เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ภูริทัต ที่ 07 มิ.ย. 13, 22:17



กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 07 มิ.ย. 13, 22:17
แรกเริ่มขอประเดิมว่า สถานที่แห่งนี้
ปัจจุบันอยู่แห่งหนตำบลใด
ตัวผมเองก็ไม่แน่ใจ
ชวนทัศนาแล้วคายให้หายสงสัย เชิญครับ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 มิ.ย. 13, 22:31
น่าจะเป็นแยกแคลายนะครับ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มิ.ย. 13, 22:49
แยกแคราย  (http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3554) พ.ศ. ๒๕๒๘

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มิ.ย. 13, 22:57
วัดอะไรคะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มิ.ย. 13, 23:16
วัดดอนเมือง พ.ศ. ๒๕๐๓

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 10:21
ใช่หรือคะ  ในรูปที่ดิฉันเอามาถาม   และคุณเพ็ญชมพูรู้วิธีหาเว็บไซต์ที่มาของรูปจึงตอบได้    ฝรั่งที่ถ่ายเขาบอกแต่ว่าเป็นวัดแถวดอนเมือง  ไม่ได้ระบุว่าเป็นวัดดอนเมือง
เอารูปมาให้ดู รูปขวาคือวัดดอนเมือง  สงสัยว่าโบสถ์เดียวกันหรือเปล่า


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 11:24
เว็บประตูไม้สัก  (http://teakdoor.com/pattaya-forum/92336-photos-from-the-1960s-2.html) บรรยายภาพไว้ดังนี้


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 11:38
โบสถ์ใหม่อยู่ทางด้านถนนสรงประภา ส่วนโบสถ์เก่าไม่ปรากฏแล้วน่าจะอยู่ด้านถนนเชิดวุฒากาศ   ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 13:52
ส่วนโบสถ์เก่าไม่ปรากฏแล้วน่าจะอยู่ด้านถนนเชิดวุฒากาศ   ;D

น่าจะเป็นตำแหน่งเดียวกับโบสถ์ใหม่ด้านถนนเชิดวุฒากาศ ดังในภาพนี้   ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 15:32
ภาพถ่ายทางอากาศสนามบินดอนเมืองและวัดดอนเมือง พ.ศ. ๒๔๗๘

โบสถ์ทางซ้ายของภาพกับโบสถ์ปริศนาเหมือนกันอย่างกับแกะเชียว  ;)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มิ.ย. 13, 15:48
สนามบินดอนเมืองและวัดดอนเมือง พ.ศ. ๒๕๒๐

โบสถ์ปริศนาหลังเก่ายังอยู่  ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 08 มิ.ย. 13, 22:20
สวัสดีทุกๆท่านครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านเรือนไทยมาได้หลายเพลา
แต่ยังไม่ได้ทักทายเจ้าบ้าน เจ้าเรือน(เพิ่งอ่านจบครับ)
มาวันนี้ขอสวัสดีงามๆเจ้าเรือนไทยที่แสนอบอุ่น
ติดตามผลงานของท่านมานานแสนนาน
ชื่นชมและรู้สึกเกิดมาโชคดดีที่ได้อ่านงานเขียนของท่าน
และจะติดตามตลอดไปครับ
เหตุที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา(บางกอกยุค๖๐)
มันเป็นยุคที่ผมได้กำเนิดเกิดมา
ความทรงจำในวัยเยาว์ยังแจ่มชัดกับสถานที่ต่างๆที่ได้ไปมา
แต่ความที่ทางบ้านค่อนข้างอัตคัดเลยไม่มีกล้องถ่ายรูปบันทึกบัานเมืองยุคนั้น
ได้แต่บันทึกอยู่ในความทรงจำ
ร่ายมาซะยาว ขอเชิญทัศนารูปต่อไป
มาทายกันว่าห้างไดมารูนี้ใช่ที่ราชประสงค์หรือไม่
เพราะเท่าที่จำได้ว่าห้างนี้ติดถนน แต่ในรูปเหมือนอยู่ในซอย
นึกเท่าไรก็นึกไม่ออกว่าตั้งอยู่แห่งหนใด
เชิญครับ


 


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 08 มิ.ย. 13, 22:25
คุณcvtบอกแยกแคลาย
คุณเพ็ญชมพูบอกแยกแคราย 2528
ตกลงแครายเขียนยังไงเอ่ย
วอนเลยหน่อยครับ
แล้วทำไมบอกปีพ.ศ.ได้ด้วยทึ่งครับทึ่ง :-[


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 08 มิ.ย. 13, 22:53
    มาทายกันว่าห้างไดมารูนี้ใช่ที่ราชประสงค์หรือไม่
เพราะเท่าที่จำได้ว่าห้างนี้ติดถนน แต่ในรูปเหมือนอยู่ในซอย

    เป็นห้างไดมารูที่แรกอยู่ในซอยตามที่เห็นแหละครับ  เขาว่าบันไดเลื่อนที่บังเกิดมีเป็นอันแรกของประเทศเราอยู่ที่ห้างนี้ ปัจจุบันบริเวณนี้คือเซ็นทรัลเวิร์ล ที่เห็นอาคารสองชั้นแนวขวางสีเข้มๆสุดซอยก็คือโรงเรียนการช่างอินทราชัย ถัดจากโรงเรียนไป(มองไม่เห็น)คือคลองบางกะปิและประตูน้ำสระปทุม 8)
    ต่อมาย้ายมาฝั่งถนนตรงข้ามที่ราชดำริอาเขต


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 08 มิ.ย. 13, 23:01
สวัสดีครับคุณ jalito
แปลว่าห้างนี้ต้องสร้างก่อนยุค60แน่ๆเลย
ไม่คุ้นเลยครับ อธิบายได้แจ่มชัดมากครับ
แต่โรงเรียนที่วามาไม่ใช่โรงเรียนวึดสระปทุมหรือครับ
อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อโรงเรียนนี้เลย



กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 มิ.ย. 13, 00:14
คุณcvtบอกแยกแคลาย
คุณเพ็ญชมพูบอกแยกแคราย 2528
ตกลงแครายเขียนยังไงเอ่ย
วอนเลยหน่อยครับ
แล้วทำไมบอกปีพ.ศ.ได้ด้วยทึ่งครับทึ่ง :-[

เมื่อก่อนเขียนอย่างเป็นทางการว่าแคลาย จนเมื่อราว 10 ปีมานี้ถึงได้เปลี่ยนเป็นแคราย นัยว่าเมื่อก่อนแถวนี้มีต้นแคเรียงราย จริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่เปลี่ยนไปแล้ว

ในภาพเป็นมุมมองไปยังแยกแครายจากถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนสายนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปี 2528 นี้เองครับ ดังนั้นภาพนี้ไม่เก่ากว่านั้นแน่


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 00:36
ครับ กระจ่างแจ้งดีครับ
มาดูถนนวิภาวดีรังสิตกันดีกว่า


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 มิ.ย. 13, 00:46
สวัสดีครับคุณ jalito
แปลว่าห้างนี้ต้องสร้างก่อนยุค60แน่ๆเลย
ไม่คุ้นเลยครับ อธิบายได้แจ่มชัดมากครับ
แต่โรงเรียนที่วามาไม่ใช่โรงเรียนวึดสระปทุมหรือครับ
อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อโรงเรียนนี้เลย


อ่านประวัติโรงเรียนการช่างอินทราชัยแบบย่อๆได้ที่นี่ครับ

http://www.intrachai.ac.th/icc/index.php?name=page&file=page&op=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AF


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 มิ.ย. 13, 01:20
คุณcvtบอกแยกแคลาย
คุณเพ็ญชมพูบอกแยกแคราย 2528
ตกลงแครายเขียนยังไงเอ่ย
วอนเลยหน่อยครับ
แล้วทำไมบอกปีพ.ศ.ได้ด้วยทึ่งครับทึ่ง :-[

เมื่อก่อนเขียนอย่างเป็นทางการว่าแคลาย จนเมื่อราว 10 ปีมานี้ถึงได้เปลี่ยนเป็นแคราย นัยว่าเมื่อก่อนแถวนี้มีต้นแคเรียงราย จริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่เปลี่ยนไปแล้ว

ในภาพเป็นมุมมองไปยังแยกแครายจากถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนสายนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปี 2528 นี้เองครับ ดังนั้นภาพนี้ไม่เก่ากว่านั้นแน่
    แต่เดิมเป็นสามแยกแคลาย  ต่อมามีโครงการตัดถนนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกทม.เพื่อเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อเมืองหลวงกับจังหวัดทางด้านตะวันตกเช่นสุพรรณบุรี ฯลฯ  สามแยกแคลายจึงกลายเป็นสี่แยกจุดเริ่มต้นถนนรัตนาธิเบศร์  ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระนั่งเกล้า จนบรรจบถนนวงแหวนตะวันตกที่บางใหญ่ และมีจุดแยกไปสุพรรณที่บางบัวทอง สามารถเดินทางต่อไปได้จนถึงอุทัยธานี


