เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: MrMiu ที่ 06 ก.ค. 12, 14:05



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 06 ก.ค. 12, 14:05
ขออนุญาตให้กระทู้นี้ เป็นกระทู้ที่เราไว้ถามคำที่สงสัยเลยนะคะ  ;D

หลังจากที่สงสัยในคำหลายคำมานานมาก และยังหาคำตอบไม่ได้ จะขอความกรุณาผู้รู้ทุกท่านรบกวนช่วยทีนะคะ  :-[

มักจะเป็นคำที่ ไม่ทราบจริงๆว่าแท้จริงแล้วเขียนเช่นใด บางครั้ง ค้นในรอยอินก็ไม่พบ  :(

ดังนี้ค่ะ

1. กระเปี๊ยก - กะเปี๊ยก 
2. ร่ายมนต์ - ร่ายมนตร์  (จากความคิดของตัวเองคือคิดว่า ร่ายมนตร์ มากกว่า เพราะน่าจะสื่อถึงเวทมนตร์ แต่บ้างว่าคาถาอาคมจึงใช้ มนต์)
3. มนต์รัก - มนตร์รัก  (คิดว่า มนตร์ เพราะน่าจะประมาณว่า "มนตราความรัก" แต่ก็ยังหาข้อสรุปมิได้อยู่ดี จากการค้นหาด้วยตนเอง)
4. สะเหล่อ - สะเหร่อ (ค้นในรอยอิน เจอว่า "สะเหล่อ" แต่เจอจากสำนักพิมพ์ค่ายหนึ่ง เขียนในการ์ตูนเรื่องนึงว่า "สะเหร่อ" เกิดอาการสับสนเลยล่ะค่ะ)

ต่อไปเป็น "คำเลียนเสียง"

มักจะเจอแต่ในการ์ตูนล่ะค่ะ แต่เนื่องจากก็ทำงาน(?)เกี่ยวกับด้านนี้ จึงอยากจะทราบในหลายๆคำที่ควรจะเป็นค่ะ

หมับ - มั่บ > เสียงเวลาเราหยิบจับ/กระชากคอเสื้อ/บลาห์ๆ ควรจะเป็นอันไหนคะ? (โดยส่วนตัวเจอแต่ หมับ ซะส่วนมาก แต่พอเจอ มั่บ เลยทำให้สงสัยขึ้นมาเลย)


จริงๆมีอีกแต่ทว่า จะขอมาเพิ่มเติมในวันหน้าแล้วกันค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกท่านด้วยนะคะ  :-[


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 12, 14:16
ขอเชิญคุณเพ็ญชมพูค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 06 ก.ค. 12, 14:54
รบกวนเรื่องของ "การเว้นวรรค" อีกอย่างด้วยนะคะ

อย่างเช่นเรื่องของ "ตัวเลข" เช่น

เงิน 10 บาท
คน 10 คน
ผ้า 10 ผืน
เรียน 10 วิชา

ส่วนตัวคิดว่าจำเป็นจะต้อง วรรค ก่อน และ หลัง ตัวเลข  แต่เจอจากบางสำนักพิมพ์อีกล่ะค่ะ ที่พิมพ์ติดกันเลย เช่น

"มาสัก100คนก็ไม่กลัวหรอก" "ถ้าไม่มาภายใน10นาทีนี้ล่ะก็"

ประมาณนี้ล่ะค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ค. 12, 15:19
๑. กระเปี๊ยก - กะเปี๊ยก เมื่อรอยอินยังไม่ระบุว่าคำไหนถูก ก็คงใช้ได้ทั้ง ๒ คำ ไม่มีใครว่าผิด

๒. มนต์ - มนตร์ มีหลักอยู่ว่า ถ้าเกี่ยวกับศาสนาพุทธ ใช้ มนต์  ถ้าเป็นศาสนาอื่นเช่นศาสนาพราหมณ์ ใช้ มนตร์

คำที่คุณมิอุถามมา คงไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธกระมัง  ;)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2403.0;attach=15947;image)

๓. สะเหล่อ - สะเหร่อ เชื่อรอยอินเถอะ

เห็นคำว่า "สะเหร่อ" ใช้กันทั่วไปในเน็ต   ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วสะกดยังไง "สะเหล่อ " "เสล่อ" หรือ "เสร่อ"

รอยอินท่านว่า

สะเหล่อ ว. ทั้งเซ่อและเล่อ, ทั้งเซ่อซ่าและเล่อล่า.

เซ่อซ่า  ว. เซ่อมาก, เร่อร่า, เล่อล่า, กะเร่อกะร่า หรือ กะเล่อกะล่า ก็ว่า.

เล่อล่า  ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.

เร่อร่า ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

ใช้ได้ทั้ง เล่อล่าและเร่อร่า แต่ใช้สะเหล่อได้อย่างเดียว สะเหร่อไม่ได้นะจ๊ะ

ไม่น่าจะเป็นคำหยาบ แต่ออกจะเป็นคำดูถูกคนสักหน่อย


๔. หมับ - มั่บ คงไม่ใช่คำเลียนเสียง รอยอินท่านอธิบายไว้ด้วยนา

หมับ ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้าหมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.
 
หมับ ๆ ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, มับ ๆ ก็ว่า.
 
 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ค. 12, 15:33
รบกวนเรื่องของ "การเว้นวรรค" อีกอย่างด้วยนะคะ

ให้หลักเกณฑ์การเว้นวรรคของท่านรอยอินไว้ ยาวหน่อย แต่คิดว่าคงมีประโยชน์ต่อคุณมิอุ และชาวเรือนไทยทุกท่าน

หลักเกณฑ์การเว้นวรรค (http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=279)
 
        ในการเขียนหรือพิมพ์หนังสือไทย การเว้นช่องว่างระหว่างคำ ข้อความหรือประโยคให้ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ข้อเขียนนั้นมีความถูกต้อง แจ่มแจ้ง ชัดเจน และอ่านได้ตรงตามความต้องการของผู้เขียน
 
        วรรค คือ คำ ข้อความ หรือประโยคช่วงหนึ่ง ๆ
        การเว้นวรรค หมายถึง การเว้นช่องว่างระหว่างวรรค
 
        การเว้นวรรคแบ่งออกเป็น
 
        – การเว้นวรรคเล็ก มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณเท่ากับความกว้างของพยัญชนะ ก
        – การเว้นวรรคใหญ่ มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณ ๒ เท่าของการเว้นวรรคเล็ก
 
        ในการเขียนหรือพิมพ์หนังสือไทย มีหลักเกณฑ์ในการเว้นวรรค ดังนี้
 
๑. กรณีที่ต้องเว้นวรรค
 
        ๑.๑ การเว้นวรรคใหญ่
                 เว้นวรรคใหญ่เมื่อจบข้อความแต่ละประโยค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) นั่งให้เรียบร้อย อย่าไขว่ห้าง
                 (๒) วิทยาการเป็นต้นธารให้บังเกิดความรู้และความสามารถในอันที่จะประกอบกิจตามหน้าที่ได้ดี ความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจและทางวัตถุย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิทยาการ บ้านเมืองจะเจริญหรือเสื่อมก็เนื่องด้วยวิทยาการ
 
        ๑.๒ การเว้นวรรคเล็ก
                 เว้นวรรคเล็ก ในกรณีต่อไปนี้
 
                 ๑.๒.๑ ในประโยครวมให้เว้นวรรคเล็กระหว่างประโยคย่อยที่มีใจความสมบูรณ์และเชื่อมกับประโยคอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน “และ” “หรือ” “แต่” ฯลฯ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) นายแดงอยู่ที่บ้านคุณพ่อของเขาที่ปากน้ำโพ แต่พี่ชายของเขาอยู่ที่บ้านซื้อใหม่ในกรุงเทพฯ
                 (๒) การเขียนหนังสือโย้หน้าเย้หลังไม่เป็นระเบียบ หรือการขาดความระมัดระวังในเรื่องช่องไฟ อาจเป็นเครื่องหมายส่อนิสัยของผู้เขียนเองได้
                 (๓) พุทธกับไสย แม้ต่างกันเป็นคนละด้าน แต่ก็ไม่เป็นสิ่งขัดแย้งกันในความเชื่อถือของคนชั้นสามัญทั่วไป
 
แต่ถ้าเป็นประโยคสั้นให้เขียนติดกัน
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ฉันและเธอไปโรงเรียน
                 (๒) เขาอยากได้ดีแต่เขาก็ไม่ได้ดี
                 (๓) น้ำขึ้นแต่ลมลง
 
                 ๑.๒.๒ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อกับนามสกุล
 
ตัวอย่าง
 
                 นายเสริม วินิจฉัยกุล
 
                 ๑.๒.๓ เว้นวรรคเล็กหลังคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ พระนาม และฐานันดรศักดิ์                
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                 (๒) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
                 (๓) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
                 ๑.๒.๔ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อบริษัท ธนาคาร ฯลฯ กับคำ “จำกัด” ที่อยู่ท้ายชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มั่นคง จำกัด
                 (๒) ธนาคารทหารไทย จำกัด
 
                 ๑.๒.๕ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” กับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีวรสิน
                 (๒) ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล ปัญญากิจ
 
                 ๑.๒.๖ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
 
ตัวอย่าง
 
                 ราชบัณฑิตยสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน
                 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
 
                 ๑.๒.๗ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำนำหน้านามแต่ละชนิด
ตัวอย่าง
 
                 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ หรือ
                 ศ. นพ. ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์
 
                 ๑.๒.๘ เว้นวรรคเล็กระหว่างยศกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
                 (๒) พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หรือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
                 (๓) ร้อยโทหญิง สุชาดา ทำความดี
 
                 ๑.๒.๙ เว้นวรรคเล็กระหว่างกลุ่มอักษรย่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 นายเสริม วินิจฉัยกุล ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม.
 
                 ๑.๒.๑๐ เว้นวรรคเล็กระหว่างตัวหนังสือกับตัวเลข
 
ตัวอย่าง
 
                 เขาเลี้ยงสุนัขไว้ที่บ้านตั้ง ๓๐ ตัว
 
                 ๑.๒.๑๑ เว้นวรรคเล็กระหว่างวันกับเวลา
 
ตัวอย่าง
 
                 ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๐.๐๐ น.
 
                 ๑.๒.๑๒ เว้นวรรคเล็กหลังข้อความที่เป็นหน่วยมาตราต่าง ๆ กับข้อความที่ตามมา
 
ตัวอย่าง
 
                 โต๊ะประชุมแต่ละตัวมีขนาดกว้าง ๐.๘๐ เมตร ยาว ๑.๖๐ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร
 
                 ๑.๒.๑๓ เว้นวรรคเล็กระหว่างตัวหนังสือไทยกับตัวหนังสือภาษาอื่น
 
ตัวอย่าง
 
                 ข้าวเย็นเหนือเป็นชื่อไม้เถาชนิด Smilax china  L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทำยาได้.
 
