เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NT ที่ 01 มี.ค. 14, 17:19



กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 01 มี.ค. 14, 17:19
น้องใหม่ถามท่านผู้รู้ครับ สาเหตุที่เสด็จพระนางสุขุมาลฯ มีพระอิสริยยศต่ำกว่าสมเด็จพระพันปีฯ และสมเด็จพระพันวัสสาฯ คืออะไรครับ ที่สงสัยเพราะอย่างนี้ครับ

1. หากวิเคราะห์จากพระราชบุพการี ก็คือ ร.4 และเจ้าจอมมารดา เหมือนกัน คือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ในกรณีสมเด็จพระพันปี และสมเด็จพระพันวัสสา และเจ้าจอมมารดาสำลี ในกรณีเสด็จพระนางฯ

2. หากดูพระชนม์ของเจ้าฟ้าชายที่ประสูติจากแต่ละพระองค์ เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ตามด้วยเจ้าฟ้าวชิราวุธ ตามด้วยเจ้าฟ้าบริพัตร ดังนั้นเมื่อเจ้าฟ้าวชิราวุธหรือ ร.6 สวรรคต เจ้าฟ้าบริพัตรจึงมีอาวุโสสูงสุด ในหมู่เจ้าฟ้าชาย ผมไม่ทราบว่า การที่ยศของพระนางสุขุมาลฯ นิ่งนั้น เกิดจากความสัมพันธ์ของพระองค์กัย ร.6 หรือไม่

ขอเรียนย้ำว่า เรียนถามเรื่องพระอิสริยยศของพระภรรยาเจ้า ร.5 เท่านั้นครับ มิได้ถามเรื่องลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นประเด็นไม่เหมาะสมครับ



กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มี.ค. 14, 19:32
พระองค์ท่านมิได้ทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทั้งพระองค์แรกและพระองค์ที่สอง
นอกจากนี้ยังมิได้เป็นพระบรมราชชนนีในพระมหากษัตริย์ด้วยค่ะ


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 มี.ค. 14, 19:44
ในความเข้าใจของผมนั้น แม้ว่าพระองค์ท่านจะมีฐานะที่เป็น "ลูกหลวง" ที่เป็นพระมเหสีพระองค์แรกนั้น แต่ไม่สามารถให้พระหน่ออันเป็นพระราชโอรสไม่ กอรปกับการสถาปนาพระอิสริยยศทางเจ้านายพี่น้องสามพระองค์

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อีกทั้งในหลวงก็คงเล็งเห็นสายสกุลบุนนาคไม่มากก็น้อย


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มี.ค. 14, 19:49
ช่วยอธิบายด้วยภาษาง่ายกว่านี้หน่อยได้ไหมคะ คุณหนุ่มสยาม


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 มี.ค. 14, 20:12
ช่วยอธิบายด้วยภาษาง่ายกว่านี้หน่อยได้ไหมคะ คุณหนุ่มสยาม


คือว่า แม้ว่าพระองค์ท่านอยู่ในฐานะ "ลูกหลวง" คือ เป็นลูกกษัตริย์อันประสูติจากจอมมารดาสำลี และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีก่อนพระนางเรือล่มเสียอีกแต่กลับมีพระอิสสริยยศด้อยกว่าในภายหลัง คาดว่า

การที่ทรงมีพระประสูติการเป็นพระธิดาเป็นคนโตนั้นทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงหันไปทางสายอื่นแทน และขณะนั้นเกิดเหตุการณ์อันวิกฤตขึ้นคือ การสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ จึงเกิดการสถาปนาน้องสาว

ของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ คือ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระพันปีหลวง ขึ้นไปพร้อมกับสถาปนาพระนางสุขุมาลย์ฯด้วยในเวลาเดียวกัน

แต่การกำเนิดพระราชโอรสอันเป็นองค์รัชทายาทนั้น กำเนิดที่พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงมีการสถาปนาพระอิสสริยศสูงขึ้นอีก ทำให้พระยศของพระนางสุขุมาลย์ฯห่างกันยิ่งขึ้น จนกระทั่งพระนางสุขุมาลย์ฯ ให้พระประสูติการ

พระโอรส (เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ)จึ่งได้มีการสถาปนาพระยศให้สูงขึ้น


