เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 28 ก.พ. 08, 11:47



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 28 ก.พ. 08, 11:47
ไม่ต้องแปลกใจว่าพวกอิตาเลียนทำไม ถึงมีหัวดีไซน์
ก็ตื่นมาล้างหน้าแปรงฟัน มองไปนอกหน้าต่างก็เห็นดีไซน์ในชีวิตประจำวันเต็มไปหมด
..
พี่ปิน เอเชียนข้างบ้านเราล่ะ ทำไม ถึงมีหัวทำเพรเซ็นเทชั่นเก่ง เรื่องง่ายๆไม่มีอะไรสักนิด พรีเซ้นท์ได้สนุกเป็นวรรคเป็นเวร
ก็มีวัฒนธรรมเสปนปนอเมริกันครอบงำอยู่เป็นร้อยๆปีนี่
..
แล้วเราคนไทย มีอะไรเด็ดๆมั่ง
ชนิดอยู่ในวิญญาณ ในสายเลือด พูดแบบทันสมัยก็ต้องว่าอยู่ในจีนส์(ไม่ใช่ลีวายส์นะคะ)
คำตอบ อยู่ในกระทู้ค่ะ



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 29 ก.พ. 08, 00:06
ตกลงกระทู้นี้คุณกุ้งแห้งจะเปิดให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ใช่ไหมครับ

พอดีเชียว เมื่อวานผมเพิ่งไปติดฝนอยู่ ได้ถ่ายรูปมาพอสมควร ตื่นตะลึงกับความงามของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้มากๆ

เป็นฝีมือช่างวังหน้าที่ผสมผสานกันหลายสมัย แต่ยังรักษาของเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี จิตรกรรมหลายช่วงมีอายุอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน

ส่วนฝีมือสมัยรัชกาลที่ 3 ก็สง่างามกว่าที่อื่นๆ น่าเสียดายที่บางช่วงถูกบูรณะในสมัยต่อๆมา ที่อิทธิพลตะวันตกเข้ามามีบทบาท จนทำให้จิตรกรรมไทยขาดความเป็นตัวของตัวเอง บางแห่งก็ถูกน้ำฝนชะออกไปมากนัก

พระที่นั่งองค์นี้ยังมีจิตรกรรมสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆ อาจเป็นเพราะโครงสร้างอาคารที่แตกต่างออกไป

ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้จิตรกรรมฝาผนังเสื่อมสภาพก็คือ ความชื้น

หลายท่านอาจคิดว่าแค่มุงหลังคาดีๆ น้ำก็ไม่รั่วแล้ว

แต่จริงๆจะสังเกตได้ว่า บริเวณที่จิตรกรรมฝาผนังชำรุด มักจะเป็นบริเวณข้างหน้าต่าง มากกว่าด้านบน

นั่นเป็นเพราะน้ำใต้ดินซึมขึ้นมาตามเนื้อปูนครับ

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มีความพิเศษคือ การยกพื้นสูง ปูด้วยกระดานแผ่นขนาดมหึมา (ลองไปชมกันครับ กระดานที่นี่แผ่นใหญ่มาก) และเจาะใต้ถุนโปร่ง อากาศสามารถระบายได้

ความชื้นจากพื้นดินสามารถระบายออกได้บริเวณใต้ถุน ไม่ขึ้นไปทำลายจิตรกรรมส่วนใหญ่ เราจึงโชคดีที่ยังเหลือจิตรกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์สกุลช่างหลวง ในสภาพดีให้ศึกษา เมื่อเทียบกันกับวังหลวงหรือวัดพระแก้วที่แทบไม่มีจิตรกรรมที่เก่าไปกว่าสมัยรัชกาลที่ 7

ที่นี่มีความสวยงามอย่างเอกอุ ประณีตบรรจงจนไม่น่าเชื่อว่าคนโบราณจะเขียนได้ขนาดนั้น


ถ้าให้คะแนนทอปเท็นความสวยของจิตรกรรมฝาผนังไทยตามความคิดเห็นของผม ท่านอื่นอาจคัดค้านได้นะครับ

1.วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี

2.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

3.วัดสุวรรณาราม

4.พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

5.หอเขียน วังสวนผักกาด (เป็นลายรดน้ำ)

6.วัดสุทัศน์เทพวราราม

7.วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี

8.หอไตร วัดระฆังโฆษิตาราม

9.วัดไชยทิศ

10.วัดช่องนนทรี


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 29 ก.พ. 08, 00:43
ภาพตอนนันโทปนันทนาค กำลังจะประลองฤทธิ์กับพระมหาโมคคัลลานะ

ในภาพคือสำนักของพญานาคราช มีละครฟ้อนรำระบำบรรพ์ ท่วงท่าอรชรอ่อนช้อย ร้อยรับโทบทับขับไม้มโหรี


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 29 ก.พ. 08, 10:49
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา และพิพิธภัณฑ์ที่เชียงแสน กับพิพิธภัณฑ์ที่ไชยา เกิดมาเป็นคนไทยต้องไปดูค่ะ
นอกเหนือจากไปวัดโพธิ์ วัดพระแก้ว และอีกหลายวัด
เยาวชนอายุน้อยๆ เข้าพิพิธภัณฑ์แต่เล็กๆ อย่างน้อย รับสาระความเป็นมาของเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ไม่ได้มาก แต่ดิฉันคิดว่า ทางศิลปะ น่าจะซึมซับ และซาบซึ้งได้ดี
สำคัญคนนำชม จะต้องพูดไม่ใช่บอกเล่าปาวๆ
เปิดโอกาสให้คิด ให้จินตนาการบ้างก็ดี ...
ดิฉันย้อนไปจำอะไรไม่ได้มาก เมื่อโรงเรียนพาเที่ยวพิพิธภัณฑ์
ภาพเดียวที่ตราตรึงอยู่ในหัวสมองก็คือราชรถ และบัลลังก์อันวิจิตร อลังการ
และเมื่อโตขึ้น จากที่เคยมองว่า ไปพิพิธภัณฑ์นั้น น่าเบื่อสุดๆ มันก็เปลี่ยนไป เพราะการจัดการพิพิธภัณฑ์ กลายเป็นศาสตร์และศิลป ที่แสดงให้เห็นรากเหง้าของชนชาติ มันชัดเสียยิ่งกว่าไปเข้าคลาสไหนๆ
...
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ไม่ธรรมดาเลย.. คนไทยที่ไปลูฟว์ ไปไรค์มิวเซียม หรือ บริทิชมิวเซียม
หรือพิพิธภัณฑ์ที่พม่า ญี่ปุ่น
เข้าวิหารเซนต์ปีเตอร์
มาสยบง่ายๆที่นี่ได้ค่ะ...


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 00:42
คุณกุรุกุลา ให้ชมภาพงามๆของนางรำ ดิฉันขอตามด้วยภาพภายนอกของพระที่นั่งแล้วกัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่งามแห่งหนึ่งของโลก มองจากภายนอก ก็น่าเก็บภาพไว้ในใจอยู่แล้ว งามตรงไหน..คนอ่านบางท่านอาจจะถาม บางท่านดูปุ๊บ ถึงขั้นจังงัง หลายท่านคิดว่า เอ.. คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นวัดนี่นา
..
เพื่อนดิฉันบอกว่าใช่ แต่เป็นห้องพระส่วนพระองค์ของเจ้านาย ของคิงปิ่นเกล้า ของวังหน้าไงล่ะ
เหมือนวัดพระแก้วเป็นห้องพระส่วนพระองค์ของวังหลวง

อืมม์
..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 00:50
สิ่งที่ดึงดูด ทันทีที่ย่างเท้าเข้าไป คือพระพุทธสิหิงค์..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 00:52
และบานประตูด้านในที่จับตา จับใจบอกไม่ถูก


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 00:56
ฝาผนังส่วนบน เทพชุมนุม


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 07:58
 :D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 07:59
 ;)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 10:56
ชื่อพิพิธภัณฑ์ที่คุณกุ้งแห้งร่ายมา ยังไม่เคยไปสักที่เลยครับ แหะ

ลูฟว์คือความฝันของคนรักศิลปะครับ เช่นเดียวกับเมโทรโปลิแทน หรือบริทิช มิวเซียม

ต่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเมืองไทยเองก็ตามครับ อย่างที่เชียงแสน หรือ ไชยา ก็ไม่เคยไปเหมือนกัน 555

หวังว่าสักวันผมคงเป็นคนไทยสมบูรณ์แบบตามคุณสมบัติของคุณกุ้งแห้ง


ตอนนี้ก็พยายามจะไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะเป็นแห่งเล็กๆ แต่ก็มีของดีประจำท้องถิ่นให้ได้อ้าปากค้างทุกที่ไป


ส่วนใหญ่ที่เคยไปแล้วจะอยู่ในภาคกลางครับ เพราะไปง่ายหน่อย อย่างเจ้าสามพระยา จันทรเกษม ราชบุรี ลพบุรี นครปฐม กำแพงเพชร อุบลราชธานี ลำพูน เชียงใหม่ อู่ทอง เมืองสิงห์ พิมาย มหาวีรวงศ์ และที่พิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ๋ก็เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ หน้าตากระจุ๋มกระจิ๋ม บางที่มีห้องจัดแสดงแค่ห้องเดียว

สักวันจะไปเที่ยวเชียงแสน กับไชยาให้ได้ครับ !!


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 11:09
ปกติ งานจิตรกรรมไทยจะแสดงความงามตามอุดมคติ คืองามเหนือจริง งามแบบที่คิดฝันว่า อะไรที่งาม จะต้องเป็นอย่างนี้

ภาพไทยจึงเต็มไปด้วยการประดิดประดอย และการแสดงอารมณ์ด้วยนาฏลักษณ์ หาใช่สีหน้า จะโกรธก็โกรธด้วยมือ จะยิ้มก็ยิ้มด้วยมือ

นานๆทีจะได้เห็นอะไรที่สมจริงขนาดนี้ในงานไทย เป็นสไตล์ realism ที่หาชมได้ยากมากกกก

กุ้งตัวนี้เป็นกุ้งหลวงครับ เพราะอยู่ในวัง อิอิ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เช่นเคย



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 01 มี.ค. 08, 11:13
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2557.0;attach=2195;image)

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้
ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา
ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย
เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่

เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง




กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 11:16
อ่อ นอกจากกุ้งหลวงแล้วยังมี ปลาช่อนกับปลาเสือเสียอีก

ปกติจิตรกรรมไทยที่เราชมๆกัน ต้นไม้ที่วาด จำแนกชนิดได้ยากมาก แม้แต่ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองก็ตาม มิพักพูดถึงชนิดย่อยของสัตว์

อย่างปลาในน้ำนี้ เราเห็นแต่ปลาที่ใส่ลวดลายกนกบ้าง ปลาหน้าตาประหลาดๆบ้าง ยากครับ ที่จะดูปุ๊บรู้ปั๊บว่าเป็นปลาที่มีจริงๆ

นี่ปลาทองครับ คนสมัยต้นรัตนโกสินทร์เลี้ยงปลาทองกันแล้ว

สวัสดีครับคุณชัย


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 12:02
ส่งภาพเต็มผนังมาให้อาสาสมัครบรรยายค่ะ..
สวัสดีค่ะคุณชัย


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 01 มี.ค. 08, 12:12
กาลเวลากร่อนจางสี...ลวดลาย
ภาพวิจิตรสังขาร์สลาย...หล่นพื้น
ดวงจิตนิ่งเพ่งมองไป...งามสรรพ์...สวรรค์ยา
นิมิตเห็นภาพอดีตฟื้นปลายกนกโง้ง...คมพลัน

น้ำใสแลเห็นก้าน...บัวงาม
ปูปลาแหวกว่ายมา...กุ้งก้าม
ปลาเผือกโหลนหลานทวด...ว่ายอยู่...กลางวัง
เฉกเช่นชีวิตดับกลับฟื้น...ตื่นพลัน


สวัสดีครับคุณ กุรุกุลา คุณ กุ้งแห้งเยอรมัน
แอบชื่นชมผลงานอยู่ครับ... ;D ;D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 13:33
วันนี้ว่างครับ เลยมีเวลาเข้ามานั่งเล่นในเรือนไทยได้ตามสบาย อยู่บ้านร้อนเหลือเกิน


ภาพด้านซ้ายที่คุณกุ้งแห้งยกมา คือนันโทปนันทสูตร กล่าวถึงพระมหาโมคคัลลานะทรมาน พญานาคนันโทปนันทะ

เรื่องก็มีอยู่ว่า พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะทรมานพญานาคมิจฉาทิฏฐินี้ จึงเสด็จเหาะข้ามยอดวิมานนาคราช


พญานาคนั้นจัดงานเลี้ยงครื้นเครงอยู่ แลเห็นสมณโล้นพาบริวารเหาะข้ามสำนักแห่งตน ฝุ่นคลีจะตกต้องศีรษะ

ก็โมโห กลายร่างเป็นนาคใหญ่ บดบังท้องฟ้าไว้ พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณ เมื่อพระมหาโมคคัลลานะอาสา จึงโปรดให้ทรมานพญานาคนั้น

มหาโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์แข่งกับนันโทปนันทะต่างๆนาๆ จนในที่สุดก็แปลงเป็นพญาสุบรรณบิน จับนาคนั้นไว้ได้

นันโทปนันทะก็ถึงไตรสรณคมน์


ครุฑพระโมคคัลลาน์จับนันโทปนันทนาคราชครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 16:27
อยากให้ชมภาพดังในแง่งามอีกภาพของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  หลังเสด็จจำพรรษาเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษา 
เสด็จลงตรงประตูเมืองสังกัสนคร พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น    ต่อมาได้
กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า  'อจลเจดีย์'   เรียกอย่างไทยเราก็ว่า  'รอยพระพุทธบาท'  ตามตำนานว่าที่นี่เป็น
ที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่

ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง    เทพเจ้าคือพระอินทร์ได้เนรมิตบันได  ๓  อัน  คือ
บันไดทอง  บันไดเงิน  และบันไดแก้วมณี    บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา  บันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำหรับท้าวมหาพรหม   และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้า   หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ 
หมู่คนทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าคือหมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ  เบื้องซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าคือท้าวมหาพรหม    ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์    ผู้ถือพิณบรรเลงคือปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร  มาตุลีเทพบุตร  ถือพานดอกไม้ทิพย์

ชาวพุทธถือกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง   จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้   
เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   
เรียกการตักบาตรนี้ว่า  'ตักบาตรเทโว'    ย่อมาจากเทโวโรหณะ  แปลว่า  ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกนั่นเอง

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นั้นสำหรับผู้ที่เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมี สมเด็จอมรินทราธิราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ

รู้ความหมายแล้ว ดูภาพละเอียดขึ้น งามขึ้น
โทนสีฝาผนังรักษาสีแดง ดำ ทอง ไว้ได้อย่างสวยงาม
...


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 01 มี.ค. 08, 16:40
สระอโนดาตของคุณกุรุกุลา เห็นกุ้งตัวโตมากค่ะ
...
มาดูกันทั้งสระนะคะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 18:33
แหม คุณกุ้งแห้งเก็บภาพไว้ทุกช๊อตเลยนะครับ

สระอโนดาตนี้ฝีมือช่างชั้นครู เป็นปรมาจารย์ที่ดูฝีมือออกได้ว่า เขียนครั้งรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนรัชกาลที่ 3 ดังนั้น จึงถือว่าสืบทอดงานฝีมือมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายโดยตรง ทำให้เราพอจะจินตนาการได้ว่า จิตรกรรมช่างหลวงครั้งกรุงเก่า งดงามเพียงใด

ครูคนนี้สมเป็นช่างหลวงโดยแท้ เสียดายเราไม่ทราบชื่อท่าน ขนาดวัวกินน้ำ ท่านยังอุตส่าห์ใส่รายละเอียดให้เห็นเงาวัว สะท้อนลงในผืนน้ำ ไม่เคยเห็นที่ใดนอกจากพระที่นั่งแห่งนี้ ต้นไม้บิดไปบิดมาข้างๆ สะท้อนให้เห็นการเล่นไม้ดัด ที่นิยมรุ่งเรืองกันอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปรากฏในเสภาขุนช้างขุนแผนก็หลายที่


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 18:46
เสด็จลงจากดาวดึงส์ของคุณกุ้งแห้ง เป็นเหตุการต่อเนื่องมาจากภาพแรก (ความคิดเห็นที่ 14)

ซึ่งด้านซ้ายเป็นทรมานนาคนันโทปนันทะ ด้านขวาเป็นยมกปาฏิหาริย์

เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีตกาล ที่เมื่อแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว จะต้องเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


ยังไม่พูดถึงยมกปาฏิหาริย์ละกันครับ เราผ่านขึ้นไป "ตาวติงสาโลกมโหฬาร" กันก่อน

ภาพเดิมครับ จะเห็นว่าทางด้านขวามือบน จะเป็นภาพ โปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ทางซ้ายมือของภาพ เป็นพระอินทร์ทูลเชิญ สันดุสิตเทวราช จากสวรรค์ชั้นดุสิตมายังธรรมสภา ณ ดาวดึงส์ (ซึ่งก็คือพระนางมายาที่อุบัติเป็นเทพบุตรนั่นเอง)

พระพุทธเจ้าประทับเป็นประธานอยู่ตรงกลาง ขณะที่ด้านขวาเป็นพระอินทร์สีเขียว ด้านซ้ายเป็นเทวบุตร

เมื่อโปรดพุทธมารดาแล้ว สิ้นพรรษาจึงเสด็จลง ณ เมืองสังกัสสะ

การเสด็จลงจากดาวดึงส์นี้ เป็นตอนยอดนิยมมากของพุทธศิลป์ มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก

ในประเทศไทย พุทธประวัติตอนนี้ "มีส่วน" ทำให้เกิด พระพุทธรูปลีลา อันเป็นความงามสุดยอดในศิลปะไทย ในจารึกวัดสรศักดิ์ มีคำที่เชื่อว่าหมายถึงพระพุทธรูปลีลา คือ "พระเจ้าหย่อนตีน"

 นายอินทรสรศักดิ์ได้สร้าง "พระมหาเจดีย์มีช้างรอบ ประกอบด้วย"พระเจ้าหย่อนตีน"และพระวิหารและหอพระ”

แต่ก็มิใช่ว่า พระลีลาทุกองค์จะหมายถึง "ลงจากดาวดึงส์"

เอาละครับ กลับมาที่รูปพระเจ้าหย่อนตีน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ดีกว่า

ภาพนี้ฉ่ำไปหมดด้วยสีแดงครับ ขลังเหลือเกิน สังเกตให้ดีจะเห็นว่า มีการวางโครงภาพที่ลื่นไหลเป็นเส้นโค้ง จากทางด้านซ้าย มาขวา

แม้ว่าองค์พระพุทธรูป จะมิได้แสดงอิริยาบถลีลา แต่การใช้เส้นโค้งไหล ก็เสมือนท่านกำลังเลื่อนลอยมาทางนภากาศด้วยญาณชะนั้น


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 18:59
พระเจ้าหย่อนตีนองค์ดัง ณ วัดตระพังทองหลาง สุโขทัยครับ รูปนี้หมายถึงการลงจากดาวดึงส์จริงๆ

สภาพปัจจุบันเป็น เช่นนี้


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มี.ค. 08, 19:45
ครูผมสอนว่า พระเจ้าหย่อนตีน เป็นแบบนี้ครับ
น่ากลัวต้องไปแก้ตำราแระ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 01 มี.ค. 08, 23:03
อิอิ มีคุณพิพัฒน์มาแย้งนี่สนุกขึ้นเยอะเลยครับ

หลายคนก็คิดแบบนี้เหมือนกัน ว่าพระเจ้าหย่อนตีนคือพระประทับนั่งห้อยพระบาท

แต่ผมคิดว่า ในเมื่อจารึกของวัดสรศักดิ์อยู่ในสมัยสุโขทัย แล้วอีกด้านหนึ่งของจารึก (จารึกมี 2 ด้านครับ เขียนด้านหนึ่ง จารด้านหนึ่ง)

ด้านที่จาร จารเป็นรูป พระพุทธเจ้าลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ ครับ

อีกประการหนึ่ง พระนั่งห้อยพระบาท ในศิลปะไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ลงมา มีปางเดียว คือปางรับบาตรพญาวานร หรือป่าเลไลยก์

แล้วผมก็ไม่เคยเห็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ในสมัยสุโขทัย แม้ว่าจะมีมากมายในเมืองพุกามก็ตาม


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 02 มี.ค. 08, 10:33
พระนั่งรูปที่คุณพพ.นำมาลง ผมเห็นอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ครับ องค์เดียวกัน แต่จำลองใช่ไหม


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 02 มี.ค. 08, 12:08
อย่าเพิ่งแตกประเด็นได้ไหมคะ คุณผู้ชายทั้งหลาย ขอลุยเรื่องภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งฯต่อนะคะ ภาพพระยมกปาฏิหารย์ค่ะ
ถ่ายคนละครั้งแล้วนำมาต่อกัน

..(ลอกมา)
.....ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริจะกระทำพระพุทธปาฏิหารย์  ณ ต้นมะม่วง ที่พระองค์ประทาน เมล็ดให้นายคัณฑะปลูกรักษาไว้ ได้นามว่า คัณฑามพพฤกษ์  และด้วยพุทธานุภาพ ไม้มะม่วงนั้นก็เจริญงอกงาม  บริบูรณ์ด้วยกิ่งก้านสาขา ใบและผลร่วงหล่นอยู่กลาดเกลื่อน ผู้คนทั้งหลายได้บริโภค
เห็นมีรสหวานอร่อยก็ชวนกันเก็บกิน และพากันโกรธแค้นพวกเดียรถีย์นิครนถ์ ที่พากันโค่นต้นมะม่วงที่มีอยู่ในบริเวณนั้นทั้งหมด เมื่อทราบว่าพระบรมศาสดา จะทรงกระทำปาฏิหารย์ที่ต้นมะม่วง ฝูงชนได้ใช้เมล็ดมะม่วงขว้างปาพวกเดียรถีย์ วลาหกเทพบุตรบันดาลให้ลมพายุพัดมณฑปกระจัดกระจายทำลายลง พระอาทิตย์เวลาเที่ยงก็ส่องแสงแผดกล้า ทำให้พวกนิครนถ์หิวกระหาย บอบช้ำลำบากพากันหนีไปทั่วทุกทิศทาง
    ครั้นเวลาบ่ายชายลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มกระทำยมกปาฏิหารย์ มีพระอาการเป็นคู่ คือ เมื่อพระองค์ ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ  เสด็จพระพุทธลีลาสด้วยปฐวีกสิณบริกรรม แล้วทรงนฤมิตพระพุทธนิมิตจงกรมไปมา บางครั้งทรงนั่งขัดสมาธิปุจฉา พระพุทธนิมิตนั่งขัดสมาธิวิสัชนา บางครั้งทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตก็ไสยาสน์ เป็นต้น
    ขณะนั้นโลกธาตุก็เกิดมหัศจรรย์หวั่นไหว พระพุทธองค์ได้ทรงยังพระโอภาสให้แผ่ไปในหมื่นจักรวาฬ ทรงพิจารณาอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ทั้งปวง แสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้ได้บรรลุ  มรรค  ผล  นิพพาน


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 02 มี.ค. 08, 12:19
พระพุทธรูปประทับนั่งที่คุณ เอลวิสภู ถามนั้น เป็นศิลปะทวาราวดี มีอยู่ประมาณ 4-5 องค์ครับ เชื่อว่าเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารจตุรมุข วัดพระเมรุ (ทุกวันนี้เหลือแต่ซาก ที่ทางแยกเข้าพระปฐมเจดีย์)

องค์หนึ่งอยู่ที่พระปฐมเจดีย์ เรียกกันว่าหลวงพ่อขาว

องค์หนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์นี้ที่คุณเอลวิสภูถามครับ เป็นองค์จริง แต่ได้ซ่อมแซมพระหัตถ์เสียใหม่

องค์หนึ่งอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อยุธยา

ส่วนอีกองค์จำไม่ได้แล้วครับ

นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ขนาดใกล้เคียงกันอีก อย่างน้อย 2 องค์ แต่แกะจากหินสีดำ คงไม่ใช่ชุดเดียวกัน

องค์หนึ่งอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ ส่วนอีกองค์เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 15:49
ขณะที่ดิฉันเข้าไปในพระที่นั่ง ก็ได้พบคนกลุ่มใหญ่ กำลังถ่ายภาพความสมบูรณ์ของภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ ตอนสำคัญ คือพระราชพิธีวิวาห์ของพระเจ้าสุทโธธนะ กับพระนางสิริมหามายา
เป็นการลงทุนของเอกชนในเชิงอนุรักษ์ ภาพนี้ จะบันทึกลงในเซรามิค เพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯของเรา เนื่องจากเป็นภาพที่ใหญ่มาก การถ่ายทำต้องเก็บรายละเอียดแบบสุดยอด จึงมีอุปกรณ์เพียบ..
ตอนแรกดิฉันก็แปลกใจ ว่าเอาไปทำประโยชน์อย่างไร เพื่อการศึกษา หรือการอนุรักษ์..ทางคุณที่ดำเนินการบอกว่าจะอนุรักษ์ภาพนี้ไปได้เป็นร้อยปี โดยเซรามิคคุณภาพดีมากๆ(แต่ก็แตกได้อยู่ดีหละ)
...


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 03 มี.ค. 08, 18:41
ฉากวิวาหะของคิงสุทโธทนะและพระนางมายาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี้ นับว่าเป็นฉากสุดยอดความงามของจิตรกรรมฝาผนังไทยทีเดียว

สมบูรณ์ทั้งการออกแบบ การจัดเค้าโครง และความวิจิตรพิสดารไม่มีที่ติ แสดงให้เห็นความอลังการของพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่ขบวนเสด็จของพระนางมายา ทั้งมโหรีกระจับปี่สีซอ

เสียดายไม่มีโฟโตชอป มิฉะนั้นคงใส่รูปได้ใหญ่กว่านี้ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 20:48
เมื่อเราเรียนวิชาพุทธประวัติ เราทราบว่า พระนางสิริมหามายาเป็นนางที่มีคุณสมบัติเป็นรัตนกัญญา เมื่อกำเนิดพระโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีดอกบัวมารองรับ และท่านสามารถทรงดำเนินได้ทันที ภาพนี้บอกอะไรเราบ้างคะ











กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 21:09
ภาพเต็มของมารผจญ แล้วแม่ธรณีบีบมวยผมช่วมให้น้ำท่วมมารซะเลย ผู้รู้สอนให้ดูขวาก่อน สารพัดมาร สวยสมบูรณืมาก ด้านซ้ายเป็นเมื่อน้ำท่วม ตายเป็นเบือ ประจวบกับภาพถูกความชื้นกินกร่อนเลือนไปด้วย.. แต่ก็สวยอยู่ดี


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 21:21
ความสมบูรณืสวยงามของมาร ในเชิงจิตรกรรม และความงามของแม่ธรณี


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 03 มี.ค. 08, 22:31
อิอิอิอิ

สวัสดีครับ คุณกุ้งแห้ง รู้สึกตอนนี้สมาชิกท่านอื่นๆจะหายกันไปหมดเลยนะครับ

ภาพมารวิชัยที่นี่งามเป็นเลิศสมความเป็นช่างหลวง ซึ่งสืบทอดมาจากอยุธยาตอนปลายโดยตรง

ที่แปลกบางอย่างคือ พระพุทธองค์ท่านมิได้ใช้นิ้วพระหัตถ์สัมผัสธรณี ที่เรียกว่า "ภูมิศปรมุทรา" กลับทำปางสมาธินิ่งเสีย

ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นความต้องการของช่างหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ตอนนี้ พระพุทธองค์จะต้องตรัสเรียกนางธรณีขึ้นมาเป็นพยาน ด้วยการแตะ"แผ่นดิน"

นางธรณี หรือ "วสุนทรา" จึงจะขึ้นมาเป็นพยาน

การบีบน้ำออกจากมวยผมนี้ เป็นเรื่องที่แต่งในลังกา ซึ่งในไทยก็รับเข้ามา รีไรท์ใหม่ เป็น ปฐมสมโพธิกถา

ส่วนต้นฉบับจริงนั้น มีหลายกระแส แต่ที่แน่ๆ พญามารวสวัตวดีมาราธิราช จะต้องเข้ามาทางทิศเหนือ

พระพุทธองค์นั้น แน่นอนว่าตอนตรัสรู้ จะผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก เพราะฉะนั้น ด้านซ้ายของท่านคือทิศเหนือ

ดังนั้น เมื่อมารพ่าย จึงออกไปทางขวามือ (ของพระพุทธองค์)

ในอินเดีย นางธรณีมิได้บีบมวยผมให้น้ำท่วม แต่ทำให้แผ่นดินไหว ซึ่งแสดงถึงอำนาจของนางที่มีต่อ "ภูมิ"

ดังนั้น ในพุทธศาสนามหายาน จึงประดิษฐ์ธรณีขึ้นมาใหม่อีกองค์ คือ พระโพธิสัตว์กษิติครรภ์ (ครรภ์ของแผ่นดิน) แทนนางธรณี

การที่ต้องบีบมวยผมนั้น มีคนตีความว่า อาจเชื่อมโยงกับทรงผมชฎามงกุฏของเหล่าโยคี ที่เกล้าขึ้นไป แล้วเชื่อว่าพลังต่างๆ รวมทั้งกิเลสตัณหาที่ตั้งใจอดกลั้นจะสะสมไว้ ณ มวยผม

ก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ต้องตีความกันเอง ว่าหมายถึงอะไร

ส่วนพญามารพันมือนั้น ถือคันศรที่ทำจากต้นอ้อย สายทำจากเหล่าภมร ตรงกันกับ ประติมานของ "กามเทพ" ในศาสนาฮินดู

รวมทั้งชื่อของลูกสาวพญามารทั้งสาม คือ ตัณหา ราคา อรดี ล้วนตรงกับชื่อของลูกสาวกามเทพ

เป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันอีก กามเทพ เป็นสัญลักษณ์ของการยึดติดกับรูปกายภายนอก ความสวยงาม โลกธรรม

พระพุทธองค์ทรงชนะได้นั้น หมายถึงอะไร

มารที่น่าเกลียดน่ากลัวในภาพ แสดงออกมาในรูปคล้ายทศกัณฐ์ (เป็นความคิดของช่างสมัยอยุธยา) จริงๆความน่าสะพรึงกลัว ไม่อาจทำให้พระองค์หวั่นไหวได้แต่อย่างใด

ความยั่วยวน กิเลส ตัณหา โลกธรรม  ต่างหากที่มันหลอกล่อให้คนติดอยู่ในวัฏสงสาร

อ้อ ลืมบอกไปครับ ว่าในศาสนาฮินดูนั้น กามเทพ คือเทพที่มีรูปงามที่สุดในจักรวาล ช่างตรงกันข้ามกับพญามารน่าตาน่าเกลียดน่ากลัว ที่ช่างพยายามแสดงออกเหลือเกิน


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 22:58
 :D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 มี.ค. 08, 22:59
มารสยบ..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 03 มี.ค. 08, 23:34
ที่วัดชมภูเวกเมืองนนท์..
ก็มีภาพจิตรกรรมพระแม่ธรณี...ที่สวยที่สุดเหมือนกัน


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 04 มี.ค. 08, 00:06
สวัสดีค่ะคุณกุรุฯ และคุณเอลฯ..
คอมโพสิฌั่นงามจริงๆ ต้องที่พระที่นั่งพุทฯ แต่..เส้นสายสวยเช้งต้องที่วัดชมพูเวก


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 04 มี.ค. 08, 00:10
ไม่ได้หายไปไหน...อ่านแล้วแปลความทุกคัวอักษรแล้ว...อึ้ง...ไปเลย... ;D ;D ;D

กามเทพ เป็นมารแห่งพรหมจรรย์ จริงเสียด้วย...ภาพซ่อนปริศนาธรรมไว้มากมาย

๑๐๐๐ คำคงน้อยไปที่จะพรรณนาถึงความหมายของภาพเหล่านี้

ขอบคุณครับ



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 04 มี.ค. 08, 09:02
อุแม่เจ้า ภาพในความคิดเห็นที่ ๓๕ งามมั่กๆ
ขออนุญาตเอาไปแปะบนจอคอมพ์นะครับ
ไม่รู้ว่าคุณเอลวิสมีรูปมุมกว้างกว่านี้ไหมครับ
ตัดภาพดีๆ เอาไปพิมพ์โปสการ์ดแจกปีใหม่ได้วิเศษยิ่ง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 04 มี.ค. 08, 16:36
 :'( ดิฉันและคุณกุรุกุลาถูกคุณเอลวิสภูขโมยซีนเสียแล้ว...
...

เรามาพักผ่อนกันด้วยภาพนี้ค่ะ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เช่นกัน ขอแรงคนจบศิลปะอย่างคุณเอลวิสภูมาช่วยเม้นท์ภาพนี้ด่วน..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 04 มี.ค. 08, 17:03
พูดถึงผู้หญิงที่มีบุญ ดิฉันว่านางสุชาดามีบุญจริงๆ สวยหรือไม่ไม่ทราบ รวยน่ะแน่นอน ที่สำคัญ ได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระพุทธก่อนที่ท่านจะตรัสรู้นี่สิ
พระมาโปรดแท้ๆ
เรื่องของเรื่องที่ร่ำเรียนมาก็คือนางได้อธิษฐานไว้ว่าขอให้ได้สามีดีเสมอกัน และมีลูกชาย เมื่อได้ ก็จะถวายของมีค่าแก่เทวดา
อ่านดูแล้วเหมือนบนบานศาลกล่าวหละ
ถึงเวลาจะแก้บน บ่าวก็ไปเห็นพระพุทธองค์ใต้ต้นไทรเข้า รัศมีงามเหลือเกินจนนางคิดว่า อ้ะ..นี่หละเจ้าค่ะ รุกขเทวดาแน่นอน
ดีใจมาบอกนาย นายก็ทำข้าวมธุปายาส แค่ชื่อก็เหลือกินแล้วสำหรับดิฉัน จริงๆกวนเอง หรือให้บ่าวกวนไม่ทราบ แต่เป็นเศรษฐีมีบ่าว ถ้านางทำเองก็ยิ่งศรัทธาหนัก
ใส่ถาดทองคำไปถวาย ด้วยเข้าใจว่าเป็นเทวดา
พระองค์ก็รับ..
รูปนี้งาม ดิฉันชอบค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 04 มี.ค. 08, 17:24
ยินดีครับคุณโอม..........
จะชวนคุณโอมไปที่วัดนี้ด้วยซ้ำถ้าว่างอยู่ไม่ไกลจากบ้าน

ภาพคห 39
รูปชุดห้ามญาติตีกัน
ถ้าในเชิงองค์ประกอบศิลป์(Composition) ก็คือใช้วิธี วางภาพในแนวนอนให้เกิดความสงบนิ่ง..
ไม่เหมือนกับมาญผจญที่รู้สึกรุนแรงสับสน
ภาพนี้องค์พระบรมศาสดาจะอยู่ตรงกลางเหมือนเส้นกั้นพรมแดน ซ้ายขวาก็จะเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาในนครกบิลพัสดุ์ กับกษัตริย์ชาวโกลิยะพระญาติฝ่าย พระพุทธมารดาในนครเทวทห

วิวาทกันเรื่องฝนแล้ง แย่งน้ำ..
พระพุทธเจ้าทรงทราบก็มาห้ามตรัสถามว่า น้ำกับคนอย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน ก็ได้รับการทูลตอบว่า คนมีค่ามากกว่าน้ำ
ทรงตรัสถามต่อไปอีกว่า คนพวกไหนมีค่ามากกว่ากัน ก็ได้รับการทูลตอบว่า กษัตริย์นั้นหาค่ามิได้ (คือมีค่าสูงสุด) ทรงตรัสถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น การที่เอาเรื่องน้ำมาเป็นเหตุฆ่ามนุษย์ ผู้เป็นกษัตริย์ซึ่งมีค่าสูงสุดเช่นนี้ เป็นการสมควรหรือไม่ ก็ได้รับการทูลตอบว่าไม่สมควรเลย

เท่านั้นละได้คิด วงแตกครับแยกย้ายกลับบ้านดีกว่าเฮ้อ




กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 04 มี.ค. 08, 17:32
ด้วยใจแสวงหา ดิฉันก็พบว่า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ท่านนิพนธ์เรื่องวิธีปรุงข้าวมธุปายาสไว้อย่างงดงาม
“ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค 500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศ
จนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8ตัว ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้นก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตรมากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรยใส่ลงในกระทะด้วยเมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี
ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์”  


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 04 มี.ค. 08, 18:24
เรียนคุณ กุ้งแห้งเยอรมัน ด้วยความเคารพว่าตัวเลขไม่น่าจะเป็นชุดนี้

1000>500>250>125>62.5>31.25>15.625>7.8125>3.90625>1.953125>0.9765625

แต่น่าจะเป็น

1024>512>256>128>64>32>16>8>4>2>1

ชุดนี้มากกว่าครับ... ;D ;D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 04 มี.ค. 08, 19:09
นำสถานที่จริงมาให้ชมครับ....


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 04 มี.ค. 08, 19:43
อื้อฮือ เรื่องคิดเลข ดิฉันเก่งมากเสียด้วย รบกวนคุณโอม หรือคุณพพ.ช่วยดูสูตรดังกล่าวแล้วกัน
เอ้อ..เอ..นี่เรากำลังดูเรื่องศิลปะอยู่ไม่ใช่หรือคะ คุณชาย๑๙๖๐
...
เดี๋ยวนี้มีทัวร์ไปอินเดีย เนปาล ไปชมสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ กันคึกคัก
ขอบคุณคุณเอลวิสภู น่าจะบินไปอินเดีย เนปาลถ่ายมาให้ชมนะคะ ;D
..
ขอพาไปชมจิตรกรรมอีกภาพหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสแล้ว ตำราบอกว่า ท่านเอิบอิ่มมาก
ทรงลอยถาดนั้นในแม่น้ำเนรัญชรา อธิษฐานเสี่ยงบารมีว่า แม้ตรัสรู้ ขอให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำ
.. ถาดก็ได้ลอยทวนกระแสน้ำไปด้วยแรงอธิษฐาน และได้จมลงสู่นาคพิภพ
รวมกับถาดอีก 3 ใบ ของอดีตพระพุทธเจ้าในภัททกัปป์นี้

ภัททกัปป์ ค้นแล้วแปลว่ากัปป์ที่มีพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ พระองค์เป็นองค์ที่สี่



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มี.ค. 08, 20:29
ปฐมสมโพธิไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 04 มี.ค. 08, 20:46
ปฐมสมโพธิไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ครับ

ฮืมม...อึ้งครับ...อึ้ง... :-X :-X :-X


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 04 มี.ค. 08, 21:11
โอย ไปเร็วจังเลยครับ ตามไม่ทัน

ยังไม่ได้ชื่นชมธรณีวัดชมพูเวกเลย เคยไปครั้งเดียวก็มิได้ติดกล้องไปด้วย จะไปอีกครั้งก็ลำบาก ด้วยอยู่ก้นซอย

เข้ามาดูพระเจ้าลอยถาดครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 04 มี.ค. 08, 21:14
คุณ chai1960 ช่างคิดดีครับ ขอชื่นชม

ถึงจะแบ่งไม่ลงตัวพอดี แต่คนสมัยก่อนคงมองเป็นภาพรวมว่าน้ำนมจากวัว ๑๐๐๐ ตัว
ผมเดาว่าพอเหลือ ๑๒๕ ตัว เขาจะแบ่งไว้ ๖๒ สำหรับกินน้ำนม แล้วก็แบ่งครึ่งเป็น ๓๑
พอมาถึงตอนนี้ ก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ แบ่งไว้ ๑๖ ตัว รอกินนมจาก ๑๕ ตัว จะไปยากอะไร

หรือแบ่งอย่างไรก็ได้ให้สุดท้ายเหลือวัว ๘ ตัว เป็นใช้ได้  ;D

สมัยนี้คนที่จะทำได้อาจจะต้องเป็นเจ้าของฟาร์ม อย่างฟาร์มโชคชัยนั่น


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: หมีใหญ่ ที่ 04 มี.ค. 08, 22:10
มาขอร่วมออกความเห็นด้วยครับ
การลอยทวนน้ำนั้น จะมองปริศนาธรรมก็คือการทวนกิเลสครับ
ส่วนพญามาร ตามภพภูมิพญามารนั้นไม่ได้อยู่นรกนะครับ อยู่บนสวรรค์เหมือนกัน ชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วๆ ไปด้วยครับ ฤทธาระดับเดียวกับชั้นพรมเลยทีเดียว การหลุดจากกิเลสนั้นจะว่าไปกิเลสหยาบที่เห็นได้ง่ายเช่นโลภ หยาบคาย นั้นยังหลุดได้ง่ายกว่ากิเลสแบบละเอียดครับครูบาอาจารย์ใช้คำว่าติดดี  ท่านพุทธทาสท่านใช้คำว่า ติดดีติดชั่วก็อัปรีย์เหมือนกัน นั้นคือแม้แต่ทำดีก็อย่าไปยึดติดนั่นเอง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 05 มี.ค. 08, 01:00
สวัสดีคุณหมีใหญ่..ยินดีค่ะที่มาร่วมวงด้วย
ขอบคุณคุณโอมที่ซอยตัวเลขจนเข้าใจ ..
ขอบคุณคุณพพ.เช่นกันค่ะ
คุณชาย๑๙๖๐..คะ อ่านเอาอารมณ์ค่ะ มีอึ้งบ้าง ทึ่งบ้าง นี่แหละเรือนไทย ::)
...
เราไปเร็วค่ะ มีอีกสองภาพอยากจะให้ชม ต้องขอแรงผู้ใดก็ได้ช่วยบอกว่า ทั้งสองภาพ ต่างกันอย่างไรค่ะ




กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 05 มี.ค. 08, 01:34
ภาพล่างเป็นพระราหุลนิพพาน

พระราหุลสามเณร องค์แรกในพระศาสนา.....
เป็นผู้เลิศในทางใฝ่การศึกษา เมื่อพระราหุลมีพระชนมายุได้ยี่สิบพรรษา ก็ได้รับการอุปสมบท เป็นพระภิกษุ
ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาพิจารณา รูปกัมมัฏฐานให้เห็นเป็นอนัตตา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล และได้เสด็จไปดับขันธปรินิพพานในดาวดึงส์


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 มี.ค. 08, 03:13
ถึงคุณหมีใหญ่ครับ พญาวัสวดีมาราธิราช เป็นเทพผู้ครองสวรรค์ชั้น ปรนิมวัตสวดีครับ
อยู่สูงที่สุดในบรรดา 6 สวรรค์ชั้นที่ยังเสพกามกันอยู่ หรือ ฉกามาพจร
พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติลงมาเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ และพระนางสิริมหามายา
พักอยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งต่ำกว่าพญาวัสวดี 1 ชั้น
ส่วนพรหม์อีก 16 ชั้น เขาไม่มีกาม ไม่มีเพศ ไปจนถึงไม่มีรูปไม่มีร่างครับ



ปล. พี่กุ้งแห้งครับ ทำไมสามเณรราหุลบรรลุอรหันตผลแล้วยังต้องไปอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อ่ะคับ ??
ผมนึกว่าจะนิพพานเลยซะอีก แหะๆ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 05 มี.ค. 08, 06:48
ว้า.. คุณกุ้งแห้งเยอรมันทำไมถึงทำน้องติบอมึน หา..
ดับขันธ์ แต่ดันไปดาวดึงส์ ดับขันธ์ ก็ไม่น่าจะเกิดอีก
แต่.. ลองอ่านตรงนี้ค่ะ
.................
พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้"
นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 05 มี.ค. 08, 08:29
นึกว่าท่านทวนกระแสสังคมสมัยนั้นซะอีกครับ คุณหมีใหญ่ ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: หมีใหญ่ ที่ 05 มี.ค. 08, 08:48
คุณโอม ทวนกระแสสังคม ผมว่าหลายคนก็ทำอยู่ ในปัจจุบันก็มีคนทวนกระแสสังคมเยอะเยอะ แต่การทวนกิเลส ลอยกิเลสทวนน้ำไปนั้นยากกว่าทวนกระแสมากครับ ปริศนาธรรมนาคนั้นจะนอนอยู่ใต้บาดาล นั่นคือกิเลสละเอียดที่นอดก้นอยู่ต้องใช้กำลังสูงมากถึงจะปลุกให้ตื่นไม่ใช่กิเลสผิวๆ แค่ทำดี ไม่ทำชั่วเท่านั้น
คุณติบอ ที่ผมว่าพญามารมีฤทธาระดับเดียวกับพรม ไม่ได้หมายถึงว่าอาศัยชั้นเดียวกับพรมครับ ถ้าตีความปริศนาธรรม มารหมายถึงมิจฉาทิฐิ ถือตัวถือตนเป็นใหญ่ และยังมีขันท์ครบทั้ง 5 ขันท์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  พรม หมายถึงความข่มจนไม่มีรูป หรือไม่มีนาม ถ้าทางพุทธเรียกว่ามิจฉาทิฐิอีกแบบหนึ่ง เช่นเมื่อพระพุทธองค์แรกตรัสรู้พระองค์ทรงคิดจะเผยแพร่ธรรม และหาคนที่มีอิทรีย์แก่กล้าพอจะรับธรรมได้ นึกถึงพระอาจารย์ของพระองค์ในสมัยก่อนที่จะตรัสรู้แล้วก็ทราบว่าได้ถึงกาลแล้ว ไปเป็นพรมแล้ว พระองค์ยังทรงสังเวชใจที่อาจารย์พระองค์หมดโอกาสที่จะตรัสรู้ เพราะว่าติดอยู่ในขั้นพรมทั้งสององค์และจะอยู่เป็นพรมแบบนั้นไปอีกนานหลายกัปป์
รูปพรมนั้นหมายถึง พรมที่ไม่มีนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  มีแต่รูป คือมีขันท์ 1 ขันท์ ที่เรียกว่าพรมลูกฟัก ส่วนอรูปพรมนั้น มีแต่นาม ไม่มีรูปคือมีขันท์ 4 ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 05 มี.ค. 08, 10:32
อยากฟัง...ความเห็นความเข้าใจส่วนตัวเรื่อง "นิพพาน" จากทุก ๆ ท่านผู้ร่วมเสวนา

"...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่
เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต..."

ถ้าเป็นเช่นนั้น...ใครเล่าจะเห็นพระพุทธองค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใครเล่าจะเห็นท่านเสด็จลงจากสวรรค์
ภาพใน ความคิดเห็นที่ 17 จักไม่เกิด
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2557.0;attach=2212;image)

นอกจากศิลปินจะรังสรรค์ผลงานขึ้นจากจินตนาการโดยคำนึงถึงพระกตัญญุตาของพระพุทธองค์

หรือคำว่า "...เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต..." นั้นมิได้รวมพระอรหันต์ในคำว่ามนุษย์...ภาพนี้จึงเกิดจากการถ่ายทอดของพระอรหันต์

เรียนเชิญแสดงความคิดเห็นมาด้วยความเคารพ
ด้วยยังมีทั้งผู้เบาปัญญาเช่นผม และเด็ก ๆ ที่จะต้องเข้ามาอ่านแล้วเกิดสงสัย... ??? ??? ???


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 05 มี.ค. 08, 11:33
ตอบคุณกุ้งแห้งก่อนละกันครับ คิดว่ารูปแรกเป็นการปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ มีพญามารมาทูลเชิญให้เข้านิพพาน พระพุทธองค์ก็ตอบตกลง ในอีก 3 เดือน

สัญญะของพระพุทธองค์ คือมีรัศมีเป็นเปลวครับ (อิอิ เดี๋ยวค่อยกล่าวกันต่อนะครับเรื่องสัญญะ)


งง กับคุณชัย1960ครับ เข้าใจว่าคงหมายถึง ทำไมในเมื่อพระเจ้าเข้านิพพานแล้ว เรายังเห็นพระพุทธเจ้าในจิตรกรรมหรือประติมากรรมอยู่

ใช่หรือเปล่าครับ?

"เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต"

แต่ในจิตรกรรม สิ่งที่เราเห็นก็มิใช่ตถาคตองค์จริงนี่ครับ เป็นเพียงมายาภาพ หรือ "การสร้างภาพแทนความจริง" (Representation)

 เราทราบได้ทันทีว่าอุษณียษะและรัศมีรอบพระเศียร เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า การปรากฏอุษณียษะแสดงว่าประติมากรรมนั้นเป็นพระพุทธรูป ขณะที่ผู้ชมที่ไม่เข้าใจรหัสทางวัฒนธรรมหรือเป็นคนนอกวัฒนธรรมก็จะไม่เข้าใจความหมายสัญญะ (signified)


ในศิลปะเล่าเรื่อง เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารคือศิลปินกับผู้รับสารคือผู้ชม แต่มีข้อแม้ก็คือ ผู้ชมจะต้องเข้าใจความหมายแฝงหรือ”กติกา” ซึ่งก็คือรหัสทางวัฒนธรรมที่จะทำให้เข้าใจงานศิลปะอย่างครบถ้วนสมบูรณ์


 พระพุทธรูปนั้นจึงทำหน้าที่เป็นสารที่เป็นภาพและมีรหัสอยู่ด้วยในตัว (a coded iconic message)

เป็น ภาพแสดงแทนที่บริสุทธิ์ (Purely representative image) ที่แยกออกอย่างชัดเจนระหว่างรูปเคารพที่อยู่ในฐานะของสิ่งที่ทำให้ระลึกถึง กับของที่เชื่อว่ามีคุณวิเศษด้วยตัวของมันเอง (Idol) ที่สามารถให้คุณให้โทษอย่างควบคุมไม่ได้

เราเคารพพระพุทธเจ้าผ่านทางพระพุทธรูป โดยที่พระพุทธรูปไม่มีวันเป็นพระพุทธเจ้าเองได้ 

เหมือนที่เราเก็บรูปพ่อแม่ไว้ในกระเป๋าสตางค์เพื่อระลึกถึง แต่รูปเหล่านั้นก็ไม่มีวันเป็นพ่อแม่"จริงๆ"ได้

แต่ในสังคมไทย เส้นที่ขีดคั่นระหว่าง ภาพแสดงแทนที่บริสุทธิ์ กับ ของที่มีคุณวิเศษในตัวเอง (Idol) ยังไม่ชัดเจนนักในสำนึกของผู้คน จึงเห็นได้ว่า มีคนอีกจำนวนมากมายที่บูชา "ตัวรูปเคารพ" ราวกับเป็นของจริง

โดยเฉพาะในสังคมที่ยังคงมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ปะปนอยู่


แม้ว่าในระดับเจตนาของการผลิตแล้ว ศิลปินอาจตั้งใจวาดขึ้นสำหรับการระลึกถึง แต่เมื่อผ่านกระบวนการของสิ่งเหนือธรรมชาติ (ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถควบคุมได้) ภาพเพื่อการแสดงแทนก็อาจเปลี่ยนแปลงสภาพให้กลายเป็นภาพที่มีคุณวิเศษ (Magical image) ในตัวเองได้เช่นกัน เรื่องราวเช่นนี้ปรากฏในวรรณกรรมไทยมานักต่อนักแล้ว

คงจำเรื่องนางอดูลปีศาจสิงรูปทศกัณฐ์ที่สีดาวาดกันได้ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 05 มี.ค. 08, 11:45
น่าอัศจรรรย์ ...คุณ  Kurukula... ได้แก้ปัญหาด้วยปฏิภาณอันวิจิตรยิ่งถูกต้องดีแล้ว


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 05 มี.ค. 08, 12:14
ขยายความตอน "นางอดูลปีศาจสิงรูปทศกัณฐ์"

...นางอดูลปีศาจยักษ์แปลงร่างเป็นสาวใช้ของนางสีดารบเร้าให้
นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ให้เห็นเป็นบุญตา ประจวบกับพระรามเสด็จมาพอดี
นางสีดาพยายามลบเท่าไรก็ลบไม่ออก เลยซ่อนไว้ใต้แท่นบรรทม
เป็นเหตุให้พระรามบรรทมไม่หลับ ทรงสั่งให้ค้นห้องพระบรรทมดู
พอเห็นรูปทศกัณฐ์ ก็ดำริว่านางสีดาคงยังมีจิตพิศวาสทศกัณฐ์เป็นแน่
จึงให้พระลักษมณ์นำนางสีดาไปประหารชีวิตเสีย แต่พระลักษมณ์มี
พระทัยสงสารจึงแค่เนรเทศ แล้วนำหัวใจเนื้อมาให้พระรามทอดพระเนตร

กล่าวถึงฝ่ายนางสีดาระหกระเหินอยู่ในป่า และได้ไปขออาศัยฤาษีตนหนึ่งอยู่
จนประสูติพระโอรสออกมา คือพระมงกุฎ
วันหนึ่งนางไปสรงนำที่ลำธาร
เห็นแม่ลิงอุ้มลูกลิงไปใหนต่อใหน ไม่ยอมปล่อยจึงหวนคิดถึงลูก
เลยกลับไปอุ้มพระมงกุฎที่ฝากฤาษีเลี้ยงไว้มาอยู่เคียงกาย
ฤาษีเมื่อบำเพ็ญตบะเสร็จแล้วไม่เห็นพระมงกุฎ ก็ตกใจว่าตนเองปล่อยปะละเลยจนเด็กหาย
จึงทำพิธีชุบกุมารขึ้นมาแทนพระมงกุฎ นางสีดากลับมาทราบความจริง
เลยรับเป็นพระโอรสของพระองค์อีกองค์หนึ่ง และตั้งชื่อกุมารน้อยนั้นว่า พระลบ
ทั้งพระมงกุฎและพระลบฝึกฝนวิชาจากฤาษีจนเก่งกล้าสามารถ
จนไม่สามารถหาผู้ใดเสมอเหมือนได้

ครั้งหนึ่ง พรรามทรงทำพิธีปล่อยม้าอุปการ โดยมีทหารกองหนึ่งติดตามไป
หากม้านั้นผ่านบ้านเมืองใดแล้วกษัตริย์เมืองนั้นยินดีต้อนรับ ก็หมายความว่าสวามีภักดิ์ต่อพระราม
หากผู้ใดคิดทำร้ายม้า จะถือเป็นศัตรูโดยปริยาย
แต่ว่าม้าอุปการเกิดพลัดหลงไปในป่า พระมงกุฎเห็นเลยจับมาขี่เล่นอย่างสนุกสนาน
ทหารที่ติดตามมาต่อสู้อย่างไรก็ไม่สามารถชนะพระมงกุฎได้
แม้หนุมานอาสามาปราบก็ยังโดนพระมงกุฎตีสลบ พระพรตจึงต้องแผลงศรจับตัวพระมงกุฎ
พระรามมีบัญชาให้นำตัวไปประจาน ๗ วันก่อนประหาร พระลบมาช่วยทัน
พระรามจึงเสด็จออกสู้รบเอง แต่เนื่องจากทั้งสองเป็นพ่อลูกกัน จึงไม่มีใครแพ้ใครชนะ
ในที่สุดจึงสอบถามประวัติจึงรู้ว่าพระมงกุฎ คือ หน่อเนื้อของพระรามนั่นเอง

พระรามเมื่อทรงรู้ความจริง จึงเสด็จมาอ้อนวอนนางสีดาให้กลับเมือง
แต่นางสีดายังมีทิฐิมานะ จึงไม่ยอมเสด็จกลับ
พระรามจึงทรวแกล้งออกอุบายเข้าโกศ เป็นทีว่าพระองค์สิ้นพระชนม์
นางสีดาเมื่อทราบเข้าก็รีบรุดมาเยี่ยมพระศพ ร้องไห้คร่ำครวญ
พระรามจึงออกจากโกศมาจับนางไว้ พอนางรู้ว่าตกหลุมพราง
จึงอธิษฐานจิตแทรกดินหนีไปอยู่เมืองบาดาล

พิเภกแนะนำให้พระรามเดินดงอีกครั้ง เพื่อเป็นการสะเดาะพระเคราะห์
โดยมีพระลักษณ์ตามเสด็จไปด้วย ระหว่างเดินดง
นกวายุภักษ์โฉบเอาพระรามและพระลักษมณ์ไป
บริวารลิงทั้งหลายจึงสู้รบกับนกวายุภักษ์และฆ่าวายุภักษ์ตาย
การเดินดงของพระรามครั้งนี้ต้องฆ่ายักษ์อีกหลายตน
จนครั้งสุดท้ายต้องสู้รบกับท้าวอุณราช พระรามถอนต้นกกมาพาดสาย
ยิงตรึงท้าวอุณราชไว้กับแผ่นดิน แล้วจึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
พระอิศวรทรงสงสารพระราม จึงเสด็จมาไกล่เกลี่ยนางสีดา นางสีดาจึงยอมคืนดีด้วย
พระรามและนางสีดาจึงครองกรุงศรีอยุธยาอย่างสุขสวัสดิ์สืบไป...

ค้นได้ใน google อีกแระ... ;D ;D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 05 มี.ค. 08, 16:04
ภาพจิตรกรรมท่านอนอีกภาพหนึ่งค่ะ เป็นความฝันของพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา
..................

ตามตำนานกล่าวว่า  วันนั้นพระนางทรงสุบินนิมิตรว่า  มีท้าวมหาพรหมทั้งสี่มายกแท่นบรรทมของพระนาง  ไปวางไว้ใต้ต้นรังใหญ่ ณ ป่าหิมพานต์  แล้วเหล่าเทพธิดานำพระนางไปสรงสนานใน สระอโนดาด   เพื่อชำระล้างมลทิน  แล้วมีช้างเผือกเชือกหนึ่งชูดอกบัวขาวลงมาจากภูเขาเงินภูเขาทอง  ร้องเสียงก้องดังเข้ามายังปราสาท  ทำประทักษิณเวียนขวา 3 รอบ  แล้วเข้าสู่อุทรเบื้องขวาของพระนาง



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 มี.ค. 08, 14:41
         นิดหนึ่งครับ

         พระราหุลท่านบรรลุอรหัตถผลในโลกมนุษย์  และมีว่าไว้ว่าท่านขึ้นไปดับขันธปรินิพพาน
ในดาวดึงส์

         ส่วน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากโลกขึ้นไปโปรดพุทธมารดาเมื่อพระองค์ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน
         ในพรรษาหนึ่งซึ่งเป็นช่วงต้นพุทธกาล พระองค์เสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา พระมารดาของพระองค์นั้น
หลังจากเสด็จสวรรคตได้ไปอุบัติเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดุสิต และได้เสด็จลงมาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อฟังธรรม

         เรื่องนิพพานสำหรับปุถุชนแล้วไม่อาจคิด หรือเข้าใจได้ ถามผู้ศึกษาพระอภิธรรมท่านบอกว่า นิพพานแล้ว
อย่างที่ทราบว่า ดับรอบ ดับสนิท ทั้งรูป และนาม ไม่มีปัจจัยต่อ ชาติ ภพ (ปฏิจจสมุปบาท) ไม่เหลืออะไร
ไม่มีใครสามารถขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ในที่ไหน ได้อีก

          มิลินทปัญหา  ถามเรื่องที่อยู่ของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน

" ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ ? "

" ขอถวายพระพร มีจริง "

" พระผู้เป็นเจ้าอาจชี้ได้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ? "

" ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยการดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน "

" ขอนิมนต์อุปมาด้วย "

" ขอถวายพระพร เปลวไฟที่ดับไปแล้ว มหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า เปลวไฟนั้นไปอยู่ที่ไหน ? "

" ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเปลวไฟนั้นถึงซึ่งความไม่มีบัญญัติแล้ว "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน
อาจชี้ได้เพียง พระธรรมกาย (กาย = กอง , ธรรมกาย = กองแห่งธรรม ) ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น "

" พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว "



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 06 มี.ค. 08, 22:13
คุณ SILA ครับผมสะสมบทเสวนาของพระเจ้ามิลินทร์ กับ พระนาคเสน อยู่ครับ
ตอนนี้มีทั้งสิ้น ๔ วรรค ดังนี้

มิลินทปัญา วรรคที่ ๑
ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
ปัญหาที่ ๒ ถามพรรษา   
ปัญหาที่ ๓ ถามลองปัญญา   
ปัญหาที่ ๔ ปัญหาของอันตกายอำมาตย์   
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องบรรพชา   
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องปฏิสนธิ(เกิด)   
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องมนสิการ(การกำหนดจิต) 
ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะมนสิการ 
ปัญหาที่ ๙ ถามลักษณะศีล   
ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะศรัทธา 
ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะวิริยะ   
ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะสติ   
ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะสมาธิ   
ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะปัญญา   
ปัญหาที่ ๑๕ ถามหน้าที่แห่งธรรมต่าง ๆ กัน   

มิลินทปัญา วรรคที่ ๒
ปัญหาที่ ๑ ถามความสืบต่อแห่งธรรม 
ปัญหาที่ ๒ ถามความรู้สึกของผู้ไม่เกิดอีก   
ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องปรินิพพาน
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องสุขเวทนา
ปัญหาที่ ๖ ถามการถือกำเนิดแห่งนามรูป
ปัญหาที่ ๗ ถามการเกิดอีกแห่งพระนาคเสน
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนามรูป     
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องกาลนานยืดยาว
   
มิลินทปัญา วรรคที่ ๓
ปัญหาที่ ๑ ถามมูลเหตุแห่งกาลทั้ง ๓
ปัญหาที่ ๒ ถามที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสาร     
ปัญหาที่ ๓ ถามความปรากฏแห่งที่สุดเบื้องต้น
ปัญหาที่ ๔ ถามถึงความเกิดขึ้นแห่งสังขาร   
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความมีขึ้นแห่งสังขารที่ไม่มี
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องผู้ถึงเวทย์
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเกี่ยวแห่ง จักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ
ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะผัสสะ
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงลักษณะเวทนา     
ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะสัญญา
ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะเจตนา     
ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะวิญญาณ   
ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะวิตก
ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะวิจาร
     
มิลินทปัญา วรรคที่ ๔
ปัญหาที่ ๑ ถามลักษณะมนสิการ
ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีสภาวะอย่างเดียวกัน     
ปัญหาที่ ๓ ถามการเกิดแห่งอายตนะ ๕
ปัญหาที่ ๔ ถามเหตุต่าง ๆ กันแห่งกรรม   
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงสาเหตุ ที่ควรให้รีบทำเสียก่อน
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงความร้อนแห่งไฟนรก
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงเรื่อง เครื่องรองแผ่นดิน
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนิโรธนิพพาน     
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการได้นิพพาน
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องรู้จักความสุขในนิพพาน   

แต่ผมจำไม่ได้ว่าบทสนทนาส่วนที่คุณ SILA ยกมานั้นอยู่ในตอนใด
อีกทั้งผมเองก็ไม่ทราบว่ามีทั้งหมดกี่วรรค กี่ปัญหา
ซึ่งหากถ้ามีมากกว่า ๔ วรรคข้างต้นนี้ และหากไม่เป็นการรบกวนเกินไปขอรบกวนที่มาด้วยครับ
ผมจะได้ค้ดลอกเก็บไว้ต่อไป... ;D ;D ;D

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 07 มี.ค. 08, 02:17
สวัสดีค่ะ คุณsila
..
ภาพที่ถือว่าเด่นดังอีกภาพในแง่ของอารมณ์ทางศิลปะก็คือ ภาพองคุลีมาล กับพระพุทธเจ้า รู้ว่าเป็นเขาก็ด้วยสายสะพายนิ้ว 999 อีกนิ้วก็ครบพันหนึ่งตามที่หวังแล้ว
องคุลีมาลท่าทางเป็นคนเถื่อน ซกมกมาก กิริยามารยาทหยาบช้า
ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง
เห็นพระพุทธองค์เป็นเหยื่อที่เขาต้องการพอดี
แต่พระองค์ก็เมตตาสั่งสอน และองคุลีมาล ก็เป็นผู้รับที่ทั้งเข้าใจและเข้าถึง
ภาพน่าจะผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าสมัยใด




กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 07 มี.ค. 08, 08:50
องคุลีมาลในเวอร์ชั่นหนังมักไม่ใส่เสื้อผ้าเพราะเป็นโจร แต่องคุลีมาลเวอร์ชั่นนี้แต่งตัวเรียบร้อยดีจัง คาดว่าฆ่าหั่นนิ้วแล้วก็ผลัดเสื้อผ้ามาใส่เสียด้วยเลย


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 มี.ค. 08, 10:04
        คุณ chai, ตอนที่ยกมาเป็น ปัญหาที่ ๑๐ ของวรรคที่ ๕
   
  อ่านสบายตาที่ - http://www.dhammathai.org/milin/milin09.php 

  พบว่ามีแบบการ์ตูนด้วยครับ  http://www.palungdham.com/t003.html     


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 07 มี.ค. 08, 10:24
โย้ว...ตามหามานานแล้วครับ เพิ่งได้ครบก็คราวนี้...โย้ว... ;D ;D ;D

เรือนไทยเต็มไปด้วยคนเก่งและคนมีน้ำใจเช่นนี้เอง

ขอบคุณครับคุณ SILA


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 07 มี.ค. 08, 12:53
ตอนองคุลีมาลไล่ล่า...

องคุลีมาลวิ่งไปใกล้ ๆ อีก จะทัน ก็เงื้อดาบขึ้น หมายจะฟันให้สะพายแล่ง พอลงดาบฟันลงไป  ก็ต้องผิดหวังอีกเพราะพระพุทธเจ้ายืนอยู่ตั้ง ๑๐ – ๒๐ โยชน์ ก็วิ่งไล่ตามอีกเป็นอยู่อย่างนี้ ปากก็ร้องตระโกนบอกว่า  และก็คิดในใจว่าวิชาวิษณุมนต์นี้คงจะมีคนสำเร็จก่อนเราเป็นแน่แท้ ทำไมสมณะโล้นจึงเดินเร็วและไม่รู้สึกเหนื่อยหอบแต่อย่างไร เราซึ่งเป็นหนุ่มและดูแข็งแรงกว่าวิ่งติดตามไล่ฟันเท่าไหร่ก็ไม่ถูกสักที
"สมณะโล้นหยุดก่อน ๆ สมณะโล้นหยุดก่อน ๆ  ..." 
พระพุทธเจ้าตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่เจ้านั้นสิยังไม่หยุด”
องคุลีมาลก็เฉลี่ยวใจ หยุดอะไรล่ะ วิ่งสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ เนี่ยท่านบอกว่าท่านหยุด เราวิ่งแต่ท่านเดิน ท่านเดินไม่ธรรมดาเราวิ่งเท่าไหร่ก็วิ่งไม่ทัน ท่านมีเหตุอะไร พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสบอกว่า

“เราหยุดแล้วจากการทำความชั่ว การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่เจ้านั้นซิยังไม่หยุด”

คนที่มีบารมีที่ได้สังสมอบรมมาแล้ว ได้ฟังองค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเพียงเท่านี้ ก็ได้สติ ก็ระลึกได้ จึงเหวี่ยงดาบฟ้าฟื้น ปลดคันธนูลูกศรวางลงและก้มลงกราบที่พระบาท แล้วฟังธรรมของพระพุทธเจ้าและมีจิตเลื่อมใสจึงขอบรรพชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเป็น   “เอหิภิกขุอุปสัมปทา ”     ให้โจรร้ายองคุลีมาลได้บวชในพระพุทธศาสนา ก็เป็นเวลาพอดีที่แม่ท่านไปถึง แล้วพระพุทธองค์ก็นำองคุลีมาลภิกษุใหม่กลับไปยังเชตวันมหาวิหาร

"วลีที่พระพุทธเจ้าตรัสน่าจะหยุดอะไรหลายๆสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในขณะนี้ได้ "


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 08 มี.ค. 08, 18:03
เรื่องขององคุลีมาล เราได้เรียนกันแต่เล็ก คงจำได้นะครับว่า เขาฆ่าคนด้วยความซื่อ เชื่อผิดๆ ทำให้ผมคิดไปถึงเรื่องของซีอุย เขาเชื่อผิดๆว่า กินเครื่องในเด็กแล้วอายุยืน
องคุลีมาลกลับใจ ซึ้งในรสพระธรรม
และปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
เป็นที่มาของคำพังเพยว่า โจรกลับใจ หรือเปล่า อยากจะเดาว่าใช่
...


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 08 มี.ค. 08, 23:46
จากบันไดดาวดึงส์ พระเจ้าหย่อนตีน ยมกปาฏิหาริย์ อโนดาต มาร พญามาร แม่ธรณี นางสุชาดา ราหุล องคุลีมาล ขอนำภาพนางรำมาลงอีกครั้งแบบช็อตเต็มๆค่ะ
ถ้าดูของจริงจะเห็นหน้านางยิ้มกริ่มแบบสนุก กึ่งแก่นแก้วค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 00:03
เปลี่ยนบรรยากาศมาดูสามัญชนนั่งเรียงแถวบ้างค่ะ .. สวยดี มีชีวิตชีวา


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 07:46
ศาสนาคริสต์มีนักบุญเปโตรเป็นสาวกคนที่หนึ่ง
ศาสนาพุทธก็มีอัครสาวกเหมือนกัน เราก็ทราบว่าผู้โชคดีนี้คงต้องทำบุญมาหลายๆชาติ ไม่งั้นจู่ๆจะมีโอกาสได้ฟังปฐมเทศนาคงยาก
โกณฑัญญะ หรือเมื่อสำเร็จโสดาบันแล้ว เรียกท่านว่า อัญญาโกณฑัญญะคือหนึ่งในสาวกทั้งห้า หรือศัพท์ที่เราเรียนมาแต่เล็กๆว่า ปัญจวัคคีย์
..หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านเสวยวิมุตติสุขณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธอยู่เป็นเวลา ๔๙ วัน จึงเสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อแสดงธรรมแก่สาวกทั้งห้า ที่เคยรับใช้สมัยที่ออกบวช บำเพ็ญเพียร
..
ไม่ใช่ว่าอยากสอน แล้วสาวกทั้งห้าจะรับง่ายๆ ทั้งห้าปฏิเสธพระพุทธเจ้า สามครั้ง เพราะไม่เชื่อในพระองค์เสียอีกแน่ะ
แต่ในที่สุดเมื่อท่านทั้งห้าได้พร้อมใจรับฟังธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
หรือพระสูตรที่หมุนกงล้อธรรม
มีท่านโกณฑัญญะ ที่มีดวงตาเห็นธรรมก่อนเพื่อนเมื่อวันเพ็ญเดือน ๘
พูดภาษาง่ายๆเป็นอันว่าครบทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วันนั้น
ล่วงมาอีกเดือนคือวันเพ็ญเดือน ๙ ทั้งห้าจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 07:55
การไปพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ทำให้ดิฉันรำลึกถึงวันคืนเก่าๆที่ร่ำเรียนวิชาคำสอน และศีลธรรม อันสนุกสนาน หาได้คร่ำเคร่งหรือคิดว่าเป็นยาหม้อใหญ่ไม่ เพราะมันเหมือนกับเดินตามความคิดของนักปรัชญาใหญ่ระดับศาสดาของโลก แม้ว่าปัญญาเรายังไม่ถึงก็มีใจรักจะเรียน
ไม่ไพเราะเหมือนอ่านพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
แต่ก็พออ่านได้
เช้าเรียนคริสต์ กลางวันเรียนพุทธ สวดมนต์ศาสนาคริสต์เป็นสิบปี พอเข้าโรงเรียนพุทธ ถึงได้สวดอิติปิโสฉบับย่อ ทุกเช้า
เมืองไทยเป็นเมืองพุทธนี่นา เราไปอยู่ศาสนาฝรั่งเสียนาน
ดูภาพจิตรกรรมต่อค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 08:48
ภาพนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก
โลกที่เปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลกคือ เทวโลก
มนุษยโลก และยมโลก
เทวโลกหมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกจนถึงสวรรค์ทุกชั้น
มนุษยโลกก็คือโลกมนุษย์ และยมโลกซึ่งอยู่ทางเบื้องตํ่า
คือ นรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก

ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา
เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก
สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์
แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่

พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลกทั้งให้คนในสามโลกนี้มองเห็นซึ่งกันและกัน
ถ้าจะพูดตามสามัญคือ ทำให้มนุษย์รู้ถึงบาปบุญคุณโทษ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 17:04
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ไม่ใช่ที่ๆมาแล้วกราบพระ แล้วจากไปง่ายๆ เป็นเหมือนจักรวาลความงาม ความรุ่งเรือง และฝีมือทั้งทางจิตรกรรม  การตกแต่ง และสถาปัตยกรรม
เงยดูเพดานที่มีทั้งดาว และเทวดาล้อมรอบหรือเปล่าคะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 17:07
ด้านหลังมีตู้พระไตรปิฎก ให้เราชมอย่างพินิจพิจารณา .. เป็นตู้ลายรดน้ำค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 17:08
 :D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 10 มี.ค. 08, 09:04
น ณ ปากน้ำ ได้เขียนเรื่องราวของลายรดน้ำบนตู้พระธรรมที่เราควรมีโอกาสไปดู ดิฉันอ่านแล้วก็ขวนขวายไปดู เฉพาะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและเจ้าสามพระยานี่ก็เหลือแหล่แล้วค่ะ
จากที่ดูว่าสวย ว่างาม ได้อ่านหนังสือลายรดน้ำของท่าน ก็พอเข้าใจขึ้นมาบ้าง และดูลึกซึ้งได้ไปอีกระดับ
การดูศิลปะ เป็นเรื่องของใครของมัน เราฟังปราชญ์ท่านว่านั่นงามนี่สวย นี่สุดยอดไว้
ดูเองอาจจะไปเห็นอะไรที่คิดว่างามและสุดยอดไม่แพ้ที่ท่านเห็นก็ได้
ศิลปะไม่ผูกขาดหรือจำกัดค่ะ.. คุณติบอ คุณกุรุกุลา คุณเอลวิสภู คุณพพ คุณโอมและท่านอื่นๆเห็นเป็นอย่างไรคะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 10 มี.ค. 08, 10:08
ขอบคุณคุณเอลวิสภูที่ส่งบทความนี้มาให้ทางอีเมล์เมื่อวานนี้ค่ะ

‘ตู้พระไตรปิฏกลายรดน้ำ’ หนึ่งในสยาม
โดย ภุชชงค์ จันทวิช
ที่มา http://www.dailynews.co.th/


ศูนย์วัฒนธรรมที่กำลังจะสูญ

คนไทยกับเครื่องแต่งเรือนดูจะเป็นของคู่กัน
เราเคยพบโต๊ะสำริดปิดทองแบบจีนอยู่ในกรุพระปรางค์
วัดราชบูรณะ
ซึ่งมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาเป็นที่วางตั้งประดิษฐานเครื่องราชูปโภคต่าง
ๆ ของพระมหากษัตริย์ เช่น พัดโบก จามร พระแส้จามรี
(จำลองด้วยทองคำ) ฉลองพระบาท พระเต้าทักษิโณทกทองคำ
ยอดเป็นพรหมพักตร์ พระแสงขรรค์ฝักทองคำประดับรัตนชาติ
เมื่อภาคต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตอนต้นและข้าวของเครื่องใช้อีกมากมาย
สิ่งของเหล่านี้ล้วนวางตั้งและประดิษฐานอยู่บนโต๊ะสำริดดังกล่าวทั้งสิ้น
จึงมีผู้รู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่าคนไทยมีตู้ใส่เสื้อผ้าบ้างหรือเปล่าและหน้าตาตู้เป็นอย่างไร
คำตอบก็คือ น่าเชื่อว่ามี แต่คงไม่มีครบทุกบ้าน
อาจจะมีบ้างเฉพาะผู้มีฐานะดี พวกเจ้าขุนมูลนาย เจ้าพระยา
ท้าวพญา พระมหากษัตริย์ และถามต่อไปว่า
แล้วของเหล่านี้อยู่ที่ไหน
จึงหายไปหมดเกลี้ยงไม่ส่อเค้ามูลให้เห็นบ้าง



เรื่องนี้ท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่าข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นอาจจะนำไปถวายวัด
เพื่อจะเป็นอานิสงส์เพื่อชาติหน้าจะได้มีของใช้ดี ๆ
อันความเป็นจริงเครื่องเรือนจำพวกตู้ โต๊ะ หีบใส่ผ้า
จากจีน ญี่ปุ่นและฝรั่ง รวมทั้งพรมปูพื้นจากอินเดีย ด้าย
ผ้าไหม จากจีน ดาบจากญี่ปุ่น กริชจากชวามลายู
จานชามจากจีนและญี่ปุ่น เครื่องเทศจากอินเดีย เปอร์เซีย
ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วน้ำพริกปลาทูก็อาจจะไม่ใช่อาหารประจำชาติไทยดั้งเดิมแท้จริงเพราะพริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้าอาจจะมาจากส่วนอื่น ๆ
ของโลกที่ติดตามมากับพวกหมอสอนศาสนา นักบวชต่าง ๆ
ก็เป็นได้

สำหรับตู้ของพระสงฆ์ เราเรียกว่า ตู้พระธรรม
อาจใช้ได้อเนกประสงค์ ตู้พระธรรม ต้องแยกจากหีบพระธรรม
เพราะของสองอย่างลักษณะแตกต่างกัน
ลวดลายภาพเล่าเรื่องชาดกและพระพุทธประวัติ
วรรณกรรมรามเกียรติ์
รวมทั้งภาพเกร็ดในวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมในชีวิตประจำวันที่ไม่มีจารึกอักษรและเราก็สามารถเข้าใจด้วยอักษรภาพที่ปรากฏเหล่านั้นได้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น
จึงนับได้ว่าเป็นการบันทึกด้วยภาพ
เล่าเรื่องที่ดีและชาญฉลาด ประณีตพิเศษ



ตู้ลายรดน้ำ ของไทยอาจมีเค้ารูปมาจากญี่ปุ่นหรือตู้จีน
ตู้ฝรั่ง
ที่เรียกว่าตู้ลายรดน้ำก็เนื่องมาจากกรรมวิธีและวิถีของช่างรักนั่นเอง
เริ่มต้นขั้นตอนต้องหาไม้สักอย่างดีมาต่อเป็นตัวตู้อย่างสวยงามสง่า
แข็งแรง มั่นคง จากนั้นก็ใช้ช่างรักดำเนินการผลิต
ซึ่งมีกรรมวิธีเชิงช่างที่มีความละเอียดอ่อนสวยงามขั้นตอนพิถีพิถันมาก
ช่างรัก
ช่างปิดทองและช่างเขียนอาจเป็นช่างคนเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
นอกจากนี้ยังมี ตู้เขียนลายกำมะลอ
คือวิธีทำคล้ายลายรดน้ำแต่ใช้สีที่ได้จากสนิมของโลหะหรือส่วนผสมโลหะมาเขียนเติมให้เกิดสี
น้ำหนัก
รูปลักษณ์ของตัวภาพและลักษณะของแสงเงาตามความเหมาะสมเพื่อออกมาเป็นภาพที่ผสมกลมกลืนตามที่ใจปรารถนาและตามที่ต้องการปัจจุบันก็เหลือตัวน้อยเต็มทีที่จะทำได้อย่างงานสมัย
โบราณ จึงอาจจะเป็นงานที่ขาดตอนสูญหายต่อไป
ซึ่งดูไปแล้วตู้พระธรรม
ตู้ลายรดน้ำมักเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง

ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำนี้ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เขียนกล่าวไว้ว่า

ตู้พระธรรม ที่แท้จริงนั้นมีทรงเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์
ส่วนบนสอบมีขาตั้งตรงมุม ๔ ขา ยาวจากมุมของตู้ลงไปประมาณ
๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว
โดยทั่วไปนั้นขาของตู้พระธรรมจะมีขนาดต่างกันอยู่มากก็ตาม
ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปพอกำหนดได้ดังนี้ สูง ๔๐ นิ้ว กว้าง ๔๐ นิ้ว และลึก ๓๐ นิ้ว ขาตู้ยาว ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว
ภายในตู้มีหลายชั้นสำหรับวางห่อพระคัมภีร์
ซึ่งได้กล่าวจารลงใบลานแล้วมัดเป็นผูก ผูกละ ๒๕ ใบ

เรื่องตู้ลายรดน้ำ
นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญทางวัฒนธรรมและงานช่างศิลป์
เนื่องด้วยชาวต่างประเทศเห็นเป็นศิลปะที่หายากและมีอยู่แห่งเดียวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ไทยแท้จริงจึงแย่งกันสะสม
ถึงแม้นจะมีกำเนิดเกิดมาจากหลายเชื้อชาติแต่ก็ได้รวมหลากหลายฝีมือช่างหลากหลายวัฒนธรรมหล่อหลอมรวมด้วยอุณหภูมิแห่งศิลปะและวัฒนธรรมสืบต่อเนื่องยาวนานกลั่นกรองมาเป็นหนึ่งเดียว
คือ ตู้ลายรดน้ำ
ซึ่งสร้างด้วยฝีมือช่างที่ก่อด้วยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอันประเสริฐนับวันตู้แบบตู้ลายรดน้ำสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็จะเลือนรางสูญหายไปจากลมหายใจสุดท้ายของสังคมไทยในปัจจุบัน
ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งเพราะตู้หลังเดียวบอกอะไรมากกว่าที่เราคิดโดยเฉพาะภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญของไทยที่นับวันแต่จะเลือนหายไปพร้อมกับน้ำจิตน้ำใจของใครบางคน
ตู้เหล่านี้กลับไปอยู่ในต่างประเทศมากกว่าอยู่ ณ
ถิ่นกำเนิด

ตู้พระธรรม
ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น
ตลอดจนสมุดไทยที่สำคัญสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนาและมักเก็บรักษาอยู่ในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสูง
เช่นที่หอไตรซึ่งมักจะมีเสาสูงปลูกสร้างอยู่กลางสระน้ำเพื่อป้องกันอัคคีภัย
ภัยจากมอด มด ปลวก และหนอนหนังสือ
ตลอดจนเหล่าแมงและแมลงทั้งหลาย จากสารเคมีจากความแห้ง
ตลอดจนน้ำมูกน้ำลายจากเหล่าพระภิกษุทั้งหลาย
ตู้พระไตรปิฎกจึงออกแบบให้แข็งแรงทนทานสวยงามเล่าเรื่องได้ บอกประวัติได้
มีความเป็นเอกลักษณ์สูงส่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
สมควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้เป็นหมวดหมู่ให้ดูได้ศึกษาได้.................


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 10 มี.ค. 08, 16:59
 :)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 10 มี.ค. 08, 17:00
 :)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 10 มี.ค. 08, 19:01
สวัสดีครับ คุณกุ้ง ช่วงนี้กำลังยุ่งเลยไม่มีเวลามาตอบกระทู้ ขอโทษด้วยนะครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 11 มี.ค. 08, 00:06
ดั่งหัตถ์เทพ...บรรจงขีด...เส้นสาย
สลับลาย...บรรจง....สร้างสรรค์
งานวิจิตร...ปฏิมาร์...จึ่งงามพลัน
เสกสรรค์...นิรมิต...ตามคัมภีร์

ฝนศิลา...หรดาล...เป็นฝุ่นผง
รักษาลาย...สีดำด้วย...ฝุ่นเหลือง
ทาทาบรัก...สีนิลกาฬ...เสร็จครัน
จึ่งปิดทอง...รักนอกนั้น...ด้วยทองเปลว

แล้วตักน้ำ...มหามนต์...ใสสะอาด
ราดรดลาย...วาดหรดาล...เพื่อล้างออก
ลายสีเหลือง...หรดาล...จักหายพลัน
รักที่ติด...ทองเปลวนั้น...ทองยังคง

ผงหรดาล...กั้นทอง...มิให้ติด
เนรมิต...ลวยลายดั่ง...เทพประสิทธิ์
งานชั้นครู...เชิงช่างไทย...งามเหนือชั้น
จึงเสกสรรค์...ทิพย์วิมาน...ตามตำรา...ศิลป์ไทย...เอย










...ถ้าไม่ไพเราะหรือไม่เหมาะสมก็ขอกรุณาลบทิ้ง
ประเภทด้อยปัญญาแต่อยาก...แจม...ครับ... ;D ;D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 11 มี.ค. 08, 00:59
ฉากในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี่ น. ณ ปากน้ำว่าเป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๑ ฝีมือช่างตกค้างสมัยกรุงศรีอยุธยา.. ซึ่งนับว่างามเลิศ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 11 มี.ค. 08, 12:21
ในพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีตู้พระไตรปิฏก ลายรดน้ำล้ำค่าอีกชิ้นหนึ่ง...
ไม่ดูไม่ได้  เป็นของวัดวัดเซิงหวายฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย ด้วยลีลาของกนกเปลวสะบัดพริ้วเหมือนเปลวไฟ
ในตัวลายประกอบด้วยลายกระหนก และดอกไม้กิ่งไม้ใบไม้ ผสมกับกาบแซมตามช่อ
ในช่องไฟที่ว่างก็จะแซมด้วยนกต่างๆบินบ้างโผบ้างให้อาหารบ้าง
ดูแล้วเพลินไม่มีที่สิ้นสุด นี่ละ ..รสชาติของงานศิลป


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 11 มี.ค. 08, 12:37
ดูแล้วไม่เบื่อค่ะ :) :D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 11 มี.ค. 08, 13:23
ลงตัว ความเคลื่อนไหวสมบูรณื มีชิวิตชีวา


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 11 มี.ค. 08, 13:33
เพิ่งได้มีเวลามาตามอ่านค่ะ  ได้อ่านที่คุณกุ้งแห้งฯ พูดถึงการสวดมนต์แล้วเสียดายค่ะ  เมื่อสมัยดิฉันเรียนประถมศึกษา  โรงเรียนจะให้นักเรียนเข้าห้องประชุมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ(หากเขียนผิดรบกวนตักเตือนด้วยนะคะ)ฉบับยาวทุกเย็นวันศุกร์  เป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับนักเรียน  ด้วยทฤษฎีทางการศึกษายุคใหม่ที่ต้องการให้เด็กคิด ไม่ต้องการให้เด็กจำ  การสวดมนต์ก็ถูกยกเลิกไป  ทั้ง ๆ ที่แม้จะเป็นเรื่องน่าเบื่อ เป็นเรื่องที่ครูส่วนใหญ่สอนได้แค่ให้เด็กจำ แต่โดยไม่รู้ตัว  การสวดมนต์ก็เหมือนการฝึกการเปล่งเสียง ฝึกร้องเพลง เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับคำสัมผัส ฉันทลักษณ์ต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่เข้าใจ ไม่ซาบซึ้ง แต่การกระทำซ้ำ ๆ ก็เป็นการบังคับจำไปในตัว  พอยกเลิกไป  จำก็ไม่ได้ คิดก็ไม่เป็น  เฮ้อ..... 


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 12 มี.ค. 08, 00:58
รูปงามต้องดูกันใหญ่ๆ..
นี่ก็อีกชิ้นค่ะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาไปพิพิธภัณฑ์ เป็นลายดอกไม้ใบไม้และกระหนกเปลว ฝีมือจิตรกรวัดเซิงหวาย ลำต้น กิ่งก้านสาขาของต้นไม้จะมีเหล่านก บ้างกระพือปีกบิน เกาะคาคบไม้ ปะปนไปกับกระรอก กระแต และนกกระยาง
ที่จริงถ่ายภาพด้านข้างตู้ไว้เต็ม แต่ตัดมาให้ชมครึ่งหนึ่งค่ะ จะได้เห็นและสัมผัสเนื้อหาของภาพ และรสชาติทางศิลปะ ช่องว่าง อากาศ และแน่นอนที่สุด..
อารมณ์
ใครไม่เห็นก็ต้องดูดีๆ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 12 มี.ค. 08, 08:04
สุดยอดครับ ภาษาญี่ปุ่นต้องบอกว่าสุกร เอ้ย สุโก้ย
เข้ามาชื่นชมฝีมือคนถ่ายรูปด้วยครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 12 มี.ค. 08, 09:34
มาฝากคุณโอม
ศิลปะ คือการแนะให้คิด สะกิดให้นึก ผู้อ่านผู้ฟังจำต้องร่วมคิดร่วมนึกร่วมรู้สึกกับศิลปินด้วย ไม่ใช่ศิลปินเพ้อพร่ำรำพันให้ฟังถ่ายเดียว
ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์
จากบทนำ เรื่องแปล เฒ่าผจญทะเล ของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มี.ค. 08, 09:56
รูปสวยมากครับ
แต่.....โลกนี้มีคนหน้าบางทว่าหนังหนามากมาย

เดี๋ยวพวกเอาไปใช้ทำมาหารับทานเสียหร็อก


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 12 มี.ค. 08, 11:48
คุณพอลและดิฉันคิดว่าเว็บนี้เป็นเว็บวิชาการค่ะ เจตนาในการนำเสนอก็เป็นเรื่องของวิชาการล้วนๆ ถ้านักเรียนนักศึกษาหรือผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา เราจะไม่ว่ากันเลย.. ถ้าระดับของผู้นำไปใช้ สามัญสำนึกต่ำกว่าพื้นฐาน คัดลอกโดยไม่คำนึงถึงลิขสิทธิ์ คิดว่าความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ เป็นของสาธารณะ คุ้มครองไม่ถึง ดิฉันและคุณพอลพร้อมผู้อยู่เบื้องหลังที่คอยช่วยเหลือ เดิน ขับรถ ติดต่อ พยายามทำสิ่งที่รักหลายวัน หลายร้อยกิโล กลับไปกลับมา เหนื่อย ก็คงต้องทำแบบอาจารย์คือฟ้องร้องค่ะ บางทีอาจจะร่ำรวยขึ้นมาจากการเรียกค่าเสียหายก็ได้นะคะ ทำเป็นเล่นไป
ในการโฆษณา เขามีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า subliminal advertising เราว่าเราอาจจะต้องเอามาใช้ในภาพเสียแล้ว ..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 12 มี.ค. 08, 17:22
ภาพนี้ มาฝากอาจารย์ค่ะ
ตู้ที่โด่งดังในห้องเดียวกัน คือตู้สมัยพระนารายณ์มหาราช ในระยะต้นของอยุธยาตอนปลาย น ณ ปากน้ำ เขียนว่า..
บานซ้ายลายส่วนบนของพระเจ้าหลุยส์ เป็นลายโรโคโคผสมไทย มีเทวดาฝรั่งตามกลีบเมฆ พื้นหลังเบื้องล่างเขียนต้นไม้แบบลายฝรั่ง
บานขวารูปกษัตริย์เปอร์เชีย เป็นลายเมฆมีเทวดามุสลิม
ดอกไม้ใบไม้ข้างล่างเป็นศิลปะเปอร์เชีย
คิงฝรั่งเศสเดรสแบบฝรั่งเศส คิงเปอร์เซียเหน็บกริช
ที่ดิฉันติดใจ รองเท้างามอย่างคิงทั้งคู่เลยค่ะ
....
เป็นภาพสำคัญทางประวัติศาสตร์
...


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มี.ค. 08, 18:06
คุณกุ้งแห้งบ่นลอยลมมาว่า
ทำไมไม่มาออกความเห็นในกระทู้นี้บ้าง

ตอบว่าตกตะลึงความงาม พูดไม่ออก......ฮิฮิ ล้อเล่นนะครับ
อยากให้ลงรูปไปให้เต็มอิ่ม พวกเราดูเป็นบุญตา
จากนั้น จะขออนุญาต จิ๊กรูปออกไปสร้างกระทู้ประกบ เพราะตามประสาคนรู้น้อย
พูดเกินสามคำ ก็แตกประเด็นเละเทะ ดูแต่คุณไชประไร....
(เอ่อ คำมันพาไปนะครับ มิได้ต้องการจะให้พ้องเสียงกับคุณชาประลัยเลย...เป็นความสัตย์)

เธอเอาข้าวเหนียวส้มตำเข้าห้องเรียนเฉยเลย 555555555....(ล้อเล่นอีกทีนะครับ)
เกิดโจ้ปลาส้มกันกลางพิพิธภัณฑ์ โอ้ย ไม่อยากนึกต่อ

นี่กำลังรอชมพระที่นั่งราเชนทรยานอย่างกระวนกระวายทีเดียว


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 12 มี.ค. 08, 23:41
ก่อนพระที่นั่งราเชนทรยาน แวะดูหิมพานต์กันก่อน
ต้นนารีผลกำลังออกลูกดก
มีฤาษีปีนเก็บท่ามกลางนกโฉบไปมา...เสียว
เทวดาก็โฉบมาเด็ดด้วย
ตู้เขียนลายแบบนี้ เรียกว่ากำมะลอค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 13 มี.ค. 08, 00:17
ฝากคุณพพ
พระที่นั่งราเชนทรยาน
เป็นพระที่นั่งทรงบุษบก
มีคานหาม
4 คานหาม
ใช้คนหาม
56 คน
เป็นราชยานสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ที่เรียกว่า"ขบวนสี่สาย"
เนื่องจากเป็นของใหญ่และหนักจึงใช้สำหรับเสด็จพระราชดำเนินเท่านั้น
พระที่นั่งราชยานองค์นี้
เคยใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 7
โดยเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชมณเฑียรไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
นอกจากนี้ยังใช้เชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จากพระเมรุที่สนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 13 มี.ค. 08, 00:31
 ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 13 มี.ค. 08, 00:54
รบกวนเรียนถามคุณกุ้งแห้งค่ะ การขออนุญาติถ่ายภาพในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้น ต้องดำเนินการติดต่อบริเวณใด และเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมอย่างไรบ้างค๊ะ ขอบคุณค่ะ :)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 13 มี.ค. 08, 02:02
รูปนี้ค้นมาจาก http://www.oknation.net/blog/phaen/2008/01/07/entry-10
ฝากคุณพพ ครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 13 มี.ค. 08, 05:12
รบกวนเรียนถามคุณกุ้งแห้งค่ะ การขออนุญาติถ่ายภาพในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้น ต้องดำเนินการติดต่อบริเวณใด และเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมอย่างไรบ้างค๊ะ ขอบคุณค่ะ :)

ถ้าเป็นการขอถ่ายเพื่อการศึกษา ก็ทำหนังสือไปค่ะ ที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ดิฉันทำหนังสือไปจากหน่วยงานเรียบร้อย ภาพที่นำมาลงเรือนไทยเป็นผลพลอยได้จากงานค่ะ แต่ก็เห็นนักเรียนนักศึกษาเพาะช่าง จิตรกรรม เข้าไปขอถ่าย บางคนก็ไปนั่งลอกลายเลย
ภาพพยายามอย่าใช้แฟลชหรือไฟที่จะมีผลต่อการเสื่อมคุณภาพของจิตรกรรมนะคะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 มี.ค. 08, 10:20
สวัสดีครับคุณกุ้งแห้ง ไม่ได้เข้ามาโพสนานเลย

สำหรับเรื่องของการขอถ่ายรูป ก็ไปติดต่อตรงทางเข้าส่วนจัดแสดงที่พระที่นั่งศิวโมกข์พิมานได้

ถ่ายยังเป็นนักเรียนนักศึกษาก็แค่กรอกแบบฟอร์มแล้วแลกบัตรครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 13 มี.ค. 08, 14:19
ขอบพระคุณทั้งสองท่านมากค่ะที่ให้ข้อมูลเรื่องการถ่ายภาพค่ะ ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 มี.ค. 08, 18:30
เสลี่ยงที่ไหนครับคุณ drunken beauty

สมัยอยุธยาปลาย สวยจริงๆ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 มี.ค. 08, 18:38
เจี๊ยก .....น้องกุรุกุลา
รีบไปเปิดระยะทางเสด็จตรวจราชการเมืองพิษโลกของสมเด็จครูฯ ด่วน


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 มี.ค. 08, 19:04
พาลาควิน


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 มี.ค. 08, 19:05
โอย กว่าจะโพสติดได้ ไม่รู้อาถรรพ์อะไร

เสลี่ยงอันนี้หรือเปล่าครับ ที่คุณพิพัฒน์พูดถึง

ถ่ายได้ที่วัดใหญ่ พิษณุโลก

ทุกวันนี้อยู่ในกรง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 มี.ค. 08, 21:08
เอ...ทำไมไม้คานหายไปอ่ะ
จำได้แต่จังหวะการดัดไม้ ที่สมเด็จทรงเสก็ตช์ไว้

นี่ถ่ายรูปจนไม้หายเลยรึ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 13 มี.ค. 08, 22:51
หลังที่ดิฉันโพสน่ะเป็นของวัดพระฝางฝีมือสมัยพระเจ้าบรมโกศ   ปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
เมื่อเดือนมกราคม  โทรคุยกันกับเพื่อนที่ทำงานอยู่สำนักช่างสิบหมู่ เธอบอกว่ามียานมาศอยุธยาจากวัดมหาธาตุ ส่งลงมาซ่อม
ดิฉันเข้าใจว่าเป็นหลังสมัยพระเจ้าบรมโกศ  เธอตอบว่า ไม่ใช่ หลังนี้เตี้ยกว่าและมีชั้นครุฑด้วย  ไม่แน่ใจว่าใช่หลังเดียวกับ
รูปบนหรือเปล่า  ถ้าใช่ป่านนี้มิปิดทองอร่ามเหมือนสังเค็ดวัดใหญ่สุวรรณารามในห้องไม้จำหลักที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแล้วฤา


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 14 มี.ค. 08, 00:24
ธรรมาสน์วัดใหญ่สุวรรณารามครับ ไม่น่าเชื่อว่าของอยู่ในพิพิธภัณฑ์ดีๆ จะทำให้หมดคุณค่าไปได้

ไหนกรมศิลป์ชอบติดประกาศว่าห้ามทำลายโบราณสถาน ห้ามทำให้โบราณสถานเสื่อมคุณค่าไง


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มี.ค. 08, 01:55
เป็นโศกนาฎกรรมของมนุษย์ชาติจริงๆ
ไม่น่าเกิดมาได้เห็นเลย

ถ้าจะต้องเปลี่ยนตราของกรมนี้ น่าจะใช้รูปเทวดาทรงกระบือ หรือระมาด
เอ....หรือว่าคเณศเสียงาเพราะพวกนี้ซ่อม

เสลี่ยงที่เป็นคานรูปคลื่น สมเด็จทรงเสก๊ตช์ไว้แน่นอน
ในหนังสือระยะทางฯ แน่นอน
แต่....ถ้าจะมีเหมือนกันอยู่ที่อุตรดิตถ์ ก็ยิ่งน่ายินดีครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 มี.ค. 08, 01:34
คุณกูรู ย่อรูปหน่อย
เดี๋ยวฝรั่งต่างชาติมาเห็นเข้าเราจะขายขี้หน้าเขาเปล่าๆ

ยังกะท้ายรถสิบล้อ





ปล. เสลี่ยงสวยจัง
อยากไปดูให้เห็นกับตา

(ก่อนจะถูกซ่อมซะเป็นธรรมาสน์วัดครุฑ)
เขียนเป็นวัด "คุด" ซะจะสะใจคนเห็นกว่า.....







กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 มี.ค. 08, 01:36
เอ๊า.... แถมนาคให้อีกตัว



.


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 มี.ค. 08, 01:46
กะดาวเพดานอีกซักดอก.......




เสียดายของจับใจ
วัดก็ช่างไม่สงสารคนเดินฝ่าฝุ่นฝ่าแดดไปแทบเป็นลมแดดบ้างเลย.....
เปิดศาลาการเปรียญที.... เห็นธรรมาสน์เท่านั้นล่ะ.....
อยากเป็นลมไปอีกหลายๆรอบ



.


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 15 มี.ค. 08, 10:28
คุณติบอมีรูปธรรมาสน์วัดครุฑ ก็เอามาซะดีๆ

ก่อนจะลากไปถ่ายใหม่

เพราะมันอยู่สุดคลองสระบัวโน่น


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 มี.ค. 08, 15:08
ไปเห็นใหม่..... ระวังจะเรี่ยมเร้เรไรกว่าเก่านะคุณกูรู



ปล. อยากใช้โมดขาวดำขึ้นมาตะหงิดๆ...
ปล.2 ย้ายไปเปิดกระทู้ชมราชยานบ้าง ธรรมาสน์บ้างกันอีกกระทู้ดีมั้ยครับ
เดี๋ยวพิพิธภัณฑ์จันทร์เกษมบ้างเมืองละโว้บ้าง จะเข้ามาปนกับวังหน้านะครับ แหะๆ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 16 มี.ค. 08, 12:30
ราชาแห่งธรรมมาสน์อยุธยาตอนกลาง วัดวรจรรยาวาส ถนนตกค่ะ ยังอยู่ดีหรือไร?
ทางวัดคงเกรงว่าพระพุทธรูปท่านจะอยู่มืดๆ เลยเดินสายติดหลอดไฟให้ท่านตั้ง สี่ดวงแน่ะ
นี่ถ้าเกิดมันลัดวงจร หรือช๊อตขึ้นมา โอยยย ไม่อยากคิดค่ะ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 16 มี.ค. 08, 12:32
อีกรูปค่ะ ???


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 16 มี.ค. 08, 12:37
โอ้โฮ สวยงาม..


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 มี.ค. 08, 18:08
ไม่เคยไปวัดวรจรรยาวาสเลยครับ

คุณ drunken beauty พาชมหน่อยได้ไหมครับ อิอิ

กระทู้นี้กลายเป็นกระทู้ธรรมาสน์ซะแล้ว

ใครอาสาขึ้นเทศน์หน่อยครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 16 มี.ค. 08, 18:47
อุเหม่ อยู่ใต้จมูกนี่เองค่ะ ถ้าตั้งต้นที่สนามหลวง ทางรถก็รถเมล์สาย1ค่ะ สนามหลวง-ถนนตก ลงหน้าซอยเจริญกรุง77ค่ะ
ทางเรือด่วนเจ้าพระยา ลงท่าวัดวรจรรยาวาสได้เลยค่ะ ถ้าจะไปกับอิฉันกลัวไม่ถึงวัดค่ะ  :D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 มี.ค. 08, 19:46
อิอิ อากาศร้อนครับ

ยังไม่อยากออกจากบ้านไปไหนเลย

เอาธรรมาสน์ตอนต้นของอยุธยาตอนปลายมาให้ชมครับ

ธรรมาสน์วัดเสาธงทอง น่าจะอายุประมาณพระนารายณ์


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 มี.ค. 08, 19:50
ลายครับ กำหนดอายุยากจังเลย

ถ้าเอาตัววัดเสาธงทองเป็นหลัก ก็คงประมาณพระนารายณ์มั้งครับ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: drunken beauty ที่ 16 มี.ค. 08, 20:49
งามงด อรชร โปร่งเบา ประดุจจะลอยสู่สรวงสวรรค์ :)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 16 มี.ค. 08, 23:37
งามงด ดั่งเทพแสร้ง ประทานมา
อรชร ดั่งองค์อุมา พระแม่เจ้า
โปร่งเบา เสลาสลักพา ใจชื่น สุขเอย 
ประดุจจะลอยล่องฟ้าจิตมุ่ง สู่สรวงสวรรค์


(อักษราวิบัติ...เขียนมั่วเพราะจำสัมผัสไม่ได้แล้ว...เด็ก ๆ อย่าเอาเยี่ยงอย่าง)
 
มาขอขอบคุณท้ายกระทู้ขอรับ...;D ;D ;D


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 17 มี.ค. 08, 00:12
ธรรมาสน์สิงห์  วัดศรีนวล  บ้านชีทวน  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลฯ ครับ  ตัวยธรรมาสน์เป็นอิฐถือปูน  แต่ปราสาทเป็นไม้  สันนิษฐานกันว่าอายุราว 70-80 ปีครับ  ถ้าได้ไปเที่ยวอุบลฯอยากเชิญท่านไปชมครับ  ห่างจากเมือง 20 กว่าโล....... ::)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 มี.ค. 08, 18:30
ตอนไปอุบลก็ตั้งใจจะไปเที่ยววัดศรีนวล
 

แต่ไกลเกินเอื้อมครับ โปรแกรมตอนนั้นไปได้แค่บ้านปะอาวกับบ้านก้านเหลือง

เลยอดดูธรรมาสน์ฝีมือญวนทำ

คิดถึงก๋วยจั๊บญวนจังครับ

กทม.หากินย๊ากยาก


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 17 มี.ค. 08, 22:24
บ้านปะอาวนั่นเกือบถึง บ้านชีทวนแล้วครับ   เห็นว่าเป็นฝีมือช่าวชาวญวณ  แต่มีนักท่องเที่ยวน้อยคนนักที่จะไปชม  ผมเห็นตั้งแต่ผมเป็นนักเรียนมัธยมต้น  ผู้คนส่วนมากจะนิยมไปชมงานแห่เทียน  หรือไปทางผาแต้มหมด  แต่มีชาวต่างชาติบางคนถึงขนาดมานอนพักที่วัดใกล้ๆเพื่อมีเวลาดู  และระยะหลังๆถึงได้มีคนสนใจมากขึ้นอ่ะครับ


นอกจากก๋วยจั๊บญวณเส้นเล็กๆแล้ว  มีอาหารญวณอร่อยๆอีกเยอะครับ  และที่คลาสิคที่สุดหน้านี้ถ้ามาต้องหาทานให้ได้  "ก้อยกะปอม" ครับ..... :P


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 18 มี.ค. 08, 00:06
บักตั้วจะกินลงมั้ยว๊า.... หิหิ


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 24 มี.ค. 08, 06:39
อยู่ถึงตั้งอุบล เมืองที่ดิฉันเคยตระเวณสมัยยังทำงานฝ่ายการตลาด ย่ำต๊อกดูพฤติกรรมผู้บริโภคและเยี่ยมเอเย่นต์.. ไปเที่ยวแก่งสะพือ อุบลเป็นเมืองใหญ่ มีของโบราณให้ดูมากมาย แต่ตอนนั้น ไม่ได้มีเวลาพอ
ขอคุณBanaนำของดีๆมาให้ชมบ่อยๆนะคะ
 เพื่อแฟนๆเรือนไทยที่สนใจแต่ไปไม่ไหว


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 26 มี.ค. 08, 23:04
ฉากวิวาหะของคิงสุทโธทนะและพระนางมายาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี้ นับว่าเป็นฉากสุดยอดความงามของจิตรกรรมฝาผนังไทยทีเดียว

สมบูรณ์ทั้งการออกแบบ การจัดเค้าโครง และความวิจิตรพิสดารไม่มีที่ติ แสดงให้เห็นความอลังการของพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่ขบวนเสด็จของพระนางมายา ทั้งมโหรีกระจับปี่สีซอ

เสียดายไม่มีโฟโตชอป มิฉะนั้นคงใส่รูปได้ใหญ่กว่านี้ครับ




(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2557.0;attach=2220;image)






แอบเอาภาพของคุณกุ้งแห้ง มาแปะรวมกับความคิดเห็นของคุณกุรุกุลาครับ....







เพราะนายติบอมีของมาฝาก









วัดไชยทิศครับ.


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 26 มี.ค. 08, 23:52
พอดีเจอรูปโบสถ์วัดหลวงปู่มี วัดบ้านนาเมือง  ข้างสนามบินเมืองอุบลฯ  ในเวปครับ  เป็นโบสถ์ที่สร้างบนเรือตามคติที่จะพาข้ามโอฆสงสาร  เอามาฝากคุณกุ้งครับ..... ::)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 27 มี.ค. 08, 00:27
อิอิ โบสถ์บนเรือสุพรรณหงษ์ แถวบ้านผมก็มีอยู่ลำนึง

ชื่อวัดชลอ

เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย

แต่สร้างโบสถ์ใหม่ ขนาดมหึมา ตั้งแต่ก่อนผมเกิด จนทุกวันนี้ก็ยังไม่เสร็จ

เพราะไม่มีตังค์

มีตังค์ก็เอาไปทำจตุคามเสียหมด


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 27 มี.ค. 08, 00:59
คงไม่ใช่ วัดชลอ บางกรวยนะครับ.....อิอิ         ::)


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 27 มี.ค. 08, 14:53
แปลกดีค่ะ ไม่เคยเห็นเลย ขอบคุณคุณbana


กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 27 มี.ค. 08, 22:23
อิอิ ใช่แล้วครับคุณบาน่า

วัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ข้างๆบ้านผมเอง



กระทู้: "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 08 เม.ย. 08, 11:19
ไปเห็นบานประตูมุกเหมือนตู้พระธรรมที่ในพิพิธภัณฑ์ ที่วิหารยอด วัดพระแก้วค่ะ แต่ปิดพลาสติคจนได้มาแค่นี้