                 ๑.๒.๑๔ เว้นวรรคเล็กระหว่างรายการต่าง ๆ เพื่อแยกรายการแต่ละรายการ ทั้งที่เป็นข้อความและกลุ่มตัวเลข
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ศีล สมาธิ ปัญญา สามอย่างนี้เรียกว่า ไตรสิกขา
                 (๒) เลือกข้อความที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวจากข้อ ก ข ค ง
                 (๓) ๑๕ ๑๓ ๑๑ ๙ ๗ ๕ ๓ ๑ ต่างก็เป็นจำนวนเลขคี่
 
                 ๑.๒.๑๕ เว้นวรรคระหว่างเครื่องหมายต่าง ๆ
 
                              ๑.๒.๑๕.๑ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ ทวิภาค วิภัชภาค และเครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางภาษา (มิใช่เครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์)
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) เขาเจริญพุทธคุณว่า อิติปิ โส ฯลฯ ภควาติ
                 (๒) วันหนึ่ง ๆ เขาทำอะไรบ้าง
                 (๓) อเปหิ = อป + เอหิ
                 (๔) กฤษณา : กฤษณาสอนน้อง แบบเรียนกวีนิพนธ์
                 (๕) ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้แก่ :–
                   ราชบัณฑิต
                   ภาคีสมาชิก
                   ผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง
                   นักวิชาการ
                   และประชาชนผู้สนใจ
 
                        ๑.๒.๑๕.๒ เว้นวรรคเล็กหน้าเครื่องหมายอัญประกาศเปิดและวงเล็บเปิด
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) สถานภาพของสตรีในสังคมอินเดียในอดีตมีลักษณะคล้าย “เถาวัลย์” หรือบางทีก็ดูคล้าย “กาฝาก” เพราะสตรีไม่สามารถพึ่งตนเองได้
                 (๒) มนุษย์ได้สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น
 
                       ๑.๒.๑๕.๓ เว้นวรรคเล็กหลังเครื่องหมาย จุลภาค อัฒภาค ไปยาลน้อย อัญประกาศปิด และวงเล็บปิด
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นรัตนะ ๓ ของพุทธศาสนิกชน
                 (๒) ชีวิตของตนเป็นที่รักยิ่งฉันใด ชีวิตของผู้อื่นก็ปานนั้น; สัตบุรุษเอาตนเข้าไปเทียบดังนี้ จึงกระทำความเมตตากรุณาในสัตว์มีชีวิตทั่วไป
                 (๓) โอ๊ย ! มาไม่ทันรถอีกแล้ว
                 (๔) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
                 (๕) สถานภาพของสตรีในสังคมอินเดียในอดีตมีลักษณะคล้าย “เถาวัลย์” หรือบางทีก็ดูคล้ายเป็น “กาฝาก” เพราะสตรีไม่สามารถพึ่งตนเองได้
                 (๖) มนุษย์ได้สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตนเองทั้งสิ้น
 
                 ๑.๒.๑๖ เว้นวรรคเล็กหลังข้อความที่เป็นหัวข้อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) อุทานวลี อุทานวลีหมายถึงคำอุทานที่มีคำอื่นประกอบท้ายให้เป็นวลียืดยาวออกไป เช่น คุณพระช่วย
                 (๒) วิเคราะห์กลวิธีดำเนินเรื่อง ในการวิเคราะห์กลวิธีดำเนินเรื่องจำเป็นต้องเข้าใจศิลปะการอ่าน หรือกติกาของนักอ่าน นักอ่านต้องพยายามทำใจเกี่ยวกับสัญนิยมของการแต่งหนังสือ
 
                 ๑.๒.๑๗ เว้นวรรคเล็กทั้งข้างหน้าและข้างหลังคำ ณ ธ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) การนำสัตว์ขึ้นหรือลง ณ สถานีใด ให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ประจำท้องที่
                 (๒) ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นศุขสานต์
 
                 ๑.๒.๑๘ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังคำว่า “ได้แก่” ที่ตามด้วยรายการ มากกว่า ๑ รายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
                 (๒) อาหารที่ช่วยป้องกันและต้านทานโรค ได้แก่ โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน
 
                 ๑.๒.๑๙ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังคำ “เช่น” (ในความหมายว่า ยกตัวอย่าง)
 
ตัวอย่าง
 
                 ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก
 
ยกเว้น “เช่น” ที่มีความหมายว่า “อย่าง, เหมือน” ไม่ต้องเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังคำ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ดำ ว. มีสีเช่นสีเขม่า, มืด.
                 (๒) ใจดำเช่นกา
 
                 ๑.๒.๒๐ เว้นวรรคเล็กหน้าคำสันธาน “และ”, “หรือ” ในรายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา การสำรวจ การขนย้าย การจำหน่าย และการส่งมอบน้ำตาลทราย
                 (๒) แล้วกัน (ปาก) ว. ออกเสียงแสดงความไม่พอใจ ตกใจ เสียใจ หรือประหลาดใจ เป็นต้น.
 
ยกเว้น ถ้ามีเพียง ๒ รายการ ไม่ต้องเว้นวรรค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ส่งเสริมสวัสดิการของครูและนักเรียนของโรงเรียน
                 (๒) เสียงสระทุกเสียงเป็นเสียงก้องหรือเสียงโฆษะ
 
                 ๑.๒.๒๑ เว้นวรรคเล็กหน้าคำ “เป็นต้น” ที่อยู่หลังรายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ประเภท น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จำพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น.
                 (๒) บ้านเป็นคำไทย เดิมหมายความว่าหมู่บ้าน ปัจจุบันยังมีเค้าให้เห็นอยู่ในชื่อตำบลต่าง ๆ มี บ้านหม้อ บ้านหมี่ บ้านไร่ บ้านนา บ้านบ่อ เป็นต้น
 
                 ๑.๒.๒๒ เว้นวรรคเล็กหลังคำว่า “ว่า” ในกรณีที่ข้อความต่อมาเป็นประโยค
 
ตัวอย่าง
 
                 จะสังเกตได้ว่า คนถนัดมือซ้ายมีน้อยกว่าคนที่ถนัดมือขวา
 
๒. กรณีที่ไม่เว้นวรรค
 
                 ๒.๑ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) พระมหาสุทธิ สุทฺธิญาโณ
                 (๒) นายเสริม วินิจฉัยกุล
                 (๓) นางอินทิรา คานธี
                 (๔) นางสาววารุณี วงศ์คนไทย
                 (๕) เด็กชายวรา สิทธิ์รัตน์
                 (๖) เด็กหญิงสิรินท์ ทองดี
                 (๗) คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง
                 (๘) คุณหญิงปิ๋ว มหาโยธา
                 (๙) ท่านผูหญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร
 
๒.๒ ไม่เว้นวรรคระหว่างบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ กับนาม หรือราชทินนาม
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) หลวงวิศาลศิลปกรรม
                 (๒) หม่อมราโชทัย
                 (๓) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
                 (๔) หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
                 (๕) เจ้าจอมมารดาชุม (ในรัชกาลที่ ๔)
 
๒.๓ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อที่เป็นตำแหน่งหรืออาชีพกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
                 (๑) ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์
                 (๒) นายแพทย์ดำรง เพ็ชรพลาย
 
๒.๔ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำหน้าชื่อที่แสดงฐานะของนิติบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลกับชื่อ
 
ตัวอย่าง


                 (๑) สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
                 (๒) มูลนิธิสายใจไทย
                 (๓) สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
                 (๔) โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                 (๕) โรงเรียนสตรีวิทยา
                 (๖) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาสมุทร จำกัด
                 (๗) กรมปศุสัตว์
                 (๘) กระทรวงศึกษาธิการ
                 (๙) คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
 
๒.๕ ไม่เว้นวรรคหลังเครื่องหมายไปยาลน้อย ในกรณีที่มีเครื่องหมายอื่นตามมา
 
ตัวอย่าง

 
                 รถไฟเที่ยวจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
 
๒.๖ ไม่เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมายยัติภังค์ ยัติภาค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) -กระเฉง ใช้เข้าคู่กับคำกระฉับ เป็น กระฉับกระเฉง.
                 (๒) ภาษาตระกูลไทย–จีน
 
หลักเกณฑ์นี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ แต่บางครั้งอาจเว้นวรรคหรือไม่เว้นวรรคก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เขียน
 
ตัวอย่าง


                 นอกจากเงิน ยังมีโล่ทุกรางวัล
หรือ
                 นอกจากเงินยังมีโล่ทุกรางวัล
 
ที่มา : หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖ หน้า ๕๖-๖๖

 ;D
 
 


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 06 ก.ค. 12, 19:18
ขอขอบคุณคุณเพ็ญชมพูเป็นอย่างสูงเลยค่ะ กระจ่างขึ้นเยอะมากค่ะ

ได้ข้อสรุปจากหลายๆคำแล้ว และจะนำไปใช้งานในเร็วๆนี้แน่นอนค่ะ

เรื่องคำว่า หมับ เราเข้าใจผิดจริงๆว่าคือคำเลียนเสียง แต่มีคำอธิบายขนาดนี้ ก็สามารถนำมาโต้แย้งสำหรับผู้ที่ใช้ "มั่บ" ได้แล้ว

ขอบคุณมากๆค่ะ


ส่วนเรื่องคำอื่นๆ ในอนาคตมีอีกจะขอรบกวนมาถามในกระทู้นี้อีกนะคะ เนื่องจากเราเอง ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับด้านภาษาไทยมาเลย

ยังมีอีกมากคำนักที่ไม่อาจเข้าใจ  อยากจะขอความกรุณาช่วยชี้แนะต่อไปด้วยนะคะ


ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความช่วยเหลือที่มีประโยชน์มหาศาลเช่นนี้ค่ะ



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 12, 07:27
ขอขอบคุณคุณเพ็ญชมพูเป็นอย่างสูงเลยค่ะ กระจ่างขึ้นเยอะมากค่ะ

ได้ข้อสรุปจากหลายๆคำแล้ว และจะนำไปใช้งานในเร็วๆนี้แน่นอนค่ะ

เรื่องคำว่า หมับ เราเข้าใจผิดจริงๆว่าคือคำเลียนเสียง แต่มีคำอธิบายขนาดนี้ ก็สามารถนำมาโต้แย้งสำหรับผู้ที่ใช้ "มั่บ" ได้แล้ว

ขอบคุณมากๆค่ะ


ส่วนเรื่องคำอื่นๆ ในอนาคตมีอีกจะขอรบกวนมาถามในกระทู้นี้อีกนะคะ เนื่องจากเราเอง ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับด้านภาษาไทยมาเลย

ยังมีอีกมากคำนักที่ไม่อาจเข้าใจ  อยากจะขอความกรุณาช่วยชี้แนะต่อไปด้วยนะคะ
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความช่วยเหลือที่มีประโยชน์มหาศาลเช่นนี้ค่ะ
ยินดีที่ได้ประโยชน์กลับไปจากเรือนไทยค่ะ   ถ้ามีปัญหาเรื่องคำอีกก็มาถามได้เสมอ
มีข้อสังเกตนิดหนึ่ง คือขอให้คุณเจ้าของกระทู้อย่าเห็นเป็นการตำหนิเลยนะคะ  ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น    แต่เพื่อผลดีกับคุณเอง
คือในเว็บบอร์ดต่างๆที่คุยสนทนาแลกเปลี่ยนกัน  ผู้หญิงที่เข้ามาคุยมักเรียกตัวเองว่า เรา ยังงั้น เรา ยังงี้   ขอความเห็นบ้าง ขอความรู้ทั่วไปบ้าง   บ่อยๆ ก็"เรา"กันไปมาทั้งคนถามคนตอบ
แต่เรือนไทยเป็นเว็บวิชาการ   คนเข้ามาถามแบบวิชาการ คนตอบก็ตอบแบบวิชาการ ถึงไม่เปิดเผยว่าตัวเองเป็นใคร ก็น่าจะเดาได้ว่าอยู่ในระดับครูบาอาจารย์ทั้งนั้น
ถ้าหากว่าจะเปลี่ยนจาก "เรา" เป็นคำที่เรียบร้อยเป็นทางการกว่านี้ เช่น ดิฉัน  ก็จะเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่าค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 07 ก.ค. 12, 17:08
ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยตักเตือน ปกติดิฉันเป็นคนไม่ค่อยมีสัมมาคารวะ ขออภัยจริงๆค่ะ



มีคำถามมาอีกแล้วค่ะ คราวนี้เป็น

"แว่บ"

ในรอยอินก็ไม่พบความหมายใด โดยส่วนตัวดิฉันเอง คำว่า "แว่บ" ก็คือออกเสียงว่า "แหวบ" เหมือนคำว่า "แค่ก" ที่ออกเสียง "แขก" (ยามไอ)


แต่มีท่านนึงเอ่ยไว้ว่า

แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ



ดิฉันขอเรียนตามตรงว่า มิเคยพบคำใดที่ใช้รูปเอกแล้วออกเสียงโทเลย (หรือเป็นเพราะดิฉันยังอ่อนด้อยประสบการณ์ทางภาษานัก?)

