เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 31 ม.ค. 11, 14:40



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 ม.ค. 11, 14:40
เรียน  แฟนพันธุ์แท้เรื่องรามเกียรติ์และผู้สนใจรามเกียรติ์ทุกท่าน

ผมขอเชิญทุกท่านที่มีความสนใจใคร่รู้ใคร่อ่านเรื่องรามเกียรติ์
มาแข่งขันกันหาข้อมูลตอบคำถามเกี่ยวกับรามเกียรติ์ในระดับลึกและลึกมาก

ในรอบนี้  คำถามเริ่มที่ข้อ ๕๑ ไปจนถึงข้อที่ ๗๐ 
คะแนนของผู้ที่ได้แข่งขันไปแล้วใน ๕๐ ข้อก่อน
จะไม่เอามารวมกับการแข่งขันในรอบนี้
เพื่อให้เชื้อเชิญผู้แข่งขันหน้าใหม่ได้เข้ามาแข่งขันกับนักรบเดิม
ในระดับคะแนนที่เท่าเทียมกัน ไม่เหลื่อมล้ำกัน


ดังนั้น  ขอเสียงนักรบที่สมัครใจแข่งขันตอบคำถามรามเกียรติ์ในรอบ ๕๐ ข้อหลังหน่อย
ใครที่สนใจยังไม่ได้ตีตั๋วเข้ามาในสนามรบเชิญรีบจองตั๋วโดยพลัน

คำถามข้อที่ ๕๑ จะเริ่มตั้งในเวลา  ๐๙.๓๐  น.
ของวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ 



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 09:20
กระผม นาย SIAMESE มาเข้ารายงานตัว ขอรับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 11, 09:42
อะไรกัน  นักรบมารายงานตัว ณ สนามรบคนเดียวเอง
อย่างนี้เห็นจะต้องถอยทัพกลับไปฉลองตรุษจีนก่อนกระมัง

ถ้านักรบท่านอื่นยังไม่มารายงานตัวก่อนเพลาพลบค่ำวันนี้
ถือว่า  หนีทัพ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 09:50
กระผม นายสะอาด บ้านคูคต เมืองปทุม
เลขกองกลาง ขึ้นหลวงยกกระบัตร
รายงานตามใบบอกขอรับใต้เท้าพระกรุณา ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 01 ก.พ. 11, 09:52
หนูดีดี รีบรายงานตัวค่ะ
กลัวโดนข้อหาฉกรรจ์.... ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 11, 09:55
สงสัยม้าใช้ของประแดงเอาใบบอกไปส่งที่จวนเจ้าเมืองประทุมธานีช้านัก

ดีที่ยังมารายงานตัวทันเพลา   ไปรอเตรียมเสบียงและยุทธภัณฑ์ให้พร้องสรรพ

เพลาเพล พระย่ำกลอง เราจะได้รบกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 10:04
ลั่นกลองรบให้พร้อมนะเหล่านักรบ จึงขอนำโขน เมื่อร้อยกว่าปีก่อนนำมาลงให้ชมกัน ยักษ์ถือกระบอง คนโบราณทำได้เนียนมาก ยัดนุ่นสวมแขน ให้ได้ถึง ๔ กร อีก ๒ ตนยืนบนบ่าท้าทายยิ่งนัก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 11, 10:22
ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป 
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า

๑.วัวพันหลัก

๒.ฆาฏอินทพาทบาทจันทร์

๓.ประดาดิน

๔.อัพโพกาศ

๕.กก (แปลว่า นกยาง)

๖.โกรธะกุฎี

ปริศนานี้ กำหนดให้แต่ท่านเลือกทำเพียงข้อเดียว
แลตอบที่หน้าไมค์นี้  โดยให้เริ่มตอบได้ในเพลาตะวันชายบ่ายแล้ว
๑ นาฬิกากึ่ง
  อย่าให้เร็วกว่านั้น (ตอบก่อนเพลาเราไม่ตรวจ)

ได้สดับปริศนาแล้วไซร้ จักช้ากันอยู่ไย   
รีบต้อนพลไปค้นข้อมูลพลัน    ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 01 ก.พ. 11, 11:31
ย่องมารายงานตัวค่ะ 
เกรงแต่ว่าคงจะตอบไม่ทันเหล่านักรบผู้กล้าทั้งมวล
ล้วนเชี่ยวชาญ

(http://)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 11, 12:49
ย่องมารายงานตัวค่ะ 
เกรงแต่ว่าคงจะตอบไม่ทันเหล่านักรบผู้กล้าทั้งมวล
ล้วนเชี่ยวชาญ



ทำตัวลึกลับเป็นจารบุรุษ  จารบุรุษนี่ท่าทางจะมีข้อมูลดีด้วย
เพราะปล่อยอาวุธแต่ละที  ตะลึงอึ้งกันไปทั้งสนามรบ
เชิญๆ  อย่าได้ถ่อมตนเลย   ท่านจอมยุทธ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 13:30
ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป  
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า

๑.วัวพันหลัก

ปริศนานี้ กำหนดให้แต่ท่านเลือกทำเพียงข้อเดียว
แลตอบที่หน้าไมค์นี้  โดยให้เริ่มตอบได้ในเพลาตะวันชายบ่ายแล้ว
๑ นาฬิกากึ่ง  อย่าให้เร็วกว่านั้น (ตอบก่อนเพลาเราไม่ตรวจ)

คำตอบ

ทศกัณฐ์คิดถึงท้าวมาลีวรราชผู้ญาติผู้ใหญ่ได้ว่าเป็นคนเที่ยงตรง
จึงอยากให้มาตัดสินคดีความของตนและพระราม โดยมีความคิดว่า
พระอัยกาองค์นี้หากแช่งชักผู้ใดย่อมเป็นไปตามนั้น

กูจะให้ไปเชิญภูวไนย
มายังพิชัยสงกา
แล้วจะกล่าวโทษรามลักษณ์
เป็นวัวพันหลักแอบว่า
ให้พระองค์กริ้วโกรธโกรธา
จะพรรณนาแต่เดิมให้ฟัง

วัวพันหลัก มีความหมายว่า อากรที่วกหรือย้อยกลับไปหาจุดเริ่มต้น
สัมพันธ์กับเรื่องรามเกียรติ์ก็คือ ทศกัณฐ์จะกล่าวโทษให้ท้าวมาลีวรราชฟังว่า พระพี่น้องสองกษัตริย์หาเรื่องตนเอง
โดยมาทำสงครามยื้ดเยื้อ ไม่รู้จักจบจักสิ้น ไล่ก็ไม่เป็น ฉะนี้แล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 01 ก.พ. 11, 13:31
ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป  
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ;D
๑. วัวพันหลัก
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ

"จึ่งคิดได้ว่าท้าวมาลี         สถิตที่ยอดฟ้าสิงขร
เป็นพระอัยกาฤทธิรอน       ทรงเดชขจรมหึมา
จะว่าสิ่งใดก็ประสิทธิ์         ดั่งเหล็กเพชรลิขิตแผ่นผา
พระองค์ดำรงในสัตยา       แม้นโกรธาชักแช่งผู้ใด
ก็เป็นไปตามบัญชาพจนารถ  จะเคลื่อนคลาดไปนั้นหาไม่
กูจะให้ไปเชิญภูวไนย            มายังพิชัยลงกา
แล้วจะกล่าวโทษรามลักษมณ์   เป็นวัวพันหลักแอบว่า
ให้พระองค์กริ้วโกรธา        จะพรรณาแต่เดิมให้ฟัง
ที่คำฉกรรจ์จะสรรใส่         จะจัดให้เป็นข้อหน้าหลัง
ซึ่งตัวกูผิดจะปิดบัง            ฝังแฝงแจ้งไปให้เห็นดี
พระองค์ก็เชื่อวาจา            จะแช่งด่าลักษมณ์รามทั้งสองศรี
ฝ่ายว่าอริราชไพรี             น่าที่จะม้วยชีวันฯ "

......หลังจากที่ทศกัณฐ์ส่งพี่น้องลูกหลานออกไปรบกับฝ่ายพระราม แล้วพ่ายแพ้ถึงแก่ความตายหมด ทศกัณฐ์จึงนึกขึ้นได้ว่ามีอัยกาอยู่องค์หนึ่งคือ ท้าวมาลีวราช อยู่ที่เขายอดฟ้า  เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมและมีวาจาศักดิ์สิทธิ์  ถ้าแม้นโกรธแช่งชักผู้ใดผู้นั้นก็จะเป็นไปตามแช่งทุกประการ จึงคิดว่าควรจะต้องไปเชิญมายังกรุงลงกา   แล้วกล่าวโทษพระราม พระลักษณ์ ว่าเป็นวัวพันหลัก  มาหาเรื่องตน ส่วนของตนจะพูดถึงแต่ความดีและจะปกปิดความผิด หากท้าวมาลีวราช เชื่อและด่าว่า พระลักษณ์พระราม ก็จะต้องพ่ายแพ้ตามตามวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น
           ทศกัณฐ์จึงมีบัญชาให้หลานทั้งสองคือ นนยวิกและวายุเวก ไปเชิญเสด็จท้าวมาลีวราชจากเขายอดฟ้ามาว่าความ  ท้าวมาลีวราชเป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรมจึงไม่เข้ามายังกรุงลงกาเกรงจะถูกนินทาว่าเข้าข้างหลาน จึงพักอยู่ที่สนามรบและให้เชิญเทพยดามาเป็นพยาน แล้วให้เชิญทั้งสองฝ่ายมาให้ปากคำ ในที่สุดก็ได้ตัดสินให้ทศกัณฐ์คืนสีดาแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม และยกทัพกลับลงกาไปด้วยความโกรธโดยไม่ไหว้ลาท้าวมาลีวราช ท้าวมาลีวราชจึงแช่งทศกัณฐ์ แล้วอวยชัยให้พรพระรามแทน.....

ความหมายของคำว่า วัวพันหลัก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  กล่าวไว้ว่า
วัวพันหลัก เป็นสำนวนที่มีความหมายว่า อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่นให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ
ทศกัณฐ์กล่าวโทษว่า พระรามพระลักษมณ์ทำตัวเป็นวัวพันหลัก  คือตามหาเรื่องรบรากับทศกัณฐ์ไม่ยอมเลิกรา นั่นเอง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 13:40
ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
วัวพันหลัก หมายถึง อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น มักใช้ในทางชู้สาว ซึ่งการใช้คำว่าวัวพันหลักตอนตอนท้าวมาลีวราชว่าความนี้ก็หมายถึงการที่ทศกัณฐ์มาฟ้องต่อท้าวมาลีวราช ให้พระรามนั้นส่งนางสีดากลับคืนมา ซึ่งทศกัณฐ์กล่าวโทษพระรามและพระลักษณ์ว่าเป็นวัวพันหลัก ความดีจะเอาขึ้นมาพูดความผิดจะปกปิดเสีย   
ว่าแล้วทศกัณฑ์จึงให้นนยวิกและวายุเวกไปเชิญท้าวมาลีวราชมา ท้าวมาลีวราชมีความสงสัย จึงถามนนยวิกวายุเวก ว่า
"......                      อันลักษมณ์รามพี่น้องเป็นไฉน
เขาอยู่ถิ่นฐานเมืองใด    สุริยวงศ์พงศ์ไหนจึงอาจนัก
อันว่าทศเศียรอสุรี     ฤทธีปราบได้ทั้งไตรจักร
ถึงเทวินอินทรพรหมยมยักษ์  ก็เกรงศักดาเดชกุมภัณฑ์
ทั้งกรุงลงกามหานิเวศน์ พระสมุทรเป็นเขตคูกั้น
กว้างลึกล้อมรอบเป็นขอบคัน  ข้าศึกนั้นข้ามมาอย่างไร
หรือเขารู้เดินน้ำดำดิน     เหาะบินมาได้หรือไฉน
สาเหตุเพทพาลประการใด   จึงตั้งใจเคี่ยวฆ่าราวี


ท้าวมาลีวราชเป็นพรหมสี่หน้าได้ร่วมพงศ์พรหมกับท้าวสหมลิวัน ท้าวมาลีวราชนั้นเดิมมีชื่อว่าท้าวมาลีวัคคพรหมเป็นพี่ชายแห่งท้าวจตุพักตร์และเป็นปู่ของทศกัณฐ์ ทั้งยังเป็นเจ้าแก่หมู่เทพคนธรรพ์ในเขายอดฟ้า ครั้ง เมื่อพระอิศวรทรงประทานคทาเพชรและพรที่ไม่แพ้ฤทธิ์แก่อสุรพรหมแล้ว ท้าวมาลีก็หวั่นใจเพราะอสุรพรหมเป็นอันธพาลจะทำให้โลกเดือดร้อน จึง ทูลความหวั่นใจของตนแก่พระอิศวร พระอิศวรทรงประทานพระขรรค์ กับพรเพื่อไปมอบให้ท้าวอัชบาล โดยให้พระขรรค์ชนะคทาเพชรท้าวมาลี วัคคพรหมกับ ท้าวอัชบาลจึงเป็นมิตรต่อกัน ทั้งท้าวมาลีวัคคพรหมกับท้าว อัชบาลจึงประดุจ เป็นปู่แห่งองค์พระราม
ท้าวมาลีวัคคพรหมเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ใน ความยุติธรรม จึงได้รับพรจากพระอิศวรให้มีวาจาสิทธิ์และได้นามใหม่ว่าท้าวมาลีวราช

           พอรู้ว่าสัทธาสูร วิรุญจำบังตายหมด   ทศกัณฐ์นอนไม่หลับแทบจะกระอักเลือดตาย   ก่ายพักตร์พลิกไปพลิกมาจนค่อนรุ่ง   นึกได้ว่ามีตาอยู่องค์หนึ่งคือท้าวมาลีวราชสถิตยังเขายอดฟ้า   ท้าวองค์นี้มีฤทธิ์เดชเดชายิ่งนัก   จะว่าสิ่งใดก็เป็นนั่น   พระองค์ดำรงในสัตยาหาผู้ใดเปรียบมิได้   ถ้าแม้นโกรธแช่งชักผู้ใดผู้นั้นก็จะเป็นไปตามแช่งทุกประการ   อย่ากระนั้นเลยจำจะต้องไปเชิญมายังพระนครลงกา  กล่าวโทษรามลักษณ์เป็นวัวพันหลัก    ความดีจะเอาขึ้นมาพูดความผิดจะปกปิดเสีย   หากพระองค์เชื่อวาจาด่าไอ้ลักษณ์รามเมื่อไร   เมื่อนั้นไอ้ลักษณ์รามก็จะม้วยชีวันสังขาร์เป็นแน่ คิดดังนั้นแล้วจึงมีบัญชาให้นนยวิกและวายุเวก สองนัดดาไปเชิญเสด็จท้าวมาลีวราชจากเขายอดฟ้า
           ท้าวมาลีวราชทรงซักไซ้เรื่องราวทั้งหมดจากนนยวิกวายุเวก   ทราบว่าคู่กรณีคือ พระรามและพระลักษณ์ผู้เป็นโอรสท้าวทศรถและเป็นหลานของท้าวอัชบาลพระสหายรักร่วมสาบานของพระองค์เอง   จึงคิดจะไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีและเป็นไมตรีกัน   ทรงตั้งพระทัยจะวางองค์เป็นกลางตัดสินโดยยุติธรรม   ระหว่างยกพลโยธาเหาะลอยมาในอากาศ   ทรงคิดว่าหากพระองค์เข้าไปกรุงลงกา   พระรามพระลักษณ์ก็จะแคลงใจ   หากจะไปที่ค่ายพระรามพญาทศกัณฐ์ก็จะน้อยใจ   จึงสั่งสารถีให้ขับราชรถลงมายังสมรภูมิซึ่งอยู่ระหว่างกรุงลงการกับค่ายของพระราม ท้าวมาลีวราชทรงคิดว่าหากว่าความฝ่ายเดียวทั้งโลกก็จะติฉินว่าทรงเข้าข้างนัดดา   ประกาศเชิญเหล่าเทวดาอันมีพระอินทร์เป็นประธานมาร่วมประชุมเป็นพยานด้วย   แล้วตรัสถามเรื่องราวจากทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ทูลเรื่องราวบิดเบือนความจริงเหมือนทุกครั้งที่พูดถึงพระรามและนางสีดา   และว่าพระรามพระลักษณ์ยกพลวานรข้ามมหาสมุทรมารุกรานเมืองลงกาก่อน   โดยพระรามอ้างว่าเป็นสามีนางสีดาจะให้ส่งนางคืน
           ท้าวมาลีวราชได้ฟังพญาทศกัณฐ์กล่าวโทษพระรามล้วนเป็นข้อฉกรรจ์   จึงสั่งให้พระวิษณุกรรมไปเชิญพระรามมาเฝ้าเพื่อแก้ข้อกล่าวหา   เมื่อทรงฟังคำพระรามให้การและอ้างเหล่าเทวดาเป็นพยาน   จึงรับสั่งให้พระวิษณุกรรมไปเชิญนางสีดาซึ่งเป็นคนกลางมาให้การด้วย   และเมื่อได้ฟังนางสีดาให้การตรงกับพระราม   ทรงตรัสถามเหล่าเทวดาต่างก็รับว่าจริงดังที่พระรามและนางสีดาให้การทุกประการ
           ทศกัณฐ์แย้งว่านางสีดาเป็นหญิงแพศยา   เห็นพระรามรูปงามและเป็นมนุษย์เหมือนกันก็ต้องนักรักและพูดเข้าข้างกัน   ส่วนเหล่าเทวดาก็เกลียดตนจึงดลใจให้นางพูดได้ความตรงกับพระราม   แม้พระอินทร์ยังเข้าข้างพระรามเอารถมหาเวไชยันตร์มาให้ใช้   ให้เทพบุตรมาตุลีเป็นสารถี   ท้าวมาลีวราชทรงเห็นว่าพญาทศกัณฐ์เจรจาเป็นพาล   เหตุผลก็ฟังไม่ขึ้น   จึงทรงตัดสินให้คืนนางสีดาคืน   แต่ทศกัณฐ์ยังดึงดันอ้างว่าถ้าส่งนางสีดาคืนก็เท่ากับตนแพ้มนุษย์และวานรทั่วโลกจะเย้ยหยัน   ทั้งญาติวงศ์ที่ตายไปก็ไม่อาจฟื้นคืนมา
           ท้าวมาลีวราชได้ฟังก็กริ้วมาก   เห็นว่าทศกัณฐ์ไม่อยู่ในศีลธรรม   จึงตรัสบริภาษและสาปแช่งให้รบแพ้และตายด้วยศรพระราม และอวยชัยให้พรพระรามให้รบชนะทศกัณฐ์   แล้วยกทัพเหาะกลับไปพร้อมบริวารและเหล่าเทวดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 13:42
เอ่อ.... มีแต่คนตอบวัวพันหลัก
หรือข้ออื่นมันยากเกิน :-X


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.พ. 11, 21:49


ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า



๓.ประดาดิน  แปลว่า ดำดิน


       เมื่อกองทัพของพระรามข้ามสมุทรมาได้         กองคอยเหตุยักษ์ได้ไปกราบทูลทศกัณฐ์

ทศกัณฐ์สั่ง ภานุราชซึ่งเป็นหนึ่งใน ๒๐ นายทหารของลงกาให้ไปเนรมิตป่าที่มีต้นไม้ที่มีผลมากมาย  มีน้ำไว้ดื่มและอาบ

บัดนี้อริราชไพรี                            ยกพวกโยธีข้ามมา
ท่านจงไปยังพนาวัน                       นิมิตซึ่งพรรณพฤกษา
ทรงผลเกลื่อนกลาดดาษดา               ภูมิฐานน้ำท่าให้ชอบกล

แล้วดำดิน  ลงไป

แล้วจึ่งประดาดินอยู่                       อย่าให้มันรู้เหตุผล
แม้นว่าข้าศึกยกพล                        มาตั้งบนที่นิมิตไว้

ตัวเอ็งจงคว่ำแผ่นดิน                      อย่าให้ไพรินนั้นเหลือได้
ถ้าทำสำเร็จดังตั้งใจ                       จะแบ่งเมืองให้เป็นรางวัล ฯ

การดำดินนั้น  ภานุราช  อ่านพระเวทวิทยา        กายใหญ่กว่าบรมพรหมเมศ         สำแดงเดชแทรกแผ่นดินหนา
สองเท้านั้นเหยียบยันศิลา                อันรองมหาปัถพี
สองมือดันพื้นสุธาไว้                      ด้วยกำลังฤทธิไกรยักษี....

หนุมานมาตรวจหลังจากที่ประคนธรรพมารายงานเห็นผิดสังเกต  เพราะไม่มีนกมากินผลไม้สุกที่ร่วงอยู่

เลยแทรกแผ่นดินลงไป  ฆ่าเสียด้วยตรี   ตัดห้วนำมาเฝ้าพระรามด้วย

(รามเกียรติ์  รัชกาลที่ ๑   เล่ม ๒)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 22:29
พรายกระซิบหลังไมค์ว่าจงเปลี่ยนเถิด ซ้ำกันกับชาวบ้านแล้ว

ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า

๔.อัพโพกาศ

เนื้อเรื่องดำเนินมาถึงว่าท้าวคนธรรพ์ เจ้าเมืองดิศศรีสิน ผู้มีฤทธิ์ใหญ่ (ในทางไม่ดี) เกิดอาการไม่สบาย อยากจะยืดเส้นยืดสาย
จึงชวนโอรสนามวิรุณพัท ยกพลออกประพาสป่า ระหว่างทางก็ชมนกชมไม้ ขี่ม้าไล่ฝูงกวางไปพลาง แทงเสือสิงห์กระทิงกินเป็นอาหาร
พอเบื่อแล้วก็เที่ยวต่อ จนมาถึงอาศรมพระฤาษีกลางป่า ที่ซึ่งพระฤาษีกำลังบำเพ็ญพรตกันอยู่

อาศัยทำเพียรภาวนา
ตามวุ้งเวิ้งเพิงผารโหฐาน
กองกูณฑ์อัคคีนิจการ
จำเริญฌานพระเวทตบะกรรม
ลางองค์ก็ถืออัพโพกาศ
ขัดสมาธิทนแสงพระสุริย์ฉัน
บ้างเที่ยวบ้างยืนเป็นนิรันดร์
ด้วยจิตมั่นทรมานอินทรีย์

นั่นแล ฝ่ายท้าวคนธรรพ์ผู้มีชื่อในทางนักเลงก็สั่งทหารไล่ตีพระฤาษีจนวุ่นป่ากันไป ทำลายข้าวของ และอาศรมจนพังพินาศ
ก่อนเดินป่าต่อไปจนถึงเมืองไกยเกษ... ที่ซึ่งพ่อลูกของตนนี้จะพบกับความตายด้วยฝีมือพระโอรสของพระราม

อัพโพกาศ แปลว่า กลางแจ้ง ส่วนในบทกลอนนี้หมายถึง การบำเพ็ญตบะกลางแจ้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.พ. 11, 00:01

ซ้อมกันอยู่สี่กองพลรวมกองพลใหม่เป็นห้า

การข่าวชุลมุน   คนรู้จริงไม่ตอบ  หลอกถามก็ไม่บอกข้อที่ตนจะตอบอยู่ดี

อย่างนี้เรียกว่ารู้เขา  ของเราปิดไว้ไม่บอกใคร

กองบัญชาการถามมากลับไปรายงานว่าใครมาสืบราชการบ้าง   คุณหลวงกัดฟันกรอด(กลั้นหัวเราะ...เพราะผิดกันทุกคนนั่นแหละ)

อย่างนี้ก็ตายตาม ๆ กันน่ะซี สหาย    ว้า!   ระบบเรียกว่า  need to know basis

ในหนังเห็นบ่อยไปที่เขาว่า   บอกก็ได้แต่ต้องสังหารเสีย

ข้าพเจ้าน่ะเกือบลงเรือสำเภาเจ้าคุณราชาไปแล้ว  เป็นห่วงพวกท่านจึงถอยช้างกลับมา




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.พ. 11, 00:08

พระเดชพระคุณสั่งว่า  สองวันคือวันนี้ และวันพรุ่ง   ท่านไม่อยู่

ท่านจะไปไหนไม่ได้ขยาย




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 16:57
"โกรธะกุฎี" นารายณ์  นารายณ์ ช่างยากเสียนี่กระไร หมายถึงอะไรกันหนอ  นารายณ์  นารายณ์  ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 ก.พ. 11, 17:21
"ฆาฏอินทพาทบาทจันทร์" ก็หาไม่เจอค่ะ...
อย่างนี้ต้องร้องว่า.....นาร้ายยยยย... นารายณ์....นะคะ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.พ. 11, 22:25

"โกรธะกุฎี"

ตอบเพราะหวังคะแนนเพิ่ม  และหนังสือ สองชุดกองอยู่แถวนี้จะปล่อยให้ผ่านไปก็กระไร
เพราะหนังสือไม่ใช่พลอย  



ตาม คำอธิบายและอภิธาน สำหรับประกอบเรื่อง นารายน์สิบปาง  สมเด็จพระรามาธิบดีศริสินทร มหาวชิราวุธ  
พระมงกุฏเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม  ทรงพระราชนิพนธ์  ๒๔๖๖    หน้า ๔๙  ข้อ ๔๕

โกรธะกุฎีออก  ชื่อชี้    

ห้องโกรธ  เป็นห้องย่อม ๆ  ไม่มีเครื่องตกแต่งและมืด        เป็นที่สำหรับพระชายาของพระราชาหนีเข้าไปอยู่เมื่อมีความแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ธรรมเนียมนี้ของเขาออกจะเข้าทีอยู่บ้าง


       ท้าวทศรถ  เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจ  คิดถึงนางไกยเกยี(ไกยเกสี)  ลงไปหาที่ตำหนัก  ไม่เห็นนางมาต้อนรับ   ข้าหลวงทูลว่าพระนางอยู่ที่โกรธะกุฎี  

ท้าวเธอก็รีบไป  เห็นนางกลิ้งเกลือกอยู่กับพื้นห้อง  ก็ถามว่า  โกรธพี่หรือ  พี่ทำอะไรขัดใจเจ้า  ใครดูแคลนเจ้าหรือ  ใช้ถ้อยคำอันหวานฉ่ำว่า  โฉมงาม  

นิ่มอนงค์   ชื่นใจ   โฉมฉาย

       นางบอกว่าอยากขอพร

       ท้าวเธอก็ยังเรียกนางหวานจัดต่อไปว่า  ทรามเชย  ชื่นใจ  นงลักษณ์  จอมขวัญ

       นางก็อ้างเทพเจ้าทั้งปวงให้เป็นพยานว่าสวามีจะให้พร

ด้วยทรงธรรม์นฤนาถ                                 จะประสาทโปรดให้
พรแก่ข้าบาทไซร้                                      ทุกสถาน

ทรงสาบานไม่คืน                                      ยืนคำดำรัสหมั้น
ขอท่านทั้งหมดนั้น                                     เป็นพยาน  ช่วยดู ฯ

นางขอให้โอรสได้เป็นยุพราช

เรื่องราวต่อไปท่านทั้งปวงก็ทราบดีอยู่แล้ว

ท้าวทศรถด่านางว่า

แสนอุบาทว์พ่างเพี้ยง                                  งูดิน

หวานอยู่หยก ๆ   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 09:42
เห็นเหล่านักรบ ตอบกันสองข้อ ทั้งที อาสาช่วยรบบ้าง หวังเพื่อคะแนนชิงชัย

ปริศนาลำดับที่ ๕๑  ความว่า

ดูกรนักรบทั้งหลายผู้มากมีความรู้
บัดนี้ได้ฤกษ์งามยามดี  ควรจะทำยุทธกีฬารามเกียรติ์
เชิญท่านผู้กล้าผู้เก่งไขอรรถอธิบายคำต่อไปนี้ว่า
ปรากฏในรามเกียรติ์ตอนใดโปรดเล่าเรื่องมาพอสังเขป 
แลคำที่ยกมาเป็นโจทย์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
จงชี้แจงแจ้งความมาให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า

๒.ฆาฏอินทพาทบาทจันทร์

จับเนื้อเรื่องตั้งแต่นางสีดาหนีพระรามไป แล้วมีกุมารให้ตกใจเล่นสององค์
ด้วยความสับสนในชีวิต พระรามจึงแผลงศรผูกสารไปเชิญพิเภกมาแก้เคราะห์ครั้งนี้
ฝ่ายพิเภกมาเข้าเฝ้าพระราม ทูลเรื่องความเป็นอยู่ในกรุงลงกา และทูลถามเรื่องสองกุมาร
พร้อมทำนายถึงพระรามว่า เคราะห์กรรมที่เกิดทุกวันนี้นั้นเกิดเพราะ
"อันพระชันษาภูธร
ราหูนั้นจรมาทับลัคน์
ฆาฏอินทพาทบาทจันทร์
ทั้งอัฐเคราะห์นั้นก็ฆาฏหนัก"
เหตุนี้พระรามจึงต้องเดินดงอีกรอบเป็นเวลาหนึ่งปี

อินทพาทบาทจันทร์ คือการทำนายดวงอย่างหนึ่ง เป็นโหราศาสตร์ชั้นสูง

อันซึ่งเหล่านักรบทนไม่ได้ ที่ทุกท่านตอบวัวพันหลัก ทำให้ข้ออื่นไม่ได้รับความรู้ จึงเป็นที่มาถึงการพยายามและช่วยเหลือที่จะนำคำตอบออกมาต่อสู้ ท้าทาย ต่อกลอนกันอย่างพลิกหน้าเยี่ยงนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 08:48
เห็นนักรบทั้งหลายตอบคำถามข้อแรกในครึ่งหลังแล้วก็อดแย้มสรวลมิได้
ไม่ทราบว่า  พวกท่านไปประชุมซุ่มซ้อมวางแผนแก้กลศึกกันที่ตำบลใด
การตอบคำถามถึงได้ออกมาในรูปการณ์เช่นนี้

หลายวันที่ผมพักรบชั่วคราว  มีเสือป่าแมวมองมารายงานราชการทัพ
ให้ทราบเป็นระยะว่า  นักรบทั้งหลายบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า

ไหนว่า จะตั้งคำถามง่ายๆ  อีตาคุณหลวงปดล่อลวงพวกเรามาติดกับเสียแล้ว
ขึ้นมาข้อแรกก็ยากเย็นดุจว่ายน้ำข้ามทะเลสีทันดร

พลันได้สดับข่าวก็ยินดีเป็นที่ยิ่ง   และขอแก้ตัวว่า
ผมไม่มีประสงค์จะดูถูกดูหมิ่นประมาทสติปัญญาความสามารถของนักรบทุกคน
ที่ได้เข้ามาตอบกระทู้คำถามนี้  ด้วยการตั้งคำถามง่ายๆ ที่ไม่ต้องขบคิด
เพราะนี่ เป็นกระทู้ของผู้มีใจรักรามเกียรติ์เข้าในกระแสโลหิต
ฉะนั้น จึงได้ตั้งคำถามเช่นนั้น   ถึงท่านทั้งหลายตอบไม่ได้ หรือตอบไม่ถูกทั้งหมด
ก็นับว่าท่านได้พยายามกันอย่างยิ่งแล้ว   เชื่อว่าคนอ่านกระทู้คงเข้าใจท่าน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ก.พ. 11, 08:52

ใครเล่าจะว่ายข้ามทะเลสีทันดรได้ 

ในอดีต  มีร้านอาหารสีทันดร  อยู่ที่ลาดพร้าว  ต้นไม้ประดับงามมาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 ก.พ. 11, 09:06
ใครๆ ก็ว่ายข้ามสีทันดรไม่ได้ครับคุณวันดี
แต่สามารถนั่งเรือผ่านไปได้ครับ
เมืองสีทันดร ที่ประเทศลาว ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 09:10
สีทะ แปลว่า ทำให้ทุกๆ สิ่งจมลง บวกกับคำว่า อันตระ  แปลว่า ระหว่าง หมายถึงคั่นอยู่ระหว่าง จึงรวมเรียกว่า สีทันตระ ไทยเราเรียกว่า สีทันดร... การจะข้ามทะเลสีทันดรไปได้ ต้องอาศัยการบินข้าม เหาะข้าม เท่านั้น ไม่สามารถข้ามได้ด้วยเรือ เพราะไม่มีอะไรลอยอยู่บนน้ำทะเลสีทันดรได้

เหล่านักรบ  เราจะขึ้นโดยสารโดยเครื่องบิน กันดีไหม  ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 09:14
เชิญที่ Garuda Airline ถึงที่หมายสบายดีจัง
 ;D

หมายเหตุวันนี้  ตั้งคำถามเวลา ๑๐.๐๐ น. 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 ก.พ. 11, 09:15
ซุกใต้ปีกพญาครุฑอย่างคนธรรพ์ก็ดีนะครับคุณไซมีส
ไม่ต้องเหนื่อยแรง อาศัยเค้าไปดีกว่า ประหยัดค่าน้ำมันด้วย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 09:26
คุณอาร์ท  ตอบข้อ อัพโพกาศ มาชัดเจนดี  ให้  ๑๐ คะแนน
(อันที่จริงมีตรงอื่นอีก ที่ปรากฏคำว่า อัพโพกาศ
คือตอนพระอินทร์ให้พระวิสสุกรรมสร้างอาศรมให้พระราม พระลักษมณ์ นางสีดา)
ส่วนที่ตอบ วัวพันหลัก  ให้  ๕  คะแนน หัก ๑  คะแนน
เพราะความหมายของวัวพันหลักในกลอนนั้นยังไม่ถูก
และผมนับเอาข้อที่ดีที่สุดได้เต็ม ๑๐  คะแนน
ข้อที่ตอบได้รอง ลงมาให้ ๕ คะแนน  หักลบตามที่ผิดมากน้อย
รวมเป็น ๑๔  คะแนน

คุณวันดี ตอบข้อ ประดาดิน มาได้ถูกใจ  ให้ ๑๐ คะแนน
(ตรงนี้ ทำให้เรารู้ว่า  นอกจากประดาน้ำ ที่แปลว่า ดำน้ำ แล้ว
ประดาดิน  ก็มีที่ใช้ด้วย)
ตอบข้อ โกรธะกุฎี  ได้ดีรองลงมา ให้ ๕ คะแนน  
รวมเป็น ๑๕ คะแนน

คุณไซมิส  ตอบข้อ วัวพันหลัก มา ให้  ๘ คะแนน
ตอบข้อ ฆาฏอินทพาทบาทจันทร์ ให้  ๓ ๑/๒ คะแนน
เพราะอธิบายศัพท์ไม่กระจ่าง
รวมเป็น ๑๑ ๑/๒ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 09:29
คุณหนูดีดี  ตอบข้อวัวพันหลักมา  ได้ ๘ คะแนน
และไม่ได้ตอบข้ออื่นมาเพิ่ม  จึงได้ ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 10:11
คำถามข้อที่ ๕๒.  ตัวละครต่อไปนี้มีความสัมพันธ์ฉันญาติกันอย่างไร
ข้อละ ๑ คะแนน  ส่งคำตอบหลังไมค์มาก่อนวันจันทร์ ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
เวลา ๕.๐๐ น. ส่งมาหลังกำหนดเวลานี้ ไม่ตรวจให้คะแนน
(ส่งคำตอบที่แน่ใจมาให้หมดในข้อความเดียว 
อย่าส่งกะปิดกะปรอย ขี้เกียจตรวจ)

เวลาตอบให้ทำอย่างนี้
ตัวอย่าง
ก.  อินทรชิต เป็น  ลูกชาย  ของทศกัณฐ์ 
ในกรณีที่ตอบว่า  หลาน  ให้ใส่ด้วยว่า เป็นหลานปู่ หลานย่า หลานลุง หลานป้า ฯลฯ
ใส่หลานมาอย่างเดียว  ให้ ๑/๔ คะแนน


๑.มัจฉานุ - นางกัลอัจนา
๒.สวาหุ - วายุเวก
๓.พระราม - นางมณโฑ
๔.วรณีสูร - นางตรีชฎา
๕.พระมงกุฎ - นางสุพรรณมัจฉา
๖.ทศคิรีวัน - กุเปรัน
๗.ทศพิน - สหัสกุมาร
๘.นางกาลอัคคี - วิรุญจำบัง
๙.พระพาย - นางบุษมาลี
๑๐.ไวยวิก - นางจันทประภา
๑๑. นางเกษนี - ท้าวทศรถ
๑๒.นางเบญกาย - แสงอาทิตย์ (นับตามศักดิ์)
๑๓.นางเกาสุริยา - ทศกัณฐ์
๑๔.นางคันธมาลี - กุมภกาศ
๑๕.นางเทพอัปสร - พระพรต
๑๖.นางพิรากวน - ท้าวสหะมลิวัน
๑๗.ชมพูพาน - ท้าวมหาชมพู
๑๘.อสูรผัด - พระฤาษีโคดม
๑๙.นนยวิก - กากนาสูร
๒๐.ตรีเมฆ - ทศกัณฐ์



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 10:34
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔
ตอบก่อนเวลา ไม่ตรวจให้คะแนน
คนที่ตอบก่อนได้เปรียบ  คนตอบทีหลังจะเสียเปรียบ  
เพราะถ้าตอบซ้ำเหตุการณ์กัน คนที่ตอบซ้ำไม่ได้คะแนน  


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 10:58
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔
ตอบก่อนเวลา ไม่ตรวจให้คะแนน
คนที่ตอบก่อนได้เปรียบ  คนตอบทีหลังจะเสียเปรียบ  
เพราะถ้าตอบซ้ำเหตุการณ์กัน คนที่ตอบซ้ำไม่ได้คะแนน  

 เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔ เลยเที่ยงคืนแล้ว ต้องนับเป็นวันใหม่มิใช่หรือ ทำยังกับ Garuda air จริงๆต้องวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ มิใช่หรือ  ??? ถ้าเขียนแบบนี้ก็หมายถึงให้ตอบคำถามได้เลย คือ วันนี้ที่ ๔ กุมภาพันธ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ก.พ. 11, 11:04
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง



นำรถแก้วของตนเองและส่งมาตุลีผู้ขับรถ ลงไปให้พระราม  เพราะเห็นว่าพระรามไม่สมควรเดินดิน

เห็นพระสี่กรอวตาร
จะยกพหลพลไกร
ข้ามสมุทรไทไพศาล
ไปทวีปลงกากรุงมาร
สังหารอสุรพาลา
ไม่มีสีวิกาญจน์ยานุมาศ
จะเสด็จด้วยพระบาทอนาถา
จำจะเอารถรัตนา
ไปถวายผ่านฟ้าทรงจร

สั่งมาตุลีว่า
นำรถลงไปถวาย  แล้วจงอยู่เป็นสารถี
ขับพาชีชักรถา
ต่อเสร็จสงครามในลงกา
จงมาจากพระองค์พระทรงชัย ฯ

การกระทำนี้ทศกัณฐ์ติดใจนำไปฟ้องท้าวมาลีวราช
ท้าวมาลีวราชว่าไม่เกี่ยว  ของเขามีเขาก็ให้





เคยรบกับรณพักตร์  โอรสทศกัณฐ์  พ่อใช้ให้มาโจมตีพระอินทร์เพื่อให้อ่อนน้อม    

 พระอินทร์แพ้   ถึงกับลืมจักรแก้วให้อินทรชิตเก็บไปใช้           ทศกัณฐ์ จึงให้ชื่อว่า อินทรชิต นับแต่นั้นมา

รณพักตร์เรียนวิชาจากฤษีโคบุตร  เรียนมนตร์ชื่อมหากาลอัคคี  ภาวนาอยู่ ๗ ปี

พระพรหมประทานศรนาคบาศและให้ตายในอากาศ  
ถ้าหัวขาดตกถึงพื้นจะเกิดไฟประลัยกัลป์

พระอิศวรประทานศรพรหมมาสตร์และมนตร์แปลงเป็นพระอินทร์

พระนารายณ์ประทานศรวิษณุปาณัม

จึงมีฤทธิ์มาก   พิเภกทูลพระรามว่า อินทรชิต  ปรีชาแหลมหลัก กว่า  วงศ์กุมภัณฑ์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 ก.พ. 11, 11:04
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔

หนูดีดี ขอตอบค่ะ
เหตุการณ์ที่1 พระอินทร์รับเทวบัญชาจากพระอิศวรให้หาที่ตั้งเมืองให้กับอโนมาตัน จึงนั่งช้างเอราวัณมายังป่าทวารวดีซึ่งมีต้นฉัตรพระอิศวรอยู่ตรงกลางและได้พบฤษ๊ 4 ตนชื่อ อจหาคาวี ยุคอัคระ ทหะและยาคะ จึงให้พระวิษณุสร้างเมืองขึ้นตรงนั้นและให้ชื่อตามป่าและพระฤษีว่า กรุงทวารวดีศรีอยุธยา

เหตุการณ์ที่2 พระอินทร์หลงใหลในความงามของนางกัลอัจนา ซึ่งเป็นภรรยาของฤษีโคดม จึงแปลงกายเป็นฤษีโคดมลอบเป็นชู้กับนางกัลอัจนา จนมีลูกชื่อ พาลี
ภายหลังฤษีรู้เรื่องก็โกรธพระอินทร์มากจึงสาปให้มีอวัยวะเพศหญิงผุดขึ้นเต็มร่างกายพระอินทร์ พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสโยนี
ต่อมาได้บรรเทาคำสาปลงโดยให้อวัยวะเพศหญิงกลายเป็นดวงตาแทน พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสนัยน์ อันแปลว่า ผู้มีดวงตานับพัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 11:08
ตอบบ้าง

คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
เหตุการณ์แรก รามเกียรติ์ ตอนพระอินทร์ถวายรถแก้วท้าวทศรถ
โดยสั่งให้มาตุลีเอา ราชรถไปส่งให้ท่าวทศรถซึ่งเปรียบเสมือนเป็นวงศ์ที่กำเนิดมาจากพระนารายณ์ และมาตุลีก็บันดาลให้เกิดราชรถตาม บัญชาของพระอินทร์
        
                เมื่อนั้น    หัสนัยน์เจ้าตรัยตรึงศา
    ครั้นเสร็จระบำก็ปรีดา   จึงมีบัญชาอันสุนทร
    มิเสียทีเป็นวงศ์พระจักรกฤษณ์   เรืองฤทธิ์ห้าวหาญชาญสมร
    สังหารอาธรรม์ม้วยมรณ์   ดับร้อนฝูงเทพเทวา
    จะปรากฏพระยศลือฤทธิ์   ชั่วพระจันทร์พระอาทิตย์ส่องหล้า
    ให้จำเริญสวัสดิ์ศวรรยา   ใต้ฟ้าอย่ามีใครต่อกร
    ตรัสแล้วสั่งองค์มาตุลี   จงเอารถมณีประภัสสร
    ไปส่งวงศืนารายณ์ฤทธิรอน   ถวายภูธรไว้ในธานีฯ


เหตุการณ์ที่สอง ตอนพระอินทร์ยกทัพรถเพื่อรบกับรณพักตร์ (อินทรชิต) ซึ่งความเดิมมีอยู่ว่า
ทศกรรฐ์เมื่อเห็นรณพักตร์มีฤทธิ์มากขึ้น นับจากได้ศรจากพระอิศวร พระพรหมและพระนารายณ์ จึงให้รณพักตร์ยกทัพไปปราบพระอินทร์ ได้สู้รบกันที่กลางเขาพระสุเมรุ พระอินทร์สู้ไม่ได้ทิ้งจักรแก้วไว้ แล้วหนีไปฟ้องพระอิศวร ส่วนรณพักตร์ได้จักรแก้วของพระอินทร์ จึงกลับมายังเมือง ทศกรรฐ์จึงตั้งชื่อรณพักตร์ใหม่ว่า อินทรชิต ซึ่งแปลว่าสามารถปราบพระอินทร์ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 11:25
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔

หนูดีดี ขอตอบค่ะ
เหตุการณ์ที่1 พระอินทร์รับเทวบัญชาจากพระอิศวรให้หาที่ตั้งเมืองให้กับอโนมาตัน

เหตุการณ์ที่2 พระอินทร์หลงใหลในความงามของนางกัลอัจนา ซึ่งเป็นภรรยาของฤษีโคดม จึงแปลงกายเป็นฤษีโคดมลอบเป็นชู้กับนางกัลอัจนา จนมีลูกชื่อ พาลี


เรียนคุณหนูดีดี ที่รัก  ใจคอจะส่งแต่มีดปอกผลไม้เท่านี้หรือครับ
ขอศัสตราวุธที่ยาวๆ อย่างง้าว ทวน หรือโตมร (คือเล่าเรื่องมายาวๆ หน่อยเถอะ)
มาสำแดงหน่อยนะครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 11:32
คุณวันดี  ตอบมา ๒ เหตุการณ์ เอาไป ๑๐ คะแนน

คุณไซมิส  ตอบมา ๒ เหมือนกัน  แต๋ซ้ำกับคุณวันดี ๑ เหตุการณ์
(พระอินทร์ รบกับรณพักตร์ ลูกชายทศกัณฐ์ )
ฉะนั้น ได้ไป ๕ คะแนน  ยังมีเวลาแก้ตัว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 ก.พ. 11, 11:35
คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔

หนูดีดี ขอปรับปรุงคำตอบค่ะ(ยาวขึ้นมาหน่อยนะคะ... ;D )
เหตุการณ์ที่1 พระอินทร์รับเทวบัญชาจากพระอิศวรให้หาที่ตั้งเมืองให้กับอโนมาตัน จึงนั่งช้างเอราวัณมายังป่าทวารวดีซึ่งมีต้นฉัตรพระอิศวรอยู่ตรงกลางและได้พบฤษี 4 ตนชื่อ อจหาคาวี ยุคอัคระ ทหะและยาคะ จึงให้พระวิษณุสร้างเมืองขึ้นตรงนั้นและให้ชื่อตามป่าและพระฤษีว่า กรุงทวารวดีศรีอยุธยา อันมี ท้าวอโนมาตัน ครองราชเป็นกษัตริย์องค์แรก นานถึง 6 หมื่นปี จึงมอบให้โอรส คือ ท้าวอัชบาล ครองราชต่ออีก 6 หมื่นปี ก็มอบต่อให้ท้าวทศรถ (พ่อของพระราม) คองราชต่อค่ะ (ยาวหรือยังคะ.. 12 หมื่นปีเลยนะคะ ;D )

เหตุการณ์ที่2 พระอินทร์หลงใหลในความงามของนางกัลอัจนา ซึ่งเป็นภรรยาของฤษีโคดม จึงแปลงกายเป็นฤษีโคดมลอบเป็นชู้กับนางกัลอัจนา จนมีลูกชื่อ พาลี
นางกัลอัจนา มีลูก 3 คน คือ นางสวาหะ(ลูกของนางกับฤษีโคดม) พาลี(ลูกของนางกับพระอินทร์) และสุครีพ(ลูกของนางกับพระอาทิตย์)
อยู่มาวันหนึ่งพระฤาษีพาลูกทั้งสามไปอาบน้ำ โดยอุ้มลูกชายคนโตขึ้นขี่หลัง อุ้มลูกชายคนเล็กไว้ทางขวา และจูงมือจูงลูกหญิงให้เดินไปด้วยมือซ้าย นางสวาหะเกิดความน้อยใจจึงเดินบ่นจนไปถึงท่าน้ำว่าพ่อไปหลงรักลูกคนอื่นทั้งอุ้มและให้ขี่หลัง ส่วนลูกของตนเองให้เดินไปเอง ฤาษีเกิดความสงสัยจึงถามนางสวาหะ นางสวาหะจึงเล่าเรื่องที่แม่มีชู้ให้พระฤาษีฟัง พระฤาษีจึงอธิษฐานว่า จะปล่อยลูกลงน้ำ ถ้าใครเป็นลูกให้ว่ายน้ำกลับมาหาตน ถ้าไม่ใช่ให้กลายเป็นลิงเข้าป่าไป หลังจากปล่อยลูกทั้ง 3 ลงน้ำ คงมีแต่นางสวาหะคนเดียวว่ายกลับมา ส่วนพาลี และ สุครีพกลายเป็นลิงเข้าป่าไป พระฤาษีโกรธมากจึงกลับมาสาปนางกัลอัจนาเป็นหิน นางกัลอัจนาจึงสาปนางสวาหะ ให้ยืนขาเดียวกินลมอยู่ในป่าเชิงเขาจักรวาล จะพ้นคำสาปเมื่อมีลูกเป็นลิงมีฤทธิ์เลิศกว่าลิงอื่น ๆ
และพระฤษีได้สาปพระอินทร์ให้มีอวัยวะเพศหญิงผุดขึ้นเต็มร่างกายพระอินทร์ พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสโยนี
ต่อมาได้บรรเทาคำสาปลงโดยให้อวัยวะเพศหญิงกลายเป็นดวงตาแทน พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสนัยน์ อันแปลว่า ผู้มีดวงตานับพัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 11:46
คุณวันดี  ตอบมา ๒ เหตุการณ์ เอาไป ๑๐ คะแนน

คุณไซมิส  ตอบมา ๒ เหมือนกัน  แต๋ซ้ำกับคุณวันดี ๑ เหตุการณ์
(พระอินทร์ รบกับรณพักตร์ ลูกชายทศกัณฐ์ )
ฉะนั้น ได้ไป ๕ คะแนน  ยังมีเวลาแก้ตัว


ตอนที่ทศกัณฐ์ทำสงครามกับเทวดา ทศกัณฐ์จับพระอินทร์มาขังเอาไว้ แล้วก็ปลอมแปลงเป็นพระอินทร์ไปขโมยสีดาซึ่งเป็นชายาของพระอินทร์ พอพระอินทร์พ้นจากการถูกคุมขังของทศกัณฐ์ กลับไปสวรรค์ สีดาก็รายงานพระอินทร์ว่า ได้เสียท่าทศกัณฐ์แล้ว ขอพรพระอินทร์ ขอลงไปแก้แค้นทศกัณฐ์ พระอินทร์ก็อนุญาต สีดามาปฏิสนธิในครรภ์ของพระนางมณโฑซึ่งเป็นมเหสีของทศกัณ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 11:56
คุณหนูดีดี  เอาไป ๑๐ คะแนน  ยาวพองาม

ส่วนคุณไซมิส  ตอนที่คุณเอามานี่ มันอยู่ในรามเกียรติ์ ฉบับใด
ตรงใด  บอกหน้าได้ไหม   ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 12:32
ขอตอบใหม่เรื่องพระอินทร์ ตอนแปลงกายเป็นเนื้อตาย

นางอดูลปิศาจทูลยุยงให้นางสีดาเขียนรูปทศกัณฐ์ให้ดู แล้วเข้าสิงลบไม่ออก ซุกไว้ใต้พระที่
พระรามกลับมาจากป่า ค้นพบกริ้วสั่งให้พระลักษมณ์พานางสีดาไปฆ่าเสีย
พระลักษมณ์ฆ่าไม่ตายจึงปล่อยให้นางไป พระอินทร์เนรมิตเป็นเนื้อตายให้แหวะดวงใจไปถวายพระรามแทน

ภูบาลพิโรธโอ้ สีดา
รักยักษ์ลอบเรขา ซ่อนไว้
เจ้าลักษมณ์เร่งเร็วพา ปลงชีพ เสียพ่อ
แล้วแหวะดวงใจให้ แห่งข้าขอดู
พระลักษมณ์ฟังไป่เอื้อม อาจทาน ทัดเฮย
รับสั่งพาเยาวมาลย์ คลาศเต้า
ลับเนตรพระภูบาล สองโศก สลดแฮ
นางว่าพระน้องเจ้า จักมล้างหนไหน
โคลงรามเกียรติ์ห้องที่ ๑๕๘


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 12:37
ผลแห่งความพยายามของคุณไซมิส
เป็นเหตุเทวดาอารักษ์เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา
มอบขวานทอง เอ๊ย คะแนนให้ ๕ คะแนน
รวมกับของเดิม เป็น ๑๐ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 ก.พ. 11, 18:49
เหตุที่ไปติดสุขศาลาและสวนส้มมานานจึงทำให้นายกองทั้งปวงนำแซงไปอีกแล้วหลายช่วงตัว

คำถามข้อที่ ๕๓.
พระอินทร์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
อยากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ (เน้นเฉพาะรามเกียรติ์)
มาสัก ๒ เหตุการณ์ ที่พระอินทร์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ข้อนี้  ให้ ๑๐ คะแนน  (ตัวอย่างละ ๕ คะแนน)
ตอบหน้าไมค์  เริ่มได้ ตั้งแต่  ๐๐.๓๐ น. ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔

หางานที่พระอินทร์มีส่วนร่วมมาได้เกือบ 10 เหตุการณ์ แต่จะขอคัดงานเด่นๆ มาสัก 2
(เพราะท่านแม่ทัพกำชับไว้)

เหตุการณ์แรก "สีดาลุยไฟ"
หลังเสร็จศึกลงกาเรียบร้อย กองทัพวานรก็ยาตราพลเหยียบบนครแห่งนี้
สีดาผู้เฝ้ารอพระสวามีมานานก็คิดว่าตนเองตกอยู่ในมือทศกัณฐ์ ย่อมจะเป็นที่ครหาของคนทั้งปวงว่าคงเสร็จทศกัณฐ์แน่ๆ แล้ว
จึงขอพระรามลุยไฟเพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง พระสวามีก็เห็นดีเห็นงามคิดว่านางซื่อตรงมั่นคงสุจริต
จึงจับศรจันทวาทิตย์แผลงไปบนฟากฝ้าเพื่อให้พระอินทร์และเหล่าเทวดามาลงเป็นพยานด้วยกัน
"มาจะกล่าวบทไป
ถึงองค์เจ้าตรัยตรึงส์สถาน
เสด็จเหนือทิพอาสน์อลงการ
ในมหาวิมานเวไชยันต์
พร้อมหมู่ฝูงเทพนิกร
กับนางอัปสรสาวสวรรค์
ได้ยินสำเนียงนี่นัน
กึก้องสนั่นธาตรี
ก็เล็งทิพเนตรลงมาดู
ก็รู้ว่าสมเด็จพระลักษมี
จะลุยเพลิงถวายพระจักรี
ยังที่สุวรรณพลับพลา
จึ่งพาฝูงเทพเทวัญ
กับนางสาวสวรรค์เสน่หา
ออกจากวิมานรัตนา
เหาะมาด้วยกำลังว่องไว"
ด้วยการเชื้อเชิญของพระราม พระอินทร์และเหล่าเทวดานางฟ้านางสวรรค์จึงพากันลงมาชุมนุมเป็นพยานให้นางสีดาลุยไฟ

เหตุการณ์ที่สอง "ทศกัณฐ์ทำพิธีเผารูปเทวดาและบูชาหอกกบิลพัท"

หลังจากท้าวมาลีวรราชว่าความแบบเถรตรงไม่ลำเอียงต่อหลานยักษ์แล้ว ทศกัณฐ์ผู้เจ็บใจพระอินทร์และเทวดาทั้งปวงที่เป็นพยาน
แล้วนึกขึ้นได้ว่าตนเองมีหอกกบิลพัทซึ่งถ้าทำพิธีเผาไฟในกองกูณฑ์สามวันแล้วจะมีฤทธิ์ฆ่าเทวดาได้หมด จึงไปทำพิธีที่หาดทรายกรด
ใช้ดินเจ็ดท่าปั้นรูปเทวดาน้อยใหญ่บรรดาที่ไปเป็นพยานในโรงศาลครานั้นเสร็จ ก็เผารูปปั้นเทวดาทันที พร้อมบริกรรมคาถา
"เมื่อนั้น
ฝ่ายองค์เจ้าตรัยตรึงศ์สวรรค์
กับทั้งฝูงเทพเทวัญ
ทุกชั้นร้อนรนสกนธ์กาย
ดั่งอัคนิรุทรมาจุดจี่
แสนเทวษแสนทวีไม่รู้หาย
แต่ผุดลุกผุดนั่งวุ่นวาย
ไม่มีความสบายเท่ายองใย
โกสีย์จึ่งเล็งทิพเนตร
ทั่วทุกประเทศน้อยใหญ่
เห็นทศกัณฐ์ตั้งกลาไฟ
ใกล้เชิงพระเมรุบรรพต
ปั้นรูปเทวดาบูชากูณฑ์
ขุนยักษ์จักฆ่าเสียให้หมด
จึ่งพาเทวัญอันมียศ
บทจรไปเฝ้าพระศุลี"
พอพระอินทร์กราบทูลตามที่รู้เห็นมาแล้ว พระอิศวรก็ให้ตามเทพบุตรพาลีซึ่งดำรงอยู่ ณ สวรรค์ชั้นยามา ให้เข้าไปเฝ้า ณ เขาไกรลาศ
เมื่อเทพบุตรพาลีมาถึง พระองค์จึงสั่งให้ไปทำลายพิธีของทศกัณฐ์ให้ได้ เพื่อหมู่เทวดาจะพ้นภัยกัน
เทพบุตรพาลีก็ทำตามรับสั่ง เหาะลงมายังปรัมพิธีด้วยร่างวานรทำลายพิธีได้สำเร็จ ด้วยการให้บริวารดับไฟที่กำลังเผารูปเทวดานั้นแล

โอ้ย... เหนื่อย ::)
อยากจะแถมอีกสักเรื่องจังเลย แต่หมดแรงเสียแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 05 ก.พ. 11, 05:12

จดหมายเปิดผนึกถึงสหายร่วมรบ  หนูดีดี   นายกองสะอาด  และดอนราชประสงค์ (และท่านที่หลงทางมาอ่าน)


๑.   ใครจำได้ว่า  การเข้ามาตอบปัญหา จะต้องมีโลหิตที่เดือดพล่านไปด้วยความรักรามเกียรติ์
      สนธิสัญญาข้อนี้พิมพ์เป็นตัวจิ๋วไว้หรืออย่างไร


      ข้าพเจ้าได้แจ้งกับผู้มาขายสมาชิกภาพว่า  ข้าพเจ้ามีแต่รามเกียรติ์ ร. ๑  อยู่สามเล่มเท่านั้น  อีกเล่มปีศาจสุรายืมไปอ่าน
      เจ้่าเซลส์แมนนั้นดูจะซ่อนความดีใจอยู่   สัญญาว่า  ไม่ยากหรอก 



๒.   นารายน์สิบปางนั้น  ข้าพเจ้าไปหามาได้แล้ว  ๓ เล่ม  เนื่องจากหนุ่มสะอาดถามแล้วถามอีกว่าไม่มีหรือ   ตอนนั้นไม่มีจริงๆ เพราะอ่านไม่ออกนี่
      อ่านไปอ่านมา  เก็บความได้ว่ามีนารายณ์ ๒๐ ปางอีก



๓.   ข้่าพเจ้าไปหาพจนานุกรมศัพท์โบราณ  เล่มสีแดง มาได้แล้ว
      ถ้าขยันเปิดจนคล่องแคล่ว         ก็น่าจะพอต่อสู้เอาชีวิตรอดไปได้
      เข้าใจว่า คุณหลวง คงไม่กล้าต่อสู้ เพราะคงยับกลับมา  ประมาณขี่ม้าข้ามขวากที่ลุกเป็นไฟ
      เรื่องที่แย่ก็คือ  ไม่มีหนังสือรายละเอียดมาตอบน่ะซี  สหาย
      รายละเอียดลงไม่ได้เพราะเราไม่ได้ค่าโฆษณา


๔.   คำถามข้อท้ายสุดนี้  ข้าพเจ้าใช้
      สมญาภิธาน รามเกียรติ์ ของ นาคะประทีป        ลอกได้ดีมาก  ขอแนะนำ
      ข้อเตือน   ชื่อชาย หญิง เหมือนกันอยู่บ้าง ดูดี ๆ


๕.   ข่าวลือเรื่องพรายกระซิบ  พอจะได้ยินมาบ้าง
     ข่าวลวงเรื่อง  เสือป่า  แมวมอง  เป็นข่าวปล่อย


๖.  ขอ ขำ  หนุ่มสะอาดที่อยากจะตอบอีกข้อ     หัวเราะจนเป็นหอบ แฮ่ก ๆ
     ไม่ได้ขำ  ท่านแม่กองหรอก
     ไม่มีแรงจะตอบเหมือนกัน




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 08:45
คุณอาร์ทตอบข้อ ๕๓ มาถูกใจมาก เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนท่านที่ตอบข้อ ๕๒ มา โดยส่งข้อความมาทางหลังไมค์
ผมจะรีบตรวจให้เสร็จภายใน ๒ วันนี้
ในระหว่างนี้ เชิญเล่นคำถามข้ออื่นไปก่อนนะครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 09:18
คำถามข้อที่ ๕๔.

ให้ท่านผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามรามเกียรติ์ 
สมมติตนเองเป็นอาจารย์โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

จงเลือกเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑  ๑ ตอน
ที่ปรากฏพฤติกรรมของตัวละครที่ไม่ดี ไม่พึงเอาเยี่ยงอย่าง
สำหรับยกมาแสดงเป็นอุทาหรณ์สอนเด็กนักเรียน

การตอบขอให้ตอบ โดยเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่เลือกมาสังเขป
(ไม่เกิน ๑๐ บรรทัด) และอธิบายเหตุผลว่า
ทำไมจึงไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างตัวละครในตอนนั้น

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๒.๑๐ น. ของวันนี้
ห้ามตอบก่อนเวลา  และถ้าใครยกตอนซ้ำกับตอนที่มีคนยกตัวอย่างไปแล้ว
จะให้คะแนนครึ่งเดียว ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 09:35
อันความคิดสิ่งนี้ดีนัก       แหลมหลักไม่มีที่เปรียบได้
(บทพระราชนิพนธ์ ร.๑)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.พ. 11, 12:10

๕๔.

วันนี้จะเล่าเรื่องนกยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก  ชื่อสดายุ     


เมื่อตอนยังเป็นเด็ก   ไม่เชื่อฟังพี่ที่ห้าม   เห็นดวงอาทิตย์สีแดงนึกว่าเป็นผลไม้ บินขึ้นไปจะจิกกิน           พระอาทิตย์เปล่งแสงร้อนแรง    พี่ชายได้กางปีกป้องกันน้องไว้จนขนร่วงหมด 
พระอาทิตย์สาป ไว้ว่าไม่ให้ขนงอกจนกว่าทหารของพระรามผ่านมา   แต่พี่เป็นนกย่างถอนขนไปแล้ว เพราะความ ซุกซนของน้อง   วันหนึ่งเจอทศกัณฐ์พานางสีดาผ่านมา 
ได้สู้กันจะช่วยนางสีดา   จิกรถที่ทศกัณฐ์ นั่งมาพัง  จิกทหารยักษ์ ๕๐ คนตาย  ใช้เล็บหยิก  ปากจิก และ ปีกตี ทศกัณฐ์หวิดจะ แพ้อยู่แล้ว   สดายุอวดว่าไม่กลัวใครเลย 
นอกจากพระอิศวร  พระนารายณ์ และแหวนพระอิศวร ที่นางสีดา สวม    ทศกัณฐ์จึงถอดแหวนจากนิ้วนางสีดาปาสดายุ    แหวนกลายเป็นจักร  ทำลายชีวิตสดายุ



การไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่เกิดผลร้ายถึงไม่ใช่ตัวเองก็คนใกล้ชิดที่รักเรา  ถึงจะเสียใจก็แก้ไขอะไรไม่ได้
การอวดตน  ว่าเก่งแต่บอกจุดอ่อนออกไป  เป็นเรื่องไม่ควรทำ เพราะนำอันตรายมา 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 12:11
คำถามข้อที่ ๕๔.

ให้ท่านผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามรามเกียรติ์  
สมมติตนเองเป็นอาจารย์โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
จงเลือกเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑  ๑ ตอน
ที่ปรากฏพฤติกรรมของตัวละครที่ไม่ดี ไม่พึงเอาเยี่ยงอย่าง
สำหรับยกมาแสดงเป็นอุทาหรณ์สอนเด็กนักเรียน
การตอบขอให้ตอบ โดยเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่เลือกมาสังเขป
(ไม่เกิน ๑๐ บรรทัด) และอธิบายเหตุผลว่า
ทำไมจึงไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างตัวละครในตอนนั้น
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๒.๑๐ น. ของวันนี้
ห้ามตอบก่อนเวลา

คำตอบ
วันนี้คุณครูจะสำแดงตัวละครที่มีพฤติกรรมไม่ดีในเรื่องรามเกียรติ์นะจ๊ะนักเรียนเด็กน้อยกลอยใจ
คุณครูขอสอนเรื่อง “กุมภกาศ”

กุมภกาศ เป็นบุตรของนางสำมนักขาและชิวหา มีศักดิ์เป็นหลายชายของทศกัณฐ์
ครั้นอายุ 19 เกิดคิดในใจว่า อยากจะได้อาวุธอันมีฤทธานุภาพเสียเหลือทน จึงลาทางบ้านเข้าป่าไปบำเพ็ญตบะ
ด้วยพิธีมหาพัทกัลป์ ยามถึงที่หมายตรงแผ่นศิลาแนวป่าไผ่ริมแม่น้ำ ก็เริ่มพิธี อ่านเวทมนต์จนฤทธิ์นั้นสนั่นถึงชั้นฟ้า
จนพระพรหมเมื่อทรงได้ยินเสียงฟ้าคะนองโกลาหล ก็ทรงส่องทิพเนตรลงมา เห็นกุมภกาศตั้งพิธีขออาวุธ
จึงทรงทิ้งพระขรรค์ลงมาให้ตามประสงค์ แต่ฝ่ายกุมภกาศเห็นพระขรรค์ลอยละลิ่ว ตกพื้นลงตรงหน้า แทนที่จะดีใจ
กลับโกรธขึ้งด้วยความจองหอง คิดว่าตนเป็นหลานทศกัณฐ์ ใยพระพรหมถึงมาทิ้งอาวุธให้เช่นนี้ ต่อส่งให้กับมือจึงจะรับ
แล้วหลับตาภาวนามนต์ต่อไป
ฝ่ายพระลักษณ์เดินมาเก็บผลไม้ เห็นพระขรรค์ตกอยู่ก็หยิบคิดมาดู กุมภกาศเห็นแสงแวววาบ คิดว่าพระพรหมลงมามอบให้
จึงลืมตาขึ้นมอง แต่กลับเห็นฤๅษีแทนก็โกรธนัก เข้าต่อสู้ขับเคี่ยวกับพระลักษณ์ แต่พ่ายแพ้ถูกพระลักษณ์ฆ่าตายง่ายๆ

กุมภกาศ ไม่สมควรจะเอาเยี่ยงอย่างในนิสัยเรื่อง ความจองหองทะนงตัวเกินไป
เพราะมัวแต่คิดว่าหากไม่ได้รับจากมือพระพรหมแล้วก็ไม่ยอม จึงถูกฆ่าตายด้วยพระขรรค์ที่ตนสมควรจะเป็นเจ้าของ
(หากไม่จองหองรับพระขรรค์ไปแต่แรก คงจะมีชีวิตต่อจนถึงช่วยทศกัณฐ์รบกับพระราม... แล้วไปตายเอาในตอนนั้น)

เฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป อย่าจองหองทนงตัว  อย่าอวดว่าตนมีกำลังมาก เช่นนี้แล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 12:13
คำถามข้อที่ ๕๔.