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 15:47
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถนนราชดำเนิน พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ (ถูกเผาไปเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖)  ยังคงเห็นสามล้อถืบให้บริการ ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 15:51
จิตร ภูมิศักดิ์ บรรยายไว้ในโคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนา พ.ศ. ๒๕๐๗ - บางกอกยุค ๖๐ ขนานแท้  ;)  ว่า

อ้า…กรุงเทพมหานคร                                       ยุคพัฒนากร 
นอนละเมอเพ้อพัฒนาการ   
พัฒนาอาชีพเชี่ยวชาญ                                     ไทยนี้ชำนาญ
อาชีพแจ่มแจ๋วอัศจรรย์   
ซื้อขายสินค้าสำคัญ                                         ยื้อแย่งแข่งขัน
"กินแบ่ง" ระยำตำบอน   
ไอ้เปี๊ยกตูดปะตัวปอน                                       วิ่งแล่นตะลอน
ร้องขาย "เรียงเบอร์…เรียงเบอร์"   
เช้าเห็นเย็นเจอะค่ำเจอ                                     ขายดีจริงเออ 
เรียงเบอร์-กินแบ่งโบยบิน   
บังเกิดขบวนการใต้ดิน                                     เป็นอุตสาหกิน
ขายแข่งกินแบ่งรัฐบาล   
บอกใบ้ให้หวยบรรหาร                                     พระเจ้าอาจารย์ 
อุตตริมนุสธรรมนองเนือง   
ไพร่ฟ้าหน้าเศร้าเปล่าเปลือง                              หวยล่อคางเหลือง 
หมดเนื้อหมดตัวปางตาย   
เจ้ามือกินอิ่มพริ้มพราย                                     ปลอกคอคุ้มกาย 
พวกพ้องของท่าน…หวานหวาน !   
หวยราษฎร์หวยรัฐระบัดบาน                               แตกกิ่งตระการ
เส้นเศรษฐกิจชาติสำคัญ   
เส้นเลือดยุคชาติสร้างสรรค์                               อา…อย่าขบขัน 
ชาตินั้นคือ "กู" หนูเอ๋ย !   

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 16:15
แฟชั่นบางกอกยุค60 สวยเก๋ไม่เบา
สีสันฉูดฉาดไปหน่อย
รูปนี้ อาภัสรา สวยสมนางงามจักรวาล


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 มิ.ย. 13, 16:32
  สุภาพสตรีข้างหลังคุณอาภัสรา ใช่คุณปวีณา? ชายกระโปรงสูงล้ำยุคมากเลย


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 16:43
ลืมพิจารณาคนเคียงข้างไป
น่าจะใช่คุณ ปวีณา จริงๆด้วย
แฟชั่นยุคนั้นก็ไม่เบา
ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่าสั้นเสมอหู อิอิ
ครานี้มาดูรูปย่านวัยรุ่นยุค60กันดีกว่า
ไม่มีย่านไหนที่คนบางกอกจะไม่รู้จัก


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 16:54
เป็นโรงหนังที่นานๆทีพ่อกับแม่จะพาไป
แต่ยังจำความสนุก ตื่นเต้น ที่จะได้ดูหนัง
ยังไม่ลืมกลิ่นป็อบคอร์น กลิ่นไอติม
กลิ่นในโรงหนัง เป็นความทรงจำที่ยังติดจมูกอยู่เลย
จำได้ว่าหนังสุดท้ายที่ได้ดูที่โรงนี้
เป็นภาพยนตร์ไทยชื่อว่า เหนือกว่ารัก
ยังจำคุณ ทาริกา ธิดาทิตย์ บวชชีโกนหัว
ในเรื่องนี้ หนังเศร้ามาก เห็นแม่นั่งร้องไห้
ผ้าเช็ดหน้าเปียกชุ่ม ส่วนพ่อก็ตาแดงๆ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:09
  สุภาพสตรีข้างหลังคุณอาภัสรา ใช่คุณปวีณา? ชายกระโปรงสูงล้ำยุคมากเลย
ใช่ค่ะ น้องสาวคุณอาภัสรา คุณปวีณา หงสกุล ในมินิสเกิร์ตซึ่งเพิ่งเป็นของใหม่ในช่วง 2507


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:10
นางสาวไทยในยุค 1960s ที่ได้ตำแหน่งจากการประกวด Miss Universe ทั้งสองคน  คุณอาภัสราได้เป็นนางงามจักรวาล  คุณจีรนันท์ เศวตนันทน์ ได้รองอันดับสอง
ยุคนั้นประเทศไทยยังไม่ได้โกอินเตอร์  เป็นประเทศเล็กๆที่คนอเมริกันและยุโรปไม่ค่อยรู้จัก    พอนางสาวไทยของเราไปได้ตำแหน่งนางงามจักรวาล จึงตื่นเต้นกันทั้งประเทศ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:25
ตรงนี้รึกไม่ออกว่าที่ไหน
มีใครพอคุ้นไหมเอ่ย


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:34
1960s  เป็นยุคที่คนดูทีวีฟังเพลงสุนทราภรณ์จากช่อง 4 เจื้อยแจ้วเป็นประจำก่อนนอน   เพราะมาออกเป็นรายการสุดท้าย
นักแสดงของช่อง 4  ร้องเพลงสุนทราภรณ์กันได้ทั้งนั้น

ขอทบทวนความทรงจำว่าในรูปนี้มีใครบ้าง   จำได้บางคน   ถ้าคุณ SILA และคุณเทพกรผ่านมา ช่วยซ่อมให้ครบด้วยนะคะ
ผู้ชายจากขวาไปซ้าย     คุณฉลอง สิมะเสถียร 'คุณชายกลาง' คนแรกของละครทีวีบ้านทรายทอง   ถัดมา คุณรอง เค้ามูลคดี   คนที่สามเป็นพระเอกละครทีวีเหมือนกันแต่นึกชื่อไม่ออก   คนที่สี่คือคุณนฤพนธ์  ดุริยพันธุ์   ถัดจากคุณนฤพนธ์คือนักร้องสุนทราภรณ์   คุณเลิศ ประสมทรัพย์  และคุณวินัย จุลละบุษปะ
ผู้หญิงจากขวาไปซ้าย  คุณนงลักษณ์ โรจนพรรณ   คุณกนกวรรณ ด่านอุดม  คุณอารีย์ นักดนตรี  ถัดไปเป็นนักร้องสุนทราภรณ์ทั้ง 4 คน คุณศรีสุดา รัชตวรรณ  คุณวรนุช อารีย์ ส่วนอีก 2 คนไม่แน่ใจค่ะ  



กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:37
ตรงนี้รึกไม่ออกว่าที่ไหน
มีใครพอคุ้นไหมเอ่ย
รูปนี้น่าจะลงในกระทู้เก่า รูปก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอกมาแล้ว
คุณเพ็ญชมพู หรือไม่ก็คุณ siamese เป็นคนเฉลยหรือเปล่าคะ

สี่แยกราชประสงค์หรือเปล่า?


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:50
^

มุมเดียวกัน คนละเวลา


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มิ.ย. 13, 20:52
มุมเดียวกัน คนละยุค


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 21:12
สี่แยกราชประสงค์จริงด้วย    ขอบคุณท่าน NAVARAT.C ค่ะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 21:43
รูปนี้น่าจะลงในกระทู้เก่า รูปก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอกมาแล้ว
คุณเพ็ญชมพู หรือไม่ก็คุณ siamese เป็นคนเฉลยหรือเปล่าคะ

สี่แยกราชประสงค์หรือเปล่า?

