เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 10:34



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 10:34
เรือนไทยมีกระทู้ว่าด้วยนามสกุลพระราชทานอยู่หลายกระทู้
แต่ท่านผู้ผ่านไปผ่านมาในเรือนไทยทราบหรือไม่ว่า
นามสกุลพระราชทานทั้งหลายมีที่มาและความหมายอย่างไร



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 10:41
นามสกุลพระราชทานต่อไปนี้  มีที่มาและความหมายอย่างไร

๕๑๐๕  กณามระ
๙๐๑  กฤษณามระ
๔๘๕๕  กันตามระ
๒๘๔๙  จันทรามระ
๖๒๑๙  รงคะสิริ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 10:52
เท่าที่สังเกตการพระราชทานนามสกุลของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ มักจะสัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ หรือชื่อพ่อ ชื่อปู่

นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย รงค ทุกนามสกุล จะมีความสัมพันธ์กับชื่อ ถม


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 10:56
นามสกุลลงท้ายด้วย มระ

คำที่สัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ, ชื่อพ่อ, ชื่อปู่ + อมระ

อมร, อมร [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).

 ;D



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 10:58
เท่าที่สังเกตการพระราชทานนามสกุลของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ มักจะสัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ หรือชื่อพ่อ ชื่อปู่

นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย รงค ทุกนามสกุล จะมีความสัมพันธ์กับชื่อ ถม

ช่วยอธิบายข้อความที่ขีดเส้นใต้และยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจด้วยครับ :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 11:01
นามสกุลลงท้ายด้วย มระ

ชื่อผู้ขอ, ชื่อพ่อ, ชื่อปู่ + อมระ

อมร, อมร [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).

 ;D



คุณเพ็ญฯ แน่ใจหรือว่า  นามสกุลพระราชทานที่ลงท้ายว่า มระ 
จะเป็นไปตามที่ว่ามาทุกนามสกุล

ถ้าแน่ใจ  กรุณาอธิบายนามสกุลที่ผมตั้งเป็นโจทย์สักหน่อยเถิด :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 11:08
เท่าที่สังเกตการพระราชทานนามสกุลของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ มักจะสัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ หรือชื่อพ่อ ชื่อปู่

นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย รงค ทุกนามสกุล จะมีความสัมพันธ์กับชื่อ ถม

ช่วยอธิบายข้อความที่ขีดเส้นใต้และยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจด้วยครับ :)

นามสกุลพระราชทานที่ขึ้นต้นด้วย รงค

ลำดับที่ ๕๘๕๑ รงควานิช พระราชทาน มหาดเล็กวิเศษชู  กรมมหาดเล็ก  บิดาชื่อหลวงจิตรจำนงวาณิช (ถมยา)
ลำดับที่ ๕๑๖๗ รงคสุวรรณ พระราชทาน รองอำมาตย์ตรีทองคำ  การไฟฟ้าสามเสน  กระทรวงนครบาล  บิดาชื่อถม
ลำดับที่ ๕๕๓๑ รงคโสภาณ พระราชทาน ขุนผลากรกิจ (พริ้ง)  สรรพากรจังหวัดนครปฐม  บิดาชื่อถมยา
ลำดับที่ ๕๙๘๐ รงคะกมล พระราชทาน นายใจ  สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ  ปู่ชื่อถม
ลำดับที่ ๕๔๐๑ รงคะกาญจนะ พระราชทาน พันจ่าเด็กชาชม  กรมเรือยนตร์หลวง  กับนายถม (บิดา)  นายเล็ก (ปู่)  ปู่ทวดชื่อทองคำ
ลำดับที ๖๒๑๙ รงคะสิริ พระราชทาน จ่าตรีถมยา ร.น.ส.  ผู้บังคับหมู่ ๒  หมวด ๑  กองร้อยที่ ๔  กองนักเรียนราชนาวีเสือป่า  บิดาชื่อฮกเหลียง
ลำดับที่ ๕๙๐๐ รงคานนท์ พระราชทาน พลเสือป่าถม  กรมเสือป่าปืนใหญ่หลวงรักษาพระองค์  กับนายหมอน (บิดา)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:10
เอานามสกุลที่ง่าย ๆ ก่อน

๐๙๐๑, กฤษณามระ, Krishna^mara, พระยาพิทักษ์ทวยหาญ (ทองดำ) ผู้ว่าราชการเมือง ประทุมธานี ปู่เป็นเมืองอุไทยราชธานี (ม่วง)

กฤษณา [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา  เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอมใช้ทํายาได้.

ทองดำ ---> กฤษณา

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:15
๔๘๕๕ กันตามระ Kanta^mara ขุนประสาทนรกิจ (ติ๋ว) กระทรวงมหาดไทย ทวดชื่อกัน  ปู่ชื่อ รอด

๒๘๔๙ จันทรามระ Chandra^mara พลเสือป่าชุม กองร้อยที่ ๒ เมืองลพบุรี มณฑลกรุงเก่า ทวดชื่อจันทร์  ปู่ชื่ออ่ำ

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 11:18
เท่าที่สังเกตการพระราชทานนามสกุลของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ มักจะสัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ หรือชื่อพ่อ ชื่อปู่

นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย รงค ทุกนามสกุล จะมีความสัมพันธ์กับชื่อ ถม

ช่วยอธิบายข้อความที่ขีดเส้นใต้และยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจด้วยครับ :)

นามสกุลพระราชทานที่ขึ้นต้นด้วย รงค

ลำดับที่ ๕๘๕๑ รงควานิช พระราชทาน มหาดเล็กวิเศษชู  กรมมหาดเล็ก  บิดาชื่อหลวงจิตรจำนงวาณิช (ถมยา)
ลำดับที่ ๕๑๖๗ รงคสุวรรณ พระราชทาน รองอำมาตย์ตรีทองคำ  การไฟฟ้าสามเสน  กระทรวงนครบาล  บิดาชื่อถม
ลำดับที่ ๕๕๓๑ รงคโสภาณ พระราชทาน ขุนผลากรกิจ (พริ้ง)  สรรพากรจังหวัดนครปฐม  บิดาชื่อถมยา
ลำดับที่ ๕๙๘๐ รงคะกมล พระราชทาน นายใจ  สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ  ปู่ชื่อถม
ลำดับที่ ๕๔๐๑ รงคะกาญจนะ พระราชทาน พันจ่าเด็กชาชม  กรมเรือยนตร์หลวง  กับนายถม (บิดา)  นายเล็ก (ปู่)  ปู่ทวดชื่อทองคำ
ลำดับที ๖๒๑๙ รงคะสิริ พระราชทาน จ่าตรีถมยา ร.น.ส.  ผู้บังคับหมู่ ๒  หมวด ๑  กองร้อยที่ ๔  กองนักเรียนราชนาวีเสือป่า  บิดาชื่อฮกเหลียง
ลำดับที่ ๕๙๐๐ รงคานนท์ พระราชทาน พลเสือป่าถม  กรมเสือป่าปืนใหญ่หลวงรักษาพระองค์  กับนายหมอน (บิดา)

แต่ยังไม่ได้อธิบายว่า รงค กับ ถม เกี่ยวข้องกันอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงนำคำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทานเหล่านี้ :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 11:23
เอานามสกุลที่ง่าย ๆ ก่อน

๐๙๐๑, กฤษณามระ, Krishna^mara, พระยาพิทักษ์ทวยหาญ (ทองดำ) ผู้ว่าราชการเมือง ประทุมธานี ปู่เป็นเมืองอุไทยราชธานี (ม่วง)

กฤษณา [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา  เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอมใช้ทํายาได้.

ทองดำ ---> กฤษณา

 ;D


๔๘๕๕ กันตามระ Kanta^mara ขุนประสาทนรกิจ (ติ๋ว) กระทรวงมหาดไทย ทวดชื่อกัน  ปู่ชื่อ รอด

๒๘๔๙ จันทรามระ Chandra^mara พลเสือป่าชุม กองร้อยที่ ๒ เมืองลพบุรี มณฑลกรุงเก่า ทวดชื่อจันทร์  ปู่ชื่ออ่ำ

 ;D

เอ...แล้วตามที่คุณเพ็ญฯ ตอบมา  ดูแล้วไม่ใช่การอธิบายนี่ครับ
เป็นแต่การยกทะเบียฬนามสกุลพระราชทานมาให้ผมดูเท่านั้น
อีกอย่าง  คุณเพ็ญฯ คิดว่า  นามสกุลพระราชทานตามที่ผมถาม
มันข้าหลักเกณฑ์เดียวกับที่คุณเพ็ญฯ บอกว่า

นามสกุลลงท้ายด้วย มระ

คำที่สัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ, ชื่อพ่อ, ชื่อปู่ + อมระ

อมร, อมร [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).

 ;D

หรือครับ ???


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:25
กณะ, กณา = เล็ก, น้อย, จ้อย

๕๐๕๔ กณะโกมล Kanakomala พลราชนาวีเสือป่า ลมุน กองสารวัด กรมเสือป่าเสนาหลวงรักษาพระองค์ ปู่ชื่อน้อย  

๕๒๐๐ กณะบุตร Kanaputra นายร้อยตำรวจโท ใย กองตำรวจภูธร จังหวัดเชียงราย บิดาชื่อ น้อย  

๕๑๒๐ กณะสุต Kanasuta ขุนอุปถัมภ์สุขกิจ (เลื่อน) กรมศุขาภิบาล กระทรวงนครบาล บิดาชื่อน้อย  

๕๐๕๙ กณานนท์ Kana^nanda พลเสือป่าจ้อย  กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ 

๕๑๐๕ กณามระ Kana^mara ขุนจำเนียรธนกิจ (รอด) กระทรวงนครบาล บิดาชื่อน้อย

 ;D




กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:28
ชื่อปู่รอดของขุนประสาทนรกิจ (ติ๋ว)แห่งสกุล กันตามระ และ ชื่อขุนจำเนียรธนกิจ (รอด) แห่งสกุล กณามระ  

คำว่า "รอด" ก็เข้าเค้ากับคำว่า อมระ เหมือนกัน

รอด = ไม่ตาย

;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 11:36
แต่ยังไม่ได้อธิบายว่า รงค กับ ถม เกี่ยวข้องกันอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงนำคำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทานเหล่านี้ :)

ถม ๑ น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสาน  ทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้ว
 ขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน

รงค–, รงค์ [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม

ควรเกี่ยวเนื่องในเรื่องศิลปะการถม ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมไทยชั้นสูง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 11:39
แต่ยังไม่ได้อธิบายว่า รงค กับ ถม เกี่ยวข้องกันอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงนำคำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทานเหล่านี้ :)

ถม ๑ น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสาน  ทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้ว
 ขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน

รงค–, รงค์ [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม

ควรเกี่ยวเนื่องในเรื่องศิลปะการถม ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมไทยชั้นสูง


มีคนมาช่วยตอบแทนผมแล้ว  ;D
ผมกำลังจะเดาอย่างมีหลักเกณฑ์อยู่เลยว่า เป็นอะไรที่เกีียวกับ สี  ;)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:49
ที่มาของนามสกุลพระราชทานมีหลายวิธี

คุณวิกกี้  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99) ได้รวบรวมไว้ดังนี้

นามสกุลที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ

เศียนเสวี พระราชทาน พระอักษรสมบูรณ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) เสมียนตรากระทรวงวัง และนายพันตรีในกองทัพบก บิดาเป็นชาวเยอรมัน นามสกุลเดิมว่า “Falck” คือมุ่งว่า “falk” แปลว่าเหยี่ยว แปลกลับเป็นสังสกฤตว่า “เศ์ยน” แผลงเป็นไทยว่า “เศียน”

เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่ากระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น “หินขาว”)

สุมิตร พระราชทาน นายอี สเปนช์ สมิต ผู้ช่วยอธิบดีกรมศึกษาธิการ ขอพระราชทานให้บุตรชายหญิงซึ่งมารดาเป็นไทย

เวลานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ (ต่อมาถูกถอนสัญชาติและเรียกคืนนามสกุล เมื่อคราวประเทศสยามประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ ๑)

อันตรนิยุกต์ พระราชทาน ขุนทิพรศโอชา (ปีเตอร์) พนักงานครัวเฃ้าต้น กรมมหาดเล็ก นามสกุลเดิม “อันโตนิโอ”

สีมันตร พระราชทาน ขุนเลขการวิจิตร (แสวง) นายเวรกรมที่ปฤกษา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาเป็นชาวโปรตุเกส นามสกุลเดิมว่า “ซีโมเอนส์”

เตชะวณิช พระราชทาน พระอนุวัตร์ราชนิยม (ฮง) สังกัดกรมมหาดเล็ก แส้แต้

อับดุลพันธุ์ พระราชทาน นายหมู่ตรีปุ๋ย ประจำแพนกเกียกกาย กองเสนารักษาดินแดนกรุงเทพฯ ปู่ทวดชื่อเฮเดอรใบ ปู่ชื่อเมียโบ บิดาชื่ออับดุลโคยุม

อับดุลละบุตร พระราชทาน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโอ๊ะ) พระยาเมืองยะหริ่ง ปู่ทวดชื่ออับดุลเลาะ

คุณะดิลก พระราชทาน พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ตีเลกี, William Alfred Tilleke) อธิบดีกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม เขาชื่อเช่นนี้มาแต่เดิมแล้วแต่ต้องการได้รับอนุมัติ จึ่งตกลงให้เขียนว่า“คุณะดิลก”เช่นนี้ เพื่อให้เป็นไทย เดิมเขียนว่า“คุณะติละกะ” (ตัวโรมัน“Guna Tilleke”)

สิงหลกะ พระราชทาน พระดรุณรักษา (เสงี่ยม) ปลัดบาญชีกรมมหาดเล็ก หลานพระอุดรพิศดาร (สิญญ) ซึ่งเป็นชาวสิงหล


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 11:51
นามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล

สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือวานิช และ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวนิช

สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน

สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต

สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน

สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, กฤษณกลิน, สุนทรกลิน, บุญยรัตกลิน

สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ

สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน

ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ

นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน

กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน

สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, ไวทยะชีวิน, ตีรแพทย์, มิลินทแพทย์,เวชชาชีวะ

โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ

พรามหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 11:54
ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: benjawan ที่ 07 ต.ค. 11, 13:45
ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 13:51
ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ

ลำดับที่ ๑๔๔๒ จารุกลัส Cha^rukalasa พระราชทาน พระศรสำแดง (แฉ่ง)  ปลัดกรมคลังแสง  กระทรวงกระลาโหม  ปู่ชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)  บิดาชื่อกลัด


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 14:03
แต่ยังไม่ได้อธิบายว่า รงค กับ ถม เกี่ยวข้องกันอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงนำคำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทานเหล่านี้ :)

ถม ๑ น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสาน  ทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้ว
 ขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน

รงค–, รงค์ [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม

ควรเกี่ยวเนื่องในเรื่องศิลปะการถม ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมไทยชั้นสูง


มีคนมาช่วยตอบแทนผมแล้ว  ;D
ผมกำลังจะเดาอย่างมีหลักเกณฑ์อยู่เลยว่า เป็นอะไรที่เกีียวกับ สี  ;)

ออกขุนหนุ่มสยามมาช่วยคุณหมอ CVT ไว้ทันท่วงที
ผมจะอธิบายเพิ่มเติมจากที่ออกขุนได้อธิบายไว้ดังนี้

รงฺค หรือ รํค เป็นภาษาบาลีสันสกฤต มาจากรากศัพท์กริยาว่า  รชฺ
ในความว่า  ย้อม

คำว่า รงฺค / รํค  ในภาษาบาลีสันสกฤต  ยังมีความหมายอย่างอื่นอีก
อย่าง รํค ในภาษาสันสกฤต นอกจากแปลว่า  สี  แล้ว  ยังมีความหมาย
อย่างอื่นอีก  ๘  ความหมาย  เช่น  ที่ประชุม  สนามรบ  เวทีการแสดง
ลานสาธารณะ  การเต้นร้องรำ  การแสดงละคร  และสารบอแรกซ์
เป็นต้น

ในภาษาไทย  ใช้คำว่า  รงค์  ที่แปลว่า  สี  ประกอบท้ายศัพท์หลายคำ
เช่น  เอกรงค์  ไตรรงค์  เบญจรงค์  และยารงค์

รัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกใช้ คำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทาน
แก่สกุลผู้ขอที่มีบรรพบุรุษชื่อ ถม ถมยา  เพราะการถมหรือถมยา
หมายถึงการลงสี  โดยใช้หลักการเทียบความหมายคำ
ระหว่างคำไทยกับคำบาลี


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 14:16
^
สารบอแรกซ์ มาเกี่ยวเนื่องได้อย่างไร  ??? ให้ความกรอบแก่ผลไม้หรือ หรือน้ำประสานทอง  ???


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 14:18
^
สารบอแรกซ์ มาเกี่ยวเนื่องได้อย่างไร  ??? ให้ความกรอบแก่ผลไม้หรือ หรือน้ำประสานทอง  ???

สารบอแรกซ์คือน้ำประสานทองในภาคภาษาไทยครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 14:27
ส่วนที่ผมตั้งคำถามว่า

๕๑๐๕  กณามระ
๙๐๑  กฤษณามระ
๔๘๕๕  กันตามระ
๒๘๔๙  จันทรามระ

เป็นนามสกุลที่มีที่มาและความหมายอย่างไร
ซึ่งคุณเพ็ญฯ ได้ตอบผมมาว่า

นามสกุลลงท้ายด้วย มระ
คำที่สัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ, ชื่อพ่อ, ชื่อปู่ + อมระ
อมร, อมร [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).
 ;D

เป็นการตอบถูกบางส่วน  
เพราะนามสกุลกณามระ  และกันตามระ  
บรรพบุรุษของผู้ขอพระราชทานนามสกุล ชื่อ รอด
จึงทรงแปลคำว่า  รอด  ว่าไม่ตาย  ตรงกับคำ  อมร
(อ-ไม่  มร-ตาย) ที่แปลตามรูปศัพท์ว่า ไม่ตาย เหมือนกัน

แต่...ใช่ว่า  นามสกุลพระราชทานทุกนามสกุลที่ลงท้ายว่า -ามระ
จะมีที่มาจากคำว่า  อมระ  อันหมายถึง  ไม่ตาย  
ซึ่งตรงกับคำว่า "รอด" ชื่อบรรพบุรุษผู้ขอพระราชทานนามสกุลเสมอไป

เพราะอย่างนามสกุล กฤษณามระ
(๐๙๐๑, กฤษณามระ, Krishna^mara,
พระยาพิทักษ์ทวยหาญ (ทองดำ) ผู้ว่าราชการเมืองประทุมธานี
ปู่เป็นเมืองอุไทยราชธานี (ม่วง))

มาจากคำว่า  กฤษฺณ + อามฺร  
กฤษฺณ  (สันสกฤต) แปลว่า  ดำ  ตรงกับบางส่วนของชื่อตัวของผู้ขอ
อามฺร  (สันสกฤต) แปลว่า มะม่วง  ตรงกับชื่อ ม่วง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษ
ของผู้ขอ


ส่วนนามสกุล จันทรามระ
(๒๘๔๙ จันทรามระ Chandra^mara
พลเสือป่าชุม กองร้อยที่ ๒ เมืองลพบุรี มณฑลกรุงเก่า
ทวดชื่อจันทร์ ปู่ชื่ออ่ำ)

มาจาก  จนฺทฺร  (ชื่อทวด)  +  อมร  (แปลงชื่อ อ่ำ ของปู่เป็นคำบาลี
ที่ออกเสียงคล้ายหรือใกล้เคียง  รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้หลักนี้เพื่อทรงพระราชนิพนธ์
ชื่อสกุลหลายสกุล)

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า  นามสกุลพระราชทานที่ลงท้ายเหมือนกัน
แต่มีที่มาแตกต่างกัน   ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป  จะไปตั้งเกณฑ์
แปลเหมารวมทั้งหมดไม่ได้




กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 14:31
ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร

ให้เวลาผู้ถามแก้ไขคำถามให้สะกดถูกต้องและใช้คำให้ถูกหลักภาษา  ไม่เช่นนั้นไม่ตอบ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 14:45
ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร

ให้เวลาผู้ถามแก้ไขคำถามให้สะกดถูกต้องและใช้คำให้ถูกหลักภาษา  ไม่เช่นนั้นไม่ตอบ

๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นามสกุล และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 14:48
รงฺค หรือ รํค เป็นภาษาบาลีสันสกฤต มาจากรากศัพท์กริยาว่า  รชฺ
ในความว่า  ย้อม

คำว่า รงฺค / รํค  ในภาษาบาลีสันสกฤต  ยังมีความหมายอย่างอื่นอีก
อย่าง รํค ในภาษาสันสกฤต นอกจากแปลว่า  สี  แล้ว  ยังมีความหมาย
อย่างอื่นอีก  ๘  ความหมาย  เช่น  ที่ประชุม  สนามรบ  เวทีการแสดง
ลานสาธารณะ  การเต้นร้องรำ  การแสดงละคร  และสารบอแรกซ์  
เป็นต้น

จาก พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ  (http://spokensanskrit.de/index.php?tinput=raGga&direction=SE&script=HK&link=yes&beginning=0) ให้ความหมายของ रङ्ग raGga ไว้ว่า paint, colour, dye, arena, amphitheatre, stage, theater ส่วน borax เขียนอีกอย่างหนึ่งคือ  रङ्गद raGgada

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 14:55
borax หรือ น้ำประสานทอง สันสกฤต นอกจากจะใช้ว่า रङ्गद raGgada ยังมีอีกหลายคำ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 14:59
ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ

ลำดับที่ ๑๔๔๒ จารุกลัส Cha^rukalasa พระราชทาน พระศรสำแดง (แฉ่ง) 
ปลัดกรมคลังแสง  กระทรวงกระลาโหม  ปู่ชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)  บิดาชื่อกลัด

ไม่ได้ชื่อ เพ็ญชมพู  ขออภัยที่ยกมือตอบ

จารุกลัส  มาจาก  จารุ  + กลัส

จารุ  เป็นคำบาลีสันสกฤต  แปลว่า  ทองคำ  
ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า  งาม  สวย  เป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก

จารุ  ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกมาประกอบเป็นนามสกุลนี้
น่าจะทรงนำมาจากชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)
โดยอาศัยเหตุว่า  เรือง  หรือเรืองรอง เป็นคุณลักษณะของทองคำ (จารุ)

ส่วน  กลัส มาจากคำว่า  กลส (บาลีสันสกฤต) หรือ กลศ (สันสกฤต)
ที่แปลว่า หม้อน้ำ   ในภาษาไทยใช้ว่า  หม้อกลศ  และแปลว่า ตุ่ม  จาน  ได้ด้วย
จะแปลว่าอะไรก็ตามก็คงไม่เกี่ยวกับนามสกุลนี้
เพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกใช้คำ กลัส นี้  เพราะออกเสียงใกล้เคียงคำว่า  กลัด
ที่เป็นชื่อปู่ของผู้ขอพระราชทานนามสกุล

ถ้าจะแปลว่า  จารุกลัส  ตามตรงตัวคำ  ก็แปลได้ว่า  หม้อน้ำที่สวยงาม
หรือใครจะแปลว่า  ตุ่มน้ำทำด้วยทอง  ก็ไม่ว่ากัน  แปลได้เหมือนกัน
แต่รัชกาลที่ ๖ คงมิได้มีพระราชดำริให้แปลความหมายเช่นนั้น
และผู้เป็นเชื้อสายสกุลนี้  ก็คงไม่ต้องการความหมายที่แปลไว้ข้างต้น เป็นแน่


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 15:07

จารุ  เป็นคำบาลีสันสกฤต  แปลว่า  ทองคำ  
ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า  งาม  สวย  เป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก



แหม....กันได้สุดยอด  :P


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 15:08
นอกจาก จารุกลัส ยังมี

๔๗๘๒ จารุเกษม
๒๖๕๖ จารุคะรุฑ
๒๐๙๔ จารุจรณ
๑๖๔๔ จารุจันทร
๑๔๘๒ จารุจารีตร์
๐๓๗๘ จารุจินดา

เอาแค่ ๖ จารุก่อน

คุณหลวงกรุณาอธิบายที่มาและความหมายของนามสกุลข้างต้น

ป.ล. ใครที่ไม่ได้ชื่อคุณหลวงก็เข้ามาตอบได้

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 07 ต.ค. 11, 15:08

นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก



เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 15:16
คุณเพ็ญฯ  ผมใช้อักขราภิธานสันสกฤตของ วรฺมนฺ ศิวฺรมฺ อปฺเต
ว่าไว้เช่นนั้น  แต่ยังไม่ได้ดูในมหาอักษราภิธานของ ม.ม.วิลเลียม
แต่คาดว่าคงเหมือนกัน


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 15:25
นอกจาก จารุกลัส ยังมี

๔๗๘๒ จารุเกษม
๒๖๕๖ จารุคะรุฑ
๒๐๙๔ จารุจรณ
๑๖๔๔ จารุจันทร
๑๔๘๒ จารุจารีตร์
๐๓๗๘ จารุจินดา

เอาแค่ ๖ จารุก่อน

คุณหลวงกรุณาอธิบายที่มาและความหมายของนามสกุลข้างต้น

ป.ล. ใครที่ไม่ได้ชื่อคุณหลวงก็เข้ามาตอบได้

 ;D

ขออภัย  ช่วงนี้ไม่สะดวกที่จะรับการลองภูมิจากผู้ใดครับ
ทำไมคุณเพ็ญฯ ไม่ลองทำดูบ้างล่ะครับ 
คุณเพ็ญฯ ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าผมไม่ใช่หรือ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 15:42
จารุที่ตรงไปตรงมา

๒๗๔๙ จารุวณิช Cha^ ruvanija ขุนวิเศษดรุณกิจ (บ้วนเฮง) อาจารย์โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ทวดชื่อทอง  ค้าขาย  

๒๖๐๔ จารุวรรณ Cha^ruvaina นายเรือโทอรุณ นายเวรหนังสือ กรมยุทธโยธา ปู่ชื่อทอง

๐๙๒๘ จารุวิจิตร Cha^ruvichitra หลวงวรรณวาดวิจิตร (ทอง) ช่างเขียน กรมรองงาน กระทรวงวัง

๐๗๗๔ จารุศิลา Cha^rusila^ นายร้อยตรีหมอ ประจำกองร้อยที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมืองกรุงเก่า (บุตร) กับนายเนตร (บิดา) ทวดคือพระยาสุรบดินทร (ทองอิน) ปู่คือพระยาประชาชีพบริบาล (ศิลา)

๓๗๓๕ จารุเศวต Cha^rusvrta พลเสือป่าเกลื่อน กรมเสือป่ารักษาดินแดนตวันตก ทวดชื่อพระอินทอักษร (ทอง) ปู่ชื่อขุนประจักษ์ (เผือก)

๐๘๘๙ จารุเสถียร Charusthi^ra พระบุรีสราธิการ (เป้า) ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี ปู่ชื่อเอี่ยม บิดาชื่ออยู่  

นามสกุลสุดท้ายนี่ถือว่าแปลเอาความ

 ;D



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 15:45

เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 15:53

เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ




เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 11, 16:00
จารุ चारु cAru มีความหมายมากมาย


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 16:05
จารุที่ตรงไปตรงมา

๒๗๔๙ จารุวณิช Cha^ ruvanija ขุนวิเศษดรุณกิจ (บ้วนเฮง) อาจารย์โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ทวดชื่อทอง  ค้าขาย  

๒๖๐๔ จารุวรรณ Cha^ruvaina นายเรือโทอรุณ นายเวรหนังสือ กรมยุทธโยธา ปู่ชื่อทอง

๐๙๒๘ จารุวิจิตร Cha^ruvichitra หลวงวรรณวาดวิจิตร (ทอง) ช่างเขียน กรมรองงาน กระทรวงวัง

๐๗๗๔ จารุศิลา Cha^rusila^ นายร้อยตรีหมอ ประจำกองร้อยที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมืองกรุงเก่า (บุตร) กับนายเนตร (บิดา) ทวดคือพระยาสุรบดินทร (ทองอิน) ปู่คือพระยาประชาชีพบริบาล (ศิลา)

๓๗๓๕ จารุเศวต Cha^rusvrta พลเสือป่าเกลื่อน กรมเสือป่ารักษาดินแดนตวันตก ทวดชื่อพระอินทอักษร (ทอง) ปู่ชื่อขุนประจักษ์ (เผือก)

๐๘๘๙ จารุเสถียร Charusthi^ra พระบุรีสราธิการ (เป้า) ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี ปู่ชื่อเอี่ยม บิดาชื่ออยู่  

นามสกุลสุดท้ายนี่ถือว่าแปลเอาความ

 ;D



เห็นไหม  คุณเพ็ญฯ ก็ทำได้เหมือนกัน
นามสกุลจารุเสถียรนั้น ผมสันนิษฐานไปทางเดียวกันกับคุณเพ็ญฯ
นี่แสดงว่า  รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า  จารุ  ตั้งนามสกุลพระราชทาน
ไปหลายนัย


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 16:10

เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ


เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก

ขอข้าวหุงย้อมสีหญ้าฝรั่นมาให้ดูสักจานหนึ่งซิ ออกขุน


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 16:18

เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ


เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก

ขอข้าวหุงย้อมสีหญ้าฝรั่นมาให้ดูสักจานหนึ่งซิ ออกขุน

คุณหลวงคงหิว  :o


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 16:52
๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

ตอบ  พระราชทานไม่ต้องมี ทรง นำ  การที่รัชกาลที่พระราชทานนามสกุลแก่ข้าราชบริพาร
ก็เพื่อเป็นเกียรติเป็นศรีแก่วงศ์ตระกูลข้าราชการผู้นั้น  
(ในรายละเอียดควรให้ผู้รู้รอบอย่าง คุณวีมี แถลงไขให้ทราบดีกว่า)

๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก
โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

ตอบ  พระราชให้  เป็นราชาศัพท์แบบไหน ไม่เคยใช้  
ผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลเป็นคนแรก  คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)
เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชดำริพระราชทานเอง
เจ้าคุณปั้นยังไม่ได้หนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทาน
ทั้งนี้ นามสกุลพระราชทานในลำดับต้นๆ เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖
มีพระราชดำริพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  โดยระบุไว้ในหมายเหตุ
ของสมุดทะเบียฬว่า  "เขียนให้เอง"


๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

ตอบ  ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อสกุลไปยื่นที่สำนักราชเลขาธิการ
ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า   ท่านเป็นผู้ขอพระราชทานชื่อสกุลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
รายละเอียดการขอฯ นั้น  ไปหาอ่านเอาเอง

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นาม
สกุล
และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

ตอบ  ๖๔๓๒  ชื่อสกุล   ส่วนที่ถามว่า "มีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล"
คุณวีมี  หรือ คุณเพ็ญฯ น่าจะตอบได้  ถ้าให้ผมตอบ  ขอเวลาไปค้นก่อน

๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  อ้าว  ไม่ไปแจ้งจดทะเบียนที่ที่ว่าการอำเภอก่อนหรือ
ถ้าไม่ไปจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อน   จะใช้ก็ได้   แต่ไม่ถูกกฎหมายนะ
ไม่น่าถาม

๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศ
ต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร
และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่

ตอบ  คำถามนี้ ประหนึ่งข้อสอบปลายภาคของนักศึกษาปริญญาตรี-โท
แต่ผมจะตอบพอเข้าใจง่ายๆ ว่า  การใช้นามสกุลนั้นออกเป็นกฎหมาย
มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวดฉับพลันทันที
กฎหมายนี้เริ่มประกาศบังคับใช้ใน ปี ๒๔๕๖  (แต่กว่าจะบังคับใช้จริงได้
ก็เลื่อนกันหลายครั้ง)  ในช่วงแรกคงตื่นตัวกันมากในหมู่ข้าราชการ
พ่อค้า และประชาชนในพระนคร   แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่หัวเมืองต่างๆ
เท่าที่เคยสังเกต  ขึ้นรัชกาลที่ ๘ แล้ว  บางสกุลยังไม่มีนามสกุลใช้
ก็มีอยู่เหมือนกัน  โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดไกล

ส่วนเขาจะเคอะเขินตื่นตัวที่จะใช้นามสกุล ต่อท้ายชื่อกันหรือไม่ อย่างไร
คุณวันดี  ซึ่งเชี่ยวชาญเอกสารเก่า   คุณวีมี  เชี่ยวชาญเรื่องสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ ๖
หรือคุณเพ็ญฯ ผู้มีความสามารถยิ่งในเรือนไทย  หรือ คุณคนอื่นๆ ที่เข้ามาในเรือนไทย
ก็คงมีความคิดเห็นสามารถตอบได้เหมือน  ฉะนั้นคำนี้  ผมจะไม่ตอบเอง
แต่เห็นควรให้ผู้อื่นแสดงความสามารถในการตอบกันบ้าง  จะได้ครึกครื้น



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 11, 17:05
ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ต.ค. 11, 18:15


       ไม่ได้เชี่ยวชาญเอกสารเก่าค่ะ    ชอบอ่านมากเท่านั้นเอง

ในงานหนังสือก็ร่าเริง  เพราะได้หนังสือมาบ้างในราคามิตรภาพอันซึ้งบ้าง   ราคาที่ต้องต่อสู้บ้าง

คงต้องอ่านสมบัติที่ได้มาไปอีกสองถึงสามวันค่ะ 


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ต.ค. 11, 18:56
ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น


เคยได้ยินว่า มาจากคำว่า "อานนท์" แปลว่า ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ

เช่น
"วรคุตตานนท์" พระราชทาน รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม)
มาจากคำว่า วร (นายพร ปู่) + คุปต์ (นายคุ้ม ทวด) + อานนท์


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 ต.ค. 11, 19:21
เห็นแต่ละท่านงัดเอาหลักบาลีสันสกฤตมาว่ากันแล้วเลยรู้ตัวว่าข้าพเจ้านี้ยังรู้น้อยกว่าหลายๆ ท่าน  แตโดนคุณหลวงท่านอาราธนาไว้  จะเฉยเสียก็จะเสียศรัทธา  เลยขอตอบเท่าที่พอจะตอบได้ ดังนี้ครับ

๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

ตอบ พระราชประสงค์ให้มีนามสกุลนั้นนอกจากเพื่อสะดวกในการจัดทำทะเบียนสำมโนครัวหรือปัจจุบันเรียกว่าทะเบียนราษฎร์แล้ว  ยังทรงมุ่งหมายให้นามสกุลเป็นเครืองรำลึกถึงเกียรติประวัติของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นสกุล  ซึ่งนอกจากลูกหลานจะภาคภูมิใจแล้วยังต้องมีหน้าที่รักษาเกียรติวงศ์สกุลไว้ด้วย  กล่าวง่ายๆ ก็คือ ให้คนนึกสังวรณ์ถึงเกียรติประวัติของวงศ์สกุลซึ่งจะช่วยลดการกระทำผิดคิดร้าย


๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก
โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

ตอบ  พระราชทานให้ทั้งหมด ๕ สกุล คือ
๑) สุขุม  พระราชทานเจ้าพระยายมราช (ปั้น)  เสนาบดีกระทรวงนครบาล  ท่านผู้นี้เคยถวายพระอักษรเมื่อทรงพระเยาว์และเมื่อแรกเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  มีบันทึกว่า มีรับสั่งกับเจ้าพระยายมราชว่า ถ้าครูตายฉันจะแต่งขาวไปเผาศพครู  

๒) มาลากุล  พระราชทานเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ  และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง  เจ้าพระยาพระเสด็จฯ นั้นเป็นพระอภิบาลและเป็นครูถวายพระอักษรภาษาไทยเมื่อเสด็จไปทรงศึกษาที่อังกฤษ  แต่ถูกเรียกตัวกลับมาจัดแผนการศึกษาชาติก่อน  เมื่อเจ้าพระเสด็จฯ ถึงอสัญกรรมล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระภูษาขาวเสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิง  เจ้าพระยาธรรมาฯ นั้น  ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในฐานะเป็นข้าราชสำนักผู้ใหญ่ที่รอบรู้ขนบประเพณีในพระราชสำนักเป็นอย่างดีโดยสืบทอดหน้าที่ต่อกันมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์    

๓) พึ่งบุญ  พระราชทานเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ) และพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น)  เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวานั้นเป็นบุตรของพระนมทัด  พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จไปทรงศึกษาที่อังกฤษ  ท่านทั้งสองนี้ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชสำนักสมเด็จพระพันปีหลวง  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากอังกฤษได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระองค์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ประจำรับใช้ใกล้ชิดพระยุคลบาทมาโดยตลอด

๔) ณ มหาชัย  พระราชทานพระยาเทพทวาราวดี (สาย) จางวางมหาดเล็ก  พระยาเทพฯ นี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาประจำรับราชการในพระองค์ตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเทพทวาราวดี ตำแหน่งเจ้ากรมขอเฝ้าในสมเด็จพระบรมโอสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  เพราะก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยทรงกรมเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดีมาก่อน  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเทพฯ เป็นพระยาเทพทวาราวดี  ตำหน่งขางวางมหาดเล็ก  แตภายหลังรับพระราชทานนามสกุลไม่นานก็เกิดเหตุทุจริตในแบงก์สยามกัมมาจลเพราะนายฉลองไนยนารถที่พระยาเทพฯ เป็นผู้แนะนำมาเป็นผู้จัดการฝ่ายไทยในแบงก์ดังกล่าวกระทำการทุจริตจนพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับความเสียหายนับล้านบาท  พระยาเทพฯ เลยต้องหางเลขถูกปลดเป็นกองหนุนและเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาบำเรอบริรักษ์

๕) ไกรฤกษ์  พระราชทานพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) จางวางมหาดเล็ก  และพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ - ต่อมาเป็นเจ้าพระยามหิธร) ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม  พระยาบุรุษฯ นั้นเป็นจางวางมหาดเล็กมาแต่รัชกาลที่ ๕  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงรับราชการในตำแหน่งขางวางมหาดเล็กต่อมา  ส่วนเจ้าพระยามหิธรนั้นทรงคุ้นเคยมาแต่ครั้งเสด็จไปทรงกำกับราชการกระทรวงยุติธรรมเมื่อคราวเกิด "คดีพญาระกา" ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕  ทรงจระหนักว่าเป็นผู้ที่รอบรู้กฎหมายและมีความชื่อตรงจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นอธิบดีศาลฎีกา  และเมื่อพระเจ้าพี่ยาเธอ หรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการสิ้นพระชนม์  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปรับราชการเป็นราชเลขาธิการซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเม่าเสนาบดี  ท่านได้รับราชการในตำแหน่งราชเลขาธิการมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

นามสกุลทั้ง ๕ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อวันที่  ๓๐  พฤษ๓าคม  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยทรงเขียนเป็นพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปยังบุคคลที่เป็นผู้รับพระราชทานนามสกุลทั้ง ๕ สกุลนั้น  พร้อมทรงอธิบายถึงเหตุที่ทรงผูกนามสกุลนั้นๆ
ทั้งนี้ นามสกุลพระราชทานในลำดับต้นๆ เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖


๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

ตอบ  วิธีปฏิบัติคือ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยตรงโดยส่งผ่านกรมราชเลขาธิการ  พร้อมกับแนบบัญชีเครือญาติตั้งแต่ทวด  ปู่  พ่อ จนถึงผู้ขอพระราชทาน  หรือหัวหน้าส่วนราชการรวบรวมรายชื่อพร้อมบัญชีเครือญาตของผู้ที่ประสงต์จะขอพระราชทานนามสกุล  แล้วทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานไปพร้อมกัน  จะมีที่พิเศษเห็นจะได้แก่รายเด็กชายบีว อายุ ๖ ขวบ มหาดเล็กรุ่นจิ๋ว  ซึ่งคุณบัวท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า  วันหนึ่งตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  แล้วจู่ๆ ก็มีรับสั่งถามว่า บัวมีนามสกุลแล้วหรือยัง  เด็กชายบัวได้กราบบังคมทูลว่า "ยัง"  ก็เลยได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ศจิเสวี"  ซึ่งคำว่า "ศจิ" นั้น คือพระนาม "ศจี" ชายาพระอินทร์ซึ่งทรงหมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี  ซึ่งทรงรับอุปกการะ "ลูกบัว" มาตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ (บิดามารดาเสียชีวิตไปก่อนแล้ว)  ส่วน "เสวี" มาจากคำว่า "เสวก"


๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นาม
สกุล
และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

ตอบ  ตามเลขทะเบียนที่บันทึกไว้ใน "สมุดทะเบียฬนามสกุลที่เราให้ไป"  เลขทะเบียนลำดับสุดท้ายคือ ๖๔๓๒  แต่ในสมุดทะเบียฬนามสกุลนั้นมีนามสกุลที่พระราชทานไปแล้วและโปรดให้ถอนออกจากทะเบียฬอีกหลายสกุล เช่น สกุล "สิวะโกเศศ" ที่พระราชทานนายฉลองไนยนารถ (ยู่เส็ง)  เมื่อนายฉลองฯ ต้องพระราชอาญาในคดีแบงก์สยามกัมมาจลฯ ก็โปรดให้ถอนนามสกุลนี้ออกจากทะเบียน  นามสกุล เวลานนท์  พระราชทานวิศวกรชาวเยอรมันที่มาอำนวยการขุดเจาะอุโมงค์ขุุนตาล  เมื่อสยามประกาศสงครามกับเยอรมัน  มีพระบรมราชโองการให้ถอดสัญชาติชาวเยอรมันที่โอนชาติเป็นไทย  นายเวลเลอร์ วิศวกรเยอรมันจึงโดนถอนสัญชาติกลับเป็นเยอรมันและถูกถูกถอนนามสกุลในคราวนั้น  นายเวลเลอร์ถูกส่งตัวไปคุมขังที่อินเดียในฐานะชนชาติศัตรู  แต่ไปเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง  นอกจากนั้นยังมีสกุล "ณ พิศณุโลก" ที่พระราชทานแก่หม่อมคัทรินในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ซึ่งมีบันทึกในสมุดทะเบียฬนามสกุลแต่่ไม่ลงเลขทะเบียนไว้  กับมีอีกหลายนามสกุลที่เครือญาติต่างคนต่างขอพระราชทานนามสกุลโดยไม่ได้นัดแนะกันเมื่อความทราบฝ่าละอองธึลีพระบาทก็มีพระบรมราชวินิจฉัยให้ใช้นามสกุลหนึ่งและถอนอีกนามสกุลไป  กรณีขอนามสกุลซ้ำกันนี้มีตัวอย่างคือ สกุลอมาตยกุล และเอมะศิริ  ซึ่งต่างก็สืบสกุลลงมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม)  แต่พระยามหาเทพกษัตรสมุห (เกษียร) ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลนั้นเป็นทายาทชั้นที่ ๖  เมื่อพระยามนูสารสาตรบัญชา (ศิริ) กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล  จึงทรงทราบว่า พระยามนูฯ นั้นเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี ชั้นที่ ๔  จึงมีศักดิ์เป็นปู่ของพระยามหาเทพฯ  หากจะให้ปู่ไปขอใช้นามสกุลน่วมกับหลานก็จะไม่ควร  จึงได้พระราชทานนามสกุลให้ใหม่ว่า เอะศิริ  โดยเอาชื่อหลวงพิพิธสมบัติบุตรพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) รวมกับชื่อ ศิริ ของพระยามนูฯ

นอกจากนั้นยังมีนามสกุลที่พระราชทานแก่พระราชวงศ์ที่สืบสายราชสกุลลงมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีก ๒๔ สกุลที่มิได้ลงไว้ในทะเบียฬ  รวมแล้วนามสกุลที่ทรงคิพระราชทานทั้งหมดมี ๖๔๖๐ นามสกุล


๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลได้เลย  แต่ต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องถิ่นคืออำเภอที่มีภูมิลำเนาลงทะเบียนไว้

 
๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศ
ต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร
และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่

ตอบ  คุณหลวงท่านตอบไว้ชัดเจนแล้วครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:27
ขอขอบคุณ อ. V_Mee และคุณหลวงเล็กครับ ทั้งนี้ที่ตั้งข้อสงสัยนั้นก่อนหน้านี้ได้อ่านในประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖ จัดให้อ่านดังนี้


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:28
(ต่อ ๒)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:29
(ต่อ ๓)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:30
(ต่อ ๔)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:31
(ต่อ ๕)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 ต.ค. 11, 19:31
นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์

คำว่า นนท์ หรือ นันทน์  ในภาษาบาลี  แปลว่า ความสนุก  ความยินดี  ความรื่นเริง

แต่นนท์ที่ทรงใช้ประกอบเป็นนามสกุล  ทรงใช้ในความหมายว่า "มีชื่อ"   เช่นสกุล "จุลานนท์" ที่พระราชทานนายพันโท พระนเรนทรรักษา (ยิ่ง - ต่อมาเป็น นายพันเอก พระยาวิเศษสิงนาถ) นั้น  มีที่มาจากนามนายร้อยเอก หลวงรัดรณยุทธ (เล็ก) ครูฝึกทหารหน้า  เล็ก = จุล + นนท์ทร่แปลง่ามีชื่อ  สกุลนี้จึงมีความหมายว่า ต้นสกุลชื่อเล็ก  หรือสกุล "ไชยนันทน์" ที่พระราชทานพระยาบริหารราชมานพ* (เชย)  อาจารย์วิชามหาดเล็ก  โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  กับพระสมรรคบริพาร (ชม)  มหาดเล็กกองพระราชพิธี  กรมมหาดเล็ก   สกุลพระยาไชยนาท (โนรี)  ไชยนันทน์ในที่นี้จึงมีที่มาจากต้นสกุลเป็นพระยาไชยนาทซึ่งเป็นเจ้าเมืองชัยนาท




กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:32
(ต่อ ๖)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 11, 19:55
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ ๒ ตัวอย่างนี้ จากราชกิจจานุเบกษา

๑.  รายนามสกุลที่ทรงประกาศห้ามไว้ คือ การเอาชื่อนามเมือง พระนคร มาตั้งเป็นสกุล (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/490.PDF)

๒. รายนามผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนาม ห้ามใช้ "ณ" นำหน้าสกุล  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/395.PDF)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ต.ค. 11, 00:07
ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น

นนท์ नान्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=nanda&trans=Translate&direction=AU)

๖๑๘๓ วรคุตตานนท์ Varagutta^nanda รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ทวดชื่อคุ้ม ปู่ชื่อพร  วรคุตตานนท์-ปู่่พรลูกของทวดคุ้ม

 ;D

  


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: benjawan ที่ 08 ต.ค. 11, 07:09
กราบขอบพระคุณคุณ luanglek  ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลนามสกุล "จารุกลัส" ค่ะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ต.ค. 11, 19:04

       ไม่ได้เชี่ยวชาญเอกสารเก่าค่ะ    ชอบอ่านมากเท่านั้นเอง

ในงานหนังสือก็ร่าเริง  เพราะได้หนังสือมาบ้างในราคามิตรภาพอันซึ้งบ้าง   ราคาที่ต้องต่อสู้บ้าง

คงต้องอ่านสมบัติที่ได้มาไปอีกสองถึงสามวันค่ะ 

แหม  คุณวันดีก็มักถ่อมตนอย่างนี้เรื่อยเลย
แต่ก็ขอบคุณที่กรุณามาแสดงความเห็น
(แม้จะไม่ตอบคำถามก็ตาม) :D



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ต.ค. 11, 19:07

เคยได้ยินว่า มาจากคำว่า "อานนท์" แปลว่า ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ

เช่น
"วรคุตตานนท์" พระราชทาน รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม)
มาจากคำว่า วร (นายพร ปู่) + คุปต์ (นายคุ้ม ทวด) + อานนท์

คุณอาร์ทตอบมา  ดีครับ  แต่ยังไม่ถูกทั้งหมด
คราวนี้พลาดไปไม่เป็นไรครับ  คราวหน้ายังมีให้แก้มืออีก
 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ต.ค. 11, 19:56
ขอบคุณคุณวีมี ที่กรุณามาฉลองศรัทธารับกิจนิมนต์จากผม
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนามสกุลพระราชทาน
ตามที่คุณหนุ่มสยามได้ทอดฎีกาไว้ ได้อย่างละเอียดชัดเจน :)
ทั้งนี้ที่คุณวีมีกล่าวว่า
เห็นแต่ละท่านงัดเอาหลักบาลีสันสกฤตมาว่ากันแล้ว
เลยรู้ตัวว่าข้าพเจ้านี้ยังรู้น้อยกว่าหลายๆ ท่าน
 
แต่โดนคุณหลวงท่านอาราธนาไว้  จะเฉยเสียก็จะเสียศรัทธา 
เลยขอตอบเท่าที่พอจะตอบได้ ดังนี้ครับ

ผมขอชี้แจงว่า  ความตั้งใจของผมที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นพระปรีชาสามารถด้านภาษาบาลีสันสกฤต
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนที่ยกเอานามสกุลพระราชทานเป็นกรณีศึกษา
ก็เพราะว่า  มีคนจำนวนมากที่อยู่สกุลที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน
ไม่ทราบที่มาและความหมายของนามสกุลของตนเอง
ด้วยเหตุนี้  ผมจึงมาตั้งกระทู้นี้ในกลุ่มกระทู้ประเภทภาษาวรรณคดี
เพื่อเน้นเรื่องภาษาโดยเฉพาะครับ

และแน่นอนว่า ที่จะเว้นไม่กล่าวมิได้  คือ คุณหนุ่มสยาม
ที่มีแก่ใจเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขานำเอา
ประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖
จากราชกิจจานุเบกษามาลงไว้อ่านกันอย่างครบถ้วนและทั่วถึงกัน
ขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ต.ค. 11, 20:25
ตามที่ผมได้ตั้งคำถามไว้ว่า

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น

และคุณเพ็ญฯ กรุณาตอบมาดังนี้


นนท์ नन्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=nanda&trans=Translate&direction=AU)

๖๑๘๓ วรคุตตานนท์ Varagutta^nanda รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ทวดชื่อคุ้ม ปู่ชื่อพร  วรคุตตานนท์-ปู่่พรลูกของทวดคุ้ม

 ;D 

ถูกต้องครับ   คำว่า  นนท์ ก็ดี  คำว่า นันทน์ ก็ดี
ที่ประกอบอยู่ท้ายนามสกุลพระราชทานรัชกาลที่ ๖
มีความหมายว่า  ลูกชาย  ครับ  ไม่ได้มีความหมายว่า
ความรื่นเริงบันเทิง ความสนุกสนาน ความยินดีปรีดา
ตามที่เข้าใจกันและมีบางท่านตอบมา

จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า

คำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
ไม่ใช่คำว่า  อานนท์ และ อานันทน์ มาสมาสสนธิ  ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิด
และคำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลนี้
เป็นคำภาษาสันสกฤต ไม่ใช่คำภาษาบาลี
เพราะในภาษาบาลี คำว่า นนท์ และ นันทน์ ไม่มีความหมายว่า ลูกชาย

อย่างไรก็ดี  คำว่า นนฺท  ที่แปลว่า ลูกชาย ในภาษาสันสกฤต
ดูจะมีที่ใช้น้อยนัก  จึงไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ใช้ในวรรณคดีสันสกฤต
ผิดกับ นนฺทน ดูจะมีตัวอย่างการใช้ในวรรคดีมากแห่งกว่า
(มีในมหาภารตะ และงานของยัชญวัลกยะ อยากรู้ว่าอยู่ตรงไหน
เชิญค้นคว้าได้ด้วยตนเองครับ)

มีคำถามต่อไปว่า  การที่รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า นนท์
และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
น่าจะมีที่มาเป็นแน่  จึงอยากถามท่านที่ผ่านไปมาในเรือนไทย
ช่วยกันหาคำตอบหน่อย (อย่าให้ต้องเอ่ยนามกันเลย
เดี๋ยวจะกลายเป็นห้องเรียนไป)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ต.ค. 11, 07:09
ยังไม่มีใครตอบว่า การที่รัชกาลที่ ๖ จึงทรงใช้คำว่า นนท์
และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานหลายนามสกุล
น่าจะมีที่มาอย่างไร (จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ)

ผมใบ้ให้พอเป็นทางว่า  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอได้เสด็จฯ ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
ย่อมได้ทรงรู้เห็นวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ของชาวยุโรปเป็นอเนกประการ
บางอย่างก็ได้ทรงนำมาประยุกต์ใช้ในเมืองไทยด้วย
ใบ้เท่านี้  คงพอแล้วกระมัง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ต.ค. 11, 12:21
ชื่อชาวอาหรับก็จะมีลักษณะเช่นนี้ คือต่อท้ายด้วยว่าเป็นลูกชาย (bin) ของใคร

ใคร ๆ ก็รู้จัก Osama bin Laden ชื่อเต็มของเขาคือ Osama bin Mohammed bin Awad bin Laden  หมายถึง Osama เป็นลูกชายของ Mohammed  ซึ่งเป็นลูกชายของ Awad ซึ่งเป็นลูกชายของ Laden

ชื่อจะบอกหมดว่า พ่อ, ปู่, ทวด ชื่ออะไร

ยาวดีแท้ ๆ

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ต.ค. 11, 17:40
โจทย์ของคุณหลวงไม่มีท่านผู้ใดมาตอบเลยหรือครับ?
จะตอบเองก็เคอะเขินเสียเหลือเกิน  เลยขอหยิบยกชื่อสกุลมาพอเป็นลายแทงสัก ๑ สกุลแล้วกับครับ 
"Williamson"  พอจะนึกออกหรือยังขอรับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 09:49
หยิบตัวอย่างหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามสกุลมาให้รับชมแก่เพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะคุณหลวงเล็ก จักได้โสมนัสมิรู้หย่อน

วันที่ ๒ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๖

ข้าพระพุทธเจ้า อำมาตย์ตรี หลวงโกษากรวิจารณ์ เจ้ากรมสารบรรณ กรมบัญชาการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศ กราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า
พ้นกระหม่อม

ด้วยนามสกุลของข้าพระพุทธเจ้า แล ญาติพี่น้องซึ่งจะตั้งตามพระราชบัญญัตินามสกุลนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระมหากรุณา
ปกเกล้าปกกระหม่อมขอรับพระราชทาน เพื่อเป็นศิริสวัสดิมงคลแก่สกุลสืบไป

ข้าพระพุทธเข้าชื่อ บุญศรี อายุ ๓๒ ปี เกิดตำบลถนนเฟื่องนคร กรุงเทพฯ ณ วันเสาร์เดือนสิบขึ้น ๔ ค่ำปีมเมีย จัตวาศก
พระพุทธศักราช ๒๔๒๕ เปนชาติไทยถือพระพุทธสาสนา ปู่ชื่อนายด้วง รับราชการอยู่ในกรมช่างสิบหมู่ บิดาชื่อ นายแสง
เปนมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงษเธอชั้น ๒ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ

การจะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

ลายเซ็นต์ - หลวงโกษากรวิจารณ์ -


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 10:07
๐๖๗๓ ประภาศิริ  Prabha^siri หลวงโกษากรวิจารณ์ (บุญศรี) เจ้ากรมสารบรรณ กรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาชื่อแสง

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 11:32
หยิบตัวอย่างหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามสกุล
มาให้รับชมแก่เพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะคุณหลวงเล็ก จักได้โสมนัสมิรู้หย่อน


ขอบคุณออกขุนที่มีของติดมือมาฝากที่กระทู้
ส่วนที่จะให้ผมชื่นชมโสมนัสมิรู้หย่อนนั้น
ขออภัยเอกสารอย่างนี้เคยเห็นมาหลายครั้งแล้ว  
เลยออกอาการยินดีปรีดาได้ไม่มากเท่าที่ออกขุนอยากให้เป็น
ขออภัยมา ณ ที่นี้

หมายเหตุ   ตกลง  คำถามที่ฝากให้ช่วยกันหาคำตอบนี่
จะไม่มีใครเมตตากรุณาช่วยหามาตอบบ้างเลยหรือ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 11:59
หมายเหตุ   ตกลง  คำถามที่ฝากให้ช่วยกันหาคำตอบนี่
จะไม่มีใครเมตตากรุณาช่วยหามาตอบบ้างเลยหรือ

มีที่มาจาก Patronymic Surnames (http://en.wikipedia.org/wiki/Patronymic)

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 13:01
ดีมากครับคุณเพ็ญชมพู  ;D แต่ผมขอเน้นเฉพาะนามสกุลชาวอังกฤษ
และนามสกุลของชนชาติยุโรปที่มีการเติมท้ายชื่อบุคคล
ด้วยพยางค์ที่มีความหมายว่า ลูกชาย

ส่วนนามสกุลที่มีการเติมหน่วยคำข้างหน้าชื่อบุคคล
มีลักษณะเป็นการเติมคำบุพบท กับนามสกุลที่เติมท้ายศัพท์
ด้วยพยางค์ที่มีความหมายว่า ลูกสาว
อยู่นอกเหนือประเด็นที่ผมกำลังจะกล่าวถึง  ขอตัดออก




กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 13:22
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า
ได้เสด็จน ไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลาหลายปี  ย่อมทรงคุ้นเคย
กับประเพณีวัฒนธรรมชาวอังกฤษ  เมื่อเสด็จฯ นิวัติประเทศสยาม
ก็ได้ทรงนำแบบอย่างทางประเพณีวัฒนธรรมชาวอังกฤษมาทรงประยุกต์ในสยามด้วย
มีกรณีตัวอย่างคือ  การตั้งนามสกุลพระราชทาน

การที่รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการประกาศกฎหมายให้ประชาชน
ใช้นามสกุลนั้น เป็นสิ่งแปลกใหม่ในสังคมไทย
คนไทยในสมัยนั้น  อาจจะคิดคล้ายๆ กันว่า  แล้วจะเอาคำว่าอะไร
มาตั้งเป็นชื่อสกุลของตนเอง  เพราะไม่มีหลักเกณฑ์อะไร
นอกจากข้อควรยกเว้นในการตั้งนามสกุลในมาตราที่ ๑๒
ของพระราชบัญญัติขนานนามสกุล  พระพุทธศักราช ๒๔๕๖
(รายละเอียดเชิญอ่านได้ด้วยตนเองในกระทู้นี้)

ในขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อมีพระราชดำริที่จะพระราชทานนามสกุลแก่ข้าราชบริพาร
ก็ต้องทรงหาหลักเทียบเคียงกับอารยประเทศที่ประชาชนมีนามสกุลใช้
เพื่อทรงกำหนดเป็นแนวทางในการทรงพระราชดำรินามสกุล
พระราชทานแก่ข้าราชบริพารเช่นกัน

หนึ่งในแนวเทียบนั้น  คือ นามสกุลของชาวยุโรป
โดยเฉพาะชาวอังกฤษซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงคุ้นเคยมาเป็นอย่างดี
การเทียบนั้น  ทรงหาคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า -son
ซึ่งใช้ต่อท้ายชื่อบุคคลตั้งเป็นนามสกุลของชาวอังกฤษ
(กรณีนามสกุลของชนชาติภาษาอื่นๆ ที่มีลักษณธอย่างเดียวกัน
ของดไม่กล่าว  แต่ผู้ใดใคร่อธิบายต่อก็ยินดี)
มาต่อท้ายศัพท์สำหรับทรงตั้งเป็นามสกุลพระราชทาน

ทีนี้  อยากขอความร่วมมือท่านทั้งหลายช่วยหานามสกุลพระราชทาน
ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำหลักเทียบกับการตั้งนามสกุลชองชาวอังกฤษ
มาแสดงพอสังเขปสักคนละ ๒๐ นามสกุล  ขอบคุณในน้ำใจมาล่วงหน้า


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 13:23
อยากจะหาศัพท์บาลีที่แปลกสุด ๆ นำมาเล่าให้ฟังบ้างซิครับ  :P

อัญเชิญพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอักษร ว. ล้อมพระมหาพิไชยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราที่หัวจดหมายพระราชทานนามสกุลและปกสมุดดังกล่าว

(หากเคยเห็นแล้วก็หลับตาพิมพ์นะ  :P)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 14:34
ทีนี้  อยากขอความร่วมมือท่านทั้งหลายช่วยหานามสกุลพระราชทาน
ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำหลักเทียบกับการตั้งนามสกุลชองชาวอังกฤษ
มาแสดงพอสังเขปสักคนละ ๒๐ นามสกุล  ขอบคุณในน้ำใจมาล่วงหน้า

๐๔๗๒ มุสิกานนท์ Musika^nanda นายฉัตร์ มหาดเล็ก  กรมราชเลขานุการ  ปู่ชื่อหนู
๐๕๐๙ เมธานนท์ Medha^nanda พระวรวาทพิสุทธิ์ (ต่วน)  เลฃานุการกระทรวงธรรมการ  พระเมธาธิบดี (กัน) เป็นบิดา
๐๖๓๐ มหานนท์ Maha^nanda พระพิไชยชลสินธุ์ (พริ้ง)  สังกัดกระทรวงมหาดไทย  กับนายร้อยตรีเพิ่ม  กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บิดาพระพิไชยฯ ชื่อขุนไชยเสนา (โต)
๐๙๖๕ มุสิกะนันทน์ Musika^nandana นายร้อยตรีจอน  ประจำกรมทหารพรานที่ ๔  เมืองกาญจนบุรี  กับนายนิ่ม (บิดา)  บิดานายนิ่มชื่อหนู
๑๑๔๐ มหากายนันทน์ Maha^ka^yanandana ขุนมานิติธนานุวัติ (สว่าง)  สมุหบาญชีอำเภอแม่น้ำอ้อม  จังหวัดสมุทสงคราม  ทวดชื่อท้วม
๑๑๖๔ มหาวงศนันทน์ Maha^vansanandana เจ้าวรญาติ (เทพรศ)  นายงานคมนาคม  นครน่าน  หลานพระยาน่านมหาวงศ์
๑๑๖๕ มหายศนันทน์ Maha^yasanandana เจ้าอุตรการกุศล (มหาไชย)  รองผู้พิพากษาศาลนครน่าน  เหลนพระยาน่านมหายศ
๑๒๘๐ มหาสารินันทน์ Maha^sa^rinandana หลวงธรณีบาล (ทองคำ)  นายอำเภอบางซื่อ  กรุงเทพฯ  ปู่ชื่อนายมหาขุนทอง
๒๙๐๔ มโรหะบุตร, Marohaputra, ลูกเสือเอกยุโสะ นายหมู่ลูกเสือกองที่ ๑ โรงเรียนตัวอย่าง เมืองปัตตานี ปู่ชื่อหวันมะโรห์
๓๒๒๙ มณีนันทน์ Mani^nandana นายร้อยเอกพุฒ  กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๖  ปู่ชื่อแก้ว
๓๒๗๐ เลาหบุตร์ Lauhaputra ขุนนิติโทรการ (เฮง) กรมไปรษณีย์โทรเลข บิดาชื่อเหลา
๓๔๓๔ มกรานนท์ Makarananda รองอำมาตย้เอกโต  ผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต  บิดาชื่อเหล็ง
๓๔๕๖ มกรนันทน์ Makaranandana จ่าเอกเซ้ง  กองพันพาหนะทหารเรือ  บิดาชื่อเหล่ง
๓๔๗๙ มหาศรานนท์ Maha^sara^nanda นายเรือโทโก๋  กรมทหารบกพาหนะของกองทัพน้อยทหารบกที่ ๑  บิดาชื่อโต  ปู่ชื่อศร
๓๗๕๐ มีนะนันทน์ Minanandana นายขุน  รองผู้กำกับลูกเสือ กองที่ ๓๕ กรุงเทพฯ  กับหมื่นแผ้วโป๊จั่น (หว่าง)  ทวดชื่อมิน
๔๓๐๗ เมาลานนท์ Maula^nanda ขุนประมวลราชกิจ (สมบูรณ์)  กรมบัญชาการ  กระทรวงวัง  ทวดชื่อเหมา
๕๐๐๑ มูลานนท์ Mu^lananda พลเสือป่ามูล  กรมเสือป่าปืนใหญ่หลวงรักษาพระองค์  บิดาชื่อเดิม
๕๔๑๐ อับดุลละบุตร Abdullaputra พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโอ๊ะ) พระยาเมืองยะหริ่ง ปู่ทวดชื่ออับดุลเลาะ
๕๗๔๔ มโหสถนันทน์ Mahosathanandana เด็กชาทองดี  กองคลังวรภาชน์  กรมมหาดเล็ก  กับนายเชย (บิดา)  ปู่ทวดชื่อพระศรีมโหสถ
๖๓๗๙ มนะพันธานนท์ Manabandha^nanda นายหมู่โททุย  เสมียนประจำแพนกเสนาธิการ  กองเสนารักษาดินแดนตวันออก  ปู่ทวดชื่อเป้า  ปู่ชื่อมน  บิดาชื่อเชื่อม


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 ต.ค. 11, 14:49

ทีนี้  อยากขอความร่วมมือท่านทั้งหลายช่วยหานามสกุลพระราชทาน
ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำหลักเทียบกับการตั้งนามสกุลชองชาวอังกฤษ
มาแสดงพอสังเขปสักคนละ ๒๐ นามสกุล  ขอบคุณในน้ำใจมาล่วงหน้า

- อับดุลละบุตร พระราชทาน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโอ๊ะ) พนะยาเมืองยะหริ่ง ปูทวดชื่ออับดุลเลาะ
- อับดุลพันธุ์    พระราชทาน นายหมู่ตรีปุ๋ย ประจำแพนกเกียกกาย กองเสนารักษาดินแดน กรุงเทพฯ บิดาชื่อ อับดุลโคยุม
- ไทยานนท์ พระราชทาน หลวงภักดีสมบัติ (สิงห์โต) คลังเมืองสมุทรสงคราม ทวดชื่อหลวงอร่ามเรืองฤทธิ (ไท)
- มณิบุตร พระราชทาน พลเสือป่าสฤษดิ์  กรมเสือป่ารักษาดินแดนตวันตก  บิดาชื่อแก้ว
- มณีนันทน์ พระราชทาน นายร้อยเอกพุฒ  กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๖  ปู่ชื่อแก้ว
- มณีวงศ์ พระราชทาน หลวงราชนาถภักดี (บุญหลง)  กรมการพิเศษจังหวัดลำปาง  ปู่ชื่อพญามณีจักร์ (หนานมณีวัน)
- มงคลบุตร พระราชทาน นายร้อยตรีเทพ  แพทย์กองพลทหารบกที่ ๔ ราชบุรี  ปู่ชื่อขุนบรรเทาทุกข์ (ม้ง)  บิดาชื่อบุญลี้
- มกรนันทน์ พระราชทาน จ่าเอกเซ้ง  กองพันพาหนะทหารเรือ  บิดาชื่อเหล็ง (ภาษาจีน แปลว่ามังกร)
- มกรานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์เอกโต  ผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต  บิดาชื่อเหล็ง
- มนะพันธานนท์ พระราชทาน นายหมู่โททุย  เสมียนประจำแพนกเสนาธิการ  กองเสนารักษาดินแดนตวันออก  ปู่ทวดชื่อเป้า  ปู่ชื่อมน  บิดาชื่อเชื่อม
- มโรหะบุตร พระราชทาน ลูกเสือเอกยุโสะ  นายหมู่ลูกเสือกองที่ ๑ โรงเรียนตัวอย่างเมืองปัตตานี  ปู่ชื่อหวันมะโรห์
- มหัธนานนท์ พระราชทาน นายหมวดตรีเฮง  กรมเสือป่ารักษาดินแดนราชบุรี  ปู่ชื่อฮวด
- มหากายนันทน์ พระราชทาน ขุนมานิติธนานุวัติ (สว่าง)  สมุหบาญชีอำเภอแม่น้ำอ้อม  จังหวัดสมุทสงคราม  ทวดชื่อท้วม
- มหากณานนท์ พระราชทาน นายหมู่ตรีเข่ง  กรมเสือป่าราบหลวงรักษาพระองค์  ปู่ชื่อโต
- มะยานนท์ พระราชทาน พันจ่าเอกยัง  เรือเสือคำรณสินธุ์  ปู่ชื่อมะ
- มโหสถนันทน์ พระราชทาน เด็กชาทองดี  กองคลังวรภาชน์  กรมมหาดเล็ก  กับนายเชย (บิดา)  ปู่ทวดชื่อพระศรีมโหสถ
- มหิษานนท์ พระราชทาน นายร้อยโทโต๊ะ  นายทหารคนสนิท  กรมทหารบกราบที่ ๑๐  ปู่ชื่อควาย
- มหาสินานนท์ พระราชทาน นายหมู่โทแอ๊ว  กรมเสือป่าราบหลวงรักษาพระองค์  ปู่ชื่อสิน บิดาชื่อใหม่
- มัชฌิมานนท์ พระราชทาน นายสวัสดิ์  พนักงานไปรษณีย์โทรเลข  เมืองนครปฐม  ปู่ชื่อนายเที่ยง
- มัณฑานนท์ พระราชทาน พันจ่าตรีลี  ต้นปืนเรือตอร์ปิโด ๒  บุตรนายหมัน
- มาลยานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์โท ขุนรัฐวุฒิวิจารณ (เขียน)  นายอำเภอกลาย เมืองนครราชสีมา  บิดาชื่อมาลัย
- มีนานนท์ พระราชทาน พันจ่าตรีหลิม  กองเรือกลชั้น ๔  กรมชุมพลทหารเรือ  ปู่ชื่อมี
- เมธานนท์ พระราชทาน  พระวรวาทพิสุทธิ์ (ต่วน)  เลฃานุการกระทรวงธรรมการ  พระเมธาธิบดี (กัน) เป็นบิดา
- โมรานนท์ พระราชทาน  ว่าที่นายร้อยตรีต่วน  กรมทหารบกราบที่ ๑๔  ปู่ชื่อโม
- โมนยะกุล พระราชทาน  นายเรือเอก ขุนวรพากษ์พจนา (โมน)  เลฃานุการกรมทาง  กระทรวงคมนาคม   บิดาเป็นชาติสวิส  นามสกุลเดิมว่า โมห์น (Mohn)

แค่   อักษร ม. ตัวเดียวก็ เกิน 20 แล้วค่ะ... ;D



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 14:56
ดีครับคุณเพ็ญฯ  (แต่ยังไม่ครบ ๒๐ นามสกุลนะครับ ;D)

จากที่คุณเพ็ญฯ ยกตัวอย่างนามสกุลมาแสดงให้เห็นว่า
รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า นนท์ และ นันทน์ ต่อท้ายชื่อบุคคล
ตั้งเป็นนามสกุลพระราชทาน  โดยอาศัยแนวเดียวกัน
กับการใช้คำว่า -son ต่อท้ายชื่อบุคคลมาตั้งเป็นนามสกุลของชาวอังกฤษ

และจากตัวอย่างนามสกุลที่คุณเพ็ญฯ นำมาแสดงนั้น
ยังมีการลงท้ายนามสกุลว่า บุตร ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน
กับ -son -นนท์ และ -นันทน์


แต่ยังมีการลงท้ายนามสกุลพระราชทานด้วยคำอื่นอีก
ที่มีความหมายเช่นเดียวกับการลงท้ายด้วยคำว่า
กับ -son -นนท์ และ -นันทน์
ลองทายดูว่าคำว่าอะไร  


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:01
คุณดีดีครับ  ซ้ำกับตัวอย่างของคุณเพ็ญฯ นะครับ
และนามสกุลที่คุณดีดียกมาต่อไปนี้

อับดุลพันธุ์  มณีวงศ์  โมนยะกุล

ไม่เข้าเกณฑ์ตามที่ผมต้องการ
นามสกุลที่ลงท้ายด้วย -พันธุ์ -กุล -วงศ์ -พงศ์ ฯลฯ
ต้องจัดไว้อีกประเภทหนึ่งครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:10
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วย  ณ
แล้วตามด้วยชื่อเมือง  หรือบางทีก็เอานามสกุล ณ เหล่านี้
ไปต่อท้ายนามสกุลด้วยกันอีกชั้น  ท่านพอจะหาแนวเทียบได้หรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้แนวเทียบ
ในการตั้งนามสกุลมาแต่ใด  พร้อมยกตัวอย่าง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 ต.ค. 11, 15:16
แต่ยังมีการลงท้ายนามสกุลพระราชทานด้วยคำอื่นอีก
ที่มีความหมายเช่นเดียวกับการลงท้ายด้วยคำว่า
กับ -son -นนท์ และ -นันทน์
ลองทายดูว่าคำว่าอะไร  

คำว่า สุต ค่ะ

เช่น กายะสุต กัณหะสุต กนิษฐสุต กัลยาณสุต .....

ส่วนที่ซ้ำกับคุณเพ็ญชมพู พอดีหามาแล้ว post ช้าไปนิ๊ด...คงไม่หักคะแนนนะคะ อุ๊ย!!! ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 15:27
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วย  ณ
แล้วตามด้วยชื่อเมือง  หรือบางทีก็เอานามสกุล ณ เหล่านี้
ไปต่อท้ายนามสกุลด้วยกันอีกชั้น  ท่านพอจะหาแนวเทียบได้หรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้แนวเทียบ
ในการตั้งนามสกุลมาแต่ใด  พร้อมยกตัวอย่าง

ถ้าอย่างอังกฤษ ก็จะใช้แบบนี้ใช่ไหม

Lord of Winsor ใช่ไหมครับ ยังมี "ณ กรุงเทพ" ด้วยนะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 ต.ค. 11, 15:29
มี ณ ครบทุกจังหวัดหรือเปล่าคะ  ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:30

คำว่า สุต ค่ะ

เช่น กายะสุต กัณหะสุต กนิษฐสุต กัลยาณสุต .....

ส่วนที่ซ้ำกับคุณเพ็ญชมพู พอดีหามาแล้ว post ช้าไปนิ๊ด...คงไม่หักคะแนนนะคะ อุ๊ย!!! ;D

เก่งมากครับคุณดีดี  ใช่แล้ว  นามสกุลที่ลงท้ายว่า -สุต
ก็แปลว่า ลูกชาย เหมือนกัน



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:31
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วย  ณ
แล้วตามด้วยชื่อเมือง  หรือบางทีก็เอานามสกุล ณ เหล่านี้
ไปต่อท้ายนามสกุลด้วยกันอีกชั้น  ท่านพอจะหาแนวเทียบได้หรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้แนวเทียบ
ในการตั้งนามสกุลมาแต่ใด  พร้อมยกตัวอย่าง

ถ้าอย่างอังกฤษ ก็จะใช้แบบนี้ใช่ไหม

Lord of Winsor ใช่ไหมครับ ยังมี "ณ กรุงเทพ" ด้วยนะ

ออกขุน  ออกนอกมรรคาแล้ว  นี่เราพูดถึงนามสกุล
Lord of Winsor นี่ไม่ใช่นามสกุลนะ  เทียบเคียงให้ดีๆ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:34
มี ณ ครบทุกจังหวัดหรือเปล่าคะ  ;D

เข้าใจว่ามีไม่ครบทุกจังหวัดหรอกครับ
ผมยังไม่เคยได้ยินใครใช้นามสกุล  ณ บึงกาฬ
ณ สระแก้ว  ณ อำนาจเจริญ  และ ณ หนองบัวลำภู

แต่  ผมเคยเห็นคนใช้นามสกุล  ณ  ดำเนิน ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 15:39
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วย  ณ
แล้วตามด้วยชื่อเมือง  หรือบางทีก็เอานามสกุล ณ เหล่านี้
ไปต่อท้ายนามสกุลด้วยกันอีกชั้น  ท่านพอจะหาแนวเทียบได้หรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้แนวเทียบ
ในการตั้งนามสกุลมาแต่ใด  พร้อมยกตัวอย่าง

ถ้าอย่างอังกฤษ ก็จะใช้แบบนี้ใช่ไหม

Lord of Winsor ใช่ไหมครับ ยังมี "ณ กรุงเทพ" ด้วยนะ

ออกขุน  ออกนอกมรรคาแล้ว  นี่เราพูดถึงนามสกุล
Lord of Winsor นี่ไม่ใช่นามสกุลนะ  เทียบเคียงให้ดีๆ

๑. นามสกุล ABERDEEN มาจากชื่อเมืองอาร์เบอดีน

๒. นามสกุล ABERNETHY: Gaelic name derived from the name of a town in Strathern, Scotland

หากคุณหลวงเล็กสนใจเมืองต่างประเทศเป็นพิเศษก็เชิญคลิก http://www.20000-names.com/surnames_family_names.htm  :P


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 15:53

๑. นามสกุล ABERDEEN มาจากชื่อเมืองอาร์เบอดีน

๒. นามสกุล ABERNETHY: Gaelic name derived from the name of a town in Strathern, Scotland

หากคุณหลวงเล็กสนใจเมืองต่างประเทศเป็นพิเศษก็เชิญคลิก http://www.20000-names.com/surnames_family_names.htm  :P

คุณหนุ่มครับ

ณ  + ชื่อเมืองของไทย  เป็นนามสกุลพระราชทาน
กับชื่อเมืองของฝั่ง + ending เป็นนามสกุลชาวยุโรป
คุณหนุ่มคิดว่าเทียบแนวกันได้ไหม


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 10 ต.ค. 11, 15:54
สกุล ณ ห้ามใช้เองนะคะ  ;D
..ต้องได้รับพระราชทานเท่านั้น...


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ต.ค. 11, 16:07
สกุล ณ ห้ามใช้เองนะคะ  ;D
..ต้องได้รับพระราชทานเท่านั้น...

นั่นก็ทราบครับ  แต่นายทะเบียนที่ที่ว่าการอำเภอแต่ละท้องที่
จะรู้ข้อห้ามนี้ด้วยหรือไม่  ผมไม่แน่ใจนะ
เพราะนามสกุลที่ผมเคยเห็นนั้น   เจ้าของนามสกุลท่านเล่าว่า
นายทะเบียนที่อำเภอก็จดทะเบียนให้มีหลักฐานชัดเจน
และเขาใช้กันมาหลายชั่วอายุคนแล้วด้วย


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 11, 18:52
แต่  ผมเคยเห็นคนใช้นามสกุล  ณ  ดำเนิน ;D

ณ ลำเลียง อีกหนึ่ง  ;D

เก่งมากครับคุณดีดี  ใช่แล้ว  นามสกุลที่ลงท้ายว่า -สุต
ก็แปลว่า ลูกชาย เหมือนกัน

กุมาร (http://spokensanskrit.de/index.php?tinput=kumAra&direction=SE&script=HK&link=yes&beginning=) kumAra कुमार   ก็ ลูกชายเหมือนกัน

๓๙๒๓ สุนทรกุมาร Sundarakuma^ra รองอำมาตย์ตรียก ปลัด อำเภอท่าปลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปู่ชื่อเกลี้ยง บิดาชื่อเอียด

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 11, 19:13

แต่  ผมเคยเห็นคนใช้นามสกุล  ณ  ดำเนิน ;D

ณ จ๊ะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ต.ค. 11, 08:24

แต่  ผมเคยเห็นคนใช้นามสกุล  ณ  ดำเนิน ;D

ณ จ๊ะ

แหม  ทำไมไม่เอา ณ จะบอกให้  ณ เคอะ  ณ คะ
อ้อที่ลืมไม่ได้  ณเดชน์  มาด้วยล่ะ  พ่อหนุ่มสยาม :-\


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ต.ค. 11, 12:36
อ้อที่ลืมไม่ได้  ณเดชน์  มาด้วยล่ะ  พ่อหนุ่มสยาม :-\

ถ้าเป็นยุคก่อนหน้านั้นก็ต้อง ณหทัย  ;D

นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วย  ณ
แล้วตามด้วยชื่อเมือง  หรือบางทีก็เอานามสกุล ณ เหล่านี้
ไปต่อท้ายนามสกุลด้วยกันอีกชั้น  ท่านพอจะหาแนวเทียบได้หรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้แนวเทียบ
ในการตั้งนามสกุลมาแต่ใด  พร้อมยกตัวอย่าง

ถ้าอย่างอังกฤษ ก็จะใช้แบบนี้ใช่ไหม

Lord of Winsor ใช่ไหมครับ ยังมี "ณ กรุงเทพ" ด้วยนะ

ออกขุน  ออกนอกมรรคาแล้ว  นี่เราพูดถึงนามสกุล
Lord of Winsor นี่ไม่ใช่นามสกุลนะ  เทียบเคียงให้ดีๆ

ถ้าเทียบกับนามสกุลฝรั่งที่ขึ้นต้นด้วย At พอจะได้ไหม

Atwood (http://www.houseofnames.com/atwood-family-crest) ณ พนา

Atwater (http://www.houseofnames.com/atwater-family-crest) ณ วารี

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ต.ค. 11, 14:16

ถ้าเทียบกับนามสกุลฝรั่งที่ขึ้นต้นด้วย At พอจะได้ไหม

Atwood (http://www.houseofnames.com/atwood-family-crest) ณ พนา

Atwater (http://www.houseofnames.com/atwater-family-crest) ณ วารี

 ;D

ยังไม่ตรงความต้องการของผม  แต่ผมมีตัวอย่างให้ดูสัก ๒-๓ ตัวอย่าง

Jeremias van Vliet
Simon de la Loubère
Vasco da Gama

คงพอจะเป็นแนวทางได้กระมัง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 11 ต.ค. 11, 17:51

ถ้าเทียบกับนามสกุลฝรั่งที่ขึ้นต้นด้วย At พอจะได้ไหม

Atwood (http://www.houseofnames.com/atwood-family-crest) ณ พนา

Atwater (http://www.houseofnames.com/atwater-family-crest) ณ วารี

 ;D

ยังไม่ตรงความต้องการของผม  แต่ผมมีตัวอย่างให้ดูสัก ๒-๓ ตัวอย่าง

Jeremias van Vliet
Simon de la Loubère
Vasco da Gama

คงพอจะเป็นแนวทางได้กระมัง


คุณหลวง แล้วทางเมืองอังกฤษ มีเหมือนทางเมืองปรัสเซีย สเปน กับฝรั่งเศสหรือเปล่าครับ
พวกตระกูล van กับ de เนี่ยะ
 ???



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ต.ค. 11, 18:06
เยเรเมียส ฟาน ฟลีต "วันวลิต"  Jeremias van Vliet

Vliet (http://en.wikipedia.org/wiki/Vliet_(canal)) เป็นชื่อคลองในเนเธอร์แลนด์  van Vliet น่าจะพอแปลกล้อมแกล้มได้ว่า ณ วารี เหมือนกัน

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 11, 10:47

คุณหลวง แล้วทางเมืองอังกฤษ มีเหมือนทางเมืองปรัสเซีย สเปน กับฝรั่งเศสหรือเปล่าครับ
พวกตระกูล van กับ de เนี่ยะ
 ???



เท่าที่สังเกตมา  ไม่พบแบบอย่างอย่างนี้ในเมืองอังกฤษ
คงพบแต่ทางภาคพื้นทวีปยุโรปเท่านั้น  

ถ้าย้อนมาเมืองไทยสมัยก่อนที่จะมีนามสกุลใช้
ก็มีการเรียกชื่อคน แล้วระบุตำแหน่งตำบลที่อาศัยอยู่
เช่น   นายสะอาดแห่งแขวงเมืองประทุมธานี  
นายแดง  บ้านโพเรียง   อำแดงอุ่น   บ้านทวาย เป็นต้น

ผมคิดว่า  นามสกุลพระราชทานที่ขึ้นต้นด้วย  ณ  ทั้งหลาย
น่าจะมีที่มาดังได้ยกตัวอย่างนามของชาวยุโรปนั้น

อนึ่งหลายคนคิดว่า  นามสกุล ณ นั้น ต้องเป็นนามสกุล
ที่พระราชทานเท่านั้น   แต่แท้จริงแล้ว  นามสกุล ณ ที่ไม่ใช่นามสกุล
พระราชทานก็มี   แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อทำหนังสือกราบบังคมทูล
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน  มีตัวอย่างเช่น
นามสกุล  ณ วังขนาย  ซึ่งน่าจะเป็นนามสกุล ณ ล่าสุด
ที่มีการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/005/1.PDF


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ต.ค. 11, 11:40
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งลงท้ายว่า -เสน
หลายคนบอกว่า  มาจากคำว่า เสนา หมายถึงข้าราชการ
แต่ถ้าไม่คิดว่า  -เสน  ที่ต่อท้ายนามสกุลพระราชทาน
หมายถึง เสนา  เราจะแปลหรือหาที่มาต่างไปจากนี้ได้หรือไม่
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ต.ค. 11, 16:22
เกรงกระทู้จะจมน้ำจมท่าไป  เลยกู้ขึ้นกระดานกับเขาบ้าง

ในบรรดานามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖
จะทรงพระราชดำริขึ้นจากชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายผู้ชายในสายสกุลนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่
แต่...แต่ก็มีนามสกุลที่ทรงตั้งพระราชทานแก่ผู้ขอ
โดยใช้ชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายหญิงในสกุลนั้นตั้งเป็นนามสกุลพระราชทาน
ถามว่า  นามสกุลพระราชทานที่ว่านั้น  คือนามสกุลอะไร
มีประวัติความเป็นมาอย่างไร  และสกุลนี้ให้ตราสกุลเป็นรูปอะไร
 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 ต.ค. 11, 17:08
เกรงกระทู้จะจมน้ำจมท่าไป  เลยกู้ขึ้นกระดานกับเขาบ้าง

ในบรรดานามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖
จะทรงพระราชดำริขึ้นจากชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายผู้ชายในสายสกุลนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่
แต่...แต่ก็มีนามสกุลที่ทรงตั้งพระราชทานแก่ผู้ขอ
โดยใช้ชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายหญิงในสกุลนั้นตั้งเป็นนามสกุลพระราชทาน
ถามว่า  นามสกุลพระราชทานที่ว่านั้น  คือนามสกุลอะไร
มีประวัติความเป็นมาอย่างไร  และสกุลนี้ให้ตราสกุลเป็นรูปอะไร
 ;D

"สุจริตกุล"

ต้นตระกูล - ท้าวสุจริตธำรง (นาค) กับหลวงอาสาสำแดง (แตง)

ตราประจำสกุลเป็นรูป "นาคพันแตง"


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ต.ค. 11, 17:17
๐๐๕๕ สุจริตกุล Sucharitakul เจ้าพระยาศิริรัตนมนตรี (หงส์) ราชินิกุล สำหรับใช้เป็นนามสกุลบุตรหลานแห่งท้าวสุจริตธำรง (นาค) กับหลวงอาสาสำแดง (แตง) ซึ่งบัดนี้มีอยู่ ๒ สาขา คือ บุตรหลานเจ้าพระยาศิริรัตนมนตรี ๑ บุตรหลานพระยาราชภักดี (โค) ๑

พระราชหัตถเลขาพระราชทานนามสกุล

วันที่ ๑๙  มิถุนายน ๒๔๕๖
 
ถึงเจ้าพระยาศิริรัตนมนตรี

ฉันได้มาไตร่ตรองดูถึงนามสกุลของเจ้าพระยาศิริรัตนกับพระยาราชภักดี (โค) ได้รู้สึกว่าควรจะใช้รวมกัน เปนอย่างเดียวกัน จึ่งมานึกดูว่าจะควรเอานามบรรพบุรุษใดใช้ ก็มาคิดเห็นว่า ผู้ที่ทูลกระหม่อมของฉันทรงพระเมตตามาก และซึ่งตัวฉันเองก็รักและนับถือมาก คือคุณยายทวดผู้เปนมารดาแห่งเจ้าพระยาศิริรัตน จริงอยู่นามสกุลมักใช้นามผู้ชาย แต่ทางฝ่ายท่านบิดาของเจ้าพระยาศิริรัตนเข้าใจว่าจะมีผู้ที่รู้จักน้อยกว่าทางมารดา ทั้งทูลกระหม่อมก็ได้ทรงพระเมตตาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งคุณยายทวดเปนท้าวสุจริตธำรง เพื่อเปนเกียรติยศแด่ญาติวงษ์ ฉันถือว่าเหมือนได้พระราชทานนามนั้นสำหรับสกุล เปนสิ่งที่เชิดชูสกุลเปนอันมาก

เพราะฉนั้นฉันขอให้นามสกุลแห่งเจ้าพระยาศิริรัตนและสกุลพระยาราชภักดี (โค)ว่า"สุจริตกุล" (เขียนเปนอักษรโรมันว่า "Sucharitakul")

ขอให้สุจริตกุลมีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงอยู่ในกรุงสยามชั่วกัลปาวสาน

วชิราวุธ ปร

 ;D
 


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: atsk ที่ 20 ต.ค. 11, 18:03
ขอร่วมส่งคำถามครับ

นามสกุล  สุจริต  สุจริตกุล  ทรงสุจริตกุล    มีที่มาอย่างไรบ้างครับ  และเกี่ยวข้องกันหรือไม่ครับ

พอดีมีเพื่อน  ทั้งสามนามสกุลที่ว่ามาเลยครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ต.ค. 11, 08:37
ขออนุญาตขยายความเห็นคุณเพ็ญชมพูเพิ่มเติมครับ

เจ้าพระยาสิรัตนมนตรี (หงส์) นั้นเป็นพี่ชายของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือที่ล้นเกล้าฯ ทรงออกพระโอษฐ์ว่า "คุณยาย"  จึงทรงนับว่า เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรีเป็นพระญาติผู้ใหญ่  และได้พระราชทานพระมหากรุณาต่อเนื่องลงมาจนถึงพระยาสุจริตธำรง (อ฿็ด  สุจริตกุล) ผู้เป็นหลานปู่ของท่านเจ้าคุณ  เล่ากันมาในหมู่คุณมหาดเล็กว่า ทรงพระมหากรุณาแก่เจ้าคุณสุจริตฯ เป็นพิเศษในฐานเป็นพระญาติสนิท  จึงมักทรงแกล้งท่านเจ้าคุณอยู่เสมอๆ  เช่นวันหนึ่งเสร็จจากทรงไพ่ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  ผู้ที่ร่วมในการทรงไพ่ต่างก็กราบถวายบังคมลาเดินลงบันไดกลับ  แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเจ้าคุณปีเสาลงจากพระที่นั่ง 


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ต.ค. 11, 10:41
แหม  ตอบกันมาละเอียดถี่ถ้วนดีจังครับ
ถูกครับ  นามสกุล  สุจริตกุล  เป็นนามสกุลที่ทรงตั้งขึ้น
จากชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายผู้หญิงในสกุล 
เนื่องจากบรรพบุรุษฝ่ายหญิงของตระกูลนี้
ได้รับราชการมีเกียรติสูงเป็นที่เชิดชูวงศ์ตระกูล

แต่ผมอยากรู้ต่อไปอีกว่า  ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
ได้เป็นท้าวสุจริตธำรง เมื่อไร  (ขอเอกสารยืนยันด้วย)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ต.ค. 11, 11:04
จาก ราชกิจจานุเบกษา, หมายตั้งท้าวสุจริตธำรง, เล่ม ๘, ตอน ๔๗, ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔, หน้า ๔๒๘ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/047/428.PDF)

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ต.ค. 11, 11:22
ดีมากครับคุณเพ็ญฯ ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ต.ค. 11, 11:56
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งลงท้ายว่า -เสน
หลายคนบอกว่า  มาจากคำว่า เสนา หมายถึงข้าราชการ
แต่ถ้าไม่คิดว่า  -เสน  ที่ต่อท้ายนามสกุลพระราชทาน
หมายถึง เสนา  เราจะแปลหรือหาที่มาต่างไปจากนี้ได้หรือไม่
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

เอ  แล้วคำถามนี้ จะไม่มีใครเข้ามาช่วยตอบกันหน่อยหรือ
หรือว่าอยากได้คำใบ้สักเล็กน้อยพอเป็นแนวทาง ???


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ต.ค. 11, 16:16
นามสกุลพระราชทานอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งลงท้ายว่า -เสน
หลายคนบอกว่า  มาจากคำว่า เสนา หมายถึงข้าราชการ
แต่ถ้าไม่คิดว่า  -เสน  ที่ต่อท้ายนามสกุลพระราชทาน
หมายถึง เสนา  เราจะแปลหรือหาที่มาต่างไปจากนี้ได้หรือไม่
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

เอ  แล้วคำถามนี้ จะไม่มีใครเข้ามาช่วยตอบกันหน่อยหรือ
หรือว่าอยากได้คำใบ้สักเล็กน้อยพอเป็นแนวทาง ???

-เสน ในที่นี้จะหมายถึง Son หรือลูกชาย ใช้กับพวกสแกนดิเนเวียนเป็นส่วนมาก  8) 8) 8)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ต.ค. 11, 20:13

-เสน ในที่นี้จะหมายถึง Son หรือลูกชาย ใช้กับพวกสแกนดิเนเวียนเป็นส่วนมาก  8) 8) 8)

มาถูกทางแล้ว  แต่อยากให้ยกตัวอย่างชื่อสกุลในกลุ่มชาวสแกนดิเนเวีย
พร้อมคำอธิบายมาให้ทัศนาด้วย  จักดีมาก ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ต.ค. 11, 20:41
นึกอยู่เหมือนกันว่าไม่ใช่คำที่มาจากสันสกฤตแน่ เพราะเขียนว่า -sen (กนิษฐะเสน - Kanishthasen, มกรเสน - Makarasen)  แทนที่จะเป็น -sena सेना

ตัวอย่างหาไม่่ยาก คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Scandinavian_family_name_etymology) มีอยู่เยอะแยะ

แต่่ยังนึกไม่ออกว่าเกี่ยวข้องกับนามสกุลของพวกสแกนดิเนเวียนอย่างไร

 ???


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: kwang satanart ที่ 22 ต.ค. 11, 03:22
เสนะวีณิน  ต้นตระกูลเป็นทหารเรือ  เล่นฮาร์พ หรือพิณฝรั่ง  เสนะ =  เสนา    ว๊ณิน  =  พิณ   เรือโท  มานิต  เสนะวีณิน   เจ้าของเพลง   ใจพี่หายวาบเมื่อเห็นกุหลาบกลีบกระจาย  ค่ะ...


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 11, 06:33
๔๑๙๖ เสนะวีณิน Senavi^nin นายสิบโทมานิต ผู้ช่วยครูเครื่องสายฝรั่ง กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ปู่ชื่อตาง บิดาชื่อหมื่นอำนาจไพรีย์ (เบี้ยว)

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ต.ค. 11, 12:05
^
โดยส่วนมาก -เสน เป็นข้าราชการชาวต่างประเทศที่ได้รับพระราชทานนามสกุล พวกตำรวจที่ต้องสอบเข้ามาเพื่อรับราชการ คุณเพ็ญฯลองหาละกัน (ช่วงนี้ผมระวังน้ำหลาก สมองไม่แล่น ;D)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 11, 12:47
๐๘๑๑  กนิษฐะเสน Kanishthasen ขุนธราทรพิทักษ์ (อั้น) นายทะเบียนที่ดินเมืองกรุงเก่า ปู่ชื่อน้อย

๐๘๙๙ ประทีปเสน Pradi^pasena พระยาวิสูตรสาครดิฐ (เทียน) อธิบดีกรมเจ้าท่า (ราชกิจจานุเบกษาลงว่า ประทีปะเสน รจ. ๓๐ / พ.ศ. ๒๔๕๖ / หน้า ๒๗๓๙)

๐๕๐๒  ประพันธเสน Prabandhasen ขุนศิริธัชสังกาศ (กรุ่น) กรมวัง กระทรวงวัง เป็นบุตรหมอผูก   

๐๑๐๒   มกรเสน Makarasen มหาดเล็กวิเศษเหล็ง  กรมชาวที่

๐๙๐๔ ลางคุลเสน La^ngulasena นายนาวาตรี พระมหาอรรคนิกร (เติม) กองหนุน กระทรวงทหารเรือ กับพระมนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว) เลขานุการสถานอรรคราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ปู่ชื่อแกละ  

๐๓๖๓ อินทรเสน Indrasen ขุนขจิตรสารกรรม (ฉัตร) กรมราชเลขานุการ กระทรวงมุรธาธร หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) เป็นปู่ หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) เป็นบิดา

ข้างหน้า -เสน มีทั้งชื่อตัวเอง, ชื่อพ่อ และชื่อปู่ น่าจะเป็นคนไทย หรือไม่อย่างน้อยก็เชื้อสายจีน

ยังหาฝรั่งไม่พบ

ป.ล. ยังสงสัยว่า ประทีปเสน และ ลางคุลเสน ทำไม เสน จึง -sena ไม่เหมือนเพื่อน -sen

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ต.ค. 11, 07:13
จากตัวอย่างนามสกุลพระราชทานที่ลงท้ายด้วย -เสน ที่คุณเพ็ญฯ นำมาแสดงนั้น
วิเคราะห์ได้ ดังนี้


๐๘๑๑  กนิษฐะเสน Kanishthasen ขุนธราทรพิทักษ์ (อั้น) นายทะเบียนที่ดินเมืองกรุงเก่า ปู่ชื่อน้อย
 กนิษฐะ มาจาก น้อย ซึ่งเป็นชื่อปู่ และไม่อาจจะทราบได้ว่า ปู่ได้รับข้าราชการหรือไม่
การที่ทรงนำคำว่า -เสน มาต่อท้ายคำที่แปลจากชื่อเป็นภาษาสันสกฤตนั้น
ส่อว่า รัชกาลที่ ๖ มิได้ทรงใช้คำว่า -เสน ในความหมายว่า ข้าราชการ หรือ เสนา

๐๘๙๙ ประทีปเสน Pradi^pasena พระยาวิสูตรสาครดิฐ (เทียน) อธิบดีกรมเจ้าท่า
(ราชกิจจานุเบกษาลงว่า ประทีปะเสน รจ. ๓๐ / พ.ศ. ๒๔๕๖ / หน้า ๒๗๓๙)
 ประทีปเสน/ประทีปะเสน  ประทีป มาจาก  เทียน ชื่อตัวผู้ขอพระราชทานนามสกุล
แต่สังเกตว่า ตัวอักษรโรมันที่ใช้  เขียนว่า  sena  ไม่ใช่  sen  
อาจจะอธิบายได้ว่า  ตัวผู้ขอเป็นข้าราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาตำแหน่งอธิบดี
ก็เหมาะที่ใช้คำว่า sena ที่จะให้แปลว่า ข้าราชการ ได้เหมือนกัน
หรือไม่เช่นนั้น  ก็อาจจะเกิดแต่ความผิดพลาดก็เป้นได้  
(คือ เผลอเติม a เข้ามา เพราะเห็นว่า รูปคำเป็นภาษบาลีสันสกฤต)

๐๕๐๒ ประพันธเสน Prabandhasen ขุนศิริธัชสังกาศ (กรุ่น) กรมวัง กระทรวงวัง เป็นบุตรหมอผูก
 ประพันธ มาจาก ผูก  ชื่อบิดาผู้ขอพระราชทานนามสกุล
ไม่ทราบว่าเป็นหมอผูกเป็นข้าราชการหรือไม่  
แต่คิดว่าไม่น่าจะใช่ข้าราชการ   -เสน ในที่นี้ จึงแปลว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง  

๐๑๐๒   มกรเสน Makarasen มหาดเล็กวิเศษเหล็ง กรมชาวที่
 มกร มาจาก เหล็ง (ภาษาจีน แปลว่า มังกร (มกร))
-เสน ในที่นี้ พออนุโลมว่า แปลว่า ข้าราชการ ได้
เพราะเจ้าตัวอยู่ขอ รับราชการเป็นมหาดเล็ก แต่อักษรดรมันที่กำกับ
แสดงว่าต้องการให้แปล -เสน ว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง  

๐๙๐๔ ลางคุลเสน La^ngulasena นายนาวาตรี พระมหาอรรคนิกร (เติม) กองหนุน
กระทรวงทหารเรือ กับพระมนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว) เลขานุการสถานอรรคราชทูตสยาม
ณ กรุงปารีส ปู่ชื่อแกละ
 ลางคุล มาจาก แกละ ชื่อปู่  ลางคุล เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หาง
ในที่นี้ ทรงอนุโลมใช้แปลว่า ผมแกละ ผมเปีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนหาง
แต่สังเกตว่า  นายแกละ  ไม่ได้ระบุว่า รับราชการ  แต่ตัวอักษรโรมัน
กลับเขียนว่า sena  อย่างภาษาบาลีสันสกฤต แทนที่จะเป็น sen
เข้าใจว่า  น่าจะเป็นความผิดพลาด

๐๓๖๓ อินทรเสน Indrasen ขุนขจิตรสารกรรม (ฉัตร)
กรมราชเลขานุการ กระทรวงมุรธาธร หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) เป็นปู่
หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) เป็นบิดา
 อินทร มาจาก บรรดาศักดิ์หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) บิดา
และบรรดาศักดิ์หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) ปู่ของผู้ขอพระราชทานนามสกุล
ส่วน -เสน แปลว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง

ส่วนชาวต่างประเทศที่ใช้นามสกุล(ภาษาฝรั่ง) ลงท้ายด้วย -sen
เท่าที่ทราบ ไม่มีใครขอพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖
ต่อมา  ได้คิดแปลงนามสกุลภาษาฝรั่งเป็นภาษาไทยขึ้นใช้เอง
อาจจะมีที่เป็นนามสกุลพระราชทานบ้างก็ได้  แต่ผมยังหาไม่พบ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: nol ที่ 05 ธ.ค. 12, 02:17
ขออนุญาต "ขุด" กระทู้นี้ขึ้นมาถามเพิ่มเติมได้ไหมครับ

สำหรับนามสกุล "โปษยานนท์" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ ๖๘๖ พอจะเข้าใจได้ว่ามาจากผู้ที่ได้รับพระราชทานมีพ่อชื่อว่า "โป๊" แต่ที่สงสัยคือแล้วตรงส่วนที่ว่า "ษย" นั้นมีความหมายเช่นใดครับ เพราะเห็นว่าในามสกุลพระราชทานในหน้าเดียวกันก็จะมี โปษย โปษยะ หรือ โปษยา อยู่หลายนามสกุลเช่นกัน

ขอขอบคุณล่วงหน้าในทุกคำตอบครับ :D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ธ.ค. 12, 11:29
คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต สามารถแผลงสระอุ เป็น สระโอ ได้  ปุษยะ  --> โปษยะ  มีรูปคำอื่น ๆ อีกหลายคำ  รอยอินท่านให้ความหมายไว้ดังนี้

บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.

 ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: Paramet ที่ 06 ธ.ค. 12, 14:59
https://www.dropbox.com/s/wgfdei8vfibmtby/Photo%201-5-2555%2C%2019%2057%2002.jpg

https://www.dropbox.com/s/pqe5qs07ifi9bwo/Photo%201-5-2555%2C%2019%2056%2016.jpg

ของผมครับ แบบถ่ายเอกสาร


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: ichibang ที่ 29 ม.ค. 13, 13:20
เอ ผมสงสัยครับ
นามสกุล ยมจินดา ของคุณจักรพันธ์นี่ปัจจุบันเราอ่าน (ยม จิน ดา)
แต่ตามรัชกาลที่หก ต้องอ่านเป็น Yamachinta
สรุปว่าปัจจุบันเราอ่านผิดกันเหรอครับ

แล้วสกุลนี้มีความหมายว่าอะไรเหรอครับ เท่าที่อ่านนามสกุลที่รัชกาลที่หก
ท่านพระราชทานไว้ มี ยม เยอะพอสมควร

หมายถึง เพชรของพระยายมบาลรึเปล่าครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ม.ค. 13, 20:49
เอ ผมสงสัยครับ
นามสกุล ยมจินดา ของคุณจักรพันธ์นี่ปัจจุบันเราอ่าน (ยม จิน ดา)
แต่ตามรัชกาลที่หก ต้องอ่านเป็น Yamachinta
สรุปว่าปัจจุบันเราอ่านผิดกันเหรอครับ

Yamachinta ไม่ใช่คำอ่าน แต่เป็นตัวเขียนด้วยอักษรโรมันเท่านั้น  

ลองดูนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า กนก   กนกนาค Kanakanaga, กนกนาวิน Kanakanavin,  กนกมณี Kanakamani, กนกศิริ Kanakasiri  คำว่า กนก อ่านว่า กะ-หนก ไม่ใช่ กะ-นะ-กะ

แล้วสกุลนี้มีความหมายว่าอะไรเหรอครับ เท่าที่อ่านนามสกุลที่รัชกาลที่หก
ท่านพระราชทานไว้ มี ยม เยอะพอสมควร

หมายถึง เพชรของพระยายมบาลรึเปล่าครับ

ยมจินดา Yamachinta  พระราชทานให้ พระศรีสมุทโภค (อิ่ม) นอกราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทวดชื่อยม ปู่ชื่อพระราชภักดีศรีสงคราม (ทองจีน)

คำว่า ยม ในนามสกุลพระราชทานอื่น ๆ ไม่มาจากชื่อ ก็มาจากราชทินนามว่า (เจ้าพระยา) "ยมราช"

ยมจินดา น่าจะมาจากชื่อทวด (ยม) + ชื่อปู่ (ทองจีน)  

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: ichibang ที่ 29 ม.ค. 13, 21:06
ขอบคุณครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: Tarte Tatin ที่ 29 ก.ค. 13, 23:26
สวัสดีค่ะ

ดิฉันมาพบกับเว็บไซต์และกระทู้นี้โดยบังเอิญ ดีใจจริงที่ได้ทราบชื่อบรรพบุรุษเพิ่มอีกหนึ่งท่านคือชื่อคุณปู่ของพระยามนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว ลางคุลเสน) ซึ่งเป็นคุณตาของคุณย่าดิฉันเองค่ะ ต้องขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะสำหรับข้อมูลดังกล่าว

คุณทวดจิ๋วท่านไม่ได้มีเชื้อสายจีนค่ะ แต่มีเชื้อสายมอญ บ้านเดิมอยู่สามโคก ปทุมธานี เรียนหนังสือที่วัดสำแล (ตามที่คุณย่าของดิฉันซึ่งปัจจุบันอายุย่าง ๙๙ ปีแล้วได้เล่าให้ฟัง คุณย่ายังความจำดีมาก) ส่วนนามสกุลลางคุลเสนเป็นนามสกุลพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เนื่องจากครั้งที่คุณทวดดำรงตำแหน่งเลขาทูต ณ สถานทูตไทยในกรุงปารีสนั้นได้เคยรับหน้าที่ดูแลพระองค์ท่านและล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ขณะเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งภรรยาและธิดาของท่าน (คุณยายและคุณแม่ของคุณย่าดิฉัน) ยังเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอีกด้วย ครอบครัวเราจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมากทั้งจากสมเด็จฯ และจากพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

คุณทวดประจำอยู่ที่สถานทูตไทยในกรุงปารีสยาวนานถึง ๑๔ ปี เมื่อแรกไปท่านเป็นพระมนตรีนิกรโกษา แต่เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านเป็นพระยามนตรีนิกรโกษาแล้วค่ะ

ยินดีที่ได้มีส่วนคืนชีวิตให้กระทู้ที่น่าสนใจนี้และหวังว่าจะยังมีผู้มาให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับความรู้ดีๆ เพิ่มเติมอีกนะคะ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 13, 08:28
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: Tarte Tatin ที่ 30 ก.ค. 13, 10:07
ด้วยความยินดีค่ะคุณเทาชมพู :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 03 ส.ค. 13, 19:26
สวัสดีครับ ผมขอรบกวนท่านผู้รู้ช่วย แปลนามสกุลของผม
ซึ่งคุณพ่อได้รับพระราชทานจาก รัชกาลที่ 6 นามสกุลว่า
" สุสายัณห์ " ครับ... ผมแปลตรง ๆ เหมือนกับหมายความว่า
สุ =  ดี, งาม
สายัณห์ = ช่วงเวลาใกล้ค่ำ (โพล้เพล้)
รวมเข้าด้วยกันแล้ว จะแปลให้มีความหมายไม่ค่อยสละสลวย

เช่น ดีตอนโพล้เพล้, ดีงามใกล้ค่ำ,  ... เลยขอรบกวนท่านช่วย
พิจารณาความหมายที่ดูน่าจะเป็นไปได้กว่านี้เพิ่มด้วยนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 13, 19:49
คนที่จะตอบได้ชัดเจนที่สุดคือคุณ V_Mee ค่ะ รอท่านนะคะ

ไปค้นมาให้ ได้ความว่า
นามสกุลที่ ๕๘๗๕      สุสายัณห์ Susa^yanha    พระราชทานให้พลเสือป่าเย็น กองพันเสือป่าเดินข่าวหลวงรักษาพระองค์ ปู่ชื่ออ่อง

สายัณห์ เป็นความหมายของชื่อ "เย็น"


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 ส.ค. 13, 06:39
นามสกุล สุสายัณห์ ที่คุณ MANANYA ถามความหมายมานั้น 
ดังที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาให้คำตอบไว้แล้วว่า สายัณห์ เป็นความหมายของชื่อ "เย็น"
ส่วนคำว่า สุ นั้น พจานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๔๙๓ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ดี, งาม, ง่าย  สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์"
และคำว่า อ่อง ซึ่งเป็นนามของปู่ของพลเสือป่าเย็น กองพันเสือป่าเดินข่าวหลวงรักษาพระองค์นั้น แปลว่า ผุดผาด, เปล่งปลั่ง  ซึ่งก็ตรงกับคำว่า สุ
รวมความแล้วนามสกุลสุสายัณห์นั้น จึงมีที่มาจากนาม อ่อง + เย็น ของผู้เป็นต้สกุลนี้ 


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 ส.ค. 13, 08:54
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชทานนามสกุลนี้ไว้อย่างมีความหมายและความเป็นมงคลแก่ผู้สืบตระกูลยิ่งแล้ว


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 04 ส.ค. 13, 13:29
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชทานนามสกุลนี้ไว้อย่างมีความหมายและความเป็นมงคลแก่ผู้สืบตระกูลยิ่งแล้ว

เห็นด้วยครับ ว่าพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการตั้งชื่อจริงๆ

แต่คุณ V_Mee ก็สุดยอดที่สามารถตีความได้ครับ  :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 04 ส.ค. 13, 14:56
ผมขอบพระคุณท่าน เทาชมพู ท่าน V_Mee  และเพื่อนสมาชิกมากเลยครับ
ผมได้รับทราบความหมายที่แท้จรีิงแล้ว .. ทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นเต็มที่
สมัยน้นคุณพ่อผมท่าน เป็นพลเสือป่า ในรัชกาลที่ 6 ครับ ..
ขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ .. :D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: unmaan ที่ 14 ก.ย. 13, 05:53
๑๒๑๘    ภวภูตานนท์     Bhavabhutananda    
พระราชทานให้ พระเจริญราชเดช (อุ่น)  กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม  มณฑลร้อยเอ็จ
สืบเชื้อสาย ทวดชื่อราชวงษ์ (หล้า)  ปู่ชื่ออุปฮาด (ภู)    พระราชทาน 30/3/13 (ครั้งที่ ๑๕)    

โปรดเกล้าฯ ให้เติม "ณ มหาสารคาม" กับ "na Mahasaragama"  เมื่อ  ๑๘  เมษายน  ๒๔๖๒

ภวภูตานนท์ มีความหมาย ว่าอะไรเหรอค่ะ
อันนี้เป็นนามสกุลของย่า ค่ะ (คุณย่าเสียแล้ว ไม่รู้จะถามใครดีเหมือนกันค่ะ)
พยายามหาข้อมูลแล้ว ก็ไม่มี รู้แต่ว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน
รบกวนด้วยนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ  :)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 14 ก.ย. 13, 07:34
นามสกุล ภวภูตานนท์ นี้แยกได้เป็น "ภว" แปลว่า ความเกิด  ความมี  ความเป็น  "ภูตา" มาจากชื่อ อุปฮาด (ภู) ผู้เป็นต้สกุล  คำว่า "นนท์" หมายว่ามีชื่อ
รวมแล้วน่าจะถอดความได้ว่า ผู้เป็นต้นสกุลนี้มีชื่อว่าภู  และเมื่อเติม ณ มหาสารคามลงไป  ก็จะได้ความว่า ต้นสกุลนี้มีชื่อชื่อว่า ภู เป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 13, 18:02
คำว่า "นนท์" หมายว่ามีชื่อ

นนท์ในที่นี้แปลว่า "ลูกชาย" ดังคำอธิบายข้างล่าง

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

และคุณเพ็ญฯ กรุณาตอบมาดังนี้


นนท์ नन्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=nanda&trans=Translate&direction=AU)

ถูกต้องครับ   คำว่า  นนท์ ก็ดี  คำว่า นันทน์ ก็ดี
ที่ประกอบอยู่ท้ายนามสกุลพระราชทานรัชกาลที่ ๖
มีความหมายว่า  ลูกชาย  ครับ  ไม่ได้มีความหมายว่า
ความรื่นเริงบันเทิง ความสนุกสนาน ความยินดีปรีดา
ตามที่เข้าใจกันและมีบางท่านตอบมา

จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า

คำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
ไม่ใช่คำว่า  อานนท์ และ อานันทน์ มาสมาสสนธิ  ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิด
และคำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลนี้
เป็นคำภาษาสันสกฤต ไม่ใช่คำภาษาบาลี
เพราะในภาษาบาลี คำว่า นนท์ และ นันทน์ ไม่มีความหมายว่า ลูกชาย

อย่างไรก็ดี  คำว่า นนฺท  ที่แปลว่า ลูกชาย ในภาษาสันสกฤต
ดูจะมีที่ใช้น้อยนัก  จึงไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ใช้ในวรรณคดีสันสกฤต
ผิดกับ นนฺทน ดูจะมีตัวอย่างการใช้ในวรรคดีมากแห่งกว่า
(มีในมหาภารตะ และงานของยัชญวัลกยะ อยากรู้ว่าอยู่ตรงไหน
เชิญค้นคว้าได้ด้วยตนเองครับ)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: sathanupan ที่ 21 มิ.ย. 17, 13:26
ขอทราบความหมายของนามสกุล "สถาณุวัต" ครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 17, 11:15
สถาณุวัต Stha^nuvat  เป็นนามสกุลพระราชทาน ให้แก่ พระประสิทธิ์วรรณลักษณ์ (นาค) ปลัดกรมกองบัญชาการ กรมราชเลขานุการ พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม (ยัง) เป็นบิดา

มีคำว่าสถา  ซึ่งในพจนานุกรมของราชบัณฑิตสถานไม่ได้ให้ความหมายไว้ แต่สถาปนิกเชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานคำแปล architecture ว่าสถาปัตยกรรมนั้น คำว่าสถา มีความหมายเดียวกับเสถียร ซึ่งแปลว่าความมั่นคงยั่งยืน
ส่วนคำว่าณุวัตที่มาต่อท้าย น่าจะเป็นคำสนธิของสถา+อนุวัต (สะกดอย่างเมื่อก่อนใช้ ณ (?)) อนุวัตนั้นราชบัณฑิตให้ความหมายว่า ทำตาม ประพฤติตาม ปฏิบัติตาม
สถาณุวัต จึงน่าจะมีความหมายประมาณว่า ตระกูลที่สืบต่อกันมาอย่างยั่งยืน

ป.ล. ผมไม่ได้ชำนาญทางอักษรศาสตร์นะครับ แต่ถ้าผิดความหมายไปจริงๆ เดี๋ยวผู้รู้จริงท่านทนไม่ได้คงเข้ามาแก้ไขให้คุณเอง
เรื่องอย่างนี้ผมไม่กลัวผิดเท่าไหร่ เพราะราชบัณทิตเองก็ยังผิดได้ ค้นหาคราวผมนี้ไปเจอเข้า ท่านให้ความหมายคำว่า สถาปัตยเรขา ว่า แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง. ซึ่งผิด สถาปัตยเรขา มาจากภาษาของเจ้าของวิชาว่า Descriptive Architecture Drawing คือวิชาว่าด้วยการเขียนแบบด้วยมือให้สวย เหมือนการเขียนหนังสือแบบคัดลายมือกันเลยทีเดียว วิชานี้สมัยผมต้องเรียนเมื่อแรกเข้าปี ๑ แต่ยุคนี้ใช้คอมพิวเตอร์ เขาคงเลิกเรียนไปแล้ว

ส่วนที่เรียกว่า แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง ที่ราชบัณฑิตกล่าวถึงนั้น สถาปนิกนำมาใช้จากคำว่า Preliminary Design ครับ
จากแบบร่าง ร่างแล้วร่างอีกจนลงตัว จึงนำไปเขียนแบบก่อสร้าง ( Working Drawing) ได้ แล้วแบบก่อสร้างที่ว่า ใครจะใช้ความเก่งทางสถาปัตยเรขาเขียนก็ได้ แต่เสียเวลามาก ส่วนใหญ่ตรงไหนทุ่นแรงได้ก็ทำวิธีนั้น


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 17, 13:11
เดาผิดว่าคุณเพ็ญชมพูคงจะเข้ามาตอบ   ปรากฏว่ากลายเป็นท่านออกญาศรีนวรัตน์   ก็เลยเข้ามาทักว่าหายหน้าหายตาไปนานนะคะ

นามสกุลนี้ ไม่แน่ใจว่าแยกศัพท์ออกมาอย่างไร  สถา+อณุวัต   สถาณ + อุวัต  ???
ถ้าเป็น สถานานุวัต  ละก็แปลออก ว่า สถาน+อนุวัต
รอยอินอธิบายว่า  อนุวัต   ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์     อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
ทีนี้ สะกด ณ แทน น   เลยงง
น่ากลัวจะเดือดร้อนถึงท่านอาจารย์ทองย้อยอีกแล้ว

รู้แต่ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ามักทรงนำชื่อตัวของบรรพบุรุษของผู้ขอ มาบวชเป็นบาลีสันสกฤต ให้ฟังเพราะพริ้งก่อนจะทรงตั้งเป็นนามสกุล   เช่นบรรพบุรุษชื่อเดิมว่าทอง   นามสกุลก็จะออกมาเป็น สุวรรณ... หรือ กาญจน...
พระยาวิชิตชลธี ท่านมีชื่อตัวว่า "ยัง" ดังนั้น สถาณุวัต ก็น่าจะมีคำแปลที่เกี่ยวอะไรกับ ยัง หรือยั่งยืน หรือ ยังอยู่  อะไรพวกนี้

สรุปว่ายังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ค่ะ    อย่าถือเป็นคำตอบเลยนะคะ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 17, 13:36
ยัง คือเสถียร หรือ สถา
(เข้าข้างตัวเองว่า)ยิ่งเข้าเค้าเข้าไปใหญ่

คือทรงได้สถามาเป็นตัวนำสำหรับนามสกุลนี้ แล้วทรงหาคำว่าอนุวัต(อณุวัต)มาเสริมให้มีความหมายดียิ่งขึ้น

ป.ล.ลืมตอบคำถาม คือผมยุ่งมากกับการเตรียมต้นฉบับหนังสือเล่มใหม่อยู่ครับ เพิ่งจะขยับตัวทำเรื่องอื่นได้ในระยะนี้


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มิ.ย. 17, 13:55
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ามักทรงนำชื่อตัวของบรรพบุรุษของผู้ขอ มาบวชเป็นบาลีสันสกฤต ให้ฟังเพราะพริ้งก่อนจะทรงตั้งเป็นนามสกุล

คำสำคัญของนามสกุล สถาณุวัต คือ สถา ซึ่งได้มาจากชื่อของ พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม (ยัง) เช่นเดียวกับนามสกุลซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า สถา ต่อไปนี้

สถานานนท์ พลเสือป่าแผ้ว ประจำหมู่ ๒ หมวด ๑ กองร้อยที่ ๖ กองเสนารักษาดินแดนตวันตก กับนายเหว่า (บิดา) ทวดชื่อตั้ง

สถานุทัต พลเสือป่าตึก กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ และประจำกรมมหรศพ บิดาชื่ออยู่

สถาวรวณิช นักเรียนนายเรือภูหิน ปู่ชื่อมั่นเป็นพ่อค้า

สถาวระ นายร้อยตำรวจตรีสมาน แพทย์ประจำมณฑลพายัพ กับนายแอ๋น (บิดา) ปู่ชื่อคง

สถา จึงหมายถึง ยัง, ตั้ง, อยู่, มั่น, คง  ;D

ความหมายของคำว่า "สถา" จาก พจนานุกรมสันสกฤต - อังกฤษ (http://spokensanskrit.de/index.php?beginning=0+&tinput=+Stha&trans=Translate)


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มิ.ย. 17, 09:51
ถ้าจะเอาความหมายของนามสกุลนี้ ก็ต้องลองแยกศัพท์แต่ละตัวดู

สถาณุวัต = สถา + อณุ + วัต

คำว่า สถาได้กล่าวไว้แล้วในความคิดเห็นข้างบน อณุ เป็นคำเดียวกับ อณู ท่านรอยอินให้ความหมาย ๓ ประการ คือ มาตราวัดโบราณ, เล็ก หรือ น้อย, ละเอียด ส่วน วัต แปลว่า ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ

สถาณุวัต = ตั้งอยู่ในการทำงานที่ละเอียดรอบคอบ น่าจะพอใช้ได้ ;D


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: sathanupan ที่ 23 มิ.ย. 17, 10:10
ผมต้องขอขอบพระคุณทุกท่านมากครับ  ที่ได้โปรดเข้ามาให้ความเข้าใจในความหมาย  และเป็นความรู้ แก่ผูู้ที่สนใจ   

        องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถในด้านภาษาสูงยิ่ง


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 23 มิ.ย. 17, 12:47
ผมต้องขอขอบพระคุณทุกท่านมากครับ  ที่ได้โปรดเข้ามาให้ความเข้าใจในความหมาย  และเป็นความรู้ แก่ผูู้ที่สนใจ   

        องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถในด้านภาษาสูงยิ่ง

เห็นด้วยค่ะ ดิฉันทึ่งในความสามารถทางด้านนี้ของท่านมาโดยตลอด ท่านไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่เล็กๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษนานนับสิบปี แต่ภาษาไทยของท่านดีมากขนาดแต่งร้อยกรองได้เป็นเรื่องๆแถมไพเราะเพราะพริ้ง เลยให้นึกสงสัยว่าเด็กไทยสมัยนี้ที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ในเมืองไทยแท้ๆ แค่ใช้ภาษาอังกฤษวันละไม่กี่ชั่วโมง ทำไมภาษาไทยของพวกเขาถึงได้แย่ขนาดนั้น


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: norththanairach ที่ 07 ก.ค. 17, 00:13
จากกระทู้นี้ครับ http://www.reurnthai.com/index.php?PHPSESSID=afe960ea0f8b3dafe1e465f58633b46d&topic=5273.0
อยากทราบว่า นามสกุล "ชัยมงคล" ท่านได้พระราชทานให้ใคร มีความหมายว่าอย่างไรครับ
เพราะเป็นนามสกุลของผมเอง
ขอบคุณครับ


กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 17, 06:19
คุณ norththanairach น่าจะเป็นคนเหนือ มีข้อมูลว่า นามสกุล "ชัยมงคล" ต้นตระกูลเป็นขุนนางที่เมืองลอง จังหวัดแพร่
 
เมืองลองมีการรักษาสถานภาพของกลุ่มผู้ปกครองโดยการสมรส ได้แก่

(๑) บุตรหลานเจ้าเมืองกับเจ้านายพลัดถิ่น เช่น แม่นายอุสาห์ ธิดาแม่นายกาบแก้ว เชื้อสายเจ้าเมืองลอง สมรสกับแสนไชยะปราบเมือง (เจ้าน้อยไชยสาร) บุตรเจ้าน้อยแสนเมืองฮอมกับแม่เจ้าสาปันดี เจ้านายเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนไว้เมืองลอง หรือเจ้าหนานคันธิยะ (บ้านดอนทราย) บุตรพญาไชยชนะชุมพู เจ้าเมืองลอง สมรสกับแม่เจ้าบุญมา (บ้านแม่ลานเหนือ) เชื้อสายเจ้านายเชียงแสน เป็นต้น

(๒) บุตรหลานเจ้าเมืองกับตระกูลขุนนาง เช่น แม่เจ้าแก้วกัญญา ธิดาพญาไชยชนะชุมพู สมรสกับแสนราชสมภาร บ้านดอนทราย (ต้นตระกูล “สมภาร”) หรือ แม่บัวทิพย์ ธิดาพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ สมรสกับหนานคำน้อย หลานหมื่นอาสา (ต้นตระกูล “หมื่นอาษา”) เป็นต้น

(๓) สมรสระหว่างตระกูลขุนนางด้วยกัน เช่น ตระกูลแสนไชยมงคล (ต้นตระกูล “ชัยมงคล”) กับตระกูลแสนมังคละ (ต้นตระกูล “ไชยแก้ว”) และตระกูลแสนไชยชนะ (ต้นตระกูล “ไชยชนะ”) กับตระกูลแสนมังคละ เป็นต้น

จาก ประวัติเมืองลอง (http://www.wungfon.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1292:2012-09-11-13-07-44&catid=181:2011-07-05-02-34-09&Itemid=216)



กระทู้: ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ส.ค. 21, 16:36
คำถามจากหลังไมค์

ผมอยากรู้ว่านามสกุล "กฤษณะพันธ์ุ" มีความเป็นมาอย่างไร เพราะว่าผมรู้แค่ว่าเป็นนามสกุลพระร่ชทานเท่านั้น

นามสกุล "กฤษณะพันธุ์" รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่ รองอำมาตย์ตรี หลวงชาญธนากร (จ่ำ) ศุภมาตรา (เทียบกับปัจจุบันคือ ผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด) จังหวัดนครศรีธรรมราช กับ บิดาคือ นายเผือก ปู่ของหลวงชาญธนากรคือ ขุนพิทักษ์สงคราม (ฉิม) ปู่ทวดคือ ขุนจำนงโยธี (ดำ)

กฤษณะ = ดำ, พันธุ์ = เชื้อสาย กฤษณะพันธุ์จึงมีที่มาจากชื่อของปู่ทวดของหลวงชาญธนากร คือ ดำ นั่นเอง

จาก ราชกิจจานุเบกษา (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2465/D/131_1.PDF)