เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: overhaul ที่ 21 เม.ย. 10, 20:10



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 21 เม.ย. 10, 20:10
 :)สวัสดีครับสมาชิกทุกท่าน
วันนี้ผมมีข้อสงสัยครับ เรื่องมีอยู่ว่า ผมพบพงศาวดารเรื่อง แขกซันดาวิศ จึงสงสัยแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใดครับ :D


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 08:21
พงศาวดารที่คุณเจอมา   สะกดคำว่า ซันดาวิศ เป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า 
ถ้ามี ก็จะค้นในกูเกิ้ลได้ง่ายขึ้น
รอคุณ Ho มาตอบ  อาจจะเคยได้ยินชื่อนี้


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 09:15
คุณวันดีเคยตอบไว้ดังนี้

พงศาวดารแขกชาติซันดาวิช   
คัดมาจากหนังสือบางกอกรีคอเดอ


อ่าน ซันดาวิชมาจาก สยามประเภท  อ่านอยู่ตั้งนานกว่าจะทราบว่า
เป็นประวัติ หมู่เกาะ ฮาวาย

กรุณารอคุณวันดีมาขยายความต่อ

 ;D


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 09:34
น่าจะมาจาก แซนด์วิช กระมังนี่   :o
เป็นชื่อที่กัปตันเจมส์ คุกตั้งให้หมู่เกาะฮาวาย

On January 18, 1778 Captain James Cook and his crew, while attempting to discover the Northwest Passage between Alaska and Asia, were surprised to find the Hawaiian islands so far north in the Pacific. He named them the "Sandwich Islands". After the discovery by Cook, other Europeans and Americans came to the Sandwich Islands.

รอคุณวันดีมาอธิบายอีกทีค่ะ


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 เม.ย. 10, 11:10
พยายามไปหาหลักฐานมาค่ะ

มีอยู่ในบาญชีหนังสือกุหลาบในหอวชิรญาณ ที่ ก.ศ.ร. เป็นสมาชิกอยู่ เกือบ หกปี
เป็นตัวเขียน


หนังสือทุกเล่มของก.ศ.ร. ไม่ว่าเล่มจะเล็กและบางแต่ไหน   คิดราคากันเป็นราคาทองคำในปัจจุบันค่ะ
หนังสือชุดสยามประเภท ๗ เล่มที่ลือกันอื้ออึง  ราคาเล่มละ ๗ บาทเองค่ะ
ร้านหนังสือที่ได้มากลายเป็นทุ่งกุรุเกษตรไปเลย



ก.ศ.ร. ลงเรื่องนี้ไว้ในข่าวต่างประเทศ  ลอกมาจากบางกอกเรคอดเดอร์ เพราะตนเองเป็น เอไดเตอร์อยู่ตั้งนาน
เป็นเรื่องยาวทีเดียว
ข่าวต่างประเทศนี้ ก.ศ.ร. ลงทุนจ้างฝรั่งแปล  มีบันทึกว่า เยรินีเคยมาทำงานให้ก.ศ.ร. ด้วย

เยรินีมีความรู้กว้างขวาง  ท่องเที่ยวมาทั่ว        ก.ศ.ร. ชื่นชมยินดีนับเป็นเพื่อนร่วมแก้งค์
เยรินีได้หนังสือที่วาน ก.ศ.ร. หาแล้ว  ก็นำไปแปลและแต่งต่อจนมีชื่อเสียง

มีงานโชว์หนังสือที่ไหนก็วางโชว์ในที่สำคัญ  ส่องไฟด้วย    ปิดกระจกลั่นประแจ
เห็นหนังสือฝรั่งสำคัญกว่าหนังสือไทยไปได้ลงคอ
นักอ่านโมโหจนหน้าควำ่


ไม่เคยเอ่ยเลยที่ไหนว่าจ้างก.ศ.ร. ไปคัดมา

การคัดไปคัดมานี่คือเหตุการผิดพลาดทางข้อมูล  เพราะนายชายผู้คัดงานให้พ่อ(กลัวพ่อมาก)คงคัดตกไปไม่น้อย
นายชายคัดได้หนึ่งเล่มก็นำกลับมาให้ปาป้า  แล้วปาป้า ก.ศ.ร.ก็ยังสั่งให้คัดอีกเล่มเพื่อขายต่อให้เยรินี
เยรินีอ่านด้วยความชำนาญ  เห็นอะไรวิกลวิการก็เติมตำราที่ตนได้มาจากชมพูทวีปลงไป

เรื่องที่จะนำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบท่านพราหมณ์เพื่อถามนั้น  ไม่ทำ
เพราะพราหมณ์นั้นหวงตำราสุดชีพ      ขืนหลุดออกไปเป็นสิ้นสุดการทำมาหากินกันทีเดียว



เล่าว่าเยรินีมีตำราพราหมณ์มาก  พอ ๆ กับคนไทยอีกคนที่อุตส่าห์คัดลอกไว้(อิอิ...ไม่ได้ออกชื่อ แต่ทายได้โดยไม่ต้องนึกว่า  คือ  ใคร)



เพื่อคุณเพ็ญชมพูผู้มีความทรงจำอันเลิศ    และคุณเทาชมพูผู้มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ 



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 12:21
กัปตันคุกมีสปอนเซอร์ใหญ่ในการเดินเรือสำรวจ คือ  John Montagu 4th Earl of Sandwich นั่นคือเหตุผลที่ ฮาวายได้ชื่อ หมู่เกาะแซนด์วิช มาแต่แรก ชื่อแซนด์วิชที่หมายถึงอาหารก็มาจากเอิร์นคนนี้นี่แหละ

 ;D

ข้อมูลจาก
http://www.open-sandwich.co.uk/town_history/sandwich_origin.htm

ภาพบน  - John Montagu 4th Earl of Sandwich
ภาพล่าง - คนนั่งคือ Captain James Cook  ยืนอยู่ตรงกลางคือ Earl of  Sandwich


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 12:40
ราชาแห่งแขกซันดาวิศ    พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ ๑


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 10, 13:18
๑๔ กุมภาพันธ์ไม่ใช่เป็นวันวันวาเลนไทน์เท่านั้น แต่เป็นวันที่พวกแขกซันดาวิชรุมฆ่ากัปตันคุกตายคาชายหาด

คนพื้นเมืองเชื่อว่ากัปตันคุกเป็นเทพ ซึ่งเขาก็ไม่ได้ปฏิเสธเสียด้วย พอกลับไปฮาวายอีกครั้ง ดันเกิดป่วยขึ้นมา เทพป่วยได้อย่างไร ดังนั้นในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๑๗๗๙ ชาวพื้นเมืองคนหนึ่งจึงปาหอกทะลุอก เจมส์ คุก และชาวพื้นเมืองที่เหลือก็ตามไปรุมสกรัมจนตายคาที่ที่ชายหาดนั่นเอง


The Death of Cook painted by John Cleveley in 1784


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 10, 00:57
ขอบพระคุณข้อมูลของคุณวันดีและคุณเพ็ญชมพูมากๆครับ


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 เม.ย. 10, 08:04
ไฉนคุณติบอถึงเกรงใจปานนี้      
ทีหลังบอกว่าอ่านแล้วชอบ  สนุก  ก็เพียงพอแล้ว


ที่จริงดิฉันว่าจะหลบเพราะไม่สามารถตามกลับไปอ่านเอกสารต้นฉบับที่มีได้
เพราะเวลากระชั้นชิด  จึงตอบได้จากความจำ


