เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 15:54



กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 15:54
จากจุดเริ่มต้น สู่เส้นทางชีวิตที่พลิกผันชะตาชีวิตและอื่นๆ ไม่รู้จบ
ิใครเป็นใคร เชิญร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันครับ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 15:56
รูปมันใหญ่ไปหน่อย แต่เหมาะกับวัยของพวกเราหลายคน

หลวงสารสินสวามิภักดิ์
ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูลสารสิน บิดาคุณพจน์ สารสิน


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 15:57
คนนี้ใคร ทายซิ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 15:58
สองพี่น้อง กับเรื่องราวที่ไม่รู้จบ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 19 ส.ค. 14, 16:02
กลุ่มนี้กำลังเขียนเส้นทางชีวิตที่ต่างแดน


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ส.ค. 14, 16:20
ตอบค.ห. 2 และ 3
สองพี่น้องแห่งสกุล "ศรีจันทร์" กบฏร.ศ. 130


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 ส.ค. 14, 17:47
นายพันโท พระดำรงแพทยาคุณ = นายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด  วีระไวทยะ)

นักเรียนนายร้อย นายพจน์ = พลเอก พระยาพหลพลพยุหดสนา (พจน์  พหลโยธิน)
นักเรียนนายร้อย นายเทพ = พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 20 ส.ค. 14, 07:54
กลุ่มนี้กำลังเขียนเส้นทางชีวิตที่ต่างแดน

๕. นักเรียนนายร้อย หม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ เทวกุล

พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ทรงเป็นโอรสในสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยโกรลิชเตเฟลเดอ ประเทศเยอรมัน ต่อจากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนรบ Kriegschule ที่เมืองเมทซ์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456

ทรงรับราชการที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2460 ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงเป็นกรรมการร่างแบบฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2461 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถโปรดให้ไปประทับด้วย ณ วังปารุสกวัน จนกระทั่งทิวงคตเมื่อ พ.ศ. 2463

หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารบก ณ กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ทรงเป็นผู้บังคับการกองโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม พ.ศ. 2471 ทรงเป็นปลัดเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2473 ย้ายสังกัดจากกระทรวงกลาโหมไปประจำการในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มของประเทศไทยประจำประเทศเยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน และ นอร์เวย์

ปี 2479 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ที่มา - วิกิพีเดีย


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:16
ขอบพระคุณคุณ V มากครับ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ผมไปสับสนกับท่านอื่น ขอบพระคุณนะครับ

ไม่ทราบว่าลุงไก่พอมีภาพของท่านอื่นอีกไหมครับ?


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:20
ตอนนี้ผมแค่กำลังสงสัยว่าการประกาศทำเนียบข้าราชการทหาร ในปีร.ศ. ๑๒๘ มีอะไรเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อๆ มาอีกหรือไม่
เพราะว่าน่าจะเป็นยุคต้นๆ ของกองทัพไทยยุคใหม่ ประกอบกับการจัดตั้งโรงเรียนทหารต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ส่งผลให้อำนาจถ่ายโอนกระจายไปสู่หลายๆ คน และบางส่วนถ่ายโอนไปสู่ข้าราชการทหาร ซึ่งส่วนหนึ่งก้าวขึ้นมาจากสามัญชนด้วย
นวัตกรรมอาวุธทางทหารสมัยนั้น แตกต่างจากสมัยก่อนหน้าค่อนข้างมาก
บางทีอาวุธ อำนาจ ความไม่สบอารมณ์ อาจจะช่วยสร้างจินตนาการให้ไปไกลกว่าที่หลายๆ คนคิด

ผมไม่ทราบว่ามีประกาศทำเนียบราชการร.ศ. ๑๒๗ หรือไม่ ถ้ามี และนำมาเทียบกันจะเห็นอะไรได้ชัดเจนขึ้น

ลองแชร์กันดูนะครับ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:47
นักเรียนนายร้อย นายพจน์ = พลเอก พระยาพหลพลพยุหดสนา (พจน์  พหลโยธิน)
นักเรียนนายร้อย นายเทพ = พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)
 
สองท่านนี้ไปศึกษาวิชาการทหารที่เยอรมันนี ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ มีเส้นทางชีวิตที่รุ่งโรจน์ แต่ว่าเหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น

ดังความต่อไปนี้

นายร้อยตรีพจน์จบการศึกษาที่โรงเรียนรบเยอรมัน เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๕๕ แล้วเข้ารับราชการอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน
จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ก็ได้รับคำสั่งจากเสนาบดีกระทรวงกลาโหมแห่งสยาม (จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ให้ลาออกจาก
กองทัพบกเยอรมัน เพื่อให้ไปศึกษาวิชาช่างแสงในประเทศเดนมาร์คต่อไป โดยก่อนที่จะไปเดนมาร์ก นายร้อยตรีพจน์ ได้เรียนภาษาเดนมาร์กที่เบอร์ลิน
อยุู่ประมาณ ๑ ปี

นายร้อยตรีพจน์เรียนที่โรงเรียนเฟร์ดริก สะแบร์กละล๊อต เป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ก็ใกล้จะถึงเวลาสอบเข้าเรียนในโรงเรียนเทคนิคขั้นสูงอยู่แล้ว
ก็พอดีได้รับคำสั่งจากเสนาธิการทหารบก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ) ให้กลับกรุงสยาม

เหตุที่ถูกเรียกกลับกลางคันเช่นััน ก็เนื่องจากเมื่อครั้งเรียนอยู่ในเยอรมันนี นักเรียนได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลสยามพอใช้ไม่เดือดร้อน แต่ครั้งส่งไป
เรียนที่เดนมาร์ก ทางรัฐบาลกลับลดเงินเดือนไปมากกว่าครึ่งของจำนวนที่เคยได้รับตอนอยู่ที่เยอรมันนี เมือเกิดความเดือดร้อนจึงได้ทำหนังสือขอเงิน
มาทางกระทรวงกลาโหม ซึ่งในเวลานั้นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชยังเป็นเสนาบดีอยู่ และทรงเห็นพ้องทุกประการ ได้ทรงตั้งพระทัยว่าจะเพ่ิมให้ตามคำขอนั้น
แต่ยังไม่ทันได้จัดการ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๖

เงินที่ทำท่าว่าจะได้เพิ่ม ก็เงียบหายไป

ร้อยตรีพจน์กับเพื่อนนักเรียนรอไม่ไหว จึงพร้อมใจกันทำหนังสือร้องทุกข์เตือนซ้ำเข้ามาที่กระทรวงกลาโหมอีก

คราวนี้ได้ผล

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงกริ้ว ถึงกับออกคำสั่งเรียนกนักเรียนไทยเดนมาร์กทั้งหมดกลับกรุงสยาม
แล้วทรงส่งนักเรียนชุดใหม่ออกไปเรียนแทน
เหตุที่เป็นเช่นนั้น มีรับสั่งว่า

"นักเรียนพวกเก่าถึอว่าเป็นนายทหารเยอรมันมาแล้ว จึงทำหัวแข็งกันนัก"

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงดำรงตำแหน่งในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้ทรงโปรดให้เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ
 ทรงบัญชาการกรมทหารมหาดเล็กคบคู่ไปกับตำแหน่งเสนาธิการทหารบกไปด้วย

เมื่อนายร้อยตรีพจน์กลับมาถึงกรุงสยามนั้น เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้เปลียนเป็นจอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) แล้ว
แต่ว่าอำนาจในการบรรจุเข้ารับราชการยังคงอยู่ในความเห็นชอบของเสนาธิการทหารบก คือเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถอยู่ ซึ่งปรากฏว่าร้อยตรีพจน์ถูกส่งออกไป
ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี นับเป็นนักเรียนที่รัฐบาลส่งไปศึกษาวิชาทหาร ณ ต่างประเทศคนแรก ที่เรียนจบแล่วถูกส่งออกไปประจำการต่างจังหวัด
เพราะตามธรรมดานักเรียนที่เรียนจบต่างประเทศ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ก็จะได้เข้าประจำการที่ในกรมเสนาธิการทหารบกบ้าง ประจำกรมจเรต่างๆ บ้าง
หรือไม่ก็ประจำการที่กรมทหารซึ่งตังในกรุงเทพฯ

ฉะนั้นการที่ร้อยตรีพจน์ถูกส่งไปประจำการต่างจังหวัดจึงออกจะแตกต่างกว่าคนอื่นๆ แต่ถึงกระนั้้นร้อยตรีพจน์ก็มิได้แสดงอาการไม่พอใจแต่อย่างใด

นายร้อยตรีพจน์ เริ่มรับราชการทหารในกรุงสยามครั้งแรก ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
เงินเดือนอัตราร้อยโท ชั้น ๓ บวกกับเงินเพิ่มพิเศษ (ค่าวิชาที่ศึกษามาจากต่างประเทศ) อีก ๑๐๐ บาท รวมเป็นเดือนละ ๑๙๕ บาท




 
  
 


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:55
รุ่นที่ไปเรียนเยอรมันพร้อมกัน ยังมีอีกท่านหนึ่งครับ
นักเรียนนายร้อย ดิ่น


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:57
ในหนังสือทำเนียบฯ ยังปรากฎชื่อเขาเหล่านี้ บนเส้นทางเริ่มต้นชีวิต ก่อนไปสู่การเปลียนแปลงต่างๆ ที่ตามมาภายหลัง



กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 12:58
ส่วนคนนี้ ไปเริ่มไกลปืนเทียงหน่อย


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 13:04
กล่าวโดยสรุป
ในปีร.ศ. ๑๒๘
นักเรียนนายร้อยพจน์และนักเรียนนายร้อยเทพ ไปเรียนทหารที่เยอรมันนี

ส่วนที่มณฑลทหารบกที่ ๔ ราชบุรี เป็นจุดเริ่มต้นของตัวละครหลายท่าน
ซึ่งผู้บัญชาการในขณะนั้นคือนายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ พหลโยธิน) พี่ชายคนโตของนักเรียนนายร้อยพจน์
และนายร้อยตรีผิน ก็เริ่มเส้นทางชีวิตนายร้อยตรีทหารที่นี่เช่นกัน

พร้อมกันนั้นก็มีนายร้อยตรีเหล็ง มาอยู่ที่ราชบุรีเช่นกัน

ส่วนนายร้อยตรีแปลก ไปเริ่มต้นชีวิตที่พิศณุโลกและแต่งงานที่นั่น


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 20 ส.ค. 14, 13:10
ตกนักเรียนนายร้อยดิ่นไปอีกหนึ่งคน

ในทำเนียบเล่มนี้ยังไม่มีเวลาอ่านมากนัก ไว้ว่างๆ กว่านี้จะเเกะรอยเพิ่มเติมครับ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 ส.ค. 14, 19:50
นักเรียนแพทย์ นายชื่น คือ นายพลตรี พระยาดำรงแพทยคุณ (ชื่น  พุทธิแพทย์)

ส่วน นายพลตรี พระยาพหลพลพยุกเสนา ผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี นั้น น่าจะเมีนามเดิมว่า (กิ่ม  พหลโยธิน) ซคางต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑ,นครราชสีมา  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากำแหงสงคราม

กล่าวสำหรับกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี  ในโครงสร้างกองทัพบก ร.ศ. ๑๒๗  จัดเป็นหน่วยขึ้นตรงเสนาธิการทหารบก  เป็นหน่วยทหารระดับกองพลที่ได้ชื่อว่าเป็นหน่วยรบที่ทันสมัยที่สุดมีกำลังและยุทโธปกรณ์พร้อมที่สึดของกองทัพในเวลานั้น  ส่วนกองพลที่ ๑ - ๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๑  กองพลที่ ๕ ๙ ๑๐ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๓  และกองพลที่ ๖ ๗ ๘ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๒  ซึ่งแม่ทัพน้อยที่ ๑ ๒ และ ๓ ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบกอีกชั้นหนึ่ง

โครงสร้างกระทรวงกระลาโหม (สะกดแบบเดิม) ร.ศ. ๑๒๗ นั้น  เสนาบดีกระลาโหมรับผิดชอบงานธุรการ  ส่วนงานธุรการและกำลังพลอยู่ในความรับผิดชอบของเสนาธิการทหารบก (มีเกียรติยเสมอเสนาบดี) ที่ขึ้นตรงต่อเสนาบดี  แต่ถ้าเสนาธิการทหารบกมีความเห็นต่างจากเสนาบดีกระลาโหม  เสนาธิการทหารบกสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นแย้งได้โดยตรง

โครงสร้างกระทรวงกระลาโหมต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปรับใช้กับกระทรวงยุติธรรม  โดยเสนาบดียุติธรรมรับผิดชอบงานธุรการ  อธิบดีศาลฎีกาเป็นประมุขตุลาการรับผิดชอบด้านการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและการปกครองตุลาการเสมือนเสนาธิการทหารบกปกครองบังคับบัญชากำลังทหารทั้ง ๑๐ กองพล

กรมจเรต่างๆ  ทั้งจเรทหารราบ  จเรทหารม้า  จเรทหารปืนใหญ่ ฯลฯ นั้นเป็นกรมฝ่ายวิชาการ  เทียบได้กับศูฯย์การทหารเหล่าต่างๆ เช่น ศูนย์การทหารราบ  ศูนย์การทหารปืนใหญ่  ศูนย์การทหารช่าง ฯลฯ ในปัจจุบัน

ทำเนียบข้าราชการกระทรวงกระลาโหมนั้นมีประกาศมาเป็นลำดับ  ก่อนหน้านั้นเรียกว่าทำเนียบข้าราชการกรมยุทธนาธิการ  ส่วนที่มีประกาศใน ร.ศ. ๑๒๘  คงจะเนื่องมาจากใน ร.ศ. ๑๒๗ มีการจัดระเบียบกองทัพเป็นกองพลแบบตะวันตกรวม ๑๐ กองพล  กระจายกำลังไปทั่วประเทศ คือ
กองพลที่ ๑  มณฑลกรุงเทพ
กองพลที่ ๒  มณฑลนครไชยศรี
กองพลที่ ๓  มณฑลกรุงเก่า
กองพลที่ ๔  มณฑลราชบุรี
กองพลที่ ๕  มณฑลนครราชสีมา
กองพลที่ ๖   มณฑลนครสวรรค์
กองพลที่ ๗  มณฑลพืษณุโลก
กองพลที่ ๘  มณฑลพายัพ
กองพลที่ ๙  มณฑลปราจิณ
กองพลที่ ๑๐  มณฑลอุบลและอุดร

อัตรากำลังและยุทโธปกรณ์นั้น  มีหลักฐานเป็นกระแสพระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๖ ที่ทรงกล่าวถึงสิ่งที่ได้ทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จไปประทับแรมในสนามฝึกซ้อมรบของทหารบกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ว่า  ในเวลาซ้อมรบนั้นนายทหารมีไม่พอ  ต้องเอาจ่านายสิบมาทำหน้าที่ผู้บังคับกองร้อย  เอานายสิบมาทำหน้าที่แทนผู้บังคับหมวด  และเอาพลทหารมาทำหน้าที่แทนผู้บังคับหมู่  ในขณะที่อาวุธก็มีไม่ครบทุกตัวคน  และเมื่อมีพระราชกระแสทรงถามไปยังเสนาธิการทหารบกว่า หากอังกฤษส่งทหารขึ้นมาปิดคอคอดกระ  กองทัพบกสยามจะสามารถต้านทานได้เพียงไร  จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ได้กราบบังคมทูลตอบว่า สามารถต้านทางได้เพียง ๓ วันเท่านั้น 


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 21 ส.ค. 14, 00:34
ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ V Mee
ตอนแรกผมก็เข้าใจว่าเป็นกิ่ม พหลโยธินที่เป็นพ่อซะอีก
แต่ในหนังสือทำเนียบข้าราชการทหารเล่มนี้ ร.ศ.๑๒๘ ระบุชัดเจนเลยว่า
นายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมชื่อ นพ
พอไปสืบค้นประวัติในรายละเอียด จึงได้ทราบว่า นพ เป็นพี่ชายคนโต
ส่วนพจน์ พหลโยธินเป็นบุตรคนที่ ๕
ทั้งคู่เป็นบุตร เจ้าคุณกิ่ม และ คุณหญิงจับ แต่ว่านพ ห่างจากพจน์หลายปี
ที่แปลกใจก็คือ พ่อ ลูก ทั้งสามคน ได้รับพระราชทานราชทินนามพระยาพหลพลพยุหเสนา  เหมือนกันทั้งสามคน

เกร็ดเล็กน้อยเพิ่มเติม เมื่อเด็กชายพจน์อายุย่างเข้า ๑๑ ปี เจ้าคุณกิ่ม ได้กำหนดโกนจุกให้ ถึงกับเตรียมงานไว้แล้ว
แต่เผอิญท่านบิดาถึงแก่อนิจกรรมด้วยอุจจาระธาตุพิการ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ จึงต้องยกเลิกงานโกนจุก
และเมื่อปลงศพบิดาแล้ว พี่ชายคนโต คือพันตรีหลวงศิลปสารสราวุธ (นพ พหลโยธิน) ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๔
ก็ได้จัดงานโกนจุกให้กับน้องๆ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 21 ส.ค. 14, 00:45
ตารางนี้แนบอยู่ด้านท้ายของหนังสือเล่มเดียวกันครับ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ส.ค. 14, 06:39
ขอบพระคุณ คุณเชยประดับที่กรุณาชี้แจงเรื่องพระยาพหลฯ (นพ) ให้ทราบ

เรื่องการที่บุคคลในตระกูลนี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนาถึง ๓ คนนั้น  ดูเป็นเรื่องปกติสำหรับการพระราชทานราชทินนามในยุคสมัย  เพราะนอกจากราชทินนามดังกล่าวแล้วยังพบว่ามีอีกหลายราชทินนามที่พระราชทานเฉพาะในบางสายสกุล เช่น นายราชาณัตยานุหาร  ก็พระราชทานเฉพาะในสายสกุลบุนนาค  หรือราชทินนาม "วิชิตวงศ์วุฒิไกร" ก็เป็นราชทินนามสำหรับราชสกุล สุทัศน์ เป็นต้น


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 21 ส.ค. 14, 14:25
ตกนักเรียนนายร้อยดิ่นไปอีกหนึ่งคน

ในทำเนียบเล่มนี้ยังไม่มีเวลาอ่านมากนัก ไว้ว่างๆ กว่านี้จะเเกะรอยเพิ่มเติมครับ

ไม่ได้ตกนะครับ อยู่ลำดับที่ ๑๖ ครับ หน้า ๑๙๐ ครับ

เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 14, 12:03
เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ

คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1_(%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A)) เขาว่าไว้ดังนี้

พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ ๑ จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช โดยทั้ง ๓ สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "๓ ทหารเสือ" เช่นเดียวกับ  ทหารเสือ ในนวนิยายชื่อเดียวกันของอเล็กซานเดร ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส  ;D


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 14, 12:16
เสทื้อน  ศุภโสภณ ผู้เขียนหนังสือ "ชีวิตและการต่อสู้ของพระยาทรงสุรเดช" ให้รายละเอียดว่า

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เรียกพวกเขาว่าเป็น "สามทหารเสือแห่งสยามประเทศ" โดยยกฉายา "ดาตาญัง" ให้พระยาฯทรง ผู้หล่อเหลา, "ปอโธส" เป็นฉายาของพระยาพหลฯ และ "อาโธส" สำหรับพระยาศรีฯ ผู้เงียบขรึม ทว่าเฉียบขาด


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 22 ส.ค. 14, 13:48
เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ


พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ ๑ จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช โดยทั้ง ๓ สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "๓ ทหารเสือ" เช่นเดียวกับ  ทหารเสือ ในนวนิยายชื่อเดียวกันของอเล็กซานเดร ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส  ;D


ในหนังสือบางเล่ม (ผมจำไม่ได้แล้ว) ของคุณลุงสรศัลย์ แพ่งสภา ผู้ล่วงลับซึ่งเป็นบุตรของ พันโทพระอินทรสรศัลย์ (สะอาด แพ่งสภา) ขเด็ทจากโกรสลิทเทอเฟลเดอร์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าคุณดิ่น ไปเรียนทีหลังครับ  ถ้าหาข้อความมาได้ ผมจะนำมาลงให้อ่านครับ


อีกเล่มที่อ่านแล้วมีการพาดพิงถึงเจ้าคุณดิ่น ซึ่งอาจจะบอกเล่ารายละเอียดการเรียน(เล็กน้อย)ด้วยก็คือ คนไทยในกองทัพนาซี ของคุณลุงพันเอก วิชา ฐิตวัฒน์  ผู้ล่วงลับเช่นกน


สิ่งที่ผมจำได้ น่าจะมาจากงานเขียนของคุณลุงผู้ล่วงลับทั้งสองเล่มนี้ครับ

ส่วนความสัมพันธ์ของนักเรียนขเด็ทเยอรมัน ผมไม่แน่ใจว่าท่านใดสนิทกันมากน้อยแค่ไหน เพราะในหนังสือนักเรียนนายร้อยไทยยุคไกเซอร์ ของคุณลุงสรศัลย์  ผมก็เห็นรูปภาพพร้อมลายเซ็นของเจ้าคุณพหล ส่งมาให้คุณพระสะอาดอยู่เป็นจำนวนมาก  ในขณะที่หนังสือกำสรวลพระยาศรีฯ ของคุณป้าหมอโชติศรี ท่าราบ บุตรีของเจ้าคุณดิ่น กลับไม่ค่อยจะได้เห็นรูปภาพพร้อมลายเซ็นแบบเดียวกันนี้สักเท่าไรครับ




กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 22 ส.ค. 14, 14:10
แต่ที่แน่ๆ หลังจาก การเปลียนแปลง พศ. ๒๓๗๕ สามทหารเสือก็มาแตกคอกันภายหลัง และต่างก็พบกับชะตากรรมกันไปคนละเเบบ

อำนาจมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

พูดถึงสามทหารเสือ ก็เลยขอพูดถึงตราประจำตระกูลของพันเอกพหลพลพยุหเสนา ที่ได้จัดทำขึ้น

"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" วลีนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ เพิ่งมาทราบเองว่า เป็นคำขวัญประจำตระกูลพหลพลพยุหเสนา

สัญญลักษณ์ประจำตระกูลเป็นกงจักรล้อมรอบเสือสามตัว และรายรอบด้วยคำขวัญอีกที



กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 14, 14:20
"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" วลีนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ เพิ่งมาทราบเองว่า เป็นคำขวัญประจำตระกูลพหลพลพยุหเสนา

สัญญลักษณ์ประจำตระกูลเป็นกงจักรล้อมรอบเสือสามตัว และรายรอบด้วยคำขวัญอีกที

ร่วมด้วยช่วยขยาย  ;D


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 22 ส.ค. 14, 14:22
ชี้แจงประจำตระกูลรูปเสือ 3 ตัวในกงจักร

เกี่ยวตราประจำตระกูลของตนที่เป็นรูปเสือ 3 ตัวในกงจักร แสดงถึงตระกูลทหารเสือ 3 รุ่น ซึ่ง ส.พลายน้อย นักเขียนแนวสารคดีชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ที่เขียนถึงประวัติส่วนตัวของ พระยาพหลฯ และได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน พันตรีพุทธินาถ ได้แย้งข้อมูลดังกล่าวว่า

“เสือ 3 ตัวนี่ ตัวแรกคุณปู่ ถูกแล้ว (ตามที่ ส.พลายน้อยเขียน) พระยาพหลฯ กิ่ม เสือตัวที่ 2 ไม่ใช่คุณลุงนพ ไม่ใช่พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี แต่เป็นคุณย่า
คุณย่าเป็นมอญ ของเรียกว่าคุณปู่ผมมีคุณย่า 10 คน คุณย่าผมคุณย่าจับ (พหลโยธิน) เป็นคนที่ 5 เป็นลูกแม่ทัพมอญเก่า อยู่บางไส้ไก่ ใกล้ๆบางขุนเทียน คลองมอญ
ที่สมัยก่อนกษัตริย์ให้พวกมอญมาอยู่ที่นี่เพราะฉะนั้นเป็นเสือตัวกลาง และตัวเล็กนั้นใช้เสือพ่อ เพราะฉะนั้นนี่คือชาติเสือ 3 ท่านนี่คือชาติเสือซึ่งต้องไว้ลาย”


ข้อความนี้เป็นบทสัมภาษณ์ของพันตรีพุทธินาถ พลพยุหเสนา บุตรชายคนที่ 4 ของพันเอกพหลฯ

ส่วน นพ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการ กองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรีในตอนนั้น ในขณะนั้นได้รับราชทินนามว่าพระยาพหลพลพยุหเสนา
และต่อมาก้าวหน้าทางราชการเป็นลำดับ และได้รับราชทินนามว่า พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี



กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 22 ส.ค. 14, 14:25
ขอบพระคุณครับ คุณเพ็ญชมพู
ผมยังเป็นมือใหม่อยู่ ไม่คล่องซักเท่าไหร่

ตอนเด็กๆ ได้ยินเพลงนี้บ่อยๆ

".....ชาติเสือแล้วต้องไว้ลาย
ชาติขายแล้วต้องไว้ชือ....

เปรี้ยง เปรี้ยง ดังเสียงฟ้าฟาด
โครม โครม พินาศพังสลอน
เปรี้ยง เปรี้ยง ลูกปืนกระเด็นกระดอน
โครม โครม ดัสกรกระเด็นไกล..."

เพลงนี้ได้ยินบ่อยช่วง ๒๕๑๖ - ๒๕๒๓ ช่วงนั้นมีรัฐประหารบ่อยๆ
จำได้ว่าเป็นเสียงร้องของสันติ ลุนเผ่


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เชยประดับ ที่ 22 ส.ค. 14, 14:27
ภาพนี้เป็นตัวอย่างของรายพระนามและบุคคลที่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าภาษาต่างประเทศ
ก่อนสมัยดุลย์ข้าราชการ


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 14, 14:31
ตอนเด็กๆ ได้ยินเพลงนี้บ่อยๆ

".....ชาติเสือแล้วต้องไว้ลาย
ชาติขายแล้วต้องไว้ชือ...."

ทหารพระนเรศวร

คำร้อง :  สมภพ จันทรประภา
ทำนอง : ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์)  อภัยวงศ์

http://www.youtube.com/watch?v=KkSP65T5gvI#ws (http://www.youtube.com/watch?v=KkSP65T5gvI#ws)

ชีวิตอุทิศเพื่อชาติ
เราต่อสู้เพื่อราษฎร์ทั้งหลาย
ชาติเสือเราต้องไว้ลาย
ชาติชายแล้วต้องต่อกร


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 ส.ค. 14, 19:10
ขยายความ "นายพลประเภทหนึ่ง"

นายพลตรี พระยาสุรเสนา นามเดิม กลิ่น  แสง - ชูโต  ต่อมาเลื่อนเป็นนายพลโท สมุหราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๕ และที่ ๖
นายพลตรี หม่อมนเรนทรราชา  นามเดิม ม.ร.ว.สิทธิ์  สุทัศน์  ต่อมาเลื่อนเป็นนายพลตรี พระยาสุรินทราชา แล้วเป็นนายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร  สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นแม่ทัพร้อยที่ ๑ จนสิ้นรัชกาลที่ ๖  และเป็นสมุหราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๘