เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: puyum ที่ 17 มิ.ย. 11, 19:31



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 17 มิ.ย. 11, 19:31
ลำน้ำเจ้าพระยา จากป่าโมกข์ ถึง อยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 17 มิ.ย. 11, 19:50
บางกะจะ  สำเภาล่ม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 17 มิ.ย. 11, 19:59
ชื่อกระทู้ผิดอีกแล้วครับ แก้ไม่ได้ ขอโทษคุณเทาชมพู ด้วยครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 11, 20:31
นำรูปเจ้าพระยามาเสริมค่ะ
วัดที่เห็นในรูป วัดอะไร ใครรู้บ้าง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 มิ.ย. 11, 20:38
เป็นวัดพนัญเชิงแห่งกรุงเทพมหานคร

ชื่อว่า "วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร" หรือ "วัดกัลยา" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้

ประวัติมีดังนี้

เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ

พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างพระราชทาน เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔

หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  (อีกแล้ว)

ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 11, 15:10
เคยไปวัดกัลยาณมิตร  แต่จำไม่ได้  :-[


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 มิ.ย. 11, 03:26
แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี เมื่อปี ๒๕๕๒


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 27 มิ.ย. 11, 21:01
พันท้ายนรสิงห์ ที่บ้านนรสิงห์ ป่าโมกข์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 29 มิ.ย. 11, 19:53
แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าโรงหล่อบ้านกุ่ม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 06 ก.ค. 11, 20:58
       ทันกระแส   (แข่งเรือพายม้า)


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 11, 21:12
แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดไชยวัฒนาราม  พระนครศรีอยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.ค. 11, 19:38
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระตำหนักสิริยาลัย 
สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เล่าว่าเจดีย์ด้านขวาของปรางค์ประธาน เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง)และเจ้าฟ้าสังวาลย์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ก.ค. 11, 09:51
ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา จุดบรรจบของแม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่าน ที่ปากน้ำโพ นครสรรค์

ปิง วัง ยม น่าน มาบรรจบกันเป็นเจ้าพระยา ตำราสมัยก่อนที่สอนกันมาผิดๆ จนเข้าใจว่าแม่น้ำสี่สายมาบรรจบกันที่จุดเดียวกัน





กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 ก.ค. 11, 23:15
^ ค่ะ  ;D
แม่น้ำปิง รวมกับแม่น้ำวัง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ส่วนแม่น้ำน่าน ไหลมารวมกับแม่น้ำยม ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อน จากนั้นจึงไปบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา

ดังนั้นที่ปากน้ำโพ จึงเป็นที่รวมของลำน้ำสองสายคือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่านตามที่คุณลุงไก่บอกค่ะ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 ก.ค. 11, 19:44
สะพานพระรามหก ถูกเครื่องบินของสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลาย ในสงครามโลกครั้งที่สอง




กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 27 ก.ค. 11, 22:18
ตีนสะพานพระราม๖ ฝั่งพระนคร ระหว่างวัดสร้อยทอง ไปถึงบางโพ
ตรงนั้นมีบ้านญวนเหมือนกัน ไช่ไหมครับ ไม่แน่ใจ
มาจากไหนครับ
 


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: wayu ที่ 28 ก.ค. 11, 00:43
เกิดจาการกวาดต้ิอนครัวเรือนญวนมายังสยามหลายครั้งหลายครา

www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar.../80-85.pdf



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ส.ค. 11, 09:58
แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าปากคลองมอญ ธนบุรี  ปัจจุบันคือหอประชุมกองทัพเรือ

กองทัพเรือไทยเคยมีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ๔ ลำ คือเรือมัจฉานุ สินสมุทร พลายชุมพล และวิรุณ







กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ส.ค. 11, 10:11
แม่น้ำเจ้าพระยา หน้ากรมอู่ทหารเรือธนบุรี

สภาพเรือรบหลวงธนบุรี ที่ถูกกู้ขึ้นมา ภายหลังจากยุทธนาวีเกาะช้าง เมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ เริ่มดำเนินการกู้เรือเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ลากจูงมาถึงท่าเรือสัตหีบ เมื่อ ๓ กันยายน ๒๔๘๔
และลากจูงมาซ่อมที่กรมอู่ทหารเรือธนบุรี และถูกปลดระวางชั่วคราว เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๔๘๔ ปลดระวางประจำการเมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๒




กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ส.ค. 11, 10:22
เมื่อปลดประจำการแล้ว ได้มีการนำส่วนหอบังคับการเรือมาไว้ที่โรงเรียนนายเรือ สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑
และถูกเคลื่อนย้ายอีกครั้งมาอยู่สถานที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑




กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 18 ส.ค. 11, 20:06
ลำนี้ถูกจมที่หน้ากรมอู่ทหารเรือ ธนบุรี
ด้วยน้ำมือของชนชาติเดียวกัน ที่มีความคิดต่างกัน

เรือรบหลวงศรีอยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 19 ส.ค. 11, 21:20
เรือรบหลวงศรีอยุธยา สร้างขึ้นที่อู่คาวาซากิ  ประเทศญี่ปุ่น สมัยรัชกาลที่ ๘  ( พ.ศ.๒๔๘๑ )
ยาว ๗๗ เมตร กว้าง ๑๓.๔๑ เมตร  ระวางขับน้ำ ๒,๓๕๐ ตัน พลประจำเรือ ๒๓๔ นาย 
ถูกทำลายด้วยน้ำมือของคนชาติเดียวกัน ที่มีความคิดต่างกัน ครั้งเกิด กบฏแมนฮัตตัน ปี พ.ศ.๒๔๙๔   


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ส.ค. 11, 19:50
 ;D

http://www.youtube.com/watch?v=rV_fzBipUoE


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ส.ค. 11, 16:08
มุมมองเจ้าพระยา จากวัดอรุณ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 11, 21:08
http://www.youtube.com/watch?v=3m1WIQfwy1c

หยดน้ำเจ้าพระยา
คำร้อง ศิริพงศ์ จันทรหอม     ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     

(ญ.) จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด
รวมกันหมดเป็นมหาชลาศัย
จากปิง วัง ยม น่าน ผ่านมาไกล
แล้วรวมไหลกันเข้าเป็นเจ้าพระยา

(ช.) เหมือนสายเลือดรวมไหลไทยทั้งชาติ
รวมน้ำใจใสสะอาดศาสนา
รวมภักดีสูงส่งองค์ราชา
รวมศรัทธาในเสน่ห์ประเพณี

(ญ.) เจ้าพระยาเรื่อยไหลไม่รู้สร่าง
ไหลแผ่กว้างคว้างไปในทุกที่
โอบถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงชีวี
รวมฤดีไทยผองเกี่ยวคล้องกัน

(ช.) จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด
จึงปรากฏเป็นมหานทีขวัญ
ขอความรักเรารวมร่วมผูกพัน
นานเท่าวันเจ้าพระยาไหลบ่านอง

(ช.) เจ้าพระยาเรื่อยไหลไม่รู้สร่าง
ไหลแผ่กว้างคว้างไปในทุกที่
โอบถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงชีวี
รวมฤดีไทยผองเกี่ยวคล้องกัน

(พร้อม) จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด
จึงปรากฏเป็นมหานทีขวัญ
ขอความรักเรารวมร่วมผูกพัน
นานเท่าวันเจ้าพระยาไหลบ่านอง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 11, 12:00
สะพานแรกที่สร้างข้ามเจ้าพระยา ในอดีต


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 29 ส.ค. 11, 20:59
พายช้อน


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 08 ก.ย. 11, 18:29
ปากคลองบางหลวง ที่ ต.โผงเผง อ. ป่าโมก จ. อ่างทอง ไหลผ่านบ้านบางหลวง อ.บางบาล
บรรจบแม่น้ำน้อยที่ ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 08 ก.ย. 11, 19:01
จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด จึงปรากฏเป็นมหานทีขวัญ
ขอความรักเรารวมร่วมผูกพัน นานเท่าวันเจ้าพระยาไหลบ่านอง

จากคำร้องบทสุดท้ายที่สุดสวย
กลับกรายเป็นความเป็นความสลด ที่เจ้าพระยาไหลบ่านอง เกินความควบคุม
ทั้งบทเพลง ลุ่มเจ้าพระยา ที่บ่งบอกถึงความรักความผูกพัน และบางทำนองที่ให้อารมณ์แห่งความเศร้าสร้อย
วันนี้ ชาวลุ่มเจ้าพระยาได้รับทั้งความรักความผูกพันจากเพื่อนร่วมชาติ อีกแล้ว  
เจ้าพระยา จากนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท 
แล้วมาที่เขื่อนเจ้าพระยา ที่ชัยนาท เขื่อนทดน้ำชลประทานแห่งแรก ที่หวังว่าจะควบคุมสายนที ให้ได้ตาม
ที่หวัง แต่แล้วก็นอกเหนือความคาดหวัง เมื่อไม่สามารถควบคุมพระพิรุณได้
การแก้ปัญหาน้ำเจ้าพระยาไหลบ่านอง จึงต้องทบทวนและจัดการ
ผมเกิดในลุ่มเจ้าพระยา เห็นความเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรน้ำ ในช่วงห้าสิบปี่ที่ผ่านมา
เมื่อก่อน ถึงฤดูน้ำ น้ำไหลบ่าเข้าทุ่งเจ้าพระยาทั่วถึง ทุกท้องถิ่นได้รับน้ำเฉลี่ยทั่วถึงกันไป
บ้านเรือนทรงไทยไต้ถุนสูง ไม่เดือดร้อน ผู้คนสัญจรไปมาด้วยเรือและรถ เป็นปกติ
ชาวนาปลูกข้าวพันธุ์หนีน้ำ ได้ผลผลิต ถ้าน้ำไม่มากผิดปกติ
วันนี้ลุ่มเจ้าพระยาเปลี่ยนไป สองฝากฝั่งมีคันกั้นน้ำและคลองชลประทาน
น้ำเข้าทุ่งไม่ได้  ริมฝั่งน้ำจึงนองท่วมเลือกสวนไร่นา  บ้านเรือนดีดหนีน้ำ ดีดแล้วดีดอีก
รัฐส่งเสริมวิจัยข้าวอายุสั้น ให้เกษตรกร จนลืมไปว่าข้าวพันธุ์ดีหนีน้ำได้ หดหายไปจากท้องทุ่ง
ถนนหนทางสร้างเพิ่ม ผ่านเลือกสวนไร่นา พื้นที่รับน้ำหดหาย
ปล่อยน้ำเข้าทุ่งเหมือนเก่าก่อน สองฝากฝั่งก็ยังเจิ่งนอง แต่จะไม่เดือดร้อนเหมือนปัจจุบัน
ฝนอาจไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปริมาณไม่แน่นอน ควบคุมไม่ได้ รัฐต้องบริหารจัดการ
พัฒนาข้าวพันธุ์ดีหนีน้ำและจัดสรรน้ำนอกฤดูให้เหมาะสม
น่าจะเป็นทางออกที่ดีได้ ในระยะยาว



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 08 ก.ย. 11, 19:08
ลุ่มเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย พระปรางค์ดุสิตราช วัดเสากระโดงทอง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
และอาคาร ร.ร.พิบูลย์ประสิทธิ์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ก.ย. 11, 17:13
วันนี้ชาวลุ่มเจ้าพระยา มีทุกข์
ทุกข์กาย เรื่อง ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
ทุกข์ใจ เรื่องความคิด ความวิตกกังวล ที่ยากจะควบคุมได้

เพราะ น้ำเจ้าพระยาบ่านอง มากกว่าหลายปีทีผ่านมา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ก.ย. 11, 17:16
วัดจุฬามณี อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 11, 18:29
พญานาคโผล่ที่นครสวรรค์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 14 ก.ย. 11, 15:50
ตัวนี้โพล่ที่บ้านกุ่ม บ้านนายขนมต้ม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 16 ก.ย. 11, 11:15
เพราะน้ำเหนือเจิ่งนอง ชาวลุ่มเจ้าพระยาริมฝั่ง จึงต้องทนทุกข์ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด เมื่อไร
กรมชลประทานบอกว่ามวลน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายังมีอีกมาก
แล้วคนอ่านข่าวบอกว่ายังมีน้ำก้อนใหญ่ อยู่อีก
ตรงนี้ ขอฝากคุณเทาชมพู ช่วยที ใช้คำว่า น้ำก้อนใหญ่ ถูกไหม
นึกย้อนไปในอดีต เมื่อกรุงเทพฯ ยังเป็น พระนครและธนบุรี พื้นที่ฝั่งพระนคร ลาดพร้าว
บางเขน มีนบุรี หนองจอก ดอนเมือง รังสิตฯ
ฝั่งธนบุรี  บางมะกอก บางมด บางพลัด บางกรวย บางใหญ่ฯ
ยังเป็น เรือกสวนไร่นา  มีพื้นที่รับน้ำจากเหนือ ได้มาก  พระนคร ธนบุรี จึงไม่เดือดร้อน
วันนี้  พื้นที่เหล่านี้เป็นอะไร คนกรุงเทพคงรู้  แล้วก็เดือดร้อนกันทั่ว
ป่าบนเขาต้นน้ำลำธารถูกตัดโค่น พื้นที่ซับน้ำหดหาย น้ำป่าไหลหลาก พี่น้องต้นน้ำหวาดระแวง ทนทุกข์
เขื่อนกั้นน้ำ เขื่อนทดน้ำ ไม่สามารถควบคุมน้ำได้
รัฐวางผังเมืองไม่เหมาะสม  ควบคุมการตัดโค่นไม้ทำลายป่าไม่ได้
แถมยังบริหารจัดการน้ำโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของ ผู้คนนอกกรุง
คนลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขา  จึงอ่วม
อยากรู้จัง  ปีนี้ฝนตกกี่ลูกบาศก์เมตร น้ำจึงเจิ่งนองอย่างนี้
นี่คือ เหตุแห่งทุกข์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 21 ก.ย. 11, 19:34
หลายเชื้อชาติ หลากศาสนา ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ที่ กรุงเก่า


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 21 ก.ย. 11, 19:56
ก่อนที่จะไปถึง การดับทุกข์
ขออนุญาตบอกเล่าเพิ่มเติมสักนิด ทำไมปัญหาน้ำจึงมากเหลือล้นที่ บางบาล เสนา ผักไห่ ป่าโมก อ่างทอง สิงห์บุรี ริมฝั่งเจ้าพระยาจนถึง ต้นน้ำที่นครสวรรค์
สมมติ ถ้าสร้างรูปสามเหลี่ยม ให้เส้นฐานฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่แม่น้ำบางปะกง ฝั่งตะวันตกที่แม่น้ำท่าจีน ยอดสามเหลี่ยมอยู่ที่ นครสวรรค์
บริเวณรูปสามเหลี่ยมคือที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา
พื้นที่นี้คือพื้นที่รับน้ำเฉลี่ยกันไปในอดีต น้ำเข้าทุ่งได้ ปัญหาจึงน้อย
 แต่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้เปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย นิคมอุตสาหกรรม แหล่งธุรกิจสำคัญ
ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบันพื้นที่เมืองขยายออกไปมากถึงอยุธยา เหนือสุดที่บางปะหัน
ฝั่งตะวันตก ขยายถึงเมืองปทุมธานี
พื้นที่ทุ่งรับน้ำ ฝั่งตะวันออก จึงเริ่มที่บางปะหัน บางบาล มหาราช ป่าโมก อ่างทอง ไชโย
ท่าวุ้ง พรหมบุรี สิงห์ บ้าหมี่ อินทร์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์
ฝั่งตะวันตก  สามโคก  บางไทร  ลาดบัวกลวง บางเลน บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา บางบาล เสนา ผักไห่ บางปลาม้า ป่าโมก วิเศษไชยชาญ  ไชโย พรหมบุรี สิงห์ อินทร์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์  ฝั่งนี้มีพื้นที่รับน้ำได้มากกว่าฝั่งตะวันออก
ถ้าผันน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าว เราจะควบคุมน้ำได้ เฉลี่ยกันไปบ้าง  น้ำจะไม่ท้นสองฝั่งเจ้าพระยา และคันกั้นน้ำอาจไม่พัง น้ำไม่ท่วมที่อยู่อาศัย ไร่นาดังเช่น ที่บ้านหมี่ ท่าวุ้งและอีกหลายพื้นที่จะไม่จมน้ำ 
ที่บ้านหมี่และท่าวุ้ง หลายหมู่บ้าน  ถ้าน้ำท่วมถนนขาด ชาวบ้านจะติดต่อกับภายนอกได้ยากยิ่งและการช่วยเหลือก็จะยากลำบาก


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 11, 23:26
ตรงนี้ ขอฝากคุณเทาชมพู ช่วยที ใช้คำว่า น้ำก้อนใหญ่ ถูกไหม
ไม่รู้ว่าภาษาทางการให้เรียกว่าอะไร.   แต่ดิฉันใช้ว่าน้ำอีกระลอกใหญ่จะตามมา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 11, 23:42
ตรงนี้ ขอฝากคุณเทาชมพู ช่วยที ใช้คำว่า น้ำก้อนใหญ่ ถูกไหม
ไม่รู้ว่าภาษาทางการให้เรียกว่าอะไร.   แต่ดิฉันใช้ว่าน้ำอีกระลอกใหญ่จะตามมา

เทาชมพู หมายถึง เพ็ญชมพู ?

