เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: srisiam ที่ 10 มิ.ย. 10, 22:30



กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 10 มิ.ย. 10, 22:30
เคยเห็นผ่านๆตา ว่าพระเครื่องหรือวัตถุมงคลแต่ละองค์ ถูกออกแบบอย่างสวยงาม วิจิตรบรรจง ทั้งองค์ประกอบ / รูปแบบ / การสื่อความหมาย

รบกวนสมาชิกท่านใดที่พอมีความสนใจและความรู้ ช่วยนำเสนอด้วยขอรับ จะเป็นพระคุณยิ่ง

รู้สึกบางองค์จะเป็นแบบเหนือจริงด้วย??

:)


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 11 มิ.ย. 10, 08:16
เร็วๆนี้ก็พระขุนแผนโคโยตี้ ;D
ย้อนไป 4 - 5 ปีก่อน ก็จตุคาม ด้านหลังภาพจักรราศี(กลุ่มดาว) 28 นักษัตร
ย้อนไปไกลๆก็ พระปิดตา

ไกลไปอีกก็พระลีลา เมืองกำแพง
 :D

ที่จริงรูปแบบศิลปะของพระเครื่องนี่ก็น่าศึกษานะครับ


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 มิ.ย. 10, 07:21
 ;D

ขอบคุณครับ........แต่เราไม่ยุ่งกับพุทธพาณิชย์เทือกนั้นดีกว่า.........อยากชมของอริยะหรือเกจิรุ่นก่อนๆ..............

เกินห้าทศวรรษยิ่งดี




ที่มาของพระเครื่อง............น่าศึกษา..........http://www.prakruang.in.th/tag/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 12 มิ.ย. 10, 11:07
ผมเรียก "พระพิมพ์" ครับ เรียกพระเครื่อง หรือ พระเครื่องราง จะเหมาะสมหรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะเครื่องรางดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือพระพุทธเจ้า หรือพุทธบัญญัติ?


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 มิ.ย. 10, 23:34
เห็นพ้องต้องกันครับ...รบกวนช่วยอภิปรายเพิ่มประดับความรู้จะเป็นพระคุณยิ่งครับ...... :)


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 10, 16:14
พระพิมพ์ดินเผา ศิลปะอยุธยาตอนปลาย นั่งซุ้มปราสาท เรียกกันโดยทั่วไปว่า "พระโคนสมอ" มีหลายพิมพ์ทรง องค์พระพุทธรูปปางทรงเครื่อง


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 10, 16:21
พระแกะสลักเนื้อหินจุยเจีย หรือ หินน้ำค้าง นิยมสร้างในดินแดนล้านนา ศิลปะออกไปทางลังกา


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 10, 16:29
พระเนื้อชิน สร้างโดยการหล่อลงแม่พิมพ์ ศิลปะอยุธยาตอนต้น เรียกว่า พระปรุหนัง พบมากและขึ้นที่กรุวัดมหาธาตุ บ่งบอกถึงการสร้างพระที่ลวดลายสวยงามมาก


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 13 มิ.ย. 10, 16:45
เรื่องขุนแผนโคโยตี้ ผมว่าตีไข่มากกว่า วงการพระมีอะไรที่น่ากลัวกว่าที่คิดครับ
เพราะรูปแบบที่ทำก็ไม่ใช่รูปพระแต่กลับไปเรียกเป็นพระไปได้ เขาทำรูปแบบของเทวดาชัดๆแค่มีรูปสาวนุ่งน้อยห่มน้อยมาใส่ไว้
เรื่องวงการพระ ขนาดพระใหม่ยังปลอมตั้งแต่ในกุฏิก็มีมาแล้วครับ พวกลูกศิษย์ใกล้ชิดนั้นละตัวร้าย มีให้เห็นเยอะครับ

ส่วนเรื่องดาวฤกษ์ที่ปรากฏอยู่ส่วนหลังของ จตุคามฯ นั้น
ถ้าเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ของจีนใช่ครับมี 28 กลุ่ม แต่ไม่ใช่กับของไทยครับ ของเรามี 27 กลุ่มดาวฤกษ์แบ่งได้เป็น 9 หมวดครับ ตั้งแต่ทลิทโทถึงสมโนฤกษ์ครับ แต่แบ่งนักษัตรเป็น 12 นักษัตรเหมือนกันครับ


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 13 มิ.ย. 10, 18:37
ขอขอบคุณทุกท่าน................ทั้งคุณธีร์ คุณsiamese คุณkurukura

ชักเป็นเรื่องแล้วละซี.......

