เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: jilkung ที่ 15 มิ.ย. 14, 12:16



กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 15 มิ.ย. 14, 12:16
ผมอยากทราบว่า ในสมัยนั้นเวลาที่จะพระราชทานนามสกุลให้ใคร จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ เเล้วถ้าไม่ จะมีใบประกาศนียบัตรหรือหลักฐานหรือไม่ครับขอบคุณครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 15:24
ในหนังสือ นามสกุลพระราชทาน๖๔๓๒สกุล รวบรวมโดย เทพ สุนทรศารทูล ปรากฏในคำนำตอนหนึ่งระบุว่า นามสกุลพระราชทานนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่เท่าใด มีผลใช้ได้เมื่อไร มีหลักฐานปรากฏอยู่ทั้งหมด

ในหนังสือดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในระยะแรกๆที่เริ่มพระราชทาน มักจะเป็นพระราชหัตถเลขาทรงมีไปยังผู้ที่ได้รับราชทาน ทรงอรรถาธิบายที่มาที่ไปถึงความหมายนามสกุลนั้นๆโดยพิศดาร และเมื่อพระราชทานนามสกุลแก่ผู้ใดไปแล้ว เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ก็รับพระบรมราชโองการนำลงพิมพ์ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆไป


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 15:44
ต่อมาเมื่อมีผู้ขอพระราชทานนามสกุลมากขึ้น พระราชหัตถเลขาจะสั้นลงๆ จนในที่สุดจะเป็นแบบที่เขียนซ้ำๆกันโดยอาลักษณ์ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วจึงพระราชทานใบนามสกุลนั้นไปยังผู้ขอ

สำหรับกระทรวงมรุธาธรก็มีหน้าที่รวบรวมบัญชีนามสกุลต่างๆเหล่านั้น ทำประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่_ คราวหนึ่งๆนับสิบนับร้อยนามสกุล ลงพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาต่อไป
จนท้ายรัชสมัย หลังประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๙๘แล้ว มีการพระราชทานนามสกุลน้อยลง ปรากฏบัญชีนามสกุลพระราชทานคราวหนึ่งๆเพียงสองสามนามสกุล บางประกาศมีเพียงนามกุลเดียวก็มี


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:03
คุณนวรัตน์ พอมีราชกิจจาฯในส่วนทีล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ทรงพระราชทานนามสกุลให้ขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ที่พระราชทานนามสกุลว่า"รัตนากร"หรือไม่ครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:06
^
ขอต่อตรงนี้ก่อนนะครับ

ในรัชกาลที่๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯได้พระราชทานนามสกุลให้บางราชสกุลที่ตกหล่น ยังไม่ได้รับพระราชทานในรัชกาลที่แล้ว ปรากฏใน ประกาศพระราชทานนามสกุล ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่๔๖ หน้า๘๔ วันที่๗ กรกฏาคม ๒๔๗๒ หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏอีก

สมัยรัชกาลที่๘ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชนามสกุลแก่ผู้ใด ไม่ว่าโดยพระองค์เองหรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้กระทำไปภายใต้พระปรมาภิไธย

รัชกาลที่๙ มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลให้กับสามัญชนอย่างน้อย ๘ นามสกุล แต่ไม่ปรากฏต่อสาธารณะว่ามีพระราชหัตถเลขาพระราชทานหรือจะเป็นเพียงใบแจ้งกำกับมาให้ด้วยหรือไม่ อย่างไร และในหนังสือนามสกุลพระราชทานของคุณเทพ สุนทรศารทูล แม้จะรวบรวมนามสกุลเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ก็มิได้อ้างหลักฐานจากราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:16
รัตนากร ไม่ใช่นามสกุลพระราชทาน แต่เป็นนามสกุลที่ตั้งจากราชทินนามของขุนรัตนากร(ปล้อง  รุปปปติรัตน์)  ค่ะ
เมื่อ ๒ พฤษภาคม  ๒๔๘๕
http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=3350.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=3350.0)

เพราะนามสกุลนี้มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นในพ.ศ. ๒๔๘๕  มั้ง ลูกหลานจึงเข้าใจว่าได้รับพระราชทานในรัชกาลที่ ๘


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:20
คุณนวรัตน์ พอมีราชกิจจาฯในส่วนทีล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ทรงพระราชทานนามสกุลให้ขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ที่พระราชทานนามสกุลว่า"รัตนากร"หรือไม่ครับ

นามสกุล "รัตนากร" ของขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เป็นนามสกุลจากราชทินนามซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๘ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔  ;D


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:24
ขุนรัตนากร(ปล้อง  รุปปปติรัตน์)  กับขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เป็นญาติกันหรือเปล่าคะ
นามสกุล รัตนากร มาจากราชทินนามของท่านใดกันแน่


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:33
ท่านขุนทั้งสองไม่ใช่ญาติกันดอก แต่เป็นการบังเอิญที่มีนามสกุลเดียวกัน ขุนรัตนากรขอพระบรมราชานุญาตก่อน ส่วนขุนจรูญรัตนากรขอทีหลัง

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว  ๒ พฤษภาคม  ๒๔๘๕

๑.ขุนเนาเนื่องประดาง(อยู่  เนื่องกริ่ม) -เนาเนื่องประดาง
๒.ขุนรัตนากร(ปล้อง  รุปปปติรัตน์) -รัตนากร
๓.นายพันโท  หลวงไกรสงคราม(แหยม  เคหะดิสส์) -ไกรสงคราม
๔.ขุนทำนุกอนามัย(ทองสุก  สุวรรณจูฑะ) -อนามัย
๕.ขุนประณุทนรพาล(เปรม  บุณยะตุลานนท์) -ประณุทนรพาล
๖.นายนาวาโท  หลวงอธึกโยธิน  ร.น. (ผัน  กาญจนะวาจ) -อธึกโยธิน  
๗.หลวงสุธรรมานุวัฒน์(เสน่ห์  สุขะลักษณะ) -สุธรรมานุวัฒน์
๘.นายพันเอก  หลวงจำรัสโรมรัน(จำรัส  รมยะบุรุษ) -จำรัสโรมรัน
๙.ขุนประดิษฐโอสถการ(ลอย  พลายนันท์) -ประดิษฐโอสถ
๑๐.นายพันโท  หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ(สวัสดิ์  คุรุพันธ์) -สวัสดิ์ฤทธิรณ

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ในคราว  ๔  สิงหาคม  ๒๔๘๕  ตอนที่ ๒

๕๑.นายแก้ว  สุขพันธ์(ขุนเสถียรสุขพันธ์) -เสถียรสุขพันธ์
๕๒.นายเซียง  สุริยะ(หลวงรักส์อรรคธน) -อรรคธน
๕๓.นายร้อยตรี เจียง  กลรักส์(หมื่นยุทธกิจชำนาญ) -ยุทธกิจชำนาญ
๕๔.นายร้อยเอก เอิบ  ไกรบูรน์(ขุนไตรตรวจพล) -ไตรตรวจพล
๕๕.นายคำ  รัตนจันทร(หลวงพินิจพนมเขตต์) -พนมเขตต์
๕๖.นายฟอง  รสานนท์(พระยุติกรดำรงสิทธิ์) -ดำรงสิทธิ์
๕๗.นายแปลก  วสุรักขะ(ขุนประชิตพาลพ่าย) -ประชิตพาลพ่าย
๕๘.นายลี  เอี้ยงรักขะ(ขุนจรูญรัตนากร) -รัตนากร   (นามสกุลนี้ซ้ำกับนามสกุลที่ได้มีผู้อื่นขอมาก่อนแล้ว)
๕๙.นายประธาน  นุตกุล(หลวงประทานคดีสาสตร์) -ประทานคดีสาสตร์
๖๐.นายพันตำรวจตรี คอน  ตันตสิงห์(หลวงภักดีรนชิต) -ภักดีรนชิต

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 16:34
หมายความว่า นามสกุลรัตนากร ใช้ซ้ำกันได้    ทางการอนุญาต?