ข่าวต่างประเทศที่แปลมาจากโทรเลข ของ สยามประเภท  ทันสมัย
เช่นข่าวราชสำนักในยุโรป  เหตุการณ์ในเมืองจีนกบฎนักมวย  จะแพ้ก็แต่สยามไสมยอยู่ช่วงตัว
เนื่องด้วยครูสมิทของดิฉัน  เรียนการหนังสือพิมพ์และฝึกงานในโรงพิมพ์สมัยเป็นนักเรียน

เมื่อมอง ก.ศ.ร.ในฐานะผู้พิมพ์  มีงานของท่านเยอะมากที่เราไม่ค่อยจะได้ยินชื่อ
เริ่องบทความจากข่าวต่างประเทศท่านก็จับประเด็นได้น่ารักมากค่ะ

วันหนึ่ง มีเจ้าหญิงเยอรมัน กำหนดจะไปเยี่ยมพระนางซูสี  พระนางก็เตรียมเครื่องประดับไข่มุกไว้จะประทาน
ดิฉันอ่านไปก็คิดว่า พระนางซูสีไทเฮาคงอยากทำดีกับชาวตะวันตกเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองกระมัง
คงกะจะประทานให้ผู้รับสะท้าน
ธรรมเนียมจีนผู้น้อยจะไม่นั่งเมื่อมีผู้ใหญ่
ทูตเยอรมันยืนยันว่าเจ้าหญิงของเขาจะไม่ยืนเฝ้าเป็นอันขาด
ขุนนางจีนก็ต่อรองไปมา  ว่ายืนไม่ได้หรือ
ทูตว่า  ไม่

ผลสุดท้ายก็คือว่า เจ้าหญิงเยอรมันได้ประทานพัดไปหนึ่งเล่ม

จะจริงเท็จแค่ไหนเรื่องนี้ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างมีหลักฐาน
แต่เป็นเรื่องที่นำมาลง


คนไทยสมัยนั้นที่อ่านสยามประเภทมีจำนวนไม่น้อยเพราะอ่านต่อ ๆ กัน
คงครึกครื้นไปหลายวัน




กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 10, 08:27

ที่จริงดิฉันว่าจะหลบเพราะไม่สามารถตามกลับไปอ่านเอกสารต้นฉบับที่มีได้
เพราะเวลากระชั้นชิด  จึงตอบได้จากความจำ

พงศาวดารซันดาวิศเวอร์ชั่น ก.ศ.ร.กุหลาบ อยู่ในสยามประเภทเล่มสี่ หน้า ๕๘๓ พงศาวดารซันดาวิศพิศดาร และหน้า ๖๑๘ พงศาวดารซันดาวิศกล่าวจนจบเรื่อง

http://www.su-usedbook.com/article-th-911-สารบาญ ของหนังสือพิมพ์สยามประเภทฯ เล่มสี่ปีที่สี่ครึ่งปี.html (http://www.su-usedbook.com/article-th-911-สารบาญ ของหนังสือพิมพ์สยามประเภทฯ เล่มสี่ปีที่สี่ครึ่งปี.html)

สำหรับรายละเอียดคงต้องพึ่งคุณวันดี

นานแค่ไหนก็จะรอ

 ;D


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 เม.ย. 10, 09:32
คุณ ซูยูสบุ้ค เป็น สหายที่รักและสนิทของดิฉัน คนหนึ่ง

เขาพูดตรงไปตรงมาถ้าเป็นเรื่องในหน้าที่และความรับผิดชอบ
เคยประดาบกันมาบ้างพอบอกสำนัก


รู้สึกว่าเขาจะถ่ายเอกสาร สยามประเภทเล่มมหึมามาให้ดิฉันนานมากแล้ว
น้ำใจใหญ่หลวงนัก   มีที่ไหนที่จะให้กันถึงปานนี้


ที่คุณเพ็ญแนะนำ สยามประเภทเล่ม ๑ และ สอง ไว้       ประชาชนสรรเสริญกันทั่วหน้า
ได้ผลบุญกันทั่ว

ข้อสำคัญไม่รู้ว่าจะมีใครอนุญาตให้อ่านเล่ม ๗ บ้าง


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 เม.ย. 10, 15:06
     เนื่องจาก จขกท พบหนังสือแล้ว

แต่คุณเพ็ญชมพูอยากอ่าน   ขอทุเลาไว้ก่อน  เพราะติดธุระเสาร์อาทิตย์
ความจะได้ติดต่อกัน

เรื่องก็คือว่า พระจ้าวแผ่นดินซันดาวิศ เสด็จมาประพาศเยี่ยมกรุงสยาม เมื่อ จุฬศักราช ๑๒๔๓ ปีมะเสง ตรีศก  รัชกาลที่ ๕
(พ.ศ. ๒๔๒๔)

ก.ศ.ร. ว่า ชาวสยามจะมีผู้ทราบเรื่องพงศาวดารซันดาวิศนั้นน้อยตัว  ผู้ที่ไม่ทราบเห็นจะมาก
เลยไปนำหนังสือที่บรัดเลแปลไว้เมื่อ จุฬศักราช ๑๒๒๘(พ.ศ. ๒๔๐๙)  มาลง


ดิฉันนั้นรักภาษาไทยแบบโบราณเป็นที่สุด โดยเฉพาะชื่อฝรั่ง  เช่น กับตันกุก    อังกริษ   กับตันโปลัก
ตั้งใจว่าจะย่อแบบยืดความในบางตอน  เพราะหมอบรัดเลท่านก็อธิบายกลับไปกลับมาได้พอ ๆ กับ ก.ศ.ร.


เบื่อ ก.ศ.ร. แล้วจะคุยกันเรื่องนายวรรณก็ได้  เก็บไว้เป็นกระชุ       


     


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 10, 16:08
เรื่องก็คือว่า พระจ้าวแผ่นดินซันดาวิศ เสด็จมาประพาศเยี่ยมกรุงสยาม เมื่อ จุฬศักราช ๑๒๔๓ ปีมะเสง ตรีศก  รัชกาลที่ ๕
(พ.ศ. ๒๔๒๔)

พระจ้าวแผ่นดินซันดาวิศพระองค์นี้คือ King David Kalakaua

ข้อมูลจากคุณวิกกี้
http://en.wikipedia.org/wiki/Kal%C4%81kaua

In 1881, King Kalākaua left Hawaiʻi on a trip around the world to study the matter of immigration and to improve foreign relations. He also wanted to study how other rulers ruled. In his absence, his sister and heir, Princess Liliʻuokalani, ruled as regent (Prince Leleiohoku, the former heir, had died in 1877). The King first traveled to San Francisco where he was given a royal welcome. Then he sailed to the Empire of Japan where he met with the Meiji Emperor. He continued through Qing Dynasty China, Siam under King Chulalongkorn (Rama V), Burma, British Raj India, Egypt, Italy, Belgium, the German Empire, Austria-Hungary, the French Third Republic, Spain under the Restoration, Portugal, the United Kingdom of Great Britain and Ireland, and back through the United States before returning to Hawaiʻi. During this trip, he met with many other crowned heads of state, including Pope Leo XIII, Umberto I of Italy, Tewfik, Viceroy of Egypt, William II of Germany, Rama V of Siam, President Chester Arthur, and Victoria of the United Kingdom. In this, he became the first king to travel around the world.

