เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 มิ.ย. 14, 19:35



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 มิ.ย. 14, 19:35
เด็กที่บ้านเรียนภาษาไทยเล่มนี้ตั้งแต่อนุบาล

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=39303;image)

สอนอะไรบ้าง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=39304;image)

ตอนนี้อ่านหนังสือคล่องเชียว

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 มิ.ย. 14, 19:38
^


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 27 มิ.ย. 14, 21:09
เด็กที่บ้านเรียนภาษาไทยเล่มนี้ตั้งแต่อนุบาล

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=39303;image)



ฮิฮิ จะหักคอให้ส่งมาให้ไว้ใช้สอนเด็กที่ต่างแดนก็เกรงใจซายาเพ็ญฯ  ;D  ;D  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 มิ.ย. 14, 22:32
ส่งมาให้ตามต้องการ  ;D

http://ebook.iloveebook.com/learning/child/darun/darun/mobile/index.html (http://ebook.iloveebook.com/learning/child/darun/darun/mobile/index.html)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 มิ.ย. 14, 09:27
กระทรวงศึกษาธิการ มีวัฒนธรรมอยู่ประการหนึ่ง คือ มักเอาคนที่จบนอก มาเป็นนักวิชาการศึกษาครับ ซึ่งก็คงบอกว่าคนเหล่านี้ไม่มีความรู้ไม่ได้ เพียงแต่คนเหล่านี้มีความรู้ที่เป็นของที่อื่น ซึ่งก็เหมาะสมกับที่นั้นๆ พอเขากลับมาประเทศไทยก็ไม่มีประสบการณ์ในการสอนเลย ไม่รู้จักสังคมไทย วัฒนธรรมไทยเลย จึงเอาความรู้ที่ได้มามาปรับใช้แบบแปลกๆ อย่างนั้นแหละครับ

อย่างเรื่องการสอนอ่าน ผมขอเดาว่า เขาเอาวิธีการมาจากการหัดเด็กฝรั่งให้อ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งสระทุกตัวจะอยู่หลังพยัญชนะหมด DREAM = ดอ + รอ + สะระอี + มอ ก็ออกเสียง ดรีม ได้ BOSS = บอ + ออ + สอ = บอส ฯลฯ   

แต่พอมาเจอภาษาไทยมีสระอยู่ข้างหน้าพยัญชนะ วิธีการนี้จะใช้ไม่ได้ เช่น MAN ภาษาไทย เขียน แมน ครูจะต้องสอนให้เด็กอ่านว่า สะระแอ + มอ + นอ = แมน คำว่า DOME = โดม = สะระโอ + ดอ + มอ  :'(

บรึ๋ย เด็กที่ไหนมันจะอ่านได้

ส่วนที่บอกว่า การสะกดอย่างนั้น จะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้อง เพราะเรียงลำดับตามสิ่งที่เด็กต้องเขียนจริงๆ แต่ผมกลับมองว่า ทักษะในการสื่อสารมันเกิดขึ้นเรียงลำดับกัน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ถ้าฟังไม่ได้ยิน ย่อมพูดไม่ได้ฉันใด อ่านไม่ออก ก็ย่อมเขียนไม่ได้ฉันนั้น     

นี่ผมก็มีลูกเพึ่งจะ 3 ขวบ อีกเดี๋ยวเขาคงต้องหัดอ่านเขียน ผมจะสอนเขาอ่านด้วยวิธีไหนดีหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 14, 09:48
เห็นด้วยค่ะ เรื่องนักวิชาการ แต่ขอค้านนิดหน่อยเรื่องความรู้
มีตำราภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งที่เขาใช้สอนสมัยลูกเรียนประถม   แม่เห็นตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่นักวิชาการไทยเขียน เกือบหน้ามืด  มันผิดทั้งความหมายทั้งอะไรๆทั้งหมด    ไม่รู้กรรมการปล่อยออกมาเป็นตำราได้ยังไง
ขอบคุณสวรรค์ที่กระทรวงยกเลิกเสียได้


เอาตำราเก่าดีกว่าค่ะ     ดิฉันก็ไปหาซื้อตำราเก่าที่เลิกใช้ไปแล้วมาสอนลูกเหมือนกัน 
น่าขำมาก ตรงที่คนแนะนำคือครูประจำชั้นของลูกเอง มากระซิบว่าอาจารย์ไปหาซื้อจากร้านเครื่องเขียนนะคะ ตำราเก่าสอนวิธีผสมคำ สอนสระ ดีกว่าตำราที่กระทรวงใช้อยู่ปัจจุบันค่ะ


คุณพ่อลองโหลดดรุณศึกษามาอ่านก่อนดีไหมคะ  เตรียมไว้สอนลูก


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 มิ.ย. 14, 16:06
ขอบคุณครับ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 30 มิ.ย. 14, 18:09
ดิฉันเป็นรุ่นที่โตมากับดรุณศึกษา  จำได้ว่าเนื้อหาในหนังสือสนุกมาก  เป็นแรงกระตุ้นให้อยากอ่านหนังสือออกเร็วๆ  เพื่อจะได้อ่านเรื่องได้เอง
 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 09:11
เด็กที่บ้านเรียนภาษาไทยเล่มนี้ตั้งแต่อนุบาล

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=39303;image)

ส่วนเจ้าของบ้านเรียนการอ่านภาษาไทยเล่มนี้ตั้งแต่ชั้นประถม  ทำให้อ่านหนังสือได้คล่องเหมือนกัน ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 09:16
ส่งมาให้คุณประกอบไว้ใช้สอนเด็ก  ;D

http://www.slideshare.net/guestd902d8/ss-3935186 (http://www.slideshare.net/guestd902d8/ss-3935186)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 09:32
คุณเพ็ญชมพูเรียนเล่มเดียวกับลูกดิฉันเลย..
เอ๊ะ อายุเท่าไหร่กันเนี่ย
555+


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 09:58
คุณเพ็ญชมพูเรียนเล่มเดียวกับลูกดิฉันเลย..

ใช่ตำราเล่มที่คุณเทาชมพูพูดถึงหรือเปล่าหนอ  ;)

เอาตำราเก่าดีกว่าค่ะ     ดิฉันก็ไปหาซื้อตำราเก่าที่เลิกใช้ไปแล้วมาสอนลูกเหมือนกัน 
น่าขำมาก ตรงที่คนแนะนำคือครูประจำชั้นของลูกเอง มากระซิบว่าอาจารย์ไปหาซื้อจากร้านเครื่องเขียนนะคะ ตำราเก่าสอนวิธีผสมคำ สอนสระ ดีกว่าตำราที่กระทรวงใช้อยู่ปัจจุบันค่ะ

แบบเรียนเร็วใหม่เล่มนี้เป็นผลงานของหลวงดรุณกิจวิฑูร (ชด เมนะโพธิ) และนายฉันท์ ขำวิไล  ตามประวัติเห็นว่า ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ แล้ว (http://webhtml.horhook.com/ebook/thai2499.htm) หนอ  กำลังถูกปัดฝุ่นนำมาใช้อีก เริ่มในปีการศึกษา ๒๕๕๗ (http://read-cm1.blogspot.com/2014/04/2499-1-3.html) นี้เชียว

พอสอนให้อ่านได้คล่องแล้ว ยังสอนวิชาสังคมศึกษาตอนท้าย ๆ ของเล่มด้วย  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 14, 10:17
เล่มนี้แหละหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 01 ก.ค. 14, 21:19
จำได้ว่าได้เรียนนิทานร้อยบรรทัดด้วย  สนุกมากค่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 09:09
นิทานร้อยบรรทัดเป็นผลงานของหลวงสำเร็จวรรณกิจ มีอยู่ ๖ เล่ม สำหรับใช้สอนเด็กตั้งแต่ชั้น ป.๒ - ป.๗

จำตอนนี้ในเล่ม ๑ ในแม่นจนทุกวันนี้ "สองพี่น้องเห็นวิหคนกพูดได้ ก็พอใจอยากจะรักให้นักหนา" (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/05/K6595282/K6595282.html#29)

ส่งเล่ม ๑ มาให้คุณประกอบไว้ให้เด็กหัดอ่านอีกเล่มหนึ่ง  ;D

http://www.slideshare.net/sornordon/1-10834991 (http://www.slideshare.net/sornordon/1-10834991)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 02 ก.ค. 14, 10:07
ดิฉันคิดว่า เรียนหนังสือชุดนี้ทุกเล่มเลยค่ะ 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 10:24
ดิฉันทันอ่านเล่มนี้ค่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 10:26
เล่มนี้ก็ได้อ่าน


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 02 ก.ค. 14, 13:37
เรื่อง นกกางเขน นี่ใช่ นิ่ม นิด หน่อย น้อย หรือไม่เจ้าคะ  :)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 13:56
ใช่ค่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 15:13
ส่งหนังสือ "นกกางเขน" ให้คุณประกอบไว้ให้เด็กที่บ้าน อ่าน/ฟัง อีกเรื่องหนึ่ง  ;D

http://www.caistudio.info/cai/thai/th14_001/ (http://www.caistudio.info/cai/thai/th14_001/)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 16:00
เปิดดูกระทู้เก่าแล้ว ตั้งแต่ความคิดเห็นที่ ๒๐๐ จนถึง ๒๒๐ เหมาะที่จะไปอยู่ที่กระทู้ แบบเรียน(ภาษาไทย)ที่อยู่ในความทรงจํา  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=316.0) หรือไม่อย่างนั้นก็แยกเป็นกระทู้ใหม่ "แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์" เข้าท่าไหมหนอ  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 16:15
ย้ายมาตั้งกระทู้ใหม่แล้วหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ค. 14, 16:18
แบบเรียนเล่มไหนหนอ ที่สอนให้เด็กไม่พูดคะ ขา ครับ ขอรับกระผม แต่ให้หนอๆอยู่นั่นแล้วหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 16:25
โดนอาจารย์ใหญ่กว่า ดุแล้วหนอ   หัวหน้าชั้นชื่อเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ค. 14, 16:39
สารภาพมาซะดีๆหนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 19:46
ก่อนหน้ามานะ มานี ปิติและชูใจ     นักเรียนประถมเคยมีเพื่อนชื่อดช.ปัญญา และดญ.เรณู เรียนที่โรงเรียน
และพาขึ้นรถไฟไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วย


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 19:47
 :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 02 ก.ค. 14, 21:08
ฮิฮิ โตไม่ทันปัญญาเรณู


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 21:23
 :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 21:23
 :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 14, 21:26
 :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Singing Blue Jay ที่ 02 ก.ค. 14, 22:01
ใช่เลยค่ะ ใช่เลย ตำราพวกนี้แหละที่เรียนตอนเด็กๆ เรื่องนกกางเขนนั้นประทับใจมาก ยังจำความรู้สึกตอนอ่านได้เสมอมา โตขึ้นมาตอนนี้มีกิจกรรมหนึ่งที่ทำคือการดูนก อาจได้อิทธิพลจากหนังสือเล่มนี้นี่เอง
ส่วนเรื่องรถไฟนั้น ทำให้อยากนั่งรถไฟมากๆ และชอบการ์ดรถที่ใจดีซื้อกล้วยมาฝากเด็กๆ จริงๆมีอีกตอนที่คิดถึงมากคือตอนที่นั่งรถไฟผ่านอุโมงค์ เดี๋ยวนี้เวลานั่งรถไฟใต้ดินแล้วมองไปเห็นนอกรถมืดๆ ก็ยังจดจำอารมณ์นั้นค่ะ
ไม่ได้เห็นตำราเรียนของเด็กสมัยนี้ แต่บอกได้ว่าเรียนภาษาไทยสมัยก่อนจะได้รากฐานภาษาที่มั่นคงมากค่ะ ^_^


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 03 ก.ค. 14, 11:16
ไม่ทัน เรณู-ปัญญา ไม่รู้จัก มานะ-มานี
ตอนนั้นหนูอยู่ที่ไหนหนอ  ???