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 17:05
อ้างถึง
สมัยรัชกาลที่๘ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชนามสกุลแก่ผู้ใด ไม่ว่าโดยพระองค์เองหรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้กระทำไปภายใต้พระปรมาภิไธย

ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
อ้างถึง
นามสกุล "รัตนากร" ของขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เป็นนามสกุลจากราชทินนามซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๘ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔  ยิงฟันยิ้ม

ก็จริงครับ แต่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ตามนัยแห่งกฏหมายดังกล่าว ก็ไม่ได้ความว่านามสกุลนั้นๆเป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่๘ หรือผู้สำเร็จราชการอยู่ดี ก็เพียงใช้บรรดาศักดิ์เป็นนามสกุลได้ตามสิทธิ์เท่านั้น


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 15 มิ.ย. 14, 18:02
(เจ้าของกระทู้) ก่อนอื่นผมคงต้องบอกก่อนนะครับว่านามสกุล"รัตนากร"มาจาก ขุนรัตนากร(ปล้อง  รุปปปติรัตน์) นั้นเป็นคนละอันกับรัตนากร ที่มาจากขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เนื่องจากผมซึ่งมีสกุลดังกล่าว ส่วนตัวไม่ได้เป็นญาติกับขุนรัตนากร(ปล้อง  รุปปปติรัตน์)เลยเเม้เเต่น้อย เเต่ที่ซ้ำกันน่าจะซ้ำกันโดยบังเอิญ ส่วนที่ผมพยายามถามว่าเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 8 หรือไม่นั้น ส่วนตัวผมได้ค้นคว้าจากหนังสือในหนังสือ นามสกุลพระราชทาน๖๔๓๒สกุล รวบรวมโดย เทพ สุนทรศารทูล นั้นผมพบว่านามสกุล รัตนากรซึ่งเป็นนามสกุลที่ผมใช้อยู่ปัจจุบันนั้น เป็นนามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 8 ซึ่งเขียนไว้ชัดเจน จริงๆมีนามสกุลอื่นอีกมากมาย เเต่ที่ผมค้นเจอนั้นหนังสือเล่มดังกล่าวเขียนว่า พระราชทานเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2485 ขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พระราชทานนามสกุลว่า"รัตนากร" หนังสือดังกล่าวเขียนเช่นนี้นะผมเลยคิดว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน เพราะในเล่มดังกล่าวเขียนรูปเเบบเฉกเช่นเดียวกันกับ นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทุกประการ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 20:05
การเข้ามาเห็นคคห.ของคุณjilkung ทำให้ผมต้องรีบกลับไปหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอีกครั้ง


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 20:13
ในเล่มของผมนั้น(เข้าใจว่าเป็นการพิมพ์ครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ดวงแก้ว ไม่ระบุพ.ศ.) ไม่มีการกล่าวถึงนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่๘เลยครับ
โปรดสังเกตุ นามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่๗นั้น อยู่ในหน้า ๙๒๑


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 20:15
พอพลิกมาหน้า๙๒๒ ก็เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่๙แล้ว ข้ามรัชกาลที่๘ไป เพราะไม่มี
และไม่มีหน้าใดในเล่มเหมือนกับที่ท่านเจ้าของความเห็นนำมาแสดงไว้เลย


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มิ.ย. 14, 20:26
อย่างไรก็ดี ในหน้าสุดท้าย คุณเทพได้เขียนจดหมายเหตุไว้
ความสำคัญอยู่บนที่ผมขีดเส้นใต้

คุณเทพได้กล่าวถึงนามสกุลเหล่านั้นว่านามบรรดาศักดิ์ ไม่ได้ใช้คำว่านามสกุลพระราชทานแต่อย่างใด
โดยข้อเท็จจริงก็คือ เจ้าของนามสกุลได้ขอเปลี่ยนไปใช้เอง มิได้พระราชทานลงมา

ผมจึงแปลกใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นหลักฐานตามที่เจ้าของความเห็นนำเสนอ งงจริงๆครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 15 มิ.ย. 14, 21:13
ถ้าเช่นนั้นคุณเนาวรัตน์ ครับเดี่ยววันพรุ้งนี้ผมไปมหาวิทยาลัยสีชมพู เเล้วผมจะถ่ายรูปหนังสือเล่มที่ตีพิมพ์ปัจจุบันมาให้คุณเนาวรัตน์ดู เเล้วเรามาคุยกันต่อนะครับ ผมคิดเห็นว่าอาจพึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งหลังสุดนะครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 14, 21:17
ดิฉันคิดว่า หนังสือของคุณเทพฉบับที่คุณเจ้าของกระทู้นำมาแสดงนั้น น่าจะมีเนื้อหาผิดพลาดคลาดเคลื่อน  จะด้วยความเข้าใจผิดของคุณเทพเองหรือจากสาเหตุอื่นใด ยังไม่ทราบ
โปรดดูข้อความที่ขีดเส้นแดงข้างล่างนี้นะคะ
นามสกุล นีละสุนทร   วณิชาชีวะ และ ณ นคร  ล้วนแต่เป็นนามสกุลพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6    ไม่มีเหตุผลใดที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8  จะต้องมาพระราชทานนามสกุลซ้ำอีก
นอกจากนี้ ขุนโยธีฯและขุนรอนรานฯ ก็คือผู้ขอพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6 เอง     ท่านใช้นามสกุลเดิมได้อยู่แล้วจะต้องมาขอพระราชทานนามสกุลใหม่ทำไมกัน    แต่ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนไปใช้ราชทินนามจากบรรดาศักดิ์เป็นนามสกุล  ข้อนี้ก็พอเข้าใจได้  ขุนนางสมัยนั้นก็ทำกันอยู่มากมาย ตามที่เล่าไว้ในกระทู้นี้


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มิ.ย. 14, 09:14
ประกาศกระทรวงมหาดไทย (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/033/1346.PDF)ให้ ขุนรัตนากร (ปล้อง รุปปติรัตน์) ใช้ชื่อสกุลว่า "รัตนากร"  ;D


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มิ.ย. 14, 09:32
ประกาสกะซวงมหาดไทย  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/054/1922.PDF) ให้ นายลี เอี้ยงรักขะ (ขุนจรูญรัตนากร) ไช้ราชทินนามเปนชื่อสกุลว่า "รัตนากร"  ;D


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มิ.ย. 14, 09:40
เป็นไปได้ไหม    คุณเทพตีความว่า
1  บรรดาศักดิ์เป็นสิ่งที่โปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ขุนนาง     เมื่อนำราชทินนามจากบรรดาศักดิ์มาใช้เป็นนามสกุลก็ถือว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน
2  ประกาศกะซวงมหาดไทยข้างบนนี้  คุณเทพตีความว่า พระราชทานพระบรมราชานุญาต  คือ พระราชทาน ประเภทหนึ่ง  

ในการพิมพ์หนังสือครั้งหลัง( ที่คุณเจ้าของกระทู้ไปได้มา )   คุณเทพก็เลยนับนามสกุลจากราชทินนามของบรรดาศักดิ์เข้าเป็นนามสกุลพระราชทานด้วย
ทำให้เกิดมีนามสกุลพระราชทาน 2 ประเภท  คือนามสกุลพระราชทานโดยตรง  กับนามสกุลจากราชทินนามของบรรดาศักดิ์พระราชทาน
และผลจากที่นับแบบนี้ ก็คือทำให้บุคคลจำนวนมากมีนามสกุลพระราชทาน 2 นามสกุลซ้อน  ซึ่งตามความจริงแล้วไม่ใช่  


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 10:00
เห็นจะต้องรอคุณjilkung ให้ขยายความในรายละเอียดของหนังสือที่อ้างอิงอีกครั้ง

โดยส่วนตัว ผมมีโอกาสรู้จักคุณเทพ ที่ผมเรียกโดยให้เกียรติท่านว่าคุณอา ในฐานะที่เคยทำงานในคณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชนุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกัน ได้พูดคุยสนทนาขอความรู้จากท่านมากมายพอสมควร ก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรมนานมาแล้ว

ถ้าข้อความในหนังสือที่ว่า เขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยตัวท่านจริงๆในการพิมพ์ครั้งหลังๆ ผมก็ยืนยันคำที่ผมเขียนไปแล้วว่างงมาก งงจริงๆครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มิ.ย. 14, 11:24
เป็นการผสมผสานข้อมูลกันระหว่าง