บน  - พระบรมสาทิสลักษณ์ King David Kalakaua ทรงฉลองพระองค์เต็มยศ
ล่าง - แผนที่การเดินทางรอบโลกของ King David Kalakaua


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 เม.ย. 10, 16:12
โห......ท่านสง่างาม   ติดดวงตราได้แปลกดี

ท่านคงโปรดเมืองไทย  และดวงตราจากไทยนะคะ

เจ้านายประเทศใหญ่ ๆ  เมื่อทอดพระเนตรเป็นครั้งแรกยังตลึงด้วยฝีมือและความงาม


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 10, 16:35
คุณสรวิทย์ ภิรมย์ภักดี เธอให้ข้อมูลไว้ดังนี้

http://www.soravij.com/kalakaua.html

King Kalakaua of the Hawaiian Islands visited Siam in May or June 1881, on his way from China to Europe. The Siamese Consul in Hong Kong telegrammed in advance, so on arrival at the mouth of the Chao Praya river, His Majesty King Chulalongkorn (Rama V) sent the royal yatch to greet the King of Hawaii. King Chulalongkorn was 28 at the time, and had been King for 13 years. He had heard of Hawaii, and knew the geography of the world, but he did not know any more details of the Hawaiian islands or its people. The Siamese King invited the King of Hawaii to stay a few days as his guest. The Hawaiian king remarked that Siam felt like home and he was able to enjoy the coconuts here that made him felt more at home. During the visit, he enjoyed the full Siamese hospitality, attended a State Dinner, met with members of the Royal Family including the last Maha Uparaja, and was presented with a Royal Decoration that is still proudly hang in the Throne Room of his `Iolani Palace in Honolulu. At that point in time, King Chulalongkorn has yet to embark on his historic journey to Europe, and he was fascinated by the Hawaiian king's viewpoint about the West.

Sadly, the two kings never met up again, and I'm not sure whether King Chulalongkorn knew about King Kalakaua's death in 1891, and the fate of the Kingdom of Hawaii and it's last Queen and Monarch.


King Kalakaua - the 7th and last King of Hawaii



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 10, 09:39
วาระสุดท้ายของราชวงศ์แห่งฮาวายมาถึงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในรัชสมัยของ Queen Liliuokalani  อันตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐยกพลขึ้นบกเข้าควบคุมการปกครองและกักขังสมเด็จพระบรมราชินีชาวฮาวายไว้ใน Lolani Palace เกือบปี ที่สุดฮาวายก็ถูกรวมเข้าเป็นมลรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. ๒๕๐๒

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงสำนวนที่ว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"

อเมริกากล่าวจีนเรื่องทิเบต ยังไม่เคยได้ยินจีนกล่าวหาอเมริกาเรื่องฮาวาย

 8)


Queen Liliuokalani  - the last Queen of Hawaii
http://en.wikipedia.org/wiki/Liliuokalani


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 10, 09:49
Ka’iulani Crown Princess of Hawaii เป็นพระราชนัดดาของ Queen Liliuokalani  เจ้าหญิงน้อยทรงได้รับการศึกษาตามแบบอย่างของยุโรป เพื่อทรงเตรียมที่จะขึ้นครองราชบัลลังก์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองถึงแม้เจ้าหญิงจะทรงใช้ประปรีชาสามารถที่ทรงร่ำเรียนมาเรียกร้องความเป็นธรรมแห่งราชบัลลังก์และบูรณภาพแห่งดินแดนฮาวายไปทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่กลับต้องทรงประสบกับความรวดร้าวพระราชหฤทัย ได้แต่ทอดพระเนตรดูการเปลี่ยนผ่านการปกครองของแผ่นดินจากราชอาณาจักรฮาวาย ไปเป็นเขตยึดครองและท้ายที่สุดฮาวายถูกควบรวมเข้าเป็นมลรัฐสุดท้ายของสหรัฐอเมริกา ชาวท้องถิ่นเชื่อกันว่าเจ้าหญิงทรงตรอมพระราชหฤทัยทัยอันเป็นมูลเหตุให้ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๒๔ พระชันษาเท่านั้นเอง

http://en.wikipedia.org/wiki/Ka'iulani



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: wayu ที่ 24 เม.ย. 10, 23:41


เรื่องนี้ทำให้นึกถึงสำนวนที่ว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"

อเมริกากล่าวจีนเรื่องทิเบต ยังไม่เคยได้ยินจีนกล่าวหาอเมริกาเรื่องฮาวาย

 

ที่จีนยังไม่เคยกล่าวหาอเมริกาเรื่องฮาวาย เป็นเพราะเรื่องทิเบตและฮาวายมันคนละอย่างกันโดยสิ้นเชิง
ถ้าคุณเพ็ญอ่านลิงค์วิกิที่คุณยกมาโดยละเอียด ก็จะเห็นภาพดังนี้

ตั้งแต่ ๑๘๐๐ เป็นต้นมา คนผิวขาวจากยุโรปและอเมริกาเข้ามาอยู่ที่ฮาวาย ปลูกอ้้อยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
เพราะเหตุนี้ แรงงานในไร่อ้อยจึงขาดแคลน
ในขณะที่คนจีนทางตอนใต้แถวมณฑลกวางตุ้ง ทิ้งถิ่นฐานเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อพยพมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
คนจีนทางตอนเหนือ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นบางส่วน ก็ลงเรือสำเภามาเป็นกรรมกรที่ฮาวาย เป็นลูกจ้างในไร่ของฝรั่ง

ขณะนั้น น้ำตาลจากฮาวายแข่งขันสู้น้ำตาลจากเท็กซัสไม่ได้ เพราะคองเกรสผ่านทาริฟเพื่อช่วย
น้ำตาลทางใต้ (เท็กซัส หลุยเซียน่า และนิวเม็กฯ)
ทำให้น้ำตาลอิมปอร์ตต้องจ่ายภาษี น้ำตาลฮาวายขมขื่นเป็นยิ่งนัก
คนผิวขาวจึงหันมาบี้ค่าเเรงกรรมกร เกิดเป็นเลเบอร์ มูฟเม้นท์ ที่ดุเดือดเลือดพล่าน

คนผิวขาวได้พยายามเขี่ยระบอบกษัตริย์ทิ้งมาตั้งแต่สมัย King Kalakaua (อ่านว่า  คาลาคาว่า)   แล้ว
แต่มาสำเร็จเอาสมัยต่อมา

ตอนที่นักธุรกิจมะกันยึดฮาวาย ควีนส์ฮาวายได้ขอให้รัฐบาลสหรัฐช่วย
รััััฐบาลสหรััฐได้สั่งให้นักธุรกิจมะกันมอบบัลลังก์กลับคืนไป
ทางนักธุรกิจตอบว่า "มันเป็นเรื่องภายในของเรา เราไม่ได้ทำอะไรผิด
ถ้าจะว่าผิดก็เป็นเพราะว่ารัํฐบาลสหรัํ๊ฐคิดไปเองต่างหาก''
พูดง่ายๆว่า สหรััฐอย่าจุ้น   การยึดอำนาจเกิดนอกแผ่นดินสหรัฐ จะมาบีบบังคับไม่ได้

หลังจากนั้น ได้มีการชงเรื่องเพื่อให้สหรัํ๊ัฐ annex ฮาวายอีกหลายครั้ง
เพียงเพื่อให็สินค้าฮาวายแข่งขันได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นสักที


สงครามโลกครั้งที่สองจบลงแล้วหลายปี ฮาวายเพิ่งมาเป็นรััฐที่ ๕๐


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 10, 16:08
ย้อนไปในอดีต

King Chulalongkorn and the last King of Hawaii

http://www.chiangmai-chiangrai.com/king-chulalongkorn_last-king-hawaii.html


During his reign, King Rama V continued to travel and to encourage foreign heads of state and other dignitaries to visit Siam.

And so it was that in 1881 King Chulalongkorn welcomed to Siam a fellow visionary and world traveller, Kalakaua, the 7th and last King of Hawaii.

