เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: จ้อ ที่ 03 ม.ค. 02, 10:13



กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 03 ม.ค. 02, 10:13
ปีใหม่แล้วผมขอทำตัวมีสาระหน่อยครับ ฮุๆๆ ปรับปรุงครับ ... ปรับปรุง

คือบังเอิญไปอ่านประวัติของคานธีแล้วเกิดความสงสัยเกี่ยวกับหลักธรรมของคานธี
ที่เรียกว่า Satyagraha ไม่ทราบว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไรครับ

ตอนเด็กๆเคยได้ยินว่า "อหิงสา" แต่ในหนังสือฝรั่งบอกว่า
อหิงสา หรือ Ahimsa แปลว่าการไม่ฆ่า (Non-killing)

ในหนังสือบอกว่า Satyagraha เดิมนั้นแปลว่า Steadfastness in a good cause
(นี่ก็แปลไม่ถูกเหมือนกัน งงมากครับ ????) หนังสือบอกว่าคานธีเปลี่ยนความหมายนิดหน่อย
โดยเพิ่มหลักการของอหิงสาเข้าไปด้วย

รบกวนท่านคุณเทาชมพู คุณนกข และท่านผู้รู้ท่านอื่นๆช่วยอธิบายให้ผมด้วยครับจะขอบพระคุณมาก

เอาประโยคเด็ดของคานธีมาฝากให้อ่านเล่นกันครับ

" Non-violence is the greatest force at the disposal of Mankind.
It is mightier than the mightiest weapon of destruction devised by the ingenuity of man."

M.K. Gandhi


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 01 ม.ค. 02, 22:21
ผมว่าบินลาเดนน่าจะศึกษาหลักอหิงสา และนำเอาหลักการของคานธีมาใช้บ้างนะครับ
น่าจะได้ผลดีกว่าไปถล่มตึก


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 01 ม.ค. 02, 22:32
รู้สึกว่าจะเป็น "สัตยาเคราะห์" นะครับ

น่าจะเป็นการต่อสู้โดยยึดหลักอหิงสา ผมก็ไม่แน่ใจเช่นกัน ต้องรบกวนผู้รู้มาอธิบายเพิ่มเติม

มีรูปของมหาตมะ คานที  ตอนหนุ่มๆ มาฝากครับ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 01 ม.ค. 02, 22:59
พอดีไปค้นเจอหนังสือของอาจารย์กีรติ บุญเจือ อาจารย์ได้ให้ความหมายของสัตยาเคราะห์ ไว้ว่า

 การต่อต้านการดื้อแพ่ง คือไม่ใช้กำลังหรืออาวุธเข้าต่อสู้เพื่อล้มอำนาจการปกครอง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งแม้จะถูกทำโทษอย่างไรก็ยอม สัตยาเคราะห์ จึงต้องใช้ควบคู่กับอหิงสา  ซึ่งแปลว่า ไม่เบียดเบียน ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท และไม่มุ่งร้าย อหิงสาอาจจะใช้เป็นอิสระจากสัตยาเคราะห์ก็ได้ แต่ถ้าหากใช้สัตยาเคราะห์ จำเป็นต้องมีอหิงสาด้วยเสมอ

รู้สึกว่าจะมีคนให้ความหมายของสัตยาเคราะห์ที่สั้นกว่านี้ ในทำนองที่ว่า ไม่ยอมปฎิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่ยินดีรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายนั้น ๆ เพื่อให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายยังคงอยู่

ผมได้อ่านประวัติของท่านมหาตมะ คานธี  เมื่อประมาณ ๓ เดือนที่แล้ว แนวปฏิบัติบางอย่างของท่าน ได้จุดประกายให้ผมปฎิบัติตาม เช่นการดำรงชีวิตอยู่อย่างสมถะ ลด ละ เลิก ใช้สิ่งที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตออกเสีย มีบางครั้งที่ผมอยากหันไปรับประทานผักและผลไม้อย่างท่านบ้าง แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ใจตัวเองทุกที ทำไม่ได้..

จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าท่านมหาตมะ คานธี เป็นผู้ยกระดับชีวิตของคนวรรณะจัณฑาลให้สูงขึ้น แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น หริจัณฑ์ หรืออะไรนี่แหละครับ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 01 ม.ค. 02, 23:16
ว้าว คุณแจ้ง ขอบคุณครับ
ผมก็กำลังอ่านประวัติของมหาตมะ คานธีเหมือนกัน
เอาไว้มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านซ่อมเสร็จก่อนจะคัดมาฝากกันนะครับ
ตอนนี้ขออ่านที่คุณแจ้งเอามาฝากก่อน เหอๆๆๆ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: บัวบรรณ ที่ 02 ม.ค. 02, 00:02
ขอบคุณความรู้ที่คุณแจ้งนำมาฝากกันค่ะ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 02 ม.ค. 02, 00:36
I think Ahimsa should be translated as "non-violence" rather than "non-killing". Gandhi highly respected the Buddha as the Great Teacher of Ahimsa.