คุณเทาชมพูก็เคยเฉลยไว้แล้วในกระทู้ "สนามหลวงสมัยก่อน"

ไดมารูแห่งแรก  อยู่ตรง Central World ค่ะ   ก่อนจะย้ายข้ามถนนไปอยู่ใกล้นารายณ์ภัณฑ์    แห่งแรกตั้งอยู่ที่นั่นหลายปีก่อนคุณณัฐพลเกิด
ช่วงพ.ศ. 2506 เห็นจะได้
ตรงข้ามกับไดมารูคือซอยเกษรหรือถนนเกษรในปัจจุบัน  เป็นศูนย์การค้าไฮโซของชาวกรุงในทศวรรษ 2500s   เอารูปมาให้ดู


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3175.0;attach=12348;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 21:50
มิน่า คุ้นๆ
ลืมไปนี่เอง


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 21:53
อ้างจากรูปของคุณ เพ็ญชมพู
ตรงตึกสูงด้านขวามือหัวมุมถนน
เป็นตึกที่ถูกไฟไหม้ ยังจำได้ติดตา
ว่าได้ไปอยู่ร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย
เป็นเวลาเช้าเสียด้วย คนมุงไม่รู้มาจากไหน
ใครพอจำได้ไหมครับว่าเป็นตึกอะไร


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มิ.ย. 13, 22:04
เขาเรียกว่าตึก BOAC ครับ แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นตึก British Airways ตามชื่อสายการบิน


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 22:17
เขาเรียกว่าตึก BOAC ครับ แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นตึก British Airways ตามชื่อสายการบิน
[/quoteขอบคุณครับ  มาดูแฟชั่นยุค60จากนักร้อง วงสุนทราภรณ์กันดีกว่า
สวยดีครับ จำได้ว่าตอนนั้นยังเป็นเด็กน้อย  ฟังเพลงก็ยังไม่รู้ว่าความไพเราะเป็นเช่นไร
จวบจนปัจจุบันจึงรู้ว่า เพลงของวงสุนทราภรณ์ ไพเราะจับใจแทบทุกเพลง 
ไม่ว่าจะเป็นเพลงรัก เพลงเกี้ยวพาราสี เพลงรำวง เพลงปลุกใจรักชาติ
เกิดมาชาตินี้นับเป็นบุญหู บุญตา ที่ได้รับชม รับฟัง เพลงจากวงสุนทราภรณ์


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 22:41
1960s เป็นยุคเฟื่องฟูของโทรทัศน์ช่อง 4     คนที่ควบคุมทิศทาง   สร้างรายการให้มีคุณค่าสาระและบันเทิงในยุคนั้นคือคุณจำนง รังสิกุล บิดาแห่งโทรทัศน์ไทย (รูปขวาล่าง)
สมัยนั้นคุณจำนงรับพนักงานเจ้าหน้าที่มาประจำในบริษัทไทยโทรทัศน์ ต้องทำงานเก่งรอบตัว  ทั้งทำงานประจำในออฟฟิศในตอนกลางวัน    เข้าห้องส่งเล่นละครตอนค่ำไปจนดึก   ทั้งพากย์หนังชุดทางทีวี      ไม่แยกเป็นงานใครงานมันอย่างสมัยนี้
คู่ขวัญของช่อง 4 คือคุณอารีย์ นักดนตรีและคุณกำธร สุวรรณปิยะศิริยังสวยและหล่อ   เล่นคู่กันเรื่องไหนผู้คนติดกันทั่วเมือง

บรรยากาศในห้องส่งสมัยนั้น   ไม่มีการอัดเทป เล่นสดทั้งหมด และมีการบอกบทผู้แสดงด้วย    คนบอกบทบางคนบอกแบบไหนไม่รู้   คนดูทางบ้านได้ยินเสียงบอกบทชัดแจ๋ว  แต่นักแสดงไม่ยักได้ยิน  ต้องบอกกันซ้ำแล้วซ้ำอีกขณะคลานหลบๆกันอยู่นอกกล้อง    คนดูเลยรู้บทหมด ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในนาทีข้างหน้า   แต่ก็ยังดูกันได้รสชาติสนุกสนานอยู่ดี


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 มิ.ย. 13, 22:56
1960s  เป็นยุคที่คนดูทีวีฟังเพลงสุนทราภรณ์จากช่อง 4 เจื้อยแจ้วเป็นประจำก่อนนอน   เพราะมาออกเป็นรายการสุดท้าย
นักแสดงของช่อง 4  ร้องเพลงสุนทราภรณ์กันได้ทั้งนั้น

ขอทบทวนความทรงจำว่าในรูปนี้มีใครบ้าง   จำได้บางคน   ถ้าคุณ SILA และคุณเทพกรผ่านมา ช่วยซ่อมให้ครบด้วยนะคะ
ผู้ชายจากขวาไปซ้าย     คุณฉลอง สิมะเสถียร 'คุณชายกลาง' คนแรกของละครทีวีบ้านทรายทอง   ถัดมา คุณรอง เค้ามูลคดี   คนที่สามเป็นพระเอกละครทีวีเหมือนกันแต่นึกชื่อไม่ออก   คนที่สี่คือคุณนฤพนธ์  ดุริยพันธุ์   ถัดจากคุณนฤพนธ์คือนักร้องสุนทราภรณ์   คุณเลิศ ประสมทรัพย์  และคุณวินัย จุลละบุษปะ
ผู้หญิงจากขวาไปซ้าย  คุณนงลักษณ์ โรจนพรรณ   คุณกนกวรรณ ด่านอุดม  คุณอารีย์ นักดนตรี  ถัดไปเป็นนักร้องสุนทราภรณ์ทั้ง 4 คน คุณศรีสุดา รัชตวรรณ  คุณวรนุช อารีย์ ส่วนอีก 2 คนไม่แน่ใจค่ะ  


ไทยทีวีครบรอบ 12 ปี คือปี 2510

  นักร้องหญิงถัดจากคุณวรนุช คือคุณมาริษา อมาตยกุล สังเกตจากทรงผมเฉพาะตัว  ส่วนสุภาพสตรีริมสุดเดาว่าคุณบุษยา รังสี


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 23:02
น่าจะใช่    ขอบคุณคุณ  Jalito ค่ะ
ส่วนนักแสดงชายคนที่สามจากขวา  นึกชื่อออกแล้ว คุณสุรินทร์ แสงขำ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 23:04
ยุคละครช่อง4 บางขุนพรหม เป็นความตรึงใจที่ยากจะลืมเลือน
มีทั้งความสด แม้บางครั้งจะมีผิดพลาดบ้าง หลุดบ้าง
แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหญ่อะไร นักแสดงแต่ละท่านมีเสน่ห์เฉพาะตัว  
ผมดูไม่ทันยุคแรกๆ มาทันตอนยุค กนกวรรณ พิศาล
ศิริพร  นิยายที่นำมาทำละคร ส่วนมากจะนำบทประพันธ์ของนักเขียน
ชื่อดังในยุคนั้น อาทิ กฤษณา อโศกสิน สีฟ้า  อมราวดี
ที่จำได้ติดตาก็คือเรื่อง เขาหาว่าฉันเป็นบ้า ของอมราวดี
วิมานไฟ ของ กฤษณา อโศกสิน  วงเวียนชีวิตของสีฟ้า
ตอนนั้นยังเด็กมากแต่ก็ยังจำได้ไม่ลืมเลย


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 09 มิ.ย. 13, 23:16
นักร้องท่านนี้ น่าจะเป็นนักร้องจากวงสุนทราภรณ์
แต่ชื่อเรียงเสียงใด มิอาจทราบได้  วอนเฉลยจากอาจาร์ยหน่อยครับ
[


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มิ.ย. 13, 23:23
ไม่คุ้นหน้าเลยค่ะ    รอถามท่านอื่นดีกว่า


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 มิ.ย. 13, 00:01
  ห้องข้างๆนี่โต้กันไฟแลบเรื่องวิชาป้องกันตัว กระทู้ไหลยาวเลยครับอาจารย์ จะข้ามวันข้ามคืนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ประทานโทษด้วยครับขอแซวหน่อย!


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 08:00
นักร้องท่านนี้ น่าจะเป็นนักร้องจากวงสุนทราภรณ์
แต่ชื่อเรียงเสียงใด มิอาจทราบได้  วอนเฉลยจากอาจาร์ยหน่อยครับ

พิมพ์ผกา วันดี (วันดี รุ่งศิริวัฒนา) (http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=58)

ตามประวัติน่าจะเป็นนักร้องวงสุนทราภรณ์ยุค ๗๐   ;)

http://www.youtube.com/watch?v=ei5nKlpPy9E


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 10:54
คุณเพ็ญชมพูรู้จักนักร้องสุนทราภรณ์ยุค ๗๐ !


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 10:55
  ห้องข้างๆนี่โต้กันไฟแลบเรื่องวิชาป้องกันตัว กระทู้ไหลยาวเลยครับอาจารย์ จะข้ามวันข้ามคืนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ประทานโทษด้วยครับขอแซวหน่อย!
คงอีกสักพักละค่ะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 11:01
คุณเพ็ญชมพูรู้จักนักร้องสุนทราภรณ์ยุค ๗๐ !