"แน่ะ" ก็ออกเสียง แหนะ จึงติดใจในประโยคนี้ที่บางท่านกล่าวไว้มาก


อยากจะรบกวนขอความกรุณาช่วยอธิบายให้ดิฉันเข้าใจทีค่ะ  :'(


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 12, 17:24
คำว่า แว่บ ไม่มีนะคะ   พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ สะกดคำนี้ว่า แวบ หรือแว็บ
ให้ความหมายว่า
แวบ, แว็บ   ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก
   รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ
   ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ
   เดียวจะกลับแล้วหรือ.
อ้างถึง
โดยส่วนตัวดิฉันเอง คำว่า "แว่บ" ก็คือออกเสียงว่า "แหวบ" เหมือนคำว่า "แค่ก" ที่ออกเสียง "แขก" (ยามไอ)

คุณออกเสียงผิดทั้งสองคำค่ะ      คำว่า แวบ (ที่คุณสะกดว่า แว่บ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   แค่ก (หรือแคก) กับ แขก ก็คนละเสียงกันเลย

ว เป็นอักษรต่ำ  สะกดด้วย บ เป็นคำตาย   ผันได้ 3 เสียงคือ แวบ (เสียงโท) แว้บ( เสียงตรี) แว๋บ( เสียงจัดวา)
ถ้าจะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ เป็น  แหวบ
ดังนั้น แหวบ กับ แวบ เป็นเสียงวรรณยุกต์คนละเสียงกัน ค่ะ
 
ในเมื่อ แวบ ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์โทอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใส่ไม้เอก   เพราะยังไงก็ออกเสียงเป็นโทอยู่ดี



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 07 ก.ค. 12, 17:39
คำว่า แว่บ ไม่มีนะคะ   พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ สะกดคำนี้ว่า แวบ หรือแว็บ
ให้ความหมายว่า
แวบ, แว็บ   ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก
   รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ
   ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ
   เดียวจะกลับแล้วหรือ.
อ้างถึง
โดยส่วนตัวดิฉันเอง คำว่า "แว่บ" ก็คือออกเสียงว่า "แหวบ" เหมือนคำว่า "แค่ก" ที่ออกเสียง "แขก" (ยามไอ)

คุณออกเสียงผิดทั้งสองคำค่ะ      คำว่า แวบ (ที่คุณสะกดว่า แว่บ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   แค่ก (หรือแคก) กับ แขก ก็คนละเสียงกันเลย

ว เป็นอักษรต่ำ  สะกดด้วย บ เป็นคำตาย   ผันได้ 3 เสียงคือ แวบ (เสียงโท) แว้บ( เสียงตรี) แว๋บ( เสียงจัดวา)
ถ้าจะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ เป็น  แหวบ
ดังนั้น แหวบ กับ แวบ เป็นเสียงวรรณยุกต์คนละเสียงกัน ค่ะ
 
ในเมื่อ แวบ ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์โทอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใส่ไม้เอก   เพราะยังไงก็ออกเสียงเป็นโทอยู่ดี




ขออนุญาตอ้างถึงภาพนี้นะคะ (ขวาล่าง)
เนื่องจากดิฉันได้ติติงภาพนี้ไว้ว่า "แว่บ" ใช้ไม่ได้ ต้องใช้เป็น "แวบ/แว็บ" จึงได้ยกว่า แว่บ ออกเสียงว่า แหวบ ซึ่งไม่ได้แปลว่า แวบ(ผิดพลาดขออภัยค่ะ)

(http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A12340108/A12340108-5.gif)

แต่มีผู้มาทักท้วงว่า

"แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ"

นี่ล่ะค่ะ

และคำว่า "แค่ก" ที่ดิฉันยกมาเป็นเพราะ พบเจอเสียส่วนมากในการนำเอามาใช้กับเสียงไอ จึงคิดว่าออกเสียง แขก(แข็ก)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 12, 19:02
ขอตอบใหม่ค่ะ
๑  แว่บ( หรือแวบ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   ไม่ว่าคำหลังนี้จะแปลว่าอะไรก็ตาม   ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ
๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก 
    ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก   
    ถ้าหากว่าจะทำให้คำตายนั้นเป็นเสียงเอก มี ๒ วิธี คือ
    ๑ ถ้าเป็นอักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นเสียงคู่ เช่น ข-ค  ส-ซ  ห-ฮ     ต้องเขียนอักษรสูงแทน  เช่น แซบ จะออกเสียงเป็นเอก  ต้องเขียนว่า แสบ   คบ  ออกเสียงเป็นเอก สะกดว่า ขบ   ฮก ออกเสียงเป็นเอก คือ หก
    ๒  ถ้าเป็นอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูง เป็นเสียงคู่ เช่น ตัว ว  น  ร ล  ฯลฯ   จะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ 
    วาด  ออกเสียงเอก เป็นหวาด   แลบ  ออกเสียงเอก เป็น แหลบ   ริบ  ออกเสียงเอก เป็น หริบ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 07 ก.ค. 12, 19:58
ขอตอบใหม่ค่ะ
๑  แว่บ( หรือแวบ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   ไม่ว่าคำหลังนี้จะแปลว่าอะไรก็ตาม   ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ
๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก 
    ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก   
    ถ้าหากว่าจะทำให้คำตายนั้นเป็นเสียงเอก มี ๒ วิธี คือ
    ๑ ถ้าเป็นอักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นเสียงคู่ เช่น ข-ค  ส-ซ  ห-ฮ     ต้องเขียนอักษรสูงแทน  เช่น แซบ จะออกเสียงเป็นเอก  ต้องเขียนว่า แสบ   คบ  ออกเสียงเป็นเอก สะกดว่า ขบ   ฮก ออกเสียงเป็นเอก คือ หก
    ๒  ถ้าเป็นอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูง เป็นเสียงคู่ เช่น ตัว ว  น  ร ล  ฯลฯ   จะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ 
    วาด  ออกเสียงเอก เป็นหวาด   แลบ  ออกเสียงเอก เป็น แหลบ   ริบ  ออกเสียงเอก เป็น หริบ


ขออนุญาตสอบถามสักนิดนะคะ ในข้อ 1
หาก แว่บ มิได้ออกเสียงว่า แหวบ
กระนั้นแล้ว "มั่บ" ก็มิได้ออกเสียงว่า "หมับ" ใช่ไหมคะ?

เพราะ สนพ.นี้ ก็ใช้ "มั่บ" แทนคำว่า "หมับ" ไปซะทุกคำ

ดิฉันไม่เข้าใจว่า ไฉน "แว่บ" ที่มีไม้เอกกำกับ ถึงได้ออกเสียง "แวบ" 

แสดงว่าดิฉันเข้าใจผิดมาตลอดเลยหรือคะ ที่ว่า ไม้เอก ที่กำกับอยู่บนคำ

ใช้กำกับเพื่อให้ออกเสียงต่ำ? (ค่ะ ง่ะ ล่ะ ย่ะ น่ะ หงั่น หั่น บั่น ปั่น)

(ขออภัยนะคะ ที่ไม่สามารถยกตัวอย่างเกี่ยวกับ ห นำ คำเป็น อักษรต่ำเดียวคำตายเสียงสั้น หรืออะไรแบบนี้ เนื่องจากดิฉันมิได้เรียนเฉพาะทางด้านนี้มาจริงๆ มิอาจยกมาให้ตัวเองอับอายได้)

ขอความกรุณาจริงๆค่ะ

เพราะคิดว่า ถึงแม้น กก กด กบ จะเป็นคำตายก็จริง แต่หากเป็นเสียงยาว ก็คิดว่าไม่ต่างกับคำนี้ > วาด ว้าด ว๋าด (แวบ แว้บ แว๋บ)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ค. 12, 00:53
ลองออกเสียงดังๆ  อ่านคำว่า หมอบ  หมอก หมด   หมุด  โหมด นะคะ   หมับ ก็ออกเสียงวรรณยุกต์เอกอย่างเดียวกันค่ะ   
อ่านคำว่า หมุบหมับ แล้วฟังเสียงดู  จะพบว่าเป็นเสียงเอก
ส่วน มั่บ  ออกเสียงวรรณยุกต์เดียวกับ  พึ่บพั่บ  เป็นเสียงโท

อ้างถึง
แสดงว่าดิฉันเข้าใจผิดมาตลอดเลยหรือคะ ที่ว่า ไม้เอก ที่กำกับอยู่บนคำใช้กำกับเพื่อให้ออกเสียงต่ำ? (ค่ะ ง่ะ ล่ะ ย่ะ น่ะ หงั่น หั่น บั่น ปั่น)
ใช่ค่ะ เข้าใจผิดและเรียนผิดมาตลอด

การผันวรรณยุกต์ ๕ เสียง  ไม่ได้ขึ้นกับเสียงต่ำเสียงสูงอะไรอย่างที่คุณว่า   คุณจะผันวรรณยุกต์ได้คุณต้องเข้าใจก่อนถึงการแยกอักษรไทย ๓ หมู่คืออักษรสูง กลาง และต่ำ    และเสียงสามัญ เอก โท ตรี จัตวา    เพื่อจะผันได้ถูกต้อง
อักษรคนละกลุ่ม แม้ใช้วรรณยุกต์ตัวเดียวกัน เสียงก็ออกมาไม่เหมือนกัน
เช่น จ้า   กับ ค้า  ใช้ไม้โทเหมือนกัน แต่จ้าเป็นเสียงโท  ค้าเป็นเสียงตรี  เพราะ จ กับ ค  เป็นอักษรคนละกลุ่มกัน  จ เป็นอักษรกลาง ค เป็นอักษรต่ำ

คำว่า จะ  เป็นเสียงเอกอยู่ในตัวแล้ว ไม่ต้องเพิ่มไม้เอกเป็น จ่ะ  เพราะ  จ เป็นอักษรกลาง  ส่วน ค  เป็นอักษรต่ำ  ผันด้วยไม้เอก ค่ะ ออกเสียงเป็นเสียงตรี 


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ค. 12, 07:03
คุณเพ็ญชมพูจะไม่ช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกคนหรือคะ  รอยอินท่านว่าอะไรบ้างล่ะเรื่องนี้


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 12, 07:23
ตอนนี้เข้าเรือนไทยด้วยไอแพด ยังไม่ชำนาญใช้เท่าใดนัก

หากกลับบ้านเมื่อไร คงจะสะดวกกว่านี้

ค่ะ ออกเสียงโทนา

จะบอกให้

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ค. 12, 07:38
ค่ะ  ออกเสียงโท จริงด้วย
เผลอไป  ถ้าเสียงตรี ต้อง คะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 12, 09:47
ก่อนจะพูดถึงคำว่า "แว่บ" ขอนำเสนอตารางนี้ให้ลองศึกษาไปพลาง ๆ ก่อน

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7333938/K7333938-0.gif)

มีระบุเสียงของคำว่า "ค่ะ" และ "คะ" ไว้ด้วย

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 12, 11:38
๑  แว่บ( หรือแวบ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   ไม่ว่าคำหลังนี้จะแปลว่าอะไรก็ตาม   ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ
๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก 
    ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก   
    ถ้าหากว่าจะทำให้คำตายนั้นเป็นเสียงเอก มี ๒ วิธี คือ
    ๑ ถ้าเป็นอักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นเสียงคู่ เช่น ข-ค  ส-ซ  ห-ฮ     ต้องเขียนอักษรสูงแทน  เช่น แซบ จะออกเสียงเป็นเอก  ต้องเขียนว่า แสบ   คบ  ออกเสียงเป็นเอก สะกดว่า ขบ   ฮก ออกเสียงเป็นเอก คือ หก
    ๒  ถ้าเป็นอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูง เป็นเสียงคู่ เช่น ตัว ว  น  ร ล  ฯลฯ   จะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ 
    วาด  ออกเสียงเอก เป็นหวาด   แลบ  ออกเสียงเอก เป็น แหลบ   ริบ  ออกเสียงเอก เป็น หริบ

ปัญหาเรื่องคำว่า "แว่บ"  เป็นกรณีเดียวกับคำว่า "แร่ด" และ "แซ่บ" ซึ่งได้เคยพูดถึงแล้วในกระทู้ "ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด"

ถ้างั้นก็ควรมีคำที่ออกเสียงสั้นกว่าเสียงปกติ  สะกดต่างกัน เช่นคำว่า  ปะ-ป่ะ    อะ-อ่ะ   แรด-แร่ด  ฯลฯ

คำว่า แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ กับ ปะ-ป่ะ อะ-อ่ะ   เป็นคนละกรณีกัน

แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ เป็นเรื่องที่ไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้  ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ งง

ลองอ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งของไม้ไต่คู้ (๒) (http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1988) โดยอาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ เช่นกัน