- การตั้งนามสกุลให้ กับ การให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งนามสกุลจากการรวมชื่อบิดา ชื่อมารดา ชื่อลักษณะงานที่ทำ มาตั้งและพระราชทานนามสุกลให้ ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่มีราชทินนามที่ได้รับพระราชทานอยู่แล้ว ทรงประทานมาให้เพื่อเป็นนามสกุล


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 16 มิ.ย. 14, 15:47
วันนี้หลังจากผมเลิกเรียนผมก็ได้มาเข้าห้องสมุดที่จุฬาฯ เเละได้ค้นหาข้อมูลอีกครั้งจากหนังสือ นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6,7,8และ9  ของคุณเทพ สุนทรศารทูล ได้ความดังนี้ ในหนังสือนั้นคำนำได้เขียนในส่วนสมัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่8 ว่าพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 เเละได้มีการจัดหมวดหมู่สกุลโดยเขียนว่า นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่8 ชัดเจน ซึ่งผมคิดว่าท่านผู้เขียนน่าจะหมายถึงนามสกุลพระราชพระบรมราชานุญาตให้ใช้จากราชทินนาม เเบบนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ อันนี้รูปประกอบครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 16 มิ.ย. 14, 15:57
รูปครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 16 มิ.ย. 14, 15:58
รูปครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มิ.ย. 14, 16:35
วันนี้หลังจากผมเลิกเรียนผมก็ได้มาเข้าห้องสมุดที่จุฬาฯ เเละได้ค้นหาข้อมูลอีกครั้งจากหนังสือ นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6,7,8และ9  ของคุณเทพ สุนทรศารทูล ได้ความดังนี้ ในหนังสือนั้นคำนำได้เขียนในส่วนสมัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่8 ว่าพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 เเละได้มีการจัดหมวดหมู่สกุลโดยเขียนว่า นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่8 ชัดเจน ซึ่งผมคิดว่าท่านผู้เขียนน่าจะหมายถึงนามสกุลพระราชพระบรมราชานุญาตให้ใช้จากราชทินนาม เเบบนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ อันนี้รูปประกอบครับ
ดิฉันเข้าใจอย่างเดียวกับคุณค่ะ

คุณเทพรวมนามสกุลที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เข้าเป็นนามสกุลพระราชทาน เหมือนนามสกุลที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานโดยตรง
ซึ่งนามสกุลจากราชทินนามควรจะแยกออกมาต่างหาก   เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มิ.ย. 14, 16:45
ลักษณะของนามสกุลพระราชทาน  กับนามสกุลจากราชทินนาม มีลักษณะต่างกัน เพราะที่มาต่างกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าโปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุล   ทรงรวบรวมจากชื่อของบรรพบุรษของผู้ขอ   อาชีพการงานของบรรพบุรุษหรือตัวผู้ขอเอง   ถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ขอ  แล้วผูกศัพท์เหล่านั้นขึ้นเป็นนามสกุล
ส่วนราชทินนาม เป็นชื่อที่บอกถึงหน้าที่การงาน คุณสมบัติ และขอบเขตความรับผิดชอบงานของเจ้าของราชทินนาม   ไม่ได้บอกถึงบรรพบุรุษ หรือที่มาของเจ้าของราชทินนาม

เมื่อเอามารวมเข้ากันหมด  เลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ค่ะ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 20:36
เป็นอันว่า หนังสือของคุณเทพเป็นคนละเล่มกัน ที่ผมมีน่าจะตีพิมพ์ก่อนเล่มของห้องสมุดจุฬา และวัยของท่านผู้รวบรวมก็คงต่างกันมาก สมัยที่ผมยังเจอะเจอท่านบ่อยๆอยู่นั้นท่านก็ชราภาพมากอยู่ ตอนตีพิมพ์ครั้งหลังก็น่าจะชรายิ่งขึ้นไปอีก ผมเองในวัยปัจจุบันยังหลงๆลืมๆขนาดนี้ พอวัยเท่าท่านจะยิ่งหนักขึ้นแค่ไหนก็พอจะเดาได้

ความจริงเท่าที่ท่านอาจารย์เทาชมพูได้แสดงความเห็นไปก็น่าจะกระจ่างแจ้งแล้ว แต่ความเห็นในล้อมกรอบข้างล่างนี้จะปล่อยไปก็กระไรอยู่ เพราะสำแดงมาโดยคุณหนุ่มสยามซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัตนะคนหนึ่งในวงการประวัติศาสตร์ในโลกอินเทอเน็ท ไม่ใช่อสุรผัดที่นานๆจะแวะเข้ามา
อ้างถึง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งนามสกุลจากการรวมชื่อบิดา ชื่อมารดา ชื่อลักษณะงานที่ทำ มาตั้งและพระราชทานนามสุกลให้ ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่มีราชทินนามที่ได้รับพระราชทานอยู่แล้ว ทรงประทานมาให้เพื่อเป็นนามสกุล


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 20:44
ไม่ทราบว่าได้อ่านกระทู้ตั้งแต่ต้นหรือเปล่า แต่ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็ต้องขออภิปรายต่อกันหน่อย ที่ว่ารัชกาลที่แปดท่านพระราชทาน(ราชทินนาม)มาให้เป็นนามสกุลนั้น สมควรที่จะให้ความเข้าใจเช่นนี้ขยายต่อไปหรือไม่

ก่อนอื่น ด้วยความเคารพต่อบรรดาผู้ที่ใช้ราชทินนามของตัวต้นสกุลเป็นนามสกุลทุกท่าน ผมมิได้หมายว่าจะเปรียบเทียบนามสกุลของท่านว่าจะดีจะด้อยกว่านามสกุลอื่นใดในประเทศไทยแต่อย่างใด เพียงแต่อยากจะเล่าประวัติศาสตร์การเมืองสมัยโน้นเพราะบังเอิญมันเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองปี๒๕๗๕แล้วนั้น  บรรดาศักดิ์ของข้าราชการทั้งหลายทั้งปวงบรรดามีก็ถูกหยุดไว้ คือใครมีราชทินนามอะไรก็คงไว้เช่นนั้น ไม่เลื่อนจากบรรดาศักดิ์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และไม่มีการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นใหม่
แต่กว่าบรรดาศักดิ์จะได้ถูกยกเลิกไปจริงๆ ก็เพราะประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งรัฐบาลจอมพลหลวงพิบูลสงครามเสนอให้คณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ลงพระนามในปี๒๔๘๔  หรืออีกเกือบสิบปีต่อมา

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านั้น อยู่ดีๆจอมพลหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและสมัครพรรคพวกในคณะราษฎรรวม๒๑คน ได้ทำหนังสือขอลาออกจากบรรดาศักดิ์ ผู้คนงุนงงกันอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ หลังจากนั้นเพียง๔วันท่านก็ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้บัญญัติกฎหมายยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทยที่ใช้กันในสมัยราชาธิปไตยเสีย เพราะบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว สมควรสถาปนา"ฐานันดรศักดิ์"ขึ้นใหม่แทน และเพื่อให้ทันสมัยตามแบบฝรั่ง ที่เขามีบุคคลระดับดยุค มาควิส เคานท์ บารอน ฯลฯ โดยของไทยจะให้เป็น สมเด็จเจ้าพญา ท่านเจ้าพญา เจ้าพญา ท่านพญา ฯลฯ ส่วนภรรยาของท่านเหล่านั้นให้เติมคำว่า"หญิง"ไว้ข้างท้าย เช่น สมเด็จเจ้าพญาหญิง ท่านพญาหญิง เป็นต้น ในที่ประชุม หนึ่งในคณะรัฐมนตรีคือหลวงวิจิตรวาทการได้เสริมท่านผู้นำ โดยเสนอให้มีคำว่า “แห่ง” (of) แล้วต่อท้ายด้วยชื่อแคว้นหรือเมืองด้วย หลวงพิบูลและท่านผู้หญิงของท่าน จะเรียกว่า สมเด็จเจ้าพญาและสมเด็จหญิงแห่งแคว้น...  คนอื่นๆในคณะรัฐมนตรีและคู่ครองก็จะเป็น พญาและพญาหญิงแห่งเมือง... เป็นต้น ฐานันดรใหม่นี้จะจัดให้แก่บรรดารัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพาย เช่น ผู้ได้รับพระราชทานสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ จะได้เป็น"สมเด็จเจ้าพญาแห่ง..."  และให้ตกทอดถึงทายาท สามารถสืบสันตติวงศ์ได้เหมือนในยุโรปด้วย


