เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ohm md ที่ 26 ก.พ. 11, 15:05



กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.พ. 11, 15:05
ช่วยนอกทีครับว่าเป็นคำประพันธ์แบบไหน "เจ้าเอยพระนคร ดอนทรายช่างแสนละเอียด สาวน้อยเจ้าทำเคียด ก็พี่จะเห็นหน้าใคร ตัวเจ้าคือศาลา พี่มาจะได้อาศัย พี่จะบ่ายหน้าไปหาใคร ได้ปานหนึ่งใยเจ้าเอย" เปนบทมโหรีอยุธยา เท่าที่สังเกตเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ก็ยังใช้ฉันทลักษณ์แบบนี้ด้วยอ่ะคับ


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.พ. 11, 18:48
เจ้าเอยพระนคร          ดอนทรายช่างแสนละเอียด
00 000                 000 000
สาวน้อยเจ้าทำเคียด    ก็พี่จะเห็นหน้าใคร
00 000                 000 000
ตัวเจ้าคือศาลา          พี่มาจะได้อาศัย
00 000                 00 00 00
พี่จะบ่ายหน้าไปหาใคร   ได้ปานหนึ่งใยเจ้าเอย"
00 00 000            00 00 00

บทแรกเป็นกาพย์ยานี ๑๑
บทหลัง เหมือนยานี ๑๑ บวกกลอนหก



กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.พ. 11, 20:10
ขอบคุณมากคับ โหผมห่างเหินฉันทลักษณ์ไปนานมาก จนจำกาพย์ยานี 11 ไม่ได้แล้ว
บทมโหรีอยุธยาเป็นบทที่ใช้คำง่ายๆ กล่าวน้อย สั้นๆ แต่กินความมาก อ่านเหมือนจะเข้าใจแต่ให้ลองแปลทีละคำก็จะงงๆครับ
ขอรบกวนท่านผู้รู้ ช่วยแปล และวิเคราะห์หน่อยนะคับ
อันนี้ความอยากรู้ส่วนตัวคับ เล่นดนตรีไทยได้ ได้ฟังบทร้องเพลงไทยบ่อยๆ แต่แปลไม่ออก ไม่ได้มาหลอกถามไปตอบการบ้านส่งครูครับ 55
บทมโหรีที่ ๔๔ ลำคำหวาน
กล่าวเกลี้ยงคำหวาน ล้ำน้ำตาลอันโอชา
อันว่ารสวาจา ย่อมมาพลาดพลั้งน้ำใจ
รสน้ำตาลอันหวานฉ่ำ จะเปรียบด้วยน้ำคำก็ไม่ได้
อารมณ์ก็ลุ่มอาลัย ที่ในถ้อยคำหวานเอย
กล่าวเกลี้ยงคำหวาน เจ้านงคราญผู้แนบเนื้อ
หวานแต่ปากน้องไม่อยากเชื่อ คิดเฉลือคำชายเมื่อปลายมือแล้วจะกลายเป็นเปรี้ยวเฉลียวใจ ว่าไว้นั้นยังกระไรฤา
แล้วหวานจะจืดอยู่ชืดชื้อ น้องจะถามหาฤาเจ้าเอย

คำตัวหนาๆแปลว่าอะไรบ้างครับ ให้ลองเดาๆจากบริบท
กล่าวเกลี้ยง น่าจะแบบว่า พูดคำหวานๆทั้งหมด !!  หรือพูดความจริงทั้งหมด
ย่อมมาพลาดพลั้งน้ำใจ + ย่อมมากระทบใจ
เฉลือ ที่หาไม่เจอคับ ในพจนานุกรม ไม่มี ลองหาในคำเขมร ก็ไม่เจอ


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.พ. 11, 20:21
http://www.youtube.com/watch?v=IVQy7HeocMo
อันนี้ลิงค์เพลงมโหรีโบราณ คำหวานครับ
จะเห็นความไพเราะ และสง่างาม ขรึมขลังตามแบบอยุธยาทีเดียว
น่ารำคาญหน่อยตรงที่คอมเม้นมีพวกเขมรมาด่าว่ามากมาย
เฮ้อๆคนฟังเป็นใครๆเค้าก็ฟังออกครับ ว่าดนตรีของใครอยู่ในขั้น folk ของใครขั้น classic


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.พ. 11, 21:41
ตัวอย่างบทร้องอื่นๆครับ
เจ้าเอยตานี รักแก้วข้านุ่งยกมา
รัดมุกฟันปลา เจ้าห่มผ้าชมพูไทย
จวนชวาตะง่าหรน สนทองแล้วแกมไหม
สมควรด้วยนวลใย มางามละไมตาเอย
เจ้าเอยตานี รักแก้วข้าจะไปเมืองแขก
ได้ทองสักร้อยแบก พี่ก็ไม่ให้เจ้าไป
สลัดจะจับคุม ที่ปากน้ำพลใน
พี่มิให้เจ้าไป ตานีนั้นเมืองแขกเอย

คำว่า รักแก้วข้าเอย รักน้องข้าเอย รักพี่ข้าเอย นี่มีนัยสำคัญอย่างไรคับ
เป็นคำเรียกแทนสรรพนามบุรุษต่างๆ หรืออย่างไร ทำไมต้อง รักแก้วข้าเอย
อย่างการเล่นระเบ็ง ก้อร้องๆกันว่า "รักแก้วข้าเอย จะไปชมนก"ทำไมต้อง "รัก"แก้ว" งงครับ ช่วยชี้แจงผมหน่อยนะครับ"

