เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:06



กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:06
เมื่อ 2-3 วันนี้มานี้  มีข่าวรายจ่ายก้อนมหึมาที่รัฐบาลชุดนี้ต้องควักกระเป๋าจ่าย ทั้งๆตัวเองไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย 
เป็นมรดกหนี้ตกทอดมาจากรัฐบาลชุดเก่า(แล้วเก่าอีก) สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี   

ขอยกตอนจบของเรื่อง คือคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมาให้อ่านกันค่ะ
จาก  ไทยรัฐออนไลน์
22 เม.ย. 2562 12:05 น.

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลาง นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่สั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ่ายคืนเงินค่าก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แก่บริษัท โฮปเวลล์ รวม 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา ยกฟ้อง มีผลให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟฯ ต้องคืนเงินชดเชย ให้โฮปเวลล์ จากการบอกเลิกสัญญารวมเป็นเงิน 11,888 ล้านบาท โดยไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี พร้อมคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่บริษัทได้ชำระเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ รฟท. ถึงก่อนวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 2,850 ล้านบาท รวมถึงเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท และเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับคดีถึงที่สุด
ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นฟังคำพิพากษา ทนายความของบริษัท โฮปเวลล์ ได้เดินทางออกจากศาลทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:10
คุณ NAVARAT.C ได้เล่าความเป็นมาของเรื่องนี้ด้วยสำนวนภาษาอ่านง่าย เข้าใจง่าย มีรสชาติแซ่บ ตามแบบของท่าน ลงใน Facebook
ดิฉันก็เลยขออนุญาตท่่าน  นำมาถ่ายทอดต่อในเรือนไทยค่ะ
****************
อะไรคือความโง่ที่คนไทยต้องควักกระเป๋าจ่าย
.
ผมเชื่อว่า ข่าวเรื่องศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้รัฐบาลไทย จ่ายค่าเสียหายให้กับ บริษัทโฮปเวลล์รวม 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี คงจะสร้างความงงงันให้แก่คนไทยมากว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไรมาอย่างไร จุดโง่มันอยู่ที่ตรงไหน ทำไมรัฐบาลจึงแพ้คดีในบ้านตัวเองจนต้องเสียค่าโง่ขนาดนี้
.
ต้องขอย้อนไปพ.ศ. 2533 เมื่อสามสิบปีที่แล้ว รัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ต่อรองกับหลายพรรคเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม ตกลงจะแบ่งเค๊กกันจานใครจานมัน พรรคอื่นห้ามแหยม เวลานั้น นายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคมได้เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมาแล้ว ก็วาดอภิมหาโปรเจกต์ขึ้นในอากาศโครงการหนึ่ง จะก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน บนพื้นที่ของการรถไฟ โดยยกระดับรางขึ้นไปเหนือผิวการจราจรเพื่อลดจุดตัดกับถนน คร่อมไปบนทางรถไฟที่มีอยู่เดิม ประมาณว่าจะใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางจะจัดสรรงบให้ได้ จึงจะต้องใช้วิธีเชิญชวนบริษัทเอกชนทั่วโลกมาประมูลสัมปทานโครงการ ให้ลงทุนตั้งแต่ออกแบบเอง และก่อสร้างเองทั้งหมด โดยให้ผลตอบแทน 30 ปี จากค่าผ่านทางและรายได้จากกิจการเดินรถไฟฟ้า แล้วยังจะยกที่ดินของการรถไฟผืนงามๆในกรุงเทพประมาณ 600 ไร่ ให้ไปพัฒนาอสังหาริมทัพย์ในรูปแบบการเช่าระยะยาวอีกด้วย
.
โครงการระบบรางในความฝันนี้มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จใน 4 ปี โดยระบุเป็นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร แล้วเสร็จใน 5 ปี
ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร แล้วเสร็จใน 6 ปี
ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร แล้วเสร็จใน 7 ปี
ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร แล้วเสร็จใน 8 ปี
.
เหยื่อที่โยนไปตามสื่อนี้ มีปลาเข้ามางับสองราย คือบริษัทลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากแคนาดา และบริษัท โฮปเวลล์ จากฮ่องกง ผลการประมูลครั้งนั้น บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนายกอร์ดอน วู ยักษ์ใหญ่วงการอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกง เป็นผู้ชนะ โดยจะเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนแก่รัฐบาลไทยเป็นรายปี รวม 30 ปี ประมาณ 53,810 ล้านบาท


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:10
ผมยังจำรายการที่สุทธิชัย หยุ่น สัมภาษณ์สดกอร์ดอน วู ออกทีวี ให้เจ้าสัวคุยเฟื่องเรื่องความสำเร็จของตนในฮ่องกง และวิสัยทัศน์ที่มีต่อโครงการนี้ ตอนที่มีข่าวว่าโฮปเวลล์ได้รับสัมปทานในเมืองไทย หุ้นทุกตัวของแกก็ทะยานขึ้นชนเพดานทุกวันไม่มีท่าทีจะหยุด ดูเหมือนว่านายกอร์ดอน วูจะไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนที่จะมาทุ่มในเมืองไทยแม้น้อย ต้องไม่ลืมด้วยนะครับว่าน้าชาติเองก็เป็นนักปั่นราคาที่ดิน และได้วาดโครงการ Western Sea Board ขึ้นที่กระบี่และสุราษฎร์ เล่นเอาที่ดินแถวนั้นพุ่งกระฉูดเป็นสิบๆเท่าในระยะเวลาอันสั้น แล้วระบาดไปทั่วประเทศเหมือนกัน กอร์ดอน วูจึงยิ้มหวานออกรายการวันนั้นโหงวเฮ้งเจิดจ้าพอๆกับคุณหยุ่น แต่พอใกล้จบเจอทีเด็ดคุณหยุ่นบอกยิ้มๆว่าขอถามคำถามสุดท้าย ที่ยูได้สัมปทานมานี่ ยูต้องจ่ายใครบ้างหรือเปล่า
.
เจอทีเด็ดนี้เข้าเจ้าสัวก็ไปต่อไม่ถูก แต่อาศัยความเก๋า ตอบว่า สุทธิชัย ยูถามอย่างนี้ไอถือว่าไม่แฟร์ แล้วเลยเฉไฉ จนแล้วจนรอดไม่ยอมพูดว่าทำไมจึงไม่แฟร์จนกระทั่งหมดเวลา
.
แล้วเรื่องปวดกระบานยกแรกก็เริ่มขึ้น แบบที่โฮปเวลล์นำออกมาเสนอไม่เป็นที่ถูกใจโน่นนี่นั่น ต้องแก้แบบหลายครั้งตามแต่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะพอใจ ซึ่งล้วนแต่ใช้เงินทั้งนั้น กว่าจะลงมือก่อสร้างได้ เส้นทางยมราช-ดอนเมืองซึ่งกำหนดให้เสร็จใน 4 ปีก็หมดเวลาไปตั้งครึ่งตั้งค่อน ต้องกำหนดกันใหม่ให้เสร็จในปี 2541 แต่ก็ยังเจอปัญหาหลักในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ แค่จุดตัดกับโครงการถนนยกระดับอื่นๆบนวิภาวดีรังสิตก็จบกันยากยิ่งแล้ว นายมนตรีตัวการนั้นเล่า ก็ได้ลุกจากคมนาคมไปนั่งปรุงเค๊กชิ้นใหม่ที่กระทรวงเกษตรต่อแล้ว ทิ้งให้เจ้าสัวกอร์ดอนโวยวายกับรัฐมนตรีใหม่ ทีมงานใหม่ไปตามลำพัง ยิ่งต่อมารัฐบาลของน้าชาติก็โดนรัฐประหารโดยพลเอก สุนทร คงสมพงษ์เข้าอีก ปัญหายิ่งยุ่งยากซับซ้อนใหญ่เพราะรัฐบาลใหม่มองว่าโครงการนี้เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น ธนาคารผู้ให้กู้เห็นท่าไม่ดีก็ตัดท่อน้ำเลี้ยง ข่าวร้ายที่มีติดต่อกันมาดังกล่าวทำให้หุ้นทุกตัวลงโฮปเวลล์ตกติดพื้นในทุกตลาด ข่าวว่าถึงตอนนั้นเจ้าสัวแทบจะต้องเอากางเกงไปจำนำ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:11
ปรากฏว่าถึงปี 2541 Hopewell ซึ่งได้กลายเป็น Hopeless ไปแล้วเพราะงานมีความคืบหน้าเพียง 13.7% เท่านั้น รัฐบาลไทยจึงบอกเลิกสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541
โฮปเวลล์พยายามเจรจา แต่ไม่มีใครอยากคุยด้วย ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547จึงได้ยื่นฟ้องการรถไฟไทยคู่สัญญาต่อองค์คณะอนุญาโตตุลาการตามที่ตกลงในสัญญาว่าจะยุติข้อพิพาทด้วยวิธีการนี้
.
อนุญาโตตุลาการ เป็นขบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช้ศาล กล่าวคือเมื่อคู่ความเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายจะเลือกบุคคลผู้มีคุณวุฒิ(ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงยุติธรรม)ฝ่ายละคนซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ และทั้งสองจะเลือกบุคคลภายนอกจากรายชื่อในทะเบียนอีกหนึ่งให้ทำหน้าที่ประธานและชี้ขาด(สองในสาม) ส่วนการพิจารณาคดีก็ผลัดกันให้การและซักค้านเช่นเดียวกับที่กระทำในศาล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า
,
คณะอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ประกอบด้วย รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ และ อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
ที่สำคัญที่สุดคือคู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทแล้ว จะยอมรับตามนั้น
.
วันที่ 30 กันยายน 2551 คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้การรถไฟชดใช้ค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ เป็นเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยปีละ 7.5% จากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม
แต่แทนที่จะยอมรับโดยดี รัฐบาลโดยการรถไฟกลับยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิกคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างเหตุผลทางกฎหมาย ว่าโฮปเวลล์ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ช้ากว่า 5 ปีนับแต่รู้เหตุที่ควรฟ้องตามที่กฎหมายไทยว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองกำหนดไว้
.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:12
13 มีนาคม 2557 ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเห็นด้วยกับการรถไฟ แล้วให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
โฮปเวลล์อุทธรณ์
,
วันที่ 22 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับความเห็นของศาลชั้นต้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าคดีนี้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การรถไฟจะยก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองมาต่อสู้มิได้
.
เรื่องนี้จึงจบลงที่อะไรคือความโง่
ณ วันนี้ผมเช็คในอินเทอเน็ตแล้ว นายกอร์ดอน วู และธุรกิจของเขายังไม่ตาย แต่ในประวัติส่วนตัวและบริษัทโฮปเวลล์จะไม่พูดถึงโครงการฝันร้ายในเมืองไทยเลย ส่วนนายมนตรีนั้นจบฉากชีวิตไปนานแล้ว
สรุปได้ว่าทั้งสองคนนี้ไม่โง่แน่นอน


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:13
แม้ว่ากันตามเนื้อหา โครงการวาดฝันที่ต่อด้วยหาผู้ใจกล้ามาเหมาในวิธีการที่เรียกว่า Turnkey ซึ่งหมายถึงจะออกแบบและก่อสร้างให้เสร็จสรรพให้ได้ตามเงื่อนไขของเวลาและงบประมาณนั้น ขนาดเป็นการก่อสร้างบ้านธรรมดาๆเจ้าของกับผู้รับเหมายังทะเลาะแทบเป็นแทบตาย สัมมะหาอะไรกับโครงการเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน ซึ่งจุดตายคือ พื้นที่โครงการไม่ใช่ที่ดินว่างเปล่า แต่มีที่ซ้อนทับที่ผู้อื่นอ้างสิทธิ์อยู่
.
(ก็ขอให้คอยดูค่าโง่รายการต่อไปนะครับ โครงการสร้างรัฐสภาหลังใหม่ที่กำหนดเสร็จเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ค่าก่อสร้างบานทะโลกไปไม่ทราบกี่พันกี่หมื่นล้านแล้ว เหตุผลหนึ่งก็คือ เพราะโรงเรียนโยธินบูรณะกว่าจะยอมออกจากพื้นที่นี่แหละ)
.
ขีดเส้นใต้ไว้เลยนะครับ ถ้าที่ดินยังไม่เคลียร์ ขอรัฐอย่าได้ไปก่อเรื่องโง่ๆอย่างนี้อีก แล้วประชาชนก็ต้องคอยดูไอ้พวกเสือหิวไม่ว่าหน้าไหนก็ตามที่แกล้งโง่ด้วย
.
(ขอขอบคุณข้อมูลบางประการจากโพสต์ของคุณ Pum Chakartnit ครับ)


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 10:28
ขอบคุณที่กรุณาถ่ายทอดมาครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 10:34
พ่อคนนี้ก็ ไม่รู้เอาอะไรมาพูด แล้วก็มีคนเข้าไปกดไล้ค์หลายร้อยซะด้วย ในเม็นต์ก็ด่ารัฐบาลไทยกันท่วมจอ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 10:51
ก่อนที่คุณ NAVARAT.C จะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติม    ดิฉันขอคั่นเวลาด้วยการเล่าถึงอนุญาโตตุลาการไปพลางๆก่อนนะคะ   คิดว่าบางท่านอาจยังไม่ทราบว่า คำนี้หมายถึงใครหรืออะไร

อนุญาโตตุลาการ  หมายถึง
1. บุคคลที่คู่กรณีตกลงกัน ตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นคนกลางชี้ขาดในข้อพิพาท.
2. (กฎหมาย)  บุคคลคนเดียว หรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้ชี้ขาด

เพิ่มอีกหน่อยค่ะ
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ การระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล เป็นกระบวนการที่คู่พิพาทตกลงกันให้บุคคลที่สามที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทนั้นเป็นผู้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว โดยคู่พิพาทจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยชี้ขาดและผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้นด้วย

ขอเล่าประสบการณ์ในฐานะเคยเป็นอนุญาโตตุลาการของกรมทรัพย์สินทางปัญญามาก่อนนะคะ

หน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ อย่างแรกที่ทำคือระงับข้อพิพาทของคู่คดี โดยไม่ต้องส่งไปถึงศาล เพราะบางเรื่องถ้าตกลงกันได้ก่อนก็ดี  ไม่ต้องรกโรงศาลที่ท่านมีคดีเข้าคิวกันอยู่มากมายแล้ว   แถมยังกินเวลายาวนาน หากอุทธรณ์ฎีกากัน ก็พบกันบ่อยๆว่ายาวจนคู่กรณีตายกันไปก่อนก็มี  ไม่ทันได้หรือเสียประโยชน์จากคดีนั้น

อนุญาโตตุลาการไม่ต้องเรียนจบมาทางกฎหมาย แต่ต้องถูกส่งไปรับการอบรมทางกฎหมาย  ได้หนังสือหนังหาคู่มือที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องรู้มาอ่านให้เข้าใจว่าเราต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อความแน่ใจก็มีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายคอยตอบคำถามให้อีกทีหนึ่ง  เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาด   ไม่ปล่อยไก่ออกไป  หรือไม่ไปบอกให้คู่คดีทำยังงั้นยังงี้ที่กฎหมายไม่ได้อนุญาตไว้

เดี๋ยวจะยกตัวอย่าง สมมุติเอาแถวๆนี้ละค่ะ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 11:10
.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:11
สมมุติว่าแถวนี้มีนักเขียนอยู่คนหนึ่ง ชื่อคุณป.  แกชอบเขียนอัตชีวประวัติว่าตัวเองเป็นเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้า ปลอมตัวมาขับแท็กซี่แสวงหารักแท้  
ทีนี้ วันร้ายคืนร้ายก็มีเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้าตัวจริง ไปร้องเรียนว่าคุณป.ละเมิดลิขสิทธิ์ เอาชีวิตองค์ชายมาเขียน ว่าเป็นชีวิตตัวแกเอง จัดเข้าประเภทละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา    ต้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งประมาณร้อยล้านเศษๆ
คุณป.ก็ต่อสู้ว่า ไม่รู้เรื่อง ที่เขียนเป็นแค่นวนิยาย   ไม่ได้ไปเอาชีวิตใครมา   แคว้นอะไรนี่ก็สมมุติขึ้นมา ใครจะไปรู้ว่ามันดันมีจริง  ไม่เคยเรียนมาเลยในวิชาภูมิศาสตร์

เมื่อเกิดคดีร้องเรียนขึ้นมา กรมทรัพย์สินฯก็ให้อนุญาโตตุลาการมาเป็นด่านหน้า     ดูว่าจะตกลงกันได้ยังไง  เผื่อไกล่เกลี่ยไม่เอาความกันได้คดีก็จบกันง่ายหน่อย ไม่เป็นภาระถึงขั้นศาล
การระงับคดีพิพาทก็ทำได้หลายอย่าง แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกันได้ระดับไหน    เช่นพูดกันไปๆมาๆ เจ้าปางฟ้าใจอ่อน ว่าคุณป. โฆษณาชื่อเสียงให้ฟรีๆ  เลยถอนเรื่องไม่เอาความ    ก็จบกันไป  จบงานของอนญาโตตุลการ
หรือเถียงกันไปมา   คุณป.ยอมจ่ายค่าเสียหายได้ จากร้อยกว่าล้านลดลงมาเหลือห้าหมื่น  จะได้เลิกแล้วไม่เอาความกัน  เจ้าปางฟ้าก็ตกลงเพราะดีกว่าอยู่เปล่าๆ   ยังงี้ก็จบไปอีกแบบหนึ่ง

แต่ถ้าทั้งสองเถียงกันไม่ยอมแพ้กันทั้งสองฝ่าย   ตกลงกันยังไงก็ไม่เอา  จะต้องเอาอีกฝ่ายเข้าคุกให้ได้    อนุญาโตตุลาการไม่มีหน้าที่จะมาชี้ขาดว่าจะต้องเอาฝ่ายไหนเข้าคุก หรือฝ่ายไหนไม่ผิด ถูกปล่อยไป      เรื่องก็ต้องถูกส่งเข้ากระบวนการยุติธรรม คือไปที่ศาล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองฝ่ายทำไม่ได้อย่างหนึ่งก็คือ  ตอนแรกตกลงให้อนุญาโตตุลาการเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงยอมความ จ่ายค่าเสียหายเรียบร้อย     โอเคแล้ว เซ็นชื่อตกลงกันไป
แต่พอกลับไปบ้าน  เกิดเสียดายว่าได้เงินน้อยไปหน่อย  โทร.บอกสื่อว่าผมเปลี่ยนใจแล้ว  เรื่องอะไรให้ใครไม่รู้มาตกลงว่าให้ผมได้เงินนิดเดียว ผมควรได้มากกว่านี้   พูดง่ายๆคือเบี้ยวกันขึ้นมาทีหลัง
ไอ้ที่เซ็นไว้ว่าตกลงรับห้าหมื่น   ขอเปลี่ยนเป็นเอาเรื่อง เรียกค่าเสียหายร้อยล้านตามเดิม
ยังงี้ทำไม่ได้ค่ะ
ถ้าไม่ยอมก็ต้องไม่ยอมเสียแต่แรก  ตั้งแต่อยู่ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ   คือเจรจาไกล่เกลี่ยนตกลงกันยังไงก็ไม่สำเร็จ  ถ้าออกมาในรูปนั้นก็ต้องส่งเข้ากระบวนการของศาลต่อไป


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:30
กลับมาที่คุณ NAVARAT.C

คดีโฮปเวลล์ และ คดีเหมืองทองอัครา อนุญาโตตุลาการคนละศาลนะครับ
.
มีผู้ครอปเรื่องที่ผมโพสต์เมื่อวานไปลงในเพจต้นเรื่อง เชิญให้วิสัชนากับผม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อที่จะให้ผู้รู้น้อยในเรื่องนี้จะได้ไม่เข้าใจผิดๆ และวิจารณ์ผิดๆ
.
คำตอบคือ “ผมเคยเขียนถึงระบบนี้มานานแล้วครับ ตัวอย่างใกล้ๆ คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียนั้นเมื่ออนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทกับรัฐ จะบังคับใช้ได้ก็เมื่อรัฐสภาลงมติด้วยเสียงข้างมากยอมรับก่อน จึงมีผลบังคับ เพราะรัฐสภาคือตัวแทนของประชาชนทั้งชาติ อเมริกา จีน เวียดนาม ยุโรปก็คล้ายๆกัน เมื่อมีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ความเป็นรัฐาฐิปัตย์จะไม่ยอมให้เอกชน 2-3 คนมาตัดสินชะตากรรมของรัฐ มีแต่ประเทศเมืองขึ้นเท่านั้น ที่ยอม