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 20:51
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ นั้น แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเพื่อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ โดยผู้ที่ได้รับระดับสายสะพายส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านายที่อาวุโสจริงๆ แต่สมัยที่นักการเมืองสั่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ ปรากฏว่า จอมพลหลวงพิบูลสงครามได้รับพระราชทานในพระปรมาภิไธยรัชกาลที่๘ด้วย

เรื่องนี้ต้องอ่านคำให้การตอนหนึ่งของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หนึ่งในสองคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ยังเหลืออยู่ หลังจากที่ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ทรงปลงพระชนม์ตัวเองจากความกดดันที่ถูกรัฐบาลบังคับ พระองค์อาทิตย์ทรงเป็นพยานโจทก์ในคดีอาชญากรสงครามที่จอมพล ป.เป็นจำเลยหลังสงครามโลกยุติ เราจึงได้ทราบเรื่องแบบที่เรียกว่า"น้ำลดตอผุด"



กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 21:03
เหตุการณ์ในที่ประชุมค.ร.ม.คราวนั้น หลวงพิบูลคาดไม่ถึงว่าจะมีผู้ใดกล้าคัดค้าน แต่กลับปรากฏว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้นำ กล่าวโต้ว่าหลักการนี้ขัดต่ออุดมคติของคณะราษฎร แล้วรัฐมนตรีผู้ก่อการสายพลเรือนจำนวนหนึ่งก็เข้าร่วมแสดงความไม่เห็นด้วย โต้เถียงกันไปมาหลวงพิบูลเกิดความไม่พอใจ ตัดบทให้ที่ประชุมเลือกเอาสองทาง คือทางหนึ่งตกลงตามแผนสถาปนาฐานันดรนครเจ้าศักดินาอย่างใหม่ หรือทางที่สองก็ให้ลอกคราบศักดินาเดิม คือเวนคืนบรรดาศักดิ์ที่ใช้อยู่ของทุกคน  คณะรัฐมนตรีลงมติเสียงข้างมากเลือกเวนคืนบรรดาศักดิ์เดิม ให้กลับไปเป็นนายกันใหม่ หลวงพิบูลครั้นเห็นว่าแพ้แล้วแต่ด้วยความอาลัยอาวรณ์ราชทินนาม จึงเสนอใหม่ว่า แม้เมื่อเวนคืนบรรดาศักดิ์เก่าแล้ว ผู้ใดจะใช้ชื่อและนามสกุลเดิมก็ได้ หรือจะเปลี่ยนนามสกุลตามชื่อบรรดาศักดิ์ที่เป็นอยู่ก็ได้ ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง

คณะรัฐมนตรีจึงร่างพระราชบัญญัติส่งผ่านสภา และนำเสนอคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ลงพระนาม มีเนื้อความโดยสรุปว่า

"...ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติในมาตรา ๑๒ ว่า ฐานันดรศักดิ์ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และได้มีการแก้ไขดัดแปลงยศและตำแหน่งให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญแล้วนั้น  แต่บรรดาศักดิ์ยังไม่ได้แก้ไข   ได้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่นั้น  ไม่ได้ทำให้บุคคลได้รับผลทางกฎหมายต่างกันแต่อย่างใด  จึงได้มีผู้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้  ยังมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ที่ยังไม่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ดูลักลั่นไม่เป็นระเบียบ   ทั้งทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จึงเห็นสมควรแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น  ด้วยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วเสีย เพื่อเป็นตามบทบัญญัติมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญ

จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศว่า  ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่ได้พระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันที่มีประกาศนี้ทุกคน

ถ้าผู้ใดที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ของตนไว้ด้วยเหตุผลเฉพาะตน  ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา  เมื่อได้รับพิจารณาสมควรแล้ว  ก็สามารถอยู่ในบรรดาศักดิ์ได้ต่อไป

อนึ่งถ้าผู้ใดมีประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล  เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีงามในราชการของตนเองนั้น  และเพื่อสวัสดิมงคลของตนและครอบครัว  ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นโดยมาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ


โปรดอ่านให้ดีนะครับ ผู้ที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา ส่วนผู้ที่ประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล ก็เพียงแต่มาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ

หลวงพิบูลสงครามได้เปลี่ยนนามสกุลจากขีตตะสังคะซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่๖ ไปเป็นจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แต่ชอบจะเขียนย่อว่า ป. พิบูลสงคราม คนจึงเรียกว่าจอมพลปอ แต่รัฐมนตรีส่วนหนึ่งกลับไปใช้ชื่อและนามสกุลเดิม เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้กลับไปเป็นนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 21:07
ถามว่า การได้มาซึ่งนามสกุลเช่นพิบูลสงคราม ฯลฯ ครั้งนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโดยพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๘ หรือแม้แต่เป็นความเห็นของคณะผู้สำเร็จราชการที่แผ่นดินในพระปรมาภิไธยจะประสาทลงมา หรือบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้กำหนดเอง

ก่อนที่ท่านจะตอบตนเอง ผมขอให้อ่านคำให้การตอนหนึ่งของพลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส อดีตเพื่อนรักของจอมพล ป. ซึ่งให้การไว้ที่ศาลในคดีเดียวกัน (หมายเหตุ-นายปรีดี เข้ามาร่วมคณะผู้สำเร็จราชการเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ถึงแก่อนิจกรรม)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 21:18
โดยสรุป สำหรับผม ไม่ว่าในหนังสือของคุณเทพ สุนทรศารทูลจะกล่าวไว้อย่างไร นามสกุลที่มาจากราชทินนามตามบรรดาศักดิ์อาจใช้ว่าได้รับพระบรมราชานุญาตได้ตามนัยแห่งกฏหมายที่ออกโดยรัฐบาลสมัยนั้น โดยคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกระทำแทนในพระปรมาภิไธย แต่ไม่ใช่นามสกุลพระราชทานโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจากพระมหากษัตริย์เอง หรือกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 16 มิ.ย. 14, 21:28
ขอบคุณคุณเนาวรัตน์ มากๆเลยครับได้อ่านข้อมูลที่ทรงคุณค่ามากๆเลยครับ ขอบคุณทุกๆคนที่ได้ให้ความรู้ในครั้งนี้ครับ สรุปก็คือนามสกุลดังกล่าวเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 ผมสรุปอย่างงี้ถูกหรือไม่ครับ ตามมิติของกฎหมาย


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มิ.ย. 14, 21:40
ถูกต้องครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 08:49
สรุปก็คือนามสกุลดังกล่าวเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามมาตรา 14  เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล  พ.ศ. 2484 ผมสรุปอย่างงี้ถูกหรือไม่ครับ ตามมิติของกฎหมาย
ยังไม่ถูกต้องหนอ ตามมิติของกฎหมายเป็นดังนี้

นามสกุล "รัตนากร" ของขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เป็นนามสกุลจากราชทินนามซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๘ ตามมาตรา ๑๘  แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล  พุทธศักราช ๒๔๘๔

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5992.0;attach=48955;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 08:58
คณะรัฐมนตรีจึงร่างพระราชบัญญัติส่งผ่านสภา และนำเสนอคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ลงพระนาม มีเนื้อความโดยสรุปว่า

