เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: naitang ที่ 06 มี.ค. 12, 20:19



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 มี.ค. 12, 20:19
อันนี้ดูจะนอกเรื่องและเพ้อฝันไปไกล
โดยที่เรามักจะไม่เปิดหน้าต่างด้านหัวนอน (ด้านเหนือ) แต่จะเปิดด้านข้างในตอนเช้า (ตะวันออก-ตะวันตก) ผนวกคนในสมัยก่อนจะตื่นเช้าไปทำธุระแล้วเลยไปทำงานในสวนในนา กลับบ้านมากินข้าวก็ประมาณ 9-10 โมงเช้า ซึ่งในท้องถิ่นปัจจุบันก็ยังคงมีวิถีชีวิตในลักษณะนี้
ในเชิงวิทยาศาสตร์ แสงแดดในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า เป็นแสงแดดที่มีคลื่นความถี่ (spectrum) ของความเป็นแสงสีขาวที่สมบูรณ์ (white light) แสงในช่วงเวลานี้จึงทำให้สิ่งของตามธรรมชาติดูมีสีสรรค์ที่สวยงามที่สุด การกลับบ้านมากินอาหารเช้า การเอาของมีค่าออกมาดู มาอวดกัน อากาศก็ยังไม่ร้อน ท้องก็อิ่ม ดูน่าจะเป็นเวลาที่มีความสุขที่สุด นอนพักหลบร้อน พอคล้อยบ่ายก็ออกไปทุ่งไปนาทำสวนทำไร่ หาของกิน กลับมาก็โพล้เพล้มืดค่ำทำอะไรไม่ได้แล้ว
สำหรับผมดูจะเป็นอะไรๆที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบไทย ลักษณะบ้าน ทิศทางการวางบ้าน ชีวิตประจำวัน ฯลฯ ทั้งหมดดูจะสัมพันธ์กันดีนะครับ

ขอแหวกออกไปนอกวงอีกหน่อยนะครับ
เพชรนิลจินดานั้น ท่านที่เป็นหญิงทั้งหลายคงจะต้องชอบเป็นเรื่องปกติ เมื่อจะซื้อหาเอามาใช้นั้น ต้องคิดด้วยว่าจะเลือกนำไปใช้ในช่วงเวลาใด รัตนชาติบางอย่าง
(ดั้งเดิมน่าจะสะกดว่า รัตนชาด คือ แก้วสีแดง มากกว่า เหมือนกับคำว่า ธงชาติ ดั้งเดิมก็น่าจะเป็น ธงชาด คือธงแดง) ก็เหมาะที่จะใช้ในช่วงเวลาเช้า บางอย่างก็จะเหมาะกับช่วงเวลาบ่าย บางอย่างก็จะเหมาะกับแสงไฟเฉพาะต่างๆ (นีออน หลอดไฟธรรมดา ฯลฯ) มันเป็นเรื่องของคุณสมบัติของแสงที่รัตนชาติชนิดนั้นๆสามารถดูดซึมช่างแสงบางช่วง (absorption spectrum) หรือไม่ดูดแต่สะท้อนออกมาให้เห็นเป็นประกาย (reflection spectrum) เพชรจะเป็นประกายมากในช่วงประมาณ 10 โมงเช้า หลังจากนั้นจะดูสวยเปล่งปลั่งอีกทีก็ด้วยแสงไฟ พลอยในตระกูล corundum (ไพลิน ทับทิมสยาม เขียวบางกะจะของจันทบุรี บุษราคัมของจันทบุรี ฯลฯ) ผมว่าสวยเป็นประกายสุดๆในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ใสไปในงานกลางคืนดูจะคล้ำๆไปใช่ใหมครับ พลอยที่มีสตาร์ก็เช่นกัน เห็นในร้านที่มีแสงไฟช่วยจะดูดีมาก แต่พอออกจากร้าน บางทีสตาร์มันไม่ชัดเจนเหมือนจะหายไป แต่สำหรับทับทิมบ่อเก่าของพม่า (บ่อโมกุ) โดยเฉพาะที่เป็นกินบ่อเสี้ยง ผิวเหมือนเคลือบมุกนั้น มันสวยของมันเองในเวลากลางวัน แต่พอกลางคืน เพชรที่ล้อมตัวมันนั้นจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้มันสวยได้ตลอดเวลา สำหรับผมแล้ว ผมว่าเพชรเป็นรองพลอย ไม่เคยเห็นเพชรล้อมพลอยที่สวย มีแต่พลอยล้อมเพชรที่สวย

ผมก้าวล่วงไปในดงผู้หญิงอีกแล้ว ลืมคิดไปว่าผู้หญิงเขารู้เองว่าเมื่อไรจะใช้อะไร จะแต่งอย่างไร มิน่าเล่าใน etiquette ทั้งหลายจึงมีแต่เรื่องบังคับของผู้ชาย    

อันนี้น่าจะเรียกว่าแยกหนีเข้าตรอกนะครับ        


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 12, 20:31
เอ่อ..จากหน้าต่างเรือนแพ ถึงเพชร..
ไล่ตามมาใส่รูปแทบไม่ทันค่ะ
มาริลีน มอนโร เคยร้องเพลง  Diamonds are a girl's best friend.  จะอยู่กลางแดดหรือกลางแสงไฟในร้าน  ผู้หญิงก็ชอบทั้งนั้นค่ะ

ถ้าคุณตั้งจะเล่าถึงพลอยต่างๆที่เคยไปสำรวจ หรือเคยเรียนมาทางธรณีวิทยา  ดิฉันก็จะหารูปมาเสริมให้ต่อไปอีกค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 12, 20:36
เขียวบางกะจะของจันทบุรี = คุณตั้งคงหมายถึงพลอยเขียวส่อง 
ดูเหมือนอังกฤษจะเรียกว่า Beryl  ใช่หรือเปล่าไม่ทราบนะคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 มี.ค. 12, 20:41
เล่าเรื่องเพชรนิลจินดานั้นก็เพราะเห็นว่าไปเชื่อมโยงกับเรื่องของทิศทางของหน้าต่างบ้านที่แสงแดดส่องในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า เท่านั้นแหละครับ เป็นหลักสากล (ทางวิชาการ) ทั่วไปของคนยุโรปเขาครับ

เป็นการคลายเครียดไปหาของสวยๆงามๆบ้าง  ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 12, 20:55
เห็นด้วยค่ะ  คลายเครียดแบบนี้อีกกี่ทีก็ได้ 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 มี.ค. 12, 20:57
ใช่ครับ เขียวส่อง ผมเรียกเขียวบางกะจะติดปากครับ เพราะเป็นแหล่งที่จัดว่าสวยงามและหายาก
เขียวส่องของจันทบุรีเป็น corundum ครับ เป็นกลุ่มพลอยที่เรียกกันว่า sapphire ไม่ใช่ Beryl ซึ่งเป็นแร่อีกชนิดหนึ่ง เป็นพวกมรกตครับ ทั้งสองมีสูตรทางเคมีต่างกันและเิกิดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน

 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 12, 21:02
ไม่เคยได้ยินคำว่า corundum  ลองไปถามน้องกู๊กดู   ให้รูปมาหลายรูป  มีตั้งแต่ที่ขุดขึ้นมาจากดินจนกระทั่งผ่านการเจียระไนเรียบร้อยแล้ว
หน้าตาคนละเรื่องกันเลยค่ะ
ตอนคุณตั้งเข้าป่าหาหิน  คงเจอพวกนี้บ้างในภาคเหนือหรือตะวันออกของไทยบ้างนะคะ

หลงนึกว่า beryl เป็นเขียวส่องเสียตั้งนาน  เพิ่งรู้ว่าเป็น sapphire อีกชนิดหนึ่ง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 07 มี.ค. 12, 09:27
รอมานานว่าเมื่อไหร่คุณตั้งจะมาคุยเรื่อง หินต่างๆตามประสานักธรณีวิทยาบ้างจะได้ถาม
เพราะตามประสาผู้หญิงที่ชอบ"ดู" หินสีต่างๆ แต่ไม่มีปัญญาซื้อ ก็เห็นความแปลกและแตกต่างมากมาย
แต่ไม่มีความรู้เลยค่ะ  จะได้หารูปภาพมาให้คุณตั้งดูและ ขอความรู้บ้าง

ได้ยินมาว่าเดี๋ยวนี้ เมืองกาญจนบุรีที่เคยเป็นแหล่งพลอยเริ่มไม่มีของแล้ว จริงไหมค่ะ
และที่เมืองจันทบุรี นอกจากพลอยบางกะจะ ยังมีพลอยในท้องถิ่นที่เป็นที่นิยมอะไรบ้าง
ทับทิมที่มีสีออกส้มๆ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า อะไรค่ะ

ขออภัยที่ถามเยอะ แต่ยังมีคำถามอีกเยอะรออยู่ค่ะอิอิ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มี.ค. 12, 10:55
ส่งภาพ กินบ่อเสี้ยง มาประกอบค่ะ  ;D
ดูเพชรที่ล้อม ไม่ค่อยวาวเลยนะคะ..แท้ป่ะเนี่ย... ???
ภาพล่าง กับภาพบน เม็ดไหนน้ำดีกว่ากันคะ...


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 12, 11:49
เคยได้ยินว่าทับทิมกินบ่เสี้ยง คือทับทิมที่มีสีแดงไม่หมดทั้งเม็ด มีสีขาวปนอยู่ด้วยในเนื้อพลอยตามธรรมชาติ     กินบ่เสี้ยงคือกิน(สี)ไม่(แดงทั้ง)หมด  กลายเป็นที่นิยมว่าเป็นพลอยนำโชค  ทำให้เจ้าของรวย  มีกินมีใช้ไม่หมด
ส่วนเรื่องพลอยจริงพลอยแท้นี่ดูไม่ออกค่ะ  ต้องพึ่งคุณตั้ง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 07 มี.ค. 12, 16:10
สงสัยคุณตั้งคงต้องตั้งกระทู้เกี่ยวกับหินแยกต่างหาก แล้วล่ะค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มี.ค. 12, 18:48
นึกแล้วเชียวว่าแหย่ไปแล้วจะต้องได้เรื่อง  ;D

คงจะต้องตั้งกระทู้แยกออกเป็นเรื่องเป็นราวต่อไปนะครับ แล้วก็ขอบอกก่อนว่า ผมไม่ใช่ gemologists ไม่ใช่ผู้สันทัดกรณีที่แท้จริง เพียงแต่พอมีความรู้พื้นฐานด้านแร่ และมีความชอบและสนใจเป็นการส่วนตัว การจะเห็นความสวยงามดังผู้หญิงเห็นนั้น คงไม่ใช่ ผมเห็นความสวยงามไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผสมผสานไปด้วยเชิงวิชาการ เห็นที่เขาขายกันก็อดใจไม่ได้ที่จะต้องขอแวะเฉียดเข้าไปดูทุกที โดยส่วนตัวแล้วจะนิยมที่เป็นธรรมชาติก่อนการเจียรนัย 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มี.ค. 12, 19:35
เคยได้ยินว่าทับทิมกินบ่เสี้ยง คือทับทิมที่มีสีแดงไม่หมดทั้งเม็ด มีสีขาวปนอยู่ด้วยในเนื้อพลอยตามธรรมชาติ     กินบ่เสี้ยงคือกิน(สี)ไม่(แดงทั้ง)หมด  กลายเป็นที่นิยมว่าเป็นพลอยนำโชค  ทำให้เจ้าของรวย  มีกินมีใช้ไม่หมด
ส่วนเรื่องพลอยจริงพลอยแท้นี่ดูไม่ออกค่ะ  ต้องพึ่งคุณตั้ง

ส่งภาพ กินบ่อเสี้ยง มาประกอบค่ะ  ;D
ดูเพชรที่ล้อม ไม่ค่อยวาวเลยนะคะ..แท้ป่ะเนี่ย... ???
ภาพล่าง กับภาพบน เม็ดไหนน้ำดีกว่ากันคะ...

สำหรับผมแล้ว กินบ่เสี้ยงภาพที่สองของคุณดีดีนั้นจัดว่าสวยใช้ได้ในระดับดี ทรงลักษณะนี้ หากผิวดูมันเป็นมุกมากกว่านี้อีกสักหน่อยจะจัดสวยมากทีเดียว ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับการขัดมันผิวนะครับ แต่ขึ้นอยู่กับความพอดีของส่วนผสมของสีในเนื้อพลอย ในกรณ๊นี้หากต้องการเพิ่มความเปล่งปลั่งแวววาวมากกว่านี้ ก็อาจจะต้องใช้เพชรเทียม (ที่เรียกว่าเพชรรัสเซีย) ช่วยในการเปล่งประกายให้เพิ่มได้ ทำแล้วลองใส่ในงานกลางคืนซิครับ รับประกันมีแต่คนเหลียวมอง 
ส่วนภาพแรกนั้น เป็นกินบ่เสี้ยงที่ยังไม่ชัดเจน สำหรับผมคงจะยังจัดเป็นทับทิมของแท้ในความสวยระดับกลางๆ และสำหรับเพชรที่ล้อมรอบนั้น หากจะถามว่าของแท้หรือไม่นั้นคงตอบยาก แต่อยากจะให้ความเห็นสักน้ิอยนิดว่า เพชรเม็ดเล็กๆที่เรียกว่าเพชรซีกกันนั้น ในหลายๆกรณีเราใช้เพชรเก่า ซึ่งมีทั้งที่เป็นได้ทั้งเพชรจริงๆแต่ฝีมือเจียรนัยยังๆไม่ดี หรือเป็นทั้ง Topaz บริสุทธิ์ (บุษราคำน้ำขาว) เพชรโบราณในหลายๆกรณีเป็น Topaz นะครับ ความสวยในทับทิมของผมคือแดงเข้มเป็นสีเลือดนกพิราบ ล้อมเพชรซีกที่เจียรนัยให้ดีๆ สวยสุดๆเลยครับ ใส่ได้ทั้งงานกลางวันช่วงก่อนเที่ยงและงานกลางคืนในแสงไฟ แต่สำหรับในงานช่วงบ่าย (ช่วง tea time หรือช่วง high tea) อาจจะดูหมองไปสักนิด

สำหรับภาพของคุณเทาชมพูนั้น ผมคิดว่าทับทิมที่มีสีสรรในลักษณะนี้นั้น หากนำมาเข้าเป็นเรือนแหวนคงจะไม่เปล่งปลั่งเท่าที่ควร แต่หากเอาไปทำเป็นจี้ จะเป็นทรงอะไรก็ได้ (ที่ไม่มี symmetry) ล้อมรอบด้วยเพชร (จะเทียมจะแท้ก็ได้) จะห้อยอยู่กับสร้อยทองคำสีสดใสงานของช่างเมืองเพชรบุรี หรือสร้อยทองคำขาวข้อละเอียด ผมว่าสวยทั้งนั้นเลยครับ

ว่าไปฝอยไปราวกับว่าผมเองเป็นผู้หญิงเลย

เอาเป็นว่าเป็นความเห็นอันบริสุทธิ์ของผม จากมุมมองของผู้ชายที่สนใจในเรื่องนี้ก็แล้วกันนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 12, 19:54
ถ้าจะต่อความยาวกันไปกระทู้ใหม่   มีหวังกลายเป็นกระทู้ดูเพชรกันแน่ๆ  ;)
เอารูปมาเซิฟๆ ให้ก่อน  เป็นรูปแขกผู้มีเกียรติในงานที่ดิฉันพกกล้องถ่ายรูปไปด้วย  ถ่ายจากระยะไกลและไม่ได้ใช้แฟลช เลยไม่ค่อยชัด 
ทับทิมที่เห็นเป็นชนิดไหนไม่ทราบ รู้แต่ว่าของแท้  สีแดงสดเหมือนน้ำหวานรสสละเฮลบลูบอย



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 09:45
เข้ามาปั่นกระทู้  ก่อนคุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่เรื่องหินสวยๆ
นี่คือหินแร่ประจำราศีเกิดของดิฉันค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 มี.ค. 12, 19:36
ถูกคะยั้นคะยอเข้ามากๆ ก็ใจอ่อน เป็นปกติสำหรับบุคคลในสายอาชีพอย่างพวกผม The rock is so hard but our hearts are so soft.
ครับ เราจะไปคุยเรื่องอัญมณ๊กันในกระทู้ใหม่

ขอกลับมาเรื่องของหลังคาแบบไทยก่อนที่กระทู้จะค่อยๆจางหายไปนะครับ
วันนี้ได้จัดตู้หนังสือ จึงได้พบหนังสือที่ได้สะสมอยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ เรือนไทย ซึ่งรัฐบาลในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน โดยสำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ได้จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระราชินีฯ ได้ทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 5 รอบ มีหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือ "บ้านไทย" (แต่หนังสือชื่อ เรือนไทย นะครับ) เป็นหนังสือสงวนลิขสิทธิ์ที่มีเรื่องราวที่มีความกระชับและมีคุณค่ามาก   
ผมคิดว่าเรื่องต่างๆที่ผมอยากจะเล่านั้น อยู่ในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด มีครอบคลุมทุกภาคและเกือบจะทุกระดับของความยากดีมีจน แล้วก็เห็นว่า ผมอาจหาญมากเกินไปที่จะถอดภาพที่ได้เห็นที่เป็นลักษณะจำเพาะและความต่างให้ออกมาเป็นในรูปของคำบรรยาย ขนาดผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการและความรอบรู้ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับบ้านไทยโดยตรง ยังต้องใช้ภาพในการบรรยายเรื่องราวและความแตกต่างในหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ในปี พ.ศ.2536 ซึ่งผมคิดว่าในขณะนี้คงจะได้มีการเปลี่ยนไปเป็นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์และเผยแพร่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นเอกสารของทางราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านสมาชิกผู้สันทัดกรณีคงจะช่วยบอกได้ว่าจะ access เข้าไปหาอ่านได้อย่างไร

ผมมีความเห็นเพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อยที่อยากจะแสดงในที่นี้ คือ ความเยี่ยมยอดของฝีมือช่างไทย ไม่ว่าจะสืบเชื้อสายหรือสืบสานปรัชญาความรู้มาจากชาติพันธุ์ใดหรือความเชื่อใดก็ตาม เขาเหล่านั้นสามารถจะประยุกต์และผสมผสานความต้องการต่างๆของเจ้าของบ้านให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากภายนอก ให้มีความลงตัวกันได้อย่างกลมกลืน โดยยังสามารถที่จะแฝงไว้ซึ่งลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นให้คงปรากฎอยู่ในชิ้นงานต่างๆ   



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 20:05
เคยอ่านพบว่าเนื้อตัวเงินตัวทองมันเหมือนเนื้อไก่    ต้มแบบนี้ก็คล้ายๆต้มซุปไก่ใสๆ   รสชาติคล้ายเนื้อไก่ไหมคะ

วันนี้วันพระใหญ่ ขออนุญาตยังไม่ตอบหนึ่งวันนะครับ
แต่จะขอเลี้ยวผิดซอยไปในเรื่องรัตนชาติที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับสัตว์ และก็จะยังไม่เล่าเรื่องเกี่ยวกับรัตนชาตินี้ ผมคิดว่าท่านทั้งหลายคงพอจะเดาออกแล้ว
มีอยู่ 3 ชื่อครับ อะไรบ้างเอ่ย ??? 

 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 20:07
คุณตั้งเล่นเกมทศกัณฐ์แล้วไหมล่ะ
นึกออกแต่ cat's eye หรือไพฑูรย์ ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 08 มี.ค. 12, 20:10
นานๆจะมีผู้รู้มาให้ถามเรื่อง รัตนชาติ ...(รอกระทู้ใหม่อยู่ค่ะ) ขอถามก่อนว่า เพชรเหลี่ยมลูกโลก
ที่เห็นจากเครื่องประดับโบราณนั้นทำจากหินชนิดไหนค่ะ ส่วนใหญ่ มีที่เจียรจากเพชรจริงๆไหมค่ะ
เป็นตระกูลเดียวกับเพชรซีกหรือไม่ค่ะ
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 20:13
พลอย turquoise  เขาเรียกว่าพลอยสีขี้นกการเวก หรือ ไข่นกการเวกกันแน่คะ   
ตอนเด็กๆได้ยินเขาเรียก สีขี้นกการะเวก   ปัจจุบันกลายเป็นไข่นกการเวก
ตกลงว่านกการเวก ไข่มันสีนี้หรือ?


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 20:16
ดิฉันแยกไม่ถูกเสียแล้ว  เพราะแยกได้แค่กระทู้เดียว แยก ๒ กระทู้เข้าเลยสับสน โพสผิดโพสถูก
ต้องขอความกรุณาคุณ DD ช่วยโพสพลอยต่างๆในค.ห.เดิมมาลงในกระทู้นี้ด้วยนะคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 20:20
ขอขนลูกปัดหินตาเสือมาไว้ในกระทู้นี้ค่ะ          ตอบคำถามที่คุณตั้งหย่อนระเบิดเวลาเอาไว้


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 12, 21:04
นานๆจะมีผู้รู้มาให้ถามเรื่อง รัตนชาติ ...(รอกระทู้ใหม่อยู่ค่ะ) ขอถามก่อนว่า เพชรเหลี่ยมลูกโลก
ที่เห็นจากเครื่องประดับโบราณนั้นทำจากหินชนิดไหนค่ะ ส่วนใหญ่ มีที่เจียรจากเพชรจริงๆไหมค่ะ
เป็นตระกูลเดียวกับเพชรซีกหรือไม่ค่ะ

ขอยกไปกระทู้ใหม่เลยนะคะ
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 มี.ค. 12, 21:11
จะเริ่มอย่างไรดีละครับ มีคำถามรอคิวอยู่มากทีเดียว

เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไปนะครับ

จะขอเริ่มต้นด้วยการขอความกระจ่างสักหน่อยว่า อัญมณี และรัตนชาติ หมายความว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
อัญมณี คือ เครื่องประดับด้วยหินสีที่ได้จัดทำสำเร็จพร้อมใส่ (lapidary) ??? รัตนชาติ คือ ตัวหินสีแต่ละเม็ดที่นำมาใช้ (color stone) ??? แล้วเครื่องประดับ คือ สิ่งอื่นๆที่นำมาประกอบกันทำเป็นเครื่องประดับ (ornamental) ???
  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 มี.ค. 12, 22:52
อากู๋ ...เล่าไว้ว่า... ;D
รัตนชาติ หมายถึง แร่หรือหินมีค่า หรือกึ่งมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
มีส่วนน้อยที่เกิดจากสารอินทรีย์ เช่นไข่มุก อำพัน ปะการัง ฯลฯ
ซึ่งเมื่อนำรัตนชาติมาผ่านการตกแต่ง ขัดมัน เจียระไน หรือแกะสลัก ก็จะกลายเป็น อัญมณี
นำอัญมณีเหล่านี้ ไปประกอบเป็น เครื่องประดับ...
...ประมาณนี้ค่ะ....


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 มี.ค. 12, 23:22
เอาข้อความและรูป ตามมาไว้ที่กระทู้นี้ค่ะ... ;D


วันนี้วันพระใหญ่ ขออนุญาตยังไม่ตอบหนึ่งวันนะครับ
แต่จะขอเลี้ยวผิดซอยไปในเรื่องรัตนชาติที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับสัตว์ และก็จะยังไม่เล่าเรื่องเกี่ยวกับรัตนชาตินี้ ผมคิดว่าท่านทั้งหลายคงพอจะเดาออกแล้ว
มีอยู่ 3 ชื่อครับ อะไรบ้างเอ่ย ???  



“เขี้ยวหนุมาน”   ;D
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30116;image)

พลอยตาเสือ-red tiger's eye   ;D
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30117;image)

พลอยตาเหยี่ยว-Hawk's Eye-Falcon's Eye   ;D
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30118;image)

หินเสือดาว-Leopard Skin Jasper   ;D
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30119;image)

หินไข่นกกระทา-Dalmatian Jasper   ;D
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30120;image)

หินนกยูง- Malachite   ;D
อียิปต์โบราณ ใช้แทนสมุนไพรรักษาโรคได้ครอบจักรวาล และใช้บดทารอบดวงตาแทนอายแชว์โดว์
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30121;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30122;image)

ตอบไปเรื่อยๆ ชักจะเกิน 3 ชื่อซะแล้วสิคะ...ทำไงดี... ???


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 05:40
เอามาฝากไว้ด้วยคน

ไข่นกการเวก   

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30111;image)

ไข่นกการเวกนี้ เรียกกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

เมื่อทรงส่งตุ้มหูไข่นกการเวกพระราชทานเจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ  ก็พระราชทานแก่เจ้าจอมเอิบด้วย ๑ คู่
“ตุ้มหูคู่หนึ่งเปนไข่นกการเวกเหมือนกัน ฉันได้ซื้อที่เมืองนีศส่งทางไปรสนีย์ให้สดับ.. ...ฉันได้ส่งไปอีกคู่ ๑ สำหรับให้เอิบจากปารีสรวมเป็นสองคู่ด้วยกัน”


ฝรั่งว่า turquoise ที่ดีต้องเป็น สีไข่นกโรบิน

ไข่นกออกฟ้าอมเขียวมีแน่ ๆ

แต่ขี้นกสีนี้ยังไม่เคยเห็น

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4993.0;attach=30113;image)

 ;D



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 12, 07:27
จะเริ่มอย่างไรดีละครับ มีคำถามรอคิวอยู่มากทีเดียว

เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไปนะครับ

จะขอเริ่มต้นด้วยการขอความกระจ่างสักหน่อยว่า อัญมณี และรัตนชาติ หมายความว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
อัญมณี คือ เครื่องประดับด้วยหินสีที่ได้จัดทำสำเร็จพร้อมใส่ (lapidary) ??? รัตนชาติ คือ ตัวหินสีแต่ละเม็ดที่นำมาใช้ (color stone) ??? แล้วเครื่องประดับ คือ สิ่งอื่นๆที่นำมาประกอบกันทำเป็นเครื่องประดับ (ornamental) ???
  


เข้ามาชมของงาม ๆ  ;D

เราต้องแยกคำระหว่าง "มณี" กับ "อัญมณี" เป็นสองจำพวกครับ

"มณี" ควรจะหมายถึงหินสีที่ไทยเราจัดไว้เป็นมงคลอยู่ ๙ ชนิด รวมเรียกว่า "นพรัตน์"

"อัญมณี" คือ สิ่งที่นอกเหนือจากมณี คือ หินสีและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไข่มุก จัดเป็นอัญมณี


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 12, 07:35

สำหรับผมแล้ว ผมว่าเพชรเป็นรองพลอย ไม่เคยเห็นเพชรล้อมพลอยที่สวย มีแต่พลอยล้อมเพชรที่สวย


เพชรล้อมพลอย  ;D ของโบราณจัดเป็นนพรัตน์เข้าตัวเรือน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 09:06
จะขอเริ่มต้นด้วยการขอความกระจ่างสักหน่อยว่า อัญมณี และรัตนชาติ หมายความว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

รอยอินท่านให้ความกระจ่างไว้ดังนี้

รัตนชาติ น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.

อัญมณี น. รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่น ๆ นอกจากเพชรพลอย; (กฎ; โบ) ของมีค่าอื่น ๆ เช่น มันผู้หนึ่งล้อมไว้เป็นไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกสรรพอัญมณีในที่นั้นไว้ ให้ลดอากรไว้แก่มันปีหนึ่ง. (สามดวง).

ถ้าแยกคำว่า "อัญมณี" จะได้ความหมายดังนี้

อัญ, อัญญะ (อันยะ) ว. อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺ?; ส. อนฺย).


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 09:09
มณี น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจําพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).

น่าแปลกที่ มณี ของท่านรอยอินมีความหมายแคบเฉพาะ แก้วหินมีค่าสีแดง

ความหมายเดิมในภาษาสันสกฤตกว้างกว่านั้น

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 12, 10:07
         ตอนเป็นเด็ก ท่องจำได้จนวันนี้ว่า

                  เพชรดีมณีแดง เขียวแสงใสมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ ·

คลิประบำนพรัตน์ ครับ

         คำร้อง ทำนองโดยอาจารย์ มนตรี ตราโมท บรรจุลงในละครนอก สุวรรณหงส์
ตอน ชมถ้ำ

          http://www.youtube.com/watch?v=8MI6N0iufJc

        สมัยเรียนมหาวิทยาลัย มีรายการอนุรักษ์ดนตรีไทยและจัดการแสดงรำนพรัตน์โดยเพื่อนๆ
ซึ่งส่วนมากก็รูปร่างบอบบาง แต่มีคนหนึ่งซึ่งรำเป็นโกเมนออกจะมีรูปร่างสมบูรณ์กว่าคนอื่นๆ
เลยโดนเพื่อนบางคนแซวว่า เธอคือ (ขออภัยครับ) โคตรโกเมน  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 11:03
มณี น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจําพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).

น่าแปลกที่ มณี ของท่านรอยอินมีความหมายแคบเฉพาะ แก้วหินมีค่าสีแดง

ความหมายเดิมในภาษาสันสกฤตกว้างกว่านั้น

 ;D

รู้สึกมานานแล้ว ว่ามณีตามความหมายของรอยอิน แคบเกินไป และไม่ตรงกับความหมายที่คนไทยใช้แต่โบราณ    ในวรรณคดีต่างๆอย่างรามเกียรติ์  คำว่า มณี  หมายความอย่างเดียวกับ รัตนะ   เช่น มณีนิล  ดวงมณี    แม้แต่ มณีแดง ในคำคล้องจองของนพรัตน์ ก็น่าจะหมายถึงแก้วสีแดง มากกว่าทับทิมสีแดง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 11:05
อัญมณี แปลว่าพลอยอื่นๆนอกเหนือจาก ๙ ชนิดในนพรัตน์ที่ถือว่าเป็นชั้นเยี่ยม     แต่ปัจจุบันเรามาใช้ในความหมายของ jewels หรือเพชรพลอยโดยรวมๆ   เช่นนิทรรศการอัญมณีไทย   จนความเข้าใจของประชาชนเปลี่ยนไปแล้ว
อีกหน่อย รอยอินท่านก็คงยอมรับความหมายใหม่ไปเอง  เพราะมันแพร่หลายมากกว่า


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 12, 11:25
ทานตะวัน
เนื้อร้อง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ทํานอง ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี

ตะวันส่องใสแดดฉายลงมาทาบทาทิวทุ่ง
แผ่วลมผ่านโรยเหมือนโปรยกลิ่นปรุงดอกฟางหอมลอย
ดอกหญ้าดาววับวาวทางเกลื่อนเหมือนดังหยาดพลอย
แตะนิดต้องน้อยราวมณีร่วงพรูพลัดพรายลงดิน

ขอยืมภาพถ่ายน้ำค้างที่ดอกหญ้า  ;)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 11:28
        ตอนเป็นเด็ก ท่องจำได้จนวันนี้ว่า

                  เพชรดีมณีแดง เขียวแสงใสมรกต   เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ ·

ตอนเป็นเด็ก ท่องอีกอย่างหนึ่ง

เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต  

 ;D



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 09 มี.ค. 12, 11:32
หินสีแดงที่นำมาทำเครื่องประดับที่สวยงามชวนมองแต่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดไหนค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 09 มี.ค. 12, 11:39
สร้อยคอพวงนี้ น.น.คง5-6 ก.ก.คงจะเป็นเทอร์คอยแต่เม็ดแบน ใหญ่โตมากคงทำไว้โชว์มากกว่าจะไว้ใช้นะคะ
หาไม่ผู้ใส่คงเดี้ยง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 12, 11:41
        
อ้างถึง
เขียวแสงใสมรกต


         ตอน copy แล้ว paste อ่านทวนแบบข้ามๆ ครับ
ที่จริงก็ท่องจำเหมือนที่คุณเพ็ญว่าไว้ - เขียวใสแสงมรกต

           ขอบคุณคุณเพ็ญ ผู้ทำหน้าที่ ยามภาษาไทย-เทศ ครับ  ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 09 มี.ค. 12, 11:42
ส่วนอำพันทางยุโรปตะวันออก มีขายมากมายดูอย่างไรจึงจะรู้ว่าน่าซื้อค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 11:49
กระทู้นี้ทำท่าจะยาว  มีสมาชิกที่สนใจรัตนชาติมามุงดูกันไม่ขาดสาย
ขอนำมณีแดงโด่งดังเม็ดหนึ่งมาประดับกระทู้    ชื่อว่า Alan Caplan Ruby หรือ  Mogok Ruby ขนาด  15.97 กะรัต  แหล่งกำเนิดคือพม่า     พวกเราบางคนคงจำกันได้ว่าก่อนทับทิมสยามจะดังระเบิด    พระเอกนางเอกไทยในยุคดอกไม้สดและศรีบูรพา สวมแหวนทับทิมพม่า หรือเจาะจงลงไปว่าทับทิมมะละแหม่งกันทั้งนั้น

ทับทิมพม่าเม็ดนี้ เจ้าของขายให้ห้างซอธเธอบีในนิวยอร์คเมื่อปี  1988 ในราคา 3,630,000 ดอลล่าร์   ต่อมาห้างกราฟที่ลอนดอนซื้อไปแล้วขายให้สุลต่านแห่งบรูไน  ที่พระราชทานเป็นของหมั้นให้พระชายาองค์หนึ่งของพระองค์


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 12, 12:26
ทับทิมนั้นมีการแบ่งตามประเภทได้ ๒ อย่างคือ ๑.แบบเจีย  ๒. แบบหลังเต่า และ ๑.แบบหุงพลอย ๒. แบบพลอยดิบ ซึ่งแบบพลอยดิบนั้นจะได้ค่านิยมในการเรียกราคาได้สูงกว่าทับทิมหุง

ทับทิมสยามนั้นจะมีสีแดงสด และลึกไปจนระดับแดงเลือดนก เจียออกมาได้งดงามมาก ไม่เหมือนทับทิมพม่า จะออกไปทางโซนแดงอมชมพู ถึง ชมพูอ่อน

ตอนนี้มีทับทิมที่กำลังดังคือ ทับทิมอัฟ หรือ ทับทิมอัฟริกา เป็นการหุงพลอยโดยมากเนื้อใสเป็นแก้วเลยครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 12:52
ทับทิมนั้นมีการแบ่งตามประเภทได้ ๒ อย่างคือ ๑.แบบเจีย  ๒. แบบหลังเต่า
ซ้าย ทับทิมเจียระไนแบบหลังเต่า(หรือหลังเบี้ย) 
ขวา  ทับทิมเจียระไนเหลี่ยม


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 12:55
อากู๋ ...เล่าไว้ว่า... ;D
รัตนชาติ หมายถึง แร่หรือหินมีค่า หรือกึ่งมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
มีส่วนน้อยที่เกิดจากสารอินทรีย์ เช่นไข่มุก อำพัน ปะการัง ฯลฯ

มีส่วนน้อยที่เกิดจากสารอินทรีย์ เช่นไข่มุก


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 13:01

ตอนนี้มีทับทิมที่กำลังดังคือ ทับทิมอัฟ หรือ ทับทิมอัฟริกา เป็นการหุงพลอยโดยมากเนื้อใสเป็นแก้วเลยครับ
เคยเห็นทับทิมรุ่นเก่าที่บอกว่าเป็นทับทิมพม่า  เนื้อมันเหมือนหินเนื้อละเอียด สีแดงออกชมพู     แต่ทับทิมที่ขายกันมากในปัจจุบันนี้เนื้อใสเหมือนแก้วเจียระไน   สีแดงแปร๊ด   เป็นพลอยหุงหรือพลอยเนื้ออ่อนเผาไฟอย่างที่คุณ siamese ว่า   
ย้อนหลังไปก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒   พลอยหุงจัดเข้าประเภทพลอยไม่แท้   แทบไม่มีราคาเลย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 13:02
อากู๋ ...เล่าไว้ว่า... ;D
รัตนชาติ หมายถึง แร่หรือหินมีค่า หรือกึ่งมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
มีส่วนน้อยที่เกิดจากสารอินทรีย์ เช่นไข่มุก อำพัน ปะการัง ฯลฯ

จะขอเริ่มต้นด้วยการขอความกระจ่างสักหน่อยว่า อัญมณี และรัตนชาติ หมายความว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

รอยอินท่านให้ความกระจ่างไว้ดังนี้

รัตนชาติ น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.

ว่ากันตามคำนิยามของท่านรอยอิน

ไข่มุกและอำพันไม่จัดเป็น "รัตนชาติ"

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 13:32
มุกตา  หนึ่งในนพรัตน์  หมายถึงไข่มุก ไม่ใช่พลอยสีขาวที่เราเรียกว่ามุกดา

มุกดา (มุกตา) - คือแก้วชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันในกาลปัตยุบันนี้ว่า "ไข่มุก"    ตามความเข้าใจกันโดยมากนั้น  มักว่าแก้วมุกดา  คือพลอยสีขาวๆชนิดหนึ่ง    ซึ่งเป็นพลอยอย่างเลว   ที่พลอยชนิดนี้เกิดมาเป็นมุกดาขึ้นนั้น  เป็นเพราะแก้วมุกดาแท้หรือไข่มุกนั้นหายาก    ในเมืองไทยเราแต่ก่อนๆ จะไม่ใคร่เคยเห็น     ครั้นเมื่อจะทำแหวนนพเก้า ก็ปรึกษาหารือครูบาอาจารย์  มีมุกดาอยู่ในพวกนพรัตน์อันหนึ่ง     อาจารย์คงบอกว่า "เป็นแก้วสีขาวซึ่งงมมาจากในมหาสมุทร"  ก็คงร้องกันว่า " แก้วอะไรจะอยู่ในมหาสมุทร  ช่างเถอะ" ดังนี้   แล้วก็เลยมองหาพลอยอะไรที่มีสีขาวมาได้    และพูดว่า  "นี่เองแหละนะ  แก้วมุกดา   ตาอาจารย์แกพูดวิจิตรพิสดารไปกระนั้นเอง    ว่างมแง็มอะไรจากท้องทะเล    มันก็บนบกนี้แหละ"  ทั้งถึงแม้ว่าจะไปงมเอาไข่มุกมาให้   ก็ทีจะไม่ใคร่ชอบด้วยซ้ำ    เพราะเห็นไม่เป็นแก้วเป็นพลอย   ไม่แวมๆวาวๆ   ไม่เป็นลูกปัด   ที่ไหนจะชอบ
จาก อภิธานสังเขป
พระราขนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามพระราชอรรถาธิบาย  ไข่มุกคือรัตนะ หนึ่งใน 9 อย่างของนพรัตน์  ถือเป็นรัตนชาติได้หรือไม่


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 มี.ค. 12, 13:49
ไข่มุก จัดเป็นรัตนชาติ ค่ะ.. ;D
เป็นอัญมณีอินทรีย์ (organic gems) ชนิดหนึ่ง
มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 90
ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 0.34
นอกนั้นยังประกอบด้วยแมกนีเซียม เหล็ก เกลือซิลิเกท เกลือซัลเฟต เกลือฟอสเฟต และสารคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนน้อย
เมื่อทำการเผา เกลือคาร์บอเนตจะถูกทำลาย เกิดเป็นแคลเซียมคาร์ไบด์ และสารอินทรีย์ก็จะถูกสลายไปด้วย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 14:17
เอารูปมุกดากับไข่มุกมาให้ดูกันค่ะ  แยกออกไหมคะว่าอย่างไหนเป็นอย่างไหน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 09 มี.ค. 12, 14:22
อ้างถึง
พลอยหุงจัดเข้าประเภทพลอยไม่แท้ แทบไม่มีราคาเลย

          เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้     มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้

          กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ          ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา

ขุนแผนหมิ่นนางวันทอง และ

แม่พลอยหุงในจอแก้ว ผู้จากไกลไปลับแล้ว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 14:27
ความทรงจำของคุณ SILA ปานประหนึ่งสลักคำลงบนหินผา  ผ่านไปพันปีก็ไม่ลบเลือน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 12, 14:42
เดิมพลอยหุงไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากพลอยดิบมีจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนั้นพลอยงาม ๆ หาได้ยากจึงต้องการพัฒนาพลอยที่ด้อยค่าน้ำมาให้ความร้อนสูงเพื่อเปลี่ยนแปลงสี น้ำ ของตัวพลอย ดังเช่น บุศราคัมแห่งจันทบุรีนี้หายากยิ่งนัก ก็เลยนำเขียวส่องมาหุงจนได้บุศย์น้ำงาม ๆ

การหุงพลอยนั้นมีประโยชน์ในการไล่มลทินในเนื้อหินออกไปด้วยนะครับ พลอยบางเม้ดสีงามมาก แต่ก็มีตำหนิคือ มีมลทินในเนื้อหิน จึงต้องเข้าหุงพลอยเพื่อไล่มลทินออกไป แต่การหุงพลอยก็เปรียบกับเล่นกับดวง จะดีหรือร้าย ก็แล้วแต่การหุงในแต่ละครั้ง พลอยดี หุงแล้วเสียก็มี พลอยเกรดต่ำหุงแล้วงามระดับโลก ก็มีครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 15:34
เว็บนี้บรรยายว่า พลอยที่เห็นเป็นพลอยหุง หรือพลอยเผา    เป็นบุษราคัมบางกะจะ เผาเก่า (ไม่ใช่เขียวส่องเผาใส่แบริเลียม) เป็นบุษราคัมสีแม่โขงที่นิยมกันมาก


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 16:19
มุกตา  หนึ่งในนพรัตน์  หมายถึงไข่มุก ไม่ใช่พลอยสีขาวที่เราเรียกว่ามุกดา

ท่านรอยอินชี้แจงเป็นทั้ง ๒ อย่าง

มุกดา, มุกดาหาร น. ไข่มุก; ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อน ๆ. (ส. มุกฺตา, มุกฺตาหาร; ป. มุตฺตา, มุตฺตาหาร, ว่า สร้อยไข่มุก).