ถ้าอยู่ในรัศมีของอินทรเนตรละก้อ รู้จักหมด  ;)

เพลงนี้ครูเอื้อแต่งให้เป็นเพลงประจำตัวของคุณพิมผกา เพลงชื่อเดียวกับคนร้อง  ;D

http://www.youtube.com/watch?v=SoA8WW1KgFQ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 11:20
บางกอก 1960s  เป็นยุคที่หนังไทยยังครองเมืองอยู่ แม้ว่ามีโทรทัศน์มาให้ดูถึงบ้านแล้วก็ตาม  แต่ก็มิใช่ว่าทุกบ้านจะมีทีวีดูกัน  ความบันเทิงนอกบ้านจึงยังสำคัญอยู่ดี
เป็นยุคที่คนดูหนัง ดูพระเอกนางเอกซ้ำๆกันไม่เบื่อหน่าย    เนื้อเรื่องเท่านั้นที่เปลี่ยนไปแต่ตัวเอกในเรื่องยังคงเดิม หน้าเดิม ทำผมแบบเดิม แต่งกายสไตล์เดิม     ดารานำมีวนเวียนกันอยู่สองสามคู่ 
คู่ยืนพื้นคือมิตร-เพชรา      พระเอกขวัญใจสมัยนั้นหน้าเข้มคม รูปร่างสูงใหญ่ทะมัดทะแมง     ส่วนนางเอกก็หน้าอิ่ม ตาหวานเชื่อม แบบไทยๆ    รสนิยมเกาหลียังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะศัลยกรรมยังไม่มี


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 12:03
พระเอกตุ๊กตาทองสามปีซ้อน ไชยา สุริยัน เป็นตำนานอีกเรื่องหนึ่งของวงการบันเทิงยุค 1960s
เรื่องข้างล่างนี้คือ น้อยไจยา ค่ะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 12:24
บางกอกยุค ๖๐ ในสายตาของฝรั่ง

http://www.youtube.com/watch?v=__yNz9cpz1I

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 14:30
1960s  หนังไทยยังมีเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ฉายโรงใหญ่   ก่อนจะย้ายเข้ามามีที่มั่นอยู่ในทีวีช่อง 7 อย่างถาวร
ดาราในเรื่องคือไชยา สุริยัน ภาวนา ชนะจิตและดาวตลก สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 14:32
1960s  นิตยสารแพร่หลายที่สุดของเมืองหลวงคือสกุลไทย และบางกอก


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 14:36
1966 ปีแห่งเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5  ไทยเป็นเจ้าภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 13, 19:42
แฟชั่นยุค 60s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 10 มิ.ย. 13, 22:52
ถ้าปัจจุบันนี้มีณเดชแ-ญาญ่า เป็นดาราคู่ขวัญ
ยัอนไปยุค60 คู่ขวัญคู่นี้ก็เป็นที่เลื่องลือ



กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 09:14
ยัอนไปยุค60 คู่ขวัญคู่นี้ก็เป็นที่เลื่องลือ

คงย้อนไปได้เพียงยุค ๘๐

ละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศเวอร์ชั่นนี้ออกอากาศทางช่อง ๙ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ นี้เอง นิรุตติ์ ศิริจรรยา เป็น จะเด็ด, นันทวัน เมฆใหญ่ เป็น จันทรา, กนกวรรณ ด่านอุดม เป็น กุสุมา, พิศาล อัครเศรณี เป็น มังตรา

จะเด็ด-กุสุมา-จันทรา  ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 14:34
ผู้ชนะสิบทิศในยุค 1960s  เป็นหนังโรงใหญ่   ไชยา สุริยันรับบทจะเด็ด  พิศมัย วิไลศักดิ์เป็นตะละแม่กุสุมาค่ะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 15:45
สิ่งก่อสร้างในเมืองหลวง ที่เคยเด่นเป็นสง่าในยุค 1960  ไม่มีอีกแล้วในยุค 2013


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 17:18
ยุค 1960 มีแฟชั่นรองเท้าบู๊ตสูง นุ่งกับกระโปรงสั้น  เป็นที่นิยมของนักร้องตามไนท์คลับ  ยุค 1970  ไม่มีแล้ว


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 18:28
คลิปนี้อาจเคยลงมาแล้ว แต่อยากลงอีก เพราะเห็นภาพกรุงเทพปี 1960 ชัดมาก

http://www.youtube.com/watch?v=5Hpkh-PG2VE


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 18:29
บางกอก ปี 1964

http://www.youtube.com/watch?v=UC6Eu8u75Bw


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 13, 19:58
อาหารริมถนนในกรุงเทพ ยุค 1960s

http://www.youtube.com/watch?v=235cul020_Y


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มิ.ย. 13, 16:04
ไมรู้ว่าอาเฮีย ขายอะไรยุค 1960


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มิ.ย. 13, 16:06
เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ

พระบรมฉายาลักษณ์ที่ประเทศอังกฤษ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 13, 16:50
นักเรียนร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ห้องคิง สายศิลป์ ในยุค 1960s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 11:37
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  ในยุค 1960s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 13:15
1960s เป็นยุคสงครามเวียตนาม  ในเมื่อไทยยอมให้อเมริกันมาตั้งฐานทัพที่อู่ตะเภา    ใช้เมืองไทยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจจากสงครามเวียตนาม  ทหารฝรั่งจึงเข้ามาท่องเที่ยวกันอยู่หนาตาในกรุงเทพ   มาถ่ายรูป ถ่ายหนังเก็บไว้ให้ดูกันได้อีกครั้งในยูทูป
ในช่วงต้น 1960  ถนนสายใหม่เพิ่งตัดจากประตูน้ำไปซอยเอกมัย สุขุมวิท  ชื่อเพชรบุรีตัดใหม่เชื่อมกับเพชรบุรีสายเก่าที่ผ่านประตูน้ำมาจากยมราช    เป็นถนนสายใหญ่ตัดเข้าไปกลางทุ่งนาเวิ้งว้าง   สงครามเวียตนามทำให้มีตึกแถวอาคารพาณิชย์ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดสองข้างทาง     เป็นแหล่งบันเทิงของคนกลางคืนโดยเฉพาะ    มีบาร์ไนท์คลับตลอดสาย    คำว่า"เมียเช่า" ก็เกิดขึ้นในยุค 1960s นี้เอง

http://www.youtube.com/watch?v=fUWHH6dKXr0


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 13:21
รถรางสายสุดท้ายในกรุงเทพ  1968

http://www.youtube.com/watch?v=1DbBuZIqFVo


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 13:49
ประสบการณ์การขึ้นรถรางบางกอกยุค ๖๐  ;D

ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"    
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง

เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไปหมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม



กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 13:58
^
กระทู้บอกอายุนะคะ คุณเพ็ญ   ย้ำอยู่ได้
คุณเพ็ญไปร.ร. คงนุ่งกระโปรงสั้นมากละมัง   เรือดถึงกัดต้นขาได้  ;)
ร.ร.ใกล้ปากคลองตลาดหรือเปล่าหนอ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 13 มิ.ย. 13, 13:59
ยุค 1960 มีแฟชั่นรองเท้าบู๊ตสูง นุ่งกับกระโปรงสั้น  เป็นที่นิยมของนักร้องตามไนท์คลับ  ยุค 1970  ไม่มีแล้ว

แหม่.......สองสาวนี้เปรี้ยวจริงๆค่ะ มาถึงยุคนี้ กระแตก็กระแตเหอะ ชิดซ้ายตกขอบเวทีไปเลย หน้าตาเขาสวยน่ารักมากด้วย


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 13, 14:06
ไปค้นรูปนักร้องดาวเต้นยุค 1960s มาให้ดูอีกค่ะ  ว่าสมัยนั้นเปรี้ยวกันขนาดไหน
ดูรูปเพิ่มได้ที่เว็บนี้

http://beshowcase.com/site/web/m/casedetail.php?m=narathipchatree&cid=090728221655


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 13 มิ.ย. 13, 23:11
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถนนราชดำเนิน พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ (ถูกเผาไปเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖)  ยังคงเห็นสามล้อถืบให้บริการ ;D
http://img9.uploadhouse.com/fileuploads/17847/17847908662a17b0a8ce29b2ce7817fcd3257c9e.jpg

นอกจากอาคารกองสลาก สองฟากนนราชดำเนินกลาง(ที่เห็นเวลานั่งรถผ่านไปตลาดนัดสนามหลวง) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานดังๆของเมืองกรุงอื่นๆ สำนักงานหนังสือพิมพ์สยามรัฐ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน วิทยุททท สำนักทนายความเทพศรีหริศ บริษัทธนบุรีพานิช(ขายเบ๊นซ์) ร้านอาหารศรแดง หัวถนนตั้งต้นที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย ไปสุดที่โรงแรมรัตนโกสินทร์  ฝั่งกองสลากมีศึกษาภัณฑ์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สถาบันเกริกสอนภาษาอังกฤษ และอื่นๆอีกมากมาย  รวมทั้งวิทยาศรม(ยาธาตุน้ำแดงตราคุณหมอปริญญา)ทีมีคูณหมอจิ๋ว บางซื่อ เป็นแพทย์ประจำ นอกจากคุณหมอแล้ว ชื่อนามสกุลในเซรี่ส์นี้ยังมีอีกสองท่าน จ๋อ บางซ่อน-นักเขียนพญาอินทรีจากใต้ถุนป่าคอนกรีต  จ้อน บางกระสอ-เจ้าของเพลงน้ำตาแสงใต้ ที่ต้องจำใจข่มใจไปจากนวล