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 14, 09:33
เกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับพระนางสุขุมาลย์มารศรี เมื่อมีพระประสูติกาลจากเจ้าจอมมารดาสำลีนั้น พระธิดาน้อยไม่หายใจนานกว่า ๑๐ มินิตต้องแก้กันให้วุ่นวายกว่าจะเริ่มกรรแสงได้ หลังจากนั้นพระธิดาก็มีพลานามัยสมบูรณ์ดีตลอดมา

เมื่อปีขาลสัมฤทธิศก ๑๒๔๐ ในรัชกาลที่ ๕ มีการเพิ่มเงินเดือนให้ดังนี้

สุนันทากุมารีรัตน์, สว่างวัฒนา, เสาวภาผ่องศรี เดิมได้เดือนละ ๒ ตำลึง ให้ขึ้นอีกคนละ ๕ ตำลึง

สุขุมาลย์มารศรี                                 เดิมได้เดือนละ ๕ ตำลึง ให้ขึ้นเป็นเดือนละ ๗ ตำลึง

ส่วนลูกที่เป็นเจ้าฟ้านั้น ให้ตั้งเงินเดือนเดือนละ ๓ ตำลึง


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 10:32
เหตุผล......

พระนางสุขุมาลย์มารศรี

ได้เงินประจำเดือนสูงกว่า เพราะเป็นราชเลขาฯ

หรือเป็นเพราะเหตุพิเศษอย่างไร


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 03 มี.ค. 14, 16:53
ขอแตกประเด็นเพิ่มครับ แต่ยังเกี่ยวข้องกันอยู่ ท่านใดมีหลักฐานเกี่ยวกับ "พรพิเศษ" ที่สมเด็จพระพันปีขอให้การสืบสันตติวงศ์อยู่ในสายของท่านก่อนสายอื่นๆ ไหมครับ ประเด็นคือ i) พระองค์ท่านขอเพียงว่าให้สายของท่านหมดก่อน ค่อยไปสายอื่น หรือ ii) ขอว่าจากสายของท่าน ให้ไปที่สายของสมเด็จพระพันวัสสาครับ ?


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 17:01
คุณ V_Mee คงติดธุระเลยยังไม่ได้เข้ามา    ดิฉันขอยกคำตอบของท่านที่เคยตอบไว้ในห้องสมุดพันทิปมาให้อ่านกันนะคะ

สำหรับท่านที่สงสัยเรื่องลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ในสายสมเด็จพระพันปีหลวงนั้น  ขอนำเสนอหลักฐานให้พิจารณาสองชิ้น  ชิ้นแรกเป็นบันทึกของนายแพทย์มัลคอม  สมิธ (Dr.Malcolm  Smith) แพทย์ประจำพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ที่ได้บันทึกไว้ A Physician at the Court of Siam  ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยในชื่อ “ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ” ว่า

“ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่ามาจากมาว่าในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยอ่อนแอลง  พระองค์ได้ตรัสเรียกพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระมเหสีทุกพระองค์เข้าไปในห้องพระบรรทม  และทรงแจ้งพระราชประสงค์ของพระองค์ให้ทราบทั่วกันว่าการสืบราชสันตติวงศ์สมควรที่จะพิจารณาจากพระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีก่อนพระองค์อื่น”

มีหลักฐานอีกตอนจาก "เกิดวังปารุสก์" ฉบับสมบูรณ์ (หน้า๒๓ - ๒๔) ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพวษ์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า