ตำราไม่ได้อยู่ใกล้มือ ตอบจากความทรงจำนะคะ
เดิมในตำรารัตนชาติของอินเดีย พูดถึง มุกดา ว่าเป็นมณีที่เกิดจากท้องทะเล  สีขาว สัณฐานกลมเหมือนไข่จิ้งจก    ฟังแล้วก็รู้ว่าหมายถึงไข่มุก
แต่ไข่มุกไม่ใช่รัตนชาติกำเนิดในอินเดียหรือ ยังไงก็ไม่ทราบ  เมื่อมีการรวบรวมกันขึ้นมาภายหลัง เพื่อเป็นเครื่องประดับ   จึงไปเลือกแก้วสีขาวชนิดหนึ่งมาเป็นหนึ่งในเก้า  แล้วเรียกว่าคือมุกดา
ไข่มุกก็เลยหลุดจากตำแหน่ง   แก้วอย่างนั้นก็อยู่แทนที่ มาจนทุกวันนี้ค่ะ

มีศัพท์ในภาษาสันสกฤตคำหนึ่ง คือ  मुक्तारत्न muktaratna

ดูเหมือนจะยืนยันตำรารัตนชาติของอินเดียว่า

ไข่มุก เป็น รัตนะ

 ;D
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 มี.ค. 12, 18:25
ผมไปเริ่มต้นถามว่ารัตนชาติที่มีชื่อเกี่ยวกับสัตว์มีอะไรบ้าง ลืมนึกไปว่าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอยู่มากมาย ในภาษาอังกฤษนั้นดูจะมีเพียง tiger's eye, cat's eyes, และ ox's eye หรือ bull's eye

สำหรับคำว่าอัญมนีก็ดี รัตนชาติก็ดี หินสีก็ดี เครื่องประดับก็ดี จินดาก็ดี ท่านผู้รู้ได้วิพากษ์กันแล้วอย่างมากมาย ที่ผมยกขึ้นมาเป็นความสงสัยก็เพราะว่า ความหมายของคำเหล่านี้ต่างคนต่างก็ใช้ในความหมายและขอบเขตที่ต่างกันไป ผมคิดว่าไม่เว้นแม้แต่ศัพท์ในภาษาอังกฤษเอง lapidary ซึ่งดูจะหมายถึงเครื่องประดับที่เอาเพชรนิลจินดาทั้งหลายมาประกอบกันเป็นชิ้นงาน แต่ก็มีความหมายในเชิงของผู้ผลิตและอุตสาหกรรมด้วย รวมถึงช่างฝีมือผู้ออกแบบและประดิษฐ์อีกด้วย, color stone มีความหมายทั้งตัวเพชรนิลจินดา (รัตนชาติทั้งหลาย) และหินที่มีสีสรรค์ต่างๆ ส่วน ornamental นั้นดูจะใช้เฉพาะกับเครื่องประดับประจำกายที่ใช้ใส่อยู่ทุกวัน จึงมักจะจำกัดไปในเชิงของประคำและลูกปัดต่างๆที่คนโบราณใช้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพชรนิลจินดา จะเป็นอะไรก็ได้แม้กระทั่งดินเผาสีต่างๆ, jewelries ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้กันโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเพชรนิลจินดาเท่านั้น

แยกเข้าซอยไปนี๊ดเดียวนะครับ เพียงอยากจะยกตัวอย่างกับคำที่สื่อความหมายไม่ตรงกันในระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย __ฝรั่งงงกับคำว่า commerce และ trade ของไทย เรามีกระทรวงพาณิชย์ฯ ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Commerce แต่เป็นผู้แทนไปเจรจาในาเรื่องของ Trade ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้อยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน ระบบคิดและระบบปฏิบัติก็ต่างกัน เขาก็งงเราก็งง ไปใหนมาสามวาสองศอก   
   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 19:51
^
ถ้าคุณปัญจมาไม่กลับมาเขียนภาษาอเมริกันวันละคำ   คุณตั้งจะตั้งกระทู้เรื่องภาษาอังกฤษวันละคำ  commerce กับ trade ก็ได้นะคะ
ดิฉันก็อยากรู้เหมือนกันว่า มันต่างกันยังไง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 มี.ค. 12, 21:05
ผมคิดว่าท่านสมาชิกทั้งหลายมีความรู้เกี่ยวกับเพชรพลอยในระดับที่ดีมากทีเดียว ดีกว่าผมเยอะมากจริงๆ

เรื่องที่ผมจะเล่านี้ เป็นเพียงองค์ประกอบทางวิชาการที่อาจจะให้แง่มุมคิดที่เป็นประโบชน์ในการซื้อ แสวหา และสะสม ซึ่งเรื่องต่างๆคงจะค่อยๆประสานเข้าไปเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน

เกริ่นไว้เสียก่อนแต่แรกว่า ผมเรียนเรื่อง mineralogy เป็นวิชาแรกๆของความรู้ในวิชาชีพเมื่อเกือบจะห้าสิบปีมาแล้ว อาจจะหลงลืมไปบ้าง แต่เรื่องที่จะเล่านี้จะเป็นเพียงสรุปง่ายๆสำหรับความเข้าใจ  

เริ่มด้วย หินทั้งหลายในโลกนี้มีองค์ประกอบเป็นแร่ชนิดต่่างๆ เรียกกันว่าแร่ประกอบหิน (Rock forming minerals) เมื่อหินที่หลอมละลายค่อนๆเย็นตัวลง แร่ต่างๆก็จะเริ่มตกผลึกเรียงลำดับไปตามสัดส่วนและปริมาณของธาตุที่เป็นประกอบทางเคมีของหินละลายนั้นๆ การตกผลึกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพและสภาวะของปริมาณธาตุต่างๆ (Chemical composition) ความดัน (Pressure) อุณหภูมิ (Temperature) สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สถานะของปฎิกริยา (oxidation-reduction_Eh) และส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ

ในระหว่างการตกผลึก สภาพแวดล้อมจะค่อยๆเปลี่ยนไป ธาตุดั้งเดิมบางตัวจะถูกเข้ามาแทนด้วยธาตุอีกตัวหนึ่ง เช่น ธาตุแมกนีเซียมถูกแทนด้วยธาตุเหล็ก หรือธาตุแคลเซียมถูกแทนด้วยธาตุโซเดียม (เรียกว่า Solid solution) การถูกแทนที่นี้มีทั้งแบบที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ พร้อมๆกันนั้นก็ยังมีธาตุบางตัวที่เข้ามาร่วมอยู่ในกระบวนการตกผลึกในสภาพและสถาวะการณ์ต่างๆอีกด้วย แร่ที่เกิดขึ้นจึงมีไม่บริสุทธิ์ หากเห็นเป็นจุดๆก็เรียกว่ามี Impurities รอยต่อระหว่างหน้าผลึกต่างๆก็ไม่สมบูรณ์เสมอไป บางทีก็มีสารอื่นมาตกผลึกแทรกอยู่เป็นเส้นๆ เรียกว่า Needles เกิดเป็นผลึกแฝดบ้าง เรียกว่า Twin crystal บางทีแกสหรือสารละลายบางตัวก็ถูกกักไว้ในผลึกของแร่ เห็นเป็นก้อนๆ ก็เรียกว่า Inclusions ซึ่งในภาษาทางผู้ค้าอัญมณีเรียกว่ารวมๆกันว่า Flaws    
เมื่อเกิดเป็นตัวหินแล้ว ก็ยังคงมีสารละลายที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งจะแทรกดันเข้าไปในระหว่างช่องว่างต่างๆในช่วงหลัง กลายเป็น vein ที่เราเรียกว่าสายแร่ ส่วนที่เหลือมากจริงๆก็จะค่อยๆตกผลึก ซึ่งสายแร่นี้เกือบทั้งหมดจะเป็นแร่ Quartz ผสมกับแร่ Feldspar ซึ่งบางจุดมีโพรง น้ำแร่ Quartz ก็จะตกผลึกเป็นแท่งใส เรียกว่าเขี้ยวหนุมาณ หากเป็นก้อนใสขนาดใหญ่หน่อย เอามาเจียรนัยได้ก็จะเป็นโป่งข่าม หากมีสีม่วงก็เรียก Amethyst หากมีสีชมพูก็เรียกว่า Rose quartz หากเห็นเป็นก้อนกลมๆ (Geode) เอามาผ่าออกก็จะเห็นเส้นวงกลมหลากสี เรียกว่า Agate หากแยกออกส่วนสีออกแสดๆอกมาได้ก็เรียกว่า Jasper หรือขยายไปเป็นหยกหายากเสียเลย ฯลฯ ตัวแร่ Feldspar เอง หากมีธาตุ Potassium เป็นส่วนประกอบมากกว่า Sodium และหากเป็นก้อนผลึกใสหน่อย เอามาเจียรนัยก็จะได้ Moonstone
ในสายแร่ Quartz ผสมแร่ Feldspar นี้ หากมีองค์ประกอบเป็นแร่ Feldspar มาก ก็จะเรียกว่าสาย Pegmatite ซึ่งในบางแหล่งจะให้แร่ เช่น Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite เป็นต้น

ผลึกของแร่ดังเช่นที่กล่าวมาเหล่านี้ หากเม็ดโตก็จะนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ที่จะแปลกอยู่สักหน่อยก็คือ ในตัวสายแร่เองมักจะไม่ค่อยพบก้อนใหญ่ๆ แต่ที่มีผุพังตกอยู่ในชั้นดินกรวดทรายมักจะได้ก้อนใหญ่ๆ        
  
  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 21:26
อ้างถึง
สายแร่ Quartz ผสมแร่ Feldspar นี้ หากมีองค์ประกอบเป็นแร่ Feldspar มาก ก็จะเรียกว่าสาย Pegmatite ซึ่งในบางแหล่งจะให้แร่ เช่น Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite เป็นต้น


จากซ้ายไปขวา
Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 12, 21:30
Jasper =  โมรา ?


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 15:03
มีอยู่ยุคหนึ่ง นานมาแล้ว  โป่งข่ามเกิดฮิทขึ้นมาในตลาดอัญมณี   ผู้หญิงมักจะมีแหวนโป่งข่ามกันอย่างน้อยคนละวงสองวง   เพราะตอนนั้นมีเสียงโฆษณาเล่าลือถึงความวิเศษของโป่งข่าม   สวมใส่แล้วจะมีโชคลาภ คุ้มกันอันตราย มีเงินทอง มีเสน่ห์ ฯลฯ แล้วแต่จะพูดกันไป  ว่ากันว่าโป่งข่ามสวยๆราคาเม็ดละเป็นหมื่น ในยุคที่เงินเดือนข้าราชการเริ่มด้วยพันต้นๆ
โป่งข่ามมีชื่อไพเราะมาก สีสันก็หลากหลาย   โดยมากเป็นสีขาวโปร่งแสง  มีลายอยู่ข้างใน  นอกจากนี้ก็มีสีอ่อนๆ อย่างชมพูและม่วง  ยังจำได้ว่ามีชื่อหนึ่งคือ "แก้วมุงเมือง"
ตัวเองไม่ได้สนใจของพวกนี้  ก็เลยไม่เคยมีโป่งข่ามกะเขาเลยสักเม็ด     ได้แต่ไปหารูปมาจากกูเกิ้ลมาทบทวนความหลัง เมื่อคุณตั้งเล่าถึงเรื่องนี้ขึ้นมา


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 15:08
อาเกต (agate)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 15:56
Jasper =  โมรา ?

ใช่ครับ โมรา แต่ที่เห็นนิยมกันมักจะเป็นสีน้ำตาลแดงเนื้อเป็นแก้วขุ่นๆ (ดังรูปในความเห็นที่ 60) ซึ่งคล้ายๆกับสีของหยกหายากที่คนจีนชอบกัน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 16:15
มีอยู่ยุคหนึ่ง นานมาแล้ว  โป่งข่ามเกิดฮิทขึ้นมาในตลาดอัญมณี   ผู้หญิงมักจะมีแหวนโป่งข่ามกันอย่างน้อยคนละวงสองวง   เพราะตอนนั้นมีเสียงโฆษณาเล่าลือถึงความวิเศษของโป่งข่าม   สวมใส่แล้วจะมีโชคลาภ คุ้มกันอันตราย มีเงินทอง มีเสน่ห์ ฯลฯ แล้วแต่จะพูดกันไป  ว่ากันว่าโป่งข่ามสวยๆราคาเม็ดละเป็นหมื่น ในยุคที่เงินเดือนข้าราชการเริ่มด้วยพันต้นๆ
โป่งข่ามมีชื่อไพเราะมาก สีสันก็หลากหลาย   โดยมากเป็นสีขาวโปร่งแสง  มีลายอยู่ข้างใน  นอกจากนี้ก็มีสีอ่อนๆ อย่างชมพูและม่วง  ยังจำได้ว่ามีชื่อหนึ่งคือ "แก้วมุงเมือง"
ตัวเองไม่ได้สนใจของพวกนี้  ก็เลยไม่เคยมีโป่งข่ามกะเขาเลยสักเม็ด     ได้แต่ไปหารูปมาจากกูเกิ้ลมาทบทวนความหลัง เมื่อคุณตั้งเล่าถึงเรื่องนี้ขึ้นมา

ใช่ครับ โป่งข่ามนั้นนิยมกันเมื่อยุคประมาณ พ.ศ.2510++ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่ อ.เถิน มีการเจียรนัยอยู่ทรงเดียว คือแบบหลังเต่า มีอยู่หลายขนาด ไม่ซื้อขายกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต (สะกด carat หากใช้กับทองคำจะสะกด karat) ขนาดเล็กใหญ่ก็ไม่ใช่ตัวกำหนดราคา ราคาไปอยู่ที่ลวดลายที่แทรกอยู่ในเนื้อ เป็นทรงเข็มบ้าง เป็นทรงหญ้ามอสบ้าง เป็นจุดๆบ้าง คือไปเล่นกันที่ความแปลก สีและความสวยงามของ impurities ที่อยู่ในเนื้อ ราคาก็มีตั้งแต่หลักสิบไปจนหลักหมื่นตามที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้ ส่วนมากจะเป็นหลักร้อย แถวๆห้าร้อยบาท
สำหรับการตั้งชื่อนั้นมีมากมาย ผมจำไม่ได้แล้ว นอกจากจะซื้อหาเก็บกันแล้วก็ยังมีการเอาไปทำการปลุกเสกอีกด้วย ทำให้มีค่าและราคาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตังเลยทีเดียว
ที่จริงแล้ว แร่ quartz ใสๆนี้พบอยู่ทั่วประเทศไทยในพื้นที่ๆเป็นเขาหิน จะพบค่อนข้างน้อยมากก็ในอีสาน ผมคิดว่าแหล่งผลิตและความโด่งดังนี้เกิดจากคนในพื้นที่เอง ในสมัยโบราณนั้น คนทางภาคเหนือนิยมแกะสลักพระจากแร่ Quartz       



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 16:23
พระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแร่ เป็นเรื่องที่คงจะคุยกันได้อีกยาว     เมื่อดิฉันไปเที่ยวเชียงรายหลายปีมาแล้ว ข้ามไปในเขตพม่า  ตลาดชายแดนมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆมาให้เช่ามากมาย   เป็นพลอยสีเขียวสีแดง  คงจะเป็นหินแร่อย่างใดอย่างหนึ่งที่คุณตั้งเล่ามา


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 16:40
ตะกี้นี้กดผิด ขอส่งข้อความที่ได้เขียนครบถ้วยดังนี้

ใช่ครับ โป่งข่ามนั้นนิยมกันเมื่อยุคประมาณ พ.ศ.2510++ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่ อ.เถิน มีการเจียรนัยอยู่ทรงเดียว คือแบบหลังเต่า มีอยู่หลายขนาด ไม่ซื้อขายกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต (สะกด carat หากใช้กับทองคำจะสะกด karat) ขนาดเล็กใหญ่ก็ไม่ใช่ตัวกำหนดราคา ราคาไปอยู่ที่ลวดลายที่แทรกอยู่ในเนื้อ เป็นทรงเข็มบ้าง เป็นทรงหญ้ามอสบ้าง เป็นจุดๆบ้าง คือไปเล่นกันที่ความแปลก สีและความสวยงามของ inclusion และ impurities ที่อยู่ในเนื้อ ราคาก็มีตั้งแต่หลักสิบไปจนหลักหมื่นตามที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้ ส่วนมากจะเป็นหลักร้อย แถวๆห้าร้อยบาท
สำหรับการตั้งชื่อนั้นมีมากมาย ผมจำไม่ได้แล้ว นอกจากจะซื้อหาเก็บกันแล้วก็ยังมีการเอาไปทำการปลุกเสกอีกด้วย ทำให้มีค่าและราคาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตังเลยทีเดียว
 
ที่จริงแล้ว แร่ quartz ใสๆนี้พบอยู่ทั่วประเทศไทยในพื้นที่ๆเป็นเขาหิน จะพบค่อนข้างน้อยมากก็ในอีสาน ผมคิดว่าแหล่งผลิตและความโด่งดังนี้เกิดจากคนในพื้นที่เอง ในสมัยโบราณนั้น คนทางภาคเหนือนิยมแกะสลักพระจากแร่ Quartz และแร่ Fluorite (ชาวบ้านก็เรียกแร่นี้ว่าหินสีเหมือนกัน) ในกรุพระเก่าๆ เช่น ที่เรียกกันว่า กรุฮอด นั้นก็มีพระทำจากแร่เหล่านี้ ส่วนมากจะเป็นพระพุทธรูป มีสีชมพูบ้าง สีม่วงบ้าง สีเขียวบ้าง แหล่งแร่ Fluorite ที่สำคัญก็พบอยู่นย่านนี้ แร่ชนิดนี้พบสะสมอยู่เป็นกระเปาะๆก็มี เป็นสายแร่ขนาดต่างๆตั้งแต่ขนาดเท่านิ้วมือไปจนถึงขนาดกว้างเป็นหลายเมตร เท่าที่ทราบ ในกรุของเชียงแสนก็มีพระแก้วเหล่านี้ จะเป็นองค์เล็กๆและเป็นแร่ Quartz บรรจุไว้ไม่กี่องคตามเจดีย์ต่างๆ ที่เล่ามาก็เพียงเพื่อจะบอกว่าคนในย่านนี้มีความสัมพันธ์และความเชื่อเกี่ยวกับแก้วและหินสี ดังนั้น เรื่องของอภินิหาร ปาฎิหาร เมื่อได้ใช้แก้วแหวนที่มีรูปทรงของ inclusion แปลกๆที่สามารถจะบรรยายได้เป็นเป็นเรื่องเป็นราว จึงมีปรากฏอยู่มากมาย คนต่างถิ่นก็พลอยเชื่อ จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคนั้น และมีราคาสูงมากขึ้นเรื่องๆ
       


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 18:16
ได้เล่าเรื่องของกำเนิดแร่อย่างรวบรัดไปบางส่วนแล้ว โดยสรุป_แร่เกือบทั้งหมดเกิดจากการตกผลึก จะเกิดเป็นก้อนใหญ่หรือเล็กก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆ แร่เป็นสารประกอบทางเคมี ดังนั้นในสภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไป ก็อาจจะมีการแทนที่กันระหว่างธาตุบางธาตุ นอกจากนั้นแล้วในผลึกของแร่ต่างๆมักจะไม่มีความบริสุทธิ์ มักจะมีธาตุอื่นๆเจือปนอยู่ด้วย จึงทำให้มักจะมีสีที่แปลกแหวกแนวไปจากสีตามปกติ 

เมื่อเป็นผลึก ก็ต้องมีวิชาการเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) วิชานี้เรียนยาก เป็น abstract แต่ก็เรียนเพราะใช้ในการใช้วิเคราะห์แร่
ในรูปทรงสามมิติต่างๆนั้นมีอยู่สามแกน ในวิชาเรขาคณิตนั้นเราแกน x, y, z แต่ในทางแร่นั้น เราใช้แกน a, b, c แกน a เป็นแกนตั้ง แกน b และ c นั้นอยู่ในแนวนอน ปรากฎว่า ผลึกทั้งหลายในโลกนี้ เกิดอยู่ในระบบแกนทั้งหมดเพียง 7 ระบบ คือ 1). ในกลุ่มระบบที่แกนทั้งหมดตั้งฉากกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ทั้งสามแกนยาวเท่ากัน (Isometric) สองแกนยาวเท่ากัน (a,b) แต่อีกแกนหนึ่ง (c) สั้นหรือยาวกว่า (Tetragonal) และทั้งสามแกนยาวไม่เท่ากัน (Orthorhombic)   2). ในกลุ่มที่แกนสองแกน (a,b) ยาวเท่ากัน ทั้งสองแกนนี้ทำมุมตั้งฉากกับแกนตั้ง (c) ซึ่งอาจจะยาวกว่าหนือสั้นกว่าก็ได้ แต่ แกน a และ b ทำมุมระหว่างกัน 120 องศา (Rhombohedral) 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 18:35
หรือ 60 อาศา (Hexagonal)   3). ในกลุ่มที่เอียงๆ คือ แกนตั้งไม่ตั้งฉากกับแกนนอน (monoclinic) และ ทั้งสามแกน สามมุมไม่เท่ากันเลย (Triclinic)
แกนผลึกเหล่านี้ทำให้เกิดรูปผลึกได้นับเป็นร้อยๆรูปร่าง

ที่สำคัญก็คือ ทรงผลึกเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นของเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิด เช่น เพชร มีทรงผลึกอยู่ในระบบ Isometric เป็นรูปปิรามิดคว่ำหงายฐานชนกัน รูปทรงเป็นแบบ Octahedral และ พลอยในตระกูล corundum อยู่ในระบบ Hexagonal (เช่น รูปทรงเป็นแบบ prismatic shape เป็นต้น)

ยุ่งยากนะครับ แต่ไม่ต้องไปจดจำหรือต้องรู้อะไรมากนัก ที่เล่ามาก็เพื่อจะต่อไปถึงแสงที่ผ่านตัวมัน
แสงอาทิตย์ที่เราเห็นและสัมผัสด้วยตาอยู่ทุกวันนั้น เป็นแสงที่เราเรียกว่า     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 19:35
เครื่องคอมของผมมันรวนยังไงพิลึก ยังไม่จบมันรีบส่งเลย ต่อนะครับ

เราเรียกว่าแสง white light ซึ่งช่วงเวลาที่แสงทั้ง spectrum มีครบสมบูรณ์นั้น (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) เชื่อกันว่าอยู่ที่เวลาประมาณ 10 โมงเช้า หากเช้ากว่านี้หรือบ่ายกว่านี้ไปจนช่วงเย็น spectrum ของแสงบางช่วง (สี) ก็จะจางไปไม่สมบูรณ์
แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ช่วงคลื่นที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีอยู่ในช่วงหนึ่งซึ่งเราเห็นเป็นแสงสีขาว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เมื่อไปกระทบกับอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมของธาตุต่างๆ หรือของสารประกอบบางอย่าง ก็อาจจะถูกกลืน (absorb) หรือถูกสะท้อน (reflex) หรือไปเตะให้อิเล็กตรอนของธาตุวิ่งชนกัน ทำให้เกิกประกายสีขึ้นมา (fluorescence)
แสงที่วิ่งผ่านตัวกลางที่เป็นเนื้อแร่ก็จะเป็นเช่นนี้ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ แสงที่หลุดออกมาให้เห็นตามแกนต่างๆที่เล่ามานั้น บางช่วงแสงจะถูกกลืนไป บางช่วงแสงจะเสียเวลาเดินทางผ่านเนื้อแร่ตามความยาวของแกนที่ไม่เท่ากัน และทิศทางการแกว่งตัวของคลื่น (แนวนนอน แนวตั้ง) ก็เปลี่ยนไป เราจึงใช้ polarized lens เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตรวจสอบแร่ว่าเป็นชนิดใดภายใต้กล้องจุลทรรศน์

พอแล้วนะครับสำหรับความน่าเบื่อ ไปดูผลจากความรู้อันนี้กันนะครับ

ที่เล่ามานี้ก็เพื่อจะพยายามอธิบายในหลายๆเรื่องที่น่าสนใจ (แทรกเป็นระยะๆจะได้ไม่เบื่อครับ)
เรื่องหนึ่งนั้น คือ พลอยในตระกูล corundum ที่เราเรียกว่า Sapphire นั้น หากเป็นของธรรมชาติแท้ๆ (Genuine stone) นั้น เรามักจะต้องเห็นสีที่ด้านบนหน้าพลอย (pavilion) เป็นสีหนึ่ง และด้านข้างบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างส่วนที่เป็น crown กับ pavilion เป็นอีกสีหนึ่ง กรณีพลอยสีน้ำเงินนั้นด้านบนมักจะเป็นสีน้ำเงินแต่ด้านข้างจะออกสีไปทางสีตองอ่อน ซึ่งหากไปกับคนที่ใส่แว่น polarized lens ก็คงจะต้องเห็นสีของพลอยต่างกันแน่ๆและบรรยายสีต่างกัน
สำหรับเพชรนั้น เนื่องจากแร่เป็นผลึกอยู่ในตระกูล Isometric (ในกรณีที่ยังไม่เจียรนัย) เมื่อดูจากแสงที่ผ่าน polarized lens จะเห็นดำมืดเลย    ผมไม่เคยทดลองด้วยตัวเอง แต่เชื่อว่าคนที่ใส่แว่นตา polarized lens นั้น จะเห็นสีแสงประกายของเพชรพลอยต่างไปจากสายตาปกติ
แว่นขยาย (hand lens) ชั้นดีขนาดขยาย 10 เท่า ที่นักค้าเพชรพลอยใช้จึงมีราคาสูงมาก ก็เพราะเรื่องของแสงสีนี้แหละครับ   
   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 มี.ค. 12, 20:22
รูปร่างของผลึกเพชร 8 เหลี่ยมและ 12 เหลี่ยม เป็นโครงสร้างของอะตอมคาร์บอน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 20:40
กระทู้นี้ทำท่าจะวูบวาบพรรณราย  นำขบวนโดยคุณหนุ่มสยาม
เอาเพชรมาสมทบค่ะ
ซ้าย เพชรดิบ 
ขวา  เพชรเจียระไนแล้ว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 20:41
ถามคุณกู๊กเมื่อเจอรูปซ้ายว่าเป็นอะไร  เขาตอบกลับมาว่าเป็นเพชรสีเขียวที่ยังไม่ได้เจียระไน   เป็นสีที่หายากมากที่สุด
ส่วนรูปขวาเป็นเพชรเขียวเจียระไนแล้ว  ชื่อ Dresden green diamond


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มี.ค. 12, 21:01
คนเรานี่แปลกเนาะ บางอย่างก็ชอบของที่บริสุทธิ์ บางอย่างก็ชอบของที่มีราคี
เพชรบริสุทธิ์จริงๆมีสีขาวใส แต่หากเนื้อในมีธาตุอื่นทำให้เกิดสีผิดไป กลับกลายเป็นของที่มีค่ายิ่ง
ด้วยเหตุนี้ ซื้อเพชรพลอยก็ต้องระวัง ที่จุดยอดแหลมของ pavilion แต้มสีไปสักหน่อยก็จะได้สีสรรออกมาแพรวพรายเหมือนกัน

เอาไว้ค่อยๆเล่าไปนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 12, 21:52
รูปข้างล่างนี้ คุณกู๊กยืนยันว่าเป็นเพชรสีธรรมชาติ ไม่ใช่ใส่สารเคมีเข้าไป     ว่ากันว่าขุดหาเพชรไม่มีสี 1000 เม็ด จึงจะเจอเพชรสีเข้าสักเม็ด   ทำให้ราคามันสูงลิบลิ่ว
ของมีราคีเลยกลับตาลปัตร แพงกว่าของบริสุทธิ์ เพราะหายากกว่านี่ละค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 มี.ค. 12, 22:53
เพชรสีดำค่ะ.... ;D
ดูเหมือน นิล เลยนะคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 12, 09:36
หารูปประกอบเรื่อง
        
อ้างถึง
ผลึกทั้งหลายในโลกนี้ เกิดอยู่ในระบบแกนทั้งหมดเพียง 7 ระบบ

รูปมีขนาดใหญ่ (ถ้าย่อลงเล็กไปอาจเห็นไม่ชัด) ครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 12, 10:27
เพชรสีต่าง ๆ นั้นเขาจัดให้อยู่ในประเภทเพชรแฟนซี ซึ่งเกิดจากแร่ธาตุ สนิมแร่ธาตุเข้าไปผสมในเนื้อตอนก่อกำเนิดเพชร

จัดให้อีก "เพชรสีชมพู" จำนวน 70.39 กะรัต เป็นของอดีตมหาราชา อินเดียซึ่งได้รับการประมูลเมื่อปี 2010 ที่ 10 ล้านดอนล่าร์สหรัฐ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 10:31
เพชรสีชมพูสด หรือ vivid pink diamond เป็นเพชรสีชมพูที่หาได้ยากยิ่ง   ขนาด ๕ กะรัตของห้างคริสตี้ นำออกประมูลขายในราคาแพงที่สุดเป็นประวัติการณ์สำหรับเพชรสีนี้ คือ ๑๐.๘ ล้านดอลล่าร์
ลูกค้าไม่ยอมเปิดเผยนาม แต่ซุบซิบกันว่าเป็นเจ้าสัวระดับบิ๊กของจีนแผ่นดินใหญ่


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2378.0;attach=12373;image)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 10:33
นี่คือเพชรสีชมพูราคาแพงหลุดโลกอีกเม็ดหนึ่ง   ชื่อ Steinmetz pink  แต่สีสันยังสวยน้อยกว่าเม็ดข้างบนนี้

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2378.0;attach=12374;image)

เพชรสีชมพู..
เพชรที่หายากที่สุด
แต่สวยที่สุดของโลก ชื่อ steinmetz pink diamond
เผยโฉมสู่สาธารณะเมื่อพค. 2003 นี่เอง ณ ดินแดนที่เล็กแต่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โมนาโค
มีน้ำหนักถึง 59.6 กะรัต พบที่อัฟริกา เจียระไนแล้วจากก้อนเต็มที่หนัก 100 กะรัต ว่ากันว่า น้ำงามบริสุทธฺไม่มีมลทินเลย
นางแบบผู้โชคดีได้ใส่โชว์คือเฮเลนา คริสเตนเสน และดาราสาวเจนน่า เอลฟ์แมนค่ะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2421.0;attach=1088;image)

;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 11:01
อยากเห็นกรุเพชรของเจ้าสัว siamese กับเพชรสีชมพูของคุณเพ็ญชมพูบ้าง   :)
เพชรเนื้อผสมสนิมแร่ธาตุดังกล่าว เป็นกลุ่มเพชรแพงที่สุดในโลก    บริษัทเพชรมักจะให้นางแบบและดาราดังๆของฮอลลีวู้ดนำมาประดับกาย เมื่อเดินบนพรมแดง
ทั้งแอนเจลินา โจลี่ บียอนเซ่ และเจนโล ล้วนแต่งเพชรผสมสนิมสีต่างๆทั้งนั้น 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 12, 11:09
อยากเห็นกรุเพชรของเจ้าสัว siamese

นำ "บุษราคัม" ของประเทศบราซิลมาให้ชมครับ ดูลักษณะการจับเสียก่อน  :o ก้อนบุษราคัมนี้วัดแล้ว 3,100 กะรัต  ;)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 12, 11:13
สมบัติชิ้นนี้ล้ำค่ามากมาย เป็นที่ประดับผ้าโพกศีรษะ ใช้คำราชาศัพท์ว่า "เครื่องประดับพระเวฐนะ ของมหาราชานิชาม ประกอบด้วย เพชร หยก มรกต และ เพชรลูกแพร์  ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มี.ค. 12, 18:00
เพชรเหล่านี้ วูบวาบระยิบระยับดีจังเลยนะครับ เม็ดขนาดใหญ่ต่างๆเหล่านี้ส่วนมากก็จะเก็บเป็นของสะสมมากกว่า จะนำมาใส่โชว์ก็เป็นครั้งคราวเท่านั้น ผมเห็นว่า เม็ดขนาดประมาณ 1-2 กะรัตดูจะเหมาะสมที่สุดสำหรับสวมใส่ไปงานสังคมตามปกติ เพชรเป็นส่วนส่งเสริมความงามของผู้หญิงในองค์รวมซึ่งจะต้องผนวกไปด้วยการแต่งกายที่ถูกกาละเทศะ ทั้งสีและแบบของเสื้อผ้า กริยามารยาทและท่วงทีท่าทางที่เป็นสง่า อัธยาศัยใจคอและจิตใจที่ดี มิฉะนั้นแล้ว เพชรก็ดูจะไม่ช่วยอะไรเลย นอกจากจะไปสร้างภาพในทางลบให้กับผู้สวมใส่



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มี.ค. 12, 18:23
เพชรเป็นแร่ที่มีความแข็งที่สุด สามารถจะขูดขีดวัตถุต่างๆให้เป็นรอยได้เกือบทั้งหมด แต่ก็เป็นแร่ที่เปราะคือไม่เหนียว ไม่ทนต่อแรงกระแทก เป็นแร่ที่เกิดในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ extreme คือ ภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่สูงมาก แหล่งกำเนิดจึงมีค่อนข้างจะจำกัดในโลกของเรา ด้วยสภาพของการเกิดเช่นนี้มันจึงไม่เสถียรมากนักในสภาพสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นเมื่อบ้านถูถไฟใหม้ เพชรก็จะแปลงร่างกลายเป็นผงธุลีเถ้าถ่านไป

ต้องขอไทษท่านทั้งหลายด้วยนะครับ ที่ผมใช้และจะต้องใช้ภาษาอังกฤษผสมผสานอยู่ในการเล่าเรื่องค่อนข้างจะมาก หลายคำศัพท์หากใช้ศัพท์บัญญัติ หรือแปลไปก็อาจจะไม่เข้าใจหรือสื่อความหมายผิดไปเลย

เข้าเรื่องต่อครับ
ในทางวิชาการ ความแข็งของแร่หรือสารประกอบต่างๆในธรรมชาติจะมีความแตกต่างกัน ความแข็งนี้เป็นข้อมูลที่ช่วยในการวิเคราะห์แร่หรือนำแร่ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
จัดแบ่งออกเป็น 10 ระดับ เรียกว่า Moh's scale of hardness แร่ Talc ที่เอามาบดทำแป้ง Talcum 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มี.ค. 12, 18:53
Talc จะมีความแข็งที่ระดับ 1 แร่ fluorite หรือหินสีที่เอามาแกะเป็นพระนั้นจะมีความแข็งที่ระดับ 4 แร่ Feldspar (Moonstone มุกดา ???) มีความแข็งที่ระดับ 6 แร่ quartz (พลอยเช่น Amethyst) มีความแข็งที่ระดับ 7 Topaz (บุษราคำ ???) มีความแข็งที่ระดับ 8 แร่ในตระกูล Corundum (Sapphire ต่างๆ) มีความแข็งที่ระดับที่ระดับ 9 และเพชรที่ระดับ 10

ความแข็งเหล่านี้เป็นประมาณนะครับ เพราะแร่ต่างๆนั้นมี impurities ซึ่งจะมำให้ความแข็งผิดไปบ้างแต่จะไม่เกินขั้นระดับของมัน ในภาพง่ายๆก็คือ แร่ที่มีความแข็งกว่าจะขีดแร่ที่มีความแข็งต่ำกว่าเป็นรอยได้
เล็บมือเรามีความแข็งที่ประมาณ 3 ทองแดงและเหล็กธรรมดาที่ประมาณ 4-5 กระจกทั้งหลายที่ประมาณ 7

เราจะเห็นว่า บรรดารัตนชาติต่างๆนั้น ส่วนมากจะมีความแข็งตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป พูดง่ายๆก็คือ ขีดกระจกเข้า ดังนั้นหากจะใช้หินสี หรือรัตนชาติที่มีความแข็งน้อยกว่า 7 เช่น Moonstone (และไข่มุก) ก็ต้องระวังในการใส่ เนื่องจากอาจจะถูกขูดขีดได้ด้วยโลหะผสมบางอย่าง ในทำนองเดียวกันในการทำความสะอาด หากผ้าไม่สะอาดเปื้อนด้วยมีฝุ่นละิออง ซึ่งฝุ่นละอองต่างๆจะมีส่วนผสมของเม็ดทรายละเอียด (Silt และ silt size particle) ซึ่งเป็นแร่ quartz ก็จะไปขัดถูผิวหน้าทำให้หมอง
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มี.ค. 12, 19:16
เอาละครับ คราวนี้ก็พอจะรู้ว่า จะตรวจสอบพลอยบางอย่างในเบื่้องแรกได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อซื้อเป็นเม็ดนอกเรือน

ง่ายๆเลย ถ้าเขาบอกว่าเป็นของแท้ (แล้วจะค่อยๆเล่าต่อไปในเรื่องของธรรมชาติ ของเทียม ของเลียนแบบ และของสังเคราะห์ แบบไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญนะครับ) ขออนุญาตคนขายแล้วลองเอาด้านที่เป็นมุมหรือด้านก้นลองขีดกระจกเลย ขีดเบาๆนะครับ ไม่ต้องกดแรงๆ เดี่๋ยวจะกระเทาะแตกๆไป มันจะมีความรู้สึกฝืดๆ ไม่ลื่นๆเหมือนเอามีดขีดบนกระจก แล้วก็จะเห็นเป็นรอย หากฝืดนิดๆและรู้สึกลื่นๆก็อาจจะเป็นพวกแก้วสังเคราะห์แล้วใส่สี หากเขาไม่ยอมและแน่นอนว่าเขาจะไม่ยอมและไม่อนุญาตแน่ๆ ส่วนหนึ่งที่พึงนึกก็คือแสดงว่าเขารู้ว่าไม่ใช่ ไม่แน่ใจ หรือไม่มั่นใจ ที่จริงแล้วไม่ต้องบอกขออนุญาตก็ได้ เพียงแอบเลื่อนเม็ดพลอยให้มาวางบนอยู่กระจกหลังตู้โชว์ พอจะหยิบขึ้นมาก็กดเบาๆลากผ่านกระจกนิดเดียว ก็พอจะรู้สึกได้ เอ เล่าในสิ่งที่ไม่ดีไม่พึงกระทำหรือเปล่านี่ 
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 20:31
ไปขุดกรุเพชรของเรือนไทย มาโชว์ในกระทู้นี้ค่ะ
เพชรนิลจินดา  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1087.0)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 20:33
นำ "บุษราคัม" ของประเทศบราซิลมาให้ชมครับ ดูลักษณะการจับเสียก่อน  :o ก้อนบุษราคัมนี้วัดแล้ว 3,100 กะรัต  ;)

ถ้าฝานให้บางกว่านี้สักครึ่ง   ขนาดเหมาะกับกระเบื้องมุงหลังคาเลยนะคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 12, 21:31
ขอนำภาพเพชรสีชมพูที่แพงที่สุดในโลก มาให้ดูกัน  ชื่อว่า Graff pink diamond   เป็นเพชรสีชมพูสดไร้ตำหนิ ขนาด 24.78 กะรัต  นำมาถูกนำออกประมูลที่ซอธเธอบี  ณ งานประมูลที่เจนีวาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2010  ได้ราคาไป  $45.6 ล้านดอลล่าร์


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 11:13
อัญมณีประจำราศีเกิด


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มี.ค. 12, 12:29
เคยจำได้ว่ามีอยู่ประจำราศี หรือ เดือนเกิด ต้องประดับด้วย "โอปอล"

โอปอลนั้นงามไม่แพ้พลอย แสงวูบวาบดังสีรุ้ง มีหลายสี หลายเกรด ราคาแพงไม่หยอกเลย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 15:39
โอปอล์ เป็นพลอยประจำราศีตุลย์ เช่นเดียวกับทัวมาลีน     
เป็นพลอยสวยมาก แม้ไม่ได้ถูกจัดเข้ากลุ่มนพรัตน์  เนื้อพลอยเลื่อมพรรณรายหลากสี เข้าเรือนแล้วดูไม่จืดตา


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 15:43
ใครที่ไม่รู้จักโอปอล์  ถ้าพิมพ์คำนี้ลงในกูเกิ้ล  คุณกู๊กเธอก็จะส่งโอปอล์ที่ไม่ใช่อัญมณีมาให้ดูกัน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 12 มี.ค. 12, 16:10
เรียนถามคุณตั้ง ว่า โอปอล์ ขุดได้ในไทยไหมคะ  ???