Satyagraha is - as Khun Jor and Khun Jaeng said - "Steadfastness in Good Cause." It means you stick to something you believe to be the Truth, without wavering. (Satya means Truth.)  In practice, Gandhi applied the term to include the meaning "civil or peaceful disobedience", which means not obeying or cooperating with the British colonial authorities, but in a civil or peaceful ways, and ready to accept any consequences from that without swaying from one's faith.





Harichan, the new name Gandhi gave to the lowest caste or the "untouchables" means "God's People". Hari - one name of God in Hinduism. Chan - chon - as in prachachon "people". But Khun Jaeng's "Harichanda" sounds to me like "God's booze"... (probably for a drunken god...)  ;-)



Gandhi's Ahimsa and Satyagraha ways of fighting became the model for those political fighters against Apharthied regime in South Africa, including Melson Mandella and Bishop Desmond Tutu.


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 02 ม.ค. 02, 01:49
I don't think of bin Laden now, but I sincerely hope that both India and Pakistan will use the Gandhian principles.


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 02 ม.ค. 02, 02:29
ครับ หริจัณฑ์ของผมกลายเป็นน้ำจัณฑ์ของพระนารายณ์ไปเลย  ผิดจากความหมายจริงๆไปมาก ผมลองค้นดูแล้วก็ยังไม่ทราบว่าเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ค้นไปคนมาก็ไปเจอเว็บนี้เข้าซะก่อน เป็นเทศนาของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เกี่ยวกับมหาตมะ คานธี  เห็นว่ามีสาระมากจึงนำมาแบ่งปันกันอ่านครับ

http://www.panya.iirt.net/read/all-html/kandhee.html


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 02 ม.ค. 02, 03:45
Spell (in Thai) "Chon" Chor. Chang and Nor. Nu, as in "PrachaCHON" Krab.



"Harichan" means God's People.



I just kid you on God's booze... ;-D


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 02 ม.ค. 02, 03:51
Sorry. Mandella's first name is Nelson krab, not Melson.



Do you remember Gandhi's teaching on "the Seven Sins"? These seven sins are not the same as in Christianity. I only remember one sin "wealth without working" - or something like that. Gandhi believed everyone should work. Everybody has a duty to do.


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ม.ค. 02, 10:31
หริชน = ชนของพระเจ้า

ในรัชกาลที่ ๖   เวลาถอดอักษรโรมันเป็นไทย  ตัว J ถอดเป็นตัวช.ช้าง  c ถอดเป็นตัวจ.จาน  ch เป็นได้ทั้ง จ และ ฉ  เพราะเรามีตัวอักษรมากกว่าบาลีสันสกฤต

หริชน  harijan(a)?

seven sins ที่ว่ามาคุณนคค.ดูเหมือนจะเคยเขียนไว้ในเรือนไทย    แต่ดิฉันหาไม่พบค่ะ จำได้ว่าเคยอ่านและพิมพ์ลงกระดาษไว้


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 02 ม.ค. 02, 17:27
ผมก็ไม่แน่ใจว่าในภาษาอังกฤษ (หรือจะพูดให้ถูกไม่ใช่ภาษาอังกฤษแต่เป็นการถอดรูปคำภาษาแขกเป็นอักษรโรมัน) นั้น เป็น Harijan หรือ Harichan ครับคุณเทาชมพู ผมอาจจะจำผิด แต่ว่าในภาษาไทยนั้นใช้ว่า หริชน แน่ๆ ตามที่อาจารย์กรุณา - เรืองอุไร ถอดไว้

นึก ๆ ดูแล้วก็น่าจะเป็น Harijan อย่างคุณเทาฯ ว่ามากกว่าแฮะ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 02 ม.ค. 02, 17:42
ตรวจสอบแล้ว ใช่จริงๆ ครับ Harijan แปลว่า ชนของพระเจ้า เป็นภาษาฮินดี (ที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤต) ถอดเป็นรูปไทยก็คือ หริชน เป็นชื่อที่คานธีคิดขึ้นใหม่ใช้เรียกพวกวรรณะต่ำสุดในอินเดีย ให้พวกเขามีความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองขึ้น คานธีคิดชื่อนี้ระหว่างที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียครับ

พวกชนชั้นต่ำสุดในอินเดียน่าสงสาร ถูกดูถูกกดขี่เหยียดหยามสารพัด คานธีเองเป็นหนึ่งในคนวรรณะสูงที่มีจิตใจสูงไม่กี่คนที่เห็นใจชนวรรณะต่ำ ชนชั้นสูงส่วนใหญ่มักรังเกียจพวกนี้ จนแม้เมื่ออินเดียได้เอกราชแล้วและรัฐบาลอินเดียประกาศว่าประชาชนอินเดียเป็นประชาชนเหมือนกันเท่าเทียมกันหมด ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ก็ยังต้องต่อสู้กับอคติทางสังคมอีกมากเพื่อยกระดับของหริชนพวกนี้ ร่วมสมัยกับคานธีหรือหลังคานธีนิดหน่อย มีชนชั้นต่ำท่านหนึ่งที่มีความสามารถเฉลียวฉลาดอย่างสูง มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้เป็นดอกเตอร์และเป็นผู้เป็นกำลังสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ท่านคือ ดร. อัมเบดก้าร์ ดูเหมือนหลังจากท่านมหาตมาคานธีสิ้นชีพไปแล้วและอินเดียเป็นประเทศเอกราชแล้ว ดร. อัมเบดการ์ได้เป็นผู้นำชนชั้นจัณฑาลกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิก เพราะในพุทธศาสนานั้น ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะใดๆ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 02 ม.ค. 02, 18:04
เอ ... นาย นคค. คู่แฝดผมเคยเขียนไว้ในเรือนไทยเหรอฮะ ทำไมผมจำไม่ยักกะได้ ปกตินายนี่ไปเขียนอะไรไว้ที่ไหนผมน่าจะรู้....


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 02 ม.ค. 02, 18:32
ในหนังสือที่ผมอ่านนั้น ได้ให้ความหมายไว้เหมือนกันครับว่า ชื่อที่ท่านมหาตมะ คานธีตั้งให้ใหม่แปลว่าเป็นชนของพระเจ้า แต่ไม่ได้เขียนเป็น หริชน กลับเขียนเป็น หริจัน (ตอนนี้ก็ยังหาหนังสือไม่เจอ จึงไม่ทราบว่าเขียนอย่างนี้จริงหรือเปล่า) แต่ถ้าจะถอด Harijan เป็นภาษาไทย ก็น่าจะเป็น หริจัน ครับ  ด้วยความที่ไม่สันทัดภาษาแขก บวกกับการยึดติดคำว่า จัณฑาล เลยนำเอาจัณฑาลมารวมกับ หริ เป็น หริจัณฑ์(าล) ทำให้ความหมายเค้าเสียหายไปหมด  ต้องขออำไพ หริชน ที่อาจบังเอิญเข้ามาอ่านด้วยครับ

ขอบพระคุณคุณ นกข.และคุณเทาชมพูที่อธิบายเพิ่มเติมครับ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 02 ม.ค. 02, 18:43
ถ้าคุณแจ้งสนใจประวัติของมหาบุรุษท่านนี้ ผมแนะนำหนังสือชื่อ "มหาตมา คานธี"  ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษแต่งโดยสุภาพสตรีชาวอังกฤษผู้หนึ่ง ชื่อ เกอร์ทรู้ด นามสกุลอะไรก็จำไม่ได้ แต่ว่าได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดยสองสามีภรรยาคู่ขวัญผู้ทำงานถ่ายทอดวัฒนธรรมอินเดียให้คนไทยรู้จักอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย คืออาจารย์กรุณา - อาจารย์เรืองอุไร ครับ เสียดายจำนามสกุลท่านไม่ได้แม่น (กุศลานนท์?) อาจารย์กรุณาเป็นอดีตนักเรียนไทยที่เคยไปเรียนอินเดียรุ่นเก่า เก่งมากขนาดท่านศรีเนห์รู บัณฑิต นายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรก (ศิษย์เอกของท่านมหาตมาคานธี) เคยมีหนังสือมาถึงท่านแสดงความชมเชย


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 02 ม.ค. 02, 18:56
ของเกอร์ทรู้ด เมอเรย์ ครับ ส่วนนามสกุลของอาจารย์เรืองอุไร คือ กุศลาสัย  พอดีมีหนังสือเล่มนี้ในหอสมุดของมหาวิทยาลัยด้วย ต้องขอบคุณ คุณ นกข.อีกครั้งครับ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 03 ม.ค. 02, 03:25
ขอบคุณๆนกข คุณแจ้ง และคุณเทาชมพูครับ