ท่านอาจารย์ อนุญาตให้มีได้แต่แบบเรียนภาษาไทยหรือเจ้าคะ  :)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 03 ก.ค. 14, 11:28
ไปถามคุณพ่อมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าถึงเรื่อง "เด็กชายใหม่ รักหมู่" (กระมังครับ ฟังไม่ถนัด) อีกเล่มหนึ่งด้วย
หมายถึงเล่มไหนหรือครับ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 11:51
ไม่ทัน เรณู-ปัญญา ไม่รู้จัก มานะ-มานี
ตอนนั้นหนูอยู่ที่ไหนหนอ  ???

ท่านอาจารย์ อนุญาตให้มีได้แต่แบบเรียนภาษาไทยหรือเจ้าคะ  :)
ึุคุณ POJA  เรียนแบบเรียนอะไรคะ?
ชื่อกระทู้นี้คือแบบเรียนภาษาไทยค่ะ


ไปถามคุณพ่อมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าถึงเรื่อง "เด็กชายใหม่ รักหมู่" (กระมังครับ ฟังไม่ถนัด) อีกเล่มหนึ่งด้วย
หมายถึงเล่มไหนหรือครับ
ไม่เคยเรียนเหมือนกัน  น่าจะเป็นยุคย้อนกลับขึ้นไป เก่ากว่าปัญญา-เรณูมั้งคะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 12:30
ไปถามคุณพ่อมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าถึงเรื่อง "เด็กชายใหม่ รักหมู่" (กระมังครับ ฟังไม่ถนัด) อีกเล่มหนึ่งด้วย
หมายถึงเล่มไหนหรือครับ

ไม่เคยเรียนเหมือนกัน  น่าจะเป็นยุคย้อนกลับขึ้นไป เก่ากว่าปัญญา-เรณูมั้งคะ

เด็กชายใหม่ รักหมู่ อยู่ใน แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนกลาง สำหรับชั้น ป. ๒


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 12:40
 :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 13:06
ชีวิตแบบเด็กชายใหม่ ในปัจจุบันเห็นจะมีได้แต่ในตจว. ในอำเภอชั้นนอกๆเท่านั้น    
ถ้าอยู่กรุงเทพ หลานของปู่ใหม่กว่าจะฝ่ารถติดกลับมาบ้านได้ก็ค่ำ   แทนที่จะนั่งล้อมวงกินข้าวกันพร้อมหน้าพ่อแม่พี่น้อง ก็โตมาด้วยข้าวเหนียวหมูปิ้งในรถ   กินเป็นข้าวเย็นก่อนถึงบ้าน
ถึงบ้านก็เล่นเกม   ให้เพื่อนส่งการบ้านมาทางอีเมล์ เพื่อลอกส่งครู
เสาร์ไปเรียนพิเศษ กวดวิชา โดยครูประจำชั้นเปิดสอนเพิ่มเติม
อาทิตย์ถ้าไม่เรียนว่ายน้ำ ดนตรีฯลฯ ก็ไปพักผ่อนพร้อมหน้าพ่อแม่ในศูนย์การค้า   กินข้าวกลางวันและเย็นที่นั่น


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 15:04
ในหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนกลางนี้ นอกจากจะมีเด็กชายใหม่ รักหมู่แล้ว ยังมีอีกหลายคน ได้แก่ นายอยู่ ยืนยาว, นายเสนอ เสียงเสนาะ, นายเฉลิม สุดเฉลียวกับหลายชาย เด็กชายสลับ สุดเฉลียว, นายกล่ำ ใจกล้ากับนางไปล่ ใจกล้า ภรรยา และนายภักดี เผ่าเภตรากับลูกสาว เด็กหญิงสารภี เผ่าเภตรา

แต่ไม่มีใครดังเท่า เด็กชายใหม่ รักหมู่ สักคน  ;)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 15:20
ย้อนหลังไปนานมาก ก่อนทุกคนในเรือนไทยนี้จะเกิด  มีหนังสือเรียนที่ดีอีกเล่มชื่อ "นายเถื่อนเป็นนายเมือง" ผู้แต่งคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี(หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
คุณกิเลน ประลองเชิงแห่งไทยรัฐเล่าไว้ว่า

ตำราเรียนสมัยรัชกาลที่ 6 นอกจากสอนเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ยังมีตำราสอนเรื่อง “พลเมืองดี”

ตอนต้นของหนังสือ...เจ้าพระยาเสด็จสุรินทราธิบดี ผู้เขียนกล่าวถึง “นายเถื่อน” พระเอกของเรื่องซึ่งเป็นคนกำพร้า พ่อแม่ตาย ก็เข้ามาอยู่กับลุงและป้าในกรุงเทพฯ

ลุงชื่อนายมั่น ป้าชื่อนางคง ลุงเคยรับราชการต่างประเทศมาแล้ว

เมื่อนายเถื่อนมาอยู่ด้วย ลุงกับป้าก็พยายามเปลี่ยนแปลงนิสัยนายเถื่อน เช่น เปลี่ยนธรรมเนียมการพูดจาให้เป็นผู้ดี ตัดผม หาเสื้อผ้าที่สอดคล้องกับสมัย และสั่งสอนให้รู้ผิดรู้ชอบ

ในที่สุด นายมั่นก็ไปจดทะเบียนให้นายเถื่อนเป็นหลานชายสมาชิกในบ้าน นายมั่นบอกนายเถื่อนว่า

“เออ เจ้าเถื่อน เมื่อเจ้าไปอยู่ป่าอยู่ดง เจ้าชื่อเถื่อนก็เหมาะดี เถื่อนแปลว่าป่า แต่เดี๋ยวนี้เจ้ากลับเข้ามาอยู่ในบ้านเมืองแล้ว เปลี่ยนชื่อเถื่อนนั้นเสียเถอะ

ทีนี้จงชื่อว่านายเมือง จะได้สมกับที่เจ้ากลับเข้ามาอยู่ในบ้านในเมือง”

ตอนนั้นนายเมืองอายุ 15 ปี ลุงจึงคิดให้เรียนหนังสือทางลัด ด้วยการสอนเองที่บ้าน แล้วก็ให้ไปสมัครสอบไล่ชั้นประถม หาครูมาสอนภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่บ้าน เพื่อเตรียมสอบไล่ชั้นมัธยม

และแก (นายมั่น) ชอบพาหลานชายแกไปเที่ยว ให้ได้พบเห็นรู้จักโน่นนี่ต่างๆเนืองๆ

นายเมืองได้เรียนรู้ว่า คนในบ้านเมืองนั้นต้องไปเสียเงินช่วยราชการ เรียกว่าเงิน “รัชชูปการ” ก็แปลกใจ จึงไปถามลุงว่าคนเราเป็นหนี้บ้านเมืองอันใดหรือ

ลุงก็อธิบายว่า คนที่เกิดมาทุกคนเป็นหนี้แผ่นดิน เพราะบ้านเมืองมีบุญคุณ เหมือนพ่อแม่เลี้ยงลูก ลูกจึงเป็นหนี้พ่อแม่

“ลูกมีหน้าที่จะต้องทดแทนพ่อแม่อย่างไร คนเราเกิดมาในแผ่นดินทุกคน จึงจำต้องทดแทนบุญคุณแก่แผ่นดิน”

บุญคุณของแผ่นดินมี 4 ประการ แผ่นดินช่วยปกครองชีวิตเรา แผ่นดินให้ความสุขสำราญแก่เรา มีอำนาจทำอะไรได้ตามใจโดยไม่ขัดผลประโยชน์ผู้อื่น ถ้าใครข่มเหง ตำรวจนครบาลก็จับผู้นั้นส่งศาลลงโทษ

แผ่นดินเป็นผู้ปกป้องทรัพย์สมบัติของเรา ถ้าใครแย่งชิงกรรม-สิทธิ์นี้ ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

แผ่นดินให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนเสมอกันไป ไม่ว่าเป็นคนจน อ่อนแอ แข็งแรง มีบรรดาศักดิ์สูง-ต่ำ มีกำลังทรัพย์และอำนาจ ทั้งน้อยทั้งใหญ่ ศาลจะพิจารณาให้ผู้ประพฤติถูก ประพฤติชอบชนะ

เมื่อแผ่นดินมีบุญคุณ พลเมืองดีต้องมีหน้าที่ทดแทนบุญคุณแผ่นดิน 4 ประการ...ประพฤติตนดีและทำความดีให้แก่บ้านเมือง ช่วยเป็นกำลังบ้านเมือง ช่วยรักษาบ้านเมือง

และช่วยบำรุงการปกครอง และความยุติธรรมของบ้านเมือง

หนังสือพลเมืองดีสรุปว่า เมื่อเกิดมาเป็นคน ควรมีความรู้สึก 3 อย่าง เป็นข้อใหญ่

รู้สึกคุณพระมหากษัตริย์ ที่เป็นหัวหน้าปกครองประเทศและชาติ ราษฎรจะสุขสบายร่มเย็น บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองก็เพราะพระมหากษัตริย์ บ้านเมืองเป็นของเราทุกคน ควรมีใจรักช่วยบำรุงรักษา เมื่อเกิดมาแล้วควรรักชื่อรักชาติ ทำความดีให้แก่บ้านเมือง

“ดังนี้ จึงจะนับได้ว่าเป็นพลเมืองที่ดีคนหนึ่งๆ ไม่ชั่วแต่เกิดมาแล้ว ก็ตายถมแผ่นดินไปเปล่าๆ หรือยิ่งทำความชั่วร้ายเป็นเสี้ยนหนามกินแรงทอนกำลังท่าน ก็ให้ท่านต้องปราบปราม เป็นการเกิดมาสำหรับให้หนักแผ่นดินเท่านั้น”

หนังสือเรื่องพลเมืองดี ฉบับที่ ดร.ธิดา สาระยา (ราษฎรในครรลอง แห่งความเจริญของสยาม) นำมาอ้าง ได้จากต้นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 7 (พระนคร) โรงพิมพ์อักษานิติ์ 2466 ตรวจและอนุญาตให้เป็นแบบเรียน พ.ศ.2464...เก่าแก่เต็มที

ใครอยากจะอ่านฉบับเต็มๆตอนนี้คงหาได้ยาก แต่เท่าที่เล่าแบบย่อๆก็คงพอเห็นหน้าค่าตานายเถื่อน นายเมือง พลเมืองดี ตัวอย่างแห่งยุคสมัยนั้น...ได้บ้าง

ถึงยุคสมัยนี้ คงหาพลเมืองดีไม่ค่อยเจอ...หันไปทางไหนก็เจอแต่คนที่ปากว่าเป็นนายเมือง แต่มีปกติวิสัยเป็นนายเถื่อน นายเถื่อนบางฝ่ายไม่แค่ไม่ยอมรับกฎกติกา ยังเถื่อนขนาดกล้าด่าตุลาการ กล้าถึงขั้นประกาศจะล้มองค์กรยุติธรรม

คนแบบนี้ล่ะกระมัง เป็นที่มาของเพลง “หนักแผ่นดิน”.