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 13, 08:53
เอารูปจากลิ้งค์ข้างบนนี้มาลงให้ดูกัน ว่าย้อนหลังไปยุคนั้น ถนนราชดำเนินโล่งขนาดไหน
เด็กน้อยทางซ้ายในรูป  ป่านนี้คงเป็นผู้ใหญ่วัยใกล้เกษียณแล้ว


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 13, 10:20
รถยนต์สีเขียวในรูปน่าจะเป็นรถ Morris minor รุ่น 1960
ยุค 1960  กรุงเทพยังมีแต่รถฝรั่งเป็นส่วนใหญ่   ไม่มีรถญี่ปุ่นนอกจากแท็กซี่


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 14 มิ.ย. 13, 10:43
สวัสดีครับ ผมได้พบเวปไซด์นี้โดยบังเอิญ และดีใจมาก
ที่ได้เห็นเรื่องราว ภาพ และเพลงเก่า ๆ จากท่านผู้รู้หลายท่าน
ผมขอร่วมเป็นสมาชิกด้วยคนนะครับ อาจจะไม่มีภาพมาร่วม
แต่มีความสุขที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม และทักทายท่านสมาชิกเดิม
ทุกท่านครับ .. ผมเกิดปี พ.ศ. 2492 ยังพอจำสิ่งเก่า ๆ ได้บ้างครับ
หากผมได้พบรูปที่น่าสนใจ จะโพสต์รูปบ้าง ด้วยวิธีใดครับ รบกวน
เพื่อนสมาชิกช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
.. ขอร่วมส่งเพลงเก่าของคุณ นันทา ปิตะนิผลิน มาให้ท่าน
รำลึกถึงครับ..

..
http://www.youtube.com/watch?v=tSu0M9vXgrs


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ศุศศิ ที่ 14 มิ.ย. 13, 11:05
รางวัลใหญ่ยุค 60


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ศุศศิ ที่ 14 มิ.ย. 13, 11:11
รถรางกลางราชดำเนิน


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 13, 11:17
รางวัลใหญ่ยุค 60

รุ่นเดียวกับที่ป๋าสฤษดิ์แจกคุณหนูเล็ก ๆ เลย  ;)

อ้างราชการลับ                                             เสวยฉับเซ็นเช็ค
ให้คุณหนูเล็กเล็ก                                           ของป๋า  
ให้เธอนั่ง เทานุส                                           มีบ้านชุดคนใช้
แหวนเพชรเม็ดใหญ่                                        วาวตา

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley16.png)


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 13, 11:33
สวัสดีครับ ผมได้พบเวปไซด์นี้โดยบังเอิญ และดีใจมาก
ที่ได้เห็นเรื่องราว ภาพ และเพลงเก่า ๆ จากท่านผู้รู้หลายท่าน
ผมขอร่วมเป็นสมาชิกด้วยคนนะครับ อาจจะไม่มีภาพมาร่วม
แต่มีความสุขที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม และทักทายท่านสมาชิกเดิม
ทุกท่านครับ .. ผมเกิดปี พ.ศ. 2492 ยังพอจำสิ่งเก่า ๆ ได้บ้างครับ
หากผมได้พบรูปที่น่าสนใจ จะโพสต์รูปบ้าง ด้วยวิธีใดครับ รบกวน
เพื่อนสมาชิกช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
.. ขอร่วมส่งเพลงเก่าของคุณ นันทา ปิตะนิผลิน มาให้ท่าน
รำลึกถึงครับ..

..

สวัสดีค่ะคุณ MANANYA 
วิธีโพสต์รูปคือเวลาพิมพ์ข้อความ   คลิกที่คำว่า "ตัวเลือกเพิ่มเติม"ด้านล่าง จะมีช่อง browse ให้ใส่รูปจากไฟล์ของคุณได้ค่ะ  ขนาดไม่เกิน 250 kb.

คุณ นันทา ปิตะนิผลิน เป็นใคร ไม่เคยได้ยินชื่อ   ถ้าหากว่าเป็นดาวเสียงที่ล่วงลับไปแล้ว เชิญคุณ MANANYA เข้าไปคุยในกระทู้ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5245.msg121819;topicseen#msg121819


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 14 มิ.ย. 13, 11:46
ขอบพระคุณมากครับ ผมเข้าไปต่อในกระทู้นั้นเรียบร้อยแล้วครับ ..


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 14:45
ในพ.ศ. 2509  (1966)  มาดูจากคลิปวิดีโอเพลง เพชรตัดเพชร ร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง   และมีนักร้องประสานเสียงหลายคนเช่นทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ธานินทร์ อินทรเทพ และอดุลย์ กรีน     
จะได้รู้ว่าย้อนหลังไปเมื่อคุณปู่คุณย่ายังเป็นหนุ่มสาว  แด๊นซ์กันกระจายในลีลาไหน

http://www.youtube.com/watch?v=rgPidkjTqx8


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 15 มิ.ย. 13, 15:38
   วงสุเทพคอรัส  มีคุณสุเทพ วงศ์กำแหง คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา คุณธานินทร์ อินทรเทพ คุณอดุล กรีน คุณนิทัศน์ ละอองศรี และยังมีคุณสุวัจชัย สุทธิมา คุณอดิเรก จันทร์เรือง  คุณมนูญ เทพประทาน


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 15:47
ในคลิปเพลง เพชรตัดเพชร จำไม่ได้ว่านักร้องประสานเสียงมีใครบ้าง นอกจากคุณอดุลย์ คุณธานินทร์ และคุณทนงศักดิ์ ที่เหลือเป็นใครคุณ Jalito นึกออกไหมคะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 15 มิ.ย. 13, 19:08
   อีกสองคนที่เหลือยังไม่ทราบเหมือนกันครับ :-\


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 20:24
ถนนเพชรบุรี ยุค 1960s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 21:45
นักร้องวัยรุ่นในยุค 1960s   เธอชื่อสดใส แจ้งกิจ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 21:45
นักร้องสาวสวยอีกคนหนึ่ง คุณผุสดี อนัฆมนตรี  ปัจจุบันคือผุสดี วงศ์กำแหง ภรรยาคุณสุเทพ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 13, 21:48
ห้องเสื้อ ระพี  ที่ดังที่สุดในยุค 1960s  ดารานางงาม ทั้งหลายมาเดินแบบให้ห้องเสื้อนี้ทั้งนั้น


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มิ.ย. 13, 17:35
ในยุค 1960s ต้นๆ  มีวงดนตรีเล็กๆของอังกฤษ เล่นด้วยกีต้าร์และกลอง เล่นเป็นแบคกราวน์อยู่ในหนังเพลงวัยรุ่นชื่อ The Young Ones ของคลิฟ ริชาร์ดส์   ชื่อวงว่า The Shadows  จากนั้นดนตรีที่เล่นแบบนี้ก็กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางของวัยรุ่นไทย   เรียกกันว่า วงชาโดว์  ทั้งๆชื่อจริงของวงดนตรีแบบนี้คือ สตริง คอมโบ
ในค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) วงสตริงคอมโบยอดนิยมเกิดขึ้นในกรุงเทพ ชื่อ"ดิอิมพอสซิเบิ้ล" หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "ดิอิม" เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆของไทย  นักร้องนักดนตรีรุ่นแรกคือ วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา

" ดิ อิม" เป็นขวัญใจวงการเพลงป๊อปของไทยมา 10 ปี จึงถึงจุดสิ้นสุดของวง

http://www.youtube.com/watch?v=OGQq0Xxqsak


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มิ.ย. 13, 12:47
นางนพมาศจุฬา ยุค 60s ปลายๆ  ชื่ออัมพร กีรติบุตร


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 17:28
ภาพนี้บรรยายไว้สั้นๆ ว่า  A waterfront area in Bangkok   ดูจากรูปแล้วเข้าใจว่าเป็นท่าเรือคลองเตย?
เจ้าทุยจะถูกส่งไปทางเรือหรือไร?
ฝรั่งถ่ายไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1960


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 17:39
1960s เป็นยุคที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยในรูปแบบต่างๆ  โดยมากเป็นหน่วยงานทั้งทางทหาร และองค์การไม่แสวงหากำไร    บริษัทอเมริกันในกรุงเทพก็มีหลายแห่ง      ส่วนอังกฤษที่เคยมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมกับไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มซาลงไปกว่าเก่า
ชาวอเมริกันมาประจำทำงานอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น  หอบครอบครัวมาด้วย    ในเมื่อคอนโดและอพาตเม้นท์ยังไม่มี    บ้านดีๆ มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิดในกรุงเทพทางชานเมืองด้านตะวันออก เช่นเพลินจิต ถนนวิทยุ สาทร สีลม ไปจนสุขุมวิทตอนต้นจึงมีอยู่มากที่ให้ฝรั่งเช่า    เด็กๆก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนนานาชาติที่ซอยร่วมฤดี
เด็กฝรั่งในรูปนี้ สังเกตว่ามีทั้งสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อยและไม่สวม    เดาว่าพวกที่มาเมืองไทยใหม่ๆยังแต่งตัวเต็มยศเหมือนตอนอยู่อเมริกา    ส่วนพวกที่อยู่มานานระยะหนึ่งก็ใช้หนังธรรมชาติดีกว่า  ไม่อบเท้า
เด็กฝรั่งไม่เคยเห็นสามล้อ  จึงชอบกันมาก