"ในวันหนึ่งขณะออกขุนนาง  ทูลหม่อมปู่ทรงพระสรวลขณะที่อยู่ต่อหน้าธารกำนัล  ได้ทรงตรัสถามพ่อว่า "ยังไงเล็ก เขาว่ามีเมียแหม่มจริงไหม?"  ทูลหม่อมอาเอียดน้อยได้ทรงเล่าเรื่องตอนนี้ให้ข้าพเจ้าฟัง  เป็นเวลาก่อนเสด็จไปศึกษาที่ยุโรป  ท่านว่าพ่อได้ตอบโดยเสียงออกจะแหบๆ ว่า "อาจจะเป็นได้"  ต่างคนต่างนิ่งกันหมด  ทูลหม่อมปู่พระพักตร์ซีดและโดยไม่ตรัสอย่างใดอีก  ได้เสด็จออกจากห้องเป็นอันว่าเสด็จขึ้น
...
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทราบเรื่องราวต่อมา  ปรากฏว่า ทูลหม่อมปู่ได้ทรงเรียกพ่อให้ไปเฝ้าสองต่อสอง  และได้ทรงต่อว่าถึงการแต่งงานกับผู้หญิงฝรั่ง  จริงอยู่บุคคลชั้นขุนนางได้เคยมีแต่งงานกับผู้หญิงฝรั่งมาก่อนนั้นแล้ว  แต่ชั้นเจ้านายนั้นยังไม่มี  ทูลหม่อมปู่ได้ทรงเตือนพ่อว่า เป็นที่สองในการสืบราชสันติวงศ์ต่อจากทูลหม่อมลุง  พ่อได้ทรงโต้เถียงว่ามิได้เคยทรงคิดเช่นนั้น  เพราะตามที่เข้าใจกัน  สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมก็ย่มมียศเท่ากันหมด  พ่อจึงได้ทรงคิดว่าที่สองต่อจากทูลหม่อมลุง คือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์  ขณะนั้นเป็นกรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต  ซึ่งแก่กว่าพ่อ  คนโดยมากเรียกกันว่าทูลหม่อมชาย  ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า ทูลหม่อมลุงบริพัตร  พระโอรสของ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  ฉะนั้นเป็นครั้งแรกที่ปรากฏว่า การสืบสันตติวงศ์นั้นจะไปในทางพระโอรสของย่า  ก่อนที่จะถึงพระโอรสขององค์อื่นๆ"

"ย่า" ในที่นี้ทรงหมายถึง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง

หลักฐานทั้งสองนี้คงจะเป็นเครื่องยืนยันชัดเจนแล้วว่า ผู้ที่ทรงกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ในสายสมเด็จพระพันปีหลวง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากคุณ    : V_Mee
เขียนเมื่อ    : 7 พ.ย. 55 19:51:18

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/11/K12887337/K12887337.html


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 03 มี.ค. 14, 17:20
ขอบพระคุณ อ.เทาชมพูครับ แต่ที่จริงผมมิได้เรียนถามการที่ราชสันตติวงศ์มาทางพระพันปีก่อนนะครับ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากพระพุทธเจ้าหลวง หรือจากสมเด็จพระพันปีทรงขอก็ตาม แต่ที่เรียนถามคือ "หลังจาก ร.7 สวรรคตแล้ว ผู้มีบทบาทในช่วงนั้นใช้หลักการใด ในการชี้ว่าสายถัดไปคือสายสมเด็จพระพันวัสสา มิใช่สายเสด็จพระนาง" ผมคิดว่ามิใช่หลักของว่าท่านใดมีเจ้าฟ้าชายพระโอรสอาวุโสกว่า แต่น่าจะเป็นเพราะพระอิสสริยยศ ของสมเด็จพระพันวัสสา สูงกว่าเสด์จพระนาง และกลับไปที่คำถามเปิดกระทู้ของผมนั่นเอง ว่าสาเหตุนั้นเกิดจากสิ่งใด

สิ่งที่ผมรู้สึกกว่ายังน่าสับสน คือระหว่างประโยค 1 และ 2 กล่าวคือ

1. เสด็จพระนางไม่ได้เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ จึงมีอิสริยยศต่ำกว่า 

หรือว่า 2. เสด์จพระนางมีอิสริยยศต่ำกว่า (ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบ) จึงส่งผลให้สายของพระองค์ ควรตามหลังสายของสมเด็จพระพันวัสสาฯ 



กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 17:29
น่าจะมีคำตอบอยู่ในกระทู้เก่าว่ารัฐบาลในตอนนั้นพิจารณาอย่างไร    แต่ดิฉันจำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหน  ร้อนถึงคุณเพ็ญชมพูตามเคย