กิเลน ประลองเชิง


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 15:23
แบบเรียนเล่มไหนหนอ ที่สอนให้เด็กไม่พูดคะ ขา ครับ ขอรับกระผม แต่ให้หนอๆอยู่นั่นแล้วหนอ

โดนอาจารย์ใหญ่กว่า ดุแล้วหนอ   หัวหน้าชั้นชื่อเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ

สารภาพมาซะดีๆหนอ

ยกข้ามหน้ามาตามล่าหาคำตอบ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 15:31
ทั้งนายกล่ำและคุณนายไปล่ชาวไร่ นี่ดูไฮโซไม่ใช่เล่น   นายกล่ำสวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาวไปขายพืชผล   ส่วนคุณนายกล่ำก็สวมเสื้อสตรีทันสมัยมีผ้ากันเปื้อนแบบฝรั่งเสียด้วย
สงสัยว่าเล่มที่นำมาแสดงนี้จะผลิตในสมัยจอมพลป.เป็นนายกรัฐมนตรี


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 15:58
ยังมีคนดังอีกคนหนึ่งอยู่ในแบบหัดอ่านหนังสือไทย เล่ม ๓ สำหรับเด็ก ป. ๑  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:03
ชื่อของเขาคือ อ "หนูหล่อ" น้องพ่อหลี ลูกหมอหลำกับแม่หยา  คนนี้นี่เอง  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:07
ยังจำได้ไหมเอ่ย หนูหล่อเคยเป็นนายแบบโฆษณายาหม่องด้วยนะเออ  ;D

http://www.youtube.com/watch?v=BaEKQeNqVvM#ws (http://www.youtube.com/watch?v=BaEKQeNqVvM#ws)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:09
น้าแอ๊ดยังเอาชื่อคนในครอบครัวหนูหล่อไปร้องเป็นเพลง  ;D

http://www.youtube.com/watch?v=iqVceQDYvIg#ws (http://www.youtube.com/watch?v=iqVceQDYvIg#ws)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:21
หนูหล่อนี่ผู้หญิงหรือผู้ชายคะ   ในการ์ตูนเป็นผู้ชาย 

แต่อ่านจากหนังสือ   เหมือนเป็นผู้หญิง     คือพ่อไปรักษาคนไข้ก็พาลูกชายไปเป็นผู้ช่วยหอบหิ้วของ    ส่วนแม่ก็เอาลูกสาวไว้บ้าน ช่วยขายของ
กิริยาหน้าเง้าหน้างอ   จนเห็นเงาตัวเองในน้ำ ไม่สวย ก็เลยไม่ทำหน้างออีก นี่มันนิสัยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

แม่ยังพูดว่า "นี่แหละเจ้า แม่ค้าที่ทำหน้าเง้าเค้างอก็ไม่มีผู้ใดมาซื้อ"

สงสัยหนูหล่อจะโตขึ้นเป็นอำแดงหล่อมากกว่านายหล่อเสียแล้ว


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:40
เรื่องหนูหล่อเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายนี้ ขออนุญาตเท้าความไปถึงเรื่องในแบบเรียนเร็ว เล่ม ๑ ตอนต้น พ.ศ. ๒๔๗๔ บทที่ ๓๒ หน้า ๒๗ มีเรื่องหนูหล่อ เนื้อหามีดังต่อไปนี้

หนูหล่อ พ่อเขาพาไปดูหมี ที่นาตาหมอหลอ ตาหมอหลอแกก็เล่าให้รู้ว่า หมีแกดุ ได้มาใหม่ ๆ หนูหล่อไม่เชื่อแก เอาไม้เข้าไปแหย่หมี หมีดุโผมา หนูหล่อหนีหมีมาปะทะไม้ ขาหวะเหวอะไป ตาหมอหลอทำยาให้ทา แต่หนูหล่อไปไหนไม่ได้เก้าเวลา

พ่อเขาว่าแก่หนูหล่อให้รู้ตัวว่า "ทีนี้ที่เสืออยู่ หมีอยู่ อย่าได้เข้าไป ขาหวะเท่านี้พอหายาทาให้ ถ้าไม้ตำที่ตาหรือหู ก็จะเสียตาเสียหู หายาอะไรมาทาตา ทาหูให้ดีไม่ได้แท้ ๆ"

หนูหล่อ พ่อว่า ก็เข้าใจว่าพ่อจะว่าให้ตัวดี ทีนี้ที่ไหนมีหมีดุ หรือมีเสือดุ หมาดุ งูดุ หนูหล่อก็ไม่เข้าไป หนูหล่อดี จำคำพ่อไว้ได้


ข้อมูลจาก คุณปังปอนด์  (http://www.thaibirder.com/forums/index.php?topic=5801.15)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:44
ลองอ่านดูที่คุณบรรเจิด ทวีเขียนไว้ในเรื่อง "หนูหล่อพ่อพาไปดูหมี" (http://www.autoinfo.co.th/page/th/article_event/detail.php?id=681) มีคนเฉลยว่า หนูหล่อเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่
  
บางกอกปีพุทธศก ๒๔๙๔ เดือนมิถุนายน วันที่ ๒๙ เกิดกบฏแมนฮัททัน หลังจากเหตุการณ์นี้แล้วคนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซึ่งข่าวรายวันบนหน้าหนังสือพิมพ์จะถูกตรวจสอบและเซนเซอร์ ป้ายหมึกดำเป็นแถบ ๆ ทุกวัน

หนังสือพิมพ์รายวันฉบับละ ๕๐ สตางค์ พิมพ์สีขาวและสีดำ ชื่อ "สยามรัฐ" ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สะเทือนหนักกว่าเพื่อน
 
ด้วยความเป็นหม่อมคึกฤทธิ์ "สยามรัฐ" และด้วยความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงระบบเซนเซอร์ของทางเจ้าหน้าที่ จึงเกิดไอเดียกระฉูดพิมพ์ข่าวชนิดที่เจ้าหน้าที่เซนเซอร์เองปวดหัวเพราะเซนเซอร์ไม่ได้เลย ข่าวที่ "สยามรัฐ" ลงเป็นรายวันในขณะเวลานั้น เช่น "ค้นพบแล้วยืนยันได้ว่าพระอาทิตย์ขึ้นแต่ทางทิศตะวันออกเท่านั้น ไม่เคยโผล่ขึ้นมาทางทิศตะวันตก" เป็นต้น

ที่ขำขันมากที่สุด น่าจะเป็น "สยามรัฐ" ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๔
 
"พบข้อสันนิษฐานว่าหนูหล่อ/ที่พ่อพาไปดูหมีที่นาตาหมอหลอ/ต้องเป็นผู้ชายแน่นอน"

หัวข่าวรองลงไป คือ "อ้างการที่พ่อพาไปดูหมี/เป็นข้อยืนยันถึงเพศ"

ข่าวนี้เป็นใครในสมัยนั้นก็ต้องสนใจ เพราะต่างก็เคยอ่านหนังสือแบบเรียนเร็ว เรื่อง "หนูหล่อพ่อพาไปดูหมี" มาแล้วทั้งสิ้น เป็นการอ่านไปตามเรื่องไม่เคยสนใจว่า หนูหล่อ คนนี้เป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง

ก็ได้ "สยามรัฐ" นี่แหละครับ กรุณารายงานความสงสัยที่ไม่มีใครสงสัย ดังต่อไปนี้

"เรื่อง หนูหล่อที่พ่อเขาพาไปดูหมี ที่นาตาหมอหลอ ในหนังสือแบบเรียนเร็วเป็นเรื่องที่ได้มีการถกเถียงกันมานาน ในข้อที่ว่าหนูหล่อคนนี้เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เพราะไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่ได้บ่งไว้ในทางเพศ จึงเป็นเหตุให้บรรดานักค้นคว้าในทางอักษรศาสตร์ต้องเสียเวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่เป็นเวลานาน ก็ยังไม่ปรากฏว่านักค้นคว้าคนใดยืนยันได้ว่า หนูหล่อ คนนี้เป็นเพศใดกันแน่

บัดนี้ เราได้รับการยืนยันด้วยการสันนิษฐานอ้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมาประกอบ จากนักค้นคว้าผู้หนึ่งซึ่งไม่ประสงค์จะออกนาม เพราะไม่ต้องการจะอวดอ้างความศักดาสามารถ ส่งมาให้เราพิจารณา เราได้พิจารณาโดยรอบคอบทุกแง่ทุกมุมตามข้อสันนิษฐานที่เขาหยิบยกขึ้นมาอ้าง เห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอที่เราเห็นด้วยกับการยืนยันว่า หนูหล่อผู้นี้ต้องเป็นผู้ชายแน่ ๆ

ข้อสันนิษฐานที่นักค้นคว้าอ้างขึ้นมาเพื่อยืนยัน อันเป็นประเด็นสำคัญได้แก่ข้อที่ว่า ถ้าหากหนูหล่อผู้นี้เป็นเด็กผู้หญิงแล้วไซร้ บิดาย่อมที่จะไม่ให้ไปเห็นหมี เพราะหมีเป็นสัตว์ดุร้ายกระทบกระเทือนจิตใจสำหรับเด็กหญิงทำให้ขวัญหนีดีฝ่อหรือเจ็บไข้เสียคนไป ตลอดชีวิต เป็นการบั่นทอนอนาคตของเด็ก

เมื่อได้พิเคราะห์หลักฐานเป็นการยืนยันได้แล้วว่า หนูหล่อคนนี้เป็นผู้ชาย ผู้ค้นคว้ายังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนิสัยของหนูหล่อ ภายหลังที่พ่อเขาพาไปเห็นหมีมาแล้ว ต่อไปอีกว่า เมื่อกลับจากนาตาหมอหลอถึงบ้านแล้ว ในฐานหนูหล่อเป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งมีจิตใจเข้มแข็งกว่าสตรีเพศ ย่อมมีความรู้สึกนึกคิดไปไกล คืออยากจะเห็นหมีตัวใหญ่ ๆ เพราะตัวที่นาตาหมอหลอเป็นลูกหมี จึงได้หลบหนีออกจากบ้านมุ่งหน้าไปเข้าป่าดงพงพีเป็นพรานล่าหมีต่อไป จนเป็นเหตุให้ทางบ้านพากันวิตกเป็นห่วงถึงการหายหน้าค่าตาของหนูหล่อครั้งนี้อยู่ทุกวี่วัน"

นับเป็นความหลักแหลมของผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่อ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งขณะเวลานั้นมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ สละ ลิขิตกุล เป็นบรรณาธิการ ส่วนผู้พิมพ์และผู้โฆษณาคือ สมบุญ แย้มกลีบบัว สำนักงานอยู่ที่อาคาร ๖ ถนนราชดำเนิน และพิมพ์ที่โรงพิมพ์ "ชัยฤทธิ์"

ผมค่อนข้างคุ้นเคยกับคนของสยามรัฐหลายคน รวมทั้งคุณชายคึกฤทธิ์ เนื่องจากผมก็เป็นคนหนังสือพิมพ์ทำงานอยู่ในค่ายใหญ่โตคืออยู่กับ "เสียงอ่างทอง" (ไทยรัฐ) ที่ซอยวรพงษ์

สยามรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีคนอ่านมากฉบับหนึ่ง เพราะข้อเขียนของคุณชายคึกฤทธิ์เป็นแกนหลัก ว่าด้วยเกมทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ จำได้ว่าเมื่อปี ๒๕๐๐ กึ่งพุทธกาล มีการเลือกตั้งที่เป็นโคตรสกปรก โกงสะบั้น ทั้ง พลร่ม ไพ่ไฟ บัญชีผี จนผู้ชนะการเลือกตั้งได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้แพ้การเลือกตั้งคือ นาย ควง อภัยวงศ์