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มี.ค. 12, 16:21
พระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแร่ เป็นเรื่องที่คงจะคุยกันได้อีกยาว     เมื่อดิฉันไปเที่ยวเชียงรายหลายปีมาแล้ว ข้ามไปในเขตพม่า  ตลาดชายแดนมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆมาให้เช่ามากมาย   เป็นพลอยสีเขียวสีแดง  คงจะเป็นหินแร่อย่างใดอย่างหนึ่งที่คุณตั้งเล่ามา


พระแกะสลักด้วยหินเรียกกันว่า จุยเจีย ซึ่งมีด้วยกันหลายสี มีน้ำหนักตึงมือ และแกะด้วยแร่ควอซ์สีขาวใสบริสุทธิ์ที่เรียกว่า หินเพชรน้ำค้าง เป็นงานศิลปะทางล้านนา ล้านช้าง และส่งผลมายังลาวและอุบลราชธานี ต่างก็ให้ความเคารพในพระแกะสลักหินเหล่านี้

พระที่โดดเด่นที่สุดเมื่อคราวขุดโบราณสถานวัดต่าง ๆ ที่ถูกผลกระทบน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ที่อำเภอฮอด จังหวัดตาก พบพระพุทธรูปและสิ่งของต่าง ๆ จากเจดีย์เก่ามากมาย เรียกว่า "พระหินสีกรุฮอด"


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 16:31
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย  ได้มา 2 รูปค่ะ 
รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น    รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มี.ค. 12, 16:49
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย  ได้มา 2 รูปค่ะ 
รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น    รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย องค์งามบริสุทธิ์นี้ รัชกาลที่ ๒ ทรงได้มาจากแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อได้มามีการทวนตรวจสอบว่าทำจากแก้วเป่า หรือ หิน ซึ่งจุดชี้ขาดคือ หมอกสลัวในส่วนล่างเป็นตัวชี้ว่าแกะจากหินควอซ์ อย่างแน่นอน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มี.ค. 12, 17:10
จะบอกว่าไม่มีโอปอล์ในประเทศไทยก็ดูจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง บางครั้งเราพบในหิน Pegmatite และในไม้กลายเป็นหิน (Petrified wood) แต่ไม่เป็นลักษณะดังที่เขาเอาทำเครื่องประดับกัน คือ มีเพียงสีขาวขุ่นๆมันแววและเหลือบแสง จะเรียกว่าไม่พบในเมืองไทยก็ได้ครับ

คนไทยและชาวเอเซียทั่วๆไปนิยมโอปอล์สีอ่อนๆ ต่างกับพวกฝรั่งที่ชอบโอปอล์สีเข้ม (ฺblack opal)
ผมชอบพวกสีที่ออกสีสดใสจัดจ้านและกระเดียดไปทาง black opal เมื่อครั้งไปอบรมที่ออสเตรเลีย แหล่งโอปอล์ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก จะซื้อที่เขาตัดแล้วก็ไม่มีเงิน จึงไปค้นในลิ้นชักที่เขาขายเป็นก้อนๆ เป็นของที่ระลึก ราคาก้อนละเหรียญเดียว ไปถูกใจมากอยู่ก้อนหนึ่ง จะชำระเงิน คนขายก็บอกว่าก้อนนี้สวยมาก ถามว่าจะเอาไปทำอะไร ผมบอกว่าจะเอาไปตัดให้สวยที่เมืองไทย เขาบอกว่าตัดไม่ได้หรอกไม่มีเครื่องมือ ผมก็บอกว่าจะใช้เครื่องตัดหินที่ใช้ตัดหินแผ่นบางสำหรับส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เขาถามว่าเป็นนักธรณีเหรอ ก็บอกว่าใช่ เขาเลยบอกว่ามิน่าเล่าถึงได้เลือกก้อนนี้เพราะมีเนื้อหนาและต้องการจะให้เขาตัดให้ใหม จะเอาอย่างไร ผมบอกว่าทำเป็นสองชิ้น หากได้สามชิ้นก็จะดี เอามาให้ภรรยาทำตุ้มหูและแหวน ราคาค่าตัดอย่างเห็นใจกันก็ 70 เหรียญ ผมก็เลยตกลง ซื้อเหรียญเดียวค่าตัดเจ็ดสิบเหรียญ อีกสัปดาห์หนึ่งก็ไปรับของ ตัดได้เพียงสองชิ้น สวยมากจริงๆครับ ภรรยาผมเอามาทำเป็นตุ้มหูง่ายๆ คือ เกาะทอง ใส่เมื่อไรก็จะต้องมีคนแอบดู ขอชม สีเขียวครับ หายาก ไม่ค่อยจะได้เห็นกัน

ความรู้ที่ได้จากการสนทนา คือ เนื่องจากโอปอล์ค่อนข้างจะหายากและปริมาณการผลิตค่อนข้างจะจำกัด การเอามาตัดขัดเป็นหลังเต่าก็อาจจะไม่ได้ขนาดที่สวย แล้วก็แพงมาก ขายยาก เขาเลยเอามาตัดให้บางมากๆแล้วเอาพลาสติค (ในความหมายรวมๆถึงวัสดุสีขาวใสนะครับ) ปิดทับทำให้นูนเป็นหลังเต่า มันก็จะเปล่งแสงดูดีเหมือนดูผ่านแว่นขยาย ลักษณะนี้เรียกว่า Doublet แต่ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถตัดให้ได้แผ่นบางมากๆจนแทบจะมองทะลุได้ เขาจึงเอาวัสดุทึบแสงสีดำมาปะติดไว้ที่ก้นด้วย เรียกลักษณะนี้ว่า Triplet เมื่อจะซื้อหากันก็ระวังด้วยนะครับ คุณภาพของแต่ละผู้ผลิตอาจจะไม่เท่ากัน เช่นกระเทาะร่อนได้ เป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย ของดีๆก็มีขายแต่ราคาจะสูงหน่อย หากจะหาซื้อมาเป็นของฝากแบบแจกก็ดูซื้อที่เป็นแผงได้เลย เข้าใจว่ายังมีการทำในลักษณะนี้ขายอยู่เหมือนกัน

Black opal ราคาค่อนข้างจะสุงมากกว่าพวก white opal
    


  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มี.ค. 12, 17:14
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย  ได้มา 2 รูปค่ะ 
รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น    รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย องค์งามบริสุทธิ์นี้ รัชกาลที่ ๒ ทรงได้มาจากแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อได้มามีการทวนตรวจสอบว่าทำจากแก้วเป่า หรือ หิน ซึ่งจุดชี้ขาดคือ หมอกสลัวในส่วนล่างเป็นตัวชี้ว่าแกะจากหินควอซ์ อย่างแน่นอน

ขนาดหน้าตักกว้างเท่าไรครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 17:17
พระพุทธบุษยรัตนฯ  ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕ นิ้ว สูงเฉพาะองค์ ๑๒.๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๐.๔ นิ้ว  ค่ะ

อยากเห็นตุ้มหูโอปอล์ของภรรยาคุณตั้ง  คราวหน้าถ้าพบกันอีก เห็นจะต้องขอให้เธอสวมมาให้ดูเป็นขวัญตา
เพิ่งรู้ว่า black opal มีหลายสีในเนื้อ ไม่ใช่ดำอย่างเดียว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 17:23
เคยอ่านพบว่า พระแก้วมรกตคู่บ้านคู่เมือง   แกะสลักจากหยก ไม่ใช่มรกต  เป็นหยกรัสเซีย     
อยากทราบว่าเป็นหินแร่ประเภทไหนคะ และพบได้ในประเทศไทยหรือไม่


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มี.ค. 12, 20:03
ไปเรื่องของพระพุทธรัตนะฯ ขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 นิ้ว สูงเฉพาะอวค์ 12.5 นิ้ว ก็คือขนาดประมาณเกือบๆ 20 ซม. คูณ 30 ซม. จากที่คุณหนุ่มสยามบอกว่าได้วินิจฉัยกันแล้วว่าเป็นหิน quartz

หากเป็น quartz ก็ต้องเป็น quartz ที่เป็นแท่งผลึก จึงจะใสได้ขนาดนั้น ซึ่งหมายความว่าก้อนผลึก quartz นี้จะต้องเป็นแท่งหกเหลี่ยมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 ซม. และเป็นแท่งยาวไม่น้อยกว่า 30 ซม. หรือมีปริมาตรเท่ากับประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 27 กก. (ความถ่วงจำเพาะของแร่ quartz ประมาณ 2.7) ผมไม่ทราบว่าท่านมีฐานแหลมเป็นทรงลิ่มหรือไม่ พิจารณาดูจากทรงฐานที่รองรับท่านอยู่ ก็คิดว่าน่าจะต้องมี ซึ่งดูจะเป็นลักษณะของเหมือนพระแก้วมรกต หากมีก็คงจะลงไปอีกประมาณไม่น้อยกว่า 10 ซม. ทำให้น้ำหนักของแท่งผลึก quartz ที่นำมาแกะพระนี้รวมๆกันคงจะประมาณ 30 กก. ตัวท่านที่เป็นรูปองค์พระแล้วก็คงน่าจะมีน้ำหนักระหว่าง 10 -15 กก. แต่หากองค์พระทำมาจากแร่ fluorite น้ำหนักของท่านก็น่าจะประมาณ 20  กก. (ความถ่วงจำเพาะของแร่ fluorite ประมาณ 3.1)

มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่สองประการ คือ

ประการแรก แท่งผลึก quartz ขนาดนี้ ไม่น่าเกิดขึ้นในสภาพทางธรณีวิทยาแถบรอบๆบ้านเรา (เป็นไปได้ที่จะพบในจีน) เนื่องจากว่าผลึกขนาดใหญ่ของแร่นี้จะเกิดได้ในโพรงที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายเท่ามากๆ และไม่น่าจะเกิดอยู่เพียงผลึกเดียว ซึ่งหากมีหลายผลึกขนาดใกล้เคียงกับผลึกนี้ เราก็น่าจะได้พบพระพุทธรูปที่แกะมาจากแร่ quartz องค์ขนาดใกล้ๆกันอีกมากมาย ซึ่งผมไม่ทราบว่าได้พบว่ามีอยู่หรือไม่
แท้จริงแล้ว เพิ่งจะมีการค้นพบโพรงขนาดใหญ่ที่มีผลึกของแร่ quartz ขนาดใหญ่ๆประมาณขนาดนี้ โพรงนี้ใหญ่มากพอที่คนจะเดินเข้าไปสำรวจได้ แต่จะเดินยากเหมือนกับต้องเดินในป่าที่มีแต่ต้นไม้ล้ม ผมจำไม่ได้ว่าพบที่ประเทศใด คิดว่าน่าจะเป็นในแถบทวีปอเมริกาใต้ (ผมไม่ใช้คำว่าถ้ำเพื่อเลี่ยงไม่ให้ไปซ้ำกับคำว่าถ้ำ (cave) ซึ่งเกิดในหินปูน แต่ใช้คำว่าโพรงเนื่องจากมันเป็น Geode ขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งพบอยู่ในภูเขาหินพวก Granitic rock)
 
ประการที่สอง แร่ quartz นี้มีความแข็งประมาณ 7 ซึ่งหมายความว่า เครื่องมือโลหะหรือโลหะผสมซึ่งมีความแข็งประมาณ 5-6 ไม่สามารถที่จะใช้ในการสกัดแต่งให้เรียบสวยงามได้ สามารถจะทำได้เพียงค่อยๆกระเทาะออกไปเป็นชิ้นเล็กทีละน้อย ช่างจะต้องมีฝีมือมากทีเดียว จะเทียบได้กับการแกะสลักหินก็ไม่ได้นัก เพราะผลึก quartz จะเปราะและแตกร้าวได้ง่ายกว่าเนื้อหินซึ่งเหนียวกว่า เอาเป็นว่าขึ้นรูปร่างได้แล้ว จากนั้นก็ต้องขัดให้ราบเรียบ ตัวผงขัดก็จะต้องมีความแข็งกว่า quartz จึงจะขัดได้ง่าย ผงขัดในสมัยนั้นก็คงไม่หนีทราย ช่างจะต้องมีความรู้มากพอที่จะต้องเลือกแหล่งทรายที่มีแร่ที่มีความแข็งกว่าปนอยู่ด้วยในปริมาณมากพอสมควร (เช่น มี topaz และ zircon ผสมอยู่มาก) แหล่งทรายประเภทนี้พบได้ในบริเวณที่มีแร่ดีบุก ซึ่งสถานที่ที่พบพระพุทธรูปองค์นี้ก็อยู่ในแถบนั้น ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้จะต้องคงเหลือถ่ายทอดให้ได้พบเห็นในรูปลักษระอื่นๆกันบ้าง

เล่ามาก็เพื่อจะบอกว่ายังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมาย             


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 20:19
มีรูปใหญ่มาให้ดู พร้อมกับคำอธิบายเพิ่มว่า

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย เป็นพระพุทธรูปทำด้วยแก้วผลึกอย่างที่ช่างเรียกว่า “เพชรน้ำค้าง” หรือ “บุษย์น้ำขาวเนื้อแก้วสนิท” และเป็นแท่งขนาดใหญ่
พระพุทธรูปประทับนั่งแบบวีราสนะ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวาซ้อนเหนือกรพหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา มีพระพักตร์เป็นรูปวงรี พระนลาฎค่อนข้างแคบ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว มีพระหนุเป็นปมกับทั้งมีอุณาโลมที่กึ่งกลางพระนลาฏ พระกรรณยาว หากพระกรรณข้างขวาแตกชำรุดเล็กน้อย พระเศียรประดับด้วยพระเกตุทองคำประกอบด้วยเม็ดพระศกขนาดเล็ก โดยมีเกตุมาลาและรัศมีรูปเปลวไฟแหลมประดับด้วยอัญมณีอยู่เบื้องบน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มี.ค. 12, 21:25
^
จากตำนานการได้มาแห่งพระองค์นี้ เบื้องต้นกล่าวว่า "ชาวบ้านแขวงนครจำปาศักดิ์ ได้รูปสลักรูปมนุษย์แล้วนำมาให้ลูกเล่น ลูกนั้นก็สำคัญว่าเป็นรูปมนุษย์น้อย จึงใช้เชือกผูกลากวิ่งเล่นจนหูลิหักไป จนเมื่อเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ทราบจึงได้นำเข้าเมืองจำปาศักดิ์และเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปงดงาม เกินกว่าเมืองจำปาศักดิ์ครอบครองได้ จึงได้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ"

ซูมภาพลักษณะเนื้อหินบริเวณองค์พระครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 มี.ค. 12, 17:14
มรกตก้อนนี้ชื่อ Teodora (ของขวัญจากพระเจ้า) หนัก57500กะรัต หรือ11.5 กิโลกรัม ขุดได้จากบราซิลและนำไปเจียระไนที่อินเดีย เจ้าของร่วมคนหนึ่งชื่อReagan Reaney ได้นำมาประมูลในบริติชโคลัมเบีย คานาดา โดยมีกำหนดในวันที่26มกราคม2012 ที่ผ่านมานี้เอง แต่ปรากฏว่าการประมูลถูกยกเลิกไปก่อนเพียงหนึ่งวัน เพราะเจ้าของมีธุระต้องไปติดตะรางเสียก่อนด้วยข้อหาเยอะแยะที่ไม่เกี่ยวกับมรกตยักษ์ก้อนนี้


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มี.ค. 12, 18:23
ภาพที่คุณนวรัตน์นำมาให้ดูนี้ คงจะต้องจัดเป็นโคตรมรกตเลยทีเดียวนะครับ

ขอให้สังเกตดูนะครับว่า ผิวของมันดูจะด้านๆ ไม่มันแวววาว และก็ไม่เล่นกับแสงให้ระยิบระยับเหมือนกับก้อนเล็กๆที่เอามาทำแหวน

ข้อเท็จจริงประการแรก คือ มรกตที่มีเนื้อใสดังแก้วนั้นหายาก ส่วนมากจะมีรอยแตกเป็นเส้นเข็มเล็กๆเต็มไปหมด ดังนั้น มรกตที่ขายอยู่ตามร้านเพชรพลอยต่างๆจึงมีการเคลือบผิวด้วยน้ำมัน ซึ่งจะกลบเกลื่อนรอยแตกแล้วทำให้มันดูเป็นเนื้อแก้วสะอาดสดใส สำหรับโคตรมรกตก้อนนี้นั้นยังไม่มีการเคลือบน้ำมัน ซึ่งจะทำท่านทั้งหลายได้เห็นเนื้อแท้ๆของมันว่าเป็นอย่างไร
 
ประการที่สอง จำนวนผิวหน้าและมุมเหลี่ยม (facet) และรูปทรง (การเจียรนัยในองค์รวม) สำหรับก้อนแร่รัตนชาติที่มีขนาดต่างกัน (มีความเล็กใหญ่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หรือใหญ่ผิดปกติ) จะต้องมีการวิเคราะห์ก่อนการดำเนินการ จะต้องตัดสินใจว่าลักษณะใดจึงจะเหมาะสมที่สุดที่จะสามารถทำให้มีการดึงเอาความงามและความมีค่าออกมาได้มากที่สุด การขยายรูปแบบการเจียรนัย (รูปทรง มุมเหลี่ยม ผิวหน้า) จากตามปกติที่ทำกันอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปที่ดี สำหรับโคตรมรกตก้อนนี้ ผมเห็นว่าเป็นเพียงการเจียรนัยในเบื้องต้น เพียงเพื่อจะแสดงว่ามันเป็นรัตนชาติ ผู้ที่จะประมูลไปก็อาจเป็นเพียงเพื่อการเก็บไว้เป็นของสะสมที่มีอยู่หนึ่งเดียวในโลก หรืออาจจะถูกนำไปปรับแต่งเจียรนัยใหม่ให้เป็นที่สวยมากที่สุด เพื่อเป็นการแสดงฝีมือชั้นบรมครูของผู้อยู่ในธุรกิจนี้


     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 13 มี.ค. 12, 18:53
เห็นมรกตก้อนนี้แล้ว น่าเอามาหนุนแทนหมอน ถ้าคอไม่หักก็คงจะหลับแล้วฝันดีว่าเป็นเจ้าของมัน...อิอิ

มรกตที่ดีที่สุดอยู่ที่ประเทศไหนค่ะ  เคยเห็นมรกตรัสเซียสีสวย น้ำใส แต่มีรอยแตก(เหมือนมีหลามสั้นๆฝังอยู่)

ข้างใน สีเขียวกำลังดี  แต่ก็เคยเห็นที่สีเขียวเข้มเหมือนเขียวใบไม้ อันไหนเป็นที่นิยมกว่ากันค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 13 มี.ค. 12, 18:55
ขอแก้คำผิด...(เหมือนมีหนามสั้นๆฝังอยู่ข้างใน)

และที่เขาบอกว่ามรกตต้องมีผักชี ในเนื้อหินเป็นแบบไหนค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มี.ค. 12, 19:31
เราคงไม่มีโอกาสจะครอบครองโคตรมรกตนี้ แต่อยากจะขยายความเพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับท่านทั้งหลายที่ยังไม่ทราบ

ผมได้กล่าวถึงเรื่องการเคลือบด้วยน้ำมัน การกระทำเช่นนี้ได้ทำกับมรกตที่ซื้อขายกันเป็นปกติที่วางขายกันในร้านเพชรพลอย สังเกตใหมครับว่า พลอยบางชนิดที่เราเห็นๆกันมักจะมีผิวเหมือนถูกเปื้อนด้วยน้ำมัน
น้ำมันที่ว่านี้ คือ Refractive index oil เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้กันในการวิเคราะห์เพื่อตรวจดูแร่ที่เป็นเม็ดเล็กๆขนาดเม็ดทรายว่าเป็นแร่อะไร ผมจะไม่อธิบายขยายความให้เป็นเรื่องเบื่อหน่ายนะครับ สรุปง่ายๆ คือ แสง White light ที่เดินทางทะลุผ่านของตัวกลางที่โปร่งแสง (translucent) หรือโปร่งใส (transparent) แนวลำแสงจะถูกเบี่ยงเบนออกไม่เป็นเส้นตรง เหมือนเรายืนดูปลาในน้ำ ตำแหน่งของปลาที่แท้จริงในน้ำจะไม่อยู่ ณ.จุดที่เป็นเส้นตรงที่ลากจากแนวของสายตา หากเราสามารถแยกแสงที่หักเหออกไปได้ด้วยตาเปล่าเมื่อผ่าตัวกลางนั้นๆ เราจะพบว่าคลื่นแสงจะแยกตัวออกเป็นหลายๆสี เหมือน prism   รวบยอดไปอีกทีหนึ่ง คือ ในมุมย้อนกลับ เราก็สามารถผสมสารประกอบของเหลวที่มีคุณสมบัติในการหักเหของแสงให้เท่ากับเนื้อของสารในธรรมชาตินั้นๆได้

ในทางการค้า เขาจะใช้สารประกอบนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำมันที่มีค่าความหักเหของแสงเท่ากับพลอยนั้นๆ เคลือบที่ผิว ซึ่งน้ำมันนั้นจะมีคุณสมบัติในการให้แสงผ่านเหมือนกับเนื้อรัตนชาตินั้นๆ โดยไม่แปรเปลี่ยนสีทีเราเห็นในธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นของเหลว มันจึงสามารถแทรกไปอยู่ในร่องรอยแตกในเนื้อของรัตนชาติ ทำให้รัตนชาตินั้นๆดูเหมือนไม่มีร่องรอยแตกใดๆ

ดังนั้น เทคนิคอย่างหนึ่งในการทำให้รัตนชาติดูเหมือนไม่มีรอยแตกร้าวใดๆ ก็คือ การชะโลมด้วยน้ำมันที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมานี้ เมื่อดูในร้านก็ดูสวยดี งามไม่มีที่ติ เก็บไว้กว่าจะใช้ก็ดูเริ่มหมองด้วยมีฝุ่นละเอียดเกาะผิวหน้า เช็ดไปเช็ดมาก็เห็นเป็นคราบน้ำมัน ดูไม่ดีเลย ก็เลยเอาไปล้างน้ำ ล้างด้วยสบู่ ก็ยังไม่หมดจด คราวนี้ก็เลยเอาไปล้างในอ่างล้างแว่นตา Ultrasonic ผลที่ออกมา รัตนชาติเม็ดนั้นๆหายความงามไปเลย ก็เพราะด้วยนำ้มันที่ชะโลมอยู่นั้นถูกล้างออกไปหมด เห็นแต่รอยแตกเต็มไปหมด

สรุปครับ ว่า อย่าได้เอาแหวนหรือจี้มรกตไปล้างด้วย ultrasonic นะครับ ผลที่ได้ออกมา ขออนุญาตใช้คำว่า จะรู้สึกเซ็งเป็ดเลยทีเดียว    
  
      


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มี.ค. 12, 20:04
เห็นมรกตก้อนนี้แล้ว น่าเอามาหนุนแทนหมอน ถ้าคอไม่หักก็คงจะหลับแล้วฝันดีว่าเป็นเจ้าของมัน...อิอิ
มรกตที่ดีที่สุดอยู่ที่ประเทศไหนค่ะ  เคยเห็นมรกตรัสเซียสีสวย น้ำใส แต่มีรอยแตก(เหมือนมีหลามสั้นๆฝังอยู่)
ข้างใน สีเขียวกำลังดี  แต่ก็เคยเห็นที่สีเขียวเข้มเหมือนเขียวใบไม้ อันไหนเป็นที่นิยมกว่ากันค่ะ

เรื่องของความสวยงามเป็นเรื่องนานาจิตตัง

สำหรับผม มรกตที่ผมคิดว่าสวยจนตามตื้อขอซื้อในครั้งหนึ่งนั้น ก็ที่ออสเตรเลีย
ตอนไปอบรม (ก่อนที่จะได้โอปอล์) เขาก็จัดให้มีเจ้าของเหมืองพลอยหลายเจ้า เอาของมาให้ดูเผื่อขายได้และอธิบายความรู้ต่างๆในทางวิชาการ (เนื่องจากเป็นการอบรมแบบครบเครื่องในเรื่อง Mineral exploration ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของการบริหารจัดการของภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการปฏิบัติ เิริ่มตั้งแต่เรื่องของแสวงหา การลงทุน ไปจนกระทั่งการจำหน่ายค้่าขาย)
ผมได้เห็นมรกตบนแหวนของภรรยาเจ้าของเหมืองรายหนึ่ง เป็นรูปทรงผลึกยาวประมาณ 1 ซม.นิดๆ กว้างประมาณเกือบๆครึ่ง ซม. เจียรนัยแบบลบเหลี่ยมธรรมดา ไม่ได้เล่นแสงอะไรมากมาย แต่สีและความสมบูรณ์งามมาก ถามเขาว่าขายด้วยหรือไม่ เขาบอกว่าราคาสูง คงจะประมาณ 300 เหรียญ ผมคิดไปคิดมาว่าสู้ราคา จะเอาจริงๆ แต่ภรรยาเขาไม่ขาย บอกว่า เพราะเป็นมรกตของเหมืองของสามีและสามีเป็นคนเลือกแบบเจียรนัยและมอบให้ ยังจำได้ติดตาจนปัจจุบันนี้ครับ

เรื่องรายละเอียดและคำถามเกี่ยวกับมรกตนี้ ขอเว้นวรรคไปครั้งหน้านะครับ และก็คงจะเป็นการเล่าและตอบแบบไม่ใช่ผู้รู้จริงๆนะครับ     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 12, 20:47
มามรกต ก็ต้องจัดปั้นเหน่งมรกต ของหลวงมาให้ชมกัน  ;)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มี.ค. 12, 22:08
มามรกต ก็ต้องจัดปั้นเหน่งมรกต ของหลวงมาให้ชมกัน  ;)

คงจะล้างสะอาดเกินไปนะครับ เลยเห็น crack ชัดเจนเต็มไปหมดเลย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 มี.ค. 12, 10:47
น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ

ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 มี.ค. 12, 13:51
ได้ภาพมรกตที่งามมากมาให้ชมกันค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 มี.ค. 12, 18:57
น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ

น้ำมันที่ใช้เคลือบเป็นน้ำมันเฉพาะครับ สำหรับมรกตนั้นจะใช้ Cedar oil หรือน้ำมันสังเคราะห์ ที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสง (refractive indices) ใกล้เคียงมากที่สุดกับแร่ชนิดนี้
สำหรับรัตนชาติอื่นๆก็จะมีน้ำมันเฉพาะสำหรับตัวมัน ในทางการค้ามักจะไม่บอกกัน แต่ในทางวิชาการแล้วจะสั่งซื้อได้ หากเราทราบค่าดัชนีการหักเหของแสงของแร่รัตนชาตินั้นๆ เนื่องจากเป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แต่ราคาค่อนข้างแพงและปริมาณบรรจุในแต่ละขวดก็มากเกินพอที่จะใช้ ครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 12, 19:05
น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ

น้ำมันที่ใช้เคลือบเป็นน้ำมันเฉพาะครับ สำหรับมรกตนั้นจะใช้ Cedar oil หรือน้ำมันสังเคราะห์ ที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสง (refractive indices) ใกล้เคียงมากที่สุดกับแร่ชนิดนี้
สำหรับรัตนชาติอื่นๆก็จะมีน้ำมันเฉพาะสำหรับตัวมัน ในทางการค้ามักจะไม่บอกกัน แต่ในทางวิชาการแล้วจะสั่งซื้อได้ หากเราทราบค่าดัชนีการหักเหของแสงของแร่รัตนชาตินั้นๆ เนื่องจากเป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แต่ราคาค่อนข้างแพงและปริมาณบรรจุในแต่ละขวดก็มากเกินพอที่จะใช้ ครับ

ใช้น้ำมันมะกอกได้ไหมครับ ใช้ชโลมอยู่ ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 มี.ค. 12, 19:21
มรกต

มรกตเป็นแร่ในตระกูล Beryl มีทรงรูปผลึกหกเหลี่ยม แร่ Beryl นี้ มีได้หลายสี และมีได้ตั้งแต่ค่อนข้างจะทึบแสงไปจนโปร่งใส เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกทางรัตนชาติหลายชื่อ หากมีสีเขียวและค่อนข้างทึบแสงจะเรียกกันว่า emerald หากมีสีเขียวน้ำทะเลหรือฟ้าอ่อนค่อนข้างโปร่งใสจะเรียกกันว่า Aquamarine หากมีสีออกไปทางเหลืองทองจะเรียกกันว่า Heliodor หากมีสีชมพูจะเรียกว่า Morganite และหากมีสีเขียวอ่อนๆและโปร่งใสมากๆก็จะเรียกกันว่า Green beryl

เรื่องสีเขียวของมรกตนั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติว่าเขียวอย่างไร สีเขียวมรกตนั้นมีได้ตั้งแต่เขียวสดใส เขียวอมเหลือง และเขียวอมน้ำเงิน ไม่มีข้อจำกัดว่าสีใดเป็นสีมาตรฐานและสีใดมีคุณค่าและมีราคามากกว่ากัน ทั้งหมดขึ้นอยู่รสนิยมของผู้ซื้อและผู้ขาย ผมอาจจะเรียกว่า green beryl ซึ่งทำใ้ห้เห็นว่าราคาน่าจะต่ำ ในขณะที่อีกคนอาจจะเรียกว่ามรกตซึ่งทำให้เห็นว่ามีราคาสูง ที่สำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ เมื่อเอาใส่เรือนโลหะ หรือเรือนที่มีรัตนชาติอื่นๆประกอบด้วยแล้ว ความงามและสีของมันจะต้องไม่ถูกเบียดบัง แต่จะต้องถูกขับออกมาใ้ห้เปล่งปลั่งเห็นชัดเด่นเป็นสง่า    

ที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า มรกตเป็นแร่ที่มีรอยแตก (crack) มากจึงต้องใช้น้ำมันช่วยในการปกปิด คำว่ารอยแตกนี้เป็นคำรวมๆที่ผมใช้เพียงเพื่ออยากจะให้เห็นภาพเท่านั้น ที่จริงแล้วร่องรอยเหล่านั้นเป็น inclusion และ fracture ทีมีอยู่เป็นปกติอยู่ในเนื้อของแร่ชนิดนี้ (ไม่อธิบายต่อนะครับ) อย่างไรก็ตาม ก็มีแบบทีีมีมากและมีน้อย พวกที่มีน้อยจึงมีราคาที่สูงมาก
นึกดูนะครับเมื่อเนื้อในไม่แน่น การเจียรนัยก็จึงยากเพราะจะแตกง่าย จึงทำให้เรามักจะเห็นมรกตที่เม็ดที่ไม่ใหญ่โตนักในร้านค้า และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากมันมี inclusion มาก เนื้อมันจึงไม่แน่น เมื่อวัดกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต มรกตจึงมีเม็ดค่อนข้างจะใหญ่กว่าพลอยอื่นๆ
มรกตเม็ดที่เมื่อมองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นว่าเนื้อใสดี แสดงว่ามี inclusion น้อย จึงจัดได้ว่าเป็นมรกตคุณภาพดี จึงมีราคาสูงมาก  

ว่ากันง่ายๆอย่างนี้ดีกว่า หากพอใจที่จะเรียกพลอยสีเขียวๆนั้นว่ามรกตก็เรียกว่ามรกต ตราบใดที่มันเป็นแร่ Beryl และตราบใดที่มันไม่ใช่แร่สีเขียวอื่นๆ
ที่จะต้องให้ความระวังค่อนข้างจะมากสำหรับมรกต คือ มันค่อนข้างจะเปราะ ต้องระวังอย่าให้ตกหรือกระทบกับของแข็งต่างๆ นะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 มี.ค. 12, 19:37
อ้างจาก: siamese link=topic=5014.msg102162#msg102162 date=1331726700
ใช้น้ำมันมะกอกได้ไหมครับ ใช้ชโลมอยู่ ยิงฟันยิ้ม
[/quote

ตรวจสอบข้อมูลแล้ว น้ำมันมะกอกมีค่าดัชนีต่ำกว่าแร่เบอริลมาก คือ น้ำมันมะกอก 1.4+ ในขณะที่แร่เบอริล 1.5+ หากจะใ้ห้งามเปล่งปลั่งคงจะใช้แทนกันไม่ได้ แต่หากเพียงเพื่อกลบร่องรอยก็คงพอใหว
 
กำลังทำอยู่เห็นผลเป็นอย่างไรบ้างครับ

ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้เป็นเพียงหลักทางวิชาการ ในทางการค้าแล้ว ผมคิดว่าเขาอาจจะใช้น้ำมันที่มีค่าดัชนีมากกว่าหรือน้อยกว่าเพื่อ enhance (ภาษาไทยจะแปลว่าอย่างไรดีครับ?) การเปล่งสีสรรให้ได้ตามต้องการและเหมาะสมกับเม็ดพลอยนั้นๆ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 มี.ค. 12, 21:17
เคยมีเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านจิเวลรี่ เล่าให้ฟังว่า แม้เขาจะขายของพวกนี้
แต่เขาก็ไม่ใช่ผู้ชำนาญ ทางการดูพลอยมากนัก เขาเล่าว่าการตัดต่อหน้าพลอยทำได้แนบเนียนมาก
จนเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกหลอกหรือไม่

เห็นหน้าทับทิมหลังเบี้ยในรูปนี้บางเม็ด เหมือนมีกรอบสี่เหลี่ยม หรือ ห้าเหลี่ยมบนผิว
เป็นการตัดต่อผิวใช่หรือไม่คะ หรือเป็นผลึกพลอยตามธรรมชาติ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 มี.ค. 12, 21:31
ก่อนจะผ่านเรื่องมรกตไป หัวแหวนสีเขียวเข้มแบบนี้ใช่มรกตไหมคะ
หรือเป็นเขียวส่อง และเป็นสีตามธรรมชาติหรือ เผาให้มีสีเข้มขึ้น

แล้วพลอยอีก 4-5 เม็ดนี้เป็นเขียวส่องที่ อยู่ในเกรดไหนค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 14 มี.ค. 12, 21:35
พยายามจะส่งอีกภาพแต่เท่าไหร่ๆก็ส่งไม่ได้ ถ้างั้นถามแค่ภาพเดียวค่ะ (คือเขียวส่อง)ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 15 มี.ค. 12, 15:25
อันนี้คงไม่เกี่ยวกับรัตนชาติ แต่เกี่ยวกับธรณีวิทยามั้งคะ  ;D
หนูดีดีขอเรียนถามคุณตั้ง ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและเกิดจากอะไรคะ
และนอกจากที่นี่แล้วยังมีปรากฏที่อื่นอีกหรือไม่คะ ....

"Sailing Stones เป็น 1 ใน ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ยังคงเป็น ปริศนา ที่เกิดขึ้นที่ อุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ประเทศ สหรัฐอเมริกา สิ่งที่พบก็คือ จะพบร่องรอยการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ที่ทิ้งไว้บนดินเหนียวที่แห้งเป็นทางยาว โดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้จะเกิดขึ้นทุก 2 - 3 ปี ครั้ง และหินบางก้อนก็ใช้เวลากว่า 3 - 4 ปีในการเคลื่อนที่"


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มี.ค. 12, 16:19
อันนี้คงไม่เกี่ยวกับรัตนชาติ แต่เกี่ยวกับธรณีวิทยามั้งคะ  ;D
หนูดีดีขอเรียนถามคุณตั้ง ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและเกิดจากอะไรคะ
และนอกจากที่นี่แล้วยังมีปรากฏที่อื่นอีกหรือไม่คะ ....