อย่างบทมโหรีข้างต้น ก็เป็นบทร้อง ลำดอกไม้ตานี อ่านดูเหมือนบทเกี้ยว หวานเลยล่ะคับ หวงสาวน่าดู ถึงแม้ได้ทองร้อยแบก ก็ไม่ให้ไปด้วย
ชอบจังคับ คำสมัยก่อน ดูสั้น กะทัดรัด ได้ความหมาย และบทนี้ยังบอกการแต่งกายของคนโบราณได้อีกด้วย
ถ้าจะพูดในแง่ประวัติศาสตร์ อยุธยากับเมืองปะตานีก็สัมพันธ์กันมานาน ทั้งการค้าขาย การรบ ช่วงยุคบ้านแตกสาแหรกขาด หรือยุคการเปลี่ยนผ่านอำนาจครั้งสำคัญของกรุงศรี ในช่วงเสียกรุงครั้งแรก
อยุธยาโดนทั้งศึกพม่า เสียหัวเมืองเหนือทั้งปวง ล้านช้างถึงขั้นมาตีเสมอขอลูกสาวพระมหาจักรพรรดิ ถึงเราจะไว้ตัวไม่อยากให้เจ้าฟ้าชั้นสูงไป โดยส่งลูกสนมไปแทน ก็สะท้อนอะไรได้มากว่ายุคนั้นเราเสื่อมจริงๆ ไม่กล้าทำอะไร อีกทั้งเมืองโดยรอบก็ล้วนเข้มแข็ง พระยาละแวกก็ส่งทัพมาตีหัวเมืองต่างๆเป็นสิบๆครั้ง  ส่วนพวกตานี เหิมเกริมถึงขั้นบุกปล้นพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา
นี่ผมออกอ่าวมาไกลเลย 5555 แต่ช่วงนี้เสียวๆคับ ประวัติศาสตร์ กำลังจะวนมาที่เดิมหรือป่าว


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 11, 11:35

อารมณ์ก็ลุ่มอาลัย ที่ในถ้อยคำหวานเอย
กล่าวเกลี้ยงคำหวาน เจ้านงคราญผู้แนบเนื้อ
หวานแต่ปากน้องไม่อยากเชื่อ คิดเฉลือคำชายเมื่อปลายมือแล้วจะกลายเป็นเปรี้ยวเฉลียวใจ ว่าไว้นั้นยังกระไรฤา
แล้วหวานจะจืดอยู่ชืดชื้อ น้องจะถามหาฤาเจ้าเอย


ลุ่ม เดาว่าแปลว่า หลง    เรายังมีคำซ้อน "ลุ่มหลง" ให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน
เฉลือ ไม่เคยเห็นค่ะ


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 11, 11:36
รักแก้ว  = นางผู้เป็นที่รัก   


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 01 มี.ค. 11, 00:18
นั่นสิคับ คำว่า "เฉลือ"เค้ามายังไงเนี่ย เดาเล่นๆว่ามาจากเขมรป่าว เอ๊ะหรือคำกร่อนมาจากอะไร
คิดเฉลือคำชายเมื่อปลายมือ ลองแปลๆจากข้อความรอบๆก็น่าจะประมาณว่า "ไม่อยากจะเชื่อคำผู้ชาย"
แต่ "เมื่อปลายมือ"นี่แปลว่าอะไรดีคับ แปลว่า เมื่อไกลกัน แต่นัยอื่นก้อน่าจะได้อีก

ปล ผมทำงานเป็นหมอคับ แต่ก้อเล่นดนตรี ฟังดนตรีบ่อย อย่างเพลงมโหรีกรุงเก่า ในปัจจุบันนี้เล่นกันอยู่ไม่กี่เพลง
อย่างเพลงคำหวานนี่ เห็นร้องกันแต่บทแรก แต่บทหลังไม่ค่อยมีใครร้อง
ถามว่าเพราะอะไร ก้อบอกว่าแปลไม่ออก กลัวร้องแล้วเสียความ
เลยอยากมาขอความรู้ เพื่อที่จะได้ต่ออายุเพลงกันต่อไป ไม่อยากให้ความรู้มาจบตรงที่ แปลไม่ออกครับ


มีชื่อเพลงแปลกๆอีก น่จะมาจากภาษาแขก อย่างเพลง เนรปาตี หรือเนียรปาตี นี่มาจากคำว่าอะไรคับ


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มี.ค. 11, 09:46
คุณหมอใช้สำนวนวัยรุ่น เหมือนอยู่สัก ม ๔ 

เมื่อปลายมือ  = ในตอนท้าย  (finally) 

เนร  เคยเห็นในรูปคำแผลงจาก นิร  เช่น นิรมิต  เนรมิต
ปาตี  เป็นคำตระกูลชวา-มาเลย์  มาจาก บดี
ไม่ทราบเหมือนกันว่าคำนี้แปลว่าอะไร    ถ้าเป็นนิรบดี ก็แปลว่า ไม่เป็นใหญ่   ถ้าเป็นนรบดี แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในหมู่คน


กระทู้: บทมโหรีอยุธยา เป็นคำประพันธ์ประเภทไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 01 มี.ค. 11, 10:07
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากครับที่สละเวลามาตอบคำถามเสมอๆเลย
สำนวนภาษาผมในคอมเป็นอย่างนี้แหละคับ ผมว่ามันทำให้พิมพ์ได้คล่องดีครับ
55