สยามรัฐดับเครื่องชนทุกรูปแบบ แม้แต่ "สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์" ก็ผสมโรง "ยกเล่มด่า" แหลก ได้รับความสนใจและได้รับเสียงเข้าข้างเป็นจำนวนมากจากประชาชน จนบ้านเมืองต้องออกประกาศภาวะฉุกเฉินโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัฐ ประกาศแล้วก็เรียกบรรณาธิการไปพบในวังสวนกุหลาบ โดยจอมพล สฤษดิ์ เป็นประธานในการแถลงข่าว

ฝ่ายหนังสือพิมพ์ก็แสบพอสมควร มีบรรณาธิการคนหนึ่งถามโพล่งออกไปเลยว่า ไอ้ที่ประกาศภาวะฉุกเฉินเนี่ย เป็นเพราะมีการโกงเลือกตั้งใช่ไหม ประธานที่ประชุมไม่ตอบ กลับเจรจาเบี่ยงเบนประเด็นไปพักหนึ่งจน นาย ประหยัด ศ.นาคะนาท จากสยามรัฐถามซ้ำ ประธานจึงตอบ

"ใช่ก็ใช่"

ด้วยเหตุนี้ ผมได้รับคำบอกเล่าจากคนในสยามรัฐเองว่า คุณชายทนไม่ได้ หนังสือพิมพ์จำเป็นต้องลุกขึ้นมาสู้กับความไม่เป็นธรรม ต่อสู้เพื่อเรียกหาประชาธิปไตย พูดแล้วท่านก็รับเป็น บรรณาธิการเสียเองทั้ง รายวันและรายสัปดาห์ เพื่อไม่ให้คนของสยามรัฐเดือดร้อน

เข้าฮอร์สไปเลยครับ หลังจากนั้นไม่นานคุณชายก็หวดด้วยหวายเผ็ดร้อนตามด้วยการ์ตูนจากประยูร จรรยาวงษ์ รัฐบาลมีทางเดียวคือจับสยามรัฐข้อหากบถ มีการสู้ความจนกระทั่งจอมพล สฤษดิ์ออกมาทำการปฏิวัติแล้ว ศาลจึงยกฟ้อง

กลับมาว่าด้วยเรื่องราว "หนูหล่อ" ที่ผมยกย่องว่าเป็นความหลักแหลมของสยามรัฐ ทำให้ผมได้รู้และยอมรับตามข่าวของสยามรัฐอีกคนว่า หนูหล่อคนนี้เป็นเด็กผู้ชายอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลอันเดียวคือ ถ้าเป็นเด็กหญิงพ่อเขาก็คงไม่พาไปเห็นหมี

เรื่อง "หนูหล่อ" จากแบบเรียนเร็วนี้ ผมเคยอ่านแต่ไม่เคยสนใจว่าหนูหล่อจะเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง ถึงวันนี้ ผมก็จำความไม่ได้แล้วว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร จำได้บ้างเล็กน้อยว่า

หนูหล่อ พ่อเขาพาไปดูหมี ที่นาตาหมอหลอ หนูหล่อแสนซน เอาไม้แหย่หมี...

แหย่แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไปผมก็จำไม่ได้ ถ้าใครรู้ก็ช่วยบอกผมที เพราะเกิดสนใจเด็กผู้ชายอย่างหนูหล่อเสียแล้วครับ

นอกจากผมจะสนใจหนูหล่อแล้ว ผมยังสนใจนาตาหมอหลอด้วย ถ้าจะต้องค้นคว้ากันทางด้านเกษตรก็เกิดความสงสัยไปอีกว่า นาตาหมอหลอ นั้นตั้งหน้าตั้งตาเลี้ยงหมี หรือว่าทำนากันแน่ ? และการเลี้ยงหมีจนกระทั่งมีหนูหล่อไปดูมานั้น เป็นความผิดของตาหมอหลอเข้าข่ายเลี้ยงสัตว์สงวนหรือไม่ ?

ความซนของหนูหล่อที่รักการผจญภัยประหนึ่งเป็น แฮร์รี พอทเตอร์ เป็นนิสัยเติมการพิสูจน์ยืนยันว่าหนูหล่อเป็นเด็กผู้ชายจริง เพราะเข้าใจหาไม้มาแหย่หมี ส่วนหนูหล่อจะหาไม้มาได้จากที่ไหนผมก็ไม่ได้สนใจ กลับไปสนใจว่า เมื่อหมีถูกแหย่ด้วยไม้หนูหล่อแล้ว หมีมีความรู้สึกอย่างไร

ชอบหรือโมโห ? ถ้าชอบแล้วหมีจะทำอาการอย่างใด หรือว่าถ้าโมโหแล้วเป็นอย่างไร ?

ในความทรงจำที่เลือนรางของผม เรื่องราวในแบบเรียนเร็วเล่มนั้น หมีน่าจะโมโห จนทำให้หนูหล่อกลับบ้านและไม่ยอมไปดูหมีที่นาตาหมอหลออีก

เมื่อไม่ได้ไปดูหมีที่นาตาหมอหลอแล้ว ผมก็คิดไปเองว่าหนูหล่อผู้รักการผจญภัยน่าจะเกิดความหงุดหงิด ทำให้อยากไปดูหมีในที่อื่น ๆ และหลังจากหนูหล่อพบหมีตัวอื่นแล้ว ลักษณะนิสัยของหมีตัวใหม่จะเหมือนตัวเก่าหรือไม่ก็คงไม่เป็นปัญหา เพราะผมเข้าใจดีว่าผู้แต่ง หนูหล่อภาค ๒ คงสร้างเรื่องให้หมีตัวใหม่มีนิสัยตรงข้ามกับตัวแรก กล่าวคือ เมื่อหมีโดนหนูหล่อเอาไม้แหย่ ก็เกิดอารมณ์ชอบขึ้นมาทันที

กลายเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างหนูหล่อกับหมีไปในที่สุด โรแมนติคเป็นบ้าไปเลย...!

แล้วหนูหล่อเมื่อเติบโตเป็นผู้ชายที่โตแล้ว ก็คงจะติดนิสัยเดิมๆ อยู่ เหมือนเด็กบางคนติดผ้าห่ม บางคนติดหมอน แต่หนูหล่อของผมติดไม้แหย่หมี เที่ยวแหย่หมีเรื่อย ๆ ไปทุก ๆ ตัวที่ได้พบด้วยความสำเริงสำราญเบิกบานใจ และด้วยความฮึกเหิมเกริมว่าเป็นผู้ชายคนเดียวหรืออีกคนของโลกที่มีความสามารถเฉพาะตัว มีศิลปะในการใช้ไม้แหย่หมี จนกระทั่ง...

...สุดท้ายแล้ว นายหล่อก็มีอันเสร็จหมีจนได้ เข้าทำนอง แกว่งเท้าเปล่าหาเสี้ยน หรือพูดให้ตรงประเด็นหน่อยก็คือ แกว่งคอหาเนคไท นั่นแหละครับ...!

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A116.png)
 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 16:58
น่าสังเกตว่า
1  หนูหล่อไม่เข้าใกล้หมี  แต่อยู่ห่างๆเอาไม้ไปแหย่
2 หมีโผมาไม่ถึงตัว  หนูหล่อก็ตกใจวิ่งหนี จนไม้ตำเข้าที่ขาเป็นแผลเหวอะหวะ
3  พ่อไม่ยักตีลูกชาย  ไม่ดุไม่เอ็ด   กลับสอนอย่างนิ่มนวลแทน
4  หนูหล่อก็เชื่อฟังอย่างง่ายดาย ไม่พาตัวเองเข้าไปใกล้แม้แต่หมาดุ   
ก็ต้องถือว่าเป็นเด็กผู้ชายที่เรียบร้อยหัวอ่อนว่านอนสอนง่ายมากค่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 17:01
ในหนังสือแบบหัดอ่านหนังสือไทย เล่ม ๓ นี้ยังกล่าวถึงบุคคลอีก ๖ ท่าน

สองท่านแรกคือ คุณกล่ำและคุณสง่า  ;)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ค. 14, 17:05
ท่านที่ ๓-๖ คือ คุณนาค, เด็กชายสุข, เด็กชายฟัก และครูแปลก  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ก.ค. 14, 23:49
ขมพูนึงท่านก็คะๆ ค่ะๆ ตลอด ส่วนอีกชมพูนึง พอท่านไม่หนอๆ ก็เลยเขียนภาษาไทยไม่มีคำสุภาพลงท้าย จะ...ฮ้า จะฮ่ะ อะไรก็ไม่มี เล่นห้วนๆไปเลย
ตกลงทั้งสองท่านเรียนแบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์ยุคเดียวกันหรือเปล่าขอรับ

ฟิ้ววววววววววว


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 08:40
ขอเปลี่ยนจากแบบเรียน มาเป็นคำพังเพยไทย

"ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด "


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 04 ก.ค. 14, 09:21
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49575;image)

ผมสันนิษฐานว่า ตอนคุณครูให้เด็กๆอ่านหน้านี้ เด็กๆจะอ่านกันเสียงเบาๆ แต่พอถึงคำว่า "เสือก" ทั้งห้องจะส่งเสียงดังโดยพร้อมเพรียงกันครับ  ;D ;D ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 09:25
(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)  (http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)  (http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 09:46
เห็นคุณนริศสนใจเรื่องราวในหนังสือแบบหัดอ่านหนังสือไทย  

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49573;image)

ทราบไหมว่า "สาขลา" ที่คุณกล่ำและคุณสง่าทำนาเกลือกันนั้นอยู่ที่ไหน

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 ก.ค. 14, 10:34
 
อ้างถึง
ขอเปลี่ยนจากแบบเรียน มาเป็นคำพังเพยไทย

"ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด "     
   

           ด้วยรู้จักทั้งสองเสือ  จึงจอดเรือเข้ามาหยอก
              

               ก็เพราะรักดอก  จะบอกให้หนอ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 04 ก.ค. 14, 11:02
อ่านกระทู้นี้ผ่านๆ เพราะตัวหนังสือแยะ (แทบไม่ได้อ่านก็ว่าได้) ทำไปทำมา นึกขึันได้ครับว่าเด็กๆอ่านเด็กหญิงเรณู เด็กชายปัญญา รูปสวยดี ส่วนแบบเรียนคณิตศาสตร์ของขุนประสงค์จรรยา (มั้ง)

มศ. 4/5 วิชา Reading อาจารย์สอน Rebecca ยังจำได้คำหนึ่งในเรื่องคือ (You are) rotten through and through พระเอกว่ารีเบคก้าหรืออะไรทำนองนี้

พอเรียนอุดมศึกษา ก็อ่าน Schaum's จำวิธี solve problems ไปทำข้อสอบ อิอิ (เป็นคู่มือเฉลยวิธีวิเคราะห์ปัญหา) ;D ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 04 ก.ค. 14, 11:06
ใช่ที่นี่ไหมครับ
http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/tour/bansakha.htm (http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/tour/bansakha.htm)

"บ้านสาขลา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมคลองสาขลา ในตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ"
อยู่ตำบลนาเกลือด้วย แต่ไม่รู้ว่าทุกวันนี้เขายังทำนาเกลือกันอยู่หรือไม่ 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 11:09
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49573;image)