"Sailing Stones เป็น 1 ใน ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ยังคงเป็น ปริศนา ที่เกิดขึ้นที่ อุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ประเทศ สหรัฐอเมริกา สิ่งที่พบก็คือ จะพบร่องรอยการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ที่ทิ้งไว้บนดินเหนียวที่แห้งเป็นทางยาว โดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้จะเกิดขึ้นทุก 2 - 3 ปี ครั้ง และหินบางก้อนก็ใช้เวลากว่า 3 - 4 ปีในการเคลื่อนที่"

ก็มีนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเบื้องต้นว่า อะไรที่ทำให้หินเลื่อนได้ ซึ่งก็คือ แรงกระทำ 2 อย่างคือ จากแรงลม และภาวะไร้แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับก้อนหิน

แรงลม - ลมแรงมีแน่ แต่แรงเสียดทานก็วิเคราะห์ว่า เป็นพื้นที่น้ำแข็งและดินโคลนปนกัน ทำให้แรงเสียดทานน้อย ผลักหินให้ลื่นแบบไร้ทิศทาง

http://www.youtube.com/watch?v=yJSqPnxbcIg&feature=related


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 มี.ค. 12, 22:24
อันนี้คงไม่เกี่ยวกับรัตนชาติ แต่เกี่ยวกับธรณีวิทยามั้งคะ  ;D
หนูดีดีขอเรียนถามคุณตั้ง ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและเกิดจากอะไรคะ
และนอกจากที่นี่แล้วยังมีปรากฏที่อื่นอีกหรือไม่คะ ....
"Sailing Stones เป็น 1 ใน ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ยังคงเป็น ปริศนา ที่เกิดขึ้นที่ อุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ประเทศ สหรัฐอเมริกา สิ่งที่พบก็คือ จะพบร่องรอยการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ที่ทิ้งไว้บนดินเหนียวที่แห้งเป็นทางยาว โดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้จะเกิดขึ้นทุก 2 - 3 ปี ครั้ง และหินบางก้อนก็ใช้เวลากว่า 3 - 4 ปีในการเคลื่อนที่"

ปรากฎการณ์ในธรรมชาติหลายๆอย่าง บางครั้งก็ยังไม่มีคำตอบที่มีเหตุผลหรือรู้สาเหตุที่เป็นข้อยุติ คำตอบใน Youtube นั้นรับฟังได้และมีเหตุผลที่ดีพอ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าหากหากก้อนหินนั้นๆเคลื่อนที่ด้วยแรงลมบนพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง (Ice sheet) เหมือนกับการลื่นไถลของลูก Curling ที่เล่นเป็นกีฬากันนั้น ทำไมจึงทิ้งร่องรอยแบบกัดลึกให้เห็นเป็นร่องเป็นขอบ
ผมไม่ทราบคำตอบที่แท้จริง แต่อยากจะเรียนว่าในธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันเป็น Open system คือมีตัวแปรอยู่มากมายที่สัมพันธ์กันและส่งผลถึงกันและกัน เมื่อเราต้องการจะศึกษาเรื่องต่างๆโดยการจำลองในห้องปฏิบัติการ เราไม่สามารถกำหนดตัวแปรทั้งหมดพร้อมๆกันได้ ตัวแปรที่กำหนดได้จึงมีอยู่ในไม่กี่เงื่อนไข การศึกษาต่างๆจึงไปอยู่ในกรอบของ Close system ซึ่งโดยง่ายที่สุดก็คือใช้สองตัวแปร ยากขึ้นไปอีกหน่อยก็สามตัวแปร พอเริ่มใช้สี่ตัวแปรเราก็เริ่มจะงงและิ่อ่านผลยาก เริ่มกลายเป็นลักษณะของ Abstract ไป
พลังในธรรมชาติที่จะขยับเขยื้อนสิ่งใดๆนั้น ที่เรามองไม่เห็นแต่ทราบกันดีก็มีอาทิ แรงดึงดูด การขยายตัวและหดตัวของสะสารเนื่องจากอุณภูมิและความดัน สำหรับที่เราสัมผัสได้ก็มีอาทิ ลม น้ำไหล น้ำแข็ง และคลื่น และอื่นๆที่เราเห็นได้ก็มีอาทิ รากไม้ การพองตัวและหดตัวเนื่องจากปริมาณน้ำแร่ดิน (เช่น Montmorillonite สามารถอุ้มน้ำในตัวเนื้อของมันทำให้มันพองได้ประมาณ 14 เท่า เป็นต้น) 

เรื่องวิธีการเคลื่อนตัวของหินเหล่านี้ เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีการศึกษากันอยู่ ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมให้ความสนใจกับ อุณหภูมิ ความชื้นของดิน และแร่ดินบางตัว (ดังเช่นตัวที่กล่าวมา) และยอมรับในเรื่องของลมว่าเป็นปัจจัยเสริม       
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 มี.ค. 12, 19:05
ก่อนจะข้ามเรื่องของมรกตไป
ขอถามเป็นความรู้ หรือความเห็นจากท่านทั้งหลายว่า

นาคสวาท และ ครุทธิการ ซึ่งดูเหมือนจะจัดอยู่ในกลุ่มมรกตนั้น คือ รัตนชาติอะไร

ผมทราบแต่เพียงว่า มีปรากฎอยู่ในตำรานพรัตน์ของไทย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 มี.ค. 12, 19:07
ผมจะขอเว้นวรรคไปหนึ่งสัปดาห์นะครับ
ไปต่างจังหวัดครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 12, 20:24
ข้อมูลจากหนังสือวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ แผ่นที่ ๓๐ วันพฤหัศบดี ที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๓ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ

จะเก็บมากล่าวไว้แต่ศัพท์ที่มาแต่ภาษามคธแลสังสกฤตตามซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์นั้นๆ   คือ ผุสสราคำ   ฤๅ  บุษยราคำ  ๑     มุกดา  ๑     ไพฑูรย์  ๑     เพ็ชร์  ๑     ประพาฬ  ๑     ปัทมราด  คือทับทิม    กพรมณ
คือโมรา  ๑     ผลึก  ๑     โกเมล  ๑     มรกต  ๑   เมื่อจะกล่าวตามศัพท์ที่ช่างพลอยเรียกอยู่ในทุกวันนี้   ตามชาติพลอย   คือเพชร์   ทับทิม   มรกต   บุษยราคำ  โกเมล   นิล   มุกดา   เพทาย   ไพฑูรย์   ดอกตแบก
โอปอ   มูล   การเวก   ฟองมุก   บุษย์เปนต้น   ประพาฬนั้น   ชาวยุโรปแปลว่าลูกแดง   ช่างพลอยทุกวันนี้บางพวก   จึ่งมิได้นับเข้าในประเภทแห่งพลอย   จัดไว้ในพวกศิลาพิเศษต่างๆ   ทั้งโมราด้วย   เช่น  เนรคันถีศิลาทอง 
 นาคสวาดิ์   นาคกสวย    เขี้ยวหณุมาน   มูนโสตน   แลหยกเปนต้น   

แต่ผลึกนั้นว่าตามลัทธินักปราชญ์ทุกวันนี้   บางคนก็ว่าควรนับในชาติพลอย   บางคนก็ว่าควรอยู่ในพวกศิลา   ก็แลมณีศัพท์นั้นในที่มาต่างๆ   บางแห่งก็จัดเปน
สามัญนาม   เพราะมีคุณศัพท์ประกอบอิกชั้นว่านิลมณี   รัตนมณี   วชิรมณี  ดังนี้เปนต้น   แลทั้งตามความที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้นด้วย   บางแห่งก็จัดเปนวิสามัญนาม   ดังจะได้กล่าวต่อไปในหมวด
แห่งแก้ว  ณ  เบื้องน่า     ที่ได้กล่าวแก้แก้วที่  ๒  ที่  ๓   รวมกันมานี้   เพราะในคัมภีร์ศัพทศาสตร์   ซึ่งกล่าวแก้ด้วยรัตนคือแก้ว   ได้พรรณนาถึงประเภทแห่งแก้วต่างๆ   แล้วตั้งพิเคราะห์ขึ้นแก้ศัพท์ต่อไป
อรรถวิเคราะห์นั้น   ส่องให้เห็นว่าบางแก้วก็เกิดขึ้นแต่ศิลา   บางแก้วก็หาเกิดแต่ศิลาไม่   ไม่อาจจะแบ่งออกเปน  ๒  พวกได้   จึ่งต้องพรรณนารคนกันไป   

ดังกล่าวมานี้   แต่ช่างพลอยทุกวันนี้
ได้กล่าวว่า   เพ็ชร์ตาแมว   เพ็ชร์บุ้ง  ๒  อย่างนี้   มิได้เกิดแต่ศิลาเลย   เมื่อเปนเช่นนี้   เพ็ชร์  ๒  อย่างนี้   ควรพรรณนาในประเภทแห่งแก้วที่  ๓   โดยส่วนเดียว   ซึ่งว่าสิ่งที่มีคุณปานประหนึ่งว่าแก้ว   ก็เรียก
ว่าแก้วนั้น   ดังในที่มาว่า   "แก้ว  ๓  ประการ  คือ   พระพุทธเจ้า   พระธรรม   พระสงฆ์ๆ   ก็เรียกว่าแก้ว   เพราะอาจทำความยินดี   ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่นับถือได้เหมือนกัน   พระพุทธเจ้า   พระธรรม   พระสงฆ์   
ย่อมเปนแก้วอันพิเศษกว่าแก้วทั้งปวง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 12, 20:27
(ต่อ) เล่มเดียวกันเรื่องรัตนชาติประจำวัน

แก้ว  ๗  ประการซึ่งจัดเปนเครื่องประดับสำหรับแต่ง  ตามวันนั้นดังนี้   
ทับทิม  (วันอาทิตย์)   มุกดาฤๅโอปอ  (วันจันทร์)   ประพาฬหรือทับทิมตากต่าย  (วันอังคาร)   มรกต(วันพุฒ)   ไพฑูรย์  (วันพฤหัศบดี)   เพชร์น้ำตกั่วตัด  (วันศุกร)   นิลผักตบ  (วันเสาร์)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 12, 20:30
พระนากสวาดิเรือนแก้ว เป็นพระรัตนปฏิมาจำลอง สลักจากหยกสีเขียว ศิลปะราวสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 และถือเป็นพระแก้วประจำรัชกาลที่ 3 (ทำด้วยหยกสีเขียว)

ในปี พ.ศ. 2368 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เวียงจันทน์ จึงได้มีรับสั่งให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบปรามบรรดาพวกกบฏ ภายหลังจากที่ปราบปรามกบฎสำเร็จพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ ได้แก่ พระบาง(อัญเชิญลงมาเป็นครั้งที่สอง) พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ รวมถึงพระพุทธรูปศิลาเขียวด้วย โดยผลแห่งความดีความชอบในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายก ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเรือนแก้วทองคำลงยาราชาวดีถวายพระพุทธรูปศิลาเขียว และทรงถวายพระนามว่า พระนากสวาดิเรือนแก้ว ถือว่าเป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลวิกิ

แสดงว่ารัตนชาตินี้ไม่เข้าพวกเป็นมณี แต่จัดเป็นหินสีเขียว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 12, 20:39
เขียวนาคสวาดิ์ เขียวอย่างไร มีในรูปลักษณ์แห่งแมววิเชียรมาศ

ปากบนหางสี่เท้า         โสตสอง
           แปดแห่งดำดุจปอง     กล่าวไว้
           ศรีเนตรดั่งเรือนรอง     นาคสวาดิ ไว้เอย
           นามวิเชียรมาศไซร้     สอดพื้นขนขาว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มี.ค. 12, 20:53
มรกตนาคสวาท ตามตำนานของสันสกฤต บอกว่าเกิดจากเลือดของนาคเมื่อถูกครุฑจับฉีกเนื้อกิน   
นาคกระอักเลือดออกมาเป็นหินสีเขียว   เรียกว่ามรกตนาคสวาท  ส่วนน้ำลายของนาค กลายเป็นแก้วมณีชื่อครุธิกานต์  ว่ากันว่าสองอย่างนี้แก้พิษงูได้

จากบล็อคของคุณมรกตนาคสวาท


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มี.ค. 12, 20:55
น่าจะเป็นมรกตนาคสวาท ก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่ง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 12, 21:03
จำแนกนาคสวาท และ ครุฑิการจาก ตำรานพรัตน์ (http://www.patchra.net/minerals/gems/gemerald.php)

องคตฤาษีกล่าวกำเนิดมรกต นาคสวาท ครุฑธิการ ว่าแต่ก่อนยังมีพระยานาคตัวหนึ่งชื่อ พาสุกินนาคราช พระยาครุฑพาเอาไปกิน ณ เมืองตรุดตราด เมื่อพาสุกินนาคราชจะตาย จึงคายโลหิตออกเป็นปฐม เกิดเป็นนาคสวาท คายโลหิตออกภายหลัง เกิดเป็นมรกต น้ำลายพระยานาคอันตกลง เป็นครุฑธิการ
อันว่านาคสวาท มี ๔ ประการ

■ประการหนึ่งสีผลดังเห็ดตับเต่า

■ประการหนึ่งสีผลเขียวเหลืองดังงูเขียวปากปลาหลด

■ประการหนึ่งสีผลเขียวดังสีไม้ไผ่เกิดได้หนึ่งหรือสองเดือน

■อนึ่ง (สี) เขียวเจือดำ
๔ ประการดังกล่าวมานี้ ชื่อนาคสวาท มีคุณอันวิเศษนัก ถ้าเป็นฝีอันมีพิษก็ดี ตะขาบ แมลงป่อง และงูอันมีพิษ สารพัดพิษขบตอดเอาก็ดี ให้เอานาคสวาทกลั้นใจชุบลงในน้ำนั้นมาทามากิน หายปวดพิษทั้งปวง ถ้าถือรบศึกจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกด้วยอานุภาพแห่งนาคสวาทอันมีคุณวิเศษ

ท่านให้ลองดูเมื่อเดือน ๓ เดือน ๔ ให้ทำบัดพลีเครื่องกระยาบวงสรวงนาคสวาทตั้งไว้ในที่อันสมควร ถ้าเห็นคลับคล้ายดุจดังงูในที่บัดพลีนั้น จึงจะเป็นนาคสวาทแท้

อันว่าครุฑธิการ อันมีคุณวิเศษ ๓ ประการ

■ประการหนึ่งสีผลเขียวดังสนิมทองเหลืองอันตกอยู่ในดิน

■ประการหนึ่งสีผลดังสำริดอันต้องเปลวเพลิวสีเขียวหม่น

■ประการหนึ่งสีผลเขียวเศร้าดังทองเหลืองมิได้ชำระ
ครุฑธิการ ๓ จำพวก อันประกอบด้วยคุณวิเศษนี้ ผู้ใดถือจะมีชัยชนะแก่ศัตรู จะเป็นที่รักแก่คนทั้งปวง จะจำเริญยศศักดิ์

อันว่ามรกตอันประกอบด้วยคุณมี ๔ จำพวก

■จำพวกหนึ่งสีผลเขียวดังใบแก้ว

■จำพวกหนึ่งสีผลเขียวเหลืองดังคอนกแขกเต้า

■จำพวกหนึ่งสีผลเขียวพรายดังปีกแมลงทับ

■จำพวกหนึ่งเอาสำลีปัดดูจับสำลีเขียวไปสิ้น
มรกต ๔ จำพวกนี้เป็นอย่างดี

มรกตอันประกอบด้วยคุณเป็นกลางมี ๙ ประการ

■ประการหนึ่งสีผลเขียวใสดังสีขนคอนกกาเหว่า

■ประการหนึ่งสีผลดังตานกแขกเต้า

■ประการหนึ่งสีผลเขียวเหลืองดังใบจิก

■ประการหนึ่งสีผลเขียวพรายดังแมลงค่อมทอง

■ประการหนึ่งสีเขียวดังขี้ทอง

■ประการหนึ่งสีเขียวดังใบข้าว

■ประการหนึ่งสีดังใบโลด

■ประการหนึ่งสีดังใบแค

■ประการหนึ่งสีเขียวแก่ดังงูเขียวสังวาลย์พระอินทร์
มรกตดี ๔ อย่าง กลาง ๙ อย่าง รวม ๑๓ อย่างนี้ มีรูปบางและกลมเว้นจากโทษ ๔ จำพวก (ข้างล่าง) ผู้ใดถืองูขบมิปวดพิษ งูมิขึ้นเรือน จำเริญสุขทุกประการ

มรกตอันประกอบไปด้วยโทษ ๔ จำพวก คือ

■จำพวกหนึ่งสีผลดังสีข้าวสุกขยำกับแกงฟัก

■จำพวกหนึ่งดินเข้าอยู่ในผล

■จำพวกหนึ่งศีรษะว้าม

■จำพวกหนึ่งเบี้ยวรูปแอ่งทราย (เนื้อทราย) นอน
พลอย (มรกต) โทษ ๔ ประการดังกล่าวมานี้ ช่างเจียรนัยกระทำให้บริสุทธิ์ก็จะสิ้นโทษ แม้นกระทำมิสิ้นโทษ ผู้ใดถือจะเกิดอันตรายต่าง ๆ

พรรณามรกตสิ้นเท่านี้


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มี.ค. 12, 15:25
 ;D

นากสวาดิชาติสี่ไซ้  สัณฐาน  
สีดั่งงูเขียวปาน  เปรียบแท้  
ผิวไผ่ตับเต่าทาน  เสมอเทียบ  
บางก็เขียวดำแล้  สี่สิ้นโดยแสดง ฯ  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 มี.ค. 12, 15:27
 ;D

ครุทธิการชาญเดชได้  โดยยินมาฤา 
เขียวดั่งทองตกดิน  คลุกเคล้า 
ผิวสำริดมลทิน  ไฟลวก หนึ่งนา 
บางสุพรรณเซาเศร้า  ส่อซ้ำเป็นสาม ฯ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 25 มี.ค. 12, 10:50
ก่อนไปคุณตั้งได้ให้การบ้านไว้ 2 ข้อ...มีผู้เข้ามาตอบแล้วค่ะ

 รอคำอธิบายต่อค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 25 มี.ค. 12, 10:56
ชุดทับทิมน้ำงาม โดยเฉพาะแหวนมีรูปทรงพิเศษ ส่งรูปมาลงรอคุณตั้งเข้ามาเล่าต่อค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 มี.ค. 12, 20:20
ขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กรุณาค้นหาและให้ข้อมูลเกี่ยวกันาคสวาท (นาคสวาดิ) และครุฑธิการ (ครุืทธิการ)
ผมต้องอ่านอยู่หลายรอบเพื่อที่จะทำความเข้าใจ แต่ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจมากพอ อย่างไรก็ตาม คำบรรยายที่ปรากฏอยู่ในตำรานพรัตน์ คำบรรยายในหนังสือวชิรญาณวิเศษ และตามโคลงและภาพประกอบของคุณดีดีนั้น ทำให้ผมพอจะสรุปได้เป็นภาพตามที่ผมเห็นและเข้าใจ ดังนี้

เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในตำรานพรัตน์ เป็นเรื่องของอัญมณีที่คนไทยได้จำแนกไว้ตั้งแต่โบราณ ผมเดาเอาว่าน่าจะตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น เนื่องจากในสมัยนั้นเราได้มีการติดต่อกับต่างชาติมาก อัญมณีหลากหลายมากมายก็คงได้มีการนำเข้ามาในยุคนี้ มากไปจากเดิมซึ่งเรารู้จักโดยผ่านมาทางวัฒนธรรมของอินเดีย จะแปลกใจอยู่สักหน่อยก็ตรงที่ ไทยเราก็มีการติดต่อกับจีนอยู่มาก แต่เรื่องของหยกกลับดูจะไม่มีอิทธิพลมากนักในจิตใจของคนไทย

อัญมณีหลากชนิดที่ฝรั่งจากซีกโลกตะวันตกนำเข้ามานั้น ก็มาจากหลากหลายแห่งในหลายทวีป (เนื่องจากชาติทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลและครอบครองอยู่หลายประเทศ) ซึ่งคงจะประกอบไปด้วยอัญมณีที่มีลักษณะเป็นแก้วใส (Transparent) ที่ขุ่นมัว (Translucent) และที่ทึบแสง (Opaque) บรรดาปราชญ์และโหราจารย์ในสมัยนั้น จึงได้จัดแบ่งอัญมณีออกเป็นระดับของความมีคุณค่าและความสวยงามโดยอ้างอิงจากตำราของอินเดีย พวกที่มีลักษณะเป็นแก้วใส รวมเรียกว่า รัตนชาติ และพวกที่ทึบแสง รวมเรียกว่า ศิลา (หินสี) พวกรัตนชาติอื่นๆที่ไม่อยู่ในตำรา ก็รวมเรียกว่า พลอยสี... และเรียกรวมทุกอย่างที่มีสีที่สามารถนำมาเจียรนัยตบแต่งให้เป็นชิ้นงานสวยงามและนำทำเป็นเครื่องประดับได้ว่า อัญมณี

ผมเห็นว่าเราได้เริ่มเทียบเคียงอัญมณีตามตำราที่เราเชื่อถือกับวิชาความรู้ทางด้านแร่วิทยา (Mineralogy) มาตั้งแต่สมัยอยุธยา (แร่วิทยาได้เกิดก่อนหลังอยุธยาไม่นาน) จนลักษณะของอัญมณีตามตำรานพรัตน์ของเราค่อนข้างจะตรงกับลักษณะและคุณสมบัติของแร่ (ตามวิชาแร่) ที่เราใช้อ้างอิงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ยึดถือกันอย่างเคร่งครัดในลักษณะที่ว่า หากไม่ใช่แร่ชนิดนั้นก็ไม่ใช่รัตนชาติในตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วรัตนชาติหลายชนิดสามารถมีสีได้เหมือนๆกัน

ในตำราของเรานั้น คำบรรยายและคำอธิบายต่างๆสำหรับอัญมณีที่่อยู่นอกเหนือกลุ่มรัตนชาตินั้น ผมเห็นว่าเกือบทั้งหมดจะเป็นพวกหินสี (Opaque minerals) และแร่ที่ขุ่นมัว (Translucent minerals) ซึ่งหลายๆอย่างก็คงพอจะเดาๆได้     

ผมเห็นว่า ในตำรานพรัตน์นั้นดูจะเน้นในเรื่องของสีเป็นหลัก และเราก็มิควรที่จะยึดถือการแปลตรงตัว (ซึ่งกระทำในภายหลัง) ตามที่นิยามเป็นตำรากันไว้ เช่น
      เหลืองใสสด บุษราคำ (= Topaz) เพราะแท้จริงแล้วแร่ Topaz นั้นปกติจะมีสีขาวใส หรือแดงสลัว เพทาย (= Zircon) ซึ่งเพทายในธรรมชาติมักจะมีสีเหลือง ประกอบกับในพื้นที่ของจันทบุรีเราก็มีพลอยน้ำบุษ (แร่ Corundum ที่ออกสีเหลือง) จึงเป็นไปได้ว่า เหลืองใสสดนั้นก็อาจจจะเป็นอะไรก็ได้
     หรือ แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก (= Garnet) ซึงแท้จริงแล้วมีแร่ที่มีสีแดงตามธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น แร่ Spinel ซึ่งแร่ชนิดนี้ได้สำคัญผิดว่าเป็นทิบทิมในหลายๆกรณี 

เล่ามาเพื่อทราบและตัดสินใจกันเอาเองว่า จะเลือกความสวยงามตามที่พอใจ (แร่อะำไรก็ได้) จะเลือกตามตำราความเชื่อ (ทับทิมคือ Ruby = แร่ Corundum สีแดง) จะเลือกสี (แดงแบบทับทิมแต่เป็นแร่ Spinel หรือ เหลืองแบบน้ำบุษ แต่เป็น Citrine = quartz) หรือจะเลือกชนิดแร่ (Tourmaline, Aquamarine etc.)

ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวแบบตื้นๆจริงๆ ยังไม่ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยในทางลึกใดๆทั้งสิ้นครับ             

   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มี.ค. 12, 21:19
เพิ่งรู้ว่า spinel ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นทับทิม (ruby) 
spinel น่าจะเรียกว่าพลอยชมพู นะคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มี.ค. 12, 21:22
แต่พอมาเห็นรูปนี้ก็เปลี่ยนใจว่า เห็นทีจะไม่ใช่พลอยชมพู  เพราะแหวนวงนี้ ไม่ใช่ทับทิม แต่เป็น Tanzanian spinel ขนาด 9.5 กะรัต  ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 26 มี.ค. 12, 10:18
เห็นแหวนวงนี้แล้ว นึกถึงทับทิมสยาม  แต่ไม่เคยเห็นของจริงๆเต็มๆตาสักที

ทับทิมสยามต่างจากทับทิมพม่าที่สีเพียงอย่างเดียวหรือค่ะ แล้วความแข็งของหิน

อยู่ระดับเดียวกันไหมค่ะ  ทำไมเมื่อก่อนคนไทยถึงไม่รู้จักและสะสมเป้นของล้ำค่า

ทำไมปัจจุบันจึงหายากและมีราคาแพงระยับ เป็นเพราะการตลาดด้วยหรือเปล่า

แหล่งแร่ทับทิมสยามที่มีมากที่สุดอยู่ที่ไหนค่ะ ...ถามมากไปหรือเปล่าค่ะเนี่ย



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 มี.ค. 12, 18:55


เห็นแหวนวงนี้แล้ว นึกถึงทับทิมสยาม  แต่ไม่เคยเห็นของจริงๆเต็มๆตาสักที ทับทิมสยามต่างจากทับทิมพม่าที่สีเพียงอย่างเดียวหรือค่ะ แล้วความแข็งของหิน
อยู่ระดับเดียวกันไหมค่ะ  ทำไมเมื่อก่อนคนไทยถึงไม่รู้จักและสะสมเป้นของล้ำค่า ทำไมปัจจุบันจึงหายากและมีราคาแพงระยับ เป็นเพราะการตลาดด้วยหรือเปล่า
แหล่งแร่ทับทิมสยามที่มีมากที่สุดอยู่ที่ไหนค่ะ ...ถามมากไปหรือเปล่าค่ะเนี่ย

ได้ไปค้นพบหนังสือเก่าที่ได้สะสมไว้ เป็นหนังสือที่พิมพ์แจกในงานศพพระพิทักษ์ไพรวัน เมื่อ พ.ศ.2516 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรัตนชาติที่เขียนโดยนายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน ซึ่งเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาของผมในช่วงแรกเริ่มรับราชการ พื้นฐานของท่านจบมาทางด้านวิศกรรมเหมืองแร่ แต่ไปศึกษาต่อทางด้านธรณีวิทยา จัดได้เป็นนักธรณ๊วิทยาในระดับแนวหน้าท่านหนึ่ง จึงขอคัดเรื่องราวบางส่วนที่เกี่ยวข้องมาเผยแพร่เพื่อประกอบความรู้ของทุกท่านที่สนใจ

    "ตำรานพรัตน์ไทย หรือแขก หรือตำรารัตนชาติฝรั่ง จัดทับทิมไว้เป็นอันดับที่ 2 รองจากเพชร เพราะทับทิมที่ใสสีแดงสด มีความสวยงามเหนือรัตนชาติใดๆทั้งสิ้น ทับทิมจะสวมใส่ใช้เวลาใด ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ไม่ว่ากับแสงตะวันหรือแสงใต้ ทับทิมจะสวยอยู่เสมอและทับทิมเป็นของหายากกว่าเพชร ทับทิมจึงเป็นคู่แข่งกับเพชร ก่อนที่จะรู้จักเจียรนัยเพชรให้เห็นน้ำและไฟกับประกายอัยเจิดจ้าเช่นทุกวันนี้ ทับทิมเป็นสิ่งที่มีราคาสูงกว่าเพชรเสียด้วยซ้ำไป....
     ทับทิม และ นิล เป็นรัตนชาติของแร่เดียวกัน คือ คอรันดัม (Corundum) หรือที่พวกกหล่าขุดพลอยเรียกว่า กากรุน   ทับทิม (Ruby) คือ กากรุนที่เป็นรัตนชาติสีแดง นิล (Sapphire) คือกากรุนสีฟ้า และสีอื่นๆ สีอะไรก็ได้นอกจากสีแดง .....
     ทับทิม ในภาษาไทย เป็นชื่อเรียกผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งรู้จักกันดี แต่พันธุ์ไม้นี้ไม่ใช่ของเมืองไทย ถิ่นกำเนิดเดิมคือประเทศซีเรีย แต่ก็แพร่หลายไปในประเทศเขตร้อนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากคำว่าทับทิมที่ใช้เรียกรัตนชาตก็มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเช่นกัน จึงไม่อาจตัดสินในที่นี้ได้ว่าเป็นที่มาของคำว่าทับทิม พฤกษชาติ หรือรัตนชาติ? แต่ที่ควรทราบอย่างหนึ่งก็คือ ทับทิมในถิ่นกำเนิดและใกล้เคียง เช่น ในประเทศ เลบานอน เมล็ดของผลที่สุกดีแล้ว มีสีแดงเข้มกว่าๆเมล็ดผลทับทิมที่เห็นกันอยู่ในประเทศเรามาก....
     ทับทิมที่เป็นรัตนชาตินั้นอาจมีสีแดงเหมือนกับเมล็ดผลทับทิมอันสุดเข้ม หรือ แดงดังสีดอกทับทิมก็มี สีแดงดังเมล็ดผลทับทิมนั้นเป็นสีแดงออกมาทางชมภูน้อยๆ ส่วนสีแดงดังดอกทับทิมนั้น เป็นสีแดงที่อมสีส้มหรือสีแสด นี่เป็นสีของทับทิมตามตำรานพรัตน์ของไทย  ซึ่งเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เพราะ คำว่ามณีแดงในตำรานพรัตน์ซึ่งทุกวันนี้เหมาเอาว่า คือ ทับทิม และตรงกับ Ruby ในภาษาอังกฤษนั้น ความจริงในตำรานพรัตน์เรียกว่า "ปัทมราช" ซึ่งเป็นคำบาฬีที่แปลว่า พลอยแดงนั่นเอง และสิ่งที่เรียกว่าปัทมราชในตำรานพรัตน์นั้น มีสีต่างๆกันถึง 27 สี และแน่นอนเหลือเกินว่า บางรายการจะต้องไม่ใช่สิ่งที่ทุกวันนี้เรียกทับทิมแน่นอน.....


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 มี.ค. 12, 19:30
ต่อ
  " เมื่อพูดกันถึงสีของทับทิมแล้ว ก็เลยอยากจะขยายกล่าวถึงสีของทับทิมพม่ากับสีทับทิมไทยเสียด้วย เพราะมีผู้ข้องใจกันมากที่ฝรั่งกล่าวว่า ทับทิมไทยสีสู้ทับทิมพม่าไม่ได้ ทับทิมนั้นเกิดมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกก็จริง แต่แหล่งทับทิมสำคัญของโลกนั้นอยู่ในพม่าและไทยเท่านั้น ทับทิมแทนซาเนีย ซึ่งเริ่มออกสู่ตลาดโลกเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว คุณภาพยังเป็นรองทับทิมพม่าและทับทิมไทยอยู่มาก ที่แพร่หลายรวดเร็วก็เพราะราคาต่ำกว่าทับทิมไทยและทับทิมพม่ามาก ทับทิมพม่ากับทับทิมไทยเท่านั้นที่เป็นทับทิมชั้นหนึ่งของโลก แต่ทับทิมพม่า (ฝรั่ง) ยกย่องว่าสวยที่สุด ส่วนทับทิมไทยนั้นยังเป็นรอง ทับทิมพม่าที่ยกย่องกัันว่าเป็นเลิศนั้น คือทับทิมสีแดงบริสุทธิ์ หรือแดงอมม่วงน้อยๆ ซึ่งเรียกว่าแดงเลือนกพิราบ.....ในหนังสือเรื่องความสมบูรณ์ทางทรัพยากรแร่ของอินเดียโดย บราวน์ และเดย์ นักธรณีวิทยาอังกฤษผุูเขียน ได้สอบสวนต้นตอ (เรื่องสี) เรื่องต่างๆ เพื่อหาข้อเท็จจริง และในเรื่องทับทิมสีเลือดนกพิราบนี้ ท่านผู้เขียนทั้งสองได้กล่าวว่า ...The term being derived from the Hindustani, as Indian lapidaries compare the  color of a faultless (น่าจะเป็น flawless)  ruby with the blood-red color of a living pigeon's eye........เนื่องจากคำว่าสีเลือดนกพิราบนั้นมาจากอินเดีย แต่อินเดียไม่มีทับทิม อินเดียมีแต่สปิเนลแดง ซึ่งจัดเป็นทับทิมเช่นกัน ฉะนัน สีเลือดนกพิราบอาจจะสีเดียวกับสปิเนลแดงก็ได้.....

    อนึ่ง ขาพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุใดในตำรานพรัตน์ของไทยซึ่งก็ถ่ายทอดมาจากอินเดียจึงไม่ระบุสีเลือดหรือสีตานกพิราบไว้ในปัทมราช 27 สีเสียเลย แต่ระบุสีตานกจากพราก สีตานกกาเหว่า และสีเลือดกระต่ายไว้.....

   สีของทับทิมไทยนั้น ตำราฝรั่งกล่าวไว้ต่างๆกัน บ้างก็ว่าทับทิมไทยมักจะดูมืดกว่าทับทิมพม่า บ้างก็ว่าแดงออกเหลืองมากกว่าทับทิมพม่า บางทีก็มีสีน้ำตาลปนบ้าง และบ้างก็ว่าสีแดงอมม่วงมาก ข้อนี้เป็นความจริง ข้าพเจ้าเคยเห็นทับทิมจากจันทบุร๊-ตราด หลายเ็ม็ดมีสีม่วงมากจนต้องเรียกว่าสีม่วงอมแดงมากกว่าสีแดงอมม่วง และทับทิมไทยเม็ดหนึ่งหนัก 34 การัต ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของอเมริกที่นิวยอร์ค (American Museum of Natural History) ก็มีสีม่วงแดงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้เคยเห็นทับทิมบ้านบ่อนาวง และบ้านตกพรม จังหวัดตราด มีสีแดงจัดดังสีทับทิมพม่าที่เรียกว่าสีเลือดนกทีเดียว ข้าพเจ้าจึงเชื่อเหลือเกินว่าทับทิมไทยที่สวยทัดเทียมทับทิมพม่าคงจะมีไม่น้อย และเช่นเดียวกับทับทิมพม่าก็คงไม่ไช่สวยดีสีวิเศษเสมอไป....
 
   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 มี.ค. 12, 19:49
คงจะมิใช่ตำตอบทั้งหมด แต่ก็เป็นข้อมูลเชิงวิชาการที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่ง
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวพันที่จะเล่าต่อไปอีกบางส่วนนะครับ
ผมมีส่วนร่วมเพียงน้อยนิดในงานของคุณเกษตรชิ้นนี้ ในช่วงกลางปี 2512 คือ ขับรถพาเข้าไปเขตที่เขาขุดพลอยกัน แต่ได้มีโอกาสอันหายากในการได้เห็นพลอยชั้นดี ระดับราคาสูงๆในภาคตะวันออกของไทยที่มีการค้าขายกันอยู่ ได้รู้เรื่องหลายๆเรื่องในทางปฏิบัติในวงการขุดหาและการค้าพลอย แถมยังได้เม็ดพลอยขนาดประมาณหัวแม่มือซึ่งไร้ค่าในเชิงพานิชย์แต่มีค่ามากในเชิงวิชาการของตัวผมเองมาเก็บสะสมไว้ เป็นที่มาที่ไปเริ่มต้นของความสนใจในเรื่องอัญมณีของผมครับ
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 26 มี.ค. 12, 20:45
ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ทำให้หายข้องใจในระดับหนึ่งค่ะ

การบันทึกเรื่องราวของผู้รู้(นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน) ระดับนี้

น้อยคนจะมีโอกาสได้อ่านนะคะ 

แถมยังได้เม็ดพลอยขนาดประมาณหัวแม่มือซึ่งไร้ค่าในเชิงพานิชย์แต่มีค่ามากในเชิงวิชาการของตัวผมเองมาเก็บสะสมไว้ เป็นที่มาที่ไปเริ่มต้นของความสนใจในเรื่องอัญมณีของผมครับ

แล้วผลที่ตามมาจากการเริ่มสนใจเรื่องอัญมณี เป็นไงบ้างค่ะ...


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 มี.ค. 12, 21:25
ทับทิมก็มีเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเหมือนกัน และเป็นสาเหตุย่อยประการหนึ่งที่ช่วยขยายความร้อนแรงจนทำให้พม่าเสียเอกราชอย่างรวดเร็ว
ผมจะไม่คัดลอกข้อความจากหนังสือดังกล่าวนะครับ แต่จะสรุปความให้ทราบดังนี้

การขุดทับทิมในพม่ามีมานานกว่าพันปีแล้ว ดั้งเดิมนั้นเป็นการขายให้กับคนจีนและพวกตาร์ต้่า (ใครครับ??? หรือพิมพ์ผิด __คาร์ต้า???) ซึ่งจะมาซื้อปีละครั้งโดยเอาพรม เสื้อผ้า กานพลู และยามาแลก ในทำนองเดียวกันพวกคนที่ขุดหาทับทิมก็จะนำสินค้ามาขายที่กรุงอังวะปีละครั้งเช่นกัน และเจ้าผู้ครองแคว้น (ฉาน__ไทยใหญ่) จะต้องส่งทับทิมเป็นส่วยให้พระเจ้าแผ่นดินพม่าปีละ 2 วิส (ประมาณ 16,556 กะรัต) จนกระทั่งปี พ.ศ.2140 บ่อทับทิมจึงตกเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต่อมาได้แบ่งให้ราษฎรเช่าเสียค่าเช่าเป็นรายปี บ่อที่ค้นพบใหม่ก็เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วหากพบทับทิมเม็ดใหญ่เกินกำหนดหรือหากราคาเกิน 70  ปอนด์สเตอริงก์ก็จะต้องถวายและตกเป็นราชสมบัติ ใครมีเม็ดใหญ่แบ่งให้เล็กลงก็มีโทษ พม่าได้จัดให้แหล่งทับทิมเป็นทรัพยากรของแผ่นดินที่มีค่ายิ่ง ไม่ยอมเปิดเผยแหล่งทับทิมและปิดเป็นความลับตลอดมา  ความมั่งคั่งนั้นได้ทำให้กรุงอังวะถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า รัตนบุระอังวะ (ในยุคนั้นพม่าเป็นแหล่งทับทิมที่สวยและดีที่สุดของโลก) แต่ที่นั่นไม่มีเสรีภาพใการค้่าขาย ทั้งระหว่างพวกเดียวกันเองหรือกับคนต่างชาติ ชาวต่างชาติจะมาซื้อได้เฉพาะกับรัฐบาล อังกฤษยังหลงเชื่อเมื่อเริ่มผนวกพม่าตอนล่างจนถึงพะโค (ในปี 2395) ว่าแหล่งทับทิมอยู่ในละแวกเมืองพะโค และคิดหวังรวยจากแหล่งทับทิมนั้น ดังปรากฏข้อความในบันทึกของพ่อค้าพลอยชาวอังกฤษชื่อนาย E.W. Sreeter (1892) "คิดกันว่าเมื่อพะโค เมืองบิดรของทับทิมได้ถูกผนวกเข้ากับอังกฤษในปี 1852 ยุโรปคงจะรวยด้วยหินอันสวยงามนี้มากขึ้น แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น"

ขอต่อเรื่องในวันพรุ่งนี้นะครับ 



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 มี.ค. 12, 21:42

การขุดทับทิมในพม่ามีมานานกว่าพันปีแล้ว ดั้งเดิมนั้นเป็นการขายให้กับคนจีนและพวกตาร์ต้่า (ใครครับ??? หรือพิมพ์ผิด __คาร์ต้า???)


พวกตาตาร์ คือ ชนกลุ่มน้อยทางเหนือของจีน ซึ่งเราเรียกว่า "ชาวมองโกล"

ชาวมองโกลในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีคือ เจงกีสข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน และในโลกของกำลังภายในคือ ก๋วยเจ๋ง

ทหารมองโกลเคยมีประวัติว่ามีการบุกและทำศึกมาถึงพม่าเลยครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 12, 22:48
ฝากไว้เป็นอีกข้อมูลนึง ไม่ได้ขัดคอนะครับ ขอเชิญคุณตั้งดำเนินเรื่องต่อไปเลย

ทำไมเมืองหลวงพม่าจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแก้ว แต่ก่อนผมก็นึกว่ารัตนอังวะแปลว่าเมืองที่รุ่มรวยด้วยเพชรนิลจินดา  พอมาค้นๆเรื่องพม่าที่นำมาเสนอถึง5ตอนนี่ พบว่าหมายถึงเมืองที่ผลิตแก้วมีค่า เป็นที่ต้องการของใครต่อใครชนิดหนึ่ง ที่นับว่าเป็นรัตนะเหมือนกัน

แก้วอังวะ เป็นแก้วที่หุงด้วยกรรมวิธียุ่งยากพิศดาร แล้วดาด(เท)ลงบนแผ่นดีบุกอย่างบางเฉียบเป็นกระจก มีสีต่างๆ เช่น สีใส สีเขียว สีฟ้า สีขาว สีแดง ใช้สำหรับประดับตกแต่งส่วนประกอบของอาคาร เช่นช่อฟ้าใบระกา หางหงส์  เกล็ดพญานาค ฯลฯ และเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ต้องการความหรูเลิศเช่น บัลลังก์ ธรรมาสน์ ตู้ตั่ง มงกุฏ ฝักพระแสงดาบเป็นต้น

กระจกชนิดนี้ ไทยทำไม่ได้ อยากใช้ก็ต้องสั่งจากจีน เรียกว่า "กระจกเกรียบ" เป็นกระจกที่มีคุณสมบัติสามารถงอพับและตัดด้วยกรรไกรได้ ไม่เหมือนแก้วสีที่หล่ออย่างหนา นั่นเรียกว่า กระจกแก้ว

แก้วอังวะจัดอยู่ในประเภทกระจกจีนหรือกระจกเกรียบ พม่าคิดค้นทำมานานแล้วด้วยสูตรเฉพาะของตนเอง มีสีสดใส ดาดลงบนแผ่นดีบุกชิ้นใหญ่ๆ ดีกว่าของจีนตรงที่ว่าสามารถตอกตรึงติดกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมได้โดยง่าย พม่าจึงภาคภูมิใจมาก เมืองอังวะที่เป็นแหล่งผลิตแก้วนี้ พม่าจึงเรียกว่า รัตนปุระอังวะ ต่อมาสร้างอมรปุระใกล้ๆกัน คล้ายกรุงเทพกับธนบุรี ก็ใช้ชื่ออย่างยาวว่า อมรรัตนปุระอังวะ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8435679/K8435679.html

http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B3.html


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มี.ค. 12, 12:05
ตอนเล็กๆ แม่เคยพูดถึง "ทับทิมมะละแหม่ง"    สมัยแม่ ไม่มีทับทิมสยาม   อะไรที่ขุดได้จากจันทบุรี   เรียกว่า "พลอยเมืองจันท์" หมด
ต่อมา อ่านพบว่า มะละแหม่ง คือเมืองเมาะลำเลิง    แต่ความรู้ก็จบอยู่แค่นี้เองค่ะ  ไม่รู้ว่าเมาะลำเลิงคือเมืองอะไร  เป็นเมืองที่มีเหมืองพลอย หรือเป็นตลาดค้าพลอย

ส่วนกระจกเกรียบ ดิฉันนึกว่าคนไทยทำเองได้เสียอีก  จึงมีกรมหุงกระจก ไว้ทำกระจกเกรียบติดโบสถ์วิหารทั้งหลาย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 มี.ค. 12, 18:04
ฝากไว้เป็นอีกข้อมูลนึง ไม่ได้ขัดคอนะครับ ขอเชิญคุณตั้งดำเนินเรื่องต่อไปเลย......

ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแล้วครับ แล้วก็คงจะผนวกไปด้วยการมีทับทิมสะสมอยู่มากด้วยเช่นกัน
 
เรื่องที่เขียนเล่ามานี้ ผมสรุปเนื้อความมาจากหนังสืองานศพดังที่ได้กล่าวไว้ครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 มี.ค. 12, 18:28
พวกตาตาร์ คือ ชนกลุ่มน้อยทางเหนือของจีน ซึ่งเราเรียกว่า "ชาวมองโกล"
ชาวมองโกลในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีคือ เจงกีสข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน และในโลกของกำลังภายในคือ ก๋วยเจ๋ง
ทหารมองโกลเคยมีประวัติว่ามีการบุกและทำศึกมาถึงพม่าเลยครับ

ขอบคุณมากครับ ความจำของผมเริ่มเสื่อมแล้ว
พอได้อ่านข้อความของคุณหนุ่มสยาม ก็ทำให้นึกออกในทันทีเลยว่าใช่ครับ

นำพาไปให้คิดถึงคำว่า Tatar steak ซึ่งคือสเต็กเนื้อแบบดิบจัด (Raw) ดิบยิ่งกว่าเนื้อย่างน้ำตกเสียอีก เคยลองกินอยู่ครั้งหนึ่ง รู้สึกตัวเองว่าจะเถื่อนไปหน่อยจึงกินเฉพาะ medium rare   ว่ากันว่าเป็นลักษณะเนื้อที่พวกมองโกลในสมัยรบพุ่งอยู่บนหลังม้าเขากินกัน เนื่องจากไม่มีเวลาพักทำอาหาร วิธีการคือเอาเนื้อใส่ไว้ระหว่างช่องในอานม้า ในระหว่างที่ขี่ม้าไปเนื้อก็จะถูกบดขยี้ด้วยน้ำหนักของตัวเรา เส้นใยเนื้อจะถูกบดขยี้จนแหลกและมีความร้อนระอุพอให้รู้สึกว่าสุก ก็เอามากินในระหว่างเดินทางเคลื่อนพล   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 มี.ค. 12, 19:00
ขอแก้การสะกดชื่อครับ ที่ถูกต้องคือนาย E.W Streeter คนนี้คือคนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษในอินเดีย ให้ทำเหมืองทับทิมไนพม่า

 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 มี.ค. 12, 20:34
ตอนเล็กๆ แม่เคยพูดถึง "ทับทิมมะละแหม่ง"    สมัยแม่ ไม่มีทับทิมสยาม   อะไรที่ขุดได้จากจันทบุรี   เรียกว่า "พลอยเมืองจันท์" หมด
ต่อมา อ่านพบว่า มะละแหม่ง คือเมืองเมาะลำเลิง    แต่ความรู้ก็จบอยู่แค่นี้เองค่ะ  ไม่รู้ว่าเมาะลำเลิงคือเมืองอะไร  เป็นเมืองที่มีเหมืองพลอย หรือเป็นตลาดค้าพลอย
ส่วนกระจกเกรียบ ดิฉันนึกว่าคนไทยทำเองได้เสียอีก  จึงมีกรมหุงกระจก ไว้ทำกระจกเกรียบติดโบสถ์วิหารทั้งหลาย

เมืองมะละแหม่ง หรือเมาะลำเลิง เป็นเมืองใหญ่ดั้งเดิมของพม่า ตั้งอยู่บนช่วงปลายสุดของแม่น้ำสาละวิน เป็นเมืองศุนย์กลางของพวกมอญ อยู่ทางทิศตะวันตกของ อ.แม่สอด จัดได้ว่าเป็นเมืองสำคัญและมีขนาดใหญ่เพียงพอในระดับที่ในระบบของแผนที่มาตราส่วน 1:250,000 นำมาตั้งเป็นชื่อระวางของแผนที่ ในสายตาของชาวตะวันตกดูจะเห็นว่าสำคัญกว่า อ.แม่สอดเสียอีกซึ่งอยู่ในแผนที่ระวางเดียวกัน
คำที่เรียกว่า ทับทิมมะละแหม่ง นั้น คงจะเป็นเพราะมีพวกมอญ นำเข้ามาผ่านทาง อ.แม่สอด หรือ อ.อุ้มผาง หรืออาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในพม่าก็ได้ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นคนมอญเข้ามารับจ้างขุดพลอยในภาคตะวันออกของเรา แล้วก็เป็นไปได้ว่าในสมัยก่อนนั้นเช่นกัน ชาวมอญพวกนี้ก็เอาทับทิมของเรามาหลอกขายว่าเป็นของมาจากพม่า เพราะจะได้ราคาที่ดีกว่า เนื่องจากในสมัยนั้นทับทิมพม่ามีชื่อเสียงมากกว่าของเรา

ที่มะละแหม่งนั้น ไม่มีแหล่งทับทิมและพลอย มีแต่แหล่งแร่ดีบุกอยู่ที่ปากแม่น้ำสาละวิน แหล่งแร่รัตนชาติของพม่าทั้งหมดอยู่เหนือมัณฑะเลย์ขึ้นไป ใกล้ไปทางชายแดนที่ติดกับจีน

หยอดไว้สักนิดหนึ่งว่า ในแหล่งแร่ดีบุกนั้นอาจจะพบเพชรได้ด้วยนะครับ เอาไว้ไปเล่าในเรื่องเพชรของเมืองไทยนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: Rangson Boontham ที่ 28 มี.ค. 12, 20:42
วันนี้ได้อ่านข่าวจากเว็บมติชนว่า บริษัท"ชาวิช จิวเวอรี่" ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เจียระไนเพชรดิบ เป็นแหวนเพชรล้วนใหญ่ที่สุดของโลกขนาด 150 กะรัต โดยมีราคา 70 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,100 ล้านบาท)  ::) เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  :)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332477138&grpid=03&catid=06&subcatid=0600


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 มี.ค. 12, 18:53
วันนี้ได้อ่านข่าวจากเว็บมติชนว่า บริษัท"ชาวิช จิวเวอรี่" ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เจียระไนเพชรดิบ เป็นแหวนเพชรล้วนใหญ่ที่สุดของโลกขนาด 150 กะรัต โดยมีราคา 70 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,100 ล้านบาท)  ::) เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  :)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332477138&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

คงจะใช้สวมใส่นิ้วไม่ได้แน่ๆเลย หากจะใส่จริงๆสงสัยจะต้องเสียมือไปข้างหนึ่ง ยกไว้ที่อกตลอดเวลาเพื่อไม่ให้กระแทกหรือสัมผัสกับสิ่งใดๆ  :D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 มี.ค. 12, 18:58
กลับมาเรื่องทับทิมพม่ากับการเมืองต่อครับ

     (อังกฤษและดัช เปิดบริษัทการค้าในพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2170  ต่อมาพม่ากับอังกฤษได้กระทบกระทั่งกันเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2367   สงครามครั้งแรกสงบลงใน 2 ปีต่อมา สงครามครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2395 ได้ทำให้พม่าเสียการครอบครองพื้นที่ส่วนล่างของประเทศให้กับอังกฤษ    พระเจ้ามินดุงได้เริ่มปกครองพม่าภายหลังเหตุกาณ์เสียดินแดนในครั้งนี้ )
     ในสมัยพระเจ้ามินดุงนั้น ได้มีพยายามปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยได้ว่าจ้างคนยุโรปที่ไม่ใช่อังกฤษเป็นจำนวนมาก เช่น พวกอาร์เมเนียน ปอร์ตุเกต ฝรั่งเศส อิตาเลียน และเยอรมัน เป็นยุคที่พม่าถูกจำกัดเส้นทางการค้าขายเนื่องจากพื้นที่ตอนล่างถูกครอบครองโดยอังกฤษ เพื่อให้มีเงินตราใช้ในราชการ ทับทิมที่ได้สะสมไว้ในคลังหลวงคงน่าจะถูกนำออกขายอย่างมากมายในช่วงนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2415 อังกฤษได้ส่งสาสน์สัณถวไมตรีมา พระเจ้ามินดุงจึงส่งกินหวุ่นหมิ่นกี้ อัครมหาเสนาบดีหลุดดอ ไปเจริญสัณถวไมตรีตอบแทนเพื่อหวังการรับรองเอกราชของพม่าจากมหาอำนาจในยุโรป แต่ในระหว่างทางได้แวะอิตาลีและฝรั่งเศส เพื่อทำความตกลงซื้ออาวุธเพื่อไปรบกับอังกฤษ โดยขอแลกสิทธิบางอย่างกับฝรั่งเศส สิ่งที่ฝรั่งเศสต้องการในขณะนั้น คือ เหมืองทับทิม การทำไม้ และการสำรวจเส้นทางรถไฟไปจีน ฝรั่งเสศจึงรีบส่ง Compte de Rochetchouart มาพม่าเพื่อขอรับสัตยาบันจากพระเจ้ามินดุง (พ.ศ. 2416)  แต่ตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากพม่าหวงแหนแหล่งทับทิมมาก ในช่วงขากลับ  Rochetchouart ได้แวะพบผู้สำเร็จราชการของอังกฤษที่เมืองอักกรา และเปิดเผยเรื่องราวต่างๆให้อังกฤษทราบ   ในช่วงระยะนี้พม่าขัดสนเงินอย่างมาก จึงขายทับทิมจากท้องพระคลัง 2 เม็ด ให้กับอังกฤษ เม็ดเล็กรูปหมอน 37 กะรัต เม็ดใหญ่รูปหยดน้ำสั้นๆ 47 กะรัต ซึ่งทำความไม่พอใจให้คนพม่าเป็นอย่างมาก ถึงขนาดต้องมีกองทหารคุ้มกันขณะนำไปลงเรือ ทับทิมทั้ง 2 เม็ดนี้ได้ถูนนำไปแต่ง เม็ดเล็กเหลือ 33 กะรัต ขายได้ราคา 10,000 ปอนด์ เม็ดใหญ่เหลือ 39.6 กะรัต ขายได้ 20,000 ปอนด์


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 มี.ค. 12, 19:50
   เมื่อพระเจ้ามินดุงสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2421 พระเจ้าสีป่อได้ครองราชย์ต่อมา เป็นคนที่เข้มงวดและไม่ชอบฝรั่ง แต่ก็ยังต้องอาศัยฝรั่งเศสในการแสวงหาอาวุธและสินค้าต่างๆ จึงส่งคณะทูตไปฝรั่งเศอีกครั้ง คราวนี้ฝรั่งเศสได้ตอบสนองโดยการส่งผู้แทนชื่อนาย Frederick Hass มาเป็นกงสุล พม่าให้สิทธิแก่ฝรั่งเศสในการทำเหมืองทับทิมที่โมกอค ในการสร้างทางรถไฟไปจีน และในการเดินเรือในแม่น้ำอิระวดี (ซึ่งทับซ้อนกับอังกฤษ) ต่อมาอังกฤษได้พบเอกสารลับว่าฝรั่งเศสจะส่งอาวุธให้พม่าผ่านทางญวนเหนือ ประกอบกับพม่าแข็งข้อในกรณีพิพาทกิจการป่าไม้ของบริษัท Bombay Burma ของอังกฤษ อังกฤษรับไม่ได้จึงจัดการกับพม่าอย่างเด็ดขาด และได้ครอบครองพม่าอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2429  (พระเจ้าสีป่อถูกเนรเทศไปตั้งแต่ 29 พ.ย. 2428) และต่อมาอีก 3 เดือน ก็ได้ให้สิทธิการทำเหมืองทับทิมแก่นาย Streeter แต่ได้ไปลงนามสัมปทานกันในปี พ.ศ. 2432

นับจากนั้นมาก็มีการทำเหมืองทับทิมด้วยเครื่องจักรทันสมัย แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่คาดไว้ เหมืองทับทิมของนาย Streeter และพวกได้เลิกกิจการลงในปี พ.ศ. 2474 (42 ปีต่อมา) ซึ่งผู้สัดทัดกรณีกล่าวว่า ก็ได้ทับทิมในปริมาณพอๆกับที่ชาวบ้านขุดได้ในระยะเวลาเดียวกัน สำหรับเหมืองทับทิมที่เมืองโมกอคอีกเหมืองหนึ่งซึ่งใช้เครื่องจักรอันทันสมัย เริ่มในปี พ.ศ. 2432 ก็ได้ขอล้มละลายในปี พ.ศ. 2468 (36 ปีต่อมา)

นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อ J. Coggin Brown ให้ความเห็นไว้ว่า กาณีแร่ทับทิมหมดไปนั้นคงมิใช่สาเหตุสำคัญนัก ความคุ้มทุนในการทำเหมืองด้วยเครื่องจักรคงจะเป็นสาเหตุหลัก สำหรับแหล่งทับทิมในพม่านั้นเชื่อว่าครอบคลุมพื้นที่ถึง 600 ตารางไมล์

คงพอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่า ทับทิมพม่านั้นมีชื่อเสียงมาก่อนของไทยได้อย่างไร แล้วเลือนหายไปได้อย่างไร

ของสิ่งใดเมื่อซื้อหาได้ยาก มีปริมาณน้อยก็จะมีราคาสูง ในวงการทำเหมืองแร่รัตนชาติจึงไม่นิยมใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จะใช้เฉพาะในบางส่วนของกระบวนการทำเหมืองเท่านั้น

แหล่งทับทิมในพม่ามีทั้งทับทิมที่เป็นแร่ Corundum และที่เป็นแร่ Spinel  ซึ่งด้วยเทคโนโลยีในการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ทราบในปัจจุบัน  ทำให้เราสามารถแยกรัตนชาติสีแดงทั้งสองชนิดออกได้ค่อนข้างจะชัดเจน ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ที่เรียกกันว่าทับทิมพม่าที่สะสมกันมายาวนานในอดีตนั้นจะเป็นแร่อะไรกันบ้าง ประเด็นจึงไปอยู่ที่ว่าเราจะกล้าพอที่จะยอมรับหรือไม่ว่าหากเอาไปพิสูจน์แล้วปรากฏว่าเป็น Red Spinel หรืออื่นๆ
ผมคิดว่าอย่าไปคิดอะไรมากเลย ได้มาแล้ว เขาว่าเป็นทับทิมพม่าของแท้ก็เก็บไว้ด้วยความเชื่อและภูมิใจก็พอแล้ว คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ราคาแต่มันอยู่ที่ความเป็นรัตนชาติที่สวยงามและถูกใจเราเป็นอย่างยิ่ง คนที่เห็นก็ไม่รู้ ไม่รู้แม้กระทั่งเป็นแก้วสีธรรมดา ขนาดคนที่เรียนมาอย่างพวกผมที่รู้ค่อนข้างจะถึงในรายละเอียดมากๆของเนื้อในเลยยังบอกไม่ได้แม้จะใช้กล้องส่องดู ผมจึงได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของเพชรว่า ความมีคุณค่าของมันไปอยู่ที่คนที่นำมันมาใส่ด้วย 

ผมเองนั้น จึงไปชอบทับทิมที่เจียรนัยแบบหลังเต่า คือ กินบ่อเสี้ยง   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มี.ค. 12, 20:42
  
ผมคิดว่าอย่าไปคิดอะไรมากเลย ได้มาแล้ว เขาว่าเป็นทับทิมพม่าของแท้ก็เก็บไว้ด้วยความเชื่อและภูมิใจก็พอแล้ว คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ราคาแต่มันอยู่ที่ความเป็นรัตนชาติที่สวยงามและถูกใจเราเป็นอย่างยิ่ง คนที่เห็นก็ไม่รู้ ไม่รู้แม้กระทั่งเป็นแก้วสีธรรมดา ขนาดคนที่เรียนมาอย่างพวกผมที่รู้ค่อนข้างจะถึงในรายละเอียดมากๆของเนื้อในเลยยังบอกไม่ได้แม้จะใช้กล้องส่องดู ผมจึงได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของเพชรว่า ความมีคุณค่าของมันไปอยู่ที่คนที่นำมันมาใส่ด้วย 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 มี.ค. 12, 17:45
พ้นมาจากเรื่องทับทิมพม่า คราวนี้ก็เข้ามาในเขตประเทศไทย

ย้อนกลับไปนิดหนึ่งว่า พลอยจากแร่ Corundum นั้น หากมีสีแดงเรียกว่าทับทิม สีอื่นๆนอกเหนือจากสีแดง รวมเรียกว่า Sapphire ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า นิล
ต่อจากนี้เป็นเรื่องของ นิล ในประเทศไทย ผนวกด้วยเรื่องของทับทิมสยามเล็กน้อย และจะเป็นการคัดลอกเรื่องตามที่นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน ได้รวบรวม เรียบเรียงและเขียนไว้เป็นอนุสรณ์อย่างดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ที่หาได้ยากสำหรับคนทั่วๆไป

      “ นิลเป็นแร่อย่างเดียวกับทับทิม....นิลที่บริสุทธิ์จะปราศจากสี และเรียกกันว่า White sapphire นิลไร้สีนี้ไม่สวยอะไรนัก เม็ดเล็กๆใช้แทนเพชรในเครื่องประดับราคาถูกได้ แต่ส่วนมากจะใช้นิลสังเคราะห์ซึ่งราคาถูกกว่าธรรมชาติมาก ถ้านิลไร้สีมีไตตาเนียม (Titanium) และเหล็กเจือปนจะได้นิลสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sapphire แปลว่าสีฟ้าหรือสีคราม ในภาษาไทยแปลความหมายของนิลว่าสีดำ สีเขียวแก่ และสีขาบ  ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินแก่นั่นเอง เนื่องจากนิลมีสีต่างๆในสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ได้ทุกสี (ยกเว้นสีแดงซึ่งเป็นทับทิม) เมื่อนิลนั้นมีสีใดจึงต้องระบุไว้ด้วย เช่น นิลสีม่วง นิลสีเขียว ยกเว้นคำว่า นิลตะโก ซึ่งใช้เรียกแร่สปิเนลสีดำ และมิใช่แร่ในตระกูลเดียวกันกับทับทิมและนิล ลักษณะในธรรมชาติของนิลต่างกับทับทิมบางประการ คือ ทับทิมแต่ละเม็ดจะมีสีภายในเม็ดสม่ำเสมอกันและไม่มีแถบสี ยกเว้นนิลสีฟ้าซึ่งออกจะหายาก นิลสีฟ้าอาจมีสีอ่อน แก่ เข้มมาก จางมากในเม็ดเดียวกัน มีสีเป็นแถบสีเดียวหรือสองสีเช่นกล่าวมาแล้วในตอนต้น
       นิลสตาร์หรือนิลสาแหรก เป็นของหาง่ายกว่าทับทิมสตาร์มาก นิลสตาร์ที่มีมากที่สุดมีสีน้ำตาลแก่ จนเกือบดำ และในภาษาอังกฤษเรีกว่า Black star sapphire พลอยนี้ต้องเจียรนัยเป็นหลังเบี้ยจึงจะเห็นสตาร์ชัดเจน และสตาร์จะวิ่งหรือกลอกกลิ้งไปได้ทั่ว พลอยสตาร์ดำมีราคาต่ำกว่าพลอยสตาร์สีอื่นเป็นอันมาก เพราะสวยงามอยู่ที่สตาร์อย่างเดียว พลอยสตาร์สีฟ้าหายากและราคาสูง แต่พลอยสตาร์สีเหลืองและเขียวยิ่งหายากและราคาสูงขึ้นไปอีก พลอยสตาร์สีขาวเป็นของแปลกและสวยงามพอใช้ ทางพม่าไม่สู้จะนิยมกัน แต่ทางจันทบุรีนิยมมากและราคาสูง
       นิลสีฟ้าและสีน้ำเงินเป็นนิลที่นิยมกันมากที่สุด และนิลแคชเมียร (หรือที่เรียกว่า กัษมีระ) เป็นนิลที่ได้รับการยกย่องทำนองเดียวกับทับทิมพม่า คำว่า แคชเมียร เลยกลายเป็นเสมือนหนึ่งประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพในวงการค้ารัตนชาติของอังกฤษ และอาจจะรวมทั้งอินเดียด้วย ถ้าบอกว่า แคชเมียร ก็รู้กันว่าเป็นนิลชั้นดี และอย่างดีที่สุดนั้นสีข้าวโพดอย่างเข้ม และมีผิวสะท้อนแสงดูดังกำมะหยี่ ภายในดูคล้ายน้ำนมใสๆที่หมุนคว้าง  นาย เฮลฟอรด แวทกิ้น เอกทัคคะทางรัตนชาติของอังกฤษกล่าวว่า “นี่เป็นลักษณะเฉพาะของนิลแคชเมียร ซึ่งไม่มีนิลที่ใดเหมือน” แหล่งกำเนิดของนิลแคชเมียรนั้น อยู่ในสายเป็กมาไต๊ท บนภูเขาสังกร ซึ่งเป็นส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ในแคว้นกัษมีระที่อินเดียและปากีสถานแก่งแย่งกรรมสิทธิ์กันมาหลายร้อยปีแล้ว นิลแคชเมียรได้ออกสู่ตลาดโลกประมาณ 4-5 ล้านการัต แล้วก็หยุดไปเพราะหายากมากขึ้น ขณะนี้ไม่มีการผลิตอีกแล้ว


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 14:53
Kashmir sapphire  ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 15:04
เมื่อไปค้นรูป Black star sapphire มาให้คนอ่านกระทู้คุณตั้งได้ดูกัน   เห็นแล้วนึกถึงอัญมณีที่คลั่งไคล้กันเมื่อสัก 50 ปีก่อนขึ้นมาได้ เรียกว่า "อุลกะมณี"  เป็นนิล(หรืออะไรสักอย่างที่เหมือนนิล) สีดำสนิท   
คำว่า อุลกะ  ตรงกับบาลีว่า อุกกะ  เราใช้ในคำว่า อุกกาบาต  ยังไม่ได้ไปเปิดรอยอินว่าแปลว่าอะไร   แต่เดี๋ยวไม่คุณหนูดีดีก็คุณเพ็ญชมพูคงมาอธิบายเอง

ภาพนี้เป็น Black star sapphire ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 16:33
เห็นแล้วนึกถึงอัญมณีที่คลั่งไคล้กันเมื่อสัก 50 ปีก่อนขึ้นมาได้ เรียกว่า "อุลกะมณี"  เป็นนิล(หรืออะไรสักอย่างที่เหมือนนิล) สีดำสนิท    
คำว่า อุลกะ  ตรงกับบาลีว่า อุกกะ  เราใช้ในคำว่า อุกกาบาต  ยังไม่ได้ไปเปิดรอยอินว่าแปลว่าอะไร   แต่เดี๋ยวไม่คุณหนูดีดีก็คุณเพ็ญชมพูคงมาอธิบายเอง

๑. คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5) กรุณาอธิบายเรื่อง "อุลกามณี" ไว้ดังนี้

อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก
 
แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ

ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5c/Two_tektites.JPG/640px-Two_tektites.JPG)

๒. ความหมายของ อุลกา  उल्का ในภาษาสันสกฤต


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 19:11
เครื่องประดับ อุลกมณี(สะกดถูกแล้วนะคะ  :))


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 มี.ค. 12, 21:39
เขียนเรื่องอุลกมณีแต่ส่งไม่ได้ด้วยปัญหาบางประการ เอาไว้เขียนใหม่ครับ
ต่อเรื่องของนิลไปก่อนนะครับ

คัดลอกต่อนะครับ

ทับทิมและนิลของไทย
     แม้ว่าทับทิมไทยจะไม่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องเท่าทับทิมพม่า และแม้ว่านิลแคชเมียรจะได้รับการยกย่องเสียเลิศลอยก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรจะพูดได้เต็มปากว่า นิลของไทย ดีที่สุด สวยที่สุด เช่นเดียวดับความเห็นของชาวต่างประเทศส่วนใหญ่
     ในขณะที่ทับทิมพม่ากำลังมีชื่อเสียงก้องโลกนั้น นิลสีฟ้าจากเมืองไทยได้รับความนิยมอย่างเงียบๆไปทั่วโลกเช่นกัน เฉพาะในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ. 2432) อันเป็นเวลา 84 ปีมาแล้ว (ปัจจุบันคือ 123 ปีมาแล้ว) พ่อค้าพลอยคนหนึ่งในกรุงลอนดอน กล่าวยืนยันว่า ในปีนั้นเขาขายนิลสยามไปเป็นเงิน 70,000 ปอนด์ และได้มีการประเมินกันว่า กว่าครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 5 ใน 8 ส่วน) ของนิลที่ผลิตกันได้ทั่วโลกมาจากบ่อไพลิน จ.พระตะบอง ในพระราชอาณาจักรสยาม    นิลจากบ่อนี้มีสีน้ำเงินกำมะหยี่อย่างหาที่เปรียบมิได้ นี่เป็นความเห็นของนายสตรีทเตอรในปี 1892 อันเป็นเวลาที่ได้มีการขุดนิลที่บ่อไพลินต่อเนื่องมาประมาณ 20 ปีแล้ว และนิลแคชเมียรได้ออกสู่ตลาดโลกมา 10 ปี บริษัทอังกฤษเป็นผู้ทำเหมืองทับทิมและนิลที่โมกอคมา 3 ปี
     ในปี 1935 (พ.ศ.2478) อันเป็นเวลาหลังจากฝรั่งเศสได้โกงเอาบ่อไพลินไปแล้ว 42 ปี นายพันตรีเฮอรเบิต นอย (Major Herbert Noye…The Listener 20 Nov. 1935 p.928) กล่าวว่า ประเทศไทยผลิตนิลมากถึง ¾ ของโลกที่ผลิตได้ ซึ่งสูงยิ่งขึ้นกว่ารายงานของนายสตรีทเตอรเสียอีก ครั้นเวลาล่วงเลยมาอีก 33 ปี นั่นคือในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) พ่อค้าพลอยคนหนึ่งในกรุงลอนดอนกล่าวว่า ในระยะนั้นประเทศไทยผลิตนิลมากที่สุดในโลก ได้มีการประเมินกันว่า นิลที่ประเทศไทยส่งออกสู่ตลาดโลกมีมูลค่าปีละประมาณ 700,000,000 บาท (700 ล้านบาท) นี่ควรจะเพียงพอหรือยังสำหรับแสดงความนิยมนิลไทยในตลาดโลก
      บ่อพลอยในเมืองไทยนั้นคงจะรู้จักและขุดหาทำกันมาแต้โบราณแล้ว แต่ไม่อาจกำหนดเวลาให้แน่นอนได้ เราะไม่มีอะไรเป็นหลักฐาน
      นายไซมอน เดอลาลูแบร ราชทูตฝรั่งเศส ผู้มาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี 1687 (พ.ศ. 2230) กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของเขา ตอนพูดถึงเรื่องเหมืองแร่ว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงว่ามีเหมืองแร่มาก รัตนชาติจากเหมืองมี โมรา นิล และเพชร แต่ไม่ได้บอกว่าเหมืองนั้นตั้งอยู่ที่ใด เราอาจจะสันนิษฐานได้ว่า โมรา คงจะมาจากภาคกลางของประเทศไทย เช่น นครนายก ชัยบาดาล ที่ยังมีผู้ขุดหากันในทุกวันนี้  เพชร อาจจะพบในการทำเหมืองดีบุกที่ภูเก็ตช่นเดียวกับที่พบกันทุกวันนี้  ส่วนนิล อาจจะมาจากบ่ายบ่อแก้ว ในเขตติดต่อ อ.ลอง จ.แพร่ กับศรีสัชชนาลัย  หรือบ่อพลอยกาญจนบุรีมากกว่าจากทางตราดและจันทบุรี
      ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นายการะฝัด (John Crawford) (John Crawford, 1828…Journal of An Embassy from theGovernor General of India to Court of Siam & Cochin China, p.78) คนอังกฤษซึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี 1822 (พ.ศ. 2365) ...ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า นิล ทับทิม และบุษราคำ มีตามภูเขาที่จันทบูรณ์ และได้กล่าวไว้ด้วยว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงสงวนสิทธิในการทำพลอยไว้เป็นการส่วนพระองค์ ข้อหลังนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ยังเป็นที่สงสัย อาจจะเป็นความเข้าใจผิดก็ได้ เพราะจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งที่จันทบูรณ์และกาญจนบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่โบราณประมาณรัชกาลที่ 4 หรืออาจะตั้งแต่รัชกาลที่ 3 มีการส่งส่วยพลอยจากทั้งกาญจนบุรีและจันทบุรี    อนึ่ง จากหนังสือของนายการะฝัดเอง แสดงว่าเขาไม่ได้ไปจันทบูรณ์ แต่เขาได้เห็นพลอยและก็ควรจะเห็นพลอยเหล่านั้นในกรุงเทพ เป็นพลอยของบุคคล ไม่ใช่พระราชสมบัติของในหลวง ดังนี้ก็เป็นการแย้งกันที่เขากล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินสงวนสิทธิในการทำพลอย หรือมิฉะนั้น เจ้าของพลอยก็ได้มาโดยได้รับพระราชทาน หรือไม่ก็ได้มาโดยมิชอบ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 22:17
เขียนเรื่องอุลกมณีแต่ส่งไม่ได้ด้วยปัญหาบางประการ เอาไว้เขียนใหม่ครับ


วิธีแก้ปัญหา เมื่อส่งไม่ได้ ทำให้ต้องพิมพ์ข้อความใหม่
คือคุณตั้งคลิกที่ลูกศรมุมซ้ายบนของหน้าจอ  ซึ่งเป็นลูกศร go back one page นะคะ
หน้าที่มีข้อความพิมพ์เตรียมส่งจะย้อนกลับมา    ให้ copy ข้อความไว้  เพื่อส่งอีกครั้งได้ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 12, 22:58
เรื่องทับทิมพม่านั้น มีเม็ดงามที่สุดสีแดงเข้ม ใหญ่เท่าไข่นกพิลาปตกทอดเป็นพระราชมรดกมาหลายรัชกาล ชื่อว่าหงามุก Ngamauk จนถึงในรัชสมัยพระเจ้ามินดง ทรงถูกอังกฤษบีบคั้นหนัก จึงพยายามดำเนินวิเทโศบายที่จะเอาฝรั่งเศสมาคานอำนาจอังกฤษ โดยเอาทรัพยากรของพม่าที่ฝรั่งอยากได้มาล่อให้โลภ คุณตั้งเล่าไปแล้ว ครั้งหนึ่งทรงเอาพระธรรมรงค์หงามุกมาอวดคณะทูตการค้าที่เดินทางจากปารีสมาดูลาดเลา พวกฝรั่งเศสเห็นเข้าถึงกับตกตะลึง เมื่อถูกพระเจ้ามินดงรบเร้าให้ตีราคา จึงกราบทูลว่าทับทิมนี้มีค่าเท่ากับประเทศหนึ่งประเทศ พระเจ้ามินดงไม่ทันคิดในความหมายแฝง จึงทรงหัวเราะชอบพระทัย ในที่สุดก็ทรงเสียประเทศให้อังกฤษจริงๆ และสิ่งแรกที่อังกฤษปล้นไปจากพระราชวังที่มัณฑเลย์ก็คือ หงามุก ว่ากันว่าพระนางวิกทอเรียได้เคยนำมาประดับมงกุฏองค์หนึ่ง พออดีตพระราชินีไร้บัลลังก์ของพม่าเห็นรูปในหนังสือพิมพ์เข้าโวยวาย หงามุกก็ดำดินหายไป ปัจจุบันก็ยังไม่โผล่

ตอนนั้นอย่างที่คุณตั้งว่า ยุโรปเกิดกระแสบ้าคลั่งเพชรนิลจินดาอย่างแรง แพงเท่าไรก็มีคนสู้ราคา ทับทิมพม่าน่ะโด่งดังอยู่แล้วโดยมีอังกฤษผูกขาด ที่ฝรั่งเศสเข้ามาแหยมๆในพม่าก็อยากจะได้ทับทิมนี่แหละ แต่อังกฤษก็คอยแยกเขี้ยวขู่แง่งๆอยู่  ครั้นฝรั่งเศสได้อินโดจีนแล้ว ได้ข่าวว่าเมืองจันทบูรณ์มีพลอยดี ก็เลยหาเรื่องกับไทยเอาเรือรบมาข่มขู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกค่าปรับเป็นทองคำไปเท่ากับเงิน2ล้านฟรังก์และเงินไทยอีก3ล้านบาท  แถมเข้ายึดจันทบูรณ์และตราดเสียดื้อๆคนไทยคงจำได้  เป้าหมายของฝรั่งเศสอยู่ที่พลอยเมืองจันท์ ตัวที่ไปดังในยุโรปมากที่สุดคือBlue Sapphire  ผมเรียกตามตลาดว่าไพลิน ส่วนคุณตั้งเรียกนิล และ Yellow Sapphire ที่ตลาดเรียกว่าบุษราคัม (ความจริงเรียกผิด เพราะบุษราคัมจริงๆตรงกับ Topaz ที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนเกรดต่ำกว่ามาก สีเหลืองจางๆที่เราเรียกว่าบุษซีลอน แต่เดี๋ยวนี้นำมาเผาเป็นเหลืองเข้ม) ฝรั่งเศสยึดอยู่หลายปีดีดักกว่าจะยอมคาย  ว่ากันว่าเหตุที่ยอมคายก็เพราะไปเจอสายพลอยเข้าใหม่ที่บ่อเก่าของเมืองชื่อไพลินในเขมร

นี่คือBlue Sapphire หรือไพลิน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 12, 22:59
Yellow Sapphire คุณตั้งเรียกว่าอะไรนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 12, 23:26
ดิฉันคงจะเรียกชื่ออัญมณีพวกนี้ ไกลจากนักธรณีวิทยาและสถาปนิก ออกไปเป็นโยชน์  แถมศัพท์ที่คุณตั้งอธิบายให้ฟังในค.ห.ก่อนๆ อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าหัว  จำไม่ได้เสียอีก
ไปเจอแร่ธาตอีกชนิดหนึ่ง ฝรั่งเรียก onyx  ไทยแปลว่านิล    อินทรเนตรส่งรูปมาให้ดู เป็นสีดำปี๋

นิลที่ดิฉันเคยเห็นตอนเด็กๆ  ไม่ใช่สีดำ แต่เป็นสีน้ำเงิน มีทั้งน้ำเงินอ่อนและแก่    เจียระไนแบบหลังเต่า   เป็นพลอยทึบแสง   คนละสีกับไพลินอย่างเห็นได้ชัด     ไพลินดูใสกว่านิล  สีก็สดกว่า   และเจียระไนแบบเหลี่ยม 

ข้างล่างนี้คือ onyx  ดิฉันเรียกง่ายๆว่านิลดำ  คุณตั้งคงจะเรียกด้วยชื่ออื่น


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 เม.ย. 12, 08:02
^
ข้างบนคงเป็นนิลเมืองกาญจน์ แต่ในบ่อเดียวกันเห็นว่ามีSapphireอยู่ด้วย เอามาหุงเป็นไพลินขาย เขาว่าตลาดใหญ่ของ Blue Sapphireไทยอยู่ที่ฮ่องกง

ได้มาจากที่นี่

http://www.toow.com/qa/colored_stone/Q7956095395.html

 
สมัยหนุ่มๆผมมีเพื่อนชั้นดีชาวฮ่องกงจบจากคานาดา ไม่เหมือนพวกพ่อค้าข้างถนนในเกาลูนที่เราๆท่านๆเคยสัมผ้ส  วันหนึ่งพาแฟนมาเที่ยวเมืองไทย แฟนรบเร้าให้ผมช่วยพาไปซื้อพลอยร่วงสีน้ำเงินแบบที่จะไม่โดนตุ๋น จะเอาไปทำเรือนเอง ถามว่ามีงบเท่าไหร่ เธอบอกว่าสุดๆเกได้ห้าพันดอลล์(ตอนนั้นประมาณ๒๒บาทต่อดอลล่าร์) ผมไม่รู้จะพาไปร้านไหนเพราะทราบอยู่ว่าเข้าไปก็โดนเชือดแน่โดยผมจะช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย นึกออกว่าเคยผ่านสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยที่เป็นตึกแถวอยู่บริเวณสี่แยกเจริญผล เลยบอกว่าไปดูที่นี่ก็แล้วกัน ราคาถูกแพงไม่รู้แต่คุณจะได้พลอยสยามแท้ๆตามต้องการไปแน่นอน พอเข้าไปเจอเจ้าหน้าที่บอกที่นี่ไม่ใช่ที่ขาย จะไล่ให้ไปที่อื่นท่าเดียว พอดีนายกสมาคมเข้ามาในจังหวะนี้เลยเชิญเราสามคนเข้าไปในห้องทำงาน พอทราบความต้องการแล้วก็หันไปเปิดเซฟใหญ่โตข้างหลัง ค้นหากล่องเล็กๆออกมาเทลงไปที่ถาดข้างหน้าแล้วขยับโคมไฟส่อง บอกว่านี่เป็นBlue Sapphireแท้ๆของจันทบุรี คัดเกรดมาแล้ว ทุกเม็ดเป็นพลอยชั้นหนึ่ง ราคาตามงบของคุณ คุณผู้หญิงก็ตาเป็นประกายแต่ปากถามว่าดีกว่านี้มีไหม ท่านนายกก็เทกลับใส่กล่องไว้ หันไปหยิบอีกกล่องขั้นมาเทพลอยลงถาด มีเสียงฮือฮาออกมาพร้อมๆกันจากทั้งคู่ เสียงผู้หญิงนั้นเริงร่า แต่ของผู้ชายออกทำนองอั๊วตาย(...)แน่  ท่านนายกเป็นคนไทยเชื้อสายอินเดียที่มีอัธยาศัยดีมาก พูดจาสุภาพไม่ได้เอาแต่จะขาย ให้ความรู้ไปด้วย หยิบตัวอย่างมาแสดงประกอบว่าพลอยไทยชั้นเลิศมีอะไรบ้าง เช่นทับทิมสยามเม็ดนี้ต่างกับทับทิมพม่าเม็ดนี้อย่างไร นี่ก็Yellow Sapphireนะ คนไทยไปเรียกโทปาส ทำให้เสียราคาไปอย่างไม่เข้าเรื่อง นั่น โทปาสมันต้องเป็นอย่างนั้น  Blue Sapphireที่คุณผู้หญิงหยิบขึ้นมาเม็ดนี้นะหรือ ถ้าประมูลก็น่าจะได้ราคาสักแสนเหรียญ เพราะเป็นสีแท้ๆไม่ได้หุง  ไหนครับ นี่ครับนี่ เขาเอาไปเผาให้เข้มได้ถึงขนาดนี้ ผมไม่แนะนำให้ซื้อไป นี่โทปาสของศรีลังกาก่อนหุงก็สีเหมือนเม็ดโน้น หุงแล้วสีเหมือนYellow Sapphireของเรามั้ยนั่น แต่ดูออกครับถ้าชำนาญ ถ้าไม่ชำนาญก็……ฯลฯ  ฯลฯ

สรุปว่าคุณผู้หญิงเลือกได้เม็ดหนึ่งจากถาดแรกสุด ราคาตามงบเป๊ะ ไม่ลดซักสลึง  พวกเราก็ช่วยกันชมว่าสวย ๆ ๆ ๆ ดี ๆ ๆ ๆ ๆ เธอก็ยิ้มอย่างมีความสุข ขอบคุณผมทุกวัน ไปเจอกันอีกที่ฮ่องกงก็ใส่แหวนวงนี้มาอวด  ผมเองวันนั้นก็ได้ความรู้มากมายเล็กน้อยเรื่องพลอย พอที่จะมาฝอยให้ฟังในกระทู้บนๆนั่นแหละ ท่านตั้งห้ามซักถามต่อเพราะหมดภูมิเพียงเท่านี้
 
ก่อนลากลับผมขอบคุณท่านนายกท่านก็ยื่นนามบัตรให้ ผมทำหายไปนานแล้วหละแต่จำได้แม่น เพราะนามสกุลท่านคุ้นหูม๊ากมาก ชื่อคุณอนันต์ ซาลวาลา ทราบภายหลังว่าท่านเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ สอนพิเศษเรื่องอัญมณีให้นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ และได้ฉายาว่านักสู้ผู้เสียสละเพื่อวงการอัญมณีของไทย



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 01 เม.ย. 12, 15:31
ไปเจอบทความนี้โดยบังเอิญ แต่ไม่มีความรู้จึงอยากฟังท่านผู้รู้ ขยายความให้ฟังบ้างค่ะ