"...ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติในมาตรา ๑๒ ว่า ฐานันดรศักดิ์ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และได้มีการแก้ไขดัดแปลงยศและตำแหน่งให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญแล้วนั้น  แต่บรรดาศักดิ์ยังไม่ได้แก้ไข   ได้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่นั้น  ไม่ได้ทำให้บุคคลได้รับผลทางกฎหมายต่างกันแต่อย่างใด  จึงได้มีผู้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้  ยังมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ที่ยังไม่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ดูลักลั่นไม่เป็นระเบียบ   ทั้งทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จึงเห็นสมควรแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น  ด้วยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วเสีย เพื่อเป็นตามบทบัญญัติมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:10
แล้วที่ถูกเป็นฉันใดหนอ  คุณเพ็ญชมพู


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:15
^
เป็นไปตาม ความคิดเห็นที่ ๓๖ หนอ

(ต่อ)

จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศว่า  ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่ได้พระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันที่มีประกาศนี้ทุกคน

ถ้าผู้ใดที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ของตนไว้ด้วยเหตุผลเฉพาะตน  ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา  เมื่อได้รับพิจารณาสมควรแล้ว  ก็สามารถอยู่ในบรรดาศักดิ์ได้ต่อไป

อนึ่งถ้าผู้ใดมีประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล  เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีงามในราชการของตนเองนั้น  และเพื่อสวัสดิมงคลของตนและครอบครัว  ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นโดยมาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:29
NAVARAT.C
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 35  
 ถูกต้องครับ

ขอย้ายคคห.ข้างบนลงมาไว้ตรงนี้หนอ
ขอบคุณคุณเพ็ญที่ทักท้วงหนอ

ขอโทษคุณjilkungด้วย ที่ตอนบอกถูกต้องครั้งนั้นประมาทเล่นเล่อ ไม่ได้ย้อนไปตรวจตัวบทให้เรียบร้อยก่อนเพราะดึกแล้ว ชักง่วงนอน


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:36
ผมขอให้อ่านคำให้การตอนหนึ่งของพลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส อดีตเพื่อนรักของจอมพล ป. ซึ่งให้การไว้ที่ศาลในคดีเดียวกัน (หมายเหตุ-นายปรีดี เข้ามาร่วมคณะผู้สำเร็จราชการเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ถึงแก่อนิจกรรม)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5992.0;attach=49000;image)

รายละเอียดของเหตุการณ์ คุณปรีดีเล่าไว้ในหนังสือ "บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์" ดังนี้

...ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ จอมพล ป. ได้ยื่นใบลาออกตรงมายังประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจอมพล ป. ก็ได้ลาออกจากทำเนียบสามัคคีชัย ไม่รู้ว่าไปไหนชะรอยพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯจะทรงทราบว่า จอมพล ป. ต้องการลาออกจริงเพื่อปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ พระองค์จึงส่งใบลาจอมพล ป. มาให้ข้าพเจ้าพิจารณา  ข้าพเจ้าจึงเขียนความเห็นในบันทึกหน้าปกใบลานั้นว่า ‘ใบลานั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว อนุมัติให้ลาออกได้’ ข้าพเจ้าลงนามไว้ตอนล่าง ทิ้งที่ว่างตอนบนไว้เพื่อให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทรงลงพระนาม ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระนาม

ข้าพเจ้าเชิญนายทวี  บุณยเกตุ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาถามจอมพล ป. จะจัดการปรับปรุงรัฐบาลหรืออย่างไร? ก็ได้รับคำตอบว่า คงจะปรับปรุงรัฐบาล และตามหาตัวจอมพล ป. ก็ยังไม่พบ แต่เมื่อคณะผู้สำเร็จราชการฯ ส่งคำอนุมัติใบลาออกของจอมพล ป. แล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชากรมโฆษณาการอยู่ด้วยก็ให้วิทยุของกรมนั้นประกาศการลาออกของจอมพล ป.

ฝ่ายจอมพล ป. ขณะนั้นจะอยู่ที่แห่งใดก็ตาม เมื่อได้ฟังวิทยุกรมโฆษณาการประกาศการ ลาออกเช่นนั้นแล้ว  ก็แสดงอาการโกรธมากครั้นแล้วได้มีนายทหารจำนวนหนึ่งไปเฝ้าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งท่านผู้นี้ประทับอยู่ขณะนั้น ขอให้จัดการเอาใบลาออกคืนให้จอมพล ป.

เป็นธรรมดาเมื่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เห็นอาการของนายทหารเหล่านั้นจึงตกพระทัยเพราะไม่สามารถเอาใบลาคืนให้จอมพล ป. ได้ ฉะนั้นพระองค์พร้อมด้วยหม่อมกอบแก้ว ชายาได้มาที่ทำเนียบที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำใกล้ท่าช้างวังหน้า ขออาศัยค้างคืนที่ทำเนียบ  ข้าพเจ้าจึงขอให้เพื่อนทหารเรือช่วยอารักขาข้าพเจ้าด้วย เพื่อนทหารเรือได้ส่งเรือยามฝั่งในบังคับบัญชาของ ร.อ. วัชรชัย  ชัยสิทธิเวช ร.น. มาจอดที่หน้าทำเทียบของข้าพเจ้า ฝ่าย พ.ต. หลวงราชเดชา ราชองครักษ์ประจำตัวข้าพเจ้า และ พ.ต. ประพันธ์  กุลวิจิตร ราชองครักษ์ประจำองค์พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ก็มาร่วมให้ความอารักขาด้วย

เราสังเกตดูจนกระทั่งเวลาบ่ายของวันรุ่งขึ้นก็ไม่เห็นทหารบกหรืออากาศมาคุกคามประการใด ดังนั้นพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ กับหม่อมกอบแก้ว จึงกลับไปพระที่นั่งอัมพรสถาน

จากการที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีได้ลงพระนามและลงนามอนุมัติให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการก็ได้ออกอากาศให้รู้กันทั่วไป อันเป็นการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องตามแบบแผนทุกประการ แต่ไม่ถูกใจจอมพล ป. เพราะเจตนาการลาออกของจอมพล ป. ก็เพื่อหยั่งเชิงการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบนโปเลียน ด้วยคาดคิดว่าคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คงไม่กล้าลงพระนามและลงนามอนุมัติให้ท่านลาออก และถ้าเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับยอมรับในอำนาจเบ็ดเสร็จของท่าน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น อันเป็นสัญญาณบอกให้ท่านรู้ว่าการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จยังมีปัญหา ซึ่งหมายถึงยังมีคนต่อต้านขัดขวาง

เพื่อแก้ปัญหาการต่อต้านขัดขวางการขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ จอมพล ป. จึงอาศัยอำนาจตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตามกฤษฎีกาลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ออกคำสั่งให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีเข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด และให้ไปรายงานตัวต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ซึ่งก็คือท่านจอมพลนั่นเอง) ภายใน ๒๔ ชั่วโมง

พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ รีบไปรายงานตัวทันที ส่วนนายปรีดีไม่ยอมไป โดยให้เหตุผลว่า

“ข้าพเจ้ามีตำแหน่งเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญ ถ้าข้าพเจ้าไปรายงานตัวยอมอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เท่ากับข้าพเจ้าลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีรัฐมนตรีบางนายได้ชี้แจงขอร้องให้จอมพล ป.ถอนคำสั่งที่ว่านั้น ซึ่งจอมพล ป. ก็ได้ยอมถอนคำสั่ง เป็นอันว่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และข้าพเจ้าคงสามารถปฏิบัติภารกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญได้ต่อไป”

หลังจากที่จอมพล ป. ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ก็ทรงลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗  และสิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ข้อมูลจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต โดย คุณสุพจน์ ด่านตระกูล (http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-the-death-of-king-ananda/)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:40
^
จะชวนออกนอกเรื่องไปไกลหน่อยหรือเปล่าหนอ
เอาของแถมที่อยู่ในประเด็นดีกว่ากระมังหนอ
เอามาจากเวปนี้หนอ

http://chatchawan1970.wordpress.com/ (http://chatchawan1970.wordpress.com/)

นามสกุลจากราชทินนาม
นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้งนามสกุลพระราชทาน นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเอง

แต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุนหมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน

ในปี ๒๔๘๔ ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔
ในมาตรา ๑๘ ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า
"มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก ดังนี้