ให้ท่านผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามรามเกียรติ์  
สมมติตนเองเป็นอาจารย์โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

จงเลือกเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑  ๑ ตอน
ที่ปรากฏพฤติกรรมของตัวละครที่ไม่ดี ไม่พึงเอาเยี่ยงอย่าง
สำหรับยกมาแสดงเป็นอุทาหรณ์สอนเด็กนักเรียน

การตอบขอให้ตอบ โดยเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่เลือกมาสังเขป
(ไม่เกิน ๑๐ บรรทัด) และอธิบายเหตุผลว่า
ทำไมจึงไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างตัวละครในตอนนั้น

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๑๒.๑๐ น. ของวันนี้
ห้ามตอบก่อนเวลา  และถ้าใครยกตอนซ้ำกับตอนที่มีคนยกตัวอย่างไปแล้ว
จะให้คะแนนครึ่งเดียว

++
ตอบ ขอเลือกตอนยกรบทศกัณฐ์ ครั้งที่ ๖
วันนี้คุณครูมาสอนเรื่องกับเด็กๆ เรื่องอย่างได้หลงในรูปรส กลิ่นเสียงและทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

คติสอนใจ : เน้นให้เห็นหลักธรรมะที่ว่า อันรูป รส กลิ่นเสียง นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ อาจจะทำให้เกิดความหายนะได้ หากไม่มีการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสทั้งสิ้น และยังจะชี้ให้เห็นว่าทำดีย่อมได้ดี และทำชั่วย่อมได้ชั่ว ดังเช่น การรบครั้งสุดท้ายของทศกัณฐ์ ที่พ่ายแก่ทัพพระราม ซึ่งเน้นคำสอนทั้งหมดคือ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” และการรบนั้นทศกัณฐ์ได้แปลงรูปเป็นพระอินทร์ จนทำให้ทัพพระราม-พระลักษณ์หลงรูปอีกครั้งหนึ่งอย่างครั้งศึกอินทรชิต จนหนุมานต้องเตือนสติแก่พระรามไม่ให้หลงแก่รูปรส กลิ่นเสียง สัมผัสต่างๆอันนำมาซึ่งความหายนะได้ ดังกลอนพระราชนิพนธ์ว่า
เหตุไฉนพระองค์ทรงฤทธิ์....มาหลงพิศดูรูปยักษา / ผิดกับที่ทรงพระจินดา....หมายมาจะล้างไพรี /  อันคำบูราณกล่าวไว้...อย่าให้หลงกลทั้งสี่ / คือรูปรสวาจาพาที....ดุริยางค์ดนตรีนี้ห้ามนัก / พระองค์ก็ทรงปรีชาชาญ...อันโอฬารเลิศล้ำไตรจักร / ฤามางงหลงด้วยรูปยักษ์...แต่ตั้งพักตร์พิศเพ่งไม่วางตา / อันตัวช้าบาทนี้เห็นผิด...จะเหมือนครั้งอินทรชิตยักษา / พากันหลงรูปมารยา...จะเสียกลอสุราสาธารณ์
พระรามได้ฟังแล้วตั้งสติได้จึงตอบว่า
ถึงรูปงามทั้งสามธาตรี...ก็ไม่เปรียบรูปนี้เสมอสอง / งามจริงยิ่งกว่ารูปทอง...นวลละอองผ่องแผ้วอำไพ / แต่เราชายเห็นยังเช่นนี้....ถ้าสตรีเห็นจะเป็นไฉน / น่าแสนพิศวาสจะขาดใจ...หลงไปด้วยรูปกุมภัณฑ์
สิ้นคำดำรัสพระรามก็แผลงศรพรหมาสตร์ถูกทศกัณฑ์สิ้นใจตาย..(ยกพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ แพร่พิทยาปี ๒๕๑๕ เล่ม ๓ หน้า ๕๑๒)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 13:11
คุณครูวันดี เลือกเอาตอนนกสดายุไม่เชื่อฟังนกสัมพาทีมาเล่าให้เด็กนักเรียนฟัง
ได้คติว่า  จงเชื่อฟังผู้มีอาวุโสสอนหรือห้ามปรามไม่ให้ทำสิ่งไม่ดีและอันตราย
และไม่พึงเปิดเผยความลับของตนให้คนอื่นทราบเพราะจะนำภัยถึงชีวิตมาสู่ตนเอง

คุณครูวันดี  สอนดี ให้คะแนน ๑๐ คะแนน
ฟังเรื่องนกสดายุอยากกินพระอาทิตย์ ทำให้นึกถึงนิทานกรีกโรมันเรื่องหนึ่ง
ใครพอรู้บ้างว่าคือเรื่องอะไร  (ใครตอบได้  มีคะแนนให้ ๕ คะแนน) ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 13:15
คุณครูอาร์ท  เลือกเรื่องกุมภกาศมาเล่าให้นักเรียนฟัง
ได้คิดว่า  อย่าจองหองทะนงตัวเกินไป  และจงพอใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้

แต่ตัวอย่างนี้ ดูจะเข้าใจยากไปหน่อยสำหรับเด็กประถมนะครับ
ขอหักคะแนน สัก  ๒  คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 13:19
คุณครูไซมีส  เลือกตอนทศกัณฐ์ยกรบครั้งที่ ๖ มาเทศน์ให้เด็กนักเรียนฟัง
เด็กนักเรียนหลับคาห้องเรียนบรรลุโสดาบันกันเป็นแถว   

คุณครูไซมีส  เลือกเรื่องที่นำมาสอนเด็กยากไป  เด็กฟังแล้วง่วง
แม้จะเป็นตัวอย่างที่ดี  แต่ควรต้องพิจารณาอายุผู้ฟังด้วย 
ขอหักคะแนน ๒  ๑/๒  คะแนน  เหลือ  ๗ ๑/๒  คะแนน




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.พ. 11, 13:36

มีหลายเรื่องค่ะ

Fenrir
Alklha
Corvicls


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 13:46
คุณครูไซมีส  เลือกตอนทศกัณฐ์ยกรบครั้งที่ ๖ มาเทศน์ให้เด็กนักเรียนฟัง
เด็กนักเรียนหลับคาห้องเรียนบรรลุโสดาบันกันเป็นแถว   


ไม่เคยได้ยินหรอ เด็กดีต้องมีธรรมะ  ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 ก.พ. 11, 14:00
คำถามข้อที่ ๕๔.

ให้ท่านผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามรามเกียรติ์  
สมมติตนเองเป็นอาจารย์โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

จงเลือกเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑  ๑ ตอน
ที่ปรากฏพฤติกรรมของตัวละครที่ไม่ดี ไม่พึงเอาเยี่ยงอย่าง
สำหรับยกมาแสดงเป็นอุทาหรณ์สอนเด็กนักเรียน

การตอบขอให้ตอบ โดยเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่เลือกมาสังเขป
(ไม่เกิน ๑๐ บรรทัด) และอธิบายเหตุผลว่า
ทำไมจึงไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างตัวละครในตอนนั้น

คุณครูดีดี จะเล่าเรื่อง พฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์ที่หนูๆไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างค่ะ
      ครูจะเล่าถึง ยักษ์ที่ชื่อ ไมยราพณ์ นะคะ
      ไมยราพณ์เป็นยักษ์ที่เก่งกล้า มีวิชาความรู้ เพราะได้ไปเรียนวิชากับพระฤษีสุเมธ ที่เชิงป่าหิมพานต์ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และมีเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ และยังเก่งขนาดถอดหัวใจใส่ไว้ในแมลงภู่ แล้วเอาไปซ่อนไว้ที่ยอดเขาตรีกูฏได้ ซึ่งทำให้ใครฆ่าไมยราพณ์ก็ไม่ตายเพราะหัวใจไม่ได้อยู่ที่ตัว
      ไมยราพณ์เป็นลูกของท้าวมหายมยักษ์และนางจันทรประภาศรี ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองเมืองบาดาล ทั้งพ่อและแม่ของไมยราพณ์ได้สั่งสอนลูกไว้ว่าอย่าไปยุ่งกับทศกัณฑ์ซึ่งเป็นญาติกัน เพราะทศกัณฑ์เป็นยักษ์นิสัยไม่ดีจะนำความเดือดร้อนมาให้ แต่ไมยราพณ์ไม่เชื่อ ทั้งยังไปช่วยทศกัณฑ์รบกับพระราม โดยได้ไปสะกดทัพ และลักพาตัวพระรามไปซ่อนไว้ที่เมืองบาดาล แต่หนุมาณตามมาช่วยไว้ได้ และจะฆ่าไมยราพ แต่ฆ่าเท่าไหร่ก็ไม่ตาย
       ภายหลังจึงรู้ว่าไมยราพถอดดวงใจเป็นแมลงภู่ซ่อนไว้ในยอดเขาตรีกูฏ หนุมานก็แผลงฤทธิ์ให้ตัวโตเท่าภูเขา เท้าหนึ่งเหยียบอกไมยราพไว้ อีกมือเอื้อมไปจับแมลงภู่ดวงใจไมยราพแล้วขยี้แหลกไป ไมยราพก็เลยตาย...

จากที่ครูเล่ามา จะเห็นได้ว่าหนูๆ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ไมยราพณ์ นะคะ
        เพราะไมยราพณ์ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ซึ่งเป็นผู้ที่รักและหวังดีกับเรามากที่สุด จึงต้องจบชีวิตลงอย่างอนาถ
        และไมยราพณ์ ยังคบคนไม่ดี คนพาล คือ ทศกัณฑ์ ตามคำโบราณสอนไว้ว่า คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
        และไมยราพณ์ ยังเป็นคนประมาทไว้ใจผู้อื่นมากเกินไป ให้ผู้อื่น(นางพิรากวน-ผู้บอกความลับแก่หนุมาน)ล่วงรู้ความลับที่สำคัญกับชีวิตตนเอง
        ชีวิตของไมยราพณ์ ที่สู้อุตส่าห์เล่าเรียนจนเก่งกาจ แทนที่จะได้ครองเมืองบาดาลอย่างมีความสุขและเจริญรุ่งเรือง ก็ต้องมาตายลงอย่างน่าสงสาร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 14:59
คุณครูอาร์ท  เลือกเรื่องกุมภกาศมาเล่าให้นักเรียนฟัง
ได้คิดว่า  อย่าจองหองทะนงตัวเกินไป  และจงพอใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้

แต่ตัวอย่างนี้ ดูจะเข้าใจยากไปหน่อยสำหรับเด็กประถมนะครับ
ขอหักคะแนน สัก  ๒  คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน

เด็กในโรงเรียนของผม เป็นเด็กหัวดีสติเฟื่องครับคุณหลวง
แม้จะเรียนชั้นประถม แต่ความคิดก้าวไกลเกินหน้ากว่าเด็กมหาวิทยาลัยบางคนอีกครั้ง ;D
"หน้าตาประถม ..........มหาลัย"


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 11, 15:01
หนู ๆ เคยได้ยินคำว่า  "ทรพี" ไหม

ลูกที่ไม่รู้บุญคุณคุณพ่อคุณแม่ ซ้ำบางคนถึงทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตก็มี  ลูกประเภทนี้เขาเรียกว่า "ลูกทรพี"

หนู ๆ ทราบไหมว่า "ทรพี" มาจากชื่อควายตัวหนึ่ง

คุณครูจะเล่านิทานให้ฟัง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมียักษ์ตนหนึ่งชื่อนนทกาลมีหน้าที่เฝ้ากำแพงประตูชั้นใจรับใช้พระอิศวร วันหนึ่งเกิดหลงรักนางอัปสร ชื่อมาลี ทว่านางมาลีไม่เล่นด้วย จึงไปฟ้องพระอิศวร พระอิศวรสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นควายเผือก และจะถูกฆ่าโดยลูกของตนเอง นนทกาลไปเกิดเป็นควายชื่อทรพาก็พบรักกับควายตัวเมียชื่อ นิลา และมีลูกด้วยกันชื่อ ทรพี  ขณะที่ให้กำเนิดทรพีนั้น นางนิลาได้พาหนีไปฝากเทพยดาให้ช่วยเลี้ยงดูที่ถ้ำเนื่องจากกลัวทรพาจะจับฆ่าเสีย เนื่องจากลูกตัวผู้ก่อนหน้านี้ก็ถูกทรพาฆ่าตายหมด เมื่อทรพีเติบใหญ่ก็ออกเดินทางตามหารอยเท้าพ่อ จนพบรอยเท้าใหญ่เหมือนกันจึงได้เกิดการต่อสู้ กับทรพาตามคำสาปของพระอิศวร แล้วทรพาถูกทรพีขวิดจนตาย

ควายทรพีมีความฮึกเหิมมาก ประกาศท้าสู้กับพระอิศวร พระอิศวรจึงส่งให้พญาลิงไปปราบ พญาลิงชื่อพาลีสู้กับทรพีในถ้ำอยู่ ๗ วัน ๗ คืนก็ยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ จึงถามทรพีว่า “เอ็งมีเทวดาคอยคุ้มครองอยู่หรืออย่างไร ถึงได้มีอิทธิฤทธิ์มากมายนัก” ทรพีตะโกนกลับอย่างลำพองว่า “เปล่าหรอก ข้าเก่งเอง” พาลีตวาดว่า “อ้ายเนรคุณ พวกเหล่าเทวดาท่านได้ยินแล้วใช่ไหมว่าทรพีมันไม่ได้สำนึกในบุญคุณของท่านเลย ขอพวกท่านได้โปรดอย่าคุ้มครองมันอีกต่อไปเลย” เหล่าเทวดาจึงพากันเลิกคุ้มครองทรพี เมื่อทรพีปราศจากผู้คุ้มครองก็ถูกพาลีฆ่าตายอย่างง่ายดาย เทวดาบนสวรรค์พากันดีใจประทานให้ฝนตกลงมาเพื่ออวยพรให้พาลี

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าคนเนรคุณไม่รู้คุณคน เทวดาจะไม่คุ้มครอง

ถ้าหนูอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้เข้าไปอ่านได้ที่นี่นะจ๊ะ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pat-naja&month=17-08-2005&group=4&gblog=23

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:04

มีหลายเรื่องค่ะ

Fenrir
Alklha
Corvicls

เล่าเรื่องด้วยสิ  จะได้ให้คะแนนถูกและนักเรียนจะได้ทราบเรื่องด้วย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:05
คุณครูไซมีส  เลือกตอนทศกัณฐ์ยกรบครั้งที่ ๖ มาเทศน์ให้เด็กนักเรียนฟัง
เด็กนักเรียนหลับคาห้องเรียนบรรลุโสดาบันกันเป็นแถว   


ไม่เคยได้ยินหรอ เด็กดีต้องมีธรรมะ  ;D ;D

ยากไปคุณ  แค่คุณอารัมภบท เด็กก็เอ่ยสาธุปากกว้างแล้ว :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 15:11
ฟังเรื่องนกสดายุอยากกินพระอาทิตย์ ทำให้นึกถึงนิทานกรีกโรมันเรื่องหนึ่ง
ใครพอรู้บ้างว่าคือเรื่องอะไร  (ใครตอบได้  มีคะแนนให้ ๕ คะแนน) ;D

เรื่องอิคารัสกับปีกเทียนไข

กาลครั้งหนึ่งมีเด็กชายผู้หนึ่งนามว่าอิคารัส กับบิดาของเขานามว่า เดดาลัส ทั้งสองถูกจองจำอยู่ ณ หอคอยเเห่งหนึ่งบนเกาะครีต
จากช่องหน้าต่างเล็ก ๆ ของหอคอย สองพ่อลูกก็สามารถมองออกไปเห็นท้องสมุทรสีน้ำเงินเเละเฝ้ามองหมู่นกนางนวลกับนกอินทรี
โผบินไปมาในท้องฟ้าเหนือเกาะ
แม้ต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น อิคารัสก็ค่อนข้างมีความสุข นอกจากท้องทะเลสีน้ำเงิน เรือทั้งหลาย เเละเหล่านกกา
ซึ่งเขาชอบเฝ้ามองเเล้วเขาก็ยังเที่ยวหาจับหอยจับกุ้งตามชายฝั่ง หาจับปูตามซอกหิน รวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
เเต่เดดาลัสกลับรู้สึกเดียวดายเเละเศร้าหมองยิ่งขึ้น เขาใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเฝ้ามองหมู่นกนางนวลโผบินไปในท้องฟ้าพล่างครุ่น
คิดหาหนทางที่เขากับอิคารัสจะสามารถหลบลี้หนีไปจากเกาะเเห่งนี้

ในที่สุดเดดาลัสสามารถหาวิธีหลบหนีออกจากหอคอยได้...

วันหนึ่งเมื่ออิคารัสเอาก้อนหินขว่างฝูงนกนางนวล เขาก็สามารถสังหารนกได้ตัวหนึ่งจึงนำกลับมาให้พ่อ
เดดาลัสรับนกไปถือไว้ในมือ เขาพลิกไปพลิกมาอย่างช้า ๆ พลางพินิจพิจารณาดูปีกของมัน
พลางคิดว่าคราวนี้หากเรามีปีก ก็สามารถโบยบินออกไปสู่อิสรภาพได้
นับเเต่นั้นมาเดดาลัสก็ไม่นิ่งเฉยเซื่องซึมอีกต่อไปเเล้ว เขาถอนขนนกออกจากนกทุกตัวที่อิคารัสสามารถล่ามาได้
เเล้วลงมือทำปีกขนาดใหญ่คู่หนึ่งเขายึดขนนกติดเข้ากับโครงปีกด้วยขี้ผึ้งละลายเเละเส้นด้ายที่ดึงออกมาจากเสื้อคลุมของเขา
เมื่อปีกทั้งสองเสร็จเรียบร้อย เดดาลัสก็นำมันมามัดเข้ากับเเขนของตนเเละเมื่อกระพือเเขนขึ้น ๆ ลง ๆ
เขาก็สามารถลอยตัวขึ้นไปในอากาศ เเล้วเขาก็โผบินไกลออกไปเหนือท้องน้ำ

อิคารัสกระโดดโลดเต้นด้วยความดีอกดีใจ พลางตะโกนเรียกให้พ่อกลับมาทำปีกอีกคู่หนึ่งเพื่อเขากับพ่อจะได้โบยบินออกไปจากเกาะครีต
เมื่อเดดาลัสทำปีกคู่ที่สองซึ่งเล็กกว่าเสร็จเรียบร้อย เขาก็เอามันมามัดเข้ากับเเขนของลูกชาย เขาย้ำเตือนอิคารัสว่า
อย่าบินปลีกตัวออกไปตามลำพังในท้องฟ้า เเต่จะต้องบินเคียงข้างเขาไปโดยตลอด

"หากลูกบินต่ำเกินไปความชื้นจากน้ำทะเลจะทำให้ขนนกหนักขึ้น เเล้วลูกก็จะร่วงลงไปเเละจมลงในทะเล"
"เเต่หากลูกบินสูงขึ้นไปใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจะเเผดเผาให้ขี้ผึ้งละลาย เเล้วลูกก็จะร่วงลงไปเช่นกัน"

อิคารัสจึงรับปากว่าจะปฎิบัติตามดังที่พ่อกำชับไว้ เเล้วสองพ่อลูกก็พากันโผกระโจนจากชะง่อนผาที่สูงที่สุดบนเกาะเเห่งนั้นเเละโบยบินมุ่งหน้าไป

ตอนเเรก ๆ อิคารัสก็เชื่อฟังคำสั่งของพ่อเเละบินติดตามไปในระยะกระชั้นชิด
เเต่ไม่ช้าต่อมา เขาก็เริ่มเพลิดเพลินกับการโบยบินกระทั่งลืมคำที่พ่อกำชับไว้จนหมดสิ้นเขาเหยียดเเขนสูงขึ้น
เเล้วก็บินสูงขึ้นเเละสูงขึ้นไปยังสวรรค์เบื้องบน
เดดาลัสตะโกนเรียกลูกชายกลับลงมา เเต่กระเเสลมพักกระหน่ำอย่างรุนเเรงเเละพัดพาถ้อยคำของเขาไกลห่างออกไป
อิคารัสจึงไม่ได้ยินเสียงเรียกของบิดาปีกทั้งสองยังคงพาเขาสูงขึ้นเเละสูงขี้นไป กระทั่งขึ้นไปถึงเขตเเดนของหมู่เมฆ
เเละขณะที่บินสูงขึ้นเเละสูงขึ้นไปเขาก็รู้สึกอบอุ่นเเละอบอุ่นขึ้น เเต่เขาก็ลืมคำเตือนของพ่อ เเละยังมุ่งหน้าบินสูงขึ้นไปอีก

สักครู่ต่อมาเขาก็มองเห็นขนนกปลิวว่อนอยู่รอบตัว ในทันใดนั้นเขาก็นึกถึงคำเตือนของพ่อขึ้นมาได้ เขาจึงรู้ว่า
ความร้อนของดวงตะวันได้เเผดเผาขี้ผึ้งที่ยึดขนนกติดกับโครงปีกละลายเเล้ว ในที่สุดอิคารัสก็ร่วงละลิ่วลงไป
เขาพยายามที่จะกระพือปีกเพื่อบินต่อ เเต่กระเเสลมก็พัดกระหน่ำให้ขนนกปลิวว่อนอยู่รอบตัวจึงทำให้เขามองไม่เห็นอะไร
เขาส่งเสียงร้องขึ้นมาด้วยความตื่นตระหนกขณะที่ร่างของเขาหมุนคว้างร่วงจากท้องฟ้า
เเล้วอิคารัสผู้น่าสงสารก็ดิ่งลงไปสู่ห้วงน้ำสีน้ำเงินของทะเลซึ่งได้รับการขนานนามว่าอิคาเรียนนับเเต่บัดนั้นมา

เดดาลัสได้ยินเสียงกรีดร้องจึงรีบบินตรงไปยังตำเเหน่งที่มาของเสียง หากเขาก็ไม่พบเเม้เเต่อิราคัสหรือปีกของลูกน้อย
นอกจากขนนกสีขาวจำนวนหนึ่งที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ผู้เป็นพ่อจึงจำต้องเดินทางต่อไปด้วยความโศกเศร้า
ในที่สุดเขาก็มาถึงชายฝั่งของเกาะใกล้เคียงเเห่งหนึ่ง บนเกาะเเห่งนั้น เขาสร้างวิหารหลังหนึ่งขึ้นมาถวายเเด่เทพเจ้าอพอลโล
เเล้วก็เเขวนปีกของตรเป็นเครื่องสักการะบูชาพระองค์ภายหลังที่คร่ำครวญทุกข์โศกถึงลูกชายที่จากไปเเล้วเขาก็ไม่เคยพยายามที่จะบินอีกเลย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:11
คุณครูดีดี  ยกเรื่องรามเกียรติ์ตอนไมยราพมาเป็นตัวอย่างให้เด็กฟัง
เข้าท่าเข้าทีดีมาก  แถมยังชี้คติสอนใจหลายประการ  เอาไป ๑๐ คะแนน
ไม่มีที่ให้หักคะแนนเลย  

ส่วนคุณครูเพ็ญชมพู  เลือกเล่าตอนคลาสสิก  ตอน ทรพี  
ซึ่งสอนเด็กได้ดี   เข้าใจง่าย   ถือว่าสอบผ่าน  เอาไป ๑๐ คะแนน
แต่จะขอหัก ๒ คะแนน  เพราะไม่ได้อธิบายเหตุผลที่ยกเรื่องนี้มาสอน(ด้วยภาษาตนเอง)
เหลือ ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:14
ดีมาก  คุณอาร์ท  เอาไป ๕ คะแนน 

ส่วน

คุณครูอาร์ท  เลือกเรื่องกุมภกาศมาเล่าให้นักเรียนฟัง
ได้คิดว่า  อย่าจองหองทะนงตัวเกินไป  และจงพอใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้

แต่ตัวอย่างนี้ ดูจะเข้าใจยากไปหน่อยสำหรับเด็กประถมนะครับ
ขอหักคะแนน สัก  ๒  คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน

เด็กในโรงเรียนของผม เป็นเด็กหัวดีสติเฟื่องครับคุณหลวง
แม้จะเรียนชั้นประถม แต่ความคิดก้าวไกลเกินหน้ากว่าเด็กมหาวิทยาลัยบางคนอีกครั้ง ;D
"หน้าตาประถม ..........มหาลัย"

ติดเรททะลึ่งนะ  เดี๋ยวหักคะแนนเพิ่มเสียหรอก ;)



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 15:20

ส่วน
คุณครูอาร์ท  เลือกเรื่องกุมภกาศมาเล่าให้นักเรียนฟัง
ได้คิดว่า  อย่าจองหองทะนงตัวเกินไป  และจงพอใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้

แต่ตัวอย่างนี้ ดูจะเข้าใจยากไปหน่อยสำหรับเด็กประถมนะครับ
ขอหักคะแนน สัก  ๒  คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน

เด็กในโรงเรียนของผม เป็นเด็กหัวดีสติเฟื่องครับคุณหลวง
แม้จะเรียนชั้นประถม แต่ความคิดก้าวไกลเกินหน้ากว่าเด็กมหาวิทยาลัยบางคนอีกครั้ง ;D
"หน้าตาประถม ..........มหาลัย"

ติดเรททะลึ่งนะ  เดี๋ยวหักคะแนนเพิ่มเสียหรอก ;)


อาราย อาราย.... คิดมากนาคุณหลวงเล็ก เดี๋ยวก็เสียสุขภาพจิตหรอก
"หน้าตาประถม ความรู้อุดมเฉกเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัย"
ต่างหากเล่า แหมะ คิดไปได้... :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:27
คำถามข้อที่ ๕๕.

สักวา ก่อน ร,ศ, ๑๒๙  (ไม่ได้ให้แต่งสักวานะครับ)

ข้อนี้ตอบหน้าไมค์  คะแนนคิดตามข้อมูลที่ตอบมา ให้ได้สูงสุด  ๒๐  คะแนน
เริ่มโพสต์คำตอบได้  วันขึ้น ๕ ค่ำ  เดือน ๓ ปีเถาะ  (นับตามจันทรคติปฏิทินหลวง)
ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕ บาท


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 11, 15:29

อาราย อาราย.... คิดมากนาคุณหลวงเล็ก เดี๋ยวก็เสียสุขภาพจิตหรอก
"หน้าตาประถม ความรู้อุดมเฉกเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัย"
ต่างหากเล่า แหมะ คิดไปได้... :P

เจ็บสีข้างไหมนั่น   ไปหายามาทา ไป๊


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 15:33

มีหลายเรื่องค่ะ

Fenrir
Alklha
Corvicls

เล่าเรื่องด้วยสิ  จะได้ให้คะแนนถูกและนักเรียนจะได้ทราบเรื่องด้วย ;D

เคยได้ยินไหม เด็กประถมเปิดเพลง "แตงโม" น่ารักซะไม่มี

"แตงโม ผลใหญ่ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยเมล็ดแตงเล็กๆ
 จำไว้นะพวกเด็กๆ เมล็ดแตงเล็กๆ กลายเป็นแตงผลใหญ่"  (ร้องซ้ำ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.พ. 11, 15:37

นึกว่าถามว่า  ใครอีกอยากกินดวงอาทิตย์  

  


 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 ก.พ. 11, 15:47
คำถามข้อที่ ๕๕.

สักวา ก่อน ร,ศ, ๑๒๙  (ไม่ได้ให้แต่งสักวานะครับ)


โอ้..นาร้ายยย..นารายณ์....นั่นคือคำถามแล้วเหรอคะ.... ???
คุณพรายขา..ช่วยมากระซิบหนูดีดีหน่อยนะคะ ว่าท่านถามว่าอะไร.... ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 08:04
สักวาไก่อ่อนเพิ่งจะหัดขัน
ชั้นเชิงประชันมันยังเฉไฉ
บทร้องเก่าเป็นคำถามทำกลุ้มใจ
นี้ปะไรฤทธิ์คุณหลวงชวนโศกา
เหล่าเพื่อนตายสหายศึกต่างส่ายหัว
มิรู้กลัวหรือเพราะงงกับปุจฉา
เรื่องอื่นอื่นมีมากมายไม่ถามมา
วิสัจฉนาข้อนี้ช่างอับจน
ตัวเราเปรียบเหมือนไก่อ่อนกระดีดดิ้ง
ไม่งามพริ้งทั้งยังแถมขัดสน
ทว่าศึกครั้งนี้มิถูกกล
ยังได้ผลเผื่อแผ่เอาสืบไป
ครั้นคำนึงถึงความรู้ที่สมสั่ง
ก็พอยังจะมองหาหนังสือได้
หากกลับเกิดขัดขวางขึ้นทันใด
เพราะรู้ว่าอยู่ไหนแต่ไม่มีเอย :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 08:30
ไม่มีเช่นกัน เมื่อคืนทัพน้อยทัพใหญ่ระส่ำระสาย ส่งโทรเลขกันวุ่นวาย คงจะพ่ายเป็นแน่แท้

พบแต่ พระประวัติของพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. สักวาไปรษณีย์เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ. สักวามืด
 
Publisher:  [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], 2519 (กรุงเทพฯ : กรุงเทพการพิมพ์)
 
Additional Title:  สักวาไปรษณีย์เรื่องรามเกียรติ์. ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ

 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 08:45
สักวาให้เวลาหนึ่งอาทิตย์
เชิญนักรบครุ่นคิดค้นปริศนา
สักวาอะไรหนอคุณขอมา
ค้นไม่ได้ก็เจรจาว่ายอมแพ้

คำถามยากกว่านี้ยังแก้ได้
พอข้อนี้ทำไมไม่ยอมแก้
อย่าร้องไห้ตาฉ่ำทำท้อแท้
แต่ช้าแต่...ถึงนักรบขี้แยเอย :P



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.พ. 11, 08:59

อ่าน คคห ๗๐ แล้ว    ประหวัดถึง พระหมื่นไวย  ที่เรียกตนเองว่าไก่อ่อนสอนขัน


ครั้นสิ้นแสงสุริยงอัสดงดับ                                ลบลับเหลี่ยมพระเมรุภูผา

พระจันทรจรแจ่มกระจ่างตา                               ดวงดาราไพโรจน์จำรัสแพรว

เสียงเรไรหริ่ง ๆ นิ่งนอนวัน                               เสนาะนักจักจั่นสนั่นแจ้ว

หิ่งห้อยพลอยพราววะวาวแวว                             เถือกที่แถวไม้กระถางวางเป็นทิว

ลมชวยรวยรินกลิ่นขจร                                    หอมเกสรบุบผามาเฉื่อยฉิว

เรณูฟูฟองละอองปลิว                                     พระไวยหวิวประวัติคิดถึงสองนาง



(เสภาขุนช้างขุนแผน  ของ  ครูแจ้ง  ตอนแต่งงานพระไวย   หน้า ๒๑)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 09:01
สักวาคุณหลวงดูเข้าที
พูดอย่างนี้ค่อยน่าชมประสมต่อ
อันความรู้หาเท่าไรย่อมไม่พอ
เรื่องนี้ขอรั้งรอให้พักไว้
มีฤกษ์ยามงามดีจะไปค้น   
มิหลงกลคุณหลวงแน่เชื่อใจได้
แต่วันนี้ขอคำถามข้อต่อไป
อย่ายากใหญ่เดี๋ยวพลอยตายกันหมดเอย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 09:18
คำถามข้อที่ ๕๖.

1.Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb.

2.Neoalsomitra sarcophylla Hutch.

3.Schefflera leucantha  R. Vig.

4.Pagoda  Plant

5.Platycerium

6.Aristolochia pothieri  Pierre ex Lecomte  

7.ขี้ไพนกคุ่ม

8.พรายสะเลียง

9.White Shrimp Plant

10.มะพร้าวสีดา

คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ข้อละ ๕ คะแนน   ตอบหน้าไมค์  เริ่มโพสต์คำตอบตอน ๑๐.๑๕ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 10:15
คำถามข้อที่ ๕๖.

7.ขี้ไพนกคุ่ม

8.พรายสะเลียง

คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ข้อละ ๕ คะแนน   ตอบหน้าไมค์  เริ่มโพสต์คำตอบตอน ๑๐.๑๕ น.


อยากรู้จังเลยว่าใครถามมาเนี่ยะ (สงสัยไม่ได้อ่านสักวาของเรา "อย่าอยากใหญ่เดี๋ยวพลอยกันตายหมดเอย")

ขี้ไพนกคุ่ม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง ชื่อนี้เรียกทางจังหวัดปราจีนบุรี มีอีกชื่อเรียกว่า "สังกรณี"
ชื่ออื่นๆ จุกโรหินี (ชลบุรี);หญ้าหงอนไก่;หญ้าหัวนาค (ภาคเหนือ)
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Barleria strigosa Willd
ลำต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ที่ลำต้นไม่มีหนามแตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย ตามกิ่งก้านจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่
ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแต่ก็ค่อนข้างจะยาว
ปลายใบแหลมและมีติ่งส่วนโคนใบนั้นก็จะแหลมและค่อยๆ เรียวแหลมจนถึงก้านใบ ขอบใบมีหนาม พื้นใบเป็นสีเขียว
ด้านล่างของใบมีขนยาว ตามเส้นใบ ส่วนด้านบนมีบ้างประปรายดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ซึ่งจะมีใบประดับห่อหุ้มอยู่ 4 กลีบ
ต่อหนึ่งดอก กลีบใหญ่ 2 เล็ก 2 ส่วนดอกนั้นมีสีฟ้ามีอยู่ 5 กลีบ โคนดอกเป็นหลอดยาว 1-1.5 นิ้ว ตรงปลายอดแยกออก
เป็น 5 กลีบยาว 0.5 นิ้ว กลางดอกมีเกสร 4 อันยา 0.8 นิ้ว ผล เป็นฝักเกลี้ยง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละ 4 เมล็ด
สรรพคุณ - ใบ สามารถแก้เจ็บคอ คออักเสบ และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้

พรายสะเลียง เป็นสมุนไพรเช่นกัน มีชื่อเรียกทางภาคกลางว่า "ตรีชะวา"
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ Justicia betonica. มีชื่อเรียกอื่น ๆ อย่าง หางกระรอก หางแมว เขียวพระสุจริต  
พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ
เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด  ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก
มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ
สรรพคุณ ทั้งต้น-รักษาโรคเรื้อนกลากเกลื้อน ผล-แก้ไอ ราก-แก้คลื่นเหียน ใบ,ราก,ต้น-รักษาโรคริดสีดวงทวาร

สมุนไพรสองอย่างนี้มีปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์แล้วสลบไป
พิเภกก็ทูลวิธีแก้ไขว่า
"ขอให้ลูกพระพายเทวัญ
ไปห้ามพระสุริยันในชั้นฟ้า
อย่าเพ่อรีบรถบทจร
ข้ามยุคนธรภูผา
แล้วให้ไปเก็บตรีชวา
ทั้งยาชื่อสังกรณี
ยังเขาสรรพยาบรรพต
ปรากฏอยู่ยอดคีรีศรี
กับปัญจมหานที
สรรพยาทั้งนี้มาให้ทัน"
หนุมานก็ไปเก็บตัวยาทั้งสอง (ด้วยความยากเข็ญเพราะเรียกเท่าไรก็ไม่มาหา จนต้องนิรมิตกายใหญ่โตใช้หางรวดยอดเขาถึงได้ตัวยา)
และสิ่งอื่นๆ ได้แล้ว พอผสมกันพอกให้พระลักษณ์ พระองค์ก็ฟื้นสติได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 10:19
คำถามข้อที่ ๕๖.
คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ขอตอบค่ะ  ;D
ทั้งหมดเป็นพืชที่มีชื่อมาจากเรื่องรามเกียรติ์

3.Schefflera leucantha  R. Vig.= หนุมานประสานกาย
ชื่อสามัญ (Common Name) : หนุมานประสานกาย Hanuman prasan kai (General)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name): Schefflera leucantha R.Vig.
ชื่อวงศ์ (Family Name) : ARALIACEAE
เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูงประมาณ 1-4 เมตร ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ลักษณะดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล
ลักษณะผล เป็น รูปกลม
สรรพคุณใบสด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือดห้ามเลือด สมานแผล สารซาโปนินในใบมีฤทธิ์ ขยายหลอดลม
เหมือนกับหนุมานที่มีความสามารถในการรักษาแผลให้กับร่างกาย คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อสมุนไพรตัวนี้


4.Pagoda  Plant = หนุมานนั่งแท่น
ชื่อสามัญ (Common Name):  Pagoda Plant, Coral Plant, Physic Nut, Guatemala Rhubarb
ชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific Name) : Jatropha Podagrica, Hook.
วงศ์ (Family Name) : Euphorbiaceae

หนุมานนั่งแท่น  มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในแถบประเทศภูมิภาคเอเชีย  และในเขตร้อนชื้นทั่วไป  ใช้เป็นไม้ประดับ  เนื่องจากมีลักษณะลำต้นที่สวยงาม  มีลักษณะคล้ายต้นปาล์มแชมเปญ  เป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายเจริญงอกงามดี  เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ใบคล้ายใบตำลึงแต่ใหญ่กว่า  มีแฉก 5 แฉก แต่ละแฉกไม่ลึกมาก มีก้านใบคล้ายกับก้านใบมะละกอแต่เล็กกว่า  ก้านใบไม่มีรูเหมือนก้านมะละกอ  ลักษณะดอกมีก้านยาวขึ้นมาจากยอดเจริญ  คล้ายก้านใบ  มีสีแดงเข้ม  ดอกมีกลีบดอกเล็กมาก  ก่อนดอกบานดูคล้ายหัวไม้ขีดไฟ  เมื่อดอกบานจะเห็นเกสรอยู่เป็นกลุ่มกลางดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เมื่อดอกได้รับการผสมจะเจริญกลายเป็นผลออกมาคล้ายผลฝิ่นแต่เล็กกว่า  มีเมล็ดอยู่ภายในเพื่อขยายพันธุ์เวลาผลแก่จัดเมล็ดจะแตกออกมา  และดีดตัวออกไปได้ไกล ๆ ถึง 1 – 2 เมตร  ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หนุมานนั่งแท่นมียางสีใสข้น  เมื่อยางไหลออกมา  ถ้ายางแห้งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงคล้ายหยดเลือดแห้งติดกับวัตถุ  ยางหนุมานนั่งแท่นมีประโยชน์ในการรักษาแผลทุกชนิด แผลเนื้องอกได้ผลดีมาก  จากการทดลองพบว่า  จะรักษาแผลให้หายได้เร็วกว่าการรักษาด้วยยาทางการแพทย์ปัจจุบัน  และแผลจะไม่ค่อยเป็นแผลเป็น จึงเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ

5.Platycerium = ชายผ้าสีดา
ชื่อสามัญ (Common Name) :  ชายผ้าสีดา Platycerium ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา"
ชื่อวิทยาศาสตร (Scientific Name) : Platycerium holtumii Jench. & Hennipm.
วงศ์ (Family Name) : POLYPODIACEAE

จากลักษณะที่พริ้วไหว คล้ายชายผ้าของนางสีดา คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อของเฟินชนิดนี้
ซึ่งเป็นเฟินแบบเกาะอาศัย ที่ดูแปลกตาแตกต่างจากเฟินทั่วไป ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหัวกระเช้า ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้น บางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมา หรือใบกึ่งตั้งและปลายห้อยลงมา ก็มี
ลำต้น เป็นเหง้าเป็นแท่ง เลื้อยสั้น มีบางชนิดเหง้าแตกเป็นกิ่งสาขา ระบบรากทำหน้าที่ยึดเกาะต้นกับสิ่งที่เกาะอาศัย ใบปกคลุมด้วยขนรูปดาว ขนทำหน้าปกป้องแสงแดด และรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยได้ง่าย รวมถึงยังช่วยดักจับความชื้นในอากาศได้อีกด้วย เกล็ดที่เหง้า (Rhizome Scales) มีความผันแปรของรูปร่าง แม้จะเป็นในต้นเดียวกันก็ตาม แต่ก็ยังพอจะแยกความแตกต่างได้สำหรับเฟินชายผ้าสีดาแต่ละชนิด
ลักษณะใบ ใบมี 2 รูปแบบ (dimorphic) คือ
- ใบกาบ (Base frond, shield frond หรือ sterile frond) ทำหน้าที่ห่อหุ้มระบบราก เพื่อรักษาความชื้นเอาไว้และโอบยึดเกาะที่อยู่อาศัย บางชนิดใบชูตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ เศษใบไม้และอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นมาจากด้านบน กลุ่มนี้มักเป็นชายผ้าสีดาที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้ง บางชนิดใบกาบแผ่หุ้มระบบรากจนมิด ซึ่งกลุ่มนี้มักเป็นชนิดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นหรือฝนชุก sterile frond บางแห่งอาจเรีรยกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบกาบ, ใบโล่, ใบโอบ, shield frond, base frond เป็นต้น
- ใบแผ่สยายเป็นริ้ว เรียก ใบชายผ้า หรือใบเขากวาง (fertile frond) บางชนิดเป็นริ้วห้อยสยายลง บางชนิดตั้งชูขึ้น บางชนิดใบมีขนคลุมหนาแน่น ทำหน้าที่ลดการคายน้ำของใบ ใบชายผ้า หรือ fertile frond ในบางแห่งอาจเรียกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบชายผ้า ใบเขา, Normal frond, True frond, Foliage frond เป็นต้น
อับสปอร์ เกิดทางด้านล่างของใบชายผ้าอยู่รวมกันเป็นพืด บางชนิดอับสปอร์อยู่ที่ปลายหรือขอบของใบชายผ้า บางชนิดเกิดบนอวัยวะพิเศษที่โคนก้านของใบชายผ้า
ชนิด Species และการจำแนกชนิดของเฟินในสกุลชายผ้าสีดา
เฟินสกุลนี้ นักพฤกษศาสตร์บันทึกไว้มี 18 ชนิด อยู่ในออสเตเรียและอินโดนีเซียมี 5 ชนิด, ในทวีปอาฟริกา 3 ชนิด, บนเกาะมาดากัสกา 4 ชนิด, ในเอเซีย มี 6 ชนิด และอเมริกากลาง มี 1 ชนิด สำหรับในไทยพบ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมมากของคนรักต้นไม้ ทำให้มีการเก็บจากป่าธรรมชาติ หรือตามสวนยาง สวนผลไม้ออกมาขาย เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันราคาที่ซื้อ-ขายกัน นับวันขยับแพงขึ้น หาเก็บได้ยากขึ้น หรือต้องเข้าป่าลึกเข้าไปเรื่อยๆ แต่ความต้องการของนักเล่นต้นไม้ นับวันทวีมากขึ้น


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:19
Platycerium ชายผ้าสีดาเฟินสกุลชายผ้าสีดา Platycerium (plat-ee-sir-ee-um แพล๊ท-ตี-เซอ-รี-อัม) ในบ้านเรา
ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" ที่เรียกดังนี้อาจจะพ้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนที่สไบนางสีดา ที่ทำหล่นในตอนที่ทศกัณฑ์มาอุ้มลักพาตัวนางสีดาและเหาะพาไปกรุงลงกา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:20
White Shrimp Plant คือต้นตรีชวา
เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ในตอนที่พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณแล้วล้มลงแต่ยังไม่ตาย พิเภกยักษาเข้ามาดูอาการแล้วแถลงไขแก่พระรามว่า หอกนี้มียาแก้พิษคือต้นสังกรณีตรีชวา และน้ำจากปัญจมหานที ให้รีบนำมารักษาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น งานนี้ไม่พ้นหนุมานชาญสมร ต้องไปห้ามล้อพระอาทิตย์แล้วโลดโผนโจนทะยานไปยังเขาสรรพยา
เพื่อจะไปเด็ดเอาสังกรณีตรีชวามาให้ทันการ
 ..ซึ่งพระน้องต้องหอกอสุรินทร์
ยังไม่สิ้นชีวังสังขาร์
แม้นได้สังกรณีตรีชวา
กับปัญจมหานที
ประสมเป็นโอสถบดพอก
ให้แก้หอกโมกขศักดิ์ยักษี
พระลักษมณ์ก็จะคืนสมประดี
ภูมีจงดำริตริการ ฯ..

ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง) ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้สวยงาม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:23
Schefflera leucantha  R. Vig. หนุมานประสานกายชื่ออื่น: กุชิดอะลั้ง (จีน) ;ชิดฮะลั้ง ;ว่านอ้อยช้าง (เลย)
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณ :
1.รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ
2.รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
3.รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด
4.ตำพอกแผลห้ามเลือด สมานแผล

สารสำคัญ
มี ๒ ชนิด
1. มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมขยาย แต่ไปหดหัวใจ
2. มีฤทธิ์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมตีบ และไปกระตุ้นหัวใจ เป็นสารจำพวก ซาโปนิน

รามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ ในเนื้อกลอนกล่าวถึงสมุนไพรขนานหนึ่ง ซึ่งเป็น “ยาคู่หอกชัยมีไว้สำหรับแก้กัน” และต้องใช้ให้ลูกพระพายเทวัญคือ หนุมานไปเสาะหาที่ “สรรพยาบรรพต” ให้ได้ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเสียด้วย สมุนไพรในวรรณคดีตัวนี้มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า “สังกรณี” แต่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “หนุมานประสานกาย” ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวในวรรณคดี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 10:24

อยากรู้จังเลยว่าใครถามมาเนี่ยะ (สงสัยไม่ได้อ่านสักวาของเรา "อย่าอยากใหญ่เดี๋ยวพลอยกันตายหมดเอย")

ขี้ไพนกคุ่ม เป็นสมุรไพรไทยชนิดหนึ่ง ชื่อนี้เรียกทางจังหวัดปราจีนบุรี มีอีกชื่อเรียกว่า "สังกรณี"
พรายสะเลียง เป็นสมุรไพรเช่นกัน มีชื่อเรียกทางภาคกลางว่า "ตรีชะวา"

สมุนไพรสองอย่างนี้มีปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์แล้วสลบไป
พิเภกก็ทูลวิธีแก้ไขว่า
"ขอให้ลูกพระพายเทวัญ
ไปห้ามพระสุริยันในชั้นฟ้า
อย่าเพ่อรีบรถบทจร
ข้ามยุคนธรภูผา
แล้วให้ไปเก็บตรีชวา
ทั้งยาชื่อสังกรณี
ยังเขาสรรพยาบรรพต
ปรากฏอยู่ยอดคีรีศรี
กับปัญจมหานที
สรรพยาทั้งนี้มาให้ทัน"
หนุมานก็ไปเก็บตัวยาทั้งสอง (ด้วยความยากเข็ญเพราะเรียกเท่าไรก็ไม่มาหา จนต้องนิรมิตกายใหญ่โตใช้หางรวดยอดเขาถึงได้ตัวยา)
และสิ่งอื่นๆ ได้แล้ว พอผสมกันพอกให้พระลักษณ์ พระองค์ก็ฟื้นสติได้

ไม่ขยายความอะไรเพิ่มเติมเลยนะ  
แถมสะกดคำว่า สมุนไพร  ผิดอีกต่างหาก  
เอาไป ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:29
Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb สมอภิเภก ชื่ออื่นชิบะดู่ ลัน สมอแหน สะคู้ แหน แหนขาว แหนต้น Ink nut
สรรพคุณ ราก แก้โลหิตอันทำให้ร้อน  เปลือกต้น แก้ปัสสาวะพิการ  แก่นต้น แก้ริดสีดวงลวก ใบ แก้บาดแผล  ดอก แก้โรคตา  ผลอ่อน  แก้ลมแก้ไข้ เป็นยาถ่าย  ผล  แก้ลมแก้ไข้ ทำให้ชุ่มคอ แก้ลมอัมพาต แก้ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง

แต่ทำไมเรียกภิเภก มาผสมกับสมอ อาจจะเกี่ยวด้วยกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสมอไทย ซึ่งสมอภิเภกมาจากอินเดีย เลยจัดเรียกว่า "สมอภิเภก" ให้พ้องกับ สมอไทย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 10:29
คุณดีดี  ตอบดี  เอาไป ๑๕ คะแนน

คุณไซมีส  ตอบมา ๓ ข้อ ซ้ำกับคุณดีดี ๒ ข้อ
ผมต้องทำตามกติกา คือ ให้คะแนนครึ่งเดียวในข้อที่ซ้ำกัน
รวมกันได้ ๑๐ คะแนน (2.5 + 2.5 + 5)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 10:31
Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb สมอภิเภก ชื่ออื่นชิบะดู่ ลัน สมอแหน สะคู้ แหน แหนขาว แหนต้น Ink nut
สรรพคุณ ราก แก้โลหิตอันทำให้ร้อน  เปลือกต้น แก้ปัสสาวะพิการ  แก่นต้น แก้ริดสีดวงลวก ใบ แก้บาดแผล  ดอก แก้โรคตา  ผลอ่อน  แก้ลมแก้ไข้ เป็นยาถ่าย  ผล  แก้ลมแก้ไข้ ทำให้ชุ่มคอ แก้ลมอัมพาต แก้ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง

แต่ทำไมเรียกภิเภก มาผสมกับสมอ อาจจะเกี่ยวด้วยกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสมอไทย ซึ่งสมอภิเภกมาจากอินเดีย เลยจัดเรียกว่า "สมอภิเภก" ให้พ้องกับ สมอไทย

ที่ตอบมานี่ เกินคำสั่งนะ  จะให้หักคะแนนเพิ่มไหม
หรือจะขอแลกข้อกับข้อที่ไปแล้วซ้ำ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:38
ตอบใหม่ก็ได้ครับ สำหรับสมอภิเภก ตอบแทนข้อที่ซ้ำกับคุณดีดี ไปชั่วเสี้ยววินาทีเอง ชนกันกลางอากาศ ก็ขอเปลี่ยนเป็นสมอภิเภกแทนขอรับกระผม

และถ้ายังซ้ำกันอีก ก็ขอตอบ บุรหรี่พระรามเพิ่ม ครับ


Neoalsomitra sarcophylla Hutch. บุหรี่พระราม
ชื่ออื่น บุหรี่พระราม, บุหรี่พระราม Buri phra ram, บุหรี่พวง buri phuang (Central); บุหรี่ผี Buri phi (Chiang Mai); บุหรี่อีกวอก Buri i wok, ลอบแลบเ€รือ Lop laep khruea (Northern); ปั๋งแป่ Pang pae (Chon Buri); พวงบุหรี่ Phuang buri (Nakhon Ratchasima, Suphan Buri); มวนยาพระอิ
ไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อออกตามง่ามใบ กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากแตรบานๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลมหรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น 3 ช่อง เมล็ดสีดำ แบน มีปีกบางๆ ที่ปลาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 10:43
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 10:48
คุณอาร์ท  ได้แก้ไขคำตอบใหม่  จึงแก้คะแนน เป็น  ๑๐ คะแนน
(ตอบอีกข้อ  จะได้ครบตามโควตาที่ให้ตอบ)

ส่วนคุณไซมีส  ขอแลกข้อที่ตอบซ้ำกับคุณดีดี  ๒ ข้อ
กับข้อที่ตอบใหม่  ๒ ข้อ  แก้คะแนนให้เป็น  ๑๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 10:51
ยังเหลือโควต้าอีกข้อ

ขอตอบมะพร้าวสีดา
มะพร้าวสีดา เป็นปรงชนิดหนึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas cirinalis L.
ชื่อวงศ์:  Cycadaceae
ชื่อสามัญ:  Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อพื้นเมือง:  กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย  มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งม่าง มะพร้าวสีดา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน
    ใบ  ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา
จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll)
    ดอก  แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน
ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้าย
ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด
    เมล็ด  ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe)
ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
การปลูก:  เมล็ดของปรงจะงอกได้ช้ามาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฟักตัวก็ตาม การทำให้เมล็ดปรงงอกได้เร็ว จึงต้องนำเมล็ดปรงมาปอก
เอาเนื้อหุ้มเมล็ด ที่อยู่ชั้นนอกออกให้หมด แล้วจะพบเปลือกแข็งอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า กะลาห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จึงควรนำไปฝนจนกะลาทะลุหรือ
กะเทาะให้แตก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเมล็ด แล้วเมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น ถ้ามีการแกะกะลาออกให้หมดจะเหลือแต่ endosperm
ก่อนนำไปเพาะ ควรนำไปแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราเสียก่อน การเพาะโดยวิธีนี้จะได้ต้นอ่อน ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและต้นอ่อนมีขนาดสม่ำเสมอกัน
การดูแลรักษา:  ต้องการดินปลูกที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำน้อย
การขยายพันธุ์:  การแยกหน่อและการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ ในงานพิธีต่างๆ
    -    ลำต้นของปรงบางชนิด ทำแป้งสาคู
    -    เมล็ดของปรงบางชนิด การสกัดยาจาก แต่การนำมาเป็นอาหารและยา ควรจะระมัดระวัง ให้มากเนื่องจากปรงบางชนิดยังมีสารพิษอยู่ด้วย
แหล่งที่พบ:  ขึ้นอยู่บนภูเขา ตามหน้าผาหรือเกาะอยู่กับโขดหิน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 10:55
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน



แบบนี้ตอบเรื่อง "หนุมานพบจับโบ้เอ" ได้ไหมครับ  ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 11:04
ไม่รู้ว่า  เมื่อไม่กี่นาทีนี้  ใครสักคนส่งข้อความมาบ่นกับผู้เขียนหลังไมค์
แล้วจะตอบอย่างไร  ไม่เห็นจะเกี่ยวกับรามเกียรติ์เลย  พอตอนนี้ตอบเอาๆ

คุณอาร์ท  เอาไป อีก ๕ คะแนน รวมคะแนนเก่าเดิม เป็น ๑๕ คะแนน

คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน



แบบนี้ตอบเรื่อง "หนุมานพบจับโบ้เอ" ได้ไหมครับ  ;)

ตอบมาสิ  ผมจะได้ให้คะแนน -๕๐ คะแนน แก่คุณโดยเฉพาะเลย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 14:24
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน

ขอตอบค่ะ  ;D
1. เสือโคคำฉันท์
ผู้แต่ง : พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ.ศาลาหลวงหรือพระมหาราช
ประวัติ : สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ โดยนำเค้าเรื่องมาจากปัญญาชาดก
ทำนองแต่ง : แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ แต่มีจำนวนฉันท์และกาพย์น้อยชนิดกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์
คุณค่าของเรื่องเสือโคคำฉันท์ :  เป็นวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าสูงเรื่องหนึ่ง  เป็นฉันท์เรื่องแรกที่มีความยาวเป็นพิเศษ  แต่งด้วยฉันท์และกาพย์  เพื่อสอนคติธรรมโดยอาศัยเค้าโครงมาจากปัญญาสชาดก  บทสุดท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพสองบท
เนื้อเรื่อง : กล่าวถึงลูกโคและลูกเสือซึ่งเกิดมีความผูกพันกัน  เริ่มจากในวันหนึ่งซึ่งลูกเสือถูกแม่ทิ้งไว้เกิดหิวนม  ลูกวัวจึงให้กินนมจากแม่ของตน  นับแต่นั้นมาทั้งสองก็เป็นสหายรักใคร่กัน  ลูกเสือขอให้แม่อย่าทำร้ายลูกโคและแม่โค  วันหนึ่งแม่เสือผิดสัญญา  ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย  พระฤๅษีถอดหัวใจของทั้งสองใส่ไว้ในพระขรรค์วิเศษคนละเล่ม  มอบให้ดูแลรักษา
เมื่อทั้งสองเดินทางมาถึง  จันทบูรนคร  สามารถปราบยักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองได้  พหลวิชัยได้อภิเษกสมรสกับ  นางสุรสุดา  พระธิดาของพระเจ้ามคธ  คาวีเดินทางไปจนถึงรมยนคร  เห็นกลองใบใหญ่เมื่อผ่าออกดูพบ  นางจันทร์ผมหอม หรือ  นางจันทร์สุดา  หรือ  นางจันทรวรา  (ซึ่งมีผมหอม)  พระธิดาของท้าวมัททราชและนางแก้วเกสรคาวีประหารนกอินทรีใหญ่ที่มากินชาวเมืองรมยนครได้อภิเษกสมรสกับนางจันทร์ผมหอม  วันหนึ่งนางอาบน้ำแล้วนำเส้นผมใส่ผอบปล่อยลอยน้ำไป  พระเจ้ายศภูมิ  (หรือท้าวสันนุราช)  แห่งเมืองพัทธพิสัยทรงพบผมหอมบังเกิดความลุ่มหลง  ใช้อุบายให้คนนำพระขรรค์ของคาวีไปเผาไฟชิงนางจันทร์มาได้สำเร็จแต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้เพราะตัวนางจะร้อนเป็นไฟ   อันเนื่องมาจากอำนาจความซื่อสัตย์ต่อสามี
พหลวิชัยตามหาคาวีจนพบ  ชุบชีวิตให้คืนชีพ  จากนั้นพหลวิชัยปลอมตัวเป็นฤๅษีหลอกทำพิธีชุบตัวให้พระเจ้ายศภูมิกลับเป็นหนุ่ม  เมื่อสบโอกาสจึงผลักลงหลุมไฟ  คาวีกับนางจันทร์ผมหอมจึงได้ครองเมืองพัทธพิสัยสืบต่อมา

ความคล้ายกับรามเกียรติ์ มีหลายตอน เช่น
          -  ตอนถอดหัวใจ พหลวิชัย และคาวี ถอดหัวใจไว้ในพระขรรค์ รามเกียรติ์ มีไมยราพณ์ และทศกัณฑ์ ที่ถอดหัวใจได้                  
           - ตอนตัวนางจันทร์ผมหอม เหมือนกับนางสีดาในรามเกียรติ์ คือฝ่ายผู้ร้ายไม่สามารถจับต้องได้เพราะจะรู้สึกร้อนเป็นไฟ

2. อิลราชคำฉันท์
ผู้แต่ง : พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) แต่งเมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ที่ หลวงสารประเสริฐ
แต่งในสมัย : รัชกาลที่ 6
ประวัติ : เป็น วรรณคดี คำฉันท์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความไพเราะ และนิยมใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งคำฉันท์มาช้านาน แม้จะมีความยาวเพียง 329 บท ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเพียง 36 หน้ากระดาษเท่านั้น นับเป็นคำฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาวรรณคดีเอ่ยถึงเสมอ
ทำนองแต่ง : แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ประกอบด้วยฉันท์ชนิดต่างๆ 15 ชนิด เป็นกาพย์ 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ฉันท์ในเรื่องนี้ ได้แก่ กมลฉันท์, โตฏกฉันท์, ภุชงคประยาตฉันท์, มาณวกฉันท์, มาลินีฉันท์, วสันตดิลกฉันท์, สัททุลวิกกีฬิตฉันท์, สัทธราฉันท์, สาลินีฉันท์, อินทรวิเชียรฉันท์, อินทวงศ์ฉันท์, อีทิสังฉันท์, อุปชาติฉันท์, อุปัฏฐิตาฉันท์ และ อุเปนทรวิเชียรฉันท์
เนื้อเรื่อง : ในนครพลหิกา มีกษัตริย์ครองนคร ทรงพระนามว่า ท้าวอิลราช เป็นกษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม วันหนึ่งในวสันตฤดู ทรงออกป่าล่าสัตว์พร้อมบริวาร จนถึงตำบลที่กำเนิดของพระขันทกุมาร ในเวลานั้น พระอิศวรกำลังล้อเล่นกับพระอุมา ชายา ทรงจำแลงกายเป็นสตรี และบันดาลให้ทุกสิ่งในนั้นเป็นสตรีทั้งหมด ครั้นเมื่อท้าวอิลราชและข้าราชบริพารผ่านเข้าไปในป่าดังกล่าว ก็กลายเป็นสตรีไปทั้งหมด
ครั้นเมื่อท้าวอิลราชกลายเป็นสตรี ก็ตกใจ ทูลขออภัยจากพระอิศวร พระอิศวรไม่ทรงยอม แต่พระอุมาเทวีประทานพรให้กึ่งหนึ่ง คือเป็นบุรุษและสตรีสลับกันไปเดือนละเพศ เมื่อเป็นบุรุษ ชื่อ อิราช เมื่อเป็นสตรี ชื่อนางอิลา
เมื่อถึงเดือนที่เป็นสตรี นางอิลาและบริวารสตรีพากันไปเที่ยวเล่นในป่า และเผอิญพบกับพระพุธ ที่กำลังบำเพ็ญตบะในป่า นางอิลาได้อยู่เป็นชายาของพระพุธ จนครบเดือน เมื่อเป็นบุรุษ ก็ลืมความเป็นไปในภาคสตรีเพศ และเป็นเช่นนี้กระทั่งเก้าเดือน นางอิลาก็ให้ประสูติกุมารองค์หนึ่ง พระพุธให้นามว่า ปุรุรพ
เมื่อท้าวอิลราชคืนมาเป็นบุรุษ พระพุธเห็นใจ จึงประชุมมหาฤษีเพื่อหาทางแก้ไขคำสาปให้แก่ท้าวอิลราช ในที่สุดที่ประชุมตกลงทำพิธีอัศวเมธ ทำให้ท้าวอิลราชคืนมาเป็นเพศบุรุษอีกครั้ง

ความคล้ายกับรามเกียรติ์ คือมีพิธีอัศวเมธเหมือนกัน
        - พระรามทำพิธีอัศวเมธปล่อยม้าอุปการ เพื่อเสี่ยงทายจนได้เจอกับลูกคือพระมงกุฏ
        - ส่วนอิลราชคำฉันท์ ทำพิธีอัศวเมธ เพื่อช่วยท้าวอิลราช


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 14:43
 :o คุณดีดี นี่สุดยอดมากเลยครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 14:50
ไม่หรอกค่ะ ท่านอื่นรู้เยอะกว่าหนูแยะ หนูรู้แค่หางอึ่งเองค่ะ  :-[
อาศัยป้วนเปี้ยนอยู่แถวตู้หนังสือเรือนไทยนี่แหละค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 15:13
ขออภัย ที่ผมต้องขออนุญาตกล่าวแก่คุณหนูดีดี ซึ่งอาจจะทำร้ายจิตใจกันบ้างว่า

ที่ทำมานั้น  ผมยังไม่สามารถให้คะแนนแก่คุณได้  (แม้แต่คะแนนเดียว)

อยากให้อ่านและพิจารณาคำถามข้อที่ ๕๗. ใหม่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 15:18
อ้าว... ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 15:20
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน

ตอบใหม่นะคะ  ;D

1. ฉันท์พาลีสอนน้อง
พระนิพนธ์ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (โดยสันนิษฐาน)
ลักษณะคำประพันธ์ : คำฉันท์
ประวัติ : ปรากฏจารึกติดไว้ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เนื้อเรื่อง : ฉันท์พาลีสอนน้องเป็นวรรณกรรมคำสอนข้าราชการถึงแนวทางปฏิบัติในการรับราชการใกล้ชิดพระราชา และปลูกฝังความจงรักภักดี เรื่องพาลีสอนน้องเป็นคำสอนที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยผู้แต่งใช้โครงเรื่องจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพาลีถูกศรพระรามใกล้จะสิ้นชีวิต ได้เรียกสุครีพซึ่งเป็นน้อง และองคตซึ่งเป็นบุตรมาสั่งสอน เนื้อหาคำสอนมาจากวสติวัตร ซึ่งเป็นคำสอนในอรรถกถาชาดกเรื่อง วิธุรบัณฑิตชาดก
ตัวอย่างบางตอนที่ไพเราะ :
๏ พา ลีกระบี่ราชผู้      พงศ์พา นรินทร์ฤา
ลี ลาศคลาดหาวหา      พระน้อง
สอน แสดงแห่งมาตยา      นุวัตรเร่ง เรียนพ่อ
น้อง สดับรับรสพร้อง      พร่ำแล้วลาญชนม์ ฯ

2. โคลงทศรถสอนพระราม
พระนิพนธ์ : สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ลักษณะคำประพันธ์ : โคลงสี่สุภาพ ความยาว 12 บท
ประวัติ : เพื่อแสดงถึงพระจริยวัตรของพระเจ้าแผ่นดินที่ดี
เนื้อเรื่อง : ผู้แต่งใช้โครงเรื่องจากรามเกียรติ์ตอน ท้าวทศรถผู้เป็นบิดาของพระราม เรียกพระรามมารับโอวาท ในการที่จะมอบบ้านเมืองให้พระรามปกครองบริหารจัดการ ท้าวทศรถสอนได้สอนให้พระรามใช้เมตตากรุณา รักและสงสารประชาชน ละอกุศลมูล 3 ประการ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ มุ่งมั่นทำนุบำรุงประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง ดูและราษฏรให้อยู่เย็นเป็นสุข
ตัวอย่างบางตอนที่ไพเราะ :
อาณาประชาราษฏร์ทั้ง      กรุงไกร
จักสุขเกษมเปรมใจ         ชื่นช้อย
ไมตรีที่ประชุมใน           นรนาถ
เป็นบุษบาปรากฏร้อย       กลิ่นกลุ้มขจรขจาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 11, 16:07
คุณดีดี ตอบอย่างนี้ เอาไป ๑๘ คะแนน
ที่หักคะแนนไป เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่พลาด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 ก.พ. 11, 16:51
ขอบคุณค่ะ  ;D
ถ้า คุณ luanglek จะกรุณาช่วยชี้แนะมาหลังไมค์ด้วยก็ดีนะคะว่าพลาดตรงไหน
คราวหน้าจะได้ไม่พลาดอีกค่ะ ขอบคุณอีกทีค่ะ  ;D

ว่าแต่วันนี้ดูเงียบเหงาพิกลนะคะ ไม่คึกคักเหมือนทุกวัน คุณ luanglek ว่าไหม นักรบท่านอื่นๆ หายไปไหนกันหมดคะ
หรือว่าออกไปตามล่าหา "สักวา" กันอยู่... :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.พ. 11, 18:11

สวัสดีค่ะคุณ ดีดี

       วันนี้คนหนึ่งไปตกหมึก
       พรุ่งนี้ สองคนจะไปตก บึก ค่ะ
       
       ดิฉันจะไปรับเอกสาร  และนำหนังสือหายากไปให้ทางราชการดู
       คนแถวนี้จะไปกินขนมเป็นเพื่อน  เพราะเกรงว่าดิฉันจะยกเอกสารให้ทางการไป

       มีเรื่องที่ต้องค้นมากเลยค่ะ

       เป็นห่วงกระทู้อยู่เหมือนกัน    เห็นคุณ ไซมีส กับคุณ ดีดี กระทำยุทธนาการแล้วก็ชื่นชม

       อยากเห็นคุณกะออมลงมาด้วยจังเลย

       


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.พ. 11, 20:55
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)


นิราศ  เกาะแก้วกาลกัตตา   

เก็บความจาก บุหลง  ศรีกนก   นามานุกรมวรรณคดีไทย  ชุดที่ ๑  ๒๕๔๘  หน้า ๕๐ - ๕๒
พิมพ์ครั้งแรก  ๒๔๖๓   โรงพิมพ์โสภณพิพรรฌธนากร


เป็นวรรณคดีจดหมายเหตุ  แต่งเป็นกลอน

มีกลอนเพลงหรือกลอนหัวเดียวแทรก   จบด้วยฉันท์ ๖ บท     ผู้แต่งคือ พระราชสมบัติ(กสรเวก  รัตนกุล)

ข้าหลวงในพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้ออกไปหาซื้อเพชรพลอย ณ เมืองกาลกัตตา  อินเดีย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒

สมเด็จ ฯ กรพระยาดำรงราชานุภาพมีพระวินิจฉัยว่า

        กระบวนกลอนพอทำเนา  แต่กระบวนความแต่งดีนักหนา   เพราะเล่าเรื่องที่ไปรู้เห็น  ไม่เพ้อเจ้อถึงทางสังวาส   ความที่บรรยายนั้นแจ่มแจ้ง

       การเดินทางไปกับบุตรคนโตและบ่าว ๑ คน  ลงเรือกำปั้นพระยาไทรบุรี  เดินทางไปทางทิศตะวันออก ไปปะหังตังโกรัน  ตรังกานู  เกาะนาค  เกาะหมอก  เกาะฝ้าย

ได้พบกับเจ้าเมือง  ชมบ้านเมือง  สถานที่สำคัญ


เมื่อผ่านจากเมืองไทรบุรีเข้าเขตตลุง (เมืองพัทลุง)  มีถ้ำเรียกตามชื่อใน รามเกียรติ์

เขาเรียกถ้ำพาลีที่ตรงนั้น                    มีสำคัญมั่นคงไม่สงไสย
เมื่อรบกับทรพีก็มีไชย                       โลหิตไหลนองถ้ำดังลำธาร

อันสภาพบ้านเมืองของพาลี                 เห็นแต่ที่ดูเขินเปนเนินดิน
แต่ศีศะทรพียังมีอยู่                          ชวนกันดูเหมือนควายกลายเป็นหิน
ลงทอดทิ้งพิงถ้ำตำแผ่นดิน                  ก็เห็นสิ้นสมกล่าวที่เล่ามา

การเดินทางมีความสำเร็จดังรับราชการไป

ได้ดังประสงค์ตาม                           มโนมาดก็สมหมาย
กลับคืนนครเทพ                             บุรีรัตนพรรณราย
นบบาทยุคลถวาย                           จุลจอมธเรศตรี




ราชาพิลาปคำฉันท์

เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาที่มีเนื้อเรื่องมาจากรามเกียรติ์  แต่งเป็นฉันท์และกาพย์รวม ๓๓๔ บท

ไม่สามารถระบุผู้แต่งและปีที่แต่งได้ชัด   สันนิษฐานว่าด่อนที่พระโหราธิบดีเรียบเรียง จินดามณี