กระทู้: มหาตมะ คานธี กับ Satyagraha
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 03 ม.ค. 02, 22:13
ได้แล้วครับ Seven Social Sins ของคานธี ซึ่งท่านเชื่อว่าเป็นสิ่งทำลายความเจริญของสังคม คือ
- Politics without Principles
- Wealth without Work
- Commerce without Morality
- Pleasure without Conscience
- Knowledge without Character
- Science without Humanity
- Worship without Sacrifice

บาปผิดเจ็ดประการทางสังคมนี้ ต่อมา Arun Gandhi หลานปู่ของมหาตมาคานธีได้เติมบาปประการที่แปดลงในรายการด้วย หลังจากที่คุณปู่สิ้นชีวิตไปแล้ว คือ Rights without Responsibities

สิ่งที่คานธีเห็นว่าเป็นบาปหรือเป็นตัวถ่วงรั้งความเจริญทางจิตใจในสังคมหนึ่งๆ ก็ยังเป็นปัญหาในสังคมปัจจุบันเท่ากับในสมัยของคานธี การเมืองที่เล่นกันอย่างสกปรกไม่มีหลักการใดๆ ควบคุม ยังเป็นปัญหาในโลกปัจจุบันในหลายสังคม ความมั่งคั่งที่ได้มาเปล่าๆ โดยไม่ต้องทำงาน คานธีเห็นว่าเป็นบาป คนที่ได้โชคยังงั้นจะสูญเสียโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง บาปข้อนี้รวมหมดไม่ว่าจะเป็นการพนันขันต่อ การกดขี่ขูดรีดแรงงาน การขโมย การโกง ล่อลวง หรือฉ้อฉลได้เงินมาโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ บาปอื่นที่สัมพันธ์กับบาปข้อนี้ก็คือ ธุรกิจที่มุ่งแต่กำไรลูกเดียวไม่คำนึงถึงศีลธรรม และการเพลิดเพลินฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวไม่สนใจพัฒนาจิตสำนึกของตนเอง สองอย่างนี้เป็นเรื่องของความหนักหมกมุ่นไปในลัทธิบริโภคนิยมหรือวัตถุนิยม ที่จะทำให้คนเห็นแก่ตัวเองไม่คิดถึงอะไรอื่น ถัดไปเป็นเรื่องของกิจกรรมทางปัญญาของมนุษย์ คานธีบอกว่า ความรู้ต้องคู่คุณธรรม ถ้ามีแต่การศึกษาวิชาการอย่างเดียวไม่มีจริยธรรมด้วยเราก็จะได้คนที่เพียงแต่โกงเก่ง โกงแนบเนียนขึ้นเท่านั้นเอง ไม่ได้ประชากรที่ดีมีคุณภาพให้สังคม นอกจากความรู้ต้องคู่กับความประพฤติดีแล้ว การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ จะทำเป็นว่าทุกอย่างเป็นของที่จะหยิบมาใส่หลอดแก้วทดลองหมดไม่ได้ ไม่ยังงั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหมอนาซีเยอรมันที่ทำการทดลองประหลาดๆ และทารุณกับเชลยศึกที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน และสุดท้าย กระทั่งในเรื่องของศาสนา คานธีบอกว่าความเสียสละสำคัญสุด ไม่ว่าจะบูชาพระเจ้าด้วยอามิสบูชา (หรือในศาสนาฮินดู อาจจะเป็นการบูชายัญ) ขนาดไหนก็ตาม ถ้าคนที่บูชายังไม่รู้จัก "ให้" มนุษย์คนอื่นๆ ยังไม่รู้จักจาคะ ยังสละความเห็นแก่ตัวออกไปไม่ได้ การบูชาถวายให้พระเจ้านั้นก็สูญเปล่า หรือเป็นบาปด้วยซ้ำ เช่นสมมติว่า เศรษฐีหน้าเลือดขูดรีดเงินทองมาจากคนจน ถึงปีทีก็ทำบุญเอาหน้าเสียทีหนึ่ง (ยิ่งกับวัดที่ทำการตลาดเก่งๆ นั่นแหละยิ่งตัวดีนัก) ด้วยความหวังว่าตัวเองจะได้บันดาลให้ยิ่งร่ำรวยยิ่งดูดเงินจากคนอื่นมาได้มากๆ อย่างนี้ คานธีเรียกว่าการบูชาที่ปราศจากน้ำใจเสียสละครับ

ส่วนข้อสุดท้ายที่เพิ่มเข้าไปใหม่ล่าสุด หลานชายท่านมหาตมาบอกว่า คนเรามักจะคิดแต่สิทธิของฉันอยู่เรื่อย จะทวงแต่สิทธิของฉันโดยไม่ยอมทำหน้าที่ของฉัน ซึ่งผิด สิทธินั้นมาควบคู่กับการทำหน้าที่ครับ