เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 65129 ศัพทาภิธานศิลปะ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 23:44

ขนาดคุณติบองง  แล้วพวกไม่รู้อิโหน่อิเหน่อย่างเรา ๆ ยิ่งค้น ยิ่งอ่าน ยิ่งงง  นั่งถอดรหัส สมการ ราก2 4 6 8 ไม่รู้อันไหนถูก อันไหนผิด อันไหนพลาด  เลยกลายเป็นโยนระเบิด วางกับดัก ทั่วไปหมด  อาศัยพอมีครูมาคอยพาออกจากรก จากพง(ส่วนจะไปทางไหน  ต้องหาทางเอาเองนะ)  เลยยังพอมีกำลังใจ  เป็นตาบอดคลำช้างไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็รู้จนได้แหละน่า  เพื่อน ๆ ยังไม่ท้อกันใช่ไหมค่ะ

ว่าแล้ว  ลองไปหารูปมาทดสอบพวกเราดูว่า  จะเรียกอาคารเหล่านี้ว่าอะไรกันบ้าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 00:22

แหะๆ... ผมก็ไม่ได้เก่งเท่าไหร่หรอกครับ ป้ากุล
แต่ผมเชื่อว่าการค้นคว้า ย่อมมากกว่าการค้น และการคว้า

ถ้าผมสนใจเรื่องอะไรซักเรื่อง
อย่างแรกที่ผมจะทำเสมอ คือ ถามตัวเองครับ
7 คำถาม ที่ง่ายที่สุด จะช่วยให้เราหาคำตอบอย่างมีหลักการได้เสมอ
ก็ไอ้ what when why which how who whom นี่ล่ะครับ
เป็นทางแก้ปัญหาให้กับเราได้ทุกเรื่อง



เรื่องที่ผมงงนี่ มาดูกันง่ายๆก่อน ว่า
อะไรคือ "ศิขร" (ใครอ่านว่า "สิ-ขอน" เชยนะครับ เขาต้องอ่านว่า "สิ-ขะ-ระ")

ศิขร คืออาคารจำลองรูปแบบหนึ่ง ที่ปรากฏทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
ดูจากศิขรยุคต้นๆที่เหลือมาให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้
พอจะตอบเราได้ว่า ศิขร คือ "อาคารซ้อนชั้น" แบบคติ "ปราสาท"
ที่นิยมนำมาก่อสร้างสถาปัตยกรรมกันในอินเดียนี่ล่ะครับ

แต่ศิขรต่างจากสถาปัตยกรรมของอินเดียใต้ที่เรียกว่า "วิมาน"
(อันนี้ภาษาปะกิดแกเขียนว่า Wi-ma-na แต่นักบุกเบิกความรู้ด้านนี้คนไทยแกอ่านว่าวิมาน
ใครจะใช้อันไหนก็ไม่น่าจะผิดทั้งคู่นะครับ แหะๆ)
อยู่ 1 ข้อใหญ่ คือ อาคารจำลองเล็กๆที่ประดับอยู่ตามมุมและด้านของศิขร
เป็นอาคารจำลองที่เกิดจากการแกะสลักหินแบบนูนต่ำ ยุคหลังๆบางทีก็ลดรูปจนดูไม่ออกก็มี
ตัวอย่างเช่นที่ ขชุรโห หรือ วัดวัชราสน-อ่านว่า วัด-ชะ-รา-สะ-นะ (แต่คนแถวบ้านผมชอบเรียกว่า "พุทธคยา" ครับ แหะๆ)
ส่วนวิมาน ที่นิยมก่อสร้างกันในอินเดียใต้นั่น อาคารจำลองเป็นงานประติมากรรมลอยตัวครับ




พูดมาตรงนี้..... คงมีคนงงกันอีกแยะเชียว
ผมขอพักเรื่องศิขร กับวิมานเอาไว้ตรงนี้
ไว้รอคุณkurukula หรือ คุณpipat มาอธิบายเพิ่มดีกว่า
เกรงว่าพูดอีก คนอ่านจะงงอีกน่ะครับ แหะๆ