๑. จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
๒. พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
๓. นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์
๔. พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม
๕ พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี
๖. พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
๗. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ
๘. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
๙. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ
๑๐. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร



กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 09:51
^
จะชวนออกนอกเรื่องไปไกลหน่อยหรือเปล่าหนอ
เอาของแถมที่อยู่ในประเด็นดีกว่ากระมังหนอ
เอามาจากเวปนี้หนอ

http://chatchawan1970.wordpress.com/ (http://chatchawan1970.wordpress.com/)
เว็บของคุณชัชวาลย์ไม่ให้เครดิตเจ้าของข้อมูลเลยหนอ

นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก  ทั้งนามสกุลพระราชทาน  นามสกุลประทาน  และนามสกุลที่ตั้งเอง
แต่ยังนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง
ทั้งนี้  การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้  
ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน
เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  
ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

กระทู้นี้  จะได้แสดงข้อมูลนามสกุลเป็นราชทินนาม
ว่าเป็นราชทินนามของขุนนางคนใด  
ก่อนหน้าที่จะใช้นามสกุลนี้เขาใช้นามสกุลอะไรมา

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม16.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 10:00
อ้างถึง
พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
ผมจำได้ว่าท่านผู้นี้เสียดายนามสกุลเดิม จึงได้เอามาผนวกกับราชทินนาม สุดท้ายท่านเป็นพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B5_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B0_%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B9%8C


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 10:10
อ้างถึง
นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
นี่ก็อีกท่านหนึ่ง นามสกุลที่ท่านและบุตรหลานใช้กันคือ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%8D_%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5_%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 10:18
๑๐. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

ชื่อ ป. สมาหาร ผู้ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ความคิดเห็นที่ ๑๘ และ ๑๙

ลองถาม คุณกุ๊ก  (https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5+&hl=th&gbv=2&oq=%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5+&gs_l=heirloom-serp.12...2234.2390.0.3937.2.2.0.0.0.0.94.157.2.2.0....0...1ac.1.34.heirloom-serp..2.0.0.v1fQyCxPiOk) แล้ว ได้ความว่า  ป. ย่อมาจาก โป๊ มิใช่ โป-ระ  คือ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. ๒๔๘๕ คนนี้นี่เอง  ;D


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 14, 11:26
จำนวนนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๙ ในหนังสือของคุณเทพ เวอร์ชันของคุณนวรัตน์มีเพียง ๘ นามสกุล (ซ้าย) แต่ในเวอร์ชันของคุณ jilkung (ขวา) มีถึง ๓๑๒ นามสกุล อาจจะรวมนามสกุลจากราชทินนามเข้าไปด้วยหรือเปล่าหนอ  ???


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 17:00
โอ้ละหนอ คงต้องขอร้องให้คุณjilkungไปถ่ายก็อปปี้นามสกุลเหล่านั้นมาดูกันก่อน จึงจะทราบได้แหละหนอ
ว่าแต่ว่า มาถึงรัชกาลที่๙หลังพ.ศ.๒๕๔๒ มาแล้ว  ยังมีเจ้าคุณขุนหลวงท่านใดที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วยังอยากจะขอเปลี่ยนนามสกุลอีกกระนั้นหรือหนอ

งงอีกแล้วหนอ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 17 มิ.ย. 14, 17:09
ถ้าพี่ๆต้องการเดี่ยวพรุ้งนี้ผมไปม.ถ้าว่างจะไปถ่ายรูปมาให้นะครับ ;)

เอ่อคือใน วิกิพีเดีย ยังไม่ได้มีการเขียนความหมายที่ชัดเจนของนามสกุลที่มาจากราชทินนาม ผมเลยได้เขียนโดยอ้างอิงเวปไซต์ http://chatchawan1970.wordpress.com/ (http://chatchawan1970.wordpress.com/)อันนี้ไม่ทราบว่าได้หรือไม่ครับ อันนี้ครับhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 17:34
อยากทราบมากเลยครับ ปกติผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามสกุลในรัชกาลนี้ จะไม่ประชาสัมพันธ์โอ้อวดให้เอิกเริก ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เครือญาติเช่นพวกเราจะทราบกันก็โดยทางอ้อม คุณเทพนำมารวบรวมไว้เป็นประโยชน์อย่างมาก ขอบคุณที่จะไปถ่ายมาให้ชมครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 17 มิ.ย. 14, 17:41
ที่ผมอ้างอิงเเล้วนำไปเขียนในวิกิพีเดีย พี่เนาวรัตน์ว่า ใช้ได้ไม่ครับ เพราะผมคิดว่าน่าจะยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่านามสกุลที่มาจากราชทินนาม กับนามสกุลพระราชทานนั้นไม่เหมือนกันเช่นไร เช่นผมเป็นต้น


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 18:12
อ้างถึง
ที่ผมอ้างอิงเเล้วนำไปเขียนในวิกิพีเดีย
ผมเข้าไปในวิกี้ตามระโยงที่คุณให้แล้ว ไม่เข้าใจว่าคุณอ้างอิงแล้วนำไปเขียนที่ไหน ว่ากระไร ลองยกทั้งกระบิเอาเข้ามาถามที่นี่ดีกว่าครับ ท่านอาจารย์เทาชมพูน่าจะเป็นผู้ตรวจทานให้ได้ดีที่สุด


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 17 มิ.ย. 14, 18:21
ตามลิงค์นี้ครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1)

เนื้อความดังนี้

นามสกุลจากราชทินนาม นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้งนามสกุลพระราชทาน นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเองแต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุนหมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อนในปี ๒๔๘๔ ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔ ในมาตรา ๑๘ ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า "มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก ดังนี้

๑. จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม

๒. พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส

๓. นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์

๔. พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม

๕ พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี

๖. พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์

๗. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ

๘. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์

๙. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ

๑๐. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

๑๗ พ.ย. ๒๔๘๔
อ้างอิง
http://chatchawan1970.wordpress.com/ (http://chatchawan1970.wordpress.com/)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 14, 18:37
คุณเพ็ญชมพูได้ทักท้วงไว้ว่าคุณชัชวาลย์ไปลอกคุณหลวงเล็กมาโดยไม่แจ้ง

อ้างถึง
อ้างถึง
เว็บของคุณชัชวาลย์ไม่ให้เครดิตเจ้าของข้อมูลเลยหนอ

อ้างจาก: luanglek ที่  10 มิ.ย. 10, 14:28

นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก  ทั้งนามสกุลพระราชทาน  นามสกุลประทาน  และนามสกุลที่ตั้งเอง
แต่ยังนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง
ทั้งนี้  การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้  
ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน
เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  
ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

กระทู้นี้  จะได้แสดงข้อมูลนามสกุลเป็นราชทินนาม
ว่าเป็นราชทินนามของขุนนางคนใด  
ก่อนหน้าที่จะใช้นามสกุลนี้เขาใช้นามสกุลอะไรมา  

[/size]

ดังนั้นคุณเพ็ญชมพูควรจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในเรื่องนี้ ใช่ไหมหนอ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มิ.ย. 14, 09:11
ปุจฉา :
ว่าแต่ว่า มาถึงรัชกาลที่๙หลังพ.ศ.๒๕๔๒ มาแล้ว  ยังมีเจ้าคุณขุนหลวงท่านใดที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วยังอยากจะขอเปลี่ยนนามสกุลอีกกระนั้นหรือหนอ

งงอีกแล้วหนอ

วิสัชนา :
เมื่อ ๒๕๐๕  ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ชื่อบุคคล ๒๕๐๕  โดยกฎหมายฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคลที่มีมาแล้ว  มีมาตราหนึ่งว่า  

"มาตรา ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามของตน ของผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานเป็นชื่อสกุล  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร  แล้วให้นายทะเบียนท้องที่นั้นเสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง

เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาเห็นสมควร   ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล  เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว  จึงให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น   และออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ"