ไม้ไต่คู้ อักขระตัวแรกที่ค้นพบใน พ.ศ.๒๐๐๐ ดูเหมือนว่าจะเป็นอักขระที่อยู่คู่กับภาษาไทยมาอย่างยืนยงที่สุด เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ และคำว่า ก็ ก็ยังคงเป็นคำพิเศษคำเดียวในภาษาไทยที่เขียนในลักษณะนี้

อย่างไรก็ตาม การใช้ไม้ไต่คู้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปมิใช่น้อย เมื่อ ดร.นันทนา ด่านวิวัฒน์ ได้ค้นพบว่า ไม้ไต่คู้ ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๒๓๐ มีหน้าที่ ทำให้สระเสียงยาวในพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กลายเป็นเสียงสั้น นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าในขณะนั้นยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นในสมัยหลัง และถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่บังคับให้เสียงสั้นลงในทำนองเดียวกับไม้ตรี ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประถม ก กา แต่ตำแหน่งของไม้ไต่คู้กลับถูกจำกัดลงไป ดังนี้

๑. ในอดีตทั้งไม้ไต่คู้และไม้ตรีปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ แต่ในปัจจุบันไม้ไต่คู้ไม่สามารถปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๙๑)

๒. ในอดีตไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ ได้ แต่ในปัจจุบันปรากฏร่วมไม่ได้ ดังปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๗๑)

การนำไม้ไต่คู้กลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอาจจะให้ทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ ทำให้การอ่านง่ายขึ้น เพราะสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สระที่เปลี่ยนรูปไปนั้นมาจากสระสั้นหรือสระยาว เช่น

เก่ง อ่านเสียงสั้น เพราะมาจาก เกะ + ง เปลี่ยนรูปสระอะ เป็นไม้ไต่คู้ แล้วใช้ร่วมกับไม้เอก

เก้ง อ่านเสียงยาว เพราะมาจาก เก + ง แล้วใช้รูปไม้โทอย่างเดียว

ในปัจจุบันนี้ที่เราอ่านได้ว่าตัวหนึ่งสั้นตัวหนึ่งยาวก็เพราะความเคยชิน แต่รูปการเขียนมิได้ช่วยอะไรเลย

ข้อเสียคือ จะต้องมีการปรับปรุงรูปการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสับสน นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งได้ เพราะในปัจจุบันนี้ทำอย่างไรก็ไม่สามารถจะพิมพ์ไม้ไต่คู้ร่วมกับรูปวรรณยุกต์อื่นหรือสระบน (สระอิ สระอี สระอึ สระอือ) ได้ นอกจากจะใช้วิธีแทรก (insert) สัญลักษณ์ (symbol) ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอีเมล์ได้

ใครมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร เชิญได้เลยจ้ะ



ถ้าไม่ให้งง แร่ด  และ แซ่บ ต้องเขียนตามคำแนะนำข้างบนดังนี้


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2403.0;attach=30040;image)

ไม่อาจจะรับแซ่บได้ เพราะยังสงสัย
แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก
ถ้างั้นจะให้เขียนว่าอะไรดี



แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก

เสียงวรรณยุกต์เป็นดังนี้

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว (สระแอ)   แหรด (เอก)  แรด (โท)    แร้ด (ตรี)       

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น  (สระแอะ)  แหร็ด (เอก)   แร่ด (โท)   แร็ด (ตรี)

เติมไม้เอกเข้าไป ก็ยังเป็นเสียงโทอยู่นั่นเอง


 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 12, 12:22
ดังนั้น

๑  ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ

ไม่ถูก เพราะแว่บเป็นเสียงสั้น (สระแอะ) ส่วนแวบเป็นเสียงยาว (สระแอ)

๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก

ข้อความที่คุณมิอุอ้างมานั้น ถูกต้องแล้ว แต่ควรระบุเพิ่มเติมว่าเป็นในกรณีอักษรต่ำ

     ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก

อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว ไม่มีรูปวรรณยุกต์ (แซก, แลก) จะเป็นเสียงโท   ส่วนอักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น ใส่ไม้เอก (แซ่ก, แล่ก) จึงจะเป็นเสียงโท

หากดูตารางประกอบแล้วจะเข้าใจดีขึ้น

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ค. 12, 12:41
แล้วถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่าอะไรคะ
ในเมื่อคำนี้ไม่มีในพจนานุกรม


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 12, 14:00
"ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" ออกเสียงต่างกับ "งอกแงก" และ "แนบ" ฉันใด

"แว่บ" ก็ออกเสียงต่างกับ "แวบ" ฉันนั้น

สองคำข้างบนมีอยู่ในพจนานุกรม

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 10 ก.ค. 12, 02:27
อ่านแล้วเครียดจริงอะไรจริงค่ะ

ดิฉันเองก็มีตารางผันนั้น แต่ทว่าก็ทำให้สับสนมิใช่น้อย


ยิ่งตอนนี้กุมขมับแล้วค่ะ  :'(

ขอตัวไปเครียดก่อนจะมีข้อสงสัยใหม่ค่ะ ไม่ไหวแล้ว  :'(


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.ค. 12, 03:59
ดิฉันก็เครียดเหมือนกันค่ะ   ;)
เห็นจะมีแต่คุณเพ็ญชมพูเท่านั้นที่ไม่เครียด  ;D ;D

เอาไว้คุณหายเครียดแล้วค่อยมาคุยกันต่อนะคะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.ค. 12, 08:54
เรียนคุณมิอุ

ทำใจให้สบาย หายใจยาว ๆ เดี๋ยวก็หายเครียด  แต่อย่าถึงกับ คลั่ง (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A12340108/A12340108.html#40) เลยหนา

 :o


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ก.ค. 12, 10:11
กลับมาอีกครั้ง หวังว่าทั้งสองท่านคงหายเครียดแล้ว

ขออนุญาตขยายความข้างล่าง  หวังว่าคงไม่เพิ่มความเครียดขึ้น  ;)

สะกดก็แบบโบราณที่คุณเพ็ญชมพูมาเห็นคงอยากจะแก้ให้ถูกต้องตามรอยอินเสียทุกบรรทัด   
ความจริงมีอยู่ว่าเอกสารนี้เขียนขึ้นก่อนราชบัณฑิตยสถานจะถือกำเนิดมา  เลยไม่มีใครบอกได้ว่าสะกดแบบไหนถึงจะถูก

คงไม่ถึงกับอย่างนั้นหรอก

ถึงแม้ปัจจุบันนี้ก็เถอะ มีหลายคำที่ยังไม่เห็นด้วยกับท่านรอยอิน

ดังที่ยกตัวอย่างคำที่ใช้อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น ใช้วรรณยุกต์เอก มาสองคำ คือ "ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" ซึ่งมีในพจนานุกรม

ยังมีอีกหลายคำทีมีลักษณะเดียวกัน แต่ท่านรอยอินไม่อนุญาตให้ใช้วรรณยุกต์เอก

รูปแบบ "ง่อกแง่ก"  -  ซอกแซก, ลอกแลก, วอกแวก

รูปแบบ   "แน่บ"    -   แซ่บ, แร่ด, แว่บ

คำเหล่านี้ท่านออกเสียงสั้นหรือยาว

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: zeffier ที่ 13 ก.ค. 12, 18:32
ขอรบกวนในกระทู้นี้ด้วยแล้วกันครับ พอดีไปเจอในหนังสือการ์ตูนมีคนใช้คำว่า ราชิอาณาจักร
โดยให้ความหมายไว้ว่ามาจาก ราชินีผสมกับคำว่าอาณาจักร (Queendom)

ไม่ทราบว่าใช้คำนี้ได้ด้วยหรือครับตามความหมายจริงๆครับ ขอบคุณครับ

(http://upic.me/i/s3/screenshot_52.png)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ก.ค. 12, 20:31
ประเทศอังกฤษ มีกษัตริย์เป็นสตรีมาหลายยุคหลายสมัย ก็ยังใช้คำว่า United Kingdom มาตลอด ไม่เคยใช้ชื่อว่า United Queendom

ทั้งคนเขียนและคนแปลการ์ตูนเขาคงบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเองหรอกครับ ... ผมว่าอย่างนั้นนะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 12, 21:36
queendom แปลได้ ๒ อย่างคือตำแหน่งราชินีและอาณาจักรของราชินี  

เทียบกับ kingdom ใช้ว่า ราชอาณาจักร ซึ่งเป็นคำสมาส  ดังนั้น queendom ควรใช้ว่า ราชินีอาณาจักร หรือ ราชญีอาณาจักร  ส่วน ราชิอาณาจักร คงไม่มีความหมายตามที่ต้องการ

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 12, 22:03
ราชินี + อาณาจักร
ตามหลักการสนธิ  สระ อี  เมื่อสนธิกับคำหลัง  เปลี่ยนได้ 2 แบบคือลดรูปสระในคำท้ายสุด กับเปลี่ยนเป็น ย
เช่น
ราชินี + อุปถัมภ์= ราชินูปถัมภ์
สามัคคี + อาจารย์ = สามัคยาจารย์

ราชินี + อาณาจักร  = ราชินาณาจักร  หรือ ราชิยาณาจักร  
แต่ฟังคำไหนมันก็อ่านยากจำยากอยู่ดี   แถมประดักประเดิด ทำไมเขาไม่เรียกอาณาจักรราชินีเสียให้หมดเรื่องหมดราวไปล่ะคะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: zeffier ที่ 14 ก.ค. 12, 00:13
ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอธิบายให้เข้าใจครับผม ผมยอมรับว่าคุ้นแต่กับคำว่าราชอาณาจักรจริงๆครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: นิลนนท์ ที่ 14 ก.ค. 12, 23:24
ขอตอบเรื่องมนต์ตามความเข้าใจของผมเองเพิ่มเติมครับ
   
   คัมภรีพระเวทถ่ายทอดสืบต่อกันมาด้วยภาษาสันสกฤต เป็นภาษาชั้นสูงเฉพาะพวกพราหมณ์ ไม่ใช่สำหรับสามัญชน ใช้รูปอักษร มนตร์
   
   ส่วนทางพระพุทธศาสนาของทางเถรวาทสืบทอดต่อกันมาด้วยภาษาบาลี(ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ) เป็นภาษาปรากฤต ซึ่งน่าจะเป็นภาษามาคธีโบราณ เป็นภาษาตายแล้วคือไม่ได้ใช้พูดในชีวิตประจำวัน แต่ยังมีการศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีกันอยู่เพื่อใช้ศึกษาพระไตรปิฎก ใช้รูปอักษร มนต์
   ทั้ง 2 อย่างมีความหมายเดียวกัน แต่ที่ใช้แตกต่างกันตามที่มีการตอบกะทู้ไปแล้วก็น่าจะสืบเนื่องด้วยเหตุคติพุทธและคติพราหมณ์


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 12, 06:13
ก็น่าจะเป็นไปได้ค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 12, 12:33
มีคำว่า ยนต์-ยนตร์ มาให้คุณนิลนนท์ช่วยพิจารณา

เรื่องของ ยนต์-ยนตร์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2403.0;attach=15919;image)

ทำไม จึงใช้ ตร การันต์ เฉพาะกับคำว่า ภาพยนตร์ และรถยนตร์พระที่นั่ง

???