แต่จะขอเล่าต่อไปว่าปรางค์ที่หลายๆท่านรู้จักกัน
มีสิ่งประดับที่สำคัญเรียกว่า "ฝักเพกา" ซึ่งไอ้เจ้าฝักที่ว่านี่....
มันถูกนำเข้ามาแทนที่ประติมากรรมหินแกะสลักรูปอาคารจำลองในปราสาทหินเขมรครับ


ทีนี้..... ปรางค์จะมาจากอะไรดี ศิขร หรือ วิมาน
รูปแบบสถาปัตยกรรมจากที่ไหนดี อินเดียเหนือ หรืออินเดียใต้
แล้วการเรียกชื่อปรางค์ว่า "ทรงศิขร" จะทำให้คนอ่านที่ยังไม่มีวัคซีนในการสอบทานเข้าใจผิดง่ายๆ หรือเปล่า ?
เพราะคนที่อ่านแล้วจะได้คิดถึงการลุกขึ้นมาสอบทานตัวบทของประวัติศาสตร์ หรือตำราในการก่อสร้าง
และไล่เรียงวิวัฒนาการของหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ มีไม่ถึง 1% ของคนค้นคว้าครับ
ที่เหลือด้วยความไม่รู้ พอค้นอะไรได้ อ่านอะไรได้ ก็ "คว้า" มา บางคนใครเล่าอะไรให้ฟังก็ "คว้า" มาก็มี
เผลอๆ สิ่งที่ครูสมัยประถมเล่าให้ฟังมาผิดๆ คนก็เผลอไปเชื่อกันเยอะแยะครับ..... headache aroundthe wolrd ครับผม แหะๆ






ปล. อย่าเชื่อ.... เพราะคนพูดครูของเรา
อย่าเชื่อ..... เพราะเชื่อสืบๆกันมา
อย่าเชื่อ..... เพราะดูน่าเชื่อถือ
อย่าเชื่อ...... เพราะเชื่อตามพ่อแม่
ขี้เกียจพิมพ์ละ เพราะถ้าพระท่านเทศน์จะเหลืออีก 6 ข้อ
นายติบอเมื่อยมือละครับ หิหิ

แต่นายติบอขอเพิ่มอีก 1 นะครับ....
อย่าเชื่อ เพราะนายติบอเป็นคนบอกนะครับ หุหุ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 01:04

อิอิ  ในเมื่อท่านหัวหน้าถามมาจะไม่ตอบเดี๋ยวหาว่ากระด้างกระเดื่อง  ขออนุญาตตอบแบบบายฮาร์ทนะครับ

โบสถ์ - วิหาร - ศาลา - มณฑป  ไม่น่าจะมีความแตกต่างกันครับเพราะเป็นอาคารที่ใช้ในพุทธสถานหรือเทวสถาน  ความแตกต่างผมว่าอยู่ที่การใช้ครับ

โบสถ์ - เป็นอาคารที่ใช้ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์
วิหาร  - เรียกง่ายๆ น่าจะเป็นกุฎิของพระพุทธปฏิมา  คืออาคารที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่นเองครับ
ศาลา - เป็นอาคารที่ใช้สอยของบุคคลครับ  อาจใช้ในศาสนกิจ หรือประโยชน์อื่นๆ
มณฑป - เป็นอาคารที่ใช้ครอบสิ่งสำคัญ

รูปที่ท่านหัวหน้าเอามาให้ดู  ผมว่าน่าจะเป็นวิหาร กับ ศาลา ครับ

ง่ะท่านติบอ  มีคนเคยบอกผมว่า  เชื่อคนง่ายได้ของดี  การศึกษาของบ้านเรามักชอบสอนให้เชื่อซะด้วย  คงขัดกับ กาลามสูตร ซึ่งสอนให้คิดปฏิบัติเกิดผลแล้วจึงเกิดปัญญา  แต่ที่ทราบ  ฝักเพกาจิ้มแจ่ว  แซ่บอีหลีเด้อพี่น้อง.....ไหงมาออกเรื่องบริโภคได้ง่ะ...อิอิ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 01:47