"ตากล่ำ ทำนาเกลือ กะตาสง่า อยู่ที่สาขลา…"

ประโยคหัดอ่านง่าย ๆ จากแบบหัดอ่านหนังสือไทยเล่มปลาย คนมีอายุสักหน่อยอาจคุ้นตากับหนังสือเล่มนี้ และคงผ่านตาชื่อ "บ้านสาขลา" อยู่บ้าง แต่ในหนังสือเล่มดังกล่าวกลับไม่ได้ระบุว่าสถานที่แห่งนี้อยู่ที่ไหน บ้างอาจเข้าใจว่าไม่มีอยู่จริง หรือมี ก็คงอยู่ในหนังสือเท่านั้น

ทว่าแท้จริงแล้วหมู่บ้านนี้มีตัวตน และอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากชายฝั่งทะเลในเขตตำบลแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ  สำหรับคำว่า "สาขลา" ชาวบ้านเชื่อว่าเพี้ยนมาจาก "สาวกล้า" อันเป็นคำเชิดชูความกล้าหาญของบรรพบุรุษชาวสาขลาซึ่งมีแต่สตรีและคนชราเข้าร่วมต้านทัพพม่าในคราวสงครามเก้าทัพ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนได้รับชัยชนะที่สมรภูมิคลองชัยซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านสาขลา

นอกจากประวัติชื่อบ้านที่น่าสนใจและยังคงเป็นปริศนาน่าค้นหาแล้ว หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีเสน่ห์ในเรื่องวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ยังเป็นภาพความทรงจำของคนรุ่นหลัง นั่นคือการทำนาข้าวและนาเกลือ แม้ปัจจุบันจะไม่พบเห็นแล้วก็ตาม

หากดูสภาพพื้นที่แถบนี้ ออกจะแปลกใจอยู่ไม่น้อยว่าแต่ก่อนชาวบ้านสาขลาทำนากันได้อย่างไร ด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ประชิดติดทะเลและสภาพดินแข็งยากแก่การปักดำ หากกระนั้นชาวสาขลาก็ยังปลูกข้าวได้ปีละครั้ง  ข้อสงสัยนี้ได้รับความกระจ่างจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในท้องที่ที่พาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของวัดสาขลา ด้วยที่นี่นอกจากเก็บโบราณวัตถุของวัดแล้วยังรวบรวมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากินของชาวบ้านทั้งในอดีตและปัจจุบันมาจัดแสดงด้วย

อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งดูแปลกตาสำหรับคนรุ่นปัจจุบัน เป็นไม้เนื้อแข็งเหลาแหลมลักษณะเหมือนลูกบวบเหลี่ยมมีด้ามจับ นั่นคือเครื่องมือสำคัญในการทำนาของบ้านสาขลาเลยทีเดียว คือใช้แทงลงดินก่อนนำต้นกล้าลงปักดำ คนบ้านสาขลาบอกว่าการทำนาที่นี่ต้องรอช่วงเวลาน้ำเหนือหลากมา เพราะจะมีน้ำจืดมากพอที่จะปลูกข้าวได้ และไม่ใช้ควายไถนา อาศัยเพียงคราดเท่านั้น  บริเวณผืนนาของหมู่บ้านคือด้านหลังของวัดสาขลา ขณะที่อีกฟากหนึ่งเป็นผืนนาเกลือ โดยชาวบ้านจะทำเกลือในช่วงหน้าแล้งเพราะเป็นช่วงที่น้ำจืดไหลลงมาน้อย ปริมาณน้ำเค็มมากและหนุนสูง สามารถชักน้ำเค็มจากคลองส่งน้ำ เช่นคลองตลาดและคลองแหลม เข้าสู่ "วังขังน้ำ" ได้

อุปกรณ์ที่ชาวบ้านใช้ทำนาเกลือประกอบด้วย "รั่ว" ลักษณะคล้ายพลั่วสี่เหลี่ยมทำจากไม้ และ "ไม้มือ" ลักษณะเป็นแผ่นไม้ครึ่งวงกลมสองอันไว้สำหรับตักเกลือ  "คานหาบเกลือ" เป็นอุปกรณ์สำหรับขนย้ายเกลือเข้ายุ้งเก็บเกลือ

สำหรับขั้นตอนทำเกลือนั้นจะคล้ายกันในพื้นที่อื่น ๆ โดยมีการแบ่งส่วนนาเกลือไว้คือ "วังขังน้ำ" มีไว้สำหรับกักน้ำใช้ทำนาเกลือ แล้วเมื่อจะใช้ก็ชักน้ำเข้าไปยัง "นาตาก" ซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้สำหรับตากน้ำทะเลกับแสงแดด ให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยไปเพื่อให้ได้น้ำที่มีความเค็มเข้มข้น เมื่อเสร็จแล้วจึงถ่ายสู่ "นาเชื้อ" อันเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำเค็มเข้มข้นพอที่จะทำเป็นเกลือได้ หลังจากนั้นจึงถ่ายมายัง "นาปลง" ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายที่จะผลิตเป็นเกลือเม็ด

เมื่อไขน้ำเกลือมาสู่นาผืนสุดท้ายนี้แล้ว ต้องตากไว้ประมาณ ๓-๔ วัน แล้วจึงถ่ายกลับไปยังนาเชื้ออีกที ทำเช่นนี้กลับไปมาอีก ๓-๔ ครั้งจนเกลือเริ่มตกผลึกและมีปริมาณเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออกแล้วค่อยแซะเกลือมากองไว้เป็นกอง ๆ อย่างที่เราเห็นเวลาขับรถผ่านไปแถบจังหวัดสมุทรสาคร

การทำนาเกลือและนาข้าวของบ้านสาขลาจึงอาศัยการหมุนเวียนของปริมาณน้ำเป็นหลัก หากน้ำจืดไหลลงมาเยอะก็จะทำนาข้าว เมื่อไรที่น้ำเค็มขึ้นมาก ผลักน้ำจืดถอยร่นไป ก็จะทำนาเกลือแทน วิธีการทำนาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของชาวสาขลาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปเกลือราคาถูกลง ทำให้เกลือจากบ้านสาขลาไม่อาจแข่งขันกับที่อื่นได้ อาจเพราะพื้นที่ทำนามีอยู่น้อย และความไม่แน่นอนของผลผลิตทำให้ไม่อาจสู้แหล่งผลิตใหญ่อย่างทางสมุทรสาครได้ ประกอบกับการเลี้ยงกุ้งเริ่มแพร่หลายและได้ราคาดี ชาวบ้านจึงหันมาทำนากุ้งแทน  อีกทั้งการพังทลายของชายฝั่งทำให้น้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านสาขลาเลิกทำนาข้าวอย่างถาวรมากว่า ๕๐ ปีแล้ว ส่วนนาเกลือก็ค่อย ๆ เลิกรากันไปจนหมดในที่สุด

"…น้ำทะเลแท้ ๆ ทำไมทำเกลือได้ คือ เกลือมีอยู่ในน้ำทะเล"

ประโยคครั้งอดีตในหนังสือเรียนหัดอ่านฯ เล่มเดิมยังคงอยู่ในตำราเรียนเพียงเท่านั้น เพราะเวลานี้เกลือได้หายไปจากบ้านสาขลาหมดสิ้นแล้ว

จาก นิตยสารสารคดี ฉบับที่ี ๓๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (http://www.sarakadee.com/2012/08/03/sakla-naklue/)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 04 ก.ค. 14, 11:14
อ้างถึง
แบบเรียนคณิตศาสตร์ของขุนประสงค์จรรยา
เล่มนี้ รุ่นผมก็ไม่ได้ใช้ครับ แต่คุณพ่อเคยหามาให้ทำ จำได้ว่าทำเรื่อง บัญญัติไตรยางค์
รู้สึกว่า โจทย์ยากกว่าหนังสือคณิตศาสตร์ที่ใช้เรียนอีกครับ



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 11:24
ส่วนแบบเรียนคณิตศาสตร์ของขุนประสงค์จรรยา (มั้ง)

มศ. 4/5 วิชา Reading อาจารย์สอน Rebecca ยังจำได้คำหนึ่งในเรื่องคือ (You are) rotten through and through พระเอกว่ารีเบคก้าหรืออะไรทำนองนี้

พอเรียนอุดมศึกษา ก็อ่าน Schaum's จำวิธี solve problems ไปทำข้อสอบ อิอิ (เป็นคู่มือเฉลยวิธีวิเคราะห์ปัญหา)
;D ;D

ท่านอาจารย์ อนุญาตให้มีได้แต่แบบเรียนภาษาไทยหรือเจ้าคะ   :)
ึุคุณ POJA  เรียนแบบเรียนอะไรคะ?
ชื่อกระทู้นี้คือแบบเรียนภาษาไทยค่ะ  

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A116.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 15:32
ตากล่ำกับตาสง่า เอาเกลือใส่เรือไปขายที่แควใหญ่
แควใหญ่อยู่ที่ไหนคะ   กาญจนบุรีหรือเปล่า
ถ้างั้นทำไมตากล่ำแกถึงเดินเรือไปไกลนัก    ขายใกล้ๆสมุทรปราการไม่ดีกว่าหรือ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 04 ก.ค. 14, 17:25
 :'(  :'(  :'(

โดนดุซ้อนสองครั้ง ไม่รู้เนื้อรู้ตัว   ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 18:06
อ้างถึง
ขอเปลี่ยนจากแบบเรียน มาเป็นคำพังเพยไทย

"ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด "      
 

           ด้วยรู้จักทั้งสองเสือ  จึงจอดเรือเข้ามาหยอก            

               ก็เพราะรักดอก  จะบอกให้หนอ

ไปค้นเจอบทพิเศษ นอกหนังสือเรียนเรื่องหนูหล่อ เลยคัดมาให้อ่าน

 " เมื่อหนูหล่อหายดีแล้ว    พ่อเขาพาไปดูเสือสีชมพูที่นาน้าหนอ  น้าหนอแกก็เล่าให้รู้ว่า เสือแกดุ  ได้มาใหม่ ๆ   ถ้าอยากจับเสือ ให้ถามลุงกุ๊กเสียก่อน   ว่าเสือชื่ออะไร  อยู่ที่ไหน    เมื่อรู้ดีแล้ว ค่อยทักทายเสือ      หนูหล่อเชื่อแก ก็ไปหาลุงกุ๊ก ว่าเสือชื่ออะไร เมื่อรู้แล้วก็เข้าไปถามเสือ  "

เสียดาย หน้ากระดาษขาดไปแค่นี้เองค่ะ   เลยไม่รู้จนแล้วจนรอดว่าเสือสีชมพูตัวดุ  ชื่อว่าอะไร

ป.ล. เสือสีชมพูมีตัวเดียว  สีเทาลายชมพูเป็นแมวค่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 19:57
หนูหล่อกำลังเล่นน้ำอยู่ข้างแพที่สำเหร่ คิดถึงคำถามเรื่อง"แควใหญ่" ของแมวเทาลายชมพู จึงคิดว่าคำตอบน่าจะเป็นชื่อตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ จากสาขลา สมุทรปราการสามารถล่องเรือขึ้นเหนือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงแควใหญ่ นครสวรรค์ได้ไม่ยาก

ป.ล. หนูหล่อไปดูมาแล้ว ที่นาน้าหนอไม่มีเสือดอกมีแต่แมว

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 14, 20:43
แกนั่งเรือไปขายไกลมากนะคะ   คุ้มค่าใช้จ่ายและเวลาหรือเปล่า