King Kalakaua, faced with a population shortage, had embarked on a world tour to encourage immigration - in effect a search for cheap labor to work on the great sugar plantations in Hawaii. That observation may be seen by some as uncharitable, given that King Kalakaua was known to harbor a dream of a culturally pluralistic world where races, cultures and religions could live together in harmony and independence.

The hard economic facts of the day, however, point to Hawaii's dwindling population (less than 40,000 in 1881) and the obvious labor shortage that threatened its economy.

Kalakaua boarded the steamer, The Killarney, manned by an Irish captain and a Chinese crew, and steamed south from Hong Kong, across the South China Sea, into the Gulf of Siam, anchoring at the bar of the Menan which meaned "Chao Praya River".

Since Hawaii had no diplomatic representation in Siam, the king and his party expected no formal welcome upon arrival, and engaged a tug boat to carry them from The Killarney some twenty miles upriver to Bangkok. As the tug approached the customs office on the riverbank, a steam yacht flying the Royal Standard of Siam hove to alongside and a sailor asked whether the King of the Sandwich Islands (Hawaii) was on board. When told that His Majesty King Kalakaua was indeed aboard the tug, a deputation of five Siamese officers, resplendent in crisp, white uniforms, boarded the vessel and invited the king to be the guest of his Majesty King Rama V of Siam.

The visiting royal was astonished: firstly to be addressed in English, then to realize that his visit had been expected. The Siamese consul in Hong Kong had advised his government by letter that the King of Hawaii was the guest of the British crown in that colony, and had indicated that Bangkok would be his next port of call. It was then decided that this visiting monarch would be afforded the full measure of Siamese hospitality during his stay.

The party boarded the royal yacht; were seated on deck beneath an awning to protect them from the fierce heat of the day, and a European luncheon was served.

Steaming upriver toward the capital, the visitors were delighted to see coconut palms along the embankment, reminding them of their native Hawaii. As the yacht passed forts along the riverbank, royal salutes were fired from the ramparts and no sooner had the yacht dropped anchor in Bangkok than a royal barge moved alongside to ferry the visitors to a nearby landing.

The barge also bore the royal standard of Siam, had twenty oarsmen, and was ornately decorated with a canopy of silk and gold embroidery. The vessel came alongside the landing where a carpet had been laid from the water's edge to the nearby street, and as the visitors emerged they found a large number of soldiers standing to attention beside a row of royal carriages, driven by coachmen dressed in red and gold uniforms lined with yellow, and sporting unbrushed silk hats.

The carriages, accompanied by cavalrymen, conveyed the visitors to a palace where they were housed in spacious apartments with high ceilings and rich furniture. Several princes entertained the royal party, speaking to them in English and giving orders to a small army of attendants who catered to the visitors' every wish.

Being somewhat homesick, members of the royal party expressed their desire to drink the refreshing water from coconuts they had seen on palm trees in the palace grounds. Servants rushed out of the building, returning minutes later laden with fresh, young coconuts from which they extracted the water for their honored guests.

An audience with King Chulalongkorn had been scheduled for the following day and the visitors retired early.

The following day saw the return of the royal carriages, and the guests were transported to the grand palace to meet with the King of Siam.Arriving at the royal palace, set in about ten acres of private parkland, the Hawaiian monarch led his party across a red carpet and into the palace where they were greeted by King Rama V, King Chulalongkorn.

The Kings spoke to one another in English as they passed through several rooms en route to the audience-chamber deep inside the palace. The chamber was furnished in European style with carpets, sofas and chairs, and on the walls hung many portraits of former monarchs.

The kings spoke at length about language, education, labor, religion and foreign affairs. Both men had traveled extensively and shared many an anecdote from their visits to foreign lands.

King Kalakaua praised the beautiful temples, chedis, and pagodas he had seen in the capital, expressing at the same time regret that his people possessed no skills for the construction of such buildings.

That evening, the King of Hawaii and his entourage again boarded the royal barge and were taken down the river to the residence of the Minister of Foreign Affairs.

The minister proved to be an intelligent man who, like his sovereign, had a mind open to Western ideas. There followed a lavish, European style banquet, after which the visitors were led to a balcony overlooking the city of Bangkok. The Hawaiian monarch remarked that it resembled a floating city as far as the eye could see, with temple spires rising here and there, and single-storey houses stretching far inland.

The next day saw the visitors given the rare privilege of seeing the interior of the royal chapel where King Chulalongkorn had fasted and prayed before his coronation.

In this superbly ornamented building stood a large image of Buddha with jewelled eyes, and surrounded by artificial flowers studded with diamonds.

The visitors then returned to their own palatial quarters to prepare for the reciprocal visit by the King of Siam. King Chulalongkorn's arrival was closely followed by cabinet ministers and the members of the consular corps.

That evening the visitors were treated to a display of music and dance in the form of a traditional play.

The following day saw the Hawaiian King's party return to the royal palace for a farewell banquet in their honor. Arriving in the courtyard, they found a regiment of soldiers lined up and bearing hundreds of torches to light the way to the palace entrance. One inside, they were again welcomed by King Chulalongkorn who led his guests to the audience-chamber where a band struck up the Hawaiian national anthem; the music for which King Kalakaua had played on a piano the previous day for the benefit of the Siamese band master.

King Chulalongkorn then bestowed upon his royal guest the Grand Cross of the Order of Siam, before receiving from the Hawaiian king the Order of Kamehameha. The lavish feast began and Kalakaua asked that the military band to play typical Siamese music, and he detected a similarity to the music of Hawaii.

During the feast, a young prince asked one of the visitors if Hawaii was in the control of foreigners as he saw only white men in King Kalakaua's entourage. The question would receive a very different answer in the not too distant future as America colonized Hawaii before making it one of the United States.

Their appetites satisfied by the lavish spread, King Chulalongkorn's guests retired for the night. The following morning, the King of Siam ordered that photographs be taken of his guests before they made their departure.

Then, with all the pomp and ceremony befitting a royal visit, King Kalakaua and his party were driven to the landing; the royal barge, with the stately movements of its twenty four oars, brought them alongside the steamer "Bangkok," where Buddhist monks, on behalf of the Siamese owner of the steamer, passed a white string around the ship and hung wreaths of flowers in the saloon. Kneeling, they gave a blessing to the ship and all aboard her before going ashore.

The royal hospitality of Siam had filled the ship's lockers with mangosteens, durians and young coconuts. Royal salutes were fired from the battlements of every fort along the riverbank as the steamer headed downriver to the Gulf of Siam and onward to the Malay peninsula.

Both kings had shared their love of travel, education, music and modernization; the monarchs delighting in the discovery that they had much in common.

Both kingdoms, however, went their very separate ways; Hawaii to be colonized by the Americans before gaining full statehood. Siam, or even today's Thailand, never to be colonized by any foreign power, and for the country's people to retain to this day their adoration and respect for the great Kings of the Chakri Dynasty.