เรียนที่นี่เหนื่อยหนัก....หัวหน้าห้องขยันแจกการบ้าน แจกชีสสส....เอ้ยชีท และลูกราเบิด
ตอบมั่ง

โบสถ์
ข้อนี้ง่ายสุดครับ อะไรก็ได้ หากล้อมด้วยลูกนิมิต และคณะสงฆ์ทักสำเร็จ เป็นอันเรียกว่าโบสถ์
จะเป็นลานดิน เพิงผา ถ้ำ กำแพงล้ม อาคาร
หากวางลูกนิมิตถูกต้องตามพระวินัย ถือเป็นโบสถ์ทั้งสิ้น

วิหาร
ข้อนี้ยากแฮะ จารึกสุโขทัยเป็นภาษาไทยเก่าสุดที่ใช้คำนี้ แต่ใช้ว่า "พิหาร"
และหมายความว่า "วัด" ครับ เหมือนในพระบาลีเรียกอารามที่มีป่าไผ่ว่าเวฬุวัณวิหาร อย่างนี้เป็นต้น
พ่อขุนรามท่านก็บอกว่า กลางเมืองมีพิหารอันใหญ่พิหารอันราม
นายศรีโยธาก็บอกว่าไปขอที่ดินมาสร้างพิหาร

แต่พอมาเป็นภาษาอยุธยา พิหารกลายเป็นวิหาร หมายถึงวัดเหมือนกัน แต่ก็หมายถึงอาคารที่เก็บพระพุทธรูปไปได้อีกอย่าง
เก๊าะเลยเกิดข้อสับสนว่า อาคารเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่หลังหนึ่งมีเสมาลูกนิมิตล้อมรอบ
อีกหลังหนึ่งไม่มี
ฮิฮิ ข้อนี้พวกเราตอบได้สะบายล่ะ ว่าใหนโบสถ์ใหนวิหาร

ปล. แปลว่า เราเรียกโบสถ์-วิหาร ตามองค์ประกอบเชิงคติสิครับ มิใช่เรียกเพราะรูปร่างหน้าตา
ดังนั้นรูปที่นำมาอวด จึงเรียกอะไรก็ได้ เว้นแต่เรารู้จักสถานที่นั้นดี เราก็เรียกได้ถูกต้องเป๊ะๆ
เท่านั้นเอง

ศาลา
คำนี้แปลกครับ จารึกสุโขทัยท่านมีเรียก และทำผมงงถึงทุกวันนี้ว่าท่านสร้างศาลา ท่านก็มีจารึกบอกแฮะ
นั่นคงเนื่องจากในครั้งอดีตกาลไกลโพ้น สิ่งที่เรียกว่าศาลา คงเป็นของสำคัญมิใช่ย่อย

พอมาถึงทุกวันนี้ เรามักจะถือว่า ศาลาต้องโปร่ง ศาลาต้องเข้าได้จากหลายทาง และศาลามักจะไม่ใหญ่
เช่นศาลาท่าน้ำ ศาลาแจกแกง(แหะๆ อันนี้บางแห่งก็ใหญ่เหมือนกันครับ อย่างวัดโพธิ์งัย)
รูปร่างก็มีแตกต่างกันไปจนทำรูปพรรณมิได้ เช่นศาลาสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม กลม.....
แต่สิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นศาลามิได้ คือห้องใต้ดิน....ฮิฮิ
แปลว่าศาลาต้องอยู่เหนือดินแน่ๆ และยังไม่เคยเห็นศาลาเหล็ก ศาลาหิน หรือศาลาดิน....รึว่าใครเคยเห็นบ้าง