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 17:43
ภาพนี้บรรยายว่า   Thai Naval Officers at Camp Sattahip 1962 นายทหารเรือไทยที่ฐานสัตหีบ ในค.ศ. 1962     มีทหารเรือฝรั่งอเมริกันยืนอยู่ด้านหลัง   


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 17:49
รถยนต์พระที่นั่ง ยี่ห้อเดมเลอร์ของอังกฤษ ในยุค 1960s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 19:53
ยุคนั้น กรุงเทพยังมีรถสามล้อเครื่องอยู่


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 19:55
โรงแรมที่ออกแบบได้เก๋ที่สุดในยุค 1960s  สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล
ในยุค 2013 เหลือแต่ภาพในอดีต


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 13, 21:06
หนังสือการ์ตูน ในยุค 1960s


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 07 ก.ค. 13, 00:05
ภาพคุณ อัมพร สวยมากเลยครับ
ปัจจุบันไม่เห็นคุณคุณ อัมพร ออกงานสังคมอีกเลย
ภาพการ์ตูน หนูจ๋า เบบี้ ชวนให้รำลึกวัยเยาว์เหลือเกิน
จำได้ว่ามีหนังสือชื่อ ชัยพฤกษ์ อะไรทำนองนี้
ต้องเจียดเงินจากค่าขนมซื้ออ่านทุกฉบับเลย


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 07 ก.ค. 13, 10:05
1960s เป็นยุคที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยในรูปแบบต่างๆ  โดยมากเป็นหน่วยงานทั้งทางทหาร และองค์การไม่แสวงหากำไร    บริษัทอเมริกันในกรุงเทพก็มีหลายแห่ง      ส่วนอังกฤษที่เคยมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมกับไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มซาลงไปกว่าเก่า
ชาวอเมริกันมาประจำทำงานอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น  หอบครอบครัวมาด้วย    ในเมื่อคอนโดและอพาตเม้นท์ยังไม่มี    บ้านดีๆ มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิดในกรุงเทพทางชานเมืองด้านตะวันออก เช่นเพลินจิต ถนนวิทยุ สาทร สีลม ไปจนสุขุมวิทตอนต้นจึงมีอยู่มากที่ให้ฝรั่งเช่า    เด็กๆก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนนานาชาติที่ซอยร่วมฤดี
เด็กฝรั่งในรูปนี้ สังเกตว่ามีทั้งสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อยและไม่สวม    เดาว่าพวกที่มาเมืองไทยใหม่ๆยังแต่งตัวเต็มยศเหมือนตอนอยู่อเมริกา    ส่วนพวกที่อยู่มานานระยะหนึ่งก็ใช้หนังธรรมชาติดีกว่า  ไม่อบเท้า
เด็กฝรั่งไม่เคยเห็นสามล้อ  จึงชอบกันมาก
๕๕๕​  รูปสามล้อกับเด็กฝรั่งที่คุณเทาชมพูเอามาลง คห.๙๔ ดูเหมือนจะเป็นบ้านผมที่ร่วมฤดี ซอย ๓ แม่ผมทำโรงเรียนอนุบาลมาตั้งแต่ประมาณ ๑๙๕๐ แรกเริ่มมีแหม่มอเมริกันทำ Nursery School/Kindergarten ที่ YWCA (หรือ YMCA ไม่แน่ใจ) ที่ถนนสาทร เพื่อให้เด็กฝรั่งเล็กๆที่พ่อมาทำงานเมืองไทยได้มีที่เรียนที่เล่น ชวนแม่ไปเป็นผู้ช่วย ทำอยู่ปีหรือสองปี แหม่มคนนั้นกลับเมืองนอก แม่ผมเลยทำต่ออยู่พักหนึ่งแต่สถานที่ค่อนข้างแคบ พอดีผู้จัดการ Standard Vacuum Oil  เช่าบ้านหลังใหญ่ติดถนนสุขุมวิทย์  เลยซอยนานาไปหน่อย มีเรือนที่ห่างจากตัวบ้านเป็นเรือนเปิดหมดสี่ด้าน มีฟลอร์เต้นรำ เหมาะที่จะมีงานใหญ่ๆ เขามีลูกสาวสองคนอายุพอดี แม่เลยทาบทามขอยืมเรือนที่มีฟลอร์เต้นรำไปทำรร.อนุบาล  Mrs. E.P.J. Fee ก็ใจดีจัง ยอมให้เปิด รร. ได้อาทิตย์ละสามหรือสี่วัน แม่ก็หาแหม่มภริยาคนอเมริกันสองสามคนไปช่วย คิดว่าทำอยู่ได้ปีสองปี พอดีพ่อไปซื้อที่ที่ ร่วมฤดี ซอย ๓ กลางทุ่งนา แม่ออกแบบบ้านให้ใช้เป็น รร.อนุบาลได้ ชั้นล่างเปิดสามด้าน ด้านที่สี่เป็นครัว แล้วย้าย รร.มาทำที่บ้าน พร้อมกับย้ายบ้านจากปากซอยต้นสน เยื้องสถานทูตอังกฤษ (เช่าบ้านจาก มจ. สกล วรวรรณ) แม่เปิด รร.อนุบาลอยู่หลายปี จนน้องสาวผมรับช่วงต่อ ตอนนี้หลานสาวยังทำต่อ

สมัยแม่ทำมีแต่เด็กฝรั่ง เด็กไทยมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เกิดเมืองนอก เพิ่งกลับมา บางคนพูดไทยยังไม่ค่อยได้ พ่อแม่เลยส่งมาเรียน เด็กส่วนมากอายุประมาณ ๓ ถึง ๕ ขวบ กว่าจะย้ายเข้า รร.ก็รู้ ABC พอออกเสียงคำใหม่ๆได้  รร.มีเฉพาะตอนเช้า ดูเหมือนอาทิตย์ละ ๔ วัน บางทีมีนักเรียน ๗๐ - ๘๐ คน แทบทุกคนมีพี่เลี้ยงแต่แม่ให้พี่เลี้ยงอยู่ได้แค่สองสามวันแรกถ้าเด็กยังไม่คุ้นกับ รร. บางคนเอาของว่างมากินตอน ๑๐ โมง แต่ส่วนมากไม่มีมา ทางรร.ก็มีให้  มีหลายชาติ ใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างเด็กด้วยกัน ยกเว้นบางครั้ง ผมนั่งดูหนังสืออยู่บนบ้าน ได้ยินเสียงเด็กฝรั่งพูดไทยกันก็เลยเงี่ยหูฟัง สะดุ้งเลย ด่ากันคล่องแบบในตลาดเลย คงไม่รู้ความหมายเท่าไหร่ แต่จากน้ำเสียงแล้วคิดว่าคงได้มาจากคนรถ คนสวน แม่ครัว ฯลฯ ที่บ้านทะเลาะกัน แม่ผมไม่สันทัดภาษาไทยเท่าไหร่ ผมถามว่ารู้หรือเปล่าว่าเด็กว่าอะไรกัน ไม่รู้ ดีแล้วที่ไม่รู้

ดูจากรูปคิดว่าเป็นรูปที่บ้าน แม่ไปเอาสามล้อมาจากไหนไม่ทราบ ตอนนั้นกทม.ไม่มีสามล้อแล้ว จำได้ว่ามีจอดอยู่ที่บ้านนานหลายเดือน แต่ตอนนั้นผมนอนหอพักแล้ว ไม่ค่อยได้กลับบ้าน เด็กในรูปบางคนอายุเกินที่แม่สอนอยู่ ผมว่าคงมี party อะไรสักอย่าง อาจมีศิษย์เก่าหรือพี่น้องเด็กมาร่วมด้วย ในรูปรู้สึกว่าเด็กโตเป็นคนขี่สามล้อ ดูท่าทีมีคนเข็นข้างหลัง แต่ผมไม่รู้จักใครสักคน