ปกป้องภูมิปัญญาไทย (1)
วันอังคารที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ผมได้รับโทรสารร่างงบประมาณโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น” ซึ่งทั้งโครงการใช้เงินประมาณหนึ่งพันกว่าล้านบาท  พอเหลือบสายตาไปที่รายการที่ 6 ก็พบเรื่อง  การเจียระไนขั้นสูง  เป็นการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ  ค่าเช่าเครื่องมือและอุปกรณ์  ฯลฯ  ภาษีของคนไทยต้องใช้จ้างฝรั่งทั้งหมด  21,840,000  บาท
อยากจะเรียนถามว่า  ทำไมเราต้องจ้างฝรั่งมาสอนการเจียระไนพลอย  คนไทยของเรานี่แหละ  เรื่องพลอยสีนี่เราเก่งที่สุดในโลก  เดี๋ยวนี้วงการพลอยจีนและอีกมากมายหลายประเทศ  พยายามจ้างคนไทยไปสอน  เราก็พยายามกีดกันไม่ให้คนของเราไป  เพราะเป็นการไปเปิดเผยความลับ  ทางภูมิปัญญาไทยให้คนอื่น  เป็นเรื่องอันตราย
นิติภูมิในฐานะเป็นอุปนายกสมาคมผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับไทย  แถมยังเป็นประธานฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ  ขออนุญาตเรียนเรื่องอย่างนี้รับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพหน่อยครับ  อุตสาหกรรมอัญมณีของไทยในขณะนี้ทำเงินเข้าประเทศปีละถึงหนึ่งแสนล้านบาท  ยังไม่รวมอัญมณีที่นักท่องเที่ยวซื้อติดมือ  ติดนิ้ว  ติดคอ  ออกไป  ซึ่งมีมูลค่าไม่ตํ่ากว่าปีละหลายหมื่นล้านบาท
แต่ความเข้าใจของคนไทยบางท่านไขว้เขว รวมทั้งความที่ถูกกลุ่มอิทธิพลของพ่อค้าอัญมณียิวอเมริกันเล่นงานพลอยมาตลอด  ในอนาคตวงการอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอาจจะถึงกาลล่มสลายก็ได้
โลกของเราใบนี้มีรัตนชาติเยอะแยะ  ไม่ว่าจะอเมทิสต์ ทับทิม ทูร์มาลีน เฮมาไทต์  ฯลฯ  แต่รัตนชาติที่สำคัญมีมูลค่ามหาศาลอยู่ในตลาด  มีอยู่เพียง  3  ประเภทหลัก  คือ  เพชร  มรกต  และพลอยเนื้อแข็ง
วงการเพชร  บัดนี้ตกอยู่ใต้อุ้งมือของพ่อค้าเพชรชาวยิวโดยสิ้นเชิง  มรกตก็เช่นกัน  วงการมรกตอยู่ในมือของพ่อค้ายิวทั้งหมดทั้งสิ้น
ส่วนคอรันดัม  หรือที่มีชื่อทางการค้า  เรียกว่า  แซฟไฟร์  หรือพลอยเนื้อแข็งนั้น  คนไทยครองความเป็นหนึ่งในโลกมากกว่า  90%  ของแซฟไฟร์ทั่วโลกผลิตมาจากเมืองไทย  เพราะเรามีภูมิปัญญาไทยในการผลิตที่คนจากประเทศอื่นไม่ทราบ
แม้ว่าวัตถุดิบที่เป็นพลอยเนื้อแข็งในประเทศแทบจะไม่มีแล้ว  แต่วัตถุดิบจากทั่วโลกก็ต้องไหลเข้ามาผ่านขั้นตอนการผลิตพลอยเนื้อแข็งในประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็นการเผาพลอย  การโกลนตั้งน้ำ  การแต่งขึ้นรูป  หรือแม้แต่การเจียระไน
การแต่งขึ้นรูปและการเจียระไน  อาจจะมีผู้คนจากบางประเทศทำได้บ้าง  แต่การเผาพลอยและการโกลนตั้งน้ำ  รับประกันว่า  ไม่ค่อยมีใครรู้  ไม่มีสอนกันตามสถาบันการศึกษาใดๆ เรียนกันเพียงจากพ่อสู่ลูก จากลูกสู่หลาน ฝรั่งทำงานนี้ไม่ได้
การเผาพลอยหรือการหุงพลอยเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ  คนเผาต้องใจถึงและมีความรู้เรื่องเชื้อพลอย  ถ้าเผาผิด  พลอยราคาเป็นล้าน  ก็อาจจะเหลือราคาร้อย  หรือไม่มีค่าเลยก็ได้  เผาเสร็จแล้วนำมาขึ้นรูปตั้งน้ำ  ถ้าตั้งน้ำถูก  พลอยอาจจะมีราคาเพิ่มไปถึง  3  แสน  แต่ถ้าตั้งน้ำผิด  ก็อาจจะเหลือเพียง  3  พันบาท  ภูมิปัญญาตรงนี้  ที่ทำให้รายได้เป็นแสนล้านบาทไหลเข้าประเทศไทยในแต่ละปี
ทุกวันนี้  ยิวซึ่งครองตลาดเพชรและมรกต  จึงพยายามโจมตีพลอย  บางคนถึงขนาดโจมตีในที่ประชุมว่า  พลอยที่พวกเอ็งคนไทยเก่งกาจฉกาจฉกรรจ์นั้น  เป็นของไม่มีราคาค่างวดอะไรมาก  เคยมีคนเล่าให้ผมฟังว่า  ท่านศาสตราจารย์อนันต์  ซาลวาลา  (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)  ลุกขึ้นโต้ตอบฝรั่ง  การออกแบบในโลกนี้  พวกท่านเคยเห็นใครนำพลอยไปล้อมเพชรไหม  ไม่มี  มีแต่ซื้อพลอยเป็นอัญมณีหลัก  แล้วก็จึงซื้อเพชรมาล้อมพลอย  แสดงว่าพลอยเด่นกว่า  พูดเท่านี้เองครับ  คนตบมือกันกราว  ฝรั่งคนที่โจมตีคุณค่าของพลอยนั้น  ถึงขนาดนั่งเงียบนิ่งเป็นลิงป่วย
ปัจจุบัน  พลอยที่คนไทยถนัดกำลังถูกโจมตีอย่างหนัก  จากพวกพ่อค้าเพชรและพ่อค้ามรกต  หากผู้คนในรัฐบาลไทยยังไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง  ในอนาคตเราอาจจะไม่ได้ชื่อว่า  ประเทศไทยคือเมืองหลวงของพลอยโลกก็ได้
พรุ่งนี้มารับใช้กันต่อครับ
•   นิติภูมิ  นวรัตน์


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 12, 19:17
เพื่อเพิ่มหรือลดความสับสนใ้ห้มากขึ้น

ผมขอคัดดลอกข้อเขียนในหนังสือแจกในงานศพนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    "ก่อนที่จะพูดกันต่อไปในเรื่องนิล ขอทำความเข้าใจความหมายของคำว่า นิล เสียก่อน เดิมเราเข้าใจกันว่า นิล แปลว่า ดำ เช่นพูดว่าดำเหมือนนิล...แต่ในพจนานุกรม ให้ความหมายของ นิล ว่า สีขาบ สีเขียวแก่ พลอยสีดำ หรือขาบ และให้ความหมายของ ขาบ ว่าสีน้ำเงินแก่   ในทางปฏิบัติคนทางจันทบุรีเรียกพลอยทุกสีว่านิล นอกจากพลอยแดงซึ่งเรียกว่าทับทิม ทางกาญจนบุรีมักเรียกตรงตัวว่า พลอยสีน้ำเงิน หรือพลอยสีฟ้า ถ้่าเหลืองก็เรียกพลอยเหลืองหรือพลอยน้ำบุษ และนิลของชาวกาญจนบุรีคือ สปิเนลดำ (Black spinel) ซึ่งเป็นรัตนชาติตระกูลอื่น มิใช่ตระกูลเดียวกับคอรันดั้ม  สปิเนลดำนี้ จันทบุรีเรียกว่าขี้พลอย แต่คนทางกาญจนบุรีก็ทราบดีว่า นิล ในที่อื่นเขาหมายความถึงอะไร   ในทางธรณีวิทยาเรียกคอรันดั้มรัตนชาติทุกสียกเว้นสีแดงว่านิล และเรียกสปิเนลว่านิลตะโก
     ทางจันทบุรีเรียกนิลสีฟ้าและนิลสีเขียวว่า นิลเขียวหรือพลอยเขียว นิลสีฟ้าหรือสีน้ำเงินที่ไม่เจือสีอื่นมักเรียกกันว่า "เขียวไพลิน" หรือ "ไพลิน" เฉยๆ ส่วนนิลสีเขียวใบไม้เรียกว่า "เขียวบางกะจะ"



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 เม.ย. 12, 20:31
เพื่อเพิ่มหรือลดความสับสนใ้ห้มากขึ้น

ผมขอคัดดลอกข้อเขียนในหนังสือแจกในงานศพนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    "ก่อนที่จะพูดกันต่อไปในเรื่องนิล ขอทำความเข้าใจความหมายของคำว่า นิล เสียก่อน เดิมเราเข้าใจกันว่า นิล แปลว่า ดำ เช่นพูดว่าดำเหมือนนิล...แต่ในพจนานุกรม ให้ความหมายของ นิล ว่า สีขาบ สีเขียวแก่ พลอยสีดำ หรือขาบ และให้ความหมายของ ขาบ ว่าสีน้ำเงินแก่   ในทางปฏิบัติคนทางจันทบุรีเรียกพลอยทุกสีว่านิล นอกจากพลอยแดงซึ่งเรียกว่าทับทิม ทางกาญจนบุรีมักเรียกตรงตัวว่า พลอยสีน้ำเงิน หรือพลอยสีฟ้า ถ้่าเหลืองก็เรียกพลอยเหลืองหรือพลอยน้ำบุษ และนิลของชาวกาญจนบุรีคือ สปิเนลดำ (Black spinel) ซึ่งเป็นรัตนชาติตระกูลอื่น มิใช่ตระกูลเดียวกับคอรันดั้ม  สปิเนลดำนี้ จันทบุรีเรียกว่าขี้พลอย แต่คนทางกาญจนบุรีก็ทราบดีว่า นิล ในที่อื่นเขาหมายความถึงอะไร   ในทางธรณีวิทยาเรียกคอรันดั้มรัตนชาติทุกสียกเว้นสีแดงว่านิล และเรียกสปิเนลว่านิลตะโก
     ทางจันทบุรีเรียกนิลสีฟ้าและนิลสีเขียวว่า นิลเขียวหรือพลอยเขียว นิลสีฟ้าหรือสีน้ำเงินที่ไม่เจือสีอื่นมักเรียกกันว่า "เขียวไพลิน" หรือ "ไพลิน" เฉยๆ ส่วนนิลสีเขียวใบไม้เรียกว่า "เขียวบางกะจะ"



นิลกาฬ โบราณใช้เรียก พลอยสีน้ำเงิน


กลอนจากระบำนพรัตน์ตอนหนึ่งว่า

"นิลกาฬน้ำเงินก่ำล้ำหมอกเมฆ รุจิเรศรุ่งโรจน์โชติอร่าม 
อำนวยสรรค์สุขารมย์อภิราม สิ่งดีงามหลามหลั่งสะพรั่งมา"


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 12, 21:02
ตอนนั้นอย่างที่คุณตั้งว่า ยุโรปเกิดกระแสบ้าคลั่งเพชรนิลจินดาอย่างแรง แพงเท่าไรก็มีคนสู้ราคา ทับทิมพม่าน่ะโด่งดังอยู่แล้วโดยมีอังกฤษผูกขาด ที่ฝรั่งเศสเข้ามาแหยมๆในพม่าก็อยากจะได้ทับทิมนี่แหละ แต่อังกฤษก็คอยแยกเขี้ยวขู่แง่งๆอยู่  ครั้นฝรั่งเศสได้อินโดจีนแล้ว ได้ข่าวว่าเมืองจันทบูรณ์มีพลอยดี ก็เลยหาเรื่องกับไทยเอาเรือรบมาข่มขู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกค่าปรับเป็นทองคำไปเท่ากับเงิน2ล้านฟรังก์และเงินไทยอีก3ล้านบาท  แถมเข้ายึดจันทบูรณ์และตราดเสียดื้อๆคนไทยคงจำได้  เป้าหมายของฝรั่งเศสอยู่ที่พลอยเมืองจันท์ ตัวที่ไปดังในยุโรปมากที่สุดคือBlue Sapphire  ผมเรียกตามตลาดว่าไพลิน ส่วนคุณตั้งเรียกนิล และ Yellow Sapphire ที่ตลาดเรียกว่าบุษราคัม (ความจริงเรียกผิด เพราะบุษราคัมจริงๆตรงกับ Topaz ที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนเกรดต่ำกว่ามาก สีเหลืองจางๆที่เราเรียกว่าบุษซีลอน แต่เดี๋ยวนี้นำมาเผาเป็นเหลืองเข้ม) ฝรั่งเศสยึดอยู่หลายปีดีดักกว่าจะยอมคาย  ว่ากันว่าเหตุที่ยอมคายก็เพราะไปเจอสายพลอยเข้าใหม่ที่บ่อเก่าของเมืองชื่อไพลินในเขมร

ใช่เลยครับ บุษราคำจริงๆนั้นตรงกับแร่ Topaz แร่นี้หากบริสุทธิ์จริงๆจะไม่มีสี แต่ตามปกติในธรรมชาติมักจะมีสีออกเหลืองอ่อนๆ หรือในสีที่มีสีเหลืองผสมอยู่ค่อนข้างมาก เช่นน้ำตาลอ่อน หรือส้มอ่อนๆ และรวมทั้งสีเทาอ่อนๆ    ทรายตามชายหาดและทรายท้ายรางเหมืองแร่ดีบุก ก็มีเม็ดทรายที่เป็นแร่ Topaz ปนอยู่ด้วยครับ  
  
เพื่อเป็นการยืนยันว่าความเห็นในเชิงประวัติศาสตร์ของคุณนวรัตน์ จึงขอคัดลอกมาอีก ดังนี้

  "...บ่อทับทิมของพม่าได้นำความยุ่งยากทางการเมืองมาสู่พม่าอย่างไร บ่อพลอยของไทยก็คงจะเป็นเหตุหนึ่งที่ฝรั่งเศสยึดจันทบูรณ์ใน ร.ศ.112 ....
เคียรนัน (E.V.G. Kiernan,1939  British Diplomacy in China 1880 to 1885) กล่่าวว่า "อังกฤษผนวกดินแดนซึ่งตนมีผลประโยชน์เพื่อคุ้มครอง ส่วนฝรั่งเศสผนวกดินแดนที่ตนปราถนาจะได้ผลประโยชน์ไว้คุ้มครอง"....ในครั้งนั้นฝรั่งเศสโดยมี อ.ปาวี (Auguste Pavie) อยู่หลังฉาก พยายามที่จะให้อังกฤษยอมรับว่าดินแดนลาวทั้งหมดตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสทั้งๆที่ไทยปกครองมาแล้วกว่า 1 ศตวรรษ และแม้ในแผนที่ที่นายวาดแดวต๋อง ทูตฝรั่งเศส ใช้ในการเจรจากับอังกฤษก็ยังแสดงว่าดินแดนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยาม สมัยนั้นยุโรปกำลังเห่อทับทิมและนิล นักวิทยาศาสตร์กำลังขมักเขม้นทำการค้นคว้าหาทางสังเคราะห์ทับทิมอยู่แข็งขัน ส่วนในอีกซีกหนึ่งของโลก ฝรั่งเศสเพิ่งถูกบังคับให้ถอนตัวจากพม่า บ่อทับทิมพม่ากำลังจะเป็นหมูเข้าปากอยู่แล้วต้องหลุดลอยไป เมืองไทยกำลังเป็นผู้ผลิตนิลมากที่สุดในโลก และเป็นที่รู้กันว่า นิลนั้นมาจากไพลินในประเทศสยาม ทับทิมมาจากบ่อนาวงและบ่อชะนะจังหวัดตราด บริษัทอังกฤษได้สัมปทานทำเหมืองทับทิมและนิลที่จันทบูร์และตราด ฝรั่งเศสดูจะเสียท่าอังกฤษไปเสียทุกแห่ง อ.ปาวี นั้นกล่าวกันว่าถูก inspired โดยนักสำรวจฝรั่งเศสรุ่นก่อนๆ เช่น Mouhot (Henri Mouhot,1859 Voyage dans les Royausumes De Siam, De Cambodge, De Laos   Paris p.95) และ Pallegoix (Mgr.Pallegoix,1854  Royaume Thai Ou Siam, Paris. p.78) เป็นต้น คนพวกนี้ได้เขียนเรื่องเขาพลอยแหวนไว้ว่าอุดมด้วยทับทิม นิล บุษราคำ และโกเมน อันสวยงามมากมายเหลือเชื่อ   นี่ควรจะเป็นเหตุหนึ่งที่ฝรั่งเศสโดย อ.ปาวี เป็นหัวเรือใหญ่ เมื่อได้ดินแดนลาวไปจากไทยแล้ว ยังพยายามจะฮุบเอาพระตะบอง จันทบุรี และตราดอีกด้วย แต่ภายหลังที่เข้ายึดจันทบูรณ์แล้ว จึงรู้ว่าพลอยส่วยใหญ่มาจากไพลิน จึงเข้าควบคุมการขุดพลอยที่นั่น และในขั้นสุดท้ายก็เอาไพลินเด็ดขาดไปจากไทยและถอนตัวจากจันทบุรีและตราด
    คนเรานั้นจะควบคุมกักขังอะไรก็ได้นอกจากจิตใจ แม้ฝรั่งเศสจะได้ไพลินไปสมใจ แต่ก็คุมคนที่ไพลินไม่ให้ขายพลอยออกมาทางจันทบุรีไม่ได้ จันทบูรณ์จึงเป็นเมืองที่รุ่งเรืองในการค้าและเจียรนัยพลอยตลอดมา ไม่เคยตกต่ำเลย  


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 12, 21:54
คุณหนุ่มสยามได้ให้คำมาอีกหนึ่งคำคือ นิลกาฬ = พลอยสีน้ำเงิน

นิหร่า (น่าจะเขียนว่านิลหร่า???) ก็เป็นอีกคำที่บอกว่าเป็นพลอยสีน้ำเงิน

แล้วทั้งสองนิลนี้ต่างกันอย่างไร???

แล้วเราก็มีคำว่า นิลตะโก ซึ่งคำนี้ต่างไปแน่นอน




กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 เม.ย. 12, 11:22
ตอนเด็กๆ คำว่านิลหมายถึงพลอยสีน้ำเงินหม่นๆ  ทึบแสง  เจียระไนแบบหลังเบี้ย หรือกลมนูน  ไม่มีเหลี่ยม   แม่เรียกว่า พลอยยิหร่า (คนละอย่างกับยี่หร่าที่เป็นเครื่องเทศนะคะ)   ต่อมาเห็นทางร้านขายเรียกว่า นิหล่า หรือนิลหล่า   เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่ง อาจจะชวาหรือมาเลย์
เป็นพลอยราคาถูก   ถ้าจะทำหัวแหวนต้องเม็ดใหญ่มากๆ ถึงจะเอามาล้อมเพชร    ถ้าเม็ดเล็กๆก็ทำสร้อยข้อมือ ใส่เล่น

คำว่ากาฬ ในนิลกาฬ ซึ่งเรียกเป็นคำคล้องจองอธิบายคำว่านพเก้า   มีคำประกอบว่า สีหมอกเมฆนิลกาฬ    แสดงว่านิลในนพเก้ามีสีแก่เกือบดำ  เหมือนเมฆฝน

นิลตะโก น่าจะเป็นสีดำสนิท เหมือนลำต้นตะโก  เป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง คนละอย่างกับนิลสีน้ำเงิน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 เม.ย. 12, 13:01
ตอนเด็กๆ คำว่านิลหมายถึงพลอยสีน้ำเงินหม่นๆ  ทึบแสง  เจียระไนแบบหลังเบี้ย หรือกลมนูน  ไม่มีเหลี่ยม   แม่เรียกว่า พลอยยิหร่า (คนละอย่างกับยี่หร่าที่เป็นเครื่องเทศนะคะ)   ต่อมาเห็นทางร้านขายเรียกว่า นิหล่า หรือนิลหล่า   เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่ง อาจจะชวาหรือมาเลย์

คำว่า "นิหล่า" เป็นภาษาพม่า มาจากภาษาอินเดียว่า "หนี่ลัม"  ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤตว่า nIla नील หรือ นิล นั่นเอง (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=nila&trans=Translate&direction=AU)

พลอยนิหล่าจากพม่ามักเจียระไนเป็นรูปโค้ง หลังเต่า ชนิดที่เจียระไนเป็นแบบรูปเหลี่ยมมีน้อยมาก หากมีรุ้งหรือดาวให้เห็นชัดเจน จะมีราคาสูงขึ้น พลอยชนิดนี้นำเข้ามาขายมากทางอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำว่า นิหล่า นี้ ชาวพม่าที่บ้านท่าขี้เหล็ก ตรงข้ามอำเภอแม่สาย เรียกว่า "ยี่หร่า" ซึ่งไม่ถูกต้อง ความหมายก็เลยกลายเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง

นิลตะโก น่าจะเป็นสีดำสนิท เหมือนลำต้นตะโก  เป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง คนละอย่างกับนิลสีน้ำเงิน

นิลตะโก หมายถึง แร่สปิเนลดำ (black spinel)

ข้อมูลจาก http://patchra.net/minerals/gems/sapphires02.php

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 เม.ย. 12, 19:53
แหล่งทับทิมและพลอยที่สำคัญของไทยอยู่ในเขต จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ซึ่งในอดีตได้มีการใ้ห้สัมปทานขุดพลอย (ดูจะมีอยู่เพียงครั้งเดียวสำหรับการให้สิทธิในรูปของสัมปทาน) แก่บริษัท Anglo Italian Exploring Association เมื่อปี พ.ศ.2432 ซึ่งในปีต่อมาได้โอนสิทธิให้กับบริษัท The Sapphires and Rubies of Siam Limited ของอังกฤษ ซึ่งสามารถผลิตพลอยในปีแรกได้ประมาณ 30,000 การัต ก่อนที่ฝรั่งเศสจะมายึดจันทบุรีและตราดในปี พ.ศ.2446 เข้าใจว่าการทำเหมืองน่าจะอยู่บริเวณบ้านบ่อนาวง จ.ตราด ซึ่งเป็นแหล่งที่พบทับทิมในปริมาณค่อนข้างมาก แหล่งบ่อนาวงนี้มีข้อมูลว่าได้เริ่มขุดกันมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2415 อีกสถานที่หนึ่งที่บริษัทนี้น่าจะเข้าทำเหมือง (หรืออย่างน้อยก็พยายามที่จะดำเนินการทำเหมือง) ก็น่าจะเป็นที่บ่อชะนะซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ่อนาวงไปประมาณ 50 กม.หลังจากการพบบ่อนาวงมาประมาณ 10 ปี ฤๅบ่อนี้จะเป็นต้นเหตุก้นบึ้งจริงๆที่ให้ฝรั่งเศสเกิดอาการโลภตาโตคิดยึดจันทบุรีและตราด
 
แหล่งอื่นๆที่พบทับทิมในยุคหลังมากๆ (ประมาณ พ.ศ.2510) ก็คือ บ้านหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด

สำหรับแหล่งนิล (พลอยในตระกูล Corundum) นั้น ได้มีการพบในพื้นที่ของหลายๆจังหวัด แต่ที่เด่นดังและรู้จักกันมากๆก็คือ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ซึ่งแท้จริงแล้วเราพบเราพบในอีกหลายๆจังหวัด เช่น อ.วังชิ้น อ.เด่นชัย จ.แพร่    อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย    อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์     อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี    อ.กันทรลักษณ์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ   และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

       
 

 
   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 เม.ย. 12, 20:47
ต่อไปจะขอหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อในเรื่องราวเชิงประวัติไปยังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นที่สนใจมากกว่านะครับ

คำหลักที่เกี่ยวพันจะนำมาถกกันคือ Synthetic, Imitation, Fake, Genuine, Treat, Dye, Stimulant และอื่นๆที่นึกออก 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 เม.ย. 12, 21:42
^
หนักเข้าไปอีก



.
ล้อเล่นน่ะคร้าบบ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 เม.ย. 12, 18:17
เกือบลืมไปเลยว่าจะไปว่ากันเรื่องเพชรของไทยก่อนที่จะไปในเรื่องอื่นๆ
ในประเทศไทยเราก็พบเพชรนะครับ พบในแหล่งแร่ดีบุก มีไม่มาก นานๆจะพบสักครั้ง เม็ดโตขนาดประมาณหัวไม้ขีดเป็นส่วนมาก แต่ที่มีขนาดถึง 5 การัตก็เคยได้ยิน พบกันมากแถวๆ อ.ตะกั่วป่า อ.กะปง จ.พังงา ที่ภูเก็ตก็มีแถวๆอ่าวทุ่งคากับอ่าวมะขาม  ที่ผมเคยเห็นมีทรงเป็นรูปผลึกค่อนข้างจะสมบูรณ์ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการพบแหล่งในเชิงพาณิชย์

ความน่าสนใจของเพชรที่พบในไทย คือ ต้นตอแหล่งที่มาของเพชรนั้นอยู่ที่ใหน
 
แต่ดังเดิมนั้นนักวิชาการเชื่อกันว่า เพชรจะพบเกิดอยู่ในหินที่เรียกว่า Kimberlite (ชื่อมาจากเมือง Kimberley ใน South Africa) เท่านั้น ซึ่งหินชนิดนี้พบอยู่ไม่กี่แห่งในโลก แหล่งที่พบมากที่สุดอยู่ในทวีปอัฟริกา หินชนิดนี้เป็นหินทีมีแหล่งกำเนิดจากใต้ผิวโลกที่ระดับลึกมากๆ เป็นหินอัคนีหลอมละลายที่แทรกทะลุผิวโลกขึ้นมาเป็นรูปทรงคล้ายหัวแครอต สภาพที่หินนี้แทรกขึ้นมาสู้ผิวโลกเป็นเหตุการณ์ที่รวดเร็วมาก อยู่ภายใต้ความกดดัน (Pressure) ที่สูงมาก มีอุณหภูมิที่สูงมาก ตัวหินเองมีปริมาณซิลิกา (Silica) ที่ต่ำมาก แกสที่อยู่ในหินละลายนั้นด้วยประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่สูงมาก จัดเป็นหินที่อัคนีพวก Extreme ทั้งในด้านองค์ประกอบแร่ธาตุและสภาพแวดล้อมในการเิกิด ซึ่งด้วยสภาพดังกล่าวนี้ หินนี้จึงผุพังได้ง่ายมากในสภาพแวดล้อมตามปกติบนผิวโลก การสำรวจหาจึงยาก ทั้งในเชิงของตำบลพื้นที่บนผิวโลกที่จะมีลักษณะเอื้ออำนวย และในเชิงของร่องรอยที่จะนำไปสู่ตัวมัน

การสำรวจทางธรณ๊วิทยาเพื่อการหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีอยู่ 2 ลักษณะวิธี คือ การใช้ข้อมูลสะสมจากที่ได้เคยมีการพบกันมา (Empirical approach) และการใข้ข้อมูลที่ได้มาจากการทดลองหาความสัมพันธ์ของเรื่องต่างๆในห้องแลบ (ในกรณีนี้ส่วนมากจะเป็นข้อมูลจากการทดลองที่เรียกว่า High pressure & High temperature Lab.) นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อเป็นแนวทางในการสำรวจ (Theoretical approach) ซึ่งประเทศออสเตรเลียได้ประสบผลสำเร็จและำได้พบแหล่งเพชรในหินอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ต่างไปจากหิน Kimberlite เกือบจะสิ้นเชิง มีแต่เพียงสภาพของการเกิดเท่านั้นที่เหมือนกัน แหล่งเพชรในออสเตรเลีย แม้จะให้เพชรส่วนมากที่มีคุณภาพในเชิงของอัญมณีไม่เท่ากับเพชรในบ่อดั้งเดิมทั้งหลาย แต่ก็ได้ทำให้ราคาเพชรในโลกมีราคาต่ำลง และทำให้มีเพชรที่จะใช้ในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น

สภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาของภูมิภาคแหลมไทยนี้ ยังไม่พบกันว่ามีลักษณะใดๆที่จะบ่งชี้ว่าจะเอื้ออำนวยให้มีสภาพ Extreme condition สำหรับการเิกิดหินที่จะให้กำเนิดเพชร แล้วเพชรของไทยมาจากใหน ก็ยังไม่รู้กัน แล้วก็แปลกที่เกิดร่วมอยู่ในชั้นดินที่มีแร่ดีบุกสะสมตัวอยู่ แถมยังคงมีทรงรูปผลึกอีกด้วย ซึ่งแสดงว่าแหล่งกำเนิดจะต้องอยู่ไม่ไกล เนื่องจากเพชรเปราะแตกได้ง่ายในระหว่างการถูกพัดพามา
เรามีนักวิชาการที่มีความรู้ดีมากๆเป็นจำนวนมาก แต่ขาดอุปกรณ์และเครื่องมือในการวิจัย ขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มิเช่นนั้นเราก็อาจจะทราบมากว่า 30 ปีแล้วว่าอะไรเป็นอะไร

เพชรของไทยจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง หากมีโอกาสได้พบเห็นก็น่าจะสอบถามซื้อเก็บสะสมไว้ เอามาทำเป็นแหวนหรือจี้ประดับไว้ใส่โชว์ในเชิงของคุณค่ามิใช่ในเชิงของราคา น่าเสียดายที่คงหากันไม่ได้อีกแล้ว เนื่องจากเหมืองแร่ดีบุกของเราเลิกทำกันไปหมดแล้ว       
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 เม.ย. 12, 18:35
ต่อไปจะขอหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อในเรื่องราวเชิงประวัติไปยังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นที่สนใจมากกว่านะครับ

คำหลักที่เกี่ยวพันจะนำมาถกกันคือ Synthetic, Imitation, Fake, Genuine, Treat, Dye, Stimulant และอื่นๆที่นึกออก 
หูผึ่ง   คุณตั้งจะดูเพชรให้ชาวเรือนไทยหรือคะ?
Synthetic  =  สังเคราะห์
Imitation   =  เลียนแบบ
Fake,        = ของปลอม
Genuine    = ของแท้
Treat        = ?
Dye          = ย้อมสี
Stimulant  = ?


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 เม.ย. 12, 18:52
เกือบลืมไปเลยว่าจะไปว่ากันเรื่องเพชรของไทยก่อนที่จะไปในเรื่องอื่นๆ
ในประเทศไทยเราก็พบเพชรนะครับ พบในแหล่งแร่ดีบุก มีไม่มาก นานๆจะพบสักครั้ง เม็ดโตขนาดประมาณหัวไม้ขีดเป็นส่วนมาก แต่ที่มีขนาดถึง 5 การัตก็เคยได้ยิน พบกันมากแถวๆ อ.ตะกั่วป่า อ.กะปง จ.พังงา ที่ภูเก็ตก็มีแถวๆอ่าวทุ่งคากับอ่าวมะขาม  ที่ผมเคยเห็นมีทรงเป็นรูปผลึกค่อนข้างจะสมบูรณ์ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการพบแหล่งในเชิงพาณิชย์
ผลึกของเพชร ที่ว่าหน้าตาคล้ายๆอย่างนี้ใช่ไหมคะ  แต่ว่าขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด   โตสุดก็ประมาณ 5 กะรัต


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 เม.ย. 12, 20:34
ผลึกของเพชร ที่ว่าหน้าตาคล้ายๆอย่างนี้ใช่ไหมคะ  แต่ว่าขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด   โตสุดก็ประมาณ 5 กะรัต

ผลึกของเพชรเป็นทรงปิรามิดประกบกันครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 เม.ย. 12, 20:48
อย่างนี้หรือคะ?


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 เม.ย. 12, 20:51
ใช่เลยครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 เม.ย. 12, 22:22
เหมือนยาอมให้ชุ่มคอเลย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 เม.ย. 12, 22:39
เห็นรูปที่ท่าน NAVARAT เอามาโชว์แล้วอึ้งไป ๕ วิ   ว่ามันคืออะไรกันแน่
จากนั้น จึงเอายาอม จาก De Beers มาต่อท้ายให้อีกรูป


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 เม.ย. 12, 22:16
หูผึ่ง   คุณตั้งจะดูเพชรให้ชาวเรือนไทยหรือคะ?
Synthetic =  สังเคราะห์   Imitation  =  เลียนแบบ   Fake = ของปลอม    Genuine = ของแท้ Treat = ?  Dye = ย้อมสี  Stimulant  = ?

ใช่เลยครับ แต่มาลองถกกันเพื่อความสนุก
 
ในปัจจุบัน พลอยหลายชนิดในหลายตระกูล สามารถผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ ทำเป็นอุตสาหกรรม มีผลผลิตออกมาขายในตลาดทั่วไป มีคุณสมบัติเหมือนธรรมชาติทั้งในเชิงของคุณสมบัติทางเคมีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์   
พลอยเหล่านี้จะใช้คำอธิบายคำใหนเหมาะมากที่สุด ระหว่าง Synthetic, Imitation, Fake, Stimulant, Genuine

แต่หากแยกโดยการใช้คำว่า Natural กับ Artificial เราจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในทันที
   
     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 เม.ย. 12, 20:31
เดาว่า สังเคราะห์ หรือ Synthetic  เพราะทำขึ้นมา   ส่วนคำว่า Stimulant ไม่ทราบว่าทางธรณีวิทยาแปลว่าอะไรค่ะ
รูปข้างล่างนี้ เขาบอกว่าเป็น   Synthetic-gemstones แต่ดิฉันไม่ทราบว่าเป็นพลอยที่ผลิตได้ในห้องปฏิบัติการอย่างที่คุณตั้งเกริ่นไว้หรือเปล่านะคะ
ถ้าเป็นพลอยผลิตได้ เขาผลิตจากแร่ธาตุชนิดไหน      ถ้าเอาพลอยเนื้ออ่อน สีอ่อน มาเผาให้สีสวย จนดูเหมือนทับทิม มรกต ไพลินฯลฯ อย่างนี้เรียกว่า  Synthetic หรือไม่   หรือว่าต้องเอาวัตถุที่ไม่ใช่แร่ธาตุมาทำให้เป็นพลอย?


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 07 เม.ย. 12, 15:03
อเมทิสของแท้ จะใสแจ๋ว หรือมีเนื้อหินอยู่ข้างในคะ

ที่เห็นวางขายอยู่ทั่วไป จะใสแจ๋ว คงเป็นพลอยสังเคราะห์ ใช่ไหมคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 เม.ย. 12, 20:45
ที่ยกคำเหล่านี้ขึ้นมาก็เพื่อจะได้เพิ่มความระมัดระวังในการซื้อพลอยต่างๆครับ
เดิมทีคิดว่าจะอธิบายในเชิงพัฒนาการของการใช้คำ แต่คิดไปคิดมา ลองเขียนไปเขียนมา ว่าเอาวิธีนี้ดีกว่า

ต่อไปนี้ผมจะใช้คำว่าพลอยกับคำว่า Stones ในความหมายถึงรัตนชาติทุกตระกูล
ในสถาพการณ์ของตลาดที่พลอยมีราคาสูง บางชนิดและบางสีก็หาได้ยากในธรรมชาติ มีผู้ต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ซื้อต้องการความแปลกและสีสรรมากขึ้น พร้อมๆกับต้องการซื้อในราคาที่ถูก
อนึ่ง ราคาของพลอยไม่มีมาตรฐานราคาประเมินที่แท้จริงและอ้างอิงได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจและการตกลงระกว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ยกเว้นเพชรที่มีระบบการประเมินราคากลางที่เป็นที่ยอมรับกัน) พ่อค้าพลอยที่ฝ่ายผู้ผลิตพลอยป้อนตลาดจึงพยายามจะสร้างวัตถุที่ไม่ใช่สร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติเพื่อนำมาทำเป็นพลอยป้อนตลาด ทั้งในเชิงของการเพิ่มปริมาณให้มีมากขึ้นและการทำให้มีราคาให้ที่ตำ่ลง
พลอยจึงถูกแบ่งง่ายๆ เป็นระหว่างพลอยที่เกิดในธรรมชาติกับพลอยที่ทำขึ้นมาโดยฝีมือของมนุษย์ ซึ่งในภาษาอังกฤษคงจะตรงที่สุดกับคำว่า Natural occurrence vs Artificial หรือ man made

แล้วก็พบกันว่า ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ได้มีการนำวัตถุอื่นๆมาใช้แทนพลอยธรรมชาติบางชนิดที่มีค่ามาก ในยุคเหล่านั้นมีการใช้แก้วและ Topaz แทนเพชร ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบพลอยเม็ดต่างๆในองค์รวมของเครื่องประดับนั้นๆ จึงคงจะเป็นที่มาของคำว่าของแท้กับของปลอม ซึ่งในภาษาอังกฤษคงจะตรงที่สุดกับคำว่า Real stones หรือ Genuine stones vs Fake หรือ Imitation ซึ่งทั้งสองคำนี้ได้ถูกนำไปใช้ในตลาดการซื้อขายพลอยในช่วงที่พลอยสังเคราะห์หลากหลายตระกูลยังมีเทคโนโลยีไม่ถึงระดับที่จะทำได้เหมือนของที่เกิดในธรรมชาติ       ในช่วงนี้คำว่า Fake กับ Imitation จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน
   
การพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตพลอยสังเคราะห์ให้ได้ใกล้ธรรมชาติที่สุดนี้ พอจะแยกออกได้เป็น 2 สาย คือ พวกที่ต้องการสังเคราะห์ให้ได้วัตถุที่เปล่งประกายเหมือนพลอยในธรรมชาติ กับพวกที่ต้องการสังเคราะห์พลอยที่มีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์เหมือนกับธรรมชาติ
 
พวกแรกได้ผลิตผล เช่น เพชรเทียม (Zirconia, YAG และ Moissanite) ซึ่งคำที่ใช้จำแนกระหว่างของที่เกิดในธรรมชาติกับของเทียม จึงน่าจะไปตรงกับคำว่า Natural stones หรือ Genuine stones vs Synthetic stones หรือ Imitation stones     ในช่วงนี้คำว่า Imitation กับ Synthetic จึงเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน
 
พวกที่สองซึ่งได้ผลตามมาในภายหลัง อันนี้ทำให้ยุ่งยากมาก ได้ทำให้การแยกระหว่างของที่เกิดในธรรมชาติกับของที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นไปได้ยากมากขึ้น  จะใช้คำอะไรดีในการจำแนก ในเมื่อมันมีคุณสมบัติเหมือนกันเกือบร้อยเปอร์เซ๊นต์
ยังครับ ยังมีเทคโนโลยีอืนๆอีก เช่น
    การเอาของแท้มาประกบกับแก้วบ้าง หรือเอามาประกบกับของอื่นๆที่เกิดในธรรมชาติแต่ต่างตระกูลกัน (ซึ่งให้ผลในเชิงการเปล่งประกายใกล้เคียงอย่างที่สุดกับพลอยชนิดที่วางขาย เป็นเทคโนโลยีที่ได้ผลผลิตเรียกว่า Composite doublet หรือ triplet   
    การทำโดยการสร้างหรือสังเคราะห์พลอยชนิดที่ต้องการ (สี) ครอบลงบนแร่ชนิดเดียวกันจากธรรมชาติ (ที่ไร้สี) หรือครอบลงบนแร่หรือวัตถุอื่นต่างชนิดต่างตระกูลกัน 
    การสร้่างสีสรรให้เปล่งประกายออกมาโดยการแต้มสีทีีจุดยอดของฐาน Pavilion
    การย้อมสีผิว (Etching) คือกัดผิวให้สีเข้าไปฝังบางๆอยู่ในผิวหน้า
    การเคลือบสี (Dying) คือเคลือบผิวด้วยสี
    การเผา (Heat treated) เพื่อให้สีเปลี่ยน พลอยสีฟ้าที่ขายในไทยเกือบทั้งหมดจะผ่านการเผา
    การฉายรังสี เพื่อให้เกิดสีและประกาย เช่น Citrine   
        ฯลฯ
คำเรียกพลอยที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ ได้แยกออกไปอีก เป็น Stimulant และ Treated ซึ่งในปัจจุบันนี้ คำว่า Stimulant ค่อนจะไปใช้ตรงกับพลอยสังเคราะห์ ในขณะที่คำว่า Treated นั้นไปใช้ตรงกับพลอยธรรมชาติที่นำไปผ่านกระบวนการเพิ่มสีสรรซึ่งอาจจะกลายเป็นของธรรมชาติในอีกชื่อหนึ่ง

ขอพักความสับสนไว้ตรงนี้สักวันหนึ่งครับ
 
 
 
 
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 เม.ย. 12, 18:56
ต่อไปอีกสักนิดเดียว
เป็นอันว่้า พลอยที่มนุษย์ทำขึ้นมานั้น ได้มีการพัฒนาไปไกลมากจนกระทั่งสามารถทำพลอยที่คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ได้เหมือนกับพลอยที่พบได้ในธรรมชาติเกือบ 100% หรือเต็มร้อยเลยทีเดียว ซึ่งกระบวนการที่นิยมทำกันในปัจจุบันนี้ ดูจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแรก สร้างพลอยขึ้นมาจากของเหลว ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมแบบที่พลอยธรรมชาติค่อยๆตกผลึกโตขึ้นมา (Hydrothermal method)   และอีกแบบหนึ่งสร้างขึ้นมาด้วยการหลอมละลายผงของสารประกอบทางเคมีที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อพลอยในธรรมชาติ หรือผงผสมอื่นๆที่เมื่อการหลอมละลายเริ่มเย็นตัวจะจับตัวกันทางเคมีเป็นเนื้อพลอยตามที่ต้องการ (Fusion หรือ Molten method) คำภาษาอังกฤษที่ตรงกับกระบวนการทำพลอยเหล่านี้ไปตรงกับคำว่า Stimulation มากที่สุด
 
วกกลับมายังคำต่างๆที่ใช้อธิบายพลอย ซึ่งผมเห็นว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาที่แท้จริงระหว่างฝ่ายผู้ซื้อกับฝ่ายผู้ขายมีอยู่หลายประเด็นมาก คือ ความไม่รู้จริงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้ซื้ออยากรู้อย่างหนึ่งแต่ได้รับคำตอบในอีกแบบหนึ่ง (ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อมูลที่แต่ละฝ่ายถามหรือต้องการ) การตั้งใจที่จะหลอกลวง และข้อมูลที่ถูกต้องกลายเป็นข้อมูลที่หลอกลวง

ยกตัวอย่าง คำถาม พลอยชิ้นนี้เป็นของแท้หรือของเทียม

ของแท้ในบริบทของคำว่า Genuine stone คำตอบที่อาจจะได้รับ มีอาทิ 
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นหินจริง (Stone) มิใช่แก้ว มิใช่พลาสติค แต่จะเป็นของธรรมชาติ สังเคราะห์หรือสร้่างขึ้นมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นพลอยที่เกิดในธรรมชาติ (Natural stone) แต่อาจจะมีการ Treated ด้วยการเผา ฯลฯ หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นพลอยที่พบในธรรมชาติจริงๆ (์Real, Natural occurrence) คือมาจากธรรมชาติจริงๆ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ

ของแท้ในความหมายของ Naturally occurred กับ Synthetic คำตอบที่อาจจะได้รับ มีอาทิ
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นแร่เป็นหินจริงๆ (Real mineral) แต่อาจจะไม่ใช่แร่ที่เป็นรัตนชาติตัวที่เรียกชื่อนั้นๆ
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นรัตนชาตินั้นจริงๆ (Real natural gemstone) แต่เป็นรัตนชาติพวกทำขึ้นมาด้วยฝีมือมนุษย์ (Artificial)
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นรัตนชาตินั้นจริง
ฯลฯ

ในมุมของฝ่ายผู้ซื้อ เรามักจะกังวลว่าได้ของจริงหรือไม่ ได้ของแท้หรือไม่ ได้ของธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งหรือไม่ เราคิดเอาเองว่าคนอื่นจะรู้ จะวิจารณ์เราว่าเสียค่าโง่ เราึจึงมักจะตำหนิตัวเองว่าถูกหรอกและซื้อของแพง ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ใช่ เราซื้อเพราะเราพอใจที่จะซื้อของในคุณภาพที่ตาเราได้เห็น ในราคาที่เราพอใจ และประการสำคัญ ผู้ที่ว่าเราก็ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะบอกได้ว่าของที่เราใส่อยู่นั้นมันเป็นอย่างๆไรจริงๆ พ่อค้าพลอยเองยังบอกยากเลยว่าอะไรเป็นของในธรรมชาติ อะไรเป็นของที่ปรุงแต่งทำขึ้นมาโดยฝีมือมนุษย์
 
     



     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 เม.ย. 12, 19:45
เพื่อความสะบายใจและไม่สะบายใจไปพร้อมๆกันครับ

พ่อค้าพลอยไทยย่านจันทบุรีและตราดเป็นกลุ่มคนแรกๆของโลกที่ทำการทดลองเผาพลอยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสี (ในยุค 60's) ลองผิดลองถูกจนกระทั่งสามารถเกิดเป็นภูมิปัญญาเฉพาะ เป็นผู้ชำนาญการในระดับสากล ย่านนี้จึงเป็นแหล่งผู้ผลิตพลอยป้อนตลาดที่าำคัญของโลกในเชิงของการ Enhancement

อาจจะกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญานี้ได้ทำให้พลอยสีในตระกูล Corundum เกือบจะทั้งหมดที่มีขายอยู่ในโลกเป็นพลอยที่ถูกเผา พลอยหลากหลายชนิดจากหลายประเทศได้ถูกนำเข้ามาเพื่อการนี้โดยเฉพาะและถูกเจียรนัยก่อนที่จะถูกส่งออกกลับไปสู่ตลาดโลก นี่แหละครับกึ๋นประการหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องประดับของไทย

ผมเคยอ่านพบว่า สมาคมอัญมณีของสหรัฐฯยังคงทึ่งในความสามารถของคนไทยในการทำเพชร Composite เม็ดหนึ่ง ขนาดที่เรียกว่าเป็นระดับชั้นครู ต้ิองใช้เวลาในการตรวจสอบวินิฉัยอยู่นาน จนต้องเขียนเป็นเรื่องเผยแพร่ในวารสารของสมาคม ซึ่งเขาไม่ใช้คำว่าปลอม (Fake) แต่ไปอยู่ในประเด็นเรื่องของการท้าทายในเชิงเทคโนโลยีในความสามารถของมนุษย์ที่จะสร้างและพิสูจน์สิ่งที่ทำขึ้นมาจนเหมือนจริง

สะบายใจได้นะครับว่า ผู้ใดที่ซื้อพลอยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพลอยใดๆก็ตาม มีโอกาสที่จะซื้อพลอยที่เป็นหินเป็นแร่จริงๆ แต่อาจจะไม่ใช่เป็นของจริงตามสภาพที่เกิดในธรรมชาติ

ห้ามคิดมากนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 10 เม.ย. 12, 00:12
ไม่ได้ตามอ่านกระทู้นี้อยู่ไม่กี่วัน เรื่องก็ดำเนินมาถึงเรื่องที่อยากอ่านพอดี
ขออนุญาตแจม (แบบคนไม่รู้เรื่องพลอย แต่พอจะรู้เรื่องโบราณคดีบ้าง)
เรื่องเผาพลอย หรือ 'พลอยหุง' นะครับ เพราะเป็นของที่ผมคิดว่าน่าสนใจครับ

ถ้าเอาหลักฐานทางโบราณคดีขึ้นว่ากัน...
มนุษย์รู้จักหุงแก้วขึ้นเทียมพลอยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปีเห็นจะได้
ในหนังสือชื่อ Periplus of the Erythraean Sea
(เขียนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1-3) โดยคนเขียนชาวกรีก เล่าเอาไว้ในหนังสือว่า
มีหินสีเขียวสดชนิดหนึ่ง รูปร่างเป็นปริซึมทรง 6 เหลี่ยม ถูกส่งไปยังกรีกจากอินเดีย
และเล่าต่อไปว่า... แต่พิสูจน์ได้ยาก เพราะมีการหุงแก้วเลียนแบบหินสีเขียวสดชนิดนั้นด้วย...