มณฑป
คำนี้ยากสุดในกลุ่ม
ให้เดาก็ขอบอกว่า มณฑปต้องมีเครื่องยอด ต้องเป็นอาคาร(เป็นถ้ำหรือขุดรูมิได้)
มีผนัง แต่อาจจะเป็นมณฑปโถงได้ พบน้อยหน่อยเท่านั้น และมักจะเป็นเครื่องบนที่เป็นจั่วล้ม คือหลังคาสอบเข้าหากัน
ที่ทำเท่เก๋ไก๋ เราก็เรียกกุฎาคาร
คำนี้คุณสมภพ ภิรมย์ท่านชอบใช้ เป็นคำที่ผูกขึ้นใหม่แต่ได้ใจความดี

เอาละซี ได้คำใหม่มาเพียบเลย
ถือว่าแตกยอดออกดอกละกัน ช่วยกันคิดช่วยกันป่วน
เดี๋ยวก็ได้สมุดศัพท์ฉบับเวรกรรม....ฮิฮิ

(ชอบคำนี้ของป้ากุนจริงๆ)
อ้อ น้องติบอ อย่าป่วนพี่ๆ ด้วยความรู้แน่นปึ้กของน้องมากเกินไป โฮย ตามอ่านก็เหนื่อยแล้ว
น้องยังไม่แปะรูปตามคำสาบาน....เอ้ย คำสัญญาซะอีก
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 09:37

ติงคุณติบอนิ๊สสสสส นึงจ้า

ที่ว่าฝักเพกามาแทนอาคารจำลอง ซึ่งอยู่บนชั้นหลังคาในศิลปะเขมรนั้น บ่ได้เรียกว่าฝักเพกาจ้า โบราณท่านเรียกอะไรไม่รู้ แต่ทุกวันนี้ผมเรียกเองว่า "นาคปัก"

เพราะมันเป็นรูปหัวนาค ซึ่งทำให้คติ "Wimana" (Vimana) ของคุณติบอเสื่อมลง

เพราะไอ้นาคปักเหล่านี้ มันดันสอบเข้า ทำให้ปราสาทที่ดูแข็งๆ ทมึนๆ ตรงๆ กลายเป็นทรงพุ่ม

อาคารจำลองก็เหลือแค่ตรงช่องวิมาน ตรงกลาง ซึ่งต่อมาในปรางค์เรียกบันแถลงครับ ส่วนนาคปัก สมัยนี้เรียก กลีบขนุน เพราะไปๆมาๆ รูปนาคมันก็หายไปเหมือนกัน กลายเป็นใบๆแปะๆเอาไว้  คนดูเห็นเหมือนใบขนุน เลยเรียกเช่นนั้น




เรื่องโบสถ์ วิหาร การเปรียญ ก็มีคนอธิบายไว้หมดแล้วครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 09:42

อ้อ ลืมตอบข้อสอบคุณ Pakun ครับ

ข้อแรก คือ ศาลาการเปรียญ วัดราชาธิวาสครับ

ข้อสอง คือ หอไตรวัดสระเกศ

ข้อสาม คือ วัดพระสิงห์ครับ มีสิมที่ล้อมด้วยเสมาครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 10:40

กราบงาม ๆ คุณ(ครู)พพ.ค่ะ  คำตอบลึกไปถึงรากถึงโคนทีเดียว  เหมือนให้เบ็ดตกปลาแก่ลูกศิษย์ไปทำมาหากินได้ตั้ง 1 เรื่องค่ะ(ย้ำ 1 เรื่องเองนะคะ  ยังมีประเด็นค้างกระทู้อีกไม่น้อยทีเดียวเจ้าค่ะ)

คำตอบของคุณkurukula  ถ้าไม่เป็นเซียนวัด  ก็ต้องเป็นเซียนค้นคว้า นะคะเนี่ย  ใช่ทุกตัวอักษรเชียวค่ะ  ศาลาการเปรียญวัดราชาธิวาสนี่ไม่ค่อยลงตัวกับสูตรของคุณ(ครู)พพ.นะคะ  แต่ไม่ต้องห่วง  ไม่งงแล้วค่ะ  ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนยังงงอยู่  ก็ว่ามาค่ะ

