  อาจารย์เล่าว่าในเมืองจีน  คนที่เรียนปริญญาโทหรือเอกจะได้เรียนเรื่องนี้ด้วย
คุณ Pekingman เรียนหรือเปล่าคะ   อยากขอความรู้บ้าง


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Peking man ที่ 19 พ.ค. 01, 21:29
To khun Tao Chompu, Hmm....though I have read "the Romance of the Three Kingdoms" once, nad have read a selection of the "Records of the Three Kingdom"  one amongst the "zheng shi" that Lin Mou has mentioned above. But I myself am not familiar at all with "San Guo Ying"  that you have mentioned....

So sorry to let you down, so sorry! Perhaps are there something that you would like to know instead?


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 19 พ.ค. 01, 21:44
เดานะครับ
สงสัยว่าจีนแดงของมนุษย์ปักกิ่ง จะไม่ค่อยเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดมังครับ จึงไม่มีหนังสือเล่มนี้ให้นักเรียนเขาได้เรียน
อาจจะต้องตามที่มหาวิทยาลัยทางไต้หวัน


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ฟ้าคราม ที่ 20 พ.ค. 01, 17:54
ผมว่าน่าเห็นใจผู้หญิงจีน โบราณมากนะครับ ที่ต้องถูกกดขี่ ความจริงความเชื่อจากศาสนาก็มีส่วนทำให้สังคมต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกันเพราะ ลักธิขงจื้อเองก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า ผู้หญิงเมื่ออยู่บ้านเชื่อฟังพ่อ แต่งงานเชื่อฟังสามี  สามีตายเชื่อฟังลูกชาย ไม่เปิดดอกาศให้ผู้หญิงจีนได้พึ่งตัวเองเลย


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 พ.ค. 01, 21:12
เรียนคุณ Peking  man
ที่มาของคำถาม คือวรรณคดีจีนรุ่นเก่าของไทยนี่แหละค่ะ   ดิฉันพบว่ามีหลายเรื่องทีเดียวที่คนจีนไม่ค่อยรู้จัก  
เคยถามอาจารย์ชาวจีนจากม.ปักกิ่งที่มาทำวิจัยในเมืองไทย     เอ่ยเรื่องไหนเรื่องนั้นที่เราชอบ  อาจารย์งงงวย
จะว่าดิฉันออกเสียงผิดก็ไม่เชิง เพราะอาจารย์พูดไทยเก่ง   เทียบสำเนียงจีนกลาง แต้จิ๋วและไทยได้
อาจารย์บอกว่า รู้จัก สามก๊ก และ ความรักในหอแดง
แต่ห้องสิน  โหงวโฮ้วเพงไซ  โหงวโฮ้วเพงหนำ  บ้วนฮวยเหลา  ซิเตงซันเจงไซ    เจ็งฮองเฮา ชั่นบ้อเหมา  เม่งเฉียว เช็งเฉียว
 พวกนี้ อาจารย์ออกจะงงๆ
ก็เลยสงสัยว่าเรื่องจีนต่างๆที่คนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ จนรัชกาลที่ ๘  นิยมกันนักหนา     เป็นเรื่องเกรดไหนกันแน่ เอามาจากไหน หรือว่าคนไทยปลอมแต่งกันเอง
เพราะขนบการแต่งออกมาคล้ายๆกันหลายเรื่อง
เท่าที่ปะติดปะต่อจากคุณ Linmou และคุณนกข. ดิฉันว่าเรื่องพวกนี้ห่างจากประวัติศาสตร์จีนเอามากๆ  แม้จะเรียกว่า "อิง" พงศาวดารก็ตาม
วันหนึ่งก็ได้พบอาจารย์ไทยที่สอนวรรณกรรมจีน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    เลยถามถึงจอยุ่ยเหม็ง  ท่านก็บอกว่ามีในภาษาจีน  ไม่ใช่คนไทยแต่งเอาเอง
และเอ่ยถึงสามก๊กอิ๋งขึ้นมาว่า หาต้นฉบับในเมืองไทยได้  ในจีนกลับหายาก
แต่ท่านก็มีเวลาคุยด้วยเดี๋ยวเดียว  เลยไม่รู้รายละเอียดค่ะ

ถ้ามีเวลา  จะมาเล่าสู่กันฟังว่า ขนบ ของเรื่องอิงพงศาวดารจีนในไทย ที่ดิฉันสังเกตดู เป็นอย่างไร


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 20 พ.ค. 01, 22:23
ผมไม่คิดว่าปลอมแต่งในเมืองไทยครับ แต่คงจะเป็นเกร็ดที่นักเขียนนักเล่าจีนเสริมเข้าไปให้สนุกๆ ในชั้นหลัง ไม่ใช่ฉบับมาตรฐาน เผลอๆ อาจจะเป็นบทงิ้วต่อเติมเสริมแต่งก็ได้