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.ค. 12, 13:40
เอ  เฉพาะคำว่า รถยนต์พระที่นั่ง หรือรถยนต์ที่นั่ง  ไม่เคยใช้ ยนตร์ ใช้แต่ ยนต์ มาแต่ไหนแต่ไร
แม้แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ใช้ ยนตร์   เว้นแต่เป็นการเขียนสมัยเก่าก่อนที่ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาจจะมี ยนตร์ บ้าง  แต่ก็ไม่ใช่จะเอามายึดเป็นหลักในการเขียนสมัยปัจจุบัน

คำว่า ภาพยนตร์ ที่ใช้  ยนตร์  นั้น  เข้าใจว่า  ให้ ยนตร์ ในที่นี้ มุ่งหมายถึง  เคลื่อนไหว
ไม่ใช่เครื่องยนต์กลไก  อันที่จริงมีความหมายในภาษาบาลีสันสกฤตก็เหมือนกัน 
คนไทยมาแยกใช้ในความหมายและบริบทที่ต่างกัน  ภาพยนตร์ใช้  ตร์
แต่พอเป็น ผ้าพยนต์  ใช้ ต์  แปลกดีไหม

ภาษาทุกภาษานอกจากจะมีกฎเกณฑ์ในการใช้ถ้อยคำแต่ละคำแล้ว  ก็ยังมีข้อยกเว้นต่างๆ
ให้คนที่ใช้ภาษาต้องจดจำและใช้ภาษาอย่างระมัดระวังด้วย


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: นิลนนท์ ที่ 16 ก.ค. 12, 00:51
ได้ลองไปค้นหาการใช้ รถยนต์ กับ รถยนตร์ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

 ในปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสที่ประเทศอังกฤษ หนังสือราชการหลายฉบับใช้คำทั้งรถยนต์และรถยนตร์ เช่น
20 ก.ค. 2503 ในหนังสือกำหนดการ ใช้คำว่า รถยนตร์
25 ก.ค. 2503 หนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศถึงนายกรัฐมนตรี รายงานการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอังกฤษ ใช้คำว่า โดยทางรถยนตร์
16 ส.ค. 2503 หนังสือจากสถานฑูตไทยถึงรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ มีการใช้คำว่า "รถยนตร์หลวง" 2 ครั้ง และ "โดยขบวนรถยนต์" 2 ครั้ง ปนกันในหนังสือฉบับเดียวกัน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเจตนาในการเขียนหรือเป็นความผิดพลาด
9 ก.ย. 2503 ครั้งทรงเสด็จเยือนสวิส หนังสือจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ถึงรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรายงานการเสด็จ ใช้คำว่า รถยนต์

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมาสังเกตว่าใช้คำว่า รถยนต์ ทั้งหมด เช่น
25 ส.ค. 2509 กำหนดการ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัฐบาวาเรีย ใช้คำว่า รถยนต์พระที่นั่ง
พ.ศ. 2510 หนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศรายงานการเสด็จเยือนอเมริกาถึงนายกรัฐมนตรี ก็ใช้คำว่า รถยนต์
แต่ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ยังใช้ รถยนตร์ ในการรายงานข่าวในการเสด็จอยู่ ส่วนหนังสือพิมพ์อื่น ๆ ใช้คำว่ารถยนต์

มีการตราพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตั้งแต่สมัย รศ 128 (พ.ศ. 2460)  ใช้คำว่ารถยนตร์มาโดยตลอดหลายสิบฉบับจนถึงพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2525 เป็นพระราชบัญญัติฉบับสุดท้ายที่ใช้คำว่า รถยนตร์  ฉบับต่อมา (พ.ศ. 2527) ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นพระราชบัญญัติรถยนต์แทน ในปัจจุบันก็ไม่เห็นใครใช้รถยนต์กันอีก เข้าใจว่ามีความนิยม รถยนต์ มากกว่า รถยนตร์
(http://)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: นิลนนท์ ที่ 16 ก.ค. 12, 00:57
ผมใส่ภาพไม่เป็น ที่ตอบกะทู้ไปก่อนนี้มีภาพประกอบ 4 ภาพ ติดกันไป(ไม่ใช่กระดาษหน้าเดียวกันนะครับ)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 12, 09:18
มีการตราพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตั้งแต่สมัย รศ 128 (พ.ศ. 2460)  ใช้คำว่ารถยนตร์มาโดยตลอดหลายสิบฉบับจนถึงพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2525 เป็นพระราชบัญญัติฉบับสุดท้ายที่ใช้คำว่า รถยนตร์  ฉบับต่อมา (พ.ศ. 2527) ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นพระราชบัญญัติรถยนต์แทน

พระราชบัญญัติฉบับต่อมาคือพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๗ ใช้ ต์ อยู่ฉบับเดียว ต่อมาอีกพระราชบัญญัติอีก ๗ ฉบับ คือฉบับที่ ๕-ฉบับที่ ๑๑ ก็ยังคงใช้รถยนตร์อยู่นั่นเอง

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 12, 09:29
พระราชบัญญัติฉบับที่ ๑๒ จึงเริ่มใช้คำว่า "รถยนต์" และยังระบุให้แก้ไขคำว่า "รถยนตร์" "รถจักรยาน" และ "เครื่องยนตร์" เป็น "รถยนต์" "รถจักรยานยนต์" และ"เครื่องยนต์"  แต่ไม่ให้เหตุผลไว้ในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติ

 ???


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 20 ก.ค. 12, 11:21
ขอรบกวนสอบถามเพิ่มเติมครับ

เนื่องจากได้ยินผู้ประกาศข่าวบางท่านใช้คำสรรพนามว่า  "หม่อมฉัน" แต่ออกเสียงอ่านเป็น  "หม่อมชั้น"  ผมจึงขอสอบถามท่านผู้รู้ว่า ตามจริงแล้วคำ ๆ นี้ควรจะอ่านว่าอย่างไรถึงจะถูกต้องครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 12, 12:00
"ชั้น" เป็นภาษาพูดอย่างไม่เป็นทางการ ส่วน "ฉัน" เป็นภาษาเขียนและควรอ่านหรือพูดตามตัวเขียนเมื่อเป็นทางการอย่างการอ่านข่าวนี่แหละ เช่นเดียวกับคำว่า "เขา" พูดว่า "เค้า" ได้หากไม่เป็นทางการ

แต่มีอยู่หลายคำเขียนด้วยสระเสียงสั้น แต่ออกเสียงเป็นสระเสียงยาว

คำว่า                             ออกเสียงว่า

น้ำ                                น้าม
ไม้                                ม้าย
ไหว้                              ว่าย
ได้                                ด้าย
ใต้                                ต้าย
เก้า                               ก้าว
เช้า                               ช้าว
เปล่า                             ปล่าว

แม้เป็นทางการ ก็ยังคงออกเสียงตามตัวเขียนไม่ได้

เป็นเพราะคนกรุงเทพพูดเหน่อ

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 ก.ค. 12, 12:16
รบกวนเรื่องของ "การเว้นวรรค" อีกอย่างด้วยนะคะ

ให้หลักเกณฑ์การเว้นวรรคของท่านรอยอินไว้ ยาวหน่อย แต่คิดว่าคงมีประโยชน์ต่อคุณมิอุ และชาวเรือนไทยทุกท่าน

หลักเกณฑ์การเว้นวรรค (http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=279)
 
        ในการเขียนหรือพิมพ์หนังสือไทย การเว้นช่องว่างระหว่างคำ ข้อความหรือประโยคให้ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ข้อเขียนนั้นมีความถูกต้อง แจ่มแจ้ง ชัดเจน และอ่านได้ตรงตามความต้องการของผู้เขียน
 

เป็นความรู้ที่ชอบมากครับ(ต้องเว้นวรรคหรือไม่?)เพราะผมมีปัญหาตลอดกับการเว้นวรรค จะแนะนำใครก็ลำบากเพราะมีแต่ประสบการณ์ (ครูพักลักจำ) แต่ไม่มีอ้างอิง
ต้องขออนุญาต Save ไว้

มีข้อสงสัยอยากจะเรียนถามว่า ระหว่างบรรดาศักดิ์กับนามนั้น ตกลงแล้วต้องเว้นหรือไม่เว้นครับ (ต้องเว้นวรรคหรือไม่) เพราะตอนต้นของบทความกับท้ายบทความขัดแย้งกัน หรือผมเข้าใจผิดประการใด ช่วยชี้แนะด้วยครับ
        วรรค คือ คำ ข้อความ หรือประโยคช่วงหนึ่ง ๆ
        การเว้นวรรค หมายถึง การเว้นช่องว่างระหว่างวรรค
 
        การเว้นวรรคแบ่งออกเป็น
 
        – การเว้นวรรคเล็ก มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณเท่ากับความกว้างของพยัญชนะ ก
        – การเว้นวรรคใหญ่ มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณ ๒ เท่าของการเว้นวรรคเล็ก
 
        ในการเขียนหรือพิมพ์หนังสือไทย มีหลักเกณฑ์ในการเว้นวรรค ดังนี้
 
๑. กรณีที่ต้องเว้นวรรค
 
        ๑.๑ การเว้นวรรคใหญ่
                 เว้นวรรคใหญ่เมื่อจบข้อความแต่ละประโยค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) นั่งให้เรียบร้อย อย่าไขว่ห้าง
                 (๒) วิทยาการเป็นต้นธารให้บังเกิดความรู้และความสามารถในอันที่จะประกอบกิจตามหน้าที่ได้ดี ความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจและทางวัตถุย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิทยาการ บ้านเมืองจะเจริญหรือเสื่อมก็เนื่องด้วยวิทยาการ
 
        ๑.๒ การเว้นวรรคเล็ก
                 เว้นวรรคเล็ก ในกรณีต่อไปนี้
 
                 ๑.๒.๑ ในประโยครวมให้เว้นวรรคเล็กระหว่างประโยคย่อยที่มีใจความสมบูรณ์และเชื่อมกับประโยคอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน “และ” “หรือ” “แต่” ฯลฯ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) นายแดงอยู่ที่บ้านคุณพ่อของเขาที่ปากน้ำโพ แต่พี่ชายของเขาอยู่ที่บ้านซื้อใหม่ในกรุงเทพฯ
                 (๒) การเขียนหนังสือโย้หน้าเย้หลังไม่เป็นระเบียบ หรือการขาดความระมัดระวังในเรื่องช่องไฟ อาจเป็นเครื่องหมายส่อนิสัยของผู้เขียนเองได้
                 (๓) พุทธกับไสย แม้ต่างกันเป็นคนละด้าน แต่ก็ไม่เป็นสิ่งขัดแย้งกันในความเชื่อถือของคนชั้นสามัญทั่วไป
 
แต่ถ้าเป็นประโยคสั้นให้เขียนติดกัน
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ฉันและเธอไปโรงเรียน
                 (๒) เขาอยากได้ดีแต่เขาก็ไม่ได้ดี
                 (๓) น้ำขึ้นแต่ลมลง
 
                 ๑.๒.๒ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อกับนามสกุล
 
ตัวอย่าง
 
                 นายเสริม วินิจฉัยกุล
 
                 ๑.๒.๓ เว้นวรรคเล็กหลังคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ พระนาม และฐานันดรศักดิ์                
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                 (๒) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
                 (๓) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
                 ๑.๒.๔ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อบริษัท ธนาคาร ฯลฯ กับคำ “จำกัด” ที่อยู่ท้ายชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มั่นคง จำกัด
                 (๒) ธนาคารทหารไทย จำกัด
 
                 ๑.๒.๕ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” กับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีวรสิน
                 (๒) ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล ปัญญากิจ
 
                 ๑.๒.๖ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
 
ตัวอย่าง
 
                 ราชบัณฑิตยสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน
                 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
 
                 ๑.๒.๗ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำนำหน้านามแต่ละชนิด
ตัวอย่าง
 
                 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ หรือ
                 ศ. นพ. ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์
 
                 ๑.๒.๘ เว้นวรรคเล็กระหว่างยศกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
                 (๒) พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หรือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
                 (๓) ร้อยโทหญิง สุชาดา ทำความดี
 
                 ๑.๒.๙ เว้นวรรคเล็กระหว่างกลุ่มอักษรย่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 นายเสริม วินิจฉัยกุล ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม.
 
                 ๑.๒.๑๐ เว้นวรรคเล็กระหว่างตัวหนังสือกับตัวเลข
 
ตัวอย่าง
 
                 เขาเลี้ยงสุนัขไว้ที่บ้านตั้ง ๓๐ ตัว
 
                 ๑.๒.๑๑ เว้นวรรคเล็กระหว่างวันกับเวลา
 
ตัวอย่าง
 
                 ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๐.๐๐ น.
 
                 ๑.๒.๑๒ เว้นวรรคเล็กหลังข้อความที่เป็นหน่วยมาตราต่าง ๆ กับข้อความที่ตามมา
 
ตัวอย่าง
 
                 โต๊ะประชุมแต่ละตัวมีขนาดกว้าง ๐.๘๐ เมตร ยาว ๑.๖๐ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร
 
                 ๑.๒.๑๓ เว้นวรรคเล็กระหว่างตัวหนังสือไทยกับตัวหนังสือภาษาอื่น
 
ตัวอย่าง
 
                 ข้าวเย็นเหนือเป็นชื่อไม้เถาชนิด Smilax china  L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทำยาได้.
 