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 14, 10:23
ตั้งข้อสังเกตว่า
สินค้าในแบบเรียนพวกนี้ 99% มาจากทรัพยากรธรรมชาติของไทย     มี 2 อย่างที่คนผลิตขึ้นมาคือผ้าไหม และหม้อ   เป็นงานแฮนด์เมดทั้งสองอย่าง    สินค้าอุตสาหกรรมไม่มีเลย 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 05 ก.ค. 14, 19:08
ตั้งข้อสังเกตว่า
สินค้าในแบบเรียนพวกนี้ 99% มาจากทรัพยากรธรรมชาติของไทย     มี 2 อย่างที่คนผลิตขึ้นมาคือผ้าไหม และหม้อ   เป็นงานแฮนด์เมดทั้งสองอย่าง    สินค้าอุตสาหกรรมไม่มีเลย  

หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศสยามก็เปิดต้อนรับสิ่งที่เรียกว่าอุตสาหกรรม ปัจจัยการผลิตคือไฟฟ้า ประปา ฯลฯซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 มีการจัดหมวดหมู่แบ่งแยกประเภทอุตสาหกรรม ผ้าไหมและเครื่องปั้นดินเผาจัดอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมในครอบครัวครับ ที่จัดประเภทเพราะจะต้องวางแผนพัฒนาส่งเสริม หรืออย่างน้อยต้องมีฐานข้อมูลไว้

อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ คนไทยเรานิยมเรียกกันว่าสินค้าหัตถกรรม หรือสินค้าพื้นเมือง เคยพบเรียกโดยใช้คำ produce ที่หมายถึงวัตถุสิ่งของ ไม่ใช่คำกริยาที่แปลว่าผลิต เข้าใจว่าคงต้องการหมายถึงสินค้าพื้นเมือง ไม่ใช้คำ product ซึ่งปกติใช้หมายถึงผลิตภัณฑ์จากโรงงานอุตสาหกรรม


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 14, 09:51
และแล้วการศึกษาวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถม ก็มาถึงจุดเปลี่ยน กระเทือนไปทั้งประเทศ

ก่อนหน้ามานะ มานี ปิติและชูใจ     นักเรียนประถมเคยมีเพื่อนชื่อดช.ปัญญา และดญ.เรณู เรียนที่โรงเรียน
และพาขึ้นรถไฟไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วย


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49529;image)

ดังตัวอย่างที่ "บ้านดงดำ"

หนังสือเรียนนั้น ชั้นแรกมันไม่เท่าไรมีหนังสือหัดอ่านแบบเรียนเร็วเล่ม ๑ เล่มเดียว ราคาเล่มละบาท พอจะหยิบยืมของเก่าบ้าง ซื้อใหม่บ้างถูไถกันไปได้ปีหนึ่ง ๆ

ต่อมาซี ยุ่งกันใหญ่ ชาวบ้านไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน !

ครูใหญ่สะบัดหัวเร่า ๆ เพราะทางกระทรวงศึกษาธิการสั่งพิมพ์หนังสือจากญี่ปุ่น เป็นแบบเรียนมาตรฐานพิมพ์สอดสีสวยงามพิลึก กระดาษอย่างดี ทัดเทียมตำราฝรั่งเชียวละ  ที่เขาเรียกกัน แบบเบสิค

อ่านเป็นคำ

อ่านเป็นตัว

อ่านเป็นประโยค

อ่านเป็นเรื่องโดยมีเด็กชายปัญญาเป็นพระเอก  เด็กหญิงเรณูเป็นนางเอก

นักวิชาการบอกว่าวิธีผสมอักษรแบบ  ก-อา-กา, มา-อา-มา ,กา-มา นั่นมันล้าสมัย ล้าหลังเขานัก บ้านเมืองของเราจึงตามประเทศอื่นเขาไม่ทันสักที

เด็ก ๆ มันก็ชอบหรอก เพราะมีรูปสวย ๆ ให้เปิดดูเล่น พูดคุยกันสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่พ่อแม่เด็กนะสิไม่สนุกด้วย  หนังสือเล็ก ๆ เล่มเดียวต้องใช้เงินถึง ๕ บาท

พอเปิดเทอม  ก็มีคำสั่งบังคับลงมาเลยว่าให้ใช้แบบเรียนเล่มใหม่ แบบเก่าที่มีตาดีมือแปเป็นพระเอกมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่เป็นอันตกอันดับไป   ชาวบ้านที่เคยสงบเสงี่ยมก็ออกมาพูดคุยกัน วงสนทนาชักจะมีเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ

บางคนก็จะเอาลูกออกจากโรงเรียน ไปทำนา เลี้ยงควาย ไม่ต้องเรียนหนังสือ เพราะเรียนไปก็ไม่มีบุญวาสนาได้เป็นเจ้าคนนายคนอยู่แล้ว  บางคนก็บ่นว่าเดี๋ยวเปลี่ยน ๆ แทนที่จะใช้ของพี่ได้บ้างก็ต้องซื้อใหม่ ของเก่ายังใช้อ่าน ใช้เรียนไปได้อีกหลายปี

ครูใหญ่ก็เข้าใจชาวบ้าน แต่ในฐานะครูใหญ่ที่ทำงานไปตามนโยบายของราชการก็ต้องพยายามหาทางทำความเข้าใจ  แกบอกว่า  โลกมันเจริญขึ้นทุกวัน  พวกเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปให้ทันโลก  แต่ชาวบ้านก็ไม่ยอมเชื่อง่าย ๆ กลับย้อนว่า มันเจริญขึ้นยังไง  มีแต่ถอยลง   เหมือนกับเพลงที่เขาร้องในวิทยุว่า  “สาละวันเตี้ยลง....เตี้ยลง...สาละวัน” ดูตัวอย่างใกล้ ๆ ก็ได้  บ้านดงดำเมื่อก่อนพอเดือนหก  ฝนฟ้าก็ตกได้ทำนาทำไร่  ข้าวเต็มยุ้งเต็มฉาง  เดี๋ยวนี้ฝนฟ้ามันหลบหายไปไหนหมด    นี่หรือคือความเจริญของครู

ถึงกระนั้น ครูใหญ่ก็ยังเดินหน้าตามนโยบายของกระทรวงต่อไป


จาก ตำนานเถื่อน : โรงเรียนป่า ตอนที่ ๗ (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=262611) โดย พันพูมิ  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 14, 10:02
เด็กชายปัญญาเข้ามามีบทบาทได้ไม่ถึงเทอมก็เกิด “กบฏ” ขึ้นในวงการศึกษา  เกือบถึงขั้นเดินขบวนต่อต้านกันทีเดียว เพราะบรรดาครูบ้านป่าทั่วประเทศไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนหนังสือเรียนจาก ก-อา-กา มาเป็นแบบ เบสิค ไม่ยอมรับเด็กชายปัญญาพระเอกคนใหม่ ยังอาลัยอาวรณ์ตาดีมือแปพระเอกคนก่อนอยู่

แต่มันก็มีเหตุปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวโยง

มีจดหมายครูบ้านป่าตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์

เรียน  บรรณาธิการ

เราคือครูบ้านป่า บ้านดง ภูมิปัญญาน้อย อยู่บ้านนอก บ้านนามีปากก็เหมือนมีอย่างอื่น พูดไม่ออก พูดไม่ดัง จึงขอยืมหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ของท่านเป็นสื่อ ช่วยเรียนท่านผู้หลักผู้ใหญ่ในทำเนียบให้รับทราบด้วย

ตามที่ได้เปลี่ยนแปลงแบบเรียนชั้น ป. ๑ เป็นแบบเบสิคนั้น พวกเราฟังเสียงครูและผู้ปกครองเด็กแล้ว ต่างไม่เห็นด้วยกันทั้งนั้น ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ประการแรก ราคาแพงมาก ผู้ปกครองเด็กส่วนมากยากจน ไม่มีเงินซื้อ เป็นที่เดือดร้อนทั่วไป เมื่อผู้ปกครองไม่ยอมซื้อ ภาระก็ตกหนักอยู่ที่ครู  ประการที่สอง ไม่สะดวกในการสอน และการอ่านเป็นคำ ๆ นั้นเหมาะกับเมืองฝรั่ง ไม่เหมาะกับเมืองไทย ภาษาไทยอยู่คนละตระกูลกับภาษาฝรั่ง เป็นภาษาคำโดด  เราสอนแบบผสมอักษรตามแบบเรียนเล่มเก่าก็ไม่เห็นเสียหายอะไร สอนให้คนอ่านออกเขียนได้เป็นผู้ใหญ่ ผู้โตมานักแล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนให้แพงเงิน ประการที่สาม การพัฒนาบ้านเมืองไม่ได้อยู่ตรงนี้หรอก จะอ่านกันอีท่าไหนไม่สำคัญขอให้มันอ่านออกก็แล้วกัน หรือว่าการสั่งพิมพ์หนังสือจากญี่ปุ่นกำไรงาม...”


นี่คือเสียงสะท้อนในยุคที่มีการปกครองที่ไร้รัฐธรรมนูญ มีจคหมายหลั่งไหลไปจากทุกมุมของประเทศ เป็นการแสดงออกที่เหลือจะอดกลั้น คนไม่เคยอดไม่รู้รสความหิว คนเคยเดินถนนคอนกรีตไม่รู้รสการลุยโคลน ยุงกรุงเทพฯกัดเจ็บ แต่ยุงบ้านป่ามีเชื้อไข้มาเลเรีย

ข่าวว่า ครูจับกลุ่มกันวิจารณ์ทุกแห่งหน ไม่สนจะมีข่าวลือต่าง ๆ นานาหาว่ากลุ่มครูบ้านป่า บ้านดงกำลังก่อการกบฏ ทำตัวเหมือน "ผีบ้า-ผีบุญ" สภากาแฟโต้กันครื้นเครง จากวงการครูเข้าวงชาวบ้าน ใคร ๆ ก็รู้จักกลุ่มครูบ้านนอกที่ต่อต้านแบบเรียนใหม่ในยุคเผด็จการครองเมือง

จาก ตำนานเถื่อน : โรงเรียนป่า ตอนที่ ๙ (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=262736)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 14, 10:30
ถัดจาก "ปัญญาเรณู" ก็มี "สุดาคาวี"  แต่งโดยนายอภัย จันทวิมล  และมานะธิดา แต่งโดยนางเบญจา แสงมะลิ

นายอภัย จันทวิมล อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้กล่าวถึงความเป็นมาของแบบเรียน "สุดาคาวี" ไว้ว่า

" ... เมื่อเริ่มปฏิบัติงานตามโครงการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาฉะเชิงเทราในปี ๒๔๙๔ มิสเตอร์ โธมัส วิลสัน หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญขององค์การศึกษาฯ สหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ได้ปรารภแก่ข้าพเจ้าว่า ในการสอนอ่านสำหรับเด็กเริ่มเรียนนั้น ควรมีหนังสือแบบสอนอ่านอย่างง่าย ๆ ที่สอนให้เด็กอ่านเป็นคำสักชุดหนึ่ง ทำนองหนังสือชุด Janet and John ซึ่งใช้ในประเทศนิวซีแลนด์ ข้าพเจ้าจึงได้พยายามถอดหนังสือชุดนั้นออกเป็นภาษาไทย โดยดัดแปลงจากต้นฉบับเดิมตามที่ข้าพเจ้าเห็นสมควร ในที่สุด ได้หนังสือเล่มเล็ก ๆ ๔ เล่ม ซึ่งข้าพเจ้าให้ชื่อว่า หนังสือชุด สุดากับคาวี

เล่ม ๑ ให้ชื่อว่า "มาดูอะไร"
เล่ม ๒ ให้ชื่อว่า "ไปเล่นด้วยกัน"
เล่ม ๓ ให้ชื่อว่า "ออกไปข้างนอก"
เล่ม ๔ ให้ชื่อว่า "ฉันออกจากบ้าน"

หนังสือชุดนี้ได้พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๙๔ จำนวนเล่มละ ๒,๐๐๐ ฉบับ สำหรับใช้ในราชการตามโครงการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาฉะเชิงเทรา โดยโครงการข้อ ๔ ของประธานาธิบดีทรูแมน เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ให้ ในการนี้ มิสเตอร์ โธมัส วิลสัน ได้แจ้งแก่ข้าพเจ้าว่า ได้ติดต่อกับบริษัท Row Peterson ซึ่งเป็นเจ้าของต้นฉบับหนังสือชุด Janet and John แล้ว ทางบริษัทไม่ขัดข้องในการที่องค์การปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาฉะเชิงเทราจะพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเพื่อใช้ในราชการ ..."