เพราะตำนานจีนหลายเรื่องที่ในเมืองไทยรู้จักนั้น จีนฮ่องกงก็รู้จัก เช่นเรื่องซิยิ่นกุ้ย ลูกซิยิ่นกุ้ยคือซิติงซาน เรื่องนางพญาหน้าดำ ฮ่องกงไต้หวันรู้จักดีพอที่จะเอามาทำเป็นหนังทีวีส่งมาฉายบ้านเรา แต่ในเมืองจีนแผ่นดินใหญ่นั้น ท่านผู้รู้ทางวรรณกรรมมาตรฐาน หรือประวัติศาสตร์มาตรฐานทางโน้นอาจจะไม่รู้ หรือไม่สนใจที่จะรู้บทงิ้วนอกพงศาวดารพวกนี้ก็ได้

(ตามที่คุณหลินว่า คือ ในประวัติศาสตร์จีนจริงๆ ก็มีให้ศึกษากันตาแฉะอยู่แล้ว จึงเป็นได้ที่จะตามอ่านนิยายพวกนี้อีกไม่ไหว หรืออาจจะรู้สึกเหยียดๆ นิยายพวกนี้ด้วยว่า ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์)

ยกตัวอย่าง ผมว่าผมขึ้นใจเรื่องไซอิ๋วดีพอสมควร แต่นิยายลูกหลานไซอิ๋วที่แตกหน่อออดกไปเป็นการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอลนี่ ผมไม่รู้เรื่องเลยครับ ผมว่าเรื่องมันกลายพันธุ์ไปจนไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว (มีเหลือเค้าแค่ว่าพระเอกเป็นลิงชื่อโงกุน - หงอคง - เท่านั้น) ก็เลยเลิกตามอ่าน แล้วถ้าใครมาถามผมเรื่อง ดราก้อนบอล ผมก็คงตอบไม่ถูกเหมือนกัน


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 21 พ.ค. 01, 00:18
ผมได้อ่านประเพณีกามรัญจวน 1000 ปีของสำนักพิมพ์พลอยแกมเพชรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรัดเท้าที่ว่า ค่อนข้างละเอียด มีรูปถ่ายด้วย การรัดเท้านั้นต้องทำกันตั้งแต่เด็ก และต้องมีการหักกระดูกกันเลย ในสมัยที่มีการลี้ภัยมาเมืองไทย มีชาวจีนบางพวกต้องเดินเท้ากันมาทั้งๆที่เท้าเล็กนิดเดียวทรมานกันมาก


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 23 พ.ค. 01, 04:23
คุณเทาชมพูคะ
เมื่อคืนนี้ผู้แซ่หลินลองโทถามรุ่นพี่ ป.โท ปี ๒ เอกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ที่เป็นชาวปักกิ่ง และไปเรียนชั้นมัธยมปลาย + มหาวิทยาลัยที่ฮ่องกง & เพื่อนชาวมาเก๊าที่เดิมทีเป็นชาวเซี่ยงไฮ้ เอกวรรณคดี(โบราณ)วิจารณ์ถึงเรื่องซิยิ่นกุ้ยให้แล้วค่ะ

รุ่นพี่ชาวครึ่งฮ่องกงครึ่งปักกิ่งบอกว่า หนังสือโบราณที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ ปวศ. นั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. พวกเหยี่ยนอี้(พงศาวดาร)
๒. พวกเจิ้งสื่อ(บันทึก ปวศ. มาตรฐาน) และสื่อจี้(บันทึก ปวศ.) ทั้งหลาย (ความแตกต่างของเจิ้งสื่อและสื่อจี้อยู่ที่ พวกสื่อจี้ แม้จะเป็นบันทึก ปวศ.เช่นกัน แต่บันทึกในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่แบบชีวประวัติ หรือถึงจะบันทึกแบบชีวประวัติ แต่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นเจิ้งสื่อ เพราะที่บันทึกแบบชีวประวัติในแต่ละยุคนั้น ไม่ได้มีเพียงชุดเดียว)

ที่บรรดานัก ปวศ.จีนเขาอ่านกัน ก็คือประเภท ๒ ส่วนประเภทแรก "ส่วนใหญ่" จะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็น ปวศ.ที่ถูกบิดเบือน หรือต่อเติมเพื่อประโยชน์ในการเอาไปเล่นงิ้ว หรือเล่าเป็นนิทานแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านเป็นส่วนมาก

ที่สำคัญ เรื่องซิยิ่นกุ้ยนี้ ตอนอยู่ฮ่องกง เขาไม่เคยเห็นงิ้วเรื่องนี้มาก่อนเลย เพิ่งมาเห็นในปักกิ่งเป็นครั้งแรก(งง)

ส่วนเพื่อนครึ่งเซี่ยงไฮ้ครึ่งมาเก๊านั้น ไม่รู้จักงิ้วเรื่องซิยิ่นกุ้ยเลยด้วยซ้ำไปค่ะ