                 ๑.๒.๑๔ เว้นวรรคเล็กระหว่างรายการต่าง ๆ เพื่อแยกรายการแต่ละรายการ ทั้งที่เป็นข้อความและกลุ่มตัวเลข
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ศีล สมาธิ ปัญญา สามอย่างนี้เรียกว่า ไตรสิกขา
                 (๒) เลือกข้อความที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวจากข้อ ก ข ค ง
                 (๓) ๑๕ ๑๓ ๑๑ ๙ ๗ ๕ ๓ ๑ ต่างก็เป็นจำนวนเลขคี่
 
                 ๑.๒.๑๕ เว้นวรรคระหว่างเครื่องหมายต่าง ๆ
 
                              ๑.๒.๑๕.๑ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ ทวิภาค วิภัชภาค และเครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางภาษา (มิใช่เครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์)
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) เขาเจริญพุทธคุณว่า อิติปิ โส ฯลฯ ภควาติ
                 (๒) วันหนึ่ง ๆ เขาทำอะไรบ้าง
                 (๓) อเปหิ = อป + เอหิ
                 (๔) กฤษณา : กฤษณาสอนน้อง แบบเรียนกวีนิพนธ์
                 (๕) ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้แก่ :–
                   ราชบัณฑิต
                   ภาคีสมาชิก
                   ผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง
                   นักวิชาการ
                   และประชาชนผู้สนใจ
 
                        ๑.๒.๑๕.๒ เว้นวรรคเล็กหน้าเครื่องหมายอัญประกาศเปิดและวงเล็บเปิด
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) สถานภาพของสตรีในสังคมอินเดียในอดีตมีลักษณะคล้าย “เถาวัลย์” หรือบางทีก็ดูคล้าย “กาฝาก” เพราะสตรีไม่สามารถพึ่งตนเองได้
                 (๒) มนุษย์ได้สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น
 
                       ๑.๒.๑๕.๓ เว้นวรรคเล็กหลังเครื่องหมาย จุลภาค อัฒภาค ไปยาลน้อย อัญประกาศปิด และวงเล็บปิด
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นรัตนะ ๓ ของพุทธศาสนิกชน
                 (๒) ชีวิตของตนเป็นที่รักยิ่งฉันใด ชีวิตของผู้อื่นก็ปานนั้น; สัตบุรุษเอาตนเข้าไปเทียบดังนี้ จึงกระทำความเมตตากรุณาในสัตว์มีชีวิตทั่วไป
                 (๓) โอ๊ย ! มาไม่ทันรถอีกแล้ว
                 (๔) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
                 (๕) สถานภาพของสตรีในสังคมอินเดียในอดีตมีลักษณะคล้าย “เถาวัลย์” หรือบางทีก็ดูคล้ายเป็น “กาฝาก” เพราะสตรีไม่สามารถพึ่งตนเองได้
                 (๖) มนุษย์ได้สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตนเองทั้งสิ้น
 
                 ๑.๒.๑๖ เว้นวรรคเล็กหลังข้อความที่เป็นหัวข้อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) อุทานวลี อุทานวลีหมายถึงคำอุทานที่มีคำอื่นประกอบท้ายให้เป็นวลียืดยาวออกไป เช่น คุณพระช่วย
                 (๒) วิเคราะห์กลวิธีดำเนินเรื่อง ในการวิเคราะห์กลวิธีดำเนินเรื่องจำเป็นต้องเข้าใจศิลปะการอ่าน หรือกติกาของนักอ่าน นักอ่านต้องพยายามทำใจเกี่ยวกับสัญนิยมของการแต่งหนังสือ
 
                 ๑.๒.๑๗ เว้นวรรคเล็กทั้งข้างหน้าและข้างหลังคำ ณ ธ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) การนำสัตว์ขึ้นหรือลง ณ สถานีใด ให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ประจำท้องที่
                 (๒) ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นศุขสานต์
 
                 ๑.๒.๑๘ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังคำว่า “ได้แก่” ที่ตามด้วยรายการ มากกว่า ๑ รายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
                 (๒) อาหารที่ช่วยป้องกันและต้านทานโรค ได้แก่ โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน
 
                 ๑.๒.๑๙ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังคำ “เช่น” (ในความหมายว่า ยกตัวอย่าง)
 
ตัวอย่าง
 
                 ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก
 
ยกเว้น “เช่น” ที่มีความหมายว่า “อย่าง, เหมือน” ไม่ต้องเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังคำ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ดำ ว. มีสีเช่นสีเขม่า, มืด.
                 (๒) ใจดำเช่นกา
 
                 ๑.๒.๒๐ เว้นวรรคเล็กหน้าคำสันธาน “และ”, “หรือ” ในรายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา การสำรวจ การขนย้าย การจำหน่าย และการส่งมอบน้ำตาลทราย
                 (๒) แล้วกัน (ปาก) ว. ออกเสียงแสดงความไม่พอใจ ตกใจ เสียใจ หรือประหลาดใจ เป็นต้น.
 
ยกเว้น ถ้ามีเพียง ๒ รายการ ไม่ต้องเว้นวรรค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ส่งเสริมสวัสดิการของครูและนักเรียนของโรงเรียน
                 (๒) เสียงสระทุกเสียงเป็นเสียงก้องหรือเสียงโฆษะ
 
                 ๑.๒.๒๑ เว้นวรรคเล็กหน้าคำ “เป็นต้น” ที่อยู่หลังรายการ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) ประเภท น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จำพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น.
                 (๒) บ้านเป็นคำไทย เดิมหมายความว่าหมู่บ้าน ปัจจุบันยังมีเค้าให้เห็นอยู่ในชื่อตำบลต่าง ๆ มี บ้านหม้อ บ้านหมี่ บ้านไร่ บ้านนา บ้านบ่อ เป็นต้น
 
                 ๑.๒.๒๒ เว้นวรรคเล็กหลังคำว่า “ว่า” ในกรณีที่ข้อความต่อมาเป็นประโยค
 
ตัวอย่าง
 
                 จะสังเกตได้ว่า คนถนัดมือซ้ายมีน้อยกว่าคนที่ถนัดมือขวา
 
๒. กรณีที่ไม่เว้นวรรค
 
                 ๒.๑ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) พระมหาสุทธิ สุทฺธิญาโณ
                 (๒) นายเสริม วินิจฉัยกุล
                 (๓) นางอินทิรา คานธี
                 (๔) นางสาววารุณี วงศ์คนไทย
                 (๕) เด็กชายวรา สิทธิ์รัตน์
                 (๖) เด็กหญิงสิรินท์ ทองดี
                 (๗) คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง
                 (๘) คุณหญิงปิ๋ว มหาโยธา
                 (๙) ท่านผูหญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร
 
๒.๒ ไม่เว้นวรรคระหว่างบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ กับนาม หรือราชทินนาม
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) หลวงวิศาลศิลปกรรม
                 (๒) หม่อมราโชทัย
                 (๓) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
                 (๔) หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
                 (๕) เจ้าจอมมารดาชุม (ในรัชกาลที่ ๔)
 
๒.๓ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อที่เป็นตำแหน่งหรืออาชีพกับชื่อ
 
ตัวอย่าง
                 (๑) ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์
                 (๒) นายแพทย์ดำรง เพ็ชรพลาย
 
๒.๔ ไม่เว้นวรรคระหว่างคำหน้าชื่อที่แสดงฐานะของนิติบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลกับชื่อ
 
ตัวอย่าง


                 (๑) สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
                 (๒) มูลนิธิสายใจไทย
                 (๓) สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
                 (๔) โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                 (๕) โรงเรียนสตรีวิทยา
                 (๖) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาสมุทร จำกัด
                 (๗) กรมปศุสัตว์
                 (๘) กระทรวงศึกษาธิการ
                 (๙) คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
 
๒.๕ ไม่เว้นวรรคหลังเครื่องหมายไปยาลน้อย ในกรณีที่มีเครื่องหมายอื่นตามมา
 
ตัวอย่าง

 
                 รถไฟเที่ยวจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
 
๒.๖ ไม่เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมายยัติภังค์ ยัติภาค
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) -กระเฉง ใช้เข้าคู่กับคำกระฉับ เป็น กระฉับกระเฉง.
                 (๒) ภาษาตระกูลไทย–จีน
 
หลักเกณฑ์นี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ แต่บางครั้งอาจเว้นวรรคหรือไม่เว้นวรรคก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เขียน
 
ตัวอย่าง


                 นอกจากเงิน ยังมีโล่ทุกรางวัล
หรือ
                 นอกจากเงินยังมีโล่ทุกรางวัล
 
ที่มา : หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖ หน้า ๕๖-๖๖

 ;D
 
 



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 ก.ค. 12, 13:35
สิ่งที่ผมพิมพ์แนบกับการอ้างอิงไม่ขึ้นเลย งั้นขอพิมพ์ใหม่นะครับ
อยากบอกว่า ดีใจมากกับการได้อ่านในเรื่อง "เว้นวรรค" เพราะมีปัญหาอย่บ่อยๆ

ใคร่ขอเรียนามผู้รู้ว่า ระหว่างบรรดาศักดิ์กับนามนั้น ต้องเว้นวรรคหรือไม่
เพราะหัวและท้ายบทความขัดแย้งกันครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 12, 14:14
คำถามของคุณสุจิตราหลงอยู่ในข้อความที่อ้างมา

เป็นความรู้ที่ชอบมากครับ(ต้องเว้นวรรคหรือไม่?)เพราะผมมีปัญหาตลอดกับการเว้นวรรค จะแนะนำใครก็ลำบากเพราะมีแต่ประสบการณ์ (ครูพักลักจำ) แต่ไม่มีอ้างอิง
ต้องขออนุญาต Save ไว้

มีข้อสงสัยอยากจะเรียนถามว่า ระหว่างบรรดาศักดิ์กับนามนั้น ตกลงแล้วต้องเว้นหรือไม่เว้นครับ (ต้องเว้นวรรคหรือไม่) เพราะตอนต้นของบทความกับท้ายบทความขัดแย้งกัน หรือผมเข้าใจผิดประการใด ช่วยชี้แนะด้วยครับ

ที่สงสัยคงเป็น ๒ ข้อนี้

๑.๒.๓ เว้นวรรคเล็กหลังคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ พระนาม และฐานันดรศักดิ์                  
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                 (๒) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
                 (๓) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

และ

๒.๒ ไม่เว้นวรรคระหว่างบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ กับนาม หรือราชทินนาม
 
ตัวอย่าง
 
                 (๑) หลวงวิศาลศิลปกรรม
                 (๒) หม่อมราโชทัย
                 (๓) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
                 (๔) หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
                 (๕) เจ้าจอมมารดาชุม (ในรัชกาลที่ ๔)

คุณสุจิตราลองพิจารณาดูอีกทีว่าตัวอย่างที่ให้ใน ๒ ข้อนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

 ;)



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 ก.ค. 12, 15:16
อ้อ ! เข้าใจแล้วครับ
ขอบคุณครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 25 ก.ค. 12, 08:47
ขออนุญาตสอบถามดังนี้ครับ ถ้าเราจะทำป้ายประชาสัมพันธ์ในหน้าเว็บไซต์เนื่องในวันที่ ๑๒ สิงหาคมนี้ มีข้อความว่า


"ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชินี"

กับ

"๑๒ สิงหา บรมราชินีนาถ"

ขอรบกวนสอบถามว่า จะใช้คำว่าบรมราชินีนาถ อย่างนี้เหมาะสมหรือไม่ครับ หากไม่เหมาะสม ควรจะใช้คำอะไรจึงจะถูกต้องครับ



กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 12, 08:50
ประโยคแรกผิดนะคะ   "ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชินี"
ต้องเป็น
"ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี"

ส่วนประโยคที่สอง รอท่านผู้อื่นมาตอบดีกว่าค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 ก.ค. 12, 09:01
"ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชินี"  ไม่ถูกต้อง  เพราะทีฆายุโก  เป็นปุลลิงค์
เป็นคำนามเพศชาย   ใช้สำหรับถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือเจ้านายฝ่ายหน้า

"ทีฆายุกา  โหตุ  มหาราชินี" อย่างที่คุณเทาฯ บอกนั้น ใช้ได้และถูกต้อง
ทีฆายุกา เป็นอิตถีลิงค์  

