เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ผ้าขึ้ริ้วห่อทอง ที่ 12 พ.ย. 00, 11:00



กระทู้: การกินหมากของคนแก่คนเฒ่ามีมาแต่สมัยใดคะ
เริ่มกระทู้โดย: ผ้าขึ้ริ้วห่อทอง ที่ 12 พ.ย. 00, 11:00
การกินหมากของคนแก่คนเฒ่ามีมาแต่สมัยใดคะ
ได้รับมาจากวัฒนธรรมใด หรือว่ามีเฉพาะของคนไทยคะ
ทราบมาว่าเมื่อก่อนผู้หญิงที่ฟันดำ ถึงจะได้ชื่อว่าสวยงามและแข็งแรง
คุณยายของดิฉันก็กินหมากเหมือนกัน ดิฉันเคยลองดู มันฝาดจนต้องรีบคายทิ้ง


กระทู้: การกินหมากของคนแก่คนเฒ่ามีมาแต่สมัยใดคะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 00, 22:12
เคยอ่านพบว่าต้นกำเนิดวัฒนธรรมนี้มาจากอินเดีย  ซึ่งเป็นแม่บทใหญ่ของหลายประเทศในเอเชียอาคเนย์
หลักฐานที่นึกออกย้อนหลังไปถึงสุโขทัย  ในศิลาจารึกของพ่อขุนราม ระบุว่ามี " ป่าหมาก"  ก็แสดงว่าคนสุโขทัยกินหมากกันแล้ว   มีเยอะขนาดเป็นป่า (หมายถึงสวนไม่ใช่ป่าธรรมชาติ) น่าจะค้าขายกันระหว่างเมืองด้วยค่ะ

หนุ่มสาววัยรุ่น วัยขนาดเดินเซนเตอร์พ้อยท์ ถ้าเกิดในสมัยสักสองร้อยปีมานี้ จะฟันแดงค่ะ  เพราะหมากยังไม่จับเข้มข้น
ดังที่อิเหนาพิจารณาวิหยาสะกำที่ถูกฆ่าตายในสนามรบ แล้วรำพึงว่า
" เห็นศพนอนทิ้งกลิ้งอยู่......พระพินิจพิศดูแล้วใจหาย
เป็นหนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย....ควรจะนับว่าชายโฉมยง
ทนต์แดงดังแสงทับทิม.....เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
........................................................................
วิหยาสะกำคงอายุน้อยมาก เป็นยุคนี้ไม่รู้ว่าอยู่สัก ม. ๓ ได้ไหม

แต่ถ้าเป็นหนุ่มสาวเต็มตัว ขนาดเรียนมหาวิทยาลัย จะ
"งามทนต์กลนิลเจียระไน" ค่ะ  

จำได้ว่าบุษบาและอิเหนากินหมากด้วยกันทั้งคู่ แต่ฟันดำหรือแดงไม่ทราบ

คนโบราณมียาสำหรับสีฟัน เรียกว่า "ชี่"   ใช้ถูไปมาให้ฟันดำขลับขึ้นเงา  ถือว่าฟันดำทำให้หน้าตาคมขำ ไม่จืดชืด
โชคดีที่คุณแค่ลองหมากแล้วฝาด  บางคนเคี้ยวเข้าไปคำเดียวเกืดอาการ "ยันหมาก " คือเวียนตัว น้ำลายไหล น้ำตาร่วงพรู  เหมือนแพ้ยาบางอย่างเลยละค่ะ
ส่วนคนที่ฟันหลุดหัก โหว่ไป  เขามีฟันปลอมทำด้วยกะลาเผาไฟจนดำ เจียนให้เหมือนฟัน ใส่แทนค่ะ


กระทู้: การกินหมากของคนแก่คนเฒ่ามีมาแต่สมัยใดคะ
เริ่มกระทู้โดย: B ที่ 12 พ.ย. 00, 23:44
There is an article in "Sarakadee" about three years ago abouty this ka.