เนื่องจาก ดิฉันเองไม่นัดด้านวรรณคดีเอาเลย(ด้านประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้เรื่องเท่าไรด้วย) จึงขอแนะนำว่า หากอยากทราบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ลองถามจาก อ.ปกรณ์ แห่ง ม.ธรรมศาสตร์ , อ.ถาวร สิกขะโกศล , อ.กนกพร นุ่มทอง แห่ง ม.เกษตร(ศิษย์รัก อ.ถาวร จบโทด้านวรรณคดีจีน รู้สึกจะยุคถังซ่ง หรือซ่งเหยวียนนี่ล่ะค่ะ จาก ม.ปักกิ่ง) และ อ.หวาง(แหะๆ จำชื่อไม่ได้ เป็นผู้หญิงค่ะ)แห่ง ม.สงขลาฯ วิทยาเขตปัตตานี(อ.ท่านเป็นคนจีนที่แต่งงานกับคนไทย จบตรีคณะวรรณคดีจาก ม.ปักกิ่งค่ะ) จะดีกว่าค่ะ สำหรับอาจารย์คนไทย

ส่วน อ.คนจีนใน ม.ปักกิ่งที่พูดภาษาไทยเก่งนั้น Linmou รู้จักแค่ ๒ คน คือ อ.ฟู่เจิงโหย่ว(ชาย) และ อ.เผย(ไม่ทราบชื่อ หญิง) เพียงสองท่านเท่านั้น ทั้งสองท่านเป็น อ.สอนภาษาไทยให้แก่ นศ. ป.ตรี เอกภาษาไทยในม.ปักกิ่งค่ะ

อ.เผยเป็นเพื่อนสนิท อ.ปกรณ์ และพูดภาษาไทยเก่งมาก จนฟังไม่รู้เลยว่าเป็นคนจีน(ยอดเยี่ยม)


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ค. 01, 08:32
ขอบคุณมากค่ะคุณ Linmou
อ่านแล้ว   เข้าใจว่าพงศาวดารจีนที่คนไทยรุ่นก่อนติดกันงอมแงมคือ เหยี่ยนอี้นี่เอง
ดัดแปลงและแต่งไปตามความนิยมซ้ำๆกัน  จนเกิดเป็นขนบการแต่งขึ้นมา  อย่างเรื่องขุนนางกังฉินตงฉิน      ฮ่องเต้โง่เขลา    แก้ปัญหาการรบด้วยของวิเศษ  เรื่องของเซียน  ผู้หญิงถูกกดขี่ ฯลฯ
อาจารย์ไทยที่ดิฉันเอ่ยถึงคืออาจารย์ถาวร สิกขโกศลนี่ละค่ะ  ไปเจอกันที่ม.ธรรมศาสตร์
ตอนนี้หาตัวอาจารย์ยากเพราะท่านลาออกจากราชการแล้ว
ส่วนอาจารย์อื่นๆ ดิฉันก็ไม่ได้เฉียดเข้าไปในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเลย    ถ้ามีโอกาสเมื่อไรจะเข้าไปถามท่าน  
ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 24 พ.ค. 01, 00:19
เพิ่มเติมค่ะ
วันนี้ได้ถามรุ่นพี่อีกคนที่เป็นชาวฮ่องกง และจบตรีด้านประวัติศาสตร์จีน ปัจจุบันเรียนอยู่ ป.โท ปี ๒ เอกประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงชิงให้เพิ่มอีกคนค่ะ

ศิษย์พี่บอก ที่ฮ่องกงมีงิ้วเรื่องซิยิ่นกุ้ยจริง แต่เอามาจาก "สุยถังเหยียนอี้" (รู้สึกจะเขียนอย่างนี้ เศษกระดาษที่ถามดันโยนลงถังผงไปแล้ว) ซึ่งจัดอยู่ในประเภท "นวนิยาย" ที่แต่งขึ้นเป็นส่วนใหญ่ดังที่กล่าวมาแล้ว

เรื่องซิยิ่นกุ้ย ศิษย์พี่เขาก็เคยอ่านและดู บอกว่า ก็นิยายที่แต่งเติมจนจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ดีๆนี่เอง คงพอจะเปรียบได้กับงานเขียนของกิมย้งที่ถูกไต้หวันเอาไปทำเป็นละครชุดมังคะ

แถม : สามก๊กที่ได้รับการแปลในเมืองไทยมานาน มาจากฉบับภาษาจีนว่า  "ซานกว๋อเหยี่ยนอี้"  ค่ะ

^_^

ปล. ท่านผู้อาวุโสนกข.เอย เหล่าเราผู้ศึกษาปวศ.หาได้ดูแคลนบรรดา "เหยี่ยนอี้" ไม่ เพียงแต่เรารู้จักแยกเท่านั้น ว่าสิ่งใดเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ สิ่งใดเป็นนิยาย  เหล่าเรา(ข้าน้อย & นายมนุษย์ปักกิ่ง)ก็ยังคงเป็นแฟนนิยายกำลังภายใน(โดยเฉพาะของกิมย้ง)อย่างเหนียวแน่นอยู่ดี


กระทู้: เคราะห์ร้ายของผู้หญิงจีนโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ค. 01, 08:45
สุยถังเหยี่ยนอี้  คงจะตรงกับเรื่องพงศาวดารจีน "ซุยถัง" ของไทย
เป็นเรื่องราวสมัยพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ ค่ะ