น้ำก้อนใหญ่ น่าจะใช้ว่า มวลน้ำปริมาณมาก

ตัวอย่างการใช้

รมว.สธ.สั่งเพิ่ม ๖ มาตรการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หลังศูนย์เตือนภัยฯ ประกาศเตือนมวลน้ำปริมาณมากจะไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ ๑๗-๒๐ กย.นี้ (http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255409140096&tb=N255409)

 ;D


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ย. 11, 09:01
เทาชมพู หมายถึง เพ็ญชมพู ?

ประทานโทษไม่ทันเห็น # ๓๔ ของคุณปูยำ

 :-[


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 ก.ย. 11, 11:00
 มติชนรายวัน วันนี้(๒๒ ก.ย.) หน้า ประชาชื่น จะช่วยทำให้เข้าใจ ความคิดเห็นที่ ๓๖ ดีขึ้น


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 ก.ย. 11, 10:10
ทุ่งรังสิต องครักษ์
ก็วันนี้น้ำเข้าบ้านหมี่ ท่าวุ้ง ก็คือ ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก
ด้านนี้มีคลองระบายน้ำ ชัยนาท ป่าสัก อยุธยา ลงคลองระพีพัตรผ่านทุ่งรังสิต -องครักษ์  ลงแม่น้ำบางปะกงขนานลงมา
น้ำจากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกจะมาติดคันคลองนี้ด้านฝั่งตะวันตก
เมื่อควบคุมน้ำไม่ได้
น้ำจะบ่าลงใต้ผ่านคลองบางขาม ผ่านบ้านท่าโขลง ลงแม่น้ำลพบุรี ที่ตัวจังหวัดลพบุรี  ผ่านบ้านแพรก มหาราช บางปะหัน จบแม่น้ำป่าสัก ที่อยุธยา ถ้าน้ำมากจริงๆ
น้ำบางส่วนจะบ่าออกไปทาง ดอนพุด ท่าเรือพบกับน้ำที่บ่ามาจากแม่น้ำป่าสัก ก็จะไหลออก ภาชี วังน้อย
เข้าทุ่งรังสิต องครักษ์ เข้ากรุง ด้านทุ่งตะว้นออก ของเจ้าขวัญ อีเรียม(อ่านคลองรังสิต จากวิกิพีเดียประกอบ)  ผ่านไปสมุทรปราการ ลงทะเล
และจะบรรเทาน้ำเจ้าพระยาที่จะลงมาที่บางไทรมากเกินควรได้ด้วย
คนริมน้ำปทุม นนท์ ก็พอจะเบาใจได้บ้าง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 01 ต.ค. 11, 16:32
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีปัญหาน้อย
ทั้งนี้ก็เพราะ มีการระบายน้ำตามระบบ  จึงควบคุมน้ำได้
แต่ถ้าปล่อยให้คันกั้นน้ำพัง ก็จะเป็นอย่างฝั่งตะวันออก คือควบคุมไม่ได้ ลพบุรีจึงย่ำแย่
แล้วลุ่มน้ำสุพรรณ นครชัยศรี ท่าจีน ก็จะเดือดร้อนกันทั่ว

(จริงๆ ทั้งสามชื่อก็คือแม่น้ำสายเดียวกัน เรียกต่างกัน ตามท้องถิ่น ที่ไหลผ่าน)[/color]

ต้องลาแล้วหนอบัวช่องาม
บาปเคราะห์และกรรมประดัง
แล้วจ้ำเรือน้อยค่อยเข้าฝั่ง
ไม่ยอมกลับหลัง หมดหวังทั้งตูมทั้งบาน  


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 02 ต.ค. 11, 14:20
ทำไมรัฐไม่ใช้  speedboat ลำเรียงของไปช่วยผู้ประสบภัย
พื้นที่ ท่าวุ้ง ติดบ้านหมี่ หมู่บ้านอยู่เป็นระยะๆ  ตามเส้นทางตัดเข้าไปในทุ่ง เมื่อถนนถูกตัดขาด
หมู่บ้านก็เหมือนตั้งอยู่ในทะเลสาบ ห่างจากถนนหลัก  สิงห์บุรี-ลพบุรี  หลายๆ ก.ม.
ใช้เรือเล็กเข้าออก   ต้องต่อสู้กับสายน้ำ แสงแดและถ้าลมแรงก็ทั้งลม ทั้งคลื่น เป็นการเสี่ยงภัย
เสียเวลาและยังบรรทุกของได้น้อย
แล้วจะหาเรือ ได้ที่ไหน
ก็ของกรมเจ้าท่า กรมประมง ของทหารเรือ หรือเช่าเรือท่องเที่ยวแถวพัทยา ก็คงได้
ปลอดภัยและจะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้คน สัตว์เลี้ยงได้เร็วขึ้น
ใครตั้งใจช่วยผู้เดือดร้อน เลยไปลพบุรีหน่อยครับ
ถ้ามีเพื่อนที่เกี่ยวข้อง วานบอกด้วย


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 05 ต.ค. 11, 13:22
[ขณะนี้ผู้ถูกอุทกภัย เหมือนผู้ป่วยหนัก
หนทางแห่งการพ้นทุกข์  คือการเยียวยา ทั้งร่างกายและจิตใจให้ทั่วถึง

ที่อยุธยา นอกจากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวแล้วยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ จำพวกไฮเทคโนโลยี อีก พื้นที่อำเภอนครหลวงต่อบางปะหัน มีนิคมอุตสาหกรรมรัตนคร มีมากกว่าห้าร้อยโรงงาน ที่เขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาต่ออำเภออุทัย วังน้อยมีนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
ที่บางปะอินต่อเขตปทุมธานี มีนิคมบางปะอิน นิคมไฮเทค ฯ  รวมแล้วที่อยุธยามีมากกว่า ๘ นิคม หลายพันโรงงาน  หลายหมื่นคนงาน
ถ้าหากนิคมเหล่านี้ถูกน้ำท่วม หลายหมื่นคนจะตกงาน ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออก แล้วมวลรวมของประเทศจะเป็นอย่างไร
วันนี้น้ำจากลพบุรี ป่าสักพบกันแล้วกับเจ้าพระยา ที่พระนครศรีอยุธยา
พื้นที่การเกษตร ที่อยู่อาศัย วัดวาอาราม โบราณสถานบางส่วนจึงถูกน้ำท่วมไป
รักษาพื้นที่อุตสาหกรรมไว้ให้ได้ ผู้คนก็พอจะมีความหวังอยู่บ้าง
( ขณะที่เขียนอยู่นี้ทราบว่า นิคมรัตนนคร จมน้ำไปแล้ว )


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ต.ค. 11, 16:25
ป้อมเพชร
ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับปกติ แต่เมื่อวานดูภาพน้ำท่วมถึงป้อมเพชรแล้ว นึกถึงปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลที่เพิ่มขึ้นมา ตามเส้นสีขาวด้านบน
ตำแหน่งที่ถ่ายภาพเป็นร้านอาหารก็คงจมน้ำเรียบร้อยไปหมดแล้ว


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ต.ค. 11, 17:16
แม่น้ำเจ้าพระยา ณ ป้อมเพชร ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ (http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87/114069/%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3)

(http://www.posttoday.com/media/content/2011/10/03/C3181CC4E2484BC5ABF1DC97AD0A8B3A.jpg)

(http://www.posttoday.com/media/content/2011/10/03/D269800FCF944A87BB082BC68D1A9731.jpg)

 :(


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ขนมหวาน ที่ 05 ต.ค. 11, 21:40
ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 16:18
ลงภาพช้าไปบ้างค่ะ แต่ขอบันทึกไว้ในกระทู้นี้ เผื่อย้อนมาอ่านกันในปีต่อๆไป
วัดไชยวัฒนาราม ในกระแสน้ำของเจ้าพระยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ต.ค. 11, 19:20
ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา วัดอัมพวัน อาเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อต้นเดือนนี้เอง



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 15:24
ภาพจากเดอะ เนชั่น...
สุดแสนเสียดาย


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 15:32
^
แม่นกยูงคงเดือดร้อนยิ่งนัก
++

เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.วันนี้ (10 ต.ค.2554) คันกั้นน้ำแม่น้ำปิงบริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์ พังทลายลง ส่งผลให้กระแสน้ำทะลักเข้าตลาดปากน้ำโพ เริ่มจากหลังโรงน้ำแข็งเก่า ถนนโกสีย์ ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ถูกกัดเซาะจนแตกยาวประมาณ 100 เมตร กระแสน้ำทะลักเข้าสู่บริเวณใจกลางเมือง ย่านเศรษฐกิจนครสวรรค์แล้ว เอ่อท่วมหน้าร้านค้า ระดับครึ่ง-1 เมตร ทำให้ประชาชนแตกตื่นขนของหนีน้ำกันอย่างโกลาหล
ภาพและข่าวจากเวปเมเนเจอร์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ต.ค. 11, 16:42
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ห้องสมุดปรีดี พนมยงค์ (ห้องสมุดระดับต่ำกว่าดินและน้ำ)

สำเนาภาพมาจาก เวปโอเคเนชั่น


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 11 ต.ค. 11, 16:44
หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 23 พ.ย. 11, 19:39
 :) กลับมาอีกครั้งหลังจากอยูกับน้ำมาเป็นเดือน เพื่อนที่ลพบุรีเตือนว่า ปีนี้น้ำมาก ให้เก็บข้าวของบ้าง
ผมก็เชื่อ เก็บสูงกว่าห้าสิบเช็นติเมตร ก็สูงกว่าเมื่อปี ๓๘ ที่ท่วมชั้นล่างครั้งสุดท้าย สามเท่า
แต่น้ำมาที่ ๑ เมตร เลยเสียหนังสือไปหลาย และอื่นๆอีกพอประมาณ
ต้องขอโทษเพื่อนๆในเรือนไทยด้วย ที่น้ำท่วม ทีโอที เสียก่อน เลยไม่มีโอกาสได้เตือน    :(



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 พ.ย. 11, 20:18


ขอแสดงความเห็นใจในการสูญเสียของคุณ puyum  ในครั้งนี้ด้วยค่ะ

จากนี้ไปเราจะมีหนังสือจากการครอบครองส่วนบุคคลเข้สู่ตลาดอีกมาก

เป็นโอกาสที่ผู้มีกำลัง  จะคัดเลือกได้


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 22:19
เห็นใจและเสียใจด้วยค่ะ   
หวังว่าตอนนี้น้ำที่บ้านคงแห้ง พอจะกลับไปอยู่ได้แล้วนะคะ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 พ.ย. 11, 22:42
ผมเองก็ประสบมหาอุทกภัยทำความเสียหายแก่หนังสือที่สะสมเหมือนกับคุณ puyum
อาการตกตะลึง เศร้าเสียใจ เสียดาย ทอดอาลัยกับหนังสือที่เสียหายนั้น ผมทราบดี
 
หนังสือถึงจะเสียหาย  แต่ความรู้ประสบการณ์ของเรายังอยู่
เรายังมีชีวิตรอดปลอดจากภัยครั้งนี้มาได้  แม้จะเสียทรัพย์ไปบ้าง 
แต่ก็ยังสามารถหาทรัพย์เหล่านั้นได้อีก  ตราบเท่าที่ยังตั้งใจแน่วแน่ที่เรียนรู้อยู่
ผมขอให้กำลังใจแก่คุณ puyum


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 27 พ.ย. 11, 20:06
ขอบคุณทุกกำลังใจ หนึ่งสัปดาห์เต็มแล้วที่ยังยุ่งๆหลังน้ำลด และคงใช้เวลาอีกพอสมควร
อยากบอกชาวเรือนไทยทราบครับ
เตรียมคน เตรียมสตางค์ไว้หลังน้ำลด  ๕,๐๐๐ บาท ที่จะได้จากรัฐ คงไม่พอ
แต่ที่แปลก  ปีก่อนน้ำท่วมรอบกรุง พรรค ป เป็นรัฐบาลแจก ห้าพัน
ปีนี้น้ำท่วมกรุง  พรรค ป ไม่ได้เป็นรัฐบาล บอกให้รัฐแจก หมื่นห้า
คนนอกกรุงชอบใจ แต่งง ปีก่อนทำไมไม่จ่าย


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 14 ธ.ค. 11, 20:46
 ชาวน้ำ  ขำขัน
 แจ่ม  แจ่มม  พรุ่งนี้ไปเที่ยวสุพรรณกันไหม
ไปจ้า  พี่หอมม
เออ  อย่าลืมชวนลูกนี ไปด้วยนะ
จ้า   
พี่จะไปทำไมจ๊ะ  หรือจะไปทานข้าวแกงสุ ๑๐๐๐  ข่าวว่าน้ำลดแล้ว นี่พี่

 ก็  ก็  พี่จะไปดู ที่ ที่เขาลือกันว่า หน้าฝนน้ำแห้ง หน้าแล้งน้ำนอง ไง
  ? ? ? ?