ไม่อยากเสียเวลามาโต้แย้ง ค้น Google อ่าน แล้วจะเจอตัวอย่างประเทศที่รัฐไม่ยอมรับการตัดสินของเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา แคนาดา

มีแต่ประเทศเมืองขึ้น ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น หรือประเทศกึ่งเมืองขึ้นที่ประชาชนยังมีทัศนคติ และโลกทรรศน์ แบบชาวเมืองขึ้นที่ประเทศเจ้าเมืองขึ้นมาวางระบบการศึกษาและระบบคิด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ เช่น การให้ทุนไปศึกษา ไปดูงาน เป็นต้น”
.
ผมก็งงเป็นไก่ตาแตก ต้องง่วนอยู่กับอากู๋ครึ่งค่อนวัน แต่ก็ไม่ได้เรื่องตรงประเด็นที่ตอบมา ไพล่ไปได้ความรู้อื่นๆเยอะแยะต้องนำมาขยายต่อ อย่างไรก็ดี เพื่องขจัดความสงสัย ผมจึงได้ส่งข้อความที่พาดพิงมาเลเซียไปถามเพื่อนซี๊คนหนึ่ง Dato Latt Shariman Abdullah ผู้เป็นนักกฏหมายที่อยู่ในวงการเมืองที่โน่น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:31
“ Brother.
I was told that in Malaysia, when the arbitrators have awarded to the contract party, which is a private company against the governmental agency. The enforcement shall be applied only after the parliament approval by majority vote.”
True or not?”
คำตอบที่ได้ตรงจุดชัดเจน คือ
“Not true”
ลองตรองดูสิครับ ถ้าเป็นความจริงแล้วเอกชนหน้าโง่ที่ไหนจะกล้าเข้าไปทำสัญญากับองค์กรของรัฐในมาเลเซีย หากทะเลาะกันแล้วก็เจ๊งลูกเดียวเพราะเขาต้องเข้าข้างกันแหง๋ๆ
.
อย่างไรก็ดี การได้เข้าไปอ่านคำตอบอื่นๆในเพจโน้นทำให้ผมชัดเจนขึ้นว่า เขาพยายามนำคดีเหมืองทองอัคราและโฮปเวลล์มาปะปนเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นคดีความที่นำฟ้องคนละศาล ของโฮปเวลล์ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการของไทย ภายใต้กฏหมายไทย แต่ของเหมืองทองอัครา บริษัทคิงส์เกตผู้เสียหายไปฟ้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงเฮก ใช่ครับ มันจึงเป็นเรื่องที่พึงรอบคอบ
.
ศาลนี้มีชื่อเป็นทางการว่า "Permanent Court of Arbitration(ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร)" (PCA) เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อส่งเสริมการแก้ไขข้อพิพาทซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐ องค์กรของรัฐ (state entity) องค์การระหว่างประเทศและภาคีเอกชน
การที่ศาลนี้ตั้งอยู่ในอาคารเดียวกันกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)หรือศาลโลก จึงทำให้เกิดความสับสน .


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:32
ความจริงคือศาลนี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของศาลโลก และไม่ใช่หน่วยงานของUNด้วย ดังนั้นรายได้หลักของ PCA จึงมาจากค่าบริการที่เรียกเก็บจากคู่ความทั้งสองฝ่าย ที่ต้องการให้ช่วยวินิจฉัยคดีให้ ค่าดำเนินคดีเริ่มต้นที่ €2,000 (ประมาณ 78,000 บาท) สำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ราคานี้ถือเป็นการอ่อยเหยื่อ เพราะที่โหดจริงๆคือค่าว่าความ ค่าตัวของอนุญาโตตุลาการแต่ละคน คิดเป็นเงินไทยก็แสนบาทต่อวัน ค่าทนายขั้นต่ำๆก็ 32000 บาทต่อชั่วโมงการทำงานทั้งในศาลและนอกศาล ค่าป่วยการของผู้ชำนัญพิเศษที่มาเป็นพยานวันหนึ่งๆต้องเป็นแสน ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นเช่นค่าที่พักและค่าเดินทางระดับ first class สู้คดีกันเป็นปีๆ บางคดีหมดไปเกินร้อยล้าน
.
ผู้มีรู้ฟันธงว่า ศาลนี้เป็นเครื่องมือในการหากินของพวกนักกฎหมายระหว่างประเทศ ใครเงินหนาก็สามารถชนะคดีได้ สหรัฐและชาติตะวันตกมักจะชอบใช้ในการสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายตน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากต่างชาติอื่นๆ แต่ถ้าคู่กรณีย์ไม่ไปลงนามยอมรับจะไปสู้คดีกันในศาล มันไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ
.
ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆนี้ เกิดข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน ซึ่งจีนไม่ยอมเจรจาใดๆ ฟิลิปปินส์(ที่อเมริกันถือหางในทางลับ)จึงนำความไปฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการถาวร แต่จีนไม่สนใจ ลื้อจะทำอะไรของลื้อก็ทำไปอั๊วไม่เล่นด้วย
เมื่อไม่มีคู่ความ ศาลนี้ก็ตัดสินข้างเดียว โดยออก "คำวินิจฉัยข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน" ชี้ว่าจีนเป็นฝ่ายผิด ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนเกาะที่ไปครอบครองโดยไม่ชอบทั้งหมด สื่อตะวันตกก็ประโคมข่าวกดดันจีนเป็นการใหญ่ แต่จีนก็ตอบโต้สั้นๆว่า "ไร้สาระ" ดังนั้นอนุญาโตตุลาการถาวรจึงกลายเป็นตัวตลกถาวร การพิจารณาตัดสินก็เป็นเพียงการเล่นละครปาหี่ของสหรัฐและพันธมิตรตะวันตกเท่านั้น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:32
มีอีกคดีหนึ่งที่รัสเซียได้ปฏิเสธคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการแห่งนี้มาแล้ว ในปี 2014 อดีตผู้ถือหุ้นของบริษัทปิโตเลียมรัชเซียนแห่งหนึ่งแพ้คดี ถูกศาลรัสเซียตัดสินจำคุก หลังจากพ้นโทษเขาได้ย้ายไปอยู่ฝรั่งเศส แล้วก็ยื่นฟ้องคดีเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลรัสเซีย 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อมาอนุญาโตตุลาการถาวรได้ตัดสินคดีให้นายคนนี้ชนะคดี แล้วมีคำสั่งให้รัสเซียชดใช้ค่าเสียหายราว 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
.
เมื่อรัฐบาลรัสเซียปฏิเสธ บางประเทศในยุโรปก็ทำซ่า โดยขู่จะอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลรัสเซียในประเทศตนเอง รัสเซียบอกว่าก็ลองดู ยูอายัดของไอได้ ไอก็อายัดของยูได้ คำขู่เลยด้าน

ต่อมารัสเซียก็ได้ยื่นฟ้องคดีเดียวกันนี้ต่อศาลโลกของแท้ ไม่ใช่ศาลโลกเทียมอย่าง PCA ปรากฏว่าฝ่ายรัสเซียชนะคดี
.
แต่นั่นเขามหาอำนาจนะครับ ไทยจะไปกร้าวอย่างพี่ๆและสมุนบริวารที่พี่เขาถือหางนักไม่ได้ เดี๋ยวมันออกคำวินิจฉัยมาข้างเดียวจะแก้ยากเข้าไปอีก โดยเฉพาะรัฐบาลที่ไปปิดเหมืองมีจุดอ่อนที่พวกเขารุมตราหน้าว่าเป็นรัฐบาลทหารที่ใช้อำนาจตาม ม.44 จ้องจะหาเรื่องอยู่แล้ว
ในเกมนี้รัฐบาลไทยจึงใช้วิธีแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะคำสั่งตาม ม.44 ดังกล่าวเป็นการให้ปิดชั่วคราว ไม่ใช่ปิดถาวรแบบเลิกสัญญา ทั้งนี้เพื่อระงับความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของราษฎรไทยที่ถูกผลกระทบในระหว่างการเจรจากับบริษัท เพื่อจะหามาตรการที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการอนุญาตให้เปิดเหมืองได้อีก
.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 11:33
ลองอ่านคำแถลงของกระทรวงอุตสาหกรรมเจ้าของเรื่องก่อน ไม่รู้จริงอย่ารีบอวดฉลาดเร็วนักนะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นตรงข้าม
.
http://www.industry.go.th/…/…/item/10570-2017-11-02-10-32-38

.
บทความในระโยงสรุปในตอนท้ายว่า
“การเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ซึ่งมีลักษณะเป็นการหาข้อยุติโดยคณะบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันและยอมรับตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสามารถดำเนินการเจรจาเพื่อหาข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังไม่ได้ยอมรับข้อเรียกร้องของคิงส์เกตอย่างใดทั้งสิ้น”
.
ระหว่างนี้ ผมหวังว่ารัฐบาลจะรวบรวมกรณีต่างๆที่ชาวบ้าน และชุมชนเดือดร้อนจากเหมืองได้อย่างสมเหตุสมผล เป็นรูปธรรม แล้วช่วยเหลือหาทนายเก่งๆให้พวกเขาฟ้องศาลไทยเรียกค่าเสียหายไปพลางๆก่อนเลยครับ(ถ้าทำแล้วก็ขออภัย) จะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดีโน้น(ถ้ามี)อย่างยิ่งครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 11:51

แต่ถ้าทั้งสองเถียงกันไม่ยอมแพ้กันทั้งสองฝ่าย   ตกลงกันยังไงก็ไม่เอา  จะต้องเอาอีกฝ่ายเข้าคุกให้ได้    อนุญาโตตุลาการไม่มีหน้าที่จะมาชี้ขาดว่าจะต้องเอาฝ่ายไหนเข้าคุก หรือฝ่ายไหนไม่ผิด ถูกปล่อยไป      เรื่องก็ต้องถูกส่งเข้ากระบวนการยุติธรรม คือไปที่ศาล


คดีความที่ไปสู้ศาลอนุญาโตตุลาการ ต้องเป็นคดีแพ่งเท่านั้นนะครับ ส่วนคดีอาญา อนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจพิจาณาความ ส่วนอนุญาโตตุลาการที่ไม่ได้อยู่ในองค์คณะที่พิจารณาคดี  อาจจะทำหน้าที่แค่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย หรือบางครั้งเรียกว่า “ผู้ประนีประนอม”

เช่นเดียวกับผู้พิพากษาในศาลต่างๆ ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน รวมทั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ยและแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล มีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงยอมความกัน เพื่อลดคดีรกตีนโรงตีนศาล แต่ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างความแต่อย่างใด

ในกรณีย์ของคดีในศาลอนุญาโตตุลาการ ถ้าไม่สามารถจบในขั้นประนีประนอมได้ ก็ต้องเข้าสูกกระบวนการพิจารณาจริง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในทะเบียนอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายละ ๑ คน และทั้งสองจะต้องเลือกคนที่สาม ให้เป็นประธาน

การพิจารณาคดีนี้จะคล้ายศาลแพ่ง สุดท้ายองค์คณะอนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยความผิด และจำนวนเงินที่มีการเรียกร้อง


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 12:07

คดีความที่ไปสู้ศาลอนุญาโตตุลาการ ต้องเป็นคดีแพ่งเท่านั้นนะครับ ส่วนคดีอาญา อนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจพิจาณาความ ส่วนอนุญาโตตุลาการที่ไม่ได้อยู่ในองค์คณะที่พิจารณาคดี  อาจจะทำหน้าที่แค่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย หรือบางครั้งเรียกว่า “ผู้ประนีประนอม”
ถูกต้องค่ะ เขียนเพลินไปหน่อย ขอเปลี่ยนเป็น
"จะเอาเป็นเอาตายกับอีกฝ่ายให้ได้"


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 12:18
ส่วนข้อความในภาพข้างล่างนี้    ดิฉันไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
คงเป็นอนุญาโตคนละแบบกับที่ดิฉันเคยเป็น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 12:33
สรุปจากที่คุณ NAVARAT.C เขียนไว้ข้างบนนี้  ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า  กรุณาอ่านอีกทีนะคะ

1  ในการเซ็นสัญญากันนั้น  โฮปเวลล์กับรัฐบาลไทยตกลงกันว่า ถ้ามีข้อพิพาทใดๆ จะยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ยุติข้อพิพาท
2  เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาจริงๆ โฮปเวลล์ก็ยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการ
3  คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้การรถไฟ (รัฐบาล) เป็นฝ่ายแพ้
4  รัฐบาลโดยการรถไฟไม่ยอมรับคำชี้ขาด กลับไปขอศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิกคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ได้อ้างข้อกฎหมายว่าอนุญาโตผิดหรือถูกข้อใด แต่อ้างว่าโฮปเวลล์ฟ้องในขณะที่หมดเวลาฟ้องแล้วต่างหาก
5  ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเห็นด้วยกับการรถไฟ  ให้โฮปเวลล์แพ้
โฮปเวลล์อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
6  ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับความเห็นของศาลชั้นต้น ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสร็จสิ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การรถไฟจะยกมาอ้างเรื่องพ้นเวลาฟ้องไม่ได้ 


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 25 เม.ย. 19, 14:13
สมมุติว่าแถวนี้มีนักเขียนอยู่คนหนึ่ง ชื่อคุณป.  แกชอบเขียนอัตชีวประวัติว่าตัวเองเป็นเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้า ปลอมตัวมาขับแท็กซี่แสวงหารักแท้  
ทีนี้ วันร้ายคืนร้ายก็มีเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้าตัวจริง ไปร้องเรียนว่าคุณป.ละเมิดลิขสิทธิ์ เอาชีวิตองค์ชายมาเขียน ว่าเป็นชีวิตตัวแกเอง จัดเข้าประเภทละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา    ต้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งประมาณร้อยล้านเศษๆ
คุณป.ก็ต่อสู้ว่า ไม่รู้เรื่อง ที่เขียนเป็นแค่นวนิยาย   ไม่ได้ไปเอาชีวิตใครมา   แคว้นอะไรนี่ก็สมมุติขึ้นมา ใครจะไปรู้ว่ามันดันมีจริง  ไม่เคยเรียนมาเลยในวิชาภูมิศาสตร์

เมื่อเกิดคดีร้องเรียนขึ้นมา กรมทรัพย์สินฯก็ให้อนุญาโตตุลาการมาเป็นด่านหน้า     ดูว่าจะตกลงกันได้ยังไง  เผื่อไกล่เกลี่ยไม่เอาความกันได้คดีก็จบกันง่ายหน่อย ไม่เป็นภาระถึงขั้นศาล
การระงับคดีพิพาทก็ทำได้หลายอย่าง แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกันได้ระดับไหน    เช่นพูดกันไปๆมาๆ เจ้าปางฟ้าใจอ่อน ว่าคุณป. โฆษณาชื่อเสียงให้ฟรีๆ  เลยถอนเรื่องไม่เอาความ    ก็จบกันไป  จบงานของอนญาโตตุลการ
หรือเถียงกันไปมา   คุณป.ยอมจ่ายค่าเสียหายได้ จากร้อยกว่าล้านลดลงมาเหลือห้าหมื่น  จะได้เลิกแล้วไม่เอาความกัน  เจ้าปางฟ้าก็ตกลงเพราะดีกว่าอยู่เปล่าๆ   ยังงี้ก็จบไปอีกแบบหนึ่ง

แต่ถ้าทั้งสองเถียงกันไม่ยอมแพ้กันทั้งสองฝ่าย   ตกลงกันยังไงก็ไม่เอา  จะต้องเอาอีกฝ่ายเข้าคุกให้ได้    อนุญาโตตุลาการไม่มีหน้าที่จะมาชี้ขาดว่าจะต้องเอาฝ่ายไหนเข้าคุก หรือฝ่ายไหนไม่ผิด ถูกปล่อยไป      เรื่องก็ต้องถูกส่งเข้ากระบวนการยุติธรรม คือไปที่ศาล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองฝ่ายทำไม่ได้อย่างหนึ่งก็คือ  ตอนแรกตกลงให้อนุญาโตตุลาการเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงยอมความ จ่ายค่าเสียหายเรียบร้อย     โอเคแล้ว เซ็นชื่อตกลงกันไป
แต่พอกลับไปบ้าน  เกิดเสียดายว่าได้เงินน้อยไปหน่อย  โทร.บอกสื่อว่าผมเปลี่ยนใจแล้ว  เรื่องอะไรให้ใครไม่รู้มาตกลงว่าให้ผมได้เงินนิดเดียว ผมควรได้มากกว่านี้   พูดง่ายๆคือเบี้ยวกันขึ้นมาทีหลัง
ไอ้ที่เซ็นไว้ว่าตกลงรับห้าหมื่น   ขอเปลี่ยนเป็นเอาเรื่อง เรียกค่าเสียหายร้อยล้านตามเดิม
ยังงี้ทำไม่ได้ค่ะ
ถ้าไม่ยอมก็ต้องไม่ยอมเสียแต่แรก  ตั้งแต่อยู่ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ   คือเจรจาไกล่เกลี่ยนตกลงกันยังไงก็ไม่สำเร็จ  ถ้าออกมาในรูปนั้นก็ต้องส่งเข้ากระบวนการของศาลต่อไป

ตายแล้ววววว มาเห็นกระทู้นี้ช้าไป ไม่รู้ว่าตั้งอนุญาโตตุลาการได้  ตอนโดนเจ้าปางฟ้าตัวจริงขู่จะฟ้อง ผมเลยยอม ๆ จ่ายไป 50 ล้านพอดี จะได้ไม่ต้องฟ้องศาล ไม่รู้ว่าตั้งได้ จะได้ประนีประนอมจ่ายน้อยกว่านี้ได้


แต่แวะมาเรื่องโฮปเวลล์บ้าง  มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าโครงการหลายหมื่นล้าน สัญญาไม่ถึง 10 หน้า แถมรัฐเสียเปรียบทุกอย่าง แต่จนบัดนี้  ยังไม่เคยมีใครได้เห็นสัญญาจริง ๆ เลยว่าหน้าตาเป็นยังไง จะสามสิบปีแล้ว


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 25 เม.ย. 19, 15:32
สมมุติว่าแถวนี้มีนักเขียนอยู่คนหนึ่ง ชื่อคุณป.  แกชอบเขียนอัตชีวประวัติว่าตัวเองเป็นเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้า ปลอมตัวมาขับแท็กซี่แสวงหารักแท้  
ทีนี้ วันร้ายคืนร้ายก็มีเจ้าชายจากแคว้นปางฟ้าตัวจริง ไปร้องเรียนว่าคุณป.ละเมิดลิขสิทธิ์ เอาชีวิตองค์ชายมาเขียน ว่าเป็นชีวิตตัวแกเอง จัดเข้าประเภทละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา    ต้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งประมาณร้อยล้านเศษๆ
คุณป.ก็ต่อสู้ว่า ไม่รู้เรื่อง ที่เขียนเป็นแค่นวนิยาย   ไม่ได้ไปเอาชีวิตใครมา   แคว้นอะไรนี่ก็สมมุติขึ้นมา ใครจะไปรู้ว่ามันดันมีจริง  ไม่เคยเรียนมาเลยในวิชาภูมิศาสตร์