จากกฎหมายฉบับนี้  ทำให้ลูกหลานของขุนนางสามารถยื่นคำร้องขอใช้ราชทินนามของบุพการีในสกุลเป็นชื่อสกุลได้   ซึ่งในการออกกฎหมายชื่อบุคคล ๒๔๘๔  ดูเหมือนจะกำหนดให้เฉพาะเจ้าของราชทินนามเท่านั้นที่สามารถยื่นขอใช้ราชทินนามของตนเป็นชื่อสกุลได้  ส่วนผู้สืบสันดาน กฎหมายในปี ๒๔๘๔ ยังไม่ได้กำหนดอนุญาตให้ยื่นคำขอใช้ได้

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มิ.ย. 14, 09:29
ข้อมูลล่าสุดในราชกิจจานุเบกษา  ;D

นามสกุลที่มาจากราชทินนาม ล่าสุด  จำนวน  ๒  นามสกุล  

นายสถิต  บัวขวัญ  ใช้ราชทินนาม  วิทิตยนตรการ  (ราชทินนามของหลวงวิทิตยนตรการ (ใจ  บัวขวัญ) บิดา)  เป็นนามสกุล    ๒๒/๖/๒๕๔๙

ท่านผู้หญิงวนิดา  อัมระนันทน์  ใช้ราชทินนาม  วิทุรธรรมพิเนตุ  (ราชทินนามของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ  อัมระนันทน์) บิดา)  เป็นนามสกุล    ๙/๑๑/๒๕๕๐


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มิ.ย. 14, 09:54
ดังนั้นคุณเพ็ญชมพูควรจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในเรื่องนี้ ใช่ไหมหนอ
ขอแนะนำคุณ jilkung เรื่องลำดับการเขียน พอเป็นแนวทางดังนี้

๑. นามสกุลจากราชทินนาม มีที่มาอย่างไร  อ้าง พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔   (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/1385.PDF)  

๒. บุคคลที่ขอใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล ๑๐ อันดับแรกเป็นใครบ้าง  อ้าง ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_2.PDF)

๓. การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของพระราชบัญญัติชื่อบุคคล อ้าง พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักกราช ๒๕๐๕  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/A/104/5.PDF)

๔. บุคคลสุดท้ายที่ขอใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล อ้าง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/192/1.PDF)
 
ข้อมูลและการอ้างอิงนอกจากใช้ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ควรสรุปจากเนื้อหาในกระทู้ในเรือนไทย ดังนี้

๑. นามสกุลจากราชทินนาม  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3350.0)

๒. กระทู้นี้

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 14, 09:55
อ้างถึง
จำนวนนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๙ ในหนังสือของคุณเทพ เวอร์ชันของคุณนวรัตน์มีเพียง ๘ นามสกุล (ซ้าย) แต่ในเวอร์ชันของคุณ jilkung (ขวา) มีถึง ๓๑๒ นามสกุล อาจจะรวมนามสกุลจากราชทินนามเข้าไปด้วยหรือเปล่าหนอ  ฮืม

^
นั่นไงหนอ ข้อมูลมีอยู่กับตัวท่านเอง แล้วนำมาถามทำไมหนอ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มิ.ย. 14, 10:12
ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล ในรัชกาลที่ ๙ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๕ ฉบับ จำนวน ๑๐๕ นามสกุล บวกกับอีก ๘ นามสกุลพระราชทานในเวอร์ชันของคุณนวรัตน เป็น ๑๑๓ นามสกุล  ขาดอีก ๑๑๙ นามสกุลจึงจะครบตามเวอร์ชันของคุณ jilkung

ข้อมูล ๑๑๙ นามสกุลนี้ไม่มีอยู่ในมือหนอ  ;)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 14, 10:15
ความสำคัญอยู่ที่ตรงนี้

อ้างถึง
อาจจะรวมนามสกุลจากราชทินนามเข้าไปด้วยหรือเปล่าหนอ

ก็รู้อยู่แล้วว่ามีใช่ไหมหนอ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:05
นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 9 ผมถ่ายมาบางส่วนนะครับ เพราะมีเยอะมาก เท่าที่ผมดูช่วงเเรกจะเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามซะเป็นส่วนใหญ่เเต่ช่วงหลังๆจะเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่9 ครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:06
*-*


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:07
*-*


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:08
*-*


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:39
ขอบคุณในความอุตสาหะของคุณjilkungมากนะครับ

เท่าที่อ่านผ่านๆ รู้สึกว่าจะมีที่มาจากราชทินนามแยะมากจริงดังว่า เดี๋ยวมีเวลาจะลองแกะทุกนามสกุลดูครับ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 18 มิ.ย. 14, 15:55
ผมได้ปรับปรุงเเก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลในวิกิพีเดียให้ครอบคลุมเเละได้อ้างอิงเพิ่มเติมเเล้ว ไม่ทราบว่าจะโดนลบหรือไม่

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 14, 22:00
^
ขอให้รอคุณเพ็ญหนอ เอ๊ย นะครับ

ผมกลับมาถึงบ้านและได้พยายามอ่านตัวอักษรในภาพถ่ายของคุณjilkungแล้ว ไม่สามารถอ่านได้หมดเพราะทรมานสายตาเหลือที่จะกล่าว แต่เอาเถอะครับ ไม่เป็นไร ก็พอจะรู้ว่าในรัชกาลปัจจุบันก็ยังมีผู้ที่ปรารถนาจะเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้ราชทินนามของบรรพบุรุษกันเป็นร้อย หลังจากกฏหมายฉบับแก้ไขที่ออกมาใหม่ในปี๒๕๐๕ เปิดโอกาสให้ลูกหลานขอพระบรมราชานุญาตได้

เสียดายที่คุณเทพมิได้แยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน ดังที่ท่านอาจารย์เทาชมพูแสดงความเห็นไว้แล้วในเรื่องการใช้คำว่าพระราชทานในสมัยรัชกาลที่๘ ก่อให้เกิดความสับสน เพราะไม่ระบุว่าที่พระราชทานนั้น คือพระราชทานพระบรมราชานุญาต  นามสกุลที่พระราชทานในรัชกาลที่๙ก็เช่นนั้น ไม่มีการแยกแยะว่านามสกุลใดได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต นามสกุลใดคือที่ได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่ให้

ท่านผู้สนใจก็คงต้องค้นหากันเองต่อไปนะครับ

แต่ไม่แน่หนอ คุณเพ็ญอาจจะมีรายชื่อนามสกุลทั้งสองประเภทเหล่านั้นอยู่ในมือแล้ว เปิดออกมาเมื่อไหร่เป็นได้หงายผลึ่งแบบเจ้ามือกินเรียบทั้งวงทีเดียวเจียวหนอ


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 มิ.ย. 14, 14:56
^
ขอให้รอคุณเพ็ญหนอ เอ๊ย นะครับ

เรื่องของคุณ jilkung จบห้วนไปหน่อย น่าจะอธิบายต่อว่าเมื่อมีพระราชบัญญัติฉบับใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้ว มีอะไรเกิดขึ้นเช่นมีลูกหลานของผู้มีบรรดาศักดิ์มาขอเปลี่ยนนามสกุลตามราชทินนามของบุพการีเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลใน ลิงก์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/192/1.PDF (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/192/1.PDF) และหนังสือของคุณเทพที่คุณ jilkung อ้างไว้ ยังไม่มีการกล่าวถึง เช่นการรวบรวมนามสกุลพระราชทานและนามสกุลจากราชทินนามไว้ด้วยกันทำให้เข้าใจผิดว่านามสกุลทั้งหมดเป็นนามสกุลพระราชทาน

สุดท้ายสำหรับลิงก์เว็บของคุณชัชวาลที่อ้างไว้ ควรแทนที่ด้วยลิงก์นี้ - https://sites.google.com/site/thailandsurname/namskul-cak-rachthinnam (https://sites.google.com/site/thailandsurname/namskul-cak-rachthinnam)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 19 มิ.ย. 14, 16:05
ถ้าจะไม่เป็นการรบกวน อยากให้คุณเพ็ญชมพูได้ช่วยเขียนเเก้ไขเพิ่มเติมในสารานุกรมเสรี ให้มีเนื้อหาครบถ้วนยิ่งขึ้นจักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ :D :D