มีการยกกาพย์ฉบังที่เป็นบทรำพันของพระรามที่ออกติดตามหานางสีดามาเป็นตัวอย่างโดยเรียกว่าฉันท์

ฉบำ

พระรามกับพระลักษณ์ออกตามหานางสีดา     แต่มิได้จับที่การผจญภัย  แต่แสดงอารมณ์ทุกข์โศก  คร่ำครวญ

พรรณาอย่างไพเราะ  สะเทิอนใจ
ใช้คำฉันท์ รวม ๑๖ ชนิด   มีกลบทแทรกอยู่ด้วยเพื่อความไพเราะ

       เรียมเสียสมบัติเสด็จจร                         เสด็จจากนคร

นัครามาพบชายา

       ชาเยศแล้วฤานิรา                               นิราศสีดา

เสียทั้งสมบัติแมนสวรรค์



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.พ. 11, 21:01


คำถามข้อ ๕๖    ขอผ่าน    ไม่อาจจะแทรกตัวเข้าไปได้

เข้าใจว่า  คงไม่ล้าหลังมากนัก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 21:08
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

1. โคลงพาลีสอนน้อง
ผู้แต่ง - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมัยที่แต่ง - กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะคำประพันธ์ - โคลงสี่สุภาพ 32 บท
ความมุ่งหมาย - เพื่อใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบในการอบรมสั่งสอนข้าราชการ
เนื้อเรื่อง - เริ่มเรื่องว่า พาลีเจ้าเมืองขีดขิน เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตายด้วยศรของพระราม เกิดสำนึกผิดในความประพฤติที่แล้วมาของตน
ได้เรียกสุครีพน้องร่วมมารดาและองคตลูกชายมาสั่งสอนข้อปฏิบัติตนในการที่จะรับราชการอยู่กับพระราม
ตัวอย่าง
พาลีเรียกสุครีพและองคตมาฟังคำสอน
๏ วานรวรราชเรื้อง          พาลี
เรียกอนุชอุดมศรี          แน่งน้อง
องคตยศยงมี               ใจเสน่ห์
มากล่าวพจนาพร้อง         ถี่ถ้วนขบวนความ ฯ
ห้ามทำชู้กับนางใน
๏ นักสนมกรมชะแม่แม้น   สาวสวรรค์
นางในไพบูลย์พรรณ        แน่งน้อย
เฝ้าไทภูทรงธรรม           ธิปราช
อย่าใฝ่ในเสน่ห์คล้อย       เนตรเลี้ยงเลียมแสวง ฯ
ไม่ยักยอกของหลวง
๏ หนึ่งของกองโกศไว้      ในคลัง
อย่าคิดปิดแสวงหวัง         อาจเอื้อม
เอาออกนอกคลังรัง        แรงโทษ
อย่าได้มีใจเงื้อม           เงื่อนร้ายสลายคุณ ฯ

2. จินดามณี
ผู้แต่ง - พระโหราธิบดี
สมัยที่แต่ง - กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะคำประพันธ์ - ร้อยแก้ว แต่สลับด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
ความมุ่งหมาย - เพื่อใช้สอนหนังสือแก่กุลบุตรทั้งปวง
เนื้อเรื่อง - เริ่มเรื่องกล่าวประณามพระรัตนตรัย และพระสรัสวดี แล้วกล่าวถึงอักษรศัพท์ คำนมัสการ คำที่ใช้ ส ศ ษ ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
อักษรสามหมู่ ผันอักษร เครื่องหมายต่างๆ อธิบายวิธีแต่งคำประพันธ์พร้อมยกตัวอย่างจากหนังสือเรื่องอื่น เช่น โคลงแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง
ลิลิตพระลอ และ คำพากย์รามเกียรติ์
ตัวอย่าง
ตอนศึกอินทรชิต
๏ สรวมชีพข้าไหง้ว      สมเด็จเดชฤๅแสดง
ขุนนี้มันเข้มแข็ง         ลูกรักษ์ราพนาสูร
๏ ได้ชื่อมหาบาศ        องอาจระงับริปูร
รี้พลมันหนานูน           เป็นหัวหน้าทสานล
ตอนคำรำพึงของพิเภกตอนทศกัณฐ์ล้ม
๏ ข้าห้ามข้าเตือนพี่      แลมิฟังคำน้องชาย
นบนิ้วบังคมถวาย        กล่าวให้ชอบบ่ยอมยิน
๏ ขึ้งเคียดขับข้าหนี      นิราศร้างพระภูมินทร์
เจียรจากเจ้าแผ่นดิน      รอบรูบกาลใจดล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 23:05
คำถามข้อที่ ๕๕.
สักวา ก่อน ร,ศ, ๑๒๙  (ไม่ได้ให้แต่งสักวานะครับ)
ข้อนี้ตอบหน้าไมค์  คะแนนคิดตามข้อมูลที่ตอบมา ให้ได้สูงสุด  ๒๐  คะแนน
เริ่มโพสต์คำตอบได้  วันขึ้น ๕ ค่ำ  เดือน ๓ ปีเถาะ  (นับตามจันทรคติปฏิทินหลวง)
ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕ บาท

คำฉลย - สักวา ก่อน ร.ศ. 129 คือ สักวา ก่อน พ.ศ. 2453 เป็นสักวาที่เล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 (จำเพาะเรื่องรามเกียรติ์)

(ภาคที่ 1)

สักวาเล่นที่ในสระพระราชวังบางปะอิน
บทสักวาเรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวรราชว่าความ เล่นคืนที่ 2 ณ วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ จุลศักราช 1239 (พ.ศ. 2420)
วงที่เล่น
1. วงอาลักษณ์ ของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
2. วงนายทหารหน้า ของหลวงสิทธิศรสงคราม (แย้ม)
3. วงสัสดี ของหลวงพิชัยเสนา (เปลี่ยน ทัศนะพยัคฆ์)
4. วงหลวง (ผู้หญิง) ของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

หลวงสิทธิศร
๏ สักวาอัญชลียินดีนบ                    โดยเคารพคำนับน้อมจอมสยาม
ข้าพระบาทมุลิกาพยายาม                แสวงความชอบในใต้ธุลี
มิได้คิดกายาว่าเหนื่อยเหน็ด              ตามเสด็จพระภูมินทร์ปิ่นเกศี
ถ้าแม้นโปรดจะได้เปรื่องกระเดื่องดี        จะได้มีชื่อเสียงสำเนียงเอย ฯ
หลวงพิชัยเสนา
๏ สักวาข้าพระพุทธเจ้า                    ต่างก้มเกล้าประณตบทศรี
ใต้ละอองบาทาฝ่าธุลี                      ซึ่งเป็นที่เย็นเกล้าเหล่านิกร
ขอสิ่งซึ่งเป็นใหญ่ที่ในโลก                 จงดับโศกบำรุงสุขสโมสร
แต่พระมิ่งนฤเบศร์เกศนคร                 ดังนารายณ์ฤทธิรอนปางก่อนเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาอภิวาทบาทบงกช                  จะแจกบทแบ่งบั่นปันให้ว่า
แม่ลูกจันทร์นั้นที่โฉมสีดา                  วงนี้หน้าที่บรมพรหมพงศ์
สิทธิศรรับบททศพักตร์                     เล่นเมื่อซักสอบความตามประสงค์
ลำท่าพระจักรกฤษณ์ฤทธิรงค์              บทนี้องค์อสุราว่าก่อนเอย ฯ
หลวงสิทธิศร
๏ สักวาทศพักตร์ท้าวยักษา                จึงเข้ามากราบก้มบังคมไหว้
ข้านี้เห็นนางหลงในพงไพร                 เก็บมาได้โดยชัดเจนเป็นสัจจา
พระราเมศตามข่มเหงคะเนงร้าย            มาทำลายฆ่ายักษ์เสียหนักหนา
ชอบแต่เจ้ามาง้อขอสีดา                    ตามกิจจาจะได้ให้นางไปเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาองค์บรมพงศ์พรหเมศ              สดับเหตุทศพักตร์ขุนยักษา
จึงเอื้อนอรรถตรัสถามพระรามา             ที่เขาว่าจริงกระนั้นฤๅฉันใด
เขาว่าเก็บนางได้ที่ในป่า                    เจ้าจงว่าสินะเป็นไฉน
อย่ายักเยื้องแยบยนต์เป็นกลไก            จงว่าไปตามจริงอย่างนิ่งเอย ฯ
คุณพุ่ม
๏ สักวาพระอวตารให้การว่า               ฤๅษีพาเดินบกไปยกศิลป์
หลานยกได้ให้สีดายุพาพิน                ครั้นเสร็จสรรพกลับบุรินทรอยุทธยา
ต้องรับสัตย์ทรงฤทธิ์บิตุเรศ                พาดวงเนตรมาผนวชบวชในป่า
ทศพักตร์ยักษ์พาลเจ้ามารยา              ลักสีดาแจ่มจันทร์เมียฉันเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาภูวนัยครรไลหงส์                     สดับองค์อวตารให้การแก้
ความไม่ถูกต้องกันยังผันแปร              การจะแน่ข้างผู้ใดก็ไม่ชัด
จึงตรัสถามสีดาว่าไฉน                     จงว่าไปให้งามโดยความสัตย์
เจ้าคนกลางจงเป็นเช่นบรรทัด              อย่าเลี้ยวลัดกล่าววาจามุสาเอย ฯ
หลวงพิชัยเสนา
๏ สักวาลักษมีสีดานาฏ                    บังคมบาททูลความตามประสงค์
ข้ากับลักษณ์รามานราพงศ์                 มาดำรงสร้างพรตดาบศนี
ได้ยลกวางกลางป่าพนาเวศ                เป็นบังเหตุที่จะพรากจากถิ่นที่
พระราเมศประเวศมฤคี                      อยู่ข้างนี้ทศพักตร์ลักมาเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาภูมีมาลีวรราช                      สถิตอาศน์รถอิงพิงเขนย
ฟังคนกลางอ้างคารมสมจำเลย             จึงเอื้อนเอ่ยมธุรศแก่ทศกัณฐ์
อย่าละห้อยละเหี่ยด้วยเมียเขา             จงฟังเราอย่าโกโรมุ่นโมหันธ์
เร่งรีบส่งองค์สีดาวิลาวรรณ                 ให้ผัวขวัญของเขาเถิดเจ้าเอย ฯ
หลวงสิทธิศร
๏ สักวาฟังโองการบรรหารหัก              พระยายักษ์ทูลละอองสนองไข
เป็นความสัตย์โดยแท้แน่ในใจ              ข้าเก็บได้กลางดงที่พงพี
นางเห็นองค์พระรามงามสะอาด             ข้าเชื้อชาติทศพักตร์เป็นยักษี
ด้วยรูปร่างหม่อมฉันนั้นไม่ดี                ซึ่งนางนี้เห็นพระรามรูปงามเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาพรหมพงศ์ทรงสดับ                เห็นอุบอับขัดบังคับที่รับสั่ง
ประพฤติการทุจริตให้คิดชัง                ยากจะหยั่งความในให้เห็นจริง
จึงผินพักตร์ตรัสถามพระราเมศ             จงแจ้งเหตุตามสัจจังอย่านั่งนิ่ง
เมียคนหนึ่งอย่าอาลัยใจประวิง             คิดทองทิ้งให้กับเขาเถิดเจ้าเอย ฯ
คุณพุ่ม
๏ สักวาพระรามงามงอนขำ                ได้ฟังคำอัยกาบัญชาถาม
ทศพักตร์เจ้าสำนวนกระบวนความ          ว่ารูปฉันงามคัดค้านให้การยาว
จึงถวายอภิวาทบาทบรม                    เมียกระผมคู่คุมแต่หนุ่มสาว
อย่าเชื่อโจทก์โปรดรับสั่งสักครั้งคราว      ถามหลานสาวสีดาก่อนหนาเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาสอนให้ก็ไม่เชื่อ                    นึกน่าเบื่อยังตะบอยสำออยอ้อน
แล้วกล่าวถ้อยลอยหน้าสาระวอน           ทำแสนงอนอย่างผู้หญิงจริงจริงเชียว
นั่งเลือกผ้าท้าวแขนใส่แหวนก้อย           จนเหงื่อย้อยโทรมหน้าลูกตาเขียว
จงทำยอมให้เมียเสียทีเดียว                ทำลดเลี้ยวจะต้องตีเดี๋ยวนี้เอย ฯ
คุณพุ่ม
๏ สักวาพระรามงามเล็กเล็ก                พบยักษ์เจ๊กเจ้าสำนวนกวนโมโห
อัยกาอัยเกก็เฉโก                          มาพาโลพาเลอะเซอะสุดใจ
ว่าเลือกผ้าตาเขียวเหลียวมาขู่              ฤๅพระครูคิดกระดากไม่อยากได้
เห็นหมอบยิ้มกริ่มกรุ่มอิ่มอุ่นใจ             คงได้ไปฝากฝังที่หวังเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาเห็นไหมเล่าดูเอาสิ                 เตือนสติให้ยังมาว่ากันได้
ฤๅตรองตรึกนึกละเหี่ยเศร้าเสียใจ          เบี้ยหวัดไม่ขึ้นกับเขานั่งเหงางม
ได้ชั่งเดียวเปรี้ยวจี๋ปีนี้ขัด                   เชิญไปวัดริมบ้านหาท่านถม
แทงธรรมบทดูสักครั้งฟังคารม             อย่านิยมลูกเมียให้เสียเอย ฯ
คุณพุ่ม
๏ สักวาเตือนสติให้บิเบอะ                  ตรัสออกเปรอะแประเปราะเยาะขยับ
ตรงเบี้ยหวัดตัดหมดเพราะยศยับ           คงได้รับห้าชั่งสักครั้งคราว
ผัดเดือนยี่ปีขาลการที่ว่า                   ไปวัดวาจะทำไมมิใช่ลาว
ฟังเทศน์ธรรมกันชีวิตให้จิตยาว             หาไม่คราวนี้หมายจะตายเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาคิดคาดอาชาติหน้า                 คงได้ห้าชั่งบ้างเหมือนอย่างหมาย
ในชาตินี้แล้วคุณป้าอย่าตะกาย             บนแม่ยายแม่ย่าไม่กล้ารับ
คิดกำเริบเอิบโอบโลภเปล่าเปล่า           จนแก่เถ้ากร่อนเกรียนเจียนจะดับ
มีเงินทองกองให้แร้งมันแย่งยับ            กล่องเงินรับเผาผีดีแล้วเอย ฯ
คุณพุ่ม
๏ สักวาคิดคาดในชาตินี้                    ให้ฟ้าผี่เถิดเพคะกรมขุน
ฉันไม่อวดสวดมนต์ขอผลบุญ               อยากเป็นคุณท้าวอนงค์ทรงกันดาล
ตรงแม่ย่าสีกุกอย่าทุกข์ร้อน                ฉันอ้อนวอนแล้วแกคงจะสงสาร
ถ้าท่านอยากจะเป็นโสดเปรื่องโปรดปราน   จงคิดอ่านบนแม่ย่าล่วงหน้าเอย ฯ

.....
มีต่อภาค 2 โปรดรอติดตามชม ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.พ. 11, 00:33
(ภาคที่ 2)
สักวาเล่นในงานฉลองวัดบรมวงศ์อิศรวราราม ทุ่งทะเลหญ้า กรุงเก่า
บทสักวาเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามง้อนางสีดา เล่นคืนแรก ณ วันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ จุลศักราช 1239 (พ.ศ. 2420)
วงสักวาที่เล่น
1. วงอาลักษณ์ ของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
2. วงนายทหารหน้า ของหลวงสิทธิศรสงคราม (แย้ม)
3. วงสัสดี ของหลวงพิชัยเสนา (เปลี่ยน ทัศนะพยัคฆ์)
4. วงท่าพระ ของพระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์

หลวงสิทธิศร
๏ สักวาข้าพระองค์จำนงจิต               ตั้งหน้าคิดมาฉลองร้องถวาย
ก้มเศียรคำนับพร้อมโน้มน้อมกาย         ล้วนแต่ชายข้าบาทราชการ
ฉลองพระเดชพระคุณการุญรัก            สามิภักดิ์พระภูมินทร์ปิ่นสถาน
เพิ่มพระยศจอมเกล้าสุธาธาร             ไม่เกียจคร้านราชกิจสักนิดเอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาน้อมประณตบทเรศ               ฉลองพระเดชพระคุณบุญราศี
ด้วยพระองค์ทรงพระบารมี                อุทิศที่วิสุงคามอารามเรือง
ขอเดชะบุญญาอานิสงส์                  ให้ดำรงโลกฦๅระบือเลื่อง
ให้ดับทุกข์ยุคเข็ญเย็นใจเมือง            ทั้งฟุ้งเฟื่องฟูพระยศปรากฏเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาเคารพน้อมนบบาท                ภูวนารถนฤเบศร์เกศสนาม
ทรงพระราชศรัทธาพยายาม               ประกอบความสืบบุญอดุลย์ดล
อนึ่งขอน้อมนบอภิวาท                    แทบบัวบาทบรมวงศ์ผู้ทรงผล
ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิรณ               ชูพระชนม์ยืนอย่าถอยจากร้อยเอย ฯ
หลวงพิชัยเสนา
๏ สักวาขึ้นสิบสี่ปีฉลู                      วันเดือนอ้ายหมายผู้คนพร้อมหน้า
แรมค่ำศุกร์ผูกพัทธสีมา                   ทรงศรัทธาสมโภชโปรดสามวัน
งิ้วหนังละครครบเพลงปรบไก่             ดอกไม้ไฟพระสวดประกวดประขัน
ปักฉัตรเบญจรงค์ลายรอบหลายพรรณ    พระสวดฉันไปจนฤกษ์งานเลิกเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาจะกำหนดบทให้เล่น               นายฤกษ์เป็นพระรามงามสง่า
วงแม่จันทร์นั้นที่โฉมสีดา                  ลำนี้ว่านักพรตกำหนดนาม
หมื่นนิพนธ์คนดีที่บุตรลบ                  เล่นเมื่อพบบิดรวิ่งวอนถาม
แต่จะขอย่อกำหนดบทพระราม            พยายามวอนฤๅษีเดี๋ยวนี้เอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาพระรามงามสง่า                   เข้าวันทาพระนักพรตสลดจิต
จึงวอนว่าข้าแต่พระทรงฤทธิ์               ฉันคิดผิดขับหนีแม่สีดา
ด้วยได้เคยเชยโฉมประโลมเล้า           ครั้นจากเจ้ารัญจวนคร่ำครวญหา
ขอพึ่งพักนักบุญกรุณา                    ช่วยวอนว่าให้หล่อนคืนมาชื่นเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาพระมุนีฤๅษีแก่                    นั่งยิ้มแต่ป้องพักตร์แล้วซักถาม
เหตุอะไรไฉนเธอเออพระราม             จะนำความอาบัติมาซัดเรา
เป็นชีบานาสงฆ์ทรงสิกขา                 จะพูดจาไม่ถนัดขัดหนาเจ้า
แม้อ้อนวอนให้หนูลบช่วยรบเร้า           ก็เห็นเขาคงจะดีฟ้าผี่เอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาจักรพงศ์ทรงสดับ                 น้อมคำนับพระสิทธาน้ำตาไหล
หมายพึ่งพักสักคราตัดอาลัย              เสียแรงใช้กระหม่อมฉานเนิ่นนานมา
จึงเหลียวหน้าไปหาพ่อบุตรลบ            ไปนอบนบมารดรนะหล่อนจ๋า
ให้แม่คืนชื่นชิดกับบิดา                    พระลูกยาได้เป็นสุขอย่าทุกข์เอย ฯ
หลวงสิทธิศร
๏ สักวาฟังบิดาน่าสงสาร                  เห็นอาการชนนีไม่ดีด้วย
จึงเข้าดอกบาทาระร่ารวย                 แม่จงช่วยเห็นกับฉันนั้นสักที
ฉันสงสารพระบิดาน้ำตาเล็ด               ท่านเฝ้าเช็ดน้ำเนตรท่วมจนบวมปี๋
เป็นลูกกำพร้าพ่อก็ไม่มี                   ให้ฟ้าผี่เถิดนะแม่อย่าแขเอย ฯ
หลวงพิชัยเสนา
๏ สักวาอัคเรศเกศนารี                    องค์พระลักษมีศรีสมร
ว่าแม่จากทรงฤทธิพระบิดร                ค่อยวายร้อนเพราะมุนีพระชีไพร
ถนอมลูกเลี้ยงไว้จนใหญ่เติบ              เที่ยวกำเริบเล่นป่าอาจับได้
เขาทำโทษโทษาแทบคาไลย             ขืนร่ำไรเรื่องนี้จะดีเอย ฯ
หลวงสิทธิศร
๏ สักวาบุตรลบเฝ้ารบเร้า                  พระแม่เจ้าไม่เห็นจริงทุกสิ่งสิ้น
คิดสงสารพระองค์พงศ์นรินทร์             พระภูมินทร์จงไปหาขรัวตาชี
ให้อ้อนวอนแล้วคงเปาะเห็นเหมาะเหม็ง    ตะแกเก่งข้างคาถาตาฤๅษี
เรียนเสน่ห์ท่านขรัวตาเห็นท่าดี             เร็วเร็วชีแม่ท่านโกรธโทษฉันเอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาพระทรงสังข์ได้ฟังบุตร            บอกว่านุชหน่ายจิตคิดสงสัย
เจ้างามสรรพลับหลังจะอย่างไร           จึงรีบไปถึงพระคุณพระมุนี
ฝ่ายลูกอ้อนเข้าไปวอนมารดรแล้ว        พระน้องแก้วก็ยังแกล้งทำแหนงหนี
ควรดับเข็ญเป็นธุระของพระชี             เขาว่ามีเสน่ห์ช่วยฉันด้วยเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาพระมุนีฤๅษีเฒ่า                  ครั้นจะเอาเป็นธุระกลัวจะเสีย
ด้วยเป็นการพันพัวเรื่องผัวเมีย            จะไกล่เกลี่ยก็กลัวตัวบาปกรรม
จึงว่ากับองค์พระหริรักษ์                  รูปนี้จักพูดก็ยากถลากถลำ
จงไปอ้อนวอนสำออยด้วยถ้อยคำ        เรื่องเสน่ห์รูปทำไม่เป็นเอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาสดับถ้อยนึกน้อยจิต              พระนักสิทธิสลัดเสียว่าเมียผัว
ซึ่งสิกขาอย่าครวญไม่ควรกลัว           ไม่หมองมัวพระบาลีก็มีมา
ถ้าเป็นเย็นเป็นชู้สู่สื่อชัก                  บาปกรรมนักอาบัติชัดหนักหนา
ไม่ถึงสังฆาทิเสสเวทยา                  พอปลงอาบัติได้เป็นไรเอย ฯ
อาลักษณ์
๏ สักวาเอ้อเฮอเออนั่นแน่                 พูดเป็นแง่ยอกย้อนมาตอนตัด
พระนัดดาเป็นมหาวัดสุทัศน์               ก็เจนจัดรู้จบครบคำพระ
จะแกล้งให้รูปต้องของหมกมุ่น            เป็นของเชื้อเจือเมถุนกุลทูสะ
รูปอยู่เดียวเปลี่ยวเพื่อนสมณะ             เห็นว่าจะปลงอาบัตินั้นขัดเอย ฯ
ท่าพระ
๏ สักวาแรกรู้เรียนอยู่มั่ง                  ครั้นตกถังก็นับถือพระฤๅษี
หมายเป็นหนึ่งพึ่งพาบารมี                 ตรัสพาทีเลอะเทอะว่าเลอะละ
พระสิทธาก็รักษาเพียงศีลสิบ             ไม่ควรหยิบยกว่าสาธุสะ
เพราะเห็นไม่มีสำรับคำนับพระ            คอยแต่ใช้ไม่ธุระจริงเจียวเอย ฯ
หลวงสิทธิศร
๏ สักวาเชิญพระองค์ผู้ทรงภพ            ลูกปรารภอยากให้พ่อพูดจ่อแจ๋
ทำเป็นเจ้าชู้ป๋อเฝ้ากอแก                 พระเจ้าแม่คงเมตตาท่าได้การ
แล้วพาองค์พระบิดาไปหลังกุฎิ์            จึงวิ่งผลุดทูลมารดาน่าสงสาร
มานี่แน่เจ้าขาข้ารำคาญ                  จงแก้ง่านข้าสักนิดตามจิตรเอย ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ก.พ. 11, 04:07

ความดีของกระทู้นี้

       ยั่วยวนผลักดันให้เยาวชนแห่งเรือนไทยไปหอสมุดแห่งชาติหลายครั้งแล้วในเวลาเดือนสองเดือนที่ผ่านมา

       น่าขอเหรียญหอสมุดสรรเสริญให้

       


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 09 ก.พ. 11, 07:29

สวัสดีค่ะคุณ ดีดี

       วันนี้คนหนึ่งไปตกหมึก
       พรุ่งนี้ สองคนจะไปตก บึก ค่ะ
       
       ดิฉันจะไปรับเอกสาร  และนำหนังสือหายากไปให้ทางราชการดู
       คนแถวนี้จะไปกินขนมเป็นเพื่อน  เพราะเกรงว่าดิฉันจะยกเอกสารให้ทางการไป

       มีเรื่องที่ต้องค้นมากเลยค่ะ

       เป็นห่วงกระทู้อยู่เหมือนกัน    เห็นคุณ ไซมีส กับคุณ ดีดี กระทำยุทธนาการแล้วก็ชื่นชม

       อยากเห็นคุณกะออมลงมาด้วยจังเลย

       

ขอบคุณค่ะ คุณวันดี ที่คิดถึง
อยากจะมาบ่อยกว่านี้เหมือนกันค่ะ
แต่อยู่ไกล ประมาณว่าริมขอบแดน (และไม่ได้เป็นจารบุรุษ แน่นอน)
ไกลจากตู้หนังสือ  จึงไม่มีรามเกียรติ์อยู่ในมือ
ทุกวันนี้อาศัยคว้าข้อมูลกลางอากาศบ้าง ตามเอกสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีใกล้ตัวบ้าง
อะไรที่ต้องอ้างอิงมาก ก็จนใจ  :-[


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 08:55
ผมขออนุญาตถามเพื่อขอฉันทามติจากท่านผู้เข้าร่วมตอบกระทู้นี้

ตามที่คุณอาร์ทได้ตอบคำถามข้อที่   ๕๕.
สักวา ก่อน ร,ศ, ๑๒๙  (ไม่ได้ให้แต่งสักวานะครับ)
ข้อนี้ตอบหน้าไมค์  คะแนนคิดตามข้อมูลที่ตอบมา ให้ได้สูงสุด  ๒๐  คะแนน
เริ่มโพสต์คำตอบได้  วันขึ้น ๕ ค่ำ  เดือน ๓ ปีเถาะ  (นับตามจันทรคติปฏิทินหลวง)
ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕ บาท
โดยได้ค้นหาข้อมูลมาตอบลงยาวเหยียดละเอียดดีไม่มีที่จะติได้นั้น

ผมเห็นว่า  อยากจะให้คะแนนแก่คุณอาร์ทถึง  ๔๐ คะแนน
จากเดิมที่ผมกำหนดไว้  ๒๐ คะแนนเป็นสูงสุด   เพื่อให้สมกับค่าแห่งความพยายาม
ไม่ทราบว่า  จะมีนักรบท่านใดคัดค้านหรือไม่

ผมขอความเห็นจากทุกท่าน โปรดแสดงความเห็นมาด้วย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 08:57
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)


นิราศ  เกาะแก้วกาลกัตตา  

เก็บความจาก บุหลง  ศรีกนก   นามานุกรมวรรณคดีไทย  ชุดที่ ๑  ๒๕๔๘  หน้า ๕๐ - ๕๒
พิมพ์ครั้งแรก  ๒๔๖๓   โรงพิมพ์โสภณพิพรรฌธนากร


เป็นวรรณคดีจดหมายเหตุ  แต่งเป็นกลอน

มีกลอนเพลงหรือกลอนหัวเดียวแทรก   จบด้วยฉันท์ ๖ บท     ผู้แต่งคือ พระราชสมบัติ(กสรเวก  รัตนกุล)

ข้าหลวงในพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้ออกไปหาซื้อเพชรพลอย ณ เมืองกาลกัตตา  อินเดีย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒

สมเด็จ ฯ กรพระยาดำรงราชานุภาพมีพระวินิจฉัยว่า

        กระบวนกลอนพอทำเนา  แต่กระบวนความแต่งดีนักหนา   เพราะเล่าเรื่องที่ไปรู้เห็น  ไม่เพ้อเจ้อถึงทางสังวาส   ความที่บรรยายนั้นแจ่มแจ้ง

       การเดินทางไปกับบุตรคนโตและบ่าว ๑ คน  ลงเรือกำปั้นพระยาไทรบุรี  เดินทางไปทางทิศตะวันออก ไปปะหังตังโกรัน  ตรังกานู  เกาะนาค  เกาะหมอก  เกาะฝ้าย

ได้พบกับเจ้าเมือง  ชมบ้านเมือง  สถานที่สำคัญ


เมื่อผ่านจากเมืองไทรบุรีเข้าเขตตลุง (เมืองพัทลุง)  มีถ้ำเรียกตามชื่อใน รามเกียรติ์

เขาเรียกถ้ำพาลีที่ตรงนั้น                    มีสำคัญมั่นคงไม่สงไสย
เมื่อรบกับทรพีก็มีไชย                       โลหิตไหลนองถ้ำดังลำธาร

อันสภาพบ้านเมืองของพาลี                 เห็นแต่ที่ดูเขินเปนเนินดิน
แต่ศีศะทรพียังมีอยู่                          ชวนกันดูเหมือนควายกลายเป็นหิน
ลงทอดทิ้งพิงถ้ำตำแผ่นดิน                  ก็เห็นสิ้นสมกล่าวที่เล่ามา

การเดินทางมีความสำเร็จดังรับราชการไป

ได้ดังประสงค์ตาม                           มโนมาดก็สมหมาย
กลับคืนนครเทพ                             บุรีรัตนพรรณราย
นบบาทยุคลถวาย                           จุลจอมธเรศตรี




ราชาพิลาปคำฉันท์

เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาที่มีเนื้อเรื่องมาจากรามเกียรติ์  แต่งเป็นฉันท์และกาพย์รวม ๓๓๔ บท

ไม่สามารถระบุผู้แต่งและปีที่แต่งได้ชัด   สันนิษฐานว่าด่อนที่พระโหราธิบดีเรียบเรียง จินดามณี

มีการยกกาพย์ฉบังที่เป็นบทรำพันของพระรามที่ออกติดตามหานางสีดามาเป็นตัวอย่างโดยเรียกว่าฉันท์

ฉบำ

พระรามกับพระลักษณ์ออกตามหานางสีดา     แต่มิได้จับที่การผจญภัย  แต่แสดงอารมณ์ทุกข์โศก  คร่ำครวญ

พรรณาอย่างไพเราะ  สะเทิอนใจ
ใช้คำฉันท์ รวม ๑๖ ชนิด   มีกลบทแทรกอยู่ด้วยเพื่อความไพเราะ

       เรียมเสียสมบัติเสด็จจร                         เสด็จจากนคร

นัครามาพบชายา

       ชาเยศแล้วฤานิรา                               นิราศสีดา

เสียทั้งสมบัติแมนสวรรค์


คุณวันดีตอบมา   เรื่องแรกไม่ต้องตามโจทย์ ไม่มีคะแนนให้
เพราะเป็นแต่ผู้แต่งนิราศอ้างถึงตัวละครในรามเกียรติ์เท่านั้น
หาใช่การนำตอนใดตอนหนึ่งมาแต่งใหม่ไม่
เรื่องที่ ๒ ถูกต้องตามโจทย์  ให้  ๑๐  คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 09:00
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์
มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

1. โคลงพาลีสอนน้อง
ผู้แต่ง - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมัยที่แต่ง - กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะคำประพันธ์ - โคลงสี่สุภาพ 32 บท
ความมุ่งหมาย - เพื่อใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบในการอบรมสั่งสอนข้าราชการ
เนื้อเรื่อง - เริ่มเรื่องว่า พาลีเจ้าเมืองขีดขิน เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตายด้วยศรของพระราม เกิดสำนึกผิดในความประพฤติที่แล้วมาของตน
ได้เรียกสุครีพน้องร่วมมารดาและองคตลูกชายมาสั่งสอนข้อปฏิบัติตนในการที่จะรับราชการอยู่กับพระราม
ตัวอย่าง
พาลีเรียกสุครีพและองคตมาฟังคำสอน
๏ วานรวรราชเรื้อง          พาลี
เรียกอนุชอุดมศรี          แน่งน้อง
องคตยศยงมี               ใจเสน่ห์
มากล่าวพจนาพร้อง         ถี่ถ้วนขบวนความ ฯ
ห้ามทำชู้กับนางใน
๏ นักสนมกรมชะแม่แม้น   สาวสวรรค์
นางในไพบูลย์พรรณ        แน่งน้อย
เฝ้าไทภูทรงธรรม           ธิปราช
อย่าใฝ่ในเสน่ห์คล้อย       เนตรเลี้ยงเลียมแสวง ฯ
ไม่ยักยอกของหลวง
๏ หนึ่งของกองโกศไว้      ในคลัง
อย่าคิดปิดแสวงหวัง         อาจเอื้อม
เอาออกนอกคลังรัง        แรงโทษ
อย่าได้มีใจเงื้อม           เงื่อนร้ายสลายคุณ ฯ

2. จินดามณี
ผู้แต่ง - พระโหราธิบดี
สมัยที่แต่ง - กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะคำประพันธ์ - ร้อยแก้ว แต่สลับด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
ความมุ่งหมาย - เพื่อใช้สอนหนังสือแก่กุลบุตรทั้งปวง
เนื้อเรื่อง - เริ่มเรื่องกล่าวประณามพระรัตนตรัย และพระสรัสวดี แล้วกล่าวถึงอักษรศัพท์ คำนมัสการ คำที่ใช้ ส ศ ษ ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
อักษรสามหมู่ ผันอักษร เครื่องหมายต่างๆ อธิบายวิธีแต่งคำประพันธ์พร้อมยกตัวอย่างจากหนังสือเรื่องอื่น เช่น โคลงแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง
ลิลิตพระลอ และ คำพากย์รามเกียรติ์
ตัวอย่าง
ตอนศึกอินทรชิต
๏ สรวมชีพข้าไหง้ว      สมเด็จเดชฤๅแสดง
ขุนนี้มันเข้มแข็ง         ลูกรักษ์ราพนาสูร
๏ ได้ชื่อมหาบาศ        องอาจระงับริปูร
รี้พลมันหนานูน           เป็นหัวหน้าทสานล
ตอนคำรำพึงของพิเภกตอนทศกัณฐ์ล้ม
๏ ข้าห้ามข้าเตือนพี่      แลมิฟังคำน้องชาย
นบนิ้วบังคมถวาย        กล่าวให้ชอบบ่ยอมยิน
๏ ขึ้งเคียดขับข้าหนี      นิราศร้างพระภูมินทร์
เจียรจากเจ้าแผ่นดิน      รอบรูบกาลใจดล

คุณอาร์ท ตอบว่า โคลงพาลีสอนน้อง  ได้ ๑๐ คะแนน
แต่จินดามณีฉบับพระโหราธิบดี เป็นการยกตัวอย่างจากวรรณคดี
ที่มีคนแต่งไว้มาใส่ในหนังสือที่ตนเองแต่งไม่เข้าตามเกณฑ์โจทย์  ไม่มีคะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 09:02
ผมขออนุญาตถามเพื่อขอฉันทามติจากท่านผู้เข้าร่วมตอบกระทู้นี้

ผมเห็นว่า  อยากจะให้คะแนนแก่คุณอาร์ทถึง  ๔๐ คะแนน
จากเดิมที่ผมกำหนดไว้  ๒๐ คะแนนเป็นสูงสุด   เพื่อให้สมกับค่าแห่งความพยายาม
ไม่ทราบว่า  จะมีนักรบท่านใดคัดค้านหรือไม่

ผมขอความเห็นจากทุกท่าน โปรดแสดงความเห็นมาด้วย ;D


ก็ให้ตามเนื้อผ้าเห็นแต่สมควรครับ เล่นบุกไปหอพระสมุดขนาดนี้ก็ต้องยินดีปรีดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 09:10

สวัสดีค่ะคุณ ดีดี

       วันนี้คนหนึ่งไปตกหมึก
       พรุ่งนี้ สองคนจะไปตก บึก ค่ะ
       
       ดิฉันจะไปรับเอกสาร  และนำหนังสือหายากไปให้ทางราชการดู
       คนแถวนี้จะไปกินขนมเป็นเพื่อน  เพราะเกรงว่าดิฉันจะยกเอกสารให้ทางการไป

       มีเรื่องที่ต้องค้นมากเลยค่ะ

       เป็นห่วงกระทู้อยู่เหมือนกัน    เห็นคุณ ไซมีส กับคุณ ดีดี กระทำยุทธนาการแล้วก็ชื่นชม

       อยากเห็นคุณกะออมลงมาด้วยจังเลย

       

ความดีของกระทู้นี้

       ยั่วยวนผลักดันให้เยาวชนแห่งเรือนไทยไปหอสมุดแห่งชาติหลายครั้งแล้วในเวลาเดือนสองเดือนที่ผ่านมา

       น่าขอเหรียญหอสมุดสรรเสริญให้

       

ความดีนี้  ไม่อาจจะอยู่ได้ลำพังผมเจ้าของกระทู้คนเดียว
ผู้ที่ได้ตอบคำถามทุกท่านและผู้เข้ามาอ่าน ล้วนมีส่วนในกระทู้นี้ทั้งสิ้น

ก็ไม่คาดคิดว่าจะมีผู้เล่นที่ลงทุนลงแรงหาข้อมูลมาตอบกันอย่างแข็งขันขยันยิ่ง
ทำให้คนตั้งคำถามเองก็กลุ้มเหมือนกัน 

ตอนที่คิดตั้งกระทู้  ได้ถามสหายท่านหนึ่ง
ท่านสหายสนับสนุนเต็มที่  ทั้งที่บอกว่ายากนะ
ท่านก็ยุว่าเอาเถอะ  แฟนพันธุ์แท้ที่ตามกระทู้นี้ต้องมีแน่ๆ
เล่นมาครึ่งทางแล้ว ก็คิดว่าที่สหายพูดก็คงจริง
ดูจากนักรบบางท่านไปค้นถึงหอสมุดทีเดียว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 09:18
คำถามข้อที่ ๕๘.

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องรามเกียรติ์
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้ ให้สูงที่สุด  ๒๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์   เริ่มตอบเวลา  ๑๔.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 14:00
คำถามข้อที่ ๕๘.

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องรามเกียรติ์
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้ ให้สูงที่สุด  ๒๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์   เริ่มตอบเวลา  ๑๔.๐๐ น.

++++++++++++++++++++++++++++++

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นวิธีการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณและให้ความจงรักภักดีกับผู้ปกครองประเทศ จะไม่ทรยศและหักหลัง ซึ่งจะขั้นตอนจะมีการแช่งและการนำอาวุธมาทิ่มแทงน้ำ เพื่อเป็นตัวผ่านเพื่อให้ผู้ทำสัตย์ฯ ดื่มกิน หากผิดคำสัตย์ที่ตั้งไว้ คือ มีการคิดทรยศ ก็จะต้องโดนคำสาปแช่งและถูกอาวุธทิ่มแทงอย่างอนาจ

ในเรื่องรามเกียรติ์การเข้ามาเป็นทหารรับใช้องค์พระรามนั้นดูแล้วมีด้วยกันหลายวิธี คือ สมัครใจมา หรือ ติดตามมาด้วยเครือญาติบริวาร ซึ่งก็เชื่อถือในการถวายตัวรับใช้ ยกเว้นอยู่ตอนหนึ่งคือ การเข้ามาของ “ภิเภก”

ซึ่งรู้อยู่ว่า ภิเภก เป็นยักษ์แถมยังเป็นน้องของทศกัณฐ์มาเข้าด้วยพระราม ทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นในการรับเข้ามารับใช้ในฝ่ายพระราม เมื่อภิเภกถูกขับไล่ออกมาจากกรุงลงกา การพิจารณาต้องทำกันอย่างรอบคอบ จนเมื่อภิเภกได้พบกับนิลเอกจึงขอสมัครเข้าเป็นทหารของพระราม นิลเอกจึงนำภิเภกเข้าไปยังที่ประชุมทหาร แจ้งความแก่สุครีพ แล้วจึงถามข้อสงสัยต่างๆแล้วจึงเข้าเฝ้าพระรามเพื่อถวายตัว
เมื่อพระรามเห็นพ้องแล้วจึงถามกลับไปยังเหล่าหหารว่าสมควรรับหรือไม่ เหล่าทหารก็บอกว่าสมควรรับไว้ เนื่องจากการไต่ถามจากภิเภกแล้วแจ้งว่าได้ความจริงมาตลอด แต่มีข้อโต้แย้งว่าภิเภกนั้นเป็นฝ่ายศัตรู จึงควรให้ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเสียก่อน ซึ่งเป็นการป้องกันไว้สำหรับการที่จะรับทหารภายนอกเข้ามารับใช้พระราม

“ถึงกระนั้นก็เป็นปัจจามิตร   จะวางจิตว่าดีก็มิได้
ชอบให้ทำสัตย์สาบานไว้   ต่อใต้เบื้องบาทจักรี
แล้วจึ่งเอาใช้ในสงคราม    จะเกรงขามอะไรแก่ยักษี
แม้นไม่จงรักภักดี               จึ่งมล้างชีวีให้มรณา
ถ้าว่าสุจริตซื่อตรง               การรณรงค์ก็จะทำไปภายหน้า
เกลือกจะขัดสนสิ่งใดมา        จะได้ถามกิจจาอสุรี”

จะเห็นว่าอันน้ำใจของภิเภกเองก็มีความจงรักและภักดีมาโดยตลอด

ศาสตราจารย์  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ตีความใหม่ให้เห็นว่า พิเภกเป็นยักษ์ที่กล้าหาญและมีศักดิ์ศรี มิใช่ ยักษ์หมอดูขี้ขลาดอย่างที่เคยแสดงกันมา นอกจากนั้นยังมีฉากดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ต่อหน้าพระพักตร์พระรามในขณะที่พระรามสำแดงพระองค์ให้ประจักษ์ว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร เป็นฉากที่ประทับใจประทับตายิ่ง เพราะสะท้อนให้เห็นความจงรักภักดีต่อองค์ พระมหากษัตริย์เพื่อธำรงไว้ซึ่งธรรม

อนึ่งตัวเราเพิ่งทราบว่า    บรรดาเพื่อนพ้องไปหอสมุด
อันคุณหลวงจึ่งเร่งฤทธิรุธ   พกปูนบำเหน็จเกินอัตรา
จึ่งรีบค้นคลังคว้าภาพ        ประกาศก้องจัดให้เร็วหนา
ประทานภาพถือน้ำพิพัธสัตยา   ที่มหาศรีรัตนศาสดาราม
ภาพนี้เล่าได้โดยแจ้ง         สำแดงถ่ายเองจัดหา*
จึ่งอ้อนคุณหลวงให้คะแนนมา    พิเศษหนักหนาอย่าช้าใย
จะขอพิเศษไม่มากหรอก    จักกี่โกฎิกี่ชั่งยกมาหนา
จึ่งได้จัดภาพสวยจำเริญตา  มายังที่กลางประชุม
*หมายเหตุ ภาพนำมาซ้อนกันเนื่องจากเป็นสองห้องต่อกัน ถ่ายมา ๒ ภาพเลยนำมาปะติดไว้ด้วยกัน

ห้องที่ ๔๑
จักกฤษณ์จึ่งตรัสด้วย มนตรี
พิเภามาฝากชี พิตไว้
รับควรมิควรดี ใดบอก เราเอย
ญาณฤกษ์ควรเลี้ยงใช้ แต่เชื้อทศกัณฑ์
สุครีพทูลว่าต้อง ทดลอง
ให้กระทำสัตย์สนอง บาทไว้
ใจตรงจึ่งควรปอง โปรดชุบ เลี้ยงแฮ
ผิวพิรุธจักได้ เฆี่ยนซ้ำบั่นเศียร
(พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค ทรงแต่ง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 ก.พ. 11, 14:06
คำถามข้อที่ ๕๘.

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องรามเกียรติ์
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้ ให้สูงที่สุด  ๒๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์   เริ่มตอบเวลา  ๑๔.๐๐ น.

ขอตอบค่ะ  ;D

ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า: ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกสั้น ๆ ว่า ถือนํ้า

      พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นการนำจิตวิทยาเกี่ยวกับความเชื่อและความกลัวของคนมาใช้ประโยชน์ โดยใช้คำสัตย์สาบาน เทพเจ้า และคำสาปแช่ง มาทำให้เกิดความจงรักภักดี และความซื่อสัตย์
      ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ กระทำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดี  เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไทยได้แบบอย่างมาจากขอมและอินเดีย พิธีกรรมที่ทำคือ ทำพิธีให้น้ำศักดิ์สิทธิ์ (น้ำพิพัฒน์สัตยา) แล้วนำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้มาตั้งในพิธี แทงอาวุธลงในน้ำ ให้บรรดาผู้ที่ทำพิธีดื่มน้ำเพื่อสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ ก็ให้มีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม
      โองการแช่งน้ำเป็นบทสวดที่ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้ถือน้ำสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกษัตริย์ มิฉะนั้นจะมีอันเป็นไปด้วยเหตุร้ายต่าง ๆ
      ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาได้แก่
- ข้าราชการประจำ
- ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ทหารที่ถืออาวุธ

-  การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์  : เพราะรามเกียรติ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำศึกสงคราม การที่ศัตรูฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนใจมาเข้ากับอีกฝ่ายหนึ่ง จึงต้องมีการนำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดความเชื่อใจ วางใจได้ว่า ผู้นั้นจะมีความจงรักภักดี และซื่อสัตย์ ไม่เช่นนั้นก็จะต้องมีอันเป็นไปตามคำสัตย์ปฏิญาณและคำแช่งที่ให้ไว้
-  การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ปรากฏในรามเกียรติ์ ตอน พิเภกสวามิภักดิ์พระราม  
หลังจากที่พิเภกทำนายฝันร้ายให้ทศกัณฑ์ และแนะนำให้คืนนางสีดาแก่พระราม เป็นเหตุให้ทศกัณฑ์โกรธ  หาว่าพิเภกเข้าข้างศัตรู จึงเนรเทศพิเภกออกจากเมือง และลงโทษนางตรีชาดาชายาพิเภก ให้ไปเป็นนางทาสีรับใช้นางสีดา อยู่ในสวน แต่พิเภกรู้ดวงชะตาของตนว่า จะได้พระนารายณ์อวตารเป็นองค์อุปถัมภ์ จึงเหาะไปเฝ้าพระรามที่ภูเขาคันธกาลา แล้วเล่าเรื่องราวให้ฟังพร้อมทั้งขอสวามิภักดิ์ต่อพระราม พระรามจึงให้ทำพิธี ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
  
                  เมื่อนั้น             พระอวตารผ่านภพสบสมัย
ฟังพิเภกทูลสนองต้องพระทัย        สิ้นสงสัยในตัวอสุรี
ว่าพลางทางหยิบพระศรทรง          ส่งให้สุครีพกระบี่ศรี
จงเอาไปชุบวารี                      ทำพิธีถือน้ำสัตยา

      จากนั้นพิเภก ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา  และถวายตัวเป็นข้ารับใช้พระราม

       จึงตั้งความสัตย์อธิษฐาน   ขอเทวัญชั้นวิมานเมืองสวรรค์
อีกปู่เจ้าเขาเขินเนินอรัญ          พร้อมกันช่วยเห็นเป็นพยาน
ถ้าข้าทุจริตคิดกลับกลาย        ให้ศรจักร์นารายณ์สังหาร
ทั้งเทวัญบรรดาเชี่ยวชาญ        จงรอนรานผลาญชีพชีวี
แม้ข้าตรงจงรักพระจักรา          ไม่ชั่วช้าเป็นอุบายหน่ายหนี
ให้ผาสุกทุกทิวาราตรี             แล้วยักษีเคารพอภิวันท์

      หลังจากพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแล้ว ก็เป็นอันว่าไว้เนื้อเชื่อใจกันได้
และพิเภกก็ได้เป็นผู้ช่วยเหลือชี้แนะ และมีความสำคัญยิ่งต่อกองทัพของพระราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 14:21
เออ อุเหม่  ตอบกันตรงเวลานัดเป๊ะเชียว

คุณไซมีส ตอบพร้อมภาพ และตัวอย่างคำประพันธ์  ครบถ้วน
แต่ขอหักคะแนน ตรงคำที่สะกดผิด  ๑ ๑/๒ คะแนน  ได้ ๑๘ ๑/๒ คะแนน

คุณดีดี  ตอบพร้อมยกตัวอย่างคำประพันธ์ มาประกอบด้วย
แต่ขอหักคะแนน  ตรงคำที่สะกดผิด  ๑ ๑/๒ คะแนน  ได้ ๑๘ ๑/๒ คะแนน

อันที่จริงจากคำตอบอย่างนี้แล้ว ยังสามารถตอบได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
ตอบอย่างไหน  ไม่บอก   แต่ใครตอบได้  ผมมีคะแนนพิเศษให้อีก ๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 14:26
คำถามข้อที่ ๕๙.

ดูภาพแล้วเล่าประวัติของวัตถุที่ปรากฏในภาพ

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๓๐  น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 14:57
คำถามข้อที่ ๕๙.

ดูภาพแล้วเล่าประวัติของวัตถุที่ปรากฏในภาพ

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๓๐  น.


ศรแดง...เอ๊ย!!...ศรเพชร....เอ๊ย!! 

น่าจะรูปใหญ่กว่านี้สักนิดนะครับ เนื่องจากจะได้ช่วยกันจ้อง ช่วยกันมอง สายตามิใคร่จะดี อายุก็ขึ้นสะพานพระนั่งเกล้าฯ กันแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 15:06
ก็รูปมันมีให้เซฟเท่านี้นี่   ไปขยายมันก็กลัวจะเกรนแตก  ยิ่งจะไม่ชัดไปกันใหญ่



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.พ. 11, 15:09
เอาน่า ท่านทั้งสองอย่าทะเลาะกัน
รอคำตอบดีกว่า
55555 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.พ. 11, 15:32
ไม่รู้จะถูกหรือเปล่านะครับ :o

คำถามข้อที่ ๕๘.

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องรามเกียรติ์
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน
ข้อนี้ ให้สูงที่สุด  ๒๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์   เริ่มตอบเวลา  ๑๔.๐๐ น.

(อันที่จริงจากคำตอบอย่างนี้แล้ว ยังสามารถตอบได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
ตอบอย่างไหน  ไม่บอก   แต่ใครตอบได้  ผมมีคะแนนพิเศษให้อีก ๕ คะแนน)

ตอบว่า

ในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นย่อมจะต้องอ่านโองการแช่งน้ำไปด้วยพร้อมๆ กันในเวลาที่พราหมณ์สวด
และทำการแทงพระแสงศาสตราวุธลงในขันน้ำเพื่อให้ข้าราชการดื่มกินสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบานได้แก่ข้าราชการประจำ ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทหารที่ถืออาวุธ การถือน้ำของข้าราชการ
ประจำทำปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือนห้า ขึ้น ๓ ค่ำ และในเดือนสิบ แรม ๑๓ ค่ำ พิธีนี้กระทำต่อกันมาจนถึงพ.ศ. ๒๔๗๕
ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจึงได้เลิกไปในที่สุด

ส่วนอันว่าการพระราชพิธีนี้มีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์นั้น
อาจเป็นเพราะในบทโองการแช่งน้ำมีเนื้อหาที่พูดถึงตัวละครในรามเกียรติ์ด้วยหลายตัว คือ

ชื่อทุณพีตัวโตรด   ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
หมายถึง ขอให้ถูกทุณพี (สันนิษฐานว่าหมายถึงควายที่ชื่อทรพี ในเรื่องรามเกียรติ์) ตัวเปลี่ยวขวิด
สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
หมายถึง ขอให้อสูรผู้มีสิบหน้า คือทศกัณฐ์ มาช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู ฯ
หมายถึง ขอเชิญพระรามและพระลักษมณ์ผู้ติดตามนางสีดา ผู้ปราบพญานาคมาช่วยดู (ชวัก แปลว่า ชัก ตาม)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.พ. 11, 16:09
คุณอาร์ทตอบมา   ให้ ๒๕ คะแนน
แต่หักค่าแปลความคำประพันธ์ผิดไปหน่อย ๒ คะแนน และยังตอบไม่ครบด้วย หัก ๑ คะแนน
ได้  ๒๒  คะแนน (เพราะเป็นคะแนนพิเศษ จึงหักมากเป็นพิเศษ)

(อันนี้ถือว่าชดเชยกับที่ได้ข้อ สักวา ไป ตั้ง ๔๐ คะแนน) ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.พ. 11, 20:31
คำถามข้อที่ ๕๙.
ดูภาพแล้วเล่าประวัติของวัตถุที่ปรากฏในภาพ
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน ตอบหน้าไมค์ ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๓๐  น.

คำตอบ - ในภาพนี้คือพระแสงศรกำลังราม

ได้พระแสงศรกำลังราม
   ในวันจุดเทียนชัยพิธีตรุษนั้น กรมหลวงดำรงราชานุภาพได้นำพระแสงสรกำลังรามมาให้ ศรนี้มีพร้อมทั้งลูกศรและคันธนู
ทำด้วยสัมฤทธิ์ ตามประวัติที่กรมหลวงดำรงทรงเล่ามีความว่า เดิมพระอธิการรุ่ง วัดหนองตานวล ท้องที่กิ่งอำเภอตาคลี อำเภอพยุหคีรี
จังหวัดนครวรรค์ได้คุมคนกับช่างไปตัดไม้อยู่ที่ในดงหนองคันไถ ครั้นเมื่อ ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระอธิการรุ่งได้ใช้ให้นายตี่กับเด็กแบนผู้เป็นศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองกล้วยป่ามามวนบุหรี่ นายตี่กับเด็กแบนก็ขึ้นไปที่บน
เขาชอนเดื่อ เมื่อถึงไหล่เขามีศิลาสองก้อนอยู่เคียงกัน นายตี่แลเห็นหัวนาคโผล่จากใบไม้ร่วงที่สะสมอยู่ในซอกศิลา สำคัญว่าเป็น
พระพุทธรูปจึงหยิบยกขึ้นมา เห็นเป็นธนูทั้งคัน เด็กแบนได้ค้นที่ซอกศิลาต่อไปจึ่งได้ลูกศร ของทั้งสองสิ่งนี้ศิษย์ได้นำไปถวายแด่อาจารย์
ในเวลานั้นขุนวิจารณ์พยุพหล ปลัดว่าการกิ่งอำเภอตาคลี กำลังเดินทางตรวจราชการในท้องที่ ได้ข่าวเรื่องศรนี้จึงไปขอดู แล้วรายงานไป
ยังมณฑลนครสวรรค์ พระยาศิริชัยบุรินทร์ (สุข โชติกเสถียร ภายหลังเป็นพระยารณชัยชาญยุทธ) สมุหเทศาภิบาล จึ่งได้พาพระอธิการรุ่ง
กับนายตี่ และเด็กแบน พร้อมด้วยศร เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อนำของสำคัญนั้นถวาย
   คันธนูนั้นทำด้วยเหล็ก สายเป็นเหล็ก แต่หัวและหางนาคกับเครื่องแต่งทำด้วยสัมฤทธิ์ หัวนาคหันเข้าหาตัวผู้ยิง ไม่ใช่หันออก
อย่างธนูธรรมดา และลวดลายตกแต่งงามๆ ก็อยู่ทางด้านโค้งในทั้งนั้น หางนาคนั้นในวันที่เอามาให้แรกชำรุดอยู่หน่อย ๑ กับปลอกธนูหายไป
๑ ปลอก กรมหลวงดำรงเล่าว่าได้ตรัสถามนายตี่แล้ว ได้ความว่าเมื่อแรกพบธนูยังบริบูรณ์ดีอยู่ แต่เมื่อยกขึ้นนั้นสายผุขาด หางหลุดตกกระทบ
ศิลาหักไปหน่อย ๑ กับปลอกได้หลุดด้วยปลอก ๑ และนายตี่ได้เก็บชิ้นนั้นมอบพระอธิการรุ่งไว้แล้ว แต่เมื่อข่าวเรื่องได้ของประหลาดเลื่องลือ
ได้มีคนไปขอดูกันมาก ปลอกกับชิ้นปลายหางจึงได้หายไป ขุนวิจารณ์พยุหพลรับจะขึ้นไปสืบเสาะติดตามมาดูโดยเต็มกำลัง ในวันนั้นออกจะมิ
ได้มีใครหวังว่าจะได้ชิ้นนั้นมา ต่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ กรมหลวงดำรงจึ่งได้ทรงนำชิ้นปลายหางนาคนั้นมาให้ และทรงเล่าว่า
ขุนวิจารณ์พยุหพลไปค้นพบที่ในดงหนองคันไถนั้นเอง ได้จับชิ้นที่ได้มานี้ต่อเข้ากับธนู ก็เข้ารอยกันเรียบร้อยดี จึ่งได้สั่งให้พระยาอนุรักษ์
จัดการต่อให้ได้คงรูปเดิม
   ส่วนลูกศรนั้นแกนเป็นเหล็กหุ้มสัมฤทธิ์ มีขนนกสามใบ ปลายคมเป็นรูปวัชระ ซึ่งออกจะแปลกและยังมิได้เคยเห็นที่ไหนเลย
   ธนูและศรสำรับนี้ฉันได้พิจารณาดูพร้อมด้วยกรมหลวงดำรงและสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ ไม่เห็นมีร่องรอยว่าจะ
มีมือถือ จึ่งสันนิษฐานกันว่าคงไม่ใช่สำหรับเทวรูปถือ คงจะได้ทำขึ้นเป็นเครื่องบูชาหรือทำพิธีอย่างใดอย่าง ๑ เช่นชุบทำน้ำมนต์เป็นต้น
ส่วนฝีมือนั้นดีมาก และเป็นของโบราณแน่นอนไม่ต้องสงสัย ฉันจึ่งได้รดน้ำสังข์และเจิม ให้ชื่อว่า “พระแสงศรกำลังราม” ให้ขึ้นตั้งบนพระ
แท่นมณฑล และสั่งไว้ว่าให้ใช้ศรชุบในเวลาแช่งน้ำในพระราชพิธีศรีสัจจปานการต่อไป

(ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 06:48
ภาพเล็กมาก เลยเห็นเพียงคันธนู และลูกธนู
๑.   พิธียกมหาธนูโมฬี เป็นธนูของพระอิศวร ผู้ใดมีบุญญาธิการก็สามารถยกขึ้นได้อย่างง่ายดาย จัดพิธีขึ้นเพื่อเลือกคู่ให้กับนางสีดา ซึ่งพระรามก็สามารถยกได้
๒.   ศรนาคบาศ เป็นอาวุธที่พระพรหมประทานให้อินทรชิต และมีการทำพิธีชุบศรขึ้น
๓.   ศรพรหมาสตร์  เป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้กับอินทรชิต เช่นเดียวกัน
๔.   ศรวิษณุปาณัม เป็นศรที่พระนารายณ์ประทานให้อินทรชิต
๕.   ศรพลายวาต เป็นศรประจำตัวพระลักษณ์
๖.   ศรเหราพต เป็นศรของบรรลัยจักร ซึ่งมีตอนทำพิธีชุบศรนี้และถูกองคตและอสรุผัดทำลายพิธี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 08:35
คุณอาร์ทตอบถูกอีกแล้ว   เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส ผมขอแสดงความเสียใจด้วย
ที่สันนิษฐานมาไม่ถูกเลย  เอาไว้แก้มือคำถามข้อหน้านะครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 08:54
คุณอาร์ทตอบถูกอีกแล้ว   เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส ผมขอแสดงความเสียใจด้วย
ที่สันนิษฐานมาไม่ถูกเลย  เอาไว้แก้มือคำถามข้อหน้านะครับ ;D

 :'( :'( :'( :'( :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 ก.พ. 11, 08:57
หนูดีดี ขออนุญาตไปธุระค่ะ ต่อให้นักรบท่านอื่นๆ รบกันไปก่อนนะคะ  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 10:28
เรียนนักรบทั้งหลายที่กำลังเฝ้ารอคำถามของวันนี้

ด้วยผมมีธุระด่วนต้องรีบปฏิบัติในช่วงเช้าต่อเนื่องไปจนเวลาบ่าย
ของวันนี้  จึงไม่อาจจะเข้ามาตั้งคำถามและตามดูคำตอบได้จนกว่า
ปฏิบัติกิจเสร็จสิ้น  

ในระหว่างนี้   ขอให้นักรบทั้งหลายเล่นกระทู้อื่นไปพลางๆ ก่อน
หรือไม่ก็ไปหาหนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์มาอ่านระหว่างเวลาพักรบ
ส่วนท่านนักรบผู้ใดเห็นว่า  กิจกรรมที่ผมแนะนำไม่เหมาะแก่ท่าน
และท่านเห็นว่าทำอย่างอื่นดีกว่า  เช่น  นั่งร้องไห้เสียดายคะแนน
ที่ถูกหักไป  หรือนั่งซึมเศร้าที่เดาคำตอบที่ผ่านมาไม่ถูก  
หรือจะลงข้อความวิพากษ์วิจารณ์คนออกคำถามรามเกียรติ์ เป็นต้น
เราก็ไม่ว่ากัน  เชิญปฏิบัติได้ตามอัธยาศัยของท่านเถิด

ผมจะกลับมาตั้งคำถามในเวลาเย็นย่ำค่ำสนธยา   จึงเรียนมา
เพื่อทราบโดยทั่วกัน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 10:48

หรือจะลงข้อความวิพากษ์วิจารณ์คนออกคำถามรามเกียรติ์ เป็นต้น
เราก็ไม่ว่ากัน  เชิญปฏิบัติได้ตามอัธยาศัยของท่านเถิด

ใครจะกล้าทำได้ลงคอ มิกล้าหักหาญน้ำใจท่านดอก  :P


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.พ. 11, 11:17

  
       หักหาญน้ำใจ           โถ...

       นี่เป็นประโยคของตะละแม่กุสุมา  นะ      ตอนกุสุมาครวญ

      


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 19:20
คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน 
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 19:34
คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๑.พระราม

๒.หนุมาน

๓.สุครีพ

๔.นางสีดา

๕.ทศกัณฐ์

๖.ไมยราพ

๗.อินทรชิต

๘.นางมณโฑ

เลือกทำ  ๒  ข้อ  กรณีที่มีการเลือกทำซ้ำข้อกัน  
คนที่ตอบทีหลังจะได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
และไม่ให้เปลี่ยนข้อหลังจากตอบไปแล้ว
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๐๙.๐๐  น. ของวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 19:58
นักรบอยู่ไหม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 ก.พ. 11, 20:00
คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน  
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.

คำตอบ
การแสดงโขนสดเป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต
ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้เรียบง่ายขึ้น มีลักษณะนำเอารูปแบบของการแสดง 3 ชนิด คือ โขน ลิเก และหนังตะลุง มาผสมผสานกัน
เนื้อเรื่องที่ใช้แสดงนั้นส่วนใหญ่จะนำมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว

ข้อแตกต่างของโขนหลวง (กรมศิลป์) กับโขนสด คือ

1. โขนหลวงมีรูปแบบการแสดงที่แช่มช้อย เฉื่อยช้า เพราะต้องแสดงถึงแบบแผนท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์
ส่วนโขนสดจะมีรูปแบบการแสดงที่รวดเร็ว รวบรัดกว่า ลดแบบแผนทั้งท่ารำ และเจรจา การร้องก็นำลิเกมาประสมประสานเข้ากับลีลา
ท่าทางการเต้นในแบบของโขน

2. โขนหลวงมีผู้พากย์เจรจาโดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับนักแสดง ส่วนโขนสดผู้แสดงต้องเป็นผู้ร้องเจรจาเอง

3. โขนหลวงผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งศีรษะไม่เห็นหน้าตาผู้แสดง ส่วนโขนสดผู้แสดงสวมหัวโขนจึงไม่ครอบหมดทั้งศีรษะ
จะใส่ไว้เพียงแค่ด้านบนเพื่อให้รู้ว่าแสดงเป็นตัวอะไรเท่านั้น เพราะจะเปิดหน้าผู้แสดงไว้เพื่อให้สามารถร้องบทได้

4. โขนหลวงเมื่อการพากย์หรือเจรจาจะไม่มีดนตรีประกอบ ยกเว้นแต่ตอนพากย์จบแล้วที่มีการตีตะโพนรับและกลองทัดตาม
ส่วนโขนสดในการร้องและเจรจานั้นจะมีกลองตุ๊ก (กลองชาตรี) และโทนคอยตีประกอบด้วย

5. โขนสดจะมีผู้อาวุโสที่สุดในคณะแต่งกายเป็นฤาษีออกมาร้องบทไหว้ครูบริเวณกลางเวที และร้องบทอำนวยอวยพรให้กับผู้ชมและ
คณะของตน (เช่นออกแขกของลิเก) แต่การแสดงโขนหลวงไม่มีเช่นนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 20:01
ขอสรุปเป็นตารางแยกประเภท จะได้อ่านได้เป็นข้อๆ สรุปออกมาได้ ๙ ข้อตามนี้ครับ  ;) ;) ;) ;) ;)

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน  
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 ก.พ. 11, 20:08
นายกองไซมีสช้ากว่ากระผมเพียงเสี้ยวลัดนิ้วมือ :P

ค่อยรอข้อหน้านะจ๊ะ แบ่งกันๆๆ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 20:10
นายกองไซมีสช้ากว่ากระผมเพียงเสี้ยวลัดนิ้วมือ :P

ค่อยรอข้อหน้านะจ๊ะ แบ่งกันๆๆ ;D

มิเป็นใดดอกน้องเจ้าน้องเอ๋ย   ปล่อยให้เลยอภิรมย์สมหมาย

อยากจะเค้นอยากจะบีบ(คุณหลวง)ให้ตาย    อย่าแพร่งพรายให้เขารู้นะอาร์ทเอย  :-X


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 21:22
ข้อที่  ๕๙.  นักรบอาร์ทมาตอบชัดเจนดี  เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนนายกองไซมีส  อืมม์ มีทั้งคำที่สะกดผิด เยี้ยงย่าง  สันนิฐาน หัก ๑ คะแนน

มีที่ไม่ถูก   คุณไซมีสว่าโขนสดไม่สวมหัวโขน
ที่ถูก คือ โขนสดสวมหัวโขนเหมือนกัน แต่ไม่สวมแบบปิดหน้า
คือสวมหัวโขนแต่เปิดหน้าเพื่อให้คนแสดงร้องและเจรจาด้วยตนเอง
ผิดตรงนี้ หักอีก ๑ คะแนน

และเครื่องดนตรี  แบ  นี่หมายถึงอะไร  งง   ???  ไม่เคยเห็นจริงๆ
หักอีก ๑/๒ คะแนน

รวมแล้วได้ ๗ ๑/๒ คะแนน  (นี่หักอย่างเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาแล้ว)



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 21:25
ข้อที่  ๕๙.  นักรบอาร์ทมาตอบชัดเจนดี  เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนนายกองไซมีส  อืมม์ มีทั้งคำที่สะกดผิด เยี้ยงย่าง  สันนิฐาน หัก ๑ คะแนน

มีที่ไม่ถูก   คุณไซมีสว่าโขนสดไม่สวมหัวโขน
ที่ถูก คือ โขนสดสวมหัวโขนเหมือนกัน แต่ไม่สวมแบบปิดหน้า
คือสวมหัวโขนแต่เปิดหน้าเพื่อให้คนแสดงร้องและเจรจาด้วยตนเอง
ผิดตรงนี้ หักอีก ๑ คะแนน

และเครื่องดนตรี  แบ  นี่หมายถึงอะไร  งง   ???  ไม่เคยเห็นจริงๆ
หักอีก ๑/๒ คะแนน

รวมแล้วได้ ๗ ๑/๒ คะแนน  (นี่หักอย่างเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาแล้ว)



เครื่องดนตรี "ฉาบ" ครับ ....โห ได้ 7.5  :-X


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ก.พ. 11, 21:50
นี่สอนให้นักรบระวังระไวตนเองว่า

ถึงจะมีอาวุธดี  มีฝีมือดี  รอบรู้กลศึก
แต่หากประมาทก็อาจจะเสียคะแนนได้
ไม่ต้องตอบเร็วปานแสง  แต่ตอบให้ถูกดีกว่า
อย่าลืมว่า  การแข่งขันนี้ไม่มีการแย่งกันกดปุ่มตอบ
ฉะนั้น   ควรตรวจทานคำตอบให้ดีเสียก่อนจะส่งข้อความตอบ

เมื่อเร็วๆ นี้  สาย (มีกับเขาเหมือนกัน) รายงานกระแสข่าวมาว่า
กระทู้นี้มีคนติดตามอยู่มากพอสมควร  เพราะเป็นถามตอบรามเกียรติ์
ในระดับลึก กว้าง และละเอียด  ชนิดที่หาที่ใดไม่ได้มาก่อน
ขนาดฝรั่งมังค่ายังชวนให้เพื่อนมาอ่าน  (จริงๆ) 
ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเขียนสะกดให้ถูกต้องด้วย  เพื่อคุณค่าของกระทู้ ;)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.พ. 11, 00:15

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน 
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.