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: บัวรัศมี สีทอง ที่ 27 ธ.ค. 11, 13:17
ช่วงน้ำท่วม แม่น้ำเจ้าพระยาได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำสายวิปโยคในไทย

บ้านอยู่บางไทรได้ร่วมรับผลกระทบกับชาวบ้านสายเลือดอยุธยามานานนม

คนยุดยาเขาว่ากันว่า  เฮอะสร้างกันเข้าไป โรงงงโรงงาน อีกทั้งหมู่บ้านขวางทางน้ำไหล

แต่คนยุดยาไม่กลัวน้ำท่วม สร้างบ้านเรือนสูง อยู่กับน้ำตลอดชีวิต แต่ที่เดือดร้อน

ก็พวกมือใหม่หัดขับ   โอ๊ะโอ๋  "พวกมือใหม่หัดขับ"  ก็ชาวเรานี่ไง รักสายน้ำไหล

พานพบเจ้าพระยา  เส้นเลือดใหญ่ชาวไทย หมู่บ้านสร้างใหม่  เร่งรีบไปซื้อ หวังเป็นบ้านใหม่

อากาศบริสุทธิ์ อยู่ไปอยู่มา น้องน้ำแวะเวียน  มาเยือนล้อมบ้าน  พอเข้าปี

พ.ศ. ๒๕๕  ไม่ล้อมไม่รอบ  ขอเข้าอาศัย  สองเดือนแน่นอน   ข้าวของเสียหาย

หนังสือมากมี  ของเก่าของใหม่ แช่น้ำเปื่อยยุ่ย  ส่วนโผล่พ้นน้ำ  ราขาวขึ้นเกลื่อน

ทำใจทำใจ  พึ่งพาเรือนไทย ซื้อหาเก็บใหม่  เจ็บใจน้องน้ำ  ปีหน้าฟ้าใหม่

อัญเชิญอยู่เขื่อน  ไม่ต้องมาไกล  แม่น้ำลำคลอง  หยุดเยือนเจ้าพระยา    :'( :'( :'(


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 03 ม.ค. 12, 21:59
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ครับ
ผ่านไปแล้วปีน้ำลุ่มเจ้าพระยา แล้วปีใหม่คลื่นลม ฝน ก็มาเยือนพี่น้องภาคใต้
น้ำเจ้าพระยาลด แผ่นดินชายฝั่งน้ำหดหาย ชาวบ้านหลายครัวเรือน ไม่มีที่อยู่ ที่อาศัย เศร้า
ก่อนสิ้นปี สื่อประโคมข่าว แผ่นดินจะไหว เขื่อนจะแตก
ชาวบ้านขวัญหนี ดีฝ่อ รัฐออกแก้ช่าว แต่น้อย
ฝ่ายศาสนา นิ่งเฉย
หลายสิ่ง หลายอย่างเหมือสนับสนุนให้ผู้คนเชื่อสิ่งงมงาย
เสียดายเวลา การศึกษาภาคบังคับ ๑๒ ปี


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 24 ม.ค. 12, 21:59
สวัสดีปีใหม่อีกครั้งครับ แล้วเว้นอีกสองเดือน ก็คงต้องสวัสดีกันอีก
นี่คือสยาม
สองฝั่งเจ้าพระยา จากป่าโมก ถึงอยุธยา ก็คงยังต้องนอนสะดุ้งไปอีกนาน หรือตลอดอายุไข
วันนี้น้ำขึ้นๆลงๆ ประมาณครึ่งเจ้าพระยา
อีกไม่เกินหกเดือน น้ำจะหลาก ยังไม่เห็นการแก้ไขและป้องกัน จากภาครัฐ
ขอบคุณที่เยียวยา ห้าพันบาท ขัดถูบ้านหมดไปแล้ว
ผมบอก ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ ของฅนลุ่มเจ้าพระยาไปแล้ว
คราวต่อไปผมอยากให้ ช่วยกันหาหนทางพ้นทุกข์ในวันข้างหน้า แบบเราๆ ไม่วิชาการมากนักนะครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 27 ม.ค. 12, 20:31
นำลด ตลิ่งหาย


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 01 ก.พ. 12, 14:46
วันนี้สังคมกำลังสับสนกับเรื่องน้ำปีนี้ ไม่อยากเห็น อยากเป็นเช่นปีที่แล้ว
รัฐออกมาบอกว่ามีแผนอยู่แล้ว สังคมไม่ยักเชื่อ เพราะยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม
รัฐก็ต้องรีบทำให้เห็น  แต่หนทางที่จะทำให้ไม่เดือดร้อนนั้นคงยาก
เพราะบางที่ บางแห่งก็คงต้องเดือดร้อน จะมากจะน้อยเป็นเรื่อสำคัญที่รัฐต้องคิดและทำให้ได้
คือทำให้ทุกคนอยู่ได้ ไม่เดือดร้อนมากเหมือนปีที่ฝ่านมา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 12, 14:51
ดิฉันก็รู้สึกสับสนในปีนี้เช่นเดียวกัน  ปีที่แล้ว บ้านรอดน้ำท่วมมาได้ แต่ไม่รู้ว่าปีนี้จะเป็นอย่างไร    ผลกระทบทางอ้อมก็เจอเข้าหลายอย่างด้วยกัน 
เลยจนใจไม่รู้จะตอบกระทู้อย่างไรให้คุณ puyum สบายใจขึ้น     ข่าวที่ลงทางหนังสือพิมพ์แต่ละข่าวก็ไม่ได้ทำให้ใจชื้นขึ้นมาเลย     


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.พ. 12, 14:57
ชัย ราชวัตรบอกให้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้

มีลางบอกเหตุแล้ว ๒ ประการ

 ;D


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 04 ก.พ. 12, 22:27
ตอนนี้ รัฐบอกว่าปีนี้น้ำจะไม่ท่วม ก็ดีใจกับรัฐด้วย ที่จะแก้ปัญหาได้
แต่ผมเฉยๆ เพราะเป็นธรรมดา ที่น้ำจะท่วมแถวบ้านทุกปี
แต่ปีที่แล้วมากเกินจะรับได้
ปัจจัยสำคัญคือปีนี้ฝนจะตกมากไหม และตกที่ไหน แล้วจะเอาน้ำไปไว้ที่ใด ลงทะเลได้อย่างไร ทันไหม
ตกเหนือเขื่อนมาก ใต้เขื่อนมาก ก็คงท่วมมากอีก เพราะดูว่าจะระบายน้ำลงทะเลไม่ทัน
และดูเหมือนว่าพื้นที่รับน้ำปีนี้จะน้อยลง เพราะหลายๆแห่งที่เคยท่วมปีที่แล้ว ก็เตรียมป้องกันไว้แล้ว
คู คลองหนองบึง ยังไม่ได้ขุดลอก ประตูระบายน้ำจะซ่อมทันไหม ไม่ได้ปลอบตนเอง แต่ก็เป็นห่วงหลายๆคน
 นึกคิด ตามที่เห็น


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 12, 22:42
วันนี้ ฝนตกแถวฝั่งธนบุรีราวกับอยู่กลางฤดูฝน   เพื่อนที่ไปกินข้าวกันบ่นว่าบ้านเธอตอนนี้พอฝนตกน้ำก็ท่วมขังทันตาเห็น    ไม่ไหลลงท่อ
เพราะตรวจสอบแล้ว   ได้ความว่าท่อระบายน้ำในซอยอุดตัน จากทรายที่แตกมาจากกระสอบกั้นน้ำ   (อาจจะโคลนผสมด้วย)
ไปแจ้งที่เขต  เขตตอบว่า..ต้องคอยตามคิว

เลยเตือนว่า ของที่ขนขึ้นชั้นสองอย่าเพิ่งขนลงมา   เดี๋ยวต้องขนกลับขึ้นไปอีก   ปีนี้ฝนอาจจะมาเร็วตั้งแต่เดือนเมษายน


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 06 ก.พ. 12, 22:24
ข่าวว่า กระทรวงเกษตรจะทำคันกั้นน้ำ จากอุทัยธานี ถึงผักไห่(อยุธยา)ให้ทันหน้าน้ำนี้
แสดงว่าฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของเจ้าพระยา จากอุทัยธานีถึงอยุธยาจะได้รับการดูแล
ฝั่งธนบุรีอย่างที่คุณเทาชมพูพูด อยู่ฝั่งนี้ด้วย แต่นอกเหนือคันกั้นน้ำที่ว่า และพื้นที่ก็ต่ำกว่า
ส่วนฝั่งตะวันออกคือฝั่งซ้าย ก็บอกว่านิคมอุตสาหกรรมที่เคยท่วมเมื่อปีที่แล้ว ๗ นิคม ปีนี้จะไม่ท่วมอีก
นั่นอาจสรุปว่าพื้นที่รับน้ำปีนี้จะน้อยกว่าเมื่อปีที่แล้ว


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.พ. 12, 21:03
แล้วน้ำจะไปอยู่ที่ไหน
ก็กลับมาที่ฝนตกมากหรือน้อยและที่ไหนก่อน ถ้าตกเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสัก น้ำก็ถูกกักเก็บในอ่างเหนือเขื่อน
แต่ถ้าตกใต้เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์  เหนือปากน้ำโพ น้ำจะไหลลงมา มารวมที่ปากน้ำโพ ลงเจ้าพระยามา ถึงเขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาท
ก็จะสามารถผันน้ำออกฝั่งซ้ายและขวาได้ จะผันฝั่งไหนมากน้อยเท่าไร ก็คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำในขณะนั้น
จุดมุ่งหมายใหญ่ คือผันน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด  แล้วจะลงทางไหนได้บ้าง   
แต่ตอนนี้ฝนยังไม่ตก น้ำในเขื่อนตกค้างจากปีก่อนอยู่มาก
รัฐบอกว่า ต้องให้เหลือ ๔๕  %  ก่อนเดือนพฤษภา  จึงปล่อยน้ำออกมามากและเลือกลงเจ้าพระยา
ผลคือ น้ำท่วมบางแห่ง ที่เสนาและบางบาลอยุธยา
ไม่เดือดร้อนมากนัก แต่เสียโอกาสทำมาหากิน
 จากพืชผลที่เคยปลูกตามชายฝั่งน้ำ
เช่น พริก มะเขือ ตะไคร้ ผัก ถั่ว มัน ฯ
หน้าน้ำ น้ำท่วมบ้านช่องเรือกสวนไร่นา หน้าแร้งน้ำท่วมพืชผักสวนครัว
ฝากคุณเทาชมพู เรียนเชิญผู้รู้ มาช่วยคิดที่เรือนนี้บ้าง



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.พ. 12, 21:24
ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องชลประทาน หรือเรื่องกั้นน้ำยังไงไม่ให้ท่วมแบบถาวร   
ต้องขอเชิญท่านอื่นก่อนค่ะ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ก.พ. 12, 13:38
ต้องอดทนเหมือนพระมหาบุรุษ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 15 ก.พ. 12, 14:15
มาถึงตอนนี้ก็รู้แล้วว่ารัฐจะบริหาร ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำก่อน
และก็ บริหารด้วยการกักเก็บน้ำ ตามเขื่อนหนองคลองบึง
คิดแบบคนโบราณคือปล่อยน้ำเข้าทุ่ง(น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้ง..) ต่างกันที่เลือกปล่อยเป็นทุ่งๆไป
ไม่ผิด คิดว่าเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น คือสามปีห้าปีก็แล้วกัน
แล้วก็บอกว่า งดทำนาปี
แล้วก็บอกว่า ชดเชย   
แล้ว ชดเชย ความชัดเจนคืออะไร
ความไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความวิตกกังวลและอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด ฯ
แต่ผมเคยบอกแล้วว่า ต้องนำน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด
ตรงนี้สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวร
จะใช้เวลากี่ปี  ก็ต้องชัดเจน
ชาวประชาจะได้มีความหวังบ้าง โดยฉะเพราะปลายน้ำ
แต่แปลก สิ้นสุดปลายน้ำที่ปทุมธานี


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 ก.พ. 12, 22:41
แล้ว ทีโอที ก็เป็นเหตุ สามวันดี สี่วันไข้ เป็นอย่างนี้บ่อยๆ
ข้อเขียนทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวเลยทำให้วิตกกังวล
ถ้ารัฐบริหารน้ำไม่ได้เหมือนปีที่ผ่านมา ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
การหาที่อยู่ให้น้ำ เป็นการแก้ปัญหาที่คิดว่าจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีก จะเป็นปมที่แก้ยาก
เมื่อน้ำเต็มที่ๆให้อยู่  ก็ต้องระบายลงทะเลอยู่ดี
หนทางปัจจุบัน จากเขื่อนเจ้าพระยา ที่ชัยนาท ที่เห็นมีอยู่สามทาง  
ก็เคยกล่าวไปแล้ว ขออนุญาตฉายซ้ำ
ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา  ลงทางคลองชัยนาท-ป่าสัก ลงคลองระพีพัฒน์ เข้าทุ่งรังสิต
ผ่าน กทม. ออกทะเล  ทางนี้ระยะทางสั้นที่สุด เมื่อขยายคลองจะได้ปริมาณการไหลของน้ำเพิ่มขึ้น แต่จะมีปัญหามาก ก็จากทุ่งรังสิตลงไป
ทางฝั่งตะวันตก เข้าแม่น้ำสุพรรณแล้วออกทะเลที่สมุทรสาคร  แม่น้ำคดเคี้ยว ความจุน้อย
ทางที่สาม คือออกทะเลตามลำน้ำเจ้าพระยา
สองทางหลังปัญหาใหญ่อยู่ที่ บ้านเรือนสองฝั่งน้ำจะอยู่ได้อย่างไรถ้าน้ำท้นทุ่งเก็บน้ำ แล้วระบายลงแม่น้ำและลงทะเลไม่ทัน
นี่ยังไม่คิดถึงชดเชยการทำมาหากิน


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 11 มี.ค. 12, 22:11
ปัญหาน้ำท้นสองฝั่งเจ้าพระยาเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผ่านมาไม่น้อยกว่ายี่สิบปี น้ำท้นฝั่งเจ้าพระยาสูงขึ้นๆตลอดมา   
แต่รัฐไม่สนใจและไม่เคยชดใช้  
วันนี้อยากเห็นรัฐออกมาบอกระดับน้ำว่า ที่หนึ่งๆจะท้นฝั่งที่กี่เมตร 
เช่นบอกว่าท้นฝั่งที่นครสวรรค์ หนึ่งเมตร ที่สิงห์บุรี  ที่อยุธยาและปทุมธานีจะเป็นกี่เมตร
และรัฐจะประกันได้ไหมว่า จะท้นฝั่งไม่เกินกี่เมตร และถ้าเกินจะทำอย่างไร
จริงๆแล้ว ณ วันนี้ท้องถิ่นต่างๆก็คงหาทางป้องกันน้ำแล้ว
นั่นก็หมายความว่าพื้นที่รับน้ำลดลง
รัฐควรบอกความลาดเอียงของพื้นที่ จากนครสวรรค์ถึงปากอ่าวไทยด้วย ก็จะดี 
ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมการตั้งรับที่เหมาะสม
อยากให้รัฐสนใจคนสองฝั่งลำน้ำมากๆ จริงๆ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 12, 11:16
รัฐบาลมั่นใจแผนรับมือน้ำท่วมปี 2555 ทั้งบริหารจัดการน้ำในเขื่อน-ขุดลอกคูคลอง และห้ามประชาชนต่อเติมหรือก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ

นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา ตั้งกระทู้ถามด่วนนายกรัฐมนตรี เรื่องการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยก่อนเข้าสู่ฤดูฝน เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะมีมากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงมาตรการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีประชาชนสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปยังแม่น้ำลำคลอง

ทั้งนี้ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงโดยยืนยันว่ารัฐบาลโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ได้เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 อย่างเป็นระบบ ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมชลประทาน ดูแลการพร่องน้ำโดยคำนึงถึงความต้องการบริโภคและปริมาณการเก็บกักน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตติ์จะมีที่ว่างเก็บน้ำสองเขื่อนรวมกันประมาณ 12,600 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมมั่นใจต่อการวางระบบเตือนภัยที่วางไว้ ว่าจะสามารถให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างทันท่วงที

ด้านนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ได้รับมอบหมายแผนงานจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ให้ป้องกันน้ำไม่ให้ล้นตลิ่งและเข้าไปท่วมทุ่งอย่างเป็นระบบ

พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ระบุว่า รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการตามโครงการขุดลอกคูคลองในล่องน้ำทั่วประเทศทั้งแม่น้ำสายหลักและสาขา เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้กลางเดือนมีนาคมนี้ และจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน นอกจากนี้จะร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการป้องกันและห้ามประชาชนต่อเติมสิ่งก่อสร้างที่จะขัดขวางทางไหลของน้ำ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 มี.ค. 12, 22:28
ริมแม่น้ำน้อย ที่เสนา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 18 มี.ค. 12, 22:56
ขอบคุณรัฐ ที่จะบริหารจัดการน้ำให้ได้ผลดี
คนแถวบ้านผมเขาไม่ได้กลัวน้ำท่วมกันมากนัก เพราะเป็น วิถีชีวิตในรอบปีอยู่แล้ว
สองปีหลัง  ๕๓-๕๔  น้ำมากและมากผิดปกติ ติดต่อกัน คนสองฝั่งน้ำ เลยหวาด
ต้องดีดบ้านกันอีกรอบ เงินที่สะสมไว้ก็ร่อยหลอลงไป  บางท่านถึงกับน้ำตาตกใน
บอกว่า ช่วงชีวิตที่เหลือนี้ คงหาไม่ได้อีกแล้ว  
แต่ ที่โชคดีก็คงมี  คาดว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตคงใช้น้ำได้เต็มที่
แล้วค่าไฟชาวบ้าน จะลดลงบ้างไหมหนอ  
โทษใครดีครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 มี.ค. 12, 22:04
และแล้วค่าไฟฟ้าเดือนนี้ก็แพงกว่าเดือนนี้เมื่อหลายๆปีที่ผ่านมา

เมื่อวานอ่านพบว่า  ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคกลางหลายจังหวัดต้องหาแหล่งพักน้ำในปีนี้
แสดงว่ารัฐมีการเตรียมการเพื่อฤดูน้ำหลาก แต่ที่ยังไม่มีข่าวคราวก็ คือคลองระบายน้ำต่างๆที่ทุ่งรังสิต
และก็ไม่รู้ว่าการขยายคลองระพีพัฒน์ ได้ดำเนินการหริอไม่
คิดในทางบวก แนวโน้มปีนี้น้ำคงไม่มากเท่าปีที่ผ่านมา
รัฐเลยมาเลื่อยๆ มาเรียงๆ
 


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 เม.ย. 12, 22:10
ข่าวนี้คงทำให้คุณ puyum สบายใจขึ้นบ้างนะคะ

วิกฤต น้ำท่วมปลายปี 2554 ที่ผ่านมา "กรมชลประทาน" ตกเป็นจำเลยในอันดับต้น ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักถึงประสิทธิภาพในการทำงานในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการ บริหารจัดการน้ำ ไม่แพ้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตั้งขึ้นเพื่อรับมือมหาอุทกภัยโดยเฉพาะ มาปีนี้ ขณะนี้กรมชลประทานมีความพร้อมในการรับมือน้องน้ำมากน้อยแค่ไหน "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ" อธิบดีกรมชลประทาน ในหลายประเด็นที่คนไทยควรได้รู้

- หลายฝ่ายมองว่าแผนรับมืออุทกภัยยังไม่คืบหน้า

ส่วนที่เรากำลังทำเร่งด่วนเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรับมือหน้าฝนปีนี้ ส่วนใหญ่มีความคืบหน้า และยังไม่มีการแจ้งว่าไม่ทันหน้าฝน หลายเรื่องเร่งดำเนินการอยู่ เช่น การปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ปรับปรุงซ่อมแซมประตูน้ำ คันกั้นน้ำ ฯลฯ การเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสูบและระบายน้ำ เช่นปรับเปลี่ยนจากที่สูบน้ำได้ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 6 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น

จริง ๆ แล้ว หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 ก็มีเตรียมรับมือในปีนี้และปีถัดไปทันทีเป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งเรื่องการก่อสร้าง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนหลักที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยให้กรมชลฯทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ยึดการป้องกันอุทกภัยเป็นหลัก ซึ่งเราได้ปรับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน โดยยึดหลักสมดุลน้ำ ใช้สถานการณ์น้ำแต่ละช่วงมาบริหารจัดการ

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง การกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯเป็นคนพิจารณาในการตัดยอดน้ำ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตั้งแต่ท้ายเขื่อนหลักลงมา

คือ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ จนมาถึงเขื่อนเจ้าพระยา ส่วนพื้นที่ที่ 2 คือ จากเขื่อนเจ้าพระยามาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยใช้น้ำท่วมปี 2554 เป็นฐาน สำหรับพื้นที่รับน้ำนองจะดูพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรับน้ำ และมีมาตรการชดเชยที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะนำเสนอรัฐบาลในเร็ว ๆ นี้


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 เม.ย. 12, 22:11
 กระบวนการจัดการเป็นอย่างไร

เมื่อ เราได้พื้นที่ที่มีศักยภาพแล้ว ก็จะให้คอมพิวเตอร์คำนวณใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า ทำการจำลองซิมูเลชั่น คำนวณน้ำที่จะเข้าไปในพื้นที่รับน้ำ ตัดยอด ใช้พื้นที่เท่าไหร่ เมื่อเราตัดยอดน้ำที่เราพอใจ ขั้นตอนต่อไปคือ จะให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทั้งในส่วนกรมชลฯ จังหวัด เข้าไปช่วยดู ปล่อยน้ำลงพื้นที่ลุ่ม พื้นที่นา ให้สอดคล้องกับกระทรวงเกษตรฯ และสอดคล้องกับที่เรากำหนดคือ ให้ทำนาปีละ 2 หน ฉะนั้นช่วงที่ตัดน้ำเข้าก็จะตัดช่วงที่ไม่ได้ทำนา แต่ก็ต้องมีการชดเชยให้ชาวนาในอัตราที่เหมาะสม มาตรการเร่งด่วนคือ การซ่อมเสริม ระบบสาธารณูปโภค ระบบคัน ประตูน้ำ เครื่องสูบน้ำ ก็ต้องให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน

- เป็นห่วงเรื่องมวลชนไม่เข้าใจบ้างมั้ย

ก็ต้องประชาสัมพันธ์ พูดจากัน ผมว่าถ้าเราพูดชัดเจน ชดเชยในอัตราที่เหมาะสม ชาวบ้านก็ไม่น่าจะมีปัญหา

- อุปสรรคในการดำเนินงาน

ยัง ไม่มี ยกตัวอย่าง กระบวนการอีออกชั่น อย่างน้อยต้องใช้เวลา 45 วัน ถึงจะได้ตัวผู้รับจ้าง แต่เนื่องจากแผนป้องกันน้ำท่วมเป็นเรื่องเร่งด่วน กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางดำเนินการโดยให้สามารถใช้วิธีพิเศษได้ เราก็ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ โดยเน้นย้ำว่า ต้องทำอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

- การป้องกันน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจ

เราจัดทำระบบป้องกัน ตั้งแต่คันกั้นน้ำ การลอกคูคลอง การปรับปรุงสถานีสูบน้ำ เพิ่มจำนวนสถานีสูบน้ำ ซึ่งวันนี้เราไม่ได้แบ่งเรื่องท้องถิ่น เพราะอยู่ในพื้นที่ข้างล่าง ตั้งแต่อยุธยา ปทุมธานีลงมา ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ไปจนถึงอ่าวไทย โดยพิจารณาร่วมกัน ทั้งในส่วนกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพย์ มีการกำหนดร่วมกันว่า ใครทำส่วนไหนอย่างไร เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน

อย่าง แนวคันกั้นน้ำกรมชลฯ ด้านพื้นที่ตะวันตก แนวคันกั้นน้ำคลองพระยาบันลือ ถึงแม้จะเป็นคันของกรมชลฯ ได้มอบให้กรมทางหลวงเป็นคนทำ เพราะมีเรื่องถนนด้วย ส่วนเราก็ดูแลเรื่องคลอง เรื่องประตู เป็นการแบ่งงาน เพื่อให้งานเสร็จเร็ว ซึ่งได้ยกระดับเท่ากับความสูงน้ำท่วมปีที่แล้ว และบวกไปอีก 50 ซม. เพื่อที่จะป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ หากมีน้ำหลากขึ้นมา ก็ยังกำหนดทิศทางให้น้ำออกซ้ายขวาได้


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 เม.ย. 12, 22:11
 - พื้นที่บางส่วนของเมืองนนท์ ปทุมธานี กทม. น้ำจะไม่ท่วม ?
ต้องนิยามคำว่าน้ำท่วมด้วย (นะ) เพราะท่วม 1 เซนติเมตร ก็บอกว่าท่วม เพราะปีที่แล้ว เราเจอน้ำท่วมสูงเป็นเมตร ท่วม 2-4 เดือน ฉะนั้น ปีนี้หากเกิดฝนตกในพื้นที่ใดสักที่หนึ่ง น้ำท่วม 5-10 เซนติเมตร แต่อธิบดีกรมชลฯบอกไม่ท่วม ผมก็ตายสิ

แต่ผมคิดว่า คิดว่าพื้นที่เศรษฐกิจอาจจะไม่ท่วมทั้งหมด อยุธยาอาจจะบางอำเภอ หรือปทุมธานี นนทบุรี อยู่ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา บางส่วนก็อาจจะท่วม แต่ไม่ทั้งหมด

อย่างปทุมธานี เราป้องกันตั้งแต่แนวคันของโครงการพระยาบันลือ ฉะนั้นจะมีแนวคันที่เลียบแม่น้ำท่าจีน ฉะนั้นหากน้ำท้ายเขื่อนมีปริมาณมาก ก็จะผลักเข้าพื้นที่น้ำนอง เมื่อถึงพื้นที่เศรษฐกิจ เราก็กันไม่ให้เข้าพื้นที่เศรษฐกิจ โดยพยายามให้น้ำไหลไปในทิศทางที่กำหนด และอย่างที่บอก แล้วเราก็จะมีสถานีสูบน้ำทั้งที่ปรับปรุงและเพิ่มเติม

- อำนาจในการบริหารจัดการน้ำของกรมชลฯปีนี้อยู่ที่ใคร

ก็ อยู่ที่ซิงเกิลคอมมานด์ แต่แน่นอนว่าข้อมูลในการตัดสินใจอยู่ที่เรา ฉะนั้นถ้าเราเสนอหรือบอกไป แล้วเขาโอเค ก็จบ เพราะเมื่อก่อนไม่มีใครรับผิดชอบเรื่องน้ำ มีกรมชลฯกรมเดียว

ทั้งที่เรื่องน้ำเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ถ้ามีภัยทางน้ำมา แล้วคุณไม่ให้กรมชลฯไปสร้างอะไร

ฉะนั้น เมื่อเกิดภัยทางน้ำ คุณยังให้กรมชลฯรับผิดชอบอยู่เหรอ ในเมื่อคุณไม่ให้เงินมา แต่ทุกคนติดภาพว่า ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เป็นเรื่องของกรมชลฯ แต่วันนี้ไม่ใช่เรื่องของกรมชลฯคนเดียวอีกต่อไป

- หากปีนี้เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ใครควรรับผิดชอบ

คำ สั่งจะมาจากซิงเกิลคอมมานด์ ถามว่ากรมชลฯ ผมก็สั่งให้นายประตูน้ำไปเปิดปิดประตูน้ำได้ แต่ถ้ามีคนขวางอยู่ 100 คน ผมก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ฉะนั้นวันนี้น้ำเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ

- โอกาสน้ำท่วมปีนี้มีมากน้อยแค่ไหน

ผม ว่าน้อยมาก เพราะเหตุการณ์ปีที่แล้ว น้ำมากและมาต่อเนื่อง ทั้งฝนทั้งพายุ คือ ปกติพายุมา ฝนตก 5 วัน 10 วันก็จบ ทัพหน้ามาระลอกหนึ่งก็ผ่านไป อีกครึ่งเดือนพายุมาอีกลูก เป็นทัพหลัง แต่ปีที่แล้วมาทัพเดียว

แต่ ปีนี้เราใช้ข้อมูลปี 2554 เป็นฐาน ถ้าน้ำมาแบบปีที่แล้วเราก็ต้องกันให้ได้ แต่โดยข้อเท็จจริง แนวโน้มของน้ำจะไม่มากเท่าปีที่แล้ว ที่สำคัญ เราเตรียมตัวดีกว่าปีที่แล้วมาก

ผมคิดว่า เรื่องท่วมเป็นเมตร ไม่มีแน่นอน หรือท่วม 1 อาทิตย์ในพื้นที่เศรษฐกิจก็ไม่น่าจะเกิด แต่ไม่อยากบอกว่าไม่ท่วมเลย เพราะปีนี้เราเตรียมตัวดี ป้องกันดี

ที่มา  http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1334859243&grpid=03&catid=&subcatid=


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 เม.ย. 12, 22:34
ขอบคุณครับ ปีนี้น้ำคงไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา
ธรรมชาติดูเหมือนว่าจะผิดปกติ ร้อน ฝนตกพายุลมแรง แผ่นดินไหวถี่ขึ้น
เมื่อวานพบหลาน เขาขึ้นมามาจากแท่นเจาะน้ำมัน บอกว่ารอบเดือนที่ผ่านมา
ก๊าซธรรมชาติพุ่งแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลบร้อนไปดูลิเกหลังโรงดีกว่า


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 เม.ย. 12, 22:39
แถมอีกสองนาง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 02 พ.ค. 12, 22:20
แล้วบ้านเราก็มีอะไรใหม่ๆให้ติดตามกันอีก ทั้งที่เป็นเรื่องที่ชินชากันไปแล้ว
แผ่นดินทรุดตัว ตลิ่งพัง แผ่นดินไหว ไฟประทุ พายุแรง
แต่มันมาสำคัญตรงที่จะทำให้ชาวเมืองหล่วงเดือดร้อน นี่ซิ
บังเอิญไฟไม่คุที่ กทม ชาวเมืองเลยพราดโอกาสไป
วันนี้น้ำแห้งขอดที่เจ้าพระยาและสาขา คนทั่วไปไม่เดือดร้อน แต่สองฝั่งน้ำ ก็เหมือนเดิมอีก
ทั้งเจ้าพระยาและป่าสัก เรือลากจูงพ่นควันพุ้ยน้ำ และจะตามมาด้วยตลิ่งพัง
ไม่ทราบว่าแผนการระบายน้ำเป็นอย่างไร ผลจึงออกมาแบบนี้
เข้าตำราว่า หนีเสือปะจระเข้
ผู้เชี่ชาญเรื่องน้ำหายไปไหนหมดครับ

วันก่อนมีข่าว่าทหาร ขุดลอกคูคลองในเมืองได้ตามเป้าหมาย ขอบคุณครับ
และจะขุดคลองระบายน้ำจากเจ้าพระยาออกแม่กลอง ก็เห็นด้วย
แต่ขอให้จริงอย่างว่านะขอรับ  


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: germanman96 ที่ 04 พ.ค. 12, 16:13
ที่บ้านยายผมกลายเป็นสีเขียวน่าตกใจมาก ไม่น่าเชื่อเล่นไม่ได้เลยเดี๋ยวนี้


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 26 พ.ค. 12, 21:40
ทุ่งมะขามหย่อง หรือ ทุ่งมะขามหยอง
วานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทุ่งมะขามหย่อง ที่พระนครศรีอยุธยา คงได้ชมการถ่ายทอดสดกันแล้ว
ที่ตั้งทุ่งมะขามหย่องคือ  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ที่นี่ไม่เรียกชื่ออำเภอเมือง เหมือนจังหวัดอื่นๆ   
ความสำคัญ  ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดประมาณ ๒๕๐ ไร่ ประกอบด้วยพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และสวนสาธารณะ รายละเอียดอื่นคงทราบ
จากการถ่ายทอดสดแล้ว
แต่ที่อยากจะเล่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ชื่อและลำน้ำเจ้าพระยา  
ชื่อทางการขณะนี้คือทุ่งมะขามหย่อง  ใครทราบคำแปลช่วยกรุณาด้วย แต่ถ้าเป็น ชื่อฉะเพราะคงไม่ต้องแปล
แต่ผมได้รับคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสที่เคารพท่านหนึ่ง พื้นเทท่านอยู่บริเวณนั้น
ท่านเล่าว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า  ทุ่งมะขามหยอง  ไม่ใช่ หย่อง
ท่านว่าเป็นที่แห้งแล้ง ห่างไกล ผู้คนไม่อยากผ่าน
ผมไม่แน่ใจคำว่า หยอง จะเป็น หย่องได้หรือไม่ 
ก็บอกให้ทราบเท่านั้น
แต่เมื่อกรุงแตก  แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ไหลผ่านบริเวณนี้
แม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน ตั้งแต่ บ้านหัวดุม ผ่านบ้านใหม่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าบ้านใหม่หางกระเบน ขึ้นไปทางเหนือ ก่อนถึงบ้านกุ่ม เรียกบ้านทางหลวง  จนถึงแยกคลองบางบาล  เป็นลำน้ำที่เปลี่ยนทางเดินใหม่เเมื่อร้อยกว่าปีมานี้  เดิมผู้เฒ่าเล่าว่าเป็นทางเดินลัด  ทางควายเดินลงน้ำ ชาวบ้านเรียกว่าทางหลวง 
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม คือคลองบางบาลปัจจุบัน แต่ไม่ตลอดคลอง

 


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 05 มิ.ย. 12, 22:22
ก่อนที่จะเขียนเรื่องทุ่งมะขามหย่อง สองสามวัน  เพื่อนจากพิษณุโลก โทรมาถามว่า
แม่น้ำที่ไหลผ่าน หน้าวัดพนัญเชิง คือ แม่น้ำป่าสัก ใช่ไหม
ผมบอกไปว่า เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  แล้วก็ลืมเรื่องนี้ไป
แต่เมื่อจะมาต่อเรื่องคลองบางบาล
ก็กลับไปทบทวน เรื่องการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร แล้วไปที่ต้นฉบับเดิม ก็พบว่า บทความได้รับการ แก้ไขใหม่เมื่อเดือน เมษายน ที่ผ่านมา จึงตัดมาฝาก   การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร [/b]
   การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนต่าง ๆ นั้น  ส่วนใหญ่เกิดจากการขุดคลองลัดระหว่างคุ้งของแม่น้ำเจ้าพระยาเองเพื่อต้องการให้ระยะทางสั้นเข้า การคมนาคมจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น  การขุดคลองลัดนี้ หากไม่สามารถควบคุมน้ำที่จะให้ไหลผ่านคลองได้ น้ำย่อมกัดเซาะคลองลัดซึ่งเป็นทางตรงให้กว้างออกไปและลึกลง  ในขณะเดียวกันแม่น้ำเดิมซึ่งเป็นทางอ้อมก็จะแคบเข้าและตื้นขึ้นจนถึงระยะหนึ่ง คลองลัดก็จะเปลี่ยนสภาพจากคลองกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเดิมก็จะเปลี่ยนในทางตรงกันข้าม คือจากแม่น้ำเป็นคลองไป  การเปลี่ยนแนวในลักษณะเช่นนี้ เมื่อเปลี่ยนไปแล้วก็แล้วกัน และใช้แนวที่เปลี่ยนใหม่เป็นแนวแม่น้ำ ไม่มีข้อยุ่งยากในการเรียกชื่อทั้งแนวเดิมและแนวใหม่
   แต่การเปลี่ยนแนวแม่น้ำจากสามแยกบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้นไป มีข้อยุ่งยากทั้งในการเรียกชื่อและแนวแม่น้ำ ดังจะเห็นได้จากแผนที่มาตราส่วน  1 : 50,000  ของกรมแผนที่ทหารบกฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (สำรวจ พ.ศ.2497 – 2498)   ใช้ชื่อแม่น้ำทั้งที่แยกไปบางปะอินทางตะวันออก  และสีกุกทางตะวันตกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองทาง  เมื่อดูต่อขึ้นไป แม่น้ำทางตะวันออกคงเรียกแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเกาะเมืองอยุธยาตั้งแต่ป้อมเพชรไปถึงหัวแหลม แล้วผ่านบ้านใหม่ไปออกที่วัดจุฬามณี ในท้องที่อำเภอบางบาล  ส่วนทางตะวันตกจากสีกุกขึ้นไปลำน้ำมีขนาดเล็กลงเรียก แม่น้ำบางบาล และตอนที่ผ่านอำเภอบางบาลก่อนจะไปออกที่วัดจุฬามณีเรียก คลองบางบาล
   ครั้งค้นแผนที่ซึ่งพิมพ์ก่อนขึ้นไปคือพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2498 (พิมพ์ตามต้นฉบับเดิม พ.ศ.2469 สำรวจ พ.ศ.2459)  แม่น้ำที่แยกไปทางตะวันออกหามีชื่อเขียนไว้ไม่  และตอนจากบ้านใหม่ขึ้นไปถึงวัดจุฬามณีก็มีขนาดเล็กเป็นเพียงคลองเรียก คลองบ้านกุ่ม  ส่วนที่แยกไปทางตะวันตกยังคงเรียกแม่น้ำเจ้าพระยา  แม้ลำน้ำจากสีกุกขึ้นไปถึงวัดจุฬามณีจะไม่ได้เขียนชื่อไว้ แต่ก็มีขนาดกว้างกว่าในฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 มาก  เห็นชัดว่าเป็นแม่น้ำ เข้าใจว่าในสมัยนั้นคงเรียกตอนนี้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย  ถ้าไม่เรียกแม่น้ำเจ้าพระยาก็คงขาดตอนไป  เพราะเรียกทางที่ลงมาบ้านใหม่ว่าคลองบ้านกุ่มเสียแล้ว
   จากเรื่องอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ซึ่งหลวงสินธุกิจปรีชา เรียบเรียงเมื่อ พ.ศ.2486 มีกล่าวไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้.-
   “เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านพื้นที่ราบนี้มาก  ก็ได้แตกแขนงใหญ่ออกเป็น  3 แขนง  ด้วยกันคือ
     ก.   แม่น้ำสุพรรณบุรี  แยกออกทางฝั่งขวาที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี ไปออกทะเลที่สมุทรสงคราม
     ข.   แม่น้ำน้อย  แยกออกทางฝั่งขวาที่ตอนใต้จังหวัดชัยนาท และไหลขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา  แล้วเลี้ยวเข้าบรรจบกันที่ตำบลสีกุก อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     ค.   แม่น้ำลพบุรี  แยกออกทางฝั่งซ้ายที่บางพุทรา  จังหวัดสิงห์บุรี  ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี  ไปบรรจบกับแควป่าสักที่จังหวัดอยุธยา  ครั้นแล้วจึงไหลรวมกันไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่อำเภอราชคราม (คืออำเภอบางไทรปัจจุบัน)  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
     ข้อความข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า  ในระยะนั้นเรียกลำน้ำจากสีกุกขึ้นไปถึงวัดจุฬามณี  ว่าแม่น้ำเจ้าพระยา  และจากบางไทรไปบางปะอิน เกาะเมืองอยุธยา ว่าแม่น้ำป่าสัก
      จากแผนที่ทั้ง 2 ฉบับ พอจะกล่าวได้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจากวัดจุฬามณี  ซึ่งเรียกตามแผนที่ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2498 ว่า ปากคลองบ้านกุ่ม และพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 ว่า ปากคลองบางบาล ลงมาถึงบางไทร  ได้เปลี่ยนแนวที่เคยลงทางอำเภอบางบาล สีกุก มาทางบ้านใหม่เกาะเมืองอยุธยา บางปะอิน ในระหว่าง พ.ศ.2459 ถึง พ.ศ.2497  แต่จะเปลี่ยนแน่นอนเมื่อใดนั้นยังหาหลักฐานไม่พบ
    เป็นที่ทราบกันดีว่า  พระนครศรีอยุธยาที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1893 นั้น  สร้างขึ้นบริเวณที่แม่น้ำสายใหญ่  3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก มาประสบกัน ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารแล้ว ยังเป็นประตูบ้านของเมืองเหนือทั้งปวดอีกด้วย แนวของแม่น้ำทั้ง 3 สายในเวลานั้นคงเป็นดังนี้ แม่น้ำลพบุรีไหลลงมาทางเหนือทางลำน้ำบ้านม่วง มาถึงมุมพระนครตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่วัดแม่นางปลื้ม แล้วเลี้ยวไปทางตะวันตกตามคลองเมือง ซึ่งขณะนั้นยังเป็นลำน้ำใหญ่ เป็นแม่น้ำด้านเหนือของพระนคร ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไหลลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือทางบ้านใหม่ที่หัวแหลม มุมพระนครทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงมาทิศใต้ เป็นแม่น้ำด้านตะวันตกของพระนคร  ถึงมุมพระนครทางตะวันตกเฉียงใต้ จึงเลี้ยวไปทางตะวันออก เป็นแม่น้ำด้านใต้พระนคร ไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลมาทางตะวันออกทางคลองข้าวสาร หน้าวัดสุวรรณดารารามเดี๋ยวนี้ ที่ป้อมเพชรมุมพระนครทางตะวันออกเฉียงใต้  ต่อจากนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไหลลงทางใต้ เมื่อผ่านบางปะอินแล้วเลี้ยวไปทางตะวันตกไปออกบางไทร
     พระนครศรีอยุธยาเมื่อแรกสร้าง มีเพียงแม่น้ำเพียง 3 ด้าน คือ ด้านเหนือแม่น้ำลพบุรี  ด้านตะวันตกและด้านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนด้านตะวันออกนั้น แม่น้ำป่าสักยังไหลลงทางคลองหันตรา (บางแห่งว่าทางคลองวัดเดิม ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นคลองแยกจากคลองหันตราอีกทีหนึ่ง) มาออกคลองข้าวสาร ยังอยู่ห่างจากพระนคร  จึงได้ขุดลำคูขื่อหน้า คือ แม่น้ำป่าสักในปัจจุบัน จากแม่น้ำลพบุรีตรงมุมพระนครทางตะวันออกเฉียงเหนือมาออกแม่น้ำที่ป้อมเพชร เป็นลำน้ำด้านตะวันออกของพระนคร เป็นอันว่าพระนครศรีอยุธยาเป็นเกาะ มีลำน้ำล้อมรอบทั้ง 4 ด้านตั้งแต่นั้นมา
     แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก บริเวณพระนครศรีอยุธยาทั้ง 3 สายนี้ มีการเกี่ยวโยงถึงกันและกันมาก และต่างก็เปลี่ยนแนวใหม่ด้วยกันทั้งนั้น  หากจะไม่นำการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสักมากล่าวไว้ด้วย  ก็ดูเรื่องนี้จะขาดความสมบูรณ์ไป  ครั้นจะนำมารวมกล่าวไว้เรื่องก็จะยาวไป  และที่สำคัญก็อาจเขียนเรื่องนี้ไม่ทันเวลา  ฉะนั้น จึงขอนำไปกล่าวเป็นเรื่องหนึ่งในโอกาสต่อไป
     เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้  ข้อความในตอนต้นที่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจากบ้านใหม่ ผ่านเกาะเมืองอยุธยา  บางปะอินมาบางไทร เป็นแนวที่เปลี่ยนใหม่ระหว่าง พ.ศ.2459 ถึง พ.ศ.2497  กลับกลายเป็นแนวเดิมไป  ส่วนแนวแม่น้ำทางอำเภอบางบาล สีกุก บางไทร ก็กลายเป็นแนวใหม่ของแนวนี้อีกชั้นหนึ่ง
     ในเมื่อการณ์กลับกลายเป็นเช่นนี้  ทั้งได้พบจากตำนานกรุงเก่าที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2450  ตอนหนึ่งว่า
     “ต่อมาในราว 50 – 60 ปี ล่วงมานี้  มีทางน้ำเกิดขึ้นใหม่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ข้างวัดจุฬา ตำบลบ้านกุ่ม สายน้ำพัดแรงจัด กัดคลองลึกกว้างมาบรรจบแม่น้ำบ้านใหม่ มะขามหย่อง เป็นทางตรง”
     ซึ่งแสดงโดยชัดเจนว่า คลองบ้านกุ่มไม่ใช่แม่น้ำเดิม และคลองนี้มีขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2400 นี้เอง  ฉะนั้น แนวแม่น้ำตอนเหนือบ้านใหม่จึงขาดหายไป
     ได้พบข้อความเกี่ยวกับแม่น้ำตอนเหนือบ้านใหม่นี้ ในเรื่องปิดน้ำบางแก้ว จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้
     “ในปีระกาเบญจศกนั้น (พ.ศ.2356)  โปรดให้เจ้าพระยายมราช (น้อย)  ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยภูธรที่สมุหนายก  เมื่อเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน)  ถึงอสัญกรรม  เป็นแม่กองเกณฑ์คนเมืองนครราชสีมา  ตลอดจนเมืองเวียงจันทน์  และหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเมืองนครราชสีมาออกไป เข้ามาระดมกันทำทำนบกั้นลำน้ำที่เมืองอ่างทอง  เพื่อจะให้สายน้ำไหลเข้าทางคลองบางแก้ว ซึ่งตื้นเขิน ให้กลับใช้เรือเดินได้ตลอดปีดังก่อน
     เนื้อความที่กล่าวในพระราชพงศาวดารตรงนี้ ผู้ที่ไม่ได้ทราบเรื่องทางน้ำในประเทศนี้แต่โบราณมา แม้จะไปดูที่คลองบางแก้วในเวลานี้น่าจะประหลาดใจว่า ทำไมจึงเกณฑ์คนเข้ามาทำทำนบปิดลำแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนั้น  อันความจริงที่เป็นมาแต่เดิมนั้น ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ลงทางหน้าเมืองอ่างทองทุกวันนี้  ลำแม่น้ำเข้าทางบางแก้วมาทางคลองเมืองกรุงเก่า ลงทางวัดพุทไธศวรรย์ มาออกตรงป้อมเพชร แม่น้ำตอนใต้บางแก้วเดิมเป็นแค่คลองขุดมาต่อลำแม่น้ำน้อย  แต่สายน้ำมาเดินเสียทางคลองขุดนี้ กัดแผ่นดินกว้างลึกออกไปเป็นลำแม่น้ำทางบางแก้วจึงตื้นเขินขึ้นทุกที จนใช้เรือไม่ได้ในฤดูแล้ง  ด้วยเหตุนี้ จึงไปทำทำนบปิดทางใหม่ซึ่งน้ำกัด ประสงค์จะให้สายน้ำกลับไปเดินทางบางแก้วซึ่งเป็นลำแม่น้ำเดิม  แต่ทำนบซึ่งทำเมื่อปีระกาญเบญจศกนั้นทานกำลังไม่อยู่  ถึงฤดูน้ำเหนือหลากทำนบก็พังไม่ได้ประโยชน์ดังคาด  สายน้ำลำแม่น้ำเจ้าพระยาจึงลงมาทางเมืองอ่างทองตราบเท่าทุกวันนี้”
     จากพระนิพนธ์นี้เป็นอันได้ความว่า  แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิมลงทางคลองบางแก้วเดี๋ยวนี้  แต่บริเวณพระนครศรีอยุธยา หากแม่น้ำลงทางคลองเมืองก็ต้องมาจากลำน้ำบ้านม่วง ซึ่งเป็นแม่น้ำลพบุรีสายเดิม  แม่น้ำลพบุรีสายเดิมจะต้องมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างน้อยก็ต้องไม่ต่ำกว่าวัดวรนายกรังสรรค์ อำเภอบางปะหัน ปากคลองบ้านม่วงในปัจจุบัน ซึ่งอยู่เหนือพระนครขึ้นไปมาก  ไม่ใช่แม่น้ำ  3 สาย มาประสบกันที่บริเวณพระนคร
     ในตำนานกรุงเก่านั้นเอง  ได้พบข้อความที่กล่าวถึงลำน้ำบ้านใหม่  อีกตอนหนึ่งว่า
     “แม่น้ำอีกสายหนึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางแก้ว ลงบางนางร้า มาทุ่งบ้านนนทรี ออกปากน้ำพุดเลา บรรจบแม่น้ำสายที่มาจากแม่น้ำลพบุรีที่มุมพระนครด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า หัวแหลมนั้น”
     เมื่อพิจารณาแผนที่ฉบับสำรวจเมื่อ พ.ศ.2429  จะเห็นว่า แนวลำน้ำบ้านใหม่ คือ คลองบางแก้ว  และก่อนจะบรรจบแม่น้ำลพบุรีที่อำเภอมหาราช เลี้ยวลงคลองบ้านแจ้ง คลองบางนางร้า คลองบ้านรี คลองนนทรี ซึ่งแผนที่ฉบับสำรวจต่อมาเมื่อ พ.ศ.2497 – 2498 เรียก 2 คลองหลังนี้ว่า คลองบางแพ่ง มาออกบ้านใหม่ ผ่านคลองพุดเลาซึ่งเรียกว่าปากน้ำพุดเลา มาหัวแหลม ตรงตามที่กล่าวไว้ในตำนานกรุงเก่า  และเมื่อยังหาหลักฐานที่ดีกว่านี้ไม่ได้  ฉะนั้น ในชั้นนี้จึงขอสันนิษฐานว่า ลำน้ำบ้านใหม่ คือ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ลงทางบางแก้วมาพระนครศรีอยุธยาไปก่อน  ถ้านำเอาข้อความในสาส์นสมเด็จภาค 45  ที่กล่าวถึงแม่น้ำน้อยไว้ตอนหนึ่งว่า
     “มีแม่น้ำน้อย (ที่ตั้งเมืองสรรค์)  อีกสายหนึ่งมาใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านอ่างทองข้างใต้บางแก้ว  แล้งลงมาผ่านบ้านป่าโมกมาออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางไทร”  และอีกตอนหนึ่งว่า “อยู่มาคงเป็นเพราะขุดคลองลัดจากแม่น้ำเจ้าพระยา จากบางแก้วมาทะลุแม่น้ำน้อย ใกล้ ๆ บ้านอ่างทอง  ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา”
     มาประกอบก็พอที่จะประมวลเรื่องการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทรได้ตามลำดับดังนี้
     เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงทางคลองบางแก้ว คลองบ้านแจ้ง คลองบางแพ่ง มาออกบ้านใหม่ ผ่านพระนครศรีอยุธยา บางปะอิน มาบางไทร
     ครั้นในสมัยอยุธยา ได้ขุดคลองลัดจากบางแก้วลงมาบรรจบแม่น้ำน้อยที่อ่างทองซึ่งอยู่ใต้ลงไปเล็กน้อย  คลองลัดในแผนที่แสดงไว้ชัดเจนว่าขุดออกจากท้องคุ้ง  น้ำจึงไหลลงทางคลองลัดแรงทำให้แม่น้ำทางบางแก้วลงไปตื้นเขินโดยลำดับ  มาจนปลายสมัยอยุธยา  หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์ แม่น้ำเจ้าพระยาจึงเปลี่ยนแนวมาทางแม่น้ำน้อยสายเดิม  คือจากบางแก้วมาป่าโมก  วัดจุฬามณี  บางบาล  สีกุก  มาบรรจบกับแม่น้ำตามแนวเดิมที่บางไทร  นับเป็นการเปลี่ยนครั้งที่ 1
     ด้วยเหตุที่เกาะเมืองอยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำใหญ่ถึง  3 สาย  นอกจากนี้ยังมีคลองหัวสะพาน ซึ่งขุดขึ้นในสมัยอยุธยา  และคงเป็นคลองขนาดใหญ่  เพราะปรากฏว่าในสมัยนั้นมีเกาะมหาพราหมณ์  อยู่ในคลองนี้ ขุดจากแม่น้ำน้อยสายเดิมที่ใต้อำเภอบางบาลมาต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้บ้านใหม่  ฉะนั้น แม้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ลงทางบางแก้วจะตื้นเขินกลายเป็นคลองไป  แม่น้ำตอนใต้บ้านใหม่ลงมาจึงยังคงเป็นแม่น้ำอยู่  ทั้งความทรงจำที่ว่า พระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาได้มีมาช้านาน  แม้ในแผนที่จะไม่ได้เขียนชื่อแม่น้ำเจ้าพระยากำกับแนวแม่น้ำไว้  สามัญชนก็ยังคงเข้าใจและเรียกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตามเดิม
     ต่อมาประมาณ พ.ศ.2400 ได้ขุดคลองบ้านกุ่มจากวัดจุฬามณี เป็นคลองลัดมาลงแม่น้ำที่บ้านใหม่ และก็ขุดออกจากท้องคุ้งเช่นเดียวกัน น้ำไหลลงทางคลองนี้แรงและเชี่ยวจัด ทำให้แม่น้ำทางอำเภอบางบาลตื้นและแคบเข้า ในเวลาไม่ถึงร้อยปี แม่น้ำเจ้าพระยาจากวัดจุฬามณี ก็เปลี่ยนแนวกลับมาทางบ้านใหม่ เกาะเมืองอยุธยา บางปะอิน บางไทร ซึ่งเป็นแม่น้ำเดิม นับเป็นการเปลี่ยนเป็นครั้งที่ 2 และยังคงเป็นอยู่มาจนทุกวันนี้
     ที่สีกุกก็เช่นเดียวกับที่เกาะเมืองอยุธยา  โดยเป็นที่รวมของแม่น้ำสีกุก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำน้อยในปัจจุบัน  และแม่น้ำน้อยสายเดิมซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปลี่ยนเป็นครั้งที่ 1  และเป็นคลองบางบาลในปัจจุบัน  ฉะนั้น แม้ลำน้ำทางคลองบางบาลจะตื้นเขิน  แม่น้ำจากสีกุกลงมาบางไทร ก็ยังคงเป็นแม่น้ำอยู่และก็เพิ่งเปลี่ยนมาไม่นาน  ในแผนที่ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504  จึงยังคงเรียกว่าแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นอันว่าในแผนที่ฉบับนี้ แม่น้ำเจ้าพระยามี  2 ทาง  ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น
     เป็นที่น่ายินดีว่าในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2506 ได้เรียกแม่น้ำน้อยต่อจากสีกุกมาจนออกบางไทร นับว่าเป็นไปตามหลักวิชาการ เช่น ที่หลวงสินธุกิจปรีชา เคยเรียกแม่น้ำจากป้อมเพชรผ่านบางปะอิน มาบางไทร ในเมืองแม่น้ำเจ้าพระยายังลงทางบางบาล สีกุก บางไทร ว่า แม่น้ำป่าสัก
     เรื่องนี้ขอจบลงด้วยข้อความว่า การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร เปลี่ยนโดยการขุดคลองลัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปต่อกับแม่น้ำสายอื่นทั้ง 2 คราว  และมีข้อยุ่งยากในการเรียกชื่อทั้งแนวเดิมและแนวใหม่ เป็นข้อแตกต่างไปจากการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนอื่น ๆ แต่ก็หวังว่า จากเรื่องนี้พอที่จะช่วยให้ข้อยุ่งยากบรรเทาลงไปได้บ้าง

ผู้เรียบเรียง : อดุล    อิ่มโอชา
23  มิถุนายน  2512
ที่มา : หนังสือ บทความบางเรื่อง
โดย แผนกสถิติวิจัย  กองแผนงาน  กรมชลประทาน 
27  มิถุนายน  2515
แก้ไขล่าสุด (วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2012 เวลา 19:36 น.)
 
Copyright © 2012 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมอาคารที่ทำการฝ่ายวิชาการ ชั้น 4 กรมชล



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มิ.ย. 12, 22:32
ขอบคุณครับ ปีนี้น้ำคงไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา
ธรรมชาติดูเหมือนว่าจะผิดปกติ ร้อน ฝนตกพายุลมแรง แผ่นดินไหวถี่ขึ้น
เมื่อวานพบหลาน เขาขึ้นมามาจากแท่นเจาะน้ำมัน บอกว่ารอบเดือนที่ผ่านมา
ก๊าซธรรมชาติพุ่งแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลบร้อนไปดูลิเกหลังโรงดีกว่า

แหม เห็นลิเกแล้วนึกถึง "กระต่ายเต้น"

จันทราลอยแจ่มฟ้าเด่น คืนเดือนเพ็ญมองเห็นเย็นตา....
โบราณคนเก่าเล่าว่า   ยายตาทำนาสองคน....  ;D


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 19 มิ.ย. 12, 21:42
คุณ siamese ครับ
ผมไม่สามรถนำแผนที่มาประกอบข้อความที่ ๘๘ ได้ จะต่อเรื่องเจ้าพระยา ตอนผ่านบางบาล ก็จะยุ่งยาก
ทำอย่างไรดีครับ  


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 มิ.ย. 12, 21:36
นำภาพเก่า วัดสีกุก ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล มาให้ชม
วัดนี้สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณที่คลองบางบาลบรรจบกับแม่น้ำน้อย


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 15 ก.ค. 12, 22:05
คลองบางบาลปัจจุบัน จากบ้านกุ่มเลื่อยลงไปบรรจบแม่น้ำน้อยที่บ้านสีกุก ต.น้ำเต้า อ.บางบาล
แต่แม่น้ำเจ้าพระยาตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอายุเก้าสิบปีกว่า บอกว่า ลงไปตามคลองปัจจุบัน
แล้ววกไปตะวันออกตามคลองมหาพราหมณ์(บทความของกรมชล บอกว่าคลองหัวสะพาน)ออกแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบันที่บ้าหัวดุม ต.บ้านป้อม
อ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณนั้นมีวัดชื่อวัดขนอน เข้าใจว่าเป็นขนอนในสมัยอยุธยา
แล้วไหลลงไปบรรจบแม่น้ำลพบุรีเดิม(ปัจจุบันคือคลองเมือง)ที่หัวแหลม
ฝั่งตะวันตกของคลองบางบาลปัจจุบัน(จากบ้านบางชะนีถึงน้ำเต้า) คือทุ่งบางบาลที่รัฐจะใช้เป็นที่เก็บน้ำในฤดูน้ำที่จะถึงนี้
ทุ่งนี้เป็นเกาะ เพราะถูกล้อมรอบด้วยคลองบางบาล คลองบางหลวงและแม่น้ำน้อย มีคันชลประทานล้อมรอบ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.ค. 12, 20:43
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ริมคลองบางบาลห่างตลิ่งประมาณ ๒๐ เมตร ปีที่ผ่านมาน้ำไม่ท่วมพื้นบ้าน
แต่ใกล้เคียงที่จะท่วม 
ปีนี้เจ้าของบ้านต้องเดินบ้านห่างที่เดิมออกไปกว่า ๕๐ เมตร  และดีดให้สูงกว่าเดิม ครึ่งเมตร
โดยให้เหตุผลว่า ตลิ่งเริ่มพังเข้ามาใกล้แล้ว  และให้แน่ใจว่า จะไม่ถูกน้ำท่วม ใช้เงินไปเป็นแสน
ความกังวนยังมีอยู่กับพี่น้องที่มีบ้านอยู่ริมเจ้าพระยา ครับ รัฐคงต้องสร้างความมั่นใจให้มากกว่านี้


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ค. 12, 20:56
คุณ siamese ครับ
ผมไม่สามรถนำแผนที่มาประกอบข้อความที่ ๘๘ ได้ จะต่อเรื่องเจ้าพระยา ตอนผ่านบางบาล ก็จะยุ่งยาก
ทำอย่างไรดีครับ  

แผนที่จากไหนหรือครับผม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.ค. 12, 20:59
เมื่อน้ำที่ผ่านมา ไอ้ตัวอย่างนี้มาเยี่ยมบ้านผมสองครั้ง
สัปดาห์ที่แล้ว เขามาเยี่ยมผมอีก
โชคดีที่มาบ้านผม ไม่อย่างนั้นคงถูกผัดเผ็ดไปแล้ว


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.ค. 12, 21:10
จากบทความของกรมชลประทานครับ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร ครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.ค. 12, 17:04
ไปเจอเรื่องเจ้าพระยาที่อยุธยา ได้แต่อ่านผ่านๆ
ผู้สนใจลองอ่านดู

เดิมไม่ค่อยเข้าใจแนวลำนํ้าอยู่แล้ว อ่านไปไม่ค่อยเข้าใจ

http://ayutthaya-history.com/Essays_Waterways.html


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เกิดกรุงเก่า ที่ 26 ก.ค. 12, 22:01
จาก essay ที่คุณ visitna แนบมารวมทั้งแผนที่ในessay นี้ยืนยันค่อนข้างชัดเจนว่าแนวแม่นํ้าเจ้าพระยาเดิมนั้นคือคลองบางบาลในปัจจุบัน และถูกเชื่อมเข้าสู่เกาะเมืองโดยคลองมหาพรมหณ์ที่ถูกขุดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนแม่นํ้าเจ้าพระยาที่เห็นอยู่ในปัจจุุบันจากวัดจุฬามณีผ่านบ้านใหม่ภูเขาทอง หัวดุมจนถึงเกาะเมืองนั้นถูกขุดขึ้นมาและภายหลังแม่นํ้าจึงไหลเปลี่ยนทิศทางดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน.   ขอบคุณคุณvisitna มากครับที่แนบ essay นี้มาให้ได้อ่านกัน คงต้องอ่านอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เกิดกรุงเก่า ที่ 27 ก.ค. 12, 12:20

มีภาพริมแม่นํ้าเจ้าพระยามาฝากรูปแรกเป็นวัดจุฬามณีเมื่อเดือนตุลาคม 2554


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เกิดกรุงเก่า ที่ 27 ก.ค. 12, 12:25
รูปที่ 2  แม่นํ้าเจ้าพระยาย่าน วัดจุฬามณียังมียังมีก๋วยเตี่ยวเรือขายอยู่

รูปที่ 3 ทุกๆเช้ายังมีพระบิณฑบาตรโปรดญาติโยมอยู่ ภาพนี้ถ่ายช่วงท้ายวัดจุฬาตรงปากคลองบางบาล (แม่นํ้าเจ้าพระยาเดิม)


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ค. 12, 15:28
ตามแผนที่ที่ผมลองลากดู

เส้นสีเขียวน่าจะเป็นแม่นํ้าเดิมตั้งแต่โบราณ(ปัจจุบันเรียกว่าอะไร  ผมไม่ทราบ)

เส้นสีชมพูม่วง แนวที่ขุดในสมัยอยุธยา ทำให้เจ้าพระยาเปลี่ยนทางนํ้า

เส้นสีส้มแดงคือแม่นํ้าลพบุรีเดิมตั้งแต่โบราณ ก่อนที่จะตั้งกรุงศรีอยุธยา จะลงไปบรรจบกับเจ้าพระยาที่บางไทร

แถวไหนที่เรียกว่าลานเท??


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 31 ก.ค. 12, 16:16
คลองบางบาล(แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม)


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 04 ส.ค. 12, 22:11
ลานเท ผมเกือบลืมคำนี้ไปแล้วครับ เมื่อผมบวชพระ คุณแม่หาละครมาเล่นแก้บน
ท่านเล่าว่าเมื่อผมยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่นั่งเรือแดงจากบ้าน ผ่านบริเวณที่เรียกว่า ลานเท ขณะที่มีฝนลมแรง คุณแม่กลัวเรือร่ม
จึงบนบานศาลกล่าวขอให้อย่าได้เกิดเหตุร้าย แล้วเมื่อไรผมบวช ท่านจะมีละครแก้บนให้
ผมไม่ได้ถามท่านต่อ แต่ก็เข้าใจลานเทมาแล้วเมื่อคุณครูให้อ่าน วรรณกรรมเรื่อง หลายชีวิต  
ลานเทตามแผนที่ ที่แนบ  คือบริเวณใต้ อ.บางไทร ลงไปบริเวณที่เส้นสีเขียวพบกับเส้นสีส้มแดง (สามแยกบางไทร)คือแถวๆศูนย์ศีลปาชีพบางไทร
สีส้มแดง จะเป็นแม่น้ำลพบุรี ตามที่คุณว่า แต่ตอนสมัยอยุธยาน่าจะจากหัวรอ บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา(สีชมพู)บริเวณสามแยกหัวแหลม
(ค.ห. ที่ ๘๘) ปัจจุบันคือคลองเมือง
สีชมพูม่วง  คือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน  จากคำบอกเล่าน่าจะเกิดช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา
แนวสีเขียว คือคลองบางบาล (จากบ้านกุ่ม บางบาล หัวสะพาน จบเจา ออกแม่น้ำน้อยที่บ้านสีกุก จากสีกุก ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน ที่บางไทร )
หรือ ลำน้ำเจ้าพระยาเดิม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ส.ค. 12, 00:17
สมัยผมเป็นเด็กเดินทางโดยทางเรือบ่อยทุกปี แถวนครศรีฯ ไปหายายช่วงปิดเทอม
โดยสารเรือเมล์มีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น คงจะเหมือนที่ใช้ในเจ้าพระยา-สุพรรณฯ

สมัยรับศึกพระเจ้าปดุง กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท
ไปรับศึกโดยไปทางเรือจาก กรุงเทพฯออกไปทางแม่นํ้าสุพรรณบุรี
กันไม่ให้พม่าข้ามแม่นํ้ามารอจนทัพบกมารุมพม่าถอยทัพกลับไป

เคยอ่านเจอว่าจากแม่นํ้าน้อยไป บ้านแพน ไปเจ้าเจ็ด จากนั้นเข้าแม่นํ้าสุพรรณบุรี
คนสุพรรณบุรีสมัยก่อนเข้ามากรุงเทพก็มาทางเรือ แม้ในปี 2508 ยังมีคนมาทางเรืออยู่

แม่นํ้าที่บ้านผม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 01 ก.ย. 12, 21:58
เรือเมล์สมัยนั้นออกจากท่าเตียน ไปบ้านแพนเข้าประตูน้ำเจ้าเจ็ด ไปบางช้าย บ้านสุด เข้าบางปลาม้าครับ
ที่จำได้ชื่อเรือได้มาจากชื่อในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน แต่ผมไม่เคยนั่งถึงสุพรรณครับ
อีกสายหนึ่งก็ออกจากอ่างทอง ล่องเจ้าพระยา มาปลายทางที่ท่าเตียนครับ ไม่ทราบหมดไปเมื่อไร
หลังจากยุคนี้ก็มาถึงยุคเรือด่วนบ้านแพน แล้วก็หมดไป เรือก็เลยขายมาเป็นเรือด่วนเจ้าพระยาปัจจุบัน
ปัจจุบันการขนส่งทางเจ้าพระยายังมีอยู่ครับ ก็จากเหนือสุดที่อ่างทองลงมาอยุธยาปลายทางใกลสุดที่เกาะสีชัง
และจาก อ.ท่าเรือ ตามลำน้ำป่าสัก เข้าเจ้าพระยาที่อยุธยา ปลายทางเช่นเดียวกันครับ ทั้งสองสายสร้างปัญหากับบ้านเรือนสองฝั่งเสมอๆ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ย. 12, 16:58
ปีนี้น้ำจะท่วมเจ้าพระยาอีกไหม?
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 30 สค  2555  นายสหภูมิ ภูมิฐิติรัตน์ ผ.อ.สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยถึงการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม ในส่วนของการดูแลโบราณสถาน ซึ่งแนวทางในปี 2555 นี้ ได้มีการเร่งเสริมฐานล่างของโบราณสถานทังหมด ซึ่งมีอยู่จำนวน 96 แห่ง โดยเฉพาะโบราณสถานที่สำคัญเช่นวัดไชยวัฒนาราม วัดมหาธาตุ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดราชบูรณะ ซึ่งใช้งบประมาณ 167 ล้านบาท และขณะนี้แล้วเสร็จไปแล้ว 80 กว่าเปอร์เซ็น โดยส่วนที่ยังเร่งดำเนินการเสริมฐานล่างคือที่วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งยังไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเดิน เนื่องจากยังมีคนงานเข้าไปทำงานทุกวันในจุดที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อการพังทลาย ในส่วนของแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกที่เคยเกิดพังทลายและน้ำทะลักเข้าไปนั้น ได้มีการใช้ดินไปทำแนวกั้นแทนแล้ว และมั่นใจว่ากำแพงคอนกรีตบังเกอร์ป้องกันน้ำที่จัดทำไว้ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมโบราณสถานวัดไชยวัฒนารามได้อย่างแน่นอน หากระดับน้ำสูงไม่เกิน 2.20 เมตร

ด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานขนส่งทางน้ำเจ้าท่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ลงเรือตรวจการสำรวจความคืบหน้าการขุดลอกแม่น้ำ ตามโครงการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่ท้ายวัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา ไปจนถึง ต.เกาะเกิด อ.บางปะอิน ซึ่งพบว่าขณะนี้ขุดไปได้กว่า 80 เปอร์เซ็นแล้วเช่นกัน นายวิทยา กล่าวว่า โครงการนี้ใฃ้เรือขุดขนาดใหญ่จำนวน 6 ลำ ทำการขุดช่วงสันดอนทราย และล่องน้ำลึกลงไปอีก 12 เมตร กว้าง 50 เมตร โดยจะไม่กระทบกับประชาชนหรือเรือสินค้า แต่จะเพิ่มเนื้อที่ในการพร่องน้ำได้มากขึ้นอีก จากเดิม 500 ลบ.เมตรต่อวินาที เป็น 600 ลบ.ม.ต่อวินาที และยังทำให้มีพื้นที่รับน้ำได้อีกจากเดิม 1.6 ล้านลบ.เมตร เป็น 2 ล้านลบ.เมตร โดยขณะยังเหลือระยะทางอีก 7 ก.ม.ก็จะแล้วเสร็จ คาดว่าจะเสร็จในช่วงวันที่ 15 ก.ย.นี้ ซึ่งจะสามารถพร่องน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมได้อีกทางหนึ่ง
http://77.nationchannel.com/home/290906/


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ก.ย. 12, 19:07
ควรจะลอกกันทุกสาย อย่างแม่นํ้ายม(ไม่เห็นนานแล้ว)น่าจะลอก

เรื่องเรือโดยสาร ลุงเชยในชุดสามเกลอขึ้นเรือที่นครสวรรค์มาเทียบท่าเขียวไข่กาบางกระบือ

พวกเรือเดินสมุทรที่ส่งสินค้าไปภาคใต้กับตะวันออก น่าจะจอดที่ท่าราชวงศ์


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.ย. 12, 21:56
มาแล้วครับ  อย่าตกใจ
รัฐทดลองระบายน้ำแล้ว ระบบปกติ แต่น้ำมากจริง ไม่รู้ครับ
เมื่อเช้าออกตลาดพบเห็นปลาค้าวปลาแดงวางขายมากกว่าธรรมดา
แม่ค้าบอกว่า ปลาแม่น้ำ
สามัญสำนึกบอกว่า น้ำมาแล้ว เลยถามไปว่า ที่บ้านน้ำท่วมหรือยัง
ได้คำตอบว่า เริ่มเข้าข้างบ้านแล้ว คนใกล้ๆบอกว่าที่บ้านท่วมใต้ถุนแล้ว
กลางวันไปดูระดับน้ำอยู่ที่ ๕.๑๐ เมตร ถ้าเป็นที่ ๖ เมตร น้ำจะท่วมปกติตามฤดูกาล  
เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำที่ประมาณ  ๑๘๐๐ ลบม/ว  ที่บางไทร ๑๑๐๐  ที่หายไป คงอยู่บนตะลิ่งแล้ว
ปีนี้ แม้ดูเหมือนว่า จะหล้าไปบ้าง
แต่ ฤดูน้ำปีนี้ก็มาถึงแล้วครับ ที่อยุธยา

ไม่ทราบครับ ตอนนั้นลุงเชย ไปเยี่ยมบ้านหญิงโคมเขียว ที่ท่าเขียวไข่กาด้วยหรือเปล่า


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 11 ก.ย. 12, 22:10
เมื่อเย็นนี้ ระดับน้ำเจ้าพระยาที่บางบาลอยู่ที่ ๕.๕๐ เมตร
ข่าวบอกว่าน้ำท่วมอยุธยาแล้ว
ก็จริงครับ แต่ยังท่วมในระดับปกติ  
ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาวันนี้ ๑,๗๙๘ ลบม/ว ผ่านบางไทรที่ ๑,๕๘๘ 
ในรอบ ๒๔ ชม.ที่ผ่านมา น้ำสูงขึ้นประมาณ ๔๐ ซ.ม. ชาวบ้านบอกว่าน้ำขึ้นเร็ว
ค่ำฝนตกมาก น้ำคงนองทุ้งและคงท้นตะลิ่งสูงขึ้นอีก
ใครอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาใต้อยุธยาลงไป อย่าตกใจ
แต่ขนของหนีน้ำบ้าง ก็ดีนะครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 14 ก.ย. 12, 19:52
น้ำท้นสองฝั่งเจ้าพระยาและลำน้ำน้อยที่บางบาลและเสนา ยังเป็นไปตามฤดูกาล
แม้นว่ากรมชลฯจะปล่อยน้ำจากเขื่อนมากขึ้นเป็น ๑,๙๐๖ ลบม/ว ก็ยังอยูในภาวะปกติ ที่รับได้ครับ
แต่อย่างไรก็ตามบ้านที่อยู่ในที่ต่ำ น้ำก็คงท่วมไปแล้วบ้าง
เมื่อวานท่านนายกฯไปเยี่ยมที่บางหลวง อ.บางบาล ที่นั่นน้ำท้นฝั่งคลองทุกปี เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ  
ตั้งแต่ โผงเผง บางหลวงโดด บางหลวง วัดตะกู ทางช้าง หัวเวียง บ้านโรงนา เป็นพื้นที่สองฝั่งคลองบางหลวง
และอยู่นอกคันชลประทาน ปกติน้ำจะท่วมทุกปี
ชาวบ้านทราบอยู่แล้วครับ และจะปลูกพืชผักสวนครัวและกล้วยหอม ปีใดน้ำมาเร็วพืชผักก็จะเสียหาย
ที่ท่านนายกไปเยี่ยมเมื่อวานนี้ ชาวบ้านเล่าว่าเป็นบริเวณบ้านของ นายช้าง พระสหายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.ย. 12, 22:34
ได้ข่าวฝนตกที่กรุงเทพมาก ก็ให้นึกเป็นห่วงว่ารถจะติดหนึบ น้ำจะขังในที่ลุ่ม
แล้วคราวนี้ก็จะเป็นการพิสูจน์ฝีมือชาวกรุงบ้าง 
แต่คงจะโชคดี ตอนนี้น้ำทะเลไม่หนุน เจ้าพระยาน้ำยังไม่ผิดปกติ
หากพายุเข้าแถวๆพิจิตร พิษณุโลก และภาคกลางอีกสักสองลูก ก็คงได้พิสูจน์ฝีมือรัฐจริงๆ ปีนี้อีกสักครั้ง
แต่ไม่มีพายุดีกว่า ทุง่น้ำนอง ทุ่งเก็บน้ำจะได้ทำกินบ้าง ชาวกรุงสองฝั่งเจ้าพระยาก็จะไม่หวาด
แล้วก็จะได้มีเวลาเรียกร้องค่าเสียหายเก่า ที่ยังค้าอยู่ได้อีก



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 09 ต.ค. 12, 21:23
หมู่นี้ไม่นำรูปมาลง ก็เพราะมีโรคเข้ามารบกวนคอม หลายอย่างจึงผิดเพี้ยนไป ให้พรรคพวกช่วยรักษา หายแล้วบางส่วนก็เลยหายไปด้วย
ก็กำลังศึกษาวิธีอยู่  สำเร็จเมื่อไรจะนำที่อยากให้เห็น มาให้เห็น
ถ้าไม่กล่าวถึง แกมี ก็คงผิดปกติไป อยากจะบอกบางอย่างก็ไม่กล้า เพราะเราไม่ไช่นักวิชาการ
เห็นสื่อและบางคนเล่นกันเสียจนชาวบ้านชาวช่องขวัญกระเจิง
ถ้าสังเกต แกมี ที่ความเร็วลมและอัตราการเคลื่อนที่แล้ว ก็พอจะรู้ได้ แต่ไม่เห็นค่อยพูดกัน
ทิศทาง ตามปกติน่าจะผ่านสูงขึ้นไปอีก คือภาคกลางตอนบน มากกว่าตรง กทม.
ผ่านไปแล้ว เจ้าพระยายังปกติ คนอยู่ใต้อยุธยาลงไป ไม่ต้องกลัว
น้ำเจ้าพระยาปีนี้ไม่มากมายกว่าปกติที่ผ่ามา เทียบกับปี ๕๓ ยังไม่ได้เลย
แค่ท้นฝั่งที่ลุ่มเดิม บางแห่งเท่านั้น
ที่น่ากลัวคือแร้งนี้จะมีน้ำพอให้บางที่มีกินมีใช้หรือไม่ต่างหาก


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 พ.ย. 12, 19:44
แร้งนี้คงมีปัญหาเรื่องน้ำแน่ๆ
สองสัปดห์มานี้ ไปไหว้วัด เลยนำรูปมาฝาก

ลำน้ำเจ้าพระยา หน้าวัดไชโย อ่างทอง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 พ.ย. 12, 19:57
แข่งเรือ งานไหว้วัดป่าโมก อ่างทอง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 พ.ย. 12, 20:03
ลำน้ำป่าสัก หน้าวัดพนัญเชิง และลำน้ำน้อย หน้าวัดสีกุก อยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 11 พ.ย. 12, 23:11
ขอแก้คำผิดครับ
หน้าแร้ง ที่ถูกคือ หน้าแล้ง  
สัปดาห์ ด้วยครับ
ขอโทษครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 11 เม.ย. 13, 22:18
มติชนวันนี้ลงภาพตลิ่งทรุดริมฝั่งเจ้าพระยา หน้าวัดนักบุญยอแซฟ ตรงข้ามเกาะเมืองอยุธยา
และยังมีอีกหลายแห่ง ตั้งแต่อยุธยาถึงป่าโมกข์ ที่ไม่เป็นข่าว

เพราะสาเหตุเดิมๆที่รัฐรู้ แต่ให้ความสำคัญกับผู้คนสองฝั่งเจ้าพระยาน้อยเกินไป


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 เม.ย. 13, 08:15
มติชนวันนี้ลงภาพตลิ่งทรุดริมฝั่งเจ้าพระยา หน้าวัดนักบุญยอแซฟ ตรงข้ามเกาะเมืองอยุธยา
และยังมีอีกหลายแห่ง ตั้งแต่อยุธยาถึงป่าโมกข์ ที่ไม่เป็นข่าว

เพราะสาเหตุเดิมๆที่รัฐรู้ แต่ให้ความสำคัญกับผู้คนสองฝั่งเจ้าพระยาน้อยเกินไป

เป็นเรื่องของธรรมชาติที่กระแสน้ำจะกัดเซาะตลิ่ง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 มิ.ย. 13, 21:25
นอกเหนือการควบคุม ที่คอขวดเจ้าพระยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 มิ.ย. 13, 21:31
วันนี้น้ำมาก ปลายทางที่เมืองหลวง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 07 ส.ค. 13, 15:14
เข้าพรรษาแล้ว


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 13, 12:08
สวัสดีครับ ฤดูน้ำหลากปี ๕๖ ลุ่มน้ำเจ้าพระยากำลังจะจากไป ผมมีของจากกรมชลประทานมาฝากครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 13, 12:14
ของใหม่ปี ๕๖ จากกรมชลประทาน


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 13, 12:19
จากเขื่อนเจ้าพระยาถึงอยุธยา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 13, 12:29
ระดับของพื้นที่ นครสวรรค์ - พระนครศรีอยุธยา ต่างกันประมาณ  ๑๒ เมตร


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ต.ค. 13, 16:29
ตกลงว่าอยุธยา น้ำท่วมหรือไม่ท่วมคะ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 13, 20:42
ลุ่มเจ้าพระยาท่วมครับ มากกว่าปี๕๕ แต่ไม่ผิดปกติ  ส่วนลุ่มป่าสักท่วมผิดปกติ แต่ไม่เท่าปี ๕๔ ครับ
ทั้งนี้อาจเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 ต.ค. 13, 21:05
ปีนี้น้ำเจ้าพระยาคนรุ่นผมบอกว่ายังปกติ  แต่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป บ้านเรือนดั้งเดิมใต้ถุนสูง ถูกต่อเติมกลับเป็น   ไม่มี น้ำมาเลยเป็นปัญหา 
ลุ่มน้ำบางปะกง ญาติพี่น้องเราปีนี้ก็เหมือนๆบ้านผมเมื่อปี ๕๔ เพราะใครๆก็ไม่สามารถสั่งเทวดาได้ ฝนมาก ป่าลด การบริหารจัดการน้ำจึงมีปัญหา
รัฐมุ่งแก้ปัญหา การจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา เลยหลงลืมที่ลุ่มข้างเคียง  ผมไม่แน่ใจว่าเราขาดข้อมูลสารสนเทศหรือเราขาดผู้ตัดสินใจที่จะกระทำ หรือเราไม่สน
ธรรมชาติทิศทางของน้ำเราน่าจะรู้ และก็น่าจะรู้ด้วยว่าอะไรคืออุปสรรคของการระบายน้ำ
น้ำท่วมปี ๕๔ ยังสรุปข้อมูลไม่ได้ เว้นหนึ่งปี เกิดปัญหาที่ภาคตะวันออก
แล้วปีหน้าเทวดาจะบอกไหมว่า จะเป็นอย่างไร ที่ไหน จะโทษใครดี
ณ เวลานี้ ให้ทันสมัย ต้องบอกว่า การจัดการศึกษา


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 29 มี.ค. 14, 20:31
เจ้าพระยาวันนี้  เปลี่ยนสีได้ไหม


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 มิ.ย. 14, 22:03
คลองบางบาลวันนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อร้อยปีก่อน


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มิ.ย. 14, 15:22
โรเบอร์ท เพ็นเดิลตัน ถ่ายรูปแม่นํ้าเจ้าพระยาไว้เยอะ ลองไปหาดู

ตัวอย่าง  ภาพอำเภอเสนา คศ1938


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 14, 15:37
 ;D


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 04 ก.ย. 14, 22:21
https://scontent-a-kul.xx.fbcdn.net/hphotos-xap1/v/t1.0-9/10644996_792465514130482_7606607464108732418_n.jpg?oh=d083b0ec2618b53ea3419a0cf8b92d48&oe=545F16A3
ป้อมเพชร


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 04 ก.ย. 14, 22:41
ป้อมเพชร


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: มีนกร ที่ 06 ก.ย. 14, 20:20
อาจารย์ครับ รูปที่3 ถ่ายติดบ้านเก่าผมด้วยครับ(บ้านพักครูร.ร.พรพินิจพิทยาคาร ติดกับวัดบางกะจะ) ขออนุญาตเก็บไว้ดูครับ คิดถึงจัง  ;D
เกือบทุกปีบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักนี้จะต้องมีเรือบรรทุกทรายลำใหญ่ๆ มาล่มให้เห็น เพราะน้ำเชี่ยวมากๆ เป็นที่มาของชื่อตำบลสำเภาล่ม เพราะล่มกันมาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อก่อนตอนเด็กๆบริเวณป้อมเพชรมีอาชีพ ดำน้ำพ่นทรายงมสมบัติเก่า หน้าน้ำได้หยุดเรียนกันยาวๆ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.ย. 14, 19:48
ขึ้นฝั่งก่อนครับ  เป็นกำลังใจให้นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติหญิงและผู้ฝึกสอนครับ
เล่นให้สนุก ใช้เวลาอีกนิด ทานนมสดทุกๆวัน ร่างกายจะได้สูงใหญ่ขึ้นอีก สู้ๆครับ


วันนี้ ไปงานนี้มาครับ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประเดน การรับฟังสภาพปัญหาของลุ่มน้ำและแนวทางการแก้ไข ภาคกลาง


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.ย. 14, 20:23
ภาพนี้ชัดไหมครับ มองจากหมู่บ้านญี่ปุ่น


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 10 ก.ย. 14, 20:37
ที่หมู่บ้านญี่ปุ่น ใต้วัดพนัญเชิง ริมฝั่งเจ้าพระยา กรุงเก่า


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: แมวเซา ที่ 13 ต.ค. 14, 09:18
เกือบทุกปีบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักนี้จะต้องมีเรือบรรทุกทรายลำใหญ่ๆ มาล่มให้เห็น เพราะน้ำเชี่ยวมากๆ เป็นที่มาของชื่อตำบลสำเภาล่ม เพราะล่มกันมาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อก่อนตอนเด็กๆบริเวณป้อมเพชรมีอาชีพ ดำน้ำพ่นทรายงมสมบัติเก่า หน้าน้ำได้หยุดเรียนกันยาวๆ
ขออนุญาตร่วมกระทู้ด้วยอีกคนครับ
คือผมสนใจเรื่องแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนี้เนื่องจากติดตามเรื่องการเดินทาง ยกทัพเรือของชาวสยามในสมัยกรุงเทพฯครับ(เคยโพสท์ในเว็ปอื่นไว้บ้าง)

การเดินทางช่วงนี้อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหญ่ ด้วยเรือพายอย่างยาว การพายเรือในแม่น้ำช่วงนี้ผมตั้งข้อสังเกตุว่าคนเดินทางในสยามยุคก่อนจะต้องพายเรือช่วงน้ำกำลังขึ้น คือแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนี้น้ำจะไหลย้อนขึ้นไปถึงทางแยกใหญ่ของสายน้ำ แยกไปเป็นแม่น้ำน้อย

แต่เมื่อหมดเวลาช่วงน้ำขึ้น เขาจะหาทางหลบกระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปพายในคลองที่เลียบขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะเบาแรงฝีพายได้มากกว่า ผมมองว่าเป็นเทคนิคการเดินทางของชาวสยามลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมืองสยามมีคลองลักษณะนี้ที่สำคัญ เช่น คลองถนน คลองเปรมประชากร ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกและสมัยนั้นยังไม่ได้ขุด

แต่ส่วนมากกองทัพเดินทางมาในลำคลองฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปออกฝั่งตะวันตกเกาะกรุงศรีอยุธยา เขาพายเรือกันทั้งคืนจนฟ้าสาง มาสว่างเอาที่คลองคูเมืองด้านเหนือของเกาะเมืองขณะมุ่งไปหัวรอ เป็นจุดรวมสายน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง

การเดินทางช่วงนี้ก็เคยมีปรากฏอยู่ในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ด้วย แสดงว่าสมัยก่อนเขาหลบกระแสนัเชี่ยวทางตะวันออกไปทาฟากตะวันตกของตัวเกาะอยุธยานะครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 พ.ย. 14, 23:10
๑๗ พ.ย.๕๗


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 06 ต.ค. 16, 07:59
เจ้าพระยา ที่อยุธยาวันนี้
หลายวันมานี้พบเห็นนักข่าวหลายสำนัก แถวบ้าน แต่ไม่ได้คุยกัน คาดว่ามารายงานเรื่องน้ำ ติดตามข่าวดูว่าจะเป็นแต่ข่าว ตรงความจริงบ้างไม่บ้าง
อยากคุยกับชาวเรือนไทยบ้าง พรุ่งนี้นะครับ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 08 ต.ค. 16, 21:07
วันนี้ ไม่มีอะไรน่าห่วงสำหรับชาวกรุง นอกจากฝนจะตกเหนือความคาดหมาย
พื้นที่จมน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาจากสิงห์บุรี ถึงอยุธยาก็ที่เดิมๆ  แต่อาจจมสูงกว่าเดิมเสียอีก เมื่อเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมาปริมาณเท่าเดิม
และก็ไม่น่าห่วงว่าจะเหมือน ปี ๕๔
   
แต่น่ากลัวสำหรับพื้นที่เดิมๆริมฝั่ง
ผมว่าวันนี้รัฐกำลังรองของ



กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 10 ต.ค. 16, 09:27
อำเภออินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บางพื้นที่นี่ เริ่มมากางเต้นท์บนถนนกันแล้วครับ น้ำเข้าแล้ว
อำเภอเมืองแถวๆบางแค น้ำก็เข้าแล้วเช่นกัน ตอนนี้กำลังเร่งวางกระสอบทราย

ที่บ้านก็เฝ้าระวังกันสุดๆ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 11 ต.ค. 16, 05:20
ผมได้แต่ถามญาติๆแถวบางบาล เสนา ผักไห่ และก็พูดคุยกับพรรคพวกบ้าง
ก็เดือนที่แล้วน้ำเจ้าพระยาขึ้นมาสูงสุดครั้งหนึ่งแล้วลดไป
ถามว่าชาวบ้านแถวบางบาล เสนา ผักไห่ ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเดือดร้อนไหม  
คำตอบก็เดิมๆ เดือดร้อน และก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่ต่างกันที่ค่อยเป็นค่อยไป
ยอมรับได้ ระยะหลังๆนี่ชักทำใจยาก
ที่ว่ารองของคือ ปล่อยน้ำมาทางเจ้าพระยาเท่านั้น  
ผลคือคนสองฝากฝั่งที่ลุ่มจึงเดือดร้อน  น้ำท่วมพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยบางแห่ง ต้นทุนการอยู่อาศัยสูงขึ้น การทำมาหากินยากขึ้น
เกิดการเปรียบเทียบเรื่องการดูแล การให้ความช่วยเหลือและชดใช้ จากรัฐ


กระทู้: แม่นำเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ต.ค. 16, 07:51
น้ำที่ปล่อยออกมาท่วมแล้วไหลลงทะเล
ที่เหลือเข้าอ่างและแก้มลิง เหนือเขื่อนเจ้าพระยา
โชคดี พายุไม่เข้าไทยแต่ก็ส่งผลกระทบ ทำให้ลุ่มน้ำตอนบนฝนชุก
การลองของเห็นผล น้ำเมื่อเดือนที่แล้ว กระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่ง
ปทุม กทม ปากน้ำ ยังไม่เดือดร้อน  รอดูกลางเดือนนี้
ฝนที่ชุกเหนือเขื่อนยังผลให้น้ำมากเกินพอดี
รอบนี้รัฐคงบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้ คือส่งออกอย่างรวดเร็วทุกทาง
ประกอบกับเขื่อนป่าสักฯ ก็ต้องระบายเช่นกัน ผลคือสองฝั่งเจ้าพระยาน้ำมากกว่าเมื่อคราวที่แล้ว และยังสูงขึ้นอีก
ทั้งๆที่รัฐบอกว่าได้ระบายเข้าแก้มลิงที่ผักไห่ เสนา บางบาลแล้ว