ระหว่างรอคุณ(ครู)ทั้งหลายมาคลี่คลายความสงสัย สับสน  เราก็จะค้น จะคว้า สร้างความงุนงง  มาเป็นงานสำหรับกระทู้นี้ต่อ ๆ ไป  อย่างไรก็ต้องบอกว่า  แม้ว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยจะเป็นเรื่อง เวรกรรม อยู่มาก  แต่เราจะอาศัยปัญหาที่แสนจะปวดเศียรเวียนเกล้านี่ฝีกให้เราเป็นนัก ค้น คว้า คิด แล้ววิเคราะห์ ต่อไป  ต้องขออนุญาตอ้างอิงนิดนะคะว่า  เมื่อก่อนอ่านไม่รู้เรื่อง  ก็จะมองว่าเรารู้น้อยแล้วอ่านไม่รู้เรื่องเอง  เดี๋ยวนี้ ชักกล้าคิด กล้าวิเคราะห์ แล้วค่ะว่า  บางทีคนเขียนก็เขียนไม่รู้เรื่องแฮะ

ห้องเรียนนี่หนัก แต่สนุกยิ่งค่ะคุณครู
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 17:54

มณฑป(ต่อ)

เท่าที่ผมตามรอยมา มณฑปรุ่นบุกเบิก ไม่มีเครื่องยอดอ่ะ
ไปดูปราสาทเขมรเป็นอันหายงง อย่างที่พิมาย ก็จะมีอาคารอยู่หน้าปราสาทประธาน
เรียกอาคารนี้ว่า มณฑป
(คงจำได้ ที่ผมเคยบอกว่ามีการเชื่อมต่อกันกับประธาน ด้วยฉนวนสั้นๆ ที่คุณกุฯ เรียกอันตะ
แต่ครูผมให้เรียกอันตราล.....อันตราลกัปป์ แปลว่ากัปป์ที่อยู่หว่างกลาง ศัพท์นี้แถมครับ)

ในศิลปะสุโขทัน ท่านก็ชอบทำมณฑป แต่เราไม่พบคำว่ามณฑปในจารึกนะครับ ผมเจอแค่คำเดียว
มณฑปของสุโขทัยมีสองแบบ แบบหนึ่ง ผมเอารูปมาให้ชมแล้ว เป็นอาคารทรงจั่ว อยู่นำหน้าประธาน
ตำแหน่งใช้สอยเหมือนเขมรชอบกล

อีกแบบหนึ่ง ตัวมณฑปเอง เป็นประธานเลยเชียวแหละ เช่นที่วัดศรีชุม หรือวัดตระพังทองหลาง
มณฑปวัดศรีชุมนั้น ใหญ่โตมโหฬาร ผนังหนาขนาดทำทางเดินในผนังขึ้นบนหลังคาได้
เรียกว่าเป็นมหามณฑป หาใช่ของสามัญไม่

จึงสรุปตรงนี้ก่อนว่า มณฑป หากพิจารณาด้วยการใช้งาน ก็มี 2 แบบใหญ่ๆ
คือ แบบที่เป็นห้องให้ประกอบพิธีกรรม เช่นที่พิมาย และที่พระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี เรียกว่าเป็นอาคารบริวารของประธานอีกทีหนึ่ง
กับมณฑปที่ตัวเอง ประดิษฐานสิ่งสำคัญยิ่งยวด
เช่นมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี หรือพระศรีรัตนมณฑป....ข้อนี้ทิ้งเป็นการบ้าน

ใครทราบว่า พระศรีรัตนมณฑปอยู่ที่ใหน มีประโยชน์ใช้สอยอย่างใด......ฮืมฮืม??
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 18:29


"เช่นมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี หรือพระศรีรัตนมณฑป....ข้อนี้ทิ้งเป็นการบ้าน

ใครทราบว่า พระศรีรัตนมณฑปอยู่ที่ใหน มีประโยชน์ใช้สอยอย่างใด......"