ราตรีนี้ยังเยาว์นัก

ข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก  โขนสด  มหรสพพื้นบ้านที่กำลังจะสาบสูญ

ศิลปการแสดงของไทย  ได้สืบทอดวัฒนธรรม  จากเวลาหนึ่งไปสู่เวลาต่อไป  การร้อง รำ เต้น  เล่นระบำ
เป็นการแสดงออกของอารมณ์ของมนุษย์

จารีตของโขน  ดนตรีประกอบคือวงปี่พาทย์เครื่องห้า  ประกอบด้วย ระนาด  ฆ้องวง  ปี่  กลองทัด  และตะโพน
โขนสดนั้น  มีกลองชาตรี  และโทนประกอบการร้องและเจรจา

การแต่งกายของโขนสดคล้ายคลึงกับโขนแต่ไม่งดงามเท่า  ลดระดับลงไปโดยตัดทอนเครื่องประดับลงบ้าง

การสวมหัวโขนสดมิได้ครอบหมด  ใส่ไว้เพื่อแสดงเอลักษณ์ของตัวละคอน
ลาลูแบร์บอกว่าผู้แสดงโขนทุกตัวสวมหัวโขน  จึงต้องมีผู้พากย์พูดแทน  ลักษณะนี้ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

การร่ายรำของโขนสดที่นำลีลาและจังหวะของ ลิเก และ หนังตะลุง มาปน  ทำให้เดืนเรื่องได้เร็ว  ผู้ดูสามารถ
ทำความเข้าใจได้ดีกับเนื้อเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก
การแสดงของโขนนั้นเคร่งครัดและมีจารีตธรรมเนียมมายาวนาน


โขนสดนิยมนำมาแสดงในงานเผาศพในต่างจังหวัดมาก  โดยจัดชุดสั้นๆหน้าไฟ  เมื่อตัวละคอนได้กินอาหารเรียบร้อยแล้ว  ก็จะแสคงชุดใหญ่       
ต่อเนื่องกันไป      การแสดงนี้ เมื่อวัดยังไม่มีเมรุ  และการเผาศพในต่างจังหวัดนิยมเมรุลอย  หรือเผากันในสวน    การแสดงโขนสดก็แสดงกันใน
สวนนั้นเองปรับดินเพียงเล็กน้อยพอควรกับการ


โขนสดมีความแตกต่างในช่วงไหว้ครู และการแสดง        ช่วงไหว้ครูหัวหน้าคณะจะกล่าวนำ  บรรเลงเพลงโหมโรง  มีรำถวายมือโดยตัวละคอนยืนเครื่อง 
แล้วฤาษีคือผู้มีอาวุโสจะออกมาร้องไหว้ครู  ตามด้วยอำนวยพรให้ท่านผู้ชมและคณะแสดง

พลลิงจะออกมาแนะนำตนเชิงหลังจากบรรเลงเพลงเชิด  เล่าประวัติตนเอง  แล้วพากันไปเฝ้าพระราม      ตอนนี้พระลักษณ์ออก 
พระรามออกเป็นตัวสุดท้ายฝ่ายพลับพลา  หลังจากลิงออกมาเฝ้าแล้วก็พากันเข้าโรงไป    ทีนี้ทศกัณฐ์ก็จะออกมาเล่าว่าจะแสดงตอนอะไร     




เล่ามายาวเป็นพิเศษเพื่อชาวต่างประเทศหัวใจไทยบางท่านที่นอกจะติดตามกระทู้นี้  ยังได้ชักชวนให้คนไทยใน
ต่างแดนให้ตามอ่านด้วย(แหล่งข่าวคนละแหล่งกับที่ จขกท แจ้ง     ประเมินว่าคงเป็นจริงเพราะแหล่งข่าวก็สมาชิกแถวนี้ 
เล่าไปก็หัวร่อตัวงอไปมาอยู่หน้าบ้านของอิฉัน  แจ้งว่าการให้คะแนนก็น่าขันมาก  แถมมีการประท้วงด้วย)




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 11 ก.พ. 11, 00:27
มายืนยันว่า มีฝรั่งอายุเกินร้อยปี สั่งสอนคนไทยไม่เอาไหนอย่างดิฉันว่า
อย่าให้เสียชาติเกิด ต้องอ่าน รามายณะ ให้แตกฉาน เพราะนี่คือ
รากฐานของระบบความเชื่อ ศาสนา และ วัฒนะธรรมที่สำคัญมากอันหนึ่งของโลกทีเดียว

ท่านว่า สามก๊ก นั้น เด็ก ๆ  แต่รามเกียรติ์นี่แหละ สำคัญนัก

คุณหลวงเล็กให้คะแนน แต่ดิฉันขอให้ราคา

กระทู้นี้ราคาแพงที่สุดในเรือนไทย

ขอกราบไหว้บูชาทวยเทพทุกท่านที่เข้ามาโรมรันพันตู ช่วงชิงคะแนนกันอย่างองอาจ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.พ. 11, 01:21

คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๑.พระราม

๒.หนุมาน

๓.สุครีพ

๔.นางสีดา

๕.ทศกัณฐ์

๖.ไมยราพ

๗.อินทรชิต

๘.นางมณโฑ

เลือกทำ  ๒  ข้อ  กรณีที่มีการเลือกทำซ้ำข้อกัน  
คนที่ตอบทีหลังจะได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
และไม่ให้เปลี่ยนข้อหลังจากตอบไปแล้ว
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๐๙.๐๐  น. ของวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔


ขออภัยที่ขอตอบก่อนเวลา   เนื่องจากมีราชการต้องไปมอบหนังสือหายากเกือบเต็มชุด  กฎหมายบรัดเลย์ ฉบับพิมพ์โดยบรัดเลย์      
ให้กับสถาบันแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด


ถ้า จขกทรักษากฎเคร่งครัด     ยินดีกลับมาเขียนให้ใหม่อีก ๔ ตัวละคอน    


๑.   พระราม

       พระรามคือพระนารายณ์ อวตารลงมาโอรสองค์ใหญ่ของท้าวทศรถและนางเกาสุริยา  มีน้องต่างมารดา ๓ องค์  

นางสีดาก็คือพระลักษมีนั่นเอง    หน้าที่ของพระรามคือ ปราบอธรรม  โดยเฉพาะทศกัณฐ์ที่มีสิบเศียร ยี่สิบมือ

เหมือนเคยรับสั่งไว้ตอนยังไม่อวตาร

กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร                      ตามไปรานรอนราวี
ให้สิ้นวงศ์พงศ์มึงอันศักดา                    ประจักษ์แก่เทวาทุกราศี

พฤติกรรมเด่นของพระราม  คือการถือว่าคำของบิดาเป็นปกาศิตที่ต้องปฏิบัติตาม  พระรามอยากออกไปปราบยักษ์อยู่แล้ว
เมื่อพ่อให้สมบัติก็ยอมรับคำของพ่อ

ซึ่งจะครองสมบัติพัสถาน                     ใครจะไปปราบมารยักษา
ผิดกับคำต้นนิมนต์มา                         ว่าจะให้บำรุงธาตรี

เมื่อนางไกยเกษี ขอราชสมบัติให้พระลักษณ์    พระรามพอใจ

ความซึ่งแสนโสมนัสา                          ยิ่งกว่่าให้ผ่านอาณาจักร
ด้วยจะได้ปราบหมู่ยักษ์                        เป็นที่พำนักแก่แดนไตร

พระรามพอใจที่จะได้ทำหน้าที่ของตน  แต่ก็ได้ทำตัวเป็นลูกที่ดีเชื่อฟังบิดามารดาไม่ขัดแย้ง


พระรามรักนางสีดามาก  เมื่อพิราพเป่ามนต์มาอุ้มนางสีดาไป  พระรามทำอะไรไม่ถูก  ต้องถามพระลักษณ์
เมื่อตอนไปยกศรก็ไม่มั่นใจว่าจะยกได้

เนื่องจากรักมาก  ก็หึงหวงมาก  จนสั่งฆ่านางสีดาเมื่อค้นพบรูปทศกัณฐ์อยู่ใต้ที่บรรทม

เหม่เหม่ดูดู๋อีทรลักษณ์                            ชั่วช้าอัปลักษณ์หยาบใหญ่
เสียแรงกูรักดั่งดวงใจ                             ควรหรือเป็นได้เพียงนี้
ลอบเขียนรูปชู้ไว้ชมเล่น                          ครั้นเห็นซัดใส่เอาทาสี
อนิจจาไม่รู้ว่ากาลี                                 เสียทีไปตามเอา...มา

พระรามไม่ได้มีมเหสีใหม่ ทั้งๆที่ทราบว่านางสีดาตายแล้ว   พระลักษณ์ได้นำหัวใจมาแสดง
ความเชื่อมั่นของพระรามสั่นคลอน  ไม่เชื่อในความภักดีของนางสีดา

พระรามได้รับผิดต่อหน้าพระอิศวรและเทวดา

อันโทษข้าผิดนี้เหลือผิด                           ด้วยกรรมหลังบังมิดไม่คิดได้



๕.  ทศกัณฐ์

ทศกัณฐ์อยากเรียนวิชา  รู้จักไปหาครูเอง  อ่อนน้อม  รับใช้อาจารย์

ทูลว่าอันตัวของลูกนี้                             ไม่มีวิชาสิ่งใด
จะขอลาไปอยู่พนาวัน                            กับพระนักธรรม์ผู้ใหญ่
ร่ำเรียนธนูศิลปชัย                               พระองค์จงได้เมตตา

และเรียนเก่ง
ทั้งไตรเพทเวทย์มนตร์สิ่งใด                     ก็จำได้โดยไวยปัญญา


ทศกัณฐ์เห็นแก่ชื่อเสียงของตนมากกว่าลูก คือ อินทรชิต

เมื่ออินทรชิตเก่งกล้าสามารถ  ทศกัณฐ์รัก   รักเพราะทำให้ทศกัณฐ์ดูดีว่าเป็นพ่อคนเก่ง
แต่เมื่ออินทรชิตต้องบาดเจ็บและกำลังจะตาย        ทศกัณฐ์ไม่ห้าม  ปล่อยให้ไปตาย

พาลด่านางมณโฑว่า

     อันนางสีดานารี                               ดั่งดวงชีวรดวงใจ
มาตรแม้นถึงพรหมลิขิต                           สู้เสียชีวิตไม่ส่งให้


อ่านมาจาก  ตัวละครในรามเกียรติ์        ของ ศรีสุรางค์  พูลทรัพย์   และ  สุมาลย์  บ้านกล้วย     งานวิจัยทุนสถาบันไทยคดีศึกษา  มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.พ. 11, 01:44

ขอบคุณคุณ ร่วมฤดี  ที่มาแสดงตน   ไม่บังอาจกล่าวนาม

คุณหลวงเล็ก  นิ่งไปนานเมื่อรับฟังข่าวนี้     เธอคงหายเหนื่อย

ความน่ารักของคุณดีดี   ความใจกว้างและมีน้ำใจเห็นใจผู้อื่นของคุณไซมีส   ความอดทนของคุณสะอาด  ทำให้เราอยู่กันได้

ยังขอเชิญคุณ กะออมและเพื่อน ๆ ที่สนใจ เข้ามาต่อสู้กันต่อไป  คนละแผลสองแผล

ดิฉันได้นำกระทู้เรื่องนี้ไปเล่าให้ท่านผู้อาวุโสในสถาบันของชาติฟัง  โดยเน้นความสนใจของสมาชิกผู้เยาว์   ท่านเอ่ยว่า  ทำได้ยากเหลือเกิน


ถ้ามีคนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น แม้เพียงคนเดียว    ก็ไม่เสียทีที่อ่านหนังสือมาตาแป๊ะไก๋

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องสู้กับคุณหลวงเล็กต่อไปอย่างเต็มฝีมือ

ไม่ถอยแม้นเพียงก้าวเดียว  หลบๆก็อย่าให้ใครเห็น  แล้วไปกินชีสเค้กกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.พ. 11, 04:50
แก้ตัวสะกดใน  ๑๔๒

     ..................         ดั่งดวงชีวีดวงใจ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ก.พ. 11, 06:09
ขอบคุณคุณร่วมฤดี   ซึ่งพักนี้ไม่ค่อยเห็นหน้าเลย  กำลังคิดถึงอยู่

ที่ว่า
อ้างถึง
คุณหลวงเล็กให้คะแนน แต่ดิฉันขอให้ราคา

กระทู้นี้ราคาแพงที่สุดในเรือนไทย

ขอกราบไหว้บูชาทวยเทพทุกท่านที่เข้ามาโรมรันพันตู ช่วงชิงคะแนนกันอย่างองอาจ

ก็ราคาแพงนี่ อาจจะเป็นค่ายากับค่าเสบียงหนังสือ
นักรบบางท่านต้องเพิ่มค่ารถไปหอสมุดแห่งชาติ กับค่าโทรศัพท์(ใช้ปรึกษาแก้กลศึก)

ยินดีมากเมื่อทราบข่าวนั้น   ทำให้มีกำลังตั้งคำถามยากๆ มากขึ้น
และจะเพิ่มความเข้มข้นในการหักคะแนนให้หฤโหดมากกว่านี้ 
ขอบคุณที่ให้กำลังใจนะครับ ;D :)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 ก.พ. 11, 09:00
คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๓. สุครีพ
นิสัยที่ดี
คือเป็นผู้ที่มีความกตัญญู  ซื่อตรงสุจริต เมื่อพระรามช่วยเหลือก็ตอบแทนบุญคุณ  จงรักภักดี ช่วยพระรามให้เรื่องต่างๆ เป็นฝ่ายเสนาธิการของกองทัพวานร ทำศึกหลายครั้งหลายครา เช่นสุครีพหักฉัตร

นิสัยที่ไม่ดี
คือเกรงกลัวพาลีพี่ชายมากเกินไป แม้พี่ชายจะทำผิดด้วยการแย่งนางดาราซึ่งพระอิศวรประทานมาให้ตนก็ยังไม่ได้ปริปากว่าอะไร ดูเป็นวานรที่ดีเหลือเกิน
อีกทั้งในคราวพาลีรบกับทรพีในถ้ำ สุครีพซึ่งเฝ้าอยู่ปากถ้ำเห็นเลือดใสก็โศกเศร้าเสียใจ คิดว่าพาลีพลาดท่าเสียทีทรพีเสียแล้ว จึงรีบปิดปากถ้ำอย่างหนาแน่นแล้วมุ่งหน้ากลับนครขีดขิน ฝ่ายพาลีเมื่อฆ่าทรพีเสร็จจึงเดินออกมายังปากถ้ำ ก็พบว่าถ้ำปิดแน่นหนาจึงคิดไปว่าสุครีพน้องชายทรยศ จึงรีบทลายปากถ้ำแล้วไล่ตามสุครีพจนทัน ดุด่าสุครีพน้องชายว่าเป็นคนทรยศจะปฏิวัติตนเอง พร้อมขับไล่ไสส่งออกไปจากเมือง สุครีพก็น้อยใจถูกถอดจากตำแหน่งอุปราชหนีมาอยู่กับหนุมานหลานชายปรับทุกข์ตามประสาน้ากับหลาน


๘. นางมณโฑ
นิสัยที่ดี
เป็นผู้มีความกตัญญูระลึกถึงบุญคุณของพระฤาษี เล่ากันว่าที่เชิงเขาหิมพานต์ มีฤาษีสี่ตน บำเพ็ญพรตอยู่เป็นเวลาช้านาน และมีตบะแก่กล้ามาก ทุกๆ เช้า จะมีนางโค 500 ตัว มาที่อาศรมของฤาษี และต่างก็จะหยดนมของตัวลงในอ่างแก้วเพื่อให้ฤาษีได้ฉันเป็นอาหารเช้า ซึ่งฤาษีก็จะแบ่งนมส่วนหนึ่งให้แก่นางกบตัวเมียตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นประจำทุกวันเช่นกัน อยู่มาวันหนึ่งฤาษีทั้งสี่ออกไปป่า พบนางนาคตนหนึ่งกำลังเสพสังวาสกับงูดิน ฤาษีเห็นว่านางนาคเป็นสัตว์ตระกูลสูงกว่า ไม่น่าจะมาสมสู่กับงูดิน จึงได้เอาไม้เท้าเคาะไปที่ขนดหางนางนาคเบาๆ นางนาคกำลังร่านด้วยแรงราคะก็ยังไม่รู้ตัว ฤาษีจึงเคาะซ้ำไปที่กลางลำตัว นางนาคตกใจคลายขนด (ขะ-หฺนด หมายถึงตัวงูที่ขด หรือโคนหางงู) ออกมาเห็นฤาษี ก็รู้สึกอับอายขายหน้า จึงหนีกลับไปเมืองบาดาล กลับไปแล้ว ยิ่งคิดก็ยิ่งคิดแค้นใจพระฤาษีที่ทำให้ตนได้รับความอับอาย และคิดว่าหากพระยากาฬนาคพ่อตนรู้เข้า นอกจากตนจะเสื่อมเสียแล้ว ก็อาจมีโทษถึงตาย เมื่อคิดได้ดังนั้น นางนาคจึงกลับไปอาศรมฤาษี แล้วคายพิษลงในอ่างน้ำนมที่ฤาษีทั้งสี่ต้องฉันทุกเช้า ฝ่ายนางกบเห็นเช่นนั้น ก็ตกใจ และด้วยความกตัญญูสำนึกในพระคุณของฤาษีที่เลี้ยงตนมา จึงตัดสินใจตายแทน ด้วยการกระโดดลงไปในอ่างนม และขาดใจตายเพราะพิษนางนาค

ครั้นฤาษีทั้งสี่กลับมาจะฉันน้ำนม เห็นนางกบนอนตายในนั้น ก็รู้สึกไม่พอใจคิดว่านางกบตะกละ แต่ก็ยังมีใจเมตตาอยู่ จึงชุบชีวิตนางกบขึ้นมาใหม่ แล้วสอบถามดูว่าทำไมประพฤติตัวโลภมากอย่างนี้ ให้กินทุกวันยังไม่พอใจอีกหรือ นางกบก็เล่าความจริงให้ฟังถึงเรื่องนางนาคมาคายพิษไว้ ฤาษีฟังแล้ว เห็นในคุณความดีของนางกบ จึงได้ทำพิธีก่ออัคคีแล้วร่ายมนตร์วิเศษ พร้อมโยนนางกบลงในไฟ ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่กลายเป็นสาวที่มีรูปโฉมโนมพรรณงามกว่าหญิงใดในสวรรค์ทั้งหก

นิสัยที่ไม่ดี
นางมณโฑเป็นคนหลงรักผู้อื่นได้ง่ายๆ ใครเกี้ยวพาหน่อยก็เคลิบเคลิ้มตามคารมชาย ไม่ใจแข็งรักเดียวใจเดียว
ครั้งพาลีแย่งนางมาจากทศกัณฐ์มาได้ แล้วพากลับเมืองได้นางเป็นเมีย นางมณโฑนั้นแต่แรกก็ไม่ยินยอม แต่ก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ กอปรกับพาลีใช้ทั้งวาทศิลป์และเล่ห์ชายจนนางต้องยินยอม
ครั้งทศกัณฐ์ขอให้พระอังคตมุนีช่วยจนได้นางมณโฑคืนมา ก็ดีใจพาเหาะกลับกรุงลงกา แล้วเกี้ยวพาราสีต้องเนื้อต้องตัวนาง จนในที่สุดก็ได้นางเป็นเมียสมใจ
(ไม่นับหนุมานเพราะปลอมตัวว่าเป็นทศกัณฐ์ กับพิเภกเพราะประทานให้)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 09:01
คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๑.พระราม

๒.หนุมาน

๓.สุครีพ

๔.นางสีดา

๕.ทศกัณฐ์

๖.ไมยราพ

๗.อินทรชิต

๘.นางมณโฑ

เลือกทำ  ๒  ข้อ  กรณีที่มีการเลือกทำซ้ำข้อกัน 
คนที่ตอบทีหลังจะได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
และไม่ให้เปลี่ยนข้อหลังจากตอบไปแล้ว
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๐๙.๐๐  น. ของวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบ ๗.อินทรชิต ในข้อดีของอินทรชิต ได้ดังนี้
๑.   อดทนในการร่ำเรียนวิชา ซึ่งต้องไปเรียนกับฤาษีโคบุตรเป็นเวลา ๗ ปีจึงจะสำเร็จ
“จึ่งมีวาจาอันสุนทร    ดูก่อนเจ้าผู้เป็นหลาน
พระเวทอันหนึ่งเชี่ยวชาญ  ชื่อว่ามหากาลอัคคี
บูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม       พยายามตามเวทพระฤาษี
ถ้าครบถ้วนกำหนดเจ็ดปี           ก็จะเรืองฤทธีด้วยศิลป์ชัย”
๒.   อดทนในการศึก ไม่ย่อท้อถึง ๔ ครั้ง
“ตัวลูกต้องศรปัจจามิตร    ปิ้มเสียชีวิตสังขาร์
สิ้นรถสิ้นทศโยธา          จะอยู่เกลือกว่าจะเสียที
จึ่งกลับมาลาพระบิตุราช       ไปชุบนาคบาศศรศรี
ยังเขาอากาศคีรี         ให้มีอานุภาพเกรียงไกร
ถ้วนคำรบเจ็ดวันวาร        จะมาผลาญไพรีเสียให้ได้”

ตัวละครที่ ๒ คือ นางมณโฑ มีข้อดีคือ ช่วยให้ทศกัณฐ์ประสบความสำเร็จทุกครั้ง เมื่อทศกัณฐ์มีปัญหาทางการบก็มักจะมาปรึกษานางมณโฑเสมอๆ (แน่ซิครับ เพราะเป็นเมียนิ) เช่นตอน แนะนำทศกัณฐ์ให้เชิญสัตลุง ตรีเมฆมาช่วยรบ
“ตัวเจ้าผู้มีปรีชา          จงดำริตริตราช่วยพี่
ยังเห็นผู้ใดที่ไหนมี            จึ่งจะล้างไพรีให้แหลกราญ
  เมื่อนั้น                        นางมณโฑผู้ยอดสงสาร
.....................                              .........................
พระสหายร่วมรักชีวี           มีอานุภาพมหึมา
ผ่านกรุงจักรวาลพระนคร        นามกรสัตลุงยักษา
กับองค์ตรีเมฆนัดดา             บุตรพระยาตรีเศรียรขุนมาร
แต่ละองค์ล้วนทรงกำลังฤทธิ์      ทศทิศเลื่องชื่อลือหาญ
จงให้ไปหามาคิดการ                    ช่วยกันรอนราญไพรี
ซึ่งทุกครั้งนางมณโฑให้คำปรึกษา ทศกัณฐ์จะมีความยินดี ยกเว้นเรื่องเดียว คือนางเสนอให้คืนนางสีดาคืน ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก และครั้งท้ายสุดฝีมือนางมณโฑ คือการปรุงน้ำทิพย์ส่งไปประพรมทหารที่ตายให้ฟื้น เพื่อให้มารบกับพระรามอีกครั้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 ก.พ. 11, 09:35
ก่อนอื่นขอแจ้งข่าวค่ะ คุณ luanglek ตั้งคำถามข้อที่ 59 ซ้ำกัน 2 ข้อค่ะ มีข้อศรราม กับข้อ โขนสด ค่ะ...

คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๑.พระราม
๒.หนุมาน
๓.สุครีพ
๔.นางสีดา
๕.ทศกัณฐ์
๖.ไมยราพ
๗.อินทรชิต
๘.นางมณโฑ

เลือกทำ  ๒  ข้อ  กรณีที่มีการเลือกทำซ้ำข้อกัน  
คนที่ตอบทีหลังจะได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
และไม่ให้เปลี่ยนข้อหลังจากตอบไปแล้ว
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๐๙.๐๐  น. ของวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบข้อที่ไม่ซ้ำกับท่านอื่นนะคะ  ;D

นางสีดา  
- พฤติกรรมที่ดี คือ เป็นคนที่ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี
: ตัวอย่างพฤติกรรมดีที่เห็นได้ชัดเจนคือ ตอนที่ถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมายังกรุงลงกา นางตัดสินใจผูกคอตาย เพื่อแสดงความรักและซื่อสัตย์ต่อพระราม ดังคำกลอนที่ยกมาประกอบนี้

"อนิจจาครานี้นะอกกู
จะถูกทอดทิ้งอยู่กับยักษา
มาเสียศักดิ์เสียวงศ์พงศ์พระยา
เพราะอ้ายพวกพาลาลักมาไว้

อยู่สวนขวัญปานนันทวันสรวง
จะสดชื่นแดดวงก็หาไม่
ด้วยรักผัวสู้ถนอมยอมบรรลัย
มิได้คิดพิศมัยอ้ายกุมภัณฑ์

ทั้งพวกเหล่าสนมในที่ใจยักษ์
ก็ข่มหักหัวใจให้โศกศัลย์
บีบให้ตรมข่มเหงไม่เกรงกัน
ไม่ขออยู่ดูหน้ามันยอมบรรลัย

จึงเอาผ้าพันกระสันรัด
เกี่ยวกระหวัดกับกิ่งโศกใหญ่
ชายหนึ่งผูกศออรไท
ทอดองค์ลงไปจะให้ตาย"

- พฤติกรรมที่ไม่ดีคือ เป็นคนเชื่อคนง่าย
ตัวอย่างพฤติกรรมไม่ดีเชื่อคนง่ายคือ ตอนที่นางอดุลยักษีปลอมตัวมาเป็นนางกำนัลเพื่อแก้แค้น แล้วให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฑ์ให้ดูจากนั้นจึงสิงในรูปทำให้รูปลบไม่ออก พระรามเห็นก็โกรธ ให้นำตัวไปประหาร  ภายหลังนางสีดาก็เสียใจกับความเชื่อใจคนง่ายๆ ของตนเอง เห็นได้จากกลอนบทนี้

“ ก็ติดตามข้ามสมุทรมาโรมรัน
กุมภกัณฑ์ตายยับไม่นับได้
พาข้าคืนมาเวียงชัย
เสวยสุขอยู่ในสวรรยา
เพราะอีเจ้ากรรมตามมาเยือน
ให้เขียนรูปทศพักตร์ยักษา
จึ่งพรากจากเบื้องบาทา
พระตามไปวอนว่าโดยดี”

หนุมาน  
- พฤติกรรมที่ดี คือ เป็นคนที่ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีเจ้านาย รับใช้พระรามอย่างไม่กลัวตาย
ตัวอย่างพฤติกรรมที่ดี คือตอนที่พระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ โดนแสงพระอาทิตย์ไม่ได้ หนุมานจึงไปยุดรถพระอาทิตย์ไว้จนร่างไหม้เหลือแต่ขนเพชร พระอาทิตย์ต้องชุบขึ้นมาใหม่ เพราะเห็นในความซื่อสัตย์จงรักภักดีของหนุมาน

"พระสดับกลับชื่นใช้      วายุ บุตรเฮย
โดยพิเภกบอกรบุ      อย่าช้า
แต่ปัญจะสินธุ      มีอยุทธ ยาเฮย
ฃอต่อสองขนิฐฃ้า      ข่าวแจ้งความจริง ฯ
            
๑๖๘๙ หณุมานลาเหาะล้ำ   ลอยหวิว
ยังยุคนธรฉิว      ฉับผ้าย
เหนรถระพีปลิว      เปลวเปล่ง มานา
โผนยุดฉวยฉุดท้าย      รถท้าวทินกร ฯ
            
๑๖๙๐ ภาณุมาศหวาดว้าว่า   ราหู จับเฮย
ภอพระผินภักตรดู      ผาดคล้อย
เปนเพลิงกรดลุกวู      สวามอด ไหม้ฮือ
เหลือแต่ขนเพชร์น้อย      หนึ่งซ้ำสงไสย ฯ "

- พฤติกรรมที่ไม่ดี คือ ทะนงตน คิดว่าตัวเองเก่ง อวดเก่ง
ตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นความทะนงตนของหนุนามคือ ตอน ที่หนุมานลองดีกับฤษีนารถ ดังคำกลอนที่แสดงให้เห็นความคิดของหนุมาน

“ ให้คิดสงสัยพันทวี    เหตุไรฤษีชีป่า
มาอยู่ในเกาะลงกา    กับพวกยักษาด้วยอันใด
หรือจะมีความรู้วิชาศาสตร์ องอาจเชี่ยวชาญเป็นไฉน
อย่าเลยจะลองฤทธิ์ไกร    ให้เห็นศักดาพระอาจารย์”

และในที่สุดหนุมานก็พ่ายแพ้ แก่พระฤษีนารถ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 ก.พ. 11, 15:46
เมื่อเช้าลืมส่งรูปประกอบค่ะ.. ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 16:05
ฝีมือคุณจักรพันธุ์ โปษยะกฤต (ศิลปินแห่งชาติ) ใช่ไหมครับ คุณ ดีดี


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 ก.พ. 11, 16:13
ใช่แล้วค่ะ ภาพนี้ไม่ค่อยมีใครได้เห็นเท่าไหร่
คงเป็นเพราะดูแล้วน่ากลัวมังคะ....
แต่ถึงจะดูน่ากลัว แต่ท่านก็วาดได้งดงาม น่าดู
มีรายละเอียด มีชีวิตชีวา ทุกภาพเลยนะคะ
หนูดีดี ชื่นชมในฝีมือการวาดภาพ และงานเขียนของท่าน...
รวมถึงงานหุ่นกระบอกของท่านด้วยค่ะ.....


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 ก.พ. 11, 10:02
ยู้ฮู....ท่านนักรบทั้งหลาย หายไปไหนกันหมดค่ะ
สงสัยไปฉลองวาเลนไทน์.. ;D
เอ้า! มีหัวใจมาฝากค่ะ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 ก.พ. 11, 10:11
นักรบนั้นอยู่
แต่ไม่มีศึกสงครามให้ทำกันเสียแล้ว :o

(เอ้.. หรือกระทู้จะสงบสันติ เพราะความรักเนื่องในวันวาเลนไทน์)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 10:14
ถึงนักรบที่กำลังร้อนวิชา

เนื่องด้วยผู้ตั้งคำถามกำลังรบติดพันกับงานของตนเอง
จึงไม่อาจจะตั้งคำถามลงในเพลาเช้านี้ได้

ฉะนั้นขอแจ้งเลื่อนเวลาออกคำถามไปเป็นเวลาบ่ายโมงตรง
ขอให้เตรียมพร้อมโดยทั่วหน้ากัน   ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 10:20

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน 
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.


ราตรีนี้ยังเยาว์นัก

ข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก  โขนสด  มหรสพพื้นบ้านที่กำลังจะสาบสูญ

ศิลปการแสดงของไทย  ได้สืบทอดวัฒนธรรม  จากเวลาหนึ่งไปสู่เวลาต่อไป  การร้อง รำ เต้น  เล่นระบำ
เป็นการแสดงออกของอารมณ์ของมนุษย์

จารีตของโขน  ดนตรีประกอบคือวงปี่พาทย์เครื่องห้า  ประกอบด้วย ระนาด  ฆ้องวง  ปี่  กลองทัด  และตะโพน
โขนสดนั้น  มีกลองชาตรี  และโทนประกอบการร้องและเจรจา

การแต่งกายของโขนสดคล้ายคลึงกับโขนแต่ไม่งดงามเท่า  ลดระดับลงไปโดยตัดทอนเครื่องประดับลงบ้าง

การสวมหัวโขนสดมิได้ครอบหมด  ใส่ไว้เพื่อแสดงเอลักษณ์ของตัวละคอน
ลาลูแบร์บอกว่าผู้แสดงโขนทุกตัวสวมหัวโขน  จึงต้องมีผู้พากย์พูดแทน  ลักษณะนี้ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

การร่ายรำของโขนสดที่นำลีลาและจังหวะของ ลิเก และ หนังตะลุง มาปน  ทำให้เดืนเรื่องได้เร็ว  ผู้ดูสามารถ
ทำความเข้าใจได้ดีกับเนื้อเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก
การแสดงของโขนนั้นเคร่งครัดและมีจารีตธรรมเนียมมายาวนาน


โขนสดนิยมนำมาแสดงในงานเผาศพในต่างจังหวัดมาก  โดยจัดชุดสั้นๆหน้าไฟ  เมื่อตัวละคอนได้กินอาหารเรียบร้อยแล้ว  ก็จะแสคงชุดใหญ่       
ต่อเนื่องกันไป      การแสดงนี้ เมื่อวัดยังไม่มีเมรุ  และการเผาศพในต่างจังหวัดนิยมเมรุลอย  หรือเผากันในสวน    การแสดงโขนสดก็แสดงกันใน
สวนนั้นเองปรับดินเพียงเล็กน้อยพอควรกับการ


โขนสดมีความแตกต่างในช่วงไหว้ครู และการแสดง        ช่วงไหว้ครูหัวหน้าคณะจะกล่าวนำ  บรรเลงเพลงโหมโรง  มีรำถวายมือโดยตัวละคอนยืนเครื่อง 
แล้วฤาษีคือผู้มีอาวุโสจะออกมาร้องไหว้ครู  ตามด้วยอำนวยพรให้ท่านผู้ชมและคณะแสดง

พลลิงจะออกมาแนะนำตนเชิงหลังจากบรรเลงเพลงเชิด  เล่าประวัติตนเอง  แล้วพากันไปเฝ้าพระราม      ตอนนี้พระลักษณ์ออก 
พระรามออกเป็นตัวสุดท้ายฝ่ายพลับพลา  หลังจากลิงออกมาเฝ้าแล้วก็พากันเข้าโรงไป    ทีนี้ทศกัณฐ์ก็จะออกมาเล่าว่าจะแสดงตอนอะไร     



ตอบดี  เอาไป ๑๐ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 10:20
ในเพลานั้น    เราจะไปต่างจังหวัด  เยี่ยมเยียนสหาย     ด้วยความห่วงใย  เราจักส่งนกฮูกชื่อไปรษณีย์เล่มสาม   มา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 10:34
คุณวันดี  เลือกตอบด้านบวกด้านลบของพระรามและทศกัณฐ์มา
ตอบดี  แต่อาศัยเหตุมาเอามาจากคนอื่นเขียน ขอหัก ๒ คะแนน
ได้ไป  ๘ คะแนน

คุณอาร์ท เลือกตอบข้อสุครีพกับนางมณโฑนั้น
ข้อเสียของสุครีพ ที่ตอบมายังไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ก็พอใช้ได้
เอาไป ๔ ๑/๒ คะแนน
ข้อเสียนางมณโฑ อยู่ในระดับเดียวกันเอาไป ๔ ๑/๒ คะแนน
รวมกันได้  ๙ คะแนน

คุณไซมีส  เลือกข้ออินทรชิตกับนางมณโฑ
เห็นมีแต่ข้อดี  ข้อเสียไม่ได้ยกให้ดูเลย  เอาไป ข้อละ ๒ ๑/๒ คะแนน
แถมตอบซ้ำกับคุณอาร์ทข้อนางมณโฑ หักอีก ๑/๒  คะแนน (ด้วยใจกรุณา)
รวมแล้วได้  ๔ คะแนน

คุณหนูดีดี เลือตอบข้อนางสีดากับหนุมาน
ข้อเสียนางสีดานั้น  ยังไม่ชัดเจน  น่าจะยกเรื่องเอาแต่ใจของนางมากกว่า
ข้อนี้หักคะแนน  ๑ ๑/๒ คะแนน
ข้อหนุมานเขียนชื่อพระฤาษีนารทผิด เป็นนารถ  หัก ๑/๒ คะแนน
เหลือคะแนน ๘ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 10:41
คิดเอง ๑ ข้อ  จึงควรหัก  ๑.๕  คะแนน

ไม่เป็นไรหรอก  เพราะโดนเกณท์มา   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 11:14
คำถามข้อที่ ๖๒.

๑.สมเด็จพระเด็จบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๒.เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์)
๓.พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ (ม.ล.วราห์  กุญชร)
๔.พระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม  ไกรฤกษ์)
บุคคลเหล่านี้  ได้มาทำเหตุการณ์อะไรด้วยกันซึ่งเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์
จงเล่าเรื่องมาอย่างละเอียด

ข้อนี้  ให้  ๓๐  คะแนน  ให้เวลาหาคำตอบ  ๕ วัน
หากพ้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ไปแล้ว
ไม่มีใครตอบได้ถูกต้อง จะเฉลยคำตอบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 ก.พ. 11, 11:19
สรุปคะแนน ข้อ 51-61 ค่ะ  ตรงไหนไม่ถูกต้องช่วยบอกด้วยนะคะ ;D

ยังไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 ข้อนะคะ

คำถามข้อที่ ๕๒.  ตัวละครต่อไปนี้มีความสัมพันธ์ฉันญาติกันอย่างไร
ส่วนท่านที่ตอบข้อ ๕๒ มา โดยส่งข้อความมาทางหลังไมค์
ผมจะรีบตรวจให้เสร็จภายใน ๒ วันนี้
ในระหว่างนี้ เชิญเล่นคำถามข้ออื่นไปก่อนนะครับ

สงสัยคุณหลวงเล็ก จะลืมค่ะ ...


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 11:42

ยังไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 ข้อนะคะ

คำถามข้อที่ ๕๒.  ตัวละครต่อไปนี้มีความสัมพันธ์ฉันญาติกันอย่างไร
ส่วนท่านที่ตอบข้อ ๕๒ มา โดยส่งข้อความมาทางหลังไมค์
ผมจะรีบตรวจให้เสร็จภายใน ๒ วันนี้
ในระหว่างนี้ เชิญเล่นคำถามข้ออื่นไปก่อนนะครับ

สงสัยคุณหลวงเล็ก จะลืมค่ะ ...


ไม่ได้ลืมครับ   แต่ยังไม่มีเวลาส่งคำตอบกลับไปให้คนตอบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 ก.พ. 11, 11:48
ไม่เป็นไรค่ะ ว่างเมื่อไหรค่อยส่งก็ได้ หนูดีดี ไม่ได้ทวงค่ะ แค่ช่วยเตือนกลัวจะลืม.. ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 14:11
คำถามข้อที่ ๖๓.

คำถามข้อนี้  คุณหลวงวิจารณ์คาวีที่เป็นเพื่อนกันอยู่ต่างกรมส่งมา
คุณหลวงวิจารณ์คาวีถามว่า  โคกระบือในเรื่องรามเกียรติ์
มีบทบาทอยู่ในตอนใดบ้าง  จงยกเล่ามาคนละ ๒ ตอน
อ้อ  คุณหลวงวิจารณ์คาวีท่านฝากมาบอกด้วยว่า 
ตอน ทรพาทรพี ไม่เอา  ฟังเบื่อแล้ว  ใครยกมาให้คะแนนติดลบ -๕
ใครตอบซ้ำกับที่คนอื่นตอบแล้ว  หักตัวอย่างที่ซ้ำ ตัวอย่างละ ๑ ๑/๒ คะแนน
ข้อนี้คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์
เริ่มโพสต์ ตั้งแต่  ๑๖.๐๐  น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 ก.พ. 11, 16:00
คำถามข้อที่ ๖๓.

คำถามข้อนี้  คุณหลวงวิจารณ์คาวีที่เป็นเพื่อนกันอยู่ต่างกรมส่งมา
คุณหลวงวิจารณ์คาวีถามว่า  โคกระบือในเรื่องรามเกียรติ์
มีบทบาทอยู่ในตอนใดบ้าง  จงยกเล่ามาคนละ ๒ ตอน
อ้อ  คุณหลวงวิจารณ์คาวีท่านฝากมาบอกด้วยว่า  
ตอน ทรพาทรพี ไม่เอา  ฟังเบื่อแล้ว  ใครยกมาให้คะแนนติดลบ -๕
ใครตอบซ้ำกับที่คนอื่นตอบแล้ว  หักตัวอย่างที่ซ้ำ ตัวอย่างละ ๑ ๑/๒ คะแนน
ข้อนี้คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์
เริ่มโพสต์ ตั้งแต่  ๑๖.๐๐  น.

ขอตอบค่ะ  ;D
1. ตอนกำเนิดนางมณโฑ
เชิงเขาหิมพานต์ มีฤาษีสี่ตน บำเพ็ญพรตอยู่เป็นเวลาช้านาน และมีตบะแก่กล้ามาก ทุกๆ เช้า จะมีนางโค 500 ตัว มาที่อาศรมของฤาษี และหยดน้ำนมของตัวลงในอ่างแก้วเพื่อให้ฤาษีได้ฉันเป็นอาหารเช้า ซึ่งฤาษีก็จะแบ่งนมส่วนหนึ่งให้แก่นางกบตัวเมียตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นประจำทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฤาษีทั้งสี่ออกไปป่า พบนางนาคตนหนึ่งกำลังเสพสังวาสกับงูดิน ฤาษีเห็นว่านางนาคเป็นสัตว์ตระกูลสูงกว่า ไม่น่าจะมาสมสู่กับงูดิน จึงได้เอาไม้เท้าเคาะไปที่ขนดหางนางนาค  นางนาครู้สึกอับอายขายหน้าและแค้นใจ จึงคายพิษลงในอ่างน้ำนมที่ฤาษีทั้งสี่ต้องฉันทุกเช้า ฝ่ายนางกบเห็นเช่นนั้น ก็ตกใจ และด้วยความกตัญญูสำนึกในพระคุณของฤาษีที่เลี้ยงตนมา จึงตัดสินใจกระโดดลงไปในอ่างนม และขาดใจตายเพราะพิษนางนาค ครั้นฤาษีทั้งสี่จะฉันน้ำนม เห็นนางกบนอนตายในนั้น ก็รู้สึกไม่พอใจคิดว่านางกบตะกละ แต่ก็ยังมีใจเมตตาอยู่ จึงชุบชีวิตนางกบขึ้นมา แล้วสอบถามดูว่าทำไมประพฤติตัวโลภมากอย่างนี้ ให้กินทุกวันยังไม่พอใจอีกหรือ นางกบก็เล่าความจริงให้ฟังถึงเรื่องนางนาคมาคายพิษไว้ ฤาษีฟังแล้ว เห็นในคุณความดีของนางกบ จึงได้ทำพิธีก่ออัคคีแล้วร่ายมนตร์วิเศษ พร้อมโยนนางกบลงในไฟ ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่กลายเป็นสาวที่มีรูปโฉมโนมพรรณงามกว่าหญิงใดในสวรรค์ทั้งหก
และตั้งชื่อให้ว่า “นางมณโฑ” ที่แปลว่า “กบ” อันเป็นสถานภาพเดิมของนาง และเนื่องจากพระฤาษีเห็นว่านางเป็นหญิงสาวไม่เหมาะจะอยู่ด้วย เกรงเป็นที่ติฉินนินทาได้ จึงพร้อมใจกันพานางไปถวายพระอิศวร ซึ่งให้นางไปอยู่รับใช้พระแม่อุมาชายาของพระองค์

2. ตอนศึกบรรลัยกัลป์
. . หลังจากเสร็จศึก พระมาตุลีก็ขับรถพระอินทร์ ที่ให้พระรามยืมไปคืนที่เมืองสวรรค์ตามเดิม พอดีครบกำหนด14 ปี พระรามจึงพานางสีดากับพระลักษณ์กลับเมือง เพราะถ้าอยู่ช้าไป พระพรต จะวิ่งเข้ากองไฟ ตายพร้อมพระสัตรุ พิเภกตามไปส่งถึงเมือง ระหว่างที่เดินทางมาถึงภูเขาเหมติรัน ฝ่ายยักษ์บรรกัลป์ (โอรสทศกัณฑ์กับนางกาลอัคคี  ซึ่งพระยานาคผู้เป็นตาขอไปเลี้ยงตั้งแต่ห้าขวบ) เกิดฝันร้ายคิดถึงพ่อ จึงลาพระยานาคมาเยี่ยมพ่อ
เมื่อรู้ว่าพ่อตายก็โกรธ และตามไปรบกับพระรามเพื่อแก้แค้นแทนพ่อ พระรามให้หนุมานไปปราบ หนุมานแปลงร่างเป็นกระบือ แกล้งติดหล่มให้บรรลัยกัลป์ช่วย และขอให้บรรลัยกัลป์กลับไปดีกว่าจะได้ไม่ตาย แต่บรรลัยกัลป์ไม่ยอมกลับ จึงรบกับหนุมาน บรรลัยกัลป์ ตัวลื่นเนื่องจากสำเร็จพิธีชุบตัวด้วยน้ำว่านหนุมานไม่สามารถจับตัวได้  จึงเหาะไปถามฤาษีพระทิศไพ ท่านหยิบฝุ่นทรายมาโรยตรงหน้า และว่า "บอกไม่ได้ เดี๋ยวฆ่ากันตายพระฤาษีจะมีบาป เจ้าเป็นลิงฉลาดก็คิดเอาเอง"  หนุมานจึงเหาะกลับไปใช้ฝุ่นทรายซัดร่างบรรลัยกัลป์หมายจะจับตัว แต่บรรลัยกัลป์ขอสู้ตายดีกว่าถูกจับ จึงถูกหนุมานแทงตายด้วยตรีเพชร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 16:23
คำถามข้อนี้  คุณหลวงวิจารณ์คาวีที่เป็นเพื่อนกันอยู่ต่างกรมส่งมา
คุณหลวงวิจารณ์คาวีถามว่า  โคกระบือในเรื่องรามเกียรติ์
มีบทบาทอยู่ในตอนใดบ้าง  จงยกเล่ามาคนละ ๒ ตอน



มูลโคเป็นยารักษาพระลัษมณ์

เมื่อพระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท  หนุมานต้องไปเก็บยามาแก้
คือต้นตู่ตัว  สังกรณีตรีชวาและมูลโคสดสีดำของโคอุสุภราชที่อยู่ในถ้ำอินทกาลคีรี
หนุมานทำได้สำเร็จ  เพราะสรรพสิ่งจากวัว ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นทั้งสดแห้ง
มูลวัวแห้งใช้เป็นเชื้อเพลิง  ฉาบทาผนังและพื้นห้อง   ใช้ได้ทั้งเจิม  กินเป็นส่วนผสมของยา ฯลฯ



นนทกาลถูกสาป
เป็นยักษ์ข้าของพระอิศวร  เฝ้ากำแพงชั้นใน  ไร้คู่อยู่หมื่นปี  เมื่อเห็นนางมาลีเคยออกไปเก็ยดอกไม้ก็หลงรัก  เด็ดดอกไม้ปาไปทางนาง

นางตกใจร้องกรีดแล้วไปฟ้องพระอิศวร  แค้นมาก  ทหารยักษ์มาลวนลามด้วยกิริยา

พระอิศวรโกรธมากเพราะเป็นการละเมิดกฏของวัง   นนทกาลถูกสาปให้ลงไปเกิดเป็น ควายอยู่ในป่า  ให้สมกับที่บังอาจมามองนางสวรรค์
แล้วให้โดนลูกฆ่าตายจึงจะกลับมาเกิดได้

นนทกาลรำพันว่า

โอ้ว่าตัวกูนี้ไม่ดี
เสียทีที่เกิดมาเป็นชาย
ไร้การภิรมย์สมสวาท
ชั่วชาติกว่าบุรุษทั้งหลาย

น่าคิดอยู่เหมือนกัน   ที่จริงถ้าจะขอประทาน  ท่านก็อาจจะให้ได้  แต่การละเมิดกฏนั้น  ยกโทษให้ไม่ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 16:26
คุณหนูดีดีตอบตรงตามเวลา ๑๖.๐๐ น.เป๊ะๆ

คุณหนูยกเรื่องกำเนิดนางมณโฑ
กับตอนศึกบรรลัยกัลป์ที่หนุมานแปลงกายเป็นกระบือติดหล่ม
เพื่อตัดกำลังของบรรลัยกัลป์

ตอนกำเนิดนางมณโฑนั้น ขอตัดคะแนน  ๑/๒ คะแนน
เพราะที่ว่า  ตั้งชื่อให้ว่า “นางมณโฑ” ที่แปลว่า “กบ” อันเป็นสถานภาพเดิมของนาง
ไม่ถูกต้อง  ที่ถูกต้อง  ต้องบอกจึงให้ชื่อว่า นางมณโฑ  อันแปลงมาจากคำว่า มณฑก
ที่แปลว่า  กบ  อันเป็นสถานภาพเดิมของนาง

ฉะนั้นคิดคะแนนแล้ว  คุณหนูดีดีได้  ๙ ๑/๒  คะแนน

จริงๆ  ในรามายณะ  นางมณโฑ  มีชื่อเต็มว่า  มณโฑทรี  (มณฺฑ  +  อุทรี)
แปลว่า  นางผู้มีเครื่องประดับที่ท้อง  พอมาตกถึงไทยอยุธยา เพี้ยนเป็นมณโฑคิรี
(นางผู้มีภูเขาประดับ)  ดังปรากฏในบทละครรามเกียรติ์กรุงเก่า
จำได้ว่ารามเกียรติ์ก็ใช้ชื่อ มณโฑคิรี  เหมือนกับไทยอยุธยา
แต่พอมาถึงสมัยหลังคงเพราะชื่อยาวเลยตัดเหลือแต่มณโฑ  
พอตัดแล้วไม่รู้จะแปลว่าอะไรก็เลยลากเข้าไปที่ มณฑก ที่แปลว่า กบ
นางงาม ก็เลยเป็น เจ้าหญิงกบ  เสียนี่  สนุกดีจัง  (แหม  น่าเอาตั้งคำถามจัง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.พ. 11, 16:31
คุณวันดี  ตอบเรื่องมูลโคอุสุภราชเป็นยาแก้หอกกบิลพัท
ได้ ๕ คะแนน

และเอาเรื่องนนทกาลละเมิดกฎมณเฑียรบาลเขาไกรลาส
ไปลวนลามนางฟ้านางสวรรค์  จนพระอิศวรสาปให้ไปเกิดเป็นควายชื่อทรพา
หึหึ  คุณวันดีคงลืมอ่านกฎเหล็กของข้อนี้  ว่าถ้าเอาเรื่องทรพาทรพีมาเล่า
เราจะให้ติดลบ ๕  คะแนน

ผมไม่อยากให้คุณเสียคะแนนเปล่าๆ  โปรดเปลี่ยนตัวอย่างใหม่ด่วน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 16:50
คำสั่งไม่ให้เล่าเรื่องทรพาทรพี   แต่นี่คือเรื่องที่มาของทรพา

คนละตอนกันโดยสิ้นเชิง  แสดงว่าผู้ชายคนหนึ่งก็ได้กระทำผิดอย่างมหาศาลเพราะเกิดจะมีความพอใจผู้หญิงตามธรรมชาติน่ะหรือ

ดิฉันไม่ขอเปลี่ยนค่ะ    คุณหลวงเป็นผู้ให้คะแนนก็สามารถตัดได้อยู่แล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 11, 18:43
คำถามข้อที่ ๖๓.

คำถามข้อนี้  คุณหลวงวิจารณ์คาวีที่เป็นเพื่อนกันอยู่ต่างกรมส่งมา
คุณหลวงวิจารณ์คาวีถามว่า  โคกระบือในเรื่องรามเกียรติ์
มีบทบาทอยู่ในตอนใดบ้าง  จงยกเล่ามาคนละ ๒ ตอน
อ้อ  คุณหลวงวิจารณ์คาวีท่านฝากมาบอกด้วยว่า 
ตอน ทรพาทรพี ไม่เอา  ฟังเบื่อแล้ว  ใครยกมาให้คะแนนติดลบ -๕
ใครตอบซ้ำกับที่คนอื่นตอบแล้ว  หักตัวอย่างที่ซ้ำ ตัวอย่างละ ๑ ๑/๒ คะแนน
ข้อนี้คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์
เริ่มโพสต์ ตั้งแต่  ๑๖.๐๐  น.


๑. ตอนหนุมานรบกับยักษ์บรรลัยกัลป์ เนื่องจากพระรามสั่งให้หนุมานไปปราบบรรลัยกัลป์ หนุมานจึงออกอุบายแปลงเป็น "กระบือ" แล้วติดหล่มเพื่อรอบรรลัยกัลป์ และเจรจาความกันให้บรรลัยกัลป์กลับไป จะได้ไม่ต้องถูกฆ่าตาย แต่บรรลัยกัลป์ไม่เชื่อ ในท้ายสุดก็ถูกหมุมานฆ่าตาย

๒. ตอนนางสีดาเดินในป่า หลังจากที่พระรามเจอภาพทศกัณฐ์ที่นางสีดาซุกไว้ (เนื่องจากนางอดูลปิศาจใช้เล่ห์กลให้นางสีดาวาดภาพทศกัณฐ์แล้วลบไม่ออก) พระรามจึงกริ้วให้พระลักษณ์นำไปฆ่าเสีย แต่พระลักษณ์ปล่อยนางไป และพระอินทร์ได้แปลงเป็นเนื้อแหวะหัวใจไปให้พระรามแทน หลังจากนั้นนางสีดาก็เดินอยู่ในป่า จนพระอินทร์แปลงเป็น "กระบือ" เพื่อนำทางนางสีดาไปยังสำนักพระวัชมฤคฤาษี และนางสีดาก็ให้กำเนิดพระมงกุฎ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 20:50
     พิชัยสงครามฮินดู บอกว่า   อินี่ไปไม่ได้ก็ถอยซินายจ๋า      ยอมถอยเพราะข่าวดีบางอย่างในวงการหนังสือ
 

ตอนที่ ๒  ของ ข้อ ๖๓

       หลังจากที่ท้าวชนกได้ผอบมาจากดอกบัว  เปิดขึ้นเห็นทารกหญิง  ได้นำมาเลี้ยงดู   ได้ฝังผอบพระธิดา
ไว้ที่ใต้พุ่มพระไทร  ฝากให้เทวดาเลี้ยงดู  ได้เกิดมีดอกบัวทองขึ้นกลางหลุม  พระมุนีจึงวางผอบไว้

เมื่อจะคืนกลับนครมิถิลาได้เรียกนายโสมมาและพยายามขุดหาผอบ  แต่หาไม่พบ

ท้าวชนกจึงสั่งให้นายโสมเข้าไปในเมืองให้หาแอกไถมาขุดดินหาพระธิดา
ขุนนางพาวัวและควายมามากมาย

ให้เทียมคู่โคและกาสร                       ซับซ้อนเกลื่อนกลาดดาษป่า
ไถไปตามสั่งพระสิทธา                      เวียนรอบฉายาต้นไทร

หาไม่พบ

ท้าวชนกได้ตั้งใจขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ขอจงพระยาอุสุภราช                        ชาติโคอาชาเฉลิมศรี
นำให้พบองค์พระบุตรี                        พระโยคีว่าแล้วก็ไถไป

พบดอกบัวที่มีผอบ  มีนางงามอายุ ๑๖ ปี อยู่ในนั้น   ต่อมาได้ตั้งชื่อว่า  สีดา



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 ก.พ. 11, 21:20
คำถามข้อที่ ๖๓.

คำถามข้อนี้  คุณหลวงวิจารณ์คาวีที่เป็นเพื่อนกันอยู่ต่างกรมส่งมา
คุณหลวงวิจารณ์คาวีถามว่า  โคกระบือในเรื่องรามเกียรติ์
มีบทบาทอยู่ในตอนใดบ้าง  จงยกเล่ามาคนละ ๒ ตอน
อ้อ  คุณหลวงวิจารณ์คาวีท่านฝากมาบอกด้วยว่า  
ตอน ทรพาทรพี ไม่เอา  ฟังเบื่อแล้ว  ใครยกมาให้คะแนนติดลบ -๕
ใครตอบซ้ำกับที่คนอื่นตอบแล้ว  หักตัวอย่างที่ซ้ำ ตัวอย่างละ ๑ ๑/๒ คะแนน
ข้อนี้คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์
เริ่มโพสต์ ตั้งแต่  ๑๖.๐๐  น.


ไม่ตอบเรื่องทรพาทรพี
ไม่ตอบซ้ำกับคนอื่น (แต่คล้ายๆ พล๊อตเดียวกัน)
ตอบเกินเวลาตั้งคำถามมามากแล้ว ไม่ผิดกฏ

คำตอบที่ได้นี้ขุนโกศลคาวีแพทย์ จากกองซีรัมเมืองโคราช ท่านกระซิบบอกมา

1. ตอนท้าวคนธรรพ์ไล่เนื้อ
ท้าวคนธรรพ์เจ้าเมือง เจ้าเมืองดิศศรีสิน ยกพลออกประพาสป่าพร้อมวิรุณพัท ผู้บุตร
ระหว่างทางก็ชมนกชมไม้ ขี่ม้าไล่ฝูงกวางไปพลาง ด้วยตัวนายนั้นไล่ฝูงกวางเพื่อจับกินเสียแล้ว
ฝ่ายไพร่ราบก็ต้องหาสัตว์ชนิดอื่นมากินแทน
"บัดนั้น                         ฝ่ายหมู่ทหารยักษี
พลเท้าพลขี่พาชี                ล้อมไล่มฤคีพัลวัน
ต่างยิงต่างแทงสับสน           ต่างตนวิ่งไล่สกัดกั้น
บ้างได้แรดวัวตัวมัน              ไม่ฟาดฟันหักคอเคี้ยวไป
บ้างจับได้ช้างง้างงา             หักขาฉีกอกสาวไส้
ที่ได้เสือสิงห์มหิงส์ไพร         ดีใจกินเล่นสำราญ"

2. ตอนพระสัตรุดต้องหอกเมฆพัท
เมื่อศึกสุริยาภพ พระสัตรุดต้องหอกเมฆพัท พระพรตก็เสียใจร้องไห้ใหญ่จนสลบไป พอตื่นมาคิดถามพิเภกว่าจะแก้อย่างไรได้
ท่านโหราก็บ่นก่อนว่าบอกแล้วไม่เชื่อว่าให้ระวังหอกเมฆพัท หอกนี้พระอิศวรให้แก่สุริยาภพไว้ มียาแก้พิษคือ
"อันจะแก้ฤทธิ์เทพศาสตรา      สรรพยานั้นมีสำหรับกัน
เอาจันทน์แดงกับมูลอุศุภราช   ซึ่งเป็นอาสน์พระอิศวรรังสรรค์
อันตัวศิลาบดนั้น               มีอยู่ในชั้นพรหมา
ลูกอยู่พิภพนาคินทร์            ให้กระบินทร์มีฤทธิ์แกล้วกล้า
เอามาประกอบบดทา           พระอนุชาก็จะรอดชีวี ฯ"
นิลพัทก็อาสาหาส่วนประกอบทั้งหมดมาได้ ทำตัวยสำเร็จ พระสัตรุตก็ทรงฟื้น
(พล็อตเรื่องเหมือนคราวพระลักษณ์ถูกหอกกบัทพัทเป๊ะเลย มีตัวยา มูลโคอศุภราช กับหินบดยา แค่เปลี่ยนจากหนุมานเป็นนิลพัทเท่านั้นเอง)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 11, 21:28
เอาภาพมาช่วยเสริมให้คุณ Art47 ภาพนิลพัท กำลังเก็บมูลจากโคอุศุภราช เป็นภาพลายรดน้ำ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 14 ก.พ. 11, 21:32
ขอบคุณครับคุณไซมีส ผู้มากด้วยภาพเก่า ;D

ถ้าให้ทายว่าลายรดน้ำนี้เขียนอยู่ที่ไหน คงตอบว่าหอเขียน วังสวนผักกาดกระมั้ง
รู้สึกคุ้นๆ กับตำหนักวัดบ้านกลิ้งนี้เหลือเกิน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 11, 21:35
ขอบคุณครับคุณไซมีส ผู้มากด้วยภาพเก่า ;D

ถ้าให้ทายว่าลายรดน้ำนี้เขียนอยู่ที่ไหน คงตอบว่าหอเขียน วังสวนผักกาดกระมั้ง
รู้สึกคุ้นๆ กับตำหนักวัดบ้านกลิ้งนี้เหลือเกิน

จุ๊ จุ๊ จุ๊  ... เอาไว้หลอกคุณหลวง ... ;D

มาแทรกภาพ พระอินทร์แปลงเป็นกระบือ ของผมบ้าง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 11, 21:36
อันนี้ให้คุณ Wandee ในตอนไถนาได้นางสีดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 11, 21:39
ภาพลายรดน้ำ ให้คุณหลวงเล็ก ละกัน  8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.พ. 11, 22:18
 
คุณไซมีสที่นับถือ

       เปลี่ยนข้อเขียนเรื่องบรรลัยกัลป์เถิด   ซ้ำ



วันนี้ข้าพเจ้่าดั้นด้นไปต่างจังหวัดอีกแล้ว  


ใครก็ไม่รู้ติดต่อมาขอยืม งานของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมชฉบับพิมพ์ต้นๆมา   แปลกจัง  มากันสองรายแล้ว


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 01:01
คำถามข้อที่ ๖๒.

๑.สมเด็จพระเด็จบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๒.เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์)
๓.พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ (ม.ล.วราห์  กุญชร)
๔.พระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม  ไกรฤกษ์)
บุคคลเหล่านี้  ได้มาทำเหตุการณ์อะไรด้วยกันซึ่งเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์
จงเล่าเรื่องมาอย่างละเอียด


       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่านเหนือโดยทางชลมารค   เนื่องในการหล่อพระพุทธชินราชจำลองซึ่งจะเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดเบญจมบพิตร

ได้มีการปิดทองพระพุทธชินราชองค์เดิม


การเล่นหนังในสมัยนั้น     ดูจะเป็นการมหรสพที่ขึ้นหน้าขึ้นตามากกว่าอย่างอื่น  นาน ๆ จะมีสักครั้ง

การเล่นหนังสมโภชพระพุทธชินราชไม่ใช่การเชิดหนังหลังจอ หรือหน้าจอ  มีคนพากย์คนเจรจากับเครื่องพิณพาทย์       แต่มีคนแต่งโขนเข้าเล่นซ้อนด้วย

คือเชิดแผ่นหนังก่อนจนจบตอน  แล้วจึงปล่อยตัวมาเล่นโขน        การเล่นหนังและโขน  สันนิษฐานว่าจะเป็นต้นกำเนิดของ "โขนหน้าจอ"

หนักเข้าหนังเชิดก็หายไป  เพราะดูอย่างเดียวไม่ออกรส  เหลืออยู่แต่โขนล้วนตลอดเรื่อง   แต่ยังไม่ทิ้งจอผ้าขาวยังมีอยู่




       ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยได้ร่วมกันแสดงเป็นผู้เชิดหนังบ้าง  เป็นตัวโขนบ้าง    


ชุดเบิกโรง  ในการสมโภชพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลก  เมื่อวันที่ ๑๙  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๔๔

โห่ ๓ ลา  จับลิงหัวค่ำ    เพลงเชิดนอก

ภาพลิงขาว      นายจ่าเรศ  (อ้น  นรพัลลภ) เป็นผู้เชิด         ภาพลิงดำ  ขุนพิจารณ์ภัณฑกิจ  (สอน ......)  เป็นผู้เชิด

ออกทางประตูขวา  กลับประตูซ้าย

หลวงศักดิ์นายเวร  (เพิ่ม  ไกรฤกษ์)    เล่นเป็นลิงดำ
หลวงฤทธินายเวร(ม.ล. วราห์  กุญชร)  เป็นลิงขาว

ลิงดำลิงขาวออกมาวิวาทดัน  ลิงขาวจับลิงดำได้   เพลงเตียว

พระยาวุฒิการบดี (ม.ร.ว. คลี่  สุทัศน์)  เล่นเป็นพระฤาษี

ผู้พากย์บทพระฤาษี คือ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์  กับ กรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา  บทพากย์นี้  กรมหลวงดำรงราชานุภาพ  ทรงนิพนธ์ขึ้นใหม่
เป็นการล้อพระยาวุฒิการบดี  เพื่อความสนุก)

บทพากย์

"มาจะกล่าวบทไป  ถึงมุนีใน  สำนักประเทศธรรมการ  สังฆกิจพิธีเชี่ยวชาญ   สำ่สงฆ์สมภารสัพพีสะพรั่งทั้งผอง    อสูรนักสวดกลัวหัวพอง   หมู่สมีที่คะนอง  
ขยาดขยั้นขวัญหนี       วันหนึ่งจีงวุฒิมุนี   จรจากกุฎี   เที่ยวเสาะซึ่งชิ้นกังไส   ลอดเลาะเสาะค้นพงไพร  เหลือบแลแปรไป  เห็นสองสวาพานร"

เห็นลิงวิวาทกัน จึงสั่งสอนให้เลิกวิวาท  แก้เชือกมัด  ปล่อยไป

เพลงรัว  แล้วเชิด


คัดจากเล่มสีน้ำเงิน        (ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสืออนุสรณ์ ๒๔๘๗  ตามข่าวปล่อย)

คงไม่หักคะแนน  เพราะตอบเร็ว กระมัง  ไม่เห็นห้ามไว้ที่ไหนนี่คะ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 08:25
อืมม์...นักรบวันดีฝีมือไม่ตกเลย 
สงสัยต่อไปคงต้องเล่นให้ยากกว่านี้แล้ว
อุตส่าห์ให้เวลาตั้ง ๕ วัน  ยังค้นหาคำตอบได้เพียงข้ามคืน
เอาไปถ้วน  ๓๐ คะแนน  นักรบท่านอื่นอย่ายอมแพ้นะครับ
(หลายคนปาดเหงื่อแล้วบริกรรมคาถาว่า
นำไปหลายช่วงตัวเลย  จะตามทันไหมนี่) ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 08:29

๑. ตอนหนุมานรบกับยักษ์บรรลัยกัลป์ เนื่องจากพระรามสั่งให้หนุมานไปปราบบรรลัยกัลป์ หนุมานจึงออกอุบายแปลงเป็น "กระบือ" แล้วติดหล่มเพื่อรอบรรลัยกัลป์ และเจรจาความกันให้บรรลัยกัลป์กลับไป จะได้ไม่ต้องถูกฆ่าตาย แต่บรรลัยกัลป์ไม่เชื่อ ในท้ายสุดก็ถูกหมุมานฆ่าตาย

๒. ตอนนางสีดาเดินในป่า หลังจากที่พระรามเจอภาพทศกัณฐ์ที่นางสีดาซุกไว้ (เนื่องจากนางอดูลปิศาจใช้เล่ห์กลให้นางสีดาวาดภาพทศกัณฐ์แล้วลบไม่ออก) พระรามจึงกริ้วให้พระลักษณ์นำไปฆ่าเสีย แต่พระลักษณ์ปล่อยนางไป และพระอินทร์ได้แปลงเป็นเนื้อแหวะหัวใจไปให้พระรามแทน หลังจากนั้นนางสีดาก็เดินอยู่ในป่า จนพระอินทร์แปลงเป็น "กระบือ" เพื่อนำทางนางสีดาไปยังสำนักพระวัชมฤคฤาษี และนางสีดาก็ให้กำเนิดพระมงกุฎ

คุณไซมีส ตอบตอนศึกบรรลัยกัลป์ซ้ำกับที่คุณหนูดีดีตอบ หัก ๑ ๑/๒ คะแนนตามกติกา
ที่ตอบตอนนางสีดาเดินป่า  เอาไป  ๕ คะแนน รวมได้ ๘ ๑/๒ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 15 ก.พ. 11, 08:29
เสริมคำตอบจากคำถามข้อที่ 62 ของคุณวันดี

เรื่องการปิดทองและสมโภชพระพุทธชินราชและการจำลองหล่อพระพุทธชินราชสำหรับประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 หน้า 518 วันที่ 3 พฤศจิกายน ร.ศ. 120)

วันที่ 19 ตุลาคม .......... เวลาเย็น .......... ทรงจุดดอกไม้เพลิงเป็นพุทธบูชาแล้ว ทอดพระเนตรหนังซึ่งข้าราชการ
กรมมหาดเล็กและกระทรงวังเล่นเป็นการสมโภชพระพุทธชินราช  ได้พระราชทานรางวัล 200 บาท และรางวัลเฉพาะตัวที่เล่นดี
อีกต่างหากแล้ว ..........