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 26 เม.ย. 10, 17:44


เจ้าของกระทู้  เล่าว่า  ได้พบพงศาวดาร  เรื่องแขกซันดาวิศ


น่าจะแบ่งปัน  เล่าเรื่อง ณ  ที่นี้  เพราะเป็นที่สนใจของหลายคน


ดิฉันมีแต่ฉบับที่ ก.ศ.ร. นำ ฉบับแปลของบรัดเลมาลงไว้
เกรงจะเป็นเรื่องนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน







กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 10, 08:29
อยากอ่านเอกสารฝ่ายไทยเกี่ยวกับเรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงฮาวายเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ ๕  แต่ไม่เห็นมีใครมาเสนอ

จึงไปค้นได้พระราชหัตถเลขารัชกาลที่  ๕  จำนวน  ๘ - ๙ ฉบับ  เลยเอาใจความพระราชหัตถเลขานั้นมาเล่าสู่กันฟัง  

ส่วนผู้ใดสนใจจะไปหาอ่านพระราชหัตถเลขาฉบับเต็ม  เชิญเปิดอ่านจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนายเทอด   บุนนาค  เล่ม ๒   ตั้งแต่หน้า  ๕๒๓  เป็นต้นไป



พระราชหัตถเลขา ร.ที่ ๒๙/๔๓  ลงวัน  ๓  แรม ๑๓  ค่ำ  เดือน  ๕  ปีมะเส็งตรีศก  จ.ศ. ๑๒๔๓  ถึง  ท่านกรมท่า    

ความว่า    ตามที่ท่านกรมท่าได้ส่งจดหมายเรื่องกิงกาลกวัวมานั้น  ทรงทราบแล้ว   เรือเวสาตรีที่จะใช้ลงไปรับกิงนั้น  รับสั่งถามพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์แล้วได้ความว่า  เรือนั้นได้ลงไปราชการเมื่อวานซืน  ยังยับเยินอยู่มาก  กำลังซ่อมแซม   ถ้าจะต้องมีเรือออกไปรับเสด็จกิง  ต้องเรือนฤเบนทร์บุตรี   ซึ่งได้จัดไว้เมื่อคราวรับดุกออฟเยนัวครั้งก่อน  เห็นจะเหมาะ    แต่ท่านกรมท่าต้องเตรียมจัดโต๊ะเก้าอี้เสบียงอาหารให้พร้อม   คนที่จะไปรับเสด็จกิง  ถ้าเป็นเจ้านายควรเอาเจ้าปฤษฎางค์ไป  ถ้าเป็นขุนนางให้พระยาพิพัฒกับขุนนางระดับพระหลวงในกรมท่าไปรับเสด็จ   ส่วนทหารให้เอาจมื่นสุรฤทธิพฤฒิไกรไปเป็นผู้กำกับตลอด   เมื่อรับเสด็จกิงขึ้นมาแล้วให้เชิญเสด็จมาพักที่วังกรมขุนเจริญทีเดียว  ไม่ต้องไปพักที่บ้านราชทูต  ส่วนสลุตให้ยิงในวันแรกเสด็จฯ มาถึงเหมือนอย่างเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีอเมริกาซึ่งเคยมาเยือนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕)  กับมีรับสั่งให้เอาหนังสือนี้สอดไปกับเรือนฤเบนทร์บุตรีเพื่อส่งถึงพระยาประภากรวงษด้วย



พระราชหัตถเลขา ร.ที่  ๓๒/๔๓ ลงวัน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็งตรีศก  จ.ศ. ๑๒๔๓  ถึง  ท่านกรมท่า


ความว่า  ท่านกรมท่าได้ส่งจดหมายเรื่องการเตรียมรับเสด็จกิงกาลกวัวนั้น  ทรงทราบแล้วเห็นว่าดีใช้ได้ทุกอย่าง  แต่การยิงสลุตนั้น  พระองค์ไม่โปรดให้ยิงที่ท่าขึ้น   โปรดให้ยิงที่ป้อมหรือที่หน้าโรงทหารเพราะต้องผ่านอยู่แล้ว  ครั้นจะมายิงสลุตที่ท่าขึ้นวังกรมขุนเจริญ   ทรงเกรงว่าจะค่ำไป  จึงได้ยิงสลุตรับที่ปากน้ำเมื่อเวลาเรือไทยไปรัยบเสด็จ  เมื่อถึงที่บางกอกไม่ต้องยิงอีก


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 10, 09:04
พระราชหัตถเลขา ร.ที่ ๓๓/๔๓  ลงวัน  ๕  แรม ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๕  ปีมะเส็งตรีศก  จ.ศ. ๑๒๔๓  ถึง  ท่านกรมท่า    

ความว่า  ที่ท่านกรมท่าได้ส่งหนังสือว่ามร.คอซันจะขอตามลงไปรับเสด็จกิงกาลกวัวด้วย   ได้ทรงทราบแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการรับรองกันหรือเป็นธุระการงานในเวลาเข้ามา  ไม่ทรงขัดขวาง ให้ลงไปรับได้  แต่ทรงเข้าใจว่า  มร.คอวันคงจะไปกราบบังคมทูลให้กิงนั้นตั้งเป็นกงสุลในกรุงเทพฯ  ซึ่งทรงมีความเห็นว่า การที่มร.คอซันตั้งใจจะเป็นกงสุลนั้น  หาใช่เรื่องประโยชน์ในการค้าขายกับไทย   แต่คงตั้งใจจะรับเอาพวกคนจีน คนแขก เป็นสัปเยกต์ฮาวาย   กับตั้งศาลขึ้นในเมืองไทยขึ้น  กลายเป็นผู้มีบุญในไทยอีกคนหนึ่ง ทรงพระดำริว่า  จะเอาอย่างนั้นไม่ได้ด้วยกงสุลนั้นมีอำนาจมากเหลือเกิน  พระองค์จึงได้มีพระราชหัตถเลขามาให้ท่านกรมท่าคิดหาทางพูดโต้ตอบให้สมควรแก่มร.คอซัน

พระราชหัตถเลขา ร.ที่ ๓๕/๔๓  ลงวัน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง  ตรีศก  จ.ศ. ๑๒๔๓ ถึงท่านกรมท่า

ความว่า   เจ้าปฤษฎางค์มากราบบังคมทูลว่า  เมื่อได้ไปรับเสด็จกิงกาลกวัวมาตามทางนั้น   กิงได้รับสั่งถึงเรื่องการค้าขาย โดยตั้งพระทัยจะได้สินค้าไทยหลายอย่าง   และว่าอยากจะค้าขายกันกับไทย  จึงรับสั่งขอเฝ้าในหลวงเป็นการส่วนพระองค์  แม้กระทั่งมินิสเตอร์ก็ไม่ให้ตามเสด็จไปเฝ้าฯ ด้วย  พระองค์เข้าพระทัยว่า  ไม่แน่ใจว่า กิงนั้นจะตรัสด้วยเรื่องอะไรบ้าง  แต่คงจะเป็นเรื่องการค้า  หรือการทำสัญญา   เรื่องทำสัญญา  ทรงขอความเห็นท่านกรมท่า  ว่า  ตอนนี้ในหลวงกำลังจะแก้ไขหนังสือสัญญาต่างๆ  แต่ยังแก้ไม่สำเร็จ   เพราะไทยได้ทำสัญญากับเมืองหลายเมือง   บางเมืองที่ทำสัญญากับไทยไม่มีสับเยกต์และการค้าขายก็มี  ซึ่งกำลังคิดจะแก้ไขสัญญาอยู่นั้น  แต่ลำบากอยู่มากนัก  ดังนั้นถ้าจะรับสัญญาเมืองฮาวายอย่างประเทศทั้งปวง  จะยิ่งแก้ไขสัญญาเมืองอื่นที่คิดไว้ยากขึ้นไปอีก   ครั้นจะรับไว้ไม่เสมอกับสัญญาประเทศอื่น  ก็ดูจะทำให้เขาเสื่อมเกียรติยศ       จึงได้มีพระราชดำริ  ถ้าหากกิงจะยอมให้ทำสัญญาโดยฝ่ายเรายอมให้เข้ามาค้าขายแต่เขาต้องยกอำนาจบางอย่างให้ไทยในข้อซึ่งกำลังดำริแก้ไขสัญญากับเมืองอื่นแล้ว   ก็อาจจะยอมได้โดยดี   ขอให้ท่านกรมท่าคิดซักซ้อมความเข้าใจเรื่องนี้ไว้ก่อน