เรื่องพระพิมพ์หรือพระเครื่องนี้...........หากเราตัดผลงานของพวกมารศาสนาในยุคปัจจุบันออกไป.เราจะพบว่าในอดีต..ผู้สร้างพระพิมพ์ในสมัยโบราณมีวัตถุประสงค์และกรรมวิธีการสร้าง ต่างจากในปัจจุบันมากมหาศาล


หากศึกษาพระพิมพ์พระกรุเก่าๆ...จะพบอะไรอีกมากมายที่ซ่อนอยู่...จึงเรียนเชิญทุกท่านร่วมอภิปรายแลนำความงดงามแห่งศิลปะบนพระพิมพ์ดังกล่าวมาอวดและแลกเปลี่ยนความรู้กัน.......

ส่วนพวกโคโยตี้หรือกุมารทองอะไรพวกนั้น.ปล่อยเขาไป......เราคงไม่ไปยุ่ง.........ขอมุ่งแต่โบราณๆ.....ดีไหม?

 :)


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มิ.ย. 10, 21:46
นับเป็นงานที่สร้างสรรค์ศิลปะ ด้านศาสนวัตถุขนาดเล็กได้อย่างน่าทึ่งมาก ซึ่งการสร้างพระพิมพ์จะถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 แต่การถือคติพระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ 5,000 ปีมาจากคติจากศรีลังกา จึงต้องสร้างสิ่งเตือนใจว่า ในอนาคตพระพุทธศาสนาจะต้องหมดสิ้นไป จึงได้ถือคติการสร้างพระพิมพ์ขึ้นไว้ เพื่อสืบทอดพระศาสนา

สำหรับในดินแดนไทย พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแพร่ในช่วงที่เรียกว่า สมัยทวารวดี ซึ่งก็ถือคติในการสร้างพระพิมพ์ จำนวนมากเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเช่นกัน ซึ่งผิดกับพุทธศานานิกายมหายาน ที่แพร่เข้ามาทางภาคใต้ ในสมัยศรีวิชัย เป็นการสร้างพระพิมพ์เพื่อสักการะดวงวิญญาณให้แก่ผู้ตาย คือ มีการผสมเถ้ากระดูกกับดินเหนียว และกดแม่พิมพ์ โดยไม่ผ่านการเผาไฟอีก

พระพิมพ์สกุลลำพูน ที่สร้างไว้สมัยพระนางจามเทวี นั้นก็งดงาม และมีมากมาย เนื้อดินละเอียด ไม่มีกรวด ทราย ผสมเลย พระพิมพ์สกุลลำพูน ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย คุปตะ และปาละ ในพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งอันได้แก่ พระคง พระเปิม พระรอด พระสามหอม พระสิบสอง พระเลื่อง พระลือ เป็นต้น ซึ่งศิลปะการแกะแม่พิมพ์นั้น งดงามมาก


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 13 มิ.ย. 10, 22:59
 ;D

ได้ความรู้ดี...รออ่านต่อครับ



 ;)


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 14 มิ.ย. 10, 13:15
น่าแปลกใจว่า ไม่เคยเห็นพระพิมพ์ของศรีลังกาแท้ๆสักองค์ ตอนผมไปศรีลังกา ก็สังเกตอยู่

พระพิมพ์ที่พบในศรีลังกาเป็นพระพิมพ์นำเข้า จากอินเดียทั้งสิ้น ส่วนมากเป็นพิมพ์พุทธคยา กับพิมพ์สารนาถ

การที่ศรีลังกาไม่พบพระพิมพ์เลย แต่กลับพบพระพิมพ์จากอินเดีย ซึ่งเป็นมหายาน อาจจะบอกเราได้ว่า พระพิมพ์เริ่มต้นในมหายาน ก่อนจะแพร่เข้ามาในเถรวาท ทางสายพุกามและทางเหนือครับ


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 มิ.ย. 10, 13:43
ขอบคุณครับ............

ผมชอบพระพิมพ์...เพราะเป็นการย่อส่วนเอาศิลปกรรม/จิตรกรรมและปฎิมากรรมมาทำให้เล็กอย่างแยบยล....

แต่ไม่ค่อยมีความรู้..จึงต้องมาขอแบ่งปันจากเพื่อนๆชาวเรือนไทย



กำลังหาภาพองค์ที่ประทับใจที่สุดอยู่


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 14 มิ.ย. 10, 16:12
http://board.palungjit.com/f127/ผม-พระ-และ-สาระยุคก่อน-238804.html

ความน่ากลัวของวงการพระครับ  สยอง
 
ศิลป์ต้องเปลี่ยนไปสู่วงการวิทย์ด้านเคมีครับ "เล่นแร่แปลธาตุ"


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 มิ.ย. 10, 18:52
ถึงได้ชวนดูแต่ยุคเก่าฯ........เฉพาะแง่ความงามทางศิลปะไงละครับ