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 08:32
มีการเสริมทัพด้วย :o
ให้ ๑๐ คะแนน เป็นการให้กำลังใจ
ที่จริงน่าจะเอาเอกสารรายการบำเพ็ญพระราชกุศลวัดเบญจมบพิตร
มาลงด้วยในนั้นละเอียดเหมือนกัน (มีอ๊ะเปล่าๆ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 08:41
คุณวันดีแก้ตัวข้อที่ ๖๓ มา ให้เป็น ๑๐ คะแนนครับ
เพราะว่าเราเล่นเพื่อความรู้จึงไม่อยากให้เสียคะแนนเปล่าๆ

ส่วนคุณอาร์ท เลือกยกมา ๒ ตอนคือ
1. ตอนท้าวคนธรรพ์ไล่เนื้อ
2. ตอนพระสัตรุดต้องหอกเมฆพัท

ดีมาก  เอาไป ๑๐ คะแนน 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 08:42



เห็นเราเป็นม้าลากรถไปได้    จะจุดธูปไปฟ้องพระสารสาสน์พลขันธ์(เยรินี)


คนที่คะแนนนำไม่ใช่ข้าพเจ้า   ไม่สามารถรับสมอ้างได้




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 15 ก.พ. 11, 08:50
ที่จริงน่าจะเอาเอกสารรายการบำเพ็ญพระราชกุศลวัดเบญจมบพิตร
มาลงด้วยในนั้นละเอียดเหมือนกัน (มีอ๊ะเปล่าๆ)

แฮ่ๆๆๆๆๆ
ไม่มีอ๊ะดิ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 09:00
คำถามข้อที่  ๖๔.

"สีดาน่ากลัว"  เป็นอย่างไร  จงเล่าเรื่อง

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์   ตอบได้ทันที
ปิดรับคำตอบ  ๑๐.๐๐  น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 09:01
เข้ามาช่วยเสริมทัพอีกแรง ตามที่คุณหลวงให้หาเอกสารมาอ้างอิง เลยนำประวัติการสร้างวัดเบญจมพิตร มานำเสนอ พิมพ์ในงานพระราชเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงเฉลิมศรี ๒๔๖๖ ครับ

และสำหรับท่านใดอยากรู้ประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ผมก็เคยนำเสนอแล้วจะขอยกรื้อมาให้ชมกัน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/01/K7451551/K7451551.html


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 09:15
คำถามข้อที่  ๖๔.

"สีดาน่ากลัว"  เป็นอย่างไร  จงเล่าเรื่อง

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์   ตอบได้ทันที
ปิดรับคำตอบ  ๑๐.๐๐  น.

๑. นางสีดาน่ากลัวตรงที่นางได้รับพรจากพระอิศวรไว้ว่า หากใครได้รักนางสีดานั้น จะเข้าใกล้ไม่ได้จะต้องเร่าร้อนดังถูกไฟเผา แม้ทศกัณฐ์เองก็เข้าใกล้นางสีดาไม่ได้
"กูคือมารดาสุรารักษ์  ไตรจักรประณตบทศรี
มิใช่หญิงร้ายอัปรีย์  จะยินดีด้วยอ้ายสาธาณ์
มาตรแม้นถึงตายจะไว้ยศ  ให้ปรากฏไปทั่วทิศาน"

๒. หรือถ้าบทของนางสีดา ตอนที่น่ากลัวก็มีอยู่ คือ "นางสีดาผูกคอตาย" เนื่องจากถูกลักพาตัวกักขังไว้ในสวนกรุงลงกา ซึ่งมีความเสียใจมากจนคิดจะผูกคอตาย แต่เดชะบุญหนุมานที่มาสืบข่าวมาพบเข้าพอดี ช่วยแก้ผ้าผูกคอไว้ได้ทัน


๓. หรือจุดหนึ่งซึ่งย้อนไปถึงการกำเนิดนางสีดา ที่กล่าวคำว่า "ผลาญราพณ์"  ๓ ครั้งทำให้พิเภกจึงทำนายดวงชะตาของนางว่า จะเกิดมาเพื่อผลาญเหล่ายักษ์ ตรงนี้เองก็เป็นหนึ่งในความน่ากลัวของนางที่ถือกำเนิดมาเพื่อทำลายล้างเหล่ายักษ์

"เป็นบุตรีศรีศุภลักษณ์เลิศ  งามประเสริฐดั่งนางในไตรจักร
ผิวพรรณนวลละอองผ่องพักตร์  ผิดสุริยวงศ์ยักษ์ในลงกา
นางนั้นร้องขึ้นว่าผลาญราพณ์  สามคาบปรากฏถ้วนหน้า
แต่องค์บิตุเรศมารดา  ไม่ได้ยินวาจานางนงลักษณ์"



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 15 ก.พ. 11, 09:21
คำถามข้อที่  ๖๔.
"สีดาน่ากลัว"  เป็นอย่างไร  จงเล่าเรื่อง
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์   ตอบได้ทันที
ปิดรับคำตอบ  ๑๐.๐๐  น.

“สีดาน่ากลัว”
น่าจะหมายความถึงว่า นางสีดามีพฤติกรรมที่น่ากลัวต่อคนรอบข้าง แบบไม่นึกว่านี่คือนางสีดาผู้อ่อนหวาน
ซึ่งมีอยู่ตอนหนึ่งดังจะนำเสนอต่อจากนี้

จับความเล่าถึงทศกัณฐ์เห็นนางสีดาแล้วเกิดความรักใคร่ (โดยไม่รู้ว่าเป็นบุตรสาว) จึงสั่งให้มารีสแปลงกายเป็นกวางทอง
เพื่อหลอกล่อให้นางสีดาชอบ ซึ่งเป็นไปตามแผนการ เมื่อนางสีดาเห็นกวางทองตัวนั้นเดินเหยาะย่องเข้าใกล้อาศรม
กินหญ้าพลางแอบมอง ก็นึกชอบในใจ จึงบอกให้พระรามออกไปตามกวางตัวนั้น ประเภทจับเป็นไม่ได้ ก็จับตายเถิด
"พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช           จงโปรดเกศข้าบาทบทศรี
ช่วยจับสุวรรณมฤคี                  มาเลี้ยงไว้ที่ศาลา
น้องรักจัดได้เชยชม                 ให้เป็นบรมสุขา
แม้นตายจงเอาหนังมา               ตัวข้าจะลาดเป็นอาสน์นอน"
ฝ่ายพระสวามีก็บอกกับพระมเหสีว่า อาจจะเป็นแผนของยักษ์ก็ได้ ที่ทำทีมาหลอกล่อ เพราะกลัวมาต่อตีซึ่งหน้าแล้วจะแพ้
แต่นางสีดาผู้เอาแต่ใจก็ยังไม่ยอม กลับบ่นพระรามว่า
"พระองค์ผู้ทรงศักดาฤทธิ์           ทั่วทั้งทศทิศก็ปราบได้
อันกวางสุวรรณอำไพ               ในหิมวาลัยก็ย่อมมี
แต่หากไม่ทรงพระเมตตา           จึ่งแกล้งว่ามารยายักษี
แม้นมิได้พญามฤคี                  ข้านี้จะม้วยชีวัน"
พูดไปก็ร้องไห้ไปกับตักพระราม แถมทั้งยังกลิ้งเกลือกดิ้นพล่านอีกด้วย เหมือนเด็กน้อยต้องการของขวัญแต่พ่อแม่ไม่ซื้อให้
พระรามทนดูเมียรักไม่ได้ จึงยินยอมตกลงใจไปตามกวางมาให้ภรรยาของตน และบอกกับน้องชายว่าช่วยดูแลนางสีดาแทนด้วย
ฝ่ายพระลักษณ์ ก็ยังคิดว่ากวางนั้นเห็นผิดประหลาดนัก จึงทูลทัดทานอีกครั้ง
แต่พี่สะใภ้ก็ยังเอาแต่ใจ แถมขัดเคืองน้องสามีอีกว่า
"จึ่งว่าขอบใจเจ้าลักษณ์             ภักดีต่อองค์พระเชษฐา
ตัวพี่เป็นบาทบริจา                  ได้ความยากมาด้วยกัน
ตั้งแต่วันจากพระบุรี                 ไม่มีสิ่งสุขเกษมสันต์
วันนี้พบกวางสุวรรณ                ผิวพรรณเป็นที่จำเริญตา
พี่จะใคร่ได้ไว้ชมเล่น                ตามประสาเข็ญใจที่ในป่า
ให้คลายวายทุกข์เวทนา             อนิจจาควรหรือไม่ปรานี
จะทูลห้ามไยเล่านะน้องรัก          จงชักพระขรรค์มาฟันพี่
ว่าพลางแสนโศกโศกี               เทวีเพียงสิ้นชีวัน"
เมื่อหมดหนทางหยุดรั้ง พระรามก็ต้องออกตามกวาง... แล้วสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์ก็เริ่มขึ้น ณ จุดนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 09:22
ตอบ รายการแสดงมหรสพในวันงานฉลองวัดเบญจมบพิตรซึ่ง พระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ได้คนตรีพิณพาทย์เครื่องใหญ่ และแสดงตัวหนังหน้าจอ ทั้ง ๒ อย่างเลยครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 09:23
คำถามข้อที่  ๖๔.

"สีดาน่ากลัว"  เป็นอย่างไร  จงเล่าเรื่อง

อ่านมาจาก ประชุมพระราม  ของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป



      พระรามได้แผลศรไปสังหารรากษสเป็นจำนวนมาก   ราพณ์สั่งให้แม่ทัพและทหารถอยไป  

แผลงศรที่ธนูคมปานมีด  ทะลุพระอุระพระราม   ลูกธนูจมไปถึงนรก


  นางสีดาผู้มีความจงรักภักดีต่อสามี  โกรธมาก  คว้าลูกธนูแล้วกลายร่างเป็นเทวี  มีร่างร้าย  สี่กร  ตากลวงโบ๋  ลูกตากลอกไปมา  ขายาว  ร้องเสีบงดัง  สวมมาลัยร้อยด้วยกระโหลกผี  แลบลิ้น  ตัดเศียรราพณ์
ทรงดาบและโล่

 เอาเล็บจิกและฉีกทหารยักษ์ตาย   พื้นธรณีก็ไม่สามารถทนทานได้เพราะนางมีนางปีศาจออกมาจากขุมขนเป็นพันมาเล่นคลีด้วย

  ฆ่ายักษ์ตายไป ประมาณว่าอาละวาดไปทั่ว กระทืบเท้าโครมๆแบบเจ้าแม่ทุรคา  แผ่นฟ้าและแผ่นดินจะทลายเพราะความโกรธของนาง

ปวงเทพต้องลงมาช่วยพระรามให้ฟื้น  เพราะไม่ทราบจะจัดการกับผู้หญิงขี้โมโหได้อย่างไร

โลกจะพินาศอยู่แล้ว




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 09:47
ตอบเพิ่มเติมสำหรับงานมหรสพ สมโภชมี โขน งิ้ว ยี่เก หุ่น ม้าหมุน พิณพาทย์ และการแสดงจุดพลุไฟ อย่างไทย
ที่น่าสนใจใคร่รู้คือ "หุ่นกระบอกเล็ก หม่อมราชวงศ์เถาะ" ถ้าคุณหลวงมีเอกสารช่วยนำมาเล่าให้ฟังกันสักครั้งเถิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.พ. 11, 09:49
เป็นบุตรีศรีศุภลักษณ์เลิศ            งามประเสริฐดั่งนางในไตรจักร
ผิวพรรณนวลละอองผ่องพักตร์      ผิดสุริยวงศ์ยักษ์ในลงกา
นางนั้นร้องขึ้นว่าผลาญราพณ์        สามคาบปรากฏถ้วนหน้า
แต่องค์บิตุเรศมารดา                 ไม่ได้ยินวาจานางนงลักษณ์

ความน่ากลัวในร่างที่สวยงาม


 ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 10:31
จากทุกๆคำตอบครบ ๓๐ ข้อดังที่เคยเอ่ยพจนาไว้ บัดนี้ไซร้ใคร่ขอถาม
ด้วยเนื้อความนอนไม่หลับหลายพรรษา กระส่ายกระสับ คับคล้ายคับคลา
ว่าเพลาสิ่งใด มีเท่าไร?

๑. ใคร่อยากถามพระชนม์ทศกัณฐ์ อายุนั้นมากน้อยสักแค่ไหน กำเนิดมาพระชนม์สักเท่าใด รบกวนให้วานบอกผู้น้อยเอย

๒. เมื่อรู้แจ้งยักษากลับมาเกิด ก่อกำเนิดทศพักตร์ทั้งสิบเศรียร อีกสักพักรามลักษณ์กำเนิดเวียน ใคร่อยากรู้อายุนั้นห่างกันเท่าใด

๓. ซึ่งเรียนมารามเกียรติ์กระจ่างแจ้ง ช่วยสำแดงกาลเวลามหาศาล เริ่มไตรดรายุคยักษาถึงพระราม จนได้ครองอยุธยามหาสถาน ช่วงเวลาแห่งนี้รามเกียรติ์ ใช้เวลาทั้งเรื่องนานกี่ปี

ขอคุณหลวงจงเล่าดำรัสแจ้ง ให้สำแดงฤทธาบังเกิดผล แก่ข้าน้อยด้อยความรู้สู่เยาวชน บังเกิดผลทั่วฟ้าผลาดินฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 10:45
คุณวันดีตอบเรื่อง นางสีดาน่ากลัว  ถูกต้อง เอาไป ๑๐ คะแนน
คนอื่นที่ตอบมา  ไม่ถูก ไม่มีคะแนนให้   เสียใจด้วยเน้อ

หุ่นกระบอกเล็ก หม่อมราชวงศ์เถาะ  จำได้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงตรัสเล่าไว้ที่ใดสักแห่ง
ในสาส์นสมเด็จกระมัง  แต่ภาคใดเล่มใดจำไม่ได้  หนังสืออยู่ห่างมือมาก
จำได้ว่า  หุ่นนี้เกี่ยวข้องกับพระโอรสสมเด็จกรมพระยาดำรงพระองค์หนึ่งด้วย
(ผมกล่าวถึงแต่เท่านี้   มีเวลาจะไปค้นให้)


ส่วนคำถามที่ถามมา  ๓ ข้อ  ไม่ทราบว่ามีคำตอบแล้วหรือไม่
เพราะเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ไทยดูจะไม่ผูกติดเรื่องเวลาอย่างกับนิยายสมัยนี้
ทำให้คำนวณเวลายาก   และโปรดสังเกตว่าผมไม่เคยถามเรื่องเวลาอายุ
ในเรื่องรามเกียรติ์เลย  เพราะยากเกินไป  ขออนุญาตไม่ตอบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 15 ก.พ. 11, 10:51
คำถามข้อที่  ๖๔.

"สีดาน่ากลัว"  เป็นอย่างไร  จงเล่าเรื่อง

อ่านมาจาก ประชุมพระราม  ของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


      พระรามได้แผลศรไปสังหารรากษสเป็นจำนวนมาก   ราพณ์สั่งให้แม่ทัพและทหารถอยไป   

แผลงศรที่ธนูคมปานมีด  ทะลุพระอุระพระราม   ลูกธนูจมไปถึงนรก


  นางสีดาผู้มีความจงรักภักดีต่อสามี  โกรธมาก  คว้าลูกธนูแล้วกลายร่างเป็นเทวี  มีร่างร้าย  สี่กร  ตากลวงโบ๋  ลูกตากลอกไปมา  ขายาว  ร้องเสีบงดัง  สวมมาลัยร้อยด้วยกระโหลกผี  แลบลิ้น  ตัดเศียรราพณ์
ทรงดาบและโล่

 เอาเล็บจิกและฉีกทหารยักษ์ตาย   พื้นธรณีก็ไม่สามารถทนทานได้เพราะนางมีนางปีศาจออกมาจากขุมขนเป็นพันมาเล่นคลีด้วย

  ฆ่ายักษ์ตายไป ประมาณว่าอาละวาดไปทั่ว กระทืบเท้าโครมๆแบบเจ้าแม่ทุรคา  แผ่นฟ้าและแผ่นดินจะทลายเพราะความโกรธของนาง

ปวงเทพต้องลงมาช่วยพระรามให้ฟื้น  เพราะไม่ทราบจะจัดการกับผู้หญิงขี้โมโหได้อย่างไร

โลกจะพินาศอยู่แล้ว



เท่าที่ฟังดูน่ากลัวจริงๆ คืนนี้คงนอนไม่หลับ เพราะเห็นแต่ภาพนางสีดากลายเป็นเจ้าแม่กาลีไปแล้ว
อึ๊ยๆๆๆๆ ::)

ช่วงนี้เป็นเวลาของคุณวันดีต้องรีบเก็บคะแนนให้มากๆ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 11:17

คะแนนน้อยกว่าคุณอาร์ต  สามกิโลเมตร  เพราะไม่มีแจก แถม อัด    ไม่เผลอยังถูกตัด

ข่าวปล่อยก็ไม่ได้ข่าวล่ามาดึก ๆ          ได้แต่ข่าวสามนาที 

วันจันทร์นี้ไปดู  ซุปตา กันไหม

แล้วเราไปบุกไปถอดรหัสโบราณกัน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.พ. 11, 11:38
เมื่อคำถามมาครบ ๓๐ ข้อ  ต้องมีคนตั้งคำถาม ถามผม ๑ ข้อ
ตามที่ได้ตกลงกันไว้  ก็ขอให้ใครก็ได้มาตั้งคำถามครับ

ไม่ทราบว่าอยู่ในกติกาของคุณหลวงเล็กหรือเปล่า

ขออนุญาตถามเรื่องรามายณะ ในความเห็นของคุณหลวง
แต่งก่อนหรือหลังสมัยพุทธกาล

 ;D


หากคุณหลวงเล็กว่างจากปริศนารามเกียรติ์ภาค ๒ แล้ว

กรุณาพิจารณาคำถามนี้ด้วย

 ::)

อยากทราบจริง ๆ นะเนี่ย

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 11:48

คะแนนน้อยกว่าคุณอาร์ต  สามกิโลเมตร  เพราะไม่มีแจก แถม อัด    ไม่เผลอยังถูกตัด

ข่าวปล่อยก็ไม่ได้ข่าวล่ามาดึก ๆ          ได้แต่ข่าวสามนาที 

วันจันทร์นี้ไปดู  ซุปตา กันไหม

แล้วเราไปบุกไปถอดรหัสโบราณกัน



ไปด้วยคนดิ   อยากไปจัง  แต่ติดงานง่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 11:57
เมื่อคำถามมาครบ ๓๐ ข้อ  ต้องมีคนตั้งคำถาม ถามผม ๑ ข้อ
ตามที่ได้ตกลงกันไว้  ก็ขอให้ใครก็ได้มาตั้งคำถามครับ

ไม่ทราบว่าอยู่ในกติกาของคุณหลวงเล็กหรือเปล่า

ขออนุญาตถามเรื่องรามายณะ ในความเห็นของคุณหลวง
แต่งก่อนหรือหลังสมัยพุทธกาล

 ;D


หากคุณหลวงเล็กว่างจากปริศนารามเกียรติ์ภาค ๒ แล้ว

กรุณาพิจารณาคำถามนี้ด้วย

 ::)

อยากทราบจริง ๆ นะเนี่ย

 ;D

ไม่ลืมหรอก   แต่ขอใช้เวลาตั้งคำถามไปให้ใกล้จบก่อนแล้วจะตอบ

อันที่จริงแล้ว  มีฝรั่งเขาเสนอความเห็นไว้หลายคน  ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมาก
คือ มีคำประพันธ์บางบทในรามายณะไปซ้ำความและเหมือนกันกับคาถาบาลีในชาดกด้วย
นอกจากนี้ยังมีชาดกในพุทธศาสนาที่เป็นเรื่องย่อยจากรามายณะปรากฏอยู่  อย่างน้อย ๓ เรื่อง
อันเป็นที่มาที่ให้ฝรั่งสรุปว่า  รามายณะน่าจะแต่งก่อนพุทธกาล   

สำหรับผมแล้ว  รามายณะคงไม่ได้แต่งเสร็จในระยะเวลาสั้นๆ
การแต่งอาจจะกินเวลาเป็นร้อยปี  อาจจะอยู่ในรูปอาขยานหรือมุขปาฐะมาก่อน
จากสั้นแล้วค่อยๆ พอกยาวขึ้น  แต่งเติมเข้าไปจนยาว
การจะกำหนดอายุรามายณะทำได้ไม่ง่าย   แต่ไม่ร่วมยุคกับวรรณกรรมพระเวทแน่นอน
เพราะลักษณะฉันท์ที่ใช้ต่างกัน  รามายณะเป็นวรรณกรรมช่วงต้นทางของยุคปุราณะ
อาจจะเก่าพอๆ กับปุราณะบางเล่ม    ขอตอบเท่านี้  รายละเอียดเอาไว้ใกล้จบจะมาตอบอีกครั้ง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 14:04
คำถามข้อที่  ๖๕.

วานรที่ชื่อ สังขะ  อยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้น

ข้อนี้  ๕  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบเวลา  ๑๕.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 15:00
คำถามข้อที่  ๖๕.

วานรที่ชื่อ สังขะ  อยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้น

ข้อนี้  ๕  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบเวลา  ๑๕.๐๐ น.

สังขะ หรือ สังข์ นำมาสมาสกับวานร กลายเป็น สังขวานร หมายถึง ลิงที่มีผิวสีขาวดังหอยสังข์ หรือ ลิงเผือกก็ได้ ซึ่งปรากฎในตอนหนึ่งของรามเกียรติ์ คือ
ตอนศึกมูลพลัม และ ศึกสหัสเดชะ

การปรากฎตัวของสังขวานร เกิดจากการที่หนุมานได้แปลงร่างเป็นลิงเผือก อันมีนามว่า สังขวานร ซึ่งแปลงร่างไปเพื่อแย่งกระบองวิเศษจากสหัสเดชะ ซึ่งกระบองนี้มีคุณสมบัติคือ ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น  ภิเภกจึงออกอุบายแทร้งว่า เป็นลิงหนีความโหดร้ายจากกองทัพพระรามหนีมาเพื่อหวังพึ่งสหัสเดชะ และทำประจบประแจง เอาใจต่างๆนานา จนได้ขึ้นรถศึกไปด้วยกับสหัสเดชะ และสหัสเดชะก็หลงกลยอมให้ถือกระบองวิเศษ จากนั้นสังขวานรก็แปลงร่างคืน คือ หนุมาน หักกระบองทิ้ง และจับสหัสเดชะมาให้พวกลิงมาเยาะเย้น ก่อนจะฆ่าตาย

แทรกภาพจิตรกรรมฝาผนังห้องที่ ๘๕ หนุมานรบกับสหัสเดชะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 15 ก.พ. 11, 15:00
คำถามข้อที่  ๖๕.

วานรที่ชื่อ สังขะ  อยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้น
ข้อนี้  ๕  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบเวลา  ๑๕.๐๐ น.

ขอตอบค่ะ  ;D

สังขะวานร  เป็นชื่อปลอมของหนุมาน เพื่อหลอกท้าวสหัสเดชะให้เชื่อว่าเป็นพลทหารหนีจากกองทัพพระราม

อยู่ในรามเกียรติ์ตอน ศึกมูลพลัมและสหัสเดชะ
 
ทศกัณฑ์ได้ขอให้มูลพลัม มหาอุปราชเมืองปางตาล ยกทัพมาช่วย พระยามูลพลัมก็ชวนพี่ชาย คือท้าวสหัสเดชะพระยักษ์พันเศียรสองพันกร มาช่วยทศกัณฑ์รบด้วย ...
พระรามออกรบเอง และพระลักษณ์ได้ยิงศรพลายวาตถูกมูลพลัมตาย ส่วนสหัสเดชะมีตะบองวิเศษที่ได้รับมาจากพระพรหมมีฤทธิ์ ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น พิเภก จึงทูลพระราม ให้ใช้หนุมานไปทำอุบาย ชิงตะบองวิเศษมาโดยเร็ว หนุมานแปลงเป็นลิงเผือกน้อยชื่อสังขะวานร ทำอุบายหนีความโหดร้ายในกองทัพพระราม มาพึ่งเย็น
สหัสเดชะหลงเชื่อจึงให้ขึ้นรถศึกมาด้วย สังขะวานร(หนุมาน) ก็ประจบประแจงทำอุบายต่าง ๆ จนสหัสเดชะ ยอมให้ถือตะบองวิเศษ จะได้ช่วยรบ ทันใดนั้นหนุมานก็แผลงฤทธิ์ แล้วหักตะบองวิเศษ เป็นสองท่อนโยนคืนไป และใช้หางมัดสหัสเดชะไว้ ต่อมาหนุมานใช้ตรีเพชรตัดหัวขาดตาย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 15:04
ส่วนภาพนี้คือสังขวานร

"วายุบุตรแปลงรูปแม้น พรหมมาน
พักตร์สี่แปดกรทยาน เยี่ยมฟ้า"

น่าจะเป็นกลศึกที่ต้องแปลง ๔ พักตร์เนื่องจากท้าวสหัสเดชะอาจจะเห็นว่า พระรามมีทหารเอกคือ หนุมาน ผิวกายเผือก ส่วนสังขวานร นั้นเหนือกว่า มีมือ มีเศียรมากกว่า ถ้านำเข้ามาร่วมเป็นพวกได้น่าจะมีชัยเหนือฝ่ายพระราม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 15:05
ตอบมาพร้อมกัน ๒ คนทั้งคุณไซมีส คุณดีดี  ให้ไปคนละ ๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 16:04
คำถามข้อที่  ๖๖.

ลักษณะอันพึงเว้น ๖ ประการ ของแม่นมที่ดี มีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
และเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนใด

ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้จนถึง  ๒๐.๐๐  น.ของวันนี้
เกินเวลาที่กำหนด  หักคะแนนครึ่งชั่วโมงละ  ๒  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 16:07
คำถามข้อที่  ๖๕.

วานรที่ชื่อ สังขะ  อยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเนื้อเรื่องตอนนั้น
ข้อนี้  ๕  คะแนน  ตอบหน้าไมค์  เริ่มตอบเวลา  ๑๕.๐๐ น.



สหัสเดชะมีกระบองต้นชี้ตายปลายชี้เป็น   พิเภกได้ทูลพระราให้ใช้หนุมานไปต่อสุ้โดยทำอุบายหลอกลวง

หนุมานได้แปลงเป็นลิงเผือกชื่่อ  สังขะ  อยู่เมืองขีดขิน  เป็นลูกน้องพาลี  สุครีพได้ต้อนมารบด้วย

ได้ความลำบากมาก  นอนไม่เต็มตา  หากินไม่อิ่มท้อง   กลางวันก็ใช้ไม่หนุดหน่อน  กลางคืนก็ให้จุกช่องล้อมวง

จึงหนีทัพมา

สหัสเดชะให้นั่งหน้ารถ  สังขก็บอกว่ากลัวตอนรบกันขอนั่งท้ายรถ    แล้วทำเป็นกลัวและร้องไห้ว่าคิดถึงพี่น้องพลพรรคลิงจะมาตายเสีย

แล้วทำเป็นกลัวเพราะไม่มีอาวุธ         ท้าวเธอก็ยื่นคทาเพชรให้

หนุมานเลยจับไปถวาย  เพราะโง่ขนาดนี้ไม่อยากฆ่าจะเสียชื่อ

กลับกลายเป็นมหาพรหมาน                           สี่พักตร์สูงตระหง่านเวหา

แปดกรสำแดงฤทธา                                   วานรโถมถีบอสุรี

ท้าวสหัสเดชะนั้นเป็นห่วงสนมที่นำมาด้วยที่กำลังร้องกรี๊ดกร๊าดกันอยู่

ท้าวสหัสเดชะด่าว่ามาใช้อุบาย

หนุมานพูดว่า

อันกลณรงค์สงคราม                                    จะถือความสัตย์กระไรได้
สุดแต่ใครดีก็มีชัย                                       อย่าหน้าด้านไปว่าไอ้พาลา

แล้วหักกระบองโยนไปให้ว่าไม่ต้องการ

ท้าวสหัสเดชะต่อสู้ด้วยมือทั้งสองพัน

หนุมานแทงด้วยตรี  แย่งอาวุธทั้งสองพันมา

ท้าวสหัสเดชะก็หักภูเขามาทุ่ม

หนุมานได้เนรมิตตัวให้สูงใหญ่  แล้วใช้หางรวบรัดไว้

สหัสเดชะ

แว้งวัดสลัดด้วยฤทธี                         หางกระบี่ไม่หลุดจากกายา
ยิ่งไหวทีไรก็มัดเข้า                           เจ็บปวดรวดเร้าเป็นหนักหนา

หนุมานก็เหาะมาเฝ้าพระราม  โดยเอาหางหย่อนห่างจากตัว  หิ้วพระยายักษ์มาด้วย

และตัดหัวด้วยตรี

ในการนี้พระรามสั่งให้พลลิงไปเยาะเย้ยก่อนตาย        พลลิงก็กระทำกำ้เกินโดยมานางสนมมาปล้ำดึงผ้าผ่อน
เรียกว่าถือโอกาสกินกำไรเสียหน่อย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 16:22
คุณวันดี  ตอบมาละเอียดยาวหลายกระเบียดนิ้ว
เผอิญคะแนนให้ได้แค่ ๕ คะแนน 
แต่ผมจะแถมให้อีก ๒ คะแนนเป็นค่าพิมพ์ยาว
(ให้เฉพาะข้อนี้นะ  ข้ออื่นค่อยว่ากันใหม่)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 16:39
คำถามข้อที่  ๖๖.

ลักษณะอันพึงเว้น ๖ ประการ ของแม่นมที่ดี มีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
และเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนใด

ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้จนถึง  ๒๐.๐๐  น.ของวันนี้
เกินเวลาที่กำหนด  หักคะแนนครึ่งชั่วโมงละ  ๒  คะแนน

โห อะไรเนี่ย มีการแจก แถม ทีเราส่งหนังสือเก่าไปให้ น่าจะให้สักนิดเนาะ

เรื่องแม่นม งืมๆๆๆๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 16:39
ฮ้า!!    
อุ๊บ  อุดปากไว้    

เมื่อไรจะได้ทีละ  ๒๐  ๔๐ บ้างหนอ

ถ้าใต้เท้ากรุณาหลุด...ไปสอนหนังสือเข้า  มิยุ่งกันใหญ่หรือนี่  

รับก็ได้   เราไม่หยิ่งเท่าไร         เอาไว้ทดแทนเวลาพิมพ์ผิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 16:57

ดอนไซมีส        ท่านก็ได้ยินแล้วนี่นา       ให้เฉพาะครั้งนี้

ท่านจะพูดเรื่องหนังสือเก่าไปไย         จขกทนั้นนั่งอยู่บนกองหนังสือเก่า  เอนอิงพิงกับกองหนังสือโบราณ

วัน ๆ ก็คอยให้คำแนะนำผู้คนเรื่องร้อยปี สองร้อยปีที่ผ่านมา

ข้าพเจ้าว่าวันจันทร์ท่านมาร้องทุกข์ไหม   

แล้วจะพาท่านไปดูหนังสือใหม่ ๆ ที่กรมศิลป เช่น หนังพระนครไหวเป็นต้น  หน้าละสามบาทเอง

งามอย่างช้อยชด   สีปกยังสวยเลยจะบอกให้   


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.พ. 11, 17:00
นี่  นินทากันในระยะเผาขนตาเลยนะ

คำถามน่ะตอบได้หรือเปล่า  ไม่ยากหรอก ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.พ. 11, 19:59
คำถามข้อที่  ๖๖.

ลักษณะอันพึงเว้น ๖ ประการ ของแม่นมที่ดี มีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
และเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนใด

ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้จนถึง  ๒๐.๐๐  น.ของวันนี้
เกินเวลาที่กำหนด  หักคะแนนครึ่งชั่วโมงละ  ๒  คะแนน

ตามหลักปฎิบัติเบื้องต้นของคนไทยที่จะเลือกแม่นมนั้น    ใช้ตาม คัมภีร์ปฐมจินดา  ของพระฤาษี ฤทธิยาธร  เล่ากันว่าเป็นอาจารย์ของ ชีวกโกมารภัจจ์  ซึ่งคงจะไม่ผิด  แต่ไม่ถูกเต็มที่  เพราะชีวกโกมารภัจจ์สามารถแก้ไข
สตรีผู้มีน้ำนมเป็นโทษได้  ด้วยการรักษาสุขภาพภายใน และอาหาร  และใช้สมุนไพรสามัญบางชนิด

หลักทั่วไปของคือ

น้ำนมต้องโทษ
๑.  หญิงที่กลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ  ลูกตาแดง  เนื้อขาวเหลือง  นมยาน  หัวนมเล็ก  พูดเสียงแหบเครือดังการ้อง
      ฝ่ามือและเท้ายาว  จมูกยาว  หนังริมตาหย่อน  สะดือลึก  ไม่พีไม่ผอม  สันทัดคน   กินของมาก
      อธิบายได้ว่าเป็นสุขภาพของตัวบุคคล  จะว่าเป็นยักขินี  มีกามแรง   อย่าเลือก

๒.  หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ  ตาแดง  ผิวขาว  นมดังคอน้ำเต้า  ริมฝีปากคม  เสียงแข็ง  เสียงดังแพะ   ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่ง    
      เล็กข้างหนึ่ง   เจรจาปากไม่มิดกัน  เดินไปมามักสะดุด   เรียกว่าหญิงหัสดี  กามแรง   น้ำนมจะเป็นพิษ   อย่าเลือก


น้ำนมที่ดี มี ๔ จำพวก  เช่นมีกลิ่นตัวหอม  แก้มใส  เต้านมเหมือนบัวแรกแย้ม  ผิวเนื้อแดง   เต้านมเหมือนบัวบาน  หัวนมงอน  น้ำนมมีรสหวานมัน       หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด(อย่าลืมว่าตำราอินเดีย)  นมพวง  น้ำนมขาวดังสังข์  รสนมมันเข้ม (กล่าวโดยย่อ)

ตำราของไทยนั้น  สำหรับแม่นมในวังและในบ้านเสนาบดี   จะเลือกจากผู้ที่รู้จักหัวนอนปลายเท้า  ว่าไม่มีโรคอันพึงรังเกียจในสกุล
เช่นโรคเรื้อน  คุดทะราด  โรคผิวหนังบางชนิดที่ยังไม่แสดงอาการ       มีลูกอ่อนที่กำลังจะโต  จึงจะไม่แย่งดื่มน้ำนมกัน
รสของน้ำนมต้องมีการชิมว่ามีหวานมัน   หลายรายก็เลือกจากญาติห่างๆ


ในรามเกียรติ์  นางนมต้องเว้นจากโทษ ๖ ประการคือไม่สูงหรือต่ำเกินไป   ไม่พีหรือผอม  ไม่ดำหรือขาว  เพราะจะกระทบท่าอุ้ม
พระกุมารหลายประการ  ทำให้พระกุมารทีลักษณะผิดปกติไป   เช่นพระอังสาเอียง   พระกรรณแนบพระเศียร   มีพระอารมณ์หงุดหงิดเพราะได้รับน้ำนมช้าไป เร็วไป 

ต้องหน้าตาดี  สะอาด และน้ำนมหวาน   ( มาจาก เกิดโอรสท้าวทศรถ  พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑  เล่ม ๑)



ตำราแพทย์ไทยก็แตกต่างออกไปบ้างในรายละเอียด         ตำราของนักปราชญ์ท่านหนึ่งลงลึกถึงกับแนะนำว่า  ในระหว่างรับจ้างเป็นแม่นม  ไม่ควรอยู่ร่วมกับสามี(เป็นตำราหายากมากในวงการหนังสือเก่า   ราคาก็สูง  แต่ประเด็นนี้ข้าพเจ้ามิได้เชื่อถือ
เพราะทราบอย่างแน่ชัดว่า  บ้านท่านไม่มีแม่นมเพราะฐานะยากจนกรอบเกรียม)

เด็กไทยสมัยก่อนกินนมกันจนโตวิ่งเล่นได้แล้ว

เป็นแม่นมเจ้านายก็ดีไปอย่าง  ถือว่าท่านเลี้ยงชั่วชีวิต

(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  ท่านไม่
กระแหนะกระแหนนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 22:32
คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน






ตอบ

ไปค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม

๑. รามเกียรติ์สำนวนท้องถิ่นอีสานที่จะนำมาศึกษาครั้งนี้มี 2 สำนวนด้วยกันคือสำนวนพระลักพระลาม และสำนวนพระรามชาดก
พระลักพระลาม
หนังสือเรื่องพระลักพระลามนี้มี 2 สำนวน สำนวนหนึ่งเป็นหนังสือผูกจารลงในใบลานด้วยตัวอักษรไทยน้อยในลักษณะร้อยกรองโดยคำโคลงเป็นฉบับย่อ สำนวนที่สองเป็นหนังสือมัดมี 2 มัด มัดต้นมี 21 ผูก มัดปลายมี 7 ผูก จารลงในใบลานด้วยตัวอักษรธรรมในลักษณะร้อยแก้วซึ่งคล้ายกับอักษรไทยใหญ่สมัยโบราณ
พระอริยานุวัตร เขมจารี ได้กล่าวว่าเรื่องพระลักพระลามของอีสานที่ท่านชำระ และมูลนิธิ
เสฐียรโกเศศ – นาคะประทีปจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นเรื่องราวโดยย่อมาก มีความยาวเพียง
133 หน้าพิมพ์ เนื้อเรื่องขาดเหตุการณ์สำคัญไปหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะชื่อตัวละครต่างกันจน
เกือบจะเป็นคนละคนทีเดียว

เรื่องพระลักพระลามเป็นเรื่องที่นิยมแพร่หลายมาก ดังความว่า
เรื่อง “พระลักพระนารายณ์ชาดก” ซึ่งไทยโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึง
นิยมนัก ซากเมืองเก่าโบราณ เช่น ฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น มีใบเสมาใบ
ใหญ่ ๆ นับเป็นร้อย และแกะรูปภาพสลักลงในใบเสมา เป็นรูปภาพเรื่องพระลัก
พระรามยณ์ปฐมสมโพธิทศชาติ แม้ที่เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ก็มีรูปพระลัก
พระรามยณ์ แกะรูปหนุมานเป็นร้อย ๆ ดังนี้เห็นว่ารามายณะเป็นของเก่าแก่นิยม ซึ่งคาด
คะเนไม่ได้ว่าศตวรรษที่เท่าใด แม้ภาพหน้าปกก็ใช้ภาพหนุมานไปบอกนางสีดาว่า
พระรามจะเข้าตีเมืองลงกา ตามที่พระรามว่า

ผู้แต่ง
เรื่องพระลักพระลามของอีสานไม่ปรากฏในตอนท้ายเรื่องว่าใครเป็นผู้แต่ง
พระอริยานุวัตร เขมจารีกล่าวไว้ว่า

โครงเรื่องใหญ่เรื่องพระลักพระลาม น่าจะมีที่มาจากรามายณะของวาลมีกิเป็นหลักดัง
พระอริยานุวัตรเขมจารี สันนิษฐานว่า เนื่องจากว่าโครงเรื่องใหญ่ของเรื่องรามายณะ และเรื่อง
พระลักพระลามเหมือนกันคือ เป็นเรื่องของการพลัดพรากของตัวเอกฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เนื่อง
จากว่าฝ่ายหญิงถูกลักพาตัว ตัวเอกฝ่ายชายได้ออกติดตามและได้ผู้ช่วยเหลือร่วมมือกันทำสงคราม
กับฝ่ายอธรรมเป็นเวลานานจนได้รับชัยชนะ และสามารถช่วยตัวเอกฝ่ายหญิงกลับคืนมาได้

+++++++++++++

รามเกียรติ์ฉบับล้านนาไทย มี ๔ สำนวน จะยกตัวอย่างเรื่อง หอรมาน

ลักษณะคำประพันธ์
แต่งเป็นร้อยแก้ว มีคาถาภาษาบาลีแทรกเป็นระยะ ๆ แต่งตามแบบนิทาน
คล้ายในมหาชาติ ตัวอย่างเช่น
นโม ตสฺสตฺถุ ฯ วนฺทิตฺวา สิรสา นมามิ ติรตฺนตฺยํ พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆญจ ดังนี้ ดูรา
สับปุริสะทังหลาย อาจารย์เจ้าตนวิสัชชนา แต่งแปลงไว้ยังตำนานคร่าวปฐมกัปป์อันนี้
แล เมื่อปฐมกัปป์ตั้งหัวทีนั้นยังมีพรหมตนหนึ่งชื่อว่า ตปรไมสวร ลงมาเกิดเป็นคนก่อน
มีอายุได้อสงไขยปี ลูกตปรไมสวรมี ๓ ชาย ผู้ ๑ ชื่อว่า ธตรัฎฐ ผู้ ๑ ชื่อว่า วุรุฬหะ ผู้ ๑ มี
ชื่อว่า วิรูปักขะ เกิดมาในปีเดียวกันเท่าว่าต่างยามกันแล

เรื่องย่อ
ในปฐมกัปป์พรหมชื่อตปรไมสวรลงมาเกิดเป็นมนุษย์ มีลูกชายต่างมารดากัน
3 คน คือ ธตรัฏฐะ วิรุฬหะ และ วิรูปักขะ เมื่ออายุได้ 16 ปี ตปรไมสวรได้ส่งไปครองเมืองคนละ
เมืองเพื่อป้องกันการแย่งราชสมบัติ
ธตรัฏฐะได้ครองเมืองพาราณสี มีลูก 3 คน คือ ภารี สุครีพ และนางกาสีราชธิดา
พระยาวิรุฬหะมีลูกชาย 3 คน คือ พระยาราพณาสวร พิเภก และอินทรชิต พระยา วิรูปักขะมีลูก
ชาย 2 คน คือ พระยา รามราช และพระลักขณะ
วันหนึ่งพระยาราพณาสวรได้เนรมิตเป็นพระอินทร์ไปสมสู่กับนางสุชาดา ภาย
หลังนางสุชาดาทราบว่าเสียรู้พระยาราพณาสวร จึงได้ขอพรจากพระอินทร์จุติมาเกิดเป็นมนุษย์
เพื่อจะแก้แค้นพระยาราพณาสวร นางสุชาดาไปเกิดเป็นธิดาของพระยาราพณาสวร ปุโรหิต
ทำนายว่านางจะนำความพินาศมาให้บิดา พระยาราพณาสวรจึงนำนางไปลอยแพ มีพระฤๅษีตน
หนึ่งไปอาบน้ำ เห็นกุมารีอยู่ในแพที่บรรจุโกศทองจึงนำไปเลี้ยงให้ชื่อว่า สีตา ต่อมาเลื่อนเป็นสีดา

เมื่อนางสีดาเจริญวัยได้ 16 ปี นางมีรูปร่างงดงามมาก พรานที่ไปล่าเนื้อเห็นความ
งามของนางจึงนำข่าวนี้ไปแจ้งแก่ราชาของตน และราชาอีกร้อยเอ็ดหัวเมืองต่างก็นำบรรณาการไปสู่
ขอนางสีดาเป็นมเหสี พระฤๅษีให้ขึ้นสายธนู แต่ไม่มีใครสามารถขึ้นสายธนูได้
พระยารามราชและพระลักขณะบุตรพระยาวิรูปักขะ ได้พากันไปศึกษาศิลปศาสตร์
ที่เมืองตักศิลา จนจบไตรเพทแล้วเดินทางกลับพระนคร ระหว่างทางได้เดินผ่านอาศรมของพระฤๅษี
ได้ยินเสียงผู้คน ช้างม้า ดังครึกโครมจึงเข้าไปดู พระยารามราชได้สบตากับนางสีดาเกิดมีใจปฏิพัทธ์
กับนางจึงขอขึ้นสายธนูด้วย ปรากฏว่าพระยารามราชสามารถยิงธนูได้และได้นางสีดามาครอง
พระยารามราชและคณะจึงลาพระฤๅษีกลับพระนคร
พระอินทร์ปรารถนาจะช่วยนางสุชาดาให้สมหวังในการแก้แค้นพระยา
ราพณาสวรจึงได้เนรมิตเป็นกวางทองขาเขยกเดินผ่านหน้ากษัตริย์ทั้งสาม นางสีดาอยากได้
กวางทอง พระยารามราชต้องตามกวางไป ส่วนพระลักขณะเห็นพระยารามราชหายไปนานจึงขอ
ออกตามหาพี่ชาย แล้วได้ฝากนางไว้กับแผ่นดิน เมื่อพระลักขณะพบพระยารามราช พระยารามราช
ไม่พอใจที่พระลักขณะฝากนางสีดาไว้กับแผ่นดิน แผ่นดินโกรธจึงวางนางสีดาลง พระยา
ราพณาสวรจึงสามารถลักนางไปได้
พระยารามราชและพระลักขณะ ออกติดตามนางสีดาจนเหนื่อย จึงหยุดพักใต้ต้น
ไม้ พระยารามราชและพระลักขณะไปพบกับสุครีพซึ่งนั่งร้องไห้อยู่ที่ริมลำธารแห่งหนึ่ง
สุครีพเล่าให้ทั้งสองฟังว่า ตนมีพี่ชายชื่อภารี ซึ่งได้น้องสาวที่ชื่อนางกาสีมาเป็นเมีย
ภารีได้ครองราชสมบัติเมืองพาราณสี วันหนึ่งควายทรพีไปอาละวาดทำร้ายผู้คน นางกาสีซึ่งขณะ
นั้นกำลังมีครรภ์แก่ได้อาสาไปปราบควาย นางถูกควายขวิดจนตาบอด เอวหัก นางได้คลอดลูกคา
ช่องคลอด คนทั้งหลายช่วยดึงลูกของนางออกมาให้ชื่อว่า องษ์คด และวรยศ ภารีให้นางนมเอากุมาร
ไปเลี้ยง ส่วนนางกาสีนั้นถูกละเลยตามยถากรรม นางกลิ้งเกลือกไปด้วยความเจ็บปวดจนไปนอนอยู่
ใต้ต้นมะเดื่อ กินลูกมะเดื่อที่หล่นลงมาเป็นอาหาร
กล่าวถึงพระยาธตรัฏฐะประกาศจะให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถปราบนันทยักษ์ซึ่งมี
นิ้วพิษสามารถชี้ใครให้ตายได้ นางคนธรรพ์อาสาปราบนันทยักษ์โดยการหลอกให้นันทยักษ์รำตาม
นาง ครั้นนางชี้นิ้วไปที่กระหม่อม นันทยักษ์ก็ชี้นิ้วตามจนถึงแก่ความตาย พระยาธตรัฏฐะขอให้นาง
ร่ายรำให้ดู ครั้นเห็นลีลาอันอ่อนช้อยของนางก็เกิดกำหนัดน้ำกามไหล นางคนธรรพ์เห็นดังนั้นจึง
เอาใบบอนมาช้อนน้ำกามไว้แล้วนำไปใส่ปากนางกาสี ต่อมานางกาสีก็ตั้งครรภ์ หลังจากนั้นนางก็
ให้กำเนิดบุตรชื่อหอรมาน
กล่าวถึงภารีและสุครีพได้ออกมาปราบควายบ้าง ภารีได้ตามควายเข้าไปในถ้ำ
ก่อนเข้าไปภารีได้สั่งให้สุครีพปิดปากถ้ำทันทีถ้าเลือดที่ไหลออกมาเป็นเลือดใสนั่นย่อมหมายความ

ว่าตนตายแล้ว ครั้นสุครีพเห็นเลือดใสไหลออกมาจากถ้ำเข้าใจว่าพี่ตายจึงกลับไปครองเมือง ครั้น
ภารีออกมาได้จึงตรงเข้าไปจะฆ่าสุครีพ เพราะคิดว่าสุครีพทรยศสุครีพจึงต้องหนีออกมานั่งร้องไห้
อยู่ที่นี่ สุครีพขอให้พระยารามราชจัดการกับภารี และถ้าตนได้ครองเมืองพาราณสีตนยินดีจะนำ
หลาน 3 คน มามอบให้ คือ องค์คด วรยศ และหอรมาน พระยารามราชและพระลักขณะพาสุครีพ
ไปยังเมืองพาราณสี พระยารามราชให้สุครีพไปท้าภารีและล่อให้เข้าไปในแดนของพระยารามราช
สุครีพออกต่อสู้กับภารีจนถึงแดนของพระยารามราช พระยารามราชยิงภารีจนถึงแก่ความตาย
สุครีพพาหลานทั้งสามมามอบให้พระยารามราช พระยารามราชให้หาผู้ทำหน้าที่
ไปสืบข่าวนางสีดา องษ์คดเสนอหอรมาน พระยารามราชถอดแหวนให้หอรมานนำไปให้นางสีดา
หอรมานนำแหวนที่พระยารามราชฝากไปให้แก่นาง หลังจากนั้นก็จุดไฟเผาลงกาจนวอดวาย
พระยารามราชให้ระดมพลสร้างสะพานข้ามมหาสมุทร หอรมานอาสาตอกเสา
และทำโครงสะพานจนสร้างสะพานเสร็จ พระยาราพณาสวรเรียกพิเภกมาทำนายชะตาเมือง พิเภก
บอกว่าชะตาเมืองและตัวของพระยาราพณาสวรไม่ดีมีแต่เสีย พระยาราพณาสวรโกรธจึงขับไล่พิเภก
ออกจากเมือง พิเภกไปพึ่งพระยารามราช
กล่าวถึงพระยาปัตตหลุ่มได้ไปลักเอาพระยารามราชไปขังไว้ในกรงเหล็ก
หอรมานช่วยพระยารามราชออกมาได้ พระลักขณะออกรบกับอินทรชิตจนถูกศรของอินทรชิตไป
ตรึงอยู่ที่เท้า ส่วนอินทรชิตถูกศรของพระลักขณะตาย หอรมานอาสาไปเอายามาให้ ต่อมาพระยา
รามราชออกรบกับพระยาราพณาสวร พระยารามราชทราบสาเหตุที่พระยาราพณาสวรไม่ตายจาก
พิเภกว่า เพราะเขามีเชื้อสายตปรไมสวร และธนูที่จะสังหารเขาได้คือ ธนูพลควาวชิระ หอรมาน
อาสาไปเอาธนูนั้นมา ในที่สุดพระยารามราชก็สามารถแผลงศรฆ่าพระยาราพณาสวรได้ แล้วอภิเษก
พิเภกเป็นเจ้าเมืองแทน
พระยารามราชยกพลกลับนคร มีการปูนบำเหน็จแม่ทัพและส่งพระยาทั้งหลาย
กลับ พระยารามราชครองเมืองอโยธยาด้วยความสุขสืบมา
วันหนึ่งขณะที่นางสีดามีครรภ์แก่ นางสนมขอร้องให้นางสีดาวาดรูปพระยารา
พณาสวรให้ดู พระยารามราชเห็นรูปนั้นก็โกรธจัดต่อว่านางสีดาต่าง ๆ นานา แล้วให้เพชฌฆาตนำ
ไปประหาร พระลักขณะอาสาประหารนาง แต่ด้วยความสงสารจึงปล่อยนางไป นางสีดาได้เดินทาง
ไปด้วยความทุกข์ทรมานจนไปถึงอาศรมของพระฤๅษี พระฤๅษีรับอุปการะนางไว้ ต่อมาไม่นาน
นางก็คลอดลูกชื่อว่าพระบุตร พระบุตรมีเพื่อนเล่นอีกคนหนึ่งซึ่งพระฤๅษีเสกขึ้นมาจากการวาดรูป
ชื่อพระเทียมคิง
วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวแดนอโยธยาแล้วเดินตามแม่ค้าขายแตงเข้าเมือง
หอรมานมีหน้าที่เก็บอากรตลาด เมื่อเข้าไปเก็บอากรแม่ค้าขายแตง พระบุตร พระเทียมคิงห้ามแม่ค้า

จ่ายอากรแก่หอรมาน หอรมานไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระยารามราชไประงับเหตุ ได้ติดตาม
กุมารทั้งสองไป ทั้งสองฝ่ายสู้รบกัน แต่ก็ไม่สามารถทำอันตรายกันได้ ในตอนหลังจึงรู้ว่าเป็นพ่อ
ลูกกัน พระยารามราชจึงนำกุมารทั้งสองเข้าเมืองไป
พระยารามราชทราบข่าวนางสีดา จึงได้แต่งขบวนพยุหยาตราออกไปรับนาง เมื่อ
สิ้นอายุขัยนางสีดาก็ไปเกิดเป็นนางสุชาดาตามเดิม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.พ. 11, 22:36
ตารางเปรียยเทียบชาดกรามเกียรติ์ ๒ สำนวน ซึ่งใช้ชื่อตัวละครต่างกันและเนื้อหาต่างกันโดยสิ้นเชิง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 08:25
(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )


ถูกต้อง  แต่ไม่มีคะแนนให้นะ

คุณวันดีตอบข้อ ๖๖.มา ชัดเจนดี  เอาไป ๑๐ คะแนน
แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ???

หมายเหตุ  จริงๆ จะตัดคะแนนด้วยเพราะตอบก่อนเวลากำหนด
ไป ๑ นาที  (เลขเวลาตรงคำตอบฟ้องอยู่) แต่เห็นว่าคำถามนี้ยาก
คนตอบก็ตั้งใจตอบและค้นคว้ามาดี  จึงยกประโยชน์ให้


ส่วนคุณไซมีสที่กรุณาอุตสาหะไปค้นเพิ่มเติมละเอียดพิสดารมาก

อันที่จริง  ตอบไม่ตรงกับที่โจทย์ถาม
แต่เห็นว่าเป็นความรู้ที่มีค่าที่คุณไซมีสพยายามเสาะหามา  
ผมให้คะแนน ๒๐ คะแนน  โดยไม่ลังเลใจ ;)


ข่าวล่าสุดไม่กี่เดือนที่ผ่านมา  
มีการพิมพ์หนังสือพระรามชาดก ฉบับจริง
ที่ไม่ใช่ฉบับย่อความเล่าเรื่องอันเคยมาก่อนหลายหน
ผู้ใดสนใจ  เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลมาลงไว้ให้
อ้อ  หนังสือพระรามชาดก เล่มนี้ไม่มีวางขายนะครับ
ไม่ต้องไปเดินหาหรอก




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 08:33
ขอบคุณคุณหลวงเล็กมากครับ ได้มีโอกาสรับรู้ถึงรามเกียรติ์ในสำนวนตามภาคต่างๆ คือ สำนวนล้านนา สำนวนอีสาน สำนวนทางใต้ ซึ่งมีการเล่าเรื่องที่แปลกออกไป แต่สรุปโดยรวมแล้วเป็นชาดกที่สอนใจให้ตระหนักถึงการทำความดีและหลีกหนีความชั่วร้ายต่างๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 08:38
ดอนไซมีส

       ข้อมูลที่มีประโยชน์นำมาแบ่งปัน    มีหรือที่ข้าพเจ้าจะไม่ยินดีปรีดาชาลาล้า...ด้วย  

       ภูเขายังปลื้ม

       โปรดรับเลี้ยงไอติม ๒ ก้อนราดวิปครีมที่ร้านยิ้มแย้ม หรือ แย้มยิ้มอะไรนี่  ใกล้ศูนย์กองบัญชาการ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 08:40
(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )



แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ???




เป็นไปได้ไหมว่า ในขณะที่ชาวอินเดียต่างถือวรรณะกันอย่างเคร่งครัด ลักษณะของวรรณะทั้ง ๔ คือ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พราหมณ์ นั้น ผมเคยอ่านเจอว่าจะดูเบื้องต้นด้วยการดูสีผิวก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งผิวสีอ่อน มักจะเป็นวรรณะสูง และผิวสีคล้ำยิ่งเป็นวรรณะต่ำ เนื่องจากมีการก่อกำเนิดจากทางเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ คือ อินเดียมีหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งผิวอ่อนกว่า เข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองซึ่งมีสีคล้ำกว่า (พวกดราวิเดียน เป็นต้น)

จึงทำให้การอ้างเหตุผลในการที่ผิวของแม่นมที่ขาวเกินไป และดำเกินไป อาจจะมีลักษณะเชื้อชาติที่อินเดียคิดว่าไม่น่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพวกตนก็เป็นไปได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 08:49
ดอนไซมีส

       ข้อมูลที่มีประโยชน์นำมาแบ่งปัน    มีหรือที่ข้าพเจ้าจะไม่ยินดีปรีดาชาลาล้า...ด้วย  

       ภูเขายังปลื้ม

       โปรดรับเลี้ยงไอติม ๒ ก้อนราดวิปครีมที่ร้านยิ้มแย้ม หรือ แย้มยิ้มอะไรนี่  ใกล้ศูนย์กองบัญชาการ

ยินดีครับไอติม ขอรับ  ;D

ตอนวัยเยาว์ จำได้ว่า แม่พาไปกินไอติมมะพร้าวอ่อน ของอาแปะที่ขายในตรอกสะพานหัน ติดร้านกับข้าวป๋าทวี ร้านขายอาหารชื่อดังย่านสำเพ็ง-สะพานหัน เป็นไอติมแบบเกล็ดน้ำแข็ง ไม่ใส่กะทิ อร่อยมาก เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว  :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 11, 08:49
ขอแนะนำให้อ่านวิทยานิพนธ์เรื่อง "การวิเคราะห์หนุมานในรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ" โดย นางสาวพัชลินจ์  จีนนุ่น สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Fulltext.pdf

เรื่องรามเกียรติ์สำนวนต่าง ๆ อยู่ใน บทที่ ๒

ประวัติรามเกียรติ์และประวัติหนุมานในรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Chapter2.pdf

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 09:03

นักอ่านหนังสือเก่า  รับเชิญจากเจ้าของร้านหนังสือมือสองที่มีหนังสือแพงกว่าร้านสมัยใหม่    ไปกินไอติมน้ำมะพร้าวปั่นแถวเสาชิงช้าเมื่อเร็วๆมานี่เอง

ขบวนการแวะไปซื้อข้าวเหนียวมะม่วง ก. สัมพันธ์ มากินกันต่อ

มะม่วงแผ่นพอใช้ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 09:06
การที่รามเกียรติ์ในสำนวนท้องถิ่น แต่งด้วยรูปแบบชาดก
น่าจะเป็นเพราะคนท้องถิ่นคุ้นเคยกับการฟังเทศน์ชาดกต่างๆ ในพุทธศาสนา
เมื่อนิทานนิยายต่างถิ่นเข้ามาใหม่  พระภิกษุจะปรับรูปแบบให้เป็นชาดก
ซึ่งทำให้ชาวบ้านสามารถฟังได้เข้าใจ  และยอมรับได้สนิท

เพราะคิดว่ากำลังฟังชาดกนอกนิบาต ที่ไม่ใช่เรื่องประโลมโลกนอกศาสนาไร้สาระ
วิธีการอย่างนี้  แม้วรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่ไปจากภาคกลางก็กลายเป็นชาดกได้
เช่นเรื่องพระอภัยมณีชาดก  เป็นต้น  

ในอีสานอาจจะปรับรูปแบบเป็นกลอนลำต่างๆ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 09:09
(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )



แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ???




เป็นไปได้ไหมว่า ในขณะที่ชาวอินเดียต่างถือวรรณะกันอย่างเคร่งครัด ลักษณะของวรรณะทั้ง ๔ คือ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พราหมณ์ นั้น ผมเคยอ่านเจอว่าจะดูเบื้องต้นด้วยการดูสีผิวก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งผิวสีอ่อน มักจะเป็นวรรณะสูง และผิวสีคล้ำยิ่งเป็นวรรณะต่ำ เนื่องจากมีการก่อกำเนิดจากทางเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ คือ อินเดียมีหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งผิวอ่อนกว่า เข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองซึ่งมีสีคล้ำกว่า (พวกดราวิเดียน เป็นต้น)

จึงทำให้การอ้างเหตุผลในการที่ผิวของแม่นมที่ขาวเกินไป และดำเกินไป อาจจะมีลักษณะเชื้อชาติที่อินเดียคิดว่าไม่น่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพวกตนก็เป็นไปได้

ไม่เกี่ยวกับเรื่องวรรณะครับ   ในตำรามีคำตอบอยู่แล้วครับ

วิทยานิพนธ์ที่คุณเพ็ญฯ ยกมานั้น ผมเคยอ่านแล้ว
น่าสนใจมาก  แต่ เสียดายว่าใช้พระรามชาดกฉบับย่อความ มาศึกษา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 09:19
คำถามข้อที่  ๖๗.

คำถามนี้เอาใจคนชอบฟังเพลงครับ
ส่งมาจากนักร้องเพลงประจำเวทีรำวงงานวัดแถวบ้าน

มีเพลงไทยลูกกรุง ลูกทุ่ง และเพลงไทยสากลเพลงใดบ้าง
ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องหรือเอ่ยถึงรามเกียรติ์
จงยกเนื้อเพลงดังกล่าวมาคนละ ๒ เพลง 
พร้อมบอกชื่อคนแต่ง และคนขับร้อง 
อย่าให้ซ้ำกัน (ซ้ำกัน ตัด ๓ คะแนน)
ข้อนี้เพลงละ  ๕  คะแนน
ผู้ใดจะแนบคลิปมาด้วยเราก็ไม่ว่ากัน 
แต่ถ้าแนบคลิปมาเรามีคะแนนเพิ่ม  ๓ คะแนน

มิตรรักแฟนเพลงกรุณาตอบมาหน้าไมค์ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 11, 09:45
การที่รามเกียรติ์ในสำนวนท้องถิ่น แต่งด้วยรูปแบบชาดก
น่าจะเป็นเพราะคนท้องถิ่นคุ้นเคยกับการฟังเทศน์ชาดกต่างๆ ในพุทธศาสนา
เมื่อนิทานนิยายต่างถิ่นเข้ามาใหม่  พระภิกษุจะปรับรูปแบบให้เป็นชาดก
ซึ่งทำให้ชาวบ้านสามารถฟังได้เข้าใจ  และยอมรับได้สนิท

เพราะคิดว่ากำลังฟังชาดกนอกนิบาต ที่ไม่ใช่เรื่องประโลมโลกนอกศาสนาไร้สาระ
วิธีการอย่างนี้  แม้วรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่ไปจากภาคกลางก็กลายเป็นชาดกได้
เช่นเรื่องพระอภัยมณีชาดก  เป็นต้น  

ในอีสานอาจจะปรับรูปแบบเป็นกลอนลำต่างๆ


ในพระไตรปิฏกมี "ทสรถชาดก" กล่าวถึงพระเจ้าทสรถมีพระโอรสคือ รามบัณฑิต ลักขณกุมาร และพระธิดาคือ สีดาเทวี

http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=271564

บางคนเชื่อว่ารามายณะได้เค้าเรื่องมาจากทสรถชาดกนี้ด้วยซ้ำ

ศาสตราจารย์เวเบอร์ นักปราชญ์เยอรมันอีกผู้หนึ่ง มีความเห็นว่ารามายณะได้เค้าเรื่องมาจากทศรถชาดก ซึ่งมีมาในคัมภีร์ชาดกเอกาทศนิบาต

กวีผู้รจนารามายณะ คงได้เค้าจากเรื่องต่าง ๆ ข้างต้นนี้ เปลี่ยนความที่พระรามและสีดาซึ่งเป็นพี่น้องกัน ให้กลายเป็นคู่รักเสีย แต่เรื่องสำคัญที่สุด คือเดิม เรื่องลักสีดา และเรื่องไปตีลงกา, กับย้ายป่าในแดนหิมพานต์ทิศเหนือ เปลี่ยนเป็นป่าในแดนทักษิณาบถทิศใต้  เมื่อพิจารณาถึงที่เปลี่ยนสถานที่จากเหนือไปใต้ ก็พอเดาได้ว่า ต้องการจะให้เรื่องรับกับการไปตีลงกา ซึ่งบางคนมีความเห็นว่า กวีผู้รจนา ประสงค์จะแสดงเรื่องการแผ่อำนาจของชาติอริยกะไปทางใต้ของอินเดีย จนถึงเกาะลังกา  (http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C)

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 11:00
คำถามข้อที่  ๖๗.

คำถามนี้เอาใจคนชอบฟังเพลงครับ
ส่งมาจากนักร้องเพลงประจำเวทีรำวงงานวัดแถวบ้าน

มีเพลงไทยลูกกรุง ลูกทุ่ง และเพลงไทยสากลเพลงใดบ้าง
ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องหรือเอ่ยถึงรามเกียรติ์
จงยกเนื้อเพลงดังกล่าวมาคนละ ๒ เพลง 
พร้อมบอกชื่อคนแต่ง และคนขับร้อง 
อย่าให้ซ้ำกัน (ซ้ำกัน ตัด ๓ คะแนน)
ข้อนี้เพลงละ  ๕  คะแนน
ผู้ใดจะแนบคลิปมาด้วยเราก็ไม่ว่ากัน 
แต่ถ้าแนบคลิปมาเรามีคะแนนเพิ่ม  ๓ คะแนน

มิตรรักแฟนเพลงกรุณาตอบมาหน้าไมค์ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.
+++
เพลง : พระรามยังรอ
ศิลปิน : สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
อัลบั้ม : สดใส รุ่งโพธิ์ทอง รวมฮิต อัลบั้มคู่ ม้วน 2
…ถูกเขา แย่งนาง สีดา
.เสียดายจริงหนา
นางสีดาคนงาม
.ฉันนอนร้องไห้ เสียใจอยู่ทุกยาม
.เธอหนีพระราม ตามทศกัณฑ์
เขาไป
.โธ่เอ๋ย แม่นางสีดา
.ไม่นึก เลยหนา
.เธอจะมา
หลายใจ
.พระรามนอนเศร้า
.คอยเฝ้า แต่ห่วงใย
.อกตรม หมองไหม้
.แค้นใจ
ไอ้ทศกัณฑ์
..ขอร้องครับท่าน
.ให้หนุมานช่วยด้วย
.ช่วยดึง คนสวย
.ให้คืนกลับมา
.หากแม้นหนุมาน ไม่ช่วย
.เห็นทีจะม้วย
ซะแล้วละฉัน
.อยากจะร้อง ตะโกนให้ลั่น
.ถูกทศกัณฑ์ แย่งแฟนพระราม
.เฝ้าหวง
ห่วงนางสีดา
.กลับบ้านเถิดหนา นางสีดา คนงาม
.หากวันใดเขา
ทิ้งเจ้าให้เจ็บช้ำ
.กลับเถอะ คนงาม
.ไอ้หนุ่ม พระรามยังรอ
ดนตรี…
..ขอร้องครับท่าน
.ให้หนุมานช่วยด้วย
.ช่วยดึง
คนสวย
.ให้คืนกลับมา
.หากแม้นหนุมาน ไม่ช่วย
.เห็นทีจะม้วย ซะแล้วละฉัน
.อยากจะร้อง
ตะโกนให้ลั่น
.ถูกทศกัณฑ์ แย่งแฟนพระราม
.เฝ้าหวง ห่วงนางสีดา
.กลับบ้านเถิดหนา
นางสีดา คนงาม
.หากวันใดเขา ทิ้งเจ้าให้เจ็บช้ำ
.กลับเถอะ
คนงาม
.ไอ้หนุ่ม พระรามยังรอ


๒. เพลง : พระรามตามกวาง
ศิลปิน : สุรพล สมบัติเจริญ
อัลบัม ลืมไม่ลง
ท่านสามารถโหลดได้ที่นี่ครับ http://www.mediafire.com/?injmymacyyj
แสนสงสารองค์สีดาโฉมเจ้ามารศรี
โธ่...นุชน้องของพี่ครานี้ต้องจากพรากกันไกล
เจ้าหลงเชื่อในกลคำลวงหวังอยากได้กวางทอง
ความรักน้องพี่จึงตามไป ทิ้งทรามวัยให้ยืนเอกา

พี่ตามกวางทองจะจับมาให้น้องยา
พอกลับมาก็รู้ว่ายักษ์พาน้องไป

เหลียวหามองสีดาน้องพี่ไม่เห็น
หรือเป็นเพราะน้องพี่ สร้างกรรม่ทำบาปไว้ปางไหน
มาชาตินี้กรรมจึงตามมา พรากแก้วตาพี่จากไป
ทิ้งให้พี่ต้องอยู่เดียวดาย พี่ร่ำไห้ชลนัยไหลนอง

เจ้าทศกัณฑ์มันให้มารีสแปลงเป็นกวางทอง
ลวงหลอกน้อง พาเหินลอยล่องไปลงกา

สงสัยใยสีดาน้องพี่ใจง่าย
หรือพบยักษ์มีรักใหม่ แล้วเกลียดชังพี่สิ้นเสน่หา
จึงได้หนีพี่ตามยักษ์ไป ดูหรือทำได้นะแก้วตา
โธ่...สีดาของพี่สิ้นปราณีพี่แล้วหรือไร

หรือเจ้าถูกลวงไปด้วยเล่ห์กลอุบาย
ตอนพี่ไปตามหากวางทองให้น้องเอย

๓. เพลง : พระรามต้องโทษ
เพลง พระรามต้องโทษ
ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ
คำร้อง-ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ

***เมื่อคืน ผมฝันประหลาด
แหมน่าอนาถ ไม่นึกเลยว่าจะฝัน
คือพระราม ไปทำศึกกับทศกณฑ์
พอยิงด้วยเกาทัณฑ์ ก็ดันไปโดนเอาโจโฉ
     โจโฉ โมโหตัวสั่น
พอถูกลูกเกาทัณฑ์ ก็แหกปากร้องโฮ
หาว่าพระราม เป็นนักเลงโต
จึงนำความไปฟ้องUNO ให้ตัดสินลงโทษอาญา
     UNO พอได้รับคำฟ้องพลัน
จึงเรียกหนุมาน ให้ไปตามพระรามมา
หวังจะตัดสิน ลงโทษอาญา
เพราะทำผิดกติกา ต่อหน้าคนทั้งปวง
     หนุมาน ไม่ทันรู้ตัว
เพราะมัว ไปจับจิ้งหรีดสนามหลวง
พอรู้เรื่อง ถึงกับน้ำตาร่วง
ห่วงก็ห่วง เพราะกลัวพระรามจะติดตาราง
     พอพระราม รู้เรื่องข่าวร้าย
ตกกะใจ เพราะกลัวจะถูกขัง
แทบเป็นลม ทำทะเล่อทะลัง
คราวนี้คงมีหวัง เสวยตารางยี่สิบปี...
โหลดที่ http://www.mediafire.com/?v2cazm1jd7t

๓. เพลงหนุมานเผาลงกา
ศิลปิน ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

๔. เพลงหนุมาน Hi5
ศิลปิน อ๊อด ปาร์เกต์
เนื้อเพลง ท่อนหนึ่งว่า “พระลักษณ์และพระราม กดโทรมาตามก็ไม่ยอมไปหา คลิกรูปที่โพสโชว์ คลิกรูปที่โพสโชว์ เห็นนางมณโฑ ถ่ายรูปเอียงข้างมา”
http://www.youtube.com/watch?v=bxCZbNEumIE

๕. เพลงหัวในทศกัณฐ์
ศิลปิน คัฑลียา มารศรี
เนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า “อยากมีรัก ใจเหมือนพระราม สู้ติดตามหานางสีดา ด้วยรักจริงยิ่งชีวา พระรามงามหน้า พระรามงามใจ”

http://www.youtube.com/watch?v=XbJkV0Vs8cs


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.พ. 11, 11:00
คำถามข้อที่  ๖๗.