ส่วนที่กำหนดว่ากิงจะเสด็จฯ กลับวันเสาร์นั้น  รุ่งขึ้นเป็นวันที่มาเข้าเฝ้าฯ  แต่ยังไม่กำหนดว่าเช้าหรือบ่าย  ขอให้ท่านกรมท่ากำหนดเสียและแจ้งให้ทรงทราบด้วย   ส่วนรุ่งขึ้นวันศุกร์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมตอบเวลา บ่าย  ๔  โมง  แต่จะมีดินเนอร์ด้วยกระชั้นไป  วันมีน้อย  จึงให้กรมท่าจัดดินเนอร์ในวันศุกร์  วันเสาร์ถ้ามาเฝ้าฯลา ก็ให้มาเฝ้าฯ ลาเป็นการไปรเวตตามที่ได้เคยขอไว้  แต่ถ้ากิงจะเสด็จฯ ไปตอนเช้าวันเสาร์ ก็ให้กิงเสด็จฯ มาเฝ้าไปเวตตอนเย็นวันศุกร์  ทั้งนี้อย่าเพิ่งลงโปรแกรมให้กราบทูลกิงเสียก่อน   ส่วนวันศุกร์เช้าให้เชิญเสด็จกิงเสด็จฯไปทอดพระเนตรวัดพระแก้ว พุทธรัตนสถาน และที่อื่นๆ ซึ่งก็คงหมดเวลาพอดี  จึงให้เลี้ยงพระกระยาหารที่บ้านกรมท่าที่เดียว  ส่วนพรุ่งนี้ค่ำเชิญเสด็จกิงทอดพระเนตรละครที่วังกรมขุนเจริญ  ทั้งนี้ได้ทรงหาละครเจ้าพระยามหินธรฯมาแสดงถวายแล้ว



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 10, 09:41
มีรายละเอียดการเสด็จประพาสสยาม ค.ศ. ๑๘๘๑ ของ King Kalakaua บันทึกไว้ในหนังสือ King Kalakaua's tour round the world : a sketch of incidents of travel (1881)

http://www.archive.org/details/cu31924023252855


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 10, 09:50
หน้า ๖๑ - หน้า ๖๕


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 10, 10:01
หน้า ๖๓ และ ๖๔ เป็นโฆษณา

ต่อหน้า ๖๕


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 10, 13:29
เจ้าของกระทู้  เล่าว่า  ได้พบพงศาวดาร  เรื่องแขกซันดาวิศ
น่าจะแบ่งปัน  เล่าเรื่อง ณ  ที่นี้  เพราะเป็นที่สนใจของหลายคน

ว่าอย่างไรคุณ overhaul  ;D


ดิฉันมีแต่ฉบับที่ ก.ศ.ร. นำ ฉบับแปลของบรัดเลมาลงไว้
เกรงจะเป็นเรื่องนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน

อยากอ่านสำนวนการเขียนของหมอบรัดเล  ;)


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 เม.ย. 10, 14:31

สยามประเภท  เล่ม ๔  ตอนที่ ๑๗      วันที่ ๓  เมษายน ร.ศ. ๑๒๐(พ.ศ. ๒๔๔๔)       


หน้า ๕๘๔ - ๕๙๘


       ข้าพเจ้าหมอ ดี.บี. บลัดเล มิศชันนาเร  อะเมริกัน   ได้แปลหนังสือเรื่องพงศาวดารซันดาวิศ  ออกจากอักษรอังกฤษ
เปนภาษาไทย์ไว้เปนอักษรสยาม ในจุฬศักราช ๑๒๒๘(๒๔๐๙  รัชกาลที่ ๔)


       คัดมาจากหนังสือพิมพ์อังกฤษ  ที่ มิศเตอร์ เรบ เออเรน  ตะอาระ  แอนเดอซัน  เปนผู้สำเร็จราชการหัวหน้า
ในพวกมิศชันนาเรในเมืองอาเมริกา    มิศเตอร์แอนเดอซัยได้ไปเที่ยวพิจารณาดูหมู่เกาะซันดาวิศทั่วประเทศซันดาวิศ  ถึง ๔๐ ปีเศษ
ครั้นชะราก็กลับมาอยู่ในเมืองอาเมริกา   ตามชาติภูมิเดิม
จึ่งได้เขียนพงศาวดารซันดาวิศมาลงพิมพ์เป็นอักษรอังกฤษไว้ในเมืองอาเมริกา


       แต่สร้างโลกย์มาไม่มีมนุษย์ชาติใดผู้ใด  จะได้ไปสู่ประเทศซันดาวิซก็หาไม่
ชาวยุโหรปทั้งโลกย์ก็หาได้ทราบว่าเกาะซันดาวิศอยู่ที่ไหนไม่


       ครั้นจุฬศักราช ๑๑๔๐ ปีจอ  คราวนั่นมิศเตอร์ เยมศีกุกชาติอังกริษ  เปนกัปตันเรือหลวงได้เที่ยวหยัั่งน้ำ  ทำแผนที่ตรวจตราในท้องทเลยุโหรป
คราวนั้นเป็นระดูพายุห์ร้าย  พัดพาเรือกับตันกุกไปในทเลอาเซียใต้ใกล้อินเดีย

ครั้นพายุห์ร้ายหายเปนปรกติแล่ว


หน้า ๕๘๕
กับตันกุกได้เห็นกาะใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแห่งทเลอินเดีย
กับตันกุกมีความสงไสยว่าเกาะอะไรไม่มีในแผ่นดินปลาดนัก
ปราร์ถนาจะใคร่ทราบจึ่งแล่นกำปั่นใบไป    ถึงหมู่เกาะทั้ง ๑๐


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 10, 16:10
พระราชหัตถเลขา ร.ที่ ๓๖/๔๓ ลงวัน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓  ถึงท่านกรมท่า 

ความว่า  ตามที่ท่านกรมท่าได้ส่งจดหมายกราบบังทูลเรื่องการพูดกับกิงกาลกวัวนั้น  ทรงทราบแล้ว  ทรงเห็นว่าตัดออกไปได้เป็นการดี   แม้จะดื้อเสด็จมา  ก็คงไม่รับตามที่พูด     อนึ่ง วันวานนี้ กิงได้ขอให้ห้ามเรือไว้ก่อนวันหนึ่ง  ในหลวงได้ทรงห้ามที่กิงขอ   วันนี้จะได้จัดดินเนอร์ถวายเป็นการไปรเวตก่อนที่จะเสด็จฯกลับรุ่งขึ้น   กิงนั้นเห็นว่าจะเสด็จฯ กลับเช้า ๔ โมง   รับสั่งให้ท่านกรมท่าจัดการส่งเสด็จตามที่เคยปฏิบัติ  ที่ปากน้ำนั้นให้ยิงสลุตคำนับเมื่อเรือพระที่นั่งผ่านออกไป  ส่วนการเฝ้าฯ ลาในหลวงนั้น  ทรงเห็นว่าไม่ต้องเฝ้าฯ เพราะเวลากระชั้นนัก

 8)


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 เม.ย. 10, 16:50
ได้เห็นเกาะทั้ง ๑๐ ปรากฎ      จึ่งตั้งชื่อหมู่เกาะนั้นว่า แผ่นดินเกาะซ้นดาวิศ    เป็นนามเดิมของมิศเตอร์กุกกับตัน