ส่วน ประโยคที่ ๒ ว่า  "๑๒ สิงหา บรมราชินีนาถ"
พิจารณาแล้วก็น่าจะใช้ได้   หรือถ้าจะให้ดี  ควรเติมคำว่า พระ หน้าคำว่า บรมราชินีนาถ ก็จะดีขึ้น
จะได้ไม่ห้วนเกินไป

อ้อ   ทีฆายุโก  /  ทีฆายุกา  ใช้ ท  ไม่ใช่  ฑ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 25 ก.ค. 12, 09:55
ขอบพระคุณทั้งสองท่านครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: changny ที่ 25 ก.ค. 12, 13:59
"๑๒ สิงหา มหาราชินี" ก็น่าจะได้นะครับ ฟังสบายๆ เหมือน "๕ ธันวา มหาราช"


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: awork ที่ 26 ก.ค. 12, 05:59
ขอสอบถามเรื่องที่ค้างคาใจมานานแสนนาน โดยความสงสัยส่วนตัวนะครับ
ตามที่ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่า สรรพนามที่ใช้เรียก สัตว์และสิ่งของ เช่น ผัก ผลไม้ คือ มัน
แต่เดี๋ยวนี้ ทำไม่เวลาคนออกโทรทัศน์ จึงเรียก สัตว์หรือสิ่งของ ด้วยคำว่า เค้า(เขา)
ขอยกตัวอย่างนะครับ "เจ้าหมาตัวนี้ เวลาอ้อน เค้า(เขา)จะน่ารักกับเจ้าของเป็นพิเศษ"
หรืออย่างบทละครในเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรที่ผมติดตามอยู่แต่รู้สึกแปลกหู
เมื่อตัวเอกคนหนึ่งพูดถึง ต้นข้าว ที่ปลูกจนเต็มท้องนา ตามบทละครนี้ครับ
"...อีกไม่กี่วันเค้า(เขา)ก็จะเปลี่ยนเป็นสีทอง ...ยิ่งไปกว่าความงามคือประโยชน์อันมหาศาลของ เค้า(เขา)
หรือ ตามรายการสาธิตการทำอาหารก็จะแทน สิ่งของที่กำลังประกอบอยู่ เช่น กุ้งเวลาสุก สีของเค้า(เขา) จะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวอมส้ม
 อยากสอบถามท่านผู้รู้ทางด้านภาษาไทยว่า การที่เราเรียกสรรพนามของต้นไม้ สัตว์ ผักผลไม้ ว่า มัน นี่กลายเป็นคำหยาบคายหรือไม่เหมาะสมต่อการออกโทรทัศน์แล้วหรือครับ หรือว่าตอนนี้ภาษาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วครับ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 12, 08:36
สรรพนามเรียกสัตว์และสิ่งของ คือ "มัน" ถูกแล้วค่ะ
ภาษาเขียนยังคงเดิม   แต่ภาษาพูดของคนเปลี่ยนไปตามวันเวลาและสิ่งแวดล้อม    ตอนนี้ " มัน" ทำท่าจะหายไปเสียแล้ว  ทุกอย่างถูกรวบเข้าเป็นคำว่า"เขา" กันหมด
ตั้งแต่พ่อแม่ไปจนเครื่องปรุงอาหารกลายเป็น "เขา" เท่ากัน  ในบทพูดออกเสียงเป็น "เค้า"

" พ่อแม่แก่แล้วครับ   ก็อยากกลับบ้านเดิมไปดูแลเค้า"
" หัวกุ้งมีคลอเรสโตรอลสูง  เวลารับประทานไม่ต้องเสียดายเค้านะคะ  ทิ้งไปเลย"
" ที่บ้านมีแมวอยู่สามตัว  ไปไหนก็ไม่ได้ เป็นห่วงเค้า"
ถ้าคุณ awork จะเขียนหนังสือหรือให้สัมภาษณ์ ก็อยากให้ใช้ "มัน" ตามเดิมดีกว่า ไม่หยาบคายหรอกค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ค. 12, 09:32
เป็นวิวัฒนาการของภาษา

ถ้าเอาตัวเราเป็นหลัก

สัตว์และสิ่งของย่อมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า แต่ถ้าชอบหรือรัก คนมักไม่อยากใช้ มัน เพราะดูไม่แสดงความรักและสนิทสนมเท่า เขา (เค้า)

ส่วนพ่อแม่ย่อมอยู่สูงกว่าเราแต่ หากใช้ เขา (เค้า) แสดงถึงความไม่ใคร่สนิทสนมหรือยกย่องเท่าที่ควร  ใช้ ท่าน น่าจะเหมาะสมทีสุด

เรื่องการใช้คำว่า เขา (เค้า) แทน มัน  ทางโทรทัศน์ มีมามากกว่าสิบปีแล้ว

คุณวิชัยถามไว้เมื่อสิบปีก่อน

ผมเคยเรียนจากห้องเรียนมาเกี่ยวกับสรรพนามบุรุษที่ 3 ทราบว่า  ถ้าจะแทนสัตว์ สิ่งของ ให้ใช้ มัน  แต่บ่อยครั้งผมได้ยินบ่อยทางทีวีใช้คำสรรพนาม เขา แทน สัตว์ สิ่งของ เป็นเพราะอะไรครับ ถูกต้องไหมครับ


วิวัฒนาการยังไม่ถึงที่สิ้นสุด

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: awork ที่ 26 ก.ค. 12, 16:59
ขอบพระคุณ อาจารย์เทาชมพู และอาจารย์เพ็ญชมพู  ที่มาตอบคำถามให้หายข้องใจครับ
ทั้งสองท่าน เปรียบเสมือนผู้รู้ ที่ผมเคารพจากการติดตามการตอบกระทู้ในเรือนไทยนี้มานานแล้วครับ
คำตอบที่ได้รับ ช่วยยืนยันความเข้าใจ และทำให้ผมมั่นใจที่จะใช้ภาษาให้ได้ถูกต้อง ต่อไปอย่างไม่เคอะเขิน
คำว่า 'มัน' หากอยู่ในงานเขียน หรือผมให้สัมภาษณ์ฝ่ายเดียว คงจะตั้งใจใช้ตามเดิม
แต่ถ้าต้องสนทนากับคู่สนทนา บางครั้งพูดถึงสัตว์เลี้ยง ใช้คำว่า 'มัน' ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายจะเห็นว่าเราหยาบคายหรือเปล่า
แต่สำเนียงในการออกเสียง ถ้าเจือด้วยความรัก ความเอ็นดู เรียก 'มัน' ยังไงก็น่าฟัง ไม่น่าจะขัดหูใคร
ถ้าใช้ เค้า (เขา) ในทุกสรรพนาม คน สัตว์ สิ่งของ ก็คงปนกันไปหมด เพราะอย่างไร วิวัฒนาการทางภาษา คงไม่มีที่สิ้นสุด
ฉะนั้น ต่อไปนี้ผมจะใช้สรรพนามคำนี้ อย่างภาคภูมิใจครับ  ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 28 ก.ค. 12, 18:16
หายไปเครียดกับไม้เอกอยู่นาน แต่ก็ยังไม่หายอยู่ดีล่ะค่ะ เริ่มจะไม่มั่นใจในการออกเสียงซะแล้ว  >:(

แต่ตอนนี้ขอเป็นปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการใช้ไม้ยมกก่อน  :-\


ขอเริ่มด้วยคำที่เห็นเป็นประจำ

ทุกๆคน ทุกๆวัน คนๆนั้น คนๆนี้ เพลงๆหนึ่ง

ประมาณนี้ล่ะค่ะ

โดยส่วนตัวดิฉันสงสัยว่า การใส่ไม้ยมกในคำนี้คือถูกต้องแล้วใช่ไหม?

อย่างเช่นว่า "คนๆนั้น" ดิฉันจะเขียนเป็น "คนคนนั้น" เสมอ เพราะดิฉันคิดว่า

คน คือ สิ่งที่เอ่ยถึง
และ
คนนั้น คือ ตำแหน่งหรือการระบุความประสงค์

อ่า ไม่แน่ใจว่าที่ดิฉันอธิบายจะพอทำให้เข้าใจได้ไหม แต่โดยส่วนตัวคิดแบบนี้ค่ะ

จึงอยากจะสอบถามว่า ที่ดิฉันคิด ถูกผิดหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากเข้าใจว่าควรเขียนเช่นนี้ค่ะ

(คำอื่นก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าใส่ไม้มยกแบบนั้นหรือเปล่า แต่ก็ไม่มีความรู้ทางนี้จริงๆค่ะ ขอรบกวนด้วยนะคะ)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ค. 12, 19:25
๑. คำว่า ทุก ๆ ใช้ไม้ยมกถูกต้องแล้ว ทุกหรือทุก ๆ เป็นคำวิเศษณ์ รอยอินท่านให้ความหมายไว้ดังนี้

ทุก , ทุก ๆ ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็นหน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมีปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.

๒. คุณมิอุเขียนว่า คนคนนั้น คนคนนี้ เพลงเพลงหนึ่ง ถูกต้องแล้ว คำแรกเป็นคำนาม คำหลังเป็นลักษณนาม

๓. อย่าลืมหลักการเว้นวรรคข้อนี้

                ๑.๒.๑๕ เว้นวรรคระหว่างเครื่องหมายต่าง ๆ
 
                              ๑.๒.๑๕.๑ เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก  เสมอภาคหรือเท่ากับ ทวิภาค วิภัชภาค และเครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางภาษา (มิใช่เครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์
)

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 30 ก.ค. 12, 19:09
ขอบคุณท่านเพ็ญชมพูมากเลยค่ะ กระจ่างขึ้นเยอะ  :-[


เคยบอกให้คนแก้จาก "คน ๆ นั้น" เป็น "คนคนนั้น" เค้าก็ทำท่าไม่ค่อยดีกลับมา ก็เลยติดอยู่ในใจดิฉันว่าตกลงดิฉันเข้าใจผิดงั้นหรือ?  :-X


ยังมีอีกคำที่ไม่ได้ข้องใจหรอกค่ะ เพียงแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงใช้ไม้ยมกกัน คือคำว่า

"ที่ที่"

- ที่ที่เราจะไป
- ที่ที่ควรจะอยู่
- ที่ที่นั้น

เจอประจำเลยล่ะค่ะ "ที่ๆเราจะไป" "ที่ๆควรจะอยู่" "ที่ๆนั้น"

ทั้ง ๆ ที่
ที่ = สถานที่
ที่ = (ดิฉันไม่ทราบว่าจะเรียกคำนี้ว่าเป็นคำกลุ่มใด แต่ที่เข้าใจคือ คำวิเศษณ์ ถูกผิดประการใดรบกวนแจงด้วยค่ะ)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ค. 12, 19:25
๑. ที่ (๑)ที่ (๒) เราจะไป  

(๑) =  คำนาม      (๒) = คำสรรพนาม

๒. ทั้ง ๆ ที่ = คำวิเศษณ์  ตัวอย่างการใช้ เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกําลังเจริญก้าวหน้า

๓. คำว่า คุณเพ็ญ, คุณเพ็ญชมพู น่าฟังกว่า ท่านเพ็ญชมพู

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 31 ก.ค. 12, 21:26
 :-[ ค่ะคุณเพ็ญชมพู


ในที่สุดก็เข้าใจว่าจริง ๆ ควรจะเรียก ที่ ว่าอะไรเวลาอธิบายคนอื่นเสียที  :-[


เพราะปกติจะอธิบายว่า ที่ = สถานที่

ที่ = อีกคำหนึ่ง ไม่ใช่คำเดียวกัน ไม่ควรใช้ไม้ยมก


ฮ่าๆๆๆ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 30 ต.ค. 12, 17:42
ขออนุญาตรบกวนอีกครั้งค่ะ

ดิฉันยังคงติดใจเหลือเกินกับคำว่า

"เริ่ด" และ "แซ่บ"  :'(


ไม่ว่าดิฉันจะเห็นกี่ที ๆ กับ 2 คำนี้ ดิฉันก็มักจะออกเสียงมันว่า

"เหริด" และ "แส็บ" อยู่เสมอเลย

เพราะเวลาออกเสียง เราก็มักจะออกว่า "เริด" "แซบ" อยู่ดี (ออกเสียงเหมือน เลิศ - แนบ)