คำถามนี้เอาใจคนชอบฟังเพลงครับ
ส่งมาจากนักร้องเพลงประจำเวทีรำวงงานวัดแถวบ้าน

มีเพลงไทยลูกกรุง ลูกทุ่ง และเพลงไทยสากลเพลงใดบ้าง
ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องหรือเอ่ยถึงรามเกียรติ์
จงยกเนื้อเพลงดังกล่าวมาคนละ ๒ เพลง  
พร้อมบอกชื่อคนแต่ง และคนขับร้อง  
อย่าให้ซ้ำกัน (ซ้ำกัน ตัด ๓ คะแนน)
ข้อนี้เพลงละ  ๕  คะแนน
ผู้ใดจะแนบคลิปมาด้วยเราก็ไม่ว่ากัน  
แต่ถ้าแนบคลิปมาเรามีคะแนนเพิ่ม  ๓ คะแนน

มิตรรักแฟนเพลงกรุณาตอบมาหน้าไมค์ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.

ขอตอบค่ะ  ;D

1. ชื่อเพลง : เป็นไปไม่ได้
   คำร้อง-ทำนอง แต่งโดย :  พยงค์ มุกดา
   บรรเลง-ขับร้อง โดย : ดิ อิมพอสซิเบิ้ล - เศรษฐา ศิระฉายา
   เนื้อเพลง :
ถ้าฉันมีสิบหน้า อย่างทศกัณฐ์
สิบหน้านั้นฉันจะหันมายิ้มให้เธอ
สิบลิ้นสิบปาก จะฝากคำพร่ำเพ้อ
ว่ารักเธอ รักเธอเป็นเสียงเดียว

ถ้าฉันมียี่สิบตา อย่างทศกัณฐ์
ยี่สิบตาของฉัน จะมองเธอไม่เหลียว
ยี่สิบแขน จะสวมสอดกอดเธอผู้เดียว
ยี่สิบสีดา อย่ามาเกี้ยวไม่แลเหลียวมอง

แต่ฉันมีหน้าเดียว ซีดเซียวทุกข์ทน
ด้วยความจน ความขัดสนจนเงินและทอง
หนึ่งลิ้น หนึ่งปาก ไม่อาจจักผยอง
ว่าฉันปอง ฉันปองเธอแม้เงา

แหละฉันมี ตาคู่เดียวแลเหลียวเมียงมอง
อีกมือสองของฉัน มันอาภัพอับเฉา
ดาวจากสรวง หรือจะร่วงสู่ทรวงอกเรา
ได้แต่ซบเซา เศร้าลำเค็ญ เป็นไปไม่ได้

http://www.youtube.com/watch?v=bVgymfQ2x-8


2. ชื่อเพลง : สีดา
    คำร้อง แต่งโดย :  อารี อุไร (นามปากกาของ สุรพล โทณะวณิก)
   ทำนอง แต่งโดย :  อภิไชย เย็นพูนสุข และ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร
   ขับร้อง โดย : ดนุพล แก้วกาญจน์
   ประวัติเพลง : แต่งคำร้องจากเรื่องราวชีวิตจริงของสาวประเภทสองชื่อ "ประโนตย์ วิเศษแพทย์" โดยกล่าวถึงโศกนาฎกรรมความรักอย่างลึกซึ้งระหว่างชาย 2 คน แต่สุดท้ายต้องจบลงด้วยอัตวินิตบาตกรรม เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความซาบซึ้งจนเป็นข่าวคราวบนหน้าหนังสือพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยชื่อสีดาในบทเพลง คือตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งประโนตย์เคยแสดงในช่วงเรียนวิชานาฏศิลป์
   เนื้อเพลง :
จากชีวิต เธอคือนางเอง หนึ่งในกรมศิลป์ เป็นนางสีดา เธอรำสวยนัก ใครต่อใครหลงรักเธอไม่ปรารถนา ชายอื่น คนรัก เธอมีแล้ว เธอมอบใจให้เขา อย่างกับสีดากับราม มอบใจงามจนหมด มั่นคงเพียงคนเดียว ใครมองปองเพียงใด ไม่ใส่ใจ แม้ต้อยต่ำ อยู่กับเขา มีเพียงบ้านเช่า ก็สุขสบาย แล้วสีดา ก็ดังระบือ เธอลงหน้าหนึ่ง ต่างคาดไม่ถึง ตามข่าว เธอฆ่าตัวตาย ลาจากคนรัก มือจับจดหมาย กอดจดหมาย เอาไว้กับอก บอกให้เขารู้ ลาก่อน ชาตินี้จำอำลา อย่าห่วง ห่วงคนมีกรรม พี่จงลืม น้องได้ อยู่กับเธอคนดี คนใหม่ อย่าห่วงเลย ประชาชนรู้ทั่ว ว่าเธอเป็น ชายคนหนึ่ง อย่างกับเขา ข่าวว่าเขาร้องไห้ หน้าศพที่วัดหัวลำโพง จนคืนสาม ฆ่าตัวตาม เพราะเขาซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์ ต่อรัก จนดังเป็นข่าว เธอกับเขา

http://www.youtube.com/watch?v=30Uxl4mZqwo

 ;D ยังมีอีกหลายเพลงเลยค่ะ เพลงหนุมาน Hi5  เพลงหัวใจทศกัณฐ์ เพลงไม่ใช่หนุมาน เพลงทศกัณฑ์ถอดดวงใจ เพลงยืมใจทศกัณฑ์ ฯลฯ
แต่ตอบมาแค่ 2 เพลง ตอบมากกว่านี้กลัวโดนหักคะแนนค่ะ  ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 11, 11:08
เป็นไปไม่ได้

คำร้อง-ทำนอง  : พยงค์ มุกดา
ขับร้อง : เศรษฐา ศิริฉายา - ดิ อิมพอสซิเบิ้ล

ถ้าฉันมีสิบหน้าอย่างทศกัณฐ์
สิบหน้านั้นฉันจะหันมายิ้มให้เธอ
สิบลิ้นสิบปากจะฝากคำพร่ำเพ้อ
ว่ารักเธอรักเธอเป็นเสียงเดียว

ถ้าฉันมียี่สิบตาอย่างทศกัณฐ์
ยี่สิบตาของฉันจะมองเธอไม่เหลียว
ยี่สิบแขนจะสวมสอดกอดเธอผู้เดียว
ยี่สิบสีดาอย่ามาเกี้ยวไม่แลเหลียวมอง

แต่ฉันมีหน้าเดียวซีดเซียวทุกข์ทน
ด้วยความจนความขัดสนจนเงินและทอง
หนึ่งลิ้นหนึ่งปากไม่อาจจักผยอง
ว่าฉันปองฉันปองเธอแม้เงา

และฉันมีตาคู่เดียวแลเหลียวเมียงมอง
อีกมือสองของฉันมันอาภัพอับเฉา
ดาวจากสรวงหรือจะร่วงสู่ทรวงอกเรา
ได้แต่ซบเซาเศร้าลำเค็ญเป็นไปไม่ได้

http://www.youtube.com/watch?v=YG3YuFB8kKU

 ;D



วังบัวบาน  

คำร้อง  : สนิท ศ.
ทำนอง : อรุณ หงสวีณะ
ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล        
  
ร้อนลมหน้าแล้ง ใบไม้แห้งร่วงลอย
หล่นทะยอยเกลื่อนตา
ไหลตามกระแสน้ำพา
ลอยมาทั้งกลีบดอกไม้

จากหุบผาไหลมาสู่ในวังน้ำ
สุสานเทวีผู้มีความช้ำเหนือใคร
ดอกไม้ใบไม้ไหลมา
คล้ายพวงหรีดร้อยมาลา
ไหลมาบูชาบัวบาน

น้ำวังนี่หนอเป็นที่ก่อเหตุการณ์
ที่บัวบานฝังกาย
ยึดเอาเป็นหอเรือนตาย
รองกายไว้ด้วยแผ่นน้ำ

จากหุบเขาแนวไพรสู่ในเวียงฟ้า
ฝากไว้เพียงชื่อเลื่องลือเนิ่นช้าฝังจำ
ฝากคำสัตย์นำนึกตรอง
หลงทางสุดหวังคืนครอง
หลงตัวจำต้องลาระทม

                             เอาวังน้ำไหลเย็น คุ้น ๆ ไหมว่าเอามาจากกาพย์นางลอย
นี่หรือมาเป็นเมรุทอง
เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม
เอาเสียงจักจั่นลั่นร้องระงม
เป็นเสียงประโคมร้องต่างแตรสังข์

เพดานนั้นเอาเมฆฟ้า
ภูผานั้นต่างม่านบัง
ประทีปแสงจันทร์ใสสว่าง
อยู่เดียวท่ามกลางดงดอน


http://www.youtube.com/watch?v=Ex12mQGmwaU
 

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 11:10
คำถามข้อที่  ๖๗.

คำถามนี้เอาใจคนชอบฟังเพลงครับ
ส่งมาจากนักร้องเพลงประจำเวทีรำวงงานวัดแถวบ้าน

มีเพลงไทยลูกกรุง ลูกทุ่ง และเพลงไทยสากลเพลงใดบ้าง
ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องหรือเอ่ยถึงรามเกียรติ์
จงยกเนื้อเพลงดังกล่าวมาคนละ ๒ เพลง  
พร้อมบอกชื่อคนแต่ง และคนขับร้อง  
อย่าให้ซ้ำกัน (ซ้ำกัน ตัด ๓ คะแนน)
ข้อนี้เพลงละ  ๕  คะแนน
ผู้ใดจะแนบคลิปมาด้วยเราก็ไม่ว่ากัน  
แต่ถ้าแนบคลิปมาเรามีคะแนนเพิ่ม  ๓ คะแนน

มิตรรักแฟนเพลงกรุณาตอบมาหน้าไมค์ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.


ในฐานะที่ตอบช้า        จึงให้คำตอบเกินมา  ตามธรรมเนียมที่เห็นนิยมอนุญาตเป็นครั้งตราว
ถ้าไม่ชอบด้วยอารมณ์  ก็เชิญตัดคะแนนได้



สากล

กำเนิดหมุมาน (กล้วยไทย)
http://bigbang.bloggoo.com/songs/25298
กาลครั้งยังมีนางสวาหะ
ต้องคำสาปที่เชิงเขาจักรวาล
ด้วยความสงสารจากองค์พระอิศวร
สั่งให้พระพายทำการหนึ่งในตอนนั้น
ซัดอาวุธและกำลังเข้าพุ่งใส่
เข้าในปากของนางในฉับพลัน
ผ่านสามสิบเดือนจึงกำเนิดเป็นลิงเผือก
พุ่งกระโจนจากปากสู่สวรรค์
* แสงสุดอัศจรรย์ทั่วฟ้า
วานรทะยานขึ้นบนนภา
แปดแขนกำยำสี่หน้าตา
ยังจะหาวเป็นดาวเป็นเดือนเต็มฟ้า
เมื่อลอยลงกราบผู้เป็นมารดา
สุดท้ายพระพายให้เจ้าชื่อหนุมาน
ตรีเพชรรวมเป็นกายทั้งมือและเท้า
กระบองเพชรเป็นสันหลังไปตลอดหาง
มีกุณฑลขนเพชรมีเขี้ยวเป็นแก้ว
กำเนิดปีขาลเดือนสามคือวันอังคาร
พระอิศวรประทานพรให้เป็นอมตะ
ตายแล้วฟื้นด้วยลมแค่พัดผ่าน
ประสิทธิ์ประสาทวิชาหายตัวและแปลงกาย
วายุบุตรเกรียงไกรไปตลอดกาล
 
 
ลูกทุ่ง

 
.กล่อมนางนอน (สาธิต ทองจันทร์)
http://www.songontour.com/song_detail.php?song=396
*นอนเสียทีคนรักพี่จริงใจ เมื่อวันใหม่
จะได้ร่วมแรงแข็งขัน นอนหนุนตักสายรัก
สายสัมพันธ์สู้มาด้วยกัน ลำบากยากจนเหนื่อยขา
พี่ไม่ผลักที่รักอย่าฉงน หนุนตักชายจนแต่ก็ทน
สู้เพื่องาน *จงฟังบ้างผู่สบบางๆ
พี่เว้าฮู้สัตย์ซื่อ จับมือแน่นๆแทนนี้วฮักหลาย
เว้าเรื่องอ้ายคันแม่นใครพาล สิหาญตายแทนแผ่คีงปกป้อง
นอนสาน้องภัยพาลบ่ผ่าน หานิทานเรื่องเค้ามาเว้าสู่ฟัง
*เมื่อครั้งองค์พระราม เดินตามจากพาราติดตาม
นางสีดาในดงป่าทรมาน หนังสือที่เคยเรียน
รามเกียติ์รที่กล่าวขาน รักแท้ใคร่ทนทาน
จนพบพานกันสมใจ แต่ก่อนนั้นต้นขาม
ดูสวยงามมีใบใหญ่ พระรามพักกลางไพร
ใต้ร่มไม้ต้นนั้นเลย สีดาสุดที่รัก
นอนหนุนตักจนนั่งเฉย ราตรีจนล่วงเลยเห็นฟ้าสาง
สว่างมารักมากจนลูบผม เห็นนางตรมยิ่งสงสาร
เห็นว่านอนนานๆ จะปลุกนางช่างเกรงใจ
จึงแผงศรยิงขึ้นฟ้า บนเมฆามีเมฆไหล
เป็นฝนลงทันใดตกผ่าใบ มะขามจุน
*เป็นคราวพู่นใบขามเซาใหญ่ เหลือใบน้อยๆ
เดียวนี้ต่อมาเซื่อบ่หล้า อ้ายนิว่านิทานเซื่อบ่หล้า
อ้ายนิว่านิทานฮักเจ้าองค์ราม ฮักสีดาน้อยความหนาวจ้อย
เดิกมาสุดข่มพี่สิคือผ้าตุ้ม ให้นอนได้อุ่นกาย
*นอนนอนนอนน้องเอ๋ย อย่าได้อาวรณ์อย่าออดอ้อน
อย่างอนให้มีปัญหาสู้เถิดน้อง พระพรมท่านสร้างเรามา
คู่บุญนำพาชาติหน้าก็ไม่ห่างกัน *สวรรค์มันมีในที่
หัวใจข้อยให้เจ้าทังคู่ บุญค้ำบุญซูบุญบ่คาดได้
คงได้ฮ่วมคันเนฮักเจ้าเด่ จั่งแม่นแพงเจ้าหลาย
นอนซำบายหลับตาสาน้อง อย่าหมองหัวใจถ่ามีอ้าย
 
 
หัวใจทศกัณฐ์ (พุ่มพวง ดวงจันทร์)
http://song.zabjung.com/3283/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%90%E0%B9%8C-.mp3/
เมื่อรักกันก็ชื่น เมื่อรักคืนก็ช้ำ
แต่เหตุไฉน ใจยังไม่จำ ว่ารักทำ ให้เจ็บทุกที
ปวดเหมือนโดนยาสั่ง แต่ฉันยังไม่หนี
สู้อด สู้ทน รักจน ป่านนี้ เรื่องเจ็บฤดี มีทุกเวลา
อยากมีรัก ใจเหมือนพระราม สู้ติดตาม หานางสีดา
ด้วยรักจริง ยิ่งชีวา พระราม งามหน้า พระราม งามใจ
ที่ฉันจำช้ำหม่น เจ็บเพราะคนหน้าใส รูปสุดงามสม สังคมคลั่งไคล้
แต่หน้าเสียดาย ใจ ทศกัณฐ์
ที่ฉันจำช้ำหม่น เจ็บเพราะคนหน้าใส รูปสุดงามสม สังคมคลั่งไคล้
แต่หน้าเสียดาย ใจ ทศกัณฐ์



เสียงกระซิบจากอิศวร (สุรพล สมบัติเจริญ)
http://clip.ruammid.com/video-XHLUe5gqivk--เสียงกระซิบจากอิศวร.html
ผมนี้เป็นใหญ่ เหนือเทวดา อยู่บนวิมานชั้นฟ้า ปกครองเทวาให้สุขสบาย ผมครองตำแหน่ง จอมเทพแห่งผู้ยิ่งใหญ่ ปกครองพวกเทวดาทั่วไป ให้ได้รับความสุขสำราญ ผมเป็นหัวหน้าเทวดา ตำแหน่งมีค่ายิ่งนัก ไม่ว่าใครๆรู้จัก เรียกผมพระอินทร์กันทั้งนั้น ผมมีนิสัยซื่อตรง ไม่ชอบคนโกงคนกิน พูดถึงเรื่องเหล้าเรื่องฝิ่น ผมไม่เคยกินละทั้งนั้น ผมเป็นเจ้าเมืองบนฟ้า ปกครองเทวามากมาย ต้องคอยอบรมนิสัย พวกเทวดาทุกวัน ไม่ชอบประจบสอพลอ ไม่ชอบให้ใครคลอเคลีย ถึงแม้จะมีคนเลีย ผมไม่ซูเอี๋ยละทั้งนั้น ต้องคอยดูแลทุกอย่าง ไม่ว่าคนไหนทำผิด ต้องปราบกันให้ใกล้ชิด โดยเฉพาะพวกคอรัปชั่น พวกเทวดาพวกนี้ ชอบทำนาบนหลังคน ต้องปราบกันเสียให้ป่น ไม่งั้นแล้วกินกันสะบั้น อีกทั้งเทวดาชีกอ ไม่ว่าลูกเขาเมียใคร ไม่มีหางเป็นใช้ได้ พ่อจีบมันดะไปทั้งนั้น พวกเทวดาพวกนี้ ต้องปราบกันเสียให้สิ้น ต้องให้มันปีนต้นงิ้ว แล้วเอาหอกสวนก้นมัน ต้องคอยสำรวจบนฟ้า ว่าเทวดาองค์ไหน ที่ชอบกินอิฐกินทราย เพราะกินละไม่เหมือนชาวบ้าน ผมเป็นเจ้าเมืองบนฟ้า เคี่ยวเข็ญเทวดาให้ดี แต่วันนี้มาเมืองมนุษย์ เพื่อจะพบปะกับท่าน ได้ข่าวว่าเมืองมนุษย์ นั้นยังมีคนทำชั่ว ไม่เคยคิดกลัวเรื่องบาป มีแต่จะโกงกันทั้งนั้น จึงอยากจะเตือนพี่น้อง ที่อยู่ในเมืองมนุษย์ หมั่นสร้างความดีให้ถึงที่สุด จะได้ไปผุดบนสวรรค์ อย่าได้แก่งแย่งชิงดี แบ่งพวกแบ่งสีกันเลย ไม่ช้าหรอกนะท่านเอ๋ย เราก็ต้องตายกันทั้งนั้น อย่านึกว่ามียศถา นั่งบนสภาทำโก้ วางกามภูมิฐานใหญ่โต ชูคอบนเก๋งโอฬาร แต่แท้ที่จริงเบื้องหลัง นั่นทำในทางที่ผิด จึงอยากจะเตือนสักนิด เพือนสติของท่าน เดี๋ยวจะต้องไปใช้หนี้ ในอเวจีโลกันต์



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 13:39
ไม่อยู่วันเดียว
เล่นอะไรกันเนี่ย
.....งง ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 13:44
ไม่อยู่วันเดียว
เล่นอะไรกันเนี่ย
.....งง ???

ระยะเวลาในกระทู้รามเกียรติ์ผ่านไป ๑ วัน
เท่ากับระยะเวลาในโลกแห่งความเป็นจริง  ๑ เดือนเศษ
เพราะฉะนั้นควรหมั่นเข้ามาอัพเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
ไม่เช่นนั้น ท่านก็จะงงงวยอย่างนี้แหละ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 13:50
แถวสวนส้มหามีสิ่งประดิษฐ์จากชาวนอกไม่
อยู่กันแบบพื้นบ้าน ไร้ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวก
เช่น อินเตอร์เนต เป็นต้น ::)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 13:55
ได้เวลาตรวจคำตอบข้อที่ ๖๗.  ของบรรดามิตรรักแฟนเพลง
แหม ส่งเพลงกันมาอุ่นหนาฝาคั่งจริงๆ  บอกให้ส่งมาคนละ  ๒ เพลง
มีแถมมาให้อีก  ที่ส่งเกินมาไม่มีคะแนนให้นะครับ  

คุณไซมีส  ตอบไวตามเวลาไม่ขาดไม่เกิน มาตั้ง  ๓ เพลงเต็ม
แถมมีลิงก์ให้ไปตามดาวน์โหลดด้วย  ได้ไป ๑๓ คะแนน
แต่ขอหักตรงที่ไม่มีประวัติคนแต่งเพลงกับมีที่สะกดผิดเล็กน้อย หัก ๑ ๑/๒ คะแนน
เหลือ ๑๑ ๑/๒ คะแนน
ที่ส่งเกินมาไม่มีคะแนนให้นะครับ
 ;D




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 14:03
คุณดีดี  ตอบมาละเอียดยิบ ๒ เพลง แถมคลิปด้วย
แต่เพลงที่ ๒ ชื่อเพลงสีดา เป็นแต่เอ่ยชื่อนางสีดาในเพลง
เนื้อเพลงไม่ได้กล่าวถึงรามเกียรติ์  ฉะนั้น  เพลงที่ ๒ ไม่มีคะแนน
คงได้ ๘ คะแนน  เท่านั้นครับ 


คุณเพ็ญชมพู ตอบมาเหมือนกับคุณดีดี ๑ เพลงคือเพลงเป็นไปไม่ได้
ได้ไป  ๒  คะแนน กับอีกเพลง เป็นเพลงวังบัวบาน
เพลงนี้ไม่เข้าตามโจทย์ถาม เพราะเป็นแต่แต่งเลียนโวหารของบทพากย์นางลอยเท่านั้น
ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องรามเกียรติ์ในเนื้อเพลง ได้ ๐ คะแนน
ในเพลงแรกมี คลิปแนบมาด้วยให้ ๓ คะแนน รวมเป็น ๕ คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 14:08
คุณวันดี  ส่งเข้าประกวด ๔ เพลง ยาวๆ
แถมลิงก์ให้ตามไปฟังกันด้วย  ให้ ๑๓ คะแนน
แต่รายละเอียดเกี่ยวกับคนแต่งเพลงไม่มีเลย
ขอตัดออก ๑ ๑/๒ คะแนน  ได้  ๑๑ ๑/๒ คะแนน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 14:17
คำถามข้อที่  ๖๗.

คำถามนี้เอาใจคนชอบฟังเพลงครับ
ส่งมาจากนักร้องเพลงประจำเวทีรำวงงานวัดแถวบ้าน

มีเพลงไทยลูกกรุง ลูกทุ่ง และเพลงไทยสากลเพลงใดบ้าง
ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องหรือเอ่ยถึงรามเกียรติ์
จงยกเนื้อเพลงดังกล่าวมาคนละ ๒ เพลง  
พร้อมบอกชื่อคนแต่ง และคนขับร้อง  
อย่าให้ซ้ำกัน (ซ้ำกัน ตัด ๓ คะแนน)
ข้อนี้เพลงละ  ๕  คะแนน
ผู้ใดจะแนบคลิปมาด้วยเราก็ไม่ว่ากัน  
แต่ถ้าแนบคลิปมาเรามีคะแนนเพิ่ม  ๓ คะแนน

มิตรรักแฟนเพลงกรุณาตอบมาหน้าไมค์ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น.

1. เพลง ไม่ใช่หนุมาน
ศิลปิน taxi
ผู้แต่งเพลง -

ฉันว่าพูดดีๆ ไว้ดีกว่า ถ้าคิดจะไป กับคนดีของเธอ
ก็บางคนที่รักกันมา แต่เวลาไม่ช่วยอะไร
ก็ใจคนที่ว่าดีๆ ก็บางทีก็เพี้ยนกันไป
ก็ใจเธอให้เขาไปครอง แต่เธอมองว่าฉันมันซวย
ก็มองกันว่าฉันมันทุย แต่เธอคุยว่าเขามันรวย
คิดจะเอาอะไร ได้ทั้งเดือนและดาว
ฉันมันคนเป็นๆ ไม่ใช่หนุมาน ถ้าจะเอายังงั้น ก็พูดตรงๆ
แค่ Say Good Bye
ฉันมันคนเดินดิน อาจจะกินข้าวแกง แต่ในใจไม่แล้ง
ถ้ารักใครแล้วก็รักจนตาย ไม่มีใจไม่ต้องรำพัน
จะคุยกันให้ยากทำไม Say Yeah ก็ไม่ต้อง Go
Say No ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องมาเอามาแจง ให้สะเทือนหัวใจ
ฉันมันคนเป็นๆ ไม่ใช่หนุมาน ถ้าจะเอายังงั้น ก็พูดตรงๆ
แค่ Say Good Bye
ฉันมันคนเดินดิน อาจจะกินข้าวแกง แต่ในใจไม่แล้ง
ถ้ารักใครแล้วก็รักจนตาย ฉันมันคนเป็นๆ ไม่ใช่หนุมาน
ถ้าจะเอายังงั้น ก็พูดตรงๆ แค่ Say Good Bye
ฉันมันคนเดินดิน อาจจะกินข้าวแกง แต่ในใจไม่แล้ง
ถ้ารักใครแล้วก็รักจนตาย ฉันมันคนเป็นๆ ไม่ใช่หนุมาน
ถ้าจะเอายังงั้น ก็พูดตรงๆ แค่ Say Good Bye
ฉันมันคนเดินดิน อาจจะกินข้าวแกง แต่ในใจไม่แล้ง
ถ้ารักใครแล้วก็รักจนตาย ฉันมันคนเป็นๆ ไม่ใช่หนุมาน
ถ้าจะเอายังงั้น ก็พูดตรงๆ แค่ Say Good Bye
ฉันมันคนเดินดิน อาจจะกินข้าวแกง แต่ในใจไม่แล้ง
ถ้ารักใครแล้วก็รักจนตา



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 14:18
คำถามข้อที่ ๖๘.

คำถามข้อนี้  ส่งมาจากนักเลงแผงพระเครื่องแถวท่าพระจันทร์
ถามว่า  เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างไร
กับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้  คนถามให้ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ คะแนน
ถ้าตอบดีมีตัวอย่างประกอบ เพิ่มคะแนนให้ สูงสุด ๒๐ คะแนน
ให้ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐ น.
อ้อ ใครตอบหลังจาก ๑๕.๑๕ น. ไปแล้ว  หัก ๒ คะแนนจากคะแนนที่ได้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 14:22
ตอบช้าเพราะมัวตัดเพลงออก

ซำ้กับท่านที่ตอบก่อน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 15:00
คำถามข้อที่ ๖๘.

คำถามข้อนี้  ส่งมาจากนักเลงแผงพระเครื่องแถวท่าพระจันทร์
ถามว่า  เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างไร
กับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้  คนถามให้ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ คะแนน
ถ้าตอบดีมีตัวอย่างประกอบ เพิ่มคะแนนให้ สูงสุด ๒๐ คะแนน
ให้ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐ น.
อ้อ ใครตอบหลังจาก ๑๕.๑๕ น. ไปแล้ว  หัก ๒ คะแนนจากคะแนนที่ได้

เครื่องรางของขลังเกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ติดต่อและขอพรจากเทพเจ้าที่ตนนับถือ ดังในศาสนาโบราณทั่วโลก ก็มีเครื่องรางของขลังเทวรูปต่างๆ เกิดมากมาย เช่น อียิปต์ โรมัน กรีก และอารยะธรรมที่เจริญแล้ว และหนึ่งในนั้นที่สำคัญก็คือศาสนาพราหมณ์ ที่นับถือเทพเจ้าองค์สำคัญทั้ง 3 คือ พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ซึ่งก็ต่างมีสิ่งสักการะเหมือนกัน เช่น ศิวลึงค์ เทวรูปเป็นต้น

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์นั้น
เนื่องจากว่ามีที่มาจากลัทธิศาสนาพราหมณ์อันเป็นศาสนาเก่าแก่ที่มีเครื่องรางของขลัง หรือเทวรูปให้สักการะบูชามานานมากแล้ว คนไทยสมัยก่อนก็มีเครื่องรางของขลังใช้อยู่เหมือนกัน เช่นตะกรุด ผ้าประเจียด เหล็กไหล ปลัดขิก (ดังปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผน) แต่สิ่งเหล่านั้นไม่มีอิทธิพลของรามเกียรติ์มาเกี่ยวข้องด้วยเลย เพราะเป็นอิทธิพลมาจากการนับถือสิ่งเร้นลับที่มีมาก่อนศาสนามากกว่า แต่คนไทยในปัจจุบันเริ่มนำเรื่องรามเกียรติ์มาผูกโยงเข้ากับเครื่องรางของขลังต่างๆ ด้วยคิดกันว่า พระรามคือพระนารายณ์อวตาร (คือธรรมะ) ตัวละครต่างๆ ก็คือเทพจุติลงมาเพื่อช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ (คืออธรรม) ดังนั้นการบูชาพระรามและตัวละครต่างๆ ก็คล้ายกับการบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ด้วย บางทีก็หลายสำนักหลายอาจารย์หลายวัดได้นำตัวละครในเรื่องที่มีคุณสมบัติหรือบุคลิกภาพต่างๆ มาเป็นตัวแทนของสิ่งนั้นๆ ที่ต้องการเชื่อมโยงและส่งผลต่อผู้บูชา เช่น การลงนะหน้าทอง
ตำนานของวิชาพระลักษณ์หน้าทองมาจากเรื่องรามเกียรติ์
เพราะการที่พระลักษณ์นั้นมีกายสีทอง อีกทั้งยังนามว่า “ลักษณ์” นั้นพ้องกับคำว่า “รัก” ด้วย
และเหตุที่พระลักษณ์เป็นน้องสนิทของพระราม เดินทางไปไหนมาไหนด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน จึงทำให้พระรามรักใคร่และไว้เนื้อเชื่อใจ หากผู้ลงวิชานี้ไว้กับตัวแล้ว ย่อมแต่จะมีคนรักคนหลงผู้ใหญ่ให้ความสนิทสนม ทำมาค้าขายได้สำเร็จ
ดังนั้น นามพระลักษณ์จึงเป็นตัวแทนแห่งความมีเสน่ห์เมตตามหานิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด

หรือบางทีก็นำเรื่องราวที่ปรากฏในรามเกียรติ์มาผูกขึ้นกับตำนานพื้นบ้านต่างๆ จนกลายเป็นต้นตอของเครื่องรางบางอย่างด้วย เช่น นางกวัก
ตำนานของนางกวักมาจากเรื่องรามเกียรติ์
กล่าวถึงท้าวอุณาราช ถูกพระรามใช้ต้นกกแผลงเป็นลูกศรไปต้องที่หน้าอก คนทั้งหลายเลยพาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวกกขนาก เมื่อพระรามได้สาปให้ท้าวกกขนาก ถูกตรึงด้วยลูกศรอยู่ที่เขาวงพระจันทร์อย่างทุกข์ทรมาน จนกว่าจะถึงศาสนาพระศรีอารย์จึงจะหลุดพ้นคำสาป เมื่อข่าวนี้ทราบถึงนางประจันทร์ซึ่งเป็นธิดาของท้าวอุณาราชจึงได้มาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อมาอยู่ปฏิบัติดูแลพระบิดาและได้พยายามทอจีวรด้วยใบบัว เพื่อไว้ถวายพระศรีอารย์ ในกาลอนาคต ซึ่งจะเสด็จมาโปรดพระบิดาของนางจึงจะพ้นคำสาป
เหตุนี้ชาวเมืองทั่วไปต่างพากันเกรงกลัวท้าวกกขนาก ว่าหากหลุดพ้นจากคำสาปจะออกมาอาละวาดฆ่าฟันเหล่ามวลมนุษย์จึงทำให้ชาวบ้าน ทั่วไปพากันเกลียดชังนางประจันทร์ไปด้วย ทำให้นางประจันทร์ได้รับการทุกข์ทรมานจากการกระทำต่าง ๆ นานา แต่นางประจันทร์ก็ไม่เคยปริปากพยายามอดทนเพื่อดูแลพระบิดา เป็นเหตุให้ปู่เจ้าเขาเขียวซึ่งเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายร่วมตายกับท้าวอุณาราช ส่งนางกวักบุตรสาวของท่านให้มาอยู่เป็นเพื่อนกับนางประจันทร์
เมื่อนางกวักได้เข้ามาอยู่เป็นเพื่อนกับนางประจันทร์แล้วก็ปรากฏว่าผู้คนที่เคยเกลียดชังนางประจันทร์มาก่อนก็พากันกลับมารักใคร่นางอย่างไม่คาดคิด และถึงแม้ที่อยู่ของนางจะทุรกันดารสักแค่ไหนก็จะมีผู้คนนำเอาลาภสักการะและแก้วแหวนเงินทองไปสู่สำนักของนางประจันทร์เป็นจำนวนมากอย่างไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุนี้จึงพากันประดิษฐ์คิดแต่งรูปแม่นางกวักขึ้นไว้เพื่อบูชาด้วยทัพสัมภาระต่างๆ เพื่อให้คนบูชาได้รับอานิสงส์เฉกเช่นเดียวกับนางประจันทร์นั่นเอง



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.พ. 11, 15:02
คำถามข้อที่ ๖๘.

คำถามข้อนี้  ส่งมาจากนักเลงแผงพระเครื่องแถวท่าพระจันทร์
ถามว่า  เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างไร
กับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้  คนถามให้ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ คะแนน
ถ้าตอบดีมีตัวอย่างประกอบ เพิ่มคะแนนให้ สูงสุด ๒๐ คะแนน
ให้ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐ น.
อ้อ ใครตอบหลังจาก ๑๕.๑๕ น. ไปแล้ว  หัก ๒ คะแนนจากคะแนนที่ได้

ขอตอบค่ะ
 ;D
ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง มีมาแตโบราณ เนื่องจากมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ล้วนมีความกลัวเป็นที่ตั้ง กลัวเจ็บ กลัวตาย กลัวไม่เก่ง เพราะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความควบคุม out of control มนุษย์จึงต้องสร้างกลอุบายเพื่อกลบความกลัวเหล่านั้น  เครื่องรางของขลัง จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางจิตใจ สร้างขวัญกำลังใจ ให้มีความหวังในสิ่งที่ปรารถนาคือ สุขภาพ เงินทอง ความปลอดภัย ความเก่งกล้าสามารถเหนือคนอื่น ฯลฯ
เครื่องรางของขลังของคนไทย ส่วนมากจะสร้างจาก วัตถุที่หายาก มีความนิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ นำมาผูกเข้ากับอักขระเลขยันต์ และกำกับด้วยคาถาอาคม เพื่อหวังผลให้เกิดอานุภาพแบบครอบคลุม หรือนำมาผูกอักขระเลขยันต์เฉพาะด้านโดยกำหนดให้มีคาถาอาคมกำกับเป็นการเฉพาะ
   เรื่องรามเกียรติ์ เป็นความเชื่อทางศาสนาผสมผสานเข้ากับกับคติธรรม ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ตัวละครแต่ละตัวมีความเก่งกาจสามารถ ล้วนเป็นเทพเจ้าจากสวรรค์ เก่งทั้งวิชาความรู้ ความสามารถและมีเสน่ห์ จึงได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก โดยนำมาผูกเข้ากับความเชื่อ จัดทำเป็น เครื่องรางของขลัง โดยใช้วัสดุที่มีความขลัง เช่นกะลาตาเดียว ฯลฯ  ผนวกเข้ากับอักขระเลขยันต์ กำกับด้วยคาถาอาคม จากพระสงฆ์ และอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ต่างๆ
  
ตัวอย่าง เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลกับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
 
-หนุมาน ได้รับความนิยมจัดทำเป็นเครื่องรางของขลังมาก เนื่องจากมีอิทธิฤทธิ์แบบครอบจักรวาล  เก่งมีฤทธิ์เดชมาก มีเสน่ห์ เพราะมีภรรยาหลายตน อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม จึงได้รับความนิยมสูง วัสดุที่ใช้จัดทำก็มีหลากหลาย รวมถึงมีการเพิ่มความขลังด้วยการผนวกสัตว์ต่างๆ เข้ามาร่วมด้วยในรูปแบบหนุมานผสานกาย วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับหนุมาน เช่น
หนุมานงาช้างแกะสลักของหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
หนุมานจากด้ามตาลปัตร ของ หลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ
หนุมานเชิญธงขี่สิงห์ ของหลวงปู่ทองสุข วัดโตนดหลวง

-พระลักษมณ์หน้าทอง มีความสามารถสูง มีเสน่ห์ ใจเย็น จึงนิยมจัดทำเป็นวัตถมงคล ด้านเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับพระลักษมณ์ เช่น
พระลักษมณ์หน้าทอง ของหลวงปู่กาหลงเขี้ยวแก้ว ใช้เสกแป้งทาหน้า เมตตามหานิยม  มีคนอุปถัมภ์
พระผง พระลักษมณ์หน้าทอง วัดเกษตรสุข จ.พะเยา

- นางกวัก มีความเชื่อมาจาก เรื่อง "รามเกียรติ์ " โดยกล่าวถึงท้าวอุณาราช เจ้าเมืองสิงขรเป็นฝ่ายยักษ์ ขณะที่พระรามกำลังตามหานางสีดาที่ดำดินหนีได้ไปพบท้าวอุณาราช  จึงได้ใช้ต้นกกแผลงเป็นลูกศรไปต้องท้าวอุณาราชที่หน้าอก คนทั้งหลายเลยพาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ท้าวกกขนาก" เมื่อพระรามได้สาปให้ท้าวกกขนาก ถูกตรึงด้วยลูกศรอยู่ ณ ที่เขาวงพระจันทร์อย่างทุกข์ทรมาน จนกว่าจะถึงศาสนาพระศรีอารย์จึงจะหลุดพ้นคำสาป เมื่อข่าวนี้ทราบถึงนางประจันทร์ซึ่งเป็นธิดาของท้าวอุณาราชจึงได้มาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อมาอยู่ปฏิบัติดูแลพระบิดาและได้พยายามทอจีวรด้วยใบบัวเพื่อไว้ถวายพระศรีอารย์ ในกาลอนาคต ซึ่งจะเสด็จมาโปรดพระบิดาของนางจึงจะพ้นคำสาป
         ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองทั่วไปต่างพากันเกรงกลัวท้าวกกขนาก ว่าหากหลุดพ้นจากคำสาปจะออกมาอาละวาดฆ่าฟันเหล่ามวลมนุษย์จึงทำให้ชาวบ้านทั่วไปพากันเกลียดชังนางประจันทร์ไปด้วย ทำให้นางประจันทร์ได้รับการทุกข์ทรมานจากการกระทำต่าง ๆ นานา แต่นางประจันทร์ก็ไม่เคยปริปากพยายามอดทนเพื่อดูแลพระบิดา เป็นเหตุให้ปู่เจ้าเขาเขียวซึ่งเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายร่วมตายกับท้าวอุณาราช  ท่านจึงได้ส่งนางกวักบุตรสาวของท่านให้มาอยู่เป็นเพื่อนกับนางประจันทร์
         เมื่อนางกวักได้เข้ามาอยู่เป็นเพื่อนกับนางประจันทร์แล้วก็ปรากฎว่าผู้คนในเมืองที่เคยเกลียดชังนางประจันทร์มาก่อนก็พากันกลับมารักใคร่นางอย่างไม่คาดคิด และถึงแม้ที่อยู่ของนางจะทุรกันดารสักแค่ไหนก้จะมีผู้คนนำเอาลาภสักการะและแก้วแหวนเงินทองไปสู่สำนักของนางประจันทร์เป็นจำนวนมากอย่างไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุนี้ท่านโบราณจารย์ผู้ชาญฉลาดตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน จึงพากันประดิษฐ์คิดแต่งรูปแม่นางกวักขึ้นไว้เพื่อบูชาด้วยทัพสัมภาระต่าง ๆ ดังเช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ จะนิยมแกะรูปนางกวักด้วยงาช้าง ส่วนหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม จะแกะด้วยไม้ไผ่สีสุก และท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัล ก็นิยมแกะรูปนางกวักด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งบรรจุอิทธิคุณและพุทธคุณต่าง ๆ ไว้ภายใน เพื่อให้ที่ลูกศิษย์ลูกหาได้รับอานิสงส์เฉกเช่นเดียวกับนางประจันทร์


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 15:08
คำถามข้อที่ ๖๘.

คำถามข้อนี้  ส่งมาจากนักเลงแผงพระเครื่องแถวท่าพระจันทร์
ถามว่า  เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างไร
กับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้  คนถามให้ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ คะแนน
ถ้าตอบดีมีตัวอย่างประกอบ เพิ่มคะแนนให้ สูงสุด ๒๐ คะแนน
ให้ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐ น.
อ้อ ใครตอบหลังจาก ๑๕.๑๕ น. ไปแล้ว  หัก ๒ คะแนนจากคะแนนที่ได้
+++
เข้าทางเลย
๑.   หนุมานและตระกูลลิง
พระเกจิอาจารย์ของไทยได้นำหนุมานมาแกะเพื่อเป็นเครื่องราง วัตถุประสงค์นำไปใช้ในด้านเมตตามหานิยมเป็นหลัก ซึ่งมีด้วยกันหลายสำนัก ซึ่งได้แก่
๑.๑ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน นนทบุรี (แกะหนุมานนั่ง) นิยมเป็นหนุมานทรงเครื่อง มีนั่งยองและนั่งราบ ทำด้วยวัสดุงาช้างแกะ และรากพุด ซึ่งต้องทำกรรมวิธีบริกรรมคาถาปลุกเสก เพื่อเพิ่มความขลัง ปัจจุบันสวยๆหลักแสน ธรรมดาหลักหมื่น
๑.๒ ลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา , หลวงพ่อดิ่งพระเกจิอาจารย์สายตะวันออกนำรากไม้พุด มาแกะสร้างเป็นลิงจับหลักเพื่อเน้นด้านเมตตาค้าขายและมหานิยม มีกรรมวิธีการขุดรากต้นพุดที่ซอนไปทางตะวันออกเท่านั้น เงาคนขุดห้ามทับรากพุด และบริกรรมคาถาเพื่อความขลัง หายากมาก ปัจจุบันสวยๆหลักแสน ธรรมดาหลักหมื่น
๑.๓ องคต หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิรุ่นเดียวกับหลวงพ่อดิ่ง ช่วงสงครามโลก ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย หนึ่งในนั้นเป็นองคต ซึ่งเน้นเมตตามหานิยม แกะด้วยวัสดุหลักคือ ด้ามตาลปัตร นั่งบนหางตนเอง การพิจารณาจะดูจากความเก่าและศิลปะการแกะ หากสวยๆหลักหมื่นปลาย

๒.   นางกวัก
ตำนานนางกวัก ได้อ้างถึงเรื่องรามเกียรติ์เมื่อพระรามพบกับท้าวอุณาราช ซึ่งเป็นพญายักษ์เจ้านครสิงขร พระรามได้แผลงศรตรึงท้าวอุณาราชไว้กับภูเขาถ้ำวงพระจันทร์ ซึ่งในนั้นมีนางประจันทร์ ซึ่งเป็นธิดามาคอยปรนิบัติอยู่ตลอดเวลา ความรู้ไปถึงปู่เจ้าเขาเขียว จึงได้ส่ง “พระธิดา” องค์หนึ่งให้มาอยู่เป็นเพื่อนนาง ตั้งแต่พระธิดามาอยู่ด้วยแล้ว ประชาชนต่างก็กลับรักนางประจันทร์ เขาของมาให้ มาเยี่ยมมาเยียนเสมอมิได้ขาด ตรงนี้เองทำให้นางประจันทร์เรียกพระธิดาว่า “นางกวัก”
ซึ่งไทยเองก็ถือคตินี้จึงได้มีการสร้างรูปนางกวักขึ้นเพื่อการค้าขายเป็นส่วนมาก ซึ่งขึ้นชื่อยู่หลายสำนัก เช่น นางกวัก (แกะบนงาช้าง ของหลวงพ่อเดิม นครสวรรค์), นางกวักหลวงพ่อกวย สิงห์บุรี, นางกวักหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น
๓.ช้างเอราวัณ
พาหนะของพระอินทร์อันทรงฤทธิเดชมากมาย เดิมไม่มีการไหว้ในทางวัตถุมงคล แต่ปัจจุบันได้มีการนับถือช้างเอราวัณมากขึ้น เมื่อมีการสร้างช้างเอราวัณใหญ่ที่สุดในโลก ที่สมุทรปราการขึ้นมา ทำให้ผู้คนพากันกราบไหว้ ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลและมีการรำแก้บนอย่างมากมาย
อย่างที่แทรกภาพนี้เป็นภาพองคต หลวงพ่อปานวัดบางกระสอบให้ชมกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 15:10
คุณวันดีตอบข้อ ๖๖.มา ชัดเจนดี  เอาไป ๑๐ คะแนน
แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร  

โบราณท่านให้เหตุผลไว้ว่า

แม่สูงที่ลูกเกินไป จะทำให้เด็กคอยาว เพราะเวลาดื่มนมต้องยืดคอ
แม่นมที่เตี้ยเกินไป จะทำให้เด็กคอสั้น เพราะเวลาดื่มนมต้องหดคอ
แม่นมที่ผอมเกินไป จะทำให้เด็กเจ็บตัว
แม่นมที่อ้วนเกินไป จะทำให้เด็กเมื่อยตัว เพราะทั้ง 2 อย่างเวลาดื่มนมจะอยู่ในท่าที่ไม่ถนัด
แม่นมที่ผิวดำเกินไป จะทำให้น้ำนมเย็น
แม่นมที่ผิวขาวเกินไป จะทำให้น้ำนมร้อน น้ำนมทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เป็นผลดีแก่เด็ก
แม่นมที่มีเต้านมที่ยาน จะทำให้เด็กจมูกแบน เพราะเต้านมจะย้อยลงมาทับจมูกในเวลาให้เด็กดื่มนม
แม่นมที่เป็นโรคหืด น้ำนมจะเปรี้ยว
แม่นมที่เป็นโรคมองคร่อ นมจะมีรสเผ็ด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 15:15
ตอบหนุมานซ้ำกันเหลือเกิน ขอตอบเพิ่ม

พระพิราพ พญายักษ์ เทพแห่งการนาฏศิลป์และดนตรีแทน โดยมีการออกเครื่องรางของหลวงพ่อกาหลง ได้ทำออกมา

พระพิราพเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 15:20
คำถามข้อที่ ๖๘.

คำถามข้อนี้  ส่งมาจากนักเลงแผงพระเครื่องแถวท่าพระจันทร์
ถามว่า  เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างไร
กับความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังของคนไทยในปัจจุบัน
จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นชัดเจน

ข้อนี้  คนถามให้ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ คะแนน
ถ้าตอบดีมีตัวอย่างประกอบ เพิ่มคะแนนให้ สูงสุด ๒๐ คะแนน
ให้ตอบหน้าไมค์  ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐ น.
อ้อ ใครตอบหลังจาก ๑๕.๑๕ น. ไปแล้ว  หัก ๒ คะแนนจากคะแนนที่ได้


ตัวอย่างประกอบอยู่ในข้อเขียน      โปรดอย่าอ่านข้าม


รามเกียรติ์เป็นเรื่องปรำปราที่อยู่กับสังคมไทยมานาน      ก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาสู่ประเทศเรา

พิธีกรรมต่างๆของพราหมณ์  อันเป็นเรื่องลึกลับ  อลังการ  ไทยเราก็รับมาเป็นเครื่องมือในการปกครอง
สร้างระเบียบของสังคมให้ยอมรับผู้นำ  ที่มีความกล้าหาญ  เก่งในการต่อสู้ สามารถคุ้มครองไพร่บ้านพลเมืองได้

ในปัจจุบันไทยเราสามารถปนพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเข้ากับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมได้     มีสวดมนตร์เลี้ยงพระใน
พิธีพราหมณ์เช่นยกศาลพระภูมิ  โกนจุก ได้

สังคมในปัจจุบันว้าเหว่เพราะเศรษฐกิจเป็นตัวนำในความมั่นคงทางจิตใจ   เด็กแรกเกิดก็ผูกยันต์ท้าวเวสสุวรรณผู้มี
ชื่อว่าเป็นผู้มีทรัพย์มาก  ไว้หัวที่นอน

หนุมานเป็นตัวอย่างของนักต่อสู้ผู้กล้าหาญ  เป็นอมตะ  อยู่ยงคงกะพัน   จึงนิยมสักยันต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหนุมาน
เช่นลิงลม  เพราะเมื่อบาดเจ็บสาหัสลมพัดมาถูกตัวจะฟื้น        ข้อห้ามบางอย่างเป็นอันตรายแก่ผู้ที่จิตใจอ่อน  เมื่อหลง
คิดว่าตนเองเก่งขึ้นมากระทันหัน  ก็จะแสดงฤทธิ์ที่ตนไม่มี  ใช้อาวุธทำร้ายผู้คนรอบด้าน  ด้วยจิตใจที่ระแวงว่าจะมีผู้มาทำร้าย  เพราะตนเองมีความสำคัญมาก
การที่อ้างว่ามีอาการต่างๆนั้น  เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง  คือเจ้าตัวมีความทุกข์  ตกอยู่ในความอดกลั้นทรมานไม่สามารถแสดงออก  เพราะเกรงสังคมตำหนิ   เมื่อมีการสักหรือมีวัตถุมงคลอยู่กับตัว  ก็จะเกิดอาการระเบิดความโกรธ  น้อยใจ  เจ็บใจ  สู้ไม่ได้ออกมา  คือขาดสติสัมปชัญญะไปชั่วหนึ่ง

ยันต์ที่สร้างความร่ำรวยนั้นไม่มีอันตราย  เพราะเจ้าตัวหมั่นอยู่ในบ้าน  ภาวนาชักลูกประคำไป  ไม่ดื่มสุรา  ไม่เที่ยวกลางคืน
ก็จะประหยัดอันเป็นบ่อเกิดของการสะสมทรัพย์นั่นเอง   น้ำที่ไหลเข้านั้น  ถ้าเก็บไว้ได้ส่วนหนึ่ง  ถึงจะไม่มาก   ผู้ปฎิบัติจะไม่มีวันยากจน


ยันต์หนุมานตัวเก้าบ้าง  หนุมานทรงฤทธิ์บ้าง  เมื่อใช้กับทหาร ตำรวจ  มือปราบ  ผู้รักษากฎหมาย     สร้างกำลังใจอย่างยวดยิ่ง
เพราะสตินั้น  มาจากสมาธิ      นำปัญญามาสู่  ไม่มีความเกรงกลัวที่จะต่อสู้ผู้ผิดกฎหมาย  เพราะเชื่อว่า อำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่
ข้างตน    เมื่อใจเป็นสมาธิก็จะจำการสั่งสอนอบรมที่ได้รับมา   เมื่อทำไปตามคำสั่ง  งานก็จะได้ผลสำเร็จ

ที่นี่ถามเรื่องรามเกียรติ์  ก็พยายามจะไม่ออกนอกเรื่อง   แต่ได้รู้เป็นมาว่า  มือปราบหรือมือสังหารผู้รักษากฎหมายนั้น  นิยมฝังเหล็กไหลเข้าในส่วนต่างๆของร่างกาย  เป็นตะปุ่มตะป่ำทีเดียว
เป็นสัญญลักษณ์ของการรวมกลุ่มพิเศษ   ที่มีอำนาจเหนือผู้อื่น   ไปไหนคนเกรงใจ



สมัยเมื่อไทยเราเสียกรุงแล้วนั้น   มีสำนักอาจารย์เกิดขึ้นทั่วไป  แจกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล  ผ้ายันต์ต่าง ๆ   ก็เกิดแตกสามัคคีเพราะต่างสำนักกัน  

กว่าจะออกรบได้ก็ทำร้ายกันไปมาก       ผู้นำของเราจึงเก็บผ้ายันต์ทั้งหมดและเขียนผ้ายันต์ให้ใหม่  มีอักษรน้อยตัว       เป็นสัญญลักษณ์ของความสามัคคี

ประกอบกับความฉลาดเฉลียว  กล้าหาญ  ชำนาญศึก    ทหารไทยก็รบตลุยมาจนสร้างบ้านสร้างเมืองให้พวกเราดั่งนี้แล  ผ้าขาวที่ฉีกและลงอักษรจากผู้นำที่เป็นที่ยอมรับ

กษัตริย์ของไทยนั้นมีสัญญลักษณ์เป็นพระรามผู้ทรงความดีงาม


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 15:32

สมัยเมื่อไทยเราเสียกรุงแล้วนั้น   มีสำนักอาจารย์เกิดขึ้นทั่วไป  แจกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล  ผ้ายันต์ต่าง ๆ   ก็เกิดแตกสามัคคีเพราะต่างสำนักกัน    กว่าจะออกรบได้ก็ทำร้ายกันไปมาก       ผู้นำของเราจึงเก็บผ้ายันต์ทั้งหมดและเขียนผ้ายันต์ให้ใหม่  มีอักษรน้อยตัว       เป็นสัญญลักษณ์ของความสามัคคี
ประกอบกับความฉลาดเฉลียว  กล้าหาญ  ชำนาญศึก    ทหารไทยก็รบตลุยมาจนสร้างบ้านสร้างเมืองให้พวกเราดั่งนี้แล


เคยได้ยินเรื่องนี้เช่นกัน
จำมิได้ว่าข้อเขียนของใคร ส. พลายน้อย หรือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
ที่ว่า ในคราวสงครามเก้าทัพ โปรดให้เกณฑ์ทหารมาชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวง แต่เพราะต่างคนต่างมีของดีคนละสำนักอาจารย์กัน
จึง "ลองของ" ต่อสู้กันเองจนบาดเจ็บล้มตายก็หลายนาย พระเจ้าอยู่หัวปฐมวงศ์กับกรมพระราชวังจึงทรงปรึกษากันว่า
จะเผาทำลายของขลังที่มีให้หมด แล้วจะทำของขลังชิ้นใหม่ เขียนผ้ายันต์เป็นรูปอุณาโลม แจกเป็นผ้าประเจียดให้ทหารทุกนายที่ไปรบ
ครั้นต่อมาทหารไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงนำรูปอุณาโลมไปติดที่หน้าหมวก ดังนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 15:40
โอ้โฮ   นี่เจ้าของแผงพระเครื่องมาตอบเองหรือเปล่าเนี่ย
ดีนะว่า ไม่มีใครบอกบอกรายละเอียดสำหรับพิจารณาของแท้ของปลอม ราคาซื้อขายมาด้วย


คุณอาร์ท  ตอบมาดีมาก   
โบราณท่านให้เหตุผลไว้ว่า

แม่สูงที่ลูกเกินไป จะทำให้เด็กคอยาว เพราะเวลาดื่มนมต้องยืดคอ
แม่นมที่เตี้ยเกินไป จะทำให้เด็กคอสั้น เพราะเวลาดื่มนมต้องหดคอ
แม่นมที่ผอมเกินไป จะทำให้เด็กเจ็บตัว
แม่นมที่อ้วนเกินไป จะทำให้เด็กเมื่อยตัว เพราะทั้ง 2 อย่างเวลาดื่มนมจะอยู่ในท่าที่ไม่ถนัด
แม่นมที่ผิวดำเกินไป จะทำให้น้ำนมเย็น
แม่นมที่ผิวขาวเกินไป จะทำให้น้ำนมร้อน น้ำนมทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เป็นผลดีแก่เด็ก

แม่นมที่มีเต้านมที่ยาน จะทำให้เด็กจมูกแบน เพราะเต้านมจะย้อยลงมาทับจมูกในเวลาให้เด็กดื่มนม
แม่นมที่เป็นโรคหืด น้ำนมจะเปรี้ยว
แม่นมที่เป็นโรคมองคร่อ นมจะมีรสเผ็ด

เอาไป  ๕  คะแนน  (เพราะเป็นคำถามที่ผมถามเพิ่มภายหลัง
จึงต้องให้คะแนนน้อยกว่าคะแนนเต็มในข้อ)




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 15:46
คุณอาร์ตสหาย


       ดวงท่านตกมีผู้อุปการะเป็นเสนาบดีฝ่ายบุ๋น         ตัวท่านนั้นยังจะเจริญไปภายหน้าอีกมาก
       โปรดระวังชายผิวขาว  ผมดำสนิท    มาในรูปปุโรหิต
       สตรีสกุลสูงจะเป็นที่พึ่งได้


       คงมีโอกาสในวันหน้า  ที่จะเล่าเรื่องกลอุบายศึกที่มีการบันทึกไว้แต่ยังไม่เป็นที่รู้ทั่วไป     ผู้นำของเราและพระญาติพระวงศ์ล้วนกรำศึก

ทหารอาทมาตที่ออกไปดูข่าวทัพพม่านั้น    เจ้านายคายหมากอาพัดให้เป็นกำลังใจ          ความจงรักภักดีนั้นมีเหตุอยู่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 15:47
โอ้โฮ   นี่เจ้าของแผงพระเครื่องมาตอบเองหรือเปล่าเนี่ย
ดีนะว่า ไม่มีใครบอกบอกรายละเอียดสำหรับพิจารณาของแท้ของปลอม ราคาซื้อขายมาด้วย


กะอยู่แต่เกรงใจจะยาว  ;) ส่วนราคาซื้อขายได้บอกไปในเรื่องหนุมานแล้ว  ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 15:54
ก่อนจะตรวจเครื่องรางของขลังของแต่ละคนว่าใครแท้ใครปลอม
ผมขอตั้งคำถามเพิ่ม

คำถามข้อที่ ๖๙.

จากภาพต่อไปนี้  เป็นประติมากรรมเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด (เล่ามาพอรู้เรื่อง)
และของสิ่งนี้  ใครเป็นคนทำ  ทำขึ้นเมื่อใด  ทำขึ้นในโอกาสใด  และทำขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร

ข้อนี้ ๓๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ให้เวลาตอบจนถึงวันจันทร์ที่ ๒๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๐๐ น.  พ้นนี้แล้วจะเฉลยคำตอบ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 16:07
ก่อนจะตรวจเครื่องรางของขลังของแต่ละคนว่าใครแท้ใครปลอม
ผมขอตั้งคำถามเพิ่ม

คำถามข้อที่ ๖๙.

จากภาพต่อไปนี้  เป็นประติมากรรมเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด (เล่ามาพอรู้เรื่อง)
และของสิ่งนี้  ใครเป็นคนทำ  ทำขึ้นเมื่อใด  ทำขึ้นในโอกาสใด  และทำขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร

ข้อนี้ ๓๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ให้เวลาตอบจนถึงวันจันทร์ที่ ๒๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๐๐ น.  พ้นนี้แล้วจะเฉลยคำตอบ

คงเป็นตอนที่พระรามปราบยักษ์ตนใดตนหนึ่ง น่าจะเป็นพระยาขร  มีนางสีดาอยู่ด้วยด้านหลัง วัตถุนี้มีอยู่หลายชิ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทำขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเมรุแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่องานพระเมรุในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ครับผม

วัสดุนั้นน่าจะทำด้วยไม้ระกำ ไม้กลึง ปิดทอง เขียนสี ครับ ประดิษฐ์ขึ้นโดยพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ หัวหน้าช่างสิบหมู่เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ จัดอยู่ในครอบแก้ว สูงประมาณ ๒๐ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 16:27
ตะแล๊บแก๊บ มาว่า อยากเห็นเสียนี่กระไร จึงจัดให้อีก คงจะตาลุกวาวยิ่งกว่านกฮูก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 16:32
ปัจจุบันอยู่ในพระบรมมหาราชวัง น่าจะคล้ายๆตรงหมู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในบริเวณที่ตั้งของพระที่นั่งอัฐทิศ และพระที่นั่งภัทรบิศ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 11, 16:45
ก่อนจะตรวจเครื่องรางของขลังของแต่ละคนว่าใครแท้ใครปลอม
ผมขอตั้งคำถามเพิ่ม

คำถามข้อที่ ๖๙.

จากภาพต่อไปนี้  เป็นประติมากรรมเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด (เล่ามาพอรู้เรื่อง)
และของสิ่งนี้  ใครเป็นคนทำ  ทำขึ้นเมื่อใด  ทำขึ้นในโอกาสใด  และทำขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร

ข้อนี้ ๓๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ให้เวลาตอบจนถึงวันจันทร์ที่ ๒๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๐๐ น.  พ้นนี้แล้วจะเฉลยคำตอบ

คงเป็นตอนที่พระรามปราบยักษ์ตนใดตนหนึ่ง น่าจะเป็นพระยาขร  มีนางสีดาอยู่ด้วยด้านหลัง วัตถุนี้มีอยู่หลายชิ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทำขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเมรุแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่องานพระเมรุในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ครับผม

วัสดุนั้นน่าจะทำด้วยไม้ระกำ ไม้กลึง ปิดทอง เขียนสี ครับ ประดิษฐ์ขึ้นโดยพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ หัวหน้าช่างสิบหมู่เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ จัดอยู่ในครอบแก้ว สูงประมาณ ๒๐ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔

ว้า  ท่าทางจะง่าย   งั้นขอเลื่อนเวลาหมดกำหนดตอบมาอยู่วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์นี้
เวลา ๑๘.๐๐ น.


ข้อความที่เส้นใต้นั้น  ถูกต้อง   นอกนั้นยังไม่ถูก
ตอนนี้ได้มาแล้ว  ๑๕ คะแนน   คะแนนอีกครึ่งอยู่ที่เนื้อเรื่องของประติมากรรม
ขอให้หาคำตอบได้เร็วๆ  เอาใจช่วยจริงๆ นะเนี่ย ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 11, 16:53
ทำด้วยโลหะหล่อปิดทอง อาจจะทองเหลือง หรือ ทองแดงปิดทอง เนื่องจากเห็นสนิมเขียวขึ้นอยู่ที่ตัวตุ๊กตา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.พ. 11, 17:42
เอาใจช่วย ด้วยอีกคนค่ะ  ;D
งานชุดนี้งามจริงๆ ค่ะ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 11, 18:08
คำถามข้อที่ ๖๙.

จากภาพต่อไปนี้  เป็นประติมากรรมเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด (เล่ามาพอรู้เรื่อง)
และของสิ่งนี้  ใครเป็นคนทำ  ทำขึ้นเมื่อใด  ทำขึ้นในโอกาสใด  และทำขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร

ข้อนี้ ๓๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ให้เวลาตอบจนถึงวันจันทร์ที่ ๒๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๐๐ น.  พ้นนี้แล้วจะเฉลยคำตอบ

คงเป็นตอนที่พระรามปราบยักษ์ตนใดตนหนึ่ง น่าจะเป็นพระยาขร  มีนางสีดาอยู่ด้วยด้านหลัง วัตถุนี้มีอยู่หลายชิ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทำขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเมรุแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่องานพระเมรุในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ครับผม

วัสดุนั้นน่าจะทำด้วยไม้ระกำ ไม้กลึง ปิดทอง เขียนสี ครับ ประดิษฐ์ขึ้นโดยพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ หัวหน้าช่างสิบหมู่เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ จัดอยู่ในครอบแก้ว สูงประมาณ ๒๐ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔

ว้า  ท่าทางจะง่าย   งั้นขอเลื่อนเวลาหมดกำหนดตอบมาอยู่วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์นี้
เวลา ๑๘.๐๐ น.