       ชาวประเทศนั้นเขาเรียกเกาะใหญ่ว่า "เกาะฮาไวอี"  มีเกาะน้อยเป็นบริวาร อีก ๙ เกาะ

ชื่อเกาะทั้ง ๙ นั้นว่า

เมาอิ
เคฮุลาวี
เลไน
โมโลกา
โอเอฮู
เตาอี
เนยอีเฮา
เคาลา
โมโลโกนี


       (คุณเพ็ญชมพูคะ  ตอนนี้หมอบลัดเล  เขียนกลับไปและกลับมา เรื่องเกาะ  จึงขอกระโดดกบข้าม  ซึ่งก็คงไม่ไกลเท่าไร)


     แผ่นดินซันดาวิซเป็นสี่เหลี่ยม  ดุจเอาเสื่อสี่เหลี่ยมไปปูให้ทั่ว  ทั้งแผ่นดินทั้งสิบเกาะนั้น  คงจะเป็นเสื่อ หกพันห้าผืน
ผืนหนึ่งกว้างยาวตามแบน ๖๐๕๐๐๐ เส้น

มีมหาสมุทรชื่อปาซิฟิกโอเชียน  ตั้งอยู่ทางเหนือ  ค่อนข้างไปทางทิศตะวันตกใกล้แผ่นดินอินเดีย หรืออินดูสถานชื่อเมืองครินวิส

ซันดาวิศอยู่ห่างเมืองจีนชื่อกวางตุ้ง  และอยู่ห่างพม่าเป็นระยะทางเท่า ๆ กัน


       เกาะทั้งสิบนั้น  มัไฟผุดขึ้นจากภูเขาหลายแห่ง  เรียกว่าภูเขาไฟ
แต่ผุดเป็นครั้งเป็นคราว          เมื่อไฟใต้ดินผุดขึ้นระหว่างภูเขาครั้งใด   ศิลาแลดินก็ละลายไหลลงทเล  ถูกน้ำในเลก็เดือดร้อนดังน้ำต้ม
ดินแลหินถูกน้ำในทเลแล้ว  ก็กลับแข็งเป็นภูเขาใต้น้ำไปหลายแห่ง             ดินแลหินที่ไหลลงมาเกรอะอยู่  
ตามภูมแผ่นดินก็กลับเป็นดินดีอุดมไป     หินนั้นก็อ่อนเป็นดินแดงที่ดียิ่งนัก
บนยอดเขามีต้นไม้ใหญ่  ตามหุบเขาเชิงเขาก็เกิดอ้อยลำใหญ่ ๆ ไม่ต้องปลูก
มีรศอร่อยหวานสนิทดังอ้อยจีน           ชาวเมืองก็หักมารับประทานมีรศโอชา  แต่ไม่รู้จักทำน้ำอ้อยน้ำตาลทราย

ต่อมาภาษีจากการส่งออกน้ำตาลทรายปีละ หกหมื่นชั่งเศษ


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 เม.ย. 10, 20:44
       
       อาหารดั้งเดิมของคนในหมู่เกาะคือ มันเทศ เผือก และศีร์ษะเท้ายายม่อม  นำมาต้มกินกับเนื้อสัตว์สี่เท้า
สองเท้าแลปูปลาหอย

เกลือก็ใข้เกลือโป่งเกิดจากใต้ดิน

ประเทศไม่มีข้าวและไม่รู้เรื่องทำนาทำไร่

มีผลไม้เกิดเองเต็มในป่าและในเมือง  คือ ต้นสาเก  ต้นตาลโตนด  ต้นหมาก 
ต้นมะพร้าวต่ำเตี้ยคล้ายหมากลิง ผลเท่าส้มเกลี้ยงมีเสมอทั้งปี

ข้าวโภชน์ ข้าวฟ่างเป็นกอต่ำ ๆ รวงสั้น  เขาเรียกข้าวนกกิน

ใบกล้วยใช้นุ่งห่มอยู่กับบ้าน  ออกจากบ้านจึงนุ่งห่มด้วยผ้าด้ายผ้าไหม



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 เม.ย. 10, 20:56
       ต่อมามีสำเภาจีนชัดเข้าไป   ชาวเกาะเก็บของต่าง ๆ จากเรือมี ถั่วต่าง ๆ  หัวหอม  หัวกระเทียม  ผักกาดเหลือง  ผักกะหล่พ  สัปรศ  ส้ม  องุ่น


ตอนแรกที่มิศเตอร์กุกพบแผ่นดินซันดาวิศ  สัตว์สี่เท้ามีแต่สามอย่างคือ  หมูป่า   หนู  จิ้งจก


มีไก่ป่าเป็ดป่า

สัตว์ร้ายไม่มี     งู ตะขาบไม่มี       จรเข้ เสือไม่มี

มีแต่แมลงป่อง แมลงมุมเท่านั้นที่มีพิษ

นกมีนกเค้าแมว     นกกาลิงมีมาก  มีแต่สีแดงแก่กับสีเหลือง  กับนกกาลางนั้นมีน้อยหายาก

นกกาลิงกับนกกาลางสองอย่างนั้น  ขนมีราคา


ภายหลังชาวกาลีฟอเนีย  เอาสัตว์ ๗ อย่างมาขายให้  เช่น  ม้า  ลา  โค  กระบือ  แพะ  แกะ  อุฐ


จำนวนประชากรทั้ง ๑๐ เกาะ มี สี่แสนคน

๔๓ ปีหลังจากกับตันกุก  พวกมิชชันนารีก็บุก




กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 10, 08:13
จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

อย่างไรก็ตาม  รัชกาลที่ ๕ เอาพระทัยใส่กับการผูกไมตรีต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าหมู่เกาะฮาวาย   สังเกตได้จากรัชกาลที่ ๕  มีรับสั่งให้เชิญเยเนราลแกรนต์เดินทางจากเกาะสิงคโปร์มาเยือนสยามอย่างกระทันหัน  ทั้งที่สยามไม่ได้อยู่ในแผนการเดินทางของเยเนราลแกรนต์มาตั้งแต่ต้น   ในขณะที่การเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามของกิงกาลกวัวนั้นได้กำหนดไว้ในแผนทางเดินทางแล้วตั้งแต่ต้น   

กระนั้นรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ทรงแสดงพระราชดำริบางประการที่สื่อให้เห็นว่า   ที่กิงกาลกวัวเสด็จฯ มาทรงเยือนประเทศไทยเพื่อหาพันธมิตร   ทั้งที่ฮาวายไม่เคยมีการติดต่อค้าขายกับไทยมาก่อน   และถึงมีก็คงมีน้อยมาก   การขอตั้งกงสุลในกรุงเทพฯ  ยิ่งไม่เห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมการค้าขายแก่สองประเทศ   แต่จะกลายเป็นการส่งเสริมให้คนที่เป็นกงสุลฮาวายมีอำนาจหาคนมาเป็นสับเยกต์และตั้งศาลในสยาม  ทำให้สยามปกครองบ้านเมืองด้วยความลำบากยิ่งขึ้น  เหมือนกับที่ชาติอื่นๆ ที่เข้ามาขอตั้งกงสุลในสยามแล้วเกิดปัญหาคดีความต่างๆ กับสยามมากมาย  และสยามเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการทำสัญญากับชาติเหล่านั้นมาก   จนรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริที่จะขอแก้ไขสัญญากับทุกๆ ชาติที่ได้เคยทำไว้   และยังทรงมุ่งหมายจะเริ่มทำสัญญาแบบใหม่กับฮาวายเป็นชาติแรก  เพื่อเป็นตัวอย่างในการแก้ไขสัญญากับชาติอื่นๆ ต่อไป



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 10, 09:04
จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