เมื่อเกิดคดีร้องเรียนขึ้นมา กรมทรัพย์สินฯก็ให้อนุญาโตตุลาการมาเป็นด่านหน้า     ดูว่าจะตกลงกันได้ยังไง  เผื่อไกล่เกลี่ยไม่เอาความกันได้คดีก็จบกันง่ายหน่อย ไม่เป็นภาระถึงขั้นศาล
การระงับคดีพิพาทก็ทำได้หลายอย่าง แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกันได้ระดับไหน    เช่นพูดกันไปๆมาๆ เจ้าปางฟ้าใจอ่อน ว่าคุณป. โฆษณาชื่อเสียงให้ฟรีๆ  เลยถอนเรื่องไม่เอาความ    ก็จบกันไป  จบงานของอนญาโตตุลการ
หรือเถียงกันไปมา   คุณป.ยอมจ่ายค่าเสียหายได้ จากร้อยกว่าล้านลดลงมาเหลือห้าหมื่น  จะได้เลิกแล้วไม่เอาความกัน  เจ้าปางฟ้าก็ตกลงเพราะดีกว่าอยู่เปล่าๆ   ยังงี้ก็จบไปอีกแบบหนึ่ง

แต่ถ้าทั้งสองเถียงกันไม่ยอมแพ้กันทั้งสองฝ่าย   ตกลงกันยังไงก็ไม่เอา  จะต้องเอาอีกฝ่ายเข้าคุกให้ได้    อนุญาโตตุลาการไม่มีหน้าที่จะมาชี้ขาดว่าจะต้องเอาฝ่ายไหนเข้าคุก หรือฝ่ายไหนไม่ผิด ถูกปล่อยไป      เรื่องก็ต้องถูกส่งเข้ากระบวนการยุติธรรม คือไปที่ศาล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองฝ่ายทำไม่ได้อย่างหนึ่งก็คือ  ตอนแรกตกลงให้อนุญาโตตุลาการเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงยอมความ จ่ายค่าเสียหายเรียบร้อย     โอเคแล้ว เซ็นชื่อตกลงกันไป
แต่พอกลับไปบ้าน  เกิดเสียดายว่าได้เงินน้อยไปหน่อย  โทร.บอกสื่อว่าผมเปลี่ยนใจแล้ว  เรื่องอะไรให้ใครไม่รู้มาตกลงว่าให้ผมได้เงินนิดเดียว ผมควรได้มากกว่านี้   พูดง่ายๆคือเบี้ยวกันขึ้นมาทีหลัง
ไอ้ที่เซ็นไว้ว่าตกลงรับห้าหมื่น   ขอเปลี่ยนเป็นเอาเรื่อง เรียกค่าเสียหายร้อยล้านตามเดิม
ยังงี้ทำไม่ได้ค่ะ
ถ้าไม่ยอมก็ต้องไม่ยอมเสียแต่แรก  ตั้งแต่อยู่ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ   คือเจรจาไกล่เกลี่ยนตกลงกันยังไงก็ไม่สำเร็จ  ถ้าออกมาในรูปนั้นก็ต้องส่งเข้ากระบวนการของศาลต่อไป

ตายแล้ววววว มาเห็นกระทู้นี้ช้าไป ไม่รู้ว่าตั้งอนุญาโตตุลาการได้  ตอนโดนเจ้าปางฟ้าตัวจริงขู่จะฟ้อง ผมเลยยอม ๆ จ่ายไป 50 ล้านพอดี จะได้ไม่ต้องฟ้องศาล ไม่รู้ว่าตั้งได้ จะได้ประนีประนอมจ่ายน้อยกว่านี้ได้


แต่แวะมาเรื่องโฮปเวลล์บ้าง  มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าโครงการหลายหมื่นล้าน สัญญาไม่ถึง 10 หน้า แถมรัฐเสียเปรียบทุกอย่าง แต่จนบัดนี้  ยังไม่เคยมีใครได้เห็นสัญญาจริง ๆ เลยว่าหน้าตาเป็นยังไง จะสามสิบปีแล้ว

ขับแท็กซี่แถวไหนครับ
รายได้ดีจัง แค่โดนขู่นิดเดียวยังยอมควักตั้ง 50 ล้าน  :) :)


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 15:44
คำถามคุณ unicorn  ฟังคุ้นๆ คล้ายคำถามสรรพากร
ถ้าใช่   คุณประกอบเตรียมหนาวในเดือนเมษาได้เลยค่ะ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 15:47
“การทำสัญญาสัมปทานขณะนั้น เป็นสัญญาก่อนที่จะมีกฎหมายเอกชนร่วมลงทุน ทำให้สัญญาไม่ละเอียดมาก มีเอกสารเพียง 8 แผ่น เงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน เขียนไว้คร่าวๆ ว่าทำอะไรบ้าง ใครรับผิดชอบอะไร เป็นสัญญาลวกๆ”

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/833285


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 25 เม.ย. 19, 16:35

ขับแท็กซี่แถวไหนครับ
รายได้ดีจัง แค่โดนขู่นิดเดียวยังยอมควักตั้ง 50 ล้าน  :) :)

ผมยืมเพื่อนเอาครับ แถมเพื่อนตายไปแล้ว สรรพากรทำอะไรผมไม่ได้แล้ว


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 17:49
คำแก้ตัวข้างบนนี้มีลิขสิทธิ์นะครับ ระวังโดน


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 17:57
ส่วนข้อความในภาพข้างล่างนี้    ดิฉันไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
คงเป็นอนุญาโตคนละแบบกับที่ดิฉันเคยเป็น

เขาพยายามจะโพนทนาว่า การที่รัฐบาลยอมนำคดีขึ้นศาลอนุญาโตตุลาการนั้น เป็นการยอมอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเหมือนสมัยที่ไทยต้องยอมรับสิทธิภาพนอกอาณาเขต คดีความระหว่างคนไทยกับต่างชาติในยุคนั้นต้องไปว่ากันในศาลกงสุล
เนื่องจากเป็นคนมีชื่อเสียงจึงมีคนเข้าไปอ่านมากและเชื่อในสิ่งที่เขาเขียน และช่วยกันด่ารัฐบาลกันเป็นการใหญ่  ผมจึงต้องอธิบายความเข้าใจผิดดังกล่าว ซึ่งท่านอาจารย์ใหญ่ได้นำมาโพสต์ในคคห.ที่ ๑๑


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 18:03
จากชื่อเรื่อง คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
คุณบรรยง พงษ์พานิช นายธนาคารใหญ่ (ผู้ปฏิเสธสุดฤทธิ์ว่าไม่ใช่ญาติโกโหติกาของนายมนตรี พงษ์พานิช) ได้เขียนไว้ว่า คดีพิพาทตั้งแต่ 2541 ...11,880ล้านบาท พร้อมดอกเบี้น 7.5%ต่อปี อีก 18,711ล้านบาท รวม 30,591ล้านบาท รฟท.อ่วมหนักครับ ....ขาดทุนสะสมเดิม120,000ล้าน บวกลงทุนแหลก เข้าไปลงทุนแถมรับประกันเสี่ยงให้เอกชนทำความเร็วสูงอีก หนี้คงถึง500,000ล้านในเร็ววัน

อ่านแล้วสลดไหมครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 18:59
เขาพยายามจะโพนทนาว่า การที่รัฐบาลยอมนำคดีขึ้นศาลอนุญาโตตุลาการนั้น เป็นการยอมอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเหมือนสมัยที่ไทยต้องยอมรับสิทธิภาพนอกอาณาเขต คดีความระหว่างคนไทยกับต่างชาติในยุคนั้นต้องไปว่ากันในศาลกงสุล

อนุญาโตตุลาการในคดีนี้เป็นคนไทยหรือฝรั่งกันแน่คะ    เขาถึงเปรียบเทียบว่าเหมือนสิทธิสภาพนอกอาณาเขต?
ถ้าเป็นคนไทย  มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับอำนาจฝรั่ง
มันเกี่ยวกับว่าสัญญาทำไว้ว่ายังไง  การยกเลิกเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาหรือไม่   น่าจะเป็นเช่นนั้นมิใช่หรือ?


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 19:14
น่าสนใจว่า ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโฮปเวลล์(ประเทศไทย)เป็นใครกันบ้าง

https://today.line.me/th/pc/article/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%C2%A0+%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E2%80%9D-NpQlBO


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 19, 19:22
https://www.youtube.com/watch?time_continue=7&v=wLFipu9gZ-0


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 19, 19:40
ปรากฏว่าถึงปี 2541 Hopewell ซึ่งได้กลายเป็น Hopeless ไปแล้วเพราะงานมีความคืบหน้าเพียง 13.7% เท่านั้น รัฐบาลไทยจึงบอกเลิกสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541
โฮปเวลล์พยายามเจรจา แต่ไม่มีใครอยากคุยด้วย ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547จึงได้ยื่นฟ้องการรถไฟไทยคู่สัญญาต่อองค์คณะอนุญาโตตุลาการตามที่ตกลงในสัญญาว่าจะยุติข้อพิพาทด้วยวิธีการนี้
.
อนุญาโตตุลาการ เป็นขบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช้ศาล กล่าวคือเมื่อคู่ความเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายจะเลือกบุคคลผู้มีคุณวุฒิ(ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงยุติธรรม)ฝ่ายละคนซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ และทั้งสองจะเลือกบุคคลภายนอกจากรายชื่อในทะเบียนอีกหนึ่งให้ทำหน้าที่ประธานและชี้ขาด(สองในสาม) ส่วนการพิจารณาคดีก็ผลัดกันให้การและซักค้านเช่นเดียวกับที่กระทำในศาล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า
,
คณะอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ประกอบด้วย รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ และ อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
ที่สำคัญที่สุดคือคู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทแล้ว จะยอมรับตามนั้น
.
วันที่ 30 กันยายน 2551 คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้การรถไฟชดใช้ค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ เป็นเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยปีละ 7.5% จากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม
แต่แทนที่จะยอมรับโดยดี รัฐบาลโดยการรถไฟกลับยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิกคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างเหตุผลทางกฎหมาย ว่าโฮปเวลล์ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ช้ากว่า 5 ปีนับแต่รู้เหตุที่ควรฟ้องตามที่กฎหมายไทยว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองกำหนดไว้
.
ในย่อหน้าที่๓ ตอบคำถามในท้ายหน้าที่แล้วครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 08:22
ขอบคุณค่ะ  ถามเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกี่ยวอะไรกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 08:23
(มาต่อ ของคุณ NAVARAT.C)

ค่าโง่-เสียไปแล้วจะฉลาดขึ้นไหม
.
พ.ย. 2547 - โฮปเวลล์ ยื่นฟ้องเรียกค่าชดเชยความเสียหายจากกระทรวงคมนาคมและการรถไฟต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรมของประเทศไทย จากการยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่การรถไฟเองก็ฟ้องแย้งว่าความผิดของโฮปเวลล์เอง ที่เป็นเหตุแห่งการแจ้งยกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการกลับ เป็นจำนวน 2 แสนล้านบาท
ตัวเลขก็เวอร์ด้วยกันทั้งคู่ ของไทยนั้นเวอร์ตัวพ่อ
.
พ.ย. 2551 – คณะอนุญาโตตุลาการใช้เวลาพิจารณาคดีที่มีตัวเลขเยอะแยะยุ่งยากนี้เพียง 4 ปี ก็มีคำวินิจฉัยชี้ขาด สั่งกระทรวงคมนาคมและการรถไฟ ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โฮปเวลล์ 11,880 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
.
เงินจำนวนนี้ ผมเชื่อว่าคณะอนุญาโตตุลาการคงคำนวณให้จากค่าก่อสร้างที่โฮปเวลล์ทำไปแล้วจริง รื้อถอนไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ต้องตกเป็นสมบัติของฝ่ายไทย เงิน 1.1 จากที่เรียกมา 5.6 ล้านบาทก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมอยู่
.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 08:24
แต่แทนที่รัฐบาลไทย(ผมขอเว้นที่จะระบุว่าเป็นสมัยของใครนะครับ เดี๋ยวจะมาด่ากันนอกประเด็น) จะยินยอมจบโดยดีกลับหัวหมอ จะเบี้ยวไม่จ่ายค่าเนื้องานให้เขาบ้างเลยหรือยังไง จึงได้นำความไปฟ้องศาลปกครองกลาง หาว่าโฮปเวลล์ฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการหลังหมดอายุความแล้ว
.
มี.ค. 2557 - ศาลชั้นต้นใช้เวลา 6 ปี เห็นด้วยว่าโฮปเวลล์ยื่นเรื่องให้อนุญาโตตุลาการเกินกรอบเวลา 60 วัน ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
เม.ย. 2557 – มีเฮกันแป๊บเดียว โฮปเวลล์ ก็ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา
.
เม.ย. 2562 - ศาลปกครองสูงสุดใช้เวลา 5 ปี พิพากษากลับ ยกคำร้องสองหน่วยงานรัฐ ให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ผู้ร้องทั้งสองปฏิบัติตามคำชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ก็การรถไฟไปยอมรับที่จะสู้คดีในประเด็นค่าเสียหายตั้งแต่แรก แทนที่จะขอให้พิจาณาเรื่องอายุความตามกรอบเวลาก่อน ก็ถือว่าหลังเย็นไปแล้วน่ะสิครับ
.
คุณบรรยง พงษ์พานิช นายธนาคารใหญ่ (ผู้ปฏิเสธสุดฤทธิ์ว่าไม่ใช่ญาติโกโหติกาของนายมนตรี พงษ์พานิช) ได้เขียนไว้ใน FBของท่านว่า “คดีพิพาทตั้งแต่ 2541 ...11,880ล้านบาท พร้อมดอกเบี้น 7.5%ต่อปี อีก 18,711ล้านบาท รวม 30,591ล้านบาท รฟท.อ่วมหนักครับ ....ขาดทุนสะสมเดิม120,000ล้าน…..”
ที่งอกขึ้นมา 18711 ล้านบาทนี่แหละครับค่าโง่ตัวใหญ่ ที่เกิดจากความคิดฉ้อฉลที่รัฐพยายามเอาเปรียบนักลงทุน โดยคิดเอาเองว่าขบวนการยุติธรรมของไทยจะเข้าข้าง
.
มองในแง่ดีบ้าง ผลที่ออกมาคราวนี้เป็นผลเป็นบวกต่อทัศนคติของนักลงทุนนานาชาติที่ลงทุนในเมืองไทยไปแล้ว และที่กำลังเล็งๆอยู่ ว่าหากมีปัญหาทางด้านกฎหมายกับรัฐบาลไทย ภายใต้กฏหมายไทยที่เขียนด้วยภาษาไทยแล้ว จะได้รับความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล
.
ผมเชื่อว่าถ้าเมืองไทยยังต้องพึ่งการลงทุนจากต่างชาติต่อไปก็อย่าไปคิดหาทางที่จะเบี้ยวอะไรเขาอีกเลยนะครับ จะเจรจาต่อรองขอจ่ายอย่างไรก็คุยกับเขาดีๆ ค่าโง่น่ะเสียไปแล้วก็ควรจะฉลาดขึ้นด้วย


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 เม.ย. 19, 09:34
ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นครับ

โดยปกติแล้ว มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐประการหนึ่งว่า รัฐมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ ครับ ดังนั้น การจัดทำบริการสาธารณะจึงถือเป็นการกระทำทางปกครองอย่างหนึ่ง และเมื่อเป็นการกระทำทางปกครองแล้ว รัฐย่อมอยู่ในฐานะที่มีอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเอกชนอยู่บางประการครับ เช่นการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยส่วนรวมของรัฐและประชาชนภายในรัฐมิให้เสียหาย ซึ่งแน่นอนว่า อำนาจเช่นนี้ต้องถูกถ่วงดุลโดยหลักความชอบด้วยกฎหมาย และหลักความสมควรแก่เหตุ และหลักการตามกฎหมายปกครองอื่นๆ ซึ่งหากคู่กรณีฝ่ายที่เป็นเอกชนไม่พอใจ ก็สามารถยื่นเรื่องให้อำนาจตุลาการ ในที่นี้คือศาลปกครอง พิจารณาได้

หลักแนวคิดเรื่องที่ผมว่าข้างบนนี้ พึ่งมาเป็นที่รู้จักและแพร่หลายกันในราวปี 2540 พร้อมๆ กับแนวความคิดในการจัดตั้งศาลปกครองเท่านั้นเอง ช่วงนั้น มีกฎหมายปกครองออกมาหลายฉบับ ตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ อะไรแนวๆนี้ออกมาเต็มไปหมด ข้าราชการไทยพึ่งจะได้รับทราบว่า ตนเป็น ซีวีล เซอเวนท์ (Civil Savent) มิได้เป็น Government Officer อีกต่อไป ก็ตอนนั้นเหละครับ

ก่อนหน้าที 2540 ประเทศไทยยังไม่มีแนวคิดกฎหมายเอกชน มหาชน อย่างทุกวันนี้ ตอนที่ผมเรียน อาจารย์ยังให้ท่องอยู่เลยว่า กฎหมายเอกชน คือกฎหมายแพ่ง กฎหมายมหาชน คือกฎหมายอาญา อยู่เลยครับ สรุปว่า ถ้าไม่ใช่คดีอาญานับว่าเป็นเรื่องเอกชนทุกเรื่องไป
 
พอคิดว่าเป็นเรื่องเอกชน กฎหมายเอกชนมีหลักการสำคัญว่า คู่กรณีทุกฝ่าย มีความเท่าเทียมกัน สามารถแสดงเจตนาเข้าผูกนิติสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ ขอเพียงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เรียกว่า หลักเจตจำนงอันสุจริต และเมื่อได้แสดงเจตนาออกไปแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่กรณีทุกฝ่ายไปจนกว่าจะสิ้นผล
 
อันนี้เป็นความมโนของผมเองว่า ปี 2533 รัฐบาลเข้าทำสัญญากับ บ.โฮปเวล อย่างเอกชนธรรมดา 2 คน จะพึงทำสัญญากัน ตามแนวคิดกฎหมายในสมัยนั้น เพราะงั้น รัฐบาลจึงไม่ได้สร้างเงื่อนไขการใช้อำนาจเหนือ เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ อย่างที่ควรจะมีในการทำสัญญาทางปกครองเอาไว้เลยครับ ตรงกันข้าม กลับยอมตนอยู่ภายใต้การตัดสินของเอกชนฝ่ายที่ 3 ที่เรียกว่า อนุญาโตตุลาการด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ เพราะแนวคิดในตอนนั้น มันเป็นอย่างนั้น แต่ครั้นพอมีการบอกเลิกสัญญาในปี 2541 นั่นคือหลังจากที่เกิดศาลปกครองแล้วครับ แนวคิดกฎหมายมหาชนเริ่มเบ่งบานแล้ว รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องในเวลานั้น เริ่มอย่างที่บางท่านคิดในเวลานี้แหละครับว่า จะให้เอกชน 2-3 คน มาชี้ขาดผลประโยชน์สาธารณะไม่ได้ จึงพยายามสู้อนุญาโตตุลาการ ซึ่งกำเนิดขึ้นจากหลักกฎหมายเอกชน ด้วยอำนาจศาลปกครอง ซึ่งวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายมหาชน

ผลก็ออกมาอย่างที่เห็นนี้แหละครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 เม.ย. 19, 09:56
สำหรับประเด็นต่อมาที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดอีก

อันนี้เรียนว่า ภาครัฐต้องตระหนักถึงความเป็น รัฐ ให้มากขึ้น ต้องเข้าใจหลักการใช้อำนาจปกครองให้มากขึ้น และต้องมองประโยชน์สาธารณะให้มากขึ้น ทุกวันนี้แม้ว่าหลักกฎหมายมหาชนจะแพร่หลายมากกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ภาครัฐก็ยังสลัดแนวคิดว่าตนคือเอกชนคนหนึ่งในการทำสัญญาในเรื่องต่างๆ ไม่ค่อยจะได้

ผมไม่รู้ว่าอันนี้เป็นเรื่องในภาพรวมจริงๆ คือเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากยุคกฎหมายเอกชนจริงๆ หรือเป็นเรื่องเชิงบุคคลก็ไม่ทราบ เพราะจากที่ผมเคยเห็น บางทีรัฐกลัวว่า เอกชนจะไม่ยอมทำสัญญาด้วย กลัวว่าสัญญาจะไม่ดึงดูดพอ ไม่หอมหวานพอ ก็ใส่สิทธิประโยชน์ให้ภาคเอกชนลงในสัญญามากๆ ใส่อำนาจรัฐไว้ให้น้อยๆ อะไรแบบนั้น เอกชนเห็นก็ชอบใจและยอมทำสัญญาด้วย หากฝ่ายกฎหมายร่างสัญญาแบบที่ให้รัฐมีอำนาจมากกว่ามาเสนอ ก็มักถูกต่อว่า ว่าทำให้รัฐเสียประโยชน์ เสียโอกาส ร่างมาแบบนี้ (หรือกำหนดมาอย่างนี้) ใครเขาจะมา เดี๋ยวเขาก็ไปที่ประเทศอื่นกันหมดหรอก ต้องให้เขาอีก เยอะๆ เยอะๆๆๆๆ สิ อะไรอย่างนี้เป็นต้น   

สัญญาแบบนั้น ถ้าไม่เกิดปัญหา ก็ดีไป แต่ครั้นพอเกิดปัญหา ภาครัฐทำอะไรภาคเอกชนไม่ได้เลย ต้องยอมตามที่ตนได้ทำสัญญาแบบนั้นเอาไว้ ลงท้ายด้วยการถูกหาว่า "โง่" 

ผมไม่เคยเห็นตัวสัญญานะครับ แต่เชื่อว่า มีลักษณะแบบนั้นอีกเยอะเลยครับ 


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 19, 10:30
ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับความเห็นของคุณนริศในบางประเด็นนะครับ แต่ไม่มีเวลาจะตอบในตอนนี้ ต้องขอแปะไว้ก่อน


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 19, 10:36
อ่านความเห็นของผู้ที่เข้ามาในเพจของผมส่วนหนึ่งไปพลางๆก่อนครับ

P -ขอเสริมอีกนิดว่า ในภูมิภาคของเรา สิงคโปร์เป็นประเทศที่ credit สูงสุด เพราะเขาสร้างระบบกฎหมายที่เชื่อถือ มั่นคงและคาดหมายได้ และเฟืองหนึ่งในนั้นที่สำคัญมากที่สุดในสายตาของต่างประเทศ คือ ระบบอนุญาโตตุลาการ (Singapore International Arbitration Center) ที่มั่นคงแน่นอน ซึ่งประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ครับ

R- ขออนุญาตนะคะ ช่วยขยายคำ "ประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ เพราะ?"