จาก คำนำหนังสือชุด สุดากับคาวี ฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์คุรุสภา ปี พ.ศ.๒๕๐๐ (http://www.taradplaza.com/product/366580)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 14, 11:09
หนังสือคู่แฝด Janet and John และ สุดาคาวี  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 14, 11:28
มีข้อมูลอีกทางหนึ่งกล่าวว่าหนังสือแบบเรียนที่ถูกครูประชาบาลแอนตี้นั้น คือชุด "สุดาคาวี" และ "มานะธิดา"

ครูคำหมาน คนไค เคยเอ่ยถึงหนังสือชุดสุดา คาวี มานะ ธิดา ว่า เป็นแนวคิดของนักวิชาการช่วงนั้นที่ต้องการให้เด็กไทยหัดอ่านตัวหนังสือเป็นคำ ๆ ไม่ต้องสะกดด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ตามลำดับ ซึ่งล่าช้า จึงได้มีหนังสือเรียนตามรูปแบบดังกล่าว พิมพ์สอดสีด้วยกระดาษอย่างดี จากโรงพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น มาให้เด็กนักเรียนชั้นประถมตอนต้นได้หัดอ่านกัน

ปัญหาก็เกิดขึ้น เพราะราคาค่างวดหนังสือแพงกว่าเดิมหลายเท่า และหาซื้อได้ลำบากและได้รับการคัดค้านจากวงการครูประชาบาลทั่วประเทศ เกี่ยวกับหนังสือเรียนชุดนี้ จนในที่สุดได้เปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือหัดอ่านชุด ตาดี มือแป ซึ่งมีราคาถูกกว่า


ข้อมูลจาก คุณ black_express (http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2577&start=12)  ;D



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 14, 14:03
คนรุ่นอายุ 40 ปัจจุบัน  โดยเฉพาะที่เรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ตั้งแต่ปี 2521 - 2537 จะใช้ชุดหนังสือภาษาไทยมานีมานะปิติชูใจ... ผมทันเรียนมานีมานะ และยังใช้หนังสือชุดนี้สอนเด็กไทยหัดอ่านหัดเขียนอยู่

หนังสือเรียนภาษาไทยที่คุณประกอบทันเรียนนี้มีอยู่ ๑๒ เล่ม ใช้สอนตั้งแต่ ป.๑-ป.๖ ชั้นละ ๒ เล่ม เป็นตำราสอนภาษาไทยที่หวนกลับมาใช้วิธีเดิมคือสอนวิธีผสมอักษร ไม่ใช่จำเป็นคำ ๆ อย่างเล่มก่อน ๆ เสริมด้วยเนื้อเรื่องและภาพประกอบที่น่าสนใจ จึงเป็นที่ติดตาตรึงใจและหวนคำนึงหาของบรรดาผู้ที่เคยใช้แบบเรียนรุ่นนี้

คุณประกอบลองหวนคำนึงถึงความหลังกับเด็ก ๆ พวกนี้หน่อยเป็นไร ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 08 ก.ค. 14, 15:12
ผมก็รุ่นมานีครับ 


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 09 ก.ค. 14, 00:03
วันนี้ดูข่าวน้องแก้ม  ทั้งเศร้าทั้งแค้นจนไม่มีอารมณ์ตอบเลยครับ ตามห่วงมาตั้งแต่เมื่อวาน แต่ล้วก็....


ขอยกการเสวนาเรื่องมานีกับซายาเพ็ญฯไว้ก่อนนะครับ  :'(  :'(  :'(


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 14, 08:34
เศร้าแสนแค้นสะสม         วอนสายลมเข้าสะสาง
ชดใช้ชีพวายวาง            ญาติมิตรจางจากระทม


 :'( :'( :'(

ภาพประกอบจาก แบบเรียนประถมศึกษาชุด "เรณู-ปัญญา" เที่ยวรถไฟ (ปลายทาง)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 14, 08:39
ผมก็รุ่นมานีครับ  

เชิญคุณนริศร่วมวงเสวนา  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 09 ก.ค. 14, 11:37
แผนที่นี้สมัยเด็กๆ ผมชอบพลิกดูครับ (จำได้ว่าอยู่ปกหลังใช่ไหมครับ) ดูแล้วก็เอาดินสอมาเขียนเล่นว่า มานีไปโรงเรียนทางนี้ แล้วไปตลาด แวะสนามเด็กเล่น สนุกมาก  ;D

หลังๆ พอมีเพื่อนของมานีเพิ่มขึ้น เช่น เพชร จันทร ก็ไม่ได้มีการเพิ่มเติมแผนที่ว่าสองคนนี้บ้านอยู่ไหน แล้วสำนักงานเกษตรอำเภออยู่ไหนหนอ สงสัยไม่มีที่ตั้งสำนักงาน ใช้อาคารของที่ว่าการอำเภอ  :D :D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 14, 12:15
ถ้าตามหนังสือเล่ม ๑ แผนที่อยู่ตอนต้นของเล่ม เล่มนี้วีระกับเจ้าจ๋อยังไม่ออกโรง มาเริ่มบทบาทที่เล่ม ๒  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.ค. 14, 14:23
บทที่ ๑ เปิดตัวด้วยพยัญชนะ ๕ ตัวคือ ด ต น ม และอ กับสระอีก ๒ ตัวคือ สระอาและสระอี พร้อมทั้งกำกับวิธีอ่านตามวิธีมาตรฐาน ตา อ่านว่า ต - อา - ตา   มี อ่านว่า ม -อี - มี  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 14, 09:13
หน้าตาของหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุด "มานะ มานี ปิติ วีระ ชูใจ" ป.๑ และ ป.๒

ป.๑ เล่ม ๑
http://www.slideshare.net/sornordon/1-1-10951899 (http://www.slideshare.net/sornordon/1-1-10951899)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7888761/K7888761-10.jpg) (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7888761/K7888761-11.jpg)

ป.๑ เล่ม ๒
http://www.slideshare.net/sornordon/1-2-11010807 (http://www.slideshare.net/sornordon/1-2-11010807)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7889119/K7889119-6.jpg) (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7889119/K7889119-7.jpg)

ป.๒ เล่ม ๑
http://www.slideshare.net/KooTuey/2-1-27145808 (http://www.slideshare.net/KooTuey/2-1-27145808)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7895884/K7895884-14.jpg) (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7895884/K7895884-15.jpg)
 

ป.๒ เล่ม ๒
http://www.slideshare.net/KooTuey/2-2-27145932 (http://www.slideshare.net/KooTuey/2-2-27145932)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7902722/K7902722-9.jpg) (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7902722/K7902722-10.jpg)

คุณประกอบน่าจะพอคลายความระทมจากเรื่องเด็กหญิงบนรถไฟลงบ้าง ขอเชิญร่วมวงอีกครั้ง  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 15 ก.ค. 14, 10:17
ผมกลับไปบ้านหยุดยาวคราวนี้ ได้คุยกับคุณพ่อซึ่งเป้นครูโรงเรียนประถม (เกษียณแล้ว)
 
ท่านเล่าว่า เด็กๆ ที่ท่านเคยสอน มักมีปัญหาเขียนหนังสือไม่ถูก วิธีสอนให้เด็กอ่านตามลำดับการเขียน (โอ-ตอ = โต) สามารถช่วยให้เด็กเขียนให้ถูกต้องขึ้นได้อยู่เหมือนกัน แต่ก็จะไปเกิดปัญหาการสะกดคำแทน พ่อจึงสอนให้เด็กๆ ออกเสียงสองรอบ คือทั้งออกเสียงตามลำดับการเขียน แล้วออกเสียงแบบการสะกดคำคู่กันไปด้วย เด็กๆจะออกเสียงว่า 

"โอ-ตอ-โต ตอ-โอ-โต"

ท่านว่า แบบนี้ได้ผลทั้ง 2 ทาง เขียนก็ได้ สะกดคำก็ได้ แต่ช้าหน่อย เด็กคนไหนที่ช้ามากๆ ต้องขอให้อยู่หัดอ่านหลังเลิกเรียน สมัยผมเด็กๆ เคยเห็นให้พ่อลูกศิษย์มาที่บ้านวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อหัดอ่านก็มีครับ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 14, 12:34
สำหรับเด็กที่ปัญหาในการเขียนอย่างนี้ ก็คงต้องใช้วิธีของคุณพ่อคุณนริศ  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 15 ก.ค. 14, 17:29
จริงๆ เรื่องการออกเสียงกับการวางตำแหน่งสระนั้น สอนให้เด็กเข้าใจได้ไม่ยากเลย และอาจเพียงใช้ระยะเวลาตอนเริ่มต้นเพียงนิดหน่อย คือสอนให้เด็กเข้าใจว่า การออกเสียงผสมคำ ให้ออกเสียงพยัญชนะก่อน ตามด้วยเสียงสระ แล้วนำมาผสมคำ  แต่เวลาเขียน ให้ใช้ความจำว่าสระบางตัว อาจจะวางตำแหน่งหน้าพยัญชนะ เช่นสระ โ ไ ใ  เ  เด็กก็แค่จำว่าถ้าเจอสระพวกนี้ ให้มองในลำดับถัดไปว่าพยัญชนะอะไร แล้วก็ออกเสียงตามละดับโดยเริ่มที่พยัญชนะก่อน ก็แค่นั้นเอง ความสับสนเรื่องวางตำแหน่งสระผิดอาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่หัดเขียนเท่านั้น เมื่อเขียนบ่อย จำกฏการเขียนได้ สุดท้ายก็จะไม่มีปัญหาในการเขียน  หรือจะใช้วิธีแบบคุณพ่อคุณนริศก็ได้ แต่จะใช้เวลา และอาจจะเหมาะกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ช้าสักหน่อย

แต่การสอนให้ออกเสียงโดยใช้ลำดับการวางสัญลักษณ์ต่างๆ ของคำเป็นหลัก แล้วออกเสียงตาม นอกจากผิดหลักแล้วยังผสมเสียงได้อย่างไม่เป็นธรรมชาติ สุดท้ายกลายเป็นการจำเสียงคำเป็นคำๆ ไป และสร้างปัญหาในระยะยาวมากกว่า ผมเห็นเป็นความกระแดะของนักการศึกษาบางโรงเรียนมากกว่า ที่ต้องการสรา้งความต่างแบบไม่ฉลาดอย่างมาก