หลายๆท่านที่อ่านกระทู้นี้คงงง ว่าหินชนิดนี้ คือ อะไร (ผมขออนุญาตอุบไว้ก่อนแล้วกัน)
แต่ผมเชื่อว่าคุณตั้งคงทราบดี ว่าผลึกทรงนี้เป็นของแร่ตระกูลไหน..
ที่น่ากลัว คือ เราพบลูกปัดโบราณทรงนี้ สีนี้ (และสีที่ไล่ไปจนถึงฟ้าอ่อนด้วย)
ทั้งที่เป็นแก้ว และหินแท้ครับ... เขาหุงพลอยกันมาอย่างน้อยก็ 2000 ปีแล้ว เหอๆ


ปล. ถ้าคุณตั้งสัญญาว่าจะกลับมาเล่าต่อเรื่องสนุกๆแบบนี้อีก
ผมจะลองค้นเรื่องการเผาพลอย หรือหุงพลอยสมัย 2,000 ปีที่แล้วมาฝากครับผม
เชื่อว่าในแวดวงธรณีวิทยาไทยยังไม่ค่อยมีใครค้นมาทางนี้...
แต่ถ้าค้นได้ก็เราจะมีเรื่องสนุกๆให้เล่นกันต่อไปอีกหลายร้อยปีครับ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 เม.ย. 12, 09:04
เดาว่าเป็นมรกต ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 10 เม.ย. 12, 15:58
(http://www.irocks.com/db_pics/mdpics/MD-279100a.jpg)


อาจารย์เทาชมพูตอบถูกครับผม
เพราะผลึกมรกตเป็นรูปปริซึม 6 เหลี่ยมจริงๆครับ
แต่ลูกปัดโบราณที่พบ มีทั้งที่เป็นสีเขียวสด ไล่ไปจนถึงเขียวอมฟ้าอ่อนๆ
แสดงว่าคนโบราณพยายามทำลูกปัดเลียนแบบแร่ 'อความารีน' ด้วย
เนื่องจากเป็นแร่ในกลุม Beryl เหมือนกันครับผม


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 เม.ย. 12, 20:05
ถูกของคุณติบอครับ สำหรับกรณีการทำแก้วสี

การเผาพลอยหรือการหุงพลอย (ในมุมของการเอาพลอยธรรมชาติมาเผา) น่ามีมานานมากแล้วเช่นกัน  น่าจะเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ แล้วก็กลายเป็นความพยายามต่อๆมา แต่ก็คงไม่สามารถจะทำให้เกิดผลได้อย่างต่อเนื่อง คือได้เป็นบางครั้งและคงจะเป็นนานๆครั้ง ผมเชื่อว่ามีความพยายามอย่างต่อเนื่องมาตลอมาจนกระทั่งในปัจจุบัน
 
ที่ได้กล่าวว่าพ่อค้่าพลอยของไทยเป็นกลุ่มแรกๆของโลกที่เผาพลอยนั้น ในโลกปัจจุบันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ ได้มีความพยายามมุมานะทำกันอย่างต่อเนื่องในยุคที่มีการซื้อขายพลอยดิบจากต่างประเทศในลักษณะเหมารวม แล้วอาศัยฝีมือในการคัดพลอย การตั้งรูปทรงและการตั้งน้ำในเจียรนัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องขายได้ทุกเม็ด เพียงแต่ได้มากพอที่จะขายได้กำไร สำหรับพลอยที่สีไม่สวยที่คงเหลืออยู่นั้น ก็เลยเอามาลองเผากัน ทั้งแบบใส่ถ้วย Crucible ไม่ใส่ถ้วย ใส่ถ้วยปิดฝา ใส่ถ้วยปิดฝาปิดผนึกพอกด้วยดินโคลน ใส่สารบางอย่างในถ้วย ฯลฯ เผาที่อุณหภูมิต่างๆกัน ทำให้เย็นตัวด้วยวิธีต่างๆและในระยะเวลาต่างๆกัน มีการหารือ มีการใช้นักวิชาการ ใช้วิชาการ จนกระทั่งพอจะได้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับพลอยแต่ละลักษณะ แต่ละสี บางครั้งจากพลอยที่มีสีกลายเป็นพลอยที่ไม่มีสีก็มี ในยุคนี้ข้อมูลทางวิชาการที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการเผาพลอยที่เป็นเอกสารเผยแพร่ทั่วไปในโลกทางวิชาการมีอยู่น้อยมาก ซึ่งแม้ในปัจจุบันนี้เทคนิควิธีการต่างๆก็ยังไม่เป็นข้อยุติอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการลองผิดลองถูก เพียงแต่พอจะรู้ว่าจะต้องคุมตัวแปรใดในลักษณะใด  แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้วิธีการที่พอจะเป็นมาตรฐานและสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ในสัดส่วนที่มากพอคุ้มค่าต่อการลงทุน คือ พอจะอยู่ในสภาพของความสามารถที่จะคาดเดาได้ (Predictable)

หลักการสำคัญของการเผาพลอยตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิชา Thermodynamic ซึ่งในมุมง่ายที่สุดก็คือ (ในมุมยาก คือ Pressure, temperature, eh, pH, activity, fugacity ฯลฯ)  เป็นเรื่องของอุณหภูมิที่จะทำให้เกิดการเรียงตัวใหม่ของธาตุและสารประกอบในเนื้อพลอย ซึ่งอุณหภูมิที่จะทำให้เกิดสภาพดังกล่าวนี้ (กรณีหินและแร่) เริ่มตั้งแต่ประมาณ 700 องศาขึ้นไปภายใต้ความดันบรรยากาศปรกติ ไม่ขยายต่อนะครับ
เล่ามาเพียงเพื่อจะบอกว่า ในสมัยโบราณนั้นใช้เชื้อฟืนไฟจากไม้ต่างๆชนิด บางชนิดก็ให้อุณหภูมิที่สูงได้มากโดยใช้เทคนิคบางอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เกินประมาณ 400 องศา (ผิดพลาดได้นะครับ จำไม่ได้แล้ว) การเผาพลอยให้ได้สีหรือเปลี่ยนไปเป็นสีที่ต้องการจึงเป็นลักษณะของโชค เนื่องจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันนี้ ใช้เตาเผาที่ให้อุณหภูมิสูงกว่านั้นมาก
ข้อถกเถียงที่จะเกิดขึ้นคือ แล้วการถลุงแร่ถลุงโลหะที่ต้องใช้ไฟอุณหภูมิสูงมากๆก็ยังทำได้ ผมคิดว่าคงไม่มีคนพยายามจะเอาพลอยสักกำมือหนึ่งไปใส่ไว้ในกองเตาไฟถลุงแร่เป็นแน่


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 เม.ย. 12, 20:36
นำภาพพลอยเผามาประกอบค่ะ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=prakaikaew&month=03-04-2010&group=3&gblog=6


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 11 เม.ย. 12, 04:01
ขอบคุณ คุณตั้งมากๆครับ ที่มาเล่าต่อ
เอาล่ะ... ผมหาเรื่อง 'พลอยหุง' ชนิดที่ 2 มาเล่าต่อบ้างดีกว่า

พลอยชนิดนี้หลายๆคนที่ไปชมพิพิธภัณฑ์บ่อยๆคงรู้จักกันดี
แต่เชื่อไหมว่ามนุษย์รู้จักหุงพลอยชนิดนี้มาอย่างน้อยก็... 4,000 ปีแล้ว
เพราะจุดเริ่มต้นของโบราณวัตถุชนิดนี้ที่เก่าที่สุด
มาจากแหล่งโบราณคดีในเครือข่ายวัฒนธรรมฮารัปปัน
ในเมืองที่ชื่ Mergarth (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน)

พลอยชนิดนี้ ชื่อ 'คาร์นาเลียน' ครับ


(http://www.trocadero.com/jjoriental/items/684986/catphoto.jpg)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 11 เม.ย. 12, 04:12
ขออนุญาตออกตัวเสียก่อน... ว่าเรื่องที่เล่ามาแล้ว
และจะเล่าต่อไปนี้... ไม่ใช่งานศึกษาของผมเอง
แต่เป็นงานของ Peter Francis Jr.
ซึ่งตีพิมพ์ไว้ในหนังสือชื่อ Bead Trade นะครับ

ตัวผมเองเป็นแค่ผู้แปลใต้ดินคนหนึ่งเท่านั้น
ที่มีโอกาสแปลหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้อ่านที่อยากอ่านกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งได้อ่าน
น่าเสียดายอยู่สักหน่อย... ที่หนังสือไม่ได้พิมพ์ออกวางตลาด
พอเห็นโอกาสที่เหมาะ นักแปลใต้ดินอย่างผม
ก็เลยขออนุญาตหยิบงานเก่าขึ้นปัดฝุ่นมาวางบนแผงใหม่
หวังใจว่าท่านผู้อ่านแต่ละท่านจะไม่เคืองกันนะครับผม...


ในความเห็นก่อน ผมเริ่มต้นเรื่องลูกปัดคาร์นาเลียน
ไว้เมื่อ 4,000 ปีที่แล้วแล้ว ในเมือง Mergarth
แต่ 4,000 ปีที่แล้วยังน้อยไปครับ...
ขออนุญาตย้อนไปมากกว่านั้นอีกสักนิด....
เมื่อ 60 ล้านปีมาแล้ว!

หลายท่านที่เคยอ่านสารานุกรมภูมิศาสตร์มาบ้าง
คงพอจำกันได้ว่าอินเดียเกิดจากการชนตัวกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น
คือ แผ่นยูเรเชีย และแผ่นออสเตรเลีย
โดยมีตะเข็บรอยต่อใหญ่ยักษ์ระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่น
ที่ยกตัวขึ้นเป็นสันเทือกเขาที่สูงที่สดในโลก ชื่อ 'เทือกเขาหิมาลัย' นะครับ...

เมื่อ 60 ล้านปีที่แล้ว บริเวณประเทศอินเดียจึงเป็นท้องทะเลมาก่อน
การชนตัวกันของแผ่นเปลือกโลกนี่เอง ที่ทำให้ท้องน้ำบริเวณนี้เดือดเป็นไฟ
ความร้อน และน้ำร้อนจากใต้ผิวโลกรั่วไหลออกสู่ท้องน้ำลึกบริเวณนี้ตลอดเวลา
ในที่สุดก็เกิดเป็นภูเขาไฟใต้ทะเลที่สร้างสายแร่ควอร์ตซ์ขึ้นหลากหลายชนิด
ทั้งชนิดที่มีรูปผลึก เช่น อเมทิสต์ และควอร์ตซ์ใส
และชนิดที่ไม่มีรูปผลึกตายตัว เช่น อเกต และคาร์นีเลียน...


เอาล่ะพระเอกของเรามาแล้ว
แต่คนเล่าดันตาจะปิดแล้ว... ว่างเมื่อไหร่มาต่อใหม่นะครับ
หากคุณตั้งจะช่วยติแก้ หรืออธิบายเพิ่มเติมในส่วนไหน
ผมก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งนะครับ :)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 เม.ย. 12, 00:23
กลับมาต่อนะครับ... เพราะค้างนานไม่ได้
เดี๋ยวเรื่องจะชืดเสียหมด

Carnalian พระเอกของเรามาแล้ว
เขาเกิดมาจากสายแร่ที่ซึมออกมาจากภูเขาไฟใต้ทะเลเมื่อ 60 ล้านปีก่อน
ตอนแผ่นเปลือกโลกชนตัวกันเข้ากลายเป็นประเทศอินเดีย เทือกเขาหิมาลัย และที่ราบสูงเดคคาน
แต่นั่นมันแค่ภาคเบ๋บี๋ครับ... เวลาผ่านมาอีกหลายล้านปี
แล้วชั้นคาร์นเลียนที่ซ่อนตัวอยู่บนที่ราบสูงเดคคานก็ค่อยๆถูกลม-ฝนกัดเซาะ

หิน carnalian แต่ละชิ้นค่อยๆหลุดออกจากเนื้อหิน
แล้วถูกสายฝนชะลงมากองเป็นตะกอนอยู่ในก้นแม่น้ำหลายสายบนที่ราบแห่งนั้น
แล้วนางเอกของเรามาตอนไหน?

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาไฟใต้ทะเลมาก่อน
แร่ธาตุต่างๆที่เกิดขึ้นที่นี่จึงมีอีกหลายชนิด... นางเอกของเราชื่อ 'สนิมเหล็ก' ครับ
เธอมี 'สีแดง' (ใครนึกไม่ออกลองเอามีดกรีดดูเลือดตัวเองนะครับ ว่าสีของสนิมเหล็กเป็นยังไง)
ถึงแม้ว่าเธอจะพบได้ทั่วไป แต่บนที่ราบสูงเดคคานที่นี่... เธอมีอยู่มากกว่าที่อื่นๆของโลก
เธอมาพบกับพระเอกคาร์นาเลียนของเราฝ่านทางสายน้ำ...
และตกตะกอนทับถมลงที่ก้นแม่น้ำอยู่คู่กับเขา.. เวลาผ่านไปนานแสนนาน

หลายพัน หลายหมื่นปีผ่านไป
แล้วในที่สุดทั้ง 2 ก็หลอมรวมเข้าหากันและกัน
เนื่องจากเนื้อตัวของพระเอกของเรา 'พรุน'
และนางเอกของเรา 'ตัวเล็ก'... เล็กจนเข้าไปอยู่ในตัวของเขาได้
ในที่สุดคาร์นาเลียนที่พบจากก้นแม่น้ำหลายสายในทวีปอินเดียก็มีสีที่ต่างจากที่พบจากถิ่นอื่นๆของโลก...


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 เม.ย. 12, 00:31
แต่นั่นเป็นแค่จุดเริ่มต้นครับ..
เพราะในธรรมชาติแล้วคาร์นาเลียนมีสีน้ำตาล
ค่อนไปทางน้ำตาลอมเขียว หรือน้ำตาลอมแดง

การอยู่ร่วมกันของ 'พระเอก' และ 'นางเอก' ของเรา... จึงยังไม่เป็นที่รับรู้กัน
จนกว่าวันหนึ่ง... ที่พระเอกของเราจะไปฟอกผิวให้ตัวเอง 'แดง' ขึ้นมาด้วยความร้อน
คาร์นาเลียนสีแดงสดในธรรมชาติเป็นของที่แทบจะไม่พบเลย
แต่พลอยเนื้ออ่อนชนิดนี้สามารถเปลี่ยนสีได้ด้วยการเผาครับ
เพราะเมื่อเผาแล้วเนื้อพลอยจะเปลี่ยนสีจากน้ำตาล กลายเป็นแดง


4,000 ปีที่แล้ว ในเมืองโบราณ Mergarth
ลูกปัดคาร์นาเลียนสีแดงจำนวนหนึ่งบอกเราได้ว่า
คนที่นั่นรู้จัก 'ย่าง' คาร์นาเลียนเพื่อให้ได้สีที่พวกเขาต้องการแล้ว...
นี่อาจจะเป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นที่เก่าที่สุดในโลกครับ...
ที่บอกมนุษยชาติได้ว่า 'การหุงพลอยเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่'



โอเคล่ะ ผมขอพักเรื่องที่จะเล่าไว้เท่านี้ก่อนดีกว่า
เพราะตัวเองก็ไม่ได้มีความรู้ทางธรณีหรืออัญมณีวิทยาแต่อย่างใด
ที่เล่ามาก็เป็นแค่มิติและมุมมองจากหลักฐานทางโบราณคดีคร่าวๆเท่านั้น
ขออนุญาตรอคุณตั้งกลับมาช่วยอธิบายเพิ่มก่อนนะครับ
(เผื่อว่าผมออาจะเล่าผิดเล่าพลาดไปตรงไหนบ้าง)

หัตถอุตสาหกรรมผลิตลูกปัดคาร์นาเลียนยังดำเนินมาอีกยาวไกลในประวัติศาสตร์โลก
และจะเกี่ยวกับดินแดนที่ปัจจุบันเป็น 'ประเทศไทย' ในไม่ช้า...
แต่วันนี้ ผมขออนุญาตพักไว้เท่านี้ก่อนนะครับผม


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 เม.ย. 12, 21:47
Carnelian เป็นแร่ในตระกูล Chalcedony ซึ่งก็คือแร่ที่ตกผลึกใอุณหภูมิต่ำ (เกิดในสภาพบนพื้นผิวโลก) มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนแร่ Quartz (SiO2) ซึ่งก็คือน้ำ Silicon dioxide ที่หลงเหลือหรือเกินพอจากการไปผนวกกับธาตุต่างๆทำให้เกิดแร่ชนิดอื่นๆที่ตกผลึกที่อุณภูมิและความดันสูง
แร่ชนิดนี้จึงพบอยู่ในโพรงหิน และจะตกผลึกในหลายลักษณะ เช่น เป็นเส้นเข็มเล็ก เป็นก้อนเหมือนก้อนสำลี เป็นวงสีต่างๆ (Agate) แต่หากเป็นวงขาวสลับดำจะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Onyx น้ำแร่นี้จะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ทำให้ไม้กลายเป็นหินก็มี (Petrified wood) เนื่องจากนำ้แร่ผสมผสานกับธาตุได้หลายชนิด จึงเกิดเป็นสีต่างๆได้มาก นอกจากนั้นแร่นี้ยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือ เนื่อไม่แน่น จึงสามารถเอาไปย้อมสีให้เป็นสีต่างๆได้

แร่ในตระกูล Chalcedony ประเภทที่มีเนื้อไม่แน่น (เช่น คาร์นีเลี่ยน) เมื่อนำไปเผาสีจะเปลี่ยนไป บางครั้งจากที่มีสีก็กลายเป็นไม่มีสีก็มี คาร์เนเลี่ยน เป็นพวกที่มีสีออกสีน้ำตาลใหม้ หรือแดง จัดเป็นเครื่องประดับหรืออัญมณีอย่างหนึ่งในสมัยโบราณและยังคงมีการใช้มาจนปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความแข็งน้อยกว่าแร่ Quartz ตามปกติ ดังนั้นจึงสามารถแกะสลัก หรือแต่งให้เป็นทรงต่างๆได้ง่ายด้วยการขัดด้วยทรายละเอียด

คาร์เนเลี่ยน มักใช้ทำตราประทับบนไข (เทียนไข) เนื่องจากมันร่อนไม่ติดกัน ผมยังสงสัยไปด้วยว่า ที่ในสมัยก่อนที่เราเรียกว่าประทับตราครั่งนั้น จะเป็นตัวครั่งหรือตัวตราประทับก็ไม่ทราบล่ะ เพี้ยนมาจากคำนี้หรือเปล่า

แล้วก็ยังสงสัยอีกด้วยว่าลูกปัด Carnelian ที่นำมาเป็นภาพประกอบนั้น เป็น Carnelian จริงๆหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าลักษณะที่แท้จริงของมันจะค่อนข้างทึบแสง ไม่ใสเหมือนแก้ว

     






กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 เม.ย. 12, 21:56
คุณตั้งบอกว่า carnelian มีลักษณะทึบแสง  ไม่ใช่ใสอย่างแก้ว
เป็นแบบในรูปข้างล่างนี้หรือเปล่าคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 เม.ย. 12, 22:57
ดังรูปซ้ายที่ขัดแล้วแวววับ จะมี Vitreous luster แต่หากเป็นรูปทางขวาจะมี Dull luster
ผมอาจจะใช้คำผิดไป ตั้งใจจะใช้คำว่า Dull ครับ
หากผมเก็บได้ในห้วยในป่า ผมจะเรียกว่า Chert ซึ่งจะเป็นภาพรวมๆไปก่อน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 เม.ย. 12, 23:05
หากผมเก็บได้ในห้วยในป่า ผมจะเรียกว่า Chert ซึ่งจะเป็นภาพรวมๆไปก่อน
พอคุณตั้งบอกว่า  หากผมเก็บได้ในห้วยในป่า  ทำให้นึกถึงวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่สงสัยมานานแล้ว   เวลาบรรยายป่า  มาถึงลำธารทีไร กวีเป็นต้องบอกว่ามีกรวดสีต่างๆหลากสีราวกับเพชรพลอย     เมื่อก่อนก็ไม่รู้ว่ากวีเขียนตามจริงหรือใส่สีเข้าไปเอง  เพราะคิดว่ากรวดมันก็คือกรวด
พออ่านคำตอบคุณตั้ง  เกิดสงสัยขึ้นมาว่า มันคือรัตนชาติจำพวกนี้ละมัง
พรุ่งนี้จะไปเปิดหนังสือ ลอกมาให้อ่านค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 14 เม.ย. 12, 23:37
รออ่านคำตอบของ อ.เทาชมพู ด้วยคนครับ
เรื่อง carnelian ที่ใสเกือบจะเหมือนแก้วขุ่นๆ
ผมไม่แน่ใจ และไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับการเผาหรือไม่นะครับ

ถ้าคุณตั้งสะดวก อยากเรียนเชิญให้ไปชมที่ พช. พระนคร ก็น่าจะดีครับ
ตัวอย่างลูกปัดคาร์นาเลียนทีนั่น มีทั้งชนิดที่สีค่อนข้างทึบแสง และค่อนข้างใส
คละๆกันไป... ส่วนจะใส่เหมือนในภาพที่ผมนำมาประกอบหรือเปล่า
คงต้องให้คุณตั้งช่วยพิจารณาดูครับ
ผมเองก็เป็นแค่คนที่ศึกษามาทางโบราณคดี...
ถ้าจะให้เดาความเรื่องหินสีต่างๆ ก็ไปได้ไม่ไกลจนสุดเท่าคนที่ศึกษามาทางธรณีวิทยาครับผม


ปล. เหมือนวันนี้นั่งแปลงานเรื่องการใช้ตะกั่วผลิตแก้ว...
ผมก็ยังหาคำตอบไม่ได้ครับ ว่าในขณะที่โลหะต่างๆหลอมตัวเข้าหากัน
และยังไม่เย็นตัวลงจนเป็นแก้ว... ผมควรจะเรียกโลหะหลอมกลุ่มนั้นว่าอะไรดี? สารประกอบ? ของผสม? หรือคำอื่นๆ? จนปัญญาของผมแล้วครับ แหะๆ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 12:21
ค้น "ขุนช้างขุนแผน" อยู่ตั้งแต่เช้า     มีหลายตอนที่บรรยายถึงป่าดง     
ขอยกมาทีละตอนนะคะ

๑)  ครั้นถึงหว่างเขาชะโงก             เป็นตรวยโตรกเตียนตริบตลอดถ้ำ
เป็นแผ่นเพิงตระพักชะงักง้ำ             แต่ตีนต่ำแลต้องนัยน์ตาพราย
ต้องแสงสุริยนระยับแสง                 บ้างเด่นแดงแข่งเขียวประสานสาย
หมอกม่วงโมราราวระบาย                ลวดลายดุจแต้มเบญจรงค์
ที่เด่นแดงดังแสงปัทมราช               ประหลาดเล่ห์ปะวะหล่ำงามระหง
ที่ดำดังหนึ่งนิลบรรจง                    จับพงพฤกษ์พุ่มชอุ่มตา
ที่ขาวราวเม็ดเพชรรัตน์                   น้ำซัดเป็นระลอกกระฉอกฉ่า
ฝอยฟุ้งพุ่งเต้นกระเซ็นมา                 กระทบผาซ่าสาดสะเทือนไพร
                                             (พลายแก้วชมดง)


๒) เย็นฉ่ำน้ำไหลมาพลั่งพลั่ง              ล้นหลั่งถั่งชะง่อนก้อนภูผา
เป็นลำธารมาแต่ชานบรรพตา           ล้วนศิลาแลเลื่อมละลานใจ
ที่แดงเหมือนแสงทับทิมสด             ที่เขียวเหมือนมรกตอันสดใส
ต่างสีซ้อนซับสลับไป                   แลวิไลเพลิดเพลินตามเนินดอน
                                            (ตอนนางสร้อยทองชมดง)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 เม.ย. 12, 13:26
ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู มากๆครับผม

ดูเหมือนวิธีอธิบายสีสันของก้อนหินพวกนี้
กวีจะใช้ความเปรียบกับรัตนชาติทั้งนั้นเลยนะครับ
รอคุณตั้งมาอธิบายเรื่องรัตนชาติดีกว่า...
ผมขอหลบก่อน เพราะรู้มาน้อยเสียยิ่งกว่าหางอึ่งเสียอีกครับ  :)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 14:15
ยังหาบทที่บรรยายกรวดสีต่างๆในลำธารไม่เจอ   เจอแต่สีของหินก้อนใหญ่บ้างเล็กบ้าง     เอามาขัดตาทัพไปก่อนค่ะ

เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตระเพิงพัก                    แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล           บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 เม.ย. 12, 19:28
กลอนตามที่คุณเทาชมพูได้กรุณาค้นมาโพสท์นั้น
เนื่องจากพอจะทราบในทางธรณีวิทยาว่าอะไรเป็นอะไร ก็จึงขออาสาเดา แปลความออกมาว่าเป็นอะไรเป็นอะไร

เขาชะโงกเป็นหน้าผาของเขาหินปูน (Limestone) ซึ่งเนื้อหินถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นหินอ่อน จะเรียกว่าเป็นหินอ่อน (Marble) ทั้งหมดในเชิงที่เรารู้จักกันก็ไม่เชิง แต่ก็มีบางบริเวณที่เป็นหินอ่อนในลักษณะที่เราเห็นวางขายอยู่ตามท้องตลาด ในทางธรณีวิทยาจะเรียกหินปูนที่เนื้อหินถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นผลึกเล็กๆว่า Recrystalline limestone
เขาหินปูนจะมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่ง มองไกลๆหรือแม้จะดูจากภาพถ่ายทางอากาศก็จะทราบได้ คือ จะมีสันเขาที่เป็นหนอก เป็นยอดสูงต่ำ และมักจะเห็นหน้่าผาปรากฏร่วมอยู่ด้วย นอกจากนั้นแล้วก็มักจะมีถ้ำ (และสำนักสงฆ์) และที่บริเวณตีนหน้าผาจะมีเชิงลาด

เป็นแผ่นเพิงตระพักชะงักง้ำ  แต่ตีนต่ำแลต้องนัยน์ตาพราย
แสดงว่าเป็นเขาหินปูน และได้เดินอยู่ในพื้นที่ราบบริเวณตีนฐานของเชิงลาด

ต้องแสงสุริยนระยับแสง  บ้างเด่นแดงแข่งเขียวประสานสาย
กำลังบรรยายสิ่งที่เห็นอยู่สองสิ่ง คือ วลีแรกบรรยายถึงก้อนหินหรือก้อนแร่แคลไซด์ (Calcite) และวลีที่สอง บรรยายถึงแร่ดิกไกด์ (Dickite) หรือหินสบู่ที่เรารู้จักกัน (พบอยู่ในบริเวณนั้น)

หมอกม่วงโมราราวระบาย  ลวดลายดุจแต้มเบญจรงค์
กำลังบรรยายสิ่งที่เห็นอีกสองสิ่ง คือ วลีแรกบรรยายถึงแร่ดิกไกด์ และวลีที่สองบรรยายถึงแร่แคลไซด์

ที่เด่นแดงดังแสงปัทมราช  ประหลาดเล่ห์ปะวะหล่ำงามระหง
ทั้งสองวลีนี้น่าจะบรรยายถึงก้อนกรวดหรือแร่แคลไซด์ซึ่งผิวถูกเคลือบด้วยสีของน้ำสนิมเหล็ก (ก้อนแร่แคลไซด์ที่มีโพรงอยู่ตรงกลาง มักจะมีคราบสีแดง เนื่องจากจับน้ำสนิมเหล็กได้ง่ายมาก)

ที่ดำดังหนึ่งนิลบรรจง  จับพงพฤกษ์พุ่มชอุ่มตา
ทั้งสองวลีนี้น่าจะบรรยายถึงดินดำที่มีสีตัดกับพืชพรรณไม้ในที่นั้น (ดินที่มาจากหินปูนนั้น มีได้ทั้งสีดำและสีแดง จะมีสีดำหากมีเศษพืชเน่าเปื่อย -Humus ซึ่งแสดงว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก) และในระหว่างที่ไปเห็นนั้นน่าจะเป็นช่วงฤดูฝนหรือปลายฝน
 
ที่ขาวราวเม็ดเพชรรัตน์   น้ำซัดเป็นระลอกกระฉอกฉ่า
ฝอยฟุ้งพุ่งเต้นกระเซ็นมา   กระทบผาซ่าสาดสะเทือนไพ
น่าจะเป็นการบรรยายสิ่งที่เห็นในห้วย บริเวณที่เป็นตะพักน้ำ (ชั้นน้ำตกเล็กๆ) ซึ่งจะมีคราบหินปูนจับอยู่ตามขอบผนัง ที่ผิวของคราบหินปูนนี้หากพิจารณาดูดีๆจะเห็นผลึกของแร่แคลไซด์สีขาวใสเล่นแสงวาวระยิบระยับอยู่

ผมเห็นว่า นี่แหละครับ ฝีมือของกวีเอกไทย เอาเรื่องที่ได้เห็นมาเขียนเป็นกลอนอย่างไพเราะ กระชับ สั้น เห็นภาพ และเล่าเรื่องต่างๆได้อย่างละเอียด
 
แล้วสงสัยหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดจึงได้ด้นดั้นไปถึงเขาชะโงก นครนายกโน่น ???



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 19:35
ได้นักธรณีวิทยามาอ่านขุนช้างขุนแผน   อธิบายฉากได้ถึงแก่น(ของหิน)จริงๆ 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 19:38
อ้างถึง
แล้วสงสัยหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดจึงได้ด้นดั้นไปถึงเขาชะโงก นครนายกโน่น
เชิญวิสัชนา ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 20:24
ไม่รู้จักหินอย่างที่คุณตั้งบอกมาสักชื่อเดียว  ใช้อินทรเนตรสอดส่องดู   เพื่อจะเอารูปมาลงสำหรับคนที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้จะได้พลอยเห็นภาพไปด้วย
ถ้าผิดช่วยบอกด้วยนะคะ
จากซ้าย  limestone-Calcite-Dickite


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 20:26
แร่แคลไซท์ (calcite) มีหลายสี  สวยมากๆ เหมือนกวีบรรยายไว้เลยค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 20:31
ที่ขาวราวเม็ดเพชรรัตน์ อย่างนี้ละมั้ง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 20:34
เอ หรือว่าจะเป็น Dickite  เจอรูป  ก็ขาวเหมือนเพชรเช่นกัน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 เม.ย. 12, 20:50
ใช่เลยครับ ทั้งหินปูน แคลไซด์ และดิกไกด์ แต่สำหรับแร่ดิกไกด์นั้น ตัวหินที่พบมักจะเป็นสีสรรดังที่เห็นอยู่หลังรูปผลึกสีขาวด้านหน้า

แคลไซด์มีทรงผลึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทุบไห้แตกละเอียดเพียงใดก็จะยังคงแสดงรูปผลึกเหมือนเดิม พวกที่ใสมองทะลุได้นั้น หากเอามาวางทับบนเส้นดินสอจะเห็นเส้นดินสอเป็นสองเส้น เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของมันที่เรียกว่า Double reflection
 
ใครเห็นก็อดที่จะเก็บมาสะสมไม่ได้หรอกครับ มันไม่ใช่รัตนชาติ มันมีความแข็งน้อยกว่าเหล็ก เหล็กจึงขูดเข้า
แล้วก็เจ้าแร่แคลไซด์นี้เองที่ประกอบกันเป็นเนื้อแท้ๆของหินอ่อนต่างๆ ดังนั้น พื้นหินอ่อนจึงมักจะไม่นิยมให้คนใส่รองเท้าเหยียบเดินย่ำไป เพราะทรายที่ติดอยู่พื้นรองเท้าจะไปขัดมันกัดมันให้เป็นรอย หรือเปลี่ยนจากผิวมันเป็นผิวด้านไป พื้นบ้านพื้นอาคารเก่าแก่จึงมักจะไม่เรียบ เป็นคลื่นเป็นรอนก็เพราะถูดขัดสีฉวีวรรณไปด้วยรองเท้านี้เอง ดังนั้น ไปเที่ยวเยี่ยมชมวัดวาอาราม โบสถ์ หรือสถานที่ใดๆที่ใหนๆก็ตาม หากพื้นปูด้วยหินอ่อน ก็พอจะเดาได้จากพื้นอาคารนี้แหละว่า มีการใช้การ มีผู้คนมาเหยียบย่ำมากน้อยเพียงใด    


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 เม.ย. 12, 20:57
ผลึกของแร่ดิกไกด์นั้น มักจะมีสีขาว แต่ไม่ค่อยจะได้เห็นกันในธรรมชาติทั่วๆไปครับ ตัวแร่นี้มีความอ่อนมากขนาดเล็บขูดเข้า ดังนั้นจึงไม่ค่อนจะหลงเหลือให้เห็นบนผิวดิน เว้นว่าจะพบอยู่ในโพรงหรือช่องว่างในรอยแยกใต้ผิวดิน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 21:22
ขอแยกซอย ออกนอกเรื่องไปหน่อยนะคะ
ลูกกลมต่างๆสีข้างล่างนี้ ฝรั่งเรียกว่า marbles   ไม่แน่ใจว่าตรงกับที่ไทยเรียกว่าลูกหินหรือเปล่า   เพราะลูกหินเป็นของเล่นของเด็กผู้ชายยุคดิฉัน  เด็กผู้หญิงไม่เล่นกัน  
สมัยอยู่ชั้นประถม คุณตั้งกับคุณ NAVARAT คงเคยเล่นลูกหินกันมาแน่ๆ   ก็เลยอยากถามว่านี่คือลูกหินที่เล่นกันตอนเด็กใช่ไหม  และมันทำด้วยอะไรกันแน่


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 เม.ย. 12, 21:42
^
^
ลูกแก้ว 

http://www.youtube.com/watch?v=-0D-i_oKvKQ&feature=player_embedded#!

