เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: นอแรด ที่ 29 ก.ย. 12, 23:48



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 29 ก.ย. 12, 23:48

เช่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง เป็นต้น เพราะว่าผมเคยอ่านมา เห็นมีแต่....ทองบางสะพาน เสียเป็นส่วนใหญ่ :)



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 12, 12:00
ทอง อาจมีความหมายถึงการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำก็ได้ครับ

จขกท.คงเคยได้ยินคำว่า แผ่นดินทอง แหลมทอง เมืองทอง สุวรรณภูมิ คำเหล่านี้แปลว่าเกษตรสมบูรณ์เพาะปลูกงอกงาม คนมาอยู่แล้วไม่อดตาย ไม่ได้แปลว่าเป็นที่ๆควรมาทำเหมืองทองคำนะครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 13:53

ขอบคุณครับท่านเนาวรัตน์ แต่ สุวรรณภูมินี้น่าจะหมายความว่า แผ่นดินทองจริงๆครับ ม่ายฉะนั้นตอนพม่าคงไม่ยกเข้ามาตีเมือง เผาเอาฟางข้าวที่ประดับตามเจดีย์ต่างๆ

ตั้งแต่ สุโขทัย ก็มีร่องรอยเอาไฟเผา วัดต่างๆรอบกรุงศรีอยุธยา ก็เอาไฟเผา

ประเทศไทยเราอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทองคำจริงๆครับ  อ่านจดหมายเหตุของ ร4 แล้วท่านพระราชทานทองบางสะพานให้ต่างชาติ ที่เข้าเฝ้าทุกคนไป

ยังอ่านไม่พบว่าท่านพระราชทาน ข้าวสาร ถั่ว งา ให้ กับชาวต่างชาติที่เข้าเฝ้า


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 14:06

 เผาเอาฟางข้าวที่ประดับตามเจดีย์ต่างๆ

ตั้งแต่ สุโขทัย ก็มีร่องรอยเอาไฟเผา วัดต่างๆรอบกรุงศรีอยุธยา ก็เอาไฟเผา 
ไม่เข้าใจค่ะ  กรุณาขยายความหน่อยได้ไหม


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 14:45

แฮ่ๆ คห. ข้างบนท่านเนาวรัตน์บอกว่า..
...สุวรรณภูมิ คำเหล่านี้แปลว่าเกษตรสมบูรณ์เพาะปลูกงอกงาม คนมาอยู่แล้วไม่อดตาย ไม่ได้แปลว่าเป็นที่ๆควรมาทำเหมืองทองคำนะครับ.

ผมเลยแย้งว่า เราไม่ได้เอา ข้าวหรือฟางข้าวไป ประดับเจดีย์ นะครับ  เราเอาทองคำต่างหากที่มีอยู่มากมาย ในประเทศเราไปพอก ห่อหุ้มพระพุทธรูป

ม่ายเช่นนั้น พม่าจะยกมาเผาเอาไปหมดหรือ

ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันว่า ....สุวรรณภูมิ คือ ดินแดนแห่งทองคำ

ไม่เช่นนั้น ทำไมเขาไม่ตั้งชื่อว่า..เกษตรสมบูรณภุมิให้สิ้นเรื่องสิ้นราว


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 15:02
คุณตั้ง ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาประจำเรือนไทย เล่าเรื่องทรัพยากรต่างๆเอาไว้ในกระทู้นี้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4734.45

ดิฉันเจอคำตอบเรื่อง ทอง จากคุณ Siamese ในกระทู้ข้างบนนี้   ก็เลยลอกเอามาให้คุณนอแรดอ่านในนี้ค่ะ

คัดจากเล่ม ๕ แผ่น ๓๓ วัน อาทิตย ที่ ๑ เดือน มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ

เรื่องธาตุวิไสย

ทอง

ทองที่เขาทำรูปภัณฑ์เครื่องประดับต่าง ๆ  คือ แหวน กำไล เปนต้น  แลทองนี้ คนทั้งปวงทุก ๆ ประเทศ เขา
ชอบใจนับถือหยากได้นัก  ไม่ว่าผู้ดีหรือคนยาก ผู้ใหญ่ เด็กชนิดไร  เหนเข้าแล้วก็มีความรักหยากได้  เพราะ
ว่าทองนี้เปนธาตุบริสุทธอย่างหนึ่ง  เขานับถือว่าเปนของงาม ของสอาด แลขายซื้อกันราคาแพงนัก  ด้วย
เปนของหายาก  ในแดนเมืองเรานี้  มีบ่อเกิดอยู่สองแห่ง  คือที่เมืองกำเนิดนพคุณแห่งหนึ่ง  เมืองกระบิน
บินทรบุรี แห่งหนึ่ง  สีของทองมีเปนหลายชนิด  สีเหลืองอย่างหนึ่ง  สีขาวอย่างหนึ่ง  แต่สีเหลืองนั้น จัดออก
เปนสามอย่างตามกำหนดน้ำหนัก  คือสีเหลืองสุกมากเรียกว่า ทองเนื้อแปด  ที่เนื้ออ่อน ๆ ลงมาก็เรียกว่า
เนื้อเจ็ด  เนื้อหก  เนื้อสี่  ทองสีขาว เรียกว่า ทองคำขาวทองเปนธาตุอย่างหนึ่ง  เกิดขึ้นด้วยกำลังแร่ที่เกิด
ในแผ่นดิน  แร่ทองคำที่เกิดในแผ่นดินนั้น  ทำให้แผ่นดินคุมกันแขงเปนก้อนคล้ายหิน  คนพวกที่เขา
รู้วิธีถลุงแร่  เขาขุดดินแร่มาให้มาก ๆ  โขลกด้วยครกเหล็กแล้วสุมไฟ  เนื้อทองที่เกิดอยู่กับแร่  ก็
ละลายออกมาเปนเนื้อทอง  ที่บางแห่งก็เกิดขึ้นเปนเนื้อทองก่อนเท่าเมล็ดทรายบ้าง  เท่าเมล็ดงาบ้าง  เท่า
เมล็ดเข้าเม่าบ้าง  พวกช่างร่อนเขาร่อนมาคุมให้เปนก้อนมากแล้ว  ขายซื้อกันตามราคาพิกัดน้ำหนัก

ทองมีคุณอาจจะให้เปนประโยชน์  ใช้การได้มากนัก  คนเราได้ใช้ทองคำ  เปนเครื่องประดับตัวเราให้ดูงาม
ขึ้น  แลทองคำนั้นช่างเขาแผ่เปนทองคำเปลว  ใช้ปิดตามห้องตึก บานประตู บานน่าต่าง  หรือตู้โต๊ะ เปนต้น 
ก็ดูงามดี  เพราะว่าทองคำเปนแร่สอาดกว่าแร่อย่างอื่น ๆ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 15:26
โห ขอบคุณ ท่านเทาชมพูมากครับ ครับ ที่ให้ link เกี่ยวกับแร่ ธาตุต่างๆ มาให้อ่าน

ผมก็เลยเอาทองคำแถวกบินทร์บุรี มาให้ดูด้วย ตามที่อ้างถึง





กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ย. 12, 18:38
ต้องขอใช้สิทธิพาดพิงครับ

จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา  ผมมีข้อสังเกตอยู่หน่อยนึงว่า ชื่อสถานที่หรือชื่อชุมชนที่มีคำว่า ทอง อยู่ในชื่อ หรือที่มีความหมายแปลว่า ทองคำ นั้น เราจะพบอยู่มากอยู่ทางด้านตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ย่านเจดีย์สามองค์ลงไปจนถึงประจวบฯ และจะมีกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ราบใกล้เชิงเขาด้านตะวันตกของที่ราบภาคกลาง  ต่อลงไปถึงประจวบฯเช่นกัน   นอกจากนั้นแล้วก็มีอยู่ในภาคตะวันออก   ในภาคอิสานนั้นเห็นมีแต่ชื่อที่มีคำว่า คำ อยู่ในชื่อสถานที่หรือชุมชน  สำหรับในภาคใต้นั้น ไม่มีทั้งคำว่าทองและคำว่าคำปนอยู่ในชื่อต่างๆ
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ สถานที่ๆมีชื่อเหล่านี้มักจะเป็นสถานที่หรือชุมชนเก่าแก่ในยุคประวัติศาสตร์ของเรา

ความเห็นและข้อเท็จจริง 
ทองในชื่อสถานที่หรือชุมชนนั้น มีความหมายตามที่คุณนวรัตน์ได้กล่าวไว้ และก็มีความหมายถึงสถานที่ๆมีการพบทองคำด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นความหมายที่แยกขาดออกจากกันไม่ขาดนัก
 
ทองคำเกิดร่วมกับสายแร่ที่เรียกว่า Pegmatite vein (หินฟันม้า) และ Quartz vein (หินเขี้ยวหนุมาณ) และในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้
 
สายแร่ทั้งสองนี้เกิดร่วมอยู่ในหินแกรนิตและในหินอื่นๆที่วางตัวสัมผัสหรืออยู่ใกล้ๆกับหินแกรนิต ซึ่งหินในตระกูลหินแกรนิตนี้ เป็นหินประเภทที่ให้แร่ที่สำคัญๆในการพัฒนาทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่ช่วงต่อของยุคหินไหม่กับยุคโลหะ 
     


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ย. 12, 18:41
แร่ที่ให้โลหะธาตุต่างๆที่หลุดออกมาจากสายแร่ทั้งสองชนิดนี้ ได้ถูกนำพาไปตามทางน้ำ ไหลไปตกตะกอนรวมตัวกัน ณ.ที่ๆเหมาะสมแห่งหนึ่ง กลายเป็นแหล่งแร่ขึ้นมา  โลหะธาตุที่ได้จากแร่โลหะเหล่านี้มีอาทิ ทองคำ ทองแดง ปรอท ดีบุก และรวมทั้งรัตนชาติอีกหลายชนิด เช่น Garnet (โกเมน) Moonstone (feldspar_มุกดา ??) Berryl ทั้งหลาย (มรกต) Tourmaline, Amethys, Rose quartz ฯลฯ

เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันตกของไทยมีทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นหินแกรนิต ดังนั้นจึงให้แร่ทองคำที่พัดพาไปตกตะกอนตามลำห้วยต่างๆ จะว่าไปแล้วแทบจะทุกลำห้วยก็สามารถร่อนหาทองคำได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งในแควน้อยบางจุดก็พบว่าร่อนทองคำได้ แต่จะได้ในปริมาณที่มากน้อยต่างกันและคุ้มค่าที่จะเสียเวลาไปร่อนหากันหรือไม่ ในทำนองเดียวกันกับเทือกเขาขุนตาลในภาคเหนือก็พบได้เช่นกัน

สรุปในประเด็นแรกได้ว่า ชื่อสถานที่และชุมชนที่มีคำว่าทองหรือมีความหมายว่าทองคำอยู่นั้น มีทองคำพบอยู่ในธรรมชาติ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 20:46

ขอบคุณท่าน ตั้ง มากเลยครับที่มาให้ความรู้ ได้อ่านเจอว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่องแร่ต่างๆ ทั่วประเทศ

เลยขอโอกาศนี้สอบถามเรื่อง..ทอง แถวกาญจนบุรี ว่าท่านเคยเดินเจอทองบ้างหรือเปล่าครับ หรือไม่ก็ได้ยินพวกกะเหรี่ยงหรือชาวเขาพบทองบ้างไหม
ตามภูเขา หรือถนนที่มีดินแดง หรือดินลูกรัง ( แบบเดินเจอนะครับ  )  ;D


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 21:10

สำหรับจังหวัดที่มีทองเยอะแต่ ไม่ได้มีความหมายว่าทอง ก็คือจังหวัดปราจีนบุรี  นอกจากจะมีเหมืองทองที่กบินทร์บุรีแล้ว  ยังมีที่บ้านบ่อนางชิง อ.วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว(สมัยก่อนอยู่ในจว.ปราจีนบุรี )  ผมหาหลักฐานจากกรมทรัพย์ไม่ค่อยมีรายละเอียด   แต่ที่เห็นมากับตา ก็มีบ่อทองขนาดใหญ่ มีน้ำท่วมเต็ม ชาวบ้านเล่าว่า
สมัยก่อนมีรางรถไฟมาถึง และก็มีฝรั่งมาทำเหมืองด้วย
ทองที่เหลือตกค้างอยู่ถึงปัจจุบัน ผมว่ายังมีมากครับ ที่เป็นสีทองเป็นก้อนๆ ก็มี เป็นสีน้ำตาลเกือบม่วงก็มีก้อนใหญ่ๆ ขนาด 1-3 กก. ก็มี
ที่ติดกับหิน quartz ก็มี ลักษณะก็เป็นตามรูปนี้ครับ  ดูข้างนอกไม่รู้





กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 21:11

แต่พอทุบออกมา เห็นทองเหลืองอร่าม  ;D






กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 21:14

ส่วนพวกนี้ทองล้วนๆครับ มีสนิมเคลือบไว้ด้านนอก เท่านั้นเอง  ;D

ดูข้างนอกน่าเกลียดมาก



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 21:45

ผมอยากหาหนังสือเก่าๆอ่านดูว่า เมืองไทยมีทองที่ไหนบ้าง
เคยอ่านเจอ ว่ามีพญาแล หรือพญาแร่ แถวเขาเขียว จว. ชัยภูมิ อะไรทำนองนี้ที่เคยส่งทองมาถวายประจำ
หนทางเข้าก็ลำบาก มากมายเนื่องจาก ป่าไม้ปิดป่าเสียแล้ว ชาวบ้านบอกว่า มีหลุมทองโบราณเต็มไปหมด
ผมเดินไปกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ระยะทางเพียง สามกม. เดินไม่ถึงครึ่งทางก็หมดสภาพ ตะคริวกิน ต้องขึ้นๆลงๆ ข้างตลิ่งชันทีเดียว
(  ตอนนั้นร่างกายก็ไม่ฟิตด้วย แต่ถ้าทางเรียบๆ นี่สบายมาก ) ผลสุดท้าย ยังไม่ถึงที่หมาย
คิดว่าหน้าหนาว ต้องฟิตร่างกายดีๆ ไปใหม่อีกรอบ
ผม เลยไปหาดูตามไร่ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงได้ทอง 1 ชิ้น น้อยๆ แต่ก็ยังดีให้รู้ว่าแถวนั้นมีทองจริง





กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 22:08

สาเหตุที่ผมมาโพสต์นี้ก็ต้องการบอกให้รู้ว่าเมืองไทย ยังมีทองเป็นก้อนๆอยู่นะครับ แต่ไม่มีใครรู้ หรือ ไม่มีหลักฐานอะไรเลย

และอีกประการหนึ่ง อยากให้ประชาชนรู้ว่ารัฐบาล ขายทองของพวกเรา ไปให้ฝรั่งในราคาถูกๆ ไม่ถึง 30% ของราคาท้องตลาด

เข้าใจว่ารัฐบาลสมัยก่อนๆ อยากได้เงินมาก ก็เสนอสัมปทานให้ฝรั่งมาลงทุน ( ตอนนั้นเราไม่มี knowhow ) แล้วก็ให้เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์เข้าไปดูงาน

ผ่านมาแล้วเป็นสิบปี ฝรั่งโกยเอาทองออกนอกประเทศ โดยเสียค่าภาคหลวงแร่ ค่าอะไรต่อมิอะไร รวมแล้วไม่เกิน 30% ของราคาทอง

ฝรั่งจดทะเบียนบริษัท ทำให้ดูเหมือนว่าคนไทยมีหุ้นเกิน 50% แท้จริงแล้ว เป็น nominee ทั้งนั้น (  ดูได้จาก web ของฝรั่งเอง ที่ไม่ได้บอกว่ามีหุ้นแค่ 49% )
แต่เขียนในทำนองว่า มีหุ้นทั้งหมด )

ถึงตอนนี้ ยังมีทองอีกมาก ควรขายทองให้คนไทยดีกว่าไหมครับ ให้สัมปทานกับบริษัทไทยล้วนๆ เงินก็ไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ   :(





กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 04 ต.ค. 12, 17:34

ทองที่สุโขทัย คาดว่ายังมีอีกเยอะ ทั้งที่ศรีสัขนาลัย และแถว เมืองเก่า

ชิ้นนี้ได้มาจากสุโขทัย ใกล้กับตากครับ
( ยังไม่ได้ล้าง )


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 12, 19:02
ขอบคุณท่าน ตั้ง มากเลยครับที่มาให้ความรู้ ได้อ่านเจอว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่องแร่ต่างๆ ทั่วประเทศ
เลยขอโอกาศนี้สอบถามเรื่อง..ทอง แถวกาญจนบุรี ว่าท่านเคยเดินเจอทองบ้างหรือเปล่าครับ หรือไม่ก็ได้ยินพวกกะเหรี่ยงหรือชาวเขาพบทองบ้างไหม
ตามภูเขา หรือถนนที่มีดินแดง หรือดินลูกรัง ( แบบเดินเจอนะครับ  )  ;D

ว่าจะตอบแล้ว เลยลืมไป มัวแต่ไปกระทู้อื่นอยู่ ขออภัยครับ
ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรอกครับ เรียนมา+ประสบการณ์ทำงานเท่านั้นเอง
คงจะไม่ตอบว่าเจอทองบ้างใหม เอาเป็นว่ามีอยู่ทั่วไปก็แล้วกันครับ แต่ที่จะเจอแบบเป็น nugget นั้น หรือแบบโผล่ให้เห็นบนผิวดินนั้นไม่มีหรอกครับ มีแต่จะต้องขุดแล้วเอาดินมาเลียง (ร่อน) ดู ทำสักสามสี่เลียงต่อเนื่องหรือมากกว่านั้นมากๆ ก็อาจะได้เห็นสีเหลืองเป็นผงปรากฎให้เห็นที่ก้นเลียงสักสองสามเกล็ด หรืออาจจะมากกว่านั้น แต่ไม่เกินปริมาณเท่ากับผงชูรสน้อยๆที่ใส่ในชามก๋วยเตี๋ยว ทั้งนี้ จะต้องรู้ด้วยว่าควรจะเอาดินชั้นใหนในห้วยมาทำการเลียงดู   ในห้วยที่ไหลออกมาจากแหล่งทองโต๊ะโม๊ะ ใน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ชาวบ้านใช้เวลาช่วงบ่ายหลังทำสวนแล้ว เลียงกันสามสี่ชั่วโมง ได้ทองเดือนหนึ่งเพียงสลึงสองสลึงเท่านั้นเอง   ด้วยลักษณะนี้เอง ในหลายพื้นที่ แม้ชาวบ้านจะพบว่ามีทองอยู่ในห้วยก็ตาม แต่ด้วยปริมาณอันน้อยนิดนี้ เขาจึงไม่เสียเวลาไปทำกัน  แต่ในทางกลับกันผลจากการที่ได้พบนี้กลับไปมีความหมายต่อการสำรวจเพื่อทำเหมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเสียมากกว่า ซึ่งแม้กระนั้นก็ตาม แม้สำรวจพบแหล่งต้นตอของทองแล้ว ก็ไม่มีการทำเหมืองแร่ทอง   

สงสัยจะต้องร่ายยาวเรื่องทองมากกว่านี้อีกเสียแล้ว ใช่ไหมครับ  :D


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 04 ต.ค. 12, 19:24

...สงสัยจะต้องร่ายยาวเรื่องทองมากกว่านี้อีกเสียแล้ว ใช่ไหมครับ..

ดีจังครับผมอยากฟัง

ส่วนเรื่องทองโต๊โม๊ะ นั้นเห็นชาวบ้านใช้วิธีฉีดทองด้วยน้ำ แล้วก็ได้ทองพอจะทำ apartment ที่กทม.ให้คนเช่า
แต่เห็นโดนห้ามไป เพราะว่าน้ำขุ่นทำให้หมู่บ้านกลางน้ำ ปลายน้ำ ร้องเรียน


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ต.ค. 12, 21:35
ท่าทางคุณนอแรดจะสนใจเรื่องทองคำเอามากๆ  ซึ่งคงจะได้อ่านมามากพอสมควรเลยทีเดียว 

ที่จะกล่าวถึงสองสามเรื่อง คือ แหล่งทองคำของเราและหลายๆแห่งในโลก ไม่ใช่จะมีหรือพบมากพอที่จะทำการเสี่ยงโชคเหมือนเรื่องราวในยุคการตื่นทองในอลาสก้า หรือในออสเตรเลีย  ทองคำในอลาสก้านั้นเป็นแบบมาจากการผุพังมาจากหินในยุคที่มีอายุมากกว่า 1000 ล้านปี แล้วถูกพัดพาไหลมารวมกันอยู่ตามแอ่งของห้วยเก่า เป็นลักษณะที่เราเรียกว่า Placer deposit   หากได้อ่านและติดตามเรื่องราวจริงๆก็จะเห็นว่า แม้ว่าจะมีนักเสี่ยงโชคไปทำเหมืองแร่ในอลาสก้ามากมาย แต่ก็ไม่มีเหมืองแร่ขนาดใหญ่ไปทำเหมืองกัน เหมืองทองจริงๆนั้นจะทำเหมืองกันในหินแข็งใต้ดินกันทั้งนั้น

เหมืองแร่ทองคำจริงๆนั้น ไม่ได้หมายถึงเหมืองแร่ที่ทำเฉพาะทองคำเพียงอย่างเดียว เกือบทั้งหมดจะกำไรอยู่ได้ก็เพราะแร่อื่นๆที่ทองคำเกิดร่วมอยู่ด้วย เช่น ทองแดง   




กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ต.ค. 12, 21:45
อ้างถึง
ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ


กาญจนบุรี ก็ว่าไปแล้ว ส่วนที่ สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง คุณตั้งว่ามันมีทองคำอยู่ในดินหรือเปล่าครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 05 ต.ค. 12, 23:02

ขอบพระคุณมากครับคุณตั้ง ผมสนใจประสบการณ์การเดินป่าและสำรวจแร่ทางเมืองกาญจนบุรีของคุณตั้งมาก เลยมาสมัครเป็นสามชิก
เพื่อที่จะได้สอบถามคุณตั้งโดยตรง และคุณตั้งเองก็เล่าได้อย่างสนุกสนาน ตื่นเต้นดี

ส่วนทองของเมืองนอกนั้นก็พอหาอ่านได้ในเวปครับ แต่เมืองไทยเองมีน้อยมาก จึงอยากจะฟังเรื่องของเมืองไทยมากกว่าครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 06 ต.ค. 12, 06:52
ขอตอบด้วยรูปนะครับ

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/ori5.jpg)


รายละเอียดทั้งหมด
http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/AKHOM_GOLD/gold%209.html


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 ต.ค. 12, 07:18
ขอบคุณครับคุณsamun007

เข้าไปดูแล้ว กาญจนบุรีมีนิดหน่อยในตะกอน บริเวณภูเขาแถวๆชายแดนโน่น สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง ไม่เห็นมีทองคำ

แล้ว "ทอง" คืออะไร


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ต.ค. 12, 08:23
ขอบคุณครับคุณsamun007

เข้าไปดูแล้ว กาญจนบุรีมีนิดหน่อยในตะกอน บริเวณภูเขาแถวๆชายแดนโน่น สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง ไม่เห็นมีทองคำ

แล้ว "ทอง" คืออะไร

ตอนแรกก็นึกแผลง "อ่างทอง" เช่นเดียวกับคุณ NAVARAT.C แต่นึกไปนึกมา ทำให้คิดได้ว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มน้ำดินตะกอน ไม่มีทองคำแน่นอน หากแต่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ท้องนาเหลืองดังทองคำ

"ทุ่งเอ๋ย ทุ่งรวงทอง เห็นข้าวออกรวงน่ามอง ดุจสีทองสีแห่งศรัทธา........"


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 06 ต.ค. 12, 08:34
ขอบคุณท่าน saman ครับ ผมก็เคยอ่านเล่มนี้เหมือนกัน และ ก่อนเล่มนี้ ซึ่ง ทางกรมทรัพย์ได้เพิ่มข้อมูลมาหลังจากประชาชนได้ขุดพบ
ทองคำอีกหลายแห่ง จึงเข้าผนวกมาในเล่มนี้

อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นว่าเล่มนี้ได้ทิ้งข้อมูลเก่าๆ ไป ซึ่งผมเห็นว่า ข้อมูลจากภาคประชาชนมีประโยชน์มากทีเดียว ทิ้งไปแล้วก็น่าเสียดาย

อย่าลืมว่า ข้อมูลที่กรมทรัพย์ได้มาก็มาจากการค้นพบของชาวบ้านทั้งนั้น ( ไม่รวมถึงการอาศัยเครื่องบินสำรวจสนามแม่เหล็ก ที่จ้างเอกชนมาทำ ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นการหาแหล่งแร่ขนาดใหญ่ )

ผมถึงอยากจะได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วย จึงเข้ามาสอบถามในที่นี้ครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 08 ต.ค. 12, 21:34
ขอบคุณท่าน saman ครับ ผมก็เคยอ่านเล่มนี้เหมือนกัน และ ก่อนเล่มนี้ ซึ่ง ทางกรมทรัพย์ได้เพิ่มข้อมูลมาหลังจากประชาชนได้ขุดพบ
ทองคำอีกหลายแห่ง จึงเข้าผนวกมาในเล่มนี้

อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นว่าเล่มนี้ได้ทิ้งข้อมูลเก่าๆ ไป ซึ่งผมเห็นว่า ข้อมูลจากภาคประชาชนมีประโยชน์มากทีเดียว ทิ้งไปแล้วก็น่าเสียดาย

อย่าลืมว่า ข้อมูลที่กรมทรัพย์ได้มาก็มาจากการค้นพบของชาวบ้านทั้งนั้น ( ไม่รวมถึงการอาศัยเครื่องบินสำรวจสนามแม่เหล็ก ที่จ้างเอกชนมาทำ ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นการหาแหล่งแร่ขนาดใหญ่ )

ผมถึงอยากจะได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วย จึงเข้ามาสอบถามในที่นี้ครับ

จริง ๆ แล้ว ทองก็มีหลายเนื้อนะครับ ทั้งเนื้อเจ็ด เนื้อแปด และที่ดีที่สุดก็คือเนื้อเก้า  

ถ้าสนใจในเรื่องความรู้ของระดับชาวบ้าน ส่วนตัวคิดว่าทองคำในบ้านเรา อาจจะไม่ใช่เนื้อเก้าทั้งหมด เพราะถ้าดูในบริบทของสังคมสมัยก่อน เราก็จะพบกับเรื่องเนื้อหาวิทยาการด้านโลหะศาสตร์ ที่จะออกมาในรูปของตำราการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งบางสูตร บางตำรา ก็ไม่ได้ใช้เนื้อทองตามธรรมชาติแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่การนำเอาวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมาผสมเข้าด้วยกัน ถ้าทำได้ตามสูตรก็จะกลายเป็นทองคำได้นั่นเองครับ

โดยส่วนตัวแล้ว เคยผ่านตาเนื้อหาเรื่องของหลักฐานระดับชุมชน ที่หน่วยงานราชการและนักวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับมาบ้าง วัตถุบางอย่างเช่นเนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ  


อีกนิดครับ เรื่องของการสำรวจโดยเครื่องบิน ส่วนตัวก็เคยได้ยินข้อมูลมาบ้างเหมือนกัน ได้ข่าวว่าบางที่เข็มวัดถึงกับขนาดตีกลับไปมาหลายรอบเลยเหมือนกันครับ ผมว่าหน่วยงานราชการจริง ๆ ก็รู้หมดล่ะครับว่าตรงไหนมีหรือไม่มีขนาดไหน แต่จะยอมเปิดเผยความจริงแค่ไหนเท่านั้นเอง

 



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 08 ต.ค. 12, 21:39

ขอบคุณครับท่าน SAMAN

ผมสงสัยตรงที่ท่านบอกว่า..เนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ...

ตรงนี้ท่านพอมีตัวอย่างเป็นภาพหรือไม่และท่านได้มาจากที่ไหนของกาญจนบุรีครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 08 ต.ค. 12, 21:44

ขอบคุณครับท่าน SAMAN

ผมสงสัยตรงที่ท่านบอกว่า..เนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ...

ตรงนี้ท่านพอมีตัวอย่างเป็นภาพหรือไม่และท่านได้มาจากที่ไหนของกาญจนบุรีครับ

ภาพไม่มีครับ เพราะไม่ได้ถ่ายไว้ ส่วนที่ได้มาจากไหน ไม่ได้ถามรายละเอียดไว้เหมือนกันครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ต.ค. 12, 19:34
แร่ต่างๆและทองคำที่พบกันในสถานที่ต่างๆหรือตามห้วยในท้องถิ่นทุรกันดารต่างๆนั้น ในทางวิชาการเรียกว่า Occurrence คือ ได้มีการพบว่ามีอยู่ตรงนั้น ซึ่งทั้งหมดมิใช่แหล่งแร่ (mineral deposit)  สิ่งที่พบเหล่านั้นเป็นเพียงผลิตผลจากสิ่งที่หลงเหลือมาจากการผุพังทำลายตามธรรมชาติซึ่งถูกนำพาหรือพัดพามาตกกระจัดกระจายอยู่ให้เราได้เห็น (trace)  ซึ่งสิ่งที่พบเห็นนี้เป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือที่แสดงว่าน่าจะีแหล่งแร่อยู่ในแถบนั้น (หากย้อนรอยกลับไป)  ทองคำก็เป็นเช่นนั้น

ในความเป็นจริงมันไม่เป็นเช่นนั้น หากพบแหล่งกันได้ง่ายขนาดนั้น ลงทุนทำเหมืองกันได้ง่ายขนาดนั้น เราคงร่ำรวยกันถ้วนหน้าไปแล้ว
 
แหล่งแร่ทองคำที่มีความอุดมสมบูรณ์มากของโลก เมื่อครั้งราคาทองคำบริสุทธิ์ขายกันที่ประมาณ 350 USD ต่อออนซ์ (หนักประมาณ 2 บาท) นั้น ต้นทุนการทำเหมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งทองคำบริสุทธิ์หนึ่งออนซ์ ตกอยู่ที่ประมาณ 250 USD  กำไรที่ต่างกันประมาณ 100 USD นั้น หักเป็นเงินคืนทุน (ใช้หนี้) ที่ได้ลงไปส่วนหนึ่ง แบ่งกำไรให้กับเจ้าของเงินที่ลงทุนซื้อหุ้นส่วนหนึ่ง แล้วแบ่งเป็นเงินเอาไปสำรวจหาแหล่งไหม่อีกส่วนหนึ่งก็ฝืดเต็มที่แล้ว  แหล่งแร่ทองคำที่พบๆกันจนสามารถทำเหมืองได้กันนั้น ใช้เวลาระหว่าง 5-15 ปี จึงจะเริ่มได้ผลผลิตที่เป็นทองกัน  และที่สำคัญเหมืองทองคำนั้นมันอยู่ด้วยตัวปริมาณทองคำที่ผลิตได้อย่างเดียวเกือบไม่ได้ มันอยู่ได้ด้วยแร่อื่นๆที่เกิดร่วมอยู่ด้วยช่วยเป็นผู้จ่ายค่าใช่จ่ายหลักในการทำเหมือง
   
สภาพในปัจจุบันนี้คงเปลี่ยนไปมากเนื่องจากราคาทองสูงมาก จากเดิมในสมัยเก่าแก่เมื่อครั้งราคาทองคำประมาณน้ำหนักบาทละ 450 บาท ต้องเอาหินประมาณ 1 ตันมาบดละเอียดเพื่อจะให้ได้ทองคำประมาณ 8 กรัม จึงจะคุ้มค่าการลงทุน  เมื่อครั้งราคาทองคำประมาณน้ำหนักบาทละ 4000 บาท ต้องเอาหินประมาณ 1 ตันมาบดละเอียดเพื่อจะให้ได้ทองคำประมาณ 2 กรัม จึงจะคุ้มค่าการลงทุน  ปัจจุบันนี้คงจะไปอยู่ในระดับน้อยกว่าครึ่งกรัมต่อตันแล้วกระมัง

เล่ามาเพียงเพื่ออธิบายว่า occurrence นั้นมิใช่เป็นการพบแหล่งและต้นตอ (deposit) ที่สามารถจะทำเหมืองได้เสมอไปครับ


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 10 ต.ค. 12, 10:53

ขอบคุณท่าน naitang มากครับที่ได้กรุณา เล่าเรื่องการทำเหมืองทองขนาดใหญ่มาให้เป็นความรู้

ท่านพูดถึงเรื่อง occurrence ขึ้นมา ตามปกติในอดีตเมืองไทยนั้น จะรู้ได้ว่าที่ไหนมีทอง ก็ต้องจากการร่อนแร่ตามลำธาร

แต่ที่ห่างจากลำธารก็มี เหมือนกันนะครับ ชาวบ้านอาจเห็นทองก้อนเล็กๆ หลังจากฝนตกใหม่ๆ ตามถนน( ส่วนใหญ่จะเป็นลูกรัง  ) หรือในสวนของเขาเอง

และนี่คือที่มาของ hobby ใหม่ที่เกิดขึ้นมาไม่กี่ปีที่ผ่านมา


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 12, 15:44
^
ก็เป็นโชคดีของชาวบ้านนั้นๆจริงๆครับ
 
ทำให้ผมได้เห็นภาพว่า ผืนดินตรงบริเวณนั้นจะต้องมีระดับการชำระล้างทำลายหน้าดินที่สูงมากเอาการเลยทีเดียว     

ในบริเวณพื้นที่ๆเกิดหินอัคนีแทรกตัวขึ้นมา ในระยะสุดท้ายของการแทรกตัวมักจะเป็นน้ำแร่ร้อนและกาซที่คงเหลือมาจากการตกผลึกเป็นแร่ประกอบหิน ในสภาพที่เหาะสม น้ำแร่ร้อนนี้จะไปเปลียนเนื้อหินรอบๆตัวในบริเวณที่มันแทรกตัวขึ้นมา ทำให้เกิดการจับกลุ่มทางเคมีใหม่ เิกิดเป็นแร่หลายอย่าง ในทำนองเดียวกันก็เอาน้ำร้อนที่มีธาตุที่เหลืออยู่นั้นเข้ามาร่วมกระบวนการกำเนิดแร่อีกหลายชนิด กระบวนการนี้เรียกว่า hydrothermal alteration พื้นที่ที่พบเห็นบนผิวดินอาจจะกว้างหรือแคบก็ได้ ในทำนองเดียวกับที่พบใต้ดิน  ลักษณะหินที่พบบนผิวดินมักจะเป็นหินที่มีลักษณะผุ และมีแร่สนิมเหล็กลักษณะเหมือนตาข่ายครอบไว้ เรียกลักษณะนี้กันว่า Gossan

หินส่วนที่เกิด alteration ที่อยู่ใต้ gossan นี้ อาจจะเป็นแหล่งแร่ใหญ่ก็ได้ ไม่ใหญ่ก็ได้ อยู่ลึกก็ได้ และอยู่ตื้นก็ได้  เมื่อมันเป็นหินที่มีเนื้อผุเป็นทุน มันจึงผุพังและถูกพัดพาไปได้ง่าย  จึงอาจจะมีแร่บางอย่างที่ตกค้างอยู่ หรือตกอยู่เรี่ยราดตามพื้นดิน  ส่วนพื้นที่ในภาพรวมๆที่จะเห็นก็คือเป็นดินลูกรัง การพบเกล็ดทองคำจึงเป็นเรืองไม่แปลกนัก  จะว่าไปลูกรังที่เอามาถมถนนหลายๆสาย ก็มีโอกาสพบแร่ใดแร่หนึ่งอยู่เกือบทั้งนั้น  เอาเป็นง่ายๆนะครับ เปิดแผนที่ธรณ๊วิทยาดู ที่ใดที่มีสีชมพูหรือสีแดงทั้งหลาย บริเวณนั้นคือหินอัคนี รอบๆพื้นที่นี้จะพบว่ามีแหล่งแร่ หรือ occurrence พูดง่ายว่าอยากจะหาแร่อะไรก็ไปเิริ่มต้นจากบริเวณนี้ หรือเริ่มต้นจากลำห้วยลำธารที่ไหลออกมาหรือไหลผ่านพื้นที่นี้
   
เมื่อทำการสำรวจทางธรณ๊วิทยานั้น เราพิจารณาทุกเรื่องที่เราเห็นและโอกาสที่มันเป็นไป แต่ด้วยความจำกัดของระบบทางราชการ เราจึงสำรวจลงไปลึกถึงขั้นพบแหล่งแร่จริงๆที่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ไม่ได้   


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 10 ต.ค. 12, 17:20

   เมื่อทำการสำรวจทางธรณ๊วิทยานั้น เราพิจารณาทุกเรื่องที่เราเห็นและโอกาสที่มันเป็นไป แต่ด้วยความจำกัดของระบบทางราชการ เราจึงสำรวจลงไปลึกถึงขั้นพบแหล่งแร่จริงๆที่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ไม่ได้   

ครับเรื่องนี้เห็นด้วย เพราะเท่าที่อ่านรายงานการสำรวจของกรมทรัพย์นั้น เวลาไปสำรวจก็ไม่่ค่อยมีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรไปด้วย แล้วก็ไปจ้างชาวบ้านขุดหลุมแบบเดียวกัน ปัจจุบันเครื่องไม้เครืองมีในการสำรวจมีออกมามาก แต่ดูเหมือนจะไม่มีการสำรวจกันอีกแล้ว และที่ดินต่างๆก็ถูกประชาชนเข้าไปยึดถือทำกินเสียส่วนใหญ๋



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 10 ต.ค. 12, 17:51
สุดท้ายขอฝากสุดยอดทองคำ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เสาะแสวงหากันอยู่ อีกทั้งมีราคาสูงกว่าทองแท่ง 2-3 เท่า

นั่นก็คือ...ทองบางสะพาน ครับ

ส่วนรูปข้างล่าง เป็นแต่เพียงหินที่มีทองคำ จากบางสะพาน



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 12, 19:51
ทองคำของไทยในสมัยก่อนก็มีมาจากหลายแหล่ง  ที่เราเคยได้ยินชื่อกันคุ้นหูก็ กบินทร์บุรี บางสะพาน ส่วนโต๊ะโม๊ะนั้นเป็นที่คุ้นหูกันมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองไม่นานแล้วก็หายไปหลังสงคราม   แต่ดูเหมือนว่าเราจะนิยมและเห็นคุณค่าของทองคำบางสะพานมากกว่าที่อื่นทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจ

ผมเห็นว่ามีอยู่สองเรื่อง คือ เรื่องของสี และ เรื่องของความบริสุทธิ

ทองคำที่พบตามธรรมชาตินั้น จัดเป็นทองคำบริสุทธิ์ ซึ่งในสมัยก่อนๆนั้น ยังถือว่าธรรมชาติให้ความบริสุทธิบนฐานของ 100%   ทองคำที่พบตามธรรมชาตินั้นมีอยู่ 4 สี คือ สีเหลืองอร่าม สีออกไทางสีชมพู สีออกไปทางเขียวใบตองอ่อน และสีเหลืองซีดๆ    คนทางยุโรปนิยมสีเหลืองอร่าม คนอินเดียและตะวันออกกลางนิยมสีออกไปทางสีชมพู  คนไทยรู้สึกว่าจะนิยมสีออกไปทางสีเขียวใบตองอ่อน (แบบทองบางสะพาน)  ส่วนสีเหลืองซีดๆนั้นไม่เป็นที่นิยมกันทั่วทุกชนชาติ

ในด้านตลาดปัจจุบันนี้ ทองคำบริสุทธิที่ซื้อขายกันในตลาดโลก หมายถึงทองคำที่มีเนื้อทองคำ 99.999 %    เนื่องจากการทำทองคำ (refine) ให้มีความบริสุทธิ 100% นั้นไม่สามารถทำได้ ส่วนที่เหลืออีก 0.0001 % จะเป็นมลทินที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้ มลทินนี้เองที่เป็นตัวทำให้เกิดสีในทองคำบริสุทธิดังที่กล่าวมา   โดยนัยก็คือ ทองคำบริสุทธิ ก็คือทองคำที่มีเนื้อทองคำ 99.999 %    ดังนั้นเมื่อพูดถึงทองคำบริสุทธิ ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง ตัวเลขแรก (คือ 99) ไปกล่าวถึงจุดทศนิยมหลัง 99% นี้ดีกว่า ซึ่งเรียกว่า fine การซื้อหาทองคำจึงไปดูที่จุดทศนิยมหลัง ทองคำแท่งที่ขายกันโดยการผ่านการถุงให้บริสุทธิแล้วจึงเรียกว่า fine gold ซึ่งอาจจะเป็น 999 หรือ 998 หรืออื่นๆ แต่ก็ไม่เกิน 995     การซื้อทองคำแท่งของเราจึงต้องควรจะระวังกันสักหน่อย   ในระบบการค้าขายทองคำของโลกนั้น เขาพูดกันที่ 999 และจะต้องมีตราประทับว่าทำให้บริสุทธิโดยบริษัทใด ซึ่งบริษัทผู้ถลุงทำทองคำให้บริสุทธินี้จะมีรายชื่อที่ยอมรับกันทั่วโลก จำได้ว่าก็มีอยู่หลายสิบบริษัทเหมือนกัน  ทองคำที่ผลิตได้จากเหมืองทองคำต่างๆทั่วโลกนั้น ส่วนมากจะได้ทองคำที่มีเนื้อบริสุทธิระหว่าง 96-98% ดังนั้นจึงต้องมีการทำให้บริสุทธิเป็น fine gold  จะด้วยตนเองหรือให้คนอื่นทำให้ก็ตามที 

ทองคำบางสะพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่ามีความบริสุทธิอยู่ที่เท่าไร แต่มันได้กลายเป็นของที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ (sentimental value) มากกว่าที่จะเป็นสินค้าที่ค้าขายกันในเชิงของมูลค่า (ราคา) ของทองคำ  ผู้ใดมีก็เก็บไว้เถอะครับ ราคาของมันไม่เกี่ยวกับราคาทองคำในตลาดโลกแล้ว (สำหรับคนไทยนะครับ)

เคยเตรียมตั้งกระทู้จะเล่าเรื่องทองในภาพรวมๆเหมือนกัน แต่ยังไม่มีโอกาสสักทีครับ 


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 10 ต.ค. 12, 20:14
ทองบางสะพานที่ผมหลอมแล้วไปให้ร้านทองตรวจด้วยเครื่อง ได้ประมาณ 98.6-98.8 % แทบทุกครั้งครับ (ส่วนทองคำแท่งในตลาดบ้านเรา 96.5%  )



กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 10 ต.ค. 12, 21:01
ที่ จขกท ถามเรื่องว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนในเรื่องของชื่อจังหวัดต่าง ๆ  ส่วนตัวผมเอง นอกจากประเด็นเรื่องโลหะวิทยาแล้ว ก็คงจะต้องพิจารณาถึงเรื่องของสภาพภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนไปครับ

ในอดีตเมื่อสองพันกว่าปีก่อน กรุงเทพยังเป็นทะเลอยู่เลย น้ำทะเลยังเข้าไปถึงตัวจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม ไปจนถึง สุพรรณบุรี และสระบุรี ดังที่จะเห็นในเรื่องของโบราณวัตถุหลาย ๆ ชิ้นที่ขุดพบได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีชุมชนริมทะเล ก็ย่อมต้องมีการค้าขายเกิดขึ้น ส่วนตัวเดาว่า ก็น่าจะต้องมีแหล่งที่ทำทอง หรือขุดทองในที่ต่าง ๆ เหล่านี้อยู่แล้วล่ะครับ

ถ้าจำไม่ผิด ตำนานเรื่อง ในตำนานทางเหนืออย่างเรื่องของพระเจ้าพรหมมหาราช ก็ยังมีเรื่องของการส่งส่วยทองคำ ไปให้กับขอม(คนละพวกกับขอมที่อยู่ในเขมร) เหมือนกันครับ ซึ่งถ้าตำนานนี้เป็นจริง ก็ต้องแสดงว่ามีแหล่งขุดทองตั้งแต่โบราณจริง ๆ เหมือนกัน


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 12, 21:13
^
ทองคำที่ขายกันตามร้านค้าทอง โดยเฉพาะทองรูปพรรณนั้น จะเป็นทองคำ 999 ที่นำเข้ามา แล้วเอามาผสมด้วยทองแดงบ้างเงินและอื่นๆบ้างตามสัดส่วนเฉพาะของแต่ละร้าน เพื่อให้ทองนั้นแข็งพอที่จะทำเป็นทองรูปพรรณ ทองนั้ำก็จะกลายเป็นทองไม่บริสุทธิ ดังนั้น แต่ละร้านจึงมีตราประทับที่บริเวณข้อต่อของทองรูปพรรณนั้นๆ เมื่อเราเอาไปขายคืนกับร้านเดิมจึงได้ราคาดีกว่าเอาไปขายกับร้านอื่น เนื่องจากว่าร้านอื่นเขาไม่รู้ว่าผสมอะไรมาบ้างในสัดส่วนปริมาณเท่าใด  ร้านทองทำแม้กระทั่งกับทองแท่ง 999 ที่นำเข้ามาแล้วแบ่งออกไปทำเป็นทองแท่งชิ้นเล็กๆ

คำว่าทองคำบริสุทธิ หรือ ทองคำ 100% ของไทยเราจึงไม่ใช่ของจริง หากเป็นของบริสุทธิจริงๆ ก็จะต้องซื้อจากใหนก็ตาม จะขายที่ใหนก็ตาม ก็จะต้องสามารถกระทำได้ตามราคาตามที่ประกาศไว้หน้าร้าน ใช่ใหมครับ      


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 10 ต.ค. 12, 21:49
ู^
^
^

ทองรูปพรรณเมืองไทย ที่เป็นสร้อย แหวน อะไรทำนองนี้ความบริสุทธ์น่าจะอยู่ราว 90% ครับเพราะต้องผสมกับโลหะอื่นทำให้มีความแข็ง
ส่วนที่อ้างว่า 100% ไม่มีครับในโลก แต่จะมี 99.99% ซึ่งเป็นของนอกเสียมากกว่า

เมื่อมันเป็นทองรูปพรรณแล้ว ร้านเขาก็ตีตราประจำร้าน เวลาขายไปราคาหนึ่ง รับซื้อก็หักค่ากำเหน็จ ซึ่งส่วนต่างก็มากอยู่ แต่ถ้าประชาชนเอาทองร้านอื่นซึ่งไม่ได้ตีตราร้านเขาไว้ ก็ต้องหลอมมาทำใหม่ เพราะว่าการเอาทองร้านอื่นมาขาย มันน่าเกียดไม่สมศักดิ์ศรี ก็หักราคามากหน่อย  และไม่มีทองร้อยเปอร์เซนต์ครับส่วนใหญ่ 90% ทั้งนั้น ( เข้าใจว่า สคป ก็กำหนดขั้นต่ำของทองรูปพรรณไว้ราวๆนี้  )


จริงๆแล้วผมเองไม่ค่อยรู้เรื่องทองรูปพรรณครับ ว่าร้านค้าเขาผสมกันอย่างไรบ้าง....ต้องขออำภัย

ผมรู้แต่เพียงทองธรรมชาติ ของผมบริสุทธิ์กว่าทองแท่งที่ซื้อขายในกทม. 8)


กระทู้: ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 02 ธ.ค. 12, 00:19
ขอบคุณท่าน ตั้ง มากเลยครับที่มาให้ความรู้ ได้อ่านเจอว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่องแร่ต่างๆ ทั่วประเทศ
เลยขอโอกาศนี้สอบถามเรื่อง..ทอง แถวกาญจนบุรี ว่าท่านเคยเดินเจอทองบ้างหรือเปล่าครับ หรือไม่ก็ได้ยินพวกกะเหรี่ยงหรือชาวเขาพบทองบ้างไหม
ตามภูเขา หรือถนนที่มีดินแดง หรือดินลูกรัง ( แบบเดินเจอนะครับ  )  ;D

ว่าจะตอบแล้ว เลยลืมไป มัวแต่ไปกระทู้อื่นอยู่ ขออภัยครับ
ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรอกครับ เรียนมา+ประสบการณ์ทำงานเท่านั้นเอง
คงจะไม่ตอบว่าเจอทองบ้างใหม เอาเป็นว่ามีอยู่ทั่วไปก็แล้วกันครับ แต่ที่จะเจอแบบเป็น nugget นั้น หรือแบบโผล่ให้เห็นบนผิวดินนั้นไม่มีหรอกครับ มีแต่จะต้องขุดแล้วเอาดินมาเลียง (ร่อน) ดู ทำสักสามสี่เลียงต่อเนื่องหรือมากกว่านั้นมากๆ ก็อาจะได้เห็นสีเหลืองเป็นผงปรากฎให้เห็นที่ก้นเลียงสักสองสามเกล็ด หรืออาจจะมากกว่านั้น แต่ไม่เกินปริมาณเท่ากับผงชูรสน้อยๆที่ใส่ในชามก๋วยเตี๋ยว ทั้งนี้ จะต้องรู้ด้วยว่าควรจะเอาดินชั้นใหนในห้วยมาทำการเลียงดู   ในห้วยที่ไหลออกมาจากแหล่งทองโต๊ะโม๊ะ ใน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ชาวบ้านใช้เวลาช่วงบ่ายหลังทำสวนแล้ว เลียงกันสามสี่ชั่วโมง ได้ทองเดือนหนึ่งเพียงสลึงสองสลึงเท่านั้นเอง   ด้วยลักษณะนี้เอง ในหลายพื้นที่ แม้ชาวบ้านจะพบว่ามีทองอยู่ในห้วยก็ตาม แต่ด้วยปริมาณอันน้อยนิดนี้ เขาจึงไม่เสียเวลาไปทำกัน  แต่ในทางกลับกันผลจากการที่ได้พบนี้กลับไปมีความหมายต่อการสำรวจเพื่อทำเหมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเสียมากกว่า ซึ่งแม้กระนั้นก็ตาม แม้สำรวจพบแหล่งต้นตอของทองแล้ว ก็ไม่มีการทำเหมืองแร่ทอง   

สงสัยจะต้องร่ายยาวเรื่องทองมากกว่านี้อีกเสียแล้ว ใช่ไหมครับ  :D

เอาแค่เรื่องซื่อนะ ไม่ใช่ซื่อจังหวัด แต่ตามบันทึกโบราณ ทองจากโต๊ะโม๊ะไหลไปถึง ปากน้ำสุไหงโกลก ทำให้ย่านนั้นเรียกว่า Pasemas หรือ ทรายทอง ปัจจุบัทางการตั้งซื่อเป็น บ้าน ทรายทอง เพราะทองที่พบย่านนั้นเป็นเกล็ด