 :'( หนักใจจริง ๆ ค่ะ


พอจะสามารถอธิบายให้ดิฉันเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ไหมคะ ว่ามันอ่านออกเสียงอย่างไรแน่ กับการเขียนแบบนั้น


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 20:42
จำได้ว่าเคยอธิบายไปแล้วรอบหนึ่ง  ลงท้ายที่คุณมิอุกุมขมับบอกว่าเครียด  ::)

คุณมิอุลองไปอ่าน # ๑๖ ถึง # ๒๔ อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะ # ๑๗ ทำความเข้าใจให้ดี

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 20:51
ดิฉันยังคงติดใจเหลือเกินกับคำว่า

"เริ่ด" และ "แซ่บ"  :'(
ไม่ว่าดิฉันจะเห็นกี่ที ๆ กับ 2 คำนี้ ดิฉันก็มักจะออกเสียงมันว่า
"เหริด" และ "แส็บ" อยู่เสมอเลย
เพราะเวลาออกเสียง เราก็มักจะออกว่า "เริด" "แซบ" อยู่ดี (ออกเสียงเหมือน เลิศ - แนบ)

คุณเพ็ญชมพูอธิบายไปรอบหนึ่งแล้ว     ถ้าคุณ MrMiu ยังปวดหัว  ลองวิธีนี้ไหมคะ  คือ
1  บอกตัวเองว่ามันไม่ได้อ่านว่า "เหริด" และ "แส็บ"แน่นอน  ถ้าอ่านว่า "เหริด" และ "แส็บ" ก็คงเขียนว่า "เหริด" และ "แส็บ" ไปแล้ว
2   มันเขียน เริ่ด และ แซ่บ   ถ้าอยากอ่านให้คุ้นหูตัวเอง เอาไม้เอกออกไป    เหลือ เริด และ แซบ   แต่ออกเสียงให้สั้น ไม่ต้องลากยาว   เท่านั้นพอ
อย่างนี้พอไหวไหมคะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 31 ต.ค. 12, 13:44
อา พอไหวค่ะ สรุปคือใส่ไม้เอกให้ออกเสียงสั้นลงหรือคะ

อืม ...


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 12, 14:19
สิ่งที่ทำให้เสียงสั้นคือ "ไม้ไต่คู้" ซึ่งควรใส่แต่ปัจจุบันไม่สามารถใส่ลงร่วมกับสระบนและเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้

เมื่อใส่ไม้ไต่คู้ ทั้งสองคำก็จะอยู่ในประเภท "อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น" ซึ่งมีสิทธิ์ใช้ไม้เอก ("อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว" หมดสิทธิ์)

คุณมิอุดูตารางประกอบอีกที

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 31 ต.ค. 12, 14:26
โอเค พอจะเข้าใจแล้วค่ะ เรียนตามตรงว่าก็ไม่ค่อยแม่นตารางนี่สักเท่าไรค่ะ

เนื่องจากจริง ๆ แล้ว ลืมไปหมดแล้ว คำเป็นคำตายเอยอะไรเอย

เลิกเรียนมานานมากแล้ว พอไม่ค่อยได้ใช้ก็เลือน ๆ ไปเหมือนกันค่ะ  :'(


ขอบคุณทั้งสองท่านมาก ๆ เลยอีกครั้งนะคะ


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 12, 14:59
เลิกเรียนมานานมากแล้ว พอไม่ค่อยได้ใช้ก็เลือน ๆ ไปเหมือนกันค่ะ  :'(

๏ เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม           ดนตรี
อักขระห้าวันหนี      เนิ่นช้า  
สามวันจากนารี                 เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า             อับเศร้าศรีหมอง ฯ

โคลงโลกนิติ

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 21 ธ.ค. 12, 00:32
สวัสดีค่ะ วันนี้มีข้อสงสัยมารบกวนค่ะ

ที่หายไปนาน เพราะเวลาทำงานเบียดเบียนเวลาพักผ่อนมากมายจริง ๆ ค่ะ  :'(

ขออนุญาตเกริ่นว่า ...

งานที่ดิฉันทำ จำเป็นจะต้องอ่านชื่อของผู้คนอยู่ตลอดเวลา

และหลายครั้งมากที่จะเจอคนชื่อที่ใช้ตัวอักษร  " ฐ "


ดิฉันเข้าใจมาโดยตลอดว่า  ฐ ฐาน ออกเสียงว่า ถ ถาน


แต่ตอนนี้โดยส่วนตัวดิฉันชักจะเริ่มสับสนแล้ว ว่ามันออกเสียง ถ หรือ ท แน่

เห็นคนชื่อ "ฐิติมา" ดิฉันก็อ่าน ถิ-ติ-มา
แต่ดูเหมือนคนอื่น ๆ จะอ่าน "ทิ-ติ-มา"

หลายครั้งมากที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ทำให้ตอนนี้ดิฉันเริ่มไม่แน่ใจกับความทรงจำของตัวเองเสียแล้ว  :'(

รบกวนคุณ ๆ ผู้รู้ รบกวนชี้แนะดิฉันทีค่ะ  :-\


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ธ.ค. 12, 08:34
ฐ สัณฐาน  ออกเสียง ถ  เป็นอักษรสูงค่ะ
ชื่อ ฐิติมา  ออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา  คุณออกเสียงถูกแล้ว    คนอื่นๆออกเสียงผิด    ถ้าออกเสียง ทิ  ต้องสะกดว่า ธิติมา ค่ะ

ว่าแต่เจ้าของชื่อเขาออกเสียงชื่อเขาแบบไหนล่ะคะ?


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: warisa ที่ 21 ธ.ค. 12, 08:45
ดิฉันมีข้อสงสัย...ขออนุญาติเรียนถามในกระทู้นี้ได้ไหมคะ.....คำว่า เนอะ เห็นคนนิยมใช้เยอะ...ความจริงตามหลักการผันวรรณยุกต์ต้องเขียนคำว่า เน้าะ...แต่ไม่มีคนนิยมเขียน...เห็นในนิคยสารชั้นนำก็ยังใช้คำว่า เนอะ.....เลยอยากถามท่านผู้รู้ว่าควรจะเขียนอย่างไรดีคะ.....เช่น ไปกินข้าวกันเนอะ....คือดิฉันใช้บ่อยเพราะดูเป็นตำที่อ่านแล้วดูอ่อนโยน....แต่ก็ตะหงิดในเรื่องหลักภาษาอยู่ตลอดค่ะ....ขอบคุณมากๆค่ะ.........


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ธ.ค. 12, 09:10
ก่อนอื่นขออนุญาตแก้ไขคำที่เขียนผิด ๒ คำคือ อนุญาติ ที่ถูกคือ อนุญาต  และ ตะหงิด ที่ถูกคือ ตงิด

คำว่า "เน้าะ" ไม่มี  ถ้าเป็นเสียงโทคือ "เน่าะ" และ เสียงตรีคือ "เนาะ"

ทั้ง "เนอะ" และ "เนาะ" ไม่มีในพจนานุกรม แต่มีความหมายเดียวกับ "เน้อ" ท่านรอยอินให้ความหมายไว้ว่าเป็นคําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ

เข้าใจเนอะ เขียนให้ถูกเนาะ ไปก่อนเน้อ

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: warisa ที่ 21 ธ.ค. 12, 16:38
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์...ดิฉันคงต้องเข้าห้องนี้บ่อยๆเสียแล้ว...เขียนผิดไปเยอะเลย..แหะๆ  ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: MrMiu ที่ 22 ธ.ค. 12, 00:33
ฐ สัณฐาน  ออกเสียง ถ  เป็นอักษรสูงค่ะ
ชื่อ ฐิติมา  ออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา  คุณออกเสียงถูกแล้ว    คนอื่นๆออกเสียงผิด    ถ้าออกเสียง ทิ  ต้องสะกดว่า ธิติมา ค่ะ

ว่าแต่เจ้าของชื่อเขาออกเสียงชื่อเขาแบบไหนล่ะคะ?


ขอบคุณมาก ๆ นะคะ ที่ช่วยยืนยันความจำดิฉัน ว่าดิฉันจำถูกต้องแล้ว  8)

เจ้าของชื่อเขาไม่ได้ออกเสียงให้ดิฉันฟังหรอกค่ะ แต่เขาก็ไม่ได้ค้านอะไรกับที่ดิฉันออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา

วันนี้ดิฉันก็เจอคนชื่อ " ฐิติรัตน์ " ดิฉันก็อ่านเหมือนเดิมค่ะ  ถิ-ติ-รัด เขาก็ไม่ได้ค้านอะไรค่ะ

 :-[


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 ธ.ค. 12, 05:33
ก่อนอื่นขออนุญาตแก้ไขคำที่เขียนผิด ๒ คำคือ อนุญาติ ที่ถูกคือ อนุญาต  และ ตะหงิด ที่ถูกคือ ตงิด

คำว่า "เน้าะ" ไม่มี  ถ้าเป็นเสียงโทคือ "เน่าะ" และ เสียงตรีคือ "เนาะ"

ทั้ง "เนอะ" และ "เนาะ" ไม่มีในพจนานุกรม แต่มีความหมายเดียวกับ "เน้อ" ท่านรอยอินให้ความหมายไว้ว่าเป็นคําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ

เข้าใจเนอะ เขียนให้ถูกเนาะ ไปก่อนเน้อ

 ;D

คำ "เนาะ" และ "เนอะ" คงใช้เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนกระมังครับ ท่านรอยอินจึงไม่บันทึกไว้


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: warisa ที่ 22 ธ.ค. 12, 17:21
...ดิฉันก็คิดว่าเป็นภาษาพูดค่ะคุณลุงไก่(ขออนุญาตเรียกคุณลุงนะคะ)...ดิฉันเห็นบ่อยเวลาเพื่อนสนทนากันในเฟ๊ซบุ๊ค(เขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่าคะ :))บางคนเขียน"เนาะ"..บางคนเขียน"เนอะ" ก็เลยสงสัยมาตลอดว่าควรจะเขียนอย่างไงให้ถูกต้อง..เช่น สินค้าชนิดนี้แพงจริงๆเนอะหรือเนาะ.....


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 12, 20:14
คำ "เนาะ" และ "เนอะ" คงใช้เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนกระมังครับ ท่านรอยอินจึงไม่บันทึกไว้

ตามปรกติท่านรอยอินท่านก็บันทึกภาษาพูดไว้ด้วย ท่านเรียกว่า "ภาษาปาก" ตัวอย่างเช่น

เชย  ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมาเฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา;  (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 12, 20:29
ดิฉันเห็นบ่อยเวลาเพื่อนสนทนากันในเฟ๊ซบุ๊ค(เขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่าคะ :))

ตาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ  (http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?PageNo=1&PageShow=213&SystemModuleKey=127) ของราชบัณฑิตยสถาน

facebook = เฟซบุ๊ก

f = ฟ, ce = ซ, b = บ, k (เมื่อเป็นตัวสะกด) = ก

การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้

คำว่า เฟซ จึงไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ แต่หากจะใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เพื่อให้ออกเสียงตรี ไม่ใช่ไม้ตรี - เฟ๊ซ แต่ควรเป็นไม้โท - เฟ้ซ

คำว่า บุ๊ก ที่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เนื่องจากอยู่ในหลักเกณฑ์ยกเว้น คือหากไม่มีไม้ตรีจะทำให้เกิดความสับสนกับคำไทยคือ บุก

 ;D


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: warisa ที่ 22 ธ.ค. 12, 21:09
ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูมากค่ะ....ดิฉันเพิ่งค้นพบเว็บนี้ได้ไม่นาน...รู้สึกโชคดีมากๆที่เจอขุมทรัพย์แห่งความรู้...ดิฉันชอบอ่านประวัติศาสตร์และสนใจในเรื่องเขียนคำในภาษาไทยให้ถูกต้อง....เว็บนี้ตอบโจทย์ดิฉันได้เป็นอย่างดีทีเดียว...อยากให้เยาวชนได้เข้ามาหาความรู้บ้างจัง...จะได้รู้จักใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง...ขอบพระคุณมากค่ะ :)


กระทู้: ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ธ.ค. 12, 08:14
^