M.L. Chainimit Navarat คำตอบอยู่ในตัวแล้วครับ
ระบบอนุญาโตตุลาการของสิงคโปร์ที่ประเทศอื่นๆทำไม่ได้เหมือน ก็เพราะเขาเป็นประเทศที่ credit สูงสุดทางด้านระบบกฎหมายที่เชื่อถือ มั่นคงและคาดหมายได้ ส่วนของไทย แค่กฏหมายของเราที่พิมพ์เป็นภาษาไทยก็ลำบากแล้วครับ

P- ระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศอื่น รวมถึงประเทศไทย ความไม่แน่นอนสูงครับ เพราะศาลมักจะให้เพิกถอนคำชี้ขาดบ่อย ซึ่งในประเทศที่ระบบมั่นคงแล้ว ศาลมักจะไม่เพิกถอนคำชี้ขาด ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นและวางใจในการลงทุนครับ
ส่วนปัญหาที่ว่ารัฐมักจะเสียค่าโง่นั้น ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐครับ ว่าทำไมถึงทำสัญญาที่เสียเปรียบเอกชน ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบกฎหมายแต่ประการใด
การที่เรามองว่ารัฐมักจะแพ้เอกชน แต่เร่กลับมาโทษระบบกฎหมาย ทำให้ประเทศเสียโอกาสมหาศาล มันน่าเสียดายมากนะ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 19, 10:38
ระหว่างนี้ถ้าใครต้องการแสดงความคิดเห็นอะไรก็ขอเชิญก่อนได้เลยนะครับ ผมไม่ทราบจะกลับเข้ามาอีกเมื่อไหร่


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 11:41
เรือนไทยมีคุณหมอเปิดเผยตัวหลายท่าน   ส่วนนักกฎหมาย ไม่ทราบว่าท่านใดเป็นกันบ้าง ยกเว้นคุณนริศซึ่งแง้มประตูบอกอาชีพมาแล้ว
ขอเชิญท่านอื่นๆออกความเห็นตามสะดวกนะคะ

ส่วนดิฉันเอง เมื่ออ่านค.ห.คุณนริศแล้ว เกิดความรู้สึก(ซึ่งอาจผิดได้) ว่า ในขณะเซ็นสัญญากับโฮปเวลล์  รัฐได้วางตัวเป็นคู่สัญญาที่ซื่อและมองอีกฝ่ายในแง่ดี  ไม่จุกจิกคิดมาก ไม่หาทางหนีทีไล่ว่าถ้ามันไม่เป็นไปตามที่ตกลงจะทำยังไง เอาเป็นว่าถ้าเกิดตกลงกันไม่ได้ ก็ชวนไปหาผู้ใหญ่ตัดสินเอาละกัน  ผู้ใหญ่ว่าไงก็ว่างั้น   
ในเมื่อตรงไปตรงมาขนาดนี้    พอเกิดปัญหาอุปสรรคขึ้นมาระหว่างทาง  อีกฝ่ายทำไม่ได้ตามพูด   รัฐก็บอกเลิกแบบง่ายๆ ไม่ได้คำนึงว่าเลิกได้ง่ายจริงหรือไม่  อีกฝ่ายเขาไม่ยอมง่ายด้วยจะทำยังไง
พอเขาไปฟ้องผู้ใหญ่ขึ้นมา    รัฐก็เลยแพ้  จบลงแบบเจ็บปวดกันทั่วหน้ายกเว้นผู้ชนะ 
เพราะเงินที่ต้องจ่ายไม่ใช่เงินในกระเป๋าของรัฐ   แต่เป็นเงินภาษีที่รัฐเก็บมาจากกระเป๋าประชาชน  รวมทั้งดิฉันด้วย


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 14:50
คำแก้ตัวข้างบนนี้มีลิขสิทธิ์นะครับ ระวังโดน
คุณประกอบไม่ต้องห่่วงนะคะ  ดิฉันไม่ทิ้งสมาชิกเรือนไทยอยู่แล้ว


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:10
พูดถึงบทบาทและอำนาจของอนุญาโตตุลาการ ขอนำข้อเขียนของคุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาลงให้อ่านกันค่ะ
จากไทยโพสต์ออนไลน์
*********************

ค่าโง่อีกแล้ว...คราวนี้ไม่ใช่ค่าโง่ธรรมดา แต่เป็น “โคตรโง่” ครับ!!!

ไม่รู้กี่ครั้งแล้วที่เราต้องเสียค่าโง่ให้กับการทำสัญญา โง่ๆของผู้มีอำนาจในหน่วยงานภาครัฐ

ตอนต้นๆของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ก็เกือบเสียค่าโง่ในกรณี “ค่าโง่คลองด่าน” แต่ก็มีความพยายามจากหลายๆฝ่ายรวม ทั้งผมด้วย ที่พยายามส่งความคิดเห็นไปถึงรัฐบาลและผู้เกี่ยว ข้อง สุดท้ายรัฐบาลยอมถอยทั้งๆที่มีมติ ครม. ไปแล้วว่าให้ชำระ

“ค่าโง่คลองด่าน” ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเช่นกัน มาตอนนี้ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของรัฐบาลชุดปัจจุบันกลับจะต้องมาทิ้งท้ายด้วยการเสียค่า “โคตรโง่” ให้กับมหากาพย์โฮปเวลล์ เพราะเป็นเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท แต่มีคนบอกผมว่าเมื่อ คำนวณดอกเบี้ยถึงปัจจุบันรวมเข้าด้วยแล้วจะเป็นจำนวนเงิน เกือบสามหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ลองคำนวณดูกันนะครับ

เราต้องเสียค่าโง่จากการทำสัญญาของหน่วยงานของ รัฐในชั้นอนุญาโตตุลาการมาแล้วนับร้อยๆคดีมั้งครับ แต่ไม่ ค่อยเป็นข่าว หากตรวจสอบดูน่าจะพบว่าเราเสียเงินแผ่นดินไป กับความ “โง่” หรือ “แกล้งโง่” ของบรรดาผู้มีอำนาจภาครัฐ ที่ทำสัญญาหรือ ลงนามในสัญญาต่างๆเป็นเงินนับหมื่นล้าน บาทแล้ว หากรวมค่า “โคตรโง่” ครั้งนี้ด้วยจะเป็นเงินอีกเท่าไร

คดีเริ่มต้นที่โด่งดังที่สุด คือ คดี “ค่าโง่ทางด่วน” ที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 ในฐานะเป็นประธานคณะ กรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ผมและคณะกรรมาธิการได้เข้า ไปตรวจสอบ พบว่าเป็นมหากาพย์โกงชาติฉบับแรกที่มีการวาง แผนอย่างแยบยล เปลี่ยน “เงินใต้โต๊ะ” มาเป็น “เงินบนโต๊ะ” โดยอาศัยเงื่อนไขของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทาง ศาลเป็นเครื่องมือจากการ “ผิดสัญญา” ของภาครัฐ
ผมและคณะกรรมาธิการฯ ใช้เวลาตรวจสอบ สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานคดี “ค่าโง่ทางด่วน” เป็นปีๆ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานสูงท่วมหัวอย่างละเอียด โชคดีที่เรามีพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนที่ทำงานเพื่อ ประโยชน์ของประเทศชาติอย่างสุดความสามารถ คือ ท่านอัยการอิสระ หลิมศิริวงษ์ ต้องขอชื่นชมท่านด้วย


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:11
ท่านได้ขอรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการฯ ไปเป็นพยาน หลักฐานเพื่อประกอบการต่อสู้คดีที่ชี้ให้เห็นว่า ที่มาของสัญญาและพฤติการณ์แห่งคดีส่อไปในทางทุจริต ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วเมื่อที่มาของสัญญาและประเด็นข้อ พิพาทเกิดจากการกระทำทุจริตจึงนับได้ว่าเป็นการกระทำอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจนสุดท้ายศาลฎีกามีคำ พิพากษาให้ภาครัฐชนะคดี แต่จะมีใครเกี่ยวข้องต้องรับผิดฐานทุจริตตามคำพิพากษาของ ศาลฎีกาบ้าง จะมีเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือจะ มีบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องในภายหลังต้องรับผิดด้วยหรือไม่นั้น จนวันนี้ยังไม่มีคำตอบ

กรณี “ค่าโง่ทางด่วน” นี้ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วางหลัก เกณฑ์สำคัญทางกฎหมายไว้ว่า การเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ ในกรณีเกี่ยวกับสัญญาหรือการทำทุจริตใดๆหากเป็นผลจาก การทุจริตแล้ว ไม่อาจมีผลบังคับหรือฟ้องร้องดำเนินคดีได้เพราะ

เป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยของประชาชน!!!
หลายคนสงสัยว่าเหตุใดเราจึงต้องเสียค่าโง่จากการทำสัญญา ของหน่วยงานของรัฐบ่อยๆ มีที่มาอย่างไร จะแก้ไขได้หรือไม่

ที่มาของปัญหา

ปัญหา “ค่าโง่” เริ่มจากการนำระบบอนุญาโตตุลาการ มาใช้กับสัญญาภาครัฐที่รัฐทำกับเอกชน ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545

แต่เดิมเวลามีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาก็จะต้อง นำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม ซึ่งภาคเอกชนมีความเห็นว่ากว่าจะหา ข้อยุติหรือมีคำพิพากษาได้ก็ใช้เวลามาก กระทรวงยุติธรรมใน อดีตจึงคิดนำระบบอนุญาโตตุลาการเข้ามาใช้แก้ไขปัญหาข้อ พิพาทเบื้องต้นในระหว่างเอกชนด้วยกัน นั่นคือการนำบุคคล ที่สามที่คู่กรณีหรือคู่พิพาทต่างเลือกให้มาทำหน้าที่เป็น อนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน และมีอีกหนึ่งคนที่ตกลงร่วม กันเป็นคนกลาง รวมสามคนเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ ทำหน้าที่ชี้ขาดว่าใครถูกใครผิด ซึ่งตามปกติต่างฝ่ายก็จะปกป้อง ผลประโยชน์ของฝ่ายตนอย่างเต็มที่ จึงไม่มีปัญหา “ค่าโง่” ในคดีพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันเอง

ต่อมามีความคิดที่จะออกกฎหมายรองรับระบบ อนุญาโตตุลาการ และมีความพยายามที่จะนำระบบอนุญาโต ตุลาการมาใช้กับสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนด้วย อ้างว่าหากไม่ทำเช่นนี้แล้ว ต่อไปจะหาคนรับงานภาครัฐยากขึ้น เพราะหากมีข้อพิพาทต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมแล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่คดีจะเสร็จ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและพยายามชี้ ให้เห็นถึงช่องโหว่ที่จะนำไปสู่การทุจริตที่ถูกกระบวนการตามกฎหมายจำนวนมหาศาล


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:11
อย่างไรก็ตาม ห้ามไม่อยู่ ต้านไม่ไหว เมื่อกระทรวง ยุติธรรมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2545 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร สถานะปัจจุบันก็คือ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ครับ
ขณะนั้นมีความพยายามที่จะดำเนินการโดยเร่งรีบ ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณากฎหมายดังกล่าว ผมในฐานะกรรมาธิการฯ ได้เห็นความไม่ปกติหลายประการ เช่น จะให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการผูกพันศาลเลย ผมกับกรรมาธิการอีกหลายท่านได้โต้แย้ง เพราะเป็นการล่วง ละเมิดอำนาจศาล ถ้าให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผูกพันศาลเลยเช่นนี้แล้ว จะต้องขึ้นศาลทำไมอีก สุดท้ายก็แก้ไขปรับลดระดับลงให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยเอง ได้ด้วย

แต่ประเด็นสำคัญคือการกำหนดให้สัญญาภาครัฐอยู่ ในระบบอนุญาโตตุลาการด้วย ประเด็นนี้ต้านไม่อยู่ครับ มีความดึงดันจะให้ผ่านให้ได้ เสียงข้างน้อยจึงต้องแพ้มติไป จึงเป็นที่มาของมาตรา 15 ของพ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ว่า

“มาตรา 15 ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทาง ปกครองหรือไม่ก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการ อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้ และให้สัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา”
มาตรา 15 นี้คือจุดเริ่มต้นของปัญหา “ค่าโง่” ในเมืองไทยเราทุกกรณี


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:13
หากเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันแล้ว คู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายต่างก็จะปกป้อง ผลประโยชน์ของตนเต็มกำลัง ความสามารถ ไม่ยอมแพ้กันง่ายๆ แต่ในกรณีสัญญาภาครัฐ ไม่มีใครเป็นเจ้าของผลประโยชน์ภาครัฐที่แท้จริง ในขณะที่ผลประโยชน์ได้เสียมีมูลค่านับร้อยนับนับหมื่นล้าน บาท จะมีเจ้าหน้าที่รัฐกี่คนที่ทุ่มใจกับประโยชน์ของรัฐ ไม่ไป “ฮั้ว”เพื่อประเคนเงินให้เอกชนอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถระงับการนำ กรณีพิพาทระหว่าง รัฐกับเอกชนเข้าสู่ระบบอนุญาโตตุลาการได้ แต่คณะกรรมาธิการก็ยังสามารถที่จะวางกรอบการทำหน้าที่เพื่อป้องกัน การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่มีอำนาจชี้ขาดผลประโยชน์มหาศาลได้เหมือนศาลว่าหากใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สุจริต ให้มีความรับผิดทั้งแพ่ง และทางอาญาด้วยเช่นกัน โดยกำหนดไว้ในมาตรา 23 ดังนี้

“มาตรา 23 อนุญาโตตุลาการไม่ต้องรับผิดทางแพ่งในการกระทำตามหน้าที่ในฐานะ อนุญาโตตุลาการ เว้นแต่จะกระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้คู่พิพาท ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเสียหาย”

อนุญาโตตุลาการผู้ใด เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์ สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อ กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ

ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่อนุญาโตตุลาการเพื่อจูงใจ ให้กระทำการ ไม่กระทำ การหรือประวิงการกระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ”

เพราะฉะนั้น พวกอนุญาโตตุลาการที่ไม่สุจริตจะต้องมี ความผิดต่อไปด้วยนะครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:14
เราจะทำอย่างไรดีกับค่า “โคตรโง่โฮปเวลล์”

เท่าที่ทราบเกี่ยวกับคดี “โคตรโง่โฮปเวลล์” ในขณะนี้ มีเพียงว่าศาลปกครองสูงสุดมี คำพิพากษาให้ภาครัฐ ชดใช้เงินให้กับโฮปเวลล์เป็นเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท บวกดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยกลับคำพิพากษาของ ศาลปกครองกลางที่วินิจฉัย ยกฟ้องเพราะโฮปเวลล์ยื่นฟ้องขาด อายุความ แต่ผมยังไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดของ เหตุผลและข้อวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดได้ในขณะนี้ว่าเหตุใดจึงเห็นต่างจากศาลปกครองกลาง จึงยังไม่อาจแสดงความ เห็นได้มากนัก อย่างไรก็ตาม ผมมีข้อสังเกตุและข้อเสนอ ดังนี้ครับ

ข้อสังเกตุ

1) ไม่เคยปรากฎสัญญาระหว่างภาครัฐกับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นต้นเรื่องของปัญหา ให้สาธารณะรับทราบหรือตรวจสอบได้ว่ามีเนื้อหาข้อตกลงใน สัญญาอย่างไร มีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน หรือเอื้อต่อการผิด สัญญาของภาครัฐ หรือส่อไปในทางทุจริตหรือไม่ เหตุใดการบอกเลิกสัญญาของภาครัฐจึงกลายเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทั้งๆที่ตามที่ปรากฎเป็นข่าวและตาม ข้อเท็จจริงนั้นโฮปเวลล์เป็นฝ่ายผิดสัญญาทำงานล่าช้าและไม่ เสร็จตามกำหนดและควรจะต้องเป็นฝ่ายเสียค่าปรับให้รัฐ

2) เรื่อง “โคตรโง่โฮปเวลล์” นี้มีการดำเนินการมาอย่าง เงียบมากทั้งในชั้นอนุญาโตตุลาการและในชั้นศาลปกครอง ผิดจากกรณีอื่นๆที่จะมีการรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆบ้าง ไม่มีใครทราบแน่ชัดในรายละเอียดในขณะนี้ว่าอนุญาโต ตุลาการในกรณี “โคตรโง่โฮปเวลล์” นี้ มีคำชี้ขาดว่าภาครัฐ บอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์โดยไม่ชอบธรรมอย่างไร และโฮปเวลล์ มีความเสียหายรวมทั้งสิ้นถึงประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท จริงหรือไม่


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 19, 15:15
3) ไม่เคยมีการตรวจสอบเลยว่ามีพฤติการณ์ใดแห่ง คดีที่มีลักษณะเป็นการกระทำทุจริตหรือเข้าข่ายที่ภาครัฐจะต่อสู้ทางกฎหมายอื่นต่อไปอีกได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่มาของสัญญา การร่างสัญญา ข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญา

ข้อเสนอ

1) ให้เปิดเผยสัญญาระหว่างภาครัฐกับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัดต่อสาธารณะโดยด่วน และต้องรีบตรวจ สอบสัญญาดังกล่าวว่ามีลักษณะที่เอื้อประโยชน์หรือส่อไปใน ทางทุจริต รวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆของผู้เกี่ยวข้องที่นำไป สู่การผิดสัญญา และในการต่อสู้คดี ว่ามีลักษณะที่ไม่สุจริตหรือ ไม่ เพื่อหาแนวทางที่จะนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาล ยุติธรรม อีกครั้ง เช่นเดียวกันกับกรณี “ค่าโง่ทางด่วน” และ “ค่าโง่คลองด่าน”

2) แก้ไขมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ที่ไม่มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทได้จริง และเป็นการเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้รัฐเสียหายอย่าง มหาศาลในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นว่า
“มาตรา 15 ห้ามมิให้นำวิธีการอนุญาโตตุลาการมาใช้ ในการระงับข้อพิพาทในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ตาม”

3) เร่งออกกฎหมาย “ความรับผิดในการทำสัญญา ของหน่วยงานของรัฐ” มีหลักการให้ผู้ยกร่างและผู้ตรวจสอบ ร่างสัญญาของรัฐ รวมทั้งผู้ลงนามในสัญญา ต้องรับผิดต่อความ เสียหายของรัฐที่เกิดจากข้อสัญญาที่เสียเปรียบหากพบว่ามีการทุจริต หรือจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเกิด ความเสียหายแก่รัฐ
เร่งมือเถอะครับ ก่อนความเสียหายจะบานปลายไปมากกว่านี้


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 เม.ย. 19, 17:11
ความเห็นของนักการเมืองนี่อ่านแล้วเหนื่อย

๑ โครงการใหญ่ขนาดนั้น ผ่านการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมเร็วมากจากการผลักดันของรัฐมนตรี  และนำเสนอต่อค.ร.ม. ด้วยกระดาษ ๘ แผ่น(ตามข่าว) ค.ร.ม.ก็ผ่านให้โดยไม่คำนึงถึง ความเป็นไปได้ในภาคปฏิบัติว่ารัฐจะสนองต่อคู่สัญญาได้ไหมในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่  ซึ่งคนระดับนั้นแล้วต้องรู้ว่าที่ดินของการรถไฟที่นำไปผูกในสัญญามีปัญหาผู้บุกรุกเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่  และต้องรู้ด้วยว่า การใข้อำนาจศาลขับไล่ผู้บุกรุกนั้นต้องใช้เวลาหลายปีไม่สามารถกำหนดได้  ในขณะที่ในสัญญาระบุว่า โครงการที่ ๑ คือเส้นทางจากยมราชถึงดอนเมืองจะต้องเสร็จภายใน ๔ ปี  มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่ ค.ร.ม.ก็หลับหูหลับตาผ่านให้เพราะจะไม่ยุ่งกับเค๊กที่แบ่งกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลไปแล้ว

๒ ประเด็นที่เหมาให้โฮปเวลล์ออกแบบและก่อสร้างเองโดยที่ต้องประสานกับหน่วยงานอื่น เช่นการทางพิเศษเป็นต้น  ข่าวว่านายกอร์ดอน วูหงุดหงิดมาก เพราะส่งแบบทีไรก็ไม่ผ่าน และคู่สัญญาก็ไม่เดือดร้อนแทน

๓ หลังการลงนามในสัญญาไม่นาน นายมนตรีก็ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีเกษตร  รัฐมนตรีที่มาใหม่ก็ไม่ค่อยจะผลักดันข้าราชการให้ช่วยแก้ปัญหาติดขัดดังกล่าว งานก็เดินไปอย่างเชื่องช้า  ในขณะที่รายจ่ายที่ไม่สร้างผลผลิตก็เพิ่มขึ้นมหาศาล

๔ พอข่าวว่าโครงการเดินหน้าไม่ได้หนาหู ธนาคารที่ให้กู้เงินก็ระงับที่จะให้บริษัทสร้างหนี้ต่อ  งานที่ช้าอยู่แล้วก็ยิ่งช้าไปอีก  ทางการรถไฟกล่าวหาว่าบริษัทถ่วงเวลา เพราะพื้นที่ๆส่งมอบไปแล้วก็สามารถทำงานไปเรื่อยๆได้ ในขณะที่กอร์ดอน วูบอกว่าถ้าการรถไฟส่งพื้นที่ไม่ครบ เขาก็จะไม่เร่งรีบทำงานต่อเหมือนกัน  ข้อเท็จจริงคือเขาไม่ได้เงินจากธนาคารมาต่อสายป่านให้จนกว่าจะได้รับมอบพื้นที่ทำงานตามเงื่อนไข

๕ พอโครงการไปไม่รอดแน่  ถ้าทั้งสองจะเลิกสัญญากันโดยดี  ควรจะตกลงกันอย่างไร ?

ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้ารัฐชดเชยเขาไปเท่ากับทุนที่เขาลง  บวกค่าเหนื่อยให้พอสมควรแล้ว  และรับมอบงานมาทำต่อเมื่อเคลียร์ที่ทางแล้วเสร็จ ก็น่าจะยุติธรรมที่สุด
แต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ต้องไปศาล บังเอิญว่าเป็นศาลอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งตัดสินให้โฮปเวลล์ได้รับชดเชย ๑.๑ ล้านบาท จากที่เรียกมา ๕.๖ ล้านบาท  อันนี้ยังไปตั้งข้อสงสัยอีกว่าอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรม ไม่น่าไว้ใจว่าจะเข้าข้างเอกชนกับข้าราชการขี้ฉ้อเพื่อจะโกงรัฐอีกหรือครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 06:36
^


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 06:36
ความคิดเห็นเช่นนี้ก็เท่ากับเชิญให้คนเข้าไปด่ากราด อ่านแล้วยากที่จะพบความเห็นใดที่สร้างสรร

ผมคิดว่า เราน่าจะหาว่าข้อเท็จจริงในเรื่องของสัญญาว่ามีข่องโหว่อย่างไร ที่คนเลวมันใช้เอามาโกงแผ่นดิน ไม่ใช่ไปโจมตีในหลักการว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่ดี สู้ศาลไม่ได้ เพราะถ้าคนมันจะโกงมันก็โกงเหมือนกัน 
วิธีป้องกันคนโกงคือ หาจับคดีใดได้ก็ขอให้กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินให้มันติดคุกเร็วๆ และให้ถือเป็นคดีร้ายแรงเหมือนโทษคดียาเสพย์ติด ไม่มีการลดโทษให้เช่นคดีทั่วไปที่ติดคุกจริงๆแค่ไม่กี่ปีก็ออกมาใช้เงินที่โกงมาได้แล้ว
 
เอาเป็นตัวอย่างจริงๆจังๆให้เกิดความหลาบกลัว จึงจะต่อต้านการโกงได้


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 06:55
สำหรับคุณนริศ ที่เขียนว่า โดยปกติแล้ว มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐประการหนึ่งว่า รัฐมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ ครับ ดังนั้น การจัดทำบริการสาธารณะจึงถือเป็นการกระทำทางปกครองอย่างหนึ่ง และเมื่อเป็นการกระทำทางปกครองแล้ว รัฐย่อมอยู่ในฐานะที่มีอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเอกชนอยู่บางประการครับ เช่นการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการได้ 
นี่แหละที่ผมอ่านแล้วรู้สึกหม่างๆที่สุด คล้ายกับว่าเวลาเราอ่านสัญญามัดมือชกของธนาคาร หรือบริษัทประกัน ที่มักจะซ่อนข้อความด้วยตัวหนังสือเล็กๆว่า  บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่นไขตามสัญญานี้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าให้ทราบ
นี่เป็นการเอาเปรียบลูกค้าชัดๆ แต่เขาไม่สนใจ ยูก็ just take it or leave it.

ในสัญญาธุรกิจระหว่างรัฐกับเอกชนใดก็ตาม  ไม่ควรจะมีข้อความที่มัดมือชก  แต่ต้องชัดเจนว่า  รัฐมีสิทธิ์ที่จะสั่งให้หยุดดำเนินการได้หากพบว่า สิ่งที่บริษัทกำลังกระทำลงไปไม่ชอบด้วยกฏหมายอันเกี่ยวกับสวัสดิภาพและสุขอนามัย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน

การเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกข้อสัญญาบางประการนั้นจะกระทำได้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งละเมิดกฏหมายเท่านั้น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 07:03
ภาครัฐต้องตระหนักถึงความเป็น รัฐ ให้มากขึ้น ต้องเข้าใจหลักการใช้อำนาจปกครองให้มากขึ้น และต้องมองประโยชน์สาธารณะให้มากขึ้น ทุกวันนี้แม้ว่าหลักกฎหมายมหาชนจะแพร่หลายมากกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ภาครัฐก็ยังสลัดแนวคิดว่าตนคือเอกชนคนหนึ่งในการทำสัญญาในเรื่องต่างๆ ไม่ค่อยจะได้

ตรงนี้ผมมีความเห็นตรงข้ามเลย

ในการทำสัญญาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายนั้น ต้องการการเอาใจเขาใส่ใจเรา  เช่น เรียกร้องอย่างนี้เขาจะทำได้ไหม เอาเปรียบเขาเกินไปหรือเปล่า คู่สัญญาที่ฝรั่งใช้คำว่า too smart นั้นมักจะไปไม่รอดครับ  คนเราก็กินข้าวเหมือนๆกันทั้งข้าราชการและเอกชน พวกกินแกลบไม่ได้ขึ้นมานั่งโต๊ะเจรจาหรอก


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 07:14
ผมไม่รู้ว่าอันนี้เป็นเรื่องในภาพรวมจริงๆ คือเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากยุคกฎหมายเอกชนจริงๆ หรือเป็นเรื่องเชิงบุคคลก็ไม่ทราบ เพราะจากที่ผมเคยเห็น บางทีรัฐกลัวว่า เอกชนจะไม่ยอมทำสัญญาด้วย กลัวว่าสัญญาจะไม่ดึงดูดพอ ไม่หอมหวานพอ ก็ใส่สิทธิประโยชน์ให้ภาคเอกชนลงในสัญญามากๆ ใส่อำนาจรัฐไว้ให้น้อยๆ อะไรแบบนั้น เอกชนเห็นก็ชอบใจและยอมทำสัญญาด้วย หากฝ่ายกฎหมายร่างสัญญาแบบที่ให้รัฐมีอำนาจมากกว่ามาเสนอ ก็มักถูกต่อว่า ว่าทำให้รัฐเสียประโยชน์ เสียโอกาส ร่างมาแบบนี้ (หรือกำหนดมาอย่างนี้) ใครเขาจะมา เดี๋ยวเขาก็ไปที่ประเทศอื่นกันหมดหรอก ต้องให้เขาอีก เยอะๆ เยอะๆๆๆๆ สิ อะไรอย่างนี้เป็นต้น
   
ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าไม่จริงนะครับ  สิ่งที่ดึงดูดเอกชนให้เข้ามาร่วมงานกับรัฐ  ไม่ใช่เพราะต้องการให้รัฐลดอำนาจให้ตนมีสิทธิ์ละเมิดกฏหมาย แต่เขาต้องการสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีอากรบางประการ  อย่างเช่นที่ B.O.I. เสนอให้อยู่แล้ว แต่เขาอาจจะเจรจาขอมากกว่าตัวเลขมาตรฐานที่ใช้กับทุกบริษัท เป็นกรณีย์พิเศษ

การตัดสินใจลงทุนใด ประเทศไหน ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาโครงการว่าจะให้ผลตอบแทนเท่าไหร่  บรรทัดสุดท้ายในงบกำไรขาดทุนนั้นจึงสำคัญที่สุด  ไม่ใช่อำนาจในการละเมิดกฏหมายซึ่งจะก่อปัญหาสังคมจนกิจการไปไม่รอด


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 07:45
สัญญาแบบนั้น ถ้าไม่เกิดปัญหา ก็ดีไป แต่ครั้นพอเกิดปัญหา ภาครัฐทำอะไรภาคเอกชนไม่ได้เลย ต้องยอมตามที่ตนได้ทำสัญญาแบบนั้นเอาไว้ ลงท้ายด้วยการถูกหาว่า "โง่" 
ผมไม่เคยเห็นตัวสัญญานะครับ แต่เชื่อว่า มีลักษณะแบบนั้นอีกเยอะเลยครับ

ผมเชื่อว่าการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในกรณีย์ที่เป็นโครงการระดับชาติ  จะมีระเบียบแบบแผนอยู่แล้วทั้งการกำหนดบุคคลากรผู้ร่างสัญญา ซึ่งมาจากกรมอัยการหนือสนง.กฤษฎีกา โดยอาจจะจ้างที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาด้วย  รูปแบบของสัญญาประเภทนี้อาจจะปึกใหญ่ก็จริง แต่ข้อความเกือบทั้งหมดก็จะไม่ต่างกัน ยกเว้นในส่วนของ Terms and Conditions ซึ่งจะถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจในกระทรวง  หากจะพบความไม่ชอบมาพากลก็จะพบในส่วนนี้
ทว่าก่อนเข้าค.ร.ม.เพื่อให้ความเห็นชอบ  ข้อเสนอจะต้องถูกส่งไปกลั่นกรองที่สภาพัฒน์  ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกตีกลับให้ไปแก้ไข แต่ก็นั่นแหละ ถ้าบุคคลระดับนายกหรือรองนายกที่กำกับดูแลสั่งมาว่า เอาอย่างนี้แหละ มันก็ผ่าน 

ผมขี้เกียจยกตัวอย่างกรณีย์จริง

ที่ประเทศชาติเสียหาย จึงไม่ใช่ว่าเพราะไปยอมรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ  แต่เพราะคนมันโกง 

ทำไมเมืองไทยคนโกงมันแยะ ก็เพราะขบวนการเอาโทษทางกฏหมายมันอ่อนแอ ผมว่ากฏหมายเรามีเพียงพอแล้วแต่ขาดการบังคับใช้  ประเทศที่ Laws and Enforcement ไม่แข็งแรง  ข้าราชการก็โกงกันยับ ลองคิดดูครับ ปีๆหนึ่งมีคดีคอร์รัปชั่นกี่คดี อยู่ในขั้นตำรวจและอัยการกี่ปี อยู่ในศาลกว่าจะจบถึงฎีกากี่ปี  บางทีจำเลยแก่ตายไปก่อนแล้ว พอเข้าคุกก็ติดไม่เท่าไหร่ ทุกปีได้ลดโทษ ๑ ใน ๓ ประมาณ ๔ ปีก็ออกจากคุกแล้ว เงินที่โกงมาอาจจะถูกยึดทรัพย์ไปบ้าง แต่ที่เม้มไว้ก็ยังสบายถึงลูกหลาน อย่างนี้คนโกงมันบอกว่าคุ้มกับการเสี่ยงครับ

จะยกตัวอย่างจีนที่ประหารชีวิตข้าราชการที่คอร์รัปชั่นก็เดี๋ยวจะมาหาว่าผมโหด  เอาสิงคโปรนี่แหละ ใครโดนคดีนี้ก็ติดคุกหัวโตและถูกประจานในสื่อไม่ให้ทุกคนเอาเยี่ยงอย่าง

เราควรจะช่วยกันคิดว่าว่าทำอย่างไรจึงจะปราบคนโกงได้  ไม่ใช่มาหาทางแก้ไขไม่ให้คดีของรัฐต้องขึ้นศาลอนุญาโตตุลาการ มันเกาไม่ถูกที่คันจริงๆ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 07:55
    ตามอ่านมาเรื่อยๆ    สะดุดตรงที่ในกรณีนี้ มีผู้ออกมามอบก้อนอิฐให้อนุญาโตตุลาการกันหลายก้อน    บางท่านก็ด่าเละเทะ ด้วยข้อหาฉกาจฉกรรจ์   เปรียบเทียบเป็นสิทธิสภาพนอกอาณาเขตราวกับเราอยู่ในรัชกาลที่ 4 มั่งอะไรมั่ง
    ที่จริง  อนุญาโตตุลาการก็คนไทยเราด้วยกันนี่เอง  ไม่ใช่ฝรั่งมังค่าต่างชาติ  จะเอาไปเปรียบได้ยังไง
    อ่านเพิ่มเติมจากความเห็นอื่นๆ  ก็สงสัยว่า  ไม่แฟร์รึเปล่า  ข้อเท็จจริงเรื่องบทบาทของอนุญาโตตุลาการ มันไม่ใช่อย่างที่กล่าวหา   พวกเขาเป็นแพะรับบาปไปรึเปล่า  
    จริงๆแล้วตามกระบวนการขั้นตอนมันไม่ใช่นี่นา
    1  ใช่ข้อเท็จจริง ที่ว่าอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดให้รัฐไทยเสียค่าปรับให้โฮปเวลล์
    2  ไม่ใช่ข้อเท็จจริง   ที่ว่าอนุญาโตตุลาการเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเรื่องตัดสิน    เพราะรัฐไม่ยอมรับคำชี้ขาดนี้ได้    สามารถนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครองได้
    3   ศาลปกครองชั้นต้น ตัดสินคนละอย่างกับอนุญาโตตุลาการ  ว่าคดีหมดอายุความ   รัฐไม่ต้องใช้ค่าปรับให้โฮปเวลล์
    4  ถ้าคำตัดสินยุติลงแค่นี้     โฮปเวลล์ไม่อุทธรณ์    เราก็จะเห็นว่าบทบาทของอนุญาโตตุลาการเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการเท่านั้นเอง   จบขั้นตอนนี้ก็จบไป  ไม่มีใครเอาใจใส่อีก     ทุกคนจะยินดีปรีดากับคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น
    5   เรื่องมันกลับตาลปัตร ไม่ลงเอยเหมือนข้อ 4   เพราะไทยมีศาลปกครองสูงสุดรับพิจารณาคดีอุทธรณ์จากศาลปกครองชั้นต้นอีกที     ถ้าศาลปกครองสูงสุดตัดสินตามศาลปกครองชั้นต้น  คือคดีนี้หมดอายุความ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ   ทุกอย่างก็จบแบบข้อ 4
    กลายเป็นว่าในคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดตัดสินตรงกันข้ามกับศาลชั้นต้น  คือยืนตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   ไม่ยืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้น   ผลก็เลยออกมาแบบรัฐโดนสื่อพาดหัวข่าวเละเทะ
    อนุญาโตตุลาการโดนประณามปานประหนึ่งเป็นตัวการ  
    ไม่ยักมีใครหยิบยกประเด็นคำตัดสินของศาลที่แตกต่างกันมาวิเคราะห์  อาจจะกลัวว่าจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลก็เป็นได้     และที่ควรทำมากกว่านั้นคือย้อนกลับไปพิจารณาสัญญาว่าทำกันมายังไง มันถึงออกมาในรูปนี้  อย่างที่คุณ NAVARAT.C กำลังทำอยู่ในกระทู้นี้
    


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 07:56
ความเห็นจากผู้ติดตาม FB คนหนึ่งของผมครับ
(คำว่า you เธอไม่ได้หมายถึงผมนะครับ แต่หมายถึงทุกคนที่อ่านสิ่งที่เธอเขียน)

If you want to improve Thailand’s image, it is time Thailand gets informed and stops using the word “ค่าโง่“ or “stupidity fee” when it comes to arbitration awards against the State. Let’s get educated and find out why a State entity has lost a case instead of “blaming” arbitration as the devil.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 09:01
Some people need a scapegoat, that's why: especially the one who cannot fight back.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 09:28
บทสรุปจากคำพิพากษาครับ

(1) ประเด็นรับมอบพื้นที่และบ่ายเบี่ยงการรับมอบพื้นที่ ของโฮปเวลล์ นั้น ตามสัญญากำหนดให้กระทรวงฯและการรถไฟเป็นผู้ขับไล่ผู้บุกรุก หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง นอกจากนั้นตามสัญญา กระทรวงฯและการรถไฟตกลงจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่โฮปเวลล์ ดังนั้นกระทรวงฯและการรถไฟจึงมีหน้าที่กำจัดอุปสรรคใดๆ ในพื้นที่สัมปทาน ซึ่งรวมถึงการขับไล่ผู้บุกรุกซึ่งกระทรวงฯและการรถไฟมีสิทธิตามกฎหมายและมีอำนาจดำเนินการ ดังนั้น การที่โฮปเวลล์ไม่ยอมรับมอบพื้นที่จึงไม่ใช่ความผิดหรือความไม่พร้อมของโฮปเวลล์

(2) ประเด็นแบบในการก่อสร้าง โฮปเวลล์อ้างว่าได้ออกแบบและส่งมอบแบบให้กระทรวงฯและการรถไฟพิจารณาตามสัญญาแล้ว แต่กระทรวงฯละการรถไฟ เห็นว่า แบบไม่มีรายละเอียดไม่สามารถดำเนินการได้และบางส่วนไม่สอดคล้องกับ Concept Design กระทรวงฯและการรถไฟจึงไม่ให้ความเห็นชอบแบบ คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญาแล้วการส่งมอบแบบบางส่วนสามารถทำได้ เมื่อพิเคราะห์จากหลักฐานแล้วเห็นว่า โฮปเวลล์ได้ส่งมอบแบบให้แก่กระทรวงฯและการรถไฟ ถูกต้องตามสัญญาแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่โฮปเวลล์ไม่พร้อมที่ปฏิบัติตามสัญญาเพราะโครงการไม่มีแบบก่อสร้างก่อน

(3) ประเด็นการออกแบบรางรถไฟ กระทรวงฯและการรถไฟ อ้างว่าโฮปเวลล์ออกแบบรางรถไฟไม่ครบ 3 ราง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาไม่ได้มีรายละเอียดระบุให้มีราง 3 ราง และเห็นว่า โฮปเวลล์ได้ออกแบบก่อสร้างเส้นทางสัมปทานถูกต้องตามสัญญาและหลักวิศวกรรมแล้ว

(4) ประเด็นการออกแบบชานชาลาไม่พอ คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามสัญญากำหนดให้โฮปเวลล์ทำการก่อสร้างชานชาลาจำนวน 1 ชานชาลาหรือมากว่า เพื่อรองรับระบรถไฟตามสถานี ซึ่งโฮปเวลล์ได้ออกแบบให้มีชานชาลาถึงจำนวน 20 ชานชาลาต่อสถานี โดยใช้หลักเกณฑ์การออกแบบให้ชานชาลา 1 ชานชาลาต่อรางรถไฟ 1 ราง ดังนั้นการออกแบบชานชาลาและสถานีรถไฟของโฮปเวลล์จึงเพียพอและถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาแล้ว

(5) ประเด็นการออกแบบชานชาลาไม่ครบจำนวน 3 ชานชาลาตามที่กำหนดในสัญญา คณะอนุญาโตตุลากาชี้ขาดว่า ตามสัญญาโฮปเวลล์ต้องก่อสร้างชานชาลา 1 ชานชาลา หรือมากกว่า เพื่อรองรับระบบรถไฟ ซึ่งระบบรถไฟในเส้นสายเหนือจะมีจำนวน 3 ราง รางซ้ายรางขวาสำหรับรางโดยสาร และรางกลางสำหรับรถไฟบรรทุกสินค้าซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทุกสถานี คงมีเฉพาะสถานีที่มีการรับ-ส่งสินค้า และเมื่อบริเวณสถานนีดังกล่าวไม่มีความจำเป็นต้องรับ-ส่งสินค้าและมีพื้นที่ก่อสร้างจำกัด โฮปเวลล์จึงไม่สามารถออกแบบและก่อสร้างชานชาลาให้ครบ 3 ชานชาลาได้ จึงไม่ปฏิบัติผิดสัญญา

(6) ประเด็นกำหนดขนาดและความกว้างของไหล่ทาง กระทรวงฯและการรถไฟอ้างว่าโฮปเวลล์ไม่ออกแบบตามมาตรฐาน AASHTO คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามสัญญากำหนดมาตรฐานการออกแบบท้ายนี้เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ก่อสร้างของ กทม. โดยมิได้กำหนดให้ใช้มาตรฐานใดโดยเฉพาะและมาตรฐาน AASHTO ตามสัญญาก็เป็นเพียงหนึ่งในมาตรฐานหลายมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้อย่างกว่างๆสำหรับผู้ใช้เส้นทางจราจรเท่านั้น โฮปเวลล์จึงไม่ผิดสัญญา

(7) ประเด็นการออกแบบเส้นทางบริเวณ NASA Night Club กระทรวงฯและการรถไฟ อ้างว่า โฮปเวลล์ออกแบบไม่ตรงตามแนวเส้นทางตามแบบที่ต้องเป็นเส้นโค้ง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า เหตุที่ไม่สามารถออกแบบได้เนื่องจากกระทรวงฯและการรถไฟได้ให้ผู้อื่นเข้าใช้ประโยชน์โฮปเวลล์ไม่สามารถทำตามแบบได้ จึงไม่ใช่ความผิดของโฮปเวลล์

(8)ประเด็นการยกเลิกสถานีเดิมและย้ายไปก่อสร้างที่อื่น คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การย้ายสถานีเป็นความประสงค์ของกระทรวงฯและการรถไฟเพื่อให้การก่อสร้างตามสัญญาสัมปทานสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้จริง จึงไม่ใช่ความผิดของโฮปเวลล์

(9) ประเด็นกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานก่อสร้างตามสัญญา โฮปเวลล์อ้างว่า ระยะเวลาก่อสร้างต้องขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาล่าช้าที่เกิดเหตุต่างๆ กระทรวงฯและการรถไฟเห็นว่า ความล่าช้าเกิดจากโฮปเวลล์เอง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การที่กระทรวงฯและการรถไฟ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องในเรื่องต่างๆ ทำให้โฮปเวลล์ไม่สามารถดำเนินการออกแบบและก่อสร้างได้ตามแผนเป็นความผิดของกระทรวง ฯ และการรถไฟ รวมทั้งเกิดจากโฮปเวลล์ไม่สามารถเข้าครอบครองพื้นที่ได้ ระยะเวลาจึงควรขยายออกไปเท่ากับความล่าช้าที่เกิดขึ้น โฮปเวลล์ไม่ได้ผิดสัญญา

เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเหตุเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วเห็นได้ว่า ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการพิจารณาข้อเท็จจริงและการปรับใช้กฎหมายและข้อสัญญาของอนุญาโตตุลาการ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการประเด็นดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยว่า คู่สัญญาฝ่ายใดปฏิบัติตามสัญญาถูกต้องแล้วหรือไม่ อย่างไรและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ปรากฎเหตุที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการเพิกถอนคำชี้ขาดได้

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นให้ยกคำร้องของกระทรวงฯและการรถไฟ และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ



กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 10:01
นี่คือความหมายว่า อนุญาโตตุลาการจะให้น้ำหนักในข้อเท็จจริงมากกว่าข้อกฏหมาย(ซึ่งเขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่อังกฤษ และอาจจะผูกพันหลายฉบับ หยุมหยิมยากแก่การทำความเข้าใจของชาวต่างประเทศ)

อันนี้ลองคิดถึงนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในประเทศบ้าง ยกตัวอย่างโมแซมบิก ถ้าทางโน้นไม่ยอมให้ใช้ศาลอนุญาโตตุลาการ ก็เห็นจะยากที่ใครจะกล้าเสี่ยง


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 10:16
บทสรุปจากคำพิพากษาครับ

(1) ประเด็นรับมอบพื้นที่และบ่ายเบี่ยงการรับมอบพื้นที่ ของโฮปเวลล์ นั้น ตามสัญญากำหนดให้กระทรวงฯและการรถไฟเป็นผู้ขับไล่ผู้บุกรุก หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง  นอกจากนั้นตามสัญญา กระทรวงฯและการรถไฟตกลงจะให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่โฮปเวลล์ ดังนั้นกระทรวงฯและการรถไฟจึงมีหน้าที่กำจัดอุปสรรคใดๆ ในพื้นที่สัมปทาน ซึ่งรวมถึงการขับไล่ผู้บุกรุกซึ่งกระทรวงฯและการรถไฟมีสิทธิตามกฎหมายและมีอำนาจดำเนินการ ดังนั้น การที่โฮปเวลล์ไม่ยอมรับมอบพื้นที่จึงไม่ใช่ความผิดหรือความไม่พร้อมของโฮปเวลล์

ตรงนี้พิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ
เมื่ออ่าน ได้ความว่าถ้ากระทรวงและรถไฟไล่ผู้บุกรุกออกไปได้ไม่หมด   โฮปเวลล์จะไล่ที่เหลือออกไปเอง
ถ้างั้นโฮปเวลล์ก็ไม่มีสิทธิ์บ่ายเบี่ยงไม่รับมอบพื้นที่
เพราะแปลได้ว่ารัฐไม่ต้องไล่ผู้บุกรุกออกไปให้หมดเสียหมด   ทำตามกำลัง ไล่ได้เท่าไหร่เท่านั้น ที่เหลือโฮปเวลล์ไล่เอง ไม่สามารถอ้างว่าไล่ยังไม่หมดเลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 10:25
ผมลอกมาโดยไม่ได้ปรุงแต่งอะไร

แต่คำว่า หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง นั้น ต้องการการมอบอำนาจให้ดำเนินการในนามของเจ้าของพื้นที่ด้วย ซึ่งการรถไฟอาจจะปฏิบัติจริงตรงนี้ไม่ได้ เพราะต้องรับผิดแทนโฮปเวลล์หากอีกฝ่ายชนะคดี

ถ้าเป็นอย่างที่ผมสันนิษฐานนี้ ก็เป็นความผิดทางเทคนิกของผู้ร่างสัญญาฝ่ายไทย แต่จะเป็นความบกพร่องโดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 10:38
ได้คำตอบว่าคุณ NAVARAT.C ลอกข้อความต้นทางมาถูกต้องแล้ว   งั้นไม่เข้าใจแล้วละค่ะ
ในเมื่อสัญญาบอกว่าการไล่ที่ ทำได้ทั้งรัฐและโฮปเวลล์   แล้วโฮปเวลล์มาบอกทีหลังว่ารัฐเคลียร์พื้นที่ไม่หมด เลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้
เผื่อว่าผู้บุกรุกชนะคดีฟ้องขับไล่ จะทำยังไง  ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง  
แต่ก็ไม่น่าเป็นข้ออ้างให้โฮปเวลล์ลอยตัวไปได้


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 10:39
ได้คำตอบว่าคุณ NAVARAT.C ลอกข้อความต้นทางมาถูกต้องแล้ว   งั้นไม่เข้าใจแล้วละค่ะ
ในเมื่อสัญญาบอกว่าการไล่ที่ ทำได้ทั้งรัฐและโฮปเวลล์   แล้วโฮปเวลล์มาบอกทีหลังว่ารัฐเคลียร์พื้นที่ไม่หมด เลยเข้าไปดำเนินการไม่ได้
เผื่อว่าผู้บุกรุกชนะคดีฟ้องขับไล่ จะทำยังไง  ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง  
แต่ก็ไม่น่าเป็นข้ออ้างให้โฮปเวลล์ลอยตัวไปได้
ขอประทานโทษ อ่านความเห็นของผมข้างบนหรือยังครับ

คืออยู่ๆใครจะไปฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกบนพื้นที่ที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ จนกว่าจะมีใบมอบอำนาจจากเจ้าของที่แท้จริง


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 10:53
อ่านแล้วค่ะ
ในกรณีนี้เจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง คือการรถไฟ(ส่วนหนึ่งของรัฐ)ไม่ใช่หรือ
แล้วทำใบมอบอำนาจให้โฮปเวลล์ไม่ได้หรือคะ   
มันน่าจะเป็นว่า เรื่องนี้ตกลงทำกันเป็นขั้นตอนต่อไป     กรณีรัฐไล่ได้ไม่หมด  ก็ต้องมอบอำนาจให้โฮปเวลล์ไล่ต่อไปตามที่ตกลงกันในสัญญา
ส่วนกรณีผู้บุกรุกเกิดฟ้องขึ้นมา แล้วผู้ไล่เคราะห์ร้ายแพ้คดี   ผู้มอบอำนาจก็น่าจะเป็นคนจ่ายแทนผู้รับมอบอำนาจอยู่แล้ว
ถ้าโฮปเวลล์ไม่ยอมไล่ซะเอง   เกี่ยงให้รัฐไล่จนครบ 100%    โฮปเวลล์จะเอาข้อนี้มาอ้างในการไม่ดำเนินงานไม่ได้ 



กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 11:16
ปกติ คดีความของรัฐจะต้องมอบให้เจ้าพนักงานอัยการเป็นผู้ดำเนินการในศาลแทนเท่านั้นครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 11:47
ก็หมายความว่า ข้อตกลงในข้อที่ 1 ระหว่างรัฐกับโฮปเวลล์ เอาเข้าจริงแล้วปฏิบัติไม่ได้  ติดระเบียบกฏเกณฑ์ทางราชการทุกขั้นตอน อย่างที่คุณ NAVARAT.C อธิบายมา
โดยในการร่างสัญญานั้น ไม่มีใครมองเห็นข้อเหล่านี้เลย
ผลก็คือเมื่อรัฐปฏิบัติไม่ได้  โฮปเวลล์ก็เลยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง    โดยไม่ผิด


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 12:08
ผมเชื่อว่าคนร่างสัญญาคงไม่ใช่อัยการแน่  แต่เป็นใครไม่ทราบ คนทำสัญญาแบบนี้ท่านอาจารย์ว่าเขาโง่หรือโกงครับ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 19, 12:17
เป็นไปได้ 2  ทางคือ น่าจะเป็นคนที่ไม่รู้กฎหมายพอที่จะร่างสัญญาเป็น ว่าต้องร่างกันยังไงแบบไหน    หรือไม่ก็เป็นคนที่เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายมากพอจะรู้ว่าร่างยังไงถึงไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ค่ะ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 19, 12:28
แล้วคิดว่าจะเอาผิดคนเหล่านี้ได้ไหมครับ ด้วยข้อกล่าวหาอะไร เจตนาทุจริต หรือบกพร่องในหน้าที


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 19, 12:46
ปัจจุบันที่บ่งบอกอดีต และบ่งชี้อนาคต


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 19, 12:47
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จ่ายค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร วงเงิน 11,888 ล้านบาท ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี โดยต้องจ่ายภายใน 180 วัน

ในวันเดียวกันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้มีการประชุมด่วนเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว จากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 เพื่อพิจารณา กรณีศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้ ร.ฟ.ท.จ่ายเงินชดเชยแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด วงเงินเบื้องต้น 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอีก 7.5% ต่อปี

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ชุดนี้ เข้ามาบริหารงานที่ ร.ฟ.ท.เป็นเวลากว่า 1 ปี ปรากฏไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของร.ฟ.ท.คนใด มารายงานเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้รับทราบ เมื่อมีการสอบถามนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับคำตอบว่าไม่เคยได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเช่นกัน ทั้งคณะกรรมการและรักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จึงคิดว่าคดีนี้มันจบไปแล้ว

“บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้สอบถามฝ่ายกฎหมายว่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหน้าที่ไม่ตอบ เข้าใจว่าไม่ได้ส่งใครไปฟัง และหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาแล้ว จนถึงบัดนี้เจ้าหน้าที่ของร.ฟ.ท. ยังไม่ได้หารือกับอัยการเลย ซึ่งทราบจากอัยการภายหลังว่าเจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท. นำเอกสารและพยานหลักฐานไปทิ้งให้อัยการ จากนั้นก็ไม่ได้ไปติดตามความคืบหน้าของคดีเลย วันที่ศาลฯนัดฟังคำพิพากษา ก็ไม่ไปฟัง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับค่าเสียหายที่ ร.ฟ.ท. ต้องจ่ายให้บริษัท โฮปเวลล์ ตามคำพิพากษาศาลปกครอง ยังสรุปไม่ได้ เพราะยังไม่มีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดฉบับเต็ม ที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. จึงสั่งให้ฝ่ายบริหารไปคัดสำเนาจากศาลฯ เพื่อนำมาพิจารณากันอย่างละเอียด ตัวเลขที่มีผู้บริหารของ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ร.ฟ.ท.จะต้องจ่ายชดเชยให้คู่กรณีประมาณ 25,000 ล้านบาทนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลขนี้ เพราะยังไม่ได้นำคำพิพากษาฉบับเต็มมาศึกษาในรายละเอียด และจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีการดำเนินงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 19, 09:30


แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ชุดนี้ เข้ามาบริหารงานที่ ร.ฟ.ท.เป็นเวลากว่า 1 ปี ปรากฏไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของร.ฟ.ท.คนใด มารายงานเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้รับทราบ เมื่อมีการสอบถามนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับคำตอบว่าไม่เคยได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเช่นกัน ทั้งคณะกรรมการและรักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จึงคิดว่าคดีนี้มันจบไปแล้ว

ตรงนี้น่าจะเป็นคำตอบ ว่าฝ่ายกฎหมายของรถไฟเชื่อว่าคดีนี้จบแล้ว เมื่อศาลปกครองชั้นต้นตัดสินว่าคดีมันหมดอายุไปแล้ว    ปัญหาโฮปเวลล์ก็เลยถูกมองว่าจบสิ้นไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก
ไม่ต้องไปรายงานผู้บริหารให้เสียเวลา 
ใครจะไปนึกว่าศาลปกครองสูงสุดพลิกกลับคำพิพากษาเป็นตรงข้าม    กลายเป็นเรื่องใหญ่โตสั่นสะเทือนกันไปทั้งประเทศ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 19, 10:11
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ ศาลจะต้องนำหมายแจ้งคู่กรณีย์อีกฝ่ายให้ส่งคำแก้ต่างครับ จะมาแก้ตัวว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ยิ่งเป็นข้าราชการแล้ว ความผิดถึงคุกทีเดียว

ศาลจะไม่ทำอะไรลับๆล่อๆ การนัดให้การ และการนัดอ่านคำพิพากษา มีหลักมีเกณฑ์หมด ฝ่ายกฏหมายของการรถไฟนั่นแหละต้องรู้ดี ไม่ใช่เด็กๆกันแล้ว


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 19, 10:41
แล้วคิดว่าจะเอาผิดคนเหล่านี้ได้ไหมครับ ด้วยข้อกล่าวหาอะไร เจตนาทุจริต หรือบกพร่องในหน้าที
ข้อบกพร่องในหน้าที่ โผล่ออกมาชัดเจนแล้วในข่าวข้างบนนี้ 
ส่วนเจตนาทุจริตคงต้องสอบสวนย้อนหลังกันไปหลายสิบปี     บรรดาผู้เกี่ยวข้องแต่เริ่มแรก ถ้าไม่ตายไปตามอายุขัยก็คงเกษียณกันไปยาวนานสองสามทศวรรษแล้ว   จึงไม่แน่ใจว่าจะเอาผิดได้หรือเปล่าค่ะ   


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 19, 11:12
ตรงนี้น่าจะเป็นคำตอบ ว่าฝ่ายกฎหมายของรถไฟเชื่อว่าคดีนี้จบแล้ว เมื่อศาลปกครองชั้นต้นตัดสินว่าคดีมันหมดอายุไปแล้ว    ปัญหาโฮปเวลล์ก็เลยถูกมองว่าจบสิ้นไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก
ไม่ต้องไปรายงานผู้บริหารให้เสียเวลา  
ใครจะไปนึกว่าศาลปกครองสูงสุดพลิกกลับคำพิพากษาเป็นตรงข้าม    กลายเป็นเรื่องใหญ่โตสั่นสะเทือนกันไปทั้งประเทศ


เอาตรงข้างบนนี้แหละ ยังไม่ขาดอายุความ ฝ่ายกฎหมายของรถไฟที่เชื่อว่าคดีนี้จบแล้วเมื่อศาลปกครองชั้นต้นตัดสินว่าคดีมันหมดอายุไปแล้วน่ะ  จบโรงเรียนกฏหมายที่ไหนมาจึงได้ทำงานได้ทุเรศขนาดนี้


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 19, 11:39
ความเห็นของดิฉันก็คือความเห็นอย่างประชาชนคนหนึ่งนะคะ   ไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบางของการทำงาน เพียงแต่เกิดความคิดเห็นนี้ขึ้นมาเมื่ออ่านจากข่าว ว่าผู้บริหารร.ฟ.ท. ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับโฮปเวลล์นี้เลย     ก็แสดงว่าทางด้านงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ส่งเรื่องขึ้นมาให้รับทราบ   
ในระบบงานของรัฐ     การไม่ได้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงทราบ   มันก็มีคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ เห็นว่าเรื่องนั้นๆจบไปแล้ว  ไม่จำเป็นต้องส่ง
ส่วนเหตุผลอื่นๆ ก็เป็นไปได้อีกหลายอย่าง เช่นโดนเบรคไม่ให้ส่ง (จะด้วยฝีมือใครก็ไม่ทราบ)  หรือรู้แล้วว่ามันต้องเกิดเรื่องใหญ่แน่ๆ  ก็อกสั่นขวัญแขวน พยายามยื้อเอาไว้เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องพ้นหน้าที่ไปก่อน
หรือเกิดจากความอ่อนหัดของผู้เข้ามารับหน้าที่ ทั้งระดับใหญ่และเล็ก ไม่รู้รายละเอียดของคดีที่คั่งค้างมาแต่ก่อน     เป็นความพลั้งพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

รอฟังคำตอบจากฝ่ายกฎหมายของรถไฟก่อนดีกว่าค่ะ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 19, 14:54
เชิญเลยครับ ผมคงถือโอกาสเลิกตรงนี้เลย
.
.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 19, 17:35
จากคอลัมน์ กวนน้ำให้ใส  นสพ.แนวหน้า


หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษา กรณีโครงการโฮปเวลล์ ให้บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ่ายค่าเสียหายแก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) กรณีถูกยกเลิกสัญญา เป็นเงินมูลค่า 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% พร้อมคืนหนังสือคํ้าประกันจากธนาคารกรุงเทพให้กับโฮปเวลล์ 500 ล้านบาทนั้น
1. รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. นายเอก สิทธิเวคิน เปิดเผยว่า จากการพิจารณาค่าชดเชยที่ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คาดว่าเป็นวงเงินรวม 25,000 ล้านบาท
แบ่งเป็นเงินต้น 12,000 ล้านบาท และดอกเบี้ย 13,000 ล้านบาท
โดยร.ฟ.ท.จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 เมษายนนี้
ยืนยันว่า จะขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมช่วยรับภาระหนี้ดังกล่าว เพราะปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีหนี้สินสะสมประมาณ 120,000 ล้านบาท

ต่อมา นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยหลังเข้ารายงานต่อ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เรื่องที่ ร.ฟ.ท.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหาแนวทางปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีค่าโง่โฮปเวลล์ ว่าขณะนี้ได้ส่งหนังสือถึงหน่วยงานที่ต้องส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะทำงานดังกล่าวแล้ว เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ฯลฯ

เบื้องต้น คาดหวังว่าจะสามารถตั้งคณะทำงานเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเร่งเดินหน้าเจรจากับบริษัทโฮปเวลล์ ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้ ภายในกรอบเวลา 180 วันตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

2. วันที่ 30 เม.ย. 2562 คงจะมีการนำเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุม ครม.