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 14, 16:11
พระยาภะรตราชานั้น หลังจากย้ายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ไปเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ในสารบบของโรงเรียนมีแต่ชื่อพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิสระเสนา) ผมเพิ่งจะเคยเห็นชื่อข้างบนในกระทู้นี้
ส่วนอีกท่านหนึ่ง ก็จะใช้ว่า พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

หลายท่านอาจจะต้องเปลี่ยนชื่อและสกุลตามกระแสของท่านผู้นำ แต่เมื่อหมดกระแส ก็เปลี่ยนกลับมาดังเดิมทันที


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 14, 17:26
คุณUP เคยตอบคำถาม “สมัยนี้ ยังมีการพระราชทานนามสกุลอยู่หรือเปล่าครับ” ไว้ในพันทิปดังนี้

ยังมีครับ ยังขอพระราชทานได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ผู้ขอทำหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการ เพื่อให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อสกุลใหม่ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ

ผู้ที่จะขอพระราชทานชื่อสกุล จักต้องมีคุณสมบัติอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
มีฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัว
ชื่อสกุลที่ใช้อยู่มิได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย
ชื่อสกุลที่ใช้อยู่เป็นชื่อสกุลที่เปลี่ยนจากชื่อสกุลต่างด้าวมาเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี
หากเป็นคนต่างด้าว ต้องได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย

วิธีดำเนิการ

1. เอกสารประกอบการพิจารณา (ต้นฉบับพร้อมสำเนา)

1.1 ผู้ประสงค์จะขอพระราชทานชื่อสกุล จะต้องมอบเอกสารต่างๆ ต่อไปนี้แก่เจ้าหน้าที่
- ประวัติผู้ขอพระมหากรุณาโดยละเอียด นับสืบแต่ ปู่ ย่า ตายาย เป็นต้นมา จนถึงบิดา มารดา น้อง ภริยา และบุตร พร้อมข้อมูลอาชีพและการศึกษา
- เหตุผลการขอพระราชทานชื่อสกุล
- รายชื่อผู้ที่จะขอใช้ชื่อสกุลร่วม
1.2 บัตรประจำตัวของผู้ขอพระมหากรุณา
1.3 ทะเบียนบ้าน
1.4 ทะเบียนการค้า หรือหลักฐานการประกอบอาชีพ
1.5 หลักฐานการแปลงสัญชาติ
1.6 เอกสารประกอบเรื่องตามที่แจ้งในประวัติ เช่น การร่วมกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์หรืองานการกุศล เป็นต้น

2. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบเอกสาร และเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้คืนเอกสารต้นฉบับแก่ผู้ขอพระมหากรุณา คงใช้แต่สำเนาเอกสารแนบเรื่องเพิ่อดำเนินการ

3. ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายดำเนินการสอบประวัติตามฐานะของผู้ขอพระมหากรุณา ดังนี้

3.1 ข้าราชการ
- ให้มีเอกสารหลักฐานของผู้บังคับบัญชา และหัวหน้าส่วนราชการรับรองความประพฤติ
- สอบประวัติจากส่วนราชการที่สังกัด และภูมิลำเนา

3.2 บุคคลทั่วไป
- สอบประวัติและความประพฤติจากภูมิลำเนา
- สอบประวัติอาชญากรจากกรมตำรวจ

3.3 บุคคลที่มิใช่สัญชาติไทย
- สอบประวัติและความประพฤติจากภูมิลำเนา
- สอบถามกองตรวจคนเข้าเมือง
- สอบประวัติอาชญากรจากกรมตำรวจ

3.4 กรณีผู้ขอพระมหากรุณาอ้างชื่อสกุลเดิมไม่เหมาะสม หรือไม่มีความหมาย ให้ชี้แจงและยกเหตุผลอ้างอิงประกอบให้ชัดเจน และให้เจ้าหน้าที่พิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งประกอบพระราชดำริ

หากรายใดมีคุณลักษณะไม่ครบตามหลักเกณฑ์ และมีปัญหาด้านกฎหมายหรือมีเหตุผลอื่นใดพิเศษนอกเหนือจากระเบียบนี้ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจะได้รับการพิจารณา ให้ดำเนินการ ดังนี้

1. ส่งเรื่องให้กองนิติการพิจารณาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาก่อน ที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลก่อนพระกรุณาประกอบพระราชดำริ
2. นำเสนอราชเลขาธิการพิจารณาสั่งการเป็นกรณพิเศษเฉพาะราย.


ที่มา : ระเบียบสำนักราชเลขาธิการ ว่าด้วยการขอพระราชทานชื่อสกุล พ.ศ.2533

ส่วนตัวผมเคยได้ยินมาว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯส่งให้สมเด็จพระญาณสังวร ตั้งแต่สมัยก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ให้เป็นผู้คิดชื่อถวายเพื่อทรงเลือกพระราชทานต่อไป สมเด็จพระญาณฯท่านทรงชำนาญเรื่องคิดชื่อนามสกุลมาก ทรงรวบรวมไว้เป็นพันๆและนำมาประทานผ่านกรมการปกครองให้ผู้ประสงค์จะเปลี่ยนนามสกุลได้เลือกใช้ผ่านระบบอินเทอเน็ต รายละเอียดตามข้อความข้างล่าง

โอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระชันษาครบ 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556 ที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ กรมการปกครอง จึงนำชื่อสกุลประทานจำนวน 2,556 ชื่อสกุล ให้ประชาชนจองใช้ทางระบบอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 - 31 ธันวาคม 2556 นี้

ชื่อสกุลในครั้งนี้ อาทิ กตกุลธวัช กะ-ตะ-กุน-ทะ-วัด ความหมาย สิ่งที่ทำแล้วเป็นสิ่งที่ดี, กตกุลธารา กะ-ตะ-กุน-ทา-รา ความหมาย ผู้ที่สร้างเมืองให้เจริญ, เขมสิริรักษ์ เข-มะ-สิ-หริ-รัก ความหมาย อันรักษาความงาม ความดีและมีความสุข, เขมสุขสันต์ เข-มะ-สุก-สัน ความหมาย อันมีความสุขสบายและความปลอดภัย, ธนเจริญทยา ทะ-นะ-จะ-เริน-ทะ-ยา ความหมาย อันมีทรัพย์สมบัติและความเจริญที่ดีงาม, ธนเจริญนิมิต ทะ-นะ-จะ-เริน-นิ-มิด ความหมาย อันมีทรัพย์สมบัติและสร้างความเจริญ เป็นต้น

ลองสังเกตุนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่๙ที่คุณjilkung(อ่านว่ากระไรน่ะครับ)ถ่ายมาให้ดูในสมัยหลังๆ จะออกท่วงทำนองเดียวกัน


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 21 มิ.ย. 14, 19:14
*-*


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 21 มิ.ย. 14, 22:28
มีคนเอานามสกุลจากราชทินนามไปรวมกับนามสกุลพระราชทานในวิกิพีเดียนะครับ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1#.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AA.E0.B8.81.E0.B8.B8.E0.B8.A5.E0.B8.88.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B2.E0.B8.8A.E0.B8.97.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A1 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1#.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AA.E0.B8.81.E0.B8.B8.E0.B8.A5.E0.B8.88.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B2.E0.B8.8A.E0.B8.97.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A1)
 :P


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:19
น่าจะเข้าไปแก้ไขในวิกิ  แยกเป็น 2 เรื่องนะคะ
ไม่งั้นจะสับสน อย่างที่ดิฉันเคยบอกไว้    กลายเป็นว่าข้าราชการจำนวนมาก ได้รับนามสกุลพระราชทาน 2 นามสกุลด้วยกัน ซึ่งไม่จริง


กระทู้: นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
เริ่มกระทู้โดย: jilkung ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:32
ถ้างั้นคงต้องรบกวนท่านผู้รู้ช่วยเข้าไปเเก้ไข โดยแยกออกเป็นคนละเรื่องเพราะตอนเเรกที่ผมได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เเล้วเขียนเป็นเรื่อง มันก็อ้างอิงครบถ้วนสมบูรณ์เเล้วครับ พอมีคนมาจับมารวมอ้างอิงบางส่วนก็หายไปครับ :)