เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12128 ปางพระพุทธรูปที่คล้ายๆกัน
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


 เมื่อ 07 พ.ย. 04, 20:54

 พระพุทธรูปปางไสยาสน์ กับพระพุทธรูปปางปรินิพพาน นี่มีความแตกต่างกันไหมครับ อาจารย์เทาชมพูช่วยตอบหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 พ.ย. 04, 21:54

 เข้าไปอ่านในนี้นะคะ
 http://www.heritage.thaigov.net/religion/pang/pangpra.htm  
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 พ.ย. 04, 19:58

 งั้นก็หมายความว่า ปางปรินิพพานกับปางไสยาสน์นั้นเป็นปางเดียวกันหรอครับ ช่วยให้ความกระจ่างหน่อยครับผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 พ.ย. 04, 08:07

 ใช่ค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 พ.ย. 04, 12:23

 ได้ซื้อหนังสือว่าด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆไว้ เพิ่งนำไปถวายพระ มิฉะนั้นจะได้ช่วยเปิดหามาอ้างอิง

เลยต้องงัดความจำมาหากินอีกแล้ว  คลับคล้ายคลับคลาว่า  ปางในอิริยาบทประทับบรรทมในท่าตะแคงขวาพระหัตถ์รับพระเศียร น่าจะมีแตกย่อยเป็น 3 ปาง มีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
1. ไม่หลับพระเนตร พระบาทเหลื่อมกัน  
2. ไม่หลับพระเนตร พระบาทซ้อนกันสนิท
3. หลับพระเนตร พระบาทซ้อนกันสนิท

แบบที่ 1 คิดว่าเป็นปางแสดงธรรมโปรดพระสาวกองค์สุดท้ายในพระชนม์ชีพ  แบบที่ 2 จำไม่ได้  ส่วนแบบที่ 2 คือปางปรินิพพาน

เคยผ่านๆตาว่าทางเขมร มีสร้างพระพุทธรูปบรรทมหงายด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ออฉ่ำ
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ธ.ค. 04, 11:21

 พระนอนหงาย ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระนอน
เขาบอกว่าขนาดเท่าคนโบราณ และมีลักษณะเหมือนกับ
พระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:15


พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือ ปางโปรดอสุรินทราหู
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:17


พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:39

 พระพุทธรูป  พุทธบริษัทไทยได้คิดประดิษฐ์ขึ้นตามพระพุทธประวัติตอนต่างๆ มากมาย เท่าที่จำได้ เคยอ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่ง อ้างว่า พระเจ้าอยู๋หัว(ไม่แน่ใจว่ารัชกาลที่ 3 หรือ 4) โปรดที่จะสร้างรูปพระโพธิ์สัตว์500ชาติตามแบบสมัยกรุงศรีฯ แต่ทรงติที่ว่ามีบางพระชาติพระโพธิสัตว์เกิดเป็นเดรัจฉาน จึงโปรดให้นิมนต์พระเถระร่วมคิดปางของพระพุทธรูป ตามพระพุทธประวัติตอนสำคัญๆขึ้นแทน ได้เกือบ 80 ปาง ซึ่งก็มีปางพระเกตุธาตุ หรือที่คนไม่รู้บอกว่า ปางตะเบ๊ะ ที่ออกรายการทางโทรทัศน์และเป็นข่าวอยู่พักหนึ่ง ซึ่งผมเห็นแล้วก็เอือมระอาระคนกับความสังเวชใจ เดี๋ยวนี้ชาวพุทธเค้าเป็นแต่ในบัตรประชาชนเท่านั้น ขนาดพระพุทธรูปอันเป็นรูปธรรม วัตถุจับต้องได้ยังไม่ศึกษาไม่รู้ถึงขนาดที่หลวงพ่อวัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ได้อธิบายพระพุทธประวัติแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ขนาดคนที่อ้างตัวว่าเป็นเซียนพระ ดูรู้หมดประเครื่องรุ่นไหนวัดไหนเนื้อไหนพิมพ์ไหน ราคาเท่าไหร่ ก็ยังแสดงความด้อยปัญญาออกมาในเรื่องนี้ แสดงว่าเซียนพระคงจะเก่งแต่เรื่องขายพระเครื่องอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่รู้ไม่ศึกษา
อยากฝากคนในเวปนี้นะคับผม ว่าใครมีอำนาจหน้าที่ในสนักงานการศึกษาขึ้นพื้นฐานก็ขอให้ช่วยบรรจุวิชาพระพุทธศาสนาให้อยู่ในวิชาเรียนในระดับที่มีความสำคัญบ้าง เพราะส่วนใหญ่ วิชาพระพุทธศาสนา ที่เรียนๆในปัจจุบันในโรงเรียนนั้น ดูมีความสำคัญน้อยด้อยค่าเสียเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:42

 พระพุทธไสยาสน์ วัดราชาธิวาส พระนอนองค์นี้ในสายตาผม ผมมองว่าสวยมาก
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:44


พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระอานนท์เศร้าโศกเสียใจมาก จึงแอบไปยืนร้องไห้อยู่เพียงลำพัง พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จะหาความเที่ยงแท้จากสังขารได้แต่ที่ไหน ทุกสิ่งที่มีเกิดในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับสลายลงในที่สุด ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจนั้นเป็นของธรรมดา ให้ละความเศร้าโศรก และตั้งใจปฏิบัติธรรม จากนั้นทรงสรรเสริญความดีของพระอานนท์ และทรงตรัสพยากรณ์ว่า พระอานนท์จักบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ก่อนที่คณะสงฆ์จะทำปฐมสังคายนา
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:45


พระพุทธรูปปางโปรดสุภัททปริพาชก ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรทมอยู่ระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง ในเมืองกุสินารา มีปริพาชกนามว่า สุภัททะ ทราบข่าวว่าพระองค์จะปรินิพพาน จึงปรารถนาเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้า และทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ และทรงย้ำว่าตราบใดที่สาวกของพระองค์ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างถูกต้อง โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สุภัททปริพาชกเลื่อมใส ทูลขออุปสมบทและบรรลุอรหันตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวกองค์สุดท้ายที่ได้เป็นอรหันต์ทันพระชนชีพของพระพุทธองค์
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 14:55

 เห็นรูปกันชัดๆ ไปและนะครับผมพระนอน ทั้ง 4 ปาง  ใครสนใจศึกษาปางพระพุทธรูปให้มากกว่านี้ กูเข้าไปที่http://www.dhammathai.org/pang/pang.php  
นะครับ....ตามอัธยาศัย
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 มิ.ย. 05, 19:17


เห็นรูปกันชัดๆ ไปและนะครับผมพระนอน ทั้ง 4 ปาง ใครสนใจศึกษาปางพระพุทธรูปให้มากกว่านี้ ก็สามารถเข้าไปที่http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
นะครับ....ตามอัธยาศัย
แถม ด้วยภาพ พระพุทธรูปนอนหงาย (แปลกตาดี) จกวัดพระนอน สุพรรณบุรี ปกติตามคติทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจะบรรทมตะแคงขวา หรือที่เรียกว่า สีหไสยาสน์ แต่ใมองไทยก็เห็นมีพระนอนตะแคงซ้ายบ้างเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีข้อสรุปว่าทำไม ถึงตะแคงซ้าย บางท่านก็ว่า ปางตะแคงซ้ายเป็นปางปรินิพพาน บางท่านก็ว่า เป็นรูปของพระอรหันต์สาวก ตามแต่จะคิด  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 มิ.ย. 05, 16:34


วันพระนอน เมืองสุพรรณอีกรูปครับ  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง