เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: Anna ที่ 18 ม.ค. 11, 14:03



กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 18 ม.ค. 11, 14:03
ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว

การเรียก สถานที่ สิ่งของ ชื่อต่างๆ




กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 15, 20:40
ภาษาลาวน่ารักตามที่คุณแอนนาว่าไว้ แต่ตัวอย่างที่ให้มีทั้งที่ถูกและที่ผิด (เป็นส่วนมาก) ไม่ควรถือเป็นเรื่องจริงจังอันใด

อ่านเพิ่มเติม : http://technolomo.com/2013/05/13/give-an-answer-lao-false/ (http://technolomo.com/2013/05/13/give-an-answer-lao-false/)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 08 ม.ค. 15, 20:59
เกือบทั้งหมดผิดครับ เพื่อนคนลาวอ่านแล้วเขาโกรธมากๆ บอกว่าทำไมคนไทยชอบเขียนอะไรแบบไม่มีการอ้างอิง

ผมอ่านในเว็ปลาวที่เพื่อนคนลาวที่เรียนด้วยกันเอามาให้อ่าน เขาบอกว่าเป็นข่าวกระหึ่มอยู่พักหนึ่ง เนื่องจากมีสำนักข่าวหนึ่งเอาคำเปรียบเทียบเช่นนี้ไปเผยแพร่ในเว็ปไซด์ของตน





กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 15, 21:19
เอาของจริงดีกว่า เผอิญพบแผ่นภาพประชาสัมพันธ์ภาษาลาวแผ่นหนึ่ง ลองอ่านข้อความในแผ่นภาพข้างล่าง เอาเฉพาะหัวข้อ ๒ บรรทัดบนก็มีอะไรให้อมยิ้มบ้างแล้ว   ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 15, 08:24
เรื่องนี้ควรยุติได้แล้วค่ะ อย่ารื้อฟื้นขึ้นมาอีกเลย
ขอบคุณคุณหาญบิงที่ชี้แจงให้ความเข้าใจที่ถูกต้องค่ะ

คุณเพ็ญชมพูแจ้งมาหลังไมค์ว่ามีเรื่องที่จะสนทนากันได้ต่อไปอีก
ก็เลยขอไขกุญแจเปิดกระทู้ใหม่อีกครั้งค่ะ


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 15, 08:00
ขอบพระคุณที่ท่านเจ้าเรือนกรุณาไขกุญแจให้เข้าไปในเรือน อยู่ข้างนอกอากาศหนาวมาก   ;)

ก่อนจะสนทนาต่อไปต้องมีการทดสอบความรู้สักหน่อย

มีใครอ่านข้อความนี้ได้บ้างหนอ  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 10 ม.ค. 15, 08:59
"จะควบคุมพยาธิ ปากเปื่อย..." เดาได้แค่นี้ค่ะ ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 15, 12:12
กุญแจไขวิธีอ่านภาษาลาว

พยัญชนะ


http://youtube.com/watch?v=6jMHBcZ-hNs#ws (http://youtube.com/watch?v=6jMHBcZ-hNs#ws)




กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 15, 12:13
สระ

http://youtube.com/watch?v=8bAqWExGIXY#ws (http://youtube.com/watch?v=8bAqWExGIXY#ws)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 15, 12:15
คราวนี้คุณแอนนาคงจะอ่านได้ทั้งหมดแล้ว  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:11
ก่อนจะสนทนาต่อไปต้องมีการทดสอบความรู้สักหน่อย

มีใครอ่านข้อความนี้ได้บ้างหนอ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4190.0;attach=53824;image)

จากที่คุณแอนนาอ่านมา เป็นมาตรฐานของคนไทยที่สามารถอ่านภาษาลาวได้แม้ไม่ทั้งหมดแต่ก็ได้เกือบ ๕๐ %

คำเฉลย

จะควบคุมพะยาดปากเปื่อยลงเล็บแนวใด ?

แต่ถึงกระนั้น แม้อ่านได้ทั้งหมดแล้ว แต่การทำความเข้าใจนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ;D




กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:12
อ่านออกพอๆกับคุณแอนนาค่ะ
พยาธิปากเปื่อยที่มันลงเล็บ นี่คือโรคอะไรคะ?


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 11 ม.ค. 15, 10:16
ของไทยเรียกว่า โรคปากเท้าเปื่อยค่ะอาจารย์
ทางลาว พยาธิ คือ โรค
ลงเล็บ คือ เท้า เขาตั้งชื่อสะท้อนความเป็นไปของโรคได้ดี


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:21
คุณกะออมตอบถูกต้อง พะยาดปากเปื่อยลงเล็บ มีชื่ออย่างเป็นทางการของไทยคือ โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคในสัตว์กีบคู่เช่นโค กระบือ แพะ แกะ  สุกร  อาการครั้งแรกเป็นที่ลิ้น  แต่ต่อมาจะลงไปที่เท้าหรือกีบ ชื่อโรคในภาษาไทยไม่ได้บอกละเอียดถึงอาการ ผิดกับในภาษาลาวซึ่งบรรยายอาการของโรคในชื่ออย่างชัดแจ้งทีเดียว

คำว่า พะยาด ในภาษาลาวตรงกับคำว่า พยาธิ ในภาษาไทย

ท่านรอยอินให้ความหมายคำว่า พยาธิ นี้ไว้สองอย่างคือ

พยาธิ ๑ [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
 
พยาธิ ๒ [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.


ในภาษาลาว พะยาด ตรงกับความหมายที่ ๑ ส่วนในภาษาไทยเราเข้าใจคำว่า พยาธิ ตรงกับความหมายที่ ๒ เสียมากกว่า  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:29
ห้องกวดพะยาดทั่วไป คือ ห้องตรวจโรคทั่วไป  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:39
คงมีคำถามต่อมาว่า "แล้ว พยาธิ ในความหมายของไทย ในภาษาลาวเขาใช้ว่าอย่างไร"

คำตอบอยู่ในภาพนี้

พะยาดแม่กาฝากที่ติดมาจากดิน คือ โรคพยาธิที่ติดมาจากดิน


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:46
อีกภาพหนึ่ง มีข้อมูลเพิ่มเติม

บันดาพะยาดแม่กาฝากที่ติดมาจากดิน แม่ท้องโตกม แม่ท้องปากขอ แม่ท้องแส้ม้า  คือ บรรดาโรคพยาธิที่ติดมาจากดิน พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า

ดังนั้นคำที่หมายถึง พยาธิ ในภาษาลาว จึงมีอยู่ ๒ คำคือ แม่กาฝาก และ แม่ท้อง นั่นเอง ซึ่งเป็นคำบรรยายให้เห็นภาพดีกว่าคำว่า พยาธิ ในภาษาไทยเสียอีก  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 10:48
แผ่นภาพแนะนำการป้องกันโรคพยาธิ  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 12:56
 :D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 13:16
ຂອບໃຈຫລາຍໆ  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ม.ค. 15, 13:45
ในภาษาไทยมีคำแสดงความรู้สึกต่อสิ่งทีผู้อื่นทำให้อยู่หลายคำ ใช้กับหลายระดับ

ท่านรอยอินอธิบายไว้ดังนี้

ขอบใจ  คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคําที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).

ขอบคุณ, ขอบพระคุณ  คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกันหรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).


แต่ในภาษาลาวมีอยู่คำเดียวคือ ขอบใจ มีความหมายเท่ากับ ๓ คำข้างบน และใช้ได้กับทุก ๆ คน ทุก ๆ ระดับ  ;D

ตัวอย่าง

ขอบใจที่ท่านบ่สูบยา THANK YOU FOR NOT SMOKING


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ม.ค. 15, 10:40
มีศัพท์ภาษาไทย-ลาว ที่น่าสนใจในหนังสือ ไขประตูสู่ลาว ฉบับ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว พ.ศ. ๒๕๕๓ (http://www.slideshare.net/sarodp/lao-booklet-3rd-ed) ของสถานเอาอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์  


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ม.ค. 15, 11:50
 ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ม.ค. 15, 12:16
 ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ม.ค. 15, 13:08
 ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 12 ม.ค. 15, 15:00
คำว่า "บุลิมะสิด" ที่แปลว่า สำคัญเป็นลำดับต้นๆ นี้ ยังปรากฎอยู่ในกฎหมายไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 หนี้ ตั้งแต่มาตรา 251 ถึงมาตรา 289 ครับ โดยของเราสะกดว่า "บุริมสิทธิ" ครับ

สาระสำคัญก็คือ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้กับเจ้าหนี้หลายคน จะมีเจ้าหนี้บางคนที่กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่นๆ คือมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ได้

สมัยเรียนไม่เคยสงสัยเลยว่า คำนี้รากศัพท์แปลว่าอะไร เพึ่งเข้าในว่า หมายถึง "สำคัญเป็นลำดับต้นๆ" นี่เอง  

อีกคำที่คุ้นๆ คือ คำว่า "ปี้" ที่แปลว่า บัตรโดยสาร หรือ ตั๋ว หนะครับ บ้านเราเคยใช้คำนี้กับการ "ผูกปี้" คือเงินภาษีพิเศษทางการเรียกเก็บแทนการเกณฑ์แรงงานจากชาวจีนอพยพที่เป็น ผู้ชาย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น



กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ม.ค. 15, 09:34
คำว่า "บุลิมะสิด" ที่แปลว่า สำคัญเป็นลำดับต้นๆ นี้ ยังปรากฎอยู่ในกฎหมายไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 หนี้ ตั้งแต่มาตรา 251 ถึงมาตรา 289 ครับ โดยของเราสะกดว่า "บุริมสิทธิ" ครับ

สาระสำคัญก็คือ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้กับเจ้าหนี้หลายคน จะมีเจ้าหนี้บางคนที่กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่นๆ คือมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ได้

สมัยเรียนไม่เคยสงสัยเลยว่า คำนี้รากศัพท์แปลว่าอะไร เพึ่งเข้าในว่า หมายถึง "สำคัญเป็นลำดับต้นๆ" นี่เอง  


บุริมสิทธิ  [บุริมมะสิด] = บุริม + สิทธิ

นี้คือคำอธิบายของท่านรอยอิน

บุริม- [บุริมมะ-, บุริม-] ว. ตะวันออก; ก่อน. (ป. ปุริม; ส. ปุรสฺ + อิม).   ตรงกันข้ามกับ  ปัจฉิม- [ปัดฉิมมะ-] ว. ตะวันตก; ภายหลัง, ทีหลัง, ข้างหลังสุด. (ป. ปจฺฉิม).


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ม.ค. 15, 10:55
บุลิมะสิด ในความหมายว่า ความสำคัญลำดับต้น ๆ มีตัวอย่างอยู่ในข่าวชิ้นนี้

ไทว่า จะส้าง ทางลดไฟ ความไวสูง เชื่อมต่อกับลาว และจีน ในปี 2022 (http://forum.ampoljane.com/index.php?s=1a8bbb78b003d2a0687907231d2d418a&showtopic=943&st=1340&p=17432&#entry17432)

ลัดทะบานไทวางเป้าหมายที่จะเซื่อมต่อทางลดไฟความไวสูงกับลาวและจีนให้ได้ในปี 2022 หลือพายหลังที่ทางลดไฟความไวสูงในลาว ก่อส้างสำเล็ดแล้วได้สี่ปีเป็นอย่างหน้อย.

ท่านพันทะสัก วินยะลัก ปะทานคะนะที่ปีกสาของนายกลัดทะมนตีไท ได้เปิดเผยให้ฮู้ว่า แผนการก่อส้างทางลดไฟความไวสูง ที่เป็น โคงกานบูลิมะสิด  ของลัดทะบานไทในไลยะ 6 ปีต่อหน้า หรือจนถึงปี 2018 นั้น มีอยู่ 4 เส้นทางด้วยกัน กอคือเส้นทางบางกอก-พัดทะนา, บางกอก-พิดสะนุโลก, บางกอก-หัวหิน และบางกอก-นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด ตามลำดับ.

อิงตามการเปิดเผยของท่านพันทะสักดั่งก่าวนี้ กอหมายความว่า ทางลดไฟความไวสูงในไทจะยังคงบ่อมีการก่อสร้างไปเถิงหนองคาย เพื่อเซื่อมต่อกับทางลดไฟความไวสูงของลาว ที่นะคอนเวียงจันพายในปี 2018 อย่างแน่นอน.


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 13 ม.ค. 15, 19:48
"นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด"

เวลาอ่านออกเสียง ลาวออกเสียง ร.เรือ ไหมคะ


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ม.ค. 15, 20:12
ท่านพันทะสัก วินยะลัก ปะทานคะนะที่ปีกสาของนายกลัดทะมนตีไท ได้เปิดเผยให้ฮู้ว่า แผนการก่อส้างทางลดไฟความไวสูง ที่เป็น โคงกานบูลิมะสิด  ของลัดทะบานไทในไลยะ 6 ปีต่อหน้า หรือจนถึงปี 2018 นั้น มีอยู่ 4 เส้นทางด้วยกัน กอคือเส้นทางบางกอก-พัดทะนา, บางกอก-พิดสะนุโลก, บางกอก-หัวหิน และบางกอก-นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด ตามลำดับ.

ต้องขออภัยคุณแอนนาด้วย ถอดเป็นไทยผิดไปหลายแห่ง

พันทะสัก วินยะลัก  แก้เป็น   พันทะสัก วินยะรัด (พันศักดิ์ วิญญรัตน์)

นะคอนราดซะสีมา  แก้เป็น  นะคอนลาดซะสีมา

หรือ  แก้เป็น  หลือ

วินยะรัด ใช้อักษร ร ระคัง (ใช้เขียนเฉพาะคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ)  แต่ออกเสียงเหมือน ล ลิง ของไทย


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ม.ค. 15, 09:03
อักษรลาวผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุค แต่เดิมนั้นก็มีจำนวนอักษรพอ ๆ กับอักษรไทย แต่ต่อมามีการตัดอักษรออกเสียหลายตัวเหมือนของไทยในสมัยคุณแปลก (ป. พิบูลสงคราม) นั่นเอง  ;D

อักษรลาวตามแบบฉบับพุทธบัณฑิตสภา อักษรลาวยุคพระราชอาณาจักรลาว (ใช้ในยุคสมัยลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ใช้ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑) เอามาตั้งซื่อใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย อย่าง ท.เทียน เอามาเปลี่ยนเป็น ท.โทรศัพท์ อักษรยุคนี้มีความงามตามแบบอักษรลาวยุคเก่า เสียดายที่สมัยปัจจุบันนี้บ่ได้ใซ้แล้ว

(โปรดสังเกตว่า อักขรวีธีของอักษรลาวแบบนี้สะกดตามเค้าเดิมของภาษาอย่างเคร่งครัด มีการใช้ตัวสะกดตัวการันต์ เพื่อให้รู้ต้นเค้าของคำว่าเป็นคำภาษาลาวเดิมหรือคำภาษาต่างประเทศ เช่น ศิลป์ ศึกษา ยนต์ บัณฑิต ธัมมะนูณ โทระสัพท์)

คำบรรยายและภาพนำมาจาก เฟซบุ๊ก  เว้า อ่าน เขียนภาษาลาว สืบสานวัฒนธรรมลาวสองฝั่งโขง  (https://www.facebook.com/laosongfang/photos/a.363997627026327.86552.255417617884329/363986653694091/?type=1&theater)  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ม.ค. 15, 09:43
กลักไม้ขีดไฟในยุคนั้น  ;D

บอริสัดโฮงเฮ็ดไม้ขีดไฟแสงสิดพานิชจำกัด เวียงจันทน์ ประเทสลาว


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ม.ค. 15, 09:55
โฮงงานไม้ขีดไฟแสงสิดจำกัด

ลาวเฮ็ด  ลาวใช้


ขอให้สังเกตในทั้ง ๒ ภาพ คำว่า โฮง และ เฮ็ด (ออกเสียง ฮ นกฮูก ไทย) ในสมัยนั้น ใช้อักษร ร รถ (ระคัง) ไม่ใช่ ฮ เฮือใบ (เฮือน)

ภาพจาก เว็บโค้กไทย (http://www.cokethai.com/forum/viewtopic.php?f=95&t=22328)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 11:48
อักษรลาวตามแบบฉบับพุทธบัณฑิตสภา อักษรลาวยุคพระราชอาณาจักรลาว (ใช้ในยุคสมัยลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ใช้ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑)

หลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ อักษรลาวได้เปลี่ยนไปเป็นแบบของท่านสมจีน ป. งิน สะกดตามแบบที่ได้กำหนดในพระราชโองการ (พระราชบัญญัติ) เลขที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดหลักการเขียนภาษาลาวให้มีความแน่นอนและชัดเจนยิ่งขึ้น อักขรวิธีของระบบนี้ คือ สะกดคำตามเสียงอ่านแต่ยังคงรักษาเค้าเดิมของภาษาไว้ การสะกดการันต์ยังคงมีการใช้ แต่ได้เลิกใช้อักษรบางตัวลงจากแบบแรกเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น อักษรลาวรูปแบบนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๑๘ คือ นับตั้งแต่ประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันยังมีคงการใช้อยู่ในกลุ่มคนลาวอพยพในต่างประเทศ

ที่มา คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7#.E0.B9.81.E0.B8.9A.E0.B8.9A.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.97.E0.B9.88.E0.B8.B2.E0.B8.99.E0.B8.AA.E0.B8.A1.E0.B8.88.E0.B8.B5.E0.B8.99_.E0.B8.9B._.E0.B8.87.E0.B8.B4.E0.B8.99)  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 13:19
มีตัวอย่างของอักขรวิธียุคนี้  ในหนังสือเล่มนี้

พระราชปวัด
พระบาดสมเด็ดพระเจ้าสีสว่างวงส์
พระมะหากะสัด แห่ง พระราชอานาจักลาว
พิมน้อมเก้าถวายเพื่อพระราชทานแจก ในพระราชพิทีถวายพระเพิง
พระบรมสบ วันที่ ๒๙ เมสา ค.ส. ๑๙๖๑


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 13:27
พระราชปวัด
พระบาทสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์
พระมะหากะสัด แห่งพระราชอานาจักลาว
(ในพระราชวงส์ล้านช้าง หลวงพระบาง)
___________๐๐๐๐๐๐__________

คำนำ

ย้อนเหดที่ปะเทดลาวนับแต่ปางโบรานะกาลมา ได้มีการเสิกเหนือเสือใต้รบราข้าฟันบ่หยุดบ่หย่อน บ้านเมืองเคหา อาคาน ถืกจูดเผาทำลายเสียหายจนยับเยิน ฮอดได้ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างปะเทดมาแล้วหลายเทื่อหลายหน บางสไม ก่อกอบกู้เอาเอกราชคืนมาได้ก่อหลายเทื่อหลายหนดั่งเดียวกัน,  นับว่าพระราชอานาจักลาวของเฮา ได้ปะสบโชกชาตากันทังฝ่ายฮ้ายและฝ่ายดีตลอดมาจนเท้าฮอดกาละปัดจุบันนี้.

กันตกมาในสไมรัชกาลของพระบาดสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์นี้ ตอนต้น ๆ รัชกาล บ้านเมืองเฮากอยังตกอยู่ในพาวะเป็นเมืองขึ้นของต่างปะเทดอยู่ ย้อนเหดดั่งก่าวนั้น บันดาพระราชปวัดอันควนบันทึกไว้เป็นหลักถานและเป็นปวัดสาตของชาดอันถาวอน เป็นสำคันคู่บ้านคู่เมือง จึงถืกทำลายและสูนหายไปพ้อม ๆ กับบ้านเมืองคาวถืกพินาดหล้มจมไปอย่างหน้าเสียดายยิ่ง แม้แต่บันทึกและรูบเกี่ยวกับพระราดจะริยานุวัด พระราชปวัดของพระบาดสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์ซึ่งเป็นปะมุก เป็นพระมหาชีวิดของปะชานิกอนลาวทังชาด ปางเมื่อยังซงพระเยาก่อนสเด็ดสเหวยราชสมบัด ก่อบ่มีเหลือพอจะยึดเอามาเป็นหลักในกาบรวบรวมให้ติดต่อกัน เพื่อให้กุละบุด กุละทิดาที่เกิดใหม่ใหย่ลุนสึกสาหารู้ได้. สนั้นการรวบรวมพระราชปวัด และพระราชจะริยานุวัดของพระอง จึงได้อาไสเก็บและห้อนโฮมเอามาจากที่ต่าง ๆ สุดแท้จะซอกหามาได้พอเป็นหลักถาน เอามาตาบติดตาบต่อกันบ่อนละเล็กทีละน้อย บ่ละเอียดและบ่เป็นลำดับต่อเนื่องกัน จึบ่ต้องสงไสว่าพระราชปวัดและพระราชจะริยานุวัดนี้จะบ่มีการขาดตกบกพ่องอย่างมากมายหลายประกาน จึงขออะไพยในโอกาดนี้ด้วย.


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 15, 14:12
มีตอนที่กล่าวถึงคราวที่ขบวนการประเทดลาวเอาท่านไปเข้าค่ายสัมนาลัทธิคอมมิวนิสต์จนเสด็จสวรรคตไหมครับ ลาวเขาสอนประวัติศาสตร์ตอนนี้ให้คนรุ่นใหม่อย่างไร


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 14:32
หนังสือเล่มนี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์สวรรคต ๒ ปีและก่อนเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นเวลา ๑๔ ปี

พระมหากษัตริย์ลาวที่ถูกส่งตัวไปที่ค่ายสัมมนาเมืองเวียงชัยจนสวรรคตคือพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 15:00
ตอนจบของคำนำ

ท่านผู้ซงความรู้ทังหลาย จะแม่นด้วยหลักจากตำรา หลือฮู้โดยมีส่วนได้ฮู้เห็น ด้วยการได้เข้าเฝ้าทูนละออง หลือได้ใก้ชิดติดต่อกับพระองท่านด้วยตัวเอง ขอได้โผดกรุนาให้ข้อคิด ให้คำทักท้วง ให้คำตักเตือนด้วยเถิ้น เพื่อจะได้หาโอกาดเรียบเรียงและฮบโฮมใหม่ให้ถืกต้อง เมื่อมีโอกาดจะได้จัดพิมเผยแพร่ให้ประชาชนได้สึกสาหาความฮู้อันถืกต้อง เป็นปะโหยดแก่การสึกสาปวัดของชาดสืบต่อไป.

รูบต่าง ๆ ในปิ้มนี้ ได้มาจากที่ต่าง ๆ กัน ลางรูบเก่าและมัวหลาย จึงบ่แจ่มแจ้งดี หวังจะได้รับอะไพยจากท่านผู้อ่าน.

เวียงจัน วันที่ ๒๓ เดือนอาวริน  ๑๙๖๑
รัถมนตรีกระซวงถแลงข่าวและโคสนากาน

บัววัน  นอระสิง

หมายเหตุ เดือนอาวริน มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Avril คือเดือนเมษายน

รายละเอียดของหนังสือเล่มนี้อ่านได้ที่ พันทิป (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/10/K4785650/K4785650.html)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 15, 18:18
พระมหากษัตริย์ลาวที่ถูกส่งตัวไปที่ค่ายสัมมนาเมืองเวียงชัยจนสวรรคตคือพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ทรงฉายพระรูปคู่กับพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าสว่างวัฒนา เมื่อยังทรงพระเยาว์


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ม.ค. 15, 07:05
เพลินเพลงยามเช้ากับเพลงจำปาเมืองลาวหรืออีกชื่อหนึ่งคือดวงจำปา

http://youtube.com/watch?v=geV-Tj5I6x0#ws (http://youtube.com/watch?v=geV-Tj5I6x0#ws)

อธิบายศัพท์

พันซ่อง หรือ พันส่อง หรือ พลันส่อง ใกล้เคียงกับสำนวนไทยว่า หวนคิดถึง กระหวัดถึง

ง่วมเหงา หรือ ง่อมเหงา สำนวนนี้ในบ้านเรายังใช้กันอยู่ในภาษาถิ่นคำเมืองเหนือ แถบเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย พะเยา ฯลฯ ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า หงอยเหงา

แพง หมายถึง สงวน ถนอม มีราคา

เพิ่งใจ หมายถึง ภูมิใจ

เพลงนี้ ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมะหาพูมิ จิดพง และทำนองโดยอุตมะ จุลามณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว โดยใช้เมโลดี้จากทำนองขับทุ้มแบบหลวงพระบาง มาเป็นแนวทำนองหลักของเพลง ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่อครั้งที่ท่านเข้าร่วมการต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส

เนื้อหาของเพลงพูดถึงการพลัดบ้านพลัดถิ่น (เพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส) ถ้อยคำที่ใช้ซื่อใส เรียบง่ายแต่มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ เหมือนเพลงลาวอีกหลายสิบเพลง เป็นที่น่าสังเกตว่า เพลงนี้ใช้ “ดวงจำปา” หรือดอกลั่นทม มาเป็นสัญลักษณ์ของถิ่นฐานบ้านเกิด หรือมาตุภูมิ ทั้งที่ในยุคที่ประพันธ์เพลง ทางการประเทศลาวยังไม่ได้ยกฐานะของดวงจำปาให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวด้วยซ้ำ แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ดวงจำปา หรือดอกลั่นทม เป็นดอกไม้ยอดฮิตที่จะพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่เหนือสุดที่พงสาลีจรดใต้สุดที่จำปาศักดิ์ ปากเซ ทำให้ภายหลังเมื่อประเทศลาว ได้ชัยชนะในสงครามเหนือสหรัฐอเมริกา สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้น จึงได้ยกฐานะให้ “ดวงจำปา” เป็นดอกไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าผู้นำประเทศคงได้รับอิทธิพลจากบทเพลงนี้ไม่น้อย

ที่มา บล็อกของลุงแว่น (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skit&month=03-2009&date=07&group=7&gblog=2)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ม.ค. 15, 07:49
ສອງຝັ່ງຂອງ : สองฝั่งโขง

ผู้ประพันธ์  จำปา ลัดตะนะสะหวัน หรือ สุลิวัด

http://youtube.com/watch?v=zZfKNqsyuFA#ws (http://youtube.com/watch?v=zZfKNqsyuFA#ws)

สายนทีรินหลั่งจากฟ้า
แบ่งพสุธาเป็นซ้ายและขวาสองฝั่ง
หากน้ำกั้นกลางนั้นบ่สำคัญ
แต่ความสัมพันธ์
ของเรามั่นคงเรื่อยไป

ถึงไกลกันคนละฝั่งของ
ต่างหมายปรองดอง
มุ่งหวังทั้งสองจนได้
ด้วยความใฝ่ฝันมั่นสุดหัวใจ
ปักฝังทรวงในเหมือนใจเดียวกัน

ทั้งสองฝั่งกั้นกลางด้วยสายนที
แต่ประเพณีนั้นบ่ต่างกัน
ชาติลาวและไทยก่อนนั้นเคยได้สัมพันธ์
ร่วมสายโลหิตเดียวกัน
เพียงน้ำเท่านั้นมากั้นแบ่งกลาง

ขอฟ้าดินจงเป็นสักขี
โปรดคิดปรานี
จงอย่าได้มีวันห่าง
อย่าให้สัมพันธ์นั้นต้องจืดจาง
ฝากฝังชีวีเหนือนทีสองฝั่งเอย


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A104.png)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ม.ค. 15, 14:29
คงจะต้องยุติความน่ารักของภาษาลาวไว้เพียงเท่านี้ แต่หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเล่าสู่กันฟังต่อได้เลย

คุณฝน ธนสุนทร บอกไว้ในคลิปว่าภาษาลาวน่ารัก คุณฝนเองก็น่ารักที่พยายามอ่านภาษาลาว

http://www.youtube.com/watch?v=6HuSIRh9Gok#ws (http://www.youtube.com/watch?v=6HuSIRh9Gok#ws)

ช่วยคุณฝนอ่านภาษาลาวกันหน่อยเด้อ  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.พ. 15, 13:40
ข่าวเหลือเชื่อเมืองลาว

http://youtube.com/watch?v=pgLD6CpWlxk#ws (http://youtube.com/watch?v=pgLD6CpWlxk#ws)

นาที่ที่ ๑.๒๕ มีการใช้สำนวนไทยสมัยใหม่ "บ่เซื่อก้อบ่ควนลบหลู่" ด้วยเด้อ

เซื่อบ่  ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 20, 11:54
การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (ພະຍາດປອດອັກເສບຈາກເຊື້ອຈຸລະໂລກສາຍພັນໃໝ່) ในลาว

https://youtu.be/a2qOsLEKNXE

ภาพจาก https://www.facebook.com/816243455135583/posts/2794693327290576/


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 21, 14:38
ประกาศการฉีดวัคซีนในลาว คนไทยที่ทำงานในลาวก็มีสิทธิ์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ด้วย  ;D

กลุ่มเป้าหมายและเอกสารอ้างอิงสำหรับผู้ที่สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้

- ผู้อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปให้ถือบัตรประจำตัวหรือสำมะโนครัวมาด้วย
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้ถือหนังสือติดตามการตรวจโรคและใบตรวจต่าง ๆ มาด้วย
- สำหรับคนต่างประเทศให้ถือบัตรยืนยันที่ทำงานมาด้วย

ท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย และไม่มีเอกสารอ้างอิง จะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างเด็ดขาด

จาก  ສູນຂ່າວສານການແພດສຸຂະສຶກສາ Centre of Information and Education for Health (https://www.facebook.com/1579412422083446/posts/4336045076420153/?d=n)


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 21, 17:31
โควิด-๑๙ วันนี้ในลาว

ผู้ติดเชื้อ ๑๔ คน (สะสม ๒,๐๑๐ คน) วันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต (สะสม ๓ คน)

ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด เข็มที่ ๑  ๗๑๓,๘๑๘ คน เข็มที่ ๒  ๓๙๗,๐๓๘ คน


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 14 มิ.ย. 21, 17:41
.


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 21, 17:59
ว่าด้วยความหมายของ ພະຍາດ ในภาษาลาว

คำว่า พะยาด ในภาษาลาวตรงกับคำว่า พยาธิ ในภาษาไทย

ท่านรอยอินให้ความหมายคำว่า พยาธิ นี้ไว้สองอย่างคือ

พยาธิ ๑ [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
 
พยาธิ ๒ [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.


ในภาษาลาว พะยาด ตรงกับความหมายที่ ๑ ส่วนในภาษาไทยเราเข้าใจคำว่า พยาธิ ตรงกับความหมายที่ ๒ เสียมากกว่า
 ;D


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 มิ.ย. 21, 11:56
เหมือนคำว่า พยาธิสภาพ หรือ พยาธิวิทยา สินะครับ
ไม่ได้หมายถึง สภาพของตัวพยาธิน้อยกระดุบกระดิบ แต่อย่างใด


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 22, 16:35
ชื่อพายุไต้ฝุ่น "หินหนามหน่อ" ที่เข้าถล่มเกาหลีใต้ ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Ccyclones%5C%AA%D7%E8%CD%BE%D2%C2%D8%CB%C1%D8%B9%E0%A2%B5%C3%E9%CD%B9%E1%C5%D0%BE%D2%C2%D8%E4%AB%E2%A4%C5%B9%BB%C3%D1%BA%BB%C3%D8%A7_2019.pdf) บอกว่ามาจากภาษาลาว แปลว่า "ห่านป่า" ซึ่งไม่ถูกต้อง


กระทู้: ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 22, 16:35
ที่ถูกต้องคือ "หินหนามหน่อ" (ຫີນໜາມໜໍ່) แปลว่า หินที่เป็นหน่อเป็นหนามแหลม (ความหมายเดียวกับในภาษาไทย) เป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ ตั้งอยู่ในแขวงคำม่วน ซึ่งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศลาว ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนซึ่งมีหินแหลมคล้ายหน่อไม้อยู่ทั่วไป

ภาพจาก เป็นเรื่อง เป็นลาว (https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0hw8Xf6pyfPyRRzPRQgndRvB2HQw1Kxa8JNxnCUQVH4cFowdEzv5FSNxNTJaNftqjl&id=267836543753975)