เข้าใจว่า ครม.ชุดนี้ ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดำเนินการกระทั่งเพิกถอนค่าโง่คลองด่าน ที่มีการบอกเลิกสัญญาในยุครัฐบาลทักษิณ แล้วถูกฟ้องเรียกค่าโง่ จนคดีไปถึงศาลปกครองสูงสุดแล้วเช่นเดียวกับกรณีโฮปเวลล์ แต่รัฐบาล คสช.ก็ยังอุตส่าห์ดำเนินการขุดคุ้ย ค้นหา ประมวลข้อมูลการทุจริตประพฤติมิชอบ แบ่งงานกันทำในการเอื้อประโยชน์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และเอกชนในกรณีค่าโง่คลองด่าน กระทั่งสามารถเพิกถอนค่าโง่คลองด่าน และติดตามยึดอายัดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก

ขอให้กำลังใจผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่อไป
ขอฝากว่า อย่าได้เกรงใจใครเลย ผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมต้องมาก่อน

3. ที่มาที่ไปของกรณีโฮปเวลล์ จัดได้ว่าเป็นมหากาพย์อีกหนึ่งเรื่อง

โดยที่ศาลปกครองสูงสุดไม่อาจไปก้าวล่วงรายละเอียดการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการว่าใครทำผิดสัญญาอย่างไรหรือไม่ คงได้แต่พิจารณาว่า คำวินิจฉัยอนุญาโตฯ เข้าข่ายที่จะต้องเพิกถอนตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 19, 17:36
ในแฟนเพจ ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง ได้รวบรวมข้อมูลที่มาที่ไปของคดีโฮปเวลล์ไว้อย่างน่าสนใจ

เนื้อหาค่อนข้างยาว จึงขออนุญาตสรุปใจความสำคัญบางช่วงบางตอนมาแบ่งปันเป็นข้อมูลสาธารณะไว้ ณ ที่นี้ เพื่อว่าคนไทยที่มีใจรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการจะช่วยปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม จะได้ช่วยกันเสาะหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตีแผ่ และดำเนินการเพิกถอนค่าโง่ในโอกาสต่อไป ดังนี้

3.1 เมื่อปี 2532 กระทรวงคมนาคมได้เสนอ ครม. เพื่อเห็นชอบโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ

ต่อมา เมื่อ ครม. เห็นชอบ กระทรวง จึงประกาศเชิญชวนผู้สนใจเสนอโครงการลงทุนก่อสร้างทางรถไฟและทางรถยนต์ยกระดับโดยให้ได้รับสัมปทานดำเนินการระบบรถไฟชุมชนและสัมปทานทางรถยนต์ในเขตของทางรถไฟ นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานจะได้รับสิทธิในการจัดหาผลประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟฯ

โดยผู้สนใจจะต้องเสนอโครงการลงทุนก่อสร้างทางรถไฟและทางรถยนต์ยกระดับพร้อมอาคารสถานี เครื่องอุปกรณ์อาณัติสัญญาณ โทรคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ และสาธารณูปโภคอย่างครบถ้วน กำหนดระยะเวลาดำเนินการตามโครงการ 30 ปี ไม่นับรวมระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3-5 ปี โดยต้องเสนอโครงการต่อ กระทรวง ตามเงื่อนไขที่กำหนดรวม 7 ข้อ เช่น ต้องเสนอรายละเอียดโครงการพร้อมแผนงาน ผลปประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวน 1,500 ล้านบาท ต้องชดเชยอาคารที่มีการรื้อถอน

โครงการนี้ มีผู้สนใจซื้อซอง 4 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอรายเดียว คือ โฮปเวลล์

กระทรวง รับข้อเสนอของโฮปเวลล์ เสนอ ครม. เพื่อพิจารณา

3.2 เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2533 กระทรวง และการรถไฟฯ ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับใน กทม. และประโยชน์จากที่ดินกับ โฮปเวลล์

ต่อมา มีการแก้ไขสัญญา มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า การก่อสร้างส่งมอบเฉพาะระบบรถไฟ และถนนยกระดับ

ส่วนโครงสร้างทาง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ในพื้นที่สัมปทานตกเป็นของการรถไฟฯทันทีที่ก่อสร้าง โดยโฮปเวลล์มีสิทธิใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้างตลอดอายุสัมปทาน โฮปเวลล์มีสิทธิเก็บรายได้จากระบบทางด่วนยกระดับและทางรถไฟและทรัพย์สินเชิงพาณิชย์อื่นๆ โดยโฮปเวลล์ มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการออกแบบก่อสร้าง ประกอบการ ดูแลบำรุงรักษาทั้งหมดตลอดระยะเวลาสัมปทาน และระยะเวลาสัมปทานมีกำหนด 30 ปี นับแต่วันที่สัญญาใช้บังคับ สำหรับเวลาก่อสร้างมีกำหนด 8 ปี นับแต่วันที่สัญญาใช้บังคับ

3.3 หลังจากทำสัญญาแล้ว การรถไฟฯ เห็นว่า โฮปเวลล์ทำงานการก่อสร้างจริงได้เพียงในระยะที่ 1 เท่านั้น ซึ่งตามแผนงานวางไว้ต้องเริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 5 ตามลำดับ และมีปัญหาเกี่ยวกับจุดตัดถนน แต่ก็ยังเห็นว่าแก้ไขและทำให้เสร็จได้ตามระยะเวลาสัญญา  กระทรวงและการรถไฟฯจึงรายงานต่อ ครม.


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 19, 17:37
ต่อมา เดือน เม.ย.2539 การรถไฟฯ รายงาน ครม. ว่า ผลการดำเนินการได้ประมาณ ร้อยละ 5 ซึ่งตามแผนควรมีความก้าวหน้าร้อยละ 67 การก่อสร้างจึงอยู่ในเกณฑ์ล่าช้ามากกระทรวง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเร่งรัด ติดตาม ควบคุมดำเนินงานตามสัมปทาน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงาน แต่โฮปเวลล์ก็ยังไม่สามารถก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 เสร็จได้ ต่อมากระทรวง มีหนังสือแจ้งเตือนกรณีงานล่าช้า แต่โฮปเวลล์ก็ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ โดยอ้างอุปสรรคของพื้นที่ก่อสร้างต่างๆ แต่กระทรวงเห็นว่าไม่ตรงข้อเท็จจริง

ต่อมา กระทรวง เสนอ ครม.ว่าควร บอกเลิกสัญญาสัมปทาน เนื่องจากโครงการนี้ได้ใช้เวลาดำเนินการมา 6 ปี แต่ผลการดำเนินการก่อสร้างต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดในแผนมาก คาดหมายได้ว่าโฮปเวลล์ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ ซึ่งจะมีผลจะกระทบกับแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรของ กทม. รวมทั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อแผนพัฒนากิจการการรถไฟฯในอนาคต เมื่อ 23 ธ.ค.2540 ครม. จึงเห็นชอบการบอกเลิกสัญญา

3.4 ต่อมา เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2541 กระทรวง ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และห้ามมิให้โฮปเวลล์เข้าไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ โฮปเวลล์จึงมีหนังสือวันที่ 30 ม.ค.2541 และ 2 ก.พ. 2541 แจ้งกระทรวง ว่าการบอกเลิกสัญญาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญา กระทรวงจึงผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โฮปเวลล์

25 ก.พ.2541 กระทรวง มีหนังสือแจ้งยืนยันการบอกเลิกสัญญาและแจ้งว่า การบอกเลิกตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง จึงไม่ต้องดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการและโฮปเวลล์ไม่มีสิทธิครอบครองพื้นที่สัมปทานและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใดๆ และให้ขนย้ายเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ออกจากพื้นที่ก่อสร้างภายใน 15 วันนับจากได้หนังสือฉบับนี้

ต่อมาโฮปเวลล์ก็มีหนังสือโต้แย้งว่าการบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามสัญญา และยืนยันสิทธิเรียกค่าเสียหาย กระทรวง จึงมีหนังสือยืนยันว่า การบอกเลิกสัญญานี้เป็นการบอกเลิกตาม ปพพ. มาตรา 388 มิใช่กรณีการเวนคืนระบบหรือพื้นที่สัมปทาน ตามสัญญา แต่กระทรวง เห็นว่าโฮปเวลล์ ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ จึงเป็นการบอกเลิกที่ชอบแล้ว

23 มิ.ย.2543 โฮปเวลล์มีหนังสือแจ้งว่าการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นไปตามขั้นตอนในสัญญา ทำให้ได้รับความเสียหาย ให้กระทรวง ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนกว่า 20,000 ล้านบาทภายใน 30 วัน

ต่อมา โฮปเวลล์มีหนังสือขอให้เปิดการเจรจาเพื่อยุติปัญหาดังกล่าว หากกระทรวง ไม่ตกลง ภายใน 60 วัน โฮปเวลล์จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ

กระทรวง และการรถไฟฯ ไม่ได้เจรจาภายใน 60 วัน

โฮปเวลล์จึงเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างว่าการบอกเลิกสัญญาของ กระทรวง และการรถไฟฯ ทำให้โฮปเวลล์ได้รับความเสียหาย เรียกค่าเสียหาย เป็นทุนทรัพย์จำนวนประมาณ สองหมื่นแปดพันกว่าล้านบาท ต่อมากระทรวงและการรถไฟฯก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องแย้งต่ออนุญาโตตุลาการ


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 19, 17:42
3.5 อนุญาโตตุลาการกำหนดประเด็นพิพาทแยกสำนวนโดย

1. ข้อพิพาทที่โฮปเวลล์ยื่น กำหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดเป็น 4 ประเด็น คือ

1.1 โฮปเวลล์เสนอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่

1.2 สิทธิเสนอข้อเรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของโฮปเวลล์พ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายหรือไม่

1.3 สัมปทานเลิกกันโดยปริยายหรือโดยข้อกฎหมาย

1.4 คู่สัญญาจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ปพพ. ม. 391 หรือไม่

2. ข้อเรียกร้องแย้งที่กระทรวง และการรถไฟฯยื่นกำหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดเป็น 3 ประเด็น คือ

2.1 โฮปเวลล์ผิดสัญญาหรือไม่

2.2 กระทรวงและการรถไฟฯ บอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่

2.3 กระทรวงและการรถไฟฯ เสียหายหรือไม่ เพียงใด

อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้กระทรวง และการรถไฟฯ ร่วมกันหรือแทนกันคืนค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกัน และใช้เงินค่าก่อสร้างโครงการ กระทรวง และการรถไฟฯจึงยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ส่วนโฮปเวลล์ก็ยื่นคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โฮปเวลล์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด


พรุ่งนี้ มาดูกันถึงรายละเอียดที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย
https://www.naewna.com/politic/columnist/39884


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 19, 10:25
(ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้)
ที่มาที่ไป กรณีโฮปเวลล์ ก่อนจะมาเป็นค่าโง่ 25,000 ล้านบาท ในแฟนเพจ ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง ได้รวบรวมข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ

ระบุถึงประเด็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ดังนี้

1. ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย มีประเด็น ดังนี้

1.1 โฮปเวลล์ยื่นข้อพิพาทเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่อาจยื่นข้อเรียกร้องต่ออนุญาโตตุลาการ หรือไม่ ?

ศาลวินิจฉัยเป็นแนวทางว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โฮปเวลล์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2541 จึงถือว่าโฮปเวลล์รู้ว่าข้อพิพาทเกิดขึ้นและเป็นวันที่โฮปเวลล์อาจยื่นข้อเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ ซึ่งการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาหรืออายุความในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการไว้ จะมีก็แต่เพียง มาตรา 9 พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ที่กำหนดให้คู่พิพาทอาจตกลงกันกำหนดระยะเวลาหรืออายุความให้สั้นกว่าอายุความฟ้องร้องคดีต่อศาลก็ได้ และให้สิทธิคู่พิพาทขอขยายเวลาออกไปเท่าที่ไม่เกินไปกว่าอายุความการฟ้องร้องคดีต่อศาลได้
ดังนั้น ระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการจึงมีหลักว่า “ข้อพิพาทใดที่อาจเสนอเป็นคดีต่อศาลได้ภายในอายุความการฟ้องคดี ข้อพิพาทนั้นก็สามารถเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ภายในกำหนดระยะเวลาเช่นเดียวกัน” เมื่อคดีนี้ สัญญาระหว่างคู่พิพาทไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการจึงกระทำได้ภายในกำหนดอายุความฟ้องร้องต่อศาล กล่าวคือภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 19, 10:25
ดังนั้น เมื่อโฮปเวลล์ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการภายใน 5 ปี นับแต่วันที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญา ข้อพิพาทนี้จึงเป็นข้อพิพาทที่เสนอต่ออนุญาโตตุลาการโดยชอบแล้ว

1.2 ประเด็นเนื้อหาแห่งคดี มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่?

สำหรับข้อพิพาทที่โฮปเวลล์ยื่น ศาลวินิจฉัยเป็นแนวทางว่า

(1) โฮปเวลล์เสนอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ว่า ตามสัญญาสัมปทานมีข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทไว้ว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาต้องพยายามประนีประนอมระงับข้อพิพาทนั้นก่อนถ้าหากภายใน 60 วัน หรือในช่วงเวลาที่ขยายออกใดๆ ตามที่ตกลงกันคู่สัญญาไม่สามารถประนีประนอมได้ ให้นำข้อพิพาทนั้นเสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่อข้อเท็จจริง โฮปเวลล์ได้มีหนังสือขอให้ กระทรวงและการรถไฟฯ ประนีประนอมให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่กระทรวงและการรถไฟฯก็เพิกเฉยไม่พยายามเจรจา อนุญาโตตุลาการจึงมีคำขี้ขาดว่า ที่กระทรวง และการรถไฟฯ อ้างข้อกฎหมายว่าการใช้สิทธิของโฮปเวลล์ไม่ถูกต้องตาม ปพพ. ม. 55 ข้ออ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่พิพาทจะใช้สิทธิต่อศาลเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ แต่ตามกรณีนี้เป็นเรื่องที่โฮปเวลล์ใช้สิทธิตามสัญญาที่ตกลงกัน การใช้สิทธิของโฮปเวลล์จึงไม่ถูกจำกัดโดยบทกฎหมายดังกล่าว

ศาลจึงวินิจฉัยว่าจากข้อเท็จจริงที่อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยไปตามเงื่อนไขข้อกำหนดของสัญญา โฮปเวลล์จึงมีสิทธิเสนอข้อพิพาทตามสัญญาสัมปทานให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ คำชี้ขาดในส่วนนี้จึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีแต่อย่างใด


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 19, 10:27
(2) สิทธิเสนอให้ระงับข้อพิพาทโดนวิธีอนุญาโตตุลาการของโฮปเวลล์พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายหรือไม่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ข้อตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญาเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ม.11 มีผลผูกพันระหว่างคู่พิพาทจึงเป็นสัญญาแพ่งชนิดหนึ่ง สัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสัมปทานจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. ม.193/30 ข้อพิพาทที่ว่า โฮปเวลล์เสนอต่ออนุญาโตตุลาการยังไม่ครบ 10 ปี จึงยังคงใช้สิทธิเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการได้ ศาลปกครองเห็นว่า ไม่อาจนำระยะเวลาตาม ปพพ. ม. 193/30 มาใช้ได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายแต่ละฉบับ แต่เมื่อคำชี้ขาดให้ผลตรงกับที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้แล้วในประเด็นแรก

ดังนั้น คำชี้ขาดในประเด็นนี้จึงไม่เป็นคำชี้ขาดที่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีแต่อย่างใด

(3) สัญญาสัมปทานเลิกกันโดนปริยายหรือโดยข้อกฎหมายหรือไม่ กระทรวงและการรถไฟฯ กับ โฮปเวลล์จะกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ปพพ. ม. 391 หรือไม่ เพียงใด?

อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การบอกเลิกสัญญาของกระทรวง และการรถไฟฯ จะต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญา โดยต้องบอกเลิกให้โฮปเวลล์แก้ไข หากโฮปเวลล์ไม่เห็นด้วยก็ต้องนำข้อพิพาทนั้นเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ แต่ข้อเท็จจริง กระทรวงและการรถไฟฯ บอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์โดยไม่ได้ดำเนินการตามที่สัญญากำหนด จึงไม่มีผลให้สัมปทานเลิกกัน แต่ข้อเท็จจริงต่อมาปรากฏว่า เมื่อกระทรวงและการรถไฟฯมีหนังสือยืนยันเจตนาบอกเลิกสัญญาหลายครั้ง และห้ามให้ผู้คัดค้านเข้าไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ และให้ขนย้ายเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆออกไปจากพื้นที่ภายใน 15 วัน โฮปเวลล์ก็ยินยอมทำตาม จากพฤติการณ์ดังกล่าว อนุญาโตตุลาการเห็นว่า กระทรวงและการรถไฟฯมีเจตนาเลิกสัญญาอันถือเป็นคำเสนอเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ และการที่โฮปเวลล์ยินยอมปฏิบัติตามเป็นการแสดงเจตนาสนองการบอกเลิกสัญญา ดังนั้น สัญญาดังกล่าวย่อมเลิกกันโดยปริยาย

ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า สัญญาทางปกครองนั้น รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดทำบริการสาธารณะย่อมมีอำนาจในการตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวให้สัญญาเป็นอันเลิกกัน เมื่อมีเหตุเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมหรือบริการสาธารณะ โดยมีผลให้สัญญาเลิกกันได้โดยไม่ต้องเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อตัดสินให้สัญญาเป็นอันเลิกกัน ทั้งนี้ อำนาจการตัดสินใจบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว มีผลเฉพาะให้สัญญาเป็นอันเลิกกันเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า การเลิกสัญญานั้นชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายปกครองไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ซึ่งความรับผิดชอบของคู่สัญญามีอยู่เพียงใด ก็ต้องพิจารณาต่อไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งคดีนี้ สัญญาพิพาทมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน ฉะนั้น การแจ้งบออกเลิกสัญญาโดยฝ่ายเดียว จึงยังไม่มีผลทางกฎหมายให้สัญญาเลิกกันในทันที แต่ต่อมาเมื่อกระทรวงมีหนังสือยืนยันการเลิกสัญญาและโฮปเวลล์ก็ยินยอมออกจากพื้นที่และไม่ดำเนินการใดๆในพื้นที่โครงการ ก็เป็นการแสดงออกซึ่งการตกลงให้สัญญาเป็นอันเลิกกัน สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่เห็นว่าสัญญาเป็นอันเลิกกัน จึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 19, 10:28
ส่วนการกลับคืนสู่ฐานะเดิม อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยว่า เมื่อโฮปเวลล์ได้ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาสัมปทานให้แก่กระทรวงและการรถไฟฯแล้ว และได้มอบหนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นหลักประกัน และได้ดำเนินการก่อสร้างรวมทั้งปฏิบัติตามสัญญา เสียค่าใช้จ่ายไปจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อสัญญาเลิกกัน สิ่งก่อสร้างที่โฮปเวลล์ดำเนินการมานั้น ถือเป็นการงานที่ได้ทำให้กระทรวงและการรถไฟฯ ดังนั้น โฮปเวลล์จึงมีสิทธิได้รับการชดใช้คืนด้วยการใช้เงินตามค่าของงานที่ได้ก่อสร้าง แต่เมื่อกระทรวง ฯและการรถไฟฯ โต้แย้งว่า สิ่งก่อสร้างนั้น กระทรวงและการรถไฟฯไม่สามารถใช้งานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่ประสงค์จะทำโครงการต่อ ประกอบกับขณะนี้โครงการก็เก่ามากแล้ว คณะอนุญาโตตุลาการจึงกำหนดลดจำนวนเงินค่าก่อสร้างให้กระทรวงและการรถไฟฯชดใช้คืนแก่โฮปเวลล์ สุดท้ายแล้ว คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้ กระทรวง และการรถไฟฯ ชดใช้เงินตามเหตุผลข้างต้นให้แก่โฮปเวลล์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันชี้ขาดจนกว่าจะชำระเสร็จ

(4) ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยในแนวทางที่ว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายกลับสู่ฐานะเดิมเทียบเคียง ปพพ. ม. 391 พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่กระทรวงและการรถไฟฯอ้างเป็นคำร้องให้เพิกถอนคำชี้ขาด เช่นว่า

ประเด็นรับมอบพื้นที่และบ่ายเบี่ยงการรับมอบพื้นที่ ของโฮปเวลล์ นั้น ตามสัญญากำหนดให้กระทรวงและการรถไฟฯเป็นผู้ขับไล่ผู้บุกรุก หากผู้บุกรุกออกไปไม่หมด โฮปเวลล์จะดำเนินการเอง การที่โฮปเวลล์ไม่ยอมรับมอบพื้นที่ คณะอนุญาโตฯ ชี้ว่าไม่ใช่ความผิดหรือความไม่พร้อมของโฮปเวลล์

ประเด็นแบบในการก่อสร้าง คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญาแล้วการส่งมอบแบบบางส่วนสามารถทำได้ ไม่ใช่กรณีที่โฮปเวลล์ไม่พร้อมที่ปฏิบัติตามสัญญาเพราะโครงการไม่มีแบบก่อสร้างก่อน

ประเด็นการออกแบบรางรถไฟ กระทรวงและการรถไฟฯ อ้างว่าโฮปเวลล์ออกแบบรางรถไฟไม่ครบ 3 ราง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาไม่ได้มีรายละเอียดระบุให้มีราง 3 ราง และเห็นว่า โฮปเวลล์ได้ออกแบบก่อสร้างเส้นทางสัมปทานถูกต้องตามสัญญาและหลักวิศวกรรมแล้ว

ประเด็นกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานก่อสร้างตามสัญญา โฮปเวลล์อ้างว่า ระยะเวลาก่อสร้างต้องขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาล่าช้าที่เกิดเหตุต่างๆ กระทรวงและการรถไฟฯเห็นว่า ความล่าช้าเกิดจากโฮปเวลล์เอง คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า การที่กระทรวงและการรถไฟฯ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องในเรื่องต่างๆ ทำให้โฮปเวลล์ไม่สามารถดำเนินการออกแบบและก่อสร้างได้ตามแผนเป็นความผิดของกระทรวงและการรถไฟฯ รวมทั้งเกิดจากโฮปเวลล์ไม่สามารถเข้าครอบครองพื้นที่ได้ ระยะเวลาจึงควรขยายออกไปเท่ากับความล่าช้าที่เกิดขึ้น โฮปเวลล์ไม่ได้ผิดสัญญา ฯลฯ

เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเหตุเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วเห็นได้ว่า ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการพิจารณาข้อเท็จจริงและการปรับใช้กฎหมายและข้อสัญญาของอนุญาโตตุลาการ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการประเด็นดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยว่า คู่สัญญาฝ่ายใดปฏิบัติตามสัญญาถูกต้องแล้วหรือไม่ อย่างไรและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีความรับผิดต่อกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ปรากฎเหตุที่กฏหมายให้อำนาจศาลในการเพิกถอนคำชี้ขาดได้

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นให้ยกคำร้องของกระทรวงและการรถไฟฯ และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

วันพรุ่งนี้ จะมาว่ากันถึงทางออก เพื่อปกป้องผลประโยชน์และความเป็นธรรมต่อส่วนรวม

https://www.naewna.com/politic/columnist/39893


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 02 พ.ค. 19, 15:52
ผมติดตามเรื่องนี้เพราะอาจต้องเกี่ยวข้อง ซึ่งก็มีข้อที่ไม่เข้าใจอยู่หลายประการครับ ขออนุญาตนำเสนอบางประเด็นครับ
1. เรื่องการปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาคือนิติกรรมที่คู่สัญญาได้แสดงเจตนาจะผูกสัมพันธ์กันตามกฎหมาย ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น ดังนั้น ตราบใดที่สัญญายังไม่สิ้นผล คู่กรณีทุกฝ่ายก็ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว ใครไม่ทำตามก็เป็นเหตุให้อีกฝ่ายใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หรือชดใช้ค่าเสียหายได้
เมื่อข้อกำหนดที่ว่า ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นส่วนหนึงในสัญญาด้วย ฉะนั้น การบังคับให้คู่กรณีต้องเข้าสู่กระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ จึงจะกระทำได้เมือสัญญายังอยู่เท่านั้น ถ้าสัญญาสิ้นสภาพ ข้อบังคับนี้ต้องสิ้นสภาพตามสัญญาด้วย

เมื่อ ฝ่ายรัฐได้ใช้สิทธิยกเลิกสัญญาไปแล้ว ฝ่ายโฮปเวล จะอาศัยสิทธิใดในการบังคับให้ทั้ง 2 ฝ่ายใช้การระงับข้อพิพาทด้วยระบบอนุญาโตตุลาการได้อีก

2. เมื่อโฮปเวล เห็นว่า ฝ่ายรัฐบอกเลิกสัญญาโดยมิชอบตามข้อกำหนดแห่งสัญญา ข้อพิพาทระหว่างโฮปเวลกับหน่วยงานของรัฐจึงมีเพียงประเด็นเดียวคือ ฝ่ายรัฐใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยชอบหรือไม่เท่านั้น ซึ่งควรจะเป็นประเด็นเดียวที่ฝ่ายโฮปเวลมีสิทธิที่จะนำเข้าสู่การวินิจฉัยของฝ่ายอนุญาโตตุลาการ

3. หากอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า สัญญายังคงอยู่อันเรื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ และหากฝ่ายโฮปเวลมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป ฝ่ายโฮปเวลควรที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐปฏิบัติตามสัญญา เช่น ให้เร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง หรืออะไรทำนองนั้น เพื่อให้ฝ่ายโฮปเวลสามารถทำงานให้ลุล่วงตามสัญญาได้ และฝ่ายโฮปเวล ก็ยังไม่หลุดพ้นหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องทำงานให้แก่รัฐให้สำเร็จด้วย แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า ฝ่ายโฮปเวลก็เรียกร้องค่าเสียหาย และไม่คิดปฏิบัติตามสัญญาต่อ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? และกรณีอย่างนี้ ฝ่ายรัฐก็เรียกร้องอะไรไม่ได้เลยใช่หรือไม่

4. ในอนาคต หากมีเอกชนรายใดเข้าทำสัญญากับรัฐแล้วไม่ยอมทำอะไรเลย สุดท้ายพอรัฐลงดาบก็อ้างว่า รัฐทำให้ตนเสียหายแล้วขอให้ถือบันทัดฐานตามเรื่องนี้ ภาครัฐควรทำอย่างไร


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 02 พ.ค. 19, 16:06
ส่วนตัว ผมสงสัยจริงๆครับว่า ฝ่ายโฮปเวลสุจริตหรือเปล่า เพราะสัญญาทำเมื่อปี 32 ผ่านไป 10 ปี ฝ่ายรัฐยังไม่มีทีท่าว่าจะทำตามสัญญาได้ ปกติการทำสัญญา ย่อมมีกำหนดวันสิ้นสุดตามสัญญา และการจ่ายค่าจ้างตามสัญญาก็ย่อมมีการกำหนดงวด การที่รัฐไม่ส่งมอบพื้นที่ให้เสียที ย่อมเป็นเหตุให้ดฮปเวลไม่สามารถทำงานได้ทันตามกำหนดในสัญญาได้ อาจถูกปรับ หรือเสียเครดิตว่าทำงานล่าช้า เสื่อมเสียชื่อเสียงในทางธุรกิจ อะไรต่างๆ

ฉะนั้น เมื่อผ่านไปสักระยะ โฮปเวลน่าจะต้องเริ่มโวยวาย และเรียกร้องสิทธิตามสัญญาแล้ว แต่โฮปเวลก็ไม่ว่าอะไร ไม่โต้แย้ง ไม่เร่งรัด ไม่ขอบอกเลิกสัญญา คิดค่าเสียหาย คิดเบี้ยปรับ ไม่นำเรื่องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ใดๆ ทั้งสิ้น แต่พอรัฐบอกเลิกสัญญาก่อนเท่านั้นแหละ โฮปเวลเดือดร้อนทันที จนต้องยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการก็คราวนี้นี่แหละครับ

ผมเลยไม่มั่นใจว่า โฮปเวลอยากทำงานต่อให้เสร็จ หรือจริงๆ ก็ไม่ได้คิดที่จะทำงานอยู่แต่แรกแล้ว แต่บังเอิญเชิงมวยดีกว่า รอให้ฝ่ายรัฐเข้าชกก่อนแล้วรอเคาเตอร์เข้าปลายคางหลับสนิท



กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 19, 17:30
(ต่อ)

ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2562 ได้รายงานให้ ครม.รับทราบ เรื่องคำพิพากษาคดีโฮปเวลล์ ซึ่งกรณีดังกล่าวผ่านมา 9 รัฐบาล หรือ 30 ปีมาแล้ว ระบุว่า กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะดำเนินการตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้


 
1.คำนวณวงเงินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดให้ชัดเจน และต้องถามไปยังศาลเพื่อขอให้ชี้แจงตัวเลข ตรวจสอบวงเงินอีกที

2.เจรจากับโฮปเวลล์เพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐ

3.กำหนดแนวทางและแหล่งเงินที่เหมาะสม ในการปฏิบัติตามคำพิพากษา

4.แต่งตั้งคณะทำงานให้ครอบคลุมหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยจะให้คณะทำงานชุดนี้ดูทั้งวงเงิน และดูทั้งเรื่องของแนวทางเจรจากับโฮปเวลล์ และแนวทางหาแหล่งเงิน ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน ไม่ใช่ไม่มีเงิน แต่จะเอามาจากที่ไหนเท่านั้นเอง ซึ่งมีหลายทางเลือก

และ 5.กระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท. ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบความรับผิดและการละเมิด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยต้องไปไล่ดูว่าโครงการมีข้อผิดพลาดตั้งแต่เมื่อไหร่ และใครที่เกี่ยวข้องบ้าง ทั้งที่มีส่วนเริ่มโครงการและเรื่องการบอกเลิกสัญญา และเกิดผลกระทบจนถึงทุกวันนี้

1. นี่คือจุดเริ่มต้นของการตามแก้ไขสิ่งผิดพลาดในอดีต เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

ที่สำคัญ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องแสดงออกให้เห็นความจริงใจ เอาจริง กล้าหาญ

ทำให้เต็มที่ เด็ดขาด เหมือนสมัยที่ดำเนินการจนสามารถเพิกถอนค่าโง่คลองด่านได้สำเร็จ (โดยการบังคับบัญชาของหัวหน้า คสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และยุครัฐมนตรียุติธรรมชื่อ พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา)


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 19, 17:30
2. จุดอ่อน คือ ขณะนี้ เป็นช่วงรอยต่อคาบเกี่ยวรัฐบาลชุดใหม่

อาจจะเจอข้าราชการเกียร์ว่าง หรือเกียร์ถอยหรือไม่?

นี่คือจุดที่หัวหน้า คสช.จะต้องตระหนัก และควรพิจารณาอย่างเด็ดขาด แล้วส่งสัญญาณให้ชัดเจน ว่าจะสนับสนุนการทำหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องได้อย่างไร?

จะมีมาตรา 44 หรือไม่ อย่างไร มิใช่เพื่อลบล้างคำพิพากษาของศาลปกครอง แต่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม และคุ้มครองการทำงานของผู้เกี่ยวข้อง

3. ก่อนหน้านี้ ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับโครงการโฮปเวลล์ โดยเฉพาะคำพิพากษาศาลปกครอง ซึ่งทำให้เห็นรายละเอียดที่คณะอนุญาโตตุลาการชี้ไว้ก่อนแล้วว่า มีกรณีข้อพิพาทกล่าวหาว่าฝ่ายเอกชนผิดสัญญามากมายหลายประการอย่างไร แต่อนุญาโตฯ ก็ชี้ว่าฝ่ายเอกชนไม่ผิดอย่างไร สุดท้าย ศาลปกครองจึงชี้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตฯ นั้น ไม่อยู่ในข่ายที่ศาลปกครองจะเพิกถอนอย่างไรไปแล้ว

จะเห็นได้ว่า รูโหว่ประการสำคัญในการจัดการปัญหาโฮปเวลล์ของภาครัฐ จนนำมาสู่ค่าโง่มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ในวันนี้ น่าจะมีอยู่ 2 ช่วงที่สำคัญ

3.1 การได้มาซึ่งสัญญาสัมปทาน รายละเอียดสัญญาสัมปทาน เป็นสัญญาที่รัฐเสียเปรียบหรือไม่อย่างไร? มีนักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ทุจริตประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชนหรือไม่? อย่างไร?

มีการแก้ไขสัญญาในยุคไหน ที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชน? มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่?

เป็นสัญญาที่มีการวางยา เปิดทางให้เอกชนไม่ต้องรับผิดชอบ หรือวางหมากไว้ให้เอกชนหลายเหลี่ยมหลายคูที่จะยื้อการดำเนินโครงการไปได้เรื่อยๆ ยากแก่การบังคับตามสัญญา หรือบอกเลิกสัญญา จริงหรือไม่? แล้วมีใครเข้าข่ายกระทำผิดบ้าง?

ลองเทียบเคียงกับกรณีโครงการก่อสร้างระบบบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน มูลค่ากว่าสองหมื่นล้าน มีข้าราชการและเอกชน ร่วมกัน แบ่งงานกันทำ ช่วยให้เอกชนได้มาซึ่งสัญญาโดยมิชอบ มีการแก้ไขสัญญาเอื้อเอกชน ทำให้รัฐเสียหาย
จนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ นำมาซึ่งการเพิกถอนค่าโง่ได้ในท้ายที่สุด

ลองเทียบเคียงกรณีค่าโง่ทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง (สายบางนา-ชลบุรี ในปัจจุบัน) ที่มีคำพิพากษาฎีกาเป็นบทเรียนบรรทัดฐาน เมื่อเอกชนดำเนินการก่อสร้างไม่สำเร็จ อ้างว่า กทพ. ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ที่ก่อสร้างได้ และมีการตกลงขยายเวลาก่อสร้างออกไป ต่อมา อ้างว่า มีการแก้ไขแบบต่างไปจากที่ตกลงกัน ทำให้ราคาคงที่ตามสัญญาเพิ่มสูงขึ้น เสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ และคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาด ให้ กทพ. ชำระเงิน 6 พันล้าน พร้อมดอกเบี้ย ต่อมา เอกชนยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาและคำบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว
แต่ กทพ. คัดค้าน และขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดข้างต้น


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 19, 17:31
สุดท้าย ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า ผู้ว่าฯกทพ. ในขณะนั้น มีพฤติการณ์รีบร้อนในการทำสัญญากับเอกชน โดยเอกชนคู่สัญญาเองก็รู้อยู่แล้วว่า กทพ. ไม่อาจส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรหุ้นของบริษัท ให้แก่ผู้ว่าฯกทพ. ด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า การใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าฯกทพ. ดังกล่าวในการลงนามในสัญญาจ้างเหมาทางด่วนฯ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทำสัญญาดังกล่าวของเอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิโดยไม่สุจริต สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน (กทพ.) คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินให้แก่ผู้ร้อง (เอกชน) หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดนั้นย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลจะปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตามมาตรา 44 แห่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 พิพากษาให้ยกคำร้อง

สรุปง่ายๆ คือ กทพ. ชนะคดีค่าโง่ทางด่วน ไม่ต้องบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้ กทพ. ชดใช้เงินแก่เอกชนถึง 6 พันล้านบาท

ต่อมา เอกชนยังสู้อีกยก โดยฟ้องเรียกเงินคืนในฐานะลาภมิควรได้

ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ กทพ. ใช้เงินแก่บริษัทเอกชน 5 พันล้านบาท

แต่ศาลฎีกาพิพากษา โดยชี้ข้อเท็จจริงที่ว่า ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนนั้น ฝ่ายเอกชนคู่สัญญาได้ให้ผลประโยชน์แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ขณะเกิดเหตุ) ซึ่งเป็นผู้แทนมีอำนาจกระทำการแทนจำเลย และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่โจทก์กับพวก และในขณะที่ทำสัญญาจ้างเหมานั้น ผู้ว่าฯ กทพ. และโจทก์กับพวกต่างก็ทราบก็ดีอยู่แล้วว่าจำเลยยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์กับพวกได้ พฤติการณ์ของโจทก์กับพวกถือได้ว่าโจทก์กับพวกทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนกับจำเลยโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น จึงมีส่วนร่วมในการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นผลให้สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนไม่ผูกพันจำเลย แม้โจทก์กับพวกจะทำงานตามสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวแล้วเสร็จโดยส่งมอบโครงการทางด่วนให้จำเลยได้รับไปแล้วโดยมีราคาคงที่เพิ่มเติมในภายหลังก็ตาม ราคาคงที่เพิ่มเติมดังกล่าวก็ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกราคาคงที่เพิ่มเติมและค่าดอกผลในค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายกฟ้อง


กระทู้: คดีโฮปเวลล์ : บทเรียนแสบสันต์ หนึ่งหมื่นสองพันกว่าล้านบาท
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 19, 17:32
ความข้างต้นนี้ เป็นใจความสำคัญตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ที่มา เพจหลักกฎหมายสายย่อ)

3.2 ช่วงที่มีการบอกเลิกสัญญา และช่วงที่เรื่องเข้าสู่อนุญาโตตุลาการอีกหลายปี หลังแจ้งบอกเลิกสัญญา

ช่วงนั้น มีเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะระดับใด เข้าไปรับงานใคร? ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชน หรือไม่ อย่างไร?

ทั้งหมด หากใช้บทเรียนจากการแก้ไขค่าโง่กรณีคลองด่าน กับกรณีทางด่วนฯข้างต้น ก็จะต้องไล่ดูขยะที่ถูกซุกไว้ใต้พรม ว่ามีใครทำอะไรไว้ เพื่อจะใช้เหตุนั้น ยืนยันว่า ไม่สามารถจะบังคับตามสัญญาได้เพราะเข้าข่ายฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ต่อไป

 สารส้ม

https://www.naewna.com/politic/columnist/39905