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 เม.ย. 12, 21:52
ขอแยกซอย ออกนอกเรื่องไปหน่อยนะคะ
ลูกกลมต่างๆสีข้างล่างนี้ ฝรั่งเรียกว่า marbles   ไม่แน่ใจว่าตรงกับที่ไทยเรียกว่าลูกหินหรือเปล่า   เพราะลูกหินเป็นของเล่นของเด็กผู้ชายยุคดิฉัน  เด็กผู้หญิงไม่เล่นกัน 
สมัยอยู่ชั้นประถม คุณตั้งกับคุณ NAVARAT คงเคยเล่นลูกหินกันมาแน่ๆ   ก็เลยอยากถามว่านี่คือลูกหินที่เล่นกันตอนเด็กใช่ไหม  และมันทำด้วยอะไรกันแน่

เคยเล่นครับ เคยทั้งที่ทำมาจากปูนซีเมนต์และลูกแก้วที่ฝรั่งเรียกว่า marbles นี้แหละครับ
 
คิดว่าลูกหินที่ทำมาจากแก้วซึ่งฝรั่งเรียกว่า marble นี้  ในมุมหนึ่งคือ น่าจะเรียกตามลายที่ปรากฎ ตามลักษณะของหินอ่อนมักจะมีลาย และในอีกมุมหนึ่งคือ ในถ้ำและตามผนังของน้ำตกที่ลำห้วยไหลผ่านพื้นที่ที่เป็นหินปูน เราจะพบลูกกลมๆตามจุดที่น้ำหยดลงมา คงเคยได้สังเกตเห็นนะครับ เมื่อแคะและแต่งให้ดีๆก็จะได้ลูกหินกลมๆดีๆนี่เอง ฝรั่งเรียกว่า Tufa ball ซึ่งมีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนหินปูน เหมือนแร่แคลไซด์ แต่มีเนื้อฟ่าม ออกสีเหลืองๆบ้าง เทาอมเหลืองบ้าง หินอ่อนที่ออกสีเหลืองๆมีลายเป็นเส้นๆ และเห็นจุดเหมือนรูบนแผ่นหิน ที่นำมาปูพื้น หรือนำมาเจียรให้เป็นโคมไฟนั้น ก็คือ Tufa นี้เอง และเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็มีชื่อเรียกว่า Travertine
ลูกกลมในถ้ำนี้ ไทยเราเอามาปลุกเสกทำเป็นเครื่องรางของขลังกัน แต่ก้อนกลมๆที่เกิดในลักษณะนี้ไม่แข็งมาก คือเปราะแตกค่อนข้างง่ายเมื่อกระทบกันแรงๆ
จากนี้ไป เดาแล้วนะครับ ดังนั้นเมื่อทำจากลูกแก้ว ซึ่งจะมีความเหนียวและแข็งพอๆกับหิน เมื่อใส่ลายเข้าไปเพื่อให้มองเห็นชัดเจน ก็เลยเรียกว่า Marble
   
มาพิจารณาตอนแก่เฒ่านี้ ก็เห็นว่า คนสมัยก่อนนี้ก็ไม่ธรรมดานะครับ ลูกแก้วที่ทำจากแก้วจะลูกเล็กกว่าหน่อยนึง และลูกหินที่ทำจากปูนก็จะมีขนาดใหญ่กว่าหน่อยนึง แต่ที่สำคัญคือมันจะมีน้ำหนักเท่าๆกัน สาเหตุก็เพราะว่าแก้วมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 2.7 ในขณะที่ปูนจะมีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าเล็กน้อย ดังนั้นการปรับแต่งขนาดของลูกหินเพื่อให้ได้มีน้ำหนักเท่าๆกัน ก็จะไม่ทำให้มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบกันเหมือนนักมวยชกกันในพิกัดน้ำหนักเดียวกัน

ฤๅ เด็กฝรั่งก็เล่นลูกหินเหมือนเรา เหมือนกัน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 เม.ย. 12, 22:12
ขอบคุณค่ะคุณตั้ง 
เด็กผู้ชายไทยคงจะเล่นลูกหินแบบในรูป    ใช้คำว่า tufa ball ไปค้นเจอจากกูเกิ้ล    แต่รูปนี้น่าจะเป็นลูกหินประดับสวน  ลูกใหญ่กว่าลูกหินเด็กเล่นมาก


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 เม.ย. 12, 22:13
เด็กฝรั่งเขาเล่น marbles กันแบบนี้ค่ะ   เหมือนเด็กไทยยุคคุณตั้งเล่นกันไหมคะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ปัญจมา ที่ 03 ม.ค. 15, 08:28
^
ถ้าคุณปัญจมาไม่กลับมาเขียนภาษาอเมริกันวันละคำ   คุณตั้งจะตั้งกระทู้เรื่องภาษาอังกฤษวันละคำ  commerce กับ trade ก็ได้นะคะ
ดิฉันก็อยากรู้เหมือนกันว่า มันต่างกันยังไง

ขอประทานโทษอาจารยฺด้วยค่ะที่เข้ามาตอบช้าาาามากกกกก     ตั้งแต่เปลี่ยนงานนี่ชีวิตยุ่งเหยิงพัลวัน  กะว่าปีใหม่ได้หยุด 4 วันจะหาเวลาเขียนคอลัมน์ส่งอาจารย์ก็ยังไม่ได้เริ่มเลย   ป๊อบแป๊บวันหยุดก็จะหมาดแล้ว...เฮ้อ...

เอาเรื่อง trade กับ commerce ก่อนก็แล้วกันนะคะ

    ถ้าเราไปเปิดพจนานุกรมภาษาอังกฤษดูก็จะเห็นว่า  เขาบัญญัติความหมายของคำว่า trade และ commerce ไว้ใกล้เคียงกันมาก  คือ the act of selling and buying goods and services การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ   (ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคล บริษัทห้างร้าน องค์กร หรือประเทศก็ตาม)  แต่ในศัพท์เศรษฐศาสตร์และการใช้อย่างเป็นทางการหรือ formal usage นั้น  โดยมากแล้ว trade จะใช้ในวงที่แคบกว่า commerce ค่ะ   เนื่องจากฝรั่งเขาถือกันว่า trade เป็นแขนงหนึ่งของ  commerce  เพราะ trade คือการซื้อขายแลกเปลี่ยน   แต่ commerce คือตัวระบบโดยรวมที่จะทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่นนั่นเอง   (อันต้องประกอบไปด้วยการขนส่งระหว่างประเทศ  ธุรกิจประกันสินค้า  การทำธุรกรรมผ่านธนาคาร   การจัดหา warehouse สำหรับสินค้าที่จะผ่านเข้าออกพรมแดน  เป็นต้น)     

ในอเมริกา สำนักงานผู้แทนทางการค้าของเขา  (ซึ่งขึ้นต่อสำนักงานประธานาธิบดีโดยตรง)  จะดูแลเฉพาะเรื่อง trade in goods and services  หรือการนำเข้าส่งออกสินค้าและบริการเท่านั้นค่ะ  (แต่คำว่า “บริการ” นั้นครอบคลุมกว้างมาก  และบริการประเภทหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้การเจรจาเปิดเสรีทางการค้าและบริการยังติดๆ ขัดๆ อยู่ทุกวันนี้ก็คือบริการด้านโทรคมนาคม)      ส่วนในบ้านเรา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่อง trade และ commerce โดยมากแล้วจะอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงพาณิชย์เสียทั้งหมด     เช่น  เรามีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  (เดิมชื่อกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์)  เป็นหัวหอกในเรื่องการต่อรองเพื่อลดกำแพงทางการค้าต่างๆ    และมีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไว้ดูแลเรื่องการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ   ขณะเดียวกัน  เราก็มีกรมการค้าภายใน  เอาไว้ดูแลราคาสินค้าในตลาดให้เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  รวมทั้งส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม  ลดการผูกขาด   และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เป็นหน่วยงานที่เราต้องติดต่อเวลาจะจดทะเบียนห้างร้าน บริษัท  เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม  เวลาที่เรามีการเจรจาทางการค้า (trade negotiations)  กับประเทศอื่นๆ    เราก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษีศุลกากรจากกระทรวงการคลังไปนั่งเป็นผู้แทนด้วย   เพราะกระทรวงการคลังมีหน้าที่ดูแลออกกฎหมายและจัดเก็บภาษีนั่นเองค่ะ       



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 16, 19:26
ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อจะบันทึกถึงรัตนชาติน้องใหม่ล่าสุด   เพชรสีม่วงออกน้ำเงินที่หายากที่สุดในโลก  ชื่อว่า The  Argyle Violet  เจียระไนรูปไข่   เดิมเมื่อเป็นเพชรดิบขุดขึ้นมาได้จากเหมืองชื่อ Argyle  ในออสเตรเลีย  หนัก 9.17 กะรัต  เจียระไนแล้วเหลือ 2.83 กะรัต
กะกันว่าราคาเมื่อนำออกประมูลจะได้เกิน 4 ล้านดอลล่าออสเตรเลีย

http://www.telegraph.co.uk/news/2016/05/03/impossibly-rare-violet-diamond-found-in-remote-mine-expected-to/ (http://www.telegraph.co.uk/news/2016/05/03/impossibly-rare-violet-diamond-found-in-remote-mine-expected-to/)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ย. 22, 18:55
ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ จากกระทู้ ถามคุณตั้งเรื่องหิน (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7310.msg181802#msg181802) ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ย. 22, 19:22
มารอต้อนรับค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 22, 14:15
ไพลินเม็ดนี้ชื่อ BLUE BELLE OF ASIA....
เป็นไพลินใหญ่อันดับ 4 ของโลก  ขุดได้จากรัตนปุระ ศรีลังกา เมื่อปี  1926. ขนาด  392.52 กะรัต (เมื่อยังไม่ได้เจียระไน) เป็นสีน้ำเงินนกยูง (peacock blue)  
ไพลินเม็ดนี้ถูกนำมาประดับสร้อยคอเพชรบนเรือนแพลตตินัม  นำออกประมูลในงานประมูลเพชรหายาก ที่เจนีวา โดยห้างคริสตี้ เมื่อปี  2014,   ขายไปในราคา 116,965,000  ฟรังค์สวิส หรือ $17,564,1567 ดอลล่าร์ เป็นราคาสูงสุดเท่าที่เคยมีการซื้อขายไพลิน



กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 22, 14:47
 :)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 22, 14:59
ถ้าสงสัยว่าสีฟ้านกยูงคืออะไร  ไปหารูปสีฟ้าต่างๆ มาให้ดูค่ะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ก.ย. 22, 18:35
ก่อนจะเล่าความต่อไปในเรื่องของรัตนชาติและอัญมณี  จะต้องขอบอกกล่าวพื้นฐานบางอย่างว่า    แร่แต่ละตัวมีความหลากหลายในเรื่องของสิ่งที่ปรากฏออกมาให้เห็นตามธรรมชาติของมัน (Variety)  น่าจะพอเทียบได้กับความต่างของยานพาหนะที่เราเรียกว่ารถเก๋ง รถบรรทุก รถสามล้อ...   และมันก็ยังมีความหลากหลายในเรื่องของๆที่เป็นองค์ประกอบภายในตัวของของมัน (Variation) เช่นกัน ก็น่าพอจะเทียบในเรื่องเช่น การจัดพวงมาลัยรถให้อยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวา จำนวนที่นั่ง ลักษณะประตูเปิด-ปิด...   

แร่นั้น จัดแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี มีเพียง 8 กลุ่ม แบ่งตามระบบผลึก มีเพียง 7 ระบบ  เมื่อผนวกเรื่องของ Variety และ Variation เข้าไปด้วยแล้ว ที่พบอยู่ในธรรมชาติในปัจจุบันนี้มีการกำหนดชื่อให้มันไปแล้วมากกว่า 4,000 ชื่อ  เกินความสามารที่จะจำชื่อได้ทั้งหมด    ก็เพียงจะบอกว่า เรื่องราวที่ขยายความนั้น เป็นสิ่งที่ประมวลได้มาจากความรู้พื้นฐาน+ความรู้สะสมเพิ่มเติมเชิงวิชาการมีเผยแพร่อยู่ในเว็ปไซต์ต่างๆ ครับ
 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ก.ย. 22, 19:32
ถ้าสงสัยว่าสีฟ้านกยูงคืออะไร  ไปหารูปสีฟ้าต่างๆ มาให้ดูค่ะ

ผมมีความเห็นว่าทั้งหมดนั้นเป็น Turquoise ที่เรียกชื่อตามสีที่มีการบรรยายลักษณะสีต่างๆของมัน   

Turquoise มักจะพบตามรอยแยกของหิน แม้จะพบกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของโลก แต่ก็จัดเป็นของหายาก เพราะพบในปริมาณไม่มากในแต่ละพื้นที่  เป็นแร่ที่มีสีฟ้า+เขียว (Bluish green หรือ Greenish blue) ซึ่งมาจากสีสนิมทองแดงและอลูมินัมในเนื้อของมัน ทึบแสง คล้ายก้อนดิน ไม่เป็นผลึก

Turquoise ที่เอามาทำเป็นเครื่องประดับจะมีราคาค่อนข้างสูง  มีระดับราคาที่แตกต่างกันไปตามความนิยมและความเชื่อ  ขึ้นอยู่กับโทนของสีฟ้า+เขียว (Hue & Cue)  และยังขึ้นอยู่กับความสะอาดของเนื้อแร่ เช่นในเรื่องของปริมาณเศษหินที่ปรากฏ  ความเสมอของสี  การปรากฏของแร่สีทอง (Pyrite) ลายที่ปรากฏบนผิวแร่ ...ฯลฯ       


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 22, 19:51
เทอคอยซ์ อัญมณีประจำราศีธนู


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 22, 19:56
 :)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.ย. 22, 18:50
Turquoise ที่เห็นอยู่ในเครื่องประดับต่างๆนั้น ผมเชื่อว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่จะเป็นของเทียมค่อนข้างสูง  เป็นการทำเทียมขึ้นมาด้วยการเอาแร่ Howlite ไปย้อมสี    แต่หากเป็นของที่ซื้อมาจากอิหร่าน ก็น่าจะเชื่อได้เป็นของจริงๆจากธรรมชาติ    ของจริงจากอิหร่านนั้นเป็นที่ทราบมานานแล้ว  แต่ด้วยข้อสงสัยว่าทำไมมันจึงมีขายกันเกร่อทั่วไป ก็จึงไปค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งที่พบและมีการขุดเอามาขาย จึงได้ความรู้ว่ามีการเอาแร่ Howlite มาย้อมสีทำเป็นของเทียม

แร่ Howlite เป็นแร่ที่พบในแหล่งเกลือหินที่มีการทำเหมืองเกลือ  ส่วนมากจะพบเป็นก้อนๆ รูปทรงคล้ายกะหล่ำดอก (ดอกกะหล่ำปลี)  เป็นแร่ที่มีเนืื้อไม่แน่น และมีลายดำอยู่ในตัว มีความแข็งประมาณหินอ่อน (3+)  ต่างกับของจริงที่จะมีความแข็งอยู่มราประมาณ 6+    ดังนั้นการแยกระหว่างของจริงกับของเทียมหรือของปลอม โดยหลักๆก็จะเป็นด้วยเรื่องของความแข็ง  ของจริงจะขีดเหล็กให้เป็นรอยได้ แต่ขีดกระจกให้เป็นรอยไม่ได้  ในขณะที่ของเทียมเหล็กจะขีดให้เป็นรอยได้อย่างง่ายๆโดยไมต้องลงแรงมากนัก (เหมือนกับการขึดโต๊ะหินอ่อน)   ของเทียมที่ทำด้วยพวกพลาสติก (หรือสาร Polymer อื่นๆ ?) ก็มีเช่นกัน   แล้วก็ความต่างกันในเรื่องของราคา


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 22, 19:13
แร่ Howlite หน้าตาเป็นอย่างนี้เอง


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.ย. 22, 19:40
จะขอย้อนไปในเรื่องเกี่ยวกับสีของพวกอัญมณีที่มีเนื้อใสโปร่งแสง เผื่อจะเป็นประโยชน์ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้ออัญมณีที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง  

นั่งคิดอยู่พักหนึ่งว่าจะเล่าความ/เรียงความเช่นใดจึงจะเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจต่างๆ เพราะเป็นเรื่องที่มีการผสมผสานกับเรื่องทางวิชาการ

ต่อพรุ่งนี้นะครับ  สว.(สูงว้ย) ก็เป็นเช่นนี้  คิดได้ ใจเร็ว แต่การกระทำสนองตอบช้า พิมพ์ผิดพิมพ์ถูก สะกดผิดบ้าง ต้องย้อนแก้ เลยลืมที่คิดเรียบเรียงไว้   สรุป ก็เลยเขียนเป็นเรื่องราวได้ช้า   ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 22, 18:07
ปูพื้นฐานไว้ก่อนว่า 

แสงต่างๆที่เราเห็นนั้น ล้วนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave)   แสงส่วนที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้น เป็นเฉพาะส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่หนึ่ง ซึ่งเราเห็นเป็นแสงสีขาว (White light)  แต่แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงที่ให้แสงในโทนสี 7 สี (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง) 

เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางผ่านตัวกลางใดๆ ก็จะทำให้เกิดเรื่องราวในหลายลักษณะ อาทิ ทะลุผ่านไปได้หรือทะลุไปไม่ได้  เกิดการหักเหของเส้นทางเดินผ่านตัวกลาง หรือสะท้อนกระดอนกระเด็น    เกิดการชนกับตัวที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อของตัวกลาง ....ฯลฯ   

ในกรณีที่ตัวกลางเป็นวัตถุใส แสงที่สามารถทะลุผ่านออกมาได้ก็จึงมักจะไม่มีคุณภาพเหมือนกับตอนก่อนที่มันจะเดินทางเข้าไปในตัวกลาง     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 22, 18:42
รัตนชาติที่เอามาเจียรนัยให้เป็นอัญมณีเล่นแสงระยิบระยับ  เกือบทั้งหมดจะเป็นแร่ที่เกิดในรูปที่เป็นผลึก เพียงแต่มุมเหลี่ยมต่างๆของผลึกถูกทำลายหายไปจากการผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ 

ที่ได้กล่าวแต่แรกว่า แร่ทั้งหลายล้วนเกิดเป็นทรงอยู่ภายใต้ระบบผลึกบนแกน a, b ,c หรือ x, y, z ของทรง 3 มิติต่างๆ  ก็จะมีแบบ สามแกนยาวเท่ากันและตัดกันแบบตั้งฉาก  สามแกนตัดกันแบบตั้งฉากกันแต่ยาวไม่เท่ากัน  แกนหนึ่งตัดตั้งฉากกับอีกสองแกนที่ตัดทำมุมกัน 60 หรือ 120 องศา   สองแกนตัดตั้งฉากกันแต่อีกแกนหนึ่งไม่ตั้งฉากกับแกนทั้งสอง   แล้วก็แบบทั้งสามแกนตัดกันแบบไม่ตั้งฉากกันเลย  เป็นต้น

ผลึกแร่จะไปอยู่ในระบบใดก็จะไปขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของหน่วยเล็กสุด(เคมี)ที่มีการจับตัวกัน   

พอเพียงนี้แหละครับ  ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 22, 19:00
แร่ทั้งหลายล้วนเกิดเป็นทรงอยู่ภายใต้ระบบผลึกบนแกน a, b ,c หรือ x, y, z ของทรง 3 มิติต่างๆ  ก็จะมีแบบ สามแกนยาวเท่ากันและตัดกันแบบตั้งฉาก  สามแกนตัดกันแบบตั้งฉากกันแต่ยาวไม่เท่ากัน  แกนหนึ่งตัดตั้งฉากกับอีกสองแกนที่ตัดทำมุมกัน 60 หรือ 120 องศา   สองแกนตัดตั้งฉากกันแต่อีกแกนหนึ่งไม่ตั้งฉากกับแกนทั้งสอง   แล้วก็แบบทั้งสามแกนตัดกันแบบไม่ตั้งฉากกันเลย  เป็นต้น

นึกภาพไม่ออกค่ะ   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 22, 19:25
เอาเรื่องแสงกับเรื่องระบบผลึกมาผสมกัน  ก็จะเห็นภาพซึ่งจะขออธิบายเป็นเรื่องราวเปรียบเทียบแบบการ์ตูน

กองพลทหารหนึ่งประกอบไปด้วยหน่วยรบ 7 กองพัน (แสง 7 สี)  มีภารกิจต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบุกพื้นที่หนึ่งเพื่อไปปฏิบัติการในอีกพื้นที่หนึ่ง  เมื่อเข้าไปพื้นที่นั้นก็ถูกต่อต้าน แตกกระจายไปหลายทิศทาง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง อยู่ในที่สูงบ้าง ในที่ต่ำบ้าง  บ้างก็ถูกต่อต้านอย่างหนัก เสียหายมาก บ้างก็ต้องผ่านภูมิประเทศที่ไม่อำนวย  มีการแยกไปใช้เส้นทางที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง    เมื่อพ้นพื้นที่นั้นออกมา ณ เวลาหนึ่ง  กองพลนั้นก็จะมีสภาพของการคละกันในเชิงของปริมาณกำลังพลคงเหลือของกองพันต่างๆ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย   ทั้งนี้ ในระหว่างการสู้กันนั้น เมื่อมองภาพจากด้านบนก็จะเห็นภาพการเกาะกลุ่มกองพันต่างๆภาพหนึ่ง  เมื่อเลาะมองด้านข้างไปรอบๆก็จะเห็นอีกภาพหนึ่งของการกลุ่มกองพันต่างๆ

พลอยธรรมชาติ ที่โปร่งแสงก็เป็นเช่นนั้น สีด้านบนกับสีด้านข้างก็จะต่างกัน

แต่ก็มีเรื่องอื่นๆที่จะต้องนำมาพิจาณาประกอบด้วย


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 22, 19:28
นึกภาพไม่ออกค่ะ   

ขอขยายความพรู่งนี้นะครับ  :D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.ย. 22, 18:45
ขอขยายความเรื่องแกนของผลึกแร่ (Crystal axis) ครับ

ผลึกแร่มีรูปทรงเป็น 3 มืติ คือมีหน้าผลึกด้านข้างที่เป็นระนาบขนานกัน 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ชื่อว่าด้าน a (หรือด้าน x)   อีกชุดหนึ่งให้ชื่อว่าด้าน b (หรือด้าน y)   ในด้านของความสูงของด้าน a และ b (หรือด้าน x และ y) ให้ใช้ชื่อว่า c หรือ z    ซึ่งโดยนัยก็คือเรื่องของด้านกว้าง  ด้านยาว และด้านสูง ที่ใช้อธิบายเรื่องของทรงสามมิติต่างๆ   

หากแต่ในเรื่องของผลึกแร่ที่เกิดตามธรรมชาติที่นั้น หน้าผลึกของด้าน a และ b (หรือ x, y) นั้น มันไม่ประกอบกัน(ชนกัน)ในลักษณะที่เป็นมุมฉาก(ดังกล่องกระดาษ)เสมอไป   มันมีทั้งแบบที่ชนกันเป็นมุมฉาก 90 องศา (Isometric system _ทุกด้านห่างจากจุดกี่งกลางเท่ากัน  และ Orthorhombic system_ทุกด้านห่างจากจุดกึ่งกลางไม่เท่ากัน)   แบบที่ชนกันเป็นมุม 60 องศาสองด้านและ 120 องศาสองด้าน (Rhombic system)   แบบที่ชนกันเป็นมุม 60 องศาหกด้าน (Hexagonal system)    และแบบที่เรียกว่า Monoclinic system และ Triclinic system  ซึ่งทั้งสองระบบนี่ไปเกี่ยวกับแกน c (หรือแกน z) ซึ่งจะไม่ขอขยายความ

คิดว่าน่าจะพอเห็นภาพบ้างแล้วนะครับ     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.ย. 22, 17:56
เล่าเรื่องกองพลหทารลุยพื้นที่ต่อ ครับ

เมื่อลุยเข้าไปในพื้นที่ ก็มีทหารบางกองร้อยหรือทั้งกองพันเดินเข้าสู่พื้นที่กับดัก หลงจนไม่สามารถหาทางโผล่ออกมาได้    ก็มีที่เดินทางไปพบกับสภาพทางตัน ต้องแยกทางกันเดินเป็นกลุ่ม    และก็มีที่บางกองพันพบเส้นทางตรงที่ไม่มีอุปสรรคขัดขวางและไม่ได้มีความเสียหายใดๆ     

เรื่องทั้งหมดของกองท้พทหารที่เล่ามา ก็คือเรื่องลักษณะของแสงที่ส่องผ่านตัวกลาง    ซึ่งในกรณีที่เป็นพลอย บางตระกูลก็จะยอมให้แสงทะลุผ่านได้ทุกทิศทางโดยแสงที่โผล่่ออกมาจะมีคุณสมบัติเหมือนเดิมก่อนที่ผ่านตัวพลอยทุกปรระการ เรียกกันว่า Isotropic gems stone  เช่น เพชร และ โกเมน

ต้องขอเวลานอก หนีฝนครับ       


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 22, 19:15
เมื่อมี Isotropic ก็ต้องมี Anisotropic แล้วก็มีเรื่องอื่นในกลุ่มเรื่องของแสงเดินทางผ่านตัวกลางตามมา....  ก็เลยจะขอไม่ขยายความต่อ เป็นเรื่องทางวิชาการมากเกินไป และก็เป็นเรื่องของความรู้ในการแปรรัตนชาติไปเป็นอัญมณีที่มีราคาสูง     เอาเพียงนึกถึงภาพมโนเรื่องกองพลทหารเดินทัพผ่านพื้นที่หนึ่งใด ก็น่าจะพอทำให้เห็นภาพในเรื่องของความต่างหรือความไม่เสมอกันของสีของอัญมณีเมื่อมองในตำแหน่งต่างๆ     

บนพิ้นฐานเปรียบเทียบเรื่องกองพลทหารนี้   ในชีวิตจริง เราใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมของแสงที่เกิดมาจากต้นตอต่างๆกันในช่วงเวลาต่างๆกัน  มีทั้งแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ LED ที่ระบุว่าให้แสง day light, cool day light, warm white   แสงจากหลอดไฟที่ใช้ใส้  หรือแสงผสมผสานจากแหล่งกำเนิดต่างๆ   จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า แล้วอัญมณีที่สวมใส่จะแสดงสีสันต่างกันเช่นใดหรือต่างกันในความแวววับเช่นใดในสิ่งแวดล้อมของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดต่างๆกัน     กำลังจะชี้นำว่า  ;D  จะซื้ออัญมณีก็พึงจะต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาและสิ่งแวดล้อมที่จะนำออกมาใช้ด้วย   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ก.ย. 22, 19:28
เว้นวรรคไปก็ด้วยมีนัดกับหมอบ้า่ง มีธุระติดพันบ้าง   กลับมาต่อให้จบกระบวนความครับ

ในปัจจุบันนี้มีแร่อยู่หลากหลายชนิดที่สามารถเอามาทำเป็นอัญมณีที่สวยๆงามๆได้  แร่เหล่านั้น บ้างก็รู้มาแต่เดิมว่ามันเอามาทำเป็นเครื่องประดับได้ และที่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเรียกว่าอัญมณี  บ้างก็เห็นว่ามันพอจะมีศักยภาพที่จะเอามาทำเป็นอัญมณี  แล้วก็มีแร่อีกมากมายที่ไม่เคยได้ยินชื่อของมัน   แต่ด้วยที่มีความรู้พื้นฐานเรื่องของแร่มากพอควร ก็เลยรู้ว่าส่วนมากแล้วมันจะเป็น Variety ของแร่หลักๆที่รู้จักนั้นเอง หากแต่เกิดในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป   

อัญมณีที่เรา(คนไทย)คุ้นเคยแต่ก่อนนั้น ดูจะแบ่งออกเป็นเพียง 2 กลุ่ม คือ เพชร กับ พลอย  ซึ่งคำว่าพลอยนั้นมีความหมายอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงอัญมณีที่มีสีโดยทั่วๆไป กับอีกนัยหนึ่งที่ดูจะเฉพาะเจาะจงถึงแร่ในตระกูลแร่ Corundum  สำหรับอัญมณีที่มิใช่ Corundum ก็จะมีชื่อกำกับแยกออกไปโดยตรง (มุกดา โกเมน บุษราคำ....)   

ในปัจจุบันมีอ้ญมณีมากมายที่จัดอยู่และไม่อยู่ในตะกูลพลอยพื้นฐาน(ที่เรารู้จักกัน)  ก็เลยมีการเรียกชื่ออัญมณีนั้นๆตามชื่อแร่ของมัน เช่น ในตระกูล โกเมน ที่เรารู้ว่าก็คือแร่ Garnet นั้น จะมีชื่อตาม Variety ของมัน ซึ่งจะมีสีไม่เหมือนกัน ก็มีอาทิ Pyrope (สีแดงเข้มมาก), Spessartite (สีออกไปทางน้ำตาลเข้ม), Almandine (สีไวน์แดง), Rhodolite (สีออกไปทางสีชมพู), Tsavorite (สีเขียวต้นกล้วย)... เป็นต้น   หากจะรู้ลึกลงไปอีกนิดนิดนึง แร่พวกนี้โดยพื้นฐานจะเป็นพวกที่มองในทิศทางใด ในมุมใด ก็จะเห็นสีเหมือนเดิม (เป็นพวก Isotropic mineral)   


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 20:20
Uncut pyrope  garnets


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 20:24
Spessartite


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 20:28
Almandine


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 20:31
Rhodolite


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 20:34
Tsavorite


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ก.ย. 22, 18:11
เมื่อวานไม่ได้เข้ากระทู้ เพราะไปทำ CT Scan เรื่องนิ่ว ตามนัด   วันพรุ่งนี้ก็ไม่ได้เข้าอีก เพราะต้องไปพบหมอเพื่อฟังผล ครับ

นอกจากสีต่างๆที่พบตามธรรมชาติของแร่ variety ต่างๆของกลุ่มแร่(ชื่อหนึ่ง)แล้ว  สีต่างๆก็อาจจะถูกตั้งใจทำให้มันปรากฎเด่นออกมาโดยฝีมือการกระทำของคน(นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว...การเผา_heat treatment, การอาบรังษี_irridiation treatment, การย้อม_dyeing treatment, ...) ก็จะเป็นเรื่องของฝีมือในการเจียรนัย

ในการเจียรนัยนั้น จะเริ่มต้นด้วยการตั้ง(ติดกาว)รัตนชาติที่ได้มาชิ้นนั้นๆบนปลายของก้านเจียรนัยให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อจะทำให้การเจียรนัยออกมาดีที่สุด ให้ได้คุณสมบัติของอัญมณีชิ้นนั้นๆใน 2 เรื่องไปพร้อมๆกัน คือไ้ิด้งานอัญมณีชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควบคู่ไปกับการเล่นแสงที่ดีที่สุดของอัญมณีนั้นๆ (ความสมดุลย์ระหว่างน้ำหนัก ความสวยงาม และราคา)

ในประสบการณ์ของผมที่ได้เคยได้สัมผัสกับผู้ปฏิบัติในอุตสาหกรรมอัญมณีของไทยเราตั้งแต่กระบวนการขุดพลอยไปจนถึงการเจียรนัยออกมาเป็นชิ้นงาน เมื่อครั้งมีการตื่นพลอยที่จันทบุรีและตราด และกาญจนบุรี  รวมทั้งการเผาพลอยในยุคแรกๆของการเรียนรู้  ในช่วง พ.ศ. 2512 ++/--     ผมเห็นว่าบุคคลในวงการพลอยของไทยเรา ตั้งแต่ชาวบ้านที่ขุดหาพลอย นายหน้า ช่างเจียรนัย ไปจนถึงพ่อค้า/นายทุน ล้วนมีความสามารถในเชิงของการปฏิบัติการที่น่าทึ่ง     


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ก.ย. 22, 19:15
เล่าเรื่องคั่นมาเพื่อจะขยายความว่า รัตนชาติแต่ละเม็ดนั้น ความมีราคาของมันจะเริ่มเด่นออกมาตั้งแต่แรกของการค้าระหว่างผู้ที่ขุดได้กับนายหน้าผู้ซื้อรวบรวม การประเมินราคาของมันดูจะอยู่บนพื้นฐานของการมองทะลุไปถึงชิ้นงานอัญมณีที่เป็นผลงานสุดท้าย  วิธีการที่เขาใช้กันก็ดูง่ายๆ เป็นเพียงการส่องกับแสงสว่าง การค้าขายจึงค่อนข้างจะคึกคักในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ถึงเวลาประมาณ บ่าย 3 โมงเย็น   การประเมินมูลค่าและราคาในลักษณะนี้ ดูคล้ายกับจะเกี่ยวแต่เฉพาะเรื่องของสี ความใส การปราศจากรอยแตก

เมื่อพ่อค้าคนกลางด่านแรกเอาไปขายต่อให้กับฝ่ายผู้ทำการเจียรนัย ก็จะมีการพิจารณาดังภาพในกระทู้ที่ผ่านมา  ในขั้นตอนนี้ประเด็นไปอยู่ตรงที่มันเป็นเรื่องของการหาจุดที่เปล่งปลั่งที่สุดของๆที่จะเป็นอัญมณีเม็ดนั้นๆ  ซึ่งนอกจากเรื่องของมุมเหลี่ยมในการเจียรนัยซึ่งจะทำให้เกิดความระยิบระยับแล้ว ก็เกี่ยวกับสีแสงเมื่อหมุนไปรอบๆหรือเมื่อพลิกไปพลิกมา(Pleochroism) 


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.ย. 22, 18:30
Pleochroism คือการที่ผลึกแร่เปลี่ยนสีเมื่อหมุนมองในทิศทางต่างๆ    สำหรับรัตนชาติที่ได้เจียรนัยเป็นอัญมณีแล้ว ส่วนมากเราจะสังเกตุเห็นได้ชัดเจนเมื่อหมุนไปมามองด้านข้าง

คุณวิกกี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของ pleochroism แบบสรุปได้ดีมาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pleochroism (https://en.wikipedia.org/wiki/Pleochroism)   และได้ให้ข้อมูลเกียวกับสีที่เปลี่ยนไปของอัญมณีที่ทำมาจากรัตนชาติหลากหลายชนิด  อ่านแล้วก็น่าจะพอเข้าใจในพื้นฐานที่ทำให้มันเกิดขึ้น


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 22, 19:00
Pleochroism


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.ย. 22, 19:36
ผู้หญิงทุกคนชอบเครื่องประดับที่มีอัญมณีเป็นองค์ประกอบ  ชอบของที่เป็นของจริงตามธรรมชาติ และโดยนัยก็ควรจะเป็นเม็ดใหญ่ถึงระดับหนึ่ง(ของใจ)ก็จะยิ่งดี   กระนั้นก็ตาม แม้จะเป็นเพียงเม็ดเล็กๆ หากแต่มี sentimental value ก็โอเคและมีความรู้สึกหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง

อารัมภบทขึ้นมา เพื่อจะต่อความว่า เมื่อไปซื้อหาก็จะต้องพบกับคำที่อาจจะสื่อความไม่ตรงกันระหว่างผู้ซื่อกับผู้ขาย  ในภาษาไทยเราดูจะมีคำว่า ของแท้ ของธรรมชาติ ของเทียม ของเลียนแบบ ของปลอม ของสังเคราะห์ ของเก่า และการใช้ชื่อที่ผิดกลุ่มผิดเหล่าของอัญมณี    ในภาษาอังกฤษก็ดูจะมีการใช้คำว่า stone, real, genuine, natural, imitated, synthetic, enhance, treated, fake

ก็คงจะต้องใช้ความสามารถในการสนทนาเพื่อที่จะให้ได้ความตรงตามที่เราต้องการจะสืบทราบ นะครับ  ;D  

ส่วนในเรื่องของราคานั้น ผมเห็นว่า ยิ่งแสดงออกซึ่งความต้องการมากเพียงใด ก็จะยิ่งได้ของในราคาที่ต่อรองลดราคาได้น้อย    


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 22, 08:06
ขอนำกรุเพชรของป้าลิซ เทเลอร์มาให้ชมกันค่ะ   เครื่องเพชรของเธอนอกจากเอาไว้ประดับกายให้เฉิดฉายแล้ว ยังเป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่งด้วย   คือซื้อมาแล้วถึงเวลาก็ขายไป   บวกชื่อเสียงว่าเป็นเพชรของดาราระดับตำนาน  น่าจะได้กำไรตรงส่วนนี้อีกเยอะ


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 22, 08:14
เพชรเม็ดเป้งขนาด 33.19 กะรัตเม็ดนี้เดิมชื่อ Krupp Diamond   ตกมาเป็นสมบัติของป้าลิซอีกเช่นกัน   เมื่อเธอถึงแก่กรรม  เครื่องเพชรถูกนำไปประมูลโดยห้างคริสตี้ส์    ทางห้างฉลาดพอจะตั้งชื่อให้ใหม่เรียกความสนใจของลูกค้า ว่า The Elizabeth Taylor Diamond   ปรากฏว่าขายไปได้ 8.8 ล้านดอลล่าร์จากราคาเดิม 3.5 ล้าน


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 22, 18:11
เพชร ดูจะเป็นอัญมณีอย่างเดียวที่มีเกณฑ์มาตรฐานราคาสำหรับขนาดของแต่ละเม็ด แต่เมื่อเอาเพชรที่มีขนาดและคุณภาพเท่ากัน นำมาจัดเข้ารูปเป็นเครื่องประดับแล้ว เครื่องประดับเหล่านั้นอาจจะมีราคาที่สูงแตกต่างกันไปอย่างมาก เพราะมันบวกไปด้วยราคาของชื่อเสียงของผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานของและการออกแบบ ว้สดุที่ใช้ทำเป็นเรือนและองค์ประกอบต่างๆ  ความปราณีตและความสวยงามของชิ้นงานนั้นๆ ประวัติที่เกี่ยวข้องกับเพชรเม็ดนั้นๆ ความหายากในบางกรณี  และการบวกเพิ่มราคาบนพื้นฐานทางนามธรรม การโก่งราคา ... ฯลฯ

ตามปกติ เพชรแต่ละเม็ดจะมีบัตรประจำตัวของมัน ซี่งก็คือคุณลักษณะเฉพาะตัวของมัน   ID โดยพื้นฐานก็จะประกอบไปด้วย สี น้ำหนัก รูปทรง และตำหนิภายในเนื้อ (Inclusions)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 22, 19:06
Inclusions  โดยความหมายก็บอกอยู่แล้วว่า คือเศษสิ่งของเล็กๆที่พบอยู่ในเนื้อของๆที่ปรุงแต่งขึ้นมา  ในเรื่องของแร่ inclusions มีอยู่ 2 ลักษณะ คือที่เป็นของแข็งชนิดอื่นปรากฏเป็นชิ้นจิ๋วๆ (เช่น ในเนื้อโป่งข่ามที่มีเส้นแร่ Rutile อยู่ภายใน)  หรือที่เป็นฟองอากาศ (bubble) ที่มีของเหลวหรือไม่มีของเหลวอยู่ภายในฟองนั้นๆ

เพชร น่าจะเกือบทุกเม็ด จะมี Inclusions ที่สามารถจะเห็นได้ด้วยการใช้แว่นขยายขนาด 10 เท่า (ที่เรียกว่า hand lens หรือ Loupe หรือแว่นส่องเพขร)  ตามความรู้ที่เก็บเกี่ยวมาบอกว่า ปริมาณและลักษณะของ Inclusions ในเนื้อของเพชรเม็ดนั้นก็คือหลักสำคัญในการพิจารณาคุณค่า ราคา และ ID ของมัน ภาษารวมๆเรียกว่า flaw  ปริมาณมากน้อยของ Flaw ทำให้เกิดความใสของเนื้อเพชรแต่ละเม็ดต่างกัน ซึ่งทำให้ราคาของเพชรแต่ละเม็ดต่างกันออกไป แม้จะดูภายนอกแล้วเห็นว่าเหมือนๆกันก็ตาม

เมื่อจะซื้อเพชรสำหรับการใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความผูกพันในเรื่องของ Commitment ต่างๆ ก็อาจจะพิจารณาเลือกของที่มีราคาย่อมเยาว์เหมาะสมกับกระเป๋าก็น่าจะโอเคแล้ว  จะเด่น จะสวย จะแจ่ม จะแวววับเพียงใด หากไม่ส่องดูใกล้ๆก็ยากที่จะบอกถึงความแตกต่างในเรื่องของคุณภาพได้ เว้นเสียแต่จะต้องการแสดงออกในเรื่องของความเขื่อง ของของชิ้นนั้น  ซึ่งก็อาจจะมีราคาไม่ต่างกันนักกับของชิ้นเล็กกว่าแต่มี Flaw น้อยกว่ามากๆ และมี Sentimental value มากกว่า


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 22, 20:00
 :)


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 22, 20:04
เพชรดังระดับโลก


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ก.ย. 22, 18:29
ที่ได้เล่าความมานั้น ได้ละและข้ามเรื่องราวค่อนข้างมากที่เกี่ยวกับการพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างแสงกับตัวกลาง และกับความเป็นอัญมณีหนึ่งใด  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นความรู้พื้นฐานในศาสตร์ของวิชา Mineralogy    นักอัญมณีวิทยาใช้ศาสตร์นี้เพื่อการตรวจสอบตัวตนและการเพิ่มคุณค่า/ราคาของรัตนชาติ   นักธรณีวิทยาใช้ศาสตร์นี้เพื่อการสืบเสาะสภาพการณ์/สิ่งแวดล้อมของโลก ณ เวลาที่แร่นั้นกำเนิด    ในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ ฝ่ายหา กับ ฝ่ายใช้

ผมก็เลยพอจะฝอยได้บ้างในเรื่องที่เกี่ยวกับรัตนชาติและอัญมณี  ;D


กระทู้: ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ก.ย. 22, 18:49
ก็ไปพบเว็บไซต์ https://www.langantiques.com/university/gemological-terms-tools-properties/ (https://www.langantiques.com/university/gemological-terms-tools-properties/)  ที่ให้ข้อมูลและคำอธิบายอย่างพอควรกับคำศัพท์ทางเทคนิคต่างๆที่ใช้ในวงการอัญมณี คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของอัญมณี

กระทู้นี้น่าจะให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์พอสมควรแล้วนะครับ   หากมีการตกหล่นหรือกล่าวถึงไม่ครบถ้วนกระบวนความ ก็ต้องขออภัยด้วยครับ   ;D  ;D