งงอะครับ คุณพิพัฒน์ ก็เพิ่งบอกว่าอยู่ที่สระบุรีไปหยกๆนี่ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 20:44

กับมณฑปที่ตัวเอง ประดิษฐานสิ่งสำคัญยิ่งยวด
เช่นมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี หรือพระศรีรัตนมณฑป....ข้อนี้ทิ้งเป็นการบ้าน
---------------
ภาษาไม่ดี ทำความกำกวมบังเกิด
ต้องใช้ว่า

กับมณฑปที่ตัวเอง ประดิษฐานสิ่งสำคัญยิ่งยวด
ตัวอย่างเช่นมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี หรืออีกแห่งหนึ่ง คือพระศรีรัตนมณฑป....
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 22:50

อย่างนี้น่าจะดีกว่านะคะ  ตัวอย่างเช่นมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี และ พระศรีรัตนมณฑป

มาช่วยเอาหน้า  เพราะว่ายังหาพระศรีรัตนมณฑปไม่เจอค่ะ 
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 23:37

หาเอาในกระเป๋าตังค์จะเจอง่ายกว่าป่าวน๊า...... คำตอบของคุณพิพัฒนเนี่ยะ ฮืม






ทีนี้ถามคุณกุรุฯ หน่อยครับ
ว่าคุณกุรุว่าวัดไหนในประเทศไทย..... เออ.....
มีอัณฑะหย่ายยยยย ที่ซู๊ดดดด ครับ





ปล. ผมแอบมาเขียนคำถามชวนหวาดเสียว....
ก่อนจะเจอภารโรงที่คุณpipat ว่าดุนักดุหนาเอาแปรงลบกระดานวิ่งไล่เขวี้ยง
เลยต้องมาต่อด้วยว่า อัณฑะ ที่ว่านี่ต้องประกอบอยู่กับ หำ เอ๊ย!!! หัม. ..... ด้วยล่ะครับ หิหิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 23:40

ชาเหลยก้อด้ายกั๊บ....

พระศรีรัตนอุโบสถ อยู่ที่วัดพระแก้ว พระศรีรัตนมณฑปก้อต้องอยู่วัดพระแก้วด้วย
เราใช้คำขยาย "พระศรีรัตน" กับสิ่งสูงสุดในสังคม
ดังนั้น คงเข้าใจต่อไปว่า เหตุใด ผมจึงใช้คำเรียกว่า "พระศรีรัตนมหาธาตุ" ในบางโอกาส
ผมคิดว่านักปราชญ์โบราณท่านคงคิดละเอียด กว่าจะใช้นามนี้แก่ศาสนสถานบางแห่ง
และมีแต่วัฒนธรรมอยุธยาเท่านั้น ที่ใช้ศัพท์นี้
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 25 ก.พ. 08, 00:30

ง่ะท่านติบอ  มาแนวเรทอาร์.อิอิ    ได้ยินเป็นครั้งแรกในชีวิต  ส่วน"หัม"  เคยได้ยินแต่หัมยนต์  สงสัยคงเดือดร้อนท่านอาจารย์ใหญ่อีกแล้วล่ะครับ  เลยเอารูปพระธาตุสวยๆแถบอิสานมาฝาก.... แลบลิ้น


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 25 ก.พ. 08, 08:09

วิหารเป็นสิ่งชวนสับสนมาตั้งแต่สมัยเด็ก (จนโต)
บางคนก็บอก ต้องอยู่คู่กับโบสถ์ ต้องเก็บพระพุทธรูป
คราวนี้มันก็มี วิหารคด ก็มีคนบอกอีกว่า ก็ระเบียง ที่ใช้วางพระพุทธรูปนั่นเอง
แล้วก็มีโอ้เอ้วิหารรายอีก
ยังไม่รวมถึง วิหารแกลบ วิหารทิศ วิหารธรรม วิหารยอด วิหารหลวง
เง็ง
สรุปว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ วิหารต้องมีพระพุทธรูป ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 18 คำสั่ง