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 14, 20:10
ขอบพระคุณ อ.เทาชมพูครับ แต่ที่จริงผมมิได้เรียนถามการที่ราชสันตติวงศ์มาทางพระพันปีก่อนนะครับ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากพระพุทธเจ้าหลวง หรือจากสมเด็จพระพันปีทรงขอก็ตาม แต่ที่เรียนถามคือ "หลังจาก ร.7 สวรรคตแล้ว ผู้มีบทบาทในช่วงนั้นใช้หลักการใด ในการชี้ว่าสายถัดไปคือสายสมเด็จพระพันวัสสา มิใช่สายเสด็จพระนาง" ผมคิดว่ามิใช่หลักของว่าท่านใดมีเจ้าฟ้าชายพระโอรสอาวุโสกว่า แต่น่าจะเป็นเพราะพระอิสสริยยศ ของสมเด็จพระพันวัสสา สูงกว่าเสด์จพระนาง และกลับไปที่คำถามเปิดกระทู้ของผมนั่นเอง ว่าสาเหตุนั้นเกิดจากสิ่งใด

สิ่งที่ผมรู้สึกกว่ายังน่าสับสน คือระหว่างประโยค 1 และ 2 กล่าวคือ

1. เสด็จพระนางไม่ได้เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ จึงมีอิสริยยศต่ำกว่า 

หรือว่า 2. เสด์จพระนางมีอิสริยยศต่ำกว่า (ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบ) จึงส่งผลให้สายของพระองค์ ควรตามหลังสายของสมเด็จพระพันวัสสาฯ 



ตรงนี้ต้องขออธิบายในขั้นตั้นว่า การเลือกพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิไตยนั้น กระทำขึ้นหลังจากที่ได้รับโทรเลขจากรัชกาลที่ ๗ ว่าทรงสละราชสมบัติ (ยังไม่สวรรคต) และสภาผู้แทนราษฎรรับรองการสละราชสมบัติแล้วก็เห็นสมควรคัดเลือกผู้หนึ่งผู้ใดเสวยราชสมบัติต่อไป

การคัดเลือกนั้นยึดหลัก "กฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗" โดยเคร่งครัดทุกประการ


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 14, 20:23
การคัดเลือกนั้นได้กระทำขึ้นโดยกระทรวงวังเป็นผู้จัดทำบัญชีรายพระนามเรียงตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ และส่งให้กับนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติ

ในเบื้องต้นนั้นก่อนที่รัชกาลที่ ๗ จะสละราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงมีโทรเลขโต้ตอบว่าถ้าพระองค์สละราชสมบัติแล้วก็ให้ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์และให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการจนบรรลุนิติภาวะ แต่ทรงปฏิเสธไปเนื่องด้วยสุขภาพไม่อำนวย


การสืบราชสันตติวงศ์ให้ดูจากสายสมเด็จพระพันปีหลวงเป็นสายแรก (ฐานะพระบรมราชินีนาถ) ซึ่งเหลือ พระองค์เจ้า จุลจักรพงศ์ (ติดที่ฐานะมารดาเป็นรัสเซีย) ต่อมาก็สายเจ้าฟ้าจุธาธุช สู่พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (ติดที่ฐานะมารดาเป็นบุคคลธรรมดา)

ต่อมาหันไปมองสายพระราชเทวีคือ สายพระนางเจ้าสุขมาลย์ คือ เจ้าฟ้านครสวรรค์ฯ ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้สูงสุด แต่ว่าเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ถูกรัฐบาลเชิญเสด็จให้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ดังนั้นจึงมิได้มีการพิจารณาแต่ประการใด


ต่อมาก็โอนกลับมายังสายสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นอันดับแรก และสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิการเจ้าเป็นลำดับต่อมา

เมื่อสายสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ไม่มีแล้ว ก็หันมายังสายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิการเจ้า ลงมายังกลุ่มพระโอรสในสาขานี้คือ สายสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ไม่มีแล้ว) ก็กลับไปยังพระโอรสต่อมาคือสายสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งมีโอรสคือที่เลือกคือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 03 มี.ค. 14, 20:52
การคัดเลือกนั้นได้กระทำขึ้นโดยกระทรวงวังเป็นผู้จัดทำบัญชีรายพระนามเรียงตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ และส่งให้กับนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติ

ในเบื้องต้นนั้นก่อนที่รัชกาลที่ ๗ จะสละราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงมีโทรเลขโต้ตอบว่าถ้าพระองค์สละราชสมบัติแล้วก็ให้ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์และให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการจนบรรลุนิติภาวะ แต่ทรงปฏิเสธไปเนื่องด้วยสุขภาพไม่อำนวย