 :-X


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มิ.ย. 10, 07:26
ยังมีพระพิมพ์อยู่วัดหนึ่ง สร้างเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดฝ่ายมอญ คือ วัดชนะสงคราม ซึ่งได้พบพระพิมพ์ในเจดีย์ด้วยเช่นกัน พระพิมพ์มีหลายพิมพ์ หลายหมื่นองค์ ซึ่งมีความงดงามมากในเนื้อหา และลวดลายดังที่เห็นจากภาพ มีลวดลายของเถาวัลย์ เบื้องหลังพระพุทธ พร้อมกับลงยันต์คาถา หัวใจพระศาสนาไว้อย่างละตัว "มะ อะ อุ" เป็นพระพิมพ์ที่มีความสวยงามอีกแบบหนึ่ง


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มิ.ย. 10, 07:34
พระพิมพ์ เนื้อกระเบื้องเคลือบ นวัตกรรมใหม่ในการใช้วัสดุในการสร้างพระพิมพ์ โดยใช้เนื้อดินอย่างทำเครื่องถ้วย หลังคากระเบื้อง มาจัดสร้างพระพิมพ์ขึ้น เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พบแห่งแรกที่วัดป่าแก้ว หรือ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน การแกะพิมพ์เดินลายเส้นองค์พระพุทธ พร้อมเส้นซุ้มอลังการอย่างศิลปะอยุธยา ซึ่งเชื่อกันว่า สร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งผูกกับมูลเหตุแห่งการสร้างวัด และพระพิมพ์บรรจุกรุไว้ในช่วงเวลาเดียวกัน


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มิ.ย. 10, 07:49
พระสมเด็จอรหัง นี้ สันนิษฐานว่า ได้สร้างเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๔ ท่านมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ แล้ว พระสมเด็จอรหังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ กล่าวคือ มีพระพิมพ์ฐานสามชั้น (พิมพ์สังฆาฏิ) พระพิมพ์สามชั้นเกศอุ พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นไม่มีประภามณฑล ส่วนเนื้อของพระสมเด็จอรหังเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย แบบออกขาวละเอียด เนื้อขาวหยาบมีเม็ดทราย เนื้อขาวหยาบออกอมสีเขียวก้านมะลิ และยังมีประเภทเนื้อออกสีแดงเรื่อๆ พระสีนี้มักจะมีเนื้อหยาบ

ลักษณะพระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก แบบนี้ถือเป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ในสายที่เรียกกันติดปากว่า พระสมเด็จ ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต พรหมรังสี) และที่เรียกว่า อรหัง เนื่องจากด้านหลังองค์พระพิมพ์ มีการลงอักษรบาลีไว้ "อะ ระ หัง" จึงเรียกตามชื่อนี้

การออกแบบดูเรียบง่าย เน้นองค์พระพุทธเป็นหลัก ประทับบนฐาน ๓ ชั้น พร้อมเส้นครอบแก้ว เป็นการออกแบบพระพิมพ์ที่เรียบง่ายและสวยงาม น่าศรัทธา



กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 มิ.ย. 10, 08:08
พระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก หรือ ที่เรียกกันว่า พระสมเด็จ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พระพิมพ์ถือกำเนิดในปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีแบบอย่างจากอาจารย์ท่านคือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) และช่างสิบหมู่วังหน้าแกะแม่พิมพ์ถวาย โดยเน้นลายเส้นและองค์พระให้ล่ำสันกว่าเดิม ดูงดงามเรียบง่าย และน่าศรัทธา

ด้วยความที่คนต่างนับถือเคารพในสมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว เกิดโรคห่าเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ พุทธศักราช ๒๔๑๖ มีคนได้นำพระพิมพ์นี้ทำน้ำมนต์ดื่มกิน เกิดความหายไข้ จึงได้พากันแสวงหาและร่ำลือกันไปถึงความวิเศษต่างๆ จนทำให้พระเครื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีผู้นับถือและต้องการหาไว้บูชา นับแต่นั้นมา


กระทู้: ศิลปะในพระเครื่องรุ่นต่างๆ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 มิ.ย. 10, 08:30
หากพินิจดู.จะรู้ว่าผู้แกะพิมพ์หรือบล็อคพระสมเด็จองค์นี้.ท่านได้แปรองค์พระพุทธรูป/จากรายละเอียดอ่อนช้อย.มาเหลือเพียงพระพักตร์รูปไข่...........เกศเป็นเพียงยอดแหลม

จีวร/สังฆาฏิ.เป็นทรงสามเหลี่ยม

ขวาทับซ้ายทั้งหัตถ์และบาท..............เหลือเพียงเส้นทึบ-บาง

บัลลังก์ขาสิงห์............ก็เช่นกัน


รวมทั้งฐานชุกกะชี.ล่างสุด

ส่วนครอบแก้ว...................ถูกแทนด้วยเส้นหวายรอบองค์พระ




นี่คือเสน่ห์.ของพระพิมพิ์



และอย่าลือว่านี่คือการออกแบบในสมัย โน้น นับศตวรรษล่วงมาแล้ว