ข้อความที่เส้นใต้นั้น  ถูกต้อง   นอกนั้นยังไม่ถูก
ตอนนี้ได้มาแล้ว  ๑๕ คะแนน   คะแนนอีกครึ่งอยู่ที่เนื้อเรื่องของประติมากรรม
ขอให้หาคำตอบได้เร็วๆ  เอาใจช่วยจริงๆ นะเนี่ย ;D

คุณไซมีส วันนี้ผมขอเป็นตาอยู่นะครับ

การเสาะหาคำตอบ
1. ตัวยักษ์เป็นมงกุฎจีบ ตัดออกได้เยอะ เหลือให้เลือกไม่กี่ตน เช่น เหรันตทูต สัตลุง สัทธาสูร (ไม่ใช่พญาขร เพราะผู้ตั้งคำถามว่าผิด)
2. ตัวพระใช้พระขรรค์เป็นอาวุธ ย่อมไม่ใช่พระราม เพราะใช้ศร น่าจะเป็นท้าวทศรถ (พระลักษณ์ก็ใช้พระขรรค์ แต่ไม่มีบทอยู่กับตัวนาง แถมเจอยักษ์)
3. ในฉากที่ปรากฏ มีตัวนางเพียงตัวเดียว ก็ตัดตอนท้าวทศรถปราบเหรันตทูตได้ เพราะตอนนั้นมีมเหสีครบทั้ง 3 องค์

ดังนั้นจึงตอบว่า

ภาพโจทย์ที่ถามนี้คือ ตอนท้าวทศรถปราบปทูตทันตยักษ์
(คำสั่งพอรู้เรื่อง แต่อยากเล่าละเอียด)
เล่าความถึงตอนว่าปทูตทันตยักษ์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำเขาสุรกานต์ คิดจะยึดครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงเข้าตีต่อ
พระอินทร์เจ้าเมืองเลยเชิญท้าวทศรถขึ้นมาปราบแทนตัวเอง (ไม่อยากมือเปื้อนเลือด-ยืมมือคนอื่นดีกว่า)
ท้าวทศรถที่เที่ยวชมสวนอยู่พร้อมมเหสีทั้งสามก็รับคำสั่ง ขึ้นสวรรค์ทันที พร้อมนางไกยเกษีที่อยากเห็นสวรรค์ด้วย
พอท้าวทศรถเจอหน้าปทูตทันตก็รบพุ่งกันทันที แต่เพลารถพังเพราะศรของปทูตทันต นางไกยเกษีจึงเอาแขนสอด
เป็นเพลารถแทน ช่วยท้าวทศรถรบจนชนะ

สรุปคำตอบ
ประติมากรรมเรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวทศรถปราบปทูตทันตยักษ์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2424
เพื่อเป็นเครื่องประดับพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่องานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ก.พ. 11, 22:53

เรียนคุณไซมีสที่รัก

       ขออนุญาตท้าวความไปยัง คำถามของคุณเมื่อหลายชาติมาแล้ว  ว่า เขาไกรลาสจำลองทำจากอะไรแน่

อ่านมาจาก ช่างสิบหมู่  ที่ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพิมพ์ เมื่อ ๒๕๔๐  ๘,๐๐๐ เล่ม  หน้า ๙๖


       การผูกหุ่นทำเป็นภูเขาจำลองขนาดย่อมบ้าง ขนาดใหญ่และสูงบ้าง  สำหรับใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เช่นหุ่นเขาไกรลาศสำหรับพระราชพิธีโสกันต์

หุ่นเขาพระสุเมรุสำหรับพิธีออกเมรุ      หุ่นเขาวงกตในพิธีเทศน์มหาชาติ

ช่างหุ่นจะใช้ไม้จริงต่อกันขึ้นไปเป็นร่างร้าน  ให้มีขนาดกว้่งยาวและสูงตามประสงค์ที่จะทำหุ่นภูเขา ณ ที่นั้น   ภูเขาไกรลาศจะต้องทำร้านให้แข็งแรงมั่นคง

พอจะรับน้ำหนักคนที่จะขึ้นไป  และสิ่งปลูกสร้างคือมณฑปและเครื่องตั้งแต่ง

หลังจากนั้นก็ใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ  ยาวตามขนาด  ทำมาตั้งเป็นโครงรูปภูเขาหุ้มร่างร้านโดยขัดไม้และผูกด้วยเชือกปอ   จัดและดัดให้เป็นรูปทรงก้อนหินใหญ่น้อยเรียง

สลับทับเทินกันตามขนาดและรูปทรงที่กำหนด

แล้วใช้เสื่อลำแพนบุทับบนโครงร่างทำเป็นผิวของก้อนหิน   จัดแต่งให้เข้ารูป

แล้วใช้กระดาษฟางทาแป้งเปียกปิดซ้ำ ๔ - ๖ ชั้น   ปิดกระดาษให้ทั่ว  พักไว้ระยะหนึ่งให้แห้ง   แล้วระบายสีด้วยสีฝุ่น 



ยังหาตัวพระนางและยักษ์ไม่ได้          เข้าใจว่าเป็นหนังสือออกใหม่  ยังไม่มีสามัญชนได้ 

หวังว่าคงได้กินไอติมด้วยกันในบ่ายวันเสาร์ต้นเดือนหน้า


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 07:30

คุณไซมีส วันนี้ผมขอเป็นตาอยู่นะครับ


[/quote]

ตามสบายเลยครับ ถ้าได้คะแนนพี่ก็พลอยยินดีปรีดา เห็นห่างหายไปหลายวัน คงทานส้มไปหลายเข่ง ;D

ขอตอบว่า การรบด้วยพระขรรค์ นั้นมีท้าวทศรถ ที่ใช้อาวุธนี้อย่างเลิศเลอ เป็นฉากถีบยักษ์อยู่ในป่าและโขดหิน คิดว่าถ้าเป็นศึกปทูตทันต์ ท้าวทศรถจะขว้างพระขรรค์ออกไป พร้อมประทับที่ราชรถและมีนางไกยเกษีเอามือสอดที่เพลาล้อ ช่างไทยควรต้องทำฉากราชรถและขว้างพระขรรค์ไปเป็นแน่

จึงอยากตอบว่า เป็นศึกการต่อสู้กับเหรันต์ทูต ซึ่งใจความได้ว่า วันหนึ่งเหรันต์ทูตได้ออกไปเที่ยวป่า พบท้าวทศรถพาพระมเหสีทั้ง ๓ ประพาสป่า เกิดการสู้รบกัน และถูกท้าวทศรถฆ่าตาย จึงจะเป็นฉากที่ใกล้เคียงที่สุด

สำหรับวัตถุชิ้นนี้ใช้ในโอกาสใด จุดประสงค์อันใดผมได้พรรณาไว้ในคำตอบก่อนหน้านี้แล้ว เหลือแต่ภาพพระเมรุซึ่งก็มีไม่มาก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 07:34

เรียนคุณไซมีสที่รัก

       ขออนุญาตท้าวความไปยัง คำถามของคุณเมื่อหลายชาติมาแล้ว  ว่า เขาไกรลาสจำลองทำจากอะไรแน่

อ่านมาจาก ช่างสิบหมู่  ที่ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพิมพ์ เมื่อ ๒๕๔๐  ๘,๐๐๐ เล่ม  หน้า ๙๖


       การผูกหุ่นทำเป็นภูเขาจำลองขนาดย่อมบ้าง ขนาดใหญ่และสูงบ้าง  สำหรับใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เช่นหุ่นเขาไกรลาศสำหรับพระราชพิธีโสกันต์

หุ่นเขาพระสุเมรุสำหรับพิธีออกเมรุ      หุ่นเขาวงกตในพิธีเทศน์มหาชาติ

ช่างหุ่นจะใช้ไม้จริงต่อกันขึ้นไปเป็นร่างร้าน  ให้มีขนาดกว้่งยาวและสูงตามประสงค์ที่จะทำหุ่นภูเขา ณ ที่นั้น   ภูเขาไกรลาศจะต้องทำร้านให้แข็งแรงมั่นคง

พอจะรับน้ำหนักคนที่จะขึ้นไป  และสิ่งปลูกสร้างคือมณฑปและเครื่องตั้งแต่ง

หลังจากนั้นก็ใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ  ยาวตามขนาด  ทำมาตั้งเป็นโครงรูปภูเขาหุ้มร่างร้านโดยขัดไม้และผูกด้วยเชือกปอ   จัดและดัดให้เป็นรูปทรงก้อนหินใหญ่น้อยเรียง

สลับทับเทินกันตามขนาดและรูปทรงที่กำหนด

แล้วใช้เสื่อลำแพนบุทับบนโครงร่างทำเป็นผิวของก้อนหิน   จัดแต่งให้เข้ารูป

แล้วใช้กระดาษฟางทาแป้งเปียกปิดซ้ำ ๔ - ๖ ชั้น   ปิดกระดาษให้ทั่ว  พักไว้ระยะหนึ่งให้แห้ง   แล้วระบายสีด้วยสีฝุ่น 



ยังหาตัวพระนางและยักษ์ไม่ได้          เข้าใจว่าเป็นหนังสือออกใหม่  ยังไม่มีสามัญชนได้ 

หวังว่าคงได้กินไอติมด้วยกันในบ่ายวันเสาร์ต้นเดือนหน้า

ขอบคุณครับที่ไขความกระจ่างให้ทราบ ซึ่งเขาไกรลาศนี้ต่อมามีการนำเครื่องสูบน้ำและเครื่องปั่นไฟเข้ามาติดตั้ง ลูกเล่นแพรวพราวยิ่งขึ้นในงานเขาไกรลาศในพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร น่าจะเคยเห็นผ่านตาแล้ว  :D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 08:52

ขอตอบว่า การรบด้วยพระขรรค์ นั้นมีท้าวทศรถ ที่ใช้อาวุธนี้อย่างเลิศเลอ เป็นฉากถีบยักษ์อยู่ในป่าและโขดหิน คิดว่าถ้าเป็นศึกปทูตทันต์ ท้าวทศรถจะขว้างพระขรรค์ออกไป พร้อมประทับที่ราชรถและมีนางไกยเกษีเอามือสอดที่เพลาล้อ ช่างไทยควรต้องทำฉากราชรถและขว้างพระขรรค์ไปเป็นแน่

จึงอยากตอบว่า เป็นศึกการต่อสู้กับเหรันต์ทูต ซึ่งใจความได้ว่า วันหนึ่งเหรันต์ทูตได้ออกไปเที่ยวป่า พบท้าวทศรถพาพระมเหสีทั้ง ๓ ประพาสป่า เกิดการสู้รบกัน และถูกท้าวทศรถฆ่าตาย จึงจะเป็นฉากที่ใกล้เคียงที่สุด


ถ้ารบกับเหรันตทูตจริง ก็ย่อมต้องมีมเหสีครบ 3 องค์สิครับ นี่โผล่ออกมาองค์เดียว
อย่างคุณไซมีสว่า ถ้าเป็นฉากเหรันตทูตจริง ช่างไทยควรต้องทำฉากให้มีมเหสีครบ จริงไหมครับ ;D

อีกอย่างเหรัณนทูตให้ศรเป็นอาวุธ แต่ในรูปยักษ์ใช้คธาเป็นอาวุธ ปทูตทันตยักษ์ใช้ทั้งศรและคธานะครับ

อีกข้อหนึ่ง ตัวนางในรูปนั้น เหมือนยกมาข้างขวาด้วย หลังตัวพระ นี่เป็นการเอาแขนสอดเพลารถของท้าวทศรถหรือไม่
น่าคิดอยู่ ??? เพราะถ้าตัวนางไม่มีเหตุเกี่ยวข้องด้วย คงต้องยืนเฉยๆ เป็นแน่

อย่างไรขอท่านใต้เท้าโปรดตัดสินความพิพาทข้อนี้ด้วยเถิด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 09:06
บุรุษนักรบทั้งสองประลองความคิดกันน่าสนุก
ชอบวิธีคิดของนักรบทั้งสอง  รู้จักสังเกตและตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไป

จนเหลือเพียง ๒ ตอน  คือ
ตอนท้าวทศรถรบกับปทูตทันตยักษ์  ซึ่งคุณอาร์ทเลือกตอบตอนนี้มา
กับตอนท้าวทศรถรบกับเหรันตทูต  ซึ่งคุณไซมีสเลือกตอบตอนนี้มา

ทั้งสองตอนนี้ รายละเอียดค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก
ยักษ์ทั้งสองตน  มีลักษณะเหมือนกัน  เว้นแต่สีกายเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน
แต่ด้วยเป็นรูปหล่อโลหะ  จึงไม่ปรากฏสีกายให้เห็น ยิ่งทำให้แยกแยะได้ยากว่าเป็นยักษ์ตนใดแน่

ส่วนตัวพระนั้น  ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะไม่ใช่พระรามแน่นอน  

ตัวนางนั้น ย่อมไม่ใช่นางสีดา  แต่จะเป็นใครนั้น   เดายาก  เพราะตัวนางมักไม่มีจุดเด่นให้สังเกต

แต่ถ้าพิจารณาจากเหตุการณ์ ตอนท้าวทศรถรบกับปทูตทันตยักษ์  
ท้าวทศรถทรงรถออกรบ  (มีเหตุการณ์เพลารถหัก
นางไกยเกษีเอาแขนสอดแทนเพลา) แต่ในประติมากรรมไม่มีรถ
ฉากเป็นภูเขานั้นดูไม่น่าจะใช่ฉากสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(ที่รถศึกจะไปแล่นได้)  จึงไม่น่าจะใช่เหตุการณ์นี้

ส่วนตอนท้าวทศรถรบกับเหรันตทูตนั้น รบกันที่เขาหิมพานต์
ท้าวทศรถพามเหสีไปประพาสป่า  โดยเดินลงจากรถทรง
ตามเรื่องว่า เหรันตทูตไล่จับมเหสีของท้าวทศรถด้วย
รูปการณ์ก็เข้ากันสนิทกับประติมากรรมนั้น

ผมจึงให้คะแนน ๑๕ คะแนนที่เหลือแก่คุณไซมีส
รวมของเดิมที่ตอบไว้ในข้อนี้  เป็น  ๓๐ คะแนน

ส่วนคุณอาร์ท ได้ตอบรายละเอียดข้ออื่นๆ มา
ถูกต้อง ได้ ๑๕ คะแนน แต่ด้วยว่าตอบทีหลังคุณไซมีส
ผมต้องหักคะแนนออกครึ่งหนึ่ง  เหลือ ๗ ๑/๒ คะแนน

อันที่จริงหนังสือที่ผมใช้นั้น อธิบายภาพว่า
เป็นตอนท้าวอัชบาลรบกับอสุรพักตร์  
แต่พิจารณารายละเอียดแล้วไม่น่าจะใช่ตามคำบรรยาย

ขอบคุณนักรบทั้งสอง เก่งมาก  วิเคราะห์ละเอียดดีทั้งคู่
เฉือนกันนิดเดียวตอนตัดสินใจขั้นสุดท้าย


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 09:14
ถ้ารบกับเหรันตทูตจริง ก็ย่อมต้องมีมเหสีครบ 3 องค์สิครับ นี่โผล่ออกมาองค์เดียว
อย่างคุณไซมีสว่า ถ้าเป็นฉากเหรันตทูตจริง ช่างไทยควรต้องทำฉากให้มีมเหสีครบ จริงไหมครับ ;D

อีกอย่างเหรัณนทูตให้ศรเป็นอาวุธ แต่ในรูปยักษ์ใช้คธาเป็นอาวุธ ปทูตทันตยักษ์ใช้ทั้งศรและคธานะครับ

อีกข้อหนึ่ง ตัวนางในรูปนั้น เหมือนยกมาข้างขวาด้วย หลังตัวพระ นี่เป็นการเอาแขนสอดเพลารถของท้าวทศรถหรือไม่
น่าคิดอยู่ ??? เพราะถ้าตัวนางไม่มีเหตุเกี่ยวข้องด้วย คงต้องยืนเฉยๆ เป็นแน่

อย่างไรขอท่านใต้เท้าโปรดตัดสินความพิพาทข้อนี้ด้วยเถิด

ช่างเขาทำพอเป็นสังเขป  ถ้าใส่ตัวละครครบตามเรื่อง  คงต้องเพิ่มขนาดให้กว้างกว่านี้
ในเมื่อรถเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากที่สำคัญในตอนรบกับปทูตทันตยักษ์  ควรจะต้องมี
เมื่อไม่มีก็ทำให้ตัดสินยาก   ส่วนเรื่องกระบองนั้น  เป็นรายละเอียดเล็กน้อย
แม้จะผิดกันตรงนี้ แต่ตรงอื่นเข้ากันสนิท 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 09:17
วันนี้จะตั้งคำถามข้อที่ ๗๐.
อันเป็นข้อสุดท้ายในรอบนี้
ในเวลา  ๑๐.๐๐  น.  โปรดติดตาม

ระหว่างนี้ใครมีอะไรระบายความในใจก็เชิญนะครับ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 09:18
ขอบพระคุณใต้เท้าที่ตัดสินข้อพิพาทให้

...ฉิวเฉียด ฉิวเฉียดนัก ;D

ตอนลือกก็มีแค่สองข้อนี่แหละ แต่ทำอย่างไรได้ จิตใจมันเอียงไปทางปทูตทันตยักษ์แล้ว
เมื่อศาลตัดสินแล้ว ย่อมเถียงไม่ได้ เดี๋ยวละเมิดอำนาจศาลท่านเข้า
จะถูกจำตรางเอา

ปัจฉิมลิขิต
ที่ใต้เท้ากรุณาให้คะแนนมา 7.5 นั้น กระผมไม่ขอรับครับ
เพราะคำตอบเอามาจากของคุณพี่ไซมีสนั่นแล มิได้หาเองเลย
ให้คุณไซมีสได้ข้อนี้ไปคนเดียวเถิด ผมมิมีส่วนร่วมอันใด


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 09:25
ขอบพระคุณใต้เท้าที่ตัดสินข้อพิพาทให้

...ฉิวเฉียด ฉิวเฉียดนัก ;D

ตอนลือกก็มีแค่สองข้อนี่แหละ แต่ทำอย่างไรได้ จิตใจมันเอียงไปทางปทูตทันตยักษ์แล้ว
เมื่อศาลตัดสินแล้ว ย่อมเถียงไม่ได้ เดี๋ยวละเมิดอำนาจศาลท่านเข้า
จะถูกจำตรางเอา

ปัจฉิมลิขิต
ที่ใต้เท้ากรุณาให้คะแนนมา 7.5 นั้น กระผมไม่ขอรับครับ
เพราะคำตอบเอามาจากของคุณพี่ไซมีสนั่นแล มิได้หาเองเลย
ให้คุณไซมีสได้ข้อนี้ไปคนเดียวเถิด ผมมิมีส่วนร่วมอันใด

ผมให้คะแนนตามกติกามารยาท  แต่ถ้าคุณอาร์ทไม่ประสงค์จะรับ
ผมก็จะอุเบกขาไว้  

ผมไม่ใช่ศาลแต่เมื่อต้องชี้ขาด  ก็ต้องทำหน้าที่ให้ยุติธรรมและยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
ไม่ใช่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมจำนน   และไม่ใช่ผมจะถูกเสมอไป  
บางทีก็มีพลาดเหมือนกัน  ถ้าผมผิด ผมก็ยินดีรับฟังความเห็นที่ถูกจากผู้ท้วง
ถ้าพิจารณาแล้ว ผมผิด  ผมก็ยอมรับและยินดีแก้ไข  เพราะไม่อยากผิดใจกับใคร


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 09:26
แม้ว่าในหนังสือจะบอกว่า เป็นตอนท้าวอัชบาลรบกับอสุรพักตร์  


เมื่อได้ไปดูถึงลักษณะของอสุรพักตร์นั้น สวมมงกุฎยอดแหลม ไม่ใช่มงกุฎยอดจีบ ดังที่ได้แสดงไว้ให้ดูนี้ จริงอยู่ที่ท้าวอัชบาลนั้นได้รับพระขรรค์วิเศษ เพื่อมาต่อสู้แต่อสุรพักตร์ ในหุ่นคนละตัวกัน จึงไม่น่าจะใช่ตอนนี้

สำหรับเรื่องปั้นหุ่นเทวีทั้ง ๓ ก็ในความคิดของกระผมนะครับว่า ถ้าจัดให้ทั้ง ๓ มายืนพร้อมกัน องค์ประกอบ Composition อาจจะไม่งามคือ มองแล้วรกไปได้ จึงจัดให้มาเพียงหนึ่งเทวี เท่านี้มากกว่าครับคุณ Art47 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 09:33
แม้ว่าในหนังสือจะบอกว่า เป็นตอนท้าวอัชบาลรบกับอสุรพักตร์  


เมื่อได้ไปดูถึงลักษณะของอสุรพักตร์นั้น สวมมงกุฎยอดแหลม ไม่ใช่มงกุฎยอดจีบ ดังที่ได้แสดงไว้ให้ดูนี้ จริงอยู่ที่ท้าวอัชบาลนั้นได้รับพระขรรค์วิเศษ เพื่อมาต่อสู้แต่อสุรพักตร์ ในหุ่นคนละตัวกัน จึงไม่น่าจะใช่ตอนนี้

สำหรับเรื่องปั้นหุ่นเทวีทั้ง ๓ ก็ในความคิดของกระผมนะครับว่า ถ้าจัดให้ทั้ง ๓ มายืนพร้อมกัน องค์ประกอบ Composition อาจจะไม่งามคือ มองแล้วรกไปได้ จึงจัดให้มาเพียงหนึ่งเทวี เท่านี้มากกว่าครับคุณ Art47 ;D

เอาเทวีมายืนเรียงกันสามองค์  ก็เหมือนยักษ์เคราะห์ร้ายกำลังถูกนักเลงรุมนั่นแล ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 09:37
สำหรับเรื่องปั้นหุ่นเทวีทั้ง ๓ ก็ในความคิดของกระผมนะครับว่า ถ้าจัดให้ทั้ง ๓ มายืนพร้อมกัน องค์ประกอบ Composition อาจจะไม่งามคือ มองแล้วรกไปได้ จึงจัดให้มาเพียงหนึ่งเทวี เท่านี้มากกว่าครับคุณ Art47 ;D

เรื่องนางทั้งสามผมก็คิดเช่นกันว่ามันอาจจะมากเกินไปถ้าลงมาครบ
แต่ถ้าเป็นราชรถมันมิใหญ่ไปดอกหรือครับ มีทั้งราชรถและยังให้นางไกยเกษีนอนเอาแขนสอดเป็นเพลาอีก
มันน่าจะไม่งามกระมั้ง ดูเทอะทะเหลือเกิน

เราต้องไปดูว่าในชิ้นอื่นๆ มีรูปราชรถหรือไม่ ถ้ามีชิ้นโจทย์นี้ก็คงไม่ใช่ตอนปทูตทันตยักษ์ แต่ถ้าไม่ก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.พ. 11, 09:42
ขอคุยต่อค่ะ

การหาตัวยักษ์นั้นเราก็ดูกันจากมงกุฎ ปาก  ตา  เขี้ยว  อาวุธ  เครื่องประดับเฉพาะตัว

ก็อ่านรามเกียรติ์เล่มแรกอยู่ไปมาจนรุ่งอรุณเหมือนกัน

ท้าวอัชบาลมีพระขรรค์ที่มาลีวัคคพรหมนำมาให้  ทรงรถแก้ว   แต่มิได้มีนางในตามเสด็จ

ช่างสิบหมู่อาจจะย่อรายละเอียด   แต่คนที่ติชมนั้นมีอยู่มากมาย  จะปล่อยพลาดขนาดนำนางมาด้วยฤา

ที่จริงชอบนางไกยเกษีมาก  เพราะกล้าหาญเหลือเชื่อ   นางก็เป็นสตรี  มิได้มีฤทธิ์อย่างไร   แต่ งอนมาก


จะขอเอากรแทนเพลารถชัย                           อย่าให้อันตรายถึงชีวา
เสี่ยงแล้วยื่นหัตถ์สอดเข้า                             ในดุมต่างเพลารถา


      ความรัก หรือ จงรักภักดีของนาง     ทำให้สวามีรักนางมากทีเดียว  เพราะธรรมชาติสร้างมนุษย์มาเช่นนั้น

เรื่องนี้  ขอแนะนำให้สหาย  รักคนที่เขารักเราดีกว่า





กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 09:49
สำหรับเรื่องปั้นหุ่นเทวีทั้ง ๓ ก็ในความคิดของกระผมนะครับว่า ถ้าจัดให้ทั้ง ๓ มายืนพร้อมกัน องค์ประกอบ Composition อาจจะไม่งามคือ มองแล้วรกไปได้ จึงจัดให้มาเพียงหนึ่งเทวี เท่านี้มากกว่าครับคุณ Art47 ;D

เรื่องนางทั้งสามผมก็คิดเช่นกันว่ามันอาจจะมากเกินไปถ้าลงมาครบ
แต่ถ้าเป็นราชรถมันมิใหญ่ไปดอกหรือครับ มีทั้งราชรถและยังให้นางไกยเกษีนอนเอาแขนสอดเป็นเพลาอีก
มันน่าจะไม่งามกระมั้ง ดูเทอะทะเหลือเกิน

เราต้องไปดูว่าในชิ้นอื่นๆ มีรูปราชรถหรือไม่ ถ้ามีชิ้นโจทย์นี้ก็คงไม่ใช่ตอนปทูตทันตยักษ์ แต่ถ้าไม่ก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน

ถ้าพี่เป็นช่างสิบหมู่นะ จะทำเป็นราชรถ งอนงาม ด้านล่างทำเป็นปุยเมฆ มีนางไกยเกษีอยู่เพลารถ ล้วงแขนลงไป จัดองค์ประกองราชรถงามๆ แค่นี้คงงามมิน้อยนะครับ ทีนี้ราชรถจำลองเล็กๆ ไทยทำมานานแล้ว ถ้ามีโอกาสจะนำมาให้ชมใกล้ๆ แต่นี่ไกลหน่อย เป็นเขาไกรลาศงานโสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ตรงที่วงไว้ยืนยันว่าเป็นราชรถจำลอง น่าจะเป็นของพระอาทิตย์หรือไม่ก็พระจันทร์ งามฉันเฉิดมากครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 09:58
เอาเถิด คุณพี่ไซมีส
คนเราย่อมผิดพลาดกันได้ ในเรื่องอรรถาธิบายตีความรูปภาพเช่นนี้ (ดูอย่างปืนแกตลิงตันสิ ยังไม่กระจ่างเลย)
นับประสาอะไรกับหางอึ่งอย่างผม คนอธิบายภาพในหนังสือยังพลาดเลย :(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 10:11
เอาเถิด คุณพี่ไซมีส
คนเราย่อมผิดพลาดกันได้ ในเรื่องอรรถาธิบายตีความรูปภาพเช่นนี้ (ดูอย่างปืนแกตลิงตันสิ ยังไม่กระจ่างเลย)
นับประสาอะไรกับหางอึ่งอย่างผม คนอธิบายภาพในหนังสือยังพลาดเลย :(

ให้น้อง Art47 ชมโขนพรหมาศสมัยรัชกาลที่ ๗ สลับกับปัจจุบันให้เพลิดเพลินก่อนนะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=Qa3-b_LPpzA


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.พ. 11, 12:59


       มีบัญชาสวรรค์มาว่า  คำถามจะออกเวลา ๑๕.๐๐ น.

       พระเดชพระคุณจะมาในร่างเดิม  ที่เขร่งขรึม  เย็นชา และเลือดเย็น...อ่า  สะกดผิดค่ะ   เยือกเย็น

       มิอาจป่วนกระทู้เช่นเคย


        แฟนขับที่มาจากสิงคโปร์แล้วพลาดกระทู้นี้  ก็ขออวยพรให้รอดชีวิตกลับไป

        แฟนขับผู้ที่ไม่ได้เขียนจดหมายถึงท่าน  โปรดเขียนบ้าง   ท่านว่าทำไมไม่มีใครเขียนถึงท่านบ้าง  ท่านอยากได้

        หลังไมค์ได้เช่นเคย

        ประกาศมาเมื่อเวลา  ๑๓.๐๐ น.

        สำนักงานข่าวกรองในราชการของคุณหลวงเล็ก



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 13:32
ลองถามเพื่อนสมาชิกหน่อยว่า ที่เราเล่นๆตอบคำถามอยู่นี่ ได้อ่านได้ทราบต้นกำเนิด แต่เรารู้รากศัพท์ไหมว่า "รามเกียรติ์" ที่คนไทยเรียกกันนั้นทำไมเรียกเช่นนี้

ราม = พระราม

เกียรติ์ = ?


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 13:46
ลองถามเพื่อนสมาชิกหน่อยว่า ที่เราเล่นๆตอบคำถามอยู่นี่ ได้อ่านได้ทราบต้นกำเนิด แต่เรารู้รากศัพท์ไหมว่า "รามเกียรติ์" ที่คนไทยเรียกกันนั้นทำไมเรียกเช่นนี้

ราม = พระราม

เกียรติ์ = ?

เกียรติ์
 
เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์
ความหมาย
[เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ)

บวกกัน
ก็เป็น "คำสรรเสริญของพระราม"

(...มีคะแนนให้ไหมเนี่ยะ ;D)
 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 13:58
อยากได้อะไรละ จัดให้  ;D ไม่กล้าให้คะแนน กลัวถูกข้อหาหนัก ( ฮา )


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 14:10
คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 14:16
..................
..................
..................

คุณหลวงคงกลัวเราตอบได้กระมั้ง ???


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 14:19
..................
..................
..................

คุณหลวงคงกลัวเราตอบได้กระมั้ง ???

ไม่กลัวหรอก  ถึงได้ให้เวลาหลายวันไงล่ะ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 14:33
ไม่ใบ้หน่อยเหรอคุณหลวง

ยากไปมั้ง :'(

ใบ้แบบว่า "ในมนต์นั้นชื่อพระราม ใช้คำว่า ..........."


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 14:41
ไม่ใบ้หน่อยเหรอคุณหลวง

ยากไปมั้ง :'(

ใบ้แบบว่า "ในมนต์นั้นชื่อพระราม ใช้คำว่า ..........."

ใบ้ก็ได้  ๒ ข้อ

๑.ไปหาหนังสือบทสวดมนต์ทั่วราชอาณาจักรมาอ่าน

๒.หรือไม่ก็ไปหาหนังสืองานศพเจ้าคุณคนหนึ่ง
ที่พิมพ์ในระหว่างปี ๒๔๗๐-๒๔๗๕ มาอ่าน

แถมให้อีกข้อ 

๓. ในเน็ตไม่มีหรอก  ผมดูหมดแล้ว

 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 14:46
ไม่ใบ้หน่อยเหรอคุณหลวง

ยากไปมั้ง :'(

ใบ้แบบว่า "ในมนต์นั้นชื่อพระราม ใช้คำว่า ..........."

อาร์ท ของเขาแรงดีจริง เริ่มแรก ๓๐ คะแนน มาบัดนี้ไซร้ ขึ้นราคา ๔๐ คะแนน ช่างเย้ายวนเช่นนี้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 14:49
คำขอสุดท้าย

1. เจ้าคุณคนนั้น อยู่กระทรวงพระคลัง ป่วยด้วยโรคไข้รากสาด ใช่หรือไหม
2. พระราม ในบทนี้ คือ "พระรามา" ใช่หรือไม่

คุณหลวงต้องตอบ ห้ามบอกปัด
เพราะถ้ามิใช่ มันยาวมาก ขี้เกียจจะพิมพ์ ::)
ถ้าใช่ก็จะพิมพ์ให้


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 14:51
คำขอสุดท้าย

1. เจ้าคุณคนนั้น อยู่กระทรวงพระคลัง ป่วยด้วยโรคไข้รากสาด ใช่หรือไหม
2. พระราม ในบทนี้ คือ "พระรามา" ใช่หรือไม่

คุณหลวงต้องตอบ ห้ามบอกปัด
เพราะถ้ามิใช่ มันยาวมาก ขี้เกียจจะพิมพ์ ::)
ถ้าใช่ก็จะพิมพ์ให้

พิมพ์มาให้ดูหลังไมค์ก่อน  แล้วบอกว่าใช่หรือไม่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 14:54
คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔



ตอบ ตอบ ตอบ

คำบูชาพระฤๅษีวิสวามิตร
   นะโม   วิสะวามิตตะพรัหมมะมุนิโน       
   ชาเตนะ   วะสะธะระราชัสสะ   รามะ   
   ลักสะมันตานัง   อาจาริยัสสะ
    ตุมเห   โน   สุระวะสะพะลัญจะ   
   สุระจิตตะ   พะลัญจะเทถะ
 

คำแปลคำบูชาฤๅษีวิสวามิตร
ขอน้อมบูชาพระพรหมฤๅษีวิสวามิตร
ผู้เป็นราชาผู้ทรงอำนาจโดยกำเนิด
พระองค์ผู้เป็นพระอาจารย์ของ พระราม และ พระลักษมณ์
ขอพระองค์โปรดเมตตาประทาน พลังอำนาจ และพลังจิตที่กล้าแข็ง
สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ให้แก่ผองข้าพเจ้าด้วยเทอญ 


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 14:57
คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔



ตอบ ตอบ ตอบ

คำบูชาพระฤๅษีวิสวามิตร
   นะโม   วิสะวามิตตะพรัหมมะมุนิโน       
   ชาเตนะ   วะสะธะระราชัสสะ   รามะ   
   ลักสะมันตานัง   อาจาริยัสสะ
    ตุมเห   โน   สุระวะสะพะลัญจะ   
   สุระจิตตะ   พะลัญจะเทถะ
 

คำแปลคำบูชาฤๅษีวิสวามิตร
ขอน้อมบูชาพระพรหมฤๅษีวิสวามิตร
ผู้เป็นราชาผู้ทรงอำนาจโดยกำเนิด
พระองค์ผู้เป็นพระอาจารย์ของ พระราม และ พระลักษมณ์
ขอพระองค์โปรดเมตตาประทาน พลังอำนาจ และพลังจิตที่กล้าแข็ง
สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ให้แก่ผองข้าพเจ้าด้วยเทอญ 

ยังไม่ใช่  ยาวกว่านี้มากกกกกกกกกกกกก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 15:01
ยาวกว่านีหรอ ต้องแบบนี้ใช่ไหม


ศรีราม..ขัตติยะราชันย์แห่งรามายณะ
บทความจาก - วารสาร ศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช

ทศรถ นนฺทนฺ ชนก กิโศริ-สีตาราม มโนหาร โชริ

พระนางสีดาธิดาของพระเจ้าชนก และพระราม โอรสของพระเจ้าทศรถ คู่ครองนี้ พร้อมด้วยธรรมงดงามอันประหลาดของคู่ครอง ดึงดูดให้ความร่าเริงเบิกบานเกิดขึ้นแก่ผู้ภักดีของพระองค์ บุคคลผู้ระลึกนึกถึง คู่ครองคู่นี้ กับด้วยใจที่เป็นสมาธิ เขาย่อมเข้าถึงความสงบอันสูงสุดอย่างแน่นอน การที่จะทำให้ความปรารถนาของผู้ภักดีอันเป็นที่รักของพระองค์สำเร็จ บริบูรณ์ พระองค์เป็นเหมือนโคกัมเธนุ และต้นไม้กัลปะ พระองค์ทรงอวตารลงมาเพื่อสถาปนากฎเกณฑ์แห่งธรรมะ พระรามโอรสของพระเจ้าทศรถไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญ แต่เป็นพระเป็นเจ้าผู้หาที่สุดมิได้และสูงสุด คัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทก็รับรองความจริงอันนี้
ราม เอว ปรมฺพรหม ราม เอว ปรมฺ ตปห

ราม เอว ปรมฺ ตตฺวมฺ ศรี ราโม พรหมตรก มฺ

ความหมายก็คือว่า พระรามเป็นพระเจ้าเจ้าผู้สูงสุด พระรามคือความภักดี ศรี รามเป็นสิ่งสูงสุด และศรีรามผู้ช่วยให้พ้นภัย พระองค์ปรากฏครั้งแรกในรูปแบบของพระวิษณุ และพระวิษณุองค์เดียวกันนี้ ปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถที่เป็นพระราม ข้อความต่อไปนี้ ย่อมพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อความข้างต้น

วิษณุริธ ปรมฺสย วิทวาน ชาโต วริหนฺนภิยติ ตริติยมฺ (ฤทเวท 10/1/3)

ความหมายก็คือว่า พระวิษณุ ภัควันผู้สูงสุด ปรากฏในรูปของพระรามอวตารผู้ซึ่งแม้เป็นพระเป็นเจ้า ก็ยังทรงลงมาปรากฏในรูปแบบของมนุษย์

ปรมฺ ปุรโศ ราโม ทศรถิ พิรภูว

ความหมายก็คือว่า พระวิษณุภัควัน พระองค์ทรงปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถพระนามว่าราม

อิน เก นาม อเนก อชุป มอิ นริป เกหว สวมฺติ อนุรูป

โช อนนฺท สินฺธุ สุข ราสิ สีกรเต ตริโลก สุปโส

โส สุขธมฺ นาม อภิราม อขิล โลก ทายก วิศราม

คุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ สามารถจะนำเข้าไปเพิ่มเติม ต่อนามของพระเป็นเจ้าเท่านั้น แต่ไม่สามารถจะนำไปเพิ่มเติม ต่อคนธรรมดาสามัญได้ พระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง และคำว่า ราม แสดงถึงการปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง

รามนฺเต สรว ภสูเตศุ สถาว จเรศุจ

อนฺตรตมฺ สวรูเปน ยจฺ ราเมติกถาเต

ความหมายก็คือว่า พระองค์ผู้ซึ่งปรากฏอยู่ในมนุษย์ทุกคน ทรงเป็นอยู่หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เราเรียกว่าราม พระรามทรงอุบัติมาในฐานะ เป็นอวตารปางหนึ่ง ทรงสถาปนาธรรมะของมนุษย์ขึ้น (ศาสนา) อุปนิสัยอันแท้จริงของพระองค์ ทำให้รู้แจ้งลักษณะทุกลักษณะของชีวิต ปัญหาทุกอย่างสามารถจะแก้ไขได้โดยการศึกษาลักษณะนิสัยและหลักการดำรงชีวิต ของพระองค์ ปัญหานั้นอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือสังคม หรือทางการเมือง

ตามหลักการวัฒนธรรมของอินเดีย ทฤษฎีทุกอย่างจะมีค่าก็ต่อเมื่อทฤษฎีนั้นสามารถนำมาใช้ในภาคปฏิบัติได้ ฉะนั้น พระรามผู้ช่วยให้วัฒนธรรมปลอดภัย ได้แสดงถึงวัฒนธรรมอินเดียที่แท้จริงอย่างถูกต้องจากเยาว์วัยจนกระทั่งถึง พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครอง ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า เด็กผู้ชายผู้สัมผัสเท้าของบิดามารดา และครูอาจารย์ในตอนเช้าตรู่ จะได้รับพรอันประเสริฐมีอายุ, วรรณะ, สุขะ,พลังที่ดี พระรามภัควันทรงเริ่มวันของพระองค์โดยการสัมผัสบาทของพระบิดามารดา และอาจารย์ของพระองค์ด้วยเหมือนกัน

ปรตกาล อุถิเก รฆุนาถ มาตา ปิต คุรุ นวนฺหิ มถ

ตัวอย่างแห่งความภักดีของพระองค์ ที่มีต่อมารดาบิดา เป็นเอกภาพมากซึ่งทั่วโลก ไม่มีตัวอย่างเช่นนั้นอื่นใด ที่เราสามารถจะค้นหาได้ พระแม่เลี้ยงของพระองค์ไกเกยี บังคับบิดาของพระองค์ว่า ควรจะส่งพระรามไปอยู่ป่า แทนที่จะมอบพระราชอาณาจักรให้แก่พระองค์ พระองค์ทรงตรัสตอบด้วยความยินดี และกล้าหาญว่า

อหหิ วจนทุ ราชาห ปเตยมฺปิ ปาวเก

ภกฺศเยยมฺ วิศนฺตี ขยนมฺ ปตฺเยมฺปิ จรณไว

ความหมายก็คือว่า เฮ พระมารดา ข้าพเจ้าสามารถที่จะเชื่อฟังคำสั่งของพระบิดาของข้าพเจ้า ถ้าพระองค์ขอให้ข้าพเจ้า กระโดดลงไปในกองเพลิง หรือรับประทานยาพิษ หรือให้กระโดดลงไปในทะเลลึกความภักดีของพระองค์ที่มีต่อพระมารดา ก็มีความสำคัญเท่า ๆ กันเหมือนกัน แม้มารดาเลี้ยงไกเกยี สั่งให้พระองค์เสด็จไปอยู่ในป่า แต่เมื่อพระมารดาทั้งหมดสามองค์ รวมทั้งพระภรต เดินทางไปเยี่ยมพระองค์ที่จิตรกูตก่อนอื่น พระองค์ทรงพบและทักทายพระแม่เลี้ยงไกเกยี แม้พระมารดาของพระองค์เองทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็ตาม

ปรถมฺ ราม เภนโต ไกกยี สรล ศุภยมฺ ภกฺติมาติ เภยี ที่อรัณยกานท์ เมื่อพระลักษณ์ ยกย่องสรรเสริญ พระภรต และกล่าวคำดูถูกเหยียดหยาม พระนางไกเกยี พระราม ตรัสขึ้นทันทีว่า

น เตสมภ มธยม ตาต คเรหิตฺวย กถายนฺชวนฺ

ตวมิขยวกู นาถสยา ภารตสยา กถมฺกุรุ

เฮ น้องชาย ท่านไม่ควรดูถูกมารดาไกเกยีของท่าน แต่ท่านควรยกย่องพระภรต ผู้ภักดี “ความ รักของพระรามอย่างพี่น้องนั้นบริสุทธิ์สะอาด เป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่สำหรับความรักจอมปลอมที่เห็นแก่ตัวยุคใหม่ของสมัยนี้ ที่แพร่อยู่ในหมู่พี่น้อง”

เมื่อการสถาปนาพระรามขึ้นครองราชย์ได้ประกาศออกมา ประชาชนแห่งกรุงอโยธยา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีกันทั่วหน้า แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้า ดูเหมือนจะมีความสุข แต่พระรามกลับเศร้าสลดลงอย่างทันทีทันใด เพราะพระองค์ทรงทอดพระเนตรไปไม่เห็นพระภรต และศัตรุธาน

ชนฺเม เอก สงฺสพฺไภ โภชนฺ สยนฺ เก ลิล กิรยี

วิมล พนส ยหู อนุชิต เอกู ปนธู วิหยี พเรหิ อภิเศกู

ตั้งแต่เราทั้งหมดสี่พี่น้องเกิดมาด้วยกัน เราเล่น รับประทานและหลับนอนด้วยกัน ข้าพเจ้ากำลังขึ้นครองราชย์ในการที่พี่น้องทั้งสองไม่อยู่พร้อมหน้ากันได้อย่างไร ตัวอย่าง อีกตัวอย่างหนึ่งของความรักและความเสน่หา ฉันพี่น้องของพระองค์ที่พอจะหาได้สำหรับเรา เมื่อเราเห็นพระรามทรงกังวล และน้ำพระเนตรตกลงมาในขณะที่พระลักษณ์ ทรงล้มลงสิ้นพระสติ หลังจากถูกศรของเมฆนาถ ในสนามรบ

ชเถ ปนฺข พินุ ขค อติโทน มนิ พินู ผนิ กริวาร การ หิน

อสฺมมฺ ชีวนฺ พนฺธุ พินโตหิ โชชาร ไตว ชิย ว โมนิ

เฮ ลักษณ์ ปราศจากเธอเสียแล้ว สภาพการณ์ของฉันก็เหมือนกับนกตัวหนึ่งที่ปราศจากขนเหมือนกับช้างที่ปราศจาก งวง หรือเหมือนงูที่ไม่มีหัว ถ้าพระเป็นเจ้าต้องการให้ฉันมีชีวิตอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว ฉันย่อมไม่คิดว่าเขายังมีชีวิตอยู่ “ คุณสมบัติ ของพี่ที่แท้จริงคือให้ความเคารพนับถือ แก่พี่น้องของ พระองค์ อย่าได้ดูถูกเหยียดหยามพี่น้องที่ยากจนอื่น ๆ จงสละชีวิตของท่านเอง เพื่อประโยชน์พี่น้องของท่านเป็นต้น “ คุณสมบัติทั้งหมดเหล่า นี้ เราค้นพบได้ในพระราม ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ภรรยาควรมีความเชื่อมั่นต่อสามีของเธอและสามีก็ควรเชื่อมั่นในภรรยาเช่นกัน นางสวรูปนัขรา แม้เธอจะแต่งตัวเธอเองอย่างสวยงามและยืนยันที่จะแต่งงานกับพระราม พระองค์ไม่ยอมรับเธอหรือไม่ฟังแม้แต่เธอพูด และลงโทษเธอโดยผ่านทางลักษณ์ จริง ๆ แล้ว หน้าที่อันแรกและสำคัญกว่าสิ่งอื่นทั้งหมดก็คือว่าในชีวิตของพระองค์มี ผู้หญิงที่สวยงามมากมาย เช่น สรวรูปนคร แต่พระองค์ก็ไม่ทรงสนพระทัย ต่อความงามของหญิงเหล่านั้น และพระองค์ทรงมั่นคงอยู่ในพระชายาของพระองค์เอง ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงสัตย์ซื่อต่อพระชายาของพระองค์ซึ่ง เราสามารถจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ เมื่อมีข้อเสนอต่อพระองค์ให้มีการสมรสครั้งที่สองได้โดยการทำพิธีอัศวเมฆ เมื่อพระองค์จากพระนางสีดาไปครั้งที่สอง แต่พระองค์ทรงนำเอารูปที่เป็นทองคำของเธอ แทนเธอ คือเมื่อพระองค์ทรงส่งพระสีดาไปอยู่ป่า พระองค์เองก็ทรงดำรงชีวิต เหมือนดังพระองค์ประทับอยู่ในป่า แม้พระองค์จะทรงอยู่ในพระราชวังก็ตาม ลักษณะนิสัยของพระองค์นั้นประเสริฐยิ่ง

ครูผู้มีอุดมการณ์นั้น คือ ผู้ซึ่งมีเมตตากรุณาต่อศิษย์ของเขา และรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแก่ศิษย์ที่มารับใช้เขา นั่นคือเขาจะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ด้วยความรัก เมื่อพระหนุมาน ผู้ยิ่งใหญ่กลับมาพบพระรามหลังจากเดินทางไปค้นหาพระนางสีดา ณ เกาะลังกา พระรามทรงมีความรู้สึกรักหนุมาน และน้ำตาออกมาจากพระเนตรของพระองค์ด้วยความขอบใจ และพระองค์ตรัสว่า

ปรตี อุปการ กรุกโตรา สนฺมุก โหเย น สกตฺ มนฺโมรา

สุน สุต โตหิ อุรนไม นหิน เทขอุน กรี วิจาร มน มหิน

แม้หลังจากเอาชนะ สงครามกับทศกัณฐ์และเรา (พระราม) ไม่ได้ลืมวานรทั้งหลาย แต่พระองค์ทรงให้เกียรติวานรแต่ละท่าน และยกย่องวานรเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าฉะนั้น มันมีความสำคัญ สำหรับคนเราที่ว่า ถ้าแม้ร่ำรวย หรือได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่สูง เขาไม่ควรดูถูกดูหมิ่นคนใต้บังคับบัญชาและควรให้เกียรติแก่เขาเหล่านั้นตาม โอกาส พระรามแยกพระองค์เองออกจากพระนางสีดา เพียงเพื่อให้ประชาชนของพระองค์มีความสุข แต่ไม่ใช่เพราะเหตุผลที่เห็นแก่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้พระนางสีดา เป็นผู้บริสุทธิ์ และเป็นสตรีในอุดมการณ์ เรื่องราวได้เขียนเอาไว้ในรามจริตมานัสดังต่อไปนี้

สเนหมฺ ดยมฺ จ เสารวยมฺ จ อปิว ชนกิมปิ

อรธนย โลกกาสย มนฺชจโต นาสติเม วยถ

เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมีความสบายใจ ข้าฯ ไม่รั้งรอที่จะแยกตัว ข้าฯ เองออกจากพระนางสีดาผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าข้าฯ จะมีความทุกข์ทรมานเพียงไหนก็ตาม จริง ๆ แล้ว อันนี้เป็นหน้าที่ของพระราชาซึ่งเขาจะต้องเสียสละความสุขสบายของเขา เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงพร้อมที่จะทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อรักษาธรรมะเอาไว้

พระรามได้ทรงรับที่จะเสด็จไปอยู่ป่าเป็นเวลา 14 ปี ด้วยความปิติยินดี เพื่อไม่ให้ครอบครัวบาดหมางกัน ทั้ง ๆ พระลักษณ์ได้ขอร้องพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่า ให้คัดค้านข้อเสนอของพระมารดาไกเกยี เพื่อที่จะรักษาสันติสุขในหมู่ประชาชนด้วย พระองค์จึงได้แยกพระองค์เองออกจากพระญาติของพระองค์ พระรามทรงทำพระองค์เองให้เป็นตัวอย่างแก่มนุษย์ เหมือนการกระทำของพระองค์เอง ครั้งนี้

ลักษณะนิสัยของพระรามนั้น แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า เด็กควรเชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อบิดามารดาของเขา ไม่ควรอิจฉาริษยา ต่อพี่ชายน้องชาย หรือพี่สาวน้องสาว และเพื่อจะยุติการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เขาควรเสียสละ ความสุขสบายของเขาเอง และอารมณ์ที่เห็นแก่ตัวของเขา

ร่มโพธิ์ของพระราม เปิดไว้สำหรับผู้ภักดี ที่ไปเฝ้าพระองค์ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ และด้วยความภักดีอันสะอาดปราศจากมลทิน ในสายพระเนตรของพระรามแล้ว มันเป็นบาปอันยิ่งใหญ่ ที่จะทำร้ายโคหรือพราหมณ์ให้ได้รับความเจ็บปวดทั้งทางกายและใจ

โกติ วิปรวธ ลาคหิ ชหุ อายมฺ สรนฺ ตชวูน นหิ ตหุ

ความหมายก็คือว่า ถ้าบุคคลบางคนทำบาปอันหนักมาก โดยการฆ่าพราหณ์คนหนึ่งแต่ต่อมาภายหลัง สำนึกถึงบาปได้ และกลับมาหาข้าฯ แล้วข้าฯ จะกอดเขาไว้ในอ้อมแขนเพราะไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่เท่าพระผู้เป็นเจ้าอีกแล้ว ท่านโชคร้ายก็กลับเป็นโชคดี ดังคำกล่าวต่อไปนี้

ยควตร ลิขิตมฺ ภาเล ตนฺตมริศโย ไนว ชายเต

ศรเต ศรีราม ทศนมฺ เปรม นิรภาร เจตสมฺ

ความหมายก็คือว่า แม้จุดหมายปลายทางของบุคคลนั้นได้กำหนดเอาไว้ก่อนแล้ว ตามกรรมของเขาก็ตาม แต่พระรามผู้เปี่ยมไปด้วยความรัก ถ้าบุคคลนั้นไปหาพระองค์ด้วยความภักดีอันเต็มเปี่ยม บุคคลนั้นสามารถเปลี่ยนโชคชะตากรรมของเขาได้โดยการไปหาพระองค์ด้วยศรัทธาอัน เต็มเปี่ยม เส้นทางที่คดเคี้ยว สามารถทำให้ตรงตามที่ต้องการได้มันจะต้องเป็นศรัทธาและความภักดีที่แรงกล้ามาก




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 15:03
ก่อนจะทำอะไรต่อจากนี้ไป

ขอร้องไห้ด้วยความดีใจและเสียใจก่อนสักสิบครั้ง

 :'( :'( :'( :'( :'(
 :'( :'( :'( :'( :'(

เพราะมันจะผูกพันติดตัวไปอีกประมาณ 3 วัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 15:04
หึหึ    ถูกพายุพัดออกไปถึงถนนพระรามแล้ว
กลับมาๆ  อย่าลืมว่ามนต์ไทย  ไม่ใช่แขก


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 15:08
ก่อนจะทำอะไรต่อจากนี้ไป

ขอร้องไห้ด้วยความดีใจและเสียใจก่อนสักสิบครั้ง

 :'( :'( :'( :'( :'(
 :'( :'( :'( :'( :'(

เพราะมันจะผูกพันติดตัวไปอีกประมาณ 3 วัน

ขอหัวเราะยาวๆ  อีก ๕ บรรทัด
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 15:10
คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔



คำนำ

คุณหญิงเอี๋ยน อัครนิธิ์นิยม จะจัดการปลงศพสนองคุณ อำมาตย์โท พระยาอัครนิธิ์นิยม (สมุย อาภรณ์ศิริ) จ.ม, จ.ช, ร.จ.พ. ผู้สามี  ณ มณฑลอุดร  ใคร่พิมพ์หนังสือแจกแก่ผู้มาแสดงไมตรีจิตในเวลาพระราชทานเพลิงศพสักเรื่องหนึ่ง จึงขอให้พระยาราชนิกูลช่วยเป็นธุระ ก็พอดีเป็นที่สมใจพระยาราชนิกูลที่ได้มีโอกาศแสดงปฏิการแก่ผู้มรณะ โดยฐานที่ได้เป็นมิตรร่วมราชการกันมานาน จึงแจ้งความมายังราชบัณฑิตยสภา ขออนุญาตพิมพ์หนังสือมหาทิพมนต์ฉบับหอพระสมุดวชิร ญาณ กรรมการจึงอนุญาตให้ตามประสงค์

หนังสือมหาทิพมนต์ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ทั้งอรรถและแปลเป็นของเก่าแก่ แม้ต้นฉบับที่หอพระสมุดฯ ได้มาก็เป็นฝีมือเขียนแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเห็นว่าควรจะพิมพ์ให้ปรากฏแพร่หลาย และรักษาไว้มิให้สูญเสีย

ที่เรียกว่าหนังสือมหาทิพมนต์นี้ เป็นประชุมมนต์ต่างๆ สำหรับสวดเพื่อแสวงสวัสดิมงคล ในฉบับมีมนต์ ๕ บท คือมหาทิพย์มนต์ ชัยมงคล มหาชัย อุณหิสวิชัย มหาสวํ วิธีที่สวดมนต์เหล่านี้ดังเช่นแต่ก่อนมาในงานฉลองวันประสูติ เจ้านายมักตั้งเตียงในท้องพระโรง แล้วมีนักสวด ๔ คนสวดมหาชัย และอุณหิสวิชัย ตามทำนองโบราณ หรืออีกอย่างหนึ่งในเวลายกทัพจับศึก แม่ทัพนายกองมักสอนให้ไพร่พลในกองของตนท่องบ่นบทบาลีมหาทิพมนต์นี้ไว้สวดบทใดบทหนึ่ง ในเวลากลางคืนตามแต่จะสวดได้ เพื่อสวัสดิมงคล ได้ยินเล่ากันมาว่าแต่โบราณ หนังสือมหาทิพมนต์มีที่ใช้ดังกล่าวมานี้ แต่เห็นจะใช้ในงานอย่างอื่นอีกที่ข้าพเจ้าไม่ทราบ มาถึงสมัยในชั้นข้าพเจ้ารู้เห็นเอง ยังคงสวดมหาทิพมนต์อยู่แต่ที่วังกรมหลวงวงศาธิราชสนิทในงานฉลองวันประสูติแห่งเดียว กับเมื่อกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จยกกองทัพไปรบฮ่อเมื่อในรัชกาลที่ ๕ พวกกองทัพหัวเมืองยังสวดมหาทิพมนต์กันอยู่ ที่ในกรุงเทพฯ นี้เห็นแต่พวกนักสวดศพชั้นเก่าสวดมหาชัยกัน เป็นการอวดว่าอาจสวดทำนองอย่างโบราณได้ แต่มิได้ใช้สวดในการมงคลเช่นอย่างโบราณ สันนิษฐานว่าประเพณีสวดมหาทิพมนต์จะสูญเสีย  ด้วยวิธีสวดมีเตียงสวดและนักสวด ๔ คนสวด อย่างเดียวกับสวดพระอภิธรรมในงานศพ เจ้าภาพงานมงคลรังเกียจวิธีสวดอย่างนั้นว่าคล้ายกับสวดศพ จึงมิใคร่มีใครหานักสวดไปสวดมหาทิพมนต์ในงานมงคล การสวดมหาทิพมนต์ก็เลยสูญไปด้วยประการฉะนี้


                                                                         ดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา
                                                                         วันที่ ๒๑ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๗๑



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 15:20
เอาเลยน้องอาร์ท จัดให้หนัก ต่อตีสัพพยุทธเข้าโรมรัน ให้ย่อยไปเลย  ;D


ที่จริงคาถาบูชาฤาษีข้อแรก ก็มีเกี่ยวข้องกับพระราม กระนั้นช่วยรับพิจารณาสักเล็กน้อย สักนิด นิดนิด จิ๊ดริ๊ด ก็ยังดีนะขอรับ  8)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 15:34
เอาเลยน้องอาร์ท จัดให้หนัก ต่อตีสัพพยุทธเข้าโรมรัน ให้ย่อยไปเลย  ;D


ที่จริงคาถาบูชาฤาษีข้อแรก ก็มีเกี่ยวข้องกับพระราม กระนั้นช่วยรับพิจารณาสักเล็กน้อย สักนิด นิดนิด จิ๊ดริ๊ด ก็ยังดีนะขอรับ  8)

ด้วยความเมตตาของเจ้าของกระทู้   
ในเมื่อผู้เข้าแข่งขันขอให้พิจารณาทบทวน
เราจึงนำเข้าที่ประชุมด่วน   ที่ประชุมด่วนที่มีองค์ประชุม ๑ คน
มีมติให้คะแนน  ๑/๕ ของคะแนนเต็ม  คือ ๘ คะแนน
ไม่ทราบว่าผู้ร้อง  จะยอมรับได้หรือไม่


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.พ. 11, 15:37
คุณไซมีสที่รัก

       ขึ้นป้ายที่ที่ทำงานรอง  ขอหนังสือเดี๋ยวนี้

       ข้าพเจ้าพึ่งมา

       อย่าไปดูที่ไหน       ตาท่านขุนเก่าเขาหัวเราะตายแล้ว

      


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 15:39
เอาเลยน้องอาร์ท จัดให้หนัก ต่อตีสัพพยุทธเข้าโรมรัน ให้ย่อยไปเลย  ;D


ที่จริงคาถาบูชาฤาษีข้อแรก ก็มีเกี่ยวข้องกับพระราม กระนั้นช่วยรับพิจารณาสักเล็กน้อย สักนิด นิดนิด จิ๊ดริ๊ด ก็ยังดีนะขอรับ  8)

ด้วยความเมตตาของเจ้าของกระทู้   
ในเมื่อผู้เข้าแข่งขันขอให้พิจารณาทบทวน
เราจึงนำเข้าที่ประชุมด่วน   ที่ประชุมด่วนที่มีองค์ประชุม ๑ คน
มีมติให้คะแนน  ๑/๕ ของคะแนนเต็ม  คือ ๘ คะแนน
ไม่ทราบว่าผู้ร้อง  จะยอมรับได้หรือไม่

ก็ในเมื่อครบองค์ประชุม แล้วก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรอีกแล้ว ผ่านด้วยคะแนนเสียงข้างมาก...ขอบคุณครับ  :D

วาระต่อไป ขอมดำดินสืบทราบว่า ชั้นหนังสือบางแห่งบริเวณชั้นสอง กำลังถูกโหมกระหน่ำอย่างหนักหน่วง ไม่ทราบด้วยเหตุอันใด ..นายสยาม รายงานข่าว ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 15:51
อย่าคุยกันมากซี

ไม่มีสมาธิในการพิมพ์เลย :'(


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 16:00
พระมหาทิพมนต์

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธส

๏ ชย ชย ปถวิสพฺพํ                  ๏ ไชโยทั่วธรณี ให้จงมีอย่าขาดสาย
ชย สตฺถารหตปํ                       เดชะสงฆ์ทั้งหลาย อีกพระครูเป็นประธาน
๏ ชย ชย ปจฺเจกสมฺพุทฺธํ                ๏ ปจฺเจกโพธิมีไชย ฤๅษีสิทธิพิทยาธร
ชย อิสิมเหสฺสุรํ                       ชำนะแก่พลมารก่อน จงจำเริญแก่บุคคล
๏ อินฺโท จ เวนเตยฺโย จ              ๏ อินทราท้าวโกสีย์ ในคิรีดาวดึงษา
กุเวโร วรุโณปิ จ                      กุเวรวรุณราชา ย่อมฝูงเทพเมืองบน
๏ อคฺคิ วาโย ปชุณฺโณ จ             ๏ ไฟลมอันเลิศล้ำ อีกทั้งน้ำแลดินแดน
กุเวโร จตุโลกปาลโก                 รักษาโลกยหวงแหน จัตุโลกปาลา
๏ ชย ชย หโรหริเทวา                ๏ ไชโยให้จงได้ แก่ท่านไท้ฝูงเทพา
ชย พฺรหฺมา ธตรฎฺฐกํ                 ธตรฐแลพรหมา จงมีชัยอย่าเข็ดขาม
๏ ชย ชย นาโค วิรุฬฺหโก             ๏ นาคราชเคยเลิกผก วิรุฬหกผู้ทรงนาม
วิรูปกฺโข จนฺทิมา รวิ                 วิรูปักษ์จันทรีมาร ให้วินาศจงมีชัย
๏ อฎฺฐารส มหาเทวา                 ๏ เทวาสิบแปดตน อันอัมพลด้วยฤทธา
สิทฺธิตาปสอาทโย                    ดาบศสร้างจริยา จงอยู่สุขสำราญใจ
๏ สีติสวกา สพฺเพ                    ๏ สาวกแปดสิบองค์ อันท่านทรง.......
.................ภวนฺตุ เต            สุขังพลังไชย ศรี...................
๏ ชย ชย ธมฺโม จ สํโฆ จ            ๏ พระพุทธอีกพระธรรม อันอนันต์ด้วยพระสงฆ์
ทสปาโล จ เชยฺยกํ                   เดชะเจ้ากูจง ตูข้าอยู่แลมีชัย
๏ เอเตน ชยสิทฺธิเตเชน              ๏ ความสัตย์ย่อมชำนะ ย่อมไปล่ปละพ้นอันตราย
ชยโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   สวัสดีแก่หญิงชาย จงมาได้ดุจจำนง
๏ อฎฺฐาธิกสตํ ยสฺเส                 ๏ ลายลักษณ์ร้อยแปดสิ่ง ดูยวดยิ่งเป็นมงคล
มงฺคลํ จรณทฺวเย                     ในพระบาทอันยรรยง ทั่วพระองค์ดูตระการ
๏ จกฺกลกฺขณสมฺปนฺนํ                ๏ ประกอบด้วยกงจักร มีลายลักษณ์ถ้วนทุกประการ
นเมตํ โลกนายกํ                     นโมข้านมัสการ ไหว้พระเจ้าย่อมมีชัย
๏ อินิมา มงฺคลเตเชน                 ๏ พระเจ้าบังเกิดมา ในโลกาเป็นมงคล
สพฺพสตฺตหิเตสิโน                    ไมตรีทั่วสากล เป็นมงคลทั่วโลกา
๏ เอเตน มงฺคลเตเชน                ๏ เดชะเดโชชัย มงคลใดจงพูนมา
ชยโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   แก่ท่านผู้ศรัทธา ตั้งใจฟังด้วยจำนง
๏ ......... มงฺคลเตเชน             ๏ มงคลแห่งพระเจ้า ผู้ผ่านเผ้าทั่วหญิงชาย
.........ขนฺตุ สพฺพทา               รักษาท่านทั้งหลาย ทุกเทพาราตรีกาล
๏ ......... มงฺคลเตเชน             ๏ มงคลแห่งพระธรรม บ่มิอันจะปูนปาน
................  สพฺพทา            จงมาแต่พยาบาล รักษาเราผู้ศรัทธา
๏ ........................            ๏ มงคลแห่งพระสงฆ์ อันท่านทรงพระวินัย
...........................           .......อิทธิฤทธิ์...  ...................

(โปรดติดตามตอนต่อไปอีก 8 ภาค)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 16:02
อย่าคุยกันมากซี

ไม่มีสมาธิในการพิมพ์เลย :'(

ทำไปๆ  อย่าบ่น  คะแนนก็ได้แน่นอนแล้วยังจะ...

เรียนท่านนักรบทั้งหลาย

ณ วันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓  การรณรงค์สงคราม
แห่งกระทู้รามเกียรติ์จะอพยพโยกย้ายฐานบัญชาการ
และการรบพุ่งยุทธแย้งจากสนามรบที่ ๓
ไปยังสนามรบแห่งใหม่ในรอบที่ ๔  
ซึ่งจะดุเดือดเลือดกระฉูดท่วมท้องช้างอย่างไร
ก็โปรดติดตามอย่าได้กะพริบตา   อย่าเห็นแก่นอนหลับ
และอย่าประมาทแม้แต่เสี้ยวนาที

ทั้งนี้  คำถามบางข้อที่ยังไม่ได้ตรวจก็ขอให้ทำใจ
เอ๊ย เข้าใจว่า  เจ้าของกระทู้ไม่ได้ละเลย  
จะตามเก็บตรวจให้คะแนนให้หมด  
แต่ตอนนี้ขอพักไว้ก่อน  เพราะการรบติดพันมันติดหมัด
ขอเดินคำถามไปเรื่อยๆ ก่อน   หวังว่าท่านจะเข้าใจ

สุดท้ายฝากคุณหนูดีดี  ช่วยสรุปคะแนนในรอบ ๓ ให้ด้วย
และทุกท่านที่ได้เข้ามาตอบเรามีรางวัลสมนาคุณให้แน่นอน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.พ. 11, 16:16


ใช้ภาษาไม่สุภาพ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 16:29


ใช้ภาษาไม่สุภาพ



นาร้ายย...นารายณ์...ต้องชวนกันไปยังเขาไกรลาศ ไปฟ้องพระอิศวรกัน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ก.พ. 11, 16:51
ข้อที่ ๖๘.