การสืบราชสันตติวงศ์ให้ดูจากสายสมเด็จพระพันปีหลวงเป็นสายแรก (ฐานะพระบรมราชินีนาถ) ซึ่งเหลือ พระองค์เจ้า จุลจักรพงศ์ (ติดที่ฐานะมารดาเป็นรัสเซีย) ต่อมาก็สายเจ้าฟ้าจุธาธุช สู่พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (ติดที่ฐานะมารดาเป็นบุคคลธรรมดา)

ต่อมาหันไปมองสายพระราชเทวีคือ สายพระนางเจ้าสุขมาลย์ คือ เจ้าฟ้านครสวรรค์ฯ ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้สูงสุด แต่ว่าเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ถูกรัฐบาลเชิญเสด็จให้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ดังนั้นจึงมิได้มีการพิจารณาแต่ประการใด


ต่อมาก็โอนกลับมายังสายสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นอันดับแรก และสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิการเจ้าเป็นลำดับต่อมา

เมื่อสายสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ไม่มีแล้ว ก็หันมายังสายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิการเจ้า ลงมายังกลุ่มพระโอรสในสาขานี้คือ สายสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ไม่มีแล้ว) ก็กลับไปยังพระโอรสต่อมาคือสายสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งมีโอรสคือที่เลือกคือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

ขอบพระคุณ คุณ Siamese ครับ ผมจะหยุดการถกประเด็นการสืบราชสันตติวงศ์ตรงนี้ เพื่อไม่ให้เข้ามาใกล้สมัยปัจจุบันเกินไป จะไม่งาม แต่ขอกลับไปในประเด็นของ พระองค์เจ้าวรานนท์ฯ ที่ถูกข้ามลำดับ โดยพระบรมราชโองการ ร.6 เห็นคุณเขียนว่า สาเหตุเกิดจากมารดาเป็นสามัญชน...สาเหตุเป็นเรื่องนี้จริงหรือว่าเป็นสาเหตุอื่นครับ

ในฐานะผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรีช่วง ร.5 ถึง ร.7 ผมเห็นว่าเรื่องพระมารดาเป็นสามัญชนหรือไม่นั้น ไม่น่าจะเป็นสาเหตุ เช่นเดียวกัน ที่ว่าหม่อมระวี ไกยานนท์ มารดาของพระองค์วรานนท์เป็นนางละคร ก็ไม่น่าใช่ เนื่องจากมีตัวอย่างสะใภ้หลวงองค์อื่นๆ ที่เป็นนางละครเช่นกัน ในความเห็นของผม 2 ประเด็นที่เป็นไปได้มากที่สุด ได้แก่

1. หม่อมระวี มิใช่สะใภ้หลวง แต่สาเหตุที่ท่านไม่ได้เป็นสะใภ้หลวง กระผมไม่ทราบ

2. เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ มิได้ทรงเป็นทหาร และอาจส่งผลให้ ร.6 ทรงกังวลต่อสภาวะบ้านเมือง และศักยภาพของเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ในการบริหารราชการแผ่นดิน

ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้ คิดอย่างไรกับประเด็นเหล่านี้


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 20:54
น่าจะมีคำตอบอยู่ในกระทู้เก่าว่ารัฐบาลในตอนนั้นพิจารณาอย่างไร    แต่ดิฉันจำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหน  ร้อนถึงคุณเพ็ญชมพูตามเคย

คำตอบของคุณวีมีน่าจะใช้ได้  ;D

๒  เรื่องลำดับการสืบราชสันตติวงศ์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร แล้ว  ได้โปรดสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดี ทรงศักดินา ๕๐๐๐๐ (ปกติเจ้าฟ้าทรงกรม ศักดินา ๔๐๐๐๐) หี้พระเกียรติศักดิ์เป็นที่สองรองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  จึงมักจะกล่าวกันว่า  มีพระราชกระแสดำรัสสั่งให้พระราชโอรสทั้งสองท้อง (คือ สายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งทรงเป็นพระขนิษฐภคินีร่วมพระชนนี) นี้  ให้นับอายุเรียงตามกัน 