กิงกาลกวัวนี่แหละเป็นต้นความคิดเรื่อง วงไพบูลย์แห่งเอเซีย - league of Asian countries พระองค์ทรงเสนอความคิดนี้ต่อกษัตริย์เมจิ โดยให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำ แต่ครั้งนั้นกษัตริย์เมจิทรงปฏิเสธ

ความคิดนี้ไม่ได้สูญหายไป โดยญี่ปุ่นนำมาปรับใช้ภายหลังเป็น วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา - The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere

During his visit to Tokyo, Kalakaua also secretly discussed with the Emperor the possibility of forming a league of Asian countries to oppose the domination and oppression of European countries. Kalakaua said that he would propose the league to the leaders of China, Siam, India, and Persia on his world tour, if Meiji would agree to head the league. Meiji was understanding, but pointed out that China wouldn't join if Japan was leading the league; but he would consider the King's proposal and send a response. After conferring with his cabinet, Meiji declined the offer of leadership for the initiative. (Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912 by Donald Keene [New York: Columbia University Press, 2002].)

http://pvshawaii.squarespace.com/display/ShowGallery?moduleId=600535&galleryId=56779


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 10, 09:06
ได้เห็นเกาะทั้ง ๑๐ ปรากฎ      จึ่งตั้งชื่อหมู่เกาะนั้นว่า แผ่นดินเกาะซ้นดาวิศ    เป็นนามเดิมของมิศเตอร์กุกกับตัน

หมอบรัดเลก็พลาดได้เหมือนกัน

 ;D


๔๓ ปีหลังจากกับตันกุก  พวกมิชชันนารีก็บุก

เคยได้ยินเรื่องตลกเรื่องหนึ่งเล่าว่า

ฝรั่งนำศาสนาเข้าไปสู่ชาวเกาะ เมื่อชาวเกาะหลับตาสวดมนต์ฝรั่งก็ขโมยเกาะไปเป็นของตน

ฮาวายก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เกาะเหล่านั้น

 ;)


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 เม.ย. 10, 09:32


อาจจะเป็นามเดิมที่กับตันกุกตั้งให้หมู่เกาะ  แต่หมอบลัดเลเล่าแบบฝรั่งพูดไทย

Cook named the archipelago the "Sandwich Islands" after the fourth Earl of Sandwich, the acting First Lord of the Admiralty.



เรื่องโบราณนี่ต้องสามัคคีเฮโลสาระพาค่ะ  คือช่วยกันผลัก  ช่วยกันดึง   ของหนัก
บางทีพูดน้อยไปนิด  ก็ยังดี     

แหะ ๆ  เคยไปนั่งฟังท่านผู้เชี่ยวชาญคุยกันเรื่องนักประพันธ์ท่านหนึ่ง  แล้วเลยเถิดเลื่อนเปื้อนไปอีกท่านหนึ่ง
ว่าท่านเลิกเขียนเพราะไม่ชอบภาษาไทยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ท่านผู้นำก็ไม่ถูกกับนักเขียนผู้นี้
อพิโธ่!    สมัยสงครามโลก  นักเขียนท่านนี้ตระเวณขายรูปปั้นท่านผู้นำในสถานที่ราชการต่างจังหวัด  ท่านเล่าไว้เอง
ชายดีด้วยค่ะ



จะหางานของบลัดเลในเรื่องอื่นมาฝากคุณเพ็ญชมพูอีก


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 10, 10:44
อย่างไรก็ตาม  รัชกาลที่ ๕ เอาพระทัยใส่กับการผูกไมตรีต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าหมู่เกาะฮาวาย   สังเกตได้จากรัชกาลที่ ๕  มีรับสั่งให้เชิญเยเนราลแกรนต์เดินทางจากเกาะสิงคโปร์มาเยือนสยามอย่างกระทันหัน  ทั้งที่สยามไม่ได้อยู่ในแผนการเดินทางของเยเนราลแกรนต์มาตั้งแต่ต้น   ในขณะที่การเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามของกิงกาลกวัวนั้นได้กำหนดไว้ในแผนทางเดินทางแล้วตั้งแต่ต้น  

พระราชหัตถเลขาพระราชทานแด่นายพลแกรนท์ ในหนังสือ Around the world with General Grant  หน้า ๒๖๖

http://books.google.co.th/books?id=z_yhBLJgUz0C&pg=PA255&lpg=PA255&dq=L.T.+Gen.+Grant's+Tour+Around+The+World


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 10, 11:32
สุนทรพจน์ของนายพลแกรนท์ที่กรุงเทพฯ หน้า ๑๑๗ - ๑๑๘

http://books.google.co.th/books?id=3zBLjHeAGB0C&pg=PA117&lpg=PA117


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 10, 14:08
กิงกาลกวัวและประธานาธิบดีแกรนท์ก็เคยพบกันครั้งหนึ่งแล้วที่ทำเนียบขาวในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๔


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 10, 15:19
ย้อนกลับไปอ่านคำถามของคุณ overhau

ผมพบพงศาวดารเรื่อง แขกซันดาวิศ จึงสงสัยแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใดครับ :D

ถามคุณวันดี

คนที่เรียกชาวพื้นเมืองฮาวายว่าเป็น "แขก"

หมอบรัดเลฤๅไฉน

 ???


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 29 เม.ย. 10, 17:12
คว้า สยามประเภทเล่ม ๔ ฉบับถ่ายเอกสาร ๘๕๔ หน้ามาดู



หมอบลัดเลไม่ได้เรียกแขกสักคำตอนต้น



ย่อหน้าที่สอง ใหน้า ๕๙๒

      " นักปราชญ์ประชุมพร้อมกันเห็นว่า  เดิมพืชพันธ์มะนุษย์จะแตกแยกมาจากแขกมะลายู   ด้วยหน้าตารูปกาย
แลผิวหนังก็คล้ายแขกมะลายู

ภาษาพูจก็ถูกต้องตรงกับภาษามะลายูหลายคำ

แต่จารีตคล้ายพราหมณ์อินเดียไป

อักษรก็อักษรต่างหากจากพวกพราหมณ์และแขก    แต่รูปอักษรคล้ายแขกกาลิง

พงศาวดารของเขากล่าวย่อ ๆว่า มีกษัตริย์สืบประเพณีมา ๗๐ องค์  คิดเปนปีกว่าพันปีมาแล้ว
แต่เดิมเห็นจะเปนเกาะเล็กเกาะน้อย


       พวดมิศชันนาเรอาเมริกันได้ไปตรวจดูของสำคัญ  พยานที่จะเปนหลักฐานบ้านเมือง  คือวัดแลเจดีย์วังบ้าน
ตึกไม่มี   ด้วยเขาเปนคนป่า         หารู้จักทำหินแลปูนอิฐไม่ได้          มีแต่ไม้เปนของผุพัง   เห็นแต่คลองเปนพยานได้  มีมาก"



กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 10, 09:34
ย่อหน้าที่สอง ใหน้า ๕๙๒

      " นักปราชญ์ประชุมพร้อมกันเห็นว่า  เดิมพืชพันธ์มะนุษย์จะแตกแยกมาจากแขกมะลายู   ด้วยหน้าตารูปกาย
แลผิวหนังก็คล้ายแขกมะลายู

ภาษาพูจก็ถูกต้องตรงกับภาษามะลายูหลายคำ

เปรียบเทียบภาษามาเลย์และฮาวาย
http://sunzi.lib.hku.hk/hkjo/view/26/2602273.pdf


กระทู้: สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 เม.ย. 10, 10:12
ความรู้เพียบเลยค่ะ   คุณเพ็ญชมพู