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 14, 18:01
วันนี้ึ คุณชายประกอบเทพมามาดนักวิชาการ ระดับบริหาร


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 15 ก.ค. 14, 19:34
วันนี้ึ คุณชายประกอบเทพมามาดนักวิชาการ ระดับบริหาร

ช่วงนี้รับข่าวสารบ้านเราแล้วมันสลดหดหู่มองเห็นแต่หล่มเหวรออยู่เบื้องหน้าครับ  รู้สึกเบื่อหน่ายต่อทัศนคติของคนไทยจำนวนไม่น้อย  จนรู้สึกเบื่อคนไทยอย่างรุนแรง ช่วงนี้เลยขำไม่ออก ไม่ว่าเรื่องอะไรเลยครับ :( :( :(


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 14, 11:33
จริงๆ เรื่องการออกเสียงกับการวางตำแหน่งสระนั้น สอนให้เด็กเข้าใจได้ไม่ยากเลย และอาจเพียงใช้ระยะเวลาตอนเริ่มต้นเพียงนิดหน่อย คือสอนให้เด็กเข้าใจว่า การออกเสียงผสมคำ ให้ออกเสียงพยัญชนะก่อน ตามด้วยเสียงสระ แล้วนำมาผสมคำ  แต่เวลาเขียน ให้ใช้ความจำว่าสระบางตัว อาจจะวางตำแหน่งหน้าพยัญชนะ เช่นสระ โ ไ ใ  เ 

ตอนเด็ก ๆ ไม่เคยมีปัญหาการเขียนลำดับสระผิด ส่วนหนึ่งคงได้แบบเรียนเล่มนี้ช่วย   ;)

ส่วนเจ้าของบ้านเรียนการอ่านภาษาไทยเล่มนี้ตั้งแต่ชั้นประถม  ทำให้อ่านหนังสือได้คล่องเหมือนกัน ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49470;image)

แบบเรียนเล่มนี้มีการแสดงตำแหน่งของสระ และวิธีผสมพยัญชนะกับสระ  ;D


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ค. 14, 12:32
จริงๆ เรื่องการออกเสียงกับการวางตำแหน่งสระนั้น สอนให้เด็กเข้าใจได้ไม่ยากเลย และอาจเพียงใช้ระยะเวลาตอนเริ่มต้นเพียงนิดหน่อย คือสอนให้เด็กเข้าใจว่า การออกเสียงผสมคำ ให้ออกเสียงพยัญชนะก่อน ตามด้วยเสียงสระ แล้วนำมาผสมคำ  แต่เวลาเขียน ให้ใช้ความจำว่าสระบางตัว อาจจะวางตำแหน่งหน้าพยัญชนะ เช่นสระ โ ไ ใ  เ 

เรียนมาเหมือนคุณประกอบค่ะ    สงสัยจะเรียนเล่มเดียวกับคุณเพ็ญชมพู



กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 16 ก.ค. 14, 20:24
เล่มนี้ใช่มั้ย ที่มีบทหนึ่งขึ้นต้นว่า

แต่ก่อนๆคนเรายังโง่..


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 14, 08:57
ได้สมาชิกแบบเรียนเร็วใหม่อีกคนหนึ่งแล้ว  ;)

บทที่คุณ Jalito พูดถึงมีชื่อว่า "คนแต่ก่อน" มีรูปประกอบเป็นมนุษย์ถ้ำถือกระบองเอากวางที่ถูกทุบแล้วพาดบ่ามากำนัลแก่ศรีภรรยาที่เลี้ยงลูกน้อยอยู่ในถ้ำ อีกภาพหนึ่งมนุษย์ถ้ำกำลังล้อมวงรับประทานอาหารกลางแจ้งดูมีความสุขดี ตอนที่เรียนอยู่จำบทนี้ได้ดีก็เพราะภาพประกอบแปลกประหลาดนี่แหละ

สมาชิกแบบเรียนเร็วใหม่อีกท่านหนึ่งคือคุณกิเลน ประลองเชิง แห่งไทยรัฐ ได้เขียนถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ใน คอลัมน์ "ชักธงรบ" ในหัวข้อ "คนแต่ก่อน" (http://www.thairath.co.th/content/257539)

แบบเรียนภาษาไทย เล่มแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนต้น (ฉบับปรับปรุง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาฯ กพฐ. ส่งมาให้ก่อนเกษียณ ผมจำได้ ปี ๒๔๙๖ สมัยผมเรียนในชั้น ป. เตรียม

เป็นแบบเรียนเล่มที่สอนให้รู้จัก ก.ไก่ ข.ไข่ ผสมสระ ผสมพยัญชนะ แยกให้รู้จัก และผันวรรณยุกต์ อักษรสูง กลาง และต่ำ ก็เล่มที่เราจำ ป้ากะปู่ กู้อีจู้ ได้นั่นล่ะ


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 14, 09:03
บทที่ ๑๔ สอนวิธีประสมอักษร ๓ หมู่ กับสระ  ำ  ใอ ไอ เอา สอนอ่านคำตัวอย่าง เราไป ในถ้ำ ย่ำค่ำ ไม้ค้ำ ไอน้ำ จำได้ ใบไม้ ลำไย ในไห ทำไม ฯลฯ แล้วก็ทดสอบด้วยการอ่านเรื่อง “คนแต่ก่อน”


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 14, 09:10
โตจนแก่ปูนนี้ ลองหัดอ่านกันอีกสักที

แต่ก่อน ๆ นานมาแล้ว คนเรายังโง่ บ้านเมืองก็ยังไม่มี ดังที่เราเห็นกันเดี๋ยวนี้ คือยังเป็นป่าเป็นดงทั้งนั้น ยังไม่รู้จักทำบ้านเรือนอาศัย คนเราต้องอาศัยอยู่ในถ้ำบ้าง อาศัยตามสุมทุมพุ่มไม้บ้าง อาศัยตามต้นไม้  เช่น  ลิง  ค่างบ้าง ยังไม่รู้จักทำผ้านุ่ง ผ้าห่ม ต้องเอาใบไม้และสิ่งอื่น ๆ มาปกปิดร่างกาย

ของกินก็ไม่มีอะไรมากนัก มีแต่เนื้อต่าง ๆ เผือกมัน และลูกไม้อื่น ๆ อีกบ้าง และยังไม่รู้จักทำนา ทำสวน ทำไร่ ได้แต่ไปเที่ยวหาของกินต่าง ๆ มาจากป่า แล้วก็เอามาเลี้ยงกัน และกินแต่ของดิบ ๆ ยังไม่รู้จักหาไฟมาใช้หุงต้ม ดังที่เราใช้กันในทุกวันนี้

ต่อ ๆ มาคนเราก็รู้จักหากิน และทำของใช้ และที่อยู่อาศัยดีขึ้น ๆ เดี๋ยวนี้เรามีบ้าน มีเมือง ซึ่งทำขึ้นไว้แข็งแรงและสวยงาม มีผ้านุ่งผ้าห่มต่าง ๆ รู้จักทำนา ทำสวน เลี้ยงแพะ แกะ วัว ควาย ช้าง ม้า เป็ด ไก่ และรู้จักทำของใช้อะไรต่าง ๆ อีกมากมาย

ถ้าเด็กคนใดสงสัยว่า ทำไมคนแต่ก่อนกับคนเดี๋ยวนี้ จึงผิดกันมาก

ก็จะตอบได้ว่า แต่ก่อนคนเรายังโง่ แล้วค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ รู้ ค่อย ๆ ทำ จนรู้จักคิดรู้จักทำอะไร ๆ สืบ ๆ กันมาจนทุกวันนี้

แต่คนเดี๋ยวนี้ ที่ไม่เรียน ไม่คิด ไม่ทำอะไร ก็ต้องจัดว่าเป็นคนโง่ ถ้าเราไม่ชอบให้ตัวเราโง่ ก็ต้องเรียน ต้องคิด ต้องทำอะไร ๆ ให้ดีต่อไป

สมกับที่เราได้เกิดมาเป็นคนกับเขาคนหนึ่งในโลก


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 14, 09:18
อ่านจบเรื่องนี้แล้ว ผมก็นึกขึ้นมาได้อีกว่า ตอนที่ครูสอน และให้พวกเรานักเรียนหัดเขียน เราเขียนด้วยกระดานชนวนดินสอหินเขียนลงกระดานชนวน เมื่อครูตรวจแล้วก็ลบ (ด้วยมือ) ได้ ถึงบทใหม่ ก็เขียนใหม่ เขียนแล้วลบ ๆ เรื่อยไป

คำที่เขียนแล้วลบนั้น จริง ๆ แล้วก็ไม่หายไปไหน ไปปรากฏอยู่ในความจำ สามารถแตกหน่อขยายกอ ไปอ่านและเขียนคำต่อไป ๆ ที่ยากซับซ้อนได้อีก


ก็จริงดังที่คุณกิเลนกล่าว คำที่เราเคยอ่านเขียนสมัยวัยเยาว์ไม่หายไปไหน ยังปรากฎอยู่ในความทรงจำดังเช่น ประโยคที่ว่า "แต่ก่อน ๆ นานมาแล้ว คนเรายังโง่" ซึ่งมีคนเขียนแตกหน่อขยายกอต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้ก็ยังโง่อยู่"
 
(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม16.png)


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 17 ก.ค. 14, 11:37
ผมทันเรียน แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ และอีกหลายเล่มที่บังคับเรียนสมัยนั้น เมื่อกลับมาทบทวนอีกครั้งตอนนี้ พอสรุปได้ว่า
ทุกเล่ม ให้ความรู้ครบทั้ง วิชาภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองศีลธรรมและสุขศึกษา
คสช. คิดที่จะนำวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม กลับมาเรียนใหม่ ทั้งๆที่มีอยู่ในหลักสูตรปัจจุบันอยู่แล้ว
ผมคิดว่า กระทรวงศึกษาธิการ หาคณะกรรมการมาพิจารณา นำแบบเรียนเหล่านี้มาใช้อีก แล้วนำเสนอ คสช.น่าจะมีผลดีกว่าไหม


กระทู้: แบบเรียนภาษาไทยเมื่อวัยเยาว์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 14, 12:11
ผมคิดว่า กระทรวงศึกษาธิการ หาคณะกรรมการมาพิจารณา นำแบบเรียนเหล่านี้มาใช้อีก แล้วนำเสนอ คสช.น่าจะมีผลดีกว่าไหม
คงไม่ต้องเสนอ คสช. เพราะ สพฐ. ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว  ;D

แบบเรียนเร็วใหม่เล่มนี้เป็นผลงานของหลวงดรุณกิจวิฑูร (ชด เมนะโพธิ) และนายฉันท์ ขำวิไล  ตามประวัติเห็นว่า ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ แล้ว (http://webhtml.horhook.com/ebook/thai2499.htm) หนอ  กำลังถูกปัดฝุ่นนำมาใช้อีก เริ่มในปีการศึกษา ๒๕๕๗ (http://read-cm1.blogspot.com/2014/04/2499-1-3.html) นี้เชียว

พอสอนให้อ่านได้คล่องแล้ว ยังสอนวิชาสังคมศึกษาตอนท้าย ๆ ของเล่มด้วย
 

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6005.0;attach=49479;image)

ท้ายของบทความข้างบน มีภาพยุทธหัตถีเหมือนเป็นการบอกให้เด็กน้อยเตรียมตัวสำหรับเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในชั้นต่อไป

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)