คุณอาร์ท ตอบมาละเอียดดี เสียดายไม่มีรูปประกอบด้วย
จึงให้  ๑๗  คะแนน

คุณดีดี  ตอบมาละเอียดเหมือนกัน  มีรูปประกอบครบ
แต่ประเด็นซ้ำกับของคุณอาร์ท
เอาไป  ๑๖   คะแนน

คุณไซมีส  ตอบมาละเอียดและแปลกกว่าคนอื่นๆ  มีภาพประกอบ
และยังมีราคาเช่าด้วย  เอาไป ๒๐ คะแนน 

ส่วนคุณวันดี  ตอบช้ากว่า ๑๕.๑๕ น.  หักก่อน ๒ คะแนน
ตอบมากว้างครอบคลุม  และแปลกแหวกแนวไม่ซ้ำใคร
แต่ไม่มีภาพ  ให้คะแนน  ๑๙  คะแนน หักออก ๒ คะแนน เหลือ ๑๗  คะแนน


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.พ. 11, 18:05



น้อมรับ

แต่เรามิใช่ประสันตาต่อไก่ ขุดไม้ดัด และเล่นหนัง หรือเป็นพี่เลี้ยงใคร




กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 17 ก.พ. 11, 18:23
(ภาค 2)


๏ สพฺพสตฺรู วิธํเสตุ                     ๏ ศัตรูอันร้ายกาจ จงขยาดกำจัดหนี
สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   สวัสดีอันมั่งมี ให้จงได้แก่ท่านแล
๏ อายฺนตุ โภนฺโต อิธ ทานสีลา         ๏ ดูกรพระสมภาร คือพระทานและพระศีล
เนกฺขมฺมปญฺญา วิริยญฺจขนฺติ           ปัญญาบ่โหดหีน เพื่อออกสู่พิเนษกรม
๏ สจฺจาธิฎฺฐานา สห เมตฺตุเปกฺขา       ๏ สัจจาอธิษฐาน อุเบกขาจงเทายล
ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธานิ             ถืออาวุธนฤมิตรบิดตน เพื่อจักรบพระยามาร
๏ ปารมิโย วิทิตฺวาน                    ๏ บารมีพระรู้แล้ว ว่าพระแก้วคอยรำพึง
โพธิสตฺตสฺส สนฺติกํ                     เสด็จมาบ่ทันหึง มาอยู่เฝ้าล้อมพระองค์
๏ เกสรราชาว อาคญฺฉุง                ๏ เสด็จมาดูองอาจ คือสิงหราชออกจากแดน
โพธิสตฺตสฺส สนฺติกํ                     กล่าวว่าพระอย่าแคลน ตูข้าท่านขออาสา
๏ มยํ ปารมิตา โยธา                   ๏ ตูข้าหมู่บารมี พระชินสีห์สร้างมานาน
จรเณน ตยาภตา                       เป็นพวกพลทหาร จะประยุทธด้วยมารา
๏ อชฺช ทสฺสาม เต จีรํ                  ๏ วันนี้ตูข้าพระเจ้า มาอยู่เฝ้าอยู่รักษา
ชยภทฺทํ นมตฺถุ เต                     จงชำนะแก่มารา ตูข้าไหว้แต่งถวายกร
๏ ชยนฺโต โพธิยา มูเล                 ๏ จงชำนะชวยโชติ พระมหาโพธิบวร
สากฺยานํ นนฺทิวฑฺฒโน                จำเริญโลกทั้งผอง อีกสากยราชราชา
๏ เอวํ ตฺวํ วิชโย โหหิ                  ๏ ชำนะมีแก่พระเจ้า แพ้สร้อยเศร้าได้แก่มาร
ชยสฺสุ ชยมงฺคเล                      ฝูงคนทั่วสงสาร พระเจ้าให้เป็นมงคล
๏ พุทฺโธ จ มชฺฌิโม เสฎฺโฐ            ๏ ชำนะแล้วพระล้ำเลิศ พระประเสริฐอยู่ท่ามกลาง
สาริปุตฺโต จ ทกฺขิเณ                  อยู่มาบ่ทันนาน พระสาริบุตรอยู่เบื้องขวา
๏ ปจฺฉิเมปิ จ อานนฺโท                ๏ เบื้องหลังพระอานนท์ น้องทสพลร่วมเผ่าพานธุ์
อุตตฺเร โมคฺคลฺลานโก                 หนซ้ายพระโมคคลานะ มาอยู่เฝ้านพนอบคัล
๏ โกณฺฑญฺโญ ปุรภาเค จ             ๏ หนบูรพ์ลูกพระเจ้า อันผ่านเฝ้าชื่อโกณฑัญญะ
ภายพฺเพ จ ควมฺปติ                    เบื้องพายัพพระภัควัม อันมีฤทธิเรืองฉาย
๏ อุปาลี หรติฐาเน                     ๏ หรดีทิศหนใต้ คฤท่านไทอุบาลี
อาคเนยฺเย จ กสฺสโป                  พระกัสสปผู้เรืองศรี นั่งอยู่เฝ้าทิศอาคเนย์
๏ ราหุโล เจว อีสาเณ                  ๏ เจ้าราหุลผู้เป็นบุตร เฝ้าพระพุทธทิศอีสาณ
สพฺเพ เต พุทฺธมงฺคลา                 อรหันต์มีสมภาร ให้มงคลแก่ชินวรณ์
๏ โย ญตฺวา ปูชิโต โลเก              ๏ คนใดใครรู้แล้ว ตั้งใจแผ้วนพบูชา
นิทุกฺโข นิรุปทฺทโว                   ปราศจากอุปัทวา ทุกข์และภัยบ่ใกล้ตน
๏ มหาเทโว มหาเตโช                 ๏ คนนั้นมีเดชะ มีตะบะยิ่งฝูงคน
ชยโสตฺถี ภวนฺตุ เต                    สวัสดีชัยมงคล จงสัมฤทธิศรัทธา
๏ ปทุมุตฺตโร จ ปุรพายํ               ๏ ปทุมุตรสร้อยสมโพธิ ธ เสด็จอยู่ฝ่ายหนบูรพ์
อาตเนยฺเย จ เรวโต                   พระเรวัตผู้อาดูร เสด็จสถิตย์ทิศอาคเนย์
๏ ทกฺขิเณ กสฺสโป พุทฺโธ             ๏ ทักษิณแห่งหนภพ พระกัสสปผู้ทรงนาม
หรติเย สุมงฺคโล                       สุมงคลรสงาม เสด็จอยู่ฝ่ายหนหรดีศรี
๏ ปจฺฉิเม พุทฺธสีขี จ                   ๏ หนฝ่ายปัจฉิมทิศ ผู้สถิตย์ชื่อสีขี
พายพฺเพ จ เมธงกโร                  พายัพพระผู้มีศรี อันเสด็จอยู่ชื่อเมธังกร
๏ อุตฺตเร สากฺยมุนี เจว                ๏ สากยมุนีอยู่หนเกล้า ผู้เป็นเจ้าอยู่อุดร
อีสาเณ สรณงกโร                     พระพุทธสรณังกร อยู่เบื้องทิศหนอีสาณ
๏ ปถวิยํ กกฺกุสนฺโธ                   ๏ กักกุสนธ์พงศ์ชินสีห์ เรืองรูจีทั่วดินดล
อากาเส จ ทีปงฺกโร                    อากาศเวหาบน พระเป็นเจ้าทีปังกร
๏ เอเต ทส ทิสา พุทฺธา               ๏ สิบทิศย่อมพระเจ้า ผู้ผ่านเกล้าอันบวร
ราชธมฺมสฺส ปูชิตา                      ผู้ใดธรรมสั่งสอน ท่านย่อมให้เป็นมงคล
๏ นตฺถิโรคภยํ โสกํ                    ๏ พระย่อมบรรเทาโศก ย่อมดับโรคอันตราย
เขมํ สมฺปตฺติทายกํ                     เกษมสุขเปรียบปราย บ่ห่อนยากด้วยโรคา
๏ ทุกฺขโรคภยํ นตฺถิ                   ๏ ถอยทุกข์ถอยความไข้ อีกถอยโรคโรคา
สพฺพสตฺรู วิธํเสนตุ                     ศัตรูอันหึงษา ย่อมกระจัดแพ้พ่ายพัง
๏ เตสญฺญาเณน สีเลน                 ๏ เดชะแห่งศรัทธา ศีลปัญญามีสมภาร
สํยเมน ทเมน จ                       เดชะพระทรมาน อินทรีย์แล้วอยู่เย็นใจ
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                  ๏ พระเจ้าย่อมรักษา ผู้ศรัทธาบ่หวั่นไหว
อาโรคฺเยน สุเขน จ                    ให้สุขอยู่เย็นใจ ให้ถอยไข้ได้เรี่ยวแรง
๏ อานาคตสฺส พุทฺธสฺส                ๏ เดชะพระเจ้าข้า อันจะมาอนาคตกาล
เมตฺเตยฺยสฺส ยสฺสสิโน                ชื่อพระพุทธศรีอาริย์ มากยศศักดิ์ไมตรีคาม
๏ มหาเทโว มหาเตโช                 ๏ มีเดชะเดโชมาก ทั่วโลกธาตุถึงพรหมา
สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต                  เดชะพระนั้นมา ให้สวัสดีแก่หญิงชาย
๏ นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ                 ๏ ราหูคาบจันทร์ได้ ยกมือไหว้พระผู้มีเพียร
วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ                    พระผู้ทรงเปรียญ มาช่วยข้าพ้นจากกลัว
๏ สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺสมิ               ๏ ข้าพเจ้าอัปทรัพย์ ถึงแค้นคับเป็นทุกข์ทน
ตสฺส เม สรณํ ภว                      จงพระทศพล เป็นที่พึ่งข้าอย่าคลา
๏ ตถาคตํ อรหนฺตํ                     ๏ พระจันทรเทพบุตร เอาพระพุทธอรหันต์
จนฺทิมา สรณํ คโต                     เป็นที่พึ่งนพนอบคัล ปล่อยพ้นแล้วจากราหู
๏ ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสฺสุ                ๏ พระเจ้าช่วยกรุณา ให้ราหูวางพระจันทร์
พุทฺธา โลกานุกมฺปกา                 พระเจ้าผู้ทรงธรรม์ อนุเคราะห์ด้วยคาถา
๏ กินฺนุ สตฺตรมาโน ว                 ๏ ราหูเอยอย่าด่วนได้ จงท่านไทเร่งวางจันทร์
ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสิ                    ผู้ส่องโลกทุกคืนวัน ให้รุ้งแจ้งแก่โลกา
๏ สํวิคฺครูโป อาคมฺม                  ๏ ท่านไทมีรูปหลาก สมเพชมากดูคลาดคลา
กินฺนุ ภีโต ว  ติฏฺฐสีติ                 มิกลัวพุทธคาถา บีเบียดท่านให้มุ่นหมอง
๏ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา               ๏ ผิท่านบ่วางจันทร์ หัวพระนั้นแตกเจ็ดภาค
ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ                    เลี้ยงชีพมามาก บ่ร้างสุขสถาพร
๏ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                 ๏ เร่งกลัวพุทธคาถา มีวาจาอันยืนยัน
โน เจ มุญฺเจยฺย  จนฺทิมนฺติ           ผิท่านบ่วางจันทร์ หัวจะแตกเป็นธุลี
๏ นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ                 ๏ ราหูเหวยวางอาทิตย์ ให้เปลื้องปลิดวันทนา
วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ                   แก่พระศรีศาสดา ช่วยโปรดข้าจากราหู
๏ สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                ๏ ข้านี้เป็นยากนัก จงจอมจักรช่วยค้ำชู
ตสฺส เม สรณํ ภว                     เป็นที่พึ่งแก่ตูข้า ท่านผู้คำนึงถึงทุกวัน
๏ ตถาคตํ  อรหนฺตํ                   ๏ อาทิตย์เอาพระพุทธ อันใสสุดแลอรหันต์
สุริโย สรณํ คโต                      อีกทั้งพระไญยธรรม์ เป็นที่พึ่งที่รักษา
๏ ราหุ  สุริยฺ  ปมุญฺจสฺสุ              ๏ ราหูวางอาทิตย์ จงไปล่ปลิดจากชิวหา
พุทฺธา โลกานุกมฺปกา                พระเจ้าผู้กรุณา ย่อมช่วยยากแก่ฝูงคน
๏ โย อตฺธกาเร ตมสี ปภงฺกโร         ๏ อาทิตย์มีตะบะ อันใสสระในอันธการ
เวโรจโน มณฺฑลิ อุคฺคเตโช           รุ่งเรืองรัศมีงาม ย่อมเขจรไปกลางหาว
๏ มา ราหุ คิลิ จรํ อนฺตลิกฺเข          ๏ ราหูเอยจงไปล่ปลิด ให้อาทิตย์เดินทางบน
ปชํ  มม ราหุ ปมุญฺจ สุริยนฺติ          จงวางด้วยอาคม ตถาคตกล่าวคาถา
๏ กินฺนุ สนฺตรมาโนว                    ๏ ราหูเอยอย่าด่วนนัก ค่อยค่อยจักวางอาทิตย์
ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสิ                     ราหูเอยอย่าเปลื้องปลิด ปล่อยอาทิตย์จากโรคา
๏ สํวิคฺครูโป อาคมฺม                    ๏ ราหูทูลพระเจ้า หัวข้าเถ้าจะแตกคราก
กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺฐสีติ                  แล่งลงเป็นเจ็ดภาค ชีวิตข้าบ่คืนคง
๏ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา                ๏ ผิบ่วางสุริยนต์ หัวข้านั้นแตกเจ็ดภาค
ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ                     เลี้ยงชีพมามาก บ่ร้างสุขสถาผล
๏ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                 ๏ ข้ากลัวสัตย์วาจา พระคาถาจอมสากล
โน เจ มุญฺเจยฺย สุริยนฺติ               ผิบ่วางสุริยนต์ หัวข้าแตกเป็นธุลี
๏ นโม  พุทฺธสฺส  นโม  ธมฺมสฺส   นโม สงฺฆสฺส เสยฺยถีทํ หุลู หุลู หุลู สวาหาย
๏ เหฏฺฐิมา จ อุปริมา จ วิตฺถาริกา จ ติริยญฺ จ สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปานา สพฺเพ ภูตา สพฺเพ ปุคฺคลา สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา สพฺพา อิตฺถิโย,สพฺเพ ปุริสา สพฺเพ อริยา สพฺเพ  อนริยา สพฺเพ เทวา สพฺเพ มนุสฺสา สพฺเพ วินิปาติกา สจิตฺตกา อจิตฺตกา สชีวิกา สพฺเพ อเวราโหนฺตุ อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ อนีฆา โหนฺตุ ทีฆายุกา โหนฺตุ อโรคา โหนฺตุ สมฺปตฺตี สมิชฺฌนฺตุ สุขํ อตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ มํ รกฺขนฺตุ จุปทฺทวา

(เหลืออีก 9 หน้าจะพยายามพิมพ์ในครบภายในพรุ่งนี้ โปรดติดตามภาคต่อไป)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 11, 18:35
สรุปคะแนน กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ  ;D

คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร 
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบมั่งนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน)  ;D

พระมหาทิพย์พระมนต์ (มนต์ใหญ่)
 (ต้นฉบับบาลี)
 นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส(ว่าสามหน)
 ชย ชย ปฐวีสพฺพํ             ชย สตฺถา รหตปํ
 ชย  ชย  ปจฺเจกสมฺพุทธํ             ชย  อิสิมเหสฺสุรํ
 อินโท  จ  เวนเตยฺโย  จ              ชย  กุเวโร  วารุโณปิ  จ
 อคฺคิ วาโย  ปชุณโณ  จ             กุเวโร  จตุโลกปาลโก
 ชย  ชย  หโรหริเทวา                ชย  พรหมา  ธตรฏฺฐกํ
 ชย  ชย  นาโค  วิรุฬฺหโก           วิรูปกฺโข  จนฺทิมา  รวิ
 อฏฺฐารส  มหาเทวา                   สิทฺธิตาปสอาทโย
 อสีติ  สาวกา  สพฺเพ                  ชย – ลาภา ภวนฺตุ  เต
 ชย  ชย  ธมฺโม  จ  สงฺโฆ  จ       ทส  ปาโล  จ  เชยฺยกํ
 เอเตน  ชย  สิทฺธิเตเชน              ชย  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต
 อฏฺฐาธิกสตํ  ยสฺส                     มงฺคลํ  จรณทฺวเย
 จกฺกลกฺขณสมฺปนฺนํ                   นเมตํ  โลกนายกํ
 อิมินา  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสตฺตหิเตสิโน
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   ชย  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   มมํ  รกฺขนฺตุ  สพฺพทา
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 สพฺพสตฺตุ  วิธํเสนฺตุ                  สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 อายนฺตุ  โภนโต  อิธ  ทานสีลา  เนกฺขมฺมปญฺญาวิริยญฺจขนฺติ
 สจฺจาธิฏฺฐานา  สห  เมตฺตุเปกฺขายุทฺธาย โว  คณฺหถ อาวุธานิ
 ปารมิโย  วิทิตฺวาน                    โพธิสตฺตสฺส  สนฺติกํ
 เกสรราชา  ว  อาคณฺฉุงฺ             โพธิสตฺตสฺส  สนฺติกํ
 มยํ  ปารมิตา  โยธา                   จรเณน  ตยาภตา
 อชฺช  ทสฺสาม  เต  จีรํ                ชย  ภทฺทํ  นมตฺถุ  เต
 ชยนฺโต  โพธิยา  มูเล                 สกฺยานํ  นนฺทิวฒฺฒโน
 เอวํ  ตวํ  วิชโย  โหหิ                ชยสฺสุ  ชยมงฺคเล
 พุทโธ  จ  มชฺฌิโม  เสฏโฐ        สาริปุตฺโต  จ  ทกฺขิเณ
 ปจฺฉิเม  ปิจ   อานนฺโท              อุตฺตเร  โมคฺคลฺลานโก
 โกณฺฑญฺโญ  ปูรภาเค  จ            พายพฺเพ  จ  ควมฺปติ
 อุปาลี  หรติฏฺฐาเน                    อาคเณยฺเย  จ  กสฺสโป
 ราหุโร  เจว  อิสาเณ                  สพฺเพเต  พุทฺธมงฺคลา
 โย  ญตฺวา  ปูชิโต  โลเก            นิทฺทุกฺโข  นิรูปทฺทโว
 มหาเทโว  มหาเตโช                 ชย  โสตฺถี ภวนฺตุ  เต
 ปทุมุตฺตโร  จ  ปุรพายํ               อาคเณยฺเย  จ  เรวตฺโต
 ทกฺขิเณ  กสฺสโป  พุทฺโธ           หรติเย  สุมงฺคโล
 ปจฺฉิเม  พุทฺธสิขี  จ                   พายพฺเพ  จ  เมธงฺกโร
 อุตฺตเร  สากฺยมุนี  เจว                สาเณ  สรณงฺกโร
 ปฐวิยํ  กกุสนฺโธ                       อากาเส   จ  ทีปงฺกโร
 เอเต  ทสทิสา  พุทฺธา                ราชธมฺมสฺส  ปูชิตา
 นตฺถิ  โรคภยํ  โสกํ                   เขมํ  สมฺปตฺติทายกํ
 ทุกฺขโรคภยํ   นตฺถิ                    สพฺพสตฺตรู  วิธํเสนฺตุ
 เตสญฺญาเณน  สีเลน                 สํยเมน  ทเมน  จ
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 อนาคตสฺสส  พุทฺธสฺส              เมตฺเตยฺยสฺส  ยสสฺสิโน
 มหาเทโว  มหาเตโช                 สพฺพโสตฺถี   ภวนฺตุ  เต
 นโม  เต  พุทฺธวีรตฺถุ                  วิปฺมุตฺโตสิ  สพฺพธิ
 สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                 ตสฺส  เม  สรณํ  ภว
 ตถาคตํ  อรหนฺตํ                       จนฺทิมา  สรณํ  คโต
 ราหุ  จนฺทํ  ปมุญฺจสฺสุ               พุทฺธา  โลกานุกมฺปกา
 กินฺนุ  สตฺตรมาโน  ว                 ราหุ  จนฺทํ  ปมุญฺจสิ
 สํวิคฺครูโป  อาคมฺม                   กินฺนุ  ภีโต  ว   ติฏฺฐสีติ
 สตฺตธา   เม   ผเล  มุทฺธา           ชีวนฺโต  น  สุขํ  ลเภ
 พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                  โน  เจ  มุญฺเจยฺย   จนฺทิมนฺติ
นโม  เต  พุทฺธวีรตฺถุ                  วิปฺปมุตฺโตสิ  สพฺพธิ
 สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                 ตสฺส  เม  สรณํ  ภว
 ตถาคตํ  อรหนฺตํ                       สุริโย  สรณํ  คโต
 ราหุ  สุริยฺ  ปมุญฺจสฺสุ                พุทฺธา  โลกานุกมฺปกา
 โย  อตฺธกาเร  ตมสี  ปภงฺกโร   เวโรจโน  มณฺฑลิ  อุคฺคเตโช
 มา  ราหุ  คิลิ  จรํ  อนฺตลิกฺเข   ปชํ  มม  ราหุ   ปมุฯจ  สุริยนฺติ
 กินฺนุ  สนฺตรมาโน  ว                ราหุ  สุริยํ  ปมุญฺจสิ
 สํวิคฺครูโป  อาคมฺม                   กินฺนุ  ภีโต  ว  ติฏฺฐสีติ
 สตฺตธา  เม  ผเล  มุทฺธา             ชีวนฺโต  น  สุขํ  ลเภ
 พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                  โน  เจ  มุญฺเจยฺย   สุริยนฺติ
 นโม  พุทฺธสฺส  นโม  ธมฺมสฺส   นโม สงฺฆสฺส เสยฺยถีทํ
 หุลู หุลู หุลู สวาหาย,เหฏฺฐิมา  จ  อุปริมา  จ  วิตฺถาริกา 
 จ ติริยญฺ จ สพฺเพ  สตฺตา  สพฺเพ ปานา,
 สพฺเพ ภูตา  สพฺเพ ปุคฺคลา  สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา
 สพฺพา อิตฺถิโย,สพฺเพ ปุริสา  สพฺเพ อริยา  สพฺเพ
 อนริยา สพฺเพ เทวา  สพฺเพ มนุสฺสา ,
 สพฺเพ วินิปาติกา สจิตฺตกา อจิตฺตกา สชีวิกา
 สพฺเพ อเวราโหนฺตุ,อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ  อนีฆา  โหนฺตุ
 ทีฆายุกา  โหนฺตุ อโรคา โหนฺตุ,สมฺปตฺตี สมิชฺฌนฺตุ
 สุขํ  อตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ  มํ  รกฺขนฺตุ จุปทฺทวา,
 ชลฏฺฐา  วา  ถลฏฺฐา  วา             อากาโสปิ  จ  อนฺตลิเข
 ปพฺพตฏฺฐา  สมุทฺทา  จ              รกฺขนฺติ  จ  ลตาสิโน
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 สุริยํ  จนฺทองฺคารํ                      พุทฺธพฤหสฺสปติฏฺฐิตา
 สุกฺรโสรราหุเกโส                    นวคฺรหา  จ  สพฺพโส
 เตสํ  พเลน  เตเชน                    อานุภาเวน  เตน  จ
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 เจตฺรวิสาขเชฏฺเฐ  จ                   อาสาเธ  สวเน  ตถา
 ภทฺทปเท  จ  อาสุชฺเช                กตฺติเก  มิคสริเก
 ปุสฺเส  มาเฆ  ผคฺคุเณ  จ            โลกํ  ปาเลนฺติ  ธมฺมตา
 เอเต ทวาทส  จ  มเส                 อานุภาเวน  มหาภูต


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 11, 18:48
คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบอีกอันนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน คาถาบูชาฤาษีของท่าน siamese ยังได้คะแนนเลย... )  ;D

ท่อง นะโม ๓ จบ
จตุคามรามะเทวัง โพธิสัตตัง มะหาคุณัง มะหิทธิกัง อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 11, 18:51
คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบอีกบทค่ะ  (เผื่อจะได้คะแนน) ;D

โย โส  ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

        สวากขาโต  เยนะ  ภะคะวะตา  ธัมโม

        สุปะฏิปันโน  ยัสสะ ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ

        ตัมมะยัง  ภะคะวันตัง  สะธัมมัง  สะสังฆัง

        อิเมหิ  สักกาเรหิ  ยะถาระหัง  อาโรปิเตหิ  อะภิปูชะยามะ

        สาธุ  โน  ภันเต  ภะคะวา  สุจิระปะรินิพพุโตปิ

        ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา

        อิเม สักกาเร  ทุคคะตะปัณณาการะภูเต  ปะฏิคคัณหาตุ

        อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ. ฯ

                อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา

                พุทธัง  ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

                สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม

                ธัมมัง  นะมัสสามิ  (กราบ)

                สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ

                สังฆัง  นะมามิ  (กราบ)

(นำ)  หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ

          พุทธานุสสะตินะยัญจะ  กะโรมะ  เส ฯ

(บางแห่งนำว่า)  ยะมัมหะ  โข  มะยัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คะตา

อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,  ยัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ  ปัพพะชิตา,

ยัสมิง  ภะคะวะติ  พรัหมะจะริยัง  จะรามะ, ตัมมะยัง  ภะคะวันตัง

สะธัมมัง  สะสังฆัง  ยะถาระหัง  อาโรปิเตหิ  สักกาเรหิ  อะภิปูชะยิตวา

อะภิวาทะนัง  กะริมหา, หันทะทานิ  มะยัง  ตัง  ภะคะวันตัง  วาจายะ

อะภิคายิตุง,  ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ  พุทธานุสสะตินะยัญจะ

กะโรมะเส ฯ

(รับ)  นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

           ตัง โข  ปะนะ  ภะคะวันตัง  เอวัง  กัลยาโณ  กิตติสัทโท  อัพภุค-

คะโต,  อิติปิ โส ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ,  วิชชาจะระณะสัม-

ปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู,  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา-

เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ

(นำ)       หันทะ  มะยัง  พุทธาภิคีติง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)                  พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต

                          สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ  สะมาคะตัตโต

                          โพเธสิ โย สุชะนะตัง  กะมะลังวะ  สูโร

                          วันทามะหัง  ตะมะระณัง  สิระสา ชิเนนทัง

พุทโธ โย  สัพพะปาณีนัง                    สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง                      วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง

พุทธัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                     พุทโธ  เม  สามิกิสสะโร

พุทโธ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ               วิธาตา  จะ หิตัสสะ เม

พุทธัสสาหัง  นิยยาเทมิ                      สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง  จะริสสามิ                      พุทธัสเสวะ  สุโพธิตัง

นัตถิ เม  สะระณัง อัญญัง                   พุทโธ  เม สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                         วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ                      ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม                       มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ วาจายะ  วะ เจตะสา  วา

                        พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        พุทโธ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง

                        กาลันตะเร สังวะริตุง  วะ พุทธา ฯ


(นำ)  หันทะ  มะยัง  ธัมมานุสสสะตินะยัง   กะโรมะ  เส ฯ

(รับ)  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,  สันทิฏฐิโก อะกาลิโก  เอหิ-

ปัสสิโก, โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ

(นำ)           สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ  เสยโน

                  โย  มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท

                  ธัมโม  กุโลกะปะตะนา  ตะทะธาริธารี

                  วันทามะรัง  ตะมะหะรัง  วะระธัมมะเมตัง

ธัมโม  โย สัพพะปาณีนัง               สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ทุติยานุสสะติฏฐานัง                    วันทามิ  ตัง สิเรนะหัง

ธัมมัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                ธัมโม  เม สามิกิสสะโร

ธัมโม  ทุกขัสสะ ฆาตา  จะ            วิธาตา  จะ หิตัสสะ เม

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ                   สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง จะริสสามิ                  ธัมมัสเสวะ  สุธัมมะตัง

นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง             ธัมโม  เม สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                   วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

ธัมมัง  เม วันทะมาเนนะ                ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ   อันตะรายา เม                 มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ  วาจายะ  วะ เจตะสา วา

                        ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        ธัมเม ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะ ยันตัง

                        กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ ธัมเม ฯ


(นำ)  หันทะ มะยัง  สังฆานุสสะตินะยัง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน  ภะคะ-

วะโต  สาวะกะสังโฆ,  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง  จัตตาริ

ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา, เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,

อาหุเนยโน  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย,  อะนุตตะรัง

ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ

(นำ)  หันทะ มะยัง  สังฆาภิคีติง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)               สัทธัมมะโช  สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต

                       โยฏฐัพพิโธ  อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ

                       สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต

                       วันทามะหัง  ตะมะริยานะ  คะณัง  สุสุทธัง

สังโฆ  โย สัพพะปาณีนัง                       สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ตะติยานุสสะติฏฐานัง                           วันทามิ  ตัง สิเรนะหัง

สังฆัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                         สังโฆ เม  สามิกิสสะโร

สังโฆ  ทุกขัสสะ ฆาตา จะ                      วิธาตา จะ หิตัสสะ  เม

สังฆัสสาหัง  นิยยาเทมิ                           สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง  จะริสสามิ                           สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง

นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง                       สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                            วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

สังฆัง  เม วันทะมาเนนะ                          ยัง  ปุญญัง ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม                              มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ  วาจายะ วะ  เจตะสา วา

                        สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        สังโฆ  ปะฏิคคัณหะตุ   อัจจะยังตัง

                        กาลันตะเร  สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 11, 18:56
ขอตอบอีกบทค่ะ   ;D

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
นะโม เม สัพพะพุทธานัง      อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร       เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต       ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข       มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร       เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณะสัมปันโน       อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต       นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร       สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค       ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก       ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก      ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ                    วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา       เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห                        โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน                         โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ
วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา   

นะโม อะนาคะเต สัมพุทโธ เมตไตยยา เมตไตยโยนามะ ราโมจะรามะสัมพุทโธ
โกสะโลธรรมราชาจะ  มาระมาโรธรรมสามี  ทีฆะชังฆีจะนาระโท โสโณรังสีมุนีตะถา สุภูเตเทวะเทโว โตไทยโยนะระสีหะโก  ติสโสนามะธะนะปาโล  ปาลิไลยโยสุมังคะโล เอเต ทะสะพุทธา นามะ ภะวิสสันติ อะนาคะเต กัปเป สะตะสะหัสสานิ ทุคะติง โส นะ คัจฉะติ 

นะโม อะนาคะเต รุกขะ ศรีมหาโพธิ์
เมตไตโยนาคะรุกโขจะ      พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
รามะพุทโธปิจันทะนัง      พระรามพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
ธรรมราชานาคะรุกโข      พระธรรมราชาพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
สาละรุกโขธรรมสามี      พระธรรมสามีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้รังใหญ่
นาระโทจันทะรุกโขจะ      พระนาระโทพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
รังสีมุนีจะปิปผลิ         พระรังสีมุนีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้เลื้อย
เทวะเทโวจะจำปะโก           พระเทวเทพพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จำปา
ปาตะลีนะระสีโหวะ                   พระนรสีห์พุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้แคฝอย
นิโครโธติสสะสัมพุทโธ      พระติสสะพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้ไทร
สุมังคะโลนาคะรุกโขจะ         พระสุมังคลพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
เอเต ทะสะรุกขาศรีมหาโพธิ์ ภะวิสสันติ  อะนาคะเต อิเมทะสะจะสัมพุทเธ โยนะโรปิ
นะมัสสะติ กัปปะ สะตะสะหัสสานิ นิระยังโส นะ คัจฉะติ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
จะพะกะสะ ฯ แม้ผู้ใดสวดเป็นนิจ จะไม่ตกนรกตลอดแสนกัป มีแต่ความเจริญ ถึงพระนิพพานในที่สุด สาธุ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 19:07
ผมเกิดความสงสัยเรื่อง "พระรามพระพุทธเจ้า" นั้นจะหมายถึง พระรามในรามเกียรติ์หรือไม่ ซึ่งในเวปนี้บอกไว้ชัดเจนครับ

http://board.palungjit.com/f13/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3-33949.html


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cycle-of-life&month=11-2007&date=15&group=6&gblog=3
พระรามพุทธเจ้า
เมื่อพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยเสื่อมไปแล้ว จะเกิดมีสุญญกัปซึ่งมีอายุ ๑ อสงไขย เมื่อสุญญกัปล่วงไปแล้วจะบังเกิดมัณฑกัป ซึ่งปรากฏมีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระรามพุทธเจ้า และพระธรรมราชาพุทธเจ้า
ในกาลสมัยของพระกัสสปะพุทธเจ้า พระบรมโพธิสัตว์ได้มาบังเกิดเป็น นารทมาณพ
ในกาลนั้น นารทมาณพได้เห็นพระบรมศาสดา ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ พร้อมทั้งแวดล้อมด้วยเทพ พรหม เทวดา จึงตั้งจิตว่า “ พระกัสสปะพุทธเจ้า เราได้พบยากแสนยากเราจะมีประโยชน์อะไรด้วยอัตภาพที่น่ารังเกียจ เราจะกระทำตนให้เป็นประหนึ่งประทีปทองบูชาพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า” คิดดังนั้นจึงเอาผ้า ๒ ผืนชุบน้ำมันให้ชุ่ม แล้วพันรอบตั้งแต่ศีรษะจนถึงฝ่าเท้า และจุดไฟบนศีรษะบูชาพระพุทธเจ้าตลอด ๑ ราตรี กระทำดังนั้นแล้วจึงตั้งความปารถนาว่า
“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ
ด้วยการถวายร่างกาย และชีวิตนี้
ขอจงเป็นปัจจัยแห่งสัพพัญญุตญาณเถิด”
ในกาลนั้นพระกัสสปะพุทธเจ้าได้ทรงพุทธพยากรณ์นารทมาณพว่า ด้วยผลแห่งการถวายพระวรกาย และชีวิต พระรามราชโพธิสัตว์ จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ทรงพระนามว่า พระพุทธรามบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลแห่งการบูชาด้วยสรีระ จักมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ด้วยผลแห่งการถวายชีวิต จักมีพระชนมายุ ๙ หมื่นปี ด้วยผลแห่งพระวรกายมีไฟลุกโพลงตลอด ๑ คืน แสงสว่างแห่งพระพุทธรัศมี จะส่องสว่างตลอดกลางวัน และคืนเป็นนิจ
ด้วยพุทธานุภาพในสมัยนั้นจะบังเกิดมีต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้น เพื่อให้มหาชนทั้งปวงอาศัยเลี้ยงตนตลอดกาลเป็นนิจ
จบอุเทศที่ ๒ ด้วยพระพุทธพยากรณ์ดังนี้แล


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 11, 19:11
คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

 ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 11, 19:58
งั้นตามคุณ ดีดี สักหน่อย  ;D

ตัวนี้อ่านว่า "นะ เดินดง" เป็น ๑ ใน ๑๐๘ นะปถมัง ครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.พ. 11, 14:53


ท่านนายกองสะอาด   

       คัดจบหรือยัง     ส่งใจมาช่วยนา    ข้าพเจ้าไม่มีฉบับแปลไทย  เลยไม่กล้ามาเทียบรัศมี

พระเดชพระคุณจะออกว่าราชการที่ทำเนียบเย็นนี้  โปรดระวังตัวโดยทั่วกัน



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 ก.พ. 11, 16:32
(ภาค 3)

๏ ข้าไหว้ข้าวันทา                         แต่ศาสดาแลพระธรรม
นพนอบด้วยเยงยำ                        แต่พระสงฆ์ทรงวินัย
๏ จักกล่าวให้ปรากฏ                      ฦๅพระยศทั่วแดนไตร
ทุกเทพดาใด                             อยู่เบื้องใต้ชื่อเหฎฐา
๏ เบื้องบนอันปรากฏ                     สูงโสฬศถึงพรหมา
รอบขอบทั่วจักรพาฬา                    แต่เทพอยู่ก็เย็นใจ
๏ สรรพสัตว์มีอินทรีย์                    อีกฝูงผีแห่งใดใด
จงอยู่สำราญใจ                          ด้วยเดชะไหว้วันทา
๏ หญิงขายอันเป็นชี                      แลชัยอารีย์อีกเทพา
อย่าผูกกรรมเวรา                         อย่าขึ้งเคียดเป็นโทษา
๏ อย่าผูกพยาบาท                       ทำร้ายกาจให้มรณา
จงอยู่แลทีฆา                             อายุยืนอยู่จำนง
๏ เลี้ยงตนก็เป็นสุข                       อยู่สนุกแลยืนยง
ดับทุกข์ดับกังวล                          สัมฤทธิเดโชไชย
๏ ได้ธรรมสิบประการ                     อันพิสดารมหิมา
อายุแลรูปา                               สุขกำลังเกิดมีศรี ฯ
๏ ชลฏฺฐา วา ถลฏฺฐาวา                   ๏ เทพาอันเลิศล้ำ อยู่ในน้ำและดินแดน
อากาโสปิ จ อนฺตลิเข                     ทั้งเทพอยู่เมืองแมน เบื้องอากาศเวหา
๏ ปพฺพตฏฺฐา สมุทฺทา จ                  ๏ ทั้งเทพอยู่ภูเขา ทั้งเทพเฝ้าพระคงคา
รกฺขนฺติ จ ลตาสิโน                       ทั้งเทพรักษา ทุกต้นไม้และเครือวัลย์
๏ เตปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                      ๏ เทพาทั้งหลายนั้น จงพากันมารักษา
อาโรคเยน สุเขน จ                       ฝูงท่านอันศรัทธา ให้อยู่สุขพ้นรำคาญ
๏ สุริยํ จนฺทองฺคารํ                       ๏ อาทิตย์ผู้บวร อีกจันทรและอังคาร
พุทฺธพฤหสฺสปติฏฺฐิตา                     พุธพฤหัสครูอาจารย์ อันเลี้ยงโลกโดยธรรม์
๏ สุกฺรโสรราหุเกโส                       ๏ สุกรเสาร์ราหูเกตุ ผู้วิเศษถ้วนวันวาน
นวคฺรหา จ สพฺพโส                        นพเคราะห์ย่อมเทวา อันอยู่ถ้วนยังรังยา
๏ เตสํ  พเลน  เตเชน                     ๏ เดชะกำลังพล เทพทุกตนมีฤทธา
อานุภาเวน เตน จ                         อานุภาพมหิมา ทั้งเดชะเดโชไชย
๏ เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                    ๏ นพเคราะห์จงมาชุม ช่วยรักษาคุ้มพยาบาล
อาโรคเยน สุเขน จ                      ให้อยู่สุขสำราญ ดับอาพาธภายใน
๏ เจตฺรวิสาขเชฏฺเฐ จ                     ๏ เดือนห้าตั้งเป็นอาทิ เดือนหกคลาดับกันมา
อาสาเธ สวเน ตถา                       เดือนเจ็ดชื่อเชฎฐา เดือนแปดชื่ออาสาธศรี
๏ ภทฺทปเท จ อาสุชฺเช                  ๏ เดือนเก้าเดือนสิบ สิบเอ็ดนั้นตามบาฬี
กตฺติเก มิคสริเก                         เดือนสิบสองเดือนอ้ายยี่ ฤดูสี่ดับกันมา
๏ ปุสฺเส มาเฆ ผคฺคุเณ จ                ๏ เดือนสามและเดือนสี่ เดือนห้ามีดับกันมา
โลกํ ปาเลนฺติ ธมฺมตา                   เลี้ยงโลกเป็นธรรมดา ให้รู้จักอัชฌาไศรย
๏ เอเต ทวาทส จ มเส                   ๏ ชาวเจ้าแต่ฝูงเดือน ช่วยตักเตือนในแดนไตร
อานุภาเวน มหาภูต                      โลกาหมู่ใดใด จงช่วยกันหมู่อันตราย
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                    ๏ เดือนทั้งสิบสองนั้น จงมากันซึ่งอันตราย
อาโรคฺยน จ สุเขน จ                    รักษาท่านทั้งหลาย อย่าให้มีโรคโรคา

(ภาค 4 จะติดตามมาในวันพรุ่งนี้ช่วงเย็นๆ เพราะกระผมได้รับสาส์นด่วนจากเกลอสนิทว่าให้ไปช่วยงานทางด้านศิลปะ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ก.พ. 11, 20:47
มาตรวจคำตอบคุณดีดี  ซึ่งไปหามาลงยาวเหยียด
แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า นี่คือกระทู้รามเกียรติ์
ต่อให้คุณดีดีเอามนต์บทยาวเท่าใดมาลง
และมนต์บทนั้นมีคำว่าพระรามอยู่ก็จริง 
แต่เป็นพระรามต่างเรื่องผมก้ให้คะแนนไม่ได้

อุปมาเหมือนผมไปร้านอาหารสั่งข้าวผัด
แต่แม่ครัวทำเส้นใหญ่ราดหน้ามาให้ผม
ผมจะถือว่าแม่ครัวทำอาหารตามที่ผมสั่งได้หรือ

1.พระมหาทิพย์พระมนต์ (มนต์ใหญ่)  (ต้นฉบับบาลี)
มนต์บทนี้ เป็นของใหม่  ที่เอาของเก่ามาแต่งย่อความลง
และมีการชำระให้เป็นบาลี ไม่มีสันสกฤตปะปน
และบททิพมนต์บทนี้ ไม่ปรากฏชื่อพระราม  ให้คะแนนไม่ได้

2.
ขอตอบอีกอันนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน คาถาบูชาฤาษีของท่าน siamese ยังได้คะแนนเลย... )  ;D

ท่อง นะโม ๓ จบ
จตุคามรามะเทวัง โพธิสัตตัง มะหาคุณัง มะหิทธิกัง อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง

ขอให้ทำความเข้าใจโจทย์ทั้งหมดในข้อที่ ๗๐. ให้ดี
รามะในคาถาบูชาจตุคามรามเทพ   เป็นมนต์ค่อนข้างใหม่ ดูจากภาษา
จริงอยู่ว่า  จตุคามรามเทพ  เป็นเทพประจำถิ่นของชาวลังกามาก่อน
อันมีประวัติว่าเป็นเทพที่เกี่ยวเนื่องกับพระรามในรามายณะอยู่
และเข้ามาอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ดังมีหลักฐานเก่าที่สุด
ในโองการดำน้ำลุยเพลิง ที่อยู่ในกฎหมายตราสามดวง
แต่จตุคามรามเทพก็ดูจะห่างๆ ออกจากรามเทพในรามเกียรติ์ไปเป็นพระโพธิสัตว์
ไปเสียแล้ว  ฉะนั้น  มนต์บทนี้ จึงไม่สามารถให้คะแนนได้
และโปรดเข้าใจด้วยว่า  ที่ผมให้คะแนนคุณไซมีสนั้น
เพราะมนต์ที่ไซมีสยกมา พระรามในมนต์บทนั้นเป็นพระรามในรามเกียรติ์แน่นอน
ถึงมนต์บทนั้นจะไม่เก่าแก่นัก   แต่ยังพอเข้าเค้าเข้าเกณฑ์คำถามอยู่บ้าง
ผมจึงให้คะแนน

3.ในความเห็นที่ ๓๐๗
เป็นมนต์บทยาว   ที่รามะปรากฏแต่นั่นก็ไม่ รามะในรามเกียรติ์
ขออภัย  ที่ผมให้คะแนนไม่ได้จริงๆ

4.ในความเห็นที่ ๓๐๘
อันที่จริงเหตุผลนั้น คุณไซมีสตอบแทนผมไปแล้ว  ผมจึงไม่ต้องอธิบายมาก
รามะ ในบทมนต์นั้น เป็นพระนามของพระอนาคตพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ข้อนี้ย่อมไม่เข้าเกณฑ์ตามโจทย์ต้องการ   เพราะเราต้องรามในรามเกียรติ์
ฉะนั้นที่คุณดีดี คิดว่า  "ปรากฏชื่อพระรามในมนต์"  เท่านี้แล้ว
ผมจะให้คะแนนนั้น  ย่อมเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับโจทย์ถาม
ผมจึงไม่สามารถให้คะแนนข้อนี้แก่คุณดีดีได้ 


แต่ผมก็ขอขอบคุณในความมานะพยายาม
ความสนใจพากเพียรของคุณดีดีที่มีต่อกระทู้รามเกียรติ์นี้มาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้
คุณดีดีคงเข้าใจคำอธิบายของผมนะครับ
และคิดว่าคุณดีดีจะยังคงช่วยกันเล่นกระทู้นี้ต่อไปจนจบ ;D



กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 19 ก.พ. 11, 16:56
(ภาค 4)

๏ มูสิโก อุสโภ พฺคคฺโฆ                ๏ ปีชวดตั้งเป็นอาทิ อุสภราชขาลเถาะฉลู
สโส นาโค จ สปฺปโก                  มะโรงนั้นคืองู สัปปนั้นปีมะเส็ง
๏ อสฺโส เมณฺโฑ กปิ เจว                 ๏ มะเมียมะแมวอก ระกาไก่ออกขานขัน
กุกฺกุโฏ สฺวานสูกโร                    ปีจอมาเที่ยวจรัล กุนนี้ไซร้ชื่อปีหมู
๏ เอเต ทฺวาทส นกฺขตฺตา              ๏ สิบสองปีปรากฏ ถ้วนทวาทศย่อมเทวา
โลกํ ปาเลนติ ธมฺมตา                  เลี้ยงโลกเป็นธรรมดา ให้กำหนดวุฒาไวย
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                   ๏ ชาวเจ้าแต่ฝูงชี รักษาโลกอย่าอาลัย
อาโรเคฺยน สุเขน จ                    ด้วยพยาธิ์สำราญใจ จงอยู่สุขสถาพร
๏ อสฺสยุโช ภรณี จ                    ๏ ดาวม้าระเห็จไป ดาวลูกไก่และภรณี
กตฺติกา โร หิณีปิ จ                     กัตติกาโรหิณี ดาวกระต่ายละมั่งทอง
๏ มิตสิรญฺจ อทฺรญฺจ                  ๏ ดาวกวางและดาวหมู อันเรืองอยู่แลระรอง
ปุนพฺพสุปุสฺสาปิ จ                      ดาวดุเหว่าแขกเต้าทอง ไขตามอรรถพระบาลี
๏ อสิเลโส จ มาโฆ จ                  ๏ ดาวแมวและดาวกวาง พานรวางจรเวหา
ปุพฺพาว ผคฺคุณี ตถา                    ดาวหมูฉายขึ้นมา ย่อมเป็นฤกษ์เมืองบน
๏ อุตฺตรผคฺคุณิ เจว                     ๏ ดาวควายและดาววัว คนชมชัวสิ้นทุกคน
หตฺถจิตตา จ สาติ จ                    ดาวช้างดาวสีชน เทพต้นไม้พเนจร
๏ วิสาขนุราธเชฎฺฐ                      ๏ ดาวเนื้อและดาวแพะ อันคอยแกะหาอาหาร
มูลปุพฺพุตฺตรสาฬฺหกา                   ยี่สิบเอ็ดโดยตำนาน ย่อมดาวฤกษ์เมืองบน
๏ เอกวีสติ นกฺขตฺตา                    ๏ นักขัตฤกษ์พิเศษ คือเทเวศร์ละองค์ละองค์
ปภายนฺติ ทิเน ทิเน                      ย่อมเสด็จจรเบื้องบน ทุกเทพาราตรีกาล
๏ เมสฺสพฤสภเมถุนา                    ๏ ชาวเจ้าฤกษ์จงมารักษา ตูข้าอย่าให้หม่นหมอง
กรกฎาสีหกญฺญกา                      อานุภาพพ้นจากคลอง หญิงและชายมีสวัสดี
๏ ตุลพิจิกธนู เจว                       ๏ ชาวเจ้าฤกษ์จงรักษา พยาบาลโลกโลกี
มงฺกรากุมฺภมินฺนกา                      ให้สุขสุขมีศรี อาพาธไข้อย่าพาธา
๏ เอเต ทฺวาทส จ ราสี                  ๏ ราสีเมษเป็นปฐม พฤศภสมและเมถุน
อานุภาเวน เตน จ                       กรกฏสิงห์กันย์ดุลย์ พิจิตรธนูและมังกร
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                   ๏ กุมภ์มินตร์อันตระศักดิ์ มีในจักรอันบวร
อาโรคฺเยน สุเขน จ                     นพเคราะห์ย่อมเที่ยวจร ทุกเทพาราตรีดล
๏ มา ขโย จ วโย มยฺหํ                  ๏ ทวาทศสิบสองราศี มีฤทธานุภาพล
มา จ โกจิ อุปทฺทโว                    อันอยู่ในเมืองบน แห่งห้องทองสรวงสวรรค์
๏ รตฺตนานิ จ วสนฺติ                    ๏ ชาวเจ้าจงช่วยคุ้ม ห้อมล้อมหุ้มจงรักษา
โชติกสฺส ยถา ฆเร                     พยาบาลจงอย่าคลา ขอให้ถึงแก่สุขศรี
๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ นางเทพทั้งแปดตน เป็นปฐมชื่อเสวตรี
มา จ โกจิ อุปทฺทโว                    ถัดนั้นครุธาเทพ นางธรณีเมขลา
๏ กาญฺจนานิ จ วสฺสนฺตุ                 ๏ นางหนึ่งชื่อรัตตา ดับนั้นมาชื่อนนท์เทวี
เมณฑฺกสฺส ยถา ฆเร                   ผู้หนึ่งชื่อพิรัตตี ผู้หนึ่งชื่อมัจมาริกา
๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ นางงามอยู่ไสว อันเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มา จ โกจิ อุปทฺทโว                    รักษาสัตว์เป็นอาจินต์ ทั้งแปดทิศเป็นกำนัล
๏ ธนสารานิ ปวสฺสนฺตุ                  ๏ อำนาจท่านบูชา ถวายมาลาเป็นรางวัล
ธนญฺชยสฺส ยถา ฆเร                   จงอดโทษอย่าขนัน อันท่านได้กระทำมา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ก.พ. 11, 00:43
(ภาค 5)

๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ นางนาฎทั้งแปดตน ย่อมอัมพลด้วยเดชา
มา จ โกจิอุปทฺทโว         อานุภาพมหิมา ทั่วแหล่งหล้าทั้งโลกี
๏ ธนสารานิ ปวสฺสนฺตุ                  ๏ เทวีจงช่วยกัน ภัยหมู่นั้นจงประลัย
อุคฺคตสฺส ยถาฆเร         ร้อนโรคโศกใดใด จงหายแล้วเป็นสุโข
๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ ความสิ้นและความแก่ แห่งท่านแลจงอย่าพาน
มา จ โกจิอุปทฺทโว         อุบัติทรัพย์อันจะผ่าน จงกระจัดอย่ามามี
๏ กาญฺจนาชลฺลสํกาเส                 ๏ ดุจแก้วอันประเสริฐ เกิดในเรือนอันมีศรี
โชติกสฺส ยถาฆเร         แห่งโชติกเศรษฐี มั่นคงแล้วคือพิมพ์เดียว
๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ ถอยทรัพย์ถอยรูปทรง จงอย่ามีแก่ตัวเรา
มา จ โกจิอุปทฺทโว         ความโฉดและความเขลา อุประทรพอย่ามากราย
๏ สพฺพธนานิ ปวสฺสนฺตุ                 ๏ ดังทองอันเรืองฉาย งามพรรณรายรุ่งรูจี
จิตฺตกสฺส ยถา ฆเร         ในเรือนแห่งเศรษฐี ชื่อจิตตกทรงนาม
๏ มา ขโย มา วโย มยฺหํ                ๏ ไขยวัยคือแก่เฒ่า แห่งเราเล่าจงอย่ามี
มา จ โกจิอุปทฺทโว         สัตว์ตัวร้ายอันยายี ขออย่าพบอย่าพานกัน
๏ กหาปณานิ ปวสฺสนฺตุ                 ๏ ข้าวเปลือกและข้าวสาร จงประวัติครามครัน
เมณฆกสฺส ยถา ฆเร         ดุจทรัพย์ในเรือนอัน ชื่อเมณฑกเศรษฐี
๏ อกฺขรสฺสารินาม อิสี                  ๏ ถอยยศถอยเป็นน้อย แห่งข้าข้อยขออย่ามี
หิมฺวนฺเต วสิ ตทา         ปีศาจผีกุลี จังไรร้ายอย่าหึงสา
๏ สิทธฺวิชฺชาธรา สพฺเพ                ๏ เงินทองกองนับโกฎิ์ นานาโสติ์พูนขึ้นมา
เทวานํ ปูชิตา สทา         ดังทรัพย์ในเคหา อุคคตเศรษฐี
๏ พุทฺธา ปจฺเจกพุทฺธา จ               ๏ สิ้นสุดและเฒ่าพฤติดี มาโหตุจงอย่ามี
อรหนฺตา อินทฺเทวตา         อุประทรพนั้นก็ดี มาโหตุอย่ามาพาน
๏ พฺรหฺมา อิสิมุนี เจว                  ๏ พรหมาธิบดี ฤๅษีสิทธิ์มุนี
ปุริโส จ มหนฺตโต         ชายใดผู้ใจดี เร่งอวยพรด้วยศรัทธา
๏ สิทฺธิวิชฺชาธรา สพฺเพ                ๏ เทพาอันประสิทธิ์ ผู้มีฤทธิวิชชา
ทวาทส รกฺขนฺติ สทา         ทวาทสย่อมเทวา มารักษานิรันดร
๏ เย สทฺธจิตตา สมาทานา            ๏ มนุษย์ผู้ใดใด สำราญใจให้บวร
มนุสฺส ปูชิตา สทา         ตั้งสมาธิตัดอาวรณ์ คณาเทพบูชานิจ
๏ พุทฺธสาวํ คุณํ วิชฺชํ                  ๏ บททั้งยี่สิบสี่ อีกสาวํคุณัง
พลเตชญจ วิริยํ                         กำลังเดชะวิริยัง ไขยตามอรรถพระบาลี
๏ ...ธิกมฺมธมฺมสจฺจํ                   ๏ ประสิทธิการกิจ จงธัมมังสัจเที่ยงแท้
......นํ โมกฺขคุยฺหกํ                   นิพพานพ้นโลกี อันลึกลับและอุดม
๏ ....... สีลญฺจ ปญฺญา จ            ๏ ทานและศีลและปัญญา อันออกบวชและเป็นสงฆ์
........มปุญฺญํ ภาคยํ ตปํ              บุญภาคอันอุดม ตะบะยศและปัญญา
๏ ......สุขํ สิริ รูปํ                     ๏ ศรีสวัสดิ์สุขยศ อันปรากฏแลรูปา
.........วิสติเทสนา                    ยี่สิบสี่ยกเทศนา พระเจ้าตั้งภาชนี
๏ ........โสฬส ธมฺมา                 ๏ พระธรรมทั้งสิบหก พระดิลกเทศนา
.........เทวา สรนฺติ จ                 เป็นมนตร์ภาวนา เทวีปราชญ์คำนึงถึง
๏ ........กอรหนฺตา จ                 ๏ อีกทั้งปัจเจกโพธิ อรหันต์โสดคำนึงถึง
...........เทวา สพฺรหฺมกา             อินทราก็รำพึง มหาพรหมภาวนา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ก.พ. 11, 09:50
(ภาค 6 - มีพระรามแล้ว ;D)

๏ อิสิ มุนิ จ ราชาโน                   ๏ ฤๅษีมุนีท้าวพระยา คำนึงถึงเล่าเป็นผล
ปุริโส จ วิชาธรา                       หญิงชายทั่วฝูงคน พิทยาธรก็ภาวนา
๏ สพฺเพ โลกาธิปติ เทวา               ๏ เทพานี้ทั้งหลาย อันเป็นใหญ่ในโลกา
โสฬศภวพฺรหฺมุนา                      โสฬศภาวนา รำลึกถึงเป็นคำนัล
๏ อหโย จ สปฺปา เจว                  ๏ งูใหญ่และงูน้อย พิษถ่อยเลิกพังพาน
อสฺโส เมณฺโฑ จ กุกฺกุโฏ               ม้าแพะไก่ขันขาน ตัวใหญ่น้อยอยู่มีศรี
๏ โคมหึสา ตถา คหา                   ๏ วัวควายและช้างสาร อย่ารุกราญร้ายราวี
ติรจฺฉานากกณฺฐกา                     เดียรฉานทั่วโลกี ท่านอวยพรให้เกษม
๏ กูโป ปปาโต โสพฺโภ จ               ๏ ผิอยู่ในบ่อถ้ำ ปู่เจ้าน้ำตะพังหลวง
อุภโต ภวโต ปิ จ                       เบื้องบนต่ำทั้งปวง ให้ประเสริฐดีทุกตน
๏ ภตฺโต วสฺสตุ ราชา จ                 ๏ พระยาอันครองพล จงอยู่สุขด้วยเสนา
โจรโก อคฺคโปตโก                     โจรร้ายเคยหึงษา จงอย่าเบียดอย่าเบียนกัน
๏ สสฺสมารานาโค จ                    ๏ พระรามาธิราช พระยานาคราชา
ครุโฬ สุวกินฺนโร                        ครุฑราชอย่าหึงษา กินราอย่าเบียดกัน
๏ มหโตเทวเทโว จ                     ๏ มโหรคนาคา เทพยดาจงครองธรรม์
กุเวโร มนุสฺโส ปิ จ                     กุเวรุราชอนันต์ อีกคนธรรพ์ในโลกา
๏ อมนุสฺโส จ ยกฺโข จ                  ๏ ฝูงผีและฝูงยักษ์ รักษาสัจอย่าโกรธา
มหายกฺโข จ รกฺขโส                    ยักใหญ่ยักษ์น้อยปานา ผีเสื้อน้ำจงปรานี
๏ มหานาโค ปิสา เจว                   ๏ มหานาคราชา อีกผีศาจเคยราวี
มคฺโค กุมฺภณฺฑโก ปิ จ                 ทั้งเปรตทั้งโลกี กุมภัณฑยักษ์ทั้งแสนหก
๏ สิทฺธิวิชฺชาธรา สพฺเพ                 ๏ ฤๅษีสิทธิพิทยาธร อันเที่ยวจรในเวหา
เสมฺหํ ปิตญฺจ วายุกํ                     เดชะท่านจงมา ให้หายเลื่อยเลือดลมเบียน
๏ อุปกายนิปาตญฺ จ                    ๏ ชาวเจ้าฤๅษีสิทธิ์ พิทยาธรอันมีเพียร
สพฺเพจปิยมิตฺตโก                       จงอยู่อย่ามีเบียน กันแล้วมีไมตรี
๏ สพฺเพ สตฺตา ยกฺขา จ                ๏ สรรพสัตว์ยักษ์กุลี อรกนกเนื้อทั่วแดนไตร
เมตฺตจิตตา สทา ภเว                    เห็นกันจงมีใจ ไมตรีรักจงรักษา
๏ เอกปญฺญา จ สพฺเพ เต               ๏ สิงสัตว์ทั้งหลาย มีภิปรายมีปัญญา
สพฺเพ รกฺขนฺตุ ตํ สทา                   ฝูงสัตว์จงรักษา พยาบาลท่านจงอย่าคลา
๏ อหํ ลาภํ จ ลาภานํ                    ๏ ข้าขอได้ลาภ ยิ่งกว่าลาภในโลกา
สกฺกาโร ปูชิโต สทา                     เครื่องสการบูชา คนแต่งให้เป็นรางวัล
๏ สพฺเพ เทวา มนุสฺสา จ                 ๏ เทวาและมนุษย์ รักษาสิ้นสุดอย่าอาธรรม์
ปิยา รกฺขนฺตุ มํ สทา                     รักษาเราจงทุกวัน ด้วยเดชะทิพมนต์
๏ คามํ เทสญฺจ นครํ                     ๏ เทวาทุกประเทศ อยู่ในเขตบ้านเมืองใด
นที ภูมิ จ ปพฺพตํ                        ในภูมิพนาลัย น้ำบรรพตถ้ำคูหา
๏ วนสมุทฺทนฐานํ                        ๏ เทวาอยู่ในสมุทร เทพล้ำอุตม์อยู่ในป่า
สพฺเพ รกฺขนฺตุ ตํ สทา                    ฝูงเทพจงเสด็จมา รักษาโลกทั้งหญิงชาย
๏ สิทฺธิพุทฺธา สิทฺธิธมฺมา                 ๏ พระย่อมทรประสิทธิ์ ธรรมบพิตรมหิมา
สิทฺธิสํฆา จอุตฺตมา                       ประสิทธิแห่งปัญญาศรัทธา ลูกพระเจ้าผู้อุดม
๏ สิทฺธิอฎฺฐารสมหาเทวา                 ๏ ประสิทธิแห่งพระปัจเจก โพธิสัตว์เอกและพระองค์
จตุโลกปาลญฺจ เทวตา                   ประสิทธิอาริยสงฆ์ ผู้เป็นศิษย์แห่งศาสดา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ก.พ. 11, 10:40
(ภาค 7)

๏ สิทฺธิปจฺเจกสมฺพุทฺธา                 ๏ ประสิทธิแห่งพระอริย ใช่อริยบุคคล
สิทฺธิสพฺพญฺญุสาวกา                   ประสิทธิสาผล ปาฏิหารพระมุนี
๏ สิทฺธิราโม สิทฺธิเทวา                  ๏ ประสิทธิปราบพลมาร พระนิพพานประสิทธี
สิทฺธิยกฺโข จ รกฺขโส                   ประสิทธินั้นจงมี แก่ท่านไทผู้ศรัทธา
๏ สิทฺธิวิชฺชาธรา สพฺเพ                 ๏ พิทยาธรอันประสิทธิ์ จงมีฤทธิพิธี
สิทฺธิอิสิ มเหสุรา                       สวัสดีแห่งฤๅษี ผู้ประสิทธิมโหฬาร
๏ สิทฺธิปพฺพตเทวานํ                    ๏ เทพาอันปรากฏ ในบรรพตหิมพานต์
สิทฺธิการณเทวตา                       จงให้สัมฤทธิการ แก่โลกีผู้มีเพียร
๏ สิทฺธิปราสาทเทวานํ                  ๏ เทพาหมู่ฉลาด อยู่ปราสาทธรณี
สิทฺธิเจติยเทวตา                        บ้างอยู่ในเจดีย์ อยู่ในรูปทั่วทุกองค์
๏ สิทฺธิโพธิรุกฺขเทวตา                  ๏ ลางหมู่เฝ้ามหาโพธิ์ ลงหมู่โสดเฝ้าธาตุ
สิทฺธิสริรธาตุโย                         พระองค์ประสิทธิประสาท เทพาสวรรค์มาบูชา
๏ พุทฺธรูปญฺจ สพฺเพสํ                   ๏ เทพาอันอยู่เฝ้า รูปพระเจ้าพระศาสดา
สพฺพรูปญฺจ เทวตา                      อยู่เฝ้าอยู่รักษา สรรพรูปย่อมเทเวศร์
๏ สิทฺธิติณฺณํ จ รุกฺขานํ                 ๏ ทุกต้นไม้และเครือวัลย์ ย่อมล้วนสรรพเทวา
วสิยา ฆรเทวตา                         ทั่วอรรคเรตา ทุกเหย้าเรือนย่อมฝูงผี
๏ สิทฺธิชลถลตาจ                      ๏ สิทธิเทพอยู่ในน้ำ ในพฤกษาและดินดอน
สิทฺธิอากาศเทวตา                     สิทธิเทพอยู่ในเมืองแมน ในอากาศเบื้องบน
๏ สิทฺธิมุนิ จ ราชาโน                  ๏ สิทธิปราชญ์มีปัญญา อีกพระยาและฝูงคน
สิทฺธิปุริสลกฺขโณ                      สิทธิสัมฤทธิ์จงอนันต์ ให้เกษมในโลกา   
๏ สิทฺธิภูมฎฺฐเทวตา                    ๏ สัมฤทธิเทพอดูร อยู่ในภูมิอันล้ำเลิศ
สิทฺธิกมฺมพลํ วรํ                        เทพาผู้ประเสริฐ อันล้ำเลิศด้วยความเพียร
๏ สิทฺธิปาทา อ ปาทา จ                ๏ สัตว์สี่ตีนและสองตีน จงอยู่ยืนอย่าอาเกียร
สิทฺธิปาทา จตุปาทกา                  จงอยู่สถิตเสถียร เพียรอายุจงยืนยาว
๏ พหู ปาทา จ สตฺตา จ                ๏ ด้วยเดชะศักดิ์สิทธิ์ อันฤทธีทั่วแดนไตร
สิทฺธิปฺกขา จ วายุกํ                     สุขังพลังชัย ศรีสวัสดิ์ท่านจงมี
๏ เอเตน สิทฺธิเตเชน                   ๏ ด้วยสิทธิเดโชไชย บรมไตรโลกศาสดา
ชยฺยโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   พิทักษ์รักษา ข้าพเจ้าอยู่ทุกเชื้อวัน
๏ เอเตน สิทฺธิเตเชน                   ๏ ด้วยเดชะพระธรรม อันพระเจ้าท่านบัณฑูร
มมํ รกฺขนฺตุ สพฺพทา                   พยาบาลเราอย่าสูญ อย่าให้ถึงเป็นมุ่นหมอง
๏ เอเตน สิทฺธิเตเชน                   ๏ เดชะสงฆ์ปริสุทธิ์ ลูกพระพุทธอยู่ในธรรม์
สพฺพสิทฺธี ภวนฺตุ เต                    สรรพสิทธิอนันต์ ให้จงมีแก่ท่านแล
๏ สพฺพสตฺรู วิธํเสนฺตุ                   ๏ สรรพศัตรูจงกำจัด จงพรากพลัดออกไกลตน
สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   สรรพสวัสดีจำเริญผล แก่ท่านไทจงมีมั่ง
๏ โย สงคามํ ว คจฉนฺโต               ๏ ผู้ใดใครไปศึก ได้รำลึกทิพมนต์
สรนฺโต ทิพฺพมนฺตฺรกํ                   ปล่อยพ้นจากทุกข์ทน และมีชัยชำนะศรี
๏ ชยฺยพลํ สุขํ ลาภํ                    ๏ ได้สุขกำลังลาภ จงได้ทั่วธรณี
สพฺพสตฺรู วิธํเสนฺตุ                     ศัตรูกำจัดหนี ได้ร้อยโยชน์จากอาตมา


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ก.พ. 11, 20:40
(ภาคอวสาน)

๏ ปตฺตกาโม สพฺเพ ปุตฺตํ               ๏ ผิจะปรารถนาหาลูกรัก ย่อมจักได้ดุจพอใจ
ธนกาโม สพฺเพ ธนํ                     ปรารถนาทรัพย์อันใดใด ขอจงได้ดุจจำนง
๏ อธิการํ ลเภยฺยาหํ                    ๏ ผิมักใคร่เป็นใหญ่ ขอจงได้ดุจจำนง
เทวานํ ปิยตํ สทา                       คนรักถ้วนทุกคน ทั้งเทพาก็พอใจ
๏ ราชาอิตฺถิ จ เสฎฐีจ                  ๏ หญิงชายอันปรารถนา เป็นพระยาและนางเมือง
ปุริโส ปณฺฑิโต ปิจ                      เศรษฐีปัญญาเรือง ย่อมจะได้ด้วยฟังธรรม
๏ สีโห พฺยคฺโฆ วราโห จ                ๏ ราชสีห์และเสือเนื้อ มีในเชื่อและฟังธรรม์
อสฺสเมณฺโฑ จ สูกโร                    ม้าแพะหมาหมูสัตว์ ครั้นฟังอรรถบาลีก็มีผล
๏ โคมหึสา ตถา หตฺถี                   ๏ วัวควายและช้างสาร สัตว์เดียรฉานและกิ้งก่า
ติรจฺฉานานุกณฺฐกา                      ได้ฟังธรรมเทศนา จักปล่อยพ้นจากเดียรฉาน
๏ สพฺเพ สตฺรู อญฺญโลหํ                ๏ ฟังธรรมให้พ้นจาก หอกและดาบอันลุกลาม
ตามฺพกํ สพฺพติปุกํ                       ได้ลาภเงินทองตามพ์ อีกสัมริดและทองแดง
๏ อตฺถิ อญฺเญ จ กุรุเต                  ๏ ผู้ใดได้ทำบุญ ด้วยศรัทธาและชื่นชม
จกฺรานกฺขาปริสกํ                        เมื่อได้ย่อมอุดม ให้พ้นผีเสี้ยนศัตรู
๏ โก ชโน ทณฺฑานาสาย               ๏ บุคคลผู้ใดใด มีหฤทัยชื่นชมตรู
สณฺหํ อคฺคิ จ วายุกํ                      พ้นจากภัยสี่หมู่ ปืนพิษร้ายและไฟลม
๏ ขคฺคเสลญฺจ มตฺติกํ                   ๏ พระขรรค์และอาวุธ และเดินชักกระจัดออกไปจากต
ยนฺตรฺภาสานสาตรฺกํ                     เดชะพระทิพมนต์ อันเป็นยนต์พระศาสดา
๏ อญฺญ จ ตุมฺหากํ กตฺวา                ๏ ฝูงคนชายหญิงใด มาตั้งใจอันเป็นผล
มนฺตฺรมายา นิโยชิตํ                     ตกแต่งเล่าบ่นมนต์ คนผู้นั้นพ้นโรคี
๏ เอเตน สิทฺธิเตเชน                     ๏ เดชะและประสิทธิ์ แห่งบพิตรพระมุนี
มมํ รกฺขนฺตุ สพฺพทา                     จงมารักษาตูข้านี้ จงทุกเมื่อนิรันดร์
๏ เอเตน สิทฺธิเตเชน                     ๏ เตเชนด้วยเดชะ เดชะสงฆ์บวร
สพฺพสิทฺธิ ภวนฺตุ เต                     จงพยาบาลตูข้าก่อน อีกฝูงคนทั่วโลกา
๏ ทุกขฺโรคภยํ เวรา                      ๏ ทุกข์โรคโรคาทิ อีกพยาธิเวรา
....สกา สตฺตุ จุปทฺทวา                  โศกเศร้าอย่าพาธา อุบัติทรัพย์และกังวล
๏ อนฺตรายานิ อเนกานิ                   ๏ อันตรายอันจะมา เบียดบีฑาอาตมาตน
....นสฺสนฺตุ จ เตชสา                    เดชะทิพมนต์ สรรพโทษนั้นจงเหือดหาย
๏ ชยฺยสิทฺธิ ธนํ ลาภํ                     ๏ ขอได้สิทธิทรัพย์ อันงามสรรพชอบธรรมา
โสตฺถิ ภาคฺยํ สุขํ พลํ                     จำเริญศรีโสภา สุขกำลังจงอนันต์
๏ สิริ อายุ จ วณฺโณ จ                    ๏ มีศรีอายุยืน และรูปโฉมจงมีๆ โภคังจำเริญผล
โภคํ วุฑฺฒิ จ ยสฺวา
โหมิ สพฺพทา สฺวาหาย

ฯ มหาทิพฺพมนฺตํ นิฎฺฐิตํ ฯ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.พ. 11, 20:54
คุณ Art นี่สุดยอดมากครับ


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ก.พ. 11, 03:51


ทรมานบันเทิง


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 ก.พ. 11, 08:18


ทรมานบันเทิง

เฮอะๆๆๆๆๆ ;D


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ก.พ. 11, 08:55

สะกดผิดหักคำละเท่าไร    อย่าลืมซิที่คนตั้งคำถามบอกว่าจะเลือดเย็นขึ้น(น่าจะเป็นเลือดเย็นลงนิ...สหาย)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 11, 10:43
ช่างเป็นผู้มีความมุมานะดีตลอดรอดฝั่ง  ปฏิบัติภารกิจจนลุล่วง
เอาไป ๔๐ คะแนน   ไม่ตัดไม่ทอนให้เสียน้ำใจ 
ถ้าท่านผู้แข่งขันคนใดมีปัญหาสงสัยการให้คะแนน 
โปรดเดินทางมาซักถามเจ้าของกระทุได้ที่ที่ทำงานในเวลาราชการ
(ไม่รับตอบนอกสถานที่ และนอกเวลาราชการ)


กระทู้: ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 22 ก.พ. 11, 13:23
สรุปคะแนน ข้อ 51-70 ค่ะ  ;D