เห็นรูปบ้านข้างๆที่เลือนๆแล้วนึกได้ว่ามีอเมริกันมาพักอยู่บ้านนั้นหลายเดีือน พอดีมีคนถามผมในเวบอื่น ถึงการใช้คำว่า ain't ว่าใช้ในกรณีใด ทำให้นึกถึงตอนที่มีจ่าทหาร JUSMAG กับภริยามาเช่าบ้านหลังที่เห็นลางๆในรูป แม่อยากแสดงตัวเป็นเพื่อนบ้านที่ดีเพราะในซอย ๓ ตอนนั้นไม่มีฝรั่งอยู่นอกจากแม่ผม เลยทำขนมไปเยี่ยม สักพักก็ลากลับ ผมถามแม่ว่าเป็นยังไง แม่บอกว่า "She was nice and friendly but she says 'ain't'." จำติดตาเลยว่าการใช้คำว่า 'ain't' คำเดียวเท่านั้นบ่งถึงระดับการศึกษา หรือ ระดับการศึกษาของพ่อแม่หรือครอบครัว แม่ผมหมดความนับถือเพราะคำคำเดียว

สมัยน้องสาวผมดำเนินงานต่อ วันหนึ่งมีควาญช้างพาช้างผ่านมา บอกน้องสาวว่าช้างหิว อยากจะขอกล้วยให้ช้างกิน แล้วจะให้เด็กในรร.ขี่ช้างคนละรอบ น้องสาวเป็นคนรอบคอบ เลยถามก่อนว่า ช้างจะกินมากน้อยแค่ไหน ควาญบอกว่าต้นกล้วยทั้งกอจะกำลังเหมาะ ไม่ทราบหมดไปกี่ต้นแต่เสร็จแล้วเด็กได้ขี่ช้างทุกคน


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 10:16
จุดไต้ตำตอแบบหนึ่งในล้าน  (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)
เพิ่งรู้ว่าซอยร่วมฤดีในสมัยอาจารย์หมอศานติอยู่กลางทุ่งนา     ตอนที่ดิฉันจำความได้ เมืองขยายถึงสะพานพระโขนงแล้ว  แต่ว่าลึกเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร ในซอยต่างๆของสุขุมวิทก็ยังเป็นสวนผักสวนมะพร้าวอยู่  เลยสะพานพระโขนงถึงจะเป็นทุ่งนา

พูดถึงคำว่า 'ain't'
เข้าใจว่าคุณแม่ของท่านคงจะเป็นอเมริกันจากรัฐตะวันออกกระมังคะ   อาจจะแถวนิวอิงแลนด์  ถือกันว่าอเมริกันแถวนั้นมีการศึกษา เป็นผู้ดิบผู้ดีกว่าทางตะวันตก   ชาวอเมริกันในรัฐทางตะวันตกเป็นพวกนักบุกเบิกอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  คล้ายๆคนจีนที่เสื่อผืนหมอนใบข้ามทะเลไปตายเอาดาบหน้า   ภาษาของพวกนี้ก็เลยเอาสะดวกเข้าว่า ไม่ถูกหลักภาษาอังกฤษเท่าไหร่   อย่างคำว่า ain't ซึ่งพูดแทน are not 
ตอนไปเรียนใหม่ๆ  อาจารย์ก็กวดขัน เขียนรายงานห้ามใช้ I'm   ห้ามใช้ isn't   ต้องใช้ I am , is not  แต่พอออกจากห้อง เพื่อนก็ I'm , isn't  กันทั้งนั้น  ตอนนี้เวลาเขียนอีเมล์  ภาษาเสียหมดแล้ว


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 07 ก.ค. 13, 18:52
พูดว่ากลางทุ่งนาก็หนักไปหน่อย แต่มีบ้านน้อยมาก ตอนปลูกบ้านยังต้องขุดบ่อถมที่ให้สูงขึ้น ในซอย ๓ บ้านผมเป็นบ้านที่สาม  หลังบ้านเป็นทุ่ง ตอนกบฎแมนแฮตตันมีทหารบกจากต่างจังหวัด ผมว่าสักกองร้อยหนึ่ง มาพักในทุ่งหลังบ้าน ผมคิดว่าเตรียมจะเข้าตีกองสันญาณทหารเรือแต่ไม่รู้ว่ากองสันญาณอยู่ไกลไปแค่ไหน ตอนสมัยที่บ้านยังอยู่ปากซอยต้นสนนั้น ซอยนานาเหนือยังมีคนอินเดียเลี้ยงวัว ตัดหญ้าให้วัวกิน บางทีเอาหญ้าบันทุกรถม้ามีหินลากตามหลังรถม้า ผมคิดว่าเป็นหินลับมึดที่ใช้ไปนานจนสึกเฉพาะตรงกลางเลยลากไปตามถนนคอนกรีตเพื่อให้ตรงกลางหายเว้า  บางที่มีคนอินเดียเร่ขายน้ำอบไทย เดินโฆษณาไปตามซอยใช้คำพูดว่า ทาเมียหอมผัว ทาผัวหอมเมีย น้องๆผมชอบคำโฆษณาหัวเราะกันทุกที


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 08 ก.ค. 13, 10:21
จุดไต้ตำตอแบบหนึ่งในล้าน  (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)
เพิ่งรู้ว่าซอยร่วมฤดีในสมัยอาจารย์หมอศานติอยู่กลางทุ่งนา     ตอนที่ดิฉันจำความได้ เมืองขยายถึงสะพานพระโขนงแล้ว  แต่ว่าลึกเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร ในซอยต่างๆของสุขุมวิทก็ยังเป็นสวนผักสวนมะพร้าวอยู่  เลยสะพานพระโขนงถึงจะเป็นทุ่งนา

พูดถึงคำว่า 'ain't'
เข้าใจว่าคุณแม่ของท่านคงจะเป็นอเมริกันจากรัฐตะวันออกกระมังคะ   อาจจะแถวนิวอิงแลนด์  ถือกันว่าอเมริกันแถวนั้นมีการศึกษา เป็นผู้ดิบผู้ดีกว่าทางตะวันตก   ชาวอเมริกันในรัฐทางตะวันตกเป็นพวกนักบุกเบิกอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  คล้ายๆคนจีนที่เสื่อผืนหมอนใบข้ามทะเลไปตายเอาดาบหน้า   ภาษาของพวกนี้ก็เลยเอาสะดวกเข้าว่า ไม่ถูกหลักภาษาอังกฤษเท่าไหร่   อย่างคำว่า ain't ซึ่งพูดแทน are not 
ตอนไปเรียนใหม่ๆ  อาจารย์ก็กวดขัน เขียนรายงานห้ามใช้ I'm   ห้ามใช้ isn't   ต้องใช้ I am , is not  แต่พอออกจากห้อง เพื่อนก็ I'm , isn't  กันทั้งนั้น  ตอนนี้เวลาเขียนอีเมล์  ภาษาเสียหมดแล้ว
I'm, isn't พวกนี้ใช้กันในภาษาพูดเป็นประจำ ถึงแม้จะใช้เขียนไม่ได้ แต่ก็ไม่ทำให้สะดุ้งแบบ ain't  อาจเป็นเพราะเป็นคำที่เกิดจากพูดเร็วๆ แต่คำว่า ain't ไม่ใช่คำที่เกิดจากการพูดเร็วหรือสั้นๆ เพราะแทนคำได้หลายคำ I ain't hungry yet. (= am not)  I ain't seen him. (= haven't, have not) He ain't home. (= isn't, is not)  She ain't been here. (= hasn't, has not)  Ain't nobody seen him yet.  ยิ่งกว่านั้นบางทีใช้ double negative - I ain't heard nothing about the robbery.

พูดถึงแม่ ความจริงเป็นชาวฝรั่งเศส มีอยู่สมัยหนึ่งที่ผมไม่ยอมรับว่าแม่เป็นฝรั่งเศส ผมคิดว่าตั้งแต่สงครามอินโดจีนที่เราเรียกร้องดินแดนคืน ความรู้สึกของคนไทยต่อฝรั่งเศสเสื่อมลงไปมาก แม้กระทั่งภาษาฝรั่งเศสก็เลิกสอนในชั้นมัธยม สมัยเด็กผมเลยไม่ค่อยยอมบอกใครว่าแม่เป็นชาวฝรั่งเศส ว่าที่จริงแล้วแม่เองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเป็นฝรั่งเศส

ยายผมพาลูกสามคน อายุ 3 4 กับ 5 ขวบ หนีสามี (ตาผม) ไปอเมริกา ลือกันว่าเพราะสามีเป็นชาวไร่องุ่นอยู่แคว้น Alsace ทำเหล้าองุ่นเป็นอาชีพ แต่ติดนิสัยชิมผลิตภัณฑ์ของไร่มากไปหน่อย ยายทนไม่ได้ เลยพาลูกสามคนไปอเมริกา ตอนนั้นยายอายุ 26 นับว่าใจป้ำมาก ตั้งหลักแหล่งแถวชิคาโก อยู่ได้ 13 ปี ยายเกิดไปหลงรักชาวอังแกเรียน เลยพาลูกทั้งสามกลับไปยุโรป คงคิดจะแต่งงาน ไปถึงยุโรปกลางสงครามโลกที่ 1 พอไปถึงเมือง Budapest ถึงรู้ว่าเสือนั่นมีเมียแล้ว ยายกับลูกเลยเคว้งอยู่ใน Budapest เป็นคนไร้ถิ่น ยายโดนตัดไตไปข้างหนึ่งแล้วเพราะวัณโรคไต ข้างที่เหลือเกิดวายขึ้นมานั่น เลยถึงแก่กรรมที่ Budapest  พี่สาวแม่มีจดหมายไปหาพ่อ (ตาผม)ที่ฝรั่งเศส ส่งเงินมาเป็นค่ารถไฟ สาวสองคนเลยได้กลับไปฝรั่งเศส ตอนนั้นแคว้น Alsace ตกอยู่ในกำมือของเยอรมันแล้ว แม่อายุ 16 ต้องเริ่มเรียนเป็นภาษาเยอรมันเพราะตำราภาษาฝรั่งเศสโดนเผาไปหมดแล้ว (แคว้น Alsace นี้ตามประวัติศาสตร์บางทีก็เป็นเยอรมัน บางทีก็ฝรั่งเศส ภาษาพื้นเมืองเองก็เป็น dialect เยอรมัน) เมื่อสงครามเลิกแคว้น Alsace ก็คืนไปเป็นของฝรั่งเศส

แม่จบมัธยมแล้วก็เรียนพยาบาลที่เมืิอง Strasbourg จนจบ แล้วทำงานในเมืองเล็กๆ เป็นพยาบาลดูแลเด็กเพิ่งคลอดตามหมู่บ้านต่างๆแถวนั้น สมัยเด็กเคยสงสัยว่าแม่ทำไม่มีน่องยังกับนักฟุตบอลล์ มารู้ตอนไปเยี่ยมแถวนั้นทีหลังว่า แม่ขี่จ้กรยานขึ้นเขาลงห้วยไปตามหมู่บ้านต่างๆ บันทุกตาชั่งไปหลังรถเพื่อชั่ง นน.เด็ก ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสดำริจะมีการประชาสงเคราะห์ เลยส่งแม่ไปเรียน Social Work ที่ Simmons College เมือง Boston  แม่เล่าว่าคืนหนึ่งเต้นรำอยู่กับ ดร.จำรัส ฉายะพงษ์ วนไปได้รอบ ดร.จำรัสก็โบกมือให้ใครคนหนึ่งที่หลบมุมมืดอยู่ แม่ถามว่าโบกมือให้ใคร ดร.จำรัส บอกว่าเพื่อน แม่ถามว่าทำไมเขาหลบอยู่ ตอบว่า เขาเต้นไม่เป็น แม่บอกว่า แนะนำให้รู้จักแล้วจะสอนให้เต้น หนุ่มคนนั้นโชคดี ผมก็โชคดี เพราะลงเอยเป็นพ่อผม แม่จบแล้วก็กลับไป Alsace  ส่วนพ่อจบแล้วทำงานโรงสร้างเครื่องยนตร์เครื่องบินอยู่หนึ่งปีถึงกลับเมืองไทย อยู่เมืองไทยได้ไม่ถึงปีก็มีจดหมายไปชวนแม่มาเมืองไทย แม่ก็ใจป้ำยอมมา

โดยเหตุที่แม่อยู่อเมริกา 13 ปีตอนเด็กกับอีก 4 ปีตอนเรียนที่บอสตัน พูดอังกฤษก็แบบอเมริกัน พูดฝรั่งเศสได้แต่สำเนียงชาว Alsace ไม่ใช่แบบชาวปารีส เวลามีคนถามว่าเชื้อชาติใหน จะตอบว่า "I'm Alsatian." เสมอ ไม่ยอมรับว่าเป็นฝรั่งเศส นอกจากคนถามจะพูดต่อว่า "Isn't that part of France?" ถึงจะยอมรับ คนส่วนมากคิดว่าเป็นอเมริกัน แต่งงานกับพ่อจดทะเบียนไทยกับฝรั่งเศสแล้ว หายหน้าไปจากวงฝรั่งเศสเลย สถานทูตเองก็คงไม่รู้ว่าคนในสังกัดหายไป ผมเองเลยเอาอย่างแม่ ตอนเรียนมัธยมถ้าเพื่อนถามว่า แม่ชาติอะไร ผมก็ตอบว่าแม่มาจาก Alsace เป็นชาว Alsatian  ข้อเสียของการตอบแบบนี้ก็คือ บางทีจะโดนย้อนว่า แม่เอ็งก็พันธุ์เดียวกับหมาซี เป็นที่ครื้นเครงกันมาก คนฝรั่งเศสนี่ค่อนข้างแปลกหรืออย่าน้อยก็แม่ผมแปลก ถ้าพูดฝรั่งเศสแล้วไม่ใช่สำนวนคนปารีส จะมีปมด้อย ถ้าคนถามแม่ว่าพูดฝรั่งเศสได้ไหม แม่จะตอบว่าได้ แต่จะต้องเสริมทุกทีว่า "but it is peasant French."  พูดได้ แต่แบบชาวสวน เคยต้องไปสถานทูตฝรั่งเศสทีหนึ่งจะขอวีซ่า มีคนเอเซีย ผมคิดว่าอาจเป็นคนเขมร เป็นพนักงานสถานทูต ท่าทีพูดฝรั่งเศสคล่อง ผมถามแม่ว่า ภาษาเขาเป็นยังไง แม่ทำมือนิ้วชี้แตะนิ้วหัวแม่มือแสดงว่ายอดเยี่ยม พร้อมกับพูดว่า "It's perfect. It's Parisien French." ผมถามแม่ว่า แล้วจะพูดกับเขาเป็นภาษาฝรั่งเศสไหม แม่บอกว่า ยังไม่แน่  พอถึงเวลาไปพูดด้วยกลับใช้ภาษาอังกฤษ คิดว่าแม่คงกระดากที่สำเนียงสู้คนต่างชาติไม่ได้


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 12 ก.ค. 13, 17:10
เห็นภาพปกการ์ตูนยุคนั้นแล้ว ผมพอจำผู้วาดได้เลา ๆ ครับ
การ์ตูนเบบี้ น่าจะชื่อ คุณวัฒนา (นามสกุล จำไ่ม่ได้ครับ)
การ์ตูนตุ๊กตา ชื่อคุณ พิมล การะสินธ์
การตูนหนูจ๋า ชื่อคุณ จำนูญ เล็กสมทิศ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 17:23
อ้างถึง
การ์ตูนตุ๊กตา ชื่อคุณ พิมล การะสินธ์
ชื่อคุณพิมล กาฬสีห์ ค่ะ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ส.ค. 13, 06:33
อ้างถึง
อ้างจาก: เพ็ญชมพู ที่  18 ก.ย. 10, 09:01
อ้างถึง
อ้างจาก: เทาชมพู ที่  17 ก.ย. 10, 22:21
ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"    
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง

เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไปหมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม

อ้างจาก: เทาชมพู
อ้างถึง
^
กระทู้บอกอายุนะคะ คุณเพ็ญ   ย้ำอยู่ได้
คุณเพ็ญไปร.ร. คงนุ่งกระโปรงสั้นมากละมัง   เรือดถึงกัดต้นขาได้  
ร.ร.ใกล้ปากคลองตลาดหรือเปล่าหนอ

คำตอบอยู่ที่ญี่ปุ่นน่ะครับ หึ หึ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ส.ค. 13, 09:25
เจ้าของโมเสค   ไปญี่ปุ่นยังนุ่งกระโปรงสั้นอยู่หรือเปล่าหนอ


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: prahnmongkol ที่ 01 ก.ย. 13, 16:24
กราบสวัสดีรุ่นพี่ทุกท่าน น้องใหม่ขออนุญาติร่วมแสดงความคิดเห็น (ติดตามมานานสองสามปีแล้วแต่ว่าพึ่งฉลาดสมัครสำเร็จ)
สมัยประถมไม่มีเงินซื้อหนังสืออ่านต้องเข้าห้องสมุดทุกวันไม่เล่นกับใครเพราะจะคอยอ่านหนูจ๋า เบบี้ ชัยพฤกษ์ ต่วยตูน มีความสุข ติดนิสัยอ่านฟรีมาจนทุกวันนี้ ยังชอบไปห้องสมุดอยู่เลย ;D


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 31 มี.ค. 14, 12:16
โรงแรมเอราวัณยุคแรกเดาว่าคงเป็นยุค60


กระทู้: บางกอกยุค60
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 14, 12:37
ในยุค 1960s  ห้องพักแขกน่าจะมีแอร์คอนดิชั่นแล้ว  แต่ไม่เห็นว่าคอมเพรสเซอร์วางเอาไว้ตรงไหน