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จกลับจากยุโรปแล้ว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ พร้อมมีพระราชกระแสดังปรากฏในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ นั้นแล้ว  จึงเท่ากับว่า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมในยุโรป  คือ ให้นับสายสมเด็จพระพันปีหลวงตรงลงไปจนหมดเสียก่อน  จึงไปต่อที่สายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า   แล้วจึงไปถึงสายสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลยมารศรี  และพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินินาฏตามลำดับศักดิ์ของพระชนนี

เมื่อพระราชพินัยกรรมลงวันที่  ๘  กันยายน  ๒๔๖๘  ทรงกำหนดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงรับรัชทายาทในกรณีที่พระนางเจ้าสุวัทนาทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดา  กรณีนี้จึงเท่ากับว่าได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ข้ามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ทั้งสามพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา  และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบุรณ์อินทราชัย ดังนั้นทายาทของทั้งสองพระองค์ (เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครนครราชสีมา ไม่ทรงมีพระทายาท) จึงถูกข้ามไปทั้งหมดตามกฎมณเฑียรบาล  มาตรา ๕

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติแล้ว  จึงต้องไปเริ่มที่สายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  แต่ต้องข้ามสมเด็จพระบรมองค์ใหญ่ไปเพราะทรงเป็นมกุฎราชกุมารมาก่อนแล้ว  และไม่ทรงมีพระทายาทก่อนที่จะเสด็จสวรรคต  ลำดับต่อไปจึงต้องเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์  แต่เมื่อหาพระองค์ไม่แล้ว  จึงต้องเลื่อนลงมาที่พระโอรส ๒ พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล  และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช  จากนี้แล้วจึงจะไปถึงสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  และสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ตามลำดับ

การที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  มาอ้างว่า  คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาถึงเรื่องการสืบราชสันตติวศ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์  และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ขึ้นพิจารณา (รายละอียดในหน้า ๒) นั้น   ผมกลับเห็นว่า นักกฎหมายระดับดอกเตอร์อังดรัวซ์ไม่น่าจะตีความกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ หมวดที่ ๓ ๔ และ ๕ พลาดไปได้ถึงขนาดนั้น  ในกรณีพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์นั้นเข้าข่ายตามมาตรา ๑๑ (๔)  ประกอบด้วยมาตรา ๑๒  ส่วนพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชนั้น เข้าเกณฑ์มาตรา ๑๑ (๖) ตามพระราชพินัยกรรมที่อ้างถึงนั้น

ส่วนที่มีการอ้างอิงถึงพระองค์อื่นๆ อีกนั้น  ก็เชื่อว่า เพียงแต่จะสร้างความชอบธรรมให้แก่คณะราษฎร์ในการที่จะอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์โดยมีคณะผู้สำเร็จาชการตามหมวดที่ ๖ แห่งกฎมณเฑียรบาล  และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงรับอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว  คณะราษฎร์ก็ได้ใช้อำนาจต่างๆ ผ่านทางผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  จนเป็นเหตุให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ต้องปลงพระชนม์ชีพ  แล้วคณะราษฎร์ก็ได้ตั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภา (ซึ่งกล่าวกันว่า  ทรงเกรงใจคณะราษฎร์เป็นพิเศษ) ขึ้นเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ  ผมว่าประเด็นสำคัญนั้นอยู่ตรงนี้


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 04 มี.ค. 14, 12:23
ผมไม่เห็นด้วกับคำอธิบายของคุณ Siamese ครับ ขอ veto ไว้ก่อน กลัวคนรุ่นหลังจะเอาไปอ้างผิดๆ การที่จะนับสายพระนางเจ้าสุขุมาลมาก่อนสายสมเด้จพระพันวัสสาไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ยิ่งวกมานับสายสมเด้จพระนางเรือล่มอีกแถมยังต่ำกว่าพระนางเจ้าสุขุมาลฟังดูไม่มีหลักการเอาเลยครับ


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 04 มี.ค. 14, 12:58
เย็นๆ กันนะครับ จขกท. ขอตีกรอบประเด็นอีกครั้งครับ

- มีหลักฐานชัดเจนอยู่แล้ว ว่าสายพระพันปีจะสืบราชสมบัติเป็นสายแรก ส่วนจะมีการเว้น ข้าม ในสายนั้น ก็ยกไว้ก่อนก็ได้ครับ อาจเป็นกระทู้แยกภายหลัง
- และกฎมณเทียรบาล ผนวกกับอิสริยยศของพระพันวัสสา ที่สูงกว่าเสด็จพระนาง ก็ชัดเจนว่าเจ้าฟ้ามหิดลทรงเป็นรัชทายาท มิใช่เจ้าฟ้าบริพัตร

แต่คำถามคือ แล้วการที่พระนางสุขุมาล มีอิสริยยศต่ำกว่า คืออะไร เรื่องนี้ยากจริงๆ ครับ ในความเห็นผม เพราะผมคิดว่าเกิดจากพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ของ ร.5 ซึ่งเป็นปกติของมนุษย์ครับ


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 14, 15:11
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ในมาตรา ๙ ความว่า

"การสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร"


กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/A/195.PDF


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 มี.ค. 14, 16:11
เรื่องพระอิสริยศักดิ์ของพระมเหสีในรัชกาลที่ ๕ นั้น  ดูจะทรงถือแบบธรรมเนียมเดิมคือ นับจากพระมเหสีพระองค์ใกมีพระราชโอรสเป็นพระองค์แรกก็จะทรงยกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีที่พระบรมราชเทวี  เช่นเดียวกับครั้งรัชกาลที่ ๒ ทรงยกสมเด็จเจ้าฟ้าบยุญรอดเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี  ขณะที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลพระอัครมเหสีอีกพระองค์หนึ่ที่มีพระราชโอรส ๓ พระองค์งทรงเป็นพระมเหสีรอง

ในรัชกาลที่ ๕ ทรงยกสมเด็จพระพันวัสสาฯ ซึ่งทรงมีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสมเด็จพระบรมราชเทวีมีพระเกียรติยศเหนือพระอัครมเหสีทั้งปวง  ทั้งนี้มีข้อที่น่าสังเกตว่าได้พระราชทานนามพระราชโอรสพระองค์รองที่ประสูติแต่พระนางเธอเสาวภาผ่องศรีว่า "มหาวชิราวุธ" ในขณะที่พระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ (นับเรียงพระชนมายุ) กลับได้รับพระราชทานพระนามว่า "บริพัตรสุขุมพันธุ์" ไม่มีคำว่า "มหา" ทั้งที่ทั้งทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในพระมเหสีเช่นเดียวกับอีก ๒ พระองค์

แต่เมื่อสมเด็จพระบรมฯ พระองค์ใหญ่เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระพันวัสวัสสาฯ ทรงพระโทมนัสแสนสาหัสจนพระอนามัยเสื่อมทรุดต้องเสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่ศรีราชาอันเป็นต้นกำเนิดโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา  แม้เวลาตามเสด็จประพาสชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๙  เมื่อเสด็จถึงเกาะชวาแล้วพระอนามัยก็หาฟื้ขึ้นต้องทรงหยุดประทับรักษาพระองค์เป็นการเฉพาะมิได้ตามเสด็จประพาสที่ต่างๆ จนเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ จึงทรงร่วมกระบวนเสด็จฯ กลับมา 

ถัดจากเสด็จประพาสชวาไม่นานก็ถึงเวลาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกซึ่งจำจะต้องมีผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร  ในเวลานั้นจึงได้โปรดสถาปนาพระนางเธอเสาวภาผ่องศรี พระชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (รัชกาลที่ ๖) ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ละเมื่อเสด็จฯ กลับจากยุโรปครั้งนั้นแล้วหม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงเล่าว่า ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงแบบธรรมเนียมในพระราชสำนักครั้งใหญ่  เริ่มจากโปรดให้เลิกธรรมเนียม "ผัวเดียวหลายเมีย" มาเป็น "ผัวเดียวเมียเดียว"  และทรงยกสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเป็น The Reaal Queen เหมือนพระราชินีในยุโรป  นอกจกนั้นยังได้ทรงจัดระเบียบการสืบราชสันตติวงศ์ให้เริ่มในสายสมเด็จพระพันปีหลวงเป็นลำดับแรก  ในเรื่องลำดับการสืบราชสันตติวงศ์นี้แม้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเองก็มิได้ทรงทราบจนเกิดเรื่องทรงมีเมียแหม่มขึ้นมา  จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทรงกำหนดให้สายสมเด็จพระพันปีหลวงเป็นสายแรกในการสืบราชสันตติวงศ์

ในเมื่อมีการกำหนดลำดับพระอิสริยศักดิ์พระมเหสีให้สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็น The Real Queen แล้ว  จึงมีการกำหนดโปเจียมพระบรมวงศ์ฝ่ายในรัชกาลที่ ๕ เป็นลำดับดังนี้
สมเด็จพระพันปีหลวง
สมเด็จพระพันวัสสา
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี
พระวิมาดาเธอฯ
เมื่อกระทรวงวังเสนอทำลำดับสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากรัชกาลที่ ๗ จึงได้จัดลำดับตามโปเจียมดังกล่าว


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 04 มี.ค. 14, 16:15
ความเห็นส่วนตัวนะคะ คิดว่าเพราะว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรีมีเจ้าจอมมารดาเป็นพวก บุนนาค รัชกาลที่ 5 อาจจะทรงเข็ดขยาดพวก บุนนาค ตั้งแต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ที่ทรงสำเร็จราชการแทนเลยไม่อยากให้สายสกุล บุนนาค ขึ้นมามีอำนาจบารมีอีกก็เลยทรงอวยพระอิศริยศแค่นั้นและทรงชดเชยแทนโดยทำศพเจ้าจอมมารดาสำลี อย่างใหญ่ ใหญ่กว่างานศพเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เจ้าจอมมารดาใน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ซะอีก (ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ ผิดถูกอย่างไรช่วยคิดอ่านด้วยนะคะ ขอบคุณคะ)


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 04 มี.ค. 14, 16:30
ในเมื่อมีการกำหนดลำดับพระอิสริยศักดิ์พระมเหสีให้สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็น The Real Queen แล้ว  จึงมีการกำหนดโปเจียมพระบรมวงศ์ฝ่ายในรัชกาลที่ ๕ เป็นลำดับดังนี้
สมเด็จพระพันปีหลวง
สมเด็จพระพันวัสสา
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี
พระวิมาดาเธอฯ
เมื่อกระทรวงวังเสนอทำลำดับสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากรัชกาลที่ ๗ จึงได้จัดลำดับตามโปเจียมดังกล่าว
[/quote]

คุณ V_Mee ครับ ถ้ามีเอกสารทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับโปเจียมที่เรียงลำดับพระบรมวงศ์ฝ่ายในดังกล่าว รบกวนแลกเปลี่ยนให้ดูหน่อยเป็นวิทยาทานนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 มี.ค. 14, 22:25
โปเจียมดังว่านั้นไม่พบว่ามีเอกสารประวัติศาสตร์บันทึกไว้หรือไม่  แต่ดูจากการสถาปนามหาสวามินีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า  ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็นมหาสวามินีพระองค์แรก  เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตแล้วรัชกาลที่ ๖ จึงได้โปรดสถาปนาสมเด็จพระพันวัสสาฯ เป็นมหาสวามินีต่อมา


กระทู้: เหตุผลที่พระนางสุขุมาลฯ พระอิสริยยศ ต่ำกว่าพระพันปั และพระพันวัสสา คืออะไรครับ?
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 05 มี.ค. 14, 08:26
นอกจากเรื่องการสถาปนามหาวสวามินีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแล้ว  ยังจำได้ว่าหม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงเล่าไว้ในพระราชวงศ์จักรีว่า เวลาเจ้านายฝ่ายในท่านรอเฝ้าฯ ในท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หรือพระที่นั่งพิมานรัตยา  ท่านก็จะทรงนั่งตามลำดับโปเจียมไม่มีการล้ำกัน  เริ่มจากสมเด็จพระพันวัสสาประับเป็นองค์ต้นแล้วต่อด้วยพระปิตุจฉาเจ้าฯ พระวิมาดาเธอ  แล้วจึงถึงพระมเหสีพระคู่หมั้นในรัชกาลที่ ๖